Psusci Magazine ISSUE 02

Page 1


สารบัญ สารจากผู้บริหาร

3

รอบรั้ว วิดยา

5

ต้อนรับเปิดเทอม AEC ผศ.ภัทร อัยรักษ์ กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ 57

กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์

11

เล่าเรื่องประกันคุณภาพ

13

กิจกรรม โครงการต่าง ๆ ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น

เคล็ดไม่ลับ...การเลือกเข้าสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ

ชวนคิดคุยงาน

14

คนเก่งวิดยา

15

สถานีไอที

16

แนะนำ�หลักสูตร

17

มองวิทย์

19

HR กับการเตรียมรับมือ AEC คณาจารย์และนักวิจัยได้รับรางวัลในเวทีระดับโลก แอพพลิเคชัน ก กุ๊ก ไก่ ปริญญาตรี และ บัณฑิตศึกษา รวมรูปภาพจาก TAG INSTARGRAM #PSUSCI

อินไซต์

ว่าด้วยเรื่องพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ดร.ทพ.ประกาศ สว่างโชติ หัวหน้าโครงการฯ

20

กิจกรรมนักศึกษา

27

วิดยาสู่สังคม

29

เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์

31

คนเก่งในสื่อมวลชน

33

กิจกรรม Walk rally in Penang, โครงการเปิดกระปุกออมสิน กิจกรรมชีววิทยาสัญจรครั้งที่ 5 ประวัติของโลก แบบย่อ

ม.อ. ต่อยอดนวัตกรรมช่วยเกษตรกร

เทปการออกอากาศรายการ “นักประดิษฐ์พันล้าน”

การค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด

บริการวิชาการ

37

16

28

20

คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา I รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ, ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์, รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ บรรณาธิการ I ดร.ภูวดล ธนะเกียรติไกร รองบรรณาธิการ I ดร.กมลธรรม อำ่ � สกุล กองบรรณาธิการ I คณะกรรมการการจัดทำ�วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขากองบรรณาธิการ l อิสรภาพ ชุมรักษา ออกแบบรูปเล่ม I อิสรภาพ ชุมรักษา จัดพิมพ์ I คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รูปจากปก I สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินพื้นที่เขาคอหงส์ คณะวิทยาศาสตร์ � มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตู้ปณ. 3 ตำ�บลคอหงส์ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 Tel 0 7428 8022 E-mail : sci-pr@group.psu.ac.th

อ่านวารสารฉบับออนไลน์ได้ท�ี่ www.sc.psu.ac.th/ Facebook I PSUSci Twitter I PSUSci Instargram I PSUSci Google+I gplus.to/PSUSci�


บทบรรณาธิการ EDITOR’S TALK

Editor’s Talk ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกท่านสู่ฉบับที่สองของแม็กกาซีน “วิทยาสาร(ศาสตร์)” ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื้อหาในเล่มสองนี้ก็คับคั่งเหมือนเดิมครับ ทางคณะผู้จัดทำ�ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรสายสนับสนุนและสายวิชาการที่มาร่วมกันเขียนบทความต่างๆเพื่อเผยแพร่สาระ ความรู้ และแบ่งปันเรื่องราวต่างที่เกิดขึ้นและกำ�ลังจะเกิดขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ของเรา เริ่มที่เรื่อง”อินไซต์”เลยละกันครับ เนื่องจากว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทอดพระเนตรพื้นที่อนุรักษ์ พันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ในโครงการปกปักพันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ซึ่งในโอกาส นี้เราจึงได้ไปสัมภาษณ์ อาจารย์ประกาศ สว่างโชติ หัวหน้าโครงการวิจัยเกี่ยวกับการดำ�เนินการโครงการ นี้ครับ ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาคณะวิทย์ฯของเราก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นอย่างสูงครับ นั่นก็เพราะ อาจารย์เก่งๆของเราได้รับรางวัลระดับโลกจากงาน “Seoul International Invention Fair (SIIF) 2013” กันมาสดๆร้อนๆครับผม การค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด และออก รายการนักประดิษฐ์พันล้านอีกด้วย (กรรมการซื้อสิ่งประดิษฐ์ด้วยครับ ขอบอก) งานวิจัยและวิชาการ ของเรานั้นไม่ธรรมดานะครับ ที่ลืมไม่ได้ก็คือเรื่อง AEC ที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆนะครับ ในฉบับนี้ ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ก็ได้มาเล่าเรื่อง ผลกระทบและแนวทางการปฏิบัติตัวในโอกาสที่สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจะเลื่อนการเปิดเทอม ออกไปช่วงเดือนสิงหาคม น้องๆนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองต้องอ่านครับ คณะฯของเราก็เตรียม ความพร้อมให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องครับ ในช่วงที่ผ่านมาก็มีกิจกรรม Walk Rally in Penang และ โครงการเปิดกระปุกที่ได้รับเกียรติจาก ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ นักวิจัยคนเก่งของไทย มาเล่าให้น้องฟัง เรื่องการเป็นคนเก่งและดีด้วยนะครับ และเหมือนเดิมครับ ถ้าหากท่านผู้อ่านมีข้อเสนอแนะ โปรดติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆด้านล่างนี้เลย ครับ และอย่าลืมไปกด Like กด Follow และกด +1 เพื่อติดตามข่าวสารของเราทาง Social Network นะครับ ตามลิงค์หรือ QR code ข้างล่างได้เลยครับ พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ ดร. ภูวดล ธนะเกียรติไกร บรรณาธิการวิทยาสาร(ศาสตร่์) pthanakiatkrai@gmail.com มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 2


สารจากผู้บริหาร� ADMINISTRATOR TALK

ต้อนรับเปิดเทอม AEC

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทร อัยรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

ถ้าจะเรียกปีพ.ศ. 2557 ว่าเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของวงการการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็คงไม่ ผิดครับหลายท่านคงทราบว่าปีการศึกษา 2557 นี้ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเกือบทั้งหมดจะเลื่อนการเปิด ภาคการศึกษาใหม่ซึ่งจากเดิมจะเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนมิถุนายนไปเป็นประมาณเดือนสิงหาคมที่ไป ที่มาของการเลื่อนการเปิดภาคการศึกษานี้ส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ที่กำ�ลังจะถึงนี้ การเปิด AEC เกี่ยวข้องกับการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย อย่างไร ประเด็นนี้คงเป็นประเด็นมาจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียนมองเห็น ปัญหา ว่าหากจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศอาเซียน นักศึกษาจำ�เป็นจะต้องรู้ถึงวัฒนธรรม และความแตกต่างระหว่างประเทศเป็นอย่างดี วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษาในประเทศไทย กับประเทศอื่นๆ นั้น เดิมมีปัญหาสำ�คัญอยู่สองประการคือ เวลาเปิด ภาคการศึกษาที่ไม่ตรงกัน และภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน ปัญหาเรื่องภาษา สามารถแก้ไขได้ไม่ยากนัก โดยมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็มีความพยายาม และ มีความสามารถเพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่เนื่องจากการเปิดภาคการ ศึกษาที่ไม่ตรงกันกับประเทศอื่นๆ ทำ�ให้การแลกเปลี่ยนมีปัญหา เช่น มหาวิทยาลัยหนึ่งจะส่งนักศึกษาไปใน ช่วงเปิดภาคการศึกษาปกติ แต่ไปตรงกับช่วงปิดภาคเรียนของอีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง มีความพยายามในการ ที่จะจัดการเรียนการสอนในช่วงปิดภาคเรียน แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนรู้วัฒนธรรมจากนักศึกษา ในต่างประเทศ เนื่องจากไม่มีนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปลายทางที่มากพอที่จะได้ศึกษา และแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมระหว่างกันด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาใหม่ และ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็จะปรับการเปิดภาคการศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2557 ตามที่ได้ทราบ กันไปแล้ว

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 3


สารจากผู้บริหาร� ADMINISTRATOR TALK

จากการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิดภาคการศึกษาในครั้งนี้ จะทำ�ให้ ระยะเวลาการปิดภาคการศึกษา เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ปิดภาคการศึกษา ประมาณสามเดือน เป็นมากกว่าห้าเดือน เนื่องจากในปีการศึกษา 2556 จะปิดภาคการศึกษาที่สองในเดือน มีนาคม และเปิดภาคการศึกษาที่หนึ่ง ของปีการศึกษา 2557 ในเดือนสิงหาคม จึงเกิดคำ�ถามขึ้นว่าในระยะเวลา เกือบครึ่งปีนี้ นักศึกษาควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร หรือควรมีกิจกรรมอะไร บ้างในช่วงเวลาดังกล่าว ผมขออนุญาตแนะนำ�เพื่อเป็นแนวทางนะครับ ใน ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ การพัฒนาภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จำ�เป็นจะต้องใช้เวลา ในการพัฒนา และที่สำ�คัญ ไม่มีทางลัดสำ�หรับการเรียนภาษา ระยะเวลา หกเดือน อาจจะเป็นระยะเวลาที่ไม่นานนัก แต่ก็สามารถทำ�ให้มีความ มั่นใจมากขึ้นระดับหนึ่ง การเรียนภาษา หรือการพัฒนาภาษา อาจจะมา จากการไปเรียนตามโรงเรียนต่างๆ หรือแม้กระทั่งการฝึกภาษาด้วยตนเอง ผ่านทางระบบ Internet ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้มากมาย นอกจากนี้ หากใครที่ สามารถไปเรียนภาษาในต่างประเทศได้ ก็ขอแนะนำ�ให้ไปครับ หากใคร ไม่สามารถไปได้ การหาประสบการณ์ตรงโดยพูดคุยกับชาวต่างชาติ ใน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศที่มีชาวต่างชาติจำ�นวนมากก็เป็นทางออกที่ดี ทางหนึ่ง นอกจากการเรียนภาษาโดยตรงแล้ว หลายคนอาจจะใช้โอกาส นี้หางานทำ� เพื่อหารายได้พิเศษ ผมขอเสนอแนะให้ทำ�งานที่ต้องใช้ภาษา เพื่อจะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการหารายได้ครับ ผมอยากให้ทุกคนเชื่อว่า นักศึกษาทุกคนมีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษมาเพียงพอแล้ว แต่ที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้เนื่องจากยังขาดความกล้า หรือ ประสบการณ์ และในช่วงปิดภาคการศึกษาที่ยาวเป็นพิเศษนี้ เป็นโอกาสที่ ดีมากที่จะได้ฝึกประสบการณ์การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ผมเชื่อว่าการมี ภาษาอังกฤษที่ดี จะทำ�ให้นักศึกษามีโอกาสได้งานทำ�ที่ดีกว่า และมีโอกาส ที่จะได้งานทำ�ที่มีผลตอบแทนที่สูงกว่าอย่างแน่นอนครับ นอกจากการพัฒนาทางภาษาแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษา สามารถหาความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่จะส่งเสริมความ เข้าใจในวิชาการของสาขาที่นักศึกษากำ�ลังศึกษา หรือจะเป็นความรู้อื่นๆ ที่จะเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาเอง เช่น การเรียนคอมพิวเตอร์ หรือการ เรียนอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา อย่างไรก็ตามระยะเวลาการหยุดเรียนเป็นเวลานานๆ ก็มี ผลเสียเช่นกัน หากนักศึกษาไม่สามารถจัดการเวลาของตนเองได้ และ ไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว มีหลายครั้งที่นักศึกษาติดเกมส์ แล้วไม่สามารถเรียนได้จนจบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้อง หลีกเลี่ยงหากต้องการให้มีอนาคตที่ดี ผมต้องขอฝากผู้ปกครองทุกท่าน ให้ช่วยดูแลลูกหลานของท่านให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าการปิดภาคการศึกษาที่นานกว่าปกตินี้ จะเป็นโอกาสที่ดี และให้กับลูกหลานของทุกๆ ท่าน เพื่อโอกาสในอนาคต ต่อไป สวัสดีครับ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 4


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ชุมชนบ้านเหนือ� ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

6 I 12 I 2556 10 I 12 I 2556

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2556 คณะวิทยาศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อบริการวิชาการที่ชุมชน บ้านเหนือ ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อรายงานผลการดำ�เนินโครงการบริการ วิชาการปีงบประมาณ 2556 พร้อมปรึกษาหารือ และสำ�รวจความต้องการหรือปัญหา ของชุมชนเพิ่มเติม เพื่อดำ�เนินโครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2557 โดยมีรอง คณบดีฝ่ายบริการวิชาการและจัดการทรัพย์สิน รศ.ดร. วราภรณ์ ตันรัตนกุล , ผู้ช่วย คณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา อ.เทิดทูน ดำ�รงค์ฤทธามาตร์ , หัวหน้าหน่วยเครื่องมือกลาง คุณผุสดี มุหะหมัด และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจาก ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ อิหม่ามมัสยิดบ้านเหนือ �

กิจกรรม Walk rally in Penang ณ ประเทศมาเลเซีย

วันที่ 10 ธันวาคม 2556 หน่วยกิจการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ได้จัดกิจกรรม Walk rally in Penang ณ ประเทศมาเลเซีย โดย ผู้เข้าร่วมโครงการคือผู้นำ�นักศึกษาสโมสร / ชุมนุมของคณะวิทยาศาสตร์ จำ�นวน 46 คน กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้านในรูป แบบของกิจกรรม ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษใช้ชีวิตประจำ�วันพัฒนาทักษะด้านภาษา อังกฤษ ฟัง พูด อ่าน เขียน และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้นอก สถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 5


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์ต้อนรับ Dr. Allen Hon-tsen Yu และ Prof. Dr. Jer Ming Hu� จาก Department of Life Science, National Taiwan University ประเทศไต้หวัน

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556 คณะวิทยาศาสตร์มีโอกาสต้อนรับ Dr. Allen Hon-tsen Yu และ Prof. Dr. Jer Ming Hu จาก Department of Life Science, National Taiwan University ประเทศไต้หวัน โดยมีคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. วิไลวรรณ โชติเกียรติ เข้าร่วมหารือและเจรจาความร่วมมือกัน และนำ�เยี่ยม ชม พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

23 I 12 I 2556

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ยินดีต้อนรับนักเรียนโรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม

9 I 01 I 2557

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2557 คณะวิทยาศาสตร์ต้อนรับนักเรียนและอาจารย์ โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม จังหวัดนราธิวาส ในการดูงานคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้อง สัมมนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีท่านผู้ช่วยคณบดีฝ่าย วิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ ดร. ภูวดล ธนะเกียรติไกร , ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ดร.กวินพัฒน์ สิริกานติโสภณ และ คุณวรรษมน มีเสน เข้าร่วมต้อนรับ และบรรยาย แนะนำ�หลักสูตรและทุนการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 6


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน� คณะครูและนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

10 I 01 I 2557

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน คณะครูและนักเรียน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล โดยได้นำ�ตัวเเทนอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ FURUKAWA ประเทศญี่ปุ่น เข้าดูงานคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีท่าน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร อัยรักษ์ ตัวแทนผู้ บริหารร่วมต้อนรับ

11 I 01 I 2557

โครงการฝึกอบรม Advanced Surgical Skills for Exposure in Trauma (ASSET)

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ และภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการผ่าตัดชั้นสูตรสำ�หรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ Advanced Surgical Skills for Exposure in Trauma (ASSET) ณ ห้องปฎิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ML.100 โดยได้รับเกียรติจากท่านคณบดีคณะ เเพทยศาสตร์ รศ. นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. วิไลวรรณ โชติเกียรติ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ และ มี นายเเพทย์นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำ�นวยการหลักสูตรการฝึกอบรม ASSET ราชวิทยาลัยศัลยแพทยแห่งประเทศไทย แนะนำ�ภาพรวม การจัดการฝึกอบรม โดยมีหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผศ. ดร.อุราพร วงศ์วัชรานนท์ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์​และคณะเเพท ยศาสตร์ ร่วมถึงผู้เข้าร่วมโครงการ ร่วมในพิธีเปิดจำ�นวนมาก มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 7


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. ศึกษาดูงาน� ประกันคุณภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยินดีต้อนรับทีมผู้บริหารและ บุคลากรจาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดูงานประกันคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ในวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2557 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วย คณบดีฝ่ายระบบคุณภาพ ผศ.ดร. สุดา จักรทอง , ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ อาจารย์สมศักดิ์ คงแสง เป็นผู้ต้อนรับ

23 I 01 I 2557 24 I 01 I 2557

คณะวิทยาศาสตร์พบสื่อมวลชนครั้งที่ 3 ประจำ�ปี 2556

วันที่ 24 มกราคม 2557 หน่วยวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการคณะวิทยาศาสตร์พบสื่อมวลชน ครั้ง ที่ 3 ณ ห้องนิทรรศการคณะวิทยาศาสตร์ ตึก BSc โดยมีคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. วิไลวรรณ โชติเกียรติ เป็นประธานและกล่าวเปิดงาน ภายในโครงการมี การนำ�เสนอผลงานและนำ�เสนอแบบนิทรรศการของแต่ละภาควิชา

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 8


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเข้าร่วมโครงการตลาดนัด หลักสูตรอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

30 I 01 I 2557

เมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2557 คณะวิทยาศาสตร์ นำ�โดย รองคณบดีฝ่าย วิชาการ ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ ได้เข้าร่วมจัดบูธในโครงการตลาดนัดหลักสูตร อุดมศึกษาร่วมกับทีมประชาสัมพันธ์ ณ หอประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีครูแนะแนว นักเรียน ผู้ปกครอง และ ผู้สนใจทั่วไปเข้าเยี่ยมชมบูธ ร่วมพูดคุยสอบถามรายละเอียดหลักสูตร ทุนการ ศึกษา การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยฯ จำ�นวนมาก

7 I 02 I 2557

กิจกรรมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 7

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับคลังเลือด โรงพยาบาล สงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 7 ณ ลานชั้น 1 อาคาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในการรับบริจาคโลหิตครั้งนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากคณะอาจารย์และนิสิตนักศึกษารวมทั้งประชาชนเข้าร่วมบริจาคโลหิตเป็น จำ�นวน 105 คน ทำ�ให้เกิดภาพลักษณ์และความประทับใจที่ดีในการช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 9


รอบรั้ว วิดยา� SCIENCE ALL

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงานเปิดกระปุกออมสินเพื่อน้อง ครั้งที่ 10

งานเปิดกระปุกออมสินเพื่อน้อง ครั้งที่ 10 ประจำ�ปี 2556 ณ ห้อง L1 ศูนย์ปาฐกถา ประดิษฐ เชยจิตร คณะวิทยาศาสตร์ โดยภายในงานได้รับเกียรติ จาก รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และรับมอบกระปุกออมสินจากสมาชิกกระปุกออมสิน ศิษย์เก่า และผู้มีจิตอัน เป็นกุศล ซึ่งในปีนี้มีสมาชิกร่วมงานจำ�นวน 42 คนและยอดเงินบริจาคในปีนี้รวม ทั้งสิ้น 268,727.-บาท (สองเเสนหกหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) โดย ในงานได้รับเกียรติจาก ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ เสวนาพิเศษเรื่อง เก่งและดีได้ ไร้ ขีดจำ�กัด

9 I 02 I 2557 10 I 02 I 2557

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ต้อนรับต้อนรับ คณบดี� ด้านไอทีจากหลายสถาบันในประเทศมาเลเซีย

เมื่อวันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ผศ.ดร. เถกิง วงศ์ศิริโชติ ประธานสาขา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. และคณาจารย์ ต้อนรับ คณบดีด้าน IT จากหลาย สถาบันในประเทศมาเลเซีย และ ผู้บริหารจาก School of Computing Universiti Utara เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ห้องประชุมคณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เเละเยี่ยมชมการเรียนการสอน ที่สาขา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 10


กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์� SCIENCE CALENDAR

SCIENCE CALENDAR กิจกรรม โครงการต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ที่เกิดขึ้น โดยสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ได้ที่ เว็บไซต์ทางการคณะฯ http://www.sc.psu.ac.th หัวข้อข่าวกิจกรรม

9/03/2557

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธี พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณี พิเศษแก่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อ การศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2556 วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2557 ณ วัดคลองเรียน อำ�เภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 0 7428 8132

5-9/04/2557

May 6-8, 2014 Important Date Abstract submission

Sep 2-Dec 30, 2013

Notification of acceptance

By Jan 13, 2014

Early bird registration

Sep 2, 2013-Feb 28, 2014

โครงการค่ายวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 25 ชุมนุมวิชาการ และชุมนุมภาษาต่าง ประเทศ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ ประชาสัมพันธ์ โครงการค่ายวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 5 - 9 เมษายน 2557 ณ คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำ�หรับน้องชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ติดต่อหน่วยกิจการนักศึกษา โทร 0 7428 8033

Registration Fee Local Student Researcher Public/Exhibitor International Student Researcher Public/Exhibitor

Early Bird Before Feb 28, 2014 4,500 THB 8,000 THB 10,000 THB

250 USD 400 USD 500 USD

Conference Topics:     

Chemistry of natural products Efficacy of natural products Health and beauty products Safety and regulations on natural products Miscellaneous

Late Registration From Mar 1, 2014 6,500 THB 10,000 THB 12,000 THB

350 USD 500 USD 600 USD Keynote Speakers: Prof. Dr. Fukai Bao Kunming Medical University, China

Prof. Dr. Friedrich Götz

University of Tübingen, Germany

Jennifer Jefferies

North Lakes QLD, Australia

Prof. Dr. Oliver Kayser

Technische Universität Dortmund, Germany

Prof. Dr. Krisana Kraisintu

6-8/05/2557

สถานวิจัยความเป็นเลิศด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมนำ�เสนอผลงานวิจัยในงาน ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 5th International Conference on Natural Product for Health and Beauty” (NATPRO 5) ในระหว่าง วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557 ณ Moevenpick Resort & Spa Karon Beach Phuket จังหวัดภูเก็ต

Rangsit University, Thailand

Prof. Dr. S. Karutha Pandian Alagappa University, India

Prof. Dr. Dr. Rolf G. Werner University of Tübingen, Germany

Prof. Dr. Pichaet Wiriyachitra

Chairman and CEO, Asian Phytoceuticals PCL

Organized by: Prof. Dr. Supayang P. Voravuthikunchai (Conference President) Natural Product Research Center of Excellence, Prince of Songkla University, Thailand Tel: +66 7428 8340 Fax: +66 7444 6661 E-mail: natpro5.2014@gmail.com www.natpro5.psu.ac.th

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 11

โดยผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่ http://www.natpro5.psu.ac.th/ หรือโทรศัพท์ 0 7428 8340


กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์� SCIENCE CALENDAR

10-12 / 06 /2557

ขอเชิญนักวิจัย คณาจารย์ ครูอาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วม การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 4 “วิทยาการในโลกของทะเล สีคราม Blue Ocean Science” วันที่ 10-12 มิถุนายน 2557 ณ ศูนย์ประชุม นานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าศึกษารายละเอียดหรือดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์การประชุม www.marinesci2014.psu.ac.th หรือสอบถามรายละเอียด ทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ 0 7428 8053

29-30 / 09 / 2557

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการ International Bioscience Conference ครั้งที่ 5 ซึ่ง เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ University of Novi Sad ประเทศเซอร์เบีย โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตรร่วมกันเป็นผู้จัดการประชุมในนามของมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ และกำ�หนดจัดโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The International Bioscience Conference 2014 and the 5th Joint International PSU-UNSBioscience Conference 2014” ภายใต้หัวข้อ “Achieving Sustainability through Integrated Sciences” ระหว่างวันที่ 29 – 30 กันยายน 2557 ณ โรงแรม Phuket Graceland Resort & Spa จังหวัดภูเก็ต ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดพร้อมลงทะเบียน ชำ�ระเงินค่าลงทะเบียน และส่งผลงาน ออนไลน์ได้ที่ www.ibsc2014.com หรือติดตามข่าวสารที่ Facebook https://www. facebook.com/ibsc2014

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 12


เล่าเรื่องประกันคุณภาพ� QUALITY ASSURANCE

เคล็ด(ไม่)ลับ...

การเลือกเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่มี “คุณภาพ” สถาบันการศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่มุ่งเน้นคุณภาพ และมาตรฐานของการจัดการศึกษา โดยได้กำ�หนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีการ ประเมินคุณภาพภายในทุกปีตามเกณฑ์การประเมินของสำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) และจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกทุก ๆ 5 ปี โดย สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อใช้เป็นกลไก ในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานในการตอบสนองภารกิจหลัก 4 ประการของ สถาบันการศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำ�นุบำ�รุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มี ผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอกอยู่ในระดับ ดี–ดีมาก ซึ่งผลการประเมินคุณภาพดังกล่าวสามารถสะท้อนภาพรวมของสัมฤทธิผล และเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพและมาตรฐานของคณะวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติงานในทุกมิติในรอบปีการศึกษานั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยคณะฯ ได้นำ�ข้อ คณะวิทยาศาสตร์ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 12 ด้านการวิจัย และจัดอยู่ในอันดับ เสนอแนะต่าง ๆ มาพิจารณา ปรับปรุง และแก้ไข เพื่อลดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ทำ�ให้ ที่ 14 ด้านการเรียนการสอน จากฐานข้อมูลของการจัดระดับมหาวิทยาลัย ผลการดำ�เนินงานมีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ไทยด้านการวิจัย (Research Ranking Indicators) และด้านการเรียนการ สอน (Teaching Ranking Indicators) จากมหาวิทยาลัยทั้งหมดของรัฐและ เอกชนประมาณ 200 แห่ง ภายใต้ “โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมิน ศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย” ของ สกอ. ปีล่าสุด 2549 – 2553 ซึ่งถือได้ ว่าเป็นคณะต้น ๆ ที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีศักยภาพทั้งในด้านการวิจัยและ ด้านการจัดการเรียนการสอน

นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ของเราก็ได้รับการจัดอันดับคุณภาพทาง วิชาการอยู่ในลำ�ดับที่ 4 ของประเทศ จากผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิง วิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดย สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ประจำ�ปี 2553 และมีอีกหลายภาควิชา ในคณะฯ ที่ได้รับการรับรองว่ามีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับดีมาก – ดีเยี่ยมด้วย สำ�หรับในปี 2554 ภาควิชาเคมียังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับดีเยี่ยมอีกครั้ง (จากมหาวิทยาลัยที่เข้าประเมินทั้งหมด 19 แห่ง) การเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ นอกจากจะใช้ข้อมูลของ ผลการประเมินคุณภาพภายใน และผลการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาแล้ว ยังมีอีกข้อมูลหนึ่งซึ่งมีความสำ�คัญมากในการช่วยให้เรา ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่เราสนใจ นั่นก็คือ เราควร ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลักสูตรที่เราสนใจเข้าศึกษาต่อนั้น เป็นหลักสูตรที่ได้รับ การรับรองจาก สกอ. หรือไม่ โดยเราสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของสำ�นัก มาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา (www.mua.go.th) เพียงแค่นี้ เราก็สามารถ ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่เราต้องการได้โดยไม่มีความเสี่ยง มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 13

“คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการรับรองจาก สกอ. แล้วทุกหลักสูตร”


ชวนคิดคุยงาน� HR Talks

HR กับการปรับตัวรับมือ AEC การเปิดเสรีแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2558 มีผลให้แรงงานใน 7 สาขา วิชาชีพ ได้แก่ งานทันตแพทย์ งานแพทย์ งานพยาบาล งานบัญชี งานวิศวกรรม งาน สถาปัตยกรรม และงานการสำ�รวจสามารถโยกย้ายได้อย่างเสรี เมื่อแรงงานในประเทศ และนอกประเทศสามารถโยกย้ายเข้าออกได้อย่างเสรีแล้ว HR ผู้มีหน้าที่ใน การบริหาร งานบุคคล ต้องมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง สำ�หรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้ องค์กร ข้ามชาติอาจเข้ามาแย่งพนักงานของคุณ หรือองค์กรคุณเองอาจเปิดรับชาวต่างชาติ เข้ามาทำ�งาน จึงควรมีการปรับกระบวนการทำ�งาน ปรับตัวทางด้านวัฒนธรรม พัฒนา ทักษะใน งาน HR พัฒนาศักยภาพของบุคลากรของเราให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งการรักษาคนเก่งไม่ให้สมองไหลออกไปยังต่างประเทศด้วย - ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทั้งโอกาส และอุปสรรคสำ�คัญของ คนไทยในการแข่งขันกับคู่แข่ง องค์กรจึงควรมีการพัฒนาบุคลากร ในด้านภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมคู่แข่ง และสามารถสื่อสารกับลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติได้อย่างราบรื่น - กระบวนการทำ�งาน หลายฝ่ายในองค์กรอาจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำ�งาน ส่ง ผลให้ตำ�แหน่งงานและคุณสมบัติของคนทำ�งานเปลี่ยนไป ซึ่ง HR จะ มีส่วนร่วมในการดูแลพนักงานให้สามารถทำ�งานได้อย่างมีศักยภาพ เหมาะสมกับตำ�แหน่งนั้น ๆ - วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เมื่อต่างชาติเข้ามาในไทย เขาจะนำ�เอาวัฒนธรรมบางอย่างเข้ามา ด้วย พนักงานจำ�เป็นต้องเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้แต่ความคิด และความเชื่อที่ แตกต่างกัน - วัฒนธรรมขององค์กร เมื่อกลายเป็นองค์กรแบบ Multi-Culture อาจมีวัฒนธรรมองค์กร บางอย่างที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื่องจากเป็นอุปสรรคในการทำ�งาน ร่วมกันของคนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม เช่น การจ่ายผล ตอบแทน หรือการเลื่อนตำ�แหน่ง ที่มองตามความอาวุโส แม้คนไทย ส่วนใหญ่จะชอบให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเปิดการค้าเสรีแล้ววัฒนธรรม นี้จะทำ�ให้คนเก่งแต่อาวุโสน้อยหนีหายไปจากองค์กรได้

- การรักษาคนให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ เมื่อองค์กรข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย เขาก็จะมองหาบุคลากร ท้องถิ่นที่มีความสามารถเข้าไปร่วมงานด้วย ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะ ได้เปรียบในเรื่อง การให้ค่าตอบแทน ที่สูงกว่าบริษัทคนไทย ทั้งยัง มีการจูงใจในเรื่องโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศอีกด้วย HR จึง ต้องพยายามทุกวิธีทางในการเก็บรักษาพนักงานคนเก่งไว้ให้ได้ หา จุดเด่นขององค์กร เช่น สวัสดิการ เพื่อนร่วมงาน บรรยากาศในการ ทำ�งาน งานที่ท้าทาย โอกาสก้าวหน้า และอื่น ๆ เพื่อดึงดูดพนักงาน เหล่านี้เอาไว้

สำ�หรับตัว HR เอง ต้องมองงานของตนให้กว้างขึ้น ในอนาคตองค์กรอาจรับชาวต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วย ดังนั้น HR อาจต้องดูแลเพิ่มในเรื่องของสวัสดิการของ พนั ก งานต่ า งชาติ ที่ อ าจจะต้ อ งมี เ พิ่ ม มากกว่ า คนไทย นอกจากนี้ HR ยังต้องเข้าใจถึงการเปรียบเทียบในเชิงต่าง ๆ เช่น ในเชิงการศึกษา หากมีชาวต่างชาติบอกว่าการศึกษา สูงสุดของเขา คือการสอบ GCE O Level ที่สิงคโปร์ HR ต้องเข้าใจว่า GCE O Level ของสิงคโปร์นั้นเทียบเท่ากับ มัธยม 6 ของเมืองไทย เป็นต้น ที่มา : คอลัมน์ HR Talks จดหมายข่าวรายเดือน Productivity Corner เมษายน 2555 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 13


คนเก่ง วิดยา� STAR OF SCIENCE

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนักวิจัยจากสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอ เซนเซอร์ กับรางวัล 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 1 special prize ในงาน “Seoul International Invention Fair (SIIF) 2013” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จากการส่งผลงานสิ่ง ประดิษฐ์จำ�นวน 3 ผลงาน ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์ของเกาหลี (Korea Invention Promotion Association; KIPA) ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2556

รางวัลระดับเหรียญทอง

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง “Novel cost-effective sorbent for toxic chemicals analysis” (ตัวดูดซับราคาประหยัดชนิดใหม่สำ�หรับการวิเคราะห์สารพิษ) ผู้ร่วมประดิษฐ์คิดค้น รศ.ดร. เพริศพิชญ์ คณาธารณา (หัวหน้าผู้ประดิษฐ์คิดค้น),รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร ผศ.ดร. จงดี ธรรมเขต, ดร.ภมรรัตน์ เกื้อเส้ง

รางวัลระดับเหรียญทอง

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง “Real time capacitive affinity sensor system” (ระบบคาพาซิทิฟแอฟฟินิตีเซนเซอร์แบบตรวจวัดตามเวลาจริง) ผู้ร่วมประดิษฐ์คิดค้น รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร (หัวหน้าผู้ประดิษฐ์คิดค้น), รศ.ดร. เพริศพิชญ์ คณาธารณา รศ.บุญเจริญ วงศ์กิตติศึกษา, รศ.ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล, ผศ.ดร. วรากร ลิ่มบุตร, ดร.อาภรณ์ นุ่มน่วม, ผศ.พรรณี อัศวตรีรัตนกุล, ผศ.ดร. จงดี ธรรมเขต, ผศ.ดร. ชิตนนท์ บูรณชัย, ดร.สุภาพร ดาวัลย์, ดร.สุชีรา ธนนิมิต

รางวัลระดับเหรียญเงิน และ รางวัลพิเศษ (special prize)

จากประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นรางวัลที่ต่างชาติ มอบให้กับผลงานวิจัยที่มีลักษณะเด่น ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง “Zinc Field Test Kit” (ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนาม) ผู้ร่วมประดิษฐ์คิดค้น ผศ. ดร. วรากร ลิ่มบุตร (หัวหน้าผู้ประดิษฐ์คิดค้น), รศ.ดร. เพริศพิชญ์ คณาธารณา, รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร, ผศ. อดุลย์ เที่ยงจรรยา

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 15


สถานีไอที� IT STATION

ICT-KorKai

Appication By ICT Department, Faculty of Science, PSU. View More By This Developer

สำ�หรับ IOS ค้นหาใน Google Play Store ได้เลยว่า ICT-KorKai หรือดาวน์โหลดที่นี่

Description

แอป ก กุ๊กไก่ คัดไทยหรรษา รุ่น 1.0 Beta รองรับ iOS 7.0 สามารถรันได้ทั้ง iPhone 4/4s/5/5s และ iPad 2, iPad 3 (Retina)

Free

Category: Games Updated: Feb 20, 2014 Version: 1.2.1 Size: 41.1 MB Language: English

สำ�หรับ Android ค้นหาใน Google Play Store ได้เลยว่า ICT ก กุ๊กไก่ คัดไทยหรรษา หรือดาวน์โหลดที่นี่

สำ�หรับระบบปฎิบัติการ Android ICT-KorKai รุ่น 1.2.1 แอป ก กุ๊กไก่ คัดไทยหรรษาพัฒนาโดยนักศึกษาสาขา ICT ปีการ ศึกษา 2556 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่น ทดลองสนับสนุนหมวด ก-ฮ ก่อนนะครับ รุ่นสมบูรณ์จะอัพโหลดใน เร็ว ๆ นี้ครับ แนะนำ�สำ�หรับผู้ปกครองครับ... แอปจะใช้งานได้ผลดีกับ อุปกรณ์ที่มีปากกา s pen รองรับ เช่น ตระกูล Galaxy note เพราะ เด็ก ๆ สามารถจับปากกาและวางมือคัดเสมือนคัดกับกระดาษได้ครับ อย่างไรก็ตาม ในรุ่น ๆ ต่อไป จะพัฒนาระบบสัมผัสเพื่อรองรับการคัด ลายมือที่สมบูรณ์มายิ่งขึ้นครับ

สามารถติดตาม App ใหม่ ๆ โดยสาขา ICT มูลเพิ่มเติม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ ข้อัปอเดต February 11, 2014

ขนาด 32M การติดตั้ง 1,000 - 5,000

http://ict.sci.psu.ac.th/new/ru.php หรือ เวอร์ชันปัจจุบัน 1.2.1 ต้องใช้แอนดรอยด์ 2.2 และสูงกว่า ประสานงานติดต่อ +6674-288680

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 16


แนะนำ�หลักสูตร� SCIENCE STUDY

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 17


แนะนำ�หลักสูตร� SCIENCE STUDY

เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาโท – เอก

ประจำ�ปีการศึกษา 2557 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต - กายวิภาคศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - คณิตศาสตร์และสถิติ - เคมี - เคมีศึกษา - เคมีอินทรีย์ - จุลชีววิทยา - ชีวเคมี - ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ - นิติวิทยาศาสตร์ - นิเวศวิทยา (นานาชาติ) - พฤกษศาสตร์ - สัตววิทยา - ฟิสิกส์ - ธรณีฟิสิกส์ - เภสัชวิทยา - วิทยาการคอมพิวเตอร์ - วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ - วัสดุศาสตร์ - สรีรวิทยา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต - เคมี - เคมีอินทรีย์ - จุลชีววิทยา - ชีวเคมี - ชีววิทยา - ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ - ฟิสิกส์ - ธรณีฟิกส์ - วิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) - วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ - สรีรวิทยา

ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เช่น - ทุนบัณฑิตศึกษาสงขลานครินทร์ - ทุนผู้ช่วยวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ (RA) - ทุนสนับสนุนการเดินทางไปทำ�งานวิจัยเพื่อ วิทยานิพนธ์ในต่างประเทศ - ทุนสนับสนุนการไปเสนอผลงานวิชาการ - ทุนผู้ช่วยสอน (TA) - ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ - ทุนสำ�หรับนักศึกษาต่างชาติ - ทุนศูนย์ความเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี - ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก - ทุนอุดหนุนการวิจัยของมูลนิธิการศึกษาเชล 100 ปี - ทุนราชกรีฑาสโมสร - ทุนสนับสนุนการศึกษา ตรี-โท, ตรี-เอก

เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาโท – เอก ประจำ�ปีการศึกษา 2557 รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ภาคการศึกษาที่ 1 ครั้งที่ 2 (เฉพาะบางสาขาวิชา) วันที่ 5 – 30 พฤษภาคม 2557 ตลอดปีการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2557 ตลอดปีการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2 วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 พฤศจิกายน 2557

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หน่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา และบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ โทร. 0 7428 8094 Fax. 0 7 444 6926 E-mail: sci-grad@group.psu.ac.th http://www.sc.psu.ac.th/units/graduate/ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 18


มองวิทย์� PSUSCI INSTAGRAM

pskhun

gollff_th

#PSUSCI

PSUSci

iddekfilm

gollff_th

PSUSci

khun

ISARAPAB CHUMRUKSA

iddekfilm

คอลัมน์นี้เป็นพื้นที่สำ�หรับภาพถ่าย INSTAGRAM สำ�หรับภาพถ่ายบรรยากาศใน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในมุมมองต่าง ๆ ใครอยากร่วม แชร์ภาพดังกล่าว แค่พิมพ์แท็ก #PSUSCI ก็สามารถลงวิทยาสารของคณะได้ทันที และสามารถติดตาม INSTAGRAM ของคณะวิทยาศาสตร์ได้ที่ PSUSCI มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 19


� อินไซต์ INSIGHT

ว่าด้วยเรื่องพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ดร.ทพ. ประกาศ สว่างโชติ หัวหน้าโครงการวิจัย� อาจารย์ประจำ�ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการ และพื้นที่ อนุรักษ์พันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ในโครงการปกปักพันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกัน ดำ�เนินงานมาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีใน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เน้นการดำ�เนินงานด้านวิชาการ การศึกษาทดลองวิจัยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรม การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลในการอนุรักษ์พันธุกรรมสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างจิตสำ�นึกในการอนุรักษ์พันธุกรรม สิ่งมีชีวิต โดยดำ�เนินกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืชกิจกรรมสำ�รวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช มีพื้นที่ดำ�เนินงาน 400 ไร่ ภายในมหาวิทยาลัย และได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์และห้ามตัดไม้และจับสัตว์ ปัจจุบันพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น และพบว่ามีพันธุ์ไม้ หายากที่ขึ้นในป่ากึ่งดิบชื้นและพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นขึ้น อาทิ จิกคอหงษ์ และจำ�ปาขอม นอกจากนี้ ยังมีนก และสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำ�นวนมาก มีนักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาหาความรู้ ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ พร้อมจัดทำ�ป้ายบอกชื่อและชนิดของพรรณไม้โดยมี รองอธิการบดี, คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ , ดร.ทพ. ประกาศ สว่างโชติ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคอหงส์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชน เฝ้ารับเสด็จฯในครั้งนี้ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 20


� อินไซต์ INSIGHT

พื้นที่​่เขาคอหงส์.....

พื้นที่​่เขาคอหงส์..... ข้อมูลโดย http://www.rakkhaokhohong.psu.ac.th/

เขาคอหงส์ตั้งอยู่ในอำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ครอบคลุมตำ�บลคอหงส์ และตำ�บลทุ่งใหญ่ มียอดสูงอยู่สองยอด ยอดที่สูงที่สุดเรียกว่าเขาคอหงส์ สูงประมาณ 371 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล และยอดที่เรียกว่าเขาชุมสัก สูงประมาณ 325 เมตร เหนือระดับน้ำ�ทะเล (Maxwell, 2006) ข้อมูลจากสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่วิเคราะห์จากข้อมูล ดาวเทียม Landsat 7 พ.ศ. 2549 ระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม่ผลัดใบ 2.37 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,480.46 ไร่ และ ป่าไม่ผลัดใบเสื่อมสภาพ 1.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,144.01 ไร่ สำ�หรับพื้นที่ทั้งหมดของเขตเขาคอหงส์ที่เป็นที่สาธารณะและที่เป็นสวนยางนั้นยัง ไม่มีการวิเคราะห์ที่ชัดเจนเนื่องจากปัญหาของการครอบครองที่ไม่มีความชัดเจนในแง่ ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม Maxwell (2006) ระบุว่าเขาคอหงส์มีพื้นที่โดยประมาณ 13 กิโลเมตร (โดยไม่มีข้อมูลว่าใช้หลักเกณฑ์ใดในการประมาณ) สภาพพื้นที่ป่าที่สถาน วิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์นั้น ยังอาจจัดจำ�แนกสังคมพืชในพื้นที่ทั้งสองอย่าง ละเอียดได้อีกเพื่อประโยชน์ในการวิจัยด้านต่าง ๆ สืบเนื่องจากการดำ�เนินงานทั้งสาม โครงการดังกล่าว พบว่าปัญหาสำ�คัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณรอบเขาคอหงส์ คือ มีผู้ บุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่ปกปักฯ เพื่อตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ ทำ�สวนยางพารา และล่าสัตว์ ซึ่ง เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ นอกจากนี้ พื้นที่ปกปักฯ นี้ไม่มีหลักเขตที่แน่นอน ทางกฎหมาย ทำ�ให้มีความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกมากยิ่งขึ้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลก ระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย รวมถึง บริการทางนิเวศวิทยาที่มีคุณค่าต่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ การดำ�เนินมาตรการอนุรักษ์ พื้นที่ปกปักฯของมหาวิทยาลัยฯ

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 21

จะบรรลุผลสำ�เร็จได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาสำ�คัญดังกล่าว ร่วมกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่เขาคอหงส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งตระหนักถึง ปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพการสร้างมาตรการเบื้องต้น ในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและป่าไม้ของชุมชน และเป็นการเริ่มต้น สร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน เมื่อกลางปี 2551 พิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “อนุรักษ์ คอหงส์ชีวาลัย เทิดไท้องค์ราชัน” เพื่อสร้างจิตสำ�นึก รวมทั้งตระหนักถึงปัญหา การสูญเสียพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างมาตรการเบื้องต้นในการ แก้ปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและป่าไม้ของชุมชน และเป็นการเริ่มต้นสร้าง เครือข่ายความร่วมมือในชุมชนผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่โดยรอบ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่ายเสนาณรงค์ ครูและนักเรียน กลุ่มอนุรักษ์ในท้องถิ่น พระสงฆ์ ประชาชนที่สนใจและสื่อมวลชน รวมทั้งบุคลากรใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลจากการสัมมนาครั้งนั้นคือ ผู้เข้าร่วมฯ เกิดการพัฒนา ความเข้าใจพื้นฐานร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาสำ�คัญของเขาคอหงส์ และมีการกำ�หนดเป้า หมายและมาตรการในการอนุรักษ์ รวมทั้งผู้เข้าร่วมฯ จำ�นวนหนึ่งได้พยายามรวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นคณะทำ�งาน เพื่อดำ�เนินงานตามแนวทางที่ได้จากการเสวนา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการทำ�หน้าที่ตามบทบาทที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พึงมีในด้านวิชาการ เช่น การ จัดทำ�โครงการวิจัย การพูดคุยปรึกษาหารือกับตัวแทนกลุ่มและหน่วยงานต่าง ๆ และ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาของเขาคอหงส์ เป็นต้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะสถาบันวิชาการที่มีบทบาทสำ�คัญโดยตรงในการ ดูแลเขาคอหงส์ร่วมกับชุมชน รวมทั้งมีบทบาทสำ�คัญในฐานะผู้จุดประกายความคิดให้ เกิดเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ “ร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ ชีวาลัย” เมื่อกลางปี 2552 เพื่อทำ�หน้าที่ในการขับเคลื่อนให้เกิดการระดมพลังจากภาคี ในภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมกันกำ�หนดเป้าหมาย แนวนโยบาย และมาตรการที่ชัดเจน เกี่ยวกับการอนุรักษ์เขาคอหงส์ในระยะยาว


� อินไซต์ INSIGHT

ใน พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำ�หนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง เพื่อขอรับสนอง พระราชดำ�ริ และถวายสิทธิการใช้พื้นที่ดินบนเขาคอหงส์ จำ�นวน 400 ไร่ เพื่อสนองพระราชดำ�ริและสนับสนุน การดำ�เนินงานตามกิจกรรมปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นแหล่งที่ใช้ในการศึกษาและอนุรักษ์พันธุกรรม พืชและสิ่งมีชีวิตในเขตภูมิภาคภาคใต้ ในการนี้ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับผิดชอบโครงการ 3 โครงการ คือ 1) โครงการพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ 2) โครงการทางเดินศึกษาธรรมชาติในพื้นที่ปกปักเขาคอหงส์ 3) โครงการฝึกอบรมตามกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

โครงการพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ พื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่ป่ายางพาราเก่าบางส่วนบนเขาคอหงส์ในอาณาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่รับ น้ำ�ที่สำ�คัญของอ่างเก็บน้ำ�มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อนึ่งป่ายางพาราที่มีอยู่นี้มหาวิทยาลัยได้ขอความร่วมมือจากผู้เข้ามาใช้ประโยชน์ห้ามตัดฟัน หรือปลูกใหม่ ดังนั้น พื้นที่ดังกล่าวกำ�ลังมีการเปลี่ยนแปลงและการฟื้นสภาพสังคมสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้พื้นที่ป่าแห่งนี้ยังมีพรรณไม้ธรรมชาติดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ เช่น ต้นกฤษณา ต้นรักป่า ต้น หลุมพอ ต้นตะเคียน ฯลฯ รวมทั้งต้นยางพารา ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง สะตอ เหรียง ซึ่งน่าสนใจปกปักแหล่งพันธุกรรมพืชแห่งนี้และสมควรติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลง สภาพป่า จึงสมควรที่จะต้องอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิจารณาแล้วเห็นสมควรถวายสิทธิการใช้พื้นที่ดินบนเขาคอหงส์ จำ�นวน 200 ไร่ เพื่อสนองพระราชดำ�ริและสนับสนุนการดำ�เนินงานตามกิจกรรมปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นแหล่งที่ใช้ในการศึกษาและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสิ่งมีชีวิตใน เขตภูมิภาคภาคใต้ รวมทั้งติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมพืชและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ป่ายางที่ถูกปล่อยร้างและมีการทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูล ที่สำ�คัญทางวิชาการรวมทั้งประชาชนทั่วไป จะได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ตามความต้องการ นอกจากการปกปักดูแลพื้นที่แล้วมหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมสนับสนุนอย่าง อื่นซึ่งพื้นที่ปกปักทั้งหลายควรทำ�หน้าที่เป็นแหล่งวิทยาการสำ�หรับผู้สนใจ เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้สาธิตของมหาวิทยาลัยแก่นักศึกษาและนักเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงที่ สนใจ ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสรรพคุณและการใช้ประโยชน์ สำ�หรับโครงการพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อปกปัก และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มีอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่ปกปักเขาคอหงส์ 2. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในเขตป่าที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนเมือง โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงในเขต ป่าสงวนและ 3.เพื่อสนองพระราชดำ�ริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำ�ริฯในแผนงานสร้างจิตสำ�นึกในการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 22


อินไซต์ INSIGHT

โดยอีกหนึ่งท่านที่มีบทบาทสำ�คัญสำ�หรับโครงการพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ นั้นคือหัวหน้าโครงการ อาจารย์ประกาศ สว่างโชติ ผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการขับเคลื่อนโครงการไปข้างหน้า พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ การอนุรักษ์พื้นที่เขาคอหงส์ ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการส่ง เสริมเยาวชนให้หันมาอนุรักษ์และให้ความสำ�คัญต่อสิ่งเเวดล้อม เรามาทราบถึงเเนวความคิดของท่านทั้งในเรื่องโครงการและเเนวทางการพัฒนา พื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ในอนาคต การดำ�เนินงานในโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์และอนุรักษ์พันธุกรรม พืชฯ ได้รับความร่วมมืออย่างไร ที่ผ่านมา เกือบ 5 ปี มีความร่วมมือหลายระดับ ตั้งแต่องค์การการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองคอหงส์ อบต. ทุ่งใหญ่ หน่วยงานราชการนอก มหาวิทยาลัย เช่น ค่ายเสนาณรงค์ สำ�นักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ�สวนยาง โรงเรียน ของรัฐและเอกชน วัด หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเอง ที่ทำ�หน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสิ่ง แวดล้อมและกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาที่ว่าด้วยจิตสาธารณะ เช่น จิตอาสา ของคณะ ทันตแพทย์ฯ วิชากิจกรรมเสริมหลักสูตรของคณะวิทย์ฯ และชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ คณะแพทย์ฯ ภาคส่วนธุรกิจเอกชน เช่นสภาอุตสาหกรรม สื่อมวลชน เช่น สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท ช่อง 11 ช่องเคเบิ้ล93 สถานีวิทยุท้องถิ่นหลากหลายรายการ เช่น วิทยุ มอ. โรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงกลุ่มบุคคลและปัจเจกบุคคล ความร่วมมือในทุกระดับที่ผ่าน มาก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความ สำ�คัญของเขาคอหงส์ ความจำ�เป็นในการอนุรักษ์ และ ก่อให้เกิดจิตสำ�นึกและความร่วมมือในการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตามความยั่งยืนในการอนุรักษ์ อันเกิดจากความร่วมมือในชั้นต้นนี้ ยังเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามอีกมากในการขับเคลื่อน ให้เกิดขึ้น

การทำ�งานของคณะทำ�งานที่รักในเรื่องเดียวกัน เป็นอย่างไรบ้าง

อุดมการณ์และชุดความคิดเป็นเรื่องสำ�คัญที่พาเรามาทำ�งานด้วยกัน ประกอบกับการทำ�งาน ครั้งนี้ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าด้านใด จึงทำ�ให้การทำ�งานราบรื่นเสมอ มา อย่างไรก็ตามเป็นความจริงอย่างยิ่งว่า การทำ�งานกับคนและการศึกษาคนเป็นเรื่องที่ทำ� ควบคู่กันไป เนื่องจากเราต่างก็มีทุนความคิดและรุปแบบการทำ�งานที่มีความต่างกันอยู่บ้าง ดังนั้นจึงไม่เป็นเรื่องแปลกอะไร ที่เราทุกคนต้องปรับตัวเข้าหากันและพยายามทำ�ความเข้าใจ และให้เกียรติกัน มีปัญหาก็ต้องพูดกันให้กระจ่าง ที่เหลือนอกนั้นก็เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถ เลือกได้ว่าจะทุ่มเทให้งานนี้แค่ไหน อย่างไร เพราะทุกคนเป็นอาสาสมัครภายใต้ภาระกิจการ เรียนการสอนที่เป็นงานประจำ�ที่มีมากอยู่แล้ว

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 23


อินไซต์

ที่ผ่านมาผลของการทำ�โครงการเป็นไปตามที่ต้องการแล้วหรือไม่

INSIGHT

โครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ กำ�หนดยุทธศาสตร์การดำ�เนินงานไว้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1 วิจัย 2 สร้างเครือข่ายอนุรักษ์ 3 รณรงค์ให้เกิดความตระหนักและความร่วมมือ และ 4 สร้างความยั่งยืนในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดย ยุทธศาสตร์ที่ 4 นี้ขับ เคลื่อนโดยสามยุทธศาสตร์ย่อย 4.1 สร้างนโยบายการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4.2 การสร้างและส่งเสริมการใช้หลักสูตรสาระท้องถิ่นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติเขาคอหงส์ และการอนุรักษ์ และ 4.3 สร้างเครือข่ายสวนยางพาราแบบวนเกษตรเพื่อพื้นฟูระบบนิเวศ บนเขาคอหงส์และเป็นเป็นพื้นที่กันชนรอบเขาคอหงส์ เมื่อถามว่าการดำ�เนินงานที่ผ่านมา เป็นไปตามความต้องการหรือไม่ ก็อาจตอบได้ว่าเป็นไปตามความต้องการประมาณ 90% แต่เมื่อถามว่ามีความต้องการในอนาคตหรือไม่ ก็ตอบว่า ยุทธศาสตร์ทั้งหมดยังต้องการการ ขับเคลื่อนต่อไป แต่ในระยะหลัง การขับเคลื่อนเรื่องเครือข่ายและการรณรงค์เราทำ�น้อยลง เพราะคิดว่าไม่ใช่สิ่งสำ�คัญในลำ�ดับต้นๆ อีกแล้ว แต่ไปเน้นการดำ�เนินการ 3 ยุทธศาสตร์ ย่อยในการสร้างความยั่งยืนเรื่องการอนุรักษ์ สำ�หรับ 4.1 การสร้างนโยบายการอนุรักษ์ กำ�ลังดำ�เนินการอยู่ภายใต้การทำ�วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสองชิ้น คาดว่าจะเสร็จ ภายในปี พ.ศ. 2558-2559 หลังจากนั้นก็มีความจำ�เป็นต้องมีการศึกษาถึงการนำ�นโยบาย ดังกล่าวไปบริหาร จัดการ ซึ่งผมมองว่าหน่วยงานที่น่าเข้ามาดูแลคือคณะการจัดการสิ่ง แวดล้อม (วิจัย) ร่วมกับ สำ�นักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ที่ ดูแลพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ ของมหาวิทยาลัย (ประสานงานร่วมกับคณะ การจัดการสิ่งแวดล้อม) และสำ�นัก วิจัยและพัฒนาที่สนับสนุนงบประมาณการวิจัยภาย ใต้นโยบายเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ ที่สำ�คัญ หากมหาวิทยาลัยมีนโยบายเรื่องนี้ชัดเจนและ ดึงหน่วยงานเหล่านี้เข้ามาทำ�งานร่วมกัน โอกาสที่จะประสบความสำ�เร็จและสามารถเป็น กรณีศึกษา เรื่องการอนุรักษ์ป่าในเมือง (conservation of urban forest) โดยการนำ�ของ มหาวิทยาลัยได้อย่างดี เรื่อง 4.2 การสร้างและส่งเสริมการใช้หลักสูตรสาระท้องถิ่นดำ�เนิน การมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน รวม 4 ปี ทดลองใช้กับโรงเรียน 15 แห่ง โดยมี 4 แนวทาง คือ การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน (8 กลุ่มสาระหลัก) การจัดการเรียนรู้โดยจัดทำ�เป็นรายวิชาเพิ่มเติม การจัดการเรียนรู้ในรูป แบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PBL) มีเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเขาคอหงส์แล้ว รวมจำ�นวนประมาณ 1,500 คน และยังได้โยงกิจกรรมไปยังยุทธศาสตร์ สวนยางพาราแบบวนเกษตรด้วย มีโรงเรียนที่นำ�เนื้อหาการวิจัยและรูปแบบกิจกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง เช่น โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ โรงเรียน ท1 มีการทำ�ผลงานเพื่อเลื่อน วิทยฐานะ โดยการบรรจุเรื่องการอนุรักษ์เขาคอหงส์ไว้เป็นหน่วยการเรียนรู้ นอกเหนือจาก โรงเรียนแล้ว มอ. เองก็มีหน่วยงานที่ต้องประยุกต์เรื่องเขาคอหงส์เข้าไปในการเรียนการ สอนได้เช่นเดียวกันดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น สำ�หรับอนาคต ที่โครงการร่วมอนุรักษ์เขา คอหงส์จะหยุดดำ�เนินงานนั้น หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องการนัก วิชาการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน ก็สามารถประสานงานมาที่ พิพิธภัณฑสถาน ธรรมชาติวิทยา 50 พรรษาสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ เนื่องจาก เป็นหน่วยงานที่ดำ�เนินกิจกรรมร่วมกับโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ มาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหน่วยงานที่มีนโยบายสนับสนุนให้มีกิจกรรมธรรมชาติศึกษาอยู่แล้ว ประเด็นของ 4.3 สร้างเครือข่ายสวนยางพาราแบบวนเกษตรนั้น สองปีที่ดำ�เนินการ (2555-2556) มี เกษตรกรใน 6 หมู่บ้านของตำ�บลทุ่งใหญ่ เข้าร่วม 66 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่สวนยางพารา 418.93 ไร่ ปลูกเป็นพื้นที่นำ�ร่องแล้ว 47 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่สวนยางพารา 208.43 ไร่ พันธุ์ไม้ที่ปลูกมีทั้งสิ้น 39 ชนิด ปลูกมากที่สุดคือ ต้นตะเคียนทอง 3,268 ต้น รองลงมาคือ ต้นพะยอม 1,340 ต้น และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 8,354 ต้น ขณะนี้มีชุมชนมีความ เข้มแข็งมากขึ้นทั้งแนวคิดและรูปแบบกิจกรรม นอกเหนือจากการขยายพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น ในสวนยางแล้ว ขณะนี้มีแนวคิดเรื่องการตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายสวนยางพาราแบบ วนเกษตร ที่ หมู่ 6 ตำ�บล ทุ่งใหญ่ (โดยความร่วมมือของเครือขายในอีก 5 หมู่บ้าน) เพื่อ เผยแพร่แนวความกิจและร่วมทำ�กิจกรรม เพื่อผลิตและจำ�หน่ายสินค้าเกษตรที่มาจากสวน ยางพาราแบบวนเกษตร แสดงถึงการรับมือกับวิกฤตความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม เมื่อโครงการร่วมอนุรักษ์ฯ หยุดดำ�เนินงานจะมีงานวิจัยต่อเนื่องเรื่องการสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายสวนยางพาราแบบวนเกษตร ซึ่งจะเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า ประเด็นนี้จะ ได้มีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง

การดำ�เนินการในอนาคตของโครงการฯ เป็นอย่างไร

เนื่องจากงานของโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นงาน อาสาสมัครของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่อาสาสมัครมาช่วย เดิมทีผมรับผิดชอบ โครงการพื้นที่อนุรักษ์นี้ในนาม พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราช กุมารี คณะวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากการอนุรักษ์เขาทั้งลูกต้องอาศัยกิจกรรมการวิจัย การ สร้างเครือข่ายและการรณณรงค์กับชุมชน ซึ่งเนื้องานเช่นนี้ พิพิธภัณฑ์ฯ ไม่สามารถตอบ สนองได้ทั้งนโยบายและงบประมาณ อีกทั้งหน่วยงานอย่าง สำ�นักงานประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งดูแล พื้นที่นี้ร่วมอยู่ด้วยก็ยังไม่ได้คิดไปถึงขนาดนั้น ผมซึ่งทำ�งานในพื้นที่จึงเริ่มพูดคุยกับเพื่อน นักวิชาการในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และทำ�งานภายใต้โครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ มาจนวันนี้ อย่างที่บอกว่างานนี้เป็นงานอาสาสมัคร ดังนั้นย่อมมีวันจบโครงการ เนื่องจาก นักวิชาการหลายท่านมีภารกิจด้านการเรียน การสอนของตน รวมทั้งงานบริหาร อาสา สมัครที่มาทำ�งานก็ต้องมองหาอนาคตของตนเองที่มั่นคงดังนั้นเรื่องงานอนุรักษ์ในอนาคต จึงเป็นภาระของมหาวิทยาลัยที่ต้องสร้างและมอบหมายนโยบายรวมทั้งงบประมาณในการ ดำ�เนินงานในพื้นที่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสองหน่วยงานดังกล่าว หรือแม้กระทั่งการ คิดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ดูแลสิ่งสิ่งแวดล้อม เช่น หน่วยงานมหาวิทยาลัยสีเขียว (Department of Green Campus) ซึ่งเคยมีกรรมการและผมเป็นหนึ่งในนั้น แต่กรรมการชุดก็ ไม่สามารถขับเคลื่อนอะไรได้มากเนื่องจากปัญหาใหญ่ของความไม่ต่อเนื่องที่เอาภาระนี้ไป ผูกติดกับผู้บริหารระดับผู้ช่วยหรือรองอธิการซึ่งเป็นวาระทางการเมือง และปัญหาที่ใหญ่ กว่าก็คือ มหาวิทยาลัยไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจัง อันที่จริงกรอบงานที่เราทำ�มาภายใต้ โครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ ค่อนข้างชัดเจน แต่เป็นงานที่หนักมาก ภายใต้งบประมาณ ที่โครงการจัดหาเองและมีอย่างจำ�กัด หากจะมีการถ่ายโอนภารกิจกับหน่วยงานที่มีอย่าง เป็นทางการก็สามารถจะทำ�ได้

ธันวาคม 56 - กุมภาพันธ์ 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 26 มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 24


อินไซต์ INSIGHT

บุคคลทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมกับโครงการได้อย่างไร

เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงระบบนิเวศเกษตรที่ เกี่ยวข้องกับป่าไม้ เช่นการทำ�สวนยางพาราแบบวนเกษตร การส่งเสริมมีการใช้หลักสูตร ท้องถิ่นเรื่องเขาคอหงส์ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่นการเดินป่าศึกษาความสำ�คัญ ของระบบนิเวศ ศึกษาพืชและสัตว์ ดังนั้นการมีส่วนร่วมจึงมีความหลากหลายรูปแบบเช่น เดียวกัน หากวันใดที่คุณรู้สึกว่ามีความจำ�เป็นที่ต้องอนุรักษ์เขาคอหงส์ หรืออนุรักษ์ป่า ที่ไหน หรือแม้กระทั่ง ห้วย หนอง คลองบึง แม่น้ำ� ทะเลสาบ แค่ความรู้สึกเช่นนี้ คุณก็มี ส่วนร่วมแล้ว แต่ถ้าหากคุณลงมือปลูกต้นไม้ในที่ของคุณ ในสวนยางของคุณ คุณก็ยิ่งมีส่วน ร่วมในอุดมการณ์นี้ขึ้นมาอีกระดับ หากคุณเป็นผู้ให้การศึกษาในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือการศึกษาในรูปแบบอื่นๆ แล้วคุณรู้สึกว่าเรื่องเขาคอหงส์เป็นเรื่องสำ�คัญที่ต้องบรรจุ เข้าไปในเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนและลงมือทำ�ได้ นั่นแสดงว่าคุณมีส่วนร่วม แล้ว หลายคนเมื่อมีความคิด ก็เข้ามาเป็นอาสาสมัครทำ�งานในโครงการ เช่นทำ� website เป็นอาสาสมัครพาเดินป่า และหลายคนก็มาร่วมกิจกรรมเดินป่า และ/หรือ กิจกรรมค่าย เยาวชนอนุรักษ์เขาคอหงส์ ผมจึงขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนผลักดันให้โครงการมี ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านเเละผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

ปรากฏการณ์ด้านภัยพิบัติอย่าง polar vortex และอากาศที่แปรปรวนมากๆ ในต้นปี 2557 นี้ ค่อนข้างแน่ชัดว่าสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน และโลกร้อนก็สัมพันธ์กับต้นไม้และ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ทำ�ให้จำ�นวนต้นไม้ลดลง พร้อมๆ ไปกับการสร้างก๊าซเรือน กระจกผ่านกิจกรรมการบริโภคที่มากขึ้นโดยความพยายามสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความร้อนไม่ใช่ปัญหาเดียวที่มีอยู่ เพราะมันสามารถนำ�ปัญหาอีกนานัปการที่บั่นทอน ความอยู่ดี กินดีของมนุษย์ให้ตามมา เรื่องเขาคอหงส์เป็นเพียงจิ๊กซอแผ่นเล็กๆ แผ่นเดียว เท่านั้น หากเปรียบการอนุรักษ์เขาคอหงส์เป็นการเย็บแผลที่มีอยู่ทั่วร่างกาย มันก็เป็นแค่ การเย็บเข็มเดียวหรือไม่ก็แค่การตระหนักรู้ว่าเรามีบาดแผล ดังนั้นการเข้าร่วมโครงการที่ดี ที่สุดในครั้งนี้คือการเข้าร่วมอุดมการณ์ การอนุรักษ์เป็นงานชั่วชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ในโลกที่ สถานการณ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เดินมาถึงขีดจำ�กัด การอนุรักษ์จึงมิใช่แค่ความ รู้สึกผิด ชอบ ชั่วดี แค่เป็นการไม่ทำ�ผิด แต่ทำ�ชอบ ไม่ทำ�ชั่ว แต่ทำ�ดี การอนุรักษ์มิใช่แค่ สำ�นึกว่าปลูกต้นไม้น่ะดี แต่เป็นการลงมือปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์มิใช่แค่รู้สึกว่าวิถีชีวิตที่ กลมกลืนกับธรรมชาตินั้นดี แต่ต้องพยายามคิดและทำ�ด้วยตนเอง เช่นวิถีเกษตรสวนยาง แบบวนเกษตรดี ก็ต้องลงมือทำ� วิถีชาวเมืองกับการอนุรักษ์ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเมือง มันดี ก็ต้องมีมาตรการที่เป็นจริงเป็นจังและทำ�โดยเร็ว.............เลิกพูดแต่ว่า ปลูกต้นไม้ในใจ คน ได้แล้ว แต่ต้องเลิกตัดต้นไม้โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ เริ่มพากันไปปลูกต้นไม้สักต้นด้วย มือของท่าน ในที่ของท่าน แล้วต้นอื่นๆ จะตามมา

ผู้ที่สนใจโครงการสามารถติดต่อได้ทางไหน

เนื่องจากโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์จะจบลงในเดือน มีนาคมนี้ (กิจกรรมยังมีอย่าง ต่อเนื่องจนสิ้นเดือน) ผมคงไม่มีที่ติดต่ออย่างเป็นทางการในนามโครงการ แต่จะบอกว่า สถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ แต่หากท่านต้องการเดินป่าศึกษาธรรมชาติแบบกลุ่มเล็กๆ อย่างไม่เป็นทางการก็ สามารถติดต่อผมได้ ที่ 0814854145 ครับ

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 25


อินไซต์ INSIGHT

“การอนุรักษ์ จึงมิใช่แค่ความรู้สึก ผิด ชอบ ชั่วดี แค่เป็นการไม่ทำ�ผิด แต่ทำ� ชอบ ไม่ทำ�ชั่ว แต่ทำ�ดี การอนุรักษ์มิใช่แค่ สำ�นึกว่าปลูกต้นไม้น่ะดี แต่เป็นการลงมือ ปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์มิใช่แค่รู้สึกว่าวิถี ชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาตินั้นดี แต่ ต้องพยายามคิดและทำ�ด้วยตนเอง” ดร.ทพ. ประกาศ สว่างโชติ หัวหน้าโครงการวิจัย�

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 26


� กิจกรรมนักศึกษา� SCIENCE FOR SOCIETY

กิจกรรม Walk rally in Penang

วันที่ 10 ธันวาคม 56 หน่วยกิจการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ์ได้จัดกิจกรรม Walk rally in Penang ณ ประเทศมาเลเซีย โดยผู้เข้าร่วมโครงการคือผู้นำ�นักศึกษาสโมสร /ชุมนุมของคณะวิทยาศาสตร์ จำ�นวน 46 คน กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียน รู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้านในรูปแบบของกิจกรรม ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษใช้ชีวิตประจำ�วันพัฒนา ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ฟัง พูด อ่าน เขียน และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ นอกสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกิจกรรม ในครั้งนี้สร้างความสนุกสนามและความประทับให้กับผู้เข้าร่วมเป็นอย่างยิ่งแล้วนักศึกษายัง ได้มิตรภาพและประสบการณ์กลับมาด้วย โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการคือผู้นำ�นักศึกษาสโมสร/ชุมนุมของคณะ วิทยาศาสตร์ จำ�นวน 46 คน ได้ทำ�กิจกรรมในสถานที่สำ�คัญ และสถานที่ท่องเที่ยวสำ�คัญ ๆ ในปีนัง เช่น จอร์จทาวน์ (George Town), ป้อมปราการคอร์นเวลลิส (Fort Cornwallis) , พิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์รัฐปีนัง, วัดเค็ก ลก ซี, ปีนังฮิลล์ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 27


กิจกรรมนักศึกษา� SCIENCE FOR SOCIETY

เปิดกระปุกออมสินเพื่อน้อง ครั้งที่ 10 คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดงานเปิดกระปุกออมสินเพื่อ น้อง ครั้งที่ 10 ประจำ�ปี 2556 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้อง L1 ศูนย์ปาฐกถา ประดิษฐ เชยจิตร คณะวิทยาศาสตร์ ใน งานได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ คณบดีคณะ วิทยาศาสตร์และประธานกองทุนคณะฯ กล่าวเปิดงานพร้อมทั้งรับ มอบกระปุกออมสินจากสมาชิกกระปุกออมสิน ศิษย์เก่า และผู้มีจิต อันเป็นกุศล ซึ่งในปีนี้มีสมาชิกร่วมงานจำ�นวน 42 คนและยอดเงิน บริจาครวมทั้งสิ้น 271,551.25.-บาทโดยคุณมนตรี ภู่พิชญญาพันธุ์ นายกสมาคมฯได้ส่งมอบเงินให้กับประธานกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ต่อไป นอกจากนี้มีการเสวนาพิเศษ โดย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวข้อเรื่อง “เก่งและดีได้ ไร้ขีดจำ�กัด” โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมงานจำ�นวน 422 คน คณะวิทยาศาสตร์ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมกันบริจาคเงินเข้า กองทุนคณะวิทยาศาสตร์ในครั้งนึ้ค่ะ แล้วพบกันใหม่ปีหน้านะค่ะ หมายเหตุ : ท่านสามารถติดตามดูภาพเหตุการณ์การจัดงาน และ VDO บันทึกการเสวนา “เก่งและดีได้ ไร้ขีดจำ�กัด” ได้ที่ http://www.facebook.com/pages/กระปุกออมสินเพื่อน้อง ............................................................................................................ อนึ่ง หากท่านมีความประสงค์ จะบริจาคเงินเข้ากองทุนกระปุก ออมสินเพื่อน้อง ครั้งที่ 10 สามารถโอนเงินเข้า บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 565 –2-18810-7 ชื่อบัญชี “กองทุนคณะวิทยาศาสตร์” ธนาคารไทย พาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และส่ง สำ�เนาการโอนเงินมายังหน่วยกิจการนักศึกษา โทรสาร0-7444-6927 หรือ E-mail : panika.s@psu.ac.th ............................................................................................................ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 28


� วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

กิจกรรมชีววิทยาสัญจรครั้งที่ 5

ณ โรงเรียนวัดจันทน์ อำ�เภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

วันที่ 31 พฤศจิกายน /ถ56 ชุมนุมชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัด กิจกรรมชีววิทยาสัญจรครั้งที่ 5 ขึ้น ณ โรงเรียนวัดจันทน์ อำ�เภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยผู้เข้าร่วม โครงการคือคณะกรรมการและสมาชิกชุมนุมชีววิทยา (bioclub) ของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะครู นักเรียนโรงเรียนวัดจันทน์ รวมทั้งสิ้น 79 คน กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ออกไปบำ�เพ็ญ ประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยการจัดกิจกรรมวิชาการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่น้องๆนักเรียน สร้าง แรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้กับน้องๆและร่วมกันพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วย ตนเองสำ�หรับน้องๆ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้สร้างความประทับใจและปลื้มปิติให้กับผู้เข้าร่วมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้นักศึกษายังได้ มิตรภาพความสามัคคีในหมู่คณะและประสบการณ์กลับมาด้วย กิจกรรมในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาดำ�เนินการเพียง 1 วัน โดยครึ่งวันเช้า นักศึกษาจะนำ�ทีมนักเรียน ร่วมกันพัฒนาห้องสมุด และจัดสวนสมุนไพร ส่วนในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมฐานวิชาการโดยนักศึกษาได้ นำ�กล้องจุลทรรศน์และตัวอย่างสัตว์ที่ใช้จริงในการเรียนไปจัดฐานให้แก่น้องๆ สร้างความตื่นเต้นและ สนุกสนานให้แก่ น้องๆผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก ในตอนท้ายยังได้ร่วมกันเล่นกีฬาสานสัมพันธ์และ นักศึกษามอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้กับโรงเรียน ก่อนเดิน ทางกลับโดยสวัสดิภาพ มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 29


� วิดยาสู่สังคม� SCIENCE FOR SOCIETY

ตัวอย่างกิจกรรม 1. กิจกรรมสวนพฤษศาสตร์น้อย จัดทำ�ป้ายพฤษศาสตร์ให้กับโรงเรียน โดยประกอบด้วยชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวงศ์ และแผ่น ป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของพืชนั้น เพื่อให้ นักเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้และรู้จักพืชพรรณต้นไม้ ในโรงเรียนของตนเองมากขึ้น และทราบว่าจะนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร 2. กิจกรรมฟื้นฟูห้องสมุด ทำ�ความสะอาดห้องสมุด จัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่ และจัดมุมนั่งอ่านหนังสือ สร้างบรรยากาศให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ เพื่อให้ ห้องสมุดสะอาดเป็นระเบียบ มีหนังสือมากขึ้น บรรยากาศน่าเข้าไปใช้บริการ 3. กิจกรรมตลาดนัดวิชาการ เพื่อให้ จัดกิจกรรมฐานให้ดูเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายผ่านกล้องจุลทรรศน์ ดูแมลง และกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้ น้องนักเรียนมีความสนใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น และมีทัศนคติที่ดีใน การเรียนวิทยาศาสตร์

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 30


เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์� AROUND THE MUSEUM

A Brief Natural History

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 31


เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์� AROUND THE MUSEUM

A Brief Natural History

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 32


คนเก่งในสื่อมวลชน� IT TODAY

ม.อ.ต่อยอดนวัตกรรมช่วยเกษตรกร

ทำ�มาหากิน : ม.อ.ต่อยอดนวัตกรรมช่วยเกษตรกร ผลิต ‘ชุดทดสอบสังกะสีในดิน-ยาง’ : โดย...สุพิชฌาย์ รัตนะ หนังสือพิมพ์คมชัดลึกฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 หน้า 12

การคิดค้นหานวัตกรรมใหม่เพื่อประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำ�คัญของประเทศไทยนับเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ ดีอีกทางหนึ่ง โดยล่าสุด “ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนามในดินและในยางพารา (Zinc Field Test Kit) ผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร หัวหน้า ผู้ประดิษฐ์คิดค้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลระดับเหรียญเงินงานวิจัยที่มีลักษณะโดด เด่นน่าสนใจในงาน “Seoul International Invention Fair (SIIF) 2013” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี และรางวัลพิเศษ (special prize) จาก ไต้หวัน ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์ของเกาหลี ซึ่งเป็นรางวัลที่ต่างชาติมอบให้กับผลงานวิจัยที่มีลักษณะเด่นได้สำ�เร็จ ผศ.ดร.วรากร เปิดเผย ว่า สำ�หรับแนวคิดการทำ�โครงการวิจัย “ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนามในดินและในยางพารา” เริ่มต้นจากการอยากรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตรวจสอบ หรือทดสอบค่าสังกะสีที่อยู่ในน้ำ�ยาง ในดินและในปุ๋ย เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมและ ภาคการเกษตร เช่น การผลิตจุกนมยาง ในกระบวนการผลิตจะเติมตัวกระตุ้น ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ในนำ�้ยางคอมปาวด์ โดยนำ�้ยางคอมปาวด์ก่อน เข้ากระบวนการผลิตต้องมีปริมาณสังกะสีไม่เกิน 10 ppm เนื่องจากหากมีมากเกินจะทำ�ให้นำ�้ยางหนืดเกินไป และจะเกิดครีมแข็งขณะให้ความร้อนใน กระบวนการขึ้นรูป ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ในบางกรณีต้องยกเลิกการผลิต ขณะที่ในภาคเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ไวต่อภาวะการขาดธาตุสังกะสี เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ เป็นต้น หากพืช ได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่พียงพอจะทำ�ให้ระบบชีวเคมีถูกทำ�ลาย ส่งผลให้เติบโตได้ไม่สมบูรณ์ ผลผลิตตำ�่ คุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ในกรณีรุนแรง จะแคระเกร็น ดังนั้นหากสามารถวัดหรือทราบค่าปริมาณสังกะสีได้ก่อนก็จะช่วยลดขั้นตอนและลดความสูญเสียได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทำ�ให้พบว่าการ ทดสอบสังกะสีในดินภาคสนามจึงมีความสำ�คัญและจำ�เป็นต้องทำ�อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถติดตามสภาวะของธาตุสังกะสีในดิน และในปุ๋ย ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นหาเครื่องมือภาคสนามเพื่อให้สามารถใช้งานง่าย ได้ผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและที่สำ�คัญราคาย่อมเยา เป็นการ ช่วยลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ และสามารถทดสอบสังกะสีเชิงคุณภาพที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบ สังกะสีในนำ�้ยางพารา ในดิน ในปุ๋ยนั่นเอง โดยปัจจุบันชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นจะมี 2 ชุด ได้แก่ ชุดทดสอบฯ ในนำ�้ยางพารา และชุดทดสอบฯ ในดิน และในปุ๋ย “ประโยชน์หลักที่ได้รับ คือ ชุดทดสอบฯ ที่ผลิตขึ้นเองราคาถูกกว่าการนำ�เข้ามาจากต่างประเทศประมาณ 2-5 เท่า มีคู่มือการใช้งานที่เข้าใจ ง่าย ผู้ใช้ไม่จำ�เป็นต้องมีความชำ�นาญก็สามารถใช้ชุดทดสอบได้ และที่สำ�คัญสามารถใช้ได้ทั้งในและนอกสถานที่พกพาได้สะดวก ใช้สารเคมีน้อย ให้ผล การทดสอบที่รวดเร็วใน 5 วินาทีหลังเติมสารละลาย” เจ้าของผลงานวิจัย กล่าวสำ�หรับผลงานดังกล่าวได้จดสิทธิบัตรหมายเลข 1301004967 ยื่นเมื่อ 6 กันยายน 2556 และอนุสิทธิบัตร หมายเลข 1303001048 ยื่นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวเชื่อได้ว่าจะเป็นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมยางพาราในประเทศอย่างแน่นอน สนใจ “ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนามในดินและในยางพารา (Zinc Field Test Kit) ผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร สามารถติดต่อได้ที่ 07428 8022 มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 33


คนเก่งในสื่อมวลชน� IT TODAY

วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา โดยในเทปนี้ ได้รับเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.สอาด ริยะจันทร์ อาจารย์ประจำ�ภาควิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักศึกษาทั้ง 2 ท่าน คือ สุภาวดี เพ็ชรรัตน์ เบญจมาศ แซ่หลี โดยรศ.ดร. สอาด ริยะจันทร์ ได้เสนอสิ่งประดิษฐ์ “ไม้ใบอ้อย” ในรายการนัก ประดิษฐ์พันล้าน ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำ�กัด โดยได้รับการสนใจจาก โดย ผ่านเข้ารอบต่อไป คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำ�กัด (มหาชน) และ คุณธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดเป็นกรรมการตัดสิน ประจำ�รายการ ตัดสินใจซื้อเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป

นักประดิษฐ์พันล้าน เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ ทีวี เปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันที่รักในการประดิษฐ์และมีความ คิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มีโอกาสทำ�รายได้มูลค่ามหาศาลในอนาคต รายการนี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 ปัจจุบันออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 19.30 น. และออกอากาศซ้ำ�ทุกวันอังคาร เวลา 03.30 น. และ 14.05 น. โดยมี ปัญญา นิรันดร์กุล เป็นผู้ดำ�เนินรายการ และ วรชาติ ธรรมวิจินต์ (พล่ากุ้ง) เป็นผู้ช่วยผู้ดำ�เนินรายการ หรือ แมวมองพันล้าน แต่ละสัปดาห์ ผู้แข่งขัน (คนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้) นำ�เสนอสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าดีพอที่จะได้เป็นนัก ประดิษฐ์พันล้านประจำ�รายการ โดยนำ�เสนอที่มาของสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงสาธิตการใช้โดยผู้ดำ�เนินรายการ และผู้ร่วมรายการจะมาร่วมสังเกตและอาจทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวด้วยก็ได้ จากนั้นกรรมการประจำ� รายการจะซักถามผู้แข่งขัน รวมถึงวิจารณ์และให้คำ�แนะนำ�แก่ผู้แข่งขัน เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ดำ�เนินรายการ จะให้กรรมการแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้แข่งขันนำ�เสนอ พร้อมทั้งตัดสินใจว่าจะซื้อหรือ ไม่ซื้อสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว รวมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะจากกรรมการทั้งสอง ถ้าผู้แข่งขันสามารถทำ�ให้กรรมการทั้งสองตัดสินซื้อสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ก็จะได้ชื่อว่าเป็น นักประดิษฐ์พัน ล้าน และได้รับใบประกาศนียบัตรของรายการซึ่งมีลายเซ็นของกรรมการตัดสินทั้งสอง

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 34


คนเก่งในสื่อมวลชน� IT TODAY

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ค้นพบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยประจำ�พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยาม บรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้เปิดเผยถึงผลการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด ซึ่งเป็นความร่วมมือ กันของทีมงานนักวิจัยนานาชาติจากประเทศไทย ลาว และ สหราชอาณาจักร

Bala Tube-nosed Bat ค้างคาวจมูกหลอดบาลา ค้างคาวจมูกหลอดบาลา หรือ Bala Tube-nosed Bat ซึ่งเป็น ค้างคาวกินแมลง และสามารถพบได้ในพื้นที่ป่าดิบชื้นและที่ราบตำ�่บริเวณ ผืนป่าบาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยลักษณะเด่น อยู่ที่ขนด้านหลังเป็นสีทอง ขนด้านท้องเป็นสีเทา ขนาดลำ�ตัวประมาณ 28-31 มิลลิเมตร และมีแง่ง หรือ Cingulr cusp ที่ฟันเขี้ยวบน ส่วนจมูก ที่เป็นหลอดกำ�ลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในเชิงลึกว่ามีประโยชน์อย่างไรกัน แน่ The new giant flying-squirrel, namely Laotian giant flying squirrel Biswamoyopteruslaoensis, was collected from local food market, where a lot of bush-meat can be found, in Bolikhamxai Province, central Laos. Although it is not known where exactly the animal was collected from, it is possibly that it was hunted by local hunter in ‘Nam Kading’ or Khammouan Limestone National Biodiversity Conservation Area. This is the second report of this genus of giant flying-squirrel in the world. The first and only previous record of the genus was when the genus was described,Bis wamoyoopterusbiswasi, from India in 1981. The new tube-nosed bat, Murina balaensis or Bala tube-nosed bat, was found restricted in lowland Malaysian-type tropical rain forest at Bala Forest, Narathiwat Province, southern Thailand. The species is named after the type locality where it was collected from. It is a very small insectivorous vespertilionid with a forearm length of 28-30 mm.

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 35


Chutamas’s Serotine

ค้างคาวท้องสีนำ�้ตาลอาจารย์จุฑามาส ซากฟอสซิลค้างคาวชนิดใหม่ที่มีชิวิตอยู่เมื่อปลายยุคไพลส โตซีน หรือเมื่อประมาณ 16,350 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งทีมวิจัยได้ค้นพบ ภายในถ้ำ�หินปูนใน อ.สะเดา จ.สงขลา และได้ตั้งชื่อว่าค้างคาวท้อง สีน้ำ�ตาลอาจารย์จุฑามาส หรือ Chutamas’s Serotine เพื่อเป็น เกียรติให้แก่ รศ.ดร.จุฑามาส ศตสุข ผอ.พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติ วิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ซึ่ง เป็นหัวหน้าทีมวิจัย โดยค้างคาวชนิดนี้เบื้องต้นพบว่าเป็นค้างคาว ขนาดเล็กเช่นเดียวกับค้างคาวจมูกหลอดบาลา และปัจจุบันได้สูญ พันธุ์ไปแล้ว Another new species of mammal from Thailand is an extinct Serotine, who lived in the late Pleistocene or about 16,350 years ago. This new fossil bat, namely Chutamas’s SerotineEptesicuschutamasae, is named to honour Associate Professor Dr. Chutamas Satasook, the PSU’s Vice President for Academic Affairs and the director of the PSUNHM, who lead, support and coordinate the studies of small mammals in the region under the SE Asia Taxonomic Network led by the Harrison Insititute, U.K.

Laotian Giant Flying Squirrel พญากระรอกบินลาว

พญากระรอกบินลาว หรือ Laotian Giant Flying Squirrel ซึ่งเป็น พญากระรอกบินชนิดใหม่ที่ของโลกที่ค้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้บริเวณแขวงบอลิคำ�ไซ ทางตอนกลางของประเทศลาว หลังจากที่พญากระรอกบินชนิดแรกของสกุลนี้ถูกค้นพบที่ประเทศ อินเดียเมื่อปี พ.ศ.2524 โดยพญากระรอกบินลาวเป็นกระรอกบิน ขนาดใหญ่ มีความยาวจากหัวถึงหาง 107.5 เซนติเมตร หนัก 1.8 กิโลกรัม ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าลึก และหาพบได้ยากมาก The discovery of new species of mammals suggested a very high and cryptic biodiversity in the region. With a rapid loss of forest areas and natural habitats, it is an urgent task of researchers to discover and describe these animals before they become extinct without even being known to science.

มีนาคม 57 - พฤษภาคม 2557 I วิทยาสาร(ศาสตร์) I 36



ram g o r P r e mm u S e r u t l and Cu nce,

Research At the Faculty of Scie Yai, Thailand ersity,Hat iv

kla Un g n o S f o ince

Pr

and”

Thail f o h t u o S sity of the r e v i n U h c r “The Resea er Program

ure Summ lt u C Course on d n g a in h c in r a a r e T s er ory Re sor Summ iomedical n B e s r @ Laborat o io f B r o d s n n ical Se alysis a @Trace An l-Based Electrochem eria “Nanomat n” 014 Applicatio – July 25, 2

June 30

, 2014

re: April 30

Apply Befo

culture” l a ic p o r t e , enjoy th e c n ie r e p ex r research u o y on h ic r “En ing handst c u d n o c y b d knowledge h c r a e usiastic an s e h r t n r e u r o y u o h f o ure with n lt u Enric io c s i l v a r ic e p p o nder the su enjoy the colorful tr research u d. searchers; e r d e c the weeken n g ie r in r u d expe s ie and activit local trips

e visit the s a le p n io t er informa c.th/summ * For more .a u s .p c h .s w up.psu.ac.t website ww mmer@gro dent Schola

*Reques

oreign Stu t for Thai/F

t : sci-su

e contac rship Pleas



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.