รถไฟ วารสาร
สัมพันธ์ เ อ ก ส า ร เ ผ ย แ พ ร่
เ พื่ อ ก า ร ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์
ป
ก า ร ร ถ� ไวฟา แมห ทงรปงร�ะ �าเ ท ศ ไ ท ย
จ
ากหมุดแรก... ตอกตรึงรางรถไฟสายแรก เปรียบเสมือนเสาเข็มที่วางรากฐานระบบขนส่งทางราง ขนาดใหญ่ของไทย สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้าอย่างอารยประเทศ และยังสะท้อนถึงความมั่นคง ความเป็นเอกราช ความอยู่ดีกินดีของประชาชน และความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติ 120 ปีที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย โลดแล่นไปบนเส้นทางผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทั้ง ความรุง่ โรจน์และสถานการณ์วกิ ฤตต่างๆ ร่วมกับคนไทยทุกคน แต่สงิ่ ทีเ่ ราตระหนักอยูใ่ นใจมาตลอด คือ รากเหง้า ความคิดที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ให้คนรถไฟมีจิตสำ�นึกรับผิดชอบ พร้อมพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ นับจากวันนี้ เรากำ�ลังมองไปถึงอนาคต... การรถไฟฯ จึงมุ่งพัฒนาองค์กรไปสู่คุณภาพมาตรฐานระดับ สากล ด้วยการสร้างระบบขนส่งทางรางเพื่ออำ�นวยความสะดวกสบายแก่คนไทย รวมทั้งเป็นเส้นเลือดหลัก หล่อเลี้ยง และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สำ�คัญที่สุด คือ การพัฒนาบริการให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึง “หัวใจ” ของคนรถไฟ รูส้ กึ ผูกพัน เป็นเจ้าของ และภาคภูมใิ จในองค์กรทีถ่ อื กำ�เนิดจากพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของไทย
O
ver the past 120 years, the State Railway of Thailand has continued to develop with responsibility and to advance its potentials. Today, it is moving towards attaining the international standards by developing railway systems to be the artery of the country driving the economy forwards, and making SRT staff proud of their organization.
ค ว า ม ท ร ง จ ำ�
2
ทำ�ไมคนไทยเรียก “รถไฟ”?
เมือ่ คนไทยเห็นรถไฟครัง้ แรกก็เรียก “รถไฟ” ทันที นัน่ เป็นเพราะรถจักรไอนาํ้ ใช้ฟนื ทำ�ให้เกิดเปลวไฟในการต้มนํา้ เพือ่ เป็นแหล่งพลังงาน และสมัยนัน้ มีเรือไฟหรือ กำ�ปั่นไฟเรียกกันอยู่แล้ว จึงเรียกรถไฟให้เข้าคู่กัน
3
“รถไฟสายปากนํ้า” รถไฟราษฎร์สายแรก
บริษทั ของชาวเดนมาร์กได้รบั สัมปทานสร้างทางรถไฟสายแรกขึน้ เมื่อ พ.ศ. 2434 เริ่มต้นจากสถานีหัวลำ�โพงไปสิ้นสุดที่ปากนํ้า ระยะทาง 21 กิโลเมตร ต่อมาประสบปัญหาการเงินและการเวนคืนที่ดิน พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว จึ ง พระราชทานเงิ น ทุ น ช่ ว ยเหลื อ จนก่อสร้างสำ�เร็จ และเสด็จฯ มาทรงเปิดทางรถไฟ เมือ่ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ณ สถานีรถไฟเมือง สมุทรปราการ เส้นทางรถไฟนี้ทำ�ให้การค้าขายและ การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้ยกเลิกเส้นทางนี้ เพือ่ ขยายถนนพระราม 4 แทน
แรงบันดาลใจ รถไฟไทย
เมือ่ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 4 ทรงได้รบั พระราชสาส์น และเครือ่ งบรรณาการจากสมเด็จพระราชินนี าถ วิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หนึ่งในเครื่อง
4
สถานีหวั ลำ�โพงจริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน?
สถานีหวั ลำ�โพงทีเ่ ราเรียก กันจนคุน้ เคยนัน้ แท้จริงมีชอื่ เรียก ตามป้ า ยที่ ติ ด อยู่ ห น้ า สถานี ว่ า “สถานี ก รุ ง เทพ” ส่ ว นสถานี หัวลำ�โพงเดิมที่เป็นต้นทางรถไฟ สายปากนํ้ า ตั้ ง อยู่ ริ ม คลอง หั ว ลำ � โพงฝั่ ง ตรงกั น ข้ า มกั น ปั จ จุ บั น ทั้ ง ตั ว สถานี แ ละคลอง หัวลำ�โพงถูกถมไปแล้วเพื่อขยาย เป็นถนนพระราม 4
5
สำ�รวจเส้นทางรถไฟหลวง
เมือ่ พ.ศ. 2430 มีการสำ�รวจเพือ่ สร้าง ทางรถไฟจากกรุ ง เทพฯ ไปเชี ย งใหม่ โดย กำ � หนดให้ มี ท างแยกที่ เ มื อ งสระบุ รี ไ ปเมื อ ง นครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ไป ตำ�บลท่าเดือ่ ริมฝัง่ แม่นา้ํ โขงสายหนึง่ และจาก เมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนอีกสาย หนึ่ง หลังสำ�รวจเส้นทางเสร็จ รัฐบาลก็พิจารณาให้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเมือง นครราชสีมาเป็นเส้นทางแรก เพราะตอนนัน้ ฝรัง่ เศสกำ�ลังรุกขยายอิทธิพลมาทางภาคอีสาน ประชาชนในพืน้ ทีเ่ ริม่ มีใจเอนเอียงไปเข้าพวก การสร้างทางรถไฟจึงเป็นยุทธศาสตร์หนึง่ ทีช่ ว่ ย ให้การติดต่อระหว่างพระนครกับหัวเมืองทีอ่ ยูห่ า่ งไกลสะดวกรวดเร็วขึน้
6
ดินแรกแห่งรถไฟหลวง
“เรามีความยินดีไม่นอ้ ยเลยทีไ่ ด้มาอยู่ ณ ทีน่ ี้ อันเป็นทีจ่ ะได้เริม่ ลงมือ ทำ�การก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งเราได้คิดอ่านจะทำ�ให้สำ�เร็จมาช้านานแล้ว เราได้รู้สำ�นึกแน่อยู่ว่า ธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชุมชน ย่อมอาศัย ถนนหนทางไปมาหากันเป็นใหญ่เป็นสำ�คัญ เมื่อมีหนทางคนจะไปมาได้ง่าย ได้ไกลได้เร็วขึ้นเพียงใด ก็เป็นการขยายประชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงนั้น บรรดาการค้าขายอันเป็นสมบัติของบ้านเมืองก็จะรุ่งเรืองวัฒนาขึ้น...” พระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือ่ ครัง้ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรณ ุ หิศ ไปทรงขุดดิน ถมทางรถไฟหลวงสายแรก วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ณ โรงพระราชพิธี ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ถนนบำ�รุงเมือง
บรรณาการมีรถไฟเล็กจำ�ลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ําของจริงที่ใช้กันบนเกาะ อังกฤษในตอนนั้น ประกอบด้วยหัวรถจักรไอนํ้าชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบ ขบวน นั่นเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้เห็น “รถไฟ” แต่ตลอดรัชสมัยก็ยังไม่มี การก่อสร้างทางรถไฟในประเทศไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 ทรงได้รบั แรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการเสด็จประพาสสิงคโปร์ ทอดพระเนตรการสร้าง ทางรถไฟในชวา และประทับรถไฟในการเสด็จประพาสอินเดีย ทรงเห็นว่ารถไฟนำ� ความเจริญมาสู่บ้านเมือง ประกอบกับสยามกำ�ลังได้รับแรงกดดันจากลัทธิ ล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรัง่ เศส จึงทรงมีพระราชดำ�ริ ว่า ถ้าการคมนาคมสามารถเข้าถึงพืน้ ทีห่ า่ งไกล จะช่วยเสริมสร้างความมัน่ คงของ ประเทศอีกทางหนึง่
8
จากกรุงเทพฯ ถึงกรุงเก่า
28 มีนาคม พ.ศ. 2439 รถไฟหลวงสาย แ ร ก เ ปิ ด ใ ห้ บ ริ ก า ร ประชาชนระหว่างกรุงเทพ ถึ ง พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร โดยจัดขบวนรถวิง่ ไปกลับ วันละ 4 ขบวน ผ่าน 9 สถานี คื อ กรุ ง เทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า
7
วันสถาปนากิจการรถไฟ
ห ลั ง ก่ อ ส ร้ า ง ท า ง ร ถ ไ ฟ ส า ย นครราชสีมาเสร็จส่วนหนึง่ พอจะเปิดเดินรถ ได้แล้ว ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัคร ราชเทวี ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการ เดิ น รถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจั ก ร และทรงประทับขบวนรถไฟพระที่นั่งจนถึง พลับพลาหลวง พระราชวังบางปะอิน การรถไฟฯ จึ ง ถื อ เอาวั น ที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา กิจการรถไฟ
Establishment of the SRT On March 26, 1896 King Chulalongkorn (Rama V) and Queen Saovabha Phongsri presided over a launch of the first railway line of the country and boarded the royal train from Bangkok to Bang Pa-in Palace in Ayutthaya. The date has since been recognized as the SRT’s establishment day.
9
อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประกอบพระราชพิธี กระทำ�พระฤกษ์เริ่มสร้างทางรถไฟ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 จากนั้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 เสด็จฯ ประกอบพิธีตรึงหมุดรางเงินรางทอง ส่ ว นข้ า งเหนื อ ให้ ติ ด กั บ หมอนไม้ ม ะริ ด คาดเงิ น มี อั ก ษรจารึ ก เป็ น พระฤกษ์ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ ซึง่ การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ขึ้นบริเวณปลายชานชาลาที่ 12 ของสถานีกรุงเทพในปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ รำ�ลึกเหตุการณ์สำ�คัญในอดีต และเพื่อน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ โดยสร้างขึ้นและมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
10
ขยายเส้นทางถึงนครราชสีมา
หลังเปิดเส้นทางกรุงเทพ – พระนครศรีอยุธยาได้ 6 เดือน กรมโยธาธิการก็ท�ำ ทางรถไฟถึงแก่งคอยเสร็จ และเปิดเดินรถไปถึงแก่งคอย ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 จากนั้นวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 ก็เปิดเดินรถจากแก่งคอยไปถึงปากช่อง ปีต่อมาการสร้างทางรถไฟ ถึงนครราชสีมาแล้วเสร็จ และเปิดเดินรถเมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443 โดยครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ ประทับรถ พระทีน่ ง่ั จากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมา เป็นระยะทาง 265 กิโลเมตร
ตำ�นานผาเสด็จ
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า การสร้างทางรถไฟจากแก่งคอย ไปมวกเหล็กในอดีตมีความยากลำ�บาก เพราะพื้นที่เป็น ป่ า เขาและมี ช ะง่ อ นหิ น ใหญ่ ข วางทางอยู่ วิ ศ วกรชาว ต่างประเทศพยายามระเบิดหินก้อนนีห้ ลายครัง้ แต่ไม่ส�ำ เร็จ จนมีผแู้ นะนำ�ให้เซ่นไหว้บวงสรวงเจ้าป่าเจ้าเขา แต่นายช่าง เป็นคนหัวสมัยใหม่ไม่เชื่อเรื่องนี้ การก่อสร้างทางรถไฟจึง ไม่กา้ วหน้า ทัง้ คนงานก็เจ็บป่วยล้มตายเพราะไข้ปา่ กันมาก ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำ�ตราแผ่นดินไปประทับตรง โคนต้นไม้ใหญ่ และตั้งศาลเพียงตาขึ้นใกล้ผาหิน การระเบิด หิ น ก็ ทำ � ได้ สำ � เร็ จ ต่ อ มาพระองค์ เ สด็ จ ฯ มาทรงจารึ ก พระนามาภิไธยย่อ จ.ป.ร. และ ส.ผ. (พระนามของสมเด็จ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) และเลข 115 (ร.ศ.) ตั้งชื่อว่า “ผาเสด็จพัก” แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ผาเสด็จ”
12
รถไฟสายใต้
หลังเปิดเดินรถไฟหลวงสายแรก รัฐบาลได้สร้าง ทางรถไฟจากบางกอกน้อย (ธนบุร)ี ไปเพชรบุรี ระยะทาง 150 กิโลเมตร และเปิดเดินรถเมือ่ 19 มิถนุ ายน พ.ศ. 2446 จากนั้ น สร้ า งทางรถไฟต่ อ จากเพชรบุ รี ไ ปจรด ชายแดนทางใต้ ผ่านประจวบคีรขี นั ธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา จนสุดทีส่ ไุ หงโกลก โดยมีสายแยกจากชุมทางทุง่ สงไปกันตัง จ. ตรัง แยกจาก ชุมทางเขาชุมทองไปนครศรีธรรมราช และแยกจากชุมทาง หาดใหญ่ (อูต่ ะเภา) ไปสงขลา รถไฟสายใต้เป็นอีกเส้นทาง หนึ่งยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศ เพื่อรักษา สมดุลของชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยเฉพาะอั ง กฤษที่ กำ � ลั ง ขยายอิ ท ธิ พ ลเข้ า มาทาง แหลมมลายูขณะนัน้
13
รถไฟสายเหนือ
การสร้างทางรถไฟสายนีม้ เี หตุผลด้านความมัน่ คงของประเทศ เช่นกัน เพราะขณะนั้นอังกฤษเข้าไปตั้งหลักแหล่งและขยายอิทธิพล ครอบคลุมหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย รัฐบาลจึงสร้างทางรถไฟสายเหนือ เพื่อให้การติดต่อและการขนส่งกำ�ลังทหารสะดวกรวดเร็ว และยังช่วย สร้างความใกล้ชดิ ระหว่างส่วนกลางและมณฑลพายัพมากขึน้ ทางรถไฟสายเหนือเริม่ ต้นจากชุมทางบ้านภาชี ซึง่ เป็นสถานี แยกสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังลพบุรี นครสวรรค์ พิจติ ร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ ลำ�ปาง ลำ�พูน จนสุดทีเ่ ชียงใหม่ ระยะ ทาง 661 กิโลเมตร และมีทางแยกจากสถานีชมุ ทางบ้านดารา จังหวัด อุตรดิตถ์ ไปยัง จ. สุโขทัย เปิดเดินรถทัง้ สายเมือ่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469
14
รถไฟสายอีสาน
ระหว่างการสร้างรถไฟสายเหนือและสายใต้ใกล้จะเสร็จ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือได้เริ่มก่อสร้างเส้นทางต่อจาก นครราชสีมาไปถึงอุบลราชธานีและหนองคาย การสร้างทางรถไฟ สายนี้ใช้เวลานานหลายสิบปี เพราะอิทธิพลความขัดแย้งของชาติ ตะวันตกในกิจการรถไฟไทย การละเมิดสัญญาของผู้รับสัมปทาน งบประมาณการก่อสร้างเกินจากที่ตั้งไว้ และความลำ�บากในการ ก่อสร้าง แต่ในที่สุดก็สามารถเปิดเดินรถได้ทั้งเส้นทาง นำ�มาซึ่ง การเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ ของคนในพืน้ ที่ จากการทำ�เกษตรกรรมเป็น หลักมาเป็นการค้าขาย มีการขยายตัวของชุมชนบริเวณทางรถไฟ และทำ�ให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาก
15
รถไฟสายตะวันออก
เส้ น ทางรถไฟสายตะวั น ออกใช้ แนวทางคมนาคมเก่าตามเส้นทางแม่นํ้าลำ�คลองที่มีอยู่ โดยเริ่มแยกจากสายหลักที่ป้ายหยุดรถไฟยมราชไปทางทิศ ตะวันออก ไปตามแนวคลองมหานาค ตัดข้ามคลองแสนแสบ และ คู่ขนานไปตามคลองประเวศบุรีรมย์ จากนั้นข้ามคลองสำ�คัญหลายแห่ง จน เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทางรถไฟไปสิ้นสุดที่สถานี แปดริว้ ริมแม่นา้ํ บางปะกง
16
รถไฟเชื่อมไทย - เทศ
ในปี พ.ศ. 2496 การรถไฟกัมพูชาและ การรถไฟมลายาติดต่อขอเชื่อมต่อการเดินรถ โดยทาง รถไฟกัมพูชาเชือ่ มกับรถไฟไทยในเส้นทางสายตะวันออก (อรัญประเทศ) เปิดเดินรถเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาหยุดเดินรถไประยะหนึ่ง แล้วเปิดอีกครั้ง เมือ่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 จนยุตกิ ารเดินรถตัง้ แต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา ส่วนการเดิน รถไฟระหว่างไทยกับมาเลเซียนั้น ถูกระงับไปในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 จนมีการเปิดเชื่อมต่ออีกครั้งตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497 จนปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่าง หนองคาย - สถานีท่านาแล้ง ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว เปิ ด เดิ น รถเมื่ อ วั น ที่ 5 มีนาคม 2552
การรถไฟฯ ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 5 พระผูท้ รงให้ก�ำ เนิดกิจการรถไฟในประเทศไทย ให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการรถไฟฯ” และยกย่อง พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ทรงวาง รากฐานและพัฒนากิจการรถไฟไทยให้เจริญรุ่งเรือง เป็น “พระบิดาแห่งกิจการรถไฟยุคใหม่”
19 17
ทางรถไฟสายมรณะ
สมัยสงครามโลกครัง้ ที่ 2 กองทัพญีป่ นุ่ สร้าง ทางรถไฟสายยุ ท ธศาสตร์ ผ่ า นไทยไปโจมตี พ ม่ า และ อินเดีย โดยเกณฑ์เชลยศึกกว่า 6 หมื่นคน รวมทั้ง กรรมกรชาวจีน ญวน มลายู พม่า และอินเดียจำ�นวน มาก เร่งสร้างทางรถไฟเสร็จในเวลาเพียง 1 ปี ทางรถไฟ สายนี้ จึ ง เป็ น อนุ ส รณ์ ค วามโหดร้ า ยของสงคราม ความทุกข์ทรมานจากโรคภัยและการขาดแคลนอาหาร ที่ทำ�ให้เชลยศึกหลายหมื่นคนจบชีวิตลงที่นี่ หลังสิ้นสุดสงคราม รัฐบาลไทยต้องจ่ายเงิน 50 ล้านบาทซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษ เมื่อซ่อม บำ�รุงบางส่วนแล้วจึงเปิดเดินรถจากสถานีหนองปลาดุก ถึงสถานีนํ้าตก ปัจจุบันทางรถไฟสายมรณะเป็นแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วสำ � คั ญ ของจั ง หวั ด กาญจนบุ รี ด้ ว ยความ สวยงามของวิวทิวทัศน์ขณะรถไฟเคลื่อนผ่านสะพาน ข้ามแม่นํ้าแคว และบรรยากาศน่าตื่นเต้นขณะเคลื่อน ผ่านถํ้ากระแซ
ระยะทางรถไฟไทยในปัจจุบัน
ปั จ จุ บั น เส้ น ทางรถไฟไทยมี ร ะยะทางที่ เ ปิ ด เดิ น รถแล้ ว รวมทัง้ สิน้ 4,346 กิโลเมตร แบ่งเป็น •สายเหนือ ถึงสถานีเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 751 กิโลเมตร •สายใต้ ถึงสถานีสไุ หงโกลก จ. นราธิวาส 1,143 กิโลเมตร ถึงสถานี ปาดังเบซาร์ จ. สงขลา 974 กิโลเมตร ถึงสถานีกนั ตัง จ. ตรัง 850 กิโลเมตร และถึงสถานีนครศรีธรรมราช จ. นครศรีธรรมราช 816 กิโลเมตร •สายตะวันออก ถึงสถานีอรัญประเทศ จ. สระแก้ว 255 กิโลเมตร และ ถึงสถานีนคิ มอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ. ระยอง 200 กิโลเมตร •สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงสถานีอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 575 กิโลเมตร และถึงสถานีหนองคาย จ. หนองคาย 624 กิโลเมตร •สายตะวันตก ถึงสถานีนา้ํ ตก จ. กาญจนบุรี 194 กิโลเมตร •สายแม่กลอง ช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย 31 กิโลเมตร และช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง 34 กิโลเมตร
รถไฟไทย มี ร ะยะทางทั้ ง สิ้ น
4,346 กิโลเมตร
ใครคือพระบิดา แห่งกิจการรถไฟ?
Father of the Thai Railway The SRT has extolled King Chulalongkorn as the “Father of Thai Railway” and Prince Purachatra Jayakara (or the Prince of Kamphaengphet) as the “Father of the Modern Thai Railways Affairs”
20
กรมรถไฟหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา กรมรถไฟขึน้ ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และแบ่งกิจการรถไฟออกเป็น กรมรถไฟสายเหนือ และกรมรถไฟสายใต้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่า ควรรวมทั้งสองกรมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการ บังคับบัญชาและบริหารงาน และเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมรถไฟหลวง” เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2460
21
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชรอัครโยธิน
ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง พระองค์แรก
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชรอัคร โยธิน ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้รับตำ�แหน่งผู้ บัญชาการกรมรถไฟหลวง (ดำ�รงตำ�แหน่ง พ.ศ. 2460 - 2469) ทรงพัฒนากิจการรถไฟไทยให้เจริญก้าวหน้า ในทุกด้าน ทั้งขยายเส้นทางเดินรถ นำ�เทคโนโลยีและ ระบบสื่ อ สารโทรคมนาคมมาใช้ วางรากฐานพั ฒ นา บุคลากร และทรงเป็นบุคคลแรกที่นำ�รถจักรดีเซลมาใช้ ทดแทนรถจักรไอนํ้า
22 23
เจ้ากรมรถไฟคนแรก
นาย เค. เบ็ทเก (K. Bethge) ชาวเยอรมัน (ดำ�รงตำ�แหน่ง พ.ศ. 2439 – 2442)
อธิบดีกรมรถไฟคนแรก
ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ตำ�แหน่งผู้บัญชาการ กรมรถไฟหลวงได้ เ ปลี่ ย นเป็ น อธิ บ ดี ก รมรถไฟหลวง ผู้ดำ�รงตำ�แหน่งนี้คนแรกคือ พลตรี พระอุดมโยธาธิยุต และผู้ดำ�รงตำ�แหน่งอธิบดีคนสุดท้ายคือ พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
พลตรี พระอุดมโยธาธิยุต
24
การรถไฟแห่งประเทศไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบ ปัญหาอย่างหนัก ทรัพย์สินที่เป็นอาคารและรถจักรได้รับ ความเสี ย หายจากสงคราม รั ฐ บาลจึ ง ขอกู้ เ งิ น จาก ธนาคารโลกมาฟื้ น ฟู แต่ ธ นาคารโลกเสนอให้ ป รั บ ปรุ ง องค์ ก รให้ มี ค วามอิ ส ระคล่ อ งตั ว ในการบริ ห ารจั ด การ เชิงธุรกิจมากขึ้น รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงจัด ทำ� พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ขึ้นมา และเปลี่ ย นกรมรถไฟหลวงเป็ น รั ฐ วิ ส าหกิ จ ประเภท สาธารณูปการ ในชื่อ “ ก า ร ร ถ ไ ฟ แ ห่ ง ประเทศไทย” สังกัด กระทรวงคมนาคม
25
พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
26
กรมรถไฟหลวง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2494 กรมรถไฟหลวงปรับเปลี่ยนเป็น “การรถไฟแห่ง ประเทศไทย” พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมรถไฟในขณะนั้นขึ้นดำ�รง ตำ�แหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ คนแรก นับจนถึงปัจจุบัน (มีนาคม พ.ศ. 2560) การรถไฟแห่งประเทศไทยมีผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมาแล้วรวม 18 ท่าน
กรมรถไฟหลวง
การรถไฟแห่งประเทศไทย
วิวัฒนาการตราเครื่องหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 5) ยังไม่มกี ารจัดทำ�ตราสำ�หรับหน่วย งานราชการ แต่ใช้ “ตราแผ่นดิน” หรือ “ตราอาร์ม” อันเป็นตราประจำ�พระองค์ทท่ี รงใช้ระหว่าง พ.ศ. 2416 – 2453 แทน กรมรถไฟได้จดั ทำ�ตราแผ่นดินติดด้านข้างรถโดยสาร และพิมพ์ทป่ี กหน้าและปกรองของหนังสือรายงาน ประจำ�ปี จนกระทัง่ ปลาย พ.ศ. 2436 หน่วยราชการทัง้ หมด รวมทัง้ กรมรถไฟ เปลีย่ นมาใช้ตราครุฑเป็นตราประจำ� หน่วยงานแทน เมื่อกรมรถไฟเปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็ยังคงใช้ตราครุฑเป็นตราประจำ�หน่วยงาน ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2494 – 2500 จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นตราล้อปีกภายใต้พระมหามงกุฎและมีรัศมีครอบ ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา
27
นักเรียนทุนรถไฟ
การสร้างระบบขนส่งขนาดใหญ่อย่างรถไฟในยุคเริ่มต้น ต้อง อาศัยวิศวกรและผู้ควบคุมดูแลชาวต่างชาติที่มีความรู้ ความชำ�นาญ จน ในยุคทีพ่ ลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรง ดำ�รงตำ�แหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงเล็งเห็นว่าการพัฒนาคน ไทยให้สามารถดูแลบริหารกิจการรถไฟเองได้เป็นสิ่งสำ�คัญมาก จึงเริ่ม เปิดให้มีการสอบชิงทุนเป็นนักเรียนของกรมรถไฟหลวงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2461 เพื่อคัดเลือกคนระดับหัวกะทิไปเรียนและฝึกอบรมยังต่าง ประเทศ เพื่อให้กลับมาทำ�งานพัฒนากรมรถไฟ
28
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
การรถไฟฯ สถาปนาโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ โดยจัดสร้างอาคารโรงเรียน ในบริเวณที่ดินว่างด้านหน้าโรงงานมักกะสัน และเริ่มเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 แบ่งเป็นแผนกช่างกล แผนกช่างโยธา แผนกเดินรถ มีนกั เรียน วิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก 150 คน อาจารย์ใหญ่คือ พระยาสฤษดิ์การบรรจง (สมาน ปันยารชุน) หลังจากนั้นย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา เปิดการ เรียนการสอนต่อเนื่องมาถึง พ.ศ. 2529 ก็ปิดตัวลง จนปีการศึกษา 2533 จึงเปิด หลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถขึ้นอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน
29
เครื่องหมายล้อปีก
เครื่องหมายที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคนรถไฟ คือ ตราล้อปีก ภายใต้พระมหามงกุฎมีรัศมีครอบ ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชา นุญาตให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 พระมหามงกุ ฎ มี รั ศ มี ค รอบ หมายถึ ง พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนากิจการรถไฟ ตรงกลาง เป็ น ตราแผ่ น ดิ น หรื อ ตราอาร์ ม ที่ เ คยใช้ เ ป็ น ตราประจำ � พระองค์ มี ลั ก ษณะคล้ า ยตราพระเกี้ ย ว ด้ า นล่ า งเป็ น ล้ อ รถไฟอยู่ ที่ ค อเพลาทั้ ง 2 ข้าง เรียกว่า “ล้อพร้อมเพลา” มีบังใบอยู่ด้านขวา ส่วนปีก หมายถึง ความรวดเร็ว เพราะรถไฟเป็นการเดินทางที่รวดเร็วที่สุดในสมัยนั้น
ตำ�รวจรถไฟ
31
กรมตำ � รวจได้ เ ริ่ ม วางมาตรการให้ ค วาม คุ้ ม ครองและรั ก ษาทรั พ ยสิ น ของกรมรถไฟ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2437 โดยจัดตัง้ หน่วยงานในรูป ของ “กองตระเวนรั ก ษาทางรถไฟสาย นครราชสีมา” ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 จัดตั้ง “กองตระเวนรักษาทางรถไฟสายเหนือ” และ ในปี พ.ศ. 2443 จัดตั้ง “กองตระเวนรักษา ทางรถไฟสายเพชรบุร”ี ต่อมากรมรถไฟเปลีย่ น เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงมีการจัดตัง้ กองตำ�รวจรถไฟ ขึ้ น มี ห น้ า ที่ ป้ อ ง กั น แ ล ะ ป ร า บ ป ร า ม อาชญากรรม เพือ่ คุม้ ครองรักษาทรัพย์สนิ ของ การรถไฟฯ และความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิตของผู้โดยสาร
ความหมายของชุมทาง
ชุมทาง คือ สถานีที่ทางสายหลักและสายแยกแยกออก จากกัน มี 16 แห่ง ได้แก่ ชุมทางบางซือ่ ชุมทางตลิง่ ชัน (กรุงเทพฯ) ชุมทางบ้านภาชี (พระนครศรีอยุธยา) ชุมทางบ้านดารา (อุตรดิตถ์) ชุ ม ทางแก่ ง คอย (สระบุ รี ) ชุ ม ทางถนนจิ ร ะ ชุ ม ทางบั ว ใหญ่ (นครราชสีมา) ชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางคลองสิบเก้า (ฉะเชิงเทรา) ชุมทางศรีราชา ชุมทางเขาชีจรรย์ (ชลบุรี) ชุมทางหนองปลาดุก (ราชบุรี) ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ (สุราษฎร์ธานี) ชุมทางทุ่งสง ชุมทาง เขาชุมทอง (นครศรีธรรมราช) และชุมทางหาดใหญ่ (สงขลา)
32
ประเภทหัวรถจักร
หัวรถจักรทีก่ จิ การรถไฟไทยใช้นบั จาก อดีตมี 2 ประเภท คือ “หัวรถจักรไอนํ้า” ใช้ฟืน เป็นเชื้อเพลิงต้มนํ้าให้เกิดเป็นแรงดันไอนํ้าในการ ขับเคลื่อน อีกชนิดคือ “หัวรถจักรดีเซล” ใช้กำ�ลัง เครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อน ซึ่งไทยเป็นประเทศ แรกในเอเซียที่นำ�หัวรถจักรชนิดนี้เข้ามาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2471
ตราบุรฉัตร ตราบุรฉัตรที่ติดอยู่ที่หัวรถจักรดีเซล เป็นอนุสรณ์ถวายแด่พลเอก พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชรอัคร โยธิน ผู้ทรงพัฒนากิจการรถไฟไทย และทรงเป็นบุคคลแรกที่นำ�หัวรถจักร ดี เ ซลเข้ า มาใช้ ใ นประเทศ หลายคน เข้าใจผิดว่า นี่เป็นตราประจำ�พระองค์ แต่ความจริงแล้วตราบุรฉัตรประกอบ ด้วยตราประจำ�พระองค์รูปงูเล็กพันอยู่ รอบฉั ต ร และลายเซ็ น พระนาม “บุรฉัตร” อยู่ด้านล่าง
34
ประเภทของขบวนรถไฟ
การรถไฟฯ มีบริการรถโดยสารหลายรูปแบบ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express) ขบวนรถ ด่วน (Express) ขบวนรถเร็ว (Rapid) ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion) ขบวนรถธรรมดา (Ordinary) ขบวนรถ ชานเมือง (Bangkok Commuter) และขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter)
35
รถไฟวิ่งเร็วแค่ไหน
ความเร็วของรถไฟถูกกำ�หนดโดยป้ายจำ�กัดความเร็วตาม รายทาง ซึง่ รถทีใ่ ช้หวั รถจักรสามารถทำ�ความเร็วได้สงู สุด 100 กิโลเมตร ต่อชัว่ โมง แต่ปกติจะจำ�กัดให้อยูท่ ่ี 90 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ส่วนรถดีเซลราง สามารถทำ�ความเร็วสูงสุดถึง 150 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง แต่จะถูกจำ�กัดให้วง่ิ ได้แค่ 120 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ตลอดเส้นทางรถไฟจะไม่ได้วง่ิ ความเร็วเท่า กันตลอดทาง เพราะต้องดูจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย ทัง้ ภูมปิ ระเทศ พืน้ ทีโ่ ล่ง หรือพืน้ ทีช่ มุ ชน เส้นทางโค้ง สะพาน หรือมีถนนตัดผ่านหรือไม่
36
รถบรรทุกสินค้า
การขนส่งสินค้าทางรถไฟแบ่งตามประเภทสินค้า คือ ประเภทเหมา หลัง หรือขนส่งสินค้าปริมาณมากโดยใช้ตู้รถสินค้าทั้งคันหรือทั้งหลัง ประเภท หีบห่อวัตถุ ขนส่งสินค้าชิน้ ย่อย และประเภทเหมาขบวน หรือรถเฉพาะกิจ ขนส่ง สินค้านํ้ามัน ปูนซีเมนต์ แร่ยิปซัม เป็นต้น
37 38
ขบวนรถสินค้าชนิดรถเปิด
รถไฟไปรษณีย์
สมัยก่อนรถไฟจัดส่งไปรษณียโ์ ดยขนถุงเมล์ ขึน้ บน “รถโบกีไ้ ปรษณีย์ บปณ.” และยังรับส่งไปรษณีย์ ตามรายทางด้วย ใครทีอ่ ยากส่งจดหมายสามารถนำ�มา หยอดใส่ช่องเล็กๆ เหมือนตู้ไปรษณีย์ข้างรถไฟได้
เที่ยวไปตามราง
39
รถปิด ใช้บรรทุกสินค้าที่อาจเสีย หายได้ ง่ า ยเมื่ อ ถู ก แดด ถู ก ลม เปี ย กฝน หรื อ ไวไฟ จึ ง ปิ ด กั้ น ทุกด้านและมีหลังคามิดชิด รถเปิด ใช้บรรทุกสินค้า ประเภทวั ต ถุ ดิ บ หรื อ สิ่ ง ของที่ ไม่ ชำ � รุ ด เสี ย หายเมื่ อ ถู ก แสงแดด หรือเปียกฝน
ค่ารถไฟถูกสุด – แพงสุดในปัจจุบัน
ถูกทีส่ ดุ - รถไฟธรรมดา ชัน้ 3 ระยะทาง 1 สถานี ราคา 2 บาท แพงที่สุด - รถนั่งและนอนปรับอากาศ ชั้น 1 กรุงเทพ สุไหงโกลก ราคาเหมาห้อง 2,253 บาท นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังมีบริการรถไฟฟรีเพื่อประชาชน โดยใช้บัตรประชาชนหรือบัตรที่ราชการออกให้ รับตั๋ว 1 ใบ ต่อ 1 สิทธิ
ขบวนรถนำ�เที่ยวมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด ราชการ ในเส้นทางสวนสนประดิพทั ธ์ จ. ประจวบคีรขี นั ธ์ และเส้นทางนํา้ ตก จ. กาญจนบุรี และยังจัดขบวนรถจักร ไอน้ําเที่ยวพิเศษปีละ 4 ครั้ง ในวันคล้ายวันสถาปนา กิจการรถไฟ 26 มีนาคม วันแม่ 12 สิงหาคม วันปิย มหาราช 23 ตุลาคม และวันพ่อ 5 ธันวาคม (เส้นทาง อยุธยา นครปฐม และฉะเชิงเทรา) อีกขบวนคือ เส้นทาง ทุง่ ทานตะวัน เขือ่ นป่าสักชลสิทธิ์ จัดเฉพาะช่วงปลายปี ถึงต้นปี
41
รถปิด - รถเปิด คืออะไร?
Special Rail Travels
The SRT has introduced special train lines to Suanson Pradipat in Prachuab Khirikhan Province and to selected waterfalls in Kanchanaburi Province every Saturday, Sunday, and public holidays. Passengers can also try the vintage-style steam-engine train on special days, such as March 26 (SRT’s Establishment Day), Mother’s Day (August 12), and Father’s Day (December 5). In addition, a new scenic train route to Pasak Chonlasit Reservoir in Lopburi is available during the cooler months between the end of the year and beginning of the following year.
รถไฟลอยนํ้า
รถไฟสายทุ่งทานตะวัน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวยอด นิยม เพราะทิวทัศน์งดงามของสะพานที่ทอดยาวไปตามสันเขื่อน ดูเหมือนรถไฟกำ�ลังแล่น อยูเ่ หนือนาํ้ จนเรียกกันว่า “รถไฟลอยนํา้ ” แต่รไู้ หมว่าทางรถไฟสายนี้ (ช่วงสถานีรถไฟแก่ง เสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์) ของเดิมนั้นจมอยู่ใต้นํ้า ซึ่งการรถไฟฯ ปล่อยให้นํ้าใน เขือ่ นท่วมทับเส้นทางเดิม เพือ่ ให้กระทบกับการเวนคืนทีด่ นิ จากประชาชนให้นอ้ ยทีส่ ดุ แล้ว ย้ายทางรถไฟมาสร้างเป็นที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขึ้นแทน โดยสร้างเสร็จเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 สะพานรถไฟเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถือเป็นสะพานรถไฟทีย่ าวทีส่ ดุ ในประเทศ มีระยะทาง 1,415 เมตร
42
รถไฟตู้ใหม่ 115 คัน กับชื่อพระราชทาน
ปลายปี 2559 คนไทยได้ตื่นเต้นกับรถโดยสารรุ่น ใหม่ จำ�นวน 115 คัน ที่การรถไฟฯ จัดหามาบริการคนไทย ซึ่ง สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ได้ พระราชทานชื่อขบวนรถใน 4 เส้นทาง ได้แก่ “อุตราวิถี” (กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ) “อีสานวัตนา” (กรุงเทพ อุบลราชธานี - กรุงเทพ) “อีสานมรรคา” (กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ) และ “ทักษิณารัถย์” (กรุงเทพ - หาดใหญ่ - กรุงเทพ)
43
Ladies and Children Car
รถโดยสารสำ � หรั บ สุ ภ าพสตรี แ ละเด็ ก อายุ ไม่เกิน 10 ปีบริบูรณ์ มีจุดสังเกตตรงข้างรถที่ มีสติกเกอร์ “สำ�หรับเด็กและผู้หญิง” ติดไว้เป็น ระยะ ด้านในตกแต่งด้วยผ้าม่านสีชมพู พนักงาน ในตู้โดยสารทุกคนเป็นผู้หญิงทั้งหมด เปิดให้ บริการตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ใน 4 เส้นทาง คือ สายเหนือ - ปลายทางเชียงใหม่ สายอีสาน - ปลายทางอุบลราชธานี และ หนองคาย สายใต้ - ปลายทางสุไหงโกลก
44
ตู้รถไฟนักปั่น
รถไฟ เพื่อคนพิการ
การรถไฟฯ ดัดแปลงรถนัง่ ชัน้ 3 ชนิด โถงเป็นรถสำ�หรับบรรทุกจักรยาน รองรับกลุ่มผู้ รักการปั่นจักรยาน คิดค่าโดยสารทั้งแบบเช่า เหมาตู้เที่ยวเดียวและไปกลับ สำ�หรับ 30 ที่นั่ง และจักรยาน 30 คัน ส่วนนักปั่นที่เดินทางเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็ก สามารถใช้บริการขบวนรถที่มี ตู้สัมภาระได้ คิดค่าระวางจักรยานคันละ 90 บาท หรือชำ�ระบนขบวนรถ คิด 100 บาท ส่วน จักรยาน พั บ ได้ ไ ม่ เ สี ย ค่ า ระวาง
เพื่ อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ผู้ พิ ก ารและ ผู้สูงอายุ การรถไฟฯ ได้ปรับพื้นที่ภายใน สถานีให้มที างลาดสำ�หรับวีลแชร์ รวมถึง ติดตัง้ ลิฟต์ยกรถเข็น เพิม่ ความกว้างทาง เดินภายในรถโดยสารเป็น 78 เซนติเมตร เพือ่ ให้วีลแชร์ผ่านได้ มีอักษรเบรลล์ตาม ปุ่มต่างๆ สำ�หรับผูพ้ กิ ารทางสายตา ห้อง สุขาระบบปิดที่สามารถนำ�วีลแชร์เข้าได้ ปูยางกันลืน่ พร้อมปุม่ ขอความช่วยเหลือ ถึง 3 จุด และบริการวีลแชร์สำ�รอง
46
รถไฟทางคู่
ทางรถไฟของไทยในปัจจุบนั เป็นทางเดีย่ วเสียส่วนใหญ่ เวลารถไฟวิ่งต้องแจ้งให้สถานีถัดไปรู้ ถ้ามีอีกขบวนวิ่งสวนมา ก็ ต้ อ งหาสถานี ใ ห้ ร ถจอดเพื่ อ หลี ก กั น ทำ � ให้ เ กิ ด ความล่ า ช้ า ในการเดินทาง โครงการรถไฟทางคู่จึงถูกยกขึ้นเป็นโครงการ เร่งด่วนตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558 - 2565) ซึ่งจะเพิ่ม เส้นทางคู่จากเดิม 357 กิโลเมตร เป็น 1,350 กิโลเมตร ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการเดินรถให้รวดเร็ว ปลอดภัย และ เป็นส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
47
Airport Rail Link
ระบบขนส่ ง เชื่ อ มท่ า อากาศยาน สุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็ว 160 กิโลเมตร ต่อชัว่ โมง วิง่ บนทางยกระดับเลียบทางรถไฟสาย ตะวันออก ระยะทาง 28 กิโลเมตร ผ่าน 8 สถานี คือ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำ�แหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ เชื่ อ ไหมว่ า Airport Rail Link ช่ ว ยให้ เ ราเดิ น ทางจากพญาไทถึ ง ปลายทาง สุวรรณภูมิในเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น!
48
รถไฟสายสีแดง
49
ลานนํ้าพุหัวช้างและหลุมหลบภัย
โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นเส้นทางสำ�คัญที่จะ เชื่อมโยงการเดินทางจากชานเมืองสู่ใจกลางเมือง มีจุดเริ่มต้นจากสถานี กลางบางซื่อไปสู่ 4 เส้นทาง คือ •ทิศเหนือ ถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จ. ปทุมธานี และ ขยายต่อถึงชุมทางบ้านภาชี •ทิศใต้ ถึงมหาชัย จ. สมุทรสาคร และขยายถึงปากท่อ จ. ราชบุรี •ทิศตะวันออก ถึงมักกะสัน และขยายไปถึงตัวเมืองฉะเชิงเทรา •ทิศตะวันตก ถึงศาลายา จ. นครปฐม และขยายถึงตัวเมืองนครปฐม
รู้ไหมว่า ลานนํ้าพุหัวช้างสร้างขึ้นเพื่อ น้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยข้าราชการกรมรถไฟ หลวงได้ร่วมทุนทรัพย์กันสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุ ทิ ศ ถวายแด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเจ้ า หลวง เป็ น อนุ ส าวรี ย์ รู ป ช้ า งสามเศี ย ร มี พ ระบรม ฉายาลักษณ์ด้านข้างแกะสลักเป็นภาพนูนสูงอยู่ส่วนบน มีนํ้าพุและสวนหย่อมอยู่รอบ อนุสาวรีย์นี้เคยถูกรื้อถอนไปในปี พ.ศ. 2476 จนช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เทศบาลนครกรุงเทพฯ สร้างหลุมหลบภัยจากการทิง้ ระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรขึน้ บริเวณด้านหน้าสถานี กรุงเทพ จึงนำ�อนุสาวรีย์นี้ขึ้นประดิษฐานเหนือหลุมหลบภัย
50
เส้นทางรถไฟ เสด็จพระราชดำ�เนิน ของรัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำ�เนินโดยรถไฟพระที่นั่ง ทั้งหมด 29 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2493 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงประทับพักผ่อนอิริยาบท ณ พระตำ � หนั ก เปี่ ย มสุ ข พระราชวั ง ไกลกั ง วล อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ และครั้งสุดท้ายเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เสด็จฯ ทรงประกอบพระ ราชพิธีบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระมหากษัตริย์ใน อดี ต เนื่ อ งในมหามงคลสมั ย รั ช มั ง คลาภิ เ ษก ที่ จ. พระนครศรีอยุธยา
52
เมื่อคนรถไฟรับเสด็จฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9
รถไฟพระที่นั่ง
รถไฟพระที่น่ังในประวัติศาสตร์ ปรากฏ ครัง้ แรกในการเสด็จฯ ทรงเปิดทางรถไฟปฐมฤกษ์จาก กรุงเทพ - กรุงเก่า โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 5) เมือ่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ต่ อ มา พระองค์ เ สด็ จ ฯ บางปะอิ น โดยทางรถไฟ อีกหลายครั้ง และเสด็จฯ เปิดเส้นทางรถไฟอีกหลาย เส้นทาง ลักษณะของรถพระที่นั่งเป็นรถ 2 เพลา (รถ4ล้อ) จำ�นวน 1 คัน และเป็นรถขนาด 8 ล้อ อีก 1 คัน สำ�หรับทางกว้างขนาด 1.435 เมตร (สายเหนือ สายตะวันออก และสายตะวันออกเฉียง เหนือ) ส่วนเส้นทางสายใต้ เป็นรถพระที่นั่งสำ�หรับ ทางกว้างขนาด 1.000 เมตร แบบ 4 ล้อ จำ�นวน 1 คัน ใช้การมาจนถึงปี พ.ศ. 2460 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีการจัดซื้อรถไฟพระที่นั่ง บรรทมเพิ่ม 1 คัน และรถพระที่นั่งกลางวันอีก 1 คัน เป็นรถ 8 ล้อ (แบบโบกี้) สำ�หรับทางกว้าง 1.000 เมตร ตัวคันรถพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ ตกแต่งภายใน สวยงาม เสด็ จ ในกรมพระกำ � แพงเพ็ ช รอั ค รโยธิ น ผู้ บั ญ ชาการกรมรถไฟทรงแนะนำ � การออกแบบ รถพระที่นั่งคันนี้ใช้การมานานถึง 52 ปี
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ในปี พ.ศ. 2503 มีการจัดหารถพระทีน่ งั่ ใหม่ 3 คัน ทดแทน รถพระที่นั่ง 2 คันแรกที่ปลดระวางไป ประกอบด้วย รถพระที่นั่งประทับ กลางวัน (พนก.) รถพระทีน่ งั่ กลางวันและบรรทม (พกท.) และรถพระทีน่ งั่ บรรทม (พนท.) มีลักษณะเป็นเหล็กชนิดเบา ใช้แคร่รับนํ้าหนักทันสมัย สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การรถไฟฯ ถวาย
Following the King’s Travels Former King Bhumibol Adulyadej (Rama IV) and Queen Sirikit made their first train travel together on April 29, 1950 to Klai Kangwon Palace in Hua Hin, Prachuab Khirikhan Province. Since then, their Majesties had made several more trips to visit people in the rural areas across the country. Their Majesties’ last train trip was to officiate a sacrifice ceremony for the former Kings of Thailand in Ayutthaya on July 5, 1988. The ceremony was held to celebrate King Bhumibol as the longest reigning monarch in the Thai history - at 42 years and 23 days.
53
กองภาพยนตร์ของกรมรถไฟหลวง
ปี พ.ศ. 2465 พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพง เพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงจัดตั้ง “กองภาพยนตร์ เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง” ทำ�หน้าที่ผลิตภาพยนตร์เผยแพร่กิจการ ของกรมรถไฟหลวง กิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ และรับจ้างผลิต ภาพยนตร์ทั่วไปด้วย จนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของกองภาพยนตร์กรมรถไฟหลวงก็ลดลง เพราะ รัฐบาลได้จัดตั้งกรมโฆษณาการและแผนกภาพยนตร์เพื่อเผยแพร่กิจการ ของรัฐบาล
54 55 56
ความหมายของขึ้น-ล่อง
ทั้งสองคำ�นี้ใช้เรียกการเดินทางโดยมีสถานีกรุงเทพเป็นหลัก "เทีย่ วขึน้ " คือ รถออกจากกรุงเทพ ส่วน "เทีย่ วล่อง" คือ รถกลับเข้ากรุงเทพ
สถานีรถไฟสองชาติ
สถานี ร ถไฟแห่ ง เดี ย วที่ มี เ จ้ า ของร่ ว ม 2 ชาติ คื อ สถานี ปาดังเบซาร์ (ไทย - มาเลเซีย) รถพระที่ นั่ ง ชุ ด ใหม่ ทั้ ง 3 คั น นี้ เ ป็ น ปฐมฤกษ์ โ ดย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช เสด็ จ ฯ ด้ ว ย ขบวนรถพระที่นั่งชุดใหม่นี้ จากสถานีชุมทางทุ่งสง สถานีหัวหิน เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้
สถานีรถไฟที่มีชื่อประจำ�จังหวัด แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำ�เภอเมือง
•สถานีรถไฟอุบลราชธานี ตั้งอยู่ใน อ. วารินชำ�ราบ จ. อุบลราชธานี •สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ใน อ. พุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี •สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์) ตั้งอยู่ใน อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี
57
สะพานพระราม 6
สะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศที่เชื่อม ทางรถไฟสายเหนือและสายใต้ ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2469 ในรูปแบบ Cantilever ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 5 ช่วง มีส่วนที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสำ�หรับรถยนต์วิ่ง กับส่วนที่เป็น ทางรถไฟ และทางเดินเท้า 2 ด้าน ตัวสะพานยาว 442.08 เมตร กว้าง 10 เมตร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทานนามว่า "สะพานพระราม 6” และโปรดเกล้าฯ ประกอบ พิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟข้ามผ่านเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 สะพานถูกกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทิง้ ระเบิดจนช่วงกลางสะพานขาด ต่อมามีการซ่อมแซมใหม่ (พ.ศ. 2493 – 2496) โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จฯ ทรงเปิด สะพาน เมือ่ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496
58
สะพานทาชมภู
59
อุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์ ใช้แรงงานมนุษย์สร้าง ที่ยาวที่สุดในประเทศ
สะพานรถไฟทีส่ ร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งเดียวในประเทศ ตัง้ อยูท่ บ่ี า้ นทาชมภู อ. แม่ทา จ. ลำ�พูน ระหว่างสถานีขนุ ตานกับสถานีทาชมภู เริม่ สร้างเมือ่ พ.ศ. 2461 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2463 มีลกั ษณะรูปโค้งทาสีขาว ตอม่อเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้เทคนิคการ ก่อสร้างและวิศวกรรมจากตะวันตก สามารถรับ นํา้ หนักได้มากกว่า 15 ตัน มีเรื่องเล่าว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารฝ่ายพันธมิตรต้องการทิ้งระเบิดทำ�ลาย เส้ น ทางเดิ น รถไฟของทหารญี่ ปุ่ น หนึ่ ง ใน เป้าหมายมีสะพานแห่งนี้ด้วย ชาวบ้านจึงช่วย กั น ทาสี ส ะพานให้ เ ป็ น สี ดำ � เพื่ อ อำ � พรางตา จนสามารถรอดพ้นจากการทิ้งระเบิดทำ�ลายได้
อุโมงค์แห่งนีน้ บั เป็นความมหัศจรรย์ของคนไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะการก่อสร้างทีต่ อ้ งใช้ทง้ั วิทยาการและความ อุตสาหะจากแรงงานคน หรือการเดินทางไปทำ�งานในพืน้ ทีท่ ย่ี ากลำ�บาก เต็มไปด้วยไข้ปา่ ซํา้ วิศวกรชาวเยอรมัน ทีค่ วบคุมงานยังถูกจับในฐานะชนชาติศตั รูในสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ 1 จนต้องใช้เวลาสร้างถึง 3 รัชกาลจึงเปิดเดินรถ ผ่านได้ การเจาะอุโมงค์ขนุ ตานเริม่ ต้นในปี พ.ศ. 2450 ใช้วธิ ขี ดุ จากทัง้ 2 ด้านให้มาบรรจบกันพอดี คนงานเริม่ จากเจาะรูเล็กๆ บนก้อนหิน จากนัน้ ฝังดินระเบิดไดนาไมต์แล้วจุดชนวน บางจุดใช้วธิ สี มุ ไฟให้หนิ ร้อนจัดแล้วจึงสกัด ออก หรือราดนํา้ ลงไปบนหินร้อนให้แตกเองเป็นเสีย่ งๆ ระหว่างการขุดต้องขนเศษหินออกมาทิง้ นอกอุโมงค์ ซึง่ หินที่ เจาะออกมามีปริมาณมากถึง 60,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้เวลา เจาะอุโมงค์ถงึ 8 ปีกว่าทัง้ สองด้านจะทะลุถงึ กัน จากนัน้ ใช้เวลา ทำ�ผนังและเพดานคอนกรีตอีก 3 ปี จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 แต่ขณะนัน้ รางรถไฟสายเหนือจากลำ�ปางยังสร้างมาไม่ ถึงอุโมงค์ขนุ ตาน กว่าจะสามารถวางรางจนเสร็จสมบูรณ์ และ เปิดให้ขบวนรถไฟผ่านเป็นครัง้ แรกก็ลว่ งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468) เส้นทางรถไฟลอดอุโมงค์ขนุ ตาน สร้างความตืน่ เต้น ให้ กับ คนไทยในสมั ย นั้น มาก แม้ จ นถึ ง วั น นี้ การนั่ง รถไฟ ผ่านอุโมงค์ขุนตาน ก็ยังทำ�ให้รู้สึกตื่นเต้นไม่แตกต่างจากใน อดีตเลย
ย่านคืออะไร? เคยสงสัยไหมว่า ชานชาลาของสถานีรถไฟกรุงเทพมีอยูเ่ พียง 14 ชานชาลา ประกอบด้วยชานชาลาที่ 1 - 12 และ 1/1 และ 1/2 แต่ขบวนรถไฟอีกจำ�นวนมากนัน้ เอาไปเก็บไว้ทไ่ี หน? คำ�ตอบคือ เอาไปเก็บไว้ท่ี "ย่าน" ซึง่ อยูถ่ ดั จากบริเวณ สถานีกรุงเทพเข้าไปด้านใน เปรียบเหมือนเป็นโรงจอดรถ นั่นเอง ส่วนชานชาลาสถานีน้นั มีไว้สำ�หรับจอดรถที่เข้าและ กำ�ลังจะออกเท่านัน้ ย่านรถไฟทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในประเทศไทย คือ ย่านพหลโยธิน (บางซือ่ ) มีถงึ 50 ราง
62
61
บ้านพักขุนตาน
ตั้งอยู่ที่ อ. แม่ทา จ. ลำ�พูน ก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2460 เป็นพลับพลาที่ประทับของ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพง เพ็ชรอัครโยธิน ปัจจุบันได้รับการบูรณะ และเปิด เป็นบังกะโลให้นักท่องเที่ยวพัก ประกอบด้วย อาคาร 3 หลัง เฟอร์นิเจอร์ภายในเป็นของเก่า สไตล์ ยุ โ รป จากบั ง กะโลสามารถเดิ น เท้ า ชม ทั ศ นี ย ภาพของอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ด อยขุ น ตาล ที่สวยงามได้
นํ้าท่วมหัวลำ�โพง
ภาพเมื่อครั้งสถานีกรุงเทพ (หัวลำ�โพง) ถูกนํ้าท่วม จากเหตุการณ์นํ้าท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร นานถึง 2 เดือน
63
สถานีกรุงเทพ
เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ออกแบบโดยมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งรับราชการอยู่กระทรวง โยธาธิการ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสม กับศิลปะยุคเรอเนสซอง อาคารโถงสถานีสร้างเป็นหลังคาโค้งกว้าง ด้านหน้าเป็นอาคารแบบนีโอคลาสสิค มีหอคอยสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ ป ลายปี ก ทั้ ง สองด้ า น ถื อ เป็ น ตั ว อย่ า งของงานวิ ศ วกรรม โครงสร้างเหล็กทีอ่ อกแบบอย่างลงตัว คำ�นึงถึงการระบายอากาศ และก่อสร้างอย่างประณีต จุดเด่นอีกอย่างคือ กระจกสีตาม ช่องระบายอากาศทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดูสวยงามกลมกลืน จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตจนทุกวันนี้
สถานีจิตรลดา
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2464) ออกแบบโดย มาริโอ ตามานโญ เดิมเป็นอาคารไม้ ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นอาคารก่ออิฐ ฉาบปูนชั้นเดียว ตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยเรอเนส ซอง เสาอาคารเป็นเสาคู่ ประดับครุฑพ่าห์ที่มุมทั้งสี่ ของเพดาน สถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน ถนนสวรรคโลก เป็น สถานที่ประทับในการเสด็จฯ ทางรถไฟของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ และใช้ เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส
65
พลับพลาบางปะอิน
66
สถานีหัวหิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพือ่ เป็นที่ ประทับรอรถไฟระหว่างเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน ตัวอาคารเป็นไม้ ตกแต่งด้วยไม้ฉลุและกระจกสีแบบยุโรป พลับพลาแห่งนี้เคยเป็นที่ รับเสด็จและที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ พระบรมวงศานุวงศ์ ในการเสด็จฯ ทางรถไฟ
สร้างขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454) สถาปั ต ยกรรมแบบวิ ก ตอเรี ย น สร้ า งเป็ น อาคารชั้ น เดี ย ว เสาและคานเป็ น คอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังเป็นไม้ หลังคาจั่วตัด มุงกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว ด้านหน้ามีมุขทาง เข้า 3 มุข ผนังตกแต่งด้วยการตีไม้แบ่งเป็นช่วงจังหวะ และมีเท้าแขนไม้รับชายคา ในบริเวณ สถานี ร ถไฟหั ว หิ น ยั ง มี อ าคารอี ก หลั ง เป็ น สถาปั ต ยกรรมแบบไทยประยุ ก ต์ หลั ง คาสู ง ทรงปัน้ หยา ทาด้วยสีครีมตัดกับสีแดงตามเสา กรอบประตูหน้าต่าง และกรอบเพดาน อาคาร หลังนี้รื้อมาจากพระราชวังสนามจันทร์ จ. นครปฐม เพื่อใช้เป็นที่ประทับขึ้นและลงรถไฟของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) โดยสมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณวดี พระราชทานชือ่ ใหม่วา่ “พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ”
67
สถานีกันตัง
สถานีสุดท้ายบนเส้นทางรถไฟฝั่งอันดามันใน อ. กันตัง จ. ตรัง เปิดใช้ เมือ่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในสมัยทีก่ นั ตังยังเป็นจุดรับ - ส่งสินค้ากับต่างประเทศ โดยจากสถานีมีรางรถไฟต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเรือกันตัง แต่ปัจจุบัน รางรถไฟส่วนนีไ้ ม่มแี ล้ว รูปแบบเป็นอาคารไม้ชนั้ เดียว ทรงปัน้ หยา ทาสีเหลืองสลับ นํ้าตาล ด้านหน้ามีมุขยื่น ตกแต่งมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุอย่างสวยงาม
68
สถานีบ้านปิน
อีกหนึ่งสถานีรถไฟใน จ. แพร่ ที่มีเอกลักษณ์และน่ารักไม่เหมือนใคร เพราะเป็นสถานีเดียวทีม่ รี ปู แบบเฟรมเฮาส์สไตล์บาวาเรียนผสมผสานรูปแบบเรือน ปั้นหยาของไทย ใช้ไม้สักเป็นวัสดุหลัก สร้างขึ้นโดยพระราชดำ�ริของรัชกาลที่ 5 แต่ แล้วเสร็จและเปิดใช้งานในรัชกาลที่ 6 มีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
69
สถานีนครลำ�ปาง
ตัง้ อยูท่ ่ี อ. เมือง จ. ลำ�ปาง รูปแบบอาคารเป็นครึง่ ตึกครึง่ ไม้ 2 ชัน้ ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับยุโรป รัว้ ระเบียงอาคารชัน้ บนและ เหนือวงกบประตูหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายสวยงาม ทางเข้าห้องโถงชัน้ ล่างและทางขึน้ ชั้นบนเป็นประตูรูปโค้งขนาดใหญ่ ด้านหน้าสถานีมีหัวรถจักรโบราณตั้งเด่นอยู่ท่ี เกาะกลาง สถานีนย้ี งั เป็นจุดจอดรถม้า ซึง่ เป็นเอกลักษณ์ของ จ. ลำ�ปาง อีกด้วย
70
คิดถึงโกโบริที่สถานีรถไฟธนบุรี
ฉากจบ “คู่กรรม” นวนิยายเรื่องดังที่ถูกสร้าง เป็นละครและภาพยนตร์มาแล้วหลายครัง้ เล่าถึงความรัก ของนายทหารหนุ่ ม แห่ ง แดนอาทิ ต ย์ อุ ทั ย กั บ สาวไทย แห่งคลองบางกอกน้อย ทำ�ให้คนไทยจดจำ�ชื่อ “สถานี รถไฟบางกอกน้อย” อยู่ในใจเสมอมา สถานี แ ห่ ง นี้ ส ร้ า งเมื่ อ พ.ศ. 2443 ช่ ว ง สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำ�คัญ ที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิด จนวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ก็ถูกระเบิดทำ�ลายจนเสียหาย อย่างหนัก หลังสงครามสงบจึงมีการสร้างสถานีขึ้นใหม่ เป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ตั้งชื่อใหม่ว่า “สถานี ธนบุรี” และเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2493 จนปี พ.ศ. 2542 การรถไฟฯ สร้างสถานีอกี แห่งขึน้ มาใกล้ๆ กันเพือ่ ใช้รบั ส่ง ผู้โดยสาร ตั้งชื่อว่า “สถานีบางกอกน้อย” แล้วมอบที่ดิน พร้อมอาคารสถานีธนบุรีเดิมให้โรงพยาบาลศิริราช
71
ตึกแดง
72
โรงงานมักกะสัน
“ตึกแดง” ห รื อ อ า ค า ร พั ส ดุ ตั้ ง อ ยู่ ริ ม ส ะ พ า น กษัตริยศ์ กึ (สะพาน ยศเส) ข้ า งคลอง ผดุงกรุงเกษม เป็น อาคารก่ อ ด้ ว ยอิ ฐ สีแดง 3 ชัน้ ผังเป็น รูปตัวยู ปีกเหนือและปีกใต้เป็นอาคาร 2 ชัน้ สร้างขึน้ ระหว่างปี พ.ศ. 2471 – 2474 และต่อเติมให้เป็น 3 ชัน้ ในปี พ.ศ. 2494 เพือ่ ใช้ เป็นทีเ่ ก็บวัสดุ ออกแบบโดยหลวงสุขวัฒน์ ในแบบสถาปัตยกรรมสมัย ใหม่ ผสมผสานเทคนิคการก่อสร้างที่แสดงโครงสร้าง และการก่ออิฐ โชว์แนวอย่างเป็นระบบ ดูเรียบง่าย แข็งแรง ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำ�การ หน่วยงานต่างๆ ของการรถไฟฯ เมื่อกรมรถไฟสายเหนือและสายใต้ถูกรวมเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. 2460 โรงงานซ่อมจึงถูกรวมไว้เป็นที่เดียว ณ โรงงานมักกะสัน ซึง่ อาคารโรงงานสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ผนังก่ออิฐขนาดใหญ่ แข็งแรง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาเป็นจั่วเปิดยอดยกขึ้น ไปเป็นจัว่ เล็กอีกชัน้ หนึง่ เพือ่ ระบายลม ลักษณะภายนอกเหมือนโรงงาน ก่ อ ด้ ว ยอิ ฐ เปิ ด ผิ ว แบบโรงงานในยุ โ รป ถื อ ว่ า มี ค วามโดดเด่ น ด้ า น วิศวกรรมและระบบการก่อสร้างอย่างมาก โรงงานนี้ได้รับการบูรณะ ในปี พ.ศ. 2494 เนื่องจากบางส่วนเสียหายจากสงคราม ปัจจุบันยัง คงเป็นโรงงานซ่อมรถไฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนี่งของการรถไฟฯ
73
ไตของคนกรุงเทพฯ
บึงมักกะสัน เป็นบึงขนาดใหญ่ทก่ี ารรถไฟฯ ขุดขึน้ เมือ่ พ.ศ. 2474 ต่อมา มี ปั ญ หาน้ํ า เน่ า เสี ย พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานพระราชดำ�ริให้ปรับปรุงบึง เพือ่ ใช้ประโยชน์ในการระ บายนา้ํ และบรรเทาสภาพนํา้ เสียในคลองสามเสน โดยใช้เครือ่ งกรองนํา้ ธรรมชาติ คือ ผักตบชวา ร่วมกับเครือ่ งเติมอากาศแบบทุน่ ลอย ทำ�ให้สามารถช่วยฟอกนํา้ ใน คลองสามเสนให้สะอาดขึน้ ถึงวันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร พระองค์จงึ ทรง เปรียบเทียบบึงแห่งนีว้ า่ เป็นเสมือน "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร
74
ตลาดนัดจตุจักร
ตลาดนัดทีม่ ชี อ่ื เสียงทีส่ ดุ ของไทย มีความเป็นมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2491 เมือ่ จอมพล ป. พิบลู สงคราม นายกรัฐมนตรี มีนโยบายจัดตัง้ ตลาดนัดในทุก จังหวัด กรุงเทพมหานครจึงเลือกสนามหลวงเป็นตลาดนัด จนในปี พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นทีพ่ กั ผ่อน หย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟฯ จึงมอบทีด่ นิ สวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้กรุงเทพมหานครเพื่อปรับพื้นที่เป็นตลาดนัด ใช้ช่อื ว่า "ตลาดนัดย่านพหลโยธิน" ต่อมาเปลีย่ นชือ่ เป็น “ตลาดนัดจตุจกั ร”
สวนรถไฟ
ปอดของคนกรุงเทพมหานครอีกแห่ง ทีก่ ารรถไฟฯ มอบให้เป็นสาธารณประโยชน์ คือ “สวนวชิรเบญจทัศ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “สวนรถไฟ” เดิมพื้นที่ แห่งนีเ้ คยเป็นสนามกอล์ฟของการรถไฟฯ จนปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติให้ สร้างสวนสาธารณะขึน้ เพือ่ น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิต์พิ ระบรมราชินีนาถ ในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เนือ่ งใน วโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 60 พรรษา ปัจจุบนั เป็ น สถานที่ พั ก ผ่ อ นและออกกำ � ลั ง กายของ คนกรุงเทพฯ มีเลนจักรยาน เลนสำ�หรับเดิน-วิ่ง ศูนย์กีฬา รวมทั้งอุทยานผีเสื้อและแมลง ค่าย พักแรม สวนป่าจำ�ลอง เมืองจราจรจำ�ลอง
76
สวนจตุจักร
เมือ่ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 การรถไฟฯ ได้นอ้ มเกล้าฯ ถวาย ที่ดินจำ�นวน 100 ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะสำ�หรับพักผ่อนหย่อนใจให้กับ คนกรุงเทพฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ (48 พรรษา) พระองค์พระราชทานนามสวนสาธารณะแห่งนีว้ า่ "สวนจตุจกั ร" มีความหมายว่า สีร่ อบ สวนแห่งนีม้ สี ญ ั ลักษณ์ทโ่ี ดดเด่น คือ หอนาฬิกา นาฬิกา ดอกไม้ และประติมากรรมอาเซียน 6 ประเทศ เปิดใช้เมือ่ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523
77
ถนนรัชดาภิเษก
จากทีด่ นิ การรถไฟฯ กลายเป็นถนนสายหลักของกรุงเทพมหานคร ทีส่ ร้าง ขึน้ ตามพระราชดำ�ริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ทีพ่ ระราชทาน แนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพ - ธนบุรี ในปี พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรือ่ งพระราชพิธรี ชั ดาภิเษก พระองค์จงึ ทรงมี พระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพือ่ พระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ เมือ่ สร้างเสร็จได้พระราชทานนามว่า "ถนนรัชดาภิเษก" โดย มีพธิ เี ปิดในปี พ.ศ. 2519
จากสถานีรถไฟสู่ศูนย์การ แพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย อาคเนย์ เมือ่ ปี พ.ศ. 2542 การรถไฟฯ ได้สร้าง สถานีบางกอกน้อยขึ้นใช้แทนสถานี รถไฟธนบุรเี ดิม แล้วมอบทีด่ นิ พร้อม ตัวอาคารสถานีธนบุรีท่ีอยู่ริมแม่น้ํา เจ้าพระยา จำ�นวน 33 ไร่ ให้แก่ โรงพยาบาลศิรริ าช เพือ่ สร้างศูนย์การ แพทย์ท่ีใหญ่ท่ีสุดในเอเซียอาคเนย์ โดยโรงพยาบาลได้ปรับปรุงอาคาร สถานีธนบุรี (เดิม) เป็น “พิพธิ ภัณฑ์ ศิรริ าชพิมขุ สถาน”
79
80
ตู้รถไฟเก่านำ�ไปทำ�ปะการังเทียม
ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวดำ�นํ้าที่เกาะแหวน จ. ตรัง จะได้สัมผัส บรรยากาศใต้ นํ้ า ที่ ไ ม่ เ หมื อ นที่ ไ หน เพราะมี ตู้ ร ถสิ น ค้ า เก่ า ที่ ก ารรถไฟฯ น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พิ์ ระบรมราชินนี าถ ตามโครงการจัด ทำ�ปะการังเทียมชายฝั่งทะเล เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์นํ้าบริเวณ ชายฝั่งทะเล ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทะเล และเพิ่มแหล่งอนุบาลพันธุ์ สัตว์นํ้า ทำ�ให้ จ. ตรัง กลายเป็นจังหวัดแรกของประเทศที่มีตู้รถไฟอยู่ใต้ท้อง ทะเลให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือน
โบกี้ห้องสมุด
ตูร้ ถไฟถูกนำ�มาดัดแปลงเพือ่ สาธารณประโยชน์เป็นห้องสมุด สำ�หรับให้ประชาชนมานัง่ อ่านหนังสือเพลินๆ มีอยูห่ ลายแห่งทัว่ ประเทศ อาทิ สถานีหนองคาย สร้างขึน้ เมือ่ คราวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานพิธีเปิดการเดินรถไฟ ขบวนปฐมฤกษ์ ระหว่างประเทศไทย - สปป. ลาว ณ สถานีหนองคาย จ. หนองคาย นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้มอบตูร้ ถไฟห้องสมุดไว้ให้ประชาชน ทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ อาทิ บริเวณสถานีบุรีรัมย์ สถานีหัวหิน สถานี ลำ�ปลายมาศ สถานีอบุ ลราชธานี สถานีศรีสะเกษ สถานีสรุ นิ ทร์ สถานี ไชยา ศาลากลางจังหวัดเชียงราย (หลังเก่า) สถานีคีรีรัฐนิคม สถานี ชุมทางบางซือ่ และบริเวณบ้านพักรถไฟ กม. 11 เป็นต้น
81
โคมไฟของประแจ
ประแจ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจราจรของ รถไฟ ติดตั้งในบริเวณสถานีรถไฟหรือตามริมทางรถไฟ ใกล้ที่ทางหลีกหรือทางแยกหรือทางตัน เพื่อจะทำ�ให้ รถไฟเดินไปตามทางที่ต้องการ โดยมีโคมไฟของประแจ ลั ก ษณะเป็ น กล่ อ งสี ดำ � เจาะช่ อ งแสงไฟในโคม ทัง้ สีด่ า้ นของโคมมีสญ ั ลักษณ์แตกต่างกัน ตัวประแจมีขา สูงประมาณ 1 เมตร เมือ่ ควบคุมประแจให้ไปในทิศทาง ใด โคมไฟของประแจก็จะหันแสดงท่าทิศทางเพื่อให้ พนักงานขับรถไฟทราบว่า รถไฟที่จะผ่านประแจนั้น จะเคลื่อนที่ไปทิศทางใด
ตลาดร่มหุบ
ตลาดร่มหุบ หรือตลาดแม่กลอง อ ยู่ ใ น ตั ว ต ล า ด เ ท ศ บ า ล จ. สมุทรสงคราม มีเอกลักษณ์ ไม่ เ หมื อ นตลาดไหน เพราะ ตั ว ตลาดตั้ ง อยู่ ริ ม สองฝั่ ง ทาง รถไฟสายบ้านแหลม-แม่กลอง จึ ง มี ร ถไฟวิ่ ง ผ่ า กลางตลาด เวลารถไฟมาพ่ อ ค้ า แม่ ข าย ก็ตอ้ งยกของ แบกสัมภาระหลบ หุบร่ม เก็บกันสาด พอรถไฟ ผ่านไปก็กลับมาตัง้ ขายแบบเดิม เป็นเรื่องตื่นเต้นลุ้นระทึกจนดัง ไปถึงต่างประเทศ กลายเป็น หนึง่ ในจุด Unseen in Thailand
83
เมนูเด็ดรถไฟ ในอดีต
ในอดีตหลายสิบปีก่อน การเดิน ทางด้วยรถไฟมีช่ือเสียงเรื่องการ บริการอาหารรสชาติเยี่ยมหลาย เมนู โดยกรมรถไฟหลวงได้ จัด บริการตูร้ ถขายอาหาร (บกข.) มี ที่น่งั สำ�หรับนั่งรับประทานอาหาร พ่วงไปกับขบวนรถโดยสาร อาหาร ทีไ่ ด้รบั ความนิยมต้องยกให้ “ข้าว ผัดรถไฟ” และ “ยำ�เนื้อรถไฟ” รับประทานคูก่ บั “โอเลีย้ ง” เข้ากัน ได้เป็นอย่างดี
84 85
สูตรยำ�เนื้อรถไฟ
เครื่องปรุง ประกอบด้วย เนื้อวัว ติดมัน 200 กรัม แตงร้านผ่าซีกหั่นขวาง 1 ลูก มะเขือเทศลูกใหญ่หนั่ ยาว 1 ลูก หอมแดงซอย 2 หัว หอมหัวใหญ่หั่น 1 ลูก คึ่นช่ายหั่น เป็นท่อนๆ 1 ต้น ต้นหอมหั่นเป็นท่อนๆ 1 ต้น พริกขี้หนูซอย 8 เม็ด ผักชี 1 ต้น รากผักชี ตำ�ละเอียด 1 ต้น กระเทียมตำ� 1 ช้อนโต๊ะ นาํ้ มะนาว 2 ช้อนโต๊ะ นาํ้ ปลา 2 ช้อนโต๊ะ นาํ้ ตาล มะพร้าว 1/2 ช้อนชา ซอสพริก 2 ช้อนโต๊ะ และ พริกแห้งทอด 5 เม็ด วิ ธี ทำ � ย่ า งเนื้ อ อย่ า ให้ สุ ก มาก สไลด์ตามขวางขนาดพอดีคำ� ปรุงนํ้ายำ�ในชาม ด้ ว ยการนำ � รากผั ก ชี ตำ � ละเอี ย ด กระเที ย มตำ � พริกขี้หนูซอย หอมแดงซอย มะนาว นํ้าปลา นํ้าตาลมะพร้าว และซอสพริก คลุกเคล้าให้ เข้ากัน จากนั้นนำ�เนื้อย่างลงคลุกในนํ้ายำ�ให้ เข้าเนื้อ ตามด้วยหอมใหญ่ แตงร้าน คึ่นช่าย ต้นหอม ตักใส่จาน โรยด้วยพริกแห้งทอด เคล็ดลับ สูตรยำ�เนื้อรถไฟจะใช้การ ย่างเนือ้ และย่างไม่ให้สกุ จนเกินไป เนือ้ จึงหอม อร่อยกว่าการลวก ส่วนการปรุงนํ้าซอส หรือการทำ�พริกนํ้าปลามะนาว ต้องใส่กระเทียมโทนลงไปด้วย ใช้พริกขี้หนูสวนจะทำ�ให้นํ้ายำ�หอม นํ้าตาล มะพร้าวก็มีกลิ่นหอมกว่านํ้าตาลทราย และควรเลือกใช้ซอสพริกของไทย เพราะซอสพริกต่างประเทศมีรสเปรี้ยวจัด
สูตรข้าวผัดรถไฟ
เครือ่ งปรุง ประกอบด้วย ข้าวสวย หุงร่วน 1 ถ้วย นํา้ มันหมูหรือนํา้ มันพืช 1 1/2 - 2 ถ้วย เนยชนิดเค็ม 1 ช้อนชา หมูเนือ้ แดง หรือเนือ้ ไก่หน่ั 1/2 ขีด กุนเชียงอย่างดี หัน่ ชิน้ ลูกเต๋า 1/2 ขีด มะเขือเทศเอาไส้ออก หัน่ เป็น เส้นยาว 1/2 ลูก หอมหัวใหญ่ห่นั ยาว 1/4 ลูก เมล็ดถัว่ ลันเตา 1 ช้อนโต๊ะ ซอสมะเขือเทศ (ยีห่ อ้ ไมก้า) 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมทุบ 3 กลีบ ไข่เป็ด 2 ฟอง เกลือ ซีอว๊ิ ขาว และซอสปรุงรส วิธที �ำ เริม่ จากตัง้ กระทะให้รอ้ น ใส่ นํา้ มันหมูหรือนํา้ มันพืชลงไป เมือ่ นํา้ มันร้อนก็ใส่ กระเทียมทุบลงไปเจียวให้เหลือง ใส่หมูหรือไก่ รวนให้หอม สุกแล้วตักใส่ถว้ ยพักไว้ จากนัน้ ใส่เนย ลงไปในกระทะใบเดิม ตามด้วยหอมใหญ่ กุนเชียง เมล็ ด ถั่ ว ลั น เตาลงผั ด ปรุ ง รสด้ ว ยซี อ๊ิ ว ขาว ซอสปรุงรส จากนัน้ ใส่เนือ้ หมูหรือไก่ทร่ี วนไว้แล้ว ลงผัดให้เข้ากัน ตอกไข่ 1 ฟองลงไปผัดคลุกเคล้า กับเครือ่ งปรุงจนแห้ง แล้วจึงใส่ขา้ วสวย ปรุงรส ด้วยเกลือ ใส่มะเขือเทศ แล้วผัดเร็วๆ ให้เข้ากัน เวลาเสิร์ฟให้ตักข้าวใส่ถ้วยอัดให้แน่น คว่ําลง บนจาน วางไข่ดาวทอดเกรียม 1 ฟอง พร้อมนํา้ ปลา พริกมะนาวผสมกระเทียมโทน และแตงกวาซอย เคล็ ด ลั บ อย่ า หุ ง ข้ า วแฉะเกิ น ไป เพราะจะทำ�ให้ผดั ข้าวเละ ไม่นา่ กิน และใช้เกลือ แทนนํ้าปลาจะทำ�ให้ข้าวผัดนุ่ม ใช้มะเขือเทศ แกะเม็ดออกจะทำ�ให้ขา้ วผัดสวย
86
ของอร่อยบนเส้นทางรถไฟ
นอกจากตูเ้ สบียงทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของรถไฟแล้ว การเดิ น ทางด้ ว ยรถไฟยั ง มี เ อกลั ก ษณ์ เ รื่อ งของกิ น ตามรายทางสถานีตา่ งๆ ทีม่ ใี ห้เลือกชิมทัง้ คาวหวาน ลิม้ รส กันได้ต้ังแต่เช้าจนค่ํา ในทุกเส้นทางไม่ว่าจะขึ้นเหนือ ล่องใต้ ไปอีสาน ตะวันออก หรือตะวันตก ทัง้ ของกิน ทัว่ ไปและเฉพาะท้องถิน่ เช่น ข้าวเหนียว ไก่ยา่ ง เนือ้ ทอด หมูทอด แถวสระบุรี ลพบุรี พอขึ้นเหนือก็มีข้าวนึ่ง แคบหมู ไส้อว่ั หรือรถด่วนทอดกรอบ สายตะวันออกก็มี กบไชโยทีโ่ ดดเด่น ในเส้นทางสายนํา้ ตกมีขา้ วแกงกระทง ขนมตาล ขนมหม้อแกง และถ้าลงใต้กม็ ขี า้ วต้ม ก๋วยจับ๊ ไก่ทอดหาดใหญ่ จนถึงอาหารมุสลิมอย่างนาซิตาแฆ ทีป่ ตั ตานี เรียกว่าเทีย่ วไปกินไป อิม่ ได้ตลอดเส้นทาง รถไฟจริงๆ
87
นาฬิกาที่หัวลำ�โพง
จุ ด เด่ น ของสถานี ก รุ ง เทพอี ก อย่ า งคื อ นาฬิกาบอกเวลาที่อายุเก่าแก่เท่ากับตัวอาคารสถานี ติดตั้งอยู่กึ่งกลางยอดโดมสถานี นาฬิกาเรือนนี้สั่งทำ� เป็ น พิ เ ศษ มี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 160 เซนติ เ มตร ควบคุ ม ด้ ว ยไฟฟ้ า ระบบ ดี . ซี . จากห้ อ งชุ ม สาย โทรศัพท์กรุงเทพ
โรงแรมรถไฟ
โรงแรมของกรมรถไฟที่คนรู้จักมาก ที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ ง คื อ "โรงแรมรถไฟ หัวหิน" สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2466) ถือเป็นโรงแรมหรูหรา ทีส่ ดุ ในยุคนัน้ ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็ น แบบโคโลเนี ย ล ปั จ จุ บัน ได้ รับ การปรับปรุงและเปิดให้บริการในชื่อ "โรงแรมเซ็นทาร่าแกรนด์บีชรีสอร์ท แอนด์ วิ ล ล่ า หั ว หิ น " นอกจากนี้ กรมรถไฟยังสร้างโรงแรมขึน้ ในอีกหลาย จังหวัดคือ เชียงใหม่ หาดใหญ่ และ อุตรดิตถ์ รวมถึงโรงแรมที่ให้เอกชน และส่วนราชการเช่าทีล่ �ำ ปาง สงขลา และอรัญประเทศ
89
โฮเต็ลราชธานี
เมือ่ กิจการรถไฟเจริญก้าวหน้า อย่างต่อเนือ่ ง กรมรถไฟจึงเห็นว่า สถานี กรุงเทพควรมีโรงแรมชัน้ หนึง่ ด้วย แม้ตอนนัน้ กรมรถไฟมีโรงแรมชัน้ หนึง่ ในกรุงเทพฯ แล้วคือ "วังพญาไท" ทีเ่ ปิดให้บริการตัง้ แต่ พ.ศ. 2468 เมือ่ สร้างโรงแรมภายในสถานีกรุงเทพเสร็จ ก็ต้งั ชื่อว่า "โฮเต็ลราชธานี" เป็นโรงแรม ขนาดเล็ก จำ�นวน 10 ห้อง แต่ทนั สมัยมาก ห้องอาบนํ้ามีท้งั นํ้าร้อนและเย็น มีพัดลม และเครื่องใช้ไฟฟ้าอำ�นวยความสะดวก อย่างดี โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทรงเปิดเมือ่ 24 มกราคม พ.ศ. 2470
90
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร
ตัง้ อยูฝ่ ง่ั ตรงข้ามกับโรงงานมักกะสัน เดิมชือ่ "โรงพยาบาลรถไฟ" เปิดดำ�เนินการเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลบุรฉัตร ไชยากร" ตามพระนามของพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำ�แพงเพ็ชร อัครโยธิน โรงพยาบาลแห่งนีเ้ ป็นสวัสดิการทีก่ ารรถไฟฯ มอบให้กบั พนักงาน ทุกคน ในการดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อให้คนรถไฟสามารถทำ�งานได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และเปิดให้บริการแก่ประชาชนทัว่ ไป โดยในปัจจุบนั มีอปุ กรณ์ทางการ แพทย์ท่ีทันสมัย และมีฝีมือไม่แพ้โรงพยาบาล เอกชนทัว่ ไปเลย
92
ที่มาของคำ�ว่า "ตีตั๋ว"
ในสมัยก่อน เราใช้ตว๋ั รถไฟแบบหนาทีพ่ มิ พ์ชอ่ื สถานีและราคาไว้บนตัว๋ แต่ยงั ไม่ได้ระบุวนั ทีเ่ ดินทาง เวลา ขายเจ้ า หน้ า ที่ จึ ง ต้ อ งนำ � ตั๋ ว มาเข้ า เครื่ อ ง Stamp เพือ่ ตีตราวันทีเ่ ดินทางลงไป เจ้าเครือ่ ง Stamp นีม้ ลี กั ษณะ เป็นแท่งเหล็ก ด้านบนสามารถเลื่อนหมุนวันที่ได้ ส่วน ด้านล่างเป็นพิมพ์ประทับหมึกสีแดงลงบนตัว๋ เวลาใช้งาน ต้ อ งโยกเครื่อ งนี้อ อกจากตั ว สอดตั๋ว ลงไปที่ตัว พิ ม พ์ เครือ่ งจะตีกลับมาประทับวันทีแ่ ละขบวนรถบนตัว๋ ดัง “ปัง้ ” เป็นที่มาของคำ�ว่า "ตีต๋วั " ทุกวันนี้ไม่ว่าซื้อตั๋วแบบไหน คนไทยก็ยงั ติดปากเรียกว่าตีตว๋ั อยูเ่ สมอ
91
วิวัฒนาการตั๋วรถไฟ
93
e-TSRT
ตั๋วรถไฟไทยที่ใช้กันในอดีตเป็น "ตั๋วหนา" ลักษณะเหมือนแผ่นการ์ดเล็กๆ หนา 0.6 – 0.8 เซนติเมตร คาดว่ามีตน้ แบบ มาจากเยอรมนี ด้านหน้าตัว๋ ทุกใบพิมพ์เลข ที่ตั๋ว สถานีเริ่มต้น สถานีปลายทาง และ ราคา แบ่ ง สี ต ามประเภทและชนิ ด การใช้งาน เช่น ชัน้ ที่ 1 ใช้ตว๋ั หนาสีเหลือง ชัน้ ที่ 3 ใช้ตว๋ั หนาสีส้ม เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2535 การรถไฟฯ เริ่มเปลี่ยนรูปแบบตั๋ว มาเป็ น ตั๋ ว ชนิ ด บาง พิ ม พ์ ด้ ว ยระบบ คอมพิวเตอร์ ระยะแรกใช้ควบคูก่ บั ตัว๋ หนา จนทุกสถานีมรี ะบบออกตัว๋ ด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วจึงยกเลิกตั๋วหนาไปในที่สุด
การรถไฟฯ มีพฒ ั นาบริการด้าน การออกตัว๋ อย่างต่อเนือ่ ง โดยเปิดให้จองและ ซือ้ ตัว๋ ทีส่ ถานีรถไฟทุกแห่ง ทีต่ วั แทนจำ�หน่าย หรือสายด่วน 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง จนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ได้เปิดบริการจองตัว๋ - ซือ้ ตัว๋ รถไฟผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ด้วยระบบ E-Ticket (e-TSRT) ที่ www.thairailwayticket.com ให้ ผูโ้ ดยสารซือ้ ตัว๋ ได้ตลอด 24 ชัว่ โมง และ สามารถชำ�ระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต และบัตรเดบิต โดยสามารถจองตัว๋ ล่วงหน้า ได้ไม่เกิน 60 วัน จนถึงก่อนขบวนรถออก 2 ชั่วโมง สำ�รองที่น่งั ได้สูงสุด 4 ที่น่งั ต่อ การทำ�รายการ 1 ครัง้
ไม้หมอน
หมอนรองราง (Sleeper หรือ Tie) เป็นอุปกรณ์ใช้ยึดจับรางรถไฟให้อยู่กับที่ ช่วยให้ขอบรางทั้งสองเส้นมีระยะที่ เท่ากัน และช่วยถ่ายเทนาํ้ หนักลงสูห่ นิ หรือวัสดุรองราง นิยมทำ�จากไม้เนือ้ แข็ง คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็ก (สำ�หรับ ใช้บนสะพานเหล็กโดยเฉพาะ) หมอนรองรางนับจากอดีตทำ� จากไม้ คนจึงเรียกว่า "ไม้หมอน" แต่ปจั จุบนั มีการใช้หมอนคอนกรีตมากขึ้น เพราะไม้ เป็นทรัพยากรทีม่ คี ณ ุ ค่า ราคาแพง อีกทัง้ คอนกรี ต ทนทาน ไม่ ผุ ง่ า ยเหมื อ นไม้ สามารถรองรับความเร็วของขบวนรถได้ มากกว่า ในปี พ.ศ. 2558 การรถไฟฯ ได้ ปรับปรุงราง เปลี่ยนหมอนไม้เป็นหมอน คอนกรีตทัง้ หมด รวมทัง้ เปลีย่ นรางขนาด 80 ปอนด์เป็น 100 ปอนด์ เพือ่ เพิม่ ความ แข็ ง แรงและความปลอดภั ย ถึ ง แม้ ว่ า จะเปลีย่ นเป็นหมอนคอนกรีตแล้ว คนไทย ก็ยงั ติดปากเรียกว่า "ไม้หมอน" อยูด่ ี
96
เครื่องยึดเหนี่ยวราง
เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ ประกอบ พระราชพิธเี ปิดการเดินรถไฟสายปฐมฤกษ์ เมือ่ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ทรง "ตอกหมุดตรึงราง" เป็นเครือ่ งหมายสำ�คัญในการเริม่ ต้นกิจการรถไฟ ไทย หมุดตรึงรางนีม้ ชี อ่ื อย่างเป็นทางการว่า "เครือ่ งยึดเหนีย่ วราง (Fastening) ใช้ส�ำ หรับตรึงรางให้ตดิ กับหมอนรองราง เพือ่ ให้ได้ระยะระหว่างราง หรือขนาดทาง ตามทีต่ อ้ งการ โดยนิยมใช้ตะปูรางหรือสลักเกลียวปล่อยสำ�หรับหมอนไม้ ส่วนหมอน คอนกรีตจะใช้เป็นแบบสปริงหมอนคอนกรีต
95
หินโรยทาง
ทำ�ไมรางรถไฟต้องมีหนิ โรยอยูต่ ามราง? นั่ น เป็ น เพราะหิ น เหล่ า นี้ เ ป็ น วั ส ดุ ร องรั บ ทาง ซึง่ คอยรับนาํ้ หนักจากหมอนรองราง ขณะรถไฟ แล่นผ่าน นา้ํ หนักจะกดลงบนรางและหมอนรองราง แล้วจึงถ่ายนํา้ หนักลงสูห่ นิ โรยทาง หินเหล่านีถ้ กู ส่งมาจากโรงโม่หนิ โดยคัดเลือกให้ได้ขนาดตาม มาตรฐานที่ กำ � หนด ส่ ว นใหญ่ ใ ช้ หิ น แกรนิ ต เพราะไม่แตกป่นง่าย ประโยชน์ของหินโรยทาง ยังช่วยในการระบายนํ้าเวลาฝนตกอีกด้วย
97
หางปลา
เสาสูงประมาณ 8 - 10 เมตร ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ มีแขนของ สัญญาณสีแดง/ขาว หรือหากเป็นเสาสัญญาณเตือนจะมีสีเหลือง/ดำ� นี่คือ “เสาสัญญาณหางปลา” ใช้เพื่อเป็นสัญญาณห้ามหรืออนุญาตในการเดินรถแก่ พนักงานขับรถ โดยท่าห้าม หางปลาจะขนานกับพืน้ ดิน ส่วนท่าอนุญาต หางปลา จะยกขึ้น 45 องศา ปัจจุบัน หางปลายังมีใช้อยู่ใน หลายประเทศทั้งในเอเซียและยุโรป
98
ป้าย ว กับสัญญาณหวีด
ป้ายรูปตัว ว เรียกว่าป้ายหวีดรถจักร ตั้ ง อยู่ ริ ม ทางรถไฟ มี ไ ว้ เ พื่ อ กำ � หนดให้ พ นั ก งาน ขับรถไฟต้องให้สัญญาณหวีด เป็นการให้สัญญาณว่า รถไฟมาแล้ว
99
ป้ายเตือน
ถนนที่ตัดผ่านรางรถไฟจะมีป้ายเตือน หรือไฟสัญญาณเตือน เพือ่ บอกให้ผขู้ บั ขีร่ ถยนต์หรือ คนเดินเท้าหยุดมองทางซ้ายขวาก่อนจะข้ามผ่าน รางรถไฟ ซึง่ เป็นการป้องกันอุบตั เิ หตุทอ่ี าจเกิดขึน้ เพราะรถไฟวิง่ เร็วและไม่สามารถเบรกได้ทนั ที
100
จุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ - รถยนต์
จุดตัดเสมอระดับ หมายถึง ส่วนของทางรถไฟ ที่ตัดผ่านถนนในแนวเสมอระดับ โดยไม่ยกระดับ เป็นสะพาน หรือลดระดับเป็นทางลอด ซึ่งต้องมี สัญญาณเตือนหยุดการจราจรทางถนน และอาจมี เครื่องกั้น นอกจากนี้ ยังมี “จุดตัดทางรถไฟแบบ ต่างระดับ” ตัดผ่านทางรถไฟที่แยกการสัญจรของ รถยนต์และขบวนรถไฟออกจากกัน ทัง้ แบบสะพาน ข้ามและทางลอดใต้ทางรถไฟ “จุดตัดทางรถไฟ แบบมีเครื่องกั้น” ติดตั้งเครื่องกั้นเพิ่มเติมจากการ ควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร “จุดตัดทางรถไฟ แบบมีไฟเตือน” ติดตั้งสัญญาณเตือน ทั้งป้าย จราจร สัญญาณไฟวาบ และสัญญาณเสียง แต่ไม่มีคานกั้น “จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร” ทั้งป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เหมาะกับทางตัดผ่านบนทางหลวงหรือถนนนอกเมืองที่ห่างจากชุมชน และ “ทางลักผ่าน” เป็นทางเข้า-ออกประจำ�ของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นๆ มักไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย
101
สถานีกับที่หยุดรถและป้ายหยุดรถ ความหมายที่ไม่เหมือนกัน
สถานีรถไฟ คือ จุดที่กำ�หนดให้รถไฟหยุดเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับการโดยสารและขนส่งสินค้า โดยมีเจ้าหน้าที่ ตัวอาคาร เครื่องขอทางสะดวก อาณัติสัญญาณ และที่จำ�หน่ายตั๋ว ส่วนป้ายหยุดรถ/ที่หยุดรถ เป็นจุดที่กำ�หนดให้รถไฟหยุดเพื่อ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการโดยสารและขนส่งสินค้า แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีตัวอาคาร เครื่องขอทางสะดวก หรืออุปกรณ์อะไรแต่อย่างใด เช่น ป้ายหยุดรถยมราช (สายเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้) ป้ายหยุดรถนิคมรถไฟ กม.11 มีทางแยกไปสถานีรถไฟพหลโยธิน สำ�หรับขบวนรถไฟสายเหนือ เป็นต้น
102
ลูกแก้วดับเพลิง
อุปกรณ์ดบั เพลิงชนิดหนึง่ นิยมใช้กนั แพร่หลาย ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การรถไฟฯ ได้สั่งมาติดตั้งตาม จุดต่างๆ ของอาคารทีท่ �ำ การ เพือ่ เป็นอุปกรณ์ในการป้องกันการ เกิดอุบตั เิ หตุเพลิงไหม้ เพราะการทำ�งานของลูกแก้วดับเพลิงนัน้ จะตรวจจับความร้อน หากมีเหตุเพลิงไหม้ ลูกแก้วจะแตก กระจายและปล่อยสารคอร์บอนเตตระคลอไรด์ออกมาดับไฟ ปัจจุบันยังหาชมได้ตามห้องทำ�งานในตึกบัญชาการ การรถไฟฯ
ความหมายที่แท้จริง ของโบกี้
คำ�ว่า “โบกี้” ไม่ได้หมายถึงตัวรถ หรือ ตู้ ร ถไฟทั้ ง คั น แต่ ห มายถึ ง อุ ป กรณ์ ส่ ว นล่ า ง ซึ่ ง มี ห น้ า ที่ ร องรั บ นํ้ า หนั ก ตั ว รถเอาไว้ ซึ่ ง ในอดี ต การรถไฟฯ มีรถโดยสารรองรับเฉพาะรถ 4 ล้อ เท่ า นั้ น ต่ อ มามี ก ารสร้ า งตั ว รถให้ มี ความยาวมากขึ้น เพื่อให้สามารถเพิ่ม ความจุของผูโ้ ดยสารและสินค้าได้มากขึน้ ซึง่ รถโดยสารจำ�นวน 4 ล้อ ไม่สามารถ รองรับนํา้ หนักทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้ จึงมีอปุ กรณ์ ส่วนล่างเรียกว่า “โบกี้” หรือที่เรียกว่า “แคร่” มาใช้รบั นํา้ หนักตัวรถทีเ่ พิม่ มากขึน้ โดยใน 1 โบกี้ ประกอบด้วย ล้อเพลา จำ�นวน 2 ชุด 4 ล้อ และในรถ 1 คัน จะใช้โบกีร้ องรับนาํ้ หนัก จำ�นวน 2 โบกี้ หรือเท่ากับรถ 1 คัน มี 8 ล้อ
104
ห่วงตราทางสะดวก
อีกหนึง่ เครือ่ งหมายความปลอดภัย ที่ใช้ในการเดินรถไฟ เป็นอุปกรณ์ที่บรรจุใบอนุญาต ส่งให้รถไฟแต่ละขบวนให้สามารถเดินรถจากสถานี หนึง่ ไปยังอีกสถานีหนึง่ ได้ เมือ่ รถไฟต้องการแล่นไป สู่สถานีหน้า นายสถานีที่รถออกจะสอบถามไปยัง สถานี ถั ด ไปว่ า มี ข บวนรถหรื อ สิ่ ง กี ด ขวาง หรื อ ไม่ ถ้ า ไม่ มี นายสถานี แ รกจะกดสั ญ ญาณ ที่เครื่องตราทางสะดวก เพื่อนำ� "แผ่นตราทาง สะดวก" หรื อ "ลู ก ตราทางสะดวก" ออกมา แล้วใส่ในกระเป๋าปลายห่วงตราทางสะดวก จากนัน้ นำ�ห่วงไปแขวนบนเสา เมือ่ รถไฟแล่นผ่าน พนักงาน ขับรถจะคว้าห่วงที่คล้องอยู่แล้วนำ�ไปแขวนที่เสา ในสถานีถัดไป นับเป็นวิธกี ารเรียบง่าย แต่สามารถ จัดการระบบการเดินรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
105
ระฆังรถไฟ
อุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการเดินรถที่มีความสำ�คัญควบคู่กับสถานีมาตั้งแต่ โบราณ เป็นเครื่องบอกสัญญาณให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้โดยสารรู้ว่า ควรทำ�อะไรในตอนนี้ เช่น - ตี 1 ครั้ง หมายถึง มีขบวนรถโดยสารขอทางมา การขอทางคือ ขบวนรถโดยสารกำ�ลัง จะเข้าสถานีข้างเคียง และกำ�ลังจะมาสู่สถานีที่มีการตีระฆัง - ตี 2 ครั้ง หมายถึง อีกประมาณ 3 นาที จะปล่อยขบวนรถโดยสารออกจากสถานีนี้ - ตี 3 ครั้ง หมายถึง ปล่อยขบวนรถโดยสารออกจากสถานี - ตี 4 ครั้ง หมายถึง ขบวนรถเที่ยวล่อง ออกจากสถานีข้างเคียงมาแล้ว - ตี 5 ครั้ง หมายถึง ขบวนรถเที่ยวขึ้น ออกจากสถานีข้างเคียงมาแล้ว การตีระฆัง นับเป็นการแจ้งเตือนเพืื่อเตรียมความพร้อม และเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถอีกทางหนึ่งที่เราไม่ควรลืม
106
รถตู้ปลา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ที่เปิดเดินรถสายปากคลองสาน – มหาชั ย และขยายเส้ น ทางสาย บ้านแหลม – แม่กลอง รถตู้ปลาเป็น ที่คุ้นตาของคนในสมัยนั้น เพราะใช้ ขนส่งอาหารทะเลสดจากแม่กลองสู่ พระนคร ต่อมาระบบขนส่งสะดวก รวดเร็วมากขึ้น รถตู้ปลาจึงถูกเลือน หายไปตามกาลเวลา ปัจจุบันเหลือ เป็ น อนุ ส รณ์ อ ยู่ เ พี ย งตู้ เ ดี ย ว โดย ถู ก ปรั บ ปรุ ง เป็ น ห้ อ งรั บ แขกผู้ ใ หญ่ จอดอยู่ ณ โรงซ่ อ มรถดี เ ซลราง จ. สมุทรสาคร
107
เก้าอี้ชานชาลา
เก้ า อี้ ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ พิเศษ สร้างจากไม้เนื้อแข็ง รูปทรง คล้ า ยหมวกปี ก ถู ก ทั บ จนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นทีน่ งั่ ตัวหมวกเป็น พนั ก พิ ง มี โ ครงสร้ า งโปร่ ง เหมื อ น ไม้ ร ะแนงทำ � ให้ ร ะบายอากาศได้ ดี แถมยั ง นั่ ง ได้ ร อบ ทุกด้าน ถ้านั่งกันเต็มที่จริงๆ ได้ถึง 10 คนเลยทีเดียว บางคนเรียกตามรูปทรงของเก้าอี้ว่า เก้าอี้ รูปไข่ และมีมกุ ขำ�ๆ ตามมาว่า "เก้าอีร้ ปู ไข่นะ ...ไม่ใช่ลบู ไข่"
108
โคมไฟของเครื่องตกราง
เครื่องตกราง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจราจรของรถไฟ ติดตั้งในสถานีรถไฟบริเวณทางหลีก หรือทางแยกหรือทางตัน เพื่อห้าม รถไฟเข้าและออกทางนั้นๆ โดยมีโคมไฟของเครื่องตกราง ลักษณะเป็น กล่องสีด�ำ เจาะช่องแสงไฟในโคม ทัง้ สีด่ า้ นของโคมมีสญ ั ลักษณ์แตกต่างกัน เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ว งกลมมี ขี ด ตรงกลาง อี ก ด้ า นเป็ น วงกลมเล็ ก สองวง มีขาสูงประมาณ 1 เมตร ปกติจะควบคุมเครื่องตกรางที่ “ท่าปกติ” เพื่อเป็นการห้ามรถไฟผ่าน โคมไฟของเครื่องตกรางก็จะหันแสดงท่าห้าม เพื่อให้พนักงานขับรถไฟทราบ และไม่เคลื่อนรถไฟออกไป จะเคลื่อนไปได้ ก็ต่อเมื่อเครื่องตกรางนั้นเปิดอนุญาตเท่านั้น
109
อักษรย่อของรถไฟ
การรถไฟฯ เป็นองค์กรที่ใครต่อใครบอกว่ามีอักษรย่อมากที่สุดองค์กรหนึ่ง เพราะมีการกำ�หนดอักษรย่อทั้งในส่วน ตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่ ชื่อสถานี ที่หยุดรถ ชื่อรถโดยสารและรถสินค้า แล้วยังใช้ในการใช้โทรเลข วิทยุโทรเลข และโทรพิมพ์ เช่น พขร. พนักงานขับรถ พรร. พนักงานรักษารถ นสน. นายสถานี อย. สถานีอยุธยา บชส. รถโบกี้ชั้นที่ 3 บนท. รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 บนอ.ป. รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 บตญ. รถโบกี้ตู้ใหญ่ บขถ. รถโบกี้ข้างโถง ขต. รถข้างตํ่า เป็นต้น
110
เลขขบวนรถไฟ
รู้หรือไม่ เวลามีประกาศที่สถานี รถไฟโดยเรียกขบวนรถเป็นหมายเลขต่างๆ นั้น มีการกำ�หนดเลขขบวนรถกันอย่างไร? คำ � ตอบคื อ รถเที่ ย วขึ้ น กำ � หนดเป็ น ขบวนเลขคี่ ส่วนเที่ยวล่องกำ�หนดเป็นขบวนเลขคู่ แล้วเวลาขานหมายเลขก็มีลักษณะพิเศษ ถ้าเป็น เลขสามตัวเรียงกันจะขานเลขทีละตัว เช่น 173 เรียกขบวนรถหนึ่ง เจ็ด สาม แต่ถ้าเป็นเลขสองตัว เช่น 34 เรียกขบวนรถสามสิบสี่
111
ตะแล๊บแก๊ปมาแล้ว
เวลาขึน้ รถไฟเราจะได้ยนิ เสียงหนึง่ ที่ คุ้นหูมาตั้งแต่อดีต เสียง “แก๊ปๆๆ” ที่ดังขึ้นก่อน การปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋ว จนเป็นที่มา ของประโยคติดปากชาวบ้านว่า “ตะแล๊บแก๊ปมาแล้ว” ความจริงแล้วเป็นเสียงจากคีมตัดตั๋ว อุปกรณ์ที่ทำ� จากโลหะ ปากคีมเป็นรูปตัว U หรือตัว M เมื่อ พนักงานตรวจและตัดตั๋วให้เป็นรอยขาดแล้วก็แสดง ว่าผ่านการตรวจตั๋วแล้ว ตะแล๊ บ แก๊ ป ยั ง เป็ น คำ � แผลงมาจาก Telegraph หรือโทรเลขด้วย เพราะการส่งโทรเลข ต้องกดเคาะสัญญาณสั้นๆ ยาวๆ เกิดเสียงคล้ายกับ เสียงกระทบกันของคีมตัดตั๋วรถไฟนั่นเอง
หอสัญญาณ
เป็นสถานที่ซึ่งมีพนักงานอยู่ประจำ� เพื่อขอและให้ทางสะดวกแก่ขบวนรถหรือเครื่องสัญญานเกี่ยวกับ การเดินรถ หอสัญญาณมีอยู่เฉพาะในสถานีใหญ่ๆ เท่านั้น โดยมีแผงสัญญาณที่มีปุ่มควบคุมต่างๆ สำ�หรับ การควบคุมการจราจรทางรถไฟทั้งหมด
113
อุปกรณ์ ขับรถไฟ
การขั บ รถไฟนั้ น มี อุ ป กรณ์ สำ�คัญอยู่ 3 อย่าง คือ กุญแจลม ต้ อ งใส่ ต ลอดเวลาขั บ เคลื่ อ น รถจักร เพราะเป็นตัวควบคุม ระบบลม คันกลับอาการ หรือ คันกลับเกียร์ สำ�หรับเดินหน้า ถอยหลั ง และห่ ว งปราศภั ย ใช้รอ้ ยระหว่างรอยต่อหัวรถจักร กั บ ตู้ ร ถโดยสาร เพื่ อ เพิ่ ม ความปลอดภัย ไม่ให้คนมายก ขอพ่ ว งระหว่ า งรถจั ก รกั บ ตู้รถโดยสาร
114
Dead Man Control
อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยอีกชนิดหนึ่ง ในการขับรถไฟ ติดตั้งอยู่ในตำ�แหน่งเท้าของพนักงาน ขับรถ มีวิธีทำ�งานโดยพนักงานขับรถต้องเหยียบและ ขยั บ เท้ า ตลอดเวลา ถ้ า เผลอหลั บ ไปแล้ ว เท้ า ไม่ ข ยั บ อุ ป กรณ์ จ ะส่ ง สั ญ ญาณเตื อ นครั้ ง แรกเป็ น เสี ย งกริ่ ง ถ้าไม่ตอบสนองอีกจะส่งสัญญาณครัง้ ทีส่ องเป็นเสียงหวีด แต่ถ้ายังไม่ตอบสนองอีกอยู่ดีก็จะสั่งการให้รถไฟเบรก โดยอัตโนมัติ
115
สับราง
อุปกรณ์ทสี่ บั เปลีย่ นให้รถไฟวิง่ ไปทางราง ไหน เรียกว่า “ประแจ” เวลาสับรางที พนักงานประจำ� สถานีต้องเดินไปที่ประแจแล้วทำ�การสับราง แต่สถานี ใหญ่ๆ ที่มีประแจให้สับจำ�นวนมากจะสับรางผ่านคันโยก ในตัวอาคารที่ทำ�การ ระบบลวดสลิงจะดึงให้ตัวประแจ เคลือ่ นที่ ปัจจุบนั การสับรางรถไฟใช้ทงั้ ระบบคอมพิวเตอร์ ด้วย เป็นระบบไฟฟ้าสั่งให้รางรถไฟเคลื่อนตัวสับราง โดยอัตโนมัติ
116
แสตมป์ชุดที่ระลึกครบรอบ 80 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย
117
แสตมป์ชุดรถไฟ
ในวาระครบรอบ 80 ปี การรถไฟแห่ง ประเทศไทย ร่วมกับการสือ่ สารแห่ง ประเทศไทย จัดทำ�แสตมป์ชดุ ทีร่ ะลึก ออกจำ�หน่ายวันแรก 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นภาพรถจักรดีเซล ไฟฟ้า Alsthom หมายเลข 4101 รถจักรดีเซลไฟฟ้า Davenport หมายเลข 577 รถจักรไอนํ้า Pacific หมายเลข 825 และรถจักรไอนา้ํ George Egestoff หมายเลข 215 จัดทำ�โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับการสือ่ สารแห่ง ประเทศไทย นำ�ออกจำ�หน่ายวันแรก 29 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นภาพ รถจักรไอนา้ํ รุน่ ต่างๆ ทีเ่ คยนำ�มาใช้ ในอดีต ประกอบด้วย รถจักรไอนา้ํ “รถไฟสายแม่กลอง” หมายเลข 6 รถจักรไอนํา้ “สูงเนิน” หมายเลข 32 รถจักรไอนา้ํ “ซี 56” หมายเลข 715 และรถจักรไอนา้ํ “มิกาโด” หมายเลข 953
118
แสตมป์ที่ระลึก 100 ปี สถานีกรุงเทพ
“สถานี ก รุ ง เทพ” หรื อ ที่ เ รี ย กกั น ติ ด ปากว่ า “สถานี หัวลำ�โพง” เป็นสถานีรถไฟที่สวยงามและยิ่งใหญ่ มีความเก่าแก่ อยู่คู่กับ ประเทศไทยมายาวนาน นั บ แต่ เริ่ ม สร้ า งและเปิ ด ใช้ ง านจริ ง เมื่ อ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 เพราะเป็ น สถานี ต้ น ทางนำ � พา ความเจริญให้สยามประเทศ เป็น ศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมหัว เมืองต่างๆ กับเมืองหลวง ทำ�ให้ การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็วขึ้น สถานีกรุงเทพ ครบรอบ 100 ปี ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำ�กัด ผลิตแสตมป์ที่ระลึก “100 ปี สถานีกรุงเทพ” แสดงถึงห้วงเวลาสำ�คัญ ตัง้ แต่ยคุ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 6 จนปัจจุบนั
120
แสตมป์ที่ระลึก 120 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย
ใ น โ อ ก า ส ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทยดำ�เนิน กิจการมาครบรอบ 120 ปี จึงได้ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำ � กั ด จั ด ทำ � แสตมป์ ท่ี ร ะลึ ก 2 ชุด คือ ชุด “หัวรถจักรดีเซล ราง และรถไฟฟ้ า สายสี แ ดง” กับชุด “17 โปสเตอร์เตือนภัย” ของการรถไฟยุค 2508 โดย นำ�ออกจำ�หน่ายวันแรกจำ�หน่าย 26 มีนาคม พ.ศ. 2560
119
ตราไปรษณียากร ที่ระลึก 100 ปี รถไฟไทย
จั ด ทำ � โดยการรถไฟแห่ ง ประเทศไทย ร่ ว มกั บ การสื่อสารแห่งประเทศไทย นำ�ออกจำ�หน่าย วั น แรกจำ � หน่ า ย 26 มี น าคม พ.ศ. 2540 เพื่ อ เป็ น ที่ ร ะลึ ก ในโอกาสครบรอบ 100 ปี รถไฟไทย และน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ที่ทรงพระราชทานกำ�เนิดกิจการรถไฟไทย โดย วั น ที่ 26 มี น าคม 2439 พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินนี าถ ทรงประกอบพระราชพิธี เปิ ด การเดิ น รถไฟหลวงเป็ น ปฐมฤกษ์ จาก กรุงเทพ - พระนครศรีอยุธยา แสตมป์ออกแบบ เป็นภาพรถไอนํ้า โฟร์ วีลเลอร์ (ดับส์) ที่ใช้ ในรัชกาลที่ 5 รถจักรไอนํา้ “การัตต์” รถจักรดีเซล การกล ซุลเซอร์ และรถจักรดีเซลไฟฟ้า “ฮิตาชิ”
คณะกรรมการ
นายวรวิทย์ จำ�ปีรตั น์ นางสาวชุณหจิต สังข์ใหม่ นายบวร วงศ์สนิ อุดม นายปิติ ตัณฑเกษม พลเรือเอก ทวีชยั บุญอนันต์ นางอัญชลี เต็งประทีป นายอานนท์ เหลืองบริบรู ณ์ นายอำ�นวย ปรีมนวงศ์
คณะผูบ้ ริหาร
เจ้าของ ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายภาพ ฝ่ายจัดส่ง ฝ่ายสมาชิก ออกแบบและผลิต
การรถไฟแห่งประเทศไทย นางสาวเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ บริษัท คอร์แอนด์พีค จำ�กัด นางศุภมาศ ปลื้มกุศล นางอาภาพันธุ์ สวัสดี บริษัท คอร์แอนด์พีค จำ�กัด กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว กองประชาสัมพันธ์ กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว หมวดสัมภาระ สถานีกรุงเทพ กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย เลขที่ 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0 2220 4271 บริษัท คอร์แอนด์พีค จำ�กัด 27 ซอยเจริญนคร 14 ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ 0 2861 0674 โทรสาร 0 2861 0675
นายอานนท์ เหลืองบริบรู ณ์ นางสิรมิ า หิรญ ั เจริญเวช นายเอก สิทธิเวคิน นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ นายจเร รุง่ ฐานีย นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ นายคำ�นวน ทองนาค นายวรวุฒิ มาลา นางสาวเจษฎาพร ยุทธนวิบลู ย์ชยั นายจุลพงษ์ จุฬานนท์ นางลัดดา ละออกุล นายวัชรชาญ สิรสิ วุ รรณทัศน์ นายไพบูลย์ สุจริ งั กุล นายสิทธิชยั บุญเสริมสุข นายอวิรทุ ธ์ ทองเนตร นายนริศ ตัง้ ระดมสิน นายวรพจน์ เทียบรัตน์ นายฐากูร อินทรชม นายศิรพิ งศ์ พฤทธิพนั ธุ ์ นายสุชพี สุขสว่าง นายอารยะ ปิณฑะดิษ นางสาวโมฬีมาศ ฉัตราคม นายสุจติ ต์ เชาว์ศริ กิ ลุ นายพีระเดช หนูขวัญ รอการแต่งตัง้ นายบุญเลิศ ตันติวญ ิ ญูพงศ์ พญ.ไพฑูรย์ โพธิท์ องคำ�พันธุ ์ นางสาวมณฑกาญจน์ ศรีวลิ าศ นายบุญสม เวียงชัย นายวานิช ธรรมเจริญ นายวันชัย แผ่นผา นายมนัฎ มณีจกั ร นายสยมภู ฤทธิว์ ริ ฬุ ห์ นายปิยบุตร โตวิจารณ์ พล.ต.ต.สุรพงษ์ ถนอมจิตร นายธนพล ดำ�มณี นายราชพัลลภ ชืน่ ปรีชา นพ.เกรียงศักดิ์ เจริญสุธรรมมาศ นายโอภาส ติรมาศเสถียร
ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ รักษาการในตำ�แหน่ง ผูว้ า่ การรถไฟแห่งประเทศไทย รองผูว้ า่ การกลุม่ ยุทธศาสตร์ รองผูว้ า่ การกลุม่ อำ�นวยการ รองผูว้ า่ การกลุม่ โครงสร้างพืน้ ฐาน รองผูว้ า่ การกลุม่ บริหารรถไฟฟ้า รองผูว้ า่ การกลุม่ ธุรกิจการเดินรถ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำ�รุงรถจักร และล้อเลือ่ น รองผูว้ า่ การกลุม่ ธุรกิจการบริหารทรัพย์สนิ ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การด้านบริหาร ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การด้านปฏิบตั กิ าร ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี วิศวกรใหญ่ฝา่ ยการช่างกล วิศวกรใหญ่ฝา่ ยการช่างโยธา วิ ศ วกรใหญ่ ฝ่ า ยการอาณั ติ สั ญ ญาณและ โทรคมนาคม ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายการพัสดุ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สนิ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาทีด่ นิ วิศวกรใหญ่ฝา่ ยโครงการพิเศษและก่อสร้าง ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายปฏิบตั กิ ารเดินรถ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริการโดยสาร ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริการสินค้า ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หัวหน้าสำ�นักงานนโยบาย แผน วิจัยและ พัฒนา หั ว หน้ า สำ � นั ก งานบริ ห ารโครงการระบบ รถไฟฟ้า หัวหน้าสำ�นักงานแพทย์ หัวหน้าสำ�นักงานผูว้ า่ การ หัวหน้าสำ�นักงานศูนย์ฝกึ อบรมการรถไฟ หัวหน้าสำ�นักงานบริหารพืน้ ทีต่ ลาด หัวหน้าสำ�นักงานยุทธศาสตร์ธรุ กิจ การเดินรถ หัวหน้าสำ�นักงานจัดหาพัสดุซอ่ มบำ�รุง หัวหน้าสำ�นักงานอาณาบาล หัวหน้าสำ�นักงานจัดการกรรมสิทธิท์ ด่ี นิ ผูบ้ งั คับการกองตำ�รวจรถไฟ ผูต้ รวจการ 1 ผูต้ รวจการ 2 ผูต้ รวจการ 3 ผูต้ รวจการ 4
การรถไฟแห งประเทศไทย
เลขที่ 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 www.railway.co.th www.facebook.com/pr.railway Call Center: 1690