สารคดีและบทสัมภาษณ์ ว่าด้วยการเมือง ชีวิต ตัวตน และการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยการส่งต่อความคิด จากคนรุ่นใหม่
Political
Parellel
อ� ำ นาจ พลังแข็ง
พลังอ่อน
อ่อน จานำอ�
แข็ง
จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์
Political Parellel พลังแข็ง อ�ำนาจอ่อน พลังอ่อน อ�ำนาจแข็ง
สารคดีและบทสัมภาษณ์ว่าด้วยการเมือง ชีวิต ตัวตน และการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการส่งต่อความคิด จากคนรุ่นใหม่
เรื่อง: จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ ภาพประกอบ: นิตยา พิมพ์แดง
ค�ำน�ำ เวลาพูดถึงการเมืองคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงอะไรยากๆ เช่น นายกรัฐมนตรี นักการเมือง รวมถึงค�ำศัพท์ยากๆ ที่ฟังแล้วไม่ได้เข้าใจโดย ทันที และเวลาเปิดข่าวการเมืองก็พูดถึงแต่ชื่อคนนู้นไปท�ำอย่างนี้ วันนี้ ท่านนี้ไปเป็นประธานงานนี้ๆ ค�ำถามคือท�ำไมพูดถึงการเมือง ทุกอย่างที่ เป็นการเมืองมันดูหนักๆ ยากๆ ยุ่งเหยิงและวุ่นวายไปเสียหมด เลยไม่น่าแปลกใจว่าท�ำไมการเมืองนั้นเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย มาก ท�ำให้เราไม่คิดจะศึกษาค้นคว้าต่อว่าแท้จริงแล้ว เราเข้าใจการเมืองว่า อะไร ซึ่งการไม่พยายามท�ำความเข้าใจต่อในแง่หนึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ท�ำ กลับกันถ้าพยายามท�ำความเข้าใจการเมืองโดยอาจเริ่มจากการเมือง ในแบบของตัวเอง เราจะเห็นว่าอย่างน้อยการเมืองที่เราเห็นว่ามันไกลตัว เรามากๆ มันก็ส�ำคัญกับเรามากๆ เช่นกัน การท�ำความเข้า ใจการเมืองจึง ท�ำให้ เราเห็ นการเมื อ งในชี วิต ประจ�ำวันในประเด็นต่างๆ ที่ส�ำคัญคือมีคนจ�ำนวนไม่น้อยที่ท�ำให้การเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องของเราด้วย แม้ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม และนี่เองที่ท�ำให้ หนังสือเล่มนี้ไปค้นหาค�ำตอบว่า การเมืองในชีวิตประจ�ำวันของเรามีหน้า ตาแบบไหน และเราได้รับอิทธิพลอะไรท�ำให้เรามองการเมืองเปลี่ยนไป บุคคลทั้ง 6 คนในหนังสือเล่มนี้พูดถึงการเมืองในมิติต่างๆ โดยใช้ อะไรบางอย่างส่งสารให้สังคมได้รับรู้เป็นนัยว่า เธอลองมองมุมนี้ดูไหม เป็นมุมที่ฉันเห็นว่าจะช่วยให้เราเข้าใจสังคมนี้มากขึ้น หวังว่าคุณผู้อ่านจะเพลินเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มนี้ และหวัง ว่าทุกความคิดที่ถูกส่งต่อผ่านบุคคลทั้ง 6 ในเล่ม ซึ่งส่งต่อผ่านหนังสือเล่ม นี้อีกขั้นหนึ่ง จะท�ำให้คุณได้รับความคิดบางอย่างที่พวกเขาอยากส่งไปถึง
สารบัญ
11
บทที่ศูนย์: เปลี่ยน
15
เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
39
โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
57
ปัตตานี ยะลา นาธิวาส สันติภาพในหนึ่งทริป
69
ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
93
ศิลปะของแมลงเม่าที่ไม่ยอมบินเข้ากองไฟ
107
กัดชายหาด รักษานางเงือก
บทที่ศูนย์: เปลี่ยน
สังคมเดินไปข้างหน้า แต่ก็มีบางคนเดินถอยหลัง ข้างหน้า หมายถึงสังคมที่เดินไปอย่างมีทิศทาง และทิศทาง นั้นน�ำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ วันนี้สังคมเดินบนเส้นทางนั้นหรือไม่ ? เส้นทางที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ปากท้อง และ ความเสมอภาค สิ่งเหล่านี้คือการเมืองที่อยู่ในชีวิตประจ�ำวัน มันคือการเมือง จากผลกระทบของนโยบาย การเมืองภายใต้ยอดภูเขาน�้ำแข็ง เราเห็นเสียงเรียกร้องต่างๆ มากมาย เสียงก่นด่าประเทศ อย่างชิงชังราวกับจะผลักไสประเทศนี้ ขุดคุ้ยปัญหาแล้ววิพากษ์ วิจารณ์ว่าท�ำไมประเทศของเราเป็นแบบนี้ ชวนให้คิดปลอบใจตัวเองว่าจะเอาอะไรมากกับประเทศด้อย พัฒนา เมื่ อ การเมื อ งแบบยอดภู เ ขาน�้ ำ แข็ ง ที่ เ ราเห็ น มั น ไม่ ดี การเมืองใต้ภูเขาน�้ำแข็งอาจเลวร้ายกว่านั้น
แต่ส�ำหรับบางคน หรือคนจ�ำนวนไม่น้อยในสังคมนี้ สังคมให้ เราเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ชีวิตจะเอาอะไรนักหนา แค่ตื่นนอน อาบน�้ำ สะสางตัวเองก่อนไปท�ำงาน ท�ำงานเสร็จก็ชาร์จพลังนอนส�ำหรับวันถัด ไป อีกเส้นขนานหนึ่ง คนอีกไม่น้อยก็อยากพาตัวเองและสังคม ไปให้ไกลกว่าที่เห็น ในเมื่อชีวิตมันไม่ดี เราต้องท�ำให้ดี มีปัญหาอะไรก็ ต้องแก้ไข และพยายามเปลี่ยนแปลงมัน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากจะเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ ต้องเริ่มจาก วิธีคิด เพราะวิธีคิดเป็นตัวก�ำหนดวัฒนธรรม ถ้าเราเชื่อเรื่องผีสาง ก็ไม่แปลกที่เราจะเชื่ออย่างสนิทใจในสิ่ง ที่ไม่สามารถจับต้อง และจินตนาการตามวิธีคิดว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนั้น เป็นผีสาง ทั้งที่มันเป็นแค่แบคทีเรีย เราเชื่อในเรื่องความดี คนดี สังคมเราจึงมีแต่คนดีปกครอง ประเทศ เพราะเราให้คุณค่ากับคนดี ยกย่อง เชิดชู จนขาดการตั้ง ค�ำถามและขาดค�ำตอบอย่างลึกซึ้งว่าท�ำไมสังคมต้องมีคนดี เราเชื่อว่าแค่เรียนสูงๆ ก็เป็นจุดสูงสุดของห่วงโซ่การศึกษา แต่ในข้อเท็จจริงคนมีต�ำแหน่งสูงๆ หลายคนพูดจาและคิดอ่านราวกับ ไร้การศึกษา เราเชื่อ เชื่อ เชื่อ และเชื่อว่าโลกนี้มีอัศวินขี่ม้าขาวที่จะมา เปลี่ยนแปลงสังคม แต่โลกนี้ไม่ใช่นิยาย ไม่มีอัศวินขี่ม้าขาว หากจะมีก็มีเพียงคน ตัวเล็กๆ ที่เปลี่ยนสังคมในส่วนเล็กๆ เปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากเปลี่ยน ‘วิธีคิด’ ของคนรอบตัว ส่งต่อ จนถึงสังคม ถึงการงานที่ท�ำ ถึงชีวิตความเป็นอยู่ ถึงผู้มีอ�ำนาจระดับ สูง ด้วยการชุมนุม ประท้วง ท�ำกิจกรรม จัดนิทรรศการ ให้ข้อมูล ให้ ความรู้ ท�ำแคมเปญ การกุศล รณรงค์ โพสต์เฟสบุ๊ก ท�ำโพลล์ ออก
ค่ายอาสา และอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถวัดและประเมินค่าได้คือ ผลของการ เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องนามธรรมอย่างวิธีคิดที่บ่งบอกว่าเรา เปลี่ยนความคิดกับเรื่องอะไร โลกใบใหม่ของเราแตกต่างจากโลกใบ เก่าขนาดไหน หลายๆ ครั้งเราไม่รู้ตัวเราเองว่าเราเปลี่ยนความคิดนี้เมื่อไร กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อเรามองย้อนกลับไปทบทวนความคิดเก่าๆ และพบว่า เราเคยคิดแบบนี้ แต่ตอนนี้เราไม่ได้คิดแบบเดิม ความคิดของเราถูกเปลี่ยนแปลงอย่างแนบเนียน โดยคนบาง คน โดยเรื่องบางเรื่อง โดยเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ใต้ภูเขาน�้ำแข็งมีคนจ�ำนวนหยิบมือฉุดรั้งสังคมเอาไว้ แต่เขา เหล่านั้นไม่สามารถรั้งการส่งต่อความคิดได้ เป็นวิธีคิดที่ถูกส่งผ่านวัฒนธรรมในชีวิตประจ�ำวัน บางครั้ง วัฒนธรรมนั้นก็ส่งสารการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยน ความคิดส�ำเร็จบ้าง ไม่ส�ำเร็จบ้าง ตามแต่ละจังหวะและโอกาสของ การสื่อสาร บางการเปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ สร้างแรง กระเพื่อมย่อมๆ แต่ผลสืบเนื่องระยะยาว มันเหมือนคลื่นที่ค่อยๆ กัดเซาะจนวันหนึ่งพังทลาย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากคนไม่กี่คน แต่หลายคนรวมกันย่อม กลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ก�ำหนดทิศทางสังคมใหม่ สังคมเดินไปข้างหลัง แต่ยังมีบางคนเดินไปข้างหน้า ข้างหน้า หมายถึงวิธีคิดที่ท�ำให้สังคมเดินไปได้ด้วยตัวเอง อย่างมีทิศทาง และทิศทางนั้นเป็นโลกใบที่ดีกว่าเดิม
เรียนให้ตาย
(หัวใจ)
โต
ก็ไม่
เอิร์ธ ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย achieve
เอิร์ธ ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ผู้ร่วมก่อตั้ง achieve องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ที่แนะแนวทางการประกอบอาชีพแก่เด็กมัธยม เพื่อไม่ให้ฝืนทนกับอาชีพที่ไม่อยากท�ำและไม่ต้องท�ำงานไปวันๆ
“เราเรียนกันไปท�ำไม” ค�ำถามนี้ผุดขึ้นท่ามกลางชั้นเรียนขณะมีคุณครูยืนพูดกลาง ห้อง และมีผู้ฟังเป็นนักเรียนผู้แบกกระเป๋าอันหนักอึ้งมาโรงเรียน ทุกวัน เรียนไปท�ำไม - ตอบแบบก�ำปั้นทุบดิน เราเรียนเพื่อประกอบ อาชีพ เป็นนักร้อง นักดนตรี กวี พ่อค้า เศรษฐี คุณครู นักธุรกิจ พนักงานเซเว่น เกษตรกรหรือคนเลี้ยงหมู ค�ำถามนี้ราวกับสะท้อนเพียงว่า เราเรียนเพื่อท�ำงาน (เท่านั้น) ค�ำตอบเช่นนี้อาจดูตื้นเขินเกินไป เพราะการเรียนเพื่อ ประกอบอาชีพมีอะไรลึกซึ้งกว่านั้น “อาชีพกับชีวิตคือสิ่งเดียวกัน อาชีพไม่ใช่แค่การท�ำงานแลก เงิน แต่เป็นเรื่องของตัวตน” ค�ำพูดข้างต้นของ “ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย” หรือ “เอิร์ธ” ชายหนุ่มดูกระฉับกระเฉง ใจดี และเป็นมิตร เอิร์ธท�ำงานกับเด็ก -- แต่ไม่ใช่ครู ขณะเดียวกันเขาก็เป็นครู ของเด็กมาไม่น้อย เพราะเอิร์ธท�ำงานองค์กรชื่อ achieve (พ้องเสียงในภาษา ไทยว่าอาชีพ) องค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่แนะแนวอาชีพแก่เด็กมัธยม เว็บไซต์ achieve บอกว่าหลายประเทศจะมีการแนะแนว อาชีพก่อน จากนั้นจึงแนะแนวเส้นทางการเตรียมตัวในสิ่งที่เด็กอยาก เป็น กลับกันกับประเทศไทยที่มุ่งเน้นแต่ เรียน-ท�ำงาน แต่ achieve ไม่มองแบบนั้น แล้วห้องเรียนแบบไทยๆ หรือโลกแบบไหนที่สร้างเอิร์ธและ a-chieve ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการเรียนเพื่อเป้าหมายชีวิต แบบเดิมๆ
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 18
1
แม้จะเรียนจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แต่เอิร์ธเลือกท�ำงานเพื่อสังคม ทั้งๆ ที่มีหลายอาชีพจาก คณะนี้ที่สามารถท�ำเงินได้เป็น กอบเป็นก�ำ ค�ำถามคือ เขาเบนเข็มไปท�ำงานด้านสังคมได้อย่างไร “เพราะเราเรียนเศรษฐศาสตร์ รู้สึกว่าเงินเป็นสิ่งที่จับต้อง ไม่ได้ ท�ำงานได้เงินก็จริง แต่บริษัทที่ต้องสะสมก�ำไรเป็นร้อยเป็น พันล้าน ไม่รู้เขาจะสะสมไปท�ำไม ทุกคนเข้ามาท�ำงานหลังขดหลังแข็ง สละเวลาเพื่อท�ำก�ำไรสะสมให้บริษัทใหญ่ขึ้น สุดท้ายเราท�ำเงินให้เกิด บริษัท ซึ่งมันกลวงเปล่า “บริษัทไม่ใช่ตัวตน แต่คนแยกออกมาต่างหาก เจ้าของธุรกิจก็ มุมหนึ่ง แต่เงินหรือก�ำไรก็ไม่ได้ถูกตัดออกไปที่เจ้าของธุรกิจ หรืออาจ ไม่ได้เป็นสวัสดิการให้พนักงานอยู่ดีกินดี เลยรู้สึกว่าไม่ใช่เป้าหมาย ของเราที่จะท�ำแบบนั้น” 19 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
ก่อนมาเป็น a-chieve เอิร์ธและเพื่อนอีกสองคนในรั้ว มหาวิทยาลัย ร่วมท�ำโปรเจคด้วยกัน แต่นั่นไม่ส�ำคัญเท่ากับที่ทั้งสาม มีความคิดไปในทางเดียวกันคืออยากท�ำงานเพื่อสังคม “ความเห็นคล้ายกันเรื่องเรียนจบแล้วไม่อยากท�ำธุรกิจ รู้สึก ว่าอยากท�ำงานทางสังคม แต่เหตุผลอาจจะต่างกัน จังหวะนั้นท�ำ โปรเจคเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ท�ำเสร็จก็นั่งคิดกันว่าจะพัฒนาสังคมทาง ไหนดี ตอนนั้นไปศูนย์คนไร้บ้าน นั่งคุยเป็นเดือนว่ามีอะไรที่เราช่วย ได้ สุดท้ายพับไปเพราะเขามีหมดแล้ว และตอนนั้นคิดว่าจะมีชีวิตรอด ด้วยการส่งโปรเจค CSR ตอนนั้นค�ำนี้เพิ่งเข้า แต่เอาเข้าจริงไม่ง่าย ขนาดนั้น เพราะการจะได้งาน CSR ต้องมีเครดิตรองรับ จากนั้นท�ำ โครงการ Job Shadow แล้วเขียนขอทุน ช่วงเดียวกันพี่ที่รู้จักบอกว่า มีโครงการของ a day foundation เรายื่นไปท�ำหนึ่งโปรเจค” ต่อมาน้องของหนึ่งในทีม achieve ต้องเลือกคณะ ทีม achieve จึงตัดสินใจเคาะประเด็นแนะแนวการศึกษา จากนั้นต่อยอด พัฒนาเป็นแผนธุรกิจ จนกลายเป็นองค์กรในปี 2553 กิจกรรมหนึ่งชื่อ “achieve Openworld” เด็กๆ 73 เปอร์เซ็นต์ โหวตว่าเข้าใจอาชีพมากขึ้น หรืองาน “ฟักฝันเฟส” งานแนะแนวอาชีพแบบสนุกๆ ด้วย การเชิญคนมากกว่า 60 อาชีพมาพูดคุยและท�ำกิจกรรมกับเด็ก ไม่ว่า เรื่องการค้นหาตัวเอง เป้าหมายอาชีพ การลงมือท�ำตามความฝัน และเป้าหมายชีวิต ผลตอบรับจากการจัดงานนี้คือ เพียงครั้งแรกมีผู้ สมัครมากถึง 6,000 คน เป็นจ�ำนวนที่ล้นเกินรับถึง ไม่ต้องกล่าวถึงรางวัลหรือทุนที่เคยได้รับ ก็คงเห็นภาพว่า เขาท�ำอะไร และเด็กมอง a-chieve แบบไหน การค้นหาตัวเองนั้นนามธรรม เป็นเรื่องยากที่จะประเมิน ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 20
ไม่เหมือนกับ เงินตรา GDP เรทติ้ง ยอดไลก์-แชร์ แล้วในฐานะคน ท�ำงาน สิ่งที่เอิร์ธและทีม achieve ท�ำบนพื้นที่การศึกษาเป็นความ ส�ำเร็จอย่างไร “(นิ่งคิด) เรารู้สึกว่าวิธีคิดหรือกระบวนการเข้าใจเด็กส�ำหรับ ทีมเราเวิร์ค เพราะถูกพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลกับเด็กทุกคนที่เข้าหาเรา หมายความว่าเด็กที่สนใจอยู่แล้วจะส่งผลเจ็ดสิบถึงแปดสิบเปอร์เซ็นต์ วิธีการของเราท�ำให้มองเห็นโจทย์ของทุกคนได้ และต้องเปิดพื้นที่ให้ เขาเปิดเผยว่าโจทย์ของคุณคืออะไร สอนให้เขาคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ จากบทเรียน เป็นความส�ำเร็จด้านเนื้อหา “งานเราไม่ใช่แค่จัดกิจกรรม เรามองว่าพี่ต้นแบบอาชีพต้อง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก ซึ่งทุกวันนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สองร้อยกว่าคน เราว่าเป็นความภาคภูมิใจของการท�ำงานอยู่เหมือน กัน อยู่มาเจ็ดปีก็คงเป็นความส�ำเร็จบางอย่างด้วย” ความยากของการท�ำงานกับเด็กคืออะไร ? “แรกๆ ไม่รู้สึกยาก เพราะเวลานั่งคุยกับเด็กก็จะเห็นปม เห็น พฤติกรรมเขา เราฟังก็จะรู้ว่าโจทย์มาจากตรงไหน อะไรท�ำให้เขาคิด แบบนั้น อาจเพราะวัยใกล้กันด้วย เราจบมหา’ลัย เขาอยู่มัธยม ห่างกัน สี่ห้าปี” เอิร์ธเล่าว่าความยากจะมาช่วงหลัง เพราะ หนึ่ง อายุห่างกัน มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอายุห่างกับเด็กถึงสิบสองปี เหตุผลข้อสองคือ ความสนใจของเด็กแคบลงเรื่อยๆ ยิ่งโฟกัสกับโทรศัพท์ ยิ่งท�ำให้ความ สนใจของเด็กแคบลง การชวนออกมามองโลก ชวนสังเกตและชวนคิด จึงใช้ พลังงานมากขึ้น เพราะต้องคิดมากขึ้นว่าอะไรที่จะดึงดูดเด็กได้ หรือ มองอีกมุม เรื่องความสนใจอาจจะเป็นปลายทาง ถ้าหากว่า ‘เด็ก’ ได้ รับการลงทุนเวลา โดยมีผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือคนในครอบครัวชวนคุย 21 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
พาออกไปดูโลกนอกห้องเรียน “ถ้าเราชวนเขาท�ำตั้งแต่เด็ก ท�ำให้โตขึ้นมาเขาได้ลงมือท�ำ เช่นชวนออกไปปลูกต้นไม้ เขาก็จะมีฐาน ท�ำให้จูนกับที่บ้านได้ติด หรือชวนเขาคุย ชวนคิด พอเวลาดูหรืออะไรท�ำให้เขาคิดได้หรือมี ภูมิคุ้มกันบางอย่าง ดูแล้วมันเกิดเป็นความรู้” อาจเป็นโชคร้ายที่บางคนขาดโอกาสการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก ขณะเดียวกันก็เป็นโชคดีที่เอิร์ธมองว่าเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วย “การคืนครูกลับสู่ห้องเรียน” และ “ชั่วโมงเรียน” แต่โชคร้ายกว่านั้นที่การศึกษาไทยยังเป็นแบบเดิม... “ครูเป็นคนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ภาระงานของครู มากเกินไป ถ้าสามารถคืนครูกลับสู่ห้องเรียนเหมือนอย่างที่ทีดีอาร์ไอ บอกจะเป็นจุดที่เวิร์ค ถ้าครูไม่มีเวลาเตรียมการสอน ครูก็จะใช้ แบบแผนเดิม ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ บอกให้จ�ำ ท่อง คัด ไม่มีเวลา ชวนเด็กคิด “คาบเรียนเป็นเรื่องที่สอง เด็กมาถึงเหลือเวลาเรียนสามสิบ นาที แล้วจะให้ครูท�ำอะไร อย่างกระบวนการเรียนรู้เราจัดกันจริง ชั่วโมงถึงสองชั่วโมงในการพาเด็กจากจุดต�่ำสุดไปถึงพีคสุด แล้วถอด การเรียนรู้กับเขาว่าได้เรียนรู้อะไร” ยกตัวอย่างเช่น เด็กได้ทดลองว่าพลังงานกลเป็นอย่างไร ได้ ค้นคว้าเรื่องราวของสมเด็จพระนารายณ์ ไปดูพิพิธภัณฑ์ เตรียมชิ้น งาน หรือครูมีเนื้อหาที่เด็กสนใจ ก็สามารถเล่นเกมหรือท�ำกิจกรรมได้ เวลา achieve จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปต่างๆ ก็ยึดถือหลักคิด ของการเรียนรู้ตามความสนใจ “กระบวนการเรียนรู้ควรจัดบนฐานของผู้เรียนกับผู้สอนที่ เท่ากัน เด็กคุยด้วยเหตุผลได้ เพราะคุณไม่คุยด้วยเหตุผล ไม่ลงทุน เวลาที่จะพาเขาไปเห็นเหตุผล ท�ำให้คุณต้องจัดการด้วยวิธีที่คุณง่าย ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 22
“
เราต้องโยนค�ำถาม ถึงผู้ใหญ่ด้วยซ�้ำ ว่าอะไรท�ำให้เด็กรู้สึกแบบนั้น แล้วคุณทนอยู่ได้ยังไง กับการที่เด็กต้องมาถามว่า ท�ำไมเป็นแบบนั้น
”
ที่สุดคือไม้เรียว และอ�ำนาจที่เหนือกว่า “สิ่งมีชีวิตเหมือนกันหมด คนหรือหมา อะไรที่ท�ำได้ ท�ำไม่ได้ ถ้าขีดขอบเขตให้ชัดเขาจะรู้ อันนี้ท�ำไม่ได้นะ ท�ำซ�้ำสองสามสี่รอบ เด็กจะรู้ว่าอะไรที่ท�ำได้ ความชัดเจนต้องชัด” ทว่าบางเรื่องก็ไม่มีเส้นแบ่งชัดเจน เช่นเดียวกับข่าวเด็กเดิน ขบวนพาเหรดถือป้าย “ไทยแลนด์แดนกะลา” เมื่อเดือนพฤจิกายน 2560 จากข่าวนี้ผู้หลักผู้ใหญ่บางคนมองว่าเด็กไม่รู้จักกาลเทศะ เนรคุณ ด่าประเทศที่ตัวเองเหยียบย�่ำ ไม่รักบรรพบุรษที่กอบกู้แผ่นดินไทย ผิดกับเอิร์ธที่มองเรื่องนี้ว่า “ปกติ เป็นความคิดเห็น” “เป็นสิ่งที่เขาคิด เห็นและรู้สึก เราต้องโยนค�ำถามถึงผู้ใหญ่ ด้วยซ�้ำว่า อะไรท�ำให้เด็กรู้สึกแบบนั้น แล้วคุณทนอยู่ได้ยังกับ การที่เด็กต้องมาถามว่าท�ำไมเป็นแบบนั้น” ตอนเอิร์ธท�ำกิจกรรม เห็นเด็กบางคนที่ไม่ได้สนใจการเมือง แต่เข้ามาถามเรื่องการเมือง เอิร์ธเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้มีความคิดและ ประเด็นเหล่านี้อยู่ในหัว แต่อาจนั่งคุยกับใครไม่ได้ “เดี๋ยวนี้คนพูดการเมืองเยอะนะ ทั้งวัยก่อนสามสิบ ทั้งอายุ สามสิบกว่าๆ เริ่มตั้งค�ำถามกับเรื่องราวหลายๆ อย่าง แต่เขาก็ซื้อเรือ ด�ำน�้ำได้ปกติ (หัวเราะ) นั่นแสดงว่าไม่ได้ส่งผลอะไร เขาจะท�ำโรง ไฟฟ้าภาคใต้อยู่ดี”
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 24
2
เอิร์ธเคยท�ำวงนั่งคุยชื่อ “สภากาแฟ” ในช่วงการเมืองไทยแบ่งเป็นสองสี สภากาแฟเกิดขึ้นจาก ความคิดที่ว่า ถ้าจะคุยการเมือง มันไม่มีพื้นที่ปลอดภัย “คุยกันแบบมีหัวใจ ไม่มีการตัดสิน ไม่โจมตีกัน ไม่ว่าสีไหน ฝั่งไหน” ผลลัพธ์คือ มีคนที่อยากคุยหรือยอมคุยระดับหนึ่งจากทั้งสอง ฝ่ายเข้ามานั่งคุย ท�ำให้วงคุยด�ำเนินต่อไปได้ และในวงคุยเอิร์ธพบว่า หลายคนอยากคุย แต่ไม่มีบรรยากาศที่คุยแล้วจะเกิดความคิดความรู้ ใหม่ๆ ที่น�ำไปสู่การเติบโตทางความคิด คุยกันแบบมีหัวใจอาจไม่จ�ำเป็นต้องประกาศให้ใครรู้ ไม่ จ�ำเป็นต้องบันทึกการสนทนา มวลความคิดก็ยังแผ่กระจายใน บรรยากาศ คละคลุ้งในความรู้สึก การคุยเช่นนี้มีส่วนให้ทุกคนเคารพ กันมากขึ้นในฐานะมนุษย์ด้วยกัน 25 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
ถึงเดาไม่ได้ว่าทุกคนในสภากาแฟคิดอย่างไร แต่อย่างน้อย ที่สุด เอิร์ธพยายามรับฟังและท�ำความเข้าใจว่าอีกฝ่ายท�ำอะไร เพราะ อะไร ค�ำว่าอีกฝ่ายหมายถึงพวกเสื้อแดง ส่วนเขาพูดในฐานะคน เสื้อเหลือง ก่อนหน้านี้เอิร์ธเคยไปม็อบเสื้อเหลืองหนึ่งครั้ง ได้รับพลัง ปลุกใจจากในม็อบ เพราะมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องเอาชนะ ตั้งแต่ เรื่องการโกง คอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน อีกทั้งบรรยากาศยัง ใกล้เคียงกับภาพความทรงจ�ำของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ เพราะท�ำให้หวน นึกถึงบรรยากาศ “เดินขบวนช่วงเดือนตุลา” ตอนนั้นเกลียดเสื้อแดงขนาดไหน ? “ไม่ได้เกลียดถึงขนาดจะฆ่า แต่เรารู้สึกว่ามันมีฝั่งที่ถูกกับฝั่ง ที่ไม่ถูก รู้สึกว่าอีกฝั่งเป็นม็อบจัดตั้ง “แต่เรื่องประเด็นว่าจะต้องสู้ตาย เราไม่ขนาดนั้น แต่กับ บางคนก็แบบ...ฝั่งแดงไม่ดี ทักษิณไม่ดีเลย แต่ที่บ้านก็จะตาม ความเคลื่อนไหว ยังมีการวิเคราะห์ เขาอยากให้เราไปเห็น พูดถึงการ ประท้วงมาเยอะ แต่ไม่เคยเห็นของจริง เขาอยากให้ไปเห็น ส่วนเรา คิดว่ามันมีความผิดถูกที่ประเด็น แต่ตอนนั้นยอมรับว่าไม่ได้ฟังข่าว หรือข้อมูลอะไรเยอะ” จากช่วงเหลืองแดงถึงยุครัฐทหาร วันคืนผ่านมาไม่ต�่ำกว่า ครึ่งทศวรรษ เอิร์ธเล่าว่าจุดเริ่มต้นที่เริ่มเข้าใจมิติการเมืองจริงๆ คือ ช่วงปี 2557 หลังจากมีโอกาสเข้าโครงการของมอส. (มูลนิธิอาสา สมัครเพื่อสังคม) เขาได้รับข้อมูลมากขึ้น ได้ฟังข่าวจากคนวงใน ความเคลื่อนไหวต่างๆ
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 26
โลกของเอิร์ธขยายจนสัมผัสโลกการเมือง เขาเจอหลายต่อ หลายคนที่ขับเคลื่อนประเด็นการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวดินหรือ กลุ่มที่ประท้วงเรียกร้องสิทธิรูปแบบต่างๆ “เออมันก็เป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องกันตัวออกห่าง ขนาดนั้น” พูดถึงค�ำว่า ‘การเมือง’ เอิร์ธนิยามว่าการเมืองเป็นความ หมายเฉพาะในหมวดรัฐศาสตร์ การบริหารประเทศ เรื่องคอร์รัปชั่น รัฐวิสาหกิจ มักไม่ค่อยใช้การเมืองในเชิงการสื่อสาร เอิร์ธยกตัวอย่างว่า เขาไม่ได้มองงานที่ achieve ท�ำเป็นการ เมือง แต่เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองเรื่องสิทธิเสรีภาพ การศึกษา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม “ถามว่าการท�ำ achieve เป็นการพัฒนาบ้านเมืองไหม ไม่ ไม่เคยคิดถึงค�ำนี้ เพราะค�ำนี้อยู่ในหมวดการเมือง แต่พัฒนาสังคมไหม คิดว่าพัฒนา เวลาท�ำงานเราจะโฟกัสว่าพัฒนาเด็กคนหนึ่งมากกว่า” พัฒนาเด็กมาแล้วเท่าไร ไม่มีค�ำตอบที่แน่ชัด หลักร้อยหรือ พัน หมื่นหรือแสน ถึงอย่างไรเขาเชื่อในปัจเจกบุคคล ว่าสิ่งที่เขาท�ำ เป็นการเติบโตเฉพาะคน ส�ำหรับเขาการเมืองเป็นเรื่องเฉพาะ ต่างจากสิทธิมนุษยชนที่ เป็นหัวใจของสังคมมนุษย์ “เรารู้สึกว่าสิทธิ-เสรีภาพติดตัวเราตั้งแต่เกิด แต่การเมืองเป็น สิ่งที่คนสร้างขึ้น ฉะนั้นความหมายของการเมืองจะเล็กกว่าสิทธิ เสรีภาพ” เมื่อผลพวงจาก ‘การเมือง’ กระทบสิ่งที่เอิร์ธท�ำมันสะท้อน ภาพคลื่นใต้น�้ำในสังคมว่าทุกวันนี้เด็กไม่รู้จักตัวเอง ทั้ง achieve และ เอิร์ธต่างเข้าไปแก้ปัญหาการศึกษาปมหนึ่ง 27 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
วันแล้ววันเล่า เขาช่วยเด็กค้นพบอาชีพตัวเองแบบที่ไม่ สามารถกะเกณฑ์จ�ำนวน ท่ามกลางโลกการศึกษาสุดโชคร้าย วันพรุ่งนี้ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์และการค้นหาตัวเอง ส�ำหรับเด็ก ยังคงเป็นจุดมืดบอดในระบบการศึกษา สองเดือนผ่านไป เด็กบางคนยังไร้เป้าหมายอาชีพและชีวิต หนึ่งปีถัดมา เด็กบางคนถูกกล่อมเกลาให้เรียนสายวิทย์ ทั้งที่ตัวเองอยากเป็นศิลปิน จวบจนสองปี เด็กคนนั้นหอบหนังสือเป็นบ้าเป็นหลัง กวดวิชา และไล่กวดจนหลงลืมว่าเคยอยากเป็นอะไร เจ็ดปีผ่านไป ปัญหาการศึกษายังคาราคาซัง ทั้ง achieve และเอิร์ธผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาเกินครึ่งทศวรรษ สถานการณ์ที่ริบหรี่ แต่เขายังประกายแสงไม่หยุดยั้ง “เห็นความหวังอยู่เรื่อยๆ ไม่งั้นจะท�ำท�ำไม (หัวเราะ) ถึงเราเห็น แต่ก็ไม่ได้เห็นขนาดนั้น... “เราเรียกว่าสังคมของคนรุ่นใหม่ เอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นของ คนรุ่นใหม่ มันถูกควบคุมและถูกจัดการโดยคนรุ่นพ่อแม่เรา ฉะนั้น ต้องหมดเจนเนอเรชั่นนี้ไปหนึ่งเจน เผลอๆ เจนเราต้องหมดอีกหนึ่ง เจนด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากคนรุ่นก่อนหน้า แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับคนรุ่นต่อไปว่าจะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจ” เอาเข้าจริงมันไม่ต่างจากเกมที่มีผู้เล่นและกฏกติกา “เราเล่นกันคนละโต๊ะ เราอยู่ใต้โต๊ะ เขาอยู่บนโต๊ะ พอเป็น คนละโต๊ะ อะไรที่ประชาชนท�ำมันไม่ได้ส่งผลขนาดนั้น” เอิร์ธเปรียบตัวเองว่าก่อนหน้านี้ความคิดเขาเหมือนอยู่ใน กล่องด�ำ เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือข้อเท็จจริง ข่าวไหนถูกผิด กระทั่งเขา เองยังเคยมองว่าเสื้อเหลืองเป็นฝ่ายถูกต้อง “อาจไม่ได้เป็นกล่องด�ำแบบเดิม เดี๋ยวนี้รู้เรื่องราวมากขึ้น ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 28
ทัศนคติในการท�ำความเข้าใจดีขึ้น รู้สึกใกล้ตัวเรามากขึ้น จึงเป็นเรื่อง ที่เราควรใส่ใจและรับผิดชอบในฐานะที่เราอยู่ร่วมกันในชุมชน ในโลก ใบนี้ “และเป็นพื้นฐานที่เราต้องเรียกร้องกลับมาว่าอยากท�ำอะไร เช่นอยากชวนคุยเรื่องนั้นหรือเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของเรา เป็นหนึ่ง ในสิทธิที่เราพึงมี และค�ำว่า ‘เป็นของเรา’ ก็มีหมายความชัดเจนว่าเรา ก็ควรจะใช้พื้นที่บางอย่างให้เขาเห็นภาพที่คุยกันได้มากขึ้น เพราะถ้า ไม่ท�ำก็จะเป็นกล่องด�ำอยู่อย่างนั้น “เราอยากโยนค�ำถามถึงคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเรา หรือคนที่เขา เข้าใจเรื่องนี้ ที่เขาคิดว่าปิดตาข้างเดียวได้ อยากรู้ว่าท�ำไมยอมรับ แบบนั้น ท�ำแบบนั้นไปได้ยังไง” ชายอายุ 29 ปีผู้เคยไปม็อบเสื้อเหลือง เคยจัดวงคุยการเมือง เขาคือคนเดียวกับผู้ตั้งค�ำถามถึงสังคมที่เป็นอยู่ เหมือนตอนได้พลังปลุกใจในม็อบ เขาอาจมีเป้าหมายที่ต้อง เอาชนะ ณ สังคมที่เขายืนอยู่ ส่วนบรรยากาศบ้านเมือง ต่อให้เอิร์ธไม่พูด เราต่างรู้ว่าสังคม ที่ก�ำลังเหยียบย�่ำนั้นสีเทา ยุคแดงเหลือง อาจเป็นสีเหลืองแดง เหมือนที่เอิร์ธเปรียบ เปรยก่อนหน้านี้ว่า บรรยากาศการเมืองช่วงนั้นคล้ายเหตุการณ์ “เดิน ขบวนช่วงเดือนตุลา” “เดินขบวนช่วงเดือนตุลา” ค�ำนี้ไม่ใช่ค�ำที่ถูกหยิบยกมาสนท นาในชีวิตประจ�ำวันเท่าไรนัก เดือนตุลาในสายตาคนทั่วไปหมายถึงเดือนตุลาคม ส�ำหรับคนอายุสี่สิบขึ้น เดือนตุลาคือสัญญะหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ ส่วนคอการเมือง เดือนตุลาสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรม 29 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
สายตารัฐ เดือนตุลาอาจหมายถึงความไม่สงบ ฯลฯ รู้จักค�ำนี้ได้อย่างไร และมองมันแบบไหน ? “เพราะพ่อฟังเพลงเพื่อชีวิต มีเรื่องราวเดือนตุลาคม มีเรื่อง คอมมิวนิสต์ ความเท่าเทียม เราตั้งค�ำถามว่าถ้าตอนนี้ไม่เท่าเทียม ท�ำไมคอมมิวนิสต์ถึงอยากให้มันเท่า หรือเรื่องกษัตริย์ก็ท�ำให้เรา มีค�ำถามอยู่บ้าง เห็นความแตกต่างอยู่บ้าง ท�ำให้เราเริ่มสนใจประเด็น สังคม” แล้วตอนเด็กๆ มีใครเป็นไอดอล ? “หลักๆ จะเป็นเหตุการณ์ของคนเดือนตุลา หรือพอเรารู้ เรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิ์ ก็เท่ดี เอามาเป็นไอดอล สืบนาคะเสถียร รู้สึกเจ๋ง อย่างคานธีก็เพิ่งรู้จักตอนเรียนมหา’ลัย”
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 30
“
เราเรียกว่าสังคมของคนรุ่นใหม่ เอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นของคนรุ่นใหม่ มันถูกควบคุมและถูกจัดการ โดยคนรุ่นพ่อแม่เรา ฉะนั้นต้องหมดเจนเนอเรชั่นนี้ไปหนึ่งเจน เผลอๆ เจนเราต้องหมดอีกหนึ่งเจนด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลจากคนรุ่นก่อนหน้า แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคนรุ่นต่อไปว่า จะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจ
”
3
“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ค�ำถามนี้ลึกซึ้งเกินกว่าค�ำตอบที่ว่าอยากท�ำอาชีพนั้น หรือ อยากท�ำอาชีพนี้ หากมันคือค�ำถามที่วัดตัวตนของเราขณะนั้นว่า เรา ก�ำลังท�ำอะไร จนอยากเป็นอะไร และอะไรหล่อหลอมเราให้คิดแบบ นั้น ภาพอาชีพที่เคยเปล่งประกายในวัยเด็กจึงสะท้อนตัวตนของ เด็กคนหนึ่งได้ว่า โตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ถ้าเปรียบชีวิตเป็นต้นไม้ วัยเด็กก็เปรียบกับ ‘ราก’ ก่อนกลาย เป็นต้นไม้ใหญ่ที่ยืนหยัดแข็งแรงและมั่นคง แล้ว ‘ราก’ ของเอิร์ธมีอะไรบ้าง ? “ตอนม.ปลาย จะมีให้เขียนสมุดพกว่าอยากเข้าคณะอะไร เพื่อนๆ ก็เขียนแพทย์ วิศวะ เราเขียนวนศาสตร์ ประมง ตอนนั้นเป็น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เกษตรกร เพราะเราชอบสิ่งแวดล้อม ชอบสัตว์ ชอบ ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 32
พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ” แต่ความฝันก็ถูกพับไป “คิดว่าเรียนแล้วจะไม่มีเงินซื้อที่ท�ำไร่ของตัวเอง เลยเปลี่ยน แผน จนพ่อมาบอกให้เลือกเศรษฐศาสตร์ เพราะตอนนั้นพ่อเป็นนายธนาคาร ส่วนธรรมศาสตร์พ่อก็เสนอให้ น่าจะเหมาะกับเราที่เป็น เด็กกิจกรรม เราก็เออจริง” ตอนเด็กๆ เสพสื่อแบบไหน ? “มีเพลงเพื่อชีวิตที่ฟังมาตลอด อย่างคาราวาน แล้วมีเรื่องราว คอมมิวนิสต์และความเท่าเทียมที่แฝงมา “ตอนเข้ามหา’ลัย อ่านหนังสือของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐ กุล อ่านอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล อ่านนิตยสารฟ้าเดียวกัน อ่านจิตรภูมิศักดิ์ หนังสือซีไรต์ต่างๆ “หนังไม่มีดูเป็นพิเศษ จะมีก็แต่สารคดีเดือนตุลา เวลาดูก็จะ อินและขนลุกทุกครั้ง” ชีวิตในรั้วเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของเอิร์ธ ถือว่าไม่ได้ดีและแย่ในคราวเดียว เมื่อเทียบการอ่านหนังสือกับเพื่อน บางคน เขาต้องอ่านมากกว่า แต่คะแนนก็ไม่ได้ดีถึงขนาดเป็นนักเรียน เกรดเอ “เราเขียนค�ำตอบวิชาเศรษฐศาสตร์แล้วไม่เคยได้เอสักที แต่ก็ ไม่ได้แย่ถึงขนาดด็อก แคท ประคองตัวด้วยบี บีบวก” แขยงที่สุดคือคณิตศาสตร์ เอิร์ธพูดถึงวิชานี้ว่า “ห่วย” โดยเฉพาะเรื่องแคลคูลัส แต่เวลาท�ำข้อสอบเขาจะใช้ไหวพริบการสังเกต การเอาตัวรอดท�ำให้ผ่านมาได้ ชอบอะไรในคณะเศรษฐศาสตร์ ? “บรรยากาศมันโอเคนะ เป็นคณะวิชาที่ยึดโยงอยู่กับสังคม มี 33 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
เรื่องราคา เศรษฐกิจมหภาค มันต้องพูดถึงสังคม ฉะนั้นอาจารย์ก็พูด ถึงเรื่องนี้ ในหัวของเพื่อนๆ ก็จะมีการพูดคุยเรื่องนี้ มีกิจกรรมให้ท�ำ มี ค่ายให้ลง” ผ่านชีวิตเฟรชชี่ไปหนึ่งเทอม เอิร์ธลงค่ายพัฒนาชนบท เพราะเขารู้ตัวเองแล้วว่าอยากท�ำอะไรที่เกี่ยวข้องกับสังคม ตอนนั้น จึงตัดสินใจไปคนเดียว ไม่ได้ชวนเพื่อนคนอื่นไปด้วย ค่ายแรกที่เอิร์ธไป มีทั้งงานสร้าง พัฒนาและงานที่ข้องเกี่ยว กับเด็กรวมอยู่ในค่ายเดียวกัน เขาได้ท�ำงานหลากหลาย เลี้ยงเด็ก คุยกับชาวบ้าน เก็บข้อมูลว่าท�ำอะไร รายได้เท่าไร ปลูกอะไร “มันเปิดโลกเหมือนกันนะ เห็นรุ่นพี่มีวิธีคิดเจ๋งๆ บางคน วิพากษ์วิจารณ์ คุยการเมือง เรื่องนั้นเรื่องนี้ เชื่อแบบนั้นแบบนี้ ท�ำให้ เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเรามากขึ้น ได้อยู่กับชาวบ้าน นอนบ้านเขา ไป ใช้ชีวิต มันอิมแพคเราทั้งหมด” อิมแพคขนาดที่ว่า ในช่วงชีวิตนักศึกษาสี่ปี เขาไปค่าย ทั้งหมด 16 - 17 ครั้ง สถานะ ‘นักศึกษา’ อาจบ่งบอกตัวเขาไม่ชัดเจนเท่ากับ ‘คน ท�ำค่าย’ ไม่ถึงปีหลังจบค่ายแรก เอิร์ธในฐานะลูกค่ายกลายมาเป็น คนท�ำค่ายเต็มตัว เนื่องจากช่วงนั้นรุ่นพี่เริ่มวางมือ ปีสี่ตัดสินใจไม่ท�ำ ค่ายต่อ ส่วนรุ่นพี่ปีสองและสามไม่มีคนท�ำ แต่ด้วยความติดอกติดใจ เขาเข้ามาขอรับไม้ต่อ เด็กปีหนึ่งจ�ำนวนสามถึงสี่คนจึงตกลงกันว่า จะท�ำค่ายต่อ ถึงอย่างนั้นปีสี่ก็ไม่วางมือเสียทีเดียว เพราะเขามาช่วย เรื่องการหาหมู่บ้าน การวางแผน “คณะเศรษฐศาสตร์โชคดีอย่างหนึ่งคือ เขากันเงินไว้ส�ำหรับ ท�ำค่ายแบบเพียงพอ ปีละเกือบสองแสน เลยไม่ต้องไปเรี่ยไร บริจาค อยากท�ำอะไรก็ได้ท�ำ ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 34
“
ตอนปิดค่ายเราจะเห็นสายคุณหนูจ๋า เขาก็เออ ไม่เคยรู้ว่ามีแบบนี้อยู่ คนที่ใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่เคยรู้ว่ายังมีปัญหา ที่ไม่เคยนึกถึง ปัญหาไม่ได้บัตรต่างด้าว เพราะผู้ใหญ่บ้านเก็บไว้ ผู้ใหญ่บ้านเรียกเงิน มีจริงเหรอวะ แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ เรื่องถนนลูกรัง สารพิษในหมู่บ้าน เรื่องของครูในโรงเรียนที่ไม่มีครู อย่างน้อยเขาอาจไม่ได้มาท�ำงานสังคมแบบเรา แต่ก็มีติดในหัวว่าอะไรที่เขาสามารถช่วยได้ อย่างน้อยโลกนี้ไม่ได้มีแค่ตัวเขา
”
“ใช้เงินคณะไปเป็นล้าน ครั้งละสามหมื่นห้าหมื่น คุ้มค่าเทอม มาก” แง่การท�ำงาน เขาท�ำตั้งแต่ประสานงานสถานที่ หาของ เป็น คนน�ำโครง (คนน�ำกลุ่ม) ดูแลงาน และความเรียบร้อย คอยแจกจ่าย งานว่าวันนี้ใครท�ำอะไร สร้างอะไร ใครจะไปอยู่กลุ่มไหน ดูแลลูกบ้าน รวมถึงชวนลูกค่ายคุยว่า ชาวบ้านที่เก็บดอกหญ้ามาท�ำไม้กวาดเป็น อย่างไร ต้องการจะบอกอะไร เชื่อมโยงกับเรื่องอะไรได้บ้าง เอิร์ธเล่าว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่กรรมการค่ายจะได้ท�ำงาน หลากหลาย เพราะกรรมการมีจ�ำนวนไม่มาก จึงต้องแบ่งกลุ่มลงพื้นที่ แบ่งงานเรื่องสร้าง งานออกแบบ วัสดุ หาสปอนเซอร์ เรื่องเด็ก เรื่องที่ทุกคนแย่งมักจะกันคือ คนเตรียมโครงพัฒนา เพราะ เกี่ยวกับวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ ทุกคนอยากเห็นว่าชาวบ้านท�ำอะไร หมู่บ้านเป็นอย่างไร ได้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ “ชาวบ้านแทบไม่ได้อะไรเลย อาจจะได้โครงสร้างใหญ่ๆ อาคารชุมชน โรงเรียน หรือใช้แรงงาน บางทีใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง แต่เขา เสียเวลาให้เราไปนอนที่บ้าน แบ่งบ้านหลังละสามสี่คน เขาท�ำกับข้าว ให้เรา หรือเราไปท�ำกับข้าวเอง ซื้อเนื้อหมู น�้ำมัน รบกวนเขาให้น้อย ที่สุด หลักๆ เป็นเราที่ได้วิธีคิดกลับมาว่าสังคมมันเป็นยังไง” บางคนบอกไปค่ายเหมือนได้ไปเที่ยว แต่พอเอิร์ธเป็นคน ท�ำงานกลับรู้สึกไม่ได้เที่ยวเหมือนที่หลายคนคิด เพราะต้องรับผิดชอบหลายๆ อย่าง จะมีก็แต่ตอนลงพื้นที่ส�ำรวจหมู่บ้าน ช่วงเวลาที่ได้ สัมผัสกับการเที่ยว “แค่ซึมซับบรรยากาศ แต่ค่ายเป็นบรรยากาศที่ดี เย็นๆ แดดร่มๆ ไม่มีรถติด” ชอบทะเลหรือภูเขา ? “ชอบภูเขา เพราะทะเลมันหนาว ไม่ชอบเล่นน�้ำ” ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 36
พูดเรื่องค่าย แววตาเขาจะเป็นประกาย อะไรท�ำให้คนๆ หนึ่ง หลงใหลความเป็นค่ายได้ขนาดนี้ ? “เพราะมันตอบโจทย์ชีวิต ตอนแรกๆ ท�ำเพราะสนุก แต่หลังๆ เห็นคนที่ไปเปลี่ยนแปลง มีความคิดอะไรบางอย่าง เรารู้สึกว่าส�ำคัญ สิ่งที่ใช่คืองานพัฒนาคน “นั่งนึกดูว่าเงินเท่าไรถึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คนๆ หนึ่ง ตอบไม่ได้ด้วยซ�้ำ เงินสองแสนอาจเปลี่ยนได้คนเดียวถึงสามคน แล้ว สามคนที่เปลี่ยน เขาจะให้คุณค่ากับการท�ำงานถัดมาขนาดไหน มัน เทียบไม่ได้ งานค่ายตอบเราแบบนี้” ค่ายเปลี่ยนคนอย่างไร ? “ตอนปิดค่ายเราจะเห็นสายคุณหนูจ๋า เขาก็เออ ไม่เคยรู้ว่ามี แบบนี้อยู่ คนที่ใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่เคยรู้ว่ายังมีปัญหาที่ไม่เคยนึกถึง ปัญหาไม่ได้บัตรต่างด้าวเพราะผู้ใหญ่บ้านเก็บไว้ ผู้ใหญ่บ้านเรียกเงิน มีจริงเหรอวะ แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ เรื่องถนนลูกรัง สารพิษในหมู่บ้าน เรื่องของครูในโรงเรียนที่ไม่มีครู อย่างน้อยเขาอาจไม่ได้ออกมาท�ำงาน สังคมแบบเรา แต่ก็มีติดในหัวว่าอะไรที่เขาสามารถช่วยได้ อย่างน้อย โลกนี้ไม่ได้มีแค่ตัวเขา” ‘ค่าย’ เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ค่ายอาจไม่เหมาะกับทุกชีวิต แต่อย่างน้อยมันก็ตอบโจทย์ ของเอิร์ธ เพียงได้ช่วยเหลือผู้คนชนบท ผู้คนที่ขาดแคลน เห็นภูเขา ป่าไม้ สามลม และแสงแดด ค่ายสูบฉีดชีวิต หล่อเลี้ยงหัวใจให้พองโต มีเรี่ยวแรงไปเรียน ในแต่ละวัน ยิ่งกว่านั้นท�ำให้เขาออกไปใช้ชีวิต ค้นพบสิ่งที่ตัวเองรัก ท�ำให้ เขารู้อีกว่าอาชีพที่เขาก�ำลังท�ำก็ไม่ต่างจากการท�ำค่ายหนึ่งค่าย ค่ายที่หมายถึงพื้นที่ที่รวมคนหลากหลายอาชีพเข้าด้วยกัน 37 l เรียนให้ตาย (หัวใจ) ก็ไม่โต
แต่ ณ เวลานั้นอาชีพในฝันของเด็กๆ ทั้งหลายยังไม่เติบโต เป็นต้นไม้ใหญ่ และมีต้นไม้มากมายก็ให้ร่มเงาแก่กันและกัน “ย้อนไปตั้งแต่ที่มาที่ไปของ ‘อาชีพ’ มันคือการที่คุณท�ำอะไร บางอย่าง แล้วคุณท�ำได้ แล้วหยิบยื่นสิ่งนี้ให้กับคนอื่นๆ ที่เขามีปัญหา หรือต้องการความช่วยเหลือ อาชีพเป็นเรื่องของการช่วยเหลือ การ แบ่งปันและการสร้างคุณค่าให้กับตัวเองมากกว่าการหาเงิน แล้ว คุณค่าก็กลับมาเติมเต็มตัวเองและมันก็ช่วยเหลือคนรอบข้าง” เอิร์ธย�้ำว่านี่คือความหมายของอาชีพที่เด็กควรเข้าใจ “ถ้าคุณรักอาชีพและเห็นว่าอาชีพนี้ส�ำคัญ และอยากท�ำมัน ให้คนอื่น เขาจะพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ แล้วเขาจะอยากแบ่งปัน เพราะรู้ว่าอาชีพของเขาไปช่วยเหลือคนอื่น ยิ่งคุณเติมเต็มตัวเองจน ศักยภาพสูงสุด เป็นที่หนึ่งของโลกแล้ว คุณจะยิ่งอยากแบ่งปัน” เหมือนที่เขาท�ำ achieve ให้เด็กทุกคน
ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย l 38
2
โลก
ใบเดิม เพิมเติม (ไม)
สิทธิ
ชนินทร เนียมสอน นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์
นิน ชนินทร เนียมสอน นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เฝ้ามองปรากฏการณ์สังคมการเมืองไทย พร้อมกับความหวัง อย่างไม่ลมๆ แล้งๆ ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่าเดิม หากเขามองเห็นตัวเองชัดเจนกว่านี้
พูดเรื่องการบ้านการเมือง มันดูเครียด ยาก หนักหน่วง ไกลตัว เนิร์ด ดูเป็นเรื่องที่ต้องเรียนในวิชาสังคมศึกษา เรียนจบมาไม่ตอบโจทย์ ชีวิต กระนั้นก็ยังมีนักเรียน นักศึกษาเป็นหมื่นเป็นร้อยเป็นพันที่เลือก เส้นทางนี้ เช่นเดียวกับ ชนินทร เนียมสอน (นิน) เขาเลือกว่าที่ ใบปริญญาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะ เหตุผลข้อแรก เป็นความฝัน -- จากภูมิหลังว่า มีพี่ชายเรียนมหา’ลัย เดียวกัน นินติดตามการเมืองไทย ยึดหลักสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ช่วงมัธยมนินเคยไปพูดแสดงจุดยืนว่ารัฐธรรมนูญไม่ดีอย่างไร (ในรั้ว ธรรมศาสตร์!) เหตุผลสุดท้าย เขาหวังว่าความรู้ทางรัฐศาสตร์ จะเป็นย่างก้าวของการเติบโต เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม -- จากภูมิหลังว่า สายตา และประสบการณ์ชีวิตของนิน เคยพานพบประสบกับเรื่องราวเลวร้าย ในสังคมไทย ตั้งแต่เรื่อง การบริหารประเทศ ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบบรัฐสภา เลือกตั้ง สิทธิ เสรีภาพ สภาผู้แทนราษฎร นักการเมือง คอร์รัปชั่น รัฐประหาร ยึดอ�ำนาจ รัฐธรรมนูญ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้กระทบเขาทั้งทางตรงและทางอ้อม บทสนทนาต่อจากนี้จึงท�ำหน้าที่เสมือนบันทึกความคิดของ คนๆ หนึ่งที่เฝ้ามองสังคมของตัวเองพร้อมตั้งค�ำถามว่า แล้วเราจะท�ำ อย่างไร ในวันข้างหน้าที่เขาและประชาชนยังคงต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง สังคม
ชนินทร เนียมสอน l 42
ตั้งแต่มัธยม คุณครูที่โรงเรียนมองนินเป็นเด็กก้าวร้าวหรือ หัวรุนแรงไหม ? ครูที่โรงเรียนผมอาจจะคิดอย่างนั้น แต่ผมไม่ได้เปิดหน้า ขนาดว่าตัวเองคิดอย่างนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่โอเคกับสิ่งที่ผมจะพูด ออกไป ก็เลยเซ็นเซอร์ตัวเอง...บางทีก็เซ็นเซอร์เยอะพอสมควร เซ็นเซอร์เรื่องอะไร ? เราไม่ได้อินกับการที่วีรบุรุษคนหนึ่งสามารถกู้ชาติได้ อย่างนี้ไม่มีปัญหาเวลาตอบข้อสอบเหรอ ? ตอนเรียนมอปลาย ผมเป็นเด็กที่ไม่ค่อยชอบตอบตามใจ อาจารย์ เพราะรู้สึกไม่ชอบวิธีการสอนของเขา ก็เลยตอบตามที่ตัวเอง อยากจะตอบ ตอบที่ตัวเองสนใจ ยิ่งข้อเขียนยิ่งชอบใหญ่เลย คะแนนดีไหม ? คะแนนผมก็อยู่กลางๆ เพื่อนๆ ส่วนใหญ่คุยเรื่องสังคมการเมืองกับเราบ้างไหม ชีวิต มัธยมแตกต่างจากเพื่อนคนอื่นหรือเปล่า ? ก็ใช้ชีวิตเหมือนเด็กคนอื่น แต่เราก็ค่อนข้างอึดอัด หมายความ ว่าอยู่ในห้องเราไม่สามารถพูดประเด็นทางด้านการเมือง อะไรที่เป็น ประเด็นอ่อนไหวส�ำหรับเขาอย่างเรื่องชาติ วัฒนธรรมเล็กๆ น้อยๆ หรือศาสนา เขาก็โกรธแล้ว ท�ำให้เรารู้สึกไม่สามารถคุยกับเขาได้ คุยได้ก็มีแค่เพื่อนบางคน แต่น้อยมาก
43 l โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
ถ้าพูดรวมๆ คือช่วงมัธยมปลายคือชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัด ? ใช่ เราก็เหมือนอยู่เป็นน่ะตอนนั้น เพราะไม่ได้มีพรรคพวกใน การที่จะไปสู้กับเขา นอกจากอึดอัดในห้องเรียนแล้ว มองการเมืองไทยช่วงนั้น ประมาณปี 2557 แล้วอึดอัดด้วยไหม ? ตอนนั้นเราก็คิดว่าท�ำไมมันเกิดอย่างนั้นขึ้น มันเป็นอย่างนี้ อีกแล้วเหรอ เราตั้งค�ำถามกับการรัฐประหารว่ามันไม่ใช่ทางออก ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดนะในการที่จะจัดการปัญหาของประเทศ ท�ำไมเราไม่ มาร่วมกันคิด ท�ำไมไม่มีการเลือกตั้งแล้วสามารถที่จะให้คนแต่ละคน มานั่งคุยกันว่าปัญหาเหล่านี้จะจัดการยังไง ที นี้ ข อถามว่ า ท� ำ ไมนิ น ถึ ง เลื อ กสอบเข้ า ที่ ค ณะรั ฐ ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท�ำไมไม่เลือกรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เข้าใจว่าสอง สถาบันนี้มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันพอสมควร ? เลือกธรรมศาสตร์แต่แรก เพราะเป็นคนที่อินกับอะไรแล้ว ต้องท�ำมันให้ได้ ต้องเข้ามาให้ได้ แล้วตอนนั้นอินกับธรรมศาสตร์มาก จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ อย่างการก่อตั้งมหา’ลัยขึ้น มีจุดประสงค์ถ้าพูดง่ายๆ คือเพื่อประชาชน เราอินกับตรงนั้น และคิดว่า มันลิเบอรัล เปิดกว้างส�ำหรับเราในทุกอย่าง สามารถท�ำให้เรามี เสรีภาพที่จะคิด แสดงออกที่สามารถท�ำในสิ่งที่เราสนใจได้ คิดว่าจะ ดึงศักยภาพของตัวเราออกมาให้มากที่สุด เพราะเราอยู่ในที่ที่เรา อยากอยู่ ถ้าเทียบกับจุฬาก็อีกอย่าง ผมมองภาพจุฬาเป็นคอนเซอร์ เวทีฟ ชนินทร เนียมสอน l 44
พอเข้ามามหาลัยแล้ว ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพอย่างที่คิดไหม ? ถามว่ามีเสรีภาพจริงไหม ในมหา’ลัยก็มีเสรีภาพจริงใน ทุกๆ อย่าง เราคาดหวังว่าทุกอย่างจะเป็นเสรีภาพ รุ่นพี่จะมีแนวคิดที่ ลิเบอรัล เปิดกว้างทางความคิดว่าคุณจะท�ำอย่างนู้นอย่างนี้ก็ได้ เราจะ ไม่บังคับคุณ เราจะไม่เก็บเงินโดยไร้เหตุผล...แต่บางอย่างก็มาก�ำกับ พอเข้ามา โอเคสังคมมีความหลากหลาย แต่คนที่มีสิทธิมี เสียงในคณะส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวคอนเซอร์เวทีฟ แล้วพอเข้ามา จริงๆ รัฐศาสตร์มันโซตัส ไม่ได้แรงแบบมหา’ลัยอื่น แต่ก็โซตัส (ย�้ำอีก รอบ) มันยังคงระบบอาวุโสอย่างแนบแน่นเหมือน อย่างกลุ่มนู้นกลุ่มนี้ บางกลุ่มเราไม่รู้วัตถุประสงค์ของเขาเลยว่าตั้งมาเพื่อสิ่งนี้นะ สิ่งนี้คือ ? ตั้งมาเพื่อคงระบบอาวุโสไว้ ตั้งมาเพื่อจะท�ำงานในภาค ราชการคราวหน้าๆ อย่างของคณะผม จะแบ่งเป็นโต๊ะๆ หมายความว่าแบ่งเป็น กลุ่มๆ คล้ายระบบโรงเรียนที่แบ่งเป็นห้องๆ แล้วก็มีโต๊ะชื่อนู้นชื่อนี้ ตามความเข้าใจของผมคือเพื่อให้เกิดการเก็บเงินอย่างเป็นระบบ เขา ให้ค�ำอธิบายว่าเราเข้ามา โต๊ะคือเพื่อนกลุ่มแรกของเรา แต่เอาเข้าจริง มันคือการเก็บเงิน แล้วการเข้าโต๊ะจะมีการจับสายเทค มีการรับน้อง โต๊ะ มีโซตัสเยอะมาก และค่อนข้างที่จะแรงพอสมควร มีกิจกรรมต่างๆ นานาที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน เช่น การนอนแล้วให้ผู้หญิงมาผัดมาม่า ผัดมาม่าหมายความว่าให้ผู้หญิงมาท�ำบนตัวเรา แล้วรุ่นพี่ก็แซวรุ่น น้องผู้หญิง รุ่นน้องผู้ชาย มันเหมือนกลายเป็น sexual harassment ท�ำนองนั้นเลย เห็นเขาว่ามีการท�ำทุกปี
45 l โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
โต๊ะเหมือนแก๊งไหม ? ไม่เชิงอย่างนั้น อธิบายยาก โต๊ะเหมือนสังกัด ? ใช่ สังกัดของคนที่เข้ามาแล้วจะอยู่ในสังกัดไหน ทุกคนจะมีโต๊ะเป็นของตัวเอง แล้วใครเป็นคนเลือกโต๊ะให้เรา ? เขาเลือกให้ ใช้การจับฉลาก ไม่มีสิทธิด้วย ? ใช่ ไม่มีสิทธิ มันไม่ควรมีด้วยซ�้ำ หลายๆ คนก็บ่น เก็บเงิน เป็นเดือน เพื่อจะไปเลี้ยงน้องปีหน้า ไปรับน้องที่ต่างจังหวัด บางเดือน ห้าร้อยหกร้อย บางโต๊ะเป็นพัน แล้วมันเก็บกันอย่างเป็นระบบ โดยอ้างค�ำว่ามิตรภาพ รุ่นพี่รุ่นน้อง บางคนไม่จ่ายแล้วโดนด่าก็มี หรือเวลามีกิจกรรมของคณะ แกนรุ่นจะต้องมาเก็บเงิน บางทีจะมาเรียกเก็บเงินจากแต่ละโต๊ะ เก็บจากแกนโต๊ะ แล้วเอาเงิน ไปลงกับกิจกรรมของรุ่น ที่ต้องจ่ายเพราะมันคือกิจกรรมของรุ่น ท�ำอย่างเปิดเผย ? ท�ำกันอย่างเปิดเผย บางทีมีกิจกรรมในคณะ เขาก็เรียก แต่ละโต๊ะไปท�ำกิจกรรมร่วมกัน ผู้ใหญ่ในคณะสนับสนุนระบบโต๊ะแบบนี้ไหม ? ประเด็นนี้ผมไม่รู้ แต่อาจารย์น่าจะรู้ มีอาจารย์บางคนที่หนุน และไม่หนุน แต่เขาไม่ได้ออกมาพูดอะไรมาก ซึ่งโต๊ะก็เป็นสิทธิของ เราว่าจะอยู่ต่อหรือไม่อยู่ ชนินทร เนียมสอน l 46
“
มันตลกอย่างหนึ่งคือเข้ามาแล้วคิดว่า จะเจอคนที่ตื่นตัวทางการเมืองมากๆ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าคอนเซอร์เวทีฟเยอะมาก และอาจจะมีลิเบอรัลที่อยู่เป็นเยอะกว่า คนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง
”
แล้วนินอยู่ในระบบโต๊ะไหม ? ตอนแรกผมเข้า แล้วรู้สึกไม่อิน รู้สึกไม่คุ้มค่ากับเงินที่เรา ต้องจ่ายไป เลยออกมา สิ่งที่คนจะเอามาพูดเล่นกันตลอดคือ เฮ้ย โต๊ะแตกหรอ โต๊ะ แตกหมายความว่าคนในโต๊ะเริ่มออก ไม่เอาโต๊ะแล้ว มันจะหยอกล้อ ประมาณนี้ เรื่องเนื้อหาการเรียนเป็นอย่างที่เราคิดไหม ? ไม่ได้เกินความคาดหมาย เราไม่ได้คิดว่าเนื้อหาจะต้องหวือหวาหรือเกินไปจากที่เราอ่าน ซึ่งมันก็โอเค เราตั้งค�ำถามกับมันได้ แล้วอาจารย์เขาหัวสมัยใหม่ เขาเปิดกว้างว่าอยากจะถามอะไรก็ถาม อยากจะรู้อะไรก็รู้ อยากจะเถียงก็เถียง ไม่ต้องเชื่ออาจารย์นะ ค�ำนี้จะ ได้ยินบ่อยมากในธรรมศาสตร์ นินเคยเถียงกับอาจารย์ไหม ? ก็มีบ้าง แต่จะเป็นเชิงถามและตั้งข้อสงสัยมากกว่า เพราะไม่ ได้เป็นคนที่เป็นตัวชนมากขนาดนั้น จ�ำได้ไหมว่าถามว่าอะไร ? มีอยู่คลาสหนึ่งสอนเรื่องคอมมิวนิสต์ การปฏิวัติทั้งหลาย แหล่ว่ามีช่วงหนึ่งที่มีการปฏิบัติไปสู่คอมมิวนิตส์ แล้วจะมีช่องว่าง ประมาณสามช่วง คือปฏิวัติ มีรัฐ และไร้รัฐ ผมก็ถามว่าท�ำไมไม่ สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ไร้รัฐไม่ได้สักที เรื่องเพื่อนล่ะ สภาพแวดล้อมโดยรอบของคนในคณะ ถ้าแบ่ง หยาบๆ ส่วนใหญ่เป็นลิเบอรัลหรือคอนเซอร์เวทีฟ ? ชนินทร เนียมสอน l 48
มั น ตลกอย่ า งหนึ่ ง คื อ เข้ า มาแล้ ว คิ ด ว่ า จะเจอคนที่ ตื่ น ตั ว ทางการเมืองมากๆ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าคอนเซอร์เวทีฟเยอะมาก และอาจจะมีลิเบอรัลที่อยู่เป็นเยอะกว่าคนที่เคลื่อนไหว ทางการเมือง แล้วนินเป็นลิเบอรัลสายอยู่เป็น หรือสายที่ตื่นตัวและเคลื่อนไหว ทางการเมือง ? ผมไม่ได้เป็นลิเบอรัลสายชนขนาดนั้น ผมอยู่กึ่งกลาง แต่ส่วน ใหญ่ผมก็ไปท�ำงานกับสายนักกิจกรรม สายที่นินเป็น มีวิธีการต่อสู้ทางการเมืองประมาณไหน ? ต้องประเมินสถานการณ์ก่อนว่าถ้าชนไปแล้วมันจะคุ้มได้คุ้ม เสียไหม ถ้าเราไปแล้วเจ็บตัว เราเลือกที่จะไม่ไป แต่ถ้าไปแล้วเจ็บตัว แต่มันคุ้ม เราก็เลือกที่จะท�ำ คือไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองไม่ควรชนขนาดนั้น เพราะถ้ากิจกรรมสามารถสร้างผลกระทบอะไรให้กับสังคมได้บ้าง หรือ ท�ำให้คนชะงัก คิดได้ว่าท�ำไมเป็นอย่างนี้นะ เราก็จะเข้าไปท�ำ แต่ถ้าไม่ เกิดอะไรขึ้นมา ผมก็จะไม่เข้า เห็นว่านินเคยไปชูป้ายถามกึ่งเรียกร้องความเป็นธรรมกับผู้เสีย หายจากการสลายการชุมนุมในปี 2553 ต่อหน้าคุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) ในวันที่เขามาพูดปาฐกถาในมหา’ลัย อยากให้เล่าว่า ตอนนั้นคิดอะไร รู้สึกอะไร ท�ำให้ใช้วิธีการนี้ ? ตอนนั้นคณะมีงานโอเพ่นเฮ้าส์ แล้วคณะกรรมการนักศึกษา เชิญคุณอภิสิทธิ์มาพูด เพื่อนเลยคุยกันว่าจะเอายังไงดี เราไม่สามารถ ยอมได้นะ ถ้าจะมีคนที่เคยสลายการชุมนุมเข้ามาพูดที่นี่ เราต้องส่ง สารอะไรสักอย่างให้สังคม แล้วเวลามันสั้นมาก เลยตัดสินใจท�ำ ซึ่งผม 49 l โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
มองว่ามันเป็นงานฉาว คนในคณะจ�ำนวนเยอะพอสมควรไม่ชอบวิธี พวกนี้ เขาว่าวิธีพวกนี้ไร้มรรยาท นินมองว่าวิธีนี้ไร้มรรยาทอย่างที่คนส่วนใหญ่พูดหรือเปล่า ? คิ ด ว่า การที่เราจะประท้ว งอะไรสักอย่างมันก็ต้องกระทบ อะไรต่อสังคมอยู่แล้ว ถ้าเราไปท�ำเงียบๆ จะไม่สร้างผลกระทบอะไร ให้สังคมเลย เขาจะไม่รับรู้ว่าเราต้องการจะส่งสารอะไร หลังจากชูป้ายแล้วเป็นอย่างไร คิดว่าเกิดแรงกระเพื่อมมาก น้อยแค่ไหน ? ตอนนั้นสั่นสะเทือนมากเหมือนกันนะ เป็นที่พูดถึงทั้งทาง โซเชียลและสังคมข้างนอก เสื้อแดงก็เอาไปพูดต่อด้วย เห็นว่านินท�ำ Third Way Thailand ร่วมกับเพื่อนๆ ด้วย อยากให้ เล่าที่มาที่ไปของกลุ่มนี้ ? เริ่มจากเราเห็นปัญหาของกลุ่มกิจกรรมในธรรมศาสตร์ว่า ไม่ได้มองภาพออกไปในสังคมข้างนอก ไม่ได้พยายามประสาน มหา’ลัยต่างๆ หรือกลุ่มนักศึกษาต่างๆ เพื่อมาสู้อะไรบางอย่าง มัน เหมือนท�ำงานเป็นชิ้นๆ ในธรรมศาสตร์จะมีลักษณะที่เป็นอย่างนี้ เพนกวินเลยมีความคิดว่าเราจะท�ำกลุ่ม โดยไม่ตั้งข้างหลังว่า ธรรมศาสตร์ เพราะจะท�ำให้เป็นกลุ่มที่ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมกัน ได้ จะมหา’ลัยไหนก็ตาม เลยชักชวนเพื่อนที่มีแนวความคิดคล้ายคลึง กันมาร่วมกันท�ำกลุ่ม ตอนนั้นนั่งคิดกันหลายชื่อมาก จนได้ชื่อ Third Way ซึ่ง เหมือนเสนอทางเลือกที่สามให้สังคม สังคมตอนนี้เราไม่มีทางเลือก มากเท่าไรว่าเขาจะเลือกอะไรได้ในช้อยส์ของการเมือง พรรคเพื่อไทย ชนินทร เนียมสอน l 50
“
จุดที่เรามีร่วมกันคือ เราอยากเปลี่ยนแปลงสังคม อยากเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยใช้พลังของนักศึกษา พลังของคนรุ่นใหม่ ในการที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม
”
ประชาธิปัตย์ เราพยายามจะเสนอช้อยที่สามให้กับเขา ท�ำไมไม่เริ่มจากเปลี่ยนระบบโซตัส หรือโครงสร้างที่ไม่เป็น ธรรมในคณะ ? เพื่อนๆ ที่อยู่ Third Way ด้วยกันก็รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลง ในสังคมมันฟังก์ชันกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงในคณะ จุดประสงค์ของกลุ่มนี้คืออะไร ? จุดที่เรามีร่วมกันคือ เราอยากเปลี่ยนแปลงสังคม อยาก เปลี่ยนแปลงประเทศโดยใช้พลังของนักศึกษา พลังของคนรุ่นใหม่ใน การที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม โอเคกลุ่มนี้อาจจะไม่หยุด แค่นี้ก็ได้ มันอาจจะไปต่อก็ได้ พอมันฟอร์มแล้วอาจจะเข้มแข็ง พอเข้มแข็งอาจจะกลายเป็นพรรคการเมืองหรืออะไรก็ได้ เรามอง ภาพไปไกลขนาดนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ Third Way Thailand จะ กลายเป็นพรรคการเมือง ? มั นจะเป็น ไปได้ถ ้า เรามีค นที่สนใจเข้าร่วมกับ เรามากพอ ถ้ายุทธศาสตร์เราชัดเจนและเรามีทางเลือกให้กับสังคมให้ชัดเจนมาก พอ แล้วมันไม่ใช่แค่กลุ่มนักศึกษาที่เราจะไปพูดคุยด้วย แต่มันรวมถึง กลุ่ม activist กลุ่มอะไรต่างๆ ที่เราต้องไปคุยด้วยเพื่อให้มันเกิดขึ้น จริง ท�ำงานนี้มีผลตอบแทนไหม ? ท�ำด้วยใจเลย ไม่มีผลตอบแทน อาจจะมีค�ำว่าประสบการณ์ เราก็ได้รู้จักคนนู้นคนนี้ ชนินทร เนียมสอน l 52
ถ้าให้ประเมินสิ่งที่ Third Way Thailand ท�ำ คิดว่าทุกวันนี้เราได้ เสนอทางเลือกที่สามให้กับสังคมได้บ้างหรือยัง ? เราอาจยังไปไม่ถึงจุดนั้น ทีมเรายังไม่เข็มแข็งพอ แต่งานหนึ่งที่เราจัดคืองานรัฐธรรมนูญ ล้อกับวันงาน รัฐธรรมนูญวันที่สิบ เดือนธันวา ปี 2560 เราก็จัดและมองภาพว่า รัฐธรรมนูญของคสช.มันจะเกิดวิกฤตขึ้นแน่ๆ เลย มันก็คืออุดมการณ์ ของเราที่จะเสนอทางเลือกใหม่ให้กับสังคม เราก็จะพยายามเสนอทาง เลือกว่ารัฐธรรมนูญมีข้อเสียยังไง เราก็เชิญอาจารย์มาพูด แล้วเราก็ให้ ความรู้ในเพจที่เราท�ำงาน ถ้ามองในทางโซเชียลมันก็ส่งผลพอสมควร แม้ Third Way ยังไปไม่ถึงขั้นเสนอทางเลือกให้สังคม แต่ถ้าเป็น นิน แบบไม่เอาชื่อ Third Way ไว้ข้างหลัง สามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นในประเทศไทยได้หนึ่งเรื่อง นินเห็นว่าปัญหาอะไรควรได้ รับการพูดถึงและแก้ไขเป็นล�ำดับแรก ? ในเมืองไทยปัญหามันซับซ้อน มีให้เลือกเยอะ เปลี่ยนไปเรื่อง หนึ่ง อีกเรื่องก็เปลี่ยนตาม (หยุดคิด) ถ้าปัญหาที่อยากแก้จริงๆ คือ เรื่องสวัสดิการของรัฐ พอคสช.ขึ้นมาก็ตัดสวัสดิการไปพอสมควร ผมคิดว่าประเทศ ที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ตอนนี้เราไม่ควรให้ทุกอย่างเป็นของเอกชน หมด ควรจะให้รัฐจัดการบ้าง เช่นสิทธิในการรักษาพยาบาลของ ประชาชน สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการที่จะได้รับ การเลี้ยงดู ควรจะมีสวัสดิการส�ำหรับคนเหล่านี้ ทั้งคนไร้บ้านก็ได้ หรือ อาจจะเป็นคนที่ยังว่างงานอยู่ก็ได้ ให้เขามีสวัสดิการที่รองรับเขา อะไรดลใจให้เลือกค�ำตอบนี้ ? สวัสดิการมันครอบคลุม 53 l โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
เราควรที่จะได้เป็นรัฐสวัสดิการ
ด้วยซ�้ำ ให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากร อาจจะไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็ จัดสรรให้มันได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้นินเคยพูดประเด็น 112 มาตลอด ไม่คิดว่า ประเด็น 112 ควรถูกแก้ไขมากกว่าสวัสดิการของรัฐเหรอ ? ผมก็สนใจประเด็นนี้มาตลอด พยายามที่จะเล่นเรื่องนี้ตลอด เป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมานาน แต่ไม่ได้รับการแก้ไขสักที เมืองไทยมัน...ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ไม่ควรมี นักโทษทางความคิด คนเราควรมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ได้ที่ มันมีผลกระทบต่อตัวเรา คนที่มีอ�ำนาจของรัฐ หรือคนที่ใช้เงินภาษี เพราะที่มาที่ไปของเงินของเขามาจากไหน เราควรมีสิทธิที่จะพูดว่า สิ่งที่เขาท�ำเป็นยังไง เพราะเขาคือบุคคลสาธารณะ อะไรบ่มเพาะความคิดพวกนี้ เพราะเข้ามาเรียนคณะรัฐศาสตร์ หรือเปล่า ? สิ่งที่ท�ำให้เปลี่ยนมุมมองจริงๆ คือหนังสือที่ได้อ่านช่วงมอปลายเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท�ำให้เปลี่ยนมุมมองโลก ตอนนั้น พี่ชายเรียนด้านสังคมศาสตร์อยู่แล้ว ผมไปหยิบมาอ่านแล้วชอบ ผมสนใจประเด็นการเมือง การที่คนเขาวิเคราะห์กันว่า ประเด็นโน้นประเด็นนี้ส่งผลยังไงต่อประเทศ เลยตัดสินใจว่าคณะไหน ที่มันตอบโจทย์เรามากที่สุดก็เป็นคณะรัฐศาสตร์ พอเข้ามาก็คิดว่ามันจะเปลี่ยนความคิดเรา แต่ถ้าเปลี่ยน จริงๆ คือเรามองคณะ มองมหา’ลัยเราเปลี่ยนไป ฟีลแบบนั้นมากกว่า ยังไม่ได้เปลี่ยนแบบมุมมองในการมองโลก
ชนินทร เนียมสอน l 54
เรียนรัฐศาสตร์มาแล้วหนึ่งปี มองเห็นภาพตัวเองท�ำงานอะไรใน อนาคต ? อยากจะท�ำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปท�ำ แบบไหน ตอนนี้ก็พยายามที่จะท�ำกิจกรรมกับเพื่อน พยายามค้นหาว่า ตัวเองต้องการอะไรกันแน่ ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดมันใช่หรือเปล่า เป็นนักการเมืองล่ะ ? ก็...ไม่ ไม่อยาก โอเค เราอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร แต่มุมมองของเราไม่ อยากจะเข้าไปเป็นนักการเมือง เพราะเข้าไปเป็นนักการเมืองก็มีเรื่อง ผลประโยชน์ ต้องไปต่อรองอ�ำนาจ ผมไม่ใช่คนชอบเล่นการเมืองขนาด นั้น
55 l โลกใบเดิม (ไม่) เพิ่มเติมสิทธิ
ชนินทร เนียมสอน l 56
3
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส
สันติ ภาพ ในหนึ่งทริป บูคอรี อีซอ - แวรุง ไปไหน
แบยี บูคอรี อีซอ เจ้าของเพจ แวรุง ไปไหน เพจท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ชักชวนแวรุงในสามจังหวัดมาเที่ยวทะเล น�้ำตก ภูเขา และวิถีชีวิต ด้วยความเชื่อว่าสถานที่เที่ยวนั้นน่ามองกว่ากองเลือด
ท้องฟ้าที่กรุงเทพฯ ‘เร่าร้อน’ ไม่ต่างจากท้องฟ้าจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระเบิด คาร์บอมบ์ ควันไฟ กลิ่นคาวเลือด เรื่องราวจาก สามจังหวัดชายแดนส่งไปถึงคนทั่วประเทศให้รับรู้ผ่าน ‘สื่อ’ ซึ่ง รายงานความเสียหาย ความรุนแรง ภาพชวนสลด และอื่นๆ อีกมากมายที่ท�ำให้เราเข้าใจว่า ปัตตานี ยะลา นาธิวาส เป็นเพียงสนามรบ พื้นที่ที่คนปกติไม่ ควรย่างกรายเข้าไปแม้แต่น้อย ยังมีเรื่องราวดีๆ อีกไหม ที่เรามองข้ามเพราะถูกบดบังจาก การรายงานข่าวเหล่านี้ “มันไม่ได้ออกจากบ้านแล้วทุกคนต้องถืออาวุธ ยังมีมุมที่คน ทั่วไปใช้ชีวิตเหมือนคนกรุงเทพฯ เช้าออกไปท�ำงาน ไปเรียนปกติ ไม่ได้มีเหตุการณ์ (รุนแรง) ตลอดเวลา “เราอยู่ปัตตานีตั้งแต่เกิด ยี่สิบกว่าปี คิดว่ามันสัมผัสกับค�ำว่า สันติภาพได้” บูคอรี อีซอ หรือชื่อเล่นที่คนรู้จักว่า “แบยี” บอกว่า คน ภายนอกมักจะเห็นความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ในสายตาคนในพื้นที่ แบยีเห็นแง่งามมากกว่านั้น เขาเห็น ธรรมชาติ น�้ำตก ผืนฟ้า และผืนน�้ำกว้างไกล เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต อาหาร ศาสนา ผู้คน รอยยิ้ม และ สันติภาพ นี่เป็นที่มาของเพจ “แวรุง ไปไหน” เพจท่องเที่ยวในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเชื่อมร้อยสันติภาพ โดยใช้การท่องเที่ยว แม้ทุกวันนี้คนจะมองเห็นแต่ความไม่สงบก็ตาม
บูคอรี อีซอ l 60
“จุดเปลี่ยนคือเราจะไปท�ำค่ายที่ยะลา ก็ไปโดยไม่รู้ว่าที่นั่นเคย เกิดเหตุการณ์อะไร แต่เราก็ไป ขณะที่ไประหว่างทางเป็นหุบเขา พอข้ามหุบเขาจะมีน�้ำตกไหล สวย เราก็ไปถ่ายเป็นอัลบั้ม เพื่อเอาไป ลงเฟสบุ๊ก แต่ก่อนจะเขียนแคปชั่นเราพยายามหาข้อมูลลงด้วย พอไป เสิร์ชมีแต่เหตุการณ์ ภาพน�้ำตกที่เราจะค้นหาข้อมูลไม่มีเลย “ลองเสิร์ชค�ำว่าปัตตานี ก็มีภาพเหตุการณ์ นราธิวาสก็มีภาพ เหตุการณ์ ยะลาก็มีภาพเหตุการณ์ ทั้งที่ควรจะเป็นเหมือนจังหวัดอื่น อย่างสตูลก็มีทะเล พังงา ภูเก็ตมีภาพสถานที่ท่องเที่ยว สามจังหวัดก็ ควรจะเป็นแบบนั้น ไม่ใช่เราเสิร์ชแล้วมีแต่ภาพระเบิด อาวุธ เราคิดว่า บ้านเราควรสวยงามมากกว่านี้” เพจ “แวรุง ไปไหน” ยังเป็นโปรเจคจบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทว่าตอนแรกใช้ชื่อ สั้นๆ ว่า “แวรุง” เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในสามจังหวัด ชายแดนใต้ พอเพจเริ่มคึกคัก ได้รับความนิยม แบยีจึงเติม “ไปไหน” เข้าไปในชื่อเพจ แวรุง เป็นภาษายาวีมลายูแปลว่า วัยรุ่น ไปไหนเป็นค�ำ ทักทายบ่งบอกถึงความห่วงใยกัน “วัยรุ่นส่วนมากในปัจจุบันในสามจังหวัดจะใช้ภาษาไทยทับ กับมลายู ผสมผสานกัน และพอเรารู้จักกัน เราก็ต้องทักว่า ไปไหนๆ ถ้าไม่รู้จักหรือเกลียดกันก็คงไม่ทักว่าไปไหน เลยคิดว่าเราห่วงใยเขา นะ ไปไหน ทักถามกันว่าไปไหนๆ” แล้วท�ำไมวัยแวรุงต้องไปเที่ยวเพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ สามจังหวัด ? “เราเคยท�ำประเด็นสันติภาพ พวกกิจกรรม ค่าย หรือ ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับสันติภาพหรือวิถีชีวิต แต่ไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 61 l ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สันติภาพในหนึ่งทริป
มากเท่าไร คือมีแค่บางกลุ่มหรือกลุ่มเล็กๆ แต่พอไปท�ำเชิงการท่อง เที่ยวมันจะกว้างขึ้น เข้าถึงทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ มันตอบโจทย์ ถึงไม่ได้ตอบโจทย์โดยตรง แต่ก็ถ่ายทอดมุมมองใหม่ๆ ของสามจังหวัดว่ายังมีมุมดีๆ ภาพดีๆ ไปต่อสู้กับข่าวความรุนแรงที่ออกไป” กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น เพราะในฐานะวัยรุ่น แบยีจะรู้ว่า ตัวเองต้องการเที่ยวแบบไหน อยากไปดูอะไร ท�ำแบบนี้แล้วคนจะ ชอบไหม และถ้าพูดแบบเฉพาะเจาะจงวัยรุ่นที่หมายถึงคือ วัยรุ่นใน สามจังหวัดชายแดนด้วย อีกทั้งวัยรุ่นมีเครื่องมือสื่อสาร พอวัยรุ่นแชร์มันจะกระจายไป ทั่ว อาจท�ำให้ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเห็นและคล้อยตาม ไปด้วย “เราแทนตัวเองเป็นวัยรุ่น รู้อยู่แล้วว่าเราต้องแบบไหน สไตล์ ไหน ถ้าเราท�ำกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่ เราอาจจะไม่เข้าถึง เพราะเรา ไม่เป็นผู้ใหญ่ พอเราเป็นวัยรุ่นเราเข้าถึงมากกว่า ประมาณว่าเราเป็น วัยรุ่นนะ ตอนนี้เราเป็นวัยรุ่น (ย�้ำอีกรอบ) ไล่เลียงสถานที่ที่แบยีไปเที่ยวแล้วน�ำมาลงเพจ ไล่เลียงตั้งแต่ จังหวัดยะลา ตั้งแคมป์ดูหมอก สตรีทอาร์ตแกลลอรี่ น�้ำตกบูตงล�ำพะยา ถ�้ำกระแซง ทุ่งปอเทือง นราธิวาส - ตันหยงมัส (เมืองลองกองหวาน) ตลาดน�้ำยะกัง น�้ำตกยะลูดง น�้ำตกปาโจ ป่าพรุโต๊ะแดง ฆูนุงบาตูปูเตห์/ผานับดาว ปัตตานี - สีสันปีใหม่แสงไฟในปัตตานี ตลาดกรีนมาร์เก็ต ตลาดขายของมือสอง สถานที่ส�ำคัญทางศาสนา อุทยานแห่งชาติ น�้ำตกทรายขาว ตะโละกาโปร์ ตะโละสะมีแล (ชายหาด) แหลมตาซี ล่องเรือบางปู ทุ่งยางแดง ฯลฯ แบยีบอกว่าตัวเองยังมีสถานที่อีกเป็น “พัน” ที่ยังไม่ได้ไป บูคอรี อีซอ l 62
“
เสิร์ชค�ำว่าปัตตานี ก็มีภาพเหตุการณ์ นราธิวาส ก็มีภาพเหตุการณ์ ยะลา ก็มีภาพเหตุการณ์ ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นเหมือนจังหวัดอื่นๆ อย่างสตูลก็มีทะเล พังงา ภูเก็ตมีภาพสถานที่ท่องเที่ยว สามจังหวัดก็ควรจะเป็นแบบนั้น ไม่ใช่เราเสิร์ชแล้วมีแต่ภาพระเบิด อาวุธ เราคิดว่าบ้านเราควรสวยงามมากกว่านี้
”
เพราะแค่บอกว่าน�้ำตก ก็มีสถานที่เป็นร้อยเป็นพัน หลายที่ดูเหมือน สถานที่ทั่วไป ขณะเดียวกันก็เป็นที่อันซีนของคนจ�ำนวนไม่น้อย เรื่องการหาสถานที่ ช่วงท�ำเพจแรกๆ แบยีจะค้นหาข้อมูล ด้วยตัวเอง ต่อมาเริ่มมีคนแชทมาแนะน�ำสถานที่ต่างๆ ท�ำให้มีคลัง ที่ท่องเที่ยวเยอะขึ้น แต่การท�ำเพจในลักษณะนี้มีข้อจ�ำกัดคือ ช่วงแรกๆ ต้องควัก กระเป๋าตัวเองออกไปเที่ยว ค่าน�้ำมันรถเอย ที่พักเอย แต่เมื่อท�ำเพจ ได้สักพักก็เริ่มมีงานเข้ามา เมื่อมีงานย่อมมีเงิน มีผู้สนับสนุน เมื่อมี ทุนก็สามารถต่อยอดงานให้มีมิติมากขึ้น อีกข้อจ�ำกัดคือ เทคโนโลยีที่เข้าไม่ถึงบางสถานที่ จึงต้องมี ไกด์ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ส�ำหรับติดต่อ ผลตอบรับของการท�ำเพจเป็นอย่างไร ? “เกินคาด (หัวเราะ) เพราะเราท�ำทีสิส แค่เรียนจบ พอจบก็ไป ท�ำอย่างอื่นต่อ แต่พอเริ่มมีคนเข้ามา เริ่มมีคนติดต่องานมันต่อยอด ไปเรื่อยๆ เราก็อยากจริงจังมากขึ้น อนาคตอาจจะมีไปเที่ยวต่างจังหวัด “ส่วนคะแนนที่ได้ก็ค่อนข้างสูง แม้แรกๆ อาจารย์ยังไม่เห็น ทางว่าจะเป็นเชิงไหน พอเริ่มมีคนสนับสนุน อาจารย์ก็มั่นใจว่ามัน ต่อยอดเป็นงานได้” ต่อยอดแบบไหน ? “พอเป็นชื่อแวรุง มันสามารถแบบ...แวรุงไปไหนอ่ะ แตกแยก ได้หมดเลย แวรุงพาไปกิน แวรุงพาไปเที่ยว แวรุงนู่นนั่นนี่ เป็นได้ เยอะ โดยแวรุงเป็นเฮดหลักของรายการ แล้วไปไหนคือไปเที่ยว ไป กิน ไปหา ไปดูวิถีชีวิต ดูการตัดยาง ดูการท�ำนา อะไรได้หมด เรา สามารถเอาเรื่องราวของสามจังหวัดไปเผยแพร่ได้” แบยีได้คอนเซ็ปต์นี้ตั้งแต่ตอนเริ่มเสนอโปรเจคส่งอาจารย์ บูคอรี อีซอ l 64
“
เราไม่สามารถชวนเพื่อน ที่อยู่ต่างจังหวัดมาเที่ยวบ้านเรา ทั้งๆ ที่เขายังสามารถชวนเราไปเที่ยวได้ เรา กล้าไปเที่ยวของเขา เขาไม่กล้ามาเที่ยวของเรา เพราะด้วยสถานการณ์ เราอยากชวนนะ อยากชวนมากๆ มาเที่ยวนะ เราไม่สามารถบอกได้ เราอยากบอกแต่..เปอร์เซ็นต์ที่จะมามันน้อย
”
เพราะต้องท�ำให้อาจารย์เห็นภาพจึงจะผ่าน ตอนคิดชื่อเลยท�ำเป็น มายแมพปิ้ง พยายามเชื่อมโยงโดยเอาแวรุงไว้ตรงกลาง ค�ำถามคือ พอต่อยอดเพจในวันเราที่เป็นผู้ใหญ่ คิดว่าจะเสีย จุดยืนความเป็น (วัย) แวรุงไหม ? “อืมมมมม (ครุ่นคิด) “อันนี้ยังไม่ได้คิด แต่เราคิดว่าต้องมีคนสืบต่อ พอเป็นผู้ใหญ่ เราก็เป็นเจ้านาย ให้รุ่นน้องที่อยากมาท�ำ ให้เขาเป็นคนด�ำเนินต่อไป เรื่อยๆ” ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดก็ท�ำให้ แบยีปฏิเสธไม่ได้ว่า พื้นที่นี้มีเหตุการณ์จริงและไม่ได้ปลอดภัยหนึ่ง ร้อยเปอร์เซ็นต์ดังภาพในอุดมคติที่เขาอยากให้เป็น ถึงกระนั้นแบยีก็ เชื่อว่า ไม่ว่าพื้นที่นี้จะเป็นอย่างไร แต่นี่คือบ้าน บ้านในความหมายของแบยีคือ พื้นที่สามจังหวัด ปัตตานี ยะลา นาธิวาส เป็นบ้านหลังใหญ่ที่มีเหตุการณ์เหมือนๆ กัน ไลฟ์สไตล์เหมือนกัน ขณะเดียวกันเมื่อสื่อเล่นข่าว หรือแซวประเด็น ‘บ้าน’ ของ เขาให้เป็นเรื่องข�ำขัน ไม่ว่าชาติพันธุ์ ศาสนา วิถีชีวิต หรือล้อเลียน ระเบิดเอง คนภายนอกอาจขบขัน --- แต่เขาไม่ตลกด้วย “ในมุมหนึ่งเป็นเรื่องตลกนะ แต่คนบ้านตัวเองมันไม่ตลก แต่ เข้าใจว่าภาพออกมาแบบนั้น “เราคิดว่าบ้านเราคือที่ที่ปลอดภัยที่สุดแล้ว แต่ก็มีที่ที่น่ากลัว เหมือนเวลาที่เราไม่เคยไปที่นี้ ก็กลัวเหมือนคนที่ไม่เคยไป กลัวว่าจะ เจอเหตุการณ์ไหม รู้สึกเหมือนคนที่อยู่นอกพื้นที่ ถ้าเราเคยไป (สามจังหวัด) แล้วจะรู้สึกว่ามันปลอดภัย ถ้าเราไม่เคยไปก็จะรู้สึกเหมือน คนนอก “แต่เราไม่สามารถชวนเพื่อนที่อยู่ต่างจังหวัดมาเที่ยวบ้าน บูคอรี อีซอ l 66
เรา ทั้งๆ ที่เขายังสามารถชวนเราไปเที่ยวได้ เรากล้าไปเที่ยวของเขา เขาไม่กล้ามาเที่ยวของเรา เพราะด้วยสถานการณ์ เราอยากชวนนะ อยากชวนมากๆ มาเที่ยวนะ เราไม่สามารถบอกได้ เราอยากบอกแต่.. เปอร์เซ็นต์ที่จะมามันน้อย” ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนเป็นปัญหาเรื้อรัง มากกว่าหนึ่งทศวรรษ ถึงจะมีผู้เสนอทางออกไว้ไม่น้อย ทั้งทางออก เชิงและรูปธรรมและนามธรรมต่างๆ แต่ดูเหมือนรัฐอาจไม่ให้ ความส�ำคัญกับประเด็นนี้เท่าที่ควร ในสายตาคนในพื้นที่ แบยีมองว่าต้องเริ่มจาก ‘ความเข้าใจ’ โดยเริ่มจากท�ำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวว่ายังมีมุมดีๆ อยู่ “เราไม่สามารถตอบได้ว่ามันจะสงบในเร็วๆ นี้ เพราะมันก็ นานแล้ว ไม่มีใครสามารถแก้ได้ เราก็คิดว่าใช้ชีวิตปกติและท�ำความเข้าใจกันเอง แล้วคนอื่นจะเข้าใจเราเอง” อย่างไรก็ตามการประกาศพื้นที่สีแดง ยังท�ำให้หลายคน หวาดหวั่นกับเหตุการณ์ความรุนแรง แบยีมองว่าการประกาศพื้นที่สี แดงยิ่งท�ำให้คนหวาดกลัว รู้สึกว่าเป็นพื้นที่ต้องห้าม ราวกับมี สัญลักษณ์ประทับว่าห้ามเข้าไปพื้นที่แห่งนี้ คิดว่าเพจ “แวงรุงไปไหน” เป็นการเมืองไหม ? “เราพยายามหลีกเลี่ยงการเมืองนะ เราพยายามที่จะเป็น กลางที่สุด ไม่ออกไปชุมนุมหรือออกไปต่อต้านกับรัฐ เราไม่เคยคิดจะ ไปแข่งกับรัฐ ไปต่อต้านกับใคร ใดๆ องค์กรไหนก็แล้วแต่ เราไม่เคยคิด เราคิดว่าจะท�ำให้มันดีขึ้น ไม่ได้มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง” ถ้ามีลูกสักคน จะส่งต่อวิธีคิดแบบไหนให้ ? “คิดว่าอย่าสร้างศัตรู เราคงสอนว่าเขาคือเพื่อนเรา ครอบครัว เรา ให้เข้าใจว่าอย่าแบ่งแยก ไม่ควรน�ำศาสนามาแบ่งแยกกัน จะท�ำให้ ร้อนขึ้น เดือดขึ้น ตอนนี้ที่มีปัญหาคือเราแบ่งแยกกัน มันไม่เหมือน 67 l ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สันติภาพในหนึ่งทริป
ครอบครัว “เวลามีข่าวความรุนแรง เราพยายามหลีกเลี่ยง ไม่อยากรับรู้ มันเสียใจนะ ไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านตัวเอง “เราอยากให้คนรักกัน”
บูคอรี อีซอ l 68
4
ท่วงท�ำนอง ของ เสรีภาพ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก ศิลปิน: บทเพลงถึงตัวฉันเอง
วัชรพงษ์ ตันเต๊ก เภสัชกรหนุ่มผู้คลั่งไคล้ในเสียงดนตรี เขาจับปากกามาเขียนเพลง “บทเพลงถึงตัวฉันเอง” ส่งประกวดในโครงการเสรีภาพเสรีเพลง และได้รับรางวัลชนะเลิศ
ค�ำแนะน�ำ: หากคุณผู้อ่านเปิดฟังเพลง บทเพลงถึงตัวฉันเอง - วัชรพงษ์ ตันเต๊ก จะท�ำให้ทุกตัวอักษร-ทุกเรื่องราวมีความหมายมากยิ่งขึ้น ท�ำให้ได้รับอรรถรสในการอ่านที่สมบูรณ์แบบ (สามารถหาฟังได้ใน youtube.com)
เพลง “บทเพลงถึงตัวฉันเอง” - ใครฟังครั้งแรกเป็นต้องเคลิบเคลิ้ม ลื่นไหล สั่นไหว จิตใจล่องลอยไปตามถ้อยค�ำภาษาและจังหวะดนตรี (หากยังไม่เคยฟัง โปรดฟังเพื่ออรรถรสที่สมบูรณ์แบบ) เบาสบาย ราวกับนั่งอยู่ท่ามกลางป่าเขา ทว่าเป็นป่าเขาที่ ไม่มีนกร้องเพลง มีแต่เสียงบรรเลงจากกีต้าร์และเสียงร้องของชายที่ ชื่อ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก วัชรพงษ์ ตันเต๊ก ชื่อเล่่นว่า “ปังปอนด์” บางคนเรียกเขาว่า “ปัง” บางคนก็เรียกว่า “ปอนด์” เวลาอยู่ในมาดศิลปินนักร้อง นักแต่งเพลง เขาแทนตัวเองว่า “นายปัง ตันเต๊ก” เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาชีพ หลักหนีไม่พ้นเภสัชกร แต่อาชีพรองเขาจับกีต้าร์และท�ำเพลงในฐานะ ศิลปินค่าย 123Records จากเภสัชสู่นักร้อง นี่ไม่ใช่การจับพลัดจับผลู หากเป็นเพราะ ความสามารถในการท�ำเพลงที่ถ่ายทอดให้คนฟังอินตามได้ นั่นคือ เพลง “บทเพลงถึงตัวฉันเอง” ซึ่งชนะเลิศในการประกวดโครงการ เสรีภาพเสรีเพลงปี 2558 จัดโดยนิตยสาร happening ร่วมกับมูลนิธิ ฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย เมื่อชนะเลิศ ย่อมการันตีได้ว่ามีคุณภาพ ทั้งเสียงร้อง ดนตรี เนื้อเพลงตรงโจทย์ และการใช้ความหมายเชิงสัญญะพูดถึงเสรีภาพ อย่างท่อนหนึ่งที่ว่า “จะต้องให้จอห์น เลนนอน ลุกขึ้นมา เพื่อ จับปากกาและเขียนเพลงเดิมอีกกี่ครั้ง ฉันพร้อมจะรับฟัง ถ้อยค�ำ ประพันธ์ในบทเพลงแห่งเสรี” -- อาจตีความจากสังคมทุกวันนี้ได้ว่า เรายังต้องการจอห์น เลนนอน มาสร้างบทเพลงที่เป็นอมตะ หรือไม่ก็ตีความว่า สังคมทุกวันนี้มันย�่ำแย่เสียจนเราต้องการ คนอย่างจอห์น เลนนอน มาสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมเปลี่ยนแปลง อีกครั้ง วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 72
verse
อยากเปลี่ยนโลกนี้ด้วยเสียงเพลง แค่บรรเลงผู้คนก็มองว่าเพียงฝัน
“เคยมีคนพูดแล้วว่าจะเปลี่ยนโลกด้วยเสียงเพลง จอห์นเลนนอนก็เคยอยากเปลี่ยนโลกด้วยเสียงเพลง แต่พอเรามาคิด มันก็ยัง เปลี่ยนชัดเจนไม่ได้สักที พอเราเลยมาคิดในตัวค�ำ ‘อยากเปลี่ยนโลก ด้วยเสียงเพลง’ อาจจะเป็นแค่โลกของเราเองก็ได้ “เหมือนวันหนึ่งเราเศร้า เราแค่ต้องการเพลงๆ นี้เข้ามา แค่ ได้ยินก็เปลี่ยนความรู้สึกเราได้เลย บางทีอาจไม่ต้องเป็นโลกที่ใหญ่ มากนัก แค่เปลี่ยนโลกของเราชั่วเวลาหนึ่ง และถ้าเป็นผลดีก็น่าจะ โอเคแล้ว” ปอนด์เล่าถึงความหมายเนื้อเพลงที่ตัวเองสร้างขึ้น โครงการเสรีภาพ เสรีเพลง คือจุดเริ่มต้นของการท�ำเพลง บทเพลงถึงตัวฉันเอง ปอนด์เล่าว่าเห็นโครงการประกวดท�ำเพลงนี้จาก เพจ happening ยิ่งมีความชอบในเสียงเพลง แล้วได้เห็นโครงการนี้จึง 73 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
ท�ำให้ตัดสินใจสมัคร “ตั้งแต่เห็นทีแรก รู้เลยว่ายังไงก็ต้องส่งให้ได้ เหมือนช่วงนั้น เราเริ่มเขียนเพลงมาได้สักพักแล้ว ก็หาเรื่อยๆ ว่าเขามีประกวดแต่ง เพลงที่ไหน ประกวดแต่งค�ำขวัญ ตั้งชื่อหุ่นยนต์ ส่งหมด แล้วพอเจอ โครงการนี้ก็ส่งแน่นอน หัวข้อมันโอเคด้วย เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพ เสรีเพลง” ตอนนั้นตีความหัวข้อนี้อย่างไร ? “ตอนเริ่มเขียนครั้งแรก ไปมองแต่สงคราม มองแต่อะไร พวกนั้น เพราะตอนนั้นช่วงเหตุการณ์ระเบิดราชประสงค์ “เขียนไปเขียนมา เราอาจไม่จ�ำเป็นต้องไปมองจุดนั้น จุดเดียว เสรีภาพอาจจะอยู่แค่ตัวเราก็ได้ และบังเอิญว่าวันฟังบรีฟ หัวข้อนี้ค่อนข้างที่จะตรงกับสิ่งที่เราคิดอยู่แล้ว เหมือนทุกวันนี้คนเรา มีสิทธิที่จะท�ำอะไรก็ได้เพิ่มมากขึ้นจากสมัยก่อน แต่ว่าการกระท�ำนี้ ต้องไม่ไปกระทบกับคนอื่น “สมมติท�ำกับข้าวสักอย่าง ผัดกะเพรา เปิดยูทูปสามารถ ท�ำได้แล้ว เรามีอิสระที่จะหาข้อมูลได้ง่ายมาก จากที่เมื่อก่อนเราจะ เข้าห้องสมุด เปิดอ่าน ต้องไปถามคนนู้นคนนี้ มันดูจ�ำกัดเล็กๆ แต่นี่ เราอิสระมาก แต่เราก็คิดอย่างหนึ่งว่า ถ้าจะให้ดี ท�ำอะไรที่เราอยาก ท�ำแต่ต้องไม่รบกวนคนอื่นเขา มันต้องไม่กระทบคนอื่นมากมายนัก ซึ่งโจทย์ตรงกับความคิดเราพอดี เราก็เขียนออกมา แต่ใช้เวลานาน เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งนานที่สุดแล้ว ไม่เคยเขียนเพลงนานขนาดนี้” ตอนนั้นเขาท�ำงานเป็นเภสัชกรที่ร้านขายยา กลับถึงห้อง ประมาณสี่ทุ่ม ไม่ได้มีเวลามานั่งเขียนเพลงเต็มวัน จึงต้องอาศัยเวลา ที่อยู่ในร้านขายยาเขียนเพลงนี้ไปด้วย ท�ำงาน เขียน ขัดเกลาเมโลดี้ ไปมา อีกทั้งการเขียนเพลงให้อยู่ในโจทย์ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย โดย วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 74
เฉพาะการตีความโจทย์ให้เข้ากับเพลง นอกจากนี้เขาอยากให้เพลงมี ค�ำสัมผัสนอกใน ค�ำคล้องจอง การเล่นค�ำต่างๆ ซึ่งการให้มีค�ำสัมผัส และไม่หลุดโจทย์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย “ยกตัวอย่างท่อนหนึ่ง (แสงดาวคลืบคลานเข้ามา อยู่ตรงข้าม กับพระจันทร์) ตอนเขียนนั่งอยู่ที่ระเบียงห้อง เราเป็นคนชอบดูท้องฟ้า ท้องฟ้าตอนกลางคืนมันมีดาว ถ้าเราไม่อยู่กรุงเทพ อยู่จังหวัดไหน ก็ตาม กลางคืนก็มองเห็นดาวได้ แต่กรุงเทพมันไม่เห็นดาว แต่ถ้าเรา ไปอยู่บนตึก ดาวที่เราเห็นคือแสงไฟข้างล่าง นั่นคือดวงดาวของ กรุงเทพ” บทเพลงถึงตัวฉันเองไม่ใช่เพลงเศร้า แต่กลับช่วยเยียวยาเขา ในวันเศร้าๆ วันที่รู้สึกท้อมากๆ พอเจอท่อน “ว่าถึงทีที่ฉันต้องพักและ ผ่อนคลาย” พวกนั้นก็ช่วยให้เขา “ช่างมัน” เดี๋ยววันถัดไปก็มาถึง วันนี้ จะดีหรือเลวร้ายแค่ไหนก็ไม่ต่างกัน “ท่อน “ฉันจึงจากมาแสนไกล ไกลจากเมืองเมืองนั้น” คือเรา อยากกลับไปอยู่บ้าน มันเหนื่อยกับชีวิตในเมืองกรุง (สู่ที่ที่มีพระจันทร์ อยู่ด้วยกันกับดวงดาว) เพราะถ้าไม่ใช่กรุงเทพ พระจันทร์จะอยู่ด้วย กันกับดวงดาว” ไม่แปลกที่หลายต่อหลายชีวิตอยากเข้ามาในกรุงเทพ พอได้ เข้ามาก็บ่นเหนื่อย อยากกลับบ้าน แต่ก็ต้องใช้ชีวิตออฟฟิศต่อไป เรื่อยๆ เช่นเดียวกับปอนด์ที่อยากกลับบ้าน แต่ก็ยังกลับไม่ได้ แต่ใจ จริงก็อยากอยู่บ้านที่ฉะเชิงเทรา “ตอนแรกจะเข้าไปอัดเพลงนี้ในสวนที่บ้านด้วยนะ (หัวเราะ) แต่เวลาไม่ได้ ก็เลยเออ แบบนี้ดีกว่า “จ�ำได้เลยวันที่ส่ง...ตอนแรกเขาประกาศไว้ว่าเป็นวันหนึ่ง สมมติว่าสิ้นเดือนหน้า แต่วันนั้นบังเอิญเขาบอกจะปิดรับสมัครวันนี้ เราก็ เอ๊ะ ท�ำไมวันนี้เป็นวันสุดท้ายวะ จ�ำได้ว่าเป็นอีกวันหนึ่ง 75 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
ไม่ใช่เหรอ แต่เราอัดเพลงไว้แล้วไง แค่ยังไม่ไรท์ใส่แผ่น ตอนนั้นเรา ยืนร้านยา เลยบอกพี่ที่ร้านว่า พี่ครับผมขอเบรกสักสองชั่วโมง ก็กลับ ไปที่ห้อง ไปไรท์แผ่น และเอาแผ่นไปส่งไปรษณีย์ เกือบไม่ทันเหมือน กันวันนั้น” จ�ำวันผิดเองหรือเปล่า ? “ไม่ผิดนะ เหมือนเขาเลื่อนวันส่งเร็วขึ้น แต่ดวงยังดีที่เห็น ไม่ งั้นก็หลุดไปแล้ว” บทเพลงถึงตัวฉันเอง เพลงนี้ต้องการส่ง message อะไรให้ คนฟัง ? “ถ้าเขาฟังแล้วท�ำให้รู้สึกดีขึ้นมา แค่เปลี่ยนโลกเขาไป ณ เวลานั้น มันก็พอแล้ว ได้ฟังแล้วผ่อนคลายเพราะด้วย เนื้อหาที่ส่งไป ยิ่งคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพน่าจะรู้สึกคล้ายกัน เพราะฟังแล้วก็น่าจะ มองไปทางเดียวกัน แม้เพลงจะไม่ได้สื่อตรงๆ ไม่ได้แปลตรงๆ ออกมาเลย เราอยากเหลือพื้นที่ให้เขาคิดด้วย เพราะถ้าเขาคิดในมุมของ เขา เขาเห็นภาพในมุมของเขาเอง เพลงนี้จะกลายเป็นเพลงเขาไป ด้วย เขาจะเอาไปตีความยังไงนั่นเป็นเพลงของเขาไปแล้ว เรา ต้องการแค่ตรงนี้” ตอนเพลงนี้ยังไม่คลอด ยังไม่ผ่านการประกาศว่าชนะเลิศ และยังไม่ผ่านขั้นตอนการโปรดิวซ์เพลงอย่างจริงจัง ปอนด์รู้สึกเฉยๆ เพียงแค่ชอบที่ได้เขียนเพลงและได้เอาค�ำสัมผัสไปใส่ แต่หลังจากชนะ เลิศแล้วได้รับการท�ำดนตรีเพิ่ม เขารู้สึกรักเพลงๆ นี้ ปอนด์ให้คะแนนเพลงนี้ แปดเต็มสิบ ด้วยจังหวะและโอกาสของเพลงบทเพลงถึงตัวฉันเอง ท�ำให้ เขาได้รับโอกาสที่ประเมินค่ามิได้ตามมา นั่นคือการได้เป็นศิลปินใน ค่ายของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ถ้าหากว่าเพลงนี้ปล่อยออกมาช้าหรือ เร็วกว่านี้ โอกาสนี้คงไม่เกิดขึ้น วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 76
“
ตอนเขียนนั่งอยู่ที่ระเบียงห้อง เราเป็นคนชอบดูท้องฟ้า ท้องฟ้าตอนกลางคืนมันมีดาว ถ้าเราไม่อยู่กรุงเทพ อยู่จังหวัดไหนก็ตาม กลางคืนก็มองเห็นดาวได้ แต่กรุงเทพมันไม่เห็นดาว แต่ถ้าเราไปอยู่บนตึก ดาวที่เราเห็นคือแสงไฟข้างล่าง นั่นคือดวงดาวของกรุงเทพ
”
“ตอนแรกเรารีบมาก อยากท�ำนู่นนี่นั่น จนรุ่นพี่คนหนึ่งบอก ว่า บางทีเราไม่ต้องรีบขนาดนั้น มันมีเวลาของมัน เหมือนไวน์ มัน ต้องบ่มจนถึงเวลา ถ้าเพลงนี้คือไวน์ เราว่าถึงเวลาแล้ว มันกินได้แล้ว อยู่ที่ว่าคนจะชอบไม่ชอบกินไวน์” ถ้าไวน์คือโอกาส ผู้ลิ้มรสคือผู้หยิบยื่นโอกาส แสดงว่ารสชาติ ของไวน์นั้นต้องกลมกล่อม หากแต่เพียงกลมกล่อมอย่างเดียวไม่ เพียงพอ เพราะการดื่มไวน์กลางแสงอาทิตย์คงไม่รื่นรมย์เท่าจิบไวน์ ท่ามกลางแสงไฟยามค�่ำคืนที่มีดวงดาว
hook
จะต้องให้จอห์นเลนนอนลุกขึ้นมา
เพื่อจับปากกาและเขียนเพลงเดิมอีกกี่ครั้ง “ท่อนฮุคจอห์น เลนนอน เราได้ความคิดจากการเห็นรูปหนึ่ง เป็นช่วงที่จอห์นเลนนอนโดนยิงตาย แล้วมีคนไปชุมนุม มีคนยกรูป จอนเลนนอนขึ้นมาที่เขียนข้างบนว่า why ท�ำไม เรารู้สึกว่าภาพมัน สื่อสารมากเลย แล้วชอบมานั่งคิดต่อว่า ถ้ามองในมุมกว้าง ท�ำไมคนๆ หนึ่ ง ที่ เ รี ย กร้ อ งเพื่ อ สั น ติ ภ าพในยุ ค ที่ รุ น แรงมากกั บ เรื่ อ งสงคราม สามารถเป็นประเด็นขึ้นมาได้ “แล้วครั้งหนึ่งเพื่อนเราไปคอมเมนท์คุยกันในเฟสบุ๊ก ทะเลาะ อะไรกันไม่รู้ ไม่ทะเลาะอะไรกันมากมายหรอก แค่โพสต์เถียงๆ กัน เราก็นั่งคิดว่าจะต้องให้จอห์นเลนนอนมาร้องเพลงอิมเมจิ้นอีกกี่ครั้ง ถึงจะเลิกทะเลาะกัน”
วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 78
ความชอบในเสียงดนตรีของปอนด์เริ่มมาตั้งแต่เด็ก เขาเป็น คนแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้านเป็นอู่ซ่อมรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ ใน สภาพแวดล้อมแบบนี้ซึมซับให้เขาเป็นคนชอบเสียงเพลงในเวลาต่อมา “เวลาเขาท�ำงานกัน พ่อก็นั่งท�ำงาน ขัดสีพ่นสี มีลูกน้องด้วย สิ่งที่เขาจะท�ำคือเปิดวิทยุ ไม่ก็เปิดเทปฟัง เราจะมีหน้าที่เปลี่ยนม้วน เทป กรอเพลง ก็จะไปคลุกอยู่กับเขา ตอนเด็กจ�ำได้ว่าเคยดูเจ็ดสี คอนเสิร์ต น่าจะเป็นพี่ติ๊กชีโร่ เขาตีกลองด้วย เราก็เอาเลย เอากระป๋อง สีที่หมดแล้วออกมาตี” วันไหนไม่ได้ออกไปเล่นกับเพื่อนเขาก็อยู่กับเสียงเพลง “เราอยู่บ้านนอก เบเกอรี่ไม่รู้จัก เทคโนโลยีที่เราจะรับรู้ได้ อย่างเดียวคือทีวี วิทยุ ม้วนเทป มีอยู่แค่นี้ ที่ฟังก็เสก โลโซ คือเราเด็ก อู่ ฟังแต่พวกวงร็อก Silly Fools Blackhead หินเหล็กไฟ คาราบาว พงษ์สิทธิ์ คาราวาน มาลีฮวนน่า เพลงเพื่อชีวิตก็มีอิทธิพลต่อเรา เยอะ...เพราะมันคือช่าง “แล้วเราก็ได้เรียนรู้ศิลปินพื้นบ้าน พอคนเหนือมาเป็นลูกน้อง ที่บ้าน มาแล้ว จรัลมโนเพ็ชร คนใต้ก็มาลีฮวนน่า อีสานก็พงษ์เทพ จะ ได้ฟังเพลงที่เป็นเพื่อชีวิตเยอะหน่อย แล้วมันไม่ได้แค่อู่เราไง หลังบ้าน เป็นอู่ลุงอีก อู่รถเหมือนกัน อู่ใหญ่กว่าบ้านเราอีก มีช่างยี่สิบคนได้ ก็ เลยได้ฟังเพลงด้วย” พอโตขึ้น พ่อถอดเครื่องเล่นเทปที่อยู่ในรถออกมาให้ปอนด์ แล้วแปลงให้เป็นเครื่องเล่นเทปส่วนตัว มีล�ำโพง ท�ำให้ปอนด์ซึมซับกับ เสียงดนตรีเรื่อยๆ กระทั่งประถมหก เป็นครั้งแรกที่เขาได้เรียนกีต้าร์อย่างจริงจัง “พ่อนึกครึ้มอะไรไม่รู้ให้ไปเรียนกีต้าร์ เราเรียนได้ประมาณ หนึ่งปี มีรุ่นพี่อยู่คนหนึ่ง เป็นพี่ชายที่พี่รักมาก สนิทกันมาก เพราะพ่อ เขากับพ่อเราเป็นเพื่อนซี้กัน พี่คนนี้ตีกลองอยู่ก่อนแล้ว เราเล่นกีต้าร์ 79 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
เลยรวมวงกันท�ำวงในโรงเรียน เล่นดนตรีมาตลอดจนจบถึงมอห้า ช่วงมอห้าเราเลิกเล่นไป อ่านหนังสือเข้ามหา’ลัย” ปอนด์ถามพ่อว่าท�ำไมจู่ๆ ให้เรียนกีต้าร์ พ่อตอบว่าสมัยพ่อ เป็นเด็ก พ่ออยากเล่นกีต้าร์แต่ย่าไม่ซื้อให้ แต่ในหมู่บ้านมีบ้านหลัง เดียวที่มีกีต้าร์ การที่จะมีโอกาสได้ใกล้กีต้าร์และเล่นสักทีจึงต้องไปอยู่ ใกล้ชิดกับเจ้าของกีต้าร์ แล้วเปิดกางสมุดเพลงไม่ให้ลมพัด ถ้าเขาเบื่อ เมื่อไร จึงเป็นโอกาสที่พ่อของปอนด์จะได้ดีดบ้าง “ถ้าพ่อเล่นไม่ได้ ไม่มีโอกาสในวันนี้ ก็พอที่จะส่งให้ลูกได้ไป เรียน ให้รู้จักกับกีต้าร์ เลยส่งเราไปเรียน ถ้าวันนั้นเขาไม่พาไปเรียน ชีวิตเราอาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้ ครอบครัวมีอิทธิพลกับเราเยอะ มาก” อยู่แบบช่าง ชอบดนตรี ท�ำไมเรียนเภสัช ท�ำไมไม่เรียนช่าง ดนตรี หรือสายศิลปะ ? “ย้อนกลับไป ตั้งแต่อนุบาลถึงมอหก บ้านเราไม่มี อินเทอร์เน็ต ไม่มีอะไรเลย คนอื่นกลับบ้านเล่นเอ็มเอสเอ็น เราไม่มี โมเม้นท์นั้น ในซอยบ้านเราก็มีอินเทอร์เน็ตไม่เกินห้าหลัง บ้านเรามี คอมพิวเตอร์แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ต แล้วตอนนั้นเหมือนสังคมบอกเราว่า การศึกษาสูงสุดของประเทศคือหมอ วิศวะ เภสัช ทันตะ บัญชี สถาปัตย์ อะไรแบบนี้ ซึ่งตอนนั้นเราไม่รู้เลยว่ามันมีอะไรอีก อะไรจะ เป็นความมั่นคงให้เราได้ รู้แค่ว่าตอนนั้นเราเรียนวิทย์คณิต เภสัช ทันตะ แพทย์ ไม่ก็วิศวะ เราชอบฟิสิกส์กับคณิตมากเลยนะ แต่ดูแล้ว เหมือนเอะอะผู้ชายก็จะเป็นแค่วิศวะๆ ท�ำไมวะ หรือเลือกหมอไหม แต่ดูท่าแล้วไม่น่าจะถึง คะแนนเราไม่น่าถึง แต่ก็ลองไปสอบนะ ทันตะ ก็ลอง จนมาได้เภสัช “ในใจคิดอยู่แล้วว่าน่าจะได้เภสัช ค�ำถามคือแล้วเราจะเรียน ที่ไหนวะ ไม่รู้เรื่องเลย เพื่อนรักอีกคนก็รู้ว่าเราสนใจเภสัช มันเลยเอา วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 80
ใบแจกฟรีจากที่เรียนพิเศษว่ามีสถาบันไหนมีเภสัชบ้าง เราก็ไล่ดู จุฬา...แม่งเอ้ยคะแนนกูจะได้ไหมเนี่ย ไม่เอาๆ มหิดล...ไม่น่ารอด ศิลปากร...อันนี้แหละวะ น่าจะได้อยู่ ในใจก็คิดอย่างเดียวว่าเราจะต้อง ได้เภสัชศิลปากร แล้วก็ได้” ไม่เห็นภาพตัวเองดีดีกีต้าร์อยู่บนเวที ? “ไม่เห็นเลย ตอนเรียนต้องเขียนว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร เท่าที่ จ�ำได้เรามีสองอาชีพหลัก อาชีพแรกขายก๋วยเตี๋ยวเป็ด ตอนนั้นที่ แปดริ้วมีร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ด ที่บ้านชอบไปกินมาก แล้วมันดูสนุกมาก ก็ เลยเป็นเพราะเหตุนี้ครั้งแรกคือก๋วยเตี๋ยวเป็ด ครั้งที่สองคือผู้ก�ำกับ หนัง น่าจะเป็นช่วงที่บางระจันดังมาก ก็เลยเขียนไป แต่จริงๆ ไม่ได้ อยากเป็นหรอกนะ” เขียนเพราะความเป็นเด็กล้วนๆ จนกระทั่งสอบเข้ามหา’ลัย ถึงจะรู้ว่าต้องเป็นเภสัชกร แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าตัวเองชอบดนตรี คลุกคลีมาแต่เด็ก การ เรียนทางด้านดนตรีไม่ใช่ค�ำตอบหรือ ? “การเรียนดนตรี ณ ตอนนั้น พ่อแม่ก็คิดว่า จบไปจะท�ำอะไร จะมั่นคงไหม มีสักกี่คนที่ขึ้นมาเป็นศิลปินได้ เขาไม่ได้ห้าม เขาก็ส่ง เสริม แต่เราเลือกเภสัชเองด้วย” ชีวิตในรั้วเภสัช ศิลปากร ปอนด์เป็นเด็กกิจกรรมคนหนึ่ง สันทนาการ เชียร์ลีดเดอร์ ต้องอยู่กับเสียงเพลง หรือเวลาคิดงานก็ต้อง อยู่กับเพลง นอกจากนี้เวลาอ่านหนังสือเรียน เขาบอกว่า ถ้าไม่ฟัง เพลง จะอ่านหนังสือไม่ได้ เพราะถ้าไปนั่งตามร้านกาแฟหรือตามโต๊ะ ตามสวน เขาจะวอกแวก สมาธิจะหลุด “ก็มีเล่นดนตรีกลางคืนช่วงหนึ่ง ท�ำวงกับเพื่อน แต่ก็ไม่ได้ เยอะมากเพราะเรียนหนัก แต่ก็หนีไปเล่นอยู่ดี เลิกไม่ได้” สังคมเภสัชก็หล่อหลอมปอนด์ เพราะเขาเจอแก๊งที่เป็นคอ 81 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
เดียวกัน ได้เจอรุ่นพี่ที่เป็นนักดนตรี ยิ่งท�ำให้ซึมซับดนตรี งานศิลปะ และแนวคิดต่างๆ ความเป็นเภสัช ช่วยอะไรในการแต่งเพลงไหม ? “ช่วย จริงๆ ก็ทุกคนแหละ มันพาไปเจอมุมมองที่มันต่างกัน ถ้าวันนั้นเราเรียนดนตรี เราอาจจะไม่ได้เขียนเพลงพวกนี้ขึ้นมา เพราะเราอาจจะไปเจอสังคมอีกแบบที่ไม่ใช่ทางเภสัช เภสัชเหมือน หล่อหลอมกลายๆ ให้เราเจอเรื่องของการจากลา เพราะเราอยู่กับ เรื่องสุขภาพคน มาโรงพยาบาลมีคนตายแทบทุกวัน มีคนเสียใจ มี การสูญเสีย มีการจากลา มันเป็นมุมมองหนึ่งที่ท�ำให้เขียนเพลง ส่วน ใหญ่เราจะมีแต่เพลงเศร้า ไม่ค่อยมีเพลงสุขสมหวังอะไร มีแค่เขียนให้ แฟนที่ดูเป็นเพลงรัก ไม่ก็เขียนให้พ่อให้แม่ นอกจากนั้นเป็นมุมมอง เพลงเศร้า เภสัชอาจจะเป็นส่วนช่วยที่ท�ำให้เขียนเพลงในมุมมองนี้ “ส่วนตอนท�ำงานเรามาอยู่ร้านยา ไม่ค่อยได้ฟังเพลง เพราะ มันต้องอยู่กับตรงนั้น จะฟังเพลงเวลาที่ต้องเดินทาง นั่งบีทีเอส แต่ก็มี แอบเขียนเพลงตอนท�ำงาน ลูกค้าไม่ค่อยมี เราก็นั่งเขียน เขียนกลอน เขียนไรไปเรื่อย “พอเปลี่ยนงานเป็นผู้แทนยา เราได้ฟังเพลงเยอะขึ้น เวลา เราเปลี่ยนย้ายโรงพยาบาลก็นั่งฟังเพลงไป กลับห้องก้ฟังเพลง ตื่น เช้าก็ฟังเพลง ล้างหน้าแปรงฟันก็เปิดเพลงแล้ว บางทีตื่นมานอนบน ที่นอนก็เปิดเพลงฟังไปด้วย คงไม่มีวันไหนที่ไม่ได้ฟังเพลง” ปอนด์เล่าว่าตอนเรียนมหา’ลัย เขาเคยเกือบลาออกจาก คณะ เพราะต้องการเบนเข็มไปทางดนตรี จากการที่เห็นวงดนตรีที่ ประสบความส�ำเร็จทุ่มเทให้ดนตรีอย่างเต็มที่ แต่ตอนนั้นเขาไม่ทุ่มเท อะไรเลย แต่แฟนเขาก็มาห้ามไว้ “ต่อมาได้ไปคุยกับรุ่นพี่คนหนึ่ง เขาบอกว่าไม่เห็นยากเลย ก็ ท�ำไปสองอย่างดิ ถ้ามึงรักมันมากพอ มึงมีเวลาให้มันอยู่แล้ว แค่ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 82
“
เภสัชเหมือนหล่อหลอมกลายๆ ให้เราเจอเรื่องของการจากลา เพราะเราอยู่กับเรื่องสุขภาพคน มาโรงพยาบาลมีคนตายแทบทุกวัน มีคนเสียใจ มีการสูญเสีย มีการจากลา
”
อดทนหน่อย พักผ่อนน้อยลง เอาเวลาให้มัน ยังไงมึงก็ท�ำได้สองอย่าง เพราะตัวพี่เขาเองก็ท�ำได้ เขาเล่นดนตรีกลางคืน และเราเพิ่งรู้วันนั้น ว่าเขาเป็นคนแปลวารสารทางการแพทย์ ซึ่งเขาไม่ได้เรียนจบทางการ แพทย์เลย คุยศัพท์ทางเภสัช พี่แกรู้หมดเลย งั้นโอเค เราจะท�ำมัน สองอย่างนี้แหละ แต่ถ้าวันหนึ่งมันกระทบกัน อาจต้องลดอีกอันลงมา “ทุกวันนี้เรามีดนตรีกับมีเภสัช ตอนแรกเภสัชมันเยอะกว่า เพลงมันน้อย ตอนนี้เพลงเริ่มขึ้นมา” ฟังเผินๆ เหมือนชีวิตปอนด์ถูกขีดมาให้เดินตามเส้นทางนั้น แล้วถ้าไม่มีข้อจ�ำกัดเรื่องเงิน งาน เวลา เขาอยากท�ำอะไรกันแน่ ? “ถ้าให้เลือกว่าจะท�ำอะไร เงินมี ความรู้มี คือดนตรีอยากท�ำ อยู่แล้ว ท�ำมันแน่ๆ “ถ้าเรื่องจริงก็อยากท�ำธุรกิจ อยากเปิดร้านให้คนมานั่งฟัง เพลงเป็นที่สังสรรค์ ให้คนมานั่งคุยกัน ดนตรี หนัง เรื่องกระจุ้กกระจิ้ก การ์ตูน ให้เป็นเหมือนสังคมหนึ่งที่เอาไว้ให้คนทั่วๆ ไปเข้ามา ถ้าเรา อยู่ข้างนอกเราอาจเป็นพนักงานออฟฟิศ แต่พอเราเข้ามาเราก็จะเป็น พวกเดียวกัน ณ ตรงนี้ “ถ้าอยากท�ำอีกก็อยากไปเดินเที่ยว เดินเล่นในป่า หรือไม่ก็ ไปตามประเทศต่างๆ ที่ยังไม่เคยไป นักท่องเที่ยว นักเดินทาง อย่างนี้ หรอ อยากไปอังกฤษ อยากไปบ้าน Noel Gallagher ถ้าหลุดๆ ไปเลย ก็อยากไปดาวอังคาร พ่อเราเหมือนชอบยูเอฟโอ อ่านหนังสืออะไร บ้าง แต่ไม่ถึงขั้นเข้าเส้นลึก แต่เราก็อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง เราอาจไม่ ต้องไปก็ได้ แต่แค่อยากรู้ว่าเอเลี่ยนมีจริงหรือเปล่า หรือไม่ก็ขี่ม้า อยากให้ทุกคนในเมืองขี่ม้าไปท�ำงานกันให้หมดเลย ยุคคาวบอยอะไร อย่างนั้น” ชื่อของ “วัชรพงษ์ ตันเต๊ก” หรือ “นายปัง ตันเต๊ก” เป็นที่รู้จัก ของใครหลายคนครั้งแรกจากบทเพลงถึงตัวฉันเอง จากโครงการ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 84
เสรีภาพเสรีเพลง และเพลงของเขาอาจสนร้างการเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนโลก) ให้กับคนใดคนหนึ่ง แต่ว่ากันตามตรง ค�ำว่าเสรีภาพ ค�ำนี้ กว้างและมีความหมายลึกซึ้ง เช่นเดียวกับค�ำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตคืออะไร ค�ำถามนี้ตอบยากฉันใด เสรีภาพคืออะไร ก็ตอบ ยากฉันนั้น บางคนจัดเสรีภาพในหมวดรัฐศาสตร์ บางคนนิยามเชิง ปรัชญา บางคนให้คุณค่าแก่ค�ำๆ นี้ในหมวดการด�ำรงชีวิต ส�ำหรับปอนด์เสรีภาพอยู่รอบตัว (อย่างที่เขากล่าวมาแล้ว ตอนต้น) ค�ำถามคือ วัตถุดิบในการตีความค�ำว่าเสรีภาพ เขาได้ไป ค้นคว้าจากหมวดอื่นๆ บ้างไหม ? “แตะเยอะสุดคือประวัติศาสตร์ สงคราม นอกจากนั้นเป็น ประสบการณ์ที่ผ่านๆ มา เพลง หนังสือ ศิลปะรอบตัว เราอ่านพวกสิบ สี่ตุลา รอบๆ ตัวก็ประวัติสืบนาคะเสถียร เหตุการณ์ที่มนุษย์เราน่าจะมี สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด หรือสิ่งที่ควรจะเป็นใน สังคม แต่ก็ยังโดนจ�ำกัดจากระบบที่เป็นล�ำดับขั้นบรรดาศักดิ์ของ ประเทศเรา ที่ยังเอื้ออ�ำนวยกัน”
85 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
outro
เมื่อในวันนี้เรามีสิทธิ์ที่จะคิด
และในวันนี้เรามีสิทธิ์ที่จะฝัน ไม่มีก�ำแพง ไม่มีใดๆ จะมากั้น... เสรีภาพคืออะไร ? มุมมองโลกของคนที่เขียนเพลงว่าด้วยเสรีภาพ เขามอง การเมืองเป็นแบบไหน ? มองข่าวการเมืองทุกวันนี้ด้วยความรู้สึก อะไร ? -- ปอนด์ตอบเฉยๆ ไม่เชิงรู้สึกอะไรเป็นพิเศษ แต่เขาทิ้ง ค�ำถามให้คิดต่อ “เรามองว่าแล้วเมื่อไรจะถึงจุดที่พอดีวะ จุดที่พอดีของของ สังคมเรา เหมือนตอนแรกก็ตีกัน มีคนเข้ามาหยุด สักพักคนมาหยุด ท�ำอะไรกันอีกเนี่ย มีเรื่องนาฬิกาเข้ามาอีก มันจะรอดไหมวะ เรามี ความรู้สึกว่ามันก็คงเป็นอย่างนี้แหละ เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว สมัยที่รัฐบาลมีฝ่ายค้าน ก็ตีกัน เขาที่เข้าไปนั่งตรงนั้น เขาท�ำเพื่อ พวกเราจริงๆ หรือเปล่าวะ ไม่ได้หมายความแค่ว่ารัฐบาลยุคนี้นะ รวม ถึงรัฐบาลยุคก่อนๆ เลย เขาคิดนู่นนี่นั่นมาเพื่ออะไร อาจเพราะเรา เห็นสังคมต่างจังหวัดเวลามีงบประมาณมา ก็มีคอร์รัปชั่นอยู่แล้ว ตลอด สิ่งที่เขาคิดสร้าง ท�ำเพื่อเราเพื่อประชาชนจากภาษีจริงๆ หรือ แค่หัวข้อขึ้นมาเพื่อเขาจะได้เปอร์เซ็นต์ได้คอร์รัปชั่นกัน หรือจริงๆ แล้วคือทั้งสองอย่าง เพื่อผลงาน เพื่อประชาชนด้วย และเขาก็อาจคิด ว่ามันได้ส่วนแบ่งตามที่เขามีโอกาส จนวันนี้เรามันก็ยังไม่ได้ชัดเจน ว่าเขาท�ำเพื่อเราจริงหรือเปล่า “แต่ถามว่าเราท�ำอะไรได้ไหม ไม่ได้ เรามีความรู้สึกว่าออก เสียงอะไรไป ท�ำอะไรไปมันก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่เราก็จะท�ำหน้าที่ของเรา วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 86
ให้ดีที่สุด ไม่ท�ำให้สังคมแย่ลงไปกว่านี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่เราท�ำได้แล้ว เพราะถ้าจะให้เราไปเปลี่ยนสังคม ก็ไม่ได้มีก�ำลังมากพอ ความรู้ก็ไม่ได้ มี รัฐศาสตร์อะไรก็ไม่ได้รู้เรื่องกับเขา แค่อย่าท�ำให้มันเละกว่าเดิม ทุกวันนี้มันก็ฉิบหายอยู่แล้ว ดูข่าวตอนเช้า เปิดมาก็มีแต่อะไรไม่รู้ ฆ่า เสือ ฆาตกรรม มีให้เห็นทุกวัน” ย้อนกลับไปช่วงมัธยมที่เขาซึมซับความคิดหนึ่ง เขาเรียน โรงเรียนที่สืบ นาคะเสถียรเคยเรียน ปอนด์จึงได้รู้เรื่องราวของเขาจาก งานกิจกรรมที่โรงเรียนจัดเป็นประจ�ำทุกปี จนกระทั่งแนวคิดนี้ผลิดอก ในเวลาต่อมา “ช่วงเรียนมหา’ลัย เริ่มมีความรู้สึกว่าท�ำไมการตายของคนๆ หนึ่งต้องมาเป็นวันส�ำคัญของชาติ เรานั่งคิดต่อว่าแล้วการกระท�ำของ เขามีผลอะไรขนาดนั้น อย่างน้อยคือเกิดเป็นมูลนิธิ เป็นพลังหนึ่งของ สังคมที่จะดูแลส่วนนี้ อย่าง ‘สืบ’ เรามองว่าเป็นเสียงปืนที่ไม่เคยดับ เสียงปืนนัดเดียว จนวันนี้ ไม่กี่วันที่ผ่านมายังมีชื่อเขาอยู่ อุดมการณ์ ยังคงอยู่ แต่ทีนี้มันต้องแลกด้วยอะไรที่รุนแรงไปหน่อยหรือเปล่ากับ การที่ต้องสูญเสียคนๆ หนึ่งหรือแลกด้วยชีวิตแล้วเราจะสร้าง อุดมการณ์ขึ้นมาได้ จริงๆ เราอาจจะสร้างอุดมการณ์ขึ้นมาได้โดยที่เรา ไม่ต้องสูญเสียมากขนาดนั้นก็ได้ แค่เราคิดกันเองเหมือนรู้ผิดชอบชั่วดี ไม่ต้องให้ร้ายแรงแบบนี้ก็ได้” ตั้งแต่มหา’ลัยถึงวัยท�ำงาน มีการเปลี่ยนรัฐบาลมาแล้วสักสอง สามชุด ชีวิตเภสัชกรเปลี่ยนแปลงไปบ้างไหม ? “เปลี่ยนครั้งเดียวคือตอนที่เขาตีกัน ตอนที่เป็นเสื้อเหลืองเสื้อ แดง เรารู้สึกว่าต้องไปท�ำงานหรือเปล่าวะ แล้วจะตีกันถึงเมื่อไรวะ กู เดินไปไหนจะตายไหมเนี่ย คนที่เขาไปชุมนุมกันก็โดนยิงอีกแล้ว มัน คืออะไรกันวะเนี่ย แค่รักกันนี่มันยากนักเหรอ ถ้ามองแค่เรื่องความรัก เรามองว่ า รั ก กั น บางที อ าจจะง่ า ยกว่ า การกระท� ำ อะไรพวกนี้ ด ้ ว ย 87 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
ส�ำหรับเรานะ ต่อให้คนที่เคยท�ำอะไรร้ายๆ กับเราก็ตาม เราก็จะไม่ ค่อยไปร้ายกับเขา “เวลามีคนมาถามเสื้อเหลืองเสื้อแดง เราจะตอบว่าเราเป็น เสื้อขาว เราไม่ใช่เสื้อเหลือง ไม่ใช่เสื้อแดง เราเป็นนักศึกษา นั่นคือ หน้าที่ของเรา ซึ่งเราก็ไม่อยากให้มันมีเสื้อเหลืองเสื้อแดงด้วย ช่วยกัน เหอะ อย่าเอาเวลาชีวิตคน แม่งสั้นมากเลยนะ ชีวิตโคตรสั้นเลย เอา เวลามารักกันเถอะ อย่าเอาเวลาไปเกลียดกันเลย มันน่าจะดีกว่าถ้า เราช่วยกัน” มองการเมืองแล้ว เราสามารถน�ำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นวัตถุ ดิบนการท�ำเพลง นอกจากการจากลาแบบเภสัชได้ไหม ? “บางทีก็ อยากจะหยิบขึ้นมาเขียน สมมติเรื่องนาฬิกา เคยจะหยิบมาเขียน เพลงอยู่นะ แต่ก็มีความรู้สึกว่า มันคงพอแล้ว เราไม่ควรจะไป...มันไม่ ควรถูกบันทึกให้เป็นบทเพลงเพื่อเอาไว้เล่าให้ลูกหลานฟัง “เวลาการเมืองมันเปลี่ยนนิดนึง มันกระทบหมด กระทบทั้ง สังคม สิทธิ มันเกิดความเปลี่ยนแปลง กระทบถึงตัวประชาชน เราว่า อาจจะเป็นผลพวงที่ท�ำให้เราเขียนเพลง อย่างเรามีเขียนอยู่เพลงหนึ่ง ชื่อเพลงว่าแลก เขียนถึงชีวิตคนในเมือง ถ้าสวัสดิการของรัฐบาลดี กว่านี้อาจไม่ต้องมานั่งท�ำงานหนักมากขนาดนี้ หรือคนจนบางคนน่า จะมีสิทธิมากกว่านี้ หรืออย่างเพลงหนึ่งที่เคยเขียนชื่อว่า ข้าว เขียน ให้ชาวนาเลย เรื่องตอนประกันราคาข้าว คนกินข้าวทั้งประเทศ ขาย ได้ทั่วโลก ถ้าเราบริหารดีๆ จัดการดีๆ ชาวนาก็ไม่ต้องมานั่งเป็นหนี้ เป็นสินเขา ซึ่งคนบริหารก็คือรัฐบาล แต่เราก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เราจะเห็น แค่ในมุมปลายทางว่าชาวนาเป็นหนี้ คนที่ได้ประโยชน์ก็คือพ่อค้า คนกลาง คนที่สูงๆ ขึ้นไป “การเมืองมันกระทบลงมาเรื่อยๆ เพียงแค่เราจะมองว่ามัน เป็นเพราะการเมืองไหม หรือจะมองว่าเราเห็นแค่ตรงนี้ เห็นแค่ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 88
“
แต่ถามว่าเราท�ำอะไรได้ไหม ไม่ได้ เรามีความรู้สึกว่าออกเสียงอะไรไป ท�ำอะไรไปมันก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่เราก็จะท�ำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ไม่ท�ำให้สังคมแย่ลงไปกว่านี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่เราท�ำได้แล้ว
”
ปลายทางแล้ว แต่ขนาดเราไม่ค่อยได้ติดตามการเมืองอะไรมากมาย แต่ก็ดู ไม่ได้ลึกหรือต้องตามตลอด ยังรับรู้ได้ถึงผลกระทบ “เราใช้ค�ำพูดนี้บ่อยเหมือนกันนะ เราจะท�ำอะไรก็ได้ ท�ำไป เลย อยากท�ำอะไรท�ำ อย่าไปกระทบคนอื่นเขาเยอะ ถ้าเป็นลูก ตอน เราอยากเล่นดนตรี อยากมาก แต่ถ้ากระทบกับทางบ้าน อาจจะต้อง ผ่อนลงมาหน่อยไหม อาจไม่จ�ำเป็นต้องไปซ้ายสุดหรือขวาสุด แล้ว เราก็ไม่จ�ำเป็นต้องกลางด้วย แค่หาว่าตรงไหนคือสมดุล ท่อน ‘อยากเปลี่ยนโลกนี้ด้วยเสียงเพลง’ ดูเป็นท่อนที่มีความ อุดมคติ มีความฟุ้ง ล่องลอย แต่ก็ฉุกให้เห็นว่าบางเรื่องเราก็ใช้เสียง เพลงเปลี่ยนโลกได้ ค�ำถามคือ ถ้าใช้ปอนด์สามารถใช้เสียงเพลง เปลี่ยนโลกได้จริงๆ มีความคาดหวังถึงขนาดจะเปลี่ยนโลกเปลี่ยน สังคมเลยไหม ? “ถ้าท�ำได้ก็อยาก แต่เราก็ไม่กล้าไปชี้ว่าต้องเป็นสังคมแบบ ไหนวะ นึกออกไหม เหมือนเรายังไม่รู้เลยว่าสังคมต้องการอะไรกันแน่ แต่ถ้าวันหนึ่งมันเปลี่ยนแล้วดี อยากท�ำ แต่ ณ เวลานี้ไม่รู้ ไม่รู้ว่า สังคมต้องการอะไร สังคมจะดีด้วยอะไร แต่อย่างแรกคือให้คนทะเลาะ กันน้อยลงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีแล้ว ไปไหนมาไหนยิ้มรับกัน มีแต่เรื่อง ดีๆ ให้กัน เอาแค่รถปาดหน้าซ้ายขวา ไม่ด่าพ่อด่าแม่กันก็พอแล้ว” ว่าตามเขาและบทเพลง ตีความได้ว่า เสรีภาพคือการท�ำ อะไรก็ได้ โดยไม่กระทบกระทั่งไม่บาดหมางกัน เคารพความเป็น มนุษย์ ไม่ท�ำร้ายและท�ำลายกันและกัน เสรีภาพในการใช้ชีวิตเอย เสรีภาพในการแสดงออกเอย เสรีภาพในการคิดและตีความเอย แต่ต่างคน ต่างนิยามเสรีภาพ แต่ตามหลักเสรีภาพ มันจะท�ำให้เรามีอิสระในการด�ำเนิน ชีวิตตามวิถีทางของตนเอง วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 90
ส�ำหรับเขา เสรีภาพคือการได้เล่นดนตรี เขียนเพลง และท�ำใน สิ่งที่ตัวเองรัก โดยเฉพาะการได้จับคอร์ดบนคอกีต้าร์ และขับร้องเพลงอย่าง อิสระเสรี
91 l ท่วงท�ำนองของเสรีภาพ
วัชรพงษ์ ตันเต๊ก l 92
ศิลของ ปะ
แมลงเม่า ที่ไม่ยอมบินเข้า กองไฟ นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ ภาพสนตร์สารคดี MR.Zero
ตัง นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้ก�ำกับภาพยนตร์สารคดี Mr.Zero โปรเจคจบการศึกษา ว่าด้วยเบื้องหลังชีวิตคุณลุงบัณฑิต อดีตผู้ต้องหาคดี 112 ปัจจุบันเป็นนักข่าวสายศิลปะวัฒนธรรมประจ�ำส�ำนักข่าวประชาไท
ปี 2560 ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารส�ำนักข่าวประชาไท กล่าวไว้ว่า “มีบรรยากาศภายใต้ความกลัวไหม...มี “แต่สิ่งที่ฝ่ายบริหารท�ำอยู่เสมอคือ การพูดและสร้าง บรรยากาศว่าต้องไม่กลัว ถ้ากลัวอย่าเป็นนักข่าว” พูดแบบเหมารวม ความกลัวของนักข่าวอาจมีไม่กี่เรื่อง เช่น เงินเดือนเอย การส่งงานเอย แหล่งข่าวไม่เป็นใจเอย ผิดกับนักข่าวที่ขึ้นชื่อว่าท�ำประเด็นสุ่มเสี่ยง ความกลัวเป็น เรื่องของ ‘อ�ำนาจ’ ‘ผลประโยชน์’ และ ‘เรือนจ�ำ’ ส่ ว นประเด็นที่ค ลับคล้า ยคลับคลาว่าขาทั้งสองยืนจะร่วง หล่นลงปากเหวตลอดเวลา คงหนีไม่พ้นประเด็นกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่เอาเข้าจริงประเด็น 112 ก็ไม่ได้ท�ำให้คนท�ำงานข่าวกลัว เท่านั้น หากสามัญชนคนธรรมดาก็ไม่ต่างกัน เพราะสื่อสารเรื่องแบบนี้มันยาก จะพูดตรงๆ ก็ล�ำบาก พูด มากกลายเป็นหัวรุนแรง เถียงกันไม่จบสิ้น เป็นความเชื่อและความ ศรัทธาส่วนบุคคล บทลงโทษโหดมหันต์ และเสี่ยงต่อการเข้าไปอยู่ใน เรือนจ�ำ 112, การพูดสิ่งที่คนปกติไม่พูดนับว่าไม่ธรรมดา การพูดให้ คนอื่นเห็นภาพและคล้อยตามยากยิ่งกว่า --- แต่นัชชา ตันติวิทยา พิทักษ์ พูดเรื่อง 112 มาแล้ว และคนจ�ำนวนไม่น้อยคล้อยตามกับ ความคิดของเธอ คล้อยตามง่ายๆ เพียงสื่อสารอย่างมีศิลปะและชั้นเชิง
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 96
Scene 1
ภายใน / มหาวิทยาลัย / กลางวัน
“Mr.Zero” เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตของชายผู้ต้อง คดี 112 ซึ่งภาพยนตร์ไม่ได้เล่าแค่ความรู้หรือกระบวนการทาง กฎหมาย แต่ฉายภาพให้เห็นถึงฉากชีวิตของชายคนหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ทั้งตัวตนและวิถีชีวิต ผู้ก�ำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ชื่อ นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ หรือตัง และผู้ก�ำกับร่วมชื่อชวัลรัตน์ รุ้งแสงเจริญทิพย์ หรือเฟรม ทั้ง สองท�ำภาพยนตร์นี้เป็น thesis ขณะเรียนปีสี่ คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Mr.Zero เกิดจากความคิดที่ตังอยากท�ำภาพยนตร์ประเด็น การเมือง จึงเดินดุ่มไปที่ ilaw ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่ท�ำงานเกี่ยวกับ กฎหมายจากภาคประชาชนและจับตาการออกกฎหมายโดยรัฐ แล้วตัง ก็ได้รับค�ำแนะน�ำให้ไปพูดคุยกับ “ลุงบัณฑิต” เพราะคุยง่ายมากกว่า 97 l ศิลปะของแมลงเม่าที่ไม่ยอมบินเข้ากองไฟ
คนอื่นๆ ที่โดนคดี 112 จึงเริ่มศึกษาชีวิตลุงบัณฑิตอย่างจริงจัง เริ่มจากอ่าน “ความฝันภายใต้ดวงอาทิตย์” หนังสือกึ่ง ชีวประวัติของ สมอล์ล บัณฑิต อานียา ความยาว 562 หน้า ระหว่างที่ อ่านตังเกิดความรู้สึกผสมปนเป ทั้งเศร้า หัวเราะ และตอนจบท�ำเธอ ร้องไห้ ถ้อยค�ำบางส่วนจากบทความ “ความฝันภายใต้ดวงอาทิตย์ ของบัณฑิต อาร์นียา” เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ ilaw เธอเขียนไว้ว่า “หนังสือเผยให้เห็นชีวิตของลุงที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ถูก กดขี่ ถูกเอารัดเอาเปรียบ แฝงด้วยลีลาการเล่าเรื่องเสียดสีประชด ประชันแกมขบขัน ขณะเดียวกันก็เห็นความจริงที่ลุงต่อสู้ดิ้นรน แสวงหาความรู้ ใช้ชีวิตอย่างซื่อสัตย์เท่าที่สภาพแวดล้อมจะเอื้ออ�ำนวย แม้บางครั้งต้องท�ำชั่วเพื่อเอาชีวิตรอดลุงก็ยอมรับและ เปิดเผยออกมาอย่างบริสุทธิ์ใจ “ที่น่าสนใจคือมุมมองของลุงที่มีต่อโลก ลุงมองลึกลงไปในใจ ของผู้คน กระชากหน้ากากภายนอกของพวกเขาออก เปลื้องให้เห็น ถึงความจริงภายใน ลุงปฏิเสธสิ่งที่คนในสังคมปฏิบัติ ลุงตั้งค�ำถามถึง ความเหลื่อมล�้ำในสังคมและการใช้อ�ำนาจที่ไม่ชอบธรรม “ฉันรู้ในทันทีว่าอยากท�ำสารคดีเกี่ยวกับลุง และไม่ส�ำคัญเลย ว่าใครจะตัดสินลุงว่าอย่างไร” และในโลกความเป็นจริง เพื่อนในเอกต่างเห็นด้วยกับสิ่งที่ตัง ก�ำลังน�ำเสนอ “เขาก็โหหหหหหหหหหห คือไม่ได้เป็นเชิงลบนะ แต่เขา แบบโห! มึงกล้าฉิบหาย ไม่เชิงถูกด่าว่าหัวรุนแรง แต่มันจะเป็นแบบ พวกนี้แม่ง...เชี่ย บอกไม่ถูก” กว่าจะเรียนจบก็ต้องผ่านอาจารย์ แล้วอาจารย์คิดอย่างไร กับการที่ตังท�ำประเด็น 112 นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 98
“ของเรามีพรีเซนท์สามรอบ รอบแรกเป็นเสนอโครงเรื่อง คร่าวๆ ให้อาจารย์ในเอกมาฟัง เขาโอเคทุกคนเลยนะ แต่เขาถามเรา ว่าในฐานะที่ท�ำเรื่องนี้ ตังคิดยังไงกับ 112 เราเลยบอกว่าหนูไม่เห็น ด้วยกับกฎหมายมาตรานี้ค่ะ เพราะว่ามันมีโทษที่รุนแรง ใครฟ้องก็ได้ เพื่อนในห้องก็ฮือฮาๆ มันพูดว่ะๆ “ตอนเสนอรอบแรกมีอาจารย์บอกว่ามันจะได้เหรอ ลุงบัณฑิต ดูพูดไม่รู้เรื่องนะ ท�ำไมถึงเลือกลุงคนนี้ เขาถามอีกว่าเราอยากท�ำให้ ใครดู ตอนนั้นเราตอบว่าแค่อยากน�ำเสนอประเด็นนี้ให้กับคนที่สนใจ” ส่วนการพรีเซนท์รอบที่สองจะต้องมีฟุตเทจให้กรรมการชม “ระหว่างท�ำมีช่วงที่กลัวเหมือนกัน ตอนที่เรายังคิดกับโครงเรื่องไม่ชัด ไม่รู้ต้องไปทางไหนดี มีความกลัว แต่พอมีโครงเรื่องที่ชัด แล้ว เรารู้สึกว่าเราไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้นเลย คิดว่าไม่น่าโดน ก็เลยกล้าที่ จะท�ำต่อไปให้จบ” ส่วนรอบสุดท้ายเป็นภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ และเป็นจุดที่ ท�ำให้ตังสัมผัสถึงผลลัพธ์จากภาพยนตร์ของเธอ “เพื่อนหลับกันหมดเลย (หัวเราะ) แต่กรรมการเข้าใจไง เรา รู้สึกว่ามีคนเข้าใจเราแล้วว่ะ เราต้องการแค่นี้ ต้องการคนที่เข้าใจเรา หลังจากนั้นช่างแม่งแล้ว” ตังเล่าว่าระหว่างท�ำ เธอเหมือนคนแบกรับความเชื่อมั่น ทุกอย่าง เพราะเพื่อนที่ท�ำด้วยกันก็บอกว่าน่าเบื่อ กลัวคนหลับ ยิ่งภาพยนตร์ไม่ได้มีอะไรขึ้นลงหวือหวา อาจไม่แปลกที่จะ กลัวไม่สนุก หรือคนดูหลับ พอเป็นภาพยนตร์ประเด็นการเมือง โดยเฉพาะประเด็นที่ไม่ ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวางอย่าง 112 ตังบอกว่าถ้าคนไม่รู้เรื่อง 14 ตุลา 6 ตุลา หรือประเด็นตามยุคสมัย คนอาจจะไม่คลิก ไม่โดน แต่คนที่ ติดตามสถานการณ์การเมืองน่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก เผลอๆ ยิ่งดูแล้วยิ่ง 99 l ศิลปะของแมลงเม่าที่ไม่ยอมบินเข้ากองไฟ
อินด้วย ใครสักคนเคยถามว่า คาดหวังอะไรกับหนัง หนนั้นตังตอบว่า ไม่ได้คาดหวังแต่แรก เป็นความรู้สึกอยากท�ำ แต่พอภาพยนตร์เริ่ม เป็นที่รู้จัก ได้รับรางวัล ตังอยากให้คนทั่วไปได้ดูแล้วฉุกคิดกับ ประเด็น 112 นี้ ฉุกคิดเหมือนกับเธอที่เคยเห็นข่าวประเด็น 112 ผ่านตา แล้ว เห็นก็เคสที่คนเป็นแม่โดนตัดสินว่ามีความผิดเกือบ 30 ปี “112 มันสะท้อนให้เห็นถึงอ�ำนาจนิยมในสังคมไทยที่ชัดเจ นมากๆ และเรารู้สึกว่ามันร้ายแรง ทั้งโทษ ทั้งการที่ใครจะฟ้องก็ได้ “หนัง Mr.Zero มันเล่าเรื่องราวในสังคมไทย โดยไม่พูดตรงๆ เพราะเราไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า 112 ไม่ดียังไง แต่เราแสดงให้เห็น เรื่องราวของคนๆ หนึ่งผ่านกระบวนการทางศิลปะ”
Scene 2
ภายใน / ประชาไท / กลางคืน ส�ำนักข่าวประชาไทไม่เคยมีโต๊ะศิลปะและวัฒนธรรมมาก่อน เพราะประชาไทจับเฉพาะประเด็นการเมือง สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จนกระทั่งตังเข้ามาท�ำงานที่ประชาไท โต๊ะศิลปะและ วัฒนธรรมก็อุบัติขึ้น เริ่มต้นจากความสนใจส่วนตัวคือศิลปะ เลยขอ ท�ำงานข่าว-ข้อมูลที่เกี่ยวกับศิลปะ ลงเอยเป็นโต๊ะนี้ ตังบอกแกมหัวเราะว่า โต๊ะศิลปะและวัฒนธรรมมีคนท�ำงาน คนเดียว นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 100
“
เรารู้สึกว่าประเทศที่เจริญแล้ว เขาถกเถียงพูดคุยกันเรื่องศิลปะ งานเขียน ...ชีวิต ปรัชญา เราอยากให้คนไทยเป็นแบบนั้นบ้าง เราน่าจะก้าวไปสู่จุดที่เราถกเถียงกันเรื่องชีวิต ปรัขญา การเมือง การมีอยู่ ตัวตน ผ่านงานศิลปะ เรารู้สึกว่าศิลปะ คือการมี concept บางอย่างในชีวิต ตั้งค�ำถาม แล้วขบคิดมัน ขับมันให้แตกจนออกมาเป็นงาน ศิลปะมันเชื่อมโยงกับวิธีคิดของผู้คนในสังคม
”
“โต๊ะนี้เราก็อุปโลกน์ขึ้นมาเอง เวลาคนถามว่าท�ำฝ่ายไหน จะ ได้บอกศิลปะวัฒนธรรมค่ะ” หลงใหลอะไรในความเป็นศิลปะ “เรารู้สึกว่าประเทศที่เจริญแล้ว เขาถกเถียงพูดคุยกันเรื่อง ศิลปะ งานศิลปะ งานเขียน นู่นนี่นั่น ได้เปิดกว้างแล้วมันสนุก เวลา เราดูหนังอย่าง Woody Allen หรือ Before Sunrise พระเอกนางเอก พูดคุยถกเถียงเรื่องศิลปะ ชีวิต ปรัชญา เราอยากให้คนไทยเป็นแบบ นั้นบ้าง เราน่าจะก้าวไปสู่จุดที่เราถกเถียงกันเรื่องชีวิต ปรัชญา การเมือง การมีอยู่ ตัวตน ผ่านงานศิลปะ เพราะเรารู้สึกว่าศิลปะคือ การมี concept เกี่ยวกับอะไรบางอย่างในชีวิต การตั้งค�ำถาม แล้ว ขบคิดมัน ขบมันให้แตกจนออกมาเป็นงาน ศิลปะมันเชื่อมโยงกับ วิธีคิดของผู้คนในสังคม” ส่วนประเด็นศิลปวัฒนธรรมที่ตังน�ำเสนอมักอยู่ในหมวดที่ แตะการเมือง เช่น มิวสิควีดีโอเพลงเผด็จเกิร์ลของวง Tatto Colour ที่ มีเนื้อหาเสียดสีโดยใช้สัญลักษณ์ หรือไปสัมภาษณ์ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ เรื่อง “ตลาดน้อยสตอรี่” ภาพยนตร์ที่ไม่ได้พูดถึงประเด็นการเมือง โดยตรง แต่ตังก็หยิบประเด็นนี้เพราะเล่าเรื่องครอบครัว บาดแผล ความรัก ความตาย ตังย�้ำว่าสิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับทุกคนในสังคม ยกตัวอย่างศิลปะชิ้นหนึ่งที่โดนปิดงานไป ศิลปินท่านนี้มิกซ์ เสียงทางประวัติศาสตร์ของไทย ราวยุค 2475 เป็นต้นมา ไล่มาจนถึง คณะปฏิวัติปี 2535 2549 นอกจากเสียงก็ยังมีแสดงภาพถ่าย และรูป วาด ศิลปะค่อยๆ ซึมซาบ อ่อนนุ่ม มีสุนทรียะ เข้าถึงง่าย สื่อสาร ไม่รุนแรง เป็น soft power และมันท�ำงานกับผู้คนในระยะยาว ถ้าอ่านงานวิชาการหนึ่งเล่ม เราจะได้ความรู้ที่หนักแน่น ต่าง จากภาพยนตร์สักเรื่องที่ให้เรื่องของอารมณ์ นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 102
แล้ ว ฟี ด แบ็ ก ของคอนเทนต์ ศิ ล ปะในแบบประชาไทเป็ น อย่างไร ? “แน่นอนมันไม่ดี (หัวเราะ) ก็คงต้องท�ำต่อไป อย่างพี่ๆ ก็บอก ว่ามันเพ่ิงเปิดตลาด แล้วคนอ่านประชาไทไม่ใช่คนที่สนใจศิลปะขนาด นั้น เขาพูดเลยว่ามึงต้องท�ำใจยอมรับ “พี่คนหนึ่งบอกว่าถ้าอยากให้คนสนใจ ต้องท�ำเทพสามฤดู หรือละครที่ก�ำลังเป็นกระแส ที่คนชอบ แต่เราเป็นคนไม่ชอบดูละคร ก็ คิดว่าหรือกูควรต้องดูละครเพื่อสนองคนอ่าน” ในแง่ความพึงพอใจกับผลงานตัวเองล่ะ ? “เราชอบมากเลย ชอบที่ไม่จ�ำกัดเรา ให้เราลองทุกอย่าง แต่ จริงๆ เขาก็แอบด่านะ สัมภาษณ์คนนี้มันได้เรื่องเหรอ คนไม่สนใจ หรอก แล้วเขามาบอกว่าทีหลังต้องมาบอกก่อนนะเวลาจะท�ำเรื่องของ ใคร เพราะบางทีเราจะท�ำก็ไปสัมภาษณ์เลย ไม่บอก แต่เขาก็ปล่อยเรา อยู่ดี เขาเปิดพื้นที่ให้ลองมากๆ เรื่องผลตอบรับ ตังมองว่าคนอ่านน้อยหรือมากไม่ส�ำคัญ เท่ากับว่าตัวเราเองได้ท�ำในสิ่งที่ต้องท�ำ นั่นคือการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ พื้นที่ศิลปะของการเมือง ขณะเดียวกัน ศิลปินที่ตังหยิบมาน�ำเสนอมักจะเป็นคนที่มี ความคิดแบบเสรีนิยม เพราะตัวเองสนใจงานศิลปะของเขา อีกทั้งเป็น ศิลปะที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจ�ำวันของเรา “งานศิลปะมันหลากหลาย แล้วจุดประสงค์หลักของทุกคน ใกล้เคียงกันก็คือ อือ...(พยักหน้า)...(หัวเราะ)...คือการต่อต้านอ�ำนาจ รัฐที่ปิดปากไม่ให้เรามีเสรีภาพในการแสดงออก” ศิลปินที่มีความคิดแบบเสรีนิยมเป็นส่วนน้อยหรือส่วนมากใน วงการ ? “เท่าที่เราคุยกับศิลปิน เขาบอกเขาเป็นส่วนน้อย เหมือนการ 103 l ศิลปะของแมลงเม่าที่ไม่ยอมบินเข้ากองไฟ
ที่คุณจะอยู่ในประเทศนี้ได้ แล้วมีเงินในฐานะศิลปิน คุณก็ต้องสอดรับ กับชาตินิยม รัฐ อะไรที่ให้อ�ำนาจและเงิน ฉะนั้นคุณต้องเป็นฝ่ายนั้น ส่วนคนที่ท�ำงานแบบ liberal ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ท�ำแบบจะ ถูกปิดไหม มีความเสี่ยงตรงนี้ “พี่ศิลปินบอกว่ามีเพื่อนที่ใจแม่งมาแล้ว ใจแบบ liberal แต่ เวลาท�ำงานจริงๆ เป็นอนุรักษ์นิยม เพราะท�ำให้ได้งาน แต่ก็แอบเปิด อีกเฟสบุ๊กหนึ่งไว้ด่าลุงตู่โดยเฉพาะ “เรารู้สึกว่าศิลปะกับเสรีภาพมาด้วยกัน ถ้าคนท�ำงานศิลปะ ไม่มีเสรีภาพในการท�ำงาน มันไม่ถือเป็นศิลปะ เพราะเป็นงานที่จ�ำกัด กรอบจนเหมือนเป็นงานเชิงทักษะ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิด สร้างสรรค์มาพร้อมกับเสรีภาพทางความคิด”
Scene 3
ภายนอก / สนามชีวิต / กลางคืน
ตังพูดเป็นนัยว่าประชาไทเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งในชีวิต “ตอนท�ำงานเขียนบทที่ที่ท�ำงานเก่า จะเป็นโจทย์รักหวาน แหวว ยิ้มเขิน กุ๊กกิ๊ก แล้วเราก็ต้องเขียนแต่แบบนี้ จริงๆ เราก็รู้ว่าบท หนังรักไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น มันมีด้านดี แต่ตอนนั้นคิดอีกแบบ คิด ว่าไม่ไหว ช่วงนั้นข่าวไผ่ (ดาวดิน) ก�ำลังมา เพิ่งโดนจับเข้าคุก กูก็คิดๆ ๆ เหี้ย กูเขียนบทหวานแหววอยู่ไผ่แม่งเข้าคุกว่ะ มันเป็นฟีลอึดอัด กู นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 104
“
ถ้าคนท�ำงานศิลปะไม่มีเสรีภาพในการท�ำงาน มันไม่ถือเป็นศิลปะ เพราะเป็นงานที่จ�ำกัดกรอบจนเหมือนเป็น งานเชิงทักษะ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์มาพร้อมกับ เสรีภาพทางความคิด
”
ท�ำอะไรไม่ได้เลยกูต้องนั่งเขียนบทหนังรักขณะที่ไผ่อยู่ในคุก แล้วกูจะ ท�ำอะไรได้ในสังคมนี้ กูท�ำได้แค่นี้เหรอ เขียนบทหนังรักมอมเมา เยาวชนไปเรื่อยๆ คิดขนาดนั้นเลยนะ แล้วตอนนั้นประชาไทเปิดรับ สมัครพอดี ก็เลยโอเคค่ะประชาไท” ตังเล่าต่อว่า สังคมในที่ท�ำงานเก่าก็ใช่ว่าจะไม่สนใจการเมือง พวกเขาสนใจ แต่ก็ต้องท�ำงานเลี้ยงปากท้องตัวเอง พอท�ำงานที่ประชาไท ตังบอกว่าแค่ได้ท�ำงานข่าว ได้ส่งสาร บางอย่างให้กับสังคม เป็นส่วนเล็กๆ ของทะเลข้อมูลข่าวสารก็เป็นสิ่ง ที่เธอต้องการแล้ว “พอท�ำงานข่าวเราต้องเจอข่าวเกี่ยวกับความงี่เง่าไร้สาระ ของหลายๆ คน มีข่าวให้ด่าได้ตลอดเวลา แต่ก็เห็นข่าวอีกมุมที่คนรุ่น ใหม่พยายามจะท�ำอะไรบ้าง เช่นขบวนพาเหรดของเด็กนักเรียนสวน กุหลาบ” นิยามคนรุ่นใหม่ของตังเป็นแบบไหน ? “ส�ำหรับเรา คนรุ่นใหม่ไม่ใช่อายุแน่ๆ เพราะเรารู้สึกว่าพี่ชูวัส ก็เป็นคนรุ่นใหม่ เพราะเขาก�ำลังต่อสู้กับสิ่งที่ปกครองประเทศนี้ เรา รู้สึกว่าคนรุ่นใหม่คือใครก็ตามที่มีความคิดทางการเมืองที่ against กับระบบอ�ำนาจนิยม และใช้ชีวิตหรือมีความคิดด้วยความคิดเสรีนิยม คือทุกคนเท่าเทียมกัน มีสิทธิมนุษยชน “และพอสังคมด�ำเนินไปถึงช่วงหนึ่งมันจะต้องเปลี่ยนแปลง เวลาเราศึกษาประวัติศาสตร์ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางขั้วความคิด ตลอดเวลา อนุรักษ์นิยม คอมมิวนิสต์ เสรีนิยม เผด็จการ ประชาธิปไตย ทุนนิยม ไม่มีทางที่สิ่งใดหรือความคิดใดความคิดหนึ่ง จะคงอยู่ได้ตลอด”
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ l 106
กัด
ชาย หด
รักษ น งเงือก ชมรม Beach for Life
น�้ำนิ่ง อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ก่อตั้งตั้งชมรม Beach for Life จากการเห็นบริเวณชายหาดสมิหลาประสบปัญหาทางธรรมชาติ การรุกล�้ำของมนุษย์และความไม่เข้าใจของภาครัฐ เขาจึงท�ำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องชายหาดของชีวิตคนสงขลา
น�้ำคือชีวิต โดยเฉพาะชี วิ ต ของใครบางคนที่ อ ยู ่ ไ ม่ ไ กลจากริ ม น�้ ำ ล�ำคลอง ชายตลิ่ง ชายฝั่งและหาดทราย น�้ำใช้ในการด�ำรงชีพ สร้างความเพลิดเพลิน เป็นทรัพยากร ส�ำคัญ มีคุณค่าทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากจะมีใครมาท�ำลายแหล่งน�้ำ คงไม่แปลกที่พวกเขาเหล่า นั้นจะต้องต่อสู้ ไม่ให้น�้ำถูกพรากจากไป ดังเช่นชายหาดสมิหลา ชายหาดที่มีรูปปั้นนางเงือกที่ก�ำลัง พังลง เหตุผลหลักคือมนุษย์รุกล�้ำน�้ำ โดยขาดความเข้าใจถึงธรรมชาติ ของชายหาด และหากไม่แก้ไขในทางที่ควร พื้นที่นี้อาจจะจากไป อย่างไม่มีวันหวนกลับ อาจไม่มีชายหาดให้เดินเล่นอีกต่อไป เหตุนี้ท�ำให้ “น�้ำนิ่ง” หรือ “อภิศักดิ์ ทัศนี” ก่อตั้งกลุ่ม Beach for Life เพื่อปกป้อง-รักษาชายหาด และให้ความรู้ด้านชายหาด แก่คนในพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าชายหาดของ พวกเราควรจะเป็นอย่างไร แต่รัฐไม่ฟัง นับวัน ชายหาดจึงยิ่งเละเทะสะเปะสะทะมากขึ้น ฟากโน้นมี ‘หิน’ ก้อนใหญ่มากองเป็นร้อยเป็นพัน, ฟากนี้ ‘กระสอบทราย’ วางเป็นหย่อมๆ, ถัดอีกนิดเป็น ‘เขื่อน’ ขนาดใหญ่, เลวร้ายหน่อยก็จะสร้าง ‘โรงไฟฟ้าถ่านหิน’ สิ่งเหล่านี้จะท�ำลายวิถีชาว บ้านและธรรมชาติอย่างย่อยยับ “การจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้คุณต้องกัดมันไม่ปล่อย...กัด แล้วลงเขี้ยวให้เนื้อมันขาดกันไปข้าง เอาจริงเอาจัง ต้องท�ำให้ลึก กัด ให้นาน” ต้องกัดจนเฮือกสุดท้าย ให้หาดไม่หายไปจากชีวิต
อภิศักดิ์ ทัศนี l 110
ท�ำไมถึงชื่อ Beach for Life หาดเพื่อชีวิต ? ถ้าไม่มีหาด ชีวิตเราจะอยู่ไม่ได้ อยู่ไม่ได้ในแง่นี้หมายความว่า ชายหาดคือพื้นที่ความสุขในวัยเด็ก คือส่วนหนึ่งของชีวิตของคน สงขลา ถ้าไม่มีมัน ชีวิตคนสงขลาเปลี่ยนไปทันที ดังนั้นหาดนี้เพื่อชีวิต เรา เพื่อชีวิตของคนสงขลา มันควรจะเป็นพื้นที่แห่งความสุข ที่มาที่ไปของกลุ่ม Beach for Life คืออะไร ? บ้านเรากับชายหาดห่างกันร้อยเมตร เรามาเดินชายหาด ประจ�ำ เพราะเรียนสายวิทย์แล้วเครียดกับการสอบตกฟิสิกส์ คณิต เครียดมากเลย แม่งควิซวันละข้อ คะแนนกูก็ไม่เหลือ เลยมาเดินหาด ทุกเย็น ช่วงนั้นประมาณมอสี่ เขาเริ่มสร้างเขื่อน เริ่มวางกระสอบ เรา ก็คิด ดีว่ะ คงมีหาดเพิ่ม รัฐเจตนาดี แต่มีงานกิจกรรมหนึ่ง เขาพาเรา ไปดูชายหาด แล้วเขาก็เล่าๆๆๆ พวกความเสียหายที่เกิดขึ้น เราก็เฮ้ย ขนาดนี้เลยหรอวะ แต่ยังไม่อินนะ ปีต่อมาไปอีกรอบ เล่าเหมือนเดิม เลย เราคิดว่าไม่ได้แล้ว ต้องท�ำอะไรบางอย่าง เรากลับมาคิด เราเดินชายหาดทุกวัน ยังไม่รู้เลยว่ามีเหี้ยอะไร บ้างที่มีผล กระทบกับชายหาด และตอนนั้นคิดไปเองว่าคนสงขลาไม่มี ความรู้แน่นอน เลยนั่งคุยกับเพื่อนหลังแก๊งหลังห้อง บอกว่างั้นเราตั้ง องค์กร โดยท�ำสองเรื่อง เรื่องแรกสร้างความรู้ให้กับประชาชนและ เยาวชน อีกอย่างคือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เยาวชนได้เข้าไป ดูแลชายหาดมากขึ้น หลังจากตั้งกลุ่มแล้ว Beach for Life ท�ำอะไรต่อ ? เริ่มท�ำงานจากการเปิดเวทีให้ความรู้ ไปจัดนิทรรศการ ท�ำให้ ตัวเองมีความรู้มากขึ้น 111 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
ปี 2555 มีการตัดสินใจว่าชายหาดสมิหลาควรจะหยุดการ สร้างโครงสร้าง (สิ่งปลูกสร้าง) หรือไม่ เราก็พยายามชวนเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะที่ไทยพีบีเอสมาร่วมด้วย เราก็ เสนอว่าท�ำไมไม่ควรสร้าง สุดท้ายรัฐตัดสินใจว่าไม่ควรสร้างโครงสร้าง ปี 2558 เรามองว่าประชาชนเริ่มเข้าใจองค์ความรู้ชายหาด แล้ว แต่สิ่งที่ต้องท�ำควบคู่คือกระบวนการมีส่วนร่วม เลยไปรับฟัง ความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสงขลา มีโรงเรียนในเขตเทศบาล มหา’ลัย รวมทั้งศูนย์ฝึกที่เป็นเรือนจ�ำของเยาวชน ทั้งหมดเก้าที่ ไปรับฟัง ความคิดเห็นกว่าสองหมื่นสี่พันคน จัดวงคุยว่าชายหาดควรจัดการยัง ไง และเยาวชนมีสิทธิในการจัดการชายหาดอะไรบ้าง แล้วท�ำออกมา เป็นธรรมนูญเยาวชน ธรรมนูญเยาวชน ? คื อ กติ ก าข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ระหว่ า งเพื่ อ นเยาวชนในการ จัดการชุมชนชายหาด คุยกันสองหมื่นกว่าคนตลกผลึกแบบนี้ มีตั้งแต่ หน้าที่เยาวชน สิทธิ บทเฉพาะกาลว่าด้วยมาตรการฟื้นฟูจัดการ ชายหาดว่ า ควรถู ก ต้ อ งตามหลั ก วิ ช าและผ่ า นการคุ ย กั น ของ ประชาชนที่มากพอ แล้วเราไปคุยกับเทศบาลว่าเด็กคิดแบบนี้ เอาไหม รับรองไหม ถ้ารับรองเซ็นเลย แล้วเด็กจะเดินขบวนประกาศทั่ว ว่าเรามีธรรมนูญเยาวชนแล้ว ผู้ใหญ่ต้องเดินตามนี้ แล้วเด็กจะเดิน ตาม สุดท้ายนายกเซ็นรับรอง คุยสองหมื่นกว่าคน ตอนนั้นเรียนม.ปลาย ไปเอาเรี่ยวแรงมา จากไหน ? เพื่อนเยอะ คือเราเป็นแค่คนคุยกับเพื่อน เพื่อนไปท�ำงานต่อ เราไม่จ�ำเป็นต้องไปนั่งจัดวงคุยเองทั้งหมด รอฟังผล ใช้วิธีประมาณนี้ อภิศักดิ์ ทัศนี l 112
ไม่เห็นต้องท�ำอะไรมากมาย เป็นแค่คนชง ท�ำเสร็จเราก็ชม ดีมากๆ อะไรแบบนี้ แต่ก็หนักตอนร่าง เอาความคิดเห็นมารวมกัน เอกสารเป็น ลังๆ ไปหาที่นั่งอ่านทีละฉบับ ส่วนใหญ่เด็กจะพูดแค่ว่า เราไม่เคยรู้เลย ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่สาระส�ำคัญไม่ได้อยู่ที่ผลการคุยว่าออกมายังไง สิ่งที่เราสนใจมากที่สุดคือในชั่วโมงคุยนั้นเขาเข้าใจและรู้สึกอินกับเรื่อง นั้นมากแค่ไหน ถ้าเขาอินมาก ไอที่เขียนไว้มันไม่มีผลอะไรเลย มัน แสดงออกด้วยใจล้วนๆ ตอนนั้นเด็กอินไหม ? อิน อินอยู่ประมาณหนึ่งปี (หัวเราะ) คือต้องเข้าใจว่าเยาวชน ไม่ใช่ในสงขลาทั้งหมด มีเยาวชนจากที่อื่นที่มาเป็นประชากรแฝงในนี้ ด้วย พอเขาจบมอห้ามอหกก็ต้องไปเรียนต่อ พอหมดรุ่นที่เราคุย กระบวนการคุยก็หมด ช่วงปีนั้นท�ำงานกันหนักมากเลยนะ กลุ่ม เยาวชนประมาณสิบเอ็ดกลุ่มที่ท�ำงานจริงจังมาก แล้วต่อรองเสนอ เรื่องการเติมทราย เก็บข้อมูล พอหมดรุ่นนี้ก็จบ ในแง่การท�ำงานมีโมเดลแบบไหน ? ถ้ า จะเข้ า บี ช ฟอร์ ไ ลฟ์ เ ยาวชนต้ อ งมาจากโรงเรี ย นมหา วชิราวุธเท่านั้น คือเราเรียนโรงเรียนมหาฯ แล้วเข้าใจวิธีคิดวิถีชีวิตของ เด็กโรงเรียนนี้ค่อนข้างมาก คือทุกคนจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับชายหาด หมดเลย พ่อแม่เคยพามากินข้าว เคยมานั่งจีบแฟน แล้วเป็นเด็กที่ไม่ ได้สนใจการเรียนมาก รู้สึกว่าชีวิตกูต้องมีความหมายมากกว่าการไป นั่งฟังอาจารย์ เวลานัดประชุมก็ง่าย ถ้าเด็กหลายโรงเรียนจะล�ำบาก ถ้าที่อื่นก็สนับสนุนให้เขาตั้งกลุ่มของตัวเองเลย แต่ส�ำหรับบีชฟอร์ไฟล์ ควรจะเป็นเด็กมหาฯ เท่านั้น และถ้าจะเข้ามาก็เข้ามาเลย เข้ามาเมื่อไร 113 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
ก็ได้ มีประกาศรับสมัครตลอดเพราะคนเราน้อย แล้วเราเป็นองค์กร เถื่อน โรงเรียนไม่รับรอง หนีออกมาท�ำกิจกรรมแบบนี้ โรงเรียนด่า เกือบตาย รูปแบบการท�ำงานก็อาศัยการประชุมบ่อยๆ โจทย์งานเกิด จากการนั่งคุยว่าปีนี้เราจะท�ำอะไร แล้วตอนนี้เกิดอะไรขึ้นแล้วจะท�ำ อะไรต่อ แต่เป้าใหญ่ๆ คือท�ำให้การตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร อยู่ที่ประชาชน สมมติถ้าเราไปคุยกับหน่วยงานรัฐ แล้วรัฐเห็นด้วย แต่ไม่คุยกับประชาชน แต่อยู่ดีๆ เปลี่ยนรัฐ เปลี่ยนผู้ว่า นโยบายกูไม่ เปลี่ยนเหรอวะ ดังนั้นถ้าเมื่อไรที่องค์ความรู้อยู่ที่ประชาชน เขาจะ เป็นคนก�ำหนดได้ แต่อย่าให้เขาเข้าใจแค่ว่า ชายหาดสมิหลาต้องเติม ทราย ต้องวางโครงสร้างแข็ง เราต้องท�ำให้เขาเข้าใจว่า เติมทรายแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นยังไง โครงสร้างแข็งจะเกิดผลกระทบยังไง สิ่งเหล่านี้คนควรจะเข้าใจ สิ่งที่ประชาชนควรตระหนักมากๆ และเราพยายามเติมให้คือ มึงอะมีสิทธิ ทรัพยากรเป็นของมึง ดังนั้นการตัดสินใจทรัพยากรนี้เป็น ของประชาชน ไม่ใช่ของรัฐ แต่ประชาชนจะท�ำไม่ได้ถ้าไม่บวกรัฐ รัฐ เป็นคนอ�ำนวยความสะดวก ความยากของการท�ำงานในแบบ Beach for Life คืออะไร ? ในเชิงองค์กรคือ เราจะรักษาองค์กรไว้ยังไง เพราะยิ่งท�ำงาน ไปเรื่อยๆ องค์กรมันจะถูกดึงไปอีกแนว เช่น ท�ำงานกับพี่ๆ เอ็นจีโอ ภาพก็จะเป็นแบบหนึ่ง ภาคประชาสังคมก็เป็นอีกแบบหนึ่ง แล้วใน ความเป็นจริงตัวตนขององค์กรเราคืออะไร นี่ส�ำคัญมาก อุดมการณ์ ของเรา สิ่งที่เราคิด ฝัน อยากจะให้เป็น อีกอย่างคือโจทย์งานยากขึ้น ยิ่งท�ำเรื่องยิ่งยาก ยิ่งซับซ้อน ขึ้น อยู่ๆ พ.ร.บ.ออกมา อ้าว กูต้องไปนั่งอ่านกฎหมายเหรอวะ ตอนนี้ อภิศักดิ์ ทัศนี l 114
“
ถ้าไม่มีหาด ชีวิตเราจะอยู่ไม่ได้ อยู่ไม่ได้ในแง่นี้หมายความว่า ชายหาดคือพื้นที่ความสุขในวัยเด็ก คือส่วนหนึ่งของชีวิตของคนสงขลา ถ้าไม่มีมัน ชีวิตคนสงขลาเปลี่ยนไปทันที ดังนั้นหาดนี้เพื่อชีวิตเรา เพื่อชีวิตของคนสงขลา มันควรจะเป็นพื้นที่แห่งความสุข
”
นั่งอ่านคดีเจ็ดแปดคดีที่เกี่ยวข้องกับชายหาด คือเราเป็นองค์กรท�ำ มิติทางกายภาพด้านชีววิทยามากกว่ามิติทางกฎหมาย เราก็ต้องหา ข้อมูลท�ำอะไรมากขึ้น ที่บอกว่าโจทย์มันยากขึ้น ลึกขึ้น คิดว่าเพราะโจทย์ยากตาม สภาพสังคม หรือเรามองเห็นอะไรมากขึ้นถึงมองเห็นอะไร มากกว่าเดิม ? สองส่วนเลย หนึ่งสังคมมันซับซ้อน ยากขึ้นด้วย เช่นเงื่อน ไขคสช.เข้ามา คือมันก็...ยาก และเรามองเห็นความจริง เราก็ต้องท�ำ อะไรที่มากขึ้นๆ แต่ไม่ได้ให้น�้ำหนักทางใดทางหนึ่งมากกว่ากัน เหนื่อยไหม ? เหนื่อยนะส�ำหรับคนท�ำงาน น้องๆ เรียนมอห้ามานั่งอ่าน กฎหมาย อ่านค�ำพิพากษาห้าคดี แล้วนั่งวิเคราะห์อีกว่าท่านพูดอย่าง นี้ ท่านคิดอะไร ยิ่งยากเข้าไปอีก แต่ก็เป็นเรื่องที่ดี เป็นความท้าทาย ของคนท�ำงาน แต่ทุกคนก็รับสภาพที่จะท�ำได้ คือสังคมแม่งโคตรมืดมัว แล้วกูจะไปทางไหนวะ สิทธิกูก็ดูจะ ร่อยหรอขึ้นทุกที กระบวนการเรียกร้องที่จะท�ำให้สิทธิในการรักษา สิ่งแวดล้อมมันก็ดูจะยากเรื่อยๆ แต่ก็ต้องท�ำให้เห็นต่อไป หดหู่ไหม ท้อไหม กับการท�ำงานที่ไม่เห็นปลายอุโมงค์ ? เชิงงานไม่นะ (ตอบทันที) เรารู้สึกมีทางไปตลอด ไม่เคยไม่รู้ สึกไม่มีทางไป ไปทางนี้ไม่ได้ใช่ไหม ถ้าไปทางนี้ล่ะ มันมีทางให้ไป เช่น มึงไม่เขียนสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีใช่ไหม มึงกลับไปดูเลย อะไรที่ เป็นวัฒนธรรม ประเพณี จารีตที่ดี ก็ถือเป็นวิธีปฏิบัติทางกฎหมาย ก็ นี่ไงสิทธิทางสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็ไปได้ แค่อย่าหยุดที่จะหาทางออก อภิศักดิ์ ทัศนี l 116
ท้อไหม ท้อไม่มี มีความผิดหวังแบบ...ท�ำไมต้องเป็นแบบนี้ อีกแล้ววะ ผิดหวังกับรัฐมากกว่า ผิดหวังเรื่อง ? อยู่ๆ อนุมัติโครงการสร้าง ท�ำท�ำไม อยู่ๆ ขุดทราย กรมเจ้าท่า ก็รู้ดีว่าขุดทรายแล้วมีผลกระทบ ผิดกฎหมายด้วย ท�ำไมต้องท�ำแบบนี้ ท�ำอีกแล้ว คุณก�ำลังคิดอะไร แล้วก็มีค�ำถามว่า จะมีพวกมึงไว้ท�ำเหี้ย อะไร ถ้าไม่มีพวกมึงสักปีชายหาดกูจะโอเค สังคมคงจะดีขึ้น แต่ก็เป็น แค่เชิงอารมณ์ อะไรคือความส�ำเร็จของ Beach for Life ? ต้องบอกว่าความส�ำเร็จของบีชฟอร์ไลฟ์และองค์กรที่ท�ำงาน ด้วยกันคือ ท�ำให้เรื่องชายหาดเป็นประเด็นสาธาณะท�ำให้คนมองว่า ชายหาดคือส่วนหนึ่งของทรัพยากร แล้วทรัพยากรนี้ประชาชนมีิสิทธิ ในการจัดการ ไม่ใช่แค่รัฐ สอง ภาพของการต่อสู้เชิงกระบวนทัศน์ ภาพความเชื่อว่า หาดกัดเซาะต้องสร้างโครงสร้างแข็ง โลกร้อนคือต้นตอ ในความจริง ไม่ใช่ ชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ มันอยู่ภายใต้สมดุล พลวัต ชายหาดกัดเซาะเองอยู่แล้ว แต่ตัวที่ท�ำให้มันพังมากกว่าเดิม คือการสร้างโครงสร้าง การรุกล�้ำของประชาชน-รัฐ นี่เป็นเรื่องความ ส�ำเร็จที่ท�ำให้คนเห็นภาพ ความส�ำเร็จเล็กๆ ที่เรามองคือ อย่างน้อยเด็กๆ ที่ผ่าน การท�ำงานกับบีช-ฟอร์ไลฟ์ สองปี สองเดือน สามเดือน อะไรก็แล้วแต่ เด็กพวกนี้เขามีวิธีคิดที่มองมากกว่าชายหาดติดตัวไป แล้วเราเชื่อว่า มันท�ำให้เขามองเห็นเรื่องอื่นในสังคมชัดขึ้น ถ้ามันลงไปในใจเขาแล้ว สักวันหนึ่งมันจะงอกงาม ไม่หยุดอยู่แค่นี้ แล้วจะท�ำให้เขาเห็นมิติอื่น 117 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
เห็นว่า Beach for Life ไม่ได้ท�ำงานแค่ในพื้นที่หาดสมิหลาและ หาดใกล้เคียงเท่านั้น แต่รวมถึงไปประเด็นต่อต้านโรงไฟฟ้า ถ่านหินเทพาด้วย เพราะอะไรถึงเข้าไปร่วมประเด็นนี้ ? ประเด็นโรงไฟฟ้า เราคิดว่าความจ�ำเป็นในการสร้างมันไม่มี แล้ว ควรจะเปิดช่องให้พลังงานทางเลือก เช่น โซลาเซลล์ รัฐต้องแก้ กฎหมายให้ชุมชนและส่งเสริมการท�ำโซล่าเซลล์ ให้ชุมชนผลิตไฟ ด้วยตัวเองได้ พูดถึงโรงไฟฟ้า มันมีวาระอื่นๆ ในการสร้าง เช่น การผลักดันนิคมอุตสาหกรรม มันมีอย่างอื่นที่ลึกกว่าโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้ามัน คือปรากฏการณ์ แต่ที่เหลือคือใต้ภูเขาน�้ำแข็ง ผลประโยชน์ทับซ้อน อีกเยอะแยะมากมาย สิ่งที่เห็นจากชาวบ้านมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมันสร้าง ขบวนการต่อสู้ภาคประชาชน ในสถานการณ์ที่เป็นเช่นนี้ ไม่รู้ชนะ หรือแพ้ แต่ขบวนการประชาชนเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ขบวนการที่ไม่ สยบยมรัฐ ท�ำไมกูต้องยอมทุกเรื่อง กล้าลุกขึ้นมาพูดก็ที่สุดแล้ว อาจารย์ท่านหนึ่งพูดไว้น่าสนใจมากคือ สิ่งที่ดีที่สุดหรือประเสริฐที่สุด คือการกล้าพูดความจริงต่อหน้าผู้มีอ�ำนาจ แล้วเราคิดว่ามันเกิดขึ้น เขาพยายามหาทางเลือกของตัวเองบนหลักการทุกอย่าง ทั้งสันติวิธี ยืนหยัดในข้อมูลทางวิชาการ การบอกว่า EIA มันผิด ไม่ตรงกับบ้าน เรา แสดงว่าชาวบ้านอ่าน EIA นะเว้ย แล้วอ่านจริงๆ เราไปเห็นเป็น ปึกอย่างนี้ (ท�ำมือให้เห็นว่าหนา) อ่านจริง ? ยืนยันได้เลยว่าอ่านจริงๆ (ย�้ำหนักแน่น) สองพันกว่าหน้า การอ่านของเขาจะมีนักวิชาการที่มาช่วยหยิบประเด็นให้ เห็นว่ามันมีเรื่องนี้นะ แล้วความจริงเป็นไง ก็มีชาวบ้านที่เป็น อภิศักดิ์ ทัศนี l 118
“
ชาวบ้านเหนื่อย เหนื่อยมาก เหนื่อยกับการที่ต้องต่อสู้ และมันสุ่มเสี่ยงที่จะน�ำไปสู่ความรุนแรง เพราะรัฐก็เร่งสร้าง ชาวบ้านก็เร่งป้องกัน แล้วมันมีอารมณ์ของคนรักบ้านที่จะต้องย้าย ถูกท�ำลายฐานชีวิต ศาสนา ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ลูกหลาน อารมณ์พวกนี้มันน่ากลัว เขาไม่สามารถแปลงเป็นพลังบวก เพื่อเอามาต่อสู้ได้ด้วยสันติวิธี ชาวบ้านจับปืนไม่ได้ นี่คือความวิตกของเรา รู้สึกไม่โอเค
”
ชาวประมงแก่ๆ อ่านหนังสือไม่ออก แต่ฟังว่าเขียนแบบนี้ ก็ โห ไม่ได้ นะ ชายหาดเราหาปูแล้วจะสร้างท่าหล่อน�้ำลงไปขนาดนั้น มันก็พัง หมดดิ (ท�ำเสียงคนแก่) ชาวบ้านดีเบตกับนักวิชาการ นี่ปัญญา สาธารณะ ปัญญาชุมชน นี่คือการสร้างความรู้ของชุมชน ถ้ามีคนบอกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินดี แม้ต้องแลกกับอะไรบาง อย่าง ดังนั้นขอให้คนในพื้นที่เสียสละเพื่อประเทศชาติได้ไหม น�้ำนิ่งจะโต้แย้งประเด็นนี้อย่างไร ? ถ้าจะเสียสละก็ได้ ยินดี แต่เหตุผลของการเสียสละคืออะไร เช่น ไม่พอจริงๆ แล้ว ไม่มีพื้นที่สร้าง เทพาเหมาะสุด ขอเถอะ ถ่านหิน มันสะอาดจริงๆ นะ นี่ทางเลือกสุดท้ายแล้ว เราก็รับได้ถ้าคุยแบบนี้ และข้อมูลเป็นแบบนี้จริงๆ แต่นี่แม่งกูต้องเสียสละไหม ถ้าเลือกพลังงานมีเยอะแยะ ถาม สงขลาใช้ไฟฟ้าเท่าไร สงขลาใช้แค่สี่ร้อย สูงสุดให้ห้าร้อย สงขลาผลิต ไฟฟ้าให้ตอนนี้ได้เท่าไร โรงไฟฟ้าจะนะโรงเดียวผลิตได้หนึ่งพันสาม ร้อยเมกะวัตต์ แล้วมีโรงไฟฟ้าอีกมากมาย สงขลาคือแหล่งมลพิษแล้ว จะให้กูเสียสละอะไรอีก ตั้งกรุงเทพเอาไหม กูต้องเสียสละไปถึงไหน ตอนนี้ไม่พอใช่ไหม มันไม่ใช่เรื่องของการเสียสละหรือไม่เสียสละแล้ว ค�ำถามคือถ้าจ�ำเป็นต้องเสียสละ คุณก็ต้องชดเชยผลกระทบ ให้ได้ แม่เมาะคุณท�ำได้ไหม ไมไ่ด้ ถ้าไม่ได้เรื่องเสียสละไม่ต้องมาพูด กัน สู้เก็บพื้นที่นี้ไว้ เก็บวิถีชีวิตคนที่งดงามที่มีรากเหง้ามากกว่า รัฐบาลชุดไหนๆ ยังดีกว่าอีก เห็นอะไรจากการต่อสู้ของชาวบ้าน ? ชาวบ้านเหนื่อย เหนื่อยมาก (ย�้ำ) เหนื่อยกับการที่ต้องต่อสู้ และมันสุ่มเสี่ยงที่จะน�ำไปสู่ความรุนแรง เพราะรัฐก็เร่งสร้าง ชาวบ้าน อภิศักดิ์ ทัศนี l 120
ก็เร่งป้องกัน แล้วมันมีอารมณ์ของคนรักบ้าน อารมณ์ที่คนรักบ้านจะ ต้องย้าย ถูกท�ำลายฐานชีวิต ศาสนา ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ลูกหลาน อารมณ์พวกนี้มันน่ากลัว เขาไม่สามารถแปลงเป็นพลังบวกเพื่อเอามา ต่อสู้ได้ด้วยสันติวิธี ชาวบ้านจับปืนไม่ได้ นี่คือความวิตกของเรา รู้สึก ไม่โอเค มีเรื่องหนึ่งคือ ตอนที่อังกฤษผูกขาดเกลือ ออกกฎหมายไม่ให้ คนอินเดียผลิตเอง ประเด็นคืออินเดียติดทะเลแล้วคนอินเดียผลิตเกลือ ได้ แต่คนอินเดียต้องซื้อเกลือมากิน แล้วเกลือราคาแพงมาก กรณีนี้ เหมือนโรงไฟฟ้า สิ่งที่คานธีท�ำคือไปคุยกับชาวบ้าน บอกว่าอดีตเคย ท�ำเกลือได้ แต่ตอนนี้ท�ำไม่ได้ ซึ่งปัญญาการท�ำเกลือมันมีอยู่ในคน ก็ เลยชวนคนอินเดียทั้งประเทศเดินออกมาบนถนนถือเศษไม้ หม้อ จาน กระทะ เดินมุ่งหน้าสู่มหาสมุทรเพื่อจุดไฟท�ำเกลือ ถ้าเทพา...โอเค ความต้องการใช้ไฟฟ้าใช่ไหม กูจะผลิตไฟฟ้าให้มึงดู นี่ไงเดี๋ยวกูขายไฟ ให้เลย ไฟกูเหลือเฟือ เรื่องนี้ท�ำให้เห็นอะไรบางอย่าง หนึ่งชาวบ้านสามารถต่อสู้ได้ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง สองการสยบยอมมันเป็นไปไม่ได้ แล้วรัฐไม่ ได้มีอ�ำนาจอะไรเลย มีแค่ตัวหนังสือ ท�ำไมถึงสนใจประเด็นการเมือง ? ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Politics of People หนังสือเล่ม นี้เขียนถึงการใช้วิจารญาณสาธารณะ ประชาธิปไตยที่มีการพูดคุย อย่างพินิจไตร่ตรองและความหมายของการเมืองใหม่ ที่ไม่ใช่หย่อน บัตรเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง แต่การเมืองคือเรื่องของคนใช้อ�ำนาจ สาธารณะ เราอ่านหนังสือเล่มนี้ประมาณห้าหกรอบ อ่านรอบแรกไม่ เข้าใจ ต้องอ่าน อ่าน อ่าน จนแบบ หนังสือเล่มนี้เจ๋งว่ะ อธิบายได้ สมเหตุสมผล ก็เลยรู้สึกว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย 121 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
ก่อนหน้านั้นเราเชื่อเรื่องการสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้เพื่อเป็น ก�ำลังของบ้านเมือง แต่ไม่เข้าใจค�ำว่าการเมืองคืออะไร และท�ำไมเรา ต้องพูดถึงการเมืองภาพใหญ่ด้วย เพราะการเมืองภาพใหญ่เป็นเรื่อง น่าเบื่อหน่ายมาก ก่อนหน้านี้อ่านหนังสือการเมืองอยู่บ้าง พวกหกตุลาสิบสี่ ตุลา โหแม่งเดจาวูฉิบหายเลยประเทศนี้ ท�ำไมเป็นแบบนี้วะ แล้วเราก็ อ่านหนังสือของอาจารย์ธงชัย (หนังสือประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ เหนือการเมือง) อ่านไปสองรอบ เราก็รู้สึกไม่โอเคมาก เอ้ย แต่เราก็ไปเป่านกหวีดให้คสช.เข้ามานะ เพราะช่วงนั้น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เราก็ทนไม่ได้ มันเกินไป เป่าแค่ช่วงแรก หลัง จากนั้นไม่ใช่แล้ว ชอบมาพากลฉิบหายเลย เราก็ไม่ไปแล้ว พอคสช.เข้ามา บรรดาค�ำสั่งแรกๆ ไม่เท่าไร แต่มันมีค�ำสั่ง ชุมนุมเกินห้าคน เราก็เฮ้ย ถ้าห้ามชุมนุมเกินห้าคนแล้วตีความเป็น ความมั่นคงของรัฐ แล้วถ้ากูท�ำเรื่องชายหาดแล้วชายหาดเป็นความ มั่นคงของรัฐ กูจะท�ำได้ไหมวะ มันไม่ใช่ว่ะ ที่บอก “การเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัว” นิยามการเมืองของน�้ำนิ่ง คืออะไรกันแน่ ? เมื่อไรก็ตามที่ใครจับเรื่องอ�ำนาจสาธารณะหรือประโยชน์ สาธารณะ คนนั้นก�ำลังเล่นการเมือง นี่คือการเมืองในความหมายเรา การเมืองคือเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจ�ำวันเรา คนที่อาสาดูแล สวนสาธารณะก็ก�ำลังเล่นกับอ�ำนาจสาธารณะ เพราะเป็นสวนของทุก คน คนเก็บขยะริมหาดก็ก�ำลังเล่นกับอ�ำนาจสาธารณะในการจัดการ ขยะ ฉะนั้นนักการเมืองไม่เลวเพราะทุกคนก�ำลังเล่นการเมือง เมื่อไรทุกคนออกมาเล่นการเมืองในมุมของตัวเอง นู่น (ชวน มองไปฟุตปาธริมชายหาด-เห็นคนปั่นจักรยาน) ไปปั่นบนฟุตปาธ อภิศักดิ์ ทัศนี l 122
ได้ไง ถามว่าใช่ไหม คนก�ำลังเดินใส่หูฟัง อีกคนปั่นจักรยาน มันไม่ใช่ นี่ คือการเมืองเพราะทางสาธารณะ แต่ถ้าปล่อยให้รัฐห้ามคนปั่นจักรยาน อ้าว เราก�ำลังให้รัฐใช้อ�ำนาจเราแทนที่เราจะจัดการได้ด้วยตัวเอง เรา ต้องเล่นการเมืองของตัวเอง พูดถึงประเด็นชายหาดคนมักจะนึกถึงการเก็บขยะเป็นล�ำดับ แรก แต่สิ่งที่ Beach for Life ท�ำกลับตรงกันข้าม เช่น เก็บข้อมูล ความเปลี่ยนแปลงชายหาด เสนอมาตรการให้รัฐ เสนอแนวทาง ให้ความรู้ชุมชน-ประชาชน ต่อต้านประเด็นโรงไฟฟ้า ฯลฯ ท�ำไม การเมืองของน�้ำนิ่งไม่เก็บขยะ ? สงขลามีประเด็นหาดกัดเซาะ แต่คนไม่สนใจ ชายหาดหาย คนไม่สนใจ คนสนใจต้นสนล้ม คนมองว่าการท�ำจิตอาสาคือการไปเก็บ ขยะ ทาสีโรงเรียน สร้างฝาย ส่วนตัวเรามองว่าเรื่องพวกนั้นไม่ใช่ ทางออกของสังคม แต่มันจะท�ำให้สังคมลงเหวมากขึ้นเรื่อยๆ จิตอาสา ที่ฉาบฉวย มองแค่ว่าฉันจะเก็บขยะ ฉันจะทาสี มันไม่ใช่ มันต้องเห็นว่า ท�ำไมกูต้องไปทาสีทุกปีวะ แล้วท�ำไมกูต้องทาสี มันเกิดอะไรขึ้น โรงเรียนไม่มีเงินดูแลหรอ หรือยังไง หรือจะเก็บขยะก็ได้ แต่ต้องลุ่มลึก กับการเก็บขยะ เก็บแล้วมองให้เห็นขยะเชิงระบบ ท�ำฝายแล้วมองให้ เห็นปัญหาของการจัดการน�้ำที่เป็นปัญหาเชิงระบบ ถ้าท�ำเรื่อง ชายหาด คุณไปวัดระดับชายหาดแล้วเห็นแค่หาดก็ฉาบฉวยเหมือน กัน แต่เมื่อไรที่คุณท�ำงานแล้วเห็นภาพรวม เห็นว่ารัฐคิดยังไง ใช้ เครื่องมืออะไร สถานการณ์ตอนนี้อยู่ไหน คือไปรอด เรื่องนี้คือเรื่องการสร้าง citizen เลยนะ พลเมืองไม่ใช่แค่ตรา ไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือไม่ได้บอกว่าใส่เสื้อ citizen แล้วจะเป็น citizen หรือพลเมือง แต่วิธีคิดคุณไม่ได้รู้เท่าทันอะไรเลย มันต้องให้เห็น 123 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
ทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วคุณก็ท�ำมันสิ ท�ำมันต่อเนื่อง อย่าท�ำครั้ง เดียว ท�ำครั้งเดียวจะประสบความส�ำเร็จได้ยังไง ครั้งเดียวไม่ได้สร้าง การเปลี่ยนแปลงได้เลย การจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้คุณต้องกัดมันไม่ ปล่อย เราเชื่ออย่างนั้น ถ้าคุณเป็นคนรุ่นใหม่ที่ท�ำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ เฉพาะเรื่องก็ได้ หรือจะท�ำภาพใหญ่ก็ได้ แต่คุณต้องกัดเรื่องนี้ไม่ ปล่อย กัดแล้วลงเขี้ยวให้เนื้อมันขาดกันไปข้างเลย เอาจริงเอาจังไป เลย ต้องท�ำให้ลึก กัดให้นาน ให้ทลายทั้งโครงสร้าง สิ่งส�ำคัญคือถ้าจะ ท�ำอะไร มองให้มันลึก คนรุ่นใหม่ต้องมองให้มากกว่าสิ่งที่เราท�ำ เคยโดนเหยียดไหมว่า Beach for Life ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ เก็บขยะ ? โดน (ตอบเร็ว) เขาก็พูดกันว่ามีองค์กรที่ท�ำเรื่องชายหาด แต่ ก็ไม่เห็นมันดูแลรักษาชายหาดเลย เราก็เข้าใจว่าพูดถึงบีชฟอร์ไลฟ์ ได้! งั้นมึงก็เก็บขยะไปละกัน เดี๋ยวกูจะรักษาชายหาดให้ขยะมากอง ประเด็นคือต่างคนต่างท�ำ สิ่งที่ขอร้องคือถ้าท�ำก็ขอให้ท�ำสิ่ง ที่ลึกมากกว่าสิ่งที่ท�ำ แล้วอย่าเปรียบเทียบกันและกันว่าสิ่งนี้ดีกว่า ใน ความเป็นจริงคุณไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แล้วคุณก็ไม่รู้เจตนาของ สิ่งที่เขาก�ำลังท�ำด้วย ดังนั้นเก็บก็เก็บไป เรื่องเก็บขยะนี่ไม่เท่าไร สิ่งที่เรารู้สึกไม่ดีมากๆ คือการชี้ว่า เมืองควรจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ คือเมืองสงขลาจะเป็นศูนย์เมืองมรดก โลก ค�ำถามคือเคยถามคนที่อยู่ในเมืองไหมว่าพวกกูอยากเป็นเมือง มรดกโลกกับพวกมึงไหม รู้ไหมมันมีเกณฑ์อะไรมากมาย แล้วการท�ำ มรดกโลกของคุณก็ไม่ได้ลุ่มลึก คุณชวนคนมาเต้นลีลาศ ทาสีเมือง ใหม่ การพาเมืองไปในทิศทางแบบนี้มันไม่ใช่ ควรจะให้แนวทางว่า ทางนี้ควรจะไป แต่จะไปหรือไม่ไปเป็นเรื่องของประชาชน ไม่ใช่คุณ พูดตลอดว่าต้องไป ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับผลที่เกิดขึ้น ก็โอเค อภิศักดิ์ ทัศนี l 124
“
เราไม่ได้มองหาดแค่หาด แต่เรามองหาดให้เห็นเชิงโครงสร้าง เห็นกฎหมายที่ก�ำลังออกมา เห็นกฎหมายที่มีอยู่ เห็นว่ารัฐก�ำลังอะไรกับชายหาดเรา
”
ไม่ใช่มัดมือชกพูดเสียงข้างเดียว ใครไม่เกี่ยวถีบลงจากเวที ในฐานะคนที่ท�ำงานมาพอสมควร การเมืองเรื่อง ‘ชายหาด’ สะท้อนอะไรในสังคมไทย ? ชายหาดเป็นเรื่องง่ายที่สุดในการจัดการ องค์ความรู้ไม่ได้ ซับซ้อน คนเข้าใจได้ ง่ายกว่าเรื่องป่าด้วย ถ้าเราจัดการปัญหา ชายหาดไม่ได้ ทรัพยากรอื่นๆ ก็จัดการไม่ได้เลยนะ เพราะสิทธิตัวที่ เข้าไปจัดการทรัพยากรเหล่านั้นคือตัวเดียวกัน เรื่องชายหาดง่ายมาก กัดเซาะใช่ไหม...ปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ มันกลับมาเป็นเหมือน เดิม ถ้ามันกัดเซาะมากจนรับไม่ได้ ก็คุยกันว่าจะเอายังไง ถ้าจะเอา โครงสร้าง รับได้ไหมกับผลที่เกิดขึ้น แต่เรื่องน�้ำ ป่าไม้ไม่ใช่นะ เรื่องป่า รัฐเป็นเจ้าของ แต่ตัวของรัฐก็ทับซ้อนกันอีก ป่าของ อุทยานก็เป็นเรื่องของอุทยาน ประเด็นคือองค์ความรู้เรื่องการจัดการ ป่าไม่ได้กระทบแค่คนเดียว กระทั่งเรื่องน�้ำ ก็จัดการแค่ต้นน�้ำสาย เดียวไม่ได้ ต้องจัดการทั้งลุ่มน�้ำ ดังนั้นการจัดการทรัพยากรชายหาด เรามองว่าเป็นเรื่องง่ายกว่าเรื่องอื่น กลับไปสู่เรื่องสิทธิ ทรัพยากร ป่าไม้ ทะเล ชายหาด แร่ เขียน เหมื อ นกั น เลยว่ า สิ ท ธิ ใ นการจั ด การทรั พ ยากรพวกนี้ เ ป็ น ของ ประชาชนกับรัฐ รัฐจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนได้เข้าไป จัดการชายหาด เพื่อการด�ำรงชีวิตอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน รัฐธรรมนูญนี้ (ฉบับปี 2560) ไม่ได้เขียน แต่ก่อนหน้านี้มันเขียนไว้ แล้วเราก็ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ก็ถือเป็นประเพณีที่ดีที่ท�ำกันต่อมา พื้นที่ชายหาดสมิหลา ก็เป็นเรื่องของคนสงขลา แต่ถามว่า สงขลาทั้งหมดไหม สงขลาอาจจะใช้ประโยชน์เยอะหน่อย พูดได้เยอะ หน่อย แต่ต้องถามคนที่อื่นและดูหลักวิชาในการจัดการ แต่ในมุมรัฐ กลับกัน สิ่งที่รัฐต้องท�ำก็คือ รัฐต้องมองชายหาดเป็นระบบ ไม่ใช่เกิด อภิศักดิ์ ทัศนี l 126
ปัญหาแล้วแก้ เกิดแล้วแก้ ถ้าเมื่อไรเกิดปัญหาแล้วแก้ ชายหาดจะพัง ต่อไปเรื่อยๆ มันต้องมองเชิงระบบว่าชายหาดอยู่ยังไง ชายหาดไม่ใช่ หาดนี้ แค่นี้ แต่หาดนี้ไปเชื่อมกับหาดอื่นยังไง รัฐต้องมองเชิงระบบ แล้วต้องไม่ท�ำโครงการต่อโครงการ อย่ามองว่าชายหาดคือชายหาด ทุกคนต้องสนใจประเด็น เรื่องชายหาด แต่ให้สนใจว่าสาระของเรื่องนี้คืออะไร สาระของเรื่องนี้ คือเรื่องของการต่อสู้เชิงกระบวนทัศน์ กระบวนทัศน์ว่ารัฐมองอย่าง ประชาชนมองอีกอย่าง มันมีความรู้อีกชุดที่เป็นทางออกได้ หาดคือ เครื่องมือเท่านั้น ประเด็นชายหาดคือเรื่องการสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ สร้างประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน หรือเราต้องมองว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นคือเรื่องของการเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วน ร่วมตัดสินใจว่าพื้นที่นี้ควรจะต้องเป็นยังไง เราไม่ได้มองหาดแค่หาด แต่เรามองหาดให้เห็นเชิงโครงสร้าง เห็นกฎหมายที่ก�ำลังออกมา เห็นกฎหมายที่มีอยู่ เห็นว่ารัฐก�ำลังอะไร กับชายหาดเรา มีอะไรอีกไหมที่ Beach for Life จะท�ำแต่ยังค้างคา ? อยากจัดการชายหาดทั้งระบบ ประเทศไทยไม่เคยจัดการ ชายหาด ต่างประเทศเขาจะมีมาตรการในการจัดการที่ชัดเจน เช่น ตรงไหนควรจะใช้ท�ำอะไร เรียกว่ามาตรการโซนนิ่ง ชายหาดหลายๆ ประเทศจะมีมาตรการเซ็ทแบ๊กหรือแนวถอยร่น คือหาดกัดเซาะเข้ามา ก็จะมีพื้นที่ว่างไว้ให้หาดกัดเซาะเต็มที่ หลังจากนั้นจะสร้างสิ่งปลูก สร้างได้ แล้วแนวเซ็ทแบ๊กต่างประเทศเป็นร้อยเมตร สงสัยไหมว่า ท�ำไมหาดต่างประเทศต้องเดินไกลมากกว่าจะเจอชายหาด เวอร์จิเนีย มี ฝรั่งเศสมี ไทยไม่มี เรื่องการเก็บข้อมูล การเสริมสร้างองค์ความรู้การมีส่วนร่วม 127 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
การวางกฎหมาย EIA ใหม่ ทั้งหมดคือมาตรการจัดการชายฝั่งที่เป็น ระบบ ยังไม่ท�ำและอยากจะท�ำ ต้องท�ำให้ได้ไม่อย่างนั้นชายหาดจะถูก จัดการอย่างสะเปะสะปะ และเราเชื่อว่ารัฐไม่ท�ำ แต่เราจะท�ำให้ ข้อเสนอเหล่านี้ไปอยู่ในมือรัฐให้ได้ หวังจะจัดการทั้งประเทศเลยหรือเปล่า ? เอาต้นแบบก่อน ถ้าต้นแบบได้ เดี๋ยวก็มีคนเอาโมเดลไปใช้ แต่ก็จะเป็นแบบก๊อปปี้วางนะ เรารู้นิสัยประเทศไทยดี อนาคตของ Beach for Life จะเป็นอย่างไรต่อไป ? บีชไฟร์ไลฟ์ก็ดูแลสมิหลานี่แหละ คงไปไกลได้ไม่มากกว่านั้น เพราะสิ่งที่เรามองคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เยาวชน สร้าง การมีส่วนร่วมให้กับคนที่นี่ เพราะเราต้องการเอาเรื่องนี้ส่งต่อให้วิธีคิดมากกว่าการจะบอกว่าทางออกควรจะเป็นยังไง แล้วน�้ำนิ่งวางอนาคตตัวเองไว้ยังไง ? เราอยากมีองค์กรเป็นของตัวเองชื่อ Save the Beach Thailand ท�ำหน้าที่ดูแลชายหาด คิดไว้ว่าคงไม่เกินสามสี่ปีจะท�ำแน่ คือ ปัญหาที่เราเห็นคือชายหาดมันไม่มีคนช่วยจัดการ และคนที่จะจัดการ ได้ไม่ใช่รัฐ แต่คือชุมชน และชุมชนต้องเสนอแนวทางให้รัฐจัดการ ประเด็นก็คือใครจะไปเสริมกระบวนการส่วนนี้ ดังนั้นควรจะมีองค์กร ท�ำ เพราะถ้าจะให้องค์กรเราชี้ขาดว่าชายหาดทั้งประเทศควรเป็น แบบนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นองค์กรเราไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการ เรา ต้องให้ชุมชนตัดสินใจเอง ให้ข้อมูลว่าเขาจะเอายังไง
อภิศักดิ์ ทัศนี l 128
เท่าที่เคยท�ำงานกับคนรุ่นใหม่หรือน้องในทีม เห็นศักยภาพหรือ คุณสมบัติอะไรในตัวพวกเขา ? เราว่าต้องเป็นคนบ้า มันก็เป็นจักรวาลจัดสรร เป็นเรื่องของ ธรรมชาติที่หมุนคนที่พลังงานแบบเดียวกันเข้ามา อีกมุมหนึ่ง คนพวกนี้โหยหาพื้นที่ส�ำหรับการท�ำอะไรแบบนี้ คือเด็กวัยมัธยมเขาโดนระบบการศึกษากดขี่ เขามักจะบ่นเรื่อง โรงเรียน แต่เราจะพาเขาออกจากสิ่งที่เขาเจอ แล้วเอาพลังที่เขามีไป สร้ า งสิ่ ง ใหม่ แ ละท� ำ ให้ เ ขาเห็ น ความจริ ง ที่ ชั ด ขึ้ น ได้ ยั ง ไงเป็ น เรื่ อ ง ท้าทายมาก และเราอย่ายึดติดว่าเขาต้องเห็นเหมือนที่เราเห็น เราควรให้ เขาเห็นความจริงความเป็นไปของสังคมมากกว่าที่จะเห็นว่าเราก�ำลัง ท�ำอะไร น้องๆ บีชฟอร์ไลฟ์ที่จบไป บางคนไม่ได้ท�ำงานสายสิ่ง แวดล้อม บางคนไปท�ำการแสดง แต่เขาบอกว่าพี่นิ่งรู้ไหม งานบีชฟอร์ไลฟ์ท�ำให้เราเห็นภาพระบบในมหาวิทยาลัยที่ชัดมาก เพราะเขามี วิธีคิดแล้ว อีกคุณสมบัติที่เด็กจะเข้ามาที่แบบนี้ได้ เราว่าต้องเป็นเด็กดื้อ ขบถกับสังคม เป็นเด็กที่ตั้งค�ำถามว่าท�ำไมเป็นแบบนี้วะ ท�ำไมไม่เป็น อย่างอื่น เพราะเราจะมีนิสัยแบบนี้ไง เราเรียนวิทยาศาสตร์และเรารัก วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ครูที่สอนก็จะบอกว่า นิ่งต้องไม่หยุดที่จะตั้ง ค�ำถามนะ ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์อย่างเดียว แต่อย่าหยุดที่จะตั้งค�ำถาม ทุกเรื่องเลย ด้วยนิสัยแบบนี้ท�ำให้เราตั้งค�ำถาม และท�ำให้เราไขว่หาค�ำ ตอบด้วย เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่...ค�ำตอบคืออะไรวะ รักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แต่สอบตกตอนม.ปลาย ? เออ ตก ตกมาก มันแยกกันไง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เราได้ชีวะ เรา รักชีวะมากๆ ชีวะคือชีวิตไง เราเป็นคนที่เข้าใจความเชื่อมโยงได้ 129 l กัดชายหาด รักษานางเงือก
เพราะชีวะสอนเรื่องความเชื่อมโยง ดูไปก็เหมือนความเชื่อกลายๆ แต่ มันถูกอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ เราก็เออว่ะ หาดตรงนี้มันเชื่อมโยง กับตรงนี้ พอม.ปลาย งานทางสังคมท�ำให้เรารู้สึกว่าสังคมน่าจะเป็น ตัวตอบเราได้ดีกว่า สรุปคือการเรียนไม่ตอบเหี้ยไรในชีวิตกู ความรู้ ตอนประถมมัธยมเป็นยังไง มหา’ลัยก็ยังเป็นอย่างนั้น ที่มีปัญญามาก ขึ้นก็จากการท�ำงาน เพราะงานท�ำให้เราเห็นว่าเป็นยังไง คิดว่าสิ่งที่ตัวเองท�ำในวัยยี่สิบต้นๆ ยิ่งใหญ่ไหม ? ไม่นะ เราว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มีความลึก ไม่ใหญ่หรอก ถ้าบอกยิ่งใหญ่แม่งข่มเพื่อนว่ะ
อภิศักดิ์ ทัศนี l 130
หมายเหตุ หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาจุลนิพนธ์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สงขลามีประเด็นหาดกัดเซาะ แต่คนไม่สนใจ คนสนใจต้นสนล้ม คนมองว่าการท�ำจิตอาสาคือการไปเก็บขยะ ทาสีโรงเรียน สร้างฝาย เรามองว่าเรื่องพวกนั้นไม่ใช่ทางออก ของสังคม แต่มันจะท�ำให้สังคมลงเหวมากขึ้นเรื่อยๆ จิตอาสาที่ฉาบฉวย นี่คือเรื่องการ สร้างพลเมืองเลยนะ อภิศักดิ์ ทัศนี
เรารู้สึกว่าศิลปะกับเสรีภาพมาด้วยกัน ถ้าคนท�ำงานศิลปะไม่มีเสรีภาพในการท�ำงาน มัน ไม่ถือเป็นศิลปะ เพราะเป็นงานที่จ�ำกัดกรอบจนเหมือนเป็นงานเชิงทักษะ ไม่ใช่ความคิด สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์มาพร้อมกับเสรีภาพทางความคิด นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์
การเมืองมันกระทบลงมาเรื่อยๆ เพียงแค่เราจะมองว่ามันเป็นเพราะการเมืองไหม หรือจะ มองว่าเราเห็นแค่ตรงนี้ เห็นแค่ปลายทางแล้ว แต่ขนาดเราไม่ค่อยได้ติดตามการเมือง อะไรมากมาย แต่ก็ดู ไม่ได้ลึกหรือต้องตามตลอด ยังรับรู้ได้ถึงผลกระทบ วัชรพงษ์ ตันเต๊ก