โครงการทางหลวงพิเศษส่วนต่อขยาย โครงการทางหลวงพิเศษส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน จุดเริ่มต้นที่โรงกษาปณ์ กม. 33+924 สิ้นสุดที่แยกต่างระดับบางปะอิน กม.51+924ของถนนพหลโยธิน ระยะทาง 18 กม.ได้สรุปผลการศึกษาโครงการพร้อมเริ่มก่อสร้าง งบประมาณ 30,500 ล้านบาท กําหนดเสร็จในปี 2562 ดังนี้
การออกแบบทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ไป-กลับ มีจุดขึ้น-ลงทางยกระดับ และตําแหน่งเก็บค่าธรรมเนียม รวม 7 จุด ด่านแรกตั้งอยู่ที่บริเวณ หมู่บ้านไว้ท์เฮ้าส์ และโรงกษาปณ์ ที่ กม.35+600 ก่อนถึงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีเฉพาะทางขึ้นขาออกไปนอกเมือง (ไปบางปะอิน) และทางลง(มาจากบางปะอิน) ม.กรุงเทพ ไม่สามารถใช้เป็นทางขึ้น-ลงมา ที่ด่านนี้
ม.กรุงเทพ ได้ความสะดวกจากสะพานกลับรถขาเข้าสร้างใหม่ บริเวณหน้าไพน์เฮิร์ท กม.38+530 และสามารถใช้จุดกลับรถอีกจุดหนึ่งบนทางยกระดับที่ด่านคลองหวง กม.39+600
ผลกระทบต่อมหาวิทยากรุงเทพช่วงก่อสร้าง 1. 2. 3.
ระหว่างก่อสร้าง จะมีการปิดช่องจราจรบริเวณกลางถนน 2 ช่วงจราจร (ขาไป และขากลับ ข้างละ 1 เลน) ตลอดเส้นทาง 18 กม. ระยะเวลาประมาณ 2 ปี และเบี่ยงการจราจรที่พื้นผิวถนนที่จุดก่อสร้างด่านทั้ง 7 ด่าน จุดก่อสร้างทางยกระดับหน้า ม.กรุงเทพ ไม่ได้กําหนดให้มีแผงกันฝุ่นและเสียงระหว่างก่อสร้าง การก่อสร้างและขนส่งหลัก จะทําในช่วงเวลา หลัง 18.00 น. การเดินทางกลับอาจมีการปิดถนนบางส่วน รวมถึงอันตรายจากการกองวัสดุก่อสร้าง และแสงสว่างในการเดินทาง
4.
สะพานลอยคนข้าม และสะพานกลับรถ หน้าม.กรุงเทพ อาจได้รับผลกระทบในการสัญจร และความไม่ปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง
ช่วงหลังก่อสร้าง (คาดว่าจะเสร็จเร็วสุดภายในปี 2562) 1.
2. 3. 4.
5.
การเดินทางมา ม.กรุงเทพ ไม่สามารถใช้ส่วนต่อขยายนี้ เนื่องจากไม่มีทางลงก่อนถึง ยังคงต้องลงที่จุดเดิม แต่จะมีสภาพการจราจรติดขัด เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของส่วนเชื่อมต่อ ที่มีช่องรับบัตรรอคิวเพื่อเชื่อมต่อไปบางปะอิน การเดินทางกลับจาก ม.กรุงเทพ สะดวกขึ้น สามารถกลับรถหน้าไพน์เฮิร์ท แต่ไม่สามารถขึ้นทางด่วนส่วนต่อขยาย(เนื่องจากที่ด่านมีแต่ทางลง) โดยต้องไปขึ้นทีเ่ ดิมในปัจจุบัน ปัญหาการจราจรจะหนาแน่นเพิ่มขึ้น จากปริมาณรถยนต์ที่วิ่งผ่านถนนพหลโยธินในปัจจุบัน ประมาณ 120,000 คัน/วัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 160,000 คัน/วัน ในอนาคต ปัจจัยเสริมที่ทําให้การเดินทางเข้าถึง ม.กรุงเทพ ด้วยรถยนต์ ติดขัด และล่าช้าเพิ่มขึ้น จากโครงการก่อสร้างศูนย์การค้าใหม่ (ในเครือเซ็นทรัล) และ การย้ายสถานีขนส่งหมอชิต มาอยู่ที่บริเวณโรงงานร้าง ก่อนถึง ม.กรุงเทพ
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในการอนุมัติงบประมาณการก่อสร้างทางยกระดับนี้ ไม่ได้กําหนดให้มีแผงกันเสียงบริเวณด้านหน้า ม.กรุงเทพ ประโยชน์ที่ได้คือ มุมมองมุมสูง ที่เห็น ภายในวิทยาเขตได้ชัดเจนขึ้น แต่จะมีมลภาวะด้าน เสียง ฝุ่นละออง และไอระเหยน้ํามัน เป็นคราบเกาะผิวอาคาร BU Diamond และการเรียนการสอน
มาตรการป้องกันและแก้ไข 1. 2. 3. 4. 5. 6.
การประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ การปรับเวลาการเดินทางเผื่อรถติด การเลี่ยงเส้นทางจุดเริ่มต้นก่อสร้าง และใช้เส้นทางอื่นแทน เช่น ทางด่วนบางปะอิน ทางด่วนกาญจนาภิเษก เป็นต้น การใช้โดยสามารถร่วมในการเดินทางแทนการขับรถยนต์ การจัดสร้างหอพักนักศึกษาเพิ่มเติม อื่นๆ ด้านการบริการจัดการเพื่อลดผลกระทบ ระหว่างและหลังก่อสร้าง
นิพนธ์ ลาวัณย์โกวิท 26 เมษายน 2559