คณะกัลยาณธรรม ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือกัณฑ์มหาชาติ เพื่อเป็นธรรมทานแด่พุทธศาสนิกชน
ตั ว อย่ า ง ของการ
เสียสละ
ตัวอย่าง ของการ
เสียสละ
คณะกัลยาณธรรม ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือกัณฑ์มหาชาติ เพื่อเป็นธรรมทานแด่พุทธศาสนิกชน
พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลเหล่านี้แผ่ไปให้ไพศาล แด่มารดาและอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมท�ำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ
2
ค�ำอุทิศ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศบุญกุศลจากการจัดพิมพ์หนังสือ เพื่อเผยแผ่พระธรรมะและศาสนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนี้ ให้แก่ บรรพบุรุษ และญาติ ทุกท่านที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรมและ อนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้า ด้วยอ�ำนาจบุญนีด้ ้วยเทอญ
3
ขอผลานิสงส์ ของการจัดเทศน์มหาชาติ อันเป็นการเผยแผ่การบ�ำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมาตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ จงเป็นพลวปัจจัย ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย พระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมส�ำราญ มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงเป็นฉัตรแก้วร่มเกล้าของพสกนิกร ตราบนานเท่านาน และขอประชาชน และประเทศไทย จงมีแต่ความสงบสุข มีธรรมะเป็นเครื่องคุ้มครอง และตั้งปณิธานในการด�ำเนินชีวิตไปสู่ความรู้แจ้ง ก้าวล่วงไปจากสังสารวัฏฏ์ เข้าถึงมรรคผลนิพพาน โดยทั่วกันเทอญ
4
ตัวอย่าง ของการ
เสียสละ สารบัญ
หน้า
ความเป็นมา มหาเวสสันดรชาดก ปฐมเหตุเวสสันดรชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน อานิสงส์คาถาพัน กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ตัวละครสะท้อนคุณธรรม ปาฐกถาธรรม โดยพระพรหมมังคลาจารย์ 5
๗ ๙ ๑๒ ๑๕ ๑๕ ๑๘
๑๙ ๒๐
๒๑
๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖
๒๗ ๒๘ ๒๙
๓๐ ๓๑ ๓๓
ความเป็นมา*
มหาเวสสันดรชาดก เวสสันดรชาดก เป็นคัมภีรธ์ รรมบทขุททกนิกาย ซึง่ บันทึกไว้วา่ เป็น พุทธด�ำรัสทีส่ มเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภกิ ษุสงฆ์ขณ ี าสพสองหมืน่ รูป และมวลหมู่พระประยูรญาตินิโครธารามมหาวิหาร ในนครกบิลพัสดุ์ ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา และพระวงศ์ศากยะ เพราะปรารภฝนโบกขรพรรษ ให้เป็นเหตุ จึงตรัสเวสสันดรชาดกในทีน่ ี้ เวสสันดรมหาชาติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ โปรดประทานอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจน ประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรือ่ งมหาเวสสันดรชาดก ส�ำคัญกว่าชาดกอืน่ ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสตั ว์ครบบริบรู ณ์ ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ อย่าง จึงเรียกกันว่า “มหาชาติ” และ พันเอกพระสารสาสน์พลขันธ์ (เยรินี) กล่าวไว้ พระโพธิสัตว์ ในก� ำ เนิ ด พระเวสสั น ดรได้ ส ร้ า งแบบอย่ า งของความเป็ น มนุ ษ ย์ ผู ้ ก ้ า วถึ ง ขั้ น สู ง สุ ด แห่ ง การด�ำ เนิ น ในทางวิ วั ฒ นาการ อั น น�ำ ไปสู ่ ความเต็ ม เปี ่ ย มทางจริ ย ธรรมและความรู ้ เ หมาะแก่ ก ารข้ า มพ้ น โอฆะห้วงสุดท้าย ซึ่งจะแยกออกเสียได้จากการเกิดเป็นเทวดา เพราะ เหตุนี้ ก�ำเนิดสุดท้ายจึงได้นามว่า “มหาชาติ” การทีเ่ รียก มหาเวสสันดรชาดกว่า “มหาชาติ” นีพ้ ทุ ธศาสนิกชน ชาวไทยของเรานิยมเรียกขาน และเป็นทีห่ มายรูก้ นั มาแต่สมัยกรุงสุโขทัย ราชธานี เพราะปรากฏตามศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๓ ทีเ่ รียกว่าจารึก “นครชุ ม ”ซึ่ ง จารึ ก ไว้ เ มื่ อ พ.ศ.๑๙๐๐ ในรั ช สมั ย ของพญาลิ ไ ท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) มีกล่าวไว้ว่า “ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติ หาคนสวดแหล่มิได้เลย” เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าการมี เทศน์ ม หาเวสสั น ดรชาดกหรื อ มหาชาติ นี้ นิ ย มเทศน์ กั น มานาน แต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีเป็นอย่างน้อย แต่บางชุมนุมก็เรียกว่ามีเทศน์ มหาเวสสันดรบ้างก็เรียกว่า เทศน์มหาชาติ ตามหลักฐาน ศิลาจารึกนี้แสดงว่า การเทศน์มหาชาติหรือมหา เวสสันดรชาดก พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมเทศน์กันมานานแล้วจนถึง กับมีผศู้ รัทธาเลือ่ มใสสละทรัพย์สร้างไว้เป็นผูกๆ หรือจารึกไว้เป็นส�ำรับๆ *รจนาโดย พระมหาสุนทร โสมทตฺโต ป.ธ.๙ (พระศรีสักยวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชิโนรส) จากหนังสือเทศน์มหาชาติ ฉลอง ๒๐๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
7
สันนิษฐานตามหลักฐานการนิยมเทศน์มหาเวสสันดรนี้คงมีมาก่อนสมัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตั้งอาณาจักรสุโขทัยเสียอีก ครัน้ ล่วงมาถึง สมัยรัตนโกสินทร์นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงพระกรุณาโปรดฯให้ประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ใน กรุงรัตนโกสินทร์แต่งมหาชาติค�ำหลวงบางกัณฑ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ เป็นการแต่งซ่อมแทนฉบับทีแ่ ต่งขึน้ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งขาดหายในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยา มหาชาติค�ำหลวงจึงได้สมบูรณ์ สืบต่อมา นักปราชญ์ที่แต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏชื่อเสียง มีหลายท่านด้วยกัน เช่น พระเทพโมลี(กลิ่น) เจ้าพระยาพระคลัง(หน) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส และพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และยังมีผแู้ ต่งไม่ปรากฏชือ่ อีกหลายท่านได้แต่ง ไว้เป็นร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก 8
ปฐมเหตุ*
เวสสันดรชาดก พระพุทธองค์ สมัยเมื่อเสด็จละจากมหาวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุง ราชคฤห์อันเป็นราชธานีแห่งมคธ สู่นครกบิลพัสดุ์ แขวงสักกชนบท เพื่อบ�ำเพ็ญญาตัตถจริยาโปรดพระญาติ มีพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา เป็นประธาน อันพระกาฬุทายีเป็นผู้สื่อสารและน�ำเสด็จไปประทับยัง นิโครธาคาม ไม่หา่ งจากมหานคร ตามทีศ่ ากยราชจัดถวายต้อนรับพร้อม ด้วยหมู่ภิกษุบริวารเป็นอันมาก (๑ แสน) ยังความยินดีให้แผ่ไปทั่วทั้ง กบิลพัสดุ์ ในกาลนัน้ ความมหัศจรรย์ได้บงั เกิดขึน้ เป็นเหตุให้ทรงประกาศ เรื่อง เวสสันดรชาดก โดยปกติพระตถาคตเจ้า เสด็จสู่ ณ ทีใ่ ดก็ยอ่ มบังเกิดสูค่ วามสุข สวัสดี ณ ที่นั้น เพราะอานุภาพค�ำสั่งสอนที่ตรัสประทานด้วยพระ มหากรุณา อุปมาเหมือนมหาเมฆหลัง่ โปรยสายฝนอันเย็นฉ�่ำลงมายังโลก ยังความอ้าวระอุของไอแดดไอดินให้ระยับ ชุบชีพพฤกษชาติทเี่ หีย่ วเฉาให้ ฟื้นสู่ความชื่นบานตระการด้วยดอกช่อและก้านใบฉะนั้น แต่สำ� หรับกบิลพัสดุ์ ดินแดนทีท่ รงถือพระก�ำเนิดและเจริญวัยมา มวลพระญาติและราษฎร์ประชาหาได้ยินดีต่อพุทธวิสัยธรรมานุภาพไม่ พระองค์ทรงอุบตั มิ าเป็นความหวังของคนทัง้ แว่นแคว้น ทุกคน พากันรอคอยอย่างกระหายใคร่จะชมพระบารมีจักรพรรดิราช แต่แล้ว ท่ า มกลางความไม่ นึ ก ฝั น ทรงอยู ่ ใ นพระเยาวกาลเกศายั ง ด� ำ สนิ ท ไม่ปรากฏร่องรอยความร่วงโรยแห่งสังขารแม้สกั น้อย ทัง้ สมบูรณ์พนู พร้อม ทุกอย่าง เท่าทีส่ มบัตปิ ระจ�ำวิสยั บุรษุ จะพึงมี พระชายาทรงสิรโิ ฉมเป็นเลิศ ซ�้ำเป็นโชคอันประเสริฐให้กำ� เนิดโอรสอันเป็นสิริแห่งวงศ์ตระกูลอีกเล่า พระองค์ ก็ ยั ง ตั ด เยื่ อ ใยแห่ ง โลกี ย ์ เสด็ จ แหวกวงล้ อ มเหล่ า นี้ อ อกสู ่ ไพรพฤกษ์ ประพฤติองค์ปานประหนึ่งพเนจรอนาถา สร้างความผิดหวัง และวิปโยคแก่คนทั้งแคว้นเป็นเวลานานปี ๖ ปี ทรงกระท�ำงานชีวติ และส�ำเร็จกิจโดยได้บรรลุอนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ จากนัน้ ก็ทรงใช้ไปเพือ่ งานสงเคราะห์สตั ว์โลก เสด็จเทีย่ ว แจกจ่ายอุบายพ้นทุกข์ ด้วยเทศนาสัง่ สอนจนชาวโลกยอมรับและเทิดทูน ไว้ในฐานะองค์ศาสดาเอก บัดนี้ พระพุทธองค์เสด็จคืนกลับกบิลพัสดุแ์ ล้ว แต่ชาวกบิลพัสดุ์มิได้ต้อนรับในฐานะศาสดา เขาพากันปีติต่อพระองค์ *จากหนังสือเทศน์มหาชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา
9
ในฐานะที่เคยเป็นขวัญจิตขวัญใจของเขาต่างหาก (จากหนังสือเรื่องเพลง
ศาสนา ของหลวงตาแพร เยื่อไม้)
วันแรกทีเ่ สด็จถึงดินแดนแห่งมารดร ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่โอกาส ที่จะประทานธรรมเทศนาแก่หมู่พระญาติ เพราะวันนี้เป็นวันที่วิถี ประสาทและจิตใจตลอดทั้งร่างกายของเหล่าศากยะ เต็มไปด้วยอาการ ปิติตื่นเต้น และอิดโรยด้วยความยินดี และภารกิจไม่อยู่ในสภาพที่ควร แก่การรองรับกระแสธรรม ทรงรอวันรุ่ง แต่แล้วในตอนบ่ายของวันต่อมา เมือ่ บรรดาศากยราชญาติประยูร พากันเสด็จไปเฝ้าที่นิโครธาราม ก็ทรงประจักษ์ว่า พระทัยของประยูร ญาติบางส่วน ยังไม่อยู่ในฐานะควรแก่การรับค�ำสั่งสอน เพราะมีญาติ วงศ์รุ่นสูงชันษาบางพระองค์แสดงอาการทรนงเป็นเชิงว่า “ข้าเกิด ก่อน” เจ้าชายสิทธัตถะ จะแสดงความคารวะนบไหว้ หรือสนพระทัยต่อ พระพุทโธวาทก็เกรงจะเสียเชิงของผูเ้ ห็นโลกมาก่อน จึงพากันประทับอยู่ ห่างๆ ด้วยพระอาการเคอะเขิน หลบๆ ซ่อนๆ อยู่ตามซุ้มไม้และฉากกั้น ปล่อยแต่บรรดากุมารกุมารีรุ่นเยาว์ชันษาให้ได้เฝ้าอย่างใกล้ชิด พระอาการอั น กระด้ า งเคอะเขิ น ของพระญาติ รุ ่ น สู ง อายุ นั้ น พระพุทธองค์ทรงสังเกตว่า เกิดจากมูลเหตุอนั จะเป็นอุปสรรคสกัดกัน้ ผลดี ที่จะพึงเกิดมีแก่เขาเสีย มูลเหตุอันจะปิดกั้นความงอกงามจ�ำเริญแก่ ดวงจิตนั้นก็คือ ทิฐิมานะ ความเห็นอันเป็นให้ถือตน ถ้าลงจับจิตสิงใจ ผูใ้ ดเข้าแล้ว ก็รงั แต่จะท�ำให้สภาพจิตวิปริตไป เสมือนรากต้นไม้ทเี่ ป็นโรค แม้ฝนจะฉ�ำ่ น�ำ้ จะโชก แผ่นดินจะฟูอยูด่ ว้ ยรสปุย๋ รากทีป่ ดิ ตันเสียแล้วด้วย อ�ำนาจเชื้อโรค ก็ย่อมไม่ดูดซับเอาโอชะเข้าบ�ำรุงล�ำต้น เกรียนโกร๋นยืน ตายไปในที่สุดฉันใด อนาคตของคนที่มีจิตมากอยู่ด้วยมานะทิฐิก็ฉันนั้น ทรงพิจารณาดังนี้ จึงเห็นว่ากิจอันควรก่อนอืน่ คือ ท�ำลายความ กระด้าง ล้างความถือดีเสียด้วยอ�ำนาจอิทธิปาฏิหาริย์ ทรงก�ำหนดจิต เจริญฌาน มีอภิญญาเป็นภาคพื้นลอยขึ้นสู่ห้วงนภากาศเสด็จลีลาศ จงกรมไปมาน่าอัศจรรย์ เพียงเท่านีเ้ อง ความคิดข้องใจทีว่ า่ ใครอาบน�ำ้ ร้อน ก่อนหลังก็เสื่อมสูญอันตรธาน พากันอาเศียรคารวะแสดงถึงการยอมรับ นับถืออย่างเต็มใจ เมื่อเสด็จลงที่ประทับ ณ พุทธอาสน์ เบื้องนั้น ฝนอันมหัศรรย์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนก็ตกลง ความมหัศจรรย์ มีลักษณะดังนี้ - สีเม็ดน�้ำฝน แดงเรื่อ เหมือนแก้วทับทิม - ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ไม่ปรารถนา แม้ละอองก็ไม่สัมผัสผิวกาย - ไม่เลอะเทอะขังนอง ก่อให้เกิดโคลนตมอันปฏิกูล พอฝนหาย แผ่นดินก็สะอาด 10
- ตกลงเฉพาะในสมาคมพระญาติ ไม่มีผู้อื่นอยู่ร่วมประชุมด้วย คติในความมหัศจรรย์โดยอุปมา มีดังนี้ ข้อที่ ๑ สีของน�้ำฝน ได้แก่ สีโลหิตแห่งความชืน่ ชมยินดี วันนีเ้ ป็น วันที่ศากยราชทั้งปวงรอคอย ก็สมหวังแล้ว เมื่อพระพุทธองค์เสด็จคืน กลับมา ให้เขาได้เห็นพระรูปพระโฉม จึงพากันชื่นบาน ผิวพรรณก็ซ่าน ด้วยสายเลือด อย่างที่เรียกราศีของคนมีบุญว่า ผิวพรรณอมเลือดฝาด ข้อที่ ๒ ความชุม่ ชืน้ ของสายฝน ก็ได้แก่พระธรรมเทศนาทีพ่ ระ พุทธองค์ทรงประกาศออกไป มีเหตุมผี ลสมบูรณ์ดว้ ยหลักการ ถ้าผูใ้ ดตัง้ ใจ ฟังด้วยความเคารพ ธรรมก็เข้าสัมผัสจิตส�ำนึก และสามารถจะปรับปรุง จิตของตนตามหลักแห่งเหตุผลนั้น จนกระทั่งจิตตั้งอยู่ในภาวะเยือกเย็น เหมือนผิวกายต้องละอองฝน แต่ส�ำหรับบุคคลที่ฟังสักแต่ว่าฟัง ธรรมะ นั้นก็จะไม่กระทบใจ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา อุปมาด้วยฝนไม่เปียก ข้อที่ ๓ ปกติธรรมเป็นของสะอาด ไม่ก่อทุกข์โทษอันพึงรังเกียจ แก่ใครๆ ไม่ว่ากาลไหนๆ ข้อที่ ๔ พระพุทธจริยาครัง้ นี้ ทรงมุง่ บ�ำเพ็ญเฉพาะหมูพ่ ระญาติ ศากยะล้วนๆ เมื่อเหล่าศากยะ ผู้ได้รับความเย็นกายด้วยสายฝน เย็นใจด้วย กระแสธรรม และกราบบังคมลาพากันคืนสู่พระราชนิเวศแล้ว แต่นั้นก็ ย่างเข้าสู่เขตสนธยากาล แสงแดดอ่อนสาดฝ่าละอองฝนที่เหลือตกค้าง มาแต่ตอนบ่าย ท�ำให้เกิดบรรยากาศราวกับจะกลายเป็นยามอรุณ ดอกไม้ ในสวนเริม่ เผยอกลีบอย่างอิดเอือ้ นเหมือนหลงเผลอ แม้นกก็บนิ กลับรวง รังอย่างลังเล ภิกษุทงั้ หลายก�ำลังชุมนุมสนทนาถึงฝนอันมหัศจรรย์และสายัณห์ อันเฉิดฉาย ลงท้ายก็พากันเทิดทูนพุทธบารมีทบี่ นั ดาลให้ทกุ สิง่ เป็นไปแล้ว อย่างพิศวงยิ่ง พระพุทธองค์เสด็จสู่วงสนทนา ของภิกษุพุทธสาวก เมื่อทรงทราบถึงมูลเหตุอุเทสแห่งการสนทนานั้น ก็ตรัสแย้มว่า ฝนนี้เรียกว่า ฝนโบกขรพรรษ ที่ตกลงมาในปัจจุบันนี้ หาชวนอัศจรรย์ ไม่ แม้ในอดีตกาล เมื่อทรงอุบัติเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ นามว่า เวสสันดร ก็ทรงบ�ำเพ็ญบารมีธรรม จนเป็นเหตุให้ ฝนโบกขรพรรษ ได้ตกลงมานัน่ สิ อัศจรรย์กว่า ภิกษุทั้งหลายต่างพากันกราบทูลพระมหากรุณาให้น�ำเรื่อง ครั้งนั้นมาแสดง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงเรื่องราวพิสดาร แบ่งเป็น สิบสามกัณฑ์พันพระคาถา 11
เทศน์มหาชาติ
*
การเทศน์มหาชาติเป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังหลักฐานปรากฏตาม ความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๓ หรือ “จารึกนครชุม” ซึ่งจารึกไว้ ในสมัยพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ว่า “ธรรม เทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติ หาคนสวดแหล่มิได้เลย” งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมท�ำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐิน ไปแล้ว โดยทั่วไปนิยมจัดงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดก อีกวันหนึ่ง ระยะเวลาจัดงานอาจท�ำในวันขึ้น ๘ ค�่ำกลางเดือน ๑๒ หรือ ในวันแรม ๘ ค�่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น�้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารก�ำลัง อุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันท�ำบุญท�ำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมท�ำกันในเดือน ๔ เรียกว่า “งานบุญ ผะเหวด” ซึง่ เป็นช่วงทีเ่ สร็จจากการท�ำบุญลานเอาข้าวเข้ายุง้ ในภาคกลางบางท้องถิ่นท�ำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งาน เทศน์มหาชาตินนั้ จะท�ำในกาลพิเศษ จะท�ำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำ� กัดฤดูกาล โดยมากเพือ่ เป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมท�ำกันในเดือน ๑๐ ส่วนทางดินแดนล้านนาทางภาคเหนือ จะเรียกการเทศน์มหาชาติ ว่า “การตั้งธรรมหลวง” ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนยี่เพง (ยี่เป็ง) คือ วันเพ็ญ เดือน ๑๒ เรื่องที่น�ำมาใช้ในการเทศน์มหาชาตินั้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่ จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ส่วนการทีเ่ รียก มหาเวสสันดรชาดก ว่า “มหาชาติ” นัน้ เนือ่ งด้วย เวสสั น ดรชาดกนี้ เป็ น เรื่ อ งใหญ่ แ ละยื ด ยาว ท่ า นจึ ง จั ด รวมไว้ ใ น มหานิบาติชาดก คือรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง เรียกว่า ทศชาติ แต่เหตุที่ อีก ๙ เรื่องไม่เรียกว่ามหาชาติเช่นเดียวกับเวสสันดรชาดกนั้น ข้อนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวไทย ตลอดจนประเทศใกล้ เ คี ย ง นั บ ถื อ กั น มา แต่ โ บราณว่ า เรื่ อ งมหาเวสสั น ดรชาดก ส� ำ คั ญ กว่ า ชาดกอื่ น ๆ *จากหนังสือเทศน์มหาชาติมหากุศลเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ.๒๕๕๐ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
12
ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสตั ว์บริบรู ณ์ ในเรือ่ งมหาเวสสันดรชาดก ทั้ง ๑๐ อย่าง คือ ๑. ทานบารมี ทรงบริ จ าคทรั พ ย์ สิ น ช้ า ง ม้ า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี ๒. ศีลบารมี ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต ๓. เนกขัมมบารมี ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต ๔. ปัญญาบารมี ทรงบ�ำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรง ผนวช ๕. วิริยบารมี ทรงปฏิบัติธรรมมิได้ย่อหย่อน ๖. สั จ จบารมี ทรงลั่ น วาจายกสองพระกุ ม ารให้ ชู ช ก เมื่ อ พระกุมารหลบหนี ก็ทรงติดตามมาให้ ๗. ขั น ติ บ ารมี ทรงอดทนต่อความยากล�ำ บากต่ า งๆ ขณะ ที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้เมื่อ ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณ พระองค์ก็ทรงข่ม พระทัยไว้ได้ ๘. เมตตาบารมี เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้าง ปัจจัยนาเคนทร์ เพราะเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตา ประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองพระกุมาร โดยอ้างว่าตนได้รับ ความล�ำบากต่างๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย ๙. อุเบกขาบารมี เมื่อทรงเห็นสองพระกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ชว่ ยเหลือ พระองค์กท็ รงบ�ำเพ็ญอุเบกขา คือ ทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว ๑๐. อธิษฐานบารมี คือ ทรงตัง้ มัน่ ทีจ่ ะบ�ำเพ็ญบารมีเพือ่ ให้สำ� เร็จ โพธิญาณเบื้องหน้า แม้จะมีอุปสรรคก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้อง ประทานความช่วยเหลือต่างๆ เพราะตระหนักในน�้ำพระทัยอันแน่วแน่ ของพระองค์ ดังนั้น จึงเรียกพระชาติส�ำคัญนี้ว่า “มหาชาติ” ส่วนพันเอก พระสารสาสน์ พ ลขั น ธ์ (เยริ นี ) กล่ า วว่ า พระโพธิ สั ต ว์ ใ นก� ำ เนิ ด พระเวสสันดร ได้สร้างแบบอย่างของมนุษย์ผกู้ า้ วถึงขัน้ สูงสุดแห่งการ ด�ำเนินในทางวิวฒ ั นาการ อันน�ำไปสูค่ วามเต็มเปีย่ มทางจริยธรรมและ ความรู้ เหมาะแก่การข้ามพ้นโอฆะห้วงสุดท้าย ซึ่งจะแยกออกเสีย ได้จากการเกิ ด เป็ น เทวดา เพราะเหตุนี้ก� ำ เนิดสุ ด ท้ า ยจึ ง ได้ น ามว่ า “มหาชาติ” คือเป็นพระชาติที่บ�ำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุดนั่นเอง 13
เวสสันดรชาดกนี้ คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า เป็น พุทธด�ำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่น และมวลหมู่พระประยูรญาติทนี่ ิโครธารามมหาวิหาร ในนครกบิลพัสดุ์ ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา และพระวงศ์ศากยะ เพราะปรารภฝนโบกขรพรรษให้เป็นเหตุ จึงตรัสเวสสันดรชาดกในที่นี้ ๑๓ กัณฑ์ ประกอบด้วย ทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วนประเวศน์ ชูชก จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สักกบรรพ มหาราช ฉกษัตริย์ และ นครกัณฑ์ มหาชาติ ในสมัยปัจจุบันแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ ๑. มหาชาติประยุกต์ ท่านพระครูพิศาลธรรมโกศล (หลวงตา แพรเยื่อไม้) วัดประยุรวงศาวาส เป็นผู้คิดและให้ค�ำๆ นี้เมื่อ ๓๐ กว่าปี มาแล้ว จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ คือ ฟังรู้เรื่อง เข้าใจ และ ได้สาระ ไม่ง่วงน่าเบื่อหนาย อีกทั้งประหยัดเวลาในการแสดง ๒. มหาชาติทรงเครือ่ ง มี ๓ ลักษณะ คือ - มีการปุจฉา-วิสชั นา ถาม-ตอบ ในเรื่องเทศน์ - มีการสมมติหน้าที่ เช่น องค์โน้นเป็นพระเวสสันดร องค์นี้เป็น พระนางมัทรี - ในเทศน์มีแหล่ ทั้งแหล่นอก แหล่ใน มิใช่ว่าแต่ท�ำนองประจ�ำ กัณฑ์เท่านัน้ (แหล่นอก หมายถึง แหล่นอกบทนอกเนือ้ ความจากหนังสือ เป็นการเพิ่มเติมเข้ามา แหล่ใน หมายถึง แหล่ในเรื่อง เนื้อความตาม หนังสือที่ยอมรับกัน เช่น ฉบับวชิรญาณ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ) ๓. มหาชาติหางเครื่อง มีการแสดงประกอบที่เรียกว่า บุคลา ธิษฐาน มีเฉพาะฆราวาสล้วนๆ เช่น เอาชูชกมาออกฉาก แต่ปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมหาลิเกมาแสดง แล้วนิมนต์พระมาเทศน์ประกอบ ความเชื่อ เชือ่ กันว่า หากผูใ้ ดได้ฟงั มหาชาติทงั้ ๑๓ กัณฑ์จบภายในวันเดียว หรือบูชาธูปเทียนดอกไม้จ�ำนวน ๑,๐๐๐ เท่ากับจ�ำนวนพระคาถา จะได้ พบกับศาสนาพระศรีอาริย์
14
คาถาพัน การเทศน์ “คาถาพัน” หมายถึง การเทศน์มหาชาติที่เป็น ภาษาบาลีล้วนๆ จ�ำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา ซึ่งเป็นความรู้ที่สืบต่อกัน มาว่า เป็นจ�ำนวนคาถาในเวสสันดรชาดก พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวง ชินวรสิริวัฒน์ ได้นับเทียบจ�ำนวนคาถาในบทเทศน์คาถาพัน ที่ใช้เทศน์ กันอยู่ กับจ�ำนวนคาถาใน เวสสันดรชาดก และในทีปนีเวสสันดรชาดก ปรากฏว่าไม่เท่ากัน ได้ทรงอธิบายว่า “...ทีจ่ ริงจะมีจ�ำนวนเท่าไรก็ไม่ส�ำคัญ แต่ได้คดิ ว่าจะนับก็เลยลอง นับดู มีจ�ำนวนนับได้ ๘๕๒ คาถา กับ ๑ บท แต่จ�ำนวนที่เทศน์อยู่บัดนี้ นับได้ ๑,๐๐๐ พระคาถาตรง ส่วนในทีปนีเวสสันดรชาดก แก้บท สหสฺสปฏิมณฺฑิเต นับได้ ๑,๐๐๔ คาถา อันที่จริงจ�ำนวนมากเท่านี้ เป็น อเนกสังขยา ควรแปลว่าประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ แม้จะเกิน ไปบ้าง ขาดไปบ้างก็ไม่เป็นไร”
อานิสงส์คาถาพัน
เมื่อครั้งพระมาลัยเถรเจ้ารับดอกอุบลจากบุรุษเข็ญใจแล้ว ได้น�ำ ขึน้ ไปบูชาพระจุฬามณีเจดียสถานในดาวดึงส์เทวโลก และมีโอกาสสนทนา กับพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์ได้ตรัสแก่พระเถรเจ้าว่า ขอพระคุณ เจ้าได้บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า ผู้ใดใคร่อยากพบปะพระศรีอาริย์เจ้า ผูน้ นั้ พึงงดเว้นอนันตริยกรรม ๕ ประการ มีฆา่ มารดา บิดา เป็นต้น และ พึงอุตสาหะ หมัน่ ก่อสร้างกองการกุศล มีให้ทาน รักษาศีลเจริญภาวนา และสดับตรับฟังพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก อันประกอบ ด้วยคาถาพันหนึ่ง กระท�ำสักการบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ต่างๆ และ ดอกไม้ธูปเทียนอย่างละพัน ตั้งใจฟังให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ดังนี้แล้ว จะได้พบพระศรีอาริย์พุทธเจ้าในอนาคตโดยแท้ หากดั บ ขั น ธ์ แ ล้ ว ก็ จ ะได้ ไ ปเกิ ด ในสุ ค ติ โ ลกสวรรค์ เ สวยทิ พ ยสมบั ติ อันมโหฬาร ครั้นถึงพุทธกาล พระศรีอาริย์พุทธเจ้า เทพบุตร เทพธิดา เหล่านั้น ก็จะได้จุติลงไปเกิดเป็นมนุษย์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา ก็จักได้บรรลุมรรคผล มีพระโสดาปัตติผล เป็นต้น เป็นพระอริยะบุคคล ในพระพุทธศาสนาดังนี้
15
เทศน์มหาชาติ
เวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร ๑๙ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงสาธุการ
พระอินทร์ประสาทพร ๑๐ ประการแด่พระนางผุสดี จุติลงมาเกิดเป็นพระราชมารดาพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ ๑๓๔ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงตวงพระธาตุ พระเวสสันดรบริจาคช้างปัจจัยนาเคนทร์ ชาวเมืองโกรธแค้นให้เนรเทศไปอยู่ยังเขาวงกต กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงพระยาโศก พระเวสสันดรพระราชทานม้าและราชรถ แก่พรามณ์ที่ตามมาขอนอกเมืองเชตุดรจนหมด กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ ๕๗ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงพระยาเดิน สี่กษัตริย์ต้องเดินดง ตั้งพระทัยมุ่งตรงสู่เขาวงกต เพื่อจะทรงบ�ำเพ็ญพรตเป็นฤๅษี กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก ๗๙ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงเซ่นเหล้า นางอมิตตดาให้ชูชกไปทูลขอพระกัณหาและชาลี กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน ๓๕ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงคุกพาทย์ หรือเพลงรัวสามลา ชูชกชูกลักพริกโกหกพรานเจตบุตรว่า เป็นกล่องใส่พระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัย กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน ๘๐ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงเชิดกลอง อจุตฤๅษีหลงเชื่อคารมของชูชกเฒ่าเจ้าเล่ห์ เลยบอกและชี้ทางให้ไปสู่เขาวงกต กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร ๑๐๑ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงโอดเชิดฉิ่ง พระเวสสันดรประทานกันหาและชาลีให้แก่ชูชก กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี ๙๐ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงทยอยโอด พระอินทร์ถ่วงเวลาพระนางมัทรีไม่ให้ไปทันเวลา กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ ๔๓ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงกลม หรือเพลงเหาะ พระอินทร์จ�ำแลงเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี และถวายคืนแล้วประสาทพร ๘ ประการ กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช ๖๙ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงกราวนอก พระเจ้าสญชัยไถ่ตัวสองกุมาร แล้วยกทัพเชิญพระเวสสันดร กลับมาครองราชสมบัติ กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ ๓๖ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงตระนอน ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลง เมื่อได้พบหน้ากัน พระอินทร์บันดาลฝนให้ตก กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา ปี่พาทย์ท�ำเพลงกลองโยน หกกษัตริย์น�ำพยุหโยธาเสด็จกลับจากเขาวงกต พระเวสสันดรขึ้นครองนครเชตุดรแทนพระราชบิดา 17
๑. กัณฑ์ทศพร
เนื้อความโดยย่อ อดีตกาลโพ้น ก่อนสมัยพุทธกาลนานหลายกัลป์ กล่าวถึงพระเจ้า กรุงสญชัย พระโอรสพระเจ้าสีวีราช แห่งกรุงสีพี ทรงอภิเษกสมรสกับ พระธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนามว่า ผุสดี ผู้ซึ่งได้รับพร ๑๐ ประการ หรือทศพร จากพระอินทร์ เทพผู้เป็นใหญ่ ด้วยมูลเหตุดังนี้ พระนางผุสดี เมื่อสิ้นพระชาติที่ทรงก�ำเนิดเป็นพระนางสุธรรมา และด้วยพระบารมีแก่กล้า พระนางเสด็จสู่สวรรค์อุบัติเป็นเทพธิดาผุสดี เป็น พระอัครมเหสีแห่งพระอินทรเทพ ครัน้ ถึงคราต้องทรงจุตจิ ากสวรรค์ พระอินทรเทพ ประทาน พร ๑๐ ประการ ให้ตามที่พระนางมีพระประสงค์ ดังนี้
๑. ได้บังเกิดในปราสาทแห่งพระเจ้ากรุงสีพี ๒. มีพระเนตรด�ำขลับประดุจตาลูกเนื้อทราย ๓. พระขนงด�ำสนิท ๔. ทรงพระนามว่า ผุสดี ๕. มีพระโอรสทรงพระเกียรติยศยิ่งกษัตริย์ทั้งปวง และมีพระศรัทธาในพระกุศลทั้งปวง ๖. เมื่อทรงพระครรภ์ อย่าให้พระครรภ์โย้นูนดังสตรีมีครรภ์ทั่วไป ๗. พระถันงาม เวลาทรงพระครรภ์ก็มิด�ำและหย่อนคล้อย แม้กาลเวลาล่วงไป ๘. พระเกศาด�ำสนิทประดุจสีปีกแมลงค่อมทอง ๙. พระฉวีละเอียดงามเป็นนวลละออง ดังทองค�ำธรรมชาติปราศจากราคี ๑๐. ขอให้ทรงบารมี ทรงอ�ำนาจไว้ชีวิตนักโทษประหารได้
มิใช่เพียงพร ๑๐ ประการเท่านั้น ที่หนุนเนื่องให้พระนางผุสดีได้เป็น พระพุ ท ธมารดาในชาติ ก าลต่ อ มา ครั้งอดีตชาติ พระนางเคยเฝ้าถวาย แก่ น จั น ทร์ แ ดงเป็ น พุ ท ธบู ช าแก่ พ ระวิ ป ั ส สี สั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พร้ อ ม ทรงอธิษฐาน ตั้งพระปรารถนาให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคตชาติด้วย ตัวละครสะท้อนคุณธรรม พระเจ้ากรุงสญชัย-พระนางผุสดี ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ปกครอง ที่ดี ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน รู้จักผ่อนปรนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ สาระน่ารู้ สูผ่ สู้ ดับ : ในมหาชาติเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ พระคาถา กัณฑ์ทศพร นับเป็นกัณฑ์แรก กัณฑ์ทศพร ประดับด้วยคาถา ๑๙ พระ คาถา เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือเพลง “สาธุการ” ประกอบกิริยาน้อมนมัสการรับพรทั้ง ๑๐ ประการของพระนางผุสดี ข้ อ คิ ด จากกั ณ ฑ์ : การท� ำ บุ ญ จะได้ ดั ง ประสงค์ ต้ อ งอธิ ษ ฐานจิ ต ตัง้ เป้าหมายชีวติ ทีต่ นปรารถนาไว้ ตัง้ มัน่ และบริบรู ณ์ในศีล ได้แก่ การท�ำความดี รักษาความดีนั้นไว้ และหมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น 18
กัณฑ์ที่ ๑
ทศพร
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระอินทร์ประทานพร ๑๐ ประการ แด่พระนางผุสดี พระมเหสีแห่งกษัตริย์กรุงสญชัย และอัญเชิญพระโพธิสัตว์ จุติในพระครรภ์พระนางผุสดี
กัณฑ์ที่ ๒
หิมพานต์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระเวสสันดร ประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ซึ่งเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง ให้แก่พราหมณ์ต20 ่างเมืองที่มาทูลขอ ชาวเมืองโกรธแค้นให้เนรเทศไปอยู่ยังเขาวงกต
๒. กัณฑ์หิมพานต์
เนื้อความโดยย่อ เทพธิดา “ผุสดี” พระอัครมเหสีแห่งพระอินทรเทพ ทรงจุตจิ ากสวรรค์ ลงมาถือก�ำเนิดเป็นพระธิดากษัตริย์มัททราช มีพระนาม “ผุสดี” ดังทศพร ประการที่ ๔ ที่ทรงขอไว้ ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งกรุงสีพี เมื่ อ มี พ ระโอรสนามว่ า “เวสสั น ดร” ด้ ว ยทรงประสู ติ ใ นตรอกพ่ อ ค้ า ก็ทรงได้สมพระปรารถนาในทศพรประการที่ ๕ ด้วยพระกุมารเวสสันดรนั้น ทั น ที ที่ ป ระสู ติ จ ากพระครรภ์ ก็ ท รงทู ล ขอทรั พ ย์ บ ริ จ าคทั น ที และเมื่ อ ทรงขึน้ ครองราชย์เมือ่ พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงสร้างทานศาลาขึน้ ๖ แห่ง ส�ำหรับบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้โดยถ้วนหน้า ในวันทีพ่ ระเวสสันดรประสูตนิ นั้ ทรงได้ชา้ งเผือกขาวบริสทุ ธิ์ ทีแ่ ม่ชา้ ง ชาติฉทั ทันต์นำ� มาถวายไว้ในโรงช้าง ชาวสีพขี นานนามช้างว่า “ปัจจัยนาเคนทร์” ด้วยเป็นช้างมงคลที่แม้ขับขี่ไปในที่ใด ก็จะท�ำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล กาลต่อมา เมื่อเมืองกลิงคราษฎร์ เกิดข้าวยากหมากแพง ด้วยฝนฟ้า แล้งมิตกต้องตามฤดูกาล พระเจ้ากลิงคราษฎร์มิอาจทรงแก้ไขได้ แม้จะทรง รักษาอุโบสถศีลครบก�ำหนด ๗ วันแล้วก็ตาม จนต้องทรงแต่งตั้งพราหมณ์ ๘ คน ไปทู ล ขอช้ า งปัจจัยนาเคนทร์จากพระเวสสันดร พระเวสสันดร ก็ประทานให้ เป็นเหตุให้ชาวเมืองสีพไี ม่พอใจ ถึงขัน้ กราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัย ให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากบ้านเมืองไป พระเวสสันดร แม้จะประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ จนต้องถูกเนรเทศ ก็มิทรงย่อท้อที่จะบ�ำเพ็ญทาน ยังทรงทูลขอโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” ก่อนจะทรงจากไป ทรงให้พระนางมัทรี บริ จ าคทรั พ ย์ ถ วายแด่ ผู ้ ท รงศี ล และให้ พ ระนางทรงอยู ่ บ� ำ รุ ง รั ก ษา พระโอรสพระธิดา ทั้งทรงอนุญาตให้อภิเษกสมรสใหม่ได้ แต่พระนางมัทรี ขอตามเสด็จไปพร้อมพระโอรสและพระธิดา และได้ทรงพรรณนาถึงความ สวยงามและน่าทัศนาของป่าหิมพานต์ถึง ๒๔ พระคาถา เพื่อให้เป็นที่ ประจักษ์ว่า พระนางเต็มพระทัยโดยเสด็จ มิได้ทรงเห็นเป็นเรื่องทุกข์ทรมาน แต่ประการใด
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
พระเวสสันดร เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อ ประโยชน์สว่ นรวม ไม่ยดึ ติดกับอ�ำนาจวาสนา บริบรู ณ์ในพรหมวิหาร ๔ ประการ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : กัณฑ์หิมพานต์ ประดับด้วยคาถา ๑๓๔ พระคาถา เป็ น พระนิ พ นธ์ ใ นสมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิ โ นรส วัดพระเชตุพนวิมลสังคลาราม เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “ตวงพระธาตุ” ประกอบกิริยาอวยทานของพระเวสสันดรที่ทรงบริจาคทาน ข้อคิดจากกัณฑ์ : การท�ำความดี มักมีอปุ สรรค ปัญหาเป็นทีม่ าแห่งความส�ำเร็จ 19
๓. กัณฑ์ทานกัณฑ์
เนื้อความโดยย่อ เมื่อพระเวสสันดรทรงบริจาค สัตตสดกมหาทาน เป็นทาน ๗ สิ่ง (คือ ช้าง ม้า วัว รถ สตรี แม่โคนม ทาสชาย และทาสหญิง) สิ่งละ ๗๐๐ ตาม ที่ทรงทูลขอพระเจ้ากรุงสญชัยพระราชบิดาแล้ว ทรงน�ำเสด็จพระนางมัทรี และสองพระกุมาร คือ พระชาลี พระกัณหา กราบทูลลาพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสญชัยทรงทัดทาน มิให้นางมัทรีและพระนัดดาทั้งสอง ตามเสด็จไปด้วย ครัน้ พระนางมัทรีมทิ รงยินยอมก็ทรงขอพระนัดดาทัง้ สองไว้ พระนางมัทรีก็ไม่ทรงยินยอมอีก ด้วยทรงตั้งพระทัยมั่นที่จะขอตามเสด็จ พระสวามีไปพร้อมพระโอรสและพระธิดา ทรงกราบทูลว่า เมือ่ เป็นมเหสีแล้ว ก็ถือพระองค์เป็นประดุจทาสทาสี ย่อมจงรักภักดีต่อพระสวามี ขอตามเสด็จ ไปปรนนิบัติประหนึ่งทาสติดตามรับใช้มิยอมให้พระสวามีไปตกระก�ำล�ำบาก ทุกข์ยากพระวรกายแต่เพียงล�ำพัง ส่วนพระโอรสพระธิดาเป็นประดุจแก้วตา ดวงใจจะทอดทิง้ เสียกระไรได้ พระเจ้ากรุงสญชัยต้องทรงเลิกทัดทานในทีส่ ดุ เมือ่ พระเวสสันดร ทรงกราบบังคมทูลลาพระชนกชนนีแล้ว ทรงเบิก แก้วแหวนเงินทอง บรรทุกราชรถเทียมม้า และทรงโปรยเป็นทานไปตลอดทาง แม้แต่รถทรง ม้าเทียมรถทรง ก็ประทานให้แก่พราหมณ์ที่มาทูลขอไป จนหมดสิน้ แล้วทัง้ สองพระองค์ทรงอุม้ พระโอรสและพระธิดา ทรงพระด�ำเนิน ไปสู่มรรคาเบื้องหน้า สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : กัณฑ์ทานกัณฑ์ ประดับด้วยคาถา ๒๐๙ คาถา เนื้ อ ความเป็ น ของส� ำ นั ก วั ด ถนน จั ง หวั ด อ่ า งทอง มิ ไ ด้ ร ะบุ ชื่ อ ผู ้ นิ พ นธ์ กัณฑ์นมี้ จี ำ� นวนพระคาถามากทีส่ ดุ ในจ�ำนวนมหาชาติทงั้ ๑๓ กัณฑ์ เพลงประจ�ำ กัณฑ์ คือ “พระยาโศก” ประกอบกิรยิ าโศกสลดรันทดใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ที่พระเวสสันดรถูกเนรเทศออกจากเมือง ข้อคิดจากกัณฑ์ : พึงยอมเสียสละความสุขส่วนตัว เพือ่ ประโยชน์สขุ ของส่วนรวม ยามบุญมีเขาก็ยก ยามต�ำ่ ตกเขาก็หยาม ชีวติ มีทงั้ ชืน่ ชมและขมขืน่ ท�ำดีจะให้ ถูกใจคนทั้งโลกเป็นไปไม่ได้
20
กัณฑ์ที่ ๓
ทานกัณฑ์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระเวสสันดร ประทานม้าและราชรถแก่พราหมณ์ ที่ตามมาทูลขอระหว่างทาง นอกเมืองเชตุดรจนหมด
กัณฑ์ที่ ๑
วนประเวศน์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
สี่กษัตริย์ต้องเดินดง ตั้งพระทัยมุ่งตรงสู่เขาวงกต เพื่อจะทรงบ�ำเพ็ญพรตเป็นฤๅษี เสด็จถึงอาศรมที่พระวิษณุกรรมเนรมิตถวาย
๔. กัณฑ์วนประเวศน์ เนื้อความโดยย่อ พระเวสสันดร พระนางมัทรี และสองพระกุมาร เสด็จโดยพระบาท เป็นระยะทางถึง ๓๐ โยชน์ จึงลุมาตุลนคร แคว้นเจตราษฎร์ ด้วยพระบารมี เทพยดาจึงทรงย่นระยะทางให้เสด็จถึงตัวเมืองภายในเวลาเพียงวันเดียว ทั้ง สี่พระองค์ได้ประทับแรมที่แคว้นเจตราษฎร์นี้ เมือ่ กษัตริยเ์ จตราษฎร์ทรงทราบ ได้กราบทูลขอถวายความอนุเคราะห์ ทุกประการ ทั้งเชิญเสด็จเสวยราชสมบัติแทนพระองค์ แต่พระเวสสันดร มิทรงรับ ด้วยผิดพระประสงค์ ทรงขอเพียงให้ชี้ทางไปเขาวงกต สถานที่ที่ พระองค์ตงั้ พระทัยมัน่ จะประทับรักษาพระจริยวัตรของนักพรตโดยเคร่งครัด สืบไป กษัตริย์เจตราษฎร์สุดที่จะโน้มน้าวพระทัยพระเวสสันดรได้ จ�ำต้อง ท�ำตามพระประสงค์ ทรงท�ำได้เพียงตามส่งเสด็จ จนสุดแดนแคว้นเจตราษฎร์ และทรงตัง้ ให้พรานเจตบุตร ถวายงานเป็นผูพ้ ทิ กั ษ์ระวังระไว มิให้ภยันตราย ใด ๆ แผ้วพาน และมิให้สิ่งใดหรือใครเข้าไปรบกวนความสงบได้ ณ เขาวงกต ทัง้ สีพ่ ระองค์ทรงประทับในพระอาศรมทีพ่ ระอินทรเทพ ทรงบัญชาให้พระวิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิตไว้ให้พร้อมด้วยเครื่องบรรพชิต บริขารครบถ้วน พระเวสสันดร ประทับในพระอาศรมหนึง่ โดยล�ำพัง พระนาง มัทรีกบั สองพระกุมารประทับพักพระอาศรมหนึง่ ทัง้ สีพ่ ระองค์ทรงผนวชเป็น พระฤาษี ต่างพระองค์ต่างทรงรักษาพระจริยวัตรของผู้ถือบวชโดยเคร่งครัด สมดังพระหฤทัยตั้งมั่นทุกประการ
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
กษัตริย์เจตราษฎร์ เป็นแบบอย่างของมิตรที่มีน�้ำใจ พร้อมจะช่วย เหลือยามมิตรตกทุกข์ได้ยาก สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : กัณฑ์วนประเวศน์ประดับด้วยคาถา ๕๗ พระคาถา เป็นพระนิพนธ์ ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “พระยาเดิน” ประกอบกิรยิ าเดินป่าของ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหา ข้อคิดจากกัณฑ์ : มิตรแท้ ย่อมไม่ทอดทิ้งเมื่อยามเพื่อนทุกข์ ช่วยปลอบ ปลุกยามเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต�่ำ และช่วยชูค�้ำยามเพื่อน ขึ้นสู่ที่สูง
21
๕. กัณฑ์ชูชก เนื้อความโดยย่อ ในละแวกบ้านทุนวิฐ แคว้นกลิงคราษฏร์ มี ชูชก พราหมณ์เข็ญใจ เที่ยวขอทานเขากิน เมื่อเก็บเงินได้มากถึง ๑๐๐ กษาปณ์ ก็น�ำไปฝากเพื่อน พราหมณ์ผัวเมียคู่หนึ่งไว้ แล้วเที่ยวตระเวนขอทานต่อไป ชูชกหายไปนาน จนพราหมณ์ผัวเมียคิดว่าพราหมณ์ชูชก ไม่กลับ มาแล้ว ประกอบกับเกิดขัดสนยากจนลง ชวนกันใช้เงินของชูชกกันหมด เมื่อ ชูชกกลับมาทวงไม่มีจะคืนให้ จึงยกลูกสาวชื่ออมิตตดา ใช้หนี้แทน ชูชกได้นางอมิตตดาซึ่งนอกจากจะเป็นลูกที่ดี คือ กตัญญูต่อพ่อแม่ ทดแทนพระคุณโดยยอมตัวเป็นของชูชกแล้วยังเป็นเมียที่ประเสริฐ แม้ชูชก จะแก่คราวปู่ นางก็ปรนนิบัติชูชกเป็นอย่างดี มิได้ขาดตกบกพร่อง ท�ำให้ พราหมณ์หนุม่ ในละแวกนัน้ ไม่พอใจนางพราหมณีภรรยาของตนต่างไปต่อว่า ด่าทอทุบตีภรรยาตน นางพราหมณีทงั้ หลายโกรธแค้นจึงไปรุมขับไล่ และด่าว่า นางอมิตตดาอย่างรุนแรง นางทั้งเสียใจและอับอายจนสุดจะทน จึงร้องบอก ชูชกว่า จะไม่ท�ำงานรับใช้สามีอีก ชูชกขอท�ำงานแทนนางก็ยอมไม่ได้ ด้วย เทือกเถาเหล่ากอของนางไม่เคยใช้สามีต่างทาส ด้วยเทพยดาฟ้าดินจะทรงให้การบ�ำเพ็ญทานบารมีของ พระเวสสันดร เพิ่มพูนขึ้นอีก จึงดลใจให้นางอมิตตดารู้เรื่องของพระเวสสันดร และคิด ขอสองพระกุมารมาเป็นข้ารับใช้ โดยให้นางแนะชูชกไปขอสองพระกุมาร ชูชกจ�ำใจจากนางเดินทางไปตามหาพระเวสสันดร จนกระทั่งไปถึงเขาวงกต เพราะเทพยดาดลใจให้หลงทางไป ชูชกพบพรานเจตบุตรและใช้อุบาย ลวงล่อจนพรานเจตบุตรหลงเชือ่ ว่า เป็นผูถ้ อื พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงสญชัย มากราบทูลเชิญทัง้ สีพ่ ระองค์เสด็จกลับกรุงสีพี จึงต้อนรับชูชกเต็มที่ ทัง้ เตรียม เสบียงและยอมชี้ทางไปสู่พระอาศรมพระเวสสันดรแต่โดยดี
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
ชูชก เป็นตัวอย่างของคนมัธยัสถ์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ รักครอบครัว แต่มีนิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย เต็มไปด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ ติดอยู่ในกาม เข้าลักษณะ “วัวแก่กินหญ้าอ่อน” นางอมิตตดา เป็นตัวอย่างของลูกที่อยู่ในโอวาท กตัญญูต่อพ่อแม่ เป็นภรรยาที่ดีของสามี แต่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : กัณฑ์ชูชก ประดับด้วยคาถา ๗๙ คาถา พระเทพโมลี วัดสังข์กระจาย เป็นผู้นิพนธ์ เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ “เซ่นเหล้า” ประกอบ กิริยากินอย่างตะกละตะกลามของพราหมณ์ชูชก ข้อคิดจากกัณฑ์ : อย่าฝากของมีค่า ของส�ำคัญ หรือของหวงแหนไว้กับผู้อื่น 22
กัณฑ์ที่ ๕
ชูชก
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
ชูชกทวงเงินที่ฝากไว้ เพื่อนพราหมณ์ไม่มีจะให้ ยกอมิตตดาลูกสาวใช้หนี้แทน ชูชกพาอมิตตดากลับบ้าน ชาวบ้านแตกตื่น ชมบุญชูชกได้เมียที่ประเสริฐ
กัณฑ์ที่ ๖
จุลพน
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
ชูชกชูกลักพริก โกหกพรานเจตบุตรว่า เป็นกล่องใส่พระราชสาส์น ของพระเจ้ากรุงสญชัย
๖. กัณฑ์จุลพน เนื้อความโดยย่อ พรานเจตบุตรซึ่งได้รับค�ำสั่งจากกษัตริย์เจตราษฏร์ให้ท�ำหน้าที่เป็น นายด่านประตูปา่ คอยห้ามมิให้ผใู้ ดไปพบกษัตริยท์ งั้ สีพ่ ระองค์ เว้นแต่ราชทูต เท่านัน้ รูไ้ ม่ทนั เล่หเ์ หลีย่ มของชูชก จึงหลงเชือ่ ให้ทพี่ กั อาศัยและเลีย้ งดูจนอิม่ หน�ำส�ำราญ ครั้นรุ่งเช้า ก็จัดเตรียมเสบียงให้ชูชก พร้อมทั้งน�ำชูชกไปยังต้นทางที่ จะไปยังเขาวงกต และชี้บอกเส้นทางที่จะต้องผ่านว่า ต้องผ่านเขาคันธมาทน์ อันอุดมด้วยไม้หอมนานาชนิด ถัดไปจะเห็นเขาสีเขียวคราม คือ เขาอัญชัน ซึ่งอุดมไปด้วยไม้ผลและสมุนไพรชนิดต่างๆ เดินต่อไปอีกสักครู่จะถึงสถาน อัมพวันใหญ่ คือ ป่ามะม่วง ถัดไปเป็นป่าตาล ป่ามะพร้าวกับต้นแป้ง จากนัน้ จะเป็นป่าไม้ดอกนานาพรรณที่มีกลิ่นหอมตระหลบไปทั้งป่า แล้วจะถึงสระ อันอุดมไปด้วยสัตว์นำ�้ หลากหลายชนิด มีขัณฑสกรที่เป็นน�ำ้ ตาลที่เชื่อกันว่า เกิดที่ใบบัว และเป็นเครื่องยาอย่างดีที่หาได้ยาก พรานเจตบุตรยังได้แนะทางทีจ่ ะไปยังอาศรมของพระอัจจุตฤๅษี เพือ่ ให้ชูชกถามถึงหนทางที่จะไปยังพระอาศรมของพระเวสสันดร ชูชกจ�ำเส้นทางที่พรานเจตบุตรบอกไว้ แล้วอ�ำลาโดยท�ำประทักษิณ ๓ รอบ จากนั้นจึงออกเดินทางต่อไป
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
พรานเจตบุ ต ร เป็ น แบบอย่ า งของคนดี คนซื่ อ แต่ ข าดความ เฉลียวฉลาด จึงถูกหลอกได้งา่ ย สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : จุลพน หมายถึง ป่าที่มีต้นไม้น้อยๆ หรือป่าโปร่ง กัณฑ์จุลพน ประดับด้วยคาถา ๓๕ พระคาถา เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ “คุกพาทย์” หรือ “รัวสามลา” ประกอบกิรยิ าการแสดง อิทธิฤทธิ์ หรือการข่มขวัญ ซึ่งพรานเจตบุตรได้แสดงแก่ชูชก ข้อคิดจากกัณฑ์ : มีอ�ำนาจ แต่หากขาดปัญญา ย่อมถูกหลอกได้ง่าย
23
๗. กัณฑ์มหาพน เนื้อความโดยย่อ ชูชกเดินทางผ่านสถานทีส่ ำ� คัญๆ ตามทีพ่ รานเจตบุตรบอก จนกระทัง่ พบพระอัจจุตฤๅษี จึงสอบถามที่อยู่ของพระเวสสันดร พระอัจจุตฤๅษีเห็นท่าทีและพฤติกรรมของชูชกครัง้ แรกก็ลงั เล กลัวว่า ชูชกจะมาขอพระชาลี พระกัณหาไปเป็นทาส หรือไม่ก็ขอพระนางมัทรี จึงไม่ บอกทาง ชูชกแก้ตัวด้วยมธุรสวาจา ยกเหตุผลว่าจะมาเที่ยวขอให้เสื่อมเสีย พงศ์พราหมณ์ท�ำไม การมาครั้งนี้เพื่อเยี่ยมเยียนพระเวสสันดรจริงๆ ขอให้ ได้เห็นจะได้เป็นกุศล ทั้งยังอ้างว่าตั้งแต่พระเวสสันดรจากเมืองมา ตนยัง ไม่ได้พบพระเวสสันดรเลยท�ำให้พระอัจจุตฤๅษีใจอ่อน หลงเชือ่ ว่าชูชกมาด้วย เจตนาดี เมื่อเห็นว่าพระอัจจุตฤๅษีใจอ่อนหลงเชื่อแล้ว ชูชกจึงขอค้างแรมที่ อาศรมหนึง่ คืน รุง่ ขึน้ พระอัจจุตฤๅษีจดั หาผลไม้ให้และบอกทางไปพระอาศรม ของพระเวสสันดรอย่างละเอียด พรรณนาถึงป่าเขา ฝูงสัตว์รา้ ยต่างๆ ด้วยเป็น ป่าใหญ่ สมกับที่เรียกว่า ป่ามหาพน ชู ช กจดจ� ำค�ำแนะน� ำเส้นทางไว้แล้วอ� ำ ลา มุ่งหน้าเดินทางไปสู่ พระอาศรมของพระเวสสันดร
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
พระอัจจุตฤๅษี เป็นแบบอย่างของนักพรตผูฉ้ ลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบา เชือ่ คนง่าย สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : มหาพน หมายถึง ป่าใหญ่ หรือไพรกว้าง กัณฑ์ มหาพน ประดั บ ด้ ว ยคาถา ๘๐ พระคาถา พระเทพโมลี (กลิ่ น ) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เป็นผู้นิพนธ์ เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “เชิดกลอง” ประกอบกิริยาเดินอย่างเร่งรีบของชูชก ข้อคิดจากกัณฑ์ : คนฉลาดแต่ขาดเฉลียว คนมีปัญญา แต่ขาดสติย่อม พลาดท่าเสียทีได้
24
กัณฑ์ที่ ๗
มหาพน
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
อัจจุตฤๅษี หลงเชื่อคารมของชูชกเฒ่าเจ้าเล่ห์ เลยบอกและชี้ทาง ให้ไปสู่เขาวงกต
กัณฑ์ที่ ๘
กุมาร
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระเวสสันดร ตรัสเรียกพระชาลีและพระกัณหา ให้ขึ้นมาจากสระบัว ที่สองพระกุมารลงไปซ่อนตัว
๘. กัณฑ์กุมาร เนื้อความโดยย่อ ชูชกเดินทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร ในเวลาจวนค�่ำ แต่ไม่คิดจะ เข้าเฝ้าทูลขอสองพระกุมารในเวลานั้น ด้วยเกรงว่าพระนางมัทรีจะขัดขวาง ตามวิสัยผู้เป็นแม่ รอให้พระนางมัทรีเสด็จไปหาผลไม้ และพระเวสสันดร ประทับอยู่โดยล�ำพังในวันรุ่งขึ้น จึงค่อยเข้าไปขอ ในคืนนัน้ พระนางมัทรีทรงพระสุบนิ ด้วยเทวดามาบอกเหตุวา่ มีบรุ ษุ ร่างกายก�ำย�ำ ผิวด�ำ ถือดาบ ๒ มือ พังประตูอาศรมเข้าไปฉุดกระชากพระนาง ควักพระเนตร ตัดพระพาหาสิ้นทั้งซ้ายขวา ท้ายสุดผ่าพระอุระ ควักดวง พระหทัยแล้วหนีไป พระนางทรงตระหนักดีวา่ ทรงฝันร้าย จึงกังวลพระทัยยิง่ นักและไม่วางพระทัย แม้พระเวสสันดรจะทรงท�ำนายเลี่ยงไปว่า เป็นเพราะ ธาตุวิปริตและทรงปลอบพระนางให้ทรงหายหวาดกลัวและคลายกังวล ครั้นรุ่งเช้าพระนางก็ยังคงเสด็จไปหาผลไม้ดังเช่นที่ทรงปฏิบัติทุกวัน ฝ่ายชูชกสบโอกาสดังคิด จึงเร่งเข้าเฝ้าพระเวสสันดร แล้วทูลขอ สองพระกุมาร แม้พระเวสสันดรจะทรงอาลัยพระโอรสพระธิดาเพียงใด ก็ต้องตัดพระทัยเพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันจะยังประโยชน์สุขให้แก่ มวลมนุษย์ยงิ่ กว่าสุขของพระองค์เอง ทัง้ สองพระกุมารก็เข้าพระทัยในเหตุผล ของพระบิดา จึงยอมเสด็จไปกับชูชก
“มาเถิดลูกรัก พ่อเอย! ลูกจงช่วยท�ำการสร้างสมความดีของพ่อ ให้เต็มเปี่ยมเถิด. ลูกจงช่วยรดหัวใจพ่อให้เย็น. จงท�ำตามค�ำพ่อ. จงช่วยเป็นเรืออันแข็งแรง ให้พ่อข้ามทะเลอันร้ายกาจไปให้ได้เถิด. พ่อจะข้ามฟากไปจากการต้องเกิด และช่วยให้เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ข้ามไปได้ด้วย.” จาก “น�้ำพระทัยพระเวสสันดร” โดย สิริวยาส
กัณฑ์ที่ ๘
กุมาร
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระเวสสันดร ประทานกัณหาและชาลีให้แก่ชูชก ชูชกเฆี่ยนตีสองพระกุมาร ตั้งแต่ยังไม่พ้นพระอาศรม
ทัง้ สามพระองค์ตอ้ งทรงกลัน้ อาลัย พระเวสสันดรต้องสะกดพระโทสะ ด้วยชูชก ลงมือเฆี่ยนตีสองพระกุมาร ตั้งแต่ยังไม่ทันพ้นพระอาศรม ก่อนจะทรงให้ชูชกน�ำสองกุมารไป ได้ทรงตั้งค่าตัวไว้ว่า หากมีผู้ใด ต้องการไถ่ตัวสองพระกุมารให้พ้นทาส พระชาลีนั้นทรงตั้งไว้พันต�ำลึงทอง พระกัณหาเป็นหญิงนอกจากทรัพย์พันต�ำลึงทองแล้ว ยังต้องประกอบด้วย ข้าทาสชายหญิง ช้าง ม้า โคคาวี และโคอุสุภราชอีกอย่างละร้อย
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
พระชาลี - พระกัณหา เป็นแบบอย่างของลูกทีด่ ี เชือ่ ฟังพ่อแม่มเี หตุผล ยอมรับในสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แม้วา่ จะต้องเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน จากการถูกชูชก เฆีย่ นตีกต็ าม สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : ค�ำว่า “กุมาร” ในกัณฑ์นี้ หมายความถึง พระชาลี และพระกัณหา กัณฑ์กุมารประดับด้วยคาถา ๑๐๑ พระคาถา เจ้าพระยา พระคลัง (หน) เป็นผูน้ พิ นธ์ เพลงประจ�ำกัณฑ์คอื เพลง “โอดเชิดฉิง่ ” ประกอบ กิริยาที่ชูชกพาพระชาลีและพระกัณหา เดินทางเข้าไปในป่า และเฆี่ยนตีไป ตลอดทาง ข้อคิดจากกัณฑ์ : ความเป็นผู้รู้จักกาละเทศะ รู้จักโอกาส รู้ความควรไม่ควร ไม่ผลีผลามเข้าไปขอ รอจนพระมัทรีเข้าป่า จึงเข้าเฝ้าเพือ่ ขอสองกุมาร ท�ำให้ ชูชกประสบความส�ำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา สติป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมือ่ ถูกชูชกประณาม และเฆี่ยนตีพระโอรสและพระธิดา ต่อเฉพาะพระพักตร์
“พ่อจ๋า...น่ากลัวว่า ตาแก่นี้จะมิใช่มนุษย์ แต่เป็นยักษ์แปลงปลอมมา ขอลูกไปเคี้ยวกิน. เมื่อตะกี้แกคร่าลูกไป พ่อดูเฉยอยู่ได้ ใจของพ่อเหมือนก้อนหินหรือพ่อจ๋า หรือว่าถูกเหล็กพืดรัดเอาไว้. ตาแก่ตีเราเท่าไร พ่อก็เฉย. ตาแก่นี่เห็นแต่จะได้ทรัพย์อย่างเดียว หามีความเมตตาปรานีไม่ แกจึงตีเราหนักๆ เหมือนตีวัว. ถึงอย่างไรพ่อจงให้น้องกัณหาอยู่ที่นี่เถิด น้องกัณหายังเล็กเกินไป ไม่เคยทุกข์ พอไม่เห็นแม่ ก็เที่ยววิ่งร้อง เหมือนวัวพลัดแม่.” จาก “น�้ำพระทัยพระเวสสันดร” โดย สิริวยาส
25
๙. กัณฑ์มัทรี เนื้อความโดยย่อ เมือ่ ชูชกพาสองพระกุมารไปแล้ว พระอินทรเทพทรงเกรงว่า พระนาง มัทรี จะทรงเสด็จกลับจากป่าเร็วกว่าปกติด้วยความกังวลที่ทรงฝันร้าย และ พระนางจะเสด็จตามทันสองพระกุมาร จึงทรงบัญชาให้เทพยดา ๓ องค์ แปลงกายเป็นสัตว์ร้ายที่น่ากลัวคือ เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ นอน ขวางทางเสด็จกลับพระอาศรม จนค�่ำจึงหลีกทางให้พระนาง ครัน้ พระนางมัทรีเสด็จกลับถึงพระอาศรม ไม่ทรงเห็นสองพระกุมาร ทรงตามหาไม่พบ ก็กันแสงอ้อนวอนทูลถามพระเวสสันดรถึงสองพระกุมาร พระเวสสันดรไม่ทรงตอบ และทรงแกล้งกล่าวต�ำหนิทพี่ ระนางทรงกลับมืดค�่ำ ให้พระนางเจ็บพระทัย จะได้คลายทุกข์โศกถึงสองพระกุมาร แม้พระนาง จะทรงอ้อนวอนสักเท่าใดก็ไม่ทรงตอบ จนพระนางน้อยพระทัย ทรงออก ติดตามพระโอรสพระธิดาทั้งราตรี ลุรุ่งอรุณวันใหม่ พระนางมัทรีจึงเสด็จกลับพระอาศรมด้วยความ อิดโรยอ่อนพระทัย อ่อนล้าพระก�ำลังถึงกับทรงสลบไป เมื่อพระเวสสันดร ทรงแก้ไขให้ทรงฟื้นแล้ว จึงทรงบอกความจริงว่า ได้ประทานพระโอรส พระธิดาให้ชชู กไปแล้ว ทรงขอให้พระนางอนุโมทนากับ “ปิยบุตรทาน” ด้วย อันจะส่งผลให้พระองค์เสด็จสู่พระสัมมาสัมโพธิญาณ พระนางมัทรีเมื่อทรง ทราบความจริงก็ทรงบรรเทาโศกและทรงอนุโมทนาด้วย
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
พระนางมัทรี เป็นแบบอย่างของภรรยาที่ดี ซื่อสัตย์และจงรักภักดี ต่อสามี รวมถึงเป็นแม่ทรี่ กั และเป็นห่วงลูกมาก เปรียบลูกเป็นเสมือนแก้วตา ดวงใจ สาระน่ารู้ สูผ่ สู้ ดับ : กัณฑ์มทั รี ประกอบด้วยคาถา ๙๐ พระคาถา เจ้าพระยา พระคลัง (หน) เป็นผู้นิพนธ์ เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “ทยอยโอด” ประกอบกิริยาคร�่ำครวญหวนไห้ของพระนางมัทรี เมื่อตามหาพระโอรสและ พระธิดาไม่พบ ข้อคิดจากกัณฑ์ : ไม่มีความรักใด ยิ่งใหญ่กว่าความรักของพ่อและแม่
26
กัณฑ์ที่ ๙
มัทรี
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
เทวดาแปลงเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวางทางพระนางมัทรี มิให้กลับไปทันเวลา ที่พระเวสสันดรประทานสองพระกุมารแก่ชูชก
กัณฑ์ที่ ๑๐
สักกบรรพ
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระอินทร์ แปลงเป็นพราหมณ์ มาทูลขอนางมัทรี จากพระเวสสันดร
๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ เนื้อความโดยย่อ เมือ่ พระเวสสันดรประทานสองพระกุมารให้ชชู กไปแล้ว พระอินทรเทพ ทรงด�ำริว่า แม้นมีผู้มาทูลขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรก็จะทรงยกให้อีก จะท�ำให้พระเวสสันดรขาดผู้ปรนนิบัติดูแล จึงทรงนิรมิตองค์เป็นพราหมณ์ แก่เข้าไปทูลขอพระนางมัทรี และเป็นดังที่ทรงคาด เมื่อพราหมณ์จ�ำแลงรับ พระนางมัทรีมาแล้ว จึงกลับร่างเป็นพระอินทรเทพถวายพระนางคืน พร้อม ประทาน พร ๘ ประการ ตามที่พระเวสสันดรทรงแสดงพระประสงค์คือ ๑. ให้พระบิดาทรงรับพระองค์ กลับไปทรงครองราชย์สมบัติดังเดิม
๒. ให้พระองค์มีพระกรุณาและพระปัญญา ที่จะไม่ต้องเข่นฆ่าแม้ผู้มี ทุจริตร้ายกาจ ๓. ให้พระองค์ทรงกอปรด้วยพระเมตตาและพระอ�ำนาจ เป็นทีพ่ งึ่ และ เป็นที่รักแก่ปวงชน ๔. ให้พระองค์ทรงพอพระทัย มัน่ คงอยูแ่ ต่พระชายาพระองค์เดียว แม้ มีสตรีเป็นทีร่ กั มากเพียงใด ขออย่าให้ทรงลุอำ� นาจของสตรี จนเป็น ทางที่ทุจริตผิดตามมาได้ ๕. ให้พระโอรสได้ปกครองแผ่นดิน ทรงอ�ำนาจด้วยธรรมปฏิบัติ ๖. ให้เกิดภักษาหารมากมีเพียงพอที่จะบริจาคเป็นทานได้ไม่ขาด ๗. ให้มีทรัพย์สมบัติเป็นเครื่องอุดหนุนไทยธรรมทานการกุศลของ พระองค์ มีแต่เพิ่มพูนมิรู้หมดสิ้น เช่นเดียวกับน�้ำพระทัยในทาง กุศลของพระองค์ ๘. เมื่ อ พระองค์สิ้นพระชนม์ไป ขอให้บังเกิ ด ในสวรรค์ ชั้ น สู ง มี พระบารมีและมิมีวันเสื่อมถอยลดลงจากพระบารมีที่ทรงบ�ำเพ็ญ
สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : “สักกบรรพ” แปลว่า ตอนที่ว่าด้วย พระอินทร์ คือ ท้าวโกสินทร์สักกรินทร์เทวราช ผู้เป็นจอมเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กัณฑ์สักกบรรพ ประดับด้วยคาถา ๑๓ พระคาถา เป็นพระนิพนธ์ ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน วิ ม ลมั ง คลาราม เพลงประจ� ำ กั ณ ฑ์ คื อ เพลง “กลม” หรื อ เพลง “เหาะ” ประกอบกิ ริ ย าเหาะลงมา และการแปลงกายของพระอิ น ทร์ ข้อคิดจากกัณฑ์ : การท�ำความดี แม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์ย่อมรู้ ย่อมเห็น
27
๑๑. กัณฑ์มหาราช เนื้อความโดยย่อ ชูชกตัง้ ใจพาสองพระกุมารกลับไปหานางอมิตตดาทีเ่ มืองกลิงคราษฎร์ แต่เทพยดาดลใจให้ชชู กเดินทางผิด กลายเป็นเดินทางเข้าสูก่ รุงสีพขี องพระเจ้า กรุงสญชัย ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัย คืนก่อนทีจ่ ะได้พบสองพระกุมาร ได้ทรงพระ สุบินนิมิตว่า มีบุรุษรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวน�ำดอกบัว ๒ ดอกมาถวาย ซึ่ง โหรหลวงท�ำนายว่า จะมีพระญาติใกล้ชดิ ทีพ่ ลัดพรากไปกลับสูพ่ ระนคร รุง่ ขึน้ ชูชกก็มโี อกาสน�ำสองพระกุมารเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัยและ พระนางผุสดี ทั้งสองพระองค์ดีพระทัยยิ่งนัก พระราชทานสิ่งของไถ่องค์ พระนัดดาทัง้ สองตามทีพ่ ระเวสสันดรทรงก�ำหนดไว้ และทรงให้จกั เลีย้ งชูชก ด้วยอาหารคาวหวานมากมาย ชูชกบริโภคเกินขนาด จนไฟธาตุไม่อาจเผาผลาญ ได้ อาหารไม่ยอ่ ย สุดท้ายก็ถงึ แก่จกุ ตาย ทรัพย์ทไี่ ด้รบั ก็ถกู ริบเข้าพระคลังหลวง หลังจากทีป่ ระกาศหาวงศาคณาญาติให้มารับ แล้วไม่มผี ใู้ ดมารับ หลังจากที่ พระเจ้ากรุงสญชัย ทรงสดับเรือ่ งราวจากพระนัดดาทัง้ สอง ทีต่ อ้ งตกระก�ำล�ำบากกับพระชนกพระชนนี พระเจ้ากรุงสญชัยก็ทรงเตรียมยก พยุหยาตราไปรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีกลับพระนคร ในวันรับเสด็จ พราหมณ์ชาวเมืองกลิงคราษฎร์ ๘ คน น�ำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน จึงโปรดให้พระชาลีทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์ น�ำขบวนสูเ่ ขาวงกต สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : กัณฑ์มหาราช ประดับด้วยคาถา ๖๓ พระคาถา เป็น พระนิ พ นธ์ ใ น สมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิ โ นรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และกวีอกี ๒ ท่าน คือ พระยาธรรมปรีชา (บุญ) และขุนวรรณวาทวิจิตร เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “กราวนอก” ประกอบ กิรยิ าการยกพล และเคลือ่ นพลทีพ่ ระเจ้ากรุงสญชัยทรงยกไปรับพระเวสสันดร และพระนางมัทรีกลับเมือง ข้อคิดจากกัณฑ์ : คนดีตกน�้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับการคุ้มครอง ปกป้องในทุกที่ทุกสถาน
28
กัณฑ์ที่ ๑๑
มหาราช
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
ชูชกพาพระชาลีและพระกัณหา เดินทางออกจากเขาวงกตกลับไปบ้านของตน แต่เทพยดาดลใจให้หลงทาง เข้าไปเฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัย
กัณฑ์ที่ ๑๒
ฉกษัตริย์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
พระชาลีและพระกัณหา น�ำทางพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี ไปยังพระอาศรมที่ประทับของพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ทรงพบกัน ต่างกันแสงจนสลบไป
๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ เนื้อความโดยย่อ พระชาลีทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์เป็นทัพหน้า เสด็จถึงเขาวงกตก่อน เพือ่ เตรียมรับเสด็จพระเจ้ากรุงสญชัย เมือ่ พระเจ้ากรุงสญชัยเสด็จถึงเขาวงกต ทรงพระด�ำริวา่ หากเสด็จเข้าไป พร้อมกันทุกพระองค์ จะเป็นเหตุให้ทกุ ข์โศกสาหัสจนระงับมิได้ จึงเสด็จเข้าสู่ พระอาศรมแต่พระองค์เดียวก่อน พอทุเลาโศกลงบ้างแล้ว จึงจะให้พระนางผุสดีและสองพระกุมารตาม เสด็จเข้าไป แม้กระนัน้ เมือ่ ทัง้ สามพระองค์เสด็จเข้าไปในพระอาศรม พระนางมัทรี ซึ่งมิอาจทรงหวังได้เลยว่า จะได้พบสองพระกุมารอีก ครั้นได้ทรงพบกัน จึงต่างกันแสงพิไรร�ำพัน ทัง้ เศร้าโศกและยินดี จนข่มพระทัยไว้มไิ ด้ ก็สลบสิน้ สติสมปฤดี ณ ทีน่ นั้ ทัง้ สามพระองค์ ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี และพระเวสสันดร ทอด พระเนตรเห็นเช่นนัน้ ทรงกลัน้ โศกมิได้ กันแสงแล้วสลบสิน้ สติสมปฤดีไปเช่นกัน เหล่าพระสนมและข้าราชบริพารก็ลว้ นโศกศัลย์ ล้มสลบตามกันไป เหตุครัง้ นัน้ ท�ำให้แผ่นพสุธาไหวทัว่ ทัง้ พืน้ พิภพ พระอินทรเทพทรงทราบ จึงทรงแก้เหตุวกิ ฤติทอี่ บุ ตั ขิ นึ้ ทรงดลบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ณ ทีน่ นั้ กษัตริยท์ งั้ ๖ พระองค์ และผูค้ นทัง้ หลายต่างฟืน้ คืนสติโดยทัว่ กัน นั่นเป็นฝนโบกขรพรรษที่เคยตกมาสมัยก่อนพุทธกาล ที่สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าโปรดพระอรหันตสาวก อันเป็นพระพุทธปรารภ เรือ่ งพระเวสสันดร สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : ค�ำว่า “ฉ หรือ ฉะ” แปลว่า ๖ (หก) ฉกัษตริย์ จึงหมายถึง กษัตริย์ ๖ พระองค์ กัณฑ์ฉกษัตริย์ ประดับด้วยคาถา ๓๖ พระ คาถา เป็ น พระนิ พ นธ์ ใ นสมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิ โ นรส วั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม เพลงประจ� ำ กั ณ ฑ์ คื อ เพลง “ตระนอน” ประกอบ กิรยิ านอนหลับใหลของกษัตริย์ ๖ พระองค์ เมือ่ ได้ทรง พบกัน ข้อคิดจากกัณฑ์ : การให้อภัย สามารถลบรอยร้าวฉานและความบาดหมาง ทั้งปวง ก่อให้เกิดสันติสุขแก่ส่วนรวม
๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์ เนื้อความโดยย่อ เมื่อเหตุทั้งปวงคลี่คลายลง ต่างพระองค์ต่างสงบพระทัยได้แล้ว พระเจ้ากรุงสญชัยจึงขอให้พระเวสสันดรเสด็จกลับไปปกครองบ้านเมืองดังเดิม เหล่าข้าราชบริพาร และเหล่าชาวเมือง ที่ตามเสด็จพระเจ้ากรุงสญชัยมา ต่างก็กราบทูลวิงวอนร้องขอ ให้พระเวสสันดรทรงอภัยให้และกลับไปครอง สิรริ าชสมบัตดิ งั เดิม พระเวสสันดรทรงใคร่ครวญไตร่ตรองเหตุทคี่ วรจะเป็น และทรงค�ำนึง ถึงพระพรทีท่ รงขอจากพระอินทรเทพว่า ให้พระราชบิดารับกลับไปครองสิรริ าช สมบัติ จึงตัดสินพระทัยเสด็จกลับพระนคร กษัตริยท์ งั้ ๖ พระองค์ เสด็จกลับกรุงสีพพี ร้อมข้าราชบริพารและผูต้ าม เสด็จ ท่ามกลางเสียงโห่รอ้ งต้อนรับด้วยความปีตยิ นิ ดีของชาวเมืองทีร่ กั เคารพ เทิดทูนพระองค์เป็นยิง่
ตัวละครสะท้อนคุณธรรม
ชาวเมืองสิพี เป็นตัวอย่างของผูร้ กั ษาสิทธิ์ ตามระบอบประชาธิปไตย เมือ่ ไม่พอใจก็แสดงความคิดเห็น คัดค้าน และเรียกร้องให้มกี ารลงโทษ เมือ่ พอใจ ก็ยอมรับและยุติ พร้อมกับรูจ้ กั ขอโทษในสิง่ ทีไ่ ด้กระท�ำผิดไป สาระน่ารู้ สู่ผู้สดับ : นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์สุดท้ายของมหาชาติเวสสันดร ชาดก ถือว่า เป็นกัณฑ์สวัสดีมีชัย เพราะเป็นตอนที่พระเวสสันดร เสด็จ กลั บ เมื อ ง กั ณ ฑ์ นี้ ป ระดั บ ด้ ว ยคาถา ๔๘ พระคาถา เป็ น พระนิ พ นธ์ ใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เพลงประจ�ำกัณฑ์ คือ เพลง “กลองโยน” ประกอบกิริยา การยกขบวนพยุหยาตราของ พระเวสสันดร พรั่งพร้อมด้วยขบวนอิสริยยศ อย่างสมพระเกียรติ ข้อคิดจากกัณฑ์ : การท�ำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน การใช้ธรรมะใน การปกครอง จะท�ำให้บ้านเมืองมีแต่ความสงบและร่มเย็น
30
กัณฑ์ที่ ๑๓
นครกัณฑ์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
ขบวนพยุหยาตราของพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหากลับคืนสู่กรุงสีพี และพระเจ้ากรุงสญชัยทรงรับพระเวสสันดร กลับคืนพระราชวัง
กัณฑ์ที่ ๑๓
นครกัณฑ์
ภาพ : ฝีมือ ครูเหม เวชกร
มุขมนตรี ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเวสสันดร เป็นเจ้านครสีพี
ตัวละคร
สะท้อนคุณธรรม
พระเจ้ า กรุ ง สญชั ย พระนางผุ ส ดี - เป็ น แบบอย่ า งของ นั ก ปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยที่ มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ประมุ ข ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ รูจ้ กั ผ่อนผันเพือ่ คลีค่ ลายสถานการณ์ ไม่เห็น แก่พวกพ้อง แม้พระราชโอรสไม่แข็งขืนยามหน้าสิ่วหน้าขวาน น�้ำเชี่ยว ไม่เอาเรือขวาง ไม่โต้ต้านต่อกระแสอารมณ์พาล พระเวสสันดร - เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพือ่ ประโยชน์สว่ นรวม มุง่ บ�ำบัดทุกข์บำ� รุงสุขของประชาชนเป็นทีต่ งั้ เป็น แบบอย่างของบุคคลผู้ไม่ยึดติดกับอ�ำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึงโลกธรรมที่ว่า “ยามมียศเขาก็ยก ยามต�่ำตกเขาก็หยาม” ชีวิตมีขึ้นมีลงเหมือนน�้ำ ชอบก็ชม ชังก็บริภาษ หาได้หวั่นไหวหรือล้มเลิกบ�ำเพ็ญบารมีไม่ พระนางมัทรี - เป็นแม่แบบของภรรยาผูเ้ ป็นกัลยาณมิตรของสามี สนับสนุนเป้าหมายชีวติ อันประเสริฐทีส่ ามีได้ตงั้ ไว้ ทรงคุณธรรมส�ำคัญคือ “ซื่อตรง จงรัก หนักแน่น” ไม่เป็นฉาบหลายฉิ่ง ไม่เป็นหญิงหลายชาย พระชาลี พระกัณหา - เป็นแบบอย่างของลูกทีเ่ ชือ่ ฟังพ่อแม่ เข้าใจ ในเจตนาแห่งการประพฤติกรรม เพือ่ ประโยชน์ของคนหมูม่ ากของพ่อ คือ พระเวสสันดร นางอมิตตดา - เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาท ของพ่อแม่ และแบบอย่างของภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีตามคตินิยม ขณะ เดียวกันก็เป็นตัวอย่างของคนทีไ่ ม่เป็นตัวของตัวเอง ปล่อยชีวติ ให้เป็นไป ตามกระแสสังคมจนเกินควร พ่อแม่ของอมิตตดา - เป็นแบบอย่างของคนสุรุ่ยสุร่าย ประมาท ในการใช้จ่าย สร้างหนี้สิน จนเวรกรรมตกแก่ลูก ชูชก - เป็นตัวอย่างของคนทีต่ ดิ อยูใ่ นกาม เข้าลักษณะว่า “วัวแก่กนิ หญ้าอ่อน” ต้องตกระก�ำในยามชรา เพราะ “รักสนุกจึงต้องทุกข์ถนัด” นางพราหมณี บ้านทุนวิฐ - เป็นตัวอย่างของชาวบ้านที่อิจฉา ริษยาผู้อื่น โดยไม่คิดพิจารณาหาทางปรับปรุงตัวเอง พรานเจตบุตร - เป็นตัวอย่างของคนซื่อ คนดี แต่ขาดความ เฉลียวฉลาด จึงตกเป็นเหยื่อของคนหลอกลวงมากเล่ห์เหลี่ยมอย่างชูชก พระอัจจุตฤๅษี - เป็นตัวอย่างของนักธรรมผูฉ้ ลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบา เชื่อคนง่าย จนพลาดท่าเสียทีชูชก กษัตริย์เจตราช - เป็นแบบอย่างของมิตรแท้ ที่พร้อมจะช่วย เหลือมิตรในยามยาก มีน�้ำใจ ไม่ทอดทิ้งมิตรยามสิ้นทรัพย์อับวาสนา ชาวเมืองสีพี - เป็นตัวอย่างของผู้คลั่งไคล้ในกระแสค่านิยม ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เป็นต้นเหตุให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครสีพี 31
คนโบราณเขาเขียนเรื่องประเภทสอนใจคนไว้ ให้รู้จักบริจาคทาน มีความอดทน มีความเพียร มีความตั้งมั่น ฯลฯ เรียกว่า “บารมี ๑๐” ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบ�ำเพ็ญในอดีตชาติ พระเวสสันดรเป็นชาติสุดท้าย เป็นเรื่องของการให้ เป็นตัวอย่างของการเสียสละ
เราอยู่ด้วยการเสียสละแล้วก็จะสบาย พ่อแม่เสียสละเพื่อลูก ลูกก็มีความเสียสละเพื่อพ่อแม่ ทุกครอบครัวที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันต�ำบลเดียวกัน เสียสละต่อกัน เมื่อมีการเสียสละ การเห็นแก่ตัวก็หายไป การอยู่ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ตัวอย่าง ของการ
เสียสละ ปัญญานันทภิกขุ
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันอาทิตย์แรกของเดือน เดือนเก่าได้ผ่านพ้นไปด้วย ความเรียบร้อย วันเวลามันก็ตอ้ งผ่านไปตามเรือ่ งของวันเวลา ไม่มใี ครจะ ไปหยุดยั้งได้ สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นผ่านไปๆ ตามอ�ำนาจของเวลา เวลา นี่อยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งหลาย พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ไว้ ว ่ า เวลานั้ น มั น เคี้ ย วกิ น ตั ว มั น เองและ สรรพสิง่ ทัง้ หลาย ทีว่ า่ เคีย้ วกินตัวเองก็หมายความว่ามันหมดไปๆ ท�ำให้ สรรพสิ่งทั้งหลายพลอยชราไป แก่ไป จนกระทั่งแตกดับไปตามวันเวลา การเพิ่มอายุของเราก็หมายความว่าเราแก่ขึ้น แก่ขึ้นรอบปีหนึ่ง แก่ขึ้น เดือนหนึ่ง แก่ขึ้นวันหนึ่ง ชีวิตของเราก็ใกล้จุดจบไปทุกวันทุกเวลา พระผูม้ พี ระภาคจึงสอนให้เราทัง้ หลายพิจารณาบ่อยๆ ว่า “เวลา ล่วงไปๆ บัดนี้เราท�ำอะไรกันอยู่” อันนี้เป็นเรื่องควรคิด คิดเพื่อให้เกิด ความส�ำนึกในหน้าทีอ่ นั เราจะพึงปฏิบตั ใิ นชีวติ ประจ�ำวัน จะได้ไม่เป็นคน ชักช้า ไม่เสียเวลาในการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ พุ ท ธบริ ษั ท จะต้ อ งอยู ่ ด ้ ว ยความตื่ น ตั ว ด้ ว ยความว่ อ งไว ด้วยความคิดทีจ่ ะก้าวหน้าไปข้างหน้าตลอดเวลา ไม่หยุดนิง่ ไม่เฉือ่ ยชา ไม่ชักช้า แต่ว่าต้องคิดก้าวหน้าในเรื่องทุกเรื่อง เช่น เด็กๆ ก็ต้องคิด ก้าวหน้าในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน เป็นหนุ่มสาวอยู่มหาวิทยาลัยก็ *จากปาฐกถาธรรม ประจ�ำวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ ณ โรงเรียนพุทธธรรม วัดชลประทานรังสฤษฎ์
33
ต้องรีบเรียน รีบศึกษาให้จบไวๆ จะได้ออกไปท�ำงานเพื่อส่วนรวมต่อไป ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่เราก็ต้องนึกถึงเวลาที่เราจะต้องประกอบกิจการงาน ว่าเรามีอะไรที่จะต้องท�ำบ้าง จงท�ำเสียทันที พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง – ความเพียรเพือ่ จะเผากิเลสทีเ่ ร่าร้อนต้องท�ำในวันนี้ อย่าผัดไว้วา่ ค่อยท�ำวันพรุง่ นี ้ มะรืนนี้ เพราะว่านิสยั ผัดเพีย้ นนัน้ ไม่ใช่วสิ ยั ของพุทธบริษทั พุทธบริษทั ต้องท�ำ สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้ส�ำเร็จด้วยดี ให้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าเราเป็นผูข้ ยันท�ำงานอย่างนัน้ ก็จะมีชวี ติ เพลิดเพลิน สนุกสนานในการ ปฏิบัติงาน แต่ถ้าเราไม่ท�ำงานก็จะมีชีวิตหดหู่เหี่ยวแห้ง แก่เร็ว ตายเร็ว การท� ำ งานคื อ การปฏิ บั ติ ธ รรมนั่นเอง การปฏิ บั ติ ธ รรมใน พระพุทธศาสนา ก็คือใช้ชีวิตให้เป็นการเป็นงาน ให้เป็นประโยชน์แก่ ตนเอง ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น เท่าที่เราสามารถจะกระท�ำได้ ชีวิตของเรา ก็จะมีค่ามีราคา ทุกครัง้ ทีเ่ ราท�ำอะไรเป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เพือ่ นมนุษย์ เรารู้สึกอย่างไร เราจะรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ ถ้าเป็นเรื่องใหญ่เรื่องส�ำคัญนี่ อิ่มใจไปนานๆ ทีเดียว อิ่มใจตั้งเดือน ๒ เดือน ตั้งปี แล้วมานึกขึ้นทีไร ก็เอิบอาบซึมซาบด้วยความอิม่ อกอิม่ ใจ อันนีล้ ะทีเ่ ราเรียกว่าปีติ เกิดจาก การคิดดี พูดดี ท�ำดี กระท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เพื่อน มนุษย์ คนเราถ้ามีแต่ความอิ่มใจ อายุยืน ผิวพรรณผ่องใส มีก�ำลังกาย มีก�ำลังใจ มันสมบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยจิตใจสบายนั่นเอง แต่ถ้าเรามีแต่ เรือ่ งข่นุ ข้องหมองใจ มองไปทิศไหนก็มแี ต่เรือ่ งร้าย ได้ฟงั อะไรก็มแี ต่เรือ่ ง ไม่ดี ไม่งาม เราจะรู้สึกหดหู่เหี่ยวแห้ง จิตใจไม่สบาย เมื่อจิตใจไม่สบาย ร่างกายก็ไม่สบาย กินก็ไม่ได้ นอนก็ไม่หลับ อะไรๆ ในร่างกายเรามัน เปลี่ยนแปลงไปหมด เพราะฉะนั้นในทางพระศาสนา ท่านสอนว่า ให้เราอยู่เพื่อท�ำให้ คนอื่นสบาย ให้อยู่เพื่อให้คนอื่นสบาย มีอะไรที่เราจะช่วยให้คนอื่น สบายใจได้ เราควรจะท�ำ เพราะการช่วยให้คนอื่นสบาย ก็คือการช่วย ตัวของเราเองให้สบายไปด้วยในตัว มันอาศัยกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้น คนบางคนจึงชอบบ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้อื่นเท่าที่เขาสามารถจะช่วยได้ ที่เบตงนี่มีเถ้าแก่อยู่คนหนึ่ง เขาเรียกกันว่าเถ้าแก่ลิ้ม แกเหมือน กับพระเวสสันดรของเบตง ตื่นเช้ามานั่งหน้าบ้านใครผ่านมาก็เรียกมา แจกสตางค์คนละ ๕ บาท คนละ ๑๐ บาท ถ้าแวะไปนัง่ กินกาแฟทีร่ า้ นไหน คนที่ไปนั่งกินอยู่ก่อนก็สบายใจเถ้าแก่ลิ้มแกจ่ายหมด กาแฟที่ใครไปกิน 34
กีค่ นพร้อมกับแกนีแ่ กจ่ายหมด แกอยูอ่ ย่างนัน้ ตลอดเวลา เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ แก่คนทัว่ ไป แกมีสวนยาง มีทรัพย์สมบัติ แต่วา่ ไม่มใี ครรังแก ข.จ.ก.ก็ไม่ รังแก พูโลก็ไม่รงั แกเถ้าแก่คนนี้ สวนของแกไม่ถกู บีบคัน้ ไม่ถกู ท�ำอันตราย อะไรเป็นเครื่องป้องกันไว้...ก็น�้ำใจที่มีความงดงามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แกหว่านไว้เรื่อย คนทั้งหลายก็ชมเชยว่าเป็นคนดี คนเรานี้ ถ้าเป็นคนดีแล้วไม่มีคนเบียดเบียน แต่ถ้าชั่วแล้ว แม้ไม่มคี นอืน่ เบียดเบียน ตัวก็เบียดเบียนตัวเอง สร้างความทุกข์ให้แก่ ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เวลานี้ เ ถ้ า แก่นั่นยังอยู่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ มั น หลายปีแ ล้ ว แกเป็นคนมีปกติเป็นอย่างนัน้ ถ้าเราไปคุยกับแกนีด่ หู น้าตาแกผ่องใส ใจดี ใจงาม ไม่เคยพูดเรือ่ งร้ายของใคร ไม่วพิ ากษ์วจิ ารณ์ใครในทางเสียหาย แต่พดู เรือ่ งดีทงั้ นัน้ นายอ�ำเภอคนนีด้ ผี กู้ ำ� กับคนนีก้ ด็ ี ดีทกุ คน ข้าราชการ ทีอ่ ยูเ่ บตงนี่ เถ้าแก่ลมิ้ แกว่าดีทกุ คนแหละ แต่วา่ คนอืน่ อาจจะว่าไม่ดกี ไ็ ด้ แต่แกว่าดีทั้งนั้น ใครมาแกว่าดีทั้งนั้นไม่มีเสีย แกมองคนในแง่ดี พูดแต่ เรื่องดีของเขา แกก็มีแต่ความสบายใจ เช้าๆ แกต้องออกมานั่งหน้าบ้านทุกวัน ใครผ่านไปผ่านมาก็เรียก มา “ไปไหน ไปตลาดหรือ เอาสตางค์ ไปซื้อของ” แจกให้ ๓ บาท ๒ บาท แกก็แจกของแกเรือ่ ยๆ ไป แกให้ยงิ่ ให้ แกก็ยงิ่ ได้ คือได้ความนิยมชมชอบ ได้ความสุขใจ วันไหนถ้าแกไม่ได้ให้สตางค์ใคร ดูเหมือนแกจะไม่สบายใจ ฉะนัน้ ต้องหาเรือ่ งให้คนนัน้ คนนีเ้ รือ่ ยๆ ไป ใครไปบอกให้ทำ� อะไรแกก็ทำ � ไม่มีค�ำว่า ปฏิเสธแก่ผู้ที่มาขอร้อง นี้แหละพระพุทธเจ้าเรียกว่าวทัญญู วทัญญูวีตมัจฉรา คนไม่มี ความตระหนีใ่ นจิตใจ รูถ้ อ้ ยค�ำของคนอืน่ ทีม่ ากล่าวขอในเรือ่ งอะไรๆ แล้ว ก็ให้ด้วยความเต็มใจ หรือมีค�ำพูดอีกค�ำหนึ่งว่า เป็นคนมีฝ่ามือเปียกอยู่ ตลอดเวลา ฝ่ามือเปียกด้วยเรื่องอะไร ด้วยการหยิบอาหารให้ทานแก่ คนนั้นคนนี้ แล้วก็ต้องล้างมือบ่อยๆ ก็เรียกว่าเป็นผู้มีฝ่ามือเปียก ไม่รจู้ กั แห้งเพราะมีการให้อยูน่ นั่ เอง เป็นคนรูจ้ กั ถ้อยค�ำทีค่ นอืน่ มาขอให้ ช่วยเหลือ แล้วก็ให้ด้วยความเต็มใจไม่ปฏิเสธ เหมือนกับพระเวสสันดร พระเวสสันดรในเรื่องเวสสันดรชาดกนั้น คนสมัยใหม่บางคน ก็ไปวิพากษ์วิจารณ์เหมือนกัน หาว่าพระเวสสันดรนี่ไม่ไหวให้ทานทรัพย์ สมบัติ ให้ทานช้างให้ทานม้า แม้ลูกก็ให้ทาน เมียก็ให้ทาน เขาบอกว่า คนอะไรอย่างนั้น นี่ระดับใจมันไม่ถึงกันเรียกว่าจิตใจเราในปัจจุบันนี้มัน อย่างหนึ่ง แต่จิตใจคนในสมัยโน้นมันอีกอย่างหนึ่ง คนสมัยนั้นเขาส่งเสริม ให้มีการแจก การให้ แล้วก็มีเรื่องอะไร ต่างๆ ที่เขาสอนไว้มาก เพื่อให้แจก เพื่อให้ให้ ท�ำไมจึงมีเรื่องประเภท 35
นีม้ ากในประเทศอินเดีย ก็พอจะพบสาเหตุได้อยูเ่ หมือนกัน คือว่าคนอินเดีย ส่วนมากเป็นคนตระหนีน่ นั่ แหละ ไม่คอ่ ยให้ มีแต่จะเอาเข้าตลอดเวลาเป็น พวกฝ่ายบวก ลบไม่คอ่ ยเป็น บวกเลขเสียเรือ่ ย ทีนที้ างศาสนาหรือว่าทาง ฤๅษีชไี พรก็มกั จะเขียนเรือ่ งเพือ่ เป็นเครือ่ งสอนให้เห็นคุณค่าของการให้ เรื่องแบบ เวสสันดร นี่ไม่ใช่เรื่องเดียว มีมากมายเรื่องสั้นบ้าง เรื่องยาวบ้าง เขาเขียนไว้ในรูปอย่างนั้น เพื่อให้เห็นว่าคนที่เป็นคนดีมี คุณธรรม มีจิตใจใหญ่นั้นคือคนที่พอใจในการให้ เรียกว่าเกิดมาเพื่อให้ แท้ๆ ทีเดียว ตั้งแต่เด็กมาก็ให้แล้ว ให้เรื่อย ใครขออะไรก็ให้ แล้วก็ตั้งจิต อธิษฐานไว้ว่า ไม่ว่าใครจะขออะไรเราให้ทั้งนั้น ขอตาก็จะควักให้ ขอเนื้อ ก็จะตัดให้ แม้ขอดวงใจก็จะนอนให้เขาแหวะควักเอาไปเลย ตัง้ ใจไว้อย่างนัน้ ตั้งใจอย่างสูงคือให้ทั้งสิ่งภายนอกและสิ่งภายใน ผลที่สุดก็ไปให้ทานช้าง ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาถือว่าเป็นช้าง มิ่งมงคลประจ�ำบ้านประจ�ำเมือง ท�ำให้มีความสุขเรียกว่าคนที่ถือนิยม ในทางวัตถุ ก็เข้าใจอย่างนั้น แต่พระเวสสันดรเห็นว่าช้างนี่ส�ำหรับนั่งขี่ ไปไหนมาไหน ครั้นมีคนมาบอกว่าที่บ้านเมืองนั้นเดือดร้อน ฝนฟ้าไม่ตก ต้องตามฤดูกาล เขาเล่าลือว่าช้างปัจจัยนาคนี้ถ้าไปที่ไหนแล้วฝนจะตก อะไรอย่างนี้ เขาอยากจะได้ขึ้นมา เลยมาขอ พระเวสสันดรใจดี พอเขา มาขอก็บอกว่า “เอาไปเลย” จูงเอาช้างจูงงวงมาถึงมอบให้เลย พวกนั้น ก็ขึ้นขี่หลังบ้างจูงบ้าง ห้อมล้อมพากันไป ช้าวบ้านช้าวเมืองมาเห็นเข้าก็ว่า “อ้ายนี่ไปลักช้างของพระเจ้า แผ่นดินมา ลักช้างของพระเวสสันดรมาแล้ว” เข้าไปต่อว่าต่อขาน พวกนั้นก็บอกว่า “ไม่ได้ลัก เราไปขอมา ท่านให้มา” ชาวเมืองก็โพนทนา กันไป เป็นข่าวดังออกไป โกรธกันทัง้ บ้านทัง้ เมือง กลายเป็นมติมหาชน ขึ้นมา ก็เลยเดินขบวนกัน สมัยก่อนก็มีเดินขบวนเหมือนกัน เดินขบวน เข้าไปหาพระเจ้ากรุงสญชัย เมื่อไปถึงพระเจ้ากรุงสญชัย ก็บอกว่า “พระเจ้าลูกของพระองค์ นี่ท�ำ ไม่ ถู ก ช้ า งนี่ เป็นสมบัติของบ้านเมือง ไม่ ใช่ ส มบั ติ ส ่ ว นตั ว ของ พระเวสสันดร เป็นช้างมิ่งมงคลเมือง เป็นขวัญใจของประชาชน พระเจ้า ลูกนีท่ ำ� ผิด เอาไปให้พวกพราหมณ์ทมี่ าจากเมืองกลิงคราษฎร์ไปเสียแล้ว เป็นการไม่สมควร ขอให้พระองค์ขับพระเวสสันดรออกจากบ้านเมือง” เราจะได้เห็นความยุตธิ รรมในน�ำ้ พระทัยของพระเจ้ากรุงสญชัย ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระมหากษัตริย์ ถ้าท่านจะล�ำเอียงเข้า ข้างลูก มันเสียธรรมะ เสียความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะว่าประชาชน ทั้งบ้านทั้งเมืองเขามีมติว่าพระเวสสันดรนี่ใช้ไม่ได้ แม้ว่าพระองค์จะเห็น ว่าลูกนี่ยังใช้ได้ยังดีอยู่ แต่ประชาชนเขาว่าไม่ดี จะไปเข้าข้างลูกก็ไม่ได้ 36
มันเสียหายแก่กจิ การบ้านเมือง เรียกว่าเสียทางฝ่ายรัฐศาสตร์ มันไม่ได้แล้ว พระองค์กต็ อ้ งตัดสินพระทัย เรียกลูกมาพูดจากันบอกว่า “ลูกท�ำ ไม่ถกู นะ เรือ่ งนีน้ ะ ประชาชนเขามาท�ำการประท้วงต่อพ่อ พ่อนีแ้ ม้จะรัก ลูกสักเท่าไร แต่ว่าต้องรักประชาชนมากกว่าลูก รักบ้านรักเมืองมากกว่า ลูก พ่อจะล�ำเอียงเข้ากับลูกให้ประชาชนเขาเข้าใจผิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น พ่อจะต้องให้ลูกออกจากเมืองไป” สั่งให้ออกไป พระเวสสั น ดรก็ เ ป็ น ลู ก ที่ ดี ข องพ่ อ มี ค วามเชื่ อ ฟั ง พ่ อ สั่ ง ทุกประการ ไม่คดั ค้านอะไรทั้งนัน้ บอกว่า “เมือ่ พ่อมีความประสงค์เป็น เช่นนั้นก็ไม่ขัดข้อง ลูกจะออกเดินทางไปอยู่ป่าเขาวงกต” ไปคนเดียวนะ ความจริ ง นางมั ท รี กั ณ หา ชาลี ไม่ ติ ด อยู ่ ใ นข่ า ยที่ จะต้องไปหรอก เมื่อพระเวสสันดรมาเล่าให้นางมัทรีฟัง นางมัทรีบอกว่า “หม่อมฉันต้องไปด้วย” พระเวสสันดรบอกว่าอย่าไปเลยป่านี้มันล�ำบาก ต้องไปอยู่กินผลไม้ อาหารก็ไม่ดีไม่สมบูรณ์เหมือนอยู่ในวัง แต่นางมัทรี บอกว่า เป็นภรรยาของสามี เมื่อสามีเป็นสุขอยู่ในวังก็อยู่เป็นสุขด้วย แต่พอสามีเป็นทุกข์ไปอยู่ในป่าแล้วไม่ไป นั่งลอยนวลอยู่ในวัง แต่ง หน้าแต่งตาอยู่ในวังประชาชนก็จะแย้มจะสรวล เขาจะนินทา ไม่รู้ว่า จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน จะเดินก็ล�ำบาก จะนั่งก็ล�ำบาก มันล�ำบากทั้งนั้น นั่นแหละ คนเขาพูดนี่ จะเดินก้มก็ไม่สบาย จะเดินเงยก็ไม่สบาย จะพูด อะไรก็ไม่สบาย จะไม่พูดก็ไม่สบาย มันตรมตรอมใจ เพราะ “สามีเป็น ฉัตรแก้วกัน้ เกศ งามหน้างามเนตรทุกเวลา” เมือ่ ไม่มฉี ตั รแก้วกัน้ เกศแล้ว ผู้หญิงจะอยู่ได้อย่างไร ตอนนี้เขาสอนผู้หญิง สอนให้รู้ว่าภรรยาจะต้องติดสอยห้อย ตามสามี เมื่อสามีไปไหน ภรรยาก็จะต้องไปด้วย ไม่ใช่ว่าให้ไปตามล�ำพัง ปล่อยไปตามเรือ่ ง สามีไปอยูค่ นเดียวเกิดเหงาขึน้ มา ก็เลยไปหาใครมาอยู่ แทนภรรยาข้างหลังก็จะยุง่ ใจเดือดร้อนแล้ว มันเป็นความผิดของเราเอง ไม่ใช่ความผิดของพ่อบ้านทีเ่ กิดเหตุการณ์เช่นนัน้ ขึน้ ท�ำไมเราไม่ไปเฝ้าล่ะ มันก็เสียหายคนโบราณเขาสอนไว้ดีแล้ว ฉะนัน้ พระนางมัทรีจงึ บอกว่า ถึงอย่างไรก็ตอ้ งไป ลูกก็ตอ้ งพาไป ด้วย จะได้ช่วยกันเมื่อเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย จะได้อมยาพ่นฝนยาทา ตาม ประสาจน จะทิง้ ไว้ในเมืองก็ดกู ระไรอยู่ ก็เลยไปทูลลาเจ้ากรุงสญชัย พระ เจ้ากรุงสญชัยก็บอกว่า “เธอไม่ตอ้ งไปหรอก เพราะเธอไม่ได้กระท�ำความ ผิดคิดร้ายใคร” พระนางก็บอกว่าไม่ได้ “หม่อมฉันเป็นภรรยา ต้องมี ความจงรักภักดี เหมือนนางสีดาจงรักภักดีต่อพระรามบัณฑิตผู้เป็น สามี” แสดงว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นทีหลังเรื่องพระราม เรื่องพระเวสสันดร เป็น นิทานที่เกิดทีหลัง พระเจ้ากรุงสญชัยก็ต้องยอมให้ไป 37
ส่วน ชาลี กัณหา นั้น พระเจ้าปู่บอกว่า “อย่าไปเลยหลานเอ๋ย อยู่กับปู่เถอะ” ชาลี กัณหาก็ไม่ยอม ต้องไป ไปลาพระเจ้าย่า พระเจ้าย่า ก็บน่ ไปต่อว่าต่อขานเจ้ากรุงสญชัยว่า “อะไรใจไม้ไส้ระก�ำ ขับลูกให้ไปอยู่ ป่าอยูด่ ง” พระเจ้ากรุงสญชัยจะท�ำอย่างไร... นัง่ เฉย อุเบกขา พูดมากก็ไม่ได้ กับพระนางผุสดีซึ่งเป็นอัครมเหสีนี่พูดยาก นั่งเฉย หันหลังให้เสียเลย นางก็บ่นๆ แล้วก็ถอยกลับไปปราสาทเท่านั้นเอง พระเวสสันดร นางมัทรี ชาลี กัณหา ก็ต้องออกป่าไปชั้นแรกนั่ง รถม้าไป พอนั่งรถม้าก็มีคนมาขอม้า เหลือแต่รถจะไปได้อย่างไร พอดีอีก พวกหนึ่งมาขอรถด้วย ก็เลยให้รถด้วย ต้องเดินละทีนี้ พระเวสสันดรอุ้ม ชาลี นางมัทรีอมุ้ กัณหา เดินกันไปในป่า อันนีเ้ รียกว่าต้องเดินทางกันด้วย ความล�ำบาก ท�ำให้เห็นว่าชีวติ ของผูป้ ระพฤติธรรม ไม่ยน่ ย่อท้อถอยใน การต่อสูก้ บั ความล�ำบากยากจน เป็นผูป้ ฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ของพ่อผูซ้ งึ่ เป็น พระมหากษัตริย์ ไม่ขัดขืน ต้องไปตามค�ำสั่ง ทั้ง ๔ องค์เสด็จไปจนถึงเมืองเชตุดร กษัตริย์เมืองนั้นก็ออกมา ต้อนรับขับสูอ้ ย่างดี เพราะว่าเป็นไมตรีกนั แล้วก็บอกว่า “พระองค์จะออก ไปป่าท�ำไม อยู่ที่นี่ก็ได้” จะให้อยู่สะดวกสบายคล้ายกับว่าลี้ภัยการเมือง มาอยู่สบายไม่เดือดร้อนอะไร พระเวสสันดรท่านว่ายงไง... “ไม่ได้ มัน กระทบกระเทือนทางการเมือง” ถ้าพูดกันสมัยนี้เรียกว่ามันกระทบ กระเทือนทางการเมือง “ประชาชนกรุงสีพีเขาจะสงสัยพวกท่าน หาว่ารับข้าพเข้าไว้ แล้วก็อาจจะว่าพวกท่านสนับสนุน จะให้ก�ำลังส่งเสริมให้พระเวสสันดร มีก�ำลังมาก แล้วจะยกกองทัพไปตีกรุงสีพียึดบ้านยึดเมืองต่อไป มันจะ กระทบกระเทือนกันทางการบ้านการเมือง ขอบใจไมตรีจติ ทีท่ า่ นทัง้ หลาย มีความเอื้อเฟื้อ แต่ว่าเรารับไม่ได้ เราจะต้องเดินทางต่อไป ถ้าหากว่า ท่านจะอนุเคราะห์ก็ช่วยหาคนน�ำทางให้สักคนก็แล้วกัน” พวกกษัตริย์เมืองเชตุดรก็จัดพราหมณ์เจตบุตรให้น�ำทางไป แล้วก็บอกว่า ไปแล้วไม่ต้องกลับ ให้เฝ้าต้นทางอย่าให้ใครไปรบกวนขอ อะไรกับพระเวสสันดรอีกต่อไปเพราะไม่มอี ะไรจะให้ขอแล้ว แต่วา่ พวกขอ มันเยอะ มันรูว้ า่ ใครใจดีกร็ มุ กันมาขอแย่ไปเลย บอกว่า ทีนเี้ ฝ้าต้นทางไม่ ให้ใครเข้าไป ให้พระเวสสันดรได้บ�ำเพ็ญศีลภาวนา อยูใ่ นป่าสะดวกสบาย ท่านก็ไปจนกระทั่งถึงเขาวงกต ไปสร้างอาศรมอยู่ แต่ในหนังสือ บอกว่าไม่ตอ้ งสร้าง เทวดามาสร้างไว้ให้แล้วก็หมายความว่ามีคนไปสร้าง ไว้ล่วงหน้า ให้พระเวสสันดรไปถึงก็ได้อยู่เลย เทวดานี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หรอก พวกกษัตริย์เชตุดรนั่นแหละ ส่งคนไปเตรียมไว้ สร้างกระท่อมไว้ ให้พักพาอาศัย คนสมัยก่อนต้องพูดถึงเทวดาหน่อย เพราะว่าพูดถึงคน 38
นี่มันไม่ค่อยขลัง ถ้าพูดถึงเทวดาแล้วมันใหญ่ขึ้นมาทันที เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าเทวดาเตรียมไว้ให้เรียบร้อย เมือ่ ไปถึงแล้ว พระเวสสันดรอยูแ่ ห่งหนึง่ นางมัทรีอยูแ่ ห่งหนึง่ กับ ลูกน้อย มีกติกาสัญญากันไว้วา่ เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว ห้ามนางมัทรี เข้ามาในเขตพระเวสสันดร ห้ามเข้าให้อยูก่ นั อย่างผูท้ รงพรต ประพฤติ พรหมจรรย์ นางมัทรีนั้นท�ำหน้าที่แม่บ้านที่ดีที่สุดเลย ตื่นแต่เช้าเข้าป่า มีไม้คานหาบตะกร้าไปมีไม้สอยไปเที่ยวสอยผลหมากรากไม้ ที่กินได้ ไม่เป็นพิษเป็นภัยเอามาเลี้ยงพระเวสสันดรและลูกน้อยทั้งสอง เสวยผล ไม้เป็นอาหารเป็นพวกอยู่ในป่า มีชีวิตอยู่ในรูปอย่างนั้นจนกระทั่งว่ามี เรื่องร้อนใจอีก พราหมณ์ชูชกแกเป็นคนที่ชอบขอ รูปร่างก็วิกลวิการแข้งคดขา งอตะปุ่มตะป�่ำ หน้าตาก็ไม่มีละ...ที่เรียกว่าลักษณะสวยในตัวชูชกนั้น ไม่มีสักอย่างเดียว มีแต่เรียกว่า เหมือนงอก่องอขิงคล้ายกับรากข้าวเย็น เหนือข้าวเย็นใต้ ที่เขาเอามาต้มแก้โรคอะไรอย่างนั้นแหละ มันหงุกหงิก งอแงไปหมดทัง้ ตัว ไม่ได้เรือ่ ง แต่วา่ แกเป็นคนชอบขอ ขอจนรวย มีเงินมีทอง จะรักษาไว้เองก็กลัวขโมยจะมาเอาไปเสีย เลยเอาไปฝากไว้กับเพื่อนอีก ครอบครัวหนึ่งบอกว่า “ฉันต้องเดินทางไปโน่นไปนี่ งานฉันมาก” งาน ขอทั้งนั้นไม่มีงานอะไร “จะเก็บเงินเก็บทองไว้กับตัว คนมันจะทุบหัว เอาเงินไปเสีย ฝากไว้ วันหลังฉันจะมาเอา” แล้วชูชกก็ไป หายไป ๒-๓ ปีไม่กลับมา สองผัวเมีย ก็ว่า “เรานี่ มันเรื่องอะไรที่มาเป็นคนเฝ้าทรัพย์อยู่ในหนองอย่างนี้มันไม่ได้ประโยชน์ อะไร เป็นงูเฝ้าจอมปลวกอยู่ ชูชกนี่มันคงจะไปตายที่ไหนแล้ว ๓ ปีแล้ว ไม่กลับมา เงินทองข้าวของนี่เอาจับจ่ายเสียเถอะ ใช้เสียเถอะ” หาเรื่อง ให้ยุ่งแล้ว แกก็เอามาใช้จ่ายกินไปจนหมด พอปีที่ ๔ ชูชกก็กลับมา กระย่องกระแย่งมาอีกแล้ว ถือไม้เท้ายัก แย่ยกั ยันมา มาถึงก็บอกว่า “ฉันจะมาเอาทองคืนแล้ว” สองผัวเมียบอกว่า “นั่งก่อนๆ ค่อยพูดค่อยจา เรือล่มในหนองทองมันไม่ไปไหนเสียหรอก อย่าไปวูว่ ามอะไร” ชูชกว่า “ไม่ได้...ฉันจะเอาคืนคราวนีล้ ะ” สองผัวเมีย ก็เดือดร้อนบอกว่าขอเวลานอกสัก ๒-๓ นาทีก่อน หมายความว่าจะต้อง ไปประชุมกันในห้อง ไปปรึกษากันว่าจะท�ำอย่างไร ชูชกจะเอาให้ได้ เราไม่มใี ห้ เราจะท�ำอย่างไร เมียบอกว่า “ไม่เป็นไร เรายังมีของให้ชดเชยได้ เรามีลูกสาวชื่ออมิตตดา รูปร่างพอไปวัดไปวากับเขาได้ โตเป็นสาวเป็น นางแล้ว ยังไม่มีครอบครัว ชูชกแกก็แก่แล้ว เรายกอันนี้ให้แกเสียเลย” เมื่อปรึกษาเวลานอกกันแล้วก็ออกมาบอกว่า “เรื่องเงินๆ ทองๆ ของท่านน่ะ ฉันจ�ำเป็นก็เลยใช้ไปหมดแล้ว” ชูชกโกรธ ดีดนิ้วเปาะแปะๆ 39
บอกว่าอะไรกัน เขาเอาของมาฝากไว้เอาไปใช้ไปสอย อย่างนี้ไม่สมควร แม่ก็บอกว่า “ไม่เป็นไรท่านอย่าวู่วามเลย เราจะมีของชดเชยให้” ก็เลย เรียกลูกสาวออกมา แล้วบอกว่านี่แหละของชดเชย ชูชกแกแก่แล้วยังไม่เคยแต่งงาน พอเห็นอมิตตดาสาวก็เลยลืม เรือ่ งเงินเรือ่ งทอง อย่างนัน้ ก็พอใจใช้ได้ เลยพานางอมิตตดากลับไปอยูบ่ า้ น อมิตตดาก็เป็นหญิงที่ดีที่สุดในเรื่องเลย แม้ชูชกจะแก่ชรา มีสามีแก่ก็ ไม่รังเกียจ ปฏิบัติทุกอย่างเรียบร้อย ทั้งการบ้านการเรือน น�้ำก็ไปตัก มาจากท่าใส่โอ่งให้ชูชกอาบ หุงข้าวต้มแกงเรียบร้อย ทีนี้มันเกิดเรื่อง พวกพราหมณ์อื่นที่มีภรรยา ภรรยาไม่ค่อยเอา เรือ่ ง ชอบเทีย่ วชอบสนุก คงจะไปเล่นไพ่บา้ ง... แต่สมัยนัน้ คงจะไม่มไี พ่... ไปเที่ยว ไม่ค่อยอยู่บ้าน ไม่หุงหาอาหาร ไม่ต้มไม่แกง ครั้นไปเห็นชูชกแก่ ได้เมียสาว ปฏิบัติดีก็ริษยา ริษยาแล้วก็มามองดูเมียของตน “เอ๊.. พวกนี้ นี่มันไม่ได้เรื่อง” เลยตีเมีย ทุบตีภรรยากันทุกคน ฉาวไปทั้งบ้าน พวกแม่บ้านทั้งหลายที่ถูกทุบตีก็เลยยุ่ง ไปยืนคิดกันริมท่าน�้ำ สาเหตุมันอยู่ที่อะไร ที่พวกเราถูกทุบตีนี่รู้ไหม คิดไปคิดมา ก็เพราะแม่ คนนั้น ที่มาได้ผัวแก่น่ะ มันปฏิบตั ผิ วั ดีจนผัวเราอิจฉา แล้วหาว่าเรานี่ ไม่เอาการเอางาน บ้านเรือนไม่เรียบร้อย เราจึงถูกตี ไม่ได้...ต้องแก้แค้น ไปแก้นอกเหตุเสียแล้ว ไม่แก้ที่ตัว เขาเรียกว่าไม่รู้อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล แม่หญิงพวกนั้น เหตุมันอยู่ที่ตัวบกพร่อง ไม่ได้มอง แต่ว่าไปมองว่าเหตุอยู่ที่แม่อมิตตดาไปแก้ที่ภายนอกก็ยุ่ง ก็เลยคอย จ้องที่ท่าน�้ำ พอนางอมิตตดาลงมาตักน�ำ้ ก็เข้าไปตัดพ้อต่อว่า ดึงหน้าดึงหลัง ว่าอย่างนัน้ เถอะ แม่อมิตตดาก็เสียอกเสียใจร้องไห้รอ้ งห่มกลับไปหาชูชก ชูชกเห็นร้องไห้ก็วิ่งลงมาต้อนรับ รับหม้อน�้ำแล้วก็ถามว่า “ใครท�ำให้เธอ ต้องเดือดร้อนเศร้าหมอง” นางก็บอกว่า “พวกผูห้ ญิงเหล่านัน้ ท�ำให้ดฉิ นั เดือดร้อน ต่อไปนี้ดิฉันไม่กล้าลงไปท่าน�้ำอีกต่อไปแล้ว จะไม่ตักน�้ำจะ ไม่ท�ำอะไร” ชูชกบอกว่า “ไม่เป็นไร เธอไม่ทำ� ฉันท�ำก็ได้” แต่นางอมิตตดาว่า “มันไม่ถูกนะ สามีท�ำงานแทนภรรยานี่มันไม่ถูก ภรรยาต้องท�ำงานให้ สามี ต้องปฏิบัติสามี ท่านจะท�ำอย่างนั้นมันไม่ถูก ผิดประเพณีความ นิยมของสังคมสมัยนัน้ ฉันท�ำไม่ได้ มีทางเดียวเท่านัน้ ทีจ่ ะท�ำได้ คือว่า ท่านต้องไปหาคนใช้มาให้ฉันสัก ๒ คน” ชูชกตบอกผาง “แก่ป่านนี้แล้วจะไปหาที่ไหน ใครเขาจะมาเป็น คนใช้เรา” นางอมิตตดาบอกว่า “มี...หาได้ ได้ขา่ วว่าพระเวสสันดรนีท่ า่ น ใจดี ท่านมีลกู สองคน ชือ่ ชาลี กัณหา ถ้าท่านบากหน้าไปขอ ท่านก็คงจะให้” 40
พรรณนาอะไรให้ฟังชูชกเลยคิดว่าท่ามันจะต้องไปเสียแล้ว เมื่อจะต้องเดินทาง นางอมิตตดาก็จัดอาหารเสบียงกรังอะไรกิน ก่อนผ่อนไว้ข้างบน อะไรกินทีหลังวางไว้ข้างล่าง จัดเรียบร้อย ใส่ภาชนะ เอาไปให้กนิ กลางทาง ชูชกก็ไป ก่อนไปนีเ่ ดินเวียนเรือนเสีย ๓ รอบ นึกในใจ ว่า...กูไปครัง้ นีค้ งจะไม่ได้กลับแล้วล่ะ... ลางมันบอกเหตุอยู่ เลยเวียนเรือน เสีย ๓ รอบ แล้วก็สงั่ ภรรยาว่า “กลางค�ำ่ กลางคืนอย่าเปิดประตูลงมาข้าง ล่างเป็นอันขาด ให้อยูข่ า้ งบนบ้าน ใครมาเคาะมาเรียกก็ท�ำเป็นหูไม่ได้ยนิ อย่าไปไหน ฉันก็จะกลับมาอีก” ชูชกก็จากไปด้วยความอาลัยอาวรณ์ ออกเดินทางไปเรือ่ ยๆ ไปจน กระทั่งไปเจอกับนายพรานเจตบุตรเข้า นายพรานเจตบุตรแกเลี้ยงหมา ไว้เยอะ พอชู ช กไปถึง หมาก็ไล่จะงับแข้งชูชก ชู ช กก็ ป ี น ขึ้ น ต้ น ไม้ นายพรานก็จะยิงด้วยธนู ชูชกก็บอกว่า “อย่ายิงฉัน ฉันเป็นคนเชิญ สารตราของพระเจ้าแผ่นดิน รู้ไหมว่าในนี้เป็นตราสารของพระเจ้า แผ่นดิน” แล้วชูกลักให้ดู ความจริงเป็น กลักพริกกลักเกลือ ที่แกเอาไปกินกลางทาง แต่ ว่าเหลี่ยมแกมาก ชูชกแกหลังโกง ใจแกก็โกงพอสมควร เรียกว่าฉลาด แกมโกง พวกนั้น เขาเรียกว่าพวกเฉโก ฝรั่งเขาเรียกว่าพวกคันนิ่ง ฉลาด แกมโกง ชูกลักพริกกลักเกลือว่า “นี่สารตราราชสีห์ จะเชิญไปให้พระ เวสสันดรท่านท�ำร้ายเราแล้วท่านจะถูกลงโทษติดคุกจนตาย ถูก ประหารชีวิต” เจตบุตรอยู่ในป่า ไม่รู้อะไร ก้มลงกราบสารตรากลักพริก กลักเกลือของชูชกประหลกๆ เลยทีเดียว ชูชกก็ลงมา เจตบุตรก็พาไปเลีย้ ง มีเนื้อย่างมีอะไรก็เลี้ยงให้กินสบายเสร็จแล้วก็พาน�ำทางไปส่ง น�ำส่งเข้าป่าเล็กป่าใหญ่... จุลพน มหาพน จุลพน – ป่าเล็ก มหาพน – ป่าใหญ่ เขาพรรณนาเรือ่ งป่าไพเราะเพราะพริง้ ถ้าจะเอาภาพ ทีอ่ ยูใ่ นหนังสือนัน้ มาสร้างเป็นสวนป่าไว้ ณ ทีใ่ ดทีห่ นึง่ แล้วมันสวยงามมาก มีหินย้อย มีน�้ำตก มีพรรณไม้ มีว่านประเภทต่างๆ มากมายก่ายกอง เป็นส�ำนวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง สมัยก่อนนีเ้ ด็กนักเรียนชัน้ ม.๗ ม.๘ ต้องอ่านพระเวสสันดร ทีเ่ ขา ให้อา่ นพระเวสสันดร ประการหนึง่ นัน้ ให้รเู้ รือ่ งพระเวสสันดร ประการ ทีส่ อง ให้เก่งภาษาไทย เพราะในนัน้ เขาแต่งมีศพั ท์มแี สง เรียกว่า ร่ายยาว ส�ำนวนไพเราะเพราะพริ้ง เขาให้อ่าน เดี๋ยวนี้ไม่ได้อ่าน...ภาษาไทยอ่อน เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงมาตกลงกันใหม่ ใครจะเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยต้องสอบภาษาไทยด้วย เพราะเด็กเดี๋ยวนี้ภาษาไทยอ่อน มาก ได้ปริญญา เขียนหนังสือไม่เป็นตัวเลยเวลาจะเขียนถามว่า พ. พ.ไหน เขียนสะกดไม่ถกู หลักภาษาอ่อน ภาษาไทยอ่อน คนสมัยก่อนเขาไม่ออ่ น 41
เขาเรียนพระเวสสันดรชาดก เรียนหนังสือที่มีสาระ ภาษาดี เข้าใจใน เรือ่ งภาษา เดีย๋ วนีภ้ าษาไทยอ่อน เลยคิดกันใหม่ ต้องสอบภาษาไทยด้วย เพื่อให้ภาษาดีขึ้น เรือ่ งทีเ่ ขาเขียนไว้นนั้ ไพเราะเพราะพริง้ ป่าใหญ่ปา่ น้อย ชูชกเดิน ทางไปพบฤๅษีอีกองค์หนึ่งชื่อ อจุตตฤๅษี ก็เข้าไปประจบประแจง ชูชก พูดจาฉลาด ฤๅษีใจอ่อนกลับเอ็นดูให้พกั ให้ผอ่ นสบาย แล้วชีท้ างไปเขาวงกต ไปถึงก็เย็นแล้ว ก็คดิ ว่านอนเสียก่อน ถ้าจะไปตอนเย็นนีน่ างมันทรีอยู่ เพราะว่านางมัทรีเป็นผู้หญิง ในหนังสือเขียนไว้ว่า อันธรรมชาติสตรีนี้ เป็นเกาะแก่งกีดกั้นกระแสกุศล เขาว่าได้ไพเราะ เป็นเกาะแก่งกีดกัน้ กระแสกุศล มีมจั ฉริยะมืดมนเป็นตัวมาร เมือ่ สามีทำ� ทานมักจะท้วงติง เขาว่าอย่างนั้น แต่ว่าความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น นี่โยมผู้หญิงทั้งนั้นที่มาบริจาค ทรัพย์ในวัด โยมผู้ชายไม่กี่คนหรอก โยมผู้ชายเสียอีกจะเป็นเกาะแก่ง กีดกัน้ กระแสกุศล มีมจั ฉริยะมืดมนเป็นตัวมาร เวลาภรรยาจะท�ำทานมัก ท้วงติง สมัยนีม้ กั จะเป็นอย่างนัน้ เสียแล้ว เพราะว่าภรรยาไม่คอ่ ยมีความ ตระหนีบ่ ริจาคทานดีอยู่ แต่สมัยนัน้ เขาว่า ชูชกแกว่าอย่างนัน้ ไม่ใช่ใครว่า ชูชกก็เลยพักผ่อน เอาผ้าผูกเป็นห้างบนต้นไม้นอนจนสว่าง พอสว่ า งนางมั ท รี เข้ า ป่ า ชู ช กแกก็ ไ ปตอนนั้ น เข้ า ไปหา พระเวสสันดร พอไปถึงแกไม่ขอเฉยๆ หรอก นี่เขาเรียกว่าต้องใช้ ศิลปะ ในการพูด ชูชกชักแม่นำ�้ ทัง้ ๕ มาล่อ แม่นำ�้ ทัง้ ๕ สายคือ แม่นำ�้ อจิรวดี สรภู มหี ยมนา คงคา แม่นำ�้ ทัง้ ๕ นีเ่ ป็นแม่นำ�้ เล็กๆ ไหลลงมาเป็นแม่นำ�้ สินธู แม่น�้ำคงคา เมื่อน�้ำในห้วยเต็มก็เลยไหลลงมาสู่แม่น�้ำ น�้ำในแม่น�้ำเต็มแล้วก็ ไหลลงสูม่ หาสมุทร แต่กว่าจะถึงมหาสมุทรพวกกรุงเทพฯ ก็แย่ไปตามๆ กัน น�ำ้ มันท่วมเมืองนนท์นกี่ แ็ ย่แล้ว ท่านผูว้ า่ ก็ตอ้ งวิง่ เทีย่ วอุดน�ำ้ กันแย่ไปเลย มันท่วม น�ำ้ มันไหลมากเกินไปก็ทว่ ม ญาติโยมอย่าไปบ่นตกอกตกใจ เรือ่ ง น�้ำมันธรรมดา เราอย่าไปบ่นกับใคร ชู ช กก็ ไ ปพู ด เปรี ย บเที ย บว่ า น�้ ำ เป็ น ฉั น ใด น�้ ำ พระทั ย ของ พระเวสสันดรก็เหมือนกับแม่นำ�้ ทีเ่ ต็มเปีย่ มอยูต่ ลอดเวลาใครจะตักตวง ไปอาบ ไปกิน น�้ำก็ไม่ลด ไม่สิ้นลงไป ยอน�้ำใจพระเวสสันดร เพื่อจะขอ เรียกว่ายอก่อน อันนี้ก็เป็นหลักธรรมดา คนเราจะไปหาใคร ต้องยอเขาก่อน แต่วา่ ยอให้สมควร ถ้ายอเกินไปเขารูท้ นั ไอ้นมี่ นั ลูกไม้กะกูอกี แล้ว มันไม่ได้ เราต้องใช้ค�ำยอแต่พอดี อย่าให้มันเกินไป ยกย่อง คนเรามันชอบยก ทั้งนั้น เขาจึงบอกว่าลูกยอใครๆ ก็ชอบทั้งนั้นแหละ สอยๆ ไปเถอะ มันก็ 42
คงได้ผลบ้าง ค�ำตินี้ไม่มีใครชอบหรอก ชูชกก็ยอพระเวสสันดร ผลทีส่ ดุ แกบอกว่า “ข้าพระองค์ทอี่ ตุ ส่าห์ เดินถ่อกายอันล�ำบากมานี่ ก็เพือ่ ประสงค์จะขอพ่อชาลีแม่กณ ั หา เพือ่ เอา ไปเป็นคนใช้” พระเวสสันดรก็บอกว่า “ไม่เป็นไร ไม่ขัดข้องหรอก เราจะให้ ด้วยความเต็มใจ เมือ่ ท่านต้องการ เราก็จะให้ แต่วา่ เดีย๋ วก่อน เวลานี้ นางมัทรีไปป่า ขอให้นางมัทรีกลับมาก่อน แล้วนางจะได้ดีอกดีใจ จะ ได้ร่วมกันบริจาค” ชูชกแกก็พูดขึ้นทันที บอกว่า “เขาว่าพระเวสสันดรใจดี นี่ไม่จริง ความจริงกลับกลอก” ต่อว่าเอาเลย “เมื่อตะกี้บอกว่าให้ ต่อมาก็ว่าให้ นางมันทรีกลับมาก่อน พอนางมัทรีกลับมาแล้ว นางก็จะคัดค้านเลยไม่ให้ แล้วก็จะได้พูดบ่ายเบี่ยงว่าความจริงฉันจะให้ ..แต่ว่ามัทรีเขาไม่ให้.. ไม่รู้ จะว่าอย่างไร เพราะฉันไม่ได้เกิดเอง นางมัทรีเขาเกิด นี่หรือน�้ำพระทัย ของพระเวสสันดร” ตัดพ้อต่อว่าเอาอย่างนั้น พระเวสสันดรก็วา่ “ไม่ใช่เช่นนัน้ เขาเป็นแม่กค็ วรจะได้ดใี จด้วย ในการที่ได้บริจาคทานด้วยกัน” ชูชกแกบอกว่า “ไม่ได้..ถ้าปล่อยให้นางมา ก็จะชักช้าเสียเวลา เพราะฉะนั้น ก็เอาเลยเถอะ..ขอเอาไปเดี๋ยวนี้ละ” พระเวสสันดรก็เที่ยว มองหาลูก ว่าหายไปไหนแล้ว ชาลี กัณหา เห็นตาชูชกรูปร่างอัปลักษณ์ก็หนีแล้ว หนีไปอยู่ ในสระบัว เอาใบบัวปิดหัวไว้ไม่ให้เห็น พระเวสสันดรรู้ว่าลูกอยู่ในสระ ก็ไปพูดพรรณนาให้ลูกขึ้นจากสระน�้ำ หนังสือตอนนีเ้ ขาเรียกว่า “กัณฑ์กมุ าร” คือ เกีย่ วกับกุมารากุมารี ทัง้ สอง แล้วก็เปรียบเทียบให้ลกู ฟังว่า พระองค์นเี่ หมือนกับเป็นพ่อค้าเรือ ส�ำเภาเตรียมของลงเรืออะไรเรียบร้อย จะออกไปสู่ฝั่งคืออมตะนิพพาน “ลูกจะได้ชว่ ยเหลือให้เรือออกไปได้สะดวกสบาย เพราะฉะนัน้ มาช่วยพ่อเพื่อให้ได้ไปถึงจุดหมาย คือ การดับทุกข์เถอะลูกเอ๋ย... ขึ้นมาเถอะ” ลูกได้ฟังค�ำพ่อ ก็สงสารพ่อ เลยขึ้นมากราบแทบเท้า ให้พระเจ้า พ่อยกให้ตาชูชก ชูชกพอได้แล้วก็เอาเชือกผูกมือเลย พอผูกมือแล้วคิดว่า ไม่ได้..จะเอาไปเป็นคนใช้ ต้องขูต่ ะคอกให้กลัวเสียหน่อย เลยเอาไม้หวาย เฆี่ยนเลย พระเวสสันดรคิดว่า “แหม! อีตานีม่ นั หยาบคายจริงๆ เฆีย่ นลูกต่อ หน้าเรา” แต่มาข่มพระทัยไว้วา่ “เราให้เขาแล้วเขาเป็นบ่าวเป็นคนใช้กนั ไม่ใช่ ลูกของเราแล้ว” ก็ตอ้ งข่มไว้ดว้ ยพระขันติ ไม่แสดงอาการอะไรให้ปรากฏ 43
ชูชกก็พาเข้าไปในป่าไปจนค�่ำมืด จะต้องพัก ชูชกขึ้นไปนอนข้าง บนต้นไม้ เอากุมารทั้ง ๒ ผูกไว้ที่โคนไม้ แกก็นอนกรนครอกๆ บนต้นไม้ แต่ว่า ๒ กุมารก็ไม่เดือดร้อนอะไรหรอก มีคนมาช่วยเหลือ เทวดาอีก แหละ คราวนี้เทวดาก็มาช่วยให้สบาย รุ่งขึ้นชูชกก็พาเดินต่อไป ไปถึงทาง ๒ แพร่ง ทางหนึ่งจะแยกไปเมืองชูชก อีกทางหนึ่งจะ ไปเมืองสีพี ชาลีเป็นผู้ฉลาดแหลมคม ลูกผู้ชายฉลาด ชูชกแกงงว่าจะ ไปทางไหน ชาลีบอกว่าทางนี้แหละ เลยชี้ไปทางเมืองพระเจ้าปู่ ชูชก หลงกลเด็ก ก็เดินไป ไปออกเมืองสีพีเมืองพระเจ้าปู่ ประชาชนได้เห็นตาแก่จูงเด็กมาก็ว่า ไอ้นี่ไปลักลูกเขามา ลักลูก พระเวสสันดรมา ไม่ได้เราต้องจับฐานเป็นโจรลักเด็ก เลยเข้าไปรุมจับชูชก ชูชกบอกว่า “ไม่ใช่..ฉันไม่ได้ลกั ฉันไปขอมา..พระเวสสันดรให้” “ไอ้นี่พูดไม่จริง พ่อที่ไหนจะให้ลูกเป็นทานต้องพาไปหาพระเจ้า แผ่นดิน” ก็พาไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ชาลี กัณหาก็ไปนั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่ชั้นล่างไม่ขึ้นไป นั่งเฉย ปูก่ ถ็ ามเรือ่ งราวตาชูชกไปอย่างนัน้ แล้วก็บอกว่าหลานทัง้ ๒ ท�ำไมนัง่ อยู่ อย่างนั้น ไม่ขึ้นมานั่งใกล้ปู่ ชาลีเขาบอกว่าอย่างไร... บอกว่า “เวลานี้หลานไม่ใช่หลานปู่แล้ว แต่เป็นคนใช้เป็นทาส ของตาแก่ชชู กคนนี้ หลานจะต้องเคารพนาย จะขึน้ ไปนัง่ ใกล้องค์พระ มหากษัตริย์ เป็นการไม่สมควร” พระเจ้าปู่ได้ฟังเช่นนั้นก็เสียพระทัยว่า แหม! ไอ้หลานน้อยมันยัง พูดกระแทกแดกดันปูเ่ ลย ท�ำให้ปไู่ ม่สบายใจก็เลยบอกว่า “เอ้า! ไม่เป็นไร เราจะไถ่ชีวิตของหลานไว้” พระเวสสันดร ท่านได้ตั้งค่าไว้แล้ว ตั้งค่าลูกทั้ง ๒ ไว้ด้วยราคา แพงทีเดียว เผือ่ ว่าใครจะไถ่ ต้องเป็นคนมัง่ มีถงึ จะไถ่ได้ คนจนไถ่จากชูชก ไม่ได้ ตัง้ ค่าไว้ กัณหานีแ่ พงกว่าชาลี ผูห้ ญิงนีต่ งั้ ค่าแพงมาก ชูชกแกก็บอกว่า จะเอาเด็ก ๒ คนนี่ต้องไถ่ พระเจ้ากรุงสญชัยก็ยินดีไถ่ถอน เมื่อไถ่ถอน แล้วก็บอกว่า “ท่านอย่าไปก่อนเลย ทรัพย์สมบัตทิ า่ นจะพาไปก็ลำ� บาก เราจะเลีย้ งท่านสักมือ้ ก่อน” เลยเลีย้ งอาหารอย่างดี ชูชกเดินป่ามานานแล้ว ไม่ได้กินอาหารดี กินมาก เลยจุกตายเลย เขาเรียกว่าท้องแตกตาย ไม่ใช่ ท้องระเบิด ท้องแตก ไม่ใช่ระเบิดอย่างนั้นหมายความว่าจุกตาย กินมาก หายใจไม่ออก จุกตาย ทรัพย์สมบัติ ของตาชูชกนัน้ ประกาศหาญาติ ไม่มี ใครมารับ ก็เวนคืนเข้าพระคลังหลวงต่อไป ชาลี กัณหาก็ได้เป็นไท ได้อยู่กับพระเจ้าปู่ เมื่อได้อยู่กับพระเจ้าปู่แล้ว ชาลี กัณหา นึกถึงพ่อแม่ที่ต้องตก ระก�ำล�ำบากอยูใ่ นป่า ก็เลยกราบทูลพระเจ้าปูว่ า่ พ่อแม่นเี่ ดือดร้อนมาก 44
อยู่ในป่านี่ ปู่ควรจะไปรับกลับมาเสียที พอดีประชาชนได้ข่าวว่า ชาลี กัณหา ถูกให้เป็นทานเขาก็นึกว่า พระเวสสันดรนีท่ า่ นมัน่ คงในเรือ่ งทานเหลือเกิน ให้มา้ ให้ชา้ ง ให้ทรัพย์ สมบัต ิ ให้ลกู แล้วก็ยงั จะให้นางมัทรีอกี นะ พระอินทร์มาขอปลอมตัวเป็น พราหมณ์แก่มาขอ ที่มาขอนี่ไม่ใช่ เรื่องอะไร เดี๋ยวคนอื่นมาขอแกให้เสีย อีกจะล�ำบาก เลยขอไว้เสียก่อน ขอเสียแล้วไม่เอาไปหรอก บอกว่า..ขอฝาก ไว้แก่ท่าน เพื่อจะได้อยู่ปฏิบัติวัตรฐากต่อไป.. ไม่อย่างนั้น พระเวสสันดร แกให้หมด ใจแกดีเหลือเกินเลย มาขอเสียก่อน แล้วมอบไว้ ภายหลังชาลี กัณหา ไปเล่าเรือ่ งให้ปยู่ า่ ฟัง ปูย่ า่ ก็สงสารพอดีประชาชนเขาเห็นอกเห็นใจ ก็เดือนขบวนอีกเหมือนกัน เดินขบวนขอให้ไปรับพระเวสสันดรกลับมา ก็จดั ขบวนแห่ออกไปรับกลับมา ตอนนีเ้ รียกว่า “นครกัณฑ์” กัณฑ์สดุ ท้าย แห่กลับเข้าบ้านเข้าเมือง อยูเ่ ย็นเป็นสุขต่อไป คนท�ำดีแล้วก็ไม่ตกต�ำ่ อะไรหรอก ตามวัดต่างๆ พอออกพรรษาต้องมีเทศน์มหาชาติ วันหนึง่ คืนหนึง่ เช้าเทศน์คาถาพัน ว่าบาลีลว้ น ฟังไม่รเู้ รือ่ ง แต่คนก็นงั่ ฟัง หลับไปตามๆ กัน พอพระว่า “เอวัง ก็มดี ว้ ยประการฉะนี”้ เอ้า..จบแล้ว สาธุ.. นีค่ ณ ุ ยายเขา ฟังอย่างนี้ มหาชาตินมี่ ที วั่ ประเทศ ปักษ์ใต้เรียกว่า เทศน์มหาชาติ ภาคเหนือ เขาเรียกว่าเทศน์พระเวส ท�ำบุญพระเวส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า งานบุญผะเหวด ก็มีกัณฑ์คาถาพัน ๒ ตอน พันต้น พันปลายรับไปกัณฑ์ หนึ่ง ๒ คน มีทานกัณฑ์ วนประเวศน์...เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งนครกัณฑ์ รวม ๑๓ กัณฑ์ ทุกคนรับกัณฑ์ไป ปัจจัยก็เอาไปบ�ำรุงวัดวาอารามต่อไป เทศน์มหาชาติจบแล้ว ก็ต้องมีเทศน์อริยสัจสี่ ๒ ธรรมาสน์ ให้คนฟังกัน ต่อไป เรื่องมันเป็นอย่างนั้น เอามาเล่าให้โยมฟัง เพือ่ ให้รวู้ า่ คนโบราณเขาเขียนเรือ่ งประเภท สอนใจคนไว้ ให้รู้จักบริจาคทาน ให้ความอดทน ให้มีความเพียร ให้มี ความตั้งใจมั่น เรียกว่า “บารมี ๑๐” ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบ�ำเพ็ญใน อดีตชาติ คือในชาติที่เป็นพระเวสสันดร เป็นมโหสถ เป็นพระเตมีย์ใบ้ เป็นภูริทัต อะไรต่ออะไร ถึงพระเวสสันดรเป็นชาติสุดท้าย แล้วก็ได้มา เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องของการให้ เป็น ตัวอย่างของการเสียสละ เราอยูด่ ว้ ยกันการเสียสละแล้วก็จะสบาย พ่อแม่เสียสละเพือ่ ลูก ลูกก็มคี วามเสียสละเพือ่ พ่อแม่ ครอบครัวทุกครอบครัวทีอ่ ยูใ่ นหมูบ่ า้ น เดียวกัน ต�ำบลเดียวกัน เสียสละต่อกัน เมื่อมีการเสียสละการเห็นแก่ ตัวก็หายไป การอยู่ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ เอามาเล่าสู่กันฟังเพื่ออย่างนี้ 45
การเทศน์มหาชาติ คือการมหากุศลที่เตือนบุคคล ให้ร�ำลึกการบ�ำเพ็ญบุญคือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพือ่ ผลคือประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นส�ำคัญ
บรรพชนชาวไทยผู้ชาญฉลาดแต่โบราณมา จึงถือเป็นเทศกาลงานบุญที่คนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระท�ำบ�ำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา เราทั้งหลายในบัดนี้ก็พึงอนุรักษ์สืบทอดต่อไป ด้วยความฉลาดเข้าใจในคุณค่าและความหมายอย่างแท้จริง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก