Dharma at Hand 100

Page 1

๕ ส.ค. ๕๓

ฉบับที่ ๑๐๐

ธรรมะใกล้ ต ว ั dharma at hand

Free Online Magazine

ธรรมะส�ำหรับคนยุคใหม่ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม http://www.dharmamag.com/


ธรรมะใกล้ตัว dharma at hand

ธรรมะจากพระผู้ร ู้

ไดอารีห ่ มอดู

๑๒

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ

๑๕

ยารักษาใจ

๑๖

ธนาคารความสุข

๒๑

เรื่องสั้นอิงธรรมะ

๒๔

สัพเพเหระธรรม

๓๑

• ยุง เรื่องคัน เรื่องเกา เรื่องเก่า • ดอกไม้ ในดวงวิญญาณ (ตอนจบ) • แผนสอง ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๓

ทีป่ รึกษาและผูจ้ ดุ ประกาย: ศรันย์ ไมตรีเวช หัวหน้าบรรณาธิการ จากใจบ.ก.ใกล้ตวั : เยาวลักษณ์ เกิดปราโมทย์ ธรรมะจากพระผูร้ :ู้ ชนินทร์ อารีหนู ไดอารีห่ มอดู: จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ โหรา (ไม่) คาใจ: จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ กวีธรรม: ศิราภรณ์ อภิรฐั ค�ำคมชวนคิด: ศิราภรณ์ อภิรฐั สัพเพเหระธรรม: ชนินทร์ อารีหนู ธรรมะจากคนสูก้ เิ ลส: ณัฐธีรา ปนิทานเต ของฝากจากหมอ: พริม ทัพวงศ์ แง่คดิ จากหนัง: เกสรา เติมสินวาณิช นิยาย/เรือ่ งสัน้ อิงธรรมะ: จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ พาเทีย่ ว เอีย่ วธรรม: เกสรา เติมสินวาณิช ธรรมะกับไลฟ์สไตล์: สิทธินนั ท์ ชนะรัตน์ รูปชวนคิด: รวิษฎา ดวงมณี กองบรรณาธิการ: กนกเรขา กฤษฎารักษ์ กานต์พทั ธ์ รัชพันธ • กิษรา รัตนาภิรตั จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ • ชนินทร์ อารีหนู ณัฐชญา บุญมานันท์ • ณัฐธีรา ปนิทานเต ณัฐพร สกุลอุทยั ศักดิ์ • ปรียาภรณ์ เจริญบุตร ปิยมงคล โชติกเสถียร • พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ ทองเลีย่ มนาค พรหมเนตร สมรักษ์ • พิจติ รา โตวิวชิ ญ์ พิทา จารุพนู ผล • พีรยสถ์ อุบลวัตร มยุรฉัตร พงษ์ผาตินนั ท์ • เมธี ตัง้ ตรงจิตร เยาวลักษณ์ เกิดปราโมทย์ • วรางคณา บุตรดี วิบรู ณ์ศกั ดิ์ ใจภักดี • วิมล ถาวรวิภาส วิมตุ ติยา นิวาดังบงกช • ศดานัน จารุพนู ผล ศศิธร ศิวะนันทากรณ์ • ศิราภรณ์ อภิรฐั สม เจตน์ ศฤงคารรัตนะ • สาริณี สาณะเสน สิทธิ นันท์ ชนะรัตน์ • สุปราณี วอง อนัญญ์อร ยิง่ ชล • อนัญญา เรืองมา อมรา ตัง้ บริบรู ณ์รตั น์ • อัจจนา ผลานุวตั ร ฝ่ายรวบรวมบทความ: สิทธินนั ท์ ชนะรัตน์ ฝ่ายสือ่ เสียงอ่านนิตยสาร: อนุสรณ์ ตรีโสภา ฝ่ายสือ่ เว็บไซต์: สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ ไพลิน ลายสนิทเสรีกลุ • กฤษฎ์ อักษรวงศ์ ฝ่ายสือ่ Word: พีรยสถ์ อุบลวัตร ฝ่ายสือ่ PDF: บุณยศักดิ์ ธีรวงศ์กจิ เกียรติภมู ิ จารุเสน ฝ่ายระบบ Send mail: สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ ภาพปก: กวิน ฉัตรานนท์ และทีมงานอาสาท่านอืน่ ๆ อีกจ�ำนวนมาก

ท่านสามารถรับนิตยสารฉบับนี้ ได้ ใน รูปแบบ เสียงอ่าน · Word


จากใจบ.ก.ใกล้ตัว อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

เดินช้าเดินเร็ว พุทธศาสนาเราเป็นศาสนาที่มีจุดหมายปลายทาง และเป็นจุดหมายปลายทางในแบบสิ้นสุดการเดินทาง การเดินทางของแต่ละคนมีความต่างกัน ตามลักษณะความสามารถในการออกเดิน แบ่งเป็นภาพรวมคร่าวๆที่สุด คือ เดินช้าอย่างเป็นทุกข์ เดินช้าอย่างเป็นสุข เดินเร็วอย่างเป็นทุกข์ เดินเร็วอย่างเป็นสุข เดินช้าอย่างเป็นทุกข์ คือคนที่อ้วนอุ้ยอ้ายด้วยกิเลสต่างๆ โลภกิน โลภกาม โกรธง่ายหายช้า ขี้บ่น ห่อเหี่ยว ขี้เกียจ ฟุ้งซ่านจัด เพ่งโทษคนอื่น หมดเวลาไปกับการเทียบเขาเทียบเราอย่างน่าใจหาย เต็มไปด้วยความสงสัยไม่แน่ใจนานัปการ แต่ขณะเดียวกันก็อยากเสวยสวรรค์ อยากไปให้ถึงนิพพานในเร็ววัน ชั่วขณะที่นึกอยาก ก็ระทมทุกข์ เพราะรู้สึกคล้ายมีม่านหมอกหนาเตอะขัดขวาง ผ่านไปไม่ได้เสียที ก็คร�่ำครวญ พร�่ำโอด เรียกหาใครมาอุ้ม

ธรรมะใกล้ตัว 3


และด่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ถ้าไม่ช่วยแบบทันใจ พร้อมจะกระทืบเรือเก่าให้ล่มจม ในทันทีที่ขึ้นเรือใหม่ได้ถนัดเท้า แต่ข้อดีคือยังเดิน ดีกว่าไม่เดินเลย เดินช้าอย่างเป็นสุข คือคนที่ตัวเบาด้วยความมีกิเลสน้อย และไม่คาดหวังจะถึงจุดหมายปลายทางในเร็ววัน ยังพอใจ ยังมีความสุขตามอัตภาพ ไม่โทษฟ้าโทษดิน ไม่หวังหาทางลัด มีความเข้าใจเฉพาะตน ว่าเพราะไม่ประกอบเหตุให้เดินเร็ว ตนจึงยังกระต้วมกระเตี้ยมไม่ค่อยถึงไหนเสียที ข้อดีคือเดินไปเรื่อย เทียบตนในวันนี้กับตนในวันวาร ไม่เสียเวลาเปรียบเทียบว่าตนด้อยกว่าหรือเหนือกว่าใครบ้าง จึงไม่สร้างความเดือดร้อนร�ำคาญใจให้ตนเองและผู้อื่น เดินเร็วอย่างเป็นทุกข์ คือคนที่สร้างเหตุปัจจัยในการเดินทางไว้ดีพร้อม แต่ขณะเดียวกันก็ใจร้อน คิดถึงจุดหมายมากกว่าก้าวในปัจจุบัน พวกนี้ใจถึง ตัดเหตุแห่งความเนิ่นช้าออกไปได้มาก เช่น สละเรือนออกบวช หรือเอาเวลาพักผ่อนจากหน้าที่การงานมานั่งสมาธิเดินจงกรม ไม่วอกแวกกับเครื่องยั่วยวนใจทั้งหลาย ไม่สนใจเทียบเขาเทียบเรากับชาวบ้าน แต่ทุกก้าวที่ออกเดิน เล็งแลร�่ำไปว่าเมื่อไหร่จะถึง ระหว่างเดินทางจึงรุ่มร้อน ไม่ใช่รื่นรมย์

4 ธรรมะใกล้ตัว


เดินเร็วอย่างเป็นสุข คือคนที่มีความ “เข้าใจ” อย่างสมบูรณ์ ว่าคนเดินเร็วเขาตัดอุปสรรคอะไรออกไปบ้าง ต้องเสียสละความชอบใจเฉพาะตนอันใดออกไปก่อน ต้องประกอบความเพียรรู้กายใจกันแบบไหน ถึงจะเป็นไปได้จริงเฉพาะตน เมื่อใดเกิดความว้าวุ่นอยากถึงปลายทางเร็วๆ ก็เอามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ การท�ำความเข้าใจ ว่าอยากไปก็ทุกข์เปล่า ทุกข์มีให้เห็นว่าไม่เที่ยง กินเวลามากบ้าง น้อยบ้าง ไม่ใช่มีให้คิดว่าจะหายทุกข์เดี๋ยวนี้ได้อย่างไร ชาวพุทธที่ไม่ออกเดินทางเลย มีมากที่สุด ชาวพุทธที่เดินช้าอย่างเป็นทุกข์ มีมากรองลงมา ส่วนชาวพุทธที่เดินเร็วอย่างเป็นสุข มีน้อยเท่าน้อย ส�ำหรับคนอยู่วัด ความเข้าใจตัวเดียว ท�ำให้กลายเป็นคนเดินเร็วอย่างเป็นสุขได้ ส่วนคนอยู่บ้าน การรู้จักท�ำใจ จะช่วยให้เดินช้าอย่างเป็นสุขได้เหมือนกันครับ

ดังตฤณ สิงหาคม ๕๓

เรื่องน่าสนใจประจ�ำฉบับ คอลัมน์ “ธรรมะจากพระผู้รู้” ฉบับนี้ อ่านเคล็ดลับการอยู่คนเดียวโดยไม่ทุกข์ จาก “หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช”

ธรรมะใกล้ตัว 5


ต่อด้วยเรื่องของกฎแห่งกรรม กับค�ำถามที่ว่า ‘การท�ำดีได้ดี ยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่ในสังคมยุคนี้?’ ส่วนชาวพุทธเชื้อสายจีน ที่ยังนิยมการไหว้บรรพบุรุษ ฉบับนี้ มีค�ำตอบให้ด้วยค่ะ ว่าขัดกับหลักวิถีพุทธหรือไม่ ใครที่ขาดก�ำลังใจในการปฏิบัติธรรมอยู่บ่อยๆ ต้องไม่พลาดคอลัมน์ “ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ” นะคะ เพราะฉบับนี้ เราจะพาไปหา “แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรม” กันค่ะ คอลัมน์ “เรื่องสั้นอิงธรรมะ” ฉบับนี้ เป็นตอนจบของ “ดอกไม้ในดวงวิญญาณ” ค่ะ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเจ้าพ่อค้ายาคิดลงจากหลังเสือ? ติดตามได้ในฉบับเลยค่ะ

ข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจ • ขอเชิญร่วมฟังธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (-/\-) ในวันปิดค่ายคุณธรรม ๓๐ ส.ค. ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ผู้สนใจ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://bit.ly/cndkeg • ขอเชิญร่วมท�ำบุญสร้างสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน จ.สุรินทร์ เครือข่ายวัดป่าบ้านตาด และเป็นกองทุนเสียงธรรม ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ผู้สนใจ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://bit.ly/9zYVp4

6 ธรรมะใกล้ตัว


• วัดสัมพันธวงศ์ แจกพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ส่วนพระสมอง สัณฐานข้าวสารหัก พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และพระสีวลี ผู้สนใจรับแจกเพื่อบูชา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://bit.ly/de1W7c พบกันใหม่พฤหัสหน้า ที่ www.dlitemag.com นะคะ สวัสดีค่ะ (^_^)

สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 7


ธรรมะจากพระผู้รู้ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ถาม - ตอนนี้แอบคิดกังวลกับชีวิตตอนแก่ๆ ค่ะ ว่าจะต้องอยู่คนเดียว จะท�ำ ยังไงให้สามารถอยู่ได้แบบไม่เป็นทุกข์คะ ขนาดโลกใหญ่ๆ นะยังแปรปรวนเลย พวกเราตัวเล็กตัวน้อยแปรปรวนเร็วกว่านั้นอีก ไม่นานก็แก่แล้ว ก็เจ็บก็ตาย ตอนเด็กๆ รู้สึกว่ายังเหลืออายุเยอะ พอยิ่งอายุมากขึ้นนะรู้สึกวันคืนล่วงไปอย่างรวดเร็วเลย ยังดีว่าเราได้ภาวนา ไม่งั้น มองอนาคตข้างหน้านะ มองด้วยความหวาดกลัว อย่างชีวิตเราแก่ลงเรื่อยๆ นะ ก�ำลังเราอ่อนลงเรื่อยๆ ต่อไปจะอยู่ยังไง บางคนตัวคนเดียว ไม่มีครอบครัวลูกเต้าอะไร จะอยู่ยังไง พวกที่มีลูก นึกว่าจะพึ่งลูกเหรอ จนป่านนี้ลูกยังมาพึ่งอยู่ ก็มีนะ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่งซะอย่างเดียว ชีวิต อนาคตเนี่ยเป็นของน่ากลัว เพราะอนาคตนะ เราจะรู้สึกว่าต้นทุนของเราเนี่ยต�่ำลงเรื่อยๆ ก�ำลังเราอ่อนลงเรื่อยๆ จะต่อสู้แย่งชิง จะต่อสู้ปกป้องตัวเองอะไรเนี่ย มันท�ำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ทีนี้คนบางคนก็หาความมั่นคงด้วยการไปมีครอบครัว มีลูกมีอะไร หวัง หวังๆ เอาว่าจะมั่นคง ลองมองดูสังคมจริงๆ ทุกวันนี้ คนแก่อยู่ตามล�ำพังเยอะแยะเลย บางคนตายทีนึงหลายๆ วันแล้วข้างบ้านค่อยรู้ ส่งสัญญาณกลิ่นไป ท�ำให้รู้ แต่ไม่เหมือนคนมีธรรมะนะ คนมีธรรมะเราภาวนาของเราทุกวัน เรามองอนาคตข้างหน้ามันดีกว่านี้ มันไม่ใช่เลวลง ไม่ใช่ว่ามองไปแล้วก�ำลังของเราจะตกลงไปเรื่อยๆ หมดแรงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ เราภาวนาสม�่ำเสมอไปเนี่ย เราจะรู้เลยว่ายิ่งนานวันนะก�ำลังเรามากขึ้น ก�ำลังของศรัทธา ของศีล ของสมาธิ ของปัญญา แก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ จิตใจมีความสุขมีความสงบมากขึ้นเรื่อยๆ

8 ธรรมะใกล้ตัว


มีที่พึ่งอยู่ในตัวเอง มีความสุขอยู่ในตัวเองได้ สมมุติวันหนึ่งแก่มาก ไม่มีคนดูแลนะ ยังเคลื่อนไหวได้ ก็มีความสุขอยู่ วันหนึ่งหมดแรง เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้นะ นอน ไม่ใช่นอนรอความตายแล้ว ไม่ใช่นอนรอความสูญเสีย มันเกิดกระดุกกระดิกไม่ไหวนะ ภาวนา ยังมีงานท�ำ ยังภาวนา อนาคตต้องดีกว่านี้อีก ดีแน่ๆ เพราะฉะนั้นต้องภาวนานะ ทุกวันฝึกจิตฝึกใจให้มันสูงขึ้นเรื่อยๆ ยกระดับจิตใจขึ้นไปเรื่อยๆ จะหวังอะไรกับโลก โลกเป็นอย่างนี้แหละ เอาอะไรกับมันนักหนา สวนสันติธรรม ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ถาม - ผมเห็นคนท�ำดีแล้วไม่ได้ดี ท�ำชั่วแล้วไม่ได้ชั่วอยู่เรื่อยๆ ครับ จนนึกสงสัยว่าเดี๋ยวนี้กฎแห่งกรรมไม่ท�ำงานหรือครับ เรามาเกิดในยุคที่ค่อนข้างแย่หน่อย เรียกว่าคติวิบัติ ยุคนี้มันยุคเสื่อม เป็นยุคที่ไม่ใช่คติสมบัติ มันคติวิบัติ ที่ที่เกิดของเราเนี่ย เป็นที่ที่คนไม่มีศีลมีธรรม เยอะเหลือเกิน คนเบียดเบียนกันเยอะเหลือเกิน บางคนจะสงสัยว่า เอ๊ กฎแห่งกรรมไม่ทำ� งานเหรอ กฎแห่งกรรมท�ำงาน แต่กฎของกรรมเนี่ยมันมีเงื่อนไขหลายตัว ตัวหนึ่งคือเรื่องของคติ คติที่ที่เราเกิดเนี่ย ถ้าที่นี่มีแต่คนดีนะ ใครท�ำชั่วนิดเดียวเท่านั้นแหละ กรรมชั่วจะให้ผลทันทีเลย คือสังคมจะลงโทษทันที แต่ในสังคมเราตอนนี้ มันเลวเหมือนๆ กัน คนท�ำชั่วก็ไม่เป็นไร สังคมยอมรับได้ เลยรู้สึกว่ากฎแห่งกรรมท�ำงานยากขึ้น ยังไงกฎแห่งกรรมก็ท�ำงานนะ แต่ว่าในสังคมที่คนไม่ดีเยอะเนี่ย กรรมมันท�ำงานยากขึ้นนะ กรรมดีให้ผลยากขึ้น กรรมชั่วให้ผลง่ายขึ้น เราเลือกที่เกิดไม่ได้แล้ว เกิดไปแล้ว เรารีบพัฒนาตนเอง

ธรรมะใกล้ตัว 9


พัฒนาสมบัติอีกชนิดหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า “ปโยคสมบัติ” คือพากเพียร มีความเพียรในการพัฒนาตนขึ้นมา ยิ่งพัฒนาตนได้เท่าไหร่นะ เราจะเห็นโลกนี้มันเป็นของหลอกลวง เป็นภาพลวงตา อย่างคนที่อยู่ในโลกเขาทะเลาะกันนะ เขาแย่งอ�ำนาจกัน มีอ�ำนาจแล้วก็มีพวก มีเงิน มีทุกสิ่งทุกอย่าง ก็แย่งกัน ถ้าเราภาวนา เรามองโลกตรงตามความเป็นจริง เราจะรู้สึกว่าเขาแย่งสิ่งซึ่งเป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง ไม่ใช่สาระแก่นสารที่แท้จริง อย่างคนมีอ�ำนาจจะมีอ�ำนาจได้กี่ปี มีได้ไม่กี่ปี มีเงินหลายหมื่นล้าน ถามว่ากินข้าวได้วันละกี่จาน กินข้าวได้มากกว่าเราหรือเปล่า ไม่มากกว่านะ มาแข่งกินข้าว บางทีสู้เราไม่ได้นะ พวกมีอ�ำนาจมากๆ มันกินไม่ลง มันเป็นภาพลวงตานะ ภาพลวงตา แย่งชิงสิ่งซึ่งไม่นานก็เสียไป เรามาหาสิ่งซึ่งเป็นสาระแก่นสารให้กับชีวิตตัวเอง ยิ่งสะสมไปทุกวันๆ นะ จิตใจยิ่งอบอุ่น ยิ่งเบิกบาน มีความสุขมากขึ้นๆ สวนสันติธรรม ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ถาม - ถ้าบูชาพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะแล้ว แต่ว่าที่บ้านเป็นคนจีนยังไหว้ บรรพบุรุษค่ะ เลยสงสัยว่าดิฉันยังสามารถไหว้บรรพบุรุษได้ไหมคะ ไหว้เจ้าไม่เป็นไร ไหว้บรรพบุรุษไหว้เทวดา พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม เพียงแต่ว่าเราไหว้แล้วก็คิดถึงคุณงามความดี เราไม่ได้ไหว้ในฐานะเป็นที่พึ่งว่าจะช่วยให้เราพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นชาวพุทธเราจะไม่มีที่พึ่งอย่างอื่น ทีนี้บางคนเข้าใจผิด บอกไม่มีที่พึ่ง เพราะฉะนั้นไหว้ใครก็ไม่ได้ ไหว้พ่อก็ไม่ได้ ไหว้แม่ก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ อย่างนั้นเข้าใจผิดแล้ว คือเรารู้ว่าเราไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พึ่งพาให้เราพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้

10 ธรรมะใกล้ตัว


นอกจากพระรัตนตรัย นี่ขอบเขตอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าท่านห้าม ห้ามไหว้คนดี ห้ามไหว้เทวดา ห้ามไหว้ ไม่ได้ห้ามนะ แต่ไม่ได้ในฐานะเป็นที่พึ่ง ในฐานะที่คิดถึงคุณงามความดีของเขา อย่างไหว้เทวดาก็คิดถึงหิริโอตัปปะ ท�ำยังไงเราจะมีหิริโอตัปปะเหมือนเทวดา ไหว้พ่อ ไหว้แม่ ไหว้บรรพบุรุษ ก็คิดบรรพบุรุษอยากให้เราดี เราก็ต้องเป็นคนดี ท�ำสิ่งดีๆ ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลจะได้สืบเนื่องไป เข้าใจอย่างนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก ชาวพุทธแท้ๆ ไม่ค่อยมีเรื่องกับใคร มองโลกด้วยสายตาที่เข้าใจ แล้วมีความสุข ส่วนสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งให้เราพ้นทุกข์จริงๆ พ้นจากสังสารวัฏจริงๆ มีแต่พระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านิพพานแล้วท�ำยังไงดี พระธรรมยังด�ำรงอยู่ พระธรรมเป็นศาสดาของพวกเรา เราต้องศึกษาธรรมะนะ ไม่งั้นเราก็คือคนไม่มีที่พึ่ง คนไม่มีพ่อมีแม่ เพราะฉะนั้นเราต้องศึกษาธรรมะไว้ ถ้าเราศึกษาธรรมะเราเข้าใจ รู้วิธีปฏิบัตินะ ลงมือปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม วันหนึ่งใจของเรามีธรรมะขึ้นมา พอธรรมะมันเข้ามาสู่ใจของเราแล้ว ใจของเราจะเป็นพระสงฆ์นะ จะเป็นผู้รู้ตาม เป็นอนุพุทธะ พระสงฆ์เนี่ยก็เป็นพุทธะเหมือนกัน แต่เรียกว่าอนุพุทธะ อนุพุทธะไม่ใช่แปลว่าพุทธะน้อยๆ แปลว่า “ผู้รู้ตาม” พระพุทธเจ้าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ผู้รู้ด้วยตนเอง ของเราเป็นอนุพุทธะ ผู้รู้ตามพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราก็ศึกษาธรรมะไว้ ธรรมะให้ประโยชน์ให้ความสุขตั้งแต่ในปัจจุบันนะ อะไรเกิดขึ้นในชีวิตเรา ถ้าเรามีธรรมะ เราไม่ทุกข์นะ ปัญหามีอยู่ แต่ความทุกข์ไม่มี สวนสันติธรรม ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 11


ไดอารีห ่ มอดู

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ไดอารี่หมอดูประจ�ำฉบับที่ ๑๐๐ โดย หมอพีร์ สิงหาคม ๒๕๕๓

สวัสดีค่ะทุกคนที่อ่านไดอารี่หมอดู เข้าพรรษาที่ผ่านมาไปท�ำบุญที่ไหนกันมาคะ พีร์กลับบ้านที่ล�ำปาง แม่บอกว่าอยากท�ำสังฆทานให้ช่วยซื้อมาด้วย และก็มีโอกาส ได้ไปท�ำบุญที่พะเยามาด้วยค่ะ ได้ร่วมท�ำบุญมูลนิธิที่ช่วยเหลือเด็กไปด้วยนิดหนึ่ง ขากลับจากพะเยาวันนั้นฝนตกหนักมากเลยค่ะ แถมยังต้องขับรถขึ้นภูเขาสูงมาก เลย ต้องขับให้ระวังหน่อย เพราะไม่อย่างนั้นต้องเกิดอุบัติเหตุแน่นอน พอผ่าน มานิดหนึ่งเจอรถเกิดอุบัติเหตุอยู่ทางข้างหน้าพอดีเลย เพิ่งเกิดกันสด ๆ ร้อน ๆ ทางบนเขาชันมาก รถคันที่ขึ้นเขามาเสียหลักลื่นพุ่งลงเขา โชคดีที่มีรถอีกทางสวน มาปะทะกัน ท�ำให้พี่คนที่เสียหลักไม่พุ่งตกเหว ในรถมีเด็กน้อยอายุแค่ขวบกว่า ๆ เอง เหวตรงนั้นลึกมาก ทางที่เกิดอุบัติเหตุอยู่เกือบยอดเขา เป็นเส้นทางระหว่าง พะเยา-วังเหนือ พี่ผู้ชายคนที่ขับรถสวนมาแย่หน่อย หน้ารถยุบ ตัวพี่เขากระแทก พวงมาลัย แขนขวาบาดเจ็บนิดหน่อย จอดรถถามว่ามีอะไรให้ช่วยเหลือไหม มีคนเจ็บหนักหรือเปล่า สรุปไม่มีใครเป็นอะไรมาก แต่ติดต่อใครไม่ได้เลยเพราะอยู่ กลางหุบเขา พีรเ์ ลยจัดการเป็นธุระติดต่อทีบ่ า้ นทัง้ สองฝ่ายให้ ระหว่างทางลงเขา ผ่านไปเป็นสิบกิโลยังไม่สัญญาณเลย แต่ค่อยยังชั่วหน่อย ระหว่างทางเห็น รถต�ำรวจกับรถพยาบาลขับสวนขึ้นไป คงมีพลเมืองดีแจ้งให้ทราบ เข้าพรรษาคนส่วนหนึ่งชอบเอาเป็นหลักว่าจะขยันกว่าที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พีร์ด้วยค่ะ ว่าจะขยันภาวนาให้มากกว่าเดิม พอมีหลายคนบอกว่าจะเริ่ม ท�ำความดีจริงจังมากขึ้น ฟังแล้วก็เกิดก�ำลังใจฮึกเหิม การสนทนาธรรมกับ กัลยาณมิตรก็ท�ำให้มีก�ำลังใจดีนะคะ หลายคนภาวนาคนเดียวอาจจะอ่อนแอลง ได้บ้าง ลองคุยกับเพื่อน ๆ ดูบ้าง ก็ท�ำให้เกิดก�ำลังใจนะคะ แต่ไม่ใช่คุยมากจน กลายเป็นฟุ้งซ่านไปเลย

12 ธรรมะใกล้ตัว


ช่วงนีม้ เี รือ่ งประทับใจในทางกุศลหลายเรือ่ งเหมือนกันค่ะ แม้เป็นเรือ่ งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อย่ามองข้ามนะคะ วันก่อนไปร้านขายยาข้างธนาคารกรุงเทพในซอยลาดพร้าว ร้อยเอ็ดนี่แหละ จะเจอคุณยายคนหนึ่งแก่มาก นั่งขายถั่วต้มใส่ถุงถุงละสิบบาท มีผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาสวยลงมาช่วยซื้อถั่วคุณยายและไม่เอาตังค์ทอน เห็นแล้วน่า ปลื้มใจมาก ปีติจนมันเอ่อทะลักเลยค่ะ คิดถึงเรื่องนี้ทีไรรู้สึกดีมาก ๆ เลย คุณยายขายถั่วอยู่ในซอยนี้มานานแล้วมั้งคะ ทุกครั้งที่เจอพีร์จะช่วยซื้อตลอด เห็นแล้วสงสารค่ะ เพราะวัยขนาดนี้ไม่น่าจะต้องมาท�ำงาน ควรอยู่บ้านให้ลูก หลานเลี้ยง พีร์ว่าอายุแกคงเจ็ดสิบกว่าย่างแปดสิบ ตัวเล็ก ๆ เดินเข็นรถเข็นมา ทุกเช้า วันนี้ผ่านไปไม่เจอแกเลย กะว่าจะช่วยซื้อหน่อยแต่ไม่เจอ สงสัยฝนจะตก เลยไม่ออกมา พอเห็นอย่างนี้ท�ำให้เห็นความเป็นจริงว่า คนเราพอมีเงินก็ไม่ค่อยจะแบ่งไว้ท�ำบุญ รอให้มีมากขึ้น รวยก่อนค่อยท�ำบุญ คิดกันง่าย ๆ ว่าตอนเริ่มมีเงินก็ไม่ค่อยท�ำ พอมีแล้วจะมีเวลาท�ำหรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะไม่ได้ฝึกเป็นนิสัยให้สืบเนื่องมา ซึ่งการท�ำทาน บางทีก็ไม่จ�ำเป็นต้องใช้เงินเลย ลองเริ่มต้นจากการไม่ใช้เงินดู ใช้เศษข้าวเศษอาหารแบ่งให้หมาแมวข้างถนน อนุโมทนาในการท�ำบุญของคนอื่นดู นอกจากนั้นความเดือดร้อนทางการเงินยังเกิดจากการไม่รู้จักประหยัดอดออมไว้ ยามแก่ ทนต่อกิเลสตัณหาที่ยั่วยุให้อยากได้นั่นอยากได้นี่ไม่ได้ หลงเอาเงินเก็บมา ใช้ตลอด หรือไม่รู้จักเก็บ พอแก่ตัวลงก็ล�ำบาก ปัจจัยส�ำคัญส�ำหรับเรื่องเงินเกิด จาก ๑.ขยัน ๒.บุญ ๓.ปัญญาในการท�ำมาหากิน ๔.เก็บเงินให้เป็นใช้ให้เป็น บางคนขยันท�ำงาน ขยันสร้างกุศลแต่ใช้เงินไม่เป็น เก็บไม่เป็น ใช้เกินตัวตลอด เป็นหนทางสู่ความล�ำบาก สุดท้ายต้องมานั่งพูดแต่ว่า อดีตเคยมีเงินเยอะ เคยหา ได้เยอะ กลายเป็นอดีตไปหมด อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่กตัญญูกับพ่อแม่ ท่านส่งเสียเรียนจนจบ ส่วนหนึ่งลึก ๆ พ่อแม่ทุกคนมีความคาดหวังว่าลูกจะดูแลตัวเองยามแก่ น้อยคนมากที่ไม่คาดหวัง จะให้ลูกมาดูแล หรือบางทีเกิดความคาดหวังไปแล้วเริ่มเห็นเค้าบางอย่างว่าคงไม่ เลี้ยงหรอกก็เริ่มท�ำใจได้กัน

ธรรมะใกล้ตัว 13


กรรมทีไ่ ม่เลีย้ งดูพอ่ แม่ เมือ่ วันหนึง่ ทีต่ นเองต้องมีลกู ก็ทมุ่ เทกับลูกส่งให้เรียนจบสูง ๆ มีเงินเก็บเท่าไหร่ก็ให้ลูกหมด เขาอยากได้อะไรก็ตามใจให้ทุกอย่าง สุดท้าย พอวันหนึ่งแต่งงานมีครอบครัวไปกลายเป็นลืมพ่อแม่ตัวเอง เหมือนกรรมที่ท�ำกับ พ่อแม่ไว้ ตัวอย่างแบบนี้มีให้เห็นเยอะมากเลยค่ะ ไม่ต้องไปดูกันชาติหน้า ชาตินี้ ก็มีให้เห็นลองสังเกตดูรอบข้างตัวเองได้ ดังนั้นต้องด�ำรงชีวิตแบบไม่ประมาท เริ่มต้นประหยัดอดออมเก็บเงิน กตัญญูเลี้ยง ดูพ่อแม่ อย่างน้อยท�ำให้ชีวิตเราไม่ตกต�่ำลงในปั้นปลาย ต่อให้ไม่มีลูกเลี้ยงก็มีเงิน ไว้ใช้ยามแก่ มีเงินหาหมอ จ้างพยาบาลมาดูแลได้ค่ะ

รายการวิทยุออนไลน์ “คุ้ยแคะแกะกรรมกับหมอพีร์” ขอเชิญชวนคุณผู้อ่าน แวะไปร่วมฟังหมอพีร์พูดคุยและคุ้ยแคะแกะกรรม ในบรรยากาศสบาย ๆ ที่ www.goodfamilychannel.com นะคะ ท่านที่สนใจพูดคุยกับหมอพีร์ในรายการ ส่งค�ำถามมาได้ที่ diarymordo@hotmail.com นะคะ หรือติดต่อดูดวงกับหมอพีร์ได้ที่ mor-phee@hotmail.com ๐๘๗-๙๓๔-๗๘๗๑ และ ๐๘๖-๓๐๔-๑๙๒๔ ๓๗๙๘/๘๓ หมู่บ้านสรานนท์ ซอยลาดพร้าว ๑๐๑ ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

สารบัญ 

14 ธรรมะใกล้ตัว


ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ถาม - ท�ำอย่างไรให้มีแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมคะ? แรงจูงใจในการปฏิบัติภาวนาของแต่ละคนนี่ แตกต่างกันออกไปครับ เพราะเรื่องยากมันอยู่ตรงที่ว่า เพื่อได้ข้อเปรียบเทียบว่าเมื่อปฏิบัติได้ผลแล้วดีกว่ายังไม่ปฏิบัติอย่างไร จ�ำเป็นต้องปฏิบัติให้ได้เสียก่อน แล้วจึงรู้ว่าคุ้มแสนคุ้มแค่ไหน ไม่มีใครเอาตัวอย่างจิตที่โปร่งว่าง สุขสบายในตัวเองมาให้คนอื่นดูได้ ไม่มีใครเอาภาพสังสารวัฏมากางให้ดูกันทั่วๆได้ว่าน่ากลัวแค่ไหน แรงจูงใจที่เป็นสาธารณะอย่างหนึ่ง คือส�ำรวจเห็นว่าเรามีความอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน และใจก็ไม่สงบสบาย เป็นทุกข์อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน ถ้าท�ำให้ต้นเหตุความอยากเบาบางลง หรือเหือดแห้งไป ก็จะเป็นอยู่ผาสุกอีกแบบหนึ่ง อันนีค้ งขึน้ อยูก่ บั มุมมองชีวติ ความเห็นทุกข์ของแต่ละคนเป็นองค์ประกอบส�ำคัญครับ ถ้าเห็นชัดขนาดเป็นแรงบันดาลใจได้ ก็นับว่ามีบารมีธรรมมาพร้อมแล้ว แต่ถ้าพิจารณาชีวิตแล้วยังรู้สึกว่าไม่ทุกข์ขนาดเป็นแรงจูงใจให้เอาจริงเอาจังปฏิบัติ อย่างนี้คงต้องพยายามอยู่ในทางปลอดภัยไว้ก่อน เป็นสัมมาทิฏฐิ เชื่อเรื่องบุญกรรม เชื่อเรื่องท�ำใจให้อยู่ในทางลดละปล่อยวางไป เรื่อยๆครับ http://www.larndham.net/egi-bin/kratoo.pl/000756.htm

ธรรมะใกล้ตัว 15


ยารักษาใจ

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ธรรมะจากต้นตะแบก

(เบื้องหลังการเขียนบทความตะวันพรรณไม้) โดย วิลาศินี

16 ธรรมะใกล้ตัว


เหมือนข้าวคอยเคียว ค�ำร้อง / ท�ำนอง กานท์ การุณวงศ์ ขับร้อง เพลินพิศ พูนชนะ * ได้ยินไหมพี่ เสียงนี้คือสาวบ้านนา พร�่ำเพรียกเรียกหาตั้งตานับเวลารอคอย คอยเช้าคอยเย็นไม่เห็นสักหน่อย ปีเคลื่อนเดือนคล้อย รักเอ๋ยมาลอยรักเอ๋ยมาลอยแรมไกล อีกเมื่อไรรักจะคืนรื่นรมย์ ตะแบก บานแล้วร่วง สีม่วงที่พี่ชื่นชม หรีดหริ่งระงมพี่ปล่อยน้องให้ตรมคนเดียว รวงเอ๋ยรวงทองต้องร้างคนเกี่ยว รวงข้าวคอยเคียวน้องนี้คอยเหลียวคอยนับวันรอพี่มา กลับเถิดหนาสาวบ้านนายังคอย (ซ�้ำ)* ฟังเพลง http://www.youtube.com/watch?v=zmCmKZoLtao

ฉันเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับต้นไม้มาเกือบร้อยต้น บางต้นปีนป่ายไปถึงบนภูให้ได้มา บางต้นอาศัยค้นหาเอาตามเว็บไซต์ (เพราะหาต้นจริงทีด่ อกบานในช่วงเวลานัน้ ไม่ได้) แต่บางต้นก็หาได้ง่ายดายแค่จอดรถแวะริมทาง เอ่ยปากถามคนปลูกคนเลี้ยง ว่านี่ต้นอะไร แล้วค่อยมาค้นหาคุณสมบัติเพื่อน�ำมาเขียนเป็นบทความทีละต้น ตะแบก เป็นอีกต้นที่ฉันใช้วิธีสุดท้าย คือจอดรถ แล้วลงไปถามคุณลุงที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเอาดื้อๆ ว่านี่ต้นอะไร (ในใจนึกถึง ๒ ต้น ตะแบกกับอินทนิล แต่ดูลายบนต้นแล้วน่าจะเป็นตะแบก

ธรรมะใกล้ตัว 17


มากกว่า) คุณลุงตอบด้วยน�้ำเสียงสดใสว่า “ต้นตะแบก เคยได้ยินไหม ...ตะแบกบานแล้วร่วงงง...” ฉันฟังแล้วก็ยิ้มๆ ขอบคุณและถ่ายรูป ลุงคอยดูรถราให้แล้วเราก็จากกันโดยต่างฝ่ายไม่รู้ชื่อ : ) ฉันมะงุมมะงาหราอยูน่ าน ก่อนจะได้ขอ้ มูลทัง้ หลาย ไม่วา่ จะเป็นเนือ้ เพลงและชือ่ ผูแ้ ต่ง เพลงลูกทุ่งเก่าแก่สมัยคุณย่าคุณยาย ที่ฟังใหม่ ก็กลับมาทันสมัยขึ้นมาใหม่ (นี่ล่ะ ที่เรียกว่าเพลงอมตะอย่างไรเล่า) หรือข้อมูลทางวิชาการทั้งหลายที่ฉันเองก็ ต้องรื้อใหม่ทั้งหมด ตะแบกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lagerstroemia floribunda Jack อยู่ในวงศ์ LYTHRACEAE เช่นเดียวกับอินทนิลบก อินทนิลน�้ำ และเสลา (อีก ๓ ชนิดหลัง ก็มีชื่อวิทยาศาสตร์ขึ้นต้นด้วย Lagerstroemia เช่นกัน แต่ชื่อตัวจะต่างกันไป ได้แก่ อินทนิลน�้ำ คือ Lagerstroemia speciosa (Linn.) Pers. อินทนิลบกคือ L. macrocarpa Wall. ex Kurz และเสลา คือ L. loudonii Teysm. et Binn. แต่ละต้นจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะเรือนยอด ล�ำต้น ดอก ใบ ที่เห็นจะน�ำมาสาธยายไม่หมด ฉันเลยขอพูดถึงตะแบกเพียงต้นเดียว : ) ตะแบกเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสระบุรีเลยเชียวล่ะ มีชื่ออื่นเรียกต่างกันไปอีกตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ตะแบกนา ตะแบก(ภาคกลาง, นครราชสีมา), กระแบก(สงขลา), ตราแบกปรี้(เขมร), ตะแบกไข่(ราชบุรี, ตราด), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู(มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา(ล�ำปาง), เปื๋อยหางค่าง(แพร่) เป็นต้น ลักษณะเด่นของตะแบกเป็นไม้ต้นผลัดใบ ล�ำต้น สูงประมาณ ๑๕ - ๓๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามา เปลือกเรียบเกลี้ยงคล้ายกับต้นฝรั่ง สีเทาอมขาว และมีจุดด่างขาวๆอยู่ตามล�ำต้น โคนต้นมีรากเว้าลึกจากดิน

18 ธรรมะใกล้ตัว


ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง ๕ - ๗ เซนติเมตร ยาว ๑๒ - ๒๐ เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอก สีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกหนึ่งมี ๖ กลีบ ผล รูปรี ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น ๖ ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน ๑ ปีก เปลือกของต้นตะแบกมีคณ ุ ค่าทางสมุนไพรคือใช้ปรุงเป็นยาแก้บดิ ลงแดง และมูกเลือด ทั้งยังเป็นไม้มงคลที่คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นตะแบกไว้ประจ�ำบ้าน จะท�ำให้มีฐานะสูงขึ้นและมีความมั่นคงแข็งแรง (น่าจะมาจากชื่อต้นที่มีค�ำว่า แบก คือ การยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต�่ำ จะว่าเป็นการเล่นค�ำของคนโบราณก็ไม่ผิดนัก) ฉันเขียนมาถึงตรงนี้แล้วนึกถึงน�้ำเสียงสดชื่นของคุณลุงที่บอกอย่างอารมณ์ดีว่า “เคยได้ยินไหม ตะแบกบานแล้วร่วง” แล้วเคาะแป้นพิมพ์ปิดจบบทความว่า...

แต่ตัวต้นตะแบกนั้นแสดงสัจธรรมให้เห็นอย่างหนึ่งชัด คือดอกเขาบานแล้วร่วง แท้จริงควรปลูกไว้สอนใจว่า ชีวิตคนเรา ย่อมมีทั้งได้ลาภเสื่อมลาภ ได้ยศเสื่อมยศ มีถูกสรรเสริญ และมีถูกนินทาว่าร้าย เหมือนช่วงเวลาดอกตะแบกบานให้ชื่นตาชื่นใจแล้วร่วงโรยไป และไม่ช้าก็บานให้เห็นอีก (และร่วงลงไปอีกเช่นกัน) เมื่อเข้าใจในสัจธรรมข้อนี้ ย่อมไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ในลาภ ยศ สรรเสริญ ที่จรมาและจรไปให้เห็นอยู่เสมอ

ธรรมะใกล้ตัว 19


ต้นไม้เขาแสดงธรรมให้เห็นอยู่ซ�้ำๆ หรือเรามัวแต่ ชื่นชมความงามของดอกไม้เสียเพลิน จนลืมความจริงข้อนี้

นั่นอย่างไรเล่า คุณอาบก.ที่รักคงก�ำลังส่ายหน้า เจ้าคนเขียนบทความบทนี้ อย่าให้มีจังหวะทีเดียว มันแทรกธรรมะเข้ามาจนได้สิน่า ... ขอบคุณค่ะคุณลุง .... : )

สารบัญ 

20 ธรรมะใกล้ตัว


ธนาคารความสุข อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ยุง เรื่องคัน เรื่องเกา เรื่องเก่า

โดย aston27

ในรายชื่อของสัตว์ที่ผมไม่อยากอยู่ใกล้นั้น มีงูน�ำหน้ามาก่อนแล้วตามติดๆมาด้วยยุงครับ เคยมีค�ำกล่าวที่สะท้อนพลังยิ่งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่ายุงว่า “ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเล็กเกินกว่าจะสร้างความแตกต่างให้ชีวิตหนึ่งได้ นั่นแปลว่าคุณยังไม่เคยอยู่ในห้องมืดๆกับยุง” ผมมีปกติเป็นคนนอนง่ายครับ หัวยังไม่ถึงหมอนก็ไปขอพรพระอินทร์แล้ว แต่ถ้าในห้องนอนดันมียุงขึ้นมาสักตัวสองตัว คืนนั้นจะเปลี่ยนเป็นฝันร้ายทันที

ธรรมะใกล้ตัว 21


ยุงก็เหมือนคนนะครับ มีตัวที่นิสัยดี สุภาพ มีตัวที่เกเร ขี้โวยวาย ยุงที่สุภาพ จะขี้เกรงใจเรา จะดูดเลือดทีแกจะบินวนยี่สิบรอบ ยุงที่ขี้โวยวาย จะชอบบินมาท�ำเสียงวี้ๆๆ บ่นว่าหิวโว้ยๆๆ ชวนทรมานใจอยู่ข้างหู ผมเคยเจอยุงที่ศูนย์ฝึกอบรมของ กฟผ.บางปะกง ถึงได้ความรู้ใหม่ว่า ยุงน�้ำกร่อยเป็นยุงที่หน้าด้านมากๆ คือถ้าเขาจะเกาะก็เกาะได้ ไม่แคร์สื่อ โดยจะไม่สนใจว่าเราจะยกมือ (ขู่จะ) ตบ จะตี จะปัด จะไล่ อย่างไร แล้วเขาไม่มีมาแอบๆกัดเหมือนยุงทั่วๆไปนะ บินมาถึงแกจะโผมาเกาะหน้าแบบไม่เกรงใจ แล้วตั้งหน้าดูดเลือดอย่างเดียว ถ้าเป็นคนก็น่าจ้างไปท�ำงาน ปตท.สผ. ส�ำรวจขุดเจาะน�้ำมัน ท่าจะรุ่ง ต่างจากยุงที่บ้านผมที่มักจะกัดผมเป็นตุ่มเล็กๆ แต่คันอย่าบอกใครเชียว ที่น่าแปลกคือ ตุ่มยุงกัดบ้านผมนี่จะอยู่นานข้ามหลายวัน ที่ว่าข้ามหลายวันนี่ ตอนนี้ผมมีตุ่มนึง ล่วงเข้าวันที่ ๖ แล้วยังอยู่ครับ ถ้าไม่ไปสนใจอะไรมัน ก็เหมือนจะลืมๆไปว่ามีตุ่มยุงกัด แต่ถ้าไปลูบโดน ไปสัมผัส ไปเกาเข้าเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละ คุณเอ๊ยยยย ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน แบบนั้นเลย ชีวิตจริงของคนเราไม่ได้มีแต่เรื่องเกาหรอกนะครับที่ท�ำให้คัน บางทีเรื่องเก่าๆ มันก็ท�ำให้คันใจได้เหมือนกัน บางเรื่องเวลาผ่านไปนานหลายปี นึกว่าจะลืมๆไปแล้ว วันดีคืนดี มีอะไรมาสะกิดสะเกา เราก็กลับมาคันเพราะเรื่องเก่าๆนั่นอีก อาจจะด้วยเพราะค�ำพูดของใครบางคน ค�ำถามบางอย่าง ของอะไรสักอย่าง สถานที่บางแห่ง ความทรงจ�ำมันก็ผุดขึ้นมาได้เอง ราวกับเห็ดป่าหน้าฝน บางคนเลือกจะจมแช่อยู่กับเรื่องเก่าๆเหล่านั้น แล้วนอนแผ่แช่ทุกข์ บางคนเลือกจะกดข่มไว้หวังจะให้ใจมันลืม แต่มันก็ไม่ลืมสักที

22 ธรรมะใกล้ตัว


ลองวิธีแบบชาวพุทธสักทีดีไหมครับ มีสติรู้เท่าทันใจตัวเองไว้ เรื่องเก่าๆ มันก็เป็นแค่ความคิดนึก ความทรงจ�ำของวันเก่า แค่รู้ว่า ใจมันนึกถึง รู้ทัน แล้วไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน รู้ทันแล้วไม่ชอบ รู้ว่าใจไม่ชอบ รู้ทันแล้วอยากลืม รู้ว่าใจอยาก มันจะดับไปแล้วดื้อด้านคิดใหม่ ก็ไม่เป็นไร จิตมันมีหน้าที่คิด เรามีหน้าที่ดู ต่างคนต่างมีหน้าที่ เราก็อย่าไปก้าวก่ายจิต อย่าไปสั่งห้ามมันคิด ถ้าเข้าใจหลักการเจริญสติ อยู่กับปัจจุบันแบบนี้ เรื่องเก่าๆจะถูกจิตขุดมาเล่ากี่เรื่องก็ไม่น่ากลัว เผลอๆกลายเป็นดี เพราะได้ล้างป่าช้ากันไปสักที เริ่มเรื่องยุง มาจบที่ป่าช้า ความคิดผมนี่มันอนิจจังจริงๆ ฮาฮา...

สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 23


เรื่องสั้นอิงธรรมะ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ดอกไม้ในดวงวิญญาณ (ตอนจบ) โดย ชลนิล

เขาก�ำลังนั่งอยู่ริมท่าน�้ำของบ้านทรงไทยหลังหนึ่ง มีแพรตะวันนั่งพับเพียบอยู่ข้างๆ ส่วนด้านหลังเขาเป็นล�ำน�้ำที่ไหลเอื่อยๆ มีหมอกขาวลอยเรี่ยอยู่ด้านบน “นี่พ่อฝันไปหรือเป็นความจริง” ใบหน้า รูปร่างของแพรตะวันเป็นเหมือนเดิม ไม่ผิดจากลูกสาวคนเดิมของเขา ไม่มีร่องรอยของซากศพผมขาวโพลนที่สร้างความ สะพรึงกลัวแก่ขาอีกต่อไป “อย่าสนใจมันเลยค่ะพ่อ” หล่อนตอบ “พ่อตกมาจากสะพาน แล้วก็มาขึน้ ฝัง่ ทีน่ ”ี่ “ใช่...พ่อหนีพวกมัน” เขาจ�ำได้ “แล้วพ่อคิดว่าหนีพ้นหรือคะ” เขาอึ้ง เหลียวกลับไปมองสะพานที่เห็นอยู่ลิบๆ หลังสายหมอก “คงไม่” เขาตอบอย่างจ�ำยอม ไม่มีใครหนีกรรมของตัวเองพ้น เป็นครั้งแรกที่แพรตะวันยิ้ม รอยยิ้มที่ไม่ต่างจากเคยยิ้มให้เขา “หนูดีใจที่พ่อยอมรับ” “พ่อเหมือนกับได้ผ่านความตายมาแล้ว มันท�ำให้เข้าใจอะไรได้มากขึ้น” เขาพูด “แล้วพ่อคิดว่าจะชดใช้ให้กับพวกเขาอย่างไร” เขาเงียบ เหม่อมองออกไปในสายน�้ำ เนิ่นนานกว่าจะพึมพ�ำเบาๆ “ชีวิตพ่อชีวิตเดียว จะชดใช้ให้พวกเขาพอไหม” “ทีจ่ ริง มันไม่ได้อยูว่ า่ พอหรือไม่พอ แต่เวลานี้ แค่แพรได้รวู้ า่ พ่อสามารถส�ำนึกผิด แพรก็ดีใจแล้ว”

24 ธรรมะใกล้ตัว


ส�ำนึกในความผิด...แท้ที่จริง เขาไม่อยากใช้ค�ำนี้กับตนเองเลย เพราะความรู้สึกที่ เกิดขึ้นในใจ มันเกินกว่าค�ำว่าส�ำนึก...เขาไม่เพียงแต่แลเห็นความผิดของตน เขายังเจ็บปวดและเป็นทุกข์ในยามทีร่ ะลึกถึง ความรูส้ กึ เหล่านีก้ อ่ ตัวขึน้ มานานแล้ว ตั้งแต่วันที่แพรตะวันเสียชีวิต จนมาปะทุรุนแรงก็เมื่อก�ำลังอยู่ระหว่างความเป็น ความตาย “ใช่ พ่อยอมรับ” เขาตอบ “ถ้างั้น แพรอยากให้พ่อได้พบกับคนคนหนึ่ง” จบค�ำพูด เขาก็มองเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งเดินมายังท่าน�้ำ แพรตะวันเบี่ยงตัวเล็ก น้อยเป็นช่องให้ชายคนนั้นเข้ามานั่งเคียงข้าง เขารู้ดีว่า อย่างไรก็คงต้องได้พบ เวลานี้สิ่งที่ดีที่สุดคือ ได้พูด ในสิ่งที่สมควรพูด มานาน “ถึงตอนนี้พ่อคิดว่า ค�ำขอโทษ คงไม่มีประโยชน์อะไรส�ำหรับลูกกับเขาอีกแล้ว แต่ถึงอย่างไร พ่อก็ขอโทษ ส�ำหรับทุกสิ่ง” “ท่านเป็นพ่อของผู้หญิงที่ผมรัก” ชายหนุ่มพูดขึ้นด้วยท่าทางปกติ ไม่มีทีท่า คุกคามเช่นตอนอยู่บนสะพาน “ถึงผมจะโกรธ และชิงชังในการกระท�ำของท่าน แต่ผมก็ไม่มีสิทธิเกลียดท่าน” แพรตะวันยิ้ม มองใบหน้าคนรักด้วยแววหวาน เป็นแววตาที่ผู้เป็นพ่อมองเห็นแล้ว จึงกระจ่างแก่ใจ ต่อให้ท�ำอย่างไรเขาก็ไม่มีทางแยกสองหนุ่มสาวนี้ออกจากกันได้ “แล้วลูกกับเขาต้องการให้พ่อท�ำอะไร” เขาถามด้วยความแปลกใจในเรื่อง พิลึกพิลั่นที่ก�ำลังประสบ “พวกทีอ่ ยูบ่ นสะพานต้องการให้พอ่ ชดใช้ ส่วนลูกกับเขา แค่อยากให้พอ่ ยอมรับเรา”

ธรรมะใกล้ตัว 25


เขาพยักหน้า พร้อมกับทอดสายตามองไปทางสะพาน แว่วเสียงเรียกร้องขอความ ยุตธิ รรมลอยมากับสายลม มาถึงบัดนีเ้ ขาจดจ�ำเสียงเหล่านัน้ ได้ทกุ เสียง ศัตรู ลูกน้อง กระทั่งเพื่อนสนิท... มือของเขาราลงไปยังสายน�ำ้ สัมผัสถึงความเย็นเฉียบก่อนจะใช้อกี มือช่วยวักน�ำ้ ขึน้ มา “เวลานี้ พ่อท�ำได้แต่เพียงรดน�้ำแสดงความยินดีกับลูก” สองหนุ่มสาวยิ้มเต็มที่ พร้อมกับหมอบราบ ยื่นมือพนมออกไปเบื้องหน้า มือที่กอบน�้ำสั่นน้อยๆ ขอบตาร้อนผ่าวด้วยความตื้นตัน “พ่อเสียใจ กับสิ่งที่เคยท�ำลงไป...แต่ถึงอย่างไร พ่อก็ขอให้ลูกมีความสุขตลอดไป” “ค่ะ...” เสียงตอบรับแผ่วเครือ น�้ำที่รินรดอุ่นขึ้นเรื่อยๆ “ส�ำหรับเธอ” เขาพูดกับชายหนุ่ม ขณะที่รินน�้ำที่เหลือในมือลงไปอย่างช้าๆ “ฉันขออโหสิได้ไหม” ใบหน้าที่ก้มต�่ำเงยขึ้นช้าๆ ความสดใสฉาบเรื่ออยู่ในดวงตาชายหนุ่ม “ครับ” มีคนเคยบอกว่า...หากจะหายแค้น ต้องล้างแค้น...แต่ทว่ากลับมีบางสิ่งสามารถ ท�ำให้จิตใจคลายจากความอาฆาตแค้นได้โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ... สิ่งนั้นคือ... “อโหสิ” ชั่ววินาทีนั้น เขารู้สึกเหมือนโซ่ตรวนที่พันธนาการจิตใจ ได้ถูกปลดออกพร้อมกับ ค�ำพูดสั้นๆ นี้เอง... “ท่านครับ ท่าน” เสียงเรียกเบาๆ อย่างเกรงใจดังขึ้น เขาสะดุ้งเฮือกลืมตา งุนงง

26 ธรรมะใกล้ตัว


“มีอะไร” เสียงติดจะแหบ หากส่วนลึกในใจมีความก�ำซาบบางอย่างเกิดขึ้น “เราพ้นซอยออกมาถึงถนนใหญ่แล้วครับ ผ่านไฟแดงข้างหน้า เราก็จะถึงที่หมาย” เขาเอนหลังพิงเบาะ...สิ่งที่ได้พบเห็น เป็นเพียงความฝันเท่านั้นเองหรือ? ขณะที่เกิดความลังเล ความชุ่มเย็นที่อยู่ในฝ่ามือก็กระตุ้นความรู้สึก...หยาดน�้ำยัง ค้างคาอยู่ในมือ ไม่มีสิ่งใดให้สงสัยอีก เขาระบายลมหายใจยาว รอยยิ้มที่ห่างหายไปนานได้ผุดขึ้นบนใบหน้าอีกครั้ง... เขาสามารถได้รับการอโหสิจากลูกสาวและลูกเขยแล้ว...แต่กับผู้คนอีกนับสิบ เขาจะท�ำอย่างไร จึงจะพอชดเชยความผิดแก่พวกเขาได้ “เฮ้ยชิด จอดรถเข้าข้างทางให้หน่อย” เขาบอกกับคนขับรถ “ครับ” ความที่รับใช้กันมานาน ท�ำให้รู้ว่า เมื่อนายสั่ง ห้ามสงสัย รถยนต์คันใหญ่เข้าจอดตรงบริเวณหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ ริมถนน “ธง ลงไปหาซื้ออะไรให้กินรองท้องที เวลายังเหลืออีกเยอะไม่ใช่หรือ” จากนั้น หันไปสั่งอีกคน ชายหนุ่มคนสนิทรับค�ำ ก่อนลงจากรถ...เขาออกจะแปลกใจเล็กน้อยแต่ไม่กล้าถาม ภายในรถมีแต่ความเงียบงัน หากนายไม่พูด ไม่มีใครกล้าชวนคุย “เมียเพิ่งคลอดลูกวันนี้ใช่ไหม” ค�ำถามลอยๆ “ครับ” คนขับรถตอบจ�ำเป็นต้องตอบ เพราะอยู่ในรถกันสองคน “ลูกชายหรือลูกสาวล่ะ” “ลูกชายครับ” “เห็นหน้าลูกหรือยัง”

ธรรมะใกล้ตัว 27


“ยังครับ” เขาอยู่คอยรับใช้ทั้งวัน มีเวลาปลีกตัวถามข่าวลูกได้ก็บุญแล้ว “งั้นหรือ” คนเป็นนายพึมพ�ำ “ถ้าอย่างนั้นก็รีบไปดูลูกได้แล้ว” “อะไรนะครับ” เป็นค�ำสั่งที่ผู้ฟังออกจะงุนงง “ลงจากรถ แล้วรีบไปดูลูกที่โรงพยาบาล” คนสั่งย�้ำอีกครั้ง ผู้ฟังยังสองจิต สองใจ เรื่องอยากไปนั้นแน่นอน แต่แปลกใจในค�ำสั่งมากกว่า “ไม่ได้ยินหรือ” เมื่อได้ยินอย่างนี้ ทางที่ดีสุดคือท�ำตาม “ขอบคุณครับท่าน” เขารีบเปิดประตูลงจากรถ “เดี๋ยว” เสียงเรียกตามหลัง พอเขาหันกลับมาจึงเห็น “ท่าน” ยื่นมือมานอกรถ “ฉันให้รับขวัญ...เด็ก...” สิ่งที่อยู่ในมือเป็นเงินปึกโต “ขอบคุณครับ” ลับเงาหลังคนขับรถ เขาเอื้อมมือหยิบโทรศัพท์ด้านหน้าขึ้นกดหมายเลขอันคุ้นเคย “สวัสดีครับผูก้ ำ� กับ” เขาพูด “คราวนีไ้ ม่ได้มเี รือ่ งรบกวนเกีย่ วกับเด็กของผมหรอก” น�้ำเสียงเขาราบเรียบ เมื่อกล่าวถึงประโยคต่อไป “ผมมีข่าวบางอย่างจะบอกผู้ก�ำกับ ข่าวนี้อาจท�ำให้ผู้ก�ำกับและลูกน้องได้เลื่อนขั้น ยกทีมกันก็ได้” เขาหัวเราะเบาๆ “เวลานี้มีการรวมพลใหญ่ ของเอเย่นต์ค้ายาฯ ระดับบิ๊ก ในงานมีการแลกเปลี่ยน สินค้ากันบ้าง ไม่มากไม่น้อยส่วนสถานที่...” เขาบอกชื่อสถานที่อย่างช้าๆ ชัดเจน “ผู้ก�ำกับจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่อย่าถามผมว่า ท�ำอย่างนี้เพื่ออะไร เวลานี้ผม หมดเรื่องแล้ว...สวัสดี” วิธีที่คนขี่หลังเสือ จะลงจากหลังมันได้...ถ้าไม่ท�ำให้เสือกลัว ก็ต้องฆ่าเสือ

28 ธรรมะใกล้ตัว


เสือตัวนี้ สร้างสิ่งต่างๆ แก่เขามากมาย หากฆ่ามัน เขาต้องสูญเสียทุกอย่างลง ทันที...แต่เขากลับไม่รู้สึกเสียดายสิ่งใดแม้แต่น้อย... คนเรา กระทั่งชีวิตยังไม่เสียดาย ยังมีสิ่งใดในโลกที่ผูกพันเขาได้อีก... “พ่อรู้ว่าสิ่งที่ท�ำไปนี้ ยังไม่เพียงพอต่อการชดใช้บาปผิดของพ่อได้” เขาพูดลอยๆ ภายในรถกว้างที่อ้างว้าง ด้านนอก ผู้คนขวักไขว่ แต่ภายในกลับเงียบ ไร้เสียงตอบรับราวกับเป็นโลก ส่วนตัว อากาศเย็นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เพิ่มความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ละอองหมอกขาวค่อยๆ ก่อตัวขึ้นท่ามกลางความว่างเปล่าที่เบาะด้านข้าง “แพร...” เขายิ้มรับเมื่อเห็นร่างรางๆ กลางสายหมอก “ไปกันหรือยังคะคุณพ่อ” แพรตะวันนั่งอยู่เบาะหลังเคียงข้างเขา ส่วนด้านหน้า เขาได้คนขับรถใหม่ เป็น ชายหนุ่มที่เขาเพิ่งรับเป็นลูกเขย “ไปสิลูก” จะให้เขาไปที่ไหน เขายินดีไปทั้งสิ้น...ส�ำหรับคนที่ส�ำนึกในความผิดของตนแล้ว ไม่ว่าจะต้องท�ำอย่างไร เพื่อชดใช้บาปผิดของตน เขาล้วนยินยอมกระท�ำด้วยความ เต็มใจ... ธง...คนสนิทของ “ท่าน” เดินกลับมาที่รถพร้อมของว่างใส่ถาดเล็กๆ เมื่อเขา เปิดประตูออกมา เขาก็ไม่พบผู้เป็นเจ้านายเสียแล้ว ในนั้น...มีแต่ละอองหมอกขาว ที่ลอยเอื่อยๆ หลากไหลราวกับสายน�้ำ เช้าวันรุ่งขึ้น มีพาดหัวข่าว การจับกุมกลุ่มเอเย่นต์ค้ายาเสพติดรายใหญ่จ�ำนวน หนึ่ง พร้อมด้วยของกลางมูลค่ามหาศาล ผู้ต้องหากล่าวซัดทอดกันไปมา

ธรรมะใกล้ตัว 29


จนท�ำให้ทราบว่า...หัวหน้าใหญ่ในกลุ่มเอเย่นต์จริงๆ เป็นบุคคลส�ำคัญคนหนึ่ง ในวงสังคมและคนคนนั้นยังไม่ถูกจับ เขาหายสาบสูญไปในคืนวันเกิดเหตุ ทิ้งสมบัติพัสถานมากมายไว้โดยไม่เสียดาย... ไม่มีใครรู้ว่า “ท่าน” ผู้ยิ่งใหญ่คนนั้นหายไปไหน... บางข่าวบอกว่า ท่านผู้นี้ได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว บ้างก็ว่า ท่านถูกสังหารและท�ำลายศพเรียบร้อย บางทีก็มีข่าวว่า ท่านได้ไปอยู่กับเพื่อนสนิท ที่เป็นถึงระดับสุลต่านทรงอ�ำนาจคน หนึ่ง... เนิ่นนานหลายปี...มีบางคนได้พบพระภิกษุแก่ๆ รูปหนึ่งที่วัดป่าอันห่างไกลและ กันดาร...ท่านไม่ค่อยพูดจากับใคร ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย จนผู้พบเห็น มักเกิดความเคารพศรัทธา ท่านไม่เคยเล่าถึงอดีตของตน แต่หากมีใครไต่ถามท่าน ว่า...”ท่านมาบวชด้วยเหตุผลใด”...ท่านก็จะตอบเพียงไม่กี่ค�ำว่า... ”เพื่อชดใช้...สร้างกรรมดีและยังประโยชน์แก่พวกเขา”

ดอกไม้ในดวงวิญญาณ เป็นเรือ่ งสัน้ ทีไ่ ด้รบั การรวมเล่มในหนังสือรวมเรือ่ งสัน้ เร้นลับ “ลางมายา” โดย ชลนิล

สารบัญ 

30 ธรรมะใกล้ตัว


สัพเพเหระธรรม อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

แผนสอง (inochi no poka-yoke) โดย malimali

ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๓ แผนปฏิบัติ ขั้นที่ ๑ – ฝึกให้“เห็นเรา”

ประโยชน์ที่ได้จากการสังเกตเห็น “เรา” ๑ ได้ฉุกคิด ก่อนที่จะไหลไปตามอารมณ์ ท�ำให้การคิดก่อนท�ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยั้งคิดได้ว่า เอ๊ะ ที่สั่งมาเนี่ย มันเข้าท่าหรือเปล่า? ๒ ได้เห็นว่า จริงๆก็ไม่เห็นต้องท�ำตามค�ำสั่งตลอด

ธรรมะใกล้ตัว 31


ไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องท�ำตามที่โดนผลักให้ท�ำนู่นท�ำนี่ไปซะทุกอย่างก็ได้นี่นา! ๓ ได้เห็นว่า จริงๆอารมณ์หรือความคิดที่เกิดขึ้น มันไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกับ “เรา” นี่นา เข้าใจผิดมาตั้งนาน โถ่! ๔ ได้เห็นว่า แค่เริ่มท�ำตามแผนสอง ขั้นที่ ๑ นี้ไปสักระยะ ก็เหมือนเราอยู่กับความขึ้นๆลงๆกับเรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามา ได้มากขึ้นอย่างน่าประหลาดเหมือนกันแฮะ!

32 ธรรมะใกล้ตัว


เคล็ดไม่ลับในการฝึกสังเกตเห็น “เรา” ให้เก่งขึ้น ฝึกระลึกดูบ่อยๆ เริ่มฝึกด้วยการให้สังเกตว่า เรามักจะเห็น “เรา” ตอนไหน ที่ไหนง่ายสุด ก็ให้พยายามหาโอกาสแบบนั้นเพื่อจะได้จุดสตาร์ทติดเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ใช่รอแต่เวลานั้นเผื่อฝึกนะ ก็ฝึกได้ตลอดนั่นแหละ ฝึกดูทั้งตอนที่ “มีเรา” และ “ไม่มีเรา”

เพิ่มก�ำลังในการรู้ทัน ถ้าเป็นคนสมาธิสั้น หรือเป็นคนเมืองที่เคยชินกับการมีอะไรจุกจิก วุ่นวายรอบตัว ก็มักเป็นคนที่ก�ำลังในการรู้ทันอ่อน เพราะสิ่งรบกวนเยอะแยะมากมาย จะว่าดีก็ดีเพราะจะได้ฝึกดู “เรา” ในหลายๆแบบ แต่ในตอนที่เพิ่งเริ่มเข้าเนอสเซอรี่ อนุบาล ไปเจอสนามประลองระดับโอลิมปิก ก็อาจจะโหดเกินไป

ธรรมะใกล้ตัว 33


ให้หาเวลาและสถานที่ที่มีความวุ่นวายน้อย เช่น ในห้องตัวเองก่อนนอน หรือตอนตื่นเช้า แล้วฝึกสมาธิตามแบบที่ถนัด เช่น จดจ่อกับลมหายใจ นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือจะท�ำกิจกรรมอื่นๆเพื่อฝึกให้ใจตั้งมั่นไม่วอกแวกง่ายตามไลฟ์สไตล์

ไม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อจะให้เห็น “เรา” การตั้งใจดักดู “เรา” มากไป ท�ำให้เราไม่เห็น “เรา” ที่แท้จริง ไม่ต่างอะไรกับการยืนในสระว่ายน�้ำแล้วมองเท้าตัวเอง ซึ่งก็ได้เห็นแต่ภาพเท้าที่บิดเบี้ยวไปมา แถมระยะห่างก็เพี้ยนไปอีก การ ดักดู ไม่เหมือนกับการ ตามดู ตรงที่ ดักดูเหมือนจะพยายามคาดเดาไปก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่า เราเลี้ยงเด็ก แล้วเราจ้องตลอดเวลา

34 ธรรมะใกล้ตัว


เพราะกลัวเด็กจะล้ม จะเอานิ้วจิ้มขี้หมา จะฉี่ราดแพมเพิร์ส สรุปว่า เด็กต้องอยู่เฉยๆ กระดิกไม่ได้เลย ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของเด็ก แต่ตามดู จะปล่อยเด็กให้วิ่งเล่นตามอิสระ แต่ป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิด เช่น ตักขี้หมาออกก่อน พาไปฉี่ก่อน แค่นั้น และไม่ต้องคาดหวังว่าจะเห็น “เรา” ในทุกครั้งที่ดู ดูแล้ว “มีเรา” ก็รู้ “ไม่มีเรา” ก็รู้ไป

การฝึกเห็นเรา ท�ำได้บ่อยเท่าวันเวลาเปิดบริการของเซเว่น เห็น”เรา”บ่อยๆ ก็ยิ่งช�ำนาญ อีกหน่อยพออะไรเกิดขึ้นปั๊บ ก็เห็นปุ๊บ ไม่ต้องรอเลิกงาน กลับบ้าน อาบน�้ำ ประแป้ง เปิดแอร์ก่อน แล้วค่อยฝึก

ธรรมะใกล้ตัว 35


ตอนไหนก็ฝึกได้ทั้งนั้น ยกเว้นตอนก�ำลังใช้สมาธิท�ำงาน เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน ท�ำงานผิดพลาดขึ้นมา เดี๋ยวจะพาลเอาหนังสือปาใส่หัวหมา เดือดร้อนหมาอีก

เห็น “เรา” ทางไหนก่อนก็ได้ แขนมีสองข้าง ข้างซ้ายกับข้างขวา เรายังถนัดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ทางที่จะฝึกเห็น “เรา” ก็เช่นกัน เราก็ไม่ได้ถนัดฝึกเท่ากันทุกทาง โดยทั่วไปแล้ว การฝึกเห็น”เรา” ทางร่างกาย จะเป็นอะไรที่ง่ายสุด

36 ธรรมะใกล้ตัว


เพราะเราเห็นร่างกาย การขยับของร่างกายอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าท�ำบ่อยๆ เราก็มักจะฉุกคิดขึ้นมาดูร่างกายแทบจะอัตโนมัติ แต่ถ้าถนัดเห็นความรู้สึกมากกว่า ก็ฝึกทางนั้นให้บ่อยๆ และท�ำให้มาก ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำให้หมดทุกทางเท่าๆกัน ก็น�ำพาไปให้เห็น “เรา” เหมือนกันได้ ที่ส�ำคัญคือ ถ้า “มีเรา” ก็ให้รู้ว่าตอนนั้น “มีเรา” ถ้าดูแล้ว “ไม่มีเรา” ก็ให้รู้ว่า ตอนนั้น “ไม่มีเรา”

เมื่ออยู่ๆก็ไม่รู้จะเห็น “เรา” ทางไหนดี ก่อนอื่นให้รู้ก่อนว่าตอนนี้ “ไม่รู้” หรือ “สงสัย” ว่าจะเห็น”เรา”ทางไหนดี ถ้าตามรู้ตรงนี้ทัน ความรู้สึก “สงสัย” ก็จะหายไป จากนั้นก็กลับมาที่จุดเริ่มต้นของแต่ละคน กรุงเทพมีจุดเริ่มต้นกิโลเมตรที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิฉันใด การฝึกดูใจ ก็มีจุดเริ่มต้นเช่นกัน ซึ่งอยู่ที่สิ่งที่เราถนัดดูที่สุด บางคนถนัดดูลมหายใจ ก็กลับมาตั้งต้นที่ลมหายใจ

ธรรมะใกล้ตัว 37


บางคนถนัดดูโพสนั่ง ก็ดูร่างกายโพสนั่งไป บางคนถนัดดูความรู้สึก ก็ดูความรู้สึกไป พอเริ่มตั้งตัวจากจุดเริ่มต้นได้แล้ว ทีนี้อะไรที่เด่นแปร๋นขึ้นมา ไม่ว่าจะทางร่ายกาย ความรู้สึก ลักษณะใจ ก็รู้มันไป จะ “มีเรา” หรือ “ไม่มีเรา” ก็ดูกันไป

อ่านย้อนหลังได้ที่นี่ ตอนที่ ๑ http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_ content&view=article&id=227%3A2010-04-28-17-2619&catid=38%3Amiscel&Itemid=27 ตอนที่ ๒ – ๓ http://www.dharmamag.com/index. php?option=com_content&view=article&id=234%3A2010-05-12-17-5952&catid=38%3Amiscel&Itemid=27

38 ธรรมะใกล้ตัว


ตอนที่ ๔ http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_ content&view=article&id=237%3A2010-05-25-15-3110&catid=38%3Amiscel&Itemid=27 ตอนที่ ๕ http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_ content&view=article&id=255%3A2010-06-23-17-2757&catid=38%3Amiscel&Itemid=27 ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๑ http://www.dharmamag.com/index. php?option=com_content&view=article&id=266%3A2010-07-07-17-0800&catid=38%3Amiscel&Itemid=27 ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๒ http://www.dharmamag.com/index. php?option=com_content&view=article&id=275:2010-07-21-16-0852&catid=38:miscel&Itemid=72 ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๓ (ก�ำลังอ่านอยู่ตอนนี้) ตอนที่ ๗ (ติดตามได้ในตอนต่อต่อไป) ตอนที่ ๘ (ติดตามได้ในตอนต่อต่อไป)

สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 39


ร่วม​ส่ง​บทความ นิตยสาร​เล่มน​ จ​ี้ ะ​เป็นน​ ติ ยสาร​คณ ุ ภาพ​ได้ ก็ด​ ว้ ย​เนือ้ หา​ ดี​ ๆ ภายใน​ฉบับ​ที่​จัดสรร​ลง​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​นะ​คะ

ได้ฝ​ กึ ร​ เิ ริม่ ว​ ลีส​ ะดุดใจ ซึง่ เ​ป็นแ​ ม่บท​ของ​กรรม​ทท​ี่ �ำ ให้​ มีค​วาม​คิด​สร้างสรรค์ ​ได้​อย่าง​สุด​ยอด เนื่องจาก​ แง่​คิดดี​ี​ ๆ จะ​ช่วย​ให้ค​ น​อ่าน​คิด​ดี หรือไ​ด้คิด​เพื่อ​ เปลี่ยนแปลง​ชีวติ วิบาก​ทยี่​ ้อน​กลับ​มาส​นอง​ตอบแทน​ คุณ ก็ค​ อื ​การ​ผดุ ​ไอ​เดียเหมือน​น้ำ�พุ​ไม่​รู้​จบ​ร​สู้ นิ้ กับ​ทงั้ ​ เป็น​ที่​ยอม​รับใ​น​วง​กว้าง​ด้วย กติกา: หาก​เป็นการ​คัดม​ า​จาก​ที่​อื่น หรือแ​ ปล​มา​จาก​ ภาษา​องั กฤษ กรุณา​ระบุแ​ หล่งท​ มี่ า หรือช​ อื่ ข​ อง​บคุ คล​ ผู้​เป็นเ​จ้าของ​คำ�คม​ด้วย​นะ​คะ

หาก​คุณ​ผู้​อ่าน​ท่าน​ใด มีค​วาม​สามารถ​ใน​การ​เขียน มี​ ศรัทธา และ​ความ​เข้าใจ​ใน​ค�​ ำ สอน​ของ​พทุ ธ​ศาสนา ไม่​ ว่า​จะ​ใน​ระดับ​เบื้องต้น เบื้อง​กลาง หรือเ​บื้อง​ปลาย และ​มี ใ​จ​รกั ท​ อ​ี่ ยาก​จะ​สอื่ สาร​ถา่ ยทอด​สงิ่ น​ นั้ ใ​ห้ก​ บั ผ​ อ​ู้ นื่ ​ ได้ท​ ราบ และ​ได้ป​ ระโยชน์จ​ าก​สงิ่ เ​หล่าน​ นั้ เช่นเ​ดียว​กบั ​ ที่​เรา​อาจ​เคย​ได้​รับจ​ าก​ผู้​อื่น​มา​แล้ว ก็​ขอ​เชิญท​ ุก​ท่าน​ คอลัมน์: สัพเพเหระธรรม ส่งบ​ ทความ​มา​รว่ ม​เป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง ธรรมะใกล้ตวั เนื้อหา: เรื่องราว เรื่อง​เล่า อาจ​มา​จาก​ฉาก​หนึ่ง​ใน​ ด้วย​กัน​นะ​คะ ชีวิตข​ อง​คุณ ที่​มเี​กร็ดข​ ้อคิดท​ าง​ธรรม หรือข​ ้อคิดด​ ี​ ๆ คุณอ​ าจ​ไม่​จำ�เป็นต​ ้อง​เป็น​นัก​เขียน​ฝีมือ​เลิศ แต่​หาก​มี​ อันเป็นป​ ระโยชน์ อาจ​เป็นเ​รื่อง​เล่า​สั้น​ ๆ ใน​รูป​แบบ​ที่​ ใจ​ที่​คิด​อยาก​จะ​ถ่ายทอด มี​สิ่ง​ทคี่​ ิด​ว่า​อยาก​แบ่งปัน​ เสมือน​อา่ นเล่น​ ๆ แต่อ​ า่ น​จบ​แล้ว ผูอ้​ า่ น​ได้เ​กร็ดธ​ รรม​ ความ​รู้ความ​เข้าใจ​นั้น​ให้​กับ​คน​อื่น​ ๆ ก็​ลอง​เขียน​ส่ง​ หรือ​ข้อคิด​ดี​ ๆ ติดก​ ลับไ​ป​ด้วย เข้า​มา​ได้​เลย​ค่ะ คอลัมน์: กวีธรรมะ

เนื้อหา: พื้นที่​ที่​เปิดก​ ว้าง​สำ�หรับ​กวี​ธรรมะ​ทั้งหลาย โดย​ไม่​จำ�กัด​รูป​แบบ​และ​ความ​ยาว​ของ​บท​กวี หรือ​ ๑. คอ​ลัมน์ที่​เปิดร​ ับ​บทความ หาก​จะ​คัดเ​อา​บท​กวีท​ ี่​น่าป​ ระทับใจ ให้​แง่​คิด​อะไร​ คอลัมน์: ธรรมะ​จากคน​สู้​กิเลส ใน​เชิงบ​ วก ก็​สามารถ​นำ�​มา​ลง​ได้​เช่น​กัน แต่​ถ้า​ให้ด​ ี เนื้อหา: เปิดโ​อกาส​ให้​คุณๆ ได้เ​ล่าป​ ระสบการณ์จ​ ริง​ กลั่นกรอง​ออก​มา​ด้วย​ตน​เอง​ได้ ก็ย​ ิ่ง​ดคี​ ่ะ ของ​ตน​เอง ว่าผ​ า่ น​อะไร​มา​บา้ ง มีอ​ ะไร​เป็นข​ อ้ คิดท​ เ​ี่ ป็น​ กติกา: หาก​เป็นการ​คัดม​ า​จาก​ที่​อื่น ต้อง​ระบุ​ที่มา​ที่​ ประโยชน์​บ้าง อะไร​ทำ�ให้​คน​ธรรมดา​คน​หนึ่ง กลาย​ ไป​อย่าง​ชัดเจน​ด้วย​นะ​คะ เป็น​คน​ดี​ขึ้น​มา และ​ทำ�ให้​คน​มี​กิเลส​เยอะ​กลาย​เป็น​ คน​กิเลส​บาง​ลง​ได้ มี​แต่​คน​ที่​เปลี่ยนแปลง​ตัว​เอง​แล้ว​ คอลัมน์: เที่ยววัด เนื้อหา: รับ​หมด​ไม่​ว่าจ​ ะ​เป็น​วัดส​ วย​หรือส​ ถาน​ที่​ เท่านั้น จึงจ​ ะ​เขียน ธรรมะใกล้​ตัว ได้​สำ�เร็จ ปฏิบัติธรรม ข้อมูลข​ ่าวสาร​จาก​ทั่ว​ประเทศ​นั้น ไม่​มี​ คอลัมน์: นิยาย/เรื่องสั้นอิง​ธรรมะ วัน​ที่ ​ใคร​คน​เดียว​จะ​รู้ ​ได้​หมด ถ้า​ช่วย​เป็น​หู​เป็น​ตา​ให้​ เนื้อหา: เปิด​โอกาส​กว้าง​สำ�หรับ​คน​ทชี่​ อบ​คิดช​ อบ​ แก่ก​ ัน ก็​คง​จะ​มี​ประโยชน์​อย่าง​มหาศาล เขียน โดย​เฉพาะ​อดีต​นัก​ฝัน ที่​เพิ่ง​ผัน​ตัว​มา​อยู่ ​ใน​ กติกา: นอกจาก​ข้อมูล​เกี่ยว​กับ​สถาน​ที่ บรรยากาศ โลก​ธรรมะ เพือ่ ส​ ร้างสรรค์เ​รือ่ งราว​ให้ค​ น​ได้ข​ อ้ คิดข​ อ้ ​ ปฏิปทา ฯลฯ ของวัดแ​ ล้ว ต้อง​ขอ​รบกวน​ส่ง​ภาพ​ ธรรม ผ่าน​ความ​สนุก​ของ​รูปแ​ บบ​นิยาย​หรือ​เรื่องสั้น​ สวย ๆ มา​ประกอบ​บทความ อีกทั้งไ​ม่​พา​ชม​หรือ​ ได้​อย่าง​เพลิดเพลิน แทรก​ธรรมะ​ด้าน​การปฏิบัตทิ​ ี่​ขัดแย้ง​กับ​แนวทาง​ของ​ นิตยสาร​นะ​คะ คอลัมน์: คำ�คมชวน​คิด เนื้อหา: รวบรวม​ข้อคิด หรือ​คำ�คม​ของ​บุคคล​ต่าง​ ๆ คอลัมน์: ธรรมะปฏิบัติ ที่​เคย​ได้ยิน​มา​แล้วส​ ะดุดใจ มาบ​อก​ต่อ ยิ่งถ​ ้า​ใคร​ เนือ้ หา: ร่วม​บอก​เล่าป​ ระสบการณ์จ​ ริง ประสบการณ์​ สามารถ​สร้างสรรค์ว​ รรค​ทอง​ได้เ​อง​ยิ่ง​ดี เพราะ​จะ​ ตรง​จาก​การ​ปฏิบัติธรรม เพื่อเ​ป็นท​ ั้ง​ธรรม​ทาน และ​


เป็น​ทั้ง​กำ�ลังใจ สำ�หรับผ​ ู้​ที่​กำ�ลังร​ ่วม​เดินทาง​อยู่​บน​ http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html เส้น​อริยมรรค​เส้น​เดียวกัน​นี้ คอลัมน์: ของ​ฝากจาก​หมอ เนื้อหา: นำ�​เสนอ​ข่าวสาร​ใน​วงการ​แพทย์ หรือ​ สาระ​น่า​รู้​อันเป็น​ประโยชน์​เกี่ยว​กับ​สุขภาพ ที่​คน​ ทั่วไป​สนใจ หรือ​นำ�​ไป​ใช้ ได้ เพื่อ​เป็นว​ ิทยาทาน​ให้​กับ​ ผู้อ่าน จาก​แง่มุม​ต่าง​ ๆ ที่​แพทย์แ​ ต่ละ​แขนง​มีค​วาม​รู้​ ความเชี่ยวชาญ​ต่าง​ ๆ กัน กติกา: • หาก​เป็น​บทความ​ที่​แนะนำ�​ให้​มี​การ​ทดลอง​กิน​ ยา หรือ​แนะนำ�​ให้​ผอู้​ ่าน​ปฏิบัติ​ตาม​ด้วย ขอ​ จำ�กัด​เฉพาะ​ผู้​เขียน ที่​เป็น​ผเู้​รียน​หรือท​ ำ�​งาน​ ใน​สาขา​วิชาชีพท​ ี่​เกี่ยวข้อง​เท่านั้น เพื่อ​ป้องกัน​ การ​น�ำ เสนอ​ขอ้ มูลท​ ค​ี่ ลาดเคลือ่ น และ​อาจ​สง่ ผล​ ต่อ​ผู้​อ่าน​ได้​ค่ะ • หาก​นำ�​เสนอ​ประเด็น​ที่​ยัง​เป็น​ที่​ถกเถียง​อยู่ ​ใน​ วงการ​แพทย์ ขอ​ให้ม​ ี​การ​อ้างอิง​ด้วย เช่น มา​ จาก​งาน​วจิ ยั ช​ นิ้ ไ​หน หรือห​ าก​เป็นเ​พียง​ความเห็น​ ส่วนตัว​ของ​หมอ ก็​กรุณา​ระบุ​ให้​ชัดเจน​ด้วย​ค่ะ

๒. อ่าน​สัก​นิด ก่อน​คิด​เขียน เนื่องจาก​ใน​แต่ละ​สัปดาห์ มี​งาน​เขียน​ส่ง​เข้า​มา​เป็น​ จำ�นวน​มาก​ชิ้น​ขึ้น​เรื่อย​ ๆ ดังนั้น เพื่อ​เป็นการ​ช่วย​ลด​ เวลา และ​ลด​ภาระ​ให้​กับอ​ าสา​สมัคร ใน​การ​เข้า​มา​ ช่วยกันค​ ัดเลือก และ​พิสูจน์​อักษร​ของ​ทุกบ​ ทความ ต้อง​ขอ​รบกวน​ผส​ู้ ง่ บ​ ทความ เรียบเรียง​งาน​เขียน​ตาม​ แนวทาง​ดังนี้​ด้วย​นะ​คะ

๒.๑ ตรวจ​ทาน​คำ�​ถูก​ผิด​ให้​เรียบร้อย ก่อน​สง่ บ​ ทความ รบกวน​ผเ​ู้ ขียน​ทกุ ท​ า่ น​ชว่ ย​ตรวจ​ทาน​ ให้​แน่ ใจ​ก่อน​นะ​คะ​ว่า ไม่​มจี​ ุด​ไหน​พิมพ์ต​ กหล่น พิมพ์​ เกิน พิมพ์ผ​ ดิ พ​ ลาด หรือเ​ขียน​ตวั สะกด​ไม่ถ​ กู ต​ อ้ ง ผ่าน​ สายตา​ของ​ผู้​เขียน​แล้ว

๒.๒ จัด​รูปแ​ บบ​ตาม​หลักง​ าน​เขียน​ภาษา​ไทย เพื่ อ ให้​ทุ ก ​บ ทความ​มี ​ลั ก ษณะ​ข อง​ก าร​จั ด ​พิ ม พ์ ​ที่ ​ สอดคล้อง​กัน ขอ​ให้ ​ใช้​การ​จัดร​ ูป​แบบ​ใน​ลักษณะ​ดังนี้​ นะ​คะ • เครื่องหมาย​คำ�​ถาม (?) และ​เครื่องหมาย​ ตกใจ (!) เขียน​ตดิ ตัวห​ นังสือด​ า้ นหน้า และ​วรรค​ดา้ น​หลัง เช่น “อ้าว! เธอ​ไม่ ​ได้ ​ไป​กับ​เขา​หรอก​หรือ? ฉัน​ นึก​ว่า​เธอ​ไป​ด้วย​เสียอ​ ีก​” • การ​ตัด​คำ�​เมื่อ​ขึ้น​บรรทัด​ใหม่ สำ�หรับ​คน​ที่​นิยม​เขียน​แบบ​เคาะ [Enter] เพื่อ​ ตัดข​ นึ้ บ​ รรทัดใ​หม่ แทน​การ​รวบ​ค�​ ำ อตั โนมัตข​ิ อง​ โปรแกรม​คอมพิวเตอร์ อยาก​ให้​ช่วย​ดู​การ​ตัด​ คำ�​ด้วย​นะ​คะ​ว่า​ตัด​ได้​อย่าง​เหมาะสม คือ​อ่าน​ ได้​ลื่น ไม่ส​ ะดุด ไม่แ​ ยก​คำ� หรือไ​ม่ข​ ึ้นบ​ รรทัด​ ใหม่​ผ่าก​ ลาง​วลี​ทคี่​ วร​อ่าน​ต่อ​เนื่อง​กัน โดย​ไม่​ จำ�เป็น เช่น “ฉัน​ไม่​อยาก​ให้เ​ธอ​ทำ�​แบบ​นั้น ก็เ​ลย​บอก​เธอ​ไป​ว่า​ผลก​รรม ข้อ​กา​เม​นั้น​หนัก​ไม่ ​ใช่​เล่น”​ “ฉัน​ไม่​อยาก​ให้​เธอ​ทำ�​แบบ​นั้น ก็​เลย​บอก​เธอ​ไป​ว่า ผลก​รรม​ข้อก​ า​เม​นั้น​หนัก​ไม่ ​ใช่​เล่น​” (อ่าน​ง่าย​กว่า​ค่ะ)

หรือ​ดหู​ ลักเกณฑ์​อื่น​ ๆ ได้​จาก​ที่​นี่​เพิ่มเติมด​ ้วย​ก็ ได้ค​ ่ะ ราชบัณฑิต​ยสถาน > หลักเกณฑ์​ต่าง ๆ http://www.royin.go.th/th/profile/index.php

๒.๓ ความ​ถูก​ต้อง​ของ​ฉันทลักษณ์ส​ ำ�หรับ​ชิ้น​ งาน​ร้อยกรอง สำ�หรับ​ท่าน​ที่​แต่ง​ร้อยกรอง​เข้า​มา​ร่วม​ใน​คอลัมน์ กวีธรรม ขอ​ให้​ตรวจ​ทาน​ให้แ​ น่ ใจ​สัก​นิด​นะ​คะ​ว่า บทกลอน​นั้น ถูกต​ ้อง​ตาม​ฉันทลักษณ์​แล้วห​ รือ​ยัง จะ​ ได้​ช่วย​กัน​ใส่ ใจ​และ​เผยแพร่​แต่ ​ใน​สิ่ง​ทถี่​ ูก​ต้อง​ให้​ผู้​อื่น​ กัน​ค่ะ

หาก​ไม่​แน่ ใจ​ตัวสะกด​ของ​คำ�​ไหน สามารถ​ตรวจ​สอบ​ คุณ​ผู้​อ่าน​สามารถ​ตรวจ​สอบ หรือห​ าความ​รู้​เพิ่มเติม ได้​จาก​ที่​นี่​เลย​ค่ะ เกี่ยว​กับ​ฉันทลักษณ์​ของ​กวี ​ไทย​ได้​จาก​ที่​นี่​ด้วย​นะ​คะ เว็บ​เครือ​ข่าย​พจนานุกรม ราชบัณฑิต​ยสถาน


ร้อยกรอง​ของ​ไทย ​ (โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย) http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/index.html

ได้​เร็ว​ขึ้นค​ ่ะ

๓.๒ แนบไฟล์ Word มา​ด้วย​ทุก​ครั้ง หาก​แปะ​เนื้อความ​ลง​ใน​กระทูเ้​ลย ฟอร์แมท​ต่าง​ ๆ

๒.๔ ความ​ยาว​ของ​บทความ และ​การ​จัดย​ ่อหน้า เช่น ตัวห​ นา ตัวบ​ าง ตัวเ​อียง จะ​หาย​ไป​คะ่ เพือ่ ค​ วาม​ ปกติ​แล้ว​เรา​ไม่​จำ�กัดความ​ยาว​ของ​ชิ้น​งาน​ใน​ทุก​คอ​ ลัมน์ค่ะ แต่​ก็​อยาก​ให้​ผู้​เขียน​ใช้​ดุลยพินิจด​ ู​ด้วย​ค่ะ​ว่า ความ​ยาว​ประมาณ​ใด​น่า​จะ​เหมาะสม โดย​ลอง​ดู​จาก​ บทความ​ทล​ี่ ง​ใน​เล่ม และ​ลอง​เทียบเคียง​ความ​รสู้ กึ ใ​น​ ฐานะ​ผู้​อ่าน​ดู​นะ​คะ สำ�หรับ​เรื่องสั้น หรือ​นวนิยาย ที่​อาจ​มีค​วาม​ยาว​มาก​ กว่าบ​ ทความ​อนื่ ​ ๆ และ​มก​ี าร​เปลีย่ น​ฉาก​อยูบ​่ า้ ง อย่า​ ลืม​เบรก​สายตา​ผู้​อ่าน โดย​การ​ขึ้น​ย่อหน้า​ใหม่​เมื่อ​ถึง​ จุด​หนึ่ง​ ๆ ของ​เรื่อง​ที่​เหมาะสม​ด้วย​นะ​คะ เพราะ​ การ​เขียน​เป็น​พรืด เห็น​แต่​ตัวหนังสือ​ติด​ ๆ กันลง​มา​ ยาว ๆ จะ​ลด​ทอน​ความ​น่า​อ่าน​ของ​บทความ​ไป​อย่าง​ น่า​เสียดาย​ค่ะ

สะดวก รบกวน​ทุก​ท่าน​แนบไฟล์ Word ทีพ่​ ิมพ์ ​ไว้ม​ า​ ด้วย​นะ​คะ (ใน​หน้า​โพสต์ จะ​มี​ปุ่ม Browse ให้​เลือก Attach File ได้​เลย​ค่ะ) ใคร​มี​รูป​ประกอบ ก็ Attach มา​ด้วย​วิธี​เดียวกัน​นเี้​ลย​ นะ​คะ และ​หาก​ไฟล์มี​ขนาด​ใหญ่ ทำ�เป็น zip เสีย​ก่อน ก็จ​ ะ​ ช่วย​ประหยัด​พื้นที่ ​ได้ ​ไม่​น้อย​ค่ะ

๔. ส่ง​แล้วจ​ ะ​ได้​ลง​หรือ​ไม่

ปกติ​แล้ว เวที​แห่ง​น​เี้ ป็นเ​วทีท​ ​เี่ ปิดก​ ว้าง หาก​บทความ​ นัน้ ให้เ​นือ้ หา​สาระ​ทเ​ี่ ป็นไ​ป​เพือ่ เ​กือ้ กูลก​ นั ใ​น​ทาง​สว่าง หาก​บทความ​ใด อ่าน​ยาก​ ๆ หรือม​ จ​ี ดุ บ​ กพร่อง​ทต​ี่ อ้ ง​ และ​เป็น​แนวทาง​ที่​ตรง​ตาม​แนวทาง​คำ�​สอน​ของ​ แก้ ไข​เยอะ​มาก​ ๆ ทาง​ทีม​งาน​อาจ​จะ​ต้อง​ขอ​อนุญาต​ พระพุทธเจ้า หรือ​เป็นป​ ระโยชน์​ต่อผ​ ู้​อ่าน​จาก​ผู้​รู้​จริง​ เก็บ​ไว้​เป็นอันด​ ับ​หลัง​ ๆ ก่อน​นะ​คะ ใน​ด้าน​ที่​เชี่ยวชาญ ก็จ​ ะ​ได้ร​ ับ​การ​ลง​แน่นอน​ค่ะ

๓. ส่ง​บทความ​ได้ที่ ​ไหน อย่างไร ๓.๑ กระดาน​ส่ง​บทความ

ทั้งนี้ รวม​ถึง​ความ​ยาก​ง่าย​ใน​การ​อ่าน​พิจารณา​ บทความ การ​แก้ ไข​จุด​บกพร่อง​ต่าง​ ๆ ใน​งาน​พิสูจน์​ อักษร หาก​เป็นไ​ป​อย่าง​คล่องตัว ก็จ​ ะ​ชว่ ย​ให้พ​ จิ ารณา​ ชิ้น​งาน​ได้​ง่าย​ขึ้น​ด้วย​ค่ะ

เมือ่ เ​ขียน อ่าน​ทาน และ​ตรวจ​ทาน บทความ​พร้อม​สง่ ​ แต่​หาก​บทความ​ใด ยัง​ไม่ ​ได้​รับ​คัดเลือก​ให้​ลง ก็​อย่า​ เรียบร้อย​แล้ว งาน​เขียน​ทกุ ช​ นิ้ สามารถ​โพ​สท์สง่ ไ​ด้ที่ เพิ่งห​ มด​กำ�ลังใจ​นะ​คะ วันห​ นึ่ง คุณอ​ าจ​รู้​อะไร​ดี​ ๆ กระดาน “ส่ง​บทความ​” ได้​เลย​ค่ะ ที่: และ​เขียน​อะไร​ดี​ ๆ ใน​มุมท​ ี่ ​ใคร​ยังไ​ม่​เห็น​เหมือน​คุณ​ http://dungtrin.com/forum/viewforum.php?f=2 อีกก​ ็ ได้​ค่ะ : ) โดย​หัวข้อ​กระทู้ ขอ​ให้ ​ใช้​ฟอร์แมท​ลักษณะ​นี้​นะ​คะ และ​ถา้ อ​ ยาก​เริม่ ต​ น้ ก​ าร​เป็นน​ กั เ​ขียน​ธรรมะ​ทด​ี่ ี ก็ล​ อง​ (ชื่อ​คอลัมน์) ชื่อเ​รื่อง โดย ชื่อผ​ ู้​แต่ง ติดตาม​อา่ น​คอลัมน์ เขียน​ให้ค​ นเป็นเ​ทวดา ทีค​่ ณ ุ ‘ดัง​ ตฤณ​’ มา​ช่วย​เขียน​เป็นน​ ัก​เขียน​ประจำ�​ให้​ทุก​สัปดาห์​ เช่น ดู​นะ​คะ (สัพเพเหระ​ธรรม) เทพธิดา​โรง​ทาน โดย คน​ไกล​วัด (ธรรมะ​ปฏิบัติ) เส้นทาง​การ​ปฏิบัติ 1 โดย satima (ของ​ฝาก​จาก​หมอ) เครียด​ได้...แต่อ​ ย่า​นาน โดย หมอ​อติ

เพื่อ​ช่วย​ให้​ทีม​งาน​สามารถ​จัด​หมวด​หมู่​ของ​ชิ้น​งาน​

ขอ​อนุโมทนา​ใน​จิต​อันม​ ี​ธรรม​เป็นท​ าน​ของ​ทุก​ท่าน​ค่ะ


สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 43


ธรรมะใกล้ตัว dharma at hand

มาร่วมเป็นอีกหนึ่งก�ำลัง ที่ช่วยสร้างภาพใหม่ ให้กับพระพุทธศาสนา ด้วยการร่วมส่งบทความ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ท้ายเล่ม หรือที่ http://www.dharmamag.com/


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.