Sammasamadhi

Page 1


สัมมาสมาธิ

ลมหายใจแห่งการตื่นรู้ ว.วชิรเมธี


คำปรารภ (เส้นทางสายวิปัสสนา)

โดยส่วนตัวผู้เขียนสนใจสมาธิภาวนามาตั้งแต่ยังไม่บวชเรียน จำได้ดีว่า เมื่อครั้ง ยังเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมศึกษานั้น ได้มีโอกาสตามแม่ไปวัดเสมอ การตามแม่ไป

วัดทำให้มีโอกาสได้ฝึกสมาธิภาวนาอยู่บ่อยครั้ง แต่เป็นการฝึกอย่างไม่จริงจังนัก เป็นการ ฝึกไป ทำไป สักแต่ว่าทำตามผู้ใหญ่เท่านั้น ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น นั้ น มี อ ยู่ วั น หนึ่ ง ทางโรงเรี ย นได้ นิ ม นต์ พ ระรู ป หนึ่ ง มา บรรยายธรรม และท่านได้สอนสมาธิเบื้องต้นให้ทั้งโรงเรียน ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจ ต่อสมาธิเพิ่มขึ้น จนพักหลังๆ วันใดก็ตามที่สังเกตเห็นว่าในเวลาหลังเลิกเรียนแล้วที่บ้าน อยู่ในสภาพปลอดคน ผู้เขียนก็มักจะแอบนั่งสมาธิเงียบๆ คนเดียวอยู่ในห้องนอนมืดๆ ทึมๆ ทำเอง ฝึกเอง ไม่มเี ทคนิควิธีใดๆ ทั้งสิ้น รู้แต่ว่า การได้ทำกิจกรรมอย่างที่เรียกกัน ว่าการฝึกสมาธินี้ ก่อให้เกิดความสุขอย่างประหลาด ครั้นโตขึ้น เมื่อได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว จึงได้เริ่มการฝึกสมาธิภาวนาตาม แบบแผนอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกก็ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ที่นี่ ผู้เขียนได้ฝึกสมาธิภาวนาทุกเช้า-เย็นหลังการทำวัตรสวดมนต์ ก่อนนอนก็ยังหลับลง


ไปพร้ อ มกั บ เสี ย งธรรมบรรยายของหลวงพ่ อ ชา สุ ภั ทโท พระวิ ปั ส สนาจารย์ ชื่ อ ดั ง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมาธิภาวนาของไทยที่มีศิษยานุศิษย์ทั่วโลก ประการสำคัญที่สุด ที่วัดพระสิงห์แห่งนี้นี่เอง ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่ม สำคัญที่ทำให้เกิดความสนใจอยากฝึกสมาธิภาวนาขึ้นมาอย่างจริงจังด้วยตัวเอง หนังสือเล่ม นั้นก็คือ “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ” (The Miracle of Being Awake) ซึ่งเขียน โดยพระวิปัสสนาจารย์ชาวเวียดนามชื่อ “ติช นัท ฮันห์” หนังสือเล่มน้อยนี้ นำพาผู้เขียน เข้าสู่โลกของการฝึกสมาธิที่มาพร้อมกับการฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แม้ไม่มีผลเป็น ความก้าวหน้าอะไรมากมายนัก แต่ก็เป็นก้าวย่างสำคัญที่ทำให้ได้ค้นพบวิธีธรรมชาติในการ ฝึกสมาธิภาวนา ต่ อ มาผู้ เ ขี ย นได้ มี โ อกาสไปฝึ ก อบรมครู ส อนพระปริ ยั ติ ธ รรมแผนกบาลี ที่

วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม หรือปัจจุบันคือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ พระวิปัสสนาจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของไทยในปัจจุบัน การพำนัก อยู่ที่วัดอัมพวันเป็นเวลาสองเดือนเต็ม ทำให้ผู้เขียนได้ฝึกสมาธิภาวนาอย่างที่เรียกกันว่า สติปัฏฐาน ๔ อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากนั้น เมื่อกลับมายังวัดเดิมที่จังหวัดเชียงรายแล้ว ผู้เขียนก็ยังคงฝึกวิปัสสนากรรมฐานด้วยตัวเองอยู่เสมอ บางช่วงนั้นสนใจเข้มข้นลึกซึ้ง

ถึงขนาดกลับจากบิณฑบาตแล้ว ไม่ยอมฉันเช้า หากแต่มุ่งนั่งสมาธิภาวนาตามดูลมหายใจ จากเช้าจรดเพลกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาก็ได้ผ่อนคลายการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นเช่นนั้นลงมา โดยลำดับ ทั้งนี้ก็เพราะภารกิจหลักคือการเล่าเรียนยังไม่จบสิ้นนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นก็ยัง นับว่า เมล็ดพันธุ์ทางด้านสมาธิภาวนาของผู้เขียนก็ยังคงฟักตัวรอเวลาที่จะได้กลับมา

สานต่ออย่างจริงจังอยู่เสมอ


กระทั่ ง วั น หนึ่ ง หลั ง สำเร็ จ การศึ ก ษาเปรี ย ญธรรม ๙ ประโยคแล้ ว รู้ สึ ก ว่ า

ชีวิตหมดความท้าทาย จึงชักชวนกัลยาณมิตรอีกสองคนเดินทางไปสวนโมกขพลาราม ของ พุทธทาสภิกขุ ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สวนโมกข์ฯ ผู้เขียนได้รับแรงบันดาล ใจหลายอย่างที่ทำให้ชีวิตด้านในได้รับการลงหลักปักฐานค่อนข้างแน่นแฟ้นมากขึ้นอีกครั้ง หนึ่ง นับแต่นั้นมา ความรู้สึกในเชิงอยากลาสิกขาก็หายไป ความสนใจพุทธศาสนาเชิงลึก ก่อตัวขึ้นมาแทนที่ ทำให้เมื่อกลับมาแล้ว จึงตัดสินใจไปศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ระบุไว้ว่า นิสิตทุกคน ก่อนจะสำเร็จการศึกษาต้องผ่านคอร์สวิปัสสนากรรมฐานเข้มข้นเป็นเวลา ๑ เดือน ซึ่งก็ เป็น ๑ เดือนที่ทำให้ผู้เขียนค้นพบตัวตนของตนเองชัดเจนขึ้นอีกมากว่า ตนมีอัธยาศัย

ใฝ่สมาธิภาวนา นั่นเป็นเหตุให้ระหว่างที่ศึกษาอยู่นี้ จึงได้มีโอกาสขึ้นมาพัฒนาป่ารกร้าง

แห่งหนึ่ง ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายให้เป็น “อาศรมอิสรชน” สำหรับเป็นสถานพำนัก ปลีกวิเวกฝึกสมาธิภาวนาร่วมกับกัลยาณมิตรอีกท่านหนึ่ง ตลอดเวลาดังกล่าวนี้ ผู้เขียน

ได้เพียรศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิชาวิปัสสนากรรมฐานและศึกษาสมาธิวิธีของครูบาอาจารย์ ต่างๆ มากมายผ่านตำรับตำรานับร้อยๆ เล่ม จนเขียนออกมาเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยผ่าน หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ธรรมะติดปีก” ผลของการสนใจในทางสมาธิวิปัสสนาด้วยตนเอง ทำให้ผู้เขียนพยายามฝึกฝน เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ อยู่เสมอ กระทั่งล่าสุด ก็ได้เดินทางไปศึกษาการฝึกเจริญ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม เมืองบอกโด ประเทศฝรั่งเศส ที่หมู่บ้าน พลัมแห่งนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้ศึกษา สอบทาน เทียบเคียงวิปัสสนาวิธีที่ตนเองศึกษามากับ


ที่ท่านติช นัท ฮันห์ สอนอย่างลึกซึ้ง ทำให้มีความรู้สึกว่า ตนเองช่างโชคดีเหลือเกิน

ที่มีโอกาสได้รู้จักสมาธิวิปัสสนา ซึ่งเป็น “เนื้อหาสาระ” อันแท้จริงของพุทธศาสนา ระหว่างที่พำนักอยู่หมู่บ้านพลัมสองอาทิตย์นั้น ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานโดยมีท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้สอน มีอยู่วันหนึ่ง ท่านได้เอ่ยขึ้นมาว่า ท่านรู้สึก ว่าตนเองโชคดีมากที่ได้มีโอกาสรู้จักพระสูตร ๒ พระสูตรในพุทธศาสนา นั่นก็คือ ๑) อานาปานสติสูตร ๒) มหาสติปัฏฐานสูตร พระสูตรทั้งสองนี้ ล้วนแต่ว่าด้วยวิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานทั้งสิ้น การได้ฟัง

คำกล่ า วของท่ า นติ ช นั ท ฮั น ห์ ทำให้ ผู้ เ ขี ย นย้ อ นไปถึ ง วั ย เยาว์ เ มื่ อ ครั้ ง ที่ ต นยั ง เป็ น

พระนักศึกษาเปรียญธรรม ๘, ๙ ประโยค ก็เคยได้ศึกษาเนื้อหาสาระของพระสูตรทั้งสอง นี้อย่างลึกซึ้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ผ่านคัมภีร์ “วิสุทธิมรรค” ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ แต่ ก ารศึ ก ษาในครั้ ง นั้ น เป็ น ความลึ ก ซึ้ งในแง่ ภ าษาศาสตร์ เ สี ย มากกว่ า ทั้ ง

เป้าหมายก็เพื่อการสอบเป็นสำคัญ ในความลึกซึ้งนั้น จึงไม่ก่อให้เกิดความซาบซึ้งแต่

อย่างใด ผลแห่งการศึกษาพระสูตรที่สำคัญถึงเพียงนั้น หยั่งลงไปเพียงแค่หัวสมอง ทว่า

ไม่สามารถซึมเข้าถึงหัวใจ ผู้เขียนจึงยังคงไม่ได้รับประโยชน์โสตถิผลจากอานาปานสติสมาธิ ภาวนาอย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็ต้องนับว่า นี่เป็นย่างก้าวที่สำคัญเช่นกัน เพราะอย่างน้อย

ก็ทำให้ได้รู้จักพระสูตรสำคัญของพุทธศาสนา และยังก่อให้เกิดความตกลงใจเงียบๆ ว่า

สักวันหนึ่งจะต้องแปลเนื้อหาสาระที่ได้เคยเล่าเรียนนี้ออกสู่พากย์ไทยให้ได้ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นพระสงฆ์สังกัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่คลุกคลีกับ พระไตรปิฎกเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้ว ผู้เขียนย่อมเคยผ่านหูผ่านตาพระสูตรทั้งสอง

ที่ท่านติช นัท ฮันห์ ยกย่องเป็นอย่างสูงมาบ้างแล้ว ต่างแต่ว่า ยังไม่มีเวลาศึกษาลงลึกใน


รายละเอียดเท่านั้น จำได้ดีว่า เคยเปิดพระสูตรทั้งสองนี้อ่านด้วยตนเองมาก็นับครั้งไม่ถ้วน แต่เป็นการอ่านในเชิงตำราในฐานะนักวิชาการมากกว่า ความรู้สึกซาบซึ้งถึงใจจึงไม่เคย กำซาบลึกลงไปถึงจิตวิญญาณ ครั้ น กลับมาจากหมู่บ้านพลั มแล้ ว ผู้เขียนได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะขอถอยหลัง

เข้าคลอง (จากกรุงเทพฯ สู่ป่าในต่างจังหวัด) อย่างน้อยสักหนึ่งพรรษา เพื่อให้เวลากับ

การศึ ก ษาพระพุ ท ธศาสนาเชิ ง ลึ ก ด้ ว ยตนเองอย่ า งจริ ง จั ง นั่ น เป็ น เหตุ ใ ห้ ใ นพรรษานี้ (พ.ศ.๒๕๕๒) ผู้เขียนจึงย้ายมาสังกัดวัดศรีศักดาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อ

จำพรรษาและศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงลึกด้วยตนเองที่ “ศูนย์วิปัสสนาอาศรมอิสรชน”

ที่ได้สร้างและพัฒนามาแต่ปี ๒๕๔๕ ผลพวงของการศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงลึกคราวนี้

ก็คือ หนังสือ “สัมมาสมาธิ ลมหายใจแห่งการตื่นรู้” เล่มนี้ บวกกับประสบการณ์ทางด้าน วิปสั สนาเล็กๆ น้อยๆ ทีท่ ำให้ตนเองมีความรูส้ กึ ว่า พอใจในชีวติ สมณเพศของตนมากยิ่งขึ้น วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ (วันที่ ๙ เดือน ๙ ปี ๒๐๐๙) คณะกรรมการสร้าง วัดป่าวิมุตตยาลัย กำหนดให้เป็นวันวางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างวัด ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถาบัน การศึ ก ษาทางเลื อ กอี ก แห่ ง หนึ่ ง ที่ ผู้ เ ขี ย นเป็ น ผู้ ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น มาเมื่ อ พ.ศ.๒๕๕๐ และ

คณะกรรมการได้มีความดำริว่า ควรจัดพิมพ์หนังสือธรรมะสักเล่มหนึ่งเพื่อแจกเป็นธรรม บรรณาการในงานอันสำคัญยิ่งนี้ ผู้ เ ขี ย นเห็ น ว่ า คำเชื้ อ เชิ ญ มาถึ ง จวนตั ว นั ก เวลาที่ จ ะเขี ย นหนั ง สื อ ที่ มี เ นื้ อ หา มากมายนั้นไม่มีแน่ จึงได้ถือโอกาสเรียบเรียงหนังสือเล่มน้อยซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการ ศึกษาวิปัสสนาภาวนาจากพระไตรปิฎกด้วยตนเอง ช่วงที่จำพรรษาที่ศูนย์วิปัสสนาอาศรม อิสรชน จังหวัดเชียงราย เพื่อมอบให้คณะกรรมการนำไปจัดพิมพ์แจกไปคราวหนึ่งก่อน หนังสือเล่มนี้ แม้จะมีเนื้อหาที่ไม่มากนัก แต่กระนั้นก็มุ่งคั้นเอาเฉพาะ “แก่น” ที่ เป็นสาระสำคัญจากพระโอษฐ์จริงๆ มาแสดงไว้ โดยมีความเห็นของผู้เรียบเรียงน้อยที่สุด หวังว่า หากมีโอกาสก็จะเขียนขยายความให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป


หวังว่า หนังสือ “สัมมาสมาธิ ลมหายใจแห่งการตื่นรู้” เล่มนี้ คงจะเป็นธรรม บรรณาการแทนคำอนุโมทนา/ขอบคุณที่อาตมภาพขอมอบให้แก่ทุกท่าน ทุกคน ทุกคณะ และทุกฝ่าย ที่ช่วยกันแสวงหาที่ดินอันเป็นสัปปายะ จนนำมาสู่การสร้างสรรค์พัฒนาให้เป็น “วั ด ป่ า วิ มุ ต ตยาลั ย ” ในวั น นี้ ขออานิ ส งส์ แ ห่ ง การร่ ว มกั น สร้ า งมหากุ ศ ลในคราวนี้

จงอำนวยพรให้ ทุ ก ท่ า นประสบความสุ ข สิ ริ ส วั ส ดิ์ พิ พั ฒ นมงคลสมบู ร ณ์ พู น ผลด้ ว ย

ธรรมไพบูลย์ อามิสไพบูลย์ โดยถ้วนหน้ากันด้วยเทอญ ว.วชิรเมธี ศูนย์วิปัสสนาอาศรมอิสรชน - ไร่เชิญตะวัน ๔ กันยายน ๒๕๕๒


คำนำ


สารบัญ บทนำ

หน้า ๑๐

สัมมาสมาธิ : ภาวะที่จิตรวมเป็นหนึ่งโดยชอบ

๑๒

ความสำคัญของสัมมาสมาธิ

๑๔

ประโยชน์ของสัมมาสมาธิ

๑๗

อานาปานสติสมาธิ : ในฐานะเป็นวิธีการที่ทำให้พระโพธิสัตว์ตรัสรู้สู่ความเป็นพุทธ

๑๘

อานาปานสติสมาธิ : ปฏิบัติเพียงหนึ่ง แต่ได้ทั้งหมด

๒๑

อานาปานสติสมาธิภาวนา : มรรควิธีฝึกลมหายใจแห่งการตื่นรู้

๒๔

อานาปานสติ - สติปัฏฐาน ๔ - โพชฌงค์ ๗ : วิธีการที่หลากหลาย แต่เพื่อเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว

๒๗

บทสรุป อัจฉริยลักษณ์ของอานาปานสติสมาธิภาวนา

๓๕

แบบจำลองวัดป่าวิมุตตยาลัย

๓๙

วัดป่าวิมุตตยาลัย ความเป็นมา

๔๐

ประมวลภาพพิธีวางศิลาฤกษ์

๔๓

รายนามผู้ร่วมบริจาคสร้างวัดป่าวิมุตตยาลัย

๖๐

รายชื่อเจ้าภาพร่วมทำบุญจัดพิมพ์ “หนังสือสัมมาสมาธิ”

๖๑


บทนำ

สมาธิ เป็นองค์ธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา เมื่อกล่าวถึงคำว่า “สมาธิ” ก็เป็น ที่ รู้ กั น ดี ใ นหมู่ ช าวพุ ท ธว่ า หมายถึ ง การฝึ ก จิ ตให้ นิ่ ง ด้ ว ยมรรควิ ธี อ ย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง เป็นต้นว่า การนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า (พุ่งตรงต่อสิ่งที่กำหนด

เช่น บริกรรมคำว่า พุทโธ, สัมมาอะระหัง, พองหนอ ยุบหนอ) เมื่อเพียรฝึกโดยวิธีต่างๆ ดังกล่าวมานี้ จิตย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นสมาธิ (เอกัคตาจิต) สงบ นิ่ง มั่นคง ผ่องใส

นุ่มนวล ควรแก่งาน พร้อมเต็มที่สำหรับใช้เป็นฐานปฏิบัติการทางปัญญาต่อไป การฝึกสมาธิ แม้จะมีสอนกันอยูม่ ากในหมูช่ าวพุทธ ก็ตอ้ งไม่ลมื ว่า สมาธิภาวนานี้ มีผู้นิยมฝึกฝน ศึกษา เผยแผ่ กันอยู่แล้วอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดียโบราณก่อนที่ จะมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาเสียด้วยซ้ำ แต่สมาธิที่สอน เผยแผ่ กันอยู่ทั่วไปนั้น มีความ หลากหลายทั้งเป็นไปเพื่อดับทุกข์ บรรลุสุข และเพื่อแสวงหาโลกิยอภิญญาฤทธิ์ต่างๆ

รวมทั้งเป็นไปเพื่อเล่นสนุกอย่างที่เรียกกันว่าเป็นฌานกีฬาชนิดหนึ่งก็มี สมาธิวิธีเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ก่อให้เกิดการดับทุกข์ บรรลุสุข ที่เป็นอิสรภาพจากกิเลสอย่าง แท้จริง ดั ง นั้ น พระพุ ท ธองค์ จึ ง ทรงสอนสมาธิ วิ ธี อี ก แบบหนึ่ ง ซึ่ ง ทรงมี ป ระสบการณ์

มาด้วยพระองค์เองว่า สามารถนำไปสูก่ ารดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง สมาธิวธิ ชี นิดนีท้ รงเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” และสมาธิวิธีที่ไม่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ ทรงเรียกว่าเป็น “มิจฉาสมาธิ”

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสัมมาสมาธิเท่านั้น 10


11


สัมมาสมาธิ : ภาวะที่จิตรวมเป็นหนึ่งโดยชอบ

คำนิยามของสัมมาสมาธิที่เข้าใจง่ายที่สุดมีอยู่ในรูปพุทธวัจนะดังต่อไปนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร (คือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ซึ่ ง

มีวิตก วิจาร ปีติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ ๒. บรรลุทุติยฌาน ซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน มีภาวะที่ใจเป็นหนึ่ง

ผุดพรายขึ้น (เอโกทิภาวะ) ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป เธอจึงมีอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะ กำซาบความสุข อยู่ ด้ ว ยกาย บรรลุ ต ติ ย ฌานที่ อ ริ ย บุ ค คลทั้ ง หลายกล่ า วว่ า “เป็ น ผู้ มี อุ เ บกขา มี ส ติ

อยู่เป็นสุข”

12


๔. เพราะละสุขละทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสอันตรธานไปก่อน จึงบรรลุ

จตุถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่” (ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๙)

ส่วนคำนิยามที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมระบุว่า

“สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร

ความดำรงอยู่แห่งจิต ความแน่วแน่แห่งจิต ความตั้งมั่นลงไปแห่งจิต ความไม่ แส่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่านไปแห่งจิต สภาวะที่จิตไม่เลื่อนลอย ความสงบ สมาธินทรีย์ (ภาวะที่จิตมั่นคงเป็นใหญ่) สมาธิพละ (กำลังแห่งจิตที่ตั้งมั่น) สัมมาสมาธิ (ความตั้งมั่น แห่ ง จิ ตโดยชอบ) สมาธิ สั มโพชฌงค์ (สมาธิ ที่ เ ป็ น องค์ ธ รรมแห่ ง การตรั ส รู้ พ ร้ อ ม)

ที่ เ ป็ น องค์ แ ห่ ง มรรค นั บ เนื่ อ งอยู่ ใ นมรรคอั นใด สมาธิ ดั ง กล่ า วมานี้ นั่ น เอง เรี ย กว่ า

สัมมาสมาธิ” (อภิ.วิ.๓๕/๑๘๓/๑๔๐) กล่าวโดยสาระสำคัญ สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่นำไปสู่ความดับทุกข์ได้นั่นเอง สมาธิที่มีจุดหมายอย่างอื่น เช่น สมาธิเพื่อการได้ความสามารถพิเศษอย่างหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ รู้ใจคน เป็นต้น ไม่นับเป็นสัมมาสมาธิ

13


ความสำคัญของสัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิเป็นองค์ธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา จึงปรากฏอยู่ทั่วไปในหลัก

คำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมากมาย (พหุลานุสาสนี) ในที่นี้ ขอชี้ให้เห็นความสำคัญ

ของสัมมาสมาธิเพียงบางแง่มุมดังต่อไปนี้

๑. เป็นหลักการศึกษาทีเ่ รียกว่า “ไตรสิกขา” เช่น ทีป่ รากฏในพุทธพจน์วา่

“สมาธิที่ศีลอบร่ำแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ปัญญาที่สมาธิอบร่ำแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

จิตที่ปัญญาอบร่ำแล้ว ย่อมหลุดพ้นโดยชอบทีเดียว

จากอาสวะ (กิเลส) ทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ” (ที.ม.๑๐/๗๗/๙๙)

14


๒. เป็นหนึ่งใน “อริยมรรคมีองค์ ๘” หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” (ทางสายกลาง)

ที่นำไปสู่การบรรลุอริยมรรคอริยผล เช่นที่ตรัสว่า “...ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งทางสายกลางที่ไม่ข้องแวะทางสุดโต่งสองสายนั้น

อั น เป็ น ทางที่ ส ร้ า งจั ก ษุ สร้ า งญาณ เป็ นไปเพื่ อ ความสงบ เพื่ อ ความรู้ ยิ่ ง เพื่ อ ตรั ส รู้

เพื่อนิพพาน

ก็แลทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไร

ทางนั้น คือ มรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ กล่าวคือ (๑) สัมมาทิฐิ

เห็นชอบ

(๒) สัมมาสังกัปปะ

คิดชอบ

(๓) สัมมาวาจา

พูดชอบ

(๔) สัมมากัมมันตะ

ทำชอบ

(๕) สัมมาอาชีวะ

อาชีพชอบ

(๖) สัมมาวายามะ

เพียรชอบ

(๗) สัมมาสติ

ระลึกชอบ

(๘) สัมมาสมาธิ (วินย. ๔/๑๓/๑๘)

ตั้งจิตมั่นชอบ”

15


๓. เป็ น หนทางแห่ ง การเห็ น อริ ย สั จ ๔ หรื อ การหยั่ ง รู้ ค วามจริ ง ทั้ ง

๔ ประการ ซึ่งเป็นผลที่หมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเป็นวิวัฒนาการปัญญาขั้น สูงสุดของมนุษยชาติ เช่น ที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริง รู้ชัดอะไรตามความเป็นจริง คือ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) เธอทั้ ง หลายจงเจริ ญ สมาธิ ภิ ก ษุ ผู้ มี ส มาธิ ย่ อ มรู้ ชั ด ตามความเป็ น จริ ง ”

(สํ.ม. ๑๙/๑๐๗๑/๕๘๓)

16


ประโยชน์ของสัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิมีประโยชน์เป็นอเนกอนันต์ ทั้งประโยชน์ทางกายภาพ (คือผลต่อ สุขภาพ) ประโยชน์ทางชีวภาพ (คือผลต่อสุขภาพจิต คุณภาพจิต ศักยภาพจิต) และผล สูงสุดคือการบรรลุอริยมรรคอริยผล หรือนิพพาน แต่เมื่อกล่าวตามนัยคัมภีร์พระไตรปิฎก สมาธิมีประโยชน์ ๔ ประการดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสมาธิ มี (ประโยชน์) ๔ อย่างดังต่อไปนี้ (๑) สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน (สมาธิที่เป็นสมถะ เพื่อสุขภาพ) (๒) สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณ ทัศนะ (สมาธิที่เป็นสมถะ เพื่อความสามารถพิเศษ) (๓) สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ (สมาธิที่เป็นวิปัสสนา เพื่อรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน) (๔) สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป

แห่งอาสวะ (กิเลส) ทัง้ หลาย (สมาธิทเี่ ป็นวิปสั สนา เพือ่ ดับทุกข์ สิน้ กิเลส)” (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๔๑/๕๗) 17


อานาปานสติสมาธิ : ในฐานะเป็นวิธกี ารทีท่ ำให้พระโพธิสตั ว์ตรัสรูส้ คู่ วามเป็นพุทธ

วิธีฝึกสมาธิมีมากมายเป็นอเนกประการ เท่าที่พระอรรถกถาจารย์ประมวลไว้ก็มี มากกว่า ๔๐ วิธี แต่วิธีที่ปฏิบัติง่ายที่สุด (คือใช้เพียงการตามดูลมหายใจ) มีประโยชน์ มากที่สุด คือ ตั้งแต่ประโยชน์ขั้นพื้นฐาน เช่น ใช้เป็นการพักผ่อนเพื่อผลต่อการเกื้อกูล สุขภาพไปจนถึงผลสูงสุด คือ ดับกิเลสสิ้นอาสวะได้เลย และพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ มากที่ สุ ด ก็ ไ ด้ แ ก่ อานาปานสติ ส มาธิ (สมาธิ คื อ การระลึ ก รู้ ล มหายใจเข้ า ออก) ดั งที่

ทรงตรัสยืนยันถึงอานิสงส์ของสมาธิชนิดนี้พร้อมทั้งเชิญชวนให้พุทธสาวกปฏิบัติตามดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องมีอยู่ว่า เรานั้นก่อนที่จะได้ตรัสรู้ คือ สมัยที่ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ โดยมากก็พำนักอยู่ด้วยวิหารธรรม (คืออานาปานสติสมาธิ) นี้, เมื่อเราพำนักอยู่ด้วย วิหารธรรมนีโ้ ดยมาก กายก็ไม่เมือ่ ย ตาก็ไม่เหนือ่ ย และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทัง้ หลาย

เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุนั้นแลภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ หวังใจอยู่ว่า ‘กายของเราไม่พึงเมื่อย ตาของเรา ไม่พงึ เหนือ่ ย และจิตของเราก็พงึ หลุดพ้นจากอาสวะทัง้ หลาย เพราะไม่ยดึ มัน่ ก็พงึ มนสิการ (สนใจ) อานาปานสติสมาธินี้แลให้มาก’ ” (สํ.ม.๑๙/๑๓๒๙-๑๓๓๐/๔๐๑) 18


“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพ สงบ ประณี ต สดชื่ น เป็ น ธรรมเครื่ อ งพำนั ก อยู่ อ ย่ า งเป็ น สุ ข ทั้ ง ยั ง อกุ ศ ลธรรมไม่ ดี

ทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วให้อันตรธานไปได้โดยฉับพลัน เปรียบเหมือนฝนห่าใหญ่ที่ตก นอกฤดูกาล ยังฝุ่นธุลีที่ฟุ้งขึ้นในท้ายฤดูร้อนให้ปลาสนาการไปฉันนั้น” (วินย.๑/๑๗๘/๑๓๑) “ภิกษุทั้งหลาย หากว่าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลาย จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ ว่า ‘โดยมาก พระสมณโคดมทรงจำพรรษาอยู่ด้วยวิหารธรรมไหน’ เธอทั้งหลายเมื่อถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมาก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับจำพรรษาอยูด่ ว้ ยอานาปานสติสมาธิ’ ” (สํ.ม.๑๙/๑๓๗๓-๔/๔๑๕) ๑ ๑

ข้ อ ความแวดล้ อ มของพระพุ ท ธวั จ นะตรงนี้ เ ล่ า ว่ า ในพรรษาหนึ่ ง พระพุ ท ธองค์ ท รงหลี ก เร้ น

ไปจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้เมืองอิจฉานังคละ ตลอดไตรมาสนั้น ทรงปลีกวิเวกพำนักอยู่

เพียงพระองค์เดียว ทรงอนุญาตให้เฉพาะภิกษุที่นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายเพียงรูปเดียวเท่านั้น เมื่อ

ออกพรรษาแล้ว ทรงพบภิกษุทั้งหลาย จึงทรงเล่าว่า ทรงพำนักอยู่ตลอดพรรษาด้วยอานาปานสติสมาธิ พุ ท ธจริ ย าตอนนี้ สะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า อานาปานสติ ส มาธิ นั้ น สำหรั บ ผู้ บ รรลุ อ ริ ย ผลขั้ น สู ง สุ ด เป็ น

พระอรหันต์แล้ว ก็สามารถใช้เพื่อเป็นวิธีการในการพักผ่อนเพื่อเกื้อกูลต่อสุขภาพได้ หรือสำหรับผู้อยู่ระหว่างการ ฝึกปฏิบัติ ยังไม่บรรลุผลสูงสุด ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูสุขภาพได้เช่นเดียวกัน เนื่องเพราะอานาปานสติสมาธินี้ จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความผ่อนคลาย สบายใจ หายเหนื่อยเมื่อยล้า เย็นกายเย็นใจตั้งแต่แรกเริ่ม ลงมือปฏิบัติ ดังที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ผู้ปฏิบัติอานาปานสติสมาธินี้ จะมีความรู้สึกว่า “เย็น” โดยไม่ต้อง “รด” ด้วยน้ำ แต่เป็นความเย็นฉ่ำ สงบ ประณีต ผ่องใส จากภายในอย่างแท้จริง ลักษณะทางกายภาพของผู้ฝึกอานาปานสติสมาธิที่เห็นทันตาก็คือ ทันทีที่ลงมือปฏิบัติด้วยการตามดู ตามรู้ ลมหายใจ ก็จะสัมผัสได้ถึงภาวะที่กายใจเริ่มเข้าสู่ความสงบ ประณีต ลงไปโดยลำดับ ร่างกายผ่อนคลาย เกิ ด ปี ติ แ ช่ ม ชื่ น เบิ ก บาน ผ่ อ งใส อานาปานสติ ส มาธิ จึ ง เป็ น สมาธิ ที่ เ กื้ อ กู ล ต่ อ การฟื้ น ฟู สุ ข ภาพใน

เบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย (หลังบรรลุจุดหมายแล้ว) และยังให้ผลยิ่งใหญ่เป็นอรหัตตผล (นิพพาน) ด้วย จึงนับว่าเป็น “สัพพัตถิกสมาธิ” (สมาธิที่ให้ผลสมปรารถนาสารพัดประโยชน์)

19


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเจริญอานาปานสติให้มากแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้

พึงหวังผล ๑ ใน ๒ อย่างนี้ กล่าวคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี” (สํ.ม.๑๙/๙๘๐/๔๕๗) “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล้ว เธอพึงหวังผล ๗ ประการ ผล ๗ ประการ คืออะไรบ้าง คือ ๑. บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันทันที ๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบนั ก็จะบรรลุในเวลาใกล้มรณะ ๓. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันและในเวลาใกล้มรณะ ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๔. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๕. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๖. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๗. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผอู้ ทุ ธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการหมดสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล้ว เธอพึงหวังผล ๗ ประการดังกล่าวมานี”้ (สํ.ม.๑๙/๙๘๑/๔๕๗-๘) 20


อานาปานสติสมาธิ : ปฏิบัติเพียงหนึ่ง แต่ได้ทั้งหมด

มี ค วามเข้ าใจคลาดเคลื่ อ นในหมู่ ผู้ ส นใจปฏิ บั ติ ธ รรมในเมื อ งไทยบางกลุ่มว่า

การเจริญสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อานาปานสติสมาธินั้น เป็นเพียง “สมถภาวนา”

ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ต่างหากจึงเป็น “วิปัสสนาภาวนา” ทัศนะเช่นนี้ ทำให้มีการมองข้าม หรือเห็นว่า อานาปานสติภาวนาไม่สำคัญ หรือถึงจะ สำคัญก็ไม่เท่าสติปัฏฐาน ๔ ความเห็นเช่นนี้นับว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะ

เมื่อจะกล่าวให้ถูกแล้ว การเจริญอานาปานสติสมาธินั้น เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา มี

ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา รวมอยู่ในสมาธิวิธีแบบนี้อย่างสมบูรณ์ โดยที่ ๓ หมวดแรก ของอานาปานสติสมาธินับว่าเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ส่วนหมวดที่ ๔ เป็นวิปัสสนาล้วน (พึงสังเกตวิธีปฏิบัติซึ่งจะกล่าวต่อไป) หรืออีกนัยหนึ่ง หลักสติปัฏฐาน ๔ หมวดแรก

ซึ่งว่าด้วยการตามดูรู้เท่าทันกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ก็คืออานาปานสติสมาธินั่นเอง เพราะฉะนั้น ทั้งอานาปานสติสมาธิและสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่อง เดียวกันนั่นเอง

21


ส่วนที่กล่าวว่า มีศีล สมาธิ ปัญญารวมอยู่ด้วยในตัวอย่างเบ็ดเสร็จนั้น ส่วนที่ เป็ น ความสำรวมกาย วาจา โดยมี เ จตนาที่ ป ลอดจากการละเมิ ด หรื อ การเบี ย ดเบี ย น

นับเป็นศีล การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่กับกายคือลมหายใจ หรือตั้งมั่นอยู่กับสิ่งที่กำหนด ในขณะนั้ น ๆ นั บ เป็ น สมาธิ การมี ส ติ รู้ ตั ว ทั่ ว พร้ อ ม มองเห็ น กาย เวทนา จิ ต ธรรม

ตามความเป็นจริง จนสามารถถอดถอนความสำคัญผิดยึดติดถือมั่นว่า เป็นตัวเรา ตัวเขา สัตว์ บุคคล ออกมาเสียได้ เห็นแต่ความจริงตามสภาวะล้วน ๆ ที่เกิดดับอยู่ตามธรรมดา นับเป็นปัญญา ในพระไตรปิฎกท่านแสดงหลักฐานไว้ว่า อานาปานสติสมาธิ กับ สติปัฏฐาน ๔ นั้น ดำรงอยู่ในกันและกัน บูรณาการเข้าในกันและกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน เกื้อกูลซึ่ง กันและกัน เวลาที่ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิ ก็ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗

นับเนื่องอยู่ในพระสูตรเดียวกัน ซึ่งเท่ากับทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งอานาปานสติ สมาธิ สติปัฏฐาน ๔ และโพชฌงค์ ๗ นั้น เป็นหมวดธรรมประเภทเดียวกัน วิธีปฏิบัติก็ ใช้หลักการเดียวกัน มุ่งตรงต่อเป้าหมายสูงสุดคือ “วิชชา วิมุตติ” เหมือนกัน๒ ความข้อนี้ พึงพิจารณาจากพระพุทธพจน์ดังนี้

พึงดูวธิ ที ที่ รงแสดงอานาปานสติสมาธิ, สติปฏั ฐาน ๔, โพชฌงค์ ๗ ว่าเป็นธรรมนับเนือ่ งอยูใ่ นกันและกัน เกื้อกูลกัน ใช้หลักการเดียวกัน จากอานาปานสติสูตร ใน ม.อุ. ๑๔/๑๔๘-๑๕๒/๑๘๗-๑๙๕ เป็นต้น

22


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบรู ณ์, ธรรม ๔ ประการทีภ่ กิ ษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการ บริบูรณ์, ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร ดูกอ่ นอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติทภี่ กิ ษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ สติปฏั ฐาน ๔ ประการบริบูรณ์, สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์, โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์” (สํ.ม.๑๙/๙๘๙/๔๗๓)

23


อานาปานสติสมาธิภาวนา : มรรควิธีฝึกลมหายใจแห่งการตื่นรู ้

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา เรียกการเจริญอานาปานสติสมาธิว่า “อานาปานสติ ๑๖ ขั้น” (โสฬสวตฺถุกอานาปานสติ, โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิ ภาวนา) การปฏิบัติอานาปานสติสมาธิ ก็พึงดำเนินขั้นตอนตามที่ทรงแนะนำไว้ในอานาปาน สติสูตร ดังต่อไปนี้ “อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี อานิสงส์มาก

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่สุญญาคารก็ดี ๓ ๒. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ๓. มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ๓

สุญญาคาร หมายถึง สถานทีซ่ งึ่ เอือ้ ต่อการเจริญอานาปานสติสมาธิ ๗ แห่ง (๑) ภูเขา (๒) ซอกเขา (๓) ถ้ำในภูเขา (๔) ป่าช้า (๕) ป่าละเมาะ (๖) ที่โล่งแจ้ง (๗) ลอมฟาง

24


อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนา ๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’ เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’

๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น

ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’ ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’

๓) สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรูก้ องลมทั้งปวง หายใจออก’ ๔) สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’ หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนา ๕) สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’ ๖) สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรูส้ ุข หายใจออก’ ๗) สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรูจ้ ิตตสังขาร หายใจออก’ ๘) สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’ 25


หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนา ๙) สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรูจ้ ิต หายใจออก’ ๑๐) สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า เราทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก’ ๑๑) สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก’ ๑๒) สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราเปลือ้ งจิต หายใจออก’ หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนา ๑๓) สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก’ ๑๔) สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’ ๑๕) สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’ ๑๖) สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’ ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย อานาปานสติ ที่ ภิ ก ษุ เ จริ ญ แล้ ว อย่ า งนี้ ทำให้ ม ากแล้ ว อย่ า งนี้

จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” (ม.อุ.๑๔/๑๔๘/๑๘๗-๙) 26


อานาปานสติ - สติปฏั ฐาน ๔ - โพชฌงค์ ๗ : วิธีการที่หลากหลาย แต่เพื่อเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว มั ก มี ค วามเข้ า ใจผิ ด ๆ ในหมู่ ผู้ ส นใจวิ ปั ส สนากรรมฐานว่ า อานาปานสติ

(การเจริญสติด้วยการตามดูลมหายใจ) เป็นเพียง สมถกรรมฐาน ส่วนสติปัฏฐาน ๔

เป็นวิปัสสนากรรมฐาน บางคนเข้าใจผิดเลยเถิดไปไกลถึงขนาดว่า ผู้ปฏิบัติอานาปานสติ สมาธิ เป็นเพียงผู้ที่ติดอยู่ในสมถกรรมฐานอันตื้นๆ สู้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนว สติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้ ความเข้าใจผิดเช่นนี้ มีอยู่มากในหมู่ผู้สนใจพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ในความเป็นจริงนั้น อานาปานสติ หรือเรียกเต็มว่า อานาปานสติสมาธิ มีทั้ง

ส่วนที่เป็นสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในตัวพร้อมบริบูรณ์ หรือกล่าวให้ยิ่งไป กว่านั้นว่า แท้ที่จริงแล้ว ทั้งอานาปานสติสมาธิ และสติปัฏฐาน ๔ (รวมถึงโพชฌงค์ ๗ และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ด้วย) นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เป็นวิปัสสนาวิธีเหมือนกัน ปฏิบัติตามแล้วดับทุกข์ได้เหมือนกัน ความข้อนี้จะไม่กล่าวให้ยืดยาว เพราะพระพุทธพจน์ ของพระพุทธองค์ในอานาปานสติสูตร (ม.อุ.๑๙/๑๔๙-๑๕๒/๑๘๙-๑๙๕) ยืนยันชัดเจน อยู่แล้ว ขอยกมาให้พิจารณาเป็นการแก้ความเข้าใจผิดในหมู่ผู้สนใจวิปัสสนากรรมฐาน

ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้

27


“อานาปานสติ ที่ ภิ ก ษุ เ จริ ญ แล้ ว อย่ า งไร ทำให้ ม ากแล้ ว อย่ า งไร จึ ง ทำให้ ส ติ ปั ฎ ฐาน ๔ บริบูรณ์ได้ คือ

๑. สมัยใด ภิกษุเมือ่ หายใจเข้ายาว ก็รชู้ ดั ว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’ สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย

มีความเพียร มีสัมปัชชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

๒. สมัยนั้น ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปิติ หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปิติ หายใจออก‘ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’ 28


สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’

สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’

สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโลกได้ เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็น อย่างดีนี้ว่า เป็นเวทนาชนิดหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลายเพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกอยู

๓. สมัยนั้น ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรูจิต หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’ สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’ สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’ สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’ สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราไม่บอกอานาปาณสติแก่ภิกษุผู้หลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ 29


เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’

สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’

สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้จึงทำให้ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้” สติปัฏฐาน ๔ [๑๕๐] สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไรจึงทำให้ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ คือ 30


๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้น ภิกษุนั้นมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุ มี ส ติ ตั้ ง มั่ น ไม่ ห ลงลื ม สมั ย นั้ น สติ สั มโพชฌงค์ ( ธรรมที่ เ ป็ น องค์ แ ห่ ง การตรั ส รู้ คื อ

ความระลึกได้) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้น ด้ ว ยปั ญ ญา สมัยใดภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณา

ธรรมนั้ น ด้ ว ยปั ญ ญา สมั ย นั้ น ธั ม มวิ จ ยโพชฌงค์ ( ธรรมที่ เ ป็ น องค์ แ ห่ ง การตรั ส รู้ คื อ

การเลื อ กเฟ้ น ธรรม) ย่ อ มเป็ น อั น ภิ ก ษุ ป รารภแล้ ว สมั ย นั้ น ภิ ก ษุ ชื่ อ ว่ า เจริ ญ ธั ม มวิ จ ย

สัมโพชงฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญขเต็มที่ ๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภความ เพียรไม่ย่อหย่อน สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรองถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คื อ ความเพี ย ร)ย่ อ มเป็ น อั น ภิ ก ษุ ป รารภแล้ ว สมั ย นั้ น ภิ ก ษุ ชื่ อ ว่ า เจริ ญ วิ ริ ย สั มโพชงค์

สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ๔. สมัยใด ปีติที่ปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ย่อมเป็นอันภิกษุอันปรารภ แล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง ความเจริญเต็มที่ ๕. เมื่ อ ภิ ก ษุ มี จิ ต เกิ ด ปี ติ กายและจิ ต ย่ อ มสงบ สมั ยใด ภิ ก ษุ มี จิ ต เกิ ด ปี ติ

กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความสงบกายสงบจิต) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชงฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ 31


๖. เมื่อภิกษุมีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด เมื่อภิกษุมีกาย สงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิ

สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยใด ภิกษุเป็น ผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ ว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนัน้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุยอ่ มถึงความเจริญเต็มที ่ [๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย ๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้นภิกษุนั้นมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ สติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้นธัมมวิจยโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิ ก ษุ ชื่ อ ว่ า เจริ ญ ธั ม มวิ จ ยสั มโพชฌงค์ สมั ย นั้ น ธั ม มวิ จ ยสั มโพชฌงค์ ข องภิ ก ษุ ย่ อ ม

ถึงความเจริญเต็มที่ ๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาเป็นอันปรารภ ความเพี ย รไม่ ย่ อ หย่ อ นแล้ ว สมั ยใด ภิ ก ษุ ย่ อ ม ค้ น คว้ า ไตร่ ต รอง ถึ ง การพิ จ ารณา

ธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนัน้ ภิกษุชอื่ ว่าเจริญวิรยิ สัมโพชฌงค์ของภิกษุยอ่ มถึงความเจริญเต็มที ่ 32


๔. ปีติอันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยใด ปีติ อันปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ๕. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิ ก ษุ ชื่ อ ว่ า เจริ ญ ปั ส สั ท ธิ สั มโพชฌงค์ สมั ย นั้ น ปั ส สั ท ธิ สั มโพชฌงค์ ข องภิ ก ษุ ย่ อ มถึ ง

ความเจริญเต็มที่ ๘. เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด เมื่อภิกษุผู้มี กายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของ ภิกษุย่องถึงความเจริญเต็มที่ ๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยใดภิกษุเป็นผู้ วางเฉยจิ ต ที่ ตั้ ง มั่ น แล้ ว เช่ น นั้ นได้ เ ป็ น อย่ า งดี สมั ย นั้ น อุ เ บกขาสั มโพชฌงค์ ย่ อ มเป็ น

อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้

จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ สมบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ [๑๕๒] โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไรจึงทำให้วิชชาและ วิมุตติ บริบูรณ์ 33


คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสติสมั โพชฌค์ อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย กำหนัด)

อาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง

๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ …

๓. เจริญวิริยะสัมโพชฌงค์ ...

๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...

๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...

๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อม ไปเพื่อความปล่อยวาง ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย โพชฌงค์ ๗ ที่ ภิ ก ษุ เ จริ ญ แล้ ว อย่ า งนี้ ทำให้ ม ากแล้ ว อย่ า งนี้

จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมเพราะภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

34


บทสรุป อัจฉริยลักษณ์ของอานาปานสติสมาธิภาวนา

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่าว่า พระโพธิสัตว์ก่อนแต่จะตรัสรู้ มีพระชนม์เพียง

๗ พรรษาเท่านั้น ก็ได้เคยฝึกอานาปานสติสมาธิภาวนาด้วยพระองค์เองมาครั้งหนึ่งแล้ว และก็ด้วยประสบการณ์คราวนี้เอง ที่ทำให้พระองค์ทรงหวนระลึกถึงว่า “น่าจะเป็นอีกทาง เลือกหนึ่งที่ทำให้บรรลุภาวะพระนิพพาน” หลังจากที่ทรงทดลองฝึกวิธีการต่างๆ มาแล้ว จากครู บ าอาจารย์ แ ทบทุ ก สำนั ก แต่ ก ลั บ ทรงค้ น พบว่ า ไม่ ใ ช่ วิ ถี ท างที่ ท รงแสวงหา ประสบการณ์ในวัยเยาว์คราวนั้นแท้ๆ ที่ทำให้พระองค์ทรงค้นพบอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้ ว ยเหตุ ที่ อ านาปานสติ ส มาธิ ภ าวนา เป็ น ภาวนาวิ ธี ที่ ท ำให้ พ ระองค์ ป ระสบ

ความสำเร็จอันใหญ่หลวง จึงทรงยกย่องสมาธิวิธีข้อนี้เป็นอย่างมาก ถึงท่านพุทธทาสภิกขุ เอง เมื่อได้อ่านพบอานาปานสติสูตร ก็รู้สึกประทับใจเป็นอันมาก จึงได้อุทิศตนทุ่มเทศึกษา พระสู ต รนี้ อ ย่ า งจริ ง จั ง กระทั่ ง นำมาเขี ย นเป็ น หนั ง สื อ จั ด ตั้ ง วางเป็ น แบบแผนแห่ ง

การปฏิบัติขึ้นที่สำนักสวนโมกขพลาราม ซึ่งยังคงมีการสอนกันอยู่มาจนถึงบัดนี้ ทั้งแก่

ชาวไทยและชาวต่างชาติ 35


ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า “อานาปานสติภาวนา เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสมาธิภาวนาแบบที่พระพุทธองค์ได้ ปฏิบัติและตรัสรู้, มีคำตรัสยืนยันว่า ตรัสรู้ด้วยอานาปานสติภาวนาโดยเฉพาะ นี้ก็เป็น

เรื่องพิเศษเรื่องหนึ่งว่า ทำไมจึงระบุอย่างนี้, กรรมฐานภาวนามีตั้งมากมาย ทำไมจึงตรัส ระบุอานาปานสติภาวนา, ใช้คำว่า อานาปานสติภาวนา ไม่ได้ใช้คำว่า สติปัฏฐาน; แม้ว่า เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องเดียวกัน จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างก็ไม่เท่าไร, พระองค์ก็ยังตรัส

เรียกว่า ระบบอานาปานสติภาวนา เป็นระบบที่ทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้, นี้ก็ควรจะสนใจ มันมีของดีหลายอย่างหลายประการสำหรับแบบนี้, ตัวอย่างเช่น แบบนี้เมื่อทำแล้ว จะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกันไปในตัว ไม่ต้องแยกทำคนละที และยังแถมกล่าวได้ ว่า มีศีลพร้อมกันไปในตัว ไม่ต้องทำพิธีรับศีลก่อนแล้วจึงมาทำ, ขอให้ลงมือทำเถิดตาม ระบบนี้ ก็จะมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมกันไปในตัว, แบบนี้จะสู้แบบที่เขากำลังเล่าลือกัน ในโลก คือแบบเซน อย่างแบบเซน ของจีน ของญี่ปุ่น ที่ไปมีชื่อเสียงโด่งดังในตะวันตก ในพวกฝรั่งนั้น ก็เพราะว่า มันเป็นแบบที่มีสมถะและวิปัสสนาติดกันอยู่ด้วยพร้อมกัน

ไปในตัว เมื่อมาพิจารณาดูถึงแบบฝ่ายเถรวาท ก็เห็นว่า แบบอานาปานสตินี่แหละ มีสมถะ และวิ ปั ส สนาพร้ อ มกั น ไปในตั ว แล้ ว ก็ อ ย่ า งรั ด กุ ม ที่ สุ ด , เลยเป็ น เหตุ ใ ห้ ต้ อ งนึ ก ถึ ง

ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถึงทางออกจากความทุกข์ คือ วิถีทางดับ

ทุกข์นั้น โดยทั่วไปก็ตรัสเป็นอัฏฐังคิกมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา แต่ก็มีมากแห่งเหลือเกิน แทนที่ จ ะตรั ส ว่ า มั ช ฌิ ม าปฏิ ป ทา ก็ ต รั ส แต่ เ พี ย งว่ า สมโถ จ วิ ปั ส สนา จ เท่ า นี้ ก็ มี

คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ตรัสแทนคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา... ทำไมมั น แทนกั น ได้ เพราะว่ า ในสมถะนั้ น มี ศี ล รวมอยู่ ด้ ว ย, เมื่ อ พู ด ว่ า

สมถะและวิ ปั ส สนา ก็ มี ทั้ ง ศี ล ทั้ ง สมาธิ และทั้ ง ปั ญ ญา ในอริ ย มรรคมี อ งค์ ๘ นั้ น ,

36


ถ้าสงเคราะห์ย่นย่อแล้วก็มีเพียงศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น มันจึงมีค่าเท่ากัน, พระองค์

จึงนำมาตรัสแทนกันได้, ระหว่างคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา กับคำว่า สมโถ จ วิปัสสนา จ, ขอให้เป็นที่เข้าใจในข้อนี้ ทำสมาธิภาวนาโดยวิธีอานาปานสติภาวนาแล้ว จะเป็นการปฏิบัติอย่างถึงที่สุดทั้ง ในศีล สมาธิ และทั้งในปัญญา เรียกว่ามันสมบูรณ์แบบอยู่ในตัว ถ้าจะพูดอย่างธรรมดา สามัญก็ว่า เป็นวิธีที่ได้เปรียบที่สุด” ๔ อานาปานสติสมาธิภาวนา เป็นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ใน

ตัวเองพร้อมบริบูรณ์ วิธีปฏิบัติก็ง่าย ไม่ต้องใช้องค์ประกอบมากมาย อาศัยเพียงแต่การ ตามระลึกรู้ลมหายใจ (กาย) เวทนา จิต ธรรมอย่างรู้ตัวทั่วพร้อมเท่านั้น หากผู้ใดปฏิบัติ ตามวิธีการดังกล่าวนี้อย่างถูกต้องก็จะได้รับผลตั้งแต่ขั้นต่ำ คือ ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทันตาเห็น เกื้อกูลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ส่งเสริมให้ศักยภาพทางจิตและปัญญา

เข้มแข็ง เฉียบคม สุกสว่าง กระจ่างใส สดชื่น เบิกบาน ผ่อนคลาย สบายใจ ไร้ความ ตึงเครียด และประโยชน์ขั้นสูงสุด คือ ทำให้หยั่งลงสู่สัจธรรมระดับปรมัตถ์ กล่าวคือ

ภาวะพระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดลงของความทุกข์บรรดามีทั้งมวล อานาปานสติสมาธิภาวนา จึงเป็นสมาธิภาวนาที่ควรนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อย่างทั่วถึง ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ทั้งนี้ เพื่อที่เราทั้งหลายจะได้ลิ้มชิมรสอมตธรรม ในชีวิตนี้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอให้เนิ่นนานไกลออกไปนับแสนล้านชาติภพอย่างที่

เคยเชื่อกันมาอย่างผิดๆ แต่โบราณอีกต่อไป ดังที่มีพุทธพจน์ตรัสยืนยันอย่างชัดเจนว่า ๔

พุทธทาสภิกขุ, คูม่ อื ปฏิบตั อิ านาปานสติภาวนา. (สำนักพิมพ์ ธรรมสภา : กรุงเทพฯ), ๒๕๕๒, หน้า ๓-๘.

37


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล้ว เธอพึงหวังผล ๗ ประการ ผล ๗ ประการคืออะไรบ้าง กล่าวคือ ๑. บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันทันที ๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็จะบรรลุในเวลาใกล้มรณะ ๓. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันและในเวลาใกล้มรณะ ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๔. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๕. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๖. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๗. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการหมดสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล้ว เธอพึงหวังผล ๗ ประการดังกล่าวมานี้”

38


แบบจำลองวัดป่าวิมตุ ตยาลัย

Buffer ๑๐๐.๐๐

ที่จอดรถ ๑๐๐.๐๐

ทางจงกรม ๑๖๐.๐๐

พุทธาวาส ๑๖๐.๐๐

Buffer Buffer ๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐ อุทยานธรรม สถาบันวิมุตตตยาลัย และหอสมุด ๔๐

Buffer

ที่จอดรถ

ทางจงกรม

พุทธาวาส

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๑๖๐.๐๐

๑๖๐.๐๐

อุทยานธรรม Buffer ๔๐

๒๐.๐๐

ลานแสดงธรรม และหอประชุม

สถาบันวิมุตตตยาลัยและหอสมุด

Buffer

ลานแสดงธรรมและหอประชุม

๒๐.๐๐

Buffer เรือนพักหญิง กางกลดชาย Buffer ๒๐.๐๐ กางกลดหญิง เรือนพักชาย ครัว

Buffer กางกลดหญิง

เรือนพักหญิง

เรือนพักชาย กางกลดชาย

สังฆาวาส

ครัว

Buffer

สังฆาวาส

บนเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ ณ รังสิตคลอง ๑๔ มุ่งขับเคลื่อนเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก (Applied Buddhism) ภายใต้วิสัยทัศน์ “พุทธศาสนาไทยก้าวไกลเพื่อสันติภาพโลก” พัฒนาวัดให้เป็นแหล่ง “ความรู้” (wisdom) คู่ “ความตื่น” (mindfulness)

39


วัดป่าวิมุตตยาลัย ความเป็นมา ยุคที่ ๑ : ธรรมะติดปีก

นั บ แต่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาเปรี ย ญธรรม ๙ ประโยค (พ.ศ.๒๕๔๓) และพุ ท ธ-

ศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต (พธ.ม.) จากมหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ แล้ว พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี หรือท่าน ว. วชิรเมธี ได้อทุ ศิ ตนทำงานเผยแผ่

พระพุทธศาสนาเชิงรุกครบวงจรทั้งโดยการเทศน์ การสอน การผลิตผลงานทางวิชาการ การเขียนหนังสือธรรมะออกเผยแผ่โดยใช้ภาษาร่วมสมัย การทำรายการธรรมะทางโทรทัศน์ วิทยุ และการเปิดเว็บไซต์ธรรมะ (vimuttayalaya.net) ตลอดจนการเดินทางไปปาฐกถา และสอนสมาธิภาวนาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จนก่อให้เกิดความสนใจธรรมะใน หมู่ประชาชนแทบทุกกลุ่มอย่างกว้างขวาง ก่อเกิดเป็นกระแส “ธรรมะติดปีก, ธรรมะ อินเทรนด์, ธรรมะประยุกต์” อย่างแพร่หลาย ต่อมาเมื่อปริมาณงานเพิ่มขึ้นตามจำนวน

ผู้ ส นใจธรรมะ ทำให้ ท่ า นตั ด สิ นใจก่ อ ตั้ ง “สถาบั น วิ มุ ต ตยาลั ย ” (Vimuttayalaya

40


Institute) ซึ่งเป็น “สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาสันติภาพโลก” ขึ้นมาขับเคลื่อนการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาในเชิงรุกต่อไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ยุคที่ ๒ : สถาบันวิมุตตยาลัย สถาบันวิมุตตยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือก มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกครบวงจร โดยมีภารกิจ ๔ ประการ คือ

(๑) การศึกษา (๒) การเผยแผ่ (๓) การพัฒนาสังคม (๔) การสร้างสันติภาพโลก

(จัดตั้งโรงเรียนเตรียมสามเณร) (เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกทุกรูปแบบ) (ร่วมแก้ปัญหาสังคมไทยโดยใช้พุทธธรรม) (สอนสมาธิภาวนาทั้งในไทยและต่างประเทศ)

การทำงานในรูปแบบสถาบันวิมุตตยาลัยของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ทำให้การ เผยแผ่พระพุทธศาสนามีประสิทธิภาพ เป็นระบบ และอำนวยประโยชน์โสตถิผลแก่สังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมาก ทำให้มีสถาบัน องค์กรต่างๆ ถวายรางวัลแก่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จำนวนมาก เช่น รางวัลพระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก จากองค์กร

ยุวพุทธสงฆ์โลก (WBSY) ซึ่งถวายโดย ฯพณฯ มหินทระ ราชปักษะ ประธานาธิบดี

แห่งประเทศศรีลงั กา, รางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาผูน้ พิ นธ์หนังสือพระพุทธศาสนา

ดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รางวัลเกียรติคุณสัมพันธ์

สังข์เงิน จากสำนักนายกรัฐมนตรี, รางวัลสุดยอดนักคิด ประจำปี ๒๕๕๒ จากสถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย, รางวัลนักเขียนบทความดีเด่นแห่งปี จากมูลนิธิอายุมงคล

โสณกุ ล , รางวั ล การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาดี เ ด่ น จากมู ล นิ ธิ จ ำนงค์ ทองประเสริ ฐ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน และได้รับการคัดเลือกให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ บุคคลผู้เป็น

ต้นแบบจากหนังสือ a day เป็นต้น

41


ยุคที่ ๓ : วัดป่าวิมุตตยาลัย (พุทธศาสนาไทยเพื่อสันติภาพโลก) ผลแห่ ง การอุ ทิ ศ ตนทำงานเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาอย่ า งไม่ เ ห็ น แก่ ค วาม เหน็ดเหนื่อย ทำให้มีผู้ได้รับประโยชน์จากธรรมะที่เผยแผ่โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) แพร่หลายออกไปทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ทำให้ศิษยานุศิษย์ซึ่งเห็น คุณค่าของงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก (Applied Buddhism) ได้ร่วมกันแสวงหา ที่ดินจำนวนหนึ่งเพื่อจัดตั้งเป็นสำนักงานกลาง สำหรับขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยตรง นั่นจึงเป็นที่มาของการน้อมถวายที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่ โดยคุณยายทัศนีย์ บุรุษพัฒน์ (อดีตเจ้าของโรงเรียนปริญญาทิพย์) ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีโฉนดอยู่ ณ รังสิต คลอง ๑๔ ต.หนองสามวังใต้ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เพื่อให้พัฒนาเป็น “วัดป่าวิมุตตยาลัย” อันจักเป็นศาสนสถานสำคัญสำหรับ การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก จากเมืองไทยสูป่ ระชาคมโลกต่อไปในอนาคต

ติดต่อขอรับเป็นเจ้าภาพสิ่งปลูกสร้างพื้นฐานของวัดป่าวิมุตตยาลัยตามกำลังศรัทธา

ที่สถาบันวิมุตตยาลัย www.vimuttayalaya.net E-mail : wvmedhi@yahoo.com

โทรศัพท์ ๐๘-๑๘๘๙-๐๐๑๐, ๐๘-๔๙๑๑-๗๒๓๕, ๐๘-๗๐๘๐-๗๗๗๙, ๐๘-๙๘๙๓-๒๑๓๖,

๐ ๒๔๒๒-๙๑๒๓ โทรสาร ๐-๒๔๒๒-๙๑๒๘ หรือบริจาคสร้างอาคารวิปัสสนากรรมฐาน

ได้ ที่ บั ญ ชี พระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี (โครงการวั ด ป่ า ชานเมื อ ง) ธนาคารไทยพาณิ ช ย์

สาขาศิริราช บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๐๑๖-๔๑๔๖๗๖-๔

42


ประมวลภาพพิธีวางศิลาฤกษ์

ณ วัดป่าวิมุตตยาลัย (สถาบันวิมุตตยาลัย)

รังสิตคลอง ๑๔ ตำบลหนองสามวังใต้ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี วันพุธที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

43


44

วันเตรียมงาน


เวลา ๐๙.๐๙ น. คุณหญิงอารยา พิบลู ย์นครินทร์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานพิธจี ดุ ธูป-เทียน บูชาพระรัตนตรัย

45


เวลา ๐๙.๑๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน ๙ รูป เจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๐๙.๓๐ น. พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี ปาฐกถาธรรม เรือ่ ง “เปลีย่ นโลกิยทรัพย์ให้เป็นอริยทรัพย์” 46


เวลา ๑๐.๐๙ น. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี​ี พร้อมด้วยคุณหญิงอารยา พิบูลย์นครินทร์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคุณยายทัศนีย์ บุรุษพัฒน์ ร่วมกันประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ มณฑลพิธี

47


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และศิษยานุศิษย์ผู้มีเกียรติร่วมกันปลูกต้นสาละลังกา จำนวน ๙ ต้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า นับจากนีไ้ ปพระพุทธศาสนาได้เริ่มหยั่งรากลึกบนผืนแผ่นดินนี้แล้ว 48


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และศิษยานุศิษย์จากหลากหลายวงการ

ผู้มาร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันประวัติศาสตร์

49


50


51


52


53


54


55


56


57


58


คุณยายทัศนีย์ บุรุษพัฒน์ ผู้ถวายที่ดิน จำนวน ๑๐๐ ไร่ แด่ พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี เพื่อสร้างวัดป่าวิมุตตยาลัย 59


รายนามผู้ร่วมบริจาคสร้างวัดป่าวิมุตตยาลัย ณ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒

๑. ดร. วิจิตรา สุขะมงคล ๒. คุณเมตตา อุทกะพันธ์ุ ๓. คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ๔. คุณดารารัตน์ มหาดำรงค์กุล ๕. คุณสุวรรณา พุทธิพรชัย ๖. คุณปลิว-คุณสายเกษม ตรีวิศวเวทย์ 60

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน

๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท


รายชื่อเจ้าภาพร่วมทำบุญจัดพิมพ์ “หนังสือสัมมาสมาธิ” งานวิสาขบูชา พุทธบารมี ประจำปี 2553

พลอากาศโท ดร.สมศักดิ-์ คุณลักขณา นะวิโรจน์ คุณศิรลิ กั ษณ์-คุณธีเดช ไม้ไทย และครอบครัว คุณปรีชา-คุณวิกานดา ลิม้ อัว่ และครอบครัว คุณสุวฒ ั น์-คุณนวลหงษ์-คุณอุดม-คุณกนกวรรณ- ด.ช.อุกฤษณ์ สัจจพงษ์-คุณไชยศักดิ-์ คุณรุง่ รัตน์ ประพฤทธิพงษ์ คุณเหมินฝัน ธัญไพสิษฐ์ คุณศุภลักษณ์ อัมพุช คุณกฤษณา อัมพุช คุณสุทธิพงษ์ อัมพุช คุณพัชรพฤกษ์ ภาสะศิระวัฒน์ และคุณธาริดา กูลจิรเศวต คุณอัชฌา-คุณโชติมา ลีองั กูร และครอบครัว คุณพัณณิน กิตพิ ราภรณ์ พ.ญ.จันทร์จริ า-คุณสิงห์-คุณอุดม กระต่ายจันทร์ และครอบครัว คุณเชิงชาย ภูววีรานนท์ คุณกษิดสิ เกียรติภญ ิ โญชัย- คุณวิโรจน์ แสงศิรพิ งษ์พชั ร์-คุณธวัชชัย คุณสามารถ-คุณวัชนี-คุณธันยบูรณ์ ศิรประภา คุณทองปลิว-คุณจันทิมา คูสกุล คุณธีระพล-คุณธารนิทรา ไตรบัญญัตกิ ลุ คุณคนิตตา-คุณธนัดดา ไตรตระกูลสินธุ์ คุณจักรี ทองยินดี และครอบครัว คุณนราทร ธานินทร์พทิ กั ษ์ และคุณสุภทั รา บุญพจนสุนทร คุณประสิทธิ์ หล่อธราประเสริฐ

๑๐,๐๐๐ คุณอนุพงศ์-คุณศิรเิ กศ-คุณกรรัตน์- ๑๐,๐๐๐ คุณปฏิพทั ธ์ โรจน์กนก ๑๐,๐๐๐ คุณมาลินี ทรัพย์บริบรู ณ์ พ.อ.ณัฐพงศ์-คุณอมรรัตน์ พรหมศร คุณวชิรวิชย์-คุณวงศพันธ์-คุณถิรเจตุ อินทระ- ๑๐,๐๐๐ คุณคนึงนุช ปาระสุวรรณ์ ๑๐,๐๐๐ คุณบันเทิง-คุณลดาวัลย์ จันทร์อนิ ทร์ ๕,๐๐๐ ท.พ.พิศษิ ฐ์-คุณมาลาลักษณ์ สมผดุง และครอบครัว ๕,๐๐๐ คุณวิฑรู -คุณกฤษณีนารถ ลิว่ เกษมศานต์ ๕,๐๐๐ คุณสมคิด แสงไทยทวีพร คุณสุนทร สุรยี เ์ หลืองขจร และครอบครัว ๕,๐๐๐ คุณจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ๕,๐๐๐ พันเอกมารุต ลิม้ เจริญ ๕,๐๐๐ คุณเดชา-คุณวราภรณ์ พงษ์วไิ ลย์ คุณนงลักษณ์ โลหะมาณพ ๕,๐๐๐ คุณวีระชัย-คุณพิไลวรรณ หงสกุล ๔,๕๐๐ คุณสมโภชน์ และครอบครัวสุระศิลปิกลุ คุณญาณินทร เตมียบุตร ๓,๐๐๐ คุณณภัทร โมรินทร์ ๒,๗๐๐ คุณอินทุอร โมรินทร์ ๒,๕๐๐ พล.ต.ณรงค์ วัยวุฒ-ิ คุณเบญจา วัยวุฒิ ๒,๕๐๐ พ.อ.หญิงณัฐจิตติ์ วัยวุฒิ ๒,๕๐๐ พ.อ.รุจโรจ-คุณธิดารัตน์ วัยวุฒิ และครอบครัว ๒,๕๐๐ คุณจิรายุส-ด.ช.สิทธิภคั วัยวุฒ-ิ คุณรวิษฎา สีดาคำ คุณนิตยา ชาจอหอ-คุณมันเฟรด- ๒,๕๐๐ ด.ช.อมาเดลส์ มาร์ทนิ ๒,๕๐๐ คุณภพธร ชัยยุตต์-คุณจรินทร์ทพิ ย์ ตัง้ ศรีเสรี

61

๒,๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๘๐๐ ๑,๑๘๐ ๑,๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐


คุณกัลยาณี ตัง้ ศรีเสรี คุณนภัทร-คุณเบญจรัตน์ อรุณเรือ่ คุณอาชัญ ปิน่ ประดับ คุณวันวิสา-ด.ช.พงษภัค-ด.ญ.ชฎามาส ไตรตระกูลสินธุ์ คุณปกรณ์-คุณโชติกานุช ป้อมสินทรัพย์ และครอบครัว คุณศิร-ิ คุณสุชรี า กิจวัฒนชัย คุณกำพล-คุณขนิษฐา ทรงวิชยั พลกุล- คุณภูมพิ ฒ ั น์ อรรถเลิศพัฒน์-คุณกิตติพฒ ั น์-คุณอุศนา- ด.ช.ภาณะ ถิระปรารมณ์ คุณปิยะพงษ์-คุณอนัญญา วงษ์บปุ ผา คุณเอนก-คุณสนธยา จันทร์โชติเสถียร และครอบครัว คุณบัลลังก์-คุณรังสิกาญจน์ รุง่ โรจน์กติ ยิ ศ และครอบครัว คุณปราชญ์-คุณเบญจมาภรณ์ ปรารถนาดี คุณธนพล-คุณสุธาวดี ศิรธิ นชัย คุณทรงพล นพคุณ และครอบครัว คุณกิตติพร บุญชู คุณรัชฎา ใจกล้า และครอบครัว คุณธัชพร ศรีศกั ดิว์ รางกูร อาจารย์วรรณี-นายแพทย์เจน เทียมรัตน์- ท.พ.ญ.สกลพร กรีฑาพันธ์ คุณก่อเกียรติ การะเกตุ-คุณบังอร สิงหวีระธรรม คุณยุวดี ปิตะสิงห์ คุณกิตติศกั ดิ์ พันธ์เกษม และครอบครัว คุณพัชชา สุทธิรกั ษ์ คุณณัฐพงศ์ กิจนิจชีวะ คุณวันชัย จันทร์วฒ ั รังกูล คุณพิมพ์ใจ ธิตชิ าญกุล คุณกมลกาญจน์ เหรียญธีรวงศ์ และครอบครัว คุณนวลศรี มีไตรรัตน์ คุณชุตเิ ดช ผูเ้ จริญทัว่

62

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๘๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐

คุณกิตติพงศ์ ตัง้ อมรสถิตย์ คุณมงคล เชือ้ เจริญศักดิ์ และครอบครัว คุณเขมวุฒิ สุพรพิบลู และครอบครัว คุณจริยา-คุณธเนศ-คุณสหภาพ- คุณเจียรนัย หรรษาวงศ์ คุณนารี เครือแป้น คุณสมชาย-คุณบุญช่วย-คุณธนบดี-คุณจุฑามาศ- คุณธนาธาร สถิตเดชกุญชร คุณทิตยาภรณ์ หิรญ ั ลาภ คุณพิมพ์ใจ นิภารักษ์ คุณธนกร-คุณอนงค์-คุณธนกฤต-คุณณัชชา หลุย่ ตระกูล คุณชรินทร์ทพิ ย์ กลัน่ เสนาะ คุณชญานิศวร์ สุนทรีธนะรัตน์ และครอบครัว คุณใกล้รงุ่ ธนุรวิทยา คุณปาณิสรา เสาะสูงเนิน คุณพจนา พัฒนธีระเดช คุณรุง่ รัตน์ วงศ์คำพันธ์ คุณอุดร ไชยฤทธิ์ คุณสุชญา จ่ามมาตย์ ร้านจานทอง The Mall ร้านที่ นี่ โคราช คุณภิพบ บุตรแสน คุณวิรตั น์-คุณลัดดา เอีย่ มปัญญา และครอบครัว คุณเสรี เดชกล้า คุณจิราภรณ์ อมรภัทรศิลป์ คุณปรีชา วิไลใส คุณวรรณพร ใจชุม่ ชืน่ คุณจันทนา ศุภกรพงศ์ คุณประภาพร บัวงาม คุณชัยรัตน์ เพชรดากุล คุณสุพรรณี พลลาภานันท์

๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๓๔๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๒๕๕ ๒๕๐ ๒๕๐ ๒๕๐ ๒๕๐ ๒๕๐ ๒๐๐ ๒๐๐


คุณนวลศรี มหัทธนวิโรจน์ คุณยุพเยาว์ ดวงศิริ และครอบครัว คุณวิรตั น์ พันธะมุย คุณณรงค์ฤทธิ์ จันทร์นวล คุณสมพร สมเหมาะ คุณชินณกร เรืองนิม่ คุณธนพร สุพรรณกลาง คุณวราภรณ์-คุณเดชสุรยี ์ ตาลศรี คุณนฤมล อินประการ และครอบครัว คุณกรรณิการ์ ดิษฐประเสริฐ และครอบครัว คุณกมลรัตน์ โกลิมาศ คุณลัดดา กิจสง่า คุณวารุณี กิจสง่า คุณณิชาภา สร้อยนาค และครอบครัว คุณพรพรรณ ถิน่ อุดมล คุณณภัทร บัวจันทร์ คุณสิรมิ า เอียดช่วย คุณเบญจพรรณ มนูสาร คุณอานนท์ ชมสูงเนิน และครอบครัว คุณกนกพัฒน์ เสาร์ศริ ิ และครอบครัว คุณอรอุมา วงษ์นอก และครอบครัว คุณชลธิชา แสนกล้า และครอบครัว คุณสุนยั -คุณคณพันธ์-คุณอัญชลี วิโรจน์ศริ ิ คุณจันเพ็ญ วันดี คุณชลณีย์ อุทยั กัน-คุณเพชรน้อย บุญสิทธิ์ คุณภูวดล ซ้ายสุพรรณ และครอบครัว คุณสุพรรณี สุวธั นา, คุณจักรพงษ์ ธนะรัตน์ คุณวีรชาติ-คุณพรทิพย์ และครอบครัว คุณญาโณบล ยุทธเลิศ คุณประพนธ์ พิรยิ ะจินดา คุณวรรณิสา จิตต์สภุ าพ

๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๘๐ ๑๘๐ ๑๘๐ ๑๘๐ ๑๗๐ ๑๗๐ ๑๗๐ ๑๗๐

คุณจันทนา ดอกขมิน้ และครอบครัว คุณมนตรา สมหงษ์ และครอบครัว คุณลำพอง-คุณเย็น รุน่ มะลัง คุณสมศรี กาญจนนพวงศ์ คุณธนียา แก้วศิริ คุณนภาพร เอีย่ มตุม้ รัตน์ คุณมณฑารบ เนาวบุตร คุณไพลิน แก้วกาหลง คุณชนัญธิดา ไพโรจน์พาณิชย์ คุณเขมจิรา เลิศมะลิวลั ย์ และครอบครัว คุณลัดดาวง เสกกำลัง และครอบครัว คุณมูล-คุณเสน ดีดา่ นค้อ และครอบครัว คุณนงนุช สุชนิ ชัยกุล (แซ่เจีย) และครอบครัว คุณพิสฏิ ฐ-คุณกิตติมา-ด.ช.พูนศักดิ-์ ด.ญ.เพ็ญสิริ เจริญศักดิ์ คุณประวิทย์ คิดหมาย คุณเขมจิรา บัวผันสระน้อย คุณทิพย์วรรณ ขำปลอด คุณวัชนีย์ วิชาหาร คุณนิศากร นราศรี คุณยุพณ ิ เอีย่ มสะอาด คุณพรทิพย์ นิรยิ า และครอบครัว คุณนำโชค ปรางค์นอก คุณไพศาล แก้วเพ็ญ คุณรังสรรค์ ปัญญาเสมอทรัพย์ คุณอุทยั บุญทศ คุณนิคม หลอดคำ คุณชัยนาท เพ็งพะเนา คุณคม แก้วด่านจาก คุณพุฒ อาบจะบก คุณหรรษธร คำหอม

๑๗๐ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๓๓ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

63


คุณรวงทอง มาละลา คุณประคอง มาบำรุง และคุณพัน- ด.ญ.ณัฐธิดา พยัคมะเริง คุณบัวเย็น สายกระสุน และครอบครัว คุณศิรธิ ร งามเกาะ คุณเยาวดี ปนสระน้อย-คุณชวลิต เอมโอช คุณพนิดา-ด.ญ.พรสุดา นิตย์ใหญ่ คุณธัญญธร-คุณสุรยี ป์ ระภา-ด.ญ.สุภาวดี เสริมจะบก คุณสุวรรณ์-คุณสรรพสิทธิ์ เลีย้ งวงศ์ถาวร คุณสิงห์ทอง ขัดเครือ คุณดำรง พายสำโรง คุณรจนาวรรณ์ ทะยานยุทธ์ คุณวิชยั พิลาภ คุณอานนท์ ชมสูงเนิน คุณทิพวรรณ โรจนกร คุณมุธติ า บุญพันธ์ คุณสุดา แข็งขัน คุณอรสา ทองราช คุณกรวลัย ศรีใส คุณมนทิรา บรรจงนอก คุณสุภาพร มาละลา คุณรุง้ นภา ลมสูงเนิน และครอบครัว คุณสุพชิ ฌาย์ บุญชิด คุณสมพร ท้าวนิล คุณไพโรจน์-คุณสุภาพร หาญพงษ์สงิ ห์ คุณอรวรรณ-ด.ญ.ศิรนิ ดั ดา-ด.ช.นรเศรษฐ เกตุอดุ ม คุณรวีวรรณ หาญพงษ์สงิ ห์ คุณพงศกร-ด.ช.พีระพงษ์ หาญพงษ์สงิ ห์- คุณวรรณฤดี ตลิง่ ไธสง คุณยุวนิดา ปิน่ ขุนทด และครอบครัว คุณเมธีร-์ ด.ช.เมธาสิทธิ์ กระราม-คุณลดาวัลย์ แซ่ลี้

64

๑๐๐ คุณสุรพล-คุณโสพิจ พันทอง และครอบครัว คุณไปรมา ศรีชำนาญ และครอบครัว ๑๐๐ คุณไชยรัตน์-คุณธัชชาฎาภร-ด.ญ.ลภัสรดา คิดรอบ ๑๐๐ คุณแก้วตา เตรียมวิทยา และครอบครัว ๑๐๐ คุณถวิล-คุณกนิฏฐา มุมกระโทก และครอบครัว ๑๐๐ คุณสุรรี ตั น์ เจดียพ์ ราหมณ์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณเชาวลิต พงษ์พนั ธ์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณเพ็ญนภา เม้าอินทร์ ๑๐๐ คุณศรัณย์ เอีย่ มกาย ๑๐๐ คุณญาติกา สมภักดี ๑๐๐ คุณศุภวิชญ์ คำดี ๑๐๐ คุณนุจรีย์ เฉลิมงาม ๑๐๐ คุณศิโรรัตน์ พันธุร์ นิ ทร์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณวิยะดา ดวงศรี และครอบครัว ๑๐๐ คุณทัศนีย์ บุญสุนานนท์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณอุทยั อังกาพย์ละออง และครอบครัว ๑๐๐ คุณปุณยวีร์ เรืองนุย้ และครอบครัว ๑๐๐ คุณขสสุคนธ์ เลิศวิลยั และครอบครัว ๑๐๐ คุณเครือวัลย์ ศรีภริ มย์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณธนัญญา อักษร ๑๐๐ คุณฐิตริ ตั น์ ตะเภามาศ ๑๐๐ คุณพัดธรา ทองเทพ และครอบครัว ๑๐๐ คุณดวงหทัย วรรณแมน และครอบครัว ๑๐๐ คุณยงฤทธิ์ รังษีนรบุตร และครอบครัว ๑๐๐ คุณภรณ์พนา ลบเลือน และครอบครัว ๑๐๐ คุณกัญชรส โลหะมาณพ และครอบครัว ๑๐๐ คุณทัศนะ อ่ำวิจติ ร และครอบครัว คุณพนารัตน์ อินทร์เอม และครอบครัว ๑๐๐ คุณพัชรพล ลิว่ ลักษณ์ และครอบครัว ๑๐๐ คุณสยมพร เทียนทอง และครอบครัว ๑๐๐ คุณสุรางค์พมิ ล ตรีระพงศ์ และครอบครัว

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐


คุณนงนุช ปุน่ ประเสริฐ และครอบครัว คุณจิราพร-คุณจิดาภา-คุณปัญจพร- คุณหรินทร์ ธนะธรรมจารีย์ คุณสุธาสินี ศรีนาค คุณวรินทร ฐิตปิ ญ ั ญาวุฒิ คุณกานติมา-ด.ช.พิชญุตม์ สมสกุล คุณเจนจิรา จารึกกลาง คุณกฤษดา จารึกกลาง คุณเสนาะ-คุณสายพิณ-คุณสริตา วิทติ กุล คุณกรองจิตร์ บุญยพฤกษ์ และครอบครัว คุณอัญมณี เยีย่ มสูงเนิน คุณยุทธนา ใสใหม่ คุณเจตนิพทั ธ์ ใสใหม่ คุณพัชร์ศศิ พุชนะ คุณศรีพรรณ ปิณฑรัตน์ คุณศศิภา ปิณฑรัตน์ คุณนคร-คุณพรทิพย์ ถาวร และครอบครัว คุณลัดดา ไชยปัดชา คุณสุวรรณี เสือนิล-คุณปัญญา แช่มชืน่ และบุตร คุณนวชีวรรณ ลิม้ อัว่ คุณวรินสุทธิ์ ลิม้ อัว่ คุณณปรีชญา ลิม้ อัว่ คุณถนอม ลิม้ อัว่ คุณสุกลั ย์ ลิม้ อัว่ คุณธนพล ลิม้ อัว่ คุณลีลจั ฉรา บุตรคำ คุณชาญศักดิ์ เกียรติมงิ่ มงคล คุณวิระชล เกษมศิลป์ และครอบครัว คุณทิพวรรณ อะกะเรือน และครอบครัว คุณอชิตะ พิมบุผา คุณจุรรี ตั น์ นิธโิ กสินทร์

๑๐๐ คุณจรรยาลักษณ์ พันธ์จนั ทร์ คุณวิศษิ ฎ์สร รัชตะปิติ ๑๐๐ คุณพิสทุ ธินนั ท์ โยธานารถ ๑๐๐ คุณสุนจิ ษา ธงสันเทียะ ๑๐๐ คุณสุชญ ั ญา กุลสิงห์ ๑๐๐ คุณพัชรี วิลาศ ๑๐๐ คุณจุมพล กิจสง่า ๑๐๐ คุณวารุณี กิจสง่า ๑๐๐ คุณอุไร แก้วคาม และครอบครัว ๑๐๐ คุณบุญพา ชาญพรมราช ๑๐๐ คุณอภิชาติ วงศ์ชมภู ๑๐๐ คุณละอองดาว อมรวงศ์ และครอบครัว ๑๐๐ พตท.ไกรยสิทธิ-์ คุณแสงเดือน ออมไทยสง ๑๐๐ และครอบครัว ๑๐๐ คุณวิรลั พัชร์ สาวิยศ และครอบครัว ๑๐๐ คุณวงค์เดือน นุชสูงเนิน และครอบครัว ๑๐๐ คุณสายฝน โพธาราเจริญ และครอบครัว ๑๐๐ คุณยายเปา ทิศเหนือ ๑๐๐ คุณสุภาวดี คชฤทธิ์ ๑๐๐ คุณจันดา จันทบ ๑๐๐ คุณบุญเก่ง ข่ายทอง ๑๐๐ คุณกาญจณี ชัยศิลป์ ๑๐๐ คุณประสิทธิ์ เอมกลาง ๑๐๐ คุณเจริญ นิม่ เส้ง ๑๐๐ คุณเอกสิทธิ์ ทองพลู ๑๐๐ คุณจรูญศรี พวงจำ ๑๐๐ คุณสันติภาพ สิทธิแก้ว ๑๐๐ คุณเศกสรรค์ คำโคม ๑๐๐ คุณธนวุฒิ บุญธรรม ๑๐๐ คุณอาณาจักร แสงขาน ๑๐๐ คุณกนกวรรณ ใหม่กง๋ ลาย

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

65


คุณปิยะ โชติมงคล และครอบครัว ครอบครัวเพชรวิเศษ และครอบครัวเอีย่ มศิรวิ ฒ ั นา คุณปิยะนนท์ กางสูงเนิน คุณจันทร์พบิ ลู ย์ วรรณสมพร และครอบครัว คุณประเปรียว บุญศรี และครอบครัว คุณเสถียร ชูยมิ้ และครอบครัว คุณประทีป สีสมุทร และครอบครัว คุณสุรศักดิ์ วนสันเทียะ และครอบครัว คุณชูศกั ดิ์ พุดสลัด อุทศิ ให้พอ่ ทิม-แม่ถนิ พุดสลัด คุณอมรรัตน์ เกศรี และครอบครัว คุณคำดี-คุณอบเชย โรจนกร คุณรัตติกาล อวยพร และครอบครัว คุณเกศินี สีหาทิพย์ และครอบครัว คุณปรียานุช แก้วเหลา และครอบครัว คุณวัลยา ภมิสาค และครอบครัว คุณพ่อบรร-คุณแม่แจ่ม คงเจริญ จ.ส.อ.วัฒนะ-ประจวบ วงษ์วฒ ั นะ และครอบครัว คุณสมพิศ เจิรญภาพ และครอบครัว คุณมลิวรรณ คำดี และครอบครัว คุณสมปอง ธัญญา และครอบครัว คุณเปรมวดี วาดโคกสูง และครอบครัว คุณสุภาพร นพเก้า และครอบครัว คุณรุง่ นภา ผ่านเมือง และครอบครัว คุณสุรนิ ธร โททอง และครอบครัว คุณปรางค์ทอง ขอเห็นกลาง และครอบครัว คุณวีรศักดิ์ โพธิพ์ ทุ รา และครอบครัว คุณวรรณิภา มีชนื่ และครอบครัว คุณธนพร ผันสำโรง และครอบครัว คุณทวี-คุณพรรณา วงศ์คำภา และครอบครัว คุณชลธิชา หอมระหัด และครอบครัว คุณวิลาวัลย์ วงศ์สวุ รรณ

66

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

คุณภัคจิรา นางหงษ์ และครอบครัว คุณภาณีรกั ษ์ เกียรติธำรงวสุ และครอบครัว คุณศรีไพร เสนพิมาย และครอบครัว คุณศิรพิ ร ศรียาชีพ คุณจันทร์จริ า จันแก่นแก้ว คุณธรรมนูญ เหีย้ มจะบก คุณอรัญญา แซ่ลมิ้ คุณมาโนช-คุณนภาพร สุขเกษม คุณอรทัย บำรุงนา และครอบครัว คุณวราภรณ์ ก่ำภูเขียว และครอบครัว คุณกัลยรัตน์ คะรุณศรี และครอบครัว คุณเสาวณี สานไธสง คุณคณิตกุล ไกยะฝ่าย คุณไพฑูรย์ สงคง คุณวิชยั คิดถูก คุณสุภาพ ศรีตา และครอบครัว คุณกฤษดากาน-คุณณที นิง่ กระโทก คุณสุภาวดี นาเสริฐ คุณสุทศั น์-คุณสุพรรษา คุม้ นุน่ คุณพนม ทำทอง คุณสุรสิทธิ-์ คุณละม่อม-คุณธีรพล-คุณสุรกิจ- คุณนพกร สืบจะบก คุณชาดา โยธี คุณเยาวดี ปนสระน้อย คุณแม่เหรียญ-คุณจำลอง เชือ่ มกลาง คุณสุภาพร นานกระโทก และครอบครัว คุณสุพตั รา เพชรฤทธิ์ คุณประสาร ชดช้อยสระน้อย และครอบครัว คุณวรุตร จุลโสม และครอบครัว คุณณัชพล-คุณนนทพัทธ์-คุณนันทินี เทียนปรุ คุณอัญชุลี วิณชิ ย์

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐


คุณน้ำอ้อย เหรียญสันเทียะ และครอบครัว คุณสุฑติ า-คุณนนทนันท์ ศรีจนั ทึก และครอบครัว คุณดิศานุวฒ ั น์ เหล็กอุน่ วงษ์ คุณทศพร สิทธิมงคล คุณเดือนน้อย เฉลาภักดี คุณสวรรค์ เชีย่ วชาญ คุณเสน่ห์ กลีบบัว คุณศักดิณ ์ รงค์ โกฎค้างพลู คุณณัฐวุฒิ กลิง้ กระโทก คุณกิตติชยั พรมจันทึก คุณสมพร ศิรโคตร คุณสุมาลี ศรีเหมือนทอง และครอบครัว คุณสิรริ กั ษ์ ชุนเกาะ คุณสุทนิ ทฤษฎิคณ ุ คุณณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคณ ุ คุณรุจริ า ทฤษฎีคณ ุ คุณสุภาภรณ์ จันทรัฐ คุณโบตัน๋ สุขจันทึก คุณสายใจ มายา คุณพนารัตน์ ดำรงวิชติ คุณบัณฑาวีย์ ซุมซุย ด.ญ.ศิรนิ ทิพย์ ประสิทธิส์ วุ รรณ์ พ.อ.อ.ฉกาจ-คุณจุไรรัตน์ ต้นแก้ว คุณสุนสิ า อาจคำพันธ์ คุณอิศรา ชิดปรุ คุณพัชรี ศรีปาน คุณผริตา กรวดกระโทก คุณพัชรินทร์ ส่งโชติกลุ พันธ์ คุณศรายุทธ คุณวงศ์ คุณชรินทร์ เครือเล็ก คุณอนันต์ ครบกลาง

๙๙ ๙๙ ๙๐ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๖๘ ๖๘ ๖๘ ๖๘ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐

คุณนันท์นชิ า จิรชั ยา คุณสราญจิต กตัญญูวงศ์ คุณจำนงค์ ชาญณรงค์ คุณสุรชัย บรรลุสนั ต์ คุณทิพย์วดี เชษฐสิงห์ คุณสุภา ตีประเคน และครอบครัว คุณจันทร์เพ็ญ นามคุณ และครอบครัว คุณจำปา หนองเหล็ก คุณไพบูณร์ เรียบร้อย และครอบครัว คุณดอกไม้ แช่มขุนทด และครอบครัว คุณหทัยชนก พันชู คุณธมลวรรณ ต้นนอก และครอบครัว คุณกัญธิดา สำราญดี คุณพิทยา และบุตรธิดา นันทนะมณี คุณลลิวดี กลิน่ ค้างพลู และครอบครัว คุณมนต์รกั สุราชวงศ์ คุณสุภาวรรณ รวยสันเทียะ คุณกอบพร คำประเสริฐ คุณลักขณา ไกรใหญ่ คุณเจนจิรา ปีกขุนทด คุณวิไลพร พูนกิง่ คุณทวีผล เริม่ สกุล คุณพรชนก ศรีโคกกรวด คุณบุญเรือง รุง่ กำจัด คุณมัณฑนา รุง่ กำจัด คุณสุรพี ร-เด็กหญิงอารยาพร ตาลไธสง คุณปนิดา แซ่ลมิ้ และครอบครัว คุณสมลักษณ์ อิสนั เทียะ คุณสุวรรณา ทวีโภค และครอบครัว คุณอำภา พวงกระโทก และครอบครัว คุณสุกญ ั ญา ใจอ่อน และครอบครัว

๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๕๙ ๕๙ ๕๙ ๕๓ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๑ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐

67


คุณชวนชม กันทำชัย และครอบครัว คุณอรทัย ธรรมนิยม และครอบครัว คุณประชา แยกงูเหลือม คุณหลุยส์ พรหมพิลา คุณอติเทพ พิกลุ รัตน์ คุณเบญจวรรณ สวัสดิป์ รุ คุณวัชระ กอโคกกรวด คุณเอกราช นาเมืองรักษ์ และครอบครัว คุณแม่หนูทปี -คุณกัญญารัตน์ สุทธิประภา คุณวิภา กรองกลาง และครอบครัว คุณมณีรตั น์ แก่นทรัพย์ และครอบครัว คุณวาสนา ใจบุญ และครอบครัว คุณบุญยนุช พลเมือง และครอบครัว คุณพิมพา คงเจริญ คุณลัดดาวัลย์ กกกระโทก คุณเกศินี โพธิน์ างรอง คุณธรรมรัตน์ สุธรรมา คุณปัทมา แสดใหม่ คุณบรรจง คงสิทธิ์ คุณนิตยา บัวทอง และครอบครัว คุณสายรุง้ บัวทองหลาง และครอบครัว คุณกนิษฐา เทิดนอก และครอบครัว คุณวนิดา กาบรรจง และครอบครัว คุณอรวรรณ วงศ์นอก และครอบครัว คุณยุพณ ิ วรรณศิริ และครอบครัว คุณดาวเรือง ทะโดนสระน้อย คุณภากรณ์ สมสุนทร และครอบครัว คุณอมรรัตน์ อุน่ อุดมรักษ์ และครอบครัว คุณอุไร ต้นสาย และครอบครัว คุณบุญญาพร วรจักร คุณนิตยา ปริกกระโทก

68

๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐

คุณอรวรรณ ฮักฮวดศรี คุณสุภาพ ธรรมลี คุณสุนนั ก้อนวิมล คุณจุฑารัตน์ สังฆะรัตน์ และครอบครัว คุณภรณ์ทพิ ย์ เจริญรัมย์ และครอบครัว คุณประยูร ริมใหม่ และครอบครัว คุณวีระกุล นามโย คุณชินาพร ชินสิทธิ์ คุณปรารถนา แก้วมะเริง คุณสำราญ นาคินชาติ คุณมะปราง รัตนารักษ์ คุณรัชนีกร จงเจือกลาง คุณเพียงใจ เสนพิมาย คุณฐิฏมิ า พรหมบุรรี กั ษ์ คุณฉัตถญาภรณ์ ศรีโชติ คุณนวลฉวี ปองชัยภูมิ คุณเกวลิน พรมรังฤทธิ์ คุณจันทรชา โสนนอก คุณไพฑูรย์-คุณกิง่ กาญจน์ สงคง คุณญาตาวี-คุณพงศกร สงคง คุณพิชฎา ปานสูงเนิน คุณอัจฉรา ปราณรงค์ คุณปุณณดา กองเพชร คุณประคอง มาบำรุง คุณอรุณรัตน์ โชติเชวงกุล และครอบครัว คุณดนัย รัตนะ และครอบครัว คุณสัณหวัช นวนกระโทก คุณสมพร ศรีอภัย คุณอภิรา ศรีอภัย คุณมี-คุณซ้อน ชุม่ หมืน่ ไวย์-คุณธนะเมศธ์- คุณพิมพ์ภทั รา วราสุขสิทธิ-์ คุณสุทนิ จันทร์สงิ ห์

๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐


คุณพ่อเกลีย้ ง-คุณแม่ยงั พลกลาง คุณแม่นกแก้ว-นายวิรตั น์ นันทนะมณี คุณณัฐวุฒิ กิทยั พะเนา คุณอาคม หุม้ ไธสง และครอบครัว คุณประสิทธิ์ แสงเหลือง และครอบครัว คุณสาวิตรี-คุณมนัญชยา ควรตะขบ คุณดวงกมล-คุณอภิชยั ควรตะขบ คุณณัฐพงษ์ ประเสริฐสันติสขุ ด.ญ.พันธ์วริ า-ด.ญ.พัตรพิมล ศาลางาม ด.ญ.ธนกานต์-ด.ช.ธีรกานต์ ดาวสวย คุณจินตนา เอีย่ มนอก คุณจุฑามาศ-คุณณรงค์ฤทธิ์ ต้นแก้ว คุณปรีชา-ด.ญ.ญาณิศา-ด.ญ.เกวลี พินจิ คุณวิไลวรรณ ประเสริฐสังข์ คุณธีรภัทร์ สอประโคน คุณกิตติยาพร กลมสันเทียะ คุณชนากานต์ หลานวงศ์ คุณจินตนา จีพมิ าย คุณพัชริญา ประจงกลาง คุณสุปราณี รัตนธรินทร์ คุณมณีรตั น์ แก่นทรัพย์ คุณกนกอร แพทย์สงู เนิน คุณสุพรรษา ไชยช่วย คุณเตีย้ ม จึงกลาง คุณพชรคุณ เวียงสันเทียะ คุณอาทิตยา เวียงสันเทียะ คุณศศิกานต์ คำภาเมือง คุณสุรพี ร ตาลไธสง คุณอารยาพร ตาลไธสง คุณอักษรศิลป์ เลิกนอก คุณปภัสราภรณ์ โพธิส์ วุ รรณ

๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐

คุณจันทร์เพ็ญ สมณะ คุณวัชรชัย สงกระโทก คุณจิณห์วรา พิมที คุณเบญจรงค์ รุง่ กำจัด คุณสุรยิ า คุณวงศ์ คุณวราภรณ์ พิมพาแสง คุณราตรี จาตุกรณีย์ คุณนิตยา ไชโยแสง คุณธนาธิษณ์ จิรชั ยา คุณเทพบุตร ช่อไม้ คุณจรัญ แสงจันทร์ คุณพรทิวา รัศมีโชติ คุณนงค์ลกั ษณ์ เชือ้ นุน่ คุณปริยากร คำชนะ และครอบครัว คุณวราภรณ์ ดาศรี และครอบครัว คุณวรักษ์-คุณฐิตภิ า พรมเล็ก คุณบรรจง รัตนชัยภูมิ คุณเพชรน้อย บุญสิทธิ์ คุณอุไร-คุณนันทวัฒน์ แก้วคาม คุณธำรง พันธ์พพิ นั ธ์ และครอบครัว คุณสุพตั รา ปัดสีสำโรง และครอบครัว คุณยุพณ ิ -คุณประทีป สีสมุด คุณยุพา ขอถือกลาง และครอบครัว คุณคำแดง-คุณชำนาญ รัตนธรินทร์ คุณธิวาพร เคียงกลาง และครอบครัว คุณพิมพ์พศิ า สว่างจิตร คุณอรพันธุ์ เพ็ชรหมืน่ ไวย และครอบครัว คุณวิไล มูลตรี คุณชฏาพรรณ-คุณรัชชานนท์ สินทบ คุณจันทร์เพ็ญ ปลัง่ กลาง คุณสันทนีย์ มุง่ ผล

๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐

69


คุณบุญโฮม นิลเกต คุณพรทิพย์ ลิยา คุณกรรณิกา พรมกัณฑ์ คุณช่อ กองมะเริง คุณอารีรตั น์ เนียมสูงเนิน และครอบครัว คุณสมคิด วงษ์ชาดา และครอบครัว คุณโยธิน สุวรรณโมรี คุณประเสริฐ สินปรุ คุณปรีชา ลอยประโคน คุณมนตรี จันทร์สงู เนิน คุณจิดาภา แสนจันทร์ คุณอุณารัตน์ อัตตานะชิต คุณสุชาดา สอนบุตร คุณอ้อยใจ ตะนัยศรี คุณลัดดาวัลย์ ไพเราะ คุณวาสนา คำพึงผล คุณพรรณิภา อ่อนนอก คุณจริยา ริว้ ชัย คุณรัตติกาล ไซยมะเริง คุณสายทอง แทนขุนทด คุณชลธิชา ฉายพิมาย คุณอดิศกั ดิ์ อุน่ ทะยา และครอบครัว คุณนันท์นภัส วงศ์แก้ว คุณสุดสี สุทธิประภา และครอบครัว คุณภาคภูม-ิ คุณประภัสสระ พุดทะเล และครอบครัว คุณอัมพร พลสว่าง คุณอุไรรัตน์ ต้นแก้ว คุณปัญญวัต สาดอนขวาง คุณบญตา สาดอนขวาง คุณปิยะ ศรีคำ คุณไกรสร สายพลกรัง

70

๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๓๙ ๓๙ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๔ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๒๐ ๒๐

คุณเกศศินี แก่นสาร์ คุณชนพัฒน์ หนูแหยม คุณพิทกั ษ์พงษ์ แสงสุระ คุณยุทธภูมิ ปราณีตพลกรัง คุณณัฏฐชัย ทือเกาะ คุณเฉลิม เคนตา คุณวัฒนา เฮ้งสูงเนิน คุณณทกร ขวัญมา คุณกิตติชยั สีนวน คุณโยธิน พูนสำโรง คุณวลัยลักษณ์ ศุภเสริฐ คุณรัตนประภา ชุม่ กิง่ คุณนิตยา ชัยวงษ์ คุณสาธิต ถ้ำกลาง คุณบุญพนากร ดุนโคกสูง ด.ญ.สรัลรัตนากร ถ้ำกลาง คุณวงเดือน ทับสกุล คุณวิภาดา ปลืม้ คง คุณเสน่หจ์ ติ ร์ กลอนโคกสูง คุณพนา แก้วสง่า คุณจิรชั ญา ญาติครบุรี คุณสุกลั ยา ชนะเคน คุณสุรยี ร์ ตั น์ อยูส่ ขุ คุณละอองดาว ยศจันทึก คุณเอก ศรีไพล คุณศิรพิ ร จันทร์สรุ ยิ า คุณธนสร เหล็กพรม คุณสุวจิ กั ขร์ ทักขินยั คุณสุภาพรรณ เลาหะนันท์ คุณรัตติยา จงจอหอ คุณทองแม้น แถสูงเนิน

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


ด.ช.ปกรณ์ณฐั ศรีภา คุณมณี แก้วกล้า ด.ญ.มัทนียา ศรีภา คุณลภัสกร ศรีภา คุณอุษา มีเกาะ คุณจตุรงค์ เลิศรัศมีโรจน์ ด.ญ.วรัญญา มีเกาะ คุณเกษม มีเกาะ คุณณัฐกุล ใจทน คุณเพชรไพริน สักบุตร คุณจิดาภา สุมนฑา คุณอิสระศิลป์ บุญธรรม คุณจำปา หนองเหล็ก คุณเอนก เคล้าพิมาย คุณชนะพล พงษ์สระพัง คุณอมรรัตน์ เกศรี คุณรุง่ อรุณ สวยขุนทด คุณจำรัส เทียนสิริ คุณวาทคิด มหาราช คุณปภัทร์สร อินอ่อน คุณนวลจันทร์ วรรณโณ คุณสมบัติ เกตุกระสังข์ คุณสุนยี ์ คงอุทศิ คุณสุทนิ นิยมนา คุณฐิตมิ า ดอนพุดซา คุณจิดาภา นิจผักแว่น คุณดอกไม้ มุง่ อ้อมกลาง คุณวาสนา ใจบุญ คุณสายรุง้ เลนสันเทียะ คุณธวัชชัย ปิยะปรีชายุทธ คุณไพบูลย์ เรียบร้อย

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณดวงฤทัย เวกสูงเนิน คุณสำราญ เมธีสกุลทวงษ์ คุณขนิษฐา พูนสุข คุณพีระพงษ์ ยันตะพันธ์ คุณอนล พุดซ้อน คุณชะเอม อัดใสโย คุณเนตรนภา สำนักโนน คุณสมใจ ช่อขุนทด คุณพ่อเคน คงแสนคำ คุณแม่ปอ้ ม คงแสนคำ คุณนิธวิ ฒ ั น์ คงแสนคำ คุณศิรวิ รรณ จันทร คุณวันชัย จันทร คุณพ่อบุญช่วย เลนสันเทียะ คุณแม่แตงโม เลนสันเทียะ ด.ช.พลวรรธน์ เลิกสันเทียะ คุณประเสริฐ เลิกสันเทียะ ด.ช.พชรพล เลิกสันเทียะ คุณพ่อสำเนียง ใจบุญ คุณแม่บวั ลาย ใจบุญ คุณคูณ-คุณเทียม ศิรเิ ถียร คุณสุรศักดิ-์ คุณปภัสสร สุขประเสริฐ ครอบครัว “เทีย่ งอินทร์” คุณสุรศักดิ์ จันทรสุข คุณชมัยพร ชาวด่าน คุณพจนีย์ พิมที คุณกมลนัทธ์ พิมที คุณเบญจทิพย์ สุรกาญจนชาติ คุณวิวรรธน์ พัฒนโรจนนันท์ คุณบุญยวีร์ พัฒนโรจนนันท์ คุณอรอุมา ภาคีอสิ สระ

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

71


คุณสุจติ รา ภาคีอสิ สระ คุณดุสติ ตรา ภาคีอสิ สระ คุณพิสมัย แซ่โล้ว คุณสมถวิล เชตุจอหอ คุณภาษิต อรรถชัยพาณิช ร้านแคมป์ยนี ส์ คุณสังวาลย์ ปิม่ โคกกรวด คุณศิรนิ ภา รัตนา คุณขจรศักดิ์ เหล็กกับทอง คุณรวยรินทร์ แซ่ลี้ คุณพิศมัย ฤทธิม์ หา คุณพิสษิ ฐ์ โพธิศ์ รี คุณธนคร อนุภาพร คุณจำเรียง มีชาวนา คุณฉวีวรรณ นามพิทกั ษ์ คุณเจษฎาภรณ์ เรืองคำ คุณวายุ ระทะนาม คุณฐิตกิ ยั ยา ระทะนาม คุณปาระนันท์ อัมพุธ คุณมณีรตั น์ วงษ์ดี คุณสุภาวดี ขันธะจันทร์ คุณลิ ขอเหนีย่ วกลาง คุณณัฎฐ์ ธีนารา ลับไพรี คุณอนงค์ ศรีขาว คุณเจียมใจ นามรินทร์ คุณอุมารังสี อ่อนมุข คุณภูวนาท บุญประสพ คุณภธากร บุญประสพ คุณสุภารัตน์ บำรุงศรี คุณจิรภา มารมย์ คุณภัคชฎานันท์ พยุงสุวรรณ

72

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณจุฑาภา มารมย์ คุณนภภัทร พวงจันทึก คุณสมฤดี สมบูรณ์ คุณธนวัฒน์ ฤทธิเ์ ดช คุณนภาวดี ฤทธิเ์ ดช คุณทิวา อารีกลุ คุณรุง่ กาญจน์ สอดโคกสูง คุณน้อย ศรีนวล คุณเอกพจน์ แสนตะคุ คุณเหล็ง กระจ่างโพธิ์ คุณกนกวรรณ สุขยอด คุณภาสกร คล่องศิลป์ คุณนัฎอนงค์ กว้างพิมาย คุณสุปราณี สูนตา คุณกรรณิกา กะฐินใหม่ คุณชิโนรส วิรยิ ะกุล คุณศิรพิ ร เงือ่ นพิมาย คุณอายันท์ อินหมืน่ ไวย คุณจักรพันธ์ งิมกระโทก คุณอาทิตย์ คำประสิทธิ์ คุณธีรศักดิ์ เกตุพรมราช คุณสุดารัตน์ ชลดา คุณสุรยิ า เนาว์ใหม่ คุณสำรวย ชอบรัก คุณมาลัย กลิน่ กิง่ คุณศญานี ต่างสันเทียะ คุณจักรวุธ แก้วม่วง คุณวลัยรัตน์ ถึกพะเนา คุณณัฐชยา เพชรแสน คุณเฉลิม เชือ้ นุน่ คุณดวงใจ แก้วกำเนิด

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


คุณสาลินี ศรีหมืน่ ไวย คุณสุภญ ิ ญา ปริเส คุณจารุพฒ ั น์ ตัณทจรรยา คุณฐิตพิ ฒ ั น์ ภูมาศ คุณอิสระพงศ์ วาดโคกสูง คุณเตือนใจ โพธิส์ ุ คุณมารยาท พิมพ์ปรุ คุณสุรพร หนองหารพิทกั ษ์ คุณกุลธิรา พรภักดี คุณจุรรี ตั น์ ภูห่ อ้ งไสย์ ผอ.บุญยงค์ ครูศรี คุณสุดารัตน์ เรืองรัตน์ คุณรัชนีย์ ฉ่ำสูงเนิน คุณศรีเพ็ญ เพียสุรนิ ทร์ คุณนันทนาภร สุขใหม่ คุณวาฑิต ราดมูน คุณสันติพงษ์ ไพบูรณ์เศษฐ์ คุณโสรญา ไพบูรณ์เศษฐ์ คุณณฐวรรณ ศรีรางกูล พ.ต. ประเมศร์ ศรีรางกูล คุณแสงรุง้ โคกเกษม คุณสุพศิ เข็มพุดซา คุณสะอาด สังข์ศริ ิ คุณพิพฒ ั นพงษ์ ประตังทะสา คุณณัฐนันท์ จันทสังข์ คุณสุวภัทร สนิทพงษ์ คุณมงคล ณ ราชสีมา คุณตุก๊ ตา พรหมคำ คุณจอง พรหมคำ คุณกิง่ ดาว นิคมไพบูลย์ คุณอภิญญารัก สุขใหม่

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณปุณยนุช ณัฏฐ์บณ ุ ยโชติ คุณวีรวัฒน์ สมสิทธิ์ คุณเพ็ชรไพลิน สักบุตร และครอบครัว คุณอุน่ ใจ ผอสูงเนิน และครอบครัว คุณอภทรนรรณท์ มุง่ ผลกลาง และครอบครัว คุณพรเทพ จันทร์สร้อย และครอบครัว คุณชะเอม อัดใสโย และครอบครัว คุณภานุวฒ ั น์ เยรัมย์ คุณอุษา มีเกาะ และครอบครัว คุณอุดม-คุณประนอม แซมตะคุ คุณสมหวัง พรมสุรนิ ทร์ คุณมณฤดี พรมสุรนิ ทร์ คุณมณี แก้วกล้า และครอบครัว คุณภัคจีรา ลุยจัตรุ สั และครอบครัว คุณจตุรงค์ เลิศรัศมีโรจน์ คุณพรทิพย์ วิรตั น์ คุณโสภณ ดอนเตาเหล็ก คุณภัทรพล ดอนเตาเหล็ก คุณโชติภณ ดอนเตาเหล็ก คุณศิรพิ ร จันทบุปผา และครอบครัว คุณพรธีรา วงศ์กว้าง และครอบครัว คุณนุชนาฎ จุดศรี และครอบครัว คุณอำไพ เลือดขุนทด และครอบครัว คุณสันเพชร พิมพาแสง และครอบครัว คุณรุง่ ธิวา-คุณสุภาพ ก้านน้อม คุณอัษฎาวุธ ก้านน้อย คุณทวี-คุณสงัด รวยดี คุณนัชรากรณ์ มีเชือ้ และครอบครัว คุณณัฐมนต์ จันทร์จำปา และครอบครัว คุณรัตนา นิลวิเศษ และครอบครัว คุณเยาวเรศ ราชสุรนิ ทร์

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

73


คุณบัวลอย แสวงสุข คุณวาสนา คำผาเคน และครอบครัว คุณกุลจิรา เดชดอน และครอบครัว คุณอภิญญา สีทองหลาง คุณเสน่ห์ จูงกลาง และครอบครัว คุณภาวินี แจ้งทองหลาง และครอบครัว คุณแววนภา หมวกพิมาย และครอบครัว คุณนกแก้ว บุญประกอบ และครอบครัว คุณอธิตยิ า สุดสะอาด และครอบครัว คุณพงษ์ทอง รัญสันเทียะ และครอบครัว คุณวรรนิสา สุขบัวใหญ่ และครอบครัว คุณเทวิกา มุง่ เอือ้ มกลาง และครอบครัว คุณสุรวุฒิ รักจ้อย คุณอุเทน แสนขยัน และครอบครัว คุณประภัสสร กบโคกกรวด และครอบครัว คุณอรทัย สุตะพันธิ์ และครอบครัว คุณศิรวิ รรณ จันทรทีประ และครอบครัว คุณเสาวนีย-์ คุณนิพนธ์ ถ้ำกลาง คุณบุญเชิด-คุณรุง่ นภา บุญช่วย คุณอ้อย เนียมบ้านด่าน คุณสิรนิ ญา เบียนจัตรุ สั คุณเจริญขวัญ ขนจอหอ และครอบครัว คุณชำนาญ ผาปะคำ และครอบครัว คุณจีราวรรณ เสนาเทพ และครอบครัว คุณเพ็ญศรี แก้วหาวงศ์ คุณธรรมศักดิ์ รักษาสุวรรณ คุณอารี เสาวรส คุณสุนสิ า มุง่ คีมกลาง คุณลัดดา ธนดำรงกุล คุณสำราญ ด่านนอก คุณอนันต์พร ค้างกลาง และครอบครัว

74

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณกินรี แก้วจอหอ และครอบครัว คุณหาญชัย จันทร์กรูด และครอบครัว คุณอมรรัตน์ ในพิมาย คุณดารา บุญมา และครอบครัว คุณน้ำผน ทอนเกาะ และครอบครัว คุณพูลศรี สงวนชาติ และครอบครัว คุณวิภาดา บุญญาพิจติ ร คุณวิรตั น์สดา ใจดี คุณสุภาพร หาดทราย และครอบครัว คุณพวงพยอม ผ้างาม และครอบครัว คุณศักดิช์ าย บุกซือ่ คุณวิทยา สามประทีป คุณวัชรินทร์ สุมณฑา คุณวัฒนพร ปัตถาพันธ์ และครอบครัว คุณบุษยมาส กล่ำพิลา คุณประชาชาติ วิบลู ยานนท์ คุณพัทมารัติ สิงห์นอ้ ย คุณบรรจบ เพ็ชรช่องประดู คุณสมประสงค์ เกรัมย์ คุณสาลินี ไชยโชติ คุณสำราญ สิทธิมงคล และครอบครัว คุณปุณยวัจน์ ชาบุญเรือง คุณนิพนธ์ สุขจิตต์ คุณวชิราภรณ์ สารพัตร์ และครอบครัว คุณองอาจ ศรีลมิ้ คุณอุราวัลย์ จันทะบุตร คุณเนาวรัตน์ น้อยเมือง คุณสำรวย เกตุพมิ าย คุณพงษ์ศกั ดิ์ เขตสระน้อย และครอบครัว คุณเหมรัศม์ บุบผามะตะนัง คุณพรวิไล ภิรมย์ไทย

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


คุณถาวร หงสกุล คุณทวีศกั ดิ์ อ่างแก้ว คุณชนัฎดา บุญญาสุชาพงศ์ คุณกาญจนา แช่ลอ คุณสิงห์ชยั แถลงกลาง คุณนิกร กรใหม่ คุณสุวมิ ล โตกพุทรา คุณนภากร แดงสกุล คุณจรัญ โสดา คุณณรงค์ อ่างแก้ว คุณบุญมี อ่างแก้ว คุณพิกลุ สังสนา คุณวิรฒ ิ พิ า เกรัมย์ คุณพรชัย กลิน่ หอม คุณกฤษณา กลิน่ หอม คุณศศิรตั น์ กลิน่ หอม คุณศศิรศั มี กลิน่ หอม คุณศศิญาภรณ์ นิตสิ ขุ คุณลอย เกตุพมิ าย คุณบัวลอย เกตุพมิ าย คุณปวริศา เกตุพมิ าย คุณวีระชัย เกตุพมิ าย คุณจัตพุ ร มีปาน คุณภัทรนันท์ มีปาน คุณชญาภา รัตนจันทร์ และครอบครัว คุณรณชัย โทสุวรรณ์ และครอบครัว คุณปัญญา ธนานุรกั ษ์ และครอบครัว คุณประยุทธ์ สินปรุ คุณอัคคมณี เชือ้ ดี คุณสุทธิศกั ดิ์ ห่วงกระโทกและสาว คุณณรงค์ศกั ดิ์ ยุดไธสง และครอบครัว

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณคมเดช หร่ายสวัสดิ์ และครอบครัว คุณจิรพิส มาตวัตแสง คุณวายุ-คุณรัตนา-น้องเอย สวัสดิว์ ร และครอบครัว คุณมงคล หมัน่ เมืองปัก คุณฐิตาภรณ์ นักปี่ คุณยายพลอย ชันสำโรง คุณรุง่ นภา เดชพร คุณอนุพนั ธ์ ทองจันเอก คุณจีระศักดิ์ คงนุรตั น์ คุณพิระดา นาบำรุง และครอบครัว คุณอภิสทิ ธิ์ พิกลุ รัตน์ คุณชัชวาลย์ บุญโคกกรวด คุณสุทธิรกั ษ์ พิกลุ รัตน์ คุณนิวฒ ั น์ โสกาลี คุณสุรยิ า ปิตถานัง คุณเจริญ พาขุนทด คุณอนุสรณ์ บรรจงปรุ คุณปาภต ผลเกิด คุณสุรศักดิ์ ประจำกลาง คุณยุทธพิชยั ภาสดา คุณขวัญเอก แก้คาม คุณศิรชิ ยั แพขุนทด และครอบครัว คุณอาจหาญ สุทธิประภา และครอบครัว คุณปวีณา ตราชู และครอบครัว คุณประภัทร์สร อิน่ อ่อน คุณวรรณา ดอกพอง และครอบครัว คุณสุดา แข็งขัน และครอบครัว คุณสาคร ดีทองพะเนา และครอบครัว คุณสำรวย-คุณแสวง วรรณโณ คุณกนกอร แพทย์สงู เนิน คุณสิรวิ รรณ จันทรทอง

75

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


คุณสายรุง้ เลนสันเทียะ คุณสรัลชนา คำแสง และครอบครัว คุณลักษณา คันโพธิ์ และครอบครัว คุณนพรัตน์ ผ่องวัฒนะ และครอบครัว คุณสดใส เทพพรมราช และครอบครัว คุณปวีณา เนตรสวรรณ คุณปาลิดา สารแสน และครอบครัว คุณสุจติ รา จำวิเศษ และครอบครัว คุณปิยมาศ สว่าง คุณนงนภัส โกกะพันธ์ คุณลงรัก พันธ์ตา และครอบครัว คุณจุฑาทิพย์ เสนาถี คุณนภัสสรณ์ สายหยด คุณศรีญญา เสนาถี คุณพัฒนพงษ์ เสนาถี คุณศุภชัย ถาแก้ว คุณณิชามล ปัณฑรางกร คุณกฤตานนท์ เพียงกระโทก คุณสุภาพร สมบัตกิ ำไร คุณโศศิฐา รักษา และครอบครัว คุณณัชชา บือขุนทด และครอบครัว คุณวิยะดา วันนอก และครอบครัว คุณจินลดา อ่อนทองหลาง และครอบครัว คุณอ้อมใจ ศรีพลกรัง และครอบครัว คุณทันรนา นาดี และครอบครัว คุณศิรสิทธิ์ ประเวรภัย คุณพรรณี-คุณสิรนิ ดา และครอบครัว คุณรัตนา-คุณแก้วตา และครอบครัว คุณกรรณกา โพธิท์ อง คุณบุณยานุช บุญภักดี คุณลำพวน เชษฐขุนทด

76

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณสมใจ ศรีบำรุง คุณเบญจวรรณ เรืองอุไร และครอบครัว คุณอ้อย อินทวงค์ และครอบครัว คุณจตุพร พรมจันทึก และครอบครัว คุณนันทนา จำปาหอม และครอบครัว คุณสมพร ด้ายรินรัมย์ คุณสายชล ชูพดุ ซา และครอบครัว คุณมลิวรรณ สายคำวงษ์ พร้อมครอบครัว พัทธ์ธรี า วีระกำแหง และครอบครัว คุณเจริญ โนใหม่ และครอบครัว คุณเครือวัลย์ กุลสันเทียะ และครอบครัว คุณทัศณี-คุณนิพนธ์ อุปถัมภ์ คุณนิษา เพ็ญชอบ และครอบครัว คุณปวีณา มัดทองหลาง และครอบครัว คุณสำรวย ไทยหล่อ และครอบครัว คุณศิรภัสสรณ์ ภักดีขนุ ทด คุณนัฐวรรณ ถนนกลาง คุณวิลาวรรณ์ พงษ์สชุ าติพร และครอบครัว คุณปวีณา บำรุงกลาง คุณอิสรพันธ์ ยอดคำ คุณคมสัน มิง่ ขวัญ คุณโกวิท มากพันธ์ คุณสมพร อินทร์ประโคน คุณพวงพยอม อินทร์ประโคน คุณวีระ สามัคคี คุณนภาพร บุตรกระโทก คุณสุภกาญจน์ มีทอง คุณพรฤทัย รักธรรม คุณแพรวนภา นุพดั คุณวีระพงษ์ ก่ำภูเขียว คุณศิรธิ ร เสนาจอหอ

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


คุณอัญชลี นอกตาจัน่ คุณพงศกร อินทร์ประโคน คุณพัชราภา อ่อนเฉวียง คุณพัชราพร อ่อนเฉวียง คุณจรัญ ผ่องศรี คุณอิสราภรณ์ อาณันย์ดลภัค คุณกัญญาลักษณ์ อาบกิง่ คุณวิไรรัตน์ สวัสดิ ์ คุณสุทธิดา สอนบุตร คุณกุลรัตน์ พิมยั รัมย์ คุณจิรายุ พุทธรักษา คุณพรพิมล เป็นสุกล คุณจิรชั ญา ศรโคกกรวด คุณธนาภา ก่อแก้ว คุณกัลยา ประดิษฐ์คา่ ย คุณมงคล ประดิษฐ์คา่ ย คุณสืบสกุล ประดิษฐ์คา่ ย คุณมัลลีกา ประดิษฐ์คา่ ย คุณพรภัทรา ปัจจัยยัง คุณศรินทพย์ ใบโพธิ์ คุณแสงระวี ปกครอง คุณเกษร เพ็ดนอก คุณชุตติมา จิตรกลาง คุณศิรพิ ร หาญปราบ คุณสุกนั ยา หาสูง คุณวารุณี ศรีไชโย คุณอภินนั ต์ บุญพลี คุณธิดา บัวพา คุณสุภสั สร นามกระโทก คุณยุทธเนตร ภูกองแข คุณโกสินทร์ เผือ่ นเอีย่ ม

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

คุณสรายุทธ สวาทนอก คุณนิตย์ ผิวผ่อง คุณบุษยา แก้วด่านจาก คุณบุญฤทธิ์ พึง่ จันดุม คุณมนเทียน เบาสูงเนิน คุณบุญช่วย ชืน่ จะบก คุณศิรญ ั ญา พายแก้ว คุณโชติรส เหง้าน้อย คุณทวีศกั ดิ์ ไผแก้ว คุณสุรยิ น โอนพิมาย คุณกาญจนา หนูโคกสูง คุณสุกญ ั ญา จีนมะเริง คุณดวงเดือน บำรุงนา คุณสุทศิ า รักษ์กระโทก คุณนฤมล จัดจอหอ คุณณัฐกมล พรมดี คุณวันดี แบบจันทึก คุณสุดารัตน์ พงษ์ทะเล คุณประสิทธิ์ บุตรโสภา คุณอดุลเดช คำภูษา คุณอุมาพร นาคา คุณหน่อย ช่วยกาล คุณอรพิณท์ เฉียงพิมาย คุณจงกล โตตุน่ หมืน่ ไวย คุณอนุพงศ์ ทวีกนั คุณณัฐนา หาญกล้า คุณบุญมี พลยะเขตา คุณวรรณี หมัน่ สดับ คุณพิยะดา เวสันเทียะ คุณวิมล พลพงษ์ คุณมณีรตั น์ สาระธนะ

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

77


คุณทองสุข พลพงษ์ คุณณัฐกานต์ พุทธสุวรรณ คุณอุน่ เรือน ยศสันเทียะ คุณนงณภัส อินทะชัย คุณยุภาภรณ์ มิตรมาตร คุณหทัยนุช แดนสันเทียะ คุณบุณยรัตน์ พลอยสุวรรณ คุณนภัสวรรณ เสน่ทา คุณกัณฐภรณ์ สุขพินจิ คุณจตุพร ราชาหงษ์ คุณจิราวรรณ ปัดไธสง คุณพีระวิชญ์ หอมจะบก คุณสุรชาติ บุญจง คุณสุชนิ ดอกจันทร์กลาง คุณเจษฎาพร สุขอุทยั คุณนพรัตน์ เตียนพลกรัง คุณรัตนา ไหวดี คุณรัตนา ปานกุล คุณทัศนีญา เอ้ามาชัย คุณวรัญญา จินดามาตย์ คุณนงลักษณ์ แสงเงิน คุณปรีชา ภักดีขนุ ทด คุณบังอร ใยขันธี คุณจุฑารัตน์ สิรริ วง คุณนพวรรณ สายสุวรรณ คุณธนชาติ นิกรพล คุณมะณี สอนใจ คุณเกตุ-คุณกันนา-คุณประภาส ดวงกลาง และครอบครัว คุณสังวร ก่อแก้ว คุณฉัฐญา รวมใหม่

78

คุณกอบกู้ พิรมไทย คุณศรานุวฒ ั น์ บุตรนอก คุณเจนจิรา พยัคฆ์ศรี คุณสุภาพ ลบไธสง คุณสมหญิง พุฒศิ รีเมธี คุณกิตติพร เดสูงเนิน คุณพิชชานันท์ จิตรมา คุณอำนาจ ความหมัน่ คุณวัชระนันทน์ ชาญนอก คุณคมกริช จิตรสม คุณปกรณ์เวสน์ แสนสุวรรณ คุณพิเชฐ ออสูงเนิน คุณอรนุช โกติรมั ย์ คุณเรวดี กาญจนลักษณ์ คุณสุนทร นุม่ ชัยภูมิ คุณอุดร ชาญนอก คุณวิษณุ ขวัญมา คุณสุพร จันทรโอทาน คุณมะลิวรรณ ยนจอหอ คุณนภาพร ปรีชา คุณเกรียงศักดิ์ รอดโพธิก์ ลาง คุณพีรพัฒน์ บรรจงปรุ คุณบุญเรือน อยูช่ งั คุณสุนสิ า อาจคำพันธ์ คุณจักรพันธ์ ชิพมิ าย และครอบครัว คุณสรายุทธ ระย้าเพชร คุณบุษบา รุจพิ งษ์ คุณณัฐพล ใหม่เกตุ ๒๐ คุณวุฒพิ งษ์ ศิรมิ งคล และครอบครัว ๒๐ คุณลัดดา จาบทะเล ๒๐ คุณพิชชานันท์ จาบทะเล ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐


คุณระไม จัดการ คุณนฤภร งัดสันเทียะ คุณเดชา อะโนศรี คุณรัตนาภรณ์ เตียนพลกรัง คุณสุณษิ า ศรีจนั ทร์ คุณอิทธิพล เณรกอวัง คุณนันทวรรณ พิมพ์ปรุ คุณวรรณภา นาคอินทร์ คุณรุง่ นภา โฉสูงเนิน คุณรัตยิ า เอกบุตร คุณศศิชนา ตลอดนอก คุณสมาน พิลาโท คุณนิสา พิขนุ ทด คุณสุปราณี แสงบัวใหญ่ คุณจันทนา เกิดมณี คุณพิสมัย ทองนุช คุณนัดดา มะณีกระโทก คุณเทียนทอง เหง้าน้อย คุณลิขสิทธิ์ จัดกลาง คุณพรปวีร์ เจริญสุข คุณชาญยุทธ์ สมอรณ์ คุณวงเดือน อำนาจ และครอบครัว คุณภัทรนันท์ ระหาญนอก คุณณัฐวุฒิ ปิดจันทึก คุณปฏิภาณ ระหาญนอก คุณยุพา ทองเครือมา และครอบครัว คุณวีณา พาสูงเนิน คุณกัลยา สำลี คุณอัญชลี ประจิม และครอบครัว คุณมนตรี ปราณีวงษ์

๒๐ ๒๐ ๑๙ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๗ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐

คุณมนตรี ปินะถา คุณวีระพงศ์ กองม่วง คุณอำพล แขนสันเทียะ คุณวินยั โนใหม่ คุณสมปอง ลุนศรี คุณทินกร นิวรรัมย์ คุณธนะพล พงษ์สระพัง และครอบครัว คุณนภาพร ศรไชย คุณเชอรี่ จงจัดกลาง คุณมังคุด กรุดโกศล คุณพรทิพย์ จงจัดกลาง คุณศรีเพ็ญ จงจัดกลาง คุณพวง กรดโกศล คุณสุวจั น์ กรดโกศล คุณสิทธิพงษ์ พรมพยัคฆ์ คุณชัยรง จงจัดกลาง คุณมะลิ จงจัดกลาง คุณประพันร์ กรดโกศล คุณหยกแก้ว คุม้ กุดเขียว คุณวาสนา เทียมสำโรง คุณจาตุรงค์ เวกสูงเนิน คุณสวรรค์ อินเมืองชล คุณมงคล เจริญรัมย์ คุณพรศิริ งอนเกาะ คุณจิราพร พลจันทึก คุณทัศนีย์ เขียมสันเทียะ คุณชฎาพร มุง่ คีมกลาง คุณกนกรดา หาญชัย คุณประเทือง ช่วยนา ไม่ทราบชือ่ รวมทัง้ สิน ้

๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๘ ๗ ๗ ๕ ๒๐

๒๒๖,๒๘๕ 79


สถาบันวิมุตตยาลัย

สมัครสมาชิกรับหนังสือธรรมะ ข้าพเจ้า........................................................................................................................................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกรับหนังสือธรรมะ : สมาชิกใหม่ ต่ออายุสมาชิก มีกำหนด............................................ปี เริม่ ตัง้ แต่เดือน............................................เป็นต้นไป ทัง้ นีไ้ ด้สง่ เงินจำนวน.........................................................บาท มาชำระให้พร้อมนีแ้ ล้วโดย ชำระด้วยตัวเอง โอนเงิน อัตราค่าสมาชิก : ระยะเวลา ๑ ปี เป็นเงินจำนวน ๖๐๐ บาท ระยะเวลา ๒ ปี เป็นเงินจำนวน ๑,๐๐๐ บาท โปรดจัดส่งหนังสือไปที่ : (เขียนตัวบรรจง) ชือ่ ผูร้ บั ..........................................................................................................................................................

สถานทีต่ ดิ ต่อ เลขที.่ ...........................................หมูบ่ า้ น/อาคาร...............................................................

ตรอก/ซอย............................................................ถนน...............................................................................

แขวง......................................................................เขต.................................................................................

จังหวัด.........................................รหัสไปรษณย์….................................โทรศัพท์…..........................................

ลงชื่อ..................................................................ผู้สมัคร (............................................................) หมายเหตุ : การส่งเงิน ๑. โอนเงินผ่านบัญชีชอ่ื สถาบันวิมตุ ตยาลัย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิรริ าช บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๐๑๖-๔-๑๖๒๙๖-๔ ๒. หากสมาชิกเปลีย่ นทีอ่ ยูใ่ หม่ โปรดแจ้งให้สถาบันวิมตุ ตยาลัย ทราบโดยด่วน ๓. สมาชิกจะได้รบั หนังสือธรรมะจากสถาบันวิมตุ ตยาลัย เดือนละ ๑ เล่ม ตามระยะเวลาทีท่ า่ นระบุมา

สถาบันวิมตุ ตยาลัย ๗/๙-๑๘ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐

โทร. ๐-๒๔๒๒-๙๑๒๓ โทรสาร ๐-๒๔๒๒-๙๑๒๘



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.