ยายหอมแห่งเมืองนครปฐม: การวิเคราะห์คุณค่าของตานานและคติความเชื่อของชุมชน Yai Hom of Mueang Nakhon Pathom: An Analysis of the Value of the Community's Myth and Beliefs อิทธิพรขาประเสริฐ 2564
ก คำนำ ด้วยความที่ผู้เขียนได้อาศัยและทางานในมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งตั้งอยู่ ที่ตาบลดอนยายหอม อาเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ปลายปี 2550 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 14 ปี จึงได้มีโอกาสเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ใน พื้นที่ตาบลดอนยายหอมหลายแห่ง พบว่า พื้นที่แห่งนี้มีอดีตประวัติความมา อย่างยาวนาน เชื่อมโยงกับการสร้างเมืองนครปฐมมาแต่โบราณ มีเอกสารงาน เขียนต่างๆ ที่ผู้เขียนได้อ่าน ศึกษาและทาความเข้าใจ จึงทาให้เป็นที่มาของการ ค้นคว้าเพื่อต้องการหาคาตอบโดยเฉพาะว่าการที่พื้นที่แห่งนี้ซึ่งเรียกว่า “ดอนยายหอม” นั้นมีที่มาอย่างไร และอีกปัจจัยหนึ่งคือความสนใจส่วนตัวของ ผู้เขียนในเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บทความชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ“ยายหอม”สตรีผู้ซึ่ง ปรากฏในตานานท้องถิ่นพญากง พญาพาน อันเป็นตานานที่อธิบายการสร้าง สถานที่สาคัญของเมืองนครปฐม โดยอาศัยแนวคิดด้านคติชนวิทยามาเป็นกรอบ ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งได้ดาเนินการรวบรวมข้อมูลด้านคติความเชื่อของ คนในชุมชนที่มีต่อยายหอมเพื่อทาให้เห็นชุดคติความเชื่อที่ชัดเจน ซึ่งคาดหวังว่า จะนาไปสู่การสร้างความเข้าใจให้แก่คนในชุมชนและคนภายนอกมีความเข้าใจ ในวิถีชีวิตของคนในชุมชน ท้องถิ่นนี้มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอขอบคุณสมาชิกของชุมชนดอนยายหอมทุกท่านที่มีส่วนร่วมใน การให้ข้อมูลจากการตอบแบบสารวจผ่านระบบออนไลน์ ขอขอบคุณเป็นพิเศษ สาหรับมหาวิทยาลัยคริสเตียนที่ให้โอกาสผู้เขียนมาทางานและได้พานักอาศัยใน พื้นที่มาเป็นเวลาพอสมควร จนทาให้ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ สมาชิกในชุมชนดอนยายหอมแห่งเมืองนครปฐมนี้ อิทธิพร ขาประเสริฐ สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน สิงหาคม 2564
ข ยำยหอม แห่งเมืองนครปฐม : กำรวิเครำะห์คุณค่ำของตำนำนและคติควำมเชื่อของชุมชน บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของตานานและคติ ความเชื่อของชุมชนเกี่ยวกับ “ยายหอม” ซึ่งเป็นสตรีในตานานท้องถิ่นจังหวัด นครปฐม เรื่อง พญากง พญาพาน โดยศึกษาจากงานเขียน งานวิจัยด้านคติชน วิทยา และการสารวจความคิดเห็นของสมาชิกในชุมชนดอนยายหอม อาเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จากการศึกษาพบว่า ตานานยายหอม มีคุณค่า 3 ประการ ได้แก่ 1) คุณค่าด้านการอธิบายภูมินามชุมชนและการสร้างถาวรวัตถุ 2) คุณค่าด้านการให้ข้อคิดทางศีลธรรมแก่สังคม 3) คุณค่าด้านการสร้างแนวคิด ในการพัฒนาชุมชน สาหรับคติความเชื่อของคนในชุมชนที่มีต่อยายหอม พบว่า สมาชิกของชุมชนรับรู้จักตานานยายหอมจากถ่ายทอดความรู้ผ่านครอบครัวมาก ที่สุด และมีคติความเชื่อเกี่ยวกับยายหอมใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความเชื่อใน ฐานะที่เป็นสตรีในตานานของท้องถิ่นนครปฐม และ 2) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึด เหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน นอกจากนี้ยายหอมได้รับการยกย่องจากชุมชนว่า เป็นแบบอย่างของการเป็นผู้มีจิตใจเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี และการทาหน้าที่ ในบทบาทของ “แม่” ได้อย่างดีเยี่ยม คำสำคัญ: การวิเคราะห์ตานาน คติความเชื่อ ตานานยายหอม จังหวัดนครปฐม
Yai Hom of Mueang Nakhon Pathom : An Analysis of the Value of the Community’s Myth and Beliefs
Abstract
This academic article aims to analyze the value of myth and beliefs of the community about " Yai Hom" , a woman in the local myth of Nakhon Pathom province on “Phaya Kong Phaya Phan” . The folklore research and a poll of members of the Don Yai Hom community. Mueang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom Province revealed that the Myth of Yai Hom has 3 values: 1) the value of explaining the definition of community name and the creation of permanent objects, 2) the value of giving moral insights to the society, and 3) the value of creating ideas for community development As for the beliefs of the community towards Yai Hom, the members of the community recognize the myth of Yai Hom from passing on their knowledge through the family it was found that people in the community believe in Yai Hom in 2 ways: 1) Yai Hom is a woman who appeared in a local myth of Nakhon Pathom Province, and 2) believe that Yai Hom is a sacred person whom people in the community hold onto. In addition, Yai Hom is regarded by the community as a role model of being a kind- hearted, generous, and excellently acting in the role of "mother".
Keywords: Myth analysis, Belief, Yai Hom Myth, NakhonPathom province
ค
ง สำรบัญ หน้า คานา ก บทคัดย่อภาษาไทย....................................................................... ข บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.............................................................................. ค สารบัญ...................................................................................................... ง บทนา : “ยายหอม” สตรีในตานานพญากง พญาพาน................... 1 การวิเคราะห์คุณค่าของตานาน “ยายหอม”............................................. 4 ตานานยายหอมกับการอธิบายภูมินามชุมชนและ การสร้างถาวรวัตถุ.......................................................................... 5 ตานานยายหอมกับการให้ข้อคิดทางศีลธรรมแก่สังคม 11 ตานานยายหอมกับการสร้างแนวคิดในการพัฒนาชุมชน................ 17 คติความเชื่อของชุมชนที่มีต่อยายหอม...................................................... 25 การรับรู้เรื่องราวยายหอมของคนในชุมชน...................................... 25 คติความเชื่อเกี่ยวกับยายหอม...................................... 26 บทสรุป..................................................................................................... 31 เอกสารอ้างอิง........................................................................................... 32
1 บทนำ : “ยำยหอม” สตรีในตำนำนพญำกง พญำพำน ยายหอมเป็นสตรีที่ปรากฏในตานานพญากง พญาพาน อันเป็นตานาน ท้องถิ่นของเมืองนครปฐม เชื่อมโยงกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ พระประโทณ เจดีย์ และเป็นภูมินามของชุมชนดอนยายหอม เค้าโครงของตานานนี้ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (2535: 32-38) และสุจิต วงษ์เทศ (2556: ออนไลน์) มีความเห็น สอดคล้องกันว่าเป็นเนื้อหาที่ได้รับอิทธิพลมาจาวรรณคดีสันสฤตของอินเดียซึ่ง ปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ เช่น ภาควตปุราณะ วิษณุปุราณะ มหาภาควัตปุราณะ เป็นต้น การแพร่หลายของตานานมิได้จากัดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่รวม ไปถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย สะท้อนถึงวัฒนธรรมของ ฮินดูที่มีผลต่อกระบวนการสร้างตานานในท้องถิ่นแถบนี้ (อภิลักษณ์ เกษมผลกูล 2558: 224) ยายหอมปรากฏตัวขึ้นในตานานพญากง พญาพาน หลังจากที่พระมเหสี ของเจ้าเมืองกาญจนบุรีได้ประสูติพระกุมาร คือ พญาพาน พญากงเจ้าเมือง กาญจนบุรีผู้ซึ่งเป็นบิดา ได้รับการทานายจากโหราจารย์ก่อนหน้านี้ว่า บุตรหรือ ธิดาที่เกิดขึ้นมาจะเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก แต่จะทาปิตุฆาต (หรือฆ่าบิดา) เมื่อเป็นเช่นนี้ พญากงจึงสั่งให้ทหารนาพญาพานไปทิ้งในป่าหรือไปฆ่าทิ้งเสีย แต่ทหารกลับนาพญาพานใส่ตระกร้าและปล่อยให้ลอยน้าไปในแม่น้า ขณะที่ ตานานพงศาวดารเหนือ ฉบับวิเชียรปรีชา (น้อย) อธิบายว่า หลังจากที่พญาพาน เกิดขึ้นมาแล้ว พระมารดามีความวิตกกังวลใจยิ่งนักจากคาทานายของโหราจารย์ จึงได้ลักลอบนาพญาพานไปให้ยายหอมเลี้ยงดูแล (อภิลักษณ์ เกษมผลกูล 2558: 229) แต่ในตานานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยาราชสัมภารากรกับฉบับตะปะ ขาวรอต อธิบายว่า พญากงสั่งให้นาพญาพานไปทิ้งไว้ในป่า แต่บังเอิญยายหอม ซึ่งเป็นชาวบ้านไปพบ จึงนากลับมาเลี้ยง (วรรณกร ชาวนาไร่ 2556: 56) บทบาทของยายหอมในตานานจึงทาหน้าที่เป็นเสมือนแม่ที่ดูแลชุบเลี้ยง
2 พญาพานจนเติบโตขึ้น และผลักดันให้พญาพานมีชีวิตที่มั่นคงและก้าวหน้าโดย การนาไปถวายให้กับเจ้าเมืองราชบุรีเพื่อเป็นบุตรบุญธรรม ดังความตอนหนึ่งที่ ระบุว่า “นางคิดกรุณาแก่บุตรยิ่งนักจึ่งทาอุบายถ่ายเทปกปิดเสียให้กลบ เกลื่อนสูญไปด้วยความคิดของนาง จึงลอบเอากุมารราชบุตรอายุ 11 เดือน ไปให้ยายหอมเลี้ยงไว้ ครั้นจาเริญไวยใหญ่ขึ้น ยายหอม จึงเอากุมารไปให้พระยาราชบุรีเลี้ยงเปนบุตรบุญธรรม” (อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, 2558: 229) ชีวิตของยายหอม ตามตานานนั้นไม่ได้มีระบุว่า มีตาแหน่งแห่งหนเป็น อะไร มีความเชื่อมโยงอย่างไรกับราชวงศ์ แต่สันนิษฐานว่ายายหอมเป็นชาวบ้าน ซึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ด และตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณโบราณสถานที่ ค้นพบในปัจจุบันที่เรียกว่า “เนินพระ” ซึ่งเชื่อกันว่ายายหอมเลี้ยงดูพญาพานใน สถานที่แห่งนี้ (พชรพงษ์ พุฒซ้อน 2561: ออนไลน์) การปรากฏตัวของยายหอม ในตานานพญากง พญาพานช่วงสุดท้าย เกิดขึ้นหลังจากที่พญาพานได้รับรู้ความ จริงว่า พญากงเป็นบิดาของตนเอง ซึ่งพญาพานได้ฆ่าฟันพญากงจนตายในการ ศึกชนช้างระหว่างเมืองกาญจนบุรีและราชบุรี1 และพญาพานรู้ความจริงจาก พระมารดาว่าตนเองเป็นบุตรของพญากง พญาพานจึงได้ไปไถ่ถามยายหอม เพื่อ ยืนยันถึงความจริงที่ตนรู้ว่าถูกต้องยายหอมได้อธิบายความจริงให้พญาพานรับรู้ ทั้งหมด พญาพานเสียใจ และโกรธที่ยายหอมปิดบังเรื่องราวดังกล่าว จึงสั่งให้ฆ่า 1 สาเหตุแห่งการต่อสู้รบกันในครั้งนี้เกิดจากการที่พญาพาน ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้า เมืองราชบุรี มีความต้องการที่จะทาให้เมืองราชบุรีพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของเมือง กาญจนบุรี จึงมีการงดส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายเจ้าเมืองกาญจนบุรี ทาให้เจ้า เมืองกาญจนบุรี (พญากง) ยกกองทัพมาปราบเมืองราชบุรีให้ตกอยู่ในอาณัติดังเดิม
3 ยายหอมในที่สุด ก่อนที่ยายหอมจะตายรู้สึกเสียใจมาก จึงขอราเย้ยให้เกิดความ สะใจ หลังจากที่ยายหอมถูกฆ่า ศพของยายหอมถูกทิ้งไว้ให้แร้งกิน คนในชุมชน ระแวกนั้น จึงเรียกสถานที่บริเวณนั้นว่า อีราท่าอีแร้ง หรือท่าแร้งมาจนถึง ปัจจุบัน ดังความตอนหนึ่งที่ระบุว่า “พระองค์คือลูกของข้า โหรทานายว่ามีบุญนัก บิดาจึงให้เอาเจ้าไป ฆ่าเสีย แม่จึงเอาไปฝากยายหอมไว้ พญาพานได้สาคัญเปนแน่ก็ทรง พระกรรแสง ว่าได้ผิดแล้วฆ่าบิดาเสียดังนี้เศร้าพระทัยนักจึงตรัสว่า ยายหอมหาบอกให้รู้ไม่ก็ให้เอายายหอมไปฆ่าเสีย แร้งลงกิน จึงเรียกว่าท่าแร้งมาจนคุ้มเท่าบัดนี้”(อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, 2558: 230-231) ยายหอม เป็นสตรีที่อยู่ในตานานของพญากง พญาพาน กล่าวคือ ถึงแม้ว่า ยายหอมจะไม่ได้เป็นตัวละครหลักในตานาน แต่ทว่ามีการถ่ายทอดเรื่องราวของ ยายหอม ผ่านการบอกเล่าปากต่อปากจนมาถึงปัจจุบัน มีหลักฐานตามความเชื่อ ปรากฏ เช่น โบราณสถานเนินพระ ชื่อของชุมชนดอนยายหอม การสร้างศาล เคารพที่วัดดอนยายหอม วัดพระประโทณเจดีย์ รวมทั้งการแต่งเติมเรื่องราวส่วน หนึ่งของตานานพญากง พญาพาน ที่มีการกล่าวอ้างถึงยายหอมผ่านงานเขียน บทประพันธ์พื้นบ้าน กาพย์ กลอน แหล่ เป็นต้น จึงถือว่าเป็นตานานที่มีคุณค่า แก่การเรียนรู้ในมิติต่างๆ บทความชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาคุณค่าและ ความเชื่อของตานานดังกล่าว โดยใช้กรอบแนวคิดคติชนวิทยาเป็นแนวทางการ วิเคราะห์ และศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนามาเรียบเรียง ตามประเด็นที่ได้ค้นพบ ดังจะได้กล่าวต่อไป
4 กำรวิเครำะห์คุณค่ำของตำนำน “ยำยหอม” ตานาน (Myth) เป็นเรื่องเล่าจากอดีต อันเกิดจากการตั้งคาถามของมนุษย์ เพื่อต้องการค้นหาคาตอบว่าที่มาของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นเป็นอย่างไร ตานาน จึงเป็นระบบการคิด ความเชื่อ ขนบ ประเพณีที่สะท้อนแบบแผนความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ตานานที่ถูกสร้างขึ้นจึงอาจจะเป็นทั้งเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม ศรีศักร วัลลิโภดม (2550: ออนไลน์) กล่าวว่า ตานานระดับท้องถิ่น เป็นตานานเกี่ยวกับการสร้าง บ้านแปงเมืองที่แสดงออกจากคาถามที่ว่า การเป็นบ้านไหน เมืองไหน มีเนื้อหา สาระที่ไม่หยุดนิ่งตายตัว มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงไปตามสังคม เวลา และ สถานที่เสมอ โดยคนในท้องถิ่นอย่างสืบเนื่อง จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต (Living history) เพื่อสร้างสานึกร่วมของความเป็นคนในแผ่นดินเกิดเดียวกัน สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม ได้แก่ บรรดาชื่อบ้านนามเมือง และชื่อของสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ท้องถิ่น เป็นต้น (ศรีศักร วัลลิโภดม 2552: ออนไลน์) นอกจากนี้ศิราพร ณ ถลาง (2557: 362363) ได้อธิบายหน้าที่ของตานานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางคติชนวิทยา ตามแนวคิดบทบาทหน้าที่ของแบสคอม (1954: 333-349) ไว้ว่า ตานานทา หน้าที่ 4 ประการ ได้แก่ 1) อธิบายที่มาและเหตุผลของพิธีกรรม 2) การให้ การศึกษาหรือปัญญาแก่สังคม 3) รักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคม 4) สร้าง ความเพลิดเพลินและช่วยเป็นทางออกของความขับข้องใจของบุคคลในสังคม จากแนวคิดของศรีศักร และศิราพร ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตานานว่า สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมหรือสิ่งที่มนุษย์ต้องการหาคาตอบ การสร้างสานึกร่วม และเป็นเครื่องมือในการให้แก่ศึกษา หรือแง่คิดทางศีลธรรม เพื่อสร้างระเบียบทางสังคม บทความนี้จึงได้ประยุกต์แนวคิดส่วนหนึ่งของ ศิราพรมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์และเพิ่มเติมแนวคิดในมุมมองของผู้เขียน
5 โดยขอนาเสนอการวิเคราะห์คุณค่าของตานานออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1) ตานานยายหอมกับการอธิบายภูมินามชุมชนและการสร้างถาวรวัตถุ 2) ตานานยายหอมกับการให้ข้อคิดทางศีลธรรมแก่สังคม และ 3) ตานาน ยายหอมกับการสร้างแนวคิดในการพัฒนาชุมชน 1. ตำนำนยำยหอมกับกำรอธิบำยภูมินำมชุมชนและกำรสร้ำงถำวรวัตถุ ชื่อภูมินานของชุมชนหรือสถานที่ สิ่งก่อสร้าง (Place Name) สะท้อนวิธี คิดของสมาชิกในชุมชนที่มีความหมายประสานสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย เชื่อมโยงกับตานานท้องถิ่น วรรณคดีพื้นบ้านและลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ทาให้ผู้คนภายในและภายนอกชุมชนต่างมีความเข้าใจในที่มาในการกาหนดชื่อ หมู่บ้าน หรือเรียกสถานที่สาคัญของชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ เช่นเดียวกันกับตานาน ยายหอมที่มีอิทธิพลต่อวิธีคิดของคนในชุมชน โดยมีการนาตานานดังกล่าวมาใช้ เพื่อเรียกขานชื่อชุมชน วัดและอธิบายการสร้างถาวรวัตถุที่เกี่ยวข้อง 1.1 ชุมชนดอนยำยหอมและวัดดอนยำยหอม การกาหนดชื่อเรียก “ชุมชนดอนยายหอม” มาจากลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่ชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ดอน โดยพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเป็นที่รกร้างว่าง เปล่า มีบ้านเรือนอยู่ไม่กี่หลัง เป็นชุมชนขนาดเล็ก ลักษณะของพื้นที่อยู่ในที่ดิน ล้อมรอบด้วยที่ลุ่มซึ่งหากมองดูจากด้านนอกจะมีลักษณะคล้ายเกาะหรือเป็น ดอนขึ้นมา (มนู วัลยะเพ็ชร และคณะ 2522: 12-13) ซึ่งสอดคล้องกับการ ศึกษาวิจัยทางโบราณคดีที่อธิบายว่า ตาแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานเนินพระเป็น ที่ดินดอนติดต่อกับพื้นที่ราบลุ่ม (พนมกร นวเสลา 2561: ออนไลน์) และจากการ กล่าวอ้างอิงในตานานระบุว่า บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่อยู่อาศัยของ ยายหอม และเป็นที่ซึ่งยายหอมได้เลี้ยงดูพญาพานจนกระทั่งเติบโตก่อนนาไป
6 ถวายเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าเมืองราชบุรี รวมทั้งเป็นสถานที่ที่ยายหอมถูก พญาพานสั่งฆ่า หลักฐานที่บ่งบอกหรือเป็นประจักษ์พยานในบริเวณนี้คือ โบราณสถานเนินพระ จากการวิจัยยังพบอีกว่า ในสมัยทวารวดีชุมชนโบราณ บริเวณดอนยายหอมดังกล่าวนี้ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แต่มีการติดต่อสัมพันธ์กับ เมืองในพื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่ในลุ่มน้าแม่กลองและลุ่มน้าเพชรบุรี เนื่องจากชุมชน เหล่านี้ตั้งอยู่ตามขอบพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน (พนมกร นวเสลา 2561: ออนไลน์) การเรียกชื่อบ้านยายหอมนี้ ยังปรากฏ หลักฐานในด้านวรรณคดีนิราศพระประธม ของสุนทรภู่ที่กล่าวไว้ว่า (วชิรญาณ 2564 : ออนไลน์) จึงสาเหนียกเรียกย่านบ้านยายหอม ด้วยเดิมจอมจักรพรรดิอธิษฐาน ครั้นเสร็จสรรพกลับมาหาอาจารย์ เหตุด้วยบ้านนั้นมีเนินศิลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนบริเวณที่ตั้งโบราณสถานเนินพระ เป็น โบราณสถานซึ่งเรียกว่า “วัดเนินพระ” (ร้าง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 และต่อมาได้มี การกาหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตที่ดินโบราณสถานซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 14 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา (ประกาศกรมศิลปากร 2530) ลักษณะสถาปัตยกรรมของ โบราณสถานเนินพระ เป็นเนินดินปิดคลุมซากเจดีย์ขนาดใหญ่ก่อสร้างด้วยอิฐ มอญแผ่นใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ปัจจุบันมีต้นไม้ ใหญ่ขึ้นปกคลุมโดยรอบ มีการขุดพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น ศิลาเหลี่ยมเขียว มีลายจาหลักที่ปลายเสา ตอนบนของเสามีง่ามสาหรับวางพระเสมาธรรมจักร พระพุทธรูปศิลา และเสมาธรรมจักร กวางมอบทาด้วยศิลา โบราณวัตถุเหล่านี้ ส่วนหนึ่งถูกจัดเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครปฐม และที่วัดดอนยายหอม ในพื้นที่โบราณสถานเนินพระนี้ยังมีการจัดทาศาลไม้ เป็นที่สักการะยายหอมตาม
7 ความเชื่อของคนในชุมชน สาหรับวัดดอนยายหอม ซึ่งกาหนดชื่อเรียกสัมพันธ์กับ ตานานยายหอมนั้น แต่เดิมเรียกว่า “วัดโคกยายหอม” เป็นวัดร้างซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ ในสถานที่ปัจจุบัน สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน (แต่สันนิษฐานว่า ตั้งอยู่ใน พื้นที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์) วัดโคกยายหอมดังกล่าว มีพระภิกษุจาพรรษาอยู่ไม่กี่รูป และมีสภาพทรุดโทรมยากต่อการปฏิสังขรณ์ ดังนั้น สมาชิกของชุมชนแถบนี้ ซึ่งมีหลวงพ่อทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย อาเภอ นครชัยศรีในขณะนั้นเป็นผู้นาในการเลือกพื้นที่ใหม่เพื่อสร้างวัดแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2398 โดยพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากโบราณสถานเนินพระไม่มากนัก และ ได้รับการถวายที่ดินจากสมาชิกในชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2400 (องค์กรบริหารส่วน จังหวัดนครปฐม 2564: ออนไลน์) จากข้อมูลดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ามีการใช้คา ว่า “โคก” กับ “ดอน” สลับกันซึ่งมีความหมายในทานองเดียวกันคือเป็นบริเวณ ที่มีพื้นที่สูงกว่าพื้นที่ราบ และบริเวณดังกล่าวมีการตั้งบ้านเรือนชุมชนและมีวัดที่ ต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ดังนั้น ชื่อวัดจึงเรียกชื่อตามหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ ภายใน วัดดอนยายหอมแห่งนี้ ยังมีการสร้างศาลคุณยายหอม ซึ่งตั้งใกล้กับพระอุโบสถ ไว้เป็นที่สักการะของคนในชุมชนด้วย
8 ภำพที่ 1 บริเวณหน้าวัดดอนยายหอม ภำพที่ 2 ศาลาคุณยายหอม ภำพที่ 3 ประตูเมืองยายหอม ภำพที่ 4 โบราณสถานเนินพระ ภำพที่ 5 เจว็ดยายหอมและพญาพาน ภำพที่ 6 ศาลพญาพานและยายหอมที่โบราณสถานเนินพระ ที่มา : ผู้เขียน 1.2 พระประโทณเจดีย์ ตานานยายหอมนั้นยังมีความสัมพันธ์กับการอธิบายการสร้างพระ ประโทณเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันตั้งในอยู่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร โดยในตานาน กล่าวว่า ภายหลังจากที่พญาพานได้สั่งให้ฆ่ายายหอมเนื่องจากโกรธยายหอมที่ไม่ อธิบายความจริงเกี่ยวกับชาติกาเนิดของตน จึงทาให้ตนเองได้ฆ่าพญากงผู้ซึ่งเป็น บิดาของตน พญาพานเสียใจและสานึกผิดต่อการกระทาของตนเอง จึงได้สร้าง พระประโทณเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ ชดเชยกับสิ่งที่ได้กระทาต่อยายหอมผู้เปรียบ ได้ดังแม่ของตนเอง เรื่องราวนี้ยังปรากฏหลักฐานในด้านวรรณคดีนิราศ พระประธม ของสุนทรภู่ที่กล่าวไว้ว่า (วชิรญาณ 2564 : ออนไลน์) 1 2 3 4 5 6
9 ครั้นถามไถ่ยายหอมก็ยอมผิด ด้วยปกปิดปฏิเสธซึ่งเหตุผล เธอโกรธาฆ่ายายนั้นวายชมม์ จึงให้คนก่อสร้างพระปรางค์ประโทณ ภำพที่ 7 ภาพสันนิษฐานของพระประโทณเจดีย์ สมัยทวารวดี ที่มา : (สันติ เล็กสุขุม และคณะ, 2552) ภำพที่ 8 พระประโทณเจดีย์ในปัจจุบัน ภำพที่ 9 ศาลยายหอมบริเวณข้างพระประโทณเจดีย์ ภำพที่ 10 รูปปั้นยายหอมและพญาพานภายในศาล ที่มา : ผู้เขียน พระประโทณเดีย์ที่สร้างขึ้นนี้แต่เดิมนั้นมีลักษณะเป็นเนินดินสูงใหญ่มีพระ ปรางค์ขนาดย่อมตั้งอยู่ด้านบน ต่อมาหลังจากที่กรมศิลปากรได้มีการสารวจและ บูรณะ ทาให้ค้นพบว่า บริเวณใต้เนินดินนั้นด้านล่าง เป็นฐานเจดีย์ขนาดใหญ่ใน สมัยทวารวดี รูปแบบที่มีการวิเคราะห์กัน ได้แก่ ส่วนล่างฐาน 2 ชั้นลดหลั่น ส่วน 7 8 9 10
10 ชั้นบนมียอดบริวารประจามุมบนลาน ลานฐานกว้างของชั้นนี้รองรับส่วนกลางซึ่ง มีจระนาประดิษฐานพระพุทธรูป มุมบนทั้งสี่ของส่วนกลางมียอดบริเวณประจา มุมด้วย ส่วนบนมียอดบริเวณและประธานทรงมะนาวตัด (สันติ เล็กสุขุม 2552: 63-84) การบูรณะเจดีย์พระประโทณในแต่ละสมัยมีการสันนิษฐานว่าน่าจะมีก่อ พอกเพิ่มเติมจากเดิมที่เป็นฐานซ้อนสองชั้นเป็นสามชั้นและสร้างบันไดเพิ่ม เจดีย์ แห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปนาน จนในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงมีการเกลี่ยอิฐบนยอด เนินเจดีย์ที่พังทลายลงมาแล้วและสร้างเป็นปรางค์ขึ้นใหม่ไว้ด้านบนดังที่ปรากฏ ให้เห็นในปัจจุบัน (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี : ออนไลน์) หลักฐานทางความเชื่อของการ สร้างพระประโทณเจดีย์ที่เชื่อมโยงกับตานานดอนยายหอมที่เห็นได้ชัดเจนอีก อย่างในปัจจุบัน คือ การสร้างศาลเคารพยายหอมที่ตั้งอยู่บริเวณข้างกับเจดีย์ ภายในศาลมีรูปปั้นยายหอมกับเด็ก ซึ่งเด็กน่าจะหมายถึงพญาพานที่ยายหอม เลี้ยงดูมา มีการนาธูป เทียน ดอกไม้ พวงมาลัย ชุดเสื้อผ้า และโดยเฉพาะการนา ตุ๊กตาเป็ดมาถวายเป็นจานวนมาก สาเหตุที่มีการนารูปตุ๊กตาเป็ดมาถวายนั้น น่าจะมาจากตานานที่กล่าวว่า ยายหอมประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ด การจัดทาสถานที่เคารพยายหอมในจังหวัดนครปฐมนอกจากจะมีการ จัดสร้างขึ้น ณ วัดดอนยายหอม วัดพระประโทณเจดีย์ และบริเวณเนินพระหรือ โคกยายหอมแล้ว ยังมีการทาสถานที่เคารพยายหอม ที่วัดพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหารอีก 1 แห่ง บริเวณฐานองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งอยู่ภายในถ้าเล็กๆ อีก ด้วย
11 ภำพที่ 11 ศาลยายหอมบริเวณฐานขององค์พระปฐมเจดีย์ ที่มา : ผู้เขียน 2. ตำนำนยำยหอมกับกำรให้ข้อคิดทำงศีลธรรมแก่สังคม หากมองอย่างผิวเผินด้วยการอ่านตานานใดตานานหนึ่งเพียงเพื่อทาความ เข้าใจในที่มาของตานานนั้นๆ ผู้อ่านอาจได้รับอรรถรสด้านวรรณศิลป์ เช่น การดาเนินเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน การใช้ภาษาสานวนที่สละสวย แต่ตานานมี คุณค่ามากกว่าการอ่านเอาเรื่องเท่านั้น คือ ให้คุณค่าในด้านแง่คิดหรือการให้ ปัญญาแก่บุคคล ซึ่งตานานแต่ละตานานนั้นล้วนให้มุมมองที่แตกต่างกันในการ ชี้นาการดาเนินชีวิตของสังคมผ่านการอบรมสั่งสอนและชี้แนะจริยธรรมแก่ บุคคลในสังคม หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าตานานสามารถใช้เป็นเครื่องมือสาหรับ การปกครองคนในสังคมให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบและแนวทางที่เหมาะสม ตานานยายหอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในตานานพญากง พญาพานนี้ ได้สะท้อนแบบ แผนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงแง่ คิดทางศีลธรรมหรือเป็นการสร้างปัญญาให้แก่ผู้ทาความเข้าใจ ดังนี้
12 2.1 กำรทำหน้ำที่ของมำรดำที่พึงมีต่อบุตร ก่อนการปรากฏตัวขึ้นของยายหอมในตานานพญาพาน มีเหตุการณ์หนึ่งที่ แสดงถึงการทาหน้าที่ของพระมเหสีในฐานะมารดาที่แสดงการปกป้องบุตรหรือ พญาพานจากคาทานายของโหราจารย์ที่กล่าวว่าเมื่อบุตรคนนี้เติบใหญ่จะกลับ มากฆ่าพญากงผู้ซึ่งเป็นบิดา จึงสั่งให้นาพญาพานไปฆ่าทิ้ง พระมเหสีจึงแสดง ความไม่พอพระทัยต่อคาสั่งของพญากง ดังที่ปรากฏในบทประพันธ์ เรื่อง ผจญภัยในตานานพระยาพาน พระยากง ของพงษ์อนันต์ สรรพานิช (2542: 46) ที่นาเสนอว่า “ทรงห่วงชีวิตของพระองค์เองซิเพคะ” พระมเหสีทรงสบัดพระ วรกายหลบจากพระหัตถ์พระยากง เพียงทรงเชื่อคานายของโหร หลวง ก็ทรงคิดประหารลูกเพื่อพระองค์จะได้อยู่รอด พระมเหสีทรง หันมาที่โหรหลวงด้วยพระพักตร์ที่เกรี้ยวกราด “ท่านโหรหลวงท่าน เห็นแล้วใช่ไหมว่า สิ่งที่ท่านทานายมันสร้างปัญหาใหญ่หลวงเพียง ไหน ท่านต้องรับผิดชอบ” ตามตานานดังที่กล่าวมาข้างต้นหลังจากที่พระยากงได้ตัดสินใจให้นาบุตร ไปฆ่าทิ้งในป่า บางตานานกล่าวว่าให้นาไปลอยน้า และบางตานานกล่าวว่าพระ มเหสีได้แอบนาบุตร ไปให้ยายหอมเลี้ยงไว้เพื่อที่จะรักษาชีวิตของลูก โดยปิดบัง ไม่ให้มีใครรับรู้ การกระทาของพระมเหสีนี้สะท้อนบทบาทของแม่ที่เป็น “บุรพเทพ”หมายถึง การให้ความคุ้มครองป้องกันผองภัยอันตรายที่จะเกิดแก่ ลูก จึงเปรียบได้ดังกับ “พระพรหม” ซึ่งหมายถึงผู้สร้าง เป็นผู้ที่ประกอบด้วย พระหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณ มุทิตา และอุเบกขา (บุญรัตน์ โพธิไพรัตนา 2547: 113) มนุษย์ที่ทาหน้าที่ในฐานะ “แม่” จึงควรดารงบทบาทดังกล่าวตามที่ ปรากฏในตานานอย่างเต็มกาลัง
13 2.2 กำรสงเครำะห์บุตรอย่ำงดีเยี่ยม หลังจากที่ยายหอมได้พบเจอกับพญาพานที่ถูกทิ้งใส่ตระกร้าลอยน้ามาจึง ได้ตัดสินใจนาเอาเด็กทารกนั้นมาเลี้ยงดูแล ยายหอมจึงแสดงบทบาทในฐานะแม่ เป็นทั้งผู้ปกป้อง ผู้ให้ชีวิต สงเคราะห์ดูแลพญาพาน ด้วยความรัก และความ เมตตาเสมือนเป็นดังลูกของตนเอง ดังที่สะท้อนในบทเพลงฉ่อยเรื่องพญากง พญาพาน (สุกัญญา ภัทราชัย2525: 45-47) ว่า แต่ฝ่ายยายหอมแกก็เลี้ยงเป็ดอยู่ที่ตีนท่า เห็นพานน้อยลอยมาแกก็ตกใจ แกเห็นพานทองแต่ว่าลอยมา แกเดินนาหน้าลงจากเคหาเรือนใหญ่ แกก็ยกพานทองขึ้นออกมา ขึ้นไว้บนเคหาทันใด แกก็อุ้มกุมารขึ้นออกมา ก็อาบน้าอาบท่าผ่องใส แกก็เลยตั้งชื่อในสนาม ชื่อว่าพญาพานแกจาไว้ ทัศนะดังกล่าวนี้ยังพบได้ในบทประพันธ์ของพงษ์อนันต์ สรรพานิช (2542: 61,63) ได้บรรยายไว้ว่า “ยายหอมก็เลี้ยงลูกของแกไป ด้วยความรักดุจลูกของตัวเอง ทั้งที่ ตัวยายหอมเองก็ไม่เคยมีสามี จนคนนินทา แต่แกรักลูกคนนี้ของ แกแบบถวายชีวิต” “ตลอดเวลากว่า 20 ปีที่แม่หอมเลี้ยงดูพานมา พานได้รับความรัก ความทนุถนอม ความอบอุ่นที่แม่หอมมีให้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง พานเจริญเติบโตเป็นหนุ่มแน่น สง่างาม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผิดกว่า ชาวบ้านทั่วไป”
14 ยายหอมหรือแม่หอมที่พญาพานเรียก ได้เลี้ยงดูแลพญาพานจนเติบใหญ่ และส่งเสริมให้มีการศึกษาความรู้ที่ดี จนกระทั่งนาไปถวายตัวเพื่อเป็นบุตรบุญ ธรรมแก่เจ้าเมืองราชบุรี โดยคาดหวังว่าจะได้มีหลักปักฐานที่มั่นคงแก่ตนเองมี ความเจริญก้าวหน้าในการงาน และประสบความสาเร็จในชีวิต ดังที่ปรากฏใน เนื้อเพลงแหล่พญากง พญาพานขับร้องโดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ (2559 : ออนไลน์) ซึ่งมีเนื้อหาว่า ยายหอมจอมเศรษฐี ริมวารีเห็นเก็บมาเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อให้ว่าลูกพาน และสงสารเหมือนลูกในไส้ พอเข้าเกณฑ์ในการเรียน พาไปฝากพระครูเถียร เรียนเก่งกว่าใคร จากหลักฐานดังกล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่ายายหอมในบทบาทของ ความเป็นแม่นั้น ยายหอมสามารถทาหน้าที่ของแม่ได้อย่างดีเยี่ยมสอดคล้องกับ มงคล 38 ประการ (สิ่งที่ทาให้ชีวิตโชคดีและมีความสุข) ในมงคลที่ 12 ซึ่ง กล่ำวถึงกำรสงเครำะห์บุตรหรือกำรเลี้ยงดูลูก (พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ 2564: ออนไลน์) ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น การให้อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์ด้านนี้เป็นการสงเคราะห์เลี้ยงดูให้ร่างกายเจริญเติบโต ไปตามวัย และอีกด้านหนึ่ง คือ การสงเคราะห์ด้วยธรรม คือ การให้โอวาท แนะนาสั่งสอนให้ปฏิบัติดี ให้ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่ การให้การศึกษา ความรู้ การสงเคราะห์ในด้านนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้บุตรมีจิตรใจที่ดีงามมี คุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างของการทาหน้าที่ ผู้ปกครองบุตร
15 2.3 กำรขำด“สติ”ของพญำพำน การกระทาของพญาพานที่สั่งฆ่ายายหอม ผู้เปรียบได้เสมือนแม่บุญธรรม นั้น ถือเป็นปำณำติบำต ซึ่งหมายถึง การกระทาให้ชีวิตตกล่วง หรือการปลงชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในอกุศลกรรมบถ 10 คือ ทางแห่งอกุศลกรรม ทางทาความชั่วอัน เป็นทางนาไปสู่ความเสื่อม ควำมทุกข์ หรือทุคติ (พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2546: ออนไลน์) สาเหตุของการกระทาดังกล่าวเกิดขึ้นจากความไม่รู้ใน ข้อเท็จจริงของพญาพานเกี่ยวกับพญากงผู้ซึ่งเป็นบิดาของตนเอง และเข้าใจว่า ยายหอมปิดบังชาติกาเนิดตนเอง ทั้งๆ ที่ยายหอมเองก็ไม่ได้รับรู้มาก่อนว่า พญากงเป็นบิดาของพญาพาน ดังบทประพันธ์ตอนหนึ่งของพงษ์อนันต์ สรรพานิช (2542: 108-109,112) ได้บรรยายไว้ว่า พญาพาน: “ข้าไม่ใช่ลูกนาง ได้ยินไหม ข้าไม่ใช่ลูกของนาง” พญาพานทรงลั่นพระสุรเสียงดังสนั่น พร้อมกับทรงชักดาบออก จากฝัก “นางต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด นางต้องชดใช้ชีวิตทดแทนพ่อของข้า” พญาพาน โยนดาบลงต่อ หน้ายายหอม “เพราะนางปิดบังข้ามาตลอด ถ้าเพียงแต่นางบอก ว่าข้าเป็นบุตรใคร มีหรือที่ข้าจะกระทาในสิ่งที่เลวร้ายขนาดนี้” ยายหอม: “เรามิเคยรู้เลยว่า ท่านเป็นลูกใคร หากจะสรุป เอาตอนนั้น เราบอกได้แต่เพียงว่า พ่อแม่ท่านใจร้ายใจดาอามหิต ที่เอาท่านมาทิ้งน้าหวังให้ตาย” พระมเหสีเมืองราชบุรี (แม่บุญธรรม): “โธ่ พญาพานลูก แม่เอ๋ย อะไรทาให้ลูกไร้เหตุผลขนาดนั้น ลูกลองคิดดูนะว่า ยายหอมจะรู้ได้อย่างไรว่าพญากงเป็นพระบิดาของลูก”
16 ทหารเอก: “ถูกต้องพยะค่ะ ยายหอมไม่มีวันรู้ เพราะ ยายหอมเพียงเก็บพระโอรสได้จากแม่น้า จะทราบได้อย่างไรว่า พระองค์เป็นบุตรของใคร” ข้อคิดจากพฤติกรรมของพญาพานสะท้อนถึงหลักธรรมในทางพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “โมหะ” คือความไม่รู้ ความหลงเข้าใจผิด ไม่รู้สภาพที่เป็นจริง เป็น กิเลสซึ่งเกิดจากความคิดที่เห็นผิดไม่ใช่ปัญญาในการพิจารณาให้ประจักษ์ในเรื่อง นั้นๆ ให้เกิดความกระจ่าง รอบคอบถี่ถ้วน สิ่งนาไปสู่การก่ออกุศลในที่สุด (มูลนิธิ ศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา 2550: ออนไลน์) 2.4 กำรสำนึกรู้รับผิดชอบต่อกำรกระทำ หลังจากที่พญาพานได้ฆ่าผู้มีพระคุณทั้งสองคนอันได้แก่ พญากง และ ยายหอมไปแล้ว ได้เกิดความโศกเศร้า เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นาไปสู่ความ สานึกผิดกับการกระทาของตนเอง ดังที่สะท้อนจากบทเพลงแหล่ซึ่งขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (2559: ออนไลน์) กล่าวว่า จอมกษัตริย์แสนเศร้าอุรา ก้มกราบมารดาแล้วร้องไห้ ตัวลูกนี้มีบาปหนา ได้ฆ่าบิดาโดยไม่ตั้งใจ ลูกฆ่าพ่อโดยไม่รู้ตัว สร้างแต่ความชั่วมหันตภัย โกรธยายหอม ไม่บอกความเป็นมา ให้ประหารชีวิวาให้วางวาย หวลคิดถึงพระคุณทั้งสอง จึงสร้างเจดีย์ทองขึ้นถวาย ตั้งแต่วันนั้นมา ถือศีลภาวนาไปจนวันตาย
17 จะเห็นได้ว่าพญาพานเกิดความสานึกผิดจากการะทาของตนซึ่งถือว่าเป็น เรื่องที่ดีในการยอมรับความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระทา และจะไม่กระทาผิดนั้นอีก พญาพานยังมุ่งมั่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงตนเอง และให้อภัยตนเองเนื่องจากตนเป็น ผู้กระทาผิด พญาพานสานึกในความผิดดังกล่าว ดังเห็นได้จากมีการขอโทษผู้อื่น และชดเชยผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ ตามตานานพญาพานได้สร้างปฐมเจดีย์เพื่อ อุทิศแก่บิดา และสร้างพระประโทณเจดีย์เพื่ออุทิศแก่ยายหอม อย่างไรก็ตามการ กระทาของ พญาพานถือเป็น “กรรม” ที่เรียกว่าอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (หรือครุกรรม) ดังที่ปรากฏคือ การปิตุฆาต และมาตุฆาต ถือเป็น อกุศลกรรมให้ผลรุนแรงผู้กระทาต้องตกอบายภูมิหรือไปเกิดในนรกทันทีเมื่อ สิ้นชีวิต โดยกรรมดีที่สะสมมาไม่สามารถจะส่งผลหรือช่วยเหลือได้ ดังนั้น เมื่อได้รับวิบากกรรมหมดสิ้นในอบายภูมิแล้ว จึงกลับมารับกรรมดีได้ในภายหลัง (พระมหาบุญชู ภูศรี 2550: 109-110) 3. ตำนำนยำยหอมกับกำรสร้ำงแนวคิดในกำรพัฒนำชุมชน ตานานนอกจากช่วยอธิบายที่มาของภูมินาม การสร้างถาวรวัตถุ การให้แง่ คิดด้านศีลธรรมหรือชี้นาปัญญาให้แก่ผู้ศึกษาแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ได้ใช้ ตานานให้เป็นประโยชน์ด้วยการต่อยอด ดัดแปลง ประยุกต์สู่การพัฒนาชีวิตผู้คน และชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย ตานานจึงมีความหมายมากกว่าประวัติศาสตร์หรือ เรื่องราวที่หยุดนิ่งที่เป็นเพียงเพื่อการทาความเข้าใจเท่านั้น คนในชุมชน ท้องถิ่น แต่ละแห่งได้พินิจพิเคราะห์สาระสาคัญจากตานานเพื่อที่จะสร้างแนวคิดใหม่ๆที่ ตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ท้องถิ่นอย่าง สร้างสรรค์ในแต่ละช่วงเวลา สุนทรชัย ชอบยศ (2562: 115-138) ได้เสนอ มุมมองเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง และยั่งยืน ประกอบด้วยหลายลักษณะ ได้แก่ 1)การใช้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้าง
18 ความตระหนักและสานึกรักท้องถิ่น 2) การใช้ประวัติศาสตร์เพื่อต่อสู้กับอานาจ รัฐและทุนภายนอก 3) การใช้ประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวของ ชุมชน และ 4) การใช้ประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการศึกษาของคนในท้องถิ่น จาก แนวคิดดังกล่าวในทานองเดียวกันตานานก็สามารถนามาสร้างคุณูปการแก่ชุมชน ได้เช่นกัน ผู้เขียนจึงนามาปรับเป็นแนวทางการนาเสนอตานานยายหอมกับการ สร้างแนวคิดในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ดังนี้ 3.1 ตำนำนยำยหอมกับกำรสร้ำงเส้นทำงท่องเที่ยวเชิงประวัติศำสตร์ (Historic value route) จากตานานยายหอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตานานพญากง-พญาพานอันเป็น ตานานท้องถิ่นของจังหวัดนครปฐม ได้ทาให้เห็นร่องรอยของศาสนสถาน โบราณสถาน และวัดที่มีความเกี่ยวข้องหลายแห่งในตานานนี้ สามารถนามา กาหนดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยเส้นทางที่ผู้เขียนขอ นาเสนอนี้ประกอบด้วยไปด้วย 6 สถานที่ ได้แก่ จุดที่ 1 พระประโทณเจดีย์/ศาลยายหอม จุดที่ 2 เจดีย์จุลประโทณ2 2 ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดพระประโทณเจดีย์วรวิหารไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “เนินหิน” เพราะในอดีตบริเวณดังกล่าวมีการวางอิฐกระจัดกระจายอยู่โดยทั่ว ลักษณะของจุลประโทณเจดีย์เป็นเจดีย์สมัยทวราวดี มีผังเป็นรูปสี่เหลื่อมจตุรัสวางตัวอยู่ ในแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงเหนือกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์มีการสร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมซ้อนลดลั่นกันขึ้นไปสี่ชั้น แต่ละด้านของชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูป
19 จุดที่ 3 โบราณสถานวัดธรรมศาลา3 จุดที่ 4 คลองพญากง4 จุดที่ 5 โบราณสถานเนินพระ/โคกยายหอม จุดที่ 6 วัดดอนยายหอม/ศาลยายหอม 3 จากตานานกล่าวว่าภายหลังที่พญาพานกระทาปิตุมาตแล้วเกิดสานึกผิด จึงได้สร้างโรง ธรรมเพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุมพระสงฆ์ ในการนี้มีพระภิกษุได้แนะนาให้พญาพานสร้าง วัดและมหาเจดีย์และอุทิศโรงธรรมนั้นให้เป็นที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาสาหรับ พระสงฆ์ได้แสดงพระธรรมแก่คนในชุมชนจึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า “ธรรมศาลา” และ ภายหลังมีการสร้างวัด จึงเรียกว่า “วัดธรรมศาลา” (วรรณกร ชาวนาไร่, 2556: 58) ปัจจุบันพื้นที่ภายในวัดปรากฏเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างเป็นเจดีย์สมัย ทวราวดี มีฐานสี่เหลื่อมซ้อนชั้น มีการยกเก็จเป็นช่วงๆ ที่ผนังของฐานมีการประดับปูน ปั้นรูปใบไม้ ดอกไม้ตามศิลปะทวราวดี ส่วนด้านบนเจดีย์ได้พังหลายลงไปหมดแล้ว โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ถัดออกไปไม่ไกลจากวัดพระประโทณเจดีย์ 4 คลองพญากง สันนิษฐานว่าเป็นคูเมืองของเมืองนครปฐมโบราณสมัยทวารวดี
20 ภำพที่ 12 เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตานานยายหอม ที่มา : ผู้เขียน
21 เส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าวออกแบบการเดินทางเป็นครึ่งวัน (Half day tour) ที่สามารถทาให้ผู้ท่องเที่ยวเรียนรู้ความเป็นมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของศาสนสถาน วัด และในแต่ละแห่ง รวมทั้งคติความเชื่อของชุมชนที่มีต่อยาย หอม โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางไม่มากนัก เนื่องจากมีเส้นทางคมนาคมที่ไป มาอย่างสะดวก ซึ่งอาจเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล หรือการขี่จักรยานแบบ เป็นกลุ่ม จึงเป็นแนวคิดให้กับกลุ่มหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ดอนยายหอม สามารถใช้ทดลองเป็นจุดสร้างความน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวหรือกลุ่มคนที่ชื่น ชอบประวัติศาสตร์ คติชนวิทยาท้องถิ่นได้ 3.2 ตำนำนยำยหอ มกับกำรสร้ำงตรำสัญลักษณ์ของชุมชน (Community symbol) การนาสัญลักษณ์เกี่ยวกับตานานยายหอม เช่น ภาพจินตนาการยายหอม กับพญาพานหรือแม้กระทั่งเป็ดที่เป็นอาชีพของยายหอม มาสร้างเป็นภาพที่เป็น เสมือนตัวแทนของชุมชน ท้องถิ่นให้กับผู้คนภายนอกได้รับรู้และเป็นส่วนช่วย สร้างอัตลักษณ์ของชุมชน (Community Identity) โดยสามารถนาแนวคิดมา ดัดแปลงในการออกแบบสัญลักษณ์ในการดาเนินกิจกรรมหลายด้านได้ เช่น ตรา สัญลักษณ์ประจาหน่วยงานท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของชุมชน การส่งเสริมการจัด กิจกรรมหรือประเพณีของชุมชน เป็นต้น จึงควรมีการศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ถึง จุดเด่น และพัฒนารูปแบบสัญลักษณ์กับผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มต่างๆ ตาม วัตถุประสงค์ เพื่อหาความคิดเห็นร่วมกันเมื่อได้รูปแบบหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน แล้ว ควรจัดให้มีการประเมินผลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนาไปปรับปรุงให้เกิด ความเหมาะสมต่อไป
22 ภำพที่ 13 การประยุกต์แนวคิดตานานยายหอมในตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่มา : ผู้เขียน 3.3 ตำนำนยำยหอมกับกำรสร้ำงประดิษฐ์ประเพณีของชุมชน (Invented tradition) จากการสารวจในพื้นที่ตาบลดอนยายหอมพบว่า ในพื้นที่ยังไม่มีการจัด งานหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับยายหอมเป็นการเฉพาะ จะมีก็แต่เพียงการจัด งานประจาปีของวัดดอนยายหอมเท่านั้น ผู้เขียนจึงขอนาเสนอให้มีการจัดงานที่ ระลึกเกี่ยวกับตานานยายหอมโดยอาจตั้งชื่อต่างๆ เช่น งานประจาปีบูชา
23 ยายหอม ประเพณีไหว้ยายหอมประจาปี งานสักการะยายหอม เป็นต้น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชนจากการทา กิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของตานาน เรื่องราวความ เป็นมาของชุมชนแก่คนในชุมชนและคนภายนอก เนื้อหาสาระของการจัดงาน นอกจากจะให้ความสาคัญกับมิติด้านพิธีกรรมและประวัติศาสตร์แล้ว ยังควรเน้น กิจกรรมที่สื่อความหมายให้เห็นถึงแนวคิดด้านคุณธรรมและจริยธรรมความดี ของยายหอมที่มีต่อพญาพาน ซึ่งโดยนัยยะคือ ความมีเมตตากรุณากับเพื่อน มนุษย์ การแสดงความรัก ความปรารถนาดี และการทาหน้าที่ของแม่ที่มีต่อลูก เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ศึกษา กิจกรรมภายในงานอาจประกอบด้วยพิธีทาบุญ ทางศาสนา พิธีสักการะยายหอม การจัดนิทรรศการความเป็นมาของชุมชน การจัดเสวนาวิชาการในประเด็นประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น การแสดงตานาน พญากง พญาพาน การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดแข่งขันทางการศึกษา และ ศิลปะวัฒนธรรม การออกร้านจาหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นต้น โดยการ ดาเนินงานควรมีการระดมความคิดและทรัพยากรการดาเนินงานจากผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ในชุมชน เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น วัด โรงเรียน สถาบันการศึกษา องค์กรชุมชนเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันจัดงาน 3.4 ตำนำนยำยหอมกับกำรสร้ำงหลักสูตรชุมชนศึกษำสำหรับเยำวชน และผู้สนใจ ตานานยายหอมสามารถนามาถ่ายทอดเป็นหลักสูตรชุมชนศึกษา (Community Studies) เพื่อให้นักเรียน เยาวชนและผู้คนที่สนใจได้ศึกษาข้อมูล และเรียนรู้ความเป็นมา รวมทั้งเห็นในคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คติชนวิทยาของ ชุมชน อย่างไรก็ตามการสร้างหลักสูตรชุมชนศึกษาดังกล่าว คงมิจากัดเฉพาะใน มิติด้านประวัติศาสตร์หรือคติชนวิทยาเท่านั้น แต่ควรพิจารณาบริบทอื่นๆ ของ
24 พื้นที่โดยรอบ กล่าวคือ การศึกษาถึงลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน รวมผนวกเข้าไปด้วยเพื่อทาให้เกิดความเข้าใจของชุมชนดอนยายหอมแบบองค์ รวมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต การออกแบบหลักสูตรจึงควรมี การระดมสมองจากสถาบันการศึกษา องค์กรชุมชน วัด องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หน่วยงานราชการ เอกชน เพื่อร่วมกันตกผลึกความคิดกาหนดเนื้อหาทั้ง ในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติว่าจะให้นักเรียนหรือเยาวชนได้เรียนรู้อะไรบ้างในมิติ ต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมืองการปกครอง ศาสนา ศิลปกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชน เป็นต้น ตัวอย่าง หัวข้อที่ผู้เขียนขอนาเสนอเนื้อหาของหลักสูตรชุมชนศึกษาในพื้นที่ดอนยายหอม อาจพิจารณา ดังนี้ ภาคทฤษฎี : ตานานความเป็นมาของบ้านดอนยายหอม, ร่องรอยหลักฐาน
พื้นที่บ้านดอนยายหอม, เลี้ยงกุ้ง : อาชีพทางเลือกใหม่ของคนบ้านดอนยาย หอม, สารวจโรงงานในพื้นที่บ้านดอนยายหอม : ความสาคัญของการพัฒนา อุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม, การรวมตัวขององค์กรชุมชนเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นต้น ภาคปฏิบัติ : ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตร : กรณีศึกษา : ……การพัฒนา นวัตกรรมจากทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบ้านดอนยายหอม : กรณีศึกษา........ การจัดทาข้อมูลแผนที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านดอน ยายหอม แนวปฏิบัติที่ดีสาหรับการจัดการมลพิษในชุมชน : กรณีศึกษา.......... เป็นต้น
ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่บ้านดอนยายหอม, ศาสนสถานของพื้นที่บ้านดอน ยายหอม, กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่บ้านดอนยายหอม, พืชพันธุ์ทางการเกษตรใน
25 คติควำมเชื่อของชุมชนที่มีต่อยำยหอม คติความเชื่อ คือ การยอมรับนับถือยึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านั้น อาจได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการอธิบายด้วย หลักทางวิทยาศาสตร์ หรือเรียกว่า สิ่งเหนือธรรมชาติ (Supernatural) สิ่งนี้เป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกาหนดพฤติกรรม แบบแผนการใช้ชีวิต เป็นสิ่งยึด เหนี่ยวจิตใจ นาไปสู่การเกิดพิธีกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือคติชนใน กลุ่มชน พื้นที่ต่างๆ การศึกษาคติความเชื่อเกี่ยวกับ “ยายหอม” จึงเป็น การศึกษาข้อมูลด้านคติชนวิทยาซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่อยู่เหนือ ธรรมชาติของกลุ่มคนในพื้นที่ตาบลดอนยายหอม จังหวัดนครปฐมที่มีต่อ ยายหอมในฐานะที่เป็นตานานของท้องถิ่นแถบนี้ ผู้เขียนได้สารวจคติความเชื่อ จากสมาชิกในชุมชนตาบลดอนยายหอมจานวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนทางความคิด ของชุมชนเกี่ยวกับยายหอม ซึ่งมีผลดังนี้ 1. กำรรับรู้เรื่องรำวตำนำนยำยหอมของคนในชุมชน จากการสารวจพบว่าสมาชิกของชุมชนรับรู้เรื่องราวของตานานยายหอม มากที่สุด ร้อยละ 80 ระบุว่า “พ่อแม่เล่าให้ฟัง” รองลงมา คือ สถาบันการศึกษา ในชุมชนที่จัดหลักสูตรสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทาให้คนในชุมชน ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตานานยายหอมร้อยละ 60 นอกจากนี้ยังมีการรับรู้จาก ข้อมูลแหล่งอื่นๆ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง ร้อยละ 45 การศึกษา ข้อมูลด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือ เอกสาร ร้อยละ 35 การรับรู้จากพระสงฆ์ ครูอาจารย์ถ่ายทอดให้ฟัง ร้อยละ 35 และญาติพี่น้องเล่าให้ฟัง ร้อยละ 30 ตามลาดับ
26 การรับรู้เรื่องราวของยายหอมที่มีแหล่งที่มาจากพ่อและแม่นี้แสดงให้เห็น ว่าสถาบันครบครัวมีบทบาทสาคัญในการถ่ายทอดตานานยายหอมโดยได้ถูกส่ง ต่อจากคนรุ่นสู่คนอีกรุ่นด้วยมุขปาฐะ หรือการบอกเล่าปากต่อปาก ทาให้มีการ รับรู้มีพลังอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับครอบครัว และชุมชน 2. คติควำมเชื่อเกี่ยวกับยำยหอม 2.1 ควำมเชื่อในฐำนะที่เป็นสตรีในตำนำนของท้องถิ่นนครปฐม สมาชิกของชุมชนมีความเชื่อต่อยายหอมว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงใน ตานาน ดังจะเห็นได้จากการระบุว่า “ยายหอมเป็นสตรีที่ปรากฏในตานาน ท้องถิ่นนครปฐม เรื่อง พญากง พญาพาน” ร้อยละ 80 รองลงมา เชื่อว่ายายหอม เป็นบุคคลสาคัญทางประวัติศาสตร์ ร้อยละ 75 และเป็นบรรพชนต้นตระกูล ของคนในชุมชนดอนยายหอม ร้อยละ 45 ตามลาดับนอกจากนี้จากการเรียนรู้ ตานานของคนในชุมชนทาให้เกิดมุมองเกี่ยวกับยายหอมต่อการเป็นแบบอย่าง ด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย ได้แก่ การเป็นผู้มีจิตใจเมตตากรุณา โอบอ้อม อารี ร้อยละ 95 รองลงมา คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีในการทาหน้าที่ของแม่ ร้อยละ 50 การเป็นผู้ทาหน้าที่สงเคราะห์บุตรได้ดี ร้อยละ 45 และเป็นผู้รู้จักให้ อภัยต่อผู้กระทาผิด ร้อยละ 30แบบอย่างด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่คนใน ชุมชนรับรู้นี้ สามารถสะท้อนได้จากบทบาทของยายหอมที่ทาหน้าที่เสมือนแม่ ของพญาพาน ซึ่งเป็นผู้มีจิตใจที่ดีโดยนาพญาพานที่ถูกทิ้งไว้มาเลี้ยงดูแลเปรียบ เหมือนลูกของตนเอง ให้การศึกษาจนกระทั่งเติบโตพาไปถวายตัวกับเจ้าเมือง ราชบุรีเพื่อให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้านั่นเอง
27 2.2 ควำมเชื่อในฐำนะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน คนในชุมชนมีความเชื่อว่ายายหอมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน โดยเป็นที่ พึ่งพิงทางจิตใจให้แก่คนในชุมชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่คนใน ชุมชนเชื่อว่ายายหอมช่วยปกป้องรักษาคนในชุมชน ร้อยละ 70 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือประจาชุมชน ร้อยละ 65 เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว จิตใจของคนในชุมชน ร้อยละ 60 และสามารถดลบันดาลให้ประสบความสาเร็จ ร้อยละ 50 ความเชื่อเกี่ยวกับยายหอมในฐานะที่เป็นสตรีที่ปรากฏในตานานท้องถิ่น นครปฐม เรื่อง พญากง พญาพาน ซึ่งอยู่ในอันดับแรกนี้สะท้อนให้เห็นว่าตานาน พญากง พญาพานนี้เป็นตานานที่คนจังหวัดนครปฐมได้รู้จักและมีความคุ้นเคย มากเนื่องจากตานานพญากงพญาพาน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่บอกเล่าและ เชื่อมโยงที่มาของโบราณสถานและชื่อบ้านนามเมืองในภูมิภาคตะวันตก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เช่น พระปฐมเจดีย์ พระประโทณเจดีย์ เนินพระ บ้านสามพราน ธรรมศาลา เป็นต้น (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 2564: ออนไลน์) นอกจากนี้เมื่อยายหอมเป็นสตรีในตานานท้องถิ่น จึงทาให้ยายหอมถูก มองว่าเป็นบุคคลสาคัญทางประวัติศาสตร์ตามไปด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มี การก่อรูปทางความเชื่อและสร้างให้ยายหอมเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ของชุมชนดัง จะเห็นได้จากการสร้างสถานที่เคารพยายหอมไว้หลายใน ได้แก่ วัดพระประโทณ เจดีย์ฯ วัดดอนยายหอม บริเวณโบราณสถานเนินพระ รวมทั้งส่วนหนึ่งในวัดพระ ปฐมเจดีย์ฯ การสร้างวัตถุมงคลรูปปั้นบูชายายหอม เป็นต้น จึงเป็นคติความเชื่อ ของคนในชุมชนที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ทาให้เป็นที่มาของการขอพร บนบาน และนาสิ่งของต่างๆ มาสักการะ
28 ภำพที่ 14 รูปปั้นบูชาคุณยายหอม จัดสร้างโดยวัดดอนยายหอม ภำพที่ 15 เครื่องสักการะที่คนในชุมชนนามาสักการะยายหอมในสถานที่ต่างๆ
29 2.2.1 ควำมเชื่อเรื่องขอพรหรือกำรบนบำนสำนกล่ำว จากการสารวจคติความเชื่อของคนในชุมชนดอนยายหอมได้มีการ ขอพรหรือบนบานสานกล่าวของคนในชุมชนเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้ตามสิ่งที่ ประสงค์ โดยเรื่องที่อยู่ในอันดับแรก คือ ขอให้ธุรกิจที่ดาเนินการมีการทามาค้า ขึ้นเจริญก้าวหน้า ร้อยละ 75 รองลงมา คือ ขอให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร้อยละ 65 ขอหมายเลขมงคลเพื่อนาไปเสี่ยงโชค ร้อยละ 40 ขอให้มีความปลอดภัยจากการเดินทาง ร้อยละ 30 ขอให้ประสบ ความสาเร็จด้านการศึกษา ร้อยละ 25 ขอให้ประสบความสาเร็จด้านการติดต่อ ประสานงานระหว่างบุคคลและหน่วยงาน ร้อยละ 25 ขอให้ทางานในอาชีพ ตามที่คาดหวัง ร้อยละ 15 ขอให้ช่วยทานายหรือเสี่ยงทายสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ร้อยละ 15 ขอให้มีบุตรสืบสกุล ร้อยละ 5 และขอให้มีคู่ครอง ร้อยละ 5 จากเรื่องที่คนในชุมชนขอพรหรือบนบานสานกล่าวต่อยายหอม พบว่า มีความหลากหลาย โดยเรื่องที่อยู่ใน 2 อันดับแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย สาคัญในการดารงชีวิตทั้งจากการมีธุรกิจการงานที่เจริญก้าวหน้า และปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แสดงให้เห็นว่ายายหอมเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของคนใน ชุมชนนาไปสู่การสร้างพลังศรัทธาอย่างต่อเนื่องสะท้อนแบบแผนความสัมพันธ์ ระหว่างคนในชุมชนกับสิ่งเหนือธรรมชาติซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวพบเห็นในได้ หลายชุมชนท้องถิ่นของสังคมไทย 2.2.2 ควำมเชื่อในเรื่องเครื่องสักกำระ คนในชุมชนนิยมนาเครื่องสักการะยายหอมทั้งในโอกาสทั่วไป และ การได้รับผลสาเร็จจากการขอพร หรือเมื่อได้พรความประสงค์ โดยเครื่อง สักการะที่ผู้คนนิยมปฏิบัติมากที่สุดถึงร้อยละ 80 คือ ตุ๊กตาปั้นรูปเป็ด รองลงมา คือ หมาก พลู บุหรี่ และชุดเสื้อผ้าถุง โจงกระเบน ร้อยละ 40 ส่วนเครื่อง สักการะ อื่นๆ ที่ใช้ ได้แก่ ผลไม้มงคล ร้อยละ 35 ดอกไม้หลากสีสัน ร้อยละ30
30 ดอกดาวเรือง ร้อยละ 25 เครื่องสาอาง และหวี เครื่องดื่มที่มีสีสัน เช่น น้าแดง น้าเขียว น้าส้ม ร้อยละ 15 สร้อยคอ ร้อยละ 10 บายศรีและเหล้า น้าชา ร้อยละ 5 สาเหตุที่คนในชุมชนนิยมนาตุ๊กตาเป็ดมาเป็นเครื่องสักการะ ยายหอม เนื่องจากรับรู้ได้ตามตานานว่ายายหอมประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ด ส่วน ของสักการะประเภทอื่นๆ จะพบว่ามีลักษณะร่วมหรือคล้ายคลึงกันกับสิ่งของ บูชาเจ้าที่ ผีหมู่บ้าน นางไม้ ที่เป็นผู้หญิงโดยทั่วไป นอกจากคติความเชื่อเกี่ยวกับยายหอมของคนในชุมชนที่กล่าวมาข้างต้น แล้วจากการสารวจความคิดเห็นยังพบปรากฏการณ์หรือความศักดิ์สิทธิ์ของ ยายหอมที่คนในชุมชนได้สัมผัสด้วยตนเอง และรับฟังจากผู้อื่นมา ได้ให้ข้อมูล เพิ่มเติม เช่น “ฝากบุตรเป็นบุตรบุญธรรมกับยายหอม เด็กมักจะแข็งแรง และ เป็นเด็กฉลาด” “ขอพรแล้วสมดังใจในสิ่งที่ขอ” “ขอหวยถูกหวยแม่น นาเป็ดมาแก้บน” “เคยฝันเห็นยายหอมนั่งอยู่ในศาลาโสสฬ ครั้งนั้นได้อธิษฐานขอ อนุญาตใช้ชื่อร้านว่า “หลานยายหอม” ยายคงอนุญาตเลยมาเข้าฝัน”
31 บทสรุป การวิเคราะห์คุณค่าของตานานยายหอม มีความสาคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก ช่วยให้คาตอบต่อการทาความเข้าใจการกาหนด ภูมินามของชุมชนและการสร้างถาวรวัตถุในพื้นที่นครปฐม ประการที่สองเป็น ประโยชน์ต่อการให้ข้อคิดทางด้านศีลธรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมของตัวละครที่ ปรากฏในตานานช่วยกระตุ้นเตือนผู้ศึกษาเกี่ยวกับการทาตามบทบาทหน้าที่ ความมีเมตากรุณา การระลึกรู้สติ ตลอดจนการสานึกผิดชอบชั่วดี และประการ สุดท้าย คือ การต่อยอดแนวคิดจากตานานเพื่อเพิ่มมูลค่าหรือสร้างคุณูปการ ให้แก่ชุมชน ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม สาหรับการสารวจคติ ความเชื่อของชุมชนที่มีต่อยายหอม สรุปได้ว่าสมาชิกในชุมชนรับรู้เรื่องราวของ ยายหอมจากครอบครัวมากที่สุด คือ การที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง การรับรู้นี้ส่งผลต่อ คติความเชื่อเกี่ยวกับยายหอมออกเป็น 2 ลักษณะคือ เชื่อว่าเป็นสตรีในตานาน ท้องถิ่นของเมืองนครปฐม ดังนั้น ยายหอมจึงเป็นบุคคลสาคัญทางประวัติศาสตร์ ของชุมชน และถึงแม้ว่าจะมีการเชื่อว่าเป็นเพียงตานานก็ตาม แต่คนในชุมชน ยังคงมีคติความเชื่อว่ายายหอมเป็นเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปกป้องคนในชุมชน และ เป็นสิ่งยึดเหนียวจิตใจของผู้คนในชุมชนด้วย สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของการเป็นที่พึงทางจิตใจของคนใน ชุมชน มีการขอพร บนบาน เพื่อให้ตนเองประสบผลสาเร็จ นอกจากนี้คนใน ชุมชนยังมีความคิดเห็นว่ายายหอมเป็นสตรีที่ควรค่าแก่การยกย่องเนื่องจากเป็น ผู้มีจิตใจเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี และทาหน้าที่ในฐานะแม่ได้อย่างดีอันเป็น แบบอย่างด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่คนในชุมชนและสังคมควรถือปฏิบัติตาม
พระยำกง. กรุงเทพฯ : บริษัท ไพลิน บุ๊คเน็ต. พชรพงษ์ พุฒซ้อน. (2561). ศำลเจ้ำยำยหอมเลี้ยงเป็ดกับตำนำนพื้นบ้ำนที่สร้ำง โบรำณสถำน จังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.lek-prapai.org พนมกร นวเสลา. (2561). นครปฐมเมืองท่ำแห่งสหพันธรัฐทวำรวดี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www lek-prapai org พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนำนุกรมพุทธศำสตร์
32 เอกสำรอ้ำงอิง
ตัวละครที่ได้มาจากวรรณคดี สันสกฤต. วำรสำรภำษำและวรรณคดีไทย.
32-38. บุญรัตน์ โพธิไพรัตนา. (2547). คติเรื่องแม่ในคัมภีร์พระพุทธศำสนำเถรวำท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ธนบุรี. ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กาหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (2530, 1, ธันวาคม). รำชกิจจำนุเบกษำ เล่มที่ 104 ตอนที่ 246. พงษ์อนันต์ สรรพานิช.
ผจญภัญในตำนำนพระยำพำน
ฉบับประมวล ธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564, จาก https://84000.org /tipitaka/dic/d_item php?i=321 พระมหาบุญชู ภูศรี. (2550). อนันตริยกรรมในจารีตของอีสาน. วำรสำรลุ่มน้ำโขง. 3(2): 109-122.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). มรดกทำงภูมิปัญญำวัฒนธรรม : ตำนำนพญำกง พญำพำน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก http://ich. culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature/252-folk/515 m-s. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2535). พญากง พญาพาน:
9(2):
(2542).
12 พฤษภาคม 2564, จาก https://vajirayana.org/ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ. (2559). เพลงแหล่พระยำกง พระยำพำน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.lyric.in.th ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). ควำมสำคัญของตำนำนในประวัติศำสตร์ท้องถิ่น
33 พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ. (2564). มงคล ที่ 12 เลี้ยงดูบุตรมงคลชีวิต 38 ประกำร ฉบับทำงก้ำวหน้ำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.kalyanamitra.org/th/mngkhlchiwit38_detail. php?page=101 มนู วัลยะเพ็ชร์ และคณะ. (2522). กำรศึกษำทำงภูมิศำสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิ ประเทศของจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา. (2550). โมหะ เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรม อย่ำงไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564, จาก https://www. dhammahome.com/webboard/topic/6098. วรรณกร ชาวนาไร่. (2556). กำรประเมินกำรจัดกำรทรัพยำกรทำงวัฒนธรรมกับ กำรท่องเที่ยววัดพระปฐมเจดีย์รำชวรมหำวิหำร จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรทาง วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. วชิรญาณ.
: กรณีศึกษำตำนำนสิงหนวัติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
พฤษภาคม
จาก https://www.lek-prapai.org ศรีศักร วัลลิโภดม.
ตำนำนเป็นมำยำคติหรือประวัติศำสตร์ที่มีชีวิต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www lekprapai.org ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยำ : วิธีวิทยำในกำรวิเครำะห์ตำนำนนิทำนพื้นบ้ำน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(2564). นิรำศพระประธมของสุนทรภู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
2
2564,
(2550).
สันติ เล็กสุขุม และคณะ. (2552). ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 15 จังหวัด
นครปฐม. กรุงเทพฯ: ไซออนมีเดีย. สุกัญญา ภัทราชัย. (2525). พญากง พญาพานในเพลงพื้นบ้าน. วำรสำรเมือง โบรำณ. 8(3): 45-47. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). พญำกง พญำพำน วรรณกรรมอยุธยำ ลูกฆ่ำพ่อสร้ำง สถูปล้ำงกรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก
(2558). ตานานพญากงพญาพาน ร่องรอยความสัมพันธ์ของ ชาวเมืองในภูมิภาคตะวันตกของไทย. วำรสำรไทยคดีศึกษำ.11(1):219-256. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2564). พระประโทณเจดีย์:
สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://
esso co th William R. Bascom. (1954). Four Function of Folklore. The Journal of American Folklore. 67(266): 333-349.
34
เข้มแข็งและยั่งยืน. วำรสำรสถำบันพระปกเกล้ำ.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม.
สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล.
https://www sujtwongthes com สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). ประวัศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนารากฐานท้องถิ่นที่
17(2): 115-138.
(2564). ประวัติวัดดอนยำยหอม. [ออนไลน์].
www.nkppao.go.th.
มหำเจติยสถำนกลำงเมืองนครปฐม โบรำณ. [ออนไลน์].
www