MFU MAG #10

Page 1

รอบรัว้ มฟล.

1

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

MFU in Summer

ตามติ ด ชี วิ ต นั ก ศึ ก ษาฝึ กงาน จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557


2 คนเก่งเท่ากัน แต่มีความก้าวหน้าในการทํางานไม่เหมือนกัน เพราะศิลปะในการนําความรู้ความสามารถไปใช้นั้นทําได้ต่างกัน ศิลปะนั้นได้มาอย่างไร ได้จากประสบการณ์ ต้องรู้จักความพอเหมาะพอควร เมื่อก้าวสู่การทํางานต้องรู้จักสุขุม รู้จักสติ ต้องมีคุณธรรม รู้ผิดรู้ชอบ รู้ว่าอะไรควรทําไม่ควรทํา รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปัจฉิมนิเทศนักศึกษาประจําปี 2556 3 มีนาคม 2557

สหกิจศึกษา เรียน-รู ้-สู่อนาคต

ดร.สุวรรณา เดชาทัย ผู้ช่วยอธิการบดี และรักษาการแทนหัวหน้าส่วนจัดหางาน และฝึกงานของนักศึกษา

เมื่อสําเร็จการศึกษาจากรั้วแดง-ทอง สิ่งที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ก็คือได้เห็นเหล่านักศึกษามีคุณ สมบัติเพียบพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้ง ระดั บ ประชาคมอาเซี ย นและระดั บ โลก ดั ง นั้ น ภารกิ จ ในการสนั บ สนุ น การฝึ ก ปฏิ บั ติ ง าน ของนักศึกษาจึงเป็นสิ่งสําคัญ โดยการเชื่อมโยงศาสตร์ความรู้จากชั้นเรียนสู่การปฏิบัติจริง ในสถานประกอบการจริง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดร.สุ ว รรณา เดชาทั ย ผู ้ ช ่ ว ยอธิ ก ารบดี แ ละรั ก ษาการแทนหั ว หน้ า ส่ ว นจั ด หางาน และฝึกงานของนักศึกษา กล่าวว่า นักศึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้รับความชื่นชม ในหลายด้าน เช่น มีทักษะความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ ได้รับรางวัลชนะเลิศนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติดีเด่น ระดับเครือข่าย จํานวน 1 รางวัล และ รางวัลรองชนะเลิศนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติดีเด่น ระดับชาติ อีก 1 รางวัล ในปีการศึกษา 2556 ที่ผ่านมา “เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติงาน จะทําให้นักศึกษามีความมั่นใจในตนเอง หลายคนได้รับ การเสนอให้เข้าทํางานก่อนเรียนจบ และในปีการศึกษา 2556 สถานประกอบการร้อยละ 70 มีความประสงค์รับนักศึกษาเข้าทํางานต่อ นับเป็นผลสะท้อนว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัย แม่ ฟ ้ า หลวง ได้ รั บ การยอมรั บ ในความรู ้ ค วามสามารถ ถื อ ว่ า มหาวิ ท ยาลั ย บรรลุ ผ ลสํ า เร็ จ ในการสนั บ สนุ น ทางวิ ช าการ รวมถึ ง การบ่ ม เพาะนั ก ศึ ก ษาให้ มี เจตคติ ที่ ดี ต ามหลั ก สากล” ดร.สุวรรณา กล่าว


เรื่องจากปก

สารบัญ

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

3 เรื่องจากปก 6 New Different Better 8 คนเก่ง มฟล. 10 มฟล. นานาชาติ 11 Green MFU 12 Inside MFU 15 มาเยี่ยม มาเยือน 16 บทความพิเศษ 17 มฟล. เพื่อชุ มชน 18 มฟล. ในสื่อ

ที่ปรึกษา รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นางพรทิพย์ ภูติโยธิน รองอธิการบดี บรรณาธิการ อ.ดร.พรรณรวี พรหมนารท ผู้ช่วยอธิการบดี กองบรรณาธิการ ฝ่ายเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ติดตามข้อมูลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง www.mfu.ac.th มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFU e-mail : pr@mfu.ac.th ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์ 0-5391-7034, 0-5391-7037 โทรสาร 0-5391-7049

ตามติด ชี วิตนักศึกษาฝึ กงาน ชี วิตนักศึกษา มีเรื่องราวมากมาย ทั้งเรียน ทั้งกิจกรรม ทั้ง รอยยิ้ ม เสี ย งหั ว เราะ บางครั้ ง ก็ ห ยดน�้ ำ ตา คลุ ก เคล้ า อยู ่ ใ น ช่ ว งเวลาของวั ย รุ ่ น เต็ มไปด้ ว ยทางแยกและทางโค้ ง ทั้ง หมด มี เ พื่ อ เรี ย นรู ้ ทั้ ง ด้ า นวิ ช าการ ทั ศ นคติ การอยู ่ ร่ ว มกั บ ผู ้ อ่ื น เพื่ อ เติ บ โตและเตรี ย มพร้ อ มออกไปสู่ ก ารทํ า งานจริ ง ชี วิ ต จริ ง และก่อนที่จะเดินทางไปถึงใบปริญญา ทุกคนก็ต้องผ่านภารกิจ ชี วิตที่เรียกว่า “นักศึกษาฝึ กงาน”

ฟี รดาห์ หมาดทิ้ง (ฟี ด้า : จ.สตูล)

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สํานักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถานที่ฝึกงาน : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อําเภอลังกาวี ประเทศมาเลเซี ย สาวใต้ ที่ อ ยากสั ม ผั ส อากาศหนาวของดิ น แดนเหนื อ สุ ด แห่ ง สยาม จึ ง เลื อ กมาเรี ย น ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และเพราะชอบค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ เธอจึง เลือกไปฝึกงานที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย หน้าที่ของฟีรดาห์กับการเป็นนักศึกษาฝึกงาน ก็ คื อ หมุ น เวี ย นทํ า งานในแผนกต่ า งๆ ในแต่ ล ะสั ป ดาห์ ทั้ ง ฝ่ า ยงานเอกสาร ฝ่ า ยการเงิ น ฝ่ายกิจกรรม รวมทั้งมีโอกาสได้ทําการต้อนรับนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย เมื่อครั้งเดินทาง เยื อ นเกาะลั ง กาวี “หนู อ ยากเรี ย นรู ้ ก ารใช้ ชี วิ ต ต่ า งแดน โดยที่ ไ ม่ มี ค นที่ รู ้ จั ก เลย ทํ า ให้ เรา ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากพูดในที่ท�ำงานแล้วออกไปข้างนอกก็ยังได้ฝึก คนที่นี่ส่วนใหญ่ พูดภาษามาเลย์ ร้านอาหารหลายร้านก็สื่อสารภาษาอังกฤษได้ เราได้แลกเปลี่ยนทั้งการใช้ชีวิต การท�ำงาน และภาษา หนูเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้นคนที่มีพื้นฐาน ภาษาที่สองจะได้เปรียบกว่าคนอื่น” ฟีรดาห์ กล่าว จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

3


4

ตัณฑิตา สุโขบล (ตาล : กรุ งเทพมหานคร) นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุ รกิจ สํานักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถานที่ฝึกงาน : สํานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุ มไบ ประเทศอินเดีย

ตัณฑิตา เล่าว่า ได้ฝึกงานในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ต้องเรียนรู้ศึกษาข้อมูล ทางการตลาดของประเทศ ทําข่าวและรายงานสถานการณ์การค้าของมุมไบ “สิ่งที่ประทับใจ คื อ สั ง คมคนไทยในมุ ม ไบที่ ค อยช่ ว ยเหลื อ พึ่ ง พาซึ่ ง กั น และกั น ผู ้ ร ่ ว มงานที่ เ ป็ น คนอิ น เดี ย มีความเป็นกันเองและให้ความช่วยเหลือในทุกเรื่อง โชคดีที่ได้อยู่ในย่านที่ดีมีความปลอดภัย ความสนุกอย่างหนึ่งคือการได้ลองทานอาหารต่างๆ ของอินเดีย ค่าครองชีพก็ไม่แพงมาก” ตั ณ ฑิ ต าได้ แ สดงความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ การเตรี ย มพร้ อ มเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย นว่ า อย่างแรกคือการเปิดใจยอมรับเพื่อนต่างชาติ จะทําให้เราได้เปิดโลกทัศน์มากขึ้น ยิ่งมีเครือข่าย กว้ า งขวาง ยิ่ ง มี โ อกาสสํ า คั ญ ในความก้ า วหน้ า ซึ่ ง ถื อ ว่ า โชคดี เพราะมี เ พื่ อ นชาวต่ า งชาติ หลายๆ ประเทศที่มาเรียน มฟล. ท�ำให้เราได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ จากนานาชาติ

ชลากร อุ ดมอุ กฤษฎ์ (เจเจ : จ.กาญจนบุ รี) นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุ ตสาหกรรมการบริการ สํานักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถานที่ฝึกงาน : บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จํากัด กรุ งเทพมหานคร

เขาเป็ น หนึ่ ง ในนั ก ศึ ก ษา 50 คน ที่ ถู ก คั ด เลื อ กจากทั่ ว ประเทศเพื่ อ เข้ า ร่ ว มฝึ ก งาน ในโครงการ SINGHA BIZ COURSE 6 ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ศึกษาทักษะ ด้ า นการบริ ห าร ในคอนเซ็ ป ต์ งานจริ ง คนจริ ง ชี วิ ต จริ ง จากนั ก คิ ด นั ก บริ ห ารที่ มี ชื่ อ เสี ย ง ทั้งในไทยและระดับโลก สิ่งที่ได้กลับมาคือได้เพื่อนใหม่ มีเครือข่ายการท�ำงาน ได้ประสบการณ์ จริง ทั้งคิดแผนงาน ออกพื้นที่ ขายของ บินไปต่างประเทศเพื่อไปใช้ชีวิตกันจริงๆ คงหาโอกาส ในชีวิตแบบนี้ได้ยาก ทุกคนในโครงการรู้สึกเหมือนรู้จักกันมานาน แม้ฝึกงานจบก็ยังติดต่อ ช่วยเหลือกัน มันเป็นมากกว่าฝึกงานจริงๆ

ณัฐกิตติ์ ยศอิต๊ะ (บีม : จ.เชี ยงราย)

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมการสื่อสารและสารสนเทศ สํานักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถานที่ฝึกงาน : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) จ.เชี ยงใหม่ ณัฐกิตติ์ ย้อนความว่าเขาเป็นคนจังหวัดเชียงราย ชอบมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตั้งแต่เด็ก ใฝ่ฝันอยากเรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเปิดเป็นปีแรกพอดี สาขาวิ ช าที่ เ ลื อ กเรี ย นดู แ ปลกใหม่ แ ละคิ ด ว่ า มี สิ่ ง ที่ น ่ า สนใจให้ เรี ย นเยอะ เมื่ อ สอบติ ด จึ ง รู ้ ว่าที่นี่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ให้กําลังใจตัวเองว่ายังมีคนเรียนจบได้แสดงว่าคงไม่ยากเกิน ความสามารถ ส�ำหรับการฝึกงานในฝ่ายพัฒนาเครื่องมือ สํานักวิจัยและพัฒนา ของหอดูดาว แห่ง นี้ เขากล่าวว่าจําเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษอย่างมาก เพราะมีนักวิจัยดาราศาสตร์เป็น ชาวต่างชาติ รวมทั้งการค้นคว้าข้อมูลให้เพียงพอสําหรับการพัฒนาอุปกรณ์ สนับสนุนงานวิจัย ต้องนําความรู้ที่เรียนมาทุกด้านประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


5

ณิชกานต์ ทุ่งสงค์ (แจน : จ.แพร่) จามจุ รีย์ เหมยกาศ (จาม : จ.เชี ยงใหม่)

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สํานักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถานที่ฝึกงาน : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สํานักงานเชี ยงราย สองสาวท�ำหน้ า ที่ ใ นการสนั บ สนุ น งานของเจ้ า หน้ า ที่ ในการให้ ข ้ อ มู ล และวางแผน การเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว ออกพื้นที่เพื่อสํารวจเส้นทางท่องเที่ยว และร่วมทํากิจกรรม ต่า งๆ ณิชกานต์ เล่าว่าประทับใจพี่ๆ ที่สํานักงานเพราะอยู่กันแบบครอบครัว ดูแลอย่าง อบอุ่น กิจกรรมที่ประทับใจที่สุดคือ ปั่นปันน�้ำใจ โดยนักปั่นจากทั่วประเทศระดมเงินมาช่วย ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย แสดงให้เห็นว่าพี่น้องชาวไทยยังคงรักกัน ในส่วนของ จามจุรีย์ กล่าวว่า การได้ออกไปสถานที่ใหม่ๆ เป็นงานที่สนุก เช่น ไร่บุญรอด พิพิธภัณฑ์อูบคํา พิพิธภัณฑ์ขัวศิลปะ น�้ำตกผาเสริฐ ประสบการณ์ที่ได้เติมเต็มความรู้รอบตัว และการได้พ บเจอผู้คนมากมายทําให้ไ ด้ฝ ึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ และมีความมั่นใจ ในการสื่อสารมากขึ้น

นันทสุข์ หวง (นัน : กรุ งเทพมหานคร)

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สํานักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักศึกษาช่ วยสอน (Teacher Assistant : TA) รายวิชาภาษาอังกฤษหลักสูตรเร่งรัด (Intensive English : IE) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซัมเมอร์ของปีนี้มหาวิทยาลัยแม้ฟ้าหลวงดูจะคึกคักเป็นพิเศษ เมื่อมหาวิทยาลัยได้ เปิ ด ภาคเรี ย นพิ เ ศษ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง พื้ น ฐานภาษาอั ง กฤษของนั ก ศึ ก ษาใหม่ รองรั บ การเรี ย น การสอนที่เป็นภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย นันทสุข์ เล่าว่าก่อนจะได้มาเป็นนักศึกษาช่วยสอน ต้องผ่านการคัดเลือกและเวิร์คช็อป มาเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้นักศึกษารุ่นพี่ที่มีความพร้อม ทั้งด้านภาษาและทัศนคติ เพื่อรับมือ กับน้องใหม่หลากหลายรูปแบบ ทั้งเฮี้ยวทั้งซน เหมือนเขาได้เจอตัวเองตอนที่เข้ามาเป็นนักศึกษา ปี 1 เคยเป็นเด็กที่ไม่ชอบให้ใครมาสอน ไม่เคารพรุ่นพี่ ก็ต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ เพราะเด็กก็มีพื้นฐานต่างกัน ต้องค่อยๆ พูดคุยกันด้วยเหตุและผล หาทางให้น้องใหม่สามารถ พัฒนาตัวเองได้

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557


6

New Different Better

แนะน�ำหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Master of Science Program in Public Health หลักสูตรส�ำหรับผูป้ ระสงค์ยกระดับความรูค้ วามสามารถ เพือ่ ก้าวสูก่ ารเป็นกลไกส�ำคัญในการพัฒนาคุณภาพของ การบริการด้านสาธารณสุขของประเทศ

เป้าหมายหลักสูตร

+ มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ วิจัย ปัญหาสาธารณสุข + + + +

ในมิติต่างๆ มี ค วามเชี่ ย วชาญการวิ จั ย ทางด้ า นสาธารณสุ ข ที่ มี ค วาม ซับซ้อน เป็นผู้น�ำที่มีความสามารถทางด้านการบริหารจัดการองค์กร สาธารณสุข สามารถในการบูรณาการความรู้สาธารณสุขแก้ไขปัญหา สุขภาพในระดับต่างๆ สามารถในด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

แนวอาชี พหลังจบหลักสูตร

+ นักวิชาการสาธารณสุข + +

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ในองค์กรรัฐ - เอกชน นักวิจัยทางด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เปิดการเรียนการสอน ภาคปกติ เรียน จันทร์ - ศุกร์ ภาคพิเศษ เรียน เสาร์ - อาทิตย์ ส�ำหรับผู้สนใจติดตาม ข้อมูลเพิ่มเติม www.mfu.ac.th หรือ 0-5391-6103

มฟล. เปิ ดสถานีไฟฟ้าย่อย เสริมความมั่นคงด้านพลังงาน มฟล. จัดพิธีเปิด สถานีไฟฟ้าย่อยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี เป็นประธานในพิธี พร้อม ด้ ว ยคณะผู ้ บ ริ ห าร คณาจารย์ พนั ก งาน และนั ก ศึ ก ษา เมื่ อ วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557 โดยสถานีไฟฟ้าย่อยแห่งนี้ จะทําหน้าที่ในการแปลงกระแสไฟฟ้าแรงสูง มาเป็นกระแสไฟที่ ใช้งานได้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ด้านไฟฟ้าที่มีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการรองรับการ ขยายขอบเขตงาน เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานและ จํานวนบุคลากรที่เพิ่มขึ้นของมหาวิทยาลัย รวมถึงการก่อตั้งศูนย์ การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย


7

มฟล. จับมือ TRUE วางระบบ WiFi ให้บริการทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มฟล. โดย รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี ร่วมลงนามใน ความร่วมมือติดตั้งอุปกรณ์ระบบสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย (WiFi) กับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TRUE โดยนาย ธาดา เศวตศิลา ผู้อ�ำนวยการกลุ่มธุรกิจการศึกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน ที่ผ่านมา ณ ห้องแม่สาย อาคารส�ำนักงานอธิการบดี โดย TRUE จะติดตั้งระบบ WiFi ภายใต้ชื่อ “MFU WiFi by True” จ�ำนวน 50 จุดในเบื้องต้น และจะขยายจุดสัญญาณตลอดระยะ เวลา 3 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป นอกจากนี้ มฟล. ยังได้ท�ำสัญญาความร่วมมือในการเผยแพร่ต�ำรา และสื่อสิ่งพิมพ์ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ (E-Book) ให้กับ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จ�ำกัด ซึ่งถือเป็นการบริการ สังคมอีกทางหนึ่งของ มฟล. อธิการบดี กล่าวว่า มฟล. มีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ ต้อนรับ TRUE ในการมาร่วมพัฒนาให้ มฟล. เป็น “IT University” เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาและคณาจารย์ ใน ลักษณะทุกที่ทุกเวลาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ สนับสนุน นอกจากการให้พื้นที่บริการ WiFi ภายในมหาวิทยาลัย แล้ว มฟล. กับ TRUE ยังร่วมกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อการพัฒนา และทดสอบแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Lab ซึ่งจะสนับสนุนการวิจัยและการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาแอพพลิเคชั่นและดิจิตอลคอนเท้นท์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ พร้ อ มทั้ ง ยั ง จะได้ ร ่ ว มกั น พั ฒ นาการศึ ก ษาในโครงการพั ฒ นา โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนอีกด้วย

รพ.มฟล. เปิ ดตัวคลินิกเด็ก ครบเครื่องเรื่องสุขภาพเด็ก แรกเกิดถึง 15 ปี โรงพยาบาลมหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวง จั ด งานเปิ ด ตั ว คลินิกเด็ก (Children’s Clinic) เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2557 โดยมี รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี เป็นประธาน พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร ทั้งนี้ นพ.แสงโรจน์ ประดับแก้ว ผู้อํานวยการ รพ. มฟล. กล่าวว่า คลินิกเด็กจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพเด็ก ดูแลงานโดยกุมารแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญ ทันตแพทย์ พยาบาล และคณะทํางานสหวิชาชีพผู้ชํานาญการ โดยครอบคลุม งานทั้ ง ด้ า นทั น ตกรรมเด็ ก และตรวจสุ ข ภาพ รั ก ษาโรคทั่ ว ไป ฉี ด วั ค ซี น ต่ า งๆ โภชนาการ พั ฒ นาการ ดู แ ลเด็ ก พิ เ ศษ สตรี วัยเจริญพันธุ์และมารดาหลังคลอด ดูแลตรวจรักษาด้วยวิทยาการ ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เปิดให้บริการสําหรับเด็กแรกเกิดถึง 15 ปี ณ บริ เ วณชั้ น 1 อาคารผู ้ ป ่ ว ยใน โรงพยาบาลมหาวิ ท ยาลั ย แม่ฟ้าหลวง ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 - 16.00 น. โทร. 0-5391-7531

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557


8

คนเก่ง มฟล.

ขอแสดงความยินดี แด่ รองศาสตราจารย์ ดร.สรบุ ศย์ รุ ่งโรจน์สุวรรณ สภามหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ้ า หลวง แต่ ง ตั้ ง ผศ.ดร.สรบุ ศย์ รุ ่งโรจน์สุวรรณ อาจารย์ประจ�ำส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ให้ ด�ำรงต�ำแหน่ง ‘รองศาสตราจารย์’ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556

รศ.ดร.สรบุ ศ ย์ เป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ปริ ญ ญาตรี ส าขาวิ ช าภาษาญี่ ปุ ่ น และปริ ญ ญาเอกสาขาวิ ช า ภาษาศาสตร์ ก่อนจะเริ่มงานสอนที่ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ มฟล. เมื่อปี 2547 อีกทั้งปัจจุบันยังพ่วงงานบริหารในต�ำแหน่งรองคณบดี ส�ำนั ก วิ ช าศิ ลปศาสตร์ ทั้ง ยัง เป็น ผู้ที่ได้รับ รางวัล นักวิจัยรุ่นใหม่ ดีเด่น สกว. - สกอ. (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย - ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เมื่อปี 2551 และรางวัลอาจารย์ ดีเด่น สออ. : สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ประจ�ำประเทศไทย ครั้งที่ 2 พ.ศ.2556 ประเภท อาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์

ส�ำหรับต�ำแหน่งทางวิชาการ ‘รองศาสตราจารย์’ อาจารย์ สรบุศย์ ได้ยื่นขอตามระเบียบของมหาวิทยาลัย อันประกอบด้วย ผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ ทั้งเอกสารค�ำสอน งานวิจัย และหนังสือที่ตนเป็นผู้แต่ง ผลงานทางวิชาการที่ลงมือท�ำด้วยความทุ่มเทมีหลากหลาย หั ว ข้ อ ล้ ว นน่ า สนใจ ไม่ ว ่ า จะเป็ น งานที่ ไ ด้ รั บ ทุ น จากส�ำนั ก งาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ท�ำวิจัยในหัวข้อ ‘ชื่อหมู่บ้านในอ�ำเภอ เชียงแสนจังหวัดเชียงราย’ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้น�ำไปเผยแพร่ แจกห้องสมุดทั่วประเทศ (ปี 2552 - 2553) หรือผลงานที่ได้รับการ ตี พิ ม พ์ จ ากการร่ ว มประชุ ม วิ ช าการที่ ญี่ ปุ ่ น (15th International Conference on Cross-Cultural Communication, Kumamoto, Japan : September 18 - 20, 2009) ในหัวข้อเรื่อง ค�ำบอกปฏิเสธ ในภาษาไทยมาตรฐานเปรียบเทียบกับภาษาพื้นเมืองในภาคเหนือ ของไทย (Negative Markers in Dialects of Northern Thai)


ยิ่งถ้าเราเป็นนักวิชาการแล้ว เราก็ย่ิงต้องรักที่จะเรียนหนังสือมากกว่าคนปกติ ต้องแบ่งเวลา แต่จะพู ดว่าแบ่งเวลามันไม่มีเส้นชั ดเจนอย่างนี้ เหมือนเวลาเราก�ำลังอินเลิฟกับคนนี้ เราคิดถึงคนนี้ตลอดเวลา เราไม่เคยแบ่งเวลาว่าตอนนี้เป็นเวลางานยังไม่คิด เลิกงานค่อยคิด เพราะความจริงเราคิดถึงตลอดเวลา นอกจากนี้ ยั ง มี ห นั ง สื อ จากงานวิ จั ย ‘ไวยกรณ์ ภ าษาถิ่ น เหนือ’ อันเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชุดเกี่ยวกับไวยกรณ์ภาษาไทย ในแต่ละถิ่น ซึ่งได้รับทุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย รศ.ดร.สรบุศย์ได้รับมอบหมายให้ท�ำงานวิจัยภาษา ถิ่นเหนือ เมื่อส่งงานหัวหน้าโครงการ ก็ได้รับการผลักดันให้ตีพิมพ์ เป็ น หนั ง สื อ เพื่ อ เผยแพร่ ไ ปสู ่ ส าธารณะ ทั้ ง ยั ง มี ง านวิ จั ย ด้ า น ภาษาศาสตร์ อี ก หลายหัว ข้อ เช่น นามวลีที่มีส่ว นขยายคุณ านุประโยคกับคุณลักษณะความแจ่มชัดในภาษาสื่อ ภาษากฎหมาย ภาษาวิชาการ และภาษาการเมือง, จากสิบสองปันนาสู่ประเทศไทย : พั ฒ นาการการตั้ ง ชื่ อ และนามสกุ ล ของชาวไทลื้ อ ในอ�ำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นต้น รศ.ดร.สรบุศย์ ให้สัมภาษณ์แก่ ‘รอบรั้ว มฟล.’ ถึงความ สนใจในการท�ำงานวิ จั ย ว่ า มี ส ่ ว นเปิ ด โลกทั ศ น์ ใ ห้ ก ว้ า งและยิ่ ง ลึกซึ้งมากขึ้น โดยยกตัวอย่างถึงเรื่องที่ใกล้ตัว อย่างเรื่อง ‘ค�ำนาม’ ที่หลายคนทราบดีว่าใช้อ้างถึง คน สัตว์ สิ่งของ แต่เมื่อศึกษาใน เชิ ง โครงสร้ า งว่ า ค�ำนามปรากฏในต�ำแหน่ ง ใดบ้ า ง เช่ น ปรากฏ ในต�ำแหน่งประธานอยู่หน้ากริยา ซึ่งก็ท�ำให้ความหมายเดิมของ ค�ำนามไม่สามารถครอบคลุมค�ำนามทั้งหมดที่แท้จริงได้ งานวิ จั ย บางเรื่ อ งท�ำให้ รู ้ จั ก พื้ น ที่ นั้ น ๆ ลึ ก ซึ้ ง มากยิ่ ง ขึ้ น เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับชื่อหมู่บ้าน ที่แม้จะมีคนเคยวิจัยมาแล้วบ้าง แต่เนื่องจากพื้นที่ในเชียงแสนเป็นเมืองเก่า มีพัฒนาการมาตลอด ท�ำให้พบชื่อหมู่บ้านส่วนใหญ่ตั้งขึ้นตามแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยเฉพาะเรื่องธรรมชาติและภูมิประเทศ อย่างชื่อแม่น�้ำ หรือชื่อพรรณไม้ และพบสิ่งที่น่าสนใจในการตั้งชื่อหมู่บ้านที่เกิดขึ้น ใหม่ นอกจากเพิ่ ม ค�ำบอกทิ ศ ทางว่ า เหนื อ หรื อ ใต้ ไ ปแล้ ว ยั ง มี บางแห่งเพิ่มค�ำในเชิงปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานอะไรบางอย่าง เช่น ค�ำว่า ‘สามัคคี’ และงานวิจัยต่างๆ แม้จะเป็นงานด้านภาษาศาสตร์ แต่ ความรู ้ ที่ พ บมี ผ ลเปิ ด เผยให้ เ ห็ น ถึ ง ความไม่ เ ท่ า เที ย มในสั ง คม อย่างงานวิจัยเกี่ยวกับการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเลือกพื้นที่ ในอ�ำเภอเชี ย งแสนอี ก เช่ น กั น เนื่ อ งจากเป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ค วาม หลากหลายทางชาติ พั น ธุ ์ ม าก เมื่ อ เข้ า ไปศึ ก ษาการตั้ ง ชื่ อ ท�ำให้ รั บ รู ้ ถึ ง ความคิ ด ความรู ้ สึ ก ของคนที่ เ ป็ น ชาติ พั น ธุ ์ ที่ เข้ า มาอยู ่ ใ น ประเทศไทย ที่แสดงออกมาให้เห็นชัดมากกับการใช้ชื่อโดยเฉพาะ บางคนที่ เขารู ้ สึ ก ว่ า เขาเป็ น คนกลุ ่ ม น้ อ ยจริ ง ๆ หมายความว่ า ในหมู ่ บ ้ า นนั้ น คนส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนไทย เป็ น คนพื้ น ราบ แต่ คนกลุ ่ ม นี้ เ ป็ น คนกลุ ่ ม น้ อ ย ไม่ ว ่ า พม่ า หรื อ ไทยใหญ่ เขามั ก จะ เปลี่ ย นชื่ อ เป็ น คนไทยหมดเลย ไม่ เ หลื อ เค้ า ดั้ ง เดิ ม โดยเฉพาะ คนรุ่นหลังอายุ 20 - 30 ปี

รศ.ดร.สรบุ ศ ย์ เล่ า ว่ า การเปลี่ ย นชื่ อ ให้ เ หมื อ นคนไทย ของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติของเขาที่เห็นว่าหาก ไม่เปลี่ยนชื่อเป็นคนไทย พวกเขาจะไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร ต่างๆ ได้เลย เพราะทันทีที่คนรู้ว่าเขาไม่ใช่คนไทยจะถูกปฏิบัติ อีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาลหรือสถานที่ราชการต่างๆ รวมไปถึ ง โอกาสในการเข้ า รั บ การศึ ก ษา เหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น ปั จ จั ย ผลักดันให้เขาทิ้งอัตลักษณ์ของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ได้พบกับ คนกลุ่มน้อยที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ และยังคงตัวอัตลักษณ์ของตัวเอง ไว้ อย่างหมู่บ้านม้งธารทองที่เชียงแสน เป็นหมู่บ้านม้งขนาดใหญ่ มีม้งอาศัยอยู่ราว 1,000 คน และเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เข้าไปท�ำโครงการส่งเสริมด้านการเกษตร ท�ำให้คนในหมู่บ้านมี งานท�ำอยู ่ ใ นพื้ น ที่ พวกเขาจึ ง ไม่ เ ห็ น ความส�ำคั ญ ของการมี ชื่ อ เป็นคนไทย และยิ่งภูมิใจในความเป็นม้ง ทั้ ง นี้ ง านวิ จั ย ต่ า งๆ ได้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า งานภาษาศาสตร์ มีความท้าทายในตัวเอง หลายคนอาจจะคิดว่าภาษาศาสตร์เป็น เหมือนอาจารย์แก่ๆ สักคนมาอธิบายความหมายของภาษาไทย ค�ำต่ า งๆ เท่ า นั้ น แต่ ค วามจริ ง ภาษายั ง โยงใยกั บ บริ บ ทต่ า งๆ เพื่อสะท้อนความคิดความเชื่อของผู้คนในสังคมได้เป็นอย่างดี และส�ำหรั บ งานความภาคภู มิ ใจ รศ.ดร.สรบุ ศ ย์ บ อกว่ า คือการท�ำงานสอน งานวิจัย และงานบริหารไปพร้อมกัน ซึ่งแต่ละ งานก็เป็นงานให้ประโยชน์กับคนได้เหมือนกัน และเราสามารถ จะแบ่ ง เวลาท�ำไปพร้ อ มกั น ได้ รวมถึ ง ครอบครั ว ที่ ต ้ อ งดู แ ลไป พร้อมกันด้วย รอบรั้ว มฟล. ถามถึงการบริหารจัดการเวลาให้ภารกิจต่างๆ เป็นไปด้วยดี รศ.ดร.สรบุศย์ให้ค�ำตอบว่า “ถ้าเราให้ความส�ำคัญ ต้องท�ำให้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตเรา ผมไม่ได้บอกว่าให้ท�ำงานแบบบ้างานท�ำแต่งาน อย่างการท�ำการวิจัยอย่าไปคิดว่ามันคืองาน (เน้นเสียงหนัก) ให้ รู้สึกว่ามันคืองานอดิเรกอย่างหนึ่ง เหมือนปลูกต้นไม้หรือออก ก�ำลังกาย ไม่ว่าเราจะท�ำกิจกรรมอะไรก็ต้องศึกษาอยู่แล้วว่าจะ ท�ำอย่างไร แบบไหน เพื่ออะไร งานวิจัยเล็กๆ แบบนี้เกิดขึ้น บ่อยๆ ในชีวิตประจ�ำวันอยู่แล้ว และยิ่งถ้าเราเป็นนักวิชาการ แล้ ว เราก็ ยิ่ ง ต้ อ งรั ก ที่ จ ะเรี ย นหนั ง สื อ มากกว่ า คนปกติ เพื่ อ พัฒนาตัวเอง ต้องเข้าใจบทบาทว่าตัวเองเป็นอะไร ต้องแบ่ง เวลา แต่จะพูดว่าแบ่งเวลามันไม่มีเส้นชัดเจนอย่างนี้ เหมือน เวลาเราก�ำลังอินเลิฟกับคนนี้ เราคิดถึงคนนี้ตลอดเวลา เราไม่ เคยแบ่งเวลาว่าตอนนี้เป็นเวลางานยังไม่คิด เลิกงานค่อยคิด เพราะความจริงเราคิดถึงตลอดเวลา”

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

9


10

มฟล. นานาชาติ

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก ประจําประเทศไทย เยือน มฟล. คุยความร่วมมือ แพทย์-ทันตแพทย์

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2557 รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี ได้ ให้การต้อนรับ H.E.Vítězslav Grepl เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ เช็กประจําประเทศไทย พร้อมด้วย Madam Renata Greplová ภริยา และพลตํารวจเอก ดร.ประสาน วงศ์ใหญ่ กงสุลกิตติมศักดิ์ สาธารณรั ฐ เช็ ก ที่ ไ ด้ ม าเยื อ น มฟล. เพื่ อ หารื อ ความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการ ระหว่ า งมหาวิ ท ยาลั ย ฯ กั บ สถาบั น การศึ ก ษาใน สาธารณรัฐเช็ก ทั้ ง นี้ สาธารณรั ฐ เช็ ก และ มฟล. มี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ กล้ ชิ ด กันเป็นเวลานาน ได้มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง Mendel University in Brno กั บ สํ า นั ก วิ ช าอุ ต สาหกรรมเกษตร สํ า นั ก วิชาวิทยาศาสตร์ และ University of South Bohemia กับสํานัก วิ ช าพยาบาลศาสตร์ สํ า นั ก วิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ โดยมี กิจกรรมเกิดขึ้นร่วมกันมากมาย อาทิ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และบุ ค ลากร การแลกเปลี่ ย นงานวิ จั ย และการเดิ น ทางเยื อ น ระหว่างกัน สําหรับในการหารือครั้งนี้ ท่านเอกอัครราชทูตฯ และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีความเห็นร่วมกันในการขยายขอบข่าย ความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้านแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งสาธารณรัฐเช็ก มีมหาวิทยาลัยชั้นนําทางด้านนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการร่วมมือ กันในอนาคตต่อไป

มฟล. ให้การต้อนรับ กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจ�ำเชี ยงใหม่

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มฟล. ให้การ ต้อนรับ นายเฉา เสี่ยวเหลียง (Mr.Chao Xiaoliang) กงสุลใหญ่ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำเชียงใหม่ พร้อมคณะจ�ำนวน 7 คน การเยือนในครั้งนี้เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์อันดีระหว่าง มฟล. กับ สาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อเป็นการหารือความร่วมมือ ทางวิชาการในอนาคต นอกจากนี้ นายเฉา เสี่ยวเหลียง พร้อมคณะ ยั ง ได้ เข้ า เยี่ ย มชมการด�ำเนิ น งานของโรงพยาบาลมหาวิ ท ยาลั ย แม่ฟ้าหลวง แผนกแพทย์แผนจีน, ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน สิรินธร และสถาบันขงจื่ออีกด้วย

มฟล. ร่วมนิทรรศการการศึกษา ณ เมืองย่างกุ้ง เมียนมาร์

อธิการบดี University of Northern Philippines เยือน มฟล. สนใจหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.ร่มเย็น โกไศยกานนท์ รองอธิการบดี มฟล. พร้อมด้วย ผู้บริหารได้ร่วมต้อนรับ Dr.Gilbert R. Arce อธิการบดีและคณะ จาก University of Northern Philippines (UNP) ที่เดินทางมาเยือน มฟล. ด้วยมีความสนใจหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้เยี่ยมชมสถาบันขงจื่อและศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน สิรินธร สถานที่สําคัญแห่งหนึ่งของ มฟล.

เมื่อวันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2557 ดร.พรรณรวี พรหมนารท ผู ้ ช ่ ว ยอธิ ก ารบดี พร้ อ มคณะ ได้ เข้ า ร่ ว มนิ ท รรศการ The 2 nd Education & Career ณ เมืองย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ และเปิดเผยว่า มีนักเรียน - นักศึกษาเมียนมาร์ให้ความ สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลหลักสูตรของ มฟล.อย่างมาก ด้วยที่ตั้ง ของ มฟล.อยู่ในจังหวัดเชียงราย ติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ และสปป. ลาว อีกทั้งค่าใช้จ่ายแต่ละหลักสูตรไม่สูง มากนัก จึงทําให้ในแต่ละปี มฟล.มีนักศึกษาจากเมียนมาร์เข้าเรียน กว่ า 200 คน ซึ่ ง ถื อ ว่ า มี จํ า นวนมากที่ สุ ด ของจํ า นวนนั ก ศึ ก ษา ต่างชาติกว่า 400 คน จาก 23 ประเทศ พร้อมกันนั้น คณะจาก มฟล. ยังได้เข้าพบ U Aung Ko Ko ผูอ้ าํ นวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองย่างกุ้ง (Basic Education High School No.1 Dagon) เพื่อรับฟังการบรรยายระบบศึกษาของเมียนมาร์ และ เยี่ยมชมการเรียนการสอนแต่ละชั้นเรียนอีกด้วย


Green MFU ก้าวย่าง อย่าง ‘มหาวิทยาลัยสีเขียว’ มฟล. รณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก แจกถุงผ้าให้ นศ. ใช้ตลอด 4 ปี

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการบดี มฟล. เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ให้นักศึกษาลดการใช้ถุงพลาสติก โดยแจกถุงผ้าให้นักศึกษาใหม่ได้เก็บไว้ใช้แทนถุงพลาสติกตลอด 4 ปี ที่เรียน อยู่ที่ มฟล. เพื่อสร้างวัฒนธรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ กับนักศึกษา และเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้สมกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยสถาบันการศึกษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (NREM) สําหรับถุงผ้าดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อพับเก็บได้ เป็นอย่างดี น�้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกในการพกติดกระเป๋า สําหรับใช้แทน ถุงหิวพลาสติกทั่วไป ทั้งนี้ภายในงานยังได้มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ ในการลดการใช้ถุงพลาสติก พร้อมกันนั้นก็ได้ให้ข้อมูลแก่นักศึกษาเกี่ยวกับ การลดอาหารเหลือทิ้งของนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นักศึกษาสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง และเริ่มได้ทันที ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว มฟล.ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) ซึ่งจัดขึ้นให้กับนักศึกษาใหม่ ปี 2557 นี้ ก่อนจะขยายผลไปยังนักศึกษาและบุคลากรทั่วทั้งมหาวิทยาลัยต่อไป ด้าน นางสาวชุติมณน์ บุดดี นักศึกษาปีที่ 3 สํานักวิชาศิลปศาสตร์ หนึ่งในผู้แทนนักศึกษาในการรณรงค์การลดการใช้ถุงพลาสติกในครั้งนี้ เธอ บอกว่า การลดใช้พลาสติกมีส่วนช่วยลดโลกร้อนหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ เป็นข้อมูลที่หลายคนทราบกันเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หรือหากต้องการกําจัดด้วยการนําไปเผา ก็จะทําให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทําให้เกิดมลภาวะทําให้โลกร้อน แต่เราก็ยังคงใช้หรือเพิ่มปริมาณขยะจากถุงพลาสติกกันอยู่ด้วยความเคยชิน จึงอยากจะเชิญชวนเพื่อนๆ หรือน้องนักศึกษา ‘เปลี่ยน’ มาใช้ถุงผ้าแทนการ รับถุงหิ้วพลาสติกจากร้านค้าต่างๆ เพราะนอกจากจะน�้ำหนักเบา พกพาง่าย แล้ว ก็ยังรับน�้ำหนักได้ดีกว่าถุงพลาสติก เพื่อร่วมเป็นคนหนึ่งที่จะ ‘เปลี่ยน’ โลก จากการเปลี่ยนตัวเอง

NREM ลงพื้นที่ติดตามผลโครงการปุ๋ ยไส้เดือน

สถาบั น การศึ ก ษาและจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม (NREM) มฟล. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ฟาร์มตัวอย่าง ในตําบลเมืองชุม อําเภอ เวียงชัย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา เพื่อติดตาม การดําเนินงานของโครงการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน โดยเจ้าของฟาร์มไก่ไข่ ธรรมชาติ ฮิลล์ไทรบ์ ออร์แกนิคส์ ได้เข้าร่วมอบรมกับโครงการฯ และได้ทดลอง นําไปใช้แต่ก็ยังไม่ได้ผลเต็มที่ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เข้าไปช่วยตรวจสอบชี้จุด ปัญหา และแนะแนวทางการแก้ไขในพื้นที่ปฏิบัติงานจริง รวมถึงการขยายผล ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ซึง่ การลงพืน้ ทีค่ รัง้ นีถ้ อื เป็นการบริการวิชาการสูช่ มุ ชนของมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ครบวงจร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ประชาชนได้ บ ริ โ ภคสิ น ค้ า ที่ ป ลอดภั ย และพั ฒ นานวั ต กรรมทางการเกษตร ที่ยั่งยืน สําหรับผู้ที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5391-6850 จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

11


12

Inside MFU

เรียนรู ้เพื่อก้าวไกล

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 ส่วนประชาสัมพันธ์ มฟล. ได้ เดินทางไปพบเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์และผู้สื่อข่าวภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเข้าศึกษาดูงานด้านการประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์กองกลาง มหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ (มช.) โดยมี รศ.ธีร ภัท ร วรรณฤมล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ า ยสื่ อ สารองค์ ก รและนั ก ศึ ก ษาเก่ า สั ม พั น ธ์ , ม.ล.กั ต ติ ก า ละอองศรี หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ และทีมงาน ให้การต้อนรับ อย่ า งอบอุ ่ น พร้ อ มทั้ ง แลกเปลี่ ย นความรู ้ ใ นการท�ำงานด้ ว ย ความจริงใจ ท�ำให้กิจกรรมการศึกษาดูงานดังกล่าวเกิดประโยชน์ อย่างมากต่องานประชาสัมพันธ์ มฟล.

ชาว มฟล. รดน�้ำด�ำหัวอธิการบดี ในเทศกาล ‘ปี๋ ใหม่เมือง’

เทศกาลสงกรานต์ หรือปี๋ใหม่เมือง ปี 2557 ชาว มฟล. มีกิจกรรมพิธีสรงน�้ำพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ พิ ธี ส รงน�้ ำ สงกรานต์ พ ระราชานุ ส าวรี ย ์ ส มเด็ จ พระศรี น คริ น ทรา บรมราชชนนี และพิธรี ดน�ำ้ ด�ำหัวอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และผู้แทน จากชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยเข้าร่วมงานนี้ด้วย

มฟล. จัดค่ายกีฬาเยาวชนฤดูร้อน ‘สนุก ได้ความรู ้ ส่งเสริมพัฒนาการ’

สํานักวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มฟล. จัดค่ายกีฬ าพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อน “MFU Summer Sport Camp” ระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2557 เปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับชั้นประถมศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมทักษะทางด้านกีฬา ประเภทต่างๆ เช่น ฟุตบอล ว่ายน�้ำ มวยไทย แบดมินตัน และยัง มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ความรู้เบื้องต้นภาษาจีน ภาษาอังกฤษ การปฐมพยาบาล การแยกขยะ การวาดรูป ศึกษาสวนสมุนไพร เป็นต้น โดย รศ.ดร.รัชนี สรรเสริญ คณบดีสํานักวิชาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ กล่าวว่า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของ เยาวชน ทั้ ง ด้ า นสุ ข ภาพ ความมี น�้ ำ ใจนั ก กี ฬ า พั ฒ นาความคิ ด ศิ ล ปะ สิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง ยั ง ได้ แ สดงศั ก ยภาพของบุ ค ลากรและ นักศึกษาในสํานักวิชาอีกด้วย

สน.การจัดการ มฟล. จัดอบรมการจัดซื้ ออย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ประกอบการในเชี ยงราย

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557 ส�ำนักวิชาการจัดการ มฟล. จั ด อบรมด้ า นการจั ด การจั ด ซื้ อ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพแก่ ผู ้ ประกอบการในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อรองรับ การเปิ ด ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น โดยมุ ่ ง เน้ น การพั ฒ นา ความรู้ความเข้าใจด้านระบบโลจิสติกส์ เพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้กับ การด�ำเนินงานและพัฒนาธุรกิจขององค์กรตน ซึ่งได้รับความสนใจ เป็นอย่างมาก

อธิการบดีพบพนักงาน ประจ�ำปี 2557 ย�้ำ มฟล. มหาวิทยาลัยที่ดีท่ีสุด ในแบบของตัวเอง

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 ณ หอประชุมสมเด็จย่า (C4) รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มฟล. ได้พบปะกับพนักงานทุกคน เพื่อบอกเล่าความก้าวหน้าในแต่ละปี และชี้แจงเรื่องราวต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน


13

รศ.ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์ สถาบันการศึกษา และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (NREM) มฟล.

มฟล. คึกครื้น ต้อนรับนักศึกษาใหม่เข้าหอพัก เรียนภาษาอังกฤษสูตรเร่งรัดก่อนเปิ ดเทอม

เมื่อวันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2557 มฟล. เปิดต้อนรับ นักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 เข้าหอพัก ส�ำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียน เรียนภาษาอังกฤษหลักสูตรเร่งรัด (Intensive English) เพื่อเตรียม ความพร้ อ มก่ อ นเปิ ด ภาคเรี ย นจริ ง ในเดื อ นสิ ง หาคมนี้ ซึ่ ง จะ ท�ำการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยมีนักศึกษา และผู ้ ป กครองเดิ น ทางมาส่ ง จากทั่ ว ประเทศ สร้ า งสี สั น และ ความคึกครื้นให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก

UBI มฟล. จัดอบรมสมุ ดท�ำมือ - จัดดอกไม้ หวังต่อยอดธุ รกิจส่วนตัว

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) มฟล. ร่วมกับ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัด อบรมหลั ก สู ต รการท�ำธุ ร กิ จ การพั ฒ นาของที่ ร ะลึ ก จากวั ต ถุ ดิ บ กระดาษ (สมุดท�ำมือ) และการจัดดอกไม้ มุ่งหวังให้ผู้ผ่านการอบรม สามารถน�ำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ และสามารถต่อยอด ไปสร้างธุรกิจของตนเอง โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมคือ บุคลากรและ นักศึกษาจาก มฟล. รวมทั้งผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป

มฟล. จัดประชุ มนานาชาติด้านภูมิสารสนเทศ เปิ ดเวทีนักวิจัยรุ ่นใหม่แสดงผลงาน

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดย สถาบันการศึกษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่ ว มกั บ ส�ำนั ก งานพั ฒ นาเทคโนโลยี อ วกาศและภู มิ ส ารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA, สมาคมส�ำรวจข้อมูลระยะไกล และสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ แ ห่ ง ประเทศไทย สมาคมภู มิ ศ าสตร์ แห่งประเทศไทย และพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงาน ประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านภูมิสารสนเทศ ส�ำหรับนักศึกษา บัณฑิตศึกษาและนักวิจัยรุ่นใหม่ ครั้งที่ 1 (The 1st International Conference on Geo-informatics for Graduate Students and Young Researchers 2014) หรือ GI-GRAD 2014 โดยมี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการบดีเป็นประธานเปิดงาน การประชุมดังกล่าว มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ก่อนเข้าสู่การเปิดเวทีการน�ำเสนอ ผลงานวิจัยของนักศึกษาไทยและต่างชาติ และแลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกัน รวมถึงน�ำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางด้านภูมิสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ โดยเฉพาะในประเด็นที่ มฟล. จะก่อตั้ง ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติ การประชุมครั้งนี้มีนักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากหลากหลายมหาวิทยาลัยเข้าร่วม รวมถึง ชนิตนาฏ มหากันธา และจิตติน ไชยตะมาตย์ สองนักศึกษาปริญญาโท Remote sensing and GIS จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ที่น�ำผลงาน วิ จั ย เข้ า ร่ ว มน�ำเสนอในการประชุ ม ครั้ ง นี้ ด ้ ว ย โดยผลงานของ ชนิตนาฏ เป็นการใช้สมาร์ทโฟนเก็บข้อมูลเสียง เพื่อจัดท�ำเป็น แผนที่ noise pollution ส่วนของ จิตติน เสนอผลงานแอพลิเคชั่น แสดงจุดท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ และนอกจากการได้น�ำเสนอ ผลงานวิจัยของตนเองแล้ว ทั้งคู่ยังเห็นว่าการได้ร่วมงานประชุม นานาชาติ ค รั้ ง นี้ ไ ด้ เ ปิ ด โลกทั ศ น์ ข องตั ว เองจากการได้ พ บปะกั บ คนในแวดวงวิชาการที่ตนสนใจ ท�ำให้นักวิจัยรุ่นใหม่อย่างตนได้ เห็นว่าทฤษฎีต่างๆที่เรียนมานั้น สามารถประยุกต์ไปใช้ท�ำอะไร ได้บ้างจากงานวิจัยของแต่ละคนที่ร่วมงานครั้งนี้

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557


14 ศูนย์จีนฯ มฟล. จัดเทศกาลบ๊ะจ่าง สืบสานวัฒนธรรมแดนมังกร

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน สิรินธร สถาบันขงจื่อแห่ง มฟล. จัดงาน “เทศกาลบ๊ะจ่าง” สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรมจีน ในงานนี้มีการแจกบ๊ะจ่างให้ผู้ที่มาร่วมได้ ลิ้ ม รส และมี ก ารแสดงวั ฒ นธรรมจี น จากคณาจารย์ อ าสาสมั ค ร ชาวจีน รวมทั้งเหล่านักศึกษาจากส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์

มฟล. จัดอบรมลิขสิทธิ์ในสถานศึกษา

ศูนย์บริการวิชาการ มฟล. จัดการอบรมเรื่อง “เทคนิคการ เขียนค�ำขอรับสิทธิบัตรสาขาต่างๆ” และ “ลิขสิทธิ์ในสถานศึกษา” โดยได้รบั เกียรติจากคุณจิราภรณ์ เหลืองไพรินทร์ ผูจ้ ดั การส�ำนักงาน บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IPMO) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรในครั้งนี้ โดยมีบุคลากร และบุคคลภายนอก สนใจ เข้าร่วมจ�ำนวนมาก

ส่วนประชาสัมพันธ์ มฟล. จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ การสื่อสารภายในองค์กรแก่บุคลากร มฟล.

นศ.พยาบาล มฟล. เข้าพิธีรับมอบหมวก ดวงประทีป และเข็มชั้ นปี ปฏิญาณตนตามรอยสมเด็จย่า

สํ า นั ก วิ ช าพยาบาลศาสตร์ มฟล. จั ด พิ ธี ม อบหมวก ดวงประทีป และเข็มชั้นปี ให้กับนักศึกษาพยาบาล ที่ก้าวขึ้นสู่ชั้นปี ที่ 3 โดยมี คณบดี คณาจารย์ และนักศึก ษาสํานักวิชาพยาบาล ศาสตร์ เข้าร่วมพิธี พร้อมทั้งญาติพี่น้องที่มาร่วมแสดงความยินดี ณ หอประชุมสมเด็จย่า (C4) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557 โดย รศ.สุปราณี อัทธเสรี คณบดีสํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ ได้กล่าวปาฐกถาว่า ขอแสดงความยินดีชื่นชมกับเหล่านักศึกษาพยาบาลที่ได้ใช้ความ เพียรพยายาม กว่าจะได้ก้าวขึ้นสู่ชั้นปีที่ 3 ต่อไปคือการฝึกปฏิบัติ ในโรงพยาบาลจริง ขอให้ใช้องค์ความรู้ที่ร�่ำเรียนมานําไปบูรณาการ และขอให้ ต ระหนั ก ว่ า เข็ ม ที่ ป ระดั บ หมวกที่ ส วม ชุ ด ที่ ใ ส่ เป็ น เครื่องหมายย�้ำเตือนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะมีมากขึ้น เปรียบเป็นดวงประทีปให้กับผู้ป่วย สืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ให้ ส มกั บ ที่ ไ ด้ ม าศึ ก ษา ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อันเป็นพระนามของพระองค์

ส่วนประชาสัมพันธ์ มฟล. จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ การสื่ อ สารภายในองค์ ก รให้ กั บ บุ ค ลากรทุ ก หน่ ว ยงานภายใน มหาวิทยาลัย โดยโครงการแรกคือ “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์” นอกจากนั้นยังมีโครงการต่อเนื่อง คื อ “การฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการถ่ า ยภาพเพื่ อ การประชาสัมพันธ์” โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านดังกล่าวมาให้การบรรยาย ซึ่งบุคลากร มฟล. ต่างให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมทั้งสองโครงการ และสามารถน�ำความรู ้ ค วามเข้ า ใจที่ ไ ด้ รั บ ไปประยุ ก ต์ ใช้ อ ย่ า ง เหมาะสมกับหน่วยงาน

มฟล. จัดอบรมวินัยจราจร ร่วมกับกรีนวิง และ เอ.พี.ฮอนด้า

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 ผศ. น.อ. ดร.ธงชัย อยู่ญาติวงศ์ รองอธิการบดี มฟล. ได้เป็นประธานเปิดโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจวินัยจราจร” ซึ่งจัดร่วมกับบริษัท กรีนวิง มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด และ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จ�ำกัด โดยมีเจ้าหน้าที่ พนักงาน และนักศึกษา เข้าร่วมอบรมให้ความรู้และหลักการขับขี่ปลอดภัยทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ จ�ำนวนกว่า 300 คน ณ อาคารพลต�ำรวจเอกเภา สารสิน (C5)


มาเยี่ยม มาเยือน

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 นางสาวกัญหา หยุ่นตระกูล หั ว หน้ า ส่ ว นการเจ้ า หน้ า ที่ มฟล. ให้ ก ารต้ อ นรั บ อาจารย์ประพันธ์ อภิวงค์ ประธานคณะกรรมการ สโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น พร้อม คณะ เข้ า ศึ ก ษาดู ง านด้ า นการพั ฒ นาบุ ค ลากรของ มฟล.

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 อาจารย์ ดร.ฉัตรฤดี จองสุ ริ ย ภาส คณบดี ส�ำนั ก วิ ช าการจั ด การ ให้ ก าร ต้ อ นรั บ ผศ.ศรี สุ นั น ท์ ประเสริ ฐ สั ง ข์ ประธาน กรรมการหลั ก สู ต รบริ ห ารธุ ร กิ จ มหาบั ณ ฑิ ต พร้ อ ม คณะเข้ า ศึ ก ษาดู ง าน การจั ด การเรี ย นการสอน หลั ก สู ต รบริ ห ารธุ ร กิ จ มหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช า บริหารธุรกิจ

ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 อาจารย์ ดร.พนม วิญญายอง รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ พลต�ำรวจ ตรี ติ ณ ภั ท ร ภุ ม ริ น ทร์ รองผู ้ บั ญ ชาการส�ำนั ก งาน งบประมาณและการเงิน ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ พร้ อ มคณะ เข้ า ศึ ก ษาดู ง านการบริ ห ารด้ า นระบบ สารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่ฟ ้าหลวง บรรยาย โดย อาจารย์ น ชา ชลด�ำรงกุ ล ผู ้ อ�ำนวยการศู น ย์ บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสงขลา

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 ผศ.ดร.อัครา อัครนิธิ คณบดีส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ให้การต้อนรับ คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต สงขลา ศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร วิชาภาษาจีน

มหาวิทยาลัยเอเชี ยอาคเนย์

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ นายฉัททวุฒิ พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ พร้อมคณะ ผู้บริหาร เข้าศึกษาดูงานการบริหารงานในภาพรวม ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

15


16

บทความพิเศษ

มฟล. ไม่พบความเสียหายหลังแผ่นดินไหว ออกให้ความช่ วยเหลือชุ มชน พร้อมจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังฯ

ผู้บริหาร มฟล. มอบน�้ำดื่มลานดาว . 57 ให้สมาคมศิริกรณ์ฯ เมื่อวันที่ 8 พ.ค

กลุ่มนักศึกษาลงพื้นที่ส�ำรวจความเสียหาย พร้อมมอ

ผู้บริหาร มฟล. พร้อมกลุ่มกลีบล�ำดวนมอบสิ่งก่อสร้าง

บสิ่งของให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ความลึก 7 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณต�ำบลทรายขาว อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 เวลา 18.08 น. ส่งผลให้ พื้นที่ภาคเหนือรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ในหลายจังหวัดนั้น ใน ส่ ว นของ มฟล. ได้ รั บ แรงสั่ น สะเทื อ นเป็ น ระยะ เช่ น เดี ย วกั บ พื้นที่อื่นโดยทั่วไปในเชียงราย รวมถึง อาฟเตอร์ช็อค (After shock) ที่ ติ ด ตามมาเป็ น ระยะ ซึ่ ง จากการส�ำรวจอาคารสถานที่ ใ น มหาวิทยาลัยฯ พบว่าไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากผนังบางจุด ที่มีรอยร้าวบ้างเล็กน้อย และขอยืนยันว่าโครงสร้างและการก่อสร้าง มี ค วามมั่ น คงแข็ ง แรงเนื่ อ งจากได้ อ อกแบบเพื่ อ รองรั บ อุ บั ติ ภั ย และแผ่นดินไหวมาเป็นอย่างดี และได้มีการจัดท�ำคู่มือการรับมือ แผ่นดินไหวแจกจ่ายให้แก่นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว จัดซักซ้อม เหตุไฟไหม้ แผ่นดินไหว ให้แก่นักศึกษาเป็นประจ�ำ นอกจากนี้ ภายในหอพักนักศึกษามีระบบเสียงตามสายที่จะกระจายข่าวสาร ให้แก่นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง ด้ า นการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ชุ ม ชนและประชาชน ในจังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะในเขตพื้นที่อ�ำเภอแม่ลาว จังหวัด เชียงราย มฟล. ได้จัดส่งน�้ำดื่ม “ลานดาว” จ�ำนวน 100 แพ็ค ให้แก่ สมาคมศิริกรณ์เชียงรายบรรเทาสาธารณภัยเพื่อน�ำไปสมทบช่วย ผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวในเบื้องต้น นอกจากนี้ในภาคส่วนของมหาวิทยาลัยฯ โดยกลุ่ม “กลีบ ล�ำดวน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้บริหาร และ พนักงานจิตอาสา ของ มฟล. ได้รวบรวมความช่วยเหลือจากผู้มี

คณะผู้บริหาร มฟล. มอบเงินบริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ให้แก่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภ ูเขา (พชภ.)

จิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคเงินเป็นจ�ำนวน 82,584 บาท โดยน�ำมาเป็น ทุ น ทรั พ ย์ ใ นการจั ด ซื้ อ วั ส ดุ ก ่ อ สร้ า ง ปู น ซี เ มนต์ (540 ถุ ง ) หิ น และทราย และน�ำไปส่งมอบให้กับกลุ่มผู้ประสบภัยในพื้นที่ หมู่ 1 หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 19 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย และ กลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาโดยองค์ ก ารบริ ห าร องค์ ก ารนั ก ศึ ก ษา และสภา นักศึกษา มฟล. ได้ลงพื้นที่เพื่อน�ำสิ่งของไปช่วยเหลือรวมทั้งส�ำรวจ และจัดกิจกรรมฟื้นฟูสภาพจิตใจและได้รับความอนุเคราะห์จาก รพ.เชี ย งรายประชานุ เ คราะห์ รพ.สวนปรุ ง จ.เชี ย งใหม่ และ รพ.ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต�ำบลบ้ า นห้ ว ยส้ า นพลั บ พลา ในการจั ด ที ม แพทย์ พ ยาบาลและเจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข เข้ า ไปให้ บ ริ ก าร ณ หมู่บ้านห้วยส้านพลับพลาอาข่า ต�ำบลโปร่งแพร่ อ�ำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ส�ำหรับการเฝ้าระวังเหตุภัยพิบัติต่างๆ นั้น มฟล. ได้เตรียม จัดตั้ง “ศูนย์เฝ้าระวังภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคภาคเหนือ ตอนบนและอนุภูมิภาคประเทศลุ่มน�้ำโขงตอนบน” ซึ่งโครงการ ดังกล่าวอยู่ในแผนด�ำเนินงานปีงบประมาณ 2558-2562 โดยใช้ งบประมาณในการจัดตั้ง 41 ล้านบาท เพื่อให้ศูนย์ได้เชื่อมโยง ข้อมูลกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมอุตุนิยมวิทยาหรือ ส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติและแจ้งเตือน รวมถึง การจั ด ท�ำปฏิ ทิ น ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า เดื อ นใดมี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด ภัยพิบัติใด ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้พร้อม ส�ำหรับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้วางแผนป้องกันตน ให้ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน


มฟล. เพื่อชุ มชน

มฟล. จุ ดประกายความหวังพัฒนาการศึกษาครัง้ ยิ่งใหญ่ จับมือครู 1,200 คน ทั่วเชี ยงราย ร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษา รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี เปิดเผยว่า มฟล. โดยมูลนิธิ มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวงเพื่ อ การพั ฒ นาครู ช นบท ตระหนั ก ว่ า ความส�ำคัญของการพัฒนาการศึกษาไทยนั้น ปัจจัยส�ำคัญหนึ่งคือ คุ ณ ภาพของครู จึ ง ได้ จั บ มื อ กั บ โรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาทั่ ว จั ง หวั ด เชียงราย จ�ำนวน 46 แห่ง เพื่อร่วมกันพัฒนาครูให้น�ำไปสู่การ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระวิชา โดยได้จัด โครงการอบรมการพั ฒ นาเทคนิ ค การสอนและเนื้ อ หาสาระวิ ช า อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ริ เริ่ ม โครงการพั ฒ นาครู เ มื่ อ ปี 2549 ทั้ ง ยั ง ได้มอบรางวัลให้กับโรงเรียนที่มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดีเด่นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับครูในการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอน ท�ำให้ปีที่ผ่านมา (2556) มีโรงเรียนกว่า 20 แห่งที่มีผล การสอบโอเน็ ต ของนั ก เรี ย นเพิ่ ม สู ง ขึ้ น ได้ รั บ รางวั ล จาก มฟล. ไปกว่า 1.8 ล้านบาท และล่ า สุ ด ในปี นี้ (2557) มฟล. ได้ ส านต่ อ อุ ด มการณ์ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษา โดยจั ด อบรมครั้ ง ใหญ่ รวบรวม ครู ร ะดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาทั่ ว จั ง หวั ด เชี ย งราย จ�ำนวน 1,200 คน จากโรงเรียน 46 แห่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้เนื้อหาตามสาระวิชา ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้ครูมีความรู้ด้านเนื้อหาสาระเพิ่มมากขึ้น น�ำไปสู่การสร้างความมั่นใจในการสอนในชั้นเรียนและได้รับทราบ

ถึงเทคนิคการสอนที่หลากหลายมากขึ้น สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ กับการเรียนการสอนในโรงเรียนได้จริง เพื่อน�ำไปสู่คุณภาพการสอน ระดับมัธยมของโรงเรียนในจังหวัดเชียงรายสูงขึ้นโดยผนึกก�ำลัง คณาจารย์ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ รวมถึ ง ผู ้ เชี่ ย วชาญในแต่ ล ะสาขาวิ ช า เพื่อถ่ายทอดวิชาการเสริมความแข็งแกร่งให้กับโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และโดยเฉพาะขนาดเล็ก เพื่อเติมเต็มคุณภาพของครู น�ำไปสู ่ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษาของนั ก เรี ย นให้ ดี ขึ้ น โดยใช้ ชื่อว่า การอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนและเนื้อหาสาระวิชา จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 28 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2557 ณ มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวง โดยพิ ธี เ ปิ ด จั ด ขึ้ น วั น ที่ 28 เมษายน 2557 ณ หอประชุมสมเด็จย่า (C4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ส�ำหรั บ รู ป แบบกิ จ กรรมที่ มู ล นิ ธิ ฯ ได้ ด�ำเนิ น การมาแล้ ว มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหา เทคนิ ค การสอน การพั ฒ นาและการสร้ า งสื่ อ การสอน เทคนิ ค การคิ ด และวิ เ คราะห์ ข ้ อ สอบ รวมถึ ง วิ เ คราะห์ ผ ลการสอนและ ประเมิน ส่วนรูปแบบกิจกรรมเสริม เช่น การจัดหาสื่อการเรียน การสอนที่ จ�ำเป็ น ให้ กั บ โรงเรี ย น การเป็ น ที่ ป รึ ก ษาทางวิ ช าการ รวมถึงการสนับสนุน เสริมสร้างก�ำลังใจให้กับครูในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย

จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557

17


18

มฟล. ในสื่อ

ไทยรัฐ l พุธ 2 เมษายน 2557 l หน้า 15

ไทยรัฐ l เสาร์ 12 เมษายน 2557 l หน้า 12

สยามรัฐ l พุธ 7 พฤษภาคม 2557 l หน้า 13

ข่าวสด l จันทร์ 7 เมษายน 2557 l หน้า 23 เดลินิวส์ l พุธ 9 เมษายน 2557 l หน้า 26

ข่าวสด l ศุกร์ 30 พฤษภาคม 2557 l หน้า 23

มติชน l เสาร์ 10 พฤษภาคม 2557 l หน้า 12

ข่าวสด อังคาร 17 มิถุนายน 2557 l หน้า 23


19

เดลินิวส์ l จันทร์ 14 เมษายน 2557 l หน้า 22

ข่าวสด l อังคาร 15 เมษายน 2557 l หน้า 23

เดลินิวส์ l อังคาร 13 พฤษภาคม 2557 l หน้า 22

กรุงเทพธุรกิจ อังคาร 13 พฤษภาคม 2557 l หน้า 1 - 2

ข่าวสด l อังคาร 24 มิถุนายน 2557 l หน้า 23

มติชน l จันทร์ 23 มิถุนายน 2557 l หน้า 7 จดหมายข่าวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี ท่ี 3 l ฉบับที่ 10 l เมษายน - มิถุนายน 2557


20 MFU Upcoming Conferences 2014 วัน l เดือน l ปี

กิจกรรม

สถานที่

หน่วยงาน

22 - 23

ประชุ มวิชาการ เรื่อง “การเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซี ยน” Medical Preparedness for AEC

มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

ส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

สถาบันชา

มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

ส�ำนักวิชาอุ ตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์

กันยายน 2557

6-7

พฤศจิกายน 2557

20 - 21

พฤศจิกายน 2557

26 - 29

พฤศจิกายน 2557

Thailand International Conference on Tea 2014 (TITea 2014) http://www.titea2014.mfu.ac.th/ The 2nd International Conference on Agriculture and Agro-Industry (ICAAI2014) http://www.icaai2014.com/ The 26th meeting of the Thai Society for Biotechnology and International Conference 3Bs: Biodiversity, Biotechnology and Bioeconomy (TSB2014) http://tsb2014.mfu.ac.th/

MFU Upcoming Events 2014 วัน l เดือน l ปี

กิจกรรม

สถานที่

กันยายน 2557

6

กิจกรรมวันมหิดล

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงราย โซน วิดีโอวอลล์

24

พิธีวางพวงมาลา วันมหิดล

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พิธีสถาปนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ครบรอบ 16 ปี

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

กันยายน 2557

25

กันยายน 2557

ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์ 0-5391-7034, 0-5391-7037 โทรสาร 0-5391-7049


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.