19
03.59 หอยชักตีน “สีชมพู”
“เดินเตร่ เที่ยวคลองบางระมาด” Gen 411
Contents 1 2 3 4 5 6 ทำไมจึงเรียกว่า “ตลิ่งชัน”
การท่องเที่ยว ในบางระมาด
ประวัติศาสตร์ 7 สถานที่
ผลิตภัณฑ์ ในชุมชน
แนวคิดและวิถีชีวิตของชุมชน
ความคิดเห็นของพวกเรา ที่มีต่อ “บางระมาด”
1
ทำไมจึงเรียกว่า “ตลิ่งชัน” หากเป็นแม่น้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แน่นอนว่าต้องมีความคดเคี้ยว ไปมา (เว้นซะแต่ว่าจะเป็นคลองขุด ซึ่งจะขุดเป็นทางตรง) แม่น้ำเจ้าพระยาก็เช่นกัน มีความคดเคี้ยวไปมา ทำให้ในสมัยก่อนเส้นทาง เดิมของแม่น้ำเจ้าพระยาจะอ้อมไกลมาก ไม่สะดวกต่อการเดินทางทำการค้า ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองทางลัดจาก สะพานปิ่นเกล้าถึงวัดอรุณฯ เพื่อสะดวกต่อการคมนาคม กาลเวลาผ่านไป แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าสู่คลองทางลัด แล้วกัดเซาะตลิ่งจนกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นเปลี่ยนเป็นเส้นทางหลักอย่างที่เห็นในปัจจุบันในที่สุด จึงทำให้ บริเวณนี้ซึ่งเคยเป็นเส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา มีน้ำไหลผ่านลดลง จึงเหลือเป็นแค่คลองเล็กๆ ตลิ่งเดิมที่เคยเสมอกับแม่น้ำก็ดูสูงขึ้นเพราะระดับ น้ำลดต่ำลง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ตลิ่งชัน”
?
?
“บางระมาด” คืออะไร?
บางระมาดเป็นย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เนื่องจากบริเวณนี้ที่เคยเป็นเส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงทำให้มีผู้คน มาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเกิดเป็นชุมชน ทำการค้า ทำการเกษตร มีเศรษฐกิจที่ดี ชาวบ้านจึงมีเงินทองมาเกื้อหนุนสร้าง วัดวาอารามหลายๆ แห่งในย่านนี้ ในปัจจุบันบางระมาดนับ ว่าเป็นแขวงหนึ่งในเขตตลิ่งชั่น จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ที่มาของชื่อ”บางระมาด” มาจากการที่ท่านศรีปราชญ์ ได้นั่งเรือผ่าน มาบริเวณนี้ แล้วได้บรรยายไว้ว่าเห็นตัว “ระมาด” (ระมาด เป็นภาษาเขมร หมายถึงแรดชนิดหนึ่ง) วิ่ง ไล่เรืออยู่ตามริมตลิ่ง การที่มีระมาดนั่นหมายความว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นป่าอุดมสมบูรณ์แต่ก็สังเกตเห็นว่ามีชุมชน มาตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านริมน้ำหรือที่เรียกว่า “บาง” อยู่ใกล้ๆกับที่ที่พบกับฝูงระมาด จึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า “บางระมาด”
2
การท่องเที่ยว ในบางระมาด
การท่องเที่ยวในบางระมาดมีลักษณะ เป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือการท่องเที่ยว ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของวัฒนธรรมสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดทิศทางโดยชุมชน เพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ จัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ นักท่องเที่ยว
การทำการท่องเที่ยวของชุมชน บางระมาดนี้ เป็นการหยิบเอาตัวตนและ จุดเด่นของชุมชนมาจัดการอย่างเหมาะสม เน้นการพัฒนาชุมชน ทำให้ชุมชนเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมีความเข้มแข็ง และยังสามารถแก้ไขปัญหาสังคมอย่าง เรื่องปัญหายาเสพติดได้อีกด้วยร
ในบางระมาดจะมีการท่องเที่ยว 3 รูปแบบหลักๆ คือ ตลาดน้ำ วัด และ ชุมชน ซึ่งเราจะได้เข้าไปเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของ ชุมชน หลายสิ่งหลายอย่างยังคงมีการ อนุรักษ์ไว้ เช่น ตลาดน้ำตลิ่งชันซึ่งเป็น ตลาดน้ำดั้งเดิมที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ สถาปัตยกรรมเก่าแก่อย่างวัดวาอารามต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยก่อน หรือวิถีชีวิตดั้งเดิม อย่างการพายเรือ การทำสวน นอกจากนี้ ชาวบ้านคนในชุมชนยังเป็นมิตรกับ นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทักทาย พูดคุย ให้การดูแล ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี สินค้า ที่จำหน่ายในชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ผลผลิตของชาวบ้านเอง อย่างน้ำผลไม้ สบู่สมุนไพร เน้นคุณภาพมากกว่าการขาย เอากำไร
เส้นทางท่องเที่ยว
“เดินเตร่ เที่ยวคลองบางระมาด” บางระมาด ตลิ่งชัน เป็นพื้นที่ที่สามารถ เดินทางได้หลายวิธี ตั้งแต่การขับรถมาตามเส้นทาง ปกติ เดินเท้าตามเส้นทางลัดในชุมชน ไปจนถึงการ ล่องเรือตามคลองหรือแม้กระทั่งการปั่นจักรยาน โดย เส้นทางท่องเที่ยว “เดินเตร่ เที่ยวคลองบางระมาด” ของพวกเรามีดังนี้
แผนที่เสนทางบางระมาด ือ
jui-tui chinese temple ศาลเจาพอจุย
เหน
Champa Temple วัดจำปา
ันตก
ตะว
ก
ันออ
ตะว
ใต
Kracang Temple วัดกระจัง
Golden Temple วัดทอง
Samorakoat Temple วัดสมรโกฏิ
ฤก
ชพ
นรา
ถ
ถน
อ ร ค
น น น
ร ท ิน
Mondop Temple วัดมณฑป
Changlek Temple วัดชางเหล็ก Taling Chan Temple วัดตลิ่งชัน
Angkula Temple วัดรางอังกุรา
ถน
มร ร บ น
า
ี น น ชช
Taling Chan Floating Market ตลาดน้ำตลิ่งชัน
3
ประวัติศาสตร์ 7 สถานที่ วัดช่างเหล็ก
ชื่อวัดช่างเหล็กมีที่มาจากการที่บริเวณนี้ เคยเป็นแหล่งที่ผู้คนจะประกอบอาชีพเป็นช่างเหล็ก ซึ่งต่อมาเมื่อเกิดศึกสงครามกับพม่าวัดแห่งนี้จึงถูก ทิ้งร้างจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณะวัดต่างๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟูบ้านเมือง โดยพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) ได้รับอาสามาบูรณะวัดนี้ สังเกตได้จากศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงวังหน้า คือ นาคเบือนและพระลักษณ์ทรงครุฑโดยพระลักษณ์ก็ หมายถึงตัวของวังหน้าเอง ภายในวัดยังคงมีรูปแบบ งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา อย่างการ สร้างอาคารแบบกำแพงหนา เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
ฯลฯ อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกถึงการสร้าง หรือบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 อย่างเสมาที่มีซุ้มครอบ เป็นทรงกูบช้าง ซึ่งถ้าเป็นงานศิลปะสมัยอยุธยาเดิมจะ ไม่มีซุ้มครอบเสมา การมาบูรณะวัดที่อยู่ลึกแบบนี้เป็นการ สะท้อนสภาพสังคมในสมัยนั้นว่าบ้านเมืองอยู่ในช่วงของ การฟื้นฟูให้กลับมาเจริญ รุ่งเรือง ผู้คนเริ่มทยอยกลับมา อยู่ในพื้นที่เดิม ดั่งคำกลอนที่มีคำกลอนกล่าวไว้ว่า
“
อยุธยายศล่มแล้ว สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร บุญเพรงพระหากสรรค์ บังอบายเบิกฟ้า
ลอยสวรรค์ ลงฤา เจิดหล้า ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ ฝึกฟื้นใจเมือง
“
วัดอังกุลา (ร้าง)
มีข้อสันนิษฐานว่าวัดอังกุลาน่าจะสร้างขึ้น ก่อนวัดช่างเหล็กเพราะทำเลที่ตั้งค่อนข้างอยู่ห่าง จากคลองบางระมาด ซึ่งในอดีตคลองบางระมาด เคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา หากสร้างวัดอยู่ใกล้แม่น้ำ เวลาถึงฤดูน้ำหลากจะทำให้น้ำท่วมวัด จึงต้องสร้าง วัดให้อยู่ห่างจากแม่น้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม และคำว่าอังกุลาเป็นคำโบราณที่ใช้เรียกชุมชนหรือคนต่างชาติ นั่นหมายถึงในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยมีชาวต่างชาติที่นับ ถึงศาสนาพุทธเคยอาศัยอยู่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ชาวขอม สังเกตได้จากศิลปะการสร้างพระพุทธรูปจะ เป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยขอมโบราณซึ่งเก่าแก่กว่า ศิลปะที่พบในวัดช่างเหล็ก และสาเหตุที่ทำให้วัดนี้ กลายเป็นวัดร้างคือตอนที่พม่ามารุกรานอยุธยา ครั้งที่ 2 บริเวณนี้จะเป็นเส้นทางผ่านที่พม่าจะไปตี อยุธยา ชาวบ้านในละแวกนี้จึงพากันหลบหนีออก จากเมือง ทำให้วัดแห่งนี้ถูกทิ้งร้าง พอศึกสงคราม สงบลง คนที่อยู่ดั้งเดิมก็ไมได้กลับมาอยู่ที่นี่แล้ว ไม่มีใครมาซ่อมแซมบูรณะ วัดจึงถูกทิ้งร้าง
ทรุดโทรมมาโดยตลอด จนเมื่อปี 2536 กรมศาสนาได้ประกาศให้ยุบวัดนี้ไป วัดอังกุลาจึงมีคำว่า “ร้าง” ต่อท้ายมาจนถึง ทุกวันนี้
วัดมณฑป
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวัดนี้คือรอยพระพุทธบาทจำลองที่อยู่ในมณฑป ในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าใครได้ไปสักการะ รอยพระพุทธบาทที่สระบุรีครบ 7 ครั้ง จะได้ขึ้นสวรรค์ แต่การไปสักการะรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีในสมัยก่อนนั้น ค่อนข้าง ยากลำบากและมีความสำคัญมาก จึงมีการนิยมสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นในวัดต่างๆ แล้วทำพิธีการสักการะรอย พระพุทธบาทตามแบบของจริง ซึ่งต่อมาเมื่อมีถนนหนทางสะดวกสบายขึ้น เรื่องการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองจึงลดความ นิยมลง ผู้คนนิยมไปสักการะรอยพระพุทธบาทของจริงมากกว่า เฉกเช่นเดียวกัน ในอดีตเมื่อชุมชนมีความเจริญรุ่งเรืองขยายตั วมาจนถึงตรงนี้ ก็ได้มีการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ที่วัดแห่งนี้เช่นกัน
วัดสมรโกฏิ
จะสังเกตได้ว่าเสมาของวัดนี้ไม่มีซุ้มครอบ จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และเชื่อว่าวัดนี้เคยเป็นวัดที่มีความโดดเด่นเรื่องของการ ปลุกเสกคาถาอาคม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการออกรบ เพราะมีโบสถ์มหาอุตม์ และชื่อวัดสมรโกฏิหมายถึง ความกล้าหาญ
“สะพานไม้ที่ใช้ไม้สร้างในอดีต และะ แบบสะพานลอยที่ใช้สร้างในอดีตที่คำนึง ถึงจังหวะก้าวข้ามของคนไทยในสมัยก่อน”
“สะพานที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตแต่ปัจจุบันถูกบูรณะแล้วต่อเติมเพิ่มขึ้นทำให้ ไม่เหลือรูปทรงเก่าแต่เดิมที่เคยมีมา”
วัดทอง
จุดเด่นของวัดนี้คือ หลวงพ่อดำ หลายคนอาจสงสัย ทำไมหลวงพ่อดำจึงมีอยู่หลายวัด เพราะสมัยก่อนตอนที่บ้าน เมืองเจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านต่างนิยมไปทำบุญปิดทองที่วัด พระพุทธรูปจึงเป็นสีทอง แต่พอเวลาต่อมา ช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย ่ เกิดสงคราม ผู้คนก็ต่างอพยพหนีไปที่อื่นๆ วัดจึงถูกทิ้งร้าง พระพุทธรูปในวัดเก่าก็ทรุดโทรมลง เผยให้เห็นเนื้อสำริดเดิม ซึ่งเป็นสีดำ ในภายหลังเมื่อมีชาวบ้านที่มาพบกับพระพุทธรูป เหล่านั้น จึงเรียกว่าหลวงพ่อดำ
วัดจำปา
วัดจำปาเป็นวัดที่มีน้ำล้อมรอบ ละแวกนี้ ในสมัยก่อนจึงเป็นย่านการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน จึงทำให้มีศิลปะและความเชื่อแบบจีนเข้ามาผสม วัดจะเป็นสิ่งที่สะท้อน ให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจของชุมชนในอดีต เพราะเมื่อชาวบ้านมีเงิน มีฐานะดี ก็จะทำบุญ ทำนุบำรุงวัด ฉะนั้นความโอ่โถงอลังการของวัดจำปาก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนแห่งนี้ วัดจำปาเป็นวัดขนาดเล็ก ที่เรียกว่าเป็นวัดขนาด 21 หัตถบาส (หมายถึงว่า ระยะการก้มกราบของ พระภิกษุจำนวน 21 รูปพอดี ตามพุทธบัญญัติที่ว่าการสร้างโบสถ์จะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 21 หัตถบาส) ซึ่งการที่โบสถ์มีขนาดเล็กพอดีกับจำนวนพระภิกษุ ชาวบ้านจึงไม่สามารถร่วมทำสังฆกรรมได้ จึงร่วมกัน สร้างอาคารรายล้อม โดยอาศัยคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาล นอกจากนี้ การออกแบบต่างๆ ภายใน วัดจะมีอิทธิพลของศิลปะการช่างแบบจีน สังเกตได้จากงานกะเบื้อง ลวดลายประดับตกแต่งต่างๆ ซึ่ง งานสถาปัตยกรรมแบบนี้ จะได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3
บ้านสว่างจันทร์และเกาะศาลเจ้า จุดเริ่มต้นของบ้านสว่างจันทร์แห่งนี้ เกิดจากการที่เจ้าของบ้าน ต้องการจะสร้างบ้านนี้ขึ้นมาเพื่อลูกสาวของเขา บ้านสว่างจันทร์นี้ คือบ้านเรือนไทยที่บอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตในอดีตอย่างของเล่น ขนม ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จะเป็นแบบสมัยก่อน และเจ้าของบ้าน เขาใช้ชีวิตกับสิ่งเหล่านี้จริงๆ ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อจัดแสดง แต่ก็เปิดให้ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ นอกจากบ้านสว่างจันทร์แล้ว ในเกาะศาลเจ้ายังมีจุดเยี่ยมชมอื่นๆ อีก อย่างเช่น บ้านแป้งพวงเครื่องหอม, บ้านโฮมสเตย์, บ้านจักสานระหว่างทางกลับเราสามารถ เยี่ยมชมสวนอันร่มรื่น และอุดหนุนสินค้าของชาวบ้านได้อีกด้วย
4
Pr
od
uc
ts
Of
ขนมเปียกปูนใบเตย ถ้าพูดถึงขนมเปียกปูน เรามักนึกถึงขนมเปียกปูนสีดำที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ขนมเปียกปูนของที่นี่เป็น ขนมเปียกปูนใบเตย ซึ่งเราลองแล้วติดใจมาก อร่อย หวานกลมกล่อม หอมใบเตย ห่อละ 5 บาท ราคากันเอง แต่รสชาติอร่อยเกินคุ้ม
มะพูด มะพูดคืออะไร แน่ใจว่าหลายๆ คนคงไม่เคยได้ยินชื่อของเจ้าผลไม้ ชนิดนี้มาก่อน แต่ที่บางระมาดแห่งนี้ มะพูดคือผลไม้พื้นถิ่นของที่นี่ เป็นผลไม้ที่มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ สีเหลืองๆ ขนาดพอๆ กับส้ม และพอปลอกเปลือกแล้ว เนื้อในก็เป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติเปรี้ยวๆ อมหวานนิดหน่อย แต่ก็อร่อยดี ซื้อติดมือกันมาคนละนิดละหน่อย แต่คุณน้าก็แถมมาอีกไม่น้อย ขายกับแบบใจดีจริงๆ
มะพูด เป็นสินค้าทำมาจากผลผลิตในท้องถิ่น ช่วยเรื่องของผดผื่น ขาวใส ลดริ้วรอย ปลอดภัย ไร้สารอันตราย เพราะทำมาจากธรรมชาติ มี 2 สูตร ใส่ขมิ้นกับไม่ใส่ขมิ้น เราซื้อกันมาคนละก้อน ก้อนละ 50 บาทเอง
น้ำสมุนไพร น้ำดอกดาหลา : ดอกดาหลาเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ไม่ได้พบเห็นกันบ่อยๆ ซึ่งเจ้าดอกไม้สีชมพูแสนสวยนี้ สามารถเอามาทำเป็นน้ำสมุนไพรที่มีประโยชน์ ได้ รสชาติอร่อยหอมหวาน แต่แอบเปรี้ยวนิดๆ ลองแล้วจะติดใจ น้ำอัญชันมะนาว : น้ำอัญชันมะนาวนี้ เราอาจพบเห็นได้ในทั่วๆไป แต่ความพิเศษคือ น้ำอัญชันมะนาวของที่นี่อร่อยมากจริงๆเพราะก่อนที่ เราจะไปบางระมาด เรากินน้ำอัญชันมะนาวติดกันมาหลายครั้งในหลายๆ ที่ แต่ก็ไม่มีที่ไหนอร่อยเท่าที่นี่ น้ำฟักข้าว : มาที่นี่จะเห็นได้ว่ามีน้ำฟักข้าวขายอยู่มาก ซึ่งเมื่อเราได ้ลองซื้อมาทานแล้วก็คิดว่าอร่อยดี รสชาติเฝื่อนๆ นิดหน่อย และนอกจาก อร่อยแล้วยังมีประโยชน์อีกด้วย
5
5 The Concept Of ในสมั ยก่อยนชุ งนี้เคยเป็ นแหล่นแหล่ งค้ายาเสพติ ด เนืด่องจากจะมี การสักญารสั จรทางน้ ำ ำ ในสมั ก่อมนชุชนแห่ มชนแห่ งนี้เคยเป็ งค้ายาเสพติ เนื่องจากจะมี ญจรทางน้ เป็นหลั ตำรวจเข้ าไม่ถาึงไม่รถเข้ าไม่ถาึงไม่จึถงึงมีจจึัดงมีการกั บปัญบหายาเสพติ ดโดยทำการ เป็นกทำให้ หลักทำให้ ตำรวจเข้ ถึง รถเข้ จัดการกั ปัญหายาเสพติ ดโดยทำการ ท่องเที ว ่ยเพราะเมื ่อมีน่อักมีท่นอักงเที วมากหน้ าหลายตาเข้ ามาในชุ มชน มทำให้ เหล่าเหล่า ท่อ่ยงเที ว เพราะเมื ท่อ่ยงเที ่ยวมากหน้ าหลายตาเข้ ามาในชุ ชน ทำให้ นักเสพหรื อนักอค้านัยาทั หลายไม่ กล้ากระทำผิ ดแล้วดถอยออกไป ชุมชนนี ึงกลายเป็ น น นักเสพหรื กค้า้งยาทั ้งหลายไม่ กล้ากระทำผิ แล้วถอยออกไป ชุม้จชนนี ้จึงกลายเป็ ชุมชนน่ าอยู่ าอยู่ ชุมชนน่ สังเกตได้ ว่าส่วว่านใหญ่ แล้วแบ้ล้าวนแถวนี ้จะไม่้จะไม่ มีรั้วกัม้นีรั้วกัเป็้นนเป็ การอยู ่กับแบบพี ่แบบน้่แบบน้ องพึ่งองพึ่ง สังเกตได้ ส่วนใหญ่ บ้านแถวนี นการอยู ่กับแบบพี พาอาศั ยเกื้อยกูเกืลกั้อนกูลเป็ ้งเดิม้งเดิที่ใมนปัที่ใจนปั จุบันจหลงเหลื ออยู่นอ้ออยูย ่นที้อ่นยี่ชุมทีชนจะ พาอาศั กันนวิเป็ถนีชีววิิตถแบบดั ีชีวิตแบบดั จุบันหลงเหลื ่นี่ชุมชนจะ มีโฉนดเป็ นของตั วเองวเอง จึงเปิจึดงให้ นภายนอกสามารถเข้ ามาเดิามาเดิ นท่องเที คนในคนใน มีโฉนดเป็ นของตั เปิดคให้ คนภายนอกสามารถเข้ นท่อ่ยวได้ งเที่ยวได้ ชุมชนมี อัธยาศั ดี เวลามี บุคคลภายนอกเข้ ามา าก็มาจะมองว่ าเป็นาพีเป็่นน้องมากกว่ ามองว่ า า ชุมชนมี อัธยยาศั ยดี เวลามี บุคคลภายนอกเข้ ก็จะมองว่ พี่น้องมากกว่ ามองว่ เป็นนัเป็กนท่นัองเที ว จึ่ยงวดูแจึลพู คุยทัดกคุทายกั บนักท่บอนังเที วแบบเป็ นกันเอง กท่อ่ยงเที งดูแดลพู ยทักทายกั กท่อ่ยงเที ่ยวแบบเป็ นกันเอง อย่าอย่งทีา่ไงทีด้ก่ไล่ด้ากวไปแล้ ว การท่ องเทีอ่ยงเที วในบางระมาดมี ลักษณะเป็ นการท่ องเทีอ่ยงเที วโดย ล่าวไปแล้ ว การท่ ่ยวในบางระมาดมี ลักษณะเป็ นการท่ ่ยวโดย ชุมชนชุมชน ซึ่งดำรงอยู ่ได้ด้ว่ไยการนำเอาวั ฒนธรรมมาจั ดเป็นดการท่ องเที่ยอวงเทีจึ่ยงวไม่จึตง้อไม่งลงทุ น น ซึ่งดำรงอยู ด้ด้วยการนำเอาวั ฒนธรรมมาจั เป็นการท่ ต้องลงทุ อะไรมาก เพราะต้ นทุนนคืทุอนสิคื่งอทีสิ่ช่งุมทีชนมี อยู่แล้อวยู่แการทำการท่ องเทีอ่ยงเที วของที ่นี่ไม่่นไี่ได้ม่มุ่งไหวั อะไรมาก เพราะต้ ่ชุมชนมี ล้ว การทำการท่ ่ยวของที ด้มงุ่งหวัง ให้ตให้ ัวเงิตนัวเป็เงินนเป้เป็านหมาย แต่มุ่งแต่หวัมงุ่งให้ ่ได้ด้ว่ไยตนเองมากกว่ า ที่นาี่จึงทีเป็่นนี่จเหมื เป้าหมาย หวัชงุมให้ชนอยู ชุมชนอยู ด้ด้วยตนเองมากกว่ ึงเป็นอนเหมือน สถานที ่พบปะ่พบปะ เป็นแหล่ เรียนรู ประวัประวั ติศาสตร์ รวมถึรวมถึ งสิ่งอืง่นสิๆ่งอื่นที่เๆป็นทีองค์ ระกอบ สถานที เป็นงแหล่ งเรี้วยัฒนรูนธรรม ้วัฒนธรรม ติศาสตร์ ่เป็นปองค์ ประกอบ ของชุของชุ มชนมชน และสิและสิ ่งที่ตามมาจากการท่ องเทีอ่ยงเที วคือ่ยการกระจายรายได้ ไปสู่ชไาวบ้ นในชุ มชน มชน ่งที่ตามมาจากการท่ วคือการกระจายรายได้ ปสู่ชาาวบ้ านในชุ แต่สแต่ิ่งทีส่นิ่ง่าทีกลั อย่วาอย่ งหนึ ่งคือ่งการที ่นักวิ่นชักาการเข้ ามาแนะนำโครงการต่ างๆ าโดยที ่ ่ ่น่าวกลั างหนึ คือการที วิชาการเข้ ามาแนะนำโครงการต่ งๆ โดยที ไม่รู้พไม่ื้นรฐานของชุ มชนแห่ งนี้ สิง่งนีเหล่ นี้ไม่าไนีด้้ไคม่ิดไเพืด้ค่อิดชุเพื มชน มาทำเพื ่อชุมชน ู้พื้นฐานของชุ มชนแห่ ้ สิ่งาเหล่ ่อชุมไม่ ชนได้ไม่ ได้มาทำเพื ่อชุมชน สุดท้สุาดยแล้ ก็จะทำให้ ชุมชนเกิ ดการแตกแยก ซึ่งอันซึที่ง่จอัรินงทีแล้่จริวงแล้ คนในชุ มชนเป็มชนเป็ นคนมีนคนมี ท้าวยแล้ วก็จะทำให้ ชุมชนเกิ ดการแตกแยก ว คนในชุ ฐานะทางเศรษฐกิ จดี เพี ีความสุ ขที่ได้ขเทีป็่ไนด้เจ้เป็านบ้เจ้านที ดูแลดูแล ฐานะทางเศรษฐกิ จดียงแต่ เพียมงแต่ มีความสุ าบ้่ดาี นทีพูด่ดคุี ยพูดแนะนำ คุย แนะนำ นักท่นัอกงเที ว รู่ย้สวึกสนุ กับกการทำผลิ ตภัณตฑ์ภัเล็ณกฑ์ๆเล็กน้ๆอยๆน้อยๆ ที่มาจากผลผลิ ตในท้ตในท้ องถิ่นอมา ท่อ่ยงเที รู้สึกกสนุ กับการทำผลิ ที่มาจากผลผลิ งถิ่นมา จำหน่จำหน่ ายให้ายให้ แก่นักแท่ก่อนงเที ว ่ยว ักท่อ่ยงเที
6
ความคิดเห็น ของพวกเรา
ศศลักษณ์ มังกรพันธุ์ (หนุ่ย) : ถ้าไม่ใช่เพราะ วิชา Genจัดทริปนี้ก็คิดว่าคงไม่ได้มาที่นี่เพราะ ไม่รู้จักและคิดว่าคงเหมือนที่อื่นๆไม่มีอะไรแต่... หลังจากที่เราเข้ามาตรงนี้แล้วสิ่งที่คิดไว้มันต่างไป จากเดิมการมาที่นี่นับเป็นอีกที่หนึ่งที่น่าประทับใจ และน่าอยู่มากตั้งแต่การฟังประวัติของ บางระมาด ตลิ่งชันการเดินหาของกินที่ตลาดน้ำวัด ตลิ่งชัน การเดินเยี่ยมชมชุมชนและพูดคุยกับชาวบ้านไประ หว่างทาง การเดินดูสถาปัตยกรรมที่วัดฟังหลักการ และความคิดของวัดที่สร้างขึ้น เช่นวัดจำปาว่าการ ใช้เครื่องชามสังคโลกมีหลักความคิดอะไรยังไงอีก ทั้งการท่องเที่ยวชุมชนการเข้าไปฟังความคิดเห็น
ที ่ ม ี ต ่ อ “บางระมาด”
ของคนพัฒนาชุมชนในบ้านสว่างจันทร์ การอนุรักษ์ วัฒนธรรมดั้งเดิมและประยุกต์ให้เข้ากับการ ร่วมสมัยการเดินชมสินค้าชุมชนที่ชาวบ้านเป็นคน ทำเองจากผลผลิตที่ปลูกเองของที่นี่ผมได้มีโอกาส เข้าไปเยี่ยมชมบ้านของหมอต้อยและได้พูดคุยกับ ท่าน พบว่าความคิดในการค้าขายของที่นี่ส่วน ใหญ่ จะเน้นคุณภาพมากกว่าการ ค้าขายการหา อะไรทำฆ่าเวลามากกว่าหวังผลกำไรเพราะว่าที่ ดินนี้ก็เป็นของเขา มีทั้งสวนและ โรงเพาะเห็ด อยู่ ยังไงก็ไม่อดตายอีกทั้งหมอต้อยยังพาเดินดูสวน ดอก ดาหลาและส้มโออีก และไม่ใช่แค่หมอต้อย คนเดียว คนในชุมชนบางระมาดเป็นแบบนี้เกือบ ทั้งหมด ทำให้คิดว่านี่เป็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพชีวิต ของคนที่นี่เลยก็ว่าได้ ไปเที่ยวไม่ พออยากไปอยู่ อีกต่างหาก
วัชรินท์ ศิริเบญจวรรณ (ต้น) : โดยส่วนตัวบ้าน ผมอยู่ตรงถนนสวนผัก จากระยะทางจากบ้านผม ไปถึงบางระมาดนั้นห่างกันไม่ถึง 10 กิโลฯ ซึ่ง ผมยอมรับเลยว่าตัวผมเองไม่รู้จักชุมชนบางระมาด เลย และจากการที่ได้ไปท่องเที่ยวที่นี่นั้น ผมรู้สึก ประทับใจตรงเรื่องความเข้มแข็งและแนวคิดของ ชุมชน จากการที่ได้คุยกับหัวหน้าชุมชนนั้น เขา บอกว่าทางชุมชนมองว่านักท่องเที่ยวไม่ใช่แค่นัก ท่องเที่ยว แต่มองว่านักท่องเที่ยวคือเพื่อนบ้าน ซึ่ง คำว่าเพื่อนบ้านนั้นหมายถึงทุกๆ คนที่มาที่บางระ มาด ต้องช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของชุม ชนเพราะผู้คนที่นั้นไม่ได้ต้องการท่องเที่ยวที่บางระ มาดเป็นการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเขาไม่ต้องการให้ นักท่องเที่ยวที่มานั้นมาทำลายวัฒนธรรมของชุมชน และไม่ต้องการให้เอกชนเข้ามาจัดการ ผม มองว่าเป็นเรื่องที่ดีนะ เพราะจะทำให้ทางชุมชน ไม่มองเรื่องเงินเป็นประเด็นใหญ่ แต่จะมองเรื่อง รักษาวัฒนธรรมไว้ เพราะเสน่ห์ของที่นี่คือเรื่อง วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชาวบ้าน ต้องขอบคุณวิชา GEN 441 ที่ทำให้ผมได้มองเห็นสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้บ้าน ได้รู้จักชุมชนตัวอย่างที่น่าอนุรักษ์ไว้ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องขอขอบคุณทางใน ชุมชนที่เป็นกันเองกับผมและเพื่อนๆ ตอนผมไปที่ นั่นคนในชุมชนมองว่าผมเป็นเหมือนลูกหลาน ทั้งชวนคุย ชวนเข้าบ้าน ไปดูสวนในบ้าน เดินดู รอบๆ บ้าน ทำให้รู้สึกว่าทางชุมชนนั้นมองว่านัก ท่องเที่ยว เป็นเหมือนเพื่อนบ้านจริงๆ ขอบคุณครับ
ธนากร กังวานพานิชย์ (บูม) : ก็จากที่ไปนะ ก็ ประหลาดใจว่ายังมีที่แบบนี้อีกเหรอในกรุงเทพฯ มันเป็นบรรยากาศแบบเฉพาะที่อ่ะ คือถ้าอยากจะ เจออะไรแบบนี้ก็ต้องมาที่แบบนี้ มันเฉพาะทาง มาก ติดริมน้ำ ทุกคนดูเป็นมิตร อย่างคนที่ขาย ของก็ดูไม่ใช่คนที่ทำเพื่อกะจะรวยหรือหวังกำไร อะไรมากมาย เค้าไม่ทำก็ดูไม่เดือดร้อนอะไร แค่ สนุกที่ได้ทำ ทุกคนอัธยาศัยดีมาก ชอบร้านนึงที่ เราซื้อขนมร้านเขาแต่เขาแถมมะพูดให้แพงกว่าที่ เราซื้ออีก แล้วอีกบ้านนึง เราซื้อน้ำเขาอยู่ดีๆ เขา ก็ ช วนเข้ า ไปดู ส วนในบ้ า นเขาทุ ก คนดู ก ั น เอง แบบไม่กั๊กความรู้ บอกไรได้ก็บอก เป็นที่ที่ควรไป เดินเล่นผ่อนคลาย มีลูกพาลูกไป มีหลานพา หลานไป พาครอบครัวต้องไปสักครั้งทำให้สบาย ใจได้
ศิวะพร สุขเกษม (กุ๊กกิ๊ก) : การได้เดินทางครั้ง นี้เป็นโอกาสที่ดีมากทำให้ได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศท้องถิ่น การเดินทางด้วยเรือการเดินเท้าไปวัด ต่างๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์รวมถึงการได้ทาน อาหารท้องถิ่นอร่อยๆ ซึ่งถ้าไม่ได้เรียนวิชา Gen 411 ก็คงไม่ได้มาสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตแบบนี้ เป็นโอกาสที่ดีมากจริงๆ ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อน จะต้องเดินจะไกลๆ ก็คุ้มกับสิ่งที่ได้มา เราได้ลอง ได้รู้อะไรใหม่ๆ ได้ทานในสิ่งที่ไม่เคยทาน อย่าง เช่น “มะพูด” ซึ่งแค่ชื่อมันก็แปลกแล้ว ไม่เคยได้ ยินมาก่อน รถชาติก็แปลกดี แต่ก็อร่อยดีนะ เรายัง ซื้อกลับมาเลย เขาขายแค่ลูกละ 5 บาทเอง ผู้คน แถวนั้นก็เป็นกันเองมากเดินไปสามารถพูดคุยกับ คนในชุมชนได้ตลอดทางแถมยังมีพี่วิทยากรที่คอย แนะนำและบรรยายอย่างเป็นกันเองการเดินไปเล่า ไปเห็นภาพของจริงข้างหน้าย่อมดีกว่าการเห็น ภาพจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์อยู่แล้วและวัน นั้นเรา แทบไม่ได้แตะโทรศัพท์เลยห่างไกลจาก โลกโซเชียล ทำให้เราหันมาสนใจผู้คนรอบข้าง มากขึ้น การไปบางระมาดครั้งนี้ เหมือนได้ไปหา ประสบการณ์ความรู้นอกห้องเรียน จึงเป็นการท่อง เที่ยวที่ดีที่สุดทริปหนึ่งเลยก็ว่าได้
นัฎนิชา ทองสินธุ์ (ลูกปัด) : ทริปนี้เหรอ? คือดี เกินคาดเลยนะยอมรับเลยว่าตอนแรกเราไม่รู้จัก บางระมาดเลยสักนิด และก็คิดว่า อืม...ไปทริปนี้ คงเหมือนไปเที่ยวตลาดน้ำไรงี้รึป่าว แต่พอได้ไป สัมผัสก็แบบ.. เฮ้ย...คือดีอ่ะ บรรยากาศดีได้รู้เรื่อง ราวประวัติศาสตร์จากศิลปสถาปัตยกรรมเก่าแก่ด้ว ย เพราะโดยส่วนตัวเราแล้วชอบฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์อยู่แล้วอ่ะ นอกจากเรื่องประวัติศาสตร์ เราก็ชอบเรื่องอาหารนะ คือทำไมอร่อยทุกอย่าง ฮ่าๆ มีอันนึงเราชอบมาก มันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่ามะพูด ชาวบ้านเขาให้เราลองชิม เหมือน ปิ๊งอ่ะ ขอซื้อเลย ไม่เคยกิน แต่อร่อยดี แล้วชาว บ้านในบางระมาดเขาใจดีมากเลยนะ ทักทาย พูดคุย เป็นกันเองตลอดทาง พาไปดูโน่นนี่นั่น สวนผลไม้ สวนดอกไม้ เล่าเรื่องบรรยายสิ่งต่างๆ ให้ฟังเป็นฉากๆ ความรู้เพียบ แบบไม่กั๊กเลย จำได้บ้างไม่ได้บ้างก็อีกเรื่องนึง ฮ่าๆ คือเราไม่ คิดว่ามันจะยังมีสถานที่แบบนี้ วิถีชีวิตแบบนี้ อยู่ ในกรุงเทพฯ ตอนกลับพอรถแล่นออกจากบาง ระมาด มันเหมือนกับเป็นคนละโลกเลย ทริปนี้เป็น ทริปหนึ่งที่เราประทับใจ เหมือนเป็นเรื่องดีๆ เรื่อง หนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และเราจะจดจำมันไว้ ขอบคุณที่พาเราไปพบกับสิ่งดีๆ