สังคมวิทยาเมือง

Page 1

แนวความคิดและทฤษฎีการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับ

สังคมวิทยาเมือง Concept and Fundamental Theory Related to Urban Sociology

A

O OG C

อิทธิพร ขาประเสริฐ : 2554


แนวความคิดและทฤษฎีการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับ

สังคมวิทยาเมือง (Concept and Fundamental Theory Related to Urban Sociology)

โดย อิทธิพร ขาประเสริฐ สม.ม. (สังคมวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คบ. (สังคมศึกษา) สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศศ.บ.(สารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เอกสารส่วนบุคคล 2554 ก


คานา เอกสารเรื่ อ ง แนวความคิ ด และทฤษฎี ก ารศึ ก ษาเบื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ สั งค ม วิ ท ย าเมื อ ง (Concept and Fundamental Theory Related to Urban Sociology) ฉบับนี้เรียบเรียงขึ้นจากความสนใจต่อประเด็นการศึกษาทางสังคม วิทยาเมือง จุดเริ่มต้นเกิดจากการที่ผู้เขียนเคยศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวง อย่างกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 10 ปีเศษ ได้เห็นภาพปรากฏการณ์ทางสังคมใน เมืองว่ามีความแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตดั้งเดิมในต่างจังหวัด เห็นแง่มุมของวิถี ชีวิต ของผู้ ค นที่ ห ลากหลาย ลัก ษณะทางกายภาพที่ ดู แ ปลกตา น าไปสู่ ก ารตั้ ง คาถามในใจว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะให้คาอธิบายต่อสิ่งเหล่านี้ได้ อย่ างไร จนกระทั่ งได้ มี โอกาสศึ ก ษาต่ อ ที่ ค ณะสั งคมวิท ยาและมานุ ษ ยวิท ยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสัมมนาสังคมวิทยา เมือง จึงได้เรียนรู้และมีความเข้าใจว่าในทางวิชาการมีคาอธิบายปรากฏการณ์ เหล่ า นี้ อ ยู่ ห ลายแนวทาง และผู้ เ ขี ย นเองได้ ร วบรวมเอกสารที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การศึ ก ษาทางสั ง คมเมื อ งไว้ พ อสมควร จากการที่ มี เอกสารอยู่ เป็ น จ านวน พอสมควรและค่ อ นค้ างอยู่ กั น อย่ า งกระจั ด กระจายในเชิ งเนื้ อ หา จึ งเป็ น แรง บั น ดาลใจน ามาสู่ ก ารจั ด ท าเอกสารฉบั บ นี้ ไว้ส าหรับ เป็ น ที่ ระลึ ก ส่ วนตั ว และ คาดหวังว่าจะนาเผยแพร่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในแนวทางเดียวกัน เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ประกอบด้วย 3 บทหลักได้แก่ บทที่ 1 สังคมวิทยา ว่าด้วยการศึกษาเมือง บทที่ 2 เมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง และบทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ใช้ศึกษาสังคมเมือง ผู้เขียนขอขอบพระคุณท่าน เจ้าของหนังสือ งานวิจัย งานเขียน เอกสารต่างๆ ที่นามาใช้ประกอบการเรียบเรียง เป็นอย่างสูง โดยเฉพาะเอกสารเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาทาง สังคมวิทยาซึ่งมีแหล่งที่มาจากงานเขียน และงานวิจัยของคณาจารย์ที่ปลูกฝัง ความรู้ทางสังคมวิทยาเมืองให้แก่ผู้เขียน ข


ท้ายที่สุดนี้ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งว่า แนวความคิดและทฤษฎีการศึกษา เบื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ สั งคมวิท ยาเมือ งฉบับ นี้ คงจะเอื้ อ อ านวยประโยชน์ ให้ แ ก่ ผู้ ที่ เริ่มต้นสนใจการศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองเช่นเดียวกับผู้เขียนไม่มากก็น้อย

อิทธิพร ขาประเสริฐ


สารบัญ หน้า คานา สารบัญ สารบัญภาพ สารบัญตาราง

ข ง ฉ ช

บทที่ 1 สังคมวิทยาว่าด้วยการศึกษาเมือง ความนา ความหมายของสังคมวิทยาเมือง ความเป็นมาของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง แนวทางการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง ความสาคัญของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง แนวโน้มประเด็นการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง บทสรุป

1 1 1 4 9 14 17 20

บทที่ 2 เมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง ความนา ความหมายของเมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง ปัจจัยที่กอ่ ให้เกิดการพัฒนาเมือง แนวคิดทฤษฎีที่ใช้อธิบายกระบวนการกลายเป็นเมือง ทฤษฎีการตั้งถิน่ ฐาน ทฤษฎีการเติบโตของเมือง ลักษณะทางสังคมของเมือง

22 22 22 31 33 34 37 45


หน้า ผลอันเกิดขึน้ จากกระบวนการกลายเป็นเมือง บทสรุป

49 57

บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ใช้ศึกษาสังคมเมือง ความนา แนวการวิเคราะห์สังคมเมืองในระดับมหภาค ทฤษฎีนิเวศวิทยาเมือง แนวคิดเรื่องการผลิตพืน้ ทีท่ างสังคม แนวคิดเรื่องย่านและชุมชนละแวกบ้าน แนวการวิเคราะห์สังคมเมืองในระดับจุลภาค ทฤษฎีคตินิยมแบบเมือง ทฤษฎีองค์ประกอบ ทฤษฎีวัฒนธรรมย่อย ทฤษฎีภาวะเกินกาลังของสภาวะแบบเมือง บทสรุป

59 59 60 60 64 73 79 79 86 90 94 99

บรรณานุกรม

101


สารบัญรูปภาพ รูปที่

หน้า

1 แสดงองค์ประกอบของการตั้งถิน่ ฐานของมนุษย์ ตามทฤษฎี Ekistics 2 แบบจาลองการใช้ที่ดนิ ของ Burgess 3 แบบจาลองการใช้ที่ดนิ ของ Hoyte 4 แบบจาลองการใช้ที่ดนิ ของ Chauncy D. Harris and Edward Ullman

34 38 42 44


สารบัญตาราง ตารางที่ 1

หน้า

เปรียบเทียบในชีวติ สังคมเมืองและสังคมชนบท

84


บทที่ 1 สังคมวิทยาวาดวยการศึกษาเมือง สั ง คมวิ ท ยา (Sociology) เป น ศ าส ตร ส าขาห นึ่ ง ของความรู ท าง สังคมศาสตร (Social Science) ที่มุงวิเคราะหโครงสรางความสัมพันธทางสังคม (Social Relationship) ในรู ปแบบต า งๆซึ่ ง เกิ ด จากการปฏิ สัม พั นธ ท างสั ง คม (Social Interaction)1 โดยใชวิธีการทางวิทยาศาสตรเปนแนวทางในการศึกษา หรืออาจกลาวไดวาเปนวิชาที่ศึกษาชีวิตทางสังคม (Social Life)/ความสัมพันธ ทางสังคม ในทุกดานหรือทั้งหมดของชีวิต (all social relationship) เพื่อที่จะทํา ความเขาใจวาความสัมพันธทางสังคมไมวาจะเปนความสัมพั นธในหมูปจเจก บุคคล กลุมตางๆ รัฐบาล บริษัท ชุมชน ชาติ หรือหนวยทางสังคมอื่นๆ (Social units) เกิดขึ้นมาไดอยางไร ดํารงอยูอยางไร หรือเปลี่ยนแปลงไปอยางไร 2 สังคม เมือง นับเปนหนวยทางสังคมที่สาขาสังคมวิทยาใหความสนใจศึกษา เนื่องจาก หากพิจารณาประวัติศาสตรการกําเนิดวิชานี้จะพบวาเปนสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นพรอมๆ กับการกอกําเนิดสังคมวิทยา โดยเฉพาะบริบททางสังคมการขยายตัวของมหา นครอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกา ชวงคริสตศตวรรษที่ 19 จึงเปนแรงบันดาล ใจใหนักสังคมวิทยาทําการศึกษาสังคม สภาพชีวิตของผูคนในชวงเวลาดังกลาว และไดสรางผลงาน แนวคิด ทฤษฎีเพื่อใชอธิบายปรากฏการณในสังคมเมืองที่ หลากหลายมุมมอง จนเป นที่มาของการกอตัวขึ้นในนามชื่อวิชา “สังคมวิทยา เมื อ ง (Urban Sociology) หรื อ สั ง คมวิ ท ยานคร” ซึ่ ง เป น สาขาย อ ยหนึ่ ง ใน

1

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพทสังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย.กรุงเทพฯ :ไอเดียสแควร. หนา 232 2 สายใจ คุมขนาบ. (2546). เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชา สว.201สังคมวิทยาเบื้องตน. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 1

1


สังคมวิทยาที่นักสังคมวิทยารวมทั้งศาสตรสาขาอื่ นๆใหความสนใจศึกษาจวบ จนกระทั่งปจจุบัน ความหมายของสังคมวิทยาเมือง สังคมวิทยาเมือง เปนวิชาที่วาดวยการศึกษาความสัมพันธทางสังคมและ โครงสรางทางสังคมในเมืองหรือมหานคร3 หากจะถามวาสังคมวิทยาเมืองศึกษา อะไรบาง ถาพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษาทางสังคมวิทยาในประเทศไทยและ ตางประเทศทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา เชน ภาควิ ช าสั ง คมวิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยา คณะรั ฐ ศาสตร จุ ฬ าลงกรณ มหาวิทยาลัย ใหคําอธิบายวาเปนการศึกษาเมืองในฐานะเปนปรากฏการณทาง สังคมในโลกปจจุบัน การพิจารณาประวัติความเปนมาและคุณลักษณะที่สําคัญ ของเมือง ไดแก ลักษณะทางนิเวศวิทยาประชากร วิถีชีวิตของเมืองและการจัด ระเบียบของสังคมเมือง โครงสรางทางชนชั้น ที่อยูอาศัย ความหลากหลายของ วัฒนธรรมเมือง แนวคิดและทฤษฎีสําคัญ ยุคสมัยใหมและหลังสมัยใหม4 คณะสั ง คมวิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร ให คําอธิบายวาเปนการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตรของสังคมเมือง รวมทั้ ง ผลของการปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมที่ มี ต อ กระบวนการกลายเป น เมื อ ง (Urbanization) ในภาพรวมของโลกและสั ง คมเมื อ งในยุ ค สมั ย ใหม การจั ด ระเบี ย บทางสั ง คมของเมื อ ง ชี วิ ต ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของคนเมื อ ง

ราชบัณฑิตยสถาน.เรื่องเดิม.หนา 258 4 คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2553). หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยามานุษยวิทยา) ฉบับปรับปรุง 2549 เขาถึงไดจาก http://www.polsci.chula.ac.th. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553 3

2


แนวความคิ ด ทางสั ง คมวิ ท ยาที่ อ ธิ บ ายลั ก ษณะ และบทบาทของสั ง คมเมื อ ง ลักษณะเดนของสังคมเมืองในประเทศดอยพัฒนา5 Department of Sociology The University of Chicago ใหคําอธิบายวา This course reviews competing theories of urban development, especially their ability to explain the changing nature of cities under the impact of advanced industrialism. Analysis includes a consideration of emerging metropolitan regions, the microstructure of local neighborhoods, and the limitations of the past American experience as a way of developing urban policy both in this country and elsewhere6 School of Social Policy, Sociology & Social Research University of Kent at Canterbury ใหคําอธิบายวา This Module will allow students to pursue any current theme in urban Sociology. These include urban social theory, women and the city , the city and globalization, the neighborhood, residential social segregation, gated communities, gentrification, urban protest, urban imagery and city marketing, state socialist urbanization, the post-socialist, and the Chinese city.7 5

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. (2553).หลักสูตรสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) ฉบับปรับปรุง 2549 เขาถึงไดจาก http://www.socio .tu.ac.th. วันที่คน ขอมูล 29 พฤษภาคม 2553 6 Department of Sociology The University of Chicago. (2010). “30104 Urban Structure & Process” in Master of Arts (Social Sciences).[online].Available from:http://sociology. uchicago.edu/graduate/course-catalog.shtml วันทีค่ นขอมูล 29 พฤษภาคม 2553 7 School of Social Policy, Sociology & Social Research University of Kent at Canterbury. (2010). “SO 832 Urban Sociology” in MA. And Postgraduate Diploma in Political Sociology Handbook 2008-9. [online].Available from:http://search.kent.ac.uk /search. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553.

3


Wikipedia encyclopedia.ใหคําอธิบายวา Urban sociology is the sociological study of social life and human interaction in metropolitan areas. It is a normative discipline of sociology seeking to study the structures, processes, changes and problems of an urban area and by doing so providing inputs for planning and policy making.8 จากคําอธิบายขางตนสรุปไดวา สังคมวิทยาเมืองมีเนื้อหาที่ประกอบไปดวย ประเด็น ตางๆโดยเนนการศึกษาพั ฒนาการทางประวัติศาสตรของสัง คมเมือ ง ภายใตมุมมองทางสังคมวิทยา ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมกับกระบวนการ กลายเปนเมือง(Urbanization) ธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของเมืองภายใต ความกาวหนาทางอุตสาหกรรม การเกิดขึ้นของเมื องในภูมิภาค ชีวิตทางสังคม และวัฒนธรรมของคนเมือง ปญหาในสังคมเมือง นโยบายการวางแผนและการจัด การเมือง รวมทั้งแนวความคิด ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ใชอธิบายลักษณะของ สังคมเมือง นอกจากนี้บางสถาบันการศึกษาอาจมีจุดสนใจเปนพิเศษที่จะเลือก ประเด็นหรือปรากฏการณที่กําลังไดรับความสําคัญมาศึกษา เชน ผูหญิงกับเมือง โลกาภิวัตนกับเมือง ความเปนชุมชนละแวกบาน การศึกษาการเติบโตเฉพาะเมือง เปนรายกรณี เปนตน ความเปนมาของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง ดังที่ไดกลาวมาแลวขางตนวาการถือกําเนิดขึ้นของวิชาสังคมวิทยาถือเปน จุดเริ่มตนของการศึกษาเมือง สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น ในคริสตศตวรรษที่ 19 ของซีกโลกยุโรปและอเมริกาซึ่งเปนระยะที่มีการขยายตัว ของสังคมภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร 8

Wikipedia encyclopedia. (2010). Urban Sociology. [online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/ Urban sociology.วันที่คน ขอมูล 29 พฤษภาคม 2553

4


กอใหเกิดความเจริญกาวหนาของสังคมซึ่งกระจุกตัวอยูในพื้นที่หนึ่งๆ มากขึ้นจน มีการอพยพของชาวชนบทสูตัวเมือง ผูคนเริ่มเปลี่ยนรูปแบบชีวิตใหมที่ตางจาก ประสบการณเดิมของตน ชีวิตในเมืองดานหนึ่งไดนําพามาซึ่งความรุงเรืองและ ก า วหน า แต อี ก ด า นหนึ่ ง ได ทํ า ให เ กิ ด การเสี ย ระเบี ย บทางสั ง คม (Social Disorganization) เกิดปญหาทางสังคม เชน ปญหาการใชแรงงาน ปญหาที่อยู อาศัย ปญหาสิ่งแวดลอม จึงทําให ผูคนในสังคมเมืองเริ่มตระหนักตอ การแกไข ป ญหา และการจั ด สวั ส ดิ ก าร มี ก ารเคลื่ อ นไหวการปฏิ รู ป ทางสั ง คมเพื่ อ จั ด ระเบียบใหมใหเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขอเขียนซึ่งเปนประจักษ พยานของกลุ ม นั ก สั ง คมวิ ท ยาผู ที่ ถื อ ได ว า เป น รุ น บุ ก เบิ ก วิ ช าสั ง คมวิ ท ยาใน ระยะแรกลว นแลว แตใช บริบทของเมื องเป นสนามศึกษา เชน เอมี ล เดอรไคม (Emile Durkheim)(1984) The Division of Labor in Society. เก-ออรก ซิมเมิล (Georg Simmel) (1903) The Metropolis and Mental Life. เฟอรดินันด เทินเนียส (Ferdinand Tonnies) (1957) Community & Gemeinschaft and Gesellschaft. และมักซ เวเบอร (Max Weber) (1958) The city. เปนอาทิ อยางไรก็ตามการศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองที่เริ่มปรากฏอยางชัดแจงและ เปนหลักเปนฐานในแวดวงวิชาการของนักสังคมวิทยา โดยแนวคิดทฤษฎีเปนที่ ยอมรับและทรงอิทธิพลมากที่สุดของนักสังคมวิทยา คือ กลุมสํานักคิดทางสังคม วิทยาชิคาโก (Chicago School) ซึ่งเปนสํานักคิ ดที่กอกําเนิดและพัฒนาขึ้น ที่ มหาวิ ท ยาลั ย ชิ ค าโก (University of Chicago) ในรั ฐ อิ ล ลิ น อยล ประเทศ สหรัฐอเมริกา นําโดย รอเบิรต พารก (Robert Park 1864-1944) สืบเนื่องจาก การที่เมืองชิคาโกเปนเปนมหานครที่เติบโตเร็วที่สุดแหงหนึ่งในอเมริกา ชวงตน คริสตศตวรรษที่ 20 จึงเปนที่มาของปญหาสังคมตางๆ เชน ปญหาการยายถิ่น ปญหาอาชญากรรม ปญหาเด็กกระทําผิด เปนตน การศึกษามหานครในเชิงสังคม วิทยาของสํานักคิดนี้ถือวามีลักษณะเฉพาะของตน เนนการศึกษาเชิงประจักษ (empirical) โดยการสังเกตการณโดยตรงตางกับนักสังคมวิทยาสมัยนั้นที่มักเนน 5


การวิเคราะหในเชิงทฤษฎีที่เปนนามธรรม พารกในฐานะหัวหนาภาควิชาสังคม วิทยาผูทรงอิทธิพลสมัยนั้นไดกําหนดใหนักศึกษาสังคมวิทยาออกไปสัมผัสกับโลก ภายนอกดวยการทําวิจัยที่แทจริง ซึ่งผลผลิตที่ไดนอกจากจะไดผลการศึกษาใน เชิงประจักษแลว ยังนําไปสูการพัฒนาการวิจัยรูปแบบตางๆโดยเฉพาะอยางยิ่ง การพั ฒน าวิ ธี ก าร ศึ ก ษา ด ว ยก ารสั ง เกต แ บบมี ส วน ร ว ม ( participant observation) และวิ ธีก ารศึ ก ษาแบบเฉพาะกรณี (case-study method) การ พัฒนาการวิจัยเชิงปริมาณที่มีความเขมขน เชน การสํารวจทางสังคม (Social survey) และการวิเคราะหเชิงสถิติในระดับชุมชน สําหรับการศึกษาสังคมเมือง พาร ก ยั ง ได อ ธิ บ ายเชิ ง พรรณนาด ว ยการทํ า แผนที่ แ บ ง เขต 9 พาร ก เห็ น ว า ความสัมพันธทางสังคมมีกระบวนการใหญอยู 4 ประการ คือ การรวมมือ การ แข ง ขั น การเกื้ อ กู ล และการผสมกลมกลื น กั น และนํ า แนวคิ ด ดั ง กล า วมาใช การศึกษาการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของมหานคร โดยทฤษฎีที่ พารกไดพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชในการอธิบายสังคมเมืองเป นที่รูจักกันในนามทฤษฎี นิเวศวิทยาเมือง (urban ecology) (จะไดกลาวในบทตอไป) ซึ่งแนวคิดนี้ยังเปน ที่มาของแบบจําลองการอธิบายโครงสรางและการเติบโตภายในเมืองที่เรียกวา Concentric Zone ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย เออรเนสต ดับบิว .บูรเกสส (Ernest W. Burgess 1886-1966) ในเวลาตอมา ผลงานการศึกษาสังคมเมืองที่สําคัญของนักคิดในสํานักคิดชิคาโก เช น ซิมเมิล Simmel (1858-1918) เปนนักสังคมวิทยาคนสําคัญที่เนนการวิเคราะห วิถีชีวิตแบบเมือง และบุคลิกภาพของคนเมืองในผลงาน ชื่อ The Metropolis and Mental Life (1903) เขาชี้ใหเห็นถึงการจัดระเบียบทางสังคมและวัฒนธรรมใน มหานครอันเปนผลมาจากการเขามาอยูรวมกันของผูคนจํานวนมาก ซิมเมิลแสดง ใหเห็นความสัมพันธระหวางลักษณะดานกายภาพของมหานครกับลักษณะเชิง 9

ราชบัณฑิตยสถาน.เรื่องเดิม.หนา 52-53

6


สังคมของคนเมือง แนวคิดของซิมเมิลเปนรากฐานสําคัญของสําคัญของสังคม วิทยาเมืองชิคาโก ซึ่งเปนกรอบความคิดหลักของสังคมวิทยาเมืองในชวงระหวาง ทศวรรษ 1920 ถึง ทศวรรษ 1950 ผลงานที่ไดชื่อวาสะทอนความคิดสําคัญของ สํ า นั ก คิ ด นี้ ไ ด แ ก บทความของหลุ ย ส เวิ ร ธ (Louis Wirth 1897-1952) ชื่ อ Urbanism as a Way of Life (1983) ซึ่งอธิบายลักษณะเชิงสังคมของวิถีชีวิต แบบเมื อ ง (Urbanism) อั น เป น ผลมาจากลั ก ษณะสากลของมหานคร คื อ ประชากร ความหนาแนนสูง และความแตกตางหลากหลายของคนเมือง สังคม วิ ท ยาเมื อ งสํ า นั ก คิ ด ชิ ค าโก กระตุ น ให เ กิ ด งานวิ จั ย สํ า คั ญ ๆ จํ า นวนมาก แตอิทธิพลเริ่มลดลงตั้งแตทศวรรษ 1960 เนื่องจากถูกวิจารณ วามีขอจํากัดใน เชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ ในชวงทศวรรษ 1960 และทศวรรษ 1970 นักทฤษฎี มารกซิสแนวโครงสราง (structural Marxist) ไดนําเสนอแนวการวิเคราะหแบบ ใหม ผลงานสําคัญ ไดแก Neighbourhood and Neighborhood Life (1967) ของเอช เลอแฟบวร (H.Lefebvre1923-2003) ซึ่ง วิ จ ารณ ก รอบความคิ ด ของ สํา นั กคิ ด ชิค าโกว า มุ งสนั บ สนุ น ความชอบธรรมของระบบทุ นนิ ย มจนละเลย ประเด็นดานการสราง การจําแนกแจกจาย และการใชพื้นที่ที่เกิดขึ้นในมหานคร เลอแฟบวรมองพื้นที่ในฐานะสินคาประเภทหนึ่งซึ่งเปนทรัพยากรหายาก จึงมัก กอใหเกิดความขัดแขงระหวางกลุมทุนผูแสวงหากําไรจากการใชพื้นที่กับคนทั่วไป ที่จําเปนตองใชพื้นที่เพื่อดําเนินชีวิตประจําวันของตนเอง10 ในทศวรรษ 1970 มานูเอล คาสเตลล (Manuel Castell 1942-) เสนอ กรอบการวิเคราะหที่เรียกวา สังคมวิทยาเมืองแนวใหม (new urban sociology) ในผลงานชื่อ The Urban Question (1977) คาสเตลล ชี้ใหเห็นวา ทุนนิยม ผูกขาดสมัยใหม (monopoly capitalism) นําไปสูวิกฤตการณและความทรุดโทรม ของมหานคร ระบบทุน นิยมแบบผู กขาด จําเปนตอ งพึง บริการสาธารณะ เช น 10

ราชบัณฑิตยสถาน.เรื่องเดิม.หนา 258-259

7


การขนสง การเคหะ และสิ่งอํานวยความรื่นรมยจากรัฐ การมุงแสวงหากําไรของ กลุ ม ทุ น ผู ร่ํ า รวยนํ า ไปสู ก ารใช อิ ท ธิ พ ลกํ า หนดนโยบายของรั ฐ ในด า นที่ ดิ น การขนส ง เช น การสรา งทางดว นไปสู ชานเมือ งทํ าใหส ามารถย ายที่อ ยูอ าศั ย ออกไปเขตชานเมือง ซึ่งมีราคาที่ดินและอัตราภาษีที่ต่ํากวา ในขณะเดียวกันก็ สามารถเขาถึงศูนยกลางมหานครไดโดยสะดวก คาสเตลล เสนอวา วิกฤตการณ ดานการคลังไมไดมีสาเหตุมาจากการที่รัฐตองใชงบประมาณจํานวนมากไปใน ดานบริการสาธารณะ การเพิ่มตําแหนงงานดานบริการสังคม และสวัสดิการสังคม ต า งๆ แต ม าจากการที่ ก ลุ ม ทุ น ผู ก ขาดไม ย อมให มี ก ารขึ้ น ภาษี เ พื่ อ ใช บ ริ ก าร สาธารณะ ทํ าให พื้ นที่ ที่ อ ยู อาศั ย ของคนจนในมหานครถูก ทิ้ ง และเสื่ อมโทรม ในขณะที่กลุมทุนมุงเนนดานที่มีความสําคัญตอพวกตน เชน การพัฒนาปรับปรุง พื้นที่ที่เปนศูนยธุรกิจของมหานครแทน ภาวการณเหลานี้นําไปสูความขัดแยง ระหวางฝายรัฐกับกลุมคนยากจน ที่แสดงออในรูปขบวนการทางสัง คมแบบเมือง (urban social movement) เพื่อแยงชิงอิทธิพลและการควบคุมพื้นที่ คาสเตลล ทํา นายว า กลุ มคนจนในมหานครจะเข าเปน พัน ธมิ ตรกับ ฝา ยแรงงานจนอาจ นํ า ไปสู ก ารปฏิ วั ติ เ ปลี่ ย นแปลงสั ง คมทุ น นิ ย มในที่ สุ ด แนวการวิ เ คราะห นี้ ถู ก วิจ ารณทั้ งในเชิง ทฤษฎี และเชิง ประจั กษ จนทํา ให ตอ งมี การปรับ เปลี่ย นกรอบ ความคิ ด เช น เลิ ก ล ม การใช ก รอบคิ ด แนวมาร ก เปลี่ ย นไปเน น ความสนใจ ขบวนการทางสังคมที่เปนกลางแทน อนึ่งใน คศ.1989 คาลเตลลไดเสนอผลงาน ชื่อ The Informational City ซึ่งชี้ใหเห็นวา การปฏิวัติดานเทคโนโลยีสารสนเทศ เปน พัฒ นาการใหม ที่สํ าคั ญของระบบการผลิต แบบทุ นนิ ยมและมี ผลตอ แบบ แผนการพัฒนาเมืองและภูมิภาค11 ถึงแมวาในแวดวงวิชาการสังคมวิทยาเมืองจะมีแนวคิดใหมเกิดขึ้นมาเพื่อ อธิบายปรากฏการณทางสังคมในเมือง แตทวายังเทียบไมไดกับอิทธิพลของสํานัก 11

ราชบัณฑิตยสถาน.เรื่องเดิม. หนา 260-261

8


คิ ด ชิ ค าโกที่ นั ก วิ ช าการหลายๆรุ น จนป จ จุ บั น ต า งกล า วและอ า งอิ ง ถึ ง เป น จํ า นวนมาก อย า งไรก็ ต ามแนวคิ ด ทฤษฎี ห ลากหลายที่ เ กิ ด ขึ้ น ถื อ ได ว า เป น พัฒนาการทางความคิดของสังคมวิทยาเมืองกระตุนใหเกิดงานวิจัยใหมๆอยาง กวางขวางทั้งภายในสาขาวิชาสังคมวิทยาเองและสาขาวิชาอื่นๆ แนวทางการศึกษาสังคมวิทยาเมือง การศึกษาสังคมเมืองภายใตขอบขายของวิชาสังคมวิทยาเมืองสามารถ ศึกษาไดหลากหลายรูปแบบขึ้นอยูกับคําถามหรือโจทยที่ผูศึกษาจะเลือกทําความ เขา ใจหรืออธิบายปรากฏการณทางสัง คมเมืองอยา งไร ซึ่ง อาจศึกษาได ทั้งใน ระดับจุลภาคและระดับมหภาค นักวิ ช าการหลายท านไดแสดงทั ศนะเกี่ยวกั บ การศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองไวดังนี้ ลี บี(Lee B) สรุปวานักสังคมวิทยาเมืองทําการศึกษาวิจัยในเรื่องตางๆ ดังนี้12 1. การมี คุ ณ ลั ก ษณะวั ฒ นธรรมเมื อ งในระดั บ บุ ค คล (Micro urbanism) เชนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพของเมือง (ขนาด ความหนาแนน ) มีผลอยางไรตอพฤติกรรม คานิยมและคุณลักษณะเชิงจิตวิทยาของผูอาศัยอยูใน เมือง 2. คุณภาพชีวิตในเมือง (Quality of residential life) เชน การวัด คุณภาพชีวิต โดยศึกษาจากความคิดเห็นของบุคคลที่มีตอสภาพแวดลอม ที่พัก อาศัยในเมือง อาทิ สภาพการจราจร ความปลอดภัย สถานที่อยูอาศัยและการ ใหบริการขององคกรทองถิ่น

12

Lee.B. (1988).อางถึงใน วิไล วงศสืบชาติ. (2534).“สังคมวิทยาเมือง” ใน วารสารประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปที่ 7 ฉ.2 หนา4-5

9


3. คําถามเกี่ยวกับชุมชน (Community Question) เนนการศึกษา ความผูกพันที่ผูคนที่มีตอทองถิ่น ชุมชน เปนเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจ ความเปนจริงที่ เกิดขึ้นรอบตัว มักวิจัยโดยเขาไปใกลชิดสังเกตตอวิถีชีวิตผูคนในชุมชน 4. โครงสร า งและการเปลี่ ย นแปลงโครงสร า งภายในเมื อ ง (Interurban structure and Change) เปนการศึกษาที่มุงเนนการพรรณนาและ การอธิบายถึงการจัดระเบียบองคกรแบบเมือง เชน การศึกษาถึงการกําหนดเขตที่ พักอาศั ย การลดจํ านวนลงของความหนาแนน (Density gradient) หรือ การ เปลี่ยนแปลงโครงสรางของชุมชน ยาน ตามกาลเวลา 5. การเจริญเติบโตของเมือง (Urban growth) และการกระจายตัว ใหม ของเมื อ ง (Urban redistribution) โดยที่ การเจริ ญเติ บโตของเมื อ งจะมุ ง พิจารณาที่ขนาดของเมืองแตละเมืองเปนหลักที่มีความเติบโต ขณะที่การกระจาย ตั ว ใหม ข องเมื อ งมุ ง ศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงหรื อ การย า ยถิ่ น ของประชากร (Population Shifts) ทั้งภายในและระหวางอาณาเขตใหญ ซึ่งศึกษาไดในระดับ มหานคร ภาค และประเทศ 6. ระบบของเมือง (System of Cities) ทั้งในระดับภาค ชาติ และ โลกโดยศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การกระทํ า หน า ที่ ที่ แ ตกต า งกั น ของเมื อ งแต ล ะเมื อ ง อั น ส ง ผลไปยั ง การที่ เ มื อ งเมื อ งหนึ่ ง มี อิ ท ธิ พ ลต อ เมื อ งอื่ น ๆ รวมทั้ ง ผลที่ มี ต อ ตําแหนงของเมืองในการจัดลําดับชั้นของเมือง (Urban hierarchy) 7. สถาบันตางๆของเมือง (Urban institutions) มุงศึกษาพฤติกรรม และโครงสรางของสถาบันเปนตัว แปรกหลัก เชน การศึกษาถึ งผลกระทบของ บรรษัทขามชาติที่มีตอการจัดระบบของเมือง เปนตน

10


วิลเลียม จี แฟรนเนแกน (William G.Flanagan) ไดแยกการศึกษาของ สังคมวิทยาเมืองโดยประมวลจากผลงานของนักสังคมวิทยาออกเปน 2 แนวทาง คือ13 1. การศึกษาสังคมเมืองเชิงวัฒนธรรม (Centralist approach) เปน การศึกษาสังคมเมืองโดยศึกษาชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม ประสบการณชีวิต คานิยมของกลุมตางๆในนคร เชน แบบแผนการดําเนินชีวิตของชุมชนแออัด กลุม ชนชั้นสูง ชั้นกลาง และคนในอาชีพตางๆ ตลอดจนปญหาเด็กเรรอน โสเภณี ซึ่งจะ ทําใหเกิดความเขาใจในวิถีชีวิตตามทัศนะของผูถูก ศึกษา เห็นโลกทัศนมุมมอง ของคนในชุมชน (insiders View) ที่มีความแตกตางกันไปตามลักษณะเฉพาะ 2. การศึ ก ษาสั ง คมเมื อ งเชิ ง โครงสร า งสั ง คม (structuralist approach) เปนการศึกษาวิเคราะหโครงสรางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ เมื อ ง เช น ป ญ หาโครงสร า งประชากร การต อ สู แ ข ง ขั น กั น ระหว า งกลุ ม ผลประโยชนตางๆ ในเมืองโดยเฉพาะ การเขาครอบครองพื้นที่ (Spatial unit) การตอสูแขงขันทางชนชั้น บทบาทของทุนนิยมที่เขามามีผลกระทบตอชีวิต สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งจะทําใหเกิดความเขาใจวาผูไดรับผลประโยชนจากการ เติบโตของเมืองวาเปนใคร ใครเปนผูมีอิทธิพลตอชีวิตของคนในเมืองไดมากที่สุด เปนตน จากแนวความคิดของนัก วิชาการทั้ง สองขางตน จะเห็นไดว า การศึกษา เมืองสามารถศึกษาไดหลายลักษณะขึ้นอยูกับมุมมอง วิธีคิดที่แตกตางกันออกไป อยา งไรก็ตามในทัศนะของผูเ ขียนมีความคิ ดเห็ นวา การศึ ก ษาเกี่ยวกับสั งคม วิทยาเมื องจากปรากฏการณทางสั งคมที่เกิ ดขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการ ปจจุบัน สรุปออกไดเปน 7 กระแสหลัก ดังนี้ 13

William G.Flanagan. (1995). อางถึงใน ปรีชา คุวินทรพนั ธุ. (2545). สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. หนา 4-5

11


1.การศึกษาเมืองในมุมมองประวัติศาสตร (History Perspective) เปนการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตรความเปนมาของเมือง โดยศึกษาในแงของ การอุบัติขึ้น การดํารงอยู และการสูญสลายไปของเมือง ลักษณะสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของเมือง เชน การศึกษาสังคมเมืองยุคโบราณ เมืองในยุคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทําใหทราบถึงปจจัยตางๆที่มีผลตอการเกิดเมือง พัฒนาการ และสามารถ นํามาเปรียบเทียบการพัฒนาระหวางเมือง เปนตน 2. การศึกษาเมืองในมุมมองนิเวศวิทยา (Ecological Perspective) เปนการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดลอมของเมืองที่มีผลกระทบตอชีวิตผูคนที่อาศัย อยูในเมือง หรืออาจกลาวไดวาเปนการศึกษาความสัมพันธระหวางพื้นที่ (space) กับความสัมพันธทางสังคมของคนเมือง เชน การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยาน ที่มีผลกระทบตอรูปแบบความสัมพันธของคนในชุมชน การศึกษาการขยายตัว ของพื้นที่ทางเศรษฐกิจของเมืองกับเครือขายทางสังคมและเศรษฐกิจของเมือง การใชพื้นที่ของกลุมตางๆในเมือง เปนตน 3. การศึ ก ษาเมื อ งในมุ ม มองของกระบวนการกลายเป น เมื อ ง (Urbanization Perspective) เปนการศึกษาเกี่ยวกับการกลายเปนเมืองหรือ แหลงชุมชน โดยอาจศึกษาตัวแปรที่มีผลตอการกลายเปนเมือง ผลกระทบจาก การกลายเปนเมืองตอแบบแผนชีวิตผูคนในชุมชนชานเมือง ชนบท การศึกษาวิถี ชีวิตของผูยายถิ่นเขามาอยูในเมือง การศึกษาการกลายเปนเมืองเชิงเปรียบเทียบ เปนตน 4. การศึกษาเมืองในมุมมองของการจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization Perspective) เปนการศึกษาความสัมพันธขององคกรทางสังคมใน เมือง การศึกษาเชิงสถาบันทางสังคม เชน ลักษณะครอบครัวในเมื อง แบบแผน ความสัมพันธระหวางคนในสังคมเมือง บทบาทของสถาบันทางสังคมในเมือง การ รวมกลุมคนเมือง ความรวมมือ ความขัดแยงของคนเมือง เปนตน

12


5. การศึกษาเมืองในมุมมองปญหาสังคมและนโยบายสังคมของ เมือง (Social Problem/ Social Policy Perspective) เปนการศึกษาสภาพ ปญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในเมือง รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ ทางสังคมที่จะมีสวนชวยในการแกไขปญหาในเมือง เชน การศึกษาปญหาจราจร ปญหาการไลรื้อชุมชน ปญหาสภาพแวดลอม นโยบายขององคกรภาครัฐ เอกชน กับการแกไขปญหาและความตองการของคนเมือง เปนตน 6. การศึ ก ษาขบวนการทางสั ง คมในเมื อ ง (Urban Social movement Perspective) เปนการศึกษาเกี่ยวกับการรวมตัวเคลื่อนไหวของผูคน ที่ อ าศั ย อยู ใ นเมื อ งเพื่ อ ดํ า เนิ น กิ จ กรรมบางอย า งที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ ผลประโยชน สวนรวมหรือประเด็นสาธารณะ เชน การเรียกรองในสิทธิการอยูอาศัย การอนุรักษ ฟ น ฟู เ มื อ ง การก อ ตั ว รวมกลุ ม ของภาคประชาสั ง คม องค ก รพั ฒ นาเอกชน อาสมั ค ร เพื่ อ เคลื่ อ นไหวในประเด็ น สิ่ ง แวดล อ ม ความเท า เที ย มกั น ทางเพศ การเมือง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ฯ การสรางพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรม เพื่อแสดงอัตลักษณของกลุมคนตางๆในเมือง เปนตน 7. การศึกษาคุณลักษณะพิเศษของเมือง (Special feature of the city Perspective) เปนการศึกษาจุดเดนของเมืองหรือเอกลักษณของเมือง เชน การเป น เมื อ งแห ง เศรษฐกิ จ เมื อ งแห ง เทคโนโลยี เมื อ งแห ง การท อ งเที่ ย ว เมืองสีเขียว เมืองมหาวิทยาลัย เมืองแหงการอนุรักษพลังงาน เมืองแหงมรดกทาง วัฒนธรรม โดยศึกษาปจจัยที่เปนตัวแปรใหเกิดคุณลักษณะดังกลาว ผลกระทบที่ เกิดขึ้นกับผูคนในสังคม เปนตน

13


ความสําคัญของการศึกษาสังคมวิทยาเมือง เปาประสงคประการสําคัญของศาสตร คือ การนําความรูในแตละสาขาไป ประยุกตใชเพื่อเปนประโยชนตอการนําพาสังคมไปสูความกาวหนา เชนเดียวกัน การศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองที่มุงกอใหเกิดการทําความเขาใจชีวิตทางสังคม ของผูคนในเมืองดวยการพรรณนา การอธิบายใหเขาใจถึงปรากฏการณรวมไปถึง ความสามารถที่จะทํานาย ควบคุมปรากฏการณใหเปนไปในทิศทางที่พึ่งประสงค ตอการพัฒนาเมือง โดยความสําคัญของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง มีดังนี้ 1. การศึกษาสังคมวิทยาเมือง : ความสําคัญตอปจเจกบุคคล แนนอนที่สุดสําหรับผูที่ศึกษาวิชาสังคมวิทยา และสังคมวิทยาเมือง นอกจากจะชวยใหเขาใจตัวเราเองแลว ยังทําใหเขาใจชีวิต ทางสังคมของผูคนใน เมื องซึ่ งเกิ ดขึ้ น จากการเรี ยนรู ตามแนวคิ ด ทฤษฎี นอกจากนี้ ยั งสามารถที่ จ ะ ประยุกตใชความรูดานการวิจัยทางสังคม การใชแนวคิด ทฤษฎี ทัศนะเชิงสังคม วิธีการตางๆสําหรับการวิพากษ วิจารณ หรือการใหคําปรึกษาชวยเหลือแกปจเจก บุคคล กลุม ชุมชน ไปจนถึงองคกรขนาดใหญในการที่จะชวยแกปญหาทางสังคม หรือวางแผนเชิงนโยบายทั้งระดับจุลภาคและมหาภาค และยิ่งไปกวานั้นคือ การ เปนผูนําการเปลี่ยนแปลงในการดําเนินโครงการ ประเมินประสิทธิผลในการบรรลุ วัตถุประสงคของโครงการได 2. การศึกษาสังคมวิทยาเมืองในฐานะพลังการแกไ ขปญหาสังคม เมือง 2.1 การเผยใหเห็นขอเท็จจริงทางสังคม การศึ กษาทางสั งคมวิ ทยาเมืองมุงนํา เสนอขอเท็จจริ งทาง สังคมภายใตหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร นั่นหมายความวา การที่นักสังคมวิทยา เมืองไดตั้งตนอยูบนจรรยาบรรณของการสืบคนคําตอบของปรากฏการณที่ตั้งอยู บนการปลอดคานิย ม (Value-free sociology) หรือปราศจากอคติ (Bias)เอน 14


เอียงเขาขางฝายใดฝายหนึ่ง ซึ่งผลการศึกษาที่ไดจะเปนพื้นฐานในการทําความ เขาใจปรากฏการณทางสั งคมของเมือ ง ดังปรากฏใหเห็นจากการที่หนวยงาน ต า งๆ ได นํ า ข อ มู ล เกี่ ย วกั บ การศึ ก ษาทางสั ง คมวิ ท ยาเมื อ งมาใช เ ป น เหตุ ผ ล ประกอบการตั ด สิ น ใจกํ า หนดนโยบายการวางแผนพั ฒ นาเมื อ ง เช น การ กําหนดการวางแผนชุมชนเมืองแบบมีสวนรวม การแกไขปญหาคุณภาพชีวิตของ คนเมือง เปนตน 2.2 วางแผนพัฒนาสังคมเมืองอยางเขาใจ การศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองจะชวยใหผูที่เกี่ยวของกําหนด นโยบายการพัฒนาเมือง รับทราบและมีความเขาใจอยางลึกซึ้งเกี่ยวกับบริบททาง สังคมโดยองครวม และสามารถพิจารณาถึงความเชื่อมโยงระหวางสิ่งที่จะพัฒนา กับองคประกอบในสวนตางๆได ตระหนักถึงความจําเปนในการพัฒนา เชน การ เกิดปญหาการไลรื้อชุมชนเมืองโดยรัฐ ซึ่งกอใหเกิดการตอตา นจากคนในพื้นที่ เมื่อนักสังคมวิทยาเมืองเขาไปศึกษาและไดขอคนพบสรุปเสนอตอหนวยงานที่ เกี่ยวของ จะนําไปสูการทําความเขาใจในวิถีชีวิต ภูมิหลังความเปนมา ลักษณะ ทางสังคม เศรษฐกิจของชุมชนจากภาครัฐ และมีกระบวนการแกไขปญหาดวย วิธีการที่สรางความพึงพอใจ จากทั้ง 2 ฝายดวยการจัดทําประชาพิจารณ การเปด โอกาสใหคนในชุมชนมีสวนรวมแสดงความคิดเห็น และกําหนดแนวทางแกไข ปญหารวมกัน เปนตน 2.3 ทฤษฎี ท างสั ง คมวิ ท ยาเมื อ งกั บ ความสํ า คั ญ ต อ การ กําหนดนโยบายพัฒนาเมือง ทฤษฎีทางสังคมวิทยาเมืองสามารถนําไปใชไปกรอบขายใน การวางแผนและกําหนดนโยบายการพัฒนาและแกไขปญหาสังคมได เชน การนํา แนวคิดวิถีชีวิตแบบเมืองและความสัมพันธของคนเมืองไปศึกษาการเปลี่ยนแปลง

15


ชีวิตของผูคนในยานถนนขาวสาร กรุงเทพมหานคร14 พบวาผลจากการเปนแหลง ธุรกิจทองเที่ยวที่ขยายตัวมากขึ้นสงผลใหการแขงขันสูงขึ้นไดทําใหความสั มพันธ ของผู คนที่ คาขายในพื้นที่ เปลี่ ยนไปเป นแบบหางเหิน และมุงเน น ผลประโยชน เพิ่มขึ้น ทําใหเห็นขอเสนอแนะเชิงนโยบายวาหนวยงานภาครัฐหรือประชาคมใน พื้ น ที่ ค วรแก ไ ขป ญ หาดั ง กล า วด ว ยการจั ด กิ จ กรรมที่ เ สริ ม สร า งกระชั บ ความสั ม พั นธ อั น ดี ข องคนในพื้ น ที่ เช น การจั ด ตั้ ง ชมรมผู ค า การประชุ ม ของ ประชาคมผูคาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่รวมกัน การจัดกิจกรรมกลุมรวมใน เทศกาลสําคัญ หรือกรณีการศึกษาเกี่ยวกับปญหาคนไรบานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ไดนําไปสูการปรับทัศนคติในการมองกลุมคนไรบานใหมจากภาครัฐ รวมทั้งมี มาตรการแกไขปญหา เชน การจัดใหมีบานพักชั่วคราวเปนที่พักพิง เปนตน 2.4 ความสํ าคัญของการวิจัยทางสังคมวิทยาเมืองกับการ พัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคมวิทยาเมืองเปนการนําเสนอขอมูลพื้นฐานที่ จําเปนสําหรับการพัฒนา ดังนั้นกอนการพัฒนาตามโครงการใดๆ จําเปนตองมี การศึกษาวิ จัยเพื่ อแสวงหาขอมูล เบื้องตนของหนวยงานนั้นๆ เชน การพัฒนา ชุม ชนจํ า เปน ต องมี ก ารสํ า รวจขอ มู ล เกี่ ย วกับ ลั กษณะทางกายภาพประชากร ประวั ติ ศ าสตร ขนบธรรมเนี ยม ประเพณี วั ฒ นธรรม วิ ถี ชี วิ ตของคนในชุ ม ชน เปนตน เพื่อกําหนดแนวนโยบายสอดคลองกับบริบททางสังคม ความตองการ ของคนในพื้ น ที่ นอกจากนี้ ใ นระหว า งการปฏิ บั ติ ง านในระหว า งการดํ า เนิ น โครงการอาจมีปจจัยแทรกซอนที่มิไดคาดคิดมากอน ซึ่งมีผลตอการพัฒนานั้น การศึ ก ษาวิ จั ย ทางสั ง คมจึ ง มี บ ทบาทสํ า คั ญต อ การศึ ก ษาสํ า รวจผลของการ ปฏิ บั ติ ง านในระหว า งการดํ า เนิ น ของโครงการพั ฒ นา เพื่ อ เป น ข อ มู ล ในการ 14

โฉมสุดา สาระปญญา. (2547). ถนนขาวสารในมุมมองของพอคาแมคา. วิทยานิพนธ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 149-150

16


ปรับปรุงแกไขการดําเนินงานไปอยางมีประสิทธิภาพและบรรลุเปาหมายที่กําหนด ไว รวมทั้งยังเปนกลไกของการประเมินผลเมื่อโครงการพัฒนาเสร็จสิ้นลง ซึ่งจะ ชวยวิเคราะหถึงปญหาและแนวทางที่จ ะปรับปรุงแก ไขการพัฒนาในโครงการ ตอไป15 แนวโนมประเด็นการศึกษาทางสังคมวิทยาเมือง แนวโนม การศึกษาทางสัง คมวิทยาเมืองในอนาคตมี ประเด็น ที่นาสนใจ ด ว ยกั น หลายกระแสซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น จากป จ จั ย หลายด า นประกอบกั น เช น การ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การปรากฏตัวขึ้นของปญหาทางสังคมใน รู ป แบบใหม ๆ ความสนใจในหมู นั ก วิ ช าการทั้ ง ในและต า งประเทศ รวมทั้ ง นโยบายการพัฒนาประเทศ ซึ่งสรุปพอใหเห็นโดยสังเขป ดังนี้ 1. ความขั ด แย ง และความรุ น แรงในเมื อ ง เนื่ อ งจากเมื อ งเป น ศูนยกลางของการบริหารเปนที่รวมของหนวยงานสําคัญ พื้นที่เมืองจึงกลายเปน พื้นที่เรียกรองทางการเมืองอยางหลีกเลี่ยงไมไดสําหรับการเคลื่อนไหวเรียกรอง รวมตัวกันของกลุมผูคนหลากหลายที่ไมพึงพอใจกับดําเนินนโยบายทั้งของภาครัฐ และเอกชน ปรากฏการณที่มักพบเห็นอยูเสมอ เชน การประทวง ชุมนุมของกลุม ตางๆไปจนกระทั่งการกอการราย ซึ่งบางกรณีไดนําไปสูการใชความรุนแรงใน หลายรูปแบบ 2. ปญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมของเมือง ประเด็นนี้เปนปรากฏการณ ที่ไดรับ การกล าวถึงจากทุกประเทศในโลกและจะเปนประเด็น ที่สําคัญๆอยา ง ต อ เนื่ อ ง ซึ่ ง เป น ผลมาจากการพั ฒ นาที่ ส ง ผลกระทบต อ สภาพแวดล อ มและ กลายเปนปญหาที่ทุกคนตองรับผิดชอบรวมกัน โดยเฉพาะอยางยิ่งในเมืองซึ่งเปน 15

วัชรา คลายนาทร. (2544). สังคมศาสตรเบื้องตน. คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร สถาบันราชภัฏบานสมเด็จเจาพระยา. หนา 195-196

17


ตัวกอการปญหาสิ่งแวดล อมมากกวาเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น เชน ปญหา การจราจร ขยะ น้ําเสีย อากาศเปนพิษ นักสังคมวิทยาในฐานะวิศวะกรทางสังคม จะมีวิ ธีการแกไขอยางไรบา งที่จะชวยลดระดั บวิกฤตปญหาสิ่งแวดลอ มใหักั บ สังคมเมือง 3. การศึก ษาเชิงเครื อขาย เป นประเด็นที่ นักสังคมวิท ยาให ความ สนใจ เครือขายทางสังคม หรือกลาวอีกนัยหนึ่งคือทุนทางสังคม ที่สามารถนํามา สนับสนุนการดําเนินการบางอยางใหบรรลุเปาหมายได การศึกษาเครือขายทาง สัง คมในเมื อ งศึ กษาสามารถศึก ษาได ใ นหนว ยทางสั งคมหลายๆรู ปแบบ เช น เครือขายของกลุมผูประกอบการคา เครือขายของกลุมวัยรุน เครือขายของผูยาย ถิ่น เครือขายของกลุมชาติพันธุ ไปจนถึงเครือขายของเมืองในระดับที่สูงขึ้นทั้ง เครือ ข ายเมือ งภายในประเทศ ระหวา งประเทศ ภู มิภ าค (ประชาคมอาเซี ย น ประชาคมยุโรป) ซึ่งมักจะเกี่ยวโยงกับรัฐโดยมีประเด็นทางดานเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเปนหลักในการสรางความเชื่อมโยงตอกัน 4. ผูหญิงกับเมือง จากระบบคิดชายเปนใหญ (patriarchy)ไดทําให เกิ ด การตอบโต ด ว ยอุ ด มการณ ร ะบบคิ ด ที่ มี ห ญิ ง เป น หลั ก บ า ง (matriarchy) กระแสแนวคิดดังกลาวกอตัวมาตั้งแตทศวรรษที่ 1980 และถูกพัฒนามาอยาง ตอเนื่อง ประเด็นที่เกี่ยวของการศึกษาผูหญิงกับเมืองที่นาสนใจ เชน ผูหญิงกับ การเปนผูนําทางการเมืองและครอบครัวในเมือง ผูหญิงโสด การใชความรุนแรง กับผูหญิง ผูหญิงกับการวางแผน ผูหญิงกับศิลปวัฒนธรรม และผูหญิงกับการ เคลื่อนไหวทางสังคม เปนตน 5. ขบวน การอนุ รั ก ษ ม รดกทางวั ฒ นธ รรมของเมื อ ง เป น ปรากฏการณที่นักวิชาการหลายสาขาทั้งนักบริหาร นักสถาปตยกรรม นักวางผัง เมือง รวมทั้งนักสังคมวิทยาเมืองใหความสนใจ ในเมืองที่ยังหลงเหลือคุณคาของ มรดกทางวัฒนธรรม ทั้งที่เปนนามธรรม เชน ความเชื่อ คานิยม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และรู ป ธรรมอย า ง อาคารสถาป ต ยกรรมหรื อ แหล ง โบราณคดี 18


ปรากฏการณที่เกิดขึ้นใหไดจากการกอตัวของกลุมตางๆที่ทํางานในประเด็นนี้ เชน กลุมคนรักษวัง กลุมคนฮักเมืองนาน ชมรมฝงธนบุรี สหกรณฟนฟูเมืองเกา หรือ องคกรระหวางประเทศอยางอิโคโมส ซึ่งสมาชิกของขบวนเหลาจะประกอบดวย คนในพื้นที่ เครือขายนักวิชาการ ผูที่สนใจ เคลื่อนไหว รณรงคเพื่อใหเกิดความ ตระนักในคุณคา ความสําคัญของมรดกทางวัฒนธรรม การพลิกฟนคืนชีวิตที่นา อยูใหกับคนในพื้นที่ภายใตหลักการมีสวนรวมจากทุกฝาย และมักเกี่ยวโยงกับ ประเด็นผลประโยชนดานการทองเที่ยวในบางกรณี 6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับเมือง เทคโนโลยีมีอิทธิพลตอวิถีชีวิต ของผูคนในเมือง ซึ่งสามารถที่จะทําใหเกิดผลทั้งในเชิงลบและบวกตอคนเมืองได ในเชิงลบมักพบเห็นการนําเทคโนโลยีไปใชในทางที่ไมพึงประสงค เชน การผลิต สื่อลามก สินคาละเมิดลิขสิทธิ์ทางปญญา ปรากฏการณ เด็กติดเกมส ซึ่งนําไปสู ปญหาทางสังคมในที่สุด ขณะเดียวกันเทคโนโลยีสามารถกอใหเกิดเปนพลังใน การดําเนินกิจกรรมทางสังคมบางอยางได เชนเรามักพบเห็นชุมชนออนไลน ที่ รวมตัวกันทําประโยชนตอสังคม หรือชุมชนออนไลนที่เปนพื้นที่ทางสังคมของคน เมือง เชน กลุมFACEBOOK กลุมTWITTER กลุมอนุรักษสิ่งแวดลอม กลุมชุมชน ออนไลนของชาวสีมวง เปนตน 7. วิ ถีชีวิต คนเมื องยั งเปน ประเด็นที่นั กสัง คมวิท ยาเมื องให ความ สนใจศึก ษา โดยเฉพาะในป จจุ บันที่ มีการศึก ษากลุม หลากหลายมากขึ้น เช น ผูสูง อายุ คนไร บาน เด็ กขา งถนน กลุม อาชี พต างๆ แท็ กซี่ มอเตอรไซครับ จา ง กระเปารถเมล หาบแรแผลงลอย ชีวิตของคนกลางคืน กลุมวัยรุน อาทิ กลุมนัก เตนฮิป พอบ แกรฟฟตี้ นักดนตรีเปด หมวก แกงคซิ่ งจักรยานยนต ฯ รวมไปถึ ง การศึก ษาเกี่ ย วกั บ วิ ถีชี วิ ตดั้ ง เดิม ท ามกลางความเปลี่ ย นแปลงของเมื อ ง เช น การศึกษาชีวิตชาวสวนในชานเมือง กลุมชาติพันธุตางๆในชุมชน เปนตน

19


8. เมื องในอนาคต เป นการแสวงหารูปแบบของเมือ งอุดมคติ ซึ่ ง ผูคนในเมืองตางคาดหวังตอการดํารงชีวิตภายใตความสมดุล โดยปรากฏใหเห็น จากแนวคิดทฤษฎีใหมๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อจะเปนกรอบใหนําไปประยุกตใชเพื่อการ พัฒ นาเมื องไปสู จุ ด มุง หมายดั ง กลา ว เช น การพั ฒ นาแบบยั่ ง ยืน เมื อ งน า อยู เมืองสีเขียว การใชชีวิตแบบไมเรงรีบ การมีสวนรวมรับผิดชอบตอสังคม เปนตน นักสังคมวิทยาจะมีบทบาทอยางไรในการขับเคลื่อนหรือสรางแนวคิดใหมๆขึ้นมา เพื่อนําพาสังคมเมืองไปสูจุดมุงหมายดังกลาว บทสรุป สังคมวิทยาเมืองเปนวิชาที่วาดวยการศึกษาความสัมพันธทางสังคมและ โครงสรางทางสังคมในเมือง ประวัติความเปนมาของวิชามีขึ้นพรอมๆกับการเกิด ของสาขาสั ง คมวิ ท ยา แต เ ป น ที่ รั บ รู กั น ว า สํ า นั ก คิ ด ทางสั ง คมวิ ท ยาชิ ค าโก เปนสํานักคิดที่ไดรับการยอมรับจากแวดวงวิชาการวาเปนผูบุกเบิกการศึกษาทาง สังคมวิทยาเมืองโดยใชบริบทของมหานครชิคาโกเปนสนามศึกษา ซึ่งไดพัฒนา แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยที่นักสังคมวิทยารุนตอๆมาถือเปน แบบอยาง การศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองสามารถพินิจศึกษาไดหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยูกับ มุมมอง และคําถามผู ศึกษา โดยแนวการศึกษาที่ป รากฏให เห็น จาก งานวิจัยในปจจุบัน แบงออกเปน 7 กระแสหลัก คือ มุมมองเชิงประวัติศาสตร นิเวศวิทยา กระบวนการกลายเปนเมือง การจัดระเบียบทางสังคม ปญหาสังคม และนโยบายทางสังคมของเมือง ขบวนการทางสังคมในเมือ ง และคุณลักษณะ พิเศษของเมือง ความสําคัญของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองนอกจากจะเปน ประโยชนโดยตรงกับ ผูที่ศึกษาทั้งในแงการไดมาซึ่งความรู ทัศนะเชิงวิพากษ และ การเปนผูวางแผนหรือใหคําปรึกษา รวมทั้งผูนําการเปลี่ยนแปลงแลว สังคมวิทยา 20


เมืองยังมุงที่จะแกไขพัฒนาสังคมดวยการเผยใหเห็นขอเท็จจริงทางสังคมเพื่อนํา ขอมูลไปใชในการวางแผนพัฒนาสังคมเมืองอยางเขาใจ โดยอาศัยกรอบแนวคิด ทฤษฎี การวิจัยเปนองคประกอบสําคัญ แนวโนมของการศึกษาทางสังคมวิทยาเมืองในอนาคตมีประเด็นที่นาสนใจ เชน ความขัดแยงและความรุนแรงในเมือง ปญหาสิ่ งแวดลอมเมือง การศึกษา เมืองดวยแนวคิดเครือขายทางสังคม ผูหญิงกับเมือง ขบวนการอนุรักษมรดกทาง วัฒนธรรมของเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศกับเมือง วิถีชีวิตที่หลากหลายของกลุม คนในเมือง และการแสวงหารูปแบบของเมืองอันเปนอุดมคติในอนาคต

21


บทที่ 2 เมืองและกระบวนการกลายเปนเมือง ปรากฏการณที่เรียกวา “เมือง” ไดเกิดขึ้นมานานแลวนับตั้งแตมนุษยไม เรรอนตั้งถิ่นฐานอยูกับที่เปนชุมชนและไดสรางการจัดระเบียบทางสังคมที่มีความ ซับซอน ณ พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง สิ่งที่แสดงใหเห็นเดนชัด คือ ความหนาแนนของผูคน ที่ ม าใช ชี วิ ต อยู ร ว มกั น ในพื้ น ที่ นั้ น ความหลากหลายของกิ จ กรรมทางสั ง คม ลั ก ษณะทางกายภาพที่ พิ เ ศษไม เ หมื อ นกั บ พื้ น ที่ อื่ น เช น ความยิ่ ง ใหญ ข อง สถาปตยกรรม อาคารบานเรือน หรือความแออัดเบียดเสียดของชุมชน เสนทาง คมนาคมที่เชื่อมโยงกันทั่วถึง โดยการเกิดของเมืองแตละแหงมีปจจัยที่แตกตาง กันซึ่งทําให เมืองมีเอกลักษณตางกันไปดวย นอกจากนี้ เมืองยังมี ลักษณะทาง สังคมที่ผิดแผกไปจากสังคมอื่นๆ เนื่องจากมีการกําหนดชุดของกติกาที่ใชในการ ดํารงชีวิตที่เฉพาะเจาะจงเพื่อสามารถที่จะทําใหเมืองดํารงอยูไดอยางมีระเบียบ ความหมายของเมืองและกระบวนการกลายเปนเมือง ความหมายของเมือง นักวิชาการหลายไดใหนิยามเมืองไวในมุมมองตางๆ ดังนี้ พีเอม เฮาวเซอร (P.M.Hauser) กลาววา การที่จะเกิดหรือพัฒนาเมืองได นั้ น ต อ งประกอบไปด ว ยประชากรที่ เ กิ ด จากการรวมเข า เป น กลุ ม ก อ น (agglomeration) การควบคุมสภาพแวดลอมทางธรรมชาติของมนุษย การพัฒนา เทคโนโลยี และการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อใหเกิดความเปนระเบียบเรียบรอย ไมมีความเหลื่อมล้ําหรือมีความขัดแยงกัน16 16

P.M.Hauser. (1965). อางถึงในสมศักดิ์ ศรีสนั ติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม : แนวการศึกษา และวิเคราะห. ขอนแกน : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตรและ สังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. หนา 113

22


เอดวิน เอม และ จูดิท กรีนิช กูด (Edwin Eames and Judith Granich Goode) อธิบายวา เมืองสามารถพิจารณาไดใน 2 แงมุม แงมุมแรก คือ ในเชิง รูปแบบ (form) ไดแก โครงสรางทางประชากร รู ปแบบสถาปตยกรรม การแบง สวนการตั้งถิ่นฐาน (Settlement Zones) เปนตน แงมุมที่สอง คือ ในเชิงการหนาที่ (function) ได แก การดํา เนิ นกิ จกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือ ง การศึ กษา และ การพักผอนหยอนใจ เปนตน17 ประจักษ ศกุนตะลักษณ อธิบายวา เมือง คือแหลงรวมตัวทางกายภาพ ของบรรดาถนนหนทาง และบ านเรือ นที่ อยู อาศั ย หรื อเป นศู นย กลางของการ แลกเปลี่ยนการคาและการพาณิชยหรือแหลงรวมของอารยธรรมและความคิด ต า งๆ วั ฒ นธรรม ศิ ล ปะและเทคนิ ค วิ ท ยากร ลั ก ษณะที่ เ ด น ชั ด ของเมื อ งซึ่ ง แตกตางไปจากชนบท คือ ขอเท็จจริงที่วางานสวนใหญในเขตเมืองจะไมเกี่ยวของ กับพื้นดิน หรือกลาวอีกนัยหนึ่ง ประชากรของเมืองไมใชผูผลิตอาหารเปนหลัก18 วิไล วงศสืบชาติ อธิบายวา เมือง หมายถึงการตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ ที่ประกอบดวยสิ่งปลูกสรางถาวร เชน อาคารบานเรือน มีสิ่งอํานวยความสะดวก ดานการสาธารณูปโภค เชน ประปา ไฟฟา และถนน เปนตน เมืองจะเปนที่อยู อาศัย ของพลเมื องจํ านวนมาก มี ความหนาแน น ของประชากรอยูใ นระดับ สู ง ประชากรของแต ล ะเมือ งจะประกอบดว ยคนตา งเพศ ต างวั ย ต างสถานภาพ อาชีพมาตรฐานของประชากรจะไมใชอาชีพเกษตรกรรม เมืองยังมีระบบบริหาร และการปกครองเปนของตนเอง ลักษณะเดนชัดประการหนึ่งที่สําคัญ คือ เมือง

Edwin Eames and Judith Granich Goode. (1977). อางถึงในปรีชา คุวินทรพันธุ. (2545). เรื่องเดิม.หนา 14 18 ประจักษ ศกุนตะลักษณ. (2531). เศรษฐศาสตรการเมือง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. หนา 6-7 17

23


จะตองประกอบดวยองคกรทางสังคมตางๆมากมาย นอกจากนี้เมืองยังเปนศูนย รวมของขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมอีกดวย19 พรอัมรินทร พรหมเกิด อธิบายวา เมืองตองมีประชากรเปนองคประกอบ พื้นฐาน มีความหลากหลายดานการประกอบอาชีพ และลักษณะการประกอบ อาชีพ นี้จ ะมี การพึ่ งพาอาศั ยกั น เมื องยั งมี สิ่ง กอ สร างที่แ ตกตา งไปจากชนบท รวมทั้งมีการสรางกฎเกณฑการดําเนินชีวิตอยางใหมที่ตางจากชนบท และมีการ ยอมรับกฎเกณฑระหวางกลุมคนที่มาอยูรวมกัน รวมทั้งมีองคกรทางสังคมตางๆ มากมาย20 จากนิยามขางตนสามารถที่จะสรุปไดวาเมืองมีองคประกอบที่สําคัญ ดังนี้ 1. ลั ก ษณะทางกายภาพ (Physical) เช น สิ่ งปลู ก สร างที่ มี ข นาด แตกตางกัน มีสิ่งอํานวยความสะดวก (Facilities) สาธารณูปโภค เชน ประปา ไฟฟา โครงขายถนนครบครัน 2. ลั กษณะทางประชากร (Population) มี อยู ด วยกัน หลากหลาย กลุมและกระจุกตัวอยูอยางหนาแนน 3. องคกรทางสังคม (Social Organ) หลากหลายรูปแบบ ซึ่งสราง ระเบียบทางสังคม (Social Order) เชน ระบบการปกครอง กฎเกณฑ คานิยม ความเชื่อ ที่ยอมรับรวมกันระหวางกลุมคนที่มาอยูในพื้นที่เมือง 4. ลัก ษณะทางอาชีพ (Occupation) มีค วามเฉพาะทาง ชํานาญ พิเศษ (specialization) แตละอาชีพตองพึ่งพิงกัน (dependent)

19

วิไล วงศสืบชาติ. (2535). การจําแนกความแตกตางระหวางเมือง : การศึกษาเปรียบเทียบ กรณีประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. หนา 6 20 พรอัมรินทร พรหมเกิด. (2539).สังคมวิทยาเมือง. ขอนแกน : ภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. หนา 4

24


5. เปนแหลงรวมของเทคนิควิทยาการ อารยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี จากองคประกอบของเมืองขางตน เราสามารถที่จะพอเห็นจุดรวมที่เปน พื้ น ฐานสํ า คั ญ ของการนิ ย ามคํ า ว า เมื อ งได ว า เป น พื้ น ที่ ที่ มี ค วามหนาแน น (Density) จากการกระจุกตัวของกลุมผูคนที่มีความหลากหลาย (Diversity) ผูคน เหลานี้ตางมีกิจกรรมเคลื่อนไหวปฏิสัมพันธ (Social Interaction) อยูตลอดเวลา ทําใหเมืองมีความเปนพลวัต (Dynamic) อยูเสมอ นอกจากนี้ภายในเมืองเปน พื้นที่ที่มีการจําแนกความแตกตาง (differentiation) ระหวางบุคคล ระหวางกลุม ตัวอยางที่เห็นไดชัดเจน คือ การมีอาชีพที่เฉพาะเจาะจงเนื่องจากการแบงงานกัน ทํา ซึ่งการจําแนกความแตกตางนี้ ทําใหผูคนในเมืองตอง พึ่งพาอาซึ่งกันและกัน สงผลใหเกิดการสรางระเบียบทางสังคมที่เปนลักษณะเฉพาะขึ้นเพื่อนํามาใชเปน ขอตกลงในการดํารงชีวิตรวมกัน อยางไรก็ตามขางตนเปนการฉายภาพใหเห็นเมืองในเชิงแนวคิด เพื่อใหเห็น ภาพที่เปนรูปธรรม จึงขอหยิบยกการนิยามเมืองที่มีความชัดเจนจากงานศึกษา ของโสภาคย ผาสุ ก นิ รั น ดร 21 ที่ ไ ด ศึ ก ษาการกํ า หนดนิ ย ามเมื อ งในสั ง คมไทย โดยอาศัยกรอบแนวคิดทางภูมิศาสตร และมนุษยนิเวศน ซึ่งไดสรุปลักษณะเมือง สังคมไทยไว 12 ประการ ดังนี้ 1. เมืองเปนบริเวณของการตั้งถิ่นฐานที่สามารถสัง เกตเห็นการใช พื้นที่ดินแบงออกไดเปนสองสวน คือ สวนที่เปนตัวเมือง (เปนบริเวณที่อยูภายใน พื้นที่เขตเมืองตรงบริเวณที่เปนยานชุมชนหนาแนนมากที่สุด ) และสวนที่เปนพื้นที่ เขตเมือง (เปนบริเวณพื้นที่ตอเนื่องอยูกับบริเวณที่โลงวางเปลาภายนอกเมือง) สองพื้นที่ดังกลาวเปนองคประกอบรวมกันของถิ่นฐานที่เรียกวาเมือง โสภาคย ผาสุกนิรันดร. (2536). การศึกษาเพื่อกําหนดนิยามเมืองในประเทศไทย. ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดษุ ฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนา) คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.หนา 103-107

21

25


2. เสนทางสัญจร (ถนน ตรอก ซอย และทางเทา หรือหมายถึงคลอง ในบางกรณี) เปนส วนประกอบสําคั ญในสิ่ง แวดลอ มที่ม นุษย ประดิษ ฐขึ้น เพื่ อ ดัดแปลงใหลักษณะทางภูมิศาสตรของพื้นที่สามารถรองรับการประกอบกิจกรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวของเมือง ทําใหสังเกตเห็นพื้นที่เขตเมืองมีการกระจายตัว ไปตามทิศทางของเสนทางสัญจร 3. ลั ก ษณะของความเป น เมื อ งสั ง เกตเห็ น ได ชั ด เจนในบริ เ วณที่ เรีย กว าตั วเมือ ง ซึ่ง เป นย านชุม ชนหนาแนน มี องคป ระกอบที่ สํา คัญ คื อ ยา น การคาปลีก ตลาดสด และยานสถานที่ราชการ พื้นที่สองสวนนี้เปนองคประกอบที่ เรียกวา ตัวเมือง 4. ยานการคาปลีก ตลาดสดในบริเวณตัวเมืองมีกิจกรรมของการใช พื้นที่ซึ่งสังเกตเห็นไดชัดเจน 4 ประการ คือ มีการจําหนายสินคาปลีกเปนสวน ใหญ มีความหลากหลายของกิจการรานคาและสถานที่ใหบริการมากเกิน กวา 10 ประเภทขึ้ น ไป โดยไม ซ้ํ าชนิ ดกั น มี ส าขาของธนาคารพาณิ ชย ต างๆ ตั้ ง อยู ใ น บริเวณใกลเคียงกัน และมีตลาดนัดขายผลิตผลการเกษตรในชวงเชาและตลาด นัดขายอาหารสําเร็จรูปในชวงเย็นถึงค่ํา 5. ย านสถานที่ ราชการในบริ เวณตั ว เมื อง เป นบริเ วณของหน ว ย ราชการเฉพาะประเภทที่ ใ ห บ ริ ก ารแก ป ระชาชนโดยตรง ส ว นใหญ สั ง กั ด ใน กระทรวงมหาดไทย เชน ที่วาการอําเภอ สวนในสังกัดอื่นๆ ไดแก ที่ทําการของ ศาล และสํานักงานสรรพากร สําหรับบริเวณของหนวยราชการอื่นที่ไมมีการติดตอ กับประชาชนโดยตรง เชน สถานีวิจัยพืช สถานที่ตรวจอากาศ คายทหาร มักตั้งอยู โดดเดี่ยวหางไกลจากยานชุมชน 6. บริเ วณตั วเมื อง มีลั กษณะทางกายภาพที่ เห็น ไดชั ดเจน คื อ มี ความหนาแน นของอาคารสิ่งปลูกสรางสูง ซึ่งปลูกสรางดวยวัสดุ ที่คงทนถาวร ระยะหางระหวางอาคารโดยเฉลี่ยอยูใ นชวงต่ํากวา 50 เมตร มีเสนทางสัญจร สาธารณะที่ไดมาตรฐานใชงานปลอดภัยในฤดูฝน มีโคมไฟฟาสาธารณะใหความ 26


สวางแกพื้นที่เปนบริเวณตอเนื่อง และมีความหลากหลายของกิจการรานคาและ การใหบริการรวมตัวกันแลวไมต่ํากวา 9 ประเภท ซึ่งเปนกิจกรรมนอกภาคเกษตร ทั้งหมด เชน ธนาคารพาณิชย คลินิกแพทย รานขายยา รานอาหาร รานเสริมสวย ตัด เสื้ อ โชวรู มรถประเภทต า งๆ ร านขายเครื่ องไฟฟ า ร านถ ายรู ป สํา นั กงาน ทองเที่ยว โรงแรม สํานักงานประกันภัย ฯ เปนตน 7. บริเวณพื้นที่เขตเมือง มีลักษณะทางกายภาพที่สังเกตเห็นชัดเจน คือ ความหนาแนของอาคารสิ่งปลูกสรางมีระยะหางระหวางกันอยูในชวงตั้งแต 50 – 200 เมตร ปลูกสรางดวยวัสดุที่คงทนถาวร และไมคงทนถาวร มีโคมไฟฟาให ความสวางเฉพาะตามเสนทางสัญจรหลัก และกิจการรานคามีความหลากหลาย ไมเกินกวา 6 ชนิด ซึ่งอาจมีกิจกรรมในภาคเกษตรรวมอยูดวย 8. บริเวณพื้นที่เขตเมือง มีกิจกรรมการใชพื้นที่เปนที่พักอาศัยหรือ เพื่อการพักผอนหยอนใจ (บางแหงหางไกลออกไปเปนเอกเทศจากยานชุมชน ลักษณะของพื้นที่เชนนี้เรียกวาชุมนุมชนแบบเมือง ดูขอ 11) ความหลากหลาย ของกิจการรานคาในแตละจุดมีความหลากหลายไมสูงกวา 6 ชนิด สวนใหญเปน ชนิดละ 1 แหง (แตไมเกิน 3 แหงถาหากเปนชนิดที่ซ้ํากัน) กิจการเหลานั้น ไดแก รานขายอาหารเครื่องดื่ม รานขายวัสดุกอสราง อูซอมรถยนตและสถานีบริการ น้ํามัน โรงพิ มพ สถานศึก ษา สํานักงานทนายความ ที่พักอาศัยใหเชา วัดหรื อ โบสถคริสต เปนตน นอกจากมียังมีการทําเกษตรกรรมสอดแทรกกับพื้นที่วางเปน แหงๆ รวมทั้งมีการใชพื้นที่ขนาดใหญในภาคอุตสาหกรรม ไดแก โกดังเก็บสินคา วัสดุดิบ โรงงานผลิตสินคา โรงสีขาว เปนตน 9. ประชากรในพื้นที่เขตเมืองมีจํานวนไมต่ํากวา 10,000 คน ผูมีงาน ทําสวนใหญประกอบอาชีพที่เกี่ยวของกับพาณิชยกรรมเปนขาราชการหรือลูกจาง ของรั ฐ นอกจากนี้ จ ากการที่ พื้ น ที่ เ ขตเมื อ งมี ส ถาบั น การศึ ก ษาในระดั บ มัธยมศึกษาและสูงกวาขึ้นไป โรงพยาบาล คลินิก รานจําหนายยา ตั้งอยูจึงทําให เมืองในประเทศไทยมีลักษณะเปนศูนยกลางที่ใหบริการทางการศึกษาในระดับสูง 27


และเปนศูนยที่ใหบริการรักษาพยาบาลเชนเดียวกับการเปนศูนยกลางทางการ ปกครอง 10. องคกรทางสังคมที่อยูในเมืองปรากฏในรูปของสมาคม สโมสร ชมรมและกลุม ซึ่งจัดตั้งโดยอาศัยสิ่งแวดลอมของเมืองเปนปจจัยเกื้อหนุนและ เปนเปาหมายของการทํากิจกรรม กลาวคือ ดานปจจัยเกื้อหนุน องคกรทางสังคม จําตองอาศัยสภาพแวดลอมในสังคมแบบเมืองเพื่อทําการรวมตัว จัดตั้ง แสวงหา กลุมสมาชิกในระดับแกนนํา จึงมักใชพื้นที่ในบริเวณตัวเมืองเปนที่ตั้งถาวรของ องคกร และอาศัยพื้นที่ตัวเมืองเปนสถานที่สําหรับการแสดงบทบาทขององคกรให เปนที่รับรูตอสาธารณะทั้งๆที่เปาหมายหรือวัตถุประสงคของการประกอบกิจกรม นั้น ไม จํา เป นต องมีผ ลเกิด ขึ้ นภายในเขตพื้ นที่ เมื องเสมอไป ในขณะที่อ งค ก ร รูปแบบของสมาคมหรือสโมสรมีเปาหมายของกิจกรรมอยูในระดับจังหวัด แต องคกรที่จัดตั้งเปนชมรมหรือกลุมตางๆ มีการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวของโดยตรง กับสภาพแวดลอมของเมืองทั้งในดานการตอตานเพื่อการอนุรักษห รือในดานการ ผลักดันเพื่อใหเกิดการพัฒนา 11. ชุ ม ชนแบบเมื อ ง มี ลั ก ษณะเป น พื้ น ที่ ที่ ไ ด รั บ การพั ฒ นาเป น โครงการชนิ ดตา งๆ เชน โครงการหมูบา นจัด สรร รีส อรท ชุม ชนของการเคหะ แห ง ชาติ นิ ค มอุ ต สาหกรรม แหล ง ที่ ตั้ ง ของโรงงานและคลั ง สิ น ค า รวมทั้ ง สถาบันการศึกษาขนาดใหญ ซึ่งโครงการเหลานี้จําเปนตองใชพื้นที่ดินขนาดใหญ ซึ่ ง มี ร าคาต น ทุ น ต่ํ า จึ ง ตั้ ง ห า งไกลจากย า นชุ ม ชนเมื อ ง อยู ท า มกลาง สภาพแวดลอมโดยรอบเปนธรรมชาติ เชน ปารกชัฏ ทองทุงโลง หรืออาจมีการทํา เกษตรกรรมในบางกรณี ตรงกันขามกับลักษณะพื้นที่ภายในโครงการที่ไดรับการ ปรับปรุง มีการกอสรางดั ดแปลงใหสภาพแวดลอมสามารถรองรับกิจกรรมที่ มี ลักษณะเฉพาะเปนของตนเองซึ่งสังเกตเห็นไดชัดเจนวาเปนลักษณะของแหลง ชุมชนแบบเมือง แตกตางออกไปจากพื้นที่โดยรอบที่เปนธรรมชาติดั้งเดิม พื้นที่ เหลานี้หากมีความตอเนื่องเปนสวนหนึ่งของเมืองจะถู กนับรวมเรียกวาพื้นที่เขต 28


เมือ ง (ดูขอ 7) แต ถาเปน โครงการที่ตั้ งอยู หางไกลออกไปเปน เอกเทศเรีย กว า ชุมชนแบบเมือง 12. พื้นที่วาง เปนองคประกอบทางภูมิศาสตรของเมืองชนิดหนึ่งที่ ปรากฏใหเห็นในทุกชุมชนเมืองมีลักษณะเปนพื้นที่ปราศจากการทําเกษตรกรรม เปนที่ดินซึ่งถูกปลอยวางไวเพื่อรอการพัฒนาหรือาจมีสาเหตุทางดานนิติกรรม มี ทั้งพื้นที่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ หากพิ จารณาศัก ยภาพของพื้นที่เหลา นี้ สามารถจําแนกได 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก เปนพื้นที่วางมีศักยภาพเปนพื้นที่ เขตเมืองระดับสูง อยูไมไกลจากชุมชน เขาถึงไดสะดวก มองเห็นชัดเจนจากถนน แสดงถึงแนวโนมการพัฒนาใหกลายเปนสวนหนึ่งของพื้นที่เขตเมืองไดโดยงาย และลักษณะที่สอง พื้นที่วางมีศักยภาพในระดับต่ํา เชน แปลงที่ดินในทําเลตรง ขามกับทิศทางการขยายตัวเมือง อยูไกลจากถนน หรือเปนบริเวณที่ลุมมีน้ําขัง เปนตน ความหมายของกระบวนการกลายเปนเมือง กระบวนการกลายเปนเมือง (Urbanization) เปนความพยายามของมนุษย ที่จะสรางหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนที่ผูคนอาศัยอยูแบบเบาบาง หรือ ชุมชน ชนบท หรือพื้นที่วางเปลาใหกลายเปนเมือง โดยมีจุดมุงหมายเพื่อตอบสนองตอ ความตองการของมนุษย ซึ่งสาเหตุหลักๆ เปนผลมาจากกระบวนการกลายเปน อุตสาหกรรม (Industrialization)22 การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร และความ

กระบวนการกลายเปนอุตสาหกรรม (Industrialization) หมายถึงกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีโดย การใชวิทยาศาสตรประยุกตในการขยายผลิตกรรมขนาดใหญดวยกําลังเครื่องจักรเพื่อตลาดการคา กว า งใหญ โดยการใช แ รงงานที่ ชํ า นาญเฉพาะอย า งทั้ ง หมดนี้ ยั ง ผลให เ กิ ด การขยายตั ว ของเมืองตามมาอยางรวดเร็ว .ราชบัณฑิตยสถาน.(2524).พจนานุก รมศั พ ทสังคมวิทยาฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : รุงศิลปการพิมพ.หนา 187 22

29


เจริญกา วหนา ทางเทคโนโลยี กระบวนการกลายเปน เมื องอาจพิ จารณาได 4 ลักษณะ คือ 1. กระบวนการกลายเปนเมืองเปนการกระจายอิทธิพลของสังคม เมืองไปสูสังคมชนบท คือการนําสิ่งที่มีอยูในเมืองไมวาจะเปนระบบการปกครอง เศรษฐกิ จ วิ ท ยากร เท คโนโลยี การพั ฒ นาทางกายภาพ วั ฒ น ธรรม ขนบธรรมเนียม ถูกนําเขาไปยังสังคมชนบทผานนโยบาย หรือแผนการพัฒนา เมือง การขยายเขตเมือง จึงสงผลใหพื้นที่ชนบทไดรับรูปแบบลักษณะเมืองเขาไป จนเปลี่ยนสภาพกลายเปนเมืองในที่สุด 2. กระบวนการกลายเปนเมืองเปนการเคลื่อนไหวของประชากรจาก พื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งโดยเกิดจากปจจัยใน 2 ลักษณะ คือ ปจจัยแรงผลัก จากพื้นที่อยูเดิม (Push Factors) ซึ่งเกิดจากประชากรที่อยูในพื้นที่เดิมยายถิ่นไป ในเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม และปจจัยดึง (Pull Factors) เปนแรงดึงดูดของเมืองที่ ทําใหผูคนตางอพยพยายถิ่นเขามาอยูในพื้นที่เมือง 3. กระบวนการกลายเปนเมืองเปนการปรับรูปแบบอาชีพจากสังคม เกษตรกรรมพื้นฐานไปสูสังคมที่ไมใชเกษตรกรรม เปนการแสดงใหเห็นถึงรูปแบบ ทางอาชีพของสังคมที่ผูคนมีอาชีพเกษตรกรรมเปนหลัก กลายมาเปนสังคมที่มีแต ผูประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการใหบริการเปน จํานวนมาก 4. กระบวนการกลายเปนเมืองเปนการปรับรูปแบบการใชชีวิตทาง สัง คมจากความไม เป น ทางการและไมซั บ ซ อ น ไปสู ก ารใช ชี วิ ต ทางสั ง คมที่ มี ลักษณะเปนทางการมีความสลับซับซอน กลาวคือ เปนการปรับรูปแบบการใช ชีวิตแบบดั้งเดิมเรียบงายที่มีกฎเกณฑทางศีลธรรมเปนแนวทางกํากับเขาสูระบบ ความสัมพันธแบบองคการสมัยใหมที่มีความเปนทางการสูงภายใตหลักเหตุผล เปนตัวกํากับ

30


ปจจัยที่สงผลตอกระบวนการกลายเปนเมือง กระบวนการกลายเป น เมื อง ณ พื้ นที่ แห ง ใดแหง หนึ่ ง นั้น ประกอบด ว ย ปจจัยหลายประการ ไดแก 1. การแพรกระจายของความคิดและนวัตกรรม เนื่ อ งจากเมื อ งนั บ เป น ศู น ย ร วมของผู ที่ มี ค วามชํ า นาญเฉพาะ (Specialization of Labors) จึ ง เป น ที่ ม าของการสร า งสรรค น วั ต กรรม (innovation) หรือเทคโนโลยีใหมๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองตอความตองการของผูคน ในเมืองและจํานวนของผูคนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจําแนกได 2 ลักษณะ คือ สิ่งที่ เปนรูปธรรม เชน สิ่งประดิษฐ คิดคน ประเภทตางๆ เครื่องอํานวยความสะดวก ประเภทตางๆ และสิ่งที่เปนนามธรรม เชน แนวคิด ความเชื่อขนบธรรมเนียมที่ ตั้งอยูบนหลักเหตุผล และความมีอิสระทางความคิด ดังนั้น ยิ่งผูคนในเมืองมีการ ปฏิ สั ม พั น ธ ท างสั ง คมกั บ คนภายนอกมากเท า ไหร ย อ มทํ า การให เ กิ ด การ แพรกระจายสิ่งดังกลาวไปยังพื้นที่อื่นๆซึ่งทําใหผูคนจํานวนหนึ่งตื่นเตน ศรัทธา กับวิธีคิด สิ่งประดิษฐเหลานั้น เกิดการยอมรับจนพัฒนาไปในรูปแบบเดียวกับ เมืองในที่สุด 2. การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรและการยายถิ่น ความเจริ ญ ก า วหน า ของวิ ท ยาการได ทํ า ให อั ต ราการตายของ ประชากรลดจํานวนลงยอมทําใหประชากรเพิ่มขึ้นตามลํา ดับ ทําใหเกิดความ หนาแนนของชุมชน สงผลใหเกิดความตองการขั้นพื้นฐานในการดํารงชีวิตมากขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธกับการเกิดขึ้นของเมือง ขณะเดียวกันการยายถิ่นเขาสูตัวเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากปจจัย 2 ดานดังที่ไดกลาวมาแลวขางตนกอนหนานี้ คือ แรงผลัก จากถิ่นเดิม เชน สังคมชนบทซึ่งอาจเปนเพราะบริบทที่ไมเอื้ออํานวยตอการจัดสรร ปจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต และ ปจจัยดึงดูดจากเมือง ที่ผูคนตางๆคาดหวังตอ

31


การนําพาชี วิตไปสูจุดหมายที่ตองการ จึงทํา ใหเมืองเกิดการพัฒนาและขยาย ตัวอยางตอเนื่อง 3. ลักษณะทางภูมิศาสตร เงื่อนไขทางภูมิศาสตรเปนปจจัยสําคัญประการหนึ่ งสําหรับการวาง ผังและสรางบานแปงเมือง คุณสมบัติที่สําคัญของพื้นที่ซึ่งพัฒนากลายเปนเมือง ไดนั้นประกอบไปดวย การมีแหลงทรัพยากรทางธรรมชาติที่เหมาะสม คือ มีแมน้ํา ลํา คลอง ไหลผา น มีพื้ นที่ อุด มสมบู รณ เหมาะที่จ ะเปน พื้น ที่เ พาะปลูก พืช พั น ธัญญาหารเพื่อค้ําจุนเมือง รวมทั้งการมีที่ตั้งอยูในทําเลที่เหมาะสมสําหรับการ คมนาคม เปนจุดตัดหรือเชื่อมตอของการคมนาคมทางบกและทางน้ํา รวมไปถึง การเปนพื้นที่ที่มีความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและภัยจากการรุกรานของศัตรู 4. การจัดระเบียบทางสังคม การที่คนหลากหลายกลุมมาอยูรวมกันเปนจํานวนมากในพื้นที่แหง ใดแหงหนึ่งยอมทําใหสังคมนั้นมีความสลับซับซอนมากขึ้น หากปราศจากระเบียบ ทางสังคม (Social Order) ซึ่งอยูในรูปของแบบแผนการปกครอง กฎหมาย กติกา ธรรมเนียม ฯ ที่สังคมเปนผูกําหนดขึ้นมาเพื่อใชในการควบคุมทางสังคม (Social Control) ใหเ ป นไปในทิ ศ ทางที่ พึง ประสงคไ ด ยอ มทํา ให เมื อ งนั้ น ๆเต็ ม ไปด ว ย วุนวายไรระเบียบ (disorganization) ได ระเบียบทางสังคมจึงเปนกลไกที่สําคัญ ในการดํารงอยูไดของสังคมเมือง 5. การขายตัวของตลาดการคา พัฒนาการเกิดขึ้นของเมืองบางแหงเริ่มมีมาพรอมกับการกอตัวขึ้น ของตลาดการคาที่ มีการแลกเปลี่ยนสินคาของชุมชนจากหนวยเศรษฐกิจขนาด เล็กพัฒนากลายเปนตลาดการคาระหวางชุมชนที่มีสินคานานาชาติซึ่งนํามาโดย ผู ค นต า งถิ่ น ต า งเมื อ งเข า มาทํ า การค า สื บ เนื่ อ งจากการที่ ร ะบบของเมื อ งได กอใหเกิดการแขงขันแบบเสรีทําใหผูคนจากตางแดนคาดหวังที่จะเขามาคา ขาย เพื่อขยายเครือขายทางการคา หรือยกระดับฐานะใหกับตนเอง พัฒนากลายเปน 32


พอคารายยอย รายใหญจํานวนมาก ดังนั้น ยิ่งบรรยากาศทางการคาของเมือง คึกคักมากเทาไหรยอมจะสงผลตอการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของ เมืองที่มีความมั่นคงมากขึ้นไปดวย 6. นโยบายการพัฒนาเมือง ในแงนี้หมายถึงการผูนําทางการปกครองของเมืองมีนโยบายที่จะทํา การพัฒนาเมืองขึ้นซึ่งอาจเปนไปเพื่อผลประโยชนทางการเมือง เศรษฐกิจ เชน การสรางรายไดใหกับประเทศ การสงเสริมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม หรือ อาจจะเป น ไปเพื่ อ บรรเทาความหนาแน น ของเมื อ งหลั ก โดยมี ก ารจั ด ทํ า แผนพั ฒนาเมือ งที่ ชัด เจน กํา หนดงบประมาณลงทุน สรา งความเติบ โตอย า ง รวดเร็วใหกลายเปนเมืองแหงใหม ซึ่งจะเปนปจจัยดึงดูดใหผูคนและภาคสวน ตางๆ เขามาลงทุนเปนจํานวนมาก ซึ่งสงผลใหเกิดการขยายตัวไปยังบริเวณรอบๆ ขอดีของการพัฒนาเมืองใหมจะชวยใหสามารถกําหนดวางแผนการใชพื้นที่ได ลวงหนาโดยใชพื้นที่ใหเกิดประโยชนสูงสุด แนวคิดทฤษฎีที่ใชอธิบายการกลายเปนเมือง การทําความเขาใจเกี่ยวกับกระบวนการกลายเปนเมือง จําตองศึกษาเมือง ในเชิงกายภาพเพื่อที่จะอธิบายใหเห็นถึงลักษณะหรือรูปแบบที่มีความแตกตาง กันของการเปลี่ยนพื้นที่แหงหนึ่งๆไปสูสภาพการกลายเปนเมืองวาเปนอยางไร โดยแนวคิดที่จะชวยอธิบายการเปลี่ยนแปลงดังกลาว คือ แนวคิดทฤษฎีการตั้งถิ่น ฐานของมนุษย และแนวคิดทฤษฎีการเติบโตของเมือง

33


แนวคิดทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย ดวยเหตุที่วากระบวนการกลายเป นเมืองเกี่ยวของกับการตั้งถิ่นฐานของ มนุษย ดังนั้นจึงตองพิจารณารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของมนุษยเพื่อที่จะนําไปสู การศึ ก ษาการเติ บ โตของเมื อ งในรู ป แบบตา งๆ การตั้ง ถิ่น ฐานของมนุ ษ ยเ ป น กระบวนการจัดรูปแบบพื้นที่เชิงกายภาพของมนุษยเพื่อความอยูรอดของมนุษย โดยมนุษยพยายามปรับตนเองใหเขากับสภาพแวดลอมและปรับสภาพแวดลอม ให เป น ประโยชน ต อตนเอง ซึ่ งการตั้ ง ถิ่น ฐานมีลั ก ษณะตั้ง แตที่ อาศั ยชั่ ว คราว กึ่งถาวร และถาวร โดยรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของมนุษยโดยทั่วไปสามารถแยก พิจารณาได 3 ลักษณะ คือ 1) การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุม (Cluster Settlement) เปนรูปแบบ การตั้งถิ่นฐานที่มิไดมีการวางแผนไวลวงหนา การตั้งถิ่นฐานเปนไปตามธรรมชาติ ลักษณะเดนของการตั้งถิ่นฐานแบบนี้ เชน การตั้งบานเรือนเปนกลุมเปนกอนของ ชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นที่ของตนเอง 2) การตั้ ง ถิ่ น ฐานแบบกระจาย (Scattered Settlement) เป น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่บานเรือนแบบครอบครัวจะกระจัดกระจายอยูรอบๆยาน ชุมชนที่เปนศูนยกลางของชุมชน เชน วัด โบสถ โรงเรียน ตลาด สถานีอนามัย เปน ตน โดยบานเรือนดังกลาวจะตั้งอยูอยางกระจัดกระจายบนพื้นที่เกษตรกรรมของ ตนเองเนื่องมาจากความสะดวกในการประกอบอาชีพ 3) การตั้งถิ่นฐานแบบเสนตรง (Line Settlement) เปนรูปแบบการ ตั้งถิ่นฐานของอาคารบานเรือนที่เรียงรายกันไปตามเสนทางคมนาคมทั้งทางบก และทางน้ํา เชน การตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมคลอง ริมเสนทางถนนสายสําคัญ เปนตน23 23

ลักษณา สัมมานิธ.ิ (2553) ทฤษฎีการวางผังเมืองและผังภาค. คณะสถาปตยกรรมและ การออกแบบสิ่งแวดลอม มหาวิทยาลัยแมโจ. (ออนไลน).เขาถึงไดจาก http://coursewares .mju.ac.th/2006/la471/ course_chapt_menu.html วันที่คนขอมูล 8 มิถุนายน 2553.

34


คอนสแตนติโนสเอ ดอกซิเอดีส (Constantinos A.Doxiadis)24 ไดสราง ทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานของมนุษยโดยเสนอตัวแบบ ekisties model เพื่ออธิบายการ รวมตั ว ของมนุ ษ ย ใ นฐานะป จ เจกบุ ค คล ครอบครั ว และสั ง คมเข า กั บ ป จ จั ย ทางดานสภาพแวดลอมทางกายภาพที่มีอยูตามธรรมชาติและหรือเกิดจากการ สรางสรรคของมนุษย โดยกลาวถึงองคประกอบพื้นฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย วาจะตองประกอบดวยปจจัย 5 ปจจัย ไดแก 1) ธรรมชาติ (nature) แยกออกเปน สภาพภูมิประเทศ ลักษณะทาง กายภาพของพื้นดิน ดิน พืชพันธุ ชีวิตสัตว ภูมิอากาศ 2) คน (man) แยกออกเปน ความตองการดานชีวภาพ เชน อากาศ อุณหภูมิ ที่วาง ฯ เปนตนความรูสึกสัมผัส และการรับรู ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความ ตองการสนองตอบดานอารมณ คานิยมทางจริยธรรม รูปแบบทางสังคม แบบ แผนการดําเนินชีวิต แบบแผนครอบครัว และวัฎจักรของชีวิตครอบครัว โครงชีวิต ของมนุษย 3) สังคม (society) แยกออกเปน องคประกอบของประชากรและ ความหนาแน น การปะทะสั ง สรรค แบบแผนทางวั ฒ นธรรม การพั ฒ นาทาง เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพและสวัสดิการ กฎหมายและการบริหาร 4) โครงสรางทางกายภาพ (shells) แยกออกเปน เคหะสถาน สถาน บริการชุมชน ไดแก โรงเรียน โรงพยาบาลฯ ศูนยการคาและตลาด สถานสันทนา การ เช น โรงภาพยนตร โรงละคร สนามกี ฬ า ฯ ศู น ย ร าชการและธุ ร กิ จ การ อุตสาหกรรม ศูนยการคมนาคม 5) โครงขาย (networks) แยกออกเปน ระบบการบริการน้ําดื่มน้ําใช ไฟฟา ระบบการขนสง การติดตอสื่อสาร การระบายน้ําและของเสีย การวางผัง ทางกายภาพ 24

Constantinos A.Doxiadis. (1976) อางถึงใน กฤช เพิ่มทันจิตต. (2536).ทฤษฎีและแนวความคิด เกีย่ วกับกระบวนการเกิดเปนเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. หนา 37-42

35


ธรรมชาติ โครงขาย

คน

โครงสราง กายภาพ

สังคม

รูปที่ 1 แสดงองคประกอบของการตั้งถิ่นฐานของมนุษยตามทฤษฎี Ekistics ที่มา : C.A. Doxiadis (1976). อางถึงใน กฤช เพิ่มทันจิตต. (2536) หนา 38 จากองคประกอบทั้ง 5 ปจจัยนี้ในเชิงการวิเคราะหจะมีความสัมพันธกัน เปนระบบ (systematic Way) โดยการเชื่อมโยงองคประกอบตางๆเขาดวยกัน ดอกซิเอดีส ยังไดเสนอลักษณะของเปาหมายชุมชนตามหลักของ ekistic units โดยแบงเปน 7 ประเภทตามลําดับ ดังนี้ ระดั บที่ 1 การตั้ งถิ่ นฐานของชุมชนแบบชั่วคราว (Temporary human settlement) เป น ลั ก ษณะการตั้ ง ถิ่ น ฐานของกลุ ม คนที่ เ ร ร อ น เพื่ อ การพั ก พิ ง ชั่วคราว หรือเตรียมที่จะตั้งถิ่นฐานอยางถาวร ระดับที่ 2 หมูบาน (villages) เปนการตั้งถิ่นฐานเพื่อประโยชนตอการอยู อาศัยและการพักผอนหยอนใจ รวมทั้งการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ระดั บ ที่ 3 ชุ ม ชนเมื อ ง (polises) เป น รู ป แบบการตั้ ง ถิ่ น ฐานที่ ร อบกา ขยายตัวของชุมชนเมืองใหญเขาไปถึงชุมชนประเภทนี้ซึ่งอาจสูญสลายไปหากไม

36


มีการผนวกรวมตัวเขากับชุมชนอื่นๆหรือการจัดตั้งยานอุตสาหกรรมหรือแหลง การศึกษาใหเกิดขึ้น ระดับที่ 4 ชุมชนเมืองใหญหรือมหานคร (metropolises) เปนรูปแบบการ ตั้งถิ่นฐานที่มี ประชาชนอยู อาศัย มากที่ สุด ซึ่ง มีการขยายตั วทั้งในดานการอยู อาศั ย อุ ต สาหกรรม โดยมี ก ารวางแผนพั ฒ นาหรื อ จั ด เตรี ย มการด า น สาธารณูปโภค สาธารณูปการที่พอเพียง โดยเฉพาะในเรื่องของโครงขายตางๆ (networks) ระดับที่ 5 ชุมชนอภิมหานคร (megalopolises) เปนรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงของมหานครหลายมหานครเขาดวยกัน มีการวางแผน ดานโครงขายอยางรอบคอบ มีการจัดเตรียมการจัดรูปองคกรการบริหารอยาง เหมาะสม เขตพื้นที่ชุมชนประเภทนี้อาจประกอบไปดวยพื้นที่เขตที่อยูอาศัย เขต ยานอุตสาหกรรม เขตเพาะปลูก และเขตพื้นที่สีเขียว เปนตน ระดับที่ 6 ชุมชนประเทศ (national systems) เปนรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ชุมชนในระดับที่กวาง ซึ่งจําเปนอยางยิ่งที่จะตองกําหนดเปาหมายของชุมชนให สอดคลองกับความตองการของจํานวนคนสวนใหญและสวนนอยในสังคม เพื่อ การบรรลุเปาหมายของชาติโดยรวม ระดับที่ 7 ชุมชนประชาคมสากล (international systems) เปนรูปแบบการ ตั้งถิ่นฐานในระดับหลายประเทศรวมกั น ซึ่งจะมีการกําหนดเปาหมายรวมกั น โดยเฉพาะสภาพการตั้งถิ่นฐาน สภาพปญหา และแนวทางแกไข โดยจะเกี่ยวของ กับ ทุ น ความรู ประสบการณ เพื่ อ การพั ฒนาอุต สาหกรรมและความเปน อยู ที่ สามารถพึ่งตนเองไดตลอดไป แนวคิดทฤษฎีการเติบโตของเมือง การเติบโตของเมืองหากพิจารณาในเชิงกายภาพ คือ การขยายตัวทางดาน เนื้อที่ของเมืองไปตามทิศทางความตองการใชพื้นที่หรือที่ดินของผูอยูอาศัยใน 37


เมือง ซึ่งมีวัตถุประสงคที่แตกตางกันออกไป อาจจะใชเพื่อการเปนที่อยูอาศัย การ ขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรหรือภาคบริการ นัก นิเวศวิทยาเมือง (Urban Ecologist) ไดเสนอแนวคิดทฤษฎีที่ใชอธิบายการเติบโต ของเมืองในรูปแบบตางๆ ดังนี้ 1. ทฤษฎีวงแหวน (Concentric Theory) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้ คือ เออรเนสท ดิบบิล เบอรเกสส (Ernest W Burgess) (1925) เสนอตัวแบบเกี่ยวกับการกระจายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การใช ที่ดินในเมือง รวมทั้งที่ตั้งของที่อยูอาศัย ที่เรียกวา Concentric Zone คือ ลักษณะ ของการแผขยายเมืองเปนรัศมีออกไปเปนวงกลมโดยมีจุดศูนยกลางรวมกัน ซึ่ง แสดงถึงการพัฒนาทางกายภาพของเมือง ความสัมพันธระหวางสังคมกับการใช พื้นที่ รวมทั้งโครงสรางของเมือง เบอรเกสส เสนอวาเมืองแตละแหงมีการกระจาย ตัวออกไปจากศูนยกลางโดยแบงออกได 5 เขต ซึ่งในแตละเขตจะมีลักษณะทาง เศรษฐกิจและสังคมที่แตกตางกัน ดังรูปภาพ

1 2 3 4 5

1 2 3 4 5

รูปที่ 2 แบบจําลองการใชที่ดินของ Burgess ที่มา : http://www.bennett.karoo.net/topics/landuse.html#mode

38


เขตที่ 1เขตใจกลางเมืองหรือศูนยกลางของเมือง (CBD:Central Business District) เปนบริเวณที่เขาถึงไดสะดวก จึงเปนแหลงที่ตั้งที่ไดเปรียบในการแขงขัน เชิงเศรษฐกิจ ทําใหพื้นที่บริเวณนี้มีศักยภาพสูง เหมาะสมแกการลงทุน ที่ดินมี ราคาแพง กิจกรรมที่ตั้งอยูในเขตใจกลางเมืองจึงมักใชพื้นที่นอยแตคาตอบแทน หรือผลกําไรที่ไดมีสูง เชน ยานศูนยการคา สถาบันทางการเงิน สํานักงานใหญ ธนาคาร โรงแรม รานคาหรูๆ เปนตน เปนเขตที่มีมีความพลุ กพลานของผูคนใน ชวงเวลากลางวันเพื่อทําธุรกิจตามหนวยงานตางๆ มีคนจํานวนนอยที่ตั้งบานเรือน อยูอยางถาวร เนื่องจากสวนใหญจะเดินทางไปพักอาศัยอยูเขตรอบนอก เขตที่ 2 เขตเปลี่ยนผาน (Zone of Transition) อยูถัดจากเขตใจกลางเมือง เนื่องจากเขตใจกลางเมืองมีแนวโนมที่จะขยายตัวโดยรอบ ทําใหเกิดการเก็ งกําไร บริเ วณที่ดิ นโดยรอบเพื่อ รอการขยายตัว ของเขตใจกลางเมื อง สว นใหญ พื้น ที่ บริเวณนี้เปนที่ตั้งของยานการขายสง โกดังเก็บสินคา บางแหงปะปนอยูกับยาน อุตสาหกรรมเบาๆ ผูคนที่อาศัยอยูในเขตนี้มักเปนกลุมกรรมการที่ยายถิ่นเขามา แสวงหาอาชีพ มีลักษณะสิ่งปลูกสรางอยูในระดับคอนขางต่ําทั้งในดานคุณภาพ และการใหบริการ เชน หองเชาหรือแฟลตราคาถูก เปนเขตที่มีปญหาทางสังคม มาก เชน การกออาชญากรรม สําหรับผูที่ยายถิ่นเขามาใหมเมื่อตั้งตนไดก็จะยาย ออกไปอยูที่อื่น เขตที่ 3 เขตอาศัยของคนงาน (Zone of working Men’s homes) เปนเขต ที่อยูถัดออกมาจากเขตเปลี่ยนผาน เปนที่ตั้งของยานโรงงานอุตสาหกรรม กลุมคน ที่อาศัยอยูในเขตนี้เปนกลุมของชนชั้นกรรมกร ผูใชแรงงาน หรือลักษณะกึ่งทํางาน ในสํานักงาน ไมมียานพาหนะเปนของตนเอง เดินทางสัญจรดวยการระบบขนสง ของรั ฐ ลั ก ษณะของที่ พั ก อาศั ย ดี ก ว า เขตเปลี่ ย นผ า นคื อ จะปลู ก สร า งอยู ใ น ระยะหางไมชิดกัน และเมื่อครอบครัวมีฐานะดีขึ้นกลุมคนเหลานี้ก็จะยายออกไป อยูในเขตชนชั้นกลาง

39


เขตที่ 4 เขตที่พักอาศัย (Residential Zone) หรือเขตของชนชั้นกลาง เปน เขตที่พักอาศัยของกลุมที่ลืมตาอาปากไดจากเขตอาศัยของคนงาน ซึ่งเกิดขึ้นจาก การสะสมทุน (เงิน) เพื่อแสวงหาสภาพแวดลอมที่ดีกวา ลักษณะของสิ่งปลูกสราง จะเปนบานเรือนที่มีอาณาบริเวณพอสมควร เชน มีสนามหญา และสิ่งอํานวย ความสะดวกต า งๆ ผู ที่ อ ยู อ าศั ย ในเขตนี้ จ ะมี ส ภาพความเป น อยู ที่ ดี ก ว า นอกจากนี้ยังมีศูนยกลางการบริการประเภทตางๆ แตมีขนาดเล็กคอยใหบริการ เชน ศูนยการคา รานอาหาร เปนตน เขตที่ 5 ที่พักอาศัยชานเมือง (Commuters Zone/Suburb) เปนลักษณะ เขตที่พักอาศัยของกลุมคนชั้นกลางคอนขางสูง และชนชั้นสูง มีการประกอบอาชีพ ที่มั่นคง เปนสภาพแวดลอมที่ดี ที่สุดของเมือง ลักษณะของบา นเรือนมีบริเวณ กวางขวาง มีสระวายน้ํา สวน มีเสนทางคมนาคมที่สะดวกในการเดินทางเขาไป ทํางานหรือประกอบธุรกิจในเมือง ซึ่งจะเดินทางดวยรถประจําทางหรือรถสวนตัว ไปทํางานในเมืองและกลับออกมา ลัก ษณะการขยายตั ว ของเมื องตามแนวคิ ดของเบอร เ กสจะกว างขวาง ออกไปโดยที่ ศูน ยก ลางขยายตัว ออกไปแทนที่ เขตรอบนอก ซึ่ งจะเปน รูป แบบ วงกลมที่มีระบบหรือขาดระบบก็ได โดยมีเสนทางคมนาคมเปนตัวนําพาการขยาย เมือง25 ขอสังเกตที่สําคัญจากแนวคิดของเบอรเกสอาจพิจารณาไดวา 1) รูปแบบ เมืองที่จะเปนตามตัวแบบที่เสนอไดตองอยูภายใตกลไกตลาด เพราะเนนในเรื่อง ของการขยายตั ว ตามอุ ป สงค อุ ป ทานของตลาด 2) ประชากรในแต ล ะเขตมี ลั ก ษณะคล า ยคลึ ง กั น (homogenous) โดยเฉพาะในเชิ ง สั ง คมเศรษฐกิ จ 3) จํานวนประชากรที่เพิ่มในแตละเขตเกิดจากการบุกรุกและเขาแทนที่จากพื้นที่เขต ตอนในมาตอนนอก 4) ลั ก ษณะของผู ค นในเขตต า งๆพบว า ยิ่ ง ไกลจากพื้ น ที่ ศูนยกลางมากเทาไร สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมจะเพิ่มขึ้น แปรผันโดยตรง 25

John Friedman & Clyde Weaver. (1979).อางถึงในกฤช เพิ่มทันจิตต.เรื่องเดิม.หนา 49

40


กับระยะทางจากศูนยกลางเมือง และ 5) เมื่อสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมดี ขึ้นผูคนจะยายออกไปแสวงหาที่อยูในสภาพแวดลอมที่ดีกวา 2. ทฤษฎี รู ป เสี้ ย วหรื อ รู ป ลิ่ ม (บางแห ง เรี ย กว า รู ป พาย) (Sector Theory/pie-shaped) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้ คือ โฮเมอร ฮอยต (Homer Hoyt) (1939) เสนอแนวคิด เกี่ยวกับการใชที่ดินในเขตเมืองซึ่งจะมีลักษณะเปนเสี่ยวๆแบบรูปพัดแผออกไป จากศูนยกลางของเมือง โดยผานถนนสายสําคัญๆ ซึ่งจะขยายออกไปไมมีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะแนวพื้นที่ที่เปดโลง ซึ่งอาจขยายไปตามแนวแมน้ํา ทะเลสาบหรือแนว ชายฝ งทะเล การขยายเมือ งในลั กษณะนี้ จึง งา ยกวา การใชที่ ดิน ตามลั กษณะ Concentric Zone ลักษณะของการใชที่ดินซึ่งขยายออกไปสวนใหญจะเปนที่อยู อาศัยของผูมีรายไดสูง เนื่องจากตองการหลีกหนีความแออัดในตัวเมืองและใน ฐานะพอที่จะซื้อที่ดินขนาดกวางและสรางบานขนาดใหญได 26 สงผลใหเกิดยานที่ อยูอาศัยของผูที่มีฐานะดียานชานเมืองและถูกขนาบดวยยานที่อยูอาศัยของผูที่มี รายไดร องลงมา โครงสรา งของเขตที่อ ยู อ าศั ย ในเมื อ งจึง มี ค วามแตกต า งกั น สะทอนใหเห็นจากราคาคาเชาในแตละเขต ฮอยตไดตั้งขอสังเกตของการขยายเมืองที่ทําใหเขตที่อยูอาศัยชั้นดีขึ้นเกิด คือ27 1) เขตที่อยูอาศัยราคาสูงจะเกิดขึ้นและขยายตั วไปตามเสนทางคมนาคม หรือไปสูจุดศูนยกลางการคาและอาคารอื่นๆ อยูกอนแลว 2) เขตที่มีบานราคาสูง จะมี แนวโน มขยายตัว ไปสูบริ เวณที่มี ระดับ สูง พน จากอุท กภั ย และอยูใ กล ๆ ทะเลสาบ อาว ทาเรือ หรือริมน้ํา ที่ไมมีกิจกรรมอุตสาหกรรม 3)เขตที่อยูอาศัย ราคาสูงจะขยายตัวออกไปสูบริเวณที่โลงนอกเมืองซึ่งไมใชเปนทางตันและขยาย ไมออกในอนาคต 4) การเคลื่อนที่ของสํานักงาน ธนาคาร และรานคาจะดึงเอา กฤช เพิ่มทันจิตต.เรื่องเดิม.หนา 50 27 ลักษณา สัมมานิธ.ิ เรื่องเดิม. 26

41


เขตที่อยูอาศัยราคาแพงออกไปในทิศทางเดียวกัน 5) เขตที่อยูอาศัยราคาแพงจะ เกิดขึ้นตามเสนทางคมนาคมที่สะดวกที่สุด 6) เขตที่อยูอาศัยราคาแพงจะปรากฏ อยูในที่หนึ่งๆเปนเวลานานทีเดียว 7)แฟลตใหเชาราคาแพงดูเหมือนจะสรางอยูใน เขตยานการคาเกา 8)ผูจัดสรรที่ดินอาจมีสวนในการกําหนดทิศทางของเขตที่อยู อาศัยราคาแพงได และ 9) เขตที่อยูอาศัยราคาแพง จะไมเจริญแบบกาวกระโดด แตจะขยายตัวไปในทิศทางที่แนนอนเปนเสี้ยวๆ

3

2 3

4 5

1 2

1 2 3 4 5

4 3

รูปที่ 3 แบบจําลองการใชที่ดินของ Hoyte ที่มา : http://www.bennett.karoo.net/topics/landuse.html#model 3. ทฤษฎีศูนยกลางหลายแหง (Multiple Nuclei Theory) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้ คือ ชอนซี ดี แฮรรีส และเอ็ดเวิรด อัลแมน (Chauncy D. Harris and Edward Ullman) (1945) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการขยายตัวของ เมืองแตละแหงวาไมไดเกิดจากศูนยกลางที่ใดที่หนึ่งเพียงแหงเดียว แตทวาเกิด จากหลายศู น ย ก ลางเพราะแต ล ะศู น ย ก ลางอาจมี โ ครงสร า งที่ แ ตกต า งกั น บางศูนยกลางเปนยายธุรกิจ เปนตลาดขายสงหรือขายปลีก เพื่อใหบริ การแกเขต 42


ที่อยูอาศัยโดยรอบ แฮรรีส และอัลแมน อธิบายถึงการขยายตัวของเมืองที่มีหลาย จุดศูนยกลางวาเกิดขึ้นจากสาเหตุ 4 ประการ คือ ประการแรก ธุ ร กิ จ แต ล ะประเภท มี ค วามต อ งการใช ท รั พ ยากรและสิ่ ง อํานวยความสะดวกที่แตกตางกัน ธุรกิ จที่ตองการใชทรัพ ยากรและสิ่งอํานวย ความสะดวกเหมือนกัน จะมารวมตัวอยูบริเวณที่มีทรัพยากรและสิ่งอํานวยความ สะดวกใหใ ชเ หมื อนกัน เชน เขตคาปลีกจะตั้งอยู ในทํา เลที่ลู กคาสามารถเดิ น ทางเขาซื้อสินคาไดงายและสะดวกจากทุกทิศทางของเมือง เขตเมืองทาจะตั้งอยู บริเวณริมฝงแมน้ําหรือทะเล เขตอุตสาหกรรมหนักเปนเขตที่ตองการพื้นที่ขนาด ใหญที่ติดกับเสนทางคมนาคมขนสง เชน แมน้ํา ทะเล ถนนหรือใกลกับเสนทาง รถไฟเพื่อสะดวกในการขนสง เปนตน ประการที่ สอง ธุ รกิ จที่ เหมื อนกัน มั กจะมี การรวมตั ว อยู บริ เวณเดี ยวกั น เพื่อใหเกิดประโยชนในเชิงการคาจากการเปรียบเทียบและเลือกซื้อสิ้นคาของ ลูกคา เชน ตัวแทนจําหนายรถยนตจะไปรวมกลุมเปนยานขายรถยนต ทําใหผูซื้อ สามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคากับผูคารายอื่นๆ ไดงาย ประการที่สาม การใชที่ดินของธุรกิจที่แตกตางกันทําใหเกิดความขัดแยงตอ กันและไมสามารถอยูรวมกันได เชน พื้นที่สําหรับการอยูอาศัยไมสามารถอยูใน บริ เ วณเดี ย วกั บ เขตอุ ต สาหกรรม เพราะพื้ น ที่ สํ า หรั บ อยู อ าศั ย ต อ งการ สภาพแวดลอมที่ดี มีการขนสงเปนระบบสะดวก และไมมีปญหามลภาวะ ประการสุดทาย บริเวณที่ดินสูงมากเปนอุปสรรคทําใหธุรกิจบางประเภทไม สามารถเขาไปทําธุรกิจได เพราะตองเสียคาใชจายเปนคาที่ดินในราคาแพงทําให ไมคุม กับการลงทุนและผลกํา ไรที่จ ะได รับ นักลงทุนจึ งตอ งแสวงหาทําเลที่ตั้ ง แหลงใหมที่เหมาะสมกับธุรกิจที่จะดําเนินการ

43


รูปที่ 4 แบบจําลองการใชที่ดินของ Chauncy D. Harris and Edward Ullman ที่มา : http://www.bennett.karoo.net/topics/landuse.html#model การนําเสนอทฤษฎีที่กลาวมาทั้งสามทฤษฎีนั้นเปนเพียงสวนหนึ่งในการ อธิบายการเติบ โตของเมือง ยั งมี แนวคิดทฤษฎี ที่ มิไดนํ ามาเสนอไวในที่นี่ เช น ทฤษฎีวาดวยศูนยกลางชุมชน (Central places Theory) ที่เสนอวา เงื่อนไขทั่วไป แล ว การกระจายตั ว ของสิ น ค า หรื อ บริ ก ารที่ อ อกไปยั ง เขตรอบนอกจะมี ความสั มพัน ธกั บระยะหางจากศูน ยก ลาง ยิ่ งระยะหางจากศูน ยก ลางมากขึ้ น เทาใด ยอมมีผลตอการบริการและสินคาที่มีนอยลง หรือกลาวนัยหนึ่งไดวา สินคา และบริการจะมีราคาสูงขึ้น ซึ่ งในแตล ะชุมชนเมื อง จะมี ศูนยกลางสินคาหรื อ บริการหลายศูนยกลางที่มีอิทธิพลตอกัน และแบงเขตกันเปนรูปพื้นที่หกเหลี่ยม ทฤษฎีการพัฒนาภาค (regional development theory) ที่มุงอธิบายการพัฒนา ในเขตพื้นที่หรือภาคการผลิตที่มีศักยภาพสูง ตลอดจนการพัฒนาเมืองหลักเขต 44


รอบนอกมหานครขึ้น มาเป นศู นย กลางแทนการขยายตัว ออกไปของมหานคร แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรนคร (agrimetro) ในประเทศดอยพัฒนาเพื่อ กระจายการบริการออกไปยังพื้นที่ชนบท ทฤษฎีระบบและกระบวนการ (system & process theory) ที่เสนอวาการเกิดเปนเมืองมีความเกี่ยวของกับเรื่องของคน (people) พฤติ ก รรมของคน (human behavior) และวั ฒ นธรรม (Culture)ที่ เชื่อมโยงสัมพันธกันเปนระบบทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกระบวนการ ทางจิ ตวิทยา หล อหลอมกั น ทฤษฎีระบบเมื องของโลก (world city theory) ที่อธิบายวา ระบบเศรษฐกิจของโลกกอใหเกิดการแบงงานกันทําในระดับสากลมี ผลตอความสัมพันธกับกระบวนการเกิดเปนเมืองในยุคทุนนิยม โดยมองวาเมือง ตางๆในโลกมีความสัมพันธกันแบบ core-periphery relations แนวคิดเกี่ยวกับ เมืองบริวาร (satellite towns) ที่อธิบายการพัฒนาเมืองบริวารขึ้นมารองรับภาระ ของเมืองหลักและจัดสรางความสัมพันธตอกันระหวางเมืองบริวารและเมืองหลัก เปนตน28 ลักษณะทางสังคมของเมือง จาการที่ เ มื อ งเป น ศู น ย ร วมของผู ค นซึ่ ง อาศั ย อยู อ ย า งหนาแน น มี ก าร ปฏิสัมพันธทางสังคมที่มีความสลับซับซอนภายใตพื้นที่ทางกายภาพที่แตกตาง จากพื้นที่แหงอื่นๆ จึงสงผลใหลักษณะทางสังคมของเมืองมีเอกลักษณ ดังนี้ 1. สั ง คมเมื อ งมี ค วามแตกต า งและหลากหลาย (Diversity / Differentiation) หากพิ จารณาในเชิง กายภาพเมืองมีทั้งตึ กสูง ระฟ า บา นเรื อนที่ มี รูปทรงแปลกตา ไปจนถึงลักษณะของสิ่งปลูกสรางที่เรียกวา ชุมชนแออัด มีทั้ง 28

สามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจาก กฤช เพิ่มทันจิตต. (2536). ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดเปนเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

45


สวนกลางกรุง การทําเกษตรกรรมในเมือง ในเรื่องของผูคนที่มาอาศัยอยูรวมกัน ในเมืองมีทั้งกลุมที่มาจากหลากหลายชาติพันธุ ซึ่งอพยพยายถิ่นกันเขามาดวย เงื่อนไขที่แตกตางกัน เปนสั งคมที่ มีทั้งกลุ มชนชั้ นสูง ชั้นกลาง และระดับลา ง โดยรูปแบบความสัมพันธทางสังคมดานหนึ่งหลายมุมมองอาจอธิบายในภาพรวม วาต างคนตา งอยูห รือ มีค วามเปน ปจ เจกนิ ยมสูง (Individualism) แต ทว าก็ มี รูปแบบความสัมพันธทางสังคมที่เหนี่ยวแนน (Social Cohesion) มีความเปน ปกแผนทางสังคมสูง (Solidarity) สําหรับการรวมตัวของชุมชนหรือกลุมทางสังคม บางกลุม นอกจากนี้ในเชิงอาชีพที่มีอยูในสังคมเมืองก็พบวามีความหลากหลาย สูงมากกวาในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากมีการแบงงานกันทําตามความชํานาญพิเศษ 2 . สั ง ค ม เ มื อ ง มี ค ว า ม ค ล า ย ค ลึ ง ห รื อ ค ว า ม เ ห มื อ น กั น (Homogeneity) ในสังคมเมืองจะสังเกตเห็นลักษณะทางสังคมที่มีความคลายคลึง กันในพื้นที่แหงหนึ่งๆ ดังเชน ชุมชนซึ่งอาจมีความเปนความชาติพันธุเดียวกันที่มา อาศั ย อยู ร ว มกั น เช น ชุ ม ชนชาวจี น ในย า นไชน า ทาวน ชุ ม ชนของชาวมุ ส ลิ ม ชุ ม ชนผู ย า ยถิ่ น มาจากพื้ น ที่ เ ดี ย วกั น นอกจากนี้ ส ามารถที่ จ ะพบเห็ น ความ เหมือนกันไดอีกโดยเฉพาะลักษณะทางเศรษฐกิจหรืออาชีพ ซึ่งมีการกระจุกตัวอยู ในพื้นที่เดียวกันโดยมักจะเรียกวา “ยาน” เชน ยานปากคลองตลาดที่ขายดอกไม นานาชนิด ยานเยาวราชที่เปนแหลงคาทองคํา ยานเสาชิงชาที่มีการจําหนาย เครื่องสังฆภัณฑ ยานทาพระจันทรซึ่งเปนตลาดนัดพระเครื่อง ยานเชียงกงที่มี การคาอะไหลรถยนต เปนตน ดวยความเหมือนกันนี้ยอมสงผลใหเกิดแรงดึงดูดที่ ทําใหผูคนกลุมตางๆแวะเวียนเขามาเกี่ยวของกับพื้นที่ (Stakeholder) โดยเฉพาะ ในเชิ ง เศรษฐกิ จ ที่ ค ล า ยคลึ ง กั น และหากพื้ น ที่ นั้ น เป น จุ ด เปลี่ ย นรู ป แบบการ คมนาคม (Place for The change in mode of transportation) เชน การเปน จุดเชื่อมระหวางการคมนาคมทางน้ํากับทางบก หรือทางราง พื้นที่นั้นๆจะเปน

46


พื้นที่ที่มีศักยภาพสําหรับการลงทุนสําหรับผูแสวงหาผลประโยชนจากพื้นที่ ใ น รูปแบบตางๆ 3. สังคมเมืองมีความพลวัต (Dynamic) เนื่องจากเมืองเปนศูนยรวมการบริหารและการปกครอง ศูนยกลาง ทางเศรษฐกิจ การเงิน จึ งทํ าใหเมื องเป นแหลง รวมของข อมู ลข าวสารที่มี การ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา มีกระแสการไหลเวี ยนของขอมูลผานสื่อ สารสนเทศประเภทตางๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน ทําใหผูคนในเมืองไวตอการรับรู ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกตัวอยางที่เห็นไดชัดเจน คือ เรามักสังเกตเห็นการ ใชพื้นที่แหงหนึ่งๆที่มีกิจกรรมหลากหลายกิจกรรมตั้งอยูในแตละชวงเวลา เชน ในชวงเชาพื้นที่แหงนั้นไดเปนที่ตั้งของรานขายน้ําเตาหูสําหรับผูที่มาออกกําลัง ช ว งเช า หรื อ คนไปทํ า งาน ช ว งสายจนถึ ง บ า ยพื้ น ที่ นี้ อ าจกลายเป น ที่ ตั้ ง ของ รานอาหารตามสั่งสําหรับผูคนทํางานตามสํานักงานที่ตั้งอยูโดยรอบ พอตกเย็น แปรสภาพเปนที่ตั้งรานขยายเสื้อผาในฐานะยานการคาไปจนถึงชวงค่ําคืน และ อาจกลายเปนที่หลับพักผอนสําหรับคนไรบานในชวงค่ําคืนก็เปนไปได ความเปน พลวัตของเมือง จึงมีความตอเนื่องและซับซอนไปดวยเงื่อนไขตางๆมากมาย 4. สังคมเมืองมีความเปนอิสรเสรี (Freedom) ในฐานะที่เมืองเปนพื้นที่แหงเสรีภาพ แหลงรับและแหลงสงกระแส การเผยแพรการกระจายทางสังคมและวัฒนธรรม นวัตกรรมที่มาจากภายในและ ภายนอก โดยเฉพาะในเชิงแนวคิ ด จึ งเป นที่ม าของการกอ เกิด ระบบคิด ใหม ๆ ทําใหผูคนในเมืองมีความกลาหาญมากพอที่จะรับนําความคิดใหมๆเหลานั้น หรือ สรางความคิดที่อยูนอกกรอบมาใชในการดํารงชีวิตประจําวัน ซึ่ง แนวคิดเหลานี้ อาจไมสอดคลองกับคานิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อชุดเดิมของสังคมที่มีอยู สิ่งที่ ปรากฏเห็นไดชัดเจน เชน การแสดงออกถึงอัตลักษณของกลุม วัยรุนที่มีการแตง กายดวยเสื้อผา การทําทรงผมประเภทตางๆ รูปทรงแปลกใหม หรือการประดิษฐ คิดคนคําพูดศัพทแสลงประเภทตางๆขึ้นมาใชเฉพาะกลุม นอกจากนี้ยังรวมไปถึง 47


การรวมตั วเคลื่อ นไหวทางสั ง คมในประเด็น ตา งๆภายใตห ลั กสิ ท ธิเ สรี ภ าพ ที่ เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมืองเปนจํานวนมาก พื้นที่เมืองจึงกลายเปนสัญลักษณของ การเรียกรองทางการเมือง ความเปนประชาธิปไตย ไปโดยปริยายปรากฏการณ เหลานี้มีผลกระทบกระเทือนตอสังคมโดยเฉพาะจะทําใหเกิดการกระแพรกระจาย ไปยังพื้นที่อื่นๆซึ่งมีผลทั้งในเชิงบวกและลบได 5. สังคมเมืองมีการเลื่อนชั้นทางสังคมขึ้นและลง (Social Mobility) ในสั งคมเมือ งเปน พื้น ที่ที่ ผูค นต างแสวงหาโอกาสความก าวหน า ใหกับชีวิต ผูคนที่ อยูอาศัยในเมืองตางตองแขงขันระหวางกัน หลายคนอาจจะ ประสบกับความสําเร็จในชีวิต ทั้งในดานการศึกษา การประกอบอาชีพไดเลื่อนชั้น เลื่ อ นตํ า แหน ง ทํ า ให มี ค วามมั่ น คง เกี ย รติ ภู มิ ยกระดั บ ฐานะความเป น อยู ขณะเดี ย วกั น สั ง คมเมื อ งก็ อ าจกลายทํ า ให เ กิ ด การเลื่ อ นชั้ น ในทางลบอั น เนื่องมาจากอุปสรรคบางประการ เชน การขาดทักษะความสามารถในอาชีพ การ ไดรับผลกระทบจากวิกฤตการขององคกร วิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจ ความ ขัดแยงระหวางกลุม เปนตน 6. สั ง คมเมื อ งมี ค วามเป น ระเบี ย บและเสี ย ระเบี ย บ (Social order/Social disorganization) จากการที่เมืองมีผูคนจากหลากหลายกลุมมาใชชีวิตอยูรวมกันเปน จํานวนมาก สังคมเมืองแตละแหงจึงไดกําหนดชุดของกติกาการใชชีวิตอยูรวมกัน ในเมืองขึ้นมาใชเพื่อเปนเครื่องมือในการควบคุมทางสังคม ทําใหสังคมเมืองดํารง อยูไดอยางเปนระเบียบ อยางไรก็ตาม การดําเนินไปของสังคมโดยขอเท็จจริง สังคมเมืองมิไดดํารงอยูอยางมีระเบียบอันเนื่องมาจากการที่ปจเจกบุคคล กลุม สถาบันทางสังคมจํานวนหนึ่งไมสามารถที่จะยึดมั่นในกติกาที่สังคมเปนผูกําหนด ไดโดยมีเหตุผลหรือเงื่อนไขบางประการ จึงสงผลใหเกิดการเสียระเบียบทางสังคม เกิดขึ้นในเมือง ตัวอยางที่เห็นเปนรูปธรรม คือ ปญหาสังคม (Social Problem)

48


ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเมื อ ง ทํ า ให ผู มี อํ า นาจต อ งกํ า หนดนโยบายทางสั ง คมหรื อ แนว ทางแกไขปญหาเพื่อสรางความเปนระเบียบใหเกิดขึ้นในเมือง ผลอันเกิดขึ้นจากกระบวนการกลายเปนเมือง กระบวนการกลายเปนเมืองเปนปรากฏการณที่แผขยายไปทั่วโลกดานหนึ่ง ไดกอใหเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี สรางความเจริญเติบโตกาวหนาใหกับ สังคมและประเทศ ขณะเดียวกันไดนําพามาซึ่งปญหาที่มีผลกระทบไมเพียงแต เฉพาะผูคน พื้นที่ในเมืองเทานั้น หากแตครอบคลุมไปยังพื้นที่อื่นดวย ซึ่งสามารถ สรุปไดดังนี้ 1. การพัฒนาความกาวหนาใหกับมนุษย เมืองเปนแหลงสรางสรรค สิ่งประดิษฐคิดคน นวัตกรรมใหมๆ ขึ้นมา รองรับกับความตองการของผูคนที่อาศัยอยูในเมือง จึงทําใหชีวิตของผูคนที่อาศัย อยูในเมืองสามารถดําเนินไปไดภายใตการมีระบบตางๆขึ้นมารองรับเพื่ออํานวย ความสะดวก และการพัฒนาชีวิตของคนในเมืองใหดียิ่งขึ้น ตัวอยางเชน ระบบ ทางการแพทย สาธารณสุขที่กาวหนาทําใหมาตรฐานคุณภาพชีวิตคนเมืองดีขึ้น ระบบการคมนาคมขนสงที่เชื่อมตอกันอยางทั่วถึงทําผูคนในเมืองไปมาหาสูกันได ไมยาก การเปนศูนยรวมของสถาบันการศึกษาระดับตางๆที่สงผลใหเกิดทางเลือก ในการศึ ก ษาที่ ห ลากหลาย การมี ส ถาบั น เศรษฐกิ จ เช น ศู น ย ก ารค า หางสรรพสินคา ตลาดนัดไปจนถึงหาบเรแผงลอย หรือที่เรียกวาเปนเศรษฐกิจ นอกระบบ (Informal Sector) เปนแหลงบริโภคของคนเมือง การมีสถาบันสันทนา การประเภทตางๆ เชน สวนสนุก สนามกีฬา โรงภาพยนตร คลับ คาเฟ ชมรม สโมสรตางๆ เพื่อชวยผอนคลายความตึงเครียดจากการทํางานหรือจัดสรรการใช เวลาวางใหกับคนเมือง เปนตน อยางไรก็ตามมิไดหมายความวาผูคนในเมืองจะมี โอกาสในการเขาถึงระบบตางๆที่กลาวมาไดทั้งหมด แตขึ้นอยูกับเงื่อนไขหลาย 49


ประการ เชน ฐานะทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแขงขันทางอาชีพ ชนชั้น ทางสังคม หรือการสงเสริมสนับสนุนจากภาครัฐผานนโยบายทางสังคมตางๆ 2. ศูนยกลางอํานาจทางเศรษฐกิจและการเงิน นอกจากการที่เมืองเปนศูนยรวมอํานาจทางการเมืองการปกครอง การบริ ห ารซึ่ ง มี อิ ท ธิ พ ลต อ การกํ า หนดระเบี ย บแบบแผนในการดํ า รงชี วิ ต ไม เพียงแตผูคนที่อาศัยอยูในเมืองเทานั้น ผลอันเกิดขึ้นจากกระบวนการกลายเปน เมืองยังทําใหเมืองเปนแหลงสะสมของทุนและอํานาจทางเศรษฐกิจโดยเปนความ พยายามของเมืองที่จะมีสถานภาพอยูเหนือธรรมชาติดวยการใชเงินสนับสนุนการ เปลี่ยนวั ตถุดิบ ใหกลายเปนสินค าประเภทตางๆ เพื่อรวมเขาสู เมืองและนําส ง ออกไปยังพื้นที่อื่น โดยเมืองสามารถเปนผูกําหนดทิศทางราคาของสินคานั้นๆได นอกจากนี้ การขยายตัว ของเมื องยั งทํ า ใหเ กิ ดการแบ ง แยกด านแรงงานอย า ง ซับซอน และยังมีสวนชวยใหผูคนที่อยูหางไกลกันสามารถติดตอ ถึงกันโดยผาน ระบบโทรคมนาคมที่โยงใยกันทั่วถึง เมืองบางแหงยังเปนศูนยรวมสํานักงานใหญ ของสถาบันทางการเงิน เปนศูนยกลางในการควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ระดับโลก ซึ่งการตัดสินใจของผูมีอํานาจในองคกรดังกลาวสามารถที่จะทําให ระบบเศรษฐกิ จ ภายในประเทศหรื อ ประเทศต า งๆเติ บ โตหรื อ อาจประสบกั บ ปญหาได เมืองทั่วโลกจึงพยายามแขงขันเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจทางเศรษฐกิจและ การเงิน 3. การดึงดูดทรัพยากรและพลังงานจากพื้นที่อื่น ในพื้นที่รอบนอกของเมืองโดยเฉพาะในพื้นที่ที่อุดมไปดวยทรัพยากร พลังงานหลากหลายชนิด เชน ปาไม น้ํา อาหาร ที่เมืองไมมี และไมสามารถผลิต ขึ้นเองได ถูกปอนใหกับเมืองและถูกใชไปอยางไมมีขีดจํากัด ทั้งนี้เปนผลมาจาก การเรงพัฒนาทางดานเทคโนโลยี และการขยายตัวของจํานวนประชากร การใช ทรัพยากรและพลังงานของเมืองสะทอนใหเห็นจากกระบวนการสันดาปพลังงาน แบบเส น ตรง คื อ การมุ ง เบี ย ดบั ง เอาทรั พ ยากรไปใช โ ดยไม มี ก ารตอบแทน 50


ไม คํ า นึ ง ถึ ง ผลที่ จ ะตามมาภายหลั ง ส ง ผลให เ กิ ด การสร า งขยะให กั บ เมื อ ง ซึ่งธรรมชาติไมสามารถดูดซึมขึ้นมาใชไดอีก การขยายตัวของของอุตสาหกรรมใน เขตเมืองจึงเปนตัวเรงใหเกิดการทําลายสิ่งแวดลอ มเร็วขึ้น สอใหเห็นถึงความไม มั่นคงของเมืองในระยะยาว ดังนั้นการหันกลับมาใหความสนใจกับกระบวนการ สันดาปพลังงานแบบหมุนเวียนหรือวงกลม โดยการนําสิ่งที่ไดจากกระบวนการ ผลิตในเมืองกลับมาใชเปนวัสดุดิบไดอีก การเนนไปที่กระบวนการผลิตที่ไมสราง สารพิษ การนําขยะจากโรงงาน บานเรือนกลับมาใชใหมอีกครั้ง เปนแนวทางที่ เมืองในปจจุบันควรรีบดําเนินการ 4. ผลกระทบตอชนบท กระบวนการกลายเป น เมื อ งมี ผลกระทบต อ ชนบทในหลายด า น ในเชิงนิเวศ พื้นที่ชนบทบางแหงที่ถูกพัฒนากลายเปนเมืองจะทําใหลักษณะทาง กายภาพแบบเมื อ งเข า มาแทนที่ โครงสร า งทางเศรษฐกิ จ ที่ มี ฐ านทางด า น เกษตรกรรมเชิงนิเวศเปนหลักจะถูกกลืนดวยอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการ บริการ พื้นที่ทางการเกษตรจะถูกแปรสภาพเพื่อผลประโยชนเชิงเศรษฐกิจ ระบบ นิ เ วศน ต ามธรรมชาติ ที่ มี อ ยู เ ดิ ม จะสู ญหายไป ในเชิ ง ประชากรและสั ง คม การกลายเปนเมืองสงผลใหแรงงานในภาคชนบททั้งผูชายและผูหญิงซึ่งเปนกําลัง หลักของการพัฒนาทองถิ่นเขามาแสวงหางานทําในเมืองซึ่งเปนสาเหตุใหตอง ทอดทิ้งบุตร คนแก ญาติในครอบครัวมา ปรากฏการณที่สะทอนใหเห็นไดชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นในชนบทที่เรียกวา “ยายเลี้ยงหลาน” โดยจากการศึกษาชุมชนชนบท แหงหนึ่งในจังหวัดขอนแกนพบวา สาเหตุหนึ่งของสถานการณที่ทําใหยายตอง รับภาระเลี้ยงหลานในฐานะแมอีกครั้งเกิดขึ้นจากบริบทของสังคมชนบทที่ไมเอื้อ ตอการสรางรายไดใหกับครอบครัว จึงนําไปสูการตัดสินใจเขามาหางานทํางาน กรุงเทพฯ29 จึงทําใหชนบทขาดกําลังหลักที่จะมาชวยพัฒนาชุมชนใหกาวหนาได 29

ชนินทร จารุจันทร. (2541). “ผูเฒามีลกู ” : แบบชีวติ และกระบวนการปรับตัวของยายเลี้ยง หลานกรณีศึกษาบานภูเหล็ก หมู 6 ตําบลภูเหล็ก อําเภอบานไผ จังหวัดขอนแกน.

51


เทาที่ควร นอกจากนี้ จากการที่เขามาใชชีวิตอยูในเมืองแลว บางคนอาจอยูใน ภาวการณวางงาน หรือการขาดทักษะก็เปนเหตุใหตองยากจนลงไปอีก บางคน หั น ไปทํ า งานเป น คนรั บ ใช แม ค า หาบเร จนกระทั่ ง การค า ประเวณี ในเชิ ง วัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบชนบทบางอยาง เชน ความเชื่อ คานิยมอาจถูกมองวาเปน สิ่งลาหลังขัดขวางการพัฒนาความเจริญ เนื่อ งจากกระแสความคิดแบบเมือ ง (Urban Liberalism) เขาไปมีอิทธิพลครอบงําความคิดของคนรุนใหม ซึ่งผลที่ ตามมาอาจนําไปสูการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การลอกเลียนแบบพฤติกรรมใหมี ความคลายคลึงกับสังคมเมืองของคนในชนบท หรืออาจนําไปสูความขัดแยงเชิง ความคิดระหวางคนชนบทกับคนรุนใหมที่ไดรับอิทธิพลทางความคิดของสังคม เมื อ ง รวมไปถึ งบรรดานัก วางแผนพั ฒ นาโครงการทั้ ง หลายที่ มี ทั ศ นคติ ไ ปใน ทํานองเดียวกัน 5. ความเปนเอกนคร (Primacy) เปนสภาวะที่เมืองใหญเมืองหนึ่งหรือสองเมือง มีอิทธิพลเหนือเมือง อื่ น ๆ ทั้ ง หมด โดยเมื อ งนั้ น เป น ที่ ร วมของศู น ย ก ารบริ ก าร ธุ ร กิ จ การค า สถาบันการศึกษาและศาสนา มีผูคนในทองถิ่นและโดยเฉพาะตางๆถิ่น ที่ยายถิ่น เขามาเปนจํานวนมาก มีเครือขายของการคมนาคมที่เชื่อมโยงถึงกัน อยางไรก็ ตามผลที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความเป น เอกนครได ทํ า ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงในเชิ ง กายภาพและสังคม โดยทําใหพื้นที่ของเมืองโดดเดี่ยวจากสวนอื่นๆ ชนชั้นผูนํา คอนขางเหินหางในการรับรูถึงความตองการของคนในพื้นที่แหงอื่นๆ เชน ชนบท และมีแนวโนมที่จะดึงเอาผูคนที่มีความสามารถมาจากพื้นที่อื่น เชน การดึงคน หนุมสาวเขามาในเมืองทั้งการจางงาน และการศึกษาตอ นอกจากนี้ ทรัพยากรใน พื้นที่หรือทองถิ่นอื่นถูกนําไปใชเพื่อหลอเลี้ยงประชากรของเมืองที่ขยายตัวอยาง หนาแนนเปนจํานวนมาก ทําใหเอกนครมีลักษณะเหมือนกาฝาก (Parasitic) ที่ วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 52

52


คอยดูดกลืนทรัพยากรตางๆของประเทศ และดวยอัตราการเติบโตของเมืองที่มาก เกิน ไป (Hyper urbanization or Over urbanization) จึง ทํา ใหก ารบริ การ การจางงาน และการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกประเภทตางๆไมเพียงพอกับความ ตองการหรือ เกินระดับของการพั ฒนาที่ จะรองรับได ผลที่เ กิดขึ้น คือ การสรา ง ความเหลื่ อ มล้ํ า ระหว า งพื้ น ที่ เ นื่ อ งจากไม ส ามารถกระจายการพั ฒ นาได ครอบคลุม เกิดชองวางทางสังคมมากขึ้น เกิดปญหาสังคมตามมา30 6. ปญหาสังคมในเมือง โดยทั่วไปภายนอกผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลายเปนเมืองดู เหมือนวาภาพชีวิตผูคนในเมือง เต็มไปดวยความสุขสันต อันเนื่องมาจากความ ทันสมัยและความกาวล้ําของเทคโนโลยี แตทวาในความเปนจริงแลวมิไดเปน เชนนั้นเสมอไป เมืองกลับกลายเปนตัวการกอปญหาในหลายดานใหกับผูคน 6.1 ความหนาแนนของผูคนโดยเฉพาะในเขตเมืองชั้นใน เชน คนยากจนที่ตองดิ้นรนหาที่ อยูอาศัยในเมืองใกลกับแหลงรายได ศูนยกลางของ เมืองจึงสรางแรงกดดันเพิ่มขึ้นกับปญหาที่พักอาศัย เชนตึกแถวใหเชาและบาน เดี่ยวตางๆที่ถูกแบงแลวแบงอีก สําหรับผูคนที่อพยพไมไดพักอาศัยก็จําตองนอน ตามขางถนนหรือแหลงพักพิงชั่วคราว ในขณะที่แหลงอาศัยในชานเมื องรอบนอก ซึ่งไกลจากแหลงงานซึ่งมักเปนที่ที่มีความยากจนคนอาศัยอยู อยางแออัด กลับ ไมไดรับการพัฒนาแตอยางใด 6.2 ป ญ หาการแย ง ชิ ง พื้ น ที่ เช น เมื อ งในประเทศกํ า ลั ง พั ฒ นา เกิ ด ป ญหาการเข า ไปถื อ ครองที่ ดิ น เพื่ อ ยึ ด เป น เพิ ง พั ก อาศั ย อย า งผิ ด กฎหมาย หรือการพักอาศัยอยูชั่วคราว ซึ่งคนทั่วไปหรือรัฐมักมีความเขาในตอที่ อยู อ าศั ย ประเภทนี้ อ ย า งคลุ ม เครื อ โดยเฉพาะการเป น แหล ง ปลู ก สร า งที่ ไ ม เหมาะสม ดังเชน ในแหลงชุมชนแออัด (Slums) ที่ปลูกสรางดวยวัสดุที่บอบบาง 30

พรอัมรินทร พรหมเกิด.เรื่องเดิม.หนา 94-96

53


ง า ยต อ การพั ง ทลายและต า นทานสภาพลม ฟ า อากาศไม ไ ด อี ก ทั้ ง การขาด สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สิ่งปลูกสรางเหลานี้มักถูกมองในลักษณะ “อุจจาดตา” ซึ่งในทัศนะของรัฐจะถูกมองวาเปนปญหา โดยจะตองถูกกําจัดไปอยางถอนราก ถอนโคน ซึ่งโดยแทจริงทางออกของปญหาชุมชนแออัด ถามองอีกดานหนึ่งคน เรรอนเหลานี้ไดแสดงใหเห็นถึงศักยภาพอันหลากหลายของพวกเขาในการสรางที่ พักใหกับตัวเองไดเปนการสรางบานทางเลือกราคาถูก ซึ่งหากชวยพัฒนาชุมชน ชั่วคราวเหลานี้อาจเปนวิถีทางที่ดีกวา 6.3 การพั ฒ นาที่ อ ยู อ าศั ย ที่ เ น น แต เ ปลื อ กนอกภายใต ผลประโยชนของผูมีอํานาจ ดังเชน รัฐในประเทศกําลังพัฒนาจัดโครงการที่อยู ใหกบั คนจนในเมือง อันเปนเหตุตึกแถวคอนกรีตจํานวนพันๆแหงผุดขึ้นมา อีกทั้ง วัสดุที่ใชในการกอสรางมักมีราคาแพงและนําเขาจากตางประเทศ เปนเหตุให ตนทุนในการกอสรางสูงกวาราคาที่ประมาณ ตึกแถวจํานวนมากถูกสรางขึ้นมา อยางรีบเรง มีการบุฉนวนอยางหยาบและอับทึบ หลังคาตึกรั้ว ไอน้ําเกาะจับตาม กําแพง หองรอนเกินไปสําหรับฤดูรอน หนาวเกินไปสําหรับฤดูหนาว ทางเดินดาน นอกผานตึกแคบๆ มีการใชแสงไฟแบบสลัว อันเปนที่มาของการซองซุมของโจร ผูราย31 6.4 การสู ญเสี ย ที่ ดิ น ที่ มี ส มรรถนะของดิ น สู ง ผลจากการ กลายเป น เมือ ง ทํ า ให พื้ นที่ บ างแห ง ที่ มีท รั พ ยากรดิน เหมาะสมถูก ใช อ ย า งไม สอดคลองกับศักยภาพของพื้นที่โดยนําไปใชในกิจกรรมตางๆ เชน การสรางที่อยู อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม เสนทางคมนาคม ศูนยการคา ฯ ตัวอยางที่เห็นได ชัดเจนคือพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเปนดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําซึ่งมีแรธาตุ ดินตะกอนมาทับถมกันเปนชุดดินที่มีคุณภาพเหมาะสมสําหรับการเพาะปลูก ผล ที่ตามาคือทําใหพื้นที่เกษตรกรรมที่มีมาแตเดิมแปรสภาพเปนตึกอาคาร พันธุพืช 31

เฮอรเบิต จิราเดต (เขียน) พิภพ อุดมอิทธิพงศ (แปล). (2539).ทําเมืองใหนาอยู วิสัยทัศน ยุทธศาสตรและความหวังสําหรับเมืองที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง. หนา 80-105

54


และพั น ธุ ไ ม น านาชนิ ด สู ญ หายไป นอกจากนี้ ป ญ หาจากการใช ที่ ดิ น แบบ ผสมผสานของเมือง (Mixed Lands Use) ยังเปนที่มาของการสรางปญหาอื่นๆซึ่ง เกิดขึ้นตามมา เชน การจราจรติดขัด มลพิษทางอากาศ ระบบการระบายน้ํา การ ตกคางของขยะและสารเคมี เปนตน 6.5 การทําลายวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิมของเมืองดวยอภิมหา โครงการทั้งจากภาครัฐ เอกชน ที่สรางที่พักหรือโรงงาน หรือการทําเปนสถานที่ ตางๆเพื่อประโยชนในเชิงธุรกิจ การทองเที่ยว โดยมองขามชุมชนที่ดํารงอยูมาชา นาน อีกทั้งยังปราศจากการถามถึงความตองการและการใหเขามามีสวนรวมรับรู ในโครงการเหลานี้ของผูคนในชุมชนดวย ตัวอยางเชน การเขามาของหางคาปลีก ขนาดใหญที่มีเจาของเปนบรรษัทขามชาติ ซึ่งเปดใหบริการตามแหลงศูนยกลาง ชุมชน การรื้อบานแบบเดิมที่มีลักษณะสถาปตยกรรมโดยมองขามคุณคาในเชิง ความรูสึก ความผูกพัน และปฏิสัมพันธทางสังคมของคนในชุมชนที่แฝงอยูใน สิ่งกอสรางเหลานั้น หรือปรากฏการณที่เรียกวา เจนตริฟเคชั่น (Gentrification) ซึ่งเปนการรุกคืบเขาไปครอบครองพื้นที่ยานใจกลางเมืองหรืออาคารเกาโดยกลุมผู มีอั น จะกิน ที่ ต องการมีที่ พั ก พิ งใกล กั บสถานที่ทํ า งานและแหล ง บั น เทิ ง ผลที่ ตามมาไดนําไปสูความขัดแยงระหวางวิถีการดําเนินชีวิตระหวางผูที่เขามาอยูใหม ซึ่งเปนผูที่ร่ํารวย มีการศึกษาดี กับผูที่อาศัยอยูเดิมหรือครอบครัวชนชั้นแรงงาน32 เปนตน 6.6 ปญหาเด็กที่ถูกทอดทิ้งและเรรอนในเมือง จากสถิติมีการ ประมาณกั นว ามี เด็ กเหลา นี้ป ระมาณ 100 ล านคนทั่ว โลกตามเมือ งใหญ ๆใน ประเทศกําลังพัฒนา เชน ใน กทม. สงผลตอการสรางปญหาอาชญากรรม โดยยัง จาตุรงค โพคะรัตนศิริ. (2546). การศึกษาปรากฏการณ “เจนตริฟเคชั่น” ในการอนุรักษชมุ ชน เมือง กรณีศกึ ษาผลกระทบทางสังคมในยานชุมชนบางลําพู กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดลอม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. หนา 10

32

55


ไมมีความพยายามใดๆที่จะมีการแกไขปญหานี้ดวยกฎหมายหรือทางออกอื่นๆ สาเหตุของการถูกทิ้งและทําใหเด็กตองเรรอน เกิดจากเงื่อนไข 4 ประการ คือ 1) สภาพครอบครัวและชุมชนที่สงผล เชน พอหรือแมใชความรุนแรง ทุบตี ติดเหลา และยาเสพติด เปนลักษณะของครอบครัวที่ไมสามารถดูแลใหความรัก เอาใจใส กับเด็ก บางกรณีอ าจถู กไลออกจากครอบครั ว หรือ ถูก ทิ้งด วยความจงใจจาก สาเหตุ ตา งๆ เชน ความยากจน 2) การเปลี่ย นแปลงทางสั งคมและเศรษฐกิ จ ก อ ให เ กิ ด การอพยพเข า สู เ มื อ งเพื่ อ หางานทํ า เช น เป น กรรมกร ทํ า ให เ กิ ด ครอบครัวเรรอน 3) ตัวเด็กเองจากการถูกชักชวนจากเพื่อน การทดลองยาเสพติด แลวออกจากบานเพราะกลัวถูกลงโทษและ 4) สภาพแวดลอมจากสังคม สีสัน ความสนุก เพลิ ดเพลิ นจากเกม ดิ สโก เธ็ ค โรงภาพยนตร เปน แรงดึง ดูด ให เด็ ก ออกมาใชชีวิตนอกบาน33 6.7 ความเครียดในเมือง อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เชน จํานวนคนที่แออัดยัดเหยียด ระดับเสียงที่ดั ง ฝุนควัน เปนสาเหตุของความ กังวล และความเครียด สภาพแวดลอมของเมืองยั งอาจทํา ใหเกิดอาการ“รับ รู ขอมูลมากเกินไป” เพราะผูคนตองเผชิญกับสีเสียง สัญญาณ โฆษณา รานคาที่ แสดงสิ น ค าผ า นกระจกหนา ร า น รถราที่ วิ่ง กั นขวั ก ไขว รวมทั้ง ความกั งวลต อ ภาวการณงาน ที่อยูอาศัย สัมพันธภาพระหวางกันที่แปรปรวนขัดแยง ลวนนําไปสู การกลายเปนความกาวราวหรือนิยมความรุน แรง และมักจะหาทางออกดวยการ แสดงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน (Deviance Behavior) หลุดลอยออกไปจากบรรทัด ฐานของสังคม (Social Norms) ตัวอยางของพฤติกรรมเหลานนี้ เชน การขีดเขียน ตามพื้นที่สาธารณะ การกรีดเบาะมานั่งบนรถเมล การทุบตูโทรศัพท ซึ่งถือเปน พฤติกรรมออนๆของการกวนเมือง หรือ ในกรณีเมืองใหญๆในอเมริกาเหนือที่คน หนุมสาวตางตกงานเปนจํานวนมากกอใหเกิดแก็งคที่มีเอกลักษณและแบงแยก 33

วันดี กริชอนันต. (2544). เด็กขางถนนยานหัวลําโพง. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา)คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 6

56


พื้ น ที่ เ ป น ของตนเองอย า งชั ด เจน โดยกลุ ม วั ย รุ น เหล า นี้ จ ะแสดงพฤติ ก รรม อันธพาลในรูปแบบตางๆ และมักเขาไปพัวพันกับการคายาเสพติด34 บทสรุป เมืองเปนพื้นที่ที่มีความหนาแนนจากการกระจุกตัวของกลุ มผูคนที่มีความ หลากหลาย ผูคนเหลานี้ตางมีกิจกรรมเคลื่อนไหวปฏิสัมพันธอยูตลอดเวลาทําให เมืองมีความเปนพลวัตอยู เสมอ นอกจากนี้ภายในเมืองเปนพื้นที่ที่มีการจําแนก ความแตกตางระหวางบุคคล ระหวางกลุมซึ่งการจําแนกความแตกตางนี้ทําให ผูคนในเมืองตอง พึ่งพาอาซึ่งกันและกัน สงผลใหเกิดการสรางระเบียบทางสังคม เพื่อนํามาใชเปนขอตกลงในการดํารงชีวิตรวมกัน กระบวนการกลายเปนเมือง เปนความพยายามของมนุษยที่จะสรางหรือ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนที่ผูคนอาศัยอยูแบบเบาบาง หรือชุมชนชนบท หรือพื้นที่ วางเปลาใหกลายเปนเมือง โดยมีจุดมุงหมายเพื่อตอบสนองตอความตองการของ มนุษย ซึ่งสาเหตุๆ เปนผลมาจากกระบวนการกลายเปนอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้น ของจํ า นวนประชากร และความเจริ ญ ก า วหน า ทางเทคโนโลยี กระบวนการ กลายเปนเมืองอาจพิจารณาได 4 ลักษณะ คือการกระจายอิทธิพลของสังคมเมือง ไปสู สั ง คมชนบท การเคลื่ อ นไหวของประชากรจากพื้ น ที่ ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก พื้ น ที่ การปรับรูปแบบอาชีพจากสังคมเกษตรกรรมพื้นฐานไปสูสังคมที่ไมใชเกษตรกรรม และการปรับรูปแบบการใชชีวิตทางสังคมจากความไมเปนทางการและไมซับซอน ไปสูการใชชีวิตทางสังคมที่มีลักษณะเปนทางการมีความสลับซับซอน กระบวนการกลายเป น เมื อง ณ พื้ นที่ แห ง ใดแหง หนึ่ ง นั้น ประกอบด ว ย ป จ จั ย หลายประการ ได แ ก การแพร ก ระจายของความคิ ด และนวั ต กรรม การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรและการยายถิ่นลักษณะทางภูมิศาสตร การจัด 34

เฮอรเบิต จิราเดต (เขียน) พิภพ อุดมอิทธิพงศ (แปล). เรื่องเดิม.หนา 95,104-105

57


ระเบียบทางสังคม การขายตัวของตลาดการคา และนโยบายการพัฒนาเมือง การทํ าความเข าใจเกี่ยวกับกระบวนการกลายเปน เมือง จึงต องศึ กษาแนวคิ ด ทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย และแนวคิดทฤษฎีการเติบโตของเมือง เพื่อที่จะ อธิบายใหเห็นถึงลักษณะหรือรูปแบบที่มีความแตกตางกันของการเปลี่ยนพื้นที่ แหงหนึ่งๆไปสูสภาพการกลายเปนเมืองวาเปนอยางไร สําหรับลักษณะทางสังคม ของเมือง มีเอกลักษณที่สําคัญ ไดแก สังคมเมืองมีความแตกตางและหลากหลาย มีความคลายคลึงหรือความเหมือนกัน มีความเปนพลวัต มีความเปนอิสรเสรี การเลื่อนชั้นทางสังคมขึ้นและลง ความเปนระเบียบและเสียระเบียบ ผลอันเกิดขึ้นจากกระบวนการกลายเปนเมืองดานหนึ่งไดกอใหเกิดผลใน เชิงบวกเชน การพัฒนาความกาวหนาใหกับมนุษย การเกิดศูนยกลางอํานาจทาง เศรษฐกิ จ และการเงิ น ขณะเดี ย วกั น ก็ มี ผ ลกระทบในเชิ ง ลบตามมา ได แ ก การดึงดูดทรัพยากรและพลังงานจากพื้นที่อื่น ผลกระทบตอชนบท สภาวะความ เป น เอกนคร รวมทั้ ง ป ญ หาสั ง คมในเมื อ งต า งๆ เช น ความหนาแน ข องผู ค น โดยเฉพาะในเขตเมืองชั้นใน ปญหาการแยงชิงพื้นที่ ปญหาที่อยูอาศัย ปญหา การสู ญเสี ย ที่ดิ น ที่ มีส มรรถนะของดิ น สูง ป ญหาการทํ า ลายวั ฒนธรรมชุ ม ชน ดั้งเดิมของเมืองดวยโครงการทั้งจากภาครัฐ เอกชน ปญหาเด็กที่ถูกทอดทิ้งและ เรรอน และความเครียดในเมือง เปนตน

58


บทที่ 3 แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ใชศึกษาสังคมเมือง นักสังคมวิทยาทําการศึกษาปรากฏการณทางสังคมในเมือง ไดสรางและ พัฒนาแนวคิดและทฤษฎีเพื่อใชวิเคราะหชีวิตของผูคนในสังคมเมืองดวยมุมมองที่ แตกตางกันออกไป ซึ่งสามารถจําแนกไดสองแนวทางหลัก แนวทางแรก คือ การวิเคราะหสังคมเมืองในระดับมหภาค ที่ประกอบดวย แนวนิเวศวิทยามนุษ ย (human ecological approach) หรือแนวนิ เวศวิทยา สังคม (social ecological approach) ซึ่งมุงอธิบายถึงความสัมพันธ และการ พึ่งพิงระหวางมนุษยในฐานะอินทรียประเภทหนึ่งซึ่งอาศัยอยูในสภาพแวดลอม เฉพาะแบบ จุดสนใจอยูที่การวิเคราะหเมืองหรือมหานครในเชิงพื้นที่ (spatial) เชิงเศรษฐกิจ หรือการเมือง เชน การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงละแวกบาน (neighborhoods) และยั ง รวมถึ ง การวิ เ คราะห ใ นแนวมาร ก ซิ ส (Marxist approach) ที่ มุ ง วิ เ คราะห สั ง คมเมื อ งระดั บ มหภาคโดยให ค วามสนใจในมิ ติ เศรษฐกิจ เชน ศึกษาวาพลังทางเศรษฐกิจมีผลกระทบตอแบบแผนเมืองอยางไร โดยอาจศึกษาวา มูลคาที่ดินหรืออสังหาริทรัพยถูกแบงปนเพื่อใชเปนเครื่องมือ การเปลี่ยนแปลงของยานหรือละแวกบานไดอยางไร แนวทางที่สอง คือการวิเคราะหสังคมเมืองในระดับจุลภาค หรือแนวการ วิ เ คราะห เ ชิ ง สั ง คมและวั ฒ นธรรม (sociocultural approach) มี จุ ด สนใจว า ประสบการณใชชีวิตในมหานครหรือเมือง มีผลกระทบตอการปฏิสัมพันธทาง สังคม (Social Interaction) ความสัมพันธทางสังคม (Social Relationship) และ บุ ค ลิ ก ภาพของบุ ค คลอย า งไร หรื อ อาจกล า วอี ก นั ย หนึ่ ง ว า เป น การศึ ก ษา

59


ผลกระทบเชิงจิตวิทยาสังคมและวัฒนธรรมภายใตสภาพแวดลอมเฉพาะแบบของ เมืองที่มีอิทธิพลตอผูกลุมและกลุมนั่นเอง35 แนวการวิเคราะหสังคมเมืองในระดับมหภาค ทฤษฎีนิเวศวิทยาเมือง (Urban Ecology Theory) ผูที่คิ ดคน ทฤษฎีนี้ คือ รอเบิรต พารก (Robert Park 1864-1944) ได ประยุกตนําเอาหลักการทางชีววิทยามาใชอธิบายการกระจายตัวตามพื้นที่ของ ประชากรในเขตเมื อ ง โดยมี ฐ านคิ ด อยู ที่ ว า มนุ ษ ย เ ป น สิ่ ง มี ชี วิ ต ชนิ ด หนึ่ ง (organism) ที่จําเปนจะตองอยูอาศัยในพื้นที่บริเวณหนึ่ง (habitat) และมีความ พยายามที่จะดํารงชีวิตใหอยูรอดโดยการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะของ การดํารงชีวิตของมนุษยจึงมี 2 เงื่อนไข คือ36 1. มนุษยไมสามารถอยูลําพังดวยตนเองแตตองพึ่งพาอาศัยมนุษย คนอื่นๆที่มีความสามารถแตกตางกันออกไป นั่นหมายความวา มนุษยจะตอง อาศัยอยูในชุมชน (Community) ซึ่งเปนพื้นที่ที่ประชากรจํานวนหนึ่งครอบครอง อยู โดยที่ ส มาชิ ก ในชุ ม ชนจะมี ค วามสั ม พั น ธ ใ นเชิ ง พึ่ ง พาอาศั ย กั น และกั น (Symbiotic relation) 2. เนื่ อ งจากข อ จํ ากั ด ในทรัพ ยากร (resource) มนุ ษ ยทุ ก คนต า ง แขงขันเพื่อใหไดมาซึ่งทรัพยากรที่ใชสําหรับการบริโภค ดังนั้น ความสัมพันธขั้น พื้นฐานของมนุษย คือ การแขงขัน เมื่อชุมชนที่มีความซับซอนมากขึ้น มนุษยจะ พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ. (2545).แบบแผนและกระบวนการปรับแปลงเขาสูวิถีชีวติ แบบเมือง ของผูยายถิ่นชาวอีสาน : กรณีศกึ ษาผูคาหาบเรในมหานครกรุงเทพ. คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 3-4 36 จิราภา วรเสียงสุข. (2548).เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนา:สังคมวิทยาเมือง. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ไมปรากฏเลขหนา 35

60


เรียนรูวาการแขงขันไดดีกวานั้นหากเกิดการรวมมือกันในระหวางคนที่มีความ ตองการเหมือนกัน เพื่อที่จะแขงขันกับคนกลุมอื่นๆที่มีความตองการแตกตางกัน หรือขัดแยงกัน โดยการแขงขันในลักษณะดังกลาว เรียกวา การรวมมือกันเพื่อ แขงขัน (Cooperative Competition) การที่มนุษยอยูรวมกันเปนชุมชนโดยมีการแขงขันเปนพื้นฐานจะสงผลให เกิดความจําเปนในระดับชุมชนในการที่จะรักษาความสมดุลระหวางกลุมแขงขัน กลุมตางๆเพื่ อทําใหการดํ ารงอยู ของกลุมตางๆอยูใ นจํานวนที่เหมาะสมทําให ชุ ม ชนสามารถรั ก ษาจุ ด ดุ ล ยภาพไว ไ ด (equilibrium)เมื่ อ เป น เช น นี้ สภาพที่ เปลี่ยนไปชุมชนจึงตองมีการปรับตัวเพื่อหาดุลยภาพแบบใหม พารก อธิบายวา ทรัพยากรที่มีอยูอยางจํากัดเกิดขึ้นจากความตองการของ มนุษยที่มีอยูเปนจํานวนมากกวาภายในเมืองที่จะรองรับไดซึ่งทรัพยากรในสังคม เมืองมีอยูสําคัญ 2 ประเภท คือ สินคาทางเศรษฐกิจที่มีอยางจํากัด (Economic Community) เช น พลั ง งาน แร ธ าตุ น้ํ า มั น ไฟฟ า และพื้ น ที่ ท างกายภาพ (Physical space) ซึ่งมีคาทางเศรษฐกิจที่มีอยูอยางจํากัด กลาวคือ แหลงที่ตั้งที่ดี ซึ่งมีศักยภาพในเมืองมีอยูอยางจํากัด ซึ่งจะเปนปจจัยที่ทําใหมนุษยไดเปรียบใน การแขงขันเพื่อแยงชิงทรัพยากรสวนอื่นๆสังคมเมืองหรือชุมชนเมืองในทัศนะของ พารก จึงสามารถแบงโครงการสรางออกเปน ระดับ คือ 1. The Subsocial Level หมายถึง การที่ประชากรยุงอยูกับการ แขงขันเพื่อแยงชิงพื้นที่และทรัพยากรตางๆที่จะไดรับจากพื้นที่นั้นๆ ระดับนี้จะเปน ระดั บ ทางด า นนิ เวศน (ecological level) ผลของการแข ง ขัน นี้ จะทํา ให เ กิ ด รูปแบบของการใชพื้นที่ภายในเมือง (spatial pattern) ตามลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และชาติพันธุ ของประชากรในเมืองนั้น ๆ ระดับนี้ถือ ไดวา เปนหัว ใจของ ชุมชนเพราะเปนสิ่งที่กอใหเกิดการจัดระเบียบโครงสรางภายในชุมชน 2. The Social Level หมายถึง กระบวนการในระดับที่เกี่ยวของกับ การรวมมือกันของกลุมประชากร เชน ระบบปกครอง ประเพณี และอุดมการณ 61


ซึ่งสิ่งเหลานี้ถือเปนเครื่องมือที่คนกลุมตางๆคิดคนขึ้นเพื่อชิงความไดเปรียบในการ แขงขัน ดังนั้น ในทัศนะของพารก เมืองจึงเปนชุมชนหนึ่งที่สมาชิกมีความสัมพันธ กั น ใน 2 ลั ก ษณะ คื อ ความสั ม พั น ธ ใ นเชิ ง พึ่ ง พาอาศั ย กั น (Symbiotic relationship) แล ะค วา มสั มพั น ธ ใน เ ชิ งแ ข ง ขั น ( Competition) รู ป แบ บ ความสั ม พั น ธ ทั้ ง สอง ได ก อ ให เ กิ ด กระบวนการทางนิ เ วศวิ ท ยาขั้ น พื้ น ฐาน (ecological process) นําไปสูการจัดระเบียบทางดานกายภาพและดานสังคม ภายในตัวเมืองซึ่งประกอบดวย 1. การระดมเข า สู จุ ด เดี ย วกั น (concentration) หมายถึ ง กระบวนการที่ประชากรซึ่งมีลักษณะคลายคลึงกันมาอยูรวมกันในพื้นที่ใดพื้นที่ หนึ่ง มีหนวยวัดเปนความหนาแนน (density) นั่นคือ จํานวนประชากรตอหนึ่ง หนวยพื้นที่ เชน การเพิ่มขึ้นของจํานวนโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรม ของเมืองๆหนึ่ง 2. การกระจายออกจากพื้ น ที่ (deconcentration) หมายถึ ง กระบวนการที่ประชากรซึ่งมีลักษณะคลายคลึงกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมีจํานวน ลดนอยลงไปหรือยายออกไปอยูในพื้นที่อื่น เชน การยายศูนยราชการออกจากตัว เมื อ ง ส ง ผลให ผู ที่ ป ระกอบอาชี พ ข า ราชการในส ว นงานต า งๆในพื้ น ที่ เ ดิ ม ลด จํานวนลงยายไปตั้งบานเรือนอยูที่อื่น 3. การรวมเขาสูศูนยกลาง (centralization) หมายถึง กระบวนการที่ ประชากรซึ่งมีลักษณะคลายคลึงกัน จะมารวมตัวกันที่บริเวณศูนยกลางของพื้นที่ (pivotal point) โดยสามารถที่จะเกิดขึ้นที่ไหนก็ไดในพื้นที่เมือง เชน การเกิดขึ้น ของชุมชนแออัดในพื้นที่ของเมือง ซึ่งผูคนจะมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ เหมือนกัน 4. การกระจายออกจากศู น ย ก ลาง (decontralization) หมายถึ ง กระบวนการที่ประชากรที่อาศัยอยูในบริเวณจุดศูนยกลางของพื้นที่มีจํานวนลดลง 62


หรือยายออกไปอยูที่อื่น เชน การยายออกไปของกลุมลูกหลานของผูที่ประกอบ ธุรกิจในยานใจกลางเมืองเกา อาทิ เยาวราช สําเพ็ง ออกไปอยูอาศัยตามชาน เมืองทําใหการอาศัยจริงในพื้นที่ลดจํานวนลง 5. การแบงแยก (segregation) หมายถึง การแขงขันในการชวงชิง แหล งที่ ตั้ ง (location) ที่ ให ค าตอบแทนสู ง สุด ทํา ใหเ กิ ดแนวโน มการรวมกลุ ม ประชากรซึ่งมีลักษณะคลายคลึงกันขึ้นในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ทําใหพื้นที่ นั้นๆมีลักษณะเปนเอกพันธ (homogenous) ทางดานใดดานหนึ่ง เชน เชื้อชาติ ชนชาติ หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม บริเวณดังกลาวอาจเรียกอีกอยาง ไดวาเปนบริเวณธรรมชาติ (natural area) เชน การแขงขันเพื่อแยงชิงพื้นที่ทาง การคาในยานที่เปนทําเลเศรษฐกิจในเมือง อาทิ คลองถม บานหมอ เปนตน 6. การบุกรุ ก (invasion) หมายถึง การเคลื่อ นยา ยประชากรกลุ ม หนึ่งเขาไปอยูในพื้นที่ของประชากรอีกกลุมหนึ่ง เชน การบุกรุกของบานจัดสรรเขา ไปในพื้นที่เกษตรกรรม การเขามาของรานคาประเภทตางๆ เชน รานเสริมสวย รานกิ๊ฟชอฟ รานเกมส ในบริเวณยานธุรกิจการศึกษาในเมืองโดยเขามาขอซื้อ เชา พื้นที่บานพักอาศัยหรือรานสะดวกซื้อแบบดั้งเดิม (โชวหวย)มาประกอบธุรกิจแบบ ใหม 7. การแทนที่ (succession) หมายถึง การเคลื่อนยายของประชากร กลุมหนึ่งเขาไปครอบครองพื้นที่ของอีกกลุมหนึ่งอยางสมบูรณ เชน การแทนที่ของ ศูนยการคาขนาดใหญบนพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม การแทนที่ของนิคมอุตสาหกรรมใน พื้นที่เกษตรกรรมทุกตารางเมตร เปนตน กลาวโดยสรุปแนวคิดของพารก มุงอธิบายวา กลุมมนุษย เชน กลุมสี ผิว หรือกลุมชาติพันธุตางแขงขันกันครอบครองที่ดินอันเปนทรัพยากรที่หากยากใน เขตเมือง เชนเดียวกันกับหลักการทางชีววิทยาเกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อการอยูรอด ของผู ที่ เ หมาะสมที่ สุ ด กลุ ม ที่ ป รั บ ตั ว ได ดี ที่ สุ ด และเหมาะสมที่ สุ ด จะเป น ผู ครอบครองที่อยูอาศัยในที่ดินบริเวณหนึ่ ง การแขงขันจะผลักดันใหสังคมมีการ 63


แบงงานกันทํามากขึ้น และทําใหกลุมทางสังคมมีความสามารถในการปรับตัว สูง ขึ้ น แต ล ะเขตพื้ น ที่ จ ะครอบครองโดยกลุ ม ทางสัง คมที่ มี ค วามแตกต า งกั น เพราะมีการปรับตัวเชนเดียวกับที่พืชและสัตวปรับตัวใหเขากับสิ่งแวดลอมเฉพาะ แหง การกระจายตัวของผูคนในเขตเมืองมีแนวโนมที่จะสูสภาพสมดุล หากมีความ ผิดปกติเกิดขึ้นก็จะมีพลังธรรมชาติที่ทําใหกลับเขาสูสภาพสมดุลใหม ตัวอยาง ไดแก กระบวนการสืบทอดที่อยูอาศัย ถากลุมทางสังคมหนึ่งเชน กลุมเชื้อชาติหรือ สีผิวออกจากพื้นที่หนึ่ง พื้นที่นั้นจะถูกอีกกลุมหนึ่งเขามาแทนที่ ซึ่งกลุมใหมก็จะ ขึ้นอยูกับหลักทางนิเวศวิทยาเหมือนเดิม ทายที่สุดก็จะมีสภาพทางสังคมหลาย อยางเหมือนกับกลุมที่เคยอยูกอน เชน มีปญหาอาชญากรรม การทําผิดกฎหมาย เหมื อนเดิม อยา งไรก็ ต ามแนวทฤษฎี นี้ ได รั บ การวิพ ากษโ ดยเฉพาะข อสมมุ ติ พื้นฐานที่วาโครงสรางสังคมของเมืองกอรูปขึ้นโดยพลังธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงวา การกระทํ า ของบุ ค คล เช น การวางแผนพั ฒ นา และโครงการต า งๆ รวมทั้ ง วัฒนธรรมไมมีความสําคัญมากนักตอชีวิตความเปนอยูของคนในสังคมเมือง37 แนวความคิดเรื่องการผลิตพื้นที่ (The Production of Space) ผูที่คิดคน แนวความคิดเรื่อ งการผลิ ตพื้นที่ คื อ อองรี เลอแฟบวร (Henri Lefebvre 1923-2003) เนนการศึกษาความสัมพันธของกลุมตางๆที่มาเกี่ยวของ กับพื้นที่ โดยวิเคราะหภายใตกรอบทฤษฎีเชิงวิพากษ (Critical Theory) อันเปน กรอบทฤษฎี ที่พ ยายามเป ดเผยให เห็ น ถึง ความไม เ ทา เทีย มกัน เชิง อํ านาจ ซึ่ ง สะทอนใหเห็นไดจากการเอารัดเอาเปรียบของคนกลุมหนึ่งตอคนอีกกลุมหนึ่ง ผนวกกับการนําแนวทฤษฎีมารกซิสต ที่ใชฐานความคิดทางดานการแลกเปลี่ยน ในระบบเศรษฐกิจ ระดั บ ตา งๆและวั ฒ นธรรมทางชนชั้ น มาผสมผสานในการ

37

ราชบัณฑิตยสถาน.(2549).เรื่องเดิม.หนา 256-257

64


วิเคราะห โดยทั้งหมดสามารถที่จะอธิบายไปยังพฤติกรรมเชิงพื้นที่ของหนวยที่จะ ศึกษาไดอยางชัดเจน เลอแฟบวร ไดรวมเอามติของพื้นที่และเวลาเขาไปใชในการวิเคราะห โดยมี สาระสํ า คั ญ ว า สั ง คมมนุ ษ ย ใ นแต ล ะยุ ค สมั ย จะมี วิ ถี ก ารผลิ ต (mode of production) ที่เฉพาะเจาะจงของยุคนั้น การเปลี่ยนแปลงสังคมจากยุคหนึ่งไปสู อีก ยุ ค หนึ่ ง คือ การเปลี่ ยนวิ ถี ก ารผลิ ตจากแบบหนึ่ง ไปสู อี ก แบบหนึ่ ง ซึ่ ง การ เปลี่ ย นแปลงดั ง กล า วเกิ ด จากลั ก ษณะที่ ต รงกั น ข า มกั น (contradiction) ของ ความสัมพันธทางสังคมในกระบวนการผลิต ในวิถีการผลิตแตละแบบจะสราง พื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นมาและในเวลาเดียวกันพื้นที่ก็มีอิทธิพลตอ กระบวนการผลิตและความสัมพันธทางสังคมที่เกิดขึ้นในกระบวนการนั้น38 เลอแฟบวร อธิบายวาพื้นที่เปนผลผลิตทางสังคมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจาก กระบวนการผลิต (production process) และกระบวนการผลิตนี้ประกอบไปดวย องคประกอบที่สัมพันธกัน 2 สวน คือพลังการผลิต (forces of production) และ ความสัมพันธเชิงการผลิต (production relation) องคประกอบของพลังการผลิต ที่สําคัญ ไดแก ประการแรก ธรรมชาติของพื้นที่ เชน สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล งที่ ตั้ง เปน ตน ประการที่ สอง คือ แรงงานและการจั ดองค กรของแรงงาน ประการสุดทาย คือ ความรูและเทคโนโลยี สวนความสัมพันธเชิงการผลิต ในมิติ หนึ่งเลอแฟบวร มองวาเปนการแขงขันและชวงชิงของชนชั้นตางๆหรือกลุมตางๆ ในแตละชนชั้น (class fractions) เพื่อครอบครองพื้นที่นั้นๆ และในอีกมิติหนึ่งคือ กระบวนการผลิตซ้ําของความสัมพันธเชิงการผลิต ซึ่งประกอบไปดวย การผลิตซ้ํา เชิงชีววิทยาและการผลิตซ้ําในเชิงความสัมพันธทางการผลิต

38

จิราภา วรเสียงสุข.(2548).เรื่องเดิม.ไมปรากฏเลขหนา

65


สําหรับการวิเคราะหเรื่องพื้นที่เพื่อใหมีความยืดหยุนเปดกวางและลึกซึ้ง เลอแฟบวร ไดสรางเครื่องมือในระดับมโนทัศนขึ้นมา 3 ประการเพื่อชวยในการทํา ความเขาใจ อธิบาย และวิเคราะหเรื่องพื้นที่ โดยมีรายละเอียดที่สําคัญ คือ 1. ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ (Spatial practice) ปฏิบัติการเชิงพื้นที่มีความสัมพันธเชิงวิภาษวิธีกับพื้นที่นั้น โดยมี ความหมายที่คอนขางกวางขวาง ตั้งแตความสัมพันธระหวางลักษณะตางๆของ พื้นที่ธรรมชาติที่มีตอการกอตัวทางสังคม รวมถึงการที่สังคมแสดงการใชอํานาจ แสดงการผลิต และแสดงการเอาประโยชนจากพื้นที่นั้นๆ ซึ่งการแสดงการใชพื้นที่ ในลักษณะตางๆเหลานี้ ตองผานกระบวนการรับรูความหมายของพื้นที่นั้นๆ นั่น คือ พื้นที่เปาหมายถูกมองวามีความหมายอยางไรในทัศนะของคนกลุมตางๆที่เขา มาเกี่ยวของกับพื้นที่นั้น (perceived space) ซึ่งอาจจะตองโยงกับพื้นที่อื่นๆที่ เกี่ยวของกันดวย รวมทั้งกระบวนการที่ทําใหความหมายเหลานี้ กลายมาเป น ความเปนจริงทางสังคม เชน ความจริงของการใชชีวิตประจําวันของคนในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่งของเมืองที่โยงกับความเปนจริงของลักษณะเมือง เลอแฟบวรเนนวา หนาที่ของปฏิบัติการเชิงพื้นที่ที่สําคัญ คือ การผลิตซ้ําความสัมพันธทางสังคมที่ เกี่ย วข องกับ กระบวนการผลิ ตพื้น ที่ (the spatial reproduction of social relation) โดยสรุป แลวสั งคมแตละสังคมมีความสัม พันธเ ชิงการผลิ ตที่เจาะจง และมีปฏิบัติการเชิงพื้นที่ที่เฉพาะเจาะจงแตกตางกันไป 2. พื้น ที่ ของการสร า งภาพแสดงแทน (The representation of space) พื้นที่ของการสรางภาพแสดงแทนเปนมุมมองหรือการใหความหมาย ของพื้นที่ในเชิงมโนทัศน (conceived space) ที่มีที่มาจากองคความรูเฉพาะดาน ของนัก วิ ช าชี พ สาขาต างๆ เช น นั ก คณิต ศาสตร นัก วิ ทยาศาสตร นั ก ผั งเมื อ ง นักวิศวกรรมสังคม และกลุมพวกเทคโนแครท เปนตน นักวิชาชีพเฉพาะเหลานี้ มองเรื่องของการใชชีวิตผูคน และการทําความเขาใจกับพื้นที่นั้นๆโดยผานมโน 66


ทัศนตางๆขององคความรูเฉพาะดาน หรือเปนการมองพื้นที่ที่ตองมีการใสรหัส และถอดรหั ส หรื อ การทํ า ความเข า ใจพื้ น ที่ นั้ น ๆด ว ยสั ญญะที่ เ ฉพาะเจาะจง บางอยาง การสรางภาพแสดงแทนเปนความสัมพันธทางสังคมในลักษณะหนึ่งที่ อยูในกระบวนการของการผลิตพื้นที่ ซึ่งความสัมพันธนี้ มักจะอยู ในลักษณะของ การจัดลําดับชั้น (order) กับสวนอื่นๆ ในกระบวนการผลิต และมักจะเปนลักษณะ ที่ครอบงําสวนอื่นๆ ในการผลิตพื้นที่ดวยการใชอํานาจและความรู 3. พื้นที่ที่เปนภาพแสดงแทน (The representational space) พื้นที่ที่เปนภาพแสดงแทน เปนพื้นที่ที่แสดงความมีชีวิต อารมณและ สุน ทรี ยภาพ แต ถู ก ครอบงํ าด ว ยลัก ษณะที่เ ป น กระแสหลั ก ของแต ล ะยุ ค สมั ย (lived space) และสะท อ นออกมาด ว ยภาพลั ก ษณ (image) ความทรงจํ า (memory) และสัญลักษณ (symbols) ของบุคคลตางๆ เชน ผูที่อยูอาศัย นักเขียน ศิลปน เปนตน เปนมุมมองตอพื้นที่ที่มักจะไมไปดวยกันกับพื้นที่ของการสรางภาพ แสดงแทน (the representation of space) เลอแฟบวร กลาววามโนทัศนทั้ง 3 ประการนี้มีความสัมพันธเชิงวิภาษวิธี (Dialectic) ซึ่งกัน และกัน เมื่อถูกใชในการอธิบายกระบวนการผลิตพื้นที่ จากแนวคิดของเลอแฟบวร อาจสรุป ได วา เปน การศึกษาเกี่ย วกับ เรื่อ ง คานิยม (value) ของกลุม บุคคลตางๆที่มีตอพื้นที่แหงหนึ่งๆ โดยแสดงใหเห็น จากมุม มอง ความคิด ตอการสรา ง / การใหค วามหมายและการใชป ระโยชน จากพื้น ที่ต ามวัตถุป ระสงคข องกลุม บุค คล ดังนั้น หากนํา แนวคิด ดัง กลา วมา อธิบายการศึกษาสัง คมเมือ ง จึง ตองปรับใหสอดคลองกับ เงื่อ นไขของวิถีก าร ผลิต ในแตล ะเวลา ดัง เชน ในปจ จุบัน ซึ่ง เปน ยุค ของวิถีก ารผลิต แบบทุน นิย ม (the capitalist mode of production) ที่เนนการสะสมทุน การผลิตเพื่อสรา ง ความมั่งคั่ง ร่ํา รวยใหกับ ผูคนผานการบริโ ภคในรูป แบบตา งๆ ตัว อยา งที่เ ปน รูปธรรมของการนําแนวคิดของเลอแฟบวรมาใชศึกษาปรากฏการณสังคมเมือง 67


ดัง เชน การไลรื้อ ชุม ชนดั ้ง เดิม จากเจา ของที่ด ิน ในเขตมหานครของประเทศ กํ า ลัง พัฒ นา เพื ่อ นํ า ที ่ด ิน ไปพัฒ นาเปน โครงการตา งๆ ซึ ่ง สะทอ นใหเ ห็น ความสําคัญของที่ดิน ภายใตการผลิตแบบทุนนิยมที่กลายเปนสินคาและเปน ตน ทุน ในการผลิต แบบหนึ่ง ที่ส ามารถจะนํา มาสรา งกํา ไรให กับ คนที่ถือ ครอง พื ้น ที ่นั ้น ๆ โดยไดก อ ใหเ กิด ระบบการใชส อยที ่ด ิน แบบตา งๆ ตามความมุ ง หมายที ่จ ะเพิ ่ม มูล คา ใหก ับ ที ่ด ิน 39หรื อ อาจกลา วอี ก นั ย หนึ่ ง ได ว า เลอแฟบวร พยายามชี้ใหเห็นถึงกลไกทางเศรษฐกิจ รัฐ (การเมือง) ซึ่งมีอํานาจอยางมากใน การที่จะทําลาย และสราง/ผลิตพื้นที่ขึ้นมาใหม กอใหเกิดปฏิกิริยาจากผูคนในการ ที่จะตอรอง ชวงชิง ตอบโต ตั้งชื่อใหม รวมทั้งใหคําจํากัดความและความหมาย ของพื้นที่40 หรือกรณีงานศึกษาที่เปนรูปธรรมชิ้นหนึ่งที่นําแนวคิดของเลอแฟบวร มาศึกษา การไลรื้อชุมชนเกาแกที่มีประวัติความเปนมายาวนาน เปนแหลงคาสง ผาทอผาม วนแหงหนึ่ง ซึ่งตั้ งอยู ในย านเยาวราช กรุ งเทพมหานคร เพื่อ นําไป พัฒนาเปนศูนยการคาสมัยใหม พบวา ทั้งผูที่อาศัยอยูในชุมชนมาแตเดิม เจาของ ที่ ดิ น รวมทั้ ง บริ ษั ท ผู พั ฒ นาโครงการ ผู มี ส ว นเกี่ ย วข อ ง (stakeholder) เช น นักธุรกิจ นักกฎหมาย นักผังเมือง สถาปนิก ผูเชี่ยวชาญดานประวัติศาสตร และ ศิลปะ ตางไดสราง “ภาพแสดงแทน” (the representation of space) ในระดับ นามธรรมหรือเปนระบบคิดที่มีตอพื้นที่ขึ้นมาเพื่อใชเปนเครื่องมือในการตอบโต ปะทะ ตอรองไปมาระหวางกัน เพื่อใหไดมาซึ่งสิทธิในการใชพื้นที่ กอใหเกิดเปน ความสัมพันธที่มีทั้งความรวมมือ ขัดแยงและเกื้อหนุน กัน เชน “ภาพพื้นที่ของผล กําไร” ที่สรางขึ้นโดยผูพัฒนาโครงการ “ภาพพื้นที่ของอาคารอนุรักษ ” ที่คนใน พื้นที่สรางขึ้นมาตอบโตกับกลุมผูพัฒนาโครงการ “ภาพการปรับตัวของทุนใหเขา กั บ แนวคิ ด อนุ รั ก ษ ” ที่ ก ลุ ม ผู พั ฒ นาโครงการได อ อกแบบปรั บ โครงสร า งของ ศูนยการคาไมใหกระทบตออาคารอนุรักษโดยสรางศูนยการคาครอมกลุมอาคาร 39

ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร.(2545).วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ : วิภาษา. หนา 218 40 ปรีชา คุวินทรพนั ธุ. เรื่องเดิม.หนา 107

68


อนุรักษ “ภาพพื้นที่แหงการมีสวนรวมในการพัฒนา” ที่เกิดขึ้นจากมุมมองของ นักวิชาการดานผังเมืองผานการศึกษาพื้นที่โดยเนนถึงการเขามามีสวนรวมของ คนในพื้นที่เพื่อใชเปนแนวทางตอรองซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยแนวคิดของคน ในพื้นที่เอง เปนตน41 แนวคิดเรื่องยานและชุมชนละแวกบาน (District/ Neighborhood) แนวคิดเรื่องยาน จากงานศึกษาวิจัยเรื่อง ผลกระทบจากระบบเมืองสมัยใหมที่มีผล ตอระบบยานของคนในกรุงเทพมหานคร ของวิมลศรี ลิ้มธนากุล42 ไดใหแนวคิด เกี่ยวกับการศึกษายาน โดยกลาววายานเปนบริเวณที่เกิดขึ้นหรือถูกกําหนดจาก จุดที่มีการรวมตัวของกิจกรรมประเภทตางๆ ประเภทใดประเภทหนึ่งอยา งเขมขน บริเวณของยานนี้จะตองเปนพื้นที่ที่มีศักยภาพหรือพลังในการดึงดูดใหเกิดกระแส ของการพบปะปฏิ สัม พันธ ในระดับที่ เข มข นกว าบริเ วณอื่ นๆ ตั วอย างพื้น ที่ที่ มี ลักษณะแบบนี้ อาทิ บริเวณที่เปนชุมทาง เชน อนุสาวรียชัยสมรภูมิ บริเวณที่เปน จุดขนถายรับสิน คา เชน สะพานขาว มหานาค บริเวณที่เปนศู นยรวมของการ คาขายสิ นคาทั้ง ปลีกและสง เช น สําเพ็ ง บางลําพู ประตูน้ํา เปนตน โดยพื้น ที่ เหลานี้จะเปนบริเวณที่มีความสามารถในการสรางกระแสไหลหมุนเวียนของการ เปนชุมชนในการพบปะติดตอคาขายไดโดยงาย รวมไปถึงการมีคุณลักษณะของ การประพฤติปฏิบัติจนเปนปกติ และนําไปสูความมีชื่อเสียงในดานใดดานหนึ่ง หรื อ ความชํา นาญพิ เ ศษในที่ สุ ด เช น สํ า เพ็ ง พาหุ รัด ซึ่ งเป น แหล งที่ มี ชื่ อเสี ย ง 41

อิทธิพร ขําประเสริฐ.(2549). กระบวนการสราง“ภาพแสดงแทน”เพื่อสิทธิเชิงพื้นที่. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 152-156 42 วิมลศรี ลิ้มธนากุล.(2537). ผลกระทบจากระบบเมืองสมัยใหมทมี่ ีผลตอระบบยานของคนใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 10-13,17

69


ทางดานการขายสินคาเสื้อผาสําเร็จรูปและของที่ระลึกประเภทตางๆทั้งการคา ปลี กและค าส ง ย านเยาวราชที่ มี ชื่อ เสี ย งในเรื่ องของการเป นแหลง คา ทองคํ า ยานเสาชิงชาที่เปนแหลงสินคาประเภทสังฆภัณฑ เปนตน องคประกอบของยาน สําหรับหลักในการวิเคราะหลักษณะของยานใหมีความชัดเจนมาก ขึ้ น วิ ม ลศรี ได กํ า หนดกรอบแนวความคิ ด เพื่ อ ใช เ ป น แนวทางพิ จ ารณาใน การศึกษาออกเปน 4 องคประกอบซึ่งในแตละองคประกอบลวนมีความสัมพันธที่ เชื่อมโยงตอกัน คือ ดานกายภาพ ดานประชากรและระดับสมาชิกของประชากร ดานสังคม และดานวัฒนธรรม ความคิดและระบบความหมาย กลาวคือ 1) ดานกายภาพ ลักษณะของยานในทางกายภาพจะประกอบดวย บริเวณใดบริเวณ หนึ่งที่ตองการพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ดังกลาวจะมีรูปรางและขอบเขตที่ไมแนนอน ทั้งนี้เปน ผลมาจากสาเหตุตางๆ อาทิ สภาพทางภูมิศาสตรที่แวดลอมอยูโดยรอบพื้นที่ เชน ยานที่ตั้งอยูริมคลองจะมีหนาตัดดานหนึ่งที่มีลักษณะคดเคี้ยวไปตามเสนทางน้ํา นั้น และจะมีหนาตัดเปนแนวเสนตรงเมืองอยูติดกับถนน หรือจะเปนการเบียด และการเหลื่อมล้ําซ้ําซอนของยานอื่นๆที่อยูขางเคียง เชน ยานสําเพ็ง พาหุรัด และ จัก รวรรดิ ที่ ไ มส ามารถจะระบุ ข อบเขตได อย า งชั ด เจนของย านนั้ น แต ใ นการ เรียกชื่ออาจใชตําแหนงของกลุมอาคารบานเรือนหรือชื่อถนนเปนหลัก ,การเปน บริเวณที่มีการกระจุกตัวของกิจกรรมอยางหนาแนนและมีศักยภาพในการดึงดูด การไหลเขาออกของผูคนสูง รวมทั้งความเปนพลวัตภายในตัวยานเองและยาน ภายนอกที่ อ ยู บ ริ เ วณใกล เ คี ย งซึ่ ง จะยั ง ผลต อ การเปลี่ ย นแปลงลั ก ษณะทาง กายภาพของยานนั้น 2) ดานประชากรและระดับสมาชิกภาพของประชากร ยานจะตองมีขนาดและความหนาแนนของประชากรจํานวนหนึ่ง และมีสภาพพลวัตของประชากรที่เกิดจากการหมุนเวียนเขาออก อันเนื่องมาจาก 70


แรงดึงดูดที่มีลักษณะพิเศษของแตละยาน เชน ในยานสําเพ็งที่มีชื่อเสียงในเรื่อง ของแหลงจําหนายเสื้อผาและของที่ระลึก จึงเปนแรงดึงดูดใหบรรดาพอคาแมคาที่ อยูภายในนอกยานเขามาเชาพื้นที่ อาคารหองแถวหรือเชาแผงเพื่อทําการคาขาย จํานวนมาก สรางความหนาแนน ให กับพื้ นที่ ของยา น และอีกประการหนึ่ งคื อ ระดับการเปนสมาชิกภาพของประชากร ซึ่งหมายถึงความเขมขนหรือความถาวร ในการเป น สมาชิ ก ของแต ล ะย า นนั้ น ว า มี ม ากน อ ยอย า งไรและมี สั ด ส ว นของ สมาชิกประเภทถาวรหรือชั่วคราว โดยสามารถพิจารณาไดจากระดับของเวลา และความถี่ของการเขาไปมีสวนรวมในกิจกรรมของยานนั้นๆ 3) ดานสังคม ย า นถื อ เป น สถาบั น ทางสั ง คมประเภทหนึ่ ง ภายในย า นจึ ง มี ความสัมพันธที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธตอกันในลักษณะตางๆ ตามสถานภาพ และบทบาทของสมาชิกภายในยานที่มีความแตกตางกันออกไป นอกจากนี้ทุกคน ในฐานะที่ เ ป น สมาชิ ก ของสั ง คมย า นเดี ย วกั น ยั ง ต อ งมี ห น า ที่ ที่ จ ะปฏิ บั ติ เ พื่ อ สวนรวมดวย เชน ในกรณีของพอคาแมคาหาบเร เมื่อเห็นเทศกิจมาจับ จะมีการ สงเสียงบอกตอๆกันซึ่งคนที่มีรานคาก็อาจจะตองเอื้อเฟอเพื่อใหพอคาหาบเรฝาก สินคาหรือเขาไปหลบอยูดานในเปนการชั่วคราวเนื่องจากเปนผูที่มีสถานภาพที่สูง กวายอมตองชวยเหลือคนที่ดอยกวาเมื่อมีโอกาส หรือการฝากดูแลรานหรือแผง คาชั่วคราวกับสมาชิกผูที่อยูขางเคียง การชวยดูแลความสะอาดของยานรวมกัน เปนตน ดังนั้น ลักษณะของความสัมพันธในรูปแบบนี้หรือแบบอื่นๆ จะมีปรากฏ ขึ้นภายในยานเสมอ ซึ่งถือเปนความสัมพันธในระดับยานที่สําคัญที่จะมีผลตอ ประชากรในพื้นที่ดวยกัน 4) ดานวัฒนธรรม ความคิดและระบบความหมาย ยานต างๆจะเปนตัว บงชี้ วาบุ คคลนั้ นอยู ในตํ าแหน งแห งที่ใ ดของ สังคมใหญ ทั้งในเรื่องของสถานภาพ ชนชั้น การดํารงชีวิต ทั้งนี้เปนเพราะยานแต ละแหงเกิดขึ้นมาจากลักษณะของภูมิหลังที่แตกตางหลากหลายทั้งในแงของทําเล 71


ที่ตั้ง สภาพแวดลอม ตลอดจนบุคคลที่แวดลอมอาศัยอยูในแตล ะยาน เชน ยาน สุขุมวิทที่จัดเปนยานของชาวตางชาติที่พรั่งพรอมไปดวยความทันสมัย คนที่อยูใน ย า นนี้ จึ ง ถู ก มองว า เป น คนมี ฐ านะดี เป น ต น นอกจากนี้ ย า นยั ง ทํ า หน า ที่ เ ป น ตัวเชื่อมตําแหนงที่บอกไดวาบุคคลนั้นอาศัยอยูในบริเวณใดภายใตขอบเขตของ เมืองใหญและเชนเดียวกันยานจะทําใหบุคคลสามารถระบุถึงความสัมพันธของ ตนเองผานยานที่ตนอาศัยและเปนสมาชิกอยู กอนที่จะเชื่อมตนเองเขากับสังคม ใหญ ซึ่งจะทําใหบุคคลไมรูสึกวาถูกทอดทิ้งใหอยูเพียงลําพัง ยานจึงทําหนาที่เปน ตัวรองรับแรงผลักที่เกิดขึ้นจากสังคมใหญภายนอก มิใหกระทบกับบุคคลโดยตรง หรืออาจเปนแกนหลักในการตอสูกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับยานได เชน กรณีชุมชนบานครัว ชุมชนปอมมหากาฬ ชุมชนทาพระจันทร เปนตน คุณลักษณะของยาน จากกรอบความคิดในการวิเคราะหลักษณะของยานที่กลาวขางตน วิมลศรีไดสรุปถึงคุณลักษณะของยานและจําเปนของยานที่สําคัญ ซึ่งพื้นที่แตละ แหงจะเรียกวาเปนยานไดนั้นตองประกอบไปดวย 1) ยานที่สมบูรณจะตองมีชุมชนรองรับอยูเบื้องหลัง หรืออีกนัยหนึ่ง คือพื้นที่บริเวณที่เรียกวาเปนยานนั้น ควรจะตองเกิดจากการที่คนในชุมชนนั้นเอง ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทเดียวกันจะเกิดเปนยานขึ้น หรือจํานวน สมาชิกที่มาแบบไมถาวร ควรมีจํานวนนอยกวา เพราะสิ่งที่จะเชื่อมรอยรัดสมาชิก ของยานนั้นๆ เอาไวดวยกันไดก็คือ ความสัมพันธทางสังคมที่อยูในยานนั้นๆ หรือ ความสัมพันธระดับยานนั่นเอง 2) ยานจะตองมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสวนใหญแลวมักจะเกิดจากการ รวมกลุมกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทเดียวกัน 3) ยานมีระดับเหนือชุมชนขึ้นไป กลาวคือ นอกจากยานจะเปนที่อยู อาศัย และที่ทํา มาหาเลี้ยงชีพของคนในชุมชนนั้นแลว ในระดั บเมืองยานยัง มี ความโดดเดนจนกระทั่งสามารถใชเปนที่หมายสําหรับคนที่อยูภายนอกชุมชน 72


และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยานนั้นก็เปนสิ่งที่รูจักและเปนที่ตองการ ของคนทั่วไป ไมไดจํากัดเฉพาะแตคนในชุมชนเทานั้น ยานจึงเทียบเคียงไดกับ สถาบันทางสังคมที่มีมิติของความหมายตั้งแตระดับชุมชน ระดับทองถิ่นไปจนถึง ระดับเมือง แนวคิดเรื่องชุมชนละแวกบาน ละแวกบานเปนชุ มชนเล็กๆหรือบา นใกล เรือนเคียงที่มีบริ เวณไม กวางใหญนั กผูค นตางมีความสัม พันธ กันอย างใกลชิด แบบพบเห็ นหนา กันอยู เสมอ รวมไปกิจกรรมมีวิถีชีวิตและลักษณะทางสังคมคลายกัน43 แกรส รูท (Glass Ruth) อธิบายความหมายของละแวกบานไว 2 ลักษณะ คือ44 1. ละแวกบ า น เป น กลุ ม คนที่ อ าศั ย อยู ใ นพื้ น ที่ แ ห ง หนึ่ ง ๆที่ มี ลักษณะเฉพาะของตน ซึ่งเปนลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางสังคมของ ผูอาศัยที่มีความแตกตางจากพื้นที่แหงอื่นๆ เชน ยาน สําเพ็ง ยานพาหุรัด ที่มี ลั ก ษณะทางสั ง คมของประชากรเฉพาะของตนเองและอยู ใ นขอบเขตทาง ภูมิศาสตรที่แยกจากพื้นที่ใกลเคียง 2. ละแวกบ า น เป น กลุ ม คนที่ อ าศัย อยู ดว ยกั นซึ่ ง ถู กกํ า หนดโดย ขอบเขตทางภู มิ ศ าสตร ซึ่ ง สมาชิ ก จะมี ร ะดั บ ของการปฏิ สั ม พั น ธ กั น อย า ง สม่ําเสมอในลักษณะที่เปนกลุมแบบปฐมภูมิ (Primary Group) เพื่อทํากิจกรรม ทางสังคมและการคบหาสมาคมที่มีแบบแผน เฉพาะของคนในอาณาเขตทาง ภูมิศาสตรนั้น เชน ชุมชนชาวมุสลิมหรือชาวคริสตที่คนในชุมชนมีสํานึกความเปน ชุมชนรวมกัน มีกิจกรรมที่ดําเนินการรวมกัน 43

ราชบัณฑิตยสถาน.(2549).เรื่องเดิม.หนา 175 44 Glass Ruth. (1948:150-170). อางถึงใน Gold Harry (1982:104-105). The Sociology of Urban Life. Englewood Cliffs N. J.: Prentice Hall .Inc.

73


แนวการศึกษาชุมชนละแวกบาน คีลเลอร ซูซาน (Keller Susan)45 ไดกําหนดแนวทางในการศึกษา ชุมชนละแวกบานไว 4 มิติ คือ 1. การศึกษาชุมชนละแวกบานเชิงนิเวศ เปนการศึกษาชุมชนละแวก บานที่ถูกกําหนดโดยตําแหนงที่ตั้งทางนิเวศในอาณาเขตของเมือง ซึ่งมีลักษณะ ทางกายภาพเฉพาะที่เกิดขึ้นจากปจจัยทางภูมิศาสตรและการใชประโยชนจาก ที่ดิน เชน ยานสาธร ยานสีลม เปนตน 2. การศึกษาชุมชนละแวกบานเชิงทรัพยากร เปนการศึกษาชุมชน ละแวกบานโดยเนนไปที่ความสําคัญของทรัพยากรทางกายภาพของชุมชน เชน ลั ก ษณะของอาคาร บ า น ร า นค า โรงเรี ย นและอื่ น ๆ ซึ่ ง แสดงถึ ง การหน า ที่ (functional role) ที่ชุมชนมีตอผูอยูอาศัยในละแวกบานเดียวกัน รวมไปถึงผูมีสวน เกี่ยวของ (stakeholder) ที่เขามาใชบริการ เชน ยานทาพระจันทร ซึ่งเปนที่รับรูกัน วาเปนพื้นที่ของแหลงการศึกษาและบริการตางๆที่เกี่ยวเนื่อง 3. การศึกษาชุมชนละแวกบานเชิงสัญลักษณ เปนการศึกษาชุมชน ละแวกบานที่เปนตัวแทนทางสั ญลักษณที่สะทอนถึง การใหความหมายในเชิ ง คานิยมหรือสํานึกรวมกันของคนในชุมชนละแวกเดียวกัน และเปนที่รับรูของคน ภายนอกดวย เชน เขตที่อยูอาศัยของกลุมชาติพันธุ ความเชื่อทางศาสนา ความ เปน ระเบีย บเรีย บรอ ยของชุมชน รวมไปถึง แหลงอาชญากรรม การกระทํ าผิ ด กฎหมาย เปนตน ตัวอยางเชน ชุมชนบานครัวเปนชุมชาวชาวมุสลิม ชุมชนถนน ขาวสารเปนชุมชนนักทองเที่ยว พัฒนพงษเปนแหลงบันเทิงยามราตรี 4.การศึกษาชุมชนละแวกบานในเชิงวัฒนธรรมยอย เปนการศึกษา ชุ ม ชนละแวกบ า นที่ เ กี่ ย วกั บ ประวั ติ ค วามเป น มาทางเศรษฐกิ จ สั ง คม และ นิเวศวิทยาที่ยาวนาน ซึ่งยังคงมีการดํารงอยูของลักษณะตางๆเหลานั้นไวจากคน 45

Keller Susan. (1968). The Urban Neighborhoods .New York :Random House. P 91-92

74


รุนหนึ่งไปสูคนอีกรุนหนึ่ง โดยไดพัฒนาลักษณะรวมทางวัฒนธรรมของผูอาศัย เปนเวลานาน เชน ชุมชนชาวจีนในยานตลาดพลู ชุมชนชาวมอญยานบางขุ น เทียนที่ยังคงลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนไวได การหนาที่ของชุมชนละแวกบาน ท า มกลางความพลวั ต ในสั ง คมเมื อ งผู ค นต า งมี ค วามต อ งการที่ หลากหลาย ชุมชนละแวกบานเปนหนวยทางสังคมที่สามารถสนองตอบตอความ ตองการเหลานั้นได ซึ่งผูคนในเมืองไมสามารถแสวงหาไดจากสังคมภายนอก การ หนาที่เหลานั้น แวรเรล โดนัล46(Warren Donald) ไดสรุปไวดังนี้ 1. การเปนพื้นที่ของการปฏิสัมพันธทางสังคม นั่นคือ เปนการติดตอ สัมพันธระหวางผูที่อยูอาศัยใกลชิดกันในขอบเขตของชุมชนทั้งหมด ซึ่งแสดงออก ในรูปของการทักทายหรือพบปะพูดคุยระหวางกัน โดยอาจมีระดับความผูกพัน มากอยางใกลชิดจนมีความเปนปกแผนทางสังคมสูง (Social Solidarity) หรือผิว เผินก็ตาม ซึ่งเกิดขึ้นจากความรูสึกรวมของการเปนสมาชิก โดยปจเจกจะรูสึกผอน คลายและไมรูสึกวาตนเองอยูอยางโดดเดี่ยวเพียงลําพังคนเดียวในสังคมเมืองที่ ตางคนตางอยู 2. การเป น ศู น ย ก ลางของการกํ า หนดและควบคุ ม ทางสั ง คม เนื่องจากระดับของการปฏิสัมพันธในละแวกชุมชนที่มีมาก ผลที่ตามมาคือ จะ เปนสวนชวยในการกําหนดกติกาการดํารงชีวิตรวมกันภายใน เชน บรรทัดฐาน คานิยม ตัวอยางเชนการยอมรับหรือตอตานของผูฝาฝน บรรทัดฐานจะมีพลังใน ชุมชนนี้มากกวาสังคมโดยรวม โดยเฉพาะชุมชนที่มีความเปน ปกแผนทางสังคม สูง ผูนําจะมีบทบาทสําคัญในการเชื่อมโยงชุมชนกับสังคมโดยรวมดวยการสงตอ ความรู หรือสารสนเทศที่จําเปนไปสูชุมชนละแวกบาน รวมทั้งการสรางความเปน อันหนึ่งเดียวกันกับสังคมโดยรวม 46

Warren Donald. (1997). Neighborhood in Urban Areas in Roland L.Warren (ed). New Perspectives on the American Community. Chicago: Rand McNally.

75


3. การเปนทุนทางสังคม การเกื้อกูลชวยเหลือระหวางคนในชุมชน ละแวกบานเดียวกัน สามารถที่จะตอบสนองความตองการสมาชิกภายในชุมชน เดียวกันไดมากกวาสังคมโดยรวม เชน การสนับสนุนดานทุนทรัพย การสนับสนุน ดานจิตใจ การชวยลงแรงกันเพื่อดําเนินกิจกรรมบางอยาง หรืออาจแสดงออกใน รูปของการปกปองสมาชิกจากการรุกรานจากภายนอก เชน การงดออกเสียงหรือ ไมใหขอมูลในทางการเมืองที่มีผลกระทบตอคานิยมของคนในชุมชน 4. การเปนกลุมอางอิง (reference group) การที่ผูคนในชุมชนมี ความคิดหรือแสดงพฤติกรรมที่สอดคลองกับสิ่งที่เปนขอกําหนด ขอตกลงของ ชุมชน ถึงแมวาบุคคลนั้นอาจจะมีความใกลชิดหรือระดับของการปฏิสัม พันธใน ชุมชนนอยก็ตาม แตเนื่องจากอาศัยอยูในขอบเขตทางภูมิศาสตรเดียวกัน แตโดย สวนลึกบุคคลจะรับเอาความเชื่อ คานิยมและบรรทัดฐานที่ชุมชนกําหนดไวมา เปนแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของตน ประเภทของชุมชนละแวกบาน โกลด แฮรี่ (Gold Harry)47 ไดจําแนกประเภทชุมชนละแวกบานโดย ศึกษาจากบริบททางสังคมของเมืองในสหรัฐอเมริกาไว 4 ประเภท ดังนี้ 1. ชุ ม ช น ล ะ แวก บ า น ที่ มี บู รณา กา รสู ง (The Integral Neighborhood) เปนชุมชนเชิงอุดมคติที่ผูคนในชุมชนมีความใกลชิดและรวมกัน ในการดํา เนิน กิจกรรมของชุ มชนในระดับ เขม ขน และยั งมีค วามเชื่อ มโยงไปสู สัมพันธที่แนบแนนของสังคมโดยรวมหรือในระดับที่เหนือขึ้นไปดวยการเขาไปมี ส ว นร ว มในกิ จ กรรมของเมื อ ง เช น การเข า เป น สมาชิ ก พรรคการเมื อ ง การ สนับสนุนนโยบาย คานิยมรวมของเมือง ซึ่งชุมชนในลักษณะนี้มักเปนชุมชนของ คนชั้นกลางหรือคนชั้นกลางระดับสูงที่มีพื้นฐานการศึกษาดี

47

Gold Harry.(1982).เรื่องเดิม. หนา111-113

76


2. ชุ ม ชนละแวกบ า นที่ ข าดสํ า นึ ก ร ว มกั น (The Anomic Neighborhood) เป นชุ ม ชนที่ผู ค นต างไม ส นใจซึ่ งกั น และกั น ไมมี ก ารเข า ร ว ม กิจกรรมทางสังคมใดๆเต็มไปดวยความแปลกแยก (alienation) ชุมชนในลักษณะ นี้อาจเกิดจากการที่ผูอยูอาศัยในชุมชนมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดอยจึงมี ความพยายามที่จะยกระดับฐานะของตนเองใหสูงขึ้น จึงเปนเหตุใหการใชชีวิต และเวลาสวนใหญไปกับการทํางานหนักหรือศึกษาเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ ไมมีเวลาที่จะ ติดตอผูกสัมพันธกับสังคม ชุมชนในรูปแบบนี้อาจอยูในขั้นเปลี่ยนผาน เมื่อบุคคล ประสบความสําเร็จอาจโยกยายเขาไปสูชุมชนประเภทอื่นๆ 3. ชุ ม ชน ละแวกบ า นที่ ป อ งกั น ตนเอง (The Defended Neighborhood) เปนชุมชนที่พยายามหลีกหนีจากการคุกคามภายนอก โดยการ รวมกลุมอยางเปนระบบแยกชัดเจนจากชุมชนภายนอก ซึ่งขอบเขตทางภูมิศาสตร อาจจะไมใชเงื่อนไขสําคัญของการดํารงอยูรวมกันหากแตเปนการดํารงอยูรวมกัน โดยขอผูกมัดทางศีลธรรม (moral code) มีการรับรูกันวากลุมของตนเองเปนใคร แตกตางจากผูคนอื่นอยางไร ซึ่งอาจจะเปนไปในลักษณะทางชาติพันธุ ฐานะทาง เศรษฐกิจ เชน การรวมตัวกันของชุมชนเพื่อปองกันตนเองจากการถูกไลรื้อที่อยู อาศัยหรือที่ทํากิน ในสายตาการรับรูของสังคมภายนอกคนกลุมนี้อาจถูกมองวา หลุ ด ลอยไปจากการยึ ด มั่ น ในกฎเกณฑ ข องสั ง คมหรื อ ถู ก ตั ด สิ น โดยค า นิ ย ม บางอยาง เชน สกปรก ชั้นต่ํา แตทวาการรับรูภายในของพวกเขากลับ กลายเปน โลกของศีลธรรมที่มีการชวยเหลือระหวางกัน เปนบรรทัดฐานซึ่งชว ยใหสมาชิก รูสึกผอนคลายจากภาวะกดดันจากภายนอกที่เต็มไปดวยการแยงชิง แขงขัน 4. ชุ ม ชนละแวกบ า นที่ เ กิ ด จากการวางแผน (The Contrived Neighborhood) เปนชุมชนที่เกิดขึ้นจากการวางแผนในการจัดสรรที่อยูอาศัยโดย รัฐหรือเอกชน นักพัฒนาที่ดิน จะมีลักษณะ หรือรูปแบบเดีย วกันทั้งรูปทรงของ อาคารที่พักอาศัย พื้นที่ภายใน เปนการจัดสรางที่อยูอาศัยประเภทตางๆ อาทิ แฟลต คอนโดมีเนียม บานจัดสรร ทาวเฮาสไปจนถึงหองเชา ฯ โดยชุมชนเหลานี้ 77


จะมีชื่อเฉพาะเปนลักษณะรวมของคนในชุมชน มีระดับราคาที่แตกตางกันออกไป ซึ่ ง สะท อ นฐานะทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมของผู อ ยู อ าศั ย ที่ ใ กล เ คี ย งกั น โดย ขอบเขตของชุมชนแยกตางจากชุมชนอื่นๆอยางชัดเจน จากแนวคิดเรื่องยานและชุมชนละแวกบานที่กลาวมาขางตน สามารถที่จะ พิจารณาถึงสิ่งที่เปนจุดรวมของการศึกษายานและชุมชนละแวกบานไดคือ วิถี ชีวิตของผูคน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และกิจกรรมที่อยูภายในยานและ ชุม ชนละแวกบ านที่ มีค วามคล ายคลึ งกั น ซึ่ ง แสดงให เ ห็ นได อย า งชัด เจนเมื่ อ เปรีย บเทีย บกั นพื้ นที่ อื่น ๆ สํา หรั บจุ ดที่ มี ความแตกต างกัน ไดแ กข อบเขตทาง ภูมิศาสตรระหวางยานกับชุมชนละแวกบาน กลาวคือ ยานจะมีระดับเหนือชุมชน ขึ้นไป แตทวายานก็ยังตองมีชุมชนเปนฐานรองรับอยู จุดแตกตางอีกประการหนึ่ง คือ ระดับความสัมพันธของผูคนซึ่งวิมลศรีอธิบายไววา ความสัมพันธทางสังคมใน ระดับยานจะอยูในรูปแบบความสัมพันธของกลุมทุติย ภูมิไปจนถึงความสัมพันธ ระดับมหภาค ในทํานองตรงกันขาม แกรส รูท อธิบายวาความสัมพันธในชุมชน ละแวกบานผูคนยังมีความสัมพันธแบบปฐมภูมิในกลุมคนที่มีการพบปะกันอยู อยางสม่ําเสมอ เพื่อดําเนินกิจกรรมทางสังคม การนําแนวคิดดังกลาวมาใชในการศึกษาปรากฏการณทางสังคมในเมือง หรือศึกษายาน ชุมชนละแวกบานแหงหนึ่งๆ จึงสามารถที่จะนําไปกําหนดประเด็น การวิเคราะหในดานตางๆ เชน การเกิดขึ้นของยาน ชุมชนละแวกบานโดยศึกษา ในเรื่องประวัติความเปนมา อาณาบริเวณ การใชพื้นที่ ปจจัยดึงดูดผูคนที่ใหผูคน กลุมตางๆที่มาแวะเวีย นเกี่ยวของกับ พื้นที่ บทบาทของพื้นที่ มีตอชีวิ ตผูคนใน แงมุมตางๆ ลักษณะที่เปนเอกลักษณ จุดเดน และรูปแบบความสัมพันธทางสังคม ของผูคน

78


แนวการวิเคราะหสังคมเมืองในระดับจุลภาค ทฤษฎีคตินิยมแบบเมือง (Urbanism) ผูที่คิ ดค นทฤษฎีค ตินิ ยมแบบเมือง (Urbanism) คือ หลุย ส เวิ รธ (Louis Wirth 1897-1952) จากขอเขียนที่ชื่อ “Urbanism as a way of life”48 (1938) ซึ่ง ไดรับอิทธิพลจากแนวคิดของ เก-ออรก ซิมเมิล (Georg Simmel) จากขอเขียนที่ ชื่อ “The Metropolis and Mental Life”(1905) ซึ่งศึ กษาการเปลี่ย นแปลง ทางดานบุคลิกภาพและจิตใจของผูคนภายใตการดํารงชีวิตอยูในสังคมเมือง โดย ซิมเมิล อธิบายวาพื้นฐานทางจิตวิทยาของผูคนที่อาศัยอยูในเมืองจะถูกกระตุน จากการเปลี่ยนแปลงที่มีความฉับพลันทั้งจากภาวะภายในและภาวะภายนอกที่ เมืองมีตอผูคน เชน แสงไฟ สีสรรของวัตถุ เสียง กลิ่น ขยะ ภาพความวุนวายตางๆ การแสดงพฤติกรรมแปลกๆของผูคน การปฏิสัมพันธกับผูอื่น ความตองการเปน สวนตัวสูง จึงเปนผลใหผูคนในเมืองเกิดความเครียดและนําไปสูการปรับสภาพ การใชชีวิตของตนใหสอดคลองกับบริบทของสังคมเมือง เวิรธ เสนอวา บริบทของเมืองไดสรางวิถีชีวิตแบบใหมใหกับชาวเมือง ซึ่ง ปรากฏจากแบบแผนการใชชีวิตทั้งในดานภายใน เชน วิธีคิด ความเชื่อ คานิยม การพูด และภายนอก เชน การแตงกายที่อยูอาศัย การปฏิสัมพันธทางสังคมกับ ผูอื่น โดยองคประกอบที่เปนตัวกําหนดวิถีการดําเนินชีวิตดังกลาว ประกอบดวย ขนาด (size) ความหนาแน น (density) และความต า งแบบ (heterogeneity) ดังนั้นในระดับจิตวิทยา ยิ่งเมืองที่มีผูคนจํานวนมากอยูกันอยาหนาแนน และมี ความแตกตางกันในเชิงสังคมและวัฒนธรรมมากเทาไร สิ่งเหลานี้ยอมเปนผลให ผูคนในสังคมเมืองเกิดความเครียด และจําเปนตองมีการปรับตัว ปกปองตนเอง จากการถูกรบกวน ผูคนในสังคมเมืองจึงแนวโนมที่จะปรับตนเองเพื่อรักษาความ สมดุลของจิตใจ พฤติกรรมของคนเมืองที่สะทอนออกมาใหเห็นไดแก การเปนคน 48

Louis Wirth.(1938).“Urbanism as a way of life” American Journal of Sociology.(44) p.1-24

79


ที่รู จัก ชั่ง ตรองด ว ยเหตุ ผล มี ค วามคิ ด ที่ห ลัก แหลม มีค วามรูสึ กที่ เหิ น หา งทาง อารมณจากผูอื่น ในระดับ โครงสรางสัง คม เวิร ธ อธิบ ายวา การที่ผู คนจํ านวนมากอยูกั น อยางหนาแนนและมีความแตกตางกันทางสังคมและวัฒนธรรมสูง จึงสงผลใหเกิด การจํ า แนกแตกต า งในสั ง คมเมื อ งเห็ น ได ชั ด เจนจากการแบ ง แยกแรงงาน (division of labor) มีการแบงสถานที่ในการประกอบกิจกรรมตางๆ เกิดสถาบัน ทางสังคม ประเภทตางๆขึ้นทําใหผูคนมีแบบแผนการใชชีวิตและมีหนาที่ในแตละ เงื่อนไขเวลาแตกตางกัน โดยสรุปวิถีชีวิตแบบเมืองในทัศนะของ เวิรธ จึงเปนสิ่งที่คุกคามตอระบบ ประสาทของคนเมื อง ทํ าให ผูค นมี ความเครีย ด ความแปลกแยก มี ความเป น ปจเจกนิ ยมสู ง และแยกตัวออกจากผู อื่น ทํา ใหเ กิดการจํ าแนกแตกต างขึ้ นใน สังคม สิ่งที่กอใหเกิดปรากฏการณเหลานี้ขึ้นเปนผลมาจากเงื่อนไขเชิงโครงสราง ดานประชากร ไดแก จํานวนที่มีมหาศาล ความหนาแนนทําใหอยูอยางแออัด และ ความแตกตางทางสังคมและวัฒนธรรมที่มากหนาหลายตาในเมือง อยางไรก็ตาม เพื่อ การวิ เคราะหวิ ถีชี วิต แบบเมื องที่ชั ดเจน เวิ รธ ได เสนอประพจน 49เกี่ย วกั บ ลักษณะเชิงโครงสรางของเมืองทั้ง 3 องคประกอบขางตนไว 12 ประการ ดังนี้ 1. ประพจนที่ 1 1. 1 การขยายตัวหรือการเติบโต (growth) และความหลากหลาย (diversity) ในเมืองยังผลใหผูคนในสังคมเมืองมีความผูกพันกันนอย

49

ประพจน (Proposition) หมายถึง ขอความทั่วไปทีบ่ อกถึงความสัมพันธของขอเท็จจริงในทาง สังคมวิทยาคํานี้มีความหมายเชนเดียวกับสมมุตฐิ าน (hypothesis) ที่ไดรับการยืนยันจาก ผลการวิจัยเชิงประจักษในระดับหนึ่ง แตยังไมหนักแนนถึงขนาดทีจ่ ะถือเปนกฎทางวิทยาศาสตรได (ราชบัณฑิตยสถาน 2549:195)

80


1.2 การควบคุม ทางสัง คม (Social Control) ในเมื อ งจะต อ งใช วิธีการแบบเปนทางการ คือ การใชกฎหมายแทนความจงรักภักดี เนื่องจากเปน การยากที่จะทําใหผูคนในเมืองรักษาความเปนระเบียบอยางเครงครัดได 1.3 กลุมทางสังคม ที่มีลักษณะเปนกลุมยอยๆ และผูคนมีลักษณะที่ คลายคลึงกันสามารถที่จะชวยแกไขปญหาของการควบคุมประชากรที่มีความ หลากหลายในเมืองได 2. ประพจนที่ 2 2.1 เมืองที่มีความเจริญหรือการขยายตัวมาก ผูคนที่อาศัยอยูใน สังคมเมืองจะไมรูจักกันเปนสวนตัว 2.2 การติ ด ต อ ระหว า งกั น ของผู ค นที่ อ าศั ย อยู ใ นสั ง คมเมื อ งจะ เปนไปในรูปแบบผิวเผิน ชั่วคราว และเปนเพียงดานใดดานหนึ่ง 2.3 ผูที่อาศัยอยูในสังคมเมืองมักจะถือเอาความสัมพันธทางสังคม เปนเครื่องมือเพื่อนําไปสูเปาหมายบางประการ 3. ประพจนที่ 3 3.1 การแบงแยกแรงงานที่เกิดขึ้นอยางมากในสังคมเมืองจะสัมพันธ กับการเนนการมองความสัมพันธในฐานะของสิ่งที่จะชวยนําไปสูเปาหมายบาง ประการ 3.2 การแบ ง แยกแรงงานที่ พั ฒ นามากขึ้ น มี แ นวโน ม ที่ จ ะทํ า ให บรรษัทขนาดใหญเขามามีอิทธิพลหรือครอบงําตอธุรกิจขนาดเล็ก 3.3 การสร า งบู ร ณาการทางสั ง คมให เ กิ ด ขึ้ น จํ า ต อ งอาศั ย จรรยาบรรณสําหรับกลุมอาชีพตางๆ 4. ประพจนที่ 4 4.1 เมื่ อ การตลาดเจริ ญเติ บ โตขยายตั ว มากขึ้ น จะทํ า ให มี ก าร แบงแยกแรงงานที่ซับซอนมากขึ้นตามไปดวย

81


4.2 การแบงแยกแรงงานตามความชํานัญพิเศษและการพึ่งพาอาศัย กันมีความสัมพันธกับความสมดุลที่ไมมั่นคงในสังคมเมือง (ในกรณีนี้เวิรธไมได อธิบายความหมายไว) 5. ประพจนที่ 5 5.1 จากการที่เมืองขยายตัวมากขึ้นจึงเปนการยากที่จะรวมผูที่อยู อาศัยในเมืองทั้งหมดไวในพื้นที่เดียวกัน 5.2 เมื่ อเป นเช นนี้ จึงมี ความจํา เปน ที่จะตองพึ่งพิ งการคมนาคม ทางอ อ มเพื่ อ ชว ยเผยแพร ข าวสารขอ มู ล สารสนเทศ และความคิ ด เห็น เพื่ อ น นําไปสูการตัดสินใจ โดยจะทําสื่อมวลชนมีบทบาทความสําคัญมากขึ้น 6. ประพจนที่ 6 6.1 ยิ่งความหนาแนนของผูคนในพื้นที่หนึ่งเพิ่มมากขึ้น จะสงผลให มีการแบงแยกแตกตาง (differentiation) และความชํานาญพิเศษมากขึ้นตามไป ดวย 6.2 การแบงแยกแตกตางและความชํานาญพิเศษในความเปนจริง แลวเปนสิ่งที่จําเปนเนื่องจากผูคนมีเปนจํานวนมากขึ้น 7. ประพจนที่ 7 7.1 การติดตอทางรางกายของผูคนที่อาศัยอยูในเมืองจะใกลชิดกัน มาก แตทวารูปแบบของการติดตอกันจะเปนแบบหางเหิน 7.2 กลุมทางสังคมของชาวเมืองจะมีการแบงแยกเปนกลุมๆ โดย การใชสัญลักษณที่เปนรูปธรรมเปนเครื่องบงบอก เชน เครื่องแบบที่สวมใส 8. ประพจนที่ 8 8.1 รู ปแบบการใชที่ ดิน ในเมื องเป นผลมาจากการแขง ขัน เพื่ อให ไดมาซึ่งทรัพยากรที่หายาก 8.2 ความตองการพื้นที่สําหรับการอยูอาศัยของผูคนในเมืองขึ้นอยู กับปจจัยทางสังคมหลายประการ 82


8.3 ผูคนที่มีภูมิหลังและความตองการเหมือนกันจะมีการคัดสรรโดย ไมตั้งใจหรือไดรับความกดดันหรือการถูกบังคับโดยสถานการณใหเขาไปอยูใน พื้นที่เดียวกันของเขตเมือง 9. ประพจนที่ 9 9.1 การปราศจากความผู ก พั น ทางด า นจิต ใจและอารมณ อ ย า ง ใกลชิดระหวางผูรวมงานและระหวางผูที่อาศัยอยูในละแวกบานเดียวกันทําใหเกิด การแขงขันเพื่อหาประโยชนซึ่งกันและกัน มากกวาที่จะเกิดความรวมมือกันและ ชวยเหลือกัน 9.2 การที่ผูคนอาศัยอยูกันอยางแออัดเปนสิ่งแสดงใหเห็นวามีการ ติดตอกันทางรางรายซึ่งมีความถี่มากขึ้น 9.3 การติดตอกันที่มีระดับความถี่มากครั้งและความผูกพันทางดาน อารมณที่อยูเพียงนอยนิดของผูคนยังคงมีอยูในกลุมผูที่ทํางานประจํา 10. ประพจนที่ 10 10.1 การปฏิสัมพันธของบุคคลที่มีบทบาทและบุคลิกภาพแตกตาง หลากหลาย เปนสิ่งที่ชวยทําลายความแตกตางระหวางชนชั้น 10.2 สิ่งที่ตามมา คือ ทําใหโครงสรางทางชนชั้นไมมีความชัดเจน 11. ประพจนที่ 11 11.1 ผู ที่ อ าศั ยอยู ใ นเมื อ งมั ก จะเป น สมาชิ ก ของกลุ ม หลายกลุ ม ความภักดีตอกลุมจึงมักขัดกัน 11.2 เพราะวาผูที่อาศัยอยูในเมืองมีการเคลื่อนยายทางภูมิศาสตร การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคม 11.3 สิ่งที่ตามมาอีกประการหนึ่ง คือ ผูที่อาศัยอยูในเมืองมักจะมี ความเปนอยูที่สลับซับซอน (sophisticated)

83


12. ประพจนที่ 12 12.1 การแบงแยกแรงงานประกอบกับการเนนความสัมพันธเพียง ดานใดดานหนึ่งมีอิทธิพลทําใหเกิดการลดระดับชั้นใหเสมอกัน 12.2 อิทธิพลของการปรับแปลงดังกลาวเห็นไดจากการที่คนในเมือง มองสิ่งตางๆในแงของตัวเงิน 12.3 การปรับใหเปนมาตรฐานเดียวกันทําใหเกิดการมีลักษณะรวม ทางวัฒนธรรมประการขึ้นในสังคม นอกจากที่ เวิรธ ไดนําเสนอประพจนเกี่ยวกับลักษณะเชิงโครงสรางของ เมืองแลว เวิรธ ยังไดทําการเปรียบเทียบความแตกตางระหวางชีวิตในเมืองและ ชนบทเพื่อใหเกิดภาพความเขาใจวิถีชีวิตแบบเมืองมากขึ้น ซึ่งสามารถสรุปไดดัง ตาราง ดังนี้50 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบในชีวิตสังคมเมืองและสังคมชนบท สังคม เมือง ชนบท ประเด็น ความสัมพันธ ผูค นมี ความสั มพั นธ ระหว า ง ผูคนมีความสัมพันธระหวาง ทางสังคม กันนอย กันมาก รูปแบบของความ ไมเปนสวนตัว ผิวเผินชั่วคราว สนิ ท สนม เป น ส ว นตั ว เกื อ บ สัมพันธทางสังคม เ ฉ พ า ะ ด า น ใ ด ด า น ห นึ่ ง แทบจะทุกมิติของชีวิต มีความ มุงหวังเพียงเพื่อเปนแนวทาง เ ป น อั น ห นึ่ ง อั น เ ดี ย ว กั น ให บ รรลุ เ ป า หมายของตน มี สั ญชาตญาณข อง ความ ผู ค นไม มี ค วามผู ก พั น อย า ง รวมมือ ใกลชิดทางดานอารมณ 50

Ribben,GF.(1979).Pattern of Behavior. New York : Edwared Arnold Publishing. P 237.

84


สังคม ประเด็น การเปนสมาชิก ของกลุม

ความหนาแนน ของประชากร

เมือง

ชนบท

ชาวเมือ งมั กเปน สมาชิ กของ กลุมหลายกลุม จึงทําใหขาด จิตสํานึกในการจงรักภักดีตอ เฉพาะกลุมใดกลุมหนึ่ ง และ มักมีการปฏิสัมพันธทางสังคม คบหาสมาคมกั บ บุ ค คลอื่ น มากกวา ประชากรในเมื อ งมี จํ า นวน มากและมีความหนาแนนสู ง ส ง ผลให เ กิ ด การแบ ง แยก แรงงานมาก

ชาวชนบทมักเปนสมาชิกของ กลุ ม เดี ย วกั น จึ ง ส ง ผลให มี ความเป น ป ก แผ น ต อ ชุ ม ชน สังคมสูง มีการปฏิสัมพันธทาง สังคมภายในและภายนอก

ประชากรในชนบทมีจํานวนไม มากนัก คนๆหนึ่งสามารถที่จะ มี ทั ก ษ ะ ใ น ท า ง แ ร ง ง า น ที่ หลากหลายภายใตบริบททาง สังคมชนบท

อาจกลาวไดวา วิถีชีวิตแบบเมืองตามทัศนะของเวิรธ นั้นชาวเมืองจะมีวิถี ชีวิตเฉพาะแบบและแตกตางจากวิถีชีวิตของชาวชนบท ชาวเมืองนั้นจะตองมีวิถี ชีวิตซึ่งตองพึงพาอาศัยกันเปนอยางมาก ชาวเมืองตองแยกแยะชีวิตทางสังคม ออกเปนสวนๆ ชาวเมืองมักจะมีการแสดงออกอยางไมเปนไปตามธรรมขาติที่ แทจริง พฤติกรรมตางๆ ของชาวเมืองจึงตองเปนไปตามที่มีแบบแผนใหยึดถือ ปฏิบัติ กลาวโดยสรุปทฤษฎีนี้ชี้ใหเห็นวา วิถีชีวิตแบบเมืองเปนสิ่งที่ทําใหเกิดการ เสียระเบียบขึ้นในสังคม และเกิดความรูสึกสับสนขึ้นในตัวบุคคล วิถีชีวิตของผูคน ที่อาศัยอยูในเขตเมืองตามทฤษฎี เมืองหรือมหานครประกอบไปดวยผูคนที่มาอยู รวมกันเปนจํานวนมาก และหนาแนน ผูคนมีความแตกตางกันมากทางสังคมและ วัฒนธรรม ดวยปจจัยเหลานี้จึงสงผลใหความสัมพันธทางสังคมของผูคนที่อาศัย 85


อยูในเขตเมืองเปลี่ยนไปเปนความสัมพันธแบบทุติยภูมิ ผูคนไมมีความสัม พันธ กันเปนสวนตัว ผิวเผิน ชั่วคราว และมีเพียงดานใดดานหนึ่งของชีวิตเทานั้น ดังนั้น คนในเมืองจึงเปนคนที่ใชเหตุใชผลมีความเปนอยูอยางซับซอน และเปนบุคคลที่ คอนขางโดดเดี่ ยว อย างไรก็ต าม ทฤษฎีนี้ได ถูกวิจารณวามีข อจํากัด อยูหลาย ประการ เชน ลักษณะของคนเมือง (Urbanities) ที่เวิรธเสนอใหเห็นเปนลักษณะ ของผูคนในสังคมแบบมวลชน (mass society) ซึ่งสะทอ นลักษณะของสังคม อุตสาหกรรมโดยทั่วไปมากกวา “คนเมือง” หรือคนที่ใชชีวิตอยูในมหานคร51 ทฤษฎีองคประกอบ (Composition Theory) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้ คือ เฮอรเบิรต แกนด (Hebert Gans) จากขอเขียนที่ชื่อ “Urbanism and Urbanism as Ways of life : A Re-evaluation of definitions”52 ไดสะทอนภาพเมืองหรือมหานครวาประดุจดังภาพเขียนหรือบท ประพัน ธที่ ประกอบไปดว ยส วนตางๆของโลกทางสั งคม (mosaic of social worlds) ซึ่งเปนสังคมยอยที่สมาชิกมีความใกลชิดสนิทสนมกัน โดยมีพื้นฐานมา จากความเปน เครื อญาติ ชาติพั นธุ เพื่ อ นบาน อาชีพ เดี ยวกัน มีแ บบแผนการ ดําเนินชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพคลายคลึงกัน โดยสภาวการณเหลายังคงดํารงอยู ในเมือง ถึงแมวาเมืองหรือมหานครจะมีสภาพแบบเมืองสูงดังที่เวิรธไดเสนอไว แต แกนด กลั บ อธิ บ ายว า สิ่ ง ที่ มี ค วามสํ า คั ญต อ ชาวเมื อ งมากกว า ขนาด ความ หนาแนน และความหลากหลายของประชากร คือ ลั กษณะของความเปนชุมชน ทองถิ่น กลุมปฐมภูมิของผูคน ทั้งนี้เพราะวาคนที่ใชชีวิตในมหานครมิได เกี่ยวของ กับชาวเมืองโดยสวนรวม แตในชีวิตประจําวันของผูคนนั้น ผูคนแตละคนลวนใช พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม. หนา 8 52 Hebert Gans.(1972).”Urbanism and Urbanism as Ways of life” : A Re-evaluation of definition” in J.J.Palen and K.Fleming(eds.) Urban America .New York :Holt, Rinehart and Winston. 51

86


ชีวิตอยูภายในสวนเสี้ยวของโลกทางสังคมที่ตางแบบกัน โลกที่ตางแบบของแตละ คนเหล า นี้ น อกจากจะไม ก อ ให เ กิ ด ความรู สึ ก แปลกแยกแล ว ยั ง ถื อ เป น เกาะ คุมครองปองกันสมาชิกจากสิ่งคุกคามหรือิทธิพลจากสังคมภายนอกอีกดวย53 จากผลงานของแกนดที่ศึกษาวิถีชีวิตของผูคนที่อาศัยอยูในเขตเมืองและ ชานเมือง สะทอนถึงความแตกตางระหวางวิถีชีวิตของผูคนที่อาศัยอยู ในเมือง สมัยใหมและวิถีชีวิตของผูคนที่อาศัยอยูในเขตชานเมือง โดยเปนการนําเอาแนว ทฤษฎีวิถีชีวิตแบบเมืองของเวิรธมาตรวจสอบอีกครั้ง โดยเฉพาะอยางยิ่งขอเสนอ เกี่ ยวกั บขนาด ความหนาแน นและความตา งแบบกัน ของประชากรในเมือ งมี ผลกระทบทางสังคมวัฒนธรรมที่สะทอนใหเห็นลักษณะเดนของชีวิตผูคนในเมือง คือ 1) การที่กลุมคนหลายประเภทเขามาใชชีวิตรวมกันในพื้นที่จํากัด ทําใหผูคนที่มีลักษณะคลายคลึงกัน รูจักและมีความใกลชิดสนิทสนมกัน เริ่มมี ความหางเหินจากกัน 2) การติดตอกันทางสังคมของผูคนที่เขามาอาศัยอยูในเมือง ทําให แบบแผนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยูเดิมเริ่มเสื่อมสลาย และกอใหเกิดการ กลื น กลายเข า สู วั ฒ นธรรมเมื อ ง (assimilation) หรื อ การแลกเปลี่ ย นทาง วัฒ นธรรมหรื อ เกิด การผสมผสานทางเชื้ อ ชาติ แ ละวั ฒนธรรม (melting pot effect) ผลกระทบดังกลาวจะมีพลังมากกวาแนวโนมการแบงแยกกลุม และจะทํา ใหบุคคลไดรับความกดดันทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และความสัมพันธ อันใกลชิดระหวางบุคคลก็จะถูกทําลายลงในที่สุด แกนดสรุปผลที่ไดจากการศึกษาวา 1) ขอสรุปที่ไดจากการศึกษาเขตเมือง ชั้นในหรือใจกลางเมืองไมสามารถนําไปใชเปนขอสรุปทั่วไปสําหรับการอธิบาย สังคมเมืองไดโดยรวม 2) ยังไมมีหลักฐานเพียงพอที่จะตัดสินใจไดวาจะยอมรับ 53

พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม. หนา 9

87


หรือปฏิเสธสมมติฐานของเวิรธที่วาขนาด ความหนาแนน และความตางแบบของ ประชากรกอใหเกิดผลในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ผลการศึกษาตางๆ ในเวลาตอมาชี้ใหเห็นวา มหานครหรือเมืองเปนแหลงที่ ดึงดูดผูคนจากชนบทยายถิ่นเขามาทํางานและตั้งถิ่นฐานเปนชุมชนอยูภายในเขต เมือง กลุมผูยายถิ่นเหลานี้ยังคงมีแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมไมแตกตางไปจาก ที่เคยอยูในชนบท บางกรณีผูยายถิ่นอาจเขามาตั้งถิ่นฐานที่อยูใกลกับเพื่อนบาน ที่มาจากทองถิ่นเดียวกัน ดังนั้น ความสัมพันธระหวางคนเหลานี้ยังคงมีความ ใกลชิดแบบชาวชนบทอยู รวมทั้งอาจมีคานิยมและทัศนคติแบบชนบทอีกดวย นอกจากนี้ แกนดยังกลาววา คําอธิบายเกี่ยวกับชีวิตของผูคนในเมืองของเวิรธ เหมาะที่สุดสําหรับผูที่อาศัยอยูในเขตเมืองเพียงชั่วคราว ในพื้นที่ที่เปนที่อยูอ าศัย ของคนเหลานี้จะประกอบดวยผูคนที่มีความแตกตางกันมาก อาจจะมาอาศัยอยู เพราะไมมีทางเลือกหรืออาจจะเตรียมยายออกไปอาศัยอยูที่อื่น จึงไมมีความ ตองการเพื่อนที่ที่ตองมีลักษณะเหมือนกันกับตน ภายใตเงื่อนไขของการอาศัยอยู เพี ย งชั่ ว คราว และในสภาพที่ ผู ค นมี ค วามแตกต า งกั น มาก คนเหล า นี้ จ ะมี ปฏิสัมพันธกันโดยใชบทบาทใดบทบาทหนึ่งเพียงเพื่อความจําเปนสําหรับบริการ ของชุ มชน ความสั มพั น ธข องกลุ ม คนเหลา นี้ จึง เป นความสัม พัน ธ แบบไมเ ป น สวนตัวและมีลักษณะผิวเผิน54 ในระยะแรกเริ่ ม การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ เขตที่ อ ยู อ าศั ย ส ว นใหญ จ ะเป น การศึกษาในพื้นที่สวนตางๆ ซึ่งจํากัดอยูในเขตเมืองชั้นใน และมีจํานวนนอยมาก ที่เปนการศึกษาเกี่ยวกับการตั้งแหลงที่อยูอาศัยในเขตเมืองชั้นนอก แกนดจึงได เสนอความเห็ น ว า สิ่ ง ที่ จ ะใช อ ธิ บ ายวิ ถี ชี วิ ต ในพื้ น ที่ ทั้ ง สองแบบได ดี ที่ สุ ด คื อ ความสั ม พั น ธ แ บบ “กึ่ ง ปฐมภู มิ ” (Quasi-primary) ซึ่ ง เป น ลั ก ษณะของ ความสัมพันธระหวางเพื่อนบานไมวาจะเปนความเหนียวแนน หรือความถี่ของ 54

พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 10

88


ความสั ม พั น ธ การปฏิ สั ม พั น ธ ข องผู ค นจะมี ค วามใกล ชิ ด สนิ ท กั น มากว า ความสั ม พั น ธ แ บบทุ ติ ย ภู มิ แต ท ว า ไม มี ค วามสนิ ท สนมกั น มากกว า เท า กั บ ความสัมพันธแบบปฐมภูมิ แกนด เสนอวาการศึกษาวิถีชีวิตของผูคนทั้งในเขต เมืองและเขตชานเมือง ตองพิจารณาจากปจจัยทางดานชนชั้น ทางสังคมและ ขั้นตอนของวัฎจักรชีวิตของบุคคล โดยไดสรุปขอเสนอไว 3 ประการ คือ55 1) ตองมีการจําแนกความแตกตางระหวางวิถีชีวิตในเขตเมืองชั้นใน กับเขตเมืองชั้นนอก และชานเมือง และแสดงใหเห็นวาวิถีชีวิตในเขตเมืองชั้นนอก เขตชานเมืองมีความคลายคลึงกับวิถีชีวิตแบบเมืองของเวิรธเพียงเล็กนอยเทานั้น 2) ในเขตเมื อ งชั้ น ในผู ค นจะมี วิ ถี ชี วิ ต เหมื อ นกั บ ข อ เสนอของ เวิรธเพียงบางสวนเทานั้น ยิ่งกวานั้นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางวัฒนธรรม ขั้นตอนของวัฎจักรชีวิตและความมั่นคงดานที่อยูอาศัย เปนตัวอธิบายวิถีชีวิตของ ผูคนในเมืองไดดีกวาขนาด ความหนาแนน และความแตกตางหลากหลายเชิง สังคมวัฒนธรรม 3) ความแตกตางในลั กษณะกายภาพและดานอื่นๆ ระหวา งเขต เมืองและเขตชานเมืองมักจะไมมีอิทธิพลหรือไมมีความหมายตอวิถีชีวิตเทาใดนัก ขอเสนอทั้งสามชี้ใหเห็นวามโนทัศนเมืองและชานเมืองไมใชประเด็นที่ใช เปนคําอธิบายหรือเปนประเด็นเฉพาะที่จะทําใหเขาใจวิถีชีวิตแบบเมือง มโนทัศน ทางดานนิเวศวิทยา เชน ขนาด ความหนาแนนและความตางแบบของผูค นยอมมี ความสําคัญไมนอยเชนกันในการอธิบายการปรับตัวของมนุษยใหสอดคลองกับ สิ่งแวดลอมแบบเมือง อยางไรก็ตามมโนทัศนทางนิเวศวิทยาก็ยังไมเพียงพอที่จะ ใช อ ธิ บ ายปรากฏการณ ท างสั ง คมเพราะปรากฏการณ ท างสั ง คมมี ค วาม หลากหลายซับซอนมากกวาที่จะอธิบายดวยมโนทัศนชุดใดชุดหนึ่ง กลาวโดยสรุป ภาพวิถีชีวิตของผูคนที่อาศัยอยูในเมืองตามแนวทฤษฎีองคประกอบนั้นมีความ 55

พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 11-12

89


แตกตางจากแนวทฤษฎีคตินิยมแบบเมือง กลาวคือ ทฤษฎีองคประกอบเสนอวา ในสังคมเมืองผูคนจะมีความสัมพันธแบบ ”กึ่งปฐมภูมิ” ความสัมพันธชนิดนี้ผูคน จะมีความสัมพันธที่สนิทสนมกันมากกวาความสัมพันธแบบทุติยภูมิ แตนอยกวา ความสัมพันธแบบปฐมภูมิ โดยตองพิจารณาเงื่อนไขทางดานชนชั้นทางสังคมของ ผูที่อาศัยอยูในเมืองและขั้นตอนวัฎจักรของชีวิต เชน การเปลี่ยนแปลงสถานภาพ ทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม ลักษณะของครอบครัว ฯ เปนตัวอธิบายดวย ทฤษฎีวัฒนธรรมยอย (Subcultural Theory) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้คือ โคลด ฟชเชอร (Claude Fischer) จากขอเขียนที่ชื่อ วา “Toward a subculture theory of urbanism”56 ไดเสนอความคิดวา ปจจัย ดานนิเวศวิทยาโดยเฉพาะอยางยิ่งขนาดหรือจํานวนประชากรในเมืองกอใหเกิด “โลกทางสังคม” (social world) กลุมตางๆ ที่มีความเชื่อและพฤติกรรมที่แตกตาง ไปจากคนสวนใหญ ทฤษฎีวัฒนธรรมยอยจึงมีวัตถุประสงคที่จะศึกษาที่มาของ การกระทําทางสังคม แบบแผนความสัมพันธทางสังคมภายในปรากฏการณหรือ กลุมทางสังคมระดับยอย กลุมที่บุคคลจะตองสัมผัสเกี่ยวของโดยตรงทั้งแบบเปน ทางการและไมเปนทางการในชีวิตประจําวันของตน ฟชเชอร อธิบายวาวัฒนธรรมยอยเปนสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อแกปญ หาใหกับ ผูคนที่มาอยูรวมกัน วัฒนธรรมยอยที่เกิดจากผูคนที่อาศัยอยูในสังคมเมืองจะมี ลักษณะแตกตางไปจากวัฒนธรรมยอยของผูคนที่อาศั ยอยูภายนอกสังคมเมือง เช น วั ฒ นธรรมย อ ยของกลุ ม ผู ย า ยถิ่ น เข า มาอาศั ย อยู ใ นเขตเมื อ งจะต อ งมี มาตรฐาน และที่สํ า คัญ คื อ ต อ งมี รู ป แบบของพฤติ ก รรม และค านิ ย มซึ่ง เป น สัญลักษณที่มีความหมายเฉพาะสําหรับบุคคลที่มาอยูรวมกันในชีวิตประจําวัน วั ฒ นธรรมย อ ยเป น สิ่ ง ที่ ทํ า ให เ ข า ใจการปฏิ สั ม พั น ธ ข องมนุ ษ ย ที่ ส วนกระแส 56

Claude Fischer.(1975). “Toward a subculture theory of urbanism” in American Journal of Sociology (80).p.1319-1314

90


วัฒนธรรมและระบบสัญลักษณหลักในระดับโครงสราง วัฒนธรรมยอยเปนตัว ชี้ใหเห็นวาวัฒนธรรมเปนเครื่องมือและสิ่งที่ทําใหเกิดการรวมตัวกันทางสังคมของ บุค คลอย า งไร และในระดั บบุ ค คลเป น ตัว บง ชี้ ความหมายของการแสดงออก ภาพลักษณ (image) และเอกลักษณ (identity) ของบุคคลในวัฒนธรรมยอยนั้น ในทัศนะของฟชเชอร ย้ําวาวิถีชีวิตแบบเมืองมีผลกระทบตอการดํารงชีวิตทาง สังคม คือ ไมเพียงแตไมทําลายกลุมทางสังคมแตกลับเปนสิ่งที่ชวยสรางความ แข็ งแกร ง ให กับ กลุม ในสั งคมที่ มีข นาดใหญ ผูค นมี ค วามแตกต างกัน มาก เช น ความแตกตางตามกลุมอาชีพ กลุมเชื้อชาติ ฯ แตละกลุมจะมีรูปแบบพฤติกรรม และความเชื่อซึ่งมี ลักษณะเดนเฉพาะเปนของตนเอง กลุมตางๆในสังคมเมือง ไดรับผลกระทบจากวิถีชีวิตแบบเมือง ความแตกตางระหวางชนบทและเมืองทํา ใหเกิดมีวัฒนธรรมยอยใหมๆขึ้น โดยบุคคลจะมีการปรับแปลงวัฒนธรรมเดิม และ นํามาใชติดตอซึ่งกันและกันในการดําเนินชีวิตประจําวันของตน57 ฟชเชอร เสนอความคิดพื้นฐานของทฤษฎีวัฒนธรรมในรูปของประพจน 4 ประการ ดังนี้58 ขอเสนอ 1 พื้นที่ที่มีความเปนเมืองจะมีวัฒนธรรมยอยตางๆเกิดขึ้นอยาง หลากหลาย การมาอยูรวมกันของประชาชนเปนจํานวนมาก ทําใหเกิดวัฒนธรรม ยอยแตกตางกั นมาก ปรากฏการณ ทางสัง คมวัฒนธรรมดังกลา วเกี่ยวของกั บ กระบวนการ 2 กระบวนการ คือ 1) ขนาดของประชากรกอใหเกิดการจําแนกแตกตางทางโครงสราง ตลอดจนกระบวนการปฏิสัมพั นธของบุคคล ขณะเดีย วกันผลกระทบจากการ แข ง ขั น ความได เ ปรี ย บในด า นผลประโยชน แ ละการเลื อ กสรรความสั ม พั น ธ กอใหเกิดการจําแนกแตกตางระหวางระบบยอยรวมทั้งภายในระบบยอยเอง สิ่งที่ 57

พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 13 58 พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 13-16

91


ตามมา คือ การจําแนกแตกตางทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอยางยิ่ง ในดานชนชั้น ทางสังคม อาชีพ วัฎจักรชีวิต และกลุมผลประโยชน 2) วิถีชีวิตในมหานครทําใหมีวัฒนธรรมยอยที่หลากหลายจากการ ยายถิ่นเขา โดยทั่วไปพื้นที่ทางภูมิศาสตรที่มีขนาดใหญมากขึ้น และมีกลุมตางๆ มากมายอาศั ย อยู จ ะทํ า ให ผู ย า ยถิ่ น หลั่ ง ไหลเข า มาตั้ ง ถิ่ น ฐาน จนทํ า ให เ กิ ด วัฒนธรรมยอยของกลุม ผูยายถิ่ นแตละกลุม กระบวนการนี้เห็ นได ชัด เจนตาม ขนาดของเมือง คือ ยิ่งเมืองมีขนาดใหญมากขึ้นเพียงใดก็ยิ่งจะมีกลุมวัฒนธรรม ยอมพัฒนาขึ้นมาเปนจํานวนมากขึ้นเพียงนั้น ขอเสนอ 2 ยิ่งพื้นที่ที่มีความเปนเมืองมากเพียงใดยิ่งทําใหวัฒนธรรมยอยมี ความเหนียวแนน (intensity) มากขึ้นเพียงนั้น ความเหนี ยวแน น เปน ภาวะตรงข า มกั บ ภาวะไรบ รรทั ด ฐานทางสั ง คม (anomie) ความเหนียวแนน คือ การที่สมาชิกมีความรูผูกพันตอความเชื่อ คานิยม บรรทัดฐาน และขนบประเพณีของวัฒนธรรมยอย ซึ่งเกี่ยวของกับกระบวนการ 2 กระบวนการ คือ 1) ยิ่ ง ประชากรของวั ฒ นธรรมย อ ยมี ข นาดใหญ ม ากขึ้ น เพี ย งใด วั ฒ น ธ ร ร ม ย อ ย นั้ น จ ะ มี “ค ว า ม ส ม บู ร ณ เ ชิ ง ส ถ า บั น ” ( institutional completeness) คือ ความสามารถในการสนองความตองการพื้นฐานของสมาชิก ได อ ย า งครบถ ว นมากขึ้ น เพี ย งนั้ น กล า วคื อ จํ า นวนคนที่ มี ม ากพอในกลุ ม วัฒนธรรมยอยนั้นๆ จะทําใหสามารถที่จะแบงหนาที่ของสมาชิก และสามารถ สรางลักษณะความเปนสถาบัน เชน รูปแบบการแตงาย หนังสือพิมพ ฯ ของกลุม วัฒนธรรมยอยขึ้นมาได ลักษณะความเปนสถาบันจะชวยสงเสริมวัฒนธรรมยอย และเปนที่มาของอํานาจชอบธรรม เปนศูนยรวมของผูคนใหมาอยูรวมกัน 2) องค ป ระกอบที่ ทํ า ให วั ฒ นธรรมย อ ยมี ค วามเหนี ย วแน น อี ก ประการหนึ่ง คือ ความสัมพันธระหวางกลุม พื้นที่ที่มีวัฒนธรรมยอยหลากหลาย จะทําใหเกิดความแตกตางและความขัดแยงระหวางกัน ผลที่ตามมาคือ จะทําให 92


แตละวัฒนธรรมมีความเหนียวแนนมากขึ้น ในระดับกลุมจะทําใหมีความเชื่อม แนน (cohesion) มากขึ้น เนื่องจากจะมีการแขงขันและความขัดแยงระหวางกัน มากขึ้ น ในระดั บ บุ ค คล การพบปะกั บ คนแปลกหน า จะทํ า ให เ กิ ดการตอกย้ํ า มาตรฐานของกลุมตนมากขึ้น ขอเสนอ 3 ยิ่งพื้นที่ที่มีความเปนเมืองมากเพียงใด ยิ่งมีแหลงแพรกระจาย (diffusion) ของวัฒนธรรมยอยหนึ่งๆมากขึ้นเพียงนั้น การแพรกระจาย หมายถึง การปรั บแปลงดานความเชื่อ พฤติ กรรมของ สมาชิกในวัฒนธรรมยอยตางๆภายในเมือง อัตราและทิศทางของการปรับแปลง จะผันแปรไปตามระดับความเหนียวแนน ความแตกตางระหวางกลุมวัฒนธรรม ยอย รวมทั้งระดับการสัมผัสติดตออํานาจและเกียรติภูมิของแตละกลุมวัฒนธรรม ขอเสนอนี้มีความสําคัญ คือ กระบวนการสรางความเหนียวแนนของวัฒนธรรม ยอยในเมื อง จะดํ าเนิน สวนทางกับ กระบวนการอื่ นๆ ถ าไมพิ จารณาถึ งความ ขัดแยงระหวางวัฒนธรรม การแยกตัว ออกจากวัฒนธรรมยอย การปรับแปลง บางอยางจะมีความเปนไปไดสูง เมื่อกลุมตางๆอยูใกลกันและตองพึ่งพิงกัน ผลที่ เกิ ด ขึ้ น ตามมา คื อ การผสมผสานและการรวมตั ว กั น ใหม ข ององค ป ระกอบ ทางดานวัฒนธรรม ทําใหเกิด “นวัตกรรมทางสังคม” (social innovations) แบบ ตางๆขึ้น ขอเสนอ 4 ยิ่งพื้นที่ที่มีความเปนเมืองมากขึ้นเพียงใด อัตราการยึดถือแบบ แผนพฤติกรรมที่ไมเปนไปตามประเพณีปฏิบัติ (unconventionality) ของสวนรวม จะสูงมากขึ้นเพียงนั้น ขอเสนอที่ 4 สามารถอธิบายไดดวยกระบวนการที่สืบเนื่องมาจากขอเสนอ 3 ขอแรก คือ 1) ยิ่ ง วั ฒ นธรรมย อ ยต า งๆมี ค วามแตกต า งหลากหลายและมี ลักษณะเฉพาะของตนเองมากเพียงใดจะทําใหเกิดพฤติกรรมที่หักเหหรือเบี่ยงเบน ออกจากบรรทัดฐานทั่วไปของสังคมมากขึ้นเพียงนั้น 93


2) ขนาดและลักษณะเฉพาะตนของกลุมวัฒนธรรมยอย ทําใหแบบ แผนพฤติ ก รรมที่ แ สดงลั ก ษณะเฉพาะตั ว ของกลุ ม หรื อ วั ฒ นธรรมย อ ยนั้ น ๆ เกิดมากขึ้นจนอาจนําไปสูวัฒนธรรมผูเบี่ยงเบน 3) ยิ่งมีแหลงการแพรกระจายทางวัฒนธรรมยอยมากเพียงใด ยิ่งมี การแพรกระจายของวัฒนธรรมยอยหรือการยอมรับแบบแผนของวัฒนธรรมยอย นั้นๆมากขึ้นเพียงนั้น ฟชเชอร มีความเห็นวากระบวนการทั้ง 3 นี้สามารถอธิบายความสัมพันธ ระหวางวิถีชีวิตเมืองกับความคิดและพฤติกรรมของบุคคลที่แตกตางไปจากคน สวนใหญในสังคมไดดีกวาทฤษฎี คตินิยมแบบเมื อง โดยเห็นวาการทําการ ความเข า ใจวิ ถี ชี วิ ต ของผู ค นในสั ง คมเมื อ งนั้ น จะต อ งพิ จ ารณาป จ จั ย ด า น นิเวศวิทยา เชน ความหนาแนนของประชากร ความแตกตางของประชากร และที่ สําคัญที่สุด คือ ขนาดของประชากรที่มีจํานวนมาก เนื่องจากปจจัยเหลานี้เปน ตัวกําหนดชีวิตทางสังคมของชาวเมือง และเปนเงื่อนไขของการเกิดวัฒนธรรม ยอยตางๆ ทฤษฎีภาวะเกินกําลังของสภาวะแบบเมือง (Theory of Urban Overload) ผูที่คิดคนทฤษฎีนี้ มิลแกรม สแตลลี่ (Milgram Stanly) จากขอเขียนที่ชื่อ “The experience in living cities”59 ซึ่งเสนอวา การศึกษาชีวิตผูคนในเมืองต อง ทําความเขา ใจความเชื่อ มโยงระหว างประสบการณ ของบุคคลกับ เงื่อ นไขเชิ ง ประชากรศาสตรของชีวิตในเมือง โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกวา “ภาวะสิ่ง เรา เกิน กําลั ง” (Stimulus Overload) กลาวคือ ในชี วิตประจํ าวัน ผูคนในเมือ ง จะตองเผชิญกับสิ่งเราจํานวนมากเกินกวาที่ บุคคลหนึ่งๆ สามารถจะจัดการได เนื่องจากบุค คลตอ งประสบกับการตอ งพบหน าคนอื่ นอยา งตอเนื่ องเกิ นภาระ 59

Milgram Stanly. (1970) “The experience in living cities” in Science (167). p 1461-1468

94


กําลังที่จะสามารถปรับตนเองใหสอดคลองกับเงื่อนไขจําเปนดังกลาว แนวคิดของ ไมแกรมได อ าศั ย รากฐานความคิ ด ของ เก-ออร ก ซิ ม เมิ ล (Georg Simmel) จากขอเขียนที่ชื่อ “The Metropolis and Mental life”60 ที่กลาววาคนในเมือง จําเปนตองธํารงชีวิตแบบผิวเผินและไมรูจักหนาคาตาที่แทจริงระหวางกัน เพื่อ ปกปองชีวิตทางจิตของตนเอง ดังที่ ซิมเมิลพรรณนา ไววา “จากการขามทองถนนแตละครั้ง จากจังหวะและความ ซับซอนหลากหลายของชีวิตทางเศรษฐกิจ อาชีพ สังคม เมืองได สร า งสภาวการณ ที่ แ ตกต า งอย า งมาจากชี วิ ต ชนบทในด า น รากฐานประสาทสัมผัสของชีวิตทางจิตวิญญาณ เมืองไดสราง เงื่อนไขใหกับมนุษยในฐานของสัตวที่มีการแยกแยะ เลือกปฏิบัติ ตอสิ่งตางๆ จึงตองใชจิตสํานึกมากกวาชีวิตในชนบท ที่ซึ่งจังหวะ ชีวิตและจินตนาการทางจิตดําเนินไปอยางเชื่อ งชา จากความ เคยชินและราบเรียบมากกวา เมื่อเปนเชนนี้ ลักษณะอันซับซอน ของชีวิตทางจิตในเมือง จึงมีลักษณะแตกตางอยางชัดแจงจาก ชีวิตเมืองเล็ก ซึ่งมีรากฐานมาจากความสัมพันธในเชิงอารมณ ความรูสึกที่ลุมลึกมากกวา”61 มิลแกรม อธิบายถึงผลกระทบจากความหนาแนนของจํานวนประชากร และลักษณะของการพบหนากันในสภาพแวดลอมแบบเมือง ซึ่งบุคคลจําเปนตอง มีกลไกในการปรับแปลงตนเอง (adaptive mechanism) ไว 2 ประการ คือ62

60

Georg Simmel. (1950). “The Metropolis and Mental life” in pp409-424 K.Walf (ed And trans) The Sociology of Georg Simmel. Glencore,II:The Free Press. 61 อางถึงใน พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 24 62 พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 25-26

95


1) จากลั ก ษณะเชิ ง ประชากรศาสตร ข องเมื อ ง คื อ คนเมื อ งต อ ง จัดลําดับความสําคัญของปรากฏการณที่เขาตองคํานึงถึงในชีวิตประจําวัน ดังนั้น จึ ง ต อ งกํ า หนดหลั ก การคั ด สรรเพื่ อ ใช ใ นการประเมิ น ว า จะต อ งใช เ วลาและ พลังงานมากนอยเพียงใดในการจัด การกับสิ่งเหลานั้น ตัวอยางเชน เราสามารถ เข า ใจได ว า ทํ า ไมชาวเมื อ งจึ ง ไม “สนใจใยดี ” กั บคนเร ร อ นตามท อ งถนน อุ บั ติ ก ารณ ดั ง กล า วจะถู ก จั ด ให อ ยู ใ นลํ า ดั บ ท า ยสุ ด เพราะว า หากต อ งเข า ชวยเหลือคนเหลานี้ทุกกรณีแลว เขาจะไมมีเวลาทําอยางอื่นนอกเหนือไปจากการ คอยชวยเหลือคนยากลําบากตามทองถนน ความถี่ของสถานการณเหลานี้ มีมาก เกินกวาที่ผูคนในเมืองจะจัดการในลักษณะตอเนื่อง เมื่ อเปนเชนนี้ ภาวะนิรนาม (anonymity) หรือความไมรูใครเปนใครในเมือง รวมทั้งความไมสนใจใยดีคนอื่นๆ ในที่สาธารณะจึงเปนสิ่งที่เขาใจไดวาเปนการตอบสนองที่จําเปนตอ “สภาวะเรา เกินกําลัง” (overstimulation) ของสภาวการณในเมือง ดวยเหตุนี้จึงเขาใจไดวา ทําไมคนในเมืองจึงมี“ความรับผิดชอบตอสังคม”นอยลงเปนลําดับ 2) ผลที่เกิดขึ้นจากสภาวะเราเกินกําลัง ทําใหผูคนในเมืองตองสราง บรรทัดฐานการไมยุงเกี่ยวกัน (non-involvement) ขึ้นมาเพื่อใชในการปรับแปลง ทางสั ง คมของตน สว นหนึ่ งของบรรทั ดฐานนี้ คื อการใหค วามสํา คั ญกั บ ความ สุภาพในชีวิตทางสังคมลดนอยลง “ผูคนที่เดินชนกันมีนอยคนที่จะกลาวขอโทษ กัน” บรรทัดฐานนี้อาจมีผลกระทบอยางมากไปจนถึง “ผูชายเกิดความรูสึกกระอัก กระอวนใจอยา งยิ่งที่จะสละเก าอี้ใหคนแก ผูห ญิงนั่งในรถโดยสารสาธารณะ” ปรากฏการณเหลานี้จึงสะทอนใหเห็นแกนสารของภาวะนิรนามของเมือง อยางไร ก็ตามภาวการณดังกลาวไมจําเปนตองกอใหเกิดความรูสึกที่เลวรายเสมอไป ใน เชิงบวก ภาวะนิรนามสามารถที่จะทําใหผูคนในเมืองมีความอดทนตอผูเบี่ยงเบน ไดหรืออาจทําใหบุคคลผูมีรอยมลทิน (stigmatized persons) ไดรับการยอมรับ หรือหวงใยมากขึ้นในบริบทเมือง จึงกลาวไดวาเมืองให “ผลประโยชนในดานการ ปกปอง” (protective benefits) ที่ไมมีในเมืองเล็กๆ 96


คนเมืองจึงเรียนรูที่จะปกปองตนเองจากการรุกล้ําของผูอื่นในที่สาธารณะ เชนมักใช“เครื่องมือ” เชน หนังสือพิมพ เพื่อใชในการปองกันการรบกวนจากผูอื่น และบอกเป น โดยนั ย ว า ไม ต อ งการมี ป ฏิ สั ม พั น ธ กั บ ใคร ณ ช ว งเวลาใดเวลา ดังกลาว หรือกรณีการใช Walkman ของคนเมืองเปนเครื่องมือสําหรับเปดรับสื่อ และปดรับสื่อในเวลาเดียวกัน ผลที่ตามมา คือ คนเมืองเรียนรูวิธีการที่จะ “ปดรับ สื่อจากผูอื่น” เครื่องมือดังกลาวทําใหคนเมืองสามารถเขาสูโลกของตนเองและปด โอกาสพบหนากับผูอื่นๆ การใชเครื่องมือเหลานี้ เปนไปเพื่อปกปอง “พื้นที่สวนตัว” (personal space) ประกอบการแสดงอาการและสี ห น า ที่ เ ฉยเมยเพื่ อ เป น หลักประกันวาผูอื่นจะไมรบกวน สิทธิพื้นฐานประการหนึ่งที่คนเมืองยึดถือในที่ สาธารณะ คือ สิทธิในการอยูคนเดียวโดยไมถูกรบกวนจากผูอื่น จากแนวทฤษฎีขางตนสามารถใหขอคนพบประการสําคัญ คือ การที่หลาย ทฤษฎีเสนอวาผูคนในเมืองมีบุคลิกภาพที่แตกตางไปจากผูคนในชนบทดูจะไม ถูกตอง เนื่องจากตองพิจารณาวาพฤติกรรมของผูคนในเมืองไดรับการตีความตาม สถานการณเฉพาะบริบท ดังที่ มิลแกรม ไดกลาวไววา “ความแตกตางระหวาง พฤติกรรมของผูคนในเมืองกับผูคนในชนบทสะทอนถึงการตอบสนองของผูคนที่มี ความคลายคลึงตอสถานการณที่แตกตางกันมากกวาความแตกตางอยางแทจริง ของบุคลิกภาพระหวางคนในชนบทและเมือง เชน การตั้งคํา ถามวา เมื่อผูคนจาก ชนบทยายเขาไปอยูในสถานการณแบบเมืองจะตองเริ่มรับกลไกที่ชาวเมืองมาใช ในการปกปองตนเอง ในทํานองตรงกันขาม ผูคนที่ใชชีวิตอยูในเมืองเมื่อโยกยาย เขาไปอยูในชนบทจําตองรับเอาแบบแผนพฤติกรรมที่สอดคลองกับการใชชีวิตใน ชนบทมาปฏิบัติเชนกัน63 ในทัศนะของมิลแกรม ผูคนในเมือ งดูเหมือนจะพยายามหลีกเลี่ ยงการ พบปะกันและกันโดยลดการเกี่ยวของกันถาเปนไปได บรรทัดฐานของการไมยุง 63

พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 26

97


เกี่ยวกันจึงถูกสรางขึ้นเพื่อปองกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจาการปฏิสัมพันธทาง สังคมกับคนแปลกหนา รวมทั้งการไมสามารถจัดการกับจํานวนและความซับซอน ของโอกาสที่ตองพบปะกับคนอื่นในมหานครได ขณะที่ทัศนะของ ลีน ลอฟแลนด (Lyn Lofland) 64 กลาววา ชีวิตที่เปนระเบียบในที่สาธารณะระหวางคนแปลกหนา เปนไปไดจากการที่ผูคนในเมืองไดสราง“สัญญาสังคม” ที่เปนลักษณะของการ ตอรองทางสังคมในที่สาธารณะ (public social bargain) ขึ้นมาใช โดยอธิบายได วา แทที่จริงแลว ชีวิตทางสังคมทั้งหลายในแงหนึ่ง คือ การตอรองทางสังคมชนิด หนึ่งซึ่งเปนกลไกที่ทําใหผูคนสามารถปกปองคุมครองซึ่งกันและกันจนสามารถ ดําเนินชีวิตของแตละคนไปไดอยางราบรื่น ผูคนในพื้นที่สาธารณะถูกคาดหมายให พยายามธํ ารงเอกลั กษณ สาธารณะของตนเองและผู อื่ น เพื่ อเป นการปกปอ ง คุมครองระหวางกันในบริบททางสังคมของเมือง การตอรองทางสังคมได สราง เงื่อนไขใหผูคนตองรวมมือกันเพื่อเปนหลักประกันวา การใชชีวิตประจําวันเปนไป อยางราบรื่นเปนระเบียบ และเปนที่เขาใจไดในขณะเดียวกับที่พยายามเกี่ยวของ กันและกันใหนอยที่สุด และทําใหมีระเบียบทางสังคมมากที่สุด (to minimize involvement and to maximize social order) ผูคนในเมืองจะตองรวมมือกัน คํานึงถึงกันและกัน ในขณะเดียวกันตองปกปองความเปนสวนตัวของตนซึ่งเปนสิ่ง ที่หากไดยากในสภาการณแบบเมือง นั่นคือ ผูคนในเมืองจะตองสราง “ความเปน สวนตัวในที่สาธารณะ” (public privacy) จึงตองพยายามสรางสมดุลระหวางการ เกี่ยวของกัน การเพิกเฉย และการรวมมือซึ่งกันและกัน แนวทฤษฎีนี้จึงสะทอน ภาพชีวิตทางสังคมของผูคนในเมืองที่แสดงใหเห็น วาผูคนในเมืองอาจใหเวลา เพียงนอยนิดในการปฏิสัมพันธโดยตรงทางวาจาตอกัน แตก็ดําเนินพฤติกรรมใน ชีวิตประจําวันของตนจากการคิดคํานึงถึงพฤติกรรมของผูอื่นโดยปรับพฤติกรรม ของตนใหสอดคลองกับพฤติกรรมเหลานั้น 64

อางถึงใน.พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ.เรื่องเดิม.หนา 26-27

98


บทสรุป นั ก สั ง คมวิ ท ยาทํ า การศึ ก ษาปรากฏการณ ใ นเมื อ งได ส ร า งและพั ฒ นา แนวคิดทฤษฎีขึ้นมาเพื่อใชวิเคราะหชีวิตผูคนในเมืองโดยสามารถจําแนกได 2 แนวทางหลัก คือ การวิเคราะหสังคมเมืองในระดับมหภาคและการวิเคราะหสังคม เมืองระดับจุลภาค แนวการวิเคราะหสังคมเมืองในระดับมหภาค แนวคิดทฤษฎีที่นํามาเสนอ ประกอบดวย ทฤษฎีนิเวศวิทยาเมื อง เปนทฤษฎีที่มุงนําเอาหลักการทางชีววิทยามาใช อธิ บ ายการกระจายตั วตามพื้ น ที่ ของประชากรในเขตเมื อ ง โดยมองว ากลุ ม ที่ ปรับตัวไดดีที่สุดเหมาะสมที่สุดจะเปนผูครอบครองที่ดินอันเปนทรัพยากรที่หายาก ในเขตเมือ ง ผลที่ ตามมา คือ กอ ให เกิด เป นรูป แบบความสั มพั นธใ นเชิงพึ่ งพา อาศัยกัน และความสัมพันธในเชิงแขงขันกัน แนวคิ ด เรื่ อ งการผลิ ต พื้ น ที่ เป น แนวคิ ด ที่ นํ า มาอธิ บ ายการศึ ก ษา ปรากฏการณ สั ง คมเมื อ งที่ เ ป น ผลมาจากมุ ม มอง ความคิ ด การสร า งการให ความหมายและการใชประโยชนจากพื้นที่ของผูคนกลุมตางๆ โดยเฉพาะการมุงให ความสําคัญกับกลไกในทางเศรษฐกิจ รัฐ ที่มีอิทธิพลอยางมากในการที่จะทําลาย สราง/ผลิตพื้นที่ขึ้นมาใหม จึงกอใหเกิดปฏิกิริยาจากผูคนในการที่จะตอรอง ชวงชิง ตอบโต ตั้งชื่อใหม รวมทั้งใหคําจํากัดความและความหมายของพื้นที่ แนวคิดเรื่องยานและชุมชนละแวกบาน เปนการนําเสนอกรอบการวิเคราะห พื้ น ที่ เ มื อ งที่ เ รี ย กว า “ย า น” และ “ชุ ม ชนละแวกบ า น”ว า มี อ งค ป ระกอบ คุณลักษณะ การหนาที่ ประเภท ตลอดจนแนวทางที่ใชในการศึกษาพื้นที่ประเภท นี้อยางไร แนวการวิเคราะหสังคมเมืองในระดับจุลภาค แนวคิดทฤษฎีที่นํามาเสนอ ประกอบดวย 99


ทฤษฎีคตินิยมแบบเมือง เปนทฤษฎีที่มุงอธิบายแบบแผนการใชชีวิตหรือวิถี ชีวิตของผูคนที่อาศัยอยูในเมืองซึ่งเต็มไปดวยความสัมพันธที่ผิวเผิน เปราะบาง ระบบการควบคุมทางสังคมที่ออนแอ มีการแบงหนาที่และชนิดของงานที่แตกตาง หลากหลาย ผู ค นมี แ นวโนม ที่จ ะติด ต อสั ม พัน ธ กัน เพีย งเพื่ อวั ต ถุป ระสงคบ าง ประการ มีความเปนปจเจกนิยมสูง โดยปจจัยเหลานี้เกิดขึ้นจากเงื่อนไขที่สําคัญ 3 ประการ คือ ขนาด จํานวนที่มีมาก ความหนาแนนของผูคน และความแตกตางเชิง สังคมวัฒนธรรมที่มีอยูหลากหลาย ทฤษฎีอ งคประกอบเปนทฤษฎีที่มุ งอธิบ ายวา วิถีชีวิ ตของผูคนในสังคม เมืองไมไดถูกกําหนดจากเงื่อนไข 3 ประการตามที่ทฤษฎีคตินิยมแบบเมืองอธิบาย ไว หากต อ งพิ จ ารณาเงื่ อ นไขด า นชนชั้ น ทางสั ง คมของผู ที่ อ าศั ย ในเมื อ งและ ขั้นตอนวัฎจักรชีวิตเปนตัวอธิบายดวย ซึ่งรูปแบบความสัมพันธของผูคนในทัศนะ ของทฤษฎีนี้จะเปนไปในลักษณะ “กิ่งปฐมภูมิ” ทฤษฎีวัฒนธรรมยอยเปนทฤษฎีที่มุงอธิบายถึงปจจัยทางนิเวศนโดยเฉพาะ ขนาด จํ า นวนประชากรในเมื อ งที่ ก อ ให เ กิ ด กลุ ม ทางสั ง คมที่ มี ค วามเชื่ อ และ พฤติกรรมที่แตกตางไปจากกลุมคนสวนใหญ โดยมุงศึกษาที่มาของการกระทํา ทางสังคม แบบแผนความสัมพันธทางสังคมภายในกลุมทางสังคมระดับยอยที่ บุ ค คลจะเข า ไปมี ส ว นเกี่ ย วข อ งทั้ ง แบบเป น ทางการและไม เ ป น ทางการใน ชีวิตประจําวัน ทฤษฎี ภาวะเกินกํ าลัง ของสภาวะแบบเมือง เปน ทฤษฎีที่มุง อธิบายการ จัดการกับสิ่งที่เรียกวา “ภาวะสิ่งเราเกินกําลัง ” ของผูคนในเมืองจากการดํารง ชีวิตประจําวัน โดยประการเกี่ยวกับการจัดลําดับความสําคัญของปรากฏการณที่ บุคคลจะตองคํานึงถึง ประเมินคัดสรรตอการใสใจใยดีกับปรากฏการณนั้นๆ และ ประการตอมา การสรางบรรทัดฐานการไมยุงเกี่ยวกันขึ้นมาใชในการปรับแปลง ทางสังคมของแตละบุคคลโดยเฉพาะการสรางความเปนสวนตัวในพื้นที่สาธารณะ ผลดังกลาวไดนําไปสูภาวะนิรนามหรือความไมรูจักวาใครเปนใครในเมือง 100


บรรณานุกรม หนังสือภาษาไทย กฤช เพิ่มทันจิตต. (2536).ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนการเกิด เปนเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. จิราภา วรเสียงสุข. (2548).เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนา: สังคมวิทยาเมือง. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ไมปรากฏเลขหนา ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร.(2545).วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ : วิภาษา. พรอัมรินทร พรหมเกิด. (2539).สังคมวิทยาเมือง. ขอนแกน : ภาควิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. ประจักษ ศกุนตะลักษณ. (2531). เศรษฐศาสตรการเมือง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ปรีชา คุวินทรพันธุ. (2545). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ราชบัณฑิตยสถาน.(2524).พจนานุกรมศัพทสังคมวิทยาฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : รุงศิลปการพิมพ. ------. (2549). พจนานุกรมศัพทสังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ :ไอเดียสแควร. วิไล วงศสืบชาติ. (2534).“สังคมวิทยาเมือง” ใน วารสารประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปที่ 7 ฉ.2 หนา4-5 วัชรา คลายนาทร. (2544). สังคมศาสตรเบื้องตน. คณะมนุษยศาสตรและ สังคมศาสตร สถาบันราชภัฏบานสมเด็จเจาพระยา. 101


สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม : แนวการศึกษา และวิเคราะห. ขอนแกน : ภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. สายใจ คุมขนาบ. (2546). เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชา สว.201 สังคมวิทยาเบื้องตน. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. เฮอรเบิต จิราเดต (เขียน) พิภพ อุดมอิทธิพงศ (แปล). (2539).ทําเมืองใหนาอยู วิสัยทัศน ยุทธศาสตรและความหวังสําหรับเมืองที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง. งานวิจัยและวิทยานิพนธ จาตุรงค โพคะรัตนศิริ. (2546). การศึกษาปรากฏการณ “เจนตริฟเคชั่น” ในการอนุรักษชุมชนเมือง กรณีศึกษาผลกระทบทางสังคมใน ยานชุมชนบางลําพู กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธการวางแผนภาค และเมืองมหาบัณฑิต (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดลอม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. ชนินทร จารุจันทร. (2541). “ผูเฒามีลูก” : แบบชีวิตและกระบวนการปรับตัว ของยายเลี้ยงหลาน กรณีศึกษาบานภูเหล็ก หมู 6 ตําบลภูเหล็ก อําเภอบานไผ จังหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต(สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

102


โฉมสุดา สาระปญญา. (2547). ถนนขาวสารในมุมมองของพอคาแมคา. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. พงษสวัสดิ์ สวัสดิพงษ. (2545).แบบแผนและกระบวนการปรับแปลงเขาสูวิถี ชีวิตแบบเมืองของผูยายถิ่นชาวอีสาน : กรณีศึกษาผูคาหาบเรใน มหานครกรุงเทพ. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา 3-4 วิไล วงศสืบชาติ. (2535). การจําแนกความแตกตางระหวางเมือง : การศึกษาเปรียบเทียบกรณีประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วันดี กริชอนันต. (2544). เด็กขางถนนยานหัวลําโพง. วิทยานิพนธสังคมวิทยา และมานุษยวิทยามหาบัณฑิต(มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. วิมลศรี ลิ้มธนากุล.(2537). ผลกระทบจากระบบเมืองสมัยใหมที่มีผลตอ ระบบยานของคนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. โสภาคย ผาสุกนิรันดร. (2536). การศึกษาเพื่อกําหนดนิยามเมืองในประเทศ ไทย. ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนา) คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. อิทธิพร ขําประเสริฐ.(2549). กระบวนการสราง“ภาพแสดงแทน”เพื่อสิทธิ เชิงพื้นที.่ วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

103


ภาษาอังกฤษ Claude Fischer.(1975). “Toward a subculture theory of urbanism” in American Journal of Sociology (80).p.1319-1314 Georg Simmel. (1950). “The Metropolis and Mental life” in pp409-424 K.Walf (ed And trans) The Sociology of Georg Simmel. Glencore,II:The Free Press. Gold Harry (1982). The Sociology of Urban Life. Englewood Cliffs N. J.: Prentice Hall .Inc. Hebert Gans.(1972).”Urbanism and Urbanism as Ways of life” : A Re-evaluation of definition” in J.J.Palen and K.Fleming(eds.) Urban America .New York :Holt, Rinehart and Winston. Keller Susan. (1968). The Urban Neighborhoods .New York :Random House. P.91-92 Louis Wirth.(1938).“Urbanism as a way of life” American Journal of Sociology.(44) p.1-24 Milgram Stanly. (1970) “The experience in living cities” in Science (167). p 1461-1468 Ribben,GF.(1979).Pattern of Behavior. New York : Edwared Arnold Publishing. P 237. Warren Donald. (1997). Neighborhood in Urban Areas in Roland L.Warren (ed). New Perspectives on the American Community. Chicago: Rand McNally.

104


ขอมูลออนไลน คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2553). หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา) ฉบับปรับปรุง 2549 เขาถึงไดจาก http://www.polsci.chula.ac.th. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. (2553).หลักสูตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) ฉบับปรับปรุง 2549 เขาถึงไดจาก http://www.socio.tu.ac.th. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553. ลักษณา สัมมานิธิ. (2553) ทฤษฎีการวางผังเมืองและผังภาค. คณะสถาปตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดลอม มหาวิทยาลัยแมโจ. (ออนไลน).เขาถึงไดจาก http://coursewares.mju.ac.th/2006/la471/ course_chapt_menu.html วันที่คนขอมูล 8 มิถุนายน 2553. Department of Sociology The University of Chicago. (2010). “30104 Urban Structure & Process” in Master of Arts (Social Sciences).[online].Available from: http://sociology. uchicago.edu /graduate/course-catalog.shtml วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553. School of Social Policy, Sociology & Social Research University of Kent at Canterbury. (2010). “SO 832 Urban Sociology” in MA. And Postgraduate Diploma in Political Sociology Handbook 2008-9. [online].Available from:http://search.kent.ac.uk /search. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553. Wikipedia encyclopedia. (2010). Urban Sociology. [online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/ Urban sociology. วันที่คนขอมูล 29 พฤษภาคม 2553. 105


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.