คู่มือโรคแมลงในแปลงชา

Page 1


คำนำ ปัจจุบันโรคและศัตรูพืชชา นับว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นชา การให้ผลผลิต และคุณภาพของชาทุกชนิด ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง และส่งผลต่อรายได้หลัก ของเกษตรกรและผู้ประกอบการชา ซึ่งปัจจัยสำคัญในการ แก้ไขปัญหาโรคและศัตรูพืชชานั้น ต้องรู้จักวิธีการสังเกตอาการของต้นชาและศัตรูพืช ของต้นชา รวมถึงรูปร่างลักษณะของศัตรูพืช ระยะเวลาในการเข้าทำลายในแปลงชา ช่วงการแพร่ระบาดและช่วงเวลาการผลัดเปลี่ยนฤดูกาลจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ ผิดปกติ และโรคในต้นชามักมีสาเหตุร่วมกันระหว่างปัญหาความแปรปรวนของสภาพ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อราก่อโรคได้ เมื่อต้นชาเริ่มอ่อนแอและอยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อการแพร่ กระจายของโรค อาการของโรคก็จะปรากฏขึ้น เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ปลูกชา สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อรับมือกับโรคศัตรูพืชรวมทั้งหาแนวทาง และวิธีในการป้องกันกำจัดได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี และถูกเวลา คู่มือฉบับนี้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับศัตรูพืชของชา คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “คู่มือโรคแมลงในแปลงชา” ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลความรู้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ ที่ปลูกชา และ ผู้ที่สนใจ ไม่มากก็น้อย

คณะผู้จัดทำ สถาบันชาและกาแฟ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


สารบัญ บทนำ

หน้า

1. โรคที่สำคัญของชา และวิธีการป้องกันกำจัด 1.1 แคงเกอร์ (Twig die back/Stem canker)

1

- การแพร่ระบาด/ลักษณะอาการ - วิธีการป้องกันกำจัด 1.2 รากแดง (Red root disease)

5

- การแพร่ระบาด/ลักษณะอาการ - วิธีการป้องกันกำจัด 1.3 ใบพุพอง (Blister blight)

7

- การแพร่ระบาด/ลักษณะอาการ - วิธีการป้องกันกำจัด 1.4 ใบจุดสีน้ำตาล (Brown blight)

8

- การแพร่ระบาด/ลักษณะอาการ - วิธีการป้องกันกำจัด 1.5 ใบสีเทา (Grey blight)

9

- การแพร่ระบาด/ลักษณะอาการ - วิธีการป้องกันกำจัด การประยุกต์ใช้สารชีวภัณฑ์ในการจัดการโรค เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า สำหรับป้องกันโรคพืช - การใช้ประโยชน์จากเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า - การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

10


สารบัญ บทนำ

หน้า

2. แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของชา และวิธีการป้องกันกำจัด 2.1 มวนยุงชา (Tea Mosquito bug)

13

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.2 ปลวก (Termites)

14

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.3 มวนหลังเต่าชา (Camellia shield bug/Tea seed bug)

15

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.4 หนอนม้วนใบ (Tea Tortris Catterpillar)

16

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.5 แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf miner)

17

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.6 เพลี้ยอ่อน (Aphid)

18

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.7 เพลี้ยไฟ (Thrips) - ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด

19


สารบัญ บทนำ

หน้า

2.8 เพลี้ยจักจั่นเขียวชา (Tea green leafhopper)

20

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.9 ไรแดง (Red spider mite)

21

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด 2.10 แมลงค่อมทอง (Green weevil)

22

- ลักษณะการเข้าทำลาย - วิธีการป้องกันกำจัด การประยุกต์ใช้สารชีวภัณฑ์ในการจัดการป้องกันกำจัดแมลง เชื้อราบิวเวอเรีย สำหรับป้องกันกำจัดแมลง

23

- การใช้ประโยชน์จากเชื้อราบิวเวอเรีย - วิธีการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย

เอกสารอ้างอิง

26


โรคที่ สำคั ญของชา และวิธีการป้องกั นกำจัด

แคงเกอร์ (Twig die back/Stem canker) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Macrophoma theicola และในกลุ่ม Botryosphaeriales การแพร่ระบาด

ภาพที่ 1 อาการของโรคแคงเกอร์ระยะแรก ยอดใบชาเห่ี่ยว มีลักษณะแห้งและไหม้ อย่างชัดเจน

เมื่อต้นชาอ่อนแอ และสภาพแวดล้อมที่เพาะปลูกไม่เอื้อ อำนวย เช่น ธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอและเกิดจากสภาพภูมิอากาศ ที่แปรปรวน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเร่งให้เชื้อราเกิดการสร้างสปอร์แพร่ กระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกชาบริเวณใกล้เคียงโดยมีน้ำ ลม หรือ มนุษย์เป็นตัวการในการแพร่ระบาดและ ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นใน ที่สุด

ลักษณะอาการ อาการของโรคมักจะปรากฏขึ้นในบริเวณส่วนบนของต้นชา สังเกตเบื้องต้นได้จากยอดชาที่เหี่ยว ใบชา มีลักษณะแห้งและไหม้อย่างชัดเจน ผิวด้านในของกิ่ง หรือลำต้นจะมีสีน้ำตาล และในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรงจะ ทำให้ต้นชายืนต้นตาย ในกรณีที่ต้นชาปรากฏอาการติดเชื้อเบื้องต้นสังเกตได้ เช่น ยอดใบชาเหี่ยว เกิดใบไหม้และ บริเวณท่อลำเลียงน้ำอาหารภายในจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม อาการเฝ้าระวังของโรค - ยอดชาเห่ี่ยว - อัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ (การเจริญเติบโตต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง) - ใบไหม้และแห้ง - ต้น/กิ่งแห้งตาย จากส่วนปลายกิ่งลงสู่ลำต้น

ห น้ า 1


วิธีการตรวจสอบการติดเชื้อบริเวณกิ่ง/ลำต้นเบื้องต้น - เมื่อขูดผิวบริเวณกิ่ง/ลำต้น แล้วพบว่ามีสีน้ำตาล (โดยตามปกติขูดแล้วจะต้องมีสีเขียว/สีขาว) - เมื่อตัดบริเวณกิ่ง/ลำต้น แล้วพบสีน้ำตาล-ดำ บริเวณท่อล่าเลียงน้ำและอาหาร - ทิศทางการติดเชื้อ/แพร่เชื้อในต้นชาสังเกตได้จากการสีน้ำตาลที่พบริเวณผิว/ท่อลำเลียงน้ำและอาหาร กรณีที่ 1 หากต้นชามีการเจริญเติบโตตามปกติ - แสดงว่าต้นชาไม่มีอาการติดเชื้อแล้ว ต้นชาแข็งแรงเพียงพอที่จะฟื้นตัวและสามารถต่อสู้กับโรคได้ - สามารถใส่ปุ๋ยผสมไตโครเดอร์ม่าลงไป เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันเชื้อราในดินและป้องกันโรคที่จะมา เข้าทำลายต้นชา กรณีที่ 2 หากต้นชามีการเจริญเติบโต แต่พบใบไหม้ ใบ/กิ่งแห้งตาย หรือพบอาการเฝ้าระวังของโรค - ให้ทำการตัดแต่งกิ่ง/ลำต้นตรงส่วนนั้นออก - ให้ทำการตรวจสอบบริเวณกิ่งที่ติดเชื้อ ไล่ลงมาจนกว่าจะเจอบริเวณที่ไม่ติดเชื้อ และตัดให้ต่ำลงไปกว่า บริเวณนั้น 20 เซนติเมตร - หากพบใบไหม้/กิ่งแห้งตายเป็นส่วนมาก สันนิษฐานได้ว่าจะมีการติดเชื้อจากบริเวณโคนต้น แนะนำให้มี การขุด/รื้อถอนต้นชาออก กรณีที่ 3 หากต้นชาไม่มีการเจริญเติบโต - สามารถเปรียบเทียบเบื้องต้นกับต้นชาที่ตัดแต่งพร้อมกัน - ให้คาดว่าต้นชามีการติดเชื้ออย่างหนัก ไม่สามารถฟื้นตัว/ฟื้นตัวได้ยาก - แนะนำให้ขุด/รื้อถอนต้นชาออก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปยังบริเวณข้างเคียง แนวทางการแก้ไขโรคแคงเกอร์ โดยมีข้อเเนะนำในการเลือกวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ 1. ให้ขุดออก รื้อและเผาทำลายต้นที่ตายแล้ว (หรือมีอาการติดเชื้อ) - เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด หากยังไม่สามารถเผาทำลายได้ แนะนำให้นำต้นที่ขุดออกแล้ว ไปเก็บใน พื้นที่ห่างไกลจากแหล่งเพาะปลูกชาหรือพื้นที่เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในสวนชา - การเก็บต้นชาที่ขุดออกแล้วไว้ในหลุมดิน (ไม่มีพลาสติกรองที่ก้นหลุม) สามารถทำได้เนื่องจากเชื้อราจะไม่ แพร่ลงดิน 2. ตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างพุ่มใหม่ (Heavy pruning) ในต้นที่มีอาการติดเชื้อแต่ยังไม่แห้งตายทั้งหมด - แนะนำให้ตัดแต่งต้นชาให้สูงจากพื้นดินประมาณ 20 เซนติเมตร (ไม่เกิน 30 เซนติเมตร) - ฉีดพ่น Microcept/copper ได้ตามปกติ เนื่องจากการตัดแต่ง ทำให้ต้นชาเกิดแผลและเชื้อรา สามารถ ติดต่อผ่านทางอากาศ น้ำหรือจากต้นชาที่ติดเชื้อข้างเคียงเข้าสู่แผลนั้นและทำให้เกิดโรคซ้ำได้ แม้ว่าจะมีการตัดแต่ง แล้วก็ตาม - เฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของต้นชาที่ตัดแต่งแล้ว และเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมตามคำแนะนำ ห น้ า 2


3. ในกรณีที่ต้นแห้งตายหรือพบต้นที่มีอาการบริเวณกลางแปลง - ให้ทำการขุด/รื้อถอนต้นชาต้นนั้นและต้นข้างเคียงออก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อเป็นวง กว้าง - ต้นข้างเคียงที่ต้องรื้อออกไป เบื้องต้นให้รื้อถอน 1 ต้น โดยต้นที่ถัดจากนั้นให้ทำการสังเกตว่าหากตรวจพบ อาการเฝ้าระวังของโรคหรือไม่ถ้าพบเล็กน้อยแนะนำให้ตัดแต่งกิ่งบริเวณที่มีการสงสัยว่าติดเชื้อออกและทำการฉีดพ่น mancozeb/copper หรือไตโครเดอร์ม่าเพื่อป้องกันการ ติดเชื้อซ้ำหากพบอาการชัดเจน แนะนำให้รื้อถอนออก คำแนะนำการตัดแต่งต้นชาจีน 1. ตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างทรงพุ่มใหม่ (Heavy Pruning) 2. ตัดแต่งให้ได้ต้นใหม่ (collar Pruning) ตัดแต่งต้นที่มีความทรุดโทรมมาก เป็นโรคหรือตัดต้นชาที่พบอาการ บริเวณระดับคอดินและปล่อยให้ต้นชามีการแตกกิ่งพุ่มใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี ถึงจะให้ผลผลิตใหม่ คำแนะนำแนวทางแก้ไขโรคแคงเกอร์จากคณะอาจารย์ (กรณีเกิดอาการรุนแรง) โดยสามารถเลือกใช้สารข้อ 1 - 3 ในการป้องกันจำกัดได้ดังนี้ 1. ใช้ Bacillus amyloliquefaciens ควบคุมโรคใบจุด ใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) และอื่นๆ 2. ใช้ COMPANION (Carbendazim 12% + Mancozeb 63%) 3. หากพบการระบาดมากให้พ่นสารอะซอกซีสโตรบิน 20% + ไดฟีโนโคนาโซล 12.5% คำแนะนำจากนักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนเชี​ียงราย 1. ให้ใส่ปุ๋ยคอก คือมูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก หรือใช้เชื้อราไตโครเดอร์ม่า ผสมกับรำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา (1:4:50 ส่วน) เพื่อป้องกันเชื้อราในดิน และโรคที่จะมาเข้าทำลายรากต้นชาจีน 2. พื้นที่ที่ดำเนินการขุดเอาต้นชาออกแล้ว สามารถปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินได้ เพื่อเพิ่มธาตุในโตรเจนในดิน สามารถปลูกต้นปอเทือง หรือพืชตะกูลถั่วได้ 3. ตัดแต่งกิ่งใบ หรือขุดต้นชาเป็นโรคออกทำลาย ทำความสะอาดแปลง เก็บเศษซากโรคออกจากแปลง 4. พ่นบาซิลลัส อัตรา 20 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร

ห น้ า 3


ในกรณีที่ต้นชาปรากฏอาการติดเชื้อรุนแรง เช่น ต้นชาส่วนมากแห้งเหี่ยวหรือยืนต้นตาย แนะนำให้มีการ ตัดแต่งเพื่อจัดโครงสร้างทรงพุ่มใหม่ (Heavy pruning) หรือตัดแต่งที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 15-20 เซนติเมตร หรือทำการขุดถอนต้นชาที่มีการติดเชื้อออกทันที ซึ่งวิธีนี้จัดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมการ แพร่ระบาดของโรค โดยหลังจากนั้นให้ทำการฉีดพ่นสารป้องกันเชื้อรา และทำการเผาทำลายกิ่งต้นชาส่วนที่ตัดแต่ง ออกทันที

ภาพที่ 2 ลักษณะอาการของโรคแคงเกอร์ระยะรุนุแรง ข้อแนะนำ : ให้ตัดแต่งกิ่งต้นชาบริเวณที่มีการติดเชื้อออก (ต่ำลงจากจุดติดเชื้อ อย่างน้อย 20 เซนติเมตร) ทำการ ฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดเชื้อรา ทำการเผาทำลายส่วนที่ตัดแต่งออกทันที เพื่อป้องกันกันแพร่ระบาดของเชื้อรา ก่อโรคไปยังแปลงชาข้างเคียง ซึ่งเชื้อราชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ แม้กระทั่งในต้นชาเอง

(ก) (ข) ภาพที่ 3 การฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดเชื้อรา (ก) การตัดแต่งกิ่งบริเวณที่มีการติดเชื้อออกไปทำลาย (ข)

ห น้ า 4


รากแดง (Red root disease)

ภาพที่ 4 ลักษณะของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากแดง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Poria hypolateritia ลักษณะอาการ อาการของโรครากแดงมักจะปรากฏขึ้นในบริเวณรากของต้นชา สังเกตเบื้องต้นได้จากยอดชาที่เห่ี่ยว ใบชา มีสีเหลืองและมีลักษณะแห้ง และมีอัตราเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ พบเส้นใยของเชื้อราที่มีลักษณะเป็นขุยสีขาวนุ่ม และค่อนข้างฟูเหมือนกำมะหยี่ บ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตเชื้อราในระยะเริ่มต้น โดยเมื่อเส้นใยแก่ หรือเกิดการติดเชื้อ เป็นระยะเวลานาน บริเวณรากของต้นชาจะมีลักษณะเป็นสีแดงเข้ม แผ่นเรียบ บาง อย่างชัดเจน โรคนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกชาที่มีลักษณะเป็นป่าและตั้งอยู่ที่ระดับความสูงกว่า 600 เมตรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพื้นที่ป่าซึ่งมีเชื้อราหรือปรสิตที่อ่อนแออยู่ เมื่อป่าถูกแผ้วถาง เชื้อราก็จะสามารถอยู่รอดได้ ในฐานะ saprophyte หรือสิ่งมีชีวิตที่กินของเน่าเปื่อย (เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรียบางที่) จะอาศัยอยู่บนรากและตอขอต้นไม้ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังส่วนรากของต้นชา ซึ่งเชื้อราสามารถสร้างและพัฒนาตัวเองเป็นปรสิตที่แข็งแกร่งทำให้ เกิดความเสียหายต่อแปลงชาได้

ห น้ า 5


ภาพที่ 5 ลักษณะอาการของต้นชาที่เกิดการระบาดของโรครากแดง การป้องกันกำจัดโรครากแดง มีข้อเเนะนำในการเลือกวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ 1) ขุดต้นชาที่เป็นโรคออก เผาทำลาย และทำความสะอาดแปลง เก็บเศษซากกิ่งชาที่ตัดออกจากแปลง 2) หว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ผสมกับรำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ (1 : 4 : 50 ส่วน) 3) พ่นสารคาร์เบนดาซิม/สารไตรติมอร์ฟ อัตรา 20 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร โดยสามารถเลือกใช้สารในการป้องกันจำกัดได้ดังนี้ 1) พ่นสาร เฮกซะโคนาโซล 5% อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ โพรพิโคนาโซล 25% อัตรา 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร คำแนะนำ : ความเข้มข้นและความถี่ในการใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และข้อแนะนำในการใช้ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ วิธีการฉีดพ่นควรเน้นบริเวณโคนต้นชาให้เปียกชุ่มและทำการฉีดพ่น ซ้ำๆ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วง 2 ถึง 3 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นสารฯ 20-30 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อป้องกันการสะสมและตกค้างของสารในใบชา ส่วนแปลงชาที่มีการระบาดของโรคและมีการขุดถอนต้นชา แล้วนั้น แนะนำให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดซ้ำของโรคและ บำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ การเผาทำลายส่วนของต้นชาที่มีการตัดแต่งออกนั้น ควรจัดการในบริเวณแปลงชาโดยทันที เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อราก่อโรคระหว่างการลำเลียง แต่หากไม่สามารถทำการเผาทำลายในบริเวณแปลงได้ แนะนำให้มีการห่อหุ้มกองไม้ด้วยพลาสติก ทำการฉีดพ่นสารป้องกันเชื้อรา แล้วทำการลำเลียงออกไปเผาทำลาย นอกบริเวณแปลงชาให้เร็วที่สุด

ห น้ า 6


ใบพุพอง (Blister blight) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Exobasidium vexsans (Massee) การแพร่ระบาด

ภาพที่ 6 ลักษณะของใบพุพอง

เชื้อราสร้างสปอร์ (basidiospore) บนแผลพุพองที่มีสีขาว แพร่กระจายไป โดยลมและละอองน้ำฝน เข้าทำลายใบและก้านอ่อนของชาในสภาพที่มีความ เปียกชื้นนาน 8 - 10 ชั่วโมง ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา เซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็​็นต์ ภายหลังการติดเชื้อ แผลจะพัฒนาให้เห็นอาการ และพัฒนาเป็นแผลพุพองที่มีสีขาว หลังจากนั้น แผลพุพองจะเปลี่ยนเป็นสีดำ หยุดการสร้างสปอร์และตายในที่สุด โดยมีวงจร ชีวิตนาน 3 - 4 สัปดาห์ เชื้อราสาเหตุของโรคไม่มีระยะการพักตัว หรืออยู่ข้าม ฤดูบนต้นชา และไม่พบการสร้างสปอร์บนแผลพุพองที่ตายแล้ว

ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะเกิดเป็นจุดกลม โปร่งแสง สีเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองอมเขียวบนใบอ่อนและก้านอ่อน เมื่อแผล ขยายมีผลทำให้ใบบิดงอ ห่อหรือเป็นรูปถ้วย และทำให้ก้านใบโค้งงอ เมื่อสังเกตลักษณะแผลบนผิวใบด้านล่าง หรือ ก้านใบที่เป็นโรคจะพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายผงแป้ง และแผลพุพองจะเปลี่ยนเป็นสีดำ การป้องกันกำจั​ัดใบพุพอง มีข้อเเนะนำในการเลือกวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ 1) ตัดแต่งกิ่งและใบชา เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องอย่างทั่วถึง การตัดแต่งทรงพุ่มทุกปี ก่อนการพักตัวและ สำรวจต้นชา ตัดแต่งใบเป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูก 2) ทำความสะอาดแปลง เก็บเศษซากใบโรคร่วงหล่นใต้ต้นออกจากแปลงให้หมดและนำไปเผาทำลาย 3) ลดความชื้น งดการให้น้ำเหนือทรงพุ่ม ช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค 4) พ่นสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (พ่นซ้ำทุก 7 วัน จำนวน 4 ครั้ง) กรณีตรวจพบเป็นจำนวนมาก

ห น้ า 7

(ก) (ข) ภาพที่ 7 อาการใบพุพองที่พบในใบชาอัสสัม ระยะแรก (ก) และระยะที่สอง (ข)


ใบจุดสีน้ำตาล (Brown blight) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อ Colletotrichum camelliae (Cook) Battler. การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่กระจายไปกับลม ฝน และน้ำค้างเจริญเข้าทำลายใบชาในสภาพที่มี ความชื้นสูงมักเกิดบนใบชาที่อ่อนแอที่เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1) ดินขาดธาตุ ไนโตรเจน 3) การไม่มีไม้ร่มเงา 4) การเข้าทำลายของแมลง เช่น หนอนแมลงกัด กินใบ มวนยุง เป็นต้น 5) การทำลายของลูกเห็บ 6) ดินที่มีน้ำท่วมขัง 7) การครูด ไถทำให้ใบชาเป็นแผล 8) กรณีต้นชายังเล็กมีการให้ร่มเงาหรือใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป และ 9) การเข้​้าทำลายจากเชื้อรา Corticium theae และ C.invisum ภาพที่ 8 ลักษณะของใบจุดสีน้ำตาล

ลักษณะอาการ แผลมักเกิดบริเวณขอบใบและขยายลุกลามเข้าไปด้านใน อาการเริ่มแรกเนื้อเยื่อด้านบนใบมีลักษณะ สีนํ้าตาลเหลืองจนถึงสีนํ้าตาลแก่จากนั้นบริเวณกลางแผลจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาขยายออกมาด้านนอก เชื้อราจะ สร้างส่วนขยายพันธุ์ (Fruiting body) เป็นจุดเล็กๆ สีดำกระจายทั่วบนเนื้อเยื่อแผลด้านบนใบ โดยเริ่มจากจุด สีน้ำตาลแกมเหลืองบนใบ ประมาณ 7-10 วัน จุดแผลขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบแห้ง ใบร่วงหล่น และกิ่งชาแห้งตาย การป้องกันกำจัดใบจุดสีน้ำตาล มีข้อเเนะนำในการเลือกวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ 1) ตัดแต่งใบ และกิ่งที่เป็นโรคออกทำลายนอกแปลง ทำความสะอาดแปลง เก็บเศษซากโรคออกจากแปลง 2) หว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ (1 : 4 : 50 ส่วน) 3) จัดการระยะปลูกให้เหมาะสม ระบายอากาศ และความชื้นได้ดี การแก้ไขปัญหาของความอ่อนแอที่ใบดังกล่าว จะทำให้โรคทุเลาเบาบางลงโดยไม่มีความจำเป็นต้องพ่นควบคุมด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช 4) กรณีพบอาการรุนแรง ให้ฉีดพ่นสารคาร์เบนดาซิม 50% ที่อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ 85% 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

ห น้ า 8


ใบจุดสีเทา (Grey blight) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis theae การแพร่ระบาด เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลม ฝน และน้ำค้างเจริญเข้าทำลาย ใบชาในสภาพที่มีความชื้นสูงมักเกิดบนใบชาที่อ่อนแอ ที่เกิดจากหลาย สาเหตุ เช่น 1) ดินขาดธาตุไนโตรเจน 3) การไม่มีไม้ร่มเงา 4) การเข้า ทำลายของแมลง เช่น หนอนแมลงกัดกินใบ มวนยุง 5) การทำลาย ของลูกเห็บ 6) ดินที่มีน้ำท่วมขัง 7) การครูดไถ ขีด ทำให้ใบชาเป็นแผล 8) กรณีต้นชายังเล็ก มีการให้ร่มเงา หรือใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป เป็นต้น ภาพที่ 9 ลักษณะของโรคใบจุดสีเทา ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ลักษณะอาการ จุดรูปร่างกลมสีเทาอ่อน มีวงสีน้ำตาลเข้​้มล้อมรอบแผลบนใบชา เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นจะเกิดจุดสีดำเล็กๆ ที่กลางแผลทำให้เนื้อเยื่อใบแห้งและร่วง การป้องกันกำจัดใบจุดสีเทา มีข้อเเนะนำในการเลือกวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ 1) ตัดแต่งใบ และกิ่งที่เป็นโรคออกทำลายนอกแปลง ทำความสะอาดแปลง เก็บเศษซากโรคออกจากแปลง 2) หว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ (1:4:50 ส่วน) 3) จัดการระยะปลูกให้เหมาะสม ระบายอากาศ และความชื้นได้ดี การแก้ไขปัญหาของความอ่อนแอที่ใบดังกล่าว จะทำให้โรคทุเลาเบาบางลงโดยไม่มีความจำเป็นต้องพ่นควบคุมด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช 4) กรณีพบอาการรุนแรง ให้พ่นสารคาร์เบนดาซิม 50% ที่อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ 85% 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

ห น้ า 9


การประยุกต์ใช้สารชีวภัณฑ์ในการจัดการโรค “เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า” สำหรับป้องกันโรคพืช Trichoderma เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเชื้อราชั้นสูง พบทั่วไปในดินที่มีอินทรียวัตถุ เป็นเชื้อราที่มีสปอร์สีเขียวเข้ม อาศัย เศษซากพืช ซากสิ่งมีชีวิต และอินทรียวัตถุที่สลายตัวอยู่ในดินเป็นอาหาร สามารถเจริญได้ดีในธรรมชาติ และสามารถ ควบคุมเชื้อโรคพืชได้หลายชนิด

ภาพที่ 10 ลักษณะของ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

การใช้ประโยชน์จากเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีความสามารถในการแย่งอาหารและปัจจัยต่าง ๆ ของเชื้อราโรคพืชทำให้เชื้อรา โรคพืชลดกิจกรรมการ ทำลายพืชลงเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า สามารถสร้างปฏิชีวนะสารหรือสารพิษที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง การเจริญเติบโต และทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ทำให้เชื้อราโรคพืชลดปริมาณลงใช้เพื่อควบคุมเชื้อรา สาเหตุของโรคราก และโคนเน่า ได้แก่ เชื้อราไฟทอฟธอรา พิเทียม ฟิวซาเรียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย ลำต้นเน่า โรคใบจุดใบไหม้ แอนแทรคโนส และโรคเห่ี่ยวจากเชื้อรา

• ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืช • ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต • ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช ห น้ า 1 0


กลไกการต่อสู้กับโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1. แข่งขันการเจริญเติบโต สร้างเส้นใยได้รวดเร็ว และผลิตสปอร์สีเขียวได้มาก 2. ทำลายเส้นใยโดยตรง โดยแทงเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช 3. สร้างปฏิชีวนะสาร สารพิษ และน้ำย่อย ยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช 4. ชักนำให้พืชสร้างสารประเภทโปรตีน ช่วยให้พืชต้านทานโรค

วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1. หุงข้าวเจ้า แนะนำให้ใช้ข้าวเสาไห้ อัตราส่วนข้าว 3 ส่วนน้ำ 3 ส่วน

2. ตักข้าวสุกใส่ถุงประมาณ 3 ทัพพี ต่อถุง (250 กรัม) ใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 9x14 นิ้ว

3. ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ลงในถุงข้าวหุงสุกที่เตรียมไว้ 2 – 3 เหยาะ (1 กรัม) ต่อถุง เขย่าถุงข้าวเพื่อให้ หัวเชื้อกระจายทั่วถุง แล้วปิดปากถุงให้สนิท

ห น้ า 1 1


4. ใช้เข็มแทงรอบปากถุง ไม่น้อยกว่า 50 รู และเกลี่ยข้าวให้แผ่กระจาย บ่มเชื้อเป็นเวลา 7-10 วัน (หลังบ่มเชื้อ ภายใน 3 วัน ขย้ำให้เส้นใยแตกออก) พลิกถุงกลับ วางถุงไม่ให้ทับซ้อนกัน เก็บในห้องที่มีแสงสว่าง และมีอากาศ ถ่ายเท เมื่อครบกำหนด 10 วัน เชื้อจะมีสีเขียวเต็มถุง สามารถนำไปใช้ได้ทันที

การนำไปใช้​้ประโยชน์ควบคุมโรคพืช และวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1. คลุกเมล็ดพืชก่อนเพาะปลูก - ตักเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ใส่ถุงพลาสติก - เติมน้ำสะอาดเล็กน้อย บีบสปอร์เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าให้หลุดออกจากข้าว - เทเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม เขย่าให้สปอร์เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าติดกับผิวเมล็ดพืช 2. ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ - เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 1 กิโลกรัม รำละเอียด 4 กิโลกรัม ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า 50-100 กิโลกรัม อัตราส่วนผสม 1 : 4 : 50 - ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด กับรำให้เข้ากันก่อน แล้วนำไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 3. ผสมกับวัสดุเพาะปลูกพืช - ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสดที่ผสมรำและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว 1 ส่วน ผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันบรรจุภาชนะปลูก 4. หว่าน ใส่โคนต้น/รองก้นหลุมก่อนปลูก - หว่านส่วนผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 100 กรัม/ตารางเมตร - โรยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่บริเวณรอบโคนต้นหรือรองก้นหลุม 50 กรัม/หลุม 5. ใช้ผสมน้ำสำหรับพ่น - เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นเวลาช่วงตอนเย็น (ควรมีความชื้นในสวน) ใช้อัตราส่วน 100-200 ลิตร/พื้นที่ 1 ไร่ ห น้ า 1 2


แมลงศั ตรู พืชที่ สำคั ญของชา และวิธีการป้องกั นกำจัด

มวนยุงชา (Tea Mosquito bug) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heiopeltis sp. เป็นแมลงชนิดปากดูด ตัวเต็มวัย มีลักษณะคล้ายยุง ลำตัว ปีก และขามีสีดำ ท้องสีเขี​ียว กลางหลังจะมีสีเหลือง ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : พบการแพร่ระบาดตลอดทั้งปี ภาพที่ 11 ลักษณะของมวนยุงชา ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย มวนยุง จะเข้าทำลายทั้งยอดอ่อนและใบชา และทำลายพืชหลายชนิด เช่น ชา กาแฟ โกโก้และ มะม่วงหิมพานต์ ตัวอ่อนและเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดและใบชา ยอดชาโดยใบชาที่ถูกทำลายจะมีรอย แผลเป็นวงเล็ก ๆ หรือเป็นจุดทำให้ยอดชาและใบอ่อนเกิดอาการใบหงิกงอ ใบม้วนเป็นคลื่น ขอบใบห่อ ใบเป็นจุด สีน้ำตาลไหม้ และเปลี่ยนเป็นสีดำทั้งใบ ยอดชาไม่เจริญเติบโต ไม่แตกกิ่งใบใหม่ เมื่อนำใบชามาแปรรูปและชงจะ แสดงอาการเป็นวงหรือจุดในกากชา การป้องกันกำจัดมวนยุงชา (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) สำรวจแปลงสม่ำเสมอ พบการระบาดให้รีบกาจัดทันที 2) ทำการติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลือง รอบแปลงชาหรือทำกับดักล่อ 3) ทำลายพืชอาศัยที่มวนยุงชอบ เช่น ต้นชาทอง ออกจากบริเวณพื้นที่ 4) กรณีพบอาการรุนแรง สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - คาร์บาริล 85% อัตรา 20 กรัม /น้ำ 20 ลิตร - เมทิโอคาร์บ 50% อัตรา 15 กรัม /น้ำ 20 ลิตร - แลมป์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

ห น้ า 1 3

ภาพที่ 12 ลักษณะของยอดใบชาที่ถูก มวนยุงชาเข้าทำลาย


ปลวก (Termites)

ภาพที่ 13 ลักษณะของปลวกกัดกินรากต้นชา ปลวกในดินในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ฤดูแล้ง – ฤดูฝน ลักษณะการเข้าทำลาย จะเข้าทำลายต้นชา กัดกินเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ วิธีการป้องกันกำจัดปลวก (ให้เลือกวิธีปฏิบัติดังนี้) 1) ใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวกสายพันธุ์ไทย (ผลิตค่อนข้างยาก) และใช้กับดักแสงไฟดึงดูดแมลงเม่า เพื่อลดการผสม พันธุ์ในการสร้างปลวกขึ้นมาใหม่ 2) พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย ชนิดเชื้อสด ตามอัตราแนะนำ และโรยเชื้อราเมธาไรเซียม บริเวณโคนต้นที่พบปลวกระบาด 3) กรณีพบอาการรุนแรง สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - พ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% อัตรา 10-20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร - ให้พ่นสารเคมี อิมิดาคลอพริด 10% อัตรา 10-20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

ภาพที่ 14 ลักษณะของรังปลวกเข้าทำลายต้นชา ห น้ า 1 4


มวนหลังเต่าชา (Camellia shield bug/Tea seed bug)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Poecilocoris latus Dallas ช่วงเวลาการเข้​้าทำลาย : ฤดูกาลให้ผลผลิตชา (ฤดูฝูน) ภาพที่ 15 ลักษณะของมวนหลังเต่า ลักษณะการเข้​้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ และดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้น ใบ ตาดอกและผลชา ทำให้ต้นชาไม่เจริญ ไม่ออกดอก ไม่ผลิใบ สำหรับผลชาที่ถูกดูดกินมักเป็นชาอ่อนผลที่ยังมีสีขาว อยู่ ทำให้เมล็ดชาลีบแผลที่ถูกดูดกินมักมีเชื้อราลุกลามเข้าทำลายต่อ การป้องกันกำจัดมวนหลังเต่าชา (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) พบการเข้าทำลายเพียงเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อผลผลิตของชา 2) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - ให้พ่นสารเคมีฟิโพรนิล 5% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร - ให้พ่นสารเคมี malathion ตามคำแนะนำของฉลาก

ภาพที่ 16 ลักษณะตัวอ่อนของมวนหลังเต่าชา ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ห น้ า 1 5


หนอนม้วนใบ (Tea Tortris Catterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homona coffearia (Niether) ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ฤดูกาลให้ผลผลิตชา (ปลายฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน) ภาพที่ 17 ลักษณะของหนอนม้วนใบชา ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย จะทำความเสียหายต่อใบและยอดอ่อนของชา โดยหนอนจะนำใบมาติดกันแล้วกัดกินใบ ตัวแม่เป็นผีเสื้อ กลางคืนออกวางไข่บนใบชาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 100 ฟอง หรือมากกว่านั้น ไข่จะฟักเป็นตัวบุ้งโตเต็มที่ ยาว 12 – 20 มิลลิเมตร เมื่อเข้าดักแด้จะใช้ใบชาสร้างรัง การป้องกันกำจัดหนอนม้วนใบ (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) การจัดการโดยธรรมชาติจะมีแตนเบียนหลายชนิดลงทำลายแมลงชนิดนี้ เช่น แมลงเบียน (Microcentrus homonae Nixon) 2) การตัดแต่งกิ่งชาเป็นประจำทุกปี ช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนม้วนใบ

ภาพที่ 18 ลักษณะการม้วนใบของหนอนในใบชาอัสสัม ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

ห น้ า 1 6


แมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf miner)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Liriomyza sp. ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ฤดูกาลให้ผลผลิตชา (ปลายฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน) ภาพที่ 19 ลักษณะของหนอนชอบใบ ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ใต้ใบ ทำให้เกิดเป็นรอยสีขาวคดเคี้ยวไปมา โดยตัวหนอนจะกัดกินอยู่ภายในเยื้อพืช การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบ (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบให้ตัดแต่งกิ่งใบส่วนที่ถูกหนอนทำลาย และนำไปเผาทำลาย นอกแปลง เนื่องจากแมลงวันหนอนชอนใบจะอาศัยอยู่ตามพื้นดิน วิธีดังกล่าวจะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาด ได้เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย 2) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - ให้พ่นด้วย สารสกัดสะเดา - สารเคมี beta-cyfluthrin อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร - สารเคมีฟิโพรนิล 5% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ภาพที่ 20 ลักษณะการเข้าทำลายใบชา ของแมลงวันหนอนชอนใบ ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ห น้ า 1 7


เพลี้ยอ่อน (Aphid) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aphis glycines Glover เป็นแมลงศัตรูชาที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วย ตาเปล่า ตัวอ่อนมีสีเหลืองอมเขียวขนาด เท่ากับหัวไม้ขีดไฟหรือ เล็กกว่า เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวหม่น อมเทา ตัวแก่มีสีดำ และมีปีกบิ​ินได้ ช่วงเวลาเข้าทำลาย : ฤดูแล้ง และระบาดมากในฤดูฝน หรือ (ให้สังเกตมด) ภาพที่ 21 ลักษณะของเพลี้ยอ่อน ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย จะเข้าทำความเสียหายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง และมีข้อสังเกตที่ทำให้รู้ว่าที่เพลี้ยอ่อนระบาดนั่นคือจะมีมด อยู่ตามต้นที่มีเพลี้ยอ่อนทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอดและใบชา ทำให้ใบหงิกม้วนลง ยอดมีสีซีดจาง ยอดชาจะ ไม่คลี่เต็มที่ ใบชาที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลาย ยอดจะคลี่ออกไม่เต็มที่ใบหงิกม้วน ยอดมีสีซีดจาง การป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) สำรวจต้นชา สังเกตมดที่ไต่ตามยอด/กิ่งต้นชา ตัดแต่งยอดและใบที่ถูกทำลายออกทิ้งนอกแปลง 2) พ่นเชื้อราบิวเวอเรียชนิ​ิดสด สูตรน้ำ อัตรา 400 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร สูตรแข็ง อัตรา 1 กิโลกรัม/ น้ำ 40 ลิตร 3) ถ้าพบเพลี้ยอ่อนทำลายในปริมาณไม่มากนักและสภาพอากาศฝนตก (ช่วงฤดูฝน) ไม่ควรตัดสินใจใช้สารเคมี ถ้ามีการระบาดมากให้ใช้ (คาร์บาริล 0.5% อัตราตามคำแนะนำให้พ่นทั่วทรงพุ่ม)

ภาพที่ 22 ลักษณะการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนบริเวณยอดใบชา ห น้ า 1 8


เพลี้ยไฟ (Thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dosalis ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลืองตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของลำต้นและ ใบไม้ ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูฝูนเข้าสู่ฤดูหนาว และปลายฤดูหนาว - เข้าสู่ฤดูร้อน

ภาพที่ 23 ลักษณะของเพลี้ยไฟ ท่ี่มาของภาพ : https://freeseedsonline.com/ ลักษณะการเข้าทำลาย

เพลี้ยไฟสามารถทำลายพืชทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ตาดอก ดอก และผลอ่อนทำให้ยอดใบอ่อนหงิกงอ ใบแห้งกรอบ ไม่เจริญเติบโต ขอบใบม้วน แผลมีสีน้ำตาล อาการ ที่พบส่วนมาก ถ้าทำลายบางส่วนจะทำให้เกิดแผลเป็นรอยสะเก็ดสีน้ำตาล ในระยะแรกเมื่อเกิดทำลายจะทำให้การ เจริญเติบโตหยุดชะงัก การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) ให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย / ติดตั้งกับดักกาวเหนียว 2) พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อสด หรือชนิดน้ำตามอัตราที่แนะนำ 3) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - พ่นสารกำจัดแมลงคาร์บาริล 0.5% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร - พ่นสารฟิโพรนิล 5% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร - พ่นสารอิมิดาคลอพริด 70% ปริมาณ 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 4) การเลี้ยงผึ้งจะเป็นประโยชน์ทางอ้อมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟเน่ื่องจากผึ้งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ ของเพลี้ยไฟ

ภาพที่ 24 ลักษณะการเข้าทำลายใบชาของเพลี้ยไฟ ห น้ า 1 9


เพลี้ยจักจั่นเขียวชา (Tea green leafhopper)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacobiasca formosana (Paoli) ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ช่วงเปลี่ยนฤดู จากฤดูฝูนเข้าสู่ฤดูหนาว และปลายฤดูหนาว - เข้าสู่ฤดูร้อน ภาพที่ 25 ลักษณะของเพลี้ยจักจั่นเขียวชา ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอเป็นคลื่น และแห้งตาย การป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นเขียวชา (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) พบการเข้าทำลายเพียงเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อผลผลิตของชา 2) ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรีย 3) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - ให้พ่นด้วยสารเคมีฟิโพรนิล 5% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร - ให้พ่นด้วยสาร etofenprox ตามคำแนะนำของฉลาก

ภาพที่ 26 ลักษณะการเข้าทำลายใบชาของเพลี้ยจักจั่นเขียวชา ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

ห น้ า 2 0


ไรแดง (Red spider mite)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oligonychus coffeae (Nietner) ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว ภาพที่ 27 ลักษณะของไรแดง ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย เป็นศัตรูพืชประเภทปากดูด มักอยู่รวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบพืช ตัวเมียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ชีพจักรสั้น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ทำให้ใบแห้งกร้าน การป้องกันกำจัดไรแดง (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบให้ตัดส่วนที่ถูกทำลาย และนำไปทำลายเผานอกแปลง 2) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - ใช้สารเคมีอามีทาซ 20% อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร - ใช้สารเคมีโอไม้ท์ 30% ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย (ไม่ควรพ่นซ้ำเกิน 2 ครั้ง)

ภาพที่ 28 ลักษณะการเข้าทำลายใบชาของไรแดง ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ห น้ า 2 1


แมลงค่อมทอง (Green weevil)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypomecas squamosus Fabricius ช่วงเวลาการเข้าทำลาย : ช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ภาพที่ 29 ลักษณะของแมลงค่อมทอง ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยจะกัดกินยอด ใบอ่อน ทำให้ใบชาเว้าแหว่งเสียหาย มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามใต้ใบ เคลื่อนที่ช้า เมื่อถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงพื้นดิน การป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง (ให้ปฏิบัติดังนี้) 1) จับตัวเต็มวัยตามต้นพืช โดยการเขย่าต้นแล้วใช้สวิงรองใต้กิ่งหรือใบ แล้วนำออกไปทำลายนอกแปลง 2) หากพบการระบาดมาก สามารถเลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดได้ดังนี้ - ให้พ่นสารคาร์บาริล 0.5% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร - ให้พ่นสารคาร์โบซัลแฟน อัตราตามคำแนะนำของฉลาก ให้พ่นทั่วทรงพุ่ม

ภาพที่ 30 ลักษณะการเข้าทำลายใบชาของแมลงค่อมทอง ท่ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ห น้ า 2 2


การประยุกต์ใช้สารชีวภัณฑ์ในการจัดการแมลง “เชื้อราบิวเวอเรีย” สำหรับป้องกันกำจัดแมลง Beauveria bassiana (Balsamo) เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่จัดเป็นพวก "เชื้อราทำลายแมลง" สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ทำลายแมลงโดยผลิต เอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (Saprophyte)

ภาพที่ 31 ลักษณะของ เชื้อราบิวเวอเรีย ท่ี​ี่มาของภาพ : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

การใช้ประโยชน์จากเชื้อราบิวเวอเรีย เป็นเชื้อราทำให้เกิดโรคกับแมลง จึงใช้ป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ระยะตัวอ่อน) เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน หนอนห่อใบ หนอนม้วนใบ หนอนใยผัก ด้วงปีกแข็ง เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ไรขาวพริก แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อ แมลงวัน ยุง โดยมีรายงานว่าสามารถใช้กำจัดปลวกและมดคันไฟ (ทำให้มดและ ปลวกตายยกรังได้)

กลไกการทำลายแมลงของราบิวเวอเรีย 1. สปอร์ของราบิวเวอเรีย ตกไปที่ผนังลำตัวแมลง งอกก้านชูสปอร์ แทงทะลุผ่านลาตัวแมลงเข้าไปในช่องว่าง ภายในลำตัวแมลง 2. เชื้อราเจริญเพิ่มปริมาณ และสร้างสารพิษชื่อ บิวเวอริซิน ทำลายเนื้อเยื่อและระบบประสาทของแมลง ทำให้เป็นอัมพาตตาย เชื้อราจะแทงก้านชูสปอร์ทะลุผ่านผนังลำตัวของแมลงออกมา เป็นผงสีขาวปกคลุมตัวแมลง 3. สปอร์สีขาวแพร่กระจายติดไปกับแมลงได้ดีในธรรมชาติ ห น้ า 2 3


วิธีการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย (ชนิดสดด้วยข้าวหุงสุก) 1. หุงข้าวเจ้าใช้ข้าวเสาไห้อัตราส่วนข้าว 3 ส่วนน้ำ 1 ส่วน

2. ตักข้าวสุกใส่ถุงประมาณ 3 ทัพพี ต่อถุง (250 กรัม) ใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 9x14 นิ้ว

3. ใส่เชื้อบิวเวอเรียลงในถุงข้าวหุงสุกที่เตรียมไว้ 2 – 3 เหยาะ (1 กรัม) ต่อถุง เขย่าถุงข้าวเพื่อให้หัวเชื้อกระจาย ทั่วทั้งถุง แล้วปิดปากถุงให้สนิท

4. ใช้เข็มแทงรอบปากถุง ไม่น้อยกว่า 50 รู และเกลี่ยข้าวให้แผ่กระจาย บ่มเชื้อเป็นเวลา 12 วัน (โดยวันที่ 3 ให้จับ ถุงเขย่าเพื่อกระตุ้นสร้างสปอร์) วางถุงไม่ให้ทับซ้อนกันเก็บในห้องที่มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท เมื่อครบ กำหนด 12 วัน เชื้อจะมีสีขาวเต็มถุง สามารถนำไปใช้ได้ทันที

วิธีการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย 1. เชื้อราบิวเวอเรีย 1 กิโลกรัม ผสม น้ำ 40 ลิตร 2. ใส่สารจับใบ ขยำให้สปอร์หลุดจากเมล็ดข้าวจากนั้นกรองเอาส่วนน้ำไปใช้ 3. พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย ในเวลาที่อากาศไม่ร้อน หลังเวลา 15.00 น. และควรมีความชื้นสูงในสวน ห น้ า 2 4


วิธีการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย ชนิ​ิดน้ำ 1. ผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำสะอาด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 16 ลิตร คนให้เข้ากัน นำไปต้มจนแป้งสุก เทใส่ขวดน้ำ ขนาดประมาณ 400 มิลลิลิตร

2. เตรียมเชื้อบิวเวอเรียโดยกวาดสปอร์สีขาวของเชื้อผสมกับน้ำต้มสุก

3. ใส่เชื้อบิวเวอเรียในขวดแป้งข้าวโพด เติมหัวเชื้อลงไปขวดละ 2 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน วางขวดไว้ในที่ไม่ให้ถูก แสงแดด เขย่าทุกวันจนครบ 7 วัน จึงนำไปใช้ได้

ข้อสังเกตเชื้อราบิวเวอเรีย ชนิดน้ำที่ดี 1. หลังจากใส่เชื้อ 2-3 วัน น้ำแป้งข้​้าวโพดจับตัวกันหนืดมากขึ้น เกิดฟองอากาศภายในขวด เมื่อวางทิ้งไว้ 5-7 วัน 2. ไม่มีสีอื่นเกิดขึ้นภายในขวด เช่น สีชมพู เหลือง 3. เชื้อราบิวเวอเรียชนิดน้ำ เก็บรักษาได้นาน 30 วันหลังวันผลิต /การพ่นสามารถผสมกับปุ๋ยทางใบได้ ข้อควรระวัง : เมื่อเกิดฟองอากาศในขวด ให้เปิดฝาเพื่อระบายอากาศภายในขวดก่อนเขย่​่าขวด

วิธีใช้เชื้อราบิวเวอเรียชนิ​ิดน้ำ 1. ราบิวเวอเรีย ชนิดน้ำ 1 ขวด (400 มิลลิลิตร)/น้ำ 20 ลิตร (ขวดขนาด 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร) 2. ใส่สารจับใบและผสมให้เข้ากัน นำน้ำที่ได้ไปพ่นในเวลาที่อากาศที่ไม่ร้อนจัด และในแปลงควรมีความชื้นสูง ห น้ า 2 5


เอกสารอ้างอิง พิสุทธิ์เอกอำนวย. 2563. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. ISBN: 978-616-927-672-2. บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 1,006 หน้า. สถาบันวิจัยพืชสวน. 2554. เอกสารวิชาการ แมลงศัตรูไม้ผัก เห็ด และไม้ดอก. กลุ่มบริหารศัตรูพืช/กลุ่ม กีฏ และสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 106 หน้า. . 2557. เอกสารประกอบการอบรม การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ครั้งที่ 1. กลุ่มงาน วิจัยการปราบปรามศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 153 หน้า. . 2559. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ศัตรูพืช. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 210 หน้า. . 2563. เอกสารวิชาการ คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลง-สัตว์ศัตรูพืชอย่างปลอดภัย จากงานวิจัย. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 233 หน้า. สุเมธ พากเพียร อิทธิพล บรรณาการ วัฒนนิกรณ์ เทพโพธาและ นาราญ์ โชติอิ่มอุดม. 2563. ศึกษาชนิด ลักษณะการเข้าทำลาย และการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูชา. งานวิจัยสิ้นสุด โครงการวิจัยและ พัฒนาชา. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่. สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร. Elango, V., Manjukarunambika, K., Ponmurugan, P., & Marimuthu, S. (2015). Evaluation of Streptomyces spp. for effective management of Poria hypolateritia causing red rootrot disease in tea plants. Biological Control, 89, 75-83. Ranjini, A. P., Santhosh, N. R., Daivasikamani, S., & Raghuramulu, Y. (2017). Efficacy of fungicides against Poria hypolateritia the red root pathogen of Coffee. Journal of Mycopathological Research, 55(1), 61-65.

ห น้ า 2 6



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.