สารบัญ
สารบัญ หน้ า ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน
3 – 14
ธงชาติของประเทศสมาชิก
15 – 21
10 อันดับสกุลเงินประเทศอาเซียน
22 - 23
สกุลเงิน
24 – 25
การแต่งกายประจาชาติ
26 - 27
ดอกไม้ประจาชาติ
28 - 29
อาหารประจาชาติ
29 - 34
มรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียน
35 - 38
แบบทดสอบหลังเรียน
39 - 42
2
ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALM) เมืองหลวง บัลดาร์ เสรี เบกาวัน วันชาติ 23 กุมภาพันธ์ สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน วันเข้าร่วมอาเซียน 7 มกราคม 2527 ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) เมืองหลวง กรุงพนมเปญ วันชาติ 9 พฤศจิกายน สกุลเงิน เรียล วันเข้าร่วมอาเซียน 9 เมษายน 2542 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA) เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา วันชาติ 17 สิงหาคม สกุลเงิน รูเปียห์ วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC) เมืองหลวง นครเวียงจันทร์ วันชาติ 2 ธันวาคม สกุลเงิน กีบ วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540 1
มาเลเซีย (MALAYSIA) เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันชาติ 31 ธันวาคม สกุลเงิน ริงกิต วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 สหภาพพม่า (THE UNION OF MYANMAR) เมืองหลวง เมืองเนปีดอ วันชาติ 4 มกราคม สกุลเงิน จั๊ต วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES) เมืองหลวง กรุงมะนิลา วันชาติ 12 มิถุนายน สกุลเงิน เปเซ วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE) เมืองหลวง สิงคโปร์ วันชาติ 9 สิงหาคม สกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์ วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 2
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND) เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร วันชาติ 5 ธันวาคม สกุลเงิน บาท วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) เมืองหลวง กรุงฮานอย วันชาติ 2 กันยายน สกุลเงิน ด่ง วันเข้าร่วมอาเซียน 28 กรกฎาคม 2538
ประชาคมอาเซียน อาเซียนเกิดขึ้นจากความพยายามของ 5 ประเทศ ได้แก่ 1) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2) มาเลเซีย 3) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 4) สาธารณรัฐสิงคโปร์ 5)ราชอาณาจักรไทย ต้องการให้อาเซียน เป็นดินแดนแห่งสันติภาพ มีความ ร่วมมือกันในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ การเกษตรและอุตสาหกรรม โดยได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกัน เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ผู้แทนจาก 5 ประเทศทีไ่ ด้ร่วมกันสร้างอาเซียน ได้แก่ 3
• นายอาดัม มาลิก จากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย • ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน จากประเทศมาเลเซีย • นายนาซิโซ รามอส จากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ • นายเอส ราชารัตนัม จากสาธารณรัฐสิงค์โปร์ • พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ จากราชอาณาจักรไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการ- กระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึง จอมพลถนอม กิตติขจร (ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 พฤศจิกายน 2514) เมื่ออาเซียนอายุครบ 30 ปี ผู้นําของอาเซียนได้รับรองเอกสารเพื่อ กําหนดการดําเนินงานของ อาเซียนในอนาคต เรียกว่า “วิสยั ทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020)” เพื่อทําให้อาเซียน เป็น ดินแดนแห่งสันติภาพ มีความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิด สังคมที่ประชาชนทุกคนรักใคร่ดูแลกัน เอือ้ อาทรและร่วมแบ่งปันกัน ไม่มี การ แบ่งแยกกีดกัน มีความสามัคคีกัน นอกจากนี้ ผู้นําอาเซียนได้ตกลงกัน ที่จะจัดตั้งประชาคม อาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community - APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN E onomic Community - AEC) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ ผู้นาํ อาเซียนตกลงที่จะ เร่งรัดกระบวนการสร้าง ประชาคม อาเซียน ให้สําเร็จภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) 4
อาเซียนจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้สามารถ ทํางานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน เพือ่ ให้อาเซียนของเรามีความ ร่วมมือระหว่างกัน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตรอุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้ เพิ่ม มากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับ อาเซียนของเรา อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดย ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้า เป็นสมาชิกอาเซียน เมือ่ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ 1) บรูไนดารุสซาลาม 2) ราชอาณาจักรกัมพูชา 3) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 4) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 5) มาเลเซีย 6) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 7) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 8) สาธารณรัฐสิงคโปร์ 9) ราชอาณาจักรไทย และ 10) สาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม
5
สัญลักษณ์อาเซียน
สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นทีว่ งกลมสีแดง สีขาว และน้ําเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคําว่า“asean”สีน้ําเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึง ความมุ่งมั่นที่จะทํางานร่วมกันเพือ่ ความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิก อาเซียน สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสาํ คัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละประเทศ สมาชิกอาเซียน สีน้ําเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีที่ใช้บนธงอาเซียน ได้แก่ สีขาว สีนา้ํ เงิน สีแดง และสีเหลือง ซึ่งล้วนมาจากสีธงชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ โดยความหมายของแต่ละสีคือ สีน้ําเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความ เจริญรุ่งเรือง 6
คาขวัญของอาเซียน “One Vision, One Identity, One Community” “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
เพลงประจาอาเซียน การจัดทําเพลงประจําอาเซียน เป็นการดําเนินการตามข้อ 40 ของกฎบัตรอาเซียนที่กําหนดให้อาเซียน “มีเพลงประจําอาเซียน” ในปี 2551 ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียน ให้ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจําอาเซียน ซึ่งได้จัดเป็นการแข่งขันแบบเปิดให้ประชาชนใน ประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจส่งเพลงของตนเองเข้าประกวด (open competition) โดยมี หลักเกณฑ์5 ประการ ได้แก่ 1. มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ 2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียนสัญลักษณ์ของอาเซียนประเทศไทยกับอาเซียน 11 3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที 4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อ ชาติ 5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจําอาเซียนในระดับภูมิภาค การแข่งขันรอบแรกมีขนึ้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Powerมี กรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของประเทศไทย ฯพณฯ องคมนตรี 7
พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยและทําหน้าที่ประธานการประชุมคัดเลือก เพลงคณะกรรมการได้คดั เลือกเพลงจํานวน 10 เพลง จาก 99 เพลงที่สง่ เข้าประกวดจากทุกประเทศ สมาชิกอาเซียน (เป็นเพลงที่แต่งโดยชาวไทย 11 เพลง) และการแข่งขันรอบตัดสินมีขึ้นเมือ่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยกรรมการชุดเดิมจากอาเซียนจํานวน 10 คน และจากนอกอาเซียนอีก 3 คนคือ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และเครือรัฐออสเตรเลียที่ ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยทีแ่ ต่งโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทํานองและเรียบเรียง) นายสําเภา ไตรอุดม (ทํานอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)ให้เป็น เพลงประจําอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เนื้อเพลงอาเซียน (The ASEAN Way) Raise our flag high, sky high Embrace the pride in our heart ASEAN we are bonded as one Look’in out to the world. For peace, our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream we care to share Together for ASEAN we dare to dream we care to share for it’s the way of ASEAN.
8
เนื้อเพลง The ASEAN Way ภาษาไทย พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกัน อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น หล่อหลอมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community - APSC) อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธํารงไว้ ซึ่ง สันติภาพ และ ความมัน่ คงของภูมภิ าค เพือ่ ให้ประเทศในภูมิภาคอยู่รว่ มกันอย่างสันติสุข และสามารถ แก้ไขปัญหา และความขัดแย้งโดยสันติวิธี เพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมือง และความมัน่ คง อาเซียนประเทศสมาชิก ได้ร่วมจัดทําแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้น 3 ประการ คือ 9
1. การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทําเพื่อสร้าง ความเข้าใจใจระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่าง ของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการทีส่วนร่วมของภาค ประชาสังคม การต่อต้านทุจริตการส่งเสริมหลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล 2. ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสําหรับประชาชนที่ ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมความมั่นคงในรูปแบบเดิม ซึ่งหมายถึง มาตรการ สร้างความไว้เนือ้ เชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกัน สงครามและให้ประเทศสมาชิก อาเซียนอยู่กันโดยสงบสุขและไม่มคี วามหวาดระแวง นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือเพือ่ ต่อต้านภัย คุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ 3. การมีพลวัตและปฎิสมั พันธ์กับโลกภายนอก กําหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบทบาทของ อาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบ ASEAN+3 กับ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และการ ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่าง ประเทศ เช่น สหประชาชาติ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
10
AEC หรือ Asean Economics Community อาเซียนให้ความสําคัญในการ เสริมสร้างความ แข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจ ร่วมกันอย่างต่อเนือ่ ง โดยมุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอํานวย ความ สะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพือ่ ให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และ สามารถแข่งขันกับภูมิภาค อื่นๆ ได้ เพื่อความ อยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียนอาเซียนมีประชากรรวมกันกว่า 550 ล้าน คน ซึ่งจะรวมตัวเป็นฐาน ตลาดเดียวกันและจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการการลงทุน เงินทุน และ แรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ภายในปี 2558 ปัจจุบันอาเซียนได้ยอมรับคุณวุฒิ ร่วมกันใน 7 สาขาอาชีพเพือ่ ให้ เกิดการเคลือ่ นย้ายแรงงานโดยเสรี ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิกนักสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนัก บัญชี ซึ่งประเทศอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน สําหรับ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และการทํางานในประเทศสมาชิก อาเซียนได้อย่าง คล่องตัว
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. อาเซียนเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชดิ ไทยมากที่สุด - ประเทศสมาชิก อาเซียนหลายประเทศเป็นเพื่อบ้าน มีพรมแดนติดกัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง มีสินค้าและบริการที่ สามารถเสริมซึ่งกันและกันได้ หรือมีสินค้าบริการที่คล้ายคลึงกันซึ่งหากสามารถร่วมมือกัน ก็จะสามารถ
11
สร้างความแข็งแกร่งในด้านอํานาจการต่อรอง อันจะนํามาซึ่งการขับเคลื่อนทางเสรษฐกิจการค้าที่มี ความสําคัญยิ่ง 2. การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทาให้เกิดตลาดในภูมิภาคขนาดใหญ่ - โดย สามารถนําจุดแข็งของแต่ละประเทศมาเสริมกับจุดแข็งประเทศไทย เพือ่ สร้างประโยชน์สูงสุดในการผลิต ส่งออก และบริการ ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีมากขึ้น นอกจากนี้ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้ประเทศสมาชิกมีความเป็นปึกแผ่นและ ช่วยสร้างอํานาจ การต่อรองในเทีต่างๆ มากขึ้น 3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยส่งเสริมให้เกิการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนของ ไทย - เนื่องจากการผลักดันมาตรการต่างๆ เพือ่ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อให้เกิดการยกเลิก หรือลดอุปสรรคในการ เข้าสู่ตลาด ไม่วา่ จะเป็นอุปสรรคด้านภาษีหรือมาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่มิใช่ ภาษี เนื่องจากประเทศสมาชิกจะแสวงหาความร่วมมือเพื่อลด/ขจัดอุปสรรคต่างๆ เหล่านั้น รวมถึงอํานวย ความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน 4. ประชาคมเศรษฐกิจจะทาให้ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มปรับตัวและเตรียมความพร้อม - กับ สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจําเป็นต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสที่เกิจา กการลดอุปสรรคทางการ ค้าและการลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมี ความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง 5. เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการภายในประเทศ - จากการใช้ทรัพยากรในการผลิต ร่วมกันและการเป็นพันธมิตรในการดําเนินธุรกิจ ระหว่างประเทศ จากการขจัดอุปสรรคในด้านการค้าและ การลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก 6. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน - จากการดําเนินตามแผนงานในด้านการลดอุปสรรคทั้งด้าน การค้าและการลงทุน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
12
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทําให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นนการ วางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถอื เป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกัน เป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศ สมาชิก แล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกําหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของ องค์กรทีค่ ัญ ในอาเชียน ตลอดจนความสัมพันธ์ในการดําเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับ ความ เปลี่ยนแปลง ในโลกปัจจุบันเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดําเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลือ่ นการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นาํ อาเซียนได้ตกลงกันไว้ทั้งนี้ผู้นําอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอด เซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้ง อาเซียน แสดง ให้เห็นว่าอาเซียนกําลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กําลังจะ ก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสาร ประวัติศาสตร์ ชิ้นสําคัญที่จะปรับเปลีย่ นอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มสี ถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กร ระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมือ่ วันที่ 15 ฤศจิ กายน2551 กฎบัตรอาเซียน จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทําให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิ กาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทํางานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคล แก่อาเซียนเป็นองค์กร ระหว่างรัฐบาล
โครงสร้างและสาระสาคัญของกฎบัตรอาเซียน 13
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก หมวหมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่ หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน หมวดที่ 5 องค์กรทีม่ ีความสัมพันธ์กับอาเซียน หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์ หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดําเนินงาน หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัตสิ ุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้อย่างไร มีขอ้ กําหนดใหม่ๆ ที่ช่วย ปรับปรุง โครงสร้างการทํางานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น และเพิม่ ความยืดหยุ่น ในการแก้ไขปัญหา เช่น 1. ทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคม ในอนาคต 2. มีการตั้งคณะมนตรีประจําประชาคมอาเซียนตามเสาหลัก ทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 3. กําหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจําอาเซียน ไปประจําที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะ 14
แสดงให้เห็นถึงความตั้ง ใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวม ตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียนในอนาคตและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพือ่ เพิม่ ประสิทธิ ภาพ ใน การประสาน งานระหว่างประเทศสมาชิก 4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกัน ได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นาํ กําหนด 5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการ ไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีขอ้ กําหนดว่าหากเกิดปัญหา ที่ กระทบต่อผล ประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิด สถานการณ์ฉกุ เฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อ แก้ปัญหา และกําหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
15
ธงอาเซียน 10 ประเทศ และสัญลักษณ์ของอาเซียน นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งขณะนี้ก็ดูเหมือนว่าประเทศของเราจะมีความตื่นตัว ในการเปิดเขตเศรษฐกิจ เสรีอาเซียนอยูไ่ ม่นอ้ ยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการจัดสัมมนา ฝึกอบรมและ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนอย่างมากมาย สําหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวตั ถุประสงค์เพื่อทําให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิต เดียวกันและมีการเคลือ่ นย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมอื อย่างเสรี ซึ่งอาเซียนมี ความจําเป็นที่ต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอํานาจของประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคทีม่ ีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย เป็นต้น ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คอื ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัด รวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้า หนึ่งใจเดียวกัน สีน้ําเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สําหรับหลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประะเทศ สมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริม่ จากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลําดับอักษรชื่อประเทศดังนี้ 1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม) ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมพี ื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และ 16
สีดํา พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ ด้านบน แถบสีดําอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนัน้ มีตราแผ่นดินของบรูไน ประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์ สีขาว และสีดํา หมายถึง มุขมนตรี สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจํา พระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา) ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริว้ ตรง กลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ บริเวณกึ่งกลาง ขณะทีร่ วิ้ ด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ําเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีน้ําเงิน หมายถึง กษัตริย์ สีแดง หมายถึง ชาติ ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิย์ ุติธรรม
4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว) ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดย แถบตรงกลางจะเป็นสีน้ําเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่ 17
กึ่งกลาง ขณะทีแ่ ถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพือ่ อิสรภาพของชาวลาว สีน้ําเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพือ่ เป็น สัญลักษณ์สอื่ ถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลําน้าํ โขง
5. Malaysia (มาเลเซีย) ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมี ความกว้างเท่ากัน ทีม่ ุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลีย่ มผืนผ้าสีน้ําเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครือ่ งหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่ง สี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาค ของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทัง้ หมด พระจันทร์เสีย้ ว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจําชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุข แห่งสหพันธรัฐ สีน้ําเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่ง สหภาพพม่า) ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้าง 18
เท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สี เขียว และสีแดง ขณะทีก่ ึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของ พม่า สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็น เครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลีย่ มสี ขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จํานวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลีย่ ม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสี ทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสนี ้ําเงิน และแถบล่างมีสีแดง ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตําแหน่งกัน คือ แถบ สีแดงอยู่ดา้ นบน แถบสีน้ําเงินอยู่ดา้ นล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศ ฟิลิปปินส์กําลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มี ความหมาย ดังนี้ สีน้ําเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคณ ุ ค่า ดวงอาทิตย์มีรศั มี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มี ความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการ ปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439 ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมศิ าสตร์ของประเทศออกเป็น 19
3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์) ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ทีม่ ุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์ เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก จํานวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้า เหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสีย้ ว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึง่ สี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทัว่ หน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสีย้ ว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึน้ หมายถึง ความเป็นชาติ ใหม่ที่ถือกําเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย) ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ําเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจํานวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ําเงิน ถัดมาด้านนอก ทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลําดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ําเงินมี ขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีตา่ ง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีน้ําเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ 20
"เครือ่ งหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของ ธงไตรรงค์ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ สีน้ําเงิน หมายถึง สีสว่ นพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คาํ อธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็น ทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนีค้ ืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพือ่ ให้คน ไทยเกิดสํานึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม) ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม เวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นําของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
21
10 อันดับ สกุลเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน 1. อินโดนีเซีย สกุลเงินของประเทศอินโดนีเซียในอันดับ 1 ของทีมงาน TOPTENTHAILAND เป็นสกุลเงินรูเปียห์ (RUPIAH) อัตราแลกเปลีย่ น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 8,900 - 9,030 รูเปียห์ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น เงินไทย 1,000 รูเปียห์ แลกเป็นเงินไทยได้เท่ากับประมาณ 3.2 บาท 2. มาเลเซีย สกุลเงินของประเทศมาเลเซียในอันดับ 2 ของทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงินริงกิต (Ringgit) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ ประมาณ 3.80 ริงกิตมาเลเซีย อัตราแลกเปลีย่ นเป็นเงินไทย 1 ริงกิต มาเลเซีย แลกเป็นเงินไทยได้เท่ากับประมาณ 11.1904 บาท 3. ฟิลิปปินส์ สกุลเงินของประเทศฟิลปิ ปินส์ในอันดับ 3 ของทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงิน เปโซ (Peso) อัตราแลกเปลีย่ น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 42.75 เปโซ่ อัตราแลกเปลีย่ นเป็นเงิน ไทย 1 เปโซ แลกเป็นเงินไทยได้เท่ากับประมาณ 0.7463 บาท 4. สิงคโปร์ สกุลเงินของประเทศสิงคโปร์ในอันดับ 4 ของทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (Dollar) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับประมาณ 1.25 ดอลลาร์สิงคโปร์ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ไทย 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ แลกเป็นเงินไทยได้เท่ากับประมาณ 24.6159 บาท 5. ไทย สกุลเงินของประเทศไทยในอันดับ 5 ของทีมงาน toptenthailand เป็น สกุลเงินบาท (Baht) อัตราแลกเปลีย่ น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 30.25 บาท ธนบัตรที่พมิ พ์ออกใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท 22
6. บรูไนดารุสซาลาม สกุลเงินของประเทศบรูไนดารุสซาลามใน อันดับ 6 ของทีมงาน TOPTENTHAILAND เป็นสกุลเงินดอลล่าร์บรูไน (DOLLAR) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ แลก เป็นเงินไทยได้เท่ากับประมาณ 23.98 บาท บรูไนมีความตกลง แลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทําให้เงินดอลลาร์บรูไน มีมูลค่าเท่ากับเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์ และสามารถใช้แทนกันได้ 7. เวียดนาม สกุลเงินของประเทศเวียดนามในอันดับ 7 ของทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงินด่ง (Dong) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับประมาณ 16,000 ด่ง อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1 บาท ของไทยแลกเป็นสกุลเงินของเวียดนามได้เท่ากับประมาณ 680 ด่ง 8. ลาว สกุลเงินของประเทศลาวในอันดับ 8 ของทีมงาน toptenthailand เป็น สกุลเงินกีบ (Kip) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 8,130 กีบ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1 บาทของไทยแลกเป็นสกุล เงินของลาวได้เท่ากับประมาณ 250 กีบ 9. พม่า สกุลเงินของประเทศพม่าในอันดับ 9 ของทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงินจ๊าด (Kyat) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ ประมาณ 6.4650 จ๊าด อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1 บาทของไทย แลกเป็นสกุลเงินของพม่าได้เท่ากับประมาณ 25 - 30 จ๊าด 10. กัมพูชา เริ่มต้นที่ประเทศแรก สกุลเงินของประเทศกัมพูชาในอันดับ 10 ของ ทีมงาน toptenthailand เป็นสกุลเงินเรียล (Riel) อัตราแลกเปลีย่ น 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประมาณ 3,700 - 3,800 เรียล อัตราแลกเปลีย่ น เป็นเงินไทย 1 บาทของไทย 23
สกุลเงินของประเทศสมาชิกในอาเซียน
24
25
การแต่งกายของประเทศสมาชิกอาเซียน
การแต่งกายของบรูไน
สําหรับชุดของผูช้ าย เรียกว่า บาจู มลายู (BAJU MELAYU) ส่วน ของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (BAJA KURUNG) คล้ายกับชุดประจํา ชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสัน สดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตัง้ แต่ศรีษะจรดเท้า ส่วน ผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสือ้ แขนยาว ตัวเสือ้ ยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขา ยาวแล้วนุ่งโสร่ง ซัมปอต (SAMPOT) เป็นเครื่องแต่งกายประจําชาติของประเทศ กัมพูชา สําหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศ ลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สําหรับผูช้ ายนั้นมักสวมใส่เสือ้ ที่ทํา จากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทัง้ สวมกางเกงขา ยาว
การแต่งกายของกัมพูชา เคบาย่า (KEBAYA) เป็นชุดประจําชาติของประเทศอินโดนีเซีย สําหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อ จะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบ บาติกสําหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่ง กางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมือ่ อยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่ การแต่งกายของอินโดนีเซีย มัสยิด ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สําหรับ ผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุง่ โจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุก เจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย การแต่งกายของลาว 26
สําหรับชุดของผูช้ าย เรียกว่า บาจู มลายู (BEJU MELAYU) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวทีท่ ําจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีสว่ นผสมของผ้าฝ้าย สําหรับชุดของผู้หญิง เรียน กว่า บาจูกุรุง (BAJA KURUNG) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและ กระโปรงยาว การแต่งกายของมาเลเซีย ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบ ยกตัง้ ขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก การแต่งกายของฟิลิปปินส์
การแต่งกายของสิงคโปร์
การแต่งกายของไทย
สิงคโปรไม่มีชุดประจําชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศ สิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และ ชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชือ้ ชาติก็มีชดุ ประจําชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (KEBAYA) ตัวเสื้อจะมีสีสัน สดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอ จีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือ ผ้าแพรจีนก็ไ้ด้ สําหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบ เฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจบี ยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็ม ขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ตดิ กับซิ่นเป็นท่อนเดียวกัน หรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึง่ ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้ง ชายด้านหลังยาวตามทีเ่ ห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บ และรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม สมโอกาสในเวลาค่ํา คืน สําหรับชุดผูช้ ายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจําชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไป 27
ด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตวั สวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ ในงานแต่งงานและพิธกี ารสําคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้า ของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดทีไ่ ด้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วน ผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ การแต่งกายของเวียดนาม ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจําชาติของประเทศพม่า โดยมีการ ออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวม ใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อ ความสะดวกในการสวมใส่ การแต่งกายของพม่า
ดอกไม้ประจาชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน ดอกไม้ประจําชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (SIMPOR) หรือที่ รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (DILLENIA) ดอกไม้ประจําท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะ คล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ําทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษา บาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอกไม้ประจาชาติของบรูไน ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพืน้ เมืองอีกด้วย กัมพูชามีดอกไม้ประจําชาติเป็น ดอกลําดวน (RUMDUL) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิน่ หอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความ หมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สําหรับสุภาพสตรี วิธี ปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่ ดอกไม้ประจาชาติของกัมพูชา สําคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ 28
ดอกไม้ประจําชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (MOON ORCHID) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สดุ โดยช่อดอก นั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนีด้ อกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน ดอกไม้ประจาชาติของอินโดนีเซีย อากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพืน้ ที่ราบต่าํ ของประเทศอินโดนีเซีย ดอกไม้ประจําชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจําปาลาว (DOK CHAMPA) คนไทยรูจ้ ักกันดีในชื่อ ดอกลีลา วดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจําปาลาวมักมีสีสนั หลากหลาย ไม่ เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจําปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุข และความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาใน ดอกไม้ประจาชาติของลาว งานพิธตี ่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย สําหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจําชาติเป็น ดอก พู่ระหง (BUNGA RAYA) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มี เกสรยืน่ ยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดย เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนําไปใช้ ดอกไม้ประจาชาติของมาเลเซีย ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย ดอกไม้ประจําชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (SAMPAGUITA JASMINE) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นใน ตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสทุ ธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อม ถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนํามาใช้เฉลิมฉลองใน ตํานานเรือ่ งเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน ดอกไม้ประจาชาติของฟิลิปปินส์
ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (VANDA MISS JOAQUIM) เป็นดอกไม้ประจําชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตาม 29
ผู้ผสมพันธุ์ คือ MISS AGNES JOAQUIM จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่ รู้จกั มากที่สดุ ในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจําชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. ดอกไม้ประจาชาติของสิงคโปร์ 1981 (พ.ศ.2524) ดอกไม้ประจําชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (RATCHAPHRUEK) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิศ์ รี ซึ่ง ชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสี เหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนใน ชาติอกี ด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – ดอกไม้ประจาชาติของไทย พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือ ไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (LOTUS) เป็นดอกไม้ประจําชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลง พื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครัง้ ดอกไม้ประจาชาติของเวียดนาม
ดอกไม้ประจําชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (PADUAK) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่ง กลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือ สัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ ดอกไม้ประจาชาติของพม่า ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่า
30
อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน อาหารยอดนิยมของบรูไน
อัมบูยัต (AMBUYAT) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะ เด่นอยู่ทตี่ ัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคู เป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะ อยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด ทัง้ นี้ การ รับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดี ที่สุด อาหารยอดนิยมของกัมพูชา อาม็อก (AMOK) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลกั ษณะ คล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนําเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริก เครื่องแกง และกะทิ แล้วทําให้สุกโดยการนําไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้ เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศ กัมพูชานิยมรับประทานปลา เนือ่ งจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามี แหล่งน้ําอุดมสมบูรณ์ ทําให้ปลาเป็นอาหารทีห่ ารับประทานได้ง่าย นั่นเอง อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย กาโด กาโด (GADO GADO) อาหารยอดนิยมของประเทศ อินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด ทั้งแค รอท มันฝรั่ง กะหล่าํ ปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนํามารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอส สะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทําให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลีย่ น กะทิมากจนเกินไปนั่นเอง อาหารยอดนิยมของลาว สลัดหลวงพระบาง (LUANG PRABANG SALAD) เป็นอาหารขึ้น ชื่ออีกชนิดหนึง่ เนือ่ งจากมีรสชาติกลาง ๆ ทําให้รับประทานได้ทงั้ ชาว ตะวันออก และตะวันตก โดยส่วนประกอบสําคัญคือ ผักน้ํา ซึ่งเป็นผัก 31
ป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ําไหล และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธี ปรุงรสคือ ราดด้วยน้าํ สลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว
อาหารยอดนิยมของมาเลเซีย
นาซิ เลอมัก (NASI LEMAK) อาหารยอดนิยมของประเทศ มาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทาน พร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ ต้มสุก และถั่วอบ ซึง่ นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมัก ทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย อาหารยอดนิยมของฟิลิปปินส์ อโดโบ้ (ADOBO) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทําจากเนือ้ หมู หรือเนือ้ ไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่ น้ําส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดํา นําไปทํา ให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนํามารับประทานกับข้าวสวย ร้อน ๆ ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนือ่ งจาก ส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสําหรับพกไว้ เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็น อาหารยอดนิยมที่นํามารับประทานกันได้ทุกทีท่ ุกเวลา อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ ลักซา (LAKSA) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ ลักซามี ลักษณะคล้ายก๋วยเตีย๋ วต้มยําใส่กะทิ ทําให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึง 32
อาหารยอดนิยมของไทย
อาหารยอดนิยมของเวียดนาม
อาหารยอดนิยมของพม่า
กับข้าวซอยของไทย โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุง้ ต้ม และหอยแครง เหมาะสําหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็น อย่างยิง่ อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า ต้มยํากุ้ง (TOM YAM GOONG) แค่เอ่ยชื่อก็เป็นที่ทราบกันดี อยู่แล้วว่า ต้มยํากุง้ เป็นอาหารคาวที่เหมาะสําหรับรับประทานกับข้าว สวยร้อน ๆ กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยํากุ้ง นอกจากจะทําให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังช่วยกระตุน้ การเจริญอาหารได้ เป็นอย่างดี และเนื่องจากต้มยํากุ้งเป็นอาหารที่มีรสเปรีย้ ว และเผ็ดเป็น หลัก ทําให้รับประทานแล้วไม่เลี่ยน จึงทําให้ตม้ ยํากุ้งเป็นอาหารที่ ได้รับความนิยมในทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงชาวต่างชาติเองก็ ติดอกติดใจในความอร่อยของต้มยํากุง้ เช่นเดียวกัน
เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (VIETNAMESE SPRING ROLLS) ถือเป็น หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังทีส่ ุดของประเทศเวียดนาม ความอร่อย ของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ทกี่ ารนําแผ่นแป้งซึ่งทําจากข้าวจ้าวมาห่อ ไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนํามารวมกับผักสมุนไพร อีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนํามารับประทานคู่กบั น้ําจิ้มหวาน โดยจะมีถวั่ คั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอืน่ เพิ่มด้วย หล่าเพ็ด (LAHPET) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนําใบ ชาหมักมาทานกับเครือ่ งเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว 33
กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลกั ษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคําของ ประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารทีข่ าดไม่ได้ในโอกาส พิเศษหรือเทศกาลสําคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงาน เลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว
34
มรดกโลกของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 28 แห่ง อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ (LORENTZ NATIONAL PARK) อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ 2.5 ล้านเฮคเตอร์ เป็นเขตอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่เชื่อมพื้นที่ยอดเขามีหิมะ ปกคลุมกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ํา โดยที่ บริเวณนี้ตั้งอยู่บนจุดบรรจบของสองแผ่นทวีปที่เคลื่อนเข้าหากัน พื้นที่จึงมีความซับซ้อนทางธรณีวิทยา มีการก่อตัวของภูเขาและธาร น้ําแข็ง บริเวณนี้ยังมีแหล่งฟอสซิลซึ่งเป็นหลักฐานของวิวัฒนาการ ของชีวิตบนเกาะนิวกินี และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดใน ภูมิภาค กลุ่มวัดพรัมบานัน (PRAMBANAN TEMPLE COMPOUNDS) กลุ่มวัดพรัมบานัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่บริเวณนี้ สร้างขึ้นใคริสนศตวรรษที่ ๑๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕) เป็นวัดในศาสนา ฮินดูที่ใหญ่ที่สุดเพื่อบูชาพระศิวะในอินโดนิเซีย เหนือขึ้นไปจาก ศูนย์กลางของพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส คือ โบสถ์ ๓ หลังมีภาพแกะสลัก เล่าเรื่องรามเกียรติ์ เพือ่ อุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์ของ ฮินดู (พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม) และสัตว์เทพพาหนะ อุทยานแห่งชาติโคโมโด (KOMODO NATIONAL PARK) อุทยานแห่งชาติโคโมโด อยู่ในประเทสอินโดนีเซีย เป็นเกาะ ภูเขาไฟ ซึ่งเป็นที่อยูอ่ าศัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ๕,๗๐๐ ตัว ด้วยลักษณะและนิสยั ใจคอที่ก้าวร้าว ทําให้พวกมันถูกเรียกว่า “มังกรโคโมโด” สัตว์เหล่านี้ไม่มีทอี่ ื่นในโลก ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจ ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่จะมาศึกษาทฤษฎีของวิวัฒนาการ เนิน เขาที่ขรุขระของท้องทุ่งที่ปราศจากต้นไม้และบริเวณที่มีพืชหนาม 35
ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับหาดทรายขาวกระจ่าง และน้ําสีฟ้าม้วนตัว ไปเหนือปะการัง อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (UJUNG KULON NATIONAL PARK) อุทยานแห่งชาติตงั้ ในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทิศตะวันตกเฉียง ใต้ของชวาแถบไหล่ทวีปซุนดา รวมคาบสมุทรอูจงุ กูลอน เกาะนอกฝั่ง และรวมถึงเขตอนุรกั ษ์ธรรมชาติกรากะตั้ว(KRAKATOA)ด้วย นอกเหนือจากธรรมชาติสวยงามพร้อมกับลักษณะธรณีวิทยาที่ น่าสนใจเพื่อการศึกษาภูเขาไฟบนแผ่นดิน ตอนใน อุทยานแห่งชาตินี้ ยังมีป่าฝนพื้นทีต่ ่ําในทีร่ าบชวา สัตว์และพืชใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงแรด ชวา แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน (SANGIRAN EARLY MAN SITE) แหล่งมนุษย์ยุคเริม่ แรกซังงีรัน อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทีต่ ั้ง แหล่งโบราณคดีขุดค้นพบตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช ๑๙๓๖-๑๙๔๑ (พุทธศักราช ๒๔๗๙-๒๔๘๖) พบฟอสซิลมนุษย์ และต่อมาก็พบ ฟอสซิลของ MEGANTHROPUS ERECTUS/HOMO ERECTUS จํานวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์ เป็นที่อยูอ่ าศัยมาใน อดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง ซังงีรันเป็นสถานที่สาํ คัญที่ทําให้เราเข้าใจ วิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ (BAROQUE CHURCHES OF THE PHILIPPINES) โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ ...โบสถ์ทั้ง ๔ หลังซึ่งหลังแรกสร้าง โดยชาวสเปนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) นั้น ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรีย ปาโออาย และมิอากาโอ รูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงความเป็นบาโรคของ ยุโรปโดยช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์ 36
อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ (TUBBATAHA REEFS NATURAL PARK) อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ ๓๓,๒๐๐ เฮคเตอร์ รวมถึงเกาะปะการังทางเหนือ และใต้ เป็นตัวอย่างของเกาะปะการังที่มีพันธุ์สัตว์ทะเลหนาแน่นมาก เกาะเล็ก ๆ ทางเหนือเป็นที่อยู่ของนกและเต่าทะเล บริเวณนี้เป็น ตัวอย่างที่ดีที่สดุ ของแนวปะการังเก่าแก่ ทีก่ ่อตัวเป็นกําแพงสูงถึง ๑๐๐ เมตร ทะเลสาบกว้างใหญ่และเกาะปะการัง ๒ เกาะ อุทยานแห่งชาติแม่น้ําใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา (PUERTO-PRINCESA SUBTERRANEAN RIVER NATIONAL PARK) อุทยานแห่งชาติแม่น้ําใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา อยู่ในประเทศ ฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นภูมิทัศน์ที่แปลกตาของภูเขาหินปูนที่มีแม่น้ํา อยู่ใต้ดินลักษณะเด่นของแม่น้ําก็คือไหลตรงไปสู่ทะเล และส่วนที่อยู่ ต่ําลงไปนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของกระแสน้ําขึ้นน้าํ ลง บริเวณนี้ยังแสดงให้ เห็นถิ่นฐานสําคัญ สําหรับการอนุรักษ์ความแตกต่างทางชีวภาพ บริเวณนี้มีระบบนิเวศน์แบบ "ภูเขาถึงทะเล" และมีผืนป่าที่สําคัญ ที่สุดในเอเซียอยู่หลายแห่ง มะละกา และจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา (MELAKA AND GEORGE TOWN, HISTORIC CITIES OF THE STRAITS OF MALACCA) มะละกาและจอร์จทาวน์ อยู่ในประเทศทาเลเซีย เมืองแห่งนี้ได้ พัฒนามานานกว่า ๕๐๐ ปี ด้านการค้าขายและการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกบนช่องแคบมะละกา อิทธิพลของเอเชียและยุโรปได้ผสมผสานทางวัฒนธรรม ตึกที่ทําการ ของรัฐบาล โบสถ์ จตุรสั และป้อมปราการต่าง ๆ ทําให้เห็นภาพมะละ 37
กาในยุคต้นของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีต้นกําเนิดมาจากรัฐสุลต่านมาเลย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (PHONG NHA-KE BANG NATIONAL PARK) อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (PHONG NHA-KE BANG NATIONAL PARK) อยูใ่ นประเทศเวียดนาม อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มี วิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคน้ําแข็ง (ราว ๔๐๐ ล้านปี) ดังนั้นบริเวณนี้จึง เป็นพื้นที่ภูมิประเทศแบบหินปูนที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซีย เนือ่ งมาจาก การเปลี่ยนแปลงของพืน้ ผิวโลกอย่างมาก ภูมิทัศน์ของอุทยานมีความ ซับซ้อนด้วยรูปแบบทางธรณีวิทยาหลากหลาย บริเวณที่กว้างขวาง ทอดยาวไปถึงชายแดนของสาธารณรัฐประชาชนลาวนั้น เต็มไปด้วย หินรูปร่างต่าง ๆ รวมถึงถ้ําและแม่น้ําใต้ดนิ ความยาว ๖๕ กิโลเมตร
38
แบบทดสอบ เรื่อง อาเซียน 1. 5 ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนได้เเก่ข้อใด ? ก. มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ข. มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ค. มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ง. อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ติมอร์ พม่า ไทย
6. สีบนพื้นธงอาเซียนมีกี่สี ? ก. 3 สี ข. 4 สี ค. 5 สี ง. 6 สี 7 . สัญลักษณ์ของอาเซียนคือข้อใด ? ก. รวงข้าว 10 ต้น ข. มัดหญ้า 10 ต้น ค. ฝ้าย 10 ต้น ง. มัดผักตบชวา 10 ต้น
2 . รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในตอนลงนาม ปฏิญญาอาเซียนคือใคร ? ก. จอมพลถนอม กิตติขจร ข. นายปองพล อดิเรกสาร ค. พันเอก (พิเศษ)ดร.ถนัด คอมันตร์ 8. AFTA คืออะไร ? ง. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ก. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 3. การลงนามปฏิญญาอาเซียนลงนามเมือ่ ใด ? ข. ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรม ก. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ค. เขตการค้าเสรี ง. เขตการลงทุนอาเซียน ข. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2508 ค. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2512 9. AFTA ย่อมาจากอะไร ? ง. เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2510 ก. ASEAN Free Trade Area. 4. การลงนามปฏิญญาอาเซียนลงนามที่ใด ? ก. พระราชวังจันทรเกษม ข. พระบรมมหาราชวัง ค. พระราชวังสราญรมย์ ง. พระราชวังดุสิต
ข. ASEAN Free Tride Area. ค. ASEAN Vision 2020 ง. ASEAN Troika.
39
5. สมาชิกอีก 5 ประเทศได้เเก่ข้อใด ? ก. เวียดนาม จีน พม่า ลาว ติมอร์ ข. เวียดนาม พม่า ลาว บรูไน กัมพูชา ค. เวียดนาม พม่า ลาว อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ง. พม่า ลาว อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไทย
10. ใครเป็นผู้เสนอให้ก่อตั้ง AFTA ? ก. ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ข. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ค. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ง. นายอานันท์ ปันยารชุน
11. ข้อใดหมายถึง “ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน” ? ก. ASEAN Comminity. ข. ASEAN Political Security Comminity. ค. ASEAN Economic Community ง. ASEAN Socio-Cultural Comminity.
16. หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้ง ที่ 14 คือข้อใด ? ก. กฏบัตรอาเซียน ข. การพยายามผลักดันให้อาเซียนเดินหน้าสู่การ เป็นประชาคมอาเซียน 2015 ค. การพยายามให้ประชาคมอาเซียนมีบทบาทใน ประชาคมโลก ง. พิธีลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรม
12. สํานักเลขาธิการอาเซียนอยู่ที่ใด ? ก. กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ข. บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน ค. เวียงจันทน์ ประเทศลาว ง. พนมเปญ ประเทศกัมพูชา 13. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันคือใคร ? ก. Umarjadi Notowijono ข. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ค. Roderick Yong ง. Narciso G. Reyes
17. การนําร่อง 12 สาขาสําคัญ ประเทศพม่ามี ทักษะอะไร ? ก. การท่องเทีย่ ว การบิน ข. เกษตร ประมง ค. ไม้ ยาง ง. สาขาสุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ
40
14. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนครั้งที่ 13 ประชุมที่ประเทศใด ? ก. ประเทศอินโดนีเซีย ข. ประเทศลาว ค. ประเทศกัมพูชา ง. ประเทศสิงคโปร์
18. การนําร่อง 12 สาขาสําคัญ ประเทศไทยมี ทักษะอะไร ? ก. การท่องเทีย่ ว การบิน ข. อิเล็กทรอนิกส์ ประมง ค. เกษตร ประมง ง. ไม้ ยาง
15. ชื่อย่อของ เขตการลงทุนอาเซียน คือข้อใด ? ก. AIA ข. IAI ค. AEC ง. ARF
19. การนําร่อง 12 สาขาสําคัญ ประเทศฟิลิปปินส์ มีทักษะอะไร ? ก. อิเล็คทรอนิสต์ ข. ยานยนต์ ค. สิ่งทอ ง. สาขาสุขภาพ
20. ข้อใดมิใช่ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ? ก. อินเดีย จีน ข. เเคนาดา สหภาพยุโรป ค. ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ง. ศรีลังกา ไอซ์เเลนด์
41
เฉลย 1. ก 5. ข 9. ก 13.ข 17.ข
2. ค 6. ข 10.ง 14.ง 18.ก
3. ก 7. ก 11.ค 15.ก 19.ก
4. ค 8. ค 12.ก 16.ก 20.ง
42
ขอขอบคุณ ที่มา : http://moac2aec.moac.go.th/ewt_news.php?nid=28 ที่มา : http://www.thaischool.in.th/tringam ที่มา : http://www.nwvoc.ac.th/asean/Asean_Language.html ที่มา: http://www.thaifranchisecenter.com/AEC เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก toptenthailand.com HTTP://WWW.DTN.GO.TH/FILESUPLOAD/AEC/DOCUMENT/CURRENCY.PDF
43
ผู้จัดทา
ชื่อ นายวิชัย สกุล สีไส โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลการผลิต โดย กานต์พิชชา จีระศิริ ครูชานาญการพิเศษ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ WWW.DEBSIRINSP.AC.TH
44
45