ประวัติ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ระยะเวลาดํารงตําแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (ลาออก) 1. ภูมิหลัง ชีวประวัติ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ํา เดือนยี่ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม 2460 ที่ตําบลมหาชัย อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เดิมชื่อ สมจิตต์ ชมะนันทน์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “เกรียงศักดิ์” เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 ขณะครองตําแหน่งในยศ ร้อยโท เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม บิดาชื่อนายแจ่ม ชมะนันทน์ และมารดาชื่อนางเจือ ชมะนันทน์ เดิมบิดาของพลเอกเกรียง ศักดิ์รับราชการประจําอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงมหาดไทย แต่พออายุได้ 30 ปี ได้ลาออกจากราชการเพื่อไปประกอบอาชีพค้าขายส่วนตัว พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ มีพี่น้องร่วมบิดา- มารดาเดียวกัน จํานวน 8 คน โดยท่าน เป็นบุตรคนที่ 5 ของครอบครัว ชีวิตสมรส พลเอกเกรียงศักดิ์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 มีบุตรด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นชายชื่อ พ.ท.พงศ์พิพัฒน์ ชมะนันทน์ และคนเล็กเป็นผู้หญิง ชื่อ สิรินดา ชมะนันทน์ คุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 เป็นบุตรีของนาวาโทหลวงชาญ จักรกิจ ร.น. และนางเจริญ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้เดินทาง ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศออสเตรเลีย และได้รับวุฒิการศึกษา Diploma in Education จาก มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และเข้าทํางานเป็นอาจารย์สอน ณ โรงเรียนอํานวยศิลป์ และวิทยาลัยก่อสร้าง อุเทนถวายอยู่ระยะหนึ่ง การศึกษา 1
พลเอกเกรียงศักดิ์เข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โ รงเรียนวัดใหญ่คล้ายนิมิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย อําเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร จากนั้น ได้เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.8) แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ เมื่อสําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดปทุมคงคาแล้ว พลเอกเกรียงศักดิ์สมัครสอบแข่งขัน เพื่อเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก(โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในปัจจุบัน) เมื่อปี 2480 สําเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2483
อาชีพการงานและประวัติการรับราชการ1 - พ.ศ. 2483 สําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตรีเหล่าทหารราบในตําแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ - พ.ศ. 2483 ได้เข้าสู่สมรภูมิสงครามในกรณีพิพาทกับประเทศอินโดจีนและฝรั่งเศส เนื่อง ในกรณีเรียกร้องดินแดนคืน - พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยโท ดํารงตําแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพัน ทหารราบที่ 26 และในปีเดียวกันนี้ได้เข้าสู่สมรภูมิสงครามมหาเอเชียบูรพา - พ.ศ. 2489 กองทัพบกมีคําสั่งให้ไปดํารงตําแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบ ที่ 33 - พ.ศ. 2490 บรรจุเป็นนายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนนายทหารราบ - พ.ศ. 2490 ดํารงตําแหน่งประจํากรมเสนาธิการทหารบ - พ.ศ. 2491 ได้รับพระราชทานยศเป็นพันตรี และหลังจากนั้นไม่นานกองทัพบกมีคําสั่ง ย้ายไปเป็นนายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก - พ.ศ. 2493 เมื่อสําเร็จการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก กองทัพบกมีคําสั่งให้ไป ดํารงตําแหน่งรักษาการฝ่ายเสนาธิการกรมทหารราบที่ 4 - พ.ศ. 2493 มีคําสั่งไปดํารงตําแหน่งเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 1
ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ที% ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 1). น. 23-26.
2
- พ.ศ. 2495 ไปราชการสงครามประเทศเกาหลีเป็นผลัดที่ 3 ขณะที่ออกเดินทางไป ราชการในสงครามฯ ดํารงตําแหน่งรองผู้บังคับกองพันฝ่ายยุทธการ แต่ต่อมาเมื่อได้สร้างผลงานใน ราชการสงคราม กองทัพบกมี คําสั่งให้ดํ ารงตําแหน่งผู้บังคับ กองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21 (อิสระ) ในสมรภูมิเกาหลี กองพันทหารราบภายใต้การนําของท่านได้รับสมญานามจากกองทัพ อเมริกาว่า “Lttle Tiger” หรือ “กองพันพยัคฆ์น้อย” เนื่องจากรูปร่างทหารไทยจะตัวเล็กแต่ทํา การรบอย่างมีประสิทธิภาพแต่จิตใจในการต่อสู้เยี่ยงเสือ และต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้รับพระราชทานยศเป็นพันโท ในตําแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบในประเทศเกาหลี - พ.ศ. 2498 สําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา ต่อจากนั้น กองทัพบกมีคําสั่งให้ไปดํารงตําแหน่งอาจารย์หัวหน้าวิชาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก - พ.ศ. 2500 กระทรวงกลาโหมมีคําสั่งให้ไปดํารงตําแหน่งหัวหน้ากรรมการวางแผน สํานักงานวางแผนทางทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.) ส่วน ที่ 2 กองทหาร สปอ. กอต. กห. (Senior Planner Military Planning Office SEATO) และในปี เดียวกันนี้ ท่านได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในกลุ่มของทหารชั้นดี เพื่อทําหน้าจัดตั้งกองบัญชาการ ทหารสูงสุดและ กปร. กลางในเวลาต่อมา ซึ่งท่านได้ทํางานตอบสนองนโยบายของผู้บังคับบัญชา ได้อย่างดียิ่ง - พ.ศ. 2502 กรมเสนาธิการกลาโหม มีคําสั่งให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้ากองทหารสนธิสัญญา ป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ กองอํานวยการวิเทศสัมพันธ์ กรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหม (Chief SEATO Military Section Protocol Division) - พ.ศ. 2503 กองบัญชาการทหารสูงสุด(เฉพาะ)มีคําสั่งให้ดํารงตําแหน่งรองเสนาธิการกอง กําลังสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.) (Deputy Chief of Staff SEATO) - พ.ศ. 2504 ได้รับพระราชทานยศเป็นพลตรี ดํารงตําแหน่งประจํากองบัญชาการทหาร สูงสุด และในเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนี้ กระทรวงกลาโหมมีคําสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการพิจารณา การจัดตั้งกองอํานวยการป้องกันการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - พ.ศ. 2506 ได้รับพระราชทานยศเป็นพลโท ดํารงตําแหน่งรองเสนาธิการ กองอํานวยการ กลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป. กลาง) สํานักผู้บัญชาการทหารสูงสุด - พ.ศ. 2507 คําสั่งจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ได้เลื่อนตําแหน่งเป็นรอง เสนาธิการกองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า - พ.ศ. 2508 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ สนองพระเดช พระคุณสืบไป 3
- พ.ศ. 2515 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเอก ดํารง ตําแหน่งรองเสนาธิการ - พ.ศ. 2516 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษประจํากรมทหารราบ ที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ - พ.ศ. 2517 คํ า สั่ ง กองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ให้ ดํ า รงตํ า แหน่ ง เสนาธิ ก ารทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด - พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายผู้ช่วยผู้บัญชาการทหาร สูงสุด - พ.ศ. 2519 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายทหารพิเศษประจํากอง พลที่ 1 รักษาพระองค์ ต่อมาในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด - พ.ศ. 2520 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าจอมพล และต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ เป็นพลเรือเอก และพลอากาศเอก รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ2 เหรียญบําเหน็จในพระองค์ - เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 3 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 - เหรียฐรัตนาภรณ์ชั้นที่ 1 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เหรียญอื่นๆ - เหรียญชัยสมรภูมิในราชการสงครามเกาหลี 24 มกราคม พ.ศ. 2496 - เหรียญชัยสมรภูมิกรณีสงครามหาเอเชียบูรพา 8 กันยายน พ.ศ. 2505 - เหรียญชายแดน 15 กันยายน พ.ศ. 2511 - เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้น 2) 25 กันยายน พ.ศ. 2513 - เหรียญลีเยียนออฟเมอริต ดีกรีออฟเลยอนาแนร์ เป็นเหรีญอิสริยาภรณ์ของทางการ สหรัฐอเมริกา ในบทบาทหน้าที่เป็นผู้นํากองพันทหารไทย ผลัดที่ 3 เมื่อคราวเข้าร่วมรบในสงคราม เกาหลี
2
เรือ งเดียวกัน, น. 31. 4
ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ - ปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Bridgeport มลรัฐ Connecticut ประเทศ สหรัฐอเมริกา
ผลงานที่สําคัญระหว่างรับราชการ ผลงานภายในประเทศ • การดําเนินการจัดตั้งกองอํานวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป. กลาง) กรป. กลาง หรื อหน่ว ยบั ญชาการทหารพั ฒนา (นทพ.) ในปัจ จุบั น เป็ นหน่ว ยงานที่ มี ความสําคัญยิ่งในการพัฒนาชนบท และส่งเสริมอาชีพราษฎรในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งการต่อสู้เพื่อ เอาชนะคอมมิวนิสต์ในถิ่นทุรกันดาร • การตั้งศูนย์ขยายพันธุ์สัตว์ เพื่อขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์แจกจ่ายให้ประชาชน • การตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อชดเชยกับการขาดบริการทางการแพทย์ในขณะนั้น เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันดียิ่ง ในฐานะคณะกรรมการชายแดนประเทศมาเลเซีย และประเทศพม่า • การเจรจากับคณะกันยายนทมิฬที่ยึดสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลให้ยุติการปฏิบัติการ ร้ายในประเทศไทย • การสร้างทางขึ้นดอยอินทนนท์ และสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทย • การสร้างสนามบิน และท่าเรืออู่ตะเภา ผลงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • กองพันพยัคฆ์น้อยในสงครามเกาหลี ท่านนํากําลังกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21 (อิสระ) เข้าทําการรบกับข้าศึกในสงคราม เกาหลี จนทําชื่อเสียงอันเกรียงไกรให้กับกองทัพไทย จนได้รับฉายาจากสหรัฐอเมริกาว่าเป็น “กอง พันพยัคฆ์น้อย” • บทบาทในองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.) 5
องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ หรือ ซีโ ต้ (Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 มีประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยมี หลักการร่วมกันคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อ ส่ ง เสริ ม ให้ พ ลเมื อ งในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ มี ม าตรฐานการครองชี พ สู ง ขึ้ น มี ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี และไม่ทําลายอธิปไตยหรือบูรภาพแห่งเขต แดนของประเทศภาคี พลเอกเกรียงศักดิ์ ขณะนั้นอยู่ในยศพันเอก ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถหลายๆ ด้าน ในช่วงของการปฏิบัติราชการพิเศษในองค์การนี้ มีความสามารถและบุคลิกภาพการทํางานที่เป็นที่ ประจักษ์ต่อชาวต่างชาติ ทําให้ผู้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจ และมอบหมายงานพร้อมมีคําสั่งให้ ไปดํารงตําแหน่งหัวหน้ากรมการวางแผน สํานักวางแผนทางการทหาร สปอ. (Senior Planner Military Planning Office, SEATO) ปฏิบัติหน้าที่การงานก้าวหน้าขึ้นเป็นลําดับ และได้ดํารง ตําแหน่งรองเสนาธิการ สปอ. การปฏิบัติหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้อยู่ในระหว่างพ.ศ. 2500 -2506 และได้เป็นผู้แทนไทยไปร่วมประชุมกับประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก • การแก้ปัญหาเกี่ยวกับกองทหารจีนคณะชาติ กองทหารจีนคณะชาติ หรือรู้จักในนามกองพล 93 ซึ่งเป็นกองทหารของรัฐบาลจอมพล เจียงไคเช๊ค ที่ทําสงครามต่อสู้กับทหารฝ่ายอักษะในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นกองกําลังที่ ต่อสู้กับกองกําลังของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เคลื่อนทัพมาตั้งมั่นทางตอนใต้ของประเทศจีนและ บางส่วนอพยพเข้ามาอยู๋ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ใน ปี พ.ศ. 2513 พลเอกเกรียงศักดิ์เข้าไปแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลโท ตําแหน่ง รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และประสบความสําเร็จในการเจรจาให้กองพล 93 ส่งมอบอาวุธแก่รัฐบาลไทย และยุติการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อ แลกเปลี่ยนกับสิทธิในการพํานักในประเทศไทยอย่างถาวร
การดํารงตําแหน่งทางการเมือง ช่วงเวลาที่รับราชการ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่ เกือบตลอดเวลา โดยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมาธิการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2511 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติและ 6
สมาชิ ก สภานิ ติ แ ห่ ง ชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และเป็ น กรรมาธิ ก ารสามั ญ ประจํ า สภานิ ติ บั ญ ญั ติ แห่งชาติในคณะกรรมาธิการทหาร พ.ศ. 2517 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 สมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ท่านมีตําแหน่งเป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก่อนก้าวสู่ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนที่พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จะมาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี สถานการณ์ทาง การเมืองช่วงนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองไปทุกหย่อมหญ้า ม่ว่าจะ เป็นความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรีและในกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ความไม่สงบเรียบร้อย ภายในประเทศทั้ง เหตุการณ์ลอบฆ่าชาวนา การจับตัวเรียกค่าไถ่ ภัยคุกคามของผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ในภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้ ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวของ กรรมกรและผู้ใ ช้แรงงาน อีก ทั้งเหตุก ารณ์ชุม นุมประท้วงของกลุ่มนิสิ ตนักศึก ษา มีก ารชุมนุ ม ประท้วง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนนําไปสู่เหตุการณ์ความ รุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลในสมัยนั้นไม่สามารถดําเนินการจัดการควบคุมสถานการณ์ของบ้านเมืองเอาไว้ได้ คณะทหารนําโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้นํากําลังทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์บ้างเมือง โดย มี ฯพณฯ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่สถานการณ์ความวุ่นวายก็ ไม่ไ ด้ค ลี่ค ลายลงมากนัก และนโยบายของรั ฐบาลขณะนั้น มีน โยบายปราบปรามผู้ ก่อการร้า ย คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง เหตุการณ์ต่างๆ เป็นเหตุให้รัฐบาลไม่อาจแก้ไขปัญหาสําคัญของประเทศ ให้ลุล่วงไปได้ จึงนําไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ในนาม “คณะปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2520” นําโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ สู่ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521) หลังจาก “คณะปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2520” นําโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เข้ายึดอํานาจ จากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ซึ่งขณะนั้นรับหน้าที่เลขาธิการ คณะปฏิวัติไ ด้รับการสนับสนุนจากนายทหารหนุ่มกลุ่มยังเติร์กซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่จบ การศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 ให้ขึ้นดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี พระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 15 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 และนับเป็นโชคดีที่พลเอกเกรียงศักดิ์ เข้ามารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะ 7
เป็นผู้มีความสามารถประสานประโยชน์สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นได้ในเวลาที่ประเทศกําลัง ต้องการความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันอย่างยิ่ง ดังวลีสําคัญที่ท่านประกาศออกมาว่า “เราไม่มีเวลา ทะเลาะกันอีกแล้ว” เมื่อพลเอกเกรียงศักดิ์เข้ารับตําแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว ท่านได้กล่าวให้สัญญากับ ประชาชนว่า “จะขอเข้าบริหารบ้านเมือง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก แตกความสามัคคี ของคนในชาติ ใ นระยะเวลา 1 ปี เท่ า นั้ น และพร้ อ มที่ จ ะออกกฎหมายเลื อ กตั้ ง ผู้แทนราษฎรเข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อไป” แม้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากคณะปฏิวัติ แต่มีแนว ทางการบริหารประเทศที่มุ่งสันติ ประนีประนอม ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความแตกต่าง ทางแนวความคิด ซึ่งเป็นคุณูปการอย่างมากในการบูรณะและฟื้นฟูให้ประเทศไทยเกิดความสงบ และบรรยากาศที่สร้างสรรค์ต่อประเทศ คุณประโยชน์ที่รัฐบาลสมัยของท่านทําไว้ ไม่เพียงแต่ใน ช่ว งเวลาที่ ท่า นดํา รงตํ า แหน่ งเท่า นั้ น แต่อ าจเรี ยกได้ว่ า เป็ นรากฐานและเป็น เสาเข็ม สํ าหรั บ การเมืองในยุคต่อๆ มาก็ว่าได้ และถือได้ว่าท่านได้ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนทั้งการเมืองภายในและ ภายนอกประเทศสืบต่อมา รวมทั้งการวางเป็นรากฐานงานต่างประเทศที่เป็นคุณต่อประเทศไทย และมีส่วนทําให้สังคมไทยคลายความตึงเครียดจากการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ในขณะนั้น อาจจะเรียกได้ว่าด้วยบุคลิกภาพและคุณลักษณะพิเศษส่วนตัวของท่าน ทําให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้ กลยุทธ์และกุศโลบายทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วงที่ท่านดํารงตําแหน่ง ยังถือ เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการฟื้นคืนของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง หรือเรียก กันตามภาษานักวิชาการที่วิเคราะห์การเมืองในยุคสมัยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ว่า เป็น “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบแบบไทย” คือเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจําสามารถเข้ามีตําแหน่งทาง การเมืองได้ รวมถึงการมีวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง อีกหนึ่งปีต่อมาตามสัญญาชายชาติทหารที่เคยลั่นวาไว้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถือกําเนิดขึ้น พร้อ มกั บการจั ดให้มีก ารเลื อกตั้ ง รัฐบาลพลเอกเกรีย งศัก ดิ์ ชมะนัน ทน์ ประกาศลาออกจาก ตําแหน่ง การดํารงนายกรัฐมนตรีสมัยแรกของท่านจึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2521 เป็นไปตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติเคยประกาศว่า จะให้
8
มีการร่างรัฐธรรมนูญและให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว จากนั้นก็มีการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏร เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 สมัยที่ 2 (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523) ภายหลังการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคกิจสังคมของ ฯพณฯ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามามากที่สุด จํานวน 82 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 38 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคประชากรไทยได้ 32 ที่นั่ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สังกัดพรรค ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจํานวน 63 ที่นั่ง3 แต่การเสนอชื่อและรับรองผู้ที่สมควรดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรสนับสนุนให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปถึง 311 เสียง งดออก เสียงเพียง 18 คน มีผู้ไม่ออกเสียงด้วยการออกจากที่ประชุม 30 คน ต่อมามีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 ซึ่งเป็นการดํารงตําแหน่งสมัยที่ 2 การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต้องเผชิญกับปัญหา เศรษฐกิจโดยเฉพาะปัญหาพลังงาน เนื่องด้วยเชื้อเพลิงที่ใช้ในประเทศทั้งหมดต้องนําเข้าจาก ต่ า งประเทศและมี น้ํ า มั น ดิ บ ก็ มี ร าคาเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ ค่ า ครองชี พ ของ ประชาชนเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาที่สําคัญเกี่ยวกับปัญหาด้านพลังงานที่สามารถทําได้ใน ช่วงเวลานั้นก็คือ การแสวงหาแหล่งพลังงานในประเทศซึ่งเป็นที่มาของการผลิตก๊าซธรรมชาติใน อ่าวไทย แต่กว่าจะใช้งานได้จริงก็ล่วงเข้าสู่เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2524 จึงยังไม่สามารถช่วยแก้ไข ปัญหาด้านนี้ได้ทันท่วงที ในที่สุดสภาผู้แทนราษฏรได้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ใน วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้พยายามใช้หลักประนีประนอม ในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถึงที่สุด แต่ก็ไม่สามารถจะทนแรงกดดันจากฝ่ายต่างๆ ได้ ดังนั้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พลเอกเกรียงศักดิ์ตัดสินใจไม่ยุบสภา จะทําให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินพื่อดําเนินงานจัดการเลือกตั้งใหม่นับจํานวนหลายร้อยล้าน บาท ท่ า นจึ ง ตั ด สิ น ใจได้ ป ระกาศลาออกจากตํ า แหน่ ง นายกรั ฐ มนตรี ก ลางที่ ป ระชุ ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นวันแรกที่สภาฯ เปิดประชุม สมัยวิสามัญ เพื่อเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อไป 3
เรือ งเดียวกัน, น. 127. 9
การลาออกครั้งนี้ได้รับการสรรเสริญและชมเชยจากสื่อมวลชน นักการเมือง และประชาชน ทั่วไปว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นสุภาพบุรุษทางการเมือง เป็นนายทหารประชาธิปไตย และสมเกียรตินักการเมืองที่ดี หลังจากนั้นพลเอกเกรียงศักดิ์ได้ก่อตั้งพรรคชาติประชาธิปไตยแต่ ไม่ประสบความสําเร็จมากนัก และได้ยุติบทบาททางการเมืองในที่สุด พลเอกเกรี ย งศั ก ดิ์ ถึ ง แก่ อ สั ญ กรรมด้ ว ยโรคติ ด เชื้ อ ในกระแสเลื อ ด ณ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 23 ธันวาคม 2546 เวลา 14.30 น. สิริรวมอายุได้ 85 ปี 2. ผลงานที่สําคัญระหว่างดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี 2.1 ผลงานในประเทศ ผลงานทางด้านการเมือง • การออกพระราชบั ญ ญั ติ นิ ร โทษกรรมแก่ ผู้ ก ระทํ า ความผิ ด เนื่ อ งในการชุ ม นุ ม ใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 25194 จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทําให้นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน และประชาชนที่หลบหนีการ กวาดล้างจากรัฐบาล และบางส่วนได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตัดสินใจ กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติในสังคมเช่นเดิม หลายคนกลับมาศึกษาต่อจนกลายเป็นนักวิชาการที่มี ชื่อเสียง บางคนเข้าสู่เวทีการเมือง และมีโอกาสดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีในสมัยต่อมา • การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมผู้ก่อการกบฏ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 สืบเนื่องจากการความพยายามล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ด้วยกําลังทหารจากกอง พล 9 จังหวัดกาญจนบุรี และทหารราบกองพลที่ 19 กองพันที่ 1, 2 และ (ร.19 พัน 1, 2 และ 3) ประมาณ 300 นาย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ภายใต้การนําของพลเอกฉลาด หิรัญศิริ แต่ ประสบความล้มเหลว พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกลงโทษประหารชีวิต ส่วนผู้เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏ ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ ให้เกิดขึ้นในสังคม • การจัดงานสโมสรสันนิบาต ณ ทําเนียบรัฐบาลขึ้นเป็นครั้งแรก
4
วีรชาติ ชุม่ สนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ: บริษทั ออลบุ๊คส์พบั ลิชชิง% จํากัด. 2549. น. 137. 10
การริเริ่มจัดงานสโมสรสันนิบาต ของพลเอกเกรียงศักดิ์ มีส่วนในการสร้างความสัมพันธ์อัน ดีระหว่างข้าราชการการเมือง และบุคคลในวงการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย และกิจกรรมดังกล่าว ยังคงดําเนินมาจวบจนถึงปัจจุบัน ผลงานทางด้านเศรษฐกิจ • จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ด้วยสถานการณ์โลกในช่วงปี พ.ศ. 2516 – 2517 ได้เกิดวิกฤตการณ์น้ํามันโลก เนื่องจาก กลุ่ ม ประเทศผู้ ส่ง ออกนํ า มัน หรื อโอเปก(OPEC)ได้ ใ ช้น้ํ า มั นเป็ นเครื่ องมื อต่ อ รองทางการเมื อ ง ระหว่างประเทศ ส่งผลให้น้ํามันดิบมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2517 ได้มี ประกาศขึ้นราคาน้ํามันอย่างต่อเนื่องถึง 5 ครั้ง จนราคาน้ํามันสูงขึ้นมากและเกิดภาวะขาดแคลน น้ํ า มั น ทั่ ว โลก ในขณะนั้ น ประเทศไทยเป็ น ประเทศผู้ บ ริ โ ภคน้ํ า มั น และไม่ มี แ หล่ ง ปิ โ ตรเลี ย ม ภายในประเทศ จึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก สถานการณ์ดังกล่าวทําให้ประเทศไทยเริ่มมองหา แหล่งพลังงานปิโตรเลียมภายในประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาภาระการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และขณะนั้นก็ได้มีการสํารวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งมีปริมาณมากเพียงพอที่จะพัฒนาใน เชิงพาณิชย์ได้ และปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจากน้ํามันเตามาเป็นก๊าซธรรมชาติด้วย ปลายปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ไ ด้ผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อ เป็นองค์กรกลางของรัฐในการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมแบบครบวงจร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาด้านปิโตรเลียมของประเทศ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการจัดตั้งองค์กรที่มีประสิทธิภาพ อย่า งแท้จ ริง แม้ ประเทศไทยจะมีหน่ วยงานด้ านพลัง งานอยู่ แล้ ว คือ องค์ การก๊ าซธรรมชาติ ฯ องค์กรเชื้อเพลิง และโรงกลั่นน้ํามันบางจาก แต่หน่วยงานทั้งสามต่างมีภาระกิจและสายงานการ บังคับบัญชาเป็นอิสระจากกัน การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานจึงขาดเอกภาพ และรัฐบาลสมัยพล เอกเกรียงศักดิ์ยังพิจารณาว่าธุรกิจปิโตรเลียมเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่สําคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศที่ควรจะวางรากฐานอย่างจริงจัง • การเร่งรัดการก่อสร้างแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย5
5
ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). น. 131. 11
การก่อสร้างแท่นผลิตก๊าซในอ่าวไทยได้เริ่มดําเนินการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2524 มี ความสามารถในการผลิตก๊าซในปริมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อทดแทนความต้องการ น้ํามันดิบได้วันละหนึ่งแสนบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติถูกนําไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมหลายชนิด • จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน พลเอกเกรียงศักดิ์ให้ความสําคัญและบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการ พัฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมของประเทศไทย ได้ จั ด ตั้ ง กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ เ ทคโนโลยี แ ละ พลังงานขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ถือเป็นขั้นแรกและสําคัญสําหรับการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพด้านการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก • การก่อสร้างทางด่วนพิเศษสายแรกของไทย นโยบายการการวางรากฐานระบบทางด่ ว นในประเทศไทยเป็ น นโยบายหนึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ ความสําคัญในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ มีพิธีวางศิลาฤกษ์ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 สายดินแดงท่าเรือ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นทางด่วนในระบบยกระดับเป็นแห่งแรกของ ประเทศไทย
• จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมกับยกร่างและประกาศใช้พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แม้หน่วยงานด้านการคุ้มครองบริโภคในประเทศไทยจัดตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2514 ซึ่งใน ลักษณะของกรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค ในสมัยของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ จึงได้มีการ รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ เริ่มจากการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และประกาศใช้ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เพื่อกําหนดสิทธิของผู้บริโภค เพื่อกําหนด หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ และเพื่อกําหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรรัฐเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งต่อมา จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและคณะกรรมการคุ้มครองเฉพาะเรื่อง ในการดูแล เรื่องการโฆษณาและฉลากสินค้า รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงานเพื่อปฏิบัติงานและให้ผู้บริโภคที่ถูกละเมิด สิ ท ธิ ใ ช้ บ ริ ก าร ซึ่ ง ก็ คื อ สํ า นั ก งานคณะกรรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค สั ง กั ด สํ า นั ก เลขาธิ ก าร นายกรัฐมนตรี 12
งานพัฒนาด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะ รัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี ใช้ชื่อว่า “องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยงแห่ง ประเทศไทย” (อ.ส.ท.) เมื่อปี พ.ศ. 2503 พลเอกเกรียงศักดิ์มีนโยบายพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การ บริการด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในปี พ.ศ. 2522 ได้มี การบรรจุแผนพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) ต่อมาได้ ยกระดับ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็น “การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) และตรา “พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522” และท้ายที่สุดได้ ประกาศให้ปี พ.ศ. 2523 เป็น “ปีท่องเที่ยวไทย” เพื่อส่งเสริม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย • การจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาค ในขณะที่พลเอกเกรียงศักดิ์ รับราชการและทํางานในตําแหน่งรองเสนาธิการ กรป. กลาง ซึ่ง รับ ผิด ชอบงานในการช่ ว ยเหลื อ ประชาชนในถิ่น ทุ รกั นดาร ได้ เ ห็น ภาพประชาชนอดอยาก แร้นแค้นในหลายๆ ด้านของชีวิต ทั้งขาดแคลนอาหารเลี้ยงชีพ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และที่สําคัญคือ ขาดแคลนน้ําอุปโภคและบริโภค แม้ก่อนหน้านั้นจะมีหน่วยงานที่ดูและและให้บริการน้ําประปาอยู่ แล้ว 2 หน่วยงานหลัก คือกองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ และกองประปาชนบท กรมอนามัย แต่การให้บริการยังขาดความคล่องตัว และไม่สามารถตอบสนองประชาชนได้อย่างเต็มที่ พลเอก เกรียงศักดิ์ ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ศึกษารูปแบบวิธีการจัดรูปแบบการบริหาร ประปาส่วนภูมิภาคขึ้นให้มีความคล่องตัวในการให้บริการ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ให้ดําเนินการปรับปรุงการดําเนินการประปาของกองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธิการ ไปเป็นรูปแบบการบริหารแบบรัฐวิสาหกิจ และให้โอนกิจการประปา ข้าราชการ และ ลูกจ้างจาก 2 หน่วยงานเดิมมาขึ้นกับการประปาส่วนภูมิภาคทั้งหมด • ด้านแรงงาน ในช่วงที่พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี มุ่งหวังที่จะสร้างความ สามัคคีในหมู่ผู้ใช้แรงงาน และสร้างกลไกในการบริหารแรงงานให้แข็งแรงขึ้น จึงดําเนินการให้เป็น รูปธรรม ดังนี้
13
(1) เสนอให้มี “สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ” ประกอบด้วยผู้แทน สามฝ่ายคือ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล หน้าที่หลักของสภาฯ คือให้คําปรึกษาแก่ รัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารแรงงาน (2) การสร้ าง “ระบบไตรภาคี ในภาคอุต สาหกรรม” โดยพลเอกเกรียงศัก ดิ์ ชมะนันท์ให้แต่ละภาคีได้ประชุมหารือร่วมกันกําหนดจรรยาบรรณของแต่ละฝ่ายในการยุติการ ขัดแย้งเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ (3) การก่อตั้ง “มูลนิธิเพื่อลูกจ้างแรงงานไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัว ของลูกจ้างซึ่งส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็ นอยู่ที่ลําบาก ซึ่งมู ลนิธิฯ ดําเนินงานมาจนปัจจุบัน โดย สํานักงานตั้งอยู่ที่ กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตพญาไท กรุงเทพฯ (4) การยกฐานะกรมแรงงานขึ้ น เป็ น “กระทรวงแรงงาน” เพราะเล็ ง เห็ น ความสําคัญของแรงงานที่เป็นปัจจัยหลักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แม้จะไม่ได้สําเร็จในยุค ของท่านแต่ท่านก็ได้พยายามผลักดัน จนนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อๆ ได้สานต่อเจตนารมณ์จนมา สําเร็จในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2541 • ด้านการเกษตร เนื่องจากพลเอกเกรี ยงศักดิ์ ชมะนั นทน์ เล็งเห็น ว่าประชากรส่ วนใหญ่ ในประเทศเป็ น เกษตรกรและยังมีความยากจนและมีรายได้ต่ํา จึงจําเป็นต้องดําเนินการให้ความช่วยเหลือบรรดา เกษตรกรเหล่านี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีฐานะทัดเทียมกับประชาชนในอาชีพอื่นๆ ท่านจึงได้ ดําเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ดังต่อไปนี้ - ประกาศปี พ.ศ. 2522 เป็น “ปีเกษตรกร” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น - กําหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาแหล่งน้ํา รวมทั้งการพัฒนาและการ อนุรักษ์ปลูกป่าต้นน้ําลําธาร ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นครั้งแรก ถือว่านโยบายด้านการพัฒนา แหล่งน้ําและการชลประทานเป็นนโยบายหลักที่สําคัญที่สุดของงานด้านการเกษตร - การพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งน้ําเพื่อการเกษตรและอุปโภคทั่วประเทศ - ริเริ่มโครงการ “บํารุงพันธ์ปลาแบบประชาอาสา” ในแหล่งน้ําขึ้นครั้งแรก นอกจากดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็ยังมีผลงานด้านเศรษฐกิจอื่นๆ อีก ดังนี้ • การสร้างท่าเรือน้ําลึกสัตหีบโดยใช้พื้นที่บางส่วนของกองทัพเรือในเชิงพาณิชย์ • การปรับปรุงและขยายสนามบินดอนเมือง 14
ด้านศาสนา • การดําเนินการก่อสร้างพุทธมณฑล พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้รื้อฟื้นการดําเนินงานก่อสร้างพุทธมณฑลขึ้นมาใหม่ จากที่มีการเริ่ม ดําเนินงานมาตั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2500 และชะงักไประยะหนึ่ง โดยได้มีการ บรรจุนโยบายการก่อสร้างพุทธมณฑลไว้ในนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางค้นคว้าด้าน พระพุทธศาสนา ศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิปัสสนากรรมฐาน การดําเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2521 • การเผยแพร่และส่งเสริมพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ท่านมีส่ว นในการสนับสนุน การก่อสร้างวัด ไทยพุทธประทีป ในกรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ มีการส่งพระพุทธรูปไปประดิษฐาน ณ วัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านการศึกษา • จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รัฐบาลสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์มีแนวคิดให้มีมหาวิทยาลัยเปิดเพิ่มขึ้น เพื่อขยายโอกาสทาง การศึกษาออกไปอีก ด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขึ้น เป็นการเปิดโอกาสทางการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้ได้มากที่สุด ใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อยู่ประมาณ 2 ปี จึงสามารถเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกได้ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2523 ด้านวัฒนธรรม • การสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ สืบเนื่องจากสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้พบว่ามีข้อมูลข่าวสารทั้งเปิดเผย และไม่เปิดเผยออกมาโจมตีสถาบันสูงสุดของชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มเยาวชน และประชาชนคนไทยได้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มการสร้างค่านิยมที่ผิดๆ ให้ เกิ ด ขึ้น ในสั งคมไทยได้ เช่น การใช้ สิ่ง ของฟุ่ม เฟือ ย การละเลยบแบบแผนขนบธรรมเนี ย ม ประเพณี คุณธรรมและจริยธรรมของสังคม เป็นต้น พลเอกเกรียงศักดิ์จึงได้ตั้ง คณะกรรมการสร้าง เสริม ความมั่ นคงแห่ งชาติ เ พื่อ ดํา เนิน การแก้ ไ ขปัญ หาดั งกล่ าว และมี ภาระหน้า ที่ห ลั กคื อการ อนุรักษ์และส่งเสริมเพิ่มพูนลักษณะเด่นของชาติไทยภายใต้กรอบความคิดและความจงรักภักดีของ สถาบันหลักทั้งสามของประเทศ คือสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 15
2.2 ผลงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • ดําเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ ด้วยการดําเนินการทางด้านการทูตกับ ประเทศอื่นๆ เกือบทั่วโลก พลเอกเกรียงศักดิ์ ดําเนินนโยบายโดยยึดมั่นในความเป็นกลาง ทั้งนี้เพื่อธํารงรักษาเอก ราชและอธิปไตยของชาติเป็นสําคัญ และป้องกันมิให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลัทธิสังคมนิยม ดังเช่น ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่ได้เปลี่ยนระบบการปกครองเป็น ระบบสังคมนิยมไปหมดแล้ว โดยได้ดําเนินการทุกวิถีทางในอันจะเสริมความสัมพันธไมตรีกับทุก ประเทศโดยไม่คํานึงถึงลัทธิความแตกต่างทางการปกครอง ดังต่อไปนี้ - การเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอํานาจที่มีอิทธิพลและบทบาทใน ภูมิ ภ าคนี้ไ ด้ แ ก่ จีน และรั สเซี ย เพื่อ ลดความกดดั นที่ มี ต่ อ ประเทศไทย พลเอกเกรี ย งศั ก ดิ์ ได้ เดินทางไปเยือนทั้ง 2 ประเทศเพื่อกระชับสัมพันธไมตรี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ การค้าขายต่อกัน โดยเฉพาะกับประเทศจีน นอกจากจะเปิดสัมพันธไมตรีทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อกันแล้ว ก็ได้เปิดการเจรจาขอให้จีนงดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนแอลง - การเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้มีโอกาสพบปะและปรึกษา ข้อราชการกับประธานาธิบดีจิมมีย์ คาร์เตอร์ และได้เดินทางไปยังมลรัฐต่างๆ เพื่อพบปะกับบุคคล สําคัญของสหรัฐ อเมริกา เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันและขอรับการสนับ สนุนในด้านการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย - การเยือนสหราชอาณาจักรเพื่อพบปะหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีสหราช อาณาจักร และพบปะกับบรรดานักธุรกิจสําคัญๆ - เดินทางไปเยือนประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ประเทศสวีเดน ประเทศเดน มาร์ค และแคนนาดา - การเยือนประเทศญี่ปุ่น ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรวมทั้งนักธุรกิจ ได้ ปรึกษาหารือในด้านการลงทุนและการพัฒนาประเทศ - การเยือนกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ ประเทศสิงคโปร์ - เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่เคยมี ความสัมพันธ์กันมาช้านาน 16
ซึ่งบรรดาผู้นําทั้งหลายที่พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปพบปะได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนประเทศไทยให้อยู่อย่างสงบสุข ปราศจากการรุกรานจากต่างชาติ การดําเนินนโยบายดังกล่าว ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งก็คือ พลเอกเกรียงศักดิ์ ขณะที่ไป ราชการรบในสงครามเกาหลี ท่านทําผลงานไว้อย่างโดดเด่น และเป็นที่ประจักษ์แก่พันธมิตรอย่าง สหรัฐอเมริกา จนต่อมาท่านได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐ และ จากที่นั่นเอง ทําให้ท่านมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับบุคคลระดับผู้นําทางการทหารและการเมือง ทั้งของสหรัฐอเมริกาและของชาติอื่นๆ ที่ได้มีโอกาสศึกษาร่วมกัน ด้วยสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ หน่วยงานด้านการทหารของสหรัฐ สายสัมพั นธ์ส่วนตัว กับต่อตัว บุคคลที่มี ส่วนในการกําหนด นโยบายด้ า นการทหารของประเทศต่ า งๆ ทั่ ว โลกนี่ เ อง ที่ ทํ า ให้ ท่ า นสามารถดํ า เนิ น โยบาย ต่างประเทศอย่างเปิดกว้าง รวมทั้งการติดต่อประสานงานด้านการต่างประเทศยังทําได้ง่ายและ คล่องตัวเป็นอย่างมาก • การก่อตั้งองค์กรร่วม ไทย-มาเลเซีย รัฐบาลสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์มีส่วนสําคัญในการผลักดันให้มีการก่อตั้งองค์กรร่วมไทยมาเลเซีย ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ระหว่างไทยกับ มาเลเซีย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและมาเลเซีย ร่วมกับดาโต๊ะฮุสเซนออน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 องค์กร ร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีส่วนหนุนเสริมให้การกําหนดทิศทางการ พัฒนาปิโตรเลียมของไทยมีความชัดเจนและเป็นเอกภาพมากขึ้น และเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของ วงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียมไทย ซึ่งส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิสัยทัศน์และการตัดสินใจอัน มุ่งมั่นของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ • นโยบายการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาและผู้อพยพชาวอินโดจีน6 ในช่วงเวลาที่พลเอกเกรียงศักดิ์ ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี มีปัญหาจํานวนผู้อพยพกว่า หนึ่งแสนคนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพู ชา ทําให้ รัฐบาลต้อ ง ประกาศใช้ น โยบายสกั ด กั้ น และผลั ก ดั น ซึ่ ง ดํ า เนิ น มาตั้ ง แต่ รั ฐ บาล ม.ร.ว.คึ ก ฤทธิ์ ปราโมช จนกระทั่งถึงสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ระยะแรก การดําเนินนโยบายดังกล่าวค่อนข้างมีความ เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันโดยการส่งผู้อพยพชาวกัมพูชากลับเข้าไปในกัมพูชา ซึ่งทํา 6
พัชรี ลิม9 โภคา. นโยบายของไทยต่อปญั หาผูอ้ พยพชาวกัมพูชาสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2528. 17
ให้นานาประเทศให้ความสนใจและให้คํามั่นสัญญาที่จะช่วยเหลือประเทศไทยแก้ไขปัญหาผู้อพยพ อินโดจีนมากขึ้น ความสนใจจากนานาประเทศดังกล่าวมีส่วนทําให้รัฐบาลสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ทบทวนนโยบายและผ่อนคลายท่าทีที่แข็งกร้าวลง จนจูงใจให้นานาประเทศเพิ่มความช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาและผู้อพยพชาวอินโดจีน อื่นๆ ตลอดจนรับผู้อพยพเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศสามมากขึ้น รัฐบาลสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ มีนโยบายดูแลผู้อพยพชาวกัมพูชาเป็นการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จนต่อมาผู้อพยพทั้งชาว กัมพูชาและชาวอินโดจีนอื่นๆ ที่ตกต้างอยู่ในประเทศไทยได้รับการส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ สามเป็ น จํ า นวนมากขึ้ น และแสวงหาความร่ ว มมื อ กั บ ต่ า งประเทศเพื่ อ ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบ แบก รับภาระ ตลอดจนแก้ไขปัญหาผู้อพยพกัมพูชาในประเทศไทย และยังเป็นนโยบายในการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีลักษณะผ่อนปรนในการส่งผู้อพยพเหล่านี้ไปยังประเทศที่สามและ กลับประเทศมาตุภูมิด้วยความสมัครใจ และนโยบายนี้ก็ดําเนินการอย่างต่อเนื่องในสมัยรัฐบาลพล เอกเกรียงศักดิ์ 3. ผลงานสําคัญหลังจากลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี • บทบาทการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคการเมือง หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านได้รวบรวมผู้ที่มี ความคิดและอุดมการณ์ที่เหมือนกันตั้งพรรคการเมืองที่ชื่อว่า “พรรคชาติประชาธิปไตย” โดยมี อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคคือ เป็นองค์กรทางการเมืองของประชาชน ยึดมั่นในหลักการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มุ่งดําเนินการทางการเมือง เพื่อให้มีระบบการปกครอง การเศรษฐกิจ และสังคมบนพื้นฐานของความเป็นธรรม ที่จะนําไปสู่ ความสงบสุข ความเจริญ ความมั่นคงของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชน หลั ง จากก่ อ ตั้ ง พรรคการเมื อ ง ท่ า นดํ า รงตํ า แหน่ ง หั ว หน้ า พรรคและได้ ล งสมั ค รเป็ น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดร้อยเอ็ดจนได้รับคัดเลือกในที่สุด และมีบทบาทสําคัญในการ พัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดให้มีความเจริญ ทั้งการสร้างถนนหนทางเข้าหมู่บ้าน การพัฒนาแหล่งน้ําเพื่อ การเกษตร และอื่นๆ อีกมากมาย • บทบาทนักการทูตในการเจรจายุติความขัดแย้งภายในประเทศ นอกเหนือจากการทําหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ท่านก็ยังมีบทบาทสําคัญในการ เจรจายุติข้อขัดแย้งในเหตุการณ์ทางการเมืองที่สําคัญภายประเทศ คือ 1) การเจรจายุติข้อขัดแย้ง 18
ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มที่ทําการปฏิวัติ กรณีเมษาฮาวาย วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 และ 2) การ เจรจายุติข้อขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มที่ทําการปฏิวัติ กรณี 9 กันยายน พ.ศ. 2528 • บทบาทนักการทูตในการเจรจายุติความขัดแย้งระหว่างประเทศ ในเวทีระหว่างประเทศ ท่านได้มีบทบาทสําคัญในการเจรจาเพื่อยุติศึกไทย-ลาว โดยท่าน ได้รับการติดต่อจากผู้นําทางทหารของไทยให้เดินทางไปเจรจาสงบศึกไทย-ลาว ณ หมู่บ้านร่มเกล้า อําเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ติดเขตชายแดนไทย-ลาว โดยคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ทํา ความตกลงหยุดยิงตั้งแต่เวลา 8.00 น. ของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และผลการเจรจาได้ ประสบความสําเร็จและเป็นความภาคภูมิใจในผลงานที่ทําเพื่อประเทศชาติไม่ต้องสูญเสียชีวิตกําลัง พล และทรัพย์สินของทั้งสองประเทศ • บทบาทการเป็นสมาชิกขององค์กรอดีตผู้นําโลก (Inter action Council of Former Head of Government) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวของประเทศไทยและไม่กี่คนใน ภูมิภาคนี้ที่ได้รับเชิญให้เป็นสมาชิก เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ที่มี ความเฉพาะตัว ซึ่งท่านได้แสดงออกให้เป็นที่ประจักษ์ชัดตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อน ระหว่างเป็น และหลังจากออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการนําพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากอิทธิพลของ คอมมิวนิสต์ และการดําเนินโยบายต่างประเทศเป็นอิสระ สามารถติดต่อ คบหาสมาคม ทําการค้า และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศที่มีระบบการปกครองที่แตกต่างกัน บทบาทของการท่านในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การก็คือ การร่วมระดมความคิด และปรึกษาหารือปัญหาสําคัญๆ ของโลก ทั้งทางด้านสันติภาพและความมั่นคง ภาวะเศรษฐกิจ และมาตรฐานด้านจริยธรรม และท่านได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหลายครั้งทั้งที่นิวยอร์ค ปารีส เวียนนา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และโตเกียว และการเข้าร่วมของท่านแต่ละครั้งก็ได้แสดงออกอย่าง ประจักษ์ชัดว่าท่านเป็นอดีตผู้นําของประเทศที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล จนเป็นที่ยอมรับในความรู้ ความสามารถจากอดีตผู้นําชาติอื่นๆ 4. ความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ • การริเริ่มใช้สนามหลวงสําหรับจัดพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร ได้มีการย้ายตลาดนัดสนามหลวงไปไว้ที่สวนจตุจักร เพื่อสนามหลวงดูเป็นสง่าราศีแก่ พระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้ริเริ่มจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ ท้องสนามหลวง ขึ้นเป็นครั้งแรก จากสิ่งที่ท่านได้ริเริ่มเอาไว้นี้ สนามหลวงก็ยังคงสถานนะการเป็นสถานที่สําคัญในการประกอบพิธี 19
สําคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ อีกทั้งกิจกรรมการจุด เทียนชัยถวายพระพร ณ ท้องสนามหลวง เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่ มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังคงดําเนินมาจวบจนปัจจุบัน และเป็นกิจกรรมสําคัญที่ ประชาชนชาวไทยต่างให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง • การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช จากการที่ พลเกรีย งศั กดิ์ ชมะนัน ทน์ ไ ด้ มีแ นวความคิด ในการจั ดตั้ งมหาวิท ยาลัย เปิ ด เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานชื่อ “มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช” ตาม พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้ง ทรงดํารงพระอิสริยยศ เป็น “กรมหลวงสุโ ขทัยธรรมราชา” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรใน รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นํามาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย ให้เป็นตราประจํามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 และ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว ไ ด้ ท ร า ง ล ง พ ร ะ ป ร ม า ภิ ไ ธ ย ใ น พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทางมหาวิทยาลัยจึงกําหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน สถาปนามหาวิทยาลัย • การสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ” หรือ “สํานักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ” ซึ่งนอกจากจะมีภาระหน้าที่หลักคือการอนุรักษ์และส่งเสริมเพิ่มพูนลักษณะ เด่นของสถาบันชาติ และศาสนาแล้ว ภาระสูงสุดอีกประการก็คือภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน พระมหากษัตริย์ กล่าวคือมีหน้าที่เพื่อให้ความรู้และอธิบายบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มี อย่างกว้างขวางต่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศชาติในช่วงเวลากว่าสองศตวรรษที่ผ่านมา และเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ สามารถนําไปปฏิบัติได้จริงในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมาในทุกภาคของประเทศ7 • การตั้งพรรคชาติประชาธิปไตย ภายหลัง จากที่ท่ า นลาออกจากตํ า แหน่ ง นายกรั ฐ มนตรี แ ล้ว ท่ า นได้ ตั้ ง การเมื องในชื่ อ “พรรคชาติประชาธิปไตย อุดมการณ์และเป้าหมายของพรรคการเมืองที่ท่านตั้งขึ้นได้แสดงถึง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน กล่าวคือ ในส่วนอุดมการณ์ของพรรคฯ ได้ 7
ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 253. 20
เขียนไว้ว่า “พรรคชาติประชาธิปไตย เป็นองค์กรทางการเมืองของประชาชน ยึดมั่นในหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...”8 และในส่วนของเป้าหมายของ พรรคฯ ด้ า นการเมื อ งภายใน หลั ก การที่ ม าเป็ น ข้ อ แรก คื อ “เทิ ด ทู น และปกป้ อ งสถาบั น พระมหากษัตริย์ไว้ให้เป็นที่เคารพและเป็นศูนย์กลางแห่งความสัมพันธ์อันเดียวกันของปวงชนชาว ไทย9 5. วะทะสุนทรพจน์ในโอกาสต่างๆ และแนวคิดของนายกรัฐมนตรี 1. "เราไม่มีเวลาทะเลาะกันอีกแล้ว"10 เป็นคําพูดที่สําคัญของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยเป็นเลขาธิการคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 ผู้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในการดําเนินนโยบายให้เกิดความสมานฉันท์ให้เร็วที่สุด ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองใน ขณะนั้นซึ่งกําลังเกิดความแตกแยกทางความคิดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสังคมไทยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2. “จะเข้ามาบริหารบ้านเมือง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก แตกความ สามัคคีของคนในชาติในระยะเวลา 1 ปี เท่านั้น และพร้อมที่จะออกกฎหมายเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อไป”11 3. “ผมได้ แ สดงตั ว อย่ า งของแนวทางประชาธิ ป ไตยแล้ ว ขอให้ ทุ ก คนเดิน ทางไปสู่ ประชาธิปไตยให้สมความมุ่งหมายของประเทศอันเป็นที่รักของทุกคน”12 4. “เราต้องมีความสามัคคีซึ่งกันและกันทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนในเมืองช่วยกัน เราเป็น คนไทยทั้งชาติเหมือนกัน ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่เราจะอยู่ได้คนเดียวแล้วคนอื่นอยู่ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นประเทศชาติส่วนรวมก็ไปไม่ได้”13 8
ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 279. 9 ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 281. 10 วีรชาติ ชุม่ สนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ: บริษทั ออลบุ๊คส์พบั ลิชชิง% จํากัด. หน้า 131. 11 ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 126. 12 ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 127. 21
5. “การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์บ้านเมืองนั้น ไม่เหมือนกับการกระทําอย่างเช่นปิดเปิด สวิทช์ไฟได้ บางอย่างแม้เป็นเทวดาก็แก้ให้ทันใจบุคคลไม่ได้ ผมเป็นเพียงปุถุชน ไม่ใช่เทวดา แต่ก็ พยายามทําให้ดีที่สุดเท่านั้น”14 (คําให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลังจากได้รับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี) 6. เอกสารและหนังสือแนะนํา 1. ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษัท เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เล่ม 1). หนังสือเล่มนี้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านตั้งแต่วัยเยาว์ จนเข้าศึกต่อ ในโรงเรี ย นทหาร ประวั ติ ก ารรั บ ราชการ และช่ ว งการเข้ า ดํ า รงตํ า แหน่ ง นายกรัฐมนตรี จนกระทั่งลาออกจากตําแหน่ง รวมทั้งอาการป่วยของท่านในช่วง บั้นปลายของชีวิตจนกระทั่งอสัญกรรม และยังรวบรวมภาพถ่ายต่างๆ ในวันพิธี สวดอภิธรรมศพเอาไว้เป็นจํานวนมาก นอกจากนั้นในท้ายเล่มได้รวมคําไว้อาลัย จากบุคคลสําคัญต่าง ๆ ในสังคมไทยเอาไว้ด้วย 2. ชีวิตและผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษัท เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะ นันทน์ เล่ม 2). หนังสือเล่มนี้เน้นประวัติของท่านอย่างละเอียดในแง่มุมเกี่ยวกับผลงานที่สําคัญ 2 ส่วน คือ ผลงานก่อนดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้แก่ (1) การเข้าร่วมใน สงครามมหาเอเชี ย บู ร พา ณ ประเทศเกาหลี (2) การมี บ ทบาทในองค์ ก าร สนธิสั ญ ญาป้ องกั นร่ ว มกั นแห่ งเอเชี ย ตะวั นออกเฉีย งใต้ (องค์ก าร ส.ป.อ.) (3) บทบาทการทํ างานในกองอํานวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรื อ กปร. กลาง (4) บทบาทในการแก้ไขปัญหากองทหารจีนคณะชาติ และผลงาน 13
ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์. กรุงเทพฯ: บริษทั เมย์ฟลาวเวอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. (มปป.), (ทีร% ะลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเกรียงศักดิ * ชมะนันทน์ เล่ม 2). หน้า 127. 14 บุญทรง สราวุธ. 15 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร. 2521. หน้า 318. 22
สําคัญๆ ในช่วงการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่นการจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย การก่อตั้งพุทธมณฑล การนิรโทษกรรมนักศึกษา กรณี 4 - 6 ตุลาม คม พ.ศ. 2519 เป็นต้น 3. วีร ชาติ ชุ่ม สนิ ท. 24 นายกรั ฐมนตรีไ ทย. กรุง เทพฯ: บริษั ทออลบุ๊ คส์ พับ ลิช ชิ่ง จํ ากั ด . 2549. หน้า 15. หนังสือเล่มนี้รวมประวัติ นายกรัฐมนตรี 24 คนของประเทศไทย. ซึ่งประวัติของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ถูกนําเสนอไว้อย่างสั้นๆ กระชับ แต่สามารถช่วย ประมวลความเข้าใจต่อชีวิตและเรื่องราวของท่านได้ครอบคลุมเกือบทุกด้าน 4. พัชรี ลิ้มโภคา. นโยบายของไทยต่อปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียง ศักดิ์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2528. วิทยานิพนธ์เล่มนี้ ได้นําเสนอผลงานที่สําคัญทางด้านการเมืองของพลเอกเกรียง ศักดิ์ ชมะนันทน์ ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอิน โดจีนนั่นคือ นโยบายของไทยต่อการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาและชาวอินโด จีน เป็นนโยบายที่จูงใจให้นานาประเทศเพิ่มความช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของ รัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาและผู้อพยพชาวอินโดจีนอื่นๆ ตลอดจนรับผู้อพยพเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศสามมากขึ้น อีกด้านหนึ่งก็เป็น ยุทธวิธีที่สําคัญที่ทําให้นานาประเทศหันมาสนใจและรับผิดชอบร่วมกันในการช่วย แบกรับภาระปัญหาผู้อพยพ และยังเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และมี ลั ก ษณะผ่ อนปรนในการส่ง ผู้ อ พยพเหล่ านี้ ไ ปยั ง ประเทศที่ ส ามและกลั บ ประเทศมาตุภูมิด้วยความสมัครใจ 5. กฤชติน สุขศิริ. ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาประวั ติ ศ าสตร์ คณะศิ ล ปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2545.
23
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ช่วยให้เห็นแง่มุมทางประวัติศาสตร์การเมืองในช่วงรัฐบาลพล เอกเกรี ย งศั ก ดิ์ ชมะนั น ทน์ ซึ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น บริ บ ทและที่ ม าของความขั ด แย้ ง ทาง การเมืองในสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญ ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกหน้าหนึ่ง 6. วงศ์ พลนิกร. ผู้ข้ามโขงยามรุ่งอรุณ: บันทึกเบื้องหลังการยุติสงครามไทย-ลาว. (มปท.: มปป.). เป็นหนังสือที่บันทึกรายละเอียดตามลําดับวันและเวลา เกี่ยวกับบทบาทการทํา หน้าที่ในการเจรจายุติความขัดแย้งระหว่างประเทศของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะ นันทน์ ในการสงบศึกไทย-ลาว ณ หมู่บ้านร่มเกล้า อําเภอชาติตระการ จังหวัด พิ ษ ณุ โ ลก ซึ่ ง เป็ น ผลงานหนึ่ ง ที่ สํ า คั ญ ของท่ า น หลั ง จากออกจากตํ า แหน่ ง นายกรัฐมนตรี ท้ายเล่มยังมีรายละเอียดอื่นที่น่าสนใจ เช่น คําแถลงนโยบายของ รัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แถลงการณ์ร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่นครเวียงจันทร์และกรุงเทพฯ เป็น ต้น 7. แก้ววิเชียร แววสูงเนิน. เมืองไทยกับการปฏิวัติ 20 ต.ค. 20. กรุงเทพฯ: เบญจมิตร. 2522. 8. สละ ลิขิตกุล. เกรียงศักดิ์ 2. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ดโปรดักชั่น. 2523. 9. สมบูรณ์ คนฉลาด ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์. บันทึกเหตุการณ์ทาง การเมืองเมื่อสองนายพลเป็นนายก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รวมการพิมพ์. (2524). เอกสารลําดับที่ 7-9 เป็นงานเขียนเชิงสารคดีการเมือง นําเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในช่วงการปฏิวัติไปตามลําดับเหตุการณ์ และมีการนําเสนอประกาศหรือนโยบาย ต่างๆ ของรัฐบาล รวมทั้งรายชื่อและประวัติบุคคลที่มีบทบาทในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 10. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย: การวิเคราะห์บทบาททหารในการ เมืองไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. 2525. 24
11. เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535. ผู้จัดการ. 2535.
กรุงเทพฯ:
เอกสารลําดับที่ 10 -11 เป็นงานวิชาการที่นําเสนอประเด็นวิเคราะห์ทางการเมือง โดยเน้นไปที่บทบาทของทหารกลุ่มต่างๆ ที่มีผลต่อการขึ้นดํารงตําแหน่งและการลง จากอํานาจของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทหารเป็นตัวแปรหลัก ที่สําคัญในการขับเคลื่อนทางการเมืองในช่วงนั้น 12. เชาวนะ ไตรมาส. ความขัดแย้งทางการเมืองจากรัฐธรรมนูญ 2521: แนวโน้มพัฒนาการ สถาบันรัฐธรรมนูญไทย. วิทยานิพันธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530. 13. เกียรติ ชาย นํ าพูนสุข สันติ์. รัฐธรรมนูญ 2521 กับเสถียรภาพของระบบการเมือ งไทย. วิ ท ยานิ พ นธ์ รั ฐ ศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต คณะรั ฐ ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ . 2533. เอกสารลําดับที่ 12 -13 เป็นงานวิชาการที่นําเสนอประเด็นวิเคราะห์เกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ว่าเป็นปัจจัยสําคัญที่เป็นตัวกําหนดสาระทางการเมืองของ ยุคสมัย รัฐบาลพลเอกเกรีย งศัก ดิ์ ชมะนัน ทน์ ว่ าเป็ น “การเมือ งในระบอบ ประชาธิปไตยครึ่งใบแบบไทย” 14. บุญทรง สราวุธ. 15 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร. 2521. หนังสือรวมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การปกครองของคณะรัฐบาลแต่ละยุค ตั้งแต่ นายกรัฐมนตรีคนแรก จนถึงสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักด์ ชมะนันทน์.
25