คู่มือการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

Page 1

คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

1



คำนำ กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีภารกิจเกี่ยวกับ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรูแ้ ละการมีสว่ นร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ให้มั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานไว้ 6 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตรที่ 1 การพัฒนาทุนชุมชน ยุทธศาสตรที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง ยุทธศาสตรที่ 3 การเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน ยุทธศาสตรที่ 4 การขับเคลื่อนแผนชุมชน ยุทธศาสตรที่ 5 ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน ยุทธศาสตรที่ 6 การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาทุน และองค์กรการเงินชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยให้มีหน้าที่ กำหนดกลยุทธ์ เสริมสร้างความ เข้มแข็งในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน (Community Financial Capital) ให้มีประสิทธิภาพ แสวงหา ทุนชุมชน ทั้งในส่วนที่เป็นตัวเงิน (Financial) และไม่ใช้ตัวเงิน (Non-Financial) พัฒนาประสิทธิภาพการ บริหารจัดการทุนชุมชน และส่งเสริมการบูรณาการทุนชุมชนให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคงทางด้านทุนชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชนจึงได้ จัดทำเอกสารคู่มือการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นคู่มือในการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรด้านทุน กองทุนชุมชน ตลอดจนผู้มีหน้าที่ ในการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการกองทุนชุมชนในชุมชน ให้มีเอกภาพ จนส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ทุกคนคาดหวัง ไว้ในที่สุด

กรมการพัฒนาชุมชน สิงหาคม 2552


สารบัญ 7

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์กองทุนชุมชน 8 9 10 11

13

ส่วนที่ 2 : การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 14 15 16 17 19 20 21

25

ความหลากหลายของกองทุนชุมชน ความแตกตางของการบริหารจัดการกองทุนชุมชน การสงเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนชุมชน การบูรณาการกองทุนชุมชนไปสูการจัดตั้งสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คืออะไร สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ทำอยางไร ขั้นตอนที่ 1 แพรแนวคิด แนวทางการดำเนินงานทำอะไร ขั้นตอนที่ 2 สำรวจ วิเคราะหขอมูลกองทุนชุมชน ทำอยางไร ขั้นตอนที่ 3 ประชุมผูเกี่ยวของ เพื่อเตรียมการ/วางแผนการจัดตั้ง สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขั้นตอนที่ 4 จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ทำอยางไร สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีรูปแบบเปนอยางไร

ส่วนที่ 3 : สมาชิกและคณะกรรมการบริหาร 26 26 27 27 29 29

คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เปนใคร คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มาจากไหน คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีจำนวนเทาใด โครงสรางคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเปนอยางไร คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีองคประกอบอะไรบาง คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีหนาที่อยางไร


สารบัญ 31

ส่วนที่ 4 : กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 8 9 10 11

41

กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีอะไรบาง กิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได มีอะไรบาง กิจกรรมประเภทสวัสดิการ มีอะไรบาง กิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสรางความเขมแข็งมีอะไรบาง แนวทางการจัดทำกิจกรรมประเภทตางๆ ของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนมีอะไรบาง

ส่วนที่ 5 : การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 42 44 45 45 47 48 49 52 53 54 55 55 57 57 58

เงินทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ไดมาอยางไร สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีระเบียบขอบังคับของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนหรือไม ถาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนไมมีระเบียบขอบังคับของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนจะเกิดอะไรขึ้น ขั้นตอนการจัดทำระเบียบขอบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีอะไรบาง สาระสำคัญของระเบียบขอบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประกอบดวยอะไรบาง การประชุมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีกี่ประเภท อะไรบาง เทคนิคการประชุมมีอะไรบาง สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการจัดทำแผนการดำเนินงานหรือไม ขอบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จำเปนตองมีหรือไม มีประโยชนอยางไร ขอบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีวิธีการจัดทำอยางไร ขอบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีรูปแบบอยางไร สถานที่ดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเปนอยางไร พนักงานหรือลูกจาง ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตองมีหรือไม คาจางหรือคาตอบแทน มาจากไหน เอกสาร บัญชี และทะเบียนสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีอะไรบาง


สารบัญ 59

ส่วนที่ 6 : ตัวชี้วัดการพัฒนา 60 61 61 62

63

การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการจัดระดับการพัฒนาหรือไม ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนระดับพื้นฐาน มีอะไรบาง ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนระดับพัฒนา มีอะไรบาง ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนระดับกาวหนา มีอะไรบาง

ส่วนที่ 7 : ภาคผนวก 64 80 84

รางระเบียบขอบังคับ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตัวอยางขอบังคับงบประมาณ รับ-จาย ประจำป แบบบัญชีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน


สวนที่ 1 สถานการณ์กองทุนชุมชน


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ความหลากหลายของกองทุนชุมชน จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลก มีความผันผวนและเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็วจนส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อประชากรโลกทุกหย่อมหญ้า รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการลงทุนในทุกส่วนทั้งระดับภาพรวมและ รายย่อย จนถึงระดับรากหญ้า ซึ่งต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการรวมกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในขณะที่ การช่วยเหลือโดยภาครัฐได้มีมาตรการหลาย อย่างเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อลดปัญหาความยากจนและมีเป้าหมายให้ชุมชนทุกแห่ง สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทยนั้น มีมาตรการที่ออกมาอย่างหลากหลายและหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน ของรัฐบาลเกือบทุกสมัยคือ การให้กองทุนในรูปแบบต่างๆลงไปในชุมชน ไม่ว่าจะ เป็นกองทุนด้านสาธารณสุข เช่น กองทุนยา หรือกองทุนด้านสังคม เช่น กองทุนโค กระบือ ธนาคารข้าว กองทุน กข.คจ. กองทุนช่วยเหลือจาก อบต. กองทุนหมูบ่ า้ นและ ชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) กองทุนส่งเสริมอาชีพสตรี กองทุนส่งเสริมอาชีพเยาวชน กองทุนแม่บ้านเกษตรกร ฯลฯ ซึ่งกองทุนต่างๆ ที่ลงไปในชุมชนนั้น ส่งผลให้แต่ละ ชุมชนมีกองทุนอยู่หลายรูปแบบ บางกองทุนมีความเติบโตบางกองทุนก็ล้มหายไป จากชุมชน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการ กองทุนชุมชนด้วย (วิชุลดา มาตันบุญ : การจัดการกองทุนชุมชนในชนบท)

8

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ความแตกต่างของการบริหารจัดการกองทุนชุมชน วิชลุ ดา มาตันบุญ (2550) กล่าวถึง ทีม่ าของกองทุนชุมชนไว้ 3 รูปแบบ คือ 1) กองทุนชุมชนทีเ่ กิดจากรัฐให้การสนับสนุน ซึง่ ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นนโยบายการทำ งานของรัฐบาลในแต่ละช่องทาง 2) กองทุนทีเ่ กิดจากภาคเอกชนเข้าไปส่งเสริมและสนับ สนุน และ 3) กองทุนทีเ่ กิดจากการรวมตัวกันเพือ่ แก้ไขปัญหาความยากจนของชาวบ้าน กรณีนบ้ี างครัง้ ไม่ใช่คำว่า “กองทุน” นำหน้า แต่ใช้คำว่า “กลุม่ ” แทน เช่น กลุม่ แม่บา้ น กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต กลุม่ ส่งเสริมอาชีพสตรี กลุม่ ส่งเสริมอาชีพเยาวชน ฯลฯ เนือ่ งจากจำนวนกองทุนชุมชนต่างๆ ทีม่ อี ยูใ่ นชุมชนนัน้ มีจำนวนค่อนข้าง มาก และมีความแตกต่างในด้านการบริหารจัดการไปตามเงือ่ นไข ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ ทีใ่ ห้การสนับสนุนกองทุน และบริบทของแต่ละชุมชนซึง่ มีผลทำให้การ บริหารจัดการกองทุนชุมชนต่างๆ มีความแตกต่างกันในหลายประเด็น เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระเบียบข้อบังคับ คณะกรรมการบริหาร สมาชิกและเงือ่ นไขอืน่ ๆ

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

9


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

การส่งเสริม สนับสนุน การบริหารจัดการกองทุนชุมชน จากการทีช่ มุ ชนมีความหลากหลายของกองทุนและแต่ละกองทุนมีความ แตกต่างกันในเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีภาระหนี้สิน ชุมชนไม่ สามารถพึง่ ตนเองได้นน้ั ทัง้ ภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญกับเรือ่ งดังกล่าวจึงได้ ร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ และมีเอกภาพ ดังนี้ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้เสนอการ บริหารจัดการกองทุนหมูบ่ า้ นและชุมชนเมืองในปี 2552 ให้กบั รัฐบาลชุดใหม่พจิ ารณา เพื่อรื้อฟนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ ทั่วประเทศ ทั้ง 38,013 แห่ง ส่วน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เตรียมแผนยกระดับโครงการ กองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารของชุมชน โดยคัดเลือกกองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารดูแล อยู่กว่า 2-3 หมื่นกองทุน สำหรับธนาคารออมสิน ได้มีการจัดตั้ง “ธนาคารชุมชน” ในความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่แล้ว จำนวน 18 จังหวัด ในส่วนของกรมการ พัฒนาชุมชนได้ปรับปรุง ยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการ บริหารงานเพื่อการพัฒนาชุมชนในช่วง พ.ศ. 2551-2554 มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ จากทุนของชุมชนที่มีอยู่อย่างหลากหลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะทำให้ชุมชนเกิด การเปลี่ยนแปลง สร้างความแตกต่าง และมูลค่าเพิ่มพัฒนาไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง อย่างยั่งยืน โดยได้กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับทุนชุมชน ดังนี้ 1)หมู่บ้านที่มีการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจำนวน

10 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

237 หมูบ่ า้ น 2)กองทุนในชุมชนสามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 5,400 กองทุน และ 3)หมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการทุนชุมชน ทั้งทุนที่เป็น เงินและทุนที่ไม่ใช่เงินตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 150 หมู่บ้าน

การบูรณาการกองทุนชุมชนไปสู่ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่เล็งเห็นความ สำคัญในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนให้เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวในชุมชนโดยการ บูรณาการกองทุนชุมชนให้ไปสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน การบูรณาการกองทุนชุมชนเพื่อไปสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนโดยมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนนำ ในการดำเนินงานบริหารจัดการ เงินทุนชุมชน จะทำให้การบริหารจัดการทุนชุมชนเกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ประชาชนและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ อัมพร แก้วหนู ศูนย์ข่าวแลใต้ ที่เขียนไว้ในบทความ “บทเรียนทีพ่ รรคการเมืองควรรูเ้ กีย่ วกับ กองทุนชุมชน” ดังนี้ กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิตจำนวนมาก จัดการเงินกองทุนรัฐหลาย กองทุนในเวลาเดียวกันได้ โดยทีเ่ งินไม่หาย มีดอกผลเพิม่ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของเงินนั้นด้วย บางกลุ่มใช้ระบบเดิมที่มีอยู่ คือ เอาเงินนั้นลงในระบบออมทรัพย์เลย ปล่อยกู้ออกไปตามระเบียบ ส่งคืนตามระเบียบ ถ้าหน่วยราชการต้องการเงินคืนก็ เอาคืน ต้องการตรวจสอบก็มีบัญชีให้ดู บางกลุ่มจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแล สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

11


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

การมีกลุ่มการเงินขึ้นมาก่อนทำให้ชาวบ้านมีประสบการณ์ในการบริหารการเงิน มี ประสบการณ์ในการขจัดความขัดแย้งเกี่ยวกับการเงินและจิตสำนึกว่าชาวบ้าน สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ของกลุ่มมาจากสมาชิก ปัจจุบัน กลุ่มการเงินกว่า 25,000 กลุ่ม ที่จัดตั้งโดยองค์กรชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วย ตนเองทั้งสิ้น แม้รัฐไม่มีเงินลงมาสักบาทก็ตาม ดังนั้น การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการบูรณาการ กองทุนชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ทีเ่ ป็นจริงของชุมชนในภาวะปัจจุบนั เป็นอย่างยิง่ เพือ่ ประโยชน์และเป็นเจ้าของ ซึง่ จะ ทำให้การบริหารจัดการกองทุนชุมชนต่างๆ ในชุมชนเกิดประสิทธิภาพและเอกภาพ ในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนอย่างแท้จริง

12 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 2 การจัดตั้งสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

13


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คืออะไร?

คำตอบ สถาบันการเงินของชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีการบูรณาการเชื่อมโยง กลุ่ม องค์กรกองทุนการเงินต่างๆ รวมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน เพื่อให้เกิดการ ใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้การจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ สามารถ แก้ไขปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมให้กับชุมชนอย่างแท้จริง 2. เพื่อเป็นแหล่งเงินออมของชุมชน 3. เพื่อเป็นแหล่งทุนและสวัสดิการของชุมชน 4. เพื่อเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน เป้าหมาย เพื่อให้ชุมชน / หมู่บ้าน มีองค์กรที่มีการบริหารจัดการเงินทุนอย่างมี ประสิทธิภาพ (1 ครัวเรือน 1 สัญญา) 14 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ทำอย่างไร?

คำตอบ การจัดตัง้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีขน้ั ตอนการจัดตัง้ 4 ขัน้ ตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 แพร่แนวคิดแนวทางการดำเนินงานให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

- ผู้นำ กลุ่ม องค์กรการเงินชุมชน - ภาคีการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 สำรวจวิเคราะห์ ข้อมูลกองทุนชุมชน ขั้นตอนที่ 3 ป ร ะ ชุ ม ผู้ ที่ เกีย่ วข้อง เพือ่ เตรียมการวางแผนการจัดตัง้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (กองทุนต่างๆทีเ่ ข้าร่วม,สถานทีด่ ำเนินการ, การศึกษา ดูงานจุดที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ) ขั้นตอนที่ 4 จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการประชุม ประธานกลุ่ม/องค์กรกองทุนชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อ - ขอมติการจัดตั้ง - เลือกคณะกรรมการบริหาร - ร่างระเบียบข้อบังคับ - การจัดทำกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

15


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ขั้นตอนที่ 1 แพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงาน ทำอย่างไร?

คำตอบ ขั้นตอนนี้ เป็นการแพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงานของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน โดยดำเนินการในลำดับแรก เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิด กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม องค์กรการเงินชุมชน และภาคีการพัฒนา ให้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ไปในทิศทางเดียวกัน อันจะทำให้การดำเนินงานในขั้นตอนต่อๆไปเกิดความ ราบรื่น และกลุ่มเป้าหมายให้การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น การแพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดเวทีประชาคม เพือ่ แลกเปลีย่ น เรียนรู้ การจัดประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ การพบปะพูดคุยเป็นรายกลุ่ม รายกองทุนหรือรายองค์กร และการใช้สอ่ื ชนิดต่างๆ เพือ่ เผยแพร่องค์ความรู้ เป็นต้น 16 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ขั้นตอนที่ 2 สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลกองทุนชุมชน ทำอย่างไร?

คำตอบ หลังจากได้ทำการแพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงานของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้กลุ่มเป้าหมายจะต้องทำการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลกองทุนชุมชนที่ดำเนินการในหมู่บ้าน/ชุมชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยกองทุนที่ยังสามารถหาข้อมูลต่างๆได้ และมีสภาพการคงอยู่ของกองทุน ทั้งที่ยัง ดำเนินการอยูแ่ ละหยุดดำเนินการแล้ว แต่มเี งินทุนและทรัพย์สนิ อยูส่ ามารถตรวจสอบ ได้ โดยข้อมูลที่ต้องการดำเนินการสำรวจ ประกอบด้วย 1. กองทุนที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนดำเนินการก่อตั้ง โดย การสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชนและประชาชน 2. กองทุนที่เกิดจากการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ และเอกชน หรือ ภาคีการพัฒนาอื่นๆ เมือ่ ได้ขอ้ มูลของกองทุนต่างๆ แล้ว ก็ดำเนินการวิเคราะห์วา่ เป็นอย่างไร

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

17


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สถานภาพของกองทุนเป็นอย่างไรบ้างมีจุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและข้อจำกัดอย่างไร การบริหารจัดการและการดำเนินงานเป็นอย่างไร ฯลฯ เพื่อให้ทราบสถานการณ์จริง ของกองทุนเหล่านั้นโดยเฉพาะประเด็นต่างๆ เช่น - ด้านคน ได้แก่ คณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นอย่างไร บุคคลหนึ่ง คนได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลายๆกองทุนใช่หรือไม่ สมาชิกกองทุนเป็นอย่างไร สมาชิกหนึ่งคนสมัครเป็นสมาชิกหลายกองทุนได้หรือไม่ และสมาชิกดังกล่าวกู้เงินทุกกองทุนได้หรือไม่ ที่ปรึกษากองทุนและผู้นำอื่นๆที่ เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนมากน้อยเพียงใด สามารถให้ คำแนะนำกองทุนให้ดำเนินงานถูกต้อง ตามหลักการและแนวทางหรือไม่ เป็นต้น - ด้านเงินทุน แต่ละกองทุนมีทม่ี าของเงินกองทุนอย่างไร บริหารจัดการ แล้วประสบความสำเร็จหรือไม่ ปัจจุบันมีเงินทุนเหลืออยู่ในกองทุนมาน้อยเพียงใด - ด้านกิจกรรม มีการจัดกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์กบั สมาชิกและชุมชน มากน้อยเพียงไร กิจกรรมที่ดำเนินงานสอดคล้องตรงกับความต้องการของสมาชิก และชุมชนหรือไม่ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมมีหรือไม่ - ด้านวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย กองทุนมีการดำเนินงานที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ การบริหารจัดการเอื้อประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย มากน้อยเพียงไร การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดประชุม การจัดเวทีประชาคม การสัมภาษณ์พูดคุยกับกองทุนและผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น

18 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ขัน้ ตอนที่ 3 ประชุมผูเ้ กีย่ วข้อง เพือ่ เตรียมการ/วางแผน การจัดตัง้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (กองทุนต่างๆ ที่เข้าร่วม, สถานที่ดำเนินการ, การศึกษาดูงานจุดที่ประสบ ความสำเร็จ ฯลฯ) ทำอย่างไร?

คำตอบ ขั้นตอนที่ 3 เป็นการประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการ/วางแผน การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยประเด็นที่ประชุมได้แก่ - สถานการณ์ของกองทุนที่ได้จากการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลกองทุน ชุมชนต่างๆที่เข้าร่วม - สถานที่ดำเนินการของสถาบันการจัดการกองทุนชุมชน - การศึกษาดูงานจุดที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

19


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ขัน้ ตอนที่ 4 จัดตัง้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ทำอย่างไร?

คำตอบ ขั้นตอนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ดำเนินการโดย การประชุมประธานกลุ่ม/องค์กรกองทุนชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อ - ขอมติการจัดตั้ง - เลือกคณะกรรมการบริหาร - ร่างระเบียบข้อบังคับ - การจัดทำกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

20 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีรปู แบบเปนอย่างไร?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีรูปแบบการดำเนินงาน ได้แก่

1. รวมเงินทุน เป็นการรวมเงินทุนของกองทุนต่างๆเข้าด้วยกัน โดย ดำเนินการในลักษณะ ดังนี้ - กองทุนที่ไมมีกฎหมายรองรับ (เทเงินรวมกัน) ให้สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน ดำเนินการรวบรวมเงินแต่ละกองทุน เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน และมอบให้คณะอนุกรรมการกองทุนรวม ดำเนินการพิจารณา ให้ความเห็นชอบเบื้องต้นกรณีที่มีสมาชิกขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการจัดการเงินทุน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

21


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ชุมชน ต่อจากนั้นให้คณะอนุกรรมการกองทุนรวม รายงานผลการพิจารณาเห็นชอบ ให้กับคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนพิจารณาอนุมัติต่อไป - กองทุนที่มีกฎหมายรองรับ (รวมบัญชี) ให้สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะอนุกรรมการกองทุนเหล่านั้น ได้แก่ คณะ อนุกรรมการกองทุน กข.คจ. หรือคณะอนุกรรมการ กทบ. เพื่อทำความเข้าใจในการ ดำเนินงานและมอบให้คณะอนุกรรมการดังกล่าว พิจารณาการขอกู้เงิน ต่อจากนั้น ให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวรายงานผลการพิจารณาอนุมัติให้คณะกรรมการบริหาร จัดการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนทราบ และจัดทำทะเบียนและบัญชีของสมาชิก ที่ขอกู้ยืมเงินรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารจัดการสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน 2. รวมกรรมการ เป็นการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ทีด่ ำเนินการโดยการรวมคณะกรรมการบริหารกองทุนต่างๆที่สมัครใจเข้าร่วม กันจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและส่วนหนึ่งมาจากผู้นำชุมชน หรือ ผู้ทรง คุณวุฒิของชุมชนให้เหลือเพียงชุดเดียว ซึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน” ซึ่งขนาด หรือจำนวนของคณะกรรมการบริหารสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกนั้นไม่จำกัดจำนวนหรือขนาด แต่ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนดังกล่าว จะทำ หน้าที่ในการบริหารงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการแบ่งบทบาท ภารกิจตามโครงสร้างการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

22 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

3. รวมสมาชิก เป็นการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ที่ต้องการให้ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน/ตำบล เป็นสมาชิกกับสถาบัน การจัดการ เงินทุนชุมชนเพียงหนึ่งเดียว โดยเปดโอกาสให้สมาชิกกลุ่ม องค์กรกองทุนเดิมและ ครัวเรือนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม องค์กร กองทุนใดๆ สมัครใจเข้าเป็นสมาชิกของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ซึง่ จะทำให้การบริหารจัดการเรือ่ งการจัดการเงินทุน ของชุมชนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

23


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

4. รวมระเบียบ เป็นการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนที่ต้องการปรับระเบียบข้อบังคับของแต่ละกองทุนให้การดำเนินงานเรื่องที่ เกี่ยวกับเงินทุนของชุมชนในชุมชน มีระเบียบการดำเนินงานเพียงระเบียบเดียวซึ่ง ถือปฏิบัติร่วมกัน โดยมีวิธีการในการจัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน ให้ครอบคลุมการดำเนินงานกองทุนทุกกองทุน (เป็นระเบียบแม่) โดย ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนต่างๆ ในชุมชน และมอบให้ ทุกกองทุนดังกล่าวนำไปใช้ในการบริหารจัดการของกองทุนของตนเอง

24 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 3 สมาชิก และกรรมการบริหาร

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

25


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เปนใคร?

คำตอบ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ก็คือ “คณะ กรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน” ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มาจากไหน?

คำตอบ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มาจากผูแ้ ทนของ แต่ละกองทุนที่สมัครใจเข้าร่วมกันจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และผู้นำ ผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนโดยการคัดเลือกให้เป็นคณะ กรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเพียงชุดเดียวเพือ่ บริหารจัดการเงินทุน ชุมชน 26 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีจำนวนเท่าใด?

คำตอบ

ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บ ริ ห า ร ส ถ า บั น ก า ร จั ด ก า ร เ งิ น ทุ น ชุ ม ช น ไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน นั้นๆ

คำถาม โครงสร้างคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน เปนอย่างไร?

คำตอบ โครงสร้างคณะ กรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชน มีดังนี้

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

27


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ที่ปรึกษา

คณะกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน

คณะอนุกรรมการ กองทุนรวม คณะอนุกรรมการ กข.คจ. (ถ้ามี) คณะอนุกรรมการ กทบ. (ถ้ามี)

รองประธานกิจกรรม ประเภทการลงทุน หรือแสวงรายได้ คณะทำงาน ด้านการรับฝาก-ถอน

รองประธานกิจกรรม ประเภทสวัสดิการ

รองประธานกิจกรรม ประเภทการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็ง

คณะทำงาน ด้านการกู้ยืมเงินทุน

คณะทำงานด้านสมาคม ฌาปนกิจสงเคราะห์ คณะทำงาน ด้านกองทุนสวัสดิการ

คณะทำงาน ด้านศูนย์สาธิตการตลาด

คณะทำงาน ด้านการประกันภัย

คณะทำงาน ด้านการรับซื้อผลผลิต

คณะทำงาน ด้านทุนการศึกษา

คณะทำงาน ด้านปมน้ำมัน คณะทำงาน ด้านธุรกิจชุมชน

คณะทำงานด้านการ รักษาพยาบาลฟรี คณะทำงานด้าน กองทุนประกันความเสี่ยง

28 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

คณะทำงาน ด้านฝกอบรม/สัมมนา คณะกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน คณะทำงาน ด้านการฝกอบรม/ สัมนาสมาชิกสถาบัน การจัดการ เงินทุนชุมชน คณะทำงาน ด้านการศึกษาดูงาน


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

คำตอบ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีองค์ประกอบ ดังนี้ • ประธาน • รองประธานกิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได้ • รองประธานกิจกรรมประเภทสวัสดิการ • รองประธานกิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง • เหรัญญิก • ประชาสัมพันธ์ • เลขานุการ • กรรมการ (ตามความเหมาะสม)

คำถาม

คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีหน้าทีอ่ ย่างไร?

คำตอบ

คณะกรรมการ บริหารสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนมีหน้าที่โดยสังเขป ดังนี้

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

29


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

1. กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน 2. บริหารจัดการเงินทุนในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 3. เชือ่ มโยงเงินทุนชุมชนและทุนทางสังคม (ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ทรัพยากร ธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม) ให้เกิดการบูรณาการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4. ประสานงานกับ สถาบันการเงิน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกัน พัฒนาเงินทุนชุมชน 5. ส่งเสริมความรู้และทักษะ ในด้านการจัดการเงินทุน และในด้านการ จัดการทุนทางสังคม ตลอดจนการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อให้ทุนในชุมชนมีความ เข้มแข็ง 6. กำกับ ดูแล และควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมติที่ประชุม 7. ดำเนินกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนให้เจริญก้าวหน้า และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 8. ดูแลรักษาทรัพย์สินของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 9. แต่งตั้งและถอดถอนคณะทำงานเฉพาะกิจของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน 10. จัดทำ งบดุล - กำไรขาดทุนประจำปี 11. จัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 12. จัดประชุมสามัญและวิสามัญประจำปี 13. จั ด ทำข้ อ บั ง คั บ รายจ่ า ยประจำปี ข องสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุมชนอื่นๆ 30 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 4 กิจกรรมของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

31


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีอะไรบ้าง?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีแนวคิดในการส่งเสริม สนับสนุน คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการดำเนินกิจกรรม 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

32 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

กิจกรรมของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

กิจกรรม ประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได้

กิจกรรม ประเภทสวัสดิการ

คณะทำงาน ด้านการรับฝาก-ถอน

กิจกรรม ประเภทการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็ง

คณะทำงาน ด้านการกู้ยืมเงินทุน

คณะทำงานด้านสมาคม ฌาปนกิจสงเคราะห์ คณะทำงาน ด้านกองทุนสวัสดิการ

คณะทำงาน ด้านศูนย์สาธิตการตลาด

คณะทำงาน ด้านการประกันภัย

คณะทำงาน ด้านการรับซื้อผลผลิต

คณะทำงาน ด้านทุนการศึกษา

คณะทำงาน ด้านปมน้ำมัน คณะทำงาน ด้านธุรกิจชุมชน

คณะทำงานด้านการ รักษาพยาบาลฟรี คณะทำงานด้าน กองทุนประกันความเสี่ยง

คณะทำงาน ด้านฝกอบรม/สัมมนา คณะกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน คณะทำงาน ด้านการฝกอบรม/ สัมนาสมาชิกสถาบัน การจัดการ เงินทุนชุมชน คณะทำงาน ด้านการศึกษาดูงาน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

33


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม กิจกรรมประเภทการลงทุน หรือ แสวงหารายได มีอะไรบาง?

คำตอบ กิจกรรมประเภทการลงทุน หรือ แสวงหารายได้ มีดังนี้ 1. รับฝาก/ถอน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้ดำเนินการบริการ รับฝากเงินของสมาชิกที่มีความประสงค์ที่จะฝากเงินไว้กับสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน โดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะคิดดอกเบี้ยให้กับสมาชิกที่ฝากเงิน ตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หรือการบริการถอนเงิน ฝากที่สมาชิกที่มีจำเป็นสามารถถอนเงินฝากดังกล่าวกับสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนได้

34 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

2. กูย้ มื เงนิ ทุน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ได้ดำเนินการเพือ่ ช่วยเหลือ สมาชิกได้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพโดยสมาชิกสามารถกูย้ มื เงินจากสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนเพื่อนำไปประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนกำหนด 3. ศู น ย์ ส าธิ ต การตลาด สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้ดำเนินการ ศูนย์สาธิตการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ที่ ต้องการช่วยเหลือสมาชิกและประชาชนใน ชุมชน สามารถซือ้ สินค้าทีจ่ ำเป็นได้ในราคาถูก 4. การรับซือ้ ผลผลิต สถาบันการจัดการ เงิ น ทุ น ชุ ม ชนได้ ด ำเนิ น การเพื่อ ช่ ว ยเหลื อ สมาชิ ก และ ประชาชนในชุมชน โดยการรับซื้อผลผลิตด้านการเกษตรจากสมาชิกและประชาชน ในชุ ม ชนตามราคาที่ ท้ อ งตลาด กำหนด เพื่อให้สมาชิกและประชาชน ในชุมชนได้ประหยัดค่าขนส่ง ส่วน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนก็จะ รวบรวมผลผลิ ต ที่รับ ซื้อ และนำไป ขายต่อในเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่ม รายได้ ใ ห้ กั บ สถาบั น การจั ด การ เงินทุนชุมชน 5. ปม น้ำมัน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้ดำเนินการเพือ่ ช่วยเหลือ สมาชิกและประชาชนในชุมชน ให้มีโอกาสได้ใช้น้ำมันที่มีคุณภาพและราคาถูก โดย ปัมน้ำมันดังกล่าวอาจจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ได้ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

35


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

6. ธุรกิจชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนสามารถดำเนินการ กิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากข้อ1-5 โดยกิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องเป็นกิจกรรม ทีเ่ กิดจากความต้องการของสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและสอดคล้อง กับความต้องการของชุมชน และกิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องเป็นธุรกิจที่ต้องไม่ มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชน และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน พร้อมทั้งการรวมการลงทุนส่วนใหญ่ต้องให้บุคคลในชุมชน/องค์กรชุมชน มีอำนาจ ร่วมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการและจัดสรรผลประโยชน์

คำถาม กิจกรรมประเภทสวัสดิการ มีอะไรบ้าง?

คำตอบ กิจกรรมประเภทสวัสดิการ มีดังนี้ 1. การจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน สามารถจัดสวัสดิการโดยการจัดตัง้ สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เพือ่ ให้สมาชิก ได้ทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ ครอบครัวของสมาชิกคนหนึ่งคนใดที่ตกลงร่วมกันจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ 36 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ขึน้ ซึ่งถึงแก่ความตายและมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน 2. การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สามารถจัดสวัสดิการ โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกหรือ ชุมชน ในเรือ่ งต่างๆทีเ่ หมาะสมกับความจำเป็น/ความต้องการ หรือสถานการณ์ชมุ ชน 3. การประกันภัย เป็นการทีบ่ คุ คลฝายหนึง่ (สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน) ทำหน้าที่เป็นหลักประกันแก่บุคคลอีกฝายหนึ่งโดยสัญญาว่าจะไม่รับความ เดือดร้อนจากภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่ ชีวติ หรือทรัพย์สนิ ของบุคคลนัน้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สามารถจัดสวัสดิการ การประกันภัย (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ บุคคล ฯลฯ) ดังกล่าว บริการให้สมาชิก และประชาชนในชุมชนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของ สมาชิกและประชาชนในชุมชน 4. ทุนการศึกษา สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สามารถจัด สวัสดิการเรื่องทุนการศึกษา เพื่อช่วยเหลือ และสงเคราะห์บุตรของสมาชิกหรือ ประชาชนในชุมชน ที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนการศึกษา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใน การพัฒนาคุณภาพของตนเอง เพื่อเป็นคนดีของสังคม ช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้ กับชุมชนได้ในอนาคต สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

37


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

5. การรักษาพยาบาลฟรี สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สามารถ จัดสวัสดิการ เรื่องการรักษาพยาบาลฟรี เพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์สมาชิกและ ครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บปวย โดยการช่วยเหลืออาจจะเป็นเงินสำหรับ การรักษา พยาบาล หรือสิ่งของ (ของเยี่ยม) ที่จำเป็นก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจและต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อตกลงของสถาบันการจัดการเงินชุมชนกำหนด 6. การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน สามารถจัดสวัสดิการ เรื่องการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง เพื่อเป็นกองทุน ประกันความเสี่ยงให้กับกลุ่มองค์กร เสริมสร้างความมั่นคงแก่สมาชิกและครอบครัว โดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนสามารถกำหนดวงเงินของกองทุนประกันความ เสี่ยงดังกล่าวไว้ในระเบียบข้อตกลงของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

กิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความ เข้มแข็ง มีอะไรบ้าง?

คำตอบ

กิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง มีดังนี้ 1. การฝกอบรม/สัมมนา คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการ เงนิ ทุนชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนโดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง คณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชนให้ มี ค วามรู้ ความสามารถ ในการบริหารจัดการภารกิจ และกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน 38 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

2. การฝ ก อบรม/ สัมมนา สมาชิกสถาบันการจัดการ เงนิ ทุนชุมชน เป็นการพัฒนาสมาชิก ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เพือ่ ให้มคี วามรู้ ความเข้าใจในการ บริหารจัดการและการดำเนินงาน ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. การศึกษาดูงาน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนสามารถจัด กิจกรรมการศึกษาดูงานโดยการพาคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ สมาชิกของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน ศึกษาดูงานการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้มีโอกาสศึกษาและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกัน และนำผลจากการศึกษาดูงานมา ปรับปรุงและพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ของตนเองให้ประสบความสำเร็จ ต่อไป

คำถาม

แนวทางการจัดทำกิจกรรมประเภทต่างๆของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน มีอะไรบ้าง?

คำตอบ กิจกรรมประเภทต่างๆของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ถือว่าเป็น หัวใจของความสำเร็จในการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนซึ่งมี เป้าหมายในการที่จะทำให้สมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและคนใน ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวมีความอบอุ่น และชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

39


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ดังนั้น เพื่อให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการของสมาชิกและคนในชุมชน และสอดคล้องกับ สถานการณ์ของชุมชน แนวทางการดำเนินงานดังกล่าว มีดังนี้

1. สำรวจความตองการกิจกรรมของสมาชิกและคนในชุมชน เพือ่ ให้ ได้ข้อมูลความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. สำรวจขอมูลต่างๆทีเ่ กีย่ วของกับกิจกรรมทีช่ มุ ชนตองการ ตาม ข้อ 1 และมีผลต่อการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. จัดเวทีประชาคม ระดมความคิดเห็น โดยมีคณะกรรมการบริการ สมาชิก และที่ปรึกษาของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน พิจารณาร่วมกัน 4. กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อจัดทำแผน ปฏิบัติการ ระยะปานกลาง และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถาบันการจัดการเงิน ทุนชุมชน พร้อมทั้ง จัดทำข้อบังคับประจำปีเป็นหลัก ในการดำเนินงาน 5. ดำเนนิ งานตามกิจกรรมทีป่ รากฏไวใ นแผนปฏิบตั กิ าร ตามข้อ 4 6. ติดตามและประเมินผลความกาวหนา ในการดำเนินงานอย่าง ต่อเนื่อง 7. สรุปรวบรวม ปัญหา/อุปสรรคจากการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอใน การประชุม เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป 40 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 5 การดำเนินงานของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

41


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

เงินทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ได้มาอย่างไร?

คำตอบ เงินทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ได้มาจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ แหล่งที่ 1 เงินกองทุนต่างๆในชุมชน ทั้งที่มีกฎหมายรองรับและไม่มี กฎหมายรองรับ เงินกองทุนดังกล่าว เป็นเงินกองทุนหลัก หรือทุนประเดิมในการดำเนินงาน ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการนำเงินของกองทุนต่างๆในหมู่บ้าน/ ชุมชนมาดำเนินการ ดังนี้ - กรณีเงินกองทุนที่ไม่มีกฎหมาย รองรับ เช่น กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต กองทุน พัฒนาสตรี กองทุนพัฒนาเยาวชน กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฯลฯ นำมาบูรณาการร่วมกัน หรือเทเงินกองทุน รวมกั น และให้ ส ถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชนทำหน้ า ที่บ ริ ห ารจั ด การร่ ว มกั บ คณะอนุ ก รรมการกองทุ น รวมให้ เ ป็ น ไปตามระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ ของสถาบั น การจัดการเงินทุนชุมชน - กรณีเงินกองทุนที่มีกฎหมายรองรับ เช่น กองทุน กข.คจ. กองทุน กทบ. หรือกองทุนอื่นๆ ที่มีการดำเนินการในหมู่บ้าน/ชุมชน และมีกฎหมายเฉพาะรองรับ ดำเนิ น การโดยการจั ด ทำบั ญ ชี ส มาชิ ก ของกองทุ น ดั ง กล่ า วแล้ ว นำมาพิ จ ารณา ให้การสนับสนุน อาจจะเป็นการกู้เงินก็ให้คณะอนุกรรมการกองทุน กทบ.หรือคณะ อนุกรรมการ กข.คจ. พิจารณาการให้กู้เงิน และจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 42 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน รับทราบต่อไป พร้อมทั้งคณะอนุกรรมการ กทบ.หรือ คณะอนุกรรมการ กข.คจ. ก็จะต้องจัดทำบัญชี อีกหนึ่งชุดส่งมอบให้กับคณะกรรมการกองทุน กทบ. หรือ คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.เพื่อนำไปบันทึกลงในเอกสารบัญชีของกองทุน กทบ. หรือ กองทุน กข.คจ. แหล่งที่ 2 เงินฝากของสมาชิก เนื่องจากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีกิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการบริการในเรื่องการรับฝากเงินของ สมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนด้วย เงินฝากของสมาชิก สถาบันการ จั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชน สามารถนำเป็นเงินทุน ใ น ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น กิจกรรมต่างๆเพื่อเพิ่ม รายได้ให้กบั สถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนได้ แหล่งที่ 3 เงินบริจาค เป็นเงินที่มีหน่วยงานราชการ เอกชน หรือ ประชาชน ที่มีจิตศรัทธา และมีความประสงค์ที่จะบริจาคให้กับสถาบันการจัดการเงินชุมชนนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดกับสมาชิกสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนหรือคนในชุมชน แหล่งที่ 4 เงินสนับสนุนจากหน่วยงาน/องค์กร ภาคราชการ ภาคเอกชน NGO เป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน/องค์กร ภาคราชการภาค เอกชน NGO เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ซึ่งเงินสนับสนุนดังกล่าว สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

43


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

แหล่งที่ 5 เงนิ จากการจัดหารายไดข องสถาบันการจัดการเงนิ ทุนชุมชน เป็นเงินทุนทีเ่ กิดจากการหารายได้จากการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนซึง่ หักจากค่าใช้จา่ ยต่างๆแล้ว ส่วนที่เหลือก็จะเป็นเงิน ทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน แหล่งที่ 6 เงินกูจากแหล่งทุน อื่นๆ เป็นเงินทุนที่มาจากการกู้เงินของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เนือ่ งจากเงินทุน ทีจ่ ดั กิจกรรมประเภทต่ า งๆมี ไ ม่ เ พี ย งพอต่ อ การดำเนินงาน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จำเป็นต้องแสวงหาแหล่งเงินทุนเพือ่ ทำการกูเ้ งิน และนำเงิ น ดั ง กล่ า วไปดำเนิ น กิ จ กรรม ประเภทต่าง ๆ ทีส่ ถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ดำเนินการ

คำถาม

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีระเบียบข้อบังคับของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หรือไม่?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้น้นั สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนขึ้น 44 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

ถ้าสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนไม่มรี ะเบียบข้อบังคับ ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะเกิดอะไรขึน้ ?

คำตอบ ถ้าสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนไม่มีระเบียบข้อบังคับของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน ก็จะเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน ในหลายๆประเด็น เช่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัด กิจกรรมประเภทต่างๆ กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับผลประโยชน์ ฯลฯ และดำเนินงานได้ ระยะหนึง่ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนดังกล่าวอาจจะต้องล้มเลิกการดำเนินงานไปได้

คำถาม

ขัน้ ตอนการจัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน มีอะไรบ้าง?

คำตอบ การจัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการ จัดทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

45


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

ขั้นตอนที่ 1 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ดำเนินการยกร่างระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขั้นตอนที่ 2 คณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุมชนมอบยกร่างระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ให้กับคณะ อนุกรรมการกองทุนต่างๆ ที่สมัครใจเข้าเป็นสมาชิกกับสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนไปศึกษาความเป็นไปได้และความสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน ขั้นตอนที่ 3 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ร่วมกับคณะอนุกรรมการกองทุนต่างๆ (ตามข้อ 2) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง ระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฉบับดังกล่าว ขั้นตอนที่ 4 นำร่างระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนฉบับที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน และคณะอนุกรรมการกองทุนต่างๆ เข้าเสนอที่ประชุมใหญ่ของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน ซึง่ ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน คณะอนุกรรมการกองทุนต่างๆ สมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และที่ปรึกษาของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง ระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฉบับดังกล่าว ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่ได้รับความเห็น ชอบจากที่ประชุมใหญ่ (ตามข้อ 4)

46 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

สาระสำคัญของระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

คำตอบ ระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ควรมีสาระสำคัญ ดังนี้ หมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง หมวดที่ 4 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หมวดที่ 5 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หมวดที่ 6 ที่ปรึกษาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หมวดที่ 7 กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หมวดที่ 8 การประชุม หมวดที่ 9 การเงินและบัญชี หมวดที่ 10 การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ หมวดที่ 11 การยกเลิกสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บทเฉพาะกาล การจัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน อาจจะ พิจารณาสาระสำคัญข้างต้นเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือบางส่วนก็ได้ ไม่จำเป็น ต้องดำเนินการครอบคลุมครบทุกประเด็น

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

47


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

การประชุมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีกี่ประเภท อะไรบาง?

คำตอบ การประชุมเป็นกิจกรรมหนึง่ ทีม่ คี วามสำคัญต่อการบริหารจัดการสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า และการเคลื่อนไหวในการ ดำเนินงาน นอกจากนี้ทำให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้มีการพัฒนาปรับปรุง การดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ซึง่ แบ่งการประชุมออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การประชุมประจำเดือน 2. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 3. การประชุมวิสามัญ

48 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม เทคนิคการประชุม มีอะไรบ้าง?

คำตอบ เทคนิคในการประชุมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีดงั นี้ 1. การประชุม คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประจำเดือน มีวธิ ดี ำเนินการดังนี้ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง - กำหนดวัน เวลา ที่ชัดเจน (ควรระบุวันที่ให้ชัดเจน) - สถานที่ประชุมตามเหมาะสม ประเด็น/เนื้อหาการประชุม - ผลการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่ผ่านมา - แผนการดำเนินงานในเดือนต่อไป - การจัดทำกิจกรรมสนับสนุนสมาชิก - การติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา - ปัญหา/อุปสรรค - การแสวงหาความร่วมมือจากภายนอก สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

49


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ควรมีการประชุม พบปะกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครัง้ เพราะการประชุมเป็นเครือ่ งมือทีจ่ ะนำความสำเร็จ ไปสู่การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่มีมาตรฐาน 2. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีวิธีดำเนินการดังนี้ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จัดให้มกี ารประชุม ใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครัง้ โดยมีสมาชิกกลุม่ /องค์กรด้านทุนหรือกองทุนชุมชน ต่างๆ ที่เข้าร่วมจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานใน รอบปี และขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี การประชุมใหญสามัญประจำป - คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน - สมาชิก - ที่ปรึกษา ปละ 1 ครั้ง หลังสิ้นปทางบัญชี ไมเกิน 60 วัน ประเด็น/เนื้อหาการประชุม - แถลงผลการดำเนินงานในรอบปี - ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี - ให้ความเห็นชอบระเบียบข้อบังคับฯ ฯลฯ

50 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

3. การประชุมวิสามัญ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สามารถจัดการ ประชุมวิสามัญได้ เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจรอให้ถึงการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี การประชุมวิสามัญ - คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน - สมาชิก - ที่ปรึกษา เมื่อมีความจำเปนเรงดวน หรือสมาชิกรองขอใหจัดการประชุม ประเด็น/เนื้อหาการประชุม - เรื่องจำเป็นเร่งด่วน - พิจารณาเรื่องที่สมาชิกเสนอ - พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการฯ เสนอ ฯลฯ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

51


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการจัดทำแผนการดำเนินงานหรือไม่?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน เพราะแผนการดำเนินงานจะทำให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนทราบทิศทางการ ดำเนินงาน เพื่อจะทำให้การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แผนการดำเนินงานจะต้องเป็นแผนระยะปานกลาง และ แผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้ - แผนระยะปานกลาง เป็นแผนการดำเนินงานทีม่ กี ารวางแผนการทำงาน ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีระยะเวลา 3-5 ปี ซึง่ เป็นการคาดการณ์ลว่ งหน้า ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึน้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไร - แผนปฏิบตั กิ ารประจำป เป็นการนำแผนระยะปานกลางมาทบทวนและ จัดทำเป็นแผนงาน/โครงการประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนซึ่งจะ ดำเนินการในรอบปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยปรากฏไว้ในแผนปฏิบัติ การประจำปี

52 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

ข้อบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนจำเปนต้องมีหรือไม่ มีประโยชน์อย่างไร?

คำตอบ

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องมีการจัดทำข้อบังคับงบประมาณ ประจำปี โดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะต้องดำเนินการจัดทำข้อบังคับ งบประมาณประจำปี ดังนี้ 1. ข้อบังคับงบประมาณรายได้ประจำปี เพื่อจะทำให้สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนจะได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของเงินทุนที่มีอยู่ของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนประจำปีวา่ มีเท่าไรและคาดการณ์วา่ ในปีถดั ไป สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนจะมีเงินทุนเพิ่มขึ้นเท่าไร ในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 2. ข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อจะทำให้สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนสามารถวางแผนการสนับสนุนการจัดทำกิจกรรมของต่างๆของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกและคนในชุมชน

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

53


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

ข้อบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนมีวธิ กี ารจัดทำอย่างไร?

คำตอบ ข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีวธิ กี าร จัดทำ ดังนี้ 1. จั ด ประชุ ม คณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการร่างข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน 2. มอบหมายตัวแทนของคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ประกอบการจัดทำ ข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. ตั ว แทนของคณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม และวางแผนการจัดทำข้อบังคับ งบประมาณประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 4. คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และที่ ปรึกษานำข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดทำ มาพิจารณาและให้ความเห็นชอบ 5. คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจัดประชุม สมาชิก ที่ปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนที่พิจารณาเห็นชอบให้ที่ประชุมทราบ 54 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

ข้อบังคับงบประมาณประจำปของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน มีรปู แบบอย่างไร?

คำตอบ รูปแบบของข้อบังคับงบประมาณประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน จะมีรูปแบบการจัดทำข้อบังคับงบประมาณประจำปี เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อบังคับงบประมาณรายรับประจำปี 2. ข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี (แบบฟอร์มปรากฏตามเอกสาร แนบท้ายภาคผนวก)

คำถาม

สถานทีด่ ำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เปนอย่างไร?

คำตอบ สถานที่ดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน นับเป็นส่วนที่ สำคัญในการดำเนินกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเพื่อเป็นสถานที่ใน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเป็นสถานที่ที่คณะกรรมการบริหารของสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน พนักงาน/ลูกจ้างของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนใช้เป็น สถานที่ปฏิบัติงานในการประสานงาน และติดต่อกับสมาชิกและผู้ที่มาติดต่อกับ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

55


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความต่ อ เนื่ อ งในการดำเนิ น งานของสถาบั น การจั ด การ เงินทุนชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องมีสถานที่ทำงานเป็นของตนเอง โดยสถานที่ดังกล่าว จะมีลักษณะเป็น 2 ประเภท คือ

1. อาคารทีท่ ำการชัว่ คราว กรณีที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนยัง ไม่มีเงินทุนในการจัดหาอาคารที่ทำการถาวรได้ ในระยะเริ่มแรก สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนจะต้องมีที่ทำงานของตนเองที่เป็นที่ทำการชั่วคราวไปพลางก่อน เช่น ศูนย์เรียนรูช้ ุมชน ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯ 2. อาคารที่ทำการถาวร กรณีที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมี เงินทุนเพียงพอจากการจัดหารายได้จากการจัดกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนเพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีศักยภาพและ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องจัดหา อาคารที่ทำการถาวรเป็นของตนเอง 56 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

พนักงานหรือลูกจ้าง ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ต้องมีหรือไม่?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องมีการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างไว้ ประจำที่ทำงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เนื่องจากสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนมีการดำเนินงานในกิจกรรมค่อนข้างหลากหลายและเพือ่ ให้การดำเนินงาน เกิดประสิทธิภาพ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะต้องจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง ช่วยเหลือภารกิจดังกล่าว ในการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างช่วยเหลืองานของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนสามารถจ้างเป็นครั้งคราว หรือรายวัน หรือรายเดือน หรือรายปีก็ได้ สำหรับการจ่ายค่าจ้างอาจจะจ่ายเป็นค่าจ้างหรือค่า ตอบแทน ทัง้ นีข้ น้ึ อยูก่ บั ความเหมาะสมของภารกิจและเงินทุนของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน

ค่าจ้างหรือค่าตอบแทน มาจากไหน?

คำถาม คำตอบ

ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเพื่อจ่ายให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง ได้มาจากการ จัดกิจกรรมหารายได้ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เช่น การให้เงินกู้ยืม, การ ดำเนินงานศูนย์สาธิตการตลาด, การรับซื้อผลผลิต, ปัมน้ำมัน, ธุรกิจชุมชน, การ ประกันภัย ฯลฯ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

57


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม

เอกสาร บัญชี และทะเบียนสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีอะไรบ้าง?

คำตอบ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีเอกสาร บัญชีและทะเบียนต่างๆ ที่ใช้ใน การดำเนินงาน สรุปได้ ดังนี้

แผน ข้อมูลกองทุน ปฏิบัติงาน กิจกรรม รายการ ประชุม

ข้อมูล กองทุน ทะเบียน สมาชิก

บัญชีทะเบียน เอกสาร

สัญญา การกู้ยืม งบดุล กำไร-ขาดทุน บัญชี คุมเงินกู้

ใบสมัคร ระเบียบ ข้อบังคับ

บัญชี รับ/จ่าย

บัญชี เงินกองทุน

58 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 6 ตัวชี้วัดการพัฒนา

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

59


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีการจัดระดับการพัฒนาหรือไม่?

คำตอบ

มีการจัดระดับการพัฒนาของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการ กำหนดตัวชี้วัดการพัฒนา ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับพื้นฐาน 2. ระดับพัฒนา 3. ระดับก้าวหน้า 60 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ตัวชีว้ ดั การพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ระดับพืน้ ฐาน มีอะไรบ้าง?

คำตอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ระดับพื้นฐาน มีดังนี้ - ทะเบียนสมาชิก - คณะกรรมการบริหาร - ระเบียบข้อบังคับ - แผนการดำเนินงาน - การประชุม - การจัดทำบัญชี

คำถาม

ตัวชีว้ ดั การพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุน ระดับพัฒนา มีอะไรบ้าง?

คำตอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ระดับพัฒนา มีดังนี้ - กิจกรรมประเภทลงทุน หรือแสวงหารายได้ - กิจกรรมประเภทสวัสดิการ - กิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

61


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

คำถาม ตัวชีว้ ดั การพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ระดับก้าวหน้า มีอะไรบ้าง?

คำตอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนระดับก้าวหน้า มีดังนี้ - สำนักงานชั่วคราว/ถาวร - ข้อบังคับงบประมาณประจำปี - การประสานความร่วมมือ หรือความช่วยเหลือกับภาคีการพัฒนา - พึ่งตนเองได้

62 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


คู่มือ การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

สวนที่ 7 ภาคผนวก

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

63


(ราง) ระเบียบขอบังคับ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน …………………… หมวดที่ 1 ขอความทั่วไป ………………………… ขอ 1 ระเบียบข้อบังคับนี้ เรียกว่า “ระเบียบข้อบังคับสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน บ้าน………………หมู่ที่……….ตำบล……………อำเภอ……………….. จังหวัด…………………… ขอ 2 ให้ใช้ระเบียบข้อบังคับนี้ ตั้งแต่วันที่……….เดือน……………… พ.ศ………….. ขอ 3 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ใช้ชื่อว่า สถาบันการจัดการเงิน ทุนชุมชนบ้าน………………………. ขอ 4 คำขวัญของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………………. คือ…………………………….. ขอ 5 สถานที่ตั้งของสถาบันฯ ตั้งอยู่เลขที่……หมู่…….ตำบล…..…… อำเภอ…………………….จังหวัด……………………. ขอ 6 ระเบียบนี้จะมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อมีมติของ คณะกรรมการบริหาร 3 ใน 4 เห็นชอบ หรือสมาชิกเกินว่ากึ่งหนึ่งให้ความเห็นชอบ

64 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


หมวดที่ 2 วัตถุประสงค ………………………… ขอ 7 วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชนบ้ า น ………………………….มีดังนี้ 1. เพือ่ ให้การจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพสามารถ แก้ไขปัญหา พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง 2. เพื่อเป็นแหล่งเงินออมของชุมชน 3. เพื่อเป็นแหล่งทุนและสวัสดิการของชุมชน 4. เพื่อเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน 5. เพื่อบูรณาการกองทุนในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ คาธรรมเนียม คาบำรุง ………………………… ขอ 8 สมาชิกสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………………….. มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ได้แก่ กลุ่ม/องค์กรด้านทุนและกองทุนชุมชนที่สมัครใจเข้า ร่วมเป็นสมาชิก ประเภทที่2 ได้แก่สมาชิกรายบุคคล จะต้องดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ก. ประชาชนที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันฯ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

65


จะต้ อ งยื่ น ใบสมั ค รเข้ า เป็ น สมาชิ ก กลุ่ ม /องค์ ก รด้ า นทุ น และกองทุนชุมชน ที่เป็นสมาชิกของสถาบันฯ ก่อน ข. ประชาชนที่มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกของสถาบันฯ แต่ไม่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรด้านทุน และ กองทุนชุมชนสามารถยืน่ ใบสมัครได้ตามเงือ่ นไขและหลักเกณฑ์ ของสถาบันฯ ขอ 9 การสมัครเป็นสมาชิก 1. ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัครตามแบบพิมพ์ที่สถาบันการจัดการการ เงินทุนชุมชนกำหนดให้ 2. ผู้สมัครต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงิน…..….บาท/ราย และค่าธรรมเนียม ผู้สมัครจะเรียกคืนไม่ได้ 3. กรณีที่กลุ่ม/องค์กรด้านทุนและกองทุนชุมชน ประสงค์จะสมัคร เข้าเป็นสมาชิก จะต้องได้รับการยินยอมจากสมาชิกของกลุ่ม องค์กรด้านทุนและ กองทุนชุมชนเกินกึง่ หนึง่ และแนบสำเนาบันทึกการประชุมฯ มาด้วย (โดยมอบอำนาจ ให้ประธานกลุ่ม องค์กรด้านทุน กองทุนชุมชนเป็นผู้ลงนามแทนในใบสมัคร) 4. การเปดรับสมัครสมาชิก สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน …………………….สามารถเปดรับสมัครสมาชิกได้ทุกวันทำการ ขอ 10 การตัง้ โอนผลประโยชน์ ผูส้ มัครต้องตัง้ โอนผลประโยชน์ตามแบบ พิมพ์ของสถาบันฯ ขอ 11 การตัง้ โอนผลประโยชน์ ผูส้ มัครต้องตัง้ โอนผลประโยชน์ตามแบบ พิมพ์ของสถาบันฯ ในวันที่ยื่นใบสมัคร ตามคณะ คณะกรรมการบริหารพิจารณา เรียงตามหมายเลข ตามลำดับในหนังสือโอนผลประโยชน์ หรือดำเนินการตาม เจตนารมณ์ของผูส้ มัคร ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วัน นับตัง้ แต่วนั พ้นจากสมาชิกภาพ 66 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


ขอ 12 การพ้นจากสมาชิกภาพ 1. ตาย 2. ลาออกและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารแล้ว กรณี สมาชิกประเภทรายกลุ่ม / องค์กรด้านทุนและกองทุนชุมชน ประสงค์จะลาออกจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกของ กลุม่ /องค์กรด้านทุนและกองทุนชุมชนเกินกึง่ หนึง่ และสำเนาบันทึก การประชุมแจ้งให้สถาบันฯ ทราบ 3. วิกลจริต จิตฟัน เฟอน หรือถูกศาลสัง่ ฟ้องให้เป็นคนไร้ความสามารถ 4. กระทำความผิดเกีย่ วกับยาเสพติด ต้องคำพิพากษาศาลถึงทีส่ ดุ ให้จำคุก 5. ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่ น้อยกว่าครึง่ หนึง่ ขององค์ประชุม 6. ทำความเสื่อมเสียขัดขวางไม่ให้การสนับสนุนการบริหารงาน ของสถาบันฯ ขอ 13 กรณีรายบุคคลสมาชิกจะได้รับสมุดบัญชีเงินฝาก คนละ 1 เล่ม และกรณี ป ระเภทรายกลุ่ ม /องค์ ก รด้ า นทุ น และกองทุ น ชุ ม ชนจะได้ ส มุ ด บั ญ ชี เงินฝากกลุ่มละ 1 เล่ม ถ้าทำสมุดบัญชี เงินฝากสูญหายจะต้องถูกปรับเป็นเงิน จำนวน …………….บาท ขอ 14 สมาชิ ก ที่ ป ระสงค์ จ ะลาออกจากการเป็ น สมาชิ ก สถาบั น ฯ จะต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้น

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

67


หมวดที่ 4 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 15 ให้มคี ณะกรรมการบริหาร จำนวน1 คณะ เรียกว่า “คณะกรรมการ บริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้าน…………..….” ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติดัง ต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นตัวแทนของคณะกรรมการกลุ่ม องค์กรด้านทุนและ กองทุนชุมชน หรือสมาชิกกลุ่ม องค์กรด้านทุน และกองทุน ชุมชน ที่สมัครใจเข้าร่วมในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน บ้าน………………………… 2. ต้ อ งเป็ น สมาชิ ก ของสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชน บ้าน…………….. 3. เป็นบุคคลที่มีความเสียสละยินดี และเต็มใจที่จะทำงานรับใช้ สมาชิกด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวมของ สมาชิกเป็นส่วนใหญ่ 4. เป็นคนที่มีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย 5. คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกเท่านั้นและหากตำแหน่งใดว่างลงก็ให้เลือกตั้งซ่อมภาย ใน 60 วัน ขอ 16 คณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชน อยู่ในตำแหน่งวาระคราวละ 2 ปี และจัดให้มีการประชุม ดังนี้ 1. จัดให้มีการประชุมประจำเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2. จัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีๆ ละ 1 ครั้ง 68 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


3. จัดให้มกี ารประชุมวิสามัญประจำปี หากมีกรณีเรือ่ งจำเป็นเร่งด่วน ขอ 17 การพ้นสถานภาพของคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน 1. ตาย 2. ลาออก 3. ครบวาระ 4. พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพ 5. ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร 3 ใน 4 มีมติให้ลาออก 6. ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ลาออก ขอ 18 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจำนวน 1 คณะ จำนวน………คน ประกอบด้วย 1. ประธาน 2. รองประธานกิจกรรมประเภทด้านการลงทุน หรือแสวงหารายได้ 3. รองประธานกิจกรรมประเภทสวัสดิการ 4. รองประธานกิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง 5. เหรัญญิก 6. กรรมการตรวจสอบ 7. กรรมการประชาสัมพันธ์ 8. กรรมการและเลขานุการ 9. กรรมการอื่นๆ ตามที่เห็นเหมาะสม ขอ 19 อำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน 1. กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

69


2. บริหารจัดการเงินทุนในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 3. เชือ่ มโยงเงินทุนชุมชนและทุนทางสังคม (ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ทรัพยากร ธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม) ให้เกิด การบูรณาการ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4. ประสานงานกับ สถาบันการเงิน และหน่วยงานต่างๆ เพือ่ ร่วมกัน พัฒนาเงินทุนชุมชน 5. ส่งเสริมความรูแ้ ละทักษะ ในด้านการจัดการเงินทุน และในด้านการ จัดการทุนทางสังคม ตลอดจนการให้บริการด้านต่างๆ เพือ่ ให้ทนุ ในชุมชนมีความเข้มแข็ง 6. กำกับ ดูแล และควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมติที่ประชุม 7. ดำเนินกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนให้เจริญก้าวหน้า และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 8. ดูแลรักษาทรัพย์สินของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 9. แต่งตัง้ และถอดถอนคณะทำงานเฉพาะกิจของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน 10. จัดทำ งบดุล - กำไรขาดทุนประจำปี 11. จัดทำระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 12. จัดประชุมสามัญและวิสามัญประจำปี 13. จัดทำข้อบังคับรายจ่ายประจำปีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 14. อื่นๆ

70 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


ขอ 21 รองประธานกิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได้ แต่งตั้งขึ้น เพื่อรับผิดชอบดูแลการดำเนินกิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหา รายได้ ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 22 รองประธานกิจกรรมประเภทสวัสดิการ แต่งตัง้ ขึน้ เพือ่ รับผิดชอบ ดูแลการดำเนินกิจกรรมประเภทสวัสดิการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 23 รองประธานกิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความ เข้มแข็งแต่งตั้งขึ้น เพื่อรับผิดชอบดูแลการดำเนินกิจกรรมประเภทการพัฒนาและ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 24 คณะอนุกรรมการกองทุนนรวม คณะกรรมการบริหารสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนรวมขึ้น ให้คณะ อนุกรรมการกองทุนรวมที่แต่งตั้งปฏิบัติงานภายใต้กรอบภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของกองทุนรวม เพือ่ ให้การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เกิดประสิทธิภาพ และรายงานผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมประจำเดือนของคณะ กรรมการบริหารการเงินทราบทุกครั้ง เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ปัญหา / อุปสรรค ในการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 25 คณะอนุกรรมการกองทุน กข.คจ. คณะกรรมการบริหารสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุน กข.คจ. ขึ้น ให้คณะ อนุกรรมการกองทุน กข.คจ. ที่แต่งตั้งปฏิบัติงานภายใต้กรอบภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงานของกองทุน กข.คจ. เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนเกิดประสิทธิภาพ และรายงานผลการดำเนินงานให้ทป่ี ระชุมประจำเดือน ของคณะกรรมการบริหารการเงินทราบทุกครั้ง เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ปัญหา / อุปสรรค ในการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจนและเกิดประโยชน์ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

71


สูงสุดแก่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 26 คณะอนุกรรมการกองทุน กทบ. คณะกรรมการบริหารสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุน กทบ.ขึ้น ให้คณะ อนุกรรมการกองทุน กทบ. ที่แต่งตั้งปฏิบัติงานภายใต้กรอบภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของกองทุน กทบ. เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนเกิดประสิทธิภาพ และรายงานผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมประจำเดือนของ คณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น การจั ด การเงิ น ทุ น ชุ ม ชนทราบทุ ก ครั้ ง เพือ่ รับทราบความก้าวหน้า ปัญหา / อุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการ ปฏิบัติงานให้ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 27 คณะทำงานด้าน…………… ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับ มอบหมายให้เกิดประสิทธิภาพ และรายงานผลให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เป็นประจำทุกเดือนทราบตามลำดับ หมวดที่ 5 ที่ปรึกษาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 28 ที่ปรึกษาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………………… จำนวน…….คน ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ - เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน - ภาคีการพัฒนา - ผู้แทนขององค์กร/หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านทุน - ผู้ทรงคุณวุฒิ 72 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


- ปราชญ์ชาวบ้าน มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาและช่วยเหลือการดำเนินงานของสถาบัน การจัดการการเงินชุมชนบ้าน…………………ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หมวดที่6 กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 29 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน……..…..จะดำเนินการใน กิจกรรม จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ 1. กิจกรรมประเภทการลงทุน หรือแสวงหารายได้ ได้แก่ - รับฝาก/ถอน - กู้ยืมเงินทุน - ศูนย์สาธิตการตลาด - การรับซื้อผลผลิต - ปัมน้ำมัน - ธุรกิจชุมชน 2. กิจกรรมประเภทสวัสดิการ ได้แก่ - การจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ - การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ - การประกันภัย(รถยนต์,รถมอเตอร์ไซต์,บุคคล) - ทุนการศึกษา - การรักษาฟรี - การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

73


3. กิจกรรมประเภทการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง - การฝกอบรม/สัมมนา คณะกรรมการบริหารสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน - การฝกอบรม/สัมมนา สมาชิกสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน - การศึกษาดูงาน หมวดที่ 7 การประชุมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 30 การประชุมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน…………….. จะมีการประชุม 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 การประชุมประจำเดือน ประเภทที่ 2 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ประเภทที่ 3 การประชุมใหญ่สมัยวิสามัญ หมวดที่8 การเงินและบัญชีของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 31 เงินทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………………. ได้มาจาก 1. เงินฝากของสมาชิก 2. เงินค่าปรับ 74 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


3. ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน 4. ค่าธรรมเนียม/ค่าบำรุง 5. เงินกู้จากภายนอก 6. เงินบริจาค 7. รายได้อื่นๆ ขอ 32 สมาชิกสามารถนำเงินฝากกับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ได้ทุกวันทำการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 33 การฝากเงินของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน……… จะนำฝากกับธนาคาร……………… ขอ 34 การฝากเงินและการถอนเงินจากธนาคาร การฝากเงินและการถอนเงินจากธนาคารของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนมอบหมายให้ประธานคณะกรรมการบริหาร เหรัญญิกและคณะกรรมการ บริหารจำนวน 1 ราย ที่ได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร) ร่วม ลงนามในการเบิกจ่ายเงินของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 35 การจัดสรรผลกำไรประจำปี สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะจัดงบดุลบัญชีเมื่อสิ้นสุดปี ดังนี้ 1. ปันผลสมาชิก ร้อยละ……….. 2. เฉลี่ยคืน ร้อยละ………. 3. ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหาร ร้อยละ…….. 4. ทุนสำรอง ร้อยละ………… 5. ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ร้อยละ……….. 6. กองทุนประกันความเสี่ยง………….. 7. อื่น ๆ สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

75


ขอ 36 การกูย้ มื เงินจากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เพือ่ นำไปใช้ใน การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของสมาชิก ทางสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจะพิจารณา ดังนี้ 1. การประกอบอาชีพ 2. การเจ็บปวย 3. การศึกษา 4. การใช้หนี้ดอกเบี้ยราคาแพง 5. อืน่ ๆ ตามความเหมาะสม ทัง้ นีใ้ ห้อยูใ่ นดุลยพินจิ ของคณะกรรมการ บริหาร ขอ 37 การกู้ยืม ให้ดำเนินการดังนี้ 1. กรณีสมาชิกประเภทกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. ซึง่ นำเงินกองทุนมาบูรณาการกับสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………….ประสงค์ที่จะกู้ยืมจะต้องดำเนินการยื่นความ ประสงค์ขอกู้ยืมเงินกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติหรือกองทุนแก้ไข ปัญหาความยากจนที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่และให้คณะอนุกรรมการกองทุนดังกล่าว พิจารณาการให้กู้ยืมเงินตามระเบียบ เงื่อนไขที่กองทุนดังกล่าวกำหนดไว้ โดยคณะ อนุกรรมการกองทุนดังกล่าวจะต้องพิจารณาให้กู้ยืมเงินครัวเรือนละ 1 สัญญาเท่านั้น เมื่อคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว ดำเนินการแล้วให้จัดทำบัญชีการให้กู้ยืมเงิน โดยแยกเป็น บัญชีครัวเรือนที่ได้รับเงินกู้และบัญชีครัวเรือนที่ไม่ได้รับเงินกู้ ส่งให้กับ คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน……………..……. 2. กรณีสมาชิกรายบุคคลที่จะขอกู้เงินกับสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนบ้าน ….……….. จะต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดการกู้เงินตามแบบฟอร์มของ สถาบันการจัดการเงินทุนบ้าน…..……..และนำยื่นกับคณะทำงานเฉพาะกิจการกู้เงิน 76 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


เพื่อพิจารณาและคัดกรองแล้วจึงนำเสนอคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน บ้าน …………….. โดยสมาชิกรายดังกล่าว จะต้องซ้ำซ้อนกับครัวเรือน ที่กู้ยืมตามข้อ 1 3. สมาชิกตามข้อ 2 ที่ขอกู้เงินภายในวงเงินไม่เกิน …………..บาท จะต้องมีผู้ค้ำประกันการกู้เงินอย่างน้อย 2 คน และจะต้องได้รับความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารจำนวน 3 ใน 4 และหากกู้เงินเกิน………บาทจะต้องได้รับ ความเห็นชอบของคณะกรรมบริหาร จำนวน 3 ใน 4 และจะต้องมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน 4. กรณีทส่ี มาชิกทีม่ รี ายได้ตำ่ กว่าเกณฑ์ จปฐ. หรือสามารถตรวจสอบ ได้ว่าเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน คณะกรรมการบริหารสามารถพิจารณาอนุมัติให้กู้ยืมเงิน ได้ภายในวงเงินไม่เกิน……………บาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย ยกเว้นผู้กู้ดังกล่าวมีความ ประสงค์ที่จะขอบริจาคเงินให้กับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขอ 38 การกู้เงินจากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน…………. แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 เงินกู้สามัญ ตั้งแต่ ………………บาทเป็นต้นไป ประเภทที่ 2 เงินกู้ฉุกเฉินไม่เกิน…………….. บาท ขอ 39 ระยะเวลาการชำระเงินกู้ - กรณีกสู้ ามัญตัง้ แต่ ……………..บาท จะต้องชำระเงินกูแ้ ละ ดอกเบีย้ ตามที่กำหนด ภายในระยะเวลา ……… ปี - กรณีกู้สามัญตั้งแต่ …………….. บาทขึ้นไป จะต้องชำระเงินกู้ และดอกเบี้ยตามที่กำหนด ระยะเวลาการชำระเงินกู้ทั้งนี้ให้อยู่ ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหาร - กรณีกฉู้ กุ เฉินจะต้องชำระเงินกูแ้ ละดอกเบีย้ ตามทีก่ ำหนดภายใน ……………. เดือน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

77


ขอ 40 กรณีการผิดนัดชำระเงินกู้ตามเวลาที่กำหนดไว้ให้ผู้กู้เสียเบี้ย ปรับในอัตราร้อยละ……….ต่อวัน ขอ 41 ดอกเบี้ยเงินกู้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน…………. ให้คิดในอัตราร้อยละ …………….. หมวดที่ 9 การแกไขระเบียบขอบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 42 หากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน………..มีความประสงค์ ที่จะขอแก้ไขระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน…………… จะดำเนินการภายหลังจากที่มีการใช้ระเบียบข้อบังคับเดิมอย่างน้อย 2 ปี ขอ 43 การแก้ไขระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการการเงินชุมชน บ้าน……………..จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากทีป่ ระชุมใหญ่ของสถาบันการจัดการ เงินทุนบ้าน………………และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมด้วยเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิก หมวดที่ 10 การยกเลิกสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ………………….. ขอ 44 กรณีสถาบันการจัดการชุมชนบ้าน ……………… จะยกเลิกการ ดำเนินงานจะต้องผ่านการเห็นชอบของทีป่ ระชุมใหญ่สมาชิกและได้รบั ความเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ ด้วยเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิก สำหรับกรณีทรัพย์สินและเงินทุนของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้าน……………..ให้ดำเนินการตามมติของสมาชิก 78 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


บทเฉพาะกาล ……….. ระเบียบข้อบังคับของสถาบันการจัดการการเงินชุมชนบ้าน…………… ฉบับนี้ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ภายใน……….. ปี นับแต่วันที่มีการจัดตั้งสถาบันการ จัดการการเงินทุนชุมชนบ้าน……………………. ประกาศ ณ วันที่ ………… เดือน ………………… พ.ศ. ……. (ลงชื่อ)…………………………………………………. (………………………………………………) ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้าน……………………….……………….

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

79


80 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

81


82 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

83


84 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

85


86 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

87


88 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

89


90 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

91


92 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

93


94 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

95


96 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


บรรณานุกรม กนกวรรณ ศรีพระลาน. (2548). การจัดการทุนชุมชน.สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 จาก http://job.haii.or.th/utt/index.php?option=com_cont ent&test=view&id=132&hemid=70 กรมการพัฒนาชุมชน แผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2551-2554. กรุงเทพฯ : กองวิชาการและแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน, 2551 กรมประชาสัมพันธ์. (2552). รายงานพิเศษ:ชาว STAT เดินหน้าสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 จาก http://news.sanook.com บาว นาคร. (2552). การยกระดับกองทุนหมู่บ้านสู่ธนาคารชุมชน. สืบค้นเมือ่ วันที่ 4 กรกฎาคม 2552 จาก http://learners.in.th/blog/baocd12/241060 วิชลุ ดา มาตันบุญ. / การจัดการกองทุนชุมชนในชนบท กรณีศกึ ษาชุมชน พื้นราบ เชียงใหม่ : หจก.วนิดา การพิมพ์. 2540 อัมพร แก้วหนู. (2543) บทเรียนที่พรรคการเมืองควรรู้เกี่ยวกับกองทุน ชุมชน สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 จาก http://www.gsb.or.th/social/community.php

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

97


คณะที่ปรึกษา นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ นายสุชาติ สุวรรณ นางกอบแก้ว จันทร์ดี นายพิสันติ์ ประทานชวโน นายณรงค์ บุ่ยศิริรักษ์ คณะผูจัดทำ นางดวงพร ตลอดพงษ์ นางสุธาสินี สีขำ นางอารยาภรณ์ ฐิตะสิริ นางรัชตา แย้มพุทธคุณ นางสาวอรจิรัฎฐ์ เกตะวันดี นางสาวสิรินทร ชุมวรฐายี

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

บรรณาธิการ นายกฤษณพงษ์ จุฑะกนก นางดวงพร ตลอดพงษ์ นางสาวสิรินทร ชุมวรฐายี

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ปที่จัดพิมพ์

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน

สิงหาคม 2552

98 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

หัวหน้าคณะจัดทำ คณะจัดทำ คณะจัดทำ คณะจัดทำ คณะจัดทำ คณะจัดทำ และเลขานุการ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.