สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

Page 1

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้านซาววา



พูดคุยก่อนอ่าน...

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ทางเลือกหนึ่งที่กรมการพัฒนาชุมชน สนับสนุนส่งเสริมให้ หมู่บ้าน/ชุมชน บูรณาการเชื่อมโยงกลุ่ม องค์กรกองทุนต่าง ๆ ร่วมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน เพื่อ ให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เป็น ตัวอย่างหนึ่งของการบริหารจัดการทุนชุมชนที่ประสบความสำ�เร็จ สามารถบูรณาการกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งทุนในการพัฒนาอาชีพและรายได้ ส่งผลให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และมีความสุข ภายใต้การบริหารจัดการที่สามารถดำ�เนินการได้ด้วยชุมชนเอง นำ�มาซึ่งความมั่นคงและยั่งยืนของทุน ทางการเงินของชุมชนนั่นเอง

ภายในเล่ม...

๏ สถาบันฯ นี้มีที่มา ๏ การบริหารจัดการ ๏ หลากหลายกิจกรรมสู่เสียงสะท้อนจากสมาชิก ๏ องค์ประกอบของความสำ�เร็จ

6 9 15 24


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

4

“ซาววา”

คือ ชื่อหมู่บ้าน ๆ หนึ่ง ของจังหวัดน่าน หลายคน อาจสงสัย คำ�ว่า “ซาววา” นั้น หมายถึงอะไร ทำ�ไมจึงเป็นชื่อของหมู่บ้าน ได้ จากการสอบถามคนในหมู่บ้านได้ความว่า หมู่บ้านซาววา มีประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 400 ปี คำ�ว่าซาววา หมายถึง 20 วา ที่มาก็ คือ เคยมีเรื่องเล่ากันว่ามีชาวลาวอพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขณะนั้นมีกลุ่มคนเล็ก ๆ ประมาณ 4 - 5 คน พากันหาทำ�เลที่เหมาะสมบริเวณลุ่มแม่น้ำ�น่าน และได้แหล่ง ลงหลักปักฐานก่อตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา จากนั้นมาประมาณ 8 - 9 ปี ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้เดินธุดงค์มาจากประเทศลาว ชือ่ ว่าครูบาสอนหรือ ครูบาแสนหวี ได้มาปักกรดปฏิบตั วิ ปิ สั สนาอยูใ่ นบริเวณป่าริมหมูบ่ า้ น ชาวบ้านได้พบเห็นก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงนำ�จตุปัจจัยไปถวายเป็นประจำ� ต่อมาท่านก็ได้ชักชวนให้ชาวบ้านก่อสร้างอารามสงฆ์ขึ้น พร้อมกันนี้ท่าน ก็ได้แนะนำ�ชาวบ้านจัดถวายธง ชาวบ้านจึงได้จัดหาผ้าขาวคนละเล็ก คนละน้อย แล้วนำ�มาเย็บติดกัน มีความยาวถึง 20 วา (ซาววา) จึงได้ ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านซาววา” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หมู่บ้านที่ว่านี้ตั้ง อยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน มีจำ�นวน ครัวเรือน 125 ครัวเรือน ประชากร 440 คน เป็นชาย 227 คน เป็นหญิง 213 คน

บ้านซาววา


“สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน”

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

บ้านซาววาแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีสายแม่น้ำ�น่านไหลผ่านหมู่บ้าน ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส มีความ เป็นมิตรและความเป็นกันเองให้กับผู้คนที่เข้าไปในหมู่บ้าน และที่ สำ�คัญ ทุกคนในบ้านมีงานทำ�และมีอาชีพทีห่ ลากหลายมาก เหตุ ที่ต้องเอ่ยถึงบ้านซาววาก็เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้มีการจัดการทุน ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการบริหารจัดการในรูปแบบของ

5 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

6

[ 1 ] สถาบันฯ นี้มีที่มา บ้านซาววามีกลุ่มกองทุนการเงินต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประมาณ 18 กองทุน เห็นจะได้ จากความที่มีกลุ่มกองทุนการเงินที่หลาก หลายนี่เอง ทำ�ให้หมู่บ้านประสบปัญหาการบริหารจัดการเงินทุนในชุมชนใน หลาย ๆ ด้าน เช่น เกิดความซ้ำ�ซ้อนของการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการกองทุนที่ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลเดียวกันทุกกองทุน ระเบียบ ปฏิบัติที่กำ�หนดขึ้นมาของแต่ละกองทุน รวมไปถึงสมาชิกของกองทุนต่าง ๆ ที่ ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของทุกกองทุน ประกอบกับกรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริม/สนับสนุนให้หมูบ่ า้ น/ชุมชน จัดตัง้ “สถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน” ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2551 โดยให้กลุม่ ออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เข้มแข็งและ มีความพร้อมเป็นแกนนำ�ในการจัดตั้ง โดยการบูรณาการกองทุนชุมชน เข้าด้วยกันเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนชุมชนเป็นไปอย่างมีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพในการใช้เงินกองทุนในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหา ของหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนจัดสวัสดิการให้กับประชาชนในหมู่บ้าน/ ชุมชนด้วย สำ�หรับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ได้จัดตั้งใน ปีงบประมาณ 2552 โดยสำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน ได้คัดเลือก ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง เป็นแกนหลักในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

7 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

พ่อสุทัศน์ พรมมา ประธานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้านซาววา เล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้มและความภาคภูมิใจว่า การจัดตั้งสถาบันฯ นี้ จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย จริง ๆ แล้ว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านซาววา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถาบันการเงินต้นแบบ เมื่อปี พ.ศ. 2551 หลังจากไปอบรมก็กลับมาทำ�เวทีประชาคมสมาชิกว่าสนใจจะทำ�หรือ ไม่ สมาชิกก็สนใจแต่ก็ยังไม่ได้ดำ�เนินการ จนกระทั่งปี พ.ศ.2552 สำ�นักงาน พัฒนาชุมชนจังหวัดน่านได้คัดเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านซาววาให้ เป็นแกนหลักในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จึงได้มาประชาคม หมู่บ้านแล้วก็ตกลงที่จะดำ�เนินการ โดยดำ�เนินการตามแนวทางทีก่ รมการ พัฒนาชุมชนกำ�หนด ทัง้ การอบรม ประชุม และศึกษาดูงาน และเริม่ เปิด ดำ�เนินการครัง้ แรก เมือ่ วันที่ 14 สิงหาคม 2552 นอกจากการฝึกอบรมตาม แนวทางของกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ยังต้องมีการประชุมคณะกรรมการ และประชาชนในหมู่บ้านซาววา อีกหลายต่อหลายครั้งนับดูแล้วกว่า 10 ครั้ง เห็นจะได้ ความสำ�เร็จในการจัดตั้งสถาบันฯ ได้จากความร่วมมือของคนใน


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

8

ชุมชน ที่มองเห็นความสำ�คัญของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และ เชื่อมั่นได้ว่าสถาบันฯ จะเป็นแหล่งบริหารจัดการเงินทุนของคนใน หมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำ�มาซึ่งความอยู่ดีกินดีของคนใน หมู่บ้าน/ชุมชนอย่างแท้จริง


ï โครงสร้างคณะกรรมการประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 คณะ 1. คณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการ มีหน้าที่

9 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

สำ�หรับการบริหารจัดการสถาบันฯ บ้านซาววาได้วาง แนวทางการดำ�เนินงาน ประกอบด้วย การคัดเลือกคณะกรรมการผู้ที่จะ มาบริหารงานของสถาบันฯ ต้องมีกฎ ระเบียบเพื่อเป็นแนวทางการดำ�เนินงาน ตลอดจนการกำ�หนดกิจกรรมการดำ�เนินงาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ชาวบ้านซาววา ล้วนแล้วแต่เข้าใจ เข้าถึง และตระหนักถึงความสำ�คัญที่จะดำ�เนินการ เพื่อให้ สถาบันฯ สามารถขับเคลื่อนไปได้ เริ่มต้นจากการคัดเลือกบุคคล ผู้ซึ่งจะมา ช่วยในการขับเคลื่อนสถาบันฯ ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นายชำ�นาญ สนโพธิ์ หนึ่งในคณะกรรมการเล่าว่าคณะกรรมการมาจากตัวแทนของกองทุนต่าง ๆ ทุกกองทุนในหมู่บ้าน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 29 คน โดยกองทุนขนาดใหญ่ จะส่ง ตัวแทนมาเป็นกรรมการได้ จำ�นวน 2 คน กองทุนขนาดเล็ก จำ�นวน 1 คน การคัดเลือกคณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้านซาววา ทำ�โดยการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านพิจารณาคัดเลือกตัวแทน จากกลุ่มกองทุนชุมชน จำ�นวน 18 กลุ่ม ที่มีความพร้อม มีความอดทน และเสี ย สละทำ � งานเพื่ อ ประโยชน์ ส่ ว นรวมโดยไม่ ห วั ง ค่ า ตอบแทนใดๆ คณะกรรมการสถาบันฯ มีโครงสร้าง ดังนี้ี

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

[ 2 ] การบริหารจัดการ


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

10

1.1 พิจารณารับสมัครสมาชิก 1.2 กำ�หนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และนำ�เงินฝากธนาคาร 1.3 กำ�หนดการประชุม 1.4 พิจารณาจัดสรรเงินปันผลและสวัสดิการ 1.5 กู้ยืมเงินธนาคารในนามสถาบันฯ 1.6 ดำ�เนินกิจกรรมและธุรกิจต่างๆ ในนามสถาบันฯ 1.7 จัดทำ�บัญชีและทะเบียนเอกสารต่าง ๆ ของสถาบันฯ 2. คณะกรรมการฝ่ายสินเชื่อ มีหน้าที่ 2.1 พิจารณาอนุมัติให้สมาชิกกู้เงิน 2.2 ตรวจสอบความจำ�เป็นลักษณะนิสัยและฐานะทางการเงินของผู้กู้ 2.3 ติดตามผลการดำ�เนินงานตามโครงการของผู้กู้ยืมเงิน 3. คณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบ มีหน้าที่ 3.1 ตรวจสอบเงินสด หลักทรัพย์ บัญชี ของสถาบันฯ เดือนละหนึ่งครั้ง 3.2 ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิก 3.3 ตรวจสอบสมุดบัญชี ทะเบียนเอกสารการเงิน 3.4 ตรวจสอบยอดเงินประจำ�ตัวสมาชิกกับบัญชีสถาบันฯ ปีละหนึ่งครั้ง 4. คณะกรรมการฝ่ายส่งเสริม มีหน้าที่ 4.1 ให้การศึกษา อบรมสมาชิก 4.2 ประชาสัมพันธ์การดำ�เนินงานสถาบันฯ 4.3 หาสมาชิกเพิ่ม 5. คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย 5.1 สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน 5.2 สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอเชียงกลาง


นักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้ประสานงานตำ�บลพระพุทธบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงกลาง ธนาคารออมสิน สาขาปัว เทศบาลตำ�บลพระพุทธบาท เจ้าอาวาสวัดซาววา

ï ระเบียบ ข้อบังคับการดำ�เนินงานมีแนวทางชัดเจน

11 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

เมื่อได้คณะกรรมการดำ�เนินงานสถาบันฯ แล้ว การบริหารจัดการสถาบันฯ ที่ดีนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จได้ ย่อมต้องมีกฎ มีระเบียบเพื่อยึดถือ ปฏิบัติถ้าถามว่าสถาบันฯ บ้านซาววามีระเบียบที่ใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินงานสถาบันฯ หรือไม่ คณะกรรมการพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า “...สถาบันฯ บ้านซาววาของเรามีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดพิมพ์เป็นเล่มแจกให้คณะกรรมการและเก็บ ไว้ที่ทำ�การสถาบันฯ ...” และกรรมการบอกให้ฟังว่าที่มาของระเบียบฯ ว่า หลังจากได้ไปศึกษาดูงานก็ได้ขอดูระเบียบข้อบังคับของที่อื่น ๆ แล้วทางสถาบันฯ บ้านซาววาก็ได้จัดทำ�ระเบียบของสถาบันฯ ขึ้น โดยการเอาสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ ปรับปรุงให้เหมาะกับ บ้านซาววา หลังจากนั้นก็นำ�เข้าที่ประชุมใหญ่ของหมู่บ้านเพื่อให้สมาชิกได้ทราบถึงระเบียบ วิธีปฏิบัติ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการมี สถาบันฯ โดยระเบียบฯ ดังกล่าวสามารถปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำ�ได้ในเวทีที่ประชุมใหญ่ ประจำ�ปี เช่นกัน เมื่อผ่านเวทีประชาคมแล้วก็จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเก็บไว้ที่สถาบันฯ และเผยแพร่แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นหลักในการดำ�เนินงานต่อไป

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

5.3 5.4 5.5 5.6 5.7


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

12

ï หลากหลายกิจกรรมดี ๆ

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา มีกิจกรรมที่ดำ�เนินการ ประกอบด้วย การฝาก – ถอน การให้สินเชื่อ การจัดสวัสดิการ และการ พัฒนากรรมการและสมาชิก พ่อสุทัศน์ พรมมา ประธานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา เล่าว่า เปิดสถาบันวันแรกวันที่ 14 สิงหาคม 2552 คณะกรรมการแต่ละคนมีความรู้สึกตื่นเต้น ลุ้นกันอยู่ในใจว่าจะมีคนมาฝาก เงินหรือไม่ จนกระทั่งเวลา 14.00 น. ก็ได้ปดิ ทำ�การ มีการนับเงิน ได้เงินฝาก 104,625 บาท คนลงหุน้ 40,600 บาท รวมทัง้ สิน้ 145,225 บาท นับได้ ว่าประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และขณะนี้สถาบันฯ ของเรา เปิดดำ�เนินการทุกวันพุธ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 14.00 น. มีเงินฝากเฉลี่ยไม่ ต่ำ�กว่าวันละ 20,000 บาท กิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1. ด้านการลงทุน และแสวงหารายได้ - สินเชื่อด้านการประกอบอาชีพ 2. ด้านสวัสดิการ - ทุนการศึกษา - การรักษาพยาบาล - สวัสดิการมอเตอร์ไซด์เงินผ่อน 3. ด้านการพัฒนากรรมการและสมาชิก - ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน


13 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

การดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เป้าหมายก็เพื่อการ บูรณาการกองทุนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการเงินทุน อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นแล้วสิ่งที่สามารถบอกได้ถึงการบริหารจัดการ เงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คงไม่พ้นเรื่องของการยุบรวมสัญญาเงินกู้ ที่ประชาชนในหมู่บ้านได้ท�ำ สัญญากูเ้ งินกับทุกกองทุนให้เหลือเพียงสัญญาเดียว หรือทีเ่ รียกว่า “1 ครัวเรือน 1 สัญญา” สำ�หรับสถาบันฯ บ้านซาววา พ่อสุทัศน์ พรมมา เล่าด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจว่า “...คนที่บ้านซาววาตอนนี้ทุก ครัวเรือนเป็นหนี้แค่ 1 สัญญา ต่อ 1 ครัวเรือน เรียบร้อยแล้ว จากเมื่อก่อน สมาชิกกู้หลายกองทุน มากบ้างน้อยบ้าง บางครั้งไม่เพียงพอกับการประกอบอาชีพ จึงทำ�ให้มีหนี้หลายกองทุน แต่เมื่อมีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนแล้วจึง รวมมาไว้ที่เดียวโดยการกู้เงินดังกล่าว สมาชิกจะได้รับเงินไปให้เพียงพอกับการ ประกอบอาชีพ...” จะเห็นได้ว่าสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สามารถบริหารจัดการหนี้ของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทำ�ให้ เป็น 1 ครัวเรือน 1 สัญญา เป็นไปตามเป้าหมายของการจัดกตั้งสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

ï เป้าหมายสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

14

ï กิจกรรมเด่น ตามที่ได้รับทราบกันไปบ้างแล้วว่า สถาบันฯ บ้านซาววา ได้เปิดดำ�เนินการครั้งแรก ในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 ถ้านับเวลาในการเป็นสถาบันฯ ถือได้ว่าไม่นานนัก หากแต่ผลความสำ�เร็จที่เกิด ขึ้นนับได้ว่าเป็นประโยชน์กับสมาชิกและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก สถาบันฯ ได้ใช้กระบวนการบริหาร จัดการในรูปแบบของการบูรณาการกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความ เป็นเอกภาพ สามารถแก้ปัญหาของสมาชิกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และเรื่องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ï การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ก่อนที่จะมีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สมาชิกในหมู่บ้านเป็นหนี้นอก ระบบ (คนนอกหมู่บ้าน) สมาชิกที่จำ�เป็นต้องไปยืมเงินเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 บาท ต่อเดือน ทำ�ให้สมาชิกหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอที่จะนำ�ไปชำ�ระดอกเบี้ย คณะกรรมการ จึงมีความคิดร่วมกันว่า สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววาของเรามีเงินเพียงพอที่จะช่วย เหลือสมาชิกที่เป็นหนี้นอกระบบ จึงได้มีการประชุมกันและวางแผนในการช่วยเหลือ โดยเร่ิมจาก การสำ�รวจข้อมูลสมาชิกที่เป็นหนี้นอกระบบ และแจ้งให้มากู้เงินจากสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนบ้านซาววา คิดดอกเบี้ยร้อยละ 50 สตางค์/เดือน ซึ่งสามารถช่วยเหลือสมาชิกได้ทั้งหมด จำ�นวน 17 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 300,000 บาท ï จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ราคาถูก คณะกรรมการฝ่ายสินเชื่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา พูดด้วยความภาคภูมิใจว่า “..ซื้อมอเตอร์ไซค์ที่สถาบันฯ ถูกกว่าผ่อนกับร้านค้า 12,000 บาท..” ปัจจุบันสมาชิกใช้บริการแล้ว จำ�นวน 7 ราย โดยสมาชิกจะมากู้เงินสถาบันฯ ตามราคามอเตอร์ไซค์ ที่คิดเป็นเงินสด แล้วคิดดอกเบี้ยร้อยละ 6 บาท/ปี ระยะเวลาผ่อนชำ�ระ 3 ปี ซึ่งสถาบันฯ ถือว่าเป็นการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก


“... คนเป็นหนี้นอกระบบ ทุกข์ใจมาก เหนื่อยยาก หาเงินมาไม่พอใช้ ...”

15 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

นี่คือ คำ�กล่าวของ นางสุทธินี ฝีปากเพราะ อายุ 33 ปี ผู้ที่เคยเป็นหนี้นอกระบบ 30,000 บาท ด้วย ดอกเบีย้ ร้อยละ 10 ต่อเดือน โดยยืมเงินมาเพือ่ ต่อเติมบ้าน จากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำ�ให้ต้องเสียดอกเบี้ยทุกเดือน ๆ ละ 3,000 บาท คิดว่าจะยืมไม่นาน เป็นหนี้อยู่ 5 – 6 เดือน เครียดมากนอนไม่หลับ ต่อมาสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนได้มีการสำ�รวจคนเป็นหนี้นอกระบบ คณะกรรมการ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววาจึงแจ้งให้สมาชิก ทีเ่ ป็นหนีน้ อกระบบสามารถยืมเงินจากสถาบันฯเพือ่ ชำ�ระหนี้ ได้จงึ ได้ยมื โดยยืมเงินมา จำ�นวน 48,000 บาท โดยนำ�ไป ชำ�ระหนี้นอกระบบ 30,000 บาท และส่วนที่เหลือนำ�ไป ซื้อวัวเลี้ยงอีก 18,000 บาท ส่งชำ�ระภายใน 1 ปี เสีย ดอกเบีย้ ร้อยละ 6 บาทต่อปี โดยสามารถผ่อนชำ�ระเป็นรายเดือนได้ ถ้ามีเงินก็ไปฝากและส่งชำ�ระทุกวันพุธ ขอขอบคุณที่คิด โครงการนี้มาช่วยชาวบ้าน ทำ�ให้สบายใจขึ้น

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

[ 3 ] หลากหลายกิจกรรมสู่เสียงสะท้อนจากสมาชิก


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

16

นางสุจิตรา นิลคง อายุ 40 ปี บอกกับทีมงาน และเล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของตนเองเคยเป็นหนี้นอกระบบ เมือ่ 3 ปีทแ่ี ล้ว โดยกูม้ าจากญาติพน่ี อ้ ง จำ�นวน 20,000 บาท คิดดอกเบีย้ ร้อยละ 10 บาทต่อเดือน ต้องส่งดอกเบีย้ ทุกเดือน มีความจำ�เป็นต้องกู้เนื่องจากคุณพ่อป่วย บางเดือนถ้า หาเงินไม่ได้ก็จะถูกทวงถาม จำ�เป็นต้องกู้เจ้าหนี้รายใหม่ ไปชำ�ระ หมุนเวียนเจ้าหนีไ้ ป เรือ่ ยรูส้ กึ ท้อใจหาทางออกไม่ได้ คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ได้มาสำ�รวจว่ามีคนเป็นหนี้นอกระบบจำ�นวนเท่าไหร่ ที่ไหน บ้าง ก็ได้ชว่ ยให้กเู้ งินสถาบันฯ ไปชำ�ระหนี้ โดยกูย้ มื เงินมา ทัง้ หมด 40,000 บาท เพื่อนำ�ไปใช้หนี้นอกระบบและที่ เหลือก็เป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ โดยสถาบันฯ คิดดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 6 บาทต่อปี และเดี๋ยวนี้ทุกวันพุธจะ ต้องนำ�เงินไปฝากกับสถาบันฯ 200 – 500 บาท เป็นประจำ� มีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนแล้วดีมาก สามารถช่วย เหลือคนเป็นหนี้นอกระบบเหมือนช่วยคนที่เป็นทุกข์ให้พ้นทุกข์

“...สบายใจ มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม...”


17 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

กู้เงินสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา 49,000 บาท เพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อ Yamaha รุ่น Fino โดยผ่อนชำ�ระกับ สถาบันฯ เดือนละ 1,700 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 ปี โดย บอกว่ามีความจำ�เป็นต้องมีมอเตอร์ไซค์ไปขายประกันจึงได้มา ใช้บริการที่สถาบันฯ และที่สำ�คัญกู้เงินสวัสดิการมอเตอร์ไซค์ ที่สถาบันฯ สะดวกสบายไม่ต้องมีเงินดาวน์ ดอกเบี้ยถูก และ เงินก็หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้านของตนเอง

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

นางประนอม ชวาเขต


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

18

นางบังอร เชื้อไชย

พูดด้วยความภาคภูมิใจว่า หลังจากที่ตนเองได้ไปทำ�หน้าที่เป็นกรรมการของสถาบันฯ รับหน้าที่ในการจัดทำ�บัญชีของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนบ้านซาววา ทำ�ให้มีความรู้เพิ่มจากการทำ�บัญชีและบันทึกรายการต่างๆ ทำ�ให้ตนต้องมีความรอบคอบ และสามารถนำ�ความรู้ที่ได้เหล่า นั้นมาประยุกต์ใช้ทำ�บัญชีรับจ่ายในอู่ซ่อมรถยนต์ของตนเองทำ�ให้ทราบรายรับ – รายจ่าย ตลอดจนช่วยให้สามารถวางแผนการบริหารกิจกรรมของ ตนเองได้


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

19

กู้ยืมเงินสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา จำ�นวน 30,000 บาท เพื่อนำ�มาซื้อเครื่องมือ และอะไหล่มอเตอร์ไซค์ ทำ�ให้มีความพร้อมในการ ดำ�เนินธุรกิจ จนสามารถให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น ปัจจุบันมีกำ�ไรจาก การซ่อมรถมอเตอร์ไซค์วันละ 350 บาท ดีใจมากที่มีสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนบ้านซาววา เพราะเป็นแหล่งออมเงินและแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ� ไม่ต้องกู้หนี้นอกระบบ

สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

นายมานะ ปายสาร


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

20 นางจงกล

สุขเจริญ

กู้เงินจากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา จำ�นวน 45,000 บาท โดยนำ�ไปใช้หนี้นอกระบบ และซื้อเครื่องทำ�เส้นขนมจีนจำ�หน่ายในตลาด ที่อำ�เภอเชียงกลาง และตามที่ลูกค้าสั่ง จนทำ�ให้มีกำ�ไรจากการทำ�ขนมจีน ขายวันละ 500 บาท ทำ�ให้ครอบครัวมีความสุข มีความอบอุ่น ไม่ต้องออกไป ทำ�งานนอกหมู่บ้าน


ประธานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา บอกว่ามีความภาคภูมิใจมาก ที่สถาบันฯ มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับสมาชิก ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงๆ ให้คนนอกหมู่บ้าน และตอนนี้บ้านซาววามีการสำ�รวจความต้องการของสมาชิกในหมู่บ้าน ว่ามีความจำ�เป็นจะ นำ�เงินทุนไปลงทุนอะไร ก็มากู้กับสถาบัน สำ�หรับปัจจัยการผลิต และเครื่องมือทางการ เกษตร สถาบันฯ ก็สำ�รวจความต้องการของสมาชิก แล้วจะดำ�เนินการซื้อให้โดยให้สมาชิกมา ผ่อนชำ�ระกับสถาบันฯ ถ้าเราทำ�ได้อย่างนี้ เงินทองก็ไม่รั่วไหลไปจากหมู่บ้าน สิ้นปีก็มีกำ�ไรมา ปันผล มาเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิก

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

คุณพ่อสุทัศน์ พรมมา

21 ดีใจมากที่ได้ช่วยสมาชิก ในกรณีฉุกเฉิน แม่สมาชิกป่วยอยู่ ที่จังหวัดพิษณุโลก ไม่มีเงินไปเยี่ยมแม่ ก็มากู้เงินที่สถาบันฯ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว สถาบันฯ เป็นที่พึ่งของสมาชิกในยามยาก จริงๆ

สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

นางรุทนาภรณ์ วุฒิ


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

22

นายชำ�นาญ

สนโพธิ์

ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บอกว่าหลังจากมีสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง สามารถแก้หนี้นอกระบบได้หมดในหมู่บ้าน ทุกคนมีงานทำ� ไม่ว่างงาน มีเงินทุนประกอบ อาชีพ ครอบครัวมีความอบอุ่น ทุกครัวเรือนมีเงินออม และเข้ามามีส่วนร่วมกับสังคมมากขึ้น


23 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

จากการพูดคุยทราบว่ามีการจัดประชุมถึง 17 ครัง้ ทัง้ ทีเ่ ป็นทางการและไม่ เป็นทางการ ทัง้ ทีม่ งี บประมาณและไม่มงี บประมาณ จนสามารถมาบูรณาการ เข้าด้วยกันเป็นหนึง่ เดียวได้ 3. สมาชิกในหมูบ่ า้ น ก็มคี วามพร้อม ทุกคนรูจ้ กั หน้าทีข่ องตนเอง ว่ามีหน้าทีอ่ ย่างไร และทีส่ �ำ คัญทุกคนมีความพร้อม มีความขยันหมัน่ เพียร เพียงแต่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นเมื่อมีสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววาเกิดขึน้ จึงได้เห็นทุกคนในบ้านซาววา มีงานทำ�และไม่มคี นว่างงาน ความสำ�เร็จของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา เป็นจุดเล็กๆ จุดหนึง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงความสำ�เร็จ และพลังอันยิง่ ใหญ่ ทีส่ ามารถแก้ไขปัญหาด้านเงินทุนของชุมชนได้ ถ้ารูจ้ กั บริหารจัดการโดย การบูรณาการกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้มีความเป็น เอกภาพ และใช้กองทุนให้เกิดประสิทธิภาพ สมกับวัตถุประสงค์ของการ จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 4 ประการที่ว่า (1) ให้การบริหารจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบมีความ เป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมให้กบั ชุมชนอย่างแท้จริง (2) เป็นแหล่งเงินออมของชุมชน (3) เป็นแหล่งทุนและสวัสดิการของชุมชน (4) เป็นศูนย์แลกเปลีย่ นเรียนรูข้ องชุมชน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

ากเรื่องราวของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ทำ�ให้ ทราบได้ว่า ระบบการจัดการทุนของชุมชนในรูปแบบของ “สถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชน” สามารถทำ�ให้หมู่บ้าน/ชุมชน จัดการทุนของ ตนเองได้อย่างเป็นระบบ เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชนได้อย่าง กว้างขวาง เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ และน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่สถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ได้ดำ�เนินการจนประสบความสำ�เร็จ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับที่อื่นๆ ได้ ความสำ�เร็จในครั้งนี้มีองค์ ประกอบที่เกี่ยวข้องและสำ�คัญ คือ 1. เจ้าหน้าที่สำ�นักงานพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่านทุกระดับ ซึ่ง จากความสำ�เร็จที่จับต้องได้ในวันนี้ได้มาจากการให้ความสำ �คัญและ ติดตามให้กำ�ลังใจอย่างสม่ำ�เสมอจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การได้รับ การสนับสนุนทางด้านวิชาการ พัฒนาการอำ�เภอและพัฒนากร ก็ได้ ทำ�งานแบบเกาะติดพื้นที่อย่างจริงจัง สังเกตุได้จากความสนิทสนม คุ้นเคย ของประชาชนในหมู่บ้าน และความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีต่อ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ความเป็นกันเองเสมือนญาติพี่น้องที่ชาวบ้าน มีให้ จึงทำ�ให้งานสำ�เร็จ 2. ผูน้ �ำ และคณะกรรมการกองทุนต่างๆ ทีม่ อี ยูท่ ง้ั 18 กองทุน เป็น คณะกรรมการทีท่ �ำ งานอย่างทุม่ เท และมีความเสียสละ และทีส่ �ำ คัญทุกคน ทำ�งานโดยจิตอาสา อยากเห็นสมาชิกมีเงินทุนประกอบอาชีพ แก้ปญ ั หาใน เรือ่ งเงินให้กบั สมาชิกทัง้ ด้านทุนในการประกอบอาชีพ หรือความเดือดร้อน ทีต่ อ้ งใช้เงินในยามฉุกเฉิน ฯลฯ และมีความพยายามในการทำ�ความเข้าใจ กับสมาชิกในเรื่องความสำ�คัญของการมีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน


สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

24

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

องค์ประกอบของความสำ�เร็จ


หมวดที่ 1 ว่าด้วยบทความทั่วไป

25 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน” ข้อ 2 ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ได้เปิดทำ�การของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ข้อ 3 สมาชิก หมายถึง ราษฎรทั่วไป กองทุน องค์กร หรือกลุ่มต่างๆ ที่สมัครเป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชนบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ข้อ 4 สถาบันฯ หมายถึง สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา หมูท่ ่ี 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ข้อ 5 คำ�ขวัญของกลุ่ม “เสียสละ โปร่งใส ยุติธรรม” ข้อ 6 สถานที่ตั้ง บ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

ระเบียบสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ******************


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

26

หมวดที่ 2 ว่าด้วยวัตถุประสงค์ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้อ 7 เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนการประกอบอาชีพให้กับสมาชิก ข้อ 8 เพื่อส่งเสริมการออมด้วยวิธีการฝากเงินและรวมหุ้น ข้อ 9 เพื่อให้บริการเงินกู้และจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ข้อ 10 เพื่อดำ�เนินการด้านธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันฯ

หมวดที่ 3 ว่าด้วยคณะกรรมการ/ที่ปรึกษา

ข้อ 11 คณะกรรมการดำ�เนินการของสถาบันฯ จำ�นวน 15 - 30 คน อยูใ่ นตำ�แหน่งคราวละ 2 ปี ข้อ 12 ที่มาของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้านและต้องเป็น สมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้อ 13 คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ประกอบด้วย 4 คณะ 1. คณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการ จำ�นวน 6 คน 2. คณะกรรมการฝ่ายสินเชื่อ จำ�นวน 6 คน 3. คณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบ จำ�นวน 7 คน 4. คณะกรรมการฝ่ายส่งเสริม จำ�นวน 10 คน ข้อ 14 บทบาทหน้าที่คณะกรรมการดำ�เนินการ ดังนี้ 1. กำ�หนดระเบียบข้อบังคับการบริหารสถาบันฯ 2. รับสมัครสมาชิกและจัดทำ�ทะเบียนสมาชิก


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

27 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

3. การจัดทำ�บัญชี / สรุปผลการดำ�เนินการของสถาบันฯ (งบดุล, งบกำ�ไร-ขาดทุน) 4. ประชุมคณะกรรมการดำ�เนินการทุกเดือน 5. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีๆ ละ 1- 2 ครั้ง 6. ปฏิบัติหน้าที่ ตามที่คณะกรรมการสถาบันฯ มอบหมาย ข้อ 15 ประธานคณะกรรมการสถาบันฯ มีอำ�นาจหน้าที่ ดังนี้ 1. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ 2. เรียกประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ 3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการสถาบันฯ ข้อ 16 รองประธาน มีอำ�นาจหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน ในกรณีประธานไม่อยู่หรือได้รับมอบหมายหรือประธาน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้อ 17 กรณีประธานและรองประธานสถาบันฯ ไม่สามารถปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการประชุมคราวหนึง่ คราวใด ให้ทป่ี ระชุม เลือก คณะกรรมการสถาบันฯคนใดคนหนึง่ ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ป็นประธานสำ�หรับการประชุมในคราวนัน้ ข้อ 18 เหรัญญิกสถาบันฯ และผูช้ ว่ ยเหรัญญิกสถาบันฯ มีหน้าทีร่ วบรวมจัดเก็บดูแลรักษาเงินสถาบันฯ และรายได้ของสถาบันฯ รวมทั้งการจัดทำ�บัญชี พร้อมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายของสถาบันฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ และเกิดประโยชน์สูงสุด และให้เป็นผู้นำ�เงินฝากของสถาบันฯ เข้าบัญชี ข้อ 19 ปฏิคม มีหน้าที่ต้อนรับ อำ�นวยความสะดวก ประชาสัมพันธ์และรายงานผลการดำ�เนินงานของสถาบันฯ ให้สมาชิก/ ชุมชน/หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทราบ ข้อ 20 กรรมการฝ่ายสินเชื่อ มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกู้โดยใช้มติเสียงส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ของคณะกรรมการฝ่ายสินเชื่อทั้งหมด 2. ช่วยแก้ไขปัญหาของสมาชิกที่เดือดร้อนตามลำ�ดับก่อนหลัง 3. ติดตามสนับสนุนการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

28

4. ติดตามทวงถามการชำ�ระหนี้กู้ของสมาชิกที่ติดค้างอยู่เพื่อให้มาชำ�ระคืนแก่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้อ 21 กรรมการฝ่ายตรวจสอบ มีอำ�นาจหน้าที่ในการตรวจสอบผลการดำ�เนินงานของสถาบันฯ หรือตามที่ได้ รับมอบหมายจากคณะกรรมการสถาบันฯ ข้อ 22 กรรมการฝ่ายส่งเสริม มีอำ�นาจหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เชิญชวน กลุ่มหรือกองทุนต่างๆ ภายในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันฯ ข้อ 23 ที่ปรึกษาสถาบันฯ ประกอบด้วย ผู้นำ�ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคีภาครัฐ/เอกชน ข้อ 24 การพ้นจากตำ�แหน่งของคณะกรรมการ 1. ครบวาระ 2. เสียชีวิต 3. ลาออก 4. พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพ 5. ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออก การดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการ เมื่อครบวาระแรกให้คัดเลือกออกกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ ข้อ 25 คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 2. เป็นบุคคลที่เสียสละยินดีและเต็มใจที่จะทำ�งานรับใช้สมาชิกด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวม ของสมาชิกเป็นสำ�คัญมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการด้วยกันเอง และต่อสมาชิกทุกคน 3. ควรเป็นคนที่มีเวลาว่างเสมอสำ�หรับการประชุมสมาชิกและประชุมคณะกรรมการของสถาบันการจัดการ- เงินทุนชุมชน โดยไม่มีภาระมากเกินไป 4. ควรเป็นคนทีม่ จี ติ ใจเป็นนักประชาธิปไตย หรือมีน�ำ้ ใจเป็นนักกีฬา รูแ้ พ้ รูช้ นะ ไม่เอาแต่ใจตัวเอง หรือเห็นแก่ตวั


หมวดที่ 4 ว่าด้วยสมาชิก

29 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

ข้อ 26 คุณสมบัติของสมาชิก มีดังนี้ 1. สมาชิกต้องเป็น ประชาชน กลุม่ หรือกองทุนในพืน้ ทีบ่ า้ นซาววา หมูท่ ่ ี 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน และบุคคลภายนอกหมู่บ้านที่คณะกรรมการมีมติรับเป็นสมาชิก 2. สมาชิกต้องสมัครใจพร้อมเขียนใบสมัครเป็นสมาชิกสถาบันฯ 3. ผูแ้ ทนของกองทุนหรือกลุม่ ทีส่ มัครเป็นสมาชิกของสถาบันฯ ต้องมีสว่ นร่วมในทีป่ ระชุมใหญ่ เพื่อแต่งตั้ง คณะกรรมการใหม่ และแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ 4. สมาชิกสถาบันฯ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่สถาบันฯ ดำ�เนินการ 5. สมาชิกสถาบันฯ มี 4 ประเภท ได้แก่ 1. สมาชิกสามัญ หมายถึง ประชาชนบ้านซาววา ทุกเพศ ทุกวัย 2. สมาชิกวิสามัญ หมายถึง กลุ่ม องค์กร และกองทุนต่างๆ

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

5. สนใจศึกษาหาความรู้ เรื่องการออมทรัพย์ เรื่องสหกรณ์ เรื่องอาชีพ และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และต่อสมาชิกอยู่เสมอ 6. มีความคิดริเริ่ม สนใจกิจกรรมที่ตนเองรับผิดชอบ ในการเป็นกรรมการ 7. คณะกรรมการบริหารสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกเท่านั้น และหาก ตำ�แหน่งใดว่างก็ให้เลือกตั้งภายใน 60 วัน


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

30

3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายถึง ข้าราชการ ห้างร้าน ที่คณะกรรมการสถาบันฯ มีมติรับเป็นสมาชิก 4. สมาชิกสมทบ หมายถึง บุคคลทั่วไป ที่คณะกรรมการสถาบันฯ มีมติรับเป็นสมาชิก 6. สถาบันฯ จะรับสมาชิกปีละ 1 ครั้ง ยกเว้นสมาชิกจัดตั้ง ข้อ 27 การเปิดรับสมัครสมาชิก ตามระเบียบฯ กำ�หนดว่า รับสมัครปีละ 1 ครั้ง คือเดือนมกราคมของทุกปี ให้ยกเว้น สมาชิกจัดตัง้ ให้สถาบันฯ เปิดให้สมาชิกถือหุน้ ได้ตง้ั แต่ เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2552 ทุกวันเปิดทำ�การของสถาบันฯ ข้อ 28 การพ้นจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพสิ้นสุดต่อเมื่อ 1. เสียชีวิต หรือ ถูกคำ�สั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญ 2. ลาออก และได้รับการอนุมัติแล้ว 3. วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ 4. ต้องคำ�พิพากษาของศาลถึงทีส่ ดุ ให้จ�ำ คุก หรือให้เป็นบุคคลล้มละลายยกเว้นโทษจำ�คุกทีเ่ ป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดกระทำ�โดยประมาท 5. ที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการมีมติให้ออกคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขององค์ประชุมเมื่อปรากฏ ความอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1.1 ขาดส่งเงินออมทรัพย์ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ครั้ง โดยไม่แจ้งเหตุผลต่อคณะกรรมการ 1.2 ผิดนัดชำ�ระหนี้เงินกู้ตามกำ�หนดที่ตกลงไว้ถึง 2 คราวติดต่อกัน 1.3 จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับระเบียบหรือมติของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน หรือแสดงความเป็นปรปักษ์และ สร้างปัญหา ความแตกแยกแก่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 1.4 สมาชิกที่จะพ้นตำ�แหน่งตามข้อ 1 – 5 ต้องชำ�ระหนี้สิ้นให้กับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจนครบจึง จะพ้นสมาชิกได้ ข้อ 29 สมาชิกผูใ้ ดลาออกจากการเป็นสมาชิกสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะต้องชำ�ระหนีส้ นิ ทีผ่ กู พันทีม่ ตี อ่ สถาบัน-


หมวดที่ 5

ว่าด้วยการดำ�เนินงาน การเงิน และการบัญชี

31 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

ข้อ 30 การฝากเงิน และถอนเงินจากธนาคาร 1. การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารต้องให้คณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการ 3 คน ได้แก่ ประธาน เหรัญญิก และ กรรมการอีก 1 ท่าน เป็นผูล้ งนามเปิดบัญชีในนาม สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา และกำ�หนดให้ ผู้มีอำ�นาจถอนเงิน/สั่งจ่ายเงิน ตามเงื่อนไขการจ่ายเงิน 2 ใน 3 คน 2. การฝาก ให้คณะกรรมการอำ�นวยการที่ได้รับมอบหมายจากประธานอย่างน้อย 2 คน เป็นผู้ดำ�เนินการ นำ�เงิน ฝากธนาคาร ในนามของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา ดังกล่าวข้างต้น 3. การถอนเงิน ต้องให้คณะกรรมการที่มีรายชื่อในการเปิดบัญชีครั้งแรก จำ�นวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คน เป็นผู้มี อำ�นาจถอนเงิน/สั่งจ่ายเงิน 4. ให้ประธานกรรมการฝ่ายอำ�นวยการหรือผูท้ ค่ี ณะกรรมการมอบหมายมีอ�ำ นาจรักษาเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 3,000 บาท เพื่อใช้ในกิจการที่จำ�เป็นเร่งด่วนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 5. เงินทุนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ให้ฝากไว้กับธนาคารของรัฐบาล ธนาคารใดธนาคารหนึ่งแล้วแต่มติ ของคณะกรรมการสถาบันฯ

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

การจัดการเงินทุนชุมชนให้แล้วเสร็จสิ้นเสียก่อน และกรณีจะกลับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ต้องรอเวลาอีก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการให้ลาออก โดยจะต้องปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบสถาบันการเงินจัดการเงินทุนชุมชนเช่นเดียวกับสมาชิก ผู้สมัครใหม่ทุกประการ


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

32

ข้อ 31 สมาชิกต้องชำ�ระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คนละไม่ต่ำ�กว่า 10 บาท ในวันลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก (ในปี พ.ศ. 2552 ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า) สำ�หรับค่าธรรมเนียม แรกเข้านี้ให้ถือเป็นรายได้ของสถาบันฯ สมาชิกจะเรียกคืนไม่ได้ ข้อ 32 สมาชิกทุกคนต้องมีสมุดเงินฝาก คนละ 1 เล่ม และต้องชำ�ระค่าสมุดเงินฝากให้แก่สถาบันฯ คนละไม่ต่ำ�กว่า 20 บาท (ในปี พ.ศ. 2552 ยกเว้นค่าสมุดเงินฝาก) สำ�หรับค่าสมุดเงินฝากนี้ให้ถือเป็นรายได้อย่างหนึ่งของ สถาบันฯ สมาชิกจะเรียกคืนไม่ได้ ถ้าทำ�สมุดหายหรือชำ�รุด ต้องชำ�ระค่าทำ�สมุดใหม่ตามอัตราความเป็นจริง ข้อ 33 สมาชิกสามารถมาฝากเงิน และถอนเงินได้ตามประกาศของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้อ 34 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้แก่สมาชิกในอัตราตามที่คณะกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนกำ�หนด ข้อ 35 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเปิดทำ�การตามมติทค่ี ณะกรรมการบริหารกำ�หนด ทุกวันพุธ ระหว่างเวลา 08.30 – 12.30 น. ข้อ 36 สมาชิกสามัญ และสมาชิกสมทบ สามารถถือหุ้นได้อย่างน้อย 1 หุ้น ไม่เกิน 500 หุ้น ปีละ 1 ครั้งในเดือน มกราคมของทุกปี (1 หุ้นมีค่าเท่ากับ 100 บาท) ข้อ 37 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ กลุ่ม หรือกองทุนที่สมัครเป็นสมาชิกของสถาบันฯ สามารถถือหุ้นได้ตามมติของคณะกรรมการ เห็นสมควร จะลดหรือเพิม่ เงินหุน้ ได้ ปีละ 1 ครัง้ ในเดือนมกราคมของทุกปี (1 หุน้ มีคา่ เท่ากับ 100 บาท) ข้อ 38 สมาชิกเมือ่ ลาออกจากสถาบันฯ แล้ว คณะกรรมการสถาบันฯ จะคืนเงินค่าหุน้ ให้ 100 % กรณีคณะกรรมการมีมติ ให้ออก จะหมดสิทธิการรับสิทธิประโยชน์ กองทุนสวัสดิการจากสถาบันฯ ข้อ 39 สมาชิกใหม่จะสามารถกูเ้ งินได้ตอ่ เมือ่ สมัครเป็นสมาชิกครบ 6 เดือน หรือตามมติของคณะกรรมการพิจารณา ข้อ 40 การพิจารณาเงินกู้ ให้คณะกรรมการพิจารณาตามความจำ�เป็น ตามลำ�ดับความสำ�คัญ ข้อ 41 การกู้ของสมาชิก


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

33 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

1. สมาชิกประเภทบุคคลทั่วไป สามารถกู้เงินได้ไม่เกินวงเงิน 10 เท่า ของเงินหุ้นของสมาชิกผู้กู้ และผู้ค้ำ�ประกัน เงินกู้ หรือไม่เกินกึ่งหนึ่งของหลักทรัพย์ค้ำ�ประกัน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยมีผู้ค้ำ�ประกัน 2 คน หรือมีหลักทรัพย์ค้ำ�ประกัน และต้องส่งคืนเงินกู้ ภายใต้สัญญากู้เงิน พร้อมมีผู้แทนทำ�นิตกิ รรมตามกฎหมายได้ถกู ต้องเรียบร้อย สมบูรณ์ โดยคิดดอกเบีย้ ร้อยละ 0.50 บาทต่อเดือน และต้องชำ�ระดอกเบีย้ ทุกเดือน และส่งเงินกู้คืนภายใน 1 ปี หรือตามที่คณะกรรมการ เห็นสมควร สมาชิกที่กู้เงินไม่ชำ�ระเงินกู้ตามสัญญา สถาบันฯ จะคิดค่าปรับร้อยละ 0.25 บาทต่อเดือนของเงินที่ค้างชำ�ระ 2. สมาชิกสามัญ สามารถกูเ้ งินฉุกเฉินได้ในกรณี เจ็บป่วย เสียชีวติ ค่าใช้จา่ ยในการศึกษา ไม่เกิน 10,000 บาท ระยะ เวลาชำ�ระภายใน 3 เดือน ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 บาทต่อเดือน 3. กลุ่ม/กองทุน สามารถกู้เงินได้ไม่เกิน เงินหุ้น และต้องส่งคืนเงินกู้ภายใต้สัญญากู้เงิน พร้อมมีผู้แทนทำ�นิติกรรมตาม กฎหมายได้ถูกต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน และต้องชำ�ระคืนภายใน 1 ปี 4. การค้ำ�ประกันเงินกู้ของสมาชิกผู้กู้ 1 คน ต้องใช้สมาชิกค้ำ�ประกันเงินกู้จำ�นวน 2 คน หรือใช้หลักทรัพย์ค้ำ�ประกันอย่างใดอย่างหนึ่ง (สมาชิก 1 คน สามารถค้ำ�ประกันเงินกู้ให้กับสมาชิกผู้กู้ได้ไม่เกิน 2 คน ) ข้อ 42 ถ้าสมาชิกลาออกจะจ่ายคืนค่าหุ้นและเงินฝากเป็นเงินสด ในวันทำ�การของสถาบันฯ สมาชิกต้องไม่มีหนี้สินค้างชำ�ระและ ไม่เป็นผูค้ �ำ้ ประกันผูใ้ ดอยู่ ถ้าสมาชิกลาออกก่อนครบรอบปี ทางสถาบันฯ จะไม่คดิ เงินปันผลและเงินทุนสวัสดิการให้ ข้อ 43 คณะกรรมการจะพิจารณาเพื่ออนุมัติเงินกู้ ถ้าสมาชิกได้รับการพิจารณา ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว สมาชิก ต้องมาเซ็นชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินด้วยตัวเอง ข้อ 44 การจ่ายเงินกู้ทุกประเภท คณะกรรมการฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้กับสมาชิกหรือจ่ายเป็นเงินสด ข้อ 45 ดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราร้อยละ 1.50 บาทต่อปี คิดดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 1ครั้ง (31ธันวาคม ของทุกปี ) ข้อ 46 ปีทางบัญชีของสถาบันการจัดการทุนชุมชน ซึง่ มีระยะเวลาสิบสองเดือนให้สน้ิ สุดในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี กรรมการ ฝ่ายอำ�นวยการ ต้องจัดทำ�งบดุล งบกำ�ไรขาดทุน แสดงฐานะการเงิน ณ วันสิน้ ปีทางบัญชี พร้อมทัง้ เสนอให้คณะกรรมการรับทราบ ก่อนดำ�เนินการจัดสรรกำ�ไรฯ ตามระเบียบฯ


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

34

หมวดที่ 6 ว่าด้วยกิจกรรม

ข้อ 47 รับฝาก-ถอนเงิน / การซื้อ-ถอนหุ้น ข้อ 48 การให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก (1) ประเภทเพื่อการประกอบอาชีพ (2) สินเชื่อเพื่อการปลดหนี้ (3) สินเชื่อเพื่อสวัสดิการและคุณภาพชีวิต (4) สินเชื่อโครงการที่สถาบันฯ กำ�หนด ข้อ 49 ดำ�เนินการด้านสวัสดิการ (1) การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ (2) การประกันภัย ข้อ 50 ดำ�เนินการด้านธุรกิจตามมติของคณะกรรมการฯ และแจ้งสมาชิกทราบ ข้อ 51 การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง (1) ฝึกอบรม / สัมมนา คณะกรรมการบริหาร (2) ฝึกอบรม / สัมมนา สมาชิกสถาบันฯ (3) การศึกษาดูงาน


ข้อ 52 การจ่ายเงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืน จะจ่ายปีละ 1 ครั้ง ข้อ 53 เงินปันผลจะจ่ายเฉพาะสมาชิกที่ถือหุ้น เป็นระยะเวลาครบ 1 ปี ข้อ 54 การจัดสรรกำ�ไรสุทธิ 1. ปันผลค่าหุ้น ร้อยละ 30 2. เฉลี่ยคืนผู้กู้ ร้อยละ 20 3. ทุนสำ�รอง ร้อยละ 20 4. ทุนสวัสดิการพนักงาน ร้อยละ 15 5. ทุนสวัสดิการสมาชิก ร้อยละ 15

หมวด 8 ว่าด้วยการประชุม

ข้อ 55 คณะกรรมการสถาบันจัดประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง โดยมีวาระการประชุม ดังนี้ 1. ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2. รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา (ถ้ามี) 3. เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา

35 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

หมวดที่ 7 ว่าด้วยกำ�ไรสุทธิ และการจัดสรรกำ�ไรสุทธิ


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

36

4. เรื่องเพื่อทราบ 5. เรื่องที่ต้องพิจารณา 6. เรือ่ งอื่นๆ (ถ้ามี) การประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี จะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของครัวเรือนที่เป็นสมาชิกจึงจะถือว่า ครบองค์ประชุม สมาชิกทีข่ าดประชุมใหญ่สามัญจะต้องถูกตัดสิทธิประโยชน์ตามมติคณะกรรมการเห็นสมควร การประชุมวิสามัญ สามารถจัดประชุมตามความจำ�เป็นเร่งด่วน ข้อ 56 ระเบียบของสถาบันฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อเมื่อได้มีการแก้ไขหรือยกเลิก โดยความเห็นชอบของสมาชิกทั้งหมด หรือเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสถาบันฯ เห็นชอบ เท่านั้น ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ลงชื่อ) สุทัศน์ พรมมา ( นายสุทัศน์ พรมมา) ประธานกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา หมู่ที่ 1 ตำ�บลพระพุทธบาท อำ�เภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน


ที่ 1 2

3

รายละเอียดของแผนการดำ�เนินงาน แผนการรับสมัครสมาชิกเพิ่ม - รับสมาชิกเพิ่ม แผนระดมทุน - รับเงินฝากออมทรัพย์ - ถือหุ้นเพิ่ม

ผลการดำ�เนินงาน ปี 2552

80 คน

101 คน

300,000.00 300,000.00

376,915.00 1,790,600.00

37 500,000.00 1,000,000.00 140,000.00

2,184,000.00 445,000.00 10,325.00

5,000.00

0.00

500,000.00 500,000.00

0.00 0.00

สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

แผนการให้บริการ สินเชื่อ - จ่ายเงินกู้ระหว่างปี - รับชำ�ระระหว่างปี - รับชำ�ระดอกเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ - รับทำ�ประกันภัยรถ จัดหาสินค้ามาจำ�หน่าย - เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ - สิ่งอำ�นวยความสะดวกอื่นๆ

แผนงาน ปี 2553

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

แผนการดำ�เนินงาน ประจำ�ปี 2553 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

38

4

5 6

แผนการลงทุนในทรัพย์สิน - คอมพิวเตอร์พร้อมปริ้นเตอร์ - ครุภัณฑ์สำ�นักงาน - ปรับปรุงสำ�นักงาน แผนการพัฒนาคณะกรรมการสถาบันฯ - ประชุมเพิ่มทักษะการบริหารงาน แผนการพัฒนาสมาชิก - ประชุมชี้แจงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

25,000.00 20,000.00 50,000.00

0.00 0.00 0.00

5,000.00

0.00

5,000.00

0.00


ที่ 1 2 3 4 5 6 7

รายได้

คำ�ชี้แจงประกอบ

ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝาก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสมุดคู่ฝาก รายได้รับทำ�ประกันภัยฯ รายได้จัดหาสินค้ามาจำ�หน่าย รายได้อื่นๆ รวมรายได้

140,000.00 1,000.00 800.00 1,500.00 5,000.00 50,000.00 2,000.00 200,300.00

-

รายจ่าย ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ดอกเบี้ยจ่ายเงินรับฝาก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมรายจ่าย

10,000.00 10,000.00 5,000.00 25,000.00

- ค่าใบเสร็จรับเงิน และแบบพิมพ์ - จ่ายดอกเบี้ยเงินรับฝาก - ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้

กำ�ไรสุทธิ

175,300.00

ดอกเบี้ย ร้อยละ 6 บาท ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ค่าธรรมเนียมแรกเข้ารายละ 10 บาท ค่าสมุดคู่ฝาก เล่มละ 20 บาท ประกันภัยรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ การประกอบอาชีพ / สิ่งอำ�นวยความสะดวก รายได้อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้

39 สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

1 2 3

รายการ

จำ�นวนเงินที่ ประมาณการ (บาท)

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา

ประมาณการรายได้ - รายจ่าย ประจำ�ปี 2553 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านซาววา สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

40

สรรสร้าง โดย... นายณรงค์ บุ่ยศิริรักษ์ นายสุรศักดิ์ อักษรกุล นางกาญจนา อุบลบัณฑิต นางอารยาภรณ์ ฐิตะสิริ นายชาคริต ถิระสาโรช นางสาวปรียาวดี บุญแฮด นางสาวบุตรตรา ใจพันธ์

ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

ภาพ/เรียบเรียง/รูปเล่ม... นายสุรศักดิ์ อักษรกุล นางรัชตา แย้มพุทธคุณ นางสาวบุตรตรา ใจพันธ์

เจ้าของ...

หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

ที่ปรึกษา


สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้านซาววา


สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 2550 อาคาร B ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์/โทรสาร 0 2143 8909 , http://61.19.244.12/devBudget


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.