ประวัต แ ิ ละผลงานของนายกรัฐ มนตรีค นที่ 16 พลเอกเปรม ติณ สูล านนท์ ตอนที่ ๑ ประวัต ิภ ูม ห ิ ลัง และประวัต ิก ารทำา งาน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ณ ตำาบล บ่อยาง อำาเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีบิดาชื่อหลวงวินิจทัณฑกรรม มารดาชื่อนาง วินิจทัณฑกรรมและมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน โดยพลเอกเปรมถือเป็นบุตรในลำาดับที่ 6 ของครอบครัว พลเอกเปรม สำาเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา สำาเร็จชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และสามารถสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ใน หลักสูตร “โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก” ได้สำาเร็จ โดยถือเป็นรุ่นที่ 5 และมีเพื่อนร่วม รุ่นทั้งหมด 55 นาย เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกเหล่าทหารเพื่อรับราชการพลเอกเปรมต้องเข้าเป็น เหล่าทหารม้าในช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยทำาการรบ อยู่ที่ปอยเปต ซึ่งพลเอกเปรมมีอายุเพียง 21 ปี เท่านั้น หลังจากนั้น พลเอกเปรมก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาโดย ตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ให้เป็นพลตรี และได้รับตำาแหน่งผู้บัญชาการศูนย์ทหารม้า ซึ่งการเลื่อนยศ ดังกล่าวส่งผลให้พลเอกเปรมก้าวสู่จุดสูงสุดในเหล่าทหารม้า คือเป็นศูนย์รวมของ เหล่าทหารม้าทั้งประเทศ พลเอกเปรมจึงเปรียบเสมือนเป็น “พ่อ” ของทหารม้าทั่ว ประเทศ จนทำาให้ท่านได้รับสรรพนามแทนตัวท่านว่า “ป๋า” นับตั้งแต่นั้นมา ความโดดเด่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยมของพลเอกเปรม ทำาให้ ท่านได้รับมอบหมายภารกิจที่สำาคัญยิ่งต่อประเทศชาติ นั่นก็คือภารกิจในการ เอาชนะคอมมิวนิสต์ จึงได้นำาแนวคิดเรื่อง “การเมืองนำาการทหาร” มาปรับใช้ อย่างเต็มกำาลัง โดยเป็นแนวคิดมุ่งเน้น ที่จะลดเงื่อนไข 2 ประการของสงคราม คือ เป็นเงื่อนไขทางจิตใจที่เร่งสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับประชาชน และเป็น เงื่อนไขทางวัตถุ ที่พยายามสร้างความเจริญให้แก่ประชาชน ส่งผลให้เกิด โครงการพัฒนาชนบทขึ้นมาในภาคอีสาน ทำาให้กองทัพไทยได้รับการสนับสนุน จากประชาชนเป็นอย่างดี จนในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มอ่อน ตัวลง และหมดสิ้นไปในที่สุด จึงทำาให้ประเทศไทย รอดพ้นจากสงครามกลางเมือง ที่คนไทยจับอาวุธต่อสู้กันเอง ชื่อเสียงของท่านเริ่มเป็นที่เลื่องลือ จนทำาให้พลเอก เปรมได้รับพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ให้ดำารงตำาแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศเป็นพลเอกในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 1 ปีต่อมา ก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำารงตำาแหน่ง เป็นผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นตำาแหน่งสูงสุดของกองทัพบก ตั้งแต่นั้นมา พลเอกเปรมจึงถือเป็นที่กล่าวขวัญอย่างกว้างในหมูประชาชน ทั่วไปว่า เป็นนายทหารมือสะอาด ขณะที่กองทัพเอง ก็ให้ความรักและเคารพพล เอกเปรมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้พลเอกเปรมกลายเป็นบุคคลที่โดดเด่นเป็นอย่าง ยิ่ง
ตอนที่ ๒ ประวัต งิ านการเมือ งก่อ นดำา รงตำา แหน่ง นายกรัฐ มนตรี ก่อนที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์จะดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านเคย ดำารงตำาแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2502 เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2511 และเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2516 จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2520 เมื่อพลเอกเปรมดำารงตำาแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ บัญชาการทหารบก พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะ นั้น ก็มาทาบทามให้ท่านรับตำาแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ.2522 เมื่อพลเอกเกรียงศักดิ์ได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งใน ขณะนั้น พลเอกเปรมได้ดำารงตำาแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้รับตำาแหน่ง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย แต่เนื่องจากรัฐบาลไม่มีฐานเสียงจาก พรรคการเมืองมาสนับสนุน จึงทำาให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพทางการเมือง จึงทำาให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ประกาศลาออกในอีก 1 ปีถัดมา จึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำาคัญ ที่ ทำาให้พลเอกเปรมได้กล่าวมาสู่ตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการสนับสนุนจากกลุ่ม นายทหารหนุ่ม “ยังเติร์ก” สาธารณชน และพรรคการเมืองต่างๆ ที่แสดงจำานงให้ พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าพลเอกเปรมจะหนักใจกับความคาดหวังที่ได้รับจากประชาชน แต่ ภายหลังจากที่บรรดานักการเมืองได้เข้ามาทาบทามอย่างไม่ขาดสาย พลเอกเปรม จึงจำาเป็นที่จะต้องดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย และมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2523 โดยท่านได้ตั้ง ปณิธานไว้ 3 ประการ ให้แก่คณะรัฐมนตรีของท่าน ได้รว ่ มกันยึดยั่น คือ 1. เราจะทำางานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ส่วนร่วม ไม่เห็นแก่พรรค ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 2. เราจะเน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาของคนยากคนจน 3. เราจะสมัครสมานสามัคคี เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพที่มั่นคง เพื่อจะได้ กรีฑาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มามอบให้แก่ประชาชน
ตอนที่ ๓ ผลงานในประเทศ ด้า นการเมือ ง ขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น พล เอกเปรมได้ดำาเนินการปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ ประชาชน ด้วยการส่งเสริมการมอบอำานาจและแบ่งอำานาจการบริหารให้ราชการ ส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการทำางานของข้าราชการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ และ พยายามขจัดข้าราชการที่ไร้สมรรถภาพออกจากวงราชการอีกด้วย หลังจากที่รับตำาแหน่งมาได้ไม่ถึงเดือน พลเอกเปรมก็ได้ออกคำาสั่งให้นำา แนวคิด “การเมืองนำาการทหาร” มาใช้อย่างถาวรและยั่งยืนอีกครั้ง จึงส่งผลให้ภัย คอมมิวนิสต์ยุติลงอย่างเด็ดขาด ด้า นเศรษฐกิจ พลเอกเปรมได้ปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการให้เกิดการก ระจายผลของการพัฒนาไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ อาทิ เร่งรัดการพัฒนาผลผลิต ทางการเกษตร พัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชนบทอย่างเต็มที่ รวมทั้งใช้ มาตรการทางการเงิน การคลัง ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเข้าช่วย พลเอกเปรมมีบทบาทในการแก้ปัญหาการขาดดุลการชำาระเงินระหว่าง ประเทศ ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันใช้นำ้าใช้ไฟอย่างประหยัด และมีการ สนับสนุนให้ใช้การขนส่งทางนำ้าทางรถไฟให้มากขึ้น แก้ไขปัญหาการชะลอการ ขึ้นราคาสินค้าที่จำาเป็นต่อการครองชีพ มีการสร้างงานแก่ประชาชน ด้วยการส่ง เสริมอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานสูง มีการขยายแผนงานสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มี รายได้น้อยในเมือง ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ในด้านการค้าระหว่างประเทศ พลเอกเปรมได้พัฒนาระบบการขนส่งให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสามารถที่จะขนถ่ายสินค้าไปค้าขายยังต่างประเทศด้วย ต้นทุนที่ตำ่าลง จึงเกิดเป็นโครงการท่าเรือนำ้าลึกภาคตะวันออกที่แหลมฉบังขึ้น นอกจากนี้ พลเอกเปรมก็พยายามรณรงค์ให้ประชาชนชาวไทยรู้จัก ประหยัด อดออม และหันมาใช้สินค้าไทย ภายใต้คำาขวัญ “ประหยัด นิยมไทย ร่วมใจส่งออก” ด้า นสัง คม ทันทีที่พลเอกเปรมขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้เร่งแก้ปัญหายาเสพติด อย่างเด็ดขาด ด้วยการออกยุทธการกวาดล้อมกองกำาลังของ “ขุนส่า” ราชายาเสพ ติดผู้มาตั้งโรงงานผลิตเฮโรอีนขนาดใหญ่ในดินแดนไทย ส่วนปัญหาอาชญากรรมก็ถูกกวดขันยิ่งขึ้น มีการวางมาตรการบำาบัดผู้ติด ยาเสพติด , มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโทษผู้หลอกลวงคนงานไปทำางานในต่าง
ประเทศ ขยายการควบคุมความประพฤติของผู้กระทำาผิดออกไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันสังคมจากภัยอาชญากรรม พลเอกเปรม ยังเอาใส่ใจกับการสาธารสุข และการศึกษาของประชาชน ด้วยการเปิดโครงการเร่งรัดให้ประชาชนในหมู่บ้าน และตำาบล ได้รับการบริการ ทางการแพทย์ขั้นพิ้นฐาน มีการก่อสร้างโรงพยาบาลอำาเภอเพิ่มเติมจำานวนมาก มี การส่งเสริมการวางแผนครอบครัวให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากร มีการ สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมการผลิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขให้เพียงพอกับความต้องการด้วย สำาหรับเรื่องการศึกษา พลเอกเปรมได้สนับสนุนการศึกษาของเยาวชน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โดยการมอบอำานาจการจัดการศึกษาไปสู่ระดับปฏิบัติให้ มากที่สุด และมีการปรับปรุงระบบบริหารการประถมศึกษาให้มีเอกภาพ ด้า นวัฒ นธรรม พลเอกเปรม ได้ส่งเสริมการแต่งเสื้อชุดไทยของข้าราชการ โดยผลักดันให้ คณะรัฐมนตรีรับรองให้เสื้อไทยพระราชทานเป็นเครื่องแบบข้าราชการ และใช้ แทนเสื้อสากลได้ อีกทั้งยังเป็นผู้นำาในการรณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศหันมา แต่งชุดพระราชทาน ซึ่งผลจากการรณรงค์ดังกล่าวก็ยังตกทอดมาจนถึงยุค ปัจจุบัน ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยแล้ว ยังเป็นการช่วย สนับสนุนการประหยัดและสอดคล้องกับสภาพอากาศของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ พลเอกเปรมยังให้การสนับสนุนประเพณีที่สำาคัญของประเทศ คือการจัดพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปีพ.ศ.2525
ตอนที่ ๔ ผลงานในต่า งประเทศ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในประเทศกัมพูชา ช่วงเวลาที่พลเอกเปรมรับตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี สถานการณ์ระหว่าง ประเทศยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งจากสงครามเย็น อาทิ มีกองทัพเวียดนามบุก ยึดกัมพูชา ทำาให้กองทัพเวียดนามกับกองทัพไทยต้องมาเผชินหน้ากันบริเวณ ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยความขัดแย้งรุนแรงระหว่างไทยกับเวียดนามที่สั่งสม มาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และประเทศเวียดนามยังเคยเป็นผู้สนับสนุนสำาคัญ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย พลเอกเปรมรู้ดีว่า การแพร่ขยายอำานาจของเวียดนาม แท้ที่จริงแล้วมี สหภาพโซเวียตคอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง ความขัดแย้งที่กำาลังคุกคามอยู่ จึงเป็น ความขัดแย้งในระดับโลก พลเอกเปรมจึงหาทางฟื้นฟูบทบาท ในการกำาหนด นโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยการอาศัยอาเซียนเป็นแนวร่วมกับ ประเทศไทย คอยเคลื่อนไหวกดดันเวียดนามในเวทีสหประชาชาติ ให้ถอนทหาร ออกจากกัมพูชา และสามารถดึงประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฝั่งยุโรป ตะวันตก ให้มาสนับสนุนไทยในการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ในที่สุด พลเอกเปรมก็เดินทางไปประชุมร่วมกับนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำาสหภาพโซเวียตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยมีวาระสำาคัญ คือ การ ถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชา และเมื่อสิ้นสุดการประชุม ผลปรากฏว่า อีก เพียงไม่กี่วันต่อมา นายกอร์บาชอฟ ก็ติดต่อมายังพลเอกเปรมว่า ได้ดำาเนินการ ตามความต้องการของฝ่ายไทยแล้ว โดยเวียดนามจะประกาศถอนทหารออกจาก กัมพูชาอย่างเป็นทางการในอีก 2 วันข้างหน้า การดำาเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลาง อีกบทบาทที่พลเอกเปรม สามารถบรรลุในสมัยที่ดำารงตำาแหน่งนายก รัฐมนตรี คือ การปรับนโยบายต่างประเทศของไทยให้มีความเป็นสายกลาง สามารถยืดหยุ่น เป็นตัวของตัวเองตามความเหมาะสม โดยได้ปรับนโยบายให้มี ระยะห่างกับมหาอำานาจต่างๆอย่างใกล้ชิดกัน ไม่พึ่งพา หรือตกเป็นลูกน้องของ มหาอำานาจฝ่ายใด นอกเหนือจากนี้ พลเอกเปรมยังผูกมิตรกับนานประเทศอย่างกว้างขวาง อาทิ ปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ ออสเตรีย ฯลฯ และในขณะเดียวกัน ก็ยังคง ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ อาเซียน เอสแคป
สหประชาชาติ ฯลฯ ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของ นานาประเทศ มิตรประเทศของไทยจึงเพิ่มพูนขึ้นมากกว่าในอดีตเป็นจำานวนมาก
ตอนที่ ๕ ความสัม พัน ธ์ก ับ สถาบัน พระมหากษัต ริย ์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปฏิบต ั ิหน้าที่รับใช้พระราชสำานัก มานับตั้งแต่ครั้ง ที่ยังเป็นทหาร พลเอกเปรมเคยเป็นราชองครักษ์เวร และราชองครักษ์พิเศษ นาย ทหารพิเศษประจำากรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์มาก่อน พลเอกเปรม ตระหนักดีในคุณค่าของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงพยายามปรับปรุงการบริหารงาน ไม่ให้การ ดำาเนินงานสนองพระราชดำาริเป็นเรื่องของหน่วยงานต่างๆโดยเอกเทศ โดยพล เอกเปรมได้ออกระเบียบสำานักนายรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่อง การวางระบบการสนอง พระราชดำาริ พ.ศ. 2524 เพื่อจัดให้มีการประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจาก พระราชดำาริขึ้นมารับผิดชอบ ควบคุม กำากับดูแล และติดตามผลการดำาเนินงาน ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พลเอกเปรม ยังสนับสนุน โครงการของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทรขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ในเขตที่ดิน โครงการปฏิรูปกว่า 500 ไร่ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนพ้นที่ ดังกล่าวด้วย ในปีพ.ศ. 2525 พลเอกเปรมได้จัดพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีขึ้น และในพระราชพิธีดังกล่าวก็มีการประกอบพระราชพิธี บวงทรวงบุรพ มหากษัตริยาธิราชเจ้า ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 มีการรื้อฟื้นพระราชพิธี เสด็จพระราชดำาเนินกระบวนยุหยาตราชลมารค มีการเฉลิมฉลองแด่พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และท้ายที่สุดยังมีการถวายพระราช สมัญญา มหาราช แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 พอในปีพ.ศ. 2528 พลเอกเปรมได้นำาอุดมการณ์ “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง”
จากพระราชดำารัสมาใช้เป็นอุดมการณ์ของชาติ โดยได้ประสานกับพระพุทธ ศาสนาเข้ากับการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และยังวิพากษ์วิจารณ์การพัฒนาที่มุ่ง เน้นแต่ด้านวัตถุอีกด้วย ท้ายที่สุด ก่อนที่จะลงจากตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของพลเอกเปรม ก็จัดงานพระราชพิธีร ัช มงคลาภิเ ษก ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2530 เนื่องใน วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์นานกว่าพระมหากษัตริย์ พระองค์ใด
ตอนที่ ๖ วาทะ สุน ทรพจน์ใ นโอกาสต่า งๆ และแนวคิด ของนายก รัฐ มนตรี ทหารอาชีพ คือทหารที่เลือดเนื้อจิตวิญญาณแห่งความเป็นทหารอยู่ในตน ครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวคือ รัก และเชิดชูสถาบันทหาร เทิดทูนและจงรักภักดีต่อ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำารงความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละต่อ ตน ต่อครอบครัว ต่อสถาบัน และต่อชาติบ้านเมืองอย่างมั่นคง เป็นทหารของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและนักการเมือง ภูมิใจในเกียรติศักดิ์ของทหารและความเป็นทหาร รักและดำารงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของ ทหาร และสถาบันทหารด้วยชีวิต รู้และเข้าใจว่า “เกิด มาต้อ งตอบแทนบุญ คุณ แผ่น ดิน ” (คำากล่าวอำาลาชีวิตทหาร เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ 26 สิงหาคม 2524) สิ่งที่ชาติของเราต้องการอย่างยิ่งในเวลานี้ ก็คือ การทำาตนให้เป็นผู้คิดสม เหตุผล และใช้ความคิดที่สมเหตุผล กับมีเชาวนะริเริ่มสร้างสรรค์ รวมกันระดม ความคิด เข้าแก้ปัญหาสำาคัญของชาติ มีความบริบูรณ์โดยสันติวิธี (คำาปราศรัย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2527) การประหยัดอีกอย่างหนึ่งที่พึ่งสังวร คือ การประหยัดปาก ประหยัดคำา ไม่ พูดในสิ่งที่จะทำาให้เกิดความแตกแยกในชาติบ้านเมือง เรื่องนี้สำาคัญมาก เพราะ ถ้ามีการพูดในทางที่ไม่สร้างสรรค์ กล่าวโทษคนอื่นโดยง่ายไม่ไตร่ตรองแล้ว ผลที่ ตามคือ การทะเลาะวิวาท และติฉันซึ่งกันและกัน ในหน้าหนังสือพิมพ์และจอ
โทรทัศน์ ดังที่พวกเราได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ประชาชนคนอื่นซึ่งไม่รู้เรื่องก็จะพา กันสับสน ยิ่งถ้าคนพูดมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมด้วยแล้ว ก็อาจจะยิ่งเป็นผลร้าย ต่อประเทศชาติ (ปาฐกถาพิเศษ ชิน โสภณพนิช 14 ธันวาคม 2544) ที่จริงคนเราอยากจะมีความสะดวก ในการกิน การอยู่ ใช้สอยต่างๆ พูดถึง เรื่องเงินก็อยากจะมีเงิน ถ้าเราได้เงินมาโดยทางที่ไม่ดี โดยไม่ใช้คุณธรรม จริยธรรม ไม่น่าจะเกิดมาเป็นคนที่ต้องดูแลชาติบ้านเมือง เรื่องของคุณธรรม จริยธรรม มันมีเรื่องที่น่าคิดว่า วัฒนธรรมไทยของเรา เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่มากๆ แต่บางอย่างทำาให้เกิดความไม่ถูกต้อง โดยมากใครมีสตางค์ เราก็มักจะยกย่อง นับถือ ที่จริงการนับถือคนที่สตางค์นี่ ถ้าเขามีสตางค์โดยชอบธรรม ก็โอเค แต่ถ้า เขามีสตางค์โดยการโกง การฉ้อฉล เราไม่ควรจะไปยกมือไหว้เขา เพราะว่าถ้า เราเคารพนับถือคนมีสตางค์ โดยไม่คิดว่าเขามีสตางค์อย่างไร เขาเป็นคนที่ไม่ สมควรได้รับการยกย่อง ตรงกันข้ามกับคนยากจน แต่ว่าเขาเป็นคนดี มีคุณธรรม เขาเป็นคนถีบสามล้อ เป็นคนขับรถแท็กซี่ แต่ก็เป็นคนดี มีคุณธรรม อย่างนั้นน่า ยกย่องกว่า (คำาบรรยายจากนักเรียนนายเรือ คณาจารย์ และนายทหารชั้น ผู้ใหญ่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2549)
ตอนที่ ๗ ชีว ิต หลัง ดำา รงตำา แหน่ง นายกรัฐ มนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับความไว้วางใจให้ดำารงตำาแหน่งนายก รัฐมนตรีมากว่า 8 ปี โดยอยู่ในวาระ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 จนถึง วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 นั้น ด้วยคุณงามความดีที่พลเอกเปรมอุทิศให้กับประเทศชาติมาทั้งชีวิต ก็ส่งผล ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็น องคมนตรี และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 หรือ 19 วัน ภายหลังจากที่พลเอกเปรม ตัดสินใจไม่รับตำาแหน่งนายก รัฐมนตรี และหลังจากการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมเป็นองคมนตรีอีกเพียง 6 วัน ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นรัฐบุรุษ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศสูงสุด ภายหลังจากการดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ภารกิจสำาคัญอันหนึ่งของพล เอกเปรมตลอดช่วงชีวิตที่เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี คือ การทำาหน้าที่รับใช้ราชสำานัก
ด้วยความจงรักภักดีในตำาแหน่งองคมนตรี จนกระทั่งวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมเป็นประธานองคมนตรี โดยที่ พลเอกเปรมยังพยายามเผยแพร่แนวพระราชดำาริ และพระบรมราโชวาทต่างๆ โดย เฉพาะแนวพระราชดำาริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชดำาริเรื่องการส่ง เสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง ให้แก่ประชาชน หลังเหตุการณ์ยึดอำานาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกเปรมได้ พยายามผสานความเข้าใจที่ไม่ลงรอยกันระหว่างคนไทยภายในชาติ เพื่อให้เกิด ความสมานฉันท์ และแม้ว่าพลเอกเปรมจะพยายามรักษาความเป็นกลางทางการ เมืองอย่างเคร่งครัด แต่ก็มีความพยายามที่จะให้ร้ายป้ายสีพลเอกเปรม และนำาตัว ท่านไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยมีการเคลื่อนไหวอันมิชอบที่จะถวายฎีกา ให้ถอดถอนพลเอกเปรมออกจากตำาแหน่งองคมนตรี ทั้งที่การดำารงตำาแหน่งของ พลเอกเปรมเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวอันมิชอบก็ไม่อาจประสบผลสำาเร็จได้ โดยพลเอก เปรมยังคงได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และดำารงอยู่ในตำาแหน่งองคมนตรีต่อ ไป