Internet edit 18 2 57

Page 1

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง เรื่อง การใช้อินเตอร์เน็ต ของเด็กและวัยรุ่น สงวนลิขสิทธิ์ ©


คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง เรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น ผู้เขียน

รศ.นพ.ชาญวิทย รศ.นพ.ศิริไชย ผศ.นพ.ณัทธร อ.นพ.ทรงภูมิ อ.นพ.คมสันต พญ.โชษิตา

ออกแบบปกและภาพประกอบในเล่ม พิมพ์ครั้งที่ 1 จัดพิมพ์โดย สงวนลิขสิทธิ์ © สนใจนำไปเผยแพร่กรุณาติดต่อ :

พรนภดล หงษสงวนศรี พิทยรัตนเสถียร เบญญากร เกียรติรุงฤทธิ์ ภาวสุทธิไพศิฐ น.ส.ปรางธสุภรณ เชตุพล กุมภาพันธ

2557

จำนวน

6,000

บริษัท มีเดียโซน พริ้นติ้ง จำกัด

โครงการการรวมมือจัดทำเว็บไซตดูแลปองกันเด็กติดเกม คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล 2 พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกนอย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท 0-2419-4080 โทรสาร 0-2411-3843 Website: www.healthygamer.net E-mail: healthygamer@gmail.com Facebook: www.facebook.com/HealthyGamer

เลม


คำนำ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตและการทำ�งานของสังคม ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ความบันเทิงในชีวติ ประจำ�วันของคนเมือง นอกจากจะทำ�ให้การติดต่อสือ่ สารรวดเร็วทันอก ทันใจแล้วยังใช้เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น เป็นประโยชน์อย่างมากต่อชีวิตคนรุ่นใหม่ แต่ในทางตรงข้าม พบผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ทั้งปัญหาการติด อินเทอร์เน็ต การถูกกลั่นแกล้ง การถูกหลอกลวง เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ถ้ารู้ไม่ทัน โดยเฉพาะเหตุการณ์นา่ เศร้าทีเ่ กิดกับเด็กและวัยรุน่ ของเรา ผูซ้ งึ่ รูไ้ ม่เท่าทันผลกระทบดังกล่าว ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย นำ�ทีมโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล และคณะ ได้รวบรวมความรู้ สร้างคำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ปกครอง เรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตของ เด็กและวัยรุ่น เพื่อเป็นแนวทางสำ�หรับผู้ปกครองในการเฝ้าระวัง ติดตาม ป้องกัน และแก้ไข ผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่เหมาะสม และหวังว่าข้อแนะนำ�นี้ ผู้ปกครองจะนำ�ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

ม (ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์) ประธานชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย


สารบัญ บทนำ� กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กและวัยรุ่น

1 2

ผลกระทบด้านลบจากการใช้อินเทอร์เน็ต

4

สัญญาณบ่งชี้การติดอินเทอร์เน็ต

5

คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ปกครอง

6

• คำ�แนะนำ�ที่ 1 คำ�แนะนำ�ทั่วไปสำ�หรับผู้ปกครอง ก่อนอนุญาตให้ลูกใช้อุปกรณ์ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ • คำ�แนะนำ�ที่ 2 ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย 8 • คำ�แนะนำ�ที่ 3 แนวทางปฏิบัติของผู้ปกครอง เพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลาน ติดอินเทอร์เน็ต • คำ�แนะนำ�ที่ 4 แนวทางปฏิบัติของผู้ปกครอง เมื่อบุตรหลานติดอินเทอร์เน็ตแล้ว

10

12


คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ...เรื่อง การใช้อินเตอร์เน็ต ของเด็กและวัยรุ่น...

บทนำ

คำ�

ว่ า “ อุ ป ก ร ณ์ เ ท ค โ น โ ล ยี สารสนเทศและการสื่อสาร” ใน คำ�แนะนำ�นี้ หมายถึง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุก๊ อัลตราบุ๊ก แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โทรศัพท์ เคลื่อนที่ทั่วไป โทรทัศน์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และเครือ ข่ายสังคมออนไลน์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ เทคโนโลยีตา่ งๆ ในปัจจุบนั มีความสามารถ หลากหลายและนำ�ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ทั้งต่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษา และ ความบันเทิง ซึ่งผู้ปกครองอาจมีความ เข้ า ใจว่ า การใช้ อุ ป กรณ์ เ หล่ า นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ต่อการเรียนของเด็ก หรือเชื่อ ว่ า การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ที่ บ้ า นมี ค วาม

ปลอดภัยมากกว่าการใช้งานนอกบ้าน แต่ หากนำ�ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ขาดการ ควบคุมดูแลก็ส่งผลเสียตามมาได้ ซึ่งเด็ก และวัยรุ่นนั้นเป็นวัยที่มีการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสือ่ สารและอินเทอร์เน็ต มากที่สุดของประเทศไทย จึงมีโอกาสใน การได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้าน ลบจากการใช้ เ ทคโนโลยี เ หล่ า นี้ ม าก ผู้ ปกครองจึงจำ�เป็นต้องเรียนรู้และติดตาม แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีของเด็กและวัย รุ่นอย่างสม่ำ�เสมอ คำ�แนะนำ�นีถ้ กู สร้างขึน้ เพือ่ ให้ผปู้ กครอง รู้เท่าทันผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดจาก การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และเครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ของเด็กและวัยรุ่น และมีแนวทาง ใ น ก า ร ติ ด ต า ม ใ ห้ เ ด็ ก แ ล ะ วั ย รุ่ น ใ ช้ เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย เกิดประโยชน์ คุ้มค่า และหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ


กิจกรรม เครือข่ายสังคมออนไลน์ กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของเด็กและวัยรุ่น

การค้นหาข้อมูล เด็กและวัยรุ่นสามารถค้นหาข้อมูลการ ศึ ก ษาและข้ อ มู ล ที่ ต นสนใจผ่ า นทาง อินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สิ่งที่ผู้ปกครองต้องรู้ คือ ข้อมูลใน อินเทอร์เน็ตมีทงั้ ข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์ ถูก ต้องเชื่อถือได้ และข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลเสีย ต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็กและ วัยรุ่น เช่น ข้อมูลทางเพศที่ไม่เหมาะสม ภาพหรื อ คลิ ป ที่ มี ค วามรุ น แรง ข้ อ มู ล ทางการเมืองที่ทำ�ให้เกิดความแตกแยก เว็บที่มีการเล่นพนันออนไลน์ รวมไปถึง อาจมี ข้ อ มู ล ที่ อั น ตรายต่ อ สุ ข ภาพ เช่ น ข้อมูลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง วิธีการลด น้ำ�หนักที่เป็นอันตราย เป็นต้น ซึ่งเด็กและ วัยรุ่นนั้นเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ง่าย เพราะ ธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นมีความอยาก รู้อยากเห็น จึงเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ทั้งที่ ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ

เช่น Facebook, Line, Skype, Twitter และ Camfrog เป็นที่นิยมมาก ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากเป็นวัยที่ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและสังคม ต้องการการยอมรับ แต่ก็ต้องการพื้นที่ ส่วนตัวด้วย ซึ่งเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเด็ก และวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี เด็กและวัยรุน่ ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการสือ่ สารข้อมูล หรือรูปภาพกับเพือ่ น และคนรู้จัก ทั้งแบบเปิดเผยทั่วไปและแบบ ปิดเฉพาะสมาชิกในกลุม่ ซึง่ ในประเทศไทย มีผใู้ ช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากขึน้ มีผู้ ใช้ Facebook ประมาณ 18 ล้านคน และมีผู้ใช้ Line ประมาณ 16 ล้านคน และบางคนใช้จนถึงขัน้ ติดเครือข่ายสังคม ออนไลน์ สิ่งที่ผู้ปกครองต้องรู้ คือ มีการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ทเี่ สีย่ งต่อการเกิด อันตรายได้ เช่น การเผยแพร่คลิปที่มี ความรุนแรง การกลั่นแกล้งให้ร้าย ข่มขู่ หรือทำ�ให้เกิดความแตกแยก รวมถึงเสีย่ ง ในการติดต่อกับคนแปลกหน้าซึง่ อาจนำ�ไป สู่การถูกหลอกลวงได้


เด็กและวัยรุ่นกลุ่มที่เสี่ยงต่ออันตราย จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในทาง ไม่ดี คือ กลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่รู้สึกขาด ความรักความอบอุน่ มีปญ ั หาหรือเป็นโรค ทางจิตเวชบางอย่าง หรืออยูใ่ นครอบครัว ที่มีปัญหาความขัดแย้ง และผู้ปกครองไม่ สามารถติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตของ เด็กและวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม

การเล่นเกม เด็กและวัยรุ่นไทย ร้อยละ 10-15 เล่นเกมคอมพิวเตอร์จนถึงขัน้ มีปญ ั หาติด เ ก ม ห ม ก มุ่ น อ ยู่ กั บ ก า ร เ ล่ น เ ก ม คอมพิวเตอร์ อยากเล่นเกมตลอดเวลา ควบคุมไม่ได้ ใช้เวลาในการเล่นเกมมากขึน้ เรือ่ ยๆ และจะรูส้ กึ หงุดหงิดกระวนกระวาย เมื่อถูกขัดขวางไม่ให้เล่นเกม จนกระทั่งมี ผลกระทบต่ อ ทั้ ง การเรี ย น การทำ � งาน สุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และ การเข้าสังคม รวมทั้งมีปัญหาพฤติกรรม หลายอย่างต่อเนื่องมา เช่น โกหก ขโมย ก้าวร้าว หนีเรียน หนีออกจากบ้าน และติด การพนัน เป็นต้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ปกครอง เรื่อง

การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและวัยรุ่น”

การซื้อและการขายสินค้า ผ่านทางอินเทอร์เน็ต วั ย รุ่ น นิ ย มซื้ อ และขายสิ่ ง ของทาง อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สิ่งที่ผู้ปกครองต้อง รู้ คื อ สิ น ค้ า ที่ วั ย รุ่ น นิ ย มซื้ อ ขายทาง อินเทอร์เน็ต ได้แก่ เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่อง สำ�อาง อาหารเสริม อาหารบำ�รุงสุขภาพ ยาลดความอ้วน สินค้าทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ ง ทางเพศไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในทางเพศ อาวุธ และยาเสพติด เป็นต้น ซึง่ สินค้าเหล่านี้ อาจอวดอ้างสรรพคุณ เกิ น จริ ง ตรวจสอบคุ ณ ภาพและความ ปลอดภัยไม่ได้ เป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย หรือเสีย่ งต่อการถูกหลอกให้โอนเงินไปให้ แต่ไม่ได้รับสินค้า


ผลกระทบด้านลบ จากการใช้อินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไม่เหมาะสม สามารถก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ ดังนี้

การติดอินเทอร์เน็ต ประมาณร้อยละ 15-30 ของวัยรุ่นมี ปัญหาติดอินเทอร์เน็ต อาจเป็นการติด เครือข่ายสังคมออนไลน์ การติดเกม การ ติดพนันออนไลน์ หรือการติดเว็บลามก อนาจาร ทำ � ให้ มี เ วลาในการเรี ย นและ พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ลดลง ทักษะ ทางสังคมลดลง และมีผลต่อสุขภาพ โดย ผลวิ จั ย ล่ า สุ ด ยั ง พบว่ า วั ย รุ่ น ที่ ติ ด อินเทอร์เน็ตมีขนาดของสมองส่วนหน้า เล็ก และมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาท ของสมองส่วนหน้าลดลง เมือ่ เปรียบเทียบ กับวัยรุ่นที่ไม่ติดอินเทอร์เน็ต

การถูกหลอกลวง เด็กและวัยรุ่นสามารถถูกหลอกลวง ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ตั้งแต่การซื้อสินค้าที่ อ้างสรรพคุณเกินจริง เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ไปจนถึงการหลอกลวงให้มีเพศ สัมพันธ์หรือบังคับข่มขืน

การถูกกลั่นแกล้งในโลก ไซเบอร์ (cyberbullying) การกลัน่ แกล้งผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และเครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ มี ทั้ ง การ ใส่ ร้ า ยป้ า ยสี การใช้ ถ้ อ ยคำ � หยาบคาย ต่ อ ว่ า หรื อ การส่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล ลั บ ทาง อินเตอร์เน็ต เพื่อทำ�ให้เกิดความเสียหาย ทำ � ให้ ผู้ ที่ ถู ก กลั่ น แกล้ ง เจ็ บ ปวดและ เกิดผลกระทบต่อจิตใจ

การขาดทักษะในด้านอื่นๆ ผู้ปกครองมักมีความเชื่อที่ผิดว่าถ้าลูก ไ ม่ รู้ จั ก ก า ร ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ เ ท ค โ น โ ล ยี สารสนเทศตั้ ง แต่ วั ย เด็ ก ลู ก จะมี ก าร พัฒนาทางด้านการใช้สิ่งเหล่านี้ไม่ทันคน อืน่ ในขณะทีค่ วามจริงแล้ว เด็กตัง้ แต่แรก เกิดจนถึงวัยประถมศึกษาต้องการทักษะ ที่เป็นพื้นฐานสำ�คัญของการเรียน เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำ�นวณ การ คิดวิเคราะห์ รวมทั้งทักษะทางสังคม และ การอยู่ ร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น ซึ่ ง ทั ก ษะเหล่ า นี้ สามารถพัฒนาได้จากการเล่นตามปกติที่ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใดๆ หากศึกษาประวัติผู้ที่ประสบความสำ�เร็จทาง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะพบ ว่าส่วนใหญ่ไม่มปี ระสบการณ์การใช้เทคโนโลยีมา ตัง้ แต่วยั เด็ก และบางคนยังสอนให้ลกู หลานของ ตนเองอ่านหนังสือมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์


สัญญาณบ่งชี้ การติดอินเทอร์เน็ต สัญญาณบ่งชี้ว่าเด็กและวัยรุ่นอาจมีปัญหาติดอินเทอร์เน็ต ได้แก่ 1. หมกมุ่นอยู่กับการใช้อินเทอร์เน็ต เวลาว่างส่วนใหญ่หมดไปกับการใช้อินเทอร์เน็ต ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบ 2. ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้ ใช้เกินเวลาที่ได้รับอนุญาต หรือใช้เวลาในการเล่น อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ 3. หากถู ก บั ง คั บ ให้ เ ลิ ก หรื อ หยุ ด เล่ น จะต่ อ ต้ า น หงุ ด หงิ ด ไม่ พ อใจ บางคนถึ ง ขั้ น กระสับกระส่าย หรือก้าวร้าว 4. การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น อดนอน รับประทานอาหารไม่ถูก สุขลักษณะ ฯลฯ 5. อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว แยกตัว ดูเหมือนมีความลับ หลบๆ ซ่อนๆ มีความรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ ซึมเศร้า ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว เมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต 6. ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต จนมี ผ ลเสี ย ต่ อ การเรี ย น การทำ � งาน สุ ข ภาพ และความ สั ม พั น ธ์ ใ นครอบครั ว หรื อ หมดเงิ น ไปกั บ การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต จำ � นวนมาก เช่ น ซื้อของออนไลน์ ซื้อเพลง/ซื้อภาพยนตร์ออนไลน์ เล่นพนันออนไลน์ จ่ายเงินเพื่อเข้า ดูเว็บไซต์ลามกต่างๆ เป็นต้น


คำแนะนำสำหรับ ผู้ปกครอง คำแนะนำที่ 1 คำแนะนำทัว่ ไปสำหรับ ผูป กครองกอนอนุญาตใหลกู ใชอปุ กรณ เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอรเน็ต และเครือขายสังคมออนไลน

.

. . .

. ค ว ร ป ร ะ เ มิ น ค ว า ม พ ร้ อ ม ข อ ง ตั ว ผู้ ปกครองเอง ในการฝึกวินัยให้ลูกมีความ สามารถในการควบคุ ม ตนเองในการใช้ อุ ป กรณ์ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศและ อินเทอร์เน็ต . ควรร่ ว มกั น กั บ เด็ ก และผู้ ป กครองคน อื่ น ในบ้ า น ในการกำ � หนดกติ ก าการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และติ ด ตามควบคุ ม ให้ เป็ น ไปตามข้ อ ตกลงอย่ า งเหมาะสม โดยผู้ปกครองควรทำ�ตัวเป็นแบบอย่างที่ ดี . ไม่ แ นะนำ � ให้ เ ด็ ก ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และ เครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ ร วมมากกว่ า 1 ชั่วโมงต่อวัน ในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงต่อวัน ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ . ไม่ แ นะนำ � ให้ เ ด็ ก ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และ เ ค รื อ ข่ า ย สั ง ค ม อ อ น ไ ล น์ ใ น ช่ ว ง 1 ชั่ ว โมงก่ อ นเข้ า นอน เนื่ อ งจากอาจ รบกวนการนอนได้

3. กิจกรรม

. สนั บ สนุ น ให้ ลู ก ทำ � กิ จ กรรมที่ มี ก าร เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ก า ร อ อ ก กำ � ลั ง ก า ย . ผู้ ป กครองควรพู ด คุ ย กั บ เด็ ก เกี่ ย วกั บ กิ จ ก ร ร ม อ ดิ เ ร ก ห รื อ กิ จ ก ร ร ม สร้ า งสรรค์ ต่ า งๆ มากกว่ า การใช้ ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต


. การใช้อินเทอร์เน็ตต้องไม่รบกวนการทำ� หน้าที่ที่สำ�คัญ เช่น การทำ�การบ้าน การ ช่วยงานบ้านต่างๆ เป็นต้น . ไ ม่ แ น ะ นำ � ใ ห้ ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ เ ท ค โ น โ ล ยี สารสนเทศทุ ก ชนิ ด ระหว่ า งการทำ � กิ จ กรรมอย่ า งอื่ น โดยเฉพาะระหว่ า ง เดินอยู่บนถนน หรือบนทางสาธารณะ

4. การจำ�กัดการเข้าถึง . การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และเครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ ข องเด็ ก และวั ย รุ่ น ควรได้ รั บ อนุญาตจากผู้ปกครองก่อนทุกครั้ง . แ น ะ นำ � ใ ห้ ว า ง อุ ป ก ร ณ์ เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ แ ล ะ ก า ร สื่ อ ส า ร ทั้ ง คอมพิ ว เตอร์ โน๊ ต บุ๊ ค สมาร์ ท โฟน แท็บเล็ต หรือไอแพด ในพื้นที่ส่วนกลาง ข อ ง บ้ า น ไ ม่ แ น ะ นำ � ใ ห้ เ ด็ ก มี ไ ว้ ใ น ห้องนอนหรือห้องส่วนตัวที่ปิดมิดชิด . ใส่รหัสผ่าน (password) ในอุปกรณ์ ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกชนิด และควรเปลี่ ย นรหั ส ผ่ า นบ่ อ ยๆ บอก รหั ส ผ่ า นกั บ เด็ ก เมื่ อ เด็ ก ทำ � การบ้ า น หรื อ งานที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายเรี ย บร้ อ ย แล้ว

. แนะนำ � ให้ ใ ช้ โ ปรแกรมติ ด ตามการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และขั ด ขวางการเข้ า เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น Parental control ที่ติดมากับคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรม ICT Housekeeper ของกระทรวง ICT โปรแกรม Gamer Guard ของกระทรวง วัฒนธรรม และจาก

www.saijai.net

เป็นต้น

5. ความปลอดภัย . ควรแนะนำ � แนวทางการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต อย่ า งปลอดภั ย เช่ น ไม่ ค วรเปิ ด เผย ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ต่ า งๆ และไม่ ค วรนั ด พบ กั บ คนที่ รู้ จั ก ผ่ า นการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และต้ อ งบอกผู้ ป กครองเมื่ อ ถู ก ข่ ม ขู่ คุกคาม หรือพบเหตุการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจ . ค ว ร รู้ จั ก ส ถ า น ที่ ที่ เ ด็ ก อ อ ก ไ ป เ ล่ น อิ น เทอร์ เ น็ ต นอกบ้ า น และควรมี ก าร ตรวจสอบและเฝ้าติดตามระวังอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น . ควรตรวจสอบและติ ด ตามเรื่ อ งการใช้ จ่ า ยเงิ น ของเด็ ก ในการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เนื่องจากบางเกมมีการจูงใจให้มีการซื้อ ขายสิ่ ง ของภายในเกมด้ ว ยเงิ น จริ ง เด็กอาจใช้จ่ายซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไม่เหมาะสม และบางเว็บอาจชักจูง ให้เด็กเล่นการพนันออนไลน์


คำแนะนำที่ 2 ใชอนิ เทอรเน็ตอยางไร ใหปลอดภัย

1. ข้อมูลส่วนตัว . ควรสอนให้ เ ด็ ก คำ � นึ ง ถึ ง ผลกระทบที่ จ ะ ตาม ม าห ลั ง จาก โ พ ส ข้ อ มู ล ส่ ว น ตั ว ข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย รูปภาพ ความ คิ ด เห็ น ต่ า งๆ หรื อ การเผยแพร่ ภ าพที่ แ ส ด ง ตั ว ต น ข อ ง ต น เ อ ง ใ ห้ เ ด็ ก ตระหนั ก ถึ ง ความสำ � คั ญ และสิ่ ง ที่ ต้ อ ง รับผิดชอบหลังการโพส . ค ว ร ห้ า ม ไ ม่ ใ ห้ เ ด็ ก เ ปิ ด เ ผ ย ชื่ อ จ ริ ง ชื่ อ เล่ น ที่ อ ยู่ โรงเรี ย น หมายเลข โทรศั พ ท์ หมายเลขบั ต รประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต รหัสบัตรเอทีเอ็ม และข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว อื่ น ๆ แก่ เ ว็ บ ไซต์ ใ ดๆ และคนที่ไม่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต . ควรแนะนำ � เด็ ก ในการเลื อ กชื่ อ สำ � หรั บ การล็อกอิน (log in) เข้าเว็บไซต์ ห้อง สนทนา เว็ บ บอร์ ด หรื อ กิ จ กรรม ออนไลน์ที่ต้องมีการล็อกอิน เพื่อไม่ให้ ชื่ อ นั้ น ส า ม า ร ถ เ ชื่ อ ม โ ย ง กั บ ข้ อ มู ล ส่วนตัวของเด็กได้

2. การรู้เท่าทันสื่อ . ค ว ร ส อ น ใ ห้ เ ด็ ก รู้ เ ท่ า ทั น ค น ใ น อิ น เทอร์ เ น็ ต ไม่ ไ ว้ ว างใจใครง่ า ย และ ค ว ร ห้ า ม ไ ม่ ใ ห้ เ ด็ ก นั ด พ บ กั บ ค น ที่ แปลกหน้า และควรพูดคุยกับเด็กเสมอๆ ถึงวิธีการหลอกลวงรูปแบบต่างๆ ของ ผู้ประสงค์ร้าย . ควรสอนให้ เ ด็ ก รู้ เ ท่ า ทั น เว็ บ ไซต์ ใ น อินเทอร์เน็ต รู้ว่าสิ่งที่เด็กอ่าน และเห็น ทางอิ น เทอร์ เ น็ ต อาจจะไม่ ใ ช่ ค วามจริ ง ทั้งหมด รูปภาพ และข้อมูลต่างๆ อาจ มี ก ารบิ ด เบื อ นเพื่ อ ประโยชน์ ข องผู้ โ พส ข้อความนั้นๆ และควรสอนให้เด็กรู้จัก การตรวจสอบข้อเท็จจริง . ควรสอนให้เด็กรู้จักเลือกเข้าชมเว็บไซต์ ที่ ดี มี ป ระโยชน์ หลี ก เลี่ ย งเว็ บ ไซต์ ที่ มี เนื้อหาไม่เหมาะสม และคอยระมัดระวัง การทำ � กิ จ กรรมผ่ า นทางอิ น เทอร์ เ น็ ต ของเด็ก เช่น ไม่ควรให้เด็กซื้อขายของ ทางอิ น เทอร์ เ น็ ต โดยไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าต แ ล ะ ไ ม่ ค ว ร ใ ห้ เ ด็ ก เ ล่ น พ นั น ท า ง อินเทอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

3. มารยาทในการใช้อนิ เทอร์เน็ต . ควรสอนให้ เ ด็ ก รู้ จั ก มารยาทพื้ น ฐานใน การใช้อินเทอร์เน็ต รู้จักการใช้ภาษาใน อิ น เ ท อ ร์ เ น็ ต แ ล ะ เ ค รื อ ข่ า ย สั ง ค ม


ออนไลน์ ที่ เ หมาะสม หลี ก เลี่ ย งการใช้ ภาษาที่ ห ยาบคาย ดู ห มิ่ น จาบจ้ ว ง บุ ค คลอื่ น เคารพความคิ ด เห็ น เคารพ ความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น และให้ เกียรติคนที่เป็นเจ้าของผลงานต่างๆ ที่ โพสในอินเทอร์เน็ต

. มาตรา 16 ผู้ใดนำ�ภาพของผู้อื่น และ เป็นภาพที่เกิดจากการตัดต่อ ดัดแปลง โดยอาจทำ�ให้ผู้นั้นเสียหาย เสียชื่อเสียง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษ จำ � คุ ก ไม่ เ กิ น สามปี หรื อ ปรั บ ไม่ เ กิ น หก หมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ

. ควรสอนให้ เ ด็ ก บอกผู้ ป กครองทั น ที เมื่ อ รู้ สึ ก ไม่ ส บายใจจากข้ อ ความ ข่ ม ขู่ คุกคาม เชิญชวน หรือล่อลวงต่างๆ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งกล่าวถึงลิขสิทธิ์ของผลงานต่างๆ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ และบทกำ�หนดโทษ เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานของ บุคคลอื่น เช่น

4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการใช้อินเทอร์เน็ต ควรสอนให้ เ ด็ ก มี ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ ก ฎ ห ม า ย ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ก า ร ใ ช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ ด็ ก กระทำ � ความผิ ด โดยรู้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง การณ์ โดยมีกฎหมายที่สำ�คัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ� ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เช่น . มาตรา 14 ผู้ใดให้ข้อมูลหรือเผยแพร่ ข้ อ มู ล อั น เป็ น เท็ จ ที่ น่ า จะเกิ ด ความ เสียหายต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิด ความตื่ น ตระหนกแก่ ป ระชาชน หรื อ ข้อมูลที่มีลักษณะลามก ต้องระวางโทษ จํ า คุ ก ไม่ เ กิ น ห้ า ปี หรื อ ปรั บ ไม่ เ กิ น หนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

. มาตรา 31 ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอัน ควรรูว้ า่ งานใดได้ทำ�ขึน้ โดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้ อื่ น กระทำ � อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง แก่ ง านนั้ น เพื่ อ หากำ � ไร ให้ ถื อ ว่ า ผู้ นั้นกระทำ�การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำ� ดังต่อไปนี้ (1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้ เช่าซื้อ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ (4) นำ�หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร


. มาตรา 70 ผู้ ใ ดกระทำ � การละเมิ ด ลิ ข สิ ท ธิ์ ต ามมาตรา 31 ต้ อ งระวาง โทษปรั บ ตั้ ง แต่ ห นึ่ ง หมื่ น บาทถึ ง หนึ่ ง แสนบาท ถ้ า การกระทำ � ความผิ ด ตาม วรรคหนึ่ ง เป็ น การกระทำ � เพื่ อ การค้ า ผู้ ก ระทำ � ต้ อ งระวางโทษจำ � คุ ก ตั้ ง แต่ สามเดื อ นถึ ง สองปี หรื อ ปรั บ ตั้ ง แต่ ห้ า หมื่ น บาทถึ ง สี่ แ สนบาท หรื อ ทั้ ง จำ � ทั้งปรับ

คำแนะนำที่ 3 แนวทางปฏิบตั ขิ อง ผูป กครองเพือ่ ปองกันไมให บุตรหลานติดอินเทอรเน็ต สิง่ ทีผ่ ปู กครองตองปฏิบตั ิ ไดแก

1. ครอบครัวเข้มแข็ง/ สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง . ให้ ค วามรั ก ความอบอุ่ น และเวลาที่ มี คุณภาพกับเด็ก เพื่อเป็นเกราะป้องกัน ปัญหาติดอินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น ผู้ ป กครองควรแบ่ ง เวลาเพื่ อ ใช้ ร่ ว มกั บ คนในครอบครัว และสนับสนุนกิจกรรมอืน่ ที่เด็กสนใจ

. หาโอกาสทำ � ความรู้ จั ก กั บ เพื่ อ นและ ครอบครัวของเพื่อนลูกด้วย เพื่อสร้าง เครื อ ข่ า ยผู้ ป กครองในการพาเด็ ก ทำ � กิ จ กรรมยามว่ า งร่ ว มกั น เช่ น กี ฬ า กิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมจิตอาสา

2. การตั้งกติกา . ควรกำ�หนดระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต ของเด็ก โดยตกลงเป็นกฎกติการ่วมกัน กับเด็กก่อน เพื่อระบุวัน เวลา จำ�นวน ชั่วโมงของการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละครั้ง กำ�หนดหน้าที่ ที่เด็กต้องรับผิดชอบก่​่อน การใช้อนิ เทอร์เน็ต กำ�หนดการลงโทษหาก เด็ ก ไม่ ส ามารถทำ � ตามกติ ก าได้ (ซึ่ ง แนะนำ � ให้ ใ ช้ วิ ธี ง ดการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต หรื อ ลดเวลาในการใช้ ใ นครั้ ง ต่ อ ไป) เพราะการกำ � หนดกติ ก าหลั ง จากที่ เ ด็ ก ติดอินเทอร์เน็ตแล้วเป็นเรื่องยาก . ค ว ร จำ � กั ด จำ � น ว น ข อ ง อุ ป ก ร ณ์ ที่ ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และควรติดตั้ง โปรแกรมที่ ค วบคุ ม เวลาและเนื้ อ หาใน การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ของเด็ ก ไว้ หรื อ กำ�หนดรหัสผ่านของอุปกรณ์ แท็บเล็ต สมาร์ ท โฟน และเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ เพื่ อ ช่ ว ยในการควบคุ ม เวลาที่ เ ด็ ก ใช้ อินเทอร์เน็ต


. ครอบครั ว ควรมี แ นวทางเดี ย วกั น ใน การเลี้ ย งดู เพื่ อ ให้ เ ด็ ก เชื่ อ ฟั ง และไม่ สับสน และต้องมีความสม่ำ�เสมอ เอาจริง กับกติกาในบ้าน

3. คุณลักษณะที่เด็กควรมี . ควรสอนให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา และมีวินัย ในการใช้ เ งิ น ร่ ว มกั บ มอบหมายงาน บ้านให้เด็กรับผิดชอบตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่ง เป็ น การฝึ ก ให้ เ ด็ ก มี วิ นั ย รู้ จั ก ควบคุ ม ตัวเอง . ส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก มี ค วามภาคภู มิ ใ จใน ตนเอง (self-esteem) โดยการมอง หาและดึ ง จุ ด ดี ข องเด็ ก ขึ้ น มาชื่ น ชมและ ส่ ง เสริ ม สิ่ ง ที่ เ ด็ ก ทำ � ได้ ดี โดยไม่ จำ � กั ด เฉพาะเรื่องการเรียน เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ และหาโอกาสพัฒนาเด็ก เพื่อให้ เด็ ก ภาคภู มิ ใ จ ซึ่ ง จะเป็ น การเสริ ม ภู มิ คุ้ ม กั น ในการติ ด อิ น เทอร์ เ น็ ต ของ เด็กได้ นอกจากนี้ผู้ปกครองควรแสดง ความชื่ น ชมเด็ ก เมื่ อ เด็ ก ทำ � ตามกติ ก า รั ก ษ า เ ว ล า รู้ ห น้ า ที่ รู้ จั ก ค ว า ม รับผิดชอบ เลิกเล่นอินเทอร์เน็ต เมื่อครบ กำ�หนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้​้ . ควรส่งเสริมให้เด็กมีงานอดิเรกทำ� หลายๆ อย่ า ง ร่ ว มกั บ การสอนให้ เ ด็ ก มี วิ ธี จั ด การกั บ ความเครี ย ดอย่ า งเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

สิง่ ทีผ่ ปู กครอง “ไม” ควรปฏิบตั ิ ไดแก

1. เกี่ยวกับครอบครัว . ล ะ เ ล ย ก า ร ทำ � กิ จ ก ร ร ม ร่ ว ม กั น ใ น ครอบครัว ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก มี กิ จ ก ร ร ม ทำ � ย า ม ว่ า ง ที่ ใ ห้ ค ว า ม สนุกสนานไม่แพ้การใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่ง ค ว ร เ ป็ น กิ จ ก ร ร ม ที่ เ ด็ ก ช อ บ แ ล ะ ส า ม า ร ถ ร่ ว ม กั น ทำ � กิ จ ก ร ร ม ไ ด้ ทั้ ง ครอบครัว . เอาแต่ บ่ น แต่ ไ ม่ เ คยเอาจริ ง การบ่ น อย่างเดียวไม่เคยได้ผลในการทำ�ให้เด็ก เล่นอินเทอร์เน็ตน้อยลง แต่จะส่งผลให้ เด็ ก รู้ สึ ก ต่ อ ต้ า น ไม่ พ อใจ และกระทบ ต่อความสัมพันธ์ ผู้ปกครองจึงควรลด การตำ�หนิ แต่เพิม่ ความเอาจริงเอาจังตาม กติกาที่ตั้งไว้ . ขัดแย้งกันเองระหว่างผู้ปกครอง ทำ�ให้ การวางกติ ก าไม่ เ ป็ น ไปในแนวทาง เดี ย วกั น และไม่ ส ามารถบั ง คั บ ใช้ ไ ด้ จริ ง โดยเด็ ก จะเลื อ กเข้ า หาฝ่ า ยที่ ใ ห้ ประโยชน์ กั บ เขามากที่ สุ ด และอาจ กลายเป็ น ปั ญ หาความสั ม พั น ธ์ ไ ด้ ผู้ ปกครองจึงควรตกลงกันให้ได้ก่อนการ วางกติกา

2. เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต . ซื้ อ อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ เ ชื่ อ มต่ อ อิ น เทอร์ เ น็ ต ให้ โดยที่ไม่ได้วางกติกาการใช้เสียก่อน


. ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เป็ น เสมื อ นพี่ เ ลี้ ย งเด็ ก หลายครอบครั ว อาจคิ ด ว่ า การที่ ใ ห้ เด็กใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ร้านเกม นั้ น ปลอดภั ย ไม่ มี อั น ตราย ทำ � ให้ ผู้ ปกครองมี เ วลาส่ ว นตั ว เพิ่ ม ขึ้ น ซึ่ ง เป็ น ความคิ ด ที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลเสี ย ตามมา . ใจอ่ อ น เด็ ก ที่ ติ ด พั น อยู่ กั บ การใช้ อินเทอร์เน็ตมักมีข้อต่อรองอยู่เสมอ ซึ่ง หากผู้ปกครองขาดความเอาจริงและผ่อน ผันให้ เด็กจะต่อรองเช่นนี้อีกในครั้งต่อๆ ไป ทำ�ให้เด็กจะทำ�ตามกติกาทีว่ างไว้ได้ยาก และจะเป็นผลเสียต่อการฝึกวินัยในระยะ ยาว

. ไม่เสมอต้นเสมอปลาย การเอาจริงเอา จั ง กั บ กติ ก าแค่ ชั่ ว ครั้ ง ชั่ ว คราว ด้ ว ย ค ว า ม ใ จ อ่ อ น ห รื อ ค ว า ม ไ ม่ มี เ ว ล า สุดท้ายแล้วจะทำ�ให้กติกาไม่มีความหมาย ไม่สามารถกำ�กับดูแลเด็กได้

คำแนะนำที่ 4 แนวทางปฏิบตั ขิ อง ผูป กครอง เมือ่ บุตรหลาน ติดอินเทอรเน็ตแลว

1. การสื่อสารและสัมพันธภาพ . ค ว ร ตั้ ง ส ติ แ ล ะ รั ก ษ า ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ระหว่ า งกั น ให้ ดี ไม่ ใ ช้ อ ารมณ์ หรื อ ตำ � หนิ เ ด็ ก ด้ ว ยถ้ อ ยคำ � รุ น แรง ไม่ ค วร กล่ า วโทษเหมื อ นว่ า เด็ ก ได้ ทำ � ความผิ ด ร้ า ย แ ร ง แ ล ะ ไ ม่ ค ว ร หั ก ดิ บ ก า ร ใ ช้ อินเทอร์เน็ตของเด็กด้วยวิธีที่แข็งกร้าว

. ควรพู ด คุ ย กั บ เด็ ก เกี่ ย วกั บ ปั ญ หาการ ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต โดยเปิ ด การสนทนา ด้ ว ยคำ � พู ด เชิ ง บวก เช่ น “แม่ เ ข้ า ใจว่ า ลู ก จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และแม่ ก็ เ ชื่ อ ว่ า อิ น เทอร์ เ น็ ต มี ป ระโยชน์ ห ลาย อย่ า ง ..แต่ แ ม่ เ ป็ น ห่ ว งว่ า ลู ก จะใช้ เ วลา กับมันมากเกินไป จนเกิดปัญหากับลูก...” . สือ่ สารกับเด็กให้ชดั เจนว่าผูป้ กครองไม่ได้ ต่ อ ต้ า นการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เพี ย งแต่ ต้ อ งการให้ เ ด็ ก รั บ เอาอิ น เตอร์ เ น็ ต เข้ า มาเป็ น “ส่ ว นหนึ่ ง เล็ ก ๆ” ของชี วิ ต ที่ เขาควบคุมมันได้ ไม่ใช่รับเอาอินเทอร์เน็ต เ ข้ า ม า เ ป็ น “ ทั้ ง ห ม ด ข อ ง ชี วิ ต ” และปล่อยให้ควบคุมชีวิตเขา

2. การเลี้ยงดู . ควรมีเวลากับครอบครัวมากขึ้น พาเด็ก ออกนอกบ้ า นเพื่ อ ไปทำ � กิ จ กรรมที่ ช อบ ท ด แ ท น เ พื่ อ ส นั บ ส นุ น ใ ห้ เ ด็ ก ไ ด้ แสดงออก และแสดงความสามารถ พิเศษ เช่น ดนตรี กีฬา ทำ�อาหาร งาน ฝีมือ เป็นต้น . แนะนำ � ให้ จั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ยผู้ ป กครองใน ห้ อ งเรี ย นของลู ก หรื อ ในชุ ม ชน แล้ ว ผลั ด กั น พาเด็ ก ๆ ออกไปทำ � กิ จ กรรม สนุกสนาน ท้าทาย หลังเลิกเรียนหรือ ในวั น หยุ ด เช่ น เลี้ ย งสั ต ว์ ทำ � อาหาร ปลู ก ต้ น ไม้ เดิ น ป่ า ถ่ า ยรู ป แข่ ง กี ฬ า เป็นต้น


. ผู้ ป ก ค ร อ ง ค ว ร ร่ ว ม มื อ กั น ใ น ก า ร แก้ ปั ญ หา โดยใช้ ก ฎเดี ย วกั น อย่ า ปั ด ให้ เ ป็ น ภาระหรื อ ความรั บ ผิ ด ชอบของ ใครคนใดคนหนึ่ง . ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างของการมี งานอดิเรก การมีวินัยในตัวเอง และการ จัดสรรเวลาอย่างเหมาะสม

3. การตั้งกติกาและการจำ�กัด การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต . ควรร่ ว มกั บ เด็ ก ในการกำ � หนดกฎหรื อ กติกาการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งระยะเวลาใน การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ที่ เ หมาะสม คื อ ไม่เกิน 1 ชัว่ โมง ในวันธรรมดา และไม่เกิน 2 ชั่วโมงในวันหยุด และคอยให้คำ�ชม เมื่อเด็กทำ�ได้ . ควรฝึ ก ให้ เ ด็ ก มี วิ นั ย รู้ จั ก แบ่ ง เวลาใน การใช้อินเทอร์เน็ต โดยอนุญาตให้เด็ก ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ได้ ต่ อ เมื่ อ รั บ ผิ ด ชอบทำ � กิ จ วั ต รประจำ � วั น และงานบ้ า นที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายได้เสร็จเรียบร้อย ผู้ปกครอง อาจพิ จ ารณาการจำ � กั ด การเข้ า ถึ ง อินเทอร์เน็ต เพือ่ จำ�กัดการใช้ของเด็ก เช่น การยกเลิกการใช้อนิ เทอร์เน็ตความเร็วสูง (high-speed Internet) แล้วเปลี่ยนมา ใช้ air card เพื่อการเช็คอีเมลและการ ทำ�งานเท่านั้น

4. เมื่อลูกติดอินเทอร์เน็ต รุนแรง . ในรายที่ มี ปั ญ หาติ ด อิ น เทอร์ เ น็ ต ที่ รุนแรงและเด็กต่อต้านอย่างมากในการ เลิก ผู้ปกครองควรพยายามเข้าถึงลูก ทำ�ความเข้าใจสิ่งที่เด็กได้รับจากการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต แสดงความสนใจในสิ่ ง ที่ เด็ ก กำ � ลั ง สนใจโดยไม่ ตำ � หนิ หากเห็ น ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ เ หมาะสม หรื อ อั น ตราย ผู้ปกครองควรพยายามเบี่ยงเบน แนะนำ� เตือน และช่วยกันคิดทางเลือกอื่นๆ ที่ เหมาะสมกว่า หากทำ�ทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์เด็ก เนื่องจากเด็กอาจมีปัญหาสุขภาพจิตอยู่ลึกๆ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ฯลฯ เพื่อรับการวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาต่อไป

ผูปกครองสามารถหาความรูเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กไดที่ www.HealthyGamer.net และ คนหาสถานพยาบาลที่มีจิตแพทยเด็กและ วัยรุนไดที่เว็บไซต www.capst.net และ facebook page ของชมรมจิตแพทยเด็ก และวัยรุนแหงประเทศไทย


รายนามผู้จัดทำ

คณะกรรมการผู้เขียนคำแนะนำ รศ.นพ.ชาญวิทย รศ.นพ.ศริ ไิ ชย ผศ.นพ.ณทั ธร อ.นพ.ทรงภูมิ อ.นพ.คมสันต พญ.โชษิตา

พรนภดล หงษสงวนศรี พิทยรัตนเสถียร เบญญากร เกียรติรงุ ฤทธิ์ ภาวสุทธิไพศิฐ

คณะแพทยศาสตรศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน ราชนครินทร

ผู้เชี่ยวชาญ ศ.เกียรติคณ ุ พญ.สยมพร ศ.คลินกิ พญ.วนิ ดั ดา พญ.นยั นา ดร.นนทสรวง ผศ.ดร.วมิ ลทิพย นายอิทธิพล ดร.อมรวิชช คุณสุรพันธ นายสมิทธิเดช นางอภิรดี พ.ต.ต.อนุศษิ ฎ

ศิรนิ าวิน ปยะศิลป ณีศะนันท กลีบผึง้ มุสกิ พันธ ปรีตปิ ระสงค นาครทรรพ เจริญทรัพย ทองชุม วรอุไร จงจีรงั ทรัพย

พญ.ฉนั ทสดุ า รศ.นพ.อดิศกั ดิ์ ผศ.พญ.บญ ุ ยิง่ ผศ.ดร.พรทิพย ดร.ปฐมาภรณ รศ.ศริ ชิ ยั ผศ.ดร.อดิลลา ผศ.ดร.วรัชญ นางสาวศิรสิ ดุ า

พงศพนั ธุผ ภู กั ดี ผลิตผลการพิมพ มานะบริบรู ณ เย็นจะบก ศรีผดุงธรรม พงษวชิ ยั พงศยห่ี ลา ครุจติ ลดาวัลย ณ อยุธยา

สมัชชาสุขภาพแหงชาติ สถาบันสุขภาพเด็กแหงชาติมหาราชินี สถาบันสุขภาพเด็กแหงชาติมหาราชินี สถาบันแหงชาติเพือ่ การพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันแหงชาติเพือ่ การพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันแหงชาติเพือ่ การพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจยั รามจิตติ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกีย่ วกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตรศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร โรงเรียนสาธิตแหงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร


ดล ดล ดล

ภาคประชาชน นายศุภาโชติ นายสมบัติ นางสุธาทิพ นายเชษฐา นางศรีดา นายชัยอนันต คุณชมพูนทุ คุณเทียนพร คุณณัฐกิ า นายพุฒเิ มธ นางกฤตยา นายคมสัน นางประภัสสร นายลัทธสิทธิ์ นางมณี นางศุภลักษณ นางสีวกิ า นางสมสมร นางอารีย ด.ช.พรี ะวศุตม นายพชรพรรษ นายธนายุทธ นายรวิศทุ ธ

มะหลีแกว บุญงามอนงค ธัชยพงษ มัน่ คง ตันทะอธิพานิช แกนดี กุชโร วงหอม อภิพงศกลุ อังคณานุชาติ อานนทวฒ ั นา อานนทวฒ ั นา ประเสริฐเสรี ประเสริฐเสรี หวังสันติพร ชืน่ ชูศลิ ป สีลภูสทิ ธิ์ ธรรมมนุญกุล ยังใหผล ยังใหผล ประจวบลาภ สิงหเสนี คณิตกุลเศรษฐ

สมาคมไทยธุรกิจอิเลคโทรนิคบันเทิงผูป ระกอบกิจการอุตสาหกรรมเกม มูลนิธกิ ระจกเงา มูลนิธหิ นังสือเพือ่ เด็ก มูลนิธเิ พือ่ การพัฒนาเด็ก มูลนิธอิ นิ เทอรเน็ตรวมพัฒนาไทย โรงเรียนบางประกอกวิทยาคม โรงเรียนไผทอุดมศึกษา โรงเรียนเทพลีลา โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ นักกิจกรรมบำบัด สอนเด็กพิเศษ ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง ผูป กครอง เยาวชน เยาวชน เครือขายยุวทัศนกรุงเทพมหานคร เยาวชน เครือขายยุวทัศนกรุงเทพมหานคร เยาวชน เครือขายยุวทัศนกรุงเทพมหานคร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.