PEOPLE’S ALLIANCE FOR DEMOCRACY
RECORDER บันทึกการตอสูข องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กิตตินันท นาคทอง เรียบเรียง
PREFACE ปฐมบท
นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจ สื่อสารโทรคมนาคมนามว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” เจ้าของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ได้รับเสียงข้างมากในสภา กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 เขาได้ซื้อใจประชาชนกลุ่มคนรากหญ้า ด้วยนโยบายประชานิยม ไม่ว่าจะเป็น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท, นโยบายการทําสงครามกับยาเสพติด กระทั่งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2548 พรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมาก พ.ต.ท. ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ในการบริห ารประเทศของรัฐบาล พ.ต.ท.ทั กษิณ ได้เกิด ปัญหาวิ กฤตเศรษฐกิ จ สังคม การเมือง และจริยธรรม อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจโดยมิชอบ โดยเฉพาะการเอื้ อ ประโยชน์ให้กับธุรกิจของตระกูลชินวัตร การทุจริตคอรัปชั่นทั้งโครงการกล้ายาง การก่อสร้าง สนามบินสุวรรณภูมิ การจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 และการดูดพรรค การเมืองอื่นมารวมกันในพรรคไทยรักไทย ครองเสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้ ง การแปรรู ป รั ฐ วิ ส าหกิ จ โดยการนํ า สาธารณู ป โภค การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากวาทกรรม “โจรกระจอก” การละเมิดสิทธิประชาชนทั้งกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด คดีตากใบ คดีอุ้มทนาย สมชาย นีละไพจิตร การลอบสังหารผู้นําการต่อสู้ภาคประชาชนกว่า 20 คน การคุกคามและ แทรกแซงสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาล ถึงขนาดมีการสั่งตรวจสอบทรัพย์สิน รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2546 ทาง ช่อง 9 อสมท.ซึ่งดําเนินรายการโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และ นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลในยุครัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติงานแทนสมเด็จพระสังฆราช การสรรหา ผู้ว่า การตรวจเงิน แผ่ นดิ น การทุ จริ ตกล้า ยางที่ พบว่า กล้ ายางที่นํ ามาแจกแก่ เกษตรกรไม่ไ ด้ คุณภาพ รวมทั้งเรื่องพระราชอํานาจ ที่นายประมวล รุจนเสรี เขียนหนังสือเพื่อเตือนสติรัฐบาล ออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายทาง ช่อง 9 อสมท. ในวันที่ 9 กันยายน 2548 ซึ่งในวันนั้น นายสนธิ ได้นําเอาบทความที่มีชื่อว่า “พ่อของแผ่นดิน” มาอ่านออกอากาศ อันเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ อสมท.ได้มีคําสั่งให้ระงับการออกอากาศเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 นายสนธิ และนางสาวสโรชา ได้ จัด รายการเมื องไทยรายสั ปดาห์ สัญ จรครั้ งแรกที่ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2548 พร้อม ถ่ายทอดสดทางเอเอสทีวี กระทั่งย้ายสถานที่เป็นหอประชุมใหญ่ มธ. และเวทีลีลาศ สวมลุมพินี รวม 13 ครั้ง มีการรวบรวมประเด็นความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ในหัวข้อ “40 คําถามที่ยังไม่มีคําตอบ” และประกาศถวายคืนพระราชอํานาจแด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานผู้นําปฏิรูปการเมือง จัดโครงสร้างองค์กรการเมืองใหม่โดยสันติวิธี วันที่ 23 มกราคม 2549 ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับ กองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ ได้รับกําไรกว่า 73,271 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแม้แต่ บาทเดียว นํ ามาซึ่งข้อสงสัยทั้งการขายสมบัติชาติ โดยเฉพาะสั มปทานดาวเทียมและมือถื อ เจตนาจงใจหลีกเลี่ยงภาษี ใช้ชื่อลูกถ่ายโอนหุ้นเพื่อหนีการตรวจสอบ ซุกหุ้นไว้ในต่างประเทศ จด ทะเบียนจัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช ไว้ที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น ดินแดนแห่งการฟอกเงิน กระทั่งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นายสนธิ ได้นัดชุมนุมใหญ่ประกาศเจตนารมณ์ ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ภายใต้ชื่อ “ภารกิจกู้ ชาติ 4 กุมภาพันธ์ 2549” นําไปสู่ฟางเส้นสุดท้าย มีประชาชนเรือนแสนออกมาขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งเสียง ร้อง “ทักษิณ...ออกไป” เพราะไม่สามารถไขข้อข้องใจที่เกิดขึ้นให้กับสังคมได้ การชุมนุมกู้ชาติ 4 กุมภาพันธ์ 2549 มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีการ้อง ทุกข์แผ่นดิน ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดย มี พล.ร.ท. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ โดยมีเนื้อหาแสดงความทุกข์ของบ้านเมืองจาก การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แก่ 1. วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการบิดเบือนระบอบ ประชาธิปไตย 2. การฉ้อราษฎร์บังหลวง กอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องผ่านโยบาย สาธารณะ มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการใช้อํานาจบริหาร 3. ขายทรัพยากรและสิทธิประโยชน์ ของชาติ มุ่งประโยชน์ตัวโดยขาดจริยธรรรม 4. วิกฤตการณ์ศาสนาและจริยธรรม และ 5. ขาด ความรู้ความเข้าใจ ทําให้ปัญหาวิกฤตสามจังหวัดภาคใต้ลุกลามบานปลาย อีกด้านหนึ่งได้ยื่นถวายฎีกาผ่านสํานักราชเลขาธิการ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก (ในขณะนั้น) ก่อนที่ จะสลายตัวไปในเช้าวันรุ่งขึ้น
DemoCrazy
บรรณาธิการ แสงธรรม ชุนชฎาธาร
สถาปนา เมษายน 2551
เรียบเรียง กิตตินันท์ นาคทอง
โครงการนิตยสาร DemoCrazy 90/43 หมู่บ้านอยู่เจริญ ซอยทรงสะอาด ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2277-6413 โทรสาร 0-2691-4609 สนับสนุนวารสาร โทร. 08-1813-7877
PAD. RECORDER .2.
THAKSIN GET OUT เอา ประเทศไทย ของเราคืนมา
พั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิ ป ไตย ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น อย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ วั น ที่ 9 กุม ภาพั น ธ์ 2549 ที่อ นุ สรณ์ สถาน 14 ตุ ล า ภายใต้ ชื่อ “องค์ กรพั นธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิปไตย” เพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่หมดความชอบ ธรรมในการบริหารประเทศ เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจริยธรรม 9 กุมภาพันธ์ 2549 ทีอ่ นุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดําเนินกลาง ได้มี การเปิด ตัวองค์ก รพันธมิต รประชาชนเพื่อ ประชาธิ ปไตย โดย นายสนธิ ลิ้ มทองกุล ผู้ก่อตั้ ง หนั ง สื อ พิ ม พ์ ผู้ จั ด การ ได้ เ ปิ ด โอกาสให้ ภ าคประชาชน นํ า โดยคณะกรรมการรณรงค์ เ พื่ อ ประชาธิปไตย (ครป.) นักวิชาการ นักธุรกิจภาคเอกชน ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร คนจนในเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน นิสิตนักศึกษา ร่วมเคลื่อนไหว 11 กุ ม ภาพั น ธ์ 2549 เครื อ ข่ า ยภาคประชาชนในนาม พั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิปไตย พร้อมกับประชาชนจํานวนนับแสนคน เข้าร่วมชุมนุมใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรง ม้า ใช้ชื่อการชุมนุมว่า “ปิดบัญชีทักษิณ” พร้อมกับแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 1/2549 เรื่องการ นัดหมายชุมนุมใหญ่ ณ ท้องสนามหลวง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ประกาศเป้าหมายเป็นสัจ วาจาว่า “จนกว่าจะได้รับชัยชนะ”หรือ “ไม่ชนะไม่เลิก” ระหว่างนั้น พลตรีจําลอง ศรีเมือง ประธานกองทัพธรรมมูลนิธิ อดีตหัวหน้าพรรคพลัง ธรรม ซึ่งเป็นผู้นําพา พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่วงการเมือง ได้แถลงข่าวที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อม ประกาศนํากองทัพธรรมมูลนิธิเข้าร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวงพร้อมกับประชาชนทั่วประเทศ กระทั่งพลตรีจําลองได้เข้าร่วมการประชุมหารือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 24 กุมภาพันธ์ 2549 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์อีกครัง้ มีมติร่วมกันให้มีการแต่งตั้งคณะผู้ตัดสินใจสูงสุด เพื่อร่วมกันกําหนดและตัดสินใจการเคลื่อนไหว ใดๆ ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจํานวน 5 คน พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมกัน ชุมนุมใหญ่ ตามแนวทาง สงบ ศานติ อหิงสา ที่ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย • พลตรีจําลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม อดีตผู้นําประชาชนในเหตุการณ์ พฤษภาประชาธรรม ปี 2535 • นายพิภพ ธงไชย อดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) • นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี • นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) อย่างไรก็ตาม ในคืนวันเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศยุบสภา และกําหนดวัน เลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยให้เหตุผลเพื่อคืนอํานาจทางการเมืองกลับไปให้ ประชาชน ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการยุบสภาเพื่อหนีปัญหาและลดกระแสการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย มีมติ ร่วมกันไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะปัญหาเกิดขึ้นจากตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณเพียงคนเดียว และ การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่ากับรับรองหรือฟอกตัวให้กับนายกรัฐมนตรี 26 กุมภาพันธ์ 2549 การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ท้อง สนามหลวงเริ่มต้นขึ้น ภายใต้หัวข้อ "เอาประเทศไทยของเราคืนมา" ท่ามกลางการเข้มแข็งเติม โตขึ้นของภาคประชาสังคม ซึ่งมีองค์กรหลากหลายประกาศเข้าร่วมเป็นจํานวนมาก การปักหลักพักค้างที่ท้องสนามหลวงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับกําหนดเส้นตายให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้พ้นจากนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีเงื่อนไข ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนครั้งใหญ่ไปยังเชิง สะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้านข้างทําเนียบรัฐบาล และสร้างประวัติศาสตร์การชุมนุมใจกลางย่าน การค้า หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งมีเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม ก่อนที่จะสลายการชุมนุมที่ หน้าสํานั กงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ขณะนั้ น ตั้งอยู่บนอาคารศรีจุลทรัพย์ ถนนพระราม 1) รวมระยะเวลา 33 วัน เพื่อให้ประชาชนไปใช้ สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งได้มีการรณรงค์ “โนโหวต” ลงคะแนนในช่อง “ไม่ประสงค์จะลงคะแนน” ผลการเลือกตั้งในขณะนั้น มีบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนและบัตรเสียรวมกันถึง 10 ล้าน คน พรรคไทยรักไทยที่ลงสมัครแบบไม่มีผู้สมัครคู่แข่ง 281 เขต พ่ายแพ้หลายพื้นที่ รวมทั้งมีการ ฉีกบัตรเลือกตั้งที่นําโดย รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร เพื่อใช้สิทธิต่อต้านการเลือกตั้งโดยสันติวิธี ขณะเดียวกัน การจัดการเลือกตั้งของ กกต. ในยุคที่ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็น ประธานขณะนั้น พบว่ากําหนดวันเลือกตั้งไม่เหมาะสมและเที่ยงธรรม การจัดคูหาเลือกตั้งไม่เป็น การลงคะแนนโดยลั บ เพราะผู้ เ ลื อ กตั้ ง หั น หลั ง ให้ ก รรมการประจํ า หน่ ว ยเลื อ กตั้ ง และ บุคคลภายนอกสังเกตเห็น รวมทั้งมีการว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง นํามาสู่การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ และต่อมา กกต. ยุค พล.ต.อ.วาสนา ถูกศาลอาญาพิพากษาจําคุก 4 ปี ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี คดีที่จัดการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้พรรคไทยรักไทย การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหยุดลงชั่วคราว จากเดิมที่ จะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 20 กันยายน 2549 เนื่องจากเหตุการณ์ที่คณะปฏิรูปการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นําโดย พล.อ.สนธิ พร้อมกับผู้ บัญชาการเหล่าทัพ ยึดอํานาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน 2549
PAD. RECORDER .3.
FINAL SHOWDOWN
สงคราม ครั้งสุดทาย
รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช แห่งพรรคพลังประชาชน นอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ มี ความพยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 โดยไม่บริสุทธิ์ใจ ทั้งมาตรา 237 การยุบพรรค การเมือง และมาตรา 309 ทีล่ ้างความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งถูกตุลาการรัฐธรรมนูญตัด สิทธิ์ท างการเมือง 5 ปี พร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรั กไทย 111 คน อีกทั้ ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เช็กบิลคดีทุจริต พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้เคลื่อนไหวทั้งการออกแถลงการณ์เตือน รัฐบาล การจัดสัมมนาทางวิชาการ “รายการยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ” ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กระทั่งได้จัดการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมือ่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ก่อนที่จะเดินขบวนเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ หน้าทําเนียบรัฐบาล แต่ถูกตํารวจนับพันนายขัดขวาง จึงปักหลักพักค้างที่หน้าสํานักงานองค์การ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดําเนินนอก การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งนี้ มีอุปสรรคมาตั้งแต่วันแรก จากการที่กลุ่มคนเสื้อแดงเข้ามาก่อกวน ขว้างปาสิ่งของ ทําร้ายผู้ชุมนุม โดยที่กําลังตํารวจนิ่งเฉย อี ก ทั้ ง ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วเข้ า สู่ ฤ ดู ฝ น ผู้ ชุ ม นุ ม ต้ อ งปั ก หลั ก พั ก ค้ า งด้ ว ยความยากลํ า บาก ขณะเดีย วกัน รัฐ บาลนายสมัค รพยายามสลายการชุ มนุม โดยใช้กํ าลัง ตํารวจตลอดเวลา ทํ า สงครามจิตวิทยา และสกัดกั้นไม่ให้เข้าพื้นที่ชุมนุม แต่ก็ไม่ทําให้มวลชนย่อท้อ หลังการชุมนุมยืดเยื้อโดยที่นายสมัครยังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้อง พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย จึงประกาศสงครามเก้าทัพ เคลื่อนขบวนปิดล้อมทําเนียบรัฐบาล โดยตั้งเวที บนสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ถนนพิษณุโลก แต่ต่อมารัฐบาลได้ฟ้องศาลเพื่อกดดัน จึงย้ายไปตั้งหลักที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม การจัดเวทีคู่ขนานตามต่างจังหวัด ก็มีอุปสรรค เนื่องจากมีกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งนักการเมืองให้การสนับสนุนส่งคนไปก่อกวน หนักที่สุดคือที่มหาสารคาม กลุ่มคนเสื้อแดงป่วนการจัดตั้งเวทีพันธมิตร ขว้างขวดน้ําใส่ มวลชน ใช้รถ 6 ล้อฝ่าแนวต้านเจ้าหน้าที่ตํารวจ ปิดล้อมเวทีกันไม่ให้เข้าไปร่วมเวทีได้ ส่วนที่ อุดรธานี นายขวัญชัย สาราคํา (ไพรพนา) ประธานชมรมคนรักอุดร และนายธีระชัย แสนแก้ว นํากลุ่มคนเสื้อแดงทําร้ายร่างกายผู้ชุมนุมในสวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม บาดเจ็บ หลายราย บางรายอาการสาหัส แต่ตํารวจอุดรธานีกลับเอาผิดแบบเหมารวม ซ้ําเติมเข้าไปอีก ครั้งหนึ่ง นางดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ปราศรัยจาบจ้วงสถาบันที่สนามหลวง แต่ตาํ รวจ และทหารยั งนิ่งเฉย นายสนธิท นเห็นพฤติ กรรมไม่ไ ด้ จึงต้องเปิดเผยคํ าปราศรัย บนเวทีเพื่ อ เรียกร้องให้ตํารวจและทหารจัดการ แต่ตํารวจใช้วิชามารออกหมายจับนายสนธิ ในข้อหาหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 หวังที่จะให้การชุมนุมยุติลง แต่นายสนธิเข้า มอบตัวสู้คดีโดยมีประชาชนให้กําลังใจจํานวนมาก ตํารวจจึงยอมให้ประกันตัว เมื่อรัฐบาลนายสมัครยังเหลิงแก่อํานาจ ที่ผ่านมามีทั้งการโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่ เป็ น ธรรม ปั ญ หาปากท้อ งของประชาชนไม่ เหลี ย วแล ตกลงกั บ รั ฐบาลกั ม พู ช าขึ้ น ทะเบี ย น ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งทําให้ไทยสูญเสียพื้นที่อธิปไตยบริเวณ โดยรอบปราสาท โดยไม่สนใจเสียงเรียกร้อง จึงยกระดับขับไล่รัฐบาล แต่เมื่อนายสมัครยังคงดื้อ ด้าน อีกทั้งมีการปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อสืบทอดอํานาจ จึงเป่านกหวีดระดมพลครั้งใหญ่เผด็จศึกรัฐบาล 26 สิงหาคม 2551 ช่วงเช้าแบ่งกําลัง ชุมนุมหน้าสถานที่สําคัญ ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กระบอกเสียงรัฐบาล เพื่อประท้วงการ นําเสนอข่าวที่บิดเบือนใส่ร้ายผู้ชุมนุม ช่วงเย็นบุกเข้าทําเนียบรัฐบาล ตั้งเป็นฐานที่มั่นใช้ชื่อว่า “ทําเนียบประชาชน” เพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมัครบริหารประเทศอย่างลุแก่อํานาจได้อีกต่อไป รัฐบาลนายสมัครพยายามใช้กําลังเพื่อยึดทําเนียบรัฐบาลคืน พร้อมกับการตั้งข้อหา “กบฏ” แก่แกนนําและแนวร่วมคนสําคัญรวม 9 คน ซึ่งมีโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิต กระทั่งวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ตํารวจหลายร้อยนายบุกเข้าพื้นที่ชุมนุม ด้านสะพานมัฆวาน รังสรรค์ มีการยิงแก๊สน้ําตา ไล่ทุบตีผู้ชุมนุมอย่างป่าเถื่อน รื้อเต็นท์ที่พัก ทําลายทรัพย์สิน และ
PAD. RECORDER .4.
ขโมยของมีค่าของผู้ชุมนุม กระทั่งศาลมีคําสั่งคุม้ ครองห้ามสลายการชุมนุมทันที จากนั้น คืนวันที่ 2 กันยายน 2551 นักการเมืองฝั่งรัฐบาลนํามวลชนกลุ่มคนเสื้อแดง นับพันคนบุกเข้าเวทีการชุมนุมด้านสะพานมัฆวานรังสรรค์ เกิดการปะทะกับอาสาสมัครรักษา ความปลอดภัย (การ์ด) ทําให้มีมวลชนเสื้อแดงเสียชีวิ ต 1 คน รัฐบาลนายสมัครฉวยโอกาส ประกาศพระราชกําหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เข้าดําเนินการกับผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง วันที่ 9 กันยายน 2551 ศาล รัฐธรรมนูญมีคําพิพากษาให้นายสมัครพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีความผิดฐาน เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รับจ้างจัดรายการโทรทัศน์ “ชิมไป บ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” อันเป็น ข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ที่ห้ามหาประโยชน์ส่วนตัวไม่ใช่ประโยชน์แห่งรัฐ ตามที่นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา (ในขณะนั้น) ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ปลี่ยนนอมินีคนใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย เพื่อสืบทอดอํานาจ ขณะเดียวกัน ตํารวจจับกุมตัวนายไชยวัฒน์ สินสุวงษ์ หนึ่งในแนวร่วมขณะ ขับรถกลับบ้านพัก และฉวยโอกาสที่พลตรีจําลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนําไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร จับกุมที่หน่วยเลือกตั้ง โดยทั้งสองตํารวจไม่ให้ประกันตัว จึงตัดสินใจ ชุมนุมใหญ่ที่หน้ารัฐสภาช่วงที่นายสมชายจะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคม 2551 กําลังตํารวจนับพันนายบุกเข้าสลายการชุมนุม ระดม ยิงระเบิดแก๊สน้ําตาและอาวุธอย่างโหดเหี้ยม ที่หน้าประตูรัฐสภาด้านถนนราชวิถี ผู้ชุมนุม ได้รับบาดเจ็บจํานวนมาก บางรายขาขาด ต่อมาเกิดเหตุระเบิดรถยนต์ที่จอดหน้าที่ทําการ พรรคชาติไทย ทําให้ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี ตํารวจนอกราชการเสียชีวิต การปะทะกันเกิดขึ้น อย่ างต่อ เนื่ องตั้ งแต่เ ช้า จรดค่ํา กระทั่ง ผู้ชุ ม นุม ได้ รวมตั ว กัน ที่ห น้า กองบั ญ ชาการตํ ารวจ นครบาล เพื่อเรียกร้องให้ตํารวจหยุดการกระทํา แต่กําลังตํารวจกลับปะทะกับผู้ชุมนุมโดยใช้ ระเบิดแก๊สน้ําตาตอบโต้ผู้ชุมนุมอีกครั้ง ทําให้ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ผู้ชุมนุมวัย 27 ปีเสียชีวิตเพราะแรงอัดจากระเบิดแก๊สน้ําตา ฝ่ายรัฐบาลนายสมชายและตํารวจพยายามบิดเบือนเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 เพื่อ กลบเกลื่อนการสลายการชุมนุมโดยไร้มนุษยธรรม มีการกล่าวหาผู้เสียชีวิตโดยไม่มีมูลความจริง เพื่ อ ให้ สั ง คมภายนอกที่ ไ ม่ รู้ เ หตุ ก ารณ์ เ กิ ด ความไขว้ เ ขว อี ก ด้ า นหนึ่ ง กลั บ หนุ น ส่ ง อั น ธพาล การเมือง โดยเฉพาะ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ก่อตั้งกองกําลังนักรบพระเจ้าตากที่ ท้องสนามหลวงเพื่อเตรียมบุกทําเนียบรัฐบาล จากนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ชุมนุมบริเวณเวทีปราศรัย ในทําเนียบรัฐบาลถูกยิงด้วยระเบิดเอ็ม 79 อย่างต่อเนื่อง มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก ในที่สุดจึงประกาศระดมพลเคลื่อนไหวแบบม้วนเดียวจบ ด้วยการเผด็จศึกรัฐบาลในชื่อ “สงครามครั้งสุดท้าย” โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ประท้วงรัฐบาล 3 จุด ได้แก่ รัฐสภา เพื่อ คัดค้านญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ นปช. อีกด้านหนึ่งไปที่กองบัญชาการตํารวจนครบาล และ ที่กระทรวงการคลัง เพื่อเรียกร้องไม่ให้นํางบประมาณกลางปีไปใช้อย่างสรุ่ยสุร่าย จากนั้นในช่วง บ่ายได้เคลื่อนไปชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งใช้เป็น ทําเนียบรัฐบาลชั่วคราว เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ปรากฎว่าเช้ามืดของทุก วันที่ชุมนุมถูกยิงด้วยระเบิด เอ็ม 79 อีกครั้ง ทําให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคน วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 ผู้ชุมนุมได้นัดเคลื่อนขบวนปิดล้อมกองบัญชาการกองทัพ ไทย หลังทราบว่ามีคณะรัฐมนตรี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีอยู่ในพื้นที่ เพื่อเตรียมจัดการ ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทั่งทราบข่าวว่านายสมชายจะเดินทางกลับจากภารกิจที่ประเทศคูเวต จึงไปชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรอทวงถามความรับผิดชอบต่อนายสมชาย กระทั่งเมื่อ มีผู้ชุมนุมจํานวนมหาศาล ขณะเดียวกัน นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริ ษัท ท่า อากาศยานไทย จํ า กัด (มหาชน) ประกาศสั่ งปิ ด ท่า อากาศยานสุว รรณภูมิ ทํา ให้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลายเป็นจําเลยสังคมด้วยข้อกล่าวหายึดสนามบิน อีกด้านหนึ่ง เมื่อมีข่าวว่านายสมชายเปลี่ยนแผนโดยเครื่องบินจะลงที่ท่าอากาศยาน ดอนเมื อ ง จึ ง เคลื่ อ นย้ า ยมาชุ ม นุ ม ที่ ห น้ า อาคารผู้ โ ดยสารในประเทศ ซึ่ ง อยู่ ด้ า นทิ ศ ใต้ ข อง สนามบิน อย่างไรก็ตาม เครื่องบินของนายสมชายและคณะตัดสินใจลงจอดที่ท่าอากาศยาน เชียงใหม่ ก่อนที่จะเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศพระ ราชกําหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อใช้กําลังตํารวจและทหารเข้าปราบปราม ขณะเดียวกัน ยังมี การยิ ง ระเบิ ด เอ็ ม 79 ไปยั ง ผู้ ชุ มนุ ม ที่ ทํ า เนี ยบรั ฐ บาลและท่ า อากาศยานดอนเมือ ง ทํ า ให้ มี ผู้เสียชีวิต 2 ราย และแกนนําตัดสินใจละทิ้งที่ชุมนุมทําเนียบรัฐบาล เนื่องจากไม่มีความปลอดภัย เช้าวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีคําพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ในคดีกรรมการบริหารพรรคซื้อเสียงเลือกตั้ง และ ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 109 คนเป็นเวลา 5 ปี ทําให้นายสมชายสิ้นสุดความเป็น นายกรั ฐมนตรีพร้ อมกับ คณะรัฐ มนตรี ที่พ้ นสภาพไปโดยปริยาย พัน ธมิ ตรประชาชนเพื่ อ ประชาธิปไตยตัดสินใจยุติการชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 3 ธันวาคม 2556 รวมระยะเวลาในการชุมนุม 193 วัน อนึ่ง การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ นอกจากจะมีผู้เสียชีวิต ในระหว่างการชุมนุม 6 ราย บาดเจ็บ 737 รายแล้ว แกนนําพันธมิตรฯ พร้อมแนวร่วม วิทยากร พิธีกร และผู้ชุมนุม จํานวน 96 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจดําเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ในความผิดฐานร่วมกันก่อการ ร้าย มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้าย หรือกระทําการเพื่อให้เกิดความวุ่นวายใน บ้านเมือง ขณะนี้กําลังอยู่ในระหว่างการสูค้ ดี
PAD. RECORDER .5.
ผูเสียชีวิตชวงการชุมนุม ของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย
1. พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือ สารวัตรจ๊าบ อายุ 39 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จากการถูกสังหารด้วย ระเบิดในรถยนต์ บริเวณที่ทําการ พรรคชาติไทย ระหว่างการสลายการชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยเจ้าหน้าทีต่ ํารวจ 2. นางสาวอังคณา ระดับ ปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ อายุ 27 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จาก ระเบิดแก๊สน้ําตาทะลุทรวงอก ระหว่าง เจ้าหน้าที่ตํารวจทําการสลายการชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ 3. นายสมเลิศ เกษมสุขประการ อายุ 66 ปี ผู้ประสานงานแท็กซีพ่ ันธมิตรฯ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551 ด้วย อาการหัวใจวายเฉียบพลัน โดยก่อนหน้านี้ เป็นลมล้มหมดสติลง ระหว่างที่รอรับการ ตรวจรักษาจากแพทย์ประจําเต็นท์พยาบาล ของกลุ่มพันธมิตรฯ 4. นายเจนกิจ กลัดสาคร อายุ 48 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ถูกสะเก็ดระเบิดชนิดเอ็ม 79 บริเวณ ลําคอ ขณะนอนหลับหน้าเวทีปราศรัย ภายในทําเนียบรัฐบาล 5. นายยุทธพงษ์ เสมอภาค อายุ 22 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2551 ถูกสะเก็ดระเบิดชนิดเอ็ม 79 เจาะ หน้าผาก ขณะทําหน้าที่การ์ดบริเวณแยกมิ สกวัน หลังนําอาหารไปแจกให้ทหารที่มา ดูแลความปลอดภัย 6. นายเศรษฐา เจียมกิจวัฒนา อายุ 60 ปี บิดาของนายเทิดศักดิ์ เจียมกิจ วัฒนา แกนนํากลุ่มทหารเสือพระราชา เจ้าของสถานีวิทยุวิหคเรดิโอ เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 ที่บริเวณ หมู่บ้านระมิงนิเวศน์ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพราะถูกฆาตกรรมจากผู้ชุมนุม กลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ด้วยการทําร้าย ร่างกาย ใช้อาวุธปืนสังหาร ก่อนที่จะใช้มีด ฟันแขนเกือบขาด 7. นางสาวกมลพรรณ หมื่นหนู หรือน้องโบว์ อายุ 27 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ถูกสะเก็ดระเบิดชนิดเอ็ม 79 ฝังสมอง ระหว่างที่กําลังนั่งชุมนุม บริเวณหน้าเวทีปราศรัย ภายในทําเนียบ รัฐบาล เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 8. นายรณชัย ไชยศรี อายุ 29 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เพราะถูกสะเก็ดระเบิดชนิดเอ็ม 79 ทะลุ ช่องท้อง ระหว่างที่กําลังนั่งชุมนุมบริเวณท่า อากาศยานดอนเมือง 9. นางสาวศศิธร เชยโสภณ อายุ 32 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2551 ประสบอุบัติเหตุตกจากรถปิ๊กอัพ ขณะเคลียร์พื้นที่ชุมนุม ออกจากทําเนียบ รัฐบาลเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551
DEFENCE OUR COUNTRY รวมพลัง ปกปอง แผนดิน
การขึ้ น ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห ารเป็ น มรดกโลกแต่ เ พี ย งฝ่ า ยเดี ย ว นอกจาก คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จะเห็นชอบคําแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เพื่อสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่ า งประเทศเป็ น ผู้ ล งนามกั บ นายซก อั น รองนายกรั ฐ มนตรี กั ม พู ช า กระทั่ ง ศาล รัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 แล้ว รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังได้เสนอบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกั ม พู ช า (เจบี ซี ) รวม 3 ฉบั บ เพื่ อ ลงมติ ให้ ค วามเห็ น ชอบ และรายงานผลการประชุ ม คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซ)ี ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ก่อนหน้านี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ยกเลิก ข้อผูกพันทั้งปวง โดยเฉพาะ “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสํารวจและจัดทําหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543” (เอ็มโอยู 43) ซึ่งจัดทําในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็น รมว.ต่างประเทศ ที่มีการอ้างอิงแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่าง ไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจัดทําขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสแต่ เพียงฝ่ายเดียว ที่รุกล้ําดินแดนไทยเป็นจํานวนมาก และได้เรียกร้องให้ผลักดันทหารและชาว กัมพูชาออกจากดินแดนไทยโดยไม่มีเงื่อนไข 27 กรกฎาคม 2553 ภาคประชาชนได้จัดชุมนุมที่หน้าองค์การยูเนสโก ประจําประเทศ ไทย เพื่อสร้างแรงกดดัน คณะกรรมการมรดกโลกต้องเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการ มรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไปอีก 1 ปี ต่อมาวันที่ 7 สิงหาคม 2553 เครือข่ายคนไทยหัวใจ รักชาติได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการแก้ปัญหาปราสาทพระวิหาร กระทั่งนายอภิสิทธิ์ ต้องชี้แจงผู้ชุมนุมด้วยตัวเอง นํามาสู่การดีเบตทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีท)ี พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 กระทั่งการลงมติให้ความเห็นชอบบันทึกการประชุมเจบีซีต้องถูกเลื่อนออกไป แล้วใช้วิธีตั้ง คณะกรรมาธิ ก ารพิ จ ารณาเพื่ อ ศึ ก ษาบั น ทึ ก ผลการประชุ ม และเมื่ อ จะมี ก ารประชุ ม คณะกรรมการมรดกโลกในช่ว งกลางปี 2554 จึ งได้ นัด ชุม นุ มปั กหลั กพั กค้ า งตั้ งแต่ วัน ที่ 25 มกราคม 2554 ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู 43, ถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อเป็นการประท้วงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารของกัมพูชา และดําเนินการผลักดันทหาร ชุมชนกัมพูชาที่รุกล้ําและยึดครองดินแดนไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าวมาโดย ตลอด หนําซ้ําได้นําพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้เพื่อสกัดกั้นการ ชุมนุม อีกทั้งยังมีคนไทย 7 คนเข้าไปสํารวจชาวกัมพูชาเข้ามายึดครองแย่งที่ดินทํากินของราษฎร ถูกทหารกัมพูชาจับกุม และนําตัวขึ้นสู่ศาลกัมพูชา พิพากษาตัดสินลงโทษคนไทยทั้ง 7 โดยที่ รัฐบาลไทยมิได้ให้ความช่วยเหลือ หรือแสดงอํานาจอธิปไตย โดยเฉพาะกรณีของนายวีระ สม ความคิด ที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจําคุก 8 ปี และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ถูกจําคุก 6 ปี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขอฉันทานุมัติ จากประชาชนเพื่อให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตําแหน่ง ต่อมามีการตั้งคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน ประกอบด้วย ผศ.จํารูญ ณ ระนอง, พลตรี จําลอง ศรีเมือง, นายเทพมนตรี ลิมปพะยอม, พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจรักษ์, นายเทิดภูมิ ใจดี, นายประพันธ์ คูณมี, พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์, นายประยูร อัครบวร, นายปราโมทย์ หอยมุกข์ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ, ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, นางไพลิน คําศิริ, นายวีรพันธุ์ มา ไลยพันธุ,์ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์, นายศรัณยู วงษ์กระจ่าง, พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ และ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ ก่อนที่ภายหลังจะเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย การเคลื่ อ นไหวในช่ ว งที่ ผ่ า นมา มี ก ารยื่ น ค้ํ า ร้ อ งต่ อ คณะกรรมการป้ อ งกั น และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อด้วยยื่นจดหมายถึง ส.ส. - ส.ว. เป็นผลทําให้ขัดขวาง การประชุมรัฐสภาพิจารณาบันทึกผลการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ ระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2554 ได้เป็นผลสําเร็จ รัฐบาลต้องตัดสินใจถอนวาระดังกล่าวออกจากที่ประชุมรัฐสภา กระทั่ง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ตัวแทนประเทศไทยตัดสินใจลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก รัฐบาลนายอภิสิทธิต์ ัดสินใจยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 และให้มีการเลือกตั้ง ใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้มีมติในการรณรงค์ให้ ประชาชนลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะเลือกใคร หรือ โหวตโน และออกป้ายหาเสียง “อย่า ปล่อยสัตว์เข้าสภา” เป็นสโลแกนการรณรงค์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าระบอบการเมืองปัจจุบัน พรรค การเมืองทุกพรรคล้วนแล้วแต่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยุติการชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2554 รวมระยะเวลา 158 วัน ต่อมาได้มีแถลงการณ์ฉบับที่ 3/2554 ระบุ ว่า ภาคประชาชนได้ต่อสู้เรื่องอธิปไตยและดินแดนอย่างเต็มที่สุดความสามารถแล้ว ในตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุว่า “วิกฤตของชาติในส่วนที่เหลือเพื่อปกป้องชาติ รักษาแผ่นดิน จึงอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาลในพระ ปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ กองทัพของจอมทัพไทย ที่จะต้องออกมา ทําหน้าที่ของตัวเองในการรักษาดินแดนและอธิปไตยของชาติต่อไป” อนึ่ง ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนําใน การจัดตั้งรัฐบาล ส่วนผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนอยู่ที่ 1.4 ล้านคน และบัตรเสีย 2 ล้านคน
PAD. RECORDER .6.
TERMINATION MOVEMENT ยุติบทบาท
วีดีโอคลิป
แถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 5/2556 เรื่อง แถลงการณ์ฉบับสุดท้าย
สแกน QR Code เพื่อชมวีดีโอคลิป
ในช่วงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ แม้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยังไม่มีการเคลื่อนไหวใหญ่ แต่ก็ยังเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาชนและประเทศชาติ เช่น การให้ปัญญากับประชาชนผ่านสื่อของเอเอสทีวี การเสวนา ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปพลังงาน ทวงคืน ปตท. เป็นสมบัติของประชาชน การยื่นจดหมายเปิด ผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อปฏิเสธอํานาจศาลโลกเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร รวมทั้งการที่ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยดําเนินคดี ส.ส. และ ส.ว. รวม 314 คนที่ร่วมกันลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2555 ได้มีการประชุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั่ว ประเทศ ณ สวนลุมพินี โดยมีฉันทานุมัติเห็นชอบปรากฏเป็นแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาชนเพื่ อประชาธิป ไตยฉบับที่ 2/2555 โดยพร้อมจั ดให้มี การชุ มนุมใหญ่โดยทัน ที ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1. มีการดําเนินการใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายอื่นใดที่มี ความชัดเจนว่าจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลดพระราช อํานาจของพระมหากษัตริย์ 2. มีการดําเนินการใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายอื่นใด ที่ มีความชัดเจนว่าจะนําไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และพวก 3. เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สถานการณ์ความเหมาะสมที่ประชาชนต้องการการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่
แถลงการณ์ ฉ บั บ ที่ 5/2556 ของพั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิ ป ไตย เรื่ อ ง แถลงการณ์ ฉ บั บ สุ ด ท้ า ยในวั น ศุ ก ร์ ที่ 23 สิ ง หาคม 2556 ณ ห้ อ งส่ ง สถานี โทรทั ศ น์ ผ่ า น ดาวเที ย มเอเอสที วี ถื อ เป็ น การปิ ด ฉากการนํ า ของแกนนํ า พั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิปไตย กลุ่มการเมืองภาคประชาชนผู้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการชุมนุมโดยสงบ อหิงสา และปราศจากอาวุธของภาคประชาชนที่ถือว่ายาวนานที่สุดในโลกกว่า 384 วัน 384 คืน ไม่นับรวมกับความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องอีกเกือบ 8 ปีไปโดยปริยาย เนื่องจากข้อพันธนาการที่แกนนําพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ปราศรัย พิธีกร ศิลปิน และประชาชน ซึ่งถูกยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ โดยมีอัตราโทษสูงถึงขั้น ประหารชี วิ ต และเพิ่ ม ผู้ ต้ อ งหาจํ า นวนถึ ง 96 คน อย่ า งอยุ ติ ธ รรมในสมั ย รั ฐ บาลพรรค ประชาธิปัตย์ ซึ่งนําโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการสร้างพันธนาการให้กับการเคลื่อนไหว ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แม้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการ ยุติธรรมเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรมก็ตาม แต่ศาลอาญาก็ได้มีคําสั่งในคดีหมายเลขดําที่ อ. 973/2556 ให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไขตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 ระบุว่า "ห้ามมิให้จําเลย กระทํ า การใดๆ อั น มี ลั ก ษณะเป็ น การยั่ ว ยุ ปลุ ก ปั่ น ปลุ ก ระดม เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความวุ่ น วายใน บ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรือกระทําการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้าม จําเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล" เมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นว่าหากนําการชุมนุมคัดค้านปัญหาของประเทศรายประเด็นให้ ได้ผลสําเร็จ ก็อาจคัดค้ านได้อีกเพียงเรื่องเดี ยว ภายหลังจากนั้นเมื่ อศาลมีคําสั่งให้ถอนการ ประกันตัว ก็จะมีปัญหาชาติในเรื่องอื่นๆ ที่สําคัญตามมาอีกไม่สิ้นสุด ดังนั้นการเสียสละของแกน นําจึงย่อมไม่คุ้มค่ากับผลประโยชน์ของประเทศชาติที่จะได้รับในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ภายใต้เงื่อนไขที่แถลงการณ์ฉบับสุดท้ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ระบุว่า "ขอยืนยันว่าจะยังคงแน่วแน่ยึดมั่นในอุดมการณ์ของวีรชนและพี่น้อง ประชาชนที่เสียสละไม่เคยเปลี่ยน และขอให้มั่นใจว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นยุทธวิธีที่จะได้รับ การพิสูจน์ว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน"
PAD. RECORDER .7.
ตราสัญลักษณ พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ความเป็น เอกภาพมี ค วามสํ า คั ญ ที่ สุด ในการ เคลื่อนไหวกู้ชาติให้พ้นมือทรราชที่โกงกินชาติ บ้านเมือง การรวมกําลังของเครือข่ายองค์กร ต่ า งๆ ในนาม 'พั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิปไตย' จึงต้องมีโลโก้เป็นแกนกลางใน การขับเคลื่อนเพื่อให้เป็นที่จดจํา วสันต์ สิทธิเขตต์ ผู้ออกแบบได้กล่าวถึงที่มาที่ไป ของโลโก้ ว่ า ภาพกํ า ปั้ น ทั้ ง 4 ที่ เ กี่ ย วต่ อ เป็ น กําแพง 4 ด้า นหมายถึง พลังของประชาชนใน ชาติไทยทุกศาสนาคือ พุทธ, คริสต์, อิสลาม, พราหมณ์ -ฮิ น ดู และซิ ก ซ์ ที่ ผ นึ ก กํ า ลั ง เพื่ อ ปก ป้ อ งน กพิ รา บที่ อ ยู่ ต รงกล าง อั นเ ป็ น สัญลักษณ์ของสันติภาพและเสรีภาพ “ความหมายก็คือ ประชาชนต้องร่วมมือกันให้ หลุดรอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของรัฐฉ้อฉล และอํานาจธรรมทั้งปวง ดวงดาวทั้ง 3 ดวงที่อยู่ บนท้องฟ้า ดวงที่ 1 หมายถึงความดีชนะความ ชั่ ว ดวงที่ 2 ความจริ ง หรื อ สั จ จะชนะความ มดเท็ จ ฉ้ อ ฉล ดวงที่ 3 ความงามที่ ช นะความ อัปลัก ษณ์ ละโมบ กักขฬะ หยาบช้า ป่า เถื่อ น ส่วนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แทนค่ากลางวัน และกลางคืน หรือวันเวลาในยุคสมัยของเรา” เมื่อสรุปสัญลักษณ์ในภาพโดยรวมทั้งหมด วสันต์ แจกแจงว่า หมายถึงประชาชนต้องผนึกกําลังทุก ศาสนาเพื่อที่จะปกป้องต่อสู้และสร้างเสรีภาพสันติภาพให้เกิดขึ้นในยุคสมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ วสั น ต์ ยั ง เขี ย น 'ยั น ต์ โ ค่ น ทรราช 2549' โดยนําหลักของพุทธศาสนาคือ อริยสัจ 4 มาเรียงร้อยเป็นผืนยันต์ ทุกข์-เพราะทุนโลภ ร้าย ก่อทุกข์, สมุทัย-การลุกตื่นรู้, นิโรธ-มั่น สันติสุข มนุษยชาติ, มรรค-มรรคแห่งธรรมร่วม สู้ โค่นล้มรัฐโจร ที่มา : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000019620