จดหมายข่าว
www.thaimangogrowers.com
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ปี ที่ 9 ฉบับที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561
สถานการณ์ มะม่วงทั่วไทย
ฤดูกาล 2561/62 จะเป็นฉันใด ?
ปัญหาโรคช่อดอกพลาสติก สู่งานวิจัยทุน สวก. สมาคมฯ เตรียมพร้อมจัดประชุมใหญ่สิ้นปีนี้ วิธีรับมือเมื่อแมลงค่อมทองระบาดในสวนมะม่วง วิกฤติตลาดมะม่วง ชาวสวนควรปรับตัวอย่างไร?
จากนายกสมาคมฯ ถึงพี่ น้องชาวสวนมะม่วงไทย
การท�ำเกษตรคือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
สวัสดีสมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยทุกท่าน การผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกปี 2561 นี้ ชาวสวนมะม่วงไทยยังคงพบกับปัญหาเดิมๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิต เช่น 1.ปัญหาการออกดอกติดผลน้อยลง 2.ปัญหาเพลี้ยไฟที่มีแนวโน้มการระบาดรุนแรงขึ้นและดื้อสารเคมี ซึง่ ทีผ่ า่ นมาทางสมาคมฯ ได้พยายามติดตามปัญหาการผลิตและการตลาดมะม่วงมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีการจัดประชุมติดตามผลและผลักดันให้เกิด งานวิจัยที่ตอบโจทย์ปัญหามากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ก็มีข่าวดีมาเนืองๆ จากอาจารย์ ดร.เจนจิรา ชุมภูค�ำ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (บางเขน) ว่าขณะนีไ้ ด้รบั การตอบกลับอีเมลเรือ่ งการสนับสนุนทุนท�ำวิจยั ปัญหาการไม่ออกดอกติดผลของมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้แล้ว ซึง่ น่า จะเริม่ ท�ำงานวิจัยประมาณต้นปี 2562 นี้ หากมีความคืบหน้าอย่างไรจะน�ำมารายงานให้ทราบกันต่อไป ส่วนของฤดูกาลผลิตปี 2561/62 ผมขอให้ สมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยทุกคน เตรียมตัว มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ในการผลิตมะม่วงและปรับตัวฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ไปให้ได้ ซึ่งในขณะนี้มะม่วง ในหลายพืน้ ทีก่ ำ� ลังออกดอก ดอกบาน และติดผลอ่อนแล้ว ขอให้ประคบประหงมดูแลอย่างใกล้ชดิ โดยมีสภาพอากาศเป็นตัวแปรหลักทีท่ ำ� ให้เราต้อง เรียนรูแ้ ละปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต เพราะการท�ำเกษตรคือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เนื่องจากจดหมายข่าวสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยฉบับที่ผ่านมา ได้แจ้งไว้ว่าประมาณช่วงเดือนสิงหาคม จะมีการประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปีของสมาคม แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการหารือเพื่อให้การจัดงานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด จึงต้องเลื่อนการจัดประชุมออกไปเป็น ประมาณเดือนธันวาคม โดยจะท�ำการประสานงานไปยังประธานกลุม่ แต่ละท่านเพือ่ ชีแ้ จงรายละเอียดการประชุม ทางคณะกรรมการสมาคม ชาวสวนมะม่วงไทย จึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้ครับ
(นายมนตรี ศรีนลิ )
นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และทีมคณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 1. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 2. นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. นายส�ำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 4. นายเปรม ณ สงขลา 5. นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล 6. อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ 7. นายสมชาย สุคนธสิงห์ 8. รองศาสตราจารย์ ฉลองชัย แบบประเสริฐ 9. รองศาสตราจารย์ นิพนธ์ วิสารทานนท์ 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ 11. นายมนู โป้สมบูรณ์ 12. นางวิลาวัลย์ วงษ์เกษม 13. นายสุเทพ โสมภีร์ 14. นางสาวเพ็ญระพี ทองอินทร์ 15. นางสาวทัศนา คิดสร้าง 16. นายต้อย ตั้งวิชัย 17. นายบรรจง จงพิทักษ์พงศ์ 18. นายวารินทร์ ชิตะปัญญา 19. นายราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ 20. นายสุวิทย์ คุณาวุฒิ 21. นายสุพล ธนูรักษ์
รายชื่อคณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 1. นายมนตรี ศรีนิล นายกสมาคม 2. นายเจริญ คุ้มสุภา อุปนายก 3. นายสนิท ชังคะนาค อุปนายก 4. นายสายันต์ บุญยิ่ง เลขาธิการ 5. นายวรเทพ แก้ววงษ์นุกูล ฝ่ายหารายได้ 6. นางบุญศรี อรุณศิโรจน์ ฝ่ายหารายได้ 7. นายสุนทร สมาธิมงคล ฝ่ายวิชาการ 8. นายไกรสร แก้ววงษ์นุกูล ฝ่ายวิชาการ 9. นายพนม ซ�ำเผือก ฝ่ายวิชาการ 10. นายนคร บัวผัน ฝ่ายเหรัญญิก 11. นายสุดใจ มิไพทูล ฝ่ายเหรัญญิก 12. นายเจริญ เขื่อนข่ายแก้ว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 13. นายณรงค์ เจษฎาพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 14. นายเทพพร หิรัญรัตน์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 15. นางธนาวดี กุญชร ผู้ช่วยเลขาธิการ
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 56/1 หมู่ 1 บ้านวังทับไทร ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 66160 โทร.0-5690-5236
จ�ำนวน
ข้อมูลและรูปเล่มโดย วารสารเคหการเกษตร 55/615 โครงการสุโขทัยอเวนิว 99 ถ.บอนด์สตรีท ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร/แฟกซ์ 0-2503-2054-5 E-mail : kehakaset@gmail.com หรือ facebook แล้ว พิมพ์ค�ำว่า สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
3,000 ฉบับ
ทีมงานวารสารเคหการเกษตรเป็นผู้ด�ำเนินการ รวบรวมข้อมูลและจัดท�ำ รูปเล่มจดหมายข่าวสมาคม ชาวสวนมะม่วงไทยมาเป็นปีที่ 9 แล้ว เพื่อให้สมาชิก สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยได้แลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกันได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือส่งทางอีเมล จึงได้เพิม่ ช่องทางการสือ่ สาร คือ ทางเฟซบุก๊ (Facebook) สมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทย โดยขอเชิ ญ สมาชิ ก ทุ ก ท่ า นกดไลค์ ห น้ า เพจหรื อ กดขอเข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม เพื่ อ รั บ รู ้ ข ้ อ มู ล ข่ า วสาร และเข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม ไลน์ (Line Group) สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
จากคณะผู้จัดท�ำ จดหมายข่ า วสมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทยเป็ น สื่ อ กลาง ระหว่างชาวสวน นักวิชาการ บริษทั เอกชน หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในวงการ มะม่ ว ง สมาชิ ก ท่ า นใดต้ อ งการเสนอมุ ม มองความคิ ด เห็ น บอกเล่าเรื่องราวความเคลื่อนไหวข้อมูลข่าวสารมะม่วง ติดต่อ ได้ที่เลขาธิการสมาคมฯ 08-1887-1964 หรือเคหการเกษตร โทร.0-2503-2054-5 หรือ e-mail : kehakaset@gmail.com
สถานการณ์มะม่วงทั่วไทยฤดูกาล 2561/62 จะเป็นฉันใด ? การน�ำเสนอเรือ ่ งนี้ เพื่อประมวลสถานการณ์ การผลิตและการตลาดมะม่วงไทยในปี 2561 ว่าทีผ ่ า่ นมา ชาวสวนในแต่ละภาคประสบปัญหาอะไรบ้าง และมีวธ ิ ี รับมือกันอย่างไร เพื่ อเป็นแนวทางให้กับชาวสวน มะม่วงพื้ นที่อ่ืน ๆ น�ำไปประยุกต์ปฏิบัติกัน รวมไป ถึ ง เป็ น การน� ำ เสนอสถานการณ์ ก ารผลิ ต และ การตลาดมะม่วงไทยในปี 2562 จากการคาดการณ์ ของตัวแทนชาวสวนมะม่วงแกนน�ำในแต่ละพื้นที่ โดย น� ำ ข้ อ มู ล การคาดการณ์ ส ภาพอากาศล่ ว งหน้ า 3 เดือน จากกรมอุตน ุ ย ิ มวิทยาและข้อมูลพื้นทีป ่ ลูก/ ปริ ม าณการส่ ง ออกมะม่ ว งไทย จากส� ำ นั ก งาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) มาประกอบเนือ ้ หาด้วย เพื่ อเป็นข้อมูลและประโยชน์แก่ชาวสวนมะม่วงไทย โดยมีเนือ ้ หาสาระดังนี้
1. คาดการณ์สภาพอากาศของประเทศไทย เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2561 การคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า 3 เดือน ( ต.ค. – ธ.ค. 61 ) ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ภาคเหนือ มีปริมาณฝนรวม ประมาณ 130 มม. (ค่าปกติ 165 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนรวมประมาณ 100 มม. (ค่าปกติ 136 มม.) ภาคกลาง มีปริมาณฝนรวมประมาณ 160 มม. (ค่าปกติ 207 มม.) กรุ ง เทพฯและปริ ม ณฑล มี ป ริ ม าณฝนรวม ประมาณ 260 มม. (ค่าปกติ 301 มม.) ภาคตะวันออก มีปริมาณฝนรวมประมาณ 240 มม. (ค่าปกติ 286 มม.) ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีปริมาณฝนรวมประมาณ 850 มม. (ค่าปกติ 891 มม.) ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนรวม ประมาณ 610 มม. (ค่าปกติ 635 มม.) ประเทศไทยตอนบนมี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 31-33 °ซ อุณหภูมิต�่ำสุดเฉลี่ย ประมาณ 24-25 °ซ ภาคใต้มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 30-31 °ซ อุ ณ หภู มิ ต�่ ำ สุ ด เฉลี่ ย ประมาณ 23-24 °ซ รายละเอียดดังที่แสดงอยู่ในภาพที่ 1 และ 2 (ตรวจสอบสภาพ อากาศเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmd.go.th/)
ภาพที่ 1 คาดการณ์ปริมาณฝน (มม.)และจ�ำนวนวันฝนตก (วัน)
ภาพที่ 2 คาดการณ์อณ ุ หภูมสิ งู สุด - ต�ำ่ สุดเฉลีย่ (°ซ)
4
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
2.พื้ นที่ปลูก / ปริมาณการส่งออกมะม่วงรูปแบบต่าง ๆ
พ.ศ.
สถานการณ์การผลิต : จากการวิเคราะห์ข้อมูลของส�ำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร พบว่า พืน้ ทีป่ ลูกมะม่วงปี 2560 เพิม่ ขึน้ จากปี 2559 เนือ่ งจาก ราคามะม่วงปี 2558/59 มีแนวโน้มดีขึ้น บวกกับสถานการณ์การตลาดของพืช บางชนิด เช่น สับปะรด ล�ำไย ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ส่วนพืชบางชนิดปรับตัวได้ไม่ดีกับ สภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น ลิ้นจี่ จึงมีส่วนท�ำให้เกษตรกรหันมาปลูกมะม่วง เพิ่มขึ้น และคาดว่าปริมาณผลผลิตมะม่วงฤดูกาลผลิตปี 2561/62 จะมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณน�้ำฝนและสภาพอากาศปี 2560/61 เอื้ออ�ำนวยต่อ การออกดอกติดผลของมะม่วง สถานการณ์การตลาด : 1.พันธุท์ สี่ ง่ ออกมาก ได้แก่ พันธุน์ ำ�้ ดอกไม้ รองลงมาคือพันธุม์ หาชนก เขียวเสวย ฟ้าลัน่ 2.ตลาดส่งออกมะม่วงผลสดทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน 3.ฟิลิปปินส์และเวียดนามเป็นคู่แข่งส�ำคัญในตลาด เกาหลีใต้ 4. พันธุม์ ะม่วงทีน่ า่ จับตามอง ได้แก่ มะม่วงแก้วขมิน้ เนือ่ งจากเป็นพันธุ์ ทีน่ ยิ มรับประทานผลดิบและเป็นทีต่ อ้ งการของโรงงานแปรรูป โดยประเทศไทยได้ มีการน�ำเข้ามะม่วงแก้วขมิน้ จากกัมพูชาเพือ่ บริโภคในประเทศและส่งออกต่อไปยัง มาเลเซีย รวมทั้งการขยายพื้นที่ปลูกภายในประเทศยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เนื้อที่ให้ผลผลิตมะม่วง ของประเทศไทย (ไร่)
2557
1,979,842
2558
1,971,370
2559
1,964,662
2560
1,967,904
ปริมาณ/มูลค่า การส่งออกมะม่วงรูปแบบต่าง ๆ จากประเทศไทยไปต่างประเทศ 1. มะม่วงบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 2. มะม่วงสดหรือแช่เย็นจนแข็ง 3. มะม่วงอบแห้ง
2559 ปริมาณ (กก.) 28,090,938
2560 มูลค่า (บาท)
ปริมาณ (กก.)
2561 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า (บาท)
1,408,194,278 24,139,089 1,215,782,661
ปริมาณ (กก.)
มูลค่า (บาท)
18,407,499
948,708,598
35,758,242 1,588,375,933 33,379,862 1,672,989,317 54,698,607 1,934,926,520 730,972
203,669,710
1,619,615
438,027,122
1,729,600
391,031,024
อ้างอิงข้อมูลจากส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
3. ประมวลสถานการณ์มะม่วงทั่วไทยฤดูกาล 2561/62
เรื่อง : รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ตัวอย่างสภาพพืน้ ทีป่ ลูกมะม่วงในเขตภาคเหนือตอนบน
• สถานการณ์มะม่วงเขตภาคเหนือตอนบน
ภาคเหนือตอนบนทุกจังหวัดได้มกี ารปลูกมะม่วง โดยมี จ.เชียงใหม่ ล�ำพูน น่าน เชียงราย เป็นแหล่งผลิตมะม่วงเพือ่ การค้าและส่งออกทีส่ ำ� คัญ โดย ชาวสวนทัง้ 4 จังหวัดได้มกี ารสร้างสถาบันเกษตรกรและเรียนรูร้ ว่ มกันในด้าน การท�ำงานเป็นกลุม่ การผลิต และการตลาดมาโดยตลอด จากการทีภ่ าครัฐสร้าง การรับรูใ้ นเรือ่ งเทคโนโลยีการผลิต การตลาด การพัฒนากลุม่ และเครือข่ายให้ เข้มแข็งด้วยกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ บวกกับความต้องการของตลาดกับ การผลิตทีส่ มดุลกันในทศวรรษทีผ่ า่ นมา (พ.ศ. 2550-2560) ท�ำให้พนื้ ทีก่ ารผลิต มะม่วงเพิม่ ขึน้ อย่างก้าวกระโดด แต่ในช่วง 3 ปีทผี่ า่ นมานีก้ ารผลิตกลับเริม่ ยาก ขึน้ เพราะความแปรปรวนของสภาพอากาศ ร่วมกับความผันผวนของราคาที่ รุนแรงขึน้ โดยเฉพาะในปีการผลิต 2560-2561 และจากการคาดการณ์พบว่า อัตราการขยายตัวของพืน้ ทีป่ ลูกมะม่วงในภาคเหนือตอนบนในปีการผลิต 25612562 มีแนวโน้มลดลง (ยังขาดข้อมูลยืนยันทีช่ ดั เจนจากภาครัฐ) สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
5
ชาวสวนมะม่วงเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่ผลิตมะม่วงในฤดู (เม.ย.-พ.ค.) และ ล่าฤดู (มิ.ย.-ก.ค.) โดยในปีการผลิต 2560-2561 ผลผลิตได้รบั ผลกระทบด้านราคาสูงสุด ในรอบ 30 ปี โดยเฉพาะมะม่วงรุน่ ในฤดู เนือ่ งจากผลผลิตล้นตลาด และคาดว่าในปีการ ผลิต 2561-2562 ยังมีโอกาสเกิดขึน้ ซ�ำ้ ได้อกี (หากความพยายามผลิตมะม่วงล่าฤดูไม่สำ� เร็จ) ส่วนผลผลิตทีด่ อ้ ยคุณภาพ เนือ่ งมาจากได้รบั ผลกระทบจากฝนทีต่ กค่อนข้างมากในช่วงที่ มะม่วงออกดอก ติดผล ไปจนถึงใกล้ระยะเก็บเกีย่ วผลผลิต ถือเป็นเรือ่ งของธรรมชาติที่ ยากจะคาดเดาได้ อาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่จากงานวิจยั เข้ามาแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา ในปี พ.ศ. 2560 นับเป็นการปรับตัวครั้งส�ำคัญของชาวสวนมะม่วงในเขต จ.เชียงใหม่ โดยมีการรวมกลุม่ ชาวสวนมะม่วง 15 กลุม่ ทีก่ ระจัดกระจายอยูใ่ นหลายอ�ำเภอ ผนึกก�ำลังเป็น “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะม่วงเชียงใหม่” พร้อมกับผลักดัน หลายกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์แก่สมาชิก แต่ทสี่ ร้างความคาดหวังไว้มากทีส่ ดุ น่าจะเป็นการ ขับเคลื่อน “โครงการสร้างตลาดมะม่วงล่วงหน้า” น�ำร่องด้วยการมีส่วนร่วมของ ชาวสวนประมาณ 40 ราย 4 กลุม่ จาก 4 อ�ำเภอ ได้แก่ อ.พร้าว แม่แตง เชียงดาว และ เวียงแหง เพื่อรุกสร้างตลาดกับผู้ประกอบการส่งออกตั้งแต่ต้นฤดูการผลิต ด้วยการ น�ำเอาแนวทางของสวนมะม่วงคุณช้างซึ่งประสบความส�ำเร็จมาอย่างยาวนานร่วม 30 ปี มาเป็นต้นแบบเพือ่ การต่อยอด การปรับตัวด้วยการปลูกไม้ผลพืชรอง ไม่วา่ จะเป็น ล�ำไย กล้วย มะพร้าวน�ำ้ หอม กระท้อน ลองกอง เงาะ มะไฟ มะยงชิด มะละกอ ขนุน ทุเรียน ไผ่ ล้วนได้รบั ความสนใจ จากชาวสวนมะม่วงเป็นอย่างดี แต่ไม้ผลพืชรองดังกล่าวก็มรี าคาตกต�ำ่ ในปี 2560-2561 ยกเว้น ทุเรียน ทีม่ รี าคาสูงเป็นทีน่ า่ พอใจ โดยสวนทุเรียนทีใ่ ห้ผลผลิตแล้วมีหลายแห่งใน จ.เชียงใหม่ เช่น อ.ฝางและแม่แตง ได้รบั ความสนใจเป็นแหล่งเรียนรูอ้ ย่างกว้างขวางใน ช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา
เรื่อง : สายันต์ บุญยิ่ง เลขาธิการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
6
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ตัวอย่างมะม่วงผิวสีทปี่ ลูกใน เขตภาคเหนือตอนบน (จากรูปเป็น มะม่วงผิวสีของกลุม่ คุณเจริญ คุม้ สุภา กลุม่ ผูผ้ ลิตมะม่วงเพือ่ การส่งออก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่)
ชาวสวนมะม่ ว งในภาคเหนื อ ตอนบนแม้ จะได้ รั บ การเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพจากทางภาครั ฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน รวมทัง้ แรงผลักดันด้วย ตนเองหรือที่เรียกว่าการระเบิดจากภายใน ด้วยการ เรียนรูร้ ว่ มกัน ตลอดจนการสร้างกลุม่ และเครือข่ายใน รูปแบบของสถาบันเกษตรกร แต่สิ่งที่ยังขาดและ ต้ อ งการการเติ ม เต็ ม จากภาครั ฐ คื อ การหยิ บ ยื่ น “กองทุนเงินหมุนเวียนดอกเบี้ยต�่ำ” ให้แก่สถาบัน เกษตรกร ซึง่ ทีผ่ า่ นมาแม้ภาครัฐจะมีนโยบายช่วยเหลือ ชุมชนเป็นเงินกองทุนลงมาหลายโครงการ แต่สถาบัน เกษตรกรส่วนใหญ่กลับไม่สามารถเข้าถึงได้
• สถานการณ์มะม่วงเขตภาคเหนือตอนล่าง
พื้ น ที่ ก ารผลิ ต มะม่ ว งที่ ส� ำ คั ญ ในเขตภาคเหนื อ ตอนล่ า ง ยังคงเป็น จ.พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และมีการขยายพื้นที่ปลูก ไปยังจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ จ.สุโขทัย ก�ำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทยั ธานี คาดว่าปัจจุบนั มีพนื้ ทีป่ ลูกประมาณ 250,000 ไร่ (จากเดิม ประมาณ 220,000ไร่) เหตุผลที่พื้นที่ปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก 2 – 3 ปีทผี่ า่ นมา พืชผลทางการเกษตรชนิดอืน่ ๆ ราคาค่อนข้างถูก แต่ ราคามะม่วงค่อนข้างดี จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมะม่วง เพิ่มขึ้น แต่คาดว่าในปี 2560/61 พื้นที่ปลูกมะม่วงในเขตภาคเหนือ ตอนล่างจะขยายตัวเพิม่ ขึน้ ไม่มากนัก เนือ่ งจากราคามะม่วงถูกลง สถานการณ์การตลาด พบว่าในปี 2560 – ต้นปี 2561 ราคา มะม่วงไม่คอ่ ยดีนกั เมือ่ เทียบกับ 2 – 3 ปี ทีผ่ า่ นมา โดยในปี 2559/60 มะม่วงจะขายได้คล่องตัวกว่า มีผปู้ ระกอบการเข้ามาซือ้ ผลผลิตจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อค้าชาวจีน แต่ในปี 2561 พบว่ามีผปู้ ระกอบเข้ามาซือ้
มะม่วงน้อยลง ส�ำหรับผลผลิตมะม่วงในปี 2561/62 คาดว่าจะเริม่ เก็บเกีย่ วได้ตงั้ แต่ เดือนธันวาคมเป็นต้นไป และจะมากขึน้ ในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2562 ซึง่ ใน ขณะนีม้ ะม่วงเริม่ ติดผลบ้างแล้ว ขนาดผลประมาณนิว้ โป้งขึน้ ไป บางพืน้ ทีด่ อกก�ำลัง ทยอยบาน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ต.ค.61) ส�ำหรับราคาผลผลิตมะม่วงในปี 2562 คาดการณ์ว่าคงจะเป็นไปตามกลไกการตลาด แต่ชาวสวนมะม่วงก็พยายามที่จะ ปรับตัวเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมากระจุกตัวกัน แต่ก็ยากที่จะจัดการให้เป็นไปตามที่ คาดการณ์ไว้ เนือ่ งจากมีปจั จัยผันแปรจากสภาพอากาศทีย่ ากจะควบคุมได้ นอกจากนี้ ชาวสวนยังมีการปรับเปลี่ยนพันธุ์มะม่วงเป็นบางส่วน โดยมีการน�ำพันธุ์มะม่วง ที่ออกดอกติดผลง่าย ทนต่อสภาพอากาศมาเสียบยอดหรือปลูกกันมากขึ้น เช่น พันธุอ์ าร์ทอู ที ู รวมทัง้ มีการน�ำไม้ผลชนิดอืน่ มาปลูกแซมในสวนมะม่วงเพือ่ เป็นพืช ทางเลือก เช่น ทุเรียน โกโก้ ซึง่ อยูร่ ะหว่างการทดลองปลูก รวมไปถึงมีการน�ำมะม่วง มาแปรรูปเป็นมะม่วงแช่อิ่ม พุดดิ้งมะม่วง มะม่วงกวน แยมมะม่วง เพื่อเพิ่ม ช่องทางการตลาดในช่วงทีผ่ ลผลิตล้นตลาด
สภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน ท�ำให้การออกดอก ติดผลของมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ไม่ดี
เรื่อง : มนตรี ศรีนิล นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
• สถานการณ์มะม่วงเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์การผลิตมะม่วงในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ในปี 2561 มีทงั้ ช่วงทีผ่ ลผลิตออกกระจุกตัวและช่วงทีผ่ ลผลิตไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของตลาด เนือ่ งจากสภาพอากาศแปรปรวน อีกทัง้ เพลีย้ ไฟดือ้ สารเคมียงั คงเป็นปัญหา ใหญ่ทที่ ำ� ให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตลดลง โดยตัวอย่างพืน้ ทีท่ พี่ บการระบาดและความเสียหาย จากเพลีย้ ไฟดือ้ สารเคมีทรี่ นุ แรงได้แก่ จ.ขอนแก่น เช่น วิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด จึงได้ประชุม หารือถึงแนวทางการลดปัญหาจากเพลีย้ ไฟดือ้ สารเคมี คือ 1.พ่นสารเคมีสลับกลุม่ สารตามค�ำแนะน�ำ ของคุณสุเทพ สหายา 2.ลดจ�ำนวนรุน่ มะม่วงลง เช่น จากการทีท่ ำ� ให้ผลผลิตเก็บเกีย่ วได้ 2 – 3 รุน่ /ปี เหลือเพียง 1 – 2 รุน่ /ปี เพือ่ ท�ำการพักต้นหรือท�ำให้อาหารของเพลีย้ ไฟลดลง 3.น�ำสารชีวภัณฑ์ เช่น เชือ้ ราบิวเวอเรีย มาใช้ปอ้ งกันก�ำจัดเพลีย้ ไฟ (เคหการเกษตร ; กุมภาพันธ์ 2561) นอกจากนีช้ าวสวน มะม่วงในเขตพืน้ ที่ จ.อุดรธานี บางกลุม่ ยังได้รบั ผลกระทบจากฝนเทียมในช่วงทีด่ อกมะม่วงก�ำลังบาน ท�ำให้ดอกฝ่อ เน่า และไม่ตดิ ผลอีกด้วย สถานการณ์การตลาดมะม่วงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าราคามะม่วงถูกกว่าปีกอ่ นๆ เนื่องจากผลผลิตบางช่วงออกกระจุกตัว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพเนื่องจากเปลือกลายจากการ เข้าท�ำลายของเพลี้ยไฟและเชื้อราในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ท�ำให้ชาวสวนไม่สามารถ พ่นสารเคมีได้ โดยเฉลีย่ ราคามะม่วงในฤดูจะอยูท่ ี่ 35-40 บาท/กก. ราคามะม่วงนอกฤดูประมาณ 80 – 100 บาท/กก. แนวทางการปรับตัวของชาวสวน เช่น 1.ลดต้นทุนการผลิต ด้วยการจัดการสวนแบบผสมผสาน โดยมีการน�ำสารชีวภัณฑ์มาใช้ ควบคูก่ บั สารเคมี ใส่ปยุ๋ ตามค่าวิเคราะห์ดนิ เพือ่ ลดต้นทุนการผลิต ในขณะทีผ่ ลผลิตต้องมีคณ ุ ภาพ เหมือนเดิม
มะม่วงเขต จ.ขอนแก่น ทีไ่ ด้รบั ความ เสียหายจากเพลีย้ ไฟดือ้ สารเคมี
2 . น� ำ พื ช ท า ง เ ลื อ ก แล ะ มะม่วงพันธุท์ างเลือก เช่น มะม่วงแก้ว แก้วขมิน้ เขียวเสวย อาร์ทอู ที ู มะม่วง ผิวสีตา่ ง ๆ มาปลูก เพือ่ ลดความเสีย่ ง และมี ก ารจ� ำ หน่ า ยทางช่ อ งทาง ออนไลน์และขายประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศลาว เวียดนาม
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
7
3.ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการผลิตมะม่วงนอกฤดู เช่น ในเขตพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พบว่าผลผลิตในปี 2561 ลดลง เนือ่ งจากช่วงทีร่ าดสารฯ ฝนตกติดต่อกัน หลายวัน บางสวนทีม่ ะม่วงออกดอกพบว่าดอกเน่าเสียหาย ชาวสวนจึงปรับตัวเพือ่ ให้มี ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน โดยไม่คาดหวังหรือท�ำให้ ผลผลิตออกมากในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม เพียงอย่างเดียว เพือ่ ลดความเสีย่ งทีม่ ะม่วง จะไม่ตดิ ผลผลิตหรือผลผลิตกระจุกตัว มะม่วงแก้ว จ.อุดรธานี เป็นมะม่วงพันธุท์ างเลือกที่ ปัจจุบนั มีผคู้ า้ จากประเทศลาวมารับซือ้ ถึงสวน
เรื่อง : ปกป้อง ป้อมฤทธิ ์ • สถานการณ์มะม่วงเขตอืน ่
ๆ
สถานการณ์การผลิตและการตลาดมะม่วงใน เขตพื้นที่ จ.สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จากการสอบถาม ไปยัง คุณวรเทพ แก้ววงษ์นกุ ลู วิสาหกิจชุมชนผูผ้ ลิต มะม่วงอ�ำเภอวังสมบูรณ์ พบว่า ปี 2561 ปริมาณฝน มาก ท�ำให้มะม่วงบางสวนติดผลผลิตดี บางสวนได้รบั ผลกระทบจากเชือ้ รา ท�ำให้ชอ่ ดอกเน่า ผิวลาย ส่วน พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน เขตพืน้ ที่ จ.สระแก้ว ซึง่ มีการเปลีย่ นพืน้ ทีป่ ลูกล�ำไย ที่ มี ป ั ญ หาในเรื่ อ งของราคาผลผลิ ต และแรงงาน เก็บเกีย่ ว มาปลูกมะม่วงมากขึน้ โดยชาวสวนมีความกังวล ว่าผลผลิตรุน่ ในฤดูในปี 2562 เป็นต้นไปจะเพิม่ สูงขึน้ ส่วนสถานการณ์การตลาดผลผลิตรุน่ นอกฤดูหรือก่อน ฤดูยงั พอไปได้ เพราะเป็นช่วงทีต่ ลาดมีความต้องการสูง แต่ชาวสวนจะต้องท�ำให้ได้คณ ุ ภาพ ผิวสวย และเก็บ ผลผลิตที่แก่ ปัจจุบันชาวสวนมะม่วงในเขตนี้ เช่น วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงอ�ำเภอวังสมบูรณ์ ได้ วางแผนทีจ่ ะลดปริมาณผลผลิตมะม่วงรุน่ ในฤดูเดือน เมษายนลงแต่จะท�ำให้มะม่วงมีผลผลิตมากในเดือน มีนาคม ส่วนเดือนเมษายน-พฤษภาคมจะท�ำการ พักต้น บ�ำรุงต้น เพือ่ เตรียมท�ำรุน่ ถัดไป ส�ำหรับตลาด ทีน่ า่ จับตามองนอกเหนือจากตลาดญีป่ นุ่ และเกาหลี คือตลาดจีนและเวียดนาม ซึง่ มีความต้องการมะม่วง ในปริมาณมาก แต่ชาวสวนต้องวางแผนการผลิตให้ดี รูเ้ ขารูเ้ รา พยายามท�ำให้ผลผลิตออกไม่ชนกับฤดูกาล ของประเทศเหล่านี้ จะท�ำให้ขายได้ราคาดี
8
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
มะม่วงอาร์ทอู ที ู มะม่วงพันธุท์ างเลือกที่ มะม่วงน�้ำดอกไม้ จ.ประจวบคีรีขันธ์ รุ่นที่ ดอกบานช่วงฝนตกติดต่อกันหลายวัน ท�ำให้ ชาวสวนก�ำลังให้ความสนใจ ดอกฝ่อ เน่า ไม่ตดิ ผล
สถานการณ์การผลิตและการตลาดมะม่วงในเขตพืน้ ที่ จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ จากการ สอบถามไปยัง คุณต้อย ตั้งวิชัย กลุ่มส่งเสริมพัฒนาชาวสวนมะม่วงเพื่อการส่งออก จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ พบว่า ปีนเี้ จอปัญหาฝนตกต่อเนือ่ ง ท�ำให้ชอ่ ดอกเน่า โรคเข้าท�ำลาย แต่ บางสวนทีด่ อกบานช่วงฝนทิง้ ช่วงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ พบว่าติดผลผลิตดีมาก โดยเริม่ เก็บผลผลิตตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ช่วงที่ได้ราคาสูงสุดคือเดือนตุลาคม ประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท มะม่วงเกรดขายในประเทศได้ราคาประมาณ 40-50 บาท/กก. ซึง่ ได้ราคาสูงกว่าช่วงเดือนกันยายน ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นช่วงเริม่ ต้นฤดูเก็บเกีย่ วผลผลิตของทางเขต จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ เนือ่ งจากผลผลิตออกกระจุกตัวมากในช่วงเวลาดังกล่าว ท�ำให้มะม่วง เกรดส่งออกขายได้ราคาประมาณ 80 บาท/กก. มะม่วงเกรดขายในประเทศขายได้ราคา ประมาณ 28- 30 บาท/กก. แต่ภาพรวมราคายังเป็นทีน่ า่ พอใจ แต่ขอ้ จ�ำกัดคือฝนตกติดต่อ กันหลายวัน ท�ำให้ชาวสวนก�ำหนดวันทีจ่ ะราดสารฯ เพือ่ ดึงดอกได้ยากขึน้ ชาวสวนบางราย ต้องดึงดอกมากถึง 3 รอบ อีกทัง้ ยังพบปัญหาโรคช่อดอกพลาสติกด้วย โดย จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ยังมีแนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้นควบคู่มากับการขยายพื้นที่ปลูกขนุน เนือ่ งจากชาวสวนบางรายเปลีย่ นจากพืน้ ทีป่ ลูกสับปะรดมาปลูกมะม่วงและขนุน ส�ำหรับ มะม่วงพันธุท์ างเลือกทีช่ าวสวนให้ความสนใจและมีการปลูกกันมากขึน้ ได้แก่ พันธุอ์ าร์ทอู ที ู และมะม่วงผิวสีต่าง ๆ โดยในปี 2562 คุณต้อยคาดการณ์ว่าปริมาณและราคาผลผลิต คงไม่ตา่ งจากปี 2561 เพราะว่าผลผลิตจะออกก่อนเขตอืน่ ๆ และชาวสวนก็ปรับตัวด้วยการ ท�ำให้ผลผลิตออกหลายรุน่ และลดปริมาณผลผลิตช่วงในฤดู (มี.ค.-เม.ย.) เพือ่ เตรียมต้นท�ำ ผลผลิตรุน่ ถัดไป ท�ำให้ผลผลิตไม่กระจุกตัว “สถานการณ์การผลิตและการตลาดมะม่วงไทยนับจากนีไ้ ปจะเป็นฉันใด ต้องตามกันต่อไปครับ” M
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
9
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย หารือเตรียมความพร้อม จัดประชุมใหญ่สิ้นปี เรื่อง : ปกป้อง ป้อมฤทธิ์
บรรยากาศการประชุมหารือของทีป่ รึกษาสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย โดยมีคุณเพ็ญระพี ทองอินทร์ ผอ.กลุ่มส่งเสริมไม้ผลฯ ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม
เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย น�ำโดย คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ และทีป่ รึกษาสมาคมฯ ได้แก่ คุณมนู โป้สมบูรณ์ คุณมานพ แก้ววงษ์นกุ ลู รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ คุณเพ็ญระพี ทองอินทร์ คุณทัศนา คิดสร้าง คุณต้อย ตั้งวิชัย คุณราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ คุณสุวิทย์ คุณาวุฒิ จัดประชุมภายใน ณ ห้องประชุมส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ชั้น 5 อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ เพือ่ หารือเตรียมความพร้อมในการจัดประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ของสมาคมและเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมฯชุดใหม่ ช่วงสิ้นปีนี้ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มี ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช ผู้ประสานงานฝ่ายไม้ผล ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อาจารย์ ดร.เจนจิรา ชุมภูคำ� ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ในฐานะนักวิจัย มาร่วมสังเกตการณ์และชี้แจงความเคลื่อนไหวของโครงการวิจัยที่ได้รับโจทย์จาก สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย เมือ่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ทีผ่ า่ นมา ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร และยังได้เชิญ คุณสุพล ธนูรกั ษ์ อดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการส่งเสริม การผลิตไม้ผล พืชเศรษฐกิจ และกฎหมาย/กฎระเบียบต่าง ๆ ของกลุม่ เกษตรกร มาร่วมประชุมและ ท�ำหน้าที่เป็นผู้เสนอยกร่างปรับแก้ไขข้อบังคับของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยด้วย ประเด็นที่ คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยและที่ปรึกษาสมาคมฯ เห็นว่าน่าจะน�ำไปหารือในที่ ประชุมใหญ่ชว่ งสิน้ ปีนี้ ประกอบไปด้วย 1. การปรับแก้ไขข้อบังคับของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยหมวดต่าง ๆ ที่ได้จากการ เสนอยกร่างแก้ไขข้อบังคับของสมาคมฯ ทีผ่ า่ นการเสนอข้อเสนอแนะ การปรับแก้ไข และการเห็นชอบ จากคณะกรรมการของสมาคมฯ แล้ว แต่ต้องผ่านความเห็นชอบ หรือลงมติในที่ประชุมใหญ่ เสียก่อน จึงจะด�ำเนินการแก้ไขข้อบังคับของสมาคมฯ ต่อไปได้ 2. การหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพลีย้ ไฟดือ้ สารเคมี ซึง่ ปัจจุบนั ถือเป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวน มะม่วงทุกพื้นที่ เพราะในขณะนี้เพลี้ยไฟดื้อสารป้องกันก�ำจัดแมลงทุกชนิดแล้ว ซึ่ง ศ.ดร.จริงแท้ ศิรพิ านิช กล่าวว่า จากการสอบถามนักวิจยั ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
คุณสุพล ธนูรกั ษ์
รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
คุณมนู โป้สมบูรณ์
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
11
ศ.ดร.จริงแท้ ศิรพ ิ านิช
พบว่า ยังไม่มีนักวิจัยท่านใดที่ท�ำงานวิจัยเพลี้ยไฟอย่างจริงจัง เนือ่ งจากอาจเป็นเพราะลักษณะทางกายภาพของเพลีย้ ไฟทีล่ ำ� ตัว มีขนาดเล็กมาก และเมือ่ เข้าสูร่ ะยะดักแด้จะฝังตัวอยูใ่ นดิน จึงเป็น อุปสรรคหนึง่ ต่อการท�ำวิจยั โดยนักวิจยั ทีจ่ ะเข้ามาท�ำวิจยั ต้องเป็น นักกีฏวิทยาที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญมาก ๆ หรือเป็น นักโรคพืชที่เคยศึกษาวิจัยในลักษณะของโรคพืชที่มาจากแมลง พาหะมาก่อน จึงจะเข้าใจวัฏจักรของเพลีย้ ไฟ ซึง่ ถือเป็นโจทย์วจิ ยั ที่หินมาก ๆ แต่จะพยายามหาทีมนักวิจัยเข้ามารับเป็นเจ้าภาพ ท�ำงานวิจัยเรื่องนี้ต่อไป 3. การหาแนวทางแก้ไขปัญหามะม่วงอ่อน ในรูปแบบ ของการออกกฎระเบียบให้เคร่งครัดและรัดกุมมากขึน้ ซึง่ ตัวอย่าง แนวทางที่คณะกรรมการเสนอในที่ประชุม เช่น ให้แต่ละจังหวัด , เจ้าหน้าที่จากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง , ชาวสวนมะม่วงแต่ละกลุ่ม , ผูป้ ระกอบการ มาท�ำการประชุมหารือ ให้ความรู้ ออกกฎระเบียบ หาบทลงโทษ และช่วยกันสอดส่อง เหมือนกับตัวอย่างการแก้ไข ปัญหา/เฝ้าระวังการตัดและขายทุเรียนอ่อน เพราะถือเป็นปัญหา ใหญ่ทที่ ำ� ให้ภาพลักษณ์มะม่วงไทยเสียหายและมีผลต่อการตลาด ระยะยาวอย่างแน่นอน 4. การหาแนวทางเพื่ อ เพิ่ ม ช่ อ งทางการส่ ง ออก มะม่วงมหาชนกไปยังประเทศออสเตรเลีย สืบเนื่องจากเมื่อ วันที่ 23 – 29 พฤษภาคม ทีผ่ า่ นมา ตัวแทนสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย อาทิ นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย คุณมนตรี ศรีนิล โดย การน�ำของกรมส่งเสริมการเกษตร ไปศึกษาดูงานการผลิตมะม่วง ที่ออสเตรเลีย จึงท�ำให้ทราบข้อมูลว่ามะม่วงจากประเทศไทยที่ ออสเตรเลียให้ความสนใจที่จะผลักดัน/ส่งเสริมให้มีน�ำเข้าเพื่อ น�ำมาบริโภคสดและแปรรูป ได้แก่ มะม่วงมหาชนก โดยช่วง ที่ต้องการผลผลิตอยู่ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ซึง่ ตรงกับช่วงทีม่ ะม่วงมหาชนกของไทยก�ำลังทยอยมีผลผลิตพอดี จึงเป็นโจทย์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ผูป้ ระกอบการ และชาวสวน ต้องปรึกษาหารือ ท�ำวิจัย และหาข้อตกลงร่วมกัน ต่อไป
12
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
บรรยากาศในทีป่ ระชุม
5. การจัดตั้งบริษัทในรูปแบบของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย เพื่อท�ำการส่งออกมะม่วงไปต่างประเทศ ประเด็ น ต่ า ง ๆ เหล่ า นี้ เป็ น เพี ย งการหารื อ ภายในของ คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย บทสรุปจะมีความเป็นไปได้ มากน้อยเพียงใด ต้องน�ำไปปรึกษาหารือในที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง M
อาจารย์ ดร.เจนจิรา ชุมภูค�ำ ได้ชี้แจงเบื้องต้นว่า ขณะนี้ได้รับ อีเมลตอบกลับว่าโครงการวิจัยการแก้ไขปัญหาการไม่ออกดอกติดผล ของมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้และงานวิจยั ตลาดซือ้ ขายมะม่วงออนไลน์ทที่ าง คณะเกษตรท�ำงานวิจัยแบบบูรณาการร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการอนุมัติงบสนับสนุน การท�ำงานวิจัยจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการนโยบายวิ ท ยาศาสตร์ เ ทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
13
โรคช่อดอกพลาสติกในมะม่วง ปัญหาของชาวสวน สู่งานวิจัย สวก.
เรื่อง : รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โดยมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย เกี่ ย วกั บ สาเหตุ ข อง โรคช่อดอกพลาสติกในหลายประเทศทัว่ โลก เช่น จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล ออสเตรเลีย สเปน เม็กซิโก บราซิล อียปิ ต์ มาเลเซีย เมียนมา นิการากัว โอมาน เซเนกัล แอฟริกาใต้ ศรีลงั กา ซูดาน ยูกนั ดา สหรัฐอเมริกา พบว่าโรคช่อดอกพลาสติกมีสาเหตุจาก การเข้ า ท� ำ ลายของเชื้ อ โรคพื ช Fusarium spp. ผูเ้ ขียน (รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ , คนที่ 5 จากซ้าย) พร้อมด้วยทีมวิจยั ลงพืน้ ที่ (เชือ้ ฟิวซาเรียม) โดยมีรายงานว่าเชือ้ สาเหตุสำ� คัญที่ เก็บตัวอย่าง ณ สวนมะม่วงคุณมนตรี ศรีนลิ นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ต.โป่งตาลอง ก่อให้เกิดโรคได้แก่ Fusarium mangiferae ซึง่ พบเชือ้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมือ่ วันที่ 5 ตุลาคม 2561 ทีผ่ า่ นมา สาเหตุนี้ในหลายประเทศที่พบโรคช่อดอกพลาสติก โรคช่อดอกพลาสติก (mango malformation disease, MMD) เป็นอาการผิดปกติ เช่น อียิปต์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา อิสราเอล ทีเ่ กิดกับช่อดอกของมะม่วงและมีผลท�ำให้มะม่วงไม่ตดิ ผล ซึง่ ชาวสวนมะม่วงในประเทศไทย แอฟริกาใต้ ศรีลงั กา โอมาน สเปน จีน และอินเดีย พบลักษณะอาการดังกล่าวมาระยะหนึง่ แล้ว และได้มกี ารน�ำมาพูดคุยกันถึงปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังพบว่าเชือ้ สาเหตุโรคช่อดอกพลาสติก ในทีป่ ระชุมสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ถึงสาเหตุทยี่ งั ไม่ได้มกี ารศึกษาทางด้านวิชาการอย่าง จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศหรือพื้นที่ที่พบการ ชัดเจน อย่างไรก็ตามในต่างประเทศได้มีการพบลักษณะผิดปกติที่เรียกว่าโรคช่อดอก เกิดโรค โดยพบเชือ้ สาเหตุโรคช่อดอกพลาสติกในสกุล พลาสติก ซึง่ เป็นอาการผิดปกติของมะม่วงทีพ่ บได้ในประเทศทีม่ กี ารปลูกมะม่วงทัว่ โลกและ Fusarium อื่นๆ ได้แก่ F. sterilihyphosum ใน แอฟริกาใต้ และ บราซิล F. mexicanum พบในเม็กซิโก สร้างความเสียหายให้กบั ชาวสวนอย่างกว้างขวาง ซึ่งจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าโรคช่อดอกพลาสติกสามารถเกิดได้ทั้ง F. tupiense พบในบราซิลและเซเนกัล และยังพบ ในระยะดอกและระยะการแตกใบอ่อน ท�ำให้ลักษณะช่อดอกและช่อใบของมะม่วงมี F. proloferatum และ F. pseudocircinatum เป็นสาเหตุ ลักษณะทางสัณฐานทีผ่ ดิ ปกติไป โดยพบว่าลักษณะของช่อดอกทีเ่ ป็นโรคดอกพลาสติก โรคช่อดอกพลาสติกอีกด้วย ทัง้ นีโ้ รคช่อดอกพลาสติก จะมีรปู ร่างสัน้ และหนา มีการแตกก้านของช่อดอกจ�ำนวนมาก มีจำ� นวนดอกมากกว่า จะแพร่กระจายโดยส่วนของพืชทีไ่ ด้รบั เชือ้ เข้าท�ำลาย ช่อดอกปกติ แต่มจี ำ� นวนดอกเพศผูม้ ากกว่าปกติ ลักษณะเป็นหมัน ดอกมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายอย่างช้าๆ ภายในสวน นอกจากนัน้ กว่าปกติ และไม่สามารถติดผลได้ ขณะทีอ่ าการผิดปกติในช่อใบพบว่าส่วนของปลาย ยังมีการรายงานว่า ไรทีเ่ ข้าท�ำลายบริเวณตายอดและ ยอดทีเ่ ป็นเนือ้ เยือ่ เจริญจะก�ำเนิดใบและกิง่ ยอดทีม่ รี ปู ร่างผิดปกติ โดยกิง่ ยอดจะมีสว่ นของ ตาดอกของมะม่วง (mango bud mite) (Aceria ปล้องสัน้ ใบคดงอและมีขนาดเล็กกว่าต้นมะม่วงปกติ ปลายยอดแตกเป็นพุม่ แม้วา่ ลักษณะ mangiferae) อาจท�ำให้เกิดการระบาดของโรคช่อดอก ของยอดทีผ่ ดิ ปกติจะพบในต้นมะม่วงทีโ่ ตเต็มทีแ่ ล้ว แต่ลกั ษณะอาการจะรุนแรงมากในต้น พลาสติกเพิม่ มากขึน้ โดยรอยแผลทีเ่ กิดจากการกัด ที่ยังเล็กอยู่เพราะจะท�ำให้ต้นหยุดชะงักการเจริญเติบโต โดยไม่พบอาการผิดปกติที่ผล ของไรจะเป็นช่องทางให้เชือ้ สาเหตุโรคพืชเข้าท�ำลาย มะม่วง โดยในประเด็นของลักษณะอาการทีพ่ บนีจ้ ากการส�ำรวจเบือ้ งต้นพบว่าจะแตกต่าง มะม่วงได้งา่ ยขึน้ แต่ยงั ขาดหลักฐานทีช่ ดั เจน ส�ำหรับการศึกษาด้านพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรค จากอาการเบือ้ งต้นทีพ่ บในประเทศไทยซึง่ ชาวสวนมะม่วงไทยให้ขอ้ มูลว่าจะพบอาการ ช่อดอกพลาสติกเฉพาะระยะการแทงช่อดอกและจะเห็นได้ชดั เจนเมือ่ อยูใ่ นระยะดอกบาน ช่ อ ดอกพลาสติ ก นั้ น พบว่ า ยั ง ไม่ มี ก ารรายงาน แต่ไม่พบอาการในช่วงการแตกใบอ่อน ขณะทีล่ กั ษณะช่อดอกจะคล้ายคลึงกับช่อดอกปกติ เชิงวิชาการที่ชัดเจน ส�ำหรับการป้องกันการเกิดโรค ความยาวช่อใกล้เคียงกันแต่จะไม่ตดิ ผลและดอกหรือส่วนของดอกติดอยูบ่ นก้านช่อดอก ช่อดอกพลาสติกนัน้ มีการแนะน�ำในประเทศออสเตรเลีย ว่า ควรน�ำกิ่งพันธุ์มาปลูกจากแหล่งที่ปราศจากโรค หนากว่าปกติ และจะพบเฉพาะบางพันธุท์ ปี่ ลูกในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน
14
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
15
อาการผิดปกติของช่อดอกมะม่วงทีเ่ กิดจากโรคช่อดอกพลาสติก (mango malformation disease, MMD) ในต่างประเทศ
และไม่นำ� กิง่ พันธุม์ าจากสวนทีเ่ ป็นโรค ควรท�ำความสะอาดเครือ่ งมือทีใ่ ช้เสร็จแล้วจาก ต้นมะม่วงเมือ่ ต้องน�ำไปใช้ในต้นมะม่วงถัดไป นอกจากนัน้ คนงาน พาหนะ หรือผูท้ จี่ ะ เข้าไปเยีย่ มสวนจะต้องได้รบั การท�ำความสะอาดก่อนและหลังเข้าไปในสวน เพือ่ ไม่ให้เกิด การปนเปือ้ นจากเชือ้ โรคพืช อย่างไรก็ตามการจัดการสวนเพือ่ ป้องกันการเกิดโรคช่อดอก พลาสติก อาจกระท�ำได้โดยการใช้หลายวิธกี ารร่วมกัน ซึง่ จากข้อมูลพบว่าส่วนของพืชที่ เชือ้ โรคเข้าท�ำลายได้มากทีส่ ดุ คือ ส่วนของปลายยอด จึงอาจใช้วธิ กี ารตัดส่วนของช่อดอก ที่เชื้อโรคเข้าท�ำลายออกร่วมกับการพ่นด้วยสารป้องกันก�ำจัดเชื้อรา แต่ยังขาดข้อมูลที่ ชัดเจนเกีย่ วกับเวลาทีเ่ หมาะสมต่อการพ่นสารเคมี อย่างไรก็ตามการพ่นสารเคมีควรค�ำนึง ถึงสภาพอากาศเนือ่ งจากมีผลต่อการเจริญเติบโตและการเข้าท�ำลายของเชือ้ สาเหตุโรคพืช ทัง้ นีก้ ารตัดส่วนของปลายยอดทีเ่ ชือ้ สาเหตุเข้าท�ำลายจะต้องด�ำเนินการให้เร็วทีส่ ดุ เมือ่ พบ อาการของโรคและด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ งถ้าพบอาการ ขณะทีก่ ารพ่นสารเคมีปอ้ งกัน ก�ำจัดเชือ้ ราจะมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ป้องกันเนือ้ เยือ่ ทีอ่ อ่ นแอต่อเชือ้ สาเหตุโรคพืชมากทีส่ ดุ คือส่วนของตายอดและตาดอกของพืชจากการเข้าท�ำลายของเชือ้ สาเหตุโรคทีอ่ ยูใ่ นอากาศ ดังนัน้ การพ่นสารเคมีจงึ ควรท�ำให้เร็วทีส่ ดุ เมือ่ พบอาการและท�ำอย่างต่อเนือ่ งจนกระทัง่ เนือ้ เยือ่ ทีม่ อี าการติดเชือ้ นัน้ หมดไป การศึกษาการจัดการโรคช่อดอกพลาสติกในประเทศปากีสถาน พบว่า การตัดส่วน ของปลายยอดทีเ่ กิดการเข้าท�ำลายของเชือ้ ทีช่ อ่ ดอกมะม่วงออกประมาณ 45 เซนติเมตร ตามด้วยการพ่นด้วยสาร benomyl 50 WP (สารเบโนมิล) ความเข้มข้น 2 g. L-1 สามารถ ลดการเกิดโรคได้ถงึ 70.37 % ส�ำหรับประเทศบราซิล ใช้วธิ กี ารตัดส่วนของปลายยอดที่ พบช่อดอกที่เป็นโรคออกประมาณ 50 เซนติเมตร (นับจากช่อดอก) อย่างไรก็ตาม การพ่นสารเคมีเพือ่ ป้องกันก�ำจัดเชือ้ รายังขาดข้อมูลด้านเวลาและความถีท่ เี่ หมาะสมใน การพ่นสาร ประเทศอิสราเอล ใช้วธิ กี ารตัดส่วนของปลายยอดทีเ่ ชือ้ สาเหตุโรคเข้าท�ำลาย ออกเพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ใหม่แล้วน�ำไปเผาไฟ นอกจากนัน้ ยังใช้สารเคมีทำ� ความสะอาดส่วนของตาหรือเนือ้ ไม้ (budwood) เช่น สาร prochloraz (โพรคลอราซ)
16
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ก่อนน�ำไปใช้ในการขยายพันธุ์ อย่างไรก็ตามการจัดการ โรคช่อดอกพลาสติกในแต่ละประเทศมีความแตกต่าง กัน ส�ำหรับในประเทศไทย มีรายงานว่าชาวสวนผูป้ ลูก มะม่วงพบว่าโรคดังกล่าวเป็นปัญหาส�ำคัญและระบาด เพิม่ มากขึน้ เป็นวงกว้าง เพราะมะม่วงทีพ่ บอาการจะ ไม่ตดิ ผล ผลผลิตจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความเสียหายทาง เศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีการศึกษาในด้านของวิชาการถึง สาเหตุและการจัดการโรคช่อดอกพลาสติกของมะม่วง อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับโรคช่อดอก พลาสติกในต่างประเทศนัน้ ได้มกี ารศึกษาถึงสาเหตุของ โรคพืชในระดับของชีวโมเลกุลและทราบถึงชนิดของเชือ้ สาเหตุโรคช่อดอกพลาสติกในเบื้องต้นรวมทั้งวิธีการ จัดการโรคในสวนมะม่วง แม้วา่ ยังมีขอ้ มูลบางส่วนทีย่ งั ไม่ ชั ด เจนและในแต่ ล ะประเทศก็ มี วิ ธี ก ารจั ด การ ที่ แ ตกต่ า งกั น ขณะที่ ก ารศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การเกิ ด โรคช่อดอกพลาสติกในประเทศไทยยังไม่มกี ารศึกษาถึง สาเหตุของโรคและยังขาดข้อมูลเชิงวิชาการทีจ่ ะน�ำไปสู่ การจัดการสวนมะม่วงเพือ่ ป้องกันการเกิดโรคช่อดอก พลาสติก อีกทั้งลักษณะอาการบางลักษณะที่พบใน ประเทศไทยยังมีความแตกต่างจากที่มีรายงานใน ต่างประเทศ แม้วา่ รายงานของนักวิจยั ในต่างประเทศ ได้สรุปว่าการเข้าท�ำลายของเชื้อราฟิวซาเรียมเป็น สาเหตุของโรคช่อดอกพลาสติก แต่ในประเทศไทยยัง ไม่มกี ารศึกษาซึง่ เป็นไปได้วา่ อาจจะมีสาเหตุของอาการ ทีแ่ ตกต่างกัน หรืออาจจะเป็นได้วา่ เป็นโรคต่างชนิดกัน กับที่พบในต่างประเทศแต่มีชื่อเรียกเหมือนกัน คือ mango malformation disease (MMD) ซึง่ ประเทศไทย เรียกว่าโรคช่อดอกพลาสติก จากสาเหตุดังกล่าว ส�ำนักงานพัฒนาการ วิจยั การเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จึงได้ อนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยให้กับทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ (ผู้เขียน) เป็นหัวหน้า โครงการวิจัยร่วมกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน เพื่อด�ำเนิน การวิ จั ย ศึ ก ษาสาเหตุ แ ละวิ ธี ก ารจั ด การโรค ช่อดอกพลาสติกในประเทศไทย ซึง่ ขณะนีอ้ ยูใ่ นช่วง เริ่ ม ต้ น การวิ จั ย และต้ อ งการความร่ ว มมื อ จาก ชาวสวนมะม่วงอีกมากในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ถ้ามีความก้าวหน้าของการวิจยั เพิม่ มาก ขึน้ จะน�ำเสนอในโอกาสต่อไป M
ถามมา – ตอบไป....ไขปริศนาค�ำถามมะม่วง
สืบเนื่องจากมีสมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยและชาวสวนมะม่วงมือใหม่ สอบถามค�ำถาม ที่เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงมาหลายช่องทาง เช่น สอบถามโดยตรงจากชาวสวนมะม่วงและนักวิชาการ สอบถามมาทางไลน์และเฟซบุก๊ สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ทางคณะผู้จัดท�ำจดหมายข่าวสมาคมชาวสวน มะม่วงไทยจึงได้รวบรวมค�ำถามและประสานงานไปยังผู้รู้ที่เป็นนักวิชาการ คณะกรรมการและสมาชิก สมาคมฯ ให้ท�ำการตอบค�ำถาม โดยจะน�ำมาตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวสมาคมฯ และเผยแพร่ลงในเฟซบุ๊ก สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับชาวสวนมะม่วงได้น�ำไปปรับใช้ต่อไป 1.ท่านใดพอจะมีวิธีก�ำจัดด้วงเหล่านี้บ้างไหมครับ เนื่องจากในสวนมะม่วงของพ่อผมมีเยอะ มากเลย โดยด้วงจะกัดกินผลอ่อนและใบมะม่วงเยอะมากครับ? จากคุณศักดา คุ้มไข่น�้ำ ค�ำตอบ : แมลงค่อมทอง สามารถป้องกันและก�ำจัดได้โดย 1.วิธีกล ใช้วิธีเก็บตัวมาท�ำลาย โดยเฉพาะจับคู่ที่ก�ำลังผสมพันธุ์ จะลดการวางไข่ในรุ่นต่อไปได้ 2.การใช้สารเคมี ใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติถูกตัวตาย หรือกินตาย เช่น กลุ่ม 1 คาร์บาริล ไทโอไดคาร์บ คลอร์ไพริฟอส ไดอะซินอน โพรฟีโนฟอส โพรโทโอฟอส , กลุ่ม 2 ฟิโพรนิล , กลุ่ม 3 แลมบ์ดาไซฮาโลทริน เดลทาเมทริน เบตาไซฟลูทริน , กลุม่ 4 อะเซตทามิพริด ไทอะมีทอกแซม , กลุม่ 14 คาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ และกลุม่ 21 โทลเฟนไพแรด โดยใช้ตามอัตราส่วนทีแ่ นะน�ำ ค�ำตอบจากคุณสุเทพ สหายา อดีต ผอ.กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส�ำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร 2. อยากรูว้ ธิ ที ำ� ให้มะม่วงไม่เป็นผลกะเทย เนือ่ งจากมะม่วงขึน้ เม็ดเยอะมาก แต่เป็นผล กะเทยเกือบทั้งหมดเลย ต้องท�ำอย่างไรดี? จากคุณTharinee Intraat ค�ำตอบ : มะม่วงทีเ่ ป็นผลกะเทยเกิดได้จากหลายกรณี เช่น 1.การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ 2.การใช้ สารเคมีไม่ถกู ต้องตามช่วงเวลา เช่น พ่นสารป้องกันก�ำจัดแมลงในช่วงทีด่ อกมะม่วงบาน จึงส่งผล กระทบต่อแมลงผสมเกสร เช่น ผึ้ง ชันโรง แมลงวัน 3.สภาพอากาศแปรปรวน เช่น อากาศร้อน จัดในช่วงที่ดอกมะม่วงบาน 4.ความสมบูรณ์ของต้น ส�ำหรับวิธแี ก้ไข (อาจจะแก้ไขได้ไม่ 100 % แต่พอทีจ่ ะเป็นแนวทางปฏิบตั ไิ ด้) ประกอบไปด้วย 1.เตรียมต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง 2.ใส่ปุ๋ย/พ่น สารเคมีในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสม กล่าวคือ ควรมีการส่งตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ , การพ่นสารป้องกันก�ำจัดแมลง ควรพ่นก่อนดอกบาน และหลังติดผลแล้ว , การพ่นสารป้องกันก�ำจัดโรคในระยะดอกบาน ควรใช้ตามอัตราส่วนที่แนะน�ำ , การพ่นสารเคมี ไม่ควรพ่นในช่วงที่ อากาศร้อนจัด 3.ถ้ามีแมลงผสมเกสรน้อยแนะน�ำให้ท�ำการเลี้ยงผึ้ง ชันโรง แมลงวัน ในสวนมะม่วง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การผสมเกสร สมบูรณ์ ท�ำให้มะม่วงติดผลผลิตมากขึ้น ค�ำตอบจากคุณไกรสร แก้ววงษ์นุกูล คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ฝ่ายวิชาการ อัปเดตข่าวสารมะม่วงต่างประเทศ
ออสเตรเลียยื่นมือช่วยเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่เวียดนาม เรื่องห่วงโซ่อุปทาน ข้อมูล Vietnamplus.vn ภาพ lapdatkholanhtoanquoc.blogspot.com
ชาวสวนมะม่ ว งที่ ป ระเทศเวี ย ดนามจ� ำ นวน 270 รายแถบแม่ โขงเดลต้ า โดยเฉพาะ จ.ด่งทาปและต่งซาง จะได้รับความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ท้าทายส�ำหรับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงของเวียดนาม โดยหน่วยงานจากประเทศออสเตรเลียที่ยื่นมือเข้ามาช่วย ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น ศูนย์วิจัยเกษตรกรรมระหว่างประเทศของออสเตรเลีย (Australia Centre for International Agriculture Research, ACIAR) โดยโปรเจ็คนี้ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ที่ จ.ด่งทาป และมีระยะเวลาการด�ำเนินงานสามปีครึ่ง ผู้อ�ำนวยการของ ACIAR Robin Robert กล่าวว่า เวียดนามเป็นประเทศที่ได้ เปรียบในเรื่องของการผลิตมะม่วง แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่ชาวสวนมะม่วงเวียดนาม
ยั ง ขาดก็ คื อ ในเรื่ อ งของ เทคโนโลยี , เทคนิคการ เพาะปลูก , การใช้สารเคมี อย่างถูกต้อง , การเข้าถึง ตลาดต่างประเทศ และ ห่วงโซ่อุปทาน แม่ โ ขงเดลต้ า เป็ น พื้ น ที่ ที่ เ พาะปลู ก มะม่ ว งมากที่ สุ ด ของเวี ย ดนาม โดยพื้ น ที่ เ พาะปลู ก มะม่ ว งทั้ ง ประเทศของเวียดนามอยู่ที่ 5.3 แสนไร่ โดย 55% ของพื้นที่ เพาะปลูกอยู่ที่แม่โขงเดลต้า โดยจ.ด่งทาป มีพื้นที่เพาะปลูก 57,500 ไร่ และสามารถผลิตมะม่วงได้จำ� นวน 95,000 ตันต่อปี M สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
17
วิกฤติตลาดมะม่วง ชาวสวนควรปรับตัวกันอย่างไร (ตอนจบ) วิ ก ฤติ ต ลาดมะม่ ว ง ชาวสวนควรปรั บ ตั ว กันอย่างไร? ได้เดินทางมาถึงตอนจบแล้ว ฉบับนีข ้ อ กล่าวถึง แนวทางการปรับตัว เพื่ อบรรเทาวิกฤติ ตลาดมะม่วงในอนาคตอันใกล้ โดยชาวสวนอาจจะ ต้องส�ำรวจและวิเคราะห์ว่า ตัวชี้วัดในล�ำดับต่อไปนี้ ข้อใดมีความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว หรือ ข้อใดตนเองยังมีความบกพร่องอยู่
เรื่อง : รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
1.กลุ ่ ม : การรวมกลุ ่ ม จะช่ ว ย บรรเทาผลกระทบจากวิ ก ฤติ ต ลาด ให้ชาวสวนรายย่อยและชาวสวนราย อิสระได้ ส่วนกลุม่ ทีเ่ ข้มแข็งย่อมเป็นทีพ่ งึ่ ได้ดที สี่ ดุ ซึง่ หมายถึงกลุม่ ทีผ่ ลิตสินค้าได้ ตรงกับความต้องการของตลาด โดยสินค้า เมื่อรวมกันขายจะมีปริมาณมากพอที่จะ สร้างพลังอ�ำนาจในการต่อรองกับผู้ซื้อได้ สร้างระเบียบข้อบังคับทีด่ ไี ว้และมีกลไกการ บังคับใช้อย่างเหมาะสม ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารกลุม่ มีการเข้าถึงตลาดทีม่ นั่ คงทัง้ ต่างประเทศและในประเทศ มีกระบวนการพัฒนา ความสามารถของสมาชิ ก มี ก ระบวนการเพิ่ ม ขี ด ความสามารถของกลุม่ มีการสือ่ สารข้อมูลสร้างการ รับรูข้ า่ วสารและความเข้าใจทีด่ กี นั ภายในกลุม่ อย่าง สม�ำ่ เสมอ และมีการสือ่ สารกับตลาดของตน เป็นต้น 2.คุณภาพผลผลิต : ไม่วา่ จะเป็นรายเดีย่ ว หรือรายกลุม่ สินค้าทีจ่ ะจ�ำหน่ายได้ตอ้ งมีคณ ุ ภาพ ตามความต้องการของตลาด เช่น กรณีของมะม่วง น�้ำดอกไม้สีทองคุณภาพ หมายถึง สด สะอาด ปลอดภัยจากสารตกค้าง ผิวสวย รูปทรงสวยงาม ตรงตามพันธุ์ เก็บเมือ่ แก่ 80-90% รสชาติดี มีขนาด หรือน�ำ้ หนักตามเกณฑ์ (250 - 600 กรัม) ปราศจาก การถอดองค์ความรู้จากชาวสวนนักปฏิบัติออกมาเป็นคู่มือการผลิตเพื่อให้ รอยช�ำ้ และต�ำหนิ 3.องค์ ค วามรู ้ ใ นการท� ำ สวนมะม่ ว ง : สมาชิกทุกคนรวมทัง้ เครือข่ายสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง เช่น หนังสือ การท� ำ สวนมะม่ ว งเชิ ง การค้ า จ� ำ เป็ น ต้ อ งอาศั ย เกษตรดีทเี่ หมาะสมส�ำหรับมะม่วง ฉบับชุมชน 2 วิสาหกิจชุมชนชมรมผูป้ ลูก องค์ความรูส้ มัยใหม่ มีความสอดคล้องเหมาะสมกับ มะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ (ธวัชชัยและฉันทลักษณ์, 2560) นอกจากจะช่วยเสริม ุ ภาพแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้สนิ ค้าของกลุม่ ทีม่ าจาก พื้ น ที่ กรณี ข องชาวสวนที่ ร วมตั ว กั น เป็ น กลุ ่ ม ในเรือ่ งการผลิตให้มคี ณ สมาชิกจ�ำนวนมากมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน และยังใช้เป็นหลักฐานในการสร้าง
18
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ภาคีเครือข่ายทีใ่ ห้ ค�ำปรึกษาทัง้ ในเรือ่ ง ของการผลิตและ การตลาด
ความมัน่ ใจให้แก่ลกู ค้ากลางน�ำ้ และปลายน�ำ้ ในห่วงโซ่อปุ ทานได้ นอกจาก นี้ก ารปลู ก ไม้ ผ ลหลายชนิ ด โดยมี พื ช หลั ก และพื ช รอง สามารถใช้ ปรับเปลีย่ นสัดส่วนไม้ผลหลักทีไ่ ด้ผลผลิตน้อยหรือราคาไม่ดี แล้วเพิม่ ไม้ผลรองเพือ่ ทดแทนรายได้ทหี่ ายไป ระบบการปลูกไม้ผลนีม้ ตี น้ แบบ อยูท่ สี่ วนคุณอาทิตย์ เกษมศรี ประธานวิสาหกิจชุมชนชมรมผูป้ ลูกมะม่วง จ.เชียงใหม่ (สวนดุษณี) อ.แม่แตง ถือเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีส่ ามารถลด ปัญหาวิกฤติตลาดไปได้มาก 4.ข้อมูล : ผูเ้ ขียนขอน�ำกรณี “สวนมะม่วงคุณช้าง” อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึง่ เป็นสวนใหญ่รายเดีย่ วขนาด 400 ไร่ มาเป็นต้นแบบของ ความส�ำเร็จด้านการตลาด โดยคุณช้างได้ใช้ข้อมูลเพื่อการบริหาร การผลิตในสวนและวางแผนการตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจน สื่อสารกับผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นคู่ค้า สามารถให้คู่ค้าซึ่งเป็น กลางน�้ำได้ใช้ข้อมูลนี้เชื่อมโยงกับผู้น�ำเข้าปลายน�้ำในห่วงโซ่อุปทาน ในการก�ำหนดปริมาณสินค้า มูลค่า และช่วงเวลาการน�ำเข้าด้วยความ แม่นย�ำ โดยข้อมูลเป็นส่วนหนึง่ ของพลังอ่อน (soft power) ทีส่ วนคุณช้าง มีอยู่ และสร้างความมัน่ คงด้านการตลาดได้ยาวนานมากว่า 20 ปี จึง ถือว่ามีความจ�ำเป็นทัง้ รายเดีย่ วและรายกลุม่ ส�ำหรับข้อมูลหมายรวมถึง ขนาดพืน้ ทีป่ ลูก พันธุท์ มี่ พี ฒ ั นาการของมะม่วงในแต่ละระยะ ปริมาณ ผลผลิตรวมทีค่ าดว่าจะเก็บเกีย่ วได้ ช่วงเวลาทีค่ าดว่าจะมีการเก็บเกีย่ ว ออกจากสวนได้ ตัง้ แต่วนั เริม่ ต้นจนถึงวันสิน้ สุด ตลอดจนสถานการณ์ การผลิตโดยรวมและความเสีย่ งต่อผลผลิตทีอ่ าจจะเกิดขึน้ เป็นต้น 5.กองทุน : ใช้เพือ่ การลงทุนและพัฒนาอาชีพ โดยรายการที่ จ�ำเป็นต้องลงทุนจะเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง นับรวมตั้งแต่ ที่ดิน โรงคัดบรรจุ ห้องประชุม ห้องเก็บของ ห้องเย็นพักสินค้า ร้านค้าจ�ำหน่าย ผลิตผล ไปจนถึงร้านค้าจ�ำหน่ายปัจจัยการผลิตและเงินหมุนเวียนส�ำหรับ ซื้อปัจจัยการผลิตบริการแก่สมาชิก พัฒนาอาชีพหมายถึง สมาชิก สามารถกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตจากกลุ่มตามกรอบเครดิตหุ้นที่ได้ สะสมไว้ใช้ลงทุนในไม้ผลรองหรือการแปรรูปผลผลิตทีล่ น้ ตลาด หรือเพือ่ พัฒนาความสามารถของสมาชิก กองทุนจึงเป็นความจ�ำเป็นขัน้ พืน้ ฐาน ทีส่ ำ� คัญของกลุม่ ในเบือ้ งต้นแหล่งของกองทุนมักมาจากการลงหุน้ ของ สมาชิก การมีกองทุนดอกเบีย้ ต�ำ่ จากภาครัฐให้แก่กลุม่ ทีเ่ ข้มแข็งเพือ่ ใช้ หมุนเวียนและเพิม่ ขีดความสามารถของกลุม่ นับเป็นการลงทุนทีค่ มุ้ ค่า ยิง่ ในการบ�ำบัดทุกข์และแก้ปญ ั หาวิกฤติตลาดให้แก่เกษตรกรชาวสวน และยังช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้
6.ภาคีเครือข่าย : จากการที่กลุ่มในอ�ำเภอต่าง ๆ ของ จ.เชียงใหม่ 15 กลุม่ ได้รวมตัวกันเป็น “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชาวสวน มะม่วงเชียงใหม่” เมือ่ ปี 2560 ถือเป็นเครือข่ายต้นแบบชาวสวนระดับ จังหวัดที่น่าชื่นชม เพราะกลุ่มชาวสวนได้มีการช่วยเหลือกันในเรื่อง การตลาด ทัง้ ในรูปการแบ่งปันข้อมูลเรือ่ งสถานการณ์ราคา ตลาดผูซ้ อื้ ตลอดจนท�ำหน้าทีเ่ ป็นตลาดรับซือ้ ให้แก่กลุม่ อืน่ ในเครือข่าย จนท�ำให้ หลายกลุม่ สามารถฝ่าวิกฤติตลาดไปได้ในระดับทีน่ า่ พอใจ ภาคีเครือข่าย ยังอาจหมายรวมไปถึง ภาครัฐ ทีช่ ว่ ยหาตลาดผูบ้ ริโภคหรือแหล่งจ�ำหน่าย ตรงสู่ผู้บริโภค ภาคเอกชน ที่สนับสนุนการประชุมของภาคีเครือข่าย ในด้านตลาดและช่วยลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ภาควิชาการ สนับสนุน องค์ความรูเ้ พือ่ ลดความเสีย่ งด้านการผลิต การตลาด และการแปรรูปให้ แก่กลุม่ และเครือข่าย เป็นต้น 7.ระบบตรวจสอบคุณภาพ : แม้ระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้า ภายในกลุม่ ชาวสวน ยังไม่ปรากฏชัดในวงการมะม่วง อาจมีแค่กจิ กรรม โค้ชมะม่วงของวิสาหกิจชุมชนชมรมผู้ปลูกมะม่วง จ.เชียงใหม่ ที่พอ เทียบเคียงกันได้ โดยจัดสมาชิกผูร้ ทู้ มี่ ที กั ษะเป็นกลุม่ ไปเยีย่ ม พร้อมช่วย ในการแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนสมาชิกในเรื่องการผลิตและมีผลผลิตได้ คุณภาพในสัดส่วนที่ยังต�่ำ ส่วนการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าให้แก่ ผู้บริโภคปลายทางด้วยระบบการตรวจสอบย้อนกลับในกลุ่มด้วย QR code ได้นำ� ไปสูก่ ารปฏิบตั บิ า้ งแล้ว เช่น กรณีของสหกรณ์ชมรม ชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จ�ำกัด เป็นต้น 8.ตลาด : ถือเป็นสิง่ จ�ำเป็นเพือ่ ความอยูร่ อดส�ำคัญทีส่ ดุ ของ เกษตรกรชาวสวน ทัง้ รายเดีย่ วและรายกลุม่ โดยไม่มขี อ้ ยกเว้น วิกฤติ ตลาดมะม่วงกลับไม่สง่ ผลกระทบต่อสวนคุณช้างโดยสิน้ เชิงและตลอด ระยะเวลากว่า 20 ปีทผี่ า่ นมา เพราะมีทงั้ ตลาดส่งออกและตลาดภายใน ประเทศมารองรับผลผลิตอย่างมัน่ คง ด้วยราคาทีเ่ ป็นธรรมทัง้ ต่อผูซ้ อื้ และผู้ขาย จากเหตุผลหลายปัจจัยนับตั้งแต่ ปริมาณสินค้า คุณภาพ ผลผลิต องค์ความรูก้ ารผลิต ข้อมูล และการสือ่ สารกับคูค่ า้ จึงนับเป็น ตัวอย่างเป้าหมายของเกษตรกรชาวสวนทัง้ ทีเ่ ป็นรายเดีย่ วหรือรายกลุม่ ทัง้ ประเทศ M
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
19
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยในงาน “เกษตรสร้างชาติ” 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร ทีส ่ วนลุมพิ นี กรุงเทพฯ เรื่อง : ราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และประธานวิสาหกิจชุมชนส่งออก มะม่วงอ�ำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
วันที่ 30 สิงหาคม - 2 กันยายน 2561 ทีผ่ า่ นมา กรมส่งเสริม การเกษตร ได้จดั งาน “เกษตรสร้างชาติ” เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 50 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ เพือ่ น�ำเสนอ พัฒนาการงานส่งเสริมการเกษตรและผลส�ำเร็จจากงานส่งเสริม การเกษตรตลอด 50 ปีทผี่ า่ นมา ภายในงานได้มกี ารจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น นิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ ด้านการเกษตร , นิทรรศการความรูด้ า้ นการเกษตร , ผลงานเด่น และผลส�ำเร็จทีเ่ กิดจากการส่งเสริมการเกษตร ,การใช้เทคโนโลยี ในการผลิตสินค้าเกษตรรวมถึงมาตรฐานสินค้าเกษตรจากตัวอย่าง พืชส�ำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ กล้วยไม้ ทุเรียน มะพร้าว มะม่วง ,โซนให้บริการความรูแ้ ละค�ำแนะน�ำด้านการเกษตรต่างๆ , โซนจ�ำหน่ายสินค้าเกษตรจากกลุม่ เกษตรกรทัว่ ไทย สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย โดยการประสานงานจากกรมส่งเสริม การเกษตร ได้มโี อกาสเข้าร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้ พร้อมกับน�ำผลผลิต มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้สที องและน�ำ้ ดอกไม้เบอร์สี่ ของวิสาหกิจชุมชนส่งออก มะม่วง อ.บางแพ จ.ราชบุรี ไปร่วมออกบูทจ�ำหน่ายผลผลิตด้วย ซึง่ ผม ขอสรุปกิจกรรมและสิง่ ทีไ่ ด้จากการไปร่วมออกบูท ทัง้ 4 วัน ดังนี้ 1. คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ได้ รายงานปัญหาการผลิตมะม่วงพร้อมกับมอบจดหมายข่าวสมาคม ชาวสวนมะม่ ว งไทยให้ กั บ นายกฤษฎา บุ ญ ราช รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. ผู้เขียน (นายราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์) ได้มีโอกาสมอบ มะม่ ว งน�้ ำ ดอกไม้ เ กรดพรี เ มี ย มให้ กั บ พลเอกฉั ต รชั ย สาริ กั ล ยะ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมกับผู้บริหารท่านอื่น ๆ 3. ลู ก ค้ า ที่ เ ป็ น กลุ ่ ม คนเมื อ งให้ ค วามสนใจและซื้ อ มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ทงั้ ทีบ่ รรจุอยูใ่ นกล่องพลาสติกใสและทีไ่ ม่ได้บรรจุอยู่ ในกล่อง กลับไปรับประทานและเป็นของฝากกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ภายใน 4 วันสามารถจ�ำหน่ายมะม่วงได้มากถึง 1 ตัน
20
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ผู้เขียนได้มีโอกาส มอบมะม่วงน�้ำดอกไม้ เกรดพรี เ มี ย ม ให้ กั บ พลเอกฉัตรชัย สาริกลั ยะ รองนายกรัฐมนตรี
คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคม ลูกค้ากลุม่ คนเมืองก�ำลังเลือก ชาวสวนมะม่วงไทย (ขวา) และผูเ้ ขียน ซือ้ มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ (ซ้าย) น�ำมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้คณ ุ ภาพและ จดหมายข่าวสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ไปร่วมออกบูท
4. ภายในงานได้มีผู้ส่งออกมะม่วง เข้ามาติดต่อสอบถามและ ให้ความสนใจทีจ่ ะรับซือ้ มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้คณ ุ ภาพของกลุม่ และสมาชิก รายอืน่ ๆ ซึง่ ผมมองว่าเป็นสัญญาณทีด่ ใี นลักษณะทีว่ า่ มะม่วงคุณภาพ อย่างไรก็ยังขายได้และเป็นที่ต้องการของตลาด 5. เกษตรกรเข้ามาสอบถามวิธกี ารผลิตมะม่วงทัง้ ในและนอกฤดู ให้ได้คณ ุ ภาพ โดยค�ำถามทีเ่ กษตรกรสอบถามกันมากทีส่ ดุ คือเรือ่ งโรค แมลงศัตรู และสภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน ซึง่ ท�ำให้ปริมาณและคุณภาพ ของผลผลิตมะม่วงลดลง สุ ด ท้ า ยนี้ ส มาคมชาวสวนมะม่ ว งไทยต้ อ งขอขอบคุ ณ กรมส่งเสริมการเกษตร โดย กองพัฒนาเกษตรกร และกลุม่ ส่งเสริม ไม้ผล ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ทีไ่ ด้จดั ท�ำโปสเตอร์ให้ ความรูเ้ รือ่ งกระบวนการกลุม่ กับการพัฒนาชาวสวนมะม่วงไทยตัง้ แต่ อดีตจนถึงปัจจุบนั ไปร่วมจัดแสดงภายในงานนีด้ ว้ ย
แวดวงสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
เมือ่ เดือนกรกฎาคม ทีผ่ า่ นมา รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ ทีป่ รึกษา สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย พร้อมด้วย คุณอาทิตย์ เกษมศรี ประธานวิสาหกิจ ชุมชนชมรมผูป้ ลูกมะม่วง จ.เชียงใหม่ ได้รบั เชิญไปเป็นวิทยากรในงานสัมมนา “การผลิตมะม่วงส่งออกของต่างประเทศ (เปรู)” “ชาวสวนควรปรับตัวอย่างไรต่อ วิกฤติตลาดมะม่วงไทย” ณ ภัตตาคารเจีย่ ท้งเฮง สาขาฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่ M
วันที่ 16 สิงหาคม ทีผ่ า่ นมา ชาวสวนมะม่วงจากประเทศฟิลปิ ปินส์ จ�ำนวน 50 คน มาศึกษาดูงานการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของไทย ณ วิสาหกิจชุมชนกลุม่ ส่งออกมะม่วง ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยการน�ำของบริษทั ไบเออร์ไทย จ�ำกัด M
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา คุณราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ พร้อมด้วยสมาชิก จัดพิธีท�ำบุญ ณ ที่ท�ำการวิสาหกิจชุมชนส่งออกมะม่วง อ.บางแพ จ.ราชบุรี M
ระหว่างวันที่ 22 – 24 สิงหาคม ทีผ่ า่ นมา ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด อุดรธานี น�ำชาวสวนมะม่วงกว่า 100 ราย เข้าศึกษาดูงานการผลิต การตลาด
และการตรวจสอบย้อนกลับมะม่วงเพือ่ การส่งออก ภายใต้โครงการ พั ฒ นาการผลิ ต มะม่ ว งอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ การส่ ง ออก ตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจ�ำปีงบประมาณ 2561 จังหวัดอุดรธานี ณ ที่ท�ำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วง ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมี คุณมนตรี ศรีนลิ นายกสมาคม ชาวสวนมะม่ ว งไทย เป็ น ผู ้ ก ล่ า วต้ อ นรั บ ให้ ค วามรู ้ และ พาชมสวนมะม่วง และ ณ ทีท่ ำ� การวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด ต.หนองแซง อ.บ้ า นแฮด จ.ขอนแก่ น โดยมี คุ ณ บุ ญ ส่ ว น แก้วไพฑูรย์ และสมาชิก น�ำชมสวนมะม่วง M เมือ่ วันที่ 23 สิงหาคม ทีผ่ า่ นมา คุณรัฐภูมิ ขันสลี ประธานวิสาหกิจ ชุมชนปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน เข้าร่วมพิธี ลงนาม MOU ในโครงการเสริมสร้าง เกษตรกรรายย่อยอย่างยัง่ ยืน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดน่าน โดยมี รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธี M
เมือ่ วันที่ 16 กันยายน ทีผ่ า่ นมา คุณบุญส่วน แก้วไพฑูรย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด ในฐานะตัวแทนเกษตรกร โครงการเกษตรแปลงใหญ่ เข้ารับโล่พร้อมประกาศเกียรติบตั รรางวัล ชมเชย การประกวดแปลงใหญ่มะม่วง ต.หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น จาก นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซติ ี้ จอมเทียน จ.ชลบุรี สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ M เมือ่ วันที่ 22 กันยายน ที่ ผ ่ า น ม า คุ ณ ช ล ธิ ช า ฤทธิ์ วั น ชั ย ประธานกลุ ่ ม มะม่วงคุณภาพบ้านวังน�ำ้ บ่อ พร้อมด้วยสมาชิก ได้มโี อกาส ต้อนรับ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรในโอกาสที่ ม าเยี่ ย มชมสวนมะม่ ว งของ กลุม่ พร้อมกับร่วมพูดคุยและให้คำ� แนะน�ำต่าง ๆ สูก่ ารน�ำไปปรับใช้ เพื่อท�ำให้มะม่วงของกลุ่มมีคุณภาพเพิ่มขึ้น M สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
21
รายชื่อผู้น�ำชาวสวนมะม่วงกลุ่มต่างๆ
ล�ำดับที่
กลุ่ม
ประธาน
1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตมะม่วง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล 2 สหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จ�ำกัด นายกระจ่าง จ�ำศักดิ์ 3 กลุ่มมะม่วงส่งออกมงคลธรรมนิมิต นายสุนทร สมาธิมงคล 4 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วง ต�ำบลโป่งตาลอง นายมนตรี ศรีนิล 5 กลุม่ ผูผ้ ลิตมะม่วงปลอดสารพิษเพือ่ การส่งออกเมืองปากช่อง นายวีระเดช ไชยอนงค์ศักดิ์ 6 กลุ่มส่งเสริมการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก นายสนิท ชังคะนาค บ้านหนองไม้ยางด�ำ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 7 กลุม่ พัฒนาไม้ผลต�ำบลวังทับไทร นายนคร บัวผัน,นายสายันต์ บุญยิง่ 8 ชมรมผู้ปลูกมะม่วงเนินมะปราง นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ 9 กลุม่ ปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพือ่ การค้าและการส่งออก นายไตรรัตน์ เปียถนอม จ.เพชรบูรณ์ 10 วิสาหกิจชุมชนกลุม่ พัฒนาการผลิตมะม่วงเพือ่ การส่งออกบ้านวังเรือ นายบุญส่ง สีสะท้าน 11 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วง จ.สุโขทัย นายสมชาย ศรีชัย 12 กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรไม้ผลบ้านโหล่น นางวิจิตร ขวัญหลาย 13 กลุม่ ส่งเสริมพัฒนาชาวสวนมะม่วงเพือ่ การส่งออก จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ นายต้อย ตั้งวิชัย 14 กลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก อ.พร้าว นายเจริญ คุ้มสุภา 15 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกบ้านส�ำนักตะค่า นายอุบล พึ่งนิล 16 เครือข่ายผลิตมะม่วงบ้านต้นไทร นายวิเชียร ร่วมเกิด 17 วิสาหกิจชุมชนผลิตไม้ผลต�ำบลทุ่งนางาม นายไพศาล จันจินดา 18 วิสาหกิจชุมชนพัฒนามะม่วงเพื่อส่งออกบ้านห้วยไซใต้ นางศรีทอน ปาลี 19 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก นางนกมล โมงนาที และแปรรูปบ้านพระพุทธบาทน้อย 20 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก นายวัลลภ ทองสถิ 21 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงต�ำบลกุดหมากไฟ นายบุญช่วย พัฒนชัย 22 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก นายบรรจง หอมกลิ่นราตรี 23 วิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด นายบุญส่วน แก้วไพฑูรย์ 24 กลุ่มพัฒนาไม้ผลบุฮม นายปราโมทย์ พันช์จันทรี 25 ชมรมชาวสวนจังหวัดสระแก้ว นายพยอม สุขนิยม 26 กลุ่มผู้ปลูกไม้ผลเพื่อการส่งออกอ�ำเภอพร้าว นางบุญศรี อรุณศิโรจน์ 27 กลุ่มไม้ผลเพื่อการส่งออกอ�ำเภอพร้าว นายกมล เรือนแก้ว 28 วิสาหกิจชุมชนชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ นายอาทิตย์ เกษมศรี 29 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงกุมภวาปี นายบุญกรม พันธะสี 30 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้ผลต�ำบลหินลาด นายสมชาย คะเชนทร์ภักดิ์ 31 วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงอ�ำเภอวังสมบูรณ์ นายวรเทพ แก้ววงษ์นุกูล 32 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วง อ.เวียงหนองล่อง นายมนู น้อยมณีวรรณ 33 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก อ.ปัว นายสิทธิชัย เสรีนวกุล 34 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงคุณภาพบ้านขุนเปา นายเจ๋อ แซ่ลือ 35 ชมรมผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จ.ราชบุรี นายก�ำธร ณัฐพูลวัฒน์ 36 วิสาหกิจชุมชนกลุม่ ผลิตมะม่วงคุณภาพเพือ่ การส่งออก ต�ำบลบ้านโภชน์ นายสุดใจ มิไพทูล 37 วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ผลต�ำบลท้ายดง จ.เพชรบูรณ์ นางหนูราช ราชพรหมมา 38 กลุ่มเกษตรกรผลิตมะม่วงนอกฤดู ต�ำบลชัยนาม นายเสาร์ ปรีชาวนา 39 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงส่งออกต�ำบลไทรย้อย นายสุทศั น์ ศิร ิ 40 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงส่งออก อ.หนองกุงศรี นายบรรทอง ล้านทองเหลือง 41 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงมหาชนกบ้านหนองบัวชุม นางบุญโฮม จิตจักร 42 กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกมะม่วงคุณภาพเชียงดาว นายสุวิทย์ อุดทาเศษ 43 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกบ้านเปียงหลวง นายสุพจน์ สกลปภัช 44 วิสาหกิจชุมชนเกษตรรุน่ ใหม่พฒ ั นาผลไม้อนิ ทรียค์ ณ ุ ภาพส่งออก นายวิชยั จุนทการบัณฑิต 45 วิสาหกิจชุมชนคนรักมะม่วงจังหวัดอุดรธานี นายภูชิต อุ่นเที่ยว 46 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงนอกฤดูบ้านห้วยไร่ นายสมเกียรติ ดรพล 47 กลุม่ วิสาหกิจชุมชนผูผ้ ลิตมะม่วงนอกฤดูอา่ วน้อย นายพนม ซ�ำเผือก 48 กลุม่ ไม้ผลเพือ่ การส่งออกบ้านใหม่เนินสวรรค์ นายสุเทพ ยีส่ นุ่ แก้ว 49 กลุม่ วิสาหกิจชุมชนมะม่วงมหาชนกต�ำบลหนองหิน นายชวาร สอนค�ำหาร 50 วิสาหกิจชุมชนส่งออกมะม่วงอ�ำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี นายราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ 51 วิสาหกิจชุมชนปลูกมะม่วงเพือ่ การส่งออกต�ำบลป่ากลาง นายรัฐภูมิ ขันสลี 52 วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงบ้านห้วยไร่บูรพา นายเทพพร หิรญ ั รัตน์ 53 กลุม่ มะม่วงคุณภาพบ้านวังน�ำ้ บ่อ นางชลธิชา ฤทธิว์ นั ชัย 54 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงสามร้อยยอด นายพิธี ทองสวัสดิ ์ 55 วิสาหกิจชุมชนผูป้ ลูกมะม่วงโชคอนันต์บา้ นคลองต่าง นายสายชล จันทร์วไิ ร 56 วิสาหกิจชุมชนรวมใจผูผ้ ลิตมะม่วงส่งออกตากฟ้า ไพศาลี ศรีเทพ นายศิรชิ ยั โอมพิทกั ษ์พงศ์
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์
56 ม.3 ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โทร.08-9938-9097 97/5 ม.1 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทร.0-3808-8148-9 5 ม.1 ต.มงคลธรรมนิมิต อ.สามโก้ จ.อ่างทอง โทร.08-6063-4891, 08-0107-8499 31 ม.7 บ้านสระน�้ำใส ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร.08-9533-8594, 08-9846-0580 29 ม.5 ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร.08-1282-3111 82/2 ม.1 ต.บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร.08-1971-6491 ม.1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจติ ร โทร.08-6206-7205, 08-1887-1964 694 ม.4 ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร.08-1886-9656 160 ม.3 ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9858-7358 ม.16 ต.พันชาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โทร.08-1284-2068 112/4 ม.5 ต.คลองยาง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย โทร. 08-9961-4851 46 ม. 6 ต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ โทร.08-9946-0140, 08-0152-8541 13 ม.2 ต.ไร่ใหม่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร. 08-7155- 6680, 08-6400-8388 78 ม.4 ต.ป่าไหน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-9850-4260 13 ม.4 ต.สนามคลี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร.08-9173-4170, 08-6051-0988 106 ม.4 ต.หนองผาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร.08-7021-4070 61/1 ม.3 ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี โทร.08-9562-1691 246 ม.8 ต.ห้วยยาม อ.บ้านธิ จ.ล�ำพูน โทร.08-1386-9822 88 ม.10 ต.สองคอน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทร.08-6368-1995 22 ม.7 ต.มงคลธรรมนิมติ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง โทร.08-6127-5088, 08-7162-1764 39 ม.1 ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร.08-7949-6454 205/1 ม.1 ต.บ่อไทย อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9860-8172 134 ม.4 ต.หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น โทร.08-9623-4020 ม.1 ต.บุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย โทร.08-4953-9353 95 ม.9 ต.ศาลาล�ำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว โทร.08-1947-3058 6 ม.6 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-1960-5352, 0-5347-5058 53 ม.6 ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-1951-3575 64/5 ม.9 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โทร.08-1960-0956 135 ม.3 ต.หนองหว้า อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โทร.09-1868-3355 7 ม.7 ต.หินลาด อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก โทร.08-1887-2818 359 ม.1 ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว โทร.08-9930-7216 402 ม.6 บ้านเวียง ต.วังผาง อ.เวียงหนองล่อง จ.ล�ำพูน โทร.08-3581-6578 77 ม.6 ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร.08-9262-4075 46 ม.5 ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย โทร.08-4810-0615 177/2 ม.3 ต.หนองตากยา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โทร.08-4413-2826 311 ม.8 ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9270-9369 และ 08-8281-1991 327 ม.2 ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-5271-5828 และ 0-5656-9346 ต.ชัยนาม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โทร. 08-1205-2961 79 ม.7 ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร. 08-4813-1498 134/22 บ้านหนองบัวชุม ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ โทร. 08-2106-1364 46 ม.2 ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ โทร. 08-5746-2015 08-6239-4502 42 ม.2 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โทร. 08-0034-2295 414/46 ม.3 ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โทร. 08-1023-1250 21 ม.3 ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 08-1168-6347 222 ม.2 บ้านโน่นสว่าง ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร. 08-8308-9366 19 ม.4 ต.อูบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร. 09-0587-7995 769 ม.8 ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ โทร. 08-1825-3928 57/1 ม. 9 ต.หนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจติ ร โทร. 08-9517-2597 5 ม.5 ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ 46220 โทร.08-0766-2040 42 ม.3 ต.ดอนคา อ.บางแพ จ.ราชบุรี โทร.08-6041-9571, 08-5188-6911 90 ม.7 ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 08-0131-4725 14 ม.10 บ.ห้วยไร่บรู พา ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41220 โทร.08-0197-2751 83 ม.13 ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 65190 โทร.08-1627-1745 7 ม.6 ต.ศาลาลัย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ 77180 โทร.08-9912-6045 88/1 ม.1 ต.น�ำ้ ขุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย 64180 โทร.08-6216-8407 168 ม.11 ต.สุขส�ำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ 60190 โทร.09-4351-6656
24
สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย