จดหมายข่าวสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 27 มิ.ย. พ.ศ. 2561

Page 1

จดหมายข่าว

www.thaimangogrowers.com

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ปี ที่ 9 ฉบับที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2561

ไปดูมะม่วงที่ออสเตรเลียกัน

่ งตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง ? • “มหาชนก” ค�ำตอบทีล • มะม่วงไทยในงานเทศกาลอาหารที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น • ลดต้นทุนการผลิตมะม่วงแบบกลุ่มชาวสวน จ.เพชรบูรณ์ • ปีนี้ราคามะม่วงไทย ท�ำไมถึงวิกฤติ


จากนายกสมาคมฯ ถึงพี่ น้องชาวสวนมะม่วงไทย

มาร่วมมือร่วมใจกันผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพ

สวัสดีครับพี่น้องสมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยทุกท่าน สถานการณ์มะม่วงไทยปี 2560/61 เป็นไปตามที่ผู้รู้ทั้งหลายได้คาดการณ์ไว้ คือ ตลาดค่อนข้างจะมีปัญหาหรือแคบลง เนื่องจากการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ใช่ว่าจะมีแต่ประเทศไทยที่ท�ำได้ ยังมีอีกหลายประเทศที่ผลิตมะม่วง ได้คุณภาพและส่งออกไปตลาดเดียวกับมะม่วงไทย โดยมะม่วงบางประเทศมีความได้เปรียบคือ 1.ต้นทุนการผลิตต�่ำ ขายได้ในราคาที่ถูกกว่า มะม่วงไทย 2.พันธุ์มีลักษณะเด่น เช่น เปลือกหนา ทนโรค อายุการวางจ�ำหน่ายนาน ขนส่งทางเรือได้ ดังนั้นเราจะต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นไป พร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างจริงจังเสียที โดยเฉพาะในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต รวมถึงมีงานวิจัยเข้ามา รองรับ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นผมมองว่ามีหลายสาเหตุ เช่น 1.สภาพอากาศแปรปรวน ท�ำให้มะม่วงติดผลน้อยลง โรคและแมลงระบาดมากขึ้น ชาวสวน ต้องใช้สารเคมี ปุ๋ย และอาหารเสริมมากขึ้น ท�ำให้ต้นทุนสูงขึ้น 2.บางพื้นที่มีการปลูกมะม่วงมากขึ้น สภาพอากาศเอื้ออ�ำนวย ท�ำให้มะม่วงติดผล มากขึ้น และออกชนกับมะม่วงประเทศอื่น จึงมีผลต่อราคาและปริมาณการสั่งซื้อ 3.ปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์มะม่วงไทย เช่น ปัญหา มะม่วงอ่อน ดังนั้นผมจึงอยากให้ชาวสวนมะม่วงไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพภายใต้ต้นทุนที่ต�่ำลง เพื่อช่วยกันรักษา ตลาดมะม่วงไทยของเราที่มีอยู่ไว้ ท�ำให้ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค เกิดความมั่นใจในมะม่วงไทยมากขึ้น “สินค้าคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล ตลาด มีความยั่งยืนแน่นอนครับ” อีกหนึง่ ประเด็นทีผ่ มจะแจ้งให้ทราบคือประมาณเดือนสิงหาคม ทางสมาคมฯ จะจัดประชุมใหญ่ จึงขอเชิญชวนให้สมาชิกสมาคมชาวสวน มะม่วงไทยและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือกัน โดยจะแจ้งรายละเอียดไปยังผู้น�ำกลุ่มฯ หรือในไลน์สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยครับ

(นายมนตรี ศรีนลิ )

นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และทีมคณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 1. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 2. นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. นายส�ำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 4. นายเปรม ณ สงขลา 5. นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล 6. อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ 7. นายสมชาย สุคนธสิงห์ 8. รองศาสตราจารย์ ฉลองชัย แบบประเสริฐ 9. รองศาสตราจารย์ นิพนธ์ วิสารทานนท์ 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ 11. นายมนู โป้สมบูรณ์ 12. นางวิลาวัลย์ วงษ์เกษม 13. นายสุเทพ โสมภีร์ 14. นางสาวเพ็ญระพี ทองอินทร์ 15. นางสาวทัศนา คิดสร้าง 16. นายต้อย ตั้งวิชัย 17. นายบรรจง จงพิทักษ์พงศ์ 18. นายวารินทร์ ชิตะปัญญา 19. นายราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ 20. นายสุวิทย์ คุณาวุฒิ

รายชื่อคณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 1. นายมนตรี ศรีนิล นายกสมาคม 2. นายเจริญ คุ้มสุภา อุปนายก 3. นายสนิท ชังคะนาค อุปนายก 4. นายสายันต์ บุญยิ่ง เลขาธิการ 5. นายวรเทพ แก้ววงษ์นุกูล ฝ่ายหารายได้ 6. นางบุญศรี อรุณศิโรจน์ ฝ่ายหารายได้ 7. นายสุนทร สมาธิมงคล ฝ่ายวิชาการ 8. นายไกรสร แก้ววงษ์นุกูล ฝ่ายวิชาการ 9. นายพนม ช้างเผือก ฝ่ายวิชาการ 10. นายนคร บัวผัน ฝ่ายเหรัญญิก 11. นายสุดใจ มิไพทูล ฝ่ายเหรัญญิก 12. นายเจริญ เขื่อนข่ายแก้ว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 13. นายณรงค์ เจษฎาพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 14. นายเทพพร หิรัญรัตน์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 15. นางธนาวดี กุญชร ผู้ช่วยเลขาธิการ

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 56/1 หมู่ 1 บ้านวังทับไทร ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 66160 โทร.0-5690-5236

จ�ำนวน

ข้อมูลและรูปเล่มโดย วารสารเคหการเกษตร 55/615 โครงการสุโขทัยอเวนิว 99 ถ.บอนด์สตรีท ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร/แฟกซ์ 0-2503-2054-5 E-mail : kehakaset@gmail.com หรือ facebook แล้ว พิมพ์ค�ำว่า สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

3,000 ฉบับ

ทีมงานวารสารเคหการเกษตรเป็นผู้ด�ำเนินการ รวบรวมข้อมูลและจัดท�ำ รูปเล่มจดหมายข่าวสมาคม ชาวสวนมะม่วงไทยมาเป็นปีที่ 9 แล้ว เพื่อให้สมาชิก สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยได้แลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกันได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือส่งทางอีเมล จึงได้เพิม่ ช่องทางการสือ่ สาร คือ ทางเฟซบุก๊ (Facebook) สมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทย โดยขอเชิ ญ สมาชิ ก ทุกท่านกดไลค์หน้าเพจหรือกดขอเข้าร่วมกลุม่ เพือ่ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเข้าร่วมกลุ่มไลน์ (Line Group) สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

จากคณะผู้จัดท�ำ จดหมายข่ า วสมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทยเป็ น สื่ อ กลาง ระหว่างชาวสวน นักวิชาการ บริษทั เอกชน หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในวงการ มะม่วง สมาชิกท่านใดต้องการเสนอมุมมองความคิดเห็น บอก เล่าเรื่องราวความเคลื่อนไหวข้อมูลข่าวสารมะม่วง ติดต่อได้ที่ เลขาธิการสมาคมฯ 08-1887-1964 หรือเคหการเกษตร โทร. 0-2503-2054-5 หรือ e-mail : kehakaset@gmail.com


การเสริมสร้างและพั ฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และเกษตรกรต้นแบบ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย เรื่อง : ทัศนา คิดสร้าง นักวิชาการเกษตรช�ำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

คุณตู่ เจ้าของสวนมะม่วง Tou’s Gardens ถ่ายภาพร่วมกับ คณะดูงานจากไทย

กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำ� เนินโครงการเสริมสร้างและ พัฒนาเกษตรกรรุน่ ใหม่และเกษตรกรต้นแบบ ตามนโยบายของ นายกรัฐมนตรีทกี่ ล่าวไว้ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 โดยให้มกี ารน�ำเกษตรกรทีม่ ศี กั ยภาพ ในการพัฒนาหรือขยายผลต่อได้ ไปดูงานทีต่ า่ งประเทศ หนึง่ ใน นั้ น ได้ แ ก่ ข ้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ของคณะท� ำ งานร่ ว มด้ า น การเกษตรไทย – ออสเตรเลีย ครัง้ ที่ 16 ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้การเกษตรกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจสูง เนือ่ งจากมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม สามารถปลูก พืชได้หลายชนิดเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ไม้ผล เช่น ล�ำไย มังคุด กล้วย มะม่วง โดยหนึง่ ในรัฐทีไ่ ด้รบั การยอมรับ ว่ า เป็ น แหล่ ง ผลิตไม้ผลที่ส�ำคัญ คือ รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) โดยจุดเด่นของประเทศออสเตรเลีย คือ มี การน�ำเทคโนโลยีการจัดการและการตลาดสมัยใหม่เข้าไปยก ระดับผลิตภัณฑ์และความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้า เกษตรจนประสบความส�ำเร็จในระดับโลก สะท้อนความสามารถ ในการแข่งขันให้กบั สินค้าเกษตรจนประสบความส�ำเร็จในระดับ Product Brand และ Nation Brand ระดับโลก นอกจากนีย้ งั มีความ โดดเด่นด้านการบริหารจัดการกลุ่มในลักษณะของเครือข่ายที่ เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และมีระบบควบคุมคุณภาพตลอดห่วงโซ่ อุปทาน ท�ำให้ผลไม้จากออสเตรเลียเป็นทีย่ อมรับในสากล

4

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย มอบจดหมายข่าวสมาคมฯ ให้กับนายกสมาคมชาวสวนมะม่วง ออสเตรเลีย

คณะดูงานจากไทย ศึกษาดูงานสวนมะม่วงที่ออสเตรเลีย

การน�ำตัวแทนเกษตรกรรุน่ ใหม่และเกษตรกรต้นแบบไปศึกษา เรียนรูร้ ปู แบบการบริหารจัดการองค์กรเกษตรกรและด้านเทคโนโลยี การผลิต การตลาดของสินค้าเกษตรเฉพาะด้านแบบครบวงจรที่ ออสเตรเลียอย่างต่อเนือ่ งนี้ เพือ่ น�ำความรูก้ ลับมาพัฒนาต่อยอดให้ กับกลุม่ เครือข่ายอาชีพการเกษตรของตนเองในระดับภูมภิ าค และ ระดับประเทศ จึงเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรต้นแบบให้ สามารถเป็นตัวอย่างและขยายผลต่อให้เกษตรกรผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้วิธีการท�ำการท�ำเกษตรให้ประสบความส�ำเร็จได้จริง รวมทั้ง สร้างและพัฒนาเกษตรกรรุน่ ใหม่ให้มคี วามรูค้ วามสามารถ มีความ เข้มแข็ง มีศักยภาพในภาคการเกษตรเพื่อทดแทนเกษตรกรรุ่นเก่า และเป็นบุคลากรทีส่ ำ� คัญในภาคเกษตรกรรมต่อไป


ตัวแทนเกษตรกรรุน่ ใหม่และเกษตรกรต้นแบบทีร่ ว่ มเดินทาง ไปศึกษาเรียนรูท้ อี่ อสเตรเลียในครัง้ นี้ จ�ำนวน 9 คน พร้อมเจ้าหน้าที่ จากกรมส่งเสริมการเกษตร จ�ำนวน 4 คน รวม 13 คน เดินทาง ระหว่างวันที่ 23 – 29 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองดาร์วนิ เครือรัฐ ออสเตรเลีย ซึง่ ล้วนแล้วแต่เป็นเกษตรกรทีท่ ำ� การผลิตมะม่วงทัง้ สิน้ มีรายชือ่ ดังนี้ 1. คุณมนตรี ศรีนลิ นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย จ.นครราชสีมา

2. คุณไกรสร แก้ววงษ์นกุ ลู คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย จ.ฉะเชิงเทรา 3. คุณภูชติ อุน่ เทีย่ ว สมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย จ.อุดรธานี 4. คุณรัฐภูมิ ขันสลี สมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย จ.น่าน 5. คุณสุชาติ พูลหนองรี เกษตรกรต้นแบบ จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ 6. คุณพร้อง ม่วงเนียม เกษตรกรต้นแบบ จ.พิษณุโลก 7. คุณกิตติ พล พระนา เกษตรกรรุน่ ใหม่ จ.ขอนแก่น 8. คุณสุรยิ าวุธ รังสะพรม เกษตรกรรุน่ ใหม่ จ.สระบุรี 9. คุณสุภาพร ตีกองซอม เกษตรกรรุน่ ใหม่ จ.ชัยภูมิ

ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่ Department of Primary Industry and Resources, Berrimah

ระหว่างการเดินทางเพือ่ ไปพัฒนาศึกษาเรียนรู้ ณ เมืองดาร์วนิ เครือรัฐออสเตรเลีย ในครัง้ นี้ มีหลายจุดทีน่ ำ� มาเล่าสูก่ นั ฟัง ซึง่ คิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์และสามารถน�ำไปพัฒนาต่อยอดในการผลิต มะม่วงของไทยได้ ดังนี้

ไปดูมะม่วงที่ออสเตรเลียกัน

วันแรก : คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงที่ออสเตรเลีย ชาวสวนมะม่ ว งไทย พร้ อ มด้ ว ยสมาชิ ก สมาคมฯ เกษตรกรต้นแบบ และเจ้าหน้าที่ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ Department of Primary Industry and Resources, Berrimah Center ซึง่ เป็นศูนย์วจิ ยั ทีม่ หี น้าทีท่ งั้ วินจิ ฉัย ให้บริการ รักษาป้องกันแก่เกษตรกรด้านการเกษตรทัง้ ในด้านพืช สัตว์ ประมง ซึง่ เป็นทีเ่ ดียวในรัฐนอร์เทิรน์ เทร์ริทอรี (Northern Territory : NT) โดยเกษตรกร สามารถท�ำงานร่วมกับภาครัฐในการเขียนโครงการเพือ่ ของบประมาณด�ำเนินการวิจยั ร่วมกัน โดยมีหอ้ งปฏิบตั ิ การแบ่งเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ซึง่ การวินจิ ฉัยลงลึก ในระดับ DNA สามารถเปรียบเทียบการติดเชื้อเพื่อ พัฒนาการรักษาในระดับโมเลกุล โดยหน้าทีห่ ลัก คือ สอนให้เกษตรกรสามารถวินิจฉัยจากการสุ่มตัวอย่าง สภาพสวนมะม่วงของคุณตู่ Tou’s Gardens แล้วด�ำเนินการป้องกันได้ด้วยตัวเอง หากมีปัญหา สามารถขอรับบริการได้ โดยส่วนใหญ่ให้บริการฟรี ซึง่ ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยศูนย์นมี้ กี ารรับรองมาตรฐานถึง 3 อย่าง ได้แก่ 1.มาตรฐาน กักกัน 2. มาตรฐานสุขอนามัย 3. มาตรฐานห้องปฏิบตั กิ าร อีกทัง้ มีการท�ำงานร่วมกันระหว่าง NT Farmer และ NT Department Industry สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

5


หารือการน�ำเกษตรกรรุน่ ใหม่จากไทยเข้าร่วมฝึกงาน 3 เดือน (ส.ค.ต.ค.61) ณ North Australian Development Office (NADO) Wayne Quach Berry Creek Packing (โรงบรรจุหบี ห่อมะม่วงพันธุ์ เคนซิงตัน ไพร์ด) โดยมี Mr. Steve Shed Manager ถ่ายภาพรวมกับ คณะดูงานจากไทย

วันทีส่ อง : เดินทางไปหลายจุด ได้แก่ 1)ไปทีส่ วนมะม่วง คุณตู่ (Tou’s Gardens) ซึ่งใช้เป็นสถานที่ฝึกงานของเกษตรกร รุ่นใหม่จากประเทศไทยที่จะเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยพื้นที่ปลูก มะม่วงทัง้ หมด 5,600 ไร่ มีการใช้เครือ่ งมือและอุปกรณ์ทนุ่ แรงจ�ำนวน มาก เช่น เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องคัดเกรดมะม่วงและคุณภาพผ่าน เครื่องเซนเซอร์ที่วิเคราะห์ความอ่อน-แก่ของมะม่วง ติดสติกเกอร์ เข้าห้องเย็นทีม่ เี ครือ่ งฆ่าเชือ้ แบคทีเรีย มีการท�ำแผนที่ GPS ทุกบล็อก รัศมี 300 x 300 เมตร/บล็อก ซึง่ มะม่วงส่วนใหญ่ทผี่ ลิตได้ขายใน ประเทศ โดยหากมีการส่งออกต้องส่งไปตรวจศัตรูพชื ทีซ่ ดิ นีย์ หรือ บริสเบน โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และเริม่ เปิดตลาดใหม่ที่ จีนและสหรัฐอเมริกา โดยพันธุ์ ที่ส่งออก ได้แก่ อาร์ทูอีทู เคนซิงตัน ไพร์ด และคาลิปโซ 2)ไปที่ Wayne Quach Berry Creek Packing (โรงบรรจุหบี ห่อมะม่วงพันธุ์ เคนซิงตัน ไพร์ด (Kensington Pride : KP) พบกับ Mr. Steve Shed Manager ที่นี่เป็นสถานที่เรียนรู้ในการรับจ้างคัดบรรจุหีบห่อและ ขนส่งโดยเฉพาะ ปริมาณมะม่วงทีใ่ ช้ 3,500 ตัน/วัน บรรจุหบี ห่อ 7 กิโลกรัม/กล่อง ได้ 500,000 กล่อง มีกำ� ลังการบรรจุหบี ห่อ 1,500 กล่อง/วัน จ�ำนวนแรงงานทีใ่ ช้ 30 คน มีการประกันความเสียหาย กรณีพดั ลมไม่ทำ� งานใช้บริษทั ประกันภัย กรณีรถบรรทุกเสีย ผูข้ นส่ง จะเป็นคนดูแล อัตราค่าบริการ มี 2 อัตรา คือ ราคาเหมาจ่าย รวม ค่าบรรจุหบี ห่อ ค่ากล่อง และค่าขนส่งทุกเมือง เท่ากับ 35 $ /กล่อง ราคาค่าบรรจุหบี ห่อไม่รวมกล่อง และค่าขนส่ง เท่ากับ 10 $/กล่อง 3)ไปที่ North Australian Development Office (NADO) เพือ่ เข้า พบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี เพื่อเจรจาน�ำเกษตรกร รุ่นใหม่เข้ารับการฝึกอบรมในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2561 ซึง่ ผลการเจรจาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

6

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

สวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ชื่อ Mr. Han Siah (คนกลาง)

เครื่องตัดแต่งกิ่งมะม่วง

วันทีส่ าม : ไปดูสวนของเกษตรกรรุน่ ใหม่ชอื่ Mr. Han Siah อายุ 32 ปี ภายในสวนปลูกมะม่วง ขนุน ส้มโอ ทุเรียน ชมพู่ ลองกอง มีเครือ่ งทุน่ แรงจ�ำนวนมาก จุดเด่นคือมีมะม่วงพันธุใ์ หม่ทพี่ ฒ ั นาพันธุ์ ขึน้ เอง ชือ่ ว่า “TPP” (ช่วงทีไ่ ปไม่มผี ลผลิตให้ด)ู จากนัน้ ได้มาดูงานที่ สวน Mr.Tuan Dang ซึง่ เป็นเกษตรกรทีม่ เี ชือ้ สายเวียดนาม ปลูกทัง้ ผักและมะม่วงภายในสวน จุดเด่น คือ มีการจ่ายค่าจ้างแบบแบ่ง เปอร์เซ็นต์ เพือ่ สร้างแรงจูงใจให้กบั คนงาน และใช้ตลาดน�ำการผลิต มีการปลูกผักเพือ่ สร้างรายได้หมุนเวียนก่อนเก็บเกีย่ วมะม่วง


รูปแบบการตัดแต่งทรงพุ่มมะม่วง ทรงสี่เหลี่ยม

4. การน�ำแนวคิดกระบวนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวโดย ใช้นำ�้ ผสมคลอรีนผ่านโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (น�ำ้ ปูนใส) ล้างผล ก่อนส่งออกเพือ่ ยืดอายุการเก็บรักษาและป้องกันโรคแอนแทรคโนส 5. ได้เห็นแนวคิดการใช้เครือ่ งฆ่าเชือ้ แบคทีเรียในห้องเย็นซึง่ ปัจจุบนั ไม่มใี ช้ในประเทศไทย 6. การน�ำแนวคิดรูปแบบการรับจ้างบรรจุหบี ห่อและขนส่งมา ประยุกต์ปรับใช้กบั การบริการให้เหมาะสมกับไทย

คุณมนตรี ศรีนิล นายกสมาคมฯ ให้สัมภาษณ์แก่นักข่าว ออสเตรเลีย

Mr.Tuan Dang เกษตรกรที่มีเชื้อสายเวียดนาม ถ่ายภาพร่วมกับ คณะดูงานของไทย

มุ ม มองจากตั ว แทนชาวสวนมะม่ ว ง ไทยที่ไปดูงานที่ออสเตรเลีย เรือ่ ง : ปกป้อง ป้อมฤทธิ์

สภาพต้นมะม่วงของ Mr.Wayne ค่อนข้างไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็น พื้นที่ดินทราย

วันสุดท้าย : ไปทีส่ วนมะม่วงของ Mr.Wayne Quach ซึง่ เป็น อีกหนึง่ สวนทีใ่ ช้เป็นจุดฝึกงานของเกษตรกรรุน่ ใหม่ของไทย มีพนื้ ที่ ปลูกมะม่วงประมาณ 1,000 ไร่ เป็นพันธุ์เคนซิงตัน ไพร์ด (KP) ทัง้ หมด สังเกตดินเป็นดินทรายต่างจากวันก่อน จึงท�ำให้ตน้ ไม่คอ่ ย สมบูรณ์เท่าทีค่ วร จุดเด่นคือใช้เทคโนโลยีเพือ่ สัง่ ให้รดน�ำ้ วิเคราะห์ปยุ๋ ทีจ่ ะใช้ในแต่ละครัง้ เป็นต้น สรุปประโยชน์ทไี่ ด้รบั 1. เห็นระบบการท�ำงานที่มีการบูรณาการของทุกภาคส่วน สามารถวินจิ ฉัยและพัฒนาได้อย่างเป็นระบบและมีความชัดเจน 2. เกษตรกรเป็ น ที่ พึ่ ง ของตนเองไม่ ต ้ อ งคอยให้ รั ฐ บาล สนับสนุนแต่ทำ� งานร่วมกัน ภาครัฐเป็นทีป่ รึกษาและคอยให้คำ� แนะน�ำ 3. การท�ำงานมีระบบมาตรฐานรองรับอย่างเป็นสากล ท�ำให้ มีความเชือ่ มัน่ ในการให้บริการและการท�ำงานอย่างเป็นรูปธรรม

(จากซ้าย) คุณมนตรี ศรีนิล และ คุณไกรสร แก้ววงษ์นุกูล

คุณมนตรี ศรีนลิ นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย กล่าวว่า สิง่ ทีผ่ มได้จากการไปดูงานในครัง้ นีค้ อื 1.เห็นความจ�ำเป็นในการใช้ เครื่องจักรกลเกษตร : เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่ออสเตรเลีย ค่อนข้างสูง ชาวสวนจึงน�ำเครื่องจักรกลเกษตร เช่น รถตัดแต่งกิ่ง รถพ่นสารเคมี เครือ่ งย่อยกิง่ มะม่วงขนาดใหญ่ เข้ามาใช้แทนแรงงาน จึงสะดวกต่อการจัดการ ประหยัดเวลา และได้งานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ขึน้ โดยเครือ่ งจักรกลเกษตรบางประเภทสามารถน�ำมาปรับใช้กบั การ ผลิตมะม่วงของไทยได้ แต่บางประเภทอาจไม่เหมาะกับการน�ำมาใช้ ในสวนมะม่วงของไทย เนือ่ งจากพืน้ ทีส่ วนมะม่วงมีขนาดเล็ก พืน้ ที่ ไม่สม�ำ่ เสมอ ท�ำให้เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงานและไม่คมุ้ ค่ากับการ ลงทุน แต่ถงึ อย่างไรเครือ่ งจักรกลเกษตรก็ยงั มีความจ�ำเป็นมาก ๆ ต่อการจัดการสวนในยุคทีแ่ รงงานหายาก ค่าจ้างสูง และต้องแข่งกับ เวลา แข่งกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ดังนั้นช่างในท้องถิ่นหรือ สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

7


นายกสมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทย ถ่ า ยภาพกั บ Mr.Simon Smith ประธานสมาคมเกษตรกรของ รัฐนอร์เทิร์น เทร์ริทอรี Northern Territory Farmers Association Inc. นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ถ่ายภาพ กับ Mr.Leo นายกสมาคมชาวสวนมะม่วง ออสเตรเลีย

ผูป้ ระกอบการผลิตเครือ่ งจักรกลเกษตรและชาวสวน ต้องมีบทบาทในการ ออกแบบเครือ่ งจักรกลเกษตรร่วมกัน เพือ่ ให้เครือ่ งจักรกลเกษตรมีความ เหมาะสมต่อพืน้ ที่ ทัศนคติ และราคาไม่สงู มาก จึงจะตอบโจทย์ได้มากขึน้ 2.ได้เห็นโอกาสและช่องทางทีจ่ ะส่งออกมะม่วงมหาชนกไป ออสเตรเลียในอนาคต : คุณมนตรี ได้มโี อกาสพูดคุยกับ คุณลีโอ นายก สมาคมชาวสวนมะม่วงออสเตรเลีย, เจ้าหน้าทีท่ เี่ ป็นตัวแทนจากภาครัฐ, คุณเอียน ชาวสวนมะม่วงออสเตรเลียและภรรยาทีเ่ ป็นคนไทยชือ่ ว่า คุณตู่ (สวน Tou’s Gardens) ซึง่ ปลูกมะม่วง เช่น พันธุอ์ าร์ทอู ที ู (R2E2) เคนซิงตัน ไพร์ด (Kensington Pride) มหาชนก เขียวเสวย น�ำ้ ดอกไม้ ซึ่งในวงสนทนามี คุณภาณี บุณยเกื้อกุล ผู้อ�ำนวยการกองพัฒนา เกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมด้วย ซึง่ จากการสอบถามของ คุ ณ มนตรี ที่ ว ่ า “มะม่ ว งพั น ธุ ์ ไ ทยที่ น� ำ มาปลู ก ที่ อ อสเตรเลี ย พันธุไ์ หนทีผ่ บู้ ริโภคชอบมากทีส่ ดุ ?” ค�ำตอบคือ “พันธุม์ หาชนก” เนือ่ งจากมีกลิน่ และรสชาติทคี่ ล้ายกับมะม่วงผิวสีอย่างพันธุอ์ าร์ทอู ที ู และพันธุเ์ คนซิงตัน ไพร์ด โดยคุณลีโอในฐานะผูน้ ำ� ชาวสวนมะม่วงที่ ออสเตรเลียได้สนใจที่จะผลักดัน/ส่งเสริมให้มีน�ำเข้ามะม่วงมหาชนก จากไทย เพือ่ น�ำมาบริโภคสดและแปรรูป โดยช่วงทีต่ อ้ งการผลผลิตอยู่ ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม จึงเป็นโจทย์ให้กบั ผูท้ เี่ กีย่ วข้อง เช่น เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการ และชาวสวน ต้องปรึกษาหารือ ท�ำวิจยั และหาข้อตกลงร่วมกันต่อไป 3.ได้ เ ห็ น ความเป็ น ระเบี ย บในการจั ด วางมะม่ ว งเพื่ อ จ�ำหน่ายตามท้องตลาด ซึง่ ส่วนใหญ่จะบรรจุมะม่วงลงในบรรจุภณ ั ฑ์ ทีม่ คี วามทันสมัย สวยงาม สะอาด ถือเป็นการยกระดับภาพลักษณ์ ของมะม่วงทีท่ ำ� ให้ผซู้ อื้ เกิดความมัน่ ใจและกลับมาซือ้ อย่างต่อเนือ่ ง คุณไกรสร แก้ววงษ์นกุ ลู คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย กล่าวว่า ความได้เปรียบของการผลิตมะม่วงทีอ่ อสเตรเลียคือ 1.พืน้ ที่ ปลูกมีขนาดใหญ่ ท�ำให้การน�ำเครื่องจักรกลเกษตรมาใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.สภาพอากาศมีความแปรปรวนน้อยกว่าประเทศไทย ท�ำให้มะม่วงออกดอกติดผลดี 3.พันธุม์ ะม่วงมีความได้เปรียบ กล่าวคือ มะม่วงที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์อาร์ทูอีทู ซึ่งเปลือกค่อนข้างหนา

8

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

ทนโรค แมลง ผิวสวย ไม่ตอ้ งห่อผล ส่วนในเรือ่ งของเทคนิค การผลิต โดยเฉพาะการท�ำให้มะม่วงออกนอกฤดูพบว่าชาวสวน มะม่วงไทยยังมีความช�ำนาญกว่า อีกทั้งสภาพอากาศของ ออสเตรเลียช่วงทีจ่ ะท�ำนอกฤดูนนั้ เป็นช่วงทีฝ่ นตกติดต่อกัน เป็นเวลานาน จึงเป็นอุปสรรคต่อการท�ำมะม่วงนอกฤดู คุณภูชิต อุ่นเที่ยว ประธานวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน คนรักมะม่วงจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การท�ำเกษตรของ ประเทศออสเตรเลียจะให้ ความส� ำ คั ญ ในเรื่ อ งของ การน�ำเทคโนโลยีเครือ่ งจักรกล เกษตรเข้ามาใช้ เนื่องจาก คุณภูชติ อุน่ เทีย่ ว ค่าจ้างแรงงานมีราคาแพง หากมองย้อนกลับมายังประเทศไทย พบว่าปัจจุบนั ค่าจ้างแรงงานก็ปรับสูงขึน้ แรงงานทีม่ ฝี มี อื ก็หา ยากขึน้ ดังนัน้ ในมุมมองของผมคือเทคโนโลยีเครือ่ งจักรกลเกษตร จะเป็นค�ำตอบทีด่ ใี นยุคนี้ แต่ยงั มีขอ้ จ�ำกัดตรงทีช่ าวสวนมะม่วง ของไทยยังเป็นรายย่อย พืน้ ทีป่ ลูกมีความหลากหลาย พืน้ ทีไ่ ม่ ค่อยสม�่ำเสมอ จึงเป็นข้อจ�ำกัดในการน�ำเครื่องจักรกลเกษตร เข้ามาใช้ ดังนัน้ จึงต้องมีการดัดแปลงโดยช่างทีม่ ฝี มี อื ในเรือ่ ง ของการตลาดผมมองว่ า ชาวสวนมะม่ ว งออสเตรเลี ย เก่ ง เพราะมีการท�ำตลาดที่หลากหลาย ทั้งส่งขึ้นห้างสรรพสินค้า ส่งบริษทั ส่งออก มีการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ มีการติดต่อตลาดไว้ ล่วงหน้า ท�ำให้มตี ลาดรับซือ้ ทีแ่ น่นอน ปริมาณผลผลิตแต่ละชุด ก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสภาพ อากาศบ้านเขาไม่แปรปรวนเหมือนประเทศไทยก็เป็นไปได้ อนึ่ง จากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ นายกสมาคมฯ สมาชิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และเจ้าหน้าที่ จะน�ำสิง่ ที่ เห็นและสิง่ ทีอ่ ยากให้เกิดขึน้ มาร่วมปรึกษาหารือกัน โดย เฉพาะการผลักดันเรือ่ งการส่งออกมะม่วงมหาชนกจากไทย ไปออสเตรเลีย เพราะหากท�ำได้จริงจะช่วยลดปัญหาใน หลาย ๆ ด้านให้กบั ชาวสวนได้.....ผลจะเป็นอย่างไรต้องติดตาม กันต่อไป M


วิกฤติตลาดมะม่วง ชาวสวนควรปรับตัวกันอย่างไร (ตอน 1) ปี ก ารผลิ ต มะม่ ว ง 2560 จนถึ ง วั น ที่ เขี ย นบทความนี้ (15 มิถนุ ายน 2561) ราคามะม่วงในตลาด ทัง้ เพือ่ การส่งออกและ จ�ำหน่ายในประเทศ มีความผันผวน ตลาดหยุดการรับซือ้ สินค้า เป็นระยะ ๆ โดยมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้สที องราคาตกต�ำ่ ไม่ถงึ กิโลกรัมละ 40 บาท เมื่อใช้กรณีศึกษาของภาคเหนือตอนบนที่มีช่วงการ เก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคมของทุกปี ถือได้วา่ เป็นช่วงวิกฤติดา้ นราคาครัง้ ส�ำคัญทีส่ ดุ ในรอบ 20 ปี นับ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2542 หรือก่อนหน้านีเ้ ล็กน้อยทีช่ าวสวนมะม่วงกลุม่ แรก ๆ ในอ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เริม่ มีการผลิตมะม่วง ส่งขายให้กบั บริษทั ส่งออกมะม่วงในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ต่อมาได้มีการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพผลผลิต องค์ความรู้ ศักยภาพของชาวสวน และการตลาด มาอย่างต่อเนือ่ ง ปัจจุบนั จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบนทีเ่ ป็นแหล่งผลิตมะม่วงทีส่ ำ� คัญ และประสบปัญหาการตลาดอย่างรุนแรง ได้แก่ เชียงใหม่ ล�ำพูน น่าน เชียงราย ตามล�ำดับ

เรื่อง : รศ.ดร.ธวัชชัย รัตน์ชเลศ ที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

บทความนีจ้ งึ มีความมุง่ หมายให้ชาวสวนรายย่อยหรือ ชาวสวนที่ ร วมตั ว กั น เป็ น กลุ ่ ม แล้ ว ได้ หั น มาส� ำ รวจและ วิเคราะห์ตัวเองเพื่อให้มีการปรับตัวต่อวิกฤติดังกล่าวอย่าง ถูกทิศทาง โดยคาดการณ์ว่าการรวมกลุ่มกันของชาวสวนใน ภาคเหนือตอนบนโดยรวม ยังคงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของ ชาวสวนทัง้ หมดทีม่ อี ยู่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้มกี ารรวมกลุม่ กันมากที่สุดกว่า 15 กลุ่ม ส�ำหรับมะม่วงที่เป็นพันธุ์การค้า ที่ส�ำคัญใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ยังคงมีมากกว่า 10 พันธุ์ (ดังแสดงในตารางที่ 1 หน้า12) โดยมีมะม่วง น�้ำดอกไม้สีทองเป็นพันธุ์หลัก โดยพบได้เกือบทุกกลุ่มและ ได้ รั บ ความสนใจปลู ก กั น อย่ า งกว้ า งขวางในทุ ก จั ง หวั ด โดยจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด

ตัวอย่างพันธุ์มะม่วงที่ชาวสวนในเขตภาคเหนือตอนบนนิยมปลูก

10

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย


ตารางที่ 1 พั นธุ์มะม่วงการค้าที่นิยมปลูกใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

จังหวัด เชียงใหม่1 ล�ำพูน2 น่าน3 เชียงราย4

พันธุ์มะม่วงการค้าที่นิยมปลูก น�้ำดอกไม้สีทอง , นวลค�ำ (จินหวง) , มหาชนก , โชคอนันต์ , มันขุนศรี , น�้ำดอกไม้เบอร์สี่ , แดงจักรพรรดิ , อาร์ทูอีทู และเขียวมรกต เขียวมรกต , นวลค�ำ , มหาชนก , เขียวสามรส (กิมหงส์) , แดงจักรพรรดิ , น�้ำดอกไม้สีทอง , อาร์ทูอีทู, มันศรีวิชัย งาช้างแดง (หงเซียงหยา) , และมันขุนศรี โชคอนันต์ ,เขียวเสวย ,น�้ำดอกไม้เบอร์สี่ , น�้ำดอกไม้สีทอง , พิมเสนมัน และนวลค�ำ โชคอนันต์ , น�้ำดอกไม้สีทอง , น�้ำดอกไม้เบอร์สี่ , นวลค�ำ , อาร์ทูอีทู , มหาชนก , เขียวเสวย และมันขุนศรี

1 ข้อมูลจากการสอบถามเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะม่วงเชียงใหม่ จ�ำนวน 15 กลุ่ม และ 1 สวนขนาดใหญ่ 2 ข้อมูลจากการสอบถามเครือข่ายชาวสวนมะม่วงล�ำพูน โดยส�ำนักงานเกษตรจังหวัดล�ำพูน 3 ข้อมูลในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองจัง อ.ภูเพียง และข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกร อ.ปัว จ.น่าน 4 ข้อมูลจากส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอพญาเม็งราย จ.เชียงราย

>> สาเหตุที่ท�ำให้ตลาดมะม่วงมีความผันผวน 1) ตลาดส่งออกหดตัว ตลาดส่งออกโดยเฉพาะผลสดและแช่แข็งเป็นแหล่งรองรับ สินค้ามะม่วง “เกรดพรีเมียม” ของประเทศไทย ซึง่ มีเป้าหมายเบือ้ งต้นอยูท่ ปี่ ระเทศญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ส่วนทีเ่ ป็นเกรดรองลงมาได้แก่ตลาดประเทศเพือ่ นบ้าน เช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ การหดตัวของตลาดมาจากเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้น�ำเข้าถดถอย เช่น ญี่ปุ่น มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างประเทศผู้ส่งออกมะม่วง จากทั่วโลกในตลาดเกาหลี ญี่ปุ่น และจีน หรือมีการเพิ่มขึ้นของประเทศผู้ส่งออกมะม่วง ทีม่ ศี กั ยภาพสูง เช่น อินเดีย บราซิล ปากีสถาน และเปรู ขณะทีค่ วามสามารถในการแข่งขัน ด้านการส่งออกมะม่วงของประเทศไทยยังคงคงที่ จีนมีการผลิตมะม่วงเพือ่ การบริโภคใน ประเทศเพิม่ มากขึน้ ประเทศเพือ่ นบ้านกลายเป็นผูส้ ง่ ออกมะม่วงไปแล้วทัง้ หมดไม่วา่ พม่า เวียดนาม และกัมพูชา สินค้ามะม่วงส่งออกของไทยด้อยคุณภาพลง เช่น มีการกล่าวถึง การส่งออก “มะม่วงอ่อน” ไปตลาดจีน เป็นต้น 2) พื้นที่ปลูกที่ให้ผลผลิตแล้วเพิ่มสูงขึ้น มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการทั้งจาก กลุ่มเกษตรกรชาวสวนสมาชิกของ “สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย” และสมาชิกของ “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะม่วงเชียงใหม่” ทีค่ อ่ นข้างจะตรงกันว่า พืน้ ทีป่ ลูก มะม่วงของประเทศไทยรวมทั้งภาคเหนือตอนบนที่ให้ผลผลิตแล้ว เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดและต่อเนื่องหลายปีมาแล้ว ซึ่งส่งผลให้ปีการผลิต 2560-61 เริ่มเด่นชัดขึ้น กลายเป็นการล้นตลาดของมะม่วงในที่สุด 3) ฝนดี ตัง้ แต่ชว่ งต้นปีทผี่ า่ นมา (มกราคม-มิถนุ ายน 2561) มีฝนตกลงมาค่อนข้าง สม�่ำเสมอ ปริมาณฝนสะสมของภาคเหนือซึ่งอยู่เหนือค่าเฉลี่ย 30 ปีเล็กน้อย วัดได้ ประมาณ 500 มิลลิเมตรแล้ว ท�ำให้พนื้ ทีป่ ลูกมะม่วงส่วนใหญ่ทขี่ าดแหล่งน�ำ้ หรือเป็นพืน้ ทีด่ อน อาศัยน�้ำฝน ได้รับน�้ำอย่างพอเพียง มีการออกดอกและติดผลดีในทุกพันธุ์ในหลาย จังหวัดอย่างกว้างขวาง ทั้งในพื้นที่ปลูกเชิงการค้า พื้นที่ปลูกเป็นงานอดิเรก ต้นที่ขึ้นใน หัวไร่ปลายนา และสวนหลังบ้าน ส่งผลให้ผลผลิตมะม่วงมีปริมาณมากเกินความคาดหมาย

12

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

มะม่วงอ่อน หนึ่งในปัญหาที่ท�ำให้ตลาด ส่งออกต้องสะดุด

พบมะม่วงเป็นโรคแอนแทรคโนส และความเสียหายอื่นๆมากขึ้น


4) ผลผลิตเก็บเกี่ยวพร้อมกันปริมาณมาก ช่วง เมษายนพฤษภาคม เป็นฤดูกาลมะม่วงของประเทศไทยอยูแ่ ล้ว แต่ปกติพนื้ ที่ การผลิตในภูมิภาคอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวลงใน เดือนเมษายน และลดต�่ำลงอย่างมากในเดือนพฤษภาคม แล้วจึง ต่ อ เนื่ อ งด้ ว ยภาคเหนื อ ตอนบนที่ จ ะเริ่ ม เก็ บ เกี่ ย วตั้ ง แต่ เ ดื อ น เมษายนและยาวไปจนถึงกรกฎาคม โดยจะมีชว่ งคาบเกีย่ วกันสัน้ ๆ กับแหล่งอื่นในเดือนพฤษภาคม แต่ช่วงหลังโดยเฉพาะปี 2561 นี้ พบว่าปลายพฤษภาคมหลายจังหวัดยังคงมีผลผลิตทยอยเข้าสูต่ ลาด อย่างต่อเนือ่ ง (อย่างไรก็ตามหลัง 15 มิถนุ ายน ผลผลิตที่เหลือส่วน ใหญ่เป็นของเขตเหนือและพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น) 5) มะม่วงคุณภาพได้มาตรฐานส่งออกมีปริมาณลดต�ำ่ ลง การมีฝนตกค่อนข้างสม�ำ่ เสมอโดยเฉพาะในช่วงเมษายน-พฤษภาคม ซึ่ ง เป็ น ฤดู ก าลหรื อ ใกล้ ฤ ดู ก าลเก็ บ เกี่ ย วมะม่ ว งของภาคเหนื อ ตอนบน ส่งผลให้มะม่วงได้รบั ความเสียหายจากโรคและมีการระบาด ของแมลงวันผลไม้สร้างความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้ผลผลิต มะม่วงบางช่วงยังมีขนาดใหญ่เกินกว่ามาตรฐานก�ำหนดอีกด้วย ใน ขณะทีก่ ารคัดมะม่วงคุณภาพเกรดพรีเมียมของผูส้ ง่ ออกกลับมีความ พิถีพิถันอย่างเข้มงวดมากขึ้น จึงท�ำให้ปริมาณสินค้าที่สามารถผ่าน มาตรฐานการส่งออกโดยรวมลดต�่ำลง ส่วนใหญ่กลายเป็นสินค้า ตกเกรด ส่งผลให้รายได้ของชาวสวนหายไปกว่าครึง่ ไปจนถึงประสบ กับภาวะขาดทุน เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา >>ใครได้รับผลกระทบรุนแรง

(จัดเรียงตามล�ำดับ ความรุนแรงจากมากไปหาน้อย) อาจพบได้ดังนี้

1) ชาวสวนรายย่อยหรือผูท้ มี่ พ ี นื้ ทีถ่ อื ครองขนาดเล็กและ ไม่เข้ารวมกลุม่ ซึง่ คาดว่ากว่าร้อยละ 90 ของผูป้ ลูกมะม่วงทัง้ หมด เป็น ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะขายมะม่วงได้ราคาถูกมากๆ มา จากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มตี ลาดรองรับเมือ่ ถึงเวลาเก็บเกีย่ วผลผลิต พันธุไ์ ม่เป็นทีต่ อ้ งการของตลาด ขาดอ�ำนาจการต่อรองในเรือ่ งราคา เมื่อขายสินค้าอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็น ประโยชน์จากภาคีเครือข่าย ทัง้ ภาครัฐ วิชาการ เอกชน และชาวสวน เพื่อนร่วมอาชีพ ขาดองค์ความรู้ทั้งในเรื่องระบบการจัดการผลิต และหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ส่งผลให้สินค้าขาดคุณภาพ ใน ขณะที่ชาวสวนรายย่อยอิสระจะมีต้นทุนปัจจัยการผลิตสูงกว่า ผู้ที่สังกัดกลุ่ม และสูงยิ่งขึ้นเมื่อซื้อด้วยเงินเชื่อ

14

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

แมลงวันผลไม้ หนึง่ ในแมลงศัตรูทสี่ ร้างความเสียหายให้กบั ผลผลิตมะม่วง

2) กลุม่ เกษตรกรและมะม่วงแปลงใหญ่ทอี่ อ่ นแอ แม้การ รวมกลุ่มจะเป็นวิธีช่วยให้อาชีพการท�ำสวนของเกษตรกรรายย่อย อิสระสามารถอยู่รอดได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติตลาด มะม่วงดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อแรก แต่อาจยกเว้นกรณีการอยู่ร่วมใน กลุ่มที่อ่อนแอ เช่น ขาดผู้น�ำที่ดี การบริหารกลุ่มขาดประสิทธิภาพ ไม่มรี ะบบการตรวจสอบ ขาดกองทุน ฯลฯ กลุม่ ยิง่ อ่อนแอก็ยงิ่ ท�ำให้ สมาชิกได้รับผลกระทบมากขึ้น 3) เกษตรกรชาวสวนบนพื้นที่ห่างไกลจากตลาด แม้ เส้นทางการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยค่อนข้างดี แต่ระยะทางยังนับเป็นต้นทุนการค้าที่ส�ำคัญ ท�ำให้สินค้าของ เกษตรกรรายย่อยอิสระและกลุ่มเกษตรกรที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ห่างไกล จากตลาด สูญเสียโอกาสทางการตลาด และยิ่งเด่นชัดมากขึ้นใน สถานการณ์วิกฤติตลาดมะม่วงในปี 2561 นี้ (ติดตามแนวทางการรับมือกับวิกฤติครัง้ นีไ้ ด้ในจดหมายข่าว สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยฉบับถัดไปครับ) M


มะม่วงน�้ำดอกไม้ไทยในงานเทศกาลอาหารไทย ณ กรุงโตเกียว ประจ�ำปี 2561

เรื่อง : บุญส่วน แก้วไพฑูรย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด จ.ขอนแก่น

(ตั้งแต่คนที่ 6 จากซ้าย) ว่าที่ ร.ท.วรวุฒิ ขอดจันทึก เกษตรจังหวัด ขอนแก่น , นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผูว้ า่ ราชการจังหวัดขอนแก่น , เจ้าหน้าที่ จากธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเจ้าหน้าที่ จากส�ำนักงานพาณิชย์จงั หวัดขอนแก่น

เมื่อวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผมและตัวแทน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ได้รับ คัดเลือกจากทางจังหวัดขอนแก่น ให้ไปร่วมออกบูทในงานเทศกาล อาหารไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประจ�ำปี 2561 (Thai festival Tokyo 2018) จัดโดยสถานทูตไทยในประเทศญีป่ นุ่ เพือ่ ส่งเสริมและเผยแพร่อาหารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ไทย ซึ่งได้เสียงตอบรับจากประชาชนในกรุงโตเกียวและพื้นที่ ใกล้เคียงเป็นอย่างดี โดยมีการออกบูทแนะน�ำ/จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ อาหารจากประเทศไทยที่แต่ละจังหวัด แต่ละหน่วยงาน แต่ละ บริษัท คัดสรรมาเป็นอย่างดี ผมและสมาชิกได้น�ำมะม่วงน�้ำดอกไม้สีทองไปจ�ำหน่าย จ�ำนวน 202 กล่อง หรือ 1,010 กิโลกรัม โดยมีคุณพิมใจ มัตสึโมโต กรรมการผู้จัดการบริษัทพีแอนด์เอฟ เทคโน จํากัด เป็นผู้ดูแลใน เรื่องของการขนส่ง เมื่อไปถึงงานพบว่ามีผู้ประกอบการ สหกรณ์ ชาวสวน เช่น บริษัทพีแอนด์เอฟ เทคโน จํากัด, บริษัท สยาม เอ็กซ์ปอร์ต มาร์ท จ�ำกัด, สหกรณ์การเกษตรท่าใหม่, สวนมะม่วง แก้ววงษ์นกุ ลู , วิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด น�ำมะม่วงไปร่วมออก บูทรวมทั้งสิ้น 12 บูท ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงน�้ำดอกไม้สีทองและ มะม่วงมหาชนก ในส่วนของบูทวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดได้น�ำมะม่วง น�้ำดอกไม้สีทองไปปอกให้ชิมและจ�ำหน่ายในราคาดังนี้ 1.มะม่วง ไซต์เอ็ม แพ็กละ 2 ผล ราคา 600 เยน 2.มะม่วงไซต์แอล แพ็กละ 3 ผล ราคา 1,000 เยน (100 เยน ประมาณ 30 บาท) พบว่าจ�ำหน่าย หมดภายใน 1 วัน (เปิดบูทตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.) ซึ่งผมฟัง ภาษาญี่ปุ่นออกเพียงค�ำเดียวคือค�ำว่า “โออิชิ = อร่อย” ผมจึงให้ ล่ามสอบถามผูเ้ ข้าร่วมงานว่าท�ำไมถึงชอบมะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ของไทย ค�ำตอบที่ได้ 1.รสชาติหวาน 2.กลิ่นหอม 3.เปลือกไม่หนามาก

16

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

การชิม ช้อป มะม่วงทีบ่ ทู วิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด

4.สีเนือ้ และสีผวิ สวย 5.ลูกไม่ใหญ่มาก และจากการทีผ่ มสังเกตพบว่า 1. เทรนด์ของผู้ซื้อส่วนใหญ่จะชอบมะม่วงที่ผลไม่ใหญ่มาก ส่วนหนึง่ เป็นเพราะครอบครัวทีเ่ ล็กลง หรือเป็นขนาดทีร่ บั ประทาน แล้วอิ่มพอดี 2. มีผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นหลายรายมาถามกับล่ามว่าไม่มี ข้าวเหนียวมูนจากประเทศไทยมาจ�ำหน่ายหรือให้ชมิ คูก่ บั มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ดว้ ยหรอ (ปีหน้าผมว่าจะลองท�ำข้าวเหนียวมูนไปให้ชมิ ด้วยครับ) ดังนั้นค�ำกล่าวที่ว่า “มะม่วงน�้ำดอกไม้ของไทยใครชิม ก็บอกว่าอร่อย หวาน หอม” เป็นค�ำกล่าวทีถ่ กู ต้องแล้วครับ แต่ตอ้ งเป็น มะม่วงคุณภาพ มากจากการจัดการภายในสวนทีด่ ี เป็นสวนทีไ่ ด้รบั การรั บ รองมาตรฐานจี เ อพี เ ป็ น เครื่ อ งหมายการั น ตี ถึ ง ความ ปลอดภัย นอกจากนี้จะต้องท�ำการใส่ปุ๋ยให้ถูกระยะ ถูกอัตราส่วน ถูกสูตร เช่น การใส่ปุ๋ยเพิ่มความหวานด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ บวก 0-0-60 เหนือสิ่งอื่นใดคือการเก็บมะม่วงที่ได้ระยะการสุกแก่ ทีเ่ หมาะสม (อย่าเก็บมะม่วงอ่อนเด็ดขาด) โดยทางกลุม่ ผมจะเก็บ มะม่วงที่ความแก่ 85 – 90% เป็นส่วนใหญ่ โดยสมาชิกจะท�ำการ จดบันทึกหลังจากทีห่ อ่ ผลมะม่วงทีม่ ขี นาดเท่าไข่ไก่แล้วอีกประมาณ 50 - 55 วัน จึงจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เพราะฉะนั้นผมยังมั่นใจ ในศักยภาพของมะม่วงน�้ำดอกไม้ไทย เพียงแต่วันนี้เราต้องมารื้อ ระบบกันใหม่ เช่น เป็นไปได้ไหมทีจ่ ะมาถกกันในเรือ่ งของราคากลาง ที่ชาวสวนอยู่ได้ ผู้ประกอบการอยู่ได้ ผู้ซื้อปลายทางมีก�ำลังซื้อโดย เฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดใหญ่ ซึ่งมะม่วงน�้ำดอกไม้ของเราก็มี รสชาติ ห วาน ถู ก ปากอย่ า งแน่ น อน ที่ ส� ำ คั ญ คื อ อย่ า ท� ำ ลาย เอกลักษณ์ของมะม่วงน�้ำดอกไม้ไทย ให้คงความหอม หวาน ไว้ ใครๆกินก็จะติดใจ ตลาดก็จะไม่ตัน มีความมั่นคงและยั่งยืนอย่าง แน่นอนครับ...สวัสดีครับ.... M


“มหาชนก” ค�ำตอบทีล ่ งตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วงไทย ในมุมมองของผู้ส่งออก เรื่อง : วรรณภา เสนาดี ปีนรี้ าคาผลผลิตของมะม่วงมหาชนกไม่คอ่ ยดีนกั เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมาชาวสวนขยายพืน้ ทีป่ ลูกเพิม่ ขึน้ อีกทัง้ ปี นี้ ค วามแปรปรวนของสภาพอากาศท� ำ ให้ ม ะม่ ว ง มหาชนกในแหล่งปลูกส�ำคัญภาคเหนือและภาคอีสาน ผลผลิตออกพร้อมกัน ท�ำให้ชาวสวนมะม่วงมหาชนกที่ อยู่นอกกลุ่มหรือไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อตกลงการท�ำสัญญา ซื้อขายกับทางบริษัทประสบปัญหาการตลาดอย่างมาก คุณขวัญชัย ธนะแก้ว ผูจ้ ดั การทัว่ ไป บริษทั ทิมฟูด้ จ�ำกัด ผูผ้ ลิตและส่งออกมะม่วงมหาชนกรายใหญ่ กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการมะม่วงมหาชนกเพื่อการแปรรูปมี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ ปีละ 200-300 ตัน ในส่วนของบริษทั ทิมฟูด้ ฯ ส่งออกมะม่วงมหาชนกทั้งในรูปแช่แข็งและผลสด โดย ส่งออกมะม่วงแช่แข็งปีละ 640 ตันซึง่ ต้องใช้ผลสด 1,500 คุณขวัญชัย ธนะแก้ว ตัน และส่งออกในรูปผลสด (จ้างผลิต) ปีละ 100-200 ตัน ปัจจุบนั ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ คือ ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ เนือ่ งจากโรงงานไม่สามารถรับซือ้ ผลผลิตจากแปลงทีไ่ ม่ได้รบั การรับรอง มาตรฐาน GAP แต่ปนี สี้ ถานการณ์เปลีย่ น เนือ่ งจากความแปรปรวนของ สภาพอากาศทีท่ ำ� ให้แหล่งปลูกมะม่วงมหาชนกทีส่ ำ� คัญ มีผลผลิตเก็บเกีย่ ว ตรงกัน จึงท�ำให้ผลผลิตมีมากเกินไป (over supply) เกิดปัญหาราคาตกต�ำ่ ซึง่ สาเหตุหลักเกิดจากชาวสวนไม่ได้มกี ารวางแผนก่อนผลิต โดยขยาย พืน้ ทีป่ ลูกมากขึน้ ส่วนเกษตรกรทีอ่ ยูภ่ ายใต้ระบบเครือข่ายของบริษทั หรือผลิตตามโควตาของโรงงานจะไม่ค่อยมีปัญหาการตลาดมากนัก เพราะมีการท�ำสัญญาซือ้ ขายทีแ่ น่นอน ดังนัน้ ชาวสวนทีต่ อ้ งการจะ เข้าเป็นเครือข่ายผลิตมะม่วงมหาชนกกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือ มะม่วงมหาชนกเป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่าย บริษทั ส่งออกขอแนะน�ำว่าให้รวมกลุม่ กันและแปลงปลูกต้องได้รบั การรับรองมาตรฐาน GAP ทุกแปลง สมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทย คุณขวัญชัย กล่าวอีกว่า จุดเด่นของมะม่วงมหาชนกในแง่ของ ขอแสดงความเสี ยใจในการจากไปของคุณเดช อุตสาหกรรมแปรรูปคือ เนือ้ เยอะ สีสวยสม�ำ่ เสมอ รสชาติหวานอร่อย ทิ ว ทอง เจ้ า ของสวนวั ง น�้ ำ ลี้ จ.ล� ำ พู น (ความหวานเฉลี่ย 16 บริกซ์) จากการทดลองน�ำมะม่วงหลายๆ พันธุ์ พระสหายในหลวง รัชกาลที่ 9 ต้นก�ำเนิด มาทดลองแปรรูปรวมทั้งแก้วขมิ้นซึ่งมีผลผลิตปริมาณมาก ราคานิ่ง มะม่วงมหาชนก ซึง่ เป็นมะม่วงทีไ่ ด้จากการ แต่เทียบคุณภาพรสชาติแล้วยังสู้มหาชนกไม่ได้ ในส่วนข้อดีของ เพาะเมล็ดจากสวนของ อ.ประพัฒน์ สิทธิสงั ข์ ชาวสวนคือ เป็นพันธุ์ที่ออกดอก ติดผลง่าย การจัดการไม่ยากมาก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ น่าจะมาจากเกสร ไม่ต้องห่อผล ถึงผิวไม่สวยมากแต่เนื้อไม่เสียโรงงานก็รับซื้อ อีกทั้ง ของมะม่วงงาช้างและซันเซ็ท คุณเดชเล่าให้ ต้นทุนการผลิตไม่สงู ราคาจากสวน กก.ละ 15-16 บาทชาวสวนก็อยูไ่ ด้ ฟังว่า “ได้ขอพระราชทานชือ่ “มหาชนก” ดังนั้น ผมมองว่ามะม่วงมหาชนกเป็นพันธุ์ที่ลงตัวเหมาะส�ำหรับใช้ใน โดยขณะนัน้ หนังสือพระราชนิพนธ์พระมหาชนกก�ำลังแพร่หลาย อุตสาหกรรมแปรรูปเพราะผลผลิตมีคุณภาพ มีปริมาณมากพอและมี ชือ่ มะม่วงมหาชนกจึงเป็นทีร่ จู้ กั มาจนบัดนี้ นับเป็นมะม่วงลูกผสม ความต่อเนื่อง ทั้งนี้การที่จะท�ำให้อุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วงไทยมี เลือดไทย (งาช้าง) และมะม่วงอินเดียนไทป์พนั ธุแ์ รกของไทย” ความยั่งยืนนั้น ชาวสวนจะต้องรวมกลุ่มกันพัฒนาระบบการผลิตที่มี อ้างอิงจากวารสารเคหการเกษตรฉบับมีนาคม 2542 สัมภาษณ์คณ ุ เดช มาตรฐานรองรับ และวางแผนผลิตให้มีความต่อเนื่องให้สอดคล้อง ทิวทอง ที่ส�ำนักงานเคหการเกษตร บางเขน กทม. กับความต้องการของโรงงานด้วย M สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

17


เรื่องเล่าและมุมองจากคุณไกรสร แก้ววงษ์นุกูล “เมื่อผมไปดูมะม่วงแก้วขมิ้นที่กัมพู ชา” เรื่อง : ปกป้อง ป้อมฤทธิ์ จากข้อมูลของ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ม.หอการค้าไทย ระบุวา่ “ประเทศกัมพู ชาผลิตมะม่วงแก้วขมิน ี ะ 1.3 ล้านตัน และยังไม่ ้ ได้ปล เคยมีปัญหาเรื่องผลผลิตล้นตลาด โดยส่งออกไปเวียดนาม 70% ส่งเข้าไทย 30% ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นเวียดนามน่าจะส่งต่อไปจีน เพราะจากข้อมูลพบว่าทางรัฐบาลจีนมีการลงนามข้อตกลงจะซื้อมะม่วงแก้วขมิน ้ แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือ G to G และข้อมูลที่ได้ รับจากผู้ประกอบการน�ำเข้ามะม่วงจากกัมพู ชามาแปรรูปที่จันทบุรี พบว่าตอนนี้ล้งจีนในกัมพู ชามีการเหมาสวน คล้ายที่ท�ำกับล�ำไย ในบ้านเรา โดยเหมาเป็นรายต้น ต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป เหมาต้นละ 60 ดอลลาร์สหรัฐ”….. (หนุ่มเกษตรเบอร์34 ; วารสารเคหการเกษตร ฉบับกรกฎาคม 2561)

เมือ่ ประมาณต้นเดือนมิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา คุณไกรสร แก้ววงษ์นกุ ลู คณะกรรมการ สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ฝ่ายวิชาการ ได้เดินทางไปดูงานสวนมะม่วงแก้วขมิ้น ทีจ่ งั หวัดก�ำปงสปือ ประเทศกัมพูชา เป็นสวนทีม่ พี นื้ ทีป่ ลูกมะม่วงแก้วขมิน้ ประมาณ 3,000 ไร่ มีพนื้ ทีท่ ใี่ ห้ผลผลิตแล้วประมาณ 600 – 700 ไร่ ผลผลิตทีไ่ ด้ประมาณ 300 – 400 ตัน/ปี คุ ณ ไกรสร กล่ า วว่ า “ชาวสวนมะม่ ว งแก้ ว ขมิ้ น จั ง หวั ด ก� ำ ปงสปื อ รายนี้ บอกกับผมว่าเมือ่ 3 – 4 ปีกอ่ น มีผคู้ า้ ชาวจีนและเวียดนาม เข้ามาติดต่อรับซือ้ ผลผลิต มะม่วงแก้วขมิ้นจากทางสวนโดยตรง พร้อมกับน�ำถุงห่อมะม่วงที่ผลิตในประเทศจีน มาให้ทำ� การห่อผลอีกด้วย ซึง่ การซือ้ ขายมีแนวโน้มไปในทิศทางทีด่ ี จนกระทัง่ ผลผลิต มะม่วงแก้วขมิน้ ทีจ่ ะเก็บเกีย่ วในช่วงเดือนมิถนุ ายน-กรกฎาคมนี้ พบว่าผูค้ า้ ชาวจีนและ เวียดนามไม่รบั ซือ้ ผลผลิตรุน่ นีเ้ ลย โดยให้เหตุผลว่า “ผลผลิตมะม่วงแก้วขมิน้ ชุดนีต้ รง กับมะม่วงจีนที่ก�ำลังทยอยมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา จึง ชะลอและยุตกิ ารรับซือ้ มะม่วงแก้วขมิน้ แล้วหันไปซือ้ มะม่วงภายในประเทศแทน” โดย มะม่วงแก้วขมิ้นของกัมพูชาปีนี้ถือว่าออกล่าฤดู เพราะสภาพอากาศแปรปรวน โดยปกติ เดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคมจะเก็บผลผลิตหมดแล้ว แต่ปีนี้เก็บผลผลิตได้ใน เดือนมิถนุ ายน – กรกฎาคม ซึง่ ตรงกับผลผลิตมะม่วงจีนพอดี จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดมะม่วงแก้วขมิน้ ของกัมพูชา คุณไกรสร กล่าวทิง้ ท้ายว่า “ไม่เพียงแค่ชาวสวนมะม่วง กัมพูชาที่ได้รับผลกระทบ เพราะผมทราบข่าวจากชาวสวน มะม่วงทีพ่ ม่าว่าได้รบั ผลกระทบเช่นกัน โดยมะม่วงเส่งตาลงชุด ทีเ่ ก็บเกีย่ วผลผลิตปลายเดือนเมษายน – พฤษภาคม มีผค้ ู า้ ชาวจีน มารับซือ้ ในปริมาณทีล่ ดลงกว่า 50% เนือ่ งจากเป็นช่วงทีม่ ะม่วง จีนเริม่ เก็บผลผลิตได้แล้ว ส่วนประเทศไทยก็ได้รบั ผลกระทบ เช่นกัน แต่ยงั โชคดีตรงทีผ่ ลผลิตมะม่วงส่วนใหญ่มาจากสวนที่ ได้มาตรฐานจีเอพี จึงมีชอ่ งทางการตลาดทีม่ ากกว่า ซึง่ โจทย์ ของชาวสวนคือต้องหาวิธลี ดต้นทุนการผลิตให้ถกู ลง เพือ่ ให้ สามารถส่งมะม่วงไปขายยังประเทศจีนได้ในราคาทีถ่ กู ลง ท�ำให้ ระบายสินค้าได้มากขึน้ ช่วยลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดลงได้ M

18

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

คุณไกรสร แก้ววงษ์นุกูล

มะม่วงแก้วขมิ้นที่จังหวัดก�ำปงสปือ ประเทศกัมพูชา มะม่วงแก้วขมิ้นที่ผ่านการห่อผลแล้ว


แวดวงสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

>>อนาคตมะม่วงไทยในสายตาผู้ส่งออกตลาดจีน

ภายในงานแสดงสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SIMA ASEAN 2018 ) เมือ่ วันที่ 8 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมา วารสารเคหการเกษตรได้จดั เวทีเสวนา “Let’s become a Smart Farmer อะไรๆก็สมาร์ท มาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์กัน” มีหลายหัวข้อ ที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือหัวข้อ “อนาคตมะม่วงสีของไทย ในสายตาผู้ส่งออกตลาดจีน” โดย คุณสัญชัย ปุรณะชัยคีรี ผู้ส่งออก ประธานบริษัท ริชฟิลด์ เฟรชฟรุท จ�ำกัด คุณสัญชัย กล่าวว่า สถานการณ์มะม่วงไทยปีนเี้ ริม่ ถึงทางตันแล้ว อาจเป็นเพราะเราไม่ได้ให้ ความส�ำคัญกับตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ในส่วนของพันธุ์ พบว่าประเทศไทยเหลือเพียงแค่ มะม่วงน�ำ้ ดอกไม้ทสี่ ง่ ออกเป็นหลัก หากยังไม่มกี ารจัดการทีด่ ี ชาวสวนก็จะประสบปัญหาเดิมคือผลผลิตกระจุกตัว ขายไม่ทนั ราคาถูก ในส่วน ของพันธุแ์ ละแนวทางการจัดการในอนาคตนัน้ ผมมองว่ายุคนีเ้ ป็นยุคของมะม่วงทีผ่ ลไม่ใหญ่มาก เช่นพันธุไ์ ซซีและกุย้ เฟยซึง่ มีคนน�ำเข้ามา ปลูกในไทยบ้างแล้ว เพียงแต่มะม่วงเหล่านีต้ อ้ งมีการจัดการทีพ่ ถิ พี ถิ นั ซึง่ ผมก็ได้ทดลองปลูกไว้ประมาณ 300-400 ต้น อายุตน้ 2 ปี เริม่ ให้ ผลผลิตแล้ว นอกจากนีผ้ มยังมองว่าการปลูกมะม่วงไม่จำ� เป็นต้องใช้พนื้ ทีป่ ลูกมากก็ได้ ปลูกเพียง 10-20 ไร่ แต่ดแู ลอย่างใกล้ชดิ มีการจัดการ น�้ำที่เพียงพอ ก็ท�ำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นแล้ว ดังนั้นการท�ำเกษตรแบบสมาร์ทฟาร์มจึงหมายถึงการควบคุมคุณภาพให้ได้100% แต่ในทาง ปฏิบตั จิ ริงท�ำได้ 70-80% ก็ถอื ว่าดีแล้ว โดยชาวสวนควรสนใจการใช้เทคโนโลยีให้มากขึน้ และใช้แรงงานให้นอ้ ยลง ผลผลิตทุกผลต้องมีคณ ุ ภาพ สูงสุดโดยตัง้ อยูบ่ นต้นทุนทีต่ ำ�่ เช่น อาจจะเริม่ จากการควบคุมความสูงของต้นเพือ่ ให้สามารถดูแลจัดการได้งา่ ย ใช้แรงงานน้อย เป็นต้น M เมือ่ เร็ว ๆ นี้ คุณมนตรี ศรีนลิ นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ได้มโี อกาส ต้อนรับกลุม่ เกษตรกรในโครงการเพิม่ ประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ในกลุ่มของมะม่วง จ.สระแก้ว ที่จัดการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ ระหว่างวันที่ 26 – 27 เมษายน ที่ผ่านมา ณ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.นคราชสีมา M

สมาคมชาวสวนมะม่ ว งไทย ขอแสดงความยิ น ดี กั บ คุ ณ ราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ ประธานวิสาหกิจชุมชน ส่ ง ออกมะม่ ว ง อ.บางแพ จ.ราชบุ รี ในโอกาสเข้ า รั บ โล่ ป ระกาศเกี ย รติ คุ ณ เกษตรกรดีเด่น สาขาการใช้วชิ าการเกษตรดี ที่ เ หมาะ ส ม ( G AP ดี เ ด่ น ) จา ก นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ วันที่ 4 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมา ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ M

ระหว่างวันที่ 1 – 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ได้มีการ จัดงานวันมะม่วงและของดีตำ� บลป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน ได้รับเกียรติจากนายวิบูรณ์ แว่วบันทิตย์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงาน โดยวิสาหกิจ ชุมชนผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ต.ป่ากลาง น�ำโดย คุณรัฐภูมิ ขันสลี ประธานกลุม่ ฯ และสมาชิก น�ำมะม่วง คุณภาพไปร่วมออกบูทด้วย M ระหว่ า งวั น ที่ 6 – 8 มิ ถุ น ายน ที่ ผ ่ า นมา คุณกระจ่าง จ�ำศักดิ์ ประธานสหกรณ์ชมรมชาวสวน มะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จ�ำกัด และสมาชิก ได้ไปร่วม ออกบู ท จ� ำ หน่ า ยมะม่ ว งน�้ ำ ดอกไม้ ใ นงาน SIMA ASEAN 2018 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี M

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

19


แนวทางลดต้นทุนการผลิตมะม่วง ตามแบบฉบับกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วง เพื่ อการค้าฯ จ.เพชรบูรณ์

คุณไตรรัตน์ เปียถนอม

มะม่วงน�้ำดอกไม้ชุดนี้กระตุ้นตาดอกไปเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 61 และเริ่มแทงดอกแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 61

การน�ำเสนอเรือ่ งนีเ้ พือ่ กระตุกให้ชาวสวนตระหนัก ถึงการลดต้นทุนการผลิต เพราะเป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ปัจจุบนั สถานการณ์ราคามะม่วงไม่สดใสเหมือนเมื่อก่อน ต้นทุน การผลิตของชาวสวนก็มแี นวโน้มเพิ่มขึ้น มะม่วงที่ได้เกรด ส่งออกจริงๆ ก็มจี ำ� นวนลดลง มะม่วงตกเกรดมีมากขึน้ และ ขายในประเทศในราคาทีถ่ กู จนไม่คมุ้ กับต้นทุนการผลิต ซึง่ ทุกครั้งที่สมาคมฯ จัดประชุม สมาชิกหลายท่านเน้นย�้ำ เสมอว่า “ชาวสวนจะต้องหาแนวทางลดต้นทุนการผลิต ทีส่ อดคล้อง เหมาะสม และลงตัวกับทัศนคติและสภาพ พื้นที่สวนของตนเอง โดยมะม่วงต้องมีคุณภาพด้วย” จดหมายข่าวสมาคมฯ ฉบับนีจ้ งึ หยิบยกแนวทางลดต้นทุน การผลิ ต มะม่ ว งของ กลุ ่ ม ปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพมะม่ ว ง เพื่ อ การค้ า และการส่ ง ออกจั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ โดยมี คุ ณ ไตรรั ต น์ เปี ย ถนอม ประธานกลุ่มฯ เป็นโต้โผ หาแนวทางลดต้นทุนการผลิต จนได้วธิ ที ลี่ งตัว “ผมมองว่าต้นทุนการผลิตทีช่ าวสวนมะม่วงสามารถ ควบคุมได้คือ “ปุ๋ยและสารอารักขาพืช” ส่วนต้นทุนที่ ควบคุมได้ยากคือ “แรงงาน” เพราะหลายขัน้ ตอนยังจ�ำเป็น ต้องใช้แรงงาน เช่น การห่อผล การเก็บผลผลิต การตัดแต่งกิง่ ดังนั้นเมื่อผมรู้รอยรั่วที่ท�ำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผมจึง ต้องหาวิธีมาอุดรอยรั่วนั้นให้ได้” คุณไตรรัตน์ กล่าว

20

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

เรื่อง : ปกป้อง ป้อมฤทธิ์

>> ลดต้นทุนปุ๋ย คุณไตรรัตน์ กล่าวว่า “ชาวสวนบางรายยังใส่ปยุ๋ ตามความรูส้ กึ ตามความ สบายใจ โดยไม่รวู้ า่ แท้จริงแล้วมะม่วงหรือไม้ผลชนิดอืน่ ๆ ต้องการปุย๋ มากน้อย เพียงใด ดินมีธาตุอาหารเหลืออยูเ่ ท่าใด ซึง่ การใส่ปยุ๋ ให้เกิดประสิทธิภาพต้องเริม่ จากการน�ำตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับหาข้อมูลงานวิจยั ประกอบการ จัดการควบคู่ไปด้วย ซึ่งประเทศไทยมีงานวิจัยเรื่องธาตุอาหารในดินเยอะมาก ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าดินของประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฟอสฟอรัส (P) ค่อนข้างสูง ซึง่ ส�ำหรับมะม่วง จะมีความต้องการธาตุอาหารหลักอย่างฟอสฟอรัส ในปริมาณทีน่ อ้ ยกว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียม ดังนัน้ จึงไม่ควรใส่ฟอสฟอรัสใน ปริมาณสูง เพราะจะท�ำให้เหลือสะสมอยู่ในดินจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยในแต่ละครั้งต้องพิจารณาถึงการสูญเสียธาตุอาหารจากการ ตัดแต่งกิ่ง ผลผลิต และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินด้วย โดยในปี 2549 คุณไตรรัตน์ได้ท�ำการทดลองแบ่งการให้ปุ๋ยมะม่วงออก เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ใส่ปยุ๋ เคมีชนิดเม็ดทางดิน เหมือนทีเ่ คยท�ำมา แบบที่ 2 คือ พ่นปุ๋ยทางใบ ซึ่งเป็นปุ๋ยน�้ำหมักจากปลาทะเลที่บริษัทจากประเทศญี่ปุ่นน�ำมา ให้ทดลองใช้ และมีการยืนยันแล้วว่ามีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชกว่า 16 ชนิด ผลการทดลองพบว่ามะม่วงให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันมาก แต่สิ่งที่แตกต่าง กันคือเรือ่ งของต้นทุนการผลิต โดยปุย๋ น�ำ้ หมักจากปลาทะเลทีใ่ ช้ ราคาประมาณลิตรละ 120 บาท โดย 1 ลิตรผสมน�้ำได้ 1,000 ลิตร พ่นได้ประมาณ 10 ไร่ จากการ จดบันทึกเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดกับปุ๋ยน�้ำหมักจาก ปลาทะเล พบว่าต้นทุนต่างกันประมาณ 3 – 4 เท่า กล่าวคือ ทีผ่ า่ นมา พืน้ ทีป่ ลูก มะม่วง 100 ไร่ ลงทุนค่าปุย๋ เคมีประมาณ 200,000 บาท (เฉลีย่ 2,000 บาท/ไร่/ปี)


ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละ 1 ครั้ง

เมื่อพ่นปุ๋ยทางใบด้วยปุ๋ยน�้ำหมักจากปลาทะเล ต้นทุนลดลงเหลือ ประมาณ 50,000 บาท (เฉลีย่ 500 บาท/ไร่/ปี) และในทุกปีคณ ุ ไตรรัตน์ จะท�ำการเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วยการใส่ปุ๋ยมูลไก่แกลบปีละ 1 ครั้ง ส่วนกิ่งและใบมะม่วงที่ท�ำการตัดแต่งแล้ว จะน�ำมาวางไว้ในแปลง เพราะคุณไตรรัตน์มองว่าใบมะม่วงเป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารชั้นดี หากน� ำ ออกไปทิ้ ง ก็ เ หมื อ นกั บ ทิ้ ง ปุ ๋ ย ไปด้ ว ย ซึ่ ง นอกจากกิ่ ง และ ใบมะม่วงจะย่อยสลายเป็นปุ๋ยและอินทรียวัตถุในดินแล้ว ยังช่วย กักเก็บความชื้นในดินและช่วยลดการเกิดวัชพืชได้อีกด้วย คุณไตรรัตน์ กล่าวว่า สิง่ หนึง่ ทีย่ นื ยันว่าธาตุอาหารในดินทีส่ วน ของผมมีปริมาณเพียงพอก็คือ เมื่อปี 2558 ได้มีทีมนักวิจัยจากคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เข้ามา ท� ำ การวิ จั ย เรื่ อ ง “การจั ด การธาตุ อ าหารพื ช เพื่ อ เพิ่ ม คุ ณ ภาพ ผลผลิ ต มะม่ ว งน�้ ำ ดอกไม้ ใ นพื้ น ที่ ต.ดงมู ล แหล็ ก อ.เมื อ ง จ.เพชรบูรณ์” โดยใช้พื้นที่สวนของผมท�ำการวิจัย พบว่า ธาตุอาหาร ในดินที่ตรวจพบได้แก่ ซัลเฟอร์ (S) อยู่ในเกณฑ์ที่มากเกินพอ , ฟอสฟอรัส (P) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก , โพแทสเซียม (K) อยู่ในเกณฑ์ ที่สูงมาก , แมกนีเซียม (Mg) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก , คอปเปอร์ (Cu) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก , เหล็ก (Fe) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก , แมงกานีส (Mn) อยูใ่ นเกณฑ์ทสี่ งู มาก , สังกะสี (Zn) อยูใ่ นเกณฑ์ทสี่ งู มาก , โบรอน (B) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก , แคลเซียม (Ca) อยู่ในเกณฑ์ที่สูง , คลอรีน (Cl) อยู ่ ใ นเกณฑ์ ป านกลาง และไนโตรเจน (N) อยู ่ ใ นเกณฑ์ ที่ ต�่ ำ (รายละเอียดเพิ่มเติม ดังที่แสดงในรูปภาพ) “สรุปแล้ว ผมลดต้นทุนจากการใส่ปย๋ ุ ไปได้ไม่ตำ�่ กว่า 50 % ครับ”

>> ลดต้นทุนสารอารักขาพื ช คุณไตรรัตน์ กล่าวว่า หนึ่งในภาพลักษณ์ของมะม่วงเกรด ส่งออกคือผิวต้องสวย เพราะฉะนัน้ สารเคมีปอ้ งกันก�ำจัดโรคและแมลง จึงยังมีความจ�ำเป็น แต่ชาวสวนจะต้องใช้อย่างชาญฉลาด กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่ามะม่วงแต่ละระยะมีโรคและแมลงอะไรบ้าง สารเคมีแต่ละ กลุ่ม แต่ละชนิด ป้องกันก�ำจัดโรคและแมลงชนิดใดได้บ้าง เพราะถ้า หากไม่ทราบก็จะใช้สารเคมีแบบครอบจักรวาลหรือใช้สารเคมีที่มี

ภาพแสดงปริมาณปุย๋ ในดินและใบมะม่วงทีส่ วนของคุณไตรรัตน์ เปียถนอม

ราคาแพง ส่ง ให้ต้นทุนสูง ขึ้น โรคและแมลงดื้อ สารเคมีได้เร็ว ขึ้น นอกจากนีช้ าวสวนต้องรวมกลุม่ กันซือ้ สารป้องกันก�ำจัดโรคและแมลง ด้วย ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนลงได้อย่างน้อย 30 – 40% ปัจจุบัน ต้นทุนการใช้สารเคมีของผมอยู่ที่ 300,000 บาท/100 ไร่ “เบ็ดเสร็จแล้วสวนมะม่วงพื้นที่ 100 ไร่ของคุณไตรรัตน์ เปียถนอม ใช้เงินลงทุน เช่น ค่าปุ๋ยน�้ำหมักจากปลาทะเล สารเคมี ถุงห่อ แรงงาน ไฟฟ้า น�ำ้ มัน และอืน่ ๆ ประมาณ 1,000,000 บาท/ ปี (เฉลีย่ ประมาณไร่ละ 10,000 บาท/ปี) ผูเ้ ขียนลองค�ำนวณคร่าว ๆ คือ มะม่วงน�้ำดอกไม้ 1 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 1 ตัน สมมติว่า ราคามะม่วงช่วงใดช่วงหนึ่งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 20 บาท ดังนั้น มะม่วง 1,000 กก. X 20 บาท ได้เงิน 20,000 บาท หักลบต้นทุน แล้ว เหลือเงินประมาณ 10,000 บาท/ไร่ (ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั การจัดการ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อต้นทุนและก�ำไรในแต่ละช่วง) เป็น การแสดงให้เห็นว่ายิ่งชาวสวนลดต้นทุนได้ต�่ำเท่าใด ก็จะได้ก�ำไร มากขึ้น นั่นเอง” M สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

21


รายชื่อผู้น�ำชาวสวนมะม่วงกลุ่มต่างๆ

ล�ำดับที่

กลุ่ม

ประธาน

1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตมะม่วง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล 2 สหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จ�ำกัด นายกระจ่าง จ�ำศักดิ์ 3 กลุ่มมะม่วงส่งออกมงคลธรรมนิมิต นายสุนทร สมาธิมงคล 4 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วง ต�ำบลโป่งตาลอง นายมนตรี ศรีนิล 5 กลุม่ ผูผ้ ลิตมะม่วงปลอดสารพิษเพือ่ การส่งออกเมืองปากช่อง นายวีระเดช ไชยอนงค์ศักดิ์ 6 กลุ่มส่งเสริมการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก นายสนิท ชังคะนาค บ้านหนองไม้ยางด�ำ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 7 กลุม่ พัฒนาไม้ผลต�ำบลวังทับไทร นายนคร บัวผัน,นายสายันต์ บุญยิง่ 8 ชมรมผู้ปลูกมะม่วงเนินมะปราง นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ 9 กลุม่ ปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพือ่ การค้าและการส่งออก นายไตรรัตน์ เปียถนอม จ.เพชรบูรณ์ 10 วิสาหกิจชุมชนกลุม่ พัฒนาการผลิตมะม่วงเพือ่ การส่งออกบ้านวังเรือ นายบุญส่ง สีสะท้าน 11 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วง จ.สุโขทัย นายสมชาย ศรีชัย 12 กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรไม้ผลบ้านโหล่น นางวิจิตร ขวัญหลาย 13 กลุม่ ส่งเสริมพัฒนาชาวสวนมะม่วงเพือ่ การส่งออก จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ นายต้อย ตั้งวิชัย 14 กลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก อ.พร้าว นายเจริญ คุ้มสุภา 15 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกบ้านส�ำนักตะค่า นายอุบล พึ่งนิล 16 เครือข่ายผลิตมะม่วงบ้านต้นไทร นายวิเชียร ร่วมเกิด 17 วิสาหกิจชุมชนผลิตไม้ผลต�ำบลทุ่งนางาม นายไพศาล จันจินดา 18 วิสาหกิจชุมชนพัฒนามะม่วงเพื่อส่งออกบ้านห้วยไซใต้ นางศรีทอน ปาลี 19 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก นางนกมล โมงนาที และแปรรูปบ้านพระพุทธบาทน้อย 20 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก นายวัลลภ ทองสถิ 21 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงต�ำบลกุดหมากไฟ นายบุญช่วย พัฒนชัย 22 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก นายบรรจง หอมกลิ่นราตรี 23 วิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮด นายบุญส่วน แก้วไพฑูรย์ 24 กลุ่มพัฒนาไม้ผลบุฮม นายปราโมทย์ พันช์จันทรี 25 ชมรมชาวสวนจังหวัดสระแก้ว นายพยอม สุขนิยม 26 กลุ่มผู้ปลูกไม้ผลเพื่อการส่งออกอ�ำเภอพร้าว นางบุญศรี อรุณศิโรจน์ 27 กลุ่มไม้ผลเพื่อการส่งออกอ�ำเภอพร้าว นายกมล เรือนแก้ว 28 วิสาหกิจชุมชนชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ นายอาทิตย์ เกษมศรี 29 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงกุมภวาปี นายบุญกรม พันธะสี 30 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้ผลต�ำบลหินลาด นายสมชาย คะเชนทร์ภักดิ์ 31 วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงอ�ำเภอวังสมบูรณ์ นายวรเทพ แก้ววงษ์นุกูล 32 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วง อ.เวียงหนองล่อง นายมนู น้อยมณีวรรณ 33 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก อ.ปัว นายสิทธิชัย เสรีนวกุล 34 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงคุณภาพบ้านขุนเปา นายเจ๋อ แซ่ลือ 35 ชมรมผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จ.ราชบุรี นายก�ำธร ณัฐพูลวัฒน์ 36 วิสาหกิจชุมชนกลุม่ ผลิตมะม่วงคุณภาพเพือ่ การส่งออก ต�ำบลบ้านโภชน์ นายสุดใจ มิไพทูล 37 วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ผลต�ำบลท้ายดง จ.เพชรบูรณ์ นางหนูราช ราชพรหมมา 38 กลุ่มเกษตรกรผลิตมะม่วงนอกฤดู ต�ำบลชัยนาม นายเสาร์ ปรีชาวนา 39 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงส่งออกต�ำบลไทรย้อย นายสุทศั น์ ศิร ิ 40 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงส่งออก อ.หนองกุงศรี นายบรรทอง ล้านทองเหลือง 41 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงมหาชนกบ้านหนองบัวชุม นางบุญโฮม จิตจักร 42 กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกมะม่วงคุณภาพเชียงดาว นายสุวิทย์ อุดทาเศษ 43 กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกบ้านเปียงหลวง นายสุพจน์ สกลปภัช 44 วิสาหกิจชุมชนเกษตรรุน่ ใหม่พฒ ั นาผลไม้อนิ ทรียค์ ณ ุ ภาพส่งออก นายวิชยั จุนทการบัณฑิต 45 วิสาหกิจชุมชนคนรักมะม่วงจังหวัดอุดรธานี นายภูชิต อุ่นเที่ยว 46 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงนอกฤดูบ้านห้วยไร่ นายสมเกียรติ ดรพล 47 กลุม่ วิสาหกิจชุมชนผูผ้ ลิตมะม่วงนอกฤดูอา่ วน้อย นายพนม ซ�ำเผือก 48 กลุม่ ไม้ผลเพือ่ การส่งออกบ้านใหม่เนินสวรรค์ นายสุเทพ ยีส่ นุ่ แก้ว 49 กลุม่ วิสาหกิจชุมชนมะม่วงมหาชนกต�ำบลหนองหิน นายชวาร สอนค�ำหาร 50 วิสาหกิจชุมชนส่งออกมะม่วงอ�ำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี นายราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ 51 วิสาหกิจชุมชนปลูกมะม่วงเพือ่ การส่งออกต�ำบลป่ากลาง นายรัฐภูมิ ขันสลี 52 วิสาหกิจชุมชนเกษตรร่วมใจผลิตมะม่วงคุณภาพ นายเทพพร หิรญ ั รัตน์ 53 กลุม่ มะม่วงคุณภาพบ้านวังน�ำ้ บ่อ นางชลธิชา ฤทธิว์ นั ชัย 54 วิสาหกิจชุมชนกลุม่ ผูป้ ลูกมะม่วงสามร้อยยอด นายพิธี ทองสวัสดิ ์ 55 วิสาหกิจชุมชนผูป้ ลูกมะม่วงโชคอนันต์บา้ นคลองต่าง นายสายชล จันทร์วไิ ร 56 วิสาหกิจชุมชนรวมใจผูผ้ ลิตมะม่วงส่งออกตากฟ้า ไพศาลี ศรีเทพ นายศิรชิ ยั โอมพิทกั ษ์พงศ์

ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์

56 ม.3 ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โทร.08-9938-9097 97/5 ม.1 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทร.0-3808-8148-9 5 ม.1 ต.มงคลธรรมนิมิต อ.สามโก้ จ.อ่างทอง โทร.08-6063-4891, 08-0107-8499 31 ม.7 บ้านสระน�้ำใส ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร.08-9533-8594, 08-9846-0580 29 ม.5 ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร.08-1282-3111 82/2 ม.1 ต.บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร.08-1971-6491 ม.1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจติ ร โทร.08-6206-7205, 08-1887-1964 694 ม.4 ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร.08-1886-9656 160 ม.3 ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9858-7358 ม.16 ต.พันชาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โทร.08-1284-2068 112/4 ม.5 ต.คลองยาง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย โทร. 08-9961-4851 46 ม. 6 ต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ โทร.08-9946-0140, 08-0152-8541 13 ม.2 ต.ไร่ใหม่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร. 08-7155- 6680, 08-6400-8388 78 ม.4 ต.ป่าไหน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-9850-4260 13 ม.4 ต.สนามคลี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร.08-9173-4170, 08-6051-0988 106 ม.4 ต.หนองผาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร.08-7021-4070 61/1 ม.3 ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี โทร.08-9562-1691 246 ม.8 ต.ห้วยยาม อ.บ้านธิ จ.ล�ำพูน โทร.08-1386-9822 88 ม.10 ต.สองคอน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทร.08-6368-1995 22 ม.7 ต.มงคลธรรมนิมติ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง โทร.08-6127-5088, 08-7162-1764 39 ม.1 ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร.08-7949-6454 205/1 ม.1 ต.บ่อไทย อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9860-8172 134 ม.4 ต.หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น โทร.08-9623-4020 ม.1 ต.บุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย โทร.08-4953-9353 95 ม.9 ต.ศาลาล�ำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว โทร.08-1947-3058 6 ม.6 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-1960-5352, 0-5347-5058 53 ม.6 ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โทร.08-1951-3575 64/5 ม.9 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โทร.08-1960-0956 135 ม.3 ต.หนองหว้า อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โทร.09-1868-3355 7 ม.7 ต.หินลาด อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก โทร.08-1887-2818 359 ม.1 ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว โทร.08-9930-7216 402 ม.6 บ้านเวียง ต.วังผาง อ.เวียงหนองล่อง จ.ล�ำพูน โทร.08-3581-6578 77 ม.6 ต.บ้านกลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร.08-9262-4075 46 ม.5 ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย โทร.08-4810-0615 177/2 ม.3 ต.หนองตากยา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โทร.08-4413-2826 311 ม.8 ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-9270-9369 และ 08-8281-1991 327 ม.2 ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ โทร.08-5271-5828 และ 0-5656-9346 ต.ชัยนาม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โทร. 08-1205-2961 79 ม.7 ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โทร. 08-4813-1498 134/22 บ้านหนองบัวชุม ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ โทร. 08-2106-1364 46 ม.2 ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ โทร. 08-5746-2015 08-6239-4502 42 ม.2 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โทร. 08-0034-2295 414/46 ม.3 ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โทร. 08-1023-1250 21 ม.3 ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 08-1168-6347 222 ม.2 บ้านโน่นสว่าง ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร. 08-8308-9366 19 ม.4 ต.อูบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โทร. 09-0587-7995 769 ม.8 ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ โทร. 08-1825-3928 57/1 ม. 9 ต.หนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจติ ร โทร. 08-9517-2597 5 ม.5 ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ 46220 โทร.08-0766-2040 42 ม.3 ต.ดอนคา อ.บางแพ จ.ราชบุรี โทร.08-6041-9571, 08-5188-6911 90 ม.7 ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 08-0131-4725 14 ม.10 บ.ห้วยไร่บรู พา ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41220 โทร.08-0197-2751 83 ม.13 ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 65190 โทร.08-1627-1745 7 ม.6 ต.ศาลาลัย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ 77180 โทร.08-9912-6045 88/1 ม.1 ต.น�ำ้ ขุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย 64180 โทร.08-6216-8407 168 ม.11 ต.สุขส�ำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ 60190 โทร.09-4351-6656


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.