Aw เรียงหน้า 25 ceo

Page 1

> กนก ลีฬหเกรียงไกร > กรณ์ ณรงค์เดช > กรัณย์พล อัศวสุวรรณ > กลางชล สุวรรณมงคล > ชูรัชฏ์ ชาครกุล > ธนกร วีรชาติยานุกูล > นพดล จิรวราพันธ์ > เนรมิต สร้างเอี่ยม > ปิติ ภิรมย์ภักดี > พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ > พล อินทเสนี > พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ > วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี > วรสิทธิ อิสสระ > วรางค์ ไชยวรรณ > วิพล วรเสาหฤท > ศิริทิพย์ ศรีไพศาล > นพ.เศรษฐกานต์ อัตถากรพันธ์ > พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ > สกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ > สงกรานต์ เตชะณรงค์ > สุเทพ ปัญญาสาคร > อภิชาติ พัชรภิญโญพงศ์ > อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ > อิศเรศ จิราธิวัฒน์




สำ � นั ก งาน GM Group :

บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จำ�กัด (มหาชน) อาคาร GM Group 914 ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 www.gmgroup.in.th E-mail : gm@gmgroup.in.th โทรศัพท์ : 02 241 8000 แฟ็กซ์ : 02 241 8008

ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ : ปกรณ์ พงศ์วราภา รองประธานกรรมการบริหาร สายงานการเงิน : พรจิตต์ พงศ์วราภา สายงานนิตยสาร : ณิพรรณ กุลประสูตร สายงานพัฒนาธุรกิจ : ฤทธิณรงค์ กุลประสูตร สายงานการตลาด : สืบวงศ์ แก้วทิพรัตน์ ที่ปรึกษา : ภูวนารถ ณ สงขลา, อังคนา ณ สงขลา ประสานงานกองบรรณาธิการ : ณัฐวรินทร์ คำ�เนาวรัตน์ กองบรรณาธิการ : รุจรดา วัฒนโกศัย, พันธ์ศักดิ์ วรรณคำ� หัวหน้าช่างภาพ : ดำ�รงค์ฤทธิ์ สถิตดำ�รงธรรม ฝ่ายภาพ : กิตตินันท์ จรรยางาม, พิชญุตม์ คชารักษ์, วีรพงศ์ ชปารังษี, อนุวัตน์ เดชธำ�รงวัฒน์, สาริน พรดอนก่อ บรรณาธิการอำ�นวยการศิลปกรรม : ประทีป ปัจฉิมทึก ศิลปกรรม : กรพัฒน์ เพิ่มพูลบุญ ศิลปกรรมโฆษณา : สมภูมิ อินทรเทศ กราฟิกดีไซน์ : ประสิทธิ์ เอนกอนันตพันธุ์, วรินทร์ญาพร ฐิติรัตนไชย หัวหน้าพิสูจน์อักษร : เจนจิรา ต่ายเทศ พิสูจน์อักษร : พรกรัณย์ พลับพลี พิสูจน์อักษรภาษาอังกฤษ : สิรยา พงศ์วราภา ผู้จัดการฝ่ายผลิต : สุนีย์ แสงศิโรเวฐน์ แฟ็กซ์กองบรรณาธิการ : 02 243 9099 ผู้จัดการทั่วไป : ภานุวัชร พงศ์วราภา ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา / การตลาด : ก้องวรงค์ สมสา ฝ่ายโฆษณา / การตลาด : เกตุวดี แก้วลิ้มวัฒนา แฟ็กซ์ฝ่ายโฆษณา / การตลาด : 02 241 5888 ผู้จัดการฝ่ายการเงิน : วิมลลักษณ์ อาศัยพานิชย์ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี : ณิชาภา บุพรานนท์ สมุห์บัญชี : ธิรนันท์ เครือภูงา หัวหน้าพนักงานบัญชี : ปราณีวรรณ ตระการพฤกษ์ GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012 พิมพ์ครั้งแรก : มกราคม 2556 แยกสี : บริษัท กนกศิลป์ (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 215 1588 พิมพ์ : บริษัท โอเอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำ�กัด โทร. 02 434 6850

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012 คือหนังสือที่จัดทำ�ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงวิธีคิดและการทำ�งานของนักธุรกิจหรือผู้นำ�รุ่นใหม่ และเพื่อให้หนังสือเล่มนี้กระจายไปสู่กลุ่มผู้อ่านเป้าหมายอย่างกว้างขวางที่สุด จึงจัดวางให้อ่านฟรีตามสถานที่ฮิปๆ ดังต่อไปนี้ สนามบินสุวรรณภูมิ, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา, โรบินสัน, บิ๊กซีราชดำ�ริ, ตลาดต้นสน, Boomerang, UD Town, SCG Shop & Restaurant : Starbucks, Au Bou Pain, True Coffee, Coffee World, Café Amazon, Café De Tu, Café Au Luc, Wawee Coffee, Coffee Alley, Coffee Gallery, Gloria Jeans Coffee, Coffee World, Mont Blanc, Ka-nomFashion Bakery, ไล-บรา-ลี่, Gallery กาแฟ ดริป, To Fast To Sleep, A & W, ดิ อันดามัน, amici, Greyhound Café, Vanilla Garden, Gustoso, The Fifth Food Avenue, The Manhattan Fish Market, นารายณ์ พิซเซอเรีย, Subway Fitness : Sport City, สโมสรทหารบก, ไคโรฟิต Office Building : Park Venture, อับดุลราฮิม เพลส, จามจุรี สแควร์, ชาร์เตอร์ สแควร์, เอ็มไพร์ ทาวเวอร์, เอราวัณ บางกอก, อาคาร 208, เพลินจิต เซ็นเตอร์, มณียา เซ็นเตอร์, อาคารมโนรมย์, อาคารวานิสสา, ต้นสน ทาวเวอร์, สาธรซิตี้ ทาวเวอร์, สินธร ทาวเวอร์ 1, เลค รัชดา ทาวเวอร์, ทรู ทาวเวอร์, ทิปโก้ ทาวเวอร์ Showroom & Hotel : Rolls-Royce, Honda, Toyota, Benz ทองหล่อ, BMW : Autohaus Bavaria, Isuzu, โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค, โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ, โรงแรมโนโวเทล บางนา, โรงแรมหรรษา Bank & Finance : ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทย, Bank of China, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, AYS, MFC, ห้องสมุดมารวย (อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ศูนย์การค้าเอสพลานาด, มหาวิทยาลัยสยาม และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) Other : คลิกเรดิโอ, True Life, True Shop, Perfect Shine, มหาวิทยาลัยชั้นนำ�, ศูนย์นักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัย


AD-SCB SMB


CONTENTS

068

012 016 020 026

030 034 040 046

050 054 058 064

กนก ลีฬหเกรียงไกร (KANOK Leelahakriengkrai) กรณ์ ณรงค์เดช (KORN Narongdech) กรัณย์พล อัศวสุวรรณ (KRANPHOL Asawasuwan) กลางชล สุวรรณมงคล (KLANGCHOL Suwanmongkol)

074

ชูรัชฏ์​์ ชาครกุล (CHURAT Chakarakul) ธนกร วีรชาติยานุกูล (TANAKORN Weerachatyanukul) นพดล จิรวราพันธ์ (NOPHADON Jiravaraphan) เนรมิต สร้างเอี่ยม (NERAMIT Srangiam)

098

ปิติ ภิรมย์ภักดี (PITI Bhirombhakdi) พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (PONGSUK Hiranprueck) พล อินทเสนี (PAUL Inthaseni) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (PITA Limjaroenrat)

080 086 092

104 108 112

116 122 128 132

วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี (WORAVIT Chailimpamontri) วรสิทธิ อิสสระ (VORASIT Issara) วรางค์ ไชยวรรณ (VARANG Chaiyawan) วิพล วรเสาหฤท (VIPON Vorasowharid) ศิริทิพย์ ศรีไพศาล (SIRITHIP Sripaisal) นพ.เศรษฐกานต์ อัตถากรพันธ์ (Dr. SETTHAKARN Attakonpan) พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (Col. Dr. SETTAPONG Malisuwan) สกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ (SAKULTHORN Juangroongruangkit) สงกรานต์ เตชะณรงค์ (SONGKARN Taechanarong) สุเทพ ปัญญาสาคร (SUTHEP Panyasakorn) อภิชาติ พัชรภิญโญพงศ์ (APICHART Patcharapinyopong) อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ (AITTHIPAT Kulapongvanich) อิศเรศ จิราธิวัฒน์ (ISAREIT Chirathivat)


GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

AD-DAPPER



เมื่อปี 2554 GM Group ได้จัดท�ำหนังสือพิเศษ ในชื่อ Good to Great 50 CEOs of Thailand 2010-2011 ครั้ ง นั้ น เราได้ สั ม ภาษณ์ แ ละ รวบรวมข้อมูลของนักธุรกิจมือเก๋าถึง 50 คน ทีน่ ำ� พาองค์กรทีด่ อี ยูแ่ ล้วไปสูอ่ งค์กรทีย่ งิ่ ใหญ่ ไร้เทียมทานขึ้นไปอีก บุคคลเหล่านัน้ เล่าให้เราฟังถึงเส้นทางชีวติ เส้นทางธุรกิจทีไ่ ด้ผา่ นมาอย่างโชกโชน เราได้ เก็บเกีย่ วเคล็ดลับความส�ำเร็จทัง้ ในการบริหาร งาน บริหารคน ซึง่ อย่างทีค่ าดเดาได้วา่ 50 คน 50 เส้นทาง ไม่มีสูตรความส�ำเร็จที่ตายตัว แต่ ขึน้ อยูก่ บั ว่าเราจะน�ำมาประยุกต์ปฏิบตั อิ ย่างไร และในครั้ ง นี้ ถื อ เป็ น โอกาสพิ เ ศษอี ก ครั้ ง ที่ GM Group รวบรวมบทสัมภาษณ์นักธุรกิจรุ่น ใหม่ ที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ แม้ ไ ม่ ถึ ง กั บ เป็ น ธุรกิจใหญ่ทำ� เงินได้มหาศาล แต่อาจเป็นสินค้า หรือบริการที่อยู่ในใจผู้บริโภคก็ได้ เราเริม่ ได้เห็นเจ้าของธุรกิจหรือผูบ้ ริหารระดับสูงเป็นคนทีม่ อี ายุนอ้ ยเพิม่ จ�ำนวน ขึ้นเรื่อยๆ และคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาในยุคของเทคโนโลยี ในยุคของการค้าเสรี มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง หากจะบอกว่า เศรษฐกิจยุคนี้ขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่คงไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น องค์กรใหญ่ ธุรกิจครอบครัว หรือกระทั่งวิสาหกิจขนาดเล็ก ก็ต้องการวิสัยทัศน์ของคน วัยหนุ่มสาว เพื่อน�ำพาธุรกิจวิ่งไปให้ทัน หรือก้าวไปดักหน้ากระแสโลกาภิวัตน์ที่นับวัน ก็ยิ่งเคลื่อนที่เร็วขึ้นทุกที นักธุรกิจจ�ำนวนหนึง่ เป็นผูส้ บื ทอดธุรกิจของครอบครัว ซึง่ อาจจะมองได้วา่ โชคดีกว่าการ เริ่มต้นธุรกิจขึ้นจากศูนย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแบกรับแรงกดดันว่าต้องพากิจการให้ อยูร่ อดได้เทียบเท่า หรือดีกว่าทีร่ นุ่ ก่อนๆ ได้ทำ� มา กระทัง่ ต้องขยายธุรกิจให้มคี วามยัง่ ยืน ต่อไปด้วย ความท้าทายของทายาทธุรกิจเหล่านี้ คือการพิสูจน์ความสามารถให้ทั้งบุคคลใน ครอบครัว กระทั่งพนักงานในบริษัทยอมรับและเชื่อถือว่าจะสามารถเป็นผู้น�ำรุ่นต่อไปได้

สิ่งที่ต้องมีมากกว่าประสบการณ์

นักธุรกิจหลายคนที่จะได้เห็นในหนังสือพิเศษเล่มนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง เริ่มจากขนาดเล็ก แล้วค่อยๆ เติบโตขึ้นมาจนประสบความส�ำเร็จในเวลาเพียงไม่กี่ปี ค�ำว่า ‘ประสบการณ์’ ไม่ใช่จุดตั้งต้นของความส�ำเร็จเสมอไป การค้นหาจุดแข็งในด้านอื่นๆ มาทดแทนประสบการณ์ที่เป็นจุดด้อย คนรุ่นใหม่ต้องมองเห็น ‘โอกาส’ แล้ว ‘ลงมือท�ำ’ 009


โอกาสที่ว่าคือ ความต้องการของตลาด เพราะคนเรามีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่มี ผลิตภัณฑ์ใดทีส่ ามารถตอบสนองได้ครอบคลุมทุกความต้องการในทุกกลุม่ ผูบ้ ริโภคได้ ดังนัน้ เจ้าของ ธุรกิจจึงต้องรูจ้ กั สินค้าอย่างดี รูจ้ กั กลุม่ เป้าหมาย เข้าใจลูกค้า แล้วสร้างผลิตภัณฑ์ทแี่ ตกต่างแต่ตรงใจ กับผู้บริโภคได้ จึงเป็นการเปิดประตูสู่ความส�ำเร็จ นอกจากนั้น มีหลายหนทางที่จะมาชดเชยประสบการณ์ที่นักธุรกิจรุ่นใหม่จะมีไม่เทียบเท่ากับ นักธุรกิจรุ่นเก๋า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จ�ำกัด เคยบอกเอาไว้ในงานเสวนา ‘แรงบันดาลใจ...นักธุรกิจรุ่นใหม่’ ว่า ถึงแม้จะจนเงิน จนประสบการณ์ แต่หากไม่จนความรู้ พิสูจน์ ให้เห็นว่ามีความรู้ในเรื่องธุรกิจที่จะท�ำอย่างถ่องแท้และรอบด้าน ซึ่งสามารถหาความรู้ได้จากทั้งใน ต�ำรา เรียนรู้จากคนรอบข้าง ประสบการณ์ของคนอื่น รู้จักใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ที่สามารถ หาข้อมูลทั่วโลกได้จากอินเตอร์เน็ต ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของคนรุ่นใหม่ คือ การมองเห็นเทรนด์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถ เจาะเทรนด์นั้นในมุมลึกได้ด้วย โดยเฉพาะการใช้สื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในการท�ำการตลาด ที่ได้เปรียบสื่อดั้งเดิมในเรื่องของ ความรวดเร็วและเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และสื่อสารถึงผู้บริโภคได้ทันทีและ ตรงกลุ่มมากกว่า ที่ส�ำคัญกลุ่มผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีก�ำลังการใช้จ่ายสูง ในขณะที่ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางการตลาดที่มีต้นทุนต�่ำ

การบริหารงานของผูน้ ำ� องค์กรรุน่ ใหม่ โอลิเวอร์ เซโกเวีย ผูเ้ ขียนหนังสือ Passion & Purpost : Stories from the Best and Brightest Young Business Leaders ได้ร่วมกับเพื่อนคือ จอห์น โคลแมน และ แดเนียล กูลาติ รวบรวมข้อมูลเชิงลึกว่า สิ่งที่ผู้น�ำองค์กรธุรกิจรุ่นใหม่ควรให้ความส�ำคัญ คือ • สามารถท�ำงานข้ามสายงานระหว่าง 3 ภาคส่วน คือ รัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงผลก�ำไร เป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้กับธุรกิจ • ต้องมีวิสัยทัศน์ระดับโลก มีความสามารถในการบริหารและด�ำเนินธุรกิจอย่างเป็นสากล รู้จักเรียนรู้ประสบการณ์จากต่างแดน • รูจ้ กั ใช้เทคโนโลยีเพือ่ เพิม่ ความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ เทคโนโลยีการสือ่ สาร ไร้สาย และการใช้โซเชียลมีเดีย • เรียนรู้เพิ่มเติมอย่างไม่มีสิ้นสุด ศึกษาความส�ำเร็จและความล้มเหลวจากประสบการณ์ของผู้อื่น ในทุกมุมโลก • บริหารองค์กรที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรมให้ได้ • บริหารธุรกิจให้มีความยั่งยืนบนพื้นฐานของการอนุรักษ์ชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม คนรุ่นใหม่ที่รู้จักดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ หมั่นเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ และ รู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงไม่ยากที่จะท�ำธุรกิจให้ประสบความส�ำเร็จโดยไม่ต้องใช้ เวลานานเหมือนคนในยุคก่อน

010

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012



เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

012 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

กนก

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

01

ลีฬหเกรียงไกร KANOK Leelahakriengkrai กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเด้นโบล์ จ�ำกัด

New Bowling, New Style ไม่มีใครไม่รู้จัก โบว์ลิ่ง (Bowling) แบรนด์เครือ่ งแต่งกาย ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานตั้งแต่ ปี 2516 กนก ลีฬหเกรียงไกร ทายาทธุรกิจรุ่นที่ 2 ได้เข้ามา รับช่วงต่อในการสืบทอด Family Business ในฐานะกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โกลเด้นโบล์ จ�ำกัด เป็นเวลา 10 ปีแล้วที่ กนกเข้ามา ‘ยกเครื่อง’ องค์กร ให้เดินหน้าไปพร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงของโลกแฟชั่น

การ Rebranding ของโบว์ลิ่ง 2 ครั้งที่ผ่านมาได้สร้างสิ่ง ใหม่ให้องค์กร และถือเป็นก้าวที่น่าจับตา เพราะสามารถ สร้างฐานลูกค้าใหม่ได้เป็นจ�ำนวนมาก พร้อมกับสามารถ สร้าง Brand Loyalty โดยครั้งแรกเป็นการรีแบรนด์โลโก้ เคาน์เตอร์ และสไตล์ให้ดูร่วมสมัยขึ้น และครั้งที่สอง ได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่และขยายไลน์สินค้าไปสู่เสื้อผ้า ส�ำหรับเด็กแบรนด์ Bowling Kids ความสามารถของกนกเป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด จาก การประยุกต์เอาความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมาผสมผสาน เข้ากับการท�ำธุรกิจได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ยอดขายสินค้า ของโบว์ลิ่งพุ่งสูงขึ้น และถือเป็นโมเดลการท�ำธุรกิจที่ น่าสนใจ 013


“โบว์ลิ่งคือเครื่องแต่งกาย ที่แคร์ลูกค้า แคร์ธรรมชาติ รักษ์โลก รักธรรมชาติ นั่นคือ Brand Awareness ของลูกค้าที่มีต่อ โบว์ลงิ่ พูดได้วา่ ในเมืองไทย ไม่มีเสื้อผ้าแบรนด์ไหน ที่เอาจริงเอาจังเรื่องนี้... ผมเลยเริ่มก่อน” 40 ปีแห่งความส�ำเร็จ บริษัท โกลเด้นโบล์ จ�ำกัด กนก คือผู้บริหารไฟแรงแห่ง บริษัท โกลเด้น โบล์ จ�ำกัด เขาเป็นนักบริหารที่ไม่หยุดนิ่งที่ จะพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ พิสูจน์ ได้จากช่วงแรกๆ ที่เข้ามาท�ำงาน ล�ำดับแรก กนกได้ทำ� Survey ว่าใครคือลูกค้าของโบว์ลงิ่ จากนั้นเริ่มส�ำรวจจริงจังเมื่อประมาณ 6 ปีทแี่ ล้ว โดยท�ำปีละรอบ ความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจของ กนกท�ำให้เขาได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าของโบว์ลิ่งมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนรุ่นแรกมีอยู่ประมาณ 10% ถัดมาคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ 20% และสุดท้าย กลุ่มคนตรงกลางประมาณ 70% คนรุน่ แรกทีใ่ ช้โบว์ลงิ่ มาตัง้ แต่แรก ใช้คำ� ว่า Bowling Gold สินค้าส�ำหรับคนกลุ่มนี้จึงมี ราคาแพง เนื้อผ้าดีกว่าปกติ คนรุ่นกลาง ใช้ค�ำว่า Comfort Life อายุ ประมาณ 35-40 ปี ครอบคลุมคนที่ท�ำงาน ถึงระดับหนึ่งแล้วแต่ยังท�ำงานอยู่ หุ่นเปลี่ยน แพตเทิร์นเปลี่ยน ความสนใจก็เปลี่ยน คนรุน่ ใหม่ ใช้คำ� ว่า Smart Fit เสือ้ ผ้าเป็น แบบ Slim ใส่สบาย ลุคดูเป็นคนรุ่นใหม่ กนกเจาะตลาดเสื้อผ้าส�ำเร็จรูปโดยใช้ กลยุทธ์ Customer Centricity “เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ท�ำให้ลูกค้า รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ เขาจะไม่รู้สึก แปลกแยกเลย ถ้าเราปรับคอนเซ็ปต์ทันที 014

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

ลูกค้าอาจจะตกใจและเขาก็ไม่ซื้อ แต่ถ้าเรา ค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ จูน เขาจะรู้ว่าอายุเท่านี้ เขาต้องใส่ Comfort Life อายุเท่านีเ้ ขาต้องใส่ Smart Fit แล้วลึกเข้าไปอีกในแต่ละเคาน์เตอร์ ก็ต้องมีไซส์ที่ต้องเหมาะสมกับลูกค้าด้วย” กนกอธิบาย กนกมองว่าปัจจัยสู่ความส�ำเร็จที่ท�ำให้ โบว์ลิ่งครองใจคนไทยมาได้อย่างยาวนาน อยู ่ ที่ ค วามลงตั ว ระหว่ า งสิ น ค้ า ลู ก ค้ า ห้างสรรพสินค้า และสื่อมวลชน “ผมว่ า นี่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ลู ก ค้ า เกิ ด ความรู้สึกร่วมกับแบรนด์ นี่เป็น Key ที่สวย ถ้าเราลงน�ำ้ หนักถูก โดยทีเ่ ราก็ชเู รือ่ งอนุรกั ษ์ ธรรมชาติและการสร้างแบรนด์สินค้า และ การที่ เ ราไม่ ห ยุ ด นิ่ ง กั บ การที่ ส ร้ า ง Story เปรียบเหมือนคุณเล่นหุ้น จริงๆ พื้นฐานหุ้น ก็คอื ก�ำไรขาดทุน แต่วา่ หุน้ ทีม่ นั ขึน้ ลงจนเกิน มูลค่าเพราะการสร้าง Story สร้างข่าว ปลุก กระแสเชิงจิตวิทยาเพื่อให้มูลค่าหุ้นสูงเกิน จริง การสร้าง Brand ให้แข็งแรงขึ้นก็คล้ายๆ กัน ผมว่า Bowling ก�ำลังจะไปสู่จุดนั้น “ผมรู ้ สึ ก ว่ า ตั้ ง แต่ ท� ำ เสื้ อ สี เ หลื อ งขึ้ น มาก็ ไ ม่ เ คยหยุ ด เลย เสื้ อ สี เ หลื อ งเราท� ำ เป็นเจ้าแรก ที่ไม่มีคนเชื่อว่าตลาดห้างจะมี เสื้ อ สี เ หลื อ งได้ เชื่ อ แต่ ว ่ า ตลาดเสื้ อ ตั ว ละ

100 บาท ไม่มใี ครคิดว่าตลาดตัวละ 700-800 บาทจะมี ได้ แล้วก็ตลาดเสื้อสีชมพู ไม่มีใครท�ำ เราท�ำเป็น เจ้าแรกเลย เพราะเราวิเคราะห์แล้วว่าสีชมพูเป็น สีของสุขภาพของในหลวง ตอนแรกเป็นแถบปก เป็นสีชมพูของเสื้อเหลืองก่อน แล้วต่อมาพระองค์ ท่านใส่ฉลองพระองค์เสื้อสีชมพูมาเลยบูมเลย แล้ว ก็ ไ ล่ ม าเสื้ อ ที่ เ ราท� ำ เพื่ อ ไว้ อ าลั ย สมเด็ จ พระเจ้ า พีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นาฯ แล้วก็มเี สือ้ Not too Late ก็มีลายปั๊มนิ้วบนกิ่งไม้ เป็นสัญลักษณ์เหมือน การอนุรักษ์ธรรมชาติที่เขามีส่วนร่วมได้ แล้วก็มี โปรเจ็กต์เรื่อยๆ ทุกปีเราต้องมีอะไรมาเซอร์ไพรส์ ลูกค้า ให้เขารูส้ กึ ดี ถ้าตามข่าวเรือ่ ยๆ ก็จะเห็นว่า เดีย๋ ว เราก็มา ลูกค้าประจ�ำก็เห็นการเคลื่อนไหวของเรา ปกติ เ ขาซื้ อ เสื้ อ ได้ แ ค่ เ สื้ อ แต่ ซื้ อ เสื้ อ ของผม ได้มากกว่านั้น” กนกกล่าว ส่วนความท้าทายในการท�ำงานของนักบริหาร ไฟแรงผูน้ ี้ คือการสร้าง Value ให้กบั ลูกค้า พนักงาน และผู้ถือหุ้น โจทย์ใหญ่ของเขาคือท�ำอย่างไรให้ ผู้ถือหุ้นมีความสุขกับการที่ได้มาถือหุ้นกับบริษัท โกลเด้นโบล์ ให้มีรายได้ที่ดีที่รู้สึกว่าคุ้มค่ากับการ ลงทุน ถัดมาคือท�ำอย่างไรให้พนักงานมีความสุขกับ การท�ำงานกับบริษัท สุดท้ายได้แก่ การท�ำอย่างไร ให้ ลู ก ค้ า ซื้ อ แบรนด์ ข องโบว์ ลิ่ ง ใช้ แ บรนด์ แ ล้ ว รับแบรนด์ให้อยู่ในใจ


Bowling The Happiness In Everyday

ดูดีได้ทุกวัน กับโบว์ลิ่ง โบว์ลิ่งสร้างกระแสทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ อีกครั้ง จากการปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่และ ขยายไลน์ สิ น ค้ า ไปสู ่ เ สื้ อ ผ้ า ส� ำ หรั บ เด็ ก ภายใต้แบรนด์ Bowling Kids กนกอธิบายรายละเอียดของโลโก้ใหม่ ของโบว์ลิ่งให้ฟังว่า โลโก้ใหม่ของโบว์ลิ่งเป็น รูปเมล็ดซิกามอร์ ซึ่งเป็นเมล็ดของต้นเมเปิ้ล มีปีกคล้ายกับใบพัดที่ท�ำหน้าที่พยุงเมล็ด ให้ร่อนบินไกลออกไปจากบริเวณต้น กนก ประทับใจในลีลาการร่อนของเมล็ดซิกามอร์ จึงน�ำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของโบว์ลิ่ง เมล็ ด ซิ ก ามอร์ ยั ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง ความก้าวไกลและตัวแทนของการเริ่มต้นสิ่ง ใหม่ๆ ทีย่ งั่ ยืนงอกงาม สอดคล้องกับแนวทาง การท�ำธุรกิจของโบว์ลิ่ง “เราตัง้ ใจพัฒนาแบรนด์อย่างไม่หยุดนิง่ จึงมีสิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกค้าเสมอ นอกจากนั้น โลโก้ใหม่ของเรายังสะท้อนบุคลิกของแบรนด์ ที่ ผ สมผสานความอบอุ ่ น จริ ง ใจ ความมี วิสยั ทัศน์ และใส่ใจในธรรมชาติอกี ด้วยครับ” กนกว่าพลางยิ้ม กว่ า ที่ โ ลโก้ ใ หม่ ข องโบว์ ลิ่ ง จะเสร็ จ สมบูรณ์ ทีมงานต้องท�ำงานกันอย่างหนัก ใน การระดมสมอง ใช้เวลาเตรียมการประมาณ ครึง่ ปี ผ่านการท�ำงานเป็นทีมเวิรก์ ของทัง้ ทีม รี เ สิ ร ์ ช , แบรนด์ ค อนซั ล ท์ , ที ม ดี ไ ซเนอร์ , ทีมผู้บริหาร รวมถึงให้ความส�ำคัญกับเรื่อง ทางกฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาด้วย การปรับเปลี่ยนโลโก้ของโบว์ลิ่งส่งผล ให้ยอดขายพุง่ กระฉูด รวมถึงสร้างการรับรูใ้ ห้ ลูกค้ารู้สึกว่าโบว์ลิ่งเป็นแบรนด์ที่น�ำเอา Eco Trend หรือเทรนด์การอนุรักษ์ธรรมชาติและ รักษาสิ่งแวดล้อม มาผสมผสานเข้ากับการ ด�ำเนินธุรกิจได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ ที่ ผ ่ า นมา โบว์ ลิ่ ง จั ด กิ จ กรรมอนุ รั ก ษ์ สิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่า

สากลโลก (WWF) อย่างต่อเนื่อง นอกจาก นั้น ยังเข้าไปมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดแคมเปญกระตุน้ ให้คนหันมารักษา สิ่งแวดล้อม “วันนี้เราอาจท�ำได้เพียงการ สร้างจิตส�ำนึก แต่ก็ท�ำอย่างเต็มที่ เพื่อหวัง จะสร้างจิตส�ำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้น มาในใจผู้บริโภคให้ได้ เป็น Value Add ที่ ลูกค้าอาจไม่สามารถเข้าไปท�ำตรงนั้นได้ แต่ เพียงแค่อดุ หนุนสินค้าโบว์ลงิ่ ก็เป็นสิง่ ทีแ่ สดง ว่าคุณก็ได้เป็นหนึ่งพลังที่มีส่วนช่วยรักษา สิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อมแล้วครับ “โบว์ลิ่งคือเครื่องแต่งกายที่แคร์ลูกค้า แคร์ธรรมชาติ รักษ์โลก รักธรรมชาติ นั่นคือ Brand Awareness ของลูกค้าที่มีต่อโบว์ลิ่ง พูดได้วา่ ในเมืองไทยไม่มเี สือ้ ผ้าแบรนด์ไหน ที่ เ อาจริ ง เอาจั ง เรื่ อ งนี้ . ..ผมเลยเริ่ ม ก่ อ น” กนกบอก ส�ำหรับการเปิดตัวเสื้อผ้าส�ำหรับเด็ก Bowling Kids แสดงให้เห็นความไม่หยุดนิ่ง ในการพัฒนาธุรกิจ เสื้อผ้าโบว์ลิ่ง คิดส์ แตกต่างจากเสื้อผ้า เด็ ก แบรนด์ อื่ น อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด เริ่ ม จาก ขั้นตอนการออกแบบภายใต้ปรัชญา Child Safe โดยค�ำนึงถึงความปลอดภัยต่อผูส้ วมใส่ เป็ น อั น ดั บ แรก ใช้ ผ ้ า ที่ ผ ่ า นกระบวนการ Hygiene Wash สี ที่ ใ ช้ ใ นการย้ อ มและ เส้นด้ายผ่านการทดสอบเรือ่ งการระคายเคือง จึงไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง ยึดหลัก Easy Care จึงดูแลรักษาง่าย โบว์ลงิ่ คิดส์ ประเดิมตลาดด้วยเสือ้ ผ้าส�ำหรับ เด็กอายุ 6-12 ปี เปิดตัวช่วงเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับการตอบรับ จากพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นจ�ำนวนมาก และ มียอดขายเป็นที่น่าพอใจ ปี 2556 กนกจะสร้างสีสันอะไรใหม่ๆ ให้โลกแฟชั่นอีกบ้าง จับตาดูกันให้ดี

KANOK

Leelahakriengkrai BOWLING

Kanok Leelahakriengkrai, Managing Director of Golden Bowl Co., Ltd. is the family business heir who initiated the rebranding of ‘Bowling’, a well-known apparel brand established in 1973. The rebranding which included a new logo and a new look for the retail stores not only strengthened brand loyalty but also attracted a new base of consumers. The new line ‘Bowling Kids’ is quickly becoming a popular choice for parents who want only the safest garment for their children. Bowling continues to be a successful Thai apparel brand through Kanok’s tasteful adaptation of environmental awareness into his business planning.

PROFILE กนก ลีฬหเกรียงไกร ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจ เอกการตลาด จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต การจัดการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเก็บเกีย่ วประสบการณ์จากการเข้าเรียนหลักสูตร Executive Programs, Kellogg School of Management, Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา 015


016


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

กรณ์

ณรงค์เดช

ภาพ : วีรพงศ์ ชปารังษี

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

02

KORN Narongdech KPN Group

ความสุขคือการท�ำงาน กรณ์ ณรงค์เดช คือทายาทธุรกิจเครือ เคพีเอ็น กรุป๊ เขาแสดงให้เห็นถึงความ สามารถในการบริหารธุรกิจในแบบ นักบริหารมืออาชีพผ่าน 2 บทบาท ทีแ่ ตกต่างกันอย่างสุดขัว้ คือในฐานะ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั เคพีเอ็น ไลฟ์สไตล์ จ�ำกัด ด�ำเนินธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์ระดับพรีเมียม และประธาน กรรมการบริหาร บริษทั เคพีเอ็น อวอร์ด จ�ำกัด ด�ำเนินธุรกิจดนตรีครบวงจร ทัง้ สถาบันดนตรี, ค่ายเพลง และรายการ ประกวดร้องเพลง

หลังเรียนจบปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ กรณ์เดินทางกลับเมืองไทย เพือ่ ช่วยพีช่ ายคนรอง ณพ ณรงค์เดช ดูแลคอนโดมิเนียมโครงการแรก ของบริษทั ‘The Cadogan’ คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียมในซอย สุขมุ วิท 39 โดยมีมลู ค่ากว่า 320 ล้านบาท นักบริหารไฟแรงสร้างความแตกต่างของคอนโดฯ ด้วยการเนรมิต ทุกอย่างทีค่ อนโดฯ อืน่ ไม่ได้จดั เตรียมไว้ให้ผอู้ ยูอ่ าศัย ปรากฏว่า The Cadogan ประสบความส�ำเร็จอย่างงดงาม สร้างสถิตขิ ายหมด ภายใน 2 เดือน ทัง้ ทีต่ อนเปิดให้จองไม่ได้มหี อ้ งตัวอย่างให้ดู และโปรเจ็กต์ตอ่ มาคือโครงการ Vincente ก็ประสบความส�ำเร็จเช่นกัน หลังปลุกปัน้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนฮิตติดลมบน กรณ์หนั ไปทุม่ เทเวลา ให้กบั เคพีเอ็น อวอร์ด เวทีการประกวดร้องเพลงในระดับต�ำนานของ เมืองไทย เขาปรับโฉม เคพีเอ็น อวอร์ด ให้กา้ วไปกับยุคสมัยทีเ่ ปลีย่ นไป โดยท�ำเป็นรูปแบบรายการเรียลิตปี้ ระกวดร้องเพลงทางโทรทัศน์ แต่ยงั ให้ความส�ำคัญกับคุณภาพของนักร้องและเกณฑ์การให้คะแนน ของกรรมการ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กบั ธุรกิจบันเทิงแตกต่างกันอย่างสุดขัว้ แต่กรณ์ สามารถบริหารจัดการให้ธรุ กิจทัง้ สองประสบความส�ำเร็จได้เหมือนๆ กัน 017


ใช้ความต่าง ปลุกปั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรณ์ชิมลางการท�ำธุรกิจตั้งแต่ตอนอายุ 16 ด้วยการเป็นแฟรนไชส์ เพือ่ จ�ำหน่ายนาฬิกาหรูนำ� เข้าจาก The Hourglass ประเทศสิงคโปร์ ต่อมาได้ขายคืนให้กับพาร์ทเนอร์ของเจ้าของก่อนช่วงฟองสบู่แตก เมือ่ ปี พ.ศ. 2540 แต่การท�ำธุรกิจครัง้ แรกก็ทำ� ให้เด็กหนุม่ ได้เรียนรู้ สิ่งต่างๆ ไปมากพอสมควร พอจบปริญญาโท สาขาการบริหารทรัพยากรบุคคล จาก ประเทศอังกฤษ ก่อนกลับเมืองไทย กรณ์ไปศึกษาเพิ่มเติมด้าน ออกแบบดีไซน์ ที่โรงเรียนแถวบ้านในอังกฤษ เป็นเวลา 6 เดือน กรณ์ ก ้ า วสู ่ ส นามธุ ร กิ จ โดยการเข้ า ไปช่ ว ยพี่ ช ายคนรอง ‘ณพ ณรงค์เดช’ ที่บริษัท เคพีเอ็น ไลฟ์สไตล์ จ�ำกัด โดยดูแล โครงการอสังหาริมทรัพย์โครงการแรกของบริษทั ทีช่ อื่ The Cadogan คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียมในซอยสุขุมวิท 39 เขาทุ่มเทกับงาน แรกที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดความสามารถ สร้างความแตกต่าง ของคอนโดฯ เช่น จัดเตรียมทุกอย่างที่คอนโดฯ อื่นๆ ไม่มีให้กับ ผู้อยู่อาศัย “ก่อนเริ่มโครงการคอนโดฯ โครงการใหม่ ผมจะมีไบเบิลของ ความผิดพลาด ให้ทีมงานลิสต์ข้อผิดพลาดต่างๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในโครงการทีผ่ า่ นมา และสอบถามกลุม่ ตัวอย่างว่า ก่อนซือ้ คอนโดฯ ให้ความส�ำคัญกับสิ่งใดบ้าง เช่น ขนาดห้อง ดีไซน์ พื้นที่ หรือ ประโยชน์ใช้สอย” กรณ์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ เพือ่ ให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้า กรณ์ลงทุนไปพูดคุยและ สอบถามสิง่ ทีล่ กู ค้าต้องการด้วยตัวเอง พอลูกค้าตัดสินใจซือ้ คอนโดฯ เชื่อหรือไม่ว่า เขายังแบ่งเวลาไปให้ค�ำแนะน�ำในการตกแต่งด้วย ถึงขนาดเลือกแบบสีพรมและหลอดไฟด้วยตัวเอง ความเป็นคนช่างคิดของกรณ์สะท้อนให้เห็นผ่านการสร้าง จุดขายให้ The Cadogan โดยท�ำอาคารบางส่วนให้โค้ง แตกต่างจาก คอนโดฯ ทั่วไปที่เป็นสี่เหลี่ยม เขาวางแนวคิดให้เป็นคอนโดฯ ที่ให้ ความรูส้ กึ เหมือนอยูบ่ า้ น แต่ขณะเดียวกันก็มสี งิ่ อ�ำนวยความสะดวก ทัดเทียมกับโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว โดย The Cadogan ถือเป็น คอนโดฯ เจาะกลุ่ม ลู ก ค้า ไฮเอนด์ก ระเป๋า หนั ก ในตลาด A+

The Cadogan ประสบความ ส� ำ เร็ จ อย่ า งมาก ขายหมดภายใน 2 เดื อ น ทั้ ง ๆ ที่ ต อนเปิ ด ให้ จ องไม่ มี ห้องตัวอย่างให้ดูด้วยซ้ำ และโครงการ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ อี ก หลายโครงการ ของเคพีเอ็น ไลฟ์สไตล์ ที่ทยอยเปิดตัว ตามออกมาก็ได้รับการตอบรับอย่าง ล้นหลามเช่นกัน ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว ่ า ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น เพราะความเป็นคนคิดต่าง และเข้าใจ ไลฟ์ ส ไตล์ ข องผู ้ บ ริ โ ภคยุ ค ใหม่ ข อง นักบริหารที่ชื่อ กรณ์ ณรงค์เดช

“ผมไม่ค่อยสนใจว่า คนภายนอกจะมองการท�ำงาน ของผมว่าเป็นอย่างไร ลงมือท�ำจริงหรือไม่ หรือแค่ เข้ามานั่งในออฟฟิศเฉยๆ ตราบเท่าที่ผมมีความสุข ผมก็จะท�ำต่อไป ไม่หวังให้ คนอื่นได้มาเห็นช่วงที่ผมก�ำลัง ท�ำงาน เพราะในที่สุด ตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจ ว่าได้ท�ำอะไรลงไปบ้าง”

PROFILE กรณ์ ณรงค์เดช ทายาทเครือเคพี เอ็ น กรุ๊ป เริ่ มทดลองท� ำ ธุ รกิ จตั้ งแต่ตอนอายุ 16 ปี เขาจบปริ ญญาตรี คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ จากประเทศสวิ ต เซอร์แ ลนด์ และจบปริ ญญาโท สาขาการบริห าร ทรัพยากรบุคคล จากประเทศอังกฤษ (เกียรตินยิ มอันดับ 2) จากนัน้ เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจครอบครัว ในบริษทั เคพีเอ็น ไลฟ์สไตล์ จ�ำกัด ทีด่ ำ� เนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับพรีเมียม และ บริษทั เคพีเอ็น อวอร์ด ที่ด�ำเนินธุรกิจบันเทิง ผลงานสร้างชื่อให้กับกรณ์คือการปรับโฉมรายการประกวดร้องเพลง เคพีเอ็น อวอร์ด ให้เป็นเรียลิตี้ประกวดร้องเพลงที่สนุกและทันสมัยขึ้น 018

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


เคพีเอ็น อวอร์ด โฉมใหม่ ทันสมัย และสนุกเต็มพิกัด น้อยคนนักทีจ่ ะไม่รจู้ กั ‘เคพีเอ็น อวอร์ด’ เวที ป ระกวดร้ อ งเพลงที่ มี ป ระวั ติ ยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ และแจ้งเกิด นั ก ร้ อ งชื่ อ ดั ง ประดั บ วงการดนตรี เมื อ งไทยมานั ก ต่ อ นั ก เช่ น ธงไชย แมคอิ น ไตย์ , ทาทา ยั ง , เจนนิ เ ฟอร์ คิ้ ม และ ปนั ด ดา เรื อ งวุ ฒิ เคพี เ อ็ น อวอร์ ด ก่ อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี พ.ศ. 2526 และเป็ น เวที ป ระกวด ร้ อ งเพลงเวที เ ดี ย วในประเทศไทยที่ ผูช้ นะจะได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ คือ ถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิดในการท�ำงานอย่างหนึ่ง ของกรณ์ คื อ การลองท� ำ ในสิ่ ง ใหม่ ๆ และเปิ ด รั บ ความเปลี่ ย นแปลงเพื่ อ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า พอเข้ามาดูแล การประกวดเคพีเอ็น อวอร์ด เขาปรับโฉม ให้ ทั น สมั ย และสนุ ก มากยิ่ ง ขึ้ น โดย เคพีเอ็น อวอร์ด ครัง้ ที่ 20 ประจ�ำปี 2010 ได้ปรับรูปแบบเป็น Reality Competition เพือ่ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 กรณ์มองว่า ถ้ารูปแบบรายการ ยังเป็นการประกวดร้องเพลงแบบเดิม เวลา 2 ชั่วโมงครึ่งที่ออกอากาศอาจ สร้างความเบื่อหน่ายให้คนดู จึงอยาก สร้างสีสันใหม่ให้การประกวด เพื่อให้

ผูช้ มได้ตามติดพัฒนาการของผูเ้ ข้าประกวดอย่างต่อเนือ่ ง เพื่อจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงและศักยภาพของผู้เข้า ประกวดอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน หัวใจส�ำคัญของเคพีเอ็น อวอร์ด ยังคง อยู ่ ค รบถ้ ว นทุ ก ประการ ไม่ ว ่ า จะเป็ น คุ ณ ภาพของ นักร้อง การคัดเลือกผู้เข้าประกวดแต่ละรอบ โดยเกณฑ์ การตั ด สิ น มาจากการเก็ บ คะแนนตั้ ง แต่ ร อบออดิ ชั่ น จนถึงรอบชิงชนะเลิศ คะแนนทั้งหมดมาจากกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ได้มาจากการโหวตของคนดูทางบ้าน ผลปรากฏว่า เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 20 ได้รับความนิยม จากผู้ชมอย่างรวดเร็ว พอมาถึงเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 22 ประจ�ำปี 2012 กรณ์ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นรู ป แบบรายการให้ แ ตกต่ า งจาก รายการเรี ย ลิ ตี้ ป ระกวดร้ อ งเพลงรายการอื่ น อย่ า ง โดดเด่นและแตกต่าง โดยเป็นรายการเรียลิตี้ประกวด ร้องเพลงรายการแรกที่แบ่งผู้แข่งขันเป็น 2 ทีม คือ ที ม ที่ มี เ สี ย งร้ อ งคุ ณ ภาพ และที ม ที่ มี ลี ล าการแสดง โดดเด่น เพื่อมาชิงชัยความเป็นสุดยอดนักร้อง โดย คะแนนการตัดสินจะมาจากกรรมการ 70% และจาก การโหวตของผู้ชมทางบ้าน 30% พอการประกวดสิ้นสุดลง ผู้แข่งขันจากเวทีเคพีเอ็น อวอร์ด จะต้องพบกับความท้าทายครั้งใหม่ของชีวิต กับโอกาสในการท�ำอัลบั้มเพลง ตลอดจนก้าวไปสู่งาน อีกหลายอย่างในวงการบันเทิง แนวคิดในการท�ำงานของนักบริหารรุ่นใหม่อย่าง กรณ์มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังค�ำพูดที่เขาเคย กล่าวไว้ “ผมไม่ค่อยสนใจว่าคนภายนอกจะมองการท�ำงาน ของผมว่าเป็นอย่างไร ลงมือท�ำจริงหรือไม่ หรือแค่เข้า มานั่งในออฟฟิศเฉยๆ ตราบเท่าที่ผมมีความสุข ผมก็จะ ท�ำต่อไป ไม่หวังให้คนอืน่ ได้มาเห็นช่วงทีผ่ มก�ำลังท�ำงาน เพราะในที่สุด ตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าได้ท�ำอะไรลงไปบ้าง “ผมถูกเลีย้ งดูมาแบบ Learning by Doing พ่อแม่จะ คอยดูการท�ำงานของเราอยู่ห่างๆ เกิดปัญหาก็ให้แก้ไข เอง หากเริ่มเห็นว่าจะไปไม่รอด ก็จะเรียกมาคุย เพื่อให้ ค�ำปรึกษา” ความชัดเจนและกล้าท�ำในสิ่งที่แตกต่าง ส่งผล ให้นักบริหารหนุ่มที่ชื่อ กรณ์ ณรงค์เดช ประสบความ ส�ำเร็จในทุกๆ หน้าที่ที่รับผิดชอบ

KORN Narongdech KPN GROUP

Korn Narongdech, the successor of KPN Group, has shown his business talent through his two extremely different roles which are the CEO of KPN Lifestyle Co., Ltd., a superb real estate company, and the CEO of KPN Award Co., Ltd., one of the best companies in Thai music industry. After getting his master degree from the UK, Korn came back to help his older brother for their first condominium project called The Cadogan, the premium condominium located in Sukhumvit 39. The project had achieved its goal by selling out in merely 2 months; thereafter, he turned his attention to the KPN Award, a vocal competition founded in 1983 and considered to be one of Thailand’s most prestigious singing contests. He restructured it to be a trendy reality contest, but emphasized its origin by scouting out only the best singers in Thailand.

019


020


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

ภาพ : กิตตินันท์ จรรยางาม

กรัณย์พล

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

03

อัศวสุวรรณ

KRANPHOL Asawasuwan

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน)

ผู้อยู่เบื้องหลังวงการโทรคมนาคม มุ่งสร้างโครงข่ายการสื่อสารที่เป็นธรรม บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ให้ บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูง ทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้ โครงข่ายเคเบิลใยแก้วน�ำแสง เป็นโครงข่ายหลักในการรับ-ส่ง ข้อมูล ภาพ และเสียงให้แก่กลุ่ม ลูกค้าองค์กรธุรกิจ นิติบุคคล และผูป้ ระกอบกิจการโทรคมนาคม อื่นๆ หรือเรียกได้ว่าเป็น ผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีสื่อสาร ต่างๆ

คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยกับบริษัทซิมโฟนี่มากนัก แต่ ส�ำหรับในวงการตลาดหุ้น ซิมโฟนี่ถือเป็นบริษัทหนึ่งที่ น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อได้เซ็นสัญญา กับลูกค้าใหม่อย่าง CTH ผู้ให้บริการเคเบิลท้องถิ่นที่คว้า ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาลใหม่ ได้ส�ำเร็จ ก็ส่งผลให้ราคาหุ้นของซิมโฟนี่พุ่งขึ้นในทันที และความส�ำเร็จของซิมโฟนี่ ล้วนมาจากฝีมือของผู้บริหาร อย่าง กรัณย์พล อัศวสุวรรณ กรรมการผู้จัดการและ ทีมงานที่ร่วมกันสร้างตั้งแต่ยังเป็นธุรกิจเล็ก มีทุนน้อย จนปัจจุบันนี้สามารถเทียบชั้นบริษัทใหญ่ๆ ได้อย่าง ภาคภูมิ 021


จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมโทรคมนาคม กรั ณ ย์ พ ลเริ่ ม ประสบการณ์ ท� ำ งานด้ ว ย ต� ำ แหน่ ง วิ ศ วกรทางด้ า นออกแบบระบบ สื่ อ สารที่ บ ริ ษั ท ยู ไ นเต็ ด คอมมู นิ เ คชั่ น อินดัสตรี จ�ำกัด หรือที่รู้จักกันในนาม ยูคอม และท�ำงานที่ยูคอมทั้งหมด 15 ปี นอกจาก จะเป็ น วิ ศ วกรแล้ ว เขายั ง มี ป ระสบการณ์ ทางการตลาดและการขายอีกด้วย กระทัง่ ปี 2539 กรัณย์พลเข้ารับต�ำแหน่ง รองกรรมการผู ้ จั ด การ บริ ษั ท ยู ไ นเต็ ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ หรือ ยูไอเอช ที่ยูคอม ร่วมทุนกับ กสท จัดตัง้ เพือ่ เช่าโครงข่ายเคเบิล ใยแก้วของดีแทคทีส่ ร้างไว้ทวั่ ประเทศเพือ่ มา ต่ อ ยอด เนื่ อ งจากดี แ ทคไม่ ส ามารถใช้ ประโยชน์จากเคเบิลใยแก้วนอกเหนือจาก เพื่ อ กิ จ การโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ได้ ต ามสั ญ ญา

“ระยะยาว เรามีชื่อเสียง ในด้านการบริการ ชื่อเสียงถือเป็นสิ่งส�ำคัญ เพราะเราท�ำธุรกิจบริการ ถ้าเสียชื่อแล้วมันเรียก กลับคืนมาได้ยาก ดังนั้น เราต้องสร้างความ น่าเชื่อถือที่สั่งสมกัน มานาน จนถึงขั้นว่าลูกค้า ให้การยอมรับว่าบริการ ของเราเป็นอันดับหนึ่ง”

022

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

สัมปทานจาก กสท โทรคมนาคม ยูไอเอช จึงขอสัมปทานเคเบิลใยแก้วดังกล่าวมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ ในสมัยนัน้ ไม่วา่ จะเป็นบริษทั หลักทรัพย์ หรื อ ธนาคารที่ ต ้ อ งการขยายสาขาบริ ษั ท ที่ต้องใช้บริการออนไลน์เพื่อรับ-ส่งข้อมูล ลูกค้าในต่างสาขา มักจะใช้จานดาวเทียม ขนาด 1-2 เมตรติดตั้งบนหลังคา เพื่อรับ-ส่ง ข้อมูล และต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนสูงถึง 40,000-50,000 บาทส�ำหรับอินเตอร์เน็ตที่มี ความเร็วเพียง 64 กิโลบิทต่อวินาที (Kbps) เมื่ อ ยู ไ อเอชน� ำ เคเบิ ล ใยแก้ ว มาเปิ ด ตลาดใหม่ กลายเป็ น สิ น ค้ า ทดแทนจาน ดาวเทียม ในราคาเพียงเดือนละ 9,000 บาท ด้ ว ยบริ ก ารที่ มี ค วามเร็ ว เท่ า กั น แต่ ดี ก ว่า

เพราะดาวเทียมต้องส่งสัญญาณขึน้ ไปในอวกาศ ก่อนจะส่งมาที่โลกอีกครั้ง จึงมีระยะทางที่ไกล และช้ากว่า จึงเป็นจุดเริม่ ต้นการเปลีย่ นแปลงในวงการ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะยังไม่เคยมี บริษัทใดท�ำมาก่อน ช่ ว งแรกของธุ ร กิ จ ไม่ ร าบรื่ น นั ก เพราะ กรัณย์พลไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้มาก่อนว่า ติดตั้งอุปกรณ์แล้วจะต้องดูแลอย่างไร หรือหาก มีปัญหาในการบริการจะแก้ไขอย่างไร แต่เขา ก็ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อเรียนรู้และแก้ไข จนกระทั่งยูไอเอชเป็นบริษัทชั้นน�ำของลูกค้า ในยุคนั้น และมีอัตราการเติบโตปีละหลายร้อย เปอร์เซ็นต์ เรียกว่าให้บริการครอบคลุมจนขนาด ของตลาดจานดาวเทียมลดลงเรื่อยๆ


ซิมโฟนี่สร้างชื่อจากคุณภาพ เมื่ อ ถึ ง ยามต้ อ งเปลี่ ย นแปลงภายใน เกิ ด ขึ้ น ในยุ ค ฟองสบู ่ แ ตก กรั ณ ย์ พ ล และที ม งานตั ด สิ น ใจออกมาเปิ ด ธุ ร กิ จ ส่วนตัวในชื่อบริษัท โกลบอล ครอสซิ่ง เซอร์ วิ ส ซิ ส จ� ำ กั ด ร่ ว มทุ น กั บ กสท ในลักษณะบริการเดียวกับบริษัทยูไอเอช เพราะ กสท เปิ ด เสรี ใ ห้ ใ ครมาขอ สั ม ปทานก็ ไ ด้ แต่ ค วามแตกต่ า งคื อ ยูไอเอชต่อยอดจากโครงข่ายของดีแทค ที่ มี อ ยู ่ ทั่ ว ประเทศ แต่ ส� ำ หรั บ โกลบอล ครอสซิ่ง เซอร์วิสซิส เริ่มจากไม่มีโครงข่าย ไม่มีชื่อเสียง และไม่มีเงินทุน “ผมคิดว่าบริษทั เราเติบโตขึน้ มาด้วย ทีมงานที่เขามีความผูกพัน เราเชื่อในเรื่อง ของความถูกต้องว่าถ้าเลือกให้ถูกมันก็ จะถูก เรื่องอะไรที่มันสุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะ สี เ ทาๆ จะไม่ ท� ำ เพราะเราเชื่ อ ว่ า มั น อาจจะถู ก เพี ย งระยะสั้ น แต่ อ าจผิ ด ใน ระยะยาว และเราจะเดือดร้อนจากปัญหา นั้นสักวันหนึ่ง “ยกตัวอย่างเช่น เราไม่เคยท�ำบัญชี 2 เล่ม ที่เห็นเรามีก�ำไร เราเสียภาษีทุกปี ตอนนั้นเราไม่ได้เป็นบริษัทมหาชน แต่ เราเสียภาษีทุกปี เราได้ก�ำไรน้อยหน่อย

แต่ เ รานอนสบาย นี่ เ ป็ น ความเชื่ อ ของ กลุ ่ ม ผู ้ บ ริ ห ารและกลุ ่ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น เพราะ เราก็ อ ยากท� ำ ให้ มั น ถู ก ต้ อ ง ด้ ว ยความ ร่วมมือร่วมใจกันเราก็สร้างบริษัทขึ้นมา จนประสบความส�ำเร็จจนทุกวันนี้” ในปี 2547 คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เกิดขึน้ และ เงื่อนไขของใบอนุญาตดีกว่าสัมปทานที่ ท�ำกับ กสท ประกอบกับสัญญาสัมปทาน ของบริษัท โกลบอล ครอสซิ่ง เซอร์วิสซิส มีเพียง 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2543-2553 กรั ณ ย์ พ ลจึ ง ตั ด สิ น ใจอี ก ครั้ ง ด้ ว ยการ จั ด ตั้ ง บริ ษั ท ใหม่ ในชื่ อ บริ ษั ท ซิ ม โฟนี่ คอมมู นิ เ คชั่ น จ� ำ กั ด เพื่ อ เตรี ย มตั ว ขอใบอนุญาตมีโครงข่ายเป็นของตนเอง ใบแรกของประเทศไทย และเริ่ ม เปิ ด ให้บริการปี 2550 “ชื่อ ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น มีที่มา คื อ ตอนที่ เ ราท� ำ โกลบอล ครอสซิ่ ง เซอร์ วิ ส ซิ ส เรามี แ บรนด์ ชื่ อ ว่ า ไวโอลิ น เพราะเราก�ำหนดว่าต้องการท�ำพรีเมียม เซอร์ วิ ส และเราใช้ ไ วโอลิ น เนื่ อ งจาก ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีคลาสสิกที่มีสาย ซึ่งคล้ายกับเคเบิลใยแก้วของเรา ไวโอลิน

ประสบความส�ำเร็จอย่างดีมาก เป็นที่รู้จัก อย่างรวดเร็วในเรื่องคุณภาพ เราจึงอยาก เชื่อมโยงชื่อบริษัทต่อจากไวโอลิน” ซิมโฟนี่สร้างชื่อจากค�ำว่า ‘คุณภาพ’ เป็นที่ตั้ง ด้วยวิธีคิดแบบ outside-in คือคิด แทนลูกค้า โดยจะเริ่มจากการเข้าไปคุยกับ ลูกค้า แล้ววิเคราะห์ให้ได้ว่าลูกค้าต้องการ อะไร เขามองว่ า ลู ก ค้ า ต้ อ งการบริ ก ารที่ ดี มีศกั ยภาพสูง เพราะการสือ่ สารโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการประกอบธุรกิจ ไม่น้อยไปกว่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ลูกค้าจึง ต้องเลือกระบบที่มีคุณภาพ ทางซิมโฟนี่เอง ก็ต้องเลือกผู้ผลิตเคเบิลใยแก้วที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกัน โดยไม่เน้นเรือ่ งราคา โดยเลือก ใช้อุปกรณ์จากญี่ปุ่น สวีเดน ที่มีราคาสูงกว่า และมีคุณภาพมากกว่าด้วย “ระยะยาว เรามี ชื่ อ เสี ย งในด้ า น การบริ ก าร ชื่ อ เสี ย งถื อ เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ เพราะเราท� ำ ธุ ร กิ จ บริ ก าร ถ้ า เสี ย ชื่ อ แล้ ว มันเรียกกลับคืนมาได้ยาก ดังนั้น เราต้อง สร้ า งความน่ า เชื่ อ ถื อ ที่ สั่ ง สมกั น มานาน จนถึ ง ขั้ น ที่ ลู ก ค้ า ให้ ก ารยอมรั บ ว่ า บริ ก าร ของเราเป็นอันดับหนึ่ง” 023


ท�ำธุรกิจอย่างเป็นธรรม แม้กลยุทธ์ทางธุรกิจจะเป็นแบบนั้น แต่ ส� ำ หรั บ ซิ ม โฟนี่ ไม่ ต ้ อ งการท� ำ ให้ ใ คร เดือดร้อน กรัณย์พลบอกว่าทั้งผู้บริหาร และผู ้ ถื อ หุ ้ น มุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะสร้ า งประโยชน์ ให้ กั บ สั ง คม โดยการสร้ า งโครงข่ า ยที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและ สารสนเทศที่เป็นกลาง เพื่อลดการลงทุน ที่ซ�้ำซ้อนของประเทศ ที่ผ่านมาผู้ที่ท�ำธุรกิจโทรคมนาคม หลายรายในประเทศ มี เ คเบิ ล ใยแก้ ว บนเส้นทางเดียวกันซ�้ำกันอยู่หลายเส้น ซึ่งถือว่าไม่จ�ำเป็น เพราะเคเบิลใยแก้ว เพียงเส้นเดียวก็สามารถรองรับบริการของ ทั้งหมดได้เช่นกัน “เราต้องน�ำเข้าเคเบิลใยแก้ว เราเลย มองว่าสิง่ ทีซ่ มิ โฟนีท่ ำ� เพือ่ ลดการลงทุนที่ ซ�ำ้ ซ้อนของประเทศ ส่งผลไปถึงประชาชน ก็ได้ประโยชน์ เพราะว่าค่าใช้จ่ายก็จะถูก ลง ทุกคนไม่ต้องแบกภาระเรื่องการสร้าง ไฟเบอร์ ไม่ต้องจ่ายให้ต่างประเทศ “แล้วก็เกิดความเป็นธรรม เพราะ ธุ ร กิ จ โทรคมนาคมเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ต ้ อ งใช้ เงินทุนเยอะ รายย่อยไม่มีโอกาสได้เกิด

024

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

ทุ ก วั น นี้ ดี ขึ้ น คื อ เรามี แ พลตฟอร์ ม ให้ ผู้ประกอบการท�ำซอฟต์แวร์เข้ามาเกิดได้ เช่น LINE คุณมีไอเดียแล้วคุณเขียนซอฟต์แวร์ คุณก็ไม่ต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้น” กรัณย์พลมีวิสัยทัศน์ในเรื่องของความ เป็นกลาง เขามองว่าจะมีผปู้ ระกอบการใหม่ๆ ทยอยเกิดขึน้ จะมีดจิ ติ อลทีวเี กิดขึน้ ในปีหน้า ทีวีดาวเทียมหลายช่องก็ใช้บริการส่งผ่าน เคเบิ ล ใยแก้ ว ของซิ ม โฟนี่ เ พื่ อ แพร่ ภ าพ ออกไป ซิมโฟนี่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม อุ ต สาหกรรมสื่ อ สารให้ ก ้ า วหน้ า มากขึ้ น เปรี ย บเสมื อ นการเดิ น ทางที่ ต ้ อ งมี ร ถที่ ดี เป็นพาหนะที่ดี มีถนนที่ดี หากผู้ประกอบ การเห็ น ว่ า สะพานที่ ชื่ อ ว่ า เคเบิ ล ใยแก้ ว ของซิมโฟนี่เป็นสะพานที่มั่นคง ก็จะเอื้อให้ ผูป้ ระกอบการใหม่ๆ เกิดขึน้ ได้เรือ่ ยๆ เพราะ เขามีเครื่องมือที่เขามั่นใจได้ และตอนนี้ ซิ ม โฟนี่ มี เ ป้ า หมายว่ า จะเป็ น ผู ้ น� ำ การให้ บ ริ ก ารระดั บ ภู มิ ภ าค อิ น โดจี น กรั ณ ย์ พ ลให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ประเทศเมี ย นมาร์ ลาว กั ม พู ช า และ เวียดนามซึ่งเป็นเพื่อนบ้านเราก่อน

“เรามองตลาดนี้ เ ป็ น ตลาดที่ ใ หญ่ เพราะว่าการเปิดเสรีอาเซียนจะมีการค้า การ ลงทุนมากขึ้น โรงงานหลายแห่งย้ายไปอยู่ พม่าแล้ว โดยมีส�ำนักงานใหญ่อยู่เมืองไทย ที่พม่าโครงสร้างพื้นฐานเขายังไม่ดีก็เรื่อง ไฟฟ้า ถ้าไฟฟ้าเขาดีเมือ่ ไร ถนนเขาดีเมือ่ ไร ผมว่าไทยก็ต้องปรับตัวเยอะ เพราะคนของ เขาขยัน” จากประสบการณ์ ที่ น� ำ พาซิ ม โฟนี่ สู ่ ค วามส� ำ เร็ จ กรั ณ ย์ พ ลมี ค� ำ แนะน� ำ ถึ ง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่าเรื่องของไอเดียใน การท�ำธุรกิจนั้นมาก่อน “ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายย่อยต้อง เริ่ ม จากอะไรที่ เ ป็ น ความคิ ด สร้ า งสรรค์ คิดต่าง อย่าคิดก๊อบปี้ เห็นท�ำร้านเสริมสวย ท� ำ บ้ า ง ผมว่ า มั น ง่ า ยไป จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ ผู้ประกอบการต้องคิดเยอะๆ คิดให้มากๆ บางคนท�ำด้วยความชอบ แต่ไม่รู้ว่าลูกค้า จะมีหรือเปล่า ไม่สนใจว่าท�ำเลท�ำได้ไหม คือต้องคิด outside-in คิดจากตลาดเข้ามา หาไอเดี ย จากตลาดว่ า เราควรจะท� ำ อะไร กับทรัพยากรที่เรามีอยู่ หาข้อมูลเยอะๆ”


KRANPHOL Asawasuwan

SYMPHONY COMMUNICATION PUBLIC COMPANY LIMITED Kranphol Asawasuwan holds an MBA in Finance from Bangkok University and a Bachelor Degree in Electrical Engineering (2nd honor) from Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

กลยุทธ์ยูโด Movement, Balance and Leverage ตั้งแต่การก่อตั้งธุรกิจโกลบอล ครอสซิ่ง เซอร์วิสซิส ที่มีพนักงานเพียง 35 คน จนปัจจุบนั คือ ซิมโฟนี่ คอมมูนเิ คชัน่ ทีม่ พี นักงานกว่า 200 คน กรัณย์พลและทีมงาน ต้องฟันฝ่าอุปสรรคหลายอย่าง เพราะเริม่ ต้นจากการเป็นบริษทั เล็ก ไม่มชี อื่ เสียง ไม่มี เงินทุน แม้กระทั่งจะขอเงินกู้จากธนาคารก็ล�ำบาก “ผมคิดว่าโชคดีที่ได้ทีมงานที่ดี เขาเชื่อมั่นในตัวผู้บริหาร ไม่ใช่ผมคนเดียว เราท�ำงานเป็นทีม ต้องอดทน อุปสรรค มรสุมเราเยอะ ทีมผูบ้ ริหารเราต่างมีความอดทน ช่วยกันระดมความคิดว่าจะท�ำอย่างไร เราจะคิดต่างจากเขาอย่างไร” กรัณย์พลเล่าให้ฟงั ถึงกลยุทธ์หนึง่ ทีเ่ ขาอ่านเจอและน�ำมาประยุกต์ใช้ในการท�ำ ธุรกิจ เรียกว่า Judo Strategy ซึ่งเป็นกีฬาที่ไม่เน้นขนาด แต่เน้นเทคนิค ไม่ส�ำคัญว่า คนตัวใหญ่จะชนะ ซึ่งเขาเลือกดูกลยุทธ์ของคนตัวเล็กที่แบ่งเป็น 3 เทคนิค เทคนิคแรกคือ Movement ถ้าเป็นคนตัวเล็กต้องขยับตลอดเวลา ถ้าอยู่นิ่ง คนตัวใหญ่จะจับทุม่ ได้งา่ ย แต่ถา้ ถูกคนตัวใหญ่จบั อยู่ ขยับไม่ได้ ให้ Balance โดยหา ข้อตกลงร่วมกัน และสุดท้ายคือต้องหาโอกาสทุ่มคนตัวใหญ่ให้ได้

Kranphol worked for United Communication Industry Co., Ltd. (UCOM) for 15 years. With his over 20-year experience and credentials in telecommunication industry, Kranphol and his colleagues founded Global Crossing Services company in 2000 to provide high speed data communication service via fiber optic network for corporate and government clients. In 2005, the Global Crossing Services was changed to SYMPHONY COMMUNICATION and has been listed in the stock exchange of Thailand since 2010. Kranphol and his excellent teamwork put high effort and promise to make SYMPHONY the best company with a world-class service for both domestic and international clients.

PROFILE

กรัณย์พล อัศวสุวรรณ จบการศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขาได้เข้าท�ำงานที่ บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น อินดัสตรี จ�ำกัด ถึง 15 ปี ผ่านงานด้านวิศวกรรม การขาย และการตลาด และได้รับต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการบริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ ซึ่งขอสัมปทาน โครงข่ายเคเบิลใยแก้วจาก กสท มาท�ำเครือข่ายการสื่อสารให้เช่า กรัณย์พลและทีมงานก่อตั้งบริษัท โกลบอล ครอสซิ่ง เซอร์วิสซิส จ�ำกัด และเปลี่ยนเป็นบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 025


026


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

กลางชล

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

04

สุวรรณมงคล

KLANGCHOL Suwanmongkol กรรมการบริษัท โรงแรมดาราเทวี จ�ำกัด

Welcome to Dhara Dhevi ชีวติ เป็นเรือ่ งพลิกผัน และสิง่ ต่างๆ ทีไ่ ม่อาจคาดเดาก็สามารถเกิดขึน้ ได้ อยูเ่ สมอ แต่ถา้ รูจ้ กั พลิกแพลง ความส�ำเร็จก็อยูไ่ ม่ไกลเกินเอือ้ ม เหมือนอย่างทีน่ กั บริหารรุน่ ใหม่ ไฟแรง กลางชล สุวรรณมงคล กรรมการบริษทั โรงแรมดาราเทวี จ�ำกัด และรองกรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั อีซซู ุ ออโต้เซ็นเตอร์ จ�ำกัด บุตรชายคนเดียวของ สุเชฏฐ์ และ ชลลดา สุวรรณมงคล พิสจู น์ให้เห็น มาแล้ว ชายหนุม่ วัย 30 จบการศึกษา จากคณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แต่โชคชะตาลิขติ

ให้มาท�ำงานด้านบริหารธุรกิจ ส�ำหรับผูบ้ ริหารทัว่ ไปอาจรูส้ กึ เป็นเรือ่ งหนักใจ แต่กลางชลกลับรูส้ กึ สนุก เพราะการเรียนศิลปะ ฝึกให้เขารูจ้ กั คิดนอกกรอบ ดังนัน้ เขาจึงสามารถน�ำมาปรับ ใช้กบั การบริหารงานได้เป็นอย่างดี เกิดเป็นไอเดียด้านการ ตลาดแบบใหม่ทเี่ ปีย่ มด้วยประสิทธิภาพ จากนักบริหารธุรกิจ จ�ำหน่ายรถยนต์ กลางชลโดดมารับผิดชอบธุรกิจอีกแขนงหนึง่ ของครอบครัว คือการบริหารโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี จังหวัดเชียงใหม่ เพือ่ ผลักดันให้ทพี่ กั สไตล์โคโลเนียล สามารถเจาะตลาดกลุม่ ลูกค้าคนไทยได้มากยิง่ ขึน้ ความส�ำเร็จของกลางชลในธุรกิจจ�ำหน่ายรถยนต์นา่ จะเป็นตัว ชีว้ ดั อย่างหนึง่ ว่า เขาจะสามารถน�ำพาให้ทพ่ี กั สไตล์โคโลเนียล ของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี เป็นตัวเลือก ล�ำดับต้นๆ ของแขกผูม้ าเยือนดินแดนล้านนาได้อย่างไม่ยาก 027


‘การบริหารคน เป็นเรื่องท้าทาย’ ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซูซุ ออโต้เซ็นเตอร์ จ�ำกัด กลางชลไม่หยุดนิ่งที่ จะคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อน�ำพาองค์กรให้ ก้าวหน้าและเติบโต เขาเป็นต้นคิด ‘Auto Four Styles’ หนึง่ ในกิจกรรมเพือ่ สร้างความ สัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ในสายตาหนุ่มคนนี้มองว่า อีซูซุเป็น รถยนต์ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้กันเฉพาะกลุ่ม เขาจึงอยากสร้างความรู้จักให้กับคนในกลุ่ม อื่นๆ ด้วย รวมถึงกลุ่มวัยรุ่นและหนุ่มสาว “ผมจึงน�ำกิจกรรมการท่องเทีย่ ว 4 แบบ 4 สไตล์ ทัง้ Adventure, Culture & Heritage, Green Drive และ Chill Out มาใช้ เพื่อ ชักชวนคนที่มีความสนใจที่แตกต่างกัน ได้ เข้ามาท�ำความรู้จักกับรถยนต์แบรนด์อีซูซุ เพิ่มขึ้น และเป็นการขยายฐานของผู้ใช้รถ ให้กว้างขึ้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเจเนอเรชั่น ใหม่ๆ” ผู้บริหารไฟแรงกล่าว

กลางชลสร้างแรงจูงใจและแรงกระตุ้น ให้พนักงานออกไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่ม ขึ้น ผ่านกิจกรรม Sale ชวนชิม และการออก ไปพบปะกับลูกค้าที่ประกอบธุรกิจ SMEs ซึ่ง นับเป็นการมองหาตลาดใหม่ๆ หรือลูกค้า กลุ่มใหม่ๆ อย่างสม�่ำเสมอ ผู ้ บ ริ ห ารหลายคนอาจปวดหั ว กั บ การบริ ห ารทรั พ ยากรบุ ค คล แต่ ก ลางชล มองว่าการบริหารคนเป็นเรื่องท้าทาย เขา สามารถดูแลรับผิดชอบพนักงานในทุกระดับ ตัง้ แต่พนักงานระดับเซลส์ จนถึงระดับบริหาร ที่ร่วมงานกับบริษัทมาเป็นสิบๆ ปีได้อย่าง สบาย เคล็ดลับของกลางชลในการเอาชนะใจ ผู้ร่วมงาน อยู่ที่การเปิดกว้างในการแสดง ความคิดเห็น และให้ความช่วยเหลือพนักงาน ในยามจ�ำเป็น อย่างเช่นตอนที่น�้ำท่วมใหญ่ เขาเป็นผู้บริหารกลุ่มแรกๆ ที่ทุ่มเทในการ จัดหาสถานที่พักให้กลุ่มพนักงานที่บ้านถูก น�้ำท่วม

เคล็ดลับในการเอาชนะใจ ผู้ร่วมงาน อยู่ที่การเปิดกว้าง ในการแสดงความคิดเห็น และให้ความช่วยเหลือพนักงาน ในยามจ�ำเป็น เช่นตอนน�้ำท่วมใหญ่ กลางชลเป็นผู้บริหารกลุ่มแรกๆ ที่ทุ่มเทจัดหาสถานที่พักให้ พนักงานที่บ้านถูกน�้ำท่วม 028

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

บทพิสูจน์ครั้งใหม่ของกลางชลคือการ บริหาร โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดารา เทวี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อผลักดันให้ที่พัก สไตล์โคโลเนียล สามารถเจาะตลาดลูกค้า คนไทยได้มากยิ่งขึ้น โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดารา เทวี สร้างเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2549 มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลถึง 130 ไร่ ประกอบ ด้วยที่พัก 3 แบบ ได้แก่ Luxury Villa, Colonial Suite และ Signature Residence ทัง้ หมด จ�ำนวน 123 หลัง มีลกั ษณะเป็นบ้านไม้ยงุ้ ฉาง บ้ า นราชวงศ์ ส มั ย ล้ า นนา และคฤหาสน์ สมัยโคโลเนียลที่งดงาม โดยที่พักส่วนใหญ่ ได้ ห ยิ บ ยื ม รู ป แบบมาจากสถาปั ต ยกรรม ล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่ ไทลือ้ และเมียนมาร์ โดดเด่ น สะดุ ด ตาด้ ว ยการออกแบบ ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมชั้นสูง และ มรดกที่เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามซึ่งมี ความเจริญรุง่ เรืองในยุคล้านนา ในสมัยกลาง ศตวรรษที่ 13 จนถึงกลางศตวรรษที่ 16 ผูท้ รี่ บั หน้าที่ออกแบบแนวคิด คือ ราเชน อินทวงศ์ ซึง่ เข้ามาเป็นฟันเฟืองส�ำคัญของการก่อสร้าง โรงแรมตั้งแต่ช่วงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544


Dhara Dhevi เติมเต็ม ช่วงเวลาพักผ่อนอันสมบูรณ์แบบ ห้องพักสวีทในสไตล์โคโลเนียล วิงก์ สร้ า งต่ อ จากส่ ว นห้ อ งพั ก วิ ล ล่ า และ ล้านนา มีทงั้ หมด 56 ห้อง ความโดดเด่น ของห้ อ งสไตล์ โ คโลเนี ย ล คื อ ความ กว้างของห้อง โดยทุกห้องมีพื้นที่ตั้งแต่ 88-107 ตารางเมตร มีเพดานสูง 5 เมตร อุ ป กรณ์ ใ นห้ อ งพั ก ทุ ก ชิ้ น บรรจง คัดสรรด้วยคุณภาพทีเ่ หนือระดับ มีหอ้ ง พักให้เลือก 4 รูปแบบ ได้แก่ Colonial Suite, Grand Deluxe Colonial Suite, Deluxe Colonial Suite และ Deluxe 2 Bedrooms Colonial Suite “ทั้งสไตล์โคโลเนียลและล้านนา เป็น 2 ศิลปะทีผ่ สมผสานกันอย่างลงตัว ในดาราเทวี สถาปัตยกรรมโคโลเนียล เข้ามามีบทบาทในเชียงใหม่เมื่อสมัย รัชกาลที่ 5 ซึ่งโคโลเนียลเป็นรูปแบบ สถาปัตยกรรมตะวันตกผสมผสานกับ รูปแบบท้องถิ่น แรงบันดาลใจที่ดารา เทวีน�ำศิลปะแบบโคโลเนียลมาสร้าง เป็นห้องพัก คือการสร้างบรรยากาศ ย้อนยุคไปในช่วง 100 ปีก่อนในช่วง รั ช กาลที่ 5 ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ เ มื อ งสยาม และล้ า นนารั บ อิ ท ธิ พ ลตะวั น ตกเข้ า มาเพื่ อ แสดงถึ ง การมี อ ารยธรรมที่ ทั น สมั ย เป็ น การผสมผสานรู ป แบบ ศิ ล ปะตะวั น ตกเข้ า กั บ ศิ ล ปกรรมไม้ แกะสลั ก ของสถาปั ต ยกรรมภายใน ท้องถิน่ ได้สวยงามลงตัว” กลางชลกล่าว ห้ อ งพั ก สไตล์ โ คโลเนี ย ลตั้ ง อยู ่ ในพื้ น ที่ ท างตะวั น ตกเฉี ย งเหนื อ ของ โรงแรม ห้องพักที่อยู่ชั้นแรกมีระเบียง กว้างขวางเชื่อมต่อเข้าสู่สวนเขียวชอุ่ม แต่ละห้องประกอบไปด้วยเตียงนอนที่

แยกออกจากห้องนั่งเล่น ให้ความรู้สึก หรูหราอย่างที่ผู้มาเยือนไม่เคยสัมผัส มาก่อนจากที่พักทั่วไป สิ่ ง การั น ตี คุ ณ ภาพบริ ก ารของ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดารา เทวี คื อ รางวั ล ที่ โ รงแรมได้ รั บ เช่ น รางวัลสาขาการบริการและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการด�ำเนินงาน โดยโรงแรมใน เครือแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ รวมถึ ง ได้ รั บ การโหวตจากผู ้ อ ่ า น นิ ต ยสาร Travel+Leisure ให้ เ ป็ น โรงแรมที่ดีที่สุดอันดับ 7 ของโลก ใน เดือนสิงหาคม ปี 2554 นอกจากนั้น ผู ้ อ ่ า นของนิ ต ยสารเล่ ม เดี ย วกั น นี้ ยั ง โหวตให้โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี เป็นรีสอร์ทที่ดีที่สุดในเอเชีย อันดับ 13 ประจ�ำปี 2555 เหตุ ผ ลที่ ท� ำ ให้ แ ขกผู ้ ม าเยื อ น ห ล ง รั ก โ ร ง แ ร ม สุ ด ห รู แ ห ่ ง นี้ มี หลายอย่ า งด้ ว ยกั น ได้ แ ก่ เพราะ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกครบครั น มี ส ป า แ ล ะ ศู น ย ์ สุ ข ภ า พ ซึ่ ง พื้ น ที่ รวมกว่ า 3,100 ตารางเมตร มี ล าน แ ส ด ง กิ จ ก ร ร ม ด ้ า น วั ฒ น ธ ร ร ม กลางแจ้ ง มี ส ระว่ า ยน�้ ำ ขนาดใหญ่ 2 สระ มี โ รงเรี ย นสอนท� ำ อาหาร มีสโมสรสุขภาพ มีห้องสมุดระดับโลก มีจักรยานให้ยืม รวมถึงมีห้องอาหาร และบาร์ 7 แห่งด้วยกัน สุดท้าย การเดินทางแสนสะดวก สบายจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ มาที่ โ รงแรม ใช้ เ วลาเพี ย ง 15 นาที เท่านั้น

KLANGCHOL

Suwanmongkol

DHARA DHEVI HOTEL COMPANY Klangchol Suwanmongkol is a member of the board of directors of Dhara Dhevi Hotel Company, an assistant managing director of Isuzu Auto Center Co., Ltd. and the only son of Suchet and Chollada Suwanmongkol. From an automobile sales business, he moved on to take responsibility for Mandarin Oriental Dhara Dhevi Hotel, Chiang Mai. Klangchol is now pushing forward his colonial style hotel to penetrate the Thai market. Klangchol’s success in auto sales business might be a good predictive index for anticipating that he can lead Mandarin Oriental Dhara Dhevi Hotel to be the first choice hotel in the Lanna Kingdom.

PROFILE กลางชล สุวรรณมงคล ด�ำรงต�ำแหน่ง กรรมการบริษัท โรงแรมดาราเทวี จ�ำกัด และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซูซุ ออโต้เซ็นเตอร์ จ�ำกัด ปัจจุบันอายุ 30 ปี เขาคือบุตรชายคนเดียวของ สุเชฏฐ์ และ ชลลดา สุวรรณมงคล จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนักบริหารธุรกิจจ�ำหน่ายรถยนต์ กลางชลเข้ามารับผิดชอบธุรกิจอีกแขนงหนึง่ ของครอบครัว คือการบริหาร โรงแรม แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี จังหวัดเชียงใหม่ 029


030


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ชูรัชฏ์

ชาครกุล

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

05

CHURAT Chakarakul ผู้อ�ำนวยการ SBU2 และกรรมการบริหาร Lalin Property PLC

The New Era of Lalin Property บริษทั ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เป็นบริษทั พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แถวหน้าของเมืองไทยทีผ่ บู้ ริโภคให้ ความเชือ่ มัน่ ในคุณภาพและการบริการ มาตลอด 25 ปีในการด�ำเนินกิจการ ภายใต้การกุมบังเหียนของนักบริหาร มากความสามารถ ไชยยันต์ ชาครกุล เพราะยึดมัน่ ในแนวคิดทีว่ า่ ‘บ้านทีป่ ลูก บนความตัง้ ใจทีด่ ’ี ท�ำให้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เติบโตอย่างยัง่ ยืนและมัน่ คง แม้ในยามทีภ่ าวะเศรษฐกิจของเมืองไทย มีแนวโน้มถดถอยมาโดยตลอด

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ก้าวเข้าสูก่ ารเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ เมือ่ ชูรชั ฏ์ ชาครกุล หนุม่ นักธุรกิจรุน่ ใหม่ เจเนอเรชัน่ ที่ 2 ของบริษทั ลูกชายหัวแก้ว หัวแหวนของไชยยันต์ ก้าวเข้ามาเสริมทัพในการบริหารงาน โดยดูแล รับผิดชอบใน 2 ต�ำแหน่งด้วยกัน คือ ผูอ้ ำ� นวยการ SBU2 ดูแลงาน โครงการใหม่ และกรรมการบริหาร บริษทั ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด (มหาชน) พร้อมกับการขยายธุรกิจเพือ่ ตอบสนองไลฟ์สไตล์การอยูอ่ าศัย ของคนยุคใหม่ทเี่ ปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัย จากเดิมทีเ่ น้นไปที่ การพัฒนาบ้านเดีย่ ว บ้านแนวคิดใหม่ ทาวน์เฮาส์ ขยับขยายไปสู่ การพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยทีห่ ลากหลายขึน้ ภายใต้ 4 แบรนด์ใหม่ ได้แก่ โครงการบ้าน LANCEO, โครงการทาวน์โฮม LIO, โครงการคอนโดมิเนียม LEVO และโครงการคอนโดมิเนียม LIB ซึง่ ติดลมบนในตลาด อสังหาริมทรัพย์ได้ในเวลาเพียงไม่นานนับจากวันทีเ่ ปิดตัว ชูรชั ฏ์ ชาครกุล ทายาททางธุรกิจทีจ่ ะเข้ามาช่วยดูแลธุรกิจครอบครัว เขาจะเข้ามาสร้างความเปลีย่ นแปลงให้กบั ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ให้เติบโต อย่างยัง่ ยืนและมัน่ คง 031


ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ชู รั ช ฏ์ ค ลุ ก คลี กั บ ธุ ร กิ จ ของครอบครั ว มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก เขามั ก ติ ด สอย ห้อยตามผู้เป็นพ่อไปตรวจเยี่ยมโครงการต่างๆ อย่างสม�่ำเสมอ จึงเริ่ม ซึมซับหลักการบริหารธุรกิจมาตั้งแต่นั้น ด้วยความที่เป็นคนมีเหตุ มีผลและคิดอย่างมีลอจิกส์ ท�ำให้หนุม่ คนนีม้ งุ่ มัน่ สอบเอนทรานซ์ระดับ ปริญญาตรีเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำ� เร็จ โดยในคณะของสถาบันแห่งนี้ซึ่งมีชื่อเรียกว่า วศ. เป็นเหมือนแหล่ง บ่มเพาะนักบริหารมากฝีมือ มีตัวอย่างนักบริหารระดับสูงในองค์กร ชั้นน�ำของบ้านเรา และนักบริหารมืออาชีพจ�ำนวนไม่น้อยที่ส�ำเร็จการ ศึกษาจาก วศ. แทบทัง้ นัน้ หลังคว้าใบปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากรั้วจามจุรีมาครองได้ส�ำเร็จ ชีวิตการท�ำงานของชูรัชฏ์ก็เริ่มต้นขึ้น เขาเข้าไปท�ำงานในฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารกรุงเทพ ตลอดเวลา การท�ำงานเกือบ 2 ปี ได้ดูแลลูกค้ากลุ่มใหญ่ๆ ในหลากหลายธุรกิจ จากนัน้ เพือ่ เป็นการเรียนรูแ้ นวทางการท�ำงานของคุณพ่อซึง่ เป็นหัวเรือ ใหญ่ของลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ชูรชั ฏ์จงึ เข้ามาเรียนรูแ้ ละหาประสบการณ์ ทางด้านการตลาดในบริษัทของครอบครัวเป็นเวลากว่า 8 เดือน ด้วยความเชื่อที่ว่าความรู้ที่ร�่ำเรียนมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ยังไม่เพียงพอ ชูรัชฏ์ตัดสินใจบินลัดฟ้าไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อ เรียนต่อปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านบริหารธุรกิจ เพราะ เป็นคนที่ชอบเรื่องตัวเลข การคิดวิเคราะห์และค�ำนวณ เขาจึงเรียน อย่างมีความสุข ด้วยเวลาเพียง 3 ปีก็สามารถคว้าใบปริญญาระดับ ปริญญาโทมาได้ถึง 2 ใบด้วยกัน ซึ่งน้อยคนนักจะสามารถท�ำได้ หลังจากนั้น หนุ่มไฟแรงหวนกลับมาเมืองไทยด้วยใจที่มุ่งมั่น ในการท�ำงานตามสายงานทีเ่ รียนจบมา เขาเข้าท�ำงานในฝ่ายวาณิชธนกิจ (IB) บริษัท หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จ�ำกัด (มหาชน) เป็นเวลา กว่า 2 ปี และจากนั้ น ย้ า ยไปร่ ว มงานกั บ ฝ่ า ยเดี ย วกั น กั บ ข้ า งต้ น ในบริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 1 ปี

032

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

“ถ้าเราเริ่มจากสูง เราจะไม่มีทางรู้จักองค์กร ได้อย่างลึกซึ้ง และจะไม่มีทางรู้เลยว่าองค์กร เรามีปัญหาอย่างไร ในทางตรงกันข้าม หากเรา เริ่มมองและเรียนรู้จากระดับล่าง เราจะรู้จัก องค์กรได้อย่างแท้จริง และจะก้าวขึ้นสู่ระดับสูง เป็นผู้น�ำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมั่นคงได้อย่างง่ายดาย” ชี วิ ต ของชู รั ช ฏ์ เ ดิ น ทางมาถึ ง จุ ด เปลี่ ย นครั้ ง ส� ำ คั ญ หลั ง เก็ บ เกี่ ย ว ประสบการณ์และใช้จา่ ยวันเวลาไปกับงานทีเ่ ขารัก เขาต้องเติบโตไปอีกขัน้ หนึ่ง และถึงเวลาที่เหมาะควรแล้วที่ต้องกลับเข้ามาดูแลและบริหารงานใน ธุรกิจของครอบครัว ชูรัชฏ์อาจแตกต่างไปจากทายาทธุรกิจทั่วไป ในเรื่องที่ เมื่อก้าวเข้ามาดูแลธุรกิจครอบครัว เขาเลือกที่จะเริ่มต้นในต�ำแหน่งที่ไม่สูง มากนักอย่างผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด เขาให้เหตุผลต่อเรื่องนี้ไว้อย่าง น่าฟังว่า “ถ้าเราเริ่มจากสูง เราจะไม่มีทางรู้จักองค์กรได้อย่างลึกซึ้ง และจะไม่มี ทางรู้เลยว่าองค์กรเรามีปัญหาอย่างไร ในทางตรงกันข้าม หากเราเริ่มมอง และเรียนรู้จากระดับล่าง เราจะรู้จักองค์กรได้อย่างแท้จริง และจะก้าวขึ้นสู่ ระดับสูง เป็นผูน้ ำ� พาองค์กรให้เติบโตอย่างยัง่ ยืนและมัน่ คงได้อย่างง่ายดาย” ทุ ก ย่ า งก้ า วของหนุ ่ ม รุ ่ น ใหม่ ค นนี้ ผ ่ า นการวางแผนอย่ า งเป็ น ขั้ น เป็นตอน รวมถึงผ่านการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนรอบด้าน ท�ำให้เขารู้สึก ภาคภูมิใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพราะล้วนเป็นบทเรียน ที่มีคุณค่า ชูรัชฏ์เผยถึงหัวใจส�ำคัญของการบริหารงานที่ยึดถือมาตลอดว่า “ส� ำ หรั บ กลเม็ ด การก้ า วขึ้ น เป็ น นั ก ธุ ร กิ จ รุ ่ น ใหม่ นอกเหนื อ จาก แผนงานทีว่ างแผนเป็นอย่างดีแล้ว สิง่ ส�ำคัญต้องศึกษาหาข้อมูลอย่างแท้จริง เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งต้องท�ำงานด้วยใจรัก อดทนต่ออุปสรรค และพร้อมเรียนรู้กับข้อผิดพลาดเพื่อน�ำมาปรับปรุงและต่อยอดทางธุรกิจ”


พลิกโฉม ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง การเข้ า มาดู แ ลธุ ร กิ จ ครอบครั ว ของ ชู รั ช ฏ์ นั บ เป็ น ก้ า วส� ำ คั ญ ของการ พลิกโฉมความเป็นคนรุ่นใหม่ให้กับ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จากภาพลักษณ์บ้านเพื่อคนใน วัยกลางคน อายุ 35-40 ปีขึ้นไป เริ่ม ขยายมายั ง กลุ ่ ม คนรุ ่ น ใหม่ วั ย เริ่ ม ท�ำงาน อายุ 25-35 ปี ด้วยการเปิดตัว 3 แบรนด์ใหม่ ได้แก่ โครงการบ้าน LANCEO, โครงการทาวน์โฮม LIO และ โครงการคอนโดมิเนียม LEVO เรียกได้ ว่าตอนนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีที่พัก อาศั ย ที่ ห ลากหลายและครบครั น ในท�ำเลทีเ่ หมาะสม ตอบโจทย์ลกู ค้าได้ อย่างแท้จริง ที่ส�ำคัญมีการวิจัยส�ำรวจ และวิเคราะห์ตลาด ถึงความต้องการ ของลูกค้าอย่างละเอียด เน้นท�ำการ ตลาดแบบ Consumer Centric ยึดถือ ลูกค้าเป็นส�ำคัญ และตั้งมั่นในปณิธาน ในการอยากมอบสิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ให้ กั บ ลูกค้า ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล โครงการที่ พั ก อาศั ย โฉมใหม่ ของลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ที่ไม่ควรพลาด เริม่ จากคอนโดมิเนียม โครงการ LEVO ลาดพร้าว 18 สไตล์โมเดิร์น ชิค ตั้งอยู่ บริเวณลาดพร้าว 18 ใกล้จุดขึ้น-ลงของ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว และ โครงการคอนโดมิ เ นี ย ม LIB สไตล์ โมเดิ ร ์ น พิ ก เซล ปั จ จุ บั น มี ใ ห้ เ ลื อ ก 2 ท� ำ เล ได้ แ ก่ ลาดพร้ า ว 20 และ รามค�ำแหง 43/1 โครงการ LIO ทาวน์ โฮมเพื่ อ คนรุ ่ น ใหม่ สไตล์ Modern Ecology ด้วยราคาสมเหตุสมผล ลูกค้า

จึ ง สามารถเป็ น เจ้ า ของได้ ตั้ ง แต่ 1 ล้ า นกลางๆ - 2 ล้ า นต้ น ๆ ใน 4 ท�ำเลทอง ได้แก่ พหลโยธิน-วัชรพล, วงแหวน-รามอินทรา, วงแหวน-ปิน่ เกล้า และเพชรเกษม 77 โครงการ LANCEO บ้านเดี่ยวและบ้านแนวคิดใหม่ สไตล์ Modern Organic Contemporary ใน ราคา 2 ล้านต้นๆ - 6 ล้าน ท�ำเลใกล้ เขตเมือง ได้แก่ อ่อนนุช-สุวรรณภูมิ, รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่ (แก้วอินทร์), วงแหวน-รามอินทรา, วัชรพล-ทางด่วน, รามค� ำ แหง-วงแหวน (มิ ส ที น ), วงแหวน-ปิ่นเกล้า, วงแหวน-พระราม 5 และเพชรเกษม 77 ความพิเศษของ โครงการ LANCEO อยู่ที่การประยุกต์ ธรรมชาติ เ ข้ า มาในการตกแต่ ง ได้แรงบั น ดาลใจในการออกแบบ มาจาก Mr. Frank Lloyd Wright สถาปนิ ก ชาวอเมริ กั น ด้ ว ยแนวคิ ด Natural Organic จึงใช้สี Earth Tone, มี Organic Pattern ใช้เส้นตั้ง เส้นนอน สะท้ อ นความเป็ น Modern Organic ได้อย่างดี นอกจากนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ยังมีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการลลิล กรีนวิลล์, บ้านลลิล อิน เดอะ พาร์ค, บ้านบุรีรมย์ และ The Balcony Home ด้ ว ยความสามารถและมุ ม มอง ในการบริหารงานที่เฉียบคมของชูรัชฏ์ ที่เข้าถึงความต้องการของผู้อยู่อาศัย รุ่นใหม่ได้อย่างแท้จริง ท�ำให้อนาคต ข้างหน้าของ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เต็มไป ด้วยแสงสว่างและความรุ่งโรจน์

CHURAT Chakarakul

LALIN PROPERTY PLC

Churat Chakarakul is a new blood businessman and the second generation of Lalin Property PLC, the topflight real estate company in Thailand entrusted by buyers for the superb qualities and services over the past 25 years. Since he took his step to help his father, Chaiyan Chakarakul, he was assigned with two duties: a Chief Executive of SBU2 to tend to the new housing project and a member of the board of directors of Lalin Property PLC. With the vision to expand the business in response to the fast changing lifestyle of young people, he initiated three new brands which are LANCEO the housing project, LIO the townhome project, and LEVO the condominium. With their varieties and trendiness, all his projects have achieved tremendous success. Churat Chakarakul is the family’s business successor who will surely show us the prosperous era of Lalin Property.

PROFILE ชูรัชฏ์ ชาครกุล นักบริหารเจเนอเรชั่นที่ 2 ของบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด (มหาชน) ส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทจาก 2 มหาวิทยาลัย คือ ในด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Policy Economics) จาก University of Illinois-Urbana Champaign, Illinois สหรัฐอเมริกา และด้านบริหารธุรกิจ (M.B.A. -Finance & Marketing) จาก American University, DC สหรัฐอเมริกา ผ่านการท�ำงานกับองค์กรชั้นน�ำ ได้แก่ AVP ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) และนักวิเคราะห์ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จ�ำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน เขาเข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัวในต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการ SBU2 033


034


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : สาริน พรดอนก่อ

ธนกร

วีรชาติยานุกูล

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

06

TANAKORN Weerachatyanukul บิ๊กบอส ‘ยูดี ทาวน์’ อุดรธานี

ไลฟ์สไตล์ โอเพ่นแอร์ มอลล์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและอินโดจีน ส�ำหรับ หนุย่ -ธนกร วีรชาติยานุกลู แล้ว หลาย คนทีม่ องแค่วา่ เขาเป็นชายหนุม่ หน้าตาละอ่อนยิม้ แย้มแจ่มใสเป็นนิจ แต่งตัวง่ายๆ สบายๆ รับรองว่า คงต้องนึกไม่ถงึ เป็นแน่ หากบอกว่าหนุม่ คนนีแ้ หละ เป็นเจ้าของธุรกิจคอมมูนติ ี้ มอลล์ แบบโอเพ่นแอร์ ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทย และอินโดจีน ทีม่ มี ลู ค่าหลายร้อยล้านบาท ทัง้ ๆ ทีเ่ พิง่ จะมีอายุเพียง 40 ปีเศษเท่านัน้ เอง ธนกรเล่าว่าก้าวเข้าสูแ่ วดวงธุรกิจอย่างเป็นทางการ เมือ่ 18 ปีทแี่ ล้ว แต่ในความเป็นจริงเขาได้ฉายแวว ของการเป็นนักธุรกิจ โชว์ความสามารถในการ ท�ำการค้ามาตัง้ แต่เด็กๆ เนือ่ งจากคุณพ่อคุณแม่ เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมัน ได้เห็นได้เรียนรูก้ าร รับซือ้ พืชผลทางการเกษตรมาตัง้ แต่เด็ก ยิง่ เมือ่ ได้รบั มอบหมายจากคุณพ่อคุณแม่ให้มาช่วยงาน ธุรกิจครอบครัวในฐานะลูกชายคนโต ก็ยงิ่ ท�ำให้ ความเป็นพ่อค้า ความเป็นนักธุรกิจซึมซับเข้าไป ในตัวมาตลอด

ก้าวแรกบนทางที่เลือก แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าในช่วงที่จะต้องลงมือท�ำธุรกิจอย่างจริงจังนั้น ธุรกิจการค้าพืชผล ทางการเกษตรอยู่ในช่วงตกต่ำ แต่เป็นจังหวะที่ธุรกิจสื่อสารเกิดขึ้นมาและส่อแววรุ่ง ในความรู้สึกของธนกรพอดี เขาจึงเลือกเดินทางธุรกิจสื่อสารแทนการสานต่อธุรกิจ โรงงานของครอบครัว “คุณพ่อคุณแม่ผมเป็นคนขยัน และเป็นคนที่มีความมุมานะ มองการณ์ไกล ตอนเด็กๆ เราอยู่อุดรฯ แต่เขาส่งเรามาเรียนภาษาจีนที่ชลบุรี เราก็งงว่าท�ำไมต้องส่ง เรามาเรียนภาษาจีนทีช่ ลบุรี มาถึงวันนีถ้ งึ ได้รซู้ งึ้ ถึงประโยชน์ทไี่ ด้รบั เพราะเวลาเรา ไปเมืองจีนถ้าพูดไม่ได้นี่ไม่รู้เรื่องเลยนะ”...ส�ำหรับธนกรอาจจะเป็นค�ำขอบคุณหรือ ค�ำยกย่องที่มีให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ปลูกฝังพื้นฐานความรู้ทางการค้าให้อย่างเต็มที่ แต่ส�ำหรับมุมของคนในแวดวงธุรกิจด้วยกันแล้ว นี่คือค�ำตอบที่ว่า ท�ำไมธนกรจึงมี ความพร้อมในด้านพื้นฐานการท�ำธุรกิจครบสูตรอย่างที่เห็น เพราะมองว่าธุรกิจเกษตรเริ่มอ่อนล้า แต่ธุรกิจสื่อสารก�ำลังจะมาแรง ก้าวแรก ในการท�ำธุรกิจที่เป็นของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ ธนกรจึงเริ่มด้วยการเป็นตัวแทน เปิดตลาดให้กบั ดีแทค หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม ‘เวิลด์โฟน (World Phone)’ ในสมัยนัน้ 035


หาญกล้า ท้าคุมอีสาน และคงจะเป็นเพราะบุคลิกเฉพาะตัว ประเภทเล็กๆ ท�ำไม่เป็น ถ้าจะท�ำต้อง ท�ำแบบใหญ่ๆ จัดหนัก จัดเต็ม ก็เป็น ได้ ที่ท�ำให้ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นกับธุรกิจ สื่อสาร เพิ่งจะเริ่มต้นเปิดตลาด แต่ก็ หาญกล้าขนาดขอรับดูแลพืน้ ทีท่ งั้ หมด ทั่วทั้งภาคอีสานให้กับทางเวิลด์โฟน “สมั ย นั้ น คื อ คุ ณ บุ ญ ชั ย เบญจรงคกุ ล กั บ คุ ณ ภู ษ ณ ปรี ย ์ ม าโนช ตอนนั้นเขาก�ำลังหาตัวแทน เราก็เป็น หนึ่ ง ที่ เ ขาสั ม ภาษณ์ ซึ่ ง อาจจะเป็ น เพราะเราเป็ น คนรุ ่ น ใหม่ มี ค วามรู ้ ในระดั บ หนึ่ ง รวมทั้ ง เป็ น คนอี ส าน ซึ่งเขาก็คงมองว่าเราน่าจะเข้าใจความ เป็นธรรมชาติของคนอีสานได้ดีกว่า” จะด้วยเหตุผลดังทีธ่ นกรคิดหรือไม่ ก็ตาม แต่ที่แน่ๆ ธนกรเองก็ต้องพิสูจน์ ตัวเองให้กับทางดีแทค หรือเวิลด์โฟน ได้เห็นว่า เด็กหนุ่มคนนี้ สมราคาคุย จริงๆ ซึ่งตอนนั้นธนกรบอกว่า ต้องลุย หนัก ลุยเต็มที่ เพราะสินค้าของเวิลด์ โฟนยังไม่เป็นที่รู้จัก แถมมีปัญหาเรื่อง ระบบ เรื่องจุดขาย แม้แต่ความเข้าใจ ในการเป็นตัวแทนก็ยงั มีไม่มาก จึงต้อง ลงไปดูในแต่ละจังหวัดว่าใครที่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้เป็นตัวแทนได้ ก็ไป สร้างช่องทางการจ�ำหน่ายให้ ที่ส�ำคัญ ตอนนั้นทางดีแทคมีโมโตโรล่าค้างใน สต๊อกขายไม่ออกอยูเ่ ยอะ เพราะโนเกีย มาแรง ก็ต้องหาช่องทางเอาสินค้าไป ระบาย ต้องไปท�ำตลาด ซึ่งสุดท้ายสิ่งที่ ได้ตอบแทนก็คือความส�ำเร็จ และต้ อ งถื อ ว่ า เป็ น ความส� ำ เร็ จ ทีไ่ ม่ธรรมดา เพราะแม้ตอ่ มาเวิลด์โฟน จะมีการเปลีย่ นแปลงเป็นดีแทคผูบ้ ริหาร จะกลายมาเป็ น ต่ า งชาติ แต่ ธ นกร ก็ยงั คงอยูไ่ ด้เป็นอย่างดี แถมยังบอกว่า ได้เอาวิธีการท�ำงานทั้งจากผู้บริหาร ธุรกิจคนไทย และผู ้ บ ริ ห ารต่ า งชาติ อย่าง ซิคเว่ เบรคเก้มาใช้ มาพัฒนา 036

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

มาปรับปรุงธุรกิจของตนเองด้วยเหตุผล ที่ว่า “ผมเป็ น คนที่ เ มื่ อ ท� ำ อะไรแล้ ว ก็ จ ะตั้ ง ใจท� ำ อย่ า งจริ ง จั ง ท� ำ ในสิ่ ง ที่ นักการตลาด นักขายพึงท�ำ ผมท�ำให้ หมด โดยที่ ท างบริ ษั ท แม่ เ ขาไม่ ไ ด้ ก�ำหนดให้ทำ� แต่ผมท�ำเอง เพราะอยาก ให้ผลิตภัณฑ์ไปได้”

ยูดี ทาวน์ ก้าวที่กล้าอีกครั้ง มาถึงจุดนี้หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า ในเมื่ อ ท� ำ ธุ ร กิ จ สื่ อ สารเติ บ โตได้ ดี และตัวธุรกิจสื่อสารก็ยังเติบโตได้อีก แล้วอะไรที่ท�ำให้ฉีกตัวเองมาท�ำธุรกิจ ที่ แ ตกต่ า งและไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ สื่ อ สารเลย อะไรคื อ แรงบั น ดาลใจ ที่ ท� ำ ให้ หั น มาท� ำ ธุ ร กิ จ ไลฟ์ ส ไตล์ โอเพ่นแอร์ มอลล์ อย่าง ‘ยูดี ทาวน์’ เหตุ ผ ลก็ คื อ ระหว่ า งที่ ท� ำ ธุ ร กิ จ สื่อสาร เมื่อยอดขายเป็นไปตามเป้า ก็ จ ะได้ โ บนั ส เป็ น การไปเที่ ย วต่ า ง ประเทศ ไปอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ท�ำให้ได้เห็นกว้างขึ้น มากขึ้น และ มองสไตล์การช้อปปิ้งของคนทั่วโลก ว่า แม้ห้างใหญ่ๆ ห้างดังๆ จะยังคงมี อยู่ แต่รูปแบบอย่าง ฌองป์ส เอลิเซ่ส์ (Champs-Élysées) ของฝรั่ ง เศส มีหลายประเทศน� ำ ไปท� ำ ในขณะที่ จนถึงวันนี้ ฌองป์ส เอลิเซ่ส์ยงั คงได้รบั ความนิยม การค้ายังคึกคัก ผูค้ นยังเดิน กันขวักไขว่ จุดนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจ ที่ส�ำคัญ

กับอีกเหตุผลหนึ่งก็คือในเมื่อยัง รักธุรกิจสื่อสารอยู่ การจะสานต่อธุรกิจ ไปเรื่อยๆ ก็ควรจะมีที่เป็นของตนเอง เพื่อที่จะสานต่อกระบวนการขาย และ ช่วยให้ก�ำหนดกลุ่มลูกค้าได้ ตอนนี้ ร้านดีแทคที่ ยูดี ทาวน์ กลายเป็นช็อป ที่ขายดีที่สุด และขายสินค้าระดับกลาง ถึงระดับบนได้ดี อย่างไอโฟน มาเท่าไหร่ ก็ไม่พอขาย ดั ง นั้ น จริ ง ๆ แล้ ว นี่ คื อ ผลงานที่ โชว์ความหลักแหลมของธนกร เพราะ นอกจากจะไม่ใช่การเปลี่ยนฐานทาง ธุรกิจแล้ว ยังเป็นการสร้างฐานที่มั่น ขึน้ มาเพือ่ เสริมฐานธุรกิจเดิมให้เข้มแข็ง และเติบโตมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ แปลกที่จะได้ยินธนกรบอกว่า ทุกวันนี้ รายได้หลักยังมาจากธุรกิจสือ่ สาร ซึง่ ยัง เป็นธุรกิจทีท่ ำ� เงินอยู่ เดือนละประมาณ 200 ล้ า นบาท และทุ ก วั น นี้ อ อฟฟิ ศ บริ ษั ท ทั้ ง หมดของธนกรก็ ม าลงหลั ก ปักฐานอยู่ในยูดี ทาวน์ หมดแล้ว!!


บนเส้นทาง ของการทุ่มเท ฟั ง ดู อ าจจะนึ ก ว่ า อะไรๆ ดู จ ะง่ า ยไป หมด แต่หากมองในมุมของคนหนุ่ม รุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีแบ็คทางธุรกิจมาก่อน จะพบว่าทุกอย่างไม่ได้ง่ายเหมือนภาพ ที่เห็นความส�ำเร็จในวันนี้เลย เพราะ กว่าจะปัน้ ยูดี ทาวน์ ขึน้ มาได้อย่างทีเ่ ห็น ในทุกวันนี้ ธนกรยอมรับว่า...เหนื่อย มาก และต้ อ งทุ ่ ม เททั้ ง แรงกายและ แรงใจเป็นอย่างมาก เอาแค่ตอนแรกที่รู้ว่าการรถไฟ ต้องการพัฒนาที่ดินตรงนี้พอดี ก็ไม่ ง่ายแล้วว่าจะเขียนแผนพัฒนาอย่างไร จะออกแบบอย่างไร รูปแบบเป็นแบบ ไหน จะใช้ทุนที่ไหน เรียกว่าทุกอย่าง เริ่ ม และเดิ น หน้ า ไปพร้ อ มกั บ ความ ตั้งใจที่เด็ดเดี่ยวเป็นหลัก กับเทคนิค เฉพาะตัวก็คือ การกล้าเข้าไปคุยกับ ผู้ใหญ่ ไปปรึกษา ไปขอความรู้ กระทั่ง ถึงการขอความร่วมมือ แม้แต่หาคน มาเขียนแบบให้เหมือนอย่างที่ฝันไว้ก็ ยังไม่ง่ายเลย เพราะคนที่ธนกรสนใจ

ให้ออกแบบเป็นคนมีชื่อในวงการ เพิ่งได้ รับรางวัลระดับโลกมา จึงกลัวว่าจะไปท�ำ ชื่อเสียงเขาพัง เพราะก็ไม่ได้รู้จักเป็นส่วนตัว รูแ้ ต่วา่ เป็นคนทีอ่ อกแบบ ‘เจ อเวนิว’ ออกแบบ ‘มาร์เก็ต เพลส’ ก็ตามไปจนเจอตัวที่บริษัท ตอนแรกเขาก็ปฏิเสธบอกไปท�ำให้ได้ที่ดิน มาก่อน ก็ต้องพยายามหมั่นไปเจอบ่อยๆ ไปตื๊ อ อยู ่ เ กื อ บ 4 ปี เนื่ อ งจากตอนนั้ น รถไฟจะเปิดประมูลจริงในปี 2549 แต่มีข่าว ออกมาตั้งแต่ปี 2546 แล้ว...แต่ด้วยความ มุ่งมั่น ที่สุดจึงได้มาทั้งที่ดินและคนออกแบบ ในที่สุด ยิ่ ง กว่ า นั้ น หากดู ยู ดี ทาวน์ ในวั น นี้ ใครจะเชือ่ ว่า ณ วันเริม่ ต้น ธนกรเขียนแผนไป ให้สถาบันการเงินเพือ่ ขอกูเ้ งินมาลงทุน กลับ ถูกตีกลับไม่ให้กู้เนื่องจากทางแบงก์มองว่า ยังไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ โชคดีที่กล้า เข้ า ไปคุ ย กั บ โชติ ศั ก ดิ์ อาสภวิ ริ ย ะ ซึ่ ง ขณะนั้ น เป็ น กรรมการผู ้ จั ด การของ เอสเอ็ ม อี แ บงก์ และได้ รั บ การให้ โ อกาส ในฐานะคนรุ ่ น ใหม่ จึ ง ท� ำ ให้ สุ ด ท้ า ยได้ เงิ น กู ้ ม าลงทุ น หรื อ อย่ า งในส่ ว นของ ร ้ า น ค ้ า ร ะ ดั บ แ ม ่ เ ห ล็ ก ทั้ ง ห ล า ย ที่ ยอมเข้ า มาลงจุ ด ขายใน ยู ดี ทาวน์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างแมคโดนัลด์ เข้ามา

รายแรกเพราะเห็นว่าน่าจะไปได้ แต่หลายที่ ต้องใช้สไตล์พงุ่ เข้าชน ขอเข้าคุยด้วย ซึง่ ธนกร บอกว่าสไตล์นี้แหละท�ำให้ ตัน ภาสกรนที (กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ปใน สมัยนั้น) ยอมตั ด สิ น ใจมาเปิดสาขาโออิชิ ใน ยูดี ทาวน์ “คือตอนนัน้ ติดต่อโออิชอิ ยู่ 2 ปี ไม่มใี คร มาดูให้เลย เราติดต่อตั้งแต่จะท�ำโครงการ จนสร้างเสร็จก็ไม่มีใครมา บังเอิญคุณตันไป บรรยายทีข่ อนแก่น ก็มคี นนัดหมายให้ไปเจอ คุ ณ ตั น ถามว่ า เคยท� ำ มาก่ อ นหรื อ เปล่ า ผมก็บอกว่าไม่เคย นั่งรถกันมา 120 กิโลฯ คุณตันไม่พดู อะไรเลย จนมาถึงทีอ่ ดุ รฯ ก็มาที่ ยู ดี ทาวน์ คนก็ เ ข้ า มาทั ก ทายคุ ณ ตั น ก็เหมือนกับว่าคนที่นี่ก็รู้จักคุณตันในระดับ หนึ่งแล้ว ถ้าเอาแบรนด์มาลงคนก็น่าจะรู้จัก และโดยท� ำ เลก็ ดี คุ ณ ตั น ถามไปที่ ค นที่ รับผิดชอบในการขยายสาขาว่าท�ำเลอย่างนี้ ท�ำไมไม่เปิด แล้วก็บอกกับผมว่าคนเหล่านี้ ไม่ผิดหรอก เพราะเขาท�ำงานให้กับองค์กร ถ้าตัดสินใจผิดพลาดก็เป็นความเสี่ยง ซึ่ง ตามหลักแล้วการขยายสาขาต้องเซ็นตั้งแต่ ระดับล่างไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายมาจบ ที่ คุ ณ ตั น แต่กรณีของผมนีแ่ หละ ทีเ่ ซ็นตัง้ แต่ ระดับบนไล่ลงไปข้างล่าง” 037


3 ปีแห่งการสานฝันกับ ยูดี ทาวน์ เริ่มได้แล้วก็ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะถึงระดับหนึ่งทุนจากเอสเอ็มอีแบงก์ ก็มีลิมิต เนื่องจากมุ่งช่วยธุรกิจรายเล็ก แต่เมื่อธุรกิจของธนกรก้าวขึ้น ไปอีกขั้นหนึ่งก็จ�ำเป็นต้องไปหาแหล่งเงินทุนใหม่ เพื่อพัฒนาส่วนต่างๆ เพิ่มเติมให้รองรับกับจ�ำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นเขาก็ได้ท�ำ แผนไปเสนอแบงก์ อื่ น ๆ เพื่ อ ขอกู ้ เ งิ น และก็ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น ค่อนข้างง่ายกว่าตอนแรก อาจเป็นเพราะทางแบงก์เริ่มเล็งเห็นแล้วว่า เขาท�ำได้จริงๆ และมีโอกาสจะพัฒนาไปได้อีก วั น นี้ ยู ดี ทาวน์ ยื น หยั ด อย่ า งแข็ ง แกร่ ง มาได้ 3 ขวบปี แ ล้ ว หลายคนบอกว่าประสบความส�ำเร็จแล้ว ธนกรสามารถพิสูจน์ฝีมือ ให้เป็นที่ประจักษ์ในแวดวงธุรกิจได้แล้ว เพราะมีคนแห่มาชวนให้ไป ท�ำศูนย์ฯ เหมือน ยูดี ทาวน์ หรือสาขาของ ยูดี ทาวน์ ในหลายๆ จังหวัด แต่ธนกรเลือกทีจ่ ะไม่ไป เพราะยังมองว่าที่ ยูดี ทาวน์ อุดรธานี ยังมีอะไร ที่ให้ต้องท�ำต้องพัฒนาอีกมาก ยังต้องขยันสร้างสีสันใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับ ตลาดอยู่ตลอดเวลา ให้สมกับที่คนชมว่า ยูดี ทาวน์ ขยันท�ำกิจกรรม ขยันมีอีเวนท์มากที่สุดในบรรดามอลล์ที่มีอยู่

038

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

“คนเราต้องมีฝัน แต่ต้อง เป็นฝันที่สามารถจับต้องได้ เป็นฝันที่สามารถเขียนเป็น เค้าโครงได้ว่าจะท�ำอย่างไร แล้วตั้งใจท�ำตามฝันให้ถึงที่สุด ผิดพลาดไม่เป็นไร โอกาสที่จะ ส�ำเร็จมันมีตั้งแต่เราฝัน ถ้าท�ำแล้วไม่ส�ำเร็จแสดงว่า เรายังไม่ได้ไปให้สุด แล้วก็ต้องมี ทีมงานที่รู้ใจมาช่วย เติมฝันให้ประสบความส�ำเร็จ”


TANAKORN Weerachatyanukul UD TOWN

It took Tanakorn Weerachatyanukul only three years to materialize his dream and turn UD TOWN into the largest open-air shopping mall in Thailand and Indo-China. The 40-year-old CEO admitted though that it took him sweat, blood and tears to get to where he is today.

มุ่งมั่นท�ำทุกอย่างให้เต็มที่ ธนกรพู ด ถึ ง ปรั ช ญาในการท� ำ งาน ของเขาเองว่า พยายามท�ำทุกอย่างให้ เต็ ม ที่ เวลาคิ ด อะไรก็ คิ ด ให้ มั น สุ ด ๆ ไปก่ อ น เสร็ จ แล้ ว ค่ อ ยๆ ถอยลงมา ทีละขั้น จนถึงระดับที่ท�ำได้จริง เพราะ บางทีสดุ ๆ เลย อาจจะไปไม่ได้ แต่ไม่วา่ อย่างไรก็ต้องเดินไปก่อน...ซึ่งธนกร บอกว่าใครจะน�ำไปใช้บ้างก็ยินดี “ก่อนอื่นต้องมีฝัน แต่ต้องเป็น ฝั น ที่ ส ามารถจั บ ต้ อ งได้ เป็ น ฝั น ที่ สามารถเขียนเป็นเค้าโครงได้ว่าจะท�ำ อย่างไร แล้วตัง้ ใจท�ำตามฝันให้ถงึ ทีส่ ดุ ผิดพลาดไม่เป็นไร โอกาสที่จะส�ำเร็จ มันมีตั้งแต่เราฝัน ถ้าท�ำแล้วไม่ส�ำเร็จ แสดงว่ า เรายั ง ไม่ ไ ด้ ไ ปให้ สุ ด แล้ ว ก็ ต้องมีทีมงานที่รู้ใจมาช่วยเติมฝันให้ ประสบความส�ำเร็จ”

ณ วั น นี้ ธนกร วี ร ชาติ ย านุ กู ล มีความภาคภูมใิ จลึกๆ ว่า ยูดี ทาวน์ ท�ำให้ เมืองอุดรฯ เปลีย่ นไป ด้วยการเป็นส่วน หนึ่ ง ในการพั ฒ นาธุ ร กิ จ เมื อ งอุ ด รฯ ท�ำให้เกิดการพัฒนาเมืองในแง่ต่างๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ งความสวยงามของ เมื อ ง การยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของ คนในเมืองให้เรียนรูร้ ปู แบบการใช้ชวี ติ ใหม่ๆ และที่ ส� ำ คั ญ คื อ ท� ำ ให้ จั ง หวั ด อุดรธานีเป็นทีร่ จู้ กั ของคนทัว่ ไปทีไ่ ม่ใช่ คนอุดรฯ มากขึ้น ส่วนจะได้ถึงขั้นแลนด์มาร์กเมือง อุดรฯ และ ฌองป์ส เอลิเซ่ส์เมืองไทย หรือไม่ ต้องติดตามผลงานกันไปเรือ่ ยๆ แต่วันนี้ที่แน่ๆ ‘ธนกร’ เหมาะสม แล้วกับการเป็นนักบริหารธุรกิจรุน่ ใหม่ ที่ประสบความส�ำเร็จ

More significantly, UD TOWN has become part of the development in Udon Thani which paved way further to other city facelift aiming to enhance the quality of life and urban sense of living. Thanks to this very landmark, UD TOWN earned its place as a household name in Udon Thani not only for the local but also a larger public. Tanakorn is no doubt ranked Thailand’s young and highlysuccessful businessman in Thailand.

PROFILE ธนกร วีรชาติยานุกูล ซีอีโอหนุ่มวัย 40 เศษผู้นี้จบการศึกษา Mini MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ (ABAC) ก้าวเข้าสูว่ งการธุรกิจด้วยการเป็นตัวแทนให้กบั ดีแทค ยักษ์ใหญ่วงการสือ่ สาร ปัจจุบนั นอกจากจะนัง่ เก้าอีก้ รรมการผูจ้ ดั การบริษทั ทีไอเอส เทเลคอม จ�ำกัด ยังด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จ�ำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ ศูนย์การค้าในรูปแบบโอเพ่นแอร์ มอลล์ ที่ใหญ่ที่สุดในไทยและอินโดจีน ธนกรยังเป็นวิทยากรพิเศษในการให้ความรู้ สร้างแรง บันดาลใจแก่นักศึกษาและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ถึงแนวทางการด�ำเนินธุรกิจ เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี 039


040


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

นพดล

จิรวราพันธ์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

07

NOPHADON Jiravaraphan

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูกิชิ อินเตอร์กรุ๊ป จ�ำกัด

กล้าคิด กล้าท�ำ ในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบ ถ้ามองกัน ณ วันนี้ บรรดาสาวก อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี หรือ บรรดาผู้ที่นิยมชมชอบการกิน อาหารสไตล์ญี่ปุ่น สไตล์เกาหลี ที่มีความแตกต่าง มีจุดเด่นเป็นของ ตนเองแล้ว คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้าน ‘ซูกิชิ’ อย่างแน่นอน แต่จะมีใครรู้ บ้างว่า ร้านซูกิชินั้นเริ่มต้นขึ้นมา โดยคนรุ่นใหม่ ที่ก้าวเข้ามาโดย มุ่งมั่นเลือกทางเดินของตนเอง ทั้งๆ ที่พื้นฐานครอบครัวของ นพดล จิรวราพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษทั ซูกชิ ิ อินเตอร์กรุป๊ จ�ำกัด มาจากนักธุรกิจทางด้านส่งออก ไม่ใช่ นักธุรกิจด้านร้านอาหารเลยสักนิด

เรียนวิศวะ แต่ชอบเรื่องอาหาร “ใช่ครับ ผมสนใจเรื่องของอาหารมาก” นพดลยืนยันความชอบส่วนตัว ในขณะที่ ยอมรับว่าเส้นทางในการศึกษาเล่าเรียน ไม่มอี ะไรทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งของอาหารเลย เพราะเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยปริญญาตรีจบด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาโท ก็เป็นการจัดการวิศวกรรม แถมเมือ่ เรียนจบมาใหม่ๆ ก็มาท�ำงานทีบ่ ริษทั ทรู ในสมัย ที่ยังเป็นบริษัท เทเลคอม เอเชีย ท�ำอยู่ประมาณ 1 ปี ในขณะที่ธุรกิจเดิมของทางบ้านที่คุณพ่อขจร จิรวราพันธ์ ก่อร่างสร้างเอาไว้ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของอาหารเช่นกัน เพราะเป็นธุรกิจทางด้านเรียลเอสเตท และ อิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ต เป็นการยืนยันค�ำตอบทีว่ า่ เรือ่ งของอาหารเป็นความชอบส่วนตัวจริงๆ... แต่เมือ่ ล้ ว งลึ ก ย้ อ นลงไปจึ ง ได้ รู้ ว่ า บนความชอบส่ ว นตั ว นั้ น ลึ ก ๆ แล้ ว เป็ น เรื่ อ งของ การซึมซับมาตั้งแต่วัยเยาว์เลยก็ว่าได้ เพราะนพดลเล่าว่าตอนเด็กๆ ครอบครัว จะอยู่ที่สิงคโปร์ ส่วนตัวของนพดลเองก็ไปอยู่ที่สิงคโปร์ตั้งแต่ตอนอายุได้ 8 ขวบ และอาศัยอยูท่ นี่ นั่ ประมาณ 10 ปี ในสว่ นนีเ้ องทีไ่ มเ่ พียงท�ำใหน้ พดลไดร้ บั รู้ และเห็นวา่ สิงคโปร์เป็นเมืองที่ถือเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล ฟู้ด แต่ยังค่อยๆ ซึมซับด้านธุรกิจ อาหารมาโดยไม่รู้ตัว 041


เดินหน้าสานฝัน ความชอบ ผลจากการซึ ม ซั บ ความหลากหลายของ อาหารในหลายๆ ชาติ สมั ย ที่ อ ยูส่ ิ ง คโปร์ บวกกับความชอบส่วนตัว ท�ำให้นพดลสนใจ มองธุรกิจตลาดอาหารในเมืองไทย และเห็น ว่าน่าจะไปได้คอ่ นข้างดี เนือ่ งจากหากย้อนไป 11 ปีที่แล้ว ธุรกิจร้านอาหารต่างชาติยังมี ไม่มากนัก จึงเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้ม ดี ท� ำ ให้ อ ยากจะริ เ ริ่ ม ท� ำ ธุ ร กิ จ ของตั ว เอง ขึ้นมา โดยในช่วงแรกๆ ก็เริ่มแค่เป็นธุรกิจ ร้านอาหารก่อน แล้วต่อไปค่อยต่อยอดเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร “จุดเริ่มต้นในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้ของ ผมคือเมือ่ 11 ปีทแี่ ล้ว อาหารญีป่ นุ่ และเกาหลี เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั โดยเฉพาะอาหารญีป่ นุ่ ทีก่ ำ� ลัง มาแรง แต่อาจหากินยาก เพราะจะไปอยู่ ตามโรงแรม ซึ่ ง ราคาก็ ค ่ อ นข้ า งจะสู ง ผม เห็นว่าแนวโน้มของอาหารญีป่ นุ่ ก�ำลังมา และ ส่วนตัวแล้วก็เป็นคนที่ชอบอาหารญี่ปุ่นอยู่ แล้ว จึงเห็นว่าถ้าจะท�ำธุรกิจอะไรในเมืองไทย ก็น่าจะหาอะไรใหม่ๆ ท�ำ” อะไรใหม่ๆ ที่ว่าของนพดล ก็คือการน�ำ เอาคอนเซ็ปต์ ‘สุกี้’ กับ ‘ซูชิ’ มารวมกัน ดังนั้นชื่อ ‘ซูกิชิ’ ก็มาจากสุกียากี้กับซูชิ บนสายพานนั่นเอง นพดลเลือกท�ำเลย่านทองหล่อ เป็นจุด เริม่ ต้นของการสร้างสีสนั ร้านสุกยี ากีแ้ ห่งแรก ของเมืองไทยที่วิ่งบนสายพาน เพราะที่ญี่ปุ่น เองก็มีแต่ซูชิเท่านั้นที่วิ่งบนสายพาน ดังนั้น เมื่อต้องการให้มีอะไรที่แปลกใหม่ จึงเอาทั้ง สุกี้กับซูชิมาวิ่งบนสายพาน ซึ่งก็ได้รับการ ตอบรับจากลูกค้าดีมาก เพราะไม่เคยมีมา ก่อน ซูกิชิถือเป็นร้านแรกที่ท�ำ จึงได้รับการ ตอบรับเป็นอย่างดี กระทั่งถูกเรียกว่าเป็น ร้านสุกี้ไฮโซฯ เนื่องจากเป็นร้านที่จะมีลูกค้า ผูใ้ หญ่ไฮโซฯ หลากหลายวงการมาเป็นลูกค้า แล้วพูดกันปากต่อปากนั่นเอง

042

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

ฝ่าอุปสรรค...ที่บ้านไม่ปลื้ม ฟังดูอาจจะคิดว่าเป็นการเริม่ ต้นได้อย่าง ราบรื่น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะ ก้าวแรกก็เจออุปสรรคแล้ว เนื่องจาก ทีบ่ า้ นไม่เห็นด้วย และไม่สนับสนุนให้ทำ� “คือคุณพ่อท่านเป็นคนจีน ซึ่งคน จีนส่วนใหญ่ถา้ จะท�ำธุรกิจจะบอกว่า ท�ำ ธุรกิจอะไรก็ได้ยกเว้นร้านอาหาร เพราะ เชื่อว่าถ้าท�ำร้านอาหาร คุณจะต้ อ งอยู ่ เฝ้าร้านตลอดเวลา คุณจะไม่สามารถ ไปไหนมาไหนได้ เพราะมันมีเรือ่ งจุกจิก มาก ที่บ้านเลยไม่มีใครสนับสนุน แต่ สุดท้ายผมก็ท�ำจนได้” นพดลยอมรับว่าช่วงแรกเจอปัญหา เยอะจริงๆ อย่างทีท่ างบ้านเป็นห่วง เพราะ นอกจากจะเป็นธุรกิจทีไ่ ม่เคยท�ำมาก่อน ทุกอย่างยังต้องท�ำเองหมด ตั้งแต่การ หาบุคลากร หาเชฟ หาพนักงาน รวมทัง้ ดูแลตั้งแต่การสั่งของ ดูแลร้าน เรียกว่า ตั้ ง แต่ เ ปิ ด ร้ า นจนปิ ด ร้ า นต้ อ งอยู่ คุ ม ดูแลเองทั้งหมด รวมทั้งเป็นแคชเชียร์ เองด้วย

ซึง่ เหตุผลลึกๆ ส่วนหนึง่ เป็นเพราะ ความต้องการทีจ่ ะเรียนรูใ้ นทุกๆ ขัน้ ตอน นั่นเอง ซึ่งช่วงแรกๆ ก็มีปัญหา เพราะ ต้องท�ำทุกอย่างเพื่อให้ลูกค้าที่มาใช้ บริการ มากินอาหารแล้วมีการบอกต่อ จึงเข้มงวดมาก ทุกๆ เมนูนพดลต้อง ทดสอบก่อน ขณะที่เรื่องสุกี้สายพาน เป็นอะไรที่ ใ หม่ ม ากส� ำ หรั บ เมื่ อ ก่ อ น เพราะยังไม่เคยมีใครท�ำ ก็ต้องค่อยๆ ให้ลูกค้าเรียนรู้ ส�ำหรับในเรื่องของรสชาติอาหาร จะเน้นการปรับปรุงให้ถูกปากคนไทย จะใช้เชฟคนไทยที่มีประสบการณ์ใน ร้ า นอาหารญี่ ปุ ่ น ที่ ถู ก เทรนโดยเชฟ ญีป่ นุ่ นพดลจะช่วยคิดเมนูใหม่ๆ ขึน้ มา หรือเวลาที่ไปต่างประเทศได้เห็นอะไร ใหม่ๆ ก็จะมาคุยกับเชฟแล้วให้ลองท�ำ ออกมา ด้วยเหตุนี้เองนพดลจึงตั้งกลุ่ม เป้าหมายไว้ว่า ซูกิชิจะเป็นร้านอาหาร ทีร่ องรับลูกค้าคนไทยเป็นหลัก จะไม่เน้น ลูกค้าต่างชาติ


แน่นอน...ท้อมีแน่ แต่ไม่ถอย ! “การท�ำร้านอาหารเป็นอะไรที่จุกจิก ถ้ า จะรู ้ สึ ก ท้ อ บ้ า ง ก็ ค งเป็ น เรื่ อ งของ บุคลากรมากกว่า เพราะมีการ Turnover ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะในช่วง แรก” นพดลบอกเล่าความรู้สึกตรงๆ โดยบอกว่าสาเหตุเป็นเพราะขณะนั้น ซู กิ ชิ มี ส าขาเดี ย ว แถมเป็ น ร้ า นเปิ ด ใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก พนักงาน บางคนอยากท�ำงานในร้านที่แบรนด์ มี ชื่ อ เป็ น ที่ รู ้ จั ก ท� ำ ให้ มี Turnover ค่อนข้างสูง แต่เมื่อประสบความส�ำเร็จ ปัญหาก็ลดลง แต่ ก็ มี ป ั ญ หาใหม่ เ ข้ า มาให้ ท ้ อ อีก เพราะเมื่อที่ทองหล่อประสบความ ส�ำเร็จ นพดลก็เริ่มมองหาท�ำเลใหม่ ก็ ส นใจที่ จ ะเข้ า ไปอยู ่ ใ นศู น ย์ ก ารค้ า แต่การที่จะเข้าไปขอพื้นที่ในห้าง เป็น

อะไรที่ยากมาก เพราะเมื่อยังโนเนม ทุกห้างก็ปฏิเสธหมด มีการติดต่อไป หลายห้ า งแต่ ก็ เ ข้ า ไม่ ไ ด้ เ ลย ท� ำ ให้ รู้สึกท้อมากเหมือนกัน แต่ก็ไม่ถอย จึง พยายามไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าไป ได้ที่มาบุญครองชั้น 7 ซึ่งถือเป็นสาขา แรกในห้าง สาขาที่ ม าบุ ญ ครองจึ ง ถื อ ได้ ว ่ า เป็นจุดเริ่มต้นที่ซูกิชิเข้าสู่ศูนย์การค้า และท� ำ ให้ มี ลู ก ค้ า ที่ ห ลากหลายเพิ่ ม มากขึ้น ซึ่งปรากฏว่าได้รับการตอบรับ ที่ดีเช่นเดียวกับที่ทองหล่อ และถือว่า เป็ น การเริ่ ม เข้ า ไปสู ่ ก ารเป็ น ธุ ร กิ จ รี เ ทลมากขึ้ น เนื่ อ งจากพอเปิ ด ที่ มาบุญครองได้ หลายห้างก็เริ่มเห็น แต่สิ่งที่ท�ำให้หายท้อจริงๆ ก็คือ ห ลั ง จ า ก ส า ข า แ ร ก ที่ท อ ง ห ล่อ ประสบความส�ำเร็จจนสามารถขยาย สาขาตามศู น ย์ ก ารค้ า คุ ณ พ่ อ ก็ เ ริ่ ม เข้ า ใจและเห็ น ว่ า บุ ต รชายสามารถ ท�ำได้ตามความชอบจริงๆ

ก้าวที่กล้า เส้นทางสู่ห้างใหญ่ นพดลเล่าว่า ในการฟันฝ่าจนเข้าไปสู่ห้างใหญ่ๆ นั้น ต้องพรีเซ้นต์กัน ทุกวิถที าง มีการเชิญตัวแทนห้างให้มาชิมอาหารทีร่ า้ น ให้มาดูความตัง้ ใจ ที่จะท�ำร้านให้ได้มาตรฐานจริงๆ เพราะห้างส่วนใหญ่จะให้ความส�ำคัญ ในเรื่องของการตกแต่งร้านด้วย คือต้องการให้ร้านที่จะเข้าไปท�ำให้ห้าง ดูสวยงาม ซึง่ แรกๆ ก็เป็นจุดหนึง่ ทีท่ ำ� ให้หา้ งไม่คอ่ ยมัน่ ใจว่าซูกชิ จิ ะท�ำได้ เพราะยังถือเป็นมือใหม่ ตอนนั้นนพดลจึงต้องลุยท�ำทุกอย่างเอง ทั้งหา พื้นที่เอง ดูแลร้านเอง คิดเมนูอาหารใหม่เองด้วย ถือว่าหนักพอสมควร ในช่วง 2-3 ปีแรก กว่าห้างใหญ่ๆ อย่างเซ็นทรัล และเดอะมอลล์ จะยอมให้เข้าก็ ประมาณ 3-4 ปี เรียกว่าเหนื่อยมากเหมือนกัน คือต้องเชิญกันหลาย รอบ บางทีเชิญแล้วไม่มาก็มี คืออาจจะเห็นว่ามีแค่สาขาเดียว ฉะนัน้ เวลา เชิญจึงค่อนข้างยาก แต่หลังจากเข้าไปได้และสร้างความมัน่ ใจให้กบั ทาง ศูนย์การค้าได้ ก็ไปได้ฉลุย “ตอนนี้พอห้างเปิดสาขาใหม่ เขาก็มาเชิญเราเข้าไป ซึ่งเราก็ดีใจที่ ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ” 043


กับผลงานที่ภาคภูมิใจ “ที่ผมภูมิใจคือแบรนด์ซูกิชิเป็นแบรนด์ของคนไทยที่เป็นที่ยอมรับ และ ตอบโจทย์คนไทยได้” นพดลมองว่าส่วนใหญ่แบรนด์อาหารเกาหลีและญี่ปุ่นที่ได้รับ การยอมรับจะเป็นชาวเกาหลีเป็นเจ้าของ หรือไม่กม็ พี าร์ทเนอร์เป็นชาว เกาหลี แต่ของซูกิชิเป็นแบรนด์ของคนไทย ที่ ณ วันนี้ได้รับการตอบรับ ที่ดี เพราะเวลานี้ภายใต้ ซูกิชิ อินเตอร์กรุ๊ป จะมีทั้งหมด 7 แบรนด์ คือ ‘ซูกิชิบาร์บีคิว’ ที่เป็นอาหารปิ้ง-ย่างสไตล์เกาหลี และมีอาหารญี่ปุ่นด้วย ซึ่งตัวปิ้ง-ย่าง นพดลบอกว่ากล้าพูดได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ และถือว่าเป็น Core Business ของกลุ่ม ส�ำหรับ ‘ซูกิชิบุฟเฟ่ต์’ คือคอนเซ็ปต์แรกที่ท�ำที่ทองหล่อ เป็นสุกี้ และซูชวิ งิ่ บนสายพาน แตต่ อนนีเ้ ปลีย่ นเป็นบุฟเฟ่ต์ เจาะกลุม่ คนท�ำงาน รุน่ ใหม่และนักศึกษา ส่วน ‘เรดกิมจิ’ มีสาขาเดียวทีพ่ ทั ยา เน้นกลุม่ ต่างชาติ เป็นบุฟเฟ่ต์ระดับพรีเมียม ขณะที่ ‘โซล กริลล์’ จะเป็นสายพานเช่นกัน แต่เป็นปิ้ง-ย่างบุฟเฟ่ต์แบบสไตล์เกาหลี กระทะดีไซน์เป็น 8 เหลี่ยม อาหารจะหมักแบบเกาหลี และมีอาหารประเภทต้มด้วย

ส่วน ‘วาวา’ จะเป็นอาหารไต้หวัน เป็นอาหารจีนที่ค่อนข้างโมเดิร์น คืออดีตการจะกินอาหารจีนต้องมากันเป็นครอบครัว ต้องเป็นโต๊ะใหญ่ เพราะอาหารจะจานใหญ่ ก็มาคิดใหม่ว่ามาคนเดียวก็กินได้ โดยท�ำ เป็นเซต กินได้ง่าย และ ‘วาวาชา’ เป็นเรื่องของชา ซึ่งน�ำมาจากทุกมุม โลก ไม่วา่ จะเป็น ไต้หวัน ญีป่ นุ่ จีน หรือยุโรป และอีกหลายแห่ง น�ำมาไว้ ที่ร้านเดียว เพราะมองว่าร้านกาแฟมีเยอะมาก แต่มีคนส่วนหนึ่งไม่ดื่ม กาแฟ จะได้ดื่มชาแทน ซึ่งจะมีหลากหลายเมนูให้เลือก และต่อไปก็จะ ท�ำเป็นแฟรนไชส์ มุ่งจับกลุ่มลูกค้าพรีเมียม สุดท้ายคือ ‘ฮาชิ ฮาชิ’ เป็นปิ้ง-ย่างสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งเซตให้เข้ากับ คอมมูนิตี้มอลล์ “ที่ผมตั้งใจไว้คือใน ซูกิชิ กรุ๊ป เราจะเป็นเรสเตอรองท์ ไม่ใช่เฉพาะ เกาหลี ญี่ปุ่น เพราะตอนนี้ก็มีอาหารไต้หวัน เราพยายามครีเอทแบรนด์ ใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับหลายๆ เซกเมนต์ เหมาะกับแต่ละโลเกชั่น เหมาะกั บ กลุ ่ ม เป้ า หมาย ที่ ส� ำ คั ญ สามารถขยายไปต่ า งประเทศได้ โมเดลจากนี้ไปจะเป็นในลักษณะนี้ ซึ่งตอนนี้สาขาที่เราจะไปเปิด คือที่ อินโดนีเซีย และเมียนมาร์”

สไตล์ชีวิตในฐานะนักบริหารรุ่นใหม่ นพดลมีครอบครัวแล้ว มีบุตรชาย 2 คน คนเล็ก 7 เดือน คนโต 2 ขวบ จึงทุ่มเท เวลาให้กับครอบครัวค่อนข้างเยอะ เพราะพอมีลูกคนแรก ก็คิดแล้วว่าจะเลี้ยง เขาอย่างไร ซึ่งที่ตั้งใจไว้คือ “อยากปลูกฝังให้เขาด�ำเนินชีวิต คิด และท�ำในรูปแบบของเขาเอง โดยที่ ผมเป็นเพียงคนที่คอยให้การสนับสนุน ให้ค�ำแนะน�ำ ผมอยากให้เขาเป็นคน กล้าคิด กล้าท�ำ กล้าที่จะก้าวเดินนอกกรอบความคิดแบบเดิมๆ แต่ก็ต้องเป็น ไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งก็เหมือนที่ผมกล้าที่จะท�ำในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบ” ส�ำหรับสไตล์การด�ำเนินธุรกิจ นพดลยึดมั่นในเรื่องที่จะต้องซื่อสัตย์กับ ลูกค้า ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของวัตถุดบิ ก็จะต้องคัดสิง่ ทีด่ ใี ห้กบั ลูกค้า ต้องมีความจริงใจ ต้องซื่อสัตย์ ต้องท�ำให้ลูกค้าเห็นว่าอะไรที่ท�ำออกมานั้นดีจริงๆ ขณะเดียวกัน ก็ต้องท�ำให้พนักงานทุกคนซึมซับเข้าไปในจิตใต้ส�ำนึกเลยว่า การบริการต้อง บริการให้ดี ครัวต้องท�ำอาหารที่ดีให้กับลูกค้า

044

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

“โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีหรือ อาหาร ดังนั้นการที่จะท�ำอะไร ใหม่ๆ ในตอนนี้ต้องใช้ Innovation สูง อยากให้คน ที่ท�ำธุรกิจหรืออยากท�ำธุรกิจ หนึ่ง, ต้องตามกระแสให้ทัน สอง, ศึกษาสิ่งที่จะท�ำให้ดี และ เมื่อตัดสินใจที่จะท�ำแล้วต้องมี ความมุ่งมั่น ต้องหาแนวทาง ใหม่ๆ ในการที่จะน�ำเสนอ ให้กับตลาด ไม่อยากให้ท�ำ ตามๆ กันหรือก๊อบปี้กัน”


NOPHADON Jiravaraphan SUKISHI GROUP

“Dare to think and do things you like.” is the core principle of Nophadon Jiravaraphan, the big boss of Sukishi Intergroup Co., Ltd., the leader in food and restaurant service industry established in 2001. With affiliated brands such as Sukishi Buffet, Seoul Grill, Red Kimchi, Wakashi, Sukiya, his business is one of the fastest growing chain eateries today with more than 50 branches nationwide. Nophadon said sometimes the obstacles discouraged him; however, his secret recipe for his strength and success were honesty, sincerity and strong determination.

แง่คิดส�ำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ นพดลให้แง่คิดว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี หรืออาหาร ที่ในอดีตจะเปลี่ยนทุก 3 ปี 5 ปี แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 1 ปี หรือ 6 เดือน ดังนั้นการที่จะท�ำอะไรใหม่ๆ ในตอนนี้ต้องใช้ Innovation สูง จึงอยากให้คนที่ท�ำ ธุรกิจหรืออยากท�ำธุรกิจ หนึง่ , ต้องตามกระแสให้ทนั สอง, ศึกษาสิง่ ทีจ่ ะท�ำให้ดี และ เมื่อตัดสินใจที่จะท�ำแล้วต้องมีความมุ่งมั่น ต้องหาแนวทางใหม่ๆ ในการที่จะน�ำ เสนอให้กับตลาด ไม่อยากให้ท�ำตามๆ กันหรือก๊อบปี้กัน คือสามารถท�ำในธุรกิจ เดียวกันได้ แต่ควรมีการแข่งขันกันในความแปลกใหม่ เพื่อให้มีความหลากหลาย และท�ำให้ตลาดกว้างมากขึ้น และต้องมีความจริงใจ ต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า เพื่อจะท�ำธุรกิจได้ในระยะยาว เพราะธุรกิจที่เป็นแบรนด์กว่าจะสร้างขึ้นมาได้ใช้เวลานานมาก อย่างซูกิชิกว่าจะ สร้างแบรนด์ให้เป็นทีร่ จู้ กั ก็ใช้เวลาเป็นสิบปี ฉะนัน้ การทีจ่ ะท�ำธุรกิจให้ยงั่ ยืนต้องมี ความซือ่ สัตย์และสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ลูกค้าให้ได้มากทีส่ ดุ รวมทัง้ ต้องหาจุดยืน ของธุรกิจและสร้างจุดยืนนั้นให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ซูกิชิท�ำอยู่ “ผมว่าตรงนี้เป็นจุดส�ำคัญส�ำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ๆ ที่ก�ำลังจะก้าวขึ้นมา”

Therefore, we shouldn’t be surprised that after only 10 years in business, Sukishi is now ranked as one of the most favorite Korean-Japanese restaurants for Thai consumers. The company is committed to providing quality and innovative food products, services and loyalty to create long-term value and satisfaction for customers.

PROFILE นพดล จิรวราพันธ์ แม่ทพ ั ใหญ่แห่งซูกชิ ิ จบการศึกษาระดับประถมจากประเทศสิงคโปร์ มัธยมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ (ISB) ก่อนจะไปคว้าปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ทีม่ หาวิทยาลัย ไมแอมี รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโทสาขาการจัดการวิศวกรรม ณ Tufts University Cambridge Massachusetts USA และ MBA Management Business จากมหาวิทยาลัยบอสตัน

045


000 046


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

เนรมิต

สร้างเอี่ยม

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

08

NERAMIT Srangiam

กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จ�ำกัด

Smart Living Style แสงไฟสาดส่องมาที่ เนรมิต สร้างเอี่ยม กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จ�ำกัด หรือ แกรนด์ ยู หลังจากนักบริหารหนุ่มสร้าง ปรากฏการณ์แปลกใหม่ในแวดวง อสังหาริมทรัพย์โดยการก่อสร้าง คอนโดมิเนียม ยู ดีไลท์@อ่อนนุช สเตชั่น และ ยู ดีไลท์ 2@บางซื่อ สเตชั่น เสร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว

ในเวลาเพียงหนึ่งปี ต่างจากคอนโดฯ ทั่วไปที่มักใช้เวลา ก่อสร้างนานกว่านั้น ความส�ำเร็จแบบติดจรวดของเนรมิต เปรียบได้กับค�ำกล่าวที่ว่า ‘หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์ คน’ ด้วยความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคนานัปการ ของนักบริหารหนุ่ม ส่งผลให้คอนโดฯ หลากหลายโครงการ ของแกรนด์ ยู ไม่ว่าจะเป็น ยู ดีไลท์รัตนาธิเบศร์, ยู ดีไลท์ @พหลโยธิน สเตชั่น, คอนโด ยู รัชโยธิน, คอนโด ยู @ หัวหมาก สเตชั่น, ยู ดีไลท์ เรสซิเดนซ์ พัฒนาการ-ทองหล่อ และ ยู ดีไลท์ 3 ประชาชื่น-บางซื่อ เป็นที่สนใจและถูกจับจอง อย่างรวดเร็ว เพราะสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในการด�ำเนิน ชีวิตของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนยุคใหม่ถูกเติมเต็มให้สมบูรณ์ แบบมากยิ่งขึ้นด้วยไอเดียสุดบรรเจิดของนักบริหารหนุ่ม ที่ชื่อ เนรมิต สร้างเอี่ยม 047


“การพัฒนาทีมงาน ให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาให้ผู้รับเหมา ท�ำงานได้ดี ให้ท�ำธุรกิจ ร่วมกันอย่าง เป็นธรรม ท�ำให้ ผู้รับเหมาอยู่ได้อย่าง มั่นคง เพื่อไปพัฒนา งาน พัฒนาสังคม พัฒนาชาติต่อไปได้”

คิดทุกเม็ด ครบทุกมุม คุ้มทุกเมตร หลั ง เรี ย นจบปริ ญ ญาตรี จ ากภาควิ ช าวิ ศ วกรรม โยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนรมิตเก็บเกี่ยวประสบการณ์โดยการท�ำงานใน แวดวงก่อสร้างอยู่พักหนึ่ง ต่อมาโชคชะตาน�ำพา ให้มโี อกาสได้รว่ มงานกับ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการบริหาร จัดการงานก่อสร้าง เนรมิตเล่าถึงทีม่ าทีไ่ ปทีท่ ำ� ให้ตดั สินใจลาออก จากงานเพื่อมาท�ำงานกับอาจารย์ต่อตระกูลว่า “วันหนึ่งขณะที่ผมก�ำลังคุมงานตอกเสาเข็ม อยู่ เห็นมีเสาเข็มร้าวจึงเดินไปบอกเจ้านาย...แต่ เจ้านายกลับบอกว่าไม่เป็นไร ผมคิดได้ว่าสิ่งนี้คือ การไม่รับผิดชอบ เพราะหากน�ำเสาเข็มที่ร้าวมา ก่อสร้างจะได้อาคารที่แข็งแรงมั่นคงได้อย่างไร?” เนรมิตบอก และนั่นเป็นสิ่งที่ท�ำให้เขามองเห็นถึง ความรับผิดชอบในการท�ำงาน

048

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

ปี พ.ศ. 2540 ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ต้ ม ย� ำ กุ ้ ง วงการธุ ร กิ จ ก่ อ สร้ า งซบเซา เนรมิตจึงเบนเข็มไปท�ำธุรกิจส่วนตัวด้าน ซอฟต์แวร์ และดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง พอปี พ.ศ. 2551 เนรมิตหวนกลับมาท�ำงานด้าน อสังหาริมทรัพย์อีกครั้งที่บริษัทแกรนด์ ยู แนวคิดในการท�ำงานที่เนรมิตยึดมั่น เปลี่ยนไปตามช่วงอายุ “แรกๆ ตอนเริ่มท�ำธุรกิจของตัวเอง เอาแค่มีความสุขและสนุกกับงานที่ได้ท�ำ ไม่ตามเก็บเงิน ไม่วางบิล สุดท้ายก็ช็อต อยู่ไม่ได้ ต่อมาคิดว่าท�ำงานแบบใช้เอาต์ ซอร์ซน่าจะดี พอมีงานอะไรก็จ้างบริษัท ภายนอกมารั บ ต่ อ ปรากฏว่ า ไม่ เ วิ ร ์ ก เพราะเราควบคุมคุณภาพและเวลาไม่ได้” เนรมิตบอก จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้ ท�ำให้เขา วิเคราะห์และแยกแยะ จนบ่มเพาะออกมา เป็นแนวคิดในการท�ำงานที่ว่า ‘คิดทุกเม็ด ครบทุกมุม คุ้มทุกเมตร’

“การสร้ า งคอนโดฯ เราต้ อ งคิ ด แทน ลู ก ค้ า ว่ า หากอยู ่ ใ นคอนโดฯ เขาต้ อ งใช้ อะไรบ้าง เพือ่ ให้เกิดความสะดวกสบายสูงสุด เราก็ใส่สิ่งนั้นลงในคอนโดฯ ตั้งราคาให้เป็น เจ้าของได้ง่าย และคุ้มค่ากับเงินทุกบาทที่ ลูกค้าต้องจ่าย” เนรมิตกล่าว ทีส่ ำ� คัญ หลักคิดนีย้ งั สามารถน�ำมาปรับ ใช้กับการดูแลพนักงานอีกด้วย “ผมสอนลูกน้องให้รู้จักคิดให้เยอะ คิด ให้ครบกระบวนการตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ ยันปลายน�ำ้ ” เนรมิตเริ่มเล่า “ผมฝึกให้พวกเขาเป็นเถ้าแก่ คือบริหารงานบริษัทให้เหมือนเป็นกิจการ ของตัวเอง ก่อนจะท�ำงานใดๆ หรือใช้จา่ ยเงิน ส�ำหรับท�ำอะไรให้คิดทบทวนก่อนว่า หาก เป็นเงินของตัวเองจะยอมจ่ายไหม ทีส่ อนแบบ นี้เพื่อให้เขารู้จักวางแผนและคิดให้ถี่ถ้วน ก่อนจะตัดสินใจ นอกจากนั้นยังต้องวางแผน ให้พวกเขาได้เติบโตต่อไป มีความก้าวหน้า ในงานและรายได้ ที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น อี ก ด้ ว ย” เนรมิตกล่าวอย่างน่าคิด


วางแผนดี และควบคุมให้เป็นไปตามแผน งานจึงส�ำเร็จอย่างรวดเร็ว จากความส� ำ เร็ จ ที่ เ นรมิ ต ‘ปฏิ วั ติ ’ วงการ ก่อสร้าง ด้วยการสร้างคอนโดฯ ให้แล้วเสร็จ อย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลา 1 ปี จากเดิม ที่ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี กลายเป็นแบบอย่าง ส�ำคัญให้คนในแวดวงก่อสร้างได้รู้ว่า การ ก่อสร้างคอนโดฯ สามารถลดเวลาลง อีกทั้ง ยังพัฒนาคุณภาพงานให้ดีขึ้นได้ “สาเหตุ ที่ เ ราท� ำ ได้ ไ ม่ ใ ช่ เ พราะ เทคโนโลยีทันสมัยใดๆ ทั้งนั้น แต่เป็นเพราะ เรา Back to Basic กลับมามองที่ฝีมือของ แรงงาน เช่นจากเดิมก่อผนัง 1 ด้านใช้เวลา 1 ชัว่ โมง หากช่างมีความช�ำนาญแล้วสามารถ ลดเวลาท� ำ งานเหลื อ ครึ่ ง หนึ่ ง ได้ ห รื อ ไม่ ? ปรากฏว่าช่างของเราท�ำได้ เนื่องจากเขามี ความเชี่ยวชาญ งานจึงเสร็จเร็วขึ้น และเมื่อ ความช�ำนาญของช่างรวมกับการวางแผน งานแบบลงรายละเอียดรายชั่วโมง จึงท�ำให้ ควบคุมงานก่อสร้างให้เสร็จได้เร็วมากบน มาตรฐานงานก่อสร้างที่ดีเช่นเดิม” พร้อมกันนั้น เนรมิตสามารถลบล้าง ความคิดที่ฝังรากลึกในใจคนท�ำงานก่อสร้าง ว่างานต้องดีเลย์ และต้องมีการแก้ไข เขาใช้วธิ ี พื้นฐานโดยการนั่งคุยกับคนท�ำงานก่อสร้าง เพื่ อ บอกเล่ า ถึ ง วิ ธี ก ารท� ำ งานของที ม งาน แกรนด์ ยู และโชว์แผนงานให้ดูว่าท�ำได้จริง นอกจากนั้ น ปั จ จั ย ที่ ท� ำ ให้ ค อนโดฯ ของแกรนด์ ยู เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วตามเวลา ที่ ก� ำ หนด คื อ การที่ เ นรมิ ต ท� ำ งานร่ ว มกั บ ผูร้ บั เหมาก่อสร้างส่วนต่างๆ อย่างใกล้ชดิ มาก เป็นพิเศษ “เวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้นก็ตาม ผมต้อง เข้าไปร่วมแก้ไขในทันที ผมจะลงรายละเอียด งานและเดิ น ดู ห น้ า งานด้ ว ยตั ว เองเสมอ

เมื่ อ มี ก ารวางแผนที่ ดี แ ละควบคุ ม ให้ เ ป็ น ไปตามแผนงานจึงส�ำเร็จได้อย่างรวดเร็ว” อุ ป สรรคอี ก อย่ า งหนึ่ ง คื อ ความเชื่ อ ที่ว่าคนงานก่อสร้างมีรายได้ที่ต�่ำ ท�ำให้คน ไม่คอ่ ยอยากมาท�ำงานก่อสร้าง เนรมิตบอกถึง แนวทางการแก้ปัญหาว่า อยู่ที่การท�ำให้เขา เชื่อว่าคนงานก็สามารถมีเงินเดือน 30,000 บาทได้ หากมีฝมี อื จริง เพราะงานก่อสร้างเป็น งานที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือและประสบการณ์ หากท� ำ งานได้ ดี แ ละรวดเร็ ว ก็ ส ามารถมี รายได้ที่สูงได้ นอกจากสร้ า งที่ อ ยู ่ อ าศั ย ที่ ดี เพื่ อ ให้ ลูกบ้านอยู่แล้วมีความสุขและสบายใจ สิ่งที่ หัวเรือใหญ่แกรนด์ ยู ให้ความส�ำคัญคือการ พัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนา ให้ผู้รับเหมาท�ำงานได้ดี ให้ท�ำธุรกิจร่วมกัน อย่างเป็นธรรม ท�ำให้ผู้รับเหมาอยู่ได้อย่าง มัน่ คง เพือ่ ไปพัฒนางาน พัฒนาสังคม พัฒนา ชาติต่อไปได้ เนรมิตทิ้งท้ายถึงค�ำแนะน�ำต่อนักธุรกิจ รุ่นใหม่ว่า ธุรกิจสมัยใหม่เป็นการท�ำงานที่ เป็นเครือข่าย ต้องท�ำงานเป็นพาร์ทเนอร์ และ ที่ส�ำคัญมากคือค�ำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน “เราดูแลงาน ดูแลการจ่ายเงินให้ตรง เวลา เขาก็ท�ำงานได้อย่างไม่ต้องกังวล มีเงิน หมุนเวียนที่ดี ท�ำงานได้เร็ว สิ่งเหล่านี้คือ ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ทที่ ำ� ให้ทกุ ฝ่ายพัฒนาไป พร้อมๆ กัน เกิดเป็นเครือข่ายการท�ำงานที่ แข็งแรง เราก็สามารถต่อสู้กับบริษัทต่างชาติ ได้ และการท�ำดีตอบแทนสังคม ไม่จำ� เป็นต้อง ออกไปปลูกป่าก็ได้ เพียงแค่คุณท�ำงานของ ตัวเองให้ดีที่สุด ก็ถือได้ว่าเป็นการตอบแทน สังคมแล้ว” เนรมิตกล่าวน�้ำเสียงจริงจัง

NERAMIT Srangiam

GRAND UNITY DEVELOPMENT Neramit Srangiam, managing director of Grand Unity Development, has created a novel phenomenon in real estate circle by raising two condominiums, U Delight @ OnNut Station and U Delight 2 @ Bangsue Station, which are distinguished from the others by having the construction period in merely 1 year. The success in a fast lane of Neramit has showed his vision in response to the fast changing lifestyle of young people. He served demands of Bangkokers whom their life styles have been changed due to the establishment of mass transit rail line by establishing condominiums which are U Delight @ Rattanathibet, U Delight @ Phaholyothin, U Delight @ Ratchayothin, U Delight @ Huamark, U-Delight Residence Pattanakarn Thonglor, U Delight 3 @ Prachachuen-Bangsue and U Delight 2 @ Bangsue Station. Every mentioned condominium had achieved its goal dramatically by selling out swiftly. Lifestyles of young generations have been fulfilled by an ultramodern idea of Neramit Srangiam.

PROFILE เนรมิต สร้างเอี่ยม จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พอเรียนจบมีโอกาสท�ำงานกับหลายบริษัท รวมถึงท�ำธุรกิจส่วนตัวด้าน Digital Marketing ปัจจุบันนอกจากเป็นผู้บริหาร ‘แกรนด์ ยู’ เนรมิตยังท�ำงานหลายอย่าง เช่นเป็นที่ปรึกษาพิเศษและผู้บรรยายพิเศษ

049


000 050


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ปิติ

ภิรมย์ภักดี

ภาพ : วีรพงศ์ ชปารังษี

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

09

PITI Bhirombhakdi บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จ�ำกัด

Spirit of Singha ด้วยจิตวิญญาณการเป็น นักบริหารมืออาชีพที่ได้รับ การถ่ายทอดมาจากผู้เป็นบิดา (สันติ ภิรมย์ภักดี) ท�ำให้ ปิติ ภิรมย์ภักดี ทายาทธุรกิจ เจเนอเรชั่นที่ 4 ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จ�ำกัด ผู้ผลิตและ จ�ำหน่ายเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ ตราสิงห์ ขึ้นแท่นนักบริหาร รุ่นใหม่ที่โดดเด่นในการท�ำงาน และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตอนนี้เขานั่งเก้าอี้ผู้อ�ำนวยการ สายการตลาด-ภูมิภาค

แรกเริ่มเดิมที สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เน้นสินค้าประเภท แอลกอฮอล์ พอปิติเข้ามาช่วยดูแลธุรกิจ เขาบุกเบิก ธุรกิจอื่นๆ ควบคู่กับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้า Singha Life, โครงการปั้นนักศึกษาสู่เวที นักบริหารรุ่นใหม่ Singha Biz Course รวมถึงเปิด โรงเรียนสอนขับรถแข่ง Singha Racing School ปิติมีส่วนส�ำคัญในการน�ำพาให้สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ระดับโลก จากการเซ็นสัญญาเป็น Global Partner กับสโมสรฟุตบอลระดับโลกในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ สิงโตน�้ำเงินคราม ‘เชลซี’ และเป็นพันธมิตร กับสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

051


โลกนี้ไม่มีคนโง่ เพียงแต่ ทุกคนฉลาดไม่เท่ากัน ปิตไิ ม่ตา่ งจากทายาทธุรกิจหลายๆ คนทีม่ กั มีคณ ุ พ่อ หรือคุณแม่เป็นโรลโมเดล ในการท�ำงาน เขามีคุณพ่อเป็นโรลโมเดล เพราะเห็นว่าคุณ พ่อสามารถบริหารบุคลากรในบริษัท ดูแลคู่ค้า และพันธมิตรได้เป็นอย่างดี และท�ำหน้าที่หัวหน้า ครอบครัวได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง หลักส�ำคัญที่ท�ำให้ปิติก้าวขึ้นเป็นนักบริหาร ที่ประสบความส�ำเร็จ อยู่ที่การเปิดรับและเรียนรู้ แนวทางการบริหารงานจากบุคคลอื่น เช่น จาก ซีอีโอองค์กรดัง รวมถึงซีอีโอหรือผู้น�ำที่ล้มเหลว ในการบริหารงานองค์กร “นักบริหารหลายคนมักมองแต่เพียงความ ส�ำเร็จมุมเดียว จึงศึกษาหลักการท�ำงานของซีอโี อที่ ประสบความส�ำเร็จเท่านั้น แต่ผมจะดูนักบริหารที่ ล้มเหลวด้วย เพราะท�ำให้มองเห็นมุมมองด้านอืน่ ๆ เห็นถึงการเดินเกมธุรกิจที่ผิดพลาด

“โลกนี้ไม่มีคนโง่ เพียงแต่ทุกคนฉลาด ไม่เท่ากัน เป็นหน้าที่ของผู้น�ำที่จะเลือกสรร คนทีม่ คี วามฉลาดและความสามารถต่างๆ กัน มาท�ำงานร่วมกัน เพือ่ ขับเคลือ่ นงานให้สำ� เร็จ ลุล่วง” เขาพูดไว้อย่างน่าคิด ช่วงหนึ่งของชีวิต ปิติเคยเข้าไปท�ำงาน ในวงการสื่อสารมวลชนโดยการเป็นพิธีกร รายการเจาะใจคู่กับ สัญญา คุณากร เขาบอก ว่าเป็นช่วงเวลา 3 ปีที่มีความหมายกับชีวิต มาก “ท�ำให้ผมได้เรียนรู้หลักปรัชญาในการ ใช้ชีวิต เป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้ จากที่ไหนอีกแล้ว ได้เรียนรู้ตัวเอง ได้รับรู้ ชีวิตของคนหลากหลายรูปแบบ ทุกๆ อาทิตย์ เหมือนมีครูมานั่งพูดคุย คอยสอนผมในเรื่อง การใช้ชีวิต การแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น “แขกรับเชิญที่ผมได้พูดคุยในรายการ มี วิ ถี ชี วิ ต ที่ ส ามารถเอาเป็ น แบบอย่ า งได้ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างดี” ปิติกล่าวด้วยรอยยิ้ม

“โลกนี้ไม่มีคนโง่ เพียงแต่ทุกคน ฉลาดไม่เท่ากัน เป็นหน้าที่ ของผู้น�ำที่จะ เลือกสรรคนที่มี ความฉลาดและ ความสามารถ ต่างๆ กัน มาท�ำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนงาน ให้ส�ำเร็จลุล่วง”

Singha Corporation แบรนด์ไทยสู่แบรนด์โลก หลั ง ประสบความส� ำ เร็ จ ในการท� ำ ตลาดในเมื อ งไทย ปิ ติ มุ่งมั่นในการน�ำพาให้สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ ระดับโลก ล่าสุดเขาบินลัดฟ้าไปที่สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ ใน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อต่อสัญญาการเป็น Global Partner อย่างเป็นทางการกับสโมสรเชลซีที่จะหมดสัญญาใน ปี 2014 ต่อเนื่องอีก 3 ปี จนถึงปี ค.ศ. 2017 สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เหมือนได้รับโชคก้อนโตจากสัญญา ธุรกิจครั้งนี้ เพราะปกติสโมสรเชลซีไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ นี้กับผู้สนับสนุนทั่วไปอย่างง่ายดายนัก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า สิงห์ คอร์เปอเรชัน่ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสโมสรฟุตบอล ระดับโลกมากเพียงใด จากนี้ไป กิจกรรมที่สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จะร่วมท�ำกับ สโมสรเชลซีจะมีเพิ่มขึ้น รวมถึงโลโก้สิงห์จะได้ไปปรากฏอยู่ ตามแบ็ ก ดร็ อ ปคู ่ กั บ โลโก้ ข องเชลซี ใ นทุ ก ๆ จุ ด ของสนาม ตลอดจนได้ ไ ปติ ด ตรงแบ็ ก ดร็ อ ปเวที แ ถลงข่ า วหลั ง จบ การแข่งขัน รวมถึงแบ็กดร็อปสัมภาษณ์ระหว่างแข่งขัน 052

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


นอกจากนั้น สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ยังต่อ สัญญาเป็นพันธมิตรกับสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ออกไปอีก 1 ปี จนถึงปี ค.ศ. 2014 อานิสงส์ข้างต้นท�ำให้ปิติได้รับรางวัล ‘ผูท้ ำ� คุณประโยชน์ตอ่ อุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว ไทย’ จากการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย (ททท.) เพราะสร้างชื่อเสียงให้กับเมืองไทย ท�ำให้ชาวต่างชาติอยากมาเที่ยวเมืองไทย เพิ่มมากขึ้น ทิ ศ ทางการขั บ เคลื่ อ นธุ ร กิ จ ของสิ ง ห์ คอร์เปอเรชั่น ภายใต้การควบคุมดูแลของ ปิติ คือเน้นไปทีก่ ารบุกตลาดต่างประเทศเพิม่ ขึ้น ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอาเซียน โดยมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพในแต่ละ ประเทศ ก่อนเข้าไปท�ำตลาด คาดว่าภายใน ปี พ.ศ. 2558 จะมีสัดส่วนรายได้การส่งออก เพิ่มเป็น 20% จากตัวเลขปัจจุบันอยู่ที่ 10% สิ ง ห์ คอร์ เ ปอเรชั่ น เปิ ด เกมรุ ก ตลาด ในเมืองลุงแซม โดยการจ้างบริษัท มูสส์เฮ โรงงานผลิตเบียร์ชื่อดัง มูสส์เฮจะผลิตเบียร์ สิงห์ให้กับสิงห์ คอร์เปอเรชั่น เพื่อจ�ำหน่าย ในสหรัฐอเมริกา เป้าหมายเบือ้ งต้นหวังครอง ส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐอเมริกาประมาณ 1%

ส�ำหรับตลาดยุโรป พุง่ เป้าไปทีเ่ มือง ผู้ดี ประเทศอังกฤษ โดยจ้างโรงงานใน เยอรมนีผลิตเบียร์บรรจุขวดพลาสติกเพือ่ จ�ำหน่ายในสนามกีฬาทีบ่ ริษทั เข้าไปเป็น ผู้สนับสนุน ส่วนตลาดอาเซียน สิงห์ คอร์เปอเรชัน่ หวั ง เข้ า ไปขยายตลาดใน 3 ประเทศ คื อ เมี ย นมาร์ กั ม พู ช า และเวี ย ดนาม เพราะเป็ น ตลาดขนาดใหญ่ โดยจะ ส่ ง ออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ข้ า ไปในตลาด เวียดนามเพิ่มมากขึ้น ด ้ า น ป ร ะ เ ท ศ กั ม พู ช า สิ ง ห ์ คอร์ เ ปอเรชั่ น มี แ ผนที่ จ ะเข้ า ไปตั้ ง ส�ำนักงานขายเพื่อท�ำตลาดเต็มรูปแบบ โดยเล็งไว้ 3 เมืองหลัก คือ พระตะบอง พนมเปญ และปอยเปต การบุ ก ตลาดอาเซี ย นของสิ ง ห์ คอร์เปอเรชั่นในครั้งนี้ รวมถึงการเข้าไป สร้างโรงงานใน 3 ประเทศข้างต้นด้วย โดยคาดว่าจะไปสร้างโรงงานที่เมียนมาร์ เป็นประเทศแรก ส�ำหรับแผนการท�ำตลาดในปี พ.ศ. 2556 สิงห์ คอร์เปอเรชัน่ เน้นไปทีก่ ลยุทธ์ 2 อย่าง คือ ใช้สปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง และ มิวสิก มาร์เก็ตติง้ ปีหน้าวางเป้าหมายส่วน แบ่งตลาดเบียร์รวมของบริษัทไว้ที่ 75%

PITI

Bhirombhakdi SINGHA CORPORATION

Piti Bhirombhakdi is the fourth generation of Singha Corporation Co., Ltd., the manufacturer and distributor of products under the Singha brand. Piti is now the regional marketing director who wants his company to be one of the three largest beer brands in the region. Despite playing up only his best known product the pale lager Singha, Piti pioneered some other businesses such as Singha Life Thailand-based apparel brand, Singha Biz Course the training project for college students who want to become entrepreneurs, Singha Racing School one of the best racing schools in Thailand. He played an important role in raising Singha Corporation to be a world-class brand by signing a contract to be a global partner with Chelsea Football Club and becoming the official partner of Manchester United Football Club.

PROFILE ปิติ ภิรมย์ภักดี ส�ำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก High School Wilbraham, Monson Academy ก่อนคว้าปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาวิศวอุตสาหกรรม จาก Worcester Polytechnic Institute (WPI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนเข้ามาดูแลธุรกิจของครอบครัว เคยท�ำงานเป็น Project Coordinator ของ Wyman Gordon Company ใน Worcester, MA มาก่อน 053


054


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

พงศ์สุข

หิรัญพฤกษ์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

10

PONGSUK Hiranprueck กรรมการผู้จัดการ บริษัท โชว์ไร้ขีด จ�ำกัด (โชว์โนลิมิต)

Success Has No Limits พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ เป็นที่รู้จัก ในหลายบทบาท ตอนนี้เขาสวม หมวกหลายใบ ทั้งเป็นกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โชว์ไร้ขีด จ�ำกัด (โชว์โนลิมิต) ออร์แกไนเซอร์ และบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ด้านไอทีแถวหน้าของเมืองไทย โต้โผใหญ่ของงานไทยแลนด์ เกมโชว์ หรือ มหกรรมเด็กเล่นเกม อีเวนท์ด้านเกมที่นักเล่นเกมรู้จัก เป็นอย่างดี ซึ่งงานครั้งที่ 7 จัดขึ้น เมื่อวันที่ 11-13 มกราคม 2556 ที่ไบเทค บางนา

พงศ์สุขยังเป็นผู้ผลิตเกมคอมพิวเตอร์ยอดฮิตอย่าง ‘ต้มย�ำกุ้ง’ ‘ก้านกล้วย’ และปัจจุบันกับเกมบนเฟซบุ๊คอย่าง ‘ชนด้วง’ บทบาทเบื้องหน้าเขาเป็นพิธีกรและเจ้าของรายการ ไอทีชื่อดัง ‘แบไต๋ไฮเทค’ พิธีกรอีเวนท์ตลอด 14 ปีมานี้ รวมถึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรไปบรรยายให้ความรู้ด้านไอที และเทคโนโลยีในหลายเวที พงศ์สุขก้าวไปไกลกว่าคนรุ่นเดียวกัน บริษัทที่เขาปลุกปั้นมา กับมือเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และงานที่เขารับผิดชอบก็ได้รับ เสียงชื่นชมอย่างไม่ขาดปาก

055


ยกระดับไทยแลนด์ เกมโชว์ 2013 เตรียมรับ AEC หนึง่ ผลงานแห่งความภาคภูมใิ จของพงศ์สขุ คืองาน ไทยแลนด์เกมโชว์ ปี 2556 พงศ์สุขเดินหน้าอีเวนท์สุดยิ่งใหญ่ ส�ำหรับสาวกเกม โดยไทยแลนด์เกมโชว์ 2013 พลั ส หรื อ มหกรรมเด็ ก เล่ น เกมครั้ ง ที่ 7 บริษัท โชว์ไร้ขีด จ�ำกัด (โชว์โนลิมิต) จับมือกับ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) และสมาคมเกมและสื่อดิจิตอลบันเทิง (GiDEA) เพื่อยกระดับการจัดงานให้สอดคล้องกับ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 พร้ อ มกั บ ได้ รั บ แรงสนั บ สนุ น จากหลายหน่ ว ย งาน ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB ส�ำนักงานส่งเสริม

อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การ มหาชน) หรือ SIPA จึงมั่นใจได้ว่างานนี้ จะยิ่งใหญ่อลังการกว่าปีที่ผ่านๆ มา พร้อม ขับเคลือ่ นอุตสาหกรรมเกมของไทยให้เป็น ศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน งานครั้งนี้ทุ่มทุนสร้างไม่น้อย ใช้เงิน ลงทุนไปไม่ต�่ำกว่า 18 ล้านบาท มีบริษัท เกมทัง้ จากบ้านเราและจากต่างประเทศเข้า ร่วมงานไม่นอ้ ยกว่า 20 บริษทั เพือ่ ส่งเสริม ให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทของ ไทยและต่างประเทศ จึงมีการจัดพื้นที่ให้ ผูป้ ระกอบการ รวมถึงผูพ้ ฒ ั นาเกมได้พบปะ และเจรจาธุรกิจร่วมกัน ภายใต้แนวคิด ‘อาเซียน คอนเน็ค’ ตลอดระยะเวลาจัดงาน 3 วัน ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2556 คาดว่าจะมีการเจรจาธุรกิจประสบผลส�ำเร็จ ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

ด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ อั น กว้ า งไกล และการ มองเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในช่วงกลาง ปี 2555 พงศ์ สุ ข ได้ เ ปิ ด ตั ว โซเชี ย ลเกม ‘ชนด้วง’ ฝีมือของนักพัฒนาเกมคลื่นลูกใหม่ โกวิทย์ ชนะเคน ส�ำหรับเล่นบนเครือข่าย สังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค เป็นการประยุกต์เอา วั ฒ นธรรมการละเล่ น พื้ น บ้ า นของไทยมา สร้างเป็นเกมต่อสู้ได้อย่างลงตัว พงศ์ สุ ข ในฐานะผู ้ อ� ำ นวยการสร้ า ง โซเชียลเกมชนด้วง ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของ โปรเจ็ ก ต์ นี้ ว ่ า จากการได้ รั บ เชิ ญ ไปเป็ น กรรมการตั ด สิ น งานประกวดและพั ฒ นา เกมในหลายเวที ท� ำ ให้ มี โ อกาสพบกั บ โกวิ ท ย์ นั ก พั ฒ นาเกมที่ ซิ ว รางวั ล ทุ ก ครั้ ง พงศ์สุขเห็นแววจึงชักชวนมาร่วมพัฒนาเกม โดยเขาดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบทั้ ง ด้ า นการตลาด การจัดอีเวนท์ ดูแลเรื่องบิลลิ่ง รวมถึงเรื่อง เซิร์ฟเวอร์

พงศ์สุขก้าวไปไกลกว่า คนรุ่นเดียวกัน บริษัท ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เช่น บริษัท โชว์ไร้ขีด จ�ำกัด (โชว์โนลิมิต) และ งานที่เขารับผิดชอบ ก็ได้รับเสียงชื่นชม อย่างไม่ขาดปาก

056

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


ชีวิตที่หายใจเข้า-ออกเป็นไอที ของ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ บทบาทการเป็ น พิ ธี ก รของพงศ์ สุ ข ได้รบั เสียงชืน่ ชมไม่ขาดปาก เขาชิมลาง งานด้านพิธีกรตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 เมื่ อ ปี 2538 กั บ รายการแคมปั ส ออนแอร์ น� ำ เสนอ กิจกรรมนักศึกษา ซึ่งเป็นรายการสด ทางเคเบิลทีวีชื่อ ‘ไทยสกายทีวี’ ท�ำ ไป 2 ปี พ งศ์ สุ ข สอบเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ที่ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒได้ จึงหยุดพักงานพิธกี รแล้วเบนเข็มไปท�ำ ละครเวทีทั้งของมหาวิทยาลัยและกลุ่ม ละครภายนอก พงศ์ สุ ข หวนคื น จอแก้ ว ในฐานะ พิธีกรอีกครั้งในรายการไออีดอทคอม จากการชักชวนของจอห์น รัตนเวโรจน์ นั ก ร้ อ งวงนู โ วที่ ชื่ น ชอบเทคโนโลยี คอมพิ ว เตอร์ เ ป็ น ชี วิ ต จิ ต ใจ พงศ์ สุ ข เข้ า มาสร้ า งสี สั น ให้ ร ายการโดยการ เป็นพิธกี รในช่วงไอทีของรายการ ต่อมา หนุ่มมากความสามารถก้าวไปอีกขั้น ด้ ว ยการรั บ หน้ า ที่ พิ ธี ก รรายการ อีวาไรตี้ ทางไอทีวี ตามมาด้วยรายการ ไอที จี เ นี ย ส ที่ เ ขาเป็ น ผู ้ ส ร้ า งสรรค์ รูปแบบรายการด้วยตัวเอง ปัจจุบันพงศ์สุขเป็นหนึ่งในพิธีกร รายการแบไต๋ไฮเทค รายการวาไรตี้ ท อ ล ์ ก โ ช ว ์ เ กี่ ย ว กั บ เ ท ค โ น โ ล ยี สารสนเทศ ซึ่งเป็นรายการสดที่ออก อากาศทางเนชั่นแชนแนล มาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2549 ความรู ้ ด ้ า นไอที ที่ แ น่ น ปึ ้ ก ของ พงศ์สุข การพูดจาที่ชัดเจนและฉะฉาน ตลอดจนความเป็นธรรมชาติขณะจัด รายการ เป็นปัจจัยหนุนน�ำให้รายการ แบไต๋ ไ ฮเทค โกยเรตติ้ ง ได้ อ ย่ า ง

มากมาย สามารถอยู่ยั่งยืนยงมาจนถึง ทุกวันนี้ และได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบ รายการให้ทันสมัยยิ่งขึ้น มีการเปลี่ยน ชื่อรายการ 3 ครั้งด้วยกัน จากแบไต๋ ไฮเทค เป็นแบไต๋ไฮเทค x 2 จากนั้น ใช้ชื่อ แบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ และ จนถึงตอนนี้เป็นซีซั่นที่ 2 ที่จัดสดกลาง ห้างดิจิตอลเกตเวย์ สยามสแควร์ ตอนนี้รายการแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ ไ ลฟ์ ซี ซั่ น 2 ออกอากาศทุ ก วั น จันทร์-ศุกร์ เวลา 19.00-20.00 น. ใน ช่องทางทีห่ ลากหลาย ตรงกับไลฟ์สไตล์ การรับสือ่ ของคนยุคใหม่ทเี่ ปลีย่ นแปลง ไป โดยสามารถรั บ ชมได้ ท างช่ อ ง ‘คมชัดลึกทีว’ี , Dude TV, ออกอากาศซ�ำ้ ทุกเที่ยงคืน ทางเนชั่นแชนแนล และ รับชมแบบออนไลน์ได้ที่ live.beartai. com ชมซ�้ำเมื่อไหร่ก็ได้ทาง YouTube. com/beartaihitech พงศ์สขุ แทบจะหายใจเข้า-ออกเป็น ไอที ทุกช่วงชีวิตของเขาล้วนเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับไอที ปัจจุบนั เขาสนุกกับการจัดรายการ ทีวีและการจัดอีเวนท์ เขามักได้รับเชิญ ไปเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายให้ความรู้ ด้านไอทีและเทคโนโลยีสารสนเทศใน หลายๆ งาน นอกจากนั้น เรื่องราวชีวิต ที่ ผู ก ติ ด กั บ ไอที ข องนั ก บริ ห ารคนนี้ ถูกบอกเล่าอย่างหมดเปลือกในหนังสือ ‘หนุ ่ ย โชว์ ชี วิ ต ไร้ ขี ด จ� ำ กั ด พงศ์ สุ ข หิ รั ญ พฤกษ์ ’ เรี ย บเรี ย งโดย อศิ น า พรวศิ น นั ก ข่ า วสายไอที ค ่ า ยเนชั่ น จัดพิมพ์โดย NBC NextBook

PONGSUK Hiranprueck SUCCESS HAS NO LIMITS

Pongsuk Hiranprueck took many steps further than a man in his age. With Show No Limit Co., Ltd., an IT show organizer company which is his own creation, and Thailand Game Show, the Thai gaming event that has him as a chief manager. Pongsuk is well-known as one of the most famous IT organizers in Thailand.

PROFILE พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการแสดงและก�ำกับการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ เขาเบนเข็มมาท�ำงานด้านไอทีและเทคโนโลยีจนมีชื่อเสียงโด่งดัง 057


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

058 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

ภาพ : อนุวัตน์ เดชธ�ำรงวัฒน์

พล

อินทเสนี

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

11

PAUL Inthaseni

ประธานบริหาร บริษัท เซ็นจูรี่ อาร์ จ�ำกัด

ผู้บริหารความมั่งคั่งมือหนึ่งของประเทศไทย บริษัท เซ็นจูรี่ อาร์ เป็นบริษทั สัญชาติไทย เพียงแห่งเดียวที่มี ความสามารถในการ บริหารทรัพย์สิน โดดเด่นระดับโลก ดูแลบริหารจัดการ เงินของเศรษฐีไทย ถึง 15 ตระกูล คิดเป็น เงินลงทุนกว่าร้อยล้าน เหรียญสหรัฐฯ

พล อินทเสนี ผู้ก่อตั้งใช้ประสบการณ์ การบริหารเงินลงทุนกว่า 10 ปี จากธนาคารชั้นน�ำอย่างซิตี้แบงก์ และเอชเอสบีซี ในไทยและสิงคโปร์ สร้างบริษัทที่มีพนักงานเพียงไม่กี่คน แต่มีความเชี่ยวชาญและสามารถให้ ค�ำปรึกษาทางด้านการเงินให้กับลูกค้า ได้อย่างไม่จ�ำกัดทั้งรูปแบบและพื้นที่ โดยที่มีจุดแข็งส�ำคัญคือพันธมิตร ทางธุรกิจระดับโลก 059


รู้จักโลกการเงิน พล อินทเสนี เรียกได้ว่าเป็นดาวเด่น ในองค์กรที่เขาท�ำงานเสมอ นับตั้งแต่ คว้ า ปริ ญ ญาโท 2 ใบจากประเทศ ออสเตรเลีย เขาก็เข้าท�ำงานที่ Lehman Brothers (Thailand) ที่เป็น Top 3 ของ Investment Banking ระดับโลก “Lehman สอนให้เรารู้จักโลก” พลบอกเช่นนั้น ในปี 1999-2000 ตอนนัน้ เศรษฐกิจ โลกก�ำลังตกต�่ำ Lehman เข้ามากว้าน ซื้ อ สิ น ทรั พ ย์ ที่ ล ้ ม ลง หรื อ หนี้ เ น่ า ทั้งหลายในเอเชีย เพียงปีเดียวก็กว้าน ซื้อไปหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นัน่ คือยุคทีพ่ ลเข้าท�ำงานที่ Lehman ใน ฐานะนักวิเคราะห์ จึงท�ำให้เขาได้เห็น ว่าองค์กรระดับโลกท�ำงานกันอย่างไร จากองค์ ก รข้ า มชาติ สู ่ อ งค์ ก ร

ในประเทศ เขาเข้ า มาเรี ย นรู ้ ง าน ด้าน Corporate Banking ที่ธนาคาร ไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ เมื่อ เก็บเกี่ยวความรู้ด้านนี้ได้ค่อนข้างเยอะ เขาก็ ก ระตื อ รื อ ร้ น อยากเรี ย นรู ้ ด ้ า น Personal Banking บ้าง เขามองไปที่ Citibank ที่เป็นธนาคารอันดับหนึ่งใน ด้านนี้ และได้เข้าไปดูแลเรื่อง Private Wealth Management หรือบริหารเงิน ให้กับคนมีฐานะ ก่ อ นจะเข้ า มาท� ำ งานลั ก ษณะ เดียวกันที่ HSBC ประเทศไทย เขาท�ำผล งานเข้าตาผูบ้ ริหาร โดยได้รบั การเสนอ ชื่อจาก CEO ของธนาคาร HSBC ให้ไป ประจ�ำที่ HSBC Private Bank สิงคโปร์ เมื่อไปถึงสิงคโปร์ ประสบการณ์ ด้านการเงินจากประเทศไทยเรียกว่า

ไม่เพียงพอ เขาบอกว่าความรูข้ องเขาในขณะนัน้ สามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้กับตลาดสิงคโปร์ได้เพียง 20% เนื่องจากสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ไร้ข้อจ�ำกัดในเรื่องของการลงทุน ในขณะที่ ประเทศไทยมีข้อจ�ำกัดหลายอย่างมาก มีลักษณะของกองทุน บางประเภทที่ไม่มีในเมืองไทย และโปรดักท์ทางการเงิน อีกหลากหลายที่ไม่เคยเห็นมาก่อน “เราก็เลยมาเห็นความส�ำคัญของค�ำว่าการบริหารจัดการ เงินอย่างถูกต้องทีโ่ น่น เราได้เรียนรูโ้ ปรดักท์ตา่ งๆ การบริหาร แนวคิด คือสิงคโปร์สมัยโน้น การพัฒนาทางด้านการเงิน ห่างจากเราเป็นสิบๆ ปีก็ว่าได้” หลักการบริหารความมัง่ คัง่ ของพล คือการน�ำเงินก้อนหนึง่ ของลูกค้า เข้าสู่ Safe Haven เปรียบเป็นตู้เซฟที่คอยป้องกัน เงินไม่ให้มีอะไรมากระทบกระเทือน รวมถึงการท�ำให้ตู้เซฟ ตู ้ นี้ มี ข นาดใหญ่ ขึ้ น ในอนาคต ก่ อ นที่ จ ะถู ก ส่ ง มอบให้ กั บ เจเนอเรชั่นถัดไปของลูกค้า “นี่คือการดูแลทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งให้กับคนที่มี ความมั่งคั่งอยู่แล้ว ให้มันมีความยั่งยืนต่อไปอีกในอนาคต”

จุดก�ำเนิด Century R การท� ำ งานในธนาคาร ผู ้ จั ด การกองทุ น 1 คน จะดูแลบัญชีลกู ค้า 50-100 ราย จึงท�ำให้ เกิดปัญหาปรับพอร์ตช้า และเป็นไปได้ยาก ที่ลูกค้าทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เรียกว่าพอองค์กรใหญ่ก็จะอุ้ยอ้าย ประกอบ กับการเป็นลูกจ้างของธนาคาร ก็สามารถ น� ำ เสนอแต่ เ พี ย งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างการเงิ น เฉพาะที่มีแต่ในธนาคารของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ทดี่ กี ว่าทีม่ ขี าย อยู่นอกธนาคารของตนเองได้ “จุ ด ก� ำ เนิ ด ของเซ็ น จู รี่ อาร์ คื อ เรา ท�ำงานที่ธนาคารแล้วมันเกิดปัญหาวิกฤติ เศรษฐกิจทางการเงิน กอปรกับผลิตภัณฑ์ ทางการเงิ น ที่ ลู ก ค้ า ลงทุ น อยู ่ ใ นธนาคาร

060

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

มีข้อจ�ำกัด จึงท�ำให้ลูกค้าขาดทุน เพราะว่า การกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน ยังมีไม่มากพอ และไม่หลากหลาย” สิ่ ง ที่ เ ขาเรี ย นรู ้ ต อนนั้ น การเป็ น พนักงานธนาคารจ�ำกัดทางด้านการลงทุน ของลู ก ค้ า มาก เวลาเกิ ด วิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ ใครเก่ ง จริ ง ไม่ เ ก่ ง จริ ง วั ด กั น ตอนวิ ก ฤติ ธนาคารไหนแข็งแกร่งจริงหรือไม่ จะสามารถ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างไร “แล้วเราประสบปัญหาอย่างนี้ ถ้าเกิด ท�ำเงินลูกค้าหล่นไป หรือหายไปเพราะแบงก์ แบงก์หนึ่ง เราว่ามันไม่แฟร์กับลูกค้า อันนี้ ก็เป็นจุดหนึ่งที่เราคิดว่าถ้าเราออกไปเราจะ ให้สิ่งที่ดีกว่ากับลูกค้าได้”


สนุกกับการต่อยอดเงินต่อเงิน หลายคนอาจมองว่าท�ำงานด้านการเงินนั้นเครียด โดยเฉพาะ การดูแลเงินของคนอื่น แต่ส�ำหรับพล เขาเห็นว่างานบริหาร เงินนี่แหละสนุก! “มันสนุกตรงที่ว่า บริหารเงินแล้วลูกค้าได้เงิน มันรู้สึกว่า โอ้โห! เงินมันจะหาง่ายก็ง่าย ยากก็ยากนะ แต่ถ้าเราบริหาร ถูก เงินมันจะเข้ากระเป๋าเราตลอดเวลา เราสามารถต่อยอด เงินก้อนนั้นได้ตลอด และได้ทุกรูปแบบ” และเวลาที่ต้องไปอัพเดทพอร์ตกับลูกค้าทุกๆ เดือน ก็จะ ได้ไอเดีย ได้ความคิดใหม่ กระทั่งได้พาร์ทเนอร์ใหม่ๆ บางทีเขาก็สามารถช่วยลูกค้าได้ นอกเหนือจากงานที่รับ ผิดชอบ เป็นสายสัมพันธ์ที่มากกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ให้บริการ “บริษัทลูกค้าเริ่มใหญ่ขึ้น มีนักลงทุนต่างประเทศอยากจะ เข้ามาถือหุ้น แล้วจะท�ำอย่างไร จะป้องกันไม่ให้บริษัทต่างชาติ กลืนลูกค้าเรา เรารู้แหละพวกฝรั่งมันจะมาเล็กๆ ก่อนตอนแรก แล้วเขาจะพยายามกลืน เราต้องพยายามบอกลูกค้าว่าธุรกิจที่ คุณท�ำมามันก็ถูกกลืนได้นะ ถ้าคุณไม่มีกลยุทธ์ที่ถูกต้อง”

ต้องท�ำให้ลูกค้า ได้ในสิ่งที่เขาอยากได้ เมื่อแยกตัวออกมาเป็นบริษัท เซ็นจูรี่ อาร์ ที่มีความเป็นอิสระ ไม่มีเป้า ไม่มี ทาร์เก็ต จึงมีความเป็นกลางสูง และมี พาร์ทเนอร์เป็นธนาคาร 6-7 แห่ง จึง สามารถตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ได้ สามารถเปรียบเทียบว่าธนาคาร แต่ละที่มีจุดเด่น หรือจุดอ่อนจุดแข็ง แตกต่างกันอย่างไร เราจึงน�ำสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ของแต่ละที่มาประเมินและน�ำเสนอให้ แก่ลกู ค้า “ลู ก ค้ า บอกว่ า ปี ห น้ า อยากได้ รีเทิรน์ ประมาณ 18% เราก็จะท�ำทุกอย่าง ทุกวิถีทางให้ลูกค้าได้ 18% โดยคิดมา เลยว่าด้วยผลิตภัณฑ์นี้รีเทิร์นลูกค้าได้ 18% แน่นอน แต่วา่ บนเงือ่ นไขทีล่ กู ค้า ต้องรับได้ ถ้าลูกค้ารับได้กโ็ อเค” หน้ า ที่ ห ลั ก ของเซ็ น จู รี่ อาร์ คื อ บริหารจัดการและให้คำ� แนะน�ำด้านการ ลงทุน ซึ่งไม่ได้จ�ำกัดอยู่ที่เรื่องทางการ เงินเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการ

ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์, การระดม ทุนในธุรกิจที่มีอนาคต, การควบรวม กิจการ หรือการลงทุนในเรือ่ งของธุรกิจ พลั ง งานทดแทน เรี ย กได้ ว ่ า ท� ำ ได้ ทุกอย่างในเรือ่ งการลงทุน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของเซ็นจูรี่ อาร์ คือการเป็นพาร์ทเนอร์กบั ธนาคารระดับ ท็อป 10 ของโลก Fund Manager และ Global Property Investment ระดับโลก เครือข่ายที่ทรงอ�ำนาจนี้ ท�ำให้บริษัทนี้ กลายเป็น Global Investment Advisory Firm ทีส่ ามารถแนะน�ำได้ทงั้ โลก ไม่วา่ ลูกค้าจะอยากลงทุนแบบไหน ทีใ่ ด รวมถึงดูแลทั้งกระบวนการตั้งแต่ ต้นจนจบ ทัง้ ซือ้ และขาย “บางทีลูกค้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ผ่านไป 4-5 ปี ลูกค้าอยากขาย เราก็ ต้องขายให้ด้วย เรามีการวางแผนใน เรือ่ ง Exit Strategy เงินก็ไปต่อเงินอีกที คนรวยไม่มคี ำ� ว่าอยูน่ งิ่ ” 061


“มันสนุกตรงที่ว่า บริหารเงิน แล้วลูกค้าได้เงิน มันรู้สึกว่า โอ้โห! เงินมันจะหาง่ายก็ง่าย ยากก็ยากนะ แต่ถ้าเรา บริหารถูก เงินมันจะเข้า กระเป๋าเราตลอดเวลา เราสามารถต่อยอด เงินก้อนนั้นได้ตลอด และได้ทุกรูปแบบ”

จากดาวเด่นในองค์กร สู่เจ้าของกิจการ ถึงวันนี้เซ็นจูรี่ อาร์ เดินทางเข้าสู่ปีที่ 6 ได้รับ ความไว้วางใจจากลูกค้าที่ติดตามกันมานับ สิบปีตั้งแต่ท�ำงานที่ธนาคารในประเทศไทย ข้ามน�้ำข้ามทะเลไปยังเกาะสิงคโปร์ กระทั่ง แยกตัวออกมาตั้งบริษัทเอง และเป็นบริษัท การเงิ น ของคนไทยเพี ย งแห่ ง เดี ย วที่ ใ ห้ ค�ำปรึกษาด้านการลงทุนแบบครบวงจร “ถามว่ า มี ใ ครท� ำ เหมื อ นเราไหม มันไม่มี ก็อาจจะส่วนหนึ่งที่เหมือน แต่ไม่ ครอบคลุมเหมือนเรา คือปัจจุบันเราสามารถ ผลิ ต โปรดั ก ท์ ท างการเงิ น ที่ มี จุ ด เด่ น ไม่ เหมือนใคร และตอนนี้สามารถขายให้กับ แบงก์ต่างชาติที่เป็น Global Bank ใหญ่ๆ ที่ แต่ก่อนเราต้องไปถามเขา ว่าคุณมีโปรดักท์ อะไรบ้ า งที่ น ่ า ให้ ลู ก ค้ า ลงทุ น แต่ เ ดี๋ ย วนี้

062

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

กลายเป็นว่าเขาต้องมาอิงฝั่งเรา และกลาย เป็นผู้ขายโปรดักท์ของฝั่งเราแทน ซึ่งเป็น เรือ่ งทีย่ ากมาก และเราภูมใิ จทีเ่ ราคือคนไทย คนหนึ่ง ที่ท�ำได้ถึงขนาดนั้นแล้ว เพราะว่า โปรดักท์พวกนีก้ ำ� หนดขัน้ ต�ำ่ ในการลงทุนสูง” เราถามถึ ง กุ ญ แจความส� ำ เร็ จ ของพล ที่พาตัวเองและบริษัทมาได้ไกลขนาดนี้ “ตอนแรกไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมาท�ำ กิจการส่วนตัว หรือว่าเป็นเจ้าของกิจการ เพราะเราอยู ่ ใ นองค์ ก รใหญ่ ๆ ตลอด เรา ก็ เ ป็ น ดาวเด่ น ในองค์ ก รนั้ น ๆ ที่ เ ราไปอยู ่ ตลอด แต่พอมาถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเรา พร้อมแล้ว เราน่าจะลองก้าวออกมาไหม ก็ ชั่งใจว่าถ้าเราออกมาปุ๊บ ลูกค้าจะมาด้วย มั้ย อันนี้ก็เป็นค�ำถามที่ตัดสินใจ เราก็วัดเลย ถ้าลูกค้ามาเราออก เหมื อ นหนั ง เรื่ อ ง Jerry Mcquire ที่ ทอม ครูซ แสดงน�ำ

“เราท� ำ อะไรเราก็ ตั้ ง ใจท� ำ จริ ง เรามี เป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนชัดเจน คือถูกฝึกมา ตั้งแต่อยู่องค์กรใหญ่ๆ อย่าง Lehman ถูก ฝึกว่าให้ตั้งโกลไว้ข้างหน้า ท�ำอย่างไรเรา ถึงจะพิชิตโกลได้ มันจะมุ่งมั่นไปถึงจุดนั้น จุดเดียวเลย” เซ็นจูรี่ อาร์ เป็น Boutique Company ที่ท�ำงานใหญ่ ด้วยทีมงานเพียง 9 คน เรียก ได้ว่าเป็นองค์กรที่อยู่กันแบบครอบครัว เป็น องค์กรที่ไม่ต้องใช้คนเยอะ แต่เป็นงานที่ต้อง ใช้มันสมอง และคอนเนคชั่นมหาศาล “เวลาท� ำ งานคื อ กระจายลั ก ษณะของ งานและความสามารถของทีมงานให้ตรงกับ โจทย์ที่ได้มาให้มากที่สุด อย่างท่านที่ถนัด ตลาดในเอเชียก็ดูเอเชียไป ท่านที่เชี่ยวชาญ ตลาดทุนในยุโรปก็จะรับผิดชอบในส่วนนั้น ไป ท่านที่ดูด้าน Global Property ก็จะดู Property Investment ได้ทั้งโลก เป็นต้น”


PAUL Inthaseni CENTURY R

ทั้งหมดทั้งมวลคือความส�ำเร็จของ พล อินทเสนี ซึ่งเขาก็ฝากค�ำแนะน�ำ ถึงนักธุรกิจรุ่นใหม่เอาไว้ “ผมว่าท�ำธุรกิจทุกคนก็ต้องหนีไม่พ้นเรื่องความเสี่ยง คนเป็นลูกจ้างกับ คนท� ำ ธุ ร กิ จ ไม่ เ หมื อ นกั น ถ้ า พู ด ถึ ง คนที่ ก ้ า วออกมาท� ำ ธุ ร กิ จ เอง เป็ น นักธุรกิจรุ่นใหม่ ต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่าตัวเองมีอะไรอยู่ในตัวบ้าง หรือเวลาที่ คิดจะออกไปข้างนอกนี่คิดเกินในสิ่งที่ตัวเองมีหรือเปล่า ถ้าเราไม่อยู่ในความ เป็นจริง ผลจากการวิเคราะห์และการวางแผนก็จะห่างไกลจากความเป็นจริง ความส�ำเร็จก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะมันผิดมาตั้งแต่ต้น “นักธุรกิจรุ่นใหม่ก็ต้องมองว่าเวลาเราจะลงทุน เวลาเราจะตัดสินใจ มันต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงก่อนเสมอ เพราะบางคนกู้เขามาท�ำธุรกิจ แล้วผลประกอบการทีไ่ ด้จากธุรกิจมันไม่เป็นไปตามทีเ่ ราคาด บริษทั เราก็จะแย่ บางทีเราอาจจะมองแนวโน้มของ Industry นั้นไม่ออกก็ได้ สมมุติเราอยาก ท�ำอะไรสักธุรกิจหนึง่ แต่เรามอง Industry นัน้ ไม่ออก มันก็เหมือนกับเราตาบอด และการลงทุ น ทุ ก รู ป แบบต้ อ งมี ก ารจั ด การความเสี่ ย ง“ ซึ่ ง พลย�้ ำ ว่ า “ผลตอบแทนไม่ส�ำคัญเท่ากับการบริหารความเสี่ยง”

PROFILE พล อินทเสนี เรียนจบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก่อนจะบินไปคว้าปริญญาโท 2 ใบ ในสาขา International Business และ Business Administration จาก Swinburne University ประเทศ ออสเตรเลีย เมือ่ เรียนจบเขาเก็บเกีย่ วประสบการณ์จากธนาคารชัน้ น�ำทัง้ ในและต่างประเทศ ไม่วา่ จะเป็น Lehman Brothers (Thailand) ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ซิตี้แบงก์ และ HSBC เขาเรียนรู้ ทั้งเรื่องการเงินและการลงทุน มีลูกค้าที่เชื่อใจกันมากพอ จึงตัดสินใจเปิดธุรกิจของตัวเองในนาม บริษัท เซ็นจูรี่ อาร์ ซึง่ ปัจจุบนั ดูแลสินทรัพย์และความมัง่ คัง่ ให้กบั เศรษฐีไทยถึง 15 ตระกูล ในแบบทีเ่ รียกว่า ไม่ว่าลูกค้าต้องการลงทุนแบบไหน เซ็นจูรี่ อาร์ ก็สามารถตอบโจทย์ได้ทุกรูปแบบ

Paul Inthaseni is the founder of Century R, an asset and wealth management company that takes responsibilities of Thailand’s 15 wealthy families. Paul gained his experiences in finance and investment from the topnotch Thai and foreign firms such as Lehman Brothers, Siam Commercial Bank, Bangkok Bank, Citibank, and HSBC. Especially at HSBC, he entered the world of unlimited investment and learned about some innovative products that Thailand didn’t have. When he was ready and realized that the banks didn’t have sufficient products to handle the risks for their clients in the time of economic crisis, he decided to start his own and called it Century R. As an asset and wealth management company, the priorities of Century R are taking responsibilities in supplying the products which well match a variety of the clients’ needs, completing attractive investment results, offering an outstanding level of client service, and sending the generated wealth to its clients’ next generations. Paul really enjoys wealth management. He said “there are right ways to manage asset and wealth. And in those ways money could grow in any form.” In its league, the advantage of Century R is that it is the partner of a world-class bank, fund manager, global property investment. Because of this exceptional connection, Century R became a global investment advisory firm that could fully utilize its expertise both locally and internationally to devise and deliver its broad range of investment products to the clients. Paul’s achievement came from his fixed determination to work toward the goal. Although Century R is a small company having only 9 staffs, by their brains and expertise the firm has the capability to take care of more than a hundred million dollars. At last, he wanted to leave a message to young investors. He said “The efficient process of risk management is more important than the outcome.” 063


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

064 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

พิธา

ภาพ : ด�ำรงค์ฤทธิ์ สถิตด�ำรงธรรม

ลิ้มเจริญรัตน์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

12

PITA Limjaroenrat CEO Agrifood Co., Ltd.

Zero to Hero พิธา ลิม้ เจริญรัตน์ คือผูก้ อบกูธ้ รุ กิจของ ครอบครัวให้ฟน้ื คืนชีพขึน้ มาจากภาระ หนีส้ นิ กว่า 100 ล้านบาท และบริหาร จัดการให้สามารถเดินหน้าได้อย่างมัน่ คง แข็งแรงมาตราบจนทุกวันนีด้ ว้ ยเหตุ ไม่คาดฝันจากการทีค่ ณ ุ พ่อพงษ์ศกั ดิ์ ลิม้ เจริญรัตน์ อดีตทีป่ รึกษารัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทีผ่ นั ตัวเอง มาเป็นนักธุรกิจโดยเปิดบริษทั ซีอโี อ อกริฟดู้ จ�ำกัด เพือ่ ด�ำเนินธุรกิจผลิตน�ำ้ มัน ร�ำข้าวได้จากโลกนีไ้ ปอย่างกะทันหัน

นอกจากปัญหาสารพันทีเ่ ป็นเหมือนบททดสอบแสนหนักหน่วงในชีวติ ของทายาทธุรกิจทีต่ อนนัน้ อยูใ่ นวัยเบญจเพส เช่น การสร้างขวัญ ก�ำลังใจให้พนักงานยังอยากท�ำงานให้กบั บริษทั การสร้างความเชือ่ มัน่ ให้ พันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหาความรูใ้ นธุรกิจ อุปสรรคส�ำคัญ อยูท่ ภี่ าระหนีส้ นิ ของบริษทั จากการทีค่ ณ ุ พ่อไปกูเ้ งินมาลงทุนกว่า 100 ล้าน บาท แต่แทนทีจ่ ะตีโพยตีพายกับโชคชะตา พิธากลับฮึดสูก้ บั ปัญหา เขาตัดสินใจหยุดพักการเรียนในระดับปริญญาโทในสถาบันชัน้ น�ำของโลก คือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Sloan, Massachusetts Institute of Technology (MIT) เพือ่ มากอบกูแ้ ละดูแลธุรกิจของครอบครัว ปัญหาประดามีทรี่ มุ เร้าธุรกิจน�ำ้ มันร�ำข้าวทีพ่ ธิ าดูแลอยูค่ อ่ ยๆ ได้รบั การ แก้ไขไปทีละอย่าง ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักสูใ้ นตัวของเขา ท�ำให้ ในทีส่ ดุ พิธาสามารถปลดหนีไ้ ด้จนหมด และธุรกิจน�ำ้ มันร�ำข้าวของเขา ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ขึน้ แท่นเป็นบริษทั ค้าน�ำ้ มันร�ำข้าวอันดับ 3 ของ ประเทศไทย และอันดับ 5 ของโลก ทีส่ ำ� คัญปีทผี่ า่ นมา บริษทั ซีอโี อ อกริฟดู้ จ�ำกัด มียอดขายพุง่ ทะยานไปที่ 1,000 ล้านบาท ด้วยวัย 31 ปี ของ พิธา ลิม้ เจริญรัตน์ เขาเป็นนักบริหารหนุม่ รุน่ ใหม่ ทีส่ ามารถเป็นต้นแบบให้กบั นักธุรกิจอีกหลายๆ คนได้โดยปราศจาก ข้อกังขา

065


ทุกวิกฤติ...แก้ได้ ย้อนกลับไปดูเส้นทางการศึกษาของ พิธากันหน่อย หลังจบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี จากคณะบริหารธุรกิจ การ เงิน การธนาคาร (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยดีกรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เขาบินลัดฟ้า ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษา ปริ ญ ญาโทควบคู ่ กั น 2 ใบ ในสาขา การบริ ห ารภาครั ฐ มหาวิ ท ยาลั ย ฮาร์ ว าร์ ด และด้ า นบริ ห ารธุ ร กิ จ ที่ Sloan, Massachusetts Institute of Technology (MIT) รู้หรือไม่ว่า ขณะที่ เรียนอยูม่ หาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พิธาคือ นักเรียนไทยคนแรกที่ได้ทุนการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ สะท้อนให้เห็น ความสามารถด้านการเรียนของเขา เป็นอย่างดี เ มื่ อ คุ ณ พ ่ อ เ สี ย ชี วิ ต อ ย ่ า ง กะทั น หั น พิ ธ าจึ ง หยุ ด พั ก การเรี ย น แ ล ้ ว บิ น ก ลั บ ม า ดู แ ล ธุ ร กิ จ ข อ ง ครอบครัว ในบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จ� ำ กั ด เพื่ อ บริ ห ารจั ด การธุ ร กิ จ ของ ครอบครัวร่วมกันกับน้องชายร่วมสาย เลือด เพื่อให้เดินหน้าต่อไปให้ได้ และ จัดการภาระหนี้สินกว่า 100 ล้านบาท ให้หมดไปโดยเร็ว

PROFILE

พิธาแก้ปัญหาไปทีละอย่าง เริ่ม จากศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่ง ต่างๆ เสาะหาหนทางแก้ปัญหาโดยดู แบบอย่างจากผู้ที่เคยประสบปัญหาใน ลักษณะใกล้เคียงกัน สร้างขวัญก�ำลังใจ ให้กับพนักงานในบริษัทโดยการพูด เปิดใจ ท�ำให้พนักงานเข้ามาช่วยกัน คิดหาทางออกและท�ำงานร่วมกันเป็น ทีม จากนั้นจึงขยายไปในเรื่องโรงงาน เครื่องยนต์กลไก พอปัญหาคลี่คลาย ธุรกิจก็เดิน หน้าได้ตามปกติ พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ธนาคาร ก็เชื่อมั่นในความสามารถจึง อนุมัติปล่อยสินเชื่อ ท้ายที่สุด หนี้สิน กว่า 100 ล้านก็ไม่ใช่เรือ่ งยากอีกต่อไป พอทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง ก็ถึง เวลาที่พิธาต้องกลับไปเรียนปริญญา โทให้จบ เพราะเป็นสิ่งที่คุ ณพ่อเคย ก�ำชับไว้กอ่ นเสียชีวติ พอคว้าปริญญาโท มาได้ส�ำเร็จจ�ำนวน 2 ใบด้วยกัน หนุ่ม คนนี้ก็กลับมาดูแลธุรกิจอย่างเต็มตัว ประสบการณ์ แ ละสิ่ ง ต่ า งๆ ที่ เกิ ด ขึ้ น กั บ พิ ธ าในช่ ว งเวลาที่ เ ขาไป ร�่ ำ เรี ย นและใช้ ชี วิ ต ในเมื อ งลุ ง แซม ถู ก ถ่ า ยทอดในทุ ก แง่ มุ ม ในหนั ง สื อ ‘ไม่สนว่าเก่งมาจากไหน’ เขาได้พูดคุย กั บ บุ ค คลระดั บ โลกในหลายแวดวง ทั้งเศรษฐี นักการเมือง และนักธุรกิจ หากเอ่ยชื่อขึ้นมาเชื่อว่าหลายคนต้อง ร้องอ๋อ ตัวอย่างเช่น บารัค โอบามา, บิล คลิ น ตั น , วอร์ เ รน บั ฟ เฟตต์ และ บิล เกตส์ หลักความคิดของบุคคลเหล่า นี้เป็นสิ่งที่พิธาสามารถน�ำมาปรับใช้ ในการด�ำเนินธุรกิจและใช้ชีวิตได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ปัญหาประดามีที่รุมเร้า ธุรกิจน�้ำมันร�ำข้าวที่พิธา ดูแลอยู่ค่อยๆ ได้รับ การแก้ไขไปทีละอย่าง ด้วยจิตวิญญาณแห่ง ความเป็นนักสูใ้ นตัว ของเขา ท�ำให้ในทีส่ ดุ พิธา สามารถปลดหนีจ้ �ำนวน 100 ล้านบาทได้จนหมด รวมทั้งธุรกิจก็เติบโต อย่างรวดเร็ว ปีที่ผ่านมา บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จ�ำกัด มียอดขายพุ่งทะยานไปที่ 1,000 ล้านบาท

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะบริหารธุรกิจ การเงิน การธนาคาร (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเดินทางไปศึกษาปริญญาโท ควบคู่กัน 2 สาขา คือสาขาการบริหารภาครัฐ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และด้านบริหารธุรกิจที่ Sloan, Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อคุณพ่อเสียชีวิต พิธาจึงหยุดพักการเรียนเพื่อมาดูแลธุรกิจของครอบครัว เขาบริหารจัดการให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงปลดหนี้ที่คุณพ่อใช้ลงทุนไปในธุรกิจ จ�ำนวน 100 ล้านบาทได้จนหมด จากนั้นจึงกลับไปเรียนต่อปริญญาโทจนจบ พิธาถูกเชิญไปออกรายการโทรทัศน์หลายรายการ ให้สัมภาษณ์กับสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย รวมถึง ไปเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายในหลายเวที 066

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


ปั จ จุ บั น พิ ธ าดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบงานใน ต� ำ แหน่ ง กรรมการผู ้ จั ด การ บริ ษั ท ซีอีโอ อกริฟู้ด จ�ำกัด ผลิตภัณฑ์หลัก ของบริษัท คือน�้ำมันร�ำข้าวดิบ และร�ำ สกัดน�้ำมันที่ใช้ในหลายวัตถุประสงค์ เช่น ใช้ในธุรกิจกลั่นน�้ำมัน ใช้ในการ บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยน�ำ้ มันร�ำข้าวดิบใช้สำ� หรับโรงกลัน่ น�ำ้ มันเพือ่ การบริโภค โดยผ่านขัน้ ตอน การกลัน่ ให้ใส จากนัน้ บรรจุลงขวดเพือ่ จ�ำหน่าย ในขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมอาหาร สัตว์ใช้น�้ำมันร�ำข้าวดิบเป็นส่วนผสมที่ ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการส�ำหรับ อาหารสัตว์ ร�ำสกัดน�้ำมันซึ่งประกอบ ด้วยโปรตีนและไฟเบอร์เป็นทีต่ อ้ งการ ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อใช้ ผสมกับวัตถุดบิ อืน่ ๆ ให้ได้อาหารสัตว์ที่ มีประโยชน์ตอ่ การเติบโตของสัตว์เลีย้ ง หลั ก ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ที่ พิ ธ า ยึ ด ถื อ มาตลอดคื อ ให้ ค วามส� ำ คั ญ กับความพึงพอใจของลูกค้ามากที่สุด พร้อมกับรักษาคุณภาพของสินค้า และ พัฒนาคุณค่าของน�ำ้ มันร�ำข้าวไทยให้ดี ยิ่งๆ ขึ้น นอกจากนัน้ ผลิตภัณฑ์ของบริษทั ยังได้รับการตรวจสอบคุณภาพอย่าง สม�่ำเสมอ มีการน�ำวิทยาการขั้นสูงจาก ต่างประเทศ เช่น จากประเทศเยอรมนี, ญีป่ นุ่ , บราซิล และอินเดีย มาใช้ในการ สกั ด น�้ ำ มั น ร� ำ ข้ า ว โดยกระบวนการ ผลิ ต ทุ ก ขั้ น ตอนมี ก ารตรวจสอบและ ควบคุมคุณภาพจากห้องวิจยั ของบริษทั ตลอด 24 ชั่ ว โมง ที่ ส� ำ คั ญ บริ ษั ท มอบหมายให้สำ� นักงานตรวจสอบสินค้า บริโภคที่เชื่อถือได้จากประเทศญี่ปุ่น (OMIC Bangkok Laboratory) ท�ำการ

ตรวจสอบคุณภาพสินค้าทุกครั้ง เพื่อ ให้ได้คุณภาพและความปลอดภัยใน ระดับมาตรฐานก่อนจะวางจ�ำหน่ายใน ท้องตลาด เพราะน�้ ำ มั น ร� ำ ข้ า วของ บริ ษั ท ซี อี โ อ อกริ ฟู ้ ด จ� ำ กั ด เป็ น ผลผลิ ต จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ตกค้างและไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค มีการควบคุมการผลิต ให้มีความสด สะอาด และรั ก ษาคุ ณ ค่ า สารอาหาร ให้ ค รบถ้ ว นด้ ว ยกรรมวิ ธี ก ารผลิ ต ที่ ปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อสิง่ แวดล้อม ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้เต็มร้อย จากปั จ จั ย ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น ท� ำ ให้ บริ ษั ท ซี อี โ อ อกริ ฟู ้ ด จ� ำ กั ด ขึ้ น ท� ำ เนี ย บเป็ น ผู ้ ค ้ า น�้ ำ มั น ร� ำ ข้ า ว อันดับ 3 ของประเทศ และอันดับ 5 ของโลก มีสดั ส่วนลูกค้าภายในประเทศ และต่างประเทศอย่างละ 50% โดย ลูกค้าต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอิตาลี บริ ษั ท มี ก ารเตรี ย มรั บ มื อ กั บ A E C ใ น ทุ ก ด ้ า น มี ก า ร พั ฒ น า ผลิตภัณฑ์โดยน�ำร�ำข้าวมาเพิ่มมูลค่า ด้ ว ยการสกั ด เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลาก ประเภท เช่น อาหารเสริม เครือ่ งส�ำอาง และขนมขบเคี้ ย ว ภายใต้ แ บรนด์ TRBO: Thai Rice Bran Oil เพื่อต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากร�ำข้าว และส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ที่ร่ายมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึง ความเป็นนักบริหารมากฝีมือของพิธา ได้ เ ป็ น อย่ า งดี และเขาคงไม่ ห ยุ ด ไขว่ ค ว้ า ความส� ำ เร็ จ อยู ่ เ พี ย งเท่ า นี้ แน่นอน!

PITA Limjaroenrat AGRIFOOD Co., Ltd.

Since his father, Pongsak Limjaroenrat the former counselor of the Ministry of Agriculture and Cooperatives, passed away and left the obligation of more than 100 million baht from opening a wheat germ oil company named Agrifood Co., Ltd., Pita Limjaroenrat has successfully revived his father’s business and turned it into one of the most stable companies in its league. Instead of moaning about his misfortune, he bravely decided to resign from Harvard and Sloan, Massachusetts Institute of Technology (MIT), and take the big step to take care of his family business and its debt. Step by step, he dealt with all the problems with determination and expertise until the company became debt-free and could take off with sharp growth. Recently, Agrifood Co., Ltd. was listed as the third biggest wheat germ company in Thailand and the fifth of the world with an annual turnover of more than a billion baht last year.

067


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

068 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

วรวิทย์

ชัยลิมปมนตรี

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

13

WORAVIT Chailimpamontri กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

รุ่งเพราะท�ำจริงและมุ่งมั่นในเป้าหมาย เพราะ วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี เป็นผู้บริหารสูงสุดของ สถาบันการเงินของรัฐที่ขึ้นสู่ ต�ำแหน่งขณะที่อายุแค่ 40 ต้นๆ เท่านั้น ไม่เพียงท�ำให้ เป็นทีจ่ บั ตามองในฐานะดาวรุง่ พุ่งเร็ว แต่ยังท�ำให้ทุกครั้งที่ มีต�ำแหน่ง CEO ของแบงก์รัฐ ว่างลง เป็นต้องมีชื่อของ วรวิทย์ เข้าไปเป็นหนึ่งใน ผูท้ มี่ สี ทิ ธิไ์ ปนัง่ เก้าอีด้ ว้ ยเสมอ

ค�ำถามที่ถูกถามมานาน วรวิทย์ยอมรับว่าต้องเจอกับค�ำถามท�ำนองว่าก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดขณะที่อายุยังน้อย รูส้ กึ อย่างไรบ้าง? และถูกถามมานานแล้วด้วย ตัง้ แต่เป็นบอร์ดธนาคาร ซึง่ ขณะนัน้ อายุเพียง 32 ปีเท่านัน้ เรียกได้วา่ เจอค�ำถามลักษณะนีม้ าเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ซึง่ ตอน แรกๆ ก็ไม่เข้าใจว่าการที่อายุน้อยแล้วเป็นอย่างไร ท�ำไมจึงไม่พูดเรื่องผลงานก่อน ท�ำไมต้องพูดถึงเรือ่ งอายุกอ่ น “แรกๆ ก็อาจมีความรูส้ กึ ไม่เข้าใจอยูบ่ า้ ง แต่ได้ยนิ บ่อยๆ ก็ชนิ ปัจจุบนั ก็มบี า้ ง แต่อาจจะน้อย อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งตอนนี้ผมอายุมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็คิดว่า เราเริม่ จะเข้าใจความรูส้ กึ ของคนทีเ่ ขาถาม” ซึ่งการที่เป็นบุคคลระดับที่เรียกได้ว่า Young and Successor ถนนสาย ผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐจึงยังสามารถเดินไปได้อีกยาวไกล โอกาสที่จะ ก้าวต่อไปบริหารที่สถาบันการเงินอื่นๆ ถูกมองว่าส�ำหรับคนชื่อ ‘วรวิทย์’ แล้ว ถือว่ามีความเป็นไปได้สงู ปัญหาก็คอื แล้วตัวของวรวิทย์เองคิดอย่างไร?

069


จุดเริ่มการก้าวเข้าสู่ แวดวงธุรกิจ ตั้งแต่เด็กจนโต วรวิทย์อยู่ในครอบครัวของคนจีน บ้าน อยู่ตลาดโบ๊เบ๊ เรียนทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท สาขา ที่เกี่ยวกับ Marketing ไม่เคยมีความตั้งใจว่าเรียนจบ จะไปท� ำ งานราชการหรื อ รั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ การเมื อ ง จุดเริม่ ต้นการท�ำงานจึงอยูใ่ นภาคเอกชน โดยเริม่ ท�ำงาน ด้าน Finance ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหวิริยา แล้ว ก็ไปอยู่เงินทุนหลักทรัพย์วอลล์สตรีท เพราะช่วงนั้น คนที่จบมา อาชีพเอกชนที่ดีที่สุดคือวงการ Finance ซึ่ง ตอนนัน้ จ่ายโบนัสกัน 10- 20 เดือน ในยุคนัน้ จะเรียกกัน ว่าเป็น ‘มนุษย์ทองค�ำ’ วรวิทย์ยอมรับว่าเคยฝันจะเป็นเบอร์ 1 ของ Finance สักแห่ง แต่ความคิดต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะ Finance ถูกปิดช่วงปี 2540 “ผมอยู่จนปิดบัญชี พอออกมาจาก Finance ก็ว่าง จึงมาท�ำธุรกิจที่บ้าน ระหว่างที่มาท�ำธุรกิจที่บ้านก็มี ผู้ใหญ่ชักชวนให้มาช่วยงาน”

วางแผนเส้นทางอนาคต ณ ขณะนี้ปี 2556 วรวิทย์อายุ 44 ปี ซึ่ง การบริหารเทอมหนึ่งคือ 4 ปี เท่ากับว่า ยังสามารถบริหารองค์กรได้อกี 4-5 รอบ กว่าจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ซึ่งคงเป็น ไปไม่ได้ที่จะบริหารอยู่ที่เดียวนาน 4-5 รอบ ดังนั้นในแง่ของโอกาสที่จะขยับ ไปท�ำงานที่อื่นจนกว่าจะเกษียณจึงเป็น ไปได้ แต่ค�ำถามคือต้องการเช่นนั้น หรือไม่ “ผมอาจจะคิ ด ไม่ เ หมื อ นคนอื่ น ผมคิดว่าอยากจะเป็นผู้บริหารที่จะนั่ง ท�ำงานประจ�ำอยู่แค่อายุ 50 อย่างมาก ก็ 50 ต้นๆ เพราะว่าเดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่ เขามี ค วามรู ้ ค วามสามารถ ควรเปิ ด 070

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

โอกาสให้คนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาบริหาร ส่วนเราอายุสัก 50 เศษ เลิกท�ำงาน ประจ� ำ ก็ จ ริ ง แต่ ยั ง สนใจจะไปเป็ น ที่ ป รึ ก ษา เป็ น บอร์ ด คื อ ช่ ว ยในเชิ ง นโยบาย น�ำความรู้และประสบการณ์ จากการบริหารมาพัฒนาองค์กร ผม วางแผนชีวิตไว้อย่างนั้น” เพราะท� ำ งานเป็ น ผู ้ บ ริ ห ารมา ตั้งแต่อายุ 32 ถ้าอยู่ถึง 50 ต้นๆ ก็ 20 ปีแล้ว ก็น่าจะมากพอแล้ว การถอย ไปเป็นที่ปรึกษาจึงน่าจะมีประโยชน์ กว่า โดยที่ไม่ได้จ�ำกัดว่า จะต้องเป็น แบงก์ หรือจะเป็นบริษัทเอกชน มอง เพียงว่าถ้าสามารถท�ำประโยชน์ให้ได้

จะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ไม่มีปัญหา ที่ส�ำคัญด้วยพื้นฐานชีวิตซึ่งเกิดมาใน ครอบครัวคนจีนท�ำการค้า ฉะนัน้ มุมมอง การบริหารของทั้งธุรกิจเอกชน พ่อค้า ข้าราชการ นายแบงก์ และนักการเมือง จึงถือได้ว่าเข้าใจทุกมิติ ก็คิดว่าคงท�ำได้ ทั้งนั้น ส่วนเรือ่ งการลงเล่นการเมือง วรวิทย์ มองว่ า ยั ง ไกลไปที่ จ ะตอบ แต่ ต อนนี้ ยังมองไปที่อีก 10 ปี ถอยไปทางเชิง นโยบายองค์ ก รมากกว่ า ส่ ว นในเชิ ง นโยบายทางการเมื อ งนั้ น คิ ด ว่ า ไกล เกินไป


ปรัชญาในฐานะคนรุ่นใหม่ “ปรัชญาชีวิตในการท�ำงาน คือผมเป็นคนที่คิดให้ไกล ไปให้ถึง อย่างรอบคอบ” เพราะสไตล์ จ ะเป็ น คนที่ ท� ำ อะไรก็ แ ล้ ว แต่ จะมี ความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะท�ำ และมีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน พอมีความตั้งใจมีความมุมานะ มีเป้าหมายชัดเจนแล้ว จะต้ อ งมี แ ผนงานที่ จ ะไปให้ ถึ ง เป้ า หมายอย่ า งชั ด เจน เช่นเดียวกัน เพราะหากมีเป้าหมายแล้วไม่ได้วางแผน วันหนึ่งก็จะผิดพลาดได้ อีกปรัชญาในชีวติ ของวรวิทย์กค็ อื ว่าการท�ำใจพร้อม รับปัญหาและอุปสรรคที่จะเข้ามาโดยที่อาจจะไม่รู้ตัว คือต้องยอมรับว่าปัญหาทุกต�ำแหน่ง ความหนักความเบา ความยาก ความนานของปัญหาและอุปสรรคจะไม่เหมือน กัน แต่จะต้องมีแน่ ฉะนัน้ ต้องไม่ถอดใจ แต่ตอ้ งมาทบทวน ว่าต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหนก็ไปแก้ตรงนั้น นั่นคือ สิ่งที่วรวิทย์ยึดถือมาจนถึงวันนี้ อีกอย่างหนึ่งที่คิดว่าส�ำคัญด้วยเช่นกัน คือต้องมี ความจริงใจให้ลูกน้อง ต้องให้ใจลูกน้องก่อน ต้องเข้าใจ ผู้ปฏิบัติด้วย เป็นสิ่งที่ยึดถือมาโดยตลอด ท�ำให้พูดได้ เต็มปากว่ากับพนักงานไม่ว่าที่ไหนที่เคยอยู่มาไม่เคยมี ปัญหา

“ผมเป็นคนที่คิดให้ไกล ไปให้ถึงอย่างรอบคอบ และ ท�ำใจพร้อมรับปัญหา และ อุปสรรคที่จะเข้ามา ผมจะ ไม่ถอดใจไม่ว่าปัญหานั้นจะ หนักหรือยากแค่ไหนก็ตาม แต่จะมาทบทวนถึงต้นเหตุ ของปัญหาว่าอยู่ตรงไหน และเข้าไปแก้ตรงนั้น”

วางแผนเส้นทางอนาคต ผ ล ง า น ที่ ชั ด เ จ น คื อ ที่ อ อ ม สิ น เป็นค�ำตอบของวรวิทย์ เพราะอยู่นาน พอสมควร ซึง่ ขณะนัน้ ได้รบั ผิดชอบงาน ค่อนข้างเยอะ และอยู่ในยุคที่ธนาคาร ออมสิ น ค่ อ นข้ า งที่ จ ะเปลี่ ย นแปลง พอสมควร สมัยก่อนอาจมองเป็นแบงก์ รัฐ ไม่เน้นการบริการ แต่ว่าในปัจจุบัน จะเห็นว่าออมสินถือเป็นสถาบันการเงิน ชัน้ น�ำทีส่ ามารถเทียบชัน้ และสามารถที่ จะแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ได้ “ผมกล้าพูดว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ มีส่วนร่วมเป็นหลักในการปรับเปลี่ยน ภาพลั ก ษณ์ ธ นาคารออมสิ น อาจจะ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น คนท� ำ ทั้ ง หมด แต่ ก็ เ ป็ น ส่วนร่วม และได้ผลักดันโครงการของ

รัฐบาลในส่วนทีร่ บั ผิดชอบตรง ทัง้ เรือ่ ง โครงการธนาคารประชาชน ปล่ อ ย สิ น เชื่ อ ให้ กั บ พ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า แผงลอย หาบเร่ ต ่ า งๆ และโครงการกองทุ น หมู่บ้าน” ส� ำ หรั บ ผลงานที่ ธอส. ช่ ว ง เวลาแค่ เ พี ย งปี เ ศษที่ นั่ ง เป็ น ซี อี โ อ ผลงานชั ด ๆ คื อ โครงการบ้ า นหลั ง แรก สิ น เชื่ อ นโยบายรั ฐ ที่ ต ้ อ งการ สร้ า งโอกาสให้ ค นไทย โดยเฉพาะ กลุ ่ ม รายได้ น ้ อ ยเข้ า ถึ ง แหล่ ง เงิ น กู ้ ที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยต�่ำ นอกจาก นี้ ยั ง มี อี ก โครงการที่ ภู มิ ใ จ คื อ ช่ ว ง เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554 ส่ ง ผลให้ ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ รั บ

ความเสียหาย ธนาคารเล็งเห็นความ เดือดร้อนดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการ ช่ ว ยเหลื อ ลู ก ค้ า ประชาชนที่ ป ระสบ อุทกภัยอย่างเร่งด่วน “ผ่อนปรนการ ช�ำระหนี้ ปลดภาระหนี้ ลดดอกเบี้ย กู ้ ซ ่ อ มแซมกู ้ ป ลู ก สร้ า งใหม่ ” โดย สามารถช่ ว ยเหลื อ ได้ ทั้ ง สิ้ น กว่ า 120,000 บั ญ ชี วงเงิ น กว่ า 70,000 ล้ า นบาทโดยไม่ ต ้ อ งผ่ อ นค่ า บ้ า น ทั้ ง เงิ น ต้ น และดอกเบี้ ย ก็ เ ป็ น 0% ถึ ง 6 เดื อ น แม้ ว ่ า รายได้ ข องแบงก์ จะหายไปเดื อ นหนึ่ ง กว่ า 200 ล้ า น ก็ตาม แต่เพราะมองว่าต้องช่วย ถือเป็น ภารกิจหลัก “สรุปก็คือผลงานที่เด่นๆ ของผม ส่ ว นใหญ่ จ ะเกี่ ย วข้ อ งกั บ นโยบาย รัฐบาลทั้งนั้น”

071


เส้นทางสู่การเป็น บอร์ดรัฐวิสาหกิจ วรวิทย์ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่ ให้เข้าไปเป็นบอร์ดที่ บริษัท ขนส่ง จ� ำ กั ด (บขส.) ถื อ เป็ น รั ฐ วิ ส าหกิ จ แห่ ง แรกที่ เ ข้ า ไปในฐานะกรรมการ ซึ่ ง ตอนนั้ น วรวิ ท ย์ อ ายุ แ ค่ 28 ปี เท่ า นั้ น เอง จากนั้ น ก็ ยั ง ไปเป็ น นั ก วิชาการประจ�ำคณะกรรมาธิการการ พลั ง งานสภาผู ้ แ ทนราษฎร ถื อ เป็ น จุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญยิ่ง “นั่ น คื อ จุ ด พลิ ก ผั น ของชี วิ ต ในการที่ ผู ้ ใ หญ่ ใ ห้ ผ มมาช่ ว ยงาน เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งปรั บ โครงสร้ า ง ความ คุ้มทุนเรื่องการเงิน ก็เลยเป็นที่มาของ การเริม่ เป็นบอร์ดของรัฐวิสาหกิจอย่าง ต่อเนื่อง”

ต่ อ มาก็ ไ ด้ ไ ปเป็ น บอร์ ด องค์ ก ารส่ ง เสริ ม กิ จ การโคนมแห่ ง ประเทศไทย พอปี 2544 จึ ง เข้ ามา เป็ น บอร์ ด ธนาคารออมสิ น เป็ น ทั้ ง บอร์ ด ใหญ่ บอร์ ด บริ ห าร และประธานบอร์ ด ความเสี่ ย งของ แบงก์ อ อมสิ น หลั ง จากเป็ น บอร์ ด มา 3 ปี ค รึ่ ง ก็ ล าออกมาสมั ค รเป็ น รองผู ้ อ� ำ นวยการธนาคาร ออมสิ น อาวุ โ ส และหั ว หน้ า เจ้ า หน้ า ที่ ด ้ า นการเงิ น ของธนาคารออมสิ น ซึ่ ง ก็ อ ยู ่ จ นถึ ง ปี 2553 ช่วงกลางปี 2553 ธนาคารอาคารสงเคราะห์เปิดรับต�ำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เพราะคุณขรรค์ ประจวบเหมาะ ครบวาระ ซึง่ ปรากฏว่า วรวิทย์ได้รบั การคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเริ่มท�ำงานในฐานะซีอีโอ สถาบันการเงินของรัฐเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2553 มาจนถึงปัจจุบัน วรวิทย์มองว่าจุดพลิกผันก็คอื ปี 2540 ทีม่ กี ารสัง่ ปิด 56 สถาบันการเงิน ถือเป็นวิกฤติของคนทีท่ ำ� งาน Finance แต่ส�ำหรับตัวเขา วิกฤติรอบนั้นได้พลิกเป็นโอกาสสู่เส้นทางสถาบันการเงินของรัฐในที่สุด

กลยุทธ์ในการรับมือ ปัญหาหนักๆ วรวิ ท ย์ เ ล่ า ว่ า ช่ ว งที่ ด� ำ เนิ น นโยบายของรั ฐ บาล จ� ำ เป็ น ต้ อ ง ปรับเปลี่ยนองค์กร โดยเฉพาะพนักงาน แต่ปัญหาคือ ทั้งลูกค้า พนักงาน ไม่เข้าใจ มองว่าไปเปลี่ยนวิธีการท�ำงานของเขา มองว่า การที่ไปปรับภาพลักษณ์ใหม่ รูปแบบเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ ทั่วๆ ไป เป็นการใช้เงินฟุ่มเฟือย ทั้งๆ ที่การให้บริการลูกค้าใน ปัจจุบันจะเน้นเรื่องคุณภาพการให้บริการเป็นส�ำคัญ ถ้าท�ำธุรกิจ อะไรก็ตามแล้วไม่เอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง จะไม่ประสบผลส�ำเร็จ ดังนั้น กลยุทธ์ทใี่ ช้คอื ค่อยๆ เปลีย่ นมุมมองของพนักงานขององค์กร ซึง่ เป็น อะไรที่ต้องใช้ความพยายามพอสมควร “ปัญหาคือสัง่ ไปแล้วพนักงานไม่เข้าใจ ไม่ปฏิบตั ติ าม การรับมือ คืออย่าไปโกรธ ทุกคนมีมุมมองเป็นของตนเอง เราอย่าเอาเราเป็น ทีต่ งั้ อย่างเดียว หน้าทีเ่ ราคือต้องสือ่ สาร ค่อยๆ อธิบายกันไป เราต้อง นิ่ง ค่อยๆ ดูไป ค่อยๆ แก้ สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี”

PROFILE วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (B.B.A.) สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการค้าและการ พาณิชย์ รุน่ ที่ 3 สถาบันวิทยาการการค้า หลักสูตรผูบ้ ริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุน่ ที่ 8 หลักสูตร Director Certification Program:Class 100/2008 สมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และ Certificate of Thailand Government Saving Bank - Management Leadership Program Marshall School of Business, University of Southern California และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ Schiller International University, London, England ประสบการณ์การท�ำงาน กรรมการและกรรมการบริหารธนาคารออมสิน รองผู้อ�ำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) กรรมการและ กรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด กรรมการบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จ�ำกัด กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท ทิพยประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ขนส่ง จ�ำกัด (บขส.)

072

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


สไตล์ชีวิตที่มีเป้าหมายชัดเจน “สไตล์ของผม เวลาท�ำงานก็ทำ� งาน เวลาพักผ่อนก็พกั ผ่อน ผมไม่เคยมีงานกลับ ไปท�ำที่บ้าน ประเภทเซ็นเอกสารในรถ อ่านในรถ จะไม่มี” วรวิทย์บอกว่าเป็นคนทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการแบ่งเวลา ชอบมาท�ำงานเช้า ก่อน 7 โมงครึ่ง ท�ำงานหนักมาก เมื่องานเสร็จเลิกงานก็คือจบ ถึงเวลาก็ไป พักผ่อนออกก�ำลังกาย ไปกินข้าว ไม่ตอ้ งคิดเรือ่ งงานอีก และแม้จะแต่งงานแล้ว ก็ตาม วันธรรมดายังคงเหมือนเดิมทุกอย่างไม่เปลี่ยน แต่แน่นอนว่าวันเสาร์-อาทิตย์จะเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยใช้ชีวิตคนเดียว เดี๋ยวนี้เสาร์-อาทิตย์ต้องอยู่กับครอบครัว ส่วนเรื่องลูกไม่ถึงกับวางแผนว่าต้อง มีเมื่อนั้นเมื่อนี้ คิดแค่ว่าเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น แต่ยอมรับว่ามีการวางแผนอนาคต ส�ำหรับลูกเอาไว้บ้างเหมือนกัน โดยเฉพาะด้านการศึกษา คือวางแผนจะส่งไป เรี ย นที่ สิ ง คโปร์ เนื่ อ งจากได้ ทั้ ง ภาษาจี น และภาษาอั ง กฤษ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด การศึกษาสิงคโปร์เข้มข้นมาก อีกอย่างคือการเดินทางสะดวก “พอแต่งงานแล้วก็เริ่มมอง ถึงแม้ว่าเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ผมมองว่าคน ที่มีเป้าหมายต้องชัดเจน ผมเป็นคนวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนมาตั้งแต่เด็ก”

จุดเริ่มการก้าวเข้าสู่ แวดวงธุรกิจ “เราต้องเป็นผู้ให้กับสังคม ผมท�ำงาน ธอส. ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องธุรกิจอย่างเดียว ผมจะเน้นเรื่อง CSR ด้วย เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” ส�ำหรับ CSR ธอส. จะมุง่ เน้นด้านทีอ่ ยูอ่ าศัย ตามด้วยด้านสังคม การศึกษา และกีฬา ฯลฯ ส่งเสริมให้คนมีทอี่ ยูอ่ าศัย เช่น การสร้างบ้านให้ผปู้ ระสบอุทกภัย สร้างบ้านให้ผู้ด้อยโอกาส สร้างบ้านให้คนพิการในลักษณะเป็นการให้เปล่า ไม่ใช่เป็นเรือ่ งของสินเชือ่ แต่เป็นการเสริมภาพลักษณ์องค์กรซึง่ จะท�ำให้องค์กร อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในปัจจุบันส�ำคัญมากต้องด�ำเนินควบคู่กันไป ส�ำคัญที่สุดคืออยากให้ทุกๆ คนมีความตั้งใจ อย่าย่อท้อกับปัญหาและ อุปสรรคใดๆ อย่าไปยอมแพ้อะไรง่ายๆ เพราะเชื่อเสมอว่าคนเราเลือกที่จะ เกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเดินได้ ขอให้อดทนและเดินไปอย่างมั่นใจ แล้ววันนั้น จะมาถึงเอง นี่คือสไตล์และเคล็ดลับของ วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ซีอีโอที่ในแวดวง สถาบันการเงินของรัฐยอมรับว่าเป็นคนหนุ่มที่ประสบความส�ำเร็จจริงๆ

WORAVIT Chailimpamontri GHB

Becoming the CEO of the top state financial institution at the age of 40 not only put Woravit Chailimpamontri in the spotlight, but also made him one of the candidates for any of the state banks’ empty CEO positions. One of the old and common questions he has to face every time he talks to media is how does he feel being rather young on the top of the ladder. This doubt has been proposed to him since he was part of the bank’s board of directors when he was 32. Although he knew it was hard for anyone to trust someone so young in this position, he also knew that act itself speaks louder than words. To be a young business successor on this road is like a cross-cut to super highway in this field; however, he is still working real hard to prove that his age doesn’t matter.

073


074


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

ภาพ : สารินทร์ พรดอนก่อ

วรสิทธิ

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

14

อิสสระ

VORASIT Issara

บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน)

“ผมชอบหาตลาดที่ไม่มีคู่แข่ง” ชีวติ ของผูช้ ายนาม ‘ปลาวาฬ-วรสิทธิ อิสสระ’ นับว่าน่าอิจฉา ด้วยต้นทุน ชีวติ ทีค่ รอบครัวเป็นเจ้าของธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์อนั ดับต้นๆ ของประเทศ มีโอกาสไปเรียนทีต่ า่ งประเทศตัง้ แต่เด็กๆ ใช้ชวี ติ ในโรงเรียนประจ�ำทัง้ ทีอ่ งั กฤษ สหรัฐอเมริกา และเลือกเรียนบริหารธุรกิจ และการโรงแรมทีส่ วิตเซอร์แลนด์ จึงไม่นา่ แปลกใจทีเ่ ขาจะประสบความ ส�ำเร็จเมือ่ ท�ำโครงการศรีพนั วา แต่เมือ่ ได้ นัง่ คุยกับเขาก็พบว่า ผูช้ ายคนนีม้ ดี ดี ว้ ย ตัวเองอยูเ่ ยอะ

ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยเขาท�ำงานหาเงินพิเศษเพือ่ เทีย่ วเองเกือบ 3 ปี ซึง่ งานทีเ่ ขาท�ำก็ไม่ใช่งานสบาย แต่เป็นงานในร้านอาหารหรือในคลับ ตัง้ แต่เป็นเด็กล้างจาน เฝ้าประตูหน้าผับ แคชเชียร์ ท�ำโปรโมชัน่ กระทัง่ เทกแคร์แขกวีไอพี ซึง่ ทัง้ หมดได้ชว่ ยบ่มเพาะวิธคี ดิ และวิธกี ารท�ำงาน เชิงบริการของเขา หลังจากเรียนจบ เขาเข้าท�ำงานในโรงแรมใหญ่ Villa Feltrinelli ในอิตาลี และนัน่ ก็ไม่ใช่งานในต�ำแหน่งสูงอีกเช่นกัน “จริงๆ แล้วมันเป็นงานส�ำหรับเด็กฝึกงานเลย คือไปเป็นเด็กเสิรฟ์ ใน โรงแรม แต่ผมอยากท�ำงานโรงแรมนัน้ มาก เพราะว่าเป็นท็อปเท็นของ โลก ผมก็เลยยอมเป็นเด็กเสิรฟ์ ครับ เขาบอกว่าคุณนี่ Over Qualified แต่คณ ุ ต้องไปท�ำกับเด็กฝึกงาน ผมก็บอกว่าไม่แคร์ ผมอยากท�ำทีโ่ รงแรม คุณ ผมก็เลยได้ไปอยูป่ ระมาณ 8 เดือน” 8 เดือนทีอ่ ติ าลีเขาได้รบั การเสนองานหลากหลาย และเขาเลือกตอบรับ ข้อเสนอจากบริษทั อสังหาริมทรัพย์ในไอร์แลนด์ ในต�ำแหน่ง Property Analysis เพือ่ ศึกษาตลาดในประเทศทีบ่ ริษทั จะไปลงทุน ศึกษาว่า มีใครเป็นคูแ่ ข่งบ้าง งานทีเ่ ขาบอกว่าเป็นงานทีน่ า่ ตืน่ เต้นมาก และได้คา่ ตอบแทนสูงประมาณ 7,000 ปอนด์ตอ่ เดือน ทัง้ ยังได้เดินทาง และพักโรงแรมระดับ 5 ดาวตลอด 075


อวดดีที่จะท�ำ ระหว่าง 6 เดือนก่อนเริ่มงาน วรสิทธิ ตั ด สิ น ใจกลั บ เมื อ งไทยช่ ว งกลางปี 2547 ซึ่ ง ตอนนั้ น โครงการที่ ภู เ ก็ ต เป็นช่วงเริม่ สร้าง เขาจึงเข้าไปดูไซต์งาน แต่เมือ่ ไปถึงก็เกิดสึนามิพอดี จึงตัดสิน ใจอยู่ภูเก็ตต่อ ยอมทิ้งงานที่ไอร์แลนด์ ทัง้ ทีเ่ ซ็นสัญญาไปแล้ว “ถึ ง วั น นั้ น ต้ อ งตั ด สิ น ใจอยู ่ น ะ เพราะภูเก็ตเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ อย่างนี้ ผมว่ามันยังไม่เจริญเลย คือถนน ยังเป็นลูกรังอยู่ เซ็นทรัลเพิ่งสร้างเสร็จ ตอนกลางคืนไม่มีผับ ไม่มีร้านอาหาร นั่ ง เลยนะ ไฟก็ ป ิ ด หมดแล้ ว แต่ ผ ม เห็นโอกาสมัน แล้วพอเริม่ สร้าง ผมก็ไม่ เห็นด้วยกับอะไรหลายๆ อย่างที่เขาท�ำ ผมว่ามันท�ำได้ดีกว่านี้ แต่ว่าเขาไม่มี เวลามาดู ผมก็โอเค เดี๋ยวมาลองท�ำเอง ก็ได้ เพราะว่าจริงๆ ก็อยากโชว์ด้วยล่ะ อยากโชว์ว่าผมท�ำได้เหมือนกัน แต่พ่อ ไม่ได้บังคับให้มาท�ำ เพราะว่าผมไม่อยู่ เขาก็ขายได้อยูแ่ ล้ว ขายได้ในราคาหนึง่ แต่ผมเชือ่ ว่าถ้าผมอยู่ ผม Add Value ให้ ได้อีกหลายเท่า ก็คืออวดดี”

จากที่ ใ นตอนแรกจะสร้ า งเป็ น บ้านพักตากอากาศเพียงแค่ 38 ยูนิต ในราคาขายหลังละหนึ่งล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ หรือประมาณกว่า 30 ล้านบาท แต่ศรีพันวาปัจจุบันมีห้องพัก 80 ยูนิต มีสปา มีร้านอาหาร 3 ร้าน เขาไม่ได้คิดว่าธุรกิจโรงแรมจะไป ได้ดีกว่าบ้านพักตากอากาศ กลับมอง ว่าท�ำทั้งโรงแรมและบ้านให้เป็นแบบ Mixed Use จะดีกว่า เพราะถ้าสร้างเป็น โรงแรมเพียงอย่างเดียวอาจจะมีหนี้กับ ธนาคารมากกว่านี้อีกมาก แต่ถ้าใช้ทั้ง สองอย่าง จะช่วยเชิงการตลาดมากกว่า คนซือ้ บ้านก็ได้เซอร์วสิ โรงแรม คนทีม่ า พักโรงแรมก็ได้อยู่ในย่านที่เป็นระดับ ไฮเอนด์ที่สุด จึงกลายเป็นส่วนเสริมกัน ได้อย่างดี “คื อ สเกลมั น คนละแบบกั น เลย และตอนนั้ น โลกมั น เปลี่ ย น มี โ ลก ออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็น ปัจจัยใหญ่กับธุรกิจการโรงแรมเยอะ ผมเข้ามาในจังหวะที่ดี ถ้าเข้ามาเมื่อ 20 ปีที่แล้วอาจจะเจ๊งก็ได้ เพราะว่ามัน ท�ำไม่ง่ายเท่านี้”

ไม่ได้มองใครเป็นคู่แข่ง วรสิทธิบอกว่าตลาดโรงแรมที่ภูเก็ตกว้างมาก ไม่มีคู่แข่ง เมื่อ เปรียบเทียบกับสมุยที่เขามีโอกาสเข้าไปดูท�ำเล และมองเห็น ว่าภายใน 5-6 ปีข้างหน้าจะมีใครเข้าไปท�ำโรงแรมบ้าง “ผมไปดูแต่ผมไม่ทำ� ถ้าเขาอยากท�ำก็ทำ� เอง ผมจะมีอโี ก้ อย่างหนึง่ ว่าสิง่ ทีผ่ มไม่ชอบท�ำผมก็จะไม่ทำ� ผมเอาแต่ใจตัวเอง เพราะเลือกได้ ถ้าเราไม่ท�ำกับที่บ้าน เราก็ท�ำกับที่อื่นได้” แต่ ต ลาดภู เ ก็ ต เอื้ อ อ� ำ นวยให้ ท� ำ ธุ ร กิ จ โรงแรม ด้ ว ย เหตุผลอย่างแรกคือ ภูเก็ตเป็นท�ำเลที่ดีที่สุด มีเที่ยวบินลง วันละ 30 ไฟลท์ ทั้งจากฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย รัสเซีย โดยเฉพาะเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ภูเก็ต มีทุกสายการบิน มีคนเดินทางเข้ามาภูเก็ตเป็นล้านๆ คนต่อปี เหตุผลทีส่ อง ไม่มคี แู่ ข่ง ในตอนนัน้ มีเพียง 3-4 โรงแรมที่ ราคามากกว่า 1,000 ดอลลาร์ตอ่ คืน และโรงแรมเหล่านัน้ เก่า 076

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

มากแล้ว มีอายุอย่างน้อย 8 ปี หรือมากที่สุดถึง 17-18 ปี ไม่ ต ้ อ งพู ด ถึ ง โรงแรมระดั บ 3-4 ดาว เพราะวรสิ ท ธิ บอกว่า “มันเป็นธุรกิจที่ผมไม่ชิน ผมท�ำงานลักชัวรี่มาตลอด” จนถึ ง ตอนนี้ ไ ม่ มี โ รงแรมไหนขึ้ น มาที่ ร าคาหรื อ สเกล เท่าศรีพันวา ถ้าเทียบเป็นบาทต่อบาทแล้ว วรสิทธิบอกว่า ศรีพันวาดีกว่าเป็นเท่าตัว รวมถึงเรื่องขนาดของห้อง ความ สบาย การบริการ คอมมูนิตี้ อาหารการกิน ที่บอกได้ว่า จัดเต็มกว่าเยอะ เหตุผลต่อมาคือที่ภูเก็ตยังไม่มีแบรนด์ไทย ในตอนนั้น แบรนด์ไทยมีเพียงไม่กแี่ บรนด์ อย่างเช่น พิมาลัย, เดอะ ราชา แต่ แ บรนด์ เ หล่ า นั้ น ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นภู เ ก็ ต จึ ง ตั ด สิ น ใจไม่ ใ ช้ แบรนด์เมืองนอกมาบริหาร และเริ่มสร้างแบรนด์ ‘ศรีพันวา’ นั่นเป็นจุดที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง


ตลาดเมืองไทยเป็น คีย์ของศรีพันวา วรสิ ท ธิ เ คยได้ คุ ย กั บ คนท� ำ โรงแรม ทั้งอินเตอร์เนชั่นแนลและแบรนด์ไทย ที่เห็นได้ว่าไม่แคร์ตลาดคนไทย ไม่มี ใครท�ำการตลาดในเมืองไทย และบอก ว่าคนไทยไม่ใช้จา่ ย แต่ความคิดของเขา แตกต่างและเริ่มเจาะตลาดเมืองไทย ก่อนในตอนแรก “ลู ก ค้ า ที่ ส ามารถบิ น มาหาเรา ตอนนี้ทันทีเลย คิดแล้วบินมาได้เลย คือคนไทย เสร็จแล้วก็ค่อยๆ ไปฮ่องกง สิงคโปร์”

ในขณะที่โรงแรมอื่นไม่รับคนไทย โรงแรมหรู ร าคาไม่ ต�่ ำ กว่ า 1,000 ดอลลาร์ ต ่ อ คื น เมื่ อ มี ค นไทยไปใช้ บริการมักไม่ได้รับเซอร์วิสเหมือนคน ต่างประเทศ จะมีเสียงวิจารณ์เสมอว่า บริ ก ารคนไทยไม่ ดี แต่ จ ะไม่ ไ ด้ ยิ น ค�ำเหล่านั้นจากผู้ที่เข้าพักที่ศรีพันวา เขาบอกกับพนักงานว่าทุกคนเป็น แขกวีไอพีหมด ทุกคนได้รบั การบริการ เหมือนกันหมด ซึง่ เสียงตอบรับจากแขก ที่มาพักบอกว่า เขาไปโรงแรมไหนใน เมืองไทยก็บริการคนไทยได้ไม่ดีเท่านี้ “ประเทศไทยเป็นท็อปที่สุดแล้ว ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะไม่มีเงิน ได้ไง คนไทยชอบคิดว่าคนไทยไม่มเี งิน

เพราะว่าโดนบริหารโดยฝรั่ง และฝรั่ง ไม่รู้ตลาดคนไทย ไม่รู้จักคนไทยที่มี เงิน และไปให้ข้อมูลผิดๆ กับพนักงาน คนไทย” แต่ไม่ได้หมายความว่าจะท�ำเพื่อ คนไทยอย่างเดียว แต่ประเทศไทยเป็น ประเทศที่น่าโฟกัสที่สุดตอนแรก ต้อง เริ่มจากใกล้ๆ ก่อน

077


บริหารองค์กรในอุดมคติ วรสิทธิอยูก่ บั ศรีพนั วาแทบทุกวันตลอด 8 ปี เขายึดหลักสร้างเอง ขายเอง จึงได้รวู้ า่ ปัญหา มีอะไรบ้าง เช็กเกือบทุกวันว่ากระบวนการ ก่อสร้างเป็นอย่างไรบ้าง เป็นหนึง่ ในเคล็ดลับ ความส�ำเร็จของศรีพนั วา “เราขายบ้านราคา 6-10 ล้านดอลลาร์ เขาต้องการความสมบูรณ์ตอนเขามารับบ้าน ผมขายไป 38 หลังไม่เคยมีปญ ั หา” แม้ไม่มปี ญ ั หาใหญ่ๆ แต่เขาก็ตอ้ งเจอกับ ปัญหาเล็กน้อยทุกวันจนเป็นเรื่องธรรมดา แบบที่เรียกได้ว่า ถ้าวันไหนไม่มีปัญหาจะ แปลกใจ เพราะนั่นหมายความว่าวันต่อมา ปั ญ หาจะมาหนั ก หรื อ แสดงว่ า พนั ก งาน ไม่บอก ดั ง นั้ น เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาเขาจะ หั ว เราะใส่ มั น และพยายามจะเจอปั ญ หา ทุกวันเพือ่ จะแก้ไขไปเรือ่ ยๆ ไม่สะสมให้กลาย เป็นปัญหาใหญ่

“ปัญหาเจอใหม่ๆ ได้ แต่เจอเรือ่ งเดิมซ�ำ้ ๆ กับคนเดียว เขาก็อยูไ่ ม่ได้นะ เพราะก็ทำ� ธุรกิจ ถ้าคนหนึง่ มีปญ ั หาเราก็บอกว่าให้แก้นะ ถ้าแก้ ไม่ได้ เราก็ตดั ปัญหาไปเลย แต่ถา้ เป็นปัญหา ใหม่ๆ เราต้องสอนเขา มันเป็นความท้าทาย” การบริหารคนของวรสิทธิเป็นการผสม ผสานเอารูปแบบของ ‘เจ้านาย’ แบบสังคม ตะวันตกและสังคมตะวันออกเข้าด้วยกัน สั ง คมตะวั น ออกหั ว หน้ า คื อ พระเจ้ า ทุกอย่างเป็นอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งเขาไม่ชอบ เพราะจะท�ำให้ไอเดียไม่ออกมาจากคนอืน่ เลย เป็น One Man Show ในขณะที่ ส ไตล์ ต ะวั น ตก คื อ ทุ ก คน สามารถพูดได้ “เราต้องเอาทั้งสองอย่าง เราให้ทุกคน พูดได้ แต่ถา้ มันเยอะไปก็พอนะ” วรสิทธิมีกฎส�ำหรับตัวเองว่าต้องจ�ำชื่อ พนักงานทุกคนให้ได้ และไม่มีการแบ่งแยก

โต๊ะอาหาร ค�ำว่า ‘เจ้านาย’ ห้ามใช้ ค�ำว่า ‘ทีม’ ใช้ได้ เป็นการบริหารแบบพีน่ อ้ ง ทีท่ ำ� ได้เพราะ องค์กรยังเล็ก ซึง่ เขาบอกว่าพอใจกับองค์กรนี้ “เป็นองค์กรที่ Ideal (อุดมคติ) มาก ส�ำหรับ คนทีเ่ ป็นนักบริหาร ถ้าโตไปกว่านีจ้ ะ Loss Personal Touch ผมว่าแค่นพี้ อ ผมถึงไม่อยากเปิด โรงแรมเพิม่ หรือไปบริหารโรงแรมอืน่ เพราะ ว่าองค์กรนีเ้ พอร์เฟ็กต์แล้ว เราก็หางานใหม่ทำ� แล้วสร้างองค์กรอย่างนัน้ ดีกว่า” เมื่อเราถามว่าเขาไม่เสียดายแบรนด์ ศรีพนั วาหรือ? เขาบอกเราว่า “โรงแรมนีโ้ รงแรม เดียวเป็น The One and Only ผมก็แฮปปีแ้ ล้ว เพราะถ้าเราท�ำทีอ่ นื่ แล้วออกมาไม่ดี มันดูหว่ ย ท�ำอันเดียวให้มนั ขลังไม่ดกี ว่าเหรอ แค่นมี้ นั ก็ ดู Exclusive พอแล้ว”

“ผมชอบตลาดแบบนี้ เราไม่ได้ แข่งขันกับใคร เราเป็นคนเดียวของเขา เป็นตลาดที่ไม่มีคู่แข่ง ผมชอบหา ตลาดอย่างนี้ เรื่องอะไรผมจะไปสร้าง คอนโดฯ ตรงทองหล่อ เพราะมองไป มีรอบตัวเลย ผมจะไปรบกับเขาท�ำไม เจ็บเปล่าๆ ผมรักสวยรักงาม ผมไม่อยากไปเปลืองตัวอย่างนั้น แต่เราหาตลาด หาธุรกิจที่คนยังไม่ท�ำ” PROFILE วรสิทธิ อิสสระ ทายาทเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชอื่ ดังของเมืองไทย ชาญอิสสระ กรุป๊ ใช้ชวี ติ วัยเด็กในต่างประเทศ จนกระทัง่ ส�ำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรบริหารธุรกิจ (Associate of Arts Degree in Business Management) จาก Santa Fe College ในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะบินไปคว้าปริญญาตรีดา้ นบริหารการโรงแรม (Degree International Hotels and Business Management) จาก DCT International Hostel & Business Management School ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาเก็บเกีย่ วประสบการณ์งานบริการจากโรงแรมหรูระดับโลก ก่อนจะตัดสินใจกลับมาปลุกปัน้ ‘ศรีพนั วา’ โครงการโรงแรมและบ้านพักตากอากาศสุดหรู จนประสบความส�ำเร็จกลายเป็นสถานทีพ่ กั อันดับหนึง่ ในเมืองภูเก็ต 078

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


โอกาสใหม่ที่ได้จากศรีพันวา องค์กรใหม่ท่ีวรสิทธิว่า คือบริษัทที่ชื่อ สยามแบรนด์ ที่เขารวบรวมเอา แบรนด์คนไทย ทั้งไลฟ์สไตล์โปรดักท์ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เข้าไป ไว้ในเว็บ แล้วขายแบบส่งออกไปยังสิงคโปร์ ยุโรป เป็นออนไลน์ช็อปในชื่อ Guruwan.com ค�ำว่า Guru ที่แปลได้ 2 แบบคือ ‘ผู้รู้’ หรือ ‘กูรู้’ ส่วนค�ำว่า wan นอกจากจะเป็นชื่อเจ้าของแล้ว ยังเป็นภาษาอินเตอร์เน็ตที่แปลว่า wide area network เครือข่ายที่กว้างไกลเพื่อสื่อสารกับทั่วโลกได้ “เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะขายของไทย เพราะเราคิดว่าแบรนด์ไทยมันดี ทีส่ ดุ เฟอร์นเิ จอร์ ของต่างๆ อย่างของตกแต่งบ้านผมว่าแบรนด์ไทยเจ๋งทีส่ ดุ คนไทยออกแบบสวยที่สุด” เขาบอกว่ า Guruwan ก็ เ ป็ น การท� ำ ธุ ร กิ จ อสั ง หาฯ เช่ น เดี ย วกั น แต่เป็นอสังหาฯ ออนไลน์ ขายพื้นที่ในอินเตอร์เน็ตและสร้างมูลค่าขึ้นมา รวมถึงสามารถเปิดตลาดให้กว้างขึ้นส�ำหรับแบรนด์ไทย ในขณะที่เขาได้ ค่าคอมมิชชั่น วรสิทธิติดต่อกับบริษัทขนส่งอย่าง UPS และ TNT จนได้ลดค่าขนส่ง 80% แล้วมาคุยกับ PayPal บริษัทที่ท�ำระบบช�ำระเงินออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก นับว่าเขาใจกล้าเมือ่ ท�ำเอกสารไปขอใช้ระบบของ PayPal ในเว็บไซต์ และขอให้ลดค่าธรรมเนียมให้เทียบเท่ากับสิงคโปร์ แอร์ไลน์ หรือเอเชีย แอร์ไลน์ นับว่าเป็นโชคดีของวรสิทธิที่ในเอกสารนั้นเขาเขียนลงไปว่าเขาเป็น ผู้บริหารศรีพันวา เพราะหลังจากนั้น PayPal ตอบจดหมายกลับมาว่า เขายินดีคิดค่าธรรมเนียมพิเศษ ถ้าหากศรีพันวามาใช้ PayPal ด้วยเหตุผลว่า PayPal พยายามจะตีตลาดในเมืองไทยมาหลายปี แต่ยังเจาะเข้าตลาดเมืองไทยไม่ได้ และศรีพันวาเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับ สื่อมวลชน (Press Friendly) หลังจากนั้นสยามแบรนด์จึงท�ำหน้าที่เป็น PayPal ประเทศไทย “ผมจะเน้น 2 ปีนี้ ผมจะเป็น PayPal Distributor โดยเจาะตลาดการ ท่องเที่ยว ใครมีเว็บไซต์ จดทะเบียนผู้ประกอบการสามารถใช้ PayPal ได้ หมดเลย คุ ณ สามารถสมั ค รกั บ PayPal โดยตรงเองก็ ไ ด้ แต่ ถ ้ า สมั ค ร ผ่านสยามแบรนด์ จะได้ราคาถูกกว่าอย่างน้อย 40% และมีทีมดูแลให้ด้วย” PayPal นับเป็นโอกาสที่ดีมาก เมื่อมองจากที่การท่องเที่ยวเป็น GDP อันดับสองของประเทศ และเป็นความถนัดของวรสิทธิ เพราะเขาอยูใ่ นวงการ นี้มานาน “ผมไม่แคร์รายได้ ผมแคร์แค่ว่าผมเอา PayPal ซึ่งเป็น Payment Gateway ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเข้ามา ผมอยากจะรู้ว่าผมจะหาโรงแรม 1,000 โรงแรมยังไง ให้เขามาร่วมกับเรา และเพิ่มยอดขายของเขาได้ยังไง” สยามแบรนด์มสี ญ ั ญากับ PayPal 5 ปี เขาคิดว่าภายใน 4-5 ปีจะมีคแู่ ข่งเข้า มาอยูแ่ ล้ว ซึง่ เมือ่ ถึงตอนนัน้ เขาจะถือบัญชีรายชือ่ ลูกค้าอยูน่ บั หมืน่ ราย หากเขา เลือกไม่ตอ่ สัญญากับ PayPal แล้วเดินไปหาอีกเกทเวย์หนึง่ ก็ยอ่ มได้ “ผมชอบตลาดแบบนี้ เราไม่ได้แข่งขันกับใคร เป็นตลาดที่ไม่มีคู่แข่ง ผมชอบหาตลาดอย่างนี้ ถ้าผมไปสร้างคอนโดฯ ที่ทองหล่อ มองไปก็มี คอนโดฯ อยู่รอบตัวเลย ผมจะไปรบกับเขาท�ำไม เจ็บเปล่าๆ”

VORASIT Issara

CHARNISSARA DEVELOPMENT Vorasit (Plawan) was born with wealth from his family’s real estate business and raised aboard; however, none of those had anything to do with his success with Sripanwa Brand but his extraordinary business talent. After he had gained all of crucial experiences from his apprentices in many world’s five-star hotels and restaurants, Vorasit came home to join his family business in Phuket and added the hotel segment proving to be an excellent supplementation to The Sripanwa Project which had then been intended to be just a bungalow. With no competitor on his level, he knew that there’s a big opportunity in luxury hotel business then he proved to be right. With superb services and prices, Sripanwa has had a landslide victory over its rivals. He gave the first priority to the domestic tourists because he knew that it was very easy for them to fly from Bangkok to Phuket. Before long, he expanded his market to foreign counties like Singapore, Hong Kong, etc. For eight years, he has devoted himself to Sripanwa to know every staff and set a brotherhood management as he wanted this business to have a small but warm body. “This is an ideal organization for me. If it is bigger, we may lose personal touch. I think this is sufficient. I don’t want to have more hotels or move to any hotel. I think this one is just perfect.” After Sripanwa was crowned with complete success, he started the new company named Siam Brands collecting Thai’s lifestyle products and furniture aiming to the European market through a website called guruwan. com. His dealing with PayPal made Siam Brands the only world-class payment gateway in Thailand. Vorasit loves his single-dominated business. “Competing is hurtful.” he said.

079


080


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : สาริน พรดอนก่อ

วรางค์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

15

ไชยวรรณ

VARANG Chaiyawan

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน)

‘ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น’ แม้จะมีค�ำกล่าวว่า ‘ลูกไม้หล่น ไม่ไกลต้น’ แต่จริงๆ แล้ว ก็อาจมีลูกไม้ที่เลือกเติบโตขึ้น มาแตกต่างจากต้นก็เป็นได้ เพียงแต่กรณีของทายาทสาว ตระกูลไชยวรรณ ที่ชื่อว่า ‘วรางค์ ไชยวรรณ’ วลีที่ว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น จึงถือว่าใช้ได้เป็นอย่างดี

วรางค์เล่าว่า ส่วนหนึ่งต้องถือว่าโตมากับการท�ำธุรกิจ เห็นคุณพ่อท�ำธุรกิจมาตั้งแต่เธอยังเล็กๆ จึงได้เรียนรู้ ได้ซึมซับมาตลอด จากการได้เห็นคุณพ่อท�ำงานคุยงาน กับคุณแม่ รวมทั้งคุยให้เธอฟังด้วย เพราะส่วนใหญ่จะคุย บนโต๊ะอาหาร จึงเป็นเหมือนการปลูกฝังมาเรื่อยๆ “อย่างตอนอายุ 13 คุณพ่อจะประมูลสัมปทานโรงเหล้า คุณพ่อก็คุยกับเพื่อนๆ เราก็อยู่ด้วย คุณพ่อก็ให้มา ช่วยกดเครื่องคิดเลข ก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก อายุ 12-13 ปิดเทอมก็มานั่งที่ไทยประกัน มาช่วยท�ำนู่น ท�ำนี่ เรียกได้ว่าคุ้นเคยกับธุรกิจนี้มาตั้งแต่เริ่มแรก”

081


เส้นทางที่เกือบเบี่ยงเบน แม้ จ ะคลุ ก คลี ไ ด้ รู ้ ไ ด้ เ ห็ น การท� ำ ธุ ร กิ จ มา ตลอด แต่จริงๆ แล้ว วรางค์เกือบทีจ่ ะหลุดจาก ถนนธุรกิจ ไปเดินบนถนนนักเขียนมาแล้ว เหมือนกัน เพราะในขณะที่คุณพ่อพยายาม สร้างความคุ้นเคยในเรื่องธุรกิจให้บุตรสาว ด้ ว ยการสอนให้ อ ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ และ นิตยสารด้านธุรกิจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และ ใกล้ชิดกับเรื่องราวทางธุรกิจ กระทั่งตอน ไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี อินเตอร์เน็ต คุณพ่อก็ยังส่งหนังสือพิมพ์ไป ให้อ่าน แม้ค่าส่งจะค่อนข้างแพงมากก็ตาม ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ เพราะวรางค์ยอมรับว่า ชอบอ่านเรื่องราวด้านธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอ่านแล้วรู้สึกสนุก จึงอ่านมาตลอด ยิ่งเมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เรียนด้าน การเงิ น การบั ญ ชี ยิ่ ง ได้ ป ระโยชน์ เ พราะ เมือ่ อาจารย์นำ� เรือ่ งเหล่านัน้ มาตัง้ เป็นค�ำถาม ในห้องเรียน ปรากฏว่าจะไม่มีใครตอบได้ มีเพียงแค่วรางค์คนเดียวเท่านั้นที่ตอบได้

082

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

แต่ใครจะรูว้ า่ นิสยั รักการอ่านได้สร้างฝัน ให้วรางค์กลายเป็นเด็กที่ชอบเขียนหนังสือ เขียนนวนิยาย จนเกิดความคิดอยากเรียน ด้านนิเทศศาสตร์ อยากเป็นผู้ก�ำกับ อยาก เขียนบทละคร เพราะเธอชอบอ่านนวนิยาย มาตัง้ แต่ 6 ขวบ เริม่ จากนวนิยายของทมยันตี โตขึ้นมาก็ชอบ ว.วินิจฉัยกุล อ่านเรื่องแปล ของนิดา ซึ่งเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ปิดเทอมแต่ละครั้งต้องขอเงินไปซื้อนวนิยาย มาอ่าน ซึง่ เธอก็เคยได้เดินไปบนเส้นทางนักเขียน มาแล้วด้วย เพราะมีการแต่งเรื่องจากภาพ ตั้งแต่ 6 ขวบ เขียนนวนิยายส่งไปลงหนังสือ สตรีสาร ได้ค่าเขียนเรื่องละ 500 บาท เขียน มากหรือไม่มาก เธอบอกว่าเก็บเงินได้มาก พอสมควรทีเดียว

สุดท้ายลูกไม้ ก็คืนสู่ใต้ต้น แม้จะชอบการเขียน ชอบการจินตนาการ แต่สุดท้ายวรางค์ก็เลือกเดินบนความ เป็นจริง ด้วยเหตุผลว่า “เรารู้ว่าคุณพ่อท�ำธุรกิจมาตลอด รวมถึงรู้ว่าวันหนึ่งเราต้องมาช่วยท่าน ท�ำงาน” เมื่ อ คิ ด เช่ น นั้ น แล้ ว วรางค์ จึ ง เลื อ กเรี ย นศิ ล ป์ - ค� ำ นวณ และตอน เอนทรานซ์ เ ข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ก็ เ ลื อ ก คณะที่ เ กี่ ย วกั บ บั ญ ชี เ ป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ทั้ ง บั ญ ชี ธ รรมศาสตร์ จุ ฬ าฯ และ เลื อ กเศรษฐศาสตร์ โดยไม่ ไ ด้ เ ลื อ ก นิเทศศาสตร์เลย ถึ ง กระนั้ น วรางค์ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ห ยุ ด เขียนหนังสือในทันที ยังคงมีการเขียน อยู่เรื่อยๆ แต่เมื่อขึ้นมหาวิทยาลัยปี 3 ต้องเรียนหนักขึ้น เรื่องของจินตนาการ ความรัก ความโรแมนติกเริ่มห่างหาย สุดท้ายจึงต้องหยุดเขียนไว้เพียงแค่นั้น และยิ่งเรียนจบ ได้เข้าท�ำงานที่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ ด้าน อินเวสต์เมนต์แบงกิ้ง ประมาณปีครึ่ง คุณพ่อก็ให้มาช่วยงานที่ไทยประกัน ชีวิต และนั่นก็คือการลงหลักปักฐาน บนเส้นทางธุรกิจที่หนักแน่น จนยาก ที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นอื่น แม้ว่าจะเห็น เพื่ อ นบางคนได้ เ ดิ น ไปบนถนนที่ ตนเองเคยฝันเมื่อวัยเด็กก็ตาม “เพื่อนบางคนที่เขาเริ่มเขียนหลัง เรา ตอนนี้เขาก็ประสบความส�ำเร็จกัน นะ เขาเขียนบทละคร แต่เราตอนนี้ เขียนหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว ตอนประถม วิชาพวกนี้ท็อปมาตลอด ใครๆ ก็คิดว่า เราต้ อ งเข้ า นิ เ ทศฯ หรื อ ไม่ ก็ อั ก ษรศาสตร์” แต่ สุ ด ท้ า ยลู ก ไม้ อ ย่ า งวรางค์ ก็ เติบโตใต้ต้นธุรกิจ เช่นเดียวกับผู้เป็น พ่อ และพี่น้องคนอื่นๆ


บนเส้นทางธุรกิจประกันชีวิต วรางค์ เ ล่ า ว่ า ตอนเรี ย นที่ ธ รรมศาสตร์ ช่วงนั้นธุรกิจประกันชีวิตยังไม่ค่อยเป็นที่ สนใจ มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับประกัน ชีวิตอยู่เพียงวิชาเดียว แต่เธอก็เลือกเรียน โดยอาจารย์บอกว่าคนที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้ ร างวั ล จากสมาคมประกั น ชี วิ ต ซึ่ ง ตอนนั้ น ดร. อภิ รั ก ษ์ ไทพั ฒ นกุ ล (กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยประกันชีวติ ) เป็นนายกสมาคมฯ ปรากฏว่าเธอเป็นผู้ที่ได้รับรางวัล และ อาจารย์อภิรักษ์เป็นคนมอบรางวัลให้ จึงเรียกได้ว่า วรางค์ได้สัมผัสธุรกิจ ประกันมาตั้งแต่เด็ก และยังมาเรียนรู้จาก ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งช่วงแรกที่เข้า ท�ำงานที่ไทยประกันชีวิต เริ่มต้นด้วยการ ดูเรื่องการลงทุนด้านเดียว แต่วันนี้ เธอต้องดูแลงานหลายด้าน ทัง้ ลงทุน การเงิน พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริหาร ความเสี่ยง แบงก์แอสชัวรันส์ โดยดูทั้งตัว ผลิตภัณฑ์ พบปะลูกค้าทั้งแบงก์พาณิชย์

และแบงก์รัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ วรางค์ บ อกว่ า เธอเป็ น คนที่ ถ นั ด เรื่องของตัวเลขมากกว่ามาร์เก็ตติ้ง เมื่อ ได้มาดูแลด้านการลงทุนจึงถือว่าได้ท�ำใน งานทีช่ อบ ขณะเดียวกันก็สามารถประยุกต์ ใช้ ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ ครอบครั ว เช่ น การ ซื้อธุรกิจ เธอและน้องชายจะเข้าไปช่วย ดูแล คุยกับทนายเอง ท�ำสัญญาเอง ได้ เรียนรู้หลายๆ อย่าง จึงไม่น่าแปลกใจที่ วันนี้ เธอดูแลทั้งเรื่องการลงทุน การเงิน คณิตศาสตร์ประกันชีวติ แบงก์แอสชัวรันส์ บริหารความเสี่ยง หรือเรียกได้ว่า ณ วันนี้ วรางค์ต้อง ดูแลในเรือ่ งของแบ็คออฟฟิศแทบทัง้ หมด จะมียกเว้นอยู่เห็นจะเป็นเรื่อง Core Business ซึ่ ง ได้ แ ก่ ก ารรั บ ประกั น การจ่ าย สินไหมเท่านั้น

ผลงานภาคภูมิใจ เรตติ้งสูงสุด การเติบโตบนเส้นทางธุรกิจที่บริษัทไทย ประกันชีวติ ซึง่ เป็นธุรกิจของตระกูล ไม่ได้ ท�ำให้วรางค์ท�ำงานสบายๆ สไตล์คุณหนู ลูกเจ้าของบริษัท แต่กลับต้องทุ่มเทท�ำ ทุกอย่าง จนทุกคนยอมรับในฝีมอื ในความ ทุ ่ ม เท และความสามารถ ในปี 2545 คุ ณ ไชย (กรรมการผู ้ จั ด การใหญ่ ) ก�ำหนดวิสัยทัศน์การเป็นบริษัทคนไทย ในระดั บ สากล เล็ ง เห็ น ว่ า จะต้ อ งมี ก าร จั ด อั น ดั บ เครดิ ต ความมั่ น คงของบริ ษั ท เนื่ อ งจากขณะนั้ น มี แ ต่ บ ริ ษั ท ต่ า งชาติ เท่านั้นที่มีการจัดอันดับ จึงต้องการฉาย ภาพให้เห็นว่าไทยประกันชีวติ เองก็มคี วาม มัน่ คงไม่ดอ้ ยกว่าบริษทั ต่างชาติ เนือ่ งจาก ตอนนั้ น ไม่ มี บ ริ ษั ท ไทยกล้ า จั ด เรตติ้ ง เท่ า ไรนั ก เพราะเพิ่ ง ผ่ า นวิ ก ฤติ ก ารณ์ ต้มย�ำกุ้ง ไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทไทย แห่งแรกที่กล้าจัด

คุณไชยจึงมีนโยบายให้บริษัท Standard & Poor’s (S&P) เป็นผูด้ ำ� เนินการ โดย มอบหมายให้วรางค์เ ป็ น คนรั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง ตอนแรกคิ ด ว่ า จะต้ อ งใช้ ที่ ป รึ ก ษา ทางการเงิน แต่สดุ ท้ายไม่ได้ใช้ เป็นวรางค์ นั่นเอง ที่ลงไปท�ำเองหมด ซึ่ง ณ วันนั้น ไทยประกันชีวติ ได้รบั เรตติง้ ที่ BBB+ ถือว่า เป็นเรตติ้งที่สูงสุดในบรรดาบริษัทเอกชน เที ย บเท่ า กั บ รั ฐ วิ ส าหกิ จ ใหญ่ ๆ อย่ า ง ปตท. ทั้งที่ช่วงนั้นเพิ่งผ่านวิกฤติต้มย�ำกุ้ง มาหมาดๆ และปั จ จุ บั น บริ ษั ท ได้ รั บ เรตติ้งที่ A- ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของบริษัท ไทยเช่นเดียวกัน “ดี เ กิ น ความคาดหมาย จ� ำ ได้ ว ่ า ตอนนัน้ เขาโทรฯ มาบอก ตอนรับโทรศัพท์ มือสัน่ ไปหมด เพราะลึกๆ เราก็กลัว เราเป็น บริษัทคนไทย แล้วเราเอาฝรั่งมาเรตติ้ง ก็ไม่รู้ว่าเขาคิดยังไง มองเรายังไง”

“อย่าไปยึดติด ไม่ว่าจะเป็น เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือ เงินทอง ซึ่งถ้าหากไม่ ยึดติดก็จะท�ำให้อยู่ได้อย่าง มีความสุข เหมือนอย่าง ที่มีคนบอกว่าจริงๆ แล้วทุกอย่างรอบตัวเรา เปลี่ยนไปทุกวัน แต่เรายังอยู่ที่เดิม”

วรางค์ยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ท�ำให้ภาคภูมิใจ เนื่ อ งจากเรตติ้ ง ออกมาดี ซึ่ ง หลั ง จากนั้ น S&P ก็ ม า เปิดตลาดประกันในไทย ไทยประกันชีวิตถือเป็นบริษัท ประกันชีวติ แห่งแรกที่ S&P จัดอันดับให้ เพราะก่อนหน้า นั้น S&P ยังไม่เคยเรตติ้งบริษัทประกันชีวิตเลย

อุปสรรคบนความภูมิใจ แน่นอนว่าในชีวติ การท�ำงานของคนเราทุกคนย่อมต้องมี ปัญหาอุปสรรคเข้ามาท้าทายความสามารถเสมอ วรางค์ ก็เช่นเดียวกัน สถานะของการเป็นลูกสาวเจ้าของบริษัท ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้เธอไม่ต้องเจอปัญหาหรือ อุปสรรค โดยเธอยอมรับว่ามีปญ ั หามาให้แก้เกือบทุกวัน แต่ ต อนที่ ห นั ก ที่ สุ ด ในความรู ้ สึ ก ของวรางค์ คื อ ตอนวิกฤติต้มย�ำกุ้ง ปี 40 เพราะช่วงนัน้ ถือว่าเธอยังเด็ก เพิง่ เข้ามาท�ำงานได้ประมาณ 2 ปี เธอยอมรับว่ากลัวมาก ว่าเงินฝากของไทยประกันชีวติ ซึง่ เป็นเงินของประชาชน จะเสี ย หายเพราะเหตุการณ์ช่วงนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ทุกวัน สถาบันการเงินถูกปิดกิจการหลายแห่ง “เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราภูมิใจ นั่นก็ คื อ ไทยประกั น ชี วิ ต ไม่ มี เ งิ น ฝากที่ เสียหายเลย”

083


เคล็ดลับง่ายๆ ในการบริหาร

การมีส่วนร่วมต่อสังคม ที่ไม่สิ้นสุด วรางค์พูดถึงการให้ความส�ำคัญกับการมีส่วนร่วม ต่อสังคมในฐานะนักบริหารรุ่นใหม่ว่า เป็นสิ่งที่ ทุกคนสามารถท�ำได้ คือต้องไม่สร้างความเดือดร้อน ให้คนอื่น มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม และเชื่ อ ว่ า ทุ ก บริ ษั ท คงมี ค วามคิ ด ในการที่ จ ะ รับผิดชอบต่อสังคมมากขึน้ เพือ่ ให้ผบู้ ริโภครูส้ กึ ว่า บริษทั ไม่ได้หวังแต่กำ� ไรอย่างเดียว มีการคืนก�ำไร ให้สังคม ซึ่งจะท�ำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ดี และ เกิดความผูกพันในแบรนด์นั้นๆ ในส่วนของไทยประกันชีวิตจึงพยายามท�ำ ทุกอย่างให้ดที สี่ ดุ จ่ายสินไหมทดแทนให้ครบถ้วน รวดเร็ ว ซึ่ ง ท� ำ ให้ มี เ รื่ อ งร้ อ งเรี ย นต่ อ คปภ. (ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการ ประกอบธุ ร กิ จ ประกั น ภั ย ) น้ อ ยมาก ท� ำ ให้ ได้รับเลือกเป็นบริษัทดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 10 ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ได้รับรางวัลนี้นับตั้งแต่ คปภ. มีการให้รางวัล ซึ่ง คปภ. ไม่ได้ดูแต่เฉพาะตัวเลข อย่างเดียว แต่จะดูถงึ ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

084

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

นอกจากนีไ้ ทยประกันชีวติ ยังมีโครงการ ต่างๆ อีกมากมาย อาทิ หนึง่ คนให้...หลายคนรับ กั บ ไทยประกั น ชี วิ ต เพื่ อ สภากาชาดไทย รณรงค์บริจาคโลหิต อวัยวะ ส่งเสริมอาชีพ ผูพ้ กิ ารร่วมกับศูนย์ศลิ ปาชีพบางไทร ให้ความ ช่วยเหลือบ้านโฮมฮักของแม่ตอ้ ย ซึง่ ทุกวันนีก้ ็ ยังท�ำอยู่ ในขณะที่หลายคนอาจจะลืมไปแล้ว ส�ำหรับในปีนี้ เนือ่ งจากเป็นวาระครบรอบ 70 ปีไทยประกันชีวิต ก็จะมีโครงการรณรงค์ หาเงินเพื่อช่วยเหลือผ่าตัดหัวใจเด็ก 70 ราย ให้ กั บ มู ล นิ ธิ เ ด็ ก โรคหั ว ใจ รวมทั้ ง มอบรถ บริ จ าคโลหิ ต เคลื่ อ นที่ ใ ห้ ส ภากาชาดไทย บริจาคเงินสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยเหลือ หญิ ง ที่ ด ้ อ ยโอกาสหรื อ ถู ก ท� ำ ร้ า ยให้ กั บ แม่ชีศันสนีย์

PROFILE

วรางค์บอกว่าเคล็ดลับของเธอในการ เป็นผู้บริหารไม่ได้มีอะไรมาก หัวใจ หลักๆ คือเป็นผู้บริหารที่ค่อนข้างเป็น ประชาธิปไตย จะรับฟังความคิดเห็น ของลูกน้อง เช่น กรณีลูกน้องที่ท�ำงาน ร่วมกันกับเธอ ได้รับมอบหมายให้ออก ไปดีลงานเอง แล้วเขามีการตัดสินใจ อะไรลงไป ซึ่งพอกลับมาแจ้งแล้วเธอ ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ก็ จ ะไม่ ไ ปต� ำ หนิ แต่ จ ะ บอกเขาว่าเธอคิดว่ามันน่าจะเป็นอย่าง นี้ เพราะอะไรก็จะให้เหตุผลไป แต่จะ ไม่ต่อว่า เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปเขา จะไม่กล้าตัดสินใจอะไรเลย นี่คือการ สร้างลูกน้อง “เพราะอีกหลักการหนึ่งก็คือ การ พยายามที่จะกระจายงานไปให้ลูกน้อง ช่วยดูแลรับผิดชอบ เพือ่ ให้เขาได้เรียนรู้ จากการท�ำงาน ได้เติบโต “ในส่วนตัวแล้วจะท�ำให้ลูกน้อง รู้สึกว่าไทยประกันชีวิตคือบ้านอีกหลัง หนึ่ง เราต้องดูแลเขาให้ดี นักบริหาร รุ่นใหม่ๆ จึงควรจะค�ำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย เช่นกัน ท�ำอย่างไรที่จะให้ลูกน้องจงรัก ภักดีและอยู่กับเราไปนานๆ”

วรางค์ ไชยวรรณ เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกทั้งหมด 8 คน ของ วานิช ไชยวรรณ ส�ำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมอันดับ 1 บัญชีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นบินข้ามน�้ำข้ามทะเลไปคว้า MBA Finance–Investment George Washington University, USA เริ่มต้นชีวิตการท�ำงานที่ บงล.ทิสโก้ จ�ำกัด ในต�ำแหน่ง Corporate Finance ปัจจุบันวรางค์ ด�ำรงต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน), กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยประกัน สุขภาพ จ�ำกัด, กรรมการ บริษัท ดุสิตไทยพร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด และกรรมการ บริษัท ริมเพ ดิเวลลอปเมนต์ จ�ำกัด


แง่คิดส�ำหรับ นักธุรกิจรุ่นใหม่ “อย่าใจร้อน และไม่อยากให้คดิ ว่าเงินหรือผลตอบแทน เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต” คือข้อแรกที่วรางค์ฝาก นอกจากนั้นก็มีในเรื่องของการที่อยากให้นับถือ และเคารพความคิดของคนรุ่นเก่าด้วย เพราะความคิด ของคนรุ่นเก่าก็มีประโยชน์ในแง่ที่เขามีประสบการณ์ แม้ว่าอาจจะอ่อนด้อยในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ ไป บ้าง แต่เขาก็มีประสบการณ์ท่ีพบเจอ ซึ่งสามารถแชร์ กับคนรุ่นใหม่ได้ “คื อ ตั ว เองก็ เ คยรู ้ สึ ก แบบนั้ น ช่ ว งที่ เ ราเข้ า มา ท�ำงานใหม่ๆ รูส้ กึ ทุกอย่างมันช้าไปหมดไม่ทนั ใจ พอหลัง เกิดต้มย�ำกุ้งท�ำให้เราเข้าใจมากขึ้น รอบคอบมากขึ้น คิดมากขึ้น ไม่ใจร้อน “อีกอย่างคือ อย่าไปยึดติด ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ ชื่ อ เสี ย งหรื อ เงิ น ทอง ซึ่ ง ถ้ า หากไม่ ยึ ด ติ ด ก็ จ ะท� ำ ให้ อยู่ได้อย่างมีความสุข เหมือนอย่างที่มีคนบอกว่าจริงๆ แล้วทุกอย่างรอบตัวเราเปลี่ยนไปทุกวัน แต่เรายังอยู่ ที่เดิม ส�ำหรับตัวเองคิดว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ถือว่า ดีมากๆ แล้ว เพราะเมื่อเทียบกับตอนที่อายุยังน้อย นั่งรถเมล์ก็ได้ ซื้อคูปองอาหารกินก็ได้ หรือตอนอยู่ ชั้นประถมเป็นโรงเรียนประจ�ำ เพื่อนบางคนที่มีฐานะ ร�่ำรวยจะใส่เสื้อผ้ามาร์คแอนด์สเปนเซอร์ พ่อแม่ซื้อให้ จากอังกฤษ แต่เราใส่เสื้อที่ซื้อจากประตูน�้ำ ซึ่งก็ไม่ได้ น้อยใจหรืออะไรเลย “ถือว่าเป็นข้อดีดว้ ยซ�ำ้ เพราะทุกวันนีย้ งั เดินตลาดนัด ชอบมากแพลตติ นั่ ม ยู เ นี่ ย นมอลล์ ก็ เ ดิ น คื อ ถ้ า เรา ได้ใช้ชีวิตอย่างที่คนทั่วไปเขาใช้กัน มันก็ท�ำให้เรารู้ถงึ คุณค่าของสิ่งนั้นๆ มากขึ้น” สุดท้ายในเรื่องสไตล์การใช้ชีวิต วรางค์บอกว่า ตอนนี้เสาร์-อาทิตย์มักจะพักผ่อน เพราะลูกๆ โตพอที่ จะรับผิดชอบตัวเองได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่จะพยายาม ให้เวลากับลูก ทั้งเพื่อความผูกพันใกล้ชิด และเพื่อให้ แง่คิดในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต เรื่องการใช้จา่ ย เงินอย่างรู้คุณค่า “ก็พยายามพูด แล้วก็เล่าให้เขาฟังว่า สมัยก่อน คุณตาอยูบ่ า้ นหลังเล็กกว่าห้องนีอ้ กี อยูก่ นั ตัง้ สิบกว่าคน คุณตาล�ำบากยังไง ก็พยายามเล่าให้เขาฟัง อยากให้เขา ได้ซมึ ซับเรือ่ งเหล่านี้ เพือ่ ตัวเขาเองในอนาคตนัน่ แหละ” สมแล้วกับการเป็นผูบ้ ริหารรุน่ ใหม่ทนี่ า่ สนใจอย่าง ยิ่งคนหนึ่งจริงๆ

VARANG Chaiyawan THAI LIFE INSURANCE

Varang Chaiyawan took helm of Thai Life Insurance with her brother Chai Chaiyawan. Despite her bloodline, Varang did not enjoy any privilege of being an heiress to the Chaiyawan Empire. On the contrary, she has worked as hard as others and proven herself to be a highly capable executive. A solid testament of Varang’s leadership was illustrated when Thai life Insurance received BBB+ credit rating by Standard & Poor’s the highest credit level a private company was ever given vis-a-vis a state-owned enterprise giant like PTT considering when the country was taking its time to recover from the Tom Yum Kung crisis. Today, Thai Life Insurance is given an A- credit rating, which is also the highest score among Thai companies. Such impressive performance can indeed be credited to the administration of Varang. The heiress admitted that this particular achievement made her very proud and honored. Following the excellent rating, S&P ventured into the insurance industry in Thailand. Thai Life Insurance is the first insurance company ever that was ranked by S&P. Varang also recalled another chapter of her career that she can consider as her great achievement. It was when she and the company Thai Life Insurance went through the 1997 financial crisis in Asia, also known as Tom Yum Kung crisis. During that time, Varang had worked for the company for only two years. She admitted that she was greatly worried that the company’s savings which came from her clients’ deposits would be put at risk and that she could not safeguard their money. The situation at that time changed every minute. Several financial institutions had to shut down but “At Thai Life Insurance, we managed to keep our deposits intact.” Varang did not altogether underestimate challenges and obstacles. For her, a problem exists to be resolved; an obstacle exists to be overcome. Once you can achieve that, she calls it “pride”.

085


086


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

วิพล

วรเสาหฤท

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

16

VIPON Vorasowharid

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน)

ขึ้นแท่นโปรเฟสชันแนล เพราะฝีมือบริหาร ‘คน’ การค้นหาตัวตนในชีวติ ของ การท�ำงาน อาจจะดูเหมือน ไม่ใช่เรือ่ งยาก แต่สำ� หรับ หลายๆ คน ชัว่ ชีวติ อาจตาม หาความถนัดของตนไม่เจอ ขณะทีบ่ างคนเจอ แต่กไ็ ม่ สามารถท�ำให้โดดเด่นจน ก้าวขึน้ มายืนในแถวหน้าได้

แต่สำ� หรับ วิพล วรเสาหฤท เป็นหนึง่ ในผูท้ ี่ ค้นพบ ‘งานทีช่ อบ’ และสามารถใช้งานทีช่ อบ แสดงศักยภาพจนผงาดขึน้ มาเป็นผูบ้ ริหาร เบอร์หนึง่ ของบริษทั ทีเ่ ข้าไปรับผิดชอบดูแลได้ อย่างเต็มความภาคภูมิ ตลอดเส้นทางการท�ำงาน บนถนนธุรกิจในฐานะผูบ้ ริหารมืออาชีพของ วิพล เป็นการได้มาจากผลงานทีแ่ ท้จริง

087


ตามรอยคุณพ่อ ‘ยอดนักขาย’ วิพลยอมรับว่า ได้รับอิทธิพลในการ เป็นนักขายมาจากคุณพ่อโดยตรงตัง้ แต่ วั ย เด็ ก คุ ณ พ่ อ เป็ น บุ ค คลที่ เ รี ย กว่ า ‘นั ก ขาย’ ได้ อ ย่ า งเต็ ม ปากเต็ ม ค� ำ เพราะคลุกคลีกับงานขายมาตั้งแต่เป็น เซลส์หน่วยรถ จนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็น เซลส์ไดเร็กเตอร์ ของบริษัทเนสท์เล่ “ตอนเป็นเด็ก ผมว่าเราเหมือน ซึมซับตรงนัน้ มา เราจึงมีสไตล์ทคี่ ล้ายๆ กับคุณพ่อ แต่ก็ไม่มีใครคิดหรอกว่า พอโตขึ้นแล้วผมจะมาเป็นเซลส์” เพราะแน่นอนว่า วิพลก็เหมือน กับใครหลายๆ คนจ�ำนวนมาก ที่ความ ใฝ่ฝันแรกอยากจะเป็นผู้บริหาร เป็น นั ก การตลาดที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ดั ง นั้ น จึ ง ตั ด สิ น ใจที่ จ ะเรี ย นทางด้ า น การตลาด เรียนด้านบริหารธุรกิจ “ผมวนเวียนอยู่ระหว่างเซลส์กับ มาร์เก็ตติ้ง กระทั่งไปท�ำงานที่บริษัท หนึ่ ง ได้ ท� ำ ทั้ ง เซลส์ แ ละมาร์ เ ก็ ต ติ้ ง นายที่บริษัทเก่าบอกว่าคุณต้องท�ำงาน ที่ ต ้ อ งเกี่ ย วกั บ คน ถ้ า เป็ น การตลาด คุ ณ ต้ อ งดี ล กั บ สิ่ ง ที่ เ ป็ น Brand เป็ น

Product แต่จะต้องปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่ มีชีวิต กับคน” เป็นข้อสังเกตที่วิพลรับฟัง และ เก็บเอาไว้ในใจ แต่เพราะยังคงมีความ ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักการตลาดที่ประสบ ความส�ำเร็จให้ได้ จึงตัดสินใจเข้าไป ท�ำงานที่บริษัทยูนิลีเวอร์ ด้วยทัศนคติ ที่ว่า ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทที่ถ้าใครได้ เป็นนักการตลาดที่นี่แล้วถือว่าสุดยอด น่าภาคภูมิใจมากๆ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ยังไม่ได้ท�ำงาน ด้านการตลาด เพราะถูกวางตัวให้ไปอยู่ เทรด มาร์เก็ตติ้ง ท�ำได้ประมาณครึ่งปี ก็พอดีมี คีย์ แอคเคาต์ เซลส์ไดเร็กเตอร์ ลาออก ทางบริษัทมองว่าวิพล น่าจะท�ำได้ จึงมาเสนอให้ไปเป็นเซลส์! “เขาบอกว่า I believe you can do it. เราก็บอกว่าอยากท�ำมาร์เก็ตติ้ง เขา ก็บอกให้ทำ� ไปก่อน ถ้าไม่ชอบแล้วค่อย เปลี่ยน ท�ำอยู่เกือบ 2 ปี นายก็มาบอก ว่าวิพลเชื่อผมเถอะ ไม่ต้องย้ายแล้ว รูทนี้คุณชัวร์แน่ๆ”

‘ยูนิลีเวอร์’ การันตีผลงานแรก ซึ่ ง วิ พ ลใช้ ผ ลงานและความส� ำ เร็ จ แทนการตอบค�ำถามดังกล่าว โดยใช้ ยุทธศาสตร์ส�ำคัญคือ การไม่ยึดติดอยู่ กั บ แค่ ก ารขายส่ ง ให้ กั บ บรรดายี่ ป ั ๊ ว หรื อ บรรดาร้ า นค้ า ใหญ่ แต่ ใ ช้ ก าร กระจายลงไปยั ง ธุ ร กิ จ ร้ า นค้ า ระดั บ รากหญ้า ซึ่งมีฐานธุรกิจที่กว้างกว่าการ บุกแต่ตลาดในเมือง วิพลมองว่าถ้าค้าขายกับรากหญ้า ป ร ะ ก า ร แ ร ก ต อ น นั้ น เ ป ็ น ต ล า ด ที่ ยั ง ไม่ มี ใ ครไปเจาะเวลาที่ คุ ณ ไปถึ ง ไปพบเขา ร้ า นค้ า ยกมื อ ไหว้ คุ ณ เลย ด้ ว ยซ�้ ำ คุ ณ ส่ ง ของให้ ถึ ง ที่ ประการ ต่อมาก็คือแบรนด์คุณดีขนาดนี้ โอกาส ในทางการตลาดมี ม ากกว่ า คู ่ แ ข่ ง อยู ่ 088

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

แล้ว และที่ส�ำคัญก็คือประการที่สาม ไม่ว่าในภาพรวมของตัวเลขเศรษฐกิจ เมื อ งไทยจะเป็ น อย่ า งไร ธุ ร กิ จ จะมี ปัญหาขนาดไหน แต่ธุรกิจร้านค้าปลีก ระดับรากหญ้าจะเหวี่ยงขึ้น-ลงอยู่แค่ บวกลบ 5% “ผมถึ ง พยายามที่ จ ะท� ำ ตั ว แทน ของยูนิลีเวอร์ให้เป็นธุรกิจเถ้าแก่แบบ ยั่ ง ยื น ไม่ ใ ช่ อ ยู ่ แ บบเป็ น ลู ก จ้ า งของ บริษัท แล้วไม่ได้อยู่แบบท�ำมาหากิน แบบไม่ยั่งยืน” ซึ่งวิพลท�ำได้จริง และกลายเป็น ผลงานที่ ก ารั น ตี ค วามเป็ น ผู ้ บ ริ ห าร มืออาชีพของเขา

โชว์ฝีมือ ด้วยการคิดต่าง แล้วก็ใช่จริงๆ เพราะแม้แต่วิพลเองก็ยอมรับ ว่า คลิกเส้นทางของการท�ำงานที่เป็นการ บริหารทีเ่ กีย่ วกับคนตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา และ ก็สามารถท�ำได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่ยอมรับ ในแวดวงมืออาชีพระดับแถวหน้า โดยผลงานในช่วงทีท่ ำ� งานอยูย่ นู ลิ เี วอร์ และคาสตรอล เป็นเหมือนผลงานรับประกัน คุณภาพฝีมือที่ส�ำคัญ เนือ่ งจากทีย่ นู ลิ เี วอร์มรี ะบบการกระจาย สินค้าที่ถือว่าใหญ่ที่สุดอยู่แล้ว เพราะมีเซลส์ ครอบคลุมร้านค้าได้ถึง 30,000-40,000 กว่า ร้านค้า แต่ก่อนที่วิพลจะออกจากยูนิลีเวอร์ ได้ ท� ำ ให้ ธุ ร กิ จ ของยู นิ ลี เ วอร์ ค รอบคลุ ม ไดเร็ก มากถึง 200,000 ร้านค้า ได้ภายในเวลา 3 ปี “ตอนนั้นทุกคนพูดเลยว่าเป็นไปไม่ได้ ทุ ก คนหั ว เราะ ไม่ มี ใ ครเอา เวลาคุ ณ พู ด จากสี่หมื่นร้านค้าเป็นสองแสนร้านค้า เขาจะ คิดว่าคุณก�ำลังให้ฉันลงทุนเพิ่มใช่ไหม การ จะเพิ่มได้คืออะไร”

“การหาเงินไม่ได้ยาก แต่การหาเงินแล้ว คุณอยู่อย่างมีความสุข อันนี้ยาก สิ่งที่ควรจะคิดถึง คือการสร้างความดีให้กับ สังคม การสร้างบุคลากร ที่อยู่ในองค์กรให้ ประสบความส�ำเร็จ และท�ำตัว ให้เป็นวิทยาทานให้คนอื่นได้ นั่นคือสุดยอดมากกว่า”


ฟื้น ‘คาสตรอล’ อีกผลงานที่ภูมิใจ และอี ก ผลงานที่ เ ป็ น ความภู มิ ใ จ ก็ คื อ ในช่ ว งที่ เข้าไปท�ำงานที่บริษัท บีพี-คาสตรอล ซึ่งถือว่า เข้าไปเจอแจ็คพอตเต็มๆ เพราะเข้าไปในปลายปี 2005 ต่อเนื่องปี 2006 อันเป็นปีที่วิกฤติสุดๆ ของ คาสตรอล จากที่เคยมีก�ำไร 20 ล้านเหรียญในปี 2004 ก�ำไรตกลงมาเหลือ 3 ล้านเหรียญภายใน เวลาแค่ปีเดียว เดือนแรกที่เข้าไปท�ำงาน ต้องเอาพนักงาน ออกถึง 22 คน ท�ำให้ต้องคิดว่าท�ำอย่างไรไม่ให้ บริ ษั ท เสี ย ชื่ อ และท� ำ อย่ า งไรให้ เ กิ ด ความเป็ น ธรรมกั บ ผู ้ ที่ ถู ก ออก จึ ง ใช้ วิ ธี ก ารออกประกาศ ล่วงหน้าให้ทุกคนรู้ตัว ว่าก�ำลังพิจารณาว่าใคร จะไม่ได้ท�ำงานต่อ เพื่อทุกคนจะได้ขยับขยายหา ลูท่ าง หาทีท่ ำ� งานใหม่ แล้วก็พจิ ารณาค่าชดเชยให้ ในระดับที่ดีและเป็นธรรม ดังนั้นพอประกาศรายชื่อ 22 คนที่ต้องออก ปรากฏว่าคนที่ถูกออกจุดพลุเลี้ยงฉลองกัน แต่คน ที่ได้อยู่ต่อ 100 คนกลับร้องไห้ เพราะคนที่ถูกออก ได้ชดเชยดี คนที่ได้อยู่ต่อเลยประท้วงเงียบ วันๆ ไม่ยอมท�ำงาน รอให้บริษัทไล่ออกบ้าง วิพลแก้เกมอีกครั้ง ด้วยการบอกว่า ใน 100 คนที่เหลือ จะคัดออกอีก 10 คน แล้วจะเอาค่าใช้ จ่ายของ 10 คนที่ถูกออกไปมาเฉลี่ยเพิ่มเงินเดือน ให้กบั คนทีอ่ ยูต่ อ่ โดยยึดหลักใช้คนน้อย แต่คดั เอา คนคุณภาพ แล้วให้ผลตอบแทนที่ดี เจอกลยุทธ์นี้ เข้าทุกคนจึงพลิกกลับมามุ่งมั่นท�ำงานเต็มที่ เพื่อ ให้ได้เป็นคนที่ได้อยู่ต่อ และยังได้รับการโปรโมต และได้เงินเดือนเยอะขึ้นอีกด้วย แม้ลึกๆ วิพลจะยอมรับกับตัวเองว่า ไม่ยินดี ที่จะต้องท�ำสักเท่าไรนักกับการที่ต้องเอาคนออก เพราะไม่ว่าอย่างไรก็เป็นเรื่องที่สะเทือนความรู้สึก แต่ก็ต้องท�ำ เพราะตอนนั้นยืนอยู่ในจุดที่จะต้อง ตัดสินใจด้วยธุรกิจ ต้องเอาธุรกิจให้รอด ซึง่ แน่นอน ว่าเป็นการตัดสินใจที่จะต้องอยู่เหนือเหตุผลความ รู้สึกส่วนตัว “สองกรณีนถี้ อื เป็นความภูมใิ จทีส่ ดุ เป็นอะไร ที่ภาคภูมิใจในชีวิตมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Distribution Network ให้ยูนิลีเวอร์ หรือในส่วน ของการท�ำ Business Turn Around ที่คาสตรอล”

เข้าวงการประกัน ก็ต้องแก้วิกฤติ

เส้นทางความส�ำเร็จ ณ วันนี้ กับบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวติ จ�ำกัด (มหาชน) วิพลเล่าว่าตอนที่จะมาอยู่ที่นี่ ก็มีการ คุยกันว่ามารับต�ำแหน่งนี้หรือไม่ เพราะ ช่วงนั้นแบงก์ได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ทั้งหมด โดยที่มีทางเลือกให้ว่า หากท�ำ ที่แบงก์ ก็มีอยู่ 2 ต�ำแหน่ง ต�ำแหน่งแรก คือไปท�ำ Distribution Network ให้กับ แบงก์ อีกต�ำแหน่งท�ำเกีย่ วกับ Customer Segmentation ส่วนอีกทางเลือกคือมา นั่งที่นี่

“ก็คิดอยู่นานมาก ตอนนั้นได้มี โอกาสคุยกับผู้ใหญ่ทางไทยพาณิชย์ ท่านก็ถามว่าไหนลองบอกสิว่าตัววิพล เป็นอย่างไร ผมก็บอกว่าชีวิตผมมาถึง จุดนี้ผมเคลียร์ตัวเองมากเลยว่าเป็น People Oriented และผมมีความเชือ่ มัน่ อย่างมากว่าผลของงานอยู่ที่คุณภาพ ของคน” และก็ได้รับค�ำแนะน�ำว่าถ้าวิพล ท�ำเรื่องเกี่ยวกับคน ก็ควรท�ำที่บริษัท ประกันชีวิตดีกว่า

ยอมทิง้ ความชอบส่วนตัว ครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งที่วิพลต้องคิดไม่น้อย เพราะมี เ รื่ อ งของความชอบ ความ คลั่งไคล้ส่วนตัวเข้ามาเป็นตัวแปรด้วย “จริงๆ แล้วอยากท�ำที่ Heineken นะ เพราะว่า Heineken เป็นแบรนด์ ในฝัน ฉันฮาร์ดคอร์ Heineken ฉัน Love ทุกอย่างที่เป็น Heineken แล้ววันหนึ่ง ความฝันก็กลายเป็นความจริง เรียกว่า มาอยู่ในมือแล้ว ได้คุยกับประธานของ Heineken เรียบร้อยแล้ว มาเปลี่ยนใจ วินาทีสุดท้ายเพราะลูกที่ท�ำให้ตัดสินใจ ได้ ภรรยาผมท�ำงานอยู่ที่ Chivas Regal ถ้ า ทั้ ง พ่ อ ทั้ ง แม่ ข ายเหล้ า ขายเบี ย ร์ แล้วลูกจะเป็นอย่างไร คิดได้อย่างนี้ จึง หยุดเลย แล้วก็เหมือนบังเอิญโชคชะตา ฟ้าลิขติ ออฟเฟอร์ทไี่ ทยพาณิชย์ประกัน ชีวิตเข้ามาพอดี ก็เลยตัดสินใจไม่ไปที่ Heineken และสุดท้ายเลือกมาที่นี่”

แม้จะเริ่มต้นที่นี่ด้วยความรู้สึกที่ ว่าท�ำคอนซูเมอร์มาทั้งชีวิต แต่ต้องมา ท�ำธุรกิจการเงิน ธุรกิจประกันซึง่ เป็นจุด เปลี่ยน แต่ด้วยความคิดว่าลองดูสักตั้ง จึงท�ำให้วิพลไม่หวั่นที่จะเข้ามาพิสูจน์ ฝีมอื และสร้างผลงานอีกครัง้ แต่แน่นอน ว่าการเข้ามาในห้วงเวลาที่บริษัทมีการ เปลี่ยนแปลง พนักงานจ�ำนวนไม่น้อย ทยอยลาออกเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายยิง่ ฉะนัน้ สิ่งแรกคือ หยุดแรงสั่นสะเทือน และ คุมองค์กรให้นิ่งให้ได้ กลยุทธ์ที่วิพลใช้ คือ ดึงทุกอย่างกลับเข้าสู่พื้นฐาน เอา ทุกคนกลับมาที่พื้นฐานให้ได้ เพื่อให้ ประสานกัน แล้วค่อยเดินต่อ ผลประกอบการปีแรกที่วิพลนั่ง บริหารงานออกมาว่า “เบีย้ ปีแรกเรายัง ขยายตัวได้ถงึ 30% ถือว่าแข็งแกร่งมาก ผลงานเราเข้าตามเป้าหมายหมดทุกตัว จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าองค์กรเราเริ่มนิ่ง แล้ว จากนี้ไปก็จะเริ่มเดินหน้าต่อได้”

089


ตั้งเป้าขึ้นท็อป ทรี ธุรกิจประกันชีวิต วิพลมัน่ ใจว่าเมือ่ วางกลยุทธ์ดา้ นลูกค้าชัดเจน แล้ว มัน่ ใจว่าสินค้าตอบโจทย์ได้ตรงกับความ ต้ อ งการของตลาดแล้ ว จากนั้ น เส้ น ทางสู ่ ตลาดก็จะตามมา และบริษัทก็จะเติบโตได้ แน่นอน ท�ำให้หลังจากที่ได้เตรียมแผน 3 ปี ข้างหน้าไว้เรียบร้อยแล้ว วิพลประกาศว่าจะ ขยับขึน้ ไปเป็น ‘Top 3’ ของบริษทั ประกันชีวติ ที่มีเบี้ยรับรวมสูงที่สุดภายในปี 2557 ให้ได้ เป้าแรกคือธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ ซึ่ง เป็นฐานทีม่ นั่ ส�ำคัญในการสร้างเบีย้ กว่า 80% ซึ่งวิพลบอกว่า “เราต้องเป็นที่ 1 เท่านั้น” เพราะที่ ผ ่ า นมาค่ า ยนี้ คื อ ผู ้ น� ำ มาตลอด ที่ ส�ำคัญแบงก์แม่ก็สนับสนุน ท�ำให้สามารถ

เข้ า ไปต่ อ ยอดกั บ ฐานลู ก ค้ า แบงก์ ไ ด้ อี ก มหาศาล นอกจากนีว้ พิ ลมองว่ายังมีชอ่ งทางการ ตลาดพิเศษที่เป็น ‘โอกาสใหม่ๆ’ ไม่ว่าจะ เป็นช่องทางโบรกเกอร์ ประกันกลุม่ สหกรณ์ เทเลมาร์เก็ตติ้ง ตลอดจนความร่วมมือกับ ธนาคารพาณิ ช ย์ อื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ ไ ทยพาณิ ช ย์ ฉะนัน้ จากวันนีท้ อี่ ยูใ่ น Top 5 อยูแ่ ล้ว ก้าวต่อ ไปก็คือต้องขยับขึ้นไป Top 3 ให้ได้นั่นเอง “แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ก็เป็นสิ่ง ที่ท้าทาย และเราต้องไปถึงอย่างมีพื้นฐาน ธุรกิจที่มั่นคง เพื่อให้ยืนอยู่ในต�ำแหน่งนั้น ต่อไปให้ได้ด้วย”

กลยุทธ์สร้างคนแบบทรงกระบอก วิพลยอมรับว่าธุรกิจประกันชีวิตแม้จ�ำเป็น ต้องใช้คนที่เป็นมืออาชีพ แต่การจะพัฒนา คนที่ เ ข้ า มาให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ ไม่ ง ่ า ย ในวงการนี้ มี ก ารรี ค รู ท คนเข้ า มาเต็ ม ไปหมด แต่การที่จะพัฒนาคนที่รีครูทเข้ามา ให้ ขึ้ น สู ่ ย อดพี ร ะมิ ด นั้ น ไม่ ง ่ า ยเลย ดั ง นั้ น ที่ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต วิพลเลือกที่จะ เปลี่ยนแนวคิด คือไม่ต้องการสร้างตัวแทน เป็นแบบพีระมิด แต่ต้องการสร้างตัวแทน เป็ น แบบทรงกระบอก เพราะมองว่ า การ สร้างตัวแทนเป็นแบบพีระมิด เป็นความเชื่อ ที่ว่าการมีฐานเยอะ นอกจากเป็นการตีกัน ไม่ ใ ห้ ไ ปขายที่ บ ริ ษั ท อื่ น แล้ ว ยั ง คิ ด ว่ า ถ้ า คนหนึ่ ง ขายได้ 3-4 กรมธรรม์ ถ้ า มี ตั ว แทนมากๆ ก็ จ ะเท่ า กั บ ขายได้ เ ยอะ ดังนัน้ ในวงการนีม้ กั จะเห็นแต่ขา่ วว่ามีจำ� นวน ตัวแทนมากเท่านั้นเท่านี้ แต่ไม่เคยบอกว่า แล้วมีตัวแทนที่แอ็คทีฟ ที่สร้างผลงานสร้าง เงินได้จริงๆ สักเท่าไร ด้วยแนวคิดนี้เอง ตอนนี้วิพลมีตัวแทน อยูแ่ ค่ประมาณ 4,000 คนเท่านัน้ โดยใช้แนว ความคิดที่จะสร้างตัวแทนเป็นทรงกระบอก

090

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

หมายความว่าอนาคตข้างหน้าก็ยังอาจจะมี แค่ 4,000 คน แต่จะเป็น 4,000 คนที่สร้าง ผลงานได้จริงๆ “ผมมีความคิดว่าถ้าผมประชุมทีหนึง่ กับ 4,000 คน เทียบกับต้องประชุมทีหนึ่งภาคละ เป็นหมื่นคน ผมขอประชุม 4,000 คนดีกว่า คิดว่าเราคุยกันได้เนื้อได้หนังมากกว่า” อีกกลยุทธ์ที่วิพลน�ำมาใช้ก็คือ สถานที่ ที่จะไปแสวงหาลูกค้า เพราะพบว่าการขาย ที่ล้มเหลวเพราะคุณเจอลูกค้าไม่ถูกประเภท ไม่ถูกสถานที่ และไม่ถูกเวลา ไม่มีเวลาพอที่ จะรับฟัง หนึ่งในไอเดียจึงคิดไปขายที่ Playtime เพราะใน Playtime จะสกรีนคนระดับ หนึ่งแล้ว คือเป็นคนมีเงินให้เด็กเล่น เป็นพ่อ แม่ที่ให้ความส�ำคัญกับความเป็นครอบครัว และส่วนใหญ่ Playtime จะอยู่ใกล้ฟาสต์ฟู้ด เสมอ จะได้นั่งรอลูกเล่นได้ จึงน่าจะมีเวลา ระดับหนึ่งที่จะขอพูดคุยได้ ฉะนั้น Playtime จึงเป็นพืน้ ทีเ่ หมาะในการขายประกัน ทีเ่ หลือ คื อ ความสามารถในการท� ำ ให้ ค นที่ เ ป็ น เป้าหมายเกิดความรู้สึกอยากที่จะซื้อ

บุกเกมแรก ตอบโจทย์ลกู ค้า เพราะแนวคิดในการท�ำงาน ปรัชญาความคิด ของวิพล คือวิธกี ารคิดทีว่ า่ ในการท�ำธุรกิจทุก ประเภททีไ่ ด้ตดั สินใจเข้าไปท�ำแล้ว ก็จงคิดให้ ง่ายซะ คิดทุกอย่างให้ง่ายๆ คิดทุกอย่างให้ สะท้อนเข้าสูช่ วี ติ ประจ�ำวัน นัน่ คือถ้าสามารถ น�ำสิ่งที่ท�ำธุรกิจนั้นพูดให้คนธรรมดาเข้าใจ ได้ ก็ไม่ต้องห่วงแล้ว เพราะความยากคือการ ที่ต้องท�ำให้คนเข้าใจว่าซื้อไปท�ำไม ฉะนั้นสิ่งแรกคือดูว่าลูกค้ามีโจทย์ความ ต้ อ งการอะไรในชี วิ ต บ้ า ง แล้ ว จะมี สิ น ค้ า ประกันชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการได้ อย่างไร “ผมใช้ค�ำว่า To Market หรือว่าเส้นทาง สู่ตลาด คือการน�ำสินค้าที่คุณมีวิ่งเข้าไปหา ผูบ้ ริโภค ถ้าจะขายคนหน้าตาแบบนี้ เราก็ตอ้ ง รู้ว่าคนหน้าตาแบบนี้ซื้อของที่ไหน อยู่ที่ไหน ไปที่ไหน ใช้ชีวิตประจ�ำวันที่ไหน คือคุณต้อง มองว่าคุณขายใคร ต้องขายคนมีกำ� ลัง ขายคน มีสตางค์ ลูกค้ากลุม่ คนท�ำงานแล้วมีครอบครัว คุณต้องคลิกให้เจอ” ประการต่อมาคือ ‘จัดระเบียบสินค้า’ มีอยูใ่ ห้ลงตัว จะได้เห็นช่องหรือโอกาสทางการ ตลาดที่บริษัทยังไม่ได้เข้าไป รวมไปถึงการ ปรับรูปแบบสินค้าใหม่ ที่เรียกว่า ‘รีเชป’ (Reshape) ให้มีความใกล้ชิดกับลูกค้ามาก ขึ้น เช่น ชื่อที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายสอดคล้องกับ ลูกค้าแต่ละกลุ่ม


VIPON

Vorasowharid SCBLIFE

Finding your true professional identity may be a tricky task. Some people have been working all their lives and still don’t know what they are looking for while that calling may come to some in the blink of an eye without the need to put himself into the frontline.

ทุกอย่างที่ท�ำต้องมีเหตุผล เพราะวิพลเป็นผู้บริหารที่เน้นในการคิด ในการสร้ า งคน จึ ง สนุ ก กั บ การท� ำ งานที่ ไทยพาณิ ช ย์ ป ระกั น ชี วิ ต และมุ ่ ง มั่ น ใน การที่ จ ะสร้ า งผลงานฝากฝี มื อ เอาไว้ ใ ห้ เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเคล็ดลับในการบริหาร งานให้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ของวิ พ ลคื อ “ทุกอย่างที่ท�ำต้องมีเหตุและผลเสมอ ต้อง แยกแยะให้ออกระหว่างความถูกต้องกับ ความเหมาะสม มีผู้บริหารหลายคนที่เป็น Young Executive เยอะมากที่ใช้อารมณ์ เหตุผลส่วนตัวความรู้สึกมาตัดสินใจทาง ธุรกิจ อยากจะฝากถึงคนรุ่นใหม่ๆ ด้วยว่า คุณท�ำอะไรคิดให้ดี คุณมีทางที่จะช่วยได้ เยอะ เถ้าแก่ทจ่ี ะเจริญรุง่ เรืองคือคนทีบ่ ริหาร เป็นระบบ” สุดท้ายแง่คดิ ทีม่ ไี ปถึงผูบ้ ริหารรุน่ ใหม่ คือการที่ท�ำงานหรือสร้างธุรกิจขึ้นมา ต้อง

คิดถึงสังคมด้วย การหาเงินไม่ได้ยาก แต่ การหาเงินแล้วคุณอยู่อย่างมีความสุขอันนี้ ยาก เด็กรุ่นใหม่จะไขว่คว้าหาความส�ำเร็จ ให้ตัวเองซึ่งไม่ผิด แต่เด็กรุ่นใหม่ที่ขึ้นมา ไลฟ์สไตล์สั้น ชีวิตต้องการประสบความ ส�ำเร็จเร็ว ไปเร็ว ก้าวกระโดดเร็ว ท�ำให้เกิด การแข่งขันสูง จะท�ำเพือ่ ทีจ่ ะถีบตัวเองให้ขนึ้ ไปสู่ข้างบนให้ได้เร็ว อย่างนี้น่ากลัว จริงๆ ควรมองการแบ่งปันให้กับสังคมด้วย สิ่งที่ ควรจะคิดถึงคือการสร้างความดีให้กบั สังคม การสร้างบุคลากรที่อยู่ในองค์กรให้ประสบ ความส�ำเร็จ “พูดง่ายๆ ว่าท�ำตัวให้เป็นวิทยาทาน ให้คนอื่นได้ นั่นคือสุดยอดมากกว่า” ด้วยเคล็ดลับและวิสัยทัศน์นี้เองท�ำให้ วิพล วรเสาหฤท เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่ เหมาะสมที่จะเชิดชูในครั้งนี้

PROFILE

For Vipon Vorasowharid, he had discovered the job that he loves and exhibited his caliber that brought him to the top position of the organization. Vipon is a kind of management that focuses on the systematic thinking and people building. He enjoys his work as much as he is passionate about translating his ideas into concrete actions. The tip of success for Vipon is reasoning. An affirmative action plan must be supported by reasons. The ability to identify the right and wrong as well as the appropriateness is crucial. More importantly, one must contribute to society he lives in and also develop people in his organization and help them achieve their full potential. Such attributes make Vipon Vorasowharid an outstanding young executive in Thailand’s business scene.

วิพล วรเสาหฤท กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ไทยพาณิชย์ประกันชีวติ จ�ำกัด (มหาชน) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีประสบการณ์ดา้ นการวางกลยุทธ์การตลาด และการบริหารงานขาย ในธุรกิจค้าปลีก และคอนซูเมอร์โปรดักส์มากว่า 20 ปี เคยด�ำรงต�ำแหน่งผูบ้ ริหารระดับสูงของบริษทั ข้ามชาติชนั้ น�ำหลายแห่ง โดยมีบทบาท ส�ำคัญในการสร้างการเติบโตทีโ่ ดดเด่นให้แก่องค์กร อาทิ บริษทั ยูนลิ เี วอร์ ไทย เทรดดิง้ จ�ำกัด บริษทั บีพี คาสตรอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด 091


092


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ศิริทิพย์

ศรีไพศาล

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

17

SIRITHIP Sripaisal

Dapper General Apparel Company Limited

New Wave of Dapper ศิรทิ พิ ย์ ศรีไพศาล คือทายาทแดปเปอร์ (Dapper) ธุรกิจเสือ้ ผ้าและเครือ่ งหนังอายุ กว่า 30 ปีของไทย ภายใต้บริษทั Dapper General Apparel จ�ำกัด โดยปัจจุบนั ศิรชิ ยั ศรีไพศาล บิดาของเธอ ซึง่ เป็นผูข้ บั เคลือ่ น ให้แดปเปอร์กลายเป็นแบรนด์แฟชัน่ แถวหน้าของเมืองไทย ด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานบริษทั ส่วนเธอดูแลแผนกวางแผน และพัฒนาธุรกิจ (Business Plan and Development) ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่มคี วามรูด้ า้ นการบริหารงาน ธุรกิจแฟชัน่ แต่นกั บริหารหน้าใหม่อย่าง ศิรทิ พิ ย์กส็ ไู้ ม่ถอย มุง่ มัน่ ในการเรียนรู้ โดยการเข้าไปศึกษางานในแผนกต่างๆ ของบริษทั เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจภาพรวม ของธุรกิจ ก่อนจะก�ำหนดเป้าหมายการ ด�ำเนินธุรกิจในระยะยาวได้

ช่วงเวลากว่า 3 ปีทศี่ ริ ทิ พิ ย์ทมุ่ เทกับการศึกษางานโดยการลงมือปฏิบตั ิ จริง ท�ำให้แดปเปอร์เติบโตอย่างมัน่ คงด้วยตัวเลขรายได้ทสี่ งู ขึน้ อย่าง ต่อเนือ่ ง พร้อมได้รบั การโหวตจากคณะกรรมการอิสระบริษทั ซูเปอร์ แบรนด์ของอังกฤษให้ได้รบั รางวัล Superbrands ถึง 3 ปีตดิ ต่อกัน (พ.ศ. 2552-2554) วิสยั ทัศน์อนั กว้างไกลในการด�ำเนินธุรกิจของศิรทิ พิ ย์สะท้อนให้เห็นผ่าน การก่อตัง้ แผนกใหม่ขนึ้ มาในบริษทั คือ แผนกวางแผนและพัฒนาธุรกิจ ซึง่ เธอกุมบังเหียนอยู่ รวมถึงเมือ่ ต้นปี 2555 ได้เปิดตัว DA+PP แบรนด์ เสือ้ ผ้าใหม่ในเครือแดปเปอร์ทมี่ าแรงจนฉุดไม่อยู่ จากการเปิดร้านใหม่ ถึง 7 สาขา รวมถึงเปิดบริการ 5 จุดในห้างชือ่ ดัง พร้อมกับปฏิวตั ริ ปู แบบ การขายสินค้าแฟชัน่ ในเมืองไทยด้วยการเปิด Pop Up ซึง่ Pop Up ของ DA+PP เกิดขึน้ มาแล้ว 9 ครัง้ ด้วยกัน รวมถึงการเปิด DAPPER Business Label เคาน์เตอร์สทู โดยเฉพาะทีด่ ที สี่ ดุ ของแดปเปอร์ ขึน้ ทีช่ นั้ 4 ห้างสรรพสินค้า Zen ศิรทิ พิ ย์คอื คลืน่ ลูกใหม่ผพู้ ลิกโฉมแดปเปอร์ ให้กา้ วล�ำ้ น�ำหน้าในโลกแห่งแฟชัน่

093


จากเด็กนักเรียนนอก สู่บทบาทนักบริหาร ศิ ริ ทิ พ ย์ เ ดิ น ทางไปศึ ก ษาและใช้ ชี วิ ต ที่ ต่างประเทศเกือบสิบปี แน่นอนว่า การไปใช้ ชี วิ ต ต่ า งบ้ า นต่ า งเมื อ งและต่ า งวั ฒ นธรรม ท�ำให้เธอต้องปรับตัว นี่ถือเป็นประสบการณ์ อันมีค่าที่เธอสามารถน�ำมาปรับใช้ในชีวิต และการท�ำธุรกิจแฟชั่นในเมืองไทย เธอเรียนจบปริญญาตรีสาขาการโฆษณา และการตลาด จาก Pepperdine Univesity สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทสาขาบริ ห าร ธุรกิจ จาก Claremont GraduateUniversity สหรัฐอเมริกา ระหว่างนั้นทายาทแดปเปอร์ เก็บเกีย่ วประสบการณ์ดว้ ยการเข้าไปฝึกงาน กับบริษัทโฆษณา และสื่อชื่อดัง และเพราะ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เธอจึงเข้าไปท�ำงานเป็น พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารไทย ทีน่ า่ ทึง่ ยิง่ กว่านัน้ คือ หญิงสาวหุน่ เพรียว คนนี้ยังเคยท�ำงานเป็นไลฟ์การ์ดอีกด้วย!

094

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

จากการเป็นเด็กนักเรียนนอก ศิริทิพย์ บินกลับมาเมืองไทยเพื่อเริ่มบทบาทใหม่ ใน ฐานะนักบริหารของแดปเปอร์ ธุรกิจเสื้อผ้า และเครื่องหนังของครอบครัว ความที่ไม่มี ความรู้ในด้านการบริหารธุรกิจเสื้อผ้า เธอจึง เริ่มต้นเส้นทางธุรกิจด้วยการเป็นพนักงาน ฝึกงาน เพื่อเรียนรู้ส่วนและแผนกต่างๆ ของ บริษัทให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ศิริทิพย์ใช้เวลา เกือบ 3 ปีเต็มในการมุง่ มัน่ เรียนรูต้ งั้ แต่แผนก เสื้อผ้าผู้หญิง เรื่องการผลิต การขาย การ ส่งออก การออกแบบและตกแต่งหน้าร้าน ช่วงแรกในการเข้ามาดูแลธุรกิจ ศิรทิ พิ ย์ เล่าให้ฟังถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอว่า เธอต้องท�ำงานแบบลองผิดลองถูก เรียนรู้ ด้วยการท�ำงานจริง เกิดเป็นความท้าทายที่ ต้องรับผลของการตัดสินใจของตัวเองให้ได้ ไม่ว่าจะประสบความส�ำเร็จหรือไม่

พอเจอปัญหา มากๆ เข้า เธอค้นพบ วิธีจัดการกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นพบ วิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นอีก


พอเจอปั ญ หามากๆ เข้า เธอ ค้ น พบวิ ธี จั ด การกั บ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น และค้นพบวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ศิ ริ ทิ พ ย์ ก ้ า วข้ า ม ปั ญ หาและอุ ป สรรคที่ รุ ม เร้ า ได้ นั้ น คื อ แรงผลั ก ดั น จากตั ว เธอเองเพื่ อ ให้ก้าวไปถึงเป้าหมายของทั้งบริษัท และของตัวเองที่วางไว้ นักบริหารอย่างศิริทิพย์มีแนวคิด ในการท�ำงานที่น่าสนใจและสามารถ เป็ น แบบอย่ า งให้ ผู ้ อื่ น ได้ เธอมอง ถึ ง ภาพใหญ่ ก ่ อ นเป็ น อั น ดั บ แรก ขณะเดี ย วกั น ต้ อ งไม่ ลื ม คิ ด ถึ ง แผน ต่างๆ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ก่อนที่

จะน�ำมาประกอบเป็นภาพใหญ่ภาพ นั้น เธอวางแผนอนาคตโดยการมอง ย้อนจากสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ และท�ำอยู่ เพื่อให้เหมาะสม เพียงพอ และยั่งยืน หั ว ใจส� ำ คั ญ ของการดู แ ลธุ ร กิ จ เสื้อผ้าแฟชั่นที่ศิริทิพย์ยึดถือ คือการ รั บ รู ้ แ ละเข้ า ใจถึ ง ความต้ อ งการ ของกลุ ่ ม ลู ก ค้ า เป้ า หมายที่ มี ก าร เปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา ผสมผสาน กั บ ค ว า ม ส า ม า ร ถ แ ล ะ ค ว า ม คิ ด สร้ า งสรรค์ ใ นการออกแบบสิ น ค้ า เหมือนกับเวลามองกลับมาที่แบรนด์ แดปเปอร์ จะนึกถึงเสื้อผ้าที่เต็มเปี่ยม ไปด้ ว ยความพิ ถี พิ ถั น ในการลง

รายละเอี ย ดในทุ ก แง่ มุ ม ของสิ น ค้ า เทคนิ ค งานศิ ล ปะ และความองอาจ สไตล์อติ าเลียน ขณะเดียวกันก็ตอ้ งง่าย ต่อการสวมใส่ในชีวิตประจ�ำวัน แนวทางในการใช้ ชี วิ ต ของ ศิ ริ ทิ พ ย์ คื อ เมื่ อ ไหร่ ที่ ไ ด้ รั บ สิ่ ง ดี ๆ เข้ามาในชีวิต เธอไม่ลืมที่จะแชร์ให้ ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย และอย่ารอจนกระทั่ง เงื่อนไขทุกอย่างครบถ้วนแล้วค่อยเริ่ม ที่จะเปลี่ยน เพราะว่าวันนั้นมาไม่เคย ถึงสักที

095


‘ยกเครื่อง’ แดปเปอร์ สู่ความล้ำหน้าและทันสมัย ศิริทิพย์เข้ามาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แดปเปอร์ขึ้นแท่นเป็น เสื้อผ้าและเครื่องหนังที่ก้าวล้ำน�ำสมัยอยู่เสมอ เธอก่ อ ตั้ ง แผนกใหม่ ที่ ชื่ อ แผนกวางแผนและพั ฒ นา ธุรกิจ เพื่อรับผิดชอบในการระบุขอบเขตเพื่อการปรับปรุง หรือพัฒนาธุรกิจที่ด�ำเนินงานอยู่ทั้งระบบ และเสาะหาความ เป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ บริษัท ผลจากการก่อตั้งแผนกดังกล่าว ปรากฏว่าการด�ำเนิน งานของแดปเปอร์คล่องตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อานิสงส์หนึ่งจากการไปใช้ชีวิตต่างแดนของศิริทิพย์ คือ ในการท�ำงานเธอสามารถผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตก และตะวันออกได้อย่างลงตัว

096

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

เธอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ในปัจจุบันว่า ให้น�ำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ เพื่อมองไปข้างหน้า หรือวิธีที่ดีเยี่ยมกว่านั้น คือการวางแผนแบบก้าวกระโดด รวมไปถึง การลดบทบาทของการใช้ความอาวุโส โดย การเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของทุกคน ไม่ว่าจะระดับไหน ปรับเปลี่ยนจากระบบ หัวหน้าลูกน้อง ให้กลายมาเป็นแบบเพื่อน ร่วมงาน ท�ำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมีหวั หน้า ทีมเป็นผู้เล่นหลัก


เมื่อไหร่ที่ได้รับสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต ศิริทิพย์ ไม่ลืมที่จะแชร์ให้ผู้อื่น ได้รับรู้ด้วย และเธอ เชื่อมั่นว่า อย่ารอจน กระทั่งเงื่อนไขทุกอย่าง ครบถ้วนแล้วค่อยเริ่ม ที่จะเปลี่ยน เพราะว่า วันนั้นมาไม่เคยถึงสักที ความใส่ใจในความรูส้ กึ ของทีมงาน ท�ำให้ศริ ทิ พิ ย์ กลายเป็นที่รักของพนักงานในบริษัท เธอต้องแน่ใจว่า ทุกคนที่ท�ำงานกับเธอ ต้องเกิดความรู้สึกดีๆ ในการ ที่จะตื่นเช้ามาท�ำงานร่วมกัน เธอถามตัวเองอยู่เสมอ ว่ า จะท� ำ อย่ า งไรให้ ที ม งานท� ำ งานได้ อ ย่ า งราบรื่ น โดยเธอมองว่ า การท� ำ งานเป็ น ที ม จะต้ อ งใส่ ใ จใน ความรู้สึกของทีมงานทุกคน และต้องแน่ใจเสมอว่า ทุกคนมีแรงบันดาลใจที่จะตื่นเช้ามาท�ำงานร่วมกัน ในทุ ก ๆ วั น และฝ่ า ฟั น อุ ป สรรคต่ า งๆ ไปด้ ว ยกั น อย่างราบรื่น DA+PP แบรนด์เสื้อผ้าใหม่ในเครือแดปเปอร์ ที่ศิริทิพย์ปลุกปั้นมากับมือ เดินทางมาไกลกว่าที่เธอ คาดหวังไว้ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เธอแลกด้วยการ ท�ำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็น การวางกลยุทธ์ต�ำแหน่ง ในตลาดสิ น ค้ า แฟชั่ น ที่ มี ผู ้ เ ล่ น รายใหญ่ ทั้ ง ในและ ต่างประเทศ เธอหวังให้ DA+PP เป็นเสือ้ ผ้าทีเ่ ป็นทางเลือก ส� ำ หรั บ วั ย รุ่น ยุ ค ใหม่ ซึ่ ง แตกต่า งจากแบรนด์อื่ น อย่างเห็นได้ชัด

ความส�ำเร็จอันหอมหวานในการ สร้ า งแบรนด์ DA+PP ให้ ติ ด ตลาด กลายเป็ น แรงผลั ก ดั น ส� ำ คั ญ ที่ ขั บ เคลื่ อ นให้ ศิ ริ ทิ พ ย์ มี ก� ำ ลั ง ใจในการ ท�ำงานเพิ่มขึ้น DA+PP ได้รับการยอมรับในเรื่อง ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ชัดเจน แม้ ไม่ ไ ด้ มี ก ารจั ด งานเปิ ด ตั ว เหมื อ น แบรนด์ อื่ น แต่ ย อดขายก็ พุ ่ ง สู ง ใน สัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับพอร์ตใหญ่ ทัง้ หมดของบริษทั กิจกรรมทีไ่ ด้วางแผน ไว้ถูกน�ำมาใช้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดตัวแบรนด์มาได้เพียง 10 เดือน ก็ ฮิ ต ติ ด ลมบนและสามารถครองใจ ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว วัดได้จากการ ขยายสาขาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ รองรั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า ที่ มี อ ย่ า ง ล้นหลาม ตอนนี้เปิดบริการ 7 สาขา ในศูนย์การค้าชัน้ น�ำ รวมถึงเปิดบริการ 5 จุดในห้างชื่อดัง นอกจากนั้น ศิริทิพย์ปฏิวัติการ ขายสินค้ารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Pop Up ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย โดย DA+PP เป็นแบรนด์แรกที่ท�ำอย่างเป็น รูปธรรม ตัง้ แต่เปิดตัวแบรนด์เมื่อต้นปี จนถึงตอนนี้ Pop Up ของ DA+PP เกิด ขึ้นมาถึง 9 ครั้งด้วยกัน ส่ ว นหลั ก ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ศิ ริ ทิ พ ย์ ม องว่ า การตั ด สิ น ใจเกี่ ย วกั บ ธุรกิจที่ดี ไม่ใช่แค่เพื่อความเหมาะสม ต่อธุรกิจทีด่ แู ลอยู่ โดยเน้นไปทีค่ ณ ุ ภาพ ของสิ น ค้ า และบริ ก ารที่ ดี เ ท่ า นั้ น แต่ ต ้ อ งมองผลประโยชน์ ทั้ ง หมดที่ ลูกค้าจะได้รับกลับไปด้วย ศิ ริ ทิ พ ย์ฝ ากค� ำ แนะน� ำ ส� ำ หรั บ นักธุรกิจรุ่นใหม่ว่า คิดครั้งที่หนึ่งและ สองก่ อ นที่ จ ะท� ำ อะไร แต่ อ ย่ า ให้ ถึ ง ครั้งที่สาม เพราะคุณจะไม่ได้เริ่มท�ำมันสักที

SIRITHIP Sripaisal DAPPER

Sirithip Sripaisal is the successor of Dapper General Apparel, a 30 year old Thai clothing and leather product company. Her father, Sirichai Sripaisal, was the one who pushed Dapper into the front row of Thai fashion industry by having his daughter taking care of the business plan and development department. She didn’t let him down but turned Dapper into one of the leaders in the Thai fashion world. Despite not having prior knowledge of the fashion business, the new execlutive spent her time and determination learning the key work in several departments in order to understand the overall image of this business. Sirithip’s sharp and wide vision was reflected through the opening of the new brand like DA+PP, reforming sales patterns in Thailand by using pop up, and the exclusive suit store named DAPPER Business Label.

PROFILE ศิริทิพย์ ศรีไพศาล คือทายาทแดปเปอร์ เธอเดินทางไปศึกษาและใช้ชีวิตที่ต่างประเทศเกือบสิบปี ส�ำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขา การโฆษณาและการตลาด จาก Pepperdine University สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ จาก Claremont Graduate University สหรัฐอเมริกา หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการท�ำงานกับบริษัทระดับโลก ศิริทิพย์เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว ปัจจุบันเธอดูแลงานในแผนกที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ คือ แผนกวางแผนและพัฒนาธุรกิจ (Business Plan and Development) 097


098


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

ภาพ : กิตตินันท์ จรรยางาม

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

18

นพ.เศรษฐกานต์ อัตถากรพันธ์

Dr. SETTHAKARN Attakonpan Pruksa Clinic Group

สร้างสมดุลระหว่างจริยธรรม และการบริการ ปัจจุบนั เป็นยุคทีค่ นเอาใจใส่ หน้าตาและผิวพรรณ มากขึ้น ทุกหัวมุมถนน เราจะได้เห็นคลินิกเสริม ความงาม พฤกษาคลินิกเอง ก็เป็นหนึ่งในจ�ำนวนนั้น แต่ภายใต้การน�ำของ นายแพทย์เศรษฐกานต์ อัตถากรพันธ์ ที่ได้ชื่อว่า

เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังและ ความงามอันดับต้นๆ ของเมืองไทย พฤกษาคลินิกมีความแตกต่างจากคลินิกอื่นๆ อย่างไร และท�ำไมจึงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แม้ไม่มีการโฆษณา

099


จากคลินิกรักษาสิวฝ้า สู่คลินิกความงามครบวงจร เมื่อ 22 ปีที่แล้ว พฤกษาคลินิกสาขา แรกก่อตั้งขึ้นที่เมืองทองธานี 3 เป็น คลิ นิ ก ดู แ ลผิ ว พรรณ รั ก ษาสิ ว -ฝ้ า มี นพ.เศรษฐกานต์เป็นหมอประจ�ำคลินกิ เพียงคนเดียว ในระยะเวลาเพียง 3 ปี มีคนไข้เข้ามาใช้บริการวันละ 400-500 เคสต่อวัน จนเมื่อมีลูกค้าเยอะขึ้น จึงต้องเริ่ม มีหมอมาช่วย ประกอบกับเห็นว่าลูกค้า กระจัดกระจายอยูบ่ ริเวณข้างเคียง ไม่วา่ จะเป็ น ดอนเมื อ ง ลาดพร้ า ว กระทั่ ง ฝัง่ ธนบุรี จึงเกิดความคิดขยายสาขา โดย เริ่มจากสาขาสยามสแควร์ ไล่เรียงมา ที่ถนนพระราม 4 รัชดาภิเษก ผ่านไป 10 ปี เปิดไปแล้วเกือบ 10 สาขา นับ เป็นคลินิกต้นๆ ที่มีการขยายสาขาใน ลักษณะนี้ “เมื่ อ 20 ปี ที่ แ ล้ ว ก็ เ ป็ น คนไข้ ส่วนตัวก็ไม่ได้อะไร ธรรมดาๆ ไม่ได้ มีการจัดคอร์สให้ เขาก็มารักษาได้”

ต่ อ มาเมื่ อ ประมาณ 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา เทคโนโลยี ค วามงามเริ่ ม เป็ น ที่ นิ ย มใน สหรั ฐ อเมริ ก า นพ.เศรษฐกานต์ ไ ด้ ไ ปศึ ก ษา ดูงานจากต่างประเทศ ทัง้ จากฝัง่ อเมริกา ฝรัง่ เศส และได้ น� ำ เทคโนโลยี เ ลเซอร์ เ ข้ า มาท� ำ ใน พฤกษาคลินิก ซึ่งเป็นคลินิกแรกๆ ทั้งยังตั้งศูนย์ เลเซอร์ทชี่ อื่ ว่า Bangkok Laser and Rejuvenation ศึกษาวิจัยและพัฒนา เป็นการผลักดันวิทยาการ ด้านแพทย์ผิวหนังและความงามเป็นรายต้นๆ ที่ เ ข้ า มาจั บ งานด้ า นเทคโนโลยี เ ลเซอร์ อ ย่ า ง จริงจัง นพ.เศรษฐกานต์เล่าให้ฟังว่า องค์ความรู้ เรื่องเทคโนโลยีความงามไม่ได้มาจากสถาบัน การศึกษาหรือโรงเรียนแพทย์ แต่เทคโนโลยี เหล่านี้ถูก Provide จากบริษัทที่สร้างเครื่องมือ ซึ่งพฤกษาคลินิกร่วมกับบริษัทเครื่องมือเหล่านี้ คิ ด ค้ น ความรู ้ ใ หม่ ๆ โดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากคนไข้ทยี่ นิ ดีเป็นอาสาสมัคร เป็น Pilot Study ที่ อ ยู ่ ใ นระดั บ ที่ วั ด ผลได้ และเซตขั้ น ตอน การรักษา (Protocol) ที่เหมาะกับคนเอเชียจริงๆ

คิดค้นแนวทางการรักษาแบบผสมผสาน หั ว ใ จ ข อ ง อ ง ค ์ ก ร พ ฤ ก ษ า ค ลิ นิ ก ที่ นพ.เศรษฐกานต์ ภ าคภู มิ ใ จ คื อ การรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ ที่ไม่หลอกลวง และไม่ขายคอร์สซ�้ำๆ รั ก ษาคนไข้ ต ามปั ญ หาที่ เ ขามี และ ค� ำ นึ ง ถึ ง ค่ า ใช้ จ ่ า ยของลู ก ค้ า แบบที่ ไม่ได้เน้นตัวเงิน แต่เน้นที่ประโยชน์ ที่ลูกค้าจะได้รับอย่างคุ้มค่า “คอร์สที่ซื้อ 10 ครั้ง แถม 5 ครั้ง เราพยายามไม่ขาย มันไม่ได้ประโยชน์ อะไร เราก็ มี ข องใหม่ เอาความรู ้ ม า ผสมผสาน 100

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

“ในผิ ว หนั ง ของเรา เรี ย กว่ า มี เ ป้ า หมายอยู ่ ม ากมาย ตั้ ง แต่ เ ม็ ด สี เส้นเลือด คอลลาเจน เทคโนโลยีของ เราช่วยในการออกฤทธิ์กับเป้าหมาย ที่แตกต่างกัน แต่เสริมผลกัน โดยที่ สามารถประหยั ด ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการ ท� ำ ได้ อ ย่ า งจริ ง จั ง คื อ ท� ำ ครั้ ง เดี ย ว แล้วได้ทุกอย่าง เป็นองค์ความรู้ที่เรา สามารถน�ำมาใช้กับคนไข้เราได้” แ น ว ท า ง ก า ร รั ก ษ า เ ล เ ซ อ ร ์ ผสมผสาน จึ ง เป็ น ผลงานเด่ น ของ พฤกษาคลินิก

“ความส�ำเร็จในการทีเ่ รามีความรู้ มีองค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับความงาม มันเกิดมาจากการทีเ่ ราลงทุนกับเทคโนโลยี รวมกับที่ลูกค้าหรือคนไข้ไว้วางใจให้เราท�ำ พวกนี้กับเขาได้” ความรู ้ แ ละวิ ท ยาการเหล่ า นี้ เ อง ที่ หล่อเลี้ยงพฤกษาคลินิกที่ค่อยๆ เปิดสาขา ใหม่ขึ้นมา จนกระทั่งปีนี้มีพฤกษาคลินิก ถึง 45 สาขา “คนไข้ พ ฤกษาไม่ ค ่ อ ยเหมื อ นที่ อื่ น คือ มาเป็นคนไข้พฤกษานี่มาด้วย Word of Mouth มาด้วยลูกค้าปากต่อปาก คือมัน ได้ ผ ลจริ ง และลู ก ค้ า ก็ ศึ ก ษาหาข้ อ มู ล จริงๆ ก่อนที่จะมาเป็นคนไข้เรา เราไม่ได้มี การโฆษณา เราอยู่ด้วยผลการรักษาจริงๆ ซึ่งเป็นจุดแข็งของเราด้วย” แต่แม้จะมีฐานลูกค้าเดิมเหนียวแน่น แต่ก็ยังมีอุปสรรค จากที่ไม่มีการโฆษณา คื อ กลุ ่ ม คนรุ ่ น ใหม่ ไ ม่ รู ้ จั ก พฤกษาคลิ นิ ก ซึ่ ง ต้ อ งประชาสั ม พั น ธ์ เ พื่ อ สร้ า งการรั บ รู ้ แบรนด์ และพยายามให้ขอ้ มูลรายละเอียด ที่ มี อ ยู ่ ม ากมายให้ ค นไทยรุ ่ น ใหม่ ๆ ได้ รับทราบ


รักษาสมดุลของ จริยธรรมแพทย์ และธุรกิจ

“ความส�ำเร็จของเรามาจากคนไข้ การที่ มีลกู ค้าบอกปากต่อปาก เพราะฉะนัน้ สิง่ แรก ที่เราคิดก็คือ สิ่งที่เขาอยากได้มากที่สุด ถ้า เป็นในแง่ของคนไข้ คือผลการรักษาถูกต้อง ไหม เพราะเขาอยากจะหาย แต่สิ่งที่เราต้อง คิดไปพร้อมกัน แล้วคนไข้ทเี่ ข้ามาในเรือ่ งของ ความงาม เขามาเป็นผูร้ บั การบริการด้วย เรา ก็ตอ้ งคิดว่าคนไข้ทมี่ าเป็นทัง้ คนไข้และลูกค้า ในเวลาเดียวกัน เขามาเอาความพึงพอใจด้วย นอกจากผลการรักษา” นัน่ คือสิง่ ที่ นพ.เศรษฐกานต์ตอ้ งใช้เวลา สักพักจึงจะได้เรียนรู้ เพราะแพทย์สมัยก่อน ไม่สนใจการตลาด ไม่มีเซอร์วิส มายด์ คนไข้ ต้องกินยาตามที่หมอสั่ง ถ้าอยากรักษาให้ หาย แต่ในสมัยนี้กลับเป็นเรื่องตรงกันข้าม คนที่ เ ข้ า มารั บ การบริ ก ารต้ อ งการความ พึงพอใจเพียงอย่างเดียว “ผมอยู่ในช่วงกลางที่จริยธรรมก็ต้องมี การบริการก็ต้องมี ต้องชั่งกันให้ดี ต้องบอก ว่าธุรกิจคลินิกความงามที่ดี มันไม่ใช่ธุรกิจ ของนักธุรกิจหรอก เพราะนักธุรกิจเอาแต่ ตักตวงผลประโยชน์ มันควรจะอยู่ในมือของ แพทย์หรือว่าเจ้าของที่มีความรู้ ความรู้ต้องมี มาก่อนเลยนะธุรกิจนี้ และต้องมีจริยธรรมด้วย จะได้ท�ำให้โครงการไม่ตกต�่ำ” นอกจากจะต้ อ งรั ก ษาสมดุ ล ระหว่ า ง จริยธรรมและเรื่องธุรกิจแล้ว การเป็นแพทย์ ผิวหนังและความงามยังต้องคอยรับมือกับ นิ สั ย ชอบลองของชาวเอเชี ย ที่ เ มื่ อ ได้ ยิ น โฆษณาครีมตัวใหม่ หรือคลินิกใหม่ต้องขอ ไปลองสักหน่อย บางครั้งมีอาการแพ้ก็กลับ มาให้ นพ.เศรษฐกานต์รักษา “อย่างน้อยเขาก็มีความภักดีต่อแบรนด์ เราพอสมควร หรือไม่ก็ของเราเนี่ย ใช้ค�ำพูด ชาวบ้านว่า ‘เราไม่ได้รีดนาทาเร้น’ เมื่อไปใช้ บริการทีอ่ นื่ จนกระทัง่ เงินหมดแล้ว เจอเพือ่ น บอกว่ า มาที่ พ ฤกษาราคาประหยั ด ก็ ม า กระเบียดกระเสียรจากเรา เราก็ทำ� ตามหน้าที่ เราปกติ นี่คือมาตรฐานของเรา”

องค์ประกอบแห่งการเจริญเติบโต จากระยะเวลาที่เติบโตมา 20 กว่าปี นพ.เศรษฐกานต์บอกว่าองค์กรที่ชื่อ ว่า พฤกษาคลินิก ไม่ได้ส�ำเร็จได้ด้วย คนคนเดียว แม้วา่ เขาจะเป็นผูน้ ำ� องค์กร เป็นคนตัดสินใจ แต่ก็ยังมีพาร์ทเนอร์ ที่ช่วยกันคิด ร่วมเป็นหุ้นส่วน “ผมเป็นคนชอบตัดสินใจ เป็นคน เปลี่ยนเร็ว แต่เพื่อนเป็นคนทัก ต้องมี คนเบรก องค์กรมันก็เลยไปได้เร็วพอ สมควร ถ้าไม่ฟงั ใครเลยก็แย่ การตัดสิน ใจเป็นเรือ่ งของเรา และการมีพาร์ทเนอร์ เป็นเรื่องดี” และจากที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ว่ า ตลาด คลิ นิ ก เสริ ม ความงามนั้ น เติ บ โตเร็ ว พฤกษาคลิ นิ ก เองก็ อ ยากจะโตไป พร้อมกับตลาด เพราะนี่เป็นโอกาสที่ดี ซึ่ ง การขยายตั ว นี้ ท� ำ ให้ อ งค์ ก รต้ อ ง พยายามมากขึ้น และสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด คือ องค์กรเดินด้วยคน ดังนั้นจึงต้อง มีการฝึกฝนให้ทั้งแพทย์และพนักงาน มีประสิทธิภาพการท�ำงานเทียบเท่า หรือดีกว่าในอดีตที่ผ่านมา “เป็นไปไม่ได้ว่าทุกคนในองค์กร จะเป็นระดับ A หรือ A+ ไปซะหมด มันก็ต้องมี B มี C เราก็พยายามรักษา คุณภาพให้ C ไม่หล่นลงไป และตบให้ ขึ้นมาเป็น B หรือ B+” นอกจากพาร์ทเนอร์และพนักงาน ที่ดีแล้ว สิ่งที่ท�ำให้พฤกษาคลินิกโตมา

ได้ทุกวันนี้ คือการให้ความส�ำคัญกับ เรือ่ งเทคโนโลยี ทีแ่ ม้วา่ บางเทคโนโลยี ซือ้ มาแล้วจะไม่ประสบความส�ำเร็จ ซึง่ ก็ ต้องยอมรับว่าลงทุนซื้อมา 10 ตัว อาจ จะล้ ม เหลวบ้ า ง แต่ ก็ ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ ง ธรรมดา หากใช้แล้วไม่ปลอดภัย หรือ ท�ำแล้วไม่เห็นผลลัพธ์ที่พึงพอใจ ก็ไม่ น�ำออกมาให้บริการ แต่หากเทคโนโลยี ใดท�ำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี ก็ท�ำต่อ ประเด็นส�ำคัญต่อมา คือเรือ่ งความ ปลอดภัยของลูกค้า ระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ไม่เคยมีลูกค้าคนใดมาฟ้องร้องถึงขั้น ขึ้นโรงขึ้นศาลแม้แต่เคสเดียว “อย่างแรกก็คือ เราดูว่าปลอดภัย หรื อ ไม่ ป ลอดภั ย คุ ย กั น ด้ ว ยเหตุ ผ ล คนไข้ไม่พอใจบ้างก็มี แต่เราต้องเข้าใจ ว่าสาเหตุมาจากอะไรบ้าง “คนไข้เขาถือเราเป็นหมอ ถ้าเรา ให้บริการแบบมาตรฐาน แล้วมันเกิด ความผิดพลาดทางเทคนิค ต้องเข้าใจว่า มันสุดวิสัยจริงๆ เขาก็ยอมรับได้ แต่ไม่ ต้องทะเลาะกับเขา ต้องคุย ต้องอธิบาย ให้ฟัง หรืออะไรที่เป็นปัญหาต้องบอก ต้องอธิบายให้คนไข้ฟัง ก็อาจจะต้อง บอกว่า รักษาแผลเป็น ฝ้าจะเข้มขึ้น แต่ก็แค่เดือนเดียว แต่แผลเป็นหาย ตลอดกาล”

101


Enjoy Life เพื่อสร้าง มุมมองที่หลากหลาย แม้ ว ่ า อาชี พ แพทย์ จ ะต้ อ งใช้ เ วลา ส่ ว นใหญ่ ไ ปกั บ คนไข้ แต่ ส� ำ หรั บ นพ.เศรษฐกานต์ เรี ย กได้ ว ่ า Work Hard, Play Hard เป็ น ชี วิ ต ที่ มี ทั้ ง งานอดิเรก มีการพักผ่อน และครอบครัว “ไม่ ไ ด้ เ ป็ น หมอที่ ท� ำ งานอย่ า ง เดี ย ว ต้ อ ง Enjoy Life ด้ ว ย เพราะ ตรงนี้เป็นแรงกระตุ้นให้เรามีมุมมอง หลายอย่าง จะได้รู้ความต้องการของ คนทั่วไปว่าเป็นอย่างไร” จริงๆ แล้ว เขาท�ำงานบริหารเพียง 25-30% เท่านัน้ งานจริงๆ คืองานตรวจ คนไข้ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น แพทย์ ธ รรมดา อยู่ที่คลินิก 70% ของชีวิตการท�ำงาน

102

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

“เพราะนีค่ อื เบสิก คือจุดแข็ง ทีผ่ ม ยังเป็นคนตรวจอยู่ ท�ำให้เราได้ Down to Earth เราเป็นธุรกิจคลินิก เราก็ต้องอยู่ กับคลินิกสิ ท�ำอย่างไร มีเทคโนโลยี อะไรที่ใช้ได้ เกิดผลดี มีผลแทรกซ้อน อย่างไร เราจะได้รู้ อันไหนลูกค้าชอบ อั น ไหนคนไข้ ป ลอดภั ย เราจะต้ อ งรู ้ ตลอดเวลา นี่เป็นหัวใจ” นอกจากนัน้ การตรวจคนไข้ทกุ วัน ถือเป็นงานวิจยั และพัฒนา (R&D) ทัง้ ใน เรื่องขององค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์ และในเรื่องการตลาด เวลาน�ำเสนอ เทคโนโลยี ใ หม่ ๆ หรื อ แพ็ ค เกจใหม่ ที่เขาจะได้รู้ว่าคนไข้ชอบหรือไม่ชอบ ได้ด้วยตัวเอง

“ผมอยู่ในช่วงกลาง ที่จริยธรรมก็ต้องมี การบริการก็ต้องมี ต้องชั่งกันให้ดี ต้องบอกว่า ธุรกิจคลินิกความงามที่ดี มันไม่ใช่ธุรกิจของนักธุรกิจ เพราะนักธุรกิจเอาแต่ ตักตวงผลประโยชน์ มันควรจะอยู่ในมือ ของแพทย์หรือว่าเจ้าของ ที่มีความรู้”


Dr.SETTHAKARN Attakonpan PRUKSA CLINIC GROUP

Dr. Setthakarn Attakonpan is the founder of Pruksa Clinic and is a leading professional dermatologist in the upper ranks of dermatology in Thailand. Currently, Pruksa Clinic has 45 branches all over the country. Pruksa is outstanding in its innovative laser technology for aesthetic beauty which is comparable to the leading technology in America and Europe.

ค�ำแนะน�ำต่อนักธุรกิจรุ่นใหม่ นพ.เศรษฐกานต์มองเห็นข้อเสีย ของเด็กรุ่นใหม่ว่าชอบโตเร็ว คิดว่ามี ความสามารถหนึ่งอย่างแล้วจะท�ำได้ ทุ ก อย่ า ง แต่ ใ นความเป็ น จริ ง ไม่ ใ ช่ อย่างนัน้ เขาบอกว่าการจะประสบความ ส�ำเร็จได้ ต้องใช้ความขยันหมั่นเพียร ต้องพิจารณา และวิเคราะห์ดูแต่ละราย ละเอียดของธุรกิจ “ผมโตมาได้ เ พราะว่ า ผมขยั น สมัยก่อนผมตรวจคนไข้วันละ 400 คน นั่ ง ตั้ ง แต่ 11 โมงเช้ า – 3 ทุ ่ ม ถึ ง มี ฐานลูกค้า ไม่ต้องใช้การโฆษณาก็ได้ แต่ ทุ ก วั น นี้ อ าจจะใช้ ค วามขยั น ด้ ว ย

คนสมั ย นี้ เ ขาใช้ เ รื่ อ งประชาสั ม พั น ธ์ ไม่ ไ ด้ พู ด ถึ ง ผลงานอย่ า งเดี ย ว ใช้ อย่ า งอื่ น ที่ มั น เป็ น ทางลั ด ได้ ใช้ โ ลก สื่อสารทางโซเชียลเน็ตเวิร์กก็สามารถ สร้างฐานลูกค้าได้ “เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ธุ ร กิ จ ก็ คื อ เรา ต้องสนใจฟังว่า ลูกค้าคือคนที่ส�ำคัญ ที่สุด สนใจฟังว่าเขาต้องการอะไร ต้อง คิดว่าเราต้องช่วยเขาจริงๆ จังๆ และไม่ไป เอารัดเอาเปรียบกับเขา ท�ำอะไรต้องได้ ผลจริงๆ จะได้ไม่ตอ้ งมาทะเลาะ ต้องมา โดนบ่น ไม่คุ้ม แล้วก็ดูให้สอดคล้องกับ งบประมาณ”

Dr. Setthakarn as the physician and the owner has to keep balance between his work ethic and business. To provide one-stop beauty services, he encourages the plastic and reconstructive surgeons and their experienced teams to focus on the safety, benefits, and positive outcomes of the patients. He also invented a new method of skin treatment dealing with melanin, vessels, and collagen for the best results. The success of Pruksa was from the word of mouth, its good partners and teams, and the courage to invest in the lastest innovations to ensure the best, safest and most effective treatments.

PROFILE นพ.เศรษฐกานต์ อัตถากรพันธ์ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงามอันดับต้นๆ ของเมืองไทย และเป็นผู้ก่อตั้ง พฤกษาคลินิก ที่ผ่านมา นพ.เศรษฐกานต์ได้ศึกษาและเข้าอบรมเพิ่มเติมจากต่างประเทศอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น • Dermatology Fellow, Lion-Suphannahong Dermatologic Clinic • Certificate in Trainer for Botox Cosmetic Technique, Allergan • Certificate in Thermage Procedure, • Certificate, Advanced Course, European Society for Cosmetic and Aesthetic Dermatology, Paris • Certificate in Lipodissolve Injection, Austria • Certificate in Laser-Lypolysis, Italy ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งประธานกรรมการของบริษัท พฤกษาสกินแคร์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด ซึ่งดูแลบางกอกเลเซอร์คลินิก, พฤกษาคลินิกศัลยกรรมตกแต่ง, พฤกษาคอสเมติก, พฤกษา บอดี้ แอนด์ สกิน และพฤกษาแลบบอราทอรี 103


104


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ภาพ : ด�ำรงค์ฤทธิ์ สถิตด�ำรงธรรม

พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

19

มะลิสุวรรณ

Col. Dr. SETTAPONG Malisuwan รองประธาน กสทช.

Step Forward to 3G แม้หลังเสร็จสิน้ การประมูลคลืน่ ความถี่ 2.1 GHz ส�ำหรับเทคโนโลยี 3G ในเมือง ไทย เมือ่ ช่วงกลางเดือนตุลาคม ปี 2555 จะอึงอลไปด้วยเสียงวิพากษ์วจิ ารณ์ ในแง่ลบ แต่ถา้ พิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นและลอง ‘เปิดใจ’ ดูสกั หน่อย อีกด้านหนึง่ จะเห็นถึงการ ทุม่ เทท�ำงานของ กสทช. (คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เพือ่ ให้การ ประมูลใบอนุญาต 3G ผ่านพ้นไปอย่าง ราบรืน่ เพราะมองเห็นถึงประโยชน์อนั มากมายมหาศาลของเทคโนโลยีไอทีทจี่ ะ เกิดขึน้ กับสังคมและประเทศชาติ พร้อม กับของขวัญชิน้ ใหญ่สำ� หรับคนไทยทีว่ า่

ภายในช่วงสงกรานต์ปี พ.ศ. 2556 คนในเมืองใหญ่ๆ จะได้ใช้ 3G อย่าง เต็มรูปแบบ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสวุ รรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. คือผูข้ บั เคลือ่ นให้เกิดการประมูล ใบอนุญาต 3G ขึน้ ในบ้านเราอย่างโปร่งใส โดยยึดหลักความสมดุล เพือ่ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ผลประโยชน์ของผูป้ ระกอบการ และผลประโยชน์ของผูบ้ ริโภค นักบริหารมากความสามารถผูน้ ี้ ประสานพลังกับ กสทช. ในการ จัดระเบียบคลืน่ ความถีว่ ทิ ยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพือ่ น�ำไปสู่ การใช้งานคลืน่ ความถีท่ มี่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด เพราะรูด้ วี า่ คลืน่ ความถี่ ในอากาศเป็นทรัพยากรทีม่ คี า่ สามารถเคลือ่ นย้ายข้อมูลและความรู้ จากจุดหนึง่ ไปยังอีกจุดหนึง่ ได้ในชัว่ พริบตา การทีบ่ า้ นเราได้ใช้เทคโนโลยี 3G กันอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นผลงานชิน้ โบแดงของนักบริหารมากความสามารถทีช่ อื่ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสวุ รรณ

105


ประมูล ใบอนุญาต 3G ภารกิจเพื่อชาติ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มองว่ า การประมู ล คลื่นความถี่ 2.1GHz เป็นภารกิจเพื่อพัฒนา ประเทศ เป็นภารกิจของชาติ และการสร้าง โครงสร้างโทรคมนาคมให้กับประเทศเป็น สิ่งส�ำคัญ อยากรู ้ ว ่ า เทคโนโลยี ไ อที ส ร้า งสรรค์ ประโยชน์อะไรให้กับสังคมได้บ้าง ตามไป ฟังค�ำตอบจาก พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์กนั ได้เลย “ไอทีจะช่วยลด Cost ในเรื่อง Infrastructure ได้มาก ไอทีชว่ ยส่งเสริมการพัฒนา ประเทศ และเป็นส่วนส�ำคัญในการท�ำให้ ภาคธุรกิจเพิม่ ศักยภาพในการแข่งขันกับต่าง ประเทศ การทีป่ ระชากรสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารเพิม่ มากขึน้ และรวดเร็ว ท�ำให้สง่ เสริม ให้ มี ก ารพั ฒ นาบุ ค ลากรในประเทศเพื่ อ แข่งขันกับนานาประเทศได้ เกิดประโยชน์กบั

ประเทศชาติโดยตรง เป็นผลประโยชน์ที่ สังคมและสาธารณะจะได้รับ “ผมอยากเห็นประชาชนมีความสุข กับการใช้บริการโทรคมนาคมทีม่ คี ณ ุ ภาพ และก็ มี ร าคาที่ เ ป็ น ธรรม เมื่ อ สั ง เกตดู ในวงการธุรกิจ วงการศึกษา เวลาเราใช้ บริ ก ารโทรคมนาคม เราก็ จ ะรู ้ ว ่ า มั น มี คุณค่ามีประโยชน์มหาศาล ผมอยากเห็น ประเทศสามารถลดพลังงานได้ โดยใช้ IT” พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ก ล่ า วด้ ว ยแววตา มุ่งมั่น เนื่ อ งจากไทยก� ำ ลั ง จะก้ า วเข้ า สู ่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การ ประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz จะท�ำให้ไทย ก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยี และช่วย เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การเกิดขึ้นของ กสทช. ท�ำให้สังคม พอจะมองเห็นแสงสว่างของการจัดสรร คลื่นความถี่ ความที่ปัญหาโทรคมนาคม ในเมื อ งไทยสะสมมานาน ซึ่ ง ต่ อ มามี พ.ร.บ. องค์ ก รจั ด สรรคลื่ น ความถี่ แ ละ

ก� ำ กั บ การประกอบกิ จ การวิ ท ยุ ก ระจายเสี ย ง วิ ท ยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึง่ ท�ำให้ เกิด กสทช. ขึ้นมา และมีอ�ำนาจเต็มที่จะท�ำทุกอย่าง ในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ เหนือสิ่งอื่นใด การประมูลคลื่นความถี่ในทุก ความถี่ กสทช. ยึดหลักความสมดุล ทั้งผลประโยชน์ ของประเทศชาติ ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ และผลประโยชน์ของผู้บริโภค “เรื่องนี้เป็นมาตรฐานสากล เราไม่ได้ตั้งกันขึ้น มาเอง เพราะการประมูลคลื่นความถี่เกิดขึ้นมาหลาย สิบปีแล้ว ยุคแรกๆ เกิดขึ้นในอังกฤษ นิวซีแลนด์ อเมริกา โดยรายได้เป็นหมื่นๆ ล้านจากการประมูล เข้ารัฐหมด ไม่ได้ตกมาถึง กสทช. แต่มหี ลักคิดทีว่ า่ ยิง่ ราคาประมูลสูงมากเกินความเป็นจริงก็ยงิ่ มีผลกระทบ ในการท�ำธุรกิจในอนาคต” พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์กล่าว หลั ง ประมู ล ใบอนุ ญ าต 3G ผ่ า นพ้ น ไปแล้ ว ภารกิจส�ำคัญของ กสทช. ยังด�ำเนินต่อไป กับการ ประมูลใบอนุญาต 4G ที่จะตามมา เป็นการประมูล ในคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งจะหมดสัญญาสัมปทาน เดือนกันยายนปี 2556 โดย กสทช. จะเตรียมการ ประมูล 4G ไว้ในช่วงต้นปีหน้า

“ผมอยากเห็นประชาชน มีความสุขกับการใช้บริการ โทรคมนาคมที่มีคุณภาพ และมีราคาที่เป็นธรรม เมื่อสังเกตดูในวงการธุรกิจ วงการศึกษา เวลาเราใช้ บริการโทรคมนาคม จะรู้ว่ามันมีคุณค่ามีประโยชน์ มหาศาล และผมอยากเห็น ประเทศสามารถลดพลังงาน ได้โดยใช้ IT” 106

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


จากอดีตนายทหาร สู่รองประธาน กสทช. ย้ อ นรอยเส้ น ทางชี วิ ต ของ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ก่ อ นเข้ า สู ่ ต� ำ แหน่ ง รองประธาน กสทช. และ ประธาน กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เขาเริ่มสนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่ เมื่ อ ครั้ ง ที่ เ ป็ น นั ก เรี ย นนายร้ อ ยที่ โรงเรียนนายร้อย จปร. พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์เป็นคนมุ่งมั่น สั ง เกตได้ จ ากในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ที่เขาเรียนด้านโทรคมนาคมหมดทั้ง 3 ระดับ เขาเรียนจบปริญญาตรีด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (เกียรตินิยม เหรี ย ญทอง) จากโรงเรี ย นนายร้ อ ย พระจุลจอมเกล้า จบปริญญาโท 2 ใบ ด้ า นวิ ศ วกรรมโทรคมนาคม (ระบบ สื่ อ สารเคลื่ อ นที่ แ ละเซลลู ล าร์ ) จาก The George Washington University วอชิ ง ตั น ดี . ซี . และ Georgia Institute of Technology สหรัฐอเมริกา และจบปริ ญ ญาเอกด้ า นวิ ศ วกรรม โทรคมนาคม (Telecommunications) การศึกษายอดเยี่ยม National Engineering Honor Society (Tau Beta Pi) จาก Florida Atlantic University สหรัฐอเมริกา หลังจากเรียนจบปริญญาโทและ ปริญญาเอก เขากลับเมืองไทยเพื่อมา รั บ ราชการเป็ น อาจารย์ ที่ โ รงเรี ย น นายร้ อ ยพระจุ ล จอมเกล้ า จากนั้ น เข้ า เรี ย นที่ โ รงเรี ย นเสนาธิ ก าร ท ห า ร บ ก เ รี ย น เ ส ร็ จ ก็ ก ลั บ ม า รั บ ร า ช ก า ร ที่ โ ร ง เ รี ย น น า ย ร ้ อ ย พระจุลจอมเกล้าเหมือนเดิม จากนั้น ท�ำงานคลุกคลีในแวดวงโทรคมนาคม

มาตลอด อย่างตอนเรียนที่โรงเรียน เสนาธิ ก ารทหารบก เขาไปเป็ น เลขานุ ก ารประธานบอร์ ด ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม พอประธาน บอร์ ด เกษี ย ณ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ก็ย้ายไปเป็นอนุกรรมการที่ส�ำนักงาน กทช. ชี วิ ต ของ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ เดิ น ทางมาถึ ง จุ ด เปลี่ ย นครั้ ง ส� ำ คั ญ เมื่อเขาลงสมัคร กสทช. จากผู้สมัคร ทั้ ง หมดประมาณ 400 คน พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ผ ่ า นด่ า นแรกโดยติ ด 44 คนสุ ด ท้ า ย จากนั้ น เป็ น หน้ า ที่ ของสมาชิ ก วุ ฒิ ส ภาที่ จ ะเลื อ กบอร์ ด กสทช. จ� ำ นวน 11 คน ปรากฏว่ า พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ได้รับเลือกโดย ท�ำคะแนนได้สงู สุดเป็นอันดับ 1 คือ 118 คะแนน ซึ่งมาจากการลงคะแนนของ สมาชิกวุฒสิ ภา 136 ท่าน โดยเขาได้รบั เลือกให้เป็นรองประธาน กสทช. ด้าน โทรคมนาคม ซึ่ ง ต้ อ งรั บ หน้ า ที่ เ ป็ น ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม อีกต�ำแหน่งหนึ่งด้วย ที่ ผ ่ า นมา กสทช. ถู ก วิ พ ากษ์ วิจารณ์ในสื่อออนไลน์มากพอสมควร แต่ พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ เป็ น คนที่ ‘รู้เท่าทันสื่อ’ เขาจึงพยายามควบคุม การใช้สื่อไม่ให้ใช้มากเกินไป “บางที ใ นเว็ บ ไซต์ ข ่ า วออนไลน์ มีคนพูดถึงผมเยอะ ผมก็จะไม่ไล่อ่าน ทุกคอมเมนต์นะ เพราะบางคอมเมนต์ รุนแรงมาก มันอาจท�ำให้ผมเครียดจน ไม่มีกะจิตกะใจท�ำงาน หลังๆ เลยอ่าน เฉพาะคอนเทนต์ เ ท่ า นั้ น ” พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ก ล่ า วด้ ว ยรอยยิ้ ม และ นั่ น ท� ำ ให้ เ ขายั ง มี ก� ำ ลั ง ใจอย่ า งเต็ ม เปี่ยมในการท�ำงานในฐานะ ประธาน กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. ซึ่งเป็น ‘ภารกิจเพื่อชาติ’

Col. Dr. SETTAPONG Malisuwan NBTC Colonel Dr. Settapong Malisuwan is now the Elected Vice Chairman and Board Commissioner in National Broadcasting and Telecommunications Commission, Thailand. He has pushed a transparent 3G auction into existence, one that suits his stand point which is an auction that benefits the state and the people. The outcome of the auction has proved to achieve this goal. To this date, Colonel Dr. Settapong and NBTC play an important role in efficient spectrum management and implementation of telecommunications policies. He acknowledges that information technology will be drastically important in the future especially in the upcoming 4G era. Therefore, it is apparent that under his supervision, 4G will be established as a core part of the nation’s overall interest.

PROFILE พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสวุ รรณ จบปริญญาตรีดา้ นวิศวกรรมไฟฟ้าสือ่ สาร (เกียรตินยิ มเหรียญทอง) จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จบปริญญาโท 2 ใบ ด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม (ระบบสือ่ สาร เคลื่อนที่และเซลลูลาร์) จาก The George Washington University วอชิงตัน ดี.ซี. และ Georgia Institute of Technology สหรัฐอเมริกา จบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม (Telecommunications) การศึกษายอดเยี่ยม National Engineering Honor Society (Tau Beta Pi) จาก Florida Atlantic University สหรัฐอเมริกา หลังเรียนจบเขาท�ำงานในแวดวงราชการและท�ำงานคลุกคลีในแวดวง โทรคมนาคมมาตลอด ต่อมา พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ ลงสมัคร กสทช. โดยได้รบั เลือกเป็นรองประธาน กสทช. ด้านโทรคมนาคม ซึง่ ต้องรับหน้าทีเ่ ป็นประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมอีกต�ำแหน่งหนึง่ 107


108


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

สกุลธร

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

20

จึงรุ่งเรืองกิจ SAKULTHORN Juangroongruangkit

รองประธานกรรมการ บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด

The Young Blood พ.ศ. นีม้ นี กั พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึน้ มากมาย แต่ทสี่ ามารถแจ้ง เกิดได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็น ทีย่ อมรับในฐานะดีเวลลอปเปอร์ รุน่ ใหม่ไฟแรง ได้แก่ สกุลธร จึงรุง่ เรืองกิจ ซึง่ คุณอาจคุน้ หู นามสกุลของนักบริหารหนุม่ วัย 29 ปีคนนีเ้ ป็นอย่างดี

สกุลธรเป็นทายาทของ พัฒนา และ สมพร จึงรุง่ เรืองกิจ หัวเรือใหญ่แห่งไทยซัมมิทกรุป๊ ช่วงเวลา 5 ปีทสี่ กุลธรเข้าไป ช่วยเหลืองานของคุณแม่ในต�ำแหน่งรองประธานกรรมการ ฝ่ายจัดซือ้ เขาเรียนรูง้ านและเก็บเกีย่ วประสบการณ์มากมาย วันนีเ้ ขาทุม่ เทอย่างเต็มทีก่ บั งานทีร่ บั ผิดชอบในฐานะ รองประธานกรรมการ บริษทั เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด‘ เลือดใหม่’ แห่งเรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ ก�ำลัง เป็นทีจ่ บั ตามอง เพราะโครงการทีพ่ กั อาศัยของบริษทั ทีเ่ ขา ดูแลอยูส่ ามารถตอบโจทย์คนรุน่ ใหม่ได้อย่างแท้จริง ไม่วา่ จะ เป็น Enterprize Park โฮมออฟฟิศ 4 ชัน้ , Plex ทาวน์โฮม 3 ชัน้ และ Ascent คอนโดมิเนียม Low Rise กลางใจเมือง สกุลธรเป็นอีกหนึง่ นักบริหารรุน่ ใหม่ทปี่ ระสบความส�ำเร็จ อย่างงดงาม 109


เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ ตอบโจทย์ วิถีชีวิตในองศาใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด ก� ำ เนิ ด จากแนวความคิ ด ในการพั ฒ นา อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ มุ ่ ง มั่ น ในการออกแบบ นวั ต กรรมเพื่ อ การอยู ่ อ าศั ย ให้ ส ามารถ ตอบโจทย์ วิ ถี ชี วิ ต ในองศาใหม่ ๆ ได้ อ ย่ า ง สร้างสรรค์ โดยเรียนรู้จากอดีต วิเคราะห์ สถานการณ์ปจั จุบนั และไม่หยุดนิง่ การพัฒนา ในอนาคต บนคุณภาพการสร้างที่อยู่อาศัย ที่เหนือกว่า โดยน�ำระบบพรีแคส (Pre Cast) เข้ามาใช้ในการก่อสร้าง นับได้ว่าใจถึง กล้า ชนกับดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ๆ ซึ่งได้รับ ผลตอบรับจากลูกค้าจ�ำนวนมาก โดยปีแรก มี ย อดจองมากกว่ า 800 ล้ า นบาท และ คาดการณ์ ว ่ า ปี นี้ จ ะสามารถก้ า วกระโดด ได้เกือบ 100% หรือมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท

เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ พิถีพิถัน ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การเลือก ใช้วัสดุ การใช้พื้นที่ได้หลากหลายมิติ เพื่อ ให้ได้ผลงานคุณภาพและตอบสนองวิถีชีวิต ในทุกรายละเอียดอย่างแท้จริง ด้วยวิสัยทัศน์ ที่มากกว่าการมอบที่อยู่อาศัย แต่เป็นการ ส่งต่อมรดกแห่งวิถีชีวิตแก่ผู้คนและเมือง วิสัยทัศน์ของเรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้ น ท์ สะท้ อ นผ่ า นตั ว อั ก ษร 4 ตั ว ได้ แ ก่ R - Reflective Design ‘รั ง สรรค์ ด้วยนวัตกรรม’ E - Envision Future ‘จากมุ ม มอง สู่อนาคต’ A - Achieve Quality ‘บนรากฐาน แห่งคุณภาพ’ L - Lasting Legacy ‘สู ่ ท รั พ ย์ สิ น ที่ยั่งยืน’

“เป้าหมายของ เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ คือการมุ่งมั่น และมองการณ์ ไกล เพื่อพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถ ตอบโจทย์ การใช้ชีวิต”

Ascent 110

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


คุณธรรม และทีมเวิร์ก ปัจจัยสู่ความส�ำเร็จ

สกุลธรเคยให้สมั ภาษณ์ถงึ หลักปรัชญา ที่เขายึดถือในการท�ำงาน ซึ่งควรค่าแก่ การน�ำมาบอกเล่าต่อ นักบริหารหนุ่มไฟแรงแห่งเรียลแอสเสท ดี เ วลลอปเม้ น ท์ มองว่ า ตัวเขาอยู่ในช่วงเริ่มต้น อาจต้องฟันฝ่า อุปสรรคมากกว่าคนทั่วไป สิ่งส�ำคัญ อย่างหนึง่ ในการท�ำงานคือ การลองผิด ลองถูก “กรณีทเี่ กิดความผิดพลาดในการ ท�ำงาน อย่ามัวแต่โทษกันไปโทษกันมา ควรหาวิ ธี ว ่ า จะแก้ ไ ขอย่ า งไร และ จะพัฒนาให้องค์กรดีขนึ้ ในสถานการณ์ นั้นได้อย่างไรบ้าง” เขาเผย ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ ที่ มี ก ารแข่ ง ขั น สู ง สกุลธรคิดว่าผูบ้ ริหารต้องกล้าตัดสินใจ โดยไม่หวั่นเกรงคู่แข่งหรือกลัวความ ผิดพลาด ส่วนหนทางที่จะผลักดันให้ ผลงานของบริษัทโดดเด่นเหนือคู่แข่ง คือ ต้องคิดไปไกลกว่าคู่แข่งอย่างน้อย หนึ่งก้าวเสมอ ทีมเวิร์กเป็นปัจจัยที่น�ำไปสู่ความ ส�ำเร็จในการท�ำธุรกิจ ความที่ผู้บริหาร คนเดียวไม่สามารถท�ำงานทุกด้านได้ ในเวลาเดียวกัน การท�ำงานจะสมบูรณ์ ได้ต้องจัดสรรคนที่ถนัดในด้านนั้นๆ มาดูแลรับผิดชอบ

ส่ ว นการช่ ว ยเหลื อ กั น และกั น เป็นวิธที ชี่ ว่ ยเพิม่ พูนประสบการณ์ของ ตัวเอง และยังสร้างบรรยากาศที่ดีใน การท�ำงานร่วมกันได้อีกด้วย “ในฐานะผู ้ น� ำ คุ ณ ต้ อ งเชื่ อ ใจ เพื่อนร่วมงาน ให้สมาชิกทุกคนได้คิด และแสดงความสามารถออกมาอย่าง เต็มที่ เรามีหน้าที่สนับสนุนให้สิ่งที่ดี อยู่แล้วมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ต้อง ให้กำ� ลังใจทีมงานเพือ่ ให้เขาได้พฒ ั นา ผลงานต่อไป” สกุลธรบอกไว้อย่างนัน้ เพราะมองว่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เป็นสินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อเพียง ไม่ก่ีครั้งในชีวิต ผู้ประกอบการจึงต้อง สร้างแบรนด์ให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและ ไว้วางใจมากที่สุด คุณธรรม เป็นสิ่งส�ำคัญอีกอย่าง หนึ่งที่สกุลธรยึดมั่นเสมอมา “ท�ำทุก อย่างให้ถูกต้อง ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและ เพือ่ นร่วมงาน อย่าท�ำสิง่ ทีท่ ำ� ให้ตนเอง และองค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง การท�ำ สิง่ ทีผ่ ดิ แม้เพียงครัง้ เดียว ความผิดนัน้ จะติดอยู่ในใจไปชั่วชีวิตเลยครับ” สกุ ล ธรกล่ า วไว้ อ ย่ า งน่ า คิ ด เป้าหมายของเรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ คือการมุง่ มัน่ และมองการณ์ไกล เพือ่ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถ ตอบโจทย์การใช้ชีวิต

SAKULTHORN

Juangroongruangkit REAL ASSET DEVELOPMENT CO., LTD.

Sakulthorn Juangroongruangkit is a 29 year-old avid developer and a heir of Pattana and Somporn Juangroongruangkit, the owner of Thai Summit Group, whose 50 companies make parts for cars, trucks, motorcycles, and appliances. After five years helping his mother turned the Thailand’s to biggest auto parts manufacturer, Sakulthorn found a new challenge in his property development business, using the name Real Asset Development Co., Ltd. The new blood businessman is currently standing in the spotlight with his ongoing residential projects: the four-storey home office Enterprize Park, the three-storey townhome Plex-Bangna, and the eight-storey Ascent condominium located in the Ekamai-Thong Lor area.

Plex PROFILE สกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นลูกชายของ พัฒนา และ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ ชนาพรรณ, ธนาธร, รุจิรพรรณ และ บดินทร์ธร ปัจจุบันสมรสกับ กมลฉัตร บุญรัตน์ ลูกสาวของ ฉัตรชัย และ จินตนา บุญรัตน์ ทายาทตระกูลจิราธิวัฒน์ 111


112


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

สงกรานต์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

21

เตชะณรงค์

SONGKARN Taechanarong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจโบนันซ่า

Too Fast Too Serious สงกรานต์ เตชะณรงค์ คือแบบอย่าง นักบริหารรุน่ ใหม่ทสี่ ามารถบริหาร จัดการชีวติ ในหลายด้านได้อย่างลงตัว เขาท�ำงานในหลายบทบาทซึง่ ล้วน ประสบความส�ำเร็จแทบทัง้ สิน้ ย้อนกลับไปตอนทีส่ งกรานต์อายุ 15-16 เขาคือดาราวัยรุน่ สุดฮอตทีม่ ี ผลงานหลายอย่าง เช่น ถ่ายแบบ ในนิตยสาร และแสดงมิวสิกวิดโี อ ต่อมาเขาหยุดพักงานในวงการบันเทิง เพือ่ เดินทางไปเรียนทีป่ ระเทศอังกฤษ และนิวซีแลนด์

หลังส�ำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ สาขาไฟแนนเชียล จาก The University of Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ สงกรานต์หวนคืน บ้านเกิดเพือ่ มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัว ในกลุม่ ธุรกิจโบนันซ่า เขาใหญ่ ผูบ้ กุ เบิกพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนเขาใหญ่ โดดเด่นด้วย โครงการทีพ่ กั อาศัยและบ้านพักตากอากาศครบวงจร The Bonanza Resort Khao Yai บนพืน้ ทีก่ ว่า 5,000 ไร่ เพียบพร้อมด้วยโรงแรม รีสอร์ท สนามกอล์ฟ โซนแอดเวนเจอร์พาร์ค ด้วยกิจกรรมมากมาย เช่น รถเอทีวี มอเตอร์ไซค์วบิ าก ปีนเขา รวมถึง Bonanza Motor Sport Land สนามแข่งรถมาตรฐานระดับโลก ปัจจุบนั สงกรานต์ ด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ดูแลภาพรวมในส่วนต่างๆ ทัง้ หมดของโบนันซ่า จับตาดูกนั ให้ดี ก้าวส�ำคัญของสงกรานต์ทจี่ ะเป็นเครือ่ งพิสจู น์ความ สามารถของเขา คือโครงการบ้านพักอาศัย โมเมนโต้ บาย เดอะ โบนันซ่า (Momento By The Bonanza) ทีม่ ภี รรยาแสนสวย แอฟ-ทักษอร เตชะณรงค์ เข้ามาช่วยดูแลในต�ำแหน่งกรรมการ ผูจ้ ดั การของโครงการ 113


Momento By The Bonanza Big Step of Bonanza Group หลั ง มุ ่ ง มั่ น และทุ ่ ม เทกั บ การบริ ห าร The Bonanza Resort Khao Yai จนธุรกิจเติบโต ไปอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท สนามกอล์ฟ โซนแอดเวนเจอร์พาร์ค ตลอด จน Bonanza Motor Sport Land สนาม แข่ ง รถมาตรฐานระดั บ โลกแห่ ง แรกของ เขาใหญ่ ที่รองรับการแข่งขันทั้งรถยนต์และ รถจั ก รยานยนต์ พร้ อ มสิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกครบครัน ความท้าทายครั้งใหม่ของ ทายาทธุรกิจเจเนอเรชั่นที่ 2 ของโบนันซ่า กรุ๊ป คือโครงการบ้านพัก โมเมนโต้ บาย เดอะ โบนันซ่า สงกรานต์เผยถึงโปรเจ็กต์ดังกล่าวว่า โมเมนโต้ บาย เดอะ โบนันซ่า ตัง้ อยูบ่ นทีด่ นิ แปลงที่สวยที่สุดของโบนันซ่า เด่นสะดุดตา ด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ Modern Contemporary รังสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด Live the

Moment เพื่อให้เป็นบ้านที่ทุกคนอยากใช้ เวลาเพื่อเติมเต็มความสุขร่วมกัน แต่ละส่วน ของโครงการจึงสัมพันธ์และเชือ่ มโยงกันอย่าง ลงตัว จุ ด เด่ น คื อ เป็ น บ้ า นพั ก ตากอากาศที่ ใช้วัสดุประหยัดพลังงาน จึงง่ายต่อการดูแล รักษา ให้ผู้อยู่อาศัยได้สัมผัสธรรมชาติแสน บริ สุ ท ธิ์ ข องเขาใหญ่ ไ ด้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ ด้ ว ย หน้าต่างกว้างถึง 360 องศา เสริมด้วยฟังก์ชนั การใช้งานทีเ่ ติมเต็มความสุขให้กบั ทุกคนใน ครอบครัว เช่น ห้องใต้หลังคา หอดูดาว และ บ้านต้นไม้ ใช้เงินลงทุนไปทัง้ สิน้ 975 ล้านบาท แบ่ง เป็น 2 เฟส เฟสแรกมีทงั้ หมด 37 แปลง ขนาด ทีด่ นิ ตัง้ แต่ 200 ตารางวาขึน้ ไป มีพนื้ ทีใ่ ช้สอย 262-400 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 14.5-22 ล้านบาท มีบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน 4 แบบให้ เลือก เน้นฟังก์ชันเฉพาะและเน้นพื้นที่ส่วน กลางให้ มี พื้ น ที่ ก ว้ า งขึ้ น เพื่ อ กิ จ กรรมของ ทุกคนในครอบครัว ได้แก่ แคมปิโอ (Campio) เพิ่มพื้นที่ใช้สอย ให้กบั บ้านด้วยดาดฟ้าทีก่ ว้างขวาง ให้สมาชิก ในครอบครัวตั้งแคมป์ กางเต็นท์นอนบน ดาดฟ้าได้

สเตลโล (Stello) เสริมด้วยฟังก์ชันห้อง ใต้หลังคาส�ำหรับดูดาว ลูน่าโซล (Lunasole) บ้านที่ออกแบบ ให้เปิดรับแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ได้อย่าง เต็มที่ เหมาะส�ำหรับท�ำกิจกรรมร่วมกันใน ครอบครัว มอนทาโน (Montano) บ้านทีม่ อบความ เต็มอิ่มในการชมวิวภูเขาได้อย่างเต็มตา โดยเฟสแรก Lago ยั ง อยู ่ ติ ด กั บ ทะเลสาบสาธารณะพื้นที่กว่า 10 ไร่อีกด้วย โมเมนโต้ บาย เดอะ โบนันซ่า มาพร้อม สิทธิพเิ ศษเหนือระดับ ช่วงเปิดตัวโครงการรับ ข้อเสนอพิเศษ มีส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 10% เฟสแรกตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 50% ภายใน สิ้ น ปี 2555 และคาดว่ า ที่ เ หลื อ อี ก 50% จะขายหมดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 จากนั้ น เฟสที่ 2 จะตามมาช่ ว งกลาง ปี 2556 ใช้ ชื่ อ ว่ า Parco แวดล้ อ มด้ ว ย สวนร่มรื่นขนาดใหญ่รอบโครงการ พร้อม Jogging Track ยาวกว่า 5 กิโลเมตรท่ามกลาง ธรรมชาติรื่นรมย์ ครบครันด้วยสิ่งอ�ำนวย ความสะดวก ทั้งคลับเฮาส์ สระว่ายน�้ำ พื้นที่ สวนส่วนกลาง อินเตอร์เน็ต ระบบรักษาความ ปลอดภัยทีไ่ ด้มาตรฐาน พร้อมกล้องวงจรปิด CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง

“ค�ำว่าประสบความส�ำเร็จ ของผม ไม่ได้วัดกันที่ตัวเงิน แต่เพียงอย่างเดียว ต้องดู องค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เช่น คนที่มาเที่ยวโบนันซ่า ต้องเกิดความประทับใจ และมี ความสุขกับสิ่งที่เราจัดเตรียม ไว้บริการ เพื่อที่เขาจะได้น�ำไป บอกต่อให้กับคนอื่น” 114

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


SONGKARN Taechanarong THE BONANZA RESORT

The Other Side of Life เต็มที่ในทุกบทบาท ไม่ เ พี ย งเป็ น นั ก บริ ห ารรุ ่ น ใหม่ ไฟแรง สงกรานต์ ยั ง สวมหมวก อี ก หลายใบ ซึ่ ง แต่ ล ะบทบาท หน้าที่ที่เขารับผิดชอบก็หนักหนา สาหัสพอตัว แต่ เ ขาก็ ท� ำ ได้ ดี แ ละ ผ่านฉลุย โดยหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบของ สงกรานต์ ใ นปั จ จุ บั น เช่ น คณะ ท� ำ งานมู ล นิ ธิ Miracle of Life ในพระอุปถัมภ์ทูลกระหม่อมหญิง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิ ริ วั ฒ นา พ ร ร ณ ว ดี , ป ร ะ ธ า น บ ริ ห า ร บริ ษั ท ชู เ ตอร์ เอนเตอร์ ไ พรซ์ , กรรมการ บริ ษั ท โซลาร์ ต รอน จ�ำกัด (มหาชน) บางครั้ ง สงกรานต์ ก็ แ บ่ ง เวลาเพื่ อ ไปท� ำ งานในวงการ บันเทิง เช่น เล่นหนังโฆษณา และ แสดงภาพยนตร์ โดย My Best Bodyguard เป็นภาพยนตร์เรือ่ งแรก ของสงกรานต์ และสร้างความภาคภูมิใจให้เขาอย่างมาก ส�ำหรับการเข้ามาสืบทอดธุรกิจ ของครอบครั ว สงกรานต์ เ ข้ า มา บริ ห ารงานที่ โ บนั น ซ่ า ตั้ ง แต่ ต อน อายุ 23 ปี

“ความท้าทายและบทเรียนชีวติ บทใหม่ที่ผมต้องพบเจอและเรียนรู้ คือ การท�ำให้ทีมงานเชื่อมั่นในฝีมือ ของเรา เพื่อชนะใจพวกเขา ทีมงาน ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อน โบนั น ซ่ า ให้ ก ้ า วไปข้ า งหน้ า อย่ า ง มั่นคงแข็งแรง เพราะผมไม่สามารถ ท� ำ งานคนเดี ย วได้ การท� ำ งาน เป็นทีมเวิร์กส�ำคัญมาก” สงกรานต์ ม องว่ า การที่ นั ก บริหารคนหนึง่ จะประสบความส�ำเร็จ ในหน้าที่การงาน ต้องมีความขยัน หมัน่ เพียร ทุม่ เทกับการท�ำงานอย่าง สุ ด ความสามารถ ให้ เ วลากั บ การ ศึกษาธุรกิจนัน้ ๆ โดยดูแบบอย่างจาก นักบริหารที่ประสบความส�ำเร็จ ว่ามี เคล็ดลับหรือหลักการท�ำงานอย่างไร “ค�ำว่าประสบความส�ำเร็จของ ผมไม่ได้วดั กันทีต่ วั เงินแต่เพียงอย่าง เดียว ต้องดูองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เช่น คนที่มาเที่ยวโบนันซ่าต้องเกิด ความประทับใจ และมีความสุขกับ สิง่ ทีเ่ ราจัดเตรียมไว้บริการ เพือ่ ทีเ่ ขา จะได้นำ� ไปบอกต่อให้กบั คนอืน่ ” เขา ทิ้งท้ายด้วยแนวคิดที่น่าสนใจ

Songkarn Taechanarong is a good example of a new blood businessman who can impressively balance many aspects of his life apart from his business such as being a part-time model and actor and the Ministry of Information and Communication Technology’s spokesman. After returning from New Zealand, where he earned a Bachelor’s degree in Financial and Supply Chain at Waikato University, Songkarn came back to join his father’s property business, Bonanza Resort covering more than 5,000 rai on Thanarat Road. The group’s subsidiaries include property developer Schuter Enterprise, Bonanza Resort Hotel, Bonanza Golf & Country Club and Bonanza Motor Sport Land the world-class racing track. Songkarn is currently the Managing Director who takes care of the whole picture of Bonanza Resort. The next step of his is the development of single houses at the resort called Momento by The Bonanza.

PROFILE สงกรานต์ เตชะณรงค์ เป็นบุตรชายคนโตของ ไพวงษ์-ภัสรา เตชะณรงค์ มีน้องสาว 2 คนและน้องชาย 1 คน จบเกรด 10 จาก Kingswood College Trust ประเทศอังกฤษ และจบปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ สาขาไฟแนนเชียล จาก The University of Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ สงกรานต์แต่งงานกับ แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ดาราชื่อดัง นอกจากดูแลธุรกิจของครอบครัวในกลุ่มธุรกิจ โบนันซ่า เขาใหญ่ เขายังท�ำงานอีกหลายอย่าง 115


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

116 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

สุเทพ

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

22

ปัญญาสาคร SUTHEP Panyasakorn บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จ�ำกัด

“ผลส�ำเร็จมาจากการเรียนรู้และฟัง” จากพื้นฐานของครอบครัว ซึ่งท�ำ ธุรกิจประมง ห้องเย็น โรงงาน อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ แต่เมือ่ ผูเ้ ป็นบิดาสนใจจะแตกไลน์ ไปสู่ธุรกิจจัดสรร เนื่องจากมอง การณ์ไกลว่า เมืองสมุทรสาคร ยังไม่มีโครงการจัดสรรเต็มรูปแบบ เลยถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่น่าสนใจยิ่ง และแม้ผู้เป็นบิดาจะร่วมหุ้นกับ เพื่อนๆ ในการเริ่มต้นซื้อหาที่ดิน แต่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้เข้ามาเรียนรู้และท�ำธุรกิจ จัดสรร ก็คือลูกชายที่ชื่อ สุเทพ ปัญญาสาคร นั่นเอง

ก้าวสู่ธุรกิจอสังหาฯ เมื่ออายุ 25 ประมาณปี 2535 สุเทพเพิง่ จะอายุแค่ 25-26 ปีเท่านัน้ เรียกได้วา่ ยังไม่มปี ระสบการณ์ แต่เมื่อเห็นความตั้งใจของบิดาที่ต้องการให้ธุรกิจนี้เป็นอีกธุรกิจที่ท�ำเป็นจริงเป็นจัง จึงท�ำให้สุเทพตั้งใจเรียนรู้งานอย่างเต็มที่ จากบรรดาผู้ที่มีประสบการณ์ “ตอนนัน้ ยังไม่ได้เป็น ดี-แลนด์ ก็ทำ� อยูป่ ระมาณ 10 ปี เพราะโครงการใหญ่มาก พื้นที่ประมาณ 300-400 ไร่ ท�ำกันยาวเลย” แต่เส้นทางธุรกิจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะท�ำได้ 2 ปี ธุรกิจบ้านจัดสรร เริ่มเจอภาวะขาลง จากนั้นก็ผจญกับพิษวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งถือเป็นวิกฤติ ครั้งใหญ่ และบรรดาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายได้รับผลกระทบหนักหน่วงมาก ไม่แข็งจริงก็ม้วนเสื่อไปตามๆ กัน แต่ บ ทเรี ย นหิ น ครั้ ง นั้ น ก็ ผ่ า นไปได้ ด้ ว ยดี สุ เ ทพบอกว่ า “จริ ง ๆ แล้ ว หนั ก แต่เนื่องจากด้านไฟแนนซ์ของบริษัทแข็งแรงพอสมควร บวกกับความมุ่งมั่นว่า ต้องอยู่ให้ได้ ต้องท�ำให้ลูกค้ามั่นใจว่าโครงการยังมีความต่อเนื่องอยู่ จึงกัดฟันสู้ และมีการปรับตัวในหลายๆ ด้าน” 117


บทเรียนหิน ต้มย�ำกุ้ง 2540 “วันนั้นเราเห็นลูกค้าเริ่มทิ้งเงินดาวน์ เพราะไม่ มั่ น ใจในฐานะการเงิ น ของ ตัวเอง เราก็เอาเงินดาวน์ที่ลูกค้าทิ้งมา เป็นส่วนลดให้ส�ำหรับลูกค้ารายใหม่ ตรงนีก้ ช็ ว่ ยให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ “กับอีกส่วนหนึง่ ก่อนวิกฤติ บริษทั ได้ มี ก ารขายที่ ดิ น เปล่ า ด้ ว ย เพราะ ต้ อ งการเงิ น สดเข้ า มาท� ำ โครงการ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ พอ เกิดวิกฤติกต็ อ้ งปรับผัง ต้องพยายามท�ำ ภาพลักษณ์ให้มากขึ้น เพื่อให้คนรู้สึก ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่อาศัย เป็ น โครงการที่ ข ายบ้ า น ไม่ ไ ด้ ข าย ที่ดินเปล่าเก็งก�ำไร “นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของการ เจรจากับเจ้าหนี้ ให้เห็นว่าบริษัทยัง สามารถเดินหน้าต่อไปได้” ทั้งหมดแม้ว่าจะรอดมาได้ในที่สุด แต่สุเทพยอมรับว่า นั่นเป็นบทเรียน ส�ำคัญมากจริงๆ ส�ำหรับเขา หลังจากมีส่วนร่วมในการช่วยกัน แก้ปัญหาช่วงนั้นจนผ่านมาได้ สุเทพ ซึ่ ง เ พิ่ ม พู น ค ว า ม เ ชื่ อ มั่ น แ ล ะ ประสบการณ์ ก็ เ ริ่ ม จั ง หวะของการ ก้ า วเดิ น ไปสู ่ เ ส้ น ทางที่ เ ป็ น ตั ว ของ ตัวเองมากขึ้น

118

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

ดี-แลนด์ ทางเดินที่เลือกเอง “คือเราก็อยากจะมาท�ำอะไรทีเ่ ป็นสไตล์ ของเรา ช่วงตอนปี 2545 จึงเริ่มคุยกับ เพื่ อ น แล้ ว ตั้ ง บริ ษั ท ดี - แลนด์ กรุ๊ ป ขึ้นมา โครงการแรกที่ท�ำ ชื่อ รินรดา เริ่ ม จากโครงการเล็ ก ๆ 10 ไร่ เป็ น ทาวน์เฮาส์ประมาณ 100 กว่าหลัง ใช้ เวลาประมาณ 1 ปีก็ขายได้หมด เพราะ โลเกชั่นดี “เมื่อโครงการแรกผ่านไปด้วยดี ก็ตามมาด้วยโครงการที่ 2 พืน้ ทีใ่ หญ่ขนึ้ ประมาณ 20 กว่าไร่ โครงการประมาณ 200 กว่าหลัง ใหญ่ขึ้นเท่าตัว ครั้งนี้ มีการท�ำรีเสิร์ชด้วยว่าที่ดินนี้จะไปท�ำ อะไรดี ซึ่ ง ผลออกมาเป็ น บ้ า นเดี่ ย ว หรือทาวน์เฮาส์ แต่ด้วยความที่ชอบท�ำ อะไรทีแ่ ตกต่าง และตอนนัน้ ‘คลัสเตอร์ โฮม’ ก� ำ ลั ง บู ม มาก จึ ง ตั ด สิ น ใจท� ำ คลัสเตอร์ โฮม 3 ชั้นขาย 200 กว่ายูนิต “แต่รอบนี้ไม่ได้เป็นไปตามเป้า ไลฟ์ ส ไตล์ ที่ ส มุ ท รสาครยั ง ไม่ ใ ช่ คนที่ นี่ ซื้ อ บ้ า นอยู ่ อ ยากเอาพ่ อ แม่ ไปอยู่ด้วย พอเป็น 3 ชั้นมันไม่เวิร์ก มี แ ค ่ ค น ก ลุ ่ ม ห นึ่ ง ที่ เ ป ็ น ‘ ยั ง ก ์ เจเนอเรชั่น’ ชอบแต่ดีมานด์ไม่มากพอ ให้ จ บโครงการได้ ดั ง นั้ น พอท� ำ ไป ได้ ค รึ่ ง ทาง ก็ ต ้ อ งมาทบทวนใหม่ ต้องเอาโครงการที่เหลือที่ยังไม่ได้ขาย มาแก้ไข ปรับให้เป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชัน้

“จากนั้นก็ท�ำขึ้นมาอีกโครงการ พื้ น ที่ 40 กว่ า ไร่ เริ่ ม ใหญ่ ม ากขึ้ น โครงการที่ 3 คื อ เดอะพราว เป็ น ทาวน์โฮมและบ้านแฝด เพื่อเป็นทาง เลื อ กให้ ผู ้ ที่ ไ ม่ ต ้ อ งการทาวน์ เ ฮาส์ แต่ ต ้ อ งการบ้ า นเดี่ ย ว เพี ย งแต่ ติ ด เงื่ อ นไขในเรื่ อ งราคาบ้ า นเดี่ ย ว ซึ่ ง บ้ า นแฝดจะราคาถู ก กว่ า บ้ า นเดี่ ย ว เพราะต้นทุนต�่ำกว่า “ก้าวต่อมาคือท�ำอาคารพาณิชย์ เนื่ อ งจากมี ค นมาเสนอที่ ดิ น 11 ไร่ ซึ่งดูแล้วไม่พอท�ำโครงการบ้านจัดสรร ก็ เ ลยท� ำ เป็ น อาคารพาณิ ช ย์ 4 ชั้ น ซึ่ ง ตอนนั้ น จะนิ ย มท� ำ 3 ชั้ น ครึ่ ง คื อ มี ชั้ น ลอย แต่ ใ นแง่ ป ระโยชน์ ใ ช้ ส อย มองว่ า ไม่ ไ ด้ เลยท� ำ เป็ น 4 ชั้ น เต็ ม ใช้ เ ป็ น จุ ด ขาย ขณะเดี ย วกั น ก็ มี ก าร ออกแบบในเรื่องการแก้ปัญหาเรื่อง ที่จอดรถให้ด้วย “ที่ส�ำคัญคือปกติอาคารพาณิชย์ ความลึกประมาณ 12 เมตร แต่เมื่อ หั ก พื้ น ที่ ห ้ อ งน�้ ำ พื้ น ที่ บั น ไดออกไป ประมาณ 3-4 เมตร จะเหลื อ พื้ น ที่ ขายแค่ 8 เมตร ดี - แลนด์ จึ ง เปลี่ ย น ใหม่ ท�ำข้างล่างให้ลึก 15-16 เมตร แต่ ท� ำ ข้ า งบน 12 เมตรเหมื อ นเดิ ม ก็ ต อบโจทย์ ไ ด้ ขายได้ ดี พ อสมควร เปิดโครงการไม่นานก็หมด แล้วก็มา เป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งขายอยู่ในปัจจุบัน”


ขยายแนวรบ ให้กว้างขึ้น เมือ่ โปรดักท์เพิม่ มากขึน้ โครงการเยอะ ขึ้น และมีความลึกในแต่ละสไตล์สินค้า มากขึ้ น ท� ำ ให้ สุ เ ทพหั น มาพิ จ ารณา เรื่องแบรนด์ ว่าเป็นสิ่งจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง สือ่ สารความต่างให้ลกู ค้าเข้าใจได้ชดั เจน ขึ้นในทุกๆ ด้าน อย่างเช่นในเรื่องพื้นที่ โครงการ ซึง่ เดิมเคยวางเอาไว้ในบริเวณ สมุ ท รสาคร ก็ ก ลายเป็ น ต้ อ งมานั่ ง ปรึกษากันว่าจะเอาอย่างไร “อย่ า งมี ค นมาเสนอขายที่ ดิ น แถวมี น บุ รี เราก็ ไ ปดู ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ พื้ น ที่ การท�ำงานของบริษัท ก็มานั่งคุยกัน จะท�ำพื้นที่ที่ขยายวงกว้างขึ้นนอกจาก สมุทรสาคร คือก�ำหนดวิชั่นใหม่ ตั้งแต่ กรุงเทพฯ โซนพระราม 2 ลงมาจนไปถึง ราชบุรี นั่นคือโซนที่เราก�ำหนดพื้นที่ จะท�ำโครงการของเรา”

สุเทพบอกว่า นั่นคือการเดินหน้าขยาย แนวรบโดยที่จะต้องก�ำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน ว่าจะต้องปักธงที่มีโครงการ ดี-แลนด์ อยู่บน พระราม 2 คอมมู นิ ตี้ มอลล์ จึ ง เป็ น ทั้ ง อี ก หนึ่ ง แนวรบที่ขยายขึ้นมาใต้ร่มเงาของ ดี-แลนด์ และเป็นการปักธงบนถนนพระราม 2 ไปใน ตัว สุเทพเล่าว่า “จริงๆ ดี-แลนด์มีแผนจะ สร้ า งคอมมู นิ ตี้ มอลล์ มาตั้ ง แต่ เ มื่ อ 4 ปี ที่ แ ล้ ว เริ่ ม จากตอนนั้ น มี ที่ ดิ น อยู ่ ใ นเมื อ ง จึงท�ำรีเสิร์ชว่าเหมาะจะท�ำโครงการหรือไม่ ผลออกมาไม่ OK กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าถึง มีน้อยเกินไป จึงต้องพับแผนไป

“แต่เมือ่ ต้องปักธงทีม่ โี ครงการ ดี-แลนด์ อยูบ่ นพระราม 2 ก็ตอ้ งหาทีด่ นิ บนพระราม 2 ให้ได้ สุดท้ายจึงมาได้ที่ดินผืนนี้ ประมาณ 50 ไร่ ตอนแรกคิดท�ำโครงการหมูบ่ า้ นจัดสรร แต่ เ มื่ อ ดู โ ลเกชั่ น คิ ด ว่ า น่ า จะท� ำ คอมมู นิ ตี้ มอลล์ อย่างที่เคยคิดเอาไว้ได้ ไลฟ์สไตล์ที่นี่ มีความเป็นไปได้ จึงมีการท�ำ Study มีการเชิญ ทีป่ รึกษา เชิญนักออกแบบด้านนีโ้ ดยตรงให้มา ดูโลเกชัน่ มาช่วยวิเคราะห์กนั แล้วก็ทำ� รีเสิรช์ “สุดท้าย OK ทีด่ นิ แปลงนีเ้ หมาะสม เรา ก็เลยท�ำ โดยแบ่งที่ดินมาท�ำประมาณ 15 ไร่ ส่วนอีก 30 กว่าไร่กท็ ำ� เป็นหมูบ่ า้ นจัดสรร ก็เลย เป็นที่มาของ ‘พอร์โต้ ชิโน่ (Porto Chino)’

‘พอร์โต้ ชิโน่’ ผลงานที่ท้าทาย สุเทพมัน่ ใจว่ามาถูกทางแล้ว ทัง้ ในเรือ่ งกลุม่ เป้าหมายทีต่ า่ งจาก ไลฟ์สไตล์ มอลล์โดยทัว่ ๆ ไป ทัง้ ในเรือ่ งทีต่ งั้ ซึง่ อยูบ่ นเส้นทาง ที่ ค นจะเดิ น ทางไปหั ว หิ น หรื อ สวนผึ้ ง จะต้ อ งใช้ เ ส้ น ทาง พระราม 2 พอร์โต้ ชิโน่ คือจุดแวะพักที่เหมาะ ขณะเดียวกัน ก็ยังมีโครงการที่พักอยู่ด้วย ท�ำให้ พอร์โต้ ชิโน่ ไม่เคยเหงา ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ที่ส�ำคัญตราบเท่าที่หัวหินยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับ ความนิยม ยังมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ก็ถือว่าหัวหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้อีกนาน ซึ่งก็ จะช่วยท�ำให้บรรดาธุรกิจบนแนวเส้นทางนี้ มีโอกาสทางธุรกิจ ที่สูงไปด้วย

ณ วันนี้ ดูเหมือนสุเทพจะทุ่มเทให้ความส�ำคัญในการ พัฒนาและปรับปรุงโครงการ พอร์โต้ ชิโน่ อย่างเต็มที่เลย ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์พื้นที่ เช่น การมีหลังคาที่ดีไซน์ สวยงามเข้าไปคลุมพืน้ ทีร่ ะหว่างทางเดินเพือ่ ไม่ให้รอ้ น การหา ร้านค้ามาลงในพื้นที่ เริ่มเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 แต่เป็นการเปิดแค่ซอฟต์ โอเพ่นนิง่ และเปิดเต็มรูปแบบ ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน ซึ่ ง ตอนนี้ เ ริ่ ม จะมี ร ้ า นค้ า บางร้ า น ทยอยเปิดกันแล้ว อย่างแมคโดนัลด์ และสตาร์บัคส์ ซึ่งเป็น รูปแบบไดรฟ์ทรูแห่งแรกของเมืองไทยเลยทีเดียว “ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากฝากก็คือ พอร์โต้ ชิโน่ นับเป็น โครงการใหม่ทเี่ ราพยายามตีโจทย์ตา่ งๆ แก้จดุ ด้อยต่างๆ เพือ่ ท�ำให้สมบูรณ์ทสี่ ดุ ก็อยากเชิญชวนให้ไปลองใช้บริการดู” 119


แนวคิดปรัชญาในการบริหารงาน “ในมุมมองผม ผมว่าวันนี้ยังไม่ถือว่าเป็น ความส�ำเร็จ งานทีท่ ำ� มาเรารูส้ กึ ว่าเรายังต้อง เรียนรู้ และยังต้องพยายามเรียนรู้” เหตุผลของสุเทพก็คอื จะไม่นำ� สิง่ ทีผ่ า่ น มาทั้งหมดมาท�ำซ�้ำ แล้วบอกว่าไม่ต้องปรับ อะไร หรือว่าจะน�ำมาเป็นสูตรส�ำเร็จที่จะท�ำ ในวันข้างหน้าได้เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ จะต้ อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาไปเรื่ อ ยๆ ทุกปี แม้กระทัง่ การบริหารคน การท�ำงานกับ ลูกค้าก็คือการท�ำงานขาย ก็เป็นการท�ำงาน ที่เกี่ยวกับคน ลูกค้าสามารถที่จะมีความคิด เปลี่ยนไปได้ในแต่ละช่วง ฉะนั้น สิ่งที่ต้อง เข้าใจคือ ลูกค้าก�ำลังคิดอะไรอยู่ ต้องศึกษา

แล้วพยายามปรับตัวให้ทนั กับความต้องการ ของลูกค้า ดั ง นั้ น แนวคิ ด หลั ก ก็ คื อ การปรั บ ตั ว ถือเป็นวิธีคิดในการท�ำงานของ ดี-แลนด์ มาตลอดระยะเวลา 10 ปี “สิง่ ทีเ่ ราต้องนึกอยูเ่ สมอก็คอื ว่าบางครัง้ การตัดสินใจของเรามันไม่ได้ถูกเสมอ ถ้า มันผิดก็ต้องถอย เพราะเราท�ำงานยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่จะเป็นปัญหาเป็นกับดักตัวเองก็คือว่า เราสัง่ งานไปแล้ว และรูว้ า่ มันผิด แต่วา่ จะถอย ได้หรือไม่ เพราะเราเป็นคนออกค�ำสัง่ ดังนัน้ สิ่งส�ำคัญคือต้องถอยให้เป็น รู้จักถอย แล้วก็ เปิดรับที่จะฟัง”

“สิ่งที่เราต้องนึกอยู่ เสมอก็คือว่า บางครั้ง การตัดสินใจของเรา ไม่ได้ถูกเสมอไป ถ้าผิด ก็ต้องถอย เพราะ เราท�ำงานยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่จะเป็นปัญหา เป็นกับดักตัวเองก็คือ สั่งงานไปแล้ว และรู้ว่า มันผิด แต่ว่าจะถอย ได้หรือไม่ เพราะเราเป็น คนออกค�ำสั่ง ดังนั้น สิ่งส�ำคัญคือต้องถอย ให้เป็น รู้จักถอย แล้วก็เปิดรับที่จะฟัง”

อุปสรรคแก้ได้ด้วยการคุยกัน “อุปสรรคที่เกิดขึ้นในเวลาต่างกัน วิธี แก้ไขก็ไม่เหมือนกัน” สุเทพเล่าว่า ในแง่ธรุ กิจตอนทีเ่ ริม่ บุกเบิกใหม่ๆ ปัญหาอุปสรรคก็คอื จะท�ำ สินค้าอย่างไรให้ลกู ค้าตัดสินใจซือ้ ก็แก้ โดยการหาข้อมูล การเรียนรู้ และมีการ พั ฒ นาไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ก็ เ รี ย นรู ้ ม าตลอด ซึ่งหากจะถามว่าอุปสรรค ณ วันนี้ยังมี หรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามี ก็ต้องพัฒนา ปรับปรุงกันไปตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่สุเทพบอกว่ามองข้าม ไม่ได้เลย คือ การท�ำงานร่วมกับคนและ 120

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

การบริหารคน เพราะยิ่งบริษัทเติบโต ขึ้นก็จะมีคนท�ำงานด้วยเยอะขึ้น ดังนั้น จะท�ำอย่างไรให้คนท�ำงานด้วยกันแล้วให้ เป็นฮาร์โมนีหรือเป็นเสียงเดียวกัน ท�ำงาน กันเป็นทีมได้ ตรงนีถ้ อื เป็นอุปสรรคของ ผู้ บ ริ ห าร แล้ ว จะต้ อ งบริ ห ารจั ด การ ให้ได้ ปัญหาคือในส่วนของผู้บริหาร มีทั้งผู้บริหารที่เก่งงานแต่ไม่เก่งคน แต่ ถ้าเก่งทัง้ งานเก่งทัง้ คน ตรงนีไ้ ม่งา่ ยเลย ส�ำหรับสุเทพ วิธกี ารบริหารจัดการ ตรงนี้ คื อ ใช้ ก ารพู ด คุ ย อย่ า งมี ศิ ล ปะ เพื่อให้คนที่ท�ำงานด้วยเข้าใจปัญหา

รู้จักคิดรู้จักพัฒนา ที่ส�ำคัญต้องสอน ให้ เ รี ย นรู้ ต้ อ งให้ เ ห็ น ว่ า ในอนาคต พวกเขาจะต้องมีการเติบโตขึน้ จะต้องมี ลูกน้องมากขึ้น หากวันนี้ท�ำงานกับคน แค่คนสองคนก็ยังมีปัญหา วันข้างหน้า ท�ำงานกับคนมากขึ้นก็จะยิ่งล�ำบาก “ฉะนั้นตรงนี้ต้องพยายามให้คิด มีการคุย ปลอบ ให้กำ� ลังใจ สอน เพือ่ ให้ สามารถอยู่ได้ ต้องช่วยเตือน จะบอก ทีเดียวให้เข้าใจ แล้ววันข้างหน้าไม่ตอ้ ง มานั่งพูดเรื่องนี้อีกไม่ได้ ต้องพูดกัน อยู่เสมอ ต้องสอนกันอยู่เสมอ”


ผลงานที่ภาคภูมิใจ ดูเหมือนสิ่งที่สุเทพภาคภูมิใจ นอกเหนือจากการที่สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่บนถนน ธุรกิจท�ำโครงการหมู่บ้านจัดสรรได้แล้ว รวมทั้งในวันนี้ยังสามารถท�ำให้คนรู้จัก ดี-แลนด์ ในนามนักพัฒนาโครงการจัดสรรเพื่อขายได้อีกด้วย แต่สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ การที่รู้สึกว่าลูกค้าไว้วางใจดี-แลนด์ โดยเฉพาะการดูแลลูกค้าและการให้บริการ “ถึงแม้วา่ วันนีถ้ า้ เราท�ำรีเสิรช์ ออกมา คิดว่าผลรีเสิรช์ คงบอกเราว่าไม่ได้ประทับ ใจมากอย่างที่เราตั้งเป้าหมายไว้ แต่ส่วนหนึ่งคือเราก็คิดว่า ในขณะที่เราท�ำ เราดูแล ลูกค้า ถึงแม้จะยังไม่ดีมากเท่าที่ใจลูกค้าต้องการก็ตาม แต่ในขณะที่เราท�ำแบบนี้ คนอื่นยังไม่ได้ท�ำ อันนี้แหละที่ท�ำให้ลูกค้ารู้สึกว่าท�ำไมต้องดี-แลนด์ เพราะว่า ดี-แลนด์ ไม่เคยทิ้งลูกค้า” สุ เ ทพวางกลยุ ท ธ์ ใ ห้ มี บ ริ ก ารหลั ง การขาย ด้ ว ยการมี ที ม งานประจ� ำ อยู่ ที่ ออฟฟิศ มีแผนกรับเรื่องร้องเรียน รับปัญหาลูกค้าที่ได้รับความไม่สะดวกจากบ้าน ทีอ่ ยู่อาศัย หรือจากสาธารณูปโภค แล้วทีมงานก็จะเข้าไปดูแล เข้าไปช่วยแก้ไขให้ ลูกค้า เรื่องไหนที่เดือดร้อนที่สุด เมื่อรู้แล้วต้องเข้าไปจัดการให้ลูกค้า เรื่องไหนที่ไม่ เดือดร้อนในทันทีกจ็ ะให้ทมี เข้าไปนัดหมาย จุดนีแ้ หละคือสิง่ ทีท่ ำ� ให้ลกู ค้ารูจ้ กั ดี-แลนด์

ข้อคิดส�ำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ สุเทพมองว่าหลักการบริหารมีในต�ำรา เยอะแยะ แต่ ว ่ า ประสบการณ์ ก าร เรียนรู้ การปรับปรุงเอาไปใช้ จะมาจาก สิ่งที่มองเห็นต่างกันของแต่ละคน “มองจากประสบการณ์ ทุกวันนี้ที่ พบเห็นคือ จะมีคนที่อีโก้สูงมาก คิดว่า ตัวเองเก่ง คิดว่าตัวเองประสบการณ์ เยอะ มีความสามารถ เราเห็นเรารู้สึก ว่าท�ำไมเขาคิดอย่างนี้ ท�ำไมวัยนี้เขา เป็นคนไม่ค่อยรับฟัง ไม่ค่อยคุยกันบน เหตุผล หรือว่ารับฟังเหตุผลของคนอื่น นี่คือสิ่งที่เรามานั่งคิด” แต่กว่าจะคิดได้อย่างวันนี้ สุเทพ ยอมรั บ ว่ า ในอดี ต ก็ เ คยเป็ น มาก่ อ น

บ้างเหมือนกัน แต่ก็พบว่าไม่ถูก ยิ่งสูง ต้องรู้จักถอยเป็น ฟังเป็น ไม่ใช่เรื่องที่ จะมานั่งเสียหน้า เช่นว่าในที่ประชุม หากเราน� ำ เสนอเรื่ อ งบางเรื่ อ งขึ้ น ไป แล้วถูกคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย ถ้าจบ ด้ ว ยเหตุ แ ละผลของอี ก ฝ่ า ย อี ก ฝ่ า ย ก็ต้องยอมรับได้ ดังนั้น ข้อคิดที่เขาอยากฝากให้ กับผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ ก็คือ ต้องฝึกต้อง เรียนรู้ในการรับฟังความคิดเห็น และ ต้องยอมถอยให้เป็นและให้การท�ำงาน เป็นทีมเกิดขึ้น

PROFILE สุเทพ ปัญญาสาคร เป็นลูกชายคนที่ 5 ในบรรดาลูกทั้งหมด 6 คน ของตระกูลปัญญาสาคร หนึ่งในตระกูล เก่าแก่ของจังหวัดสมุทรสาคร และเป็นครอบครัวที่มีบทบาทต่อธุรกิจของจังหวัด สุเทพเริ่มต้นชั้นประถมที่ โรงเรียนมหาชัยคริสเตียนวิทยา จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นไปเป็นนักเรียนประจ�ำที่ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนวัดราชบพิธ ที่กรุงเทพฯ กระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง โดยใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 3 ปีครึ่ง ต่อด้วยปริญญาโทบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

SUTHEP Panyasakorn D-LAND GROUP

Suthep Panyasakorn, a businessman from the sea, made a debut into the business circle at the age of 25. With his father’s vision to branch out the fishery business into the real estate since the real estate scene in Samut Sakhon had not yet flourished in those days, the young entrepreneur saw the business opportunity and chipped in with his friends in the early stage to set up the real estate model. Suthep is a trusted heir to weave the dream and vision of his father and materialize it. He is strongly dedicated to learning from the best and learning from the experience of his father. It was not a rosy pink terrain for Suthep. After two years of starting his business, the real estate industry underwent a major depression from the 1997 economic crisis. The lesson was learned the hard way but Suthep went through it with his head high. “I saw our customers give up their down payment as they were not confident about their own financial situation. We took up that portion and give discount to new customers which kept us going for a while and helped us to still push forward the project.” As the rising business star of Mahachai City, all eyes are on Suthep who is now taking the role of Managing Director of D-Land Group, a new-born, fiery real estate company. He is also managing a mega lifestyle mall ‘Porto Chino’ which is creating a buzz in the real estate scene.

121


122


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

23 อภิชาติ พัชรภิญโญพงศ์ APICHART Patcharapinyopong โรงแรม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ

จะเป็นเบอร์หนึ่งในสายน�้ำเจ้าพระยา หากนึกถึงสถานที่ บรรยากาศดีๆ ส�ำหรับ วันพิเศษ การล่องเรือ ในแม่น�้ำเจ้าพระยาชมวิว กรุงเทพมหานคร ยามค�่ำคืนคงเป็นหนึ่ง ในลิสต์ของใครหลายๆ คน และโรงแรมริเวอร์ไซด์ ก็เป็นรุ่นบุกเบิกท�ำธุรกิจ เรือภัตตาคารบนแม่น�้ำ เจ้าพระยาขึ้นมา

อภิชาติ พัชรภิญโญพงศ์ ผู้บริหารรุ่นที่สอง ที่ต่อยอดธุรกิจเรือภัตตาคารที่รุ่นคุณพ่อได้ บุกเบิกไว้ จนปัจจุบันริเวอร์ไซด์มีเรือ 3 ล�ำ คือ เรือริเวอร์ไซด์ 1 จุคนได้ 650 คน ริเวอร์ไซด์ 2 รับคนได้ 800 คน และล่าสุด ริเวอร์ไซด์ 3 ที่รองรับคนได้ถึง 1,200 คน

123


เขาท�ำได้ ผมก็ท�ำได้ แรกเริ่ ม เดิ ม ที ตระกู ล พั ช รภิ ญ โญพงศ์ ท�ำธุรกิจค้าพืชไร่ เช่น มันส�ำปะหลัง ข้าวโพด เป็ น หลั ก และเริ่ ม หั น มาท� ำ ธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เ ป็ น ธุ ร กิ จ รอง โดยตั้ ง ใจสร้ า ง คอนโดมิ เ นี ย ม แต่ ใ นระหว่ า งด� ำ เนิ น การ ก่อสร้าง ช่วงนัน้ ประเทศไทยกลัวเรือ่ งการเกิด แผ่นดินไหว และในสมัยนั้นคอนโดมิเนียม ยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไร ท�ำให้ขายคอนโดฯ ไม่ได้ตามเป้า เมือ่ สร้างเสร็จแล้วจึงปรับธุรกิจ เป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่ารายเดือน มีเช่ารายวัน บ้างส่วนหนึ่ง กระทั่งปีที่ 4 ด้วยวิสัยทัศน์ของ คุณพ่อทีม่ องว่าธุรกิจการท่องเทีย่ วมีแนวโน้ม การเติบโตที่ดี จึงปรับมาเป็นโรงแรมเต็ม รูปแบบ จากที่ธุรกิจหลักของครอบครัวคือธุรกิจ ค้าพืชไร่ ไม่มีความรู้ด้านการโรงแรม จึงจ้าง ทีมบริหารเข้ามา และใช้โครงสร้างเดิมมา

ตกแต่งใหม่ แต่เพียงไม่นานอภิชาติก็ขอเข้า มาบริหารเอง อภิชาติจบปริญญาตรีด้านการบริหาร จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เขามองว่าสิง่ ทีท่ มี บริหารท�ำได้ เขาเองก็ท�ำได้ “มีการท้าทายกันว่า ให้คุณพ่อลองคุย กั บ ที ม บริ ห ารหลั ง จากที่ เ ขาเข้ า มาบริ ห าร 6-7 เดือน เขาต้องมีลิสต์เลยว่าเขาขออะไร บ้าง แล้วดูว่าที่เขาขอตรงกับที่ผมพูดตอนนี้ หรือเปล่า ถ้าใช่ผมขอท�ำเองเลย เพราะเรา ยังเป็นระบบกงสีอยู่ แต่เขามาอย่างมืออาชีพ เรารู้ว่าสไตล์พ่อแม่เราเป็นอย่างนี้ สไตล์ ผู ้ บ ริ ห ารก็ เ ป็ น อี ก แบบหนึ่ ง เราเป็ น เด็ ก รุน่ ใหม่ เราคิดว่าเราก็รทู้ ฤษฎีได้ หาข้อมูลได้ เรียนรู้ได้ และประกอบว่าเรามีทีมงาน เรามี ลูกน้องทีม่ ปี ระสบการณ์ และเขาก็ยดื หยุน่ กับ เราได้ เราก็เดินไปด้วยกัน”

จนในที่สุด อภิชาติก็ได้เข้ามาบริหาร กิ จ การด้ ว ยความเชื่ อ มั่ น เต็ ม เปี ่ ย ม โดยมี คุณพ่อเป็นที่ปรึกษา “ผมจะบอกลูกน้องว่า เราต้องท�ำงาน อย่างดี และเป็นระบบ เราอยูอ่ ย่างเป็นพีน่ อ้ ง ผมคือพี่ใหญ่ มีอะไรเราพูดคุยกันได้ มีอะไร เข้ามาหากันได้ ไม่เข้าใจไม่เป็นไรไม่ว่า ขอ อย่างเดียวคือความซื่อสัตย์ ไม่ทุจริต แล้วเรา อยูก่ นั อย่างพีน่ อ้ งหรือครอบครัว มีอะไรก็พดู คุยกัน หารือด้วยกัน โดยเฉพาะมองว่าการ เดินไปข้างหน้าขององค์กรมันไม่ได้มีตัวเรา คนเดียว เราแค่เป็นผู้น�ำ แต่ว่าเราต้องรักษา ลูกน้องทั้งหมดไปด้วยกัน ก็อยู่กันอย่างนี้ การท�ำงานก็มีการประชุม มีการวางระบบ งานก็ว่ากันไป สามารถตรวจสอบได้ อะไร ประมาณนี้ ตามหลักการบริหารทั่วๆ ไป”

ก่อนสร้างแบรนด์ใหม่ ต้องลบภาพเก่า อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนจากคอนโดมิ เ นี ย มสู ่ ก ารเป็ น โรงแรมเต็ ม รู ป แบบคื อ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงโครงสร้าง อาคารและสิ่งอ�ำนวยความสะดวก เพราะแต่ แ รกตั ว ตึ ก ถู ก ออกแบบ ให้ เ ป็ น คอนโดมิ เ นี ย ม ดั ง นั้ น สิ่ ง อ� ำ นวย ความสะดวกหลายๆ อย่ า งจึ ง ยั ง ไม่ มี ต าม มาตรฐานของโรงแรม เช่ น สระว่ า ยน�้ ำ ฟิตเนส ห้องประชุม หรือรูปแบบของห้องพัก จึงต้องมีการลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกและเพิ่มเติมเรื่องระบบความ ปลอดภัยทั่วทั้งตึก “ผมเคยพู ด มาตลอดว่ า มั น จะง่ า ย กว่ า นี้ ถ ้ า ระเบิ ด ตึ ก นี้ ทิ้ ง แล้ ว สร้ า งใหม่ หนึง่ , มันจะได้อย่างทีเ่ ราตัง้ ใจให้บริการ การ ออกแบบสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ มันจะ ง่ายกว่า แต่เมื่อโอเคคุณพ่อคุณแม่สร้างมา เราก็มีหน้าที่สานต่อและท�ำให้ดีที่สุด” เป็นการลบภาพลักษณ์เก่าๆ ก่อนจะเริม่ สร้างแบรนด์โรงแรมริเวอร์ไซด์ได้อย่างเต็มที่ 124

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


หัวใจส�ำคัญคือเรือภัตตาคาร

“ต้องพยายามมองต่าง จากคนอื่น แม้ลึกๆ เราอาจจะหวั่นๆ แต่เนื่องจากเป็นผู้น�ำ ขององค์กร ก็ต้องมีความเชื่อมั่น”

ถ้านึกถึงชื่อ ริเวอร์ไซด์ เรามักจะนึกถึง ภาพเรือภัตตาคารเป็นอันดับแรก เรือภัตตาคารล�ำแรกเป็นเรือไม้ จุได้ 180 ที่นั่ง ริเริ่มโดยคุณพ่อของ อภิชาติ และขยายมาเป็นเรือ 650 ที่นั่ง ในชื่อ ริเวอร์ไซด์ 1 ในรุ่นของอภิชาติก่อนจะสร้างเรือ ล�ำต่อไป เขาค้นพบว่า เรือริเวอร์ไซด์ ต้องเป็นเรือสองชัน้ มีดาดฟ้าแบบทีเ่ ปิด โล่งได้มากทีส่ ดุ เพราะเขามีความเชือ่ ว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการต้องการสัมผัสกับ ธรรมชาติได้มากที่สุด “โดยพื้ น ฐานลู ก ค้ า 80% เป็ น คนไทย อย่างคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่ เบื่อความจอแจในเมือง และต้องการ สูดอากาศธรรมชาติ หรือลูกค้าที่อยู่ ปริมณฑล ต่างจังหวัดใกล้เคียง บางคน ก็ ขั บ รถมา ตั้ ง ใจมาเพื่ อ ที่ จ ะกิ น ข้ า ว ที่เหลือ 20% จะเป็นชาวต่างชาติ ก็อาจ จะมาเป็ น ส่ ว นตั ว บ้ า งเล็ ก น้ อ ย แต่ ส่วนใหญ่ทเี่ ห็นจะมีเพือ่ นคนไทยพามา เลี้ยงรับรอง” ความโชคดี อ ย่ า งหนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ เรือของริเวอร์ไซด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ในตอนนั้น คือการเข้าร่วมโครงการ แม่ น�้ ำ ของแผ่ น ดิ น ซึ่ ง เป็ น การ จั ด การแสดงแสง สี เสี ย ง ริ ม แม่ น�้ ำ เจ้าพระยา ตามแนวพระด�ำริในทูลกระหม่ อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิรวิ ฒ ั นาพรรณวดี ซึง่ นับเป็นพระมหากรุณาจากทีท่ รงให้โอกาสเรือริเวอร์ไซด์ เข้าร่วมโครงการนี้ “เราเป็ น เรื อ เจ้ า เดี ย วที่ ไ ด้ เ ข้ า ร่วมโครงการนี้ เขาเอาเรือเราไปตั้ง อัฒจันทร์ งานแม่น�้ำของแผ่นดินปีแรก จะมีการแสดง 4-5 จุดสองฝั่งแม่น�้ำแล้ว ก็ใช้เรือวิ่งมาจอดดูการแสดง แต่ปีที่ สอง รวบจาก 4-5 เวทีมาเป็นเวทีเดียว เวทีอยูบ่ นฝัง่ คนทีจ่ ะมาชมก็ตอ้ งนัง่ เรือ เราสามารถตั้งอัฒจันทร์ได้ 10 ชั้นบน ดาดฟ้าเรือ เป็นการเปิดตัวศักยภาพ เรือของเรา ซึ่งเรืออื่นท�ำไม่ได้ “โครงการนั้นมีทั้งหมด 5 ปี เรือ ริเวอร์ไซด์ 2-3 เกิดในช่วงนั้นพอดี ทั้ง สองล�ำสามารถพาคนชมงานรอบละ 1,000-2,000 คน อันนัน้ ก็เป็นเรือ่ งทีว่ า่ ได้พระมหากรุณาจากท่านที่เลือกเรา”

ท�ำการตลาดแบบไร้คู่แข่ง ที่ผ่านมาคนจึงรู้จักริเวอร์ไซด์เรื่องเรือมากกว่าตัวโรงแรม และ 10 กว่าปีที่ผ่านมา อภิชาติทำ� การตลาดโดยวางต�ำแหน่งทางการตลาดว่า ริเวอร์ไซด์เป็นโรงแรมสามดาว ที่อยู่ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีคู่แข่งโดยตรง เพราะโรงแรม ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่กว่าสิบแห่งมักเป็นระดับห้าดาวถึงหกดาวแทบทั้งสิ้น ในยุคต้นๆ อภิชาติเน้นรับตลาดนักท่องเทีย่ วทีม่ ากับทัวร์อยู่ 4-5 ปี แต่หลังจาก เจอปัญหาบริษัททัวร์มักต�ำหนิเพื่อกดราคา และทิ้งหนี้เสียให้ 2-3 ล้านบาท เขาจึง หันมาจับตลาดสัมมนากับหน่วยงานราชการต่างๆ “ท�ำตรงนี้มาได้สิบกว่าปี สิ่งที่ได้มันไม่ใช่ตัวห้องพักอย่างเดียว พอสัมมนาก็ ต้องใช้ห้องประชุม ส่วนใหญ่จะเป็น Full Board ก็จะมีตั้งแต่อาหารเช้า เบรก 2 เบรก รวมถึงมื้อกลางวัน มื้อเย็น ทุกวันนี้ 80% ก็ยังเป็นตลาดสัมมนา ที่เหลือก็จะเป็น Walk-in ก็ รั บ แต่ ค นต่ า งจั ง หวั ด มาเยี่ ย มญาติ ห รื อ มาท� ำ ธุ ร ะ ที่ เ ขารู ้ จั ก เรา เขาก็จะมาพัก” 125


แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา เจอปัญหามาตลอด ตั้งแต่ ปั ญ หาโรคซาร์ ส ไข้ ห วั ด นก ปั ญ หาเศรษฐกิ จ อย่ า งวิ ก ฤติ ต ้ ม ย� ำ กุ ้ ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แม้กระทั่งปัญหาการเมืองในประเทศในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา และปัญหาที่หนักที่สุดคือปัญหาน�้ำท่วมในปี 2554 “8 ปีที่ผ่านมาเจอมาทุกปีเลย เราต้องประคองธุรกิจให้ได้ เพราะว่า หนึ่ง, เรามีลูกน้องตั้ง 400 กว่าคนที่อยู่กับเรา และ 400 กว่าคนเขา ก็มีครอบครัวต้องดูแล คือตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่าท�ำยังไงให้เรือล�ำนี้ ลอยตัวได้ แล้วก็ประคับประคองกันไป มันก็ท�ำให้เราแกร่งขึ้นนะ ผมว่า การที่เราเจอปัญหาเยอะๆ เราก็ไม่ได้ย่อท้อกับมัน “บางครัง้ เราก็ถอื วิกฤติเป็นโอกาสเหมือนกัน อย่างเรือ 2 ล�ำทีเ่ ราต่อมา ก็ เ ป็ น ยุ ค ที่ ค นเขาไม่ มี ก ารลงทุ น แต่ เ ราก็ ส วนกระแส ตอนสร้ า ง เรือล�ำที่ 3 เป็นช่วงต้มย�ำกุ้ง บางคนเขาก็เริ่มชะลอการลงทุนกัน เรา ลงทุ น ขนาดนี้ ท� ำ ในช่ ว งคนไม่ ล งทุ น ถ้ า มองอี ก ด้ า นคื อ ของก็ ถู ก ลง สอง, เป็นการสร้าง ‘ความเชื่อมั่น’ ให้กับตัวเราเอง และทั้งลูกน้อง ก็ต้อง พยายามมองต่ า งจากคนอื่ น แม้ ลึ ก ๆ เราอาจจะหวั่ น ๆ แต่ เ นื่ อ งจาก เป็นผู้น�ำขององค์กร ก็ต้องมีความเชื่อมั่น “ปีที่แล้วที่เจอเรื่องน�้ำท่วม อันนี้ก็เป็นอะไรที่ล�ำบาก เราก็พยายาม ป้องกันพอสมควร แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือ น�้ำที่ท่วมมันไม่ได้มาจากแม่น�้ำ มันมาจากบนฝั่ง “ผมว่าช่วงนั้นเป็นเรื่องของการสื่อสาร เรื่องข้อมูลที่ภาครัฐสื่อให้กับ ประชาชนทั่วไปไม่ชัดเจน ท�ำให้การเตรียมการหรือการป้องกันมันท�ำ ไม่ได้ แล้วบังเอิญทีเ่ ขตบางพลัดก็เป็นเขตเดียวทีท่ ว่ มหนัก ตัง้ แต่ 19 ตุลาฯ และประมาณ 29 ตุลาฯ ทุกอย่างก็นิ่งไปหมด 3-4 อาทิตย์

126

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


“ซึ่ ง จริ ง ๆ ปี 2554 สามไตรมาส แรก ตัวเลขการเติบโตถึง 40% เลยนะ เราก็ดวู า่ มันดีนะ ปีทแี่ ล้วธุรกิจท่องเทีย่ ว ก� ำ ลั ง จะขึ้ น ตั้ ง แต่ ส ามไตรมาสแรก แต่ พ อเจอเรื่ อ งน�้ ำ ท่ ว มลงแบบดิ่ ง เลย อันนั้นเราก็เสียหายไปเยอะเหมือนกัน เสียหายในแง่ของเชิงธุรกิจ ถามว่าเรื่อง ทรัพย์สินมีเสียหายไหม ก็มีแต่ไม่เยอะ” ถึงแม้จะมีปัญหาเข้ามาเรื่อยๆ แต่ อภิชาติกลับไม่ได้มองว่าเป็นอุปสรรค ส�ำหรับธุรกิจ กลับมองว่าเป็นเรื่องของ จังหวะมากกว่า ปี 2554 เขามีความตั้งใจอยากจะ สร้างเรืออีกล�ำหนึ่ง คือ เรือริเวอร์ไซด์ 4 ที่ ส ามารถจุ ค นได้ 1,600 คนตั้ ง แต่ 3 ปีทแี่ ล้วมีการเขียนแบบเสร็จเรียบร้อย และตี ร าคามาแล้ ว 2-3 ครั้ ง แต่ ไ ม่ มี จังหวะสร้างเพราะสถานการณ์การเมือง ท�ำให้ไม่มีความมั่นใจที่จะลงทุน ท�ำให้ ชะลอโครงการไว้ก่อน “เดิมมีแผนจะต่อเรือริเวอร์ไซด์ 4 เพือ่ ขยายตลาดอาหารตามสัง่ ให้มากขึน้ ให้ใหญ่เพราะดาดฟ้าจะจุคนได้มากขึ้น ซึ่งเรือที่มีอยู่บางช่วงเวลาไม่พอ เรามอง ว่าเราเตรียม Create Demand ต้องสร้าง อะไรใหม่ๆ” 4-5 ปีท่ีผ่านมา ตลาด MICE หรือ การจั ด ประชุ ม สั ม มนาจั ด นิ ท รรศการ ก�ำลังเป็นช่วงขาขึ้น อภิชาติจึงต้องการ ต่ อ ยอดจากตรงนั้ น เพราะเมื่ อ คน มาประชุม ก็สามารถมากินอาหารค�่ำ หรือท่องเที่ยวทางน�้ำในยามค�่ำคืนได้

ที่ผ่านมาเมื่อเรือริเวอร์ไซด์รับจัด งานให้ลูกค้าแบบเหมาเรือทั้งล�ำ ท�ำให้ ต้องหยุดงานขายภาคปกติ เพราะมีเรือ อยู่เพียงแค่ 2 ล�ำ คือ เรืออาหารตามสั่ง กับเรืออาหารบุฟเฟ่ต์ ท�ำให้ค่าใช้จ่าย ของคนที่ต้องการจัดงานแบบเหมาเรือ ทัง้ ล�ำสูงขึน้ ไปโดยปริยาย เพือ่ มาชดเชย กับรายได้ประจ�ำ “จริงๆ แล้วการจัดงานเลี้ยงบนเรือ ไม่จ�ำเป็นต้องราคาสูงเท่ากับปัจจุบัน หากเรามีเรือล�ำที่ 3 เราก็มีความคล่อง ตัวมากขึ้น อย่างมีงานเหมาเอาเลยเรา มีเรือเตรียมรองรับลูกค้าให้อยู่แล้วนะ พูดง่ายๆ ว่าคุณจัดงานห้องบอลรูมใน โรงแรมราคาเท่าไร คุณก็สามารถจัด บนเรื อ ได้ เ ท่ านั้ น แต่ ต อนนี้ ดู เ หมื อ น การจัดงานบนเรือจะแพงกว่าประมาณ 30-40%” จากแผนที่ จ ะสร้ า งเรื อ ที่ ส ามารถ รองรั บ ลู ก ค้ า ได้ 1,600 ที่ นั่ ง แต่ เ มื่ อ โอกาสไม่อำ� นวย เขาจึงตัดสินใจมาลงทุน สร้างตึกใหม่ ขยายห้องพักโรงแรมจาก เดิมทีม่ ี 250 ห้อง เพิม่ ขึน้ อีก 48 ห้อง และ ห้องประชุมอีก 2 ห้อง ในขณะทีเ่ ขาก็มอง ไปอีก 3 ปีข้างหน้าว่าถ้าหากไม่มีปัญหา อะไร ก็คาดว่าจะลงทุนสร้างเรืออีกล�ำให้ ส�ำเร็จให้ได้ ด้วยความตัง้ ใจว่าอยากเป็น เบอร์หนึ่งในแม่น�้ำเจ้าพระยา

APICHART

Patcharapinyopong RIVERSIDE

Apichart Patcharapinyopong is the second generation of Riverside Bangkok Hotel which is outstanding in its Boat Dinner Cruise along Chao Phraya River. Apichart offered himself to his father as he presumed that he had sufficient capability to take care of the business. Only after he was entrusted by his dad, he fully took control of the hotel and made it grew handsomely. His marketing strategy was to position his hotel as a 3 stars hotel, but emphasized in the excellent services of the Boat Dinner Cruise along the river where clients could enjoy a delicious Set Dinner and a touch of the beautiful scenery on both side of Chao Phraya River. Recently, Apichart tried to capture the seminar and exhibition market; meanwhile, he attempted to expand his boat service. He aims to be the best Boat Dinner Cruise along Chao Phraya River. And everyone knows how close he is to his goal.

PROFILE

อภิชาติ พัชรภิญโญพงศ์ ถูกส่งไปเรียนที่สิงคโปร์ถึง 14 ปี ก่อนจะไปเรียนต่อมัธยมปลายที่อังกฤษ และเข้าเรียนปริญญาตรีด้านบริหารที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อเรียนจบจึงกลับมาสานต่อธุรกิจ ครอบครัวที่เมืองไทยในธุรกิจค้าพืชไร่ และเข้าดูแลธุรกิจโรงแรมริเวอร์ไซด์ กระทั่งโรงแรมมีชื่อเสียงเรื่องเรือภัตตาคารในปัจจุบัน 127


ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา

128 000


เรื่อง : สุดเขต วงศ์ภูมิธรรม

ภาพ : ด�ำรงค์ฤทธิ์ สถิตด�ำรงธรรม

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

24

AITTHIPAT Kulapongvanich ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด

The Million Dollar Boy อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ คืออดีต เด็กติดเกม ที่ชีวิตประจ�ำวันคุ้นเคย กับหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่า หน้ากระดาษของต�ำราเรียน แต่เมื่อ ครอบครัวล้มละลาย พร้อมกับมี หนี้สินหลายสิบล้านบาท หนุ่มวัยโจ๋ ที่ไม่ตั้งใจเรียนและติดเกมออนไลน์ เลยต้องปรับเข็มทิศชีวิตเสียใหม่ โดยการหันไปท�ำธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านเกาลัดคั่ว แน่นอนว่าเพราะไม่มีความรู้ด้านการ ท�ำมาค้าขายเลยแม้แต่น้อย ท�ำให้ อิทธิพัทธ์พบเจอกับอุปสรรคนานา

ประการ...แต่เขาก็ผ่านมาได้ ความมุมานะและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคซึ่งเป็นคุณลักษณะส�ำคัญ ที่มีอยู่อย่างเปี่ยมล้นในตัวของอิทธิพัทธ์ท�ำให้เขาค้นพบธุรกิจ ที่ใช่ส�ำหรับเขา นั่นคือธุรกิจผลิตสาหร่ายแปรรูป ภายใต้แบรนด์ ‘เถ้าแก่น้อย’ ปัจจุบันอิทธิพัทธ์อายุ 28 ปี เขาด�ำรงต�ำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด ผู้น�ำในการ ผลิตสาหร่ายแปรรูปทั้งในไทยและต่างประเทศ สามารถครอง ส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยได้กว่า 70% และต่างประเทศ กว่า 50% โดยมีการคิดค้นและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด อย่างสม�่ำเสมอ สิ่งที่กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของอิทธิพัทธ์ไปแล้วก็คือ ‘นักบริหารพันล้าน’ ผู้ประสบความส�ำเร็จในเส้นทางธุรกิจ

129


ชีวิตพลิกผัน จากวัยรุ่นธรรมดาสู่นักธุรกิจพันล้าน เรื่ อ งราวการต่ อ สู ้ ชี วิ ต และปลุ ก ปั ้ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยสองมื อ และหนึ่ ง หั ว ใจของ อิ ท ธิ พั ท ธ์ ถู ก น� ำ เสนอให้ ไ ด้ รั บ รู ้ ผ ่ า น ทางหลายสื่อ ย้อนกลับไปสมัยขาสั้น คอซอง อิ ท ธิ พั ท ธ์ ถื อ เป็ น เด็ ก ขาเฮ้ ว คนหนึ่ง เขาเรียนหนังสือไม่เก่ง แถม มั ก โดดเรี ย นไปเล่ น เกมออนไลน์ อยู่เป็นประจ�ำ แต่อิทธิพัทธ์ก็สามารถหารายได้ จากเกมออนไลน์ ไ ด้ อ ย่ า งไม่ น ่ า เชื่ อ โดยการท�ำหน้าที่เสนอความคิดเห็น และส่งไอเดียใหม่ๆ ไปเพื่อใช้พัฒนา เกม ตอนนั้ น อิ ท ธิ พั ท ธ์ ไ ด้ ค ่ า จ้ า ง เดือนละ 2-3 แสนบาทเลยทีเดียว พอเข้ามาเรียนปี 1 คณะบริหาร ธุ ร กิ จ มหาวิ ท ยาลั ย หอการค้ า ไทย พร้อมกับกระแสเกมออนไลน์ที่แผ่วลง อิ ท ธิ พั ท ธ์ จึ ง เปลี่ ย นการสร้ า งรายได้ จากเกมออนไลน์มาเป็นการซื้อเครื่อง เล่นซีดีและดีวีดีมาขายแทน ต่อมาจากการให้ค�ำแนะน�ำของ คุณพ่อของเขา (วรเศรษฐ์ กุลพงษ์วณิชย์) ในเรื่ อ งของโอกาสในการเติ บ โต ของธุ ร กิ จ อาหาร หนุ ่ ม น้ อ ยจึ ง หั น มา เริ่ ม ต้ น ท� ำ ธุ ร กิ จ ร้ า นขายเกาลั ด คั่ ว ใน ห้างสรรพสินค้า ใช้ชอื่ ว่า ‘ร้านเถ้าแก่นอ้ ย เกาลัด’ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้มาจากค�ำของ พ่อที่ว่า “ลูกอั๊วจะเป็นเถ้าแก่น้อยแล้ว” เขาเริ่มลองผิดลองถูกในการท�ำธุรกิจ ร้านค้า จากสาขาเดียวสามารถขยาย สาขาไปอีกหลายแห่ง อิทธิพัทธ์เริ่มสนุกกับธุรกิจที่ท�ำ เขาสนใจสาหร่ายทอดจากการได้ชิม สาหร่ายจากเพือ่ นผูห้ ญิงคนหนึง่ จึงลอง น�ำสาหร่ายทอดมาขายที่ร้านเกาลัด เพราะเห็นโอกาสการขยายตัวของธุรกิจ สาหร่ายทอด เขาจึงอยากผลิตสาหร่าย ทอด จึงพยายามหาข้อมูล คิดค้นและ พัฒนาด้วยตนเอง จนสามารถผลิตออก มาเป็ น สาหร่ า ยทอดภายใต้ แ บรนด์ 130

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

เถ้าแก่น้อยได้ ธุรกิจผลิตสาหร่ายของอิทธิพัทธ์ เติบโตแบบก้าวกระโดด เดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เขาก่อตั้งและจดทะเบียน บริษทั เถ้าแก่นอ้ ย ฟูด๊ แอนด์มาร์เก็ตติง้ จ�ำกัด ขึ้นมาเพื่อท�ำธุรกิจอย่างเต็มตัว จากนั้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สาหร่ า ยเถ้ า แก่ น ้ อ ยได้ รั บ อนุ มั ติ ใ ห้ เข้าไปจัดจ�ำหน่ายที่ 7-Eleven จ�ำนวน 3,000 สาขา อิทธิพัทธ์ตัดสินใจขายแฟรนไชส์ ร้ า นเกาลั ด เพื่ อ น� ำ เงิ น มาเป็ น ทุ น หมุ น เวี ย นในการผลิ ต สาหร่ า ยทอด อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับสร้างโรงงาน สาหร่าย จากนั้ น เดื อ นมกราคม พ.ศ. 2548 อิทธิพัทธ์พัฒนาสูตรการผลิต สาหร่ายทอดจนได้รับการรับรองให้ใช้ เครื่องหมายรับรอง HALAL จากคณะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ต่อมาเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 เริม่ ส่งสินค้าออกไปขายตลาดต่างประเทศ ประเดิมทีส่ งิ คโปร์เป็นแห่งแรก ธุรกิจสาหร่ายทอดของอิทธิพัทธ์ ฮิตติดลมบนอย่างรวดเร็ว เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 มี ส ่ ว นแบ่ ง การตลาด ในประเทศไทย จากเดิ ม 5% ในปี พ.ศ. 2547 พุ่งขึ้นไปเป็น 50% อย่าง เหนือความคาดหมาย จากนัน้ จึงพัฒนา โรงงานและพนั ก งานจนได้ รั บ การ รั บ รองมาตรฐาน GMP จากบริ ษั ท Global Certification Service Ltd. ต่อมาเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ย้ า ยโรงงานไปก่ อ ตั้ ง ที่ บ างบั ว ทอง จั ง หวั ด นนทบุ รี เพื่ อ เพิ่ ม ก� ำ ลั ง ผลิ ต ให้ทันต่อความต้องการของตลาด และ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ท�ำการ เปิดโรงงานใหม่ ขนาด 10 ไร่ ที่อ�ำเภอ ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

อิทธิพัทธ์เคยกล่าวถึง แนวคิดในการด�ำเนินชีวิต และด�ำเนินธุรกิจว่า ถ้าจะท�ำ อะไรให้โฟกัสอย่างแน่วแน่ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยง ได้ระดับหนึ่ง และพอเกิด ความรักที่จะท�ำสิ่งต่างๆ ท�ำให้ต้องศึกษาหาความรู้ PROFILE อิ ท ธิ พั ท ธ์ กุ ล พงษ์ วณิ ช ย์ คื อ อดี ต เด็ ก ติ ด เกมออนไลน์ แต่ เมื่ อ ครอบครั ว ล้มละลาย เขาก็หันไปเดินบนเส้นทางธุรกิจ โดยทดลองท�ำธุรกิจหลายอย่าง แต่ธุ ร กิ จ ที่ ท� ำ รายได้ ให้ เขาอย่ างงามคื อ การผลิ ต สาหร่ ายแปรรู ป ภายใต้ แบรนด์ ‘เถ้าแก่น้อย’ โดยอิทธิพัทธ์ก่อตั้งบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด และก่อตั้งโรงงานผลิตสาหร่ายของตัวเองขึ้นมา ช่วงหนึ่งเขาหยุด พั ก การเรี ย นที่ ค ณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อมาลุยธุรกิจ เต็มตัว จากนัน้ จึงกลับไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช


เถ้าแก่น้อย แบรนด์ไทย ก้าวไกลระดับโลก บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด คิดค้นพัฒนาสินค้าและ เพิ่มช่องทางจัดจ�ำหน่ายใหม่ๆ สู่ตลาดอยู่เสมอ พร้อมมุ่งมั่นที่จะตอบแทน ผู้บริโภคและสังคม หน่วยงานทุกฝ่ายในบริษัทฯ พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยฝ่ายขายและ ฝ่ายการตลาด มุง่ มัน่ ขยายการจัดจ�ำหน่ายสินค้าในช่องทางการจัดจ�ำหน่ายต่างๆ และเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงด�ำเนินการทางการตลาดเพื่อให้ สินค้าเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นต่อผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงการ รับความคิดเห็นจากลูกค้าเพื่อน�ำมาพัฒนาและปรับปรุง ส่ ว นฝ่ า ยพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก็ ร ่ ว มมื อ กั น คิ ด ค้ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ฝ่ายการเงินและบัญชีผนึกก�ำลังกันดูแลระบบ การเงินและบัญชีให้มีความถูกต้องชัดเจน ฝ่ายผลิตมีการควบคุมการผลิต ให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้า ฝ่ายประกันคุณภาพ ก็ควบคุมคุณภาพของสินค้าให้คงตามมาตรฐานด้วยความใส่ใจต่อผู้บริโภค ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ก็พิจารณาในการอนุมัติจัดหาเจ้าหน้าที่ในต�ำแหน่ง ต่างๆ ให้เหมาะสม และดูแลพนักงานในองค์กรทั้งหมด สุดท้ายคือฝ่ายจัดซื้อ ที่คอยควบคุมต้นทุนต่างๆ ในการจัดซื้อให้ถูกต้องตามมาตรฐานและให้อยู่ ในงบประมาณที่ก�ำหนด ด้ ว ยการร่ ว มมื อ กั น ท� ำ งานอย่ า งสมั ค รสมาน และอาศั ย การท� ำ งาน เป็นทีมเวิร์กของฝ่ายต่างๆ โดยมีอิทธิพัทธ์เป็นแม่ทัพคอยควบคุมดูแลงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานทั้งส�ำนักงาน 1 แห่ง และโรงงานอีก 2 แห่ง ให้ด�ำเนินงาน ไปได้สอดคล้องกัน และด�ำเนินไปตามนโยบายของบริษัทฯ ทุกวันนี้องค์กร แห่งนี้จึงแข็งแกร่งและเต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพ พิสูจน์ได้จากรางวัลและมาตรฐานการบริหารงานพัฒนาบริษัทและ บุคลากรที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง คือการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2000 จาก บริษัท SGS, การรับรองมาตรฐาน GMP จากบริษัท SGS รวมถึงการรับรอง มาตรฐาน HACCP จากบริษัท SGS ส่วนรางวัลที่บริษัทฯ ได้รับ ประกอบด้วย ปี พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล ใบโพธิ์ จากธนาคารไทยพาณิชย์, ได้รับการยอมรับจากนักการตลาดให้เป็น ธุรกิจดาวรุ่งในวงการอาหารขนมขบเคี้ยว และปี พ.ศ. 2552 ได้รับสัญลักษณ์ มาตรฐานสินค้า Thailand Brand จากกรมส่งเสริมการส่งออก อิทธิพัทธ์เคยกล่าวถึงแนวคิดในการด�ำเนินชีวิตและด�ำเนินธุรกิจว่า ถ้าจะท�ำอะไรให้โฟกัสอย่างแน่วแน่ เพราะจะช่วยลดความเสีย่ งได้ระดับหนึง่ พอ เกิดความรักที่จะท�ำสิ่งต่างๆ ท�ำให้ต้องศึกษาหาความรู้ จึงเกิดความเชี่ยวชาญ พอเชี่ยวชาญก็เป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้อย่างหนึ่ง ส่ ว นไอดอลที่ เ ป็ น ต้ น แบบให้ กั บ เถ้ า แก่ น ้ อ ยพั น ล้ า นผู ้ นี้ มี ห ลายคน เช่น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก, สตีฟ จ็อบส์, ธนินท์ เจียรวนนท์, โดนัลด์ ทรัมป์ และ คนที่ขาดไม่ได้คือคุณพ่อของเขา อิ ท ธิ พั ท ธ์ น ่ า จะประสบความส� ำ เร็ จ และมี ชื่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง เหมื อ นกั บ ไอดอลของเขาได้ไม่ยาก

AITTHIPAT Kulapongvanich

TAOKAENOI

Aitthipat Kulapongvanich, at the age of 28, is known as a business superstar who is now the inspiration of many young entrepreneur wannabes in Thailand. The legend started when the former game addict’s family went bankrupt with millions in debt. The disaster forced him to step up in the cruel business world, but the more failures he endured the stronger he became. He had been taking all his actions seriously and not giving up until he found the right business, the processed seaweed brand named Taokaenoi. Despite his youth, Aitthipat is now the CEO of Taokaenoi Food & Marketing Co., Ltd. the biggest processed seaweed company in Thailand having over 70% market share in domestic market and 50% in foreign market. There is a film called ‘Top Secret’ depicting his road to success which shows us how famous he is to the young generation as a successful entrepreneur.

131


เรื่อง : อังคนา ณ สงขลา

132 000

ช่างภาพ : อังคนา ณ สงขลา


เรื่อง : รุจรดา วัฒนาโกศัย

อิศเรศ

จิราธิวัฒน์

ภาพ : กิตตินันท์ จรรยางาม

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

25

ISAREIT Chirathivat

Senior Business Development Manager CENTRAL PATTANA PUBLIC COMPANY LIMITED

ต่อยอดความส�ำเร็จของตระกูล เครือเซ็นทรัลฯ นับเป็นธุรกิจ ครอบครัวขนาดใหญ่ ที่ด�ำเนินธุรกิจมายาวนานตั้งแต่ เป็นเพียงร้านค้าในตึกแถว กระทั่งเติบโตมาเป็นเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่มีทั้งธุรกิจศูนย์การค้า อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม รวมถึง ธุรกิจค้าปลีกและอาหาร

การเติบโตของเครือเซ็นทรัลฯ ผ่านมือผู้บริหารมา รุ่นต่อรุ่น ในแบบที่สวนทางกับความเชื่อที่ว่าธุรกิจ ครอบครัวจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 รุ่น รุ่นปู่สร้าง รุ่นพ่อ รักษา และรุ่นหลานท�ำลาย ตอนนี้เราได้เห็นฝีมือของรุ่นที่ 3 ของตระกูล แกะอิศเรศ จิราธิวัฒน์ ที่เข้ามาบริหารงานในต�ำแหน่ง ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น ครั้งนี้ นอกจากจะได้รู้วิธีคิดและวิธีการท�ำงาน ให้ประสบความส�ำเร็จของเขาแล้ว จะได้ไขความลับ การท�ำธุรกิจครอบครัวสไตล์จิราธิวัฒน์อีกด้วย

133


อยู่ตรงจุดเริ่มต้น ของโครงการ

หาความรู้ ลบจุดอ่อน อิศเรศถูกส่งไปเรียนทีต่ า่ งประเทศตัง้ แต่ ไฮสคูล กระทัง่ จบทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่บอสตัน คอลเลจ รัฐแมสซาชูเซตส์ จึงเข้าท�ำงานด้านการเงินที่ Goldman Sachs “เป็ น นโยบายของครอบครั ว ว่ า อยากให้ทำ� งานในบริษทั ต่างชาติทตี่ า่ ง ประเทศ ถ้าเป็นไปได้กอ่ นจะกลับเข้ามา ร่วมกิจการกับครอบครัว ซึ่งผมก็อยาก จะท�ำตามนีด้ ว้ ย ผมชอบผจญภัยอยูแ่ ล้ว อยากเรียนรู้ อยากเจออะไรใหม่ ๆ “ธุรกิจครอบครัวของเราเป็นธุรกิจ ทางด้ า นรี เ ทล และนิ ว ยอร์ ก เป็ น รี เ ทลหนึ่ ง ใน Fashion Capital ของ โลก เมื อ งนิ ว ยอร์ ก เป็ น เมื อ งที่ มี ความ Dynamic และ Cosmopolitan หลายองค์ ป ระกอบท� ำ ให้ ผ มไปอยู ่ ที่ น่ั น และได้ ส มั ค รงานบริ ษั ท ทาง ด้านการเงินที่ Goldman Sachs และ โชคดีที่มีโอกาสได้เข้าไปเรียนรู้งาน”

134

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012

อิศเรศท�ำงานที่ Goldman Sachs อยู่ 2 ปี และกลับมาท�ำงานทีเ่ มืองไทย อีก 1 ปี ก่อนจะตัดสินใจกลับไปคว้า ปริญญาโททีส่ หรัฐอเมริกาอีกหนึง่ ใบ “ผมมี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ที่ ท� ำ งานไป มี ค วามรู ้ ด ้ า นเศรษฐศาสตร์ ที่ เ รา เรี ย นมา ตอนนั้ น ผมอายุ 24 เอง ผมว่ายังขาดประสบการณ์อกี หลายอย่าง ทัง้ ทางด้านบริหารงาน ด้านการวางแผน กลยุ ท ธ์ ด้ า นการบริ ห ารคน ด้ า น การตลาด เลยอยากจะรู้ให้ครบวงจร มากกว่านี้ แรกๆ เราก็ไม่รหู้ รอกว่าตัวเรา ขาดอะไร แต่พอท�ำงานไป เราเริม่ จะรูว้ า่ เรามีจดุ อ่อนตรงนี้ เรารูต้ รงนีแ้ ต่รไู้ ม่เยอะ เลยคิดว่าควรจะไปศึกษาเพิ่มเติม จึง ไปเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ เพราะ โรงเรียนทีไ่ ปศึกษา (UCLA Anderson) มี ชื่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง ในเชิ ง บริ ห ารธุ ร กิ จ ในภาพรวม เป็นสถาบันอันดับหนึง่ ของ อเมริกาในเรือ่ ง Entrepreneurship และ เป็นอันดับต้นๆ ของ Real Estate

แม้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา นาน แต่ความผูกพันกับประเทศไทย และ ความต้องการใกล้ชิดครอบครัว ท�ำให้อิศเรศ ตัดสินใจกลับมาท�ำงานที่ ซีพีเอ็น เขาเริ่มงานในต�ำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ในช่วงที่ซีพีเอ็น เข้าเทก โอเวอร์ เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เป็ น หนึ่ ง ในที ม ที่ ว างแผนการปรั บ ปรุ ง และการขายกลุ ่ ม ร้ า นอาหารของโครงการเซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ต่อจากนัน้ ได้เข้าร่วมพัฒนาโครงการเซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช หลังจากนั้นจึงไปช่วย ฝ่ายการตลาดอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะกลับมาที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โดยได้รบั มอบหมายให้ดแู ล ด้านการพัฒนาโครงการต่างประเทศ ฝ่ า ยพั ฒ นาธุ ร กิ จ ท� ำ ให้ เ ขาได้ เ รี ย นรู ้ หลายอย่าง ตรงจุดเริ่มต้นของโครงการทุก โครงการ ตัง้ แต่ไปหาทีด่ นิ ว่าท�ำเลนีด้ หี รือไม่ จะน� ำ มาสร้ า งศู น ย์ ก ารค้ า ต้ อ งวิ เ คราะห์ ประชากร วิเคราะห์กำ� ลังซือ้ ของคน วิเคราะห์ การเข้ า -ออกของรถยนต์ เสนอซื้ อ ที่ ดิ น หาผู้ออกแบบศูนย์การค้า ประสานงานกับ ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และทุกฝ่ายเพื่อจะ ท�ำให้ศูนย์การค้าสมบูรณ์ เป็นงานที่ต้องลง รายละเอียดมาก เมื่อศูนย์การค้าเสร็จก็จบ งานของฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ส่งต่อหน้าที่ให้ ฝ่ายบริหารอาคาร “มันเป็นจุดเกิด จึงมีภาระหน้าที่เยอะ เพราะว่าเราต้องสร้างศูนย์ฯ ให้ถูกใจนักช้อป ทุกคน เขาคือ End Consumer ส่วนภายใน ก็ต้องให้ถูกใจทุกฝ่ายด้วย เพราะฝ่ายขาย ต้องน�ำพื้นที่ไปขาย ต้องถูกใจเขาทั้งลูกค้า และร้านค้า ถ้าไม่ถกู ใจเขาก็ขายยาก ต้องถูกใจ ฝ่ายบริหารอาคารในเชิงทีว่ า่ ต้องเป็นอาคาร ที่มีคุณสมบัติในการบริหารจัดการง่าย และ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น “ตอนย้ายไปฝ่ายการตลาด ได้เจอลูกค้า โดยตรงมากขึ้น ลูกค้าที่มาติดต่อเรา มาเช่า พื้นที่เรา มาจัดกิจกรรมกับเรา เป็นการเจอ ลูกค้าภายนอกองค์กร ก็ได้มุมมองทั้งสอง


มุมมอง มองในมุมของผู้บริโภค เราทราบ แล้วว่าเขาต้องการอย่างไร ท�ำไมเขาถึง ชอบท�ำ ท�ำไมพฤติกรรมเขาเป็นอย่างนี้ เรามองลูกค้าข้างนอกแล้วน�ำมาปรับใช้ กับภายในองค์กรได้ เราจะได้สร้างศูนย์ การค้าทีผ่ บู้ ริโภคอยากจะเข้ามาใช้ เข้ามา ซื้อของ ท�ำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น ซึี่งเป็น สิ่งที่ส�ำคัญ” ซีพีเอ็น เริ่มต้นจากการเป็นบริษัท เล็กๆ ทีม่ เี พียงไม่กศี่ นู ย์การค้า และประสบ ความส�ำเร็จจากความเข้าใจผู้บริโภคมาก ขึ้ น และสามารถท� ำ ให้ ผู ้ บ ริ โ ภคได้ รั บ Rewarding Experience เป็นประสบการณ์ ที่ มี คุ ณ ค่ า ทั้ ง จากการที่ มี ร ้ า นค้ า หลาก หลาย มีความสะดวกสบาย การออกแบบ ที่สวยงามและทันสมัย บรรยากาศที่ท�ำให้ รู้สึกดี ประทับใจจนท�ำให้ ซีพีเอ็น เป็น ศู น ย์ ก ารค้ า ในใจของลู ก ค้ า ที่ ลู ก ค้ า จะ นึกถึงเป็นอันดับต้นๆ และอยากกลับมา ใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง

“เราสามารถสร้างสรรค์ Rewarding Experience ให้กับลูกค้าได้ ผมว่านี่ เป็นปัจจัยแรกทีส่ ำ� คัญส�ำหรับการก้าวสู่ ความส�ำเร็จ เราเข้าใจลูกค้าโดยสามารถ น�ำมาสร้างสรรค์ได้ทุกมุมมอง ไม่ใช่ตัว อาคารเพียงอย่างเดียว อย่าลืมว่าลูกค้า มี Touch Point เขาค�ำนึงถึงการบริการ ตั้งแต่ คุณภาพ การบริการ ความหลาก หลายของร้านค้า ประชาสัมพันธ์ และ ความปลอดภัย ทุกอย่างเลย” ความส�ำเร็จที่เห็นผลเป็นรูปธรรม ในปี 2010 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้ รับรางวัล Asia’s Best Shopping Center Award ในระดับเอเชีย แล้วถูกส่งไป ประกวดระดับโลกจนได้รับรางวัล Best of The Best Award จาก International Councils of Shopping Center (ICSC) ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุด ในโลก และรางวัลนี้ก็เปรียบเสมือนกับ เป็นรางวัลระดับ Oscar ของศูนย์การค้า

เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงรางวัล Super Brands ซึ่งเซ็นทรัลเวิลด์ได้รับรางวัลถึง 3 ปีซ้อน จนถึงทุกวันนี้เซ็นทรัลเวิลด์เป็น Lifestyle Shopping Complex ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็น แลนด์มาร์คใจกลางย่านราชประสงค์ ในขณะที่ศูนย์การค้า ของซีพีเอ็น ก็ขยายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ปัจจุบันมี 20 แห่ง และจะเติบโตไปอีก 3-4 แห่งต่อปี “เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เ ป็ น ศู น ย์ ฯ ที่ มี ร ้ า นค้ า มากที่ สุ ด ใน ประเทศไทย มีโรงหนังทีเ่ ยอะทีส่ ดุ แต่คำ� ว่าเยอะอย่างเดียว มันก็ไม่พอ ต้องมีคุณภาพด้วย ฝ่ายขายเขาเลือกร้านค้ามา อย่างดี อย่างที่สอง การบริการของศูนย์ฯ ตั้งแต่ที่จอดรถ 7,000 คัน รถไฟฟ้าก็สะดวกสบายอีก สาม, ผมคิดว่าการ บริการในศูนย์ฯ มีคุณภาพ และมีความหลากหลายของ ร้านค้า รวมถึงขัน้ ตอนการบริการ ทุกอย่างต้องมี Customer Service และโฟกัสทีด่ แี ละค�ำนึงถึงลูกค้า ท�ำให้ลกู ค้ารูส้ กึ ว่า อยากกลับมาที่นี่อีก ซึ่งข้อสองและข้อสามเป็นค�ำตอบของ ศูนย์การค้าของซีพีเอ็นทุกที่”

“เราต้องสร้างศูนย์ฯ ให้ถกู ใจนักช้อปทุกคน เขาคือ End Consumer ส่วนภายใน ก็ต้องให้ถูกใจ ทุกฝ่ายด้วย เพราะฝ่ายขาย ต้องน�ำพื้นที่ไปขาย ต้องถูกใจเขา ทั้งลูกค้าและร้านค้า ถ้าไม่ถูกใจเขา ก็ขายยาก” 135


รู้จักตัวเอง ยอมรับในทีม รางวัลแห่งความส�ำเร็จนั้นมาจากความร่วมมือกันของผู้บริหารและพนักงาน อิศเรศ เป็นคนมีความเชื่อมั่น ไม่เพียงแต่เชื่อมั่นในตัวเอง แต่เขาเชื่อมั่นในทีม และเปิดใจรับฟัง ความคิดของคนอื่น “บางทีเรามีประสบการณ์นอ้ ยกว่าเขา หรือเราอาจมีประสบการณ์มากกว่าเขา แต่เขา มาในคนละมุมมอง เราก็เรียนรู้จากเขาได้ การเรียนรู้จากเขาท�ำให้เราพัฒนาเร็วขึ้น “เราท�ำงานคนเดียว เราเก่งไม่ได้หรอก เราต้องมีทีมที่เก่งด้วย คือต้องรวมหัวกัน ท�ำงาน ท�ำงานคนเดียวแม้จะเก่งขนาดไหน ผมเชือ่ ว่าก็ไม่เท่ามีสอง มีสาม มีสมี่ าร่วมท�ำงาน แชร์ประสบการณ์และวิสัยทัศน์ร่วมกัน” สิ่งส�ำคัญคือ เขารู้ว่าตัวเองเก่งอะไร และมีจุดอ่อนอะไรที่ต้องปรับปรุง และมีทีมที่เข้า มาเสริม ดังนัน้ เขาจึงเลือกคนทีม่ ดี ใี นจุดทีเ่ ขาสูไ้ ม่ได้ เมือ่ มารวมกันเป็นทีมจะเป็นทีมครบ พร้อม เมือ่ ต้องเจอกับอุปสรรคในการท�ำงาน เขามองว่า ถ้าไม่เจออุปสรรคก็ไม่สามารถเป็น คนทีพ่ ฒ ั นาได้เก่งไปกว่านี้ อิศเรศเป็นคนทีป่ รับตัวได้เร็ว และพยายามเรียนรูเ้ สมอ ทีท่ ำ� ให้ เขาก้าวผ่านปัญหาได้เสมอ “ทุกอย่างต้องมีเหตุผล เราต้องค�ำนึงถึงเป้าหมายมากกว่า เราดูว่าอุปสรรคไหนตัด ไปได้ก่อน ดูน�้ำหนักความส�ำคัญ แล้วจัดการทีละปัญหา”

คุ ณ สมบั ติ ใ นตั ว ของเขาหลายอย่ า ง หล่อหลอมขึน้ จากการสัง่ สอนของครอบครัว ไม่วา่ จะเป็นความขยันในการท�ำงาน มีความรัก ความ หลงใหล (Passion) และเอาใจใส่ในงานที่ท�ำ ซึ่ ง อิ ศ เรศก็ ฝ ากบอกคนรุ ่ น ใหม่ ว่ า สิ่ ง ที่ ส�ำคัญที่สุดคือต้องหา Passion ของตนเอง ต้องรู้ ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ว่าจะเป็นการท�ำงานหรือ งานอดิเรก เพราะบางครัง้ ‘ความส�ำเร็จ’ อาจไม่ใช่ ‘สถานะทางการเงินทีด่ ’ี แต่การได้ทำ� สิง่ ทีร่ กั และ เอาใจใส่ คือความส�ำเร็จที่แท้จริง เขาแนะน� ำ ให้ อ อกไปลองในสิ่ ง ที่ ไ ม่ เ คย ลองมาก่อน ไปดูโลกใหม่ที่ไม่เคยไป เพื่อให้เกิด โอกาสใหม่ๆ กับตัวเอง ให้กลับมาคิด กลับมาใช้ ในการท�ำงานหรือชีวิตส่วนตัว

“ต้องหา Passion ของตนเอง ต้องรู้ว่า ตัวเองชอบอะไร ไม่ว่าจะเป็นการท�ำงาน หรืองานอดิเรก เพราะบางครั้ง ‘ความส�ำเร็จ’ อาจไม่ใช่ ‘สถานะ ทางการเงินที่ดี’ แต่การได้ท�ำสิ่งที่รัก คือความส�ำเร็จ ที่แท้จริง” 136

GOOD TO GREAT 25 YOUNG & SUCCESSFUL IN THAILAND 2012


การบริหารธุรกิจสไตล์จิราธิวัฒน์ อิศเรศยึดเอาคุณอา สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์เป็นไอดอลมาตั้งแต่เข้ามาร่วม งานกั บ กลุ ่ ม บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล “คุ ณ อา สุทธิธรรมเคยสอนผมว่า การจะเป็น ผู ้ น� ำ ที่ ดี ไ ด้ เราต้ อ งมี วิ สั ย ทั ศ น์ ก ว้ า ง ไกล มองเห็ น อนาคตก่ อ นคนอื่ น มองเห็ น ในสิ่ ง ที่ ค นอื่ น ยั ง มองไม่ เ ห็ น แล้วเราก็ต้องท�ำก่อน ผมเรียนรู้จาก คุ ณ พ่ อ และญาติ ผู ้ ใ หญ่ ว ่ า การจะ เหนือกว่าคู่แข่งได้ต้องท�ำงานมากกว่า เป็นเท่าตัว ขยันมากกว่า เรียนหนังสือ มากกว่า หาความรู้เข้าตัวมากกว่า และ กล้าท�ำในสิ่งที่ท้าทายและมีความเสี่ยง “ผมไม่มีโอกาสเจอคุณปู่ แต่คุณปู่ ได้สอน คุณอา คุณลุง แล้วเขาได้ถา่ ยทอด ให้เรา หนึ่ง, ต้องมีความขยันในการ ท�ำงาน เราท�ำงานอยูบ่ ริษทั นี้ อย่าถือว่า เราเป็นหนึ่งในครอบครัว ต้องถือว่าเรา เป็นพนักงานคนหนึ่ง และต้องแสดง ให้พนักงานคนอื่นเห็นว่าเราท�ำงานได้ มากกว่าเขา ต้องพิสูจน์ให้เขาดู” เคล็ดลับทีท่ ำ� ให้ธรุ กิจในครอบครัว จิ ร าธิ วั ฒ น์ ยั่ ง ยื น มาจนถึ ง รุ ่ น ที่ 5 ใน วันที่มีสมาชิกในครอบครัวเกือบ 200 คน คือความรักใคร่ และการเคารพซึ่ง กันและกัน อิศเรศมองว่าผู้ใหญ่ก่อตั้ง บริษทั มาในวันทีย่ ากล�ำบากกว่านี้ ต้อง มีประสบการณ์ดีๆ มาสอนคนรุ่นหลัง “เป็ น การสั่ ง สอนกั น มาอย่ า งดี ตั้ ง แต่ รุ ่ น คุ ณ ปู ่ มาถึ ง รุ ่ น ที่ 2 ผมคิ ด ว่าถ้าสามารถสั่งสอนจนถึงรุ่นที่ 3-4

ให้ทกุ คนคิดแบบนี้ เราต้องขยันท�ำงาน มากกว่าคนในบริษัทเป็นตัวอย่างที่ดี และน่าชื่นชม เราต้องรู้จักการใช้เงิน ที่ดี ไม่ใช้ฟุ่มเฟือย ลงทุนในสิ่งที่เราให้ ความส�ำคัญ และมอบให้คนที่เรารัก นอกเหนือจากนี้เมื่อเราประสบความ ส�ำเร็จแล้ว เราควรจะต้องมอบกลับคืน ให้กับสังคมอยู่เสมอด้วย เป็นพี่น้อง กันก็ต้องรักกัน แล้วอีกอย่างเราพบเจอ กันค่อนข้างบ่อย เพราะการงานของเรา แต่ว่าก็ต้องเจอกันข้างนอกด้วย เพราะ ถ้ า เราเจอกั น เวลาท� ำ งานตลอด มั น ท�ำให้เกิดความเครียดเหมือนกัน” ไม่วา่ จะในองค์กรหรือในครอบครัว ย่ อ มมี ค วามคิ ด เห็ น ที่ แ ตกต่ า งแม้ ว ่ า ซีพีเอ็นจะมีคุณกอบชัย เป็นกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ แต่ก็ต้องมีบอร์ดบริหาร ที่ทุกคนเข้ามาประชุมพูดคุยกันโดยใช้ หลักการและเหตุผล ซึง่ ผูใ้ หญ่เปิดใจรับ ฟังคนรุ่นหลัง ในขณะที่คนรุ่นหลังเอง ก็ต้องรับฟังผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ท�ำให้ เกิดการขัดแย้งกันน้อยลง ตอนนีธ้ รุ กิจในกลุม่ เซ็นทรัลฯ เป็น มากกว่าธุรกิจครอบครัว มีนักบริหาร มืออาชีพเข้ามาช่วยขยายธุรกิจ แต่ใน ขณะเดียวกันอิศเรศก็อยากเห็นธุรกิจ ประสบความส�ำเร็จและอยูถ่ งึ เจเนอเรชัน่ ที่ 5-6 “เราไม่ได้ทำ� งานเพือ่ วันนีว้ นั เดียว เราท�ำงานเพื่อเจเนอเรชั่นต่อๆ ไปของ ครอบครัวด้วย เหมือนที่คุณปู่ได้ท�ำไว้”

ISAREIT Chirathivat CPN

Isareit Chirathivat, a third-generation member of Central Group, the retail-giant family, is a senior business development manager of Central Pattana. Isareit got his bachelor’s degree in economics from Boston College, before moving to New York for two years to work as an equity analyst for Goldman Sachs. He then pursued his MBA from UCLA Anderson School of Management in Los Angeles, focusing on entrepreneurship, marketing and real estate. He is currently continuing his career at Central Pattana Public Company Limited, subsidiary of the Central Group taking care of developing new shopping malls for the satisfaction of the customers and everyone in the company. The proofs of his success are the growth of his family’s shopping malls both in Bangkok and other provinces which are guaranteed by many prestigious awards including the one that was given out by the International Council of Shopping Centers (ICSC) which is equivalent to the Oscars. Isareit is the pride of Chirathivat family. He got an attribute from his ancestors and his vigor will successfully drive his family’s business to the next generation.

PROFILE อิศเรศ จิราธิวฒ ั น์ นักบริหารรุน่ ที่ 3 ของกลุม่ เซ็นทรัลฯ ใช้ชวี ติ อยูท่ สี่ หรัฐอเมริกาตัง้ แต่อายุ 14 ปี เรียนจบปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Boston College และปริญญาโทด้านการบริหาร ทางด้านสาขา Entrepreneurship ด้าน อสังหาริมทรัพย์ และด้านการตลาดจาก UCLA Anderson เขามีประสบการณ์จากการท�ำงานด้านการเงินที่ Goldman Sachs บริษทั ด้านการเงินท็อป 3 ของโลก ก่อนจะกลับมาสานต่องานด้านพัฒนาธุรกิจทีบ่ ริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จ�ำกัด (มหาชน) ในเครือเซ็นทรัลฯ

137


AD GM GROUP




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.