Museum Academic 15 ตำนานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

Page 1

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตำ�นาน

เมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l1l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

บทนำ�

หนังสือเล่มนีเ้ ป็นหนังสือทีต่ อ่ ยอดจากงานส่วนหนึง่ ในงานปริวรรตเอกสาร ตามโครงการสำ�รวจและอนุรักษ์เอกสารโบราณล้านนาและลุ่มนํ้าโขง ซึ่งเนื้อหา ในหนังสือเล่มนี้ได้จากการที่คณะทำ�งานได้เดินทางไปสำ�รวจข้อมูลทางวัฒนธรรม ทีบ่ า้ นมอง เขตปกครองตนเองชนชาติไท เชียงรุง่ (เมืองสิบสองปันนา) ประเทศจีน และได้พบกับปราชญ์ชาวบ้านที่อ่านเขียนอักษรไทลื้อได้ ซึ่งอักษรดังกล่าวนี้ เป็นอักษรประเภทเดียวกันกับอักษรธรรมล้านนา เอกสารที่ใช้ในการปริวรรต ในครั้งนี้ เป็นเอกสารที่พบที่บ้านมอง หรือบ้านมังราย ซึ่งหมู่บ้านนี้ตั้งชื่อตาม พระนามของพระญามังรายตามคำ�บอกเล่าของบ้านคืออ้ายแสง คำ�อ้าย ที่เล่าว่า บรรพบุรษุ ของตนนัน้ เป็นทหารจากเชียงแสนเมืองของพระญามังรายส่งมาช่วยรบ ร่วมกับทหารจีน เมื่อชนะแล้วผู้นำ�ทัพให้อยู่ที่สิบสองปันนาหรือที่หมู่บ้านแห่งนี้ และตั้งชื่อหมู่บ้านมอง หรือบ้านมังราย1 ซึ่งเนื้อหาและรายละเอียดจะมีให้อ่าน ในหนังสือเล่มนี้เช่นกัน เอกสารที่ใช้ปริวรรตมีสามฉบับ สองฉบับที่เป็นตำ�นานเมืองเชียงรุ่งฉบับ หนึ่งบันทึกด้วยลายมือของท่าน อีกฉบับหนึ่งเป็นแบบตัวพิมพ์แบบสมัยใหม่ ส่วนฉบับที่สามเป็นบันทึกเกี่ยวกับประวัติการก่อตั้งบ้านมังรายนั้นผู้บันทึกได้ใช้ อักษรไทลื้อใหม่ในการบันทึก พับสาทั้งสามฉบับที่พบนั้น ทางทีมงานได้ทำ�การ บันทึกภาพพร้อมทั้งขออนุญาตเจ้าของเพื่อนำ�ไปสู่การปริวรรตและเผยแพร่ ในเนื้อหาทั้งสองฉบับได้เล่าตำ�นานการก่อสร้างเมืองเชียงรุ่ง และตำ�นาน หมูบ่ า้ นต่าง ๆ โดยเนือ้ หาได้กล่าวถึงเมืองลาว พม่า อังวะ และเมืองปักกิง่ ของจีน ในยุคนั้น ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจปรากฏอยู่ แม้ว่าในตำ�นานที่เล่านั้น มีเรื่องอภินิหารปรากฏอยู่บ้างและการผูกเรื่องบางเรื่องก็เกี่ยวข้องกับตำ�นาน พระเจ้าเลียบโลกที่ปรากฏในล้านนาเช่นกัน เรื่องราวที่บันทึกนี้มีลักษณะของ การบันทึกที่ผ่านความทรงจำ�มากกว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แต่กระนั้นก็ยังคง ปรากฏร่องรอยของประวัติศาสตร์อยู่บ้าง เช่น เรื่องการถวายบรรณาการให้กับ 1 ประวัติศาสตร์จากคำ�บอกเล่า ของอ้ายแสง คำ�อ้าย อายุ ๘๗ ปี ให้สัมภาษณ์เมื่อ ๕ เมษายน ๒๕๕๗

l2l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ราชสำ�นักจีน หรือการผัดเปลี่ยนอำ�นาจระหว่างพม่ากับจีนที่มีเหนือเมืองเชียงรุ่ง และเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระญามังราย การสู้รบและการขยายอำ�นาจของรัฐ ยุคก่อน ตำ�นานการสร้างพระธาตุ และประเพณีความเชือ่ เกีย่ วกับการตัง้ ถิน่ ฐาน ของคนไตที่มักอาศัยบนพื้นที่ราบ กับชนชาติอื่นที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เช่น อาข่า มูเซอ เป็นต้น หากเราอ่านเรือ่ งราวทีบ่ นั ทึกไว้นท้ี ง้ั หมด เราย่อมเห็นร่องรอย คติความเชือ่ ของผูค้ นชนชาติไต ทีม่ คี วามผูกพันกันทัง้ ทางชาติพนั ธุ์ คติความเชือ่ ทางศาสนาพุทธที่เข้ามามีอิทธิพลทางความคิดอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากการเล่า ในตำ�นานต่าง ๆ มักจะอ้างถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า อันเป็นต้นเค้า เดียวกันกับตำ�นานพระเจ้าเลียบโลกในล้านนา ความเชื่อมโยงเหล่านี้มักปรากฏ ในเกร็ดที่เล่าในเอกสารชุดนี้แล้ว อย่างไรก็ตามการปริวรรตตำ�นานพื้นเมืองเชียงรุ่งในครั้งนี้ได้ถือเอา เพี ย งแค่ ส องฉบั บ ที่ เ ป็ น ฉบั บ แบบลายมื อ และแบบอั ก ษรตั ว พิ ม พ์ ใช้ ใ นการ เปรียบเทียบหรือตรวจทานเพราะทั้งนี้พบว่าบางครั้งข้อมูลด้านชื่อในเอกสาร ที่เป็นฉบับลายมือกับแบบตัวพิมพ์นั้นไม่ตรงกัน ผู้ปริวรรตจึงถือเอาชื่อหรือ ข้อความที่น่าเชื่อถือและน่าจะเป็นมากกว่าโดยการเทียบเคียงข้อมูลกับข้อมูล ปัจจุบันลงไป เพื่อให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้แยกเนื้อหาออกเป็นสองส่วน คือส่วนแรกเป็น ภาคปริวรรต และส่วนที่สองเป็นภาคสรุปเนื้อหาเพื่อให้ผู้ที่ไม่คุ้นชินกับภาษา ภาคปริวรรตได้อ่านและทำ�ความเข้าใจได้โดยง่ายเร็วขึ้น พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การปริวรรตงาน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มนํ้าโขงฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจใฝ่รู้สืบไป

l3l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

สิ่งพิมพ์วิชาการ ลำ�ดับที่ ๑๕ (Museum Academic ๑๕) ชื่อเรื่อง

จัดทำ�โดย

ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ปริวรรตและสรุปความโดย ชูชาติ ใจแก้ว ISBN

978-616-470-046-8

พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำ�นวน พิมพ์ที่

พ.ศ.๒๕๖๓ ๒๐๐ เล่ม เอราวัณการพิมพ์ ๒๘/๑๐ ถนนสิงหราช ตำ�บลศรีภูมิ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ โทรศัพท์/โทรสาร: ๐๕๓-๒๑๔๔๙๑ อีเมล์: arawanprinting@gmail.com

l4l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สารบรรณ

หน้า ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) ภาคปริวรรต 7 ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) ภาคสรุปความ 47 ประวัติหมู่บ้านมังราย ภาคปริวรรต 78 ประวัติหมู่บ้านมังราย ภาคสรุปความ 81 ภาคผนวก - เอกสารต้นฉบับตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง ฉบับตัวพิมพ์ 83 - เอกสารต้นฉบับตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง ฉบับลายมือ 118 - เอกสารต้นฉบับประวัติหมู่บ้านมังราย ฉบับลายมืออักษรไทลื้อใหม่ 156 - ภาพการลงสำ�รวจพื้นที่หมู่บ้านมังราย 162

l5l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l6l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) ภาคปริวรรต 2

หน้าปก3

หน้าทับ4 ภายเค้ากอบพืน5 เมืองเชียงรุ่งตั้งแต่เจ้าราชโต6 มาตั้งแปงเมืองและ ปฐมหัวทีนั้นแลพืนบ้านพืนเมือง ๑๒ พันนาก็อยู่ซํ้า7 แลปลีเต้าสีสักราชได้ ๑๓๔๗8 ตัว เดือน ๑๐ จำ�เรินขึ้น ๑๓ คํ่าแต้มแล้ว ตัวข้าน้อยนามบัญญัติชื่อว่า อ้ายแสงคำ�9 อายุได้ ๘๑ ปีแลแต้ม10 ไว้หื้อหลานสูเจ้าทั้งหลายกอยอ่านท่องหื้อรู้พืนเมืองพืนบ้าน ๓ ห้วย ๔ หนอง ๕ จอม ๑๒ เชียง ๑๒ ฟ้าก็หื้อรู้ซํ้า

หน้า ๑11

สรีสุขสวัสดี วิธูรัตถัสสะโสฬะพระญาคยา ๑๒ ตน ราชาโน อันว่า พญาหงษ์ ๓ ตัว มี ๓ หงอนตัวหนึ่งก็ลุกมาจากแต่เมืองสางช้อย ชื่อว่าเพ่อจิ่น12 นั้นมาแลตัวหนึ่ง ลุกแต่พันธุมัธทราช ชื่อว่าเมืองแกว13 มาแล ตัวหนึ่ง ก็ลุกแต่เมืองหังสา14 เชียงใหม่มาแล ดังเขาทังสามตัวนั้น ก็มารอด ดงหิมวัน อันมีบวกสระหลวงอันมีในกลางดงนั้น ก็มารอดมีหนึ่งวันเดียวกันแล เพื่อ จักมาเหล้นลอยนํ้าบวกสระหลวง ยามนั้นชุตัวก็มักใคร่อยู่สร้างสระหลวงหิมวัน15 ที่นั้น 2 ปริวรรตและสรุปความโดย นายชูชาติ ใจแก้ว เจ้าหน้าที่บริหาร พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง 3 ปกของพับสาที่นำ�มาปริวรรตฉบับเขียนด้วยลายมือ 4 หน้าทับ-หน้าพับ หรือหน้าปก 5 พืน- ออกเสียงว่าปืน หมายถึง ประวัติศาสตร์ ตำ�นาน นิทานหรือเรื่องเล่า 6 ราชโต-ราชา+ตัว หมายถึงองค์ราชา แต่ผู้บันทึกใช้ไม้โทแทน ซึ่งเป็นการเขียนตามเสียงพูดหรือสำ�เนียงของไทลื้อสิบสองปันนา 7 ซํ้า-ทั้งหมด/ทั้งมวล/ทั้งปวง 8 ตรงกับ พ.ศ.๒๕๒๘ 9 ผู้ให้ข้อมูลตำ�นานเมืองเชียงรุ่งและประวัติหมู่บ้านมังราย ทั้งจากคำ�บอกเล่าด้วยวาจาและเอกสารพับสาที่ใช้ปริวรรต 10 แต้ม-เขียน/บันทึก 11 หมายเลขเอกสารพับสาฉบับพิมพ์สมัยใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรือสืบทานต้นฉบับ 12 เมืองปักกิ่ง 13 เวียดนาม 14 หงสาวดี พม่า 15 หิมวัน-ป่าหิมพาน

l7l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เพื่อใค่ไซร้ดอกแก้วมอนเจียง โพซะไรไกรสอน16 ยามวอนแต่นั้นเขาทังสามตัวก็หาสักขี17 ก็บม่ ไี ว้กบั ป่าหิมวันแท้แล ยามนัน้ พญาหงส์สาทังสาม ก็เจียรจากันว่าดูราหงส์เราทังสาม ก็จุงร้องด้วยปัญญาสมปานแต่เราเทอะ ยามนั้นเขาทังสามก็พร้อมบินขึ้นอากาศแล้วก็ เอาปลายหางคลี่อ้าซม18 กันแล้ว ก็บังลับตาวันที่ในดอยหิมวันก็เป็นอันมืดมัวโทโส19 แท้แล ยามนั้นฝูงแรดช้างและราชสีห์และเสือหมีผีป่าทั้งหลายก็ร้องไห้เพื่อบ่ช่างหันหา เลี้ยงอินทรีย์ชีวิตนั้นแล ยามนั้น อินตา20 เจ้าก็จิ่งปลงกรุณาหื้อวิสุกัมมะเทวบุตรตนหนึ่ง ว่าเจ้าจุ่งลงไป ห้ามทะเสียยังพยาอนทรายอันเกิดมีแต่มนุสสาโลกนั้นเตอะ ยามนั้นวิสุกัมมะเทวบุตร ก็ลงมากลับเพศ21 เป็นราชหงส์สาตัวหนึ่ง ก็บินลงมากลางฟ้าที่นั้นแล้ว ก็กล่าวว่าดูรา หงส์เจ้าทั้งสามเหย สูเจ้ามากระทำ�ฤทธีต่อกันเพื่อเหตุอันใดชา ยามนั้นพญาหงส์ทั้งสาม ก็กล่าวต่อพญาหงส์คำ�ว่าข้าทั้งสามก็จักแข่งฤทธีเพื่อหื้อมีสักขีไว้ในป่าหิมวันตัวใดแลมี สักขีก็จักหื้อผู้นั้นอยู่แก่ดงดีชะแล ยามนัน้ พญาหงส์ตวั กลับเพศจิง่ กล่าวว่าบ่ควรเจ้าทัง้ สามมากระทำ�ร้ายเจ้าทัง้ สาม จุ่งลงไปบัดเดียวนี้เถอะ อันว่าป่าหิมวันที่นั้นก็หากมีสักขีแห่งข้าไว้ ยังหงอนแลขนปีก เป็นมึงหมายไว้แต่อินตาเถอะ ว่าสันนั้นแล้ว ดังพญาหงส์ทั้งสามก็ไคร่หันสักขีแห่งข้าก็ จุ่งลงไปผ่อดูเถอะ ยามนั้นพญาหงส์คำ�ก็หื้อตนกลับเพศหายไปแล้ว ก็เอาตนลงมาเอา ขนและหงอนนั้นคลี่หื้อเป็นเผือ22 ไม้ เอาหงอนอันมีรัศมีคลี่หื้อเป็นดอกแดงงามแล้วก็ เผยตากไว้ริมบวกสระอันมีในดอยที่นั้นก็หื้อมีเป็นต้นเป็นกิ่งเป็นค่าไว้งามตามากนัก ยามนั้นพญาหงส์ ๓ ตัวก็ลงมาผ่อ23 หันยังมีเป็นสักขี เป็นดังหงส์คำ�เจ้ากล่าว

16 ไกรสอน-เกษร 17 สักขี-พยาน/เครื่องหมาย 18 ซม หมายถึงเอาซ้อนกันหรือเอาชนกัน 19 มืดมิดสนิทมองไม่เห็นดวงอาทิตย์ 20 อินตา-อินทรา/พระอินทร์ 21 กลับเพศ คือการแปลงกาย 22 เผือไม้ - ใบไม้ 23 ผ่อ - ดู/มองดู

l8l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หน้า ๒

นั้นแท้แล ดังเขาสามตัว ก็ลวดพรากกันไปแล้ว พันดั่งพญาหงส์สามตัว เขาก็ บ่ยอมใจด้วยง่ายยามนัน้ พญาหงส์ตวั หนึง่ ก็ลวดตายเสียทีน่ น้ั แล้ว ดังวิญญาณพญาตัวนัน้ ก็ไปเข้าต้นไม้ชื่อว่าดอกไม้หงอนหงส์สืบมาแล ตัวหนึ่งก็ตายไปเข้าท้องยักษ์อยู่เมือง อารโว ก็ชื่อว่ายักษ์อารโวอั้นแล ตัวหนึ่งก็ตายไปเข้าท้องยักษ์อยู่ดงหลวงไว้ชื่อว่ายักษ์ อาระโวว่าอั้นแล

เจ้าราชตัวมาตั้งเมืองเชียงรุ่งชื่อว่าทุติยกัป24

เจ้าราชตัว (องค์) ท่านเกิดเมืองพาราณสีหลวง ท่านก็หื้อเสนาเค้าเมืองเป็นเจ้า และท่านชวนเอานางเทวีตนชื่อว่านางสิวิกายก็เข้าป่าไม้หิมพานนานว่าได้สามปีปลาย ๗ เดือน ๗ วันจิ่งมารอดกลางดงหิมวัน อันมีบวกสระหลวงนั้นแล ยามนั้นเจ้าแลนาง ทังสองนั่งอยู่ไว้ก็มีว่ามีหมื่นโยชนะหนึ่งก่อนแล เจ้าและนางก็ชวนกันลงจากที่นั้นแล้ว ก็ออกไปก็ไปหันใส่เจ้าระสี ๔ ตนอยู่ไว้ก่อนแล ยามนั้นนางเทวีก็เข้าไปไหว้สาเจ้าระสี แล้วก็ตา้ นต่อแสนไช25 กับด้วยเจ้าระสีแล้ว ยามนัน้ เจ้าระสีจง่ิ ถามว่า มหาราชเจ้าทัง้ สองนี้ ลุกเสด็จเขตธานีเมืองใดมานั้นชา ยามนั้นเจ้าก็กล่าวว่า ภันเต ข้าแด่เจ้าระสีตนวิเศษ ดังข้าน้อยทั้งสองก็ลุกแต่เมืองพาราณสีหลวงพุ้นมาแล ดังข้าทั้งสองก็เอาบ้านเมืองหื้อเสนาเค้าเมืองเป็นเจ้าเสียแล้วแลข้าน้อยก็ชวน เอานางเทวีเข้าป่าไม้หมิ พานมา นับว่าได้สามปีปลาย ๗ เดือน ๗ วันก็จง่ิ มารอดดงหิมวัน ก็มาหันเจ้าระสี ๔ ตนอยู่ไว้ก่อนข้าแล ก็ยินดีกับเจ้าระสีทั้ง ๔ ตน เท่าว่าดงหิมวันทีน่ ้ี ก็ยงั บ่เป็นเขตแดนใผเทือ่ ข้อยขอเจ้าระสีมโี สมนัสสะชมชืน่ ยินดี ยามนัน้ เจ้าระสีจงิ่ กล่าว ว่ามหาราชเหยดั่งในดงที่นี้ก็ยังบ่เป็นของใผเทื่อเท่าว่าเป็นป่าไม้ดงหลวงไว้ก็ยังบ่เป็น เขตแดนใผเทื่อ เท่าว่าดงหิมวันที่นี้ก็ยังบ่เป็นเขตแดนใผเทื่อข้อยขอเจ้าระสีมีโสมนัสสะ ชมชื่นยินดี ยามนั้น26 เจ้าระสีจิ่งกล่าวว่ามหาราชเฮยดั่งในดงที่นี้ก็ยังบ่เป็นของใผเทื่อ เท่าว่าเป็นป่าไม้ดงหลวงไว้ก็มีหมื่นโยชนะหนึ่งก่อนแลก็ยังบ่เป็นเขตแดนใผเทื่อเท่าว่า วันภายหน้ามาก็จักเป็นบ้านเป็นเมืองแก่คนและเทวดาทั้งหลายก็จักมาประสมชุมนุม กันก็จักปรากฏเป็นเมืองยาม 24 ทุติยกัป-กัปที่สอง/ยุคที่สอง 25 สนทนาปราศรัย 26 ข้อความซ้ำ�ตามเอกสารต้นฉบับ

l9l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

หน้า ๓ พืนขัว27 ฟ้ารั่ว

นั้ น พระญาจั ก กะวะติ ร าชบุ ต รได้ ยิ น คำ�เจ้ า ระสี ก ล่ า วสั น นั้ น เจ้ า ก็ มี ใจมั ก ใค่ สร้างเมืองลูกนีก้ ไ็ หว้สาเจ้าระสีวา่ ภันเต ข้าแด่เจ้าระสีดง่ั ป่าหิมวันนีก้ นั ว่าบ่เป็เขตแดนใผ เทื่อนี้ข้าจักขอตั้งเมืองลูกนี้ก่อนแล ผิว่าข้าได้ตั้งเมืองแล้วดั่งเจ้าระสีทั้ง ๔ ตนข้าก็จักหื้อ เป็นครูเมืองชะแล ยามนั้นเจ้าระสีก็อนุญาตหื้อเจ้าเสียแล้ว ยามนั้นเจ้าก็มาเอาก่าง28 น้อยขาแสงอันได้กับบุญนั้นมาเจ้าก็เอาปืนธนูใส่แล้วก็ยิงขึ้นเมืออากาศกลางหาว ก็เป็นเสียงอันนานเหมือนดั่งฟ้าผ่าแสนทีนั้นก็เป็นอันมืดมัวโทโส ยามนั้นคนทั้งหลาย อันอยู่ไว้ท่หี นึ่งเขาก็หันเป็นช่องไว้เป็นรูไว้แลก็ว่าเมืองฟ้ารั่วละกาภายลูนมาก็จ่งิ ได้ช่อื ว่า หัวขัวฟ้ารั่วสืบมาแลก็อยู่ที่เชียงตุ๊งหั้นแล

พืนดอยทง

อันหนึ่งคนทั้งหลายก็อยู่ในดอยที่หนึ่งดั่งปืนธนูก็ไปรอดก็เป็นครางนั้นคนก็กลัว ก็เอามือทง29 หัวไว้ชุคนภายลูนมาดอยลูกนั้นก็จิ่งได้ชื่อว่าดอยทงก็ได้สืบกันมาแล

พืนดอยโว30 (วัว)

พันดั่งปืนธนูก็ไปรอดดอยสามเต้านํ้าเข้าลูกก็ขึ้นจับใส่หว่างผาแลวังฟ้าก็ขึ้น อากาศภายบนในดงหิมพานก็กลายเป็นบ้านเป็นเมืองน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลายได้ค่า หมืน่ โยชน์ปลายร้อยซาว ๒ นัน้ ทีใ่ ดก็มคี นแลช้างม้าวัวควายเป็ดไก่หมูหมาเข้าของเงินคำ� ก็มีชุที่ชุแห่งแล ยามนั้นพญาก็ชมชื่นยินดีแท้แลก็จิ่งมาใส่ชื่อว่ากูก็ได้ลง31 บ้านลงเมือง มาตั้งก็จิ่งได้ชื่อว่าเมืองเชียงรุ่งว่าอันแล ก็มีไว้ ๑๒ โยชนะก่อนแลอันว่าหัวก่าง32 อันยิง ไปก่อนนัน้ ก็ได้ชอ่ื ว่าเมืองออนก็มสี ามสมดอยผาทีน่ น้ั ก็ได้ชอ่ื ว่าชาวแงน33 อัน้ แล กูกเ็ มือ 27 ตำ�นานสะพานฟ้ารั่ว 28 หน้าไม้ 29 เอามือบังหัวไว้ 30 โว-วัว 31 ฉบับเขียนด้วยลายมือเขียนว่า หลง 32 หัวลูกธนู 33 ฉบับลายมือ เขียนว่า ชาวแง้น

l 10 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เอาข้าวทิพย์เมือไว้ก็เป็นจานไว้แลอันว่าผาดอยหลวงนั้นก็ได้ช่อื ว่าพระบาทหัวตองอันนี้ กูก็เอานํ้าทิพย์วิเศษไว้รูถ้ําผาที่นั้นก่อนแลดั่งบ้านเมืองอันอยู่ในดอยหลวงนั้นก็จิ่งได้ ชือ่ ว่าเมืองสูงก่อนแล อันหนึง่ ปืนก่างไปแผวรอดก็ได้ชอ่ื ว่าผาลับน้อยก็อยูท่ เ่ี มืองวังหัน้ แล ดังปืนก่างทิพย์ก็แผว34 ตกแท่นไกลก็กลายเป็นบ้านเป็นเมืองก็ชื่อว่าเชียงแสน เชียงรายก็ได้เข้ากับเมืองเชียงรุ่งนั้นแล ปืนธนูก็หลงจับใส่นํ้าแม่ฟองหลวงสามสม แผวรอดประตูหลวงเมืองม่านปากหนึ่งก็เข้ากับเมืองเชียงรุ่งก่อนแล ก็จับใส่แดนดิน ขึ้นไปหาเมืองวิเทหราช ชื่อว่าเมืองแสหลวงก็

หน้า ๔ พืนเมืองพง

เป็นอันเขตแดนเมืองผาเงา ผาตอง ก็หากเป็นแดนเมืองเชียงรุ่งก่อนแล ยังมี เมืองน้อยเมืองทั้งหลาย เมืองธานีและเมืองสะเก็ด35 ทั้งหลาย ก็หากเป็นแดนเมือง เชียงรุง่ ซํา้ แล ดัง่ หนเมืองก็มี ๓ ขาเหมือนก่างไว้แล ดัง่ ขาก่างก็ตกไปรอดเมืองมะหิยงั คะ ก็กลายเป็น ๓ เหมือนก่างไว้แลพันดังเมืองยองนีข้ วบปีไหนก็จง่ิ ได้แปงก่างน้อยมาถวาย เมืองเชียงรุ่ง ก็สืบกันมาแล ก่างนิเมืองยองมาถวายกลองหลวงไว้เวียงคำ�เชียงรุ่ง ฆ้องนิไว้ เมืองยาง ถวายฆ้องน้อยนี้ไว้เชียงแสนเชียงรายถวายแส่ง36 นี้ไว้เมืองผาตองแลดั่งก่าง37 อันนี้ขวบปีไหนก็จักเอามาส่วยถวายป่อก38 หนึ่งแลก็ได้สืบกันมาถึงบัดนี้แล

พืนวัดป่าเชตกาดล้าน (ตำ�นานการสร้างวัดป่าเชตและการตัง้ กาดล้าน)

ก็มาแปงวัดหลวงที่เจ้าระสีอยู่ก่อนนั้น วัดราชฐานหลวงป่าเชตวัณณะอารามและ ก็ตั้งบ้านใหม่ไว้ชื่อว่าบ้านใหม่สรีแยงก็หื้อหัววัดเชต์นั้นแล ก็ตั้งเป็นโรงไว้ที่ฝ่ายของก็ จิ่งว่าโรงของบ้านก็ชื่อว่าบ้านโรงของสืบมาแล ดั่งเมื่อลูนนี้ก็ได้ชื่อว่าฝ่ายของชะแล

34 แผว-ถึง/ไปถึง 35 เมืองบริวาร 36 ฉาบ เครื่องตีประกอบจังหวะในวงกลอง 37 ฉบับเขียนลายมือเขียนว่า พาน (ออกเสียงว่า ปาน คล้ายฆ้องแต่ไม่มีโหม่งตรงกลาง) 38 ครั้ง หรือ หน

l 11 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พืนวัดหลวงกาดหลวงกาดลี

ตนหนึ่งก็แปงวัดราชฐานที่หอสนามหลวงเจ้าอยู่หั้นแล ก็หื้อเป็นครูเมืองชะแล ก็ตง้ั กาดไว้ชอ่ื ว่ากาดหลวงเมืองพะราหะละย้อนเพือ่ เจ้าได้ละเมืองมาตัง้ ไว้แล คันว่าขวบปี ไหนแล้วหัวเมืองทั้งหลายก็มาสะสมกันท่านํ้าแลเหล้นปอย39 เดือน ๖ สังขานต์ปีใหม่ พายเรือท่านํ้าก็ร้องว่าท่ากาดลีก็สืบกันมาแลดังเชียงก็จิ่งก็จิ่งมีกาดไว้ กาดชื่อว่ากาดลี กาดหลวงสืบมาก่อนแล

พืนวัดสรีปายเมืองแลธาตุปางเมือง

ตนหนึ่งก็แปงวัดราชฐานที่กลางใจเมืองเชียงรุ่งหันแล ปางเมื่ออินทาเจ้าฟ้าก็เอา แสงแก้วจิตลูกหนึ่งหื้อแม่นกเขียน40 เอาลงมาอยู่ที่ท่านํ้าที่หนึ่งแล้วทัด41 เมื่อระสีเจ้า ไปแอ่วก็ไปหันก็เมือเลยไล่เอาได้มาแล้ว ก็มาจูก่อธาตุไวที่กลางใจเมืองเชียงรุ่ง ก็ได้ชื่อว่า ธาตุหลวงศรีใจเมืองเชียงรุ่งชะแล

หน้า ๕

ดั่งวัดจิ่งได้ชื่อว่าวัดราชฐานหลวงสรีใจเมืองหัวกาดทรายเมืองเชียงรุ่ง นั้นแล ดั่งกาดก็มาตั้งใส่ท่วี างกลางธาตุแลวัดไว้ก็เข้าที่ดอนทรายก็ร้องดักชื่อว่ากาดทรายนั้นแล ยามนั้นเจ้าก็เอาคนในเรือนมาไป้42 วัดแลกาดทรายนั้น ก็จิ่งได้ชื่อว่าบ้านทรายนั้นแล ดังโรงนั้นก็ได้ร้องว่าโรงทรายนั้นแลอันว่ากลางใจเมืองเชียงรุ่งนี้ก็มีบวกสระนํ้ากัด43 บวกสระนํา้ อุน่ บวกหนึง่ แลยามนัน้ เจ้าก็ขวบปีไหนก็เซาะเอานางเทวีแลขุนเมืองทัง้ หลาย มาอาบนํ้าพุ่ง44 พอก45 หนึ่งก็มาเหล้นปอยอุ่นทุนแทนเมืองเดือนสามเพ็งขึ้นธาตุใจเมือง นั้นแล

39 ฉบับคัดลายมือ เขียนว่า ปอยหลวง 40 นกกระเรียน 41 ในขณะที่ 42 ไป้=เฝ้า ภาษาไทยใหญ่ 43 นํ้าเย็น 44 นํ้าพุ่ง=นํ้าพุ 45 พอก=ครั้ง/หน

l 12 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พืนบ้านเบียดบ้านหุง

เจ้าก็หอ้ื ขุนหอสนามมาป่าน46 ก็มาไว้ชอ่ื ว่าพญาปางเมืองสืบมาชือ่ ว่าพญาหลวงพาน ก็ได้ลุกในเชียงมาตั้งก็จิ่งร้องว่าเชียงไชยนั้นแล ก็ได้ป่านแขกในเมืองแลต่างเมืองอันมา อาบนํ้าพุนั้นแล นํ้าบวกสระนํ้ากัด พันดั่งเจ้าแลนางก็มาปลูกต้นสรีไว้บ้านทรายไว้ชื่อว่า ก่อสรีนางเมืองสืบมาแลดังเจ้าก็มาปลูกกอสรีไว้ ก็ชื่อว่ากอสรีหลักแก่นเจ้า ก็หื้อเพิ่นแปง แท่นไว้ ก็ได้ชอ่ื ว่าหลักแก่นแท่นคำ�สืบมาแล ดัง่ คนบ้านทรายนีม้ ี ๒ คนพีน่ อ้ ง ดัง่ น้องชาย ได้ไปตั้งบ้านแถมที่หนึ่งชื่อว่าบ้านเบียดมีลูกหลานหลายมาก็ไปตั้งแถมบ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านหุงนั้นแล

พืนวัดบ้านทุงหลวง

ตนหนึ่งก็หื้อเพิ่นแปงวัดราชฐานที่รองทุง47 นํ้าไว้ที่หนึ่งหื้อเจ้าระสีอยู่หั้นแล ดังคนไป้วัดและโป่48 กาดก็ออกบ้านทรายไปแลก็มีสามเรือนก็ไปตั้งเป็นบ้านไว้ที่ทุงนํ้า หั้นแล ก็จิ่งได้ชื่อว่าบ้านทุงสามเรือนบ้านทุงไตเรือนสืบมานั้นแล ดังกาดจิ่งได้ชื่อว่า กาดทุงสืบกันมาแล ก็มีกาดก่อนแล ๑.กาดทราย ๒.กาดทุง ๓.กาดล้าน ๔.กาดลี ๕.กาดหลวง ห้ากาดนี้ก็มีกับเมือง เชียงรุ่งสืบมาแลมีเจ้าจันทวิตักและนางเทวีชื่อว่านางสุรวิณาทั้งสองขาเจ้าก็ฆ่ายักษ์ ทิฆันตรยักษ์ตายแล้วก็จิ่งมาขนาบหื้อนางยักขณีตัวแม่นั้น ชื่อว่าเรวัตตะยักขะณี ก็หื้อ มันไปเอายาทิพย์มาโผดมาผายคนทั้ง

หน้า ๖

หลายอันตายไปนานก็คนื มาเหมือนเก่านัน้ แล ก็อยูท่ บ่ี า้ นหวายบ้านเราสันเก่าแล้ว ดั่งคนทั้งหลายก็ลวดลวดตั้งเป็นบ้านไว้ชื่อว่าบ้านลามแสนเชียงแลงแล้วก็จิ่งมาตั้งบ้าน ก่อบ้านท่าเรือว่าบ้านเต้อนั้นแล ดั่งบ้านก่อก็ลุกบ้านลามแสนมาตั้งแล ดั่งพืนลามแสน นี้ก็คนตายแล้ว ชี้คืนเอามาสันเก่านั้น ก็จิ่งได้ชื่อว่าข้าลามแสนเพื่ออั้นแล ก็ตั้งเมือง ที่เชียงแลงหั้นแล 46 จัดการ กระทำ� ดูแล 47 ทุงนํ้า=รองรับนํ้า 48 หัวหน้า

l 13 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พืนบ้านพอก49 บ้านใหม่

จาด้วยเจ้าสุวรรณหอยสังแลนางเทวีชื่อว่านางอุปปวดีตัวเป็นลูกพญายักษ์ ก็จิ่ง มาสร้างบ้านแต่งเมืองที่หางนํ้าแม่ของที่เชียงใต้หั้นแล ยามนั้นยังมีพ่อค้าวัวหมู่หนึ่งมี ๕๐๐ คนเขาก็มีวัวห้าร้อยตัวก็ออกแต่เมืองอัมมวดีพุ้นมาแลชื่อว่าเมืองตาริว่าอั้น ก็มา แก้ปัญหาต่อพญาอากะระวัตตะยักษ์ชื่อว่าเทพธัมม์เสียแล้ว พันดั่งพญายักษ์ก็แก้บ่ได้ ก็ค้าน50 เสียแล้ว ก็หื้อพญายักษ์หอบเอาลูกคนทั้งหลายมากองกันแล้วก็มาเอานํ้าต้น คันฑีมาหดหล่อแล้วคนทั้งหลายก็ได้สติใหม่คืนมาเหมือนเก่าแล้วก็จิ่งมาตั้งบ้านไว้ออน ทางว่าบ้านพอกบ้านใหม่ออน51 เพิ่นนั้นแล ภายลุนมาก็ร้างเปล่าแถมเล้า

พืนบ้านหงส์และวัดหลวงบ้านคว้าง

จาด้วยเจ้าเมืองอารโวก่อนแล ปางเมื่อเป็นหงส์มาก็ตายเป็นพญายักษ์ชื่อว่า ยักอารโวก็กลับเพศเป็นครุฑราชตัวหนึ่งก็มาลักเอาแสงไข่นกเขียน52 อันชุก่อไว้ใจ เมืองเชียงรุง่ นัน้ ว่าจักเอาไปเมืองอารโวว่าอัน้ ยามนัน้ อินทาเจ้าจิง่ กลับเพศเป็นแม่นกเขียน ตัวใหญ่ก็ไปฟาดครุฑราชก็บ่ได้ไปแล ภายลุนมาดั่งวิญญาณยักษ์อารโวก็ได้เกิดมาเป็น ลูกพญาอารโวเสียแล้วก็ได้ชวนเอานางเทวีนี้แล คนเมืองทั้งหลายก็ได้จอม53 ระมั่งคำ�ก็ มารอด ดงหิมวันที่ตีนดอยหลวงแล้ว ดั่งระมั่งคำ�ตัวพญายักษ์กลับเพศนั้น ก็กับหายไป เข้ารูถา้ํ ไปเสียแล้ว ยามนัน้ พญาก็ลวดบ่ชา่ งพอกไปก็ลวดตัง้ เป็นเมืองไว้ชอ่ื ว่าเมืองเชียงรุง่ ชาแล ก็หื้อเพิ่นทั้งหลายกางเหี้ยวกางน้างไว้ที่หนึ่งก็ได้ชื่อว่าบ้านน้างนั้นแลก็หื้อเพิ่นแห ที่ท่านํ้าไว้ที่หนึ่งชื่อว่าบ้านจอมแห ก็หื้อเพิ่นเอาปลาเมือถวายเจ้าสืบมาแล ก็หื้อเพิ่นไป ตั้งบ้านไว้ที่หนึ่ง ว่าหื้อกวางคำ�ได้ตายว่าอั้นแล ก็ได้ชื่อว่าบ้านเชียง

49 กลับมาหรือพื้นคืนมา 50 แพ้ 51 ก่อน เบื้องต้น 52 นกกระเรียน 53 ติดตาม-ภาษาไทยใหญ่

l 14 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หน้า ๗

ตายนั้นแล ก็หื้อเพิ่นไปแหที่คลองบึงนั้นก็ได้ชื่อว่าบ้านบึงสืบมาบ้านบึงหนองคำ� หัน้ แล ก็ไปตัง้ บ้านไว้ใกล้ปากถํา้ ทีก่ วางคำ�ตายนัน้ ไว้สองบ้านชือ่ ว่าบ้านกวางทรายคำ� นั้นก็แปงวัดหลวงที่บ้านกวาง ไว้ชื่อว่าวัดอโสกาธัมมราชสืบมาแล ก็ไปตั้งบ้านขัวสุง แถมแลหึงบ่นานเท่าใดดั่งพญาก็ยังใคร่ได้กวางคำ�นั้นอยู่ใจ้ๆ54 ก็ชวนเอาคนเมืองและ เสนาทั้งหลายก็ไปขับเถื่อนแถมเล้าก็เสียหลงหนเข้าแดนพญายักษ์ยับได้ว่าจักกินว่า อั้นยามนั้นพญาก็ขอต่อพญายักษ์ว่าข้ายังมีลูกยิง ๗ สาวก็จักเอามาน้อมถวายหื้อตัว เจ้าชะแล ยามนั้นพญายักษ์ก็จิ่งว่ากันสัจจะมีดั่งอั้นก็วางปล่อยพญาพอกมาแล้วก็หื้อ เสนาอามาตย์ทั้งหลายไปแปงศาลาไว้ที่แดนเมืองแล้วก็ได้เอาลูกยิง ๖ สาวไปอ่อยยักษ์ ก็ซา้ํ แล้วแลก็เอาข้าหอคนเรือนไปอ่อยก็ซา้ํ แล อันว่าคนบ้านคนเมืองทัง้ หลายก็กลัวตาย กับด้วยยักษ์ดอยก็ชวนกันล่วงพ้นแดนเมืองไปก็ไปยั้งไว้ที่หนึ่งก็เป็นที่กว้างขวางแท้ แลเขาก็ตั้งเป็นเมืองไว้ได้ชื่อว่าเมืองโลง (ล่วง) สืบมาย้อนว่าได้ล่วงพ้นเมืองเชียงรุ่งไป ตั้งก็จิ่งใส่ชื่อว่าเมืองลวงนั้นแล ก็ลุกเชียงรุ่งคนอันลุกแต่เมืองอารโวอันกับเจ้ามาตั้ง เมืองเชียงรุ่ง นั้น มีบ้านเต้อ55 บ้านฟาน บ้านหมอหลวง บ้านทุ่งเรา บ้านท่าบ้านหนิว บ้านกิ๋ว56 ชื่อหนองคำ�เชียงตาย บ้านดอนแท่น บ้านใหม่บงเทิง57 บ้านน้าง บ้านชางไช บ้านหลวงจอมวังค่านี้ก็เป็นข้ากับเจ้าออกแต่เมืองอารโวสวนตานมาแล

เจ้าบุญปันเป็นเจ้าเมืองเชียงรุ่ง

จาด้วยเจ้าบุญปันท่านนี้เกิดเมืองหุนที่บ้านนํ้าอุ่นแล แม่ก็ตายละแต่น้อยพ่อก็ มาเอาแม่น้า58 ก็มาชังลูกก็จุส่อ59 หื้อผัวเอาลูกไปปล่อยเถื่อนเสียนั้น ยามนั้นเจ้าก็มี หมาน้อยตัวเป็นคู่ก็หลงหนทางก็เข้าเขตแดนดงนั้นไป ยามนั้นพญายักษ์หลวงเจ้าทีฆ กะหันใส่ก็ว่าจักกินว่าอั้นแล นาบุญท่านมีพญายักษ์ก็กินบ่ได้ก็เอาเป็นลูกเก็บเสียแล้ว 54 ใจ้ๆ =เนืองๆ 55 เต้อ= จับหรือกระทบ ภาษาไทยใหญ่ 56 ฉบับลายมือ เขียนว่าบ้านติ้ว 57 ฉบับลายมือ เขียนว่า บ้านใหม่หลวงบุญเติง 58 แม่เลี้ยง 59 ยุยงสนส่อ

l 15 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ก็ลวดสอนศาสตร์สอนเชิงหื้อแล้ว ถึงเมื่ออายุท่านได้ ๑๔ ปี ก็ขอต่อพ่อเลี้ยงยักษ์ว่าจัก ไปไจ60 พ่อว่าอั้นก็เสียหลงหนทางก็ตกเข้ามาเมืองเชียงรุ่งเสียแล้ว ก็ได้ไปเป็นลูกเก็บ นางพิณแก้ว61 บ้านใหม่สรีแยงทัด62 เมื่อพญาอารโวก็หื้อขุนเสนาเอาลูกยิงหล้าตนชื่อว่า นางภมปันหน่อเมืองลูกหล้า ก็เอาไปอ่อยยัง

หน้า ๘

ยักษ์ดอยก็มาผ้ายบ้านใหม่สรีแยงอันมีหมื่นหลังเรือน ยามนั้นเจ้าก็มาสุบสอด เข้าเครือ่ งแล้ว63 ก็ไปโปรดเอานางเสียแล้ว ภายลูนมาก็ได้เป็นลูกเขยพญาอารโวเสียแล้ว ก็ได้มาตั้งอยู่เป็นเมืองใหม่อยู่ที่เหนือปางยองหั้นแล ก็ได้เป็นเจ้าสิบสองปันนาเชียงรุ่ง แล้วได้ ๗ เจ่น64 เจ้าแลพันดั่งพญาอารโวนี้ได้เป็นเจ้าแท้เจ่นเดียวชะแล

พืนหัวเมืองบ้านน้าง

จาด้วยเจ้าบุญนาณณัคคะ65 แลนางราชเทวี ชื่อว่านางอุปปัคคะมีเจ้าทั้งสองก็มา ฆ่ายักษ์ตายแล้วก็จิ่งมาเอานํ้าต้นกัณฑีมาหดหล่อดูกคนทั้งหลายก็คืนมาดั่งเก่าแล้วก็ มาตั้งบ้านนางออนทางลุกบ้านก็ไปตั้งบ้านหัวเมืองภายลูนมาก็ได้ ๕ พัน ๘ ร้อยปีแล้ว ก็ลวดร้างเปล่าแถมเล้าแล

พืนนํ้าหี้ผาหน่อหมาควาย

ปางเมื่อพระเจ้ากกุสันโธเจ้าลงมาสร้างโพธิสมภารวันนั้น พันดั่งเมืองเชียงรุ่ง 66 67 ก็มีค่า ยิง ไว้ ๔๒ คนก่อนแล ก็ยังมีหมากผาก็บุออกมาที่หัวเมืองหั้นก็เหมือนลึงค์ไว้ ก็ได้ชอ่ื ว่าหมากผาหน่อหัวเมืองนัน้ แล ดังยิงทัง้ หลายก็ชวนกันเอาโย(นี)68 ไปสุบหมากผา 60 ไปเยี่ยม 61 ฉบับลายมือ ว่านางปิ่นแก้ว 62 ทัด หรือตรงขณะ.. 63 แต่งชุดนักรบ 64 สมัย เช่น ๗ เจ่น หมายถึงสืบราชวงศ์ได้ถึง ๗ สมัย 65 ฉบับลายมือเขียนว่า เจ้าบุญนาคคะ 66 มีค่า=มีแต่ 67 ยิง=ผู้หญิง 68 อวัยวะเพศหญิง

l 16 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อันนั้นอยู่ชุวันแล ดั่งนํ้าราคะคนยิงก็พอย้อยลงเป็นร่องเป็นทางไหลล่องมาเป็นแม่ไว้ ก็ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า นํ้ า หี สื บ มาชื่ อ นํ้ า หี้ นั้ น แลยามนั้ น ยั ง มี ห มาหลวงตั ว หนึ่ ง มั น ลุ ก แต่ เ มื อ ง สางควายหลวงอยูน่ อนกับด้วยยิงทัง้ หลายกันว่าเกิดลูกมาก็เป็นคนชายแล ดัง่ หมาควาย ตัวนั้นก็ลวดขบตายเสียแล กันว่าเกิดมาเป็นคนยิงดั่งหมาก็จิ่งเอาไว้อย่างนั้นดั่งคนก็ บ่แพร่บ่กึน69 แท้แล

อ้ายเกิกกล้า

จาด้วยเจ้าเตเมท่านเลียบโลกมารอดเมืองเชียงรุง่ ก็บห่ นั คนชายสักคนก็หนั ค่า70 หมาควายหลวงตัวเดียวอยูน่ อนกับด้วยยิงอยูไ่ ว้ ยามนัน้ เจ้าก็มาพิจารณาฆ่าหมา เจ้าก็มา เนรมิตเป็นแมงเกิกกล้าเสียแล้ว ก็เข้าไปอยู่ในเผียกกล้าไว้ ยามนั้นยิงทั้งหลายก็บ่รู้ว่า เป็นคนชายก็มีลึงค์ไว้ยามนั้น เจ้าก็มาพิจารณาฆ่าหมาตายเสียแล้วก็เอาไปใส่ที่นํ้าของ เสียแล้ว

หน้า ๙

ภายลูนมาจิ่งร้องว่าแก่งหมาเน่าเพื่ออั้นแล พันดั่งยิงทั้งหลายก็บ่ลืมด้วยราคะ หมาด้วยง่าย ก็มาเอาเลือดหมามาก่านตาซิ่นไว้ จิ่งได้ชื่อว่าซิ่นหมาควายนั้น ก็เอามา ก่านคาดหัวไว้ ก็ชื่อว่าคาดหัวไหมเบียดนั้น ดังหมาก็ไว้เวรหื้ออ้ายเกิกกล้าไว้ เดียวนี้ กันว่าหมาหันเผียกกล้าอยู่ที่ไหน ก็ลวดไปนอนไปเกลือกนั้นแล พันดั่งเป็นเมืองแม่ยา ป่าหมาควายนี้ได้ร้อยปีปลายก่อนแล พันดั่งอ้ายเกิกกล้าเป็นเจ้าเมืองเชียงรุ่งนี้มีไว้สอง เจ่นเจ้าก่อนแล

พรานป่าตั้งบ้านอยู่นี้ ๖ บ้าน ๖ หัว

จักจาด้วยพรานป่า ๗ คน ชื่อว่าสมเด็จ ๗ ราชครูเขาเจ้าก็ลุกแต่เมืองมัทธราช พุน้ มาด้วยลำ�ดับคราวนานว่าได้ ๗ เดือนปลายก็มารอดดงหิมวันเมืองเชียงรุง่ อันเปล่าไว้ ดัง่ เขาเจ้า ๗ คนนีช้ อ่ื ว่าระสีพรานป่าว่าอัน้ แล เขาก็เอากับไฟมีเหล็กมาป่ายหือ้ เป็นไฟแล้ว ก็มาจิเผาป่าไม้แล้ว ก็เป็นปางปฐมะ ดั่งเขาเจ้าก็ได้รู้ได้หัน ก็เป็นอันฐานะที่สมควร 69 บ่คึน อ่านว่าบ่กึน หมายถึงไม่แพร่หลาย 70 เห็นแต่

l 17 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ตั้งบ้านแปงเมืองแท้แล ดั่งเขาก็เอากันแอ่วไปชุที่ชุแห่งก็ผ่อหันยังบวกสระ อันมีในดง ก็มีไว้ ๖ บวกก็บ่เหมือนกัน เขาก็ผ่อหันรอยตีนและรอยบาท ก็บ่เหมือนกันของอันมีนํ้า แลในบวก ก็บ่เหมือนกันแท้แล พันดั่งบวกสระหลวงอันสะอาดแท้ ก็มีผักป้านและ จังกรบัวเทศ เขาก็บิดหว่ายมาตั้งอยู่ที่ปางยองไฟ ตกนั้นแล ก็จิ่งตั้งออกเป็นปางใหญ่ ไว้ออนที่หนึ่งแล้วแลก็ได้ชื่อว่าบ้านพรานก็ตั้งออกออนทางนานแล ยามนั้น ก็มีชายนา และข้าดำ�เถือ่ น ทัมมิละ ก็ลวดย้ายออกเป็นปางก็จง่ิ ว่าปางลอ ปางเถือ่ น ปางเผียวปางยาง ปางของ ปางกอง ก็มีไว้ ๖ ปางก่อนแล ดั่งบวกสระก็มีไว้ ๖ บวกชะแล รวมทั้งมวล ก็มีสิบสองนั้นแล ก็จิ่งได้ชื่อว่าเมืองสิบสองปันนา นครเชียงรุ่งนั้นแลเวลานั้นก็บ่มีเจ้า บ่มีนายสังแล นับค่าคนค้าคนขายมาสะสมชมอยู่กับด้วยแก่กันบ่ดายแล

พืนไตลื้อเราลุกไหนมา

จาด้วยไตลื้อเราก็ยังตั้งเป็นบ้านเป็นเมืองอยู่ไว้ ก็อยู่เหนือเมืองแสหลวงพุ้น ก่อนแล ยามนัน้ ก็ผอ่ มีการศึกสงครามมารอด ดัง่ ไตลือ้ เราก็มสี ามเมืองบ่ดาย ดังเมืองหนึง่ ชื่อว่าเมืองซางไต เมือง

หน้า ๑๐

ป่าซาง เมืองป่าเข้า ก็มีดั่งสามเมือง ดั่งคนลื้อเราก็บ่มีหลาย ก็ชวนกันพ่ายหนี ลงมาตั้งเมืองไว้อยู่ที่หนึ่งชื่อว่าเมืองแย้นแชงเชียงกู่นั้นแล ก็อยู่ไว้เหิงนานแท้แลยามนั้น พันดั่งภาษา71 ห้อก็คืนมาเป็นโจรผ่าทางเอาคัว ก็ลวดกลัวก็แตกเป็นหมู่ หนึ่งหมู่สอง หมู่สาม ไปแล้ว ดันดั่งหมู่ถ้วนหนึ่ง ก็ลวดพ่ายเข้าป่าหิมวันไปก็ไปยั้งอยู่ที่หนึ่ง ก็ตั้งเป็น เมืองไว้ ชือ่ ว่าเมืองล้านช้างนัน้ แลพันดัง่ หมูถ่ ว้ นสองนีก้ ไ็ ปตัง้ ไว้ทน่ี า้ํ คง ชือ่ ว่าแม่สาละเว ก็ได้ตั้งเป็นเมืองไว้ก็ชื่อว่าเมืองอโยธิยานก็เป็นเมืองไทยนั้นแล ก็หากเป็นไตลื้ออยู่แล พันดั่งหมู่ถ้วนสามก็ลงมาตามแม่นํ้าของ ก็เอากันลงเมือตามนํ้ามารอดถึงเมืองเชียงรุ่ง ก็มายั้งเซาอยู่นั้นแล พันดั่งเชื้อไตลื้อเรา ก็เป็นอันเชื้อใหญ่เชื้อหลวงแท้แล เราก็รักษา กันก็บ่ลืมเสียบุญคุณพ่อแม่ ปู่หม่อนตานายแห่งเราชะแล

71 ภาษา-ชนชาติ ภาษาห้อ=ชนชาติจีน

l 18 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พืนเชียงทาย

จาด้วยพระเจ้าโคตมะเจ้าเลียบโลก มารอดเมืองเชียงรุ่ง ยังมีบ้านหนึ่งนอนหลับ ก็บ่ตื่นสักคน พระพุทธเจ้าก็ทักว่า ดั่งคนบ้านนี้ก็ตายเสียซั้าแล้วกา ดั่งบ้านลูกนั้นก็จิ่ง ได้ชื่อว่าบ้านเชียงทาย (ตาย) นั้นแลดั่งห้อคามาทายพันว่าลังหยินแล ดั่งนกจอกฟ้าไว้ ทายห้อค่าที่นั้น ก็จิ่งได้ชื่อว่าเชียงทายแล

พืนบ้านดอนแทน (ทัน)

เมื่อถึงบ้านหนึ่งเขาก็ทันใส่บ้านเข้า (ข้าว) พระเจ้า72 ก็กล่าวว่าบ้านลูกนี้ ชื่อว่า บ้านดอนทัน นั้นแล ก็มีสองชื่อก่อนแล ปางเมื่อยังมีอ่อนยิงสาวทั้งหลายไปเอาหมาก แทน73 ร้อนใส่ถุงเสื้อมาแล้วก็มาเอาค้อนแส่หมากทันตกใส่ดินเสียแล้ว ก็ร้องว่าดูรา น้องค่อยเอาหมากแทนออกถุงเสื้อก็เป็นอันหมดใหม่ ดั่งยิงสาวก็ได้แล้วก็ลวดกินชะแล ยามนั้นชายผู้หนึ่งก็จิ่งว่า หมากแทนร้อนนี้อันกูพี่แส่ตกดินนั้นน้องกินก็ได้เป่าก็ชื่อว่า หมากแทนร้อนนั้นแล อันว่าหมากแทนกัด74 นั้นกูพี่หากเอา

หน้า ๑๑

ออกถุงเสื้อหื้อน้องกินก็เป็นอันบ่ได้เป่า ก็เป็นก็เป็นหมากแทนกัดนั้นแล ยามนั้น ภายลูนมาดั่งเขาสองขาก็เอากันตั้งเป็นบ้านไว้ ได้ชื่อว่าบ้านดอนหมากแทนสืบมาว่า บ้านดอนแทนนั้นแล

พืนเชียงแห

พระเจ้าก็ไปแผวบ้านหนึง่ ก็ลวดแลงแจ้งทีห่ น้ั แล ยามนัน้ ตนท่านกล่าวว่ากูตถาคต มาเลียบโลกแลงแจ้งเสียที่นี้แล ดั่งบ้านลูกนี้เมือหน้ามาก็จักได้ก้านกุ่งรุ่งเรืองชะแลก็ได้ ชื่อว่าเชียงรุ่งเชียงแรงนั้นแล

72 ทันใส่บาตรพระพุทธเจ้า 73 พุทราร้อน 74 พุทราเย็น

l 19 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พืนวัดป่าเชต์

จาด้วยวัดป่าเชต์ก่อนแลยังมีนายอนาถบิณฑิเสฎฐีผู้หนึ่ง ก็มาสร้างวัดหลวงป่า เชตวัณณะอารามหลังหนึง่ ทานหือ้ พระพุทธเจ้าทีบ่ า้ นใหม่สรีแยงทีน่ นั้ ก็มหี มืน่ หลังเรือน ก่อนแล ก็ชวนกันมาทานพระพุทธเจ้าอยู่หั้นแล ดั่งพระพุทธเจ้าก็ไปซ่วย75 ขานํ้าร่องก็ จิ่งร้องว่าจิ่งร้องว่ารองขาสืบมานั้นแล พันดั่งเชตกุมารตนลูกแล้ว ลูกไภ้ก็มาแปงโบสถ และธาตุล้อมก่อตนก็อยู่นอกข่วงอารามก็สืบมาบัดนี้แล ยามนั้นยังมีเจ้าแผ่นดินก็ร้อง ป่าวไพร่เมืองทั้งหลายมาสร้างวัดหลวงจอมทองยามเมื่อพุทธศักราชได้ ๒๘ ตัวไว้ถ้า พุทธเจ้าเลียบโลกมารอดทีป่ ราสาทอันตนพีท่ ง้ั สามอันยํา่ ไว้ปาทะนัน้ ยามนัน้ พระพุทธเจ้า โคตมะก็อยากนํ้าก็ผ่อหันทมิละก้อ76 คนหนึ่งพานํ้ามามันก็ดีไปพบใส่ข้าวไหดั่งก้อมิละ ผู้นั้นก็ว่านํ้าเขียมก็บ่ทานหื้อพระพุทธเจ้าหั้นแล ยามนั้นพระพุทธเจ้า ก็จิ่งใส่ชื่อว่า ปราสาทนํ้าเขียมสืบมาว่าพระบาทนํ้าคิมนั้นแล ก็มีพระเจ้าทั้ง ๔ ตนก็มาไว้ปาทะก็มายํ่า ซ้อนกันทั้งสี่พระองค์เจ้าหั้นแล ก็ไปรอดบ้านหนึ่งเขาก็เอามาทานก็อวดอู้กันว่าเราก็บ่ ได้รู้ได้หันสักเทื่อ ก็มัวเมาอยู่ไว้ดั่งบ้านลูกนั้น ชื่อว่าบ้านมัวเมา ลุนมาว่าบ้านไหท่ามู นั้นแล ก็เข้าไปรอดบ้านหนึ่งเขาก็เอาดอกไม้มาทานก็ได้ชื่อว่าบ้านดอกใหม่นั้นแล พระพุทธเจ้าก็ขน้ึ เมือดอยหลวงทีห่ นึง่ ก็เป็นทีพ่ ญายักษ์หลวงเจ้าทีฆ่ า่ อารวกะยักษ์นน้ั แล ก็แม่นเมื่อยักษ์ก็ไปพร้อมที่พญาสุวัณณะ ยามนั้นพระพุทธเจ้า ก็ไปนั่งแท่นพญายักษ์ไว้ ยามนั้นยังมีเสนาหลวงพญายักษ์ก็

หน้า ๑๒

เคียดใหญ่77ว่ามึงเป็นไผแลเข้ามานั่งแท่นพญาตู ยามนั้นเสนาก็สยอง78 ไป แผวที่พญายักษ์แล้วก็บอกขียาหื้อพญารู้แล้ว ก็เคียดมากนักดั่งพญาก็พอกมา ก็มาหัน สัพพัญญูเจ้าแท่นอยูห่ น้ั แล มันก็วา่ สมณะท่านหัวหมด79 พ้อยมานัง่ แท่นกูนน้ั ชา ยามนัน้ พญายักษ์กม็ าเนรมิตรเป็นวัวก็เข้ามา ยามนัน้ พระพุทธเจ้าก็เนรมิตรเป็นเสือก็วา่ จักกินวัว 75 ล้าง 76 ก้อ-อีก้อ หรือ อาข่า 77 โมโห 78 เหาะ 79 หัวโล้น

l 20 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พันดั่งพญายักษ์ก็กลับเพศหลายเชื้อหลายชองก็บ่อาจแพ้80 สัพพัญญูเจ้าได้แล ก็ลวด น้อมสัพพัญญูเจ้าแล้ว ก็สอนสรณคม ๙ ห้องปันหื้อพญายักษ์แล้ว ดั่งเขี้ยวงาพญายักษ์ ทั้ง ๔ เหล้ม ก็หล่อนตกลงมาแล้วยามนั้นพระพุทธเจ้าจิ่งว่ากูมานั่งแท่นแก้วพญายักษ์ ดัง่ ดอยลุกนีก้ ไ็ ด้ชอ่ื ว่า ดอยลูกนัง่ 81 นัน้ แล ยามนัน้ พระพุทธเจ้าก็บวชเป็นสาวกะโสดาแล สัพพัญญูเจ้าก็ชวนพญายักษ์มารอดที่กาดทราย ก็กลัวคนทั้งหลายเข้ากาดตื่นดั่ง สัพพัญญูเจ้าก็ชวนพญายักษ์กลายซวาดไปหั้นแล พันดั่งกาดนั้นก็จิ่งได้ชื่อว่ากาดทราย ก็สืบมาก็ว่ากาดทรายนั้นแล ยามนั้นคนทั้งหลายก็ใคร่หันหน้าพญายักษ์ก็เอาหน้ามอ ดอนทองดั่งดอนลูกนั้นอยู่ริมกาดนั้นก็ได้ชื่อว่าดอนม้อสืบมาก็ว่าดอนมอนั้นแล ยามนั้น สัพพัญญูเจ้าก็ชวนพญายักษ์ไปแอ่วแผวเชียงใต้หันก็ว่าจักบวช พันดั่งพญายักษ์ก็กลัว คนทั้งหลายก็ลวดหนีไปทัดเสียหั้นแล ยามนัน้ สัพพัญญูเจ้าก็หอ้ื เพิน่ ไปขับหา ก็ไปหันใส่หน้าบือ้ ลือ้ แล ยามนัน้ สัพพัญญูเจ้า จิ่งทำ�นายไว้ว่าเมือหน้ามาก็ได้ร้องว่าบ้านลื้อนั้นแล ยามนั้นสัพพัญญูเจ้าก็ร้องพญายักษ์ มาแล้วก็บวชหื้อเป็นอาระวักกะโสดาแล้วก็สอนพญายักษ์ว่า คันว่าเสียงกลองหลวง วัดสรีไจยเมืองหัวกาดทรายเชียงรุ่งนั้น ยังตีอยู่พันดั่งยักขาทั้งหลายสูก็บ่หื้อแอ่วล่าฆ่า กินสัตว์ทั้งหลาย สัพพัญญูเจ้าบวชพญาอารวะกะยักษ์ที่วัดหลวงจอมทองปีพุทธศักราช ได้ ๒๘ ตัว ก็สั่งสอนพญายักษ์แล้ว ก็หื้อพญายักษ์พอกสู่ที่อยู่แห่งตนแล้ว พันดั่ง พระพุทธเจ้าก็หว่ายหน้าท่องพญายักษ์ก็ล่วงพ้นวัดใจเมืองแล้ว ดั่งวัดใจเมืองนี้ก็เป็น ที่สายตาสัพพัญญูเจ้าตนนั้นแล พันดั่งวัดหลวงใจเมืองนี้ ดั่งวิหารและพระเจ้าหลวงนี้ ก็ตกเป็นเจ้าแผ่นดินสร้างแล ดั่งโบสถนี้ปันตกท่าว ๔ ลวงแลชื่อว่าลวงทราย ลวงทุ้ง ลวงของ ลวงห้วย สืบมานั้นแล พันดั่งจอมของนี้ก็ปันตกท้าว ๔ กาด ชื่อว่ากาดหลวง กาดทุ้ง กาดทราย กาดล้าน มาสร้างแล พันดั่งกำ�แพงนี้ก็เป็น

หน้า ๑๓

ตกสังฆะเจ้าทั้งเมือง ก็มีครูเมืองเชียงเป็นเค้าภิกขุเจ้าทั้งหลายก่อนแล ดั่งโรงนอน นี้ก็ปันตกบ้านทรายไตเรือนแปงแลเจ้าทั้งหลายเฮยตั้งแต่สัพพัญญูเจ้ามาบวชพญายักษ์ 80 ชนะ 81 ฉบับลายมือ เขียนได้ว่า ดอยดงนํ้า

l 21 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เอาวัสสาที่วัดจอมทองสืบมาแล สัพพัญญูก็มาบวชพญายักษ์แล้วสัพพัญญูก็ผ่อหันยัง ทุ่งนาที่ก็บ่มีนํ้าใสยามนั้นสัพพัญญูเจ้าก็เอาค้อนเท้าเหล็กไปขีดหื้อเป็นช่องนํ้ารองมา ถึงที่หนึ่งก็สอเอาไปปายก็เข้าไปตกทุ่งนา ก็กลายเป็นนํ้าเหมืองใสนายอง คนทั้งหลาย ก็ใส่ชื่อเหมืองพระเจ้านั้นแล ดั่งที่สอนั้นสืบมาว่าบ้านห้วยสอนั้นแล อันอยู่ฝ่ายหล่า กองนั้นก็ได้สืบมาชื่อว่าบ้านหล่านั้นแล สัพพัญญูเจ้าก็ลุกวัดจอมทองก็จิ่งไปสอนสิงห์ สองตัวผัวเมียได้ไหว้แล้ว ก็จิ่งมาไว้ปาทะหัวบ้านเชียงทายแล ก็จิ่งลงไปไหว้ปาทะ ที่นาค ๙ ตัว เอาอยูแ่ ควงบ้านลือ้ ได้ไหว้แล้ว ก็จง่ิ ไว้ปาทะในดอยถํา้ ดงหนา หือ้ ยักษ์ ๒ ตัว ได้ไหว้แล้ว ก็จิ่งมาเอาเกสาหื้อพญาเจืองบ้านยิง พญานามะศักบ้านจอมแหชื่อว่าพญา พญาปรัมมะพรหมวงไชยะแลหื้อเขาสามคน เป็นเค้าไพร่เมืองทั้งหลายมาจุก่อเจติยา ธาตุหลวงปางเยือ หือ้ มาขัน้ หนทางพญายักษ์แล้ว ก็จง่ิ ข้ามไปเมืองเชียงแรงก็ไปไหว้ปาทะ ดอยทัชฌานแผ่ไปว่าดอยซานทาสานนั้นแล ก็จิ่งข้ามไปดอยหลวงลวงกู่แลก็ข้ามไป เมืองกัณธรัฐะเมืองแกวและเมืองแหนแล ลาหูและเมืองพูฝางแลเมืองตักกสิลาปาลิไยย นคร ปาฬิ82พูเสอแล้ว ก็เข้ากวางเซียวไว้พระบาทแล ก็จง่ิ ได้ชอ่ื ว่าเขากวางซีแล ยามนัน้ แล เข้าไปเมืองวิเทหราชนี้เป็นเมืองแสแล้ว ก็เข้าไปเมืองสางงอยสืบมาว่าเวียงหลวงเพ้อจิน สัพพัญญูกเ็ อาบอกเข็มร้อยเหล้มไว้ชาววิเทหราช ก็จง่ิ ข้ามไปดินมีหวั สืบมาว่าดอยเมืองกัว แผ่ไปว่าดอยเมืองพูหวานแสนแส่สบื ไปว่าแสนสาวเอาดอกไม้มาไหว้พระเจ้าว่าสามแสน แผ่ไปว่าซาวแซ้นใต้ซาวแซ้นเหนือสืบมาแล ก็เข้าไปเมืองล้านช้างล้านนาเชียงใหม่ แผ่ไปว่าพญาสรีสัญชัยยะไถ่หลานน้อยออกเป็นไท ก็ชื่อว่าเมืองไถ่สืบมาว่าเมืองไทย นั้นแลพระเจ้าก็เข้าไปพันธารัฐเขาก็เอาก้องแก้วใส่นํ้ามาทานพระเจ้าก็ชื่อว่าเมือง แก้วอะเยนั้นพี่น้องชื่อว่าเมืองเยหนองแผ่ไปว่าเมืองยีนั้นแลพระเจ้าไปรอดเข้า ก็เอา ดอกไม้มาผ่าวบูชา

หน้า ๑๔

ก็เอาแผ่นผ้าบกหัวขึ้นอากาศก็ได้ชื่อว่าเมืองยัว83 นั้นแล มีอ้ายจันอ้ายพมก็ได้ ชื่อว่าแจ้นภูจ่ายสืบมานั้นแล 82 ฉบับลายมือ ว่า เมืองปาทิพูเสอ 83 ฉบับลายมือว่าเมืองยก

l 22 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พืนสร้างธาตุอยู่นี้

ดั่งธาตุจอมแลเป็นธาตุแก้วแสงพญาปรัมมะจักบ้านนาทุหลวงวัณณพรหมแล พญาจันทพรหมบ้านกองหลวงทุหลวงนามศักดิ์สองพี่น้องก็เอาแก้วมหานิลหนึ่งตน พรหมทั้ง ๒ แลค้อนวชิรเพ็ก84 ๓ อันแลหน่วยขี้เต่าไฟหมอนนิดละผักตบแก้วแสง มีสามพีน่ อ้ งก็ชอ่ื ว่าธาตุบา้ นกองหลวง อันออกแต่นาเนิงนาปานมาตัง้ บ้านถึงบ้านกอม่วง บ้านทับมาดมาตั้งก็มีไว้หลังเรือนก่อนแล

พืนสร้างธาตุเชียงทาย

ดังธาตุอินทร์แถลง85 เชียงทายก็ก่อกวม86 บาทะพระบาทไว้นํ้าลึกมี ๔๔ วาศอก เพื่อว่ากลัวคนบาปหนาทั้งหลายม้าง87 ฟงซานนั้นแล ธาตุจอมหงส์88 ธาตุจอมทอง ก็เป็นธาตุปาทะแล ธาตุจอมของนีเ้ กสาดินธาตุดอนเบียน89 นีเ้ ป็นธาตุผา้ เช็ดก็อยูท่ น่ี ายอง ขัวมุงนาแขกหั้นแล ธาตุปางเยอนี้เกสาดินสองเส้นธาตุจอมหมอกนี้ ดูกกระหม่อมจอมหัว ธาตุบวั น้อยนีธ้ าตุเกสาม่าน เอามาจุหา้ งเรือพวงคำ�ลำ�หนึง่ เรือเงินลำ�หนึง่ ก็คาดกับกันแล้ว ก็เอาจุที่เหนือผิวนํ้าของ90 หันแล ดั่งธาตุจอมแป จอมซาง จอมแจ๋น (จันทร์) นี้เป็น ธาตุแก้วแสง ธาตุบ้านขามหวาน ก่อปีจุลศักราช ๑๓ ตัว บ้านธาตุแหลม91 สร้างก่อ ปีจุลศักราช ๑๑๓ ตัว ธาตุหลวงปู่หลานก่อปีจุลศักราช ๑๒๘๒ ตัว ธาตุบ้านแอ่น เมืองลวงก่อปีจลุ ศักราช ๑๓๑๖ ตัว เมืองมันฑเล เป็นวันสัพพัญญูเจ้า มีพระเจ้า ๔ ล้าน ๔ แสน ๖ หมืน่ ๔ พัน ๓ ร้อย ๗ ตน ทีอ่ ยูท่ ไ่ี ป้92 ของเมืองม่อนยาวแล ธาตุจอมยอลวง93 สูงมี ๑๓ วา มีเท่านี้แล

84 ค้อนเพ็ชร 85 พระอินทร์แถลงแปลงกายลงมาสร้าง 86 ครอบ 87 ทำ�ลาย 88 ฉบับลายมือว่าธาตุจอมหัว 89 ฉบับลายมือ ว่าธาตุดอนเบียด 90 นํ้าโขง 91 ฉบับลายมือว่าบ้านแลบ 92 เฝ้า 93 ลวงเป็นคำ�นำ�หน้าหน่วยวัดพื้นที่

l 23 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

หน้า ๑๕

จาด้วยพืนภาษาไต94 เรา ก็เป็นเชื้อใหญ่เชื้อหลวงแท้แล ดั่งกำ�ปาก95 หนังสือ วัฒนธัมม์แต่ก่อน และมาถึงสมัยเรา ดั่งชาวไตกับเมืองไต ก็ยังบ่ผิดแผกเสียกัน ก็มีมาก หลวงหลายเหลือนั้นบ่กาไตนอกจากเมืองบ่สะสมกันก็มีอยู่ชุประเทศหลายแห่งแท้แล ๑.ไตลื้อก็มีอยู่ประเทศห้อ96 ๒.ไตแลม ๓.นี้ไตน้อยก็เป็นไทย97 ๔.นิไตลาว ๕.นี้ไตแดง เขมร ๖.นี้ไตดำ�เวียดนาม ๗.นี้ไตขาว ๘.นี้ไตอิสานอินเดีย ๙.นี้ไตอบุม ๑๐.นี้ไตเหนืออยู่ ประเทศห้อ ไตหย่า ฝูงนี้เป็นต้น นอกจากศาสนาอันบ่ได้ว่ารอด ก็ยังมีมากหลายแท้แล เราเกิดมาก็เป็นเนือ้ เลือดชาวไตแล้วก็จกั ได้มอี ำ�นาจรักษากัน เชือ้ เครือบ้านเมือง ภาษาหนังสือ แลวัฒนธัมม์ เหมือนกันซํ้า98 คันว่าเราบ่รักษากัน ก็จักเป็นการอันลืม เสียบุญคนพ่อแม่ ปู่หม่อนตานายแห่งเราเสียแล ดั่งไตเรานี้ร้องว่าอย่างนี้อย่างหน้าที่ แท้ก็หากเป็นไตเนื้อเลือดอันเดียวกัน กำ�อู้จาก็เหมือนกันเสี้ยง ก็มีไตลื้อ ไตแลม ไตขืน ไตคำ�ตี่ ม่านฝูงนี้ก็หากเหมือนกันเสี้ยงนัก ค่าลิก99 ตัวก็สันเดียวกัน ตัวพื้นเมืองตัวธัมม์ เมืองลาว ตัวไตขาวตัวเมืองแกว ตัวเมืองขืนไตหลวง ตัวมัคคธเมืองอินเดีย ตัวไตสิบสอง ปันนานี้ ตัวธัมม์เมืองแลมตัวเชียงกู้ฝูงนี้ ดั่งไตหลวงนี้ก็มีหลายเหลือไตอย่างอื่น กำ�จา ลอ100 ม่าน101 แล

94 ประวัติศาสตร์ชนชาติไต (ไท) 95 ภาษาพูด 96 ประเทศจีน 97 คนไทยประเทศไทย 98 ซํ้า หมายถึงทุกอย่าง หรือทุกประการ 99 ตัวอักษร 100 ผสม หมายถึงภาษาไทยใหญ่ผสมภาษาพม่า 101คนไต และคนล้านนา เรียกพม่า ว่า ม่าน

l 24 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พันดั่งนํ้าดินเมืองไต ทางกว้างและผัดมน102 มีไว้ (๖๑,๑๒๓) หลักผัดมน ดังนา มีไว้ ๖๑,๑๓๓ พันนา คนไตเรามีในเมืองไตเราทั้งเสี้ยง (๓,๗๑๘,๗๐๖) คนแลจาด้วย เวียงเค้า103 มีดั่งนี้ ๑. ต่องกี ๒. ดอยแหลม ๓. ปางหลวง ๔. ลายข่า ๕. เมืองปั่น ๖. เมืองไหย ๗. นิฝายของ ๘. ลางเคือ ๙. หมอกใหม่ ๑๐. อินเดีย ๑๑. หยองส้วย ๑๒. ส้อยหญ่อง ๑๓. ลอมจอม ๑๔. คคลิ ๑๕. สีแสง ๑๖. ปางลอง ๑๗. หัวเปียง ๑๘. ปิ่นตยา ๑๙. นํ้าจาง ๒๐. ปูเหนิง ๒๑. แสนหวี ๒๒. สีป้อ ๒๓. หล้าเสี้ยว

หน้า ๑๖

๒๔. จ้อกเม ๒๕. เมืองสู่ ๒๖. ตางยาน ๒๗. มุแจ้ ๒๘. นํ้าคำ� ๒๙. เมืองมาว ๓๐. มะเอียว ๓๑. เกซี บ้านจาม ๓๒. กุ่งแกน ๓๓. นี้กดขาย ๓๔. เมืองกืน ๓๕. ปางยาง ๓๖. หัวปาง ๓๗. นํ้าสัน ๓๘. เมืองมิด ๓๙. กุงหลวง ๔๐. นํ้าตุง ๔๑. ยาวงาน ๔๒. ปางผ่าน ๔๓. หนองเขียว ๔๔. เชียงตุง ๔๕. เมืองยางหลวง ๔๖. เมืองพยาก ๔๗. ท่าขี้เหล็ก ๔๘. เมืองยอง ๔๙. เมืองโก ๕๐. เมืองตวน ๕๑. เมืองสาด ๕๒. ปางหวาย ดั่งภาษาน้อยอันอยู่ก้อ104 กันในเมืองไตนี้มีไว้ ๑๕ ภาษา ๑. ไต ๒. ม่าน105 ๓. ป่ะโอ ๔. ปะหล่อง ๕. ข้าว้า ๖. ไตหลอง ๗. ไตขาง ๘. ไตยาง ๙. ลีซอ ๑๐. มูเซอ ๑๑. ทะนุ ๑๒. ก้ออาข่า ๑๓. อะเคื้อ ๑๔. นิก้วย ๑๕. ไตดอย ไตเรามี ๑๕. ภาษาแลจา 102 วงรอบ 103 เมืองหรือเวียงที่ตั้งก่อน 104 ก้อ หมายถึงเพื่อนกันหรือสหายกัน ในที่นี้หมายถึงกลุ่มภาษาพูด 105 พม่า

l 25 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ด้วยบ้านเมืองทั้งหลายเข้ากับเมืองสิบสองปันนา เชียงรุ่งนั้นมีไว้ ๔๔106 เมืองชะแล ๑. สรีวิสุภวสต นครเชียงรุ่ง ๒. สอถตรฐ เมืองออง ๓. อติปรมรฐ เมืองลวง ๔. ปุพฺพรฐ เมืองหุน ๕. ปพฺพสทรฐ เมืองปาน ๖. พนฺธปุตฺตหิตรฐ เชียงลอ ๗. อมรฐ เมืองม้า ๘. เขมรฐตุงฺคปุรี นครเชียงตุง ๙. สิริเปกฺขารฐ เมืองแลม ๑๐. เตมิยรฐ เมืองแช่ ๑๑. เชยฺยโชติกิตฺตรฐ เมืองเชียงเจิง ๑๒. วิกิตฺตรฐ เมืองฮาย ๑๓. วิตกฺกรฐ เมืองงาด ๑๔. อญฺญรฐ เมืองขาง ๑๕. คภทฺธรฐ เมืองมาง ๑๖. วณฺณตรฐ เมืองวัง ๑๗. ธโทรฐ เมืองลาไต ๑๘. มหิยงฺครฐ เมืองยอง ๑๙. ปุเชยฺยรฐ เมืองสูง ๒๐. มทฺธรฐ เมืองวัง ๒๑. อรคฺคนท เมืองหย่วน ๒๒. วกฺขนฺตุรฐ เมืองขัน ๒๓. กขรเชยฺยรฐ เชียงแขง ๒๔. เมืองติง

๒๕. ลมฺมรฐ เมืองฮำ� ๒๖. เหยฺยเหรฐ เมืองยางน้อย ๒๗. ลามเหตรฐ เมืองล้า ๒๘. มเหรตฺถตรฐ เมืองยางหย่วน ๒๙. เชยตรฐ เมืองพง ๓๐. พหุวจนรฐ เมืองอุตตระ ๓๑. ทกฺขิณวรฐ เมืองอุเหนือ ๓๒. ปรมฺมรฐ เมืองบ่าง ๓๓. โรหรฐ เมืองเชียงตอง ๓๔. ปพฺพารฐ เมืองลาห้อ ๓๕. กนฺธรฐ เมืองกล้า ๓๖. ขนฺธรฐ เมืองบ่อน้อย ๓๗. สุรฐ เมืองปั่น ๓๘. สนคฺคปุริรฐ เมืองเชียงฟ้า ๓๙. สิํธวรฐ เมืองกึงม้า ๔๐. ชรกุพฺปนคฺคมรฐ เมืองบ่อแห ๔๑. ปุรชนิปิกฺกมฺมรฐ เมืองเชียงแห ๔๒. สิงฺหารฐ เมืองสิง ๔๓. วมทฺธรฐ เมืองมิง ๔๔. ตทเชตฺตรฐ เชียงแสน ๔๕. นหปุริหริพรฺมฺมเชยฺย เมืองกุร ๔๖. นครเชียงใหม่ ๔๗. เมืองตุม

106 แต่รายชื่อในตารางมีถึง ๔๗ เมือง ส่วนฉบับลายมือมีเพียง ๓๖ เมือง โดยลำ�ดับที่ ๒๕-๓๕ ไม่มีปรากฏ

l 26 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ต่อไปจักจาด้วยนํ้าห้า

พืนนํ้าห้านี้ ปางเมื่อพระเจ้ากกุสันธะ ลงมาโพธิสมภาร ยามนั้นมียักษ์อรแวก ตัวหนึ่งแควนหยาบช้าวระ ตัวมันบ่มีความอินดูขุณณาสัตว์และคน ที่อยู่มันนี้อยู่ที่ ดอยฟ้าปัน อันมีหัวของมันก็มีบริวารว่าหมื่นตัวก่อนแล ยามนั้นอินทร์ตาเจ้าก็ปลด ธนูกงแสง หื้อเจ้าเตมียกุมารคนหนึ่งอันอยู่เมืองจามปานคร ก็มาฆ่าเสียยังยักษ์ สองตัวผัวเมีย ตายแช่ที่ดอยปวกเต่าคำ�นั้นแล ยักษ์มีบริวารทั้งหลายก็กลัวเตมียกุมาร ก็ลวดแล่นเข้าเถื่อนเสียแล้ว ก็กลับเพศเป็นคนนั้นแล ก็ได้ชื่อว่าคนเถื่อนว่าอั้นแล เขานี้ ตาหลวงตัวพองเขี้ยวใหญ่ เขาก็เอาหนังสัตว์มานุ่งตาง107 เสื้อผ้าก็มีหน้าก่าน108 ไว้ผิว หึกหนังชา ชื่อว่าชาวปลายตีนเผยออง109 ก็ร้องว่ามูเซอ ก็อยู่ไหนก็บ่เป็นหมั้นนั้นแล จาด้วยยักษ์ ๒ ตัวผัวเมียอันตายแช่หนองไว้นั้น ถึงเมื่อพระเจ้ากัสสปะเลียบโลกมารอด พระบาทบ้านตึงหั้นก็เป็น

หน้า ๘

อันเหม็นโอ่แท้แล ดัง่ พระเจ้ากัสสปะก็หนถอยพอก110 มาอยูท่ พ่ี ระบาทบ้านหน111 ไว้แล้วก็เอาวีโบกขระพัดใส่ยักษ์สองตัวผัวเมียก็ไหลไปค้างไว้ที่หนึ่งก็เป็นเวียงเชียงเจิง นั้นแลพันดั่งตัวแม่ก็ไหลไปตากหงายไว้ที่ตั้งไว้ชื่อว่าหอเผือกเมืองแช่นั้นแล ดังเมืองแช่นี้ ก็ได้ชื่อว่าเมืองลม ก็ร้องกับวีโบกขระพัดนั้นแล พระเจ้าก็เอาค้อนเท้าเหล็กมาขีดหื้อ นํ้าไหลขึ้นมาภายวันออก ก็เข้ากลางเมืองฮายก็ตกขึ้นมาเชียงรุ่ง ก็ไปป่อง112 นํ้าของดั่ง นํ้าแม่นี้ก็ได้ชื่อว่านํ้าห้ายักษ์ สืบกันมาจิ่งว่านํ้าห้าชะแล

107 ออกเสียงว่า ต๋าง แปลว่า แทน 108 ใบหน้ามีรอย หรือทำ�รอยไว้บนใบหน้า 109 ชาวหงายอุ้งเท้า 110 กลับ หรือหันหลังกลับ 111 อ่านว่า หุน ตามสำ�เนียงไตลื้อ 112 ทะลุ

l 27 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พืนนํ้าหนองฟอง

ยามนั้นพระเจ้ากัสสปะก็มายํ่าปาทะนํ้าคิมนั้น ก็ผ่อหันนํ้าหนองไว้ที่หนึ่ง ก็เอา ค้อนเท้าเหล็กขีดขว้างแห้งแล้ว ดั่งนํ้าก็เป็นเปรียวเป็นฟองไหลออกไปถึงเมืองพระเจ้า โคตมะ ก็ได้ตั้งเป็นบ้านไว้ชื่อว่าบ้านหนองฟองนั้นแล

พืนนํ้าออดนํ้ากล้านํ้าห้วยแก้ว

จาด้วยครุฑราช ๓ ตัว ตัวหนึ่งมันก็อยู่ในดอยดงนั้น ก็เลยกินสัตว์และเอามา เป็นอาหารมันอยู่บ่ขาดแลก็ถึงเมื่อพระเจ้าโคตมะก็เลียบโลกมารอด ก็มาสอนศีล ๕ ศีล ๘ หื้อแล้ว ก็มาอดกั้นอาหารไว้ ๗ วัน ก็ลวดตายไปแล ดั่งนํ้าเน่าครุฑราชสามตัว ก็ไหลออกมา ก็ไหลล่องมาก็ได้ชื่อว่านํ้าอดต่อสืบมาว่านํ้าออด ก็ไปป่องนํ้าห้า เวลาเมื่อ ครุฑราชสามตัวนั้น อดกั้นทางกินข้าวนั้น ดั่งนํ้าตาครุฑราชก็ไหลตกลงมา เยียว113ออก ก็ไหลล่องมาก็ชอ่ื ว่านํา้ ตาแก้วสืบมาก็วา่ นํา้ ตาห้วยแก้วนัน้ แล พันดัง่ นํา้ ตาเน่าก็ไหลออก ตัวครุฑราชสามนั้นก็ได้ชื่อว่านํ้าตากล้านั้นแลก็ไหลลงมาป่องนํ้าโงกนั้นแล

ต่อไปจักจาด้วยนํ้าเหมืองเสนา114

อันว่าเมือง (เชียง) รุ่งนี้ ก็ไหลเข้าเมืองมีไว้ ๓ แม่ก่อนแล ๑. นํ้าของ ๒. นํ้าห้ายักษ์ ๓. นํ้าห้า ๔. นํ้าเหมืองห้วยคำ� ๕. นํ้าเหมืองแช่ลาย ๖. นํ้า

หน้า ๑๙

เหมืองศีล ๗. นํ้าเหมืองห้วยเรา ๘. นํ้าเหมืองห้วยตอง ๙. นํ้าเหมืองห้วยซม ๑๐. นํา้ เหมืองห้วยขวาก ๑๑. นํา้ เหมืองห้วยปางฝาด ๑๒. นํา้ เหมืองห้วยทัง้ หลาย อันเอาใส่นานั้นแลจาด้วยสามห้วย สี่หนอง เก้าจอม สิบสองเชียง ๑. ห้วยส้อ ๒. ห้วยขวาก ๓. ห้วยเฟือง ๑. หนองฟอง ๒. หนองตม ๓. หนองสามขา ๔. หนองคำ� ๑. ขัวสุง ๒. ขัวหิน ๓. ขัววัวลองปางตอง ๔. ขัวสาน 113 ย้อย 114 ฉบับลายมือ ว่านํ้าเหมืองแสนา

l 28 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

๕. ขัวมุงนาแขกอยู่นายอง ๖. ขัวหินพระเจ้าอยู่หัวของ ๑. จอมหมอก ๒. จองตอง ๓. จอมสิง ๔. จอมซาง ๕. จอมเป็ด ๖. จอมแล ๗. จอมของ ๘. จอมคาง115 ๙. จอมแจน116 ๑. เชียงมู้ ๒. เชียงติ ๓. เชียงใต้ ๔. เชียงทาย117 ๕. เชียงแรง ๖. เชียงหอย ๗. เชียงผาคัง118 ๘. เชียงเตอ ๙. เชียงคิง119 ๑๐. เชียงมน ๑๑. เชียงรุ่ง ๑๒. เชียงไชยช้างพอง ทั้งเสี้ยงมีสิบสองนั้นแล

แคว้นเมืองสิบสองปันนา

ดั่งเมืองสิบสองปันนานี้มี ๑๒ แคว้นก่อนแล ก็จิ่งชื่อว่าสิบสองปันนานั้นแล ๑. แคว้นของ ๒. แคว้นเมืองผา ๓. แคว้นคำ�เต ๔. แคว้นหลอด120 ๕. แคว้นเสาหิน ๖. แคว้นเครือคำ� ๗. แคว้นลูลาง ๘. แคว้นมอ ๙. แคว้นราย ๑๐. แคว้นดาย ๑๑. แคว้นไหม่ ๑๒. แคว้นหน ทั้งเสี้ยงมีเท่านี้แล

นํ้าดินกว้างมีเท่านี้

นํ้าดินสิบสองปันนาเจ้าแสนหวีฟ้าตายกวานนํ้าดินสลิดติดต่อกันนี้ ดังหนวันออก ต่อแกวนี้มีไว้ ๘๐ ลี้ หนใต้ต่อลาวมี ๓๐ ลี้ ภายวันตกขึ้นมีไว้ ๒๐ ลี้ ภายหนเหนือต่อ เมืองบ่อนี ๖๐ ลี้มีสันนี้แล หนังสือลูกนี้พร้อมกันเอาแต่เมืองลา เมืองแม้นเมืองแสหลวง ตินอ่านหนังสือไว้

115 ออกเสียงว่า กาง 116 จอมจันทร์ 117 อ่านเป็นเจียงตาย 118 ผาคราง 119 ฉบับลายมือเขียนว่า เชียงคืน 120 ฉบับลายมือว่า แคว้นหลวง

l 29 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

หน้า ๒๐

กับเมืองเชียงรุ่งก่อนแลพันนาเชียงรุ่ง พันนาเมืองฮำ� พันนาอีงู พันนา เมืองแช่ พันนาเมืองหุน พันนาเมืองฮาย พันนาเมืองผางพันนาเชียงตอง พันนา เมืองลา พันนา เมืองมาง พันนาเชียงเจิง พันนาเมืองลวง

พืนพระญามังราย121

จาด้วยพระญามังรายมีลกู สีช่ ายก่อนแล ผูถ้ ว้ นหนึง่ นัน้ ชือ่ ว่าพระญาสือก็อยูเ่ มือง เชียงราย ถ้วนสองชือ่ ว่าพันนา ถ้วนสาม ชือ่ ว่าท้าวยู ถ้วนสีช่ อ่ื ว่าพระมหาเถียร เขาเจ้าทัง สี่คนพี่น้อง ก็จบเภททั้งสามก็ชวนกันแปงหนังสือออกมาแผ่ชุบ้านชุเมือง ก็จิ่งได้ชื่อ ว่าหนังสือพันนาสืบกันมาถึงบัดเดียวนี้แลยามนั้นผู้พี่พระญาสือก็มาตั้งเวียงใหม่ที่หนึ่ง ชื่อว่าเชียงเงินยางหลวงเชียงแสน เมื่อเดียวตัวท่านก็มาสร้างพุทธศาสนา ๔ คนเป็นเค้า แปงหนังสือนั้นแล ยามนั้นอินทร์ตาเจ้าก็เอาแก้วสัตตนาโกสะหื้อพระญาเวสสุวรรณลง มาไว้รงั ต่อไว้ ยามนัน้ ยังมีชายทุกข์นอ้ ยผูห้ นึง่ ก็ไปเอารังต่อ ก็ผอ่ หันยังแก้วสันตะนาโกสะ ก็เอาไว้กับตัวหั้นแล ยามนั้นพระญาสือก็ได้รู้ว่าอ้ายน้อยคนนี้ก็มีใจแก่น122 แท้แลมากู ก็จักเก็บเอามาเป็นลูกกูดีแล ยามนั้นพันดั่งเจ้าว้อง123 ห้อก็ได้ยินเสียงปัพพติข่าวสารว่า ยังมีพระญามังรายอันเป็นเจ้าอยู่เมืองเชียงรายนั้น ว่ามีฤทธีกล้าใหญ่นัก มากูก็จักเอา ริพลขุนศึกไปรบต่อมันหื้อได้มาเป็นข้าใช้กูเทอะยามนั้นเจ้าว้องก็หื้อเสนาปัดเอาริพล คนหาญ นับว่าได้สิบสองอักโขเภณี ก็ลงด้วยมัคคาก็มารอดแผวเมืองล้านช้างเขตแดน เมืองลาวนัน้ พระญามังรายก็ปดั เอาริพลคนหาญเข้าไปรบต่อห้อก็บไ่ ด้ ยามนัน้ พระญาสือ ก็หื้ออ้ายน้อยแสงต่อเอาริพลคนศึกนับว่าได้ ๒ พันคน ก็ไปรบต่อห้อ ยามนั้น ฝ่ายริพล คนศึกห้อก็บ่แพ้124 อ้ายน้อยแสงต่อ ก็เอากันพอกเมือเมืองว้องดั่งเก่าหั้นแล

121 พระราชประวัติพญามังราย 122 ใจมั่นคง หรือมีใจซื่อตรง 123 อุปราชเมืองคุณหมิง 124 แพ้หมายถึงชนะ ในที่นี่หมายกองทัพจีนไม่อาจเอาชนะกองทัพของอ้ายน้อยแสงต่อได้

l 30 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ยามนั้นพระญาก็จิ่งใส่ชื่อว่าเจ้าแสงต่อ ยามนั้นอ้ายน้อยจิ่งว่าดั่งศึกห้อก็บ่มีแล้ว กลัวว่ามีแถมข้าน้อยขอพ่อพระญาข้า น้อยดีเมือจอม125 ห้อหื้อมันถึงเวียงเขา ยามนั้น พระญาก็ปลงอาชญาหื้ออ้ายน้อยไปจอมห้อก็ได้สามเดือนปลาย แล้วก็ไปรอดถึง เวียงหลวงเพื่อจิ่น126 ยามนั้นเจ้าว้องก็ร้องเอาเสนาเค้า

หน้า ๒๑

ชื่อจินตุนอู๋เยี่ย127หื้อเป็นเค้าหัวเมืองทั้งหลายมาพร้อมกัน ยามนั้นเจ้าว้องจิ่งว่า พันดั่งริพลขุนหาญเราทั้งหลายก็ยังบ่แพ้อ้ายน้อย เขาก็มีคนสองพันบ่ดาย ย้อนเพื่อบุญ ท่านมีหลวงหลาย พึงควรเราห้างบัณณการส่วยถวาย หือ้ สูพจิ ารณาคดีรบี ๆไวๆ ยามนัน้ เจ้าว้องก็เอาลูกยิงสาวชื่อว่านางวัณณะจันทร์หอมยอดฟ้า น้อมหื้อเจ้าน้อยแสงต่อ เป็นอัคคมเหสีเทวีหั้นแล ก็ได้เป็นลูกเขยเจ้าว้องอยู่เหิงบ่นาน ก็มีลูกสามคน ยามนั้น เจ้าก็ถามพ่อเจ้าว้องว่า ยังมีเมืองใดยังใคร่รบต่อเมืองเรา ยามนั้นพ่อเจ้าว้องจิ่งว่ามีค่า เมืองว่าตาต่อ ยามใดก็ยังใคร่มารบเมืองเราอยู่บ่ขาด ยามนั้นเจ้าก็มาสั่งลูกทั้งสามว่า อยากกินจิ้นส้า128 ปลาดิบ ยามนั้นเจ้าก็เอาริพลคนศึกออกไปก็เสียไปตกขมทางหลวง เมืองตาต่อ ก็ลวดเสี้ยงชีวิตหั้นแล ยามนั้นนางวัณณะจันทร์หอมยอดฟ้า ก็จิ่งกล่าวว่า ลูกทั้งสาม ก็ค่อยปลดกงธนูจาม129 ก่าม130 บุญไผมันเถอะ ยามนั้นผู้พี่ชื่อว่าท้าวซุนอาน ก็ปลดกงธนูก็ลงมามาตกเพ่อจิ่นเหมือนเก่า ก็ได้ เป็นเจ้าแทนศักดิ์พ่อแลลูกชายผู้ถ้วนสองผู้ถ้วนสองชื่อว่าท้าวซุนฟ้าลี้ ก็ปลดกงธนูก็มา ตกใส่เมืองเชียงรุ่งที่หน้าผาริมนํ้าของ ก็ร้องครางอยู่หั้นแล ยามนั้นแม่เจ้าก็เอาริพล ขุนหาญหื้อมา ๔ ตื้อ ๔ ล้าน ก็ร้องกับด้วยห้อสี่ตื้อ ๕ ล้านไหลหล่อชมปืนก็ได้สืบกันมา เหิงบ่นานเท่าใด ก็ค้ายไปอยู่ที่ปืนธนูตกหั้นแล เจ้าก็อยู่กับด้วยข้า ๔ แสนหมอนม้า

125 จอม หมายถึงไปหรือติดตาม ภาษาไทยใหญ่ 126 เมืองปักกิ่ง 127 ฉบับลายมือ เขียนว่า จินตุนภูแย 128 เนื้อส้า 129 จาม แปลว่าทดลอง หรือลองดู 130 วาสนา ภาษาไทยใหญ่

l 31 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ลูกชายผู้ถ้วน สาม

ยามนั้นผู้ถ้วนสามชื่อว่าท้าวซานแจ131 ก็ปลดกงธนูก็มาตกใส่เมืองแสนหวีสี่ป้อ ก็หากเป็นเมืองไตเรา ยามนั้นแม่ก็เอาริพลขุนหาญหื้อมาแสนหนึ่งแล ดังเมืองลูกนั้น ก็จง่ิ ได้ชอ่ื ว่าแสนหวีสป่ี อ้ ก็ได้สบื กันมาถึงบัดเดีย่ วนีแ้ ลยามนัน้ สามปีขวบเข้ามาก็จกั ได้ไป สมมาคาระวะพ่อแม่ ยามนัน้ เจ้าก็ชวนเอาอ้ายแจ๋น (จัน๋ ) บ้านฟ้าเมืองฮำ�ไปสดับกับตาม ก็เมือรอดหนทางยามนั้นอินทราเจ้าฟ้าก็มาเนรมิตรเป็นวัวพีตัวหนึ่ง

หน้า ๒๒

แทนเมื่อเจ้าและอ้ายแจ๋น (จัน) เมือรอดนั้นดั่งเจ้าก็ว่าดั่งวัวพีตัวนี้ ก็ดีแปงลาบ แท้หนอว่าอั้นแล้วก็ไปรอดเวียงหลวงเป่อจิ่นดั่งขุนหัวเมืองต่างประเทศก็มาประชุมตอม พร้อมกันก็ว่าเมื่อเดียวนี้สังมาเหม็นโอ่เหม็นคาว ยามนั้นขุนเมืองทั้งหลาย ก็มาจกคอ ฮาก132 พันดั่งกะลา133 และห้อก็ฮากออกมา ก็เป็นกะโลภูซํ้ากัน134 ดั่งเจ้าเมืองสิบสอง ปันนา ก็หากเป็นจินซาเป้อหว่างออกมา ยามนั้นเจ้าก็ดีอายขุนหลวงต่างประเทศก็ ลวดหนีออกเวียงไปหั้นแล ตั้งแต่นั้นมา พันดั่งเมืองสิบสองปันนา ก็จิ่งได้ใส่เงินหัวเรือน สืบมา หนึ่งปีไหน ทั้งเมืองสิบสองปันนา ออกเงินล้างหากหื้อเจ้าว้องตนพี่นั้น ๕๕๘ ร่อง ปลาย ๒ แถบ ๘ ผืนหมายไว้มีสันนี้ยามนั้นเจ้าก็พ่าย135 เข้าเมืองล้านช้างไป ก็ไปนอน อยู่หินสีมาสวนกรเมืองล้านช้าง ทัด เมือ่ เจ้าเมืองล้านช้างก็บม่ ี ก็ปล่อยกดสลดก็มาหันใส่เจ้าสิบสองปันนา อันหนีออก ห้อว้องมาก็เอาเมือเป็นเจ้าเมืองล้านช้างเสียแล ก็ยังกึด136 ค่าอ้ายจัน ก็มาขับหาเจ้าอยู่ มันก็วา่ เจ้าเหยเจ้าอยูใ่ จ้ๆ ยามนัน้ พันดัง่ เมืองสิบสองปันนาก็บห่ นั เจ้าพอกมาก็จง่ิ ขับหาเจ้า ก็ว่าเจ้าเหยเจ้าตั้งหั้นมาดั่งไตลื้อเรา กันว่าติตั้งเค้าขับก็จิ่งว่าเจ้าเหยเจ้าก็สืบแต่เจ้าหนี พ่ายนั้นแลอ้ายจันก็ลักหนีท่านก็เข้าเมืองล้านช้างไป ก็ไปหันใส่เจ้าอยู่เมืองล้านช้างไว้ 131 ฉบับลายมือว่าซานแจ้น 132 ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน 133 คนอินเดีย ในภาษาไทยใหญ่ 134 มีอาการลักษณะเดียวกัน 135 ออกเสียงว่า ป่าย แปลว่าหนี 136 ค้าง คงเหลือ หรือคงค้าง ตกค้าง ภาษาไทยใหญ่

l 32 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ก็ลวดอยู่กับด้วยกันหั้นแล พันเมืองสิบสองปันนาก็มีพระญาเจืองเป็นเจ้า ก็หย้าหนีบ137 ไพร่เมือง ก็บ่ได้อยู่ดีกินหวาน ยามนั้นยังมีขุนเสนาเค้าคนหนึ่งก็ว่าเราจักได้ไปขับไค่เจ้า เราพอกมาว่าอั้น เสนาเค้าก็มาหื้อขุน ๑๒ คนไปหาชะแลพันดั่งเขา ๑๒ คน ก็ไปหันใส่ เจ้าอยู่เมืองล้านช้าง ก็พอกมาบอกหื้อเสนาเค้าเมืองแล ก็เลือกหาคนมาในเมืองปันนา ไหนหื้อมา ๒๐ คน รวมก้อกันทั้งเสี้ยงนี้มี ๒๓๓ คน ทั้งขุนหอสนาม ๔ คน นั้นแลก็มา ห้างช้างห้างม้า ก็เข้าเมืองล้านช้างไป ยามนั้นเจ้าก็หื้อขุนทั้งสองประเทศเล่นปอยหลวง ๑๕ วันแล้ว ขุนหอคำ�เชียงรุ่งก็ขอเอาเจ้าพอก ยามนั้นเจ้าก็หื้ออ้ายจันพอกพันดั่ง ขุนสิบ

หน้า ๒๓

สองปันนาก็ว่าหื้อพอกทั้งสองคนว่าอั้น ยามนั้นเจ้าก็เหลือบ่ได้ ก็หื้ออ้ายจันอยู่ เมืองล้านช้างเจ้าก็มาทำ�นายไว้ว่า วันภายหน้ามานี้จิ่งได้ชื่อว่าจันทาปุรี ยามเมื่อเจ้าดี พอกมาก็มาสมมาอ้ายจัน ดั่งอ้ายจันก็มาสมมาเจ้า ก็ใส่ข้อยข้ากันก็รักแพงกัน เจ้าก็สั่ง เสนาแลกับทังอ้ายจัน ตัง้ หัน้ มาดัง่ ประเทศลาวนีก้ จ็ ง่ิ ว่า คนอายุแก่กใ็ ส่ขอ้ ยหนุม่ หมูอ่ ายุ หนุ่มก็ใส่ข้อยผู้อายุแก่ พ่อก็ใส่ข้อยลูกแล ลูกก็ใส่ข้อยพ่อก็สืบแต่เจ้าแสนหวีฟ้าเชียงตุง มานั้นแลยามนั้นสองเขือเจ้าก็มาแผงเชื้อหน่วยภมมะเสียนแลหน่วยล้า และเงินคำ� ครอบครัวทั้งหลายอันค่าหาได้หนั่งกัน138 ก็มาแยกผ่าสามก็เอาหื้ออ้ายจันสองส่วน เจ้าก็เอาส่วนเดียวตั้งหั้นมาพันดั่งเมืองเชียงรุ่งนี้ ก็ร้องต่อเมืองแก้วจันทาปุรีเพื่ออั้นแล ยามเมื่อเจ้าพอกมานั้น พันดั่งอ้ายจันก็เอาคนกับหื้อเจ้ามาสิบสองปันนา เจ้าก็มารอด ดอยสามเส้านํ้าเข้าลงภายหล้าของนั้น พันดั่งนางเทวีก็มาได้พยาธ139 ก็ลวดเสี้ยงชีวิตหั้นแล ก็ส่งสะการหยาดนํ้าทาน จอมเสียแล้ว ก็เลือกหาที่ควรแล้ว ก็เอานางไปไว้ปลายดอยสามลูกแล้ว ก็มาเลือกเอา คนอันขกุล140 กับนางตัง้ แต่เมืองแก้วมานัน้ ค่าสิบเรือนหนึง่ ก็ไปตัง้ บ้านไว้ ๒ บ้านวันไหน ก็ไปเผี้ยวกวาดเทื่อหนึ่ง ลุนมามาดั่งชื่อบ้านได้ชื่อว่าบ้านเผี้ยวบ้านหนึ่ง ก็หื้อไปตองนั้น 137 กดขี่ 138 ได้เหมือนกัน 139 ไม่สบายหรือการเจ็บป่วยด้วยโรค 140 ตระกูล

l 33 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ชื่อว่าบ้านตองอั้นแล พันดั่งดาบกล้ากายาศึกดำ�แก้วเหล็กลอดเถี่ยน141 หนึ่งก็เอาหื้อ น้องชายนางรักษาไว้ ไปตองขมตองปางนั้นแล แม่นเมื่อจุลศักราชได้ ๑๕๐ ตัว พุทธศักราชา ๑๖๔ ตัว เจ้าก็มารอดเมืองเชียงรุ่ง ก็มาตั้งเวียงเชียงที่นั้นแล เจ้าแสนหวี ฟ้าพอกมาเป็นเจ้าเมืองสิบสองปันนา ยามนั้นเจ้าว้องห้อตัวท่าน หื้อหมวกหัวคำ�142 สามล้านหน่วยหนึ่ง จุ่มหยิ่น143 ลูกหนึ่ง ดาบภมคำ�เถี่ยนหนึ่ง หอกกรรแสงอันหนึ่ง ทีรบ นาคหัวเสืออันหนึง่ ก็เอาแต่เมืองว้องหลวงเป่อจิน่ ลงมา ตัวท่านหือ้ เจ้าฟ้าหลวงหมวกคำ� เป็นเจ้าสิบสองปันนานั้นแลเหิงบ่นานเท่าใดก็ยังมีนางกอมใช้ผู้หนึ่ง มันก็ไปเอาหลัว144 ก็ไปกินช่อหญ้าพูลอก ก็เป็นอันตัวดีร่างงามแท้แล ยามนั้นเจ้าก็ไคร่หนุ่มก็หื้อนางกอม ใช้ไปเอามากิน ก็หื้อเสนาแก้วหาญ

หน้า ๒๔

เฝ้าไว้ถึง ๗ วันปลาย ๗ ยามก็จิ่งแล้วว่าอั้นก็หื้อเฝ้าอยู่หั้นแล ยามนั้นก็มีนางเมีย ตัวถ้วน ๗ ก็บ่ตามคำ�เจ้าสั่งไว้ ก็ไปบิดรีบตอง ก็ลอกคาบแผวแอวไปถึง ก็เป็นหัวคน ดีงามแท้แล ดั่งว่าไปขาก็ยังบ่ได้ลอกเทื่อ ก็ยังเป็นหางงูไว้แล ยามนั้นเจ้าก็อายคนทั้ง หลายก็ลวดพ่ายเข้าป่าไม้ พันดั่งนางอัคคมเหสีเทวี ก็เอาคนข้ายิงร้อย ข้าชายร้อยส่งกับ ตามเจ้า ก็ลวดเข้าไปรูถํ้าดงนั้นไปแล ก็ลวดตายเป็นเทวดาเมืองสิบสองปันนาเชียงรุ่ง มาถึงวันนี้แล พันดังมี ๒ คนพี่น้อง ตัวน้องยิงก็ขาเจ็บ เทียวทางก็บ่พอไว ก็ไปรอดที่ปากถํ้า ก็บ่หันไผสักคนก็พอกมาหอ ยามนั้นนางเทวีก็ว่าดั่งสู ๒ คนพี่น้องนี้ ก็หากเป็นคนเจ้าฟ้า แล้ว หื้อสูไปอยู่ที่ริมปากถํ้าหั้นเทอะ ยามนั้นเขาสองคนพี่น้องก็ไปตั้งตูบอยู่ที่ปากถํ้า ดินดอยหลวง ดั่งนั้นยังมีอ่อนชายบ้านคว้างคนหนึ่งมันก็ไปยิงนก ก็ไปหันใส่เขาสองคน พี่น้อง ก็เป็นอันทุกข์ยากแท้แล ยามนั้นบ่าวชายบ้านคว้างก็ลวดมีใจมักใคร่สร้างต่อ อ่อนยิงนัน้ ดัง่ พีช่ ายนัน้ ก็อนุญาตหือ้ เขาสองคนเป็นผัวเมียกันแล้ว ก็ชวนมาไป้145 อยูบ่ า้ น 141 เถี่ยน-ด้าม 142 มงกุฎทองคำ� 143 ตราประทับ 144 ฟืน 145 เฝ้า

l 34 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คว้างหั้นแล จิ่งว่าดั่งคนเมืองทั้งหลายแล้วดี เมื่อเอาเทวดาลงนี้จิ่งว่าแม่ที่นั่งอยู่บ้าน คว้างสืบมาถึงวันนี้แล พันดั่งตัวพี่ชายก็ถอยลงมาตั้งไว้ตีนดอย ก็ได้ชื่อว่าบ้านยั้งสืบ มาว่าบ้านยางนั้นแลก็เป็นคนไป้เจ้าฟ้าหลวงบัวคำ�มาถึงวันนี้แล

พืนบ้านเท่าบ้านคิม

ดั่งไตบ้านเท่าบ้านคิมนี้เป็นข้ากับนางออกแต่เมืองแกวมา มี ๓๐ สิบหลังเรือน ก่อนแล ไตม้าเมืองฮาย ไตม้าเชียงเจิงเป็นคนเมืองมาวหลวง เจ้าแสนหวีฟ้าไถ่เอามา แปงรถม้า พันดั่งนางเทวีก็มีขีหมองใจล่วงลํ้า ก็ลวดเสี้ยงตายไปหั้นแล เมื่อนั้นขุนเสนา อามาตก็ลากเอาขอนนางเทวีเมือไว้กลางดงหันวันตก ทีอ่ นั เจ้าฟ้าหลวงบัวคำ�ไปไว้หน้ั แล ดั่งดงที่นั้นก็ได้ชื่อว่าดงนางเทวี ก็อยู่ที่ตีนดอยหลวงดงนางนั้นแล เจ้าก็มีลูกชาย ๓ ชายคนหนึ่งก็มักเล่นไพ่ก็เสียเพิ่นฆ่าเสียแล ผู้หนึ่งก็ไป (เอา) เมียเมืองล้านช้าง ก็เสี้ยง ชีวิตหั้นแล ยังกึดค่าเจ้าสุวัณณคำ�เส้าก็ได้แทนเมืองพ่อก็ได้เป็นเมืองเชียงรุ่งแลดั่งทุตา146 ห้อและทุตาม่านก็กำ�แขน

หน้า ๒๕

เจ้ากษัตริยใ์ หม่ขน้ึ สูห่ อคำ� นัง่ แท่นเป็นเจ้าแล้ว ยามนัน้ ทูตาห้อและม่าน ก็มาปลง อาชญาหื้อเจ้าสุวัณณบัวลมผู้ไปขับใคร่หาเจ้ามานั้น ก็ยกขึ้นเป็นเมืองลื้อกำ�ที่จุ่มหยิ่น กระทำ�การเมืองหั้นแลเจ้าสุวัณณะคำ�เส้าอายุได้ ๑๖ ปี ก็จุติไปเมื่อปีจุลศักราช ได้ ๑๙๙ ตัว ท่านก็ ก็มีลูกชายสองคน ถ้วนพี่ก็ไปค้าก็ตายเสีย ผู้น้องชื่อว่าเจ้าสาม ลอขึ้นแทนยศศักดิ์พ่อเจ้าว้องห้อก็เอาลูกยิงสาวมาหื้อเป็นอัคคมเหสีเทวี ยามนั้นม่าน ก็เอานางมาถวายคนหนึ่ง เจ้าก็เอาเมียไตลื้อแถม ๕ คน ปองกันมี ๗ คน ก่อนแลดั่งนั้น บ่นานเท่าใดดัง่ นางห้อและนางม่านก็ประสูตรได้ลกู ชายทัง้ สองคนหัน้ แล ถึงเมือ่ เจ้าสอง พี่น้องก็ใหญ่มาอายุได้ ๘ ปีขวบเข้ามา ดั่งนางม่านก็คึดว่าจักหื้อลูกตนเป็นเจ้าแทน ยศศักดิพ์ อ่ ว่าอัน้ ก็ชวนรูเ้ อานางลือ้ ๕ คนมาค่อนตอมกันแล้วก็ตเิ ตียนนางห้อว่าเจ้าน้อย ลูกนางห้อนี้ คันว่าใหญ่มาก็จักแพ้บ้านแพ้เมือง ก็สนส่อหื้อเจ้าสามลอตนเป็นผัวอยู่ไจ้ๆ ยามนั้นเจ้าก็ฟังคำ�นางม่านจุส่อ ก็ลวดฟันแพ ก็เอานางเทวีและกับเจ้าน้อยทั้งสอง ก็เอา 146 ทูต

l 35 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ข้าก่อมไปหือ้ ๓ คูผ่ วั เมียแล้วก็เอาไหลล่องของเสียแล ก็ไหลไปค้างไว้ทห่ี นึง่ นํา้ ปันเค้านัน้ ก็บอกหื้อนางก่อมใช้ทั้งหลายว่า สูค่อยแข็งใจเอาแพหื้อจอดฝั่งกํ้าหน้าเทอะ ยามนั้น ก่อมใช้ก็เอาแพไปจอดแล้วดั่งป่าไม้ที่นั้น ก็เป็นราบเพียงงามแท้ ดั่งนั้นก็ลวดตกเป็นบ้าน เมืองไว้ ก็ได้ชื่อว่าเมืองเชียงแข็งย้อนว่าได้บอกนางก่อมใช้ว่าแข็งใจนั้นแล เมืองเชียงแข็ง ตั้งปีจุลศักราช ๕๐๗ ตัวแล

พืนฟ้าสุทโธ

ยังมีเมืองอันหนึ่ง เมืองอังวะ ตนเป็นพระญาเจ้าชื่อว่าฟ้าสุทโธธัมมราชาว่าอั้น ก็ได้ชนะปราบแพ้ในชุมพูทวีปแล้ว ก็มายกเอาศาสนาขึ้นมา ก็เอาริพลขุนศึกขึ้นมาร อดเชียงรุ่ง ดั่งขุนสิบสองพันนา ชื่อว่าเจ้าอุ่นเมือง ก็เอาริพลขุนศึกแลช่างขับช่างฟ้อน ก็มีลูกน้องกับนาย ก็ไปแผวเขตนํ้าแดนดินต่อกันหมื่นหินนํ้าเป็นเทือกกองทรายไว้ที่ หนทางลงไปบ้านท่าปิงนั้นแล ดั่งพระญาสุทโธธัมมราชาก็ชวนเอาริพลขุนศึกไป ๓ ท้าว ก็ไปตั้งทัพอยู่ที่บ้านหินหลวง ก็แปงวัดราชฐานไว้แล้วก็ลงไปแปงวัดราชฐานบ้านปุ่งจอม เมืองหุน ก็มีพระหลวงเชียงแง่เป็นเค้าไพร่เมืองทั้งหลาย ก็เอาพระญา

หน้า ๒๖

สุทโธยั้งอยู่ที่วัดบ้านปุ่งจอมเมือง ก็ได้เดือนปลาย ๒๒ วันแล้ว ดั่งริพลคนศึก ก็ไปขับเถื่อน147 ก็เสียหมาหลวงหายตัวหนึ่ง เขาก็ไหว้สาพระญาหลวงเชียงแง่ เขาก็ว่า หมาหลวงก็หายที่เถื่อนยองว่าอั้น ยามนั้นพระญาก็ร้องเอาแรบกับกัน ดั่งแรบฟองจิ่งว่า เถื่อนยองนี้ นํ้าย้อยทังแสนกองไปวันออก ก็เป็นบ้านอ้อหลวงชะแล นํ้าย้อยทังวันตก ก็เป็นของหัว ๕ ข้อยทังมวลแล มีบา้ นยยาสานหัวห้านี้ มีบา้ นยยาสานยม บ้านโกแช่แล้ง บ้านหนองยองบ้านอ้อยแล หัวหน้าวันตก หัวศีลวันออก ตั้งปางปืนปางปันบ้านน้อย สินน้อย สินหลวง ช้างชาติแสนกอง นํา้ ตกบ้านอ้อฝูงนี้ ก็ไปเถือ่ นยอง ยามนัน้ ข้าอามาต ก็ไหว้พระญาเชียงแง่ ว่าดั่งหมาก็ไปหายเสียแดนบ้านอ้อ ก็บ่มีเงินส้าย ก็เอาเถื่อนยอง หื้อพระญาเชียงแง่หั้นแล ดั่งเถื่อนยองนี้ก็เอาขุนหลวงเถ้าไปเลียบท่องปันไว้ก็ตั้งแต่ ยาคืนหลวงนี้ลงมานํ้าคาหลวงจับใส่ทางหลวงเมืองขืน แผวกิ่วคอควาย ย้ายลงที่สบนํ้า 147 ล่าสัตว์ป่า

l 36 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

นัน้ แล ก็ปานถึงไม้นว้ิ หลวงทีก่ ลางเมืองและจับใส่กองเชียงอาด พาดมาทีพ่ งิ เยียวเทียวมา ที่หมากหินที่ชุมนุม ที่สามต่อล่อลงมาป่าคาหลวงก็ลงมาที่นํ้าคาน้อยจับใส่ผาพื้นหลวง แล้วดั่งเถื่อนลูกนี้ก็เอาหื้อพระญาหลวงเชียงแง่ส้ายค่าหมาหลวงนั้นแล พระญาก็หื้อ คนเมืองทั้งหลาย ส่งพระญาสุทโธมาถึงเชียงรุ่ง เป็นเดือน ๕ ออก ๗ คํ่า เป็นวันผัสไต ศักราชได้ ๕๔๒ ตัว ดั่งเขตเถื่อนชาวดอยหัว ๔ ทั้งมวลนั้น ดั่งบ้านไร่เก่าก็เป็นคนฟ้า สุทโธแลบ้านใหม่เป็นคนเมืองมาง บ้านหอยนี้เป็นคนพระญาเชียงเงิน บ้านหนองนี้ เป็นคนเลี้ยงวัวควายพระญาเชียงแง่ บ้านแงมนี้เป็นคนข้าเชียงลาบดาวสี่แสนบ้านนา เป็นคนเจ้าแผ่นดินเชียงรุ่ง บ้านเหนือก็ไปเข้าสองบ้านนี้ก็เป็นคนหว่ายเรือข้าท่านํ้า บ้านเมืองฝูงแตกก็แล่นออกมายัง้ เซาบ้านตีนตก ยามนัน้ พระญาเชียงแง่บห่ อ้ื กว่า148 ไหน เขานี้ได้โปหม่อมน้อยลูกเจ้าแผ่นดินเชียงรุ่งมา ดั่งเจ้าหม่อมน้อยนิอุ้มก็ไห้เจ่ก็ไห้เขา ก็มาชวนกันแปงหอน้อยไว้เอาเจ้าตัวเดียวนอนอยู่ ก็ลวดเทส149 เสียไห้ไปชะแล ดั่งบ้าน เมืองคำ�เจ้าดีมาก็คนทั้งหลายนี้ บ่พอกก็เอาค่าเจ้าน้อยตัวเดียวพอกไปบ้านเหนือเอา ถวายชะแล บ้านนาขัดหัวบ้านเหนือขัดบ้านถวาย ดัง่ บ้านใต้กล็ กุ บ้านเหนือมาอยู่ ก็ชอ่ื ว่า บ้านท่าวัวใต้เขาก็เข้ากับวัดหลวงบ้านก้อ แถมมาบ้านกองหลวงนี้เป็นคนห้ออีเว เขาอยู่ เมืองแช่ลงมา

หน้า ๒๗

กินจ้างอยู่เมืองสิบสองปันนา มีสี่คนพ่อแม่ลูก ยามนั้นยังมียางหลวงที่หนึ่งมี 150 ไม้นิ้ว หลวงอยู่ที่กลางเมืองก็มีงูหลวงตัวหนึ่งใหญ่เท่าลำ�ตาน ดั่งห้ออีเวก็ไปรับจ้าง พระญา ก็หื้อเปิ่นเอาหมากข้ามป้อมมาไว้ที่กลางยางแล้ว ดั่งห้ออีเวสี่คนพ่อแม่ลูก ก็ตอ้ 151 เอาหมากขามป้อมไส่รงู หู ลวง ก็บช่ า่ งออกมากินคนเสียหัน้ แล เขาก็ไปขอกับเจ้า และไพร่เมืองทั้งหลาย ไปตั้งบ้านที่กอหมากขามป้อมแล้วก็จิ่งได้ชื่อว่าบ้านกองป้อม สืบมาว่าบ้านกอง152หลวง ก็กนิ ปีใหม่หอ้ ชะแล ดัง่ บ้านกองน้อยนีเ้ ป็นคนเจ้ายาขาม้าเจ้าหัก 148 กว่าแปลว่าไป ในภาษาไทยใหญ่ 149 ตัด 150 ต้นไม้งิ้ว 151 ต้อ แปลว่าขนย้าย 152 กอง แปลว่าถนน

l 37 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

มันก็เป็นลูกน้อง ก็ขอกับเจ้าว่าขอไปตั้งบ้านที่กองใต้นั้นแล สืบมาก็จิ่งว่าบ้านกองใต้ ลุนมาว่าบ้านกองใหม่ชะแล ดั่งบ้านช้างนี้ไปออนนี้ชื่อว่าบ้านแยงนิอี่แยงมาตั้งและมัน ก็เป็นคนบ้านใหม่เก่ามาสร้างไร่สวนอยู่ไว้ก็มีหลายเรือนมา ก็จิ่งร้องบ้านอี่แยงแล ทุติยา นี้ชื่อว่า บ้านแกบก็เข้ากับพระญาหลวงบ้านก้อ เหตุว่าเป็นเขตแดนพระญาเชียงแง่เป็น ทีเ่ ลีย้ งช้างม้า วัวควายพระญาหลวงเชียงแง่ ยามนัน้ พระญาขันคำ� ก็จง่ิ ชวนเข้าไปในเชียง ดั่งพระญาหลวงเค้าจิ่งต่างขึ้นเป็นชาเป็นพระญากับช้าง ตั้งแต่หั้นมา กันว่าบ้านก้อ จักแม153 วัดหลวงนี้ ดั่งไม้โปกนี้นิมีน้อยก็ปันน้อย ก้อมีหลายก็ปันหลายนั้นแล หันว่า มันเป็นเขตแดนพระญาหลวงเชียงแง่

พืนข้านํ้าอุ่น

จาด้วยข้านํ้าอุ่น ๒ บ้าน ก่อนแล เขานี้เป็น ๓ เถื่อนเมืองงดเมืองขาง เขานี้เป็น คนอืบ154 ข้าวก็ชวนเอาลูกเมียออกบ้านเมืองมา ถึงเมืองหุนก็มายั้งเซาที่ทางสมกันที่ บ้านตีนตกนาทึกเป็นสล่าไว้ยามนั้นพระญาบ้านนาจิ่งสูอยู่ไว้ก่อน พ่อพระญาหลวงเชียง แง่นี้ มีเถื่อนยองไว้ก็หื้อเขามาตั้งนํ้าอุ่นหื้อพระญาได้อาบสีไค ก็ได้สามสี่เดือนมา ถึงยาม เห็ดไร่ใส่นามา เขาก็ขอพ่อพระญาเจ้าว่าข้าขอไปตั้งบ้านที่เถื่อนยอง พระญาก็หื้อเขา ไปตั้งบ้าน ชื่อว่าบ้านตั้งนํ้าอุ่นสืบมาว่าบ้านนํ้าอุ่นนั้นแลก็เป็นคนพระญาหลวงเชียงแง่ ยามนั้นเจ้าก็มาทำ�นายไว้หื้อมีพันหมื่นสี่คนตั้งไว้แล้วเจ้าก็ตอง155 หันก็แปงวัดหลวง ไว้กับหลังหนึ่ง ก็แปงกลองหลวงไว้แล้ว เวลามีการสังมาก็หื้อสูตีกลองหลวงพระญาเจ้า ก็คอ่ ยเอาริพลคนหาญมาละแล ยามนัน้ แรบฟองทัง้ หลายไหว้วา่ ดัง่ บ้านตัง้ นํา้ อุน่ นี้ ก็จกั หัน

หน้า ๒๘

ดัง่ รือพระญาจิง่ ว่าหือ้ สูมาเปลีย่ นกันก็ยากแท้แล เท่าว่าหือ้ สูสว่ ยโหลปี ว่าคาร้อย ก็ได้ขวบหนึ่งไหนหื้อมาเกี่ยวข้าวหื้อวันหนึ่ง ดั่งข้านํ้าอุ่นนี้บ่มีหลายและมีบ้านหินน้อย นํา้ ตุง ชัน้ ชาติแสนกอง บ้านอ้อหลวงบ้านปันบ้านตีน เขาฝูงนี้ ก็มาอยูจ่ อมทีบ่ า้ นนํา้ อุน่ ก็ลวดมีหลายมาชะแล ดัง่ บ้านนํา้ อุน่ บ้านนีเ้ ขาก็รอ้ งคนบ้านก้อนีว้ า่ บ้านก้อลามสืบมาแล 153 ซ่อมแซม ภาษาไทยใหญ่ 154 กลั้นอยาก 155 ตองหัน แปลว่าคิดเห็น หรือพิจารณาเห็นว่า...

l 38 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พืนวัดบัวคำ�

เจ้าเมืองสิบสองปันนา ชื่อว่าเจ้าอุ่นเมืองก็ไปรับเจ้ากษัตริย์อังวะชื่อว่าพระสุทโธ ธัมมราชาที่แดนดินเชียงตก ก็ขึ้นมาเมืองเชียงรุ่ง ก็ออกไปรบฟันอโยธิยาน156 พันดั่ง เจ้าแสนหวีฟ้าอุ่นเมืองก็ได้พยาธิลวดตายเสียที่เมืองพยากหั้นแล สักราชได้ ๙๕๐157 เจ้าก็มีลูกชายสองคนผู้พี่ชื่อว่าเจ้าสรีสุนันทา ตนน้องชื่อว่าเจ้าอินเมือง เจ้าสรีสุนันทา เป็นเจ้าได้ ๖ เดือน ก็ลวดตายเสียแล้วแล ภายลุนมาเจ้าว้องห้อ ก็จิ่งทานเจ้าอินเมือง เป็นเจ้าแสนหวีฟ้าเชียงรุ่งก็จิ่งแต่งมูมาตมูเพ ก็ส่งพระสุทโธไปแผวเมืองอังวะแล้ว ดัง่ พระสุทโธก็ปนั จุม่ ยิน่ งาช้างหือ้ กว้างสามนิว้ มือขวางก็ขวากรูปเขาสเนโรมีเขาสตรภันทัง ๗ แวดล้อม ภายใต้มีนํ้าสมุทรแลก้อนเส้าสามลูกรูปปลาอานนท์ ๒ ตัว ภายเหนือมี พระจันทร์อาทิตย์ ก็จิ่งทานลูกยิงหื้อเจ้าอินเมืองว่านางบัวคำ� หื้อเจ้าเป็นอัคคมเหสีเทวี และช้างอาจพังพรายหือ้ สองตัว ป้ายเครือ่ งบัลลังการครอบครัวทัง้ มวลก็ปนั หือ้ เจ้าเชียงรุง่ ก็ได้สองสามปีมา ดัง่ นัน้ บัวคำ�ก็มลี กู คนหนึง่ ชือ่ ว่าเจ้าหน่อเมืองก็มแี ล ดัง่ นางก็ใค่หอ้ื มีชอ่ื มีเสียงกับเมืองเชียงรุ่ง ก็มาสร้างวิหารหลวงหลังหนึ่งก็มาสร้างพระเจ้าหลวงองค์หนึ่ง นั่งแท่นแก้ว ก็หว่ายหน้าไปหนเหนืออังวะหั้นแล ก็ใส่ชื่อว่าสุวัณณปทุมมอารามสืบมาว่า วัดหลวงบัวคำ� ก็ไว้เป็นหมายกับเมืองเชียงรุ่ง สักราชได้ พุทธศักราช ๒๕๔ วัสสา จุลสักราช ๑๓๒ ตัวแล

จักจาด้วยเจ้าหม่อมคำ�ลือ

เจ้าหม่อมคำ�ลือเป็นลูกเจ้าหม่อมสอ ดัง่ เจ้าหม่อมแสงก็เป็นน้องชาย ก็มาฆ่าพีช่ าย

หน้า ๒๙

ดั่งลูกพี่ชายชื่อว่าเจ้าหม่อมคำ�ลือ ก็ไปอยู่กับเจ้าฟ้าเชียงตุง ภายลุนมาก็มารบ พ่ออาวก็ตายเสีย ก็ได้เป็นเจ้าสิบสองปันนาแทนพ่อแล้วในปีสักราช ๑๒๔๕ ตัว ก็มา เอาเมียถ้วนหนึ่งชื่อว่า นางหอม ถ้วนสอง ชื่อว่า นางลอด ถ้วนสาม ชื่อว่า นางกองคำ� ถ้วนสี่ ชื่อว่า นางบัวทิพย์ ภายลุนมาเจ้าฟ้าเชียงตุง ก็เอาลูกยิงมาเป็นอัคคมเหสีเทวี 156 อโยธยา 157 พุทธศักราช ๒๑๓๑

l 39 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พี่น้องนางแว่นทิพย์ ก็อยู่กับเจ้าก็ได้สองสามปีมา ก็ผ่อมีนางเมืองลา ชื่อว่านางหอม ก็มาส่อหื้อผัวก็บ่ใค่หื้อนางแว่นทิพย์ ก็ลวดออกมาตั้งเวียงที่ริมบ้านดอนหลวง ก็ได้ ชื่อว่าเวียงดอนเชียงใหม่ ก็เป็นเวียงนางแว่นทิพย์เวียงเชียงตุงมาตั้งแลก็เหิงมาบ่นาน เท่าใด ก็ลวดพอกไปเชียงตุงแล้ว ก็เอาริพลขุนศึกมารบเมืองเชียงรุ่งก็บ่แพ้ก็ลวดก่อเอา เมืองเชียงแขง เมืองอุน่ เมืองงาด เมืองนำ� เมืองแห เมืองหลวย เมืองยุ เมืองวะเชียงขาง เมืองยอง ข้าสามท้าว รวมทัง้ มวลมี ๑๑ เมือง ก็ลวดได้เข้ากับเจ้าฟ้าเชียงตุงนางแว่นทิพย์ สืบมาถึงบัดเดียวนี้แล

พืนบ้านก้อ158

จาด้วยพืนก้อปุรีก่อน ยังมีชายปุริโสมันเกิดมาที่ม่อนสามท้าว เป็นภาษาปุรัง159 พ่อแม่ตายละไว้ไปอยู่จอมเจ้าระสีมีวันหนึ่งไปกบ160 ใส่ยิงสาวห้วยเอาตองกล้วยปกหัว ออกมาถาม มันก็บอกหื้อเจ้าระสีรู้แล้วก็เอาหมากนับ161 หื้อเถาหนึ่งกับตัวกันว่ายิงสาว ห้วยออกมาแถมก็เอาสุบหัวหื้อมันหื้อมันเถอะเนอ ตกวันลุนมามันไปหาขุดมันแถม ก็ไปพบใส่ยิงสาวห้วยแถมมันก็เอาหมากนับสุบใส่คอยิงสาวห้วย เอาตองกล้วยปกหัวก็ ลวดชวนไปก็หันยังหน้าตา อันตัวดี

หน้า ๓๐

ร่างงามก็ลวดใค่ได้เป็นเมีย ก็ชวนมาหาเจ้าระสีเตื่อมช่วยก็มาเอาตาแหลวคา เขียวมาแวดก็สรุปคาถาใส่ก็เอานํ้าส้มป่อยมาปัดใส่ยิงสาวห้วยก็ใค่โข162 อยู่ ตอง163 แท้ ก็หากเหมือนไตกันว่าไตว่าไป เขาว่าพอก ยิงสาวห้วยลอกเป็นไตแล้ว ก็เอาไหมนิลมา มาแปงไหมกอนมัดมือ หื้อเขาสองคน หื้อเป็นผัวเป็นเมียกันแล ดั่งไหมกอนนี้ชื่อว่าไหม มิสสาสืบมาถึงบัดเดี่ยวแล พันดั่งหมากเดยห้อยคอ ก็เป็นหมากนับเจ้าระสี เอาสุบคอ

158 อีก้อ หรืออาข่า 159 ไตหลอย หรือปรัง 160 พบ 161 ลูกประคำ� 162 หัวเราะ 163 มองอย่างพินิจพิเคราะห์

l 40 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

แต่เมื่อหัวที เขาทังสองก็ขอกับเจ้าระสีแล้วก็ขึ้นดอยหลวงป่าไม้ ก่อตั้งแปงเรือนไว้ ก็จิ่ง ใส่ชื่อว่าก้อปุริโส สืบตามมาถึงบัดเดียวนี้แล มันก็มาขอซิ่นเสื้อ หนังพ่อมหาเสฏฐีก็บ่มี พ่อเสฏฐีก็เอาถุงปิ้ง164 ก้นรั่วหื้อหน่วยหนึ่งก็เตียวตางมาก็เก็บได้ผ้าก้อม165 อ่อนน้อย ผืนหนึ่ง ก็เอามาแปงเสื้อหื้อเมียก็บ่คุ้ม พอค่าห่อได้นมสองเต้าบ่ดาย พันดั่งถุงปิ้ง ก็เอามาสุบหื้อเมียแปงซิ่นก็บ่คุ้ม ก็พอค่าได้ที่เผียดละอายคนทั้งหลายบ่ดายแล ก็เป็น รีตก้อนุ่งซิ่นก้อมสืบตามมาถึงบัดเดียวนี้แล

จาด้วยสามชายพี่น้อง

เกิดร่วมท้องแม่เดียวกัน อยู่ในเมืองเขมารัฐคือว่าเมืองขืน พ่อเขาชื่อว่าสมิโอ แม่เขาชื่อว่าโอทธลา ก็ตายเสียแล้ว ยังค่าพ่ออยู่ไว้ มันก็สั่งยังลูกทังสามว่าพ่อก็บ่มีสัง มีค่าพร้าดาบเถี่ยนเดียว กันว่าพ่อตายไปนี้ หื้อเอาขอนพ่อไปไว้ที่ดอยหลวง ๙ ห้าน ลูกอย่าคร้านอดเอาเถอะเนอ กันว่ามันสั่งเตือนเสียแล้ว ก็ลวดตายไปแท้หั้นแล ยามนั้น ชายผู้พี่นี้อายุได้ ๑๖ ปี ชื่อว่าโอทธเล ถ้วนสองชื่อว่า โอมิไตย อายุได้ ๑๔ ปี ถ้วนสาม ชื่อว่าโอมิสานก็ยังน้อย ก็เอาไปฝากพี่น้องขะกุล อันจักไปค้าต่างประเทศ ขงเขตเมือง ไกลแล้ว ก็ชวนกันเอาขอนพ่อไปไว้ปลายดอยหลวง ๙ ห้าน แล้วก็ตง้ั คำ�ผาถนา ดัง่ พีช่ าย นี้ว่าขอหื้อได้กินหมากเขือเหลืองสามซ้ากับปลาร้าสามซอง ดั่งน้องชายนี้ว่าขอหื้อข้อย ได้สองมือยกหว่าน166 เหล้าสองสอกท้าวนางนอน ขอพ่อปันพรดีหอ้ื ข้า ดัง่ เขาสองพีน่ อ้ ง ก็ตง้ั คำ�ผาถนา ก็บเ่ หมือนกัน ก็ลงดอยหลวงมารอดท่านํา้ ก็มาฟันไม้ไผ่แปงแพ ก็ลอ่ งนํา้ ไปรอดกลางฟอง ก็ยังมีปลาหลวงตัวหนึ่งก็หกเข้าแพมา ดั่งพี่ชายว่าจักกินซํ้า น้องชาย ว่าปลาตัวหลวงนี้กินบ่ซํ้าเอาเกลือทาแห้งไว้หลายวันพี่ก็บ่ฟัง ว่าจักแปงกินซํ้า

หน้า ๓๑

น้องชายว่าบ่ชู ก็แบ่งกันเถอะ พันชายว่าถ้าแบ่งกันนี้ พีจ่ กั เอาหัวไป น้องค่อยเอา ปลายหาง ก็เอาไม้มาแทก167 แล้วหักคึ่ง ก็มาแทกปลาแล้ว ก็เอาพร้าดาบมาฟันปลา 164 ถุงเป้ง 165 ฉบับลายมือ ว่าผ้าอ้อม 166 ถ้วย ภาษาไทยใหญ่ 167 วัด

l 41 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ก็ปุดใส่แพ ก็ปุดขาดเป็นสองไป ต่างคนก็ต่างไหลล่องนํ้า168 บ่หันแล ดั่งน้องชายนี้ไปค้าง ดอนทรายที่เมืองโกลัมมพาก็ไปกินจ้างเลี้ยงควายหื้อพ่อเสฏฐี ก็ได้หลายปีมา ก็บ่หื้อ สัตว์สักตัว ดั่งพ่อเสฏฐีว่าคันว่าเกิดเป็นควายผู้ปอน169 ตาแดงเขากวย170 ยามใด ก็จิ่ง เอาหื้อยามนั้น เหิงบ่นานเท่าใดก็เกิดมีควายผู้ปอนเขากวยพันดั่งเสฏฐีก็เอาหื้อชาย ทุกขะเป็นของคิงตัวมันหั้นแล ยามนั้นยังมีลูกยิงสาวพระญาเจ้าเมืองก็มีไข้บ่หาย ก็เอาหมอมาตวาย171 ก็วา่ หือ้ เอาควายผูป้ อนตาแดงเขากวยมาทอ172 ขวัญก่อนจิง่ หายก็หอ้ื เสนาไปหาก็บ่มี มีค่าควายอ้ายชายทุกขะตัวเดียว มันก็บ่ขาย ก็พอกไปบอกหื้อพระญา เจ้าเมือง ก็ว่าหื้อเอามาเสียก่อน ยามนั้นเสนาก็ไปเอาควายชายแท้ ยามนั้นชายก็ไหว้ หาคุณพ่อแม่มาเตื่อมช่วย ยามนั้นพันดั่งเทวดาอันเป็นพ่ออยู่ดอยหลวง ๙ ห้าน ก็มา บอกหื้อลูกแห่งตนว่า หื้อไปขอเอาไก่แอ่น173 แลผ้าขาวสองผืนที่เป็นค่าควายแล้ว ก็ออก เวียงไปหาที่ทางค่าสามสมก็เอาไก่ใส่กอนนอนอยู่คันว่าไก่ขันทักและยินเสียงเสือหมี ขันสองตั้ง ยินเสียงก็เออแล กอก174 หมากนํ้าเต้า ขันถ้วนสามยินเสียงผางลางวัวต่าง เสียงม้าแห่นแลเสียงขับ ก็ค่อยลุกนอนเนอ ยามนั้นมันก็เข้าไปหาพ่อพระญาเจ้า ก็ขอเอา ไก่และผ้าขาวสองผืนได้แล้ว ก็ออกเวียงไปหาที่ทางค่าสามสม175 แล หื้อมีนํ้าแม่หลวง ได้แล้วก็เอาไก่ไส่คอนแล้วนอนอยู่ ไก่ขันตั้งแลเสียงวอกค่างเสือหมีขัน ๒ ตั้งเสียง กอกหมากนํ้าเต้า เสียงหมากเดยนันมา ขันสามตั้ง เสียงผางลางช้างม้าแห่นหากัน เสียงคนนันโห่ร้อง ก็มืนตาผ่อก็หันยังคนหลวงหลายแวดล้อม ก็ได้เป็นเจ้าแก่คน ทั้งหลายก็ได้สร้างเป็นเวียงใหม่ ก็มาแปงสร้างเรือนแขกต่างเมืองมาเซาที่ท่านํ้า ก็แปง ทางสะเปา176 ต่างเมืองมาสืบสัญชัย177 ก็หื้อเปิ่นแต้มรูปสามชายพี่น้อง แบ่งปลา 168 ฉบับลายมือเขียนว่าน้ำ�โขง 169 ควายเผือก 170 เขาโค้ง 171 ทำ�นาย 172 มาทัก 173 อาจเป็นไก่อกแอ่น ไก่ตัวใหญ่ 174 ขันที่ทำ�จากนํ้าเต้า 175 ทางสามแพร่ง 176 สำ�เภา 177 สันถวไมตรี

l 42 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ฟันแพปุดขาดที่ทิสาประตูไว้ก็สั่งคำ�ไว้ว่า กันไผแลมาหันไห้แลโข178 นี้ หื้อชวนมาหา กูราชา ยามนั้นพันดั่งพี่ชายมันก็ไปค้างดอนทรายออกมาแล้ว ก็ขอกินจ้างเพิ่น ไปรอด ถึงเมืองน้องชาย ก็ไปหันใส่ก็

หน้า ๓๒

ใค่ไห้ใค่หัว คนใช้เขาหันก็ชวนเมือหาพระญา ก็หันว่าเป็นพี่ชายแห่งตน ก็หื้ออยู่ เวียงไว้ดั่งพี่ชายก็ถามข่าวสารน้องชาย ได้ตั้งเวียงใหม่นั้น ชุประการ ดั่งน้องชายก็บอก หื้อพี่ ตั้งเค้าถึงปลายเสียแล้ว ดั่งพี่ชายก็ใค่ไปตั้งเวียงใหม่ ก็ขอยืมไก่แอ่นแลผ้าขาวดั่ง น้องชาย ก็เอาหื้อยืมแล้วมันก็คนิงใจว่า กูนี้เป็นพี่ชายนิบ่ควรอยู่ที่ตํ่าควรกูตั้งเวียง ก็ควร อยูท่ ส่ี งู มันก็ขน้ึ ดอยหลวงก็ไปรอดปลายดอย ก็มากึดตองก็หนั ค่าหมอกเหมยมุงไว้ ก็บห่ นั ขอบหันริม ก็มาถางป่าคาก็เอาไก่ใส่กอนแล้วก็นอนอยู่ ไก่ขันตั้งก็ยินเสียงเสือหมีวอก ช้างขันสองตั้งก็ได้ยินเสียงกอกหมากนํ้าเต้าและเสียงมากเดยหมากนับ เสียงก้อหลวง หลายเตียวกว่าขับเสิน กว่า179 ตามทางก็มาถึงชายโอทธเล อยู่ไว้ ก็ได้เป็นนายก้อ ทั้งหลาย ก็มาฆ่าไก่แดงแล้วก็เอาขนมาปักสองบิดต่างดอกไม้ก็เป็นรีตก้อเอาขนไก่ ปักหัวสืบมาแท้แล สองมามันก็กึดว่าดั่งซิ่นเสื้อก็บ่เหมือนน้องไภ้น้องชายมาหันก็เป็น ดีอาย ก็หอ้ื เปิน่ แปงขึน้ 180 ไดแลชานแล้ว ก็มาขัน้ ฝาเรือนไว้ ก็เป็นรีตก้อ มีขน้ึ ไดสองปาก ชานสองอันก็ได้สืบตามมาถึงบัดเดี่ยวนี้แล ยามนั้นชายโอธทเลก็ได้เป็นลูกเขยชายปุริโส เมื่อก่อนแบ่งออกเป็นสองเชื้อไป จิ่งว่าก้อก่อปุริหมวกหัวเพียง เพื่อเอาตองกล้วยปกหัว ก้อจิจอนี้หัวแหลม เพื่อเอาขนไก่ปักหัวแหลมไว้เหมือนปลายดอยก็เอาผ้าขาวสักย้อย ใส่จิกหมวกหัวไว้ ก็ได้สืบตามมาถึงบัดเดี่ยวนี้แล ยามนั้นพันดั่งน้องชายก็คึดรู้พี่ชายมา ก็ไปขับหากันก็หนั อยูด่ อยหลวงป่าไม่กอ่ ก็เป็นนายก้อเสียแล้ว น้องชายก็ถามหาไก่แอ่นพอก ดั่งพี่ก็ว่าดั่งไก่แอ่นน้อยนั้นพี่ก็ได้ฆ่าเสีย ก็เอาขนมันหย้องหัวหื้อเมียแล้ว ดั่งน้องชาย ก็เคียด181 มากนัก ก็กล่าวว่ามึงไปเรือนน้องก็บ่เอาเสื้อผ้ามาห่มหื้อ ยามนั้นพี่ขายก็ว่า

178 หัวเราะ 179 ไป ภาษาไทยใหญ่ 180 บันได 181 ออกเสียงว่า เกี๊ยด แปลว่าโกรธ

l 43 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พี่บ่ได้ฟังคำ�น้องไหมกินแหนง คันว่าพี่ไปเรือนน้องก็แปงแท่นหน้าไฟหื้อพี่ คันว่าพี่ กัดหนาวก็ค่อยเอาหลัวใส่ไฟ พันดั่งขนไก่แดงอันเอาหย้องหมวกหัวหื้อเมีย ก็เป็นรีต ก้อเอาขนได้ปักหมวกสืบมาบัดเดียวนี้แล ตั้งหั้นมาไตเราจิ่งร้องก้อว่าอ้ายต่าก้อร้องไต จิ่งว่าน้องชายถึงบัดเดียวนี้แล ตั้งหั้นมาไตเราเอาเมีย ก็จิ่งเอาตองกล้วยมาแปงหมวก หัวแหลมไว้ เอาสุบกวมไก่หมูก่อน ก็ได้สืบตามมาบัดเดียวนี้แล ย้อนว่าได้เป็นเขยก้อ ชะแล

หน้า ๓๓

ก็ได้หลายปีมาเขาสองพี่น้อง ก็ชวนกันว่าจักมาไจขอนพ่อ อันเอาไว้ดอยหลวง ๙ ห้าน ต่างก็ตา่ งคนชวนเอาเสนาจากเมืองมาถึงฝัง่ นํา้ ของ ทันเมือ่ คนเมืองเชียงรุง่ ยังท้า กันว่า คันไผแลเอาไฟใส่นํ้าบ่หื้อวอด ก็จักได้เป็นเขยเมืองดั่งดอยลูกนั้นก็จิ่งได้ชื่อว่า ดอยหลวงสามท่าสร้างสืบมา ยามนัน้ ผูพ้ ช่ี ายก็อยูท่ า่ เหนือ ก็เอาไม้กอ่ มาจุไฟแล้ว ก็เอาใส่นา้ํ ก็จมไปไฟก็วอดเสียแล้ว ดั่งท่านํ้านั้นก็จิ่งว่าท่าก้อเอาไม้ก่อใส่นํ้า ดอยนี้จิ่งว่าท่าบ้านก้อ สืบตามมาบัดเดียวนี้แล ยามนั้นน้องชายอยู่ไปหัวของก็เอาขี้วัวแห้งมาสุมไฟแล้วเอา ใส่นํ้าก็บ่วอด182 ก็ยังแลง183 อยู่ไว้ ดั่งท่านํ้าที่นั้นจิ่งว่าท่าเชียงแลง สืบมาถึงบัดเดียวนี้แล เขาก็ได้ข้ามของมารอดประตูเมือง ก็มายั้งอยู่ไว้ ก็มาเอานํ้าหื้อคนไหนเปลือกไข่แล้ว หื้อซ่วย184 ขา ดั่งผู้พี่นี้ก็เอาถะกำ�เดียว ขาก็บ่หมดได้ ดั่งน้องนี้ก็เอาไม้มาขูดดินหื้อหมด แล้วจิ่งเอาขนไก่มาชุบราด ก็ยังบ่ซํ้าขาก็หมดดีแท้แล ดั่งประตูอันคนทัง้ หลายยัง้ ไว้นน้ั ก็ ชื่อว่าประตูหลวงทุ่งยั้งสืบมาถึงบัดเดียวนี้แล ก็อยู่ใกล้บ้านเชียงลานหั้น ลูกหั้นก็ไปยิง หน้าผาอันข้างกันอยู่ดั่งพี่ชายก็เอาขาธนูหื้อแข็งแล้ว ยิงไปใส่หมากผาก็บ่เข้า ปืนธนู ก็ยอยเป็นขะโจนไป พันดั่งน้องชายก็มาเอาขี้จืง185 มาติดปลายปืนธนูแล้งยิงไป ก็ไป ติดไว้แท้แล พันดั่งพระญาเจ้าก็มายกหมู่ข้าวคำ�มาตั้งหมู่ข้าวดินมาตั้ง ดั่งพี่นี้ไปกินหมู่ ข้าวคำ� น้องชายนีไ้ ปกินหมูข่ า้ วดิน ภายลุนมาก็ได้เป็นเจ้า จิง่ ร้องว่าเจ้าแผ่นดินสืบตามมา

182 ไม่ดับ 183 ยังมีไฟติดอยู่ 184 ล้าง 185 ยางจากแมลงชนิดหนึ่งที่อยู่ตามโพลงไม้ หรือชันโรง

l 44 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ถึงบัดเดียวนีแ้ ล ดัง่ พีช่ ายก็บม่ ผี ญา ก็ได้เป็นข้าน้องชายก็ชวนลูกน้องไปตัง้ แปงปางเซา186 อยู่ปลายดอยหลวงเหมือนเก่าแถมมาก็ได้ละไปเมืองไปอยู่ดอยเป็นข้าเจ้า ก็จิ่งได้ชื่อว่า ข้าทัมมิละ ชาวดอยสืบมาถึงบัดเดียวนี้แล ก็มีไว้สามชื่อแท้แล ก็จิ่งอยู่กับด้วยเจ้าแผ่น ดินเชียงรุ่งชื่อว่าก้อปางของ ก้อปางเบียว ก้อปางกอง ก้อปางยาง ก้อปางยองและ ก้อปางเถื่อนหัวทีก็มี ๖ บ้านบ่ดายแลจักจาด้วยภาษาข้ามูเซออันอยู่เชียงรุ่ง ก็ตั้งเป็น เขตแดนเมือง ก็ตั้งเป็นแคว้นไว้มีแคว้นของ แคว้นเมืองผ้า แคว้นคำ�เต แคว้นหลอด แคว้นหนอง แคว้นเสาหินแคว้นเครือคำ� แคว้นรูลาง แคว้นมอ แคว้นราย แคว้นดาย แคว้นใหม่ก็มีข้าสิบสองแคว้น

หน้า ๓๔

ก็มไี ตสิบสองปันนา มีปนั นาบ่าวชายเชียงรุง่ ปันนาเมืองแช่ปันนาเมืองลวง ปันนา เมืองเชียงลอ ปันนาเมืองลา ปันนาเชียงตอง ปันนาเมืองล้า ปันนาอีงู ปันนาอูเหนือ ปันนา เมืองหน่อ ยังไว้ปันนาหนึ่งนี้ไว้หื้อพระญาหลวงปางเมืองไชยช้าง จิ่งว่าเมืองเชียงรุ่งนี้ มีหนี้กับเมืองไว้ จิ่งได้ชื่อว่าสามห้วย สี่หนอง ๖ ขัว ๙ จอม๑๒ เชียง มี ๑๒ แคว้นมี ๖ ปาง มี ๓ แม่นา้ํ ไหลเข้าเมือง มีนา้ํ น้อย ๑๒ แม่ไหลเข้าเมืองมีนา ๖๑๑๓๓๕ ปันนา ก็กับลืบสืบมาถึงบัดเดียวนี้แล เจ้าทั้งหลายเฮย ก็มี ๖ บ้าน ๖ แท้แล อันว่า ๓ ห้วยนี้ มีหว้ ยสอ ห้วยกิ ห้วยขวาก อันว่าหนองนีม้ หี นองคำ� หนองสามขา หนองฟอง หนองเติง บ้านอันว่า ๖ ขัวนีม้ ขี วั หินหัก พระเจ้าอยูห่ วั ของ ขัวมุงนา อยูห่ วั ของ ขัวหินอยูห่ นองฟอง ขัวสานอยู่เชียงฟ้า ขัววัวรุงอยู่ปางตอง ขัวสูงอยู่เชียงใต้ อันว่า ๙ จอมนี้ มีจอมหมอก จอมตอง จอมสิง อยู่หัวกาดหลวง จอมซางอยู่หัวบ้านสกม จอมแลอยู่เชียงตุ้งจอมแจ้ง อยู่บ้านหลิ่ง จอมของอยู่หัวของ จอมกางอยู่บ้านหมอน้อย จอมเบียดอยู่นายองใกล้ ขัวมุงนาแขก

186 ที่พัก

l 45 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

อันว่า ๑๒ เชียงนี้มีเชียงรุ่งเจ้าราชาตัวมาตั้ง ๒.เชียงมูนี้มีเจ้าบุญปันมาตั้ง ๓.เชียงมนพระญาอารโวสวนตานมาตั้ง ๔.เชียงตี้เจ้าแสนหวีฟ้ามาตั้ง ๕.เชียงแลงมี เจ้าจันทาวิตักมาตั้ง ๖.เชียงใต้มีเจ้าสุวัณณหอยสังมาตั้ง ๗.เชียงยุงน้อยเจ้าสีดาคำ�เอา เมียลอมาตั้ง ๘.เชียงขางพ่อเจ้าเจิงหาญตั้ง ๙.เชียงผาครางสองชายพี่น้อง ชื่อว่าเจ้า แผ่นดินหัวทีมาตั้ง ๑๐.เชียงเจิง ๑๑.เชียงฟ้า ๑๒.เชียงไชยช้าง พระญาหลวงปางเมือง ตั้งดั่งนํ้าแม่นี้มีนํ้าแม่ของคำ� นํ้าห้ายักษ์ ชื่อว่านํ้าห้า นํ้าออดครุชชาสาน ชื่อว่านํ้า ออดอันว่านํ้าน้อยนี้มี ๑.นํ้าเหมืองปางหยาด ๒.นํ้าเมืองแช่ลาย ๓.นํ้าเหมืองพระเจ้าใส่ นายอง ๔.นํ้าเหมืองนํ้าตอง ๕.นํ้าเหมืองนํ้าฮา ๖.นํ้าเหมืองห้วยคำ� ๗.นํ้าเหมืองห้วยเรา ๘.นํา้ เหมืองนํา้ สิน ๙.นํา้ เหมืองห้วยขวาก ๑๐.นํา้ เหมืองห้วยคีม ๑๑.นํา้ เหมืองห้วยไคร ๑๒.นํ้าเหมืองห้วยกองทั้งหลายอันไหลเขาในเมืองมาใส่นาเมืองเชียงรุ่ง กับลืบสืบตาม มาบัดเดียวนี้แล เจ้าทั้งหลายเฮย อันหมาย ไว้นี้มีโจ่187 เจ้าฟ้าว้อง188 ตนชื่อว่ากินถายแว้นควางตี้ โจสักราชได้ ๕๔๒ ตัว แต้มไว้กับเมืองเชียงรุ่ง เจ้าทั้งหลายอ่านท่องหื้อรู้พืนเมืองพืนบ้านก็หื้อรู้จิ่งดีแล เรา เป็นคนเชียงรุ่งบ่รู้ค่าวพืนเมืองพืนบ้านก็บ่พอดีแลคันเรารู้ก็เอาอุบ189 หื้อลูกหื้อหลานรู้ ก็จิ่งดีเมือหน้าบ่หายชะแล

187 ตั้งแต่ 188 ฉบับตัวพิมพ์ข้อความสิ้นสุดแค่ตรงคำ�ว่า เจ้าฟ้าว้อง เนื้อหาต่อจากนั้นได้จากฉบับลายมือ 189 พูดคุยหรือเล่า เป็นภาษาไทยใหญ่

l 46 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตำ�นานพื้นเมืองสิบสองปันนา ภาคสรุปความ ปฐมบทหงส์ลงมาจอง

ในอดีตกาลนานมามีเรื่องเล่าว่า ในครั้งนั้นยังมีพญาหงส์ จำ�นวน ๓ ตัว บนหัว มีหงอน ๓ หงอน ทุกตัว มีร่างที่สง่างามและมีฤทธิ์เดชทุกตัว ซึ่งแต่ละตัวเดินทางมา จากเมืองต่าง ๆ ตัวที่หนึ่งมาจากเมืองสางช้อย หรือปักกิ่ง ตัวหนึ่งมาจากเมืองพันธุมัทธราช ชื่อว่าเมืองแกวหรือเวียดนาม และอีกตัวหนึ่งมาจากเมืองหังสา หรือหงสาวดี เมื่อพญาหงส์ทั้งสามตัวบินมาพบกันที่ป่าหิมพานต์ ที่มีสระนํ้าอันกว้างใหญ่ใส สะอาดจึงมีใจใคร่อยู่พักอาศัย ณ ที่แห่งนั้นเพื่อชื่นชมเกษรดอกไม้ในสระแห่งนั้นเป็น อาจินต์ จึงปรึกษากันว่าเราทั้งสามพึงทำ�สัญลักษณ์ของพวกเราไว้เพื่อให้รู้ว่าสระแห่งนี้ เป็นของพวกเราเถิด จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการบินขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมกันและใช้หางคลี่ ออกมาชนกันจนบดบังแสงอาทิตย์ทำ�ให้ปา่ หิมพานต์แห่งนัน้ มืดสนิทจนมองไม่เห็นสิง่ ใด จนทำ�ให้สัตว์ป่าทั้งหลายในป่าหิมพานต์ตลอดจนพวกผีสางนางไม้ต่างรํ่าไห้เพราะไม่ สามารถออกหาอาหารได้ดังเดิมเรื่องราวความเดือดร้อนครั้งนี้พระอินทร์ท่านรับทราบ ด้วยญาณของท่านจึงสั่งให้เทวบุตรองค์หนึ่งนามว่า วิสุกัมมะ ให้ไปแก้ไขปัญหาและ บรรเทาความเดือดร้อนในเมืองมนุษย์ที่ป่าหิมพานต์ทันที เมือ่ วิสกุ มั มะเทวบุตรได้รบั บัญชาจากพระอินทร์แล้ว จึงแปลงร่างเป็นราชาแห่งหงส์ ขนสีทองเรืองรองสง่างามยิ่งนัก บินลงมาที่หงส์ทั้งสามตัวกำ�ลังแสดงอิทธิฤทธิ์กันอยู่นั้น จึงกล่าวถามว่าเหตุใดพวกเจ้าทั้งสามจึงมาแสดงอิทธิฤทธิ์ในสถานที่แห่งนี้เล่าพญา หงส์ทั้งสามจึงกล่าวตอบว่าพวกเราต้องการเครื่องหมายหรือสักขีพยานไว้ ณ ที่แห่งนี้ เพือ่ ให้รวู้ า่ สถานทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นของพวกเราทัง้ สาม ราชาแห่งหงส์จงึ กล่าวว่า พวกเจ้ากระทำ� ความเดือดร้อนให้ผู้อื่นจงหยุดการกระทำ�นั้นเสีย เราจะประทานเครื่องหมายหรือ สักขีพยานให้กับพวกเจ้าเอง เราได้ทิ้งหงอนและขนปีกแห่งเราไว้ ณ ที่นั่นแล้ว พวกเจ้า จงกลับไปดูที่สระนํ้าแห่งนั้นเถิด จากนั้นราชาหงส์ก็บินหายไปพญาหงส์ทั้งสามตัวจึงบิน ลงมาดูทส่ี ระก็เห็นรัศมีแห่งหงอนเป็นต้นดอกสีแดงมีรศั มีเจิดจ้างามตายิง่ นักเกิดอยูใ่ กล้ๆ สระแห่งนั้นจริงๆ จากนั้นจึงอำ�ลากันเพื่อกลับถิ่นเดิม แต่ด้วยความอาลัยในสถานที่

l 47 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

จึงไม่มีหงส์ตัวไหนจะยอมกลับเมืองของตน ด้วยความอาลัยหงส์ตัวหนึ่งได้อกแตกตาย ณ ที่แห่งนั้นดวงวิญญาณได้ไปสิงสถิตที่ดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าดอกหงอนหงส์สืบมา จนถึงบัดนี้ ตัวที่สองตายไปวิญญาณได้ไปเข้าท้องของยักษ์แห่งเมืองอารโว ชื่อว่ายักษ์ อารโว ตัวทีส่ ามตายไปวิญญาณได้เข้าไปสูท่ อ้ งของยักษ์ทอ่ี ยูด่ งหลวงได้ชอ่ื ว่ายักษ์อารโว เช่นกัน

ปฐมราชาผู้มาก่อตั้งเมืองเชียงรุ่งในทุติยกัป

เมื่อกาลล่วงเลยไปจนมาถึงยุคสมัยที่สองยังมีพระราชาแห่งเมืองพาราณสีหลวง พระนามว่าพญาจักกวติราช มีเทวีพระนามว่าสิวกิ าย พระองค์ประสงค์จะเทีย่ วประภาส ป่าหิมพานต์ จึงแต่งตั้งผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์แล้ว จึงพาพระเทวีพร้อมไพร่พล จำ�นวนหนึ่งออกเดินทางจากเมืองพาราณสีหลวงใช้เวลาในการเดินทางนานถึงสามปี เจ็ดเดือนเจ็ดวันจึงบรรลุถึงสระใหญ่ในดงหิมพานต์ และแลเห็นพื้นที่แห่งนี้กว้างใหญ่ ไพศาลมีประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ และพบว่า ณ ที่แห่งนี้มีพระฤาษีผู้บำ�เพ็ญเพียรอยู่ ๔ ตน พระราชาและเทวีจงึ เข้าไปกราบ พระฤาษีจงึ ถามว่าพวกท่านมาจากทีใ่ ด พระราชา จึงกล่าวตอบว่ามาจากเมืองพาราณสีเดินทางมาหลายปีหลายเดือนหลายวันเพื่อมาหา สถานที่อันงดงามแห่งนี้ พระฤาษีทั้งสี่จึงบอกว่า ณ สถานที่แห่งนี้ก็ยังไม่ได้เป็นเขตแดน ของผู้ใดยังเป็นพื้นที่อันว่างเปล่าไร้เจ้าของแต่ต่อไปในภายภาคหน้าจักเป็นที่อยู่ของคน และเทวดาทั้งหลายเมื่อได้ยินดังนั้นพญาจักกวติราชก็มีพระทัยประสงค์จะสร้างเมือง ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ จึงตรัสว่า หากพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นที่อันว่างเปล่าไร้เจ้าของแล้วไซร้ เรานี้ ก็จักขอสร้างเมืองใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ครั้นสร้างเมืองเสร็จก็จะขอแต่งตั้งพระอาจารย์ฤาษี ทั้งสี่ตนได้เป็นราชครูประจำ�เมืองแห่งนี้ ยามนั้นพระฤาษีทั้งสี่ตนก็กล่าวคำ�อนุญาตแก่ พญาจักกวติราช เมื่อได้รับอนุญาตแล้วพระองค์ก็ทรงเอาธนูหน้าไม้อันเป็นอาวุธประจำ� พระองค์มาตั้งแต่ประสูติ จากนั้นจึงบรรจุลูกธนูลงไปและยิงขึ้นฟ้า พลันเมื่อลูกธนู หลุดออกจากแหล่งแล้วลูกธนูพุ่งสู่ฟ้ามีเสียงดังดั่งฟ้าฝ่าแสนครั้งทั่วท้องฟ้ามืดดำ�ไปทั่ว และปรากฏรูบนท้องฟ้าเพียงหนึง่ รู ผูค้ นทีอ่ ยูไ่ กลออกไปต่างตกใจทีเ่ ห็นท้องฟ้ามีรอยรัว่ ต่างตะโกนออกมาว่า โอ้ ท้องฟ้ารั่วแล้วหรือ ภายหลังจึงเป็นที่มาของชื่อของขัวฟ้ารั่ว (สะพานฟ้ารั่ว) อยู่ที่เมืองเชียงตุ๊ง

l 48 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ห่างออกไป ณ ดอยลูกหนึ่งผู้คนต่างก็เห็นปรากฏการณ์นั้นเช่นกันและแลเห็น คล้ายดัง่ ลูกธนูจะร่วงหล่นลงมาและมีเสียงอันดังมากนัก ผูค้ นต่างตกใจกลัวและต่างพากัน หงายฝ่ามือขึน้ ยกบังหัวตัวเองไว้ ภายหลังดอยลูกนัน้ จึงได้ชอ่ื ว่า ดอยทง เมื่อลูกธนูบรรลุถึงดอยสามเต้าลูกธนูไปปักที่ระหว่างผาและวังฟ้า ภายในดง พิมพานต์ก็กลายเป็นบ้านเมืองน้อยใหญ่เกิดขึ้นจำ�นวนมาก ในเขตพื้นที่ประมาณหนึ่ง หมื่นหนึ่งร้อยยี่สิบสองโยชน์ และทุกเมืองต่างมีผู้คน สัตว์ทั้งหลายเช่น ช้าง ม้า วัวควาย เป็ด ไก่ หมู หมาและสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมายพญาจักกวติราชามี ความปิติยินดีเป็นยิ่งนักก็มีดำ�ริว่า เราจักตั้งชื่อบ้านเมืองแห่งนี้ว่า “เมืองเชียงรุ่ง” เหตุ เพราะแต่ละเมืองนั้นก็มีพื้นที่ถึง ๑๒ โยชน์โดยประมาณ ส่วนลูกธนูที่ยิงออกไปก่อน หน้านัน้ ให้ชอ่ื ว่าเมืองออน (ออน แปลว่าก่อน ภาษาไทยใหญ่) อยูท่ ส่ี ามสมดอยผาซึง่ เป็น ที่อยู่ของชาวแง้น (ไทแงน) ส่วนอีกสถานที่หนึ่งที่พญาจักกวติราชได้เอาข้าวทิพย์ไปวางไว้ที่ผาหลวงแห่ง หนึง่ จึงเป็นทีม่ าของชือ่ พระบาทหัวทอง (อ่านว่าหัวตอง หมายถึงทองเหลือง) ส่วนทีเ่ อา นํ้าทิพย์ไปไว้รูปากถํ้าหลวงแห่งหนึ่งบ้านเมืองแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่าเมืองสูง เมืองที่ลูกธนู ไปถึงเรียกว่าผาลับน้อยอยู่ที่เมืองวัง และด้วยเดชแห่งลูกธนูทิพย์วิเศษนี้ได้แผ่อำ�นาจ ไปถึงแดนไกลคือเมืองเชียงแสนเชียงรายต่างก็ขึ้นกับเมืองเชียงรุ่ง และไกลไปถึงแม่นํ้า ฟองหลวงสามสมทะลุถึงประตูเมืองม่าน (พม่า) ประมาณ ๑๐๐ เมือง ก็ขึ้นกับเมือง เชียงรุ่ง ไกลไปถึงเมืองวิเทหราชชื่อว่าเมืองแสหลวงอันเป็นเขตแดนเมืองผาเงา ผาตอง ต่างก็ขึ้นกับเมืองเชียงรุ่ง ยังมีเมืองน้อยใหญ่จำ�นวนมากต่างก็ขึ้นกับเมืองเชียงรุ่งทั้งมวล ดั่งสัณฐานเมือง ก็คล้ายดัง่ หน้าไม้ คือมี ๓ ขา ขาของหน้าไม้ดา้ นหนึง่ แผ่ขยายไปถึงเมืองมหิยงั คะเมืองยอง และเมืองยองก็มีสัณฐานคล้ายดั่งหน้าไม้คือมีสามขา ดังนั้นทุกปีเมืองยองจะทำ�เครื่อง บรรณาการเป็นรูปหน้าไม้ขนาดเล็กไปถวายเมืองเชียงรุ่งตลอด เมืองยองนอกจากจะ ถวายหน้าไม้แล้วยังได้ถวายกลองหลวง ฆ้องเมืองยางนำ�มาถวาย เมืองเชียงแสน เชียงราย ถวายฆ้องน้อย ฉาบเมืองผาตองนำ�มาถวาย ส่วนหน้าไม้นี้หนึ่งปีจะมีประเพณีนำ�ออกมา ทำ�ความสะอาดหนหนึ่ง

l 49 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เมื่อสร้างเมืองเสร็จจึงมาสร้างวัดให้พระฤาษีตนที่หนึ่งและตั้งชื่อวัดว่า “วัดราช ฐานหลวงป่าเชตวัณณะอาราม” และได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นอีกหนึ่งหมู่บ้านข้าง ๆ วัดเชต ชื่อว่าบ้านใหม่สรีแยง และได้สร้างโรงเก็บของไว้อีกหนึ่งแห่ง ภายหลังกลายเป็นชื่อ หมู่บ้านว่าบ้านโรงของและเป็นที่มาของชื่อฝ่ายของ และได้สร้างวัดราชฐานที่หอสนาม หลวงและแต่งตั้งให้พระฤาษีตนที่สองเป็นราชครูประจำ�เมือง และได้สร้างตลาดไว้ใกล้ๆ วัง ตั้งชื่อว่า “กาดหลวงเมืองพะราหะระ” เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรง สละบ้านเมืองเดิมคือเมืองพาราณสีแล้วมาสร้างเมืองใหม่แห่งนี้ ทุ ก ปี ข องช่ ว งสงกรานต์ ผู้ ค นจากทั่ ว หั ว เมื อ งต่ า งพากั น เดิ น ทางมาเล่ น นํ้ า สงกรานต์กนั ณ สถานทีแ่ ห่งนีซ้ ง่ึ ใกล้ทา่ นํา้ มีการพายเรือเล่นนํา้ กันจึงเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า “กาดลี” ต่อมาเรียกว่า “กาดลีกาดหลวง” สืบมา ส่วนพระฤาษีตนที่สาม พระองค์ให้ทรงสร้างวัดราชฐานที่กลางใจเมืองเชียงรุ่ง และเล่าว่ากาลเมื่อพระอินทร์ได้เอาแสงแก้วจิตลูกหนึ่งให้แม่นกกระเรียนไว้ ในขณะที่ แม่นกกระเรียนลงมาเล่นที่ท่านํ้าแห่งหนึ่งพระฤาษีได้ไปพบเข้าจึงไล่แม่นกกระเรียนไป จึงได้แสงแก้วลูกนั้นมา จึงได้สร้างธาตุขึ้นกลางเมืองเชียงรุ่งและนำ�แสงแก้วนั้นบรรจุ ไว้ข้างใน จึงได้ชื่อว่า ธาตุหลวงศรีใจเมืองเชียงรุ่ง และวัดก็ได้ชื่อว่าวัดราชฐานหลวง ศรีหัวเมืองกาดทรายเมืองเชียงรุ่ง และตั้งตลาดไว้ใกล้บริเวณนั้นชื่อว่า “กาดทราย” และพระองค์ก็ให้คนเฝ้าดูแลวัดและกาดทรายแห่งนั้น ต่อมาจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นเรียกว่า “บ้านกาดทราย” ในกลางเมืองเชียงรุง่ นีย้ งั มีบวกสระนํา้ เย็นและสระนํา้ อุน่ อยูแ่ ละทุกปี พระองค์พร้อมพระเทวีและเหล่าขุนนางทัง้ หลายต่างพากันมาสรงและอาบนํา้ อุน่ นํา้ เย็น และจัดมหรสพสมโภชและเป็นประเพณีสรงนํ้าธาตุใจเมืองทุกปี พระองค์ก็ให้ขุนนางฝ่ายสถานที่เข้ามาดูแลรักษาและบริหารจัดการสถานที่ แห่งนี้ด้วยเหตุที่พระองค์มีบัญชาเช่นนี้ จึงได้ชื่อ พญาปางเมือง และภายหลังกลาย เป็นพญาหลวงพาน และเหตุที่ได้มาเสด็จมาจากในเชียงจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า เชียงไชยอีกชื่อหนึ่ง ในคราวที่เสด็จมาสรงนํ้าในสระนํ้าอุ่นและนํ้าเย็นนี้ พระองค์และพระเทวีได้ทรง ปลูกต้นโพธิค์ นละต้น พระเทวีทรงปลูกหนึง่ ต้นไว้ทบ่ี า้ นทราย จึงได้ชอ่ื ว่า “กอศรีนางเมือง” ส่วนต้นที่พระองค์ทรงปลูกอีกต้น ชื่อว่า “กอศรีหลักแก่นเจ้า” และให้สร้างแท่นไว้ จึงได้ชื่อว่า “หลักแก่นแท่นคำ�” สืบต่อกันมา

l 50 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำ�หรับบ้านทรายแห่งนีย้ งั มีพน่ี อ้ งสองคน น้องชายนัน้ ได้ไปตัง้ หมูบ่ า้ นแยกออกมา อีกหมู่บ้านหนึ่งเรียกว่า “บ้านเบียด” ภายหลังเมื่อมีลูกหลานและมีครอบครัวเพิ่มขึ้น ลูกหลานจึงพากันไปตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านหุง” พระฤาษีตนที่สี่ พระราชาทรงโปรดให้สร้างวัดราชฐานขึ้นตรงบริเวณที่รองรับนํ้า แห่งหนึง่ และให้คนอุปฐากและผูด้ แู ลตลาดก็ให้คนจากบ้านทรายไปจำ�นวน๓หลังคาเรือน จึงได้ชื่อว่า “บ้านทุงสามเรือน” หรือบ้านทุงไตเรือน สำ�หรับตลาดก็ได้ชื่อว่า “กาดทุง” ดังนั้นตลาดในเมืองเชียงรุ่งจึงมีตลาดอยู่ จำ�นวน ๕ แห่ง คือ กาดทราย กาดทุง กาดล้าน กาดลี และกาดหลวง สืบมาแต่เดิม เมื่อครั้งเจ้าจันทวิตักและนางเทวีนามว่านางสุระวิณา ได้ฆ่ายักษ์ชื่อทิฆันตะระ ตายแล้วได้บังคับให้แม่นางยักษิณีนามว่า เรวัตตะยักขิณี ให้นำ�ยาทิพย์มาพรมให้ผู้คน ที่ตายแล้วให้ฟื้นคืนมาดังเดิมที่บ้านหวายบ้านเลาดั่งเดิม เมื่อผู้คนฟื้นมาแล้วจึงได้ตั้ง หมู่บ้านใหม่ชื่อว่า บ้านลามแสนเชียงแลง บ้านก่อ บ้านท่าเรือ และบ้านเท้อ อีกตำ�นานหนึง่ เล่าว่ามีเจ้าสุวรรณหอยสัง และนางเทวีชอ่ื ว่านางอุปปวดี ซึง่ เป็น ลูกของพญายักษ์ได้มาสร้างบ้านแห่งหนึ่งบริเวณหางแม่นํ้าที่เชียงใต้ ยามนั้นยังมีพ่อค้า วัวคณะหนึ่ง จำ�นวน ๕๐๐ คน แต่ละคนมีวัว ๕๐๐ ตัวเดินทางมาจากเมืองอัมมวดี หรือเมืองตาริ ได้มาตอบถามและแก้ปัญหาปริศนาธรรม กับพญายักษ์ชื่อว่าพญาอากร วัตตะ ปรากฏว่าพญายักษ์นน้ั พ่ายแพ้ไม่อาจแก้ปญ ั หาธรรมได้ เหล่าพ่อค้าจึงให้พญายักษ์ เอานํ้าทิพย์พรมให้กับผู้ตายไปแล้วหรือหมดสติให้ฟื้นคืนมาดังเดิม ครั้นเมื่อผู้คนได้สติ ฟื้นคืนมาแล้วก็จึงได้สร้างหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ชื่อว่า “บ้านพอก บ้านใหม่” แต่ภายหลัง ก็ร้างไปอีกครา เล่าย้อนกลับไปถึงเจ้าเมืองอารโว ครัง้ เมือ่ หงส์ตวั หนึง่ ได้ตายไปและเกิดเป็นยักษ์ ชื่อว่ายักษ์อารโว ได้แปลงร่างเป็นพญาครุฑและได้มาขโมยไข่แสงของนกกระเรียน ที่พระฤาษีได้นำ�มาไว้ที่ธาตุกลางเมืองเชียงรุ่งก่อนหน้านี้ว่าจะเอากลับไปเมืองอารโว ยามนั้นพระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นแม่นกกระเรียนตัวขนาดใหญ่ไปจิกกัดพญาครุฑขับ ไล่ออกไปเสีย ภายหลังเมื่อยักษ์อารโวสิ้นชีพจึงไปเกิดเป็นลูกของพญาอารโวอีกครา ภายหลังลูกพญาอารโวได้ชวนนางเทวีของตนเดินทางมาที่ดงหิมพานต์ ได้พบกับระมั่ง หรือกวางสีทองตัวหนึ่ง พระองค์พร้อมบริวารจึงตามมาถึงบริเวณดอยหลวงแห่งหนึ่ง ซึ่งมีถํ้าอยู่ ซึ่งแท้ที่จริงระมั่งหรือกวางทองนั้นเป็นพญายักษ์แปลงร่างมา ครั้นมาถึง

l 51 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ปากถํ้าระมั่งกวางทองก็หายตัวไป เจ้าชายลูกพญาอาวโวจึงไม่อาจตามเข้าไปได้และไม่ อาจกลับเมืองได้อีก จึงได้สร้างเมืองขึ้นมาชื่อว่า “เมืองเชียงรุ่ง” ขณะที่อยู่ที่ปากทาง เข้าถํา้ นัน้ ได้สง่ั ให้ไพร่พลสร้างค้างพักแรมไว้ทห่ี นึง่ เป็นทีม่ าของชือ่ หมูบ่ า้ นว่า “บ้านน้าง” และให้ผู้คนไปทอดแหแถวแม่นํ้าแห่งหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า “บ้านจอมแห” มีหน้าที่เอา ปลามาถวายเจ้าเมืองเป็นประจำ� และด้วยเหตุที่ว่ากวางทองได้หายไปในสถานที่แห่งนี้ เสมือนหนึ่งว่ากวางได้ตาย ณ ที่แห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเชียงตาย” และการที่ ไพร่พลไปหาปลาที่คลองบึงแห่งหนึ่ง ก็ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบึง” ต่อมาเป็น “บ้านบึง หนองคำ�” ส่วนที่ปากทางเข้าถํ้าก็ตั้งหมู่บ้านสองหมู่บ้าน คือ บ้านกวางทรายคำ� และ สร้างวัดหลวงขึ้นชื่อว่า วัดอโสกาธรรมราช และอีกหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า “บ้านขัวสูง” ภายหลังพญาเจ้าเมืองยังมีพระทัยอยากได้กวางทองอยู่ตลอดเวลา จึงได้พาไพร่พล ออกเดินทางตามหากวางทองอีกครั้ง เมื่อเดินทางเข้าป่าคราวนี้เกิดหลงป่าและหลง เข้าไปถึงดินแดนแห่งยักษ์ และจะถูกยักษ์จับกิน ขณะที่พญายักษ์จะจับกินนั้น พญา เจ้าเมืองได้กล่าวว่าเรานี้มีธิดา ๗ คน หากท่านประสงค์แล้วเราจักนำ�มาให้ พญายักษ์ จึงกล่าวว่าหากท่านมีสัจจะจะมอบลูกสาวให้แก่เราจริง เราก็จักปล่อยไป พญาเจ้าเมือง ก็กล่าวว่าเราให้สัจจะ พญายักษ์จึงปล่อยกลับคืนเมือง เมื่อเสด็จมาถึงเมืองแล้วพญาเจ้าเมืองก็ให้สร้างศาลาไว้หนึ่งหลังและส่งลูกสาว ไปสังเวยพญายักษ์แล้ว ๖ คน และจับไพร่ฟ้าข้าทาสส่งไปสังเวยเป็นประจำ� จนทำ�ให้ ไพร่ฟ้าต่างหวาดกลัวจึงพากันหลบหนีออกจากเมืองไปยังดินแดนแห่งใหม่ท่ีกว้างขวาง ยิ่งนักจึงพากันสร้างเมืองใหม่ ชื่อว่า “เมืองลวง” หรือว่าเมืองล่วงเหตุเพราะได้ล่วงพ้น ความตายและล่วงพ้นเขตแดนเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งผู้คนก็มาจากเมืองเชียงรุ่งหรือแต่เมือง อารโวมามีหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเต้อ บ้านฟาน บ้านหมอหลวง บ้านทุ่งเรา บ้านท่า บ้านหนิว บ้านกิ๋ว บ้านหนองคำ�เชียงตาย บ้านดอนแท่น บ้านใหม่บงเทิง บ้านน้าง บ้านซางไซ บ้านหลวงจอมวัง หมู่บ้านเหล่านี้ล้วนเป็นข้าทาสที่หนีออกมาจากเมือง อารโวสวนตานมาทั้งสิ้น

l 52 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ประวัติเจ้าบุญปันเป็นเจ้าเมืองเชียงรุ่ง

ประวัตเิ จ้าบุญปัน (อ่านว่าบุญปัน๋ ) ท่านเกิดทีเ่ มืองหุนทีบ่ า้ นนํา้ อุน่ กำ�พร้ามารดา แต่เล็ก บิดาแต่งงานใหม่ซึ่งแม่เลี้ยงของท่านไม่ชอบท่านจึงได้ยุแหย่ให้สามีนำ�เจ้าบุญปัน ไปทิ้งเสียกลางป่า หนูน้อยบุญปันมีเพียงหมาน้อยหนึ่งตัวเป็นเพื่อน เมื่อถูกทิ้งกลางป่า หนูนอ้ ยบุญปันและหมาน้อยจึงเดินไปในป่าอย่างไร้ทศิ ทางจนหลงเข้าไปในแดนของยักษ์ ชื่อว่าพญายักษ์ทีฆะกะ พญายักษ์หมายจะจับเด็กน้อยกินแต่ด้วยบุญญาธิการของเด็ก น้อยบุญปันพญายักษ์จึงไม่อาจกินได้ จึงเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรมของตน และสอน ศาสตร์ศิลป์ให้ทุกประการ เมือ่ อายุครบ ๑๔ ปีบญ ุ ปันจึงขออนุญาตพ่อยักษ์วา่ ตนปรารถนาจะกลับไปหาพ่อ ของตน พญายักษ์ก็อนุญาต จึงเดินทางออกจากเมืองยักษ์แต่หลงทางเข้าไปในเขตแดน เมืองเชียงรุ่ง จึงได้ไปขออาศัยบ้านนางพิณแก้ว บ้านใหม่ศรีแยง ในฐานะลูกบุญธรรม ของนางพิณแก้ว เป็นเวลาเดียวกันที่พญาอารโวเจ้าเมืองเชียงรุ่งจะส่งธิดาของตนคนที่เจ็ดชื่อว่า นางภมปันหน่อเมือง เพื่อส่งเป็นเครื่องสังเวยให้กับพญายักษ์ดอย เจ้าบุญปันจึงเข้าต่อสู้ แย่งชิงนางกลับมาได้และแต่งงานกับนางภมปันหน่อเมือง เป็นบุตรเขยของพญาเจ้าเมือง และสร้างเมืองเหนือปางยอง ได้สืบราชวงศ์ปกครองเมืองเชียงรุ่งถึง ๗ ยุค ๗ สมัย ส่วน พญาอารโวนั้นได้ปกครองเพียง ๑ สมัยเท่านั้น

ตำ�นานนํ้าหี้ผาหน่อหมาควาย

เรื่ อ งเล่ า ว่ า ในสมั ย พระพุ ท ธเจ้ า พระนามว่ า กกุ สั น ธะลงมาเกิ ด เพื่ อ สร้ า ง โพธิสมภารนั้น เมืองเชียงรุ่งแห่งนี้ก็มีแต่เพียงผู้หญิงจำ�นวน ๔๒ คนเท่านั้น ยังมีผาแห่ง หนึ่งซึ่งมีหินงอกออกมามีสัณฐานรูปคล้ายดั่งลึงค์ ชื่อว่า “ผาหน่อหัวเมือง” หญิงทั้ง หลายก็พากันไปสำ�เร็จความใคร่โดยใช้หินแห่งนั้นทุกวันจนนํ้าแห่งราคะพวกนางไหล เป็นทางจนกลายเป็นแม่นํ้าสายหนึ่ง ชื่อว่า “แม่นํ้าหี้” เมื่อนั้นยังมีหมาตัวหนึ่งมีร่างกายใหญ่โตมาจากเมืองสางควายหลวงชื่อว่าหมา ควายได้มาสมสู่กับหญิงทั้งหลาย ยามใดที่หญิงคนไหนให้กำ�เนิดลูกชาย หมาควายตัว นั้นก็จะกัดฆ่าทิ้งเสีย เหลือไว้เพียงลูกผู้หญิงเท่านั้นจึงทำ�ให้ประชากรไม่อาจเพิ่มขึ้นได้ ยามนัน้ ยังมีเจ้าเตเม อีกชือ่ หนึง่ หนึง่ คืออ้ายเกิกกล้า ท่านเลียบโลกและมาถึงเมืองเชียงรุง่

l 53 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ก็ไม่เห็นผู้คนหรือผู้ชายแม้แต่คนเดียว เห็นแต่หมาควายตัวนั้นนอนกับหญิงทั้งหลาย ก็คิดที่จะกำ�จัดหมาควายตัวนั้นเสีย จึงแปลงร่างเป็นแมลงเกลือกกล้าคือ เป็นแมลง ตัวเล็กเข้าไปอยู่ในกองกล้า และได้ฆ่าหมาควายตัวนั้นจนตาย และนำ�ศพหมาควายไป ที่แห่งหนึ่งของนํ้าโขง สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “แก่งหมาเน่า” เมื่อหมาควายตาย แล้วเหล่าหญิงที่เคยอยู่กับหมาควายก็ไม่อาจตัดใจลืมได้ลงจึงนำ�เลือดของหมาควาย มาป้ายผ้าซิ่นไว้ จึงได้ชื่อว่า “ซิ่นก่านหมาควาย” และเอามาป้ายที่คาดหัว จึงได้ชื่อว่า “คาดหัวไหมเบียด” ส่วนหมาควายตัวนั้นเมื่อตายไปแล้วก็ไว้เวรแมงเกิกกล้า ดังนั้น เมื่อหมาเห็นกองกล้าอยู่ตรงไหนหมาก็มักเข้าไปนอนทับหรือกลิ้งเกลือกบนกองกล้า เหล่านั้นสืบมาส่วนอ้ายเกิกกล้าได้เป็นเจ้าเมืองเชียงรุ่งได้สองช่วงตระกูล

ประวัติพรานป่าสร้างบ้านหกบ้านหกหัว

มีพรานป่าจำ�นวน ๗ คนชื่อว่าสมเด็จเจ็ดราชครู มาจากมัทธราช ใช้เวลาในการ เดินทางประมาณ ๗ เดือน จึงมาถึงดงหิมพาน เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพื้นที่ อันว่างเปล่า พรานทั้งเจ็ดได้ชื่อว่าฤาษีพรานป่า ทุกคนต่างมีเหล็กที่มีเปลวไฟจึงทำ�การ เผ่าป่าแห่งนั้นเพื่อดูพื้นที่ จึงเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ได้พากันเที่ยวดูสถานที่โดยรอบ พบเห็นสระนํ้า จำ�นวน ๖ แห่ง แต่ละแห่งก็มีความ แตกต่างกัน รอยเท้า สีนํ้าหรือแม้แต่ดอกบัวในสระก็มีลักษณะที่ต่างกัน และมีสระ ขนาดใหญ่อยู่หนึ่งสระมีนํ้าที่ใสสะอาดภายในสระมีดอกบัวเทศ และบัวหลายประเภท พวกเขาจึงได้เด็ดดอกบัวจากสระใหญ่อันนั้นมาวางไว้บนบกบริเวณที่วางกองเพลิงนั้น เป็นแห่งแรกจึงได้ตั้งบ้านขึ้น ณ ที่แห่งนั้นเป็นที่แรกโดยใช้ชื่อว่า “บ้านพราน” ต่อมา มีชาวนาและชาวทัมมิละ ได้พากันแยกย้ายออกมาตั้งเป็นปางต่าง ๆ เรียกว่า ปางลอ ปางเถื่อน ปางเผียว ปางยาง ปางของ ปางกอง มีจำ�นวน ๖ ปาง สระก็มีจำ�นวน ๖ สระ รวมเป็น ๑๒ จึงได้ชื่อว่าเมืองสิบสองปันนา นครเชียงรุ่ง ซึ่งในห้วงเวลานั้นยังไม่มีระบบ เจ้านายหรือเจ้าเมืองเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้คนต่างมาอาศัยและต่างคนต่างอยู่กัน

l 54 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตำ�นานไทลื้อมาจากไหน

ไทลื้อเรานั้นได้ตั้งบ้านเมืองอยู่หนือเมืองแสหลวง มีจำ�นวน ๓ เมือง คือ เมืองซางไต เมืองป่าซาง และป่าเข้า คนยังไม่จำ�นวนมากเมื่อเกิดสงครามขึ้นไทลื้อ เราไม่อาจต้านกองทัพทีเ่ ข้มแข็งกว่าได้ จึงได้อพยพหนีลงมาตัง้ เมืองใหม่อกี ทีห่ นึง่ เรียกว่า “เมืองแย้นแชงเชียงกู่” อยู่สงบมาช่วงระยะหนึ่ง แต่ภายหลังถูกจีนรุกรานทำ�ให้แตก เป็นสามกลุม่ กลุม่ ทีห่ นึง่ หนีเข้าไปอยูใ่ นดงหิมวันและไปพักอยูท่ แ่ี ห่งหนึง่ และตัง้ ชือ่ เมืองว่า “เมืองล้านช้าง” กลุ่มที่สองหนีไปที่แม่นํ้าสาละเว (สาละวิน) ได้ตั้งเมืองขึ้นมาใหม่ชื่อว่าเมือง “อโยธิยาน” คือเมืองไทยก็ถือว่าเป็นไทลื้ออยู่ กลุ่มที่สามลงมาตามสายแม่นํ้าโขงและได้มาตั้งเมืองที่เมืองเชียงรุ่ง ถือว่า เครือไทลื้อเราเป็นเชื้อเครือที่ยิ่งใหญ่เราอย่าลืมบุญคุณบรรพบุรุษของพวกเรา

ตำ�นานบ้านเชียงตาย (เชียงทาย)

ตำ�นานเล่าว่าในครั้งที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะได้เลียบโลกเดินทางมาถึง เมืองเชียงรุ่ง ยังมีผู้คนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งพากันนอนหลับไม่ยอมตื่น จึงทักว่าผู้คนใน บ้านแห่งนี้ตายกันหมดสิ้นแล้วหรือ จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านว่า บ้านเชียงตาย

ตำ�นานบ้านดอนทัน (ดอนแทน)

ยังมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ทันใส่บาตรพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาโปรด จึงได้ชื่อว่า “บ้านดอนทัน” อีกตำ�นานหนึ่งเล่าว่ามีหญิงสาวจำ�นวนหนึ่งได้ไปเก็บผลพุทราร้อน (ไทลื้อเรียกว่าหมากแทน-ออกเสียงว่าหมากแตน) ใส่กระเป๋าเสื้อมา และช่วยกันสอย ผลพุทราลงมากินกันผลที่ร่วงลงมาถึงดินเหล่าหญิงสาวก็พากันเป่าเศษฝุ่นออกก่อนกิน พวกชายหนุม่ มาเห็นเข้าจึงพากันบอกว่าพุทราทีพ่ วกเธอเป่าแล้วกินคงร้อนสินะ จึงเรียกว่า ผลพุทราร้อน ส่วนผลไหนที่พวกเธอไม่ได้เป่าก่อนกินนั่นเรียกว่าพุทราเย็น

ตำ�นานเชียงแรงเชียงรุ่ง

อีกตำ�นานเล่ามาเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จเลียบโลกไปยังสถานที่ต่างๆ และลุมา ถึงเมืองแห่งหนึ่งในช่วงรุ่งอรุณ จึงมีพุทธทำ�นายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ณ ที่แห่งนี้ จักเป็นจักมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “เชียงรุ่งเชียงแรง”

l 55 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ตำ�นานวัดป่าเชต์

ตำ�นานเล่าว่ามีอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างวัดหลวงชือ่ ว่าวัดป่าเชตวัณณะอาราม หลังหนึ่งเพื่อถวายให้กับพระพุทธเจ้าที่บ้านใหม่สรีแยงที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่จำ�นวน หมื่น หลังคาเรือนและทุกคนต่างพากันมาร่วมในงานถวายในครั้งนั้น ขณะที่พระพุทธเจ้าจะ เสด็จมานั้นพุทธองค์ได้ทรงล้างขาของพระองค์ ณ ร่องนํ้าแห่งหนึ่งแม่นํ้าแห่งนั้นจึงได้ ชื่อว่า “รองขา” สืบมา ยังมีลูกชายของเศรษฐีชื่อว่า เชตกุมารและลูกสะไภ้ได้สร้าง อุโบสถและธาตุล้อมบริเวณนอกวัดอีกชั้นหนึ่งในช่วงเวลานั้นพระเจ้าแผ่นดินจึงได้ป่าว ประกาศแก่ไพร่เมืองทั้งหลายให้มาสร้างวัดหลวงจอมทอง เพื่อรอให้พระพุทธเจ้าเสด็จ เลียบผ่านถึงบริเวณรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้ง ๓ พระองค์ได้ประทับ ไว้ยามนั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ พระองค์มีความกระหายนํ้าและได้เห็นชาว ทัมมิละหาบนํ้าผ่านมาเพื่อนำ�ไปหุงหาอาหารแต่มิได้ถวายนํ้าให้พระพุทธเจ้าโดยบอกว่า ทีแ่ ห่งนีห้ านํา้ ยาก (เขียมนํา้ ) พระพุทธเจ้าจึงตัง้ ชือ่ สถานทีแ่ ห่งนัน้ ว่า “ปราสาทนํา้ เขียม” ต่อมาเพี้ยนมาเป็นบ้านนํ้าคิม ณ ที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ประทับรอยพระบาทของ พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ข่าวนี้ได้ก็แพร่กระจายออกไปว่ามีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ทีแ่ ห่งนี้ แต่มบี างหมูบ่ า้ นบอกว่าตนไม่เคยได้เห็นหรือรูข้ า่ วเลยเพราะมัวแต่อยูใ่ นบ้าน บ้านแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “บ้านมัวเมา” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านไหท่ามู หมู่บ้าน แห่งหนึ่งได้นำ�ดอกไม้ไปถวายพระพุทธเจ้า บ้านแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “บ้านดอกใหม่” เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนภูเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่ที่พญายักษ์หลวง ได้ฆ่ายักษ์อารโว เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงก็ประทับเหนือบัลลังก์ของพญายักษ์นั้นไว้ เหล่าองค์รักษ์พญายักษ์ก็กล่าวถามว่าสูเป็นใครเหตุใดบังอาจมานั่งบนบัลลังก์ของ พญาแห่งเรา แล้วก็ไปแจ้งข่าวแก่พญายักษ์ เมื่อพญายักษ์ทราบข่าวก็บังเกิดความโกรธ เป็นยิ่งนัก เมื่อมาเห็นพระพุทธเจ้านั่งบนบัลลังก์ของตน จึงตะโกนด่าว่า นี่ท่านสมณะ หัวโล้นบังอาจมานั่งบนบัลลังก์ของเราหรือ จึงเนรมิตกายเป็นวัวเพื่อทำ�ร้าพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็เนรมิตกลายร่างเป็นเสือ เพื่อจะกัดวัว แม้พญายักษ์จะเนรมิตเป็น สิ่งใดก็ไม่อาจต่อสู้พุทธานุภาพได้ จึงน้อมรับนับถือพระพุทธเจ้าและรับไตรสรณะคม เมื่อรับศีลจบแล้ว เขี้ยวของพญายักษ์ทั้ง ๔ ซี่ ก็หล่นร่วงลงสู่พื้น ยามนั้นพระพุทธเจ้า ก็ตรัสว่าเหตุทเ่ี รามานัง่ บัลลังก์บนดอยแห่งนี้ ด้วยเหตุนด้ี อยแห่งนีจ้ กั ชือ่ ว่า “ดอยลุกนัง่ ” นั้นแล

l 56 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หลังจากพญายักษ์กลับใจยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าจึงบวช ให้พญายักษ์และบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงพาพญายักษ์ผู้ออกบวช แล้วติดตามมาที่กาดทราย แต่พระพุทธเจ้าเกรงว่าชาวบ้านที่เคยเห็นพญายักษ์แม้จะ ออกบวชแล้วก็ตามจะตกใจและแตกตื่น จึงได้เดินเลยตลาดหรือกาดทรายนั้นไปเสีย แต่คนทั้งหลายก็ต้องการจะเห็นหน้าพญายักษ์ต่างส่งเสียงจนเกิดเสียงดังอื้ออึงสถานที่ แห่งนั้น จึงได้ชื่อว่า “ดอนมอ” (มอ ภาษาไทยใหญ่แปลว่าอื้ออึงหรือวุ่นวาย) จากนัน้ พระพุทธเจ้าได้พาพญายักษ์ไปถึงเมืองเชียงใต้ และจักบวชให้แต่พญายักษ์ กลัวคนเห็นจึงหนีไปเสีย พระพุทธเจ้าจึงให้คนไปตามหาและไปเห็นพญายักษ์นั่งพัก และทำ�หน้ามืนๆไว้ พระพุทธเจ้าจึงทำ�นายว่าที่แห่งนี้ภายหลังจักมีชื่อว่า “บ้านลื้อ” (ลื้อ แปลว่าพัก) เมื่อพบตัวพญายักษ์แล้วพระพุทธเจ้าจึงทำ�การบวชให้แก่พญายักษ์มีนามว่า อาระวักกะที่วัดหลวงจอมทอง จนได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน จึงบอกอารวะวักกะว่า ตราบใดที่ พ วกยั ก ษ์ ยั ง ได้ ยิ น เสี ย งกลองหลวงดั ง จากวั ด สรี ไชยเมื อ งหั ว กาดทราย เมืองเชียงรุ่งนั้น พวกยักษ์ทั้งหลายจงมาล่ากินเนื้อสัตว์และมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้ ตราบนั้น เมื่อสั่งสอนพญายักษ์เสร็จก็ให้พญายักษ์กลับไปยังดินแดนของตน จากนั้น พุ ท ธองค์ ก็ เ สด็ จ กลั บ และทรงทอดพระเนตรวั ด ใจเมื อ งหรื อ อยู่ ใ นคลองจั ก ษุ ข อง พระพุทธเจ้า วิหารวัดหลวงใจเมืองแห่งนี้ก็เป็นพระเจ้าแผ่นดินสร้างถวาย อุโบสถมีท้าวทั้งสี่ เป็นเจ้าภาพ คือท้าวลวงทราย ลวงทุ้ง ลวงของ และลวงห้วย ตลาดโดยรอบก็มอบให้ ท้าวทั้งสี่ดูแล คือ กาดหลวง กาดทุ้ง กาดทราย กาดล้าน สำ�หรับกำ�แพงก็ ขณะที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับนั้นพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรทุ่งนาอันกว้างใหญ่แต่ไร้นํ้า พุทธองค์จึงใช้ไม้เท้าเหล็กขีดลงบนผืนดินแห่งนั้นจนเกิดร่องนํ้าและลำ�เหมือง จึงได้ชื่อว่า “เหมืองพระเจ้า” มีหมู่บ้านที่เกิดขึ้นในห้วงเหตุการณ์นี้คือ บ้านสอ และบ้านหล่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากวัดจอมทองแล้วได้เสด็จไปสั่งสอนสิงห์สองตัว ที่เป็นคู่ผัวเมียให้นับถือศรัทธาในพระองค์แล้ว พระองค์จึงประทับพระบาทไว้ที่ บ้านเชียงทายประทับรอยพระบาทให้นาค ๙ ตัวที่บ้านแควงลื้อ ประทับรอยพระบาท ไว้ที่ดอยถํ้าดงหนาให้ยักษ์ ๒ ตน ได้กราบไหว้ประทานเกสาแก่พญาเจืองบ้านยิง

l 57 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พญาบ้านจอมแห และพญาปรัมมะพรหมวงไชยะ ทั้งสามพญาเป็นผู้นำ�พร้อมด้วยไพร่ เมืองทัง้ หลายมาช่วยกันก่อสร้างเจดียธ์ าตุหลวงปางเยือ เพือ่ กัน้ เส้นทางยักษ์ไว้ จากนัน้ ได้เสด็จไปยังเมืองเชียงแรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ดอยซานทาสาน ข้ามไปดอยหลวง ลวงกู่ ข้ามไปยังเมืองกัณธะรัฐเมืองแกว และเมืองแหน ลาหู เมืองภูฝาง เมืองตักกสิลาปา ลิไลยนคร ปาฬิพูเสอ เข้าเมืองกวางเซียวได้ประทับรอยพระบาทไว้ชื่อว่าเขากวางซี เสด็จเข้าไปในเมืองวิเทหราช เมืองสางงอยหรือเมืองปักกิ่ง พระพุทธองค์ได้ประทาน กระบอกเข็มร้อยเล่มให้กับชาววิเทหราช ที่ดอยเมืองกัวหรือว่าเมืองพูหวานแสนแส่ เหตุมีหญิงสาวจำ�นวนแสนคนนำ�ดอกไม้มาถวายจึงได้ชื่อว่าแสนสาวดอกไม้ต่อมา แผลงเป็นชาวแซ้นใต้ชาวแซ้นเหนือ จากนั้นเสด็จไปยังเมืองต่างๆ เช่น ล้านช้างล้านนา เชียงใหม่ เมืองไท ที่มาจากตำ�นานพญาสัญชัยไถ่หลานออกเป็นไท จึงชื่อว่าเมืองไถ่ก่อน จะกลายมาเป็นเมืองไทย เสด็จไปเมืองพันธารัฐชาวเมืองได้ใช้โถแก้วใส่นํ้ามาถวาย จึงได้ชอ่ื ว่าเมืองแก้วอะเย เมืองเยหนองไผ่หรือว่าเมืองยี ไปเมืองหนึง่ ทีก่ ม็ ผี คู้ นเอาดอกไม้ มาถวายโดยการวางไว้บนเหนือศีรษะจึงได้ชื่อว่าเมืองยัวหรือเมืองยก

ประวัติการสร้างพระธาตุจอมแล

พระธาตุจอมแลเป็นพระธาตุที่บรรจุแสงแก้วที่พญาปรัมมะจักรบ้านนา และ พระวัณณพรหม และพญาจันทพรหมแห่งบ้านกองหลวง ทั้งสามเป็นพี่น้องกันร่วมกัน สร้างและได้บรรจุแก้วมหานิลและค้นวชิรเพชร ต่อมาเรียกว่าธาตุบ้านกองหลวง

ตำ�นานสร้างพระธาตุเชียงทายและสิ่งที่บรรจุในพระธาตุแต่ละองค์

ธาตุอินแถลง ที่เชียงทายนี้ได้สร้างทับรอยพระบาทที่อยู่ลึกลงไป ๔๔ ศอกเพื่อ ป้องกันคนใบบาปมาทำ�ลาย ธาตุจอมหงส์ ธาตุจอมทอง ก็เป็นพระธาตุที่สร้างครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ธาตุจอมของ บรรจุเกสาดิน ธาตุดอนเบียน บรรจุผ้าเช็ด ตั้งอยู่ที่นายอง ขัวมุงนาแขก ธาตุปางเยอ บรรจุเกสาดินสองเส้น ธาตุจอมหมอก บรรจุกระดูกกระหม่อม ธาตุบัวน้อย บรรจุพระเกสา สร้างไว้กลางลำ�นํ้าโขงโดยสร้างเรือเงินเรือทองทำ�เป็นแพ ต่อกัน

l 58 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ธาตุจอมแป จอมซาง จ ธาตุบ้านขามหวาน ก่อสร้างปีจุลศักราช (๑๒) ๑๓ ธาตุบ้านแหลม สร้างปีจุลศักราช (๑) ๑๑๓ ธาตุหลวงปู่หลาน ก่อสร้างปีจุลศักราช ๑๒๘๒ ธาตุบ้านแอ่นเมืองลวง ก่อสร้างปีจุลศักราช ๑๓๑๖ เมืองมัณฑะเล เป็นวันสัพพัญญูเจ้า มีพระพุทธรูป ๔๔,๖๔๓,๗๐๐ องค์ ที่อยู่รักษาของ เมืองม่อนยาวแล ธาตุจอมยอง มีความสูง ๑๓ วา

ประวัติชนชาติภาษาและวัฒนธรรมไท

กล่าวถึงประวัติชนชาติภาษาและวัฒนธรรมไท ถือว่าเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ตาม คำ�บอกเล่าและที่ปรากฏตามเอกสารแต่กาลก่อนและมาถึงสมัยนี้ ซึ่งชาวไทและเมืองไท ไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน แม้ว่าบ้านเมืองหรือประเทศมิได้อยู่รวมกันก็ตามแต่ก็มีการ กระจายออกไปในหลายประเทศ เช่น ไทลื้อในประเทศจีน ไทแลม ไทน้อยเป็นคนไทยในประเทศไทย ไทลาว ไทแดง เขมร ไทดำ�เวียดนาม ไทขาว ไทอิสานอินเดีย ไทอบุม (อาหม) ไทเหนือ อยู่ในประเทศ จีน ไทหย่า เป็นต้น และยังไม่นับชาวไทที่(พุทธ) ศาสนาเผยแพร่ไปไม่ถึงยังมีจำ�นวน ไม่น้อย เมื่อเราเกิดมาร่วมเป็นชนชาติไทเหมือนกัน เชื้อชาติเดียวกัน ภาษาอักษรและ วัฒนธรรมคล้ายคลึงกันควรดูแลและช่วยเหลือปกป้องกัน อย่าลืมบุญคุณของบรรพบุรษุ ร่วมกัน ไม่ควรแบ่งแยกว่าเป็นไทอะไร เพราะเราคือเชือ้ ชาติเดียวกัน ภาษาพูดก็คล้ายกัน ไทลื้อ ไทแลม ไทขืน ไทคำ�ตี่ ก็กลุ่มเดียวกัน ตัวอักษรก็คล้ายกัน อักษรพื้นเมืองอักษร ไทลาว อักษรไทขาว อักษรเมืองแกว อักษรขืน อักษรไทหลวง อักษรมคธอินเดีย อักษร ไทสิบสองปันนา อักษรธรรมเมืองแลม ไทหลวงเป็นกลุ่มที่มีจำ�นวนมากที่สุดในกลุ่ม ชนชาติไทแต่มักพูดภาษาไทปนภาษาพม่าไม่น้อย

l 59 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

พื้นที่และประชากร

แผนที่และพื้นที่ของชนชาติไท กว้างยาวโดยรอบประมาณ ๖๑,๑๒๓ ตาราง กิโลเมตร พื้นที่นา ๖๑,๑๒๔ พันนา ประชากร ๓,๗๑๘,๗๐๖ คน

เมืองเก่าสมัยก่อตั้ง

๑. ต่องกี ๒. ดอยแหลม ๓. ปางหลวง ๔. ลายข่า ๕. เมืองปั่น ๖. เมืองไหย ๗. ฝายของ ๘. ลางเคือ ๙. หมอกใหม่ ๑๐. อินเดีย ๑๑. หย่องส้วย ๑๒. ส้อยหญ่อง ๑๓. ลอมจอม ๑๔. คคลิ ๑๕. สีแสง ๑๖. ปางลอง ๑๗. หัวเปียง ๑๘.ปิ่นตยา ๑๙. นํ้าจาง ๒๐. ปูเหนิง ๒๑. แสนหวี ๒๒. สีป้อ ๒๓.หล้าเสี้ยว ๒๔.จ๊อกเม่ ๒๕. เมืองสู่ ๒๖. ตางยาน ๒๗. มุแจ้ ๒๘ นํ้าคำ� ๒๙.เมืองมาว ๓๐. มะเอียว ๓๑. เกซีบ้านจาม ๓๒. กุ่งแกน ๓๓. กดขาย ๓๔. เมืองกืน ๓๕. ปางยาง ๓๖. หัวปาง ๓๗. นํ้าสัน ๓๘. เมืองมิด ๓๙. กุงหลวง ๔๐. นํ้าตุง ๔๑. ยาวงาน ๔๒. ปางผ่าน ๔๓. หนองเขียว ๔๔. เชียงตุง ๔๕. เมืองยางหลวง ๔๖. เมืองพยาก ๔๗. ท่าขี้เหล็ก ๔๘. เมืองยอง ๔๙. เมืองดก ๕๐. เมืองตวน ๕๑. เมืองสาด ๕๒. ปางหวาย

ภาษาพูดในเมืองไท ๑๕ ภาษา (ภาษาพูดหรือชนชาติ)

๑. ไทยใหญ่ ๒. พม่า ๓. ป่ะโอ ๔. ปะหล่อง ๕. ข่าว้า ๖. ไทหลอง ๗. ไทขาง ๘. ไทยาง ๙. ลีซอ ๑๐. มูเซอ ๑๑. ทะนุ ๑๒. ก้ออาข่า ๑๓. อะเค้อ ๑๔. นิก้วย ๑๕. ไทดอย

หัวเมืองที่ขึ้นกับเมืองเชียงรุ่ง ๔๗ หัวเมือง

l 60 l

๑. สรีวิสุภวสต ๒. สอถตรฐ ๓. อติปรมรฐ ๔. ปุพฺพรฐ ๕. ปพฺพสทรฐ ๖. พนฺธปุตฺตหิตรฐ

นครเชียงรุ่ง เมืองออง เมืองลวง เมืองหุน เมืองปาน เชียงลอ


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

๗. อมรฐ ๘. เขมรฐตุงฺคปุรี ๙. สิริเปกฺขารฐ ๑๐. เตมิยรฐ ๑๑. เชยฺยโชติกิตฺตรฐ ๑๒. วิกิตฺตรฐ ๑๓. วิตกฺกรฐ ๑๔. อญฺญรฐ ๑๕. คภทฺธรฐ ๑๖. วณฺณตรฐ ๑๗. ธโทรฐ ๑๘. มหิยงฺครฐ ๑๙. ปุเชยฺยรฐ ๒๐. มทฺธรฐ ๒๑. อรคฺคนท ๒๒. วกฺขนฺตุรฐ ๒๓. กขรเชยฺยรฐ ๒๔. เมืองติง ๒๕. ลมฺมรฐ ๒๖. เหยฺยเหรฐ ๒๗. ลามเหตรฐ ๒๘. มเหรตฺถตรฐ ๒๙. เชยตรฐ ๓๐. พหุวจนรฐ ๓๑. ทกฺขิณวรฐ ๓๒. ปรมฺมรฐ ๓๓. โรหรฐ ๓๔. ปพฺพารฐ

เมืองม้า นครเชียงตุง เมืองแลม เมืองแช่ เมืองเชียงเจิง เมืองฮาย เมืองงาด เมืองขาง เมืองมาง เมืองวัง เมืองลาไต เมืองยอง เมืองสูง เมืองวัง เมืองหย่วน เมืองขัน เชียงแขง เมืองฮำ� เมืองยางน้อย เมืองล้า เมืองยางหย่วน เมืองพง เมืองอุตตระ เมืองอุเหนือ เมืองบ่าง เมืองเชียงตอง เมืองลาห้อ

l 61 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

๓๕. กนฺธรฐ ๓๖. ขนฺธรฐ ๓๗. สุรฐ ๓๘. สนคฺคปุริรฐ ๓๙. สิํธวรฐ ๔๐. ชรกุพฺปนคฺคมรฐ ๔๑. ปุรชนิปิกฺกมฺมรฐ ๔๒. สิงฺหารฐ ๔๓. วมทฺธรฐ ๔๔. ตทเชตฺตรฐ ๔๕. นหปุริหริพรฺมฺมเชยฺย ๔๖. นครเชียงใหม่ ๔๗. เมืองตุม

ตำ�นานแม่นํ้าห้า

เมืองกล้า เมืองบ่อน้อย เมืองปั่น เมืองเชียงฟ้า เมืองกึงม้า เมืองบ่อแห เมืองเชียงแห เมืองสิง เมืองมิง เชียงแสน เมืองกุร

ตำ�นานแห่งแม่นาํ้ ห้านี้ มีเรือ่ งเล่าว่า ในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสนั ธะ ลงมาสร้างโพธิสมภาร ยังมียกั ษ์สองผัวเมียทีด่ รุ า้ ยคูห่ นึง่ ทีอ่ าศัยอยูบ่ นดอยฟ้าพันมีบริวาร จำ�นวนหมื่นตน พระอินทร์ได้ประทานธนูวิเศษให้กับเจ้าเตมียกุมารองค์หนึ่งแห่งเมือง จำ�ปานคร ให้มาปราบยักษ์ทั้งสองตนโดยกุมารได้ฆ่ายักษ์ทั้งสองตายทิ้งซากศพไว้ที่ดอย ปวกเต่าคำ� ส่วนบริวารของยักษ์ต่างหวาดกลัวเจ้าเตมียกุมาร จึงพากันหนีเข้าป่าและ กลายร่างเป็นคน เรียกว่าคนเถื่อน มีลักษณ์ตัวใหญ่ตาพองโต มีเขี้ยว ใช้ขนสัตว์เป็น เครือ่ งนุง่ ห่ม มีรอยบนใบหน้า ผิวหยาบกร้าน ชือ่ ว่าชาวปลายตีนเผยออง (เดินเท้าเปล่า) หรือชาวมูเซอ มักอยู่ที่ไหนไม่มั่นคง ชอบย้ายถิ่นฐานเสมอ ครัน้ มาถึงสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสัปปะเลียบโลกผ่านมาถึงหนองนํา้ ที่ยักษ์ทั้งสองตายนั้น ก็มีกลิ่นเน่าเหม็นยิ่งนัก พระพุทธกัสสัปปะจึงเสด็จถอยหนกลับ ออกมาจากที่นั้นจึงได้ชื่อว่าพระบาทบ้านหน จากนั้นพระองค์ได้ใช้วีโบกขระพัดพัดวี ซากศพของยักษ์ทง้ั สองไหลไปลำ�นํา้ และไปค้างทีแ่ ห่งหนึง่ ต่อมากลายเป็นเวียงเชียงเจิง ศพของยักษ์ตัวเมียได้พลิกหงายค้างที่แห่งหนึ่งที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่าหอเผือกเมืองแช่

l 62 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ต่อมาชื่อว่าเมืองลมเหตุเพราะถูกลมจากวีโบขระพัดของกัสสัปปะพุทธเจ้า หลังจากนั้น พระพุทธองค์ได้ใช้ไม้เท้าเหล็กขีดลงบนแผ่นดินให้นํ้าไหลขึ้นมาทางทิศตะวันออกเข้าสู่ กลางเมืองฮาย ผ่านเมืองเชียงรุง่ และทะลุไหลลงสูแ่ ม่นา้ํ โขง จึงเป็นทีม่ าของแม่นา้ํ ห้ายักษ์ หรือแม่นํ้าห้าในปัจจุบัน

ตำ�นานนํ้าหนองฟอง

พระพุทธกัสสัปปะได้ทอดพระเนตรเห็นหนองนํ้าแห่งหนึ่งจึงใช้ไม้เท้าเหล็กขีด เพื่อไขเป็นทางนํ้าออก สายนํ้าที่ไหลออกมาก็พุ่งเป็นเกลียวเป็นฟองนํ้าจำ�นวนมากไหล ไปถึงเมืองพระเจ้าโคตมะ ผู้คนได้พากันมาตั้งบ้านเมืองภายหลังนํ้าแห้งแล้ว ที่แห่งนั้น จึงได้ชื่อว่า บ้านหนองฟอง

ตำ�นานนํ้าออด นํ้ากล้า นํ้าห้วยแก้ว

ครั้งหนึ่งยังมีครุฑราชจำ�นวน ๓ ตัว อาศัยอยู่ในดงแห่งหนึ่งจับสัตว์น้อยใหญ่ เป็นอาหารมาตลอด ครั้นเมื่อพระโคตมะพุทธะเสด็จเลียบโลกผ่านมาถึงที่ครุฑทั้งสาม อาศัยอยู่นั้น ได้โปรดครุฑทั้งสามและให้ถือศีล ๕ ศีล ๘ ครุฑทั้งสามเมื่อรับศีลแล้ว จึงไม่อาจฆ่าสัตว์เพือ่ เป็นอาหารประทังชีวติ ตนได้ เมือ่ อดอาหารครบเจ็ดวันจึงสิน้ ชีวติ ลง เมื่อตายไปแล้วนํ้าเน่าได้ไหลออกจากซากศพของครุฑทั้งสาม จึงเรียกว่าแม่นํ้าอด หรือ นํ้าออด เหตุเพราะอดอาหารจนตาย ในขณะที่อดอาหารนั้นก็มีความทุกข์ทรมาน จนนํ้าตาไหลจึงได้ชื่อว่านํ้าตาแก้ว หรือนํ้าตาห้วยแก้ว ส่วนนํ้าตาที่เน่าและไหลออกมา นั้นได้ชื่อว่านํ้าตากล้า

แม่นํ้าประจำ�เมือง ๑๒ สาย

๑. นํา้ ของ (นํา้ โขง) ๒. นํา้ ห้ายักษ์ ๓. นํา้ ห้า ๔. นํา้ เหมืองห้วยคำ� ๕. นํา้ เหมืองแช่ลาย ๖. นํา้ เหมืองศีล ๗. นํา้ เหมืองห้วยเรา ๘. นํา้ เหมืองห้วยตอง ๙. นํา้ เหมืองห้วยซม ๑๐. นํา้ เหมืองห้วยขวาก ๑๑. นํา้ เหมืองห้วยปางฝาด ๑๒. นํา้ เหมืองห้วยทัง้ หลาย อันเอาใส่นานั้นแล

l 63 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ว่าด้วยสามห้วย สี่หนอง เก้าจอม สิบสองเชียง

สามห้วย ๑. ห้วยส้อ ๒. ห้วยขวาก ๓. ห้วยเฟือง สี่หนอง ๑.หนองฟอง ๒. หนองตม ๓. หนองสามขา ๔. หนองคำ� หกขัว (สะพาน) ๑.ขัวสุง ๒. ขัวหิน ๓. ขัววัวลองปางตอง ๔. ขัวสาน ๕. ขัวมุงนาแขกอยู่นายอง ๖. ขัวหินพระเจ้าอยู่หัวของ เก้าจอม ๑. จอมหมอก ๒. จองตอง ๓. จอมสิง ๔. จอมซาง ๕. จอมเป็ด ๖. จอมแล ๗. จอมของ ๘. จอมคาง ๙. จอมจัน สิบสองเชียง ๑. เชียงมู้ ๒. เชียงติ ๓. เชียงใต้ ๔. เชียงทาย ๕. เชียงแรง ๖. เชียงหอย ๗. เชียงผาคราง ๘. เชียงเตอ ๙. เชียงคิง ๑๐. เชียงมน ๑๑. เชียงรุ่ง ๑๒. เชียงไชยช้างพอง แคว้นต่าง ๆ ในเมืองสิบสองปันนา ๑. แคว้นของ ๒. แคว้นเมืองผา ๓. แคว้นคำ�เต ๔. แคว้นหลอด ๕. แคว้นเสาหิน ๖. แคว้นเครือคำ� ๗. แคว้นลูลาง ๘. แคว้นมอ ๙. แคว้นราย ๑๐. แคว้นดาย ๑๑. แคว้นใหม่ ๑๒. แคว้นหน อาณาเขตและดินแดนของเมืองสิบสองปันนา อาณาเขตของเมืองสิบสองปันนาเจ้าแสนหวีฟ้า บอกว่าทิศวันออก มีอาณาเขต ติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้ติดกับลาว ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับเมืองบ่อ ข้อมูลชุดนี้ได้มาจากหนังสือจากเมืองลา เมืองแม้น เมืองแสหลวงกล่าวว่าเมืองสิบสอง ปันนานั้นประกอบด้วย พันนาเชียงรุ่ง พันนาเมืองฮำ� พันนาอีงู พันนาเมืองแช่ พันนาเมืองหุน พันนาเมืองฮาย พันนาเมืองผาง พันนาเชียงตอง พันนาเมืองลา พันนาเมืองมาง พันนาเชียงเจิง พันนาเมืองลวง

l 64 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พระราชประวัติพระญามังราย

พระญามังรายมีบตุ รชายสีพ่ ระองค์ องค์แรกนามว่า พระญาสือ อยูเ่ มืองเชียงราย องค์ที่สองชื่อพันนา องค์ที่สามชื่อท้าว (ผา) ยู องค์ที่สี่ชื่อพระมหาเถียร ทั้งสี่พระองค์ ต่างจบไตรเภท จึงชวนกันทำ�เป็นหนังสือเอกสารเผยแพร่ไปยังเมืองทุกเมือง จึงได้ชื่อว่า หนังสือพันนามาจนถึงปัจจุบัน บัดนีพ้ ระญาสือองค์พี่ได้มาตั้งเวียงใหม่ ณ ที่แห่งหนึ่งชื่อว่าเมืองเชียงยางหลวง เชียงแสน และทำ�นุบำ�รุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ยามนั้นพระอินทร์จึงเอาแก้ว สัตตนาโกสะมอบให้พญาเวสสุวรรณนำ�มาไว้ที่รังต่อ เป็นเวลาเดียวกันที่ชายผู้ยากไร้ได้ เดินทางไปหาของป่าและไปพบรังต่อและได้เก็บแก้วดวงนั้นไว้ พระญาสือทรงทราบว่า เด็กชายคนนี้มีใจมั่นคงเด็ดเดี่ยวดีนัก จึงนำ�เก็บมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมตั้งชื่อให้ว่า อ้ายน้อยแสงต่อ ข่าวว่าพระญามังรายนั้นมีพระราชอำ�นาจมากทำ�ให้ฮ่องเต้แห่งเมืองว้องห้อจีน ไม่พอพระทัย จึงคิดจะมาปราบเพื่อให้พระญามังรายมาเป็นข้ารับใช้ให้จงได้จึงให้ยกทัพ กองกำ�ลังพลพร้อมรบจำ�นวนสิบสองอักโขภิณี ยกทัพลงมาถึงเมืองล้านช้าง พระญา มังรายยกกองกำ�ลังเข้ารบก็ไม่อาจต่อกรได้ พระญาสือจึงมอบหมายให้อ้ายน้อยแสง ต่อนำ�กองกำ�ลังจำ�นวนสองพันคนเข้ารบกับกองทัพเจ้าฟ้าเมืองว้องจนชนะ จนต้องยกทัพ กับเมืองจีน อ้ายน้อยแสงต่อจึงกล่าวกับพระญาสือว่า บัดนี้ศึกห้อเมืองว้องแม้จะพ่ายแพ้ ยกทัพหนีกลับไปแล้วก็ตามก็มิอาจเบาใจได้เหตุว่าภายหน้าก็จักยกทัพกลับมาตีเมือง เราอีก เห็นควรยกกองทัพไปปราบเมืองห้อในยามนี้จะเป็นการเหมาะที่สุด พระญาสือจึงมอบอาชญาให้อ้ายน้อยแสงต่อยกกองทัพไปบุกเมืองว้องห้อใช้ เวลาสามเดือนจึงเดินทางไปถึงเมืองหลวงปักกิ่ง ขณะนั้นฮ่องเต้ก็เรียกหาเสนาบดีใหญ่ นามว่าจินตุนอูเ๋ ยีย่ พร้อมเสนาและพญาหัวเมืองต่างๆ มาพร้อมกัน จึงกล่าวว่า กองกำ�ลัง อันยิ่งใหญ่ของเรากลับต้องมาพ่ายแพ้อ้ายน้อยแสงต่อที่มีกองกำ�ลังเพียงสองพันคน น่าอัศจรรย์ยิ่งนักอาจเป็นเพราะอ้ายน้อยแสงต่อคนนี้มีบุญญาธิการมากนัก เห็นควร ที่เราจะส่งบรรณการเป็นไมตรีให้โดยด่วน และได้ยกธิดาของตนนามว่า นางวัณณะ จันทร์หอมยอดฟ้า ยกให้เป็นอัคครมเหสีของอ้ายน้อยแสงต่อและได้เป็นราชบุตรเขย ของฮ่องเต้ และด้วยความเป็นนักรบทีเ่ ก่งกาจจึงเป็นเกรงขามของเมืองน้อยใหญ่ไม่นอ้ ย

l 65 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

อยู่มาหลายปีเจ้าอ้ายน้อยแสงต่อได้ถามฮ่องเต้ว่ายังมีเมืองใดที่ยังเป็นปฏิปัก ต่อเมืองเราบ้าง ฮ่องเต้ตรัสว่ายังมีอีกหนึ่งเมืองชื่อเมืองตาต่อ เจ้าน้อยแสงต่อจึงอาสา จะไปรบก่อนออกไปรบได้เรียกลูกทั้งสามของตนมาและบอกว่าอยากกินส้าปลาดิบ กินเสร็จจึงนำ�กองทัพออกไปรบ แต่ได้ไปตกหลุมพรางที่เมืองตาต่อและสิ้นชีวิต ณ ที่ แห่งนั้น นางวัณณะจันทร์หอมยอดฟ้าจึงบอกว่า บัดนีพ้ อ่ ของพวกเจ้าสิน้ แล้วใครจักได้เป็น ผู้สืบทอดอำ�นาจจงเสี่ยงทายโดยการปลดกงธนูลงมาเถิด บัดนั้น พี่คนโตนามว่า ท้าวซุนอาน ได้ปลดกงธนูและยิงขึ้นฟ้าและตกลงมายังเมืองปักกินเหมือนเดิมจึงได้เป็น สืบทอดอำ�นาจแทนบิดาของตนที่เมืองปักกิ่ง ท้าวซุนฟ้าลี้ บุตรชายคนที่สองได้ยิงกงธนูขึ้นฟ้าและตกลงมาที่เมืองเชียงรุ่ง ที่หน้าผาริมนํ้าโขงเกิดเสียงร้องครางอยู่ตรงนั้น เจ้าแม่จึงมอบไพร่พลจำ�นวนสี่ตื้อสี่ล้าน เรียกว่าห้อสี่ตื้อห้าล้านมาสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณผาครางพร้อมข้าแสนม่อนม้า ท้าวซานแจ บุตรชายคนที่สามยิงกงธนูมาตกที่เมืองแสนหวีสี่ป้อ เจ้าแม่ให้ นำ�ไพร่พลจำ�นวนหนึ่งแสนมาอยู่เมืองแสนหวีแห่งนี้ ทุกๆ สามปีบรรดาลูกๆ เจ้าเมือง ทั้งสามจะต้องกลับไปคารวะ นางวัณณะจันทร์หอมยอดฟ้า ผู้เป็นมารดาที่เมืองปักกิ่ง เสมอ วันหนึ่งเจ้าเมืองสิบสองปันนาได้ชวนอ้ายจันจากบ้านฟ้าเมืองฮำ�เป็นผู้ติดตาม ไปด้วย เมื่อมาถึงกลางทางพระอินทร์ได้เนรมิตแปลงกายเป็นวัวตัวอ้วนพีตัวหนึ่ง เมื่ออ้ายจันและเจ้าเมืองสิบสองปันนาเห็นวัวตัวนั้นก็รำ�พึงขึ้นว่า วัวตัวนี้อ้วนพีดีจริง น่าจะเอาไปทำ�ลาบคงอร่อยไม่น้อย พระอินทร์จึงสาปให้กายของเจ้าเมืองสิบสองปันนา มีกลิ่นเหม็นเน่าติดตัว เมื่อเดินทางไปถึงเมืองหลวงปักกิ่งแล้ว เป็นเวลาเดียวกันที่คณะทูตจากหัวเมือง ต่างๆ ก็เดินทางมาเฝ้าเจ้าเมืองปักกิ่ง ทุกคนต่างได้กลิ่นเหม็นจากร่างของเจ้าเมือง สิบสองปันนาถึงกับต้องอาเจียนออกมา ทำ�ให้เจ้าเมืองสิบสองปันนาเกิดความอับอาย จึงต้องหนีออกจากที่ประชุมทันที และได้หนีไปยังเมืองล้านช้าง ซึ่งในขณะนั้นเมือง ล้านช้างยังไม่มีเจ้าเมืองปกครอง ชาวเมืองล้านช้างจึงขอเจ้าเมืองสิบสองปันนาขึ้น ปกครองเป็นเจ้าเมืองล้านช้าง อ้ายจันและชาวเมืองสิบสองปันนาต่างพากันถามหา เจ้าเมืองของตนว่า เจ้าเหยเจ้า อยู่ตลอดว่าเจ้าเหยเจ้าหายไปไหน จึงเป็นบทขึ้นต้น ของการขับขานที่เรียกว่าการขับลื้อว่า เจ้าเหยเจ้า มาตั้งแต่บัดนั้น

l 66 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อ้ายจันได้ออกตามหาเจ้าเมืองสิบสองปันนา และได้พบว่าท่านได้มาเป็นเจ้า อยู่เมืองล้านช้าง จึงขออนุญาตมาอยู่อาศัยด้วย ในขณะนั้นพญาเจืองได้เป็นเจ้าเมือง ปกครองเมืองสิบสองปันนาได้ขม่ เหงไพร่ฟา้ สร้างความเดือดร้อนให้บา้ นเมือง เหล่าเสนา อำ�มาตย์จึงปรึกษากันและเห็นควรที่จะไปเชิญเจ้าเมืองล้านช้างกลับมาเป็นเจ้าเมือง สิบสองปันนาดังเดิมซึ่งพญาเจืองก็ยินยอมที่จะเดินทางไปเชิญเจ้าเมืองล้านช้างซึ่งเป็น อดีตเจ้าเมืองสิบสองปันนากลับมาเช่นกัน เมือ่ พญาเจืองไปถึงเมืองล้านช้าง เจ้าเมืองล้านช้างก็จดั ให้มมี หรสพสมโภชนานถึง ๑๕ วัน เมื่อเสร็จสิ้นงานฉลองพญาเจืองจึงทูลเชิญเจ้าเมืองล้านช้างให้กลับไปครอง เมืองสิบสองปันนาอีกครั้ง แต่เจ้าเมืองล้านช้างบอกว่าให้อ้ายจันไปแทน แต่พญาเจือง กล่าวว่าเห็นควรให้ท่านทั้งสองกลับไปในคราวเดียวกัน จึงสร้างความลำ�บากใจให้กับ เจ้าเมืองล้านช้างเป็นยิ่งนัก ท่านจึงกล่าวว่าอันเมืองล้านช้างนี้ มิอาจทิ้งขว้างได้ จึงมอบหมายให้อ้ายจันเป็นเจ้าเมืองต่อไป และต่อไปเมืองนี้จักได้ชื่อว่าเมืองจันทาบุรี ซึ่งอ้ายจันและเจ้าเมืองสิบสองปันนาต่างนับถือซึ่งกันและจึงเป็นที่มาของการใช้คำ�สัพ พนามว่า “ข้อย” ระหว่างคนในครอบครัวเดียวกัน หรือแม้แต่ต่างวัยก็สามารถใช้คำ�ว่า ข้อยต่อกันได้ ซึ่งเป็นประเพณีทั้งในประเทศลาวและในสิบสองปันนาสืบมาถึงปัจจุบัน ก่อนจะกลับสิบสองปันนาท่านได้นำ�ทรัพย์สมบัติทั้งหมดออกมาและแบ่งเป็น สามส่วน โดยแบ่งให้อ้ายจันสองส่วนท่านรับเพียงหนึ่งส่วน เมื่อเดินทางกลับเมือง สิบสองปันนานั้นอ้ายจันก็ให้คนติดตามท่านไปด้วยจำ�นวนหนึ่ง เมื่อมาถึงดอยสามเส้า พระนางเทวีของพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยโรคภัย ณ ที่แห่งนั้น จึงจัดพิธีศพของ พระนางและเก็บรักษากระดูกพระนางเทวีไว้ที่ดอยสามเส้าแห่งนั้น และให้คนในตระกูล ของพระนางที่ติดตามมาเฝ้าและดูแลรักษาสถานที่เก็บกระดูกของพระนางโดยใด้สร้าง บ้านเรือนอยู่ ณ ที่แห่งนั้นประมาณสิบหลังคาเรือน แยกเป็นสองหมู่บ้านหมู่บ้านหนึ่ง เรียกว่าบ้านเผี้ยว อีกบ้านหนึ่งเรียกบ้านตอง และได้มอบดาบเหล็กกล้าให้กับน้องชาย ของพระนางเทวีไว้ ปีจุลศักราช ๑๕๐ ตัวท่านได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมือง สิบสองปันนาอีกครั้ง เจ้าเมืองปักกิ่งได้ประทานสิ่งของต่างๆ นำ�มาถวาย ประกอบด้วย หมวกทองคำ�หรือมงกุฎทองคำ� ตราประทับ ดาบเหล็กกล้า พระแสงของ้าว โล่รปู หัวเสือ ได้ชื่อว่าเจ้าฟ้าหลวงหมวกคำ�เป็นเจ้าสิบสองปันนา กาลต่อมามีนางสนมนางหนึ่งเข้าป่า

l 67 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เพื่อหาฟืนไปพบหญ้าชนิดหนึ่งเรียกว่าหญ้าพูลอก กินแล้วสามารถลอกคราบได้เมื่อ นางกินหญ้าชนิดนี้ทำ�ให้นางมีผิวพรรณวรรณะที่งดงามกลับมาเป็นสาวดังเดิม จึงสัง่ ให้ นางสนมนางนัน้ ไปเก็บชนิดนัน้ มาเพราะประสงค์จะลอกคราบให้กลายเป็นหนุ่มดังเดิม แต่การลอกคราบต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน ดังนั้นพระองค์จึงสั่งให้ห้ามคนเข้าใกล้ แต่มี นางสนมคนที่เจ็ดไม่เชื่อฟังคำ�สั่งแอบไปดึงคราบของพระองค์ออกก่อนเวลาทำ�ให้ ลอกคราบได้เพียงครึ่งหนึ่ง ข้างบนตั้งแต่หัวลงมานั้นเป็นมนุษย์รูปงามแต่ส่วนขานั้น ยังเป็นคราบของงูอยู่ ทำ�ให้พระองค์อับอายมากจึงหนีเข้าไปในป่า พระมเหสีสั่งให้คน ตามหาพระองค์ ไปพบพระองค์สิ้นชีวิตในถํ้าแห่งหนึ่งและกลายมาเป็นเทวดารักษา เมืองสิบสองปันนา มาตราบปัจจุบัน ในขณะนัน้ ยังมีสองพีน่ อ้ งชายหญิงเดินทางมาถึงบริเวณปากถํา้ แห่งนัน้ น้องหญิง มีอาการปวดขาจนเดินไม่ไหวจึงนั่งพักที่หน้าปากถํ้า พระเทวีมาพบจึงสั่งให้คนทั้งสอง เฝ้าดูแลปากถํ้าแห่งนี้ไว้ ทั้งสองจึงได้สร้างกระท่อมหน้าปากถํ้าดินดอยหลวง และดูแล พื้นที่บริเวณนั้นอย่างสมํ่าเสมอ ถัดไป ยังมีชายหนุ่มจากบ้านคว้างได้ออกมาล่าสัตว์ป่าและเห็นหญิงสาวที่เฝ้า หน้าปากทางเข้าถํ้าก็นึกสงสารและหลงรักนาง พี่ชายจึงอนุญาตและมอบน้องสาวของ ตนให้แต่งงานกับหนุ่มบ้านคว้าง ดังนั้น หากจะเชิญเทวดาเมืองลงก็ให้เลือกร่างทรง จากบ้านคว้างสืบมา ส่วนตัวพี่ชายนั้นหลังจากน้องสาวแต่งงานตนก็ได้ถอยลงมาสร้างบ้านบริเวณ เชิงดอย ได้ชื่อว่าบ้านยั้ง และแผลงเป็นบ้านยางในกาลต่อมามีหน้าที่เฝ้ารักษา เจ้าฟ้าหลวงบัวคำ�มาถึงบัดนี้

ประวัติบ้านเท่าบ้านคิม

บ้ า นเท่ า บ้ า นคิ ม นี้ เ ดิ ม ที เ ป็ น ข้ า รั บ ใช้ ที่ ติ ด ตามพระเทวี ม าตั้ ง แต่ เ มื อ งแกว เวียดนามประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน และมีคนไทบางส่วนทีเ่ จ้าแสนหวีไถ่มาจากเมืองม้า เมืองฮาย เชียงเจิง มาอยู่ ภายหลังจากเจ้าฟ้าหลวงบัวคำ�สิ้นพระชนม์ พระเทวีก็ตรมใจ และสิ้นพระชนม์ในกาลต่อมา จึงได้มีการฝั่งร่างพระนางไว้ที่ดงใกล้ๆ ถํ้าหลวง จึงเรียก ที่แห่งนั้นว่า ดงนางเทวี

l 68 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พระเทวีมีลูกชายสามคน คนหนึ่งชอบเล่นไพ่และติดการพนันอย่างหนักและ ถูกฆ่าตายไปเสีย อีกคนหนึ่งไปแต่งงานที่เมืองล้านช้างและเสียชีวิตที่เมืองล้านช้าง คงเหลือแต่เจ้าสุวรรณะคำ�เส้า จึงได้เป็นเจ้าเมืองสิบสองปันนาสืบแทนบิดาของตน โดยได้รบั การรับรองทัง้ จากพม่าและจีนในเวลานัน้ แต่พระองค์ได้เป็นเจ้าเมืองอายุเพียง สิบหกปีก็สิ้นพระชนม์ แต่ท่านก็มีลูกชายสองคน คนผู้พี่นั้นเดินทางไปค้าขายและตายเสียระหว่างทาง เหลือแต่เพียงผู้น้องนามว่า เจ้าสามลอ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสิบสองปันนาแทนบิดา ยามนั้นเจ้า เมืองปักกิ่งได้ส่งลูกสาวมาให้เพื่อแต่งตั้งเป็นอัคครมเหสีเทวี พม่าก็ส่งธิดามาเป็นเทวี เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันเจ้าเมืองก็มีสนมเป็นชาวไทลื้ออีก ๕ คนรวมเป็น ๗ นาง ต่อมาไม่นานธิดาจากจีนและพม่าต่างก็ได้กำ�เนิดโอรสพร้อมกัน จนเมื่อโอรสทั้งสอง มีอายุครบ ๗ ขวบปี เทวีจากพม่าก็คิดหวังจะให้ลูกของตนนั้นได้สืบบัลลังก์แทนพ่อ จึงชักชวนสนมชาวลื้ออีก ๕ คนมาเป็นพวก และสร้างเรื่องติเตียนว่าโอรสแห่งเทวี ชาวจีนนี้เป็นกาลกิณีบ้านเมือง สนส่อใส่ความต่าง ๆ นานา จนเจ้าสามลอหลงเชื่อ จึงสั่งให้คนสร้างแพขึ้นมาหนึ่งลำ�และขับไล่เทวีพร้อมโอรสชาวจีน และข้ารับใช้ชาย หญิงจำ�นวน ๖ คน ไหลล่องแพไปตามกระแสแม่นํ้า เมื่อแพล่องไปตามนํ้าและไหล ไปใกล้ฝั่งแห่งหนึ่ง พระเทวีจึงบอกขอท่านทั้งหลายจงแข็งใจถ่อพายไปข้างหน้าเถิด แพได้ไปหยุดในฝั่งอันมีที่ราบเรียบแห่งหนึ่ง พระนางเทวีจึงให้สร้างบ้านเมืองขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ได้ชื่อว่าเมืองเชียงแข็ง เหตุเพราะนางเทวีได้กล่าวกับข้ารับใช้ว่าจงแข็งใจ ไว้เถิดนั่นเอง

ประวัติพระญาเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา

พระญาเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา พระญาผู้ปกครองเมืองอังวะ เป็นผู้มีพระราช อำ�นาจมากสามารถปราบแคว้นน้อยใหญ่ให้อยูใ่ ต้อำ�นาจได้แล้ว ได้ทำ�นุบำ�รุงศาสนาพุทธ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคของพระองค์ ได้ยกทัพมาถึงเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าอุ่นเมืองเป็นเจ้าเมือง ได้พาข้าราชบริพารออกไปต้อนรับเจ้าฟ้าสุทโธ ธรรมราชาที่บ้านท่าปิง หลังจากนั้นเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา พร้อมกองทัพได้ไปที่ดอย สามท้าวและตั้งทัพอยู่ที่บ้านหินหลวง ได้สร้างวัดราชฐานหนึ่งแห่ง และได้ไปสร้างวัด ราชฐานบ้านปุ่งจอมเมืองหุน โดยมีพระญาหลวงเมืองเชียงแง่เป็นผู้นำ�ในการต้อนรับ

l 69 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

และเชิญเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชาพักอยู่ที่วัดบ้านปุ่งจอมเมือง นานถึงหนึ่งเดือนยี่สิบสอง วันก่อนที่จะส่งเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา ไปยังเมืองเชียงรุ่ง ในช่วงระหว่างนั้นพวกทหาร ก็ออกไปตระเวนป่าและได้ทำ�สุนัขหลวงหายไปหนึ่งตัวระหว่างการตระเวนจึงกลับมา รายงานเจ้าหลวงเมืองเชียงแง่ พระญาจึงถามว่าสุนัขตัวนั้นหายไปในเขตพื้นที่ใด แต่ พิจารณาเบือ้ งต้นน่าจะหายไปในเขตป่าของเมืองยอง และเหล่าอำ�มาตย์กไ็ ด้แจ้งว่าสุนขั ตัวนั้นได้หายบริเวณเขตแดนบ้านอ้อ ซึ่งเป็นเขตป่าเมืองยอง แต่ชาวบ้านอ้อไม่มีเงิน เพื่อชดใช้แทนได้ เห็นควรจะยกเขตป่าเมืองยองให้กับพระญาหลวงเมืองเชียงแง่แทน ซึ่งพื้นที่ป่าที่ยกให้นั้นได้ปักปันเขตแดนตั้งแต่บ้านยาหลวงลงมาถึงนํ้าคาหลวงจรดเส้น ทางหลวงเมืองขืน ยาวไปถึงกิว่ คอควาย ปากทางแม่นา้ํ เรือ่ ยไปถึงต้นงิว้ ใหญ่กลางเมือง เรียบแม่นํ้าหินผาป่าหญ้าคาล้วนเป็นเขตแดนที่ยกให้ หมู่บ้านที่ปรากฏที่ถูกบันทึกไว้ มีหลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในป่าที่เป็นชาวดอยหัว ๔ บ้านไร่เก่า เป็นคนที่ เคยติดตามเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชามาก่อน บ้านใหม่เป็นคนที่มาจากเมืองมาง บ้านหอย เป็นคนของพระญาเชียงเงิน บ้านหนองเป็นคนเลีย้ งวัวควายของพระญาเชียงแง่บา้ นแงม เป็นข้าที่มาจากเมืองเชียงลาบ บ้านนา เป็นคนของเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงรุ่งเป็นคนดูแล ท่านํ้า ส่วนผู้คนที่จะกระจัดกระจายมาจากที่ต่าง ๆ มาพักอยู่ที่บ้านตีนตก คนบ้านห้ออีเวมาจากเมืองแช่มารับจ้างทำ�งานอยู่ที่เมืองสิบสองปันนา จำ�นวน ๔ คน เป็นพ่อแม่ลูกกัน ครั้งหนึ่งนั้นมีต้นยางขนาดใหญ่และต้นไม้งิ้วขนาดใหญ่ อยู่กลางเมืองและงูอยู่อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้นั้นและมักออกมาทำ�ร้ายผู้คน เกิดความ เดือดร้อนมากห้ออีเวทั้งสี่คนจึงอาสาพระญาเจ้าเมืองว่าจะไปปราบงูเอง โดยใช้ผล มะขามป้อมจำ�นวนมากนำ�ไปถมทับรูงู จนงูไม่สามารถออกมาทำ�ร้ายคนได้อีก ห้ออีเว ก็ขออนุญาตเจ้าเมืองและชาวเมืองเพื่อไปขอตั้งบ้านเรือนที่กอมะขามป้อม ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่าบ้านกองป้อม ต่อมาเปลี่ยนเป็นบ้านกองหลวง ซึ่งเป็นจีนเป็นส่วนใหญ่และ มักจัดงานตรุษจีนมาอย่างสมํ่าเสมอ บ้านกองน้อย เป็นคนของเจ้าเมืองที่มีหน้าที่ในการรักษาพยาบาลม้าที่ขาหัก ของเจ้าเมือง ก็ขออนุญาตเจ้าเมืองเพือ่ ไปตัง้ บ้านกองใต้ ต่อมาเปลีย่ นเป็นบ้านกองใหม่ ส่วนบ้านช้าง ก่อนหน้านี้เรียกว่าบ้านแยงหรือว่าบ้านอี่แยง เหตุว่าอี่แยงเป็นผู้ริเริ่ม มาอยู่และตั้งบ้านก่อนใครมาจากบ้านใต้

l 70 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ประวัติบ้านนํ้าอุ่น

บ้านนํ้าอุ่นทั้งสองบ้านนั้นแต่เดิมเป็นคนที่เดินทางมาจากเมืองงด เมืองขาง เป็นคนยากไร้ได้พาครอบครัวเดินทางออกจากเมืองมา เมื่อเข้าเขตแดนเมืองหุน ก็พากัน พักที่บ้านตีนตก แต่เนื่องด้วยพวกเขามีความสามารถในเชิงช่างและการก่อสร้าง พระยา จ่าบ้านจึงบอกให้อยู่พักต่อและจะจ้างงานให้ทำ�บ่อนํ้าอุ่นเพื่อให้เจ้าเมืองเชียงแง่ได้อาบ เมื่อผ่านไปได้สามสี่เดือนพวกเขาจึงได้ขออนุญาตจ่าบ้านว่าขอไปสร้างบ้านเรือนใน บริเวณเถือ่ นยอง พระยาจ่าบ้านจึงอนุญาตและได้สร้างหมูบ่ า้ นขึน้ มาเรียกว่า บ้านนํา้ อุน่ พระญาหลวงเชียงแง่ก็เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะแก่การตั้งบ้านและวัดจึงได้ผู้คนมา สร้างบ้านเพิ่มและสร้างวัดไว้และกลองใหญ่ให้ไว้ โดยสั่งว่าหากมีเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ตีกลองนี้เป็นสัญญานแล้วเจ้าเมืองจะสั่งทหารและผู้คนเข้ามา ช่วยเหลือทันที

ประวัติวัดบัวคำ�

ครั้งหนึ่งเจ้าเมืองสิบสองปันนาชื่อว่าเจ้าอุ่นเมืองได้ไปต้อนรับเจ้ากษัตริย์แห่ง อังวะพระนามว่าพระสุทโธธรรมราชาที่ดินแดนเชียงตก กลับมาเมืองเชียงรุ่งแล้วได้นำ� กองทัพไปรบกับอยุธยา และได้สิ้นชีวิตด้วยโรคภัยที่เมืองพยาก ในปีจุลศักราช ๙๕๐ เจ้าเมืองมีบุตรชายสองคน คนที่หนึ่งชื่อว่าเจ้าสรีสุนันทา คนผู้น้องชื่อว่าเจ้าอินเมือง เจ้าสรีสุนันทา เป็นเจ้าเมืองได้เพียง ๖ เดือนก็สิ้นชีวิต ทำ�ให้เจ้าอินเมืองต้องเป็น ผู้ปกครองแทนโดยได้รับการแต่งตั้งจากราชสำ�นักจีน และเจ้าเมืองอังวะ เจ้าฟ้าสุทโธ ธรรมราชา ก็ได้มอบตราประทับงาช้าง กว้างสามนิ้วมือ สลักเป็นรูปสิเนรุเขาฉัตตภัณฑ์ ทัง้ เจ็ดแวดล้อม ภายใต้มนี าํ้ สมุทร และหินก้อนเส้าสามลูก รูปปลาอานนท์สองตัว ข้างบน มีรูปพระจันทร์และพระอาทิตย์ และประทานธิดานามว่านางบัวคำ� ให้เป็นเทวีพร้อม ประทานช้างพังช้างพรายให้สองเชือก พร้อมเครื่องบัลลังการทั้งมวลให้เจ้าเมืองเชียงรุ่ง ต่อมาพระนางเทวีบัวคำ�ได้ประสูติโอรสหนึ่งองค์ตั้งชื่อว่า เจ้าหน่อเมือง พระเทวีก็มี ประสงค์อยากให้เจ้าหน่อเมืองมีความหมายต่อเมืองเชียงรุ่ง จึงได้สร้างวิหารหลวง หลั ง หนึ่ ง ขึ้นมาและได้สร้างพระพุท ธรูป ซึ่งเป็นพระประธานในวิห ารหันพระพักต์ ของพระพุทธรูปไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของเมืองอังวะ และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า สุวรรณปทุมอาราม หรือวัดหลวงบัวคำ� แต่บัดนั้นเป็นต้นมา

l 71 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ประวัติเจ้าหม่อมคำ�ลือ

เจ้าหม่อมคำ�ลือ เป็นบุตรของเจ้าหม่อมสอ ซึ่งเจ้าหม่อมสอนี้ได้ถูกน้องชาย ของตนชื่อเจ้าหม่อมแสงเป็นผู้สังหาร เจ้าหม่อมคำ�ลือจึงหนีไปอยู่เชียงตุง ภายหลังได้ กลับมาสังหารเจ้าหม่อมแสง ซึ่งมีสักเป็นอาตายเสียแล้ว จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้า ปกครองเมืองสิบสองปันนา ในปีจุลศักราช ๑๒๔๕ มีเทวีหลายคนที่ปรากฏชื่อ คนที่ หนึ่งชื่อ นางหอม คนที่สองชื่อ นางลอด ที่สาม นางกองคำ� ที่สี่ นางบัวทิพย์ และเจ้า เมืองเชียงตุง ก็ได้ประทานธิดาให้เป็นมเหสีอีกคน นามว่า นางแว่นทิพย์ ต่อมาหม่อม คำ�ลือได้เทวีจากเมืองลาอีกคน ชื่อว่านางหอม นางได้ใส่ความนางแว่นทิพย์ จนเจ้า หม่อมคำ�ลือหลงเชื่อ และขับไสนางแว่นทิพย์ให้ออกจากเมืองไป นางแว่นทิพย์จึงได้ มาสร้างเวียงใหม่ใกล้บ้านดอนหลวง ชื่อว่าเวียงดอนเชียงใหม่ และกลับไปเชียงตุง และยกทัพขึ้นรบกับเมืองสิบสองปันนา แต่ไม่อาจเอาชนะได้ แต่ได้ยึดหัวเมืองต่างๆได้ คือเมืองเชียงแขง เมืองอุน่ เมืองงาด เมืองนำ� เมืองแห เมืองหลวย เมืองยู้ เมืองวะเชียงขาง เมืองยอง และข้าสามท้าว ให้ขึ้นกับเมืองเชียงตุงในยุคของนางแว่นทิพย์แห่งเชียงตุง

ตำ�นานชนชาติก้อ (อีก้อ หรืออาข่า)

ตามตำ�นานเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมียังมีชายปุริโส (บุรุษ) ผู้หนึ่งเกิดมา ที่ม่อนสามท้าวเป็นชาวปลัง เป็นกำ�พร้าพ่อแม่จึงไปอยู่กับฤาษี วันหนึ่งบุรุษผู้นี้ได้ไปพบ หญิงสาวนางหนึง่ ผูซ้ ง่ึ ใช้ใบตองคลุมศีรษะเดินออกมาจากลำ�ห้วยแห่งหนึง่ บุรษุ จึงกลับมา บอกฤาษี ท่านฤาษีจึงมอบลูกประคำ�ให้และบอกว่าหากเจอหญิงผู้นั้นจึงใช้สายประคำ�นี้ สวมลงที่ศีรษะของนางแล้วจูงออกมาเถิด เมื่อบุรุษได้สายประคำ�แล้วก็ไปรอหญิงสาว ที่ลำ�ห้วยและเมื่อได้โอกาสจึงสวมประคำ�ให้นางและจูงออกเมื่อดึงใบตองที่ครอบหัว ของนางออกจึงพบว่านางนัน้ เป็นหญิงสาวทีม่ คี วามงดงามยิง่ บุรษุ นัน้ จึงอยากได้นางเป็น ภรรยา จึงพานางมาหาฤาษี ฤาษีจึงช่วยโดยการทำ�พิธีรดนํ้าส้มป่อยพรมใส่ตัวหญิงสาว นางนั้น นางก็ได้แต่หัวเราะ ฤาษีเพ่งดูแล้วจึงกล่าวว่า นางผู้นี้ก็คล้ายคนไทเราภาษาไท ว่าไป นางว่าพอก ก็จึงบอกนางได้ลอกคราบเป็นไทเราแล้ว จึงใช้ด้ายสายสิญจน์ด้าย ไหมนิลมาผูกข้อมือของนางและบุรุษ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าสองคนได้แต่งงานกันแล้ว ส่วนลูกปัดที่ทำ�จากลูกเดยที่ชาวเขาใช้ห้อยคอก็คือลูกประคำ�ของฤาษีในครั้งนั้น

l 72 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พวกเขาทั้งสองก็ขออนุญาตฤาษีเพื่อไปตั้งบ้านเรือนอยู่บนยอดดอยหรือบน ภูเขาจึงได้ชอื่ ว่าก้อปุรโิ ส ตัง้ แต่บดั นัน้ เป็นต้นมา จากนัน้ ทัง้ สองก็เดินทางเข้าเมืองยังไม่มี เสื้อผ้าใส่นุ่ง จึงไปขอกับเสื้อผ้าจากเศรษฐี เศรษฐีจึงได้มอบถุงผ้าขาดๆ ให้หนึ่งใบ ในระหว่างทางก็เก็บเศษผ้า มาทำ�เป็นเสือ้ ให้ภรรยาแต่กค็ ลุมได้เพียงแค่ราวนม เอาถุงผ้า มาทำ�เป็นซิ่นให้ภรรยานุ่ง ก็สั้นยาวไม่ถึงเข่า จึงเป็นวัฒนธรรมการนุ่งผ้าซิ่นสั้นของชาว อาข่ามาถึงปัจจุบัน

ตำ�นานสามพี่น้องผู้ได้ชื่อว่าเจ้าแผ่นดินองค์แรก

ตำ�นานเล่าว่ายังมีชายสามพี่น้องที่เกิดร่วมมารดาเดียวกัน เกิดที่เมืองเขมารัฐ หรือว่าเมืองขืนคือเชียงตุง พ่อของพวกเขาชื่อ สมิโอ แม่พวกเขาชื่อ โอทธลา แต่สิ้นชีวิต เสียก่อน บุตรชายทั้งสามจึงอยู่กับพ่อ ดังนั้น พ่อของพวกเขาจึงสั่งให้ลูกชายทั้งสามคน เดินทางไปแสวงโชคเอง โดยกล่าวว่าพ่อนีไ้ ม่มสี ง่ิ ใดจะมอบให้มเี พียงมีดพร้าด้ามเดียวนี้ มอบให้กบั พวกเจ้าทัง้ สาม และหลังจากทีพ่ อ่ พวกเจ้าตายแล้วนัน้ จงนำ�ร่างทีไ่ ร้วญ ิ ญาณ ของพ่อนี้ไปฝังที่ดอยเก้าห้าน เมื่อสั่งเสียเสร็จพ่อของพวกเขาก็สิ้นชีวิต บุตรชายคนโต ชื่อ โอทธเล อายุ ๑๖ ปี คนที่สองชื่อ โอมิไตย อายุ ๑๔ ปี คนที่สามชื่อโอมิสาน ซึ่งยัง เล็กอยูจ่ งึ ได้ฝากญาติพน่ี อ้ งช่วยเลีย้ งแทน เพราะสองพีน่ อ้ งต้องการจะเดินทางไปค้าขาย ต่างเมือง ก่อนเดินทางทั้งสองได้นำ�ศพของพ่อไปฝังที่ดอยหลวงเก้าห้าน และอธิฐาน ขอพรจากพ่อ โดยพี่ชายคนโตได้อธิษฐานว่าขอให้ได้กินมะเขือสีเหลืองสามตะกร้า ปลาร้าสามไห ส่วนน้องชายอธิษฐานว่าขอให้สองมือข้านี้ได้ยกถ้วยเหล้าสองมือประคอง สาวงามนั่งนอนอย่างสบายด้วยเถิด ทั้งสองเมื่ออธิฐานเสร็จก็รีบเดินทางลงมาจากดอยเมื่อมาถึงท่านํ้าจึงได้ช่วยทำ� สร้างแพขึ้นมาหนึ่งลำ� และถ่อแพไปตามลำ�นํ้าเมื่อเดินทางมาถึงที่แห่งนํ้าเป็นลำ�นํ้าเชี่ยว มีปลาขนาดใหญ่ตัวหนึ่งกระโดนขึ้นมาบนแพ พี่ชายกล่าวว่าปลาตัวนี้เราจะกินให้หมด ในคราวเดียว ส่วนน้องชายกล่าวปลาตัวนีไ้ ม่ควรกินหมดควรทาด้วยเกลือและตากแห้งไว้ สามารถเก็บไว้กินได้หลายวัน พี่ชายก็ไม่ยอมกล่าวว่าจะกินให้หมดภายในวันเดียว น้องชายจึงว่าเช่นนัน้ เรามาแบ่งกันคนละครึง่ เถิด พีก่ ว็ า่ หากจะแบ่งพีข่ อส่วนหัว ส่วนน้อง จงรับส่วนหางไป จึงได้นำ�ไม้มาวัดขนาดตัวปลาแล้วหักครึ่งเพื่อให้ได้ขนาดที่เท่ากัน จากนั้นได้ใช้พร้าฟันตัวปลาจนขาดจากกันแต่พลาดไปโดนแพ ทำ�ให้แพแตกออกเป็น

l 73 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

สองส่วน ทำ�ให้สองพี่น้องแยกจากกัน ต่างคนต่างไหลไปตามแม่นํ้าโขงคนละทาง น้องชายไหลไปค้างทีด่ อนทรายเมืองโกลัมมพา ไปรับจ้างเลีย้ งควายให้กบั เศรษฐี ได้หลายปีแต่เศรษฐีไม่ได้ให้ควายสักตัว แต่เศรษฐีกล่าวว่า หากวันใดที่ควายคลอด ออกมาเป็นควายเผือกมีดวงตาสีแดงและเขาโค้งยามใด เราจะมอบให้ อยู่มาไม่นานก็ มีควายเผือกดังลักษณะดังกล่าวจริง เศรษฐีจึงได้มอบควายตัวนั้นให้กับเขา ในยามนั้น ยังมีธิดาของเจ้าเมืองป่วยด้วยโรคภัยมานานหลายปีรักษาไม่หาย จึงให้หมอดูมาช่วย ทำ�นาย โดยหมอดูได้ทำ�นายว่าจะต้องใช้ควายเผือกที่มีดวงตาสีแดงและเขาโค้งงาม มาทักขวัญจึงจะหาย เจ้าเมืองจึงให้คนไปแสวงหาไปพบควายเผือกของชายผู้ยากไร้ แต่เขาไม่ยอมขาย พวกเขาจึงกลับมารายงานเจ้าเมืองว่าชายผู้ยากไร้ไม่ยอมขายควาย ให้เจ้าเมืองจึงสั่งให้เอาควายมาก่อน ชายผู้ยากไร้ไม่มีหนทางที่จะขัดขืนได้จึงไหว้ ขอบุญบารมีของพ่อและแม่มาช่วยตนด้วย ยามนั้นเทวดาผู้เป็นพ่อจากดอยหลวงเก้า ห้านก็ลงมาบอกลูกแห่งตนว่า ให้ไปขอไก่อกแอ่นและผ้าขาวสองผืนเป็นค่าควายแทน จากนั้นให้เดินทางออกจากเมืองและไปแสวงหาทางสามแพร่ง จากนั้นให้นำ�ไก่ใส่คอน ไว้และนอนหลับตาฟังเสียงไก่อยู่ตรงบริเวณนั้น หากไก่ขันครั้งที่หนึ่งได้ยินเสียงเสือ และหมีขันครั้งที่สอง จะได้ยินเสียงคนเออและเสียงคนขนนํ้าด้วยนํ้าเต้า ขันครั้งที่สาม เมื่อได้ยินเสียงกระพรวนขบวนม้าและวัวเสียงคนร้องรำ�ทำ�เพลงเมื่อใดค่อยลุกขึ้น เมื่อได้ยินคำ�ชี้แนะจากพ่อผู้เป็นเทวดาแล้วเขาก็กระทำ�ตามที่วิญญาณของพ่อ เขาบอกทันที โดยเดินทางไปหาเจ้าเมืองและขอไก่หนึ่งตัวผ้าขาวสองผืนเป็นค่าควาย ของเขา จากนั้นได้เดินทางออกจากเมืองและหาทางสามแพร่งที่อยู่ใกล้แม่นํ้าได้แล้ว เขาจึงเริ่มนำ�ไก่ออกมาวางไว้ที่คอนแล้วนอนลงที่ตรงนั้นเพื่อฟังเสียงไก่ขัน ไก่เริ่มขัน ครั้งที่หนึ่ง เขาได้ยินเสียงลิงค่างเสือหมี รอบที่สองได้ยินเสียงนํ้าเต้า และเสียงลูกเดย ที่ร้อยเป็นลูกปัด พอไก่ขันรอบที่สามก็ได้ยินเสียงกระพรวนจากขบวนช้างม้าและเสียง ผู้คนโห่ร้องจำ�นวนมาก เขาจึงลืมตาขึ้นจึงมองเห็นผู้คนมากมายมาแวดล้อมตนด้วย ความนอบน้อม และยกให้เป็นราชแห่งพวกเขา และเริ่มสร้างเวียงวังขึ้นมา และให้สร้าง ศาลาที่พักไว้ริมแม่นํ้าเพื่อให้ผู้คนผู้สัญจรผ่านไปมาได้พัก และให้สร้างท่าเรือสำ�หรับ เรือต่างเมืองที่จะมามีสันถวไมตรีจิตต่อกัน และให้คนเขียนรูปภาพเรื่องราวของ สามพี่น้อง และเหตุการณ์การแบ่งปลาจนทำ�ให้แพขาดจากกัน และสั่งว่าหากพบเห็น ผู้ใดก็ตามที่มองรูปภาพแล้วร้องไห้หรือหัวเราะก็ให้พาคนผู้นั้นมาหาพระราชาทันที

l 74 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ในเวลานั้นพี่ชายที่พลัดพรากกันไปได้มาเห็นภาพวาดนั้นก็นึกถึงเรื่องราวของตน กับน้องชายจึงยืนร้องไห้อยู่ตรงนั้น เมื่อข้ารับใช้ของพระราชาเห็นดังนั้นจึงได้เชิญพี่ชาย ของพระราชาเข้าวังเพื่อพบกับพระราชาทันที เมื่อพบกันแล้วทั้งสองต่างเล่าเรื่องราว ต่างๆ ที่ตนประสบให้กันฟังทุกประการ เมื่อฟังเรื่องราวการสร้างเมืองของน้องชายจบ พี่ชายก็มีความประสงค์อยากจะ สร้างเวียงวังเป็นของตนเองบ้าง จึงได้เอ่ยปากขอยืมไก่และผ้าขาวของน้องชาย น้องชาย ผู้เป็นราชาก็มอบให้พี่ชายของตนเช่นกัน จากนั้นผู้เป็นพี่ชายก็คิดว่า เรานี้เป็นพี่ไม่ควร จะอยู่ตํ่ากว่าน้องชาย เราควรไปสร้างเวียงที่สูงกว่าน้องชายดีกว่า จึงได้เดินทางขึ้นไปยัง บนดอยลูกใหญ่ลูกหนึ่งที่ปกคลุมด้วยเมฆหมอกจนมองไม่เห็นขอบริมแห่งภูเขาจากนั้น เขาได้นำ�ไก่ออกมาใส่คอนไว้และนอนลงที่ตรงนั้น ไก่ขันครั้งที่หนึ่ง ได้ยินเสียงเสือหมี ลิงและช้าง ขันครั้งที่สอง ก็ได้ยินเสียงนํ้าเต้าและลูกปัดประคำ�ที่ทำ�จากลูกเดยเสียงชาว ก้ออาข่าเดินมาต่างพากันขับขานบทเพลงและมาหยุดที่นายโอทธเลนอนอยู่ตรงนั้น เมื่อเขาลืมตาขึ้นเขาจึงได้เป็นหัวหน้าหรือราชาแห่งชาวก้ออาข่านับแต่บัดนั้นจากนั้น เขาได้ฆา่ ไก่แดงทีย่ มื น้องชายนัน้ มาเสียแล้วเอาขนไก่มาเสียบประดับหัว ซึง่ เป็นประเพณี ที่มาของการนำ�ขนไก่มาประดับหมวกของชาวก้ออาข่าทั้งหลาย เขาก็คิดคำ�นึงว่าอัน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของเรานี้ไม่เหมือนของน้องชายและน้องสะใภ้น่าละอายยิ่งนัก จึงให้ คนสร้างบันไดขึ้นบ้าน ๒ ด้าน และเรือนชาน ๒ แห่ง และให้กั้นฝาเรือนไว้ ต่อมาเขาได้เป็นลูกขายของก้อปุริโส จึงเป็นที่มาของก้ออาข่าสองกลุ่มคือกลุ่ม แรกเรียกว่าก้อหัวเพียง เพราะใช้ใบตองกล้วยทำ�เป็นหมวกสวมหัว อีกกลุ่มหนึ่งเรียก ว่าก้อจีจอหรือก้อหัวแหลม เหตุเพราะใช้ขนไก่ปักหมวกหรือผมไว้เหมือนยอดดอยและ ใช้ผ้าขาวประดับไว้ปลายหมวกไว้เป็นประเพณีสืบมาถึงปัจจุบัน บัดนั้นน้องชายผู้เป็น ราชาอยู่เมืองที่ราบได้ออกเดินทางแสวงหาพี่ชายของตนและพบว่าพี่นั้นได้เป็นผู้นำ� ของชาวก้ออยู่บนดอยแล้ว น้องชายจึงถามหาไก่ที่พี่ชายยืมมา พี่ชายได้ตอบว่าอันไก่ ที่พี่ยืมมานั้นพี่ได้ฆ่าเสียแล้วและนำ�ขนไก่มาเป็นเครื่องประดับศีรษะให้ภรรยาของพี่ เสียแล้ว ทำ�ให้น้องชายโกรธมากและกล่าวว่าแม้นหากพี่ไปหาน้อง น้องนี้ก็ไม่มีวันหา ให้แม้แต่ผ้าห่ม แม้ว่าพี่ชายจะรู้สึกสำ�นึกผิดและกล่าวขอโทษน้องชาย และกล่าวว่า หากเป็นเช่นนั้นยามใดที่พี่ไปหาน้อง น้องจงสร้างแท่นหน้าเตาไฟให้พี่ หากพี่หนาวพี่ก็ จะหาฟืนใส่เอง

l 75 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ด้วยความสัมพันธ์นี้ไทจึงเรียกก้ออาข่าว่า อ้าย (พี่) ส่วนก้ออาข่าเรียกไทว่าน้อง นับแต่บัดนั้น หากมีการแต่งงานระหว่างคนไทกับก้ออาข่าจึงมีการนำ�ใบตองมาทำ�เป็น หมวกหัวแหลมและสวมให้ไก่และหมูก่อนเสมอ ผ่านไปหลายปีสองพีน่ อ้ งมีความคิดทีจ่ ะไปเคารพศพของบิดาทีด่ อยหลวงเก้าห้าน ต่างฝ่ายก็จัดขบวนเดินทางมาและได้มาพบกันที่ฝั่งนํ้าโขงแห่งเมืองเชียงรุ่ง ชาวเชียงรุ่ง จึงขอท้าพนันกันว่าหากพระญาองค์ใดสามารถจุดไฟลอยนํ้าโขงแล้วไม่ดับผู้นั้นจะได้ เป็นเขยเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งบริเวณนั้นได้ชื่อว่าดอยหลวงสามท่า สืบมา โดยผู้พี่นั้นอยู่ ท่าเหนือได้ใช้ไม้ก่อจุดไฟแล้วโยนลงนํ้าโขง ทำ�ให้ไม้นั้นจมและไฟก็ดับทันที ที่ตรงนั้น จึงเรียกว่าท่าก่อหรือท่าก้อสืบมา ส่วนน้องชายนั้นได้ไปอยู่หัวนํ้าโขงและใช้ขี้วัวแห้ง มาสุมไฟและค่อยๆ เอาลอยนํ้า ด้วยความเบาของขี้วัวทำ�ให้ไม่จมนํ้าและไฟยังลุกมี สีแดงอยูต่ ลอดไม่ดบั ทีแ่ ห่งนัน้ จึงได้ชอ่ื ว่าเชียงแลง รอบนีผ้ นู้ อ้ งจึงเป็นผูช้ นะ หลังจากนัน้ ทั้งสองได้เดินทางมาถึงประตูเมืองและพักอยู่บริเวณนั้น ชื่อว่าประตูทุ่งยั้ง ชาวเมือง จึงทดสอบปัญญาของทั้งสองโดยการเอาเปลือกไข่ใส่น้าํ ไว้ข้างในมอบให้เจ้าเมืองทั้งสอง เพื่อใช้ล้างแข้งขา เจ้าเมืองผู้พี่นั้นเมื่อได้รับนํ้ามาก็ใช้ลาดลงที่ขาคราวเดียวจึงทำ�ให้ ล้างออกไม่หมด ส่วนผู้น้องนั้นก่อนจะใช้นํ้า ได้ใช้กิ่งไม้ขูดโคลนและดินที่ติดขาออก ให้หมดเสียก่อนแล้วจึงใช้ขนไก่ชุบนํ้าจากเปลือกไข่ค่อยๆ เช็ดขัดออกจึงสะอาดกว่า หลังจากนั้นทั้งสองพี่น้องก็ไปที่หน้าผาเพื่อแข่งขันยิงกงธนู ผู้เป็นพี่ได้ยิงธนูก่อน โดยยิงไปที่หน้าผาก็ไม่ติดไม่เข้าลูกธนูก็ล่วงลงดังเดิม ส่วนน้องชายได้ใช้ชันโรงมาติด ที่ปลายของลูกธนูก่อนเมื่อยิงออกไปลูกธนูจึงติดคล้ายปักอยู่บนหน้าผาแห่งนั้น จากนัน้ เจ้าเมืองเชียงรุง่ จึงได้สำ�หรับอาหาร คือหมูข่ า้ วคำ� และหมูข่ า้ วดิน มาตัง้ ไว้ ผู้พี่ได้เลือกกินหมู่ข้าวคำ� ส่วนผู้น้องได้เลือกกินหมู่ข้าวดิน จึงเป็นที่มาของคำ�ว่าเจ้า แผ่นดินสืบมา ด้วยเหตุที่พี่ชายนั้นไร้สติปัญญาไร้ความสามารถจึงได้ข้ารับใช้น้องชาย จึงพาผูค้ นของตนกลับขึน้ ไปยังเมืองของตนทีอ่ ยูบ่ นดอย และได้เป็นเจ้าของชาวทัมมิละ หรือชาวดอยสืบมาถึงปัจจุบนั ซึง่ ขึน้ กับเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงรุง่ ในขณะนัน้ จำ�นวน ๖ ปาง คือก้อปางของ ก้อปางเผียว ก้อปางกอง ก้อปางยาง ก้อปางยอง และก้อปางเถื่อน ชาวมูเซอหรือชาวลาหู่ที่ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงรุ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสร้างเมืองได้ตั้ง เป็นแคว้น ประกอบด้วย แคว้นของ แคว้นเมืองผ้า แคว้นคำ�เต แคว้นเมืองหลอด แคว้น เสาหิน แคว้นเครือคำ� แคว้นรูลาง แคว้นมอ แคว้นราย แคว้นดาย แคว้นใหม่ ชาวไท

l 76 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หรือไตในสิบสองปันนา ประกอบด้วย ปันนาบ่าวชายเชียงรุ่ง ปันนาเมืองแช่ ปันนา เมืองลวง ปันนาเมืองเชียงลอ ปันนาเมืองลา ปันนาเชียงตอง ปันนาเมืองล้า ปันนาอีงู ปันนาอูเหนือ ปันนาเมืองหน่อ เมืองเชียงรุ่งได้ชื่อว่าเมืองที่มี ๓ ห้วย ๔ หนอง ๖ ขัวสะพาน ๙ จอม ๑๒ เชียง คือมีสิบสองแคว้น มี ๖ ปาง มี ๓ แม่นํ้าหลัก และมีแม่นํ้าสาขาที่ไหลเข้าเมืองอีก ๑๒ สาย

ผู้ก่อตั้งสร้างเมืองต่างๆ

สิบสองเชียง เจ้าราชาปฐมกษัตริย์มาสร้าง เชียงมู สร้างโดยเจ้าบุญปัน เชียงมน พญาอารโวสวนตาน เชียงตี้ เจ้าแสนหวีฟ้า เชียงแลง เจ้านันทาวิตัก เชียงใต้ เจ้าสุวรรณหอยสัง เชียงยุงน้อย เจ้าสีดา เชียงขาง พ่อเจ้าเจิงหาญ เวียงผาคราง สองพี่น้องผู้เป็นเจ้าแผ่นดินองค์แรกมาตั้ง เชียงเจิง เชียงฟ้า และเชียงไชยช้าง ก่อตั้งโดยพระญาหลวงปางเมือง

l 77 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ประวัติหมู่บ้านมังราย ภาคปริวรรต

190

หน้า ๑191

คำ�ค่าว192 พืนบ้านมอง193 เราแล ปฐมจักออกเวียงเชียงแสนมานั้นเป็นคนใน เวียงบ้านแสนจืน194 แลยามนั้นยังมีเจ้าว้องห้อว้องเวียงเหลืองก็ร้องไปสืบสันใจไมถี195 ดีต่อกันยามนั้นว้องเวียงเหลืองก็มีเสิก196 เป็นโกลาหนมากนัก ก็แปลงรายไปบอกว่า บัดเด่วนี้เราเป็นเจ้าจักร้องเรียกริพลคนในเวียงเชียงแสนหื้อได้มาเตื่อม197 ช่วยรบเป็น เจ้าฟื้นต่อสงครามพ่องแด่ ยามนั้นเจ้าเชียงแสนก็มายกเอาริพลคนในเวียงเชียงแสน มีพนั ดัม่ เสียแล้ว ยังมีพญาแพ็กดูกดำ�เป็นนายริพลก็เข้ามาแผวรอดว้องเวียงเหลืองหัน้ แล ทัดเมื่อสักราชโลก198 ได้ ๑๘๕๐199 จุลสักราชได้ ๑๒๑๒ ตัวก็มาช่วยห้อตีเสิกหั้นแล ตีเสิกแพ้200 เมี้ยนโมบแล้ว เจ้าว้องห้อก็จึ่งมาผุกชื่อนามาสักว่าริพลสูเจ้าฟันเสิกก็เป็น เปลวเป็นฟองแท้ตั้งแต่นี้ไปก็จักได้อยู่กินบ้านเมืองเราที่นี้บ่หื้อพอกไปเชียงแสนแลชื่อ เสียงบ้านข่วงก็จักได้ร้องตามยามเมื่อฟันเสิกนั้นแลเยะเป็นเปลวเป็นฟองนั้นได้ชื่อว่า เมืองฟองแลยามนั้นแพ็กดูกดำ�ก็มารวมริพลแลไพร่ทั้งหลายอยู่กินเมืองว้องหั้นแล เมืองห้อก็เป็นอันกัดหนาวไพร่ทั้งหลายก็อยู่บ่แก่นแล ก็จึ่งมาขาบสาเจ้าว้องห้อยามนั้น เจ้าว้องก็จึ่งอนุญาตหื้อพญาแพ็กดูกดำ�แล้ว คันว่าไพร่ตังหลายอยู่บ่แก่น201 เราเป็นเจ้า ก็บ่ช่างบาระขังได้แล ก็เอาไพร่ทั้งหลายว่าเทอะเท่าเราเป็นเจ้าจักปันของหมั้นของแก่น กับบ้านกับข่วงไว้ก็จึ่งขวากจุ่มยิ่น202 หื้อคู่ ๑ จุ่มยิ่นคู่นี้บ่ว่าไปรอดบ้านใด 190 ปริวรรตจากอักษรไทยลื้อใหม่ ฉบับเขียนด้วยลายมือของอ้ายแสง คำ�อ้าย 191 หมายเลขหน้าของเอกสารที่ปริวรรต 192 ค่าว=เรื่องราว หรือข่าวสาร 193 เขียนว่ามอง ตามการออกเสียงแต่หมายถึง มัง หรือมังราย 194 จืน =ตะกั่ว แสนจืน มีตะกั่วจำ�นวนมากหรืออาจเป็นหมู่บ้านนักรบ (ความเห็นผู้ปริวรรต) 195 สันถวะไมตรี 196 เสิก=ศึกสงคราม 197 เตื่อม=ช่วยเหลือ 198 ศักราชโลก=คริสต์ศักราช 199 พ.ศ.๒๓๙๓ (ยุคเจ้าธัมมลังกา ปกครองเชียงราย และช่วงสงครามสยามบุกเชียงตุง) 200 แพ้=ชนะ ตรงข้ามกับคำ�ว่า ค้าน (ออกเสียว่าก๊าน) ที่แปลว่าแพ้ 201 อยู่ไม่เป็น หรือไม่คุ้นชินกับภูมิประเทศ 202 ตราประทับ

l 78 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หน้า ๒

เมืองใดคันว่าใค่ยั้งอยู่เมืองใดไผก็อาจบาระขังได้แล คันว่าเวลารอดห้อก้อแน่น มากินยางมาสูค่อยเอาจุ่มยิ่นคู่นี้มาป้ายจุมป่ายจุ่มยิ่นทอกเวลารอดสักราโลก๑๘๕๕203 ตัวจุลสักราชได้ ๑๒๑๗ ตัวพญาแพ็กดูกดำ�ก็ชวนพาเอาไพร่ทั้งหลายออกจากเสียเมือง ว้องหั้นแลยามนั้นก็มารอดเมืองฮิงก็เป็นเมืองไตก็เป็นอันแก่นเคยไว้ก็มาตั้งบ้านอยู่ เมืองฮิงหั้นก็จึ่งแปงรายพอกขึ้นถึงเจ้าว้องยามนั้นเจ้าว้องได้หันหนังสือพญาแพ็กดูกดำ� แล้วว่าจักพึงตั้งบ้านถือข่วงอยู่กินภูวื่นหั้นว่าสันนี้ ก็มีโสมนัสสะชมชื่นยินดีบ่ซํ่าบ่เสี้ยง ยามนั้นเจ้า เจ้าว้องก็ยะเอาเมืองฮิงภายวันออกกึ่ง ๑ แผวหัวม่อนท่อนดอยเอาหื้อ พญาแพ็กดูกดำ�กินบาดเนตากินหั้นแล ยังเอาเงินฅำ�สามฟุ่นชี่มาหื้อพญาแพ็กดูกดำ� ซือ้ นาหือ้ โท่ง ๑ ก็จง่ึ ร้องตามนามว่า นาฟุน่ ชีถ่ งึ กาละบัดเดียวนีแ้ ล ยามนัน้ ก็มาตัง้ แปงวัด วาสาสนาเตื่อนเสียแล้ว ก็จึ่งมาใส่ชื่อนามสักบ้านว่าบ่าเดียวนี้เราเป็นคนพระญามังราย พระญามังรายนี้หากเป็นปู่หม่อนเราแลก็จักได้เอาชื่อปู่หม่อนเราร้องแล ก็ร้องว่าบ้าน มังรายมาถึงกาละบัดนีแ้ ล ยามนัน้ พ่อเกิดอยูเ่ มืองฮิงหัน้ เป็นฟ้าระหว่าง ๑ หัน้ แล ยามนัน้ สักราชโลกได้ ๑๘๘๐204 ตัว จุลสักราชได้ ๑๒๔๒ ตัว พยาแพ็กดูกดำ�ก็จุติเสี้ยงชีวิต หั้นแล ก็จึ่งมายกเอาลูกชายตัวชื่อว่าอ้ายกุมภัณฑ์ขึ้นแทนพ่อก็จึ่งผูกชื่อนามสักว่าพญา

หน้า ๓

หลวงกุมภัณฑ์ขึ้นแทนพ่อมีสันนี้แล ยามนั้นพญาหลวงกุมภัณฑ์ก็มารวมไพร่ ทั้งหลายก็อยู่ตามวัตรกองสวัสดีชุปีหางเดือนก็บ่มีคำ�ติเตียนนินทาสังแลยามนั้นไพร่ป่า ทัง้ หลายก็ใจติดบ้านเก่าเมืองหลังก็วา่ ไค่พอกไปอยูเ่ ชียงแสนดัง่ เก่าว่าสันนีแ้ ล ยามนัน้ แม่น สักราชโลกได้ ๑๘๘๕205 ตัวจุลสักราชได้ ๑๒๔๗ ตัวก็ชวนพาเอากันหนีออกเสียเมือง ฮิงหั้นแล ก็ลงมารอดเชียงรุ่งทัดยามเมื่อเจ้าหม่อมคำ�ลือ เท้าเชิ่นเอินเป็นเจ้าแสนหวีสิบ สองปันนาแลยามนั้นเจ้าหม่อมคำ�ลือก็มาผั่นแหดไว้บ่หื้อลงไปแล หื้อกึดอยู่เชียงรุ่งนี้ ก็มีสันนี้แล ก็จึ่งมากึดอยู่ที่ตีนดอยกองแกที่หว่างกางบ้านค่าบ้านกางต่อกันหั้นแล 203 พ.ศ.๒๓๙๘ 204 พ.ศ.๒๔๒๓ 205 พ.ศ.๒๔๒๘

l 79 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

ยามนั้นเจ้าหม่อมคำ�ลือก็จึ่งมายกเอานาบ้านกวางบ้านค่าหลายบ้านหลายนามาหื้อ พญาหลวงกุมภัณฑ์ก็มีไว้เก่าร้อยนาแลก็เอาหนองช้างหือแถมหน่วย ๑ ส่อนร้อยนา ๑ ก็จึ่งมีนาไว้พันหนึ่งแล ยามนั้นตั้งบ้านอยู่ภายวันตกนี้บ่จับนามบ้านแล ก็จึ่งมาตอง206 เขตแดนเอาดอยแปเมืองลงมาบ่มีห้วยแลนํ้าตัดปุดที่ไหนก็จึ่งว่าจับนามบ้านแล ยามนั้น ก็มารอดเวลาสักราชโลกได้ ๑๘๙๐ ตัว จุลสักราชได้ ๑๒๕๒ ตัว ก็จึ่งค่ายมาอยู่ภาย วันออกถึงกาลบัดนี้แล ยามนั้น เจ้าแสนหวีจึ่งมายะเอาเมืองยางกึ่งหนึ่งภายวันออกหื้อ พญาหลวงกุมภัณฑ์หื้อกินบาดนาตากินหั้นแล เมืองฮิงก็กึ่งหนึ่งก็ได้มาเสวยมาถายร่วม โร่แปงชานชุปีหางเดือนบ่ว่าการหนักแลเบาก็ได้มาหาพญาหลวงมังตัดแต่งแยง

หน้า ๔

พอนับเสี้ยงแล ยามนั้นพญากุมภัณฑ์เป็นพญาได้ ๒๐ ปีก็เสี้ยงเสียไปในปี สักราชโลกได้ ๑๙๐๐207 ปี จุลสักราชได้ ๑๒๖๒ ตัว ยามนั้นจึ่งมายกเอาลูกชายตัวชื่อ อ้ายขันฅำ�ขึ้นแทนพ่อจึ่งผูกชื่อนามสักว่าพญาหลวงขันฅำ�เป็นพญาได้ ๑๘ ปี ก็เสียไป ในปีสักราชโลกได้ ๑๙๑๘208 ตัว จุลสักราชได้ ๑๒๘๐ ตัว ยามนั้นก็จึ่งมายกเอาลูกชาย ชื่อ ว่ า ไชสานขึ้น เป็ น พญาแทนพ่ อ ก็ ม าผู ก นามสั ก ว่ า พญาหลวงไชสานเป็ น พญาได้ ๑๖ ปีก็เสี้ยงเสียอายุไปในปีสักราชโลกได้ ๑๙๓๔209 ตัว จุลสักราชาได้ ๑๒๙๖ ตัว ยามนั้นก็จึ่งมายกเอาลูกเขยชื่อว่าอ้ายอี ขึ้นแทนพ่อก็จึ่งมาผูกนามสักว่าพญาหลวงจัน ทะภูมิได้ ๑๗ ปี ก็สุดท้ายมาถึงกุ่งซาง210 คายฝ่างมาก็มี ๕ เช่นพญามาถึงกาลบัดนี้แล บ้านมังเรานี้บ้านเดียวก็เป็นเมืองแล มีไว้ ๘ คะเชิง แล ๑ พญาหลวง ๒ พญากว้าน ๓ ชาแขก ๔ จ่ามข่าม ๕ ชาหาน ๖ แสน ๗ ชา ๘ ล่ามบ้านพ่อพันแล พญาแพ็กดูกดำ� เป็นเค้าออกเวียงเชียงแสนถึงอายุซํ้านี้ได้ ๓๐ ปีเต็มแลส่อนถึงปีร้วงไส้211 สักราชได้ ๑๓๖๓ ตัวส่อนถึงปีนี้ ตั้งแต่ออกเวียงเชียงแสนหลวงบ้านแสนจืนมาไปฟันเสิกแผวเมือง 206 ตอง=ตรวจ/ดู/อ่าน 207 พ.ศ.๒๔๔๓ 208 พ.ศ.๒๔๖๑ 209 พ.ศ.๒๔๗๗ 210 กุ่งซาง=คอมมิวนิสต์ 211 ปีมะเส็ง

l 80 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ห้อว้องเวียงเหลืองแพ้เพิ่นแล้ว อยู่เมืองว้องหั้นได้ ๕ ปี แล้วลงมาอยู่เมืองฮิงได้ ๓๐ ปี แล้ว ลงมาอยูต่ นี ดอยกองแกหัน้ ได้ ๕ ปี ค้าย212 มาอยูบ่ า้ นเราทีน่ ไ้ี ด้ ๑๑๑ ปีแล ตัง่ แต่ออก เวียงเชียงแสนมาถึงปีร้วงไส้ได้ไว้ ๑๕๑ ปี แลร้อยห้าสิบเอ็ดปีแล

ประวัติหมู่บ้านมังราย ภาคสรุปความ

ปฐมบทของชาวบ้านมังรายได้เล่าย้อนไปถึงสมัยที่พวกตนนั้นเป็นชาวบ้าน ในเวียงเชียงแสน ชื่อว่าบ้านแสนจืน ในขณะนั้นได้เกิดสงครามขึ้นที่เมืองจีนที่เรียกว่า ว้องห้อเวียงเหลือง และเจ้าว้องห้อได้มีราชสารมาถึงเจ้าเชียงแสนว่าบัดนี้ได้เกิดศึก สงครามที่เมืองจีน ในฐานะที่เราเป็นเมืองที่มีสันถวะไมตรีต่อกัน ขอให้เจ้าเมืองเชียงแสนโปรดยก กำ�ลังพลมาช่วยรบด้วย เจ้าเมืองจึงได้มอบหมายให้พญาแพ็กดูกดำ� นำ�กำ�ลังพลขึ้นไป ช่วยจีนรบ และไปถึงเมืองจีนเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ และช่วยรบจนชนะ เจ้าว้องหื้อชื่นชม ความสามารถในการรบยิง่ นัก จึงเอ่ยปากขึน้ ว่าพวกท่านยามรบช่างกล้าหาญและฮึกเหิม ยิง่ นัก ประดุจดัง่ เปลวไฟและฟองนํา้ จึงได้สร้างหมูบ่ า้ นเพือ่ เป็นเกียรติแก่เหล่านักรบว่า บ้านฟอง และให้อยู่ที่เมืองจีนไม่ให้กลับเชียงแสน แต่เนื่องจากภูมิอากาศประเทศจีนนั้นหนาวเย็นตลอดปีผู้คนที่ไปจากเชียงแสน ไม่คุ้นชินกับอากาศแบบนั้น จึงอยู่ด้วยความยากลำ�บาก พญาแพ็กดูกดำ� จึงไปร้องขอ อนุญาตต่อเจ้าเมืองว้องว่า ตนและพวกนั้นไม่สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้ในสภาพอากาศ เช่นนี้ จึงอยากกลับไปเชียงแสนเมืองเดิมของตน เจ้าว้องห้อก็กล่าวว่า เรานั้นไม่อาจห้ามพวกท่านได้ จึงได้มอบตราประทับให้กับ พญาแพ็กดูกดำ�และกล่าวว่าหากพวกท่านประสงค์จะพักหรือสร้างบ้านที่ไหนก็จงแสดง ตราประทับนี้ย่อมไม่มีใครกล้าขัดขว้าง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ พญาแพ็กดูกดำ�ได้พาริพลของตนเดินทางออกจากเมืองจีน และมาถึงเมืองฮิง และมีความประสงค์จะสร้างหมู่บ้านที่เมืองฮิง จึงได้ทำ�หนังสือแจ้ง ต่อเจ้าเมืองว้องห้อจีน เมื่อเจ้าว้องห้อทราบก็กล่าวแสดงความยินดี พร้อมยกดินแดน ส่วนหนึ่งของเมืองฮิงให้ พร้อมมอบเงินทองให้จำ�นวนหนึ่ง พญาแพ็กดูกดำ� จึงได้สร้าง 212 ย้าย

l 81 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

บ้านและสร้างวัดขึ้น และด้วยสำ�นึกว่าพวกตนนั้นเป็นคนของพระญามังราย จึงได้ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า บ้านมังราย พญาแพ็กดูกดำ�ได้สน้ิ ชีวติ เมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๒๓ จึงยกให้บตุ รชายชือ่ ว่า อ้ายกุมภัณฑ์ ขึน้ ปกครองแทน นามว่าพญาหลวงกุมภัณฑ์ ได้ปกครองด้วยความดีงามไม่มเี รือ่ งวุน่ วาย ต่างสุขสงบเรื่อยมา แต่ยังคิดถึงเมืองเชียงแสน อยากกลับเมืองเชียงแสน จึงพากันเดิน ทางออกจากเมืองฮิงและมาถึงเมืองเชียงรุ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ ซึ่งเมืองเชียงรุ่งอยู่ใน การปกครองของเจ้าหม่อมคำ�ลือ (เท่าเซิ้นเอิ่น) และเจ้าหม่อมคำ�ลือบอกให้หยุดพัก อยู่ที่ตีนดอยกองแกโดยแบ่งที่นา ที่ไร่ ช้าง ม้า จำ�นวนหนึ่ง และอนุญาตให้สร้างบ้าน และยกให้พญาหลวงกุมภัณฑ์ปกครองดูแล พ.ศ.๒๔๔๓ พญาหลวงกุมภัณฑ์ได้สิ้นชีวิตลง จึงได้ยกตำ�แหน่งให้ลูกชายชื่อ อ้ายขันคำ� นามว่าพญาหลวงขันคำ� เป็นพญาปกครองได้ ๑๘ ปีก็เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้แต่งตั้งลูกชายชื่อไชสานขึ้นเป็นพญาแทน นามว่าพญาหลวงไชสาน เป็น พญาได้ ๑๖ ปีก็สิ้นชีวิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ จึงได้แต่งตั้งลูกเขยชื่ออ้ายอี ขึ้นเป็นพญา แทนนามว่า พญาหลวงจันทะภูมิ เป็นพญาปกครองได้ ๑๗ ปี ก่อนจะสิ้นสุดลงเมื่อ พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครอง สรุปเวลาและการเดินทาง นับแต่ออกจากเมืองเชียงแสนไปเมืองจีนช่วยรบ จนชนะ ได้พกั อยูเ่ มืองฟอง (จีน) ๕ ปี ย้ายมาอยูเ่ มืองฮิง ๓๐ ปี มาพักอยูต่ นี ดอยกองแก เมืองเชียงรุ่ง ๕ ปี ก่อนจะย้ายมาอยู่ยังหมู่บ้านแห่งนี้ได้ ๑๑๑ ปี และนับตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นเวลา ๑๕๑213 ปี

213 ปีที่ปรากฏในเอกสารที่บันทึก หากนับเวลาปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๖๓ จะเป็นเวลา ๑๖๕ ปี

l 82 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เอกสารต้นฉบับ

ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง ฉบับตัวพิมพ์

l 83 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 84 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 85 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 86 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 87 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 88 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 89 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 90 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 91 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 92 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 93 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 94 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 95 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 96 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 97 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 98 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 99 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 100 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 101 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 102 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 103 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 104 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 105 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 106 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 107 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 108 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 109 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 110 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 111 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 112 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 113 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 114 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 115 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 116 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 117 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เอกสารต้นฉบับ

ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง ฉบับลายมือ

l 118 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 119 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 120 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 121 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 122 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 123 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 124 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 125 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 126 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 127 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 128 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 129 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 130 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 131 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 132 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 133 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 134 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 135 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 136 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 137 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 138 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 139 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 140 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 141 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 142 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 143 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 144 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 145 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 146 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 147 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 148 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 149 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 150 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 151 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 152 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 153 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 154 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 155 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

เอกสารต้นฉบับ

ประวัติหมู่บ้านมังราย ฉบับลายมือ อักษรไทลื้อใหม่

l 156 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 157 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 158 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 159 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 160 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

l 161 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

การลงสำ�รวจพื้นที่

หมู่บ้านมังราย

l 162 l


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ภาพสามกษัตริย์และเครื่องปวงสรวงในหอพระญามังราย

l 163 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

วัดบ้านมังราย

l 164 l

หอพระญามังราย


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หอพระญามังราย

l 165 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 166 l

อ้ายแสง คำ�อ้าย


โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มนํ้าโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อ้ายแสง คำ�อ้าย อนุญาตให้บันทึกภาพ

l 167 l


ตำ�นานเมืองเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) และประวัติหมู่บ้านมังราย ในสิบสองปันนา

l 168 l


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.