บรรณานิทัศน์งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา

Page 1

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัย ด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขาประเสริฐ 2554



บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

1

บทสังเคราะห์ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1)สถานภาพงานเขียน งานวิจัยด้าน ธนบุรีคดีศึกษาโดยจาแนกตามสาขาวิชาและแหล่งที่มา 2)วิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับงานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา และ 3)เสนอแนะประเด็นที่น่าสนใจสาหรับ การสร้างสรรค์งาน เขียน งานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านธนบุรีคดีศึกษา ระยะเวลา ดาเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553–มีนาคม 2554 รวบรวมงานเขียนไว้จานวน 63 ชื่อ เรื่อ ง จากแหล่ ง สารสนเทศของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจ านวน 7 แห่ ง ได้ แ ก่ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ มหาวิทยาลั ยราชภั ฏ ธนบุ รี มหาวิท ยาลั ยราชภัฏ บ้ านสมเด็ จเจ้ าพระยา และศู น ย์ มานุษยวิทยาสิรินธร ผลการศึกษาสรุปดังนี้ 1) สถานภาพงานเขียน งานวิจัย ด้านธนบุรีคดีศึกษา จาแนกตามสาขาวิชา พบว่า จากงานทั้งหมดจานวน 63 ชื่อเรื่อง จานวนมากที่สุดอยู่ ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ จานวน 32 ชื่อเรื่อง รองลงมา คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง จานวน 11 ชื่อเรื่อง สาขาวิชามานุษยวิทยา/วัฒนธรรมศึกษา จานวน 7 ชื่อเรื่อง สาขาวิชาการท่องเที่ยว จานวน 4 ชื่อเรื่อง สาขาวิชาศิลปกรรม จานวน 3 ชื่อเรื่อง สาขาวิชาสังคมวิทยา สาขาวิชาภาษา และวรรณคดี จานวนสาขาวิชาละ 2 ชื่อเรื่อง และสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาครุศาสตร์ จานวนสาขา วิชาละ 1 ชื่อเรื่อง เมื่อพิจารณาจากแหล่งที่ผลิตผลงานทางวิชาการจาแนก ตามสถาบันอุดมศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีผลิตผลงานด้านธนบุรีคดีศึกษามาก ที่ สุ ด จานวน 13 ชื่ อ เรื่อ ง รองลงมา คื อ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิท ยาลั ย จ านวน 9 ชื่อ เรื่อ ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จานวน 5 ชื่อเรื่อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จานวนมหาวิทยาลัยละ 4 ชื่อเรื่อง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลจ านวนมหาวิ ท ยาลั ย ละ 3 ชื่ อ เรื่ อ ง มหาวิ ท ยาลั ย รามค าแหง และ มหาวิ ท ยาลั ย หั ว เฉี ย วเฉลิ ม พระเกี ย รติ และมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนดุ สิ ต จ านวน มหาวิทยาลัยละ 1 ชื่อเรื่อง ส่วนที่เหลืออีก 19 ชื่อเรื่อง เป็นผู้เขียนอิสระที่ไม่ได้สังกัดอยู่ใน สถาบันอุดมศึกษา เหตุที่มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ผลิตงานเขียน งานวิจัยด้านนี้มากที่สุด เนื่องจากเป็นนโยบายที่มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรีได้ ให้ความสาคัญมาโดยตลอดดังจะเห็น การจัดให้มีการประชุมสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับพื้นที่ย่านฝั่งธนบุรีอยู่หลายครั้ง และได้มีการ จัดพิมพ์หนังสือหลังจากประชุมหลายเล่ม รวมทั้งมีการจัดทาหนังสือเกี่ยวกับพื้นที่ธนบุรีเนื่อง ในวาระครอบรอบการสถาปนามหาวิท ยาลั ย ฯหลายเล่ ม ด้ ว ยกั น ยิ่ ง ไปกว่ านั้ น คื อ การที่ คณาจารย์ของมหาวิทยาลั ยฯผลิ ต ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับพื้น ที่ฝั่ง ธนบุรีออกมาอย่าง


2

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ต่อเนื่องและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติจึงทาให้เป็นที่รับรู้ ในแวดวงวิชาการไทยอย่างแพร่หลาย การดาเนินงานของมหาวิทยาลัยฯดังกล่าวสอดรับกับ พั น ธกิ จ อุ ด ม ศึ กษ าของม ห าวิ ท ยาลั ยราชภั ฏ ทั่ วป ระเท ศ ที่ เน้ น ใน เรื่ อ งก ารเป็ น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในสถานที่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งตั้งอยู่ 2) การวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับงานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึ กษา พบว่า จาก งานทั้ ง หมด จานวน 63 ชื่อ เรื่อ ง สามารถที่ จ ะสรุป ประเด็ น เนื้ อหาทางวิช าการเกี่ ย วกั บ การศึกษาพื้นที่ฝั่งธนบุรี ได้ 7 ประเด็นดังนี้ 2.1) การศึ ก ษาประวัติ ศ าสตร์ เมื อ งธนบุ รีในอดี ต ตั้ ง แต่ ช่ วงปลายกรุง ศรี อยุธยาล่มสลาย เหตุการณ์บ้านเมือง การปกครอง และการสิ้นสุดยุคธนบุรี 2.2) การศึกษาพระราชประวัติ ของสมเด็ จพระเจ้าตากสิ น มหาราชในทุ ก แง่มุมเริ่มจากภูมิหลัง พระราชกรณี ยกิจด้านต่างๆ และโดยเฉพาะการมุ่งความสนใจไปที่ เหตุการณ์ ช่วงปลายสมัยธนบุรีในประเด็นสถาบันศาสนา รวมทั้งสาเหตุ ข้อสันนิษฐานการ สวรรคต 2.3) การศึ ก ษาชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ของพื้ น ที่ ฝั่ ง ธนบุ รี โ ดยเฉพาะพื้ น ที่ ชุ ม ชนที่ กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองเก่าในมิติประวัติความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงของชุมชนจากอดีต ถึงปัจจุบัน 2.4) การศึ กษาเกี่ยวกับ มรดกทางวัฒ นธรรม และภูมิปัญ ญาท้องถิ่นที่ยัง ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ในชุมชนซึ่งกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนฝั่งธนบุรใี นปัจจุบัน 2.5) การศึ ก ษากลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ในมิ ติ ค วามเป็ น มา ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรม ประเพณี พิธีกรรม และเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม 2.6) การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒ นาการท่องเที่ยวด้วยแนวคิดเชิงนิเวศ และ การนาแหล่งวัฒนธรรมของชุมชนมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อชุมชน 2.7) การศึกษาวิถีชีวิต ในแถบชานเมื องเน้นที่การด ารงอยู่ของวัฒ นธรรม ชาวสวน และการเปลี่ยนแปลงของตลาดน้าชุมชน 3) ข้อเสนอแนะในประเด็นที่น่าสนใจสาหรับการสร้างสรรค์งานเขียน งานวิจัยที่จะ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านธนบุรีคดีศึกษา มีดังนี้


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

3

3.1) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมในกลุ่มของชาติ พันธุ์ซึ่งมีอยู่หลากหลายในพื้นที่ชุมชนฝั่งธนบุรีในประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างความเป็นน้า หนึ่งใจเดียวกันของชุมชน การต่อสู้แก้ไขปัญหาร่วมกันของคนหลายชาติพันธุ์ เป็นต้น 3.2) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามย่านที่ชุมชน หนาแน่น และมีการพั ฒนาอย่างรวดเร็ว ของธนบุรีในปัจจุบัน เช่น ย่านถนนอิสรภาพ ย่าน ราษฎร์บูรณะ ย่านบางกอกน้อย ย่านปิ่นเกล้า ที่เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง ชัดเจน 3.3) ควรมีการศึกษาการก่อตัวของกลุ่มประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนไหวทากิจกรรมเพื่อพัฒนาธนบุรีในประเด็นต่างๆ 3.4) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต เอกลักษณ์ทาง สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาวซิกส์ที่อยู่ในพื้นที่ธนบุรี เนื่องจากไม่ค่อยปรากฏงานศึกษา มากนัก 3.5) ควรมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ ประวัติ บุคคลส าคัญของ พื้นที่ธนบุรีโดยมีการวิเคราะห์บทบาท ผลงานที่สาคัญต่อการพัฒนาเมืองธนบุรี 3.6) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของหมู่บ้านจัดสรรในเขตชานเมือง ธนบุรีว่ามีทิศทางการเกิดขึ้น และดารงอยู่ได้อย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อวิถีชีวิต ของคนที่อยู่ในชุมชนดั้งเดิมว่าสามารถปรับแปลงตนให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร 3.7) ควรมีการศึกษาบทบาทของสถาบันการศึก ษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อ การพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรีในมิติต่างๆ 3.8) ควรมีการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ย่านฝั่งธนบุรีกับพื้นที่อื่นๆที่ อยู่ โดยรอบเช่ น พื้ น ที่ ฝั่ ง ตะวัน ออกกรุง เทพมหานคร พื้ น ที่ จัง หวั ด ปริม ณฑล ในมิ ติ ท าง เศรษฐกิจ สังคม เช่น การเคลื่อนย้ายประชากร การเกษตรกรรม และการศึกษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 3.9) ควรมีการศึกษาและวางแผนแม่บทเกี่ยวกับพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรีในเชิง สังคมและวัฒนธรรมโดยภาพรวมเพื่อกาหนดทิศทางการพัฒนาสังคมธนบุรีที่ยั่งยืนในอนาคต -------------------------------


4

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

สาระสังเขปงานเขียน งานิวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษาเรียงลาดับตามตัวอักษร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). ธนบุรีศรีมหาสมุทร.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. 165 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. เป็ น หนั ง สื อ ที่ ก รมวิ ช าการจั ด ท าขึ้ น โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ เป็ น หนั ง สื อ อ่ า น เพิ่มเติมกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับประถมศึกษาและกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษา มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรีนับตั้งแต่เริ่มเป็นราชธานี พระราช ประวั ติ ส มเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช การกอบกู้ เอกราช รวมทั้ ง กล่ า วถึ ง สภาพทาง ภู มิ ศ าสตร์ ศิ ล ปวัฒ นธรรมประเพณี สถานที่ ส าคั ญ ต่ างๆ เช่ น วัด อุท ยาน พิ พิ ธภั ณ ฑ์ พระราชวัง ตลอดจนเรื่องของวัดกัลยาณมิตรและแหล่งศิลปวัฒนธรรมรอบบริเวณดังกล่าว กวี รักษ์พลอริยคุณ. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนย่าน ตลาดพลู.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยศึกษา) มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี. 173 หน้า. ตาราง. ภาพประกอบ. วิ ท ยานิ พ นธ์ ข องกวี รัก ษ์ พ ลอริ ย คุ ณ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะศึ ก ษาถึ ง วิ วั ฒ นาการ ของการเปลี่ยนแปลงในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของบริเวณที่เรียกว่า “ย่านตลาดพลู ” ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จจุ บั น และศึ กษาถึ ง ผลกระทบของการเปลี่ ยนแปลง ตลอดจนการปรับ ตัวของผู้คนในย่านตลาดพลูต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ 2 ประการ คือ ประการแรก ชุมชนย่านตลาดพลู มีประวัติ ความเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา โดยมีกลุ่ม ชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก คือ กลุ่มชาวไทยซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่นี้มาแต่ดั้งเดิม และต่อมามีกลุ่มที่ อพยพจากกรุงศรีอยุธยา และพื้นที่ใกล้เคียงมาสมทบ กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มชาวจีน ซึ่งอพยพเข้า มามากในช่วงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีและในช่วงเวลาต่อมาที่ประเทศจีนเกิดความแห้งแล้ง และขาดแคลนอาหาร กลุ่ ม ที่ 3 คือ กลุ่ ม ชาวมอญซึ่ งเป็น กลุ่ ม นายกองมอญขนาดเล็ ก ที่ อพยพเข้ามาในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในปัจจุบันไม่ปรากฏกว่ามีเชื้อสายของกลุ่ม


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

5

มอญเหล่านี้หลงเหลืออยู่ และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายมาจาก กรุงศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงกลุ่มหนึ่ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยสงคราม มาจากเมืองปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1 ประการที่ส อง การเปลี่ ยนแปลงทางสั งคมและวัฒ นธรรมในชุม ชนย่านตลาดพลู เกิดขึ้นโดยมีปั จจัยสาคัญ อยู่ 3 ประการคือ 1)นโยบายของภาครัฐ 2)ประชากร 3)ค่านิยม และการศึกษา ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิ จ สั ง คม และ วั ฒ นธรรม และก่ อ ให้ เกิ ด ผลกระทบในหลาย ๆด้ า น โดยการ เปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เริ่มขึ้นเมื่อมีการขุดคลองในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2065) และหลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2444) รัฐได้มีนโยบายสร้างทางรถไฟ ผ่านเข้ามาในย่านตลาดพลู ซึ่งทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นที่ และเกิดการขยายตัวทาง เศรษฐกิ จ ไปจากเดิ ม ซึ่ ง มี ก ารเกษตรกรรมเป็ น หลั ก โดยมี “พลู ” เป็ น ผลิ ต ผลที่ ส าคั ญ การพั ฒ นาของภาครัฐในเวลาต่ อมาคือการตั ด ถนนผ่านเข้ามาในย่านนี้ อีก 3 สาย ได้ แก่ ถนนเทอดไท ถนนรัช ดา–ท่ าพระ และถนนตากสิ น –เพชรเกษม เป็ น สิ่ ง ที่ ก่ อ ให้ เกิ ด การ เปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพและทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้จานวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นจากความเจริญทางการค้าในบริเวณตลาดพลู และค่านิยมทางการศึกษาสมัยใหม่ เป็ น ปั จจั ย ส าคั ญ อี ก 2 ประการที่ ก่ อ ให้ เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงด้ านเศรษฐกิ จ สั ง คม และ วัฒนธรรม โดยเฉพาะการเสื่อมความนิยมในการกินหมากและพลู ทาให้ย่านตลาดพลูซึ่งเคย เป็นแหล่งปลูกพลูที่มีชื่อเสียงในย่านบางกอกมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อคนในสังคม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในย่านตลาดพลูได้ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวและระบบ เครือญาติ ทาให้เกิดมีครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในแบบแผนและลักษณะการ ประกอบอาชีพ ส าหรับ ในด้านวัฒ นธรรมและประเพณี ของแต่ ละกลุ่ม ชนในย่านตลาดพลู พบว่าสามารถรักษาเอกลั กษณ์ ทางวัฒ นธรรมและประเพณี ไว้ได้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะใน กลุ่มชาวไทยมุสลิม ส่วนชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางด้ านประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆไปบ้าง โดยมีประเพณี บางอย่างถูกลด ความสาคัญลงซึ่งมีเงื่อนไขมาจากปัจจัยด้านค่านิยมและสภาพเศรษฐกิจ


6

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

กิตติพร ใจบุญ และคณะ. (2544).โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรมให้เป็น แหล่งเรียนรู้และแหล่งหารายได้ของประชาชน : กรณีศึกษาย่านกุฎีจีนและพื้นที่ ใกล้เคียง. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.30 หน้า.ภาพประกอบ. งานวิจัยของกิตติพร ใจบุญและคณะมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความ เป็นมาและสืบค้นแหล่งวัฒนธรรมต่างๆของชุมชนย่านกุฎีจีนและพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้ง ศึกษาศักยภาพและนาเสนอแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม และการจัดการแหล่งวัฒนธรรม ในย่านกุฎีจีนและพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของชุมชน ข้อค้นพบจากการวิจัยชิ้นนี้ สรุปว่าแหล่งวัฒนธรรมในย่านกุฎีจีนและพื้นที่ใกล้เคียงที่ สาคัญมีอยู่จานวน 9 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนมีสถานภาพและบทบาทความสาคัญหลายอย่าง ในขณะเดียวกัน เช่น การเป็นทั้งศาสนสถาน และโบราณสถาน เป็นแหล่งท่องเที่ยว และ หรือเป็นแหล่งผลิตสินค้าอันเป็นรายได้ของชุมชน เป็นต้น การพิ จ ารณาศั กยภาพของแหล่ ง วัฒ นธรรม คณะผู้ วิจัย ได้ ก าหนดเกณฑ์ /ปั จ จั ย ประกอบการคั ด เลื อ กไว้ 7 ประการ คื อ มี ท รั พ ยากรทางวั ฒ นธรรมเพื่ อ การเรี ย นรู้ มี ท รั พ ยากรที่ ส ามารถพั ฒ นาให้ เป็ น การสร้ า งรายได้ การเข้ า ถึ ง สะดวก มี วิ ท ยากร/ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แนะนา มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น มีหน่วยงาน/องค์กรเข้าไปพัฒนา และผู้ครอบครองหรือเจ้าของแหล่งวัฒนธรรมมีความเต็มใจที่จะพัฒนา และได้คัดเลือกแหล่ง วัฒนธรรมตัวอย่างสาหรับการกาหนดรูปแบบการพัฒนา 5 แหล่ง ได้แก่ โบสถ์วั ดซางตาครู้ส และขนมฝรั่งกุฎีจีน วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิห าร มัส ยิดบางหลวง(กุฎีขาว) ศาลเจ้าเกียน อันเกง และบ้านเครื่อง วงปี่พาทย์พาทยโกศล สาหรับการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ กิตติพรและ คณะเสนอว่า ผู้ที่ควรมีบทบาทในการพัฒนาได้แก่ ชุมชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงาน ภาครัฐ โดยชุมชนควรมีบทบาทในด้านการมีส่วนร่วมทั้งการวางแผนพัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ความรั บ ผิ ด ชอบ การตรวจสอบและรั บ ผลประโยชน์ จ ากการพั ฒ นาแหล่ ง วั ฒ นธรรม สถาบันการศึกษาควรสร้างกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ข้อมูลจากแหล่ง วัฒนธรรม สุดท้ายหน่วยงานภาครัฐ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกระจายอานาจ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

7

กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ. (2545). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้าสู่เมือง บกในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุร.ี วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การวางแผนภาคและเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 308 หน้า. ตาราง. แผนที่. ภาพประกอบ. วิทยานิพนธ์ของกิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะรูปแบบ การตั้งถิ่นฐานที่เปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เคยพึ่งน้า เป็นเมืองสมัยใหม่แบบเมืองพึ่งบก โดย แสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจึงศึกษาเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อดี และข้อเสียของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกศึกษาถึง เหตุแห่ งการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพออกเป็น 11 ช่วงยุคที่ ตามสาเหตุการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญในพื้นที่ ศึกษา ซึ่งเมื่อได้ทราบถึงลักษณะและรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงที่ เป็นมาแล้ว จากนั้นจึงศึกษาต่อถึง ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก การเข้ามาของปัจจัยการดารงชีวิตแบบเมืองบก ผ่านตัวอย่างชุมชนในพื้นที่ศึกษาทั้ง 11 แห่ง ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ทาให้ได้ทราบถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนพึ่งน้าสู่ เมืองพึ่งบก โดยเกิดจาก 1)บทบาทที่เป็นมาของพื้นที่ทั้งจากการเชื่อมโยงในระดับที่แตกต่าง กัน 2) นโยบายและค่านิยมในแต่ละช่วงยุค และ 3)ปัจจัยทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตาม ธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ซึ่งทั้งหมดต่างผูกผันและเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอดทั้งในช่วง ยุคเดียวกันและระหว่างช่วงยุค เป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งทาให้ ได้ทราบถึงผลของปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับบทบาทเดิมของพื้นที่ และสภาพทาง กายภาพที่เปลี่ยนไป ทาให้ชี้ระบุได้ถึงข้อดีและข้อเสีย ของแต่ละปัจจั ยการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น กุณฑล วัฒนวีร์. (2548). พระเจ้าตาก “พระสติวิปลาส” จริงหรือ. กรุงเทพฯ : ปีวอก. 160 หน้า. ภาพประกอบ. งานเขียนของกุณฑล วัฒนวีร์ รวบรวมข้อมูลพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช เหตุการณ์ สาคัญ ในสมัยธนบุรี เหตุการณ์อันอาจนาไปสู่พระสติวิปประลาส และ เหตุการณ์หลังสวรรค์ ประกอบด้วย 18 หัวเรื่อง ได้แก่


8

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ก่อนตั้งตัวเป็นพระเจ้าตาก ข้าคือพระเจ้าตาก (สิน) ที่มั่นเมืองเพชรบุรี สู่กรุงธนบุรี สร้างราชธานีใหม่ ปราบดาภิเษกและสร้างเอกภาพภายในประเทศ เกิดอาเพศ เหตุวิปลาส เดินหน้าสร้างเสถียรภาพภายใน สู้ศึกภายนอก สร้างศักยภาพกรุงธนบุรี มหายุทธที่พิษณุโลก มีความนัย การศาสนาและวิปัสสนากรรมฐาน เจ้าจอมมารดาฉิม ใหญ่ กลไกแห่งอานาจ ได้พระแก้วมรกต มรดกล้าค่าของแผ่นดิน เกิดตระกูลดัง ครั้งแต่งทูตไปเมืองจีน ศึกษาเขมร สู่ประเด็นกบฏ เอหิภิกขุ ชาระพระเคราะห์เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระสติ วิ ป ลาสหรื อ ? ค าสั่ ง ประหารสมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น ฯ บทสรุ ป ในตอนท้ า ยของเล่ ม มี ภาคผนวกที่รวบรวมข้อมูล 2 เรื่อง คือ เกิดอะไรขึ้นบ้าง หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวรรคต และปั จ ฉิ ม ลิ ขิ ต “พระราชกรัณ ยานุ ส ร” พระราชนิ พ นธ์ในพระบาทสมเด็ จ เจ้ า จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (กล่าวถึงพระเจ้าตากสิน และพระแก้วมรกต)

เขมชาติ วงศ์ทิมารัตน์.(2546). แนวทางการอนุรกษ์คลองและชุมชนริมคลองบางกอกใหญ่. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางผังเมือง). คณะสถาปัตกยรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 236 หน้า. ตาราง ภาพประกอบ. แผนที่.แผนภูมิ. วิ ท ยานิ พ นธ์ ข องเขมชาติ วงศ์ ทิ ม ารั ต น์ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะศึ ก ษาคุ ณ ค่ า และ เอกลักษณ์ของคลองและชุมชนริมคลอง วิเคราะห์บทบาทและศักยภาพในการอนุรักษ์คลอง และชุมชนริมคลอง รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ คลองและชุมชนริมคลองบางกอก ใหญ่ ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ว่า คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ที่ ยังมีโคร่งข่ายคลองย่อยที่สมบู รณ์ โดยเป็นแม่น้าเจ้าพระยาสายเดิ มก่อนมีการขุดคลองลั ด มีชุมชนที่มีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบชุมชนริมน้าที่มีคุณค่าตลอดแนวคลอง ทั้ง ศาสนสถาน บ้านริมคลอง สภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ซึ่งทาให้เกดเป็นโครงสร้างเมืองและ องค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มีการใช้คลองเป็นเส้นทางแห่พระในประเพณีชักพระ และเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้า สาหรับองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนริมคลอง คือ การมีรูปแบบการตั้งถิ่น ฐานของชุมชนน้า ที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งการวาอาคารหันหน้าเข้า หาคลอง องค์ ป ระกอบภายในชุ ม ชนที่ แ สดงความสั ม พั น ธ์ กั บ สภาพแวดล้ อ มริ ม น้ า ประกอบด้วยพื้นที่กิจกรรมทางสังคม ทางเดินเท้า มุมมอง และระบบกิจกรรมภายในชุมชนที่


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

9

มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ การใช้ ค ลองในชี วิ ต ประจ าวั น ซึ่ ง จะมี ค วามแตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะ ชุมชนย่อย เขมชาติ ได้ เสนอแนวทางอนุ รั ก ษ์ ค ลองและชุ ม ชนริ ม คลองบางกอกใหญ่ ไ ว้ 4 แนวทาง คือ 1) การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของคลองเพื่อรองรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมและ การท่องเที่ยว 2) การอนุรักษ์รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและองค์ประกอบของชุมชนริมคลองโดย ใช้มาตรการทาง ผังเมือง 3) การอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางสถาปัตกยรรมและสภาพแวดล้อม ของแต่ล ะชุมชนย่อ ยโดยออกข้อกาหนดควบคุม ความสู งและรูปแบบอาคาร 4) การฟื้นฟู ระบบกิ จ กรรมของชุม ชนให้ ส อดคล้ อ งกั บ การอนุ รักษ์ เพื่ อ รองรับการขยายตั วขอเมื องใน อนาคต

จรรยา ประชิตโรมรัน.พลตรี. (2543). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 248 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. งานเขียนของพลตรีจรรยา ประชิตโรมรัน รวบรวมข้อมูลพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ที่เน้นหนักไปปัญหาทางการศึกสงคราม และการเมืองในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบด้วย 52 หัวเรื่องที่สาคัญ ได้แก่ พระราชประวั ติ ข องสมเด็ จ พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี ม หาราช พม่ า ตี เ มื อ งปั กษ์ ใ ต้ การปฏิบั ติของการอาทมาต พระยาตากสินตี ค่ายหม่าที่วัดโปรดสัต ว์ การรบของพระยา ธิเบศร์ปริยัติ พระยาตาน และพระยาตาก (คองบอง) การยิงโต้ตอบกันด้วยปืนใหญ่ การรบ ที่วัดป่าแก้ว การรบที่บ้านโพธิ์สังหาร การรบที่บ้านพรานนก การรบที่ปราจีนบุรี การยึดเมือง ระยอง พวกต่างๆที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ เจ้าตากปราบขุนรามหมื่นช่อง การยึดเมืองชลบุรี เจ้า ตากตีเมืองจันทบุรี เจ้าตากตีสาเภาจีน เจ้าตากตี เมืองธนบุรี พม่าที่เพนียดถอย การตีค่าย โพธิ์สามต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การทหารสมัยธนบุรี การรบที่บางกุ้ง การตีพวก เจ้าเมืองพิษณุโลก การตีพวกเจ้าพิมายที่นครราชสีมา การตีพวกเมืองนครศรีธรรมราช การตี เมืองเขมร การตีพ วกเจ้าพระฝาง ทัพพม่าตี เมืองสวรรคโลก กองทั กไทยตี เมืองเชียงใหม่ ครั้งแรก เขมรรุกรานไทย กองทัพไทยตีเมืองเขมร พม่าตีเมืองพิชัยครั้งแรก พม่าที่เมืองพิชัย ครั้งที่สอง กองทัพไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง การเข้าตีพม่าที่เมืองตาก การล้อมพม่าที่ บางแก้ว การตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้ม และปากแพรก อะแซหวุ่ นกี้เตรียมการตีหัวเมืองเหนือ พม่าเข้าประชิดเมืองเชียงใหม่ การเข้าตีกองรักษาด้านของพม่าที่บ้านกงธานี อะแซหวุ่นกี้ ล้ อ มเมื อ งพิ ษ ณุ โ ลก (ประกอบด้ ว ย 4ตอน ได้ แ ก่ ตอนที่ 1 การส่ ง ก าลั ง และการถู ก


10

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ขัด ขวางอะแซหวุ่นกี้ขั ด ขวางการส่ งกาลั งของไทย ตอนที่ 2 การตี โต้ ต อบไทย ตอนที่ 3 ปัญ หาการยึดเมืองพิษณุโลก ตอนที่ 4 ทัพไทยทิ้งเมืองพิษณุโลก) ทัพไทยตีพม่าที่ใต้เมือง เพชรบูรณ์ การปราบปรามทหารพม่าที่ตกค้างในดินแดนไทย พม่าตีเมืองเชียงใหม่ ทัพไทย ปราบกบฏเมืองนางรองและได้หัวเมืองลาวและเขมร สงครามระหว่างกรุงธนบุรีและกรุงศรี สัตนาคนหุต การปราบจลาจลในเมืองเขมร เหตุการณ์จลาจลในกรุงธนบุรี สรุปการรบและ การสงครามของสมเด็จเจ้าพระเจ้าตากสินมหาราช

จรูญพันธ์ บรรจงภาค.(2546).วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างน้าและชุมชนพักอาศัย ริมน้า กรณีศึกษาคลองบางกอกน้อย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 244 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. วิทยานิ พ นธ์ของจรูญ พั น ธ์ บรรจงภาค มีวัต ถุประสงค์ที่ จะศึกษาพั ฒ นาการของ สถาปัต ยกรรมและน้ากับ วิถีชีวิต โดยมุ่งทาความเข้าใจความสัม พันธ์ของน้าและชุมชนพัก อาศัยริมน้าภายใต้กรอบการเปลี่ยนแปลงของเวลา โดยค้นหาสภาพความเป็นชุมชนริมน้าใน ปัจจุบัน รวมทั้งปัจจัยที่ทาให้ความเป็นชุมชนริมน้ายังดารงอยู่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไปโดย เลือกพื้นที่ชุมชนย่านคลองบางกอกน้อยเป็นกรณีศึกษา ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก ปั จจัยที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การวางนโยบายของรัฐ ระบบ คมนาคม และการพัฒนาของเมืองโดยรวม และปัจจัยภายใน ได้แก่ ค่านิยม รูปแบบชีวิต การเปลี่ยนความเชื่อ ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะกับส่วนที่ขยายเพิ่มขึ้นของชุมชน สาหรับชุมชนพัก อาศั ยริม น้ ายั งคงรัก ษารูป แบบสถาปั ต ยกรรมและชีวิต ริม น้ าไว้ได้ เนื่ อ งจากองค์ ป ระกอบ พื้นฐานของชุมชนริมน้า ได้แก่ วัด ตลาด ส่วนบริการชุมชนยังอยู่ครบ การคมนาคมทาบก ไม่ได้เข้าถึงพื้นที่โดยตรง พื้นที่ริมน้ามีการตั้งถิ่นฐานมาก่อน และยังคงมีแนวโน้มการสืบทอด ต่อไป ประการที่สองลักษณะเฉพาะของอาคารพักอาศัยริมน้า แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านหน้าที่ใช้สอย และความหมาย พบลักษณะซึ่งเป็นตัวแทนของเรือน คือ การหันหน้าออกสู่น้า การรักษาสัดส่วนของเรือน การทิ้งชายคายาวสาหรับป้องกันแดดกันฝน การรักษาองค์ประกอบอาคาร ได้แก่ ท่าน้า ภายใต้รูปแบบชีวิตและความเชื่อของคนในพื้นที่


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

11

ที่ปรับเปลี่ยนตามบริบท กล่าวคือ เป็นสถาปัตยกรรมที่ยอมรับในบริบทและปรับตัวเป็นส่วน หนึ่งของพื้นที่ ประการสุดท้าย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมและรูปแบบชีวิต พบ สองลักษณะที่ตรงข้ามกัน แบบแรกเป็ นการรักษารูปแบบชีวิตแบบเก่า สถาปัตยกรรมยังคงมี หน้าที่ใช้สอยสอดคล้องกับแบบเดิมโดยไม่สนใจกับหน้าตาที่เปลี่ยนไป แบบที่สอง การเปลี่ยน รูปแบบชีวิต แบบใหม่ ให้ความสาคัญ กับการนาสัญ ลั กษณ์ ม าใช้ในสถาปัต ยกรรมแต่ หน้าที่ ปรับเปลี่ยนไปเป็นแบบใหม่ซึ่งเกิดจากการให้ความหมายที่ต่างกันไป

จริยาพร รัศมีแพทย์. (2544). รูปแบบการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (การวางผังเมือง) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 241 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. วิทยานิพนธ์ของจริยาพร รัศมีแพทย์ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนของชุมชนบ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะปัจจัยด้านวัฒนธรรมที่ส่งผล ต่ อ รู ป แบบการตั้ ง ถิ่ น ฐานบ้ า นเรื อ นโดยใช้ วิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ แ บบเจาะลึ ก และการใช้ แบบสอบถาม เพื่อสอบถามเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อและการทากิจกรรมในช่วงเวลาต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงและลักษณะทางกายภาพของชุมชนโดยการวิเคราะห์ภาพถ่าย ทางอากาศและการสารวจภาคสนาม ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก ชุมชนมอญแห่งนี้มี รูปแบบกรตั้งถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ 1) การวางทิศทางของบ้านเรือน ซึ่งมาจากความ เชื่อ เรื่องผีบ รรพบุรุษของคนเชื้อชาติ ม อญ 2) การปลู กเรือนใกล้แหล่งน้า 3) การมีวัดเป็น ศูนย์กลาง 4) การเกาะกลุ่มกันของบ้านเรือน 5) การมีสิ่งศักดิ์สิทธ์อยู่หัวและท้ายหมู่บ้าน 6) การมีพื้นที่เกษตรอยู่ล้อมรอบชุ มชน การวางทิศทางของบ้านเรือนเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็น ชุมชนมอญได้ ชัดเจนที่สุด โดยที่บ้านเรือนในชุมชนร้อยละ 94 วางหน้าจั่วบ้านไปทางทิศ ตะวันออก-ตะวันตกนอกจากนี้วิถีชีวิตและกิจกรรมของประชานในชุมชนยังมีเอกลักษณ์ ทั้งใน ส่วนของประเพณีและกิจวัตรประจาวัน บริเวณที่ยังคงเอกลักษณ์ด้านรูปแบบการตั้งถิ่นฐานได้ มากที่สุดคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนฝั่งล่างของคลองบริเวณหมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9


12

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ประเด็ นที่ส อง บริเวณโดยรอบชุมชนมีการเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดิ นอย่างต่ อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา จากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นชุมชนที่อยู่ติดกับโรงงานอุตสาหกรรมและ บ้านจัดสรรขณะที่ภายในชุมชนมีการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างที่ขัดแย้งกับสภาพบ้านเรือนใน ชุมชนทาให้เอกลักษณ์ของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานถูกทาลาย ประเด็นสุดท้าย จริยาพร ได้เสนอแนะให้กรุงเทพมหานครคงเอกลักษณ์ของรูปแบบ การตั้งถิ่นฐานของชุมชนบางกระดี่ ไว้ ดังนี้ 1)การควบคุมความสูงและรูปแบบอาคาร 2)การ เตรียมพื้ น ที่เพื่อ รองรับ การขยายตั วของชุม ชน 3)การอนุรักษ์ พื้นที่เกษตรกรรม 4)การจัด ระเบียบพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม 5)การอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม 6)การ ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม 7)การพัฒนาโครงข่ายทางสัญจร ซึ่งการกระทาดังกล่าว จะสาเร็จได้ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

จิราภรณ์ มาตังคะและคณะ.(2549). ศาสนศิลป์ของศาสนสถานริมฝั่งน้า : กรณีศึกษา ชุมชนธนบุร.ี กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 297 หน้า ภาพประกอบ. งานวิจัยของจิราภรณ์ มาตั ง คะและคณะ มีวัต ถุป ระสงค์ ที่ จะศึกษา1)บริบททาง สังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อศาสนศิลป์ของศาสนสถานริมฝั่งน้าย่านธนบุรี และ 2) ศึก ษาถึง ลั กษณะของศิ ล ปกรรมในศาสนสถานของพระพุ ท ธศาสนา คริส ต์ ศ าสนา และ ศาสนาอิสลามริมฝั่งน้าในชุมชนธนบุรี โดยเลือกศาสนสถานจานวน 6 แห่ง ที่ตั้ งอยู่ริมฝั่งน้า ในชุมชนย่านธนบุรีเป็นตัวแทนในการศึกษา ข้อค้นพบจากการวิจัย สรุปได้ว่า บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อศาสน ศิลป์ของศาสนสถานริมฝั่งน้าเขตธนบุรี เป็ นผลมาจากปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง การปกครอง การที่พระมหากษัตริย์และขุนนางมี บทบาทสาคัญ ในการส่ งเสริมศาสนศิล ป์ ในศาสนสถานทั้ ง พระพุ ท ธศาสนา คริ ส ต์ ศ าสนา และศาสนาอิ ส ลาม ซึ่ ง ค้ น พบจาก กรณี ศึกษาวัดอินทารามวรวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ศาลเจ้าเกียนอันเกง วัดซาง ตาครู้ส มัสยิดต้นส้น และมัสยิดบางหลวง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความมั่นคงโดยเฉพาะในสมั ย รัชกาลที่ 3 จึงมีการสร้างบูรณะ ปฏิสังขรณ์ศาสนสถานมากที่สุด ประกอบกับการค้าขายกับ ต่ างประเทศในภู มิ ภ าคเอเชี ยด้ วยกั น โดยเฉพาะประเทศจี น ท าให้มี ก ารรับอิ ท ธิพ ลจาก สถาปัตยกรรมแบบจีน ซึ่งปรากฏอยู่ในศาสนสถานของพระพุทธศาสนาจานวนมาก ด้าน สังคม ย่านชุมชนธนบุรีซึ่งเป็นชุม ชนเก่าแก่ เคยเป็นเมืองด่านเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรี


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

13

อยุธยา มีพ่อค้านานาชาติเข้ามาพักเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นแหล่ง รวมของชาติพั นธุ์ที่หลากหลาย ทั้งชาวจีน มุสลิม อินเดี ย เขมร มอญ และฝรั่งตะวันตก แต่ละชาตินับถือศาสนาที่ต่างกัน จึงปรากฏให้เห็นศาสนสถานที่คนแต่ละกลุ่มนับถือกันใน บริเวณดังกล่าว และด้านค่านิยม ที่คนหลากหลายกลุ่มต่างเชื่อว่าการสร้างศาสนสถานเพื่อ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นการสร้างกุศลอันสูงสุด คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ดีจึงมีค่านิยมที่จะสร้างวัดและศาสนสถาน

จุฑามาศ ประมูลมาก. (2545). การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองท้องถิ่น ธนบุรี พ.ศ.2458 – 2543. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 217 หน้า. ภาพประกอบ.แผนที่. วิทยานิพนธ์ของจุฑามาศ ประมูลมาก มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ของ ธนบุรีในยุคที่สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน อันได้แก่ การปรับตัวเข้าสู่ยุค สมั ย แห่ ง การพั ฒ นาประเทศ การเปลี่ ย นแปลงทางด้ า นการเมื อ งการปกครอง รวมถึ ง สถานการณ์ ของโลกภายนอกที่ผันผวน ที่ส่งผลกระทบต่ อธนบุรีซึ่ งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร โดยก่ อ ให้ เกิ ด การปรับ ตั วไปตามบริบ ทของสั ง คมในช่วงเวลาดั งกล่ าว จุฑามาศได้หยิบยกสถานการณ์การเคลื่อนไหวของท้องถิ่นธนบุรี 3 เหตุการณ์ที่เป็นเสมือน ตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงทางด้านประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมธนบุรี ได้แก่ การเคลื่ อ นไหวเพื่ อ จั ด สร้ า งพระบรมราชานุ สาวรี ย์ ส มเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช การเคลื่อนไหวเพื่อแยกธนบุรีออกจากกรุงเทพมหานคร และการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์รื้อฟื้น เอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นธนบุรี ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวทั้ง 3 เหตุการณ์ เป็นปฏิกิริยา ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งทาให้ท้องถิ่นสูญเสีย ความเป็นตั วของตั วเองทั้งทางด้ านประวัติ ศาสตร์ การเมืองและวัฒ นธรรม จนกลายเป็น แรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเชิดชู “ตัวตน” ของธนบุรีให้ได้รับการยอมรับอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ดาเนินการเคลื่อนไหวได้เปลี่ยนจากบุคคลในท้องถิ่นมาสู่การทางานของ คนกลุ่มอื่น อาทิ หน่วยงานของรัฐ นักการเมือง นักธุรกิจ ฯ จึงทาให้วัตถุประสงค์ของการ เคลื่ อ นไหวจากเดิ ม เพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานชี วิต ของคนในท้ องถิ่ น กลั บ กลายมาเป็ น เพื่ อ ผลประโยชน์ ท างการเมื อ งและธุ ร กิ จ ของคนเฉพาะกลุ่ ม เมื่ อ เป็ น เช่ น นี้ จึ ง เห็ น ถึ ง การ ดาเนินงานของกลุ่มผู้เคลื่อนไหวหลายโครงการเป็นไปอย่างไม่สอดคล้องกับความต้องการ


14

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ของชุมชน และสภาพตามความเป็นจริงของพื้นที่ เป็นเหตุให้หลายโครงการไม่ค่อยประสบ ความสาเร็จ

ชโลมใจ กลั่นรอด. (2541). ทะแยมอญ : วัฒนธรรมการดนตรีของชาวมอญชุมชนวัดบาง กระดี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล. 272 หน้า. วิทยานิพนธ์ของชโลมใจ กลั่นรอด มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบองค์ประกอบ ของทะแยมอญ ประวัติความเป็นมา สภาพทางสังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของชุม ชนมอญวัด บางกระดี่ ที่ มีผลต่ อ วัฒ นธรรมการดนตรีและการเล่ นทะแยมอญ และ การศึกษาลักษณะทางดนตรีทะแยมอญกับความสัมพันธ์กับดนตรีไทย ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า ทะแยมอญเป็นการละเล่นของมอญที่มีการด้น กลอนเป็นคาร้องประกอบดนตรีซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบโบราณและรูปแบบใหม่ ในด้าน องค์ประกอบพบว่าบทร้องที่เป็นภาษามอญโบราณ และคาบาลีทาให้จากัดผู้ชมอยู่ในกลุ่ม มอญผู้สูงอายุเท่านั้น ส่วนมอญหนุ่มสาวไม่ให้ความสนใจเนื่องจากไม่เข้าใจภาษาในบทร้อง จ านวนผู้ แ สดงลดน้ อ ยลง เพราะขาดการสื บ ทอดท าให้ เพลงเก่ าจ านวนหนึ่ ง ต้ อ งสู ญ ไป อีกทั้งในปัจจุบัน การละเล่นทะแยมอญได้กลายมาเป็นการแสดงที่มีผู้จ้างวาน มีการประยุกต์ เพลงสมั ยใหม่ เข้าไปใช้ร้อ ง มี ทั้ง เนื้อ ร้อ งที่ เป็ นภาษามอญ และภาษาไทยส่ วนดนตรีที่ ใช้ บรรเลงเรียกว่า"โกรจยาม" นั้นเป็นการบรรเลงคลอไปกับเสียงของคนร้อง เสียงของดนตรีมี ลักษณะทุ้มต่า เพลงมีลักษณะเป็นทานองสั้นๆ มีการซ้าทานองในขณะที่เนื้อร้องเปลี่ยนไป สาหรับด้านความสัมพันธ์กับดนตรีไทยนั้นพบว่า โกรจยามมีพื้นฐานการผสมวง และ การบรรเลงคล้ายเครื่องสายไทย มีการนาทานองเพลงไทยบางเพลงไปใช้ อีกทั้งในด้านเครื่อง ดนตรียังมีการพัฒนารูปร่างลักษณะของ"จยาม"ให้มีลักษณะเหมือนจะเข้ของไทย ผู้วิจัยได้ เสนอว่าทะแยมอญถือว่ามีบทบาทต่อชุมชนบางกระดี่ โดยทาหน้าที่ให้ความบันเทิงและขัด เกลาทางสังคมจากเนื้อร้องที่แฝงไว้ด้วยการอบรมสั่งสอนศีลธรรมจรรยาขนบประเพณี และ การเกี้ยวพาราสี ของฝ่ายชายและฝ่ายหญิ ง ชโลมใจ ทิ้งท้ายว่า หากยังไม่มี การพั ฒ นาที่ ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม อาจส่งผลต่อการสูญสลายไปของวัฒ นธรรมการดนตรีมอญด้าน เครื่องสายแหล่งสุดท้ายของชาวมอญในประเทศไทย


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

15

ฐนิตา ภูมิไพบูลย์.(2551). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและทัศนคติในการพัฒนาการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านบุ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุทชนและชนบท) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล. 162 หน้า ภาพประกอบ.ตาราง. วิทยานิพ นธ์ของฐนิต า ภูมิไพบูล ย์มีวัต ถุประสงค์ที่จะศึกษาองค์ประกอบของการ ท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ สภาพทางกายภาพ ความดึงดูดของแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอานวยความ สะดวกและการเข้ า ถึ ง พื้ น ที่ รวมทั้ ง ท าการประเมิ น องค์ ป ระกอบการท่ อ งเที่ ย วโดยการ จัดลาดับศักยภาพจุดท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชน และหาแนวทางปรับปรุงศักยภาพพร้อมทั้งศึกษาทัศนคติและความคิดของประชาชนในชุมชน ต่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบุ ข้ อ ค้ น พบจากการวิ จั ย สรุ ป ได้ 2 ประการ คื อ ประการแรก ชุ ม ชนบ้ า นบุ มี องค์ ป ระกอบการท่ อ งเที่ ย วที่ มี ศั ก ยภาพปานกลางถึ ง ระดั บ สู ง ด้ านสภาพทางกายภาพ สิ่งอานวยความสะดวก และการเข้าถึงพื้นที่ ซึ่งในระดับศักยภาพปานกลาง มีการปรับปรุงใน ด้ านความเป็ นระเบี ยบเรียบร้อ ยของบ้านเรือนและทางเดิ น รวมทั้ งระบบการจัด การด้ าน สิ่งแวดล้อมเพื่อเกื้อหนุนในศักยภาพระดับสูงที่โด่ดเด่นของชุมชน อันได้แก่แหล่งท่องเที่ยวใน ชุมชน วิถีชีวิตการอยู่อาศัยแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่สาคัญด้านการผลิตขันลง หิน และการฝึกศิลปะแสดงกระบี่กระบองแบบโบราณให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภท เดินเท้าที่น่าสนใจและดึงดูดใจสาหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ประการที่สอง การประเมินทัศนคติพบว่าชาวบ้านมีทัศนคติเชิงบวก ร้อยละ 45.16 และทั ศ นคติ ส่ วนใหญ่ อ ยู่ในระดั บไม่ แน่ใจต่ อการท่องเที่ยวชุม ชน ร้อยละ 54.84 สาเหตุ เนื่องจากยังไม่เห็นภาพการท่องเที่ยวที่ชัดเจน และไม่มั่นใจในศักยภาพของชุมชน นอกจากนี้ ควรมี ป้ ายสื่ อ ภาษาต่ า งประเทศเพื่ อ เผยแพร่ให้ เห็ น จุ ด ท่ อ งเที่ ย วและศั ก ยภาพด้ า นการ ท่องเที่ยว และชุมชนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับเทศกาลของไทย และ ส่ ง เสริม ให้ ช าวบ้ านค้ าขายในชุ ม ชนเพื่ อเป็ น การสร้างสี สั น ให้ กั บ การท่ อ งเที่ ย ว มี ก ารจั ด พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ หล่ ง เรี ย นรู้ เพื่ อ เก็ บ ของส าคั ญ ที่ มี ค วามเกี่ ย วเนื่ อ งทางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ วัฒนธรรมของชุมชน บูรณะบ้านเก่าแก่ให้คงสภาพเดิม จัดงานฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของชุมชน ที่กาลังจะเลื่อนหายไป เช่น การผลิตขันลงหิน ศิลปะการแสดงกระบี่กระบองอย่างต่อเนื่อง สืบไป


16

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ฑวัต อาไพพรรณ. (2550). แนวทางการออกแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอด ภูมิปัญญาพื้นที่ธนบุรี : สู่ปรากฏการณ์ร่วมสมัยทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่ ประวัติศาสตร์.วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 258 หน้า.ภาพประกอบ. แผนที่. แผนผัง. ตาราง วิทยานิพนธ์ของฑวัต อาไพพรรณ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหาแนวทางการออกแบบ ศูนย์การเรียนรู้เนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ชุมชน และศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ธนบุรี โดยการ ปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารเก่าทรงคุณค่า และบูรณาการส่วนใหม่ในงานสถาปัตยกรรม และ การ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชุมชน และศิลปวัฒนธรรมพื้นที่ธนบุรีเพื่อใช้ประโยชน์ ในการออกแบบกิจกรรมและการจัดแสดงนิทรรศการในศูนย์การเรียนรู้ ฑวัตได้เลือกนาเอา อาคารเก่าในพื้นที่ธนบุรีที่มีความต่อเนื่องของช่วงเวลา 3 ยุค ได้แก่ อาคารบ้านบางยี่ขันหรือ อาคารโรงเรียนราชการุญที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5-6 อาคารกองอานวยการโรงงานสุรา บางยี่ขันซึ่งเป็นอาคารสานักงานที่สร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล และอาคาร โรงงานสุราบางยี่ขันเป็นอาคารยุคโมเดิร์น มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่านีโอพลาสติกยุค เริ่มแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้คาดหวังว่าจะนาอาคารเหล่านี้ กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งด้วยกระบวนการอนุรักษ์เชิงการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ สาหรับธนบุรี ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ 6 ประการ คือ ประการแรก ธนบุรีเป็นพื้นที่มรดก ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สาคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ควรค่าแก่การศึกษาควบคู่ กับการอนุรักษ์และพัฒนาเชิงต่อยอด ประการที่สอง อาคารเก่าสามารถเป็นตัวแทนของการ น าเสนอเนื้ อ หาด้ านประวัติ ศ าสตร์ ชุ ม ชน และศิ ล ปวั ฒ นธรรมของพื้ น ที่ ธ นบุ รี ได้ อ ย่ า ง น่าสนใจ ประการที่สาม เมื่อได้ทาการประเมินลักษณะคุณค่าและความสาคัญของอาคารทั้ง 3 หลัง ปรากฏว่ามีระดับคุณค่าและความสามารถในการปรับประโยชน์ใช้สอยที่ต่างกันอย่าง มีนัยสาคัญ ประการ ที่สี่ การนาเสนอเนื้อ หาเชิงวัฒ นธรรมที่มีประสิทธิ ผลควรนาเสนอ รูปแบบสื่อที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากการศึกษา นอกพื้นที่ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชน ประการที่ห้า ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อสร้างศูนย์ การเรียนรู้เนื้อหาประวัติศ าสตร์ ชุม ชน และศิลปวัฒ นธรรมควรตั้ งอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณ ใกล้เคียงกับสถานที่นาเสนอเนื้อหาเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวได้ และประการสุดท้าย ลักษณะกายภาพของศูนย์แห่งนี้ควรมีลักษณะที่โดดเด่นเป็นจุดหมายตาที่สามารถเข้าถึงได้ สะดวกและเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

17

ต้วน ลี่เซิง. (2542). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี : ศึกษาจากเอกสารจีน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.96 หน้า. งานวิจัยของต้วน ลี่เซิง เป็นการศึกษาเอกสารจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ของ จีน จานวน 17 ฉบับ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นการนาเสนอแนวทางใน การสืบค้นเรื่องราวและช่วยเพิ่มให้ประวัติศาสตร์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการ รับทราบถึงพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระเจ้ากรุงธนบุรีต่อการดาเนินวิเทโศบายทางการ ทูตและการค้ากับประเทศจีน ประเด็นใหม่ที่นาเสนอได้แก่ การที่พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงลวง กรมหมื่นเทพพิพิธไปปลงพระชนม์ที่บางกอก การที่พระองค์ทรงพยายามกระทาทุกวิถีทาง เพื่อให้ราชสานักจีนยอมรับความเป็นผู้นาของพระองค์และเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่ง ตกอยู่ในภาวะวิกฤตในขณะนั้น

เติมศักดิ์ ภาณุวรรณ. (2543). ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้าในคลองบางกอกน้อย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (การวางผังเมือง) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 194 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. แผนภูมิ วิทยานิพนธ์ของเติมศักดิ์ ภาณุวรรณมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงวิวัฒนาการและ สภาพของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนริมน้า ที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และ สังคมชุมชน รวมทั้งลักษณะที่เป็นแบบชุมชนริมน้า เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ หรือแรงผลักที่มี ต่อสภาพของชุมชนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละ ช่วงเวลา ระยะทางและอิทธิพลที่ได้รับ จากเมือง รวมถึงผลกระทบต่ าง ๆ ที่มีต่อพื้นที่ เพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีความ สอดคล้องกับสภาพของชุมชนและการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นโดยการรักษาสภาพแวดล้อมแบบ ชาวน้าที่มีอยู่ในพื้นที่ให้สืบเนื่องต่อไป ข้อค้นพบจากศึกษา สรุปได้ว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะมีระดับของความ แตกต่างที่ไม่เท่ากันซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 เขตด้วยกันคือพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมือง พื้นที่รอยต่อ เมือง และพื้นที่ชานเมือง โดยพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมือง และบริเวณรอยต่อเมืองที่ติดกับเขตเมือง จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สูง ทั้งในเรื่องของกิจกรรมและประเภทการใช้ ที่ดินอาคารบ้านเรือน อาชีพ รายได้ สภาพแวดล้อม สังคมชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจาวันที่เปลี่ยนจากชุมชน


18

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

น้าเป็นชุมชนบกทาให้ความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อน้าเสื่อมถอยลงสังคมวัฒนธรรมที่เป็นแบบ ชาวน้ าถู ก ครอบง าด้ ว ยวั ฒ นธรรมของชุ ม ชนเมื อ งที่ แ ผ่ อิ ท ธิ พ ลเข้ า มาในพื้ น ที่ ส่ ว นหนึ่ ง กลายเป็น ชุ ม ชนเมือ ง บางส่ วนยังคงรักษาสภาพแวดล้ อมเดิ ม ไว้ สิ่ งเหล่ านี้ ล้ วนแสดงถึ ง ศักยภาพ และทัศนคติของผู้คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในคลองบางกอกน้อยที่มีต่อแม่น้าลาคลอง ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวทาให้ สามารถทราบถึงปัจจัยการคงอยู่ที่มาจากความสัมพันธ์ ของผู้คนที่มีกับน้าคือการพักอาศัยริมน้าระบบเครือข่ายลาน้า สวนผลไม้และพื้นที่การเกษตร สังคมชุมชนริมน้าต่างทาหน้าที่ในการรักษาให้ยังดาเนินอยู่ ต่อไป ส่วนปัจจัยการเปลี่ยนแปลง มาจาก 2 ประการหลั ก คื อ ปั จ จั ย ภายใน ได้ แ ก่ การประกอบอาชี พ และ การยอมรั บ วัฒ นธรรมสมั ย ใหม่ และปั จ จัย ภายนอก อั น ได้ แก่ เส้ น ทางคมนาคม นโยบายและการ วางแผนของภาครัฐ และจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นที่ทาให้สภาพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ตามการพัฒนาความเจริญ กาลเวลา ระยะทาง และการเข้าถึงที่สะดวกรวดเร็วที่สามารถ ติดต่อได้ทั้งผู้คนในชุมชน และบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามการคงอยู่ การเปลี่ยนแปลงและ การพั ฒ นาจะหยุ ด ยั้ ง อยู่ กั บ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เพี ย งแต่ ก ารพั ฒ นานั้ น ต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ สั ง คมและ วัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนโดยการสนับสนุนของทางราชการการร่วมมือในชุมชน เพื่อให้เกิด ความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนและการรักษาความเป็นชุมชนริมน้าให้ดาเนินอยู่ต่อไปใน อนาคตทั้งด้านของการปรับปรุงสภาพพื้นที่การส่งเสริมและชักจูงผู้คนในชุมชน มาตรการและ การควบคุม และนโยบายและการวางแผนในการพัฒนาพื้นที่

ทศยศ กระหม่อมแก้ว. (2550). พระเจ้าตากฯสิ้นพระชนม์ที่เมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน. 175 หน้า. ภาพประกอบ. งานเขีย นของทศยศ กระหม่ อ มแก้วน าเสนอข้ อมู ล เกี่ ยวกับ การสิ้ น พระชนม์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดในพื้ นที่เมืองพระนคร(นครศรีธรรมา ราช)โดยรวบรวมข้อมูลจากงานศึกษา งานเขียน งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้รู้ รวมทั้งจาก ร่องรอยโบราณสถานในท้องถิ่น ประกอบด้วย 8 หัวเรื่อง ได้แก่ ประวัติศาสตร์ไทยของเด็ก ป.4 ณ นคร และสายสัมพันธ์ หอพระสูง โบสถ์มหา อุตต์ นอกวัด ปริศนาเจดีย์ดา และหว่าหกต้น เพลงกล่อมเด็กโบราณเป็นปริศนา เก๋งจีน วัดประดู่ เก๋งจีนวัดแจ้ง เขาขุนพนมกับร่องรอยพระเจ้าตากฯ และพระพุทธบาทปริศนาที่เขา ขุนพนม


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

19

ทวีเดช ทองอ่อน. (2537). การศึกษาคุณค่าสภาพแวดล้อมเมืองและชุมชนกรุงธนบุรีเพื่อ การอนุรักษ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การวางผังเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 330 หน้า. ตาราง. แผนที่. ภาพประกอบ. วิทยานิพ นธ์ของทวีเดช ทองอ่อน มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิวัฒ นาการของกรุง ธนบุรี ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินคุณค่าแท้ คุณค่าจาก การรั บ รู้ เ พื่ อ ค้ น หาคุ ณ ค่ า ในด้ า นต่ า งๆที่ ยั ง คงปรากฏอยู่ แ ละสู ญ หายไปทั้ ง ในด้ า น ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปกรรม สถาปั ต ยกรรม รวมทั้ ง วิ ถี ชี วิ ต และสั ง คมประเพณี เพื่ อ การ เสนอแนะแนวทางในการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองและชุมชนกรุงธนบุรี ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ 2 ประการ คือ ประการแรก สภาพแวดล้อมเมือง และชุ ม ชนกรุง ธนบุ รีป ระกอบด้ วยพระราชวัง ป้ อ มปราการ ศาสนสถาน และชุม ชนที่ มี ความสาคัญทางประวัติศาสตร์โดยกลุ่มสภาพแวดล้อมที่มีคุ ณค่ามากที่สุด คือ กลุ่มที่ตั้งอยู่ ริมแม่น้าเจ้าพระยา กลุ่มที่มีคุณค่าลาดับที่ 2 คือ กลุ่มริมคลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอก น้อย คลองชักพระและคลองมอญ และกลุ่มที่มีคุณค่ าลาดับที่ 3 คือกลุ่มสภาพแวดล้อมที่ กระจายตัวอยู่โดยทั่วไปในเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงธนบุรี ประการที่ ส องการเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒ นา ได้ มี การน าเสนอใน ระดับนโยบายทั้งในระดับชาติและในระดับเมืองโดยเฉพาะแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณค่า สภาพแวดล้อม แผนการส่งเสริมเผยแพร่คุณค่าสภาพแวดล้อมรวมทั้งข้อเสนอแนะโครงการ อนุรักษ์และฟื้นฟูคุณค่าสภาพแวดล้อม

ธีระชัย ธนาเศรษฐ. (2539). เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ : ธีรกิจ. 172 หน้า ภาพประกอบ. งานเขี ย นของธี ร ะชั ย ธนาเศรษฐ รวบรวมข้ อ มู ล ที่ ส าคั ญ ในเชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ การเมืองของกรุงธนบุรีจากเหตุการณ์ในอดีต รวมจนถึงโบราณสถานและสถานที่สาคัญใน สมัยกรุงธนบุรี ประกอบด้วยเนื้อหา 8 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนา บทที่ 2 ความสาคัญของเมืองธนบุรี (บางกอก) บทที่ 3 การสร้าง ป้อมที่เมืองธนบุรี ประกอบด้วย 1 หัวเรื่องย่อย คือ กบฏมักกะสัน มีสาเหตุมาจากความคลั่ง


20

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ศาสนา บทที่ 4 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 พระเจ้ากรุงธนบุรี บทที่ 5 ป้อมวิชัยประสิทธิ์ และกบฏแมนอัตตัน บทที่ 6 พระราชวังเดิม ประกอบด้วย 19 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ตานาน พระราชวังเดิม ท้องพระโรง เก๋งพระปิ่นและเครื่องเดินน้าหายตัว ศาลเจ้าตากสินและศาล เจ้าปลาวาฬ เก๋งคู่ริมประตู ตัวโรงเรียนนายเรือ เก็งจักรปีก ตึกบังคับการโรงเรียนนายเรื อ สระน้า (ปัจจุบันถมดินแล้ว) เขาดิน (สโมสรปัจจุบัน) ตึกที่ทาการกองแผนที่ทะเล หมายเหตุ ผู้เขียน ที่ประทับของมหาราช พระราชวังเดิมถูกโจมตี วันที่ 6 เมษายน 2325 วันสิ้นสุดสมัย ธนบุรี ความสาคัญของพระราชวังเดิม โรงเรียนนายเรือในพระราชวังเดิม วันวีปโยค สภาพ ปั จ จุ บั น และเขตพระราชวั ง เดิ ม ชั้ น ใน บทที่ 7 โบราณที่ เหลื อ แต่ ชื่ อ ประกอบด้ วย 5 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ โบราณสถานที่รื้อออกไปสร้างที่อื่น วัดบางยี่เรือนอก ศาลาการเปรียญวัด ในกลาง จังหวัดเพชรบุรี ศาลาการเปรียญวัดลาด และพระเจ้าตากสินลี้ภัยการเมือง และบท ที่ 8 สงครามไทยกับพม่าในแผ่นดินธนบุรี ครั้งที่ 1-10

ธีรนันท์ ช่วงพิชิต.(2551).พิธีเจ้าเซ็น (อาชูรอ) : อัตลักษณ์และการธารงชาติพันธุ์ของมุสลิม นิกายชีอะห์ในสังคมไทย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยศิลปากร. 272 หน้า. ภาพประกอบ. วิทยานิพนธ์ของธีรนันท์ ช่วงพิชิตมีวัตถุประสงค์ที่จะนาเสนอเรื่องราวของชาวไทย มุสลิมนิกายชีอะห์ในสังคมไทยหรือ “แขกเทศ”“แขกเจ้าเซ็น” โดยเน้นศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ และการธารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านการศึกษา“พิธีเจ้าเซ็น”ในมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า “พิธีเจ้าเซ็น” มีบทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชนที่มีสานึกร่วมอันเกิดจากความสัมพันธ์ทั้งทางด้านสังคม ความเป็น เครือญาติ และสานึกร่วมในความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาอย่างเดียวกัน ผ่านความเป็น” แขกเจ้าเซ็น” ทั้งยังมีบทบาทในการแสดงออกถึงสานึกร่วมของผู้คนร่วมชาติพันธุ์ ปฏิสัมพันธ์ของแขกเจ้าเซ็นกับสังคมรอบด้านที่ถูกกระทาให้เป็น “ชายขอบ” ทั้งจาก สังคมมุสลิมกลุ่มอื่น ซึ่งแขกกลุ่มนี้ได้กลายเป็น “ชนกลุ่มน้อย”ในหมู่ชนร่วมวัฒนธรรมและ จากสั ง คมไทยที่ เป็ น คนกลุ่ ม ต่ างวัฒ นธรรม ยิ่ ง ท าให้ พื้ น ที่ ของชนกลุ่ ม นี้ ถู ก บี บ ให้ เล็ ก ลง “พิธีเจ้าเซ็น”จึงมีบทบาทในการรวมหมู่สร้างความเข้มแข็งของความเป็น “แขกเจ้าเซ็น”และยัง แสดงให้เห็นถึงพื้นที่และตัวตนของกลุ่มมุสลิมนิกายชีอะห์ในสังคมไทย อีกทั้งยังมีบทบาทใน การแสดงอัตลักษณ์ร่วมของชนกลายกลุ่มที่มีสานึกร่วมในสิ่งเดียวกัน คือ ความเป็นชาติพันธุ์


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

21

ของมุสลิมนิกายชีอะห์เพื่อให้คงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสสังคมไทยที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

นพดล ฐิติพงษ์. (2545). รูปแบบการอยู่อาศัยชุมชนไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรเคหพัฒนศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 150 หน้า. ภาพประกอบ. วิทยานิพ นธ์ของนพดล ฐิติ พงษ์ มีวัต ถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบที่อยู่อาศั ยของ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะปัจจัย ด้ า นวั ฒ นธรรมการอยู่ อ าศั ย และสั ง คมแบบครอบครั ว ที่ ส่ ง ผลต่ อ รู ป แบบการอยู่ อ าศั ย วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์ตระกูลเก่าแก่ 6 ตระกูล ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ครอบครัวกับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยย้อนหลังไปจนถึงต้นตระกูล ข้อค้นพบจากศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบการอยู่อาศัยของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ บางกระดี่ มีอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการสืบทอดผีบรรพบุรุษ และความเชื่อเรื่องทิศที่เป็น มงคลที่ เกี่ยวเนื่ อ งกับ การอยู่อาศัยท าให้ เกิด รูป แบบการอยู่อาศัยที่ ส าคัญ คื อ รูป แบบการ ขยายตัวจากบ้านสู่ชุมชนเกิดเป็นกลุ่มบ้านของชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ โดยมีปัจจัยมา จากระบบเครือญาติที่เกี่ยวพันทางสายเลือด และมีการนับถือผีบรรพบุรุษในตระกูลเดียวกัน ลักษณะการปลูกเรือนยังคงมีความเชื่อเรื่องทิศ ถ่ายทอดมาตั้งแต่ต้นตระกูลจนถึงปัจจุบัน โดยการวางด้ า นยาวของเรื อ นตามตะวั น ทิ ศ ทางการวางจั่ ว เรื อ นแนวทิ ศ ตะวั น ออก ทิศตะวันตก (ตามตะวัน) การวางบันไดเรือนมีทางขึ้นอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออก โดยให้ ความสาคัญกับทิศหัวนอนอยู่ทางใต้และทิศตะวันออก ความสาคัญกับทิศในการจัดลักษณะ กายภาพที่อยู่อาศัย มีการวางจั่วเรือนทางทิศตะวันออก-ตะวันตก (ตามตะวัน) การวางทาง ขึ้นบันไดทางทิศใต้และทิศตะวันออก การให้ความสาคัญกับห้องนอนเจ้าของเรือนที่เป็นที่ตั้ง ของเสาผีบรรพบุรุษ ต้องมีระดับพื้นห้องสูงกว่าห้องอื่น จากการศึกษาผู้วิจัยได้ค้นพบความ แตกต่างของตาแหน่งเสาเอกในเรือน โดยเสาเอกหรือเรียกว่าเสาผีบรรพบุรุษเป็นเสาต้นที่สอง ซึ่งแตกต่างจากชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญที่อื่นๆ มีรูปแบบการอยู่อาศัยที่ มีอัตลักษณ์จาก ความเชื่อเรื่องการถือผีบรรพบุรุษ และการสืบตระกูลโดยบุตรชายที่เมื่อมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง ต่อไป ได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยพื้นที่อยู่อาศัยเกิดจากความเป็นครอบครัวขยาย โดยมี การใช้ผนังกั้นเป็นห้องเพิ่มขึ้น สาหรับพื้นที่ชั้นล่างซึ่งเดิมเป็นพื้ นที่โล่ง ได้มีการปรับเปลี่ยน พื้นที่ใช้สอยโดยมีการกั้นห้องนอนเพิ่ม และการต่อเติมพื้นที่ห้องครัวและห้องน้า สรุปได้ว่า รูปแบบที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ มีอัตลักษณ์ที่มีแนวคิดของการ


22

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

อยู่อาศัยที่มีคุณค่าในสังคมไทย เพราะไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่มีมิติเพียงแค่สถาปัตยกรรมแต่ยังมี มิ ติ ท างสั ง คมและวั ฒ นธรรมที่ ดี ข องชุ ม ชนที่ ส ะท้ อ นความคิ ด และอุ ด มการณ์ เกี่ ย วกั บ ความสัม พันธ์ทางสังคมของคนในครอบครัว ระบบเครือญาติ และความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชนซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกัน อันจะนาไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2552). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: มติชน. 611 หน้า. ภาพประกอบ. งานเขียนของนิธิ เอียวศรีวงศ์เรื่องนี้ถือเป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์แนววิพากษ์ที่ มีคุณค่าอย่างยิ่งเล่มหนึ่งซึ่งเรียงร้อยเรื่องราวพัฒนาการ บรรยากาศเหตุการณ์บ้านเมืองและ การล่มสลายของกรุงธนบุรี โดยเนื้อหาประกอบด้วย 4 บทหลัก และบทสรุปส่งท้าย บทที่ 1 การสลายตัวของราชอาณาจักรอยุธยา ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ระบบป้องกันตนเอง สงคราม พ.ศ.2307-2310 ระบบที่ไม่ทางานของราชอาณาจักรอยุธยา และสภาพจลาจล บทที่ 2 การรื้อ ฟื้ น ราชอาณาจั ก รอยุ ธ ยาด้ วยการเมื อ งแบบชุ ม นุ ม (2309-2314) ประกอบด้วย 3 หัวข้อหลักได้แก่ 1)พระราชประวัติก่อนเสวยราชย์ เนื้อหาประกอบด้วย 8 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ประสูติเมื่อไร ที่ไหน ลูกไทยหรือลูกจีน พระญาติพระวงศ์พระเจ้ากรุง ธนบุรี สัญลักษณ์งูและเจ้าพระยาจักรี ถิ่นกาเนิดอยู่ที่ไหน พระนามเดิมว่าสิน พ่อค้าเกวียน แห่งเมืองตาก วิ่งเต้นเป็นเจ้าเมือง 2)ฐานะเมืองตากรัฐชายขอบ เนื้อหาประกอบด้วย 4 หัว เรื่องย่อย ได้แก่ ความผูกพันกับเมืองตาก ไม่เคยเป็นเจ้าเมืองกาแพงเพชร พระเจ้าตากไม่ใช้ ผู้ ดี ก รุง เก่ า ชุ ม ชนจี น ในอยุ ธยาเป็ น ก าลั ง ทางการเมื อ งได้ เพี ย งใด และ3)การรื้อ ฟื้ น พระ ราชอาณาจักรอยุธยา เนื้อ หาประกอบด้ วย 10 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ นโยบายทางการเมือง ชัดเจนกว่ากลุ่มอื่นๆ รัฐบาลธรรมชาติที่ชายทะเลตะวันออก เมืองธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้น ยุทธศาสตร์และการเมืองที่เมืองธนบุรี ปราบชุมนุมระบบขุนนางที่พิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพิมาย ความหมายทางการเมือง นครศรีธรรมราชศาสนจักรและอาณาจักร เจ้าพระฝางพวกนอกรีต พระเจ้าตากกับจักรพรรดิจีน เนื้อหาและรูปแบบของอยุธยา บทที่ 3 ราชอาณาจั ก รอยุ ธ ยาในการเมื อ งแบบชุ ม นุ ม (2310-2317) เนื้ อ หา ประกอบด้ วย 5 หัวเรื่องย่อย ได้ แก่ พระมหากษัต ริย์ในการเมืองแบบชุม นุม ขุนนางและ ลูกน้อ ง ปัญ หาทางการเมืองการคุม กาลั งคน การปกครองหัวเมืองภาคใต้ การปกครอง หัวเมืองเหนือ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

23

บทที่ 4 การสลายตั ว ของการเมื อ งแบบชุ ม ชน ประกอบด้ ว ย 3 หั วข้ อ หลั ก คื อ 1)ศึกอะแซหวุ่นกี้และผลกระทบต่ อการเมืองภายใน เนื้อหาประกอบด้ วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ สัญญาวิปลาสหรือการเมืองไทย ขอลูกสาวพระเจ้ากรุงจีน เศรษฐกิจตึงเครียดพ่อค้า จีนเดือดร้อน ความดุร้ายเพราะขาดความมั่นคง 2)การรวมกลุ่มของเจ้าพระยาจักรี เนื้อหา ประกอบด้วย ความเป็นญาติ การเกี่ยวดอง และการฝากตัว 3) การเมืองของกลุ่มมอญ และ4) อวสานของการเมืองแบบชุมนุม

ประกอบศิริ ภักดีพินิจ.(2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาการ ท่องเที่ยวทางน้าชุมชนริมคลองเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวัฒนธรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล. 264 หน้า. แผนที่. แผนภูมิ. วิทยานิพ นธ์ของประกอบศิริ ภักดี พินิจมี วัต ถุประสงค์ ที่จะศึกษาศักยภาพในการ พั ฒ นาการท่ อ งเที่ ยวอย่ างยั่งยืน ความต้ องการของนั กท่ องเที่ ยวที่ เดิ น ทางมาเยือน และ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมคลองเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ข้ อ ค้ น พบจากการวิ จั ย สรุ ป ได้ 3 ประการ คื อ ประการแรก ชุ ม ชนริ ม คลองมี ศัก ยภาพที่ จ ะพั ฒ นาการท่อ งเที่ ยวอย่ างยั่ง ยืน เนื่ องจากมี ท รัพ ยากรทางการท่ องเที่ ย วที่ หลากหลาย ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติและวิถีชีวิตริมคลอง ศาสน สถาน อาชีพ การทาสวนกล้ วยไม้และสวนผัก การเดิ นทางเข้าถึงแหล่ งท่องเที่ยวสามารถ เข้าถึงได้ทั้งทางบก และทางน้า มีความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ ยวเนื่องจากการเป็นสังคม แบบเครือญาติทาให้มีการระวังภัยของคนในชุมชนเอง ส่วนในแหล่งท่องเที่ยวมีการเฝ้าระวัง ความปลอดภั ย โดยเจ้ า ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเป็ น ชุ ม ชนที่ มี ค วามสามารถในการรองรั บ นักท่องเที่ยวได้สูง เพราะมีลักษณะการท่องเที่ยวแบบหมุนเวียน ใช้เวลาในการท่องเที่ยวไม่ นาน และปริมาณนักท่องเที่ยวถูกจากัด โดยจานวนที่นั่งของเรือ ส่วนองค์ประกอบด้านสิ่ ง อานวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป และควรมีการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีลักษณะของการมีส่วนร่วมเป็นไป ใน 2 ลั ก ษณะ คื อ การร่ ว มด าเนิ น กิ จ กรรม และร่ ว มรั บ ผลประโยชน์ ประการที่ ส อง นั กท่ อ งเที่ ย วมี ค วามพึ ง พอใจต่ อการมาท่ อ งเที่ ย วในภาพรวมทั้ ง หมดอยู่ในดั บ ปานกลาง ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งอานวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว


24

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

และด้านสวัสดิภาพ และความปลอดภั ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการให้มีการ พัฒนาการท่องเที่ยวในด้านสิ่งอานวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัย และ ประการสุดท้าย แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมคลอง ควรมีการ ด าเนิ น การใน 5 แนวทางคื อ การพั ฒ นารูป แบบการท่ อ งเที่ ย วให้ มี ค วามหลากหลายทั้ ง เส้นทางและกิจกรรม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน การพั ฒนาขีด ความสามารถในการให้บริการการท่องเที่ยวในชุม ชน และการ อนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว

ปรามินทร์ เครือทอง. (2553). ชาแหละแผนยึดกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน. 168 หน้า. ภาพประกอบ. งานเขียนของปรามินทร์ เครือทอง รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆในสมัยกรุงธนบุรีในช่วง ก่อนเข้ารวบรวมยึด กรุงธนบุรีเพื่อ สถาปนาผู้นายุคใหม่แห่งราชวงศ์จักรี ประกอบด้ วย 16 หัวเรื่องที่สาคัญ ดังนี้ สาดับความตามท้องเรื่อง กลอักษรในพระราชพงศาวดาร สัญ ญาวิปลาส สัญญาณ อวสานกรุงธนบุรี คุกรุ่น ก่อนก่อการ กบฏกัมพูชานับถอยหลังกรุงธนบุรี กาเนิดแผนยึดกรุง ธนบุ รี แผ่ น ดิ น ร้อ นรุม สุ ม รากโคน กบฏก่ อนกบฏ กบฏพระยาสรรค์ พระยาสรรค์ แพะ การเมือง ศึกชิงกรุงธนบุรี ดูหนังคนละม่วนเรือศึกยึดกรุงธนบุรี สรรเสริญพระบารมี ประหาร พระเจ้าตาก ปิดบัญชี และท้ายเรื่อง

ประเสริฐศรี ธรรมวิหาร.(2548). สะบ้ารา : เอกลักษณ์ของบ้านมอญบางไส้ไก่. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา. 294 หน้า. ภาพประกอบ. งานวิจั ยของประเสริฐ ศรีธรรมวิห าร มีวัต ถุป ระสงค์ ที่จ ะศึ กษา 1)ประวัติ ค วาม เป็นมาของบ้านมอญบางไส้ได้ และ 2)รูปแบบและขั้นตอนกระบวนการราของสะบ้าราซึ่งเป็น เอกลั กษณ์ ของบ้ านมอญบางไส้ ไก่ โดยอาศั ยระเบี ยบวิธีการวิจัย เชิง คุณ ภาพ และศึก ษา ภาคสนาม


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

25

ข้อค้นพบจากการวิจัยสรุปได้ 2 ประการ คือ ประการแรก ประวัติความเป็นมาของ บ้านมอญบางไส้ไก่ ชาวมอญบางไส้ไก่เดิมเป็นคนมอญแถวเมืองทะวายและเมืองมะริดที่ซึ่งมี ความชานาญทางเรือเป็นพิเศษ สาเหตุที่อายาเข้ามาในประเทศนั้นไทยเป็นเพราะในสมัยของ พระเจ้าปะดุงกษัตริย์ของพม่าในขณะนั้น ได้กล่าวหาว่า กลุ่มชาวมอญเมืองทะวายและเมือง มะริดเป็นกบฏ จึงได้จับพวกมอญในเมืองทั้งมองใส่เล้าเผาทิ้งไปเป็นจานวนมาก จึงส่งผลให้ กลุ่มชาวมอญเหล่านี้จาต้องอพยพหนีตายเข้ามายังประเทศไทย สาหรับชาวมอญบางไส้ไก่นั้น แต่ เดิ ม อพยพเข้ามาอยู่บ ริเวณย่านวัด ละมุด แถบพระราม 6 ส่ วนสาเหตุ ที่ย้ายเข้ามาอยู่ที่ บริเวณบางไส้ไก่เพราะได้ม าทาหน้าที่เป็ นพวกฝีพายเรือหลวงให้กับกองเรือกลวงในบังคับ บั ญ ชาของสมเด็ จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุ ริยวงศ์ (ช่วง บุน นาค) โดยค าว่า “บางไส้ ไก่ ” เป็นคาที่แผลงมาจากคาว่า “จักกาย” ในภาษามอญ ที่ไม่ทราบความหมายว่าหมายถึงอะไร ทราบพอเป็นเค้าความคิดว่าเป็นชื่อตาแหน่งหนึ่งซึ่งเป็นตาแหน่งปลั ดนายกองมอญที่ใช้เรียก ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้ที่อยู่ในตาแหน่งนี้มีบ้านเดิมอยู่ที่ปากคลองบางไส้ไก่ จึงเรียกบริเวณนี้ ว่า “บางไส้ ไ ก่ ”ที่ แ ผลงมาจากค าว่า “จั ก กาย”ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ค ายื น ยั น ของสุ เอ็ ด คชเสนี ผู้เชี่ยวชาญด้านมอญศึกษาที่ระบุว่าคนมอญได้เรียกเพี้ยนเป็น “บางสะกาย”มาตั้งแต่เดิม ประการที่สอง รูปแบบและขั้นตอนกระบวนการราของสะบ้ารา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ บ้านมอญบางไส้ไก่ มีทั้งหมด 9 รูปแบบ ได้แก่ ตาล้ อ ตาคอ ตาอก ตาท้อง ตาเข่า (1)ตา เข่า (2)ตาตาตุ่ม ตาคีบ และสิ้นเติง โดยคาว่าสิ้นเติง เป็นตาสุดท้ายของการเล่นสะบ้ารา ส่วนการเน่า หมายถึง การที่ผู้เล่นล้อลูกสะบ้าไปถูกอิฐของคนอื่น และจะถูกลงโทษด้วยการ ให้ออกมารา หากผู้เล่นฝ่ายชายหมายปองหญิ งสาวคนใดที่ถูกลงโทษให้ออกมาราก็จะซื้ อ พวงมาลัยไปคล้องให้ ขั้นตอนกระบวนการรา ผู้ราซึ่งถูกเรียกว่า “เน่า” จะเป็นผู้เลือกการรา ที่ต นถนั ด เช่ น การราดาบ การราสี นวล การรามอญกละ และการราฉุยฉาย ฯ ซึ่ งผู้รา สามารถเลือกที่จะราเดี่ยวหรือเชิญอีกฝ่ายหนึ่งมาราคู่ก็ได้ โดยระหว่างการราจะมีการบรรเลง ของวงปี่พาทย์และมีผู้ร้องเพลงประกอบ โดยมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างมานั่งล้อมวงด้วย การร้องเพลงตามหรือตบมือเพื่อเป็นการให้จังหวะกับผู้รา


26

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

พรทิพย์ อันทิวโรทัย. (2545). บทบาทการศึกษาในการสืบทอดและพัฒนาทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรี .วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (พัฒนศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 350 หน้า. ตาราง. ดุษฎีนิพนธ์ของพรทิพย์ อันทิวโรทัย มีวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษาวัฒนธรรมชาวสวนฝั่ง ธนบุ รีตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ งปั จจุ บั น และวิเคราะห์ การสื บ ทอดวัฒ นธรรมชาวสวน ในรูป แบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ รวมทั้งนาเสนอบทบาท การศึกษาในการพัฒนาทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวสวนฝั่งธนบุรี พื้นที่ศึกษาคือ แขวงบาง ระมาด เขตตลิ่งชัน และแขวงบางมด เขตจอมทอง ข้ อ ค้ น พบจากการศึ ก ษาแบ่ ง ได้ 3 ประเด็ น หลั ก คื อ ประเด็ น แรก วั ฒ นธรรม ชาวสวนฝั่งธนบุรีเป็นมรดกของสังคมไทยสืบมาหลายชั่วอายุคน ชาวสวนมีความเป็นอยู่ที่ เรียบง่ายยึดถือแบบแผนประพฤติ มีระบบเครือญาติที่แน่นแฟ้นเอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน เลื่อมใส ในพุ ท ธศาสนา รัก ษาขนบธรรมเนี ย มประเพณี ในรอบปี สั่ ง สมภู มิ ปั ญ ญาสื บ ทอดกั น มา การทาสวนมีลักษณะเฉพาะคือยกร่อง และทาสวนผสมมีทั้งสวนไม้ผล สวนผัก และสวนไม้ ดอกไม้ประดับ สวนฝั่งธนบุรีมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นถิ่นกาเนิดพันธุ์ไม้ผลชั้นดี วิถีชีวิตของชาวสวนได้รับผลกระทบมากจากปัญหาน้าท่วม น้าเค็ม น้าเสีย และปัญหาการ ขยายตัวเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้คานึงถึงมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม พื้นที่สวนลดลง ทุกที ชุม ชนชาวสวนที่เคยพึ่ งตนเองได้กลับอ่อนแอลง มีการละทิ้งถิ่นไปทาสวนในจังหวัด ต่ างๆ โดยใช้ ภู มิปั ญ ญาเดิ ม ช่ วงนี้ จึง เป็ นรอยต่ อ ที่ส าคั ญ ในการสื บทอดและพั ฒ นาทาง วัฒนธรรมเพื่อพลิกฟื้นชุมชนให้ดารงอยู่ได้ต่อไป ประเด็ น ที่ ส องการสื บ ทอดวัฒ นธรรมชาวสวน การศึ กษาตามอั ธยาศั ยมี บ ทบาท สาคัญที่สุด เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนชาวสวนสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันบทบาทนี้ลดน้อยลงมากจนกระทั่งขาดผู้ สืบทอด ชาวสวนซึ่งมีอายุ 45 ปีขึ้นไป อาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายที่ยึดอาชีพนี้ การจัดการศึกษานอกระบบมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการสืบทอด แต่การนาหลักสูตรไปใช้ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวสวน บางหน่วยงานของรัฐใช้แนวคิด ใหม่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวสวนโดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม ส่วนการศึกษาใน ระบบตั้ ง แต่ ในอดี ต เอื้ อ ต่ อ การสื บ ทอดองค์ค วามรู้ด้ านการเกษตร แต่ ผู้สื บ ทอดอาชีพ นี้ มี น้อ ยลง และในปั จจุบั น ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ วิถี ชีวิต ชาวสวนเท่ าที่ ค วร แต่ มี แนวโน้ ม ที่ดี ที่ จ ะ เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชาวสวนมากยิ่งขึ้น ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาปี 2546


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

27

ประเด็นสุดท้าย การพัฒนาทางวัฒนธรรมเพื่อให้ชุมชนชาวสวนดารงอยู่ได้พรทิพย์ เสนอว่า ทุกฝ่ายจาเป็นต้องร่วมมือกันจัดการศึกษาคือ 1)กลุ่มชาวสวน สร้างบันทึกชาวสวน และจั ด กระบวนการเรีย นรู้แ ละพั ฒ นาศั ก ยภาพของตน 2)กลุ่ ม โรงเรีย น สร้างหลั ก สู ต ร สถานศึก ษาและจัด กระบวนการเรี ย นรู้และพั ฒ นานั กเรียน 3)เครือข่ายการเรียนรู้ เชื่อ ม ประสานกลุ่มทั้งสองในการแสวงหาความรู้และรังสรรค์ความรู้ใหม่ และชุมชนชาวสวนควร จัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรี” ขึ้น เพื่อเป็นแม่ข่ายประสานงาน เป็นแหล่งรวม วิทยาการและเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่อง

พรพรรณ เปล่งปลั่ง. (2548). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้าตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 113 หน้า. ภาพประกอบ.แผนที่. วิทยานิพนธ์ของพรพรรณ เปล่ง ปลั่ง มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการของการ ท่องเที่ยวที่ตลาดน้าตลิ่งชัน และศึกษารูปแบบในการจัดการการท่องเที่ยวที่ตลาดน้าตลิ่งชัน โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ 2 ประการ คือ ประแรกพัฒนาการของการท่องเที่ยว ที่ต ลาดน้าตลิ่งชัน สามารถแบ่งออกได้ เป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ 1)ตลาดน้าตลิ่งชันในอดี ต (ก่อน พ.ศ.2530) 2)ตลาดน้าตลิ่งชันยุคตลาดสินค้าเกษตร (พ.ศ.2530-2540) และ3)ตลาดน้า ตลิ่ ง ชั น ยุ ค ทั ว ร์ค ลอง (พ.ศ.2540-2548) พั ฒ นาการดั ง กล่ า วเป็ น การตอบสนองต่ อ การ เปลี่ยนแปลงทั้งที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น การเกิดน้าท่วมใหญ่ การตัดถนน การประกาศใช้พระราชบัญญัติการจราจร ทางน้า แผนพั ฒ นาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ นโยบายการส่ ง เสริม การท่อ งเที่ ยวของ ระดั บประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการผลักดันแนวคิดการมีส่วนร่วม และการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประการที่สอง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวของตลาดน้าตลิ่งชัน พบว่า ในช่วงตลาด สิ น ค้ าเกษตร (พ.ศ.2530-2540) เน้ น ที่ ก ารขายสิ น ค้ าเกษตรซึ่ ง เป็ น ผลผลิ ต จากสวนของ ชาวบ้านในพื้นที่เขตตลิ่งชัน การจัดการตลาดน้าดาเนินการโดยสานักงานเขตตลิ่งชัน ต่อมา เมื่ อเข้าสู่ ช่วงที่ 3 คือ ยุคทัวร์คลอง (พ.ศ.2540-2548) ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ


28

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

จัดการท่องเที่ยวตลาดน้าโดยมีกิจกรรมเพิ่มเติมขึ้นมา คือ การจัดการแสดงดนตรี และการ ท่องเที่ยวทัวร์คลองจากเดิมที่มีเพียงการขายสินค้าการเกษตร การจัดการท่องเที่ยวในช่วงนี้ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการจัดตั้ง “ประชาคมตลาดน้าตลิ่งชัน” ขึ้น และขยาย ขอบเขตการมีส่วนร่วมโดยมีกลุ่มพันธมิตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น กลุ่มโรงเรียน กลุ่มวัด กลุ่มเจ้าของสวน เป็นต้น ซึ่งได้นาเอาแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาใช้ในการจัดการ ท่องเที่ยวด้วย

พวงร้อย กล่อมเอี้ยงและคณะ. (2546). โครงการวิจัยประวัติศาสตร์วิถีชีวิตท้องถิ่น ย่านตลาดพลู. มปท.:มปพ. 268 หน้า. ภาพประกอบ. งานวิจัยของพวงร้อย กล่อมเอี้ยงและคณะมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการและ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ย่านตลาดพลูจากอดีตถึงปัจจุบันทั้งในบริบททางกายภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เนื้อหาของรายงานวิจัยเล่มนี้ประกอบด้วย 6 บท ดังนี้ บทที่ 1 ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตท้องถิ่นย่านตลาดพลูบทเรียนจากการวิจัย บทที่ 2 ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ คลองและสภาพคลองจากอดี ตถึงปัจจุบัน สภาพพื้นที่ศึกษาปัจจุบัน ขอบเขตของย่านตลาด พลู และคนตลาดพลู ประเพณี พิธีกรรม การแสดง บทที่ 3 ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตท้องถิ่นย่านตลาดพลู :ยุคหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง (พ.ศ. 2398-พ.ศ.2475) ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ชาติพันธุ์ก ารตั้งถิ่นฐานและวิถีชีวิต พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการทามาหากิน คนกับทรัพยากรสาธารณะ และความสัมพันธ์ ของคนย่านตลาดพลู บทที่ 4 ประวั ติ ศ าสตร์ วิ ถี ชี วิ ต ท้ อ งถิ่ น ย่ า นตลาดพลู : ยุ ค สวนพลู รุ่ น สุ ด ท้ า ย ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และการตั้ง ถิ่นฐาน พัฒนาการภาวะ เศรษฐกิจและการทามาหากิน คนย่านตลาดพลูกับทรัพยากรสาธารณะ และความสัมพันธ์ ทางสังคมกับคนย่าน ตลาดพลู บทที่ 5 ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตท้องถิ่นย่านตลาดพลู : ยุคไม่มีพลูที่ตลาดพลู (พ.ศ. 2500-ปั จจุบั น ) ประกอบด้ วย 4 หั วเรื่อ งย่อย ได้ แก่ ชาติ พั น ธุ์ก ารตั้ งถิ่ นฐานและวิถี ชีวิ ต บริบ ทและการเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ ย่ านตลาดพลู คนย่ านตลาดพลู กั บ ทรัพ ยากร สาธารณะและความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนย่านตลาดพลู และบทที่ 6 บทสรุป


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

29

พระมหาชาลี คารัตน์(ปัญญาวโร). (2550). วัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ใน ชุมชนวัดประดิษฐาราม แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 299 หน้า. ภาพประกอบ. วิท ยานิ พ นธ์ ข องพระมหาชาลี ค ารัต น์ (ปั ญ ญาวโร) มี วัต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะศึ ก ษา วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในชุมชนวัดประดิษฐา ราม ที่ประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายมอญ เชื้อสายจีน และมุสลิม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ ทางสังคมที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยใช้การศึก ษาภาคสนามสั ม ภาษณ์ ผู้ นาในชุม ชน ผู้เฒ่ าผู้ แก่ของแต่ ล ะกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ การสังเกต และการศึกษาเอกสาร ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายมอญ จีน มุสลิม ที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดประดิษฐาราม มีวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่เป็น เอกลักษณ์ของตนเอง โดยที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดมีความสัมพันธ์ ที่ดีกันมาโดยตลอด เพราะ อาศัยปัจจัยที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ ความเป็นเพื่อบ้านในชุมชนเดียวกัน ความ เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีสายสกุลสืบทอดต่อกันมา การยอมรับนับถือกันในชุมชน ความสัมพันธ์ ในเชิงธุรกิจ และความร่วมมือในชุมชน ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ ในชุมชนวัด ประดิษฐารามอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความ เชื่อ ประกอบด้วย การมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ความเป็นชุมชนดั้งเดิมมาแต่อดีต ลักษณะนิสัยที่มีการประนีประนอม การเป็นชุมชนที่มีการศึกษา การมีผู้นาที่มีความสัมพันธ์ อันดี ต่ อ กัน การอยู่ร่วมกันในชุม ชนเดี ยวกันมานาน ความเข้าใจวัฒ นธรรมซึ่ งกันและกัน การยอมรับในประเพณีและพิธีกรรมระหว่างกัน รวมทั้งคนในชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งร่วมกัน


30

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

พิษณุ บางเขียวและคณะ. (2550).การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรี. กรุงเทพฯ : สานักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 203 หน้า. ภาพประกอบ. งานวิจัยของพิษณุ บางเขียว มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1)องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ ชุมชนย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่ องเขตธนบุรี ในประเด็นต่างๆ 2)วางแผน/หาแนวทางที่ สามารถนาไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างแท้จริงในการพัฒนาย่ านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขต ธนบุรีให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3)การจัดทาแผนปฏิบัติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใน ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรี 4)การส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรี และ5)การพัฒนาชุมชนย่านกุฎีจีน และพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ ข้อค้นพบจากการศึกษาพบจุดแข็งซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของชุมชนย่านกุฎีจีนและพื้นที่ เกี่ ย วเนื่ อ ง 4 ด้ า น ได้ แ ก่ ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ กุ ฎี จี น เป็ น ย่ า นที่ มี ค วามส าคั ญ ทาง ประวั ติ ศ าสตร์ การตั้ ง ชุ ม ชนบริเวณกุ ฎี จี น นั้ น เกิ ด ขึ้ น จากการผสมผสานระหว่า งผู้ ค น หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนา การศึกษาประวัติศาสตร์และกลุ่มชาติ พันธุ์ในย่านนี้จึง เกี่ยวข้องกับการอพยพของผู้คนจากกรุงศรีอยุธยา หลายกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนามาตั้งบ้าน แปงเมือง ชุมชนแรกตั้งหลังเสียกรุงในย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องนี้จึงเปรียบเหมือนการ แสดงให้เห็นภาพของชุมชนเดิมที่มาจากอยุธยา ด้านความหลากหลายของกลุ่ มชาติพันธุ์ กุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเป็นแหล่งรวม ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติหลากวัฒนธรรมมีทั้งไทย จีน ฝรั่ง แขก มอญ ลาว ที่นับถือ ศาสนาต่างกัน ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม โดยกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้สามารถรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมของตนเองไว้ได้ ปรากฏแบบแผน ประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศาสนสถานอันเป็น ที่เคารพศรัทธา อาทิ วัด โบสถ์ มัสยิด และศาลเจ้า ย่านนี้จึงมีจุดแข็งในการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การที่กุฎีจีนเป็นย่านที่มีความสาคัญทาง ประวัติศาสตร์ รวมทั้งมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ นั้ น ท าให้ กุ ฎี จีน และพื้ น ที่ เกี่ย วเนื่ อ งมี ศั ก ยภาพด้ านการพั ฒ นาให้ เป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ยวเชิ ง วัฒนธรรม แม้ว่าปัจจุบันชุมชนนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางสังคมไปจาก อดีตบ้างแต่ยังคงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่าที่สมาชิกในชุมชนควรร่วมกันอนุรักษ์


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

31

และพั ฒนาให้มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนใน ชุมชน ด้านองค์ความรู้ ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องได้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวม องค์ ค วามรู้ทั้ งในด้ านเอกสาร วัต ถุ สิ่ ง ของ บุ คคลส าคัญ ภู มิ ปัญ ญาท้ องถิ่น และของดี ท้อ งถิ่นในย่านกุฎีจีนและพื้ นที่เกี่ยวเนื่อง องค์ความรู้ส าคัญ เหล่านี้ได้ มีการเผยแพร่ในรูป ต่างๆ ทั้งงานวิจัย บทความทางวิชาการ พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และมี การบูรณาการองค์ความรู้เหล่านี้ในการบริหารจั ดการ โดยเน้นการพัฒนากิจกรรมเพื่อการ ท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน จุดแข็งทั้ง 4 ข้อดังกล่าว พิษณุและคณะเสนอว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติ และท้ อ งถิ่น สามารถน าไปใช้ป ระโยชน์ ด้ วยการจัด ท าเป็ นโครงการชุ ม ชนท่ องเที่ย วยั่ งยื น กิจกรรมการสารวจ ออกแบบและจัดทาแผนดาเนินการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ในย่านนี้ โดยศึกษาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สภาพทั่วไปของพื้นที่ สภาพ การท่องเที่ยวในชุมชน ทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งอานวยความสะดวก การพัฒนา เส้นทางท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากร และการจัดทาแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรี (พ.ศ.2551-2555) รวมทั้งแผนปฏิบัติการพัฒนาการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเขตธนบุรี (พ.ศ.2551)ได้เป็นอย่างดี

ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์.(2540).ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?. กรุงเทพฯ:ส่องศยาม.329 หน้า. งานเขียนของภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์. รวบรวมความเป็นมาเกี่ยวกับพระราชประวัติ เหตุการณ์บ้านการเมืองในยุคธนบุรี ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รวมทั้งข้อสงสัยใน เรื่องการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบ 28 หัวเรื่อง ได้แก่ ท่ า นพระโพธิ สั ต ต์ เจี ย นสิ น หนึ่ ง ต่ อ หก เงิ น ตราห้ า ต าลึ ง ระหว่ า งเวลาจลาจล เจ้าตากสิน จีนเจี้ยมนายสาเภาใหญ่ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบารมรีปรากฏ อภินิหาร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขอฝนได้ ความยากจนของเมืองไทยที่ไม่มีใคร รู้ซึ้ง โอ้พระราชชนนีของลูกเอ๋ย ข้าวสารเกวียนละสิบตาลึง พิษน้าลายงูเขียวหางไหม้ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงสอนสมถวิปัสสนาแก่พระสงฆ์อย่างไร คนจีนในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช การเมืองของจีนกับการเมืองของพม่า เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกถือ ดาบเข้าเฝ้า ทรงทาตามแผนการที่ปรึกษากันไว้ หลักฐานต่างๆจากจดหมายเหตุ ดุจมั่นผู้ เป็ น วีรบุ รุษ ชี วิต ใหม่ ที่ เขาขุ น พนม ทรงสอนสมถวิปั ส สนา สมเด็ จ พระภิ ก ษุ เจ้ าตากสิ น


32

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

มหาราชทรงแสดงธรรม พระจิตบรรลุขั้นพุทธะธรรม สมเด็จพระภิกษุเจ้าตากสินมหาราชทรง บ าเพ็ ญ ทางโพธิ สั ต ตมรรค ดวงพระบารมี น าพระจิ ต ทิ้ ง พระร่าง ขอบพระทั ย บทพิ เศษ การนับเชื้อสายพระราชวงศ์ และท้ ายของหนั ง สื อ เป็ น ภาคผนวกที่ น าเอางานวิจั ย ของผู้เขีย นคนเดี ย วกั น เรื่อ ง พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี ที่ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุ รี กั บ พระพุ ท ธศาสนา ประกอบด้ ว ย 9 หั ว เรื่ อ งย่ อ ย ได้ แ ก่ พระราชประวั ติ ย่ อ การปรารถนาพระโพธิ ญ าณ พระบารมี ทานบารมี อภั ย ทาน พระกรรมฐาน สอบพระ ลักษณะ วรรณคดีพระราชนิพนธ์ ทรงผนวชและสวรรคต ตอนที่ 2 คณะสงฆ์ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระฝาง การทานุบารุงพระสงฆ์ ตาแหน่งพระสังฆราช และ กรณี ขั ด แย่ ง กั บ พระสงฆ์ ต อนที่ 3 พระไตรปิ ฏ ก ตอนที่ 4 การท านุ ง บ ารุ ง พระ พระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ตอนที่ 5 พระราชวังและวัด และบทสรุป

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2547). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนานาชาติ ไทยศึกษา“ธนบุร:ี เมืองหลวงของไทยในอดีต”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี. 25 – 27 พฤษภาคม 2547. เอกสารประกอบการประชุ ม ฉบั บ นี้ ป ระกอบด้ ว ยบทความวิ ช าการซึ่ ง เขี ย นโดย นักวิชาการซึ่งวิเคราะห์เรื่องในอดีตและปัจจุบันของธนบุรีไว้ในแง่มุมต่างๆ จานวน 15 เรื่อง ได้แก่ Dhonburi,the Former Capital of Siam Past to Present ธนบุรี : นครสองฝั่งน้า สกุลช่างศิลป-หัตถกรรมแห่งธนบุรี ศิลปกรรมธนบุรี เมืองธนบุรีกับการปฏิวัติ พ.ศ.2231: กรณี ศึ ก ษาจากเอกสารทหารฝรั่ ง เศส Portugese Bandel in Dhonburi : Reward of Tahan Farang Man Pun in 1768 A.D. การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและวัฒ นธรรมของ ชุ ม ชนย่ า นตลาดพลู การพั ฒ นาธนบุ รี มุ ส ลิ ม ในธนบุ รี มอญบางขุ น เที ย น:วิ ถี ชี วิ ต และ วัฒนธรรม เตร่ตามหาประวัติศาสตร์จีนสยามต้นกรุงรั ตนโกสินทร์ แขกเทศเจ้าเซ็นชีอะห์ใน ธนบุ รี มองอนาคตธนบุ รีผ่านผลการพั ฒ นา “ธนบุรี”กับความพยายามในการแยกตั วเป็ น จังหวัดอิสระ และการศึกษาและการศาสนาในธนบุรี


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

33

มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม. (2543). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชชิ่ง. 163 หน้า ภาพประกอบ. งานเขีย นที่ รวบรวมข้อ มู ล เกี่ ย วกับ เหตุ ก ารณ์ ก่ อนการสร้างกรุน บุ รี และพระราช ประวั ติ ส มเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช พระอั จ ฉริย ภาพ พระราชกรณี ย กิ จ ด้ านต่ า งๆ ประกอบด้วย 5 หัวข้อ ดังนี้ 1) พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบด้วย 7 หัวเรื่องย่อยได้แก่ พระราชประวัติย่อ การับราชการก่อนครองราชย์ พระราชพิธีขึ้นครองราชย์ พระนามที่เรียก ขาน พระราชวงศ์ธนบุรี สมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์ธนบุรี และวันสาคัญในพระราชประวัติ 2) สาเหตุสาคัญในการล่มสลายของราชอาณาจักรอยุธยา ประกอบด้วย 6 หัวเรื่อง ย่อยได้แก่ เป้าหมายของพม่าเพื่อทาลายอยุธยาให้แหลกสลาย ความอ่อนแอในระบบป้องกัน ตนเองของอยุธยา ระบบงานที่ไร้ป ระสิ ท ธิภ าพของอยุธยา ความไร้ระเบี ยบในระบบไพร่ ความบกพร่องในด้านการข่าว และแผนอันแยบยลของพม่าเพื่อพิชิตกรุงศรีอยุธยา 3) พระอัจฉริยภาพในยุทธวิธีทางทหาร ประกอบด้วย 7 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ก่อน กรุงแตก กระบวนการกอบกู้เอกสาร ทหารเสื้อพระเจ้าตาก การตั้งราชธานี แบบฉบับจอม ทัพ สรุปเหตุการณ์สาคัญในรัชสมัย และพระราชานุสาวรีย์ 4) พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ประกอบด้วย 9 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ด้านกฎหมาย และศาล ด้านการค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ ด้านการต่างประเทศ ด้านการปกครอง ด้ า นการปกป้ อ งแผ่ น ดิ น และขยายราชอาณาจั ก ร ด้ า นการศาสนา ด้ า นประเพณี แ ละ วัฒนธรรม ด้านวรรณคดีและศิลปกรรม และด้านเศรษฐกิจและสังคม 5) ระบบต่ างๆในแผ่ น ดิ น ยุ ค ฟื้ น ตั ว ประกอบด้ วย 4 หั วเรื่อ งย่ อย ได้ แก่ ระบบ การเงินในสมัยกรุงธนบุรี ระบบเศรษฐกิจและการพาณิชย์ บทบทของรัฐด้านเศรษฐกิจและ การเงิน และระบบสังคม


34

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ยุพิน พิพัฒน์พวงทอง และคณะ.(2548). การฟื้นฟูการท่องเที่ยวชุมชนปากคลองบางกอก ใหญ่ให้ยั่งยืน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 184 หน้า. ภาพประกอบ. งานวิจัยของยุพิ น พิ พั ฒ น์ พ วงทอง และคณะมีวัต ถุประสงค์ ที่ จะศึ กษา 1)บริบ ท ชุ ม ชนปากคลองบางกอกใหญ่ ประวั ติ ค วามเป็ น มาของชุ ม ชน คติ ค วามเชื่ อ ต านาน วัฒนธรรม การแต่งกาย อาหารพื้นบ้าน การละเล่น การแสดงและดนตรี ภาษา ประเพณี เอกลักษณ์ และบูรณาการกิจกรรมต่างๆในชุม ชนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 2)การบริหาร จัด การ การมี ส่ วนร่วมการตั ด สิ น ใจของชาวบ้านในชุ ม ชน เช่น การฟื้ นฟู จารีต ประเพณี ภู มิ ปั ญ ญ าท้ องถิ่ น ศิ ลป วั ฒ น ธรรม การบ ารุ ง รั ก ษ าและการใช้ ป ระโยชน์ จาก ทรัพ ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และ 3)กิจกรรการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และผลกระทบที่มีต่อคนในชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research ,PAR) เป็นกรอบในการวิจัย ข้อค้นจากการวิจัยสรุปได้ 4 ประการตามขั้นตอนของรูปแบบการวิจัย ดังนี้ 1. ขั้ น สื บ ค้ น ปั ญ หาและความต้ อ งการของชุ ม ชน (Need Assessment) พบว่ า ชุม ชนปากคลองบางกอกใหญ่ มีทรัพ ยากรทั้งแหล่ งท่องเที่ยว รวมทั้งมีวัฒ นธรรมชุม ชนที่ เกี่ ย วเนื่ อ ง นั บ ว่ ามี อ งค์ ป ระกอบการท่ อ งเที่ ย วที่ ห ลากหลาย สามารถพั ฒ นาเป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวชุมชนได้เป็นอย่างดี 2. ขั้นการวางแผนแก้ปัญ หา (Program Planning) พบว่าสมาชิกในชุมชนหรือผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียทุกคนได้วิเคราะห์ปัญหาของชุมชนซึ่งทุกคนยอมรับว่าปัญหาทางการฟื้นฟูการ ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาหลักของประชาชน หากแต่ชุมชนยังมีทรัพยากรแหล่ง ท่ อ งเที่ ย ว ประเพณี วัฒ นธรรมที่ ค่ อ นข้ างสมบู ร ณ์ ส ามารถน ามาใช้ ในการแก้ ปั ญ หาได้ สมาชิ ก ในชุ ม ชนได้ เห็ น ชอบร่ วมกั น และทดลองที่ จ ะด าเนิ น ธุ รกิ จ การท่ อ งเที่ ย วด้ วยการ ท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิ น โดยมีการจัดโครงการ ล่องเรือกินลม “ชมกรุงธนบุรี” รูปแบบการท่องเที่ยวเป็นแบบนั่งเรือและเดินชมแหล่งท่องเที่ยว (Boat Tour and Walking Tour) มีการล่อ งเรือในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง และเข้าคลองด่าน พร้อมกับมีวิทยากรบรรยายเรื่องราวให้ฟัง นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยว เชิ ง อนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี วั ฒ นธรรม กั บ ชมรมสยามทั ศ น์ เป็ น การท่ อ งเที่ ย วแบบทอดน่ อ ง (Walking Tour) ร่วมกับมีการจัดงานบวงสรวงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช 3. ขั้น การประเมิ น ผลการด าเนิ น งาน (Implementation) ได้ มี การประเมิ น ความ คิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจของ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

35

นักท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งอานวยความสะดวกและบริการต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ระดับการมีส่วน ร่วมของผู้มีส่วนได้ส่ วนเสี ยในพื้นที่ในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชุม ชนซึ่ งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ ดี เพราะว่ามีการจัดประชุมเพื่อร่วมมือและช่วยเหลือกัน เสนอความคิด คาแนะนาและช่วยกัน กระจายข้อมูลข่าวสารระหว่างหัวหน้าชุมชน พระ และชาวบ้าน 4. ขั้นการประเมินผลที่เกิด ขึ้น (Outcome Evaluation) จากทดลองด าเนินธุรกิจ บริการการท่องเที่ยวชุมชนนั้น พบว่าการดาเนินธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนประสบความสาเร็จ ในระดั บ หนึ่ง นั ก ท่ อ งเที่ ยวพึ ง พอใจต่ อสิ่ งอานวยความสะดวกและบริก ารต่ างๆทางการ ท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังมีความพอใจที่มีโอกาสได้พบปะผู้คนและได้เพื่อนใหม่ และสมาชิก ในชุมชนเองมีความสัมพันธ์ร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้นทั้งในประเด็นร่วมมือดาเนินการจัดงาน ต่างๆ และการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน สาหรับผลที่เกิดขึ้นด้าน สิ่งแวดล้อม พบว่า ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อยสวยงามขึ้นกว่าเดิม แม่น้าและลาคลอง สะอาดขึ้น นักท่องเที่ยวไม่ ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง ชาวบ้านให้ความร่วมมือร่วมใจกัน อนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ราตรี จาตุรัส .(2548). พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการพระราชนิพนธ์ รามเกียรติ์. สารนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 97 หน้า. สารนิพนธ์ ของราตรี จาตุรัส มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพระอัจฉริยภาพของสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุ รีในการพระราชนิ พ นธ์บ ทละครเรื่อ ง รามเกี ยรติ์ ซึ่ งพิ นิ จพิ เคราะห์ จาก แนวคิ ด และลี ล าการประพั น ธ์ที่ ปรากฏในบทละคร โดยข้อค้น พบที่ส าคัญ จากบทละครนี้ สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง 3 ประการ ได้แก่ การขยายพระราชอาณาจักร การมีข้าราชบริพารที่จงรักภักดี และคุณลักษณะของผู้ปกครอง สาหรับในลีลาการประพันธ์ที่ ปรากฏในบทละครพบอยู่ 3 ลักษณะ คือ การใช้คา การใช้สานวน และการใช้ภาพพจน์ นอกจากนี้ราตรี ยังวิเคราะห์ในมุมมองที่ลุ่มลึกอันถือเป็นกุศโลบายของสมเด็จพระ เจ้ากรุงธนบุรีที่ทรงใช้เรื่องราวของบทละครเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดแนวคิดการปกครอง ของพระองค์ผ่านลีลาการประพันธ์ที่ไพเราะ โดยทรงเลือกใช้คาที่สื่อความหมายเข้าใจง่าย การใช้ภาพพจน์และโวหาร ประกอบในลีลาการประพันธ์ ทาให้เห็นภาพเหตุ การณ์ชัดเจน ท าให้ บ ทละครไพเราะงดงาม แนวคิ ด และลี ล าการประพั น ธ์ ดั ง กล่ า วแส ดงให้ เห็ น ถึ ง อัจฉริยภาพของพระองค์ที่นอกเหนือไปจากพระราชกรณียกิจในด้านอื่นๆ


36

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

เรไร ไพรวรรณ์. (2548). การถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน : กรณีศึกษาชุมชน ในเขตธนบุร.ี กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 119 หน้า. ภาพประกอบ. งานวิจัยของเรไร ไพรวรรณ์ มีวัต ถุป ระสงค์ ที่จ ะส ารวจและรวบรวมข้ อมูล ผู้ท รง ภูมิปัญญาในชุมชนเขตธนบุรีโดยศึกษาจากประวัติ การทางาน วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญา และแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การถ่ า ยทอดภู มิ ปั ญ ญาชาวบ้ า น กลุ่ ม ที่ เป็ น ตั ว อย่ า งในการศึ ก ษา ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ้มผู้ทรงภูมิปัญญา กลุ่มผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา และกลุ่ม ผู้ใช้บริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ สรุปได้ว่า จานวนผู้รู้ภูมิปัญญาในเขตธนบุรีทั้ง 44 ชุมชน มีจานวน 297 คน มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาร้อยละ 35.02 แขวงบางยี่เรือเป็นแขวงที่ พบผู้รู้ภูมิปัญญาสูงสุด ร้อยละ 19.53 โดยผู้รู้ ภูมิปัญญาซึ่งมีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่มีการถ่ายทอด ภูมิปัญญามากที่สุดอยู่ในแขวงหิรัญรูจี ร้อยละ 29.79 สาหรับผู้ทรงภูมิปัญญาซึ่งเรไรเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างมี 6 คน เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาใน 3 สาขา คือ สาขาศิลปกรรม 4 คน สาขาหัตถกรรมและอุตสาหกรรม 1 คน และสาขาการ จัดการ 1 คน โดยผู้ทรงภูมิปัญญาในสาขาศิลปกรรม และสาขาหัตถกรรมและอุตสาหกรรม เรียนรู้ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษและผู้ใกล้ชิด ส่วนผู้ทรงภูมิปัญญาอีก 1 คน เรียนรู้จากการ จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งในการถ่ายทอดภูมิปัญญา พบว่ามีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน คือ วิธีการถ่ายทอด ผู้รับการถ่ายทอด เนื้อหา เวลา และการประเมินผล นอกจากนี้ใน การถ่ายทอดภูมิปัญญา กลุ่มผู้ทรงภูมิปัญญา ผู้รับการถ่ายทอด และผู้ใช้บริการต่างมีความ คิดเห็นที่ตรงกันว่าเห็นด้วยกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่ง เรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ ควรที่ จ ะมี ก ารอนุ รัก ษ์ ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารถ่ า ยทอดภู มิ ปั ญ ญาชาวบ้ านเพื่ อ เป็ น มรดกทาง วัฒนธรรมของไทยสืบต่อไป รวมทั้งควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรด้วย


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

37

เรืองศิลป์ หนูแก้ว. (2546). ความเป็นสังคมนานาชาติของกรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ.2310-2325. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ไทย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 152 หน้า. แผนที่ประกอบ ปริญญานิพนธ์ของเรืองศิลป์ หนูแก้ว มี วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยสาคัญที่ทาให้ กรุง ธนบุ รี เป็ น สั ง คมนานาชาติ และศึ ก ษาวิ ถี ชี วิ ต ของชาวต่ า งชาติ ทั้ ง ในด้ า นการเมื อ ง เศรษฐกิจ สั งคมวัฒ นธรรมของชาวต่ างชาติ ที่กรุงธนบุรี รวมทั้งวิเคราะห์ผลจากการเป็น สังคมนานาชาติ ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า ในกรุงธนบุรีมีชาวต่างชาติจานวนมากที่เข้า มาตั้ ง ถิ่น ฐาน เช่น ชาวจี น ชาวมุ ส ลิ ม เชื้อ ชาติ ต่ างๆ ชาวมอญ ชาวลาว ชาวเวีย ดนาม ชาวกัม พู ชา และชาวยุโรป ซึ่ งชาวต่ างชาติ เกล่ านี้มี ส่ วนท าให้ เศรษฐกิ จของธนบุรีฟื้ น ตั ว เนื่ อ งจากท าให้ ธ นบุ รี ไ ด้ มี แ รงงาน และได้ ป ระโยชน์ จ ากการเก็ บ ภาษี ก ารค้ า เป็ น ต้ น นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่า สังคมนาชาติในกรุงธนบุรี เกิดจากการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ของเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จากเมืองท่าหน้าด่าน ซึ่งมีชุมชนชาวต่างชาติตั้งถิ่นฐานอยู่ ก่อน เมื่อปี พ.ศ.2310 ได้ยกฐานะเป็นเมืองหลวง ธนบุรีจึงกลายเป็นเมืองท่านานาชาติ และ เป็นศูนย์รวมการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น กรุงธนบุรีจึงมีปรากฏการณ์ความเป็นสังคม นานาชาติเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา

วรวรรณ เหวียนระวี. (2552). การศึกษาสภาพและบทบาทของดนตรีจีนในชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (มานุษยดุริยางควิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 234 หน้า.ภาพประกอบ.แผนที่. วิทยานิพนธ์ของวรวรรณ เหวียนระวีมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพและบทบาทของ ดนตรีจีนในชุมชนตลาดพลู รวมทั้งศึกษากระบวนการสืบทอดดนตรีจีนในชุมชนดังกล่าว ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ว่า ดนตรีจีนในชุมชนตลาดพลู เกิดขึ้นจากการรวมตัว กันของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีน โดยมีการจัดตั้งเป็นสมาคม 2 สมาคม คือ สมาคม ซัม เป้าเก็งเต็ง และสมาคมอิ๋วฮัวก๊กเก้าจู มีบทบาทที่สาคัญ ในการเป็นพื้นที่ทางสังคมเพื่อ


38

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

พบปะแลกเปลี่ยนสังสรรค์ การพั กผ่อ นหย่อนใจและคลายความตึงเครียดจากการทางาน ระหว่างคนในชุมชน สาหรับการดาเนินงานการจัดองค์กรทางดนตรี พบว่า ด้านผู้ให้การถ่ายทอดความร้มู ี ผู้สืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นอย่างจากัด แต่ทว่ามีผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์จากพื้นที่อื่นๆมาต่อ เพลงหรือทบทวนเพลงให้กับสมาชิกอย่างสม่าเสมอ นอกจากนี้ยังมีการเปิดให้ผู้คนที่สนใจมี ส่วนร่วมในการเข้าชม ฟังเพลงหรือเล่นดนตรีจีนหรือร้องเพลงงิ้ว และสามารถที่จะฝากตัว เข้ามาเป็นศิษย์ในสมาคมได้ ด้ านเนื้อหาการถ่ายทอดเป็นไปในลักษณะที่ไม่มีการกาหนด ตายตัว เน้นการถ่ายทอดโดยใช้ปากต่อปากหรือมุขปาฐะในการอธิบายหรือบรรยาย รวมทั้งมี การสอนแบบสาธิตซึ่งเป็นการเน้นให้เห็นและและปฏิบัติได้จริง

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2552). การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 205 หน้า. ภาพประกอบ.แผนที่. งานเขี ย นของวลั ย ลั ก ษณ์ ทรงศิ ริ เล่ ม นี้ เรี ย งร้ อ ยเรื่ อ งราวพั ฒ นาการของการ เปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของชุ ม ชนในพื้ น ที่ ย่ านตลิ่ ง ชั น ไว้ อ ย่ า งเป็ น ระบบ โดยเฉพาะในมิติทางประวัติศาสตร์ กายภาพ เศรษฐกิจ การเกษตรกรรม และวิถีชีวิตของ ผู้คนโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 สภาพภู มิ ศ าสตร์ส ามเหลี่ ย มปากแม่ น้ าเจ้ าพระยาและความส าคั ญ ทาง ประวัติ ศ าสตร์ ซึ่ ง กล่ าวถึง พั ฒ นาการและการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของ สามเหลี่ ยมปากแม่น้าเจ้าพระยา พั ฒ นาการของการปรับเปลี่ ยนสภาพภูมิศาสตร์ในเขต สามเหลี่ยมปากแม่น้าเจ้าพระยา การขุดคลองลัด และคลองเชื่อมแม่น้าเจ้าพระยาในสมัย อยุธยา การขุด คลองลั ด และคลองเชื่อ มแม่ น้ าเจ้าพระยาและล าน้าอื่น ๆสมั ยหลั งกรุง ศรี อยุธยาจนถึงเริ่ม ตั้ งกรมคลองคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 การตั้ งถิ่นฐานในเขตดินดอน สามเหลี่ยมปากแม่น้าเจ้าพระยาในช่องก่อนประวัติศาสตร์จนถึงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19-20 การตั้งถิ่นฐานในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมา การตั้งถิ่นฐานบริเวณลาน้าเจ้าพระยา ตอนล่างในปัจจุบัน และความสาคัญของเมืองบางกอก (เมืองธนบุรี)ทางประวัติศาสตร์ บทที่ 2 รากเหง้ า ทางสั ง คม วั ฒ นธรรมและเศรษฐกิ จ พื้ น ที่ ฝั่ ง ตะวั น ตกแม่ น้ า เจ้าพระยา : สวนผลไม้ นาข้าว และสวนผัก ซึ่งกล่าวถึง สวนผลไม้เศรษฐกิจพื้นฐานของชาว


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

39

บางกอก ทุเรียนในฐานะที่เป็นพญาแห่งผลไม้ พืชพรรณในบางระมาด การผลิตข้าวในแอ่งที่ ราบของสามเปลี่ยมปากแม่น้าเจ้าพระยา และสวนผักของคนจีน บทที่ 3 จากบ้านสวนสู่ชานมหานคร ซึ่งกล่าวถึงท้องถิ่นตลิ่งชันเขตการปกครองใน สมัยใหม่ทั้งในทางกายภาพ เขตการปกครอง จานวนประชาชน การศึกษาและระบบความ เชื่อ และท้องถิ่นบ้านสวนตลิ่งชัน โดยเสนอชุมชนชาวสวนในรูปแบบใหม่ และการรวมกลุ่ม ของชาวบ้านในปัจจุบัน บทที่ 4 เมืองรุกไล่ : การแปลงสวนเป็นบ้านจัดสรรและการตัดถนนผ่ากลางชุมชน ภาพสะท้อนการสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคสมัยใหม่ ซึ่งกล่าวถึง ความล่มสลายของสวนตลิ่ง ชัน และจุดจบของสังคมชาวสวนฝั่งธนบุรี การเปลี่ยนชีวิตตามลาน้าเป็นชีวิตตามถนน ชีวิต ใหม่ในสภาพแวดล้อมกึ่งมหานครกึ่งสวน128 โดยหยิกยกกรณีการทาไม้ดอกไม้ประดับ และ การท่องเที่ยวตลาดน้าแบบหวนหาอดีตเป็นกรณีศึกษา

วัชรพล ศรีปักษา. (2543). โครงสร้างทางการเมืองการปกครองในสมัยธนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 142 หน้า วิทยานิพนธ์ของวัชรพล ศรีปักษา มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาโครงสร้างทางการเมือง การปกครองของไทยในสมัยกรุงธนบุรี และศึกษาบทบาทของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการดาเนินการปกครองประเทศ ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ 2 ประเด็ นหลัก คือ ประเด็ นแรก โครงสร้างทาง การเมื อ งการปกครองในสมัยธนบุ รีแบ่งออกเป็ น 2 ส่ วน คื อ การปกครองส่ วนกลาง ซึ่ ง รวมถึ งการดู แลกองทหารด้ วย และการปกครองส่ วนภู มิ ภ าค การปกครองส่ วนกลางนั้ น พระมหากษัตริย์ทรงมีอานาจสูงสุดเป็นทั้งพระประมุขและนายกรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน นั่น คื อ การที่ พ ระองค์ ท รงเข้ าไปควบคุ ม การปกครองอย่ างใกล้ ชิ ด ผ่ านทางสมุ ห กลาโหมซึ่ ง ควบคุ ม ฝ่ ายทหาร ทั้ ง 4 ฝ่ าย และสมุ ห นายกซึ่ ง ควบคุ ม งานด้ า นพลเรือ น (จตุ ส ดมภ์ ) นอกจากนี้ยังทรงปกครองโดยผ่านหน่วยงานอีก 5 หน่วย คือ วังหน้า ลูกขุน ณ ศาล หลวง ลูกขุน ณ ศาลา มนตรีทั้ง 6 และกรมอิสระ ในส่วนของการปกครองส่วนภูมิภาคมีการแบ่ง หัวเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ เมืองเอก เมืองโท เมืองตรี โดยเมืองขึ้นของเขต ราชธานี เรียกว่า หัวเมืองจัตวา


40

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

สาหรับบทบาทของสมเด็จพระเจ้าตากสินซึ่งเป็นส่วนสาคัญในการทาบ้านเมืองให้ เป็นปึกแผ่นโดยเร็ว คือ การกอบกู้เอกราชกลับคืนจากพม่าได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 เดือน หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ทรงดาเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการเปิดตลาดการค้ากับ จีน ท าให้ ส ามารถน าสิ น ค้าออกจากพระราชอาณาจัก รได้ นอกจากนี้ ยั งทรงท านุ บ ารุง พระพุทธศาสนาเพื่อเสริมสร้างบารมีของพระองค์ในอีกบทบาทหนึ่งในฐานะที่ทรงเป็นธรรม ราชด้วย

วัชรา คลายนาทร. (2542). ชุมชนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา :กรณีศึกษาชุมชนเมือง ของสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 228 หน้า.ตาราง. ภาพประกอบ. งานวิจัยของวัชรา คลายนาทร มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการเติบโตของเมืองธนบุรีใน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ.2325-2451 ภายหลังจากการย้ายราชธานีของไทย จากกรุงธนบุ รีไปยังกรุงเทพมหานคร โดยเลือกพื้นที่ชุม ชนบ้านสมเด็ จเจ้าพระยา ซึ่ ง เป็น ชุมชนที่อยู่ในการปกครองของเสนาบดีตระกูลบุนนาคอันเป็นตระกูลที่มีบทบาทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในสมัยนั้น ในพื้ นที่ของเสนาบดี 2 ท่าน คือ สมเด็ จเจ้าพระยาบรมมหา ประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) โดยได้ ตั้งสมมติฐานในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) ภายหลั งการสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรีแล้ว พื้นที่แห่ง นี้ยังคงมีความสาคัญอยู่หรือไม่ อย่างไร และ 2) พื้นที่ชุมชนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในฐานะ แกนเมืองที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีผลทาให้การตั้งถิ่นฐานและวิถี การดารงชีวิตของประชาในพื้นที่แห่งนี้ มีแนวโน้มไปสู่การดารงชีวิตแบบสังคมเมืองหรือไม่ อย่างไร ข้อค้นพบจากการวิจัยชิ้นนี้ พิสูจน์ได้ว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชุมชนบ้าน สมเด็จเจ้าพระยามีลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่ ประกอบด้วยประชากรหลากหลายศาสนาและ ชาติพันธุ์ มีวิถีการดารงชีวิตที่แตกต่างกัน ชุมชนแห่งนี้มีความสาคัญต่อกระบวนการพัฒนา ของสถาบันสังคมไทยไปสู่ความทันสมัยตามแบบอย่างชาติตะวันตก ในฐานะศูนย์กลางการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นผลมาจาก การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน แม้ ว่าระบบศักดินาสวามิภักดิ์จะยังคงเป็น โครงสร้างพื้นฐานการจัดระเบียบทางสังคมไทยสมัยนั้น


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

41

อย่างไรก็ต ามภายหลังสมัยกรุงรัต นโกสินทร์ต อนต้ น ความสาคัญ ของชุม ชนบ้าน สมเด็จเจ้าพระยาในการเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งของกรุงธนบุรี ได้ลดลงเป็นลาดับ เนื่องจาก ความเติบโตในฝั่งพระนคร แต่ชุมชุนแห่งนี้ยังคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สร้าง สมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในตอนท้ายของงานวิจัย วัชรา เสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ว่าสามารถที่จะนาไปเป็น ประโยชน์ ในการวางแผนและโครงการเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาชุ ม ชนไว้อ ย่ า งน่ าสนใจหลาย ประการ เช่น การจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การส่งเสริม การพั ฒ นาชุมชนด้ วยธุรกิจการท่องเที่ยว การสร้างเสริมศักยภาพและประสบการณ์ ให้แก่ นักศึกษาในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น

วิทยาลัยครูธนบุรี. (2522). ธนบุรีของเรา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา. 244 หน้า.ภาพประกอบ.แผนที่. เป็นงานเขียนที่ประกอบด้วยผลงานการศึกษาค้นคว้าและการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ท้ อ งถิ่ น ต่ างๆในฝั่ง ธนบุ รีจ ากนั ก วิช าการด้ านต่ างๆทั้ งในทางประวัติ ศ าสตร์ ภู มิ ศ าสตร์ บุคคลสาคัญ วรรณกรรม ศิลปะ ชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสถานที่ สาคัญของเมืองธนบุรี วิภาวี พลรัตน์.(2551). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้า : กรณีศึกษา ย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์อดีตราชธานีกรุงธนบุรี.ปริญญานิพนธ์หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 245 หน้า. ภาพประกอบ.แผนที่ ปริญญานิพนธ์ของวิภาวี พลรัตน์ มีวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษา 1)การพัฒ นารูปแบบ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเ วศทางน้าในเส้นทาง“ย้อนรอยประวัติศ าสตร์อดีตราชธานีกรุง ธนบุรี”2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกลุ่ม ควบคุมต่อการท่องเที่ยวทางน้ารูป แบบเดิมและนักศึกท่องเที่ยวกลุ่มทดลองต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้า 3)สารวจทรัพยากร การท่อ งเที่ยวในพื้ นที่ฝั่งธนบุรีที่เหมาะสมต่ อรูปแบบการท่ องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้า และ4) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจนาเที่ยว มัคคุเทศก์ และประชาชนท้องถิ่น


42

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางน้าในพื้นที่ฝั่งธนบุรี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้ตอบโจทย์วิจัย แบ่งได้ 4 ประเด็นหลัก คือ ประเด็น แรก คื อ การพั ฒ นารู ป แบบเส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศทางน้ าในเส้ น ทาง”ย้ อ นรอย เส้นทางประวัติศาสตร์ราชธานีกรุงธนบุรี” เริ่มจากการล่องเรือผ่านคลองบางกอกใหญ่ คลอง บางเชือกหนัง คลองบางน้อย คลองบางพรม คลองบางระมาด คลองชักพระ คลองบางกอก น้อย และแม่น้าเจ้าพระยา ซึ่งระยะเวลาในการเดินทางตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น. โดยต้องมี องค์ประกอบที่สาคัญ ได้แก่ การเลือกทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความสาคัญเชิงนิเวศและ ประวัติ ศ าสตร์ มีการใช้มัคคุ เทศก์ที่มีประสบการณ์ การกระตุ้ นให้นักท่องเที่ยวเกิด การ เรียนรู้ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้า มามีส่ วนร่วมในการพั ฒ นารูปแบบท่องเที่ยว และสร้างมาตรการป้องกันลดผลกระทบต่ อ สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ประเด็ น ที่ ส องเมื่ อ เปรี ย บเที ย บความพึ ง พอใจของนั ก ท่ อ งเที่ ย วสองกลุ่ ม พบว่ า นักท่องเที่ยวกลุ่มทดลองด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ามีความพึงพอใจ รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากกว่ามากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มควบคุมด้วยการ ท่องเที่ยวทางน้ารูปแบบเดิม นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มยังเห็นตรงกันว่า พื้นที่ฝั่งธนบุรีมีความ เหมาะสมต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประวั ติศาสตร์ ยาวนาน และอุดมไปด้วยทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ประเด็นที่สาม ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่ถือว่าเหมาะสมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางน้า ได้แก่ วัดอรุณาราชวราราม วัดโมลีโลกยาราม มัสยิดต้นสน วัดกัลยาณมิตร ศาล เจ้าเกียนอั นเกง วัด อิ นทราราม ตลาดน้าคลองลั ด มะยม สวนกล้ วยไม้ พิพิ ธภัณ ฑ์ สถาน แห่งชาติเรือพระราชพิธี วัดระฆังโฆษิตาราม วังหลังและกาแพงวังหลัง ประเด็ นสุ ด ท้าย ความคิ ด เห็น ของกลุ่ ม ต่ างๆ พบว่า ประชาชนในพื้น ที่มีความรู้ ความเข้าใจต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ใน ระดับมาก ผู้ประกอบการธุรกิจนาเที่ยว และมัคคุเทศก์มีความคิดเห็นต่อความพร้อมของ ปัจจัยต่างๆในด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ในระดับปานกลาง โดยทั้งสองกลุ่มยังมีความคิดที่ ตรงกันว่าพื้นที่แห่งนี้เหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

43

วิบูล วิจิตรวาทการ.(2540). เรื่องสนุกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ:หมึกจีน. 248 หน้า. ภาพประกอบ. งานเขียนของวิบูล วิจิตรวาทการ รวบรวมเกร็ดประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในสมัยกรุง ธนบุรีเน้นหนักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร รวมทั้งการสงครามในสมัยธนบุรี ประกอบด้วย 11 หัวเรื่องที่สาคัญได้แก่ ศึกพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ความสัมพันธ์ระหว่างบาทหลวงฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีตอนที่1-3 หม่อมฉิมและหม่อมอุบล มเหสีคู่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระยา พิชัยดาบหัด เมื่อพระเจ้าตากสินเกือบถูกเจ้าเมืองจันทบุรีหลอกฆ่า เจ้าพระฝาง มหาดาภิกษุ ที่คิดแข่งบารมีกับพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อสังฆราชเลอบองลองดีกับพระเจ้าตากสิน เจ้าศรีสังข์ กับพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องราวการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และบทบาทของ พระยาสรรค์เมื่อตอนเปลี่ยนแผ่นดิน

วิมาลา ศิริพงษ์. (2534). การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีในสังคมไทยปัจจุบัน : ศึกษากรณี สกุลพาทยโกศาลและสกุลศิลปบรรเลง. วิทยานิพนธ์สังคมวิยาและมานุษยวิทยา มหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 202 หน้า. ภาพประกอบ. วิทยานิพนธ์ของวิมาลา ศิริพงษ์มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการดารงอยู่ของวัฒนธรรม ดนตรีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม โดยเลือกวัฒนธรรมดนตรีในสายสกุล พาทยโกศาลและสกุลศิลปบรรเลงเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบใน 3 ประเด็นหลักคือ การจัด องค์กรทางดนตรี ลักษณะทางดนตรี และพิธีกรรม โลกทัศน์ด้านดนตรีไทย ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ว่าทั้งสองสายสกุลมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนใน 4 ประการ คือ ประการแรก สกุลพาทยโกศลเป็นองค์กรลักษณะบ้านพิณพาทย์ คือมีวงศ์ ดนตรีที่ประกอบด้วยสมาชิกภายในบ้าน รับบรรเลงตามวัดและงานบ้านเพื่อหารายได้ ส่วน สกุ ล ศิ ล ปบรรเลงอยู่ ใ นรูป ของมู ล นิ ธิ ห ลวงประดิ ษ ฐไพเราะ(ศร ศิ ล ปบรรเลง) ประกอบ กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ และเผยแพร่ดนตรีไทย รวมทั้งมีการเปิดสอนดนตรีไทยแก่บุคคล ทั่วไป ด้วยการจัดองค์กรที่ต่างกันจึงทาให้สกุลพาทยโกศลนั้นทากิจกรรมโดยมีคนเข้าร่วม จากัดเฉพาะในกลุ่มที่มีความสัมพั นธ์ทางเครือญาติ และคนใกล้ชิด ขณะที่สกุลศิลปบรรเลง มีขอบเขตกิจกรรมออกสู่สาธารณะเปิดโอกาสให้บุคคลนอกกลุ่มเข้ามีส่วนร่วมโดยมุ่งนาเสนอ


44

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ดนตรีไทยให้แก่ชีวิตคนในส่วนที่ต่างไปจากเดิ ม คือ ในฐานะเป็นงานอดิ เรกหรือกิจกรรม พิเศษ ประการที่สองรูปแบบลักษณะของดนตรี สกุลพาทยโกศลใช้วิชาความรู้ทางปี่พาทย์ และใช้เพลงประเภทที่มีความหมายหรือมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เน้นการถ่ายทอดด้วย การบอกเล่าตามประเพณีในวัฒนธรรมดนตรีไทย ส่วนสกุลศิลปบรรเลงใช้วิชาด้านเครื่องสาย เป็นหลักในการสอน เพลงที่ใช้ไม่มีข้อกาหนดเช่นพิธีกรรม และยังมีการพัฒ นาระบบการ บันทึกดนตรี รวมทั้งการสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประการที่สามพิธีกรรมและโลกทัศน์ สายสกุลพาทยโกศลจะแฝงไว้ด้วยสัญลักษณืซึ่ง จะสามารถสื่อความหมายเฉพาะคนภายในกลุ่ม ส่วนสกุลศิลปบรรเลงปรากฏความพยามที่ จะอธิบายสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นให้บุคคลภายนอกได้รับรู้และเข้าใจ ประสุดท้ายการสืบทอดวัฒนธรรมดนตรี สกุลพาทยโกศลเน้นการรักษาวัฒนธรรม ดนตรี ใ ห้ ค งอยู่ ใ นรู ป แบบเดิ ม มากที่ สุ ด ทั้ ง ในด้ า นการจั ด องค์ ก ร การท างาน เพลงที่ ใ ช้ ถ่ายทอดวิชาหรือ ประกอบพิ ธีก รรม ส าหรับ สกุล ศิล ปบรรเลงพยายามปรับการจัด องค์ก ร การทางาน รูปแบบทางดนตรีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทางสังคม

วีณา โรจนราธา.(2539).“ประวัติชุมชนย่านวัดอนงคาราม”ในอุทยานประวัติศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.กรุงเทพฯ:คณะกรรมการ จัดสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. 64-111 หน้า. ภาพประกอบ. งานศึกษาของวีณา โรจนราธา มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของพื้นที่ชุมชนย่านวัดอนงคาราม จากการศึกษาสรุปได้ว่า แต่เดิมบริเวณดังกล่าวเป็นชุมชน โบราณที่ชาวต่ างชาติ เดิ นเรือเพื่ อเข้าสู่เมืองบางกอก และเป็นที่ดินพระราชทานแด่ขุ นนาง ตระกู ล บุ น นาคสายสมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาพิ ชั ย ญาติ (ทั ต บุ น นาค) เจ้ า กรมพระ คลังสินค้าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และดารงตาแหน่งผู้สาเร็จราชการพระนครในสมัยรัชกาลที่ 4 วีณาได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน ซึ่งได้แก่ วัดพิชัยญาติการาม วัด อนงคาราม คลองสายส าคัญ ต่างๆโดยเฉพาะคลองสานและคลองบ้านสมเด็จ รวมทั้ง ศึกษาการตั้งถิ่นฐานของประชากรในชุมชนเมื่อครั้งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น ชาวมุสลิม จากเมืองไทรบุรีและหัวเมือ งตอนใต้ ของไทย ชาวลาวที่อพยพมาจาเมืองเวียงจันทน์ ชาว มุสลิมเชื้อสายอินเดียที่อพยพมาจากเมืองสุรัด ใกล้ เมืองบอมเบย รวมทั้งกลุ่มชาวจีน และ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

45

นิวาสถานของขุนนางที่สาคัญ ในอดีต เช่น ตระกูล กัล ยาณมิต ร ตระกูลไกรฤกษ์ ตระกูล นานา นอกจากนี้ยังได้ นาเสนอความสาคัญ ของวัด พิชัยญาติ การามและวัด อนงคารามใน ฐานะที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งมีบทบาทการเป็นสถาบันสังคมที่ให้การเรียนรู้แก่ ผู้คนใน พื้นที่ สรยุทธ ชื่นภักดี. (บรรณาธิการ) (2544). มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามยุคสมัย. กรุงเทพฯ:จิรรัชการพิมพ์. 258 หน้า. ภาพประกอบ งานเขียนของสรยุทธ์ ชื่นภักดี รวบรวมเรื่องราวความเป็นมาของชาวชุมชนมัสยิดต้น สนจากบทความของผู้รู้ในชุมชนหลายท่านซึ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับชุมชนและความเชื่อมโยงของ ชุมชนกับประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยต่างๆ รวมทั้งยังมีข้อเขียนที่บันทึกความทรงจาของ ชุมชน เนื้อหาประกอบด้วย 3 ภาค ดังนี้ ภาคที่ 1 ประวัติความเป็นมาชาวมัสยิดตันส้น ประกอบด้วย 4 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ มุ ส ลิ ม มั ส ยิ ด ต้ น สนกั บ บรรพบุ รุ ษ สามสมั ย รู ป แบบสถาปั ต ยกรรมมั ส ยิ ด ต้ น สน สุ ส าน ประวัติศาสตร์ และรายชื่ออิหม่าม ภาคที่ 2 บทวิเคราะห์ความเป็นมา ประกอบด้วย 10 หัวเรื่องย่อย ได้แก่ ก่อนจะ เป็ น ธนบุ รี กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ มุ ส ลิ ม ในธนบุ รี มุ ส ลิ ม สมั ย อยุ ธ ยา ธนบุ รี กั บ มุ ส ลิ ม ร่ อ งรอย ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของมัสยิดต้นสนในมุมมองสังคมวิทยา สุลต่านสุลัยมานชห์ การ เผยแพร่อิ ส ลามในสยาม มั ส ยิด ต้ น สนกั บ พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ชุ ม ชน และมั ส ยิด ต้ น สนชุ ม ชนของ แผ่นดิน ภาคที่ 3 ร่วมราลึ กเรื่องราว ประกอบด้ วย 11 หั วเรื่องย่อย คือ 50 ปีแห่ งความ ทรงจา เมื่อในหลวงสองรัชกาลเสด็จมั สยิดต้นสน เมื่อครั้งถนนจะตัดผ่ามัสยิด ราลึกถึงพระ ลักษมณา ราลึกถึงอาจารย์การุณ ภู่มาลี ราลึกถึงอาจารย์วิรัตน์ ภู่มาลี ราลึกถึงท่านหมัด กลัยาณสุต ราลึกถึงท่านหล่อ ท่านเลื่อน มานะจิตต์ ราลึกถึงฮัจยะฮ์วงศ์ แสงหลากเลิศ แม่ เล่าให้ฟัง และราลึกเรื่องราวผ่านภาพถ่าย ตอนท้ายของเล่ม เป็นภาคผนวกที่ประกอบด้วย ประวัติมัสยิด ต้นสน รายงานการ สร้างมัสยิดต้นสน รายงานการซ่อมศาลาทานเลี้ยง และความเป็นมา แผนงานและผลการ ดาเนินงานคณะกรรมการการศึกษามัสยิดต้นสน


46

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ส. พลายน้อย. (2550). พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย. กรุงเทพฯ:พิมพ์ดา. 224 หน้า ภาพประกอบ. งานเขียนของ ส. พลายน้อย รวบรวมข้อมูล เหตุการณ์ส าคัญในสมัยกรุงธนบุรีใน แง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชการสร้างเมือง และการสงคราม ประกอบด้วยหัวข้อที่สาคัญ 19 หัวเรื่อง ได้แก่ ภูมิหลัง การบรรพาชา อุปสมบท พระยากาแพงเพชร การล่าถอยเพื่อตั้งหลัก เจ้า ตากตี จั น ทบุ รี การปราบสุ กี้ พ ระนายกอง การปราบดาภิ เษก การฟื้ น ฟู พ ระพุ ท ธศาสนา การสถาปนากรุงธนบุรี การสงครามภายใน ญวนทายุ่ง การตีเมืองเชียงใหม่ ยุทธการที่บ้าน นางแก้ว ทรงพระกรรมฐาน พระราชอัธยาศัย การเกิดจลาจล วาระสุ ดท้ายของกรุงธนบุรี พระราชวงศ์กรุงธนบุรี ทหารเอกคู่พระทัย นอกจากนี้ในภาคผนวก รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ พระราชสาสน์ จดหมายเหตุจีนครั้งกรุงธนบุรี โคลองยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และเจ้า ศรีสังข์ไว้ในตอนท้ายของเล่มด้วย

สานักศิลปะวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏธนบุรี. (2544). ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี. 104 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. หนังสือที่จัดพิมพ์ในวาระครอบรอบ 43 ปี สถาบันราชภัฏธนบุรี โดยรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกรุงธนบุรี ในมิติประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปกรรม วรรณกรรม การศาสนา พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จเจ้าพระเจ้าตากสินมหาราช ในตอนท้ายของ เล่มเป็นการรายงานการทัศนศึกษาสถานที่สาคัญในฝั่งธนบุรี ปะกอบด้วย พระราชวังเดิม วัดอรุณาราชวราราม วัดราชโอรสาราม วัดนางนองวรวิหาร และวัดอินทารามวรวิหาร


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

47

สานักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2546). ชีวิตไทยในธนบุรี. กรุงเทพฯ : วีเจพริ้นติ้ง. 132 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. หนังสือที่จัดพิมพ์ในวาระครอบรอบ 55 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับกรุงธนบุรีในมิติประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณี สถานที่สาคัญ ประกอบด้วย 12 หัวเรื่อง ได้แก่ ธนบุรี : แหล่งการค้าในอดีต ชุมชนบ้านช่างหล่อ บ้านปูนในอดีต บางขุนเทียนราลึก มอญบางขุนเทียน ชาวสวนฝั่งธนฯในอดี ต บ้านสวน คลองชักพระ คลองบางเชือกหนัง ย้อนอดีตตลาดพลู ตลาดวัดกลาง สมุนไพรในบ้านสวน ผลิตผลและอาหารชาวสวนฝั่งธนฯ ในตอนท้ายเป็นภาคผนวกประกอบด้วยเรื่องที่น่าสนใจ 4 เรื่อง คือ หุ่นกระบอกไทย สมุด ข่อยวัดศีรษะกระบือ (หัวกระบือ) หอไตรวัดอัปสรสวรรค์วรวิหารและองค์ประกอบทางด้าน สถาปัตยกรรม และปฏิทัศน์หนังสือเรื่องใครฆ่าพระเข้ากรุงธนบุรี

สานักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2549). ธนบุรจี ากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : วรานนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์. 109 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ฝั่งธนบุรีในด้านประวัติความเป็นมา ลั ก ษณะทางภู มิ ศ าสตร์ สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช คนฝั่ ง ธน (คนในฝั่ งธนบุ รี ) ศิลปกรรมในธนบุรี ชุมชนดั้งเดิมในธนบุรี ผลไม้ในสวนฝั่งธนบุรี และแหล่งท่องเที่ยวและ สถาปัตยกรรมที่สาคัญในธนบุรี

สถาบันราชภัฏธนบุรี.(2535).ประวัติศาสตร์ธนบุรี.กรุงเทพฯ:ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏธนบุรี. 104 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. เป็นงานเขียนที่จัดพิม์ขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองศิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ประกอบด้วยประเด็นสาคัญเกี่ยวกับเมืองธนบุรีในด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา วรรณกรรม ซึ่งรวบรวมจากคาบรรยายและการอภิปราย ของนักวิชาการในการประชุมทางวิชาการ จุดที่น่าสนใจอยู่ที่การวิเคราะห์ความเป็นชุมชน


48

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

เมืองของกรุงธนบุ รี การตั้งถิ่นฐานเดิม ของประชากรที่อพยพเข้ามาในเมืองธนบุรี รวมถึง หลักฐานทางโบราณคดีที่ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรในชุมชนต่างๆของเมือง ธนบุรี

สถาบันราชภัฏธนบุรี. (2538). ชีวิตไทยในธนบุร.ี กรุงเทพฯ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏธนบุรี. 111 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. เป็นงานเขียนที่รวบรวมจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ชีวิตไทยในธนบุรี โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธนบุรีในมิตรประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่ง เขียนขึ้นจากนักวิชาการด้านต่างๆ มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การวิเคราะห์ชื่อ “บางกอก”จาก หลักฐานของชาวต่างชาติและนักประวัติศาสตร์ไทย งานวิจัยในทางสังคมและวัฒนธรรมของ ชาวสวนในเมืองนนทบุ รี ซึ่ งมีความเกี่ยวข้องกับชาวสวนในเมืองธนบุรีเนื่องจากเป็นพื้ นที่ ต่อเนื่องอีกทั้งประชากรมีการด ารงชีวิตที่ใกล้เคียงกัน การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่ม ชาติ พันธุ์ใน ธนบุ รี การเสนอชีวิต ความเป็นอยู่ของชุม ชนต่ างๆในเมืองธนบุรีที่มีอัต ลักษณ์ โด่เด่ น เช่น บ้านขมิ้น ซอยมะตูม กุฎีจีนและบ้านบุ เป็นต้น

สุกัญญา สุจฉายา.(2544). ความเชื่อและพิธีกรรมในวิถีชีวิตของชวนสวนคลองบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. สถาบันไทยคดีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ หน้า. ภาพปะกอบ. แผนที่. งานวิจัยของสุกัญ ญา สุจฉายามีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิถีชีวิตชาวสวนคลองบาง ระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในด้านความเชื่อและพิธีกรรมของชาวสวน เพือ่ รวบรวมองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมของชาวสวนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อค้นพบจากการวิจัยสรุปได้ว่า ชวนสวนคลองบางระมาดยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ซึ่งนับถือมาแต่บรรพบุรุษ โดยในรอบ 1 ปี ชาวสวนจะมีประเพณีพิธีกรรมใน 3 ระดับ คือ ประเพณี พิ ธีกรรมที่ เกี่ยวเนื่ อ งกับ พระพุ ทธศาสนา ประเพณี พิ ธีกรรมที่ เกี่ย วกับ ชีวิต และ พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพการทาสวน ประเพณีพิธีกรรมดังกล่าวชาวสวนส่วนใหญ่ยังคง เชื่ อ ถื อ และปฏิ บั ติ อ ยู่ แม้ ว่าบางอย่ างจะเปลี่ ย นแปลงไป เช่ น ประเพณี ส ลากภั ต ทุ เรีย น พิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเกิด เป็นต้น นอกจากนี้ชาวสวนยังมีความเชื่อและพิธีกรรมที่


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

49

เกี่ยวเนื่องกับอานาจเหนือธรรมชาติ เช่น ความเชื่อเรื่องพระภูมิเจ้าที่ ความเชื่อเรื่องเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ฯลฯ ซึ่งเป็นความเชื่อในหมู่คนบางกลุ่มเท่านั้น สาหรับด้านการประกอบอาชีพทาสวน พบว่า ชาวสวนแห่งนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งการผลิต การจาหน่าย และการสืบทอด โดยเฉพาะในช่วงหลังน้าท่วมใหญ่ปี พ.ศ.2526 ส่งผลให้สวนผลไม้ยืนต้น ดั้งเดิมล่มไปเป็นจานวนมาก จนชาวสวนต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตกลายมาเป็นการเพาะปลูกพืช สวนครัวแทน

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ). (2545). เวียงวังฝั่งธนฯ ชุมชนชาวสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน. 328 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่ เป็ นหนั งสื อ ที่ รวบรวมบทความทางวิช าการของผู้ รู้ในด้ านต่ างๆ ซึ่ งเกี่ ยวข้อ งกั บ ประวัติความเป็นมา สถานที่สาคัญ มรดกทางวัฒนธรรม แหล่งของกินขึ้นชื่อของพื้นที่ย่านฝั่ง ธนบุรี โดยประกอบด้วย 15 หัวเรื่อง ได้แก่ ก่อนจะถึงฝั่งธนฯ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ทาไม...ต้องสถาปนากรุงธนบุรี บางกอก ธนบุรี กรุงธนบุรีในแผนที่พม่า พระราชฐานเดิมของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่ฝั่ง ธนบุ รี วั ง หลั ง ครั้ ง หนึ่ ง เคยมี สุ น ทรภู่ เกิ ด ที่ วั ง หลั ง หุ่ น กระบอกไทยในชุ ม ชนวั ด ระฆั ง บ้านขมิ้น เปลือกส้ มโอถึงตรอกมะตูม บ้านช่างหล่อหล่อพระประติมา บ้านบุตีขันสนั่นก้อง บ้านเน้นตีฆ้องสนั่นเสียง สถานีรถไฟธนบุรี และตลาดศาลาน้าร้อน

สุดารา สุจฉายา (บรรณาธิการ). (2542). เพื่อความเข้าใจในแผนดินธนบุรี. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์สารคดี. 336 หน้า. ตาราง. ภาพประกอบ หนังสือเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน “ธนบุรี” ซึ่งจัดพิมพ์โดยสานักพิมพ์สารคดีเล่มนี้ นับเป็นผลงานทางวิชาการที่ทรงคุณค่ายิ่งอีกเล่มหนึ่งในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เนื่องจากเป็นงานที่รวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่มีความละเอียดหลากหลายมิติ เกี่ยวกับพื้นที่ฝั่ง ธนบุ รี เป็นความพยายามที่จะสืบค้น สืบเสาะจากแหล่ งข้อมูลของผู้จัด ทาทั้งจากเอกสาร สาคัญทางประวัติศาสตร์ งานเขียน งานวิจัย หนังสือ การลงพื้นที่สารวจภาคสยามสัมภาษณ์ ผู้คนในท้องถิ่น ประกอบกับการแสดงแผนที่ และภาพประกอบที่สวยงามซึ่งสามารถทาให้ ผู้อ่านสัมผัสถึงบรรยากาศต่างๆ เช่นเดียวกันกับผู้ถ่ายทอด


50

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ 1) รู้จักเมืองธนบุรี ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก “เรือกสวน คูคลอง และ ดินแดนบนตะกอนปากแม่น้า” กล่าวถึงลักษณะทางธรณีวิทยาของธนบุรีที่มีทรัพยากรดินและ น้ าอั น อุ ด ม จึ ง ส่ ง ผลต่ อ การด ารงชี วิต ของผู้ ค นในย่ า นนี้ โดยเฉพาะการประกอบอาชี พ เกษตรกรรมที่ในอดีตมีหลากหลายพืชพันธุ์ เลื่องชื่อในนาม”สวนในบางกอก” และนาเสนอ ความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดังกล่าว ณ เวลาปัจจุบัน เรื่องที่สอง “ธนบุรี ภาพเก่าของ บางกอก” ส่วนนี้นาเสนอเรื่องราวทางประวัติ ศาสตร์ของธนบุรี โดยย้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยา การกอบกู้เอกราช การพัฒนาบ้านเมือง บรรยากาศทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เนื้อหา เกี่ยวกับขุนนางตระกูลสาคัญที่มาจากหลากหลายชาติพันธุ์ รวมทั้งสภาพปัญหาของธนบุรีใน ปัจจุบันจากเรื่องเล่าของคนในชุมชนย่านต่างๆ อันเกิดขึ้นจากการพัฒนาเมือง 2) สารคดีพิเศษ ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก “ก่อนและหลังกรุงธนบุรี” เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรีตั้งแต่การก่อร่างสร้างเมือง การกลายเป็นราชธานี ใหม่ของอาณาจักร และธนบุรีล่มร้างแล้วหรือไร เมื่อมีการเกิดใหม่ของกรุงเทพฯ เรื่องที่สอง “บันทึกเจ้าเซ็ น ในคืนวันเลื อกปนน้าตา” เป็นการเล่าถึงประเพณี ที่ร้อยรัด ความเชื่อความ ศรัทธาของชาวมุสลิมนิกายชีอะฮ์ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในธนบุรี โดยเสนอคติความเชื่อ อันเป็นที่มาและพิธีกรรมอย่างละเอียดลออ เรื่องสุดท้าย “ ชีวิตและความทรงจาริมฝั่งธนบุรี” นาเสนอเรื่องเล่าของผู้คนในท้องถิ่น จานวน 3 เรื่องเล่า คือ ดาวคะนอง : คลองสายธุรกิจ คุ้งสิ้นจี่นามนี้เป็นตานาน และชวนสวนที่บางระมาด 3) วัฒ นธรรมและประเพณี ประกอบด้ วย 5 เรื่อ ง ได้ แ ก่ เรื่องแรก “คนฝั่ ง ธน” กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของผู้คนที่มีอยู่อย่างหลากหลายชาติพันธุ์ซึ่งมีถิ่นฐานกระจายอยู่ ตามพื้นที่ต่างๆในฝั่งธนบุรี ได้แก่ คนจีน มุสลิม แขก มอญ ลาวเวียงจันทน์ รวมทั้งเสนอ ความเชื่อ ของชาวฝั่ง ธนบุ รีที่ มี ต่ อ สมเด็ จเจ้าพระเจ้าตากสิ น มหาราช เรื่องที่ ส อง“กั บข้ าว ชาวสวนและขนมโบราณในธนบุ รี ” กล่าวถึงอาหารของชาวสวนซึ่ งประกอบจากพื ชพรรณ ธัญญาหารในท้องถิ่น ถ่ายทอดโดยชาวสวนในพื้นที่ การนาเสนออาหารและขนมของกลุ่มชน ต่างๆ ทั้งของไทย ฝรั่ง และมุสลิม ของเลื่องชื่อประจาย่าน เรื่องที่สาม “หัตถกรรมธนบุรี” เป็นการแสดงให้ เห็นถึงมรดกทางวัฒ นธรรมของชุม ชนที่ยังคงปรากฏร่องรอยให้ เห็นเป็ น เอกลักษณ์ตามชื่อเรียกของย่านต่างๆ ดังเช่น พระพุทธรูปทองเหลือที่บ้านช่างหล่อ ขันลงหิน ที่บ้านบุ ฆ้องวงที่บ้านเน้น ที่นอนบางกอกน้อย ขลุ่ยบ้านลาว เป็นอาทิ เรื่องที่สี่ “งานบุญ ประเพณี ฝั่งธน” เล่าถึงประเพณีประจาท้องถิ่นของชุมชนย่านฝั่งธนที่สาคัญ เช่น ประเพณี ชักพระวัดนางชี ประเพณีแห่พระอิศวรทรงโค ประเพณีแห่หลวงพ่อเกสรวัดท่าพระ ประเพณี ทิ้งกระจาดที่วัดกัลยาณ์ ประเพณี ออกบวชที่เจริญพาศน์ ประเพณีถอดพระวัดซางตาครู้ส


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

51

เป็นต้น เรื่องสุดท้าย “มหรสพย่านฝั่งธน” เล่าถึงมหรสพนานาชนิดในอดีตและที่ยังหลงเหลือ ในยุคปัจจุบัน รวมทั้งมหรสพสมัยใหม่ 4) สถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก “ทวนเจ้าพระยา ราลึก วันวานของบางกอก” เป็นการนาเสนอประวัติความเป็นมาโดยย่อของสถานที่สาคัญต่างๆ ตามสองฝากฝั่ ง แม่ น้ าเจ้ าพระยาโดยเริ่ม ตั้ ง แต่ บ ริเวณสะพานพระราม 6 จนถึ ง สะพาน พระราม 9 ทั้งหมด 57 สถานที่ เรื่องที่สอง “เที่ยวไปตามคลองประวัติศ าสตร์ ” เป็นการ นาเสนอเรื่อ งราวของย่านในพื้ น ที่ ฝั่ง ธนฯ ด้ วยการเข้ าไปลั ด เลาะตามคลองสายส าคั ญ ที่ เชื่อมต่อกับแม่น้าเจ้าพระยา ได้แก่ เส้นทางคลองบางกอกใหญ่ -คลองด่าน คลองบางกอก น้อย-คลองชักพระ-คลองบางระมาด วัดวาอารามต่างๆ ย่านเจริญพาศน์ -ย่านแขกเจ้าเซ็ น บริเวณริมคลองบางหลวง ศาสนสถานอันได้แก่ วัด โบสถ์ สุเหร่าของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้ง พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ในธนบุรี 5) ข้อ มูล เฉพาะของพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งประกอบด้วยที่ตั้ ง อาณาเขต การปกครอง และข้อมูลสาหรับนักเดินทางที่ต้องการสัมผัสดินแดนถิ่นนี้

สุภาพร มากแจ้ง. (2540).การศึกษาวิถีชีวิตชาวมอญบางขุนเทียน “มอญบางกระดี่”. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี. 124 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. งานวิจัยของสุภาพร มากแจ้ง มีวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษาวิถีชีวิต รวบรวมและจาแนก ข้อมูลทางวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ของชุมชนชาวมอญบางกระดี่ในเขตบาง ขุนเทียน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนา วัฒนธรรม ดังกล่าว ข้อค้นพบจากการศึกษาสรุปได้ 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก วิถีชีวิตของชาวมอญ บางกระดี่เป็นลักษณะชุมชนพึ่งตนเอง มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน มีช่างฝีมือ ประจาหมู่บ้าน วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน รูปแบบความสัมพันธ์อยู่ในลักษณะเครือ ญาติ โดยมีผู้อาวุโสของชุมชนทาหน้าที่ในการให้คาแนะนาปรึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ โดยตรวจสอบกับคัมภีร์โลกสิทธิและโลกสมมุติ ประเด็นที่สอง ข้อมูลทางวัฒ นธรรม แสดงให้เห็นจากรูปแบบการตั้งบ้านเรือนที่มี ลั กษณะใต้ ถุน สู ง การแต่ งกายตามประเพณี ม อญในโอกาสเทศกาล การมีอาหารประจ า เทศกาลต่างๆ และมีความเชื่อในเรื่องผี และความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โชคลาง และสิ่ง อัปมงคล ประเพณีที่สาคัญของชาวมอญแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ เกี่ยวข้องกับชีวิต เช่น การ


52

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

โกนจุก การบวช การแต่งงาน และโดยเฉพาะการตายที่ถือเป็นประเพณีที่สาคัญมาก อีกด้าน หนึ่ ง คื อ ประเพณี ที่ เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ ศาสนาซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ ยึ ด โยงกั บ วั น ส าคั ญ ทางศาสนา เช่น เดี ย วกั บ คนไทย แต่ มี ที่ แตกต่ าง 2 เรื่อ ง คื อ ประเพณี ตั ก บาตรน้ าผึ้ ง และตั ก บาตร ดอกไม้ ประเด็นสุดท้าย ปัจจุบันวิถีชีวิตชาวมอญบางกระดี่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการขยายตัวของเมือง โดยชาวบ้านจานวนหนึ่งมีการขายที่ดินเพื่อนาไปใช้สร้างเป็น โรงงานอุ ต สาหกรรม ลั ก ษณะดั ง กล่ าวจึง ก่อให้ เกิ ด ปั ญ หาในรูป แบบต่ างๆตามมา เช่ น ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนชุมชนเริ่มห่างเหิน ปัญหาวัยรุ่น ยาเสพติด แรงงานอพยพ ย้ายถิ่น คนในรุ่นหลังๆ ไม่สามารถดารงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ได้ จึงควร ที่จะมีการอนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน โดยการปลูกจิตสานึก คนในชุมชนซึ่งมีวัดและโรงเรียนเป็นผู้นาในการพัฒนา

สันติ กมลนรากิจ. (2550). การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองกรุงธนบุรี.วิทยานิพนธ์ การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 304 หน้า.ภาพประกอบ.แผนที่ วิทยานิพ นธ์ของสันติ กมลนรากิจมีวัต ถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ คือ 1) พัฒนาการของสิ่งแวดล้อมเมืองในกรุงธนบุรี ทั้งปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม 2)วิเคราะห์ประเภทการกระจายตัวของสิ่งแวดล้อมเมือง คุณค่าและเอกลักษณ์ ของสถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในกรุงธนบุรี 3)วิเคราะห์การเชื่อมโยงระหว่าง สถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกับพื้นที่โดยรอบและวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และความต้ อ งการของพื้ น ที่ ศึ ก ษา และ4)เสนอแนะแนวทางการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นา สิ่งแวดล้อมเมืองกรุงธนบุรี ข้อค้นพบจากวิทยานิพนธ์ของสันติสรุปได้ 3 ประการดังนี้ 1) หลังจากมีการขุดคลองลัดแม่น้าเจ้าพระยาตรงบริเวณเมืองบางกอกในสมัยอยุธยา กรุงธนบุรีได้มีพัฒนาการความเป็นเมืองสืบเนื่องต่อมาโดยมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่านและ เมืองท่าให้กับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทยในช่วงปี พ.ศ.2310-2325 ในสมัย สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช พั ฒ นาการของสิ่ ง แวดล้ อ มเมื อ งในด้ า นต่ างๆได้ มี ก าร เปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทของเมืองแต่ละยุคสมัย โดยลักษณะการตั้งถิ่นฐานเป็นรูปแบบ ของชุมชนริมน้าและเกษตรกรรมใช้เส้นทางน้าเป็นทางคมนาคมหลักและมีประชากรที่มีเชื้ อ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

53

ชาติหลากหลายอยู่รวมกันทั้งชาวไทยดั้งเดิม ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวตะวันตก รวมทั้งชาว มอญ ลาว ญวน หลังจากเปลี่ยนมาเป็นเขตการปกครองหนึ่งของกรุงเทพมหานครในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศึกษากรุงธนบุรีมีบทบาทและการพัฒนาเมืองควบคู่และรองรับความ เจริญไปกับฝั่งพระนคร จนกลายมาเป็นชุมชนเมืองขยายตัวไปทั่วพื้นที่โดยมีเส้นทางถนนเป็น เส้นทางคมนาคมหลักในปัจจุบัน 2) กรุ ง ธนบุ รี มี สิ่ ง แวดล้ อ มเมื อ งที่ มี คุ ณ ค่ า และเอกลั ก ษณ์ เป็ น จ านวนมาก ซึ่ ง ประกอบด้วยมรดกวัฒนธรรมที่เป็นพระราชวัง วัง วัด ศาสนสถาน สถานที่ราชการ บ้าน รวมทั้งชุมชนดั้งเดิมที่อยู่โดยรอบ ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งมีการกระจาย ตั วอยู่ทั่ วพื้ น ที่ โดยเฉพาะริม แม่น้าเจ้าพระยา คลองสายหลั ก ได้ แก่ คลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระและคลองมอญ รวมทั้งคลองสายย่อยและถนนสายต่างๆที่ กระจายอยู่ในพื้นที่โดยมีความเชื่อมโยงและการเข้าถึงทั้งภายในและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าด้วยกัน ปัจจุบันกรุงธนบุรีประสบกับปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวและความเติบโตของเมือง รวมทั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับมรดกและพื้นที่โดยรอบที่มีความแออัดและเสื่อมโทรมของชุมชน ปัญหา ด้านสังคมภายในชุมชน รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาทางกายภาพ เช่น การพัฒ นา ที่ดิ น การตั ด ถนน การสร้างสะพาน การสร้างเขื่ อน ประตู น้ า เป็ น ต้ น ซึ่ ง หากไม่ มี ก าร ควบคุมและระมัดระวังอาจส่งผลให้เกิด ความสู ญเสียคุณค่าและเอกลักษณ์ต่อสิ่งแวดล้ อม เมืองกรุงธนบุรี 3) การอนุ รักษ์ และพั ฒ นาสิ่ งแวดล้ อมเมืองกรุงธนบุ รีนั้น ควรมีก ารวางแผนทั้ง ใน ระดั บภาพรวมเพื่ อใช้เป็นข้อกาหนดหรือกรอบนาไปปฏิบัติ ในการอนุรักษ์ พัฒ นาพื้นที่ให้ ดาเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรการที่วางไว้ โดยมีการวาง แผนการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ระดับชุมชนมาสนับสนุน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ป้องกัน แก้ ไข ปัญหาได้ตรงจุดและสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ควรมีการอนุรักษ์ บูรณะ ปรับปรุงตัวมรดกวัฒนธรรมแล้ว ควรคานึงถึงพื้นทีที่อยู่โดยรอบด้วยเช่นกัน อันได้แก่ ชุมชน สภาพทางธรรมชาติ หรือสิ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อคงไว้ถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ ของพื้นที่และ พื้ น ที่ ศึกษากรุง ธนบุ รีในอั นที่ จะส่ งผลดี ต่ อเนื่ องไปยัง การเป็ นทรัพ ยากรการท่องเที่ย วเชิ ง วัฒนธรรมของกรุงธนบุรีต่อไป


54

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

เสาวนีย์ จิตต์หมวด.(2541).”กลุ่มชาติพันธ์มุสลิมในธนบุรี” ในวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ม.ค.-เม.ย. 14 หน้า. เป็ น บทความที่ ก ล่ าวถึ ง กลุ่ ม คนไทยที่ นั บ ถือ ศาสนาอิ ส ลามในพื้ น ที่ ย่ านฝั่ ง ธนบุ รี ประกอบด้วยหัวเรื่องย่อยที่สาคัญได้แก่ ธนบุรี:ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษมุสลิม ในธนบุรี ซึ่งแยกออกเป็นสายอาหรับ -เปอร์เซีย สายชวา-มลาลู สายจาม-เขมร สายอินเดียปากีสถาน-บังคลาเทศ การตั้งถิ่นฐานและชุมชนมุสลิมในพื้นที่ธนบุรี ที่แยกออกเป็น 2 นิกาย คือนิกายชีอะฮฺ และนิกายซุนนะห์ มัสยิดกับประวัติศาสตร์ชุมชนมุสลิมในธนบุรี ซึ่งเน้นใน มุสลิมสายซุนนะห์ ที่กล่าวถึงประกอบด้วยมัสยิดต้นสน มัสยิดบางหลวงหรือกุฎีขาว มัสยิด บางอ้ อ มัสยิดอันซอริซ ซุนนะห์ (บางกอกน้อย) มัส ยิด นูรุ้ลมูบีนบ้านสมเด็จ มัสยิด กูวติ ล อิ ส ลามหรือ ตึ ก แดง มั ส ยิ ด สวนพลู มั ส ยิ ด สวรรณภู มิ มั ส ยิ ด ฮารู ณ และมั ส ยิ ด วัด เกาะ ในตอนท้ายกล่าวถึงสังคมและวัฒนธรรมมุสลิมในธนบุรีโดยวิเคราะห์บทบาทและความสาคัญ ของมัสยิดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแต่ละแห่ง อัควิทย์ เรืองรอง (บรรณาธิการ).(2548).ศูนย์กรุงธนบุรีศึกษา : พันธกิจด้านการ วิจัยวัฒนธรรมพื้นที่ฝั่งธนบุร.ี กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก จากัด. 218 หน้า. ภาพประกอบ. หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความ ทัศนะ และความคิดเกี่ยวกับชีวิตวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี รวมถึงการบันทึกข้อมูลจากการจัดสัมมนาวิชาการ และกิจกรรมความเคลื่อนไหวทางด้าน วั ฒ นธรรมที่ ส านั ก ศิ ล ปะวั ฒ นธรรม มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ บ้ า นสมเด็ จ เจ้ า พระยาเป็ น ผู้ดาเนินการ เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก ซึ่งในแต่ละเรื่องมีเรื่องย่อ ยที่อยู่ในหัวข้อ เรื่ อ ง ดั ง นี้ เรื่ อ งแรก “เปิ ด ตั ว ศู น ย์ ก รุ ง ธนบุ รี ศึ ก ษาและข้ อ มู ล สรรพนานาในฝั่ ง ธนบุ รี ” ประกอบด้วยบทความ 4 เรื่อง คือ กรุงธนบุรีศึกษา : แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต สมเด็จ เจ้ า พระยาในกรุ ง ธนบุ รี บ้ า นเอกะนาค มรดกล้ าค่ า ในฝั่ ง ธนบุ รี และข้ อ มู ล รวมทั้ ง ประสบการณ์ในการผลิตงานสารคดี “ธนบุร”ี เรื่ อ งที่ ส อง “มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ กั บ การสร้ า งองค์ ค วามรู้ ด้ ว ยการวิ จั ย พื้ น ที่ ประกอบด้วยบทความ 2 เรื่อง คือ บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการวิจัยเพื่อความเข้าใจ ชุมชน และการวิจัยพื้นที่เชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวสวนคลองบางระมาด ธนบุรี


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

55

เรื่องที่สาม “มิติด้านสถานที่ฝั่งธนบุรีที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม” ประกอบด้วยบทความ 2 เรื่ อ ง คื อ กลิ่ น อายวรรณกรรมอั น เนื่ อ งมาจากฉากในพื้ น ที่ ฝั่ ง ธนบุ รี และตามรอย วรรณกรรมอันเนือ่ งมาจากฉากในฝั่งธนบุรี เรื่องที่สี่ “การจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ธนบุรี ” ประกอบด้วย เนื้ อ หาของการเสาวนากลุ่ ม 2 เรื่อง คื อ มุ ม มองของชุ ม ชนท้ อ งถิ่น กั บ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วัฒนธรรม และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรื่อ งสุ ด ท้าย “ทอดน่อง...ล่ องเรือ : ร่องรอยของฝั่งธนฯกับคนรักวัฒ นธรรม เป็ น บทความที่เล่าเรื่องการทัศนศึกษาจร ทอดน่อง ล่องเรือเพื่อความเข้าใจกรุงธนบุรี ซึ่งจัดโดย สานักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อินทิรา ยมนาค. (2528). การศึกษาประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของวัดสมัยรัชกาลที่ 1 – 3 ย่านคลองบางกอกน้อย : การเก็บข้อมูลเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.214 หน้า. ภาพประกอบ. แผนที่. ตาราง. งานวิจัยของอิ นทิรา ยมนาค มี วัต ถุป ระสงค์ ที่จะศึกษาข้อมูล ทางประวัติ ศ าสตร์ สถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพของวัด ต่ างๆ ริม คลองบางกอกน้อยถึงคลอง ชักพระ และศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สั งคม และวัฒนธรรมของผู้คนในย่านที่มีผลต่ อ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของวัด รวมทั้งวิเคราะห์และเสนอแนะ แนวทางในการอนุรักษ์ของวัดเหล่านั้นให้เหมาะสม ข้อค้นพบจากการวิจัย สรุปได้ 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรกวัดที่อยู่ในพื้นที่มี คุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอยู่ 5 วัด และทุกวัดมีปัญหาในเรื่องสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ ได้แก่ การปะปนกันของกิจรรมต่างๆในพื้นที่วัด การเปลี่ยนแปลงทางเข้าหลัก จากด้านหน้าวัดซึ่งอยู่ริมน้ามาเป็นถนนจากทางหลังวัด และเอกชนรุกล้าเขตพื้นที่วั ดโดยการ สร้างบ้านพักอาศัยหรือประกอบกิจการค้าต่างๆ ทาให้เกิดความเสื่อมโทรม บดบังมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากด้ านคลองบางกอกน้อย หรือมีการเบียดบังเนื้อที่ว่างในวัด เพื่อหา ประโยชน์ เช่นเก็บสินค้า ขนถ่ ายสินค้า และจอดรถ ความเสื่อมโทรมขององค์ประกอบและ สถาปัตยกรรมต่างๆ เนื่องจากงบประมาณในการซ่อมแซม และการสร้างอาคารหรือต่อเดิม อาคารโดยไม่มีผังแม่บททาให้เกิดกลุ่มอาคารซับซ้อน ทาลายความงดงามของสถาปัตยกรรม


56

บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

ประเด็นที่สอง การวิเคราะห์เพื่อหาสรุปแนวทางแก้ปัญหา แยกได้ 2 ลักษณะตาม คุณสมบัติที่กาหนดในเป้าหมาย โดยกลุ่มแรก ได้แก่ วั ดสุวรรณาราม วัดศรีสุดาราม และวัด สุวรรณคีรี เป็นวัดที่มีคุณ สมบัติตรงตามเป้าหมาย คือได้รับการปฏิสังขรณ์หรือสร้างในยุค รัต นโกสิ น ทร์ช่วงต้ น รัชกาลที่ 1-3 ควรได้ รับการอนุรักษ์ส ภาพแวดล้ อมทางกายภาพให้ เหมาะสมกับ ความต้องการในปัจจุบัน โดยมุ่งในเรื่องการปรับปรุงและสงวนเนื้อที่เปิดโล่ ง การจัดภูมิสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม การปรับปรุงผังบริเวณและการจัดองค์ประกอบต่างๆ เพื่อความสะดวกของผู้ใช้กิจกรรมในวัด กลุ่มที่สอง คือ วัดภาวนาภิรตาราม และวัดนายโรง เป็ น วัด ที่ ไ ม่ มี คุ ณ สมบั ติ ต ามก าหนดในเป้ าหมาย แต่ มี ลั ก ษณะที่ มี คุ ณ ค่ าเหมาะแก่ ก าร ท่องเที่ยวและศึกษา ควรมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างกว้างๆ ในรายละเอียดเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 1 แต่ไม่ลงลึกถึงขั้นออกแบบร่าง อิทธิพร ขาประเสริฐและคณะ. (2544) .โครงการสารวจมรดกทางวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรี. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 145 หน้า. ตาราง. ภาพประกอบ. รายงานการส ารวจเล่ ม นี้ เป็ น ส่ วนหนึ่ ง ของการศึ ก ษาในรายวิช าโครงการศึ ก ษา เอกเทศการการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษา สถาบัน ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีจุดประสงค์เพื่อสารวจมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนย่านฝั่ง ธนบุรี และรวบรวมเป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคคลผู้สนใจในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับ พื้นที่ธนบุรี ซึ่งได้ทาการศึกษาจากเอกสาร หนังสือ งานวิจัย รวมทั้งการลงพื้นที่สารวจใน ชุมชน เนื้อหาหลักของรายงานประกอบด้วย 5 บท บทที่ 1 เป็ น ข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของธนบุ รี ประกอบด้ ว ย ที่ ตั้ ง อาณาเขต ธรณี วิ ท ยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากร และการปกครอง บทที่ 2 ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ธนบุรี ประกอบด้วย พระราชประวัติของสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี สงครามกู้อิสรภาพ การสถาปนากรุงธนบุรีให้เป็นราชธานี การรวบรวม ประเทศให้เป็นปึกแผ่น การฟื้นฟูและวิกฤตการณ์ตอนปลายรัชสมัย บทที่ 3 สภาพภู มิ ศ าสตร์ กั บ การตั้ ง ถิ่ น ฐาน ประกอบด้ ว ย คลองสายส าคั ญ ทรัพ ยากรดิ นกับ พื ชพรรณ สายน้ากับ การเปลี่ ยนแปลง หลากหลายพืชพรรณของสวนฝั่ง ธนบุรี หลากหลายชาติพันธ์ในธนบุรี บทที่ 4 ศิลปหัตกรรมและวัฒนธรรมประเพณี ประกอบด้วย ศิลปกรรม ได้แก่ บ้าน ช่างหล่อ ขันลงหินบ้านบุ ขลุ่ยบ้านลาว ผลิตภัณฑ์ขนม ได้แก่ ขนมฝรั่งกุฎีจีน ตรอกมะตูม โดยเนื้อหาในส่วนนี้ได้มีการลงสนามไปตามย่านชุมชน 5 แห่ง เพื่อสัมภาษณ์ผู้เป็นเจ้าของ


บรรณนิทัศน์ งานเขียน งานวิจัยด้านธนบุรีคดีศึกษา อิทธิพร ขำประเสริฐ

57

แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ในบทที่ สี่นี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี และมหรสพ ย่านฝัง่ ธนบุรีด้วย บทที่ 5 สถานที่สาคัญย่านฝั่งธนบุรี ประกอบด้วย สถานที่สาคัญ วัดสาคัญ และ สถาปั ต ยกรรมของพื้ น ที่ ย่ า นฝั่ ง ธนบุ รี ตามศาสนสถานของกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ที่ มี อ ยู่ อ ย่ า ง หลากหลาย

อุทัย ไชยานนท์. (2545).วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : น้าฝน. 125 หน้า. งานเขียนของอุทัย ไชยานนท์ รวบรวมวรรณกรรมในสมัยกรุงธนบุรีซึ่งอุทัยสรุปว่า วรรณกรรมในยุคนี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยตรง และมีลักษณะที่สาคัญ 4 ประการ คือ 1) วรรณกรรมทุ กเรื่องแต่งด้ วยบทร้อยกรองทั้งหมดโดยใช้คาประพันธ์ทุก ประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและร่าย 2) มีเนื้อหาสาระเน้นหนักในทางศาสนา คติธรรมคาสอน ยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ และความบันเทิงเริงใจ 3) ลักษณะการแต่ง ขึ้นต้นคาประพันธ์ด้วยบทประณามหรือบทไหว้เพื่อความนอบน้อมต่อสิ่งเคารพนับถือ มีการ บรรยายและพรรณนาอารมณ์ ความรู้สึ ก บทชมสิ่ งต่ างๆที่มุ่งเน้ นความไพเราะเป็นสาคัญ มากกว่าเนื้อกาสาระและแนวความคิด และ4) สอดแทรกค่านิยมไทยไว้อย่างชัดเจน อันได้แก่ ความเคารพนับถือ ความจงรักภักดีในพระมหากษัตริย์ ความถือมั่นในพระพุทธศาสนาและ ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย กวีสาคัญในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระภิกษุ อินท์ พระยาราชสุภาวดี หลวงสรวิชิต (หน) (ต่อมาได้รับ บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) นายสวน มหาดเล็ก พระยามหานุภาพ และหลวงบารุงสุวรรณ วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรีประกอบด้วย บทละครเรื่องรามเกียรติ์ 4 ตอน คือ ตอน พระมงกุฎ ประลองศร ตอนหนุ ม านเกี้ยวนางวาริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ และตอน ทศกัณ ฐ์ตั้งพิ ธีทราบกรด กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ โคลองยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี อิเหนาคาฉันท์ ลิลิตเพชรมงกุฎ นิราศเมืองกวางตุ้ง เพลงยาว และนิทานเรื่องปาจิตกุมาร

------------------------------------


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.