แนวทางสำหรับการเขียนเอกสารโครงการในสถาบันอุดมศึกษา

Page 1



แนวทางสาหรับการเขียนเอกสารโครงการ ในสถาบันอุดมศึกษา

อิทธิพร ขาประเสริฐ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครุศาสตรบัณฑิต (สังคมศึกษา) สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศิลปศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2562 ค


คานา โครงการ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ให้ ส ามารถบรรลุ ต ามวิ สั ย ทั ศ น์ วั ต ถุ ป ระสงค์ และตั ว ชี้ วั ด ความส าเร็ จ ที่ ผู้บริหารสถาบันฯได้กาหนดทิศทางไว้ คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษาจึงจัดทาโครงการประเภทต่างๆที่ตอบสนองต่อนโยบาย ดังกล่าวเพื่อร่วมผลักดันการดาเนิน งานให้บรรลุผล ในการจัดทาโครงการใด โครงการหนึ่งต้องอาศัยการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วม ด าเนิ น งานของหน่ ว ยงานแล้ ว การเขี ย นเอกสารโครงการที่ ถู ก ต้ อ งและ เหมาะสมก็ เ ป็ น อี ก ปั จ จั ย หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น ต้ น ทางของการแปลงความคิ ด มาสู่ หลักฐานที่เป็นรูปธรรม แสดงออกมาในรูปแผนการดาเนินงานที่ครอบคลุมใน ทุกมิติของการปฏิบัติ แนวทางสาหรับการเขียนโครงการในสถาบันอุดมศึกษาฉบับนี้ จึงถูก เรีย บเรีย งขึ้ น มาจากความสนใจของผู้เ ขี ย น ในฐานะที่ คลุก คลีอ ยู่กับ การ ตรวจสอบเอกสารโครงการของคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการมาเป็น เวลา 12 ปี ในมหาวิ ท ยาลั ย คริ ส เตี ย นท าให้ เ ห็ น มุ ม มอง ข้ อ คิ ด รวมทั้ ง แนวทางในการเขี ย นเอกสารโครงการของคณะวิ ช า และฝ่ า ยสนั บ สนุ น วิชาการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อตอบสนองกับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ตามโครงการแต่ละประเภท การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การเขียนเอกสารโครงการ จึงน่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจ ให้แก่ผทู้ ี่สนใจให้สามารถเขียนเอกสารโครงการได้อย่างเหมาสม ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน ผศ.ดร.สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ อธิการบดีปัจจุบัน ของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นทั้งผู้บังคับบัญชาและครูที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การตรวจสอบเอกสารโครงการในมหาวิทยาลัยฯให้กับผู้เขียน และปรารถนา เป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับ นี้คงจะอานวยประโยชน์ ไม่มากก็น้อยส าหรั บ ผู้รั บ ผิ ดชอบโครงการในคณะวิ ช าและฝ่ า ยสนั บ สนุ น วิ ช าการของสถาบั น อุดมศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางสาหรับการเขียนเอกสารโครงการต่อไป ง


สารบัญ คานา สารบัญ บทนา : ตกผลึกความคิด  ทุกประเด็นในโครงการล้วนเชื่อมโยงและสัมพันธ์  โครงการจบแต่การปฏิบต ั ิอาจยังไม่จบ  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/ความยืดหยุน ่ ในการปฎิบตั ิงาน ตามโครงการ บทที่ 1 สร้างความเข้าใจก่อนลงมือการเขียนโครงการ  ย้อนดูกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วด ั งบประมาณ และการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม ในแผนพัฒนาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และสถาบันอุดมศึกษา  สร้างการมีส่วนร่วมในการดาเนินโครงการ  ตอบคาถามหลักๆ ในการทาโครงการ บทที่ 2 แนวทางสาหรับการเขียนเอกสารโครงการ  ประเภทของโครงการในสถาบันอุดมศึกษา  ชื่อโครงการนั้นสาคัญไฉน  หลักการและเหตุผลเขียนอย่างไรให้เห็นว่าสาคัญ  การเขียนวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย  ผู้รับผิดชอบการจัดโครงการกับช่องทางการติดต่อสื่อสาร  การระบุกลุ่มเป้าหมาย และผู้มีสว่ นร่วมในโครงการทีช่ ัดเจน  วัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ  แผนการดาเนินงานที่ครอบคลุม : ก่อน ระหว่าง และหลังโครงการ  การกาหนดงบประมาณโครงการทีเ่ ชื่อมโยงกับทุกประเด็น คจ

หน้า ข ค 1 1 2 4 7 7

9 11 14 14 15 17 23 26 27 28 29 32


หน้า การกาหนดตัวชี้วัดโครงการ : สิ่งสะท้อนวัตถุประสงค์โครงการ  การบริหารความเสีย่ งที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์และ ตัวชี้วดั ความสาเร็จของโครงการ  ประโยชน์ทค ี่ าดว่าจะได้รบั นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลัก  เอกสารอืน ่ ๆทีเ่ กี่ยวข้องประกอบการนาเสนอโครงการ  กาหนดการโครงการ  แบบประเมินผลโครงการ  ประวัติวิทยากร  ใบสมัครโครงการ  เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ  เอกสารหลักสูตรของโครงการ บทที่ 3 การติดตามและการเขียนเอกสารประเมินผลโครงการ  แนวคิดการวางระบบติดตามการประเมินผลโครงการ  การเขียนเอกสารประเมินผลโครงการ  การรายงานผลตามตัวชี้วด ั ความสาเร็จที่กาหนด  ค่าใช้จ่ายจากการดาเนินโครงการ  การรายงานการใช้พส ั ดุของโครงการ  รายงานการบริหารความเสีย่ งจากโครงการ  ข้อเสนอแนะจากการจัดโครงการ  การนาผลจากการจัดโครงการไปปรับปรุงพัฒนา บทสรุป บรรณานุกรม 

ฉง

33 36 42 44 44 46 47 47 48 49 50 50 51 51 52 52 53 53 54 55 56


บทนา : ตกผลึกความคิด ข้อคิดจากการดาเนินโครงการหลายๆโครงการของสถาบันอุดมศึกษาได้ ให้แง่มุมที่สาคัญสาหรับผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อนาไปเขียนเอกสารโครงการ การนาโครงการไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนการติดตามและรายงานประเมินผล โครงการ ดังนี้  ทุกประเด็นในโครงการล้วนเชื่อมโยงและสัมพันธ์ หากพิ จ ารณาจากหั ว ข้ อ ต่ า งๆที่ ป รากฏอยู่ ใ นแบบฟอร์ ม การเขี ย น เอกสารโครงการของสถาบันอุดมศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วจะพบว่าต่างมีความ เชื่ อ มโยงและสั ม พั น ธ์ กั น กล่ า วคื อ เมื่ อ มี ก ารก าหนดหรื อ เขี ย นข้ อ มู ล ใน หัวข้อหนึ่งจะสามารถยืนยัน ตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลในอีกหัวข้อหนึ่ง ได้ บ นความสมเหตุ ส มผล ตั ว อย่ า งเช่ น การเขี ย นหลั ก การและเหตุ ผ ลที่ สะท้อนถึงความสาคัญของโครงการ จะเชื่อมโยงไปสู่การกาหนดวัตถุประสงค์ ของโครงการที่ เ ป็ น ไปตามเหตุ ผ ลที่ ร ะบุ จ ะต้ อ งด าเนิ น โครงการเพื่ อ ใคร อย่างไร หรือในการระบุวัตถุประสงค์ของโครงการจะต้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัด โครงการ เนื่องจากการทาโครงการใดๆย่อมวัตถุประสงค์เฉพาะ การที่จะวัด ความส าเร็ จ ของโครงการได้ จึ ง ต้ อ งก าหนดตั ว ชี้ วั ด ที่ ส ามารถตอบ วัตถุประสงค์ได้ด้วย เช่นเดียวกันเมื่อกาหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนแล้ว ผู้รบั ผิดชอบ โครงการจะต้องกาหนดประเด็นความเสี่ยง วิธีการควบคุมจัดการความเสี่ยงที่ จะมากระทบต่อตัว ชี้ วัด ที่ ได้ก าหนดไว้ ตลอดจนมีก ารออกแบบเครื่อ งมือ ประเมินผลโครงการที่สามารถตอบตัวชี้วัดได้ด้วย หรือกรณีการระบุจานวน กลุ่มเป้าหมายของโครงการว่ามีจานวนมากน้อยเท่าใดเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ แสดงความเชื่อมโยงไปยังหมวดงบประมาณของโครงการว่าจะต้องมีการ เตรียมจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น จานวนเอกสารการอบรม ค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ให้ตรงกับจานวนกลุ่มเป้าหมายที่ กาหนดไว้ ซึ่งยังสามารถตรวจสอบได้กับกาหนดการที่แนบมากับเอกสาร 1


โครงการว่ามีการกาหนดวัน เวลาที่จัด จานวนวิทยากรที่ให้ความรู้ เวลาพัก รับประทานอาหารว่าง อาหารกลางวัน สัมพันธ์กับงบประมาณที่ผู้รับผิดชอบ โครงการกาหนดไว้หรือไม่อย่างไร อีกตัวอย่างหนึ่ง การเขียนขั้นตอนหรื อ แผนการดาเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อกิจกรรมย่อยที่จะดาเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ จะทาให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถนาไปจัดทา ค าสั่ ง แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการด าเ นิ น โครงการได้ อ ย่ า งมี ทิ ศ ทาง ว่ า คณะกรรมการชุ ด นี้ ป ระกอบด้ว ยใครบ้ า งที่ มีส่ว นร่ ว ม มี ภ าระงานอะไรที่ จะต้องดาเนินการ การประสานงานต่างๆกับหน่วยงานภายในหรือภายนอก สถาบันอุดมศึกษา ภายใต้เงื่อนไขเวลาเท่าใด และยังมองย้อนไปถึงหมวด งบประมาณที่กาหนดไว้โครงการได้ การพิ จ ารณาถึ ง หั ว ข้ อ ในเอกสารโครงการที่ เ ชื่ อ มโยงกั น นี้ ยั ง เป็ น ประโยชน์สาหรับผู้ที่จะต้องตรวจสอบเอกสารโครงการ เมื่อได้นาเสนอผ่าน ขั้ น ตอนตามระบบของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เช่ น ฝ่ า ยนโยบายและแผน ฝ่ายงบประมาณ ฝ่ายการพัสดุ ซึ่งจะพิจารณาข้อมูลเหล่านี้อย่างเชื่อมโยงกัน รวมทั้ ง ผู้ มี อ านาจอนุ มั ติ โ ครงการของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาสามารถอนุ มั ติ โครงการที่นาเสนอมาบนพื้นฐานของความถูกต้องและเหมาะสม  โครงการจบแต่การปฏิบัติอาจยังไม่จบ เมื่อผู้รับผิดชอบดาเนินโครงการเสร็จสิ้น โดยมีการรายงานประเมินผล ความสาเร็จการจัดทาโครงการ สรุปยอดค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ พร้อมกับให้ ข้อเสนอแนะ ทบทวนข้อดีหรือข้อบกพร่องของการจัดทาโครงการไปแล้วนั้น คาตอบสาหรับบางโครงการอาจจะจบลง แต่ทว่าการจบลงของโครงการใด โครงการหนึ่ ง กลั บ ให้ ผ ลที่ ต ามมาในหลายแง่ มุ ม อั น เป็ น ผลมาจาก กระบวนการเรียนรู้ของผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการทาให้ค้นพบประเด็น ใหม่ๆ หรือปัญหาใหม่ๆ ที่สามารถนาไปต่อยอดความรู้ หรือพัฒนาปรับปรุง งานจากการจบลงของโครงการ 2


โครงการที่จัดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษามีอยู่หลายประเภท เช่น โครงการ แนะแนวการศึกษา โครงการบริการวิชาการแก่สังคม โครงการวิจัย โครงการ พั ฒ นานั ก ศึ ก ษา โครงการพั ฒ นาบุ ค ลากร เป็ น ต้น เมื่ อ ด าเนิ น โครงการ ดังกล่าวเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างลุ่ม ลึกว่า ความสาเร็จหรือความล้มเหลวจากการดาเนินโครงการใดๆสามารถให้ ประโยชน์ ต่ อ เนื่ อ งอะไรบ้ า ง ตั ว อย่ า งเช่ น การจั ด ท าโครงการแนะแนว การศึกษาของหลักสูตร คณะวิชา ที่กาหนดตัวชี้วัดความสาเร็จว่า จะต้ องมี นักเรียนขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ของหลักสูตรจานวนกี่คน แต่เมื่อจบ โครงการแล้วพบว่า ผู้รับผิดชอบเขียนเอกสารประเมินผลโครงการเสนอต่อ สถาบันฯว่ายังไม่มีผู้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ แต่ผู้รับผิดชอบได้ ให้ข้อมูล ประกอบว่ามีนักเรียนแสดงความสนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตร ซึ่งได้ให้ชื่อ นามสกุล และหมายเลขโทรศัพ ท์ พร้อ มกับอีเมล์ติดต่อว่ า ดังนั้น จึ งเป็ น หน้ า ที่ ข องผู้ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก สู ตรที่ จ ะต้ อ งมี ก ารติ ด ตามอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ โน้ มน้ า วและสร้ า งแรงจู ง ใจให้ นั ก เรีย นที่ แ สดงความสนใจมาศึก ษาต่อ ใน หลั ก สู ต ร ก่ อ นเปิ ด ปี ก ารศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ส ามารถบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ต าม นโยบายของหลักสูตรและสถาบันฯได้ หรื อ กรณี โ ครงการวิ จั ย ที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบด าเนิ น การวิ จั ย เสร็ จ สิ้ น กระบวนการ ผลการวิ จั ย นอกจากจะเป็ น ประโยชน์ ต่อ หน่ ว ยงาน องค์ก ร ชุ มชน สัง คม สถานประกอบการแล้ว สามารถที่ จ ะน ามาสังเคราะห์ เ ป็ น บทเรียน หรือกรณีศึกษาของรายวิชาต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ ผู้เรียนในชั้นเรียนได้ เช่นเดียวกันโครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่ สัง คมที่ มีก ารบู ร ณาการกั บ การจั ด การเรี ย นการสอน เมื่อ โครงการจบลง สามารถที่จะพัฒนาไปสู่การกาหนดนโยบาย แผนพัฒนาชุมชนโดยตรงแล้ว ในฐานะอาจารย์ ผู้ ส อนอาจได้ ป ระเด็น ความรู้ จ ากการให้ บ ริก ารวิ ช าการ จนนาไปสู่การต่อยอด จัดทาโครงการวิจัยต่อเนื่อง การพัฒนานวัตกรรม การ นาไปเขียนเป็นบทความทางวิชาการ หรืออาจพัฒนาเป็นตาราวิชาการเฉพาะ เรื่องใดเรือ่ งหนึ่ง เป็นต้น 3


โครงการประเภทพัฒนานักศึกษาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เมื่อโครงการ จบลงแล้ว ทาให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถนาข้อสรุปที่ได้ไปพัฒนาต่อ เช่น โครงการสัมมนาผู้นานักศึกษาของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยฯ นาไปสู่ การจัดทาแผนการจัดโครงการของชมรมต่างๆตลอดปีการศึกษา การจัดทา โครงการที่มีลักษณะต่อเนื่อง เช่น โครงการค่ายอาสาพัฒนาชุมชนในแต่ละปี การศึกษาที่ เมื่อโครงการจบลงแล้ว สามารถให้ข้อคิดหรือบทเรียนสาหรับ ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการของชมรม เพื่อนาไปปรับปรุงในการจัดโครงการ ครั้งต่อไปได้  การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/ความยืดหยุ่นในการปฎิบัติงาน ตามโครงการ แม้ ว่ า ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการจะท าการเขี ย นโครงการโดยมี แ ผนงาน กาหนดวิธีการ ค่าใช้จ่ายและทรัพยากรการดาเนินงานอื่นๆไว้อย่างครอบคลุม แล้ว แต่ในความเป็นจริงหรือสถานการณ์จริงของการดาเนินโครงการอาจต้อง เผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างการดาเนินงานซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย ภายในของคณะกรรมการดาเนินโครงการเอง และปัจจัย ภายนอกที่ไม่ไ ด้ คาดคิดว่า จะเกิด ขึ้น สามารถท าให้ โครงการสะดุดหรือดาเนิ นไปอย่างไม่ ราบรื่นได้ ปั จ จั ย ภายในที่ เ กิ ด ขึ้ น จากคณะผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการ เช่ น การที่ คณะกรรมการด าเนิ น งานไม่ ม าปฏิ บั ติ ง านตามที่ นั ด หมาย การขาดการ ประสานงานระหว่างส่วนงานภายในและภายนอก การยืนยันกับวิทยากร ล่วงหน้า การจัดทาเอกสารประกอบโครงการที่ไม่ชัดเจน การอานวยความ สะดวกการให้บริการลงทะเบียนการเข้าโครงการ การเตรียมอุปกรณ์มาไม่ พร้อม การจัดการด้านสถานที่ เป็นต้น ปัจจัยภายนอกที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น จานวนผู้ให้ความสนใจเข้า ร่วมโครงการจานวนมาก ผู้แจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมล่วงหน้าแต่ไม่มาเข้า ร่ว ม ความต้องการของผู้เ ข้า ร่ว มโครงการที่มีอ ยู่ห ลากหลาย ปั ญหาเรื่อ ง 4


การจราจรติดขัด สภาพอากาศที่เป็นผลให้การเริ่มดาเนินการไม่เป็นไปตาม เวลาที่กาหนด ปัญหาวิทยากรไม่สามารถมาตามที่นัดหมาย ปัญหาค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่กาหนดไว้ เป็นต้น สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยปัญหาอันเกิดจากการบริหารโครงการใน สถาบันอุดมศึกษาของบุษบา สถิรปัญญา (2559) และวรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม (2562) ได้วิเคราะห์ปัญหาการบริหารโครงการว่ามีอยู่หลายด้าน เช่น ด้าน บุ ค ลากร ได้ แ ก่ การมอบหมายหน้ า ที่ ไ ม่ เ หมาะสมกั บ ภาระงาน มี ก าร เปลี่ยนแปลงบุคลากรที่รับผิดชอบการรายงานผลโครงการทาให้การส่งข้อมูล ไม่ต่อเนื่อง บุคลากรขาดความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเป้าหมายตัวชี้วั ดในโครงการ ทาให้รายงานข้อมูลไม่ถูกต้อง ครบถ้วน การปฏิบัติงานที่ไม่ชัดเจนอันผลจาก นโยบายที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงบ่ อ ย ด้ า นกระบวนการ ได้ แ ก่ การก าหนด วัตถุประสงค์ที่ไม่ครอบคลุม ไม่ชัดเจน กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าร่วม วิทยากรไม่ สามารถมาได้ตามกาหนด การกาหนดตัวชี้วัดที่ไม่สามารถดาเนินการได้จริง ด้ า นงบประมาณ ได้ แ ก่ อั ต ราการจ่ า ยค่ า ตอบแทนบุ ค ลากร การตั้ ง งบประมาณไม่เพียงพอ การบริหารงบประมาณที่ทาให้ งบประมาณคงเหลือ จานวนมาก อันเป็นมาจากการผู้รับผิดชอบโครงการมีภารกิจหลายด้านจึงทา ให้ไม่สามารถกาหนดแผนการจัดโครงการได้แน่นอน รวมทั้งการเปลี่ ยนแปลง ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ปัญหาเหล่านี้ หากเกิดขึ้นผู้รบั ผิดชอบโครงการจะต้องตระเตรียมวิธีการ หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งต้องมีความยืดหยุ่น โดยค้นหา ลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างครอบคลุมและวางระบบในการแก้ไขปัญหา ด้วยความรวดเร็ว ณ จุดนี้ จะต้องอาศัยภาวะผู้นาของโครงการพร้อมด้วย การสนับสนุนที่ดีจากทีมงานทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้า และกล้าที่จะรับผิดชอบร่วมกัน ส าหรั บ ปั จ จั ย ที่ จ ะช่ ว ยสนั บ สนุ น การแก้ ไ ขปั ญ หาเฉพาะหน้ า ได้ นั้ น นอกจากอาศัยภาวะผู้นาและทีมงานที่ต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันแล้ ว ยังมี องค์ประกอบอื่นๆที่ควรพิจารณาด้วย อาทิ 5


1) การผ่อนปรนกฎ ระเบียบ หรือกติกาที่กาหนดไว้เพื่อเปิดกว้าง ให้สถานการณ์ดาเนินต่อไปได้ บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล 2) การเตรี ย มแผนส ารองล่ว งหน้า จั ดเตรียมทรัพยากรบุ คคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ระบบการจัดการเพื่อเสริมการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้า 3) การขอการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้บริการโครงการ โดยผู้รับผิดชอบ โครงการต้ อ งแสดงเหตุ ผ ล เงื่ อ นไข ข้ อ จ ากั ด ต่ า งๆอย่ า งจริ ง ใจ เพื่ อ ให้ ผู้ใช้บริการโครงการสนับสนุนการดาเนินโครงการให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ 4) ใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่หลากหลายโดยให้ข้อมูลปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดกระบวนการ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้ใช้บริการโครงการอย่างรอบด้าน 5) การสร้ า งบรรยากาศที่ อ บอุ่ น อย่ า งเป็ น มิ ต รกั บ ผู้ ใ ช้ บ ริ ก าร โครงการของทีมงาน แสดงความปรารถนา ห่วงใย และความหวังที่จะทาให้ การดาเนินโครงการประสบความสาเร็จ 6) อาจมอบสิทธิประโยชน์หรือโอกาสพิเศษแก่ผู้ใช้บริการในการ ใช้บริการจากโครงการ เช่น ส่วนลดราคา การเพิ่มกิจกรรมเสริมหรือสิทธิ พิเศษในการเข้าร่วมโครงการโอกาสต่อไป 7) ถอดบทเรี ย นจากอดี ต เพื่ อ น าปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ไปป้ อ งกั น ปรับปรุงการจัดโครงการในครั้งต่อไปเพื่อจะป้องกันข้อผิดพลาดมิให้เกิดขึน้ อีก 8) การเสี ย สละทรั พ ยากรส่ ว นบุ ค คล เพื่ อ ท าให้ ก ารด าเนิ น โครงการสามารถต่อเนื่องไปได้ เช่น การปฏิบัติงานเวลาที่นอกเหนือจากที่ กาหนด การสารองเงินจ่า ยล่ว งหน้า การให้ข้ อมูลหรือคาปรึก ษาเพิ่ มเติม เป็นต้น

6


บทที่ 1 สร้างความเข้าใจก่อนลงมือการเขียนโครงการ ก่อนที่จะลงมือเขียนโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการควรศึกษาข้อมูลที่ เกี่ยวข้องโดยเฉพาะทิศทางหรือแผนการพัฒนาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุน วิชาการ และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจและ วางแผนดาเนินโครงการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ตอบสนองต่อนโยบาย การพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อให้โครงการที่จัดทาขึ้นสามารถ ตอบโจทย์ ห รื อ ค าถามรอบด้า นของคณะวิ ช า และฝ่ า ยสนั บ สนุ น วิ ช าการ นอกจากนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมจากสมาชิก ในสังกัดก็เป็ นปัจ จัยหนึ่ ง ที่ สาคัญ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การดาเนินโครงการขับเคลื่อนไปได้ ผู้นาหน่วยงาน จึงต้องผลักดันให้การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเกิดขึ้นให้ได้  ย้อนดูกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม และงบประมาณในแผนพัฒนาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และสถาบันอุดมศึกษา โครงการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถ บรรลุตามวิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ในการพัฒนาส่งผลให้สถาบันฯมีความ เติบโตก้าวหน้าตามทิศทางที่ผู้บริหารสถาบันฯได้กาหนดไว้ หรืออาจกล่าวได้ ว่าโครงการเป็นสิ่งที่บ่งบอกอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการแปลงกลยุทธ์ มาสู่การปฏิบัติ การจัดทาโครงการแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในสถาบันฯ จึงต้อง ตั้งอยู่บนพื้นฐานหรือที่มาอันเป็นผลมาจากกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและ งบประมาณในแผนพัฒนาของสถาบันฯ รวมทั้งการวิเคราห์สภาพแวดล้อมทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร การที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดทาและลงมือ เขียนโครงการขึ้นมาในหลักสูตร คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ จึงต้อง ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนว่าโครงการนั้นได้ตอบสนองสิ่งที่กล่าวมา ได้มากน้อยเพียงใด 7


สิ่งที่จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถเขียนและจัดโครงการอย่าง เหมาะสม คือ การศึกษาข้อมูลจากแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และแผนพัฒนา ระดั บ คณะวิ ช า หรื อ ฝ่ า ยสนั บ สนุ น วิ ช าการว่ า มี ก ารก าหนดกลยุ ท ธ์ เป้ า ประสงค์ แ ละตั ว ชี้ วั ด ความส าเร็ จ งบประมาณ รวมทั้ ง การวิ เ คราะห์ สภาพแวดล้อมไว้อย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต่างมีค วามเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เนื่องจากแผนพัฒนา และตัวชี้วัดระดับมหาวิทยาลัยฯ จะเป็นแนวทางในการ จัดทาแผนพัฒนา และตัวชี้วัดระดับคณะวิชา หรือฝ่ายสนับสนุนวิชาการที่ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรมาแล้ว ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการจะสร้างสรรค์โครงการแต่ละประเภทขึ้นมาเพื่อ ตอบโจทย์กับข้อมูลเหล่านี้อย่า งไร และมีงบประมาณรองรับการดาเนินงาน หรือไม่ ดังนั้น การจัดทาโครงการของทุกส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจึงต้อง สนับสนุนกลยุทธ์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด ความสาเร็จที่กาหนดไว้ในแต่ละ ระดั บ เพื่ อ ท าให้ เ มื่ อ สิ้ น ปี ก ารศึ ก ษา สามารถน าผลที่ ไ ด้ จ ากการด าเนิ น โครงการทั้งหมดมาประมวลผลเพื่อวัดความสาเร็จการดาเนินงานภาพรวม ของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และสถาบันอุดมศึกษา สาหรับการ เขี ย นเอกสารโครงการของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาหลายแห่ ง ตามแบบฟอร์ ม กาหนดให้มีการระบุถึงหัวข้อกลยุทธ์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดในเอกสาร โครงการด้วย เพื่อแสดงเห็นให้ว่าโครงการดังกล่าวจัดทาขึ้นสอดคล้องกับ แผนพั ฒ นาสถาบั น ฯ และยั ง เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ ต รวจสอบโครงการที่ จ ะ สามารถบันทึกข้อมูลโครงการให้ตรงตามความต้องการ เช่น การบันทึกข้อมูล งบประมาณ พัสดุโครงการที่ตรงกับกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตลอดจนเป็นข้อมูล ที่ แ สดงให้ ผู้ บ ริ ห ารรั บ ทราบประกอบการพิ จ ารณาอนุ มั ติ ห รื อ รายงาน ประเมินผลโครงการด้วย

8


ภาพแสดงความเชือ่ มโยงระหว่าง กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสาเร็จ งบประมาณ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในแผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา กับการจัดทาโครงการ แผนพัฒนา ระดับมหาวิทยาลัย การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  กลยุทธ์  เป้าประสงค์  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จ  งบประมาณ 

แผนพัฒนา ระดับคณะวิชา/ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  กลยุทธ์  เป้าประสงค์  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จ  งบประมาณ 

ระดับผู้รับผิดชอบ โครงการ

โครงการ - วัตถุประสงค์ - กลุ่มเป้าหมาย - ตัวชี้วดั ความสาเร็จ - งบประมาณ - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 สร้างการมีส่วนร่วมในการดาเนินโครงการ การมีส่วนร่วมในการทางาน การวางแผนโครงการหรือกิจกรรมของ คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการ ทางานและกาลังใจของสมาชิกในสถาบันอุดมศึกษาโดยรวมอันจะก่อให้เกิด การยอมรั บ และมี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า งบุ ค ลากรด้ ว ยกั น และการ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการ ดาเนินโครงการสามารถกระทาได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ ซึ่งพื้นฐาน ทั่วไปของการมีส่วนร่วมในการดาเนินโครงการ ได้แก่ (Cohen and Uphoff, 1980)

9


1) การมี ส่ ว นร่ ว มในการตั ด สิ น ใจ ( participation in decision making) ตั้งแต่เริ่มโครงการ เช่น การกาหนดชื่อโครงการ ลักษณะหรือรูปแบบ โครงการที่จะจัด การวางแผนงาน การเลือกสถานที่ เป็นต้น 2) การมี ส่ ว นร่ ว มในโครงการ (participation in implementation) เป็ น การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามภา ระงาน ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมา ย การอุ ทิ ศ กาลังสติปัญญา เวลา ทักษะ ความสามารถด้านต่างๆ เพื่อโครงการ เช่น การติดต่ อ ประสานงาน การใช้ เ ทคโนโลยี การจั ดการวั ส ดุ อุ ป กรณ์ การ อานวยความสะดวก การให้บริการหน้างาน เป็นต้น 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (participation in benefits) เป็นประโยชน์ที่ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทาโครงการจะได้รับจากโครงการ ผลประโยชน์ที่ว่านี้อาจมาในรูปแบบสิ่งของวัตถุ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ก าไรจากจากโครงการ การบรรลุตั ว ชี้วั ดตามแผนงานที่ ว างไว้ คาชื่ น ชม ยกย่อง เป็นต้น 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (participation in evaluation) การที่ผู้รับผิดชอบโครงการเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบความสาเร็จ จาก การดาเนินโครงการในแง่มุมต่างๆ เช่น ความพึ งพอใจ ความคิดเห็นของ ผู้เข้าร่วม การรับฟังข้อเสนอแนะ การรายงานค่าใช้จ่าย รายงานบริหารความ เสี่ยงของโครงการ ซึ่งอาจได้รับผลในทางบวกและลบ เพื่อรับรู้ในคุณค่าที่ได้ จากการด าเนิ น โครงการและใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ป้ อ นกลั บ ส าหรั บ การวางแผน โครงการครั้งต่อไป รูปแบบการมีส่วนร่วมข้างต้นเป็นเพียงกรอบการนาเสนออย่างกว้างๆว่า สมาชิกในคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการควรจะมีส่วนร่วมอย่างไรบ้างใน โครงการ แต่ปัจจัยที่สาคัญไปมากกว่านั้น คือ การที่จะทาอย่างไรให้สมาชิก ในส่วนงานเห็นความสาคัญของการมีส่วนร่วม จนทาให้เกิดความมุ่งมั่นและ เต็มใจที่จะสนับสนุนการดาเนินโครงการอย่างจริง จังและจริงใจ ซึ่งต้องอาศัย องค์ประกอบหลายด้าน เช่น ภาวะผู้นาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ กา ร สื่ อ ส า ร ข้ อ มู ล ใ น ส่ ว น ง า น ก า ร เ ปิ ด โ อ ก า ส ส นั บ ส นุ น แ น ว คิด 10


การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ การมอบหมายภาระงานที่ ต รงกั บ ความถนั ด กฎระเบี ย บที่ ยื ด หยุ่ น บรรยากาศและความสั ม พั น ธ์ กั บ เพื่ อ นร่ ว มงาน การสนั บ สนุ น ด้ า นงบประมาณ การบริ ห ารที ม งาน การเสริ ม พลั ง การเสริมแรง การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ฯ เป็นต้น การส่งเสริมการมีส่วน ร่วมจึงเป็นความสามารถของผู้บริหารโครงการที่จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มาสนับสนุนให้สมาชิกในคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการก้าวไปด้วยกันเพื่อ ทาให้โครงการบรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้  ตอบคาถามหลักๆ ในการทาโครงการ นอกเหนือจากการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างการทาโครงการกับ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และงบประมาณในแผนพัฒนาของหน่วยงาน พร้อมกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการดาเนินโครงการแล้ว ในขั้นต่อไปก่อน ลงมือเขียนโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการควรที่จะสร้างหรือตั้งคาถามใน ภาพรวมเกี่ยวกับโครงการที่จะจัดขึ้นในหลายมิติหรือมุม มอง เพื่อที่จะช่วยทา ให้เห็นเค้าโครงของการเขียนเอกสารโครงการได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะนาไปสู่การ ค้นข้อมูลในเชิงลึกด้านต่างๆ เช่น สถิติ สารสนเทศ ระเบียบปฏิบัติ แหล่งทุน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ฯ เป็นต้น เพื่อนามาประกอบการเขียนเอกสารโครงการ ต่อไป คาถามที่ผู้รับผิดชอบโครงการควรจะตอบเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียด ของวิธีการดาเนิน โครงการและการเขียนโครงการควบคู่ไปด้วยกันนั้น คือ คาถาม 6 W’s 2 H’s คือ ทาอะไร (what) ทาทาไม (Why) ทาเมื่อไร (when) ทาที่ไหน (where) ใครทา (who) ทาเพื่อใคร (whom) ทาอย่างไร (how) และ ต้องจ่ายเท่าไหร (how much) โดยมีแนวทางที่ควรพิ จารณา ดังนี้ (จีรญาน์ นิลทองคา, 2560) 1) ทาอะไร เป็นการตั้งคาถามว่า เรื่องที่จะทาว่าจะทาอะไร เมื่อ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบก าหนดเรื่ อ งที่ จ ะท าได้ ก็ จ ะสามารถเชื่ อ มโยงไปหาค าตอบ เกี่ยวกับวิธีการต่างๆ หรือกิจกรรมย่อยๆที่สาคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการไปจน 11


จบโครงการมีอะไรบ้าง โดยต้องพิจารณาเนื้อหาของงานในเชิงแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิควิชาการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับโครงการที่จะดาเนินการอย่าง ชัดเจน 2) ท าท าไม เป็ น การตั้ง ค าถามที่ เ ชื่ อ มโยงไปถึง หลัก การและ เหตุ ผ ล ความจ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งจั ด ท าโครงการ สะท้ อ นถึ ง ปั ญ หา สาเหตุ สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะนาไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการระบุวัตถุประสงค์และ เป้า หมายให้มีค วามชัด เจน เฉพาะเจาะจง เพื่ ออธิ บายให้ ผู้เกี่ยวข้องเห็ น ผลงานและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น จากการดาเนินโครงการว่าคืออะไร พร้อมทั้ง ระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ปริมาณงาน คุณภาพของงาน รวมทั้งกลุ่มคนหรือพื้นที่ เป้าหมายที่ต้องการจะได้รับประโยชน์หลังจากจบโครงการ ทั้งหมดที่กล่าวมา นี้ต้องสัมพันธ์กับกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด งบประมาณที่คณะวิชา ฝ่าย สนับสนุนวิชาการที่ได้กาหนดไว้ในแผนพัฒนา 3) ทาเมื่อไร เป็นการวางกรอบเวลาในการดาเนิ นโครงการเพื่อ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า จะใช้ ร ะยะเวลาเท่ าใดจึ งเพี ย งพอในการดาเนิ น งานตาม เป้าหมายหรือตัวชี้วัดของโครงการ โดยมี การเรียงลาดับกิจกรรมก่อนหลังซึ่ง จะทาให้มองเห็นแผนการดาเนินงานย่อยของแต่ละโครงการได้ 4) ทาที่ไหน เป็นการพิจารณาเรื่องของสถานที่ในการดาเนินการ ว่าจะใช้สถานที่ใด ภายในสถาบันอุดมศึกษาหรือภายนอกสถาบัน ซึ่งมีความ เกี่ ย วข้ อ งกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ รู ป แบบของโครงการและความต้ อ งการของ กลุม่ เป้าหมาย 5) ท าโดยใคร เป็ น การคาดการณ์ ด้ า นก าลั ง บุ ค ลากรหรื อ หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการดาเนินโครงการ การมอบหมาย อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆจะเป็นประโยชน์สาหรับการกาหนด จานวนและคุณสมบัติของบุคลากรที่จะมาร่วมกันในการดาเนินโครงการ 6) ท าเพื่ อ ใคร เป็ น การมุ่ง พิ จ ารณาไปที่ ก ลุ่มบุ คคลที่ จ ะได้รั บ ประโยชน์โดยตรงจากการดาเนินโครงการซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการที่ได้กาหนดไว้ เช่น กลุ่มนักศึกษา 12


อาจารย์ พนักงาน บุคลากรในองค์กรภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการ ต่าง กลุ่มคนวัยต่างๆในชุมชน เป็นต้น 7) ทาอย่างไร ถือเป็นงานที่สาคัญที่สุดในด้านการวางแผนเพื่อ จัดทาโครงการ เพราะหากผู้รับผิดชอบไม่สามารถตอบคาถามข้อนี้ได้อย่ าง ชัดเจนแล้ว โครงการที่เกิดขึ้นอาจคาดการได้ว่าจะไม่สามารถบรรลุผลได้ตาม เป้าหมาย การตอบคาถามนี้ จึงมีคาถามปลีกย่อยตามมาอีกหลายคาถาม เช่น 7.1) ขั้นตอนในการดาเนินโครงการที่ระบุไว้มีอะไรบ้าง 7.2) ต้องอาศัยทรัพยากรมาสนับสนุนอย่างไร เช่น ความรู้ เทคโนโลยี ความชานาญในเรื่องใด จะหาการสนับสนุนจากที่ใด 7.3) จะกาหนดมาตรฐานในการปฏิบัตงิ านอะไรบ้าง 7.4) แต่ละขั้นตอนของโครงการที่ปฏิบัติต้องสอดคล้องกับ ระเบียบปฏิบัติ ประกาศที่มีอยู่อะไรบ้างของสถาบันอุดมศึกษา 7.5) การคาดการอุปสรรคอันอาจจะเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข ปัญหาจากการดาเนินโครงการเป็นอย่างไร 8) จะจ่ า ยเงิน เท่ า ไร เป็ น การคานวณรายละเอีย ดค่า ใช้ จ่ า ยที่ ครอบคลุมงบประมาณในหมวดต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยการคิดค่าใช้จ่ายจะต้อง สอดคล้องกับราคามาตรฐานที่เป็นอยู่จริง ทั้งราคาปัจจุบั น และราคาที่คิด ปรับค่าเวลา ค่าเสียโอกาสตามหลักเหตุผล ผู้รับผิดชอบที่สามารถตอบคาถามหลักทั้ง 8 คาถามได้อย่างชัดเจน ย่ อ มท าให้ โ ครงการที่ จ ะจั ด ท าขึ้ น นั้ น สามารถด าเนิ น การได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล บรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสาเร็จ ที่ได้กาหนดไว้

13


บทที่ 2 แนวทางสาหรับการเขียนเอกสารโครงการ แนวทางการเขียนเอกสารโครงการ สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method) และการเขียน โครงการแบบตารางความสั มพั น ธ์ (Logic Framework Method) ในเอกสาร ฉบั บ นี้ จ ะน าเสนอการเขี ย นโครงการแบบประเพณี นิ ย ม เนื่ อ งจาก สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญินิยมใช้เป็นหลักในการนาเสนอโครงการ  ประเภทของโครงการในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีการออกแบบหรือกาหนดประเภทของโครงการไว้ อย่างชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับข้อบังคับ ระเบียบปฏิ บัติที่สถาบันฯได้กาหนดไว้ โดยทั่วไปประเภทของโครงการในสถาบันอุดมศึกษามักจะกาหนดชื่อตาม พั น ธกิจ หรื อ ภาระงาน เช่ น โครงการแนะแนวการศึ ก ษา/ประชาสั มพั น ธ์ โครงการให้บริการวิชาการแก่สังคม โครงการวิจัย โครงการพัฒนานักศึกษา โครงการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น โครงการแต่ล ะประเภทที่ กล่า วมานั้น อาจมีก ารก าหนดรายละเอีย ด เฉพาะลงไปอีกว่าโครงการมีรูปแบบหรือลักษณะของโครงการสอดคล้องกับ เกณฑ์ มาตรฐานใด เช่ น โครงการประเภทพั ฒ นานั ก ศึ ก ษา ที่ มี ก ารแบ่ ง กิ จ กรรมออกเป็ น 5 ลั ก ษณะตามเกณฑ์ ก ารประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (2) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ (3) กิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์หรือ รักษาสิ่งแวดล้อม (4) กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม และ (5) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม หรือในบางสถาบันฯ อาจระบุเกี่ยวกับ ทักษะที่จะส่งเสริมให้แก่นักศึกษาตามองค์ประกอบคุณลักษณะของบัณฑิต ยุ ค ใหม่ ใ นศตวรรษที่ 21 เป็ น ต้ น หรื อ ในกรณี ข องโครงการประเภทการ 14


ให้ บ ริก ารวิ ช าการแก่ สั ง คม สถาบั น อุดมศึก ษาอาจมีก ารให้ ร ะบุ ข้ อ ความ เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะของการจั ด บริ ก าร เช่ น โครงการแบบมี ร ายได้ โครงการแบบให้เปล่า ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของการบูรณาการกับการจัดการ เรียนการสอน การทาโครงการวิจัย หรือควบคู่ไปกับการพัฒนานักศึกษา เป็น ต้น นอกจากนี้อาจยังมีการให้ระบุประเภทของโครงการในรูปบบอื่นๆอีก ตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบการดาเนินโครงการ เช่น ยึดกรอบตาม แผนปฏิบัติการ มีการระบุโครงการตามแผน หรือเพิ่มจากแผน ยึดตามกรอบ งบประมาณ มีการระบุงบประมาณที่กาหนดไว้แล้ว งบประมาณที่ขออนุมัติ เพิ่ ม ยึ ด ตามพื้ น ที่ ก ารจั ด โครงการ มี ก ารระบุ โ ครงการที่ จั ด ภายในหรื อ ภายนอกสถาบันฯ ยึดตามหลักหน่วยงานที่ดาเนินการ มีการระบุโครงการที่ จั ด ขึ้ น หน่ ว ยงานเดี ย ว ร่ ว มกั น ระหว่ า งสองหน่ ว ยงาน หรื อ ร่ ว มมื อ กั บ หน่วยงานภายนอก เป็นต้น  ชื่อโครงการนั้นสาคัญไฉน ชื่อโครงการนับเป็นจุดแรกหรือจุดขายที่สาคัญในทางการตลาดซึ่งจะชี้ ชวนให้ ผู้ ส นใจเข้ า ร่ ว มโครงการหรื อ แม้ ก ระทั่ ง ผู้ มี อ านาจอนุ มั ติ โ ครงการ สามารถจิ น ตนาการไปได้ ว่ า โครงการที่ จ ะจั ด มี ลั ก ษณะอย่ า งไร สื่ อ ถื อ ประเด็น เรื่องที่จะดาเนินการ กลุ่มเป้าหมายหลักและความคาดหวังที่จ ะ ได้รับจากโครงการ การกาหนดชื่อโครงการจึงเป็นโจทย์ แรกที่ผู้รับผิดชอบ โครงการควรพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์ และสกัดเอาข้อความที่สามารถ ดึงดูดความสนใจไปยังผู้มสี ่วนเกีย่ วข้อง โดยสามารถพิจารณาการกาหนดชื่อ โครงการได้ตามแนวทาง ดังนี้ 1) การใช้ ค ากิ ริ ย าน าหน้ า ชื่ อ โครงการ เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะหรื อ รู ป แบบของการจั ด โครงการ ค าที่ นิ ย มใช้ เช่ น การอบรม การสัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเสวนา 15


วิ ช าการ การศึ ก ษาดู ง าน การสาธิ ต การทดสอบ การแข่ ง ขั น การฟื้ น ฟู การปฐมนิเทศ การปัจฉิมนิเทศ ค่าย การออกบูธนิทรรศการ เป็นต้น 2) การไม่ระบุคากิริยาหน้าชื่อโครงการ แต่จะนาเสนอข้อความที่ ผู้รั บ ผิ ดชอบได้ก าหนดขึ้ น มา ข้ อ ความดั ง กล่ า วจะสื่ อ ให้ เ ห็ น ความหมาย โดยนัย ซึ่งต้องอาศัยการตีความจากผู้อ่านตามมุมมองและความเข้าใจอีก ครั้ง เช่น โครงการประเภทแนะแนวการศึ ก ษา : “แบ่ ง ปั น ความรู้ มุ่ ง สู่ มหาวิทยาลัย” “หนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด” “หนึ่งทุนหนึ่งโรงเรียน” โครงการประเภทการให้บริก ารวิชาการแก่สั งคม : “กินจืด ยึดอายุ ” “ชุมชนลดเค็ม ลดโรค” “แปลงผักปลอดสารพิษ พลิกฟื้นชีวิตชุมชนไทย” โครงการประเภทพัฒ นานั กศึ กษา : “สานรักห่ วงใย ใส่ ใจผู้ สูงอายุ ” “จิตอาสา เพื่อน้องในชุมชน...” “ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาเพื่อน้องพี่ร่วมใจพร้อม ชาระหนี้คืน กยศ.”

3) การแสดงให้เห็นระดับหรือขอบเขตของการจัดโครงการด้วย การใช้คาขยาย เช่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ระดับนานาชาติ แบบพหุภาคี แบบทวิภาคี เป็นต้น 4) การใช้คาที่ตรงกับวันสาคัญของชาติหรือประเพณีชุมชน หรือ ความเชื่อตามหลักศาสนา เช่น โครงการเฉลิมพระเกียรติ.. โครงการวันลอย กระทง โครงการสารทเดือนสิบ โครงการเทศน์มหาชาติ โครงการพิธีนมัสการ พระเจ้า โครงการวันฮารีรายอ เป็นต้น 5) การระบุข้อความที่แสดงให้เห็นถึงจานวนความถี่ของการจัด โครงการ ต่อท้ายชื่อโครงการ เช่น รุ่นที่ ครั้งที่ รอบที่ ซึ่งโครงการในลักษณะ นี้มักเป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นประจาทุกเดือนหรือทุกปีตามวัตถุประสงค์ หรือนโยบายของสถาบันฯ การก าหนดหรื อ ตั้ ง ชื่ อ โครงการ จึ ง เป็ น เรื่ อ งที่ ท้ า ทายผู้ รั บ ผิ ด ชอบ โครงการในการคัดสรรข้ อความมาเขียนให้เกิดความเหมาะสม ชัดเจน และ เข้ า ใจง่ า ย ควรเป็ น ข้ อ ความที่ ส ะท้ อ นสาระของโครงการ และยั งมี ความ 16


เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่สละสลวย คล้องจอง สัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้โครงการเกิดความน่าสนใจและกระตุ้นให้ เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมมาก ยิง่ ขึ้นด้วย  หลักการและเหตุผลเขียนอย่างไรให้เห็นว่าสาคัญ หลักการและเหตุผล เป็นส่วนที่ต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่องของโครงการ เป็นส่วนที่จะตอบคาถามของการจัดทาโครงการว่า “ทาทาไม ทาเพื่อใคร และทาอย่างไร” โดยนาเสนอเป็นความเรียง 2-3 ย่อหน้า แต่ละย่อหน้ามี ลัก ษณะที่ เ ป็ น เหตุเ ป็ น ผลเชื่ อ มโยงกัน ผู้ รับ ผิด ชอบโครงการต้ อ งมีข้ อ มู ล หลักฐานที่สมเหตุสมผล เพื่อนามาสนับสนุนการเขียน การเขี ย นแบ่ ง ออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ หลั ก การ เป็ น การกล่ า วถึ ง ความสาคัญของโครงการที่จะดาเนินการ โดยอาศัยแนวความคิด ทฤษฎีทาง วิชาการ ตลอดจนการนาเสนอประเด็นปัญหา ภาพปรากฏการณ์ในชุมชน หรือองค์กรประกอบการนาเสนอ อาจมีการหยิบยกข้อมูลเชิงสถิติ ผลการ ศึกษาวิจัยที่น่าเชื่อถือ โดยควรเป็นข้อมูลที่มีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีย้อนหลัง หรื อ การอ้ า งถึ ง ความสอดคล้ อ งกั บ แผนงาน นโยบายทั้ ง ในระดั บ ชาติ นานาชาติ หรือของสถาบันฯซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันมาเรียบเรียง ส่วนเหตุผล เป็น ส่วนที่จะต้องเขียนให้เห็นว่า โครงการที่ทานี้มีความ จาเป็นอย่างไรต่อบุคคล องค์กร ชุมชน หรือ คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ หากไม่ดาเนินการจะมีผลกระทบในระดับใด โครงการสามารถที่จะตอบสนอง หรือช่วยแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง หรือเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคล หรือคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่ หรือ ความคาดหวังในอนาคตตามแผนงานหรือนโยบาย นอกจากนี้ในส่วนของ เหตุผลอาจนาข้อมูลเกี่ยวการสารวจความต้องการ เช่น ความต้องการพัฒนา ความรู้ ทั ก ษะต่ า งๆ มาประกอบด้ ว ยก็ ไ ด้ เ พื่ อ สนั บ สนุ น การเกิ ด ขึ้ น ของ โครงการ 17


สถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง มีการกาหนดให้นาข้อเสนอแนะจากการจัด โครงการในครั้งที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมโครงการ และ ผู้รับผิดชอบโครงการมาแสดง พร้อมบอกวิธีการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาการ จัดโครงการที่กาลังจะเกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อีก ซึ่งเป็นไปตาม หลั ก การวงจรการบริ ห ารงานคุ ณ ภาพ (PDCA) ท าให้ โ ครงการที่ จั ด เกิ ด ประสิทธิภาพมากขึ้น กรณีตัวอย่าง การเขียนหลักการและเหตุผล กรณีที่ 1 : โครงการประเภทแนะแนวการศึกษา/ประชาสัมพันธ์ “หนึง่ วันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด” นั ก กายภาพบาบัด นั บ เป็น วิช าชีพด้ านสุ ข ภาพที่ประเทศไทยมี ความต้ อ งการเพิ่มมากขึ้น อัน เนื่อ งมาจากในอนาคตตามโครงสร้าง ประชากรในในปี พ.ศ.2568 คาดการณ์ว่าจะมีประชากรประมาณ 72 ล้านคน โดยเป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 20 หรือประมาณ 14 ล้านคน จานวน ประชากรผู้สูงอายุที่มีมากขึ้นนี้ ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการให้บริการ สาธารณสุข เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค เรื้อ รั งต่ างๆ และมีปัญ หาในการเคลื่อ นไหว การดู แ ลตนเอง รวมถึ ง ประชากรในวัยอื่นๆด้วย ข้อมูลจากสภากายภาพบาบัด (เจาะลึกระบบ สุ ข ภาพ,2562) พบว่า มีนั ก กายภาพบ าบัด ที่ขึ้น ทะเบี ย นใบประกอบ วิชาชีพ ประมาณ 8,000 คน แต่มีนักกายภาพบาบัดที่ประมาณว่ายังอยู่ ในระบบบริ ก ารสุ ข ภาพ จ านวน 5,000 คน นอกจากนั้ น ยั ง พบว่ า ในระดั บ ปฐมภู มิ โรงพยาบาลชุ ม ชนมี นั ก กายภาพบ าบั ด ปรากฏอยู่ ประมาณ 300 แห่ง จากโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ 735 แห่ง ซึ่ง เฉลี่ยแล้วมีเ พีย ง 1.5 คน ในแต่ล ะแห่ง ขณะที่ส ถาบัน อุด มศึ กษาใน ประเทศไทยมี ก ารจั ด การเรี ย นการสอนในสาขาวิ ช ากายภาพบ าบั ด จานวน 16 แห่ง จาแนกเป็นสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐ 12 แห่ง และ เอกชน 4 แห่ง โดยสานักวิจัยและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพ (2560) ประมาณการผลิตนั กกายภาพของสถาบันอุด มศึ กษาที่เ ปิดสอนปีล ะ 1,155 คน และได้คาดการนักกายภาพบาบัดที่ต้อการในปี 2569 จานวน 7,066-7,476 คน 18


การส่งเสริมให้นักเรียนสนใจในวิชาชีพกายภาพบาบัด เพือ่ รองรับ กับความต้องการกาลังคนด้านสุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่สถาบันอุดมศึกษา หลายแห่งให้ค วามส าคั ญ กับการสร้างการรับรู้ข้อ มูล เกี่ย วกับวิชาชีพ กายภาพบ าบั ด ไปสู่ ก ลุ่ ม นั ก เรี ย นด้ ว ยการใช้ ก ลยุ ธ์ ก ารตลาดหลาย ช่องทาง เช่น การตลาดออนไลน์ การเจาะกลุ่มเป้าหมาย การขยาย ตลาด เป็นต้น กลยุทธ์การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ แก่ นัก เรียน นั บเป็น อีก กลยุท ธ์ห นึ่งที่จ ะช่วยเปิดมุมมอง โลกทัศ น์ให้กับ นักเรียนได้เรียนรู้ และเกิดความเข้าใจในวิชาชีพ คุณสมบัติของการเป็น นักกายภาพบาบัด รวมทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน แนวทางการประกอบวิ ช าชี พ ในอนาคต ผ่ า นการมี ส่ ว นร่ ว มใน กระบวนการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิด ความต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชากายภาพบัดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจาก จะช่วยเพิ่มอัตรากาลังคนด้านสุขภาพของประเทศแล้ว ยังทาให้จานวน การรั บ นั ก ศึ ก ษาของแต่ ล ะสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ไปตามเป้ า หมาย ตลอดจนท าให้ ห ลัก สู ต รกายภาพบาบัด เป็ นที่รับรู้จัก ในกลุ่มนั ก เรีย น อย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วย กรณีที่ 2 : โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สังคม “โครงการสัญ จรสุขภาพชุมชน เรื่อง ปรับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน” ประเทศไทยกาลังเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2568 โดยจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึน้ ประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในทุ ก ๆ 5 คนเป็ น โรคเบาหวาน สหพั น ธ์ เ บาหวานนานาชาติ ไ ด้ คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน (ชัชลิต รัตรสาร,2560) โรคเบาหวานเป็นโรคเรือ้ รัง เนื่องจากเป็น ภาวะเจ็บป่วยที่ต้องการการดู แลอย่างต่อเนื่อง มีภาวะแทรกซ้อนต่ อ ระบบหลอดเลือด ทาให้เกิดภาวะไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็น แปลเรื้อ รัง ติดเชื้อได้ง่าย จนอาจต้องถูก ตัดอวัยวะ ส่งผลกระทบต่ อ ผู้ป่วยในทางร่างกายและจิต ใจ และสมาชิกครอบครัว โดยปัจจัยเสี่ยง 19


สาคัญ คือ ความอ้วนและน้าหนักตัวเกินที่คนไทยมีอัตราเพิ่มขึ่นแบบ ก้าวกระโดด (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, 2562) จากการประเมินผู้ ป่วยเบาหวานที่มาใช้บริก ารในโรงพยาบาล ประจ าอ าเภอบางแพ จั งหวัด ราชบุรี (มหาวิท ยาลั ย คริส เตี ย น,2562) พบว่า ประชาชนที่มีรับบริการ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแ ล ตนเองเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด และมีพฤติกรรมที่ไ ม่ เหมาะสมในการรับประทานอาหาร รวมทั้งการจัดเวลาเพื่อเข้ารับการ ตรวจสุขภาพ จึงเป็นเหตุให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและ ผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิม่ มากขึ้น โครงการสัญจรสุขภาพชุมชน โดยหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สู งอายุ จึงมีการดาเนินงาน อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ชุมชนในเขตอาเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เพื่อทา การตรวจและประเมิ น ภาวะเบาหวานของประชาชนในชุ ม ชน และ ติดตามดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการให้ความรู้ ผู้ป่วยในการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยให้อัตราภาวะ ความเสี่ ย ง ภาวะแทรกซ้ อ นที่ เ กิ ด จากโรคเบาหวานลดจ านวนลง เสริมสร้างสุขภาพของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ทั้งนี้จากการประเมินการจัด โครงการในครั้ ง นี้ ผ่ า นมาพบว่ า ประชาชนที่ ม ารั บ บริ ก าร ได้ ใ ห้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบลงทะเบียนที่ชั ดเจน และควรมีที ม แพทย์มาให้คาแนะนาในสถานที่ตรวจบริการ ตลอดจนการอานวยความ สะดวกในเรื่องการรับยารักษา จึงได้นามาปรับปรุงการจัดระบบบริการ ก่อนหลังตามลาดับ พร้อมประสานทีมแพทย์เข้ามาประจาจุดให้บริการ และจัดบริการรับยารักษาได้สะดวกขึ้นภายหลังการตรวจสุขภาพและ การเข้าร่วมทุกกิจกรรม กรณีที่ 3 : โครงการประเภทพัฒนานักศึกษา “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12” การพั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา นอกจากจะ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความสามารถทางวิชาชีพแล้ว (Hard Skills) ยังมีความจาเป็นจะต้องมีความสามารถทางด้านคนและสังคมด้วย (Soft 20


Skills) อันหมายถึง ทักษะหรือความชานาญที่เกี่ยวข้องกับคน อาจไม่ เกี่ยวข้องกับความชานาญในงานด้านใดด้านหนึ่งโดยตรง แต่เป็นทักษะ ที่ช่ วยให้ ก ารท างานประสบความส าเร็ จ และก้า วหน้ า (Robles, 2012) ได้ แ ก่ การสื่ อ สาร การน าเสนอ การบริ ห ารคน การบริ ห ารเวลา การบริหารทีมงาน การจัดการอารมณ์ตนเอง การจูงใจและหว่านล้อม รวมทั้งความเป็นผู้นาและรับผิดชอบต่อสังคม เรียกว่า “สมรรถนะการ บริหารจัดการคน” (People Management Competency) (สานักส่งเสริม และพัฒนาศัก ยภาพนัก ศึกษา, 2561) สอดคล้อ งทัก ษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 การจัดโครงการค่ายพัฒนาชุมชน ปีที่ 12 นับเป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนานักศึกษาให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะด้านคนและสังคม ผ่าน การมีส่ วนร่ วมในกระบวนการท างานร่วมกัน ตั้ งแต่ ก ารวางแผน การ ประสานงาน การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยในปีก ารศึ กษา 2563 นี้ ชมรมก้าวย่างเพื่อ สังคม ได้ส ารวจพื้น ที่ ชุมชนบ้านสานรัก อาเภอสานฝัน จังหวัดตาก พบว่า ภายในชุมชนยัง ขาดแหล่ ง เรี ย นรู้ ใ ห้ แ ก่ เ ยาวชนในพื้ น ที่ ร่ ว มทั้ ง ความพร้ อ มในด้ า น อุปกรณ์เวชภัณฑ์ จึงได้นามาสู่การจัดทาโครงการห้อ งสมุดชุมชน และ มุมยาสามัญประจาบ้านให้กับชุมชน ทั้งนี้ได้นาประสบการณ์จากการจัด โครงการค่ายพัฒนาชุมชน ปีที่ 11 เกี่ยวกับการเพิ่มช่องทางการหาแหล่ง ทุนสนับสนุนในการดาเนินโครงการ ที่เน้นการระดมทุนจากบริษัท ห้าง ร้านซึ่งเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยฯอีกช่องทางหนึ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้สาหรับเด็ก และเยาวชน และมีอุปกรณ์เวชภัณฑ์ยาให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อ บ าบั ด รั ก ษาอาการเจ็ บ ป่ ว ยขั้ น พื้ น ฐาน รวมทั้ ง ยั ง เป็ น การพั ฒ นา นักศึกษาที่เป็นสมาชิกของชมรมฯ ตลอดจนนักศึกษาที่สนใจในโครงการ ให้ มี จิ ต อาสา(Volunteer and Helpfulness) ช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล สั ง คมตรง ตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยฯ และยุทธศาสตร์ก ารพัฒ นานิสิ ต นั ก ศึ ก ษาในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา(พ.ศ. 2560 –2564) ของส านั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ชมรมก้าวย่างทางสังคม จึงจัดโครงการ ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “เติมฝันปันความรู้ เคียงคู่ ดูแลสุขภาพชุมชน” 21


กรณีที่ 4 : โครงการประเภทพัฒนาบุคลากร การอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจิทัล” Moodle ( Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment) เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา สมั ย ใหม่ ได้ รั บ การพั ฒ นามาเพื่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นการสอนของ สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ เป็น ระบบการจัดการการเรียนรู้ที่อานวย ความสะดวกอย่างมาก เพราะระบบนี้ได้รวบรวมเครื่องมือที่เหมาะสมไว้ ให้กับ 3 กลุ่มผู้ใช้งาน คือ ผู้ดูแลระบบ ครูผู้สอน และนักศึกษา Moodle เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (LMS : Learning Management System) และเป็น ระบบสนั บสนุน การเรียนการ สอนและบริ ห ารจั ด การเรี ย นการสอนแบบออนไลน์ (CMS : Course Management System) มีขอบเขตการทางานหลักออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่ ระบบการจัดการเนื้อหา (Content Management System) ระบบ บริ ห ารจั ดก า รรา ยวิช า (Course Management System ระ บบก า ร ติ ด ต่ อ สื่ อ ส า ร (Communication System) แ ล ะ ร ะ บ บ จั ด ก า ร ก า ร ทดสอบ (Testing System) การเรี ย นรู้ ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า วสอดรั บ กั บ ปรัชญาการศึ กษาหลากหลายลั ก ษณะได้แ ก่ รูปแบบการเรียนรู้แ บบ สร้ า งองค์ ค วามรู้ ด้ ว ยตนเอง (Constructivism) การเรี ย นรู้ แ บบคิ ด เอง สร้างเอง (Constructionvism) การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ในสังคม (Social Constructivism) หรือ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นหมู่คณะ การเรียนรู้ แบบเชื่ อ มโยงและการแยกส่ ว นความรู้ (Connected and Separated Knowing) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2562) ดังนั้น เพื่อ เป็น การส่งเสริมให้ อ าจารย์ของมหาวิท ยาลัย ฯได้ มี ศักยภาพในการพัฒนาการจัดการเรียนรูปแบบใหม่ รองรับกับนวัตกรรม การจัดการอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงมีความจาเป็นที่จะต้องเพิม่ พูน ความรู้ ความเข้าใจ และเทคนิควิธีการเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนโดยใช้ Moodle ให้แก่อาจารย์ผู้สอนในฐานะผู้มีบทบาทสาคัญในการถ่ายทอด ความรู้ให้แก่นักศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ สอดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียน และยังตรงกับความต้องการที่จะพัฒนา ความรู้ของอาจารย์จากผลการสารวจความต้องการที่จะพัฒนาทักษะ 22


ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยฯ จึงเห็นสมควรจัดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจิทัล ” เพื่อให้ อาจารย์ ส ามารถน าความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้ รั บไปประยุก ต์ กับการ จัดการเรียนการสอนให้ประสิทธิภาพยิ่งขึน้ ต่อไป

 การเขียนวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย การเขียนวัตถุประสงค์โครงการจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือ ปรากฎการณ์ที่ระบุไว้ในหลักการและเหตุผล ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้อง ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นได้ทั้งกลุ่มบุคคลต่างๆ หรือพิจารณาในแง่องค์กร เช่น หลักสูตร คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุ นวิชาการ ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนจะได้รับอะไรจากการจัดทาโครงการที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ของโครงการจึงเป็นการคิดเกี่ยวกับความต้องการการกระทาใดๆ ของผู้รับ ผิ ด ชอบโครงการให้ ป รากฏหรือ การส่งมอบสิ่งที่ เ ป็ น รู ป ธรรมและ นามธรรมเพื่อมอบให้แก่กลุ่มเป้าหมาย วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการอาจจ าแนกได้ เ ป็ น 2 ลั ก ษณะ คื อ 1) วัตถุประสงค์ทั่ วไป (General Purpose) เป็น การเขี ยนบอกความต้องการใน ภาพรวมทั้ ง หมดของโครงการนิ ย มเขี ย นเป็ น ข้ อ ความกว้ า งๆ และ 2) วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Purpose) เป็นการเขียนบอกความต้องการใน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพการดาเนิ นงานที่ต้องการให้เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เฉพาะจะต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั่วไป (กฤษณ์ ขุนลึก, 2557) ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ทั่วไป : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะใน ครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์เฉพาะ : นักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมจะได้ 1) สามารถคัดแยกและรู้วธิ ีการจัดการกับขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

23


2) น าความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ ไปถ่ า ยทอดและประยุ ก ต์ ใ นการจั ด การขยะภายใน ครอบครัวได้

การเขียนวัตถุประสงค์โ ครงการอาจกาหนดวัตถุประสงค์ได้หลายข้อ โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องการให้ได้รับประโยชน์จากโครงการ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สงั คม ผู้สอน ต้องการให้นักศึกษานาความรู้จากรายวิชาที่เรียนไปประยุกต์ในการสร้าง นวัตกรรมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุในชุมชนก็จะ ได้รับความรู้จากการใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้ น ดังนั้น โครงการนี้จึงต้องกาหนด วัตถุประสงค์ออกเป็น 2 กลุม่ คือ นักศึกษาและผู้สูงอายุ 1) นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้ : 1.1) ใช้ความรู้จากการเรียนในรายวิชาการพยาบาลชุมชนไปสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ด้านการพยาบาลปฐมภูมิเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชน 1.2) ถ่ายทอดความรู้ วิธีก ารใช้ และอธิบายถึงประโยชน์ จากการใช้ นวัตกรรมสุขภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นแก่ผู้สูงอายุ 2) ผู้สูงอายุในชุมชนจะได้ : 2.1) เรี ย นรู้ แ ละมี ค วามเข้ า ใจในผลงาน/สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ การพยาบาล ปฐมภูมิ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดี 2.2) ทดลองใช้ผลงานวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ด้านการพยาบาล ปฐมภูมิ สาหรับการดูแลสุขภาพที่สร้างสรรค์จากแนวคิดของนักศึกษา

แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์โครงการที่ควรคานึงถึง มีดังนี้ 1) ควรมีความเฉพาะเจาะจง เป็ นไปในทิศทางเดียวกับชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล รวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย 2) มีความเป็นรูปธรรมสามารถที่จะนาไปกาหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวมทั้งออกแบบเครื่องมือในการประเมินผลได้ 3) มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสามารถบ่งบอกถึงวิธีการหรือแนวทาง ในกาหนดการโครงการที่จะดาเนินการให้ประสบผลได้ 24


4) แสดงถึ ง สิ่ ง ที่ ต้ อ งการให้ เ กิ ด ขึ้ น หรื อ สิ่ ง ที่ ต้ อ งการส่ ง มอบให้ แ ก่ กลุม่ เป้าหมาย 4.1) สิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม สินค้า อาคาร สถานที่ เป็นต้น 4.2) สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้ ความเข้าใจ เทคนิค วิธีการ การมีสว่ นร่วม การวิเคราะห์ เป็นต้น 5) มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการดาเนินโครงการ กล่าวคือ เมื่อ โครงการจบลงแล้วสามารถวัดความสาเร็จของการกาหนดวัตถุประสงค์ได้ กรณีตัวอย่าง การเขียนวัตถุประสงค์ กรณีที่ 1 : โครงการประเภทแนะแนวการศึกษา/ประชาสัมพันธ์ “หนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด”  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทีเ่ ข้าร่วมโครงการจะได้ : 1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของ สาขาวิชากายภาพบาบัดผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ 2) ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นนักกายภาพบาบัด พร้อมทั้งแนว ทางการประกอบวิชาชีพในอนาคต 3) รั บ รู้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การรั บ สมั ค รเข้ า ศึ ก ษาต่ อ คุ ณ สมบั ติ ทุ น การศึ ก ษา สิ ท ธิ พิ เ ศษต่ า งๆ ตลอดจนการจั ด สิ่ ง สนั บ สนุ น การเรี ย นรู้ เพื่ อ ใช้ ประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อในสาขาวิชากายภาพบาบัดของคณะ... กรณีที่ 2 : โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สงั คม “โครงการสัญจรสุขภาพชุมชน เรื่อง ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วย โรคเบาหวาน”  ผู้ป่วยเบาหวานทีเ่ ข้าร่วมโครงการจะได้ : 1) รับการตรวจคัดกรอง และประเมินสภาวะร่างกายเพื่อหาแนงวางการ ควบคุมโรคเบาหวาน 25


2) ร่วมกิจ กรรมให้ ค วามรู้เ กี่ย วกับ การดู แ ลสุ ข ภาพ การรับประทาน อาหารและยา การออกกาลังกาย การจัดการความเครียด รวมทั้งการดูแลร่างกาย 3) สามารถน าความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ มาปรั บ พฤติ ก รรมในการดู แ ลสุ ข ภาพ ตนเองได้อย่างถูกต้อง กรณีที่ 3 : โครงการประเภทพัฒนานักศึกษา “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12”  นักศึกษาที่เข้าร่วมค่ายอาสาจะได้ : 1) มีส่วนร่วมในการบาเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนด้วยการสร้างห้องสมุด และมุมเวชภัณฑ์ยาสามัญประจาชุมชน 2) จัดกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กและ เยาวชนในพื้นที่ 3) เรียนรู้กระบวนทางานเป็นทีมร่วมกัน กรณีที่ 4 : โครงการประเภทพัฒนาบุคลากร การอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจทิ ัล”  อาจารย์ทเี่ ข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการจะได้ : 1) ความรู้ ความเข้าใจและเทคนิคการในพัฒนาบทเรียนด้วยสื่อดิจิทัล 2) ฝึ ก ปฏิ บั ติ ใ นการพั ฒ นาบทเรี ย นด้ ว ยสื่ อ ดิ จิ ทั ล ในรายวิ ช าที่ ตนเองรับผิดชอบ

 ผู้รับผิดชอบการจัดโครงการกับช่องทางการติดต่อสื่อสาร การเขียนระบุผู้รับผิดชอบในการเอกสารโครงการ นับเป็นอีกจุดที่สาคัญ เนื่ อ งจากจะเป็ น การแสดงให้ เ ห็ น ว่ า บุ ค คล หรื อ หน่ ว นงานใดภายใน สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้จัดทาโครงการดังกล่าว และจะได้ใช้ประโยชน์สาหรับ การสื่อ สาร ติดตาม การประสานงานกับ ผู้มีส่ว นเกี่ย วข้ อ งทั้ งภายในและ ภายนอกสถาบันฯ ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือการแจ้งให้รายงานความคืบหน้า การรายงานประเมินผลความสาเร็จของโครงการต่อหน่วยงานต้นสังกัด 26


การระบุ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการในเอกสาร ควรระบุ ส ถานที่ ติ ด ต่ อ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล เพื่อใช้เป็นชื่อทางในการสื่อสารข้อมูลด้วย ส าหรั บ แนวทางการระบุ ชื่ อ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการสามารถเขี ย นได้ ห ลาย รูปแบบขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของแต่ละสถาบันฯที่กาหนด โดยมีแนวทางดังนี้ 1) การระบุชื่อ นามสกุล ตาแหน่งผู้รับผิดชอบทั้งที่เป็นชื่อหลัก และชื่อรอง หรือชื่อผู้ประสานงานโครงการ 2) การระบุ ห น่ ว ยงานในสถาบั น ฯที่ รับ ผิดชอบ เช่ น หลัก สู ต ร โปรแกรม ภาควิชา คณะวิชา สถาบัน สานัก สานักงาน ฝ่าย กอง แผนก ศูนย์ เป็นต้น 3) การระบุในรูปแบบของคณะกรรมการที่สถาบันฯ แต่งตั้งขึ้น จากบุคลากรในส่วนงานต่างๆให้มารับผิดชอบร่วมกันในการจัดโครงการ 4) การระบุหน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ ตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้น ไปภายในสถาบันฯ 5) การระบุ ก ารด าเนิ น งานร่ ว มกั น ระหว่ า งหน่ ว ยงานภายใน สถาบันฯกับองค์กรภายนอกสถาบันฯ  การระบุกลุ่มเป้าหมาย และผู้มีส่วนร่วมในโครงการที่ชัดเจน การระบุกลุ่มเป้าหมายในเอกสารโครงการควรเขียนให้ครอบคลุมทุก กลุ่มที่จะมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์จากโครงการ ซึ่งควรประกอบไปด้วย กลุ่ ม เป้ า หมายหลั ก ตรงตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการ กลุ่ ม วิ ท ยากร คณะกรรมการดาเนินโครงการ และกลุ่มที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยควรกาหนด จานวนที่แน่นอน เพื่อที่จะทาให้เห็นภาพรวมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เหตุที่ต้องระบุจานวนที่แน่นอนนั้น เพราะผู้รับผิดชอบบจะได้สามารถนาไปใช้ ในการออกแบบการจัดโครงการได้ เช่น การแบ่งกลุ่ม การจัด การมีส่วนร่วม ในกิจกรรมอย่างทั่วถึง การติดตามดูแล การประสานงานกับกลุ่ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนาไปประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการได้ในหมวด ต่างๆ เช่น ค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจัดทา เอกสารสาหรับผู้เข้าร่วมประชุม ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ค่าเสียโอกาส ฯ 27


เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณตัง้ อยู่บนพื้นฐานของ ข้ อ มู ล จริ ง ท าให้ ก ารบริ ห ารงบประมาณโครงการเกิ ด ความคุ้ ม ค่ า คุ้ ม ทุ น โดยเฉพาะหากเป็ น โครงการบริ ก ารวิ ช าการแก่ สั ง คมแบบหารายได้ ที่ มี ต้องการคานวณรายรับเหนือรายจ่าย ทาให้ผู้รับผิดชอบโครงการต้องบริหาร ต้นทุนให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึน้ ตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1) บุคลากรในองค์กรสุขภาพภาครัฐและเอกชน 2) วิทยากรบรรยายให้ความรู้ 3) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ช่วยปฏิบัติงาน 4) คณะกรรมการดาเนินโครงการ รวมทั้งหมด

100 คน 8 คน 10 คน 12 คน 130 คน

 วัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ การระบุวัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ เป็นสิ่งที่แสดงถึงห้วงเวลาที่ โครงการจะดาเนินการ ซึ่งในบางโครงการมีระยะเวลาสั้นเพียง 1-3 วัน บาง โครงการมีห้วงเวลาดาเนินการ 1 สัปดาห์หรือหลายสัปดาห์ บางโครงการกิน ระยะเวลาหลายเดือนต่อเนื่อง ซึ่งการกาหนดห้วงเวลาของโครงการแต่ละ โครงการขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการดาเนินงานของโครงการ ดังนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องสื่อความหมายไปยังผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการผ่าน การเขียนวัน เวลา และสถานที่จัดโครงการให้มีความชัดเจน และสอดคล้อง กับกาหนดการจัดโครงการ อย่างไรก็ตาม การกาหนดวัน เวลา และสถานที่จัดโครงการ หลาย โครงการมีกิจกรรมย่อยต่างๆที่จะต้องดาเนินการล่วงหน้า เช่น การรั บสมัคร การส่งข้อมูล เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรือในบางโครงการมีกิจกรรมที่ต้อง ดาเนิ นการหลัง จากจบโครงการ เช่ น การจั ดส่งสิน ค้า การจั ดส่งรายงาน ประมวผลสรุปการประชุม การส่งวุฒิบัตร ใบเสร็จ ฯ เป็นต้น ผู้รับผิดชอบ โครงการจะต้องเขียนข้อมูลดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อทาให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 28


เตรียมความพร้อมที่จะจัดส่งข้อมูลให้ก่อนหรือการรับข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ต่ า งๆภายหลั ง จากจบโครงการ ซึ่ ง จะเชื่ อ มโยงกั บ ข้ อ มู ล ในเอกสาร ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการด้วย ตัวอย่าง โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมดิจิทัลในธุรกิจบริการสุขภาพ” วันจันทร์ที่ 1 ถึง วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2562 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารศรีสิรินธร มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม หมายเหตุ

รับสมัครผู้นาเสนอผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 จัดส่งเอกสารประมวลสรุปการประชุมภายใน 30 วันหลังจัดโครงการ

นอกจากนี้ในการจัดโครงการบางโครงการอาจมีรูปแบบกิจกรรมที่ไม่ เหมือนกันในแต่ละวัน เช่น วันแรกเป็นการบรรยายให้ความรู้ วันที่สองจัดให้มี การทดลองปฏิ บั ติ วั น สุ ด ท้ า ยจั ด ให้ มี ก ารศึ ก ษาดู ง าน ดั ง นั้ น สถานที่ จั ด โครงการในแต่ วั น จึ ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปตามรู ป แบบของกิ จ กรรมด้ ว ย ผู้รับผิดชอบจึงต้องระบุสถานที่ ที่จะจัดกิจกรรมนั้นๆ ในเอกสารโครงการเพื่อ ทาให้ผู้เข้าร่วมสามารถไปร่วมทากิจกรรมตามสถานที่ต่างๆได้อย่างถูกต้อง ตามที่กาหนดไว้ การระบุวัน เวลา และสถานที่ของโครงการยังสามารถนาไป ตรวจสอบกับการกาหนดค่าใช้จ่ายอื่นๆในหมวดงบประมาณโครงการได้ด้วย  แผนการดาเนินงานที่ครอบคลุม : ก่อน ระหว่าง และหลังโครงการ เป็นการเขียนขั้นตอนการดาเนินโครงการเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการ ปฏิบัติงานที่จะนาพาโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนจบ โครงการ เรียงลาดับตามเงื่อนเวลา ผู้รับผิดชอบโครงการควรพิจารณานา หลักการวรจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) มาประยุกต์ในกระบวนการ จัดทาแผนการดาเนินงาน โดยมีการระบุตั้งแต่ขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน (Plan) ขั้นดาเนินการ (Do) ขั้นสรุปประเมินผล (Check) และการปรับปรุงการ 29


ปฏิ บั ติ ง าน (Act) เพื่ อ ที่ จ ะท าให้ โ ครงการสามารถด าเนิ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล แนวทางสาหรับการเขียนแผนการดาเนินงานในเอกสารโครงการนั้นอาจ พิจารณาออกเป็น 3 ขั้นตอนที่สาคัญ ได้แก่ 1) การด าเนิ น การก่ อ นการจั ด โครงการ เป็ น ขั้ น ตอนของการ เตรี ย มความพร้ อ มทุ ก ด้ า นก่ อ นที่ โ ครงการจะเกิ ด ขึ้ น ต้ อ งอาศั ย วิ ธี ก าร ดาเนินงานหลายด้านเข้าด้วยกัน เช่น การประชุม การมอบหมายงาน การ ประสานงาน การเจรจาต่อรอง การนัดหมาย สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ การเตรี ย มวั ส ดุ อุ ป กรณ์ การก าหนดงบประมาณ การรั บ สมั ค ร เป็ น ต้ น ผู้รับผิดชอบจะต้องเขียนรายละเอียดการปฏิบัติงานในครอบคลุมกับสิ่งที่จะ ด าเนิ น การเพื่ อ ลดข้ อ ผิ ด พลาดหรื อ ป้ อ งกั น ปั ญ หาที่ อ าจจะเกิด ขึ้ น ในการ ดาเนินโครงการ 2) การดาเนินโครงการตามที่กาหนด เป็นการลงมือปฏิบัติงาน ตามกาหนดการจัดโครงการ ซึ่งคณะกรรมการโครงการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กั บ โครงการทุ ก คนที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ที่ ต ามภาระงานที่ กาหนดให้รับผิดชอบในวัน เวลาและสถานที่ต่างๆ ขั้นตอนอาจประกอบไป ด้ ว ย การต้ อ นรั บ การลงทะเบี ย น การบั น ทึ ก ภาพ พิ ธี เ ปิ ด โครงการ การประชาสัมพันธ์บนเวที การบรรยายของวิทยากร การทากิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายซักถาม การเสวนา การระดมสมอง พิธีปิดโครงการ การมอบ เกียรติบัตรหรือรางวัล เป็นต้น 3) การสรุปผลการดาเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ผรู้ ับผิดชอบโครงการ ดาเนินการสรุปข้อมูลจากการจัดโครงการตามวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนดไว้ กิจกรรมที่ดาเนินการ ประกอบไปด้วย การประชุมสรุปผล การวิเคราะห์ผล การดาเนินงานตามตัวชี้วัดความสาเร็จที่ได้กาหนดไว้ การรายงานผลการ บริหารความเสี่ยงจากประเด็นที่กาหนด การสรุปค่าใช้จ่าย ข้อเสนอแนะจาก ผู้เข้า ร่วมโครงการ การถอดบทเรียน การจัดทาเอกสารสรุปผล การจัดทา หนังสือขอบคุณ เป็นต้น 30


การแปลงกิจกรรมย่อยต่างๆที่อยู่ใน 3 ขั้นตอนดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็น รายละเอียดของการปฏิบัติงาน นิยมจัดกระทาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบแผนภูมิ ของแกนท์ (Gantt chart) ซึ่งจะบ่งบอกถึงงานที่จะต้องดาเนินการ ระยะเวลา ผู้รบั ผิดชอบ งบประมาณ รวมทั้งสถานที่ได้อย่างชัดเจน ผู้รับผิดชอบโครงการ หรือประธานโครงการ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดตาม ควบคุมการ จั ด ท าโครงการจากผู้ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายภาระงานต่ า งไปปฏิ บั ติ ไ ด้ อ ย่ า ง ครอบคลุมทุกภาระงาน ดังตาราง ตารางแสดงแผนการดาเนินโครงการ แผนงาน

ระยะเวลา ปีการศึกษา 2563 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.

1.ก่อนการดาเนิน โครงการ 1.1 ………………… 1.2 ………………… 1.3 ………………… 1.4 ………………… 2. การดาเนินโครงการ ตามกาหนด 2.1 …………………. 2.2 …………………. 2.3 …………………. 2.4 ………………… 3. การสรุปผล การดาเนินงาน 3.1 …………………. 3.2 …………………. 3.3 …………………. 3.4 …………………

31

ผู้รับ ผิดชอบ

งบ สถานที่ ประมาณ ดาเนินการ ที่ใช้


 การกาหนดงบประมาณโครงการที่เชื่อมโยงกับทุกประเด็น นอกจากโครงการจะดาเนินไปได้ด้วยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ และ การวางแผนการดาเนินงานแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สาคัญทาให้โครงการสามารถ ขับเคลื่อนไปได้ คือ งบประมาณ ดังนั้น การกาหนดงบประมาณในโครงการที่ ครอบคลุมกับทุกกิจกรรมย่อยในโครงการจึงเป็นสิ่งที่ผรู้ ับผิดชอบโครงการควร พิจารณาอย่างถีถ่ ้วน แนวทางการกาหนดงบประมาณในเอกสารโครงการผู้รับผิดชอบ ควร พิจารณา ดังนี้ 1) ตรวจสอบว่าโครงการที่จัดทาขึ้นอยู่ในแผนพัฒนาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ หรือของสถาบันฯหรือไม่ หากมีอยู่ให้พิจารณาวงเงิน งบประมาณที่ ก าหนดไว้ เพื่ อ น าไปจั ด สรรต่ อ ไป หากไม่ ป รากฏอยู่ ใ น แผนพัฒนา หรือเป็นโครงการที่เพิ่มจากแผน จะสรรหางบประมาณอื่นใดของ หน่วนงานมาสนับสนุน หรือขออนุมตั ิเพิม่ เติม 2) แหล่งที่มาของงบประมาณ ควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าได้รับ การสนับสนุนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่ง เพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบข้อมูลและเบิกจ่าย เช่น สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยฯ คณะวิชา ชมรม ฝ่ า ย สมาคม หน่ ว ยงานภายนอกสถาบั น ฯ มู ล นิ ธิ หรื อ จากการ ลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น 3) พิจารณากลุ่มเป้าหมายของโครงการว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ เริ่มจนจบโครงการมีจานวนเท่าใด เพื่อนามาประมาณการกาหนดค่าใช้จ่าย ในหมวดต่างๆ ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนงานโครงการ 4) วิเคราะห์จากกิจกรรมย่อยต่างๆที่กาหนดในแผนงานโครงการ ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ การดาเนินการก่อนการจัดโครงการ การดาเนินโครงการ ตามที่กาหนด และการสรุปผลการดาเนินงาน ว่ามีกิจกรรมใดบ้างจาเป็นต้อง กาหนดงบประมาณสนับสนุน 5) มีความยืดหยุน่ ในการบริหารงบประมาณ กรณีเกิดเหตุการณ์ที่ ไม่คาดเดาได้ล่วงหน้าทาให้งบประมาณหมดใดหมวดหนึ่งเพิ่ม สามารถที่จะ 32


น างบประมาณอี ก หมวดที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ใ ช้ จ่ า ยหรื อ มี ค วามส าคั ญ รองลงมา สนับสนุนทดแทนกันได้ 6) ก าหนดงบประมาณในหมวดต่า งๆตามระเบี ย บ ประกาศที่ เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษา เช่น การกาหนดค่าบริการอาหาร ที่พัก ค่า เดินทาง ค่าตอบแทนวิทยากร การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น 7) ยึดหลักประหยัดสุดประโยชน์สูง มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า คุ้มทุน เน้นการบริหารงบประมาณโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทาให้การ ดาเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสาเร็จได้ 8) กรณีโครงการที่จัดขึ้นเป็นโครงการประเภทหารายได้ ควรมีการ คานวณต้นทุนค่าใช้จ่ายกับกาไรที่จะเกิดขึ้น แสดงให้เห็นด้วย เพื่อสะท้อนถึง ความคุ้มค่าคุ้มทุนของโครงการ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจอนุมัติ ให้ดาเนินการของผูบ้ ริหารสถาบันฯหรือหน่วยงาน  การกาหนดตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ : สิ่งสะท้อน วัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดเป็นดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicators or KPI) หรือหน่วย วัดความสาเร็จของการดาเนินโครงการที่ถูกกาหนดขึ้น ต้องสื่อถึงเป้าหมายใน การปฏิบัติงานสาคัญ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความชัดเจนในการกาหนด ติดตามและ ประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านในด้ า นต่ า งๆ ควรเป็ น ค่ า ที่ วั ด จากผลการ ปฏิ บั ติงานที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง เพื่ อ แสดงผลส าเร็จ ของการวั ดตามวั ตถุป ระสงค์ (ศราวุธ ป้อมสินทรัพย์, 2561) รูปแบบการเขียนตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ สามารถที่จะเขียนให้ เห็นผลที่จะเกิดขึ้นออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การเขี ย นให้ เ ห็ น ถึ ง ผลผลิ ต (Output) ที่ ไ ด้ จ ากโครงการ หมายถึง ผลที่สามารถเกิดขึ้นทันที หรือผลโดยตรงจากการดาเนินโครงการที่ จบลง เช่น จานวนของนักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเรียนในหลักสูตร ระดับ ความรู้ความเข้าใจในหัวข้ออบรม ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการ จานวนผู้ผา่ นการทดสอบ เป็นต้น 33


2) การเขี ย นให้ เ ห็ น ถึ ง ผลลั พ ธ์ (Outcome) ที่ ไ ด้ จ ากโครงการ หมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากผลผลิต หรือผลงานที่ได้ทาขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงต่อผู้ใช้บริการหรือองค์กร อันเนื่องจากการดาเนินการ เช่น เมื่อมีจานวนนักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรย่อมจะทาให้เกิดผล ลัพธ์คือ นักศึกษาของหลักสูตร และคณะวิชาเป็นไปตามเป้าหมายการรับ นักศึกษาด้วย เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าใจในการออกแบบ สื่ อ ดิ จิ ทั ล ย่ อ มจะท าให้ เ กิ ด ผลลั พ ธ์ คื อ การสามารถน าความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ ไป ประยุกต์ในการปฎิบัตงิ านในองค์กรได้ เป็นต้น 3) การเขียนให้เห็นถึงผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นจากโครงการ หมายถึง ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Ultimate Outcome) อันเป็นผลกระทบที่ต่อเนื่อง จากผลลัพธ์ (Outcome) หรืออาจมองได้ว่า เป็น ประโยชน์ที่คาดว่ าจะได้รั บ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น เมื่อจานวนนักศึกษาเป็นไป ตามเป้าหมายการรับแล้วย่อมทาให้การบริหารจัดการหลักสูตรสามารถก้าว เดินต่อไปได้อย่างคุ้มค่าและคุ้มทุน เมื่อบุคลากรสามารถนาความรู้ความ เข้าใจไปใช้ในการออกแบบสื่อขององค์กรได้แล้วจะช่วยให้องค์กรมีบุคลากรที่ สามารถผลิ ต สื่ อ ได้ ด้ ว ยตนเองไม่ ต้ อ งพึ่ ง พาหรื อ ว่ า จ้ า งจากภายนอกให้ ดาเนินการ เป็นต้น ทั้งนี้โครงการในแต่ละประเภทของสถาบันอุดมศึกษาจะเขียนตัวชี้วัด ให้ อ ยู่ ใ นระดั บ ใดขึ้ น อยู่ กั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ นโยบายและเงื่ อ นระยะเวลา ดาเนินการของโครงการ นอกจากรูปแบบของตัวชี้วัดความสาเร็จที่จะเขียนออกมาให้อยู่ในระดับ ใดแล้ว ตัวชี้วัดความสาเร็จนี้จะต้องสามารถวัดและประเมินผลออกมาได้ตาม ไปด้วยโดยเฉพาะตัวชี้วัดในระดับผลผลิตที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมสามารถจับ ต้องได้ ดังนั้น จึงต้องมีการระบุ ค่ากากับตัวชี้วัดด้วย ซึ่งค่ าของแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ (มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2559) 1) ค่าในเชิงปริมาณ เป็นค่าของตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข เช่น ร้อยละ (percentage) อั ต ราส่ ว น (ratio) สั ด ส่ ว น (proportion) อั ต รา (rate) จ านวน (number) หรือค่าเฉลี่ย (Average or Mean) เป็นต้น 34


2) ค่าในเชิงคุณภาพ เป็นค่าของตัวชี้วัดที่บรรยายเป็นข้อความไม่ สามารถกาหนดเป็นตัวเลขได้ เช่น ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ซึ่งค่า เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้มาจากความคิดเห็นในการพิจารณาของบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลในบางกรณีค่าเชิงคุณลักษณะสามารถเปลี่ยนเป็นค่าเชิงปริมาณได้โดย การใช้ กลุ่มคนพิ จารณา ได้แ ก่ ระดับความพึ งพอใจ ระดับ ความคิดเห็ น เป็นต้น กรณีตัวอย่าง การเขียนตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ กรณีที่ 1 : โครงการประเภทแนะแนวการศึกษา/ประชาสัมพันธ์ “หนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด”  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงปริมาณ - มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากเป้าหมายที่กาหนดไว้  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงคุณภาพ - ความพึงพอใจจากการรับรู้รูปแบบการจัดการศึกษาในสาขาวิชา กายภาพบาบัด และแนวทางการประกอบวิชาชีพในอนาคต รวมทั้ง ข้อมูลอย่างรอบด้านเพือ่ ใช้ประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อใน หลักสูตร โดยมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย  4.00 กรณีที่ 2 : โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สงั คม “โครงการสัญจรสุขภาพชุมชน เรื่อง ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วย โรคเบาหวาน”  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงปริมาณ - ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมครบทุกฐาน การให้ความรู้  ร้อยละ 90  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงคุณภาพ - ความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการได้แนวทางปรับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองเพื่อควบคุมภาวะเบาหวาน โดยมีค่าระดับ คะแนนเฉลีย่  4.00 35


กรณีที่ 3 : โครงการประเภทพัฒนานักศึกษา “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12”  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงปริมาณ - นักศึกษาที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมสามารถเข้าร่วมได้ค่ายฯ  ร้อยละ 90  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงคุณภาพ - สามารถจัดสร้างห้องสมุดและมุมเวชภัณฑ์ได้สาเร็จตามแผนงาน - ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการทาโครงการ โดยมีคา่ ระดับคะแนนเฉลี่ย  4.00 กรณีที่ 4 : โครงการประเภทพัฒนาบุคลากร การอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจทิ ัล”  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงปริมาณ - จานวนอาจารย์ทเี่ ข้ารับการอบรมได้ทดลองการจัดทาสื่อดิจทิ ัลตาม ขั้นตอนของระบบที่กาหนดครบทุกขั้นตอน  ร้อยละ 90  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จเชิงคุณภาพ - ความรู้ความเข้าใจของอาจารย์เกี่ยวกับการสร้างบทเรียนด้วยสื่อ ดิจิทลั โดยมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย  4.00

 การบริหารความเสี่ยงที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ กระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย งของโครงการ เป็ น การด าเนิ น การที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการระบุ ป ระเด็ น ความเสี่ ย ง การก าหนดระดั บ ความเสี่ ย ง รวมทั้ ง การบริ ห ารความเสี่ ย งโดยก าหนด แนวทางควบคุมป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ และตังชีว้ ัดความสาเร็จของโครงการ 36


1) การระบุประเด็นความเสี่ยงของโครงการ เป็นการค้นหาและ ระบุข้อมูลความเสี่ยงของโครงการที่ประกอบด้วยเหตุการณ์ความเสี่ยงและ ปัจจัยความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก โดยวิเคราะห์จากวัตถุประสงค์และ ตัวชี้วัดความสาเร็จที่ผู้รับผิดชอบโครงการกาหนดไว้ เพื่อนามากาหนดเป็น ประเด็นความเสี่ยงของโครงการ 2) ระดับความเสี่ยงของโครงการ เป็นการนาประเด็นความเสี่ยงที่ กาหนดไว้เพื่อมาประเมินโอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และระดับความ รุนแรงของผลกระทบ (Impact) ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ โอกาสเกิดความเสี่ยงและผลกระทบที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้กาหนด ไว้ในคู่มอื การบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียน (2562) 2.1) โอกาสเกิดความเสี่ยง ระดับโอกาสเกิด ความเสี่ยง ระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับน้อย ระดับน้อยมาก

โอกาสที่จะเกิดขึ้น (เฉลี่ย)

ระดับคะแนน

มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครัง้ ในรอบ 1 เดือน มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครัง้ ในรอบ 6 เดือน มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครัง้ ในรอบ 1 ปี มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครัง้ ในรอบ 3 ปี มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครัง้ ในรอบ 5 ปี

5 4 3 2 1

2.2) ผลกระทบด้ า นการจั ด โครงการ ซึ่ ง จ าแนกเป็ น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1)จานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2)ระดับ ความพึงพอใจ/ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ

37


1) จานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กาหนดในโครงการประเภทต่างๆ ระดับความรุนแรง สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย น้อยมาก

ผลกระทบ ผู้เข้าร่วมน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยะ 60 ผู้เข้าร่วมร้อยละ 61-70 ผู้เข้าร่วมร้อยละ 71-80 ผู้เข้าร่วมร้อยละ 81-90 ผู้เข้าร่วมร้อยละ 91-95

ระดับคะแนน 5 4 3 2 1

2) ระดับความพึงพอใจ/ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม โครงการ ระดับ ผลกระทบ ความรุนแรง สูงมาก ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ความพึ ง พอใจ/ความ คิดเห็นภาพรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 สูง ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ความพึ ง พอใจ/ความ คิดเห็นภาพรวมอยู่ระหว่าง 1.51 - 2.50 ปานกลาง ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ความพึ ง พอใจ/ความ คิดเห็นภาพรวมอยู่ระหว่าง 2.51 - 3.50 น้อย ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ความพึ ง พอใจ/ความ คิดเห็นภาพรวมอยู่ระหว่าง 3.51 - 2.50 น้อยมาก ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ความพึ ง พอใจ/ความ คิดเห็นภาพรวมอยู่ระหว่าง 4.51 - 5.00

ระดับ คะแนน 5 4 3 2 1

เมื่อ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบได้ท าการก าหนดค่า ระดับ คะแนนโอกาสเกิ ด ความเสี่ยงและค่าคะแนนผลกระทบของความเสี่ยงแล้วจะนาข้อมูลที่ได้มา พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงกับผลกระทบที่จะ 38


เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิดความเสียหายในระดับใด โดยใช้หลักการคานวณ ดังนี้ ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk : D) = โอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood : L) X ผลกระทบ (Impact : I) D=LXI

ผลกระทบ (Impact : I)

เมื่ อ ท าการค านวณแล้ ว สามารถน ามาเที ย บกั บ ระดั บ ความเสี่ ย งที่ กาหนดไว้ ดังตาราง 5 4 3 2 1

1 5 (M) 4 (M) 3 (L) 2 (L) 1 (L)

โอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood : L) 2 3 4 10 (H) 15 (H) 20 (VH) 8 (M) 12 (H) 16 (VH) 6 (M) 9 (H) 12 (H) 4 (M) 6 (M) 8 (M) 2 (L) 3 (L) 4 (M)

5 25 (VH) 20 (VH) 15 (H) 10 (H) 5 (M)

ค่าระดับคะแนนความเสี่ยง ระดับความเสี่ยง คะแนน

น้อย ปานกลาง 1-3 4-8 (Low : L) (Medium : M)

สูง 9-15 (High : H)

สูงมาก 16-25 (Very High : VH)

3) การกาหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยง เป็นการเลือกแนวทาง ในการจัดการหรือควบคุมปัจจัยความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสเกิดความเสี่ยงหรือ ลดผลกระทบ เพื่อให้ความเสียหายจากความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยงอยู่ใน ระดับที่ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถยอมรับได้ ซึ่ง มาตรการควบคุมความ เสี่ยงมีอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ การกระจายหรือโอนความเสี่ยง การหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง การลดความเสี่ยง และการยอมรับความเสี่ยง 39


กรณีตัวอย่าง การเขียนการบริหารความเสี่ยงของโครงการ กรณีที่ 1 : โครงการประเภทแนะแนวการศึกษา/ประชาสัมพันธ์ “หนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด”  ประเด็นความเสี่ยง - มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าหมาย - ความเข้าใจที่ชดั เจนเกีย่ วกับหลักสูตรและแนวทางการประกอบ อาชีพ ตลอดจนการรับรูข้ ้อมูลรอบด้านประกอบการตัดสินใจสมัคร เรียนในหลักสูตรฯ  ระดับความเสี่ยง โอกาส = 4 X ผลกระทบ = 4 ระดับความเสีย่ ง = 16 สูงมาก  วิธีควบคุมจัดการความเสี่ยง - ประสานงานกับอาจารย์แนะแนวล่วงหน้าเพือ่ นัดหมายนักเรียนเข้า ร่วมโครงการ โดยมีการติดตามเป็นระยะ - สนับสนุนค่าใช้จ่ายอานวยความสะดวกในการเดินทางเข้าร่วม โครงการ - สร้างสรรค์กจิ กรรมตามฐานการเรียนรู้ให้นกั เรียนมีส่วนร่วมอย่าง ทั่วถึง - จัดเตรียมชุดข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร พร้อมประเด็นการตอบคาถาม ล่วงหน้าให้ชดั เจน - ติดตามนักเรียนที่สนใจหลักสูตรจากการแจ้งข้อมูลในแบบ ประเมินผลโครงการเพือ่ โน้มน้าวให้มาศึกษาต่อในหลักสูตร กรณีที่ 2 : โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สงั คม “โครงการสัญจรสุขภาพชุมชน เรื่อง ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วย โรคเบาหวาน”  ประเด็นความเสี่ยง - ผู้สูงอายุไม่ทราบข้อมูลการจัดโครงการทาให้มผี ู้เข้าร่วมโครงการ น้อยกว่าทีก่ าหนด 40


- ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกีย่ วกับการปรับพฤติกรรมดูแล สุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ระดับความเสี่ยง โอกาส = 3 X ผลกระทบ = 3 ระดับความเสีย่ ง = 9 ปานกลาง วิธีควบคุมจัดการความเสี่ยง - ประสานงานกับผู้ใหญ่บา้ น หรืออาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเพือ่ แจ้งข่าวผ่านเสียงตามสายชุมชน และแจ้งข่าวให้ทราบโดยตรง - จัดรถอานวยความสะดวกในเข้าร่วมโครงการ - นาเสนอกรณีตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน - จัดทาเอกสารแผ่นพับที่สรุปข้อมูลแนวปฏิบัตทิ ี่ดีในการดูแลสุขภาพ

กรณีที่ 3 : โครงการประเภทพัฒนานักศึกษา “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12”  ประเด็นความเสี่ยง - นักศึกษาของชมรมและนักศึกษาทีส่ นใจเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าที่ กาหนด - ทุนสนับสนุนการดาเนินงานไม่เพียงพอ - ความครอบคลุมในแผนงานทีก่ าหนดอาจยังไม่ชัดเจน  ระดับความเสี่ยง โอกาส = 2 X ผลกระทบ = 4 ระดับความเสีย่ ง = 8 ปานกลาง  วิธีควบคุมจัดการความเสี่ยง - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเชิญชวนเพื่อนนักศึกษาต่างชมรมมีส่วนร่วม ผ่านสื่อที่หลากหลาย เช่น Facebook Youtube Twitter Line Blog - เพิ่ ม ช่ อ งทางการระดมทุ น จากบริ ษั ท ห้ า งร้ า นที่ เ ป็ น พั น ธมิ ต รกั บ มหาวิทยาลัยฯ - ประชุมวางแผน และมอบหมายภาระงานที่ชัดเจนและเหมาะสมแก่ สมาชิกและทีม รวมทั้งตรวจสอบทรัพยากรที่ใช้ในการดาเนินงาน ก่อนล่วงหน้าและติดตามงานเป็นระยะ 41


กรณีที่ 4 : โครงการประเภทพัฒนาบุคลากร การอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจทิ ัล”  ประเด็นความเสี่ยง - อาจารย์ที่เข้าร่วมไม่สามารถทดสอบการปฏิบัติตามขัน้ ตอนที่ กาหนดไว้ได้อย่างครบถ้วน - อาจารย์อาจยังไม่เข้าใจวิธีการสร้างบทเรียนด้วยสื่อดิจทิ ัลได้ชัดเจน  ระดับความเสี่ยง โอกาส = 2 X ผลกระทบ = 4 ระดับความเสีย่ ง = 8 ปานกลาง  วิธีควบคุมจัดการความเสี่ยง - จัดทีมผูช้ ่วยวิทยากรติดตามให้อาจารย์ที่ทดสอบการปฏิบตั ิตาม ขั้นตอนที่ระบบกาหนดเป็นรายบุคคล - จัดทาคู่มือ กรณีตัวอย่างการพัฒนาบทเรียนด้วยสือ่ ดิจิทลั ให้ศกึ ษา ควบคู่กับการปฏิบตั ิ - เปิดโอกาสให้อาจารย์ซกั ถามข้อมูลได้อย่างทั่วถึง

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลัก การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นการคาดการณ์ของผู้รับผิดชอบ โครงการว่ าเมื่อโครงการจบลงผู้เข้าร่วมโครงการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกั บ โครงการจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพิจารณา จากวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ซึ่งอาจเขียนให้เห็นได้ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ดังนั้น การเขียนผลที่คาดว่าจะได้รับ จึงไม่เพียงแต่เป็นแค่ การเขี ย นบอกผลผลิ ต (Output) เท่ า นั้ น ผู้รั บ ผิ ด ชอบโครงการควรระบุ ถึ ง ผลสาเร็จที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ที่คาดว่าจะได้รับ โดยสอดคล้องตามแผนพัฒนา คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ หรือนโยบาย ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาอั น เป็ น ผลส าเร็ จ ตามเป้ า ประสงค์ (Goal Results) (กฤษณ์ ขุนลึก, 2557) 42


กรณีตัวอย่าง การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรณีที่ 1 : โครงการประเภทแนะแนวการศึกษา/ประชาสัมพันธ์ “หนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด” นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการเกิดความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาต่อในสาขาวิชากายภาพบาบัด และแนวทางการประกอบวิชาชีพ ในอนาคต พร้อ มน าข้อ มูลที่ได้รับ ได้ แก่ ระบบรับสมัครเข้าศึ กษาต่อ คุณ สมบัติ ทุ น การศึ ก ษา สิ ท ธิ พิ เ ศษต่ า งๆ ตลอดจนการจั ด สิ่ ง สนั บ สนุ น การเรี ย นรู้ ไปใช้ ประกอบการตั ด สิ น ใจเลื อ กศึ ก ษาต่ อ ในสาขาวิ ช ากายภาพบ าบั ด ของคณะ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จานวนไม่น้อยกว่า 5 คน อันจะช่วยเพิ่มการรับนักศึกษาของ สาขาวิชาฯให้เป็นไปตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยฯกาหนด กรณีที่ 2 : โครงการประเภทการให้บริการวิชาการแก่สงั คม “โครงการสัญจรสุขภาพชุมชน เรื่อง ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วย โรคเบาหวาน” ผู้ ป่ วยเบาหวานสามารถรั บรู้ ส ภาวะร่ างกายตนเอง พร้ อ มได้ แ นวทางการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง อันได้แก่ การรับประทานอาหารและยา การออกกาลัง กาย การจัดการความเครียด รวมทั้งการดูแลร่างกาย เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ ป่วยเบาหวานสามารถพึ่งพาตนเอง และใช้ ชีวิตประจาวันได้อย่างปกติสุข กรณีที่ 3 : โครงการประเภทพัฒนานักศึกษา “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 12” นักศึกษาได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมดาเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและประชาชนในชุมชนตามหลักการบริหารของวงจร คุณภาพ (PDCA) รวมทั้งเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ในการทางานเป็นทีมร่วมกัน ซึ่ง จะเป็นพื้นฐานในการสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการมีจิตอาสาต่อส่วนร่วม อีกทั้งยัง เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับมหาวิทยาลัยฯด้วย 43


กรณีที่ 4 : โครงการประเภทพัฒนาบุคลากร การอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อดิจทิ ัล” อาจารย์สามารถนาความรู้ ความเข้าใจและเทคนิค ที่ได้รับไปพัฒนาบทเรียน ด้วยสื่อดิ จิทัล ในรายวิชาที่ตนเองรับผิด ชอบ อัน จะท าให้ ผู้เรียนและผู้ สอนพัฒนา ความคิดอย่างสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล ตอบสนองการสร้างทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ตลอดจนเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช่จ่าย เวลา และสถานที่ให้กับนักศึกษาและมหาวิทยาลัยฯด้วย

 เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบการนาเสนอโครงการ การเสนอเอกสารโครงการเพื่อขออนุมัติจากสถาบันอุดมศึกษานอกจาก จะประกอบด้ ว ยตั ว เอกสารโครงการเป็ น หลั ก แล้ ว หลายสถาบั น ฯ หรื อ ผู้รับผิดชอบโครงการอาจให้ มีการนาเสนอเอกสารอื่นๆที่สาคัญประกอบด้วย เช่น กาหนดการโครงการ แบบประเมินผลโครงการ ประวัติวิทยากร ใบสมัคร โครงการ และเอกสารประชาสัมพัน ธ์ โครงการ เป็น ต้น เพื่ อ ประกอบการ พิจารณาข้อมูลโครงการ ทาให้ผู้บริหารได้เห็นภาพรวมที่เป็นระบบชัดเจนมาก ขึ้นประกอบการอนุมัติโครงการ  กาหนดการโครงการ กาหนดการโครงการเป็นสิ่งที่ระบุว่าโครงการจะดาเนินการอะไรบ้างใน วันที่กาหนดจัดโครงการ ทาให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเห็นได้ว่าตนเอง จะต้องปฏิบัติตัวหรือเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ จะเกิดขึ้นตามกาหนดการ เช่น บางโครงการที่ต้องให้ทากิจกรรมกลุ่มที่อาศัย ความคล่องตัว ผู้เข้าร่วมโครงการจึงต้องเตรียมชุดหรืออุปกรณ์ให้เหมาะสม กับการทากิจกรรม บางโครงการต้องการให้เตรียมวัสดุหรืออุปกรณ์มาเพื่อ เตรียมทดลองในห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการแจ้งอย่างชัดเจนให้แก่ผู้เข้าร่วม โครงการในกาหนดการ เป็นต้น 44


การเขียนหรือระบุกาหนดการที่ดีควรจัดทาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ ผู้รับผิดชอบจะต้องแปลงวัตถุประสงค์การจัดโครงการมาสู่การ ดาเนินงานที่เป็นรูปธรรมด้วยการกาหนดกิจกรรมย่อยต่างๆที่จะส่งมอบให้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การกาหนดวัตถุประสงค์ให้ อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคการในพัฒนาบทเรียนด้วยสื่อดิจิทัล ดังนั้น กิ จ กรรมย่ อ ยที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในก าหนดการโครงการจะต้ อ งประกอบไปด้ ว ย การสร้างรายวิชาของผู้สอน การเพิ่มเนื้อหาบทเรียน การทดสอบรายวิชา และ การประเมิ น ผลการเรี ย น เป็ น ต้ น โครงการที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ นั ก ศึ ก ษา พยาบาลนาความรู้จากรายวิชาไปประยุกต์ในการสร้างนวัตกรรมดูแลสุขภาพ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน กิจ กรรมที่ควรจะระบุในกาหนดการ ได้แก่ ที่มาของ แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม การสาธิตวิธีการใช้นวัตกรรม ประโยชน์จาก นวัตกรรมสาหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่ ง ที่ ค วรค านึ ง อี ก ประเด็ น ในเขี ย นก าหนดการ คื อ การ ก าหนดช่ ว งเวลาของการท ากิ จ กรรมย่ อ ยที่ ร ะบุ ไ วในเอกสารก าหนดการ ในสถานการณ์ความเป็นจริงโครงการหลายโครงการอาจประสบกับการบริหาร เวลา เนื่องจากกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอาจกินเวลาไปกระทบกับอีกกิจกรรม หนึ่ ง ซึ่งอาจท าให้ เกิ นเลยเวลาไปมากไม่ตรงกับเวลาที่ร ะบุ ไว้ กาหนดการ ดังนั้ น ผู้รับ ผิ ด ชอบโครงการอาจมีก ารระบุ ข้ อความในท้ า ยก าหนดการว่ า “กาหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ” จะได้ทาให้เกิด ความยืดหยุ่นในการดาเนินโครงการ อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ ผู้ จัดโครงการร่วมทั้งผู้เข้าร่วมไม่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้น จึงควรมีการกาชับผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง เช่น วิทยากร พิธีกร ผู้ประสานงานตามกลุ่มต่างๆ ให้รักษา เวลาตามก าหนดการที่ ร ะบุ ไ ว้ เพื่ อ ให้ ก ารด าเนิ น โครงการเป็ น ไปตาม กาหนดการมากที่สดุ เท่าที่จะกระทาได้

45


 แบบประเมินผลโครงการ แบบประเมินผลโครงการ เป็นเครื่องมือที่จะใช้วัดความสาเร็จของการ จัดโครงการ แบบประเมินผลโครงการในที่นี้ อาจออกแบบได้หลายลักษณะซึ่ง ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ผู้รับผิดชอบโครงการที่กาหนด ไว้ในเอกสารโครงการ เช่น แบบทดสอบ แบบสารวจ แบบวัดความรู้ แบบ ประเมินผลความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการกรอก ข้อมูลลงในแบบประเมินผลแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถที่จะประมวล ข้อมูลออกมาได้ใ ห้อ ยู่ในรูปแบบของค่า สถิติ เช่น จานวนความถี่ ร้อ ยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่ งอาจมีการกาหนดเกณฑ์การให้คะแนน หรือแปลความหมายของค่าสถิติเหล่านั้นเพื่อนาไปเขียนรายงานสรุปผลได้ว่า เป็นไปตามตัวชี้วัดหรือตอบกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ แนวทางการออกแบบเครื่องมือประเมินผลโครงการ ควรพิจารณา ดังนี้ 1) ควรใช้ ข้ อ ความที่ สื่ อ ความหมายให้ ส ามารถเข้ า ใจได้ ง่ า ย กะทัดรัด ชัดเจนเพื่อทาให้ผู้เข้าร่วมโครงการกรอกข้อมูลได้คิดไตร่ตรองและ ตอบได้อย่างรวดเร็ว 2) เป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับโครงการ ซึ่งอาจพิจารณาได้จาก หั ว ข้ อ กิ จ กรรมย่ อ ยที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นก าหนดการ เพื่ อ ท าให้ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการ สามารถรับรู้ ระลึกถึงความรู้ ความเข้าใจ หรือสิ่งที่ได้มีส่วนร่วมจากหัวข้อ กิจกรรมย่อยตามกาหนดการ 3) มีค าชี้ แ จงเกี่ ย วกั บ การให้ ค ะแนนหรื อ แปลความหมายของ คะแนนที่ให้ในช่วงต้นเพื่อทาให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถมีความเข้าใจก่อน ลงมือกรอกข้อมูล 4) อาจจัดให้มกี ารประเมินวิทยากรผู้ให้ความรูข้ องโครงการเพื่อใช้ เป็นข้อมูลป้อนกลับสาหรับการมีส่วนร่วมในโอกาสต่อไปหรือในโครงการที่มี ลักษณะเดียวกัน 5) มี ข้ อ ค าถามปลายเปิ ด เพื่ อ ให้ แ สดงความคิ ด เห็ น หรื อ ข้ อ เสนอแนะเกี่ย วกั บ การจั ด โครงการที่ ส อดคล้อ งกับ ความต้ อ งการ หรื อ ข้อเสนออื่นๆ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการนาไปปรับปรุงในการจัดโครงการ 46


ครั้งต่อไป สาหรับวิธีการประเมินผลโครงการ ซึ่งดาเนินการภายหลังเสร็จสิ้น ของโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถที่จะออกแบบให้ผู้เข้าร่วมกรอก ข้อมูลได้หลายช่องทาง เช่น การประเมินผลโดยเอกสาร การประเมินผ่าน หน้าเวปไซต์ของหน่วยงาน อีเมล การประเมินผ่านกูเกิลฟอร์ม แอปพลิเคชั่น ที่จัดทาขึ้นมาเฉพาะ เป็นต้น  ประวัติวิทยากร การแนบเอกสารประวัตวิ ิทยากรในตัวเอกสารโครงการ เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อการอบรมกับผู้ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ หรือความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนั้น วิทยากรที่ผู้รับผิดชอบโครงการ เลื อ กสรรมาจึ ง ต้ อ งมี ทั้ ง คุ ณวุ ฒิ แ ละวั ย วุ ฒิ ก ล่ า วคื อ การ มี ค วามรู้ ความสามารถ ความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ตรงกับหัวข้อของโครงการ อย่างเหมาะสม สิ่งที่ควรจะระบุในประวัตวิ ิทยากร ควรประกอบไปด้วย 1) ชื่อ-นามสกุล รูปถ่าย ตาแหน่ง สถานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน 2) คุณวุฒิการศึกษา ประวัติการอบรม 3) ประสบการณ์ทางานที่สัมพันธ์กับหัวข้อโครงการ 4) ผลงานทางวิชาการที่สัมพันธ์กับหัวข้อโครงการ 5) ข้อมูลการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ที่ติดต่อ ได้สะดวก เป็นต้น  ใบสมัครโครงการ ใบสมัครโครงการ คือแบบแสดงความจานงในการเข้าร่วมโครงการที่จะ จั ด ขึ้ น โดยผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการต้ อ งระบุ ร ายละเอี ย ดต่ า งให้ ค รอบคลุ ม เพื่ อ ที่ จ ะน าข้ อ มู ล ทั้ ง หมดมาใช้ ป ระโยชน์ ส าหรั บ การวางแผนจั ด เตรี ย ม กิจกรรม อุปกรณ์ งบประมาณสาหรับการจัดโครงการ รวมทั้ง การชาระเงิน เข้ า ร่ว มโครงการ การติด ต่ อ ประสานงานเพิ่ มเติม หรือ จั ดสิ่ง ที่ ผู้เ ข้ า ร่ว ม โครงการร้องขอ เป็นต้น ในเอกสารสารใบสมัคร จึงควรประกอบไปด้วย

47


1) ชื่อ-นามสกุล ตาแหน่ง สถานที่ปฎิบัติงาน 2) รูปถ่าย เพศ อายุ ศาสนา ข้อมูลการติดต่อ เช่น หมายเลข โทรศัพท์ อีเมล ID line ที่อยู่ที่ตดิ ต่อได้สะดวก เป็นต้น 3) ข้อมูล ที่ผู้รับ ผิดชอบโครงการต้องการให้ กรอกซึ่งมี ป ระเด็น เนื้อหาเกี่ยวกับการโครงการ 4) เอกสารแนบประกอบอื่ น ๆ เช่ น บั ต รประชาชน ส าเนา ทะเบียนบ้าน ใบเสร็จ บัตรส่วนลด ฯ เป็นต้น 5) การลงชื่อแสดงความจานงเข้าร่วมโครงการ 6) รูปแบบการส่งข้อมูลเพื่อสมัคร เช่น สมัครผ่านทางไปรษณีย์ อีเมล์ เวบไซต์ แอปพลิเคชั่น ID line สมัครด้วยตนเอง เป็นต้น 7) จานวนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ พร้อมวิธีการชาระ เงินในรูปแบบต่างๆ 8) รายละเอียดอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหาร ที่พัก หมายเลข ทะเบียนรถ โรคประจาตัว ผู้ตดิ ต่อได้กรณีฉุกเฉิน ฯ เป็นต้น  เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องการจะส่งข้อมูลสื่อสารโครงการไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อเชิญชวนให้เข้า ร่วมโครงการ ปัจจุบันเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการมีการนาเสนอหลาย รู ป แบบ เช่ น แบนเนอร์ บ นหน้ า เวบไซต์ ข องหน่ ว ยงาน แผ่ น พั บ โบร์ ชั ว ร์ หนังสือเชิญของหน่วยงาน โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิว ดิจิทัลไซเนจ เป็นต้น ซึ่งมีการออกแบบให้ดูน่าสนใจด้วยการจัดวางข้อมูล รูปภาพ การใช้ สี สั น ข้ อ ความที่ ส ะดุ ด สายตา ทั้ ง นี้ อ งค์ ป ระกอบส าคั ญ ของเอกสาร ประชาสัมพันธ์โครงการ คือ ข้อมูลที่จะถูกบรรจุหรื อนาเสนออยู่ในเอกสาร หรือสื่อนั้นๆ ซึ่งควรประกอบด้วยไป 1) ชื่อโครงการ 2) วัน เวลา สถานที่ดาเนินการ 3) คุณสมบัติของผูเ้ ข้าร่วมโครงการ และเงื่อนไขการสมัครต่างๆ 4) ช่วงเวลาของการรับสมัครจนถึงปิดรับสมัคร 48


5) เอกสารประกอบการสมัคร 6) กาหนดการจัดโครงการ ที่แสดงข้อมูลแบบกระชับ 7) ข้ อ มู ล การติ ด ต่ อ ของหน่ ว ยการรั บ สมั ค ร เช่ น หมายเลข โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล ID line เวบไซต์ แอปพลิเคชัน่ เป็นต้น 8) วิธีการรับสมัครผ่านช่องทางต่างๆ 9) ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการพร้อมช่องทางวิธีการชาระ เงินค่าใช้จ่าย  เอกสารหลักสูตรของโครงการ เป็ น เอกสารที่ บ รรจุ ข้ อ มู ล หลั ก สู ต รของโครงการ อาจเป็ น โครงการ ประเภทเกี่ยวกับการอบรมซึ่งประกอบด้วยหัวข้อหลัก และหัวข้อย่อยของการ อบรม พร้อมระบุเวลา และวิทยากร หรื อโครงการศึกษาดูงาน เช่น สถานที่ ศึก ษาดู ง าน ภาพประกอบการน าเสนอ ระยะเวลาในการดู งาน เป็ น ต้ น ผู้รับผิดชอบโครงการต้องจัดทาเอกสารหลักสูตรของโครงการให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และกาหนดการของโครงการ เนื่องจากหลักสูตรของโครงการจะ เป็ น ตั ว ขยายรายละเอี ย ดจากก าหนดการอี ก ขั้ น หนึ่ ง ที่ แ สดงถึ ง เนื้ อ หาที่ ผู้เ ข้า ร่ว มโครงการจะได้รั บ จากการเข้า ร่ว มโครงการ ดังนั้น หลัก สูตรของ โครงการที่มคี วามชัดเจนและข้อมูลที่ครอบคลุมสอดคล้องกัน พร้อมกับแสดง ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จะช่วยทาให้ผู้ที่สนใจ หรือองค์กรหน่วยงานที่จะต้องการ เพิ่มพูน พัฒนาความรู้ในหัวข้อนั้นๆ สามารถอ่านหรือศึกษาข้อมูล ในเชิงลึก ได้และนาไปสู่การตัดสินใจอนุมัตหิ รือเข้าร่วมโครงการ

49


บทที่ 3 การติดตามและการเขียนเอกสารประเมินผลโครงการ ระหว่างการดาเนินโครงการผู้รับผิดชอบโครงการต้องมีการติดตามการ นาโครงการไปสู่ก ารปฏิ บัติเพื่ อให้ส อดคล้อ งกับแผนงานที่ได้กาหนดไว้ซึ่ ง อาจจะพบกั บ ปั ญ หาระหว่ า งทาง และต้ อ งแก้ไ ขปั ญหาที่ เ กิ ด ขึ้ น ระหว่ า ง ด าเนิ น การ และเมื่ อ ภายหลั ง การจบลงของโครงการ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบจะได้ สามารถรายงานข้อมูลอย่างรอบด้านที่เกิดขึ้นได้เพื่อนาไปใช้ เป็นข้อคิดในการ ดาเนินโครงการต่อไปได้  แนวคิดการวางระบบติดตามการประเมินผลโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการหรือประธานโครงการ และสมาชิกในทีมงานที่ ได้รับมอบหมายงานให้ไปรับผิดชอบ อาจออกแบบระบบในการติดตามการ ประเมินผลการดาเนินโครงการทั้งในระหว่างการเตรียมงาน ซึ่งเป็นช่วงที่ เน้นหนักของการใช้ความคิดและระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการดาเนินการ ช่วง ของการดาเนินการ เป็นช่วงที่นาแนวคิดหรือแผนงานที่วางไว้มาปฏิบัติอย่าง เต็มรูปแบบ และภายหลังจากโครงการจบลงได้ ซึ่งเป็นช่วงของการได้รับผลที่ เกิดขึ้นของโครงการ ในแต่ละขั้นตอนสามารถทาการติดตามและประเมินผล ได้โดยต้อ งค านึ ง ถึ ง ผู้ มีส่ ว นเกี่ย วข้ อ งที่ จ ะได้รับ ประโยชน์ จ ากโครงการทั้ ง ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นสาคัญ (จิราภา วรเสียงสุข, 2559) สาหรับ เครื่องมือในการติดตามมีหลายลักษณะ เช่น การติดตามทางวาจา การทา หนังสือให้รายงานความก้าวหน้า การสังเกตการณ์ การจดบันทึก การลง ภาคสนามตรวจสอบ การติ ด ตามผ่ า นระบบออนไลน์ ฯ เป็ น ต้ น ซึ่ ง ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถนาข้อมูลที่ได้ จากการประเมินผลไปปรับปรุงหา แนวทางแก้ไขข้อจากัด หรือช่วยเติมเต็มหาแนวทางสนับสนุนให้กระบวนการ ดาเนินงานโครงการดียิ่งขึ้น เพื่อทาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด ความสาเร็จของโครงการเมื่อโครงการจบลง 50


ภาพแสดงความสัมพันธ์การติดตามและประเมินผล กับขัน้ ตอนของการดาเนินโครงการ วัตถุประสงค์  กลุ่มเป้าหมาย  ตัวชี้วด ั ความสาเร็จ  การบริหารความเสี่ยง

การบรรลุตัวชี้วัดความสาเร็จ เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ  ข้อเสนอแนะ

การเตรียมงาน

การดาเนินการ

โครงการจบลง

การติดตามและประเมินผล

 การเขียนเอกสารประเมินผลโครงการ การเขี ย นเอกสารประเมิ น ผลโครงการมี หั ว ข้ อ ส าคั ญ ที่ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ โครงการจะต้องรายงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด ที่อนุมัติทุนสนับสนุนการ ดาเนินโครงการ ดังนี้  การรายงานผลตามตัวชี้วัดความสาเร็จที่กาหนด เป็นการนาเสนอข้อมูล ที่ได้จากการดาเนินโครงการทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพตามที่ผู้รับผิดชอบโครงการได้กาหนดไว้ว่าเมื่อจบโครงการมี ผลอย่างไร ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถดาเนินการได้บรรลุตามตัวชี้วัดที่ กาหนดไว้หรือไม่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาการบันทึกไว้เอกสารลงทะเบียน วิดีทัศน์หรือแบบประเมินโครงการที่ให้ผู้เข้าร่วมกรอกข้อมูล แล้วนามาเขียน ให้เห็นผลที่เกิดขึ้น โดยเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดความสาเร็จที่ได้กาหนดไว้ เช่น จานวนผู้เข้าร่วมโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ระดับความรู้ ความเข้าในจากการเข้าร่วมโครงการมีมากน้อยเพียงใดโดยวัดระดับจากค่า คะแนนเฉลี่ย จานวนนักเรียนที่สนใจศึกษาต่อในหลักสูตร เป็นต้น ทั้งนี้ใน การประเมินผลความคิดเห็ นหรือความพึงพอใจผู้รับผิดชอบโครงการอาจ 51


นาเสนอผลในรูปแบบของตารางข้อมูลประกอบด้วยเพื่อให้เห็นรายละเอียด ปลีกย่อยของข้อคาถามที่มีการประเมินผลประกอบด้วยได้  ค่าใช้จ่ายจากการดาเนินโครงการ นาเสนอรายงานการใช้ทรัพยากรการดาเนินงานทั้งหมดที่กาหนดไว้ใน หมวดงบประมาณของโครงการว่ า งบประมาณที่ ตั้ ง ไว้ ห รื อ ที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริงเป็นอย่างไร มีการใช้จ่ายงบประมาณในหมวด ใดที่มากกว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติและมีการจัดสรรงบอย่างไรเพื่อแก้ไข ปั ญหาการใช้ จ่ า ยมากกว่ า งบประมาณ พร้ อ มแนบเอกสารหลั ก ฐานทาง การเงิน เช่น ใบเสร็จ ใบสาคัญรับเงินที่มีเลขกากับภาษี ชื่อ บริษัทห้างร้านที่ ถูกต้องเพื่อสามารถทาการตรวจสอบย้อนหลังได้ นอกจากนี้ในบางโครงการ อาจมีการขออนุมัติกาไรที่ได้จากการดาเนินโครงการ หรือเงินงบประมาณ ส่วนที่เหลือไปใช้สอยตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น นางบประมาณไปจัดสรรทา โครงการต่อไป นาโอนเข้าบัญชีของชมรม คณะ นาไปบริจาค เป็นต้น ซึ่งต้อง มีการชี้แจงและขออนุมัตินาเงินไปใช้ต่อผู้บริหารที่มีอานาจอนุมัติรับทราบใน เอกสารประเมินผลโครงการด้วยเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานทางด้านการเงินและ บัญชีของสถาบันฯได้  การรายงานผลการใช้จ่ายพัสดุโครงการ โครงการหลายโครงการมีการขออนุมัติงบประมาณเพื่อจั ดซื้อจัดจ้าง พัสดุ ซึ่งมีทั้งพัสุดที่ใช้แล้วหมดไปและพัสดุที่เป็นทรัพย์สนิ คงทน เมื่อโครงการ จบลงผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องชี้แจงรายละเอียดให้กับต้นสังกัดทราบว่า 1) พัสดุที่ใช้แล้วหมดไปมีจานวนคงเหลือหรือไม่ 2) พัสดุที่เป็นทรัพย์สินคงทน เช่ น เครื่อ งมือ ในห้ อ งปฏิ บั ติก าร อุปกรณ์ก ารกีฬ า เครื่อ งคอมพิ ว เตอร์ ฯ เป็นต้น พัสดุคงเหลือเหล่านี้จะถูกนาไปบริหารจัดการอย่างไรต่อไป จึงต้องมี การเขี ย นรายงานส่ ง คื น พั ส ดุ ใ ห้ แ ก่ ห น่ ว ยงานต้ น สั ง กั ด หรื อ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ โครงการอาจขอนาพัสดุไปจัดทาโครงการในครั้งต่อไป หรือนาไปเป็นส่วนหนึ่ง ของอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน การนาไปบริจาค เป็นต้น ทาให้การ 52


รายงานผลสามารถติดตาม ตรวจสอบการใช้พัสดุได้อย่างชัดเจน สะท้อนถึง การบริหารงานโครงการที่มีความโปร่งใสด้วย  รายงานการบริหารความเสี่ยงจากโครงการ เป็ น การรายงานผลการบริห ารความเสี่ย งจากประเด็น ความเสี่ย งที่ ผู้รับผิดชอบโครงการได้กาหนดไว้ว่า เมื่อได้มีการออกแบบวิธีการควบคุม มาตรการจั ดการความเสี่ยงไปแล้ว สามารถท าให้ความเสี่ย งลดลงหรือไม่ เกิ ด ขึ้ น ได้ ยั ง ผลให้ โ ครงการสามารถบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ และตั ว ชี้ วั ด ความส าเร็ จ เชิ ง ปริ ม าณและเชิ ง คุ ณ ภาพ โครงการประสบผลส าเร็ จ ผู้รับผิดชอบโครงการอาจอธิบายข้อมูลประกอบให้เห็นข้อดีหรือข้อจากัดของ วิ ธี ก ารควบคุ ม มาตรการจั ด การความเสี่ ย งที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ใ ช้ ใ นการ ด าเนิ น การได้ อย่ า งไรก็ ต าม หลายโครงการที่ ด าเนิ น การอาจไม่ บ รรลุ วัตถุประสงค์และตัว ชี้วัดความสาเร็จที่กาหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการ ออกแบบวิธีการควบคุม มาตรการจัดการความเสี่ยงที่ยังไม่เหมาะสม จึงทา ให้ ร ะดั บ ความเสี่ ย งที่ ร ะบุ ไ ว้ ค งอยู่ ต ามเดิ ม ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการจึ ง ต้ อ ง วิเคราะห์ เพื่อ หาแนวทางในการควบคุม มาตรการจัดการความเสี่ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงค้นหาเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลต่อการทาให้โครงการ บรรลุผลเพื่อเป็นประโยชน์สาหรับ การบริหารความเสี่ยงของโครงการในครั้ง ต่อไป  ข้อเสนอแนะจากการจัดโครงการ ข้อเสนแนะจากการจัดโครงการนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้นาเสนอความคิดเห็น จากการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.1) ข้ อ เสนอแนะเชิ งวิ ช าการซึ่งเป็ น ผลมาจากข้ อ ถกเถีย ง หรือการตอบข้อซักถามในการประชุม สัมมนา อบรม การอภิปราย เสวนา เป็นต้น

53


1.2) ข้อเสนอแนะสาหรับการบริหารโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ระบบการอานวยความสะดวก การให้ บริการด้า นต่า งๆ เช่น ห้อ งประชุ ม ห้องพัก สถานที่ประชุม อาหาร เครือ่ งดื่ม การลงทะเบียน เป็นต้น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการจะต้ อ งเรี ย งร้ อ ยข้ อ ความเหล่ า นี้ ให้ สมเหตุส มผลและน าเสนอเป็ น ประเด็ น ทั้ ง นี้ อ าจระบุ ค วามถี่ ห รื อ จ านวน ผู้เข้าร่วมโครงการที่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเหล่านั้นประกอบได้ 2) ข้ อ เสนอแนะจากผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการ เป็ น การวิ เ คราะห์ ภาพรวมของการจัด โครงการในทุกด้านของการดาเนินงานโดยอาจใช้กรอบ มุมมอง 3 ขั้ น ตอน ตั้ ง แต่ ขั้ น เตรีย มการ ระหว่ า งด าเนิ น การ และการจบ โครงการ ว่ามีการดาเนินงานเป็นอย่างไร มีปัญหา ข้อจากัดและแนวทางการ แก้ไขปัญหาอย่างไรบ้างที่ทาให้โครงการสามารถดาเนินการลุล่วงไปได้โดย เขียนสรุปอย่างกระชับชัดเจน  การนาผลจากการจัดโครงการไปปรับปรุงพัฒนา โครงการที่ดาเนินการจบลงทุกโครงการย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัว ขึ้นอยู่กับ ที่ว่าผู้รับผิดชอบโครงการจะเห็นแง่คิด มุมมอง บทเรียน แนวปฏิบัติที่ดีไป ปรับปรุงพัฒนาการดาเนินงานในด้านต่างๆ ซึ่งไม่ได้จากัดเฉพาะการนาไป ปรับปรุงพัฒนาการจัดโครงการในครั้งต่อไปเท่านั้น แต่รวมไปถึง การนาไปใช้ ประโยชน์สาหรับการวางแผนพัฒนา กาหนดนโยบาย การจัดการเรียนรู้ การ วิ จั ย การให้ บ ริ ก ารวิ ช าการ การพั ฒ นานั ก ศึ ก ษา การท านุ ง บ ารุ ง ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรในแง่มุม ต่า งๆ เช่ น การสร้ า งความร่ ว มมือ การประสานงาน การขยายเครือ ข่ า ย การสร้า งที มงาน การสรรหาทุ นสนับ สนุ น การจั ดการความรู้ การบริห าร ความเสี่ยง ฯ เป็นต้น เพื่อให้เกิดผลในทางที่ดีแก่คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุน วิชาการ และสถาบันอุดมศึกษาโดยภาพรวม

54


บทสรุป การเขียนเอกสารโครงการที่ดีนั้นผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องคานึงถึง ข้อมูลอย่างรอบด้านมาประกอบการคิดวิเคราะห์ โดยเริ่มตั้งแต่การมองว่าทุก ประเด็นในโครงการต่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังนั้นการเขียนหรือกาหนด สิ่ ง ใดๆในหั ว ข้ อ หนึ่ ง ๆย่ อ มที่ จ ะมี ผ ลผู ก พั น กั บ อี ก หั ว ข้ อ หนึ่ ง โดยตรงหรื อ โดยอ้อม ข้อมูลที่เขียนจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุและสมผล สามารถตอบคาถามให้แก่กันได้ การเขียนเอกสารโครงการจึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการแปลงแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นแผนงานการดาเนินครอบคลุมตั้งแต่ การเตรี ย มการก่ อ นจั ด โครงการ การด าเนิ น โครงการตามแผน และการ ประเมินผลสรุปโครงการ ซึ่งในเอกสารฉบับนี้ ได้ให้แนวทางการเขียนหัวข้ อ ต่างๆไว้พอสมควร อย่างไรก็ตาม การมีเอกสารโครงการที่เขียนอย่างเป็น ระบบและครอบคลุมข้อมูลในทุกมิติเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งในขั้นแรกเท่านั้นที่ จะทาให้การดาเนินโครงการมีทิศทางสามารถขับเคลื่อนงานได้ ยังมีปัจจัย อื่ น ๆหลายปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การท าโครงการประสบผลส าเร็ จ เช่ น การสนั บสนุ นของผู้ บริ ห าร การมีเ ครือ ข่า ยการดาเนิน งาน งบประมาณที่ เพียงพอ การบริหารงบประมาณที่รัดกุม นโยบายที่ชัดเจนของสถาบัน ความ ยืดหยุ่นและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการสื่อสารข้อมูลอย่างทั่วถึง (วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม, 2562) แต่สิ่งสาคัญที่มากกว่าไปนั้น คือ ระดับ ของ ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจและร่วมดาเนินงานของบุคลากรในสังกัดคณะ วิชาและฝ่ายสนับสนุน วิชาการของสถาบันฯ อันจะทาให้โครงการประสบ ผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสาเร็จที่กาหนดไว้ได้ เพื่อที่ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทุกกลุ่มจะได้รับผลประโยชน์จากโครงการร่วมกัน

------------------------------------------

55


บรรณานุกรม กฤษณ์ ขุนลึก. (2557). เทคนิคการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม. วารสารวิชาการ แพรวากาฬสินธุ์, 1(3), 152-170. กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). Moodle ร่วมสร้างสรรค์และเรียนรู้ e-Learning.ออนไลน์ : สืบค้นเมือ่ วันที่ 10 ตุลาคม 2562, จาก http://www.moe.go.th /moe/th/ news/detail.php?NewsID=15948&Key=news15 จิราภา วรเสียงสุข. (2559). แนวคิดความคิดเบื้องต้นเกีย่ วกับการประเมินผลโครงการ ทางสังคม. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จีรญาน์ นิลทองคา. (2560). การวิเคราะห์โครงการและการบริหารโครงการ. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2562). ปัญหาการขาดแคลนนักกายภาพบาบัด. ออนไลน์ : สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562,จาก https://www.hfocus.org /content /2015/04/9735 ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแล รักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. The Blueprint for Change.ออนไลน์ : สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.novonordisk. Com /content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/moreabout-how-we-work/Creating%20shared%20value /PDF/Thailand% 20 Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf บุษบา สถิรปัญญา. (2559). การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินโครงการ/ แผนงานตามแผนปฏิบัติราชการประจาปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี. ปทุมธานี : กองนโยบายและแผน สานักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยคริสเตียน. (2559). คู่มือการเขียนโครงการ. นครปฐม : กลุ่มงาน แผน ฝ่ายบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยคริสเตียน. ---------- (2562). โครงการอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เรือ่ ง การส่งเสริมการจัดการ สุขภาพตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์. ---------- (2562).โครงการหนึ่งวันฉันอยากเป็นนักกายภาพบาบัด. หลักสูตรวิทยาศาสตร บัณฑิต สาขาวิชากายภาพบาบัด คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ---------- (2562). คู่มือการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยคริสเตียน. นครปฐม : สานักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 56


วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2562). ปัจจัยความสาเร็จและการศึกษาปัญหาในการบริหาร จัดการโครงการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารการพัฒนา งานประจาสู่งานวิจัย. ปีที่ 6 ส.ค.62 หน้า 1-8 ศราวุธ ป้อมสินทรัพย์. (2561). คู่มือกาหนดตัวชี้วัดความสาเร็จแบบ Milestone และ ตัวชี้วดั ความสาเร็จแบบมุ่งเน้นผลงาน. ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2562). การให้ความรู้เพือ่ จัดการโรคเบาหวาน ด้วยตัวเอง. ออนไลน์ : สืบค้นเมือ่ วันที่ 10 ตุลาคม 2562,จาก https://www. dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/diabetes-book/ สานักวิจัยและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพ. (2560). สังเคราะหทางเลือกและขอเสนอ เชิงนโยบายในการวางแผนความตองการกาลังคนดานสุขภาพของประเทศใน ทศวรรษหนา. สถาบันวิจัยพัฒนาระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สานักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ : สานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา. Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments. Marcel M. Robles. (2012). Executive Perceptions of the Top 10 Soft Skills Needed in Today’s Workplace. Business Communication Quarterly, 75(4), 453–465.

57


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.