Horizon magazine vol14

Page 1

TECHNO ART

4 N Vol. o. 2

"สวนทับซอนของกระปุกยา"

14

สื่อสิ่งพิมพ | 16.3 x 23.9 cm 2014 © Nataphat Archavarungson

พัฒนาสังคม ชุมชน และท องถิ�น Vol.4 No.2 Issue 14

ด วย

วทน.

facebook.com/stihorizon


“The difference between stupidity and genius is that genius has its limits.” Albert Einstein (1879-1955)

E ditor’ s

vision

ท่ามกลางความสับสนของสังคมไทยที่ยัง มองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ หลาย คนมีความรู้สึกว่าเรายืนอยู่บนขอบหน้าผา หากเดิ น ไปข้ า งหน้ า อี ก เพี ย งก้ า วเดี ย วก็ พร้อมจะร่วงหล่นลงไปสู่หุบเหวแห่งความ หายนะ Horizon ฉบับนีต้ งั้ ใจจะสะท้อนความ หวังที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็น ความหวังที่บริสุทธิ์และควรแก่การเผยแพร่ เป็นภาพสะท้อนการเติบใหญ่ของสังคมไทย ด้วยแรงกายแรงใจของทุกชนชั้น มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนว พระราชดำ�ริ สะท้อนความความเอาพระทัย ใส่และห่วงใยของในหลวงที่มีต่อพสกนิกร ในพื้นที่ห่างไกล บนพื้นฐานที่ว่า แม้สังคม หนึ่งมีปัญหา แต่สังคมนั้นยังมีศักยภาพที่ จะพัฒนาตนเอง หากได้รับการสนับสนุน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านการใช้ศาสตร์ 3 ศาสตร์กับการพัฒนา 6 มิติ ในอีกมุมหนึง่ ชุมชนต่างๆ ไม่ได้ทอด อาลัยกับปัญหาทีพ่ วกเขาประสบ ตรงกันข้าม

พวกเขาฝ่ า ฟั น ปั ญ หาโดยอาศั ย พื้ น ฐาน ที่ แข็ ง แกร่ ง ของชุ ม ชน นั บ ตั้ ง แต่ ผู้ นำ � ที่ มี วิสัยทัศน์ โครงสร้างการบริหารชุมชนที่มุ่ง ประโยชน์ของส่วนรวม ชาวบ้านที่ร่วมแรง ร่วมใจ ตลอดจนการสนับสนุนจากภายนอก อย่างเหมาะสม ชุมชนแม่ทายั่งยืน เชียงใหม่ ชุมชน บ้านเขาน้อย พิษณุโลก และชุมชนบ้านท่าหิน สงขลา เป็นตัวอย่างที่บอกเราว่า ลมหาย แห่งความหวังยังปรากฏอยู่ในสังคมไทย กราบขอบพระคุณ ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม วั ฒ นชั ย ที่ ก รุ ณ าบอกเล่ า โครงการดีๆ ให้พวกเราได้รับรู้ ขอบคุณ พ่อพัฒน์ ผอ.อำ�นวย พี่พูล ทรัพย์ อ.พิสิษฏ์ และ อ.อำ�นวย ที่ทำ�ให้ผู้ อ่าน Horizon ได้เต็มอิม่ กับเรือ่ งราวดีๆ ของ คนธรรมดา ช้าอยูไ่ ย ไปรูจ้ กั กับ วทน. เพือ่ คนไทย “กินอิ่ม นอนอุ่น” กันเถอะ) สุชาต อุดมโสภกิจ


14

40_ Vision

Horizon ได้รบั เกียรติในการสนทนากับ ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระ หรือ ‘คุณหมอเกษม’ คุณหมอเกษมบอกเราว่า หัวใจสำ�คัญทีถ่ กู ละเลยในภาคเกษตรกรรม ไทยก็คือการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ นั่นหมายถึง ความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรหรือชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น เมื่อพวกเขาเป็นอิสระแล้ว อนาคตของประเทศก็จะสดใสขึ้น ไม่ หม่นหมองเช่นวันนี้

14_Gen next

บรรณาธิการบริหาร ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ ดร.ศรีฉัตรา ไชยวงค์วิลาน กองบรรณาธิการ อาศิร จิระวิทยาบุญ ณิศรา จันทรประทิน นนทวัฒน์ มะกรูดอินทร์ ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ บรรณาธิการต้นฉบับ วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ ศิลปกรรม ณขวัญ ศรีอรุโณทัย กีรตรีพร ทับทวี

04 06 12 14 18 28 30 22 40 50

News review Special Report Foresight society Gen Next Features Smart Life Social & Technology Interview Vision Global warming

30_ Social &

ตำ�บลแม่ทา อำ�เภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่ม เกษตรกรกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันปลูกผักปลอดสารพิษ พวกเขาเป็นคนรุน่ ใหม่ทกี่ า้ วขึน้ มามีบทบาทแทนคนรุน่ พ่อแม่ พวกเขาหาวิธกี ารผลิตใหม่ หาช่องทางการตลาด ใหม่ๆ พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบมหาวิทยาลัย กลับบ้านเกิด รวมตัวกันทำ�การเกษตรในนาม ‘กลุ่ม ผักเกษตรอินทรีย์กัลยาณมิตร’

เจ้าของ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ ดร.ศรีฉัตรา ไชยวงค์วิลาน ที่ปรึกษา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน รศ.ดร.ชาตรี ศรีไพพรรณ

Contents

Technology

Horizon ได้พดู คุยกับ คุณเสาวณี มุสแิ ดง อธิบดี ก ร ม วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ บริ ก าร ในประเด็ น การใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทาง วิ ท ยาศาสตร์ ใ นการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพของ สิ น ค้ า OTOP เป็ น รู ป ธรรมหนึ่ งของการ ใช้วิทยาศาสตร์ในมิติ ต่างๆ ของสังคม

สำ�นักงาน ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ เลขที่ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0 2160 5432 ต่อ 308 อีเมล horizon@sti.or.th เว็บไซต์ http://www.sti.or.th/horizon เฟซบุ๊ค facebook.com/stihorizon

ดำ�เนินการผลิตโดย บริษัท เปนไท พับลิชชิ่ง จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 อีเมล waymagazine@yahoo.com เว็บไซต์ waymagazine.org


สุดารัตน์ มณีกร

N

e

w

s

01

สุดยอด 100 องค์กรแห่งนวัตกรรมระดับโลก (2013 Top 100 Global Innovators)

ทอมสัน รอยเตอร์ ประกาศรายชือ่ สุดยอด 100 องค์กรแห่งนวัตกรรมระดับโลกประจำ�ปี 2013 เพือ่ เป็น เกียรติแก่บริษัทและสถาบันทั่วโลกที่ให้ความสำ�คัญกับ นวัตกรรมเป็นหัวใจสำ�คัญ สำ�หรับเกณฑ์การคัดเลือกได้พิจารณาจาก 4 องค์ประกอบหลักคือ จำ�นวนสิทธิบัตรโดยรวมทั้งหมด อัตราความสำ�เร็จในการได้รบั การจดสิทธิบตั ร การเข้าถึง ผลงานจากทัว่ โลก และการสร้างแรงจูงใจของนวัตกรรม สิทธิบตั รโดยยึดจากการอ้างอิงผลงานเป็นหลัก Increased R&D Spending Results in Increased Innovation: ในปีทผ่ี า่ นมา องค์กรเหล่านีม้ ี การลงทุนด้านการวิจยั พัฒนากว่า 223 พันล้านดอลลาร์ หรือเทียบเท่ากับสัดส่วนการลงทุนต่อรายได้ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะทีก่ ลุม่ S&P 500 มีสดั ส่วนการลงทุน ต่อรายได้อยู่ท่ี 2.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นที่ปรากฏอย่าง ชัดเจนว่าบริษัทที่มีการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาสูงมี แนวโน้มทีจ่ ะมีการสร้างผลงานสิทธิบตั รมากขึน้ และนำ� ไปสูก่ ารสร้างสรรค์นวัตกรรมตามมา Regional Hot Spot of Innovation: ทวีป อเมริกาเหนือยังคงเป็น ผู้นำ�ในฐานะภูมิภาคที่มีจำ�นวน องค์กรที่ได้รับการจัดอันดับมากที่สุดถึง 46 องค์กรใน ปีน้ี (ประกอบด้วย 45 องค์กรจากสหรัฐอเมริกา และ 1 องค์กรจากแคนาดา) รองลงมา ได้แก่ เอเชีย (ติดอันดับถึง 32 องค์กร ประกอบด้วย 28 องค์กรจากญีป่ นุ่ 3 องค์กร จากเกาหลีใต้ และ 1 องค์กรจากไต้หวัน) และยุโรปทีม่ ี จำ�นวนองค์กรที่ติดอันดับ 22 แห่ง โดยมีสัดส่วนมาก ทีส่ ดุ มาจากฝรัง่ เศส (12 องค์กร) และสวิตเซอร์แลนด์ (4 องค์กร) และนับเป็นอีกครัง้ ในปีนท้ี อ่ี งค์กรจากประเทศจีน ไม่ติดอันดับ แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีจำ�นวนสิทธิบัตร โดยรวมสูงที่สุดในโลก ทั้งนี้เป็นเพราะการจดสิทธิบัตร ส่วนใหญ่เป็นการจดภายในประเทศ

Industry Breakout: อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และชิน้ ส่วนไฟฟ้ายังคงเป็นผูน้ �ำ ในปี 2013 ด้วยจำ�นวน บริษัทที่ติดอันดับถึง 23 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2012 และปี 2011 ถึง 28 เปอร์เซ็นต์ และ 64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำ � ดั บ รองลงมาคื อ อุ ต สาหกรรมฮาร์ ด แวร์ คอมพิวเตอร์ ติดอันดับถึง 11 องค์กร ตามมาด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ ติดอันดับทั้งหมด 8 องค์กร เพิม่ ขึน้ จากปีทแ่ี ล้ว 1 องค์กร โดย Nissan เป็นผูต้ ดิ อันดับ รายใหม่ลา่ สุดในอุตสาหกรรมนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มี อั ต ราการเปลี่ ย นแปลงโดดเด่ น ที่ สุ ด หากพิ จ ารณา เปรียบเทียบกับการจัดอันดับครัง้ แรกในปี 2011 ทีม่ จี �ำ นวน องค์กรทีไ่ ด้รบั การจัดอันดับเพียง 3 องค์กร (เพิม่ ขึน้ ถึง 167 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วย อุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าอุตสาหกรรม ทีม่ จี �ำ นวนองค์กรทีต่ ดิ อันดับเท่ากัน 7 แห่ง โดยในกลุม่ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมหากพิจารณา เฉพาะในกลุม่ ผูผ้ ลิตโทรศัพท์มอื ถือจะพบว่ามีการแข่งขัน รุนแรงอย่างมากในแง่ของการผลิตสิทธิบตั ร ทัง้ Apple, Microsoft, Samsung, Google และ BlackBerry โดย ในปีนถ้ี อื เป็นปีแรกที่ BlackBerry ได้รบั การจัดอันดับอยู่ ในกลุม่ 100 องค์กรแห่งนวัตกรรม อุตสาหกรรมยาถือเป็นอุตสาหกรรมหนึง่ ทีม่ กี าร เปลีย่ นแปลงอย่างน่าจับตามอง โดยในปีนม้ี จี �ำ นวนองค์กร ทีไ่ ด้รบั การจัดอันดับ 3 องค์กร จากเดิมทีม่ เี พียงบริษทั Roche แต่เพียงบริษทั เดียวทีต่ ดิ อันดับ โดยบริษทั ทีต่ ดิ อันดับรายใหม่ 2 บริษทั ได้แก่ Abbott Laboratories และ Johnson & Johnson

รายงานฉบับสมบูรณ์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.top100innovators.com : 4


r

e

v

i

e

กิตติศักดิ์ กวีกิจมณี

w 02

เกมง่ายๆ ที่เปลี่ยนคนให้รักโลก จากการศึกษาวิจยั เป็นเวลา 12 เดือน พบว่าเกมที่ เราเล่นกันในชีวติ ประจำ�วัน สามารถช่วยกระตุน้ ให้ผเู้ ล่น เกิดความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมได้ กิจกรรมการวิจยั อันน่าสนใจนีร้ เิ ริม่ โดย ‘London Sustainable Development Commission’ ซึง่ เป็นส่วน หนึ่งของโครงการ London Leaders Programme โดย ผู้วิจัยตั้งเป้าที่จะนำ�เอาเกมมาเป็นเครื่องมือสร้างความ ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมแทนรูปแบบการรณรงค์แบบ เดิมๆ ที่มักเน้นการกระตุ้น ‘ความรู้สึกผิด’ หรือการ สื่อสารแบบ ‘ชี้นิ้วบอก’ โดยเกมที่ใช้นั้นดัดแปลงจาก เกมง่ายๆ ที่หลายคนคุ้นเคย เช่น บันไดงู ผลการวิเคราะห์การเล่นเกมของผู้เข้ารับการ ทดสอบกว่าหลายร้อยคน พบว่าผูร้ บั การทดสอบแต่ละคน

สามารถช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ถึงคนละครึ่ง ตัน ผ่านกิจกรรมง่ายๆ เช่น การเติมน้ำ�ในกาไม่ให้ล้น การใช้เวลาอาบน้ำ�สั้นลง เป็นต้น นอกจากนี้ เกมยังมีผลกระทบลึกลงไปถึงระดับ จิตสำ�นึก โดยหลังจากเล่นเกม ผู้เล่นเกมกว่าครึ่งหนึ่ง ปฏิญาณว่าจะมีส่วนร่วมในการลดการทำ�กิจกรรมที่ส่ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ของเกมดังกล่าว ทำ�ให้ผวู้ จิ ยั ตัง้ เป้าทีจ่ ะพัฒนาเกมนีไ้ ปเป็นแอพพลิเคชัน่ ‘free eco-games’ เพื่อใช้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้บริโภคที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในคริสต์มาส ปี 2013 นี้ และจะผลักดันให้กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) ทั่วประเทศ อังกฤษต่อไป

ไ ที่มา http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-25104468

03

นักวิจัยเปิดตัว

แอพพลิเคชั่นช่วยวิเคราะห์ข้อมูลดาวตก! นักวิจัยจากเครือข่าย Desert Fireball Network แห่งมหาวิทยาลัยเคอร์ตนิ ประเทศออสเตรเลียได้คดิ ค้น แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ชื่อว่า ‘Called Fireballs in the Sky’ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั่วโลก จุดเด่นของแอพพลิเคชัน่ นีก้ ค็ อื มันสามารถประมวลผลข้อมูลต้นกำ�เนิด และแหล่งที่มาในระบบสุริยะของดาวตกได้ โดยแอพพลิเคชั่นนี้จะสามารถบอกได้ลึกถึงวิถีการโคจรหากมี ข้อมูลจากการสังเกตการณ์มากพอ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมระดม ข้อมูลไปสู่เครือข่ายข้อมูลดาวตกนี้ได้ โดยผู้ใช้จะถูก ขอให้ประเมินตำ�แหน่งของจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ ดาวตก ด้วยการชูต�ำ แหน่งของโทรศัพท์ไปยังจุดดังกล่าว และด้วยวิธีนี้ แอพพลิเคชั่นก็จะประมวลผลข้อมูลที่ได้ จาก accelerometer ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่สามารถระบุ องศาความเอียงของโทรศัพท์ นำ�มาประกอบกับข้อมูล

จาก GPS และเข็มทิศ ก็จะเกิดเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ ส่งต่อให้กบั ทีมวิเคราะห์ท�ำ การสรุปผลอีกครัง้ หนึง่ และ ผลที่ได้ก็จะถูกรายงานกลับไปที่ผู้ใช้โทรศัพท์ที่เป็นผู้ให้ ข้อมูลตอนแรก นอกจากนีน้ กั วิจยั จากเคอร์ตนิ ยังได้ตดิ ตัง้ กล้อง ไว้ในหลายพื้นที่ห่างไกลในออสเตรเลียเพื่อวิเคราะห์ หาแหล่งที่ ทำ�นายวงโคจร และคาดการณ์พื้นที่ที่คาด ว่าวัตถุจากท้องฟ้านั้นจะตกลง ทั้งนี้ ออสเตรเลียมี สภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมในการค้นหาและศึกษา อุกกาบาต เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และไม่มี พืชพรรณหรือหญ้าปกคลุมมากนัก ทำ�ให้การค้นหาวัตถุ ที่คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นอุกกาบาตเป็นไปโดยง่าย

ที่มา http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-25104468 5 :


S pecial

report

ศุเรนทร์ ฐปนางกูร

สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

แนวคิดการส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อชุมชนฐานล่างของไทย

อะไรคือนวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive Innovation)

ในทศวรรษที่ผ่านมา มีคำ�สำ�คัญ 2 คำ�ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในแวดวง ของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจมุ่งหาคำ�ตอบในการแก้ปัญหาความยากจน ในระดับโลก ได้แก่ ‘Bottom of the Pyramid (BOP)’ หรือ ‘ประชากรฐานล่างสุดของ พีรามิด’ และ ‘Inclusive Innovation’ ซึ่งในประเทศไทยใช้คำ�ว่า ‘การสร้างนวัตกรรมทั่วถึง’

: 6


กลุม่ BOP เป็นกลุ่มประชากรที่มฐี านะยากจน ในการนิยามของธนาคารโลก ได้ใช้เกณฑ์รายได้เป็นตัววัด โดยพิจารณาจากกลุ่มที่มีฐานรายได้ต่ำ�กว่า 1.25 ดอลลาร์ ถึง 2 ดอลลาร์ ต่อวัน ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ตลาด BOP เป็นตลาด ขนาดใหญ่ การสร้างนวัตกรรมเพือ่ ตอบโจทย์ความต้องการของ BOP ต้องทำ�ให้สนิ ค้า และผลิตภัณฑ์มีราคาถูกลง แต่ไม่ทำ�ให้คุณภาพและประสิทธิภาพต่ำ�ลง ภาคธุรกิจ เอกชนสามารถทำ�กำ�ไรได้จากการขายสินค้าจำ�นวนมาก และยังจะช่วยลดปัญหา ความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของ BOP Inclusive Innovation มาจากคำ� 2 คำ� คือ คำ�ว่า ‘Inclusive’ หมายถึง including everything within its scope. (wikinary.org) กับคำ�ว่า ‘Innovation’ หมายถึง the application of better solutions that meet new requirements, inarticulated needs, or existing market needs. This is accomplished through more effective products, processes, services, technologies, or ideas that are readily available to markets, governments and society (wikipedia.org). ดังนั้น ‘นวัตกรรมกรรมทั่วถึง’ จึงมีความหมายที่กว้าง ไม่เพียงแต่การมุ่ง เป้าหมายที่ตอบโจทย์คนยากจนฐานล่างของสังคม แต่จะรวมถึงกระบวนการและ ความร่วมมือของทุกๆ ฝ่าย ซึ่งในที่นี้รวมถึงภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการทาง สังคม และที่สำ�คัญคือผู้สร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำ�นโยบายด้าน Inclusive Innovation มี ประชากรในกลุม่ BOP มากถึง 800 ล้านคน รัฐบาลของอินเดียเชือ่ ว่าวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างสูงที่จะนำ�พาให้อินเดียหลุดพ้นจากความยากจนได้ ใช้หลัก ปรัชญาของมหาตมะคานธี เป็นกรอบการพัฒนา โดยกล่าวว่า “ถ้าชุมชนหมู่บ้านมั่งคั่ง ประเทศก็จะมั่งคั่งด้วย” (If villages perish, India perishes too.)

Inclusive Innovation: ตัวอย่างความสำ�เร็จ

• The Grameen Village Phone Program: ให้บริการโทรศัพท์ราคาถูกให้กับสุภาพสตรียากจน ในชนบท เริ่มในประเทศบังคลาเทศ ช่วยให้คนยากจนติดต่อธุรกิจโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง มี การประยุกต์ใช้ในประเทศ Uganda และ Rwanda • Computer Based Functional Literacy: บริษัทในประเทศอินเดียพัฒนาระบบ Computer Based Functional Literacy (CBFL) เพื่อให้คนที่ไม่รู้หนังสือสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้ • Freeplay Lifeline Radio: ให้บริการวิทยุในระบบ AM/FM/SW1/SW2 สำ�หรับชาวชนบทที่ยากจน ในแอฟริกาใต้ ใช้งานได้ดีในพื้นที่ที่ห่างไกล ชาร์จไฟด้วยระบบโซลาเซลล์ • Embrace Incubator: ตู้อบทารก พัฒนาโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในราคาเพียง 25 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 20,000 ดอลลาร์ ของตู้อบที่วางจำ�หน่ายในท้องตลาด ระบบต้นแบบได้พัฒนาและทดลองใช้ในประเทศเนปาล • Life Straw: พัฒนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกรองน้ำ�ดื่ม สามารถกำ�จัดแบคทีเรียได้ถึง 90.99 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อไวรัส 98 เปอร์เซ็นต์ กรองน้ำ�ดื่มได้ 700 ลิตรในราคา 3 ดอลลาร์ • Bamboo Treadle Pump: เครื่องสูบน้ำ�ใช้แรงคน ออกแบบโดย Gunnar Barnes (Bangladesh) และ International Development Enterprises (Nepal) ในปี 2010 จำ�หน่ายได้มากกกว่า 1.7 ล้าน เครื่อง ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ไม่น้อยกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์ 7 :


แนวคิดและประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 (2012 – 2017) อินเดียริเริ่มยุทธศาสตร์ Inclusive Development งานวิจัยและ พัฒนาด้านการเกษตรเป็นโครงการระยะแรกๆ โดยสร้างแรงจูงใจ ให้สถาบันอุดมศึกษาทำ�วิจัย สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาท ในการทำ�ธุรกิจ จัดตั้งกองทุนนวัตกรรมทั่วถึง (India Inclusive Innovation Fund) ที่ เ ป็ น ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาครั ฐ และ เอกชน (PPP) มีมูลค่าถึง 50,000 ล้านรูปีในระยะเวลา 10 ปี เกิดการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจและผู้ประกอบสังคม (Social Enterprise) สร้างเครือข่ายการทำ�งานร่วมกับภาคประชาสังคม เครือข่ายวิจัยและองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ (NGOs) เกิดเป็น เครือข่ายนวัตกรรมฐานล่าง (Grassroots Innovation Networks) เช่น Honey Bee Network (HBN), Social for Research and Initiatives for Sustainable Technologies and Institutions (SRISTI), Grassroots Innovation Augmentation Network (GIAN) เป็นต้น ประเทศจีนทำ�โครงการ SPARK มาจากสุภาษิตของจีน ที่ว่า ‘ประกายไฟแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจก่อให้เกิดพลังเพลิง มหาศาล’ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ เล็กในภาคชนบท ให้เป็นผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงและการขับเคลื่อน การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิชาการสมัยใหม่ และ เป็นกลไกการกระจายไปสู่วิสาหกิจขนาดย่อมในชุมชน (Town and Village Enterprises—TVEs) ให้ความสำ�คัญเป็นอย่างสูง กับการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต เพือ่ การเจริญเติบโตด้านการค้า และการจ้างงานในท้องถิ่น โครงการนี้ได้ดำ�เนินการในทุกมณฑลและจังหวัดของ ประเทศจีน มีการประมาณการว่ามีโครงการสนับสนุน TVEs มากกว่า 66,700 โครงการ เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20 ล้าน คนในภูมิภาคและชนบท โครงการ SPARK ยังเป็นกลไกหนึ่ง ในการผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบ เป้าหมายด้านการพัฒนาการเกษตรและสังคมชนบทของจีน ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศมาเลเซียให้ความสำ�คัญ กับบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับประเทศ

: 8

จากกลุม่ ‘กับดักรายได้ระดับกลาง (MiddleIncome Tap)’ ไปสู่การพัฒนาประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรม (Innovation Driven) ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศมาเลเซี ย ทำ � แผนพั ฒ นา ฉบับที่ 10 และพัฒนาต่อเนื่องในแผน 11 (10th & 11th Malaysia Plan) ส่งเสริม การพัฒนานวัตกรรมทั่วถึง โดยเปิดโอกาส อย่ า งเท่ า เที ย มและทั่ ว ถึ ง ให้ ป ระชาชนมี ส่วนร่วมกับการพัฒนาและการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ และมุ่งเป้ายกระดับรายได้ ของประชาชนฐานล่ า งของพี ร ามิ ด ที่ มี อ ยู่ ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือน ให้ มีรายได้เพิ่มจาก 1,440 RM ต่อเดือน ในปี 2009 ให้เป็น 2,300 RM ต่อเดือน ในปี 2015 สำ�หรับประเทศไทย มีการจัดทำ� นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศไทยให้ มี ร ะบบ เศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างมีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการกระจาย ประโยชน์ อ ย่ า งเป็ น ธรรมสู่ สั ง คม ชุ ม ชน ท้องถิน่ โดยได้อญ ั เชิญ ‘ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง’ มาเป็นปรัชญานำ�ทาง มุง่ ส่งเสริม การใช้วทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นเครือ่ งมือช่วยพัฒนาประเทศไทย ภายใต้ วิ สั ย ทั ศ น์ ‘นวั ต กรรมเขี ย ว เพื่ อ สั ง คมดี มีคณ ุ ภาพและเศรษฐกิจทีม่ เี สถียรภาพ’


กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ชุมชนฐานล่างของไทยเผชิญกับกระแสการเปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็วรุนแรง ประชาชนที่ยากจนจำ�นวนมากยังมีอาชีพการเกษตร แต่วิถีการผลิตถูกคุกคาม และเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเปลีย่ นแปลงการถือครอง กรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำ�ให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไร้ที่ทำ�กิน เปลี่ยนสภาพจากการเป็น เกษตรกรมาเป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร และย้ายไปเป็นแรงงานรับจ้าง ในเมือง ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล เกษตรกรรายย่อยกำ�ลังล่มสลาย เกษตรกร มีอายุมากขึ้น ชนบทเหลือแต่คนแก่และเด็ก รูปแบบการผลิตเปลี่ยนจากการ พึ่งพาตนเอง มาสู่การพึ่งพาตลาดและเทคโนโลยี ซึ่งถูกผูกขาดด้วยกลุ่มทุน เกษตรกรเป็นเพียงแรงงานรับจ้างในห่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่

บทบาทของนักวิทยาศาสตร์กับการส่งเสริมนวัตกรรมทั่วถึง นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของไทยมีศักยภาพสูงมากในการค้นคว้าหาคำ�ตอบและการสร้าง นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ของไทยที่มีความสนใจและพร้อมจะออก ไปทำ�งานเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนฐานล่างมีน้อยเกินไป รัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนให้นักวิจัย ทั้งจาก ศูนย์วิจัยแห่งชาติหรือสถาบันอุดมศึกษา ให้ออกจากห้องปฏิบัติการทดลองไปสู่ห้องปฏิบัติการทางสังคม มากขึ้น ความรู้ที่มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาชุมชนฐานล่างมีฐานความรู้อยู่สองฐานสำ�คัญ ฐานแรกคือ ‘ภูมิปัญญาชุมชน’ เป็น ‘ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)’ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เชื่อมโยงเป็นองค์รวม เน้นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และเกิดเป็นวิถีสังคมและวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่อยู่บนความเกื้อกูลและการแบ่งปัน ‘ความรู้วิชาการ (explicit knowledge)’ เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากกระบวนทัศน์การพัฒนาในโลกยุค อุตสาหกรรม ใช้วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการสร้างความรู้ พัฒนาเป็นเทคโนโลยีและ นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบโจทย์การบริโภคและการผลิต นักวิทยาศาสตร์จะมีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งในการสร้างนวัตกรรมโดยการเชื่อมโยงความรู้วิชาการ ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของสังคม เพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของประเทศ

9 :


ผู้ประกอบการทางสังคม:

บทบาทของผูป้ ระกอบการ ธุรกิจ

การสร้างนวัตกรรมทัว่ ถึงจะต้องไม่เป็นการถ่ายทอดความรู้ แบบทางเดียว แต่ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างนวัตกรรม และผู้ใช้นวัตกรรม การสร้างกลไกเชื่อมโยงความรู้ทั้งสองชุดที่ กล่าวข้างต้น จะเป็นพื้นฐานสำ�คัญของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ผูป้ ระกอบการทางสังคมจะมีบทบาทเป็นกลไกเชือ่ มระหว่างชุมชน กับนักวิทยาศาสตร์ ในอดีตที่ผ่านมา กระบวนคิดของการพัฒนาชนบทให้ ความสำ�คัญกับการต่อยอดความรู้จากฐานภูมิปัญญาชุมชน แต่ วันนี้ นักพัฒนาจำ�นวนมากตระหนักแล้วว่า กระบวนทัศน์การ พัฒนาไม่สามารถปฏิเสธความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ อย่างไร ก็ตาม การพัฒนาจะต้องไม่ทำ�ให้ชุมชนสูญเสียความสามารถ ในการพึ่งพาตนเอง องค์กรพัฒนาเอกชนเป็นองค์กรหนึง่ ทีท่ �ำ งานร่วมกับชุมชน หรือกลุ่มประชาชนฐานล่างมานาน มีความเข้าใจความต้องการ ที่แท้จริง (real needs) ของชุมชน รวมถึงเข้าใจเงื่อนไขความ สำ�เร็จและข้อจำ�กัดต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเป็น กลไกเชือ่ มสำ�คัญทีล่ ดช่องว่างการสือ่ สาร สร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างนักวิทยาศาสตร์กบั ชุมชน เพือ่ สร้างต้นแบบของนวัตกรรม ที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ�

ภาคธุรกิจเอกชนจะมีส่วนสำ�คัญ ในการส่ ง เสริ ม ด้ า นการผลิ ต และการ ตลาด การดำ�เนินธุรกิจจะอยู่ในรูปของ การแสวงหาผลกำ�ไร หรือจะอยูใ่ นรูปของ ผูป้ ระกอบการทางสังคมทีไ่ ม่หวังผลกำ�ไร ก็ได้ แต่การทำ�ธุรกิจต้องอยู่บนหลักการ ของความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและ สิ่งแวดล้อม (ไม่ใช่ CSR ที่เน้นการสร้าง ภาพลักษณ์องค์กร)

กลไกเชื่อมและผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง

: 10


รั ฐ กั บ บทบาทของผู้ ส นั บ สนุ น นวัตกรรมทั่วถึง ภาครั ฐ มี บ ทบาทสำ � คั ญ อย่ า งยิ่ ง ในฐานะผู้สนับสนุน ต้องส่งเสริมให้เกิด การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทุก ภาคส่วน ให้เกิดการทำ�งานร่วมกันแบบ กัลยาณมิตร สวทน. ได้จัดทำ�นโยบาย และแผนวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละ นวั ต กรรมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) ซึ่งมีสาระสำ�คัญเพื่อ ส่งเสริม วทน. เพือ่ การพัฒนาสังคมในทุก ภาคส่วน รวมถึงกลุ่มประชาชนฐานล่าง ของประเทศ การทำ�ให้เกิดกลไกติดตาม แผนและเร่งรัดการทำ�งาน จะมีส่วนช่วย ให้ เ กิ ด การขั บ เคลื่ อ นนโยบายที่ จ ะช่ ว ย ส่งเสริมนวัตกรรมทัว่ ถึงของประเทศไทยได้

บรรณานุกรม สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมแห่งชาติ, “นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564)” Dutz, M. A. (ed.) (2007), “Unleashing India’s Innovation: Toward Sustainable and Inclusive Growth”, The World Bank, Washington D.C. Karnani, A. (2007), “Fortune at the Bottom of the Pyramid: A Mirage, How the Private Sector Can Help Alleviate Poverty”, California Management Review, Summer 2007, retrieved in http://ssrn. com/abstract=914518 Naraya, D. (1999), “Can Anyone Hear Us?: Voices From 47 Countries”, Voices of the Poor: Volume 1, Poverty Group, PREM, World Bank, December 1999. OECD (2007), “OECD Reviews of Innovation Policy: China, Synthesis Report”

11 :


Foresight S ociety ชลิสา ไชยพัฒนะพฤกษ์

Health Foresight ภาพอนาคตระบบสุขภาพ

สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวง สาธารณสุข ร่วมกับ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รว่ มกันดำ�เนินการ ‘โครงการวิเคราะห์และจัดทำ�ภาพอนาคตของระบบ สุขภาพ’ ด้วยกระบวนการคาดการณ์อนาคต (Foresight Technique) การจัดทำ�ภาพอนาคต เป็นการจำ�ลองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้ จากงานวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HiTAP) เรื่อง ‘การวิจัยเพื่อการจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญของงานวิจยั ด้านสุขภาพสำ�หรับประเทศไทย’ และเอกสารของ World Economic Forum ‘Global Risks 2013 (8th Edition)’ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพในอนาคต และเมื่อได้เห็นภาพอนาคตระบบสุขภาพของไทยอย่างลางๆ ว่ามีแนวโน้มเป็นเช่นไร มีประเด็นสาระ สำ�คัญหลักๆ อะไรบ้าง และควรมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์ใดในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกลไกหรือมาตรการ ต่างๆ การป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ จากนั้นคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จะนำ�ข้อมูลที่ได้ดังกล่าวมาพิจารณาในการปรับปรุง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ต่อไป

Stakeholder Analysis Real-Time Delphi Survey Scenario Planning : 12


ภาพอนาคตที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘การจัดทำ�ภาพอนาคตระบบสุขภาพของคนไทยในทศวรรษ หน้า’ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร มีด้วยกัน 3 ภาพ ซึ่งมีสาระ สำ�คัญ ดังนี้ ภาพที่ 1 ชื่อ ‘ราษฎร์ - รัฐ ร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์ ร่วมผลักดันระบบสุขภาพ’ • ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ไ ด้ ผ่ า น ก า ร เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้ง ใหญ่ ที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ • อ ง ค์ ก ร ใ น ท้ อ ง ถิ่ น มี ค ว า ม เข้ ม แข็ ง ขึ้ น เพราะได้ รั บ การ สนับสนุนจากส่วนกลางในทุกๆ ด้าน • คนไทยสามารถเข้าถึงบริการ สาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และ เท่าเทียมกันทั้งประเทศ • ภาครั ฐ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ภาค เอกชนในการลงทุ นวิ จั ย ด้ า น การแพทย์ แ ละสุ ข ภาพมาก ขึ้น สร้างความมั่นคงต่อระบบ สุขภาพไทยมากยิ่งขึ้น

ภาพที่ 2 ชื่อ ‘ระบบสุขภาพของใคร (ของมัน) ดั่งฝันที่ไกลเกินเอื้อม’ • ประเทศไทยถู ก รุ ม เร้ า ด้ ว ย ปัจจัยทั้งภายในและภายนอก สะสมเรื่อยมาจนทำ�ให้สภาพ เศรษฐกิ จ และสั ง คมของไทย ค่อยๆ อ่อนแอลงๆ • ระบบสุขภาพถอยหลังลงคลอง ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเพิ่ม สูงขึน้ คุณภาพชีวติ ของคนไทย ตกต่ำ�ลง • เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงจาก ประเทศเกษตรกรรม เป็ น ประเทศอุตสาหกรรม ก่อให้เกิด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผล กระทบต่อความมัน่ คงและความ ปลอดภัยของอาหารและน้�ำ • การเคลื่อนย้ายแรงงาน • การใช้ ย าปฏิ ชี ว นะเกิ น ความ จำ � เป็ น มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การ ระบาดของโรคอุบัติใหม่ • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การแพทย์ ที่ เ กิ น ความจำ � เป็ น อาจก่อให้เกิดปัญหาด้าน จริยธรรมของบุคลากรทางการ แพทย์

ภาพที่ 3 ชื่อ ‘ในเงามืดทีท่ าทาบ ระบบสุขภาพ ยังยืนหยัด’ • ประเทศไทยผ่ า นการปฏิ รู ป โครงสร้ า งทางการเมื อ งครั้ ง ใหญ่ แต่ ก ารเมื อ งก็ ยั ง คง มี อิ ท ธิ พ ล ต่ อ ก า ร กำ � ห น ด นโยบายของประเทศและอาจ จะมากกว่าเดิม • รั ฐ บาลไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การพั ฒ นาระบบสุ ข ภาพ มากนัก • ห น่ ว ย ง า น ท้ อ ง ถิ่ น แ ล ะ ประชาชนมี บ ทบาทในการ พั ฒ นาระบบสุ ข ภาพอย่ า งมี ศักยภาพและมีธรรมาภิบาล • มี ก ารผู ก ขาดทางการค้ า โดย กลุ่ ม ทุ น ขนาดใหญ่ ส่ ง ผลต่ อ ความมั่นคงทางด้านอาหาร • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ที่ ส ามารถ วินิจฉัยโรค ป้องกันและรักษา ผู้ ป่ ว ยได้ อ ย่ า งแม่ น ยำ � และ รวดเร็วขึ้น • คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น อัตรา การตายลดน้อยลง

จากผลการศึกษา รายงานการวิเคราะห์และจัดทำ�ภาพอนาคตของระบบสุขภาพ จึงเสนอแนวคิดพื้นฐาน ระบบสุขภาพด้วยหลัก 4G’s ได้แก่ ระบบอภิบาล (governance) การรวมกันเป็นหนึ่ง (glomeration) การเติบโต (growth) ของระบบสุขภาพ และความเอื้ออาทร (generosity)

ข้อมูลเพิ่มเติม: - อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ hsri.or.th/media/1279 - ระบบสุขภาพ (ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ - เทคโนโลยีการคาดการณ์อนาคต (Foresight Technique): วารสาร Horizon Vol.1 No.1,2 (www.sti.or.th/horizon) - ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ พ.ศ. 2552 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.nationalhealth.or.th - การวิจัยเพื่อการจัดลำ�ดับความสำ�คัญของงานวิจัยด้านสุขภาพสำ�หรับประเทศไทย 13 :


GEN NEXT

เรื่อง: กองบรรณาธิการ ภาพ: วาฤทธิ์ ศิริพิทยาโรจน์/ศิธร กุลรดาธร/ สุชาต อุดมโสภกิจ

กลุ่มผักกัลยาณมิตร ที่ตำ�บลแม่ทา อำ�เภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มเกษตรกร กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันปลูกผักปลอดสารพิษ พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทแทนคนรุ่นพ่อแม่ พวกเขาหาวิธีการผลิต ใหม่ หาช่องทางการตลาดใหม่ๆ พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบ มหาวิทยาลัย กลับบ้านเกิด รวมตัวกันทำ�การเกษตรในนาม ‘กลุ่ม ผักเกษตรอินทรีย์กัลยาณมิตร’ นอกจากการทำ�เกษตรอินทรีย์แล้ว จุดเด่นของเกษตรกรกลุ่มนี้ ก็คือทำ�พวกเขาเลือกใช้ระบบตลาดแบบ Community Supported Agriculture หรือ CSA การตลาดระบบสมาชิกเป็นรูปแบบการตลาดที่เชื่อมต่อโดยตรง ระหว่างเกษตรกรผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค ระบบตลาดนีม้ หี ลักการพืน้ ฐานว่า ผูบ้ ริโภคตกลงกับเกษตรกรผูผ้ ลิต ในการซือ้ ผลผลิตเกษตรอินทรียท์ ผ่ี ลิต ได้ตามฤดูกาล โดยผูบ้ ริโภคจะชำ�ระเงินล่วงหน้าให้กบั เกษตรกร หลังจาก เก็บเกีย่ วผลผลิตจะถูกจัดส่งไปยังสมาชิกผูบ้ ริโภคทีอ่ ยูใ่ นละแวกใกล้เคียง การตลาดระบบนี้ เกษตรกรจะมีหลักประกันทางเศรษฐกิจ มี โอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคเองก็สามารถ ไปเยี่ยมเยือนฟาร์มเกษตรกร เพื่อดูการผลิตหรือช่วยเกษตรกรทำ�งาน ในฟาร์มก็ได้ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย อัน๋ -อภิศกั ดิ์ กำ�เพ็ญ หนึง่ ในสมาชิก กลุม่ ผักเกษตรอินทรียก์ ลั ยาณมิตร เดินทางไปฝึกงานทีส่ หรัฐอเมริกา เขา : 14


ได้เห็นการตลาด CSA จึงเกิดความสนใจทีจ่ ะ นำ�กลับมาใช้กบั บ้านเกิดของเขา ซึง่ พ่อแม่พน่ี อ้ ง ของเขาทำ�การเกษตรกันอยูแ่ ล้ว โครงการผั ก ปลอดสารพิ ษ เริ่ม เข้ า มา ในชุมชนแม่ทาตัง้ แต่ปี 2529 ซึง่ ตอนนัน้ อัน๋ อภิ ศัก ดิ์ อยู่ใ นวั ย 2 ขวบ จึ ง ทำ � ให้ เ ขาเห็ น กระบวนการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรมาโดย ตลอด ได้เรียนรู้ศาสตร์ในการทำ�เกษตรปลอด สาร เมื่อถึงวันที่เขาและเพื่อนๆ เติบโตขึ้นมา เป็นกำ�ลังหลักของครอบครัว เขาจึงรวมกลุม่ กัน กับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่อยอดสิ่งที่ร่นุ พ่อแม่ท�ำ มา ขณะเดี ย วกั น ลู ก พี่ ลู ก น้ อ งรวมถึ ง เพื่อนของเขาที่เติบโตมาไล่ๆ กัน ต่างก็แยก ย้ า ยกั น ไปเรี ย นในสาขาวิ ช าต่ า งๆ บางคน เรียนเศรษฐศาสตร์การเกษตร บางคนเรียน วิทยาศาสตร์อาหาร ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือกลับมาพัฒนาการเกษตรทีบ่ า้ นเกิด “เราเห็นพ่อแม่ทำ�อะไรเราอยากจะต่อ ยอด เราเห็นพ่อแม่ท�ำ สำ�เร็จในบางเรือ่ ง เราเห็น พ่อแม่ล้มเหลวในบางเรื่อง เมื่อโลกมันเปลี่ยน เราก็ตอ้ งขยับ ผมมองว่า CSA เป็นสิง่ หนึง่ ทีเ่ รา สามารถทำ�ได้” เขามองว่าชุมชนร่วมสมัยควรมีความ หลากหลาย ไม่จำ�เป็นต้องบังคับให้ท้ังชุมชน เปลีย่ นวิถมี าทำ�เกษตรอินทรียท์ ง้ั หมด เพราะมัน เป็นไปไม่ได้ แต่เกษตรกรรมทุกระบบในชุมชน ควรเอือ้ เฟือ้ กัน เช่น ของเหลือจากเกษตรกรรม ระบบหนึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบให้เกษตรกรรม อีกระบบหนึง่ ได้ ภายในกลุ่ม ผักเกษตรอินทรีย์กัลยาณมิตร มีสมาชิก 5 คน ประกอบด้วย อัน๋ โด้ ต้น ต๋อง และอ้ายเผือก แต่ละคนทำ�หน้าทีข่ องตัวเอง แม้จะอยูใ่ นชุมชนเดียวกัน เติบโตมาด้วยกัน แต่ พวกเขาก็มพี น้ื ฐานทีแ่ ตกต่างกันออกไป ต้น-อาภากร เครือ่ งเงิน เป็นเกษตรกรใน กลุม่ ผักเกษตรอินทรียก์ ลั ยาณมิตร เขาเรียนจบ ช่างไฟฟ้า ด้วยเหตุผลว่า ไม่อยากทำ�การเกษตร เพราะ “คนทัว่ ไปมักมองว่าคนทำ�เกษตรเป็นคน ไม่มคี วามสามารถ เป็นคนไม่เก่งต้องกลับมาทำ� สวนทำ�นา มันเป็นกระแสแบบนัน้ ผมก็เลยเลือก ทีจ่ ะเรียนช่างไฟฟ้า เพือ่ ทีจ่ ะไม่ท�ำ สวนทำ�นา” แต่เมือ่ หนีวถิ ชี วี ติ เกษตรกรเข้าไปทำ�งาน ในเมือง เขากลับพบว่าตัวเองไม่มอี สิ ระ จึงตัดสิน ใจกลับมาทำ�การเกษตรทีบ่ า้ นเกิด

ในชุ ม ชนแม่ ท าจะมี ก ารรวมกลุ่ม กั น มากมาย กลุ่ม ผั ก เกษตรอินทรียก์ ลั ยาณมิตรเป็นกลุม่ หนึง่ ในชุมชนแม่ทา ซึง่ จะมีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายต่างๆ ซึ่งก็เป็นกลุ่มเกษตรกรจาก จังหวัดต่างๆ การแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ �ำ ให้เกิดองค์ความรูใ้ หม่ๆ ทัง้ เทคนิคการผลิต เช่น การผลิตปุย๋ หมัก รวมถึงการทดลองปลูกพืชที่ ไม่สามารถปลูกได้ในพืน้ ทีแ่ ม่ทา รวมถึงการทำ�การตลาด “การเกษตรจะมีปัญหาและอุปสรรคเข้ามาเรื่อยๆ เรา ต้องคอยแก้ไปเรือ่ ยๆ ทัง้ การหาตลาดและการผลิต ปัญหามันมา เรือ่ ยๆ ครับ เราทำ�งานเป็นเครือข่าย ซึง่ มีหลายคนมากทีจ่ ะช่วย แก้ปญ ั หาหลายสิง่ หลายอย่าง เครือข่ายต้องรวมตัวกัน เพราะถ้า ไม่มเี ครือข่าย การแก้ปญ ั หามันจะลำ�บาก การมีเครือข่ายเป็นการ แชร์ประสบการณ์และความรู”้ กลุม่ ผักเกษตรอินทรียก์ ลั ยาณมิตร เป็นกลุม่ คนรุน่ ใหม่ ที่ ขึน้ มามีบทบาทในชุมชนแม่ทา พวกเขาต้องมองไปข้างหน้า ขณะ เดียวกันพวกเขาต้องดูแลคนรุ่นพ่อแม่ท่ีเป็นเหมือนจุดตั้งต้นให้ พวกเขา “เราจะมองไปอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะช่วยผลักดันการ ตลาดให้คนรุ่นพ่อแม่ ท่านคงตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึน้ อายุเขามากขึน้ ประสิทธิภาพของเขาก็ลดลง เราพยายามหา ตลาดให้พวกเขา “สำ�หรับคนรุ่นใหม่ซ่งึ ก็คือเด็กในวันนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า พวกเขาต้องเติบโตขึน้ มาทำ�หน้าทีแ่ ทนคนรุน่ ผม ทาง อบต. ก็สนับสนุน ในเรือ่ งการสร้างคน เขาอบรมเด็กและเยาวชน ไปเรียนรูก้ บั ปราชญ์ ชาวบ้าน รูท้ ง้ั ข้างในชุมชน ไม่ใช่วา่ เรียนวิถจี ากข้างนอกอย่างเดียว เราพยายามนำ�ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ใส่ให้เขาด้วย เพือ่ ให้เกิดสมดุล” ถามทัง้ สอง ประเมินศักยภาพของคนรุน่ ตัวเองอย่างไร อัน๋ -อภิศกั ดิ์ บอกว่า “ในโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลง เราต้องปรับตัว หรือไหลไปตามน้�ำ บ้าง เพราะการทีจ่ ะทวนน้�ำ อย่างเดียวมันเป็นไป ไม่ได้ ในฐานะทีเ่ ราเป็นคนยุคนีเ้ ราก็ท�ำ ในสิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้ อย่าง CSA มัน ก็เป็นเพียงเทคนิคหนึง่ เราจะทำ�ให้ชมุ ชนของเราอยูอ่ ย่างมีความสุข ได้อย่างไร CSA ในวันนีย้ งั อยูใ่ นขัน้ ทดลอง ในอนาคตเราอาจจะทำ� CSA เรือ่ งนมเรือ่ งเนือ้ สัตว์ เพราะตอนนีม้ คี นในชุมชนสนใจมาก เรา ไม่อยากเป็นครัวเลีย้ งประเทศไทย เราหวังแค่เลีย้ งเชียงใหม่หรือพืน้ ที่ ใกล้เคียง เรามีเครือข่าย ดูแลกันในวงเล็กๆ” ต้นบอกว่า “ผมมองไปทีเ่ ด็กรุน่ ใหม่ ถ้าพวกเขาอยากทำ� ก็ ต้องถามตัวเองก่อนว่าหากทำ�แล้วได้อะไร แล้วจะเอาไปทำ�อะไร แล้ว อยากทำ�ไหม ผมคิดว่าต้องให้ทดลองดู เขาจะเห็นหนทางในการ ต่อยอด สำ�หรับผม ผมมองว่าสิง่ ทีพ่ วกเขาจะทำ�มันส่งผลต่อผูอ้ น่ื หากเขาหันมาทำ�เกษตรในระบบอินทรีย์ เราไม่ได้ใช้สารเคมี เราไม่ ได้ท�ำ ลายสายน้�ำ สัตว์น�ำ้ หรือเด็กๆ ทีเ่ ล่นน้�ำ ในลำ�ห้วย เขาจะได้ท�ำ เพือ่ ผูอ้ น่ื โดยไม่รตู้ วั ไม่ใช่วา่ จะได้แต่ความสุขส่วนตัวหรือได้เงินเพียง อย่างเดียว แต่ยงั ได้รกั ษาทรัพยากรธรรมชาติดว้ ย”

15 :


Iวีnรพงษ์&สุนทรฉัOตut ราวัฒน์

ว่าด้วยเรื่องดิน ปัจจัยทีก่ อ่ ให้เกิดหนีส้ นิ สำ�หรับเกษตรกรปัจจัยหนึง่ ก็คอื ‘ระบบการผลิต’ ระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการใช้ สารเคมีสง่ ผลให้ตน้ ทุนการผลิตสูง และปลายทางทีท่ �ำ ลาย รากฐานของเกษตรกรรมก็คือ มันทำ�ให้ดินเสื่อมสภาพ วิถกี ารเกษตรแบบเก่าคืออะไร เกษตรกรหลายแห่ง เห็นพ้องกันว่ามันคือรูปแบบการผลิตที่จมอยู่ในปลัก ตม ปัญหาคลาสสิกของชาวนาไม่เคยเปลี่ยนแปลง มัน คือความรู้และพฤติกรรมการผลิตของเกษตรกรรุ่นแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 การลงทุ น ซื้ อ ยาฆ่ า แมลงและปุ๋ ย เคมี อ าจ รับประกันได้ว่า ผลผลิตในไร่นาจะมากพอจนทำ�ให้มี กำ�ไร แต่ความจริงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรบางคน กลับพบความว่างเปล่าในบัญชีธนาคาร การเผาตอซังเพื่อเตรียมหน้าดินสำ�หรับการปลูก ข้าวในฤดูกาลหน้าเป็นวิธที ง่ี า่ ยและเร็ว แต่เกษตรกรรุน่ ใหม่ รู้ ว่ า มั น จะนำ � ไปสู่ ก ารเปลี่ ย นแปลงของดิ น อนุ ภ าค ของดินจะจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำ�ให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ การหาอาหารลดลง รวมทัง้ เชือ้ โรคพืช สามารถเข้าทำ�ลายได้ง่าย เนื้อดินสูญเสียอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดิน เมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสีย ไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ใน รูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย เมือ่ ดินไม่ดี ทางแก้ของเกษตรกรรมแบบเก่าก็คอื ใส่ปยุ๋ เคมีในระดับทีเ่ พิม่ มากขึน้ โดยมีตน้ ทุนการผลิตไต่ สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว : 16

แนวคิดเกีย่ วกับระบบผลิตในการทำ�เกษตรกรรม ยั่งยืน จึงเน้นที่การปรับเปลี่ยนระบบการผลิต เพราะ ‘ดิน’ คือหัวใจสำ�คัญของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน สมคิด ฉิมมากรม เป็นเกษตรกรแห่งอำ�เภอ นาบัว จังหวัดพิษณุโลก เธอสารภาพว่ารู้จักดินบนที่ดิน ของตัวเองเมือ่ 5 ปีทแี่ ล้ว แต่กว่าจะรูจ้ กั ดินของตัวเอง ก็ หลังจากเริม่ ศึกษาความรูเ้ รือ่ งเกษตรกรรมยัง่ ยืนเมือ่ 16 ปีก่อน เริ่มจากเรียนรู้กับหน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ เกษตรกรรมยัง่ ยืนอย่างสำ�นักวิจยั และพัฒนาการเกษตร ศึกษาในเชิงวิชาการเกษตรกับมหาวิทยาลัยทั้งในและ นอกจังหวัด เดินทางไปในชุมชนอื่นๆ ที่เป็นเครือข่าย เพื่อเรียนรู้เทคนิคการผลิตจากที่อื่น เธอเดินทางพบปะ แลกเปลี่ยนกับปราชญ์เรื่องดินทั้งในและนอกตำ�บล สิง่ แรกทีเ่ กษตรกรหญิงคนนีเ้ ริม่ ต้นก็คอื “การทำ� ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุน เราก็คาดหวังว่ามันจะ ช่วยปรับสภาพดินโดยที่เราไม่รู้เลยด้วยซ้ำ�ว่าดินของเรา เป็นดินแบบไหน รู้แต่ว่าอยากปรับดินให้ดีขึ้น ช่วงที่ฉัน ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นนะ เพียงแต่ ลดต้นทุนการผลิตบางส่วนเท่านั้น” วันหนึง่ เธอได้พบกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ นักวิชาการท่านนั้นชักชวนเกษตรกรให้ ความสำ�คัญเรื่องดิน เพราะ “เกษตรกรจำ�ต้องรู้จักดิน ของตัวเองก่อนว่าดินในไร่ในนาเป็นเนื้อดินแบบไหน ดินทราย ดินร่วน หรือดินเหนียว ถ้าไม่รู้จักดินเราก็แค่ ทำ�ผ่านไปแค่นั้นเอง”


ในปี 2551 สมคิดพบว่า ดินของเธอเป็นชุด ดินร้อยเอ็ด (Roi-et series: Re) เป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำ�ตาลเทา เมื่อเกษตรกรรู้ชุดดินของตัวเองจะทำ�ให้รู้ การเทียบสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับดินของตัวเองและพืช ทีต่ อ้ งการปลูก สมคิดรูว้ า่ ดินของเธอมีสภาพการระบาย น้�ำ ค่อนข้างเลว การไหลบ่าของน้�ำ บนผิวดินนัน้ ก็ชา้ การ ซึมผ่านได้ของน้�ำ อยูใ่ นระดับปานกลางถึงช้า และเธอยัง รู้ด้วยว่าดินของเธอต้องการไนโตรเจน เธอเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อค้นหา ว่าไนโตรเจนมาจากไหน? คำ�ตอบลอยบนผิวน้ำ� ‘แหนแดง’ เป็นเฟิร์นน้ำ�ขนาดเล็กลอยบนผิวน้ำ� แหนแดงใช้ เ ป็ น ปุ๋ ย พื ช สดในนาข้ า วทดแทนปุ๋ ย เคมี ไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดงสามารถดึงเอา ไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำ�หรับการเจริญเติบโตและ ขยายพันธุ์ นอกจากแหนแดงยังทำ�ให้พชื สามารถนำ�ไปใช้ ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดง จะคลุมผิวน้�ำ ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้�ำ ทำ�ให้ วัชพืชในน้ำ�เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ หลั ง ทดลองปลู ก แหนแดงในแปลงนา สมคิ ด เก็บตัวอย่างดินในแปลงนาไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ พบว่าธาตุอาหารในดินมีไนโตรเจนเพิ่มขึ้น จากเดิม ดินมีไนโตรเจนระดับต่ำ�มาก หลังปลูกแหนแดงในนา ข้าว ดินของเธอมีไนโตรเจนเพิ่มขึ้นเป็นระดับต่ำ� เพราะ “เราไม่สามารถใช้เวลาเพียงปีเดียว การปรับดิน ต้องใช้ เวลานาน” นอกจากสมคิดแล้ว เกษตรกรตำ�บลนาบัวเริ่ม ทำ � ความรู้ จั ก กั บ ดิ น ของตั ว เองมากขึ้ น ในการตรวจ วิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพหาธาตุ อ าหารในดิ น จะค้ น หาธาตุ อาหาร 3 ตัวหลักทีพ่ ชื ต้องการ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส

และโปรแตสเซียม นอกจากดินบนทีด่ นิ ของตัวเอง สมคิด ยังพบว่าดินส่วนใหญ่ในชุมชนตำ�บลนาบัวมีไนโตรเจน ต่ำ�มาก หลังจากรู้สภาพดิน เกษตรกรในตำ�บลนาบัว จึงเริ่มรวมกลุ่มกัน เกษตรกรที่สนใจเรื่องปุ๋ยจัดตั้งกลุ่ม กองทุนผูท้ �ำ ปุย๋ บ้านนาบัว เกษตรกรทีส่ นใจเรือ่ งดินจัดตัง้ กลุ่มเกษตรกรมืออาชีพ ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินแก่เกษตรกร โดยกลุม่ จิตอาสา มีการเชิญเกษตรกรร่วมเรียนรูก้ ารเก็บ ตัวอย่างดินที่ถูกวิธี แม้ไม่อยากให้ใครเรียกว่า ‘หมอดิน’ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเธอมีความรู้และการปฏิบัติไม่ต่างไป จากคำ�เรียกนั้น เธอให้คำ�ปรึกษาเรื่องดินแก่เกษตรกร คนอื่น ทุกครั้งที่มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน สมคิด พยายามถ่ายทอดวิธกี ารและความรูใ้ นการตรวจคุณภาพ ดิน เธอมองว่านีค่ อื เรือ่ งพืน้ ฐานทีเ่ กษตรกรควรทำ�ได้เอง ทุกคน “อะไรคือสิ่งที่คุณเรียนรู้จากดิน?” “ดิ น ก็ มี ชี วิ ต เหมื อ นเรา ถ้ า เราใช้ ง านเขามาก สุขภาพก็เสื่อมโทรม เหมือนเราทำ�งานหนักเราก็เหนื่อย เราก็ ป่ ว ย วั น หนึ่ ง เมื่ อดิ น ป่ ว ยแล้ ว เขาไม่ ส ามารถให้ ผลผลิตกับเราได้ ไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยอะไรไป เราต้องมา ปรับปรุงให้เขาดีขึ้น คำ�ว่าดินดีก็คือ ดินที่สามารถรับได้ ทุกอย่างทำ�ให้พืชเจริญเติบโต”

17 :


Features

ศิธร กุลรดาธร วาฤทธิ์ ศิริพิทยาโรจน์ กิตติศักดิ์ กวีกิจมณี บงกช สืบสัจจวัฒน์


การพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่น

ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นับแต่การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 ที่มุ่งเน้น การเจริญเติบโต และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยให้ความ สำ�คัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง เขื่อน ระบบชลประทาน เศรษฐกิจ เพื่อเป็น รากฐานในการรองรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้า นับว่าประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการพัฒนาตามประเทศตะวันตกอย่างแท้จริง การขยายตั ว ของภาคอุ ต สาหกรรมทำ � ให้ ประเทศไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างสมบูรณ์ มีความ เจริญเติบโตทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว โครงสร้างทาง เศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงจากภาคการเกษตร ไปเป็นภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ส่วนระบบการผลิต ในภาคการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิต เพื่อการส่งออกแทนการผลิตเพื่อการบริโภคมากยิ่งขึ้น ขณะที่การถือครองที่ดินทำ�กินของชาวบ้านเริ่ม มีจำ�นวนน้อยลง อันเป็นผลพวงของการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป็นแกนหลักตามนโยบายของ รัฐบาล ซึง่ ทำ�ให้เกิดการพัฒนาของชุมชนเมืองมากยิง่ ขึน้

สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย อันเนื่องมาจากการพัฒนาที่ขาดความสมดุล เช่น การ อพยพของประชากรจากชนบทเข้าสูเ่ มืองมีจ�ำ นวนเพิม่ ยิง่ ขึ้น ความแตกต่างของการพัฒนาชุมชนเมืองและชุมชน ชายขอบ ความเหลื่อมล้ำ�ระหว่างชนชั้น ช่องว่างของ รายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยนับวันยิ่งห่างกันมากยิ่ง ขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำ�ลายและ เสื่อมโทรม เป็นต้น สิง่ เหล่านีน้ บั เป็นผลทีเ่ กิดจากความล้มเหลวของ การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจเป็นหลักตามแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – ฉบับที่ 7 ซึ่งยังคงเห็นถึงปัจจุบัน 19 :


แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) นับเป็นจุดเปลีย่ นสำ�คัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชนและทุกภาคส่วนแบบบูรณาการองค์รวม ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาที่เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยใช้เศรษฐกิจเป็นปัจจัยเสริมในการพัฒนาเพื่อให้คน มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต่อมาในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และ ฉบับที่ 10 ยังคงมุง่ เน้นการพัฒนาทีเ่ กิดความ สมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้อันเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี ‘คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา’ และให้ความสำ�คัญต่อการรวมพลังสังคมในการพัฒนา ตลอดจนการกระจายอำ�นาจการปกครอง (decentralization) ซึง่ ให้อ�ำ นาจแก่ชมุ ชนและท้องถิน่ ในการบริหารทรัพยากร การปกครอง ประชากร ในพื้นที่ด้วยตนเอง

Overall Competitiveness Ranking (IMD 2013) 1 USA (2)

100.00

2 Switzerland (3)

93.36

3 Hong Kong (1)

92.78

4 Sweden (5)

90.53

5 Singapore (4)

89.86

6 Norway (8)

89.58

7 Canada (6)

89.13

8 UAE (16)

88.44

9 Germany (9)

86.20

10 Qatar (10)

85.50

27 Thailand (30)

72.97

60 Venezuela (59)

31.88 0

20

40

60

80

100

เมื่อพิจารณาสถานการณ์ภายนอกประเทศ จะพบว่า ในปี พ.ศ. 2555 International Institute for Management Development หรือ IMD ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในอันดับ ที่ 30 จาก 59 ประเทศ และ World Economic Forum หรือ WEF ได้วิเคราะห์ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน รวมของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ และเมื่อย้อนกลับมาดูข้อมูลย้อนหลังจะพบว่าอันดับ ขีดความสามารถของประเทศไทยได้คงอยู่ในอันดับที่ใกล้เคียงกับอันดับในปี พ.ศ. 2555 มาอย่างยาวนาน และ สามารถคาดการณ์ได้ว่าหากประเทศไทยยังไม่พัฒนาหรือปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารประเทศ ประเทศไทยจะ ยังคงอยู่ที่เดิมหรือถอยหลัง และได้แต่เฝ้ามองดูประเทศเพื่อนบ้านเดินผ่านและนำ�หน้าไป ประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) โดยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นปัจจัยสำ�คัญที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนา วทน. ของ ประเทศ : 20


R&D Investments and Activities Contribute to the Growth of GDP $ US

3.5

25000 3.22 21,100 2.65

2.25

2.63

16,500

15000

1.87

Korea Thailand

12,800 1.52

1.5

10000 8,200

1.0

3,100

0.24

0.25

0.23

0

2020

0.25

2015

0.26

2006

0.24

2005

0.26

2004

0.25

2000

1999

1995

1985

1980

1975

1970

1967

0.0

0.26

2003

2,000

2,600 1,600

2002

0.20

5000

4,210

4,600

0.42

2001

0.37

2010

0.56

0.5

1990

GERD/GDP (%)

2.53

2.0

20000

2.85

2.59

2.50

2.5

2.99

GDP/Capital

3.0

Source: 1. Main Science and Technology Indicators, June 2008 2. International Insitute for Management Development (2008). World Competiveness Yearbook 2008. 3. สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 4. Young Ok-Ahn (2009). Building Korea with Science, Technology and Innovation.

ทีผ่ า่ นมาพบว่าการลงทุนด้านการวิจยั และพัฒนา จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ การเติ บ โตของ GDP อย่ า งมี นัยสำ�คัญ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการพัฒนาของประเทศ เกาหลีใต้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนาในอัตราที่สูงขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จึงส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศเกาหลีทสี่ ามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ขณะที่การลงทุนด้านการ วิจัยและพัฒนาของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันมีอัตราการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ประมาณร้อยละ 0.23 / GDP เท่านั้น ปั จ จุ บั น รั ฐ บาลจึ ง ได้ กำ � หนดให้ มี ยุ ท ธศาสตร์ ประเทศ (Country Strategy) ภายใต้ วิ สั ย ทั ศ น์ : ‘ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทย อยู่ดีกินดี มีความเสมอภาคและเป็นธรรม’ โดยมีหลัก ของยุทธศาสตร์ คือ ‘ต่อยอดรายได้จากฐานเดิม สร้าง รายได้จากโอกาสใหม่ เพื่อความสมดุล และการพัฒนา อย่างยั่งยืน’ และได้กำ�หนดให้การลดความเหลื่อมล้ำ� (Inclusive Growth) เป็นวาระแห่งชาติ

ซึ่งครอบคลุมใน 7 ประเด็นการพัฒนา ประกอบ ด้วย ด้านสุขภาพ สวัสดิการและสุขภาวะของประชาชน การศึ ก ษาที่ มี คุ ณ ภาพเท่ า เที ย ม การพั ฒนาแรงงาน การสร้ า งระบบมาตรฐานความเป็ น ธรรม ตลอดจน การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้ กับประชาชน เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องตระหนักถึง สถานะของประเทศ และต้องเร่งวางแผนการพัฒนา เพือ่ ให้ประเทศไทยมีขดี ความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศมากขึ้น และหลุดพ้นจากกับดักของประเทศ รายได้ปานกลาง ดังนัน้ รัฐบาลได้ก�ำ หนดให้มกี ารนำ�วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้ามามีบทบาทใน 4 ประเด็น คือ (1) การขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้านการ วิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติ (2) ส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาค อุตสาหกรรม (3) การใช้ ป ระโยชน์ จ ากกำ � ลั ง คนด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และ (4) การใช้ประโยชน์จากอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค 21 :


การสรางความสามารถในการแขงขัน (Growth & Competitiveness)

คน / คณุ ภาพ ชวี ติ / ควา มรู /ย ุ

ั นา จิ ยั และพฒ ภาพ / ว ผลติ

ปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ

ลดความ เหลื่อมล้ำ

เปนมิตร ตอสิ่งแวดลอม

การสรางโอกาสความเสมอภาค และเทาเทียมกันทางสังคม

การสรางการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

(Inclusive Growth)

ก ฎ ร ะ เ บีย บ

และเมื่ อ พิ จ ารณาพระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ซึ่งกำ�หนดให้มี คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่ง ชาติ (กวทน.) เพื่อทำ�หน้าที่จัดทำ�นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุน ผลักดันการดำ�เนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว และติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดั ง นั้ น สำ � นั ก งานคณะกรรมการนโยบายวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ของ กวทน. จึงได้ดำ�เนินการจัดทำ�นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) เสนอต่อ กวทน. และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 17 เม.ย. 2555 โดยการจัดทำ�นโยบายและแผน วทน. แห่ ง ชาติ ฉ บั บ นี้ จั ด ทำ � ขึ้ น ภายใต้ ค วามเชื่ อ มโยงของแผนที่ เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผน ยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ตลอดจนประเด็นหลักที่คาดว่าจะมี ผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ สังคมและวิถีชีวิต สุขภาพ ภูมิรัฐศาสตร์และการกระจายความ เจริญ เศรษฐกิจและการค้า ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ ภาวะโลกร้อน พลังงานยัง่ ยืน เกษตรอาหาร และการเปลีย่ นแปลง ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม รวมทั้ ง ผลการ พัฒนาประเทศที่ผ่านมา และขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศไทยในเวทีโลก : 22

โครง สรา งพ

น/ นื้ ฐา

รรม ตธิ

หลุดพนประเทศ จากรายไดปานกลาง

(Green Growth)

นโยบายและแผน วทน. แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) เป็น นโยบายและแผนยุ ท ธศาสตร์ แ ห่ ง ชาติ ที่ จั ด ทำ � ขึ้ น เ พื่ อ แ ก้ ไ ข ปั ญ ห า ด้ า น การพั ฒ นา วทน. ของประเทศไทยใน ปั จ จุ บั น และชี้ นำ � แนวทางในการพั ฒนา ในอนาคต รวมทั้ ง การดำ � เนิ น งานที่ ค วร ให้ ค วามสำ � คั ญ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งจากการ ดำ�เนินงานด้านการพัฒนา วทน. ที่ผ่านมา ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่ อ ให้ ค รอบคลุ ม แนวทางการพั ฒ นา วทน. ที่มีประสิทธิภาพ สามารถขับเคลื่อน ประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสังคมฐานความ รู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ บุ ค ลากรด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไ ด้ รั บ การพั ฒนาให้ ส มดุ ล ทั้ ง ปริ ม าณและคุ ณ ภาพ ลดการพึ่ ง พิ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ป กรณ์ และเทคโนโลยี จ าก ต่างประเทศ ประชาชนได้รับประโยชน์จาก การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ได้รับ การถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความรอบรู้และ ความสามารถด้าน วทน. เพิ่มขึ้น รู้เท่าทัน การเปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็ว มีระบบภูมคิ มุ้ กัน


ในตัวที่ดีและสามารถใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิตของตนเอง และเพื่อให้แผนฉบับนี้สามารถครอบคลุมในทุกระดับ ทุ ก มิ ติ และทุ ก ภาคส่ ว นของการพั ฒนา วทน. ของ ประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศ ทั้งนี้ นโยบายและแผน วทน.ฯ ได้กำ�หนดวิสัย ทัศน์ไว้ว่า ‘นวัตกรรมเขียว เพื่อสังคมที่มีคุณภาพและ เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ’ ซึ่งมุ่งเน้นการนำ� วทน. ไป ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาสังคม ชุมชนและท้อง ถิ่นซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำ�คัญให้มีความเข้มแข็ง มีภูมิ ต้านทาน เตรียมพร้อมรับการเปลีย่ นแปลงของบริบทโลก โดย วทน. ควรเข้ามามีส่วนเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพ และสุขภาวะของประชาชน เสริมสร้างสังคมฐานความรู้ และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถของท้อง ถิ่นและชุมชน ที่ ผ่ า นมา สวทน. ได้ ดำ � เนิ น การขั บ เคลื่ อ น นโยบายและแผน วทน. ฉบับดังกล่าว ในพื้นที่นำ�ร่องซึ่ง ครอบคลุม 7 พื้นที่ ทั่วประเทศ ทั้งในระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัด ชุมชน บนแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวทางการ บริหารราชการแผ่นดินหรือนโยบายและแผนระดับชาติ ต่างๆ คือให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมวางแผน พิจารณาและตัดสินใจในการบริหารจัดการพื้นที่ของ ตนเองให้มปี ระสิทธิภาพ ดังนัน้ สวทน. จึงได้รว่ มกับเครือ

ข่ายมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานในพื้นที่ มีความ เป็นกลาง มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ และพร้อม ให้ค�ำ แนะนำ�และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของประชาชน ในพืน้ ทีใ่ ห้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ โดยในเบือ้ ง ต้น สวทน. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐ 7 แห่ง เพื่อ ดำ�เนินการศึกษาความต้องการการใช้ วทน. ในพื้นที่ 7 ภูมิภาค โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน • มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร รั บ ผิ ด ชอบพื้ น ที่ ภ าคเหนื อ ตอนล่าง • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ�แพงแสน รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก • มหาวิทยาลัยบูรพา รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออก • มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบพืน้ ทีภ่ าคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รับผิดชอบพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ สวทน. ได้นำ�บทสรุปความต้องการ วทน. จาก ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องในพืน้ ทีม่ าวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพือ่ จัดทำ�เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อนำ� วทน. ไปใช้ ในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

การผลักดันนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติรายพื้นที่ ในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ในปี พ.ศ. 2555 - 2556 สวทน. ได้นำ�บทสรุปจากการศึกษาความต้องการ วทน. ที่ได้เบื้องต้นไปผลักดัน ให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายและแผน วทน.แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติรายพื้นที่ นำ�ร่องใน 7 พื้นที่ ประกอบด้วย 6 จังหวัด (เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา จันทบุรี และสงขลา) และ 1 กลุ่มจังหวัด (กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) โดยสามารถเสนอแนะแผนงานในรู ป แบบของแผนงานโครงการที่ เ ป็ น ภารกิ จ ประจำ � หรื อ ในมิ ติ ของโครงการลงทุ น ขนาดใหญ่ (Mega Project) ด้ า น วทน. ที่ มี ความสอดคล้ อ งกั บ นโยบายและแผน วทน. ฉบั บ ที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564) และผลั ก ดั น ไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ โดยจั ง หวั ด ได้ บ รรจุ แ ผนงาน โครงการด้าน วทน. ที่มีงบประมาณ และผู้รับผิดชอบดำ�เนินงานชัดเจนเข้าสู่แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดประจำ� ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2557 หรื อ แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจำ � ปี ข องกลุ่ ม จั ง หวั ด ประจำ � ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2557 และจากนี้ สวทน. จะเข้ า สู่ ก้ า วต่ อ ไปในการติ ด ตามและประเมิ น ผลการดำ � เนิ น งานของหน่ ว ยงาน ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ยังคงต้องสร้างกลไกและเครื่องมือเพื่อระจายแนวคิด และวิธีการจัดทำ�นโยบายและแผนใน การบริหารท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพด้วย วทน. ต่อไป 23 :


การผลั ก ดั น นโยบายและแผนวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 1 (พ.ศ. 2555 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติรายพื้นที่ ในระดับ ชุมชน นอกเหนือจากการพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ในระดับ จังหวัดและกลุม่ จังหวัดแล้ว สวทน. ยังได้ด�ำ เนินการศึกษาเชิงทดลอง ในระดับชุมชน โดยวัตถุประสงค์ของการผลักดันนโยบายและแผน วทน. ไปสูก่ ารปฏิบตั ริ ายพืน้ ทีใ่ นระดับชุมชน ในช่วงต้นเป็นการเตรียม ความพร้อมของชุมชนให้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการพัฒนาพืน้ ที่ ด้วย วทน. ควบคูก่ บั การศึกษาเชิงทดลองในการจัดทำ�แผนการพัฒนา ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การจัดทำ�แผนฯ ดังกล่าว ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรง จุด และทำ�ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดการมีส่วนร่วมและเรียนรู้วิธีการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว การดำ�เนินงานเพื่อการศึกษาเชิงทดลอง ‘ชุมชนนวัตกรรม’ สวทน. ได้วางแผนดำ�เนินงานเพื่อคัดเลือกชุมชนเพื่อเป็นตัวแทน ภูมภิ าคเข้ามาร่วมดำ�เนินการ และได้ก�ำ หนดหลักเกณฑ์การพิจารณา คัดเลือกชุมชน ประกอบด้วย

1. ชุมชนมีความเข้มแข็งและผูน้ �ำ มีความ พร้อม 2. ชุมชนมีการบริหารจัดการชุมชนที่ดี 3. ชุมชนมีการบูรณาการความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐหรือมหาวิทยาลัย 4. ชุ ม ชนมี ปั ญ หาเร่ ง ด่ ว นที่ ค วรได้ รั บ การแก้ไข 5. เป็นชุมชนที่มีศักยภาพที่จะดำ�เนิน งาน อั น หมายถึ ง ชุ ม ชนที่ มี ค วาม คิ ด ริ เ ริ่ ม สร้ า งสรรค์ มี ค วามเข้ า ใจ เกี่ยวกับ วทน. ความสามัคคี โดย การรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์หรือ กลุ่มสมาชิกต่างๆ เพื่อดำ�เนินการ พัฒนาชุมชน จากการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ สามารถคัดเลือกชุมชนเข้าร่วมการศึกษา เชิงทดลองรวมใน 7 ภูมิภาค ประกอบ ด้วย

ชุมชนแมทา

อำเภอแมออน จังหวัดเชียงใหม

ภาคเหนือ ชุมชนบานเขานอย

อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนบานหนองฮี

อำเภอเมือง จังหวัดขอนแกน

ภาคตะวันออก

กลุมแมบานเกษตรกรเขาบายศรี อำเภอทาใหม จังหวัดจันทบุรี

ภาคใต

ชุมชนบานทาหิน

อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

: 24


จากผลการทดลอง ‘ชุมชนนวัตกรรม’ ทำ�ให้สังคม ชุมชนและท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการ พัฒนาพืน้ ทีด่ ว้ ย วทน. และเรียนรูก้ ารพัฒนาพืน้ ทีด่ ว้ ย วทน. อย่างมีระบบมากยิง่ ขึน้ ซึง่ องค์ประกอบของการพัฒนา นัน้ จะแตกต่างกันออกไปตามบริบทของพืน้ ที่ แต่เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าการดำ�เนินการต้องอาศัยผูน้ �ำ การเปลีย่ นแปลง หรือ Change Agent เข้ามาเป็นตัวกระตุ้น และเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กับผู้มีเทคโนโลยี เพื่อให้ปัญหาได้รับการ แก้ไข ซึ่ง Change Agent อาจจะเป็นผู้นำ�ชุมชน นักวิชาการ หรือภาคเอกชนที่ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้า มาร่วมดำ�เนินงาน แต่ต้องกำ�หนดหลักเกณฑ์ของ Change Agent ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการชี้นำ�หรือชักชวน ให้ชุมชนสนใจในประเด็นทางวิชาการที่ตนเองสนใจ หากแต่ต้องกำ�หนดเป้าหมายว่าต้องสรรหาเทคโนโลยีหรือ องค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดให้กับชุมชนและท้องถิ่น โดยต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ ปัจจัยเอื้อและโครงสร้างพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่น เช่น กองทุน มาตรการทางการเงิน กฎ ระเบียบ ยังเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับผลงานของชุมชน และท้องถิ่นที่มีความพร้อม ในขณะที่ชุมชนและสังคมโดยส่วนใหญ่ยังรอการช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งมีงบประมาณในการดำ�เนินงาน ที่จำ�กัด ดังนั้น สิ่งที่ท้าทายของการพัฒนา คือ จะทำ�อย่างไรประชาชนจึงจะลดการพึ่งพาภาครัฐ และสามารถ วางแผนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและชุมชน จากการต่อยอดทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และ องค์ความรู้ท้องถิ่น ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ซึ่งหากสามารถดำ�เนินการได้ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐต้องแบกรับ และขณะเดียวกัน ประชาชน ในพื้นที่ก็สามารถสร้างรายได้เข้าชุมชนและท้องถิ่นร่วมด้วยได้ โดยต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้อง ถิ่นที่มีอยู่เดิม

การถอดแบบเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมทั่วถึงของประเทศไทย

สวทน. ได้ ดำ � เนิ น การศึ ก ษารู ป แบบ ‘การ สร้ า งนวั ต กรรมทั่ ว ถึ ง ’ (Inclusive Innovation) ซึ่ ง หมายความถึงการพัฒนานวัตกรรมซึง่ อาจอยูใ่ นรูปแบบ ของผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่มีศักยภาพสูง ที่ตอบ สนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนฐานล่าง ของสังคมซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำ�หรือคนยากจน โดยต้อง สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าเทคโนโลยีที่มีขาย อยู่ในท้องตลาด ควบคู่กับการดำ�เนินโครงการ ‘ชุมชน นวั ต กรรม’ ซึ่ ง เป็ น การศึ ก ษารู ป แบบการขั บ เคลื่ อ น นโยบายและแผน วทน. ในระดับสังคม ชุมชนและท้องถิน่ โดย สวทน. คาดหวังว่าผลการจากศึกษาในครัง้ นี้ จะสามารถ เสนอแนะ เครือ่ งมือหรือกลไกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และกระจายองค์ความรูด้ า้ น วทน. ไปสูท่ อ้ งถิน่ เพือ่ เสนอ ต่อผูบ้ ริหารประเทศเพือ่ พิจารณาผลักดันเชิงนโยบายต่อ ไป โดยในปี พ.ศ. 2555 สวทน. ได้ทบทวนเทคโนโลยี ที่เหมาะสมในการขยายผลที่สังคมและชุมชนสามารถ

ประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ และเนื่องจากประเทศไทยเป็น ประเทศเกษตรกรรม สวทน. จึงได้มุ่งเป้าไปที่การแก้ไข ปัญหาของเกษตรกร ซึง่ ประสบกับปัญหาสำ�คัญอันเกีย่ ว เนื่องกับการเจริญเติบโตของพืชผลทางการเกษตร เช่น แมลงศัตรูพืช ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ส ว ท น . ว า ง แ ผ น ที่ จ ะ เ ป็ น ก ล ไ ก ใ น ก า ร บูรณาการการพัฒนาประเทศด้วย วทน. ร่วมกับหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เพื่อนำ�บทเรียนและข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายต่างๆ มากำ�หนดกรอบดำ�เนินการ วาง แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของประเทศ โดยเฉพาะในภาคสั ง คม ชุ ม ชนและท้ อ งถิ่ น ให้ มี ความตระหนักในประเด็นการพัฒนาพื้นที่ของตนด้วย วทน. เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับประเทศ และ ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นความเป็นประเทศในกลุม่ รายได้ปานกลางต่อไป

25 :


กรณีศึกษา: การใช้ วทน. แก้ปัญหาแมลงศัตรูพืช รุนแรงและฉับพลันกว่า การศึกษาวิจยั เรือ่ งการใช้เชือ้ รา Bb กำ�จัดเพลีย้ ใน ในเบื้องต้น สวทน. ได้ทบทวนงานวิจัยเรื่องผล นาข้าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐหลาย การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในการกำ�จัดเพลี้ยในนาข้าว หน่วยงาน เช่น สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ของชาวนา อำ�เภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ เชือ้ ราบิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiasna หรือ Bb) เป็น แห่งชาติ (BIOTEC) เป็นต้น โดยได้มีการลงมือศึกษา จุลินทรีย์ที่ทำ�ให้เกิดโรคกับแมลง สามารถทำ�ลายแมลง วิ จั ย ในแปลงนาของชาวนาในอำ � เภอผั ก ไห่ จั ง หวั ด ทีเ่ ป็นศัตรูพชื ได้หลายชนิด เกษตรกรจึงใช้ประโยชน์จาก พระนครศรีอยุธยา ผลการทดสอบพบผลเชิงประจักษ์ เชื้อ Bb ในการกำ�จัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี โดย ในการกำ�จัดเพลี้ยกระโดด พืชเศรษฐกิจทีเ่ ราสามารถใช้เชือ้ บิวเวอร์เรียในการกำ�จัด ทั้งนี้ การใช้เชื้อรา Bb มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ�กว่า ศัตรูพืชได้ ได้แก่ ข้าว (เพลี้ยกระโดด) มันสำ�ปะหลัง การใช้สารเคมี โดยการใช้เชื้อรามีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ (เพลี้ยแป้ง) พืชผัก (เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว) ส้ม 3,000 บาทต่อไร่ ขณะที่การใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชมี (เพลีย้ อ่อนส้ม) และมะม่วง (เพลีย้ จัก๊ จัน่ มะม่วง) เป็นต้น ต้นทุนที่ 5,000-7,000 บาทต่อไร่ ต่อมาจึงได้มกี ารริเริม่ โดยสปอร์ของเชื้อรา Bb จะเข้าสัม ผัสกับผิว รวมกลุ่มผู้ผลิตเชื้อรา Bb เพื่อใช้กันในกลุ่มสมาชิกและ ของแมลงที่เป็นศัตรูพืชและงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนัง จำ�หน่ายให้แก่เกษตรกรทัง้ ในและนอกพืน้ ทีอ่ �ำ เภอผักไห่ เข้าไปในลำ�ตัวของมัน แล้วขยายจำ�นวนโดยใช้เนื้อเยื่อ การมีผู้ผลิตและจำ�หน่ายเชื้อรา Bb ในชุมชน ของแมลงเป็นอาหารจนทำ�ให้แมลงตายในที่สุด อย่างไร ถื อ เป็ น การอำ � นวยความสะดวกในการใช้ เ ทคโนโลยี ก็ตาม เชื้อรา Bb เป็นที่นิยมใช้ในการกำ�จัดเพลี้ยใน ให้ แ ก่ เ กษตรกรในชุ ม ชน และเป็ น กลไกที่ ช่ ว ยทำ � ให้ นาข้าวมากกว่าในสวนผลไม้ เช่น มะม่วง เนื่องจาก การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถขยายวงกว้างไปได้ ชาวสวนผลไม้มรี ายได้สงู กว่าเมือ่ เทียบกับชาวนา จึงนิยม อย่างไรก็ตาม การดำ�เนินงานดังกล่าวก็ประสบความ ใช้สารเคมีซงึ่ มีราคาแพงกว่าและออกฤทธิท์ �ำ ลายศัตรูพชื สำ�เร็จเพียงระดับหนึ่ง เนื่องจากผู้ผลิตยังไม่มั่นใจว่า

: 26


จะขยายตลาดได้หากผลิตด้วยกำ�ลังการผลิตที่สูงกว่า ปัจจุบัน (กำ�ลังการผลิตปัจจุบันคือ 5,000 ถุง หรือ ประมาณ 2,500 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ปี ) ประกอบกั บ การ เพาะเลี้ยงเชื้อมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกษตรกรจึงไม่นิยม เลี้ยงเชื้อเพื่อขายหรือใช้เองในครัวเรือน นอกจากนี้ขั้น ตอนการใช้งานก็มีความซับซ้อน ต้องนำ�เชื้อที่เลี้ยงได้ มาบด ปั่น ผสมน้ำ� และทิ้งให้ตกตะกอนซึ่งใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ก่อนจะนำ�ไปฉีดในแปลงนา ต้องฉีดเฉพาะใน ขณะที่อุณหภูมิไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เช่น เวลาเช้า ตรู่ หรือเวลาเย็น ไม่มีความสะดวกในการใช้ ทำ�ให้ขาด ความนิยมในหมูเ่ กษตรกร อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เองก็ส้ันเมื่อเทียบกับสารเคมีปราบศัตรูพืช นอกจากนี้ เกษตรกรยังเชื่อมั่นในการใช้สารเคมีมากกว่าการใช้วิธี ทางชีวภาพซึ่งให้ผลการกำ�จัดศัตรูพืชที่ช้ากว่า การขยายผลการใช้ เ ชื้ อ รา Bb ต้ อ งพบกั บ ความท้าทายหลายประการ เช่น การพัฒนากระบวนการ ผลิตให้มีความซับซ้อนน้อยลงและผลิตภัณฑ์ถูกนำ�ไป ใช้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างโจทย์วิจัยที่กำ�ลังอยู่ระหว่างการ พัฒนา คือ การพัฒนาเชื้อที่อยู่ในรูปของเหลวเพื่อความ สะดวกในการใช้งาน การใช้ข้าวสารซึ่งหาได้ง่ายและ มีราคาถูกเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งจะทำ�ให้เชื้อราที่ได้

มีสัดส่วนของสปอร์ต่อเส้นใยสูงกว่าเมื่อเลี้ยงเชื้อด้วย ข้าวโพด และเพิม่ ประสิทธิภาพในการกำ�จัดเพลีย้ ให้มาก ขึน้ กว่าเดิม รวมถึงอาจเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเชือ้ ราที่ผลิตโดยใช้ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยจากภาครัฐเห็น ความสำ�คัญในการทำ�งานวิจัยเพื่อชุมชน เทียบเท่ากับ การทำ�วิจัยเชิงวิชาการเพื่อตีพิมพ์ นอกจากนี้ ความท้าทายด้านการตลาดก็เป็นอีก ปัจจัยทีม่ คี วามสำ�คัญ ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพของชาวบ้าน อาจไม่สามารถแข่งขันด้านการตลาดกับสารเคมีปราบ ศัตรูพืชซึ่งมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การให้ของ แถมเมือ่ ซือ้ ผลิตภัณฑ์ การโฆษณาชวนเชือ่ การมีตวั แทน จำ�หน่ายที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า เป็นต้น และปัจจัยที่สำ�คัญที่สุดของการขยายผลการใช้ เทคโนโลยีก็คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำ�ได้ต่อเมื่อเกิดกรณี ตัวอย่างที่ประสบความสำ�เร็จอย่างเป็นรูปธรรม อันจะ ก่อให้เกิดกระแสการบอกต่อ และทำ�ให้เกิดการยอมรับ ในเทคโนโลยีอย่างค่อยเป็นค่อยไป

แหล่งอ้างอิง: 1. นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2564) สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนัวตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) พ.ศ. 2555 2. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive Innovation) สำ�หรับประเทศไทย เสนอต่อ สวทน. โดย ศุเรนทร์ ฐปนางกูร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี พ.ศ. 2556 3. หนังสือสมัชชาชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย สวทน. 4. http://donchedi.suphanburi.doae.go.th/bb.htm สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2556

27 :


Sวาฤทธิ mart life ์ ศิริพิทยาโรจน์

ชาวนาวันหยุด

กับ ระบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว

หลายท่านคงเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงิน เดือน ในวัฏจักรที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย ผู้คนต้องใช้ ชีวิตอยู่บนความเร่งรีบ และการแข่งขันตลอดเวลา แย่ง กันกินแย่งกันใช้ในสภาพแวดล้อมทีแ่ ออัดและเต็มไปด้วย สภาพปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้เขียนเชื่อว่า คงมีสัก เสี้ยวหนึ่งของความคิดของหลายๆ ท่านอาจวางแผน ที่จะหนีความวุ่นวายและความอลหม่านไปใช้ชีวิตหลัง เกษียณ ด้วยการใช้ชีวิตเป็นชาวนาท่ามกลางธรรมชาติ ที่สงบและบริสุทธิ์ ‘ชาวนาวันหยุด’ ก่อตั้งโดย สุภชัย ปิติวุฒิ ‘มนุษย์เงินเดือนวันธรรมดา ชาวนาวันหยุด’ เป็น เครือข่ายสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คแฟนเพจ รวมกลุ่ม คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน เห็นประโยชน์และ ความสำ�คัญของการทำ�นา ให้หันมาทำ�นาโดยใช้เวลา ยามว่างจากการทำ�งานประจำ�ในช่วงวันหยุด เครือข่ายนี้สนับสนุนให้ใช้องค์ความรู้และโอกาส ในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ตอ่ การทำ�นา เพือ่ ลดต้นทุนการผลิตข้าว เพิม่ ผลผลิตต่อไร่ โดยมีเป้าหมาย คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกับชุมชน และ สังคมเมืองให้เกิดขึน้ ภายใต้ขอ้ จำ�กัดของทรัพยากร เวลา และประสบการณ์ ประยุ ก ต์ ใ ช้ อ งค์ ค วามรู้ ส ากลสู่ ก ารปฏิ บั ติ จ ริ ง

: 28

ในแปลงนา ด้วยเทคโนโลยีการทำ�นาตามระบบ SRI (System of Rice Intensification) ร่วมกับเทคนิคการ บริหารจัดการน้ำ�ในนาข้าวตามหลัก AWD (Alternate Wetting and Drying) ประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงแหนแดง และเป็ ด เพื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ กำ � จั ด วั ช พื ช และเพิ่ ม ธาตุ อาหารในแปลงนา ภายใต้การเรียกกระบวนการนี้ของ กลุ่มชาวนาวันหยุดว่า ‘เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว’ ซึง่ ช่วยลดต้นทุนการทำ�นา ใช้ศกั ยภาพของต้นข้าว ในการเจริญเติบโตหาอาหาร แตกกอ สร้างผลผลิต และง่ายต่อการจัดการเรื่องต่างๆ ลดโอกาสในการเป็น โรคและแมลงข้าวให้น้อยลง ควบคู่กับการใช้แหนแดง (azolla) และเป็ด เป็นตัวช่วยในการให้สารอาหารและ กำ�จัดศัตรูพืชแก่ต้นข้าว ตลอดจนได้พัฒนาต้นแบบ เครื่องมือและอุปกรณ์ในนา เช่นท่อแกล้งข้าว เครื่องตี ตารางนาโยน และอุปกรณ์กำ�จัดวัชพืชในร่องนาดำ� ให้ มีต้นทุนต่ำ�ลงเพื่อลดต้นทุนเครื่องจักรกล เครือข่ายชาวนาวันหยุด นับเป็นแรงกระตุ้นให้ คนรุน่ ใหม่ซงึ่ มีครอบครัวประกอบอาชีพชาวนา หันกลับ ไปช่วยครอบครัวทำ�นาโดยใช้เวลาในช่วงวันหยุดที่ว่าง จากการทำ�งานหลัก โดยแสดงบทบาทในฐานะเป็น ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการทำ�นาให้แก่ ครอบครัว


ที่มาภาพ: http://www.ชาวนาวันหยุด.com

โดยการนำ � องค์ ค วามรู้ ต ามหลั ก วิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทีไ่ ด้จากเว็บเพจชาวนาวันหยุด ไปประยุกต์ใช้ จนเกิดผลในเชิงประจักษ์แก่ชาวนารุน่ พ่อ รุน่ แม่ได้เห็นและเชือ่ ถึงประโยชน์ และพร้อมทีจ่ ะทำ�ตาม ในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งจะนำ�ไปสู่การแก้ไขปัญหาต้นทุนการ ผลิตของชาวนาสูงอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ชาวนาวันหยุด นับเป็นแรงบันดาลใจ ให้แก่คนรุน่ ใหม่และผูท้ ที่ �ำ งานประจำ�ทีไ่ ม่เคยมีพนื้ ฐาน ในการทำ�นา มีความสนใจและหันมาทำ�นาควบคูก่ บั การ ประกอบอาชีพหลัก จึงทำ�ให้เครือข่ายชาวนาวันหยุด ได้รับความนิยมและขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ก่อให้ เกิดชาวนารุ่นใหม่ ที่เรียกตัวเองว่า ‘ชาวนาวันหยุด’ ใน รูปแบบต่างๆ เช่น ‘โปรแกรมเมอร์วันธรรมดา ชาวนา วันหยุด’ ‘พ่อค้าวันธรรมดา ชาวนาวันหยุด’ ‘ช่างซ่อม ธรรมดา ชาวนาวันหยุด’ ‘พนักงานเอกชน ชาวนาวัน หยุด’ ‘นักศึกษาปริญญาโท วันธรรมดา ชาวนาวันหยุด’ ‘ครูอาชีวะวันธรรมดา ชาวนาวันหยุด’ เอาล่ะ ถึงบรรทัดนี้ คุณรู้แล้วใช่ไหม วันหยุดคุณ จะทำ�อะไร

ผลจากการทำ � นา ตามแนวคิ ด ของ ‘ชาวนาวันหยุด’ ช่วยลดต้นทุนในการทำ�นา ลงไร่ละประมาณ 3,000 บาท ขณะที่ปริมาณ ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 0.8-1 ตัน ทำ�ให้ชาวนามี ผลกำ�ไรขัน้ ต�่ำ จากการทำ�นาประมาณ 10,000 บาทต่อไร่ ‘ชาวนาวันหยุด’ ยังช่วยเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ของการทำ�นาให้มีภาพลักษณ์ใหม่ โดยทำ�ให้เห็นว่าการทำ�นาไม่ได้เป็นเรือ่ งทีย่ าก ลำ�บากหรือเหน็ดเหนือ่ ย และไม่จ�ำ เป็นต้องใช้ เวลาทั้งหมดกับการทำ�นา หากแต่ยังสามารถ ประกอบอาชีพอืน่ เป็นหลัก และใช้เวลาในช่วง วันหยุดในการทำ�นาก็สามารถทำ�นาให้ประสบ ความสำ�เร็จได้ กลุ่มชาวนาวันหยุด มีการรวมตัวเพื่อ ร่วมทำ�กิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความ รู้ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม ในการทำ � นา ตลอดจนการร่วมมือร่วมใจในการทำ�กิจกรรม ต่างๆ เป็นระยะๆ และเปิดรับบุคคลภายนอก เข้าร่วมกิจกรรม โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหว ของ ชาวนาวันหยุด ได้ทาง Facebook Fan page ชาวนาวันหยุด 29 :


S ocial&Technology กองบรรณาธิการ

วิทยาศาสตร์บริการ Horizon ได้พูดคุยกับ คุณเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ในประเด็นการใช้ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพของสินค้า OTOP เป็นรูปธรรมหนึ่งของการใช้ วิทยาศาสตร์ในมิติต่างๆ ของสังคม กรมวิทยาศาสตร์บริการมีหน้าที่รับผิดชอบใน โครงการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า OTOP เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน จึงได้ส่ง นักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่เพื่อเป็นคณะทำ�งานรับรอง คุณภาพสินค้าหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพิ่มความ ปลอดภัยของผู้บริโภค จุดเริม่ ต้นในการทำ�งาน แต่ไหนแต่ไรมา เราไม่มี หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ เมื่อไม่มี หน่วยงานในพืน้ ที่ ปัญหาของเราก็คอื ใครจะเป็นตัวแทน ของเราในจังหวัดนั้นๆ เพื่อรับโจทย์รับปัญหาจากพื้นที่ เข้าสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คลินิกเทคโนโลยี ซึ่ ง เป็ น งานหนึ่ ง ที่ ไ ด้ อ าศั ย กลไกของมหาวิ ท ยาลั ย ในพืน้ ทีม่ ารับโจทย์ตามความต้องการของชุมชน คลินกิ เทคโนโลยีเป็นด่านแรก เมื่อชุมชนแต่ละแห่งมีปัญหา ทางมหาวิทยาลัยซึง่ เป็นเครือข่ายของคลินกิ จะรับโจทย์ แล้ ว เขี ย นเป็ น โครงการเพื่ อ ขอรั บ การสนั บ สนุ น จาก กระทรวง นี่คือจุดเริ่มต้น ในฐานะอธิ บ ดี ก รมวิ ท ยาศาสตร์ บ ริ ก าร สิ่ ง ที่ ดิ ฉั น อยากเห็ น คื อ ทั ศ นคติ ข องชาวบ้ า นที่ ม องว่ า วิทยาศาสตร์่จับต้องได้และไม่ยาก สิ่งที่เราอยากให้ พวกเขาเห็นก็คอื วิทยาศาสตร์เป็นเรือ่ งในชีวติ ประจำ�วัน การลงพืน้ ทีข่ องเราในช่วงแรกๆ นัน้ ภาระหน้าที่ หมดไปกับการแนะนำ�ตัวเองว่ากรมวิทยาศาสตร์บริการ คือใคร ทำ�หน้าที่อะไร และจัดนิทรรศการ นำ�กรณี ตัวอย่างที่ประสบความสำ�เร็จจากการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาสาธิตให้พนื้ ที่ ดูวา่ สาเหตุทเี่ ขาประสบความสำ�เร็จ เพราะเขาใช้กลไก ของวิทยาศาสตร์ ทีท่ �ำ เช่นนัน้ ก็เพือ่ ให้เขาไว้วางใจต่อวิทยาศาสตร์ เราต้องการรูว้ า่ อะไรคือปัญหาของเขา เพือ่ นำ�กลับมายัง หน่วยงาน เมือ่ รับโจทย์มาเราก็ประชุมกับทุกหน่วยงาน ในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเพื่อจะตอบโจทย์ให้พื้นที่ พื้นที่แต่ละแห่งจะมีบริบทที่แตกต่างหลากหลาย กรม วิทยาศาสตร์บริการมีหน้าที่สนองเขา โดยเครื่องมือที่ เรามี นั่นคือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือแล็บ ในช่วงเวลา 7-8 ปี จากภารกิจแรกเริ่มคือการ : 30

แนะนำ�ตัวว่ากรมวิทยาศาสตร์บริการคือใคร มีหน้าที่ อะไร และรับฟังปัญหาของพื้นที่ว่าเขามีปัญหาอะไร ตอนหลังชาวบ้านในพื้นที่เรียนรู้มากขึ้น เนื้องานใน ลำ � ดั บ ถั ด มาก็ คื อ การโฟกั ส บทบาทหน้ า ที่ ข องกรม วิทยาศาสตร์บริการให้ชัดเจน ว่าเรามีบทบาทอย่างไร ต่อสินค้า OTOP เพราะมีหลายหน่วยงานและหลาย กระทรวงที่ทำ�งานพัฒนาสินค้า OTOP เป้าหมายของ กรมวิทยาศาสตร์บริการก็คือต้องไม่ทำ�งานซ้ำ�ซ้อนกับ หน่วยงานอื่น จากการหาข้ อ มู ล เราก็ พ บว่ า ในการรั บ รอง มาตรฐานให้สินค้า OTOP จะมีกลุ่มผู้ประกอบการที่ ผลิตภัณฑ์ไม่ผา่ นมาตรฐาน เราจึงมองเห็นว่า ปัญหาตรงนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป้าหมายของกรมวิทยาศาสตร์บริการคือจะต้อง ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการได้มาตรฐาน งาน ของกรมวิทยาศาสตร์บริการจึงหนีไม่พ้นการทดสอบ ผลิตภัณฑ์และเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ซึ่ง จะเห็นว่าบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการมีความ คล้ายคลึงกับโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ที่จะทำ�ในระดับใหญ่ แต่ กรมวิทยาศาสตร์บริการจะทำ�ในระดับผู้ประกอบการ เล็กๆ ที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น ดิ ฉั น ตี โ จทย์ ว่ า อะไรคื อ ตั ว วั ด ความสำ � เร็ จ ใน การทำ � สิ น ค้ า OTOP เพื่ อ กำ � หนดหน้ า ที่ ข องกรม วิทยาศาสตร์บริการ กลุ่มเป้าหมายของเราคือกลุ่ม ที่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ม่ ไ ด้ รั บมาตรฐานในปี ที่ ผ่ า นมา การที่ ผลิตภัณฑ์ของเขาไม่ผ่านมาตรฐานมีหลายสาเหตุ เช่น ค่า pH สูงเกินไป แต่ปัญหาก็คือไม่มีใครไปอธิบายเขา ว่าค่า pH คืออะไร แล้วกระบวนการแก้ปญ ั หาทำ�อย่างไร พวกเขารู้ ว่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ม่ ผ่ า นมาตรฐาน ด้ ว ยเรื่ อ งอะไร แต่ ไ ม่ รู้ ว่ า สาเหตุ มั น เกิ ด จากอะไร กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงจับจุดนี้ โดยใช้แล็บทาง วิทยาศาสตร์เป็นตัวอธิบาย ปั ญ หาอี กอย่ า งหนึ่ ง ในการทำ � งานตรงนี้ ก็ คื อ ในแล็บการทดลอง นั่นคือนักวิทยาศาสตร์ ดิฉันต้อง ทำ � ความเข้ า ใจกั บ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ว่ า โลกของการ


ทดสอบไม่ได้อยู่ที่แล็บเพียงอย่างเดียว แล็บของคุณ ไม่จำ�เป็นต้องอยู่แต่ในกรมวิทยาศาสตร์บริการ แต่มัน ต้องอยู่ในทุกๆ พื้นที่ โจทย์อยู่ตรงนี้ ภารกิจของเราเหมือนการพายเรือไปส่งคนขึน้ ฝัง่ ทำ�อย่างไรไม่ให้เรือล่ม กิจกรรมที่อยู่บนเรือเป็นความ รับผิดชอบของเรา ก่อนขึ้นฝั่งเขาต้องพร้อมที่จะอยู่รอด บนฝั่ง เมื่อส่งเขาขึ้นฝั่งก็หมายความว่าผลิตภัณฑ์ของ เขามีมาตรฐานเข้าสู่กระบวนการรับรองแล้ว ภารกิจ ของเราก็สิ้นสุด กรมวิทยาศาสตร์ยังมองไปยังผู้ประกอบการ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสินค้า OTOP แม้ว่าโฟกัสของ เราคือสินค้า OTOP หรือเปรียบเป็นไข่แดง ไข่แดง คือผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ผลักดันให้ ผลิตภัณฑ์ของเขาผ่าน ซึ่งไข่แดงตรงนี้มี 2 กลุ่ม คือ ผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการรับรอง กับการถ่ายทอด เทคโนโลยีให้ผลิตภัณฑ์พัฒนารุดหน้า ส่วนไข่ขาว คือ ผู้ประกอบการรอบนอกที่ไม่ได้ เข้าร่วมสินค้า OTOP เราเข้าไปสร้างความตระหนัก ว่าคุณหนีวิทยาศาสตร์ไม่พ้นนะ โดยเฉพาะในโลกที่ ต้องการมาตรฐาน เขาหนีไม่พ้นจากการทดสอบทาง

วิทยาศาสตร์ เราไปหาเขาเพือ่ จูงมือให้เข้ามา ในอนาคต เราจะผลักดันจากไข่ขาวให้เป็นไข่แดง ในอนาคต ดิ ฉั น มองว่ า บทบาทของอุ ท ยาน วิทยาศาสตร์ประจำ�ภูมิภาคต่างๆ ต้องไม่จำ�กัดอยู่แต่ บริษัทที่มาทำ� R&D เพราะเมื่ออยู่ในพื้นที่ อุทยาน วิทยาศาสตร์ตอ้ งรับโจทย์จากชุมชนท้องถิน่ ด้วย อุทยาน วิทยาศาสตร์ไม่จำ�เป็นต้องทำ�เองทุกโจทย์ แต่รับโจทย์ จากท้องถิ่นมาแล้วส่งมายังกระทรวง แล้วหาความ ชัดเจนภายในกระทรวงว่าบทบาทใครอยู่ตรงไหน เพื่อ แจกแจงงานให้ชัดเจน ในโลกปัจจุบัน ความปลอดภัยคือหัวใจสำ�คัญ ความปลอดภัยก็คือสารปนเปื้อนซึ่งเราไม่มีทางรู้หรอก แต่ แ ล็ บ จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส ามารถบอกได้ ว่ า การ ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เกินกว่าค่ามาตรฐานไหม ไม่ใช่ ว่าอาหารทุกประเภทจะปราศจากจุลินทรีย์ แต่ประเด็น ก็คือเกินกว่าค่ามาตรฐานหรือไม่ ซึ่งเป็นกติกาที่เป็น เกณฑ์ร่วมกัน แล็บจะให้คำ�ตอบตรงนี้ เราไม่มีทางหนี วิทยาศาสตร์พ้นไปได้เลย

31 :


I nterview

[text] [photo]

กองบรรณาธิการ วาฤทธิ์ ศิรพิ ทิ ยาโรจน์

วิทยาศาสตร์สู่ทุ่งหญ้า Horizon ฉบับนี้มีโอกาสเดินทางไปยังชุมชนท้องถิ่น 3 แห่ง ชุมชนแห่งแรกคือชุมชน ตำ�บลแม่ทา อำ�เภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนแห่งนี้มีการรวมกลุ่มกันของ เกษตรกรเพื่อผลิตพืชผลการเกษตรในระบบปลอดสารเคมี ทำ�ให้เกิดความเข้มแข็ง ของชุมชนตำ�บลแม่ทา โดยการนำ�ของปราญช์ชาวบ้านอย่าง พัฒน์ อภัยมูล ชุมชนแห่งที่ 2 เราลงใต้ไปยังชุมชนตำ�บลบ้านท่าหิน อำ�เภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพือ่ ไปดูการฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ ทีเ่ รียกว่า ‘โหนด-นา-เล’ ซึง่ ทรัพยากรทีส่ �ำ คัญของชาวสทิงพระ ก็คอื ต้นตาลโตนด ถึงวันนีพ้ วกเขารวมกลุม่ กันเพิม่ มูลค่าให้ตน้ ตาลโตนดในการแปรรูป เป็นสบู่และของใช้อื่นๆ ซึ่งนำ�โดย พูนทรัพย์ ศรีชู โดยได้พูดคุยกับภาคมหาวิทยาลัย ที่เข้ามาให้การสนับสนุนชุมชนแห่งนี้ด้วย นั่นคือ ผศ.ดร.อำ�นวย สิทธิเจริญชัย ผู้เชี่ยวชาญสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุมชนแห่งสุดท้าย เราย้อนขึ้นมาภาคเหนือตอนล่าง มายังโรงเรียนวัดเขาน้อย จังหวัดพิษณุโลก ซึง่ เป็นศูนย์กลางความรูใ้ นการผลิตพลังงานชีวภาพ กระทัง่ ปัจจุบนั ชุมชนแห่งนี้กำ�ลังจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบในชุมชน เป็นการสรางรายได้ให้ชุมชนบนวิถียั่งยืน แกนนำ�ในการนำ�ชุมชนแห่งนี้ไปสู่ประเด็น พลังงานทางเลือกก็คอื อำ�นาจ ตินะมาตร ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนวัดเขาน้อย ซึง่ ทำ�งาน อย่างใกล้ชิดกับ ดร.พิสิษฐ์ มณีโชติ ทั้ง 3 ชุมชนต่างมีปัญหา และก็ฟื้นฟูชุมชนขึ้นมาได้ ปัจจัยร่วมที่ทั้ง 3 ชุมชน มีร่วมกันก็คือ การรวมกลุ่มกันของชาวบ้านเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันหาทางออก และ ที่สำ�คัญคือองค์ความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

01

พัฒน์ อภัยมูล

ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่

ปัญหาของชาวแม่ทาคืออะไร เดิมชาวบ้านชุมชนแม่ทาดำ�เนินวิถีชีวิตแบบพึ่ง ตนเอง ปลูกข้าวกินเอง เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากพื้นที่เป็น พื้นที่ปิด แต่ปัญหาแรกๆ ที่พบคือชาวบ้านไม่มีเกลือจะ กิน ชาวบ้านจึงเดินข้ามเขาลำ�ปางเพื่อเอาหมู เป็ด ไก่ ไปแลกเกลือที่ดอยขุนตาล ซึ่งการนำ�เกลือกลับมาครั้ง หนึ่งสามารถอยู่ได้หลายเดือน และเมื่อหมด ก็ค่อยเอา ของไปแลกใหม่ : 32

วิ ถี ชี วิ ต ในอดี ต อยู่ แ บบเรี ย บง่ า ย และพึ่ ง พา ตนเอง แต่หลังๆ เมื่อมีการเปิดสัมปทานป่าไม้ พบว่า ป่ า ไม้ โ ดยเฉพาะไม้ สั ก หายไปจำ � นวนมาก และอี ก ครั้งที่พบความเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ คือ การขุดทำ� รางรถไฟในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำ�ไร่ทำ�นาในพื้นที่เริ่มต้นในสมัยที่เปิดให้มี การสัมปทานป่าไม้นแี่ หละครับ แต่เมือ่ ตัดไม้มากๆ ภูเขา ก็โล่ง ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2498 เริ่มมีการสัมปทานป่า ไม้ โดยการล่องไปตามแม่น้ำ�แม่ทา ผลก็คือพบว่าป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ลดลงเรื่อยๆ คล้อยหลังอีก 40 ปี เริ่มมีปัญหาทรัพยากร ไม่เพียงพอต่อการดำ�รงชีวติ และยังพบปัญหาการตัดไม้ ของนายทุนไปขาย ดั ง นั้ น ปั ญ หาหลั ก ๆ ของชาวบ้ า นคื อ ความ แห้งแล้ง หลังจากนั้น ในปี 2529 มีนักพัฒนาเอกชน


เข้ามา โดยการนำ�ของ นายสวิง ตันอุด พบว่าหมู่ 5 เป็นหมู่บ้านที่ล้าหลังที่สุด ในบรรดา 7 หมู่บ้าน ดังนั้น จึงวางแผนการแก้ไขปัญหาให้ชุมชน และวางแผนที่จะ ตั้งธนาคารข้าว ในปีเดียวกัน อยากให้พ่อพัฒน์ช่วยเล่ากระบวนการแก้ปัญหาโดย องค์กรภายนอกที่เข้ามาในชุมชน ปี 2529 มีกลุม่ องค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ มีเป้าหมายเพือ่ ให้ชาวบ้านพึง่ ตนเอง ผ่านกระบวนการ รวมกลุม่ กันเพือ่ แก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเริม่ เข้ามาเพือ่ เก็บรายละเอียดข้อมูลของชาวบ้านใน 6 หมู่บ้านของ ตำ�บลแม่ทา (ปัจจุบันมี 7 หมู่บ้าน) ในทุกเรื่อง เช่น หนี้สิน รายได้ อาชีพ ข้าว การปลูกพืชผลการเกษตร สถานะความเป็นอยู่ และทางองค์กรพัฒนาเอกชนภาค เหนือก็ได้นำ�ข้อมูลกลับไปสรุป ตัง้ แต่นนั้ มา จึงเกิดการตัง้ ธนาคารข้าวแห่งแรก ของตำ�บลขึ้นใช้ชื่อว่า ฉางข้าวเฉลิมพระเกียรติ ต่อ มาปี 2531 เริ่มเกิดกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยขึ้น มีการทำ� กิจกรรมแรกคือ การออมทรัพย์ ปี 2532 ซึง่ ในตอนนัน้ มีทั้งการออกไปศึกษาดูงาน หาความรู้ด้านการเกษตร

จึ ง นำ � แนวคิ ด จากการไปดู ง านมาใช้ เกิ ด การพู ด คุ ย แลกเปลี่ ย นกั น ในกลุ่ ม จากกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย มีกลุ่มปงกาเลี้ยง ควาย กลุ่มบ่อธารเลี้ยงวัว กลุ่มบ้านโอ้ง กลุ่มบ้านเหล่า มีถึง 15 กลุ่มที่อยาก แก้ปัญหาทั้งชุมชน มีการพูดคุยกันแล้วเริม่ ส่งตัวแทน กลุ่มละ 2 คน เข้าไปเป็นกรรมการ เกิด เครือข่ายจากการรวมตัวของชาวบ้านชื่อ ว่า เครือข่ายคณะกรรมการกลาง เมือ่ วันที่ 15 สิงหาคม 2532 เข้ามาพูดคุยกันเพื่อ นำ�แนวคิดของเครือข่ายไปบอกกับกลุ่ม ตัวเองว่า เครือข่ายกำ�ลังทำ�อะไร สิ่งที่ทางเครือข่ายทำ�ตอนนั้น คือ เรื่องปุ๋ยเคมี กองทุนข้าวสาร ธนาคารวัว ทีท่ างเครือข่ายวิเคราะห์กนั ว่า ในชุมชนใช้ ปุย๋ เคมีกนั มาก และก็ซอื้ ในราคาแพง ทาง เครือข่ายจึงคิดที่จะขายกันเองในราคา เป็นธรรม ซึ่งซื้อมา 180 บาท แล้วขาย ถุงละ 210 บาท ได้กำ�ไร 30 บาท จะ คืนเงินสมทบให้กลุม่ ออมทรัพย์นนั้ ๆ 10 บาท ให้คณะกรรมการบริหารจัดซื้อ 10 บาทในการติดต่อ อีก 10 บาทเข้าเครือ ข่าย เป็นกองกลางทุนสำ�รอง เมื่ อ เป็ น เครื อ ข่ า ยมี เ วลาพบปะกั น บ่ อ ยก็ เ กิ ด การพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้งเรื่องปากท้อง ความเป็นอยู่ ทรัพยากร ดิน น้ำ� ป่า ต่างๆ มากมาย จากนั้นชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งก็พบว่าเกษตรเชิงพาณิชย์ไม่ใช่คำ�ตอบ ก็เลย เปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นแบบอินทรีย์ ทำ�ไมจึงคิดเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ ตอนยุ ค ก่ อ นปฎิ วั ติ เ ขี ย ว เกษตรกรทั้ ง หลาย พยายามวิ่งตามบริษัทและการปลูกพืชเชิงเดียว เช่น เดียวกับผมทีเ่ คยปลูกยาสูบ ถัว่ ลิสง มะเขือเทศ ข้าวโพด อ่อน และอีกสารพัด แต่ก็ไม่เคยหลีกพ้นความจนแม้จะ ขยันแค่ไหนก็ตาม ใครเขาบอกว่าความจนไม่มีอยู่ในฝูงชนคนขยัน นัน้ แต่เรายิง่ ทำ�กลับยิง่ จน พอทำ�เยอะก็ตอ้ งลงทุนเยอะ แต่พอขายผลผลิตกลับตรงกันข้าม ต้นทุนการผลิตเพิ่ม สูงขึ้นเรื่อยๆ เราอยู่ไม่ได้ก็ขาดทุน ยิ่งขยันยิ่งขาดทุน พ่อลองจดต้นทุนการผลิต มันเหลือแค่วันละ 12 บาท นี่คือสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้ต้องไปกู้ยืมเขา เป็นหนี้เกือบ 200,000 บาท ในยุคนั้นนะ ถ้าเป็นค่าเงินตอนนี้ก็คง สัก 2 ล้านบาทชีวิตมันเครียดมากนะ ก็ปรึกษาภรรยา 33 :


ว่าเราต้องกลับไปทำ�เกษตรแบบเดิมแล้ว เหมือนสมัยคน รุน่ พ่อรุน่ แม่เราปลูกไว้กนิ ถึงไม่มเี งินเราก็อยูไ่ ด้ เพราะมี อาหาร แล้วผมก็ลงมือทำ�เลย ปี 2529 ทำ�เต็มรูปแบบ พอปีต่อมาก็ได้ขายผลผลิตแบบเป็นเรื่องเป็นราว จำ�ได้ ดีเลยวันนั้นเราเอากล้วย หัวปลี ใบตอง มะเขือ ชะอม พริก ผักกาด และคะน้า ไปขายที่ลำ�พูน วันนั้นวันเดียว ขายได้เงิน 2,500 บาท ดีใจกันมาก หลั ง หั ก ดิ บ ตั ว เองจากการทำ � เกษตรเชิ ง เดี่ ยว และเริม่ เก็บเกีย่ วดอกผลจากหยาดเหงือ่ แรงกายทีท่ มุ่ เท ครอบครัวของผมก็ยึดวิถีเกษตรธรรมชาติมาโดยตลอด เมื่อมองเห็นว่านี่คือทางรอดของเกษตรกร ผม ก็เริ่มขยายและเผยแพร่ความรู้ออกไปเรื่อยๆ เพราะ สามารถลดรายจ่ายได้จริง ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง หรือรถไถ เลิกหมด พอสภาพดินดี ปลูกอะไรก็ได้ขาย อย่างน้อยเราก็ปลูกสิง่ ทีช่ อบกิน พอไม่ตอ้ งซือ้ รายจ่ายก็ ลดลง เหลือกินเราก็แบ่งปัน เหลือจากแบ่งปันเราก็ขาย เข้าหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว แล้วทำ�ไมคนอื่นจึงทำ�ตามพ่อพัฒน์ ในภาพรวมของชุ ม ชน เราเริ่ ม จากการตรวจ ร่างกายนะ ก็พบสารเคมีตกค้างในเลือด ชาวบ้านส่วน ใหญ่มีความเสี่ยงสูงมาก นี่คือส่วนหนึ่งนะ คนเริ่มกลัว กัน ผมก็เริ่มทำ�เกษตรอินทรีย์เป็นคนแรกๆ ในชุมชนนะ พอทำ�ไปแล้วมันอยู่ได้ เราก็บอกก็เล่าให้เขาฟัง แล้วเรา ต้องมีการรวมกลุ่มมีเครือข่ายนะ เพราะถ้าทำ�คนเดียว ไม่มีเพื่อนมันยาก เราต้องสร้างกลุ่ม แล้วเราก็มีพลังใน การต่อรอง ต่อรองในการซื้อวัตถุดิบ ต่อรองในการขาย ในกลุ่ ม ก็ ต้ อ งมี ค วามโปร่ ง ใส ทำ � อย่ า งไรให้ โปร่งใส ก็ต้องตั้งกลุ่มเป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจ แล้ว สหกรณ์นี้ต้องส่งเสริมให้สมาชิกลดต้นทุนนะครับ ไม่ได้ ทำ�ให้เขาเป็นหนี้ พ่อพัฒน์มองว่าชุมชนแม่ทาจะยั่งยืนได้อย่างไร ผมมองว่าการทำ�งานต้องเป็นมิตรกัน ถ้านัก วิชาการมีสิ่งดีๆ ที่จะมาแก้ไขปัญหาให้ชุมชน มันก็ขับ เคลือ่ นไปได้ ถ้านำ�วิชาการมาปรับใช้กบั ประสบการณ์บท เรียนของชาวบ้านที่ทำ�กันมา ไม่มีใครเก่งที่สุด แต่เราจะ ดึงเอาความเก่งในแต่ละด้านของแต่ละคนมารวมกันเพือ่ ขับเคลือ่ น สวทน.มีความรูม้ คี วามชำ�นาญเรือ่ งอะไร แล้ว ชุมชนแม่ทามีปญ ั หาเรือ่ งอะไร จะเข้ามาช่วยตรงไหน วิธี การแบบนี้มันจะเกื้อกูลกัน ทุ ก วั น นี้ ชุ ม ชนแม่ ท ายั ง ต้ อ งการการพั ฒ นา ไปเรื่อยๆ ณ วันนี้เรามองไปที่เรื่องการตลาด ต่อไป เชียงใหม่จะมาคนจีนเข้ามาเยอะมาก ญี่ปุ่นก็มี ทำ�ไม : 34

เราไม่มองเรื่องตลาดตรงนี้ เราทำ�เกษตรอินทรีย์กันกว่า 100 ครอบครัว เราน่าจะทำ�ตรงนี้ เอาองค์ความรู้พื้น บ้านมาทำ� ในหมู่พวกเราเราจะทำ�งานร่วมกันอย่างไร ระหว่างฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ตอนนี้ทุกคนอยากกิน ของดีมปี ระโยชน์ เราก็ตอ้ งคิดว่าทำ�อย่างไรจึงจะผลิตผัก ที่มีความหลากหลาย การเกษตรกับวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกันอย่างไร ผมคิดว่าเราต้องการให้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาเสริมเรื่องการตลาด เพื่อสร้างราย ได้ ให้ลกู หลานเห็นคุณค่า และกลับมาทำ�เกษตร พร้อมๆ กับการสร้างคนรุ่นใหม่ โดยพยายามศึกษาเพื่อหาความ เชือ่ มโยงในการดำ�เนินงาน เพือ่ สร้างรายได้ลดรายจ่ายให้ เกษตรกร เช่น นำ�ซากข้าวโพด มาทำ�ปุ๋ย เป็นต้น และ วางแผนทีจ่ ะตัง้ สถาบันหรือกองทุน อีกเรือ่ งทีเ่ ราต้องให้ ความสำ�คัญนั่นคือภาวะโลกร้อน ในอนาคตจะเป็นตัวที่ กำ�หนด ความยากดี มีจนของประชาชน สวทน. ลองช่วยคิดก็ได้นะครับ เป้าหมายของ พวกเราคืออยากเห็นคนรุ่นใหม่ทำ� ถ้าเขาทำ�ได้ดี คนรุ่น ใหม่จะกลับมาที่แม่ทา เพราะมีความเชื่อมั่น ผมมองว่า อุตสาหกรรมมันไม่ใช่อนาคตของเรา ต่อไปลูกหลานจะ ทำ�งานอะไร หรือหากว่าคนแม่ทารุ่นใหม่ไม่อยากทำ�เกษตร แล้ว ไปใช้ชีวิตในเมือง แต่เขามีที่ดินในเมือง เราจะช่วย กันอย่างไร ในอนาคตของการเกษตรมันต้องมีตลาด แต่ เราต้องชัดเจนนะ อินทรียก์ อ็ นิ ทรียไ์ ปเลย สร้างความเชือ่ มั่น สร้างความศรัทธา เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดแล้ว ฝ่ายผลิตก็ ปรับปรุงการผลิตแล้วส่งไป


02

พูนทรัพย์ ศรีชู

ผู้ประสานงานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านท่าหิน อำ�เภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

สภาพชุมชนบ้านท่าหินก่อนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเข้าไปสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างไร พูนทรัพย์: ช่วงที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ามาในชุมชนบ้านท่าหิน เป็นช่วงที่ชุมชนเริ่มวางแผน การแก้ไขปัญหาของชุมชน วิถีชีวิตหลักของชุมชนคือ ปลู ก ตาลโตนด แต่ ใ นช่ ว งหลั ง ๆ ชาวบ้ า นเริ่ ม ปรั บ เปลี่ยนไปทำ�อาชีพรับจ้างในเมือง ทรัพยากรในชุมชน เริม่ มีนอ้ ยลง ทำ�นาก็ไม่ได้ผลผลิตมากนัก การแก้ปญ ั หา เบื้องต้นคือการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในการสร้าง ผลผลิต เช่น กลุ่มทำ�ดอกไม้จันทน์ เนื่องจากเมื่อก่อน การเดินทางเพื่อซื้อของมาจัดงานศพยากลำ�บาก ต่อมาชุมชนของเรามีการทำ�แผนแม่บทชุมชน ซึง่ แผนมีที่มาจากการสอบถามปัญหาและความต้องการ ของชุ ม ชน มั น ก็ ทำ � ให้ เ กิ ด คำ � ถามว่ า ชุ ม ชนท่ า หิ น จะรอความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือจะกำ�หนดอนาคต ของตนเอง ชุมชนก็เลือกที่จะวางแผนกำ�หนดอนาคต ด้ ว ยตนเอง และเริ่ ม มี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล พื้ น ฐานเพื่ อ หา โจทย์ความต้องการของชุมชน ปัญหาโดยรวมคือปัญหา ทรัพยากรที่หายไป โดยพบว่าวิถี ‘โหนด-นา-เล’ ต้อง ได้รับการพัฒนา ในช่ ว งเวลาต่ อ มา เราได้ ป ระสานงานกั บ หน่วยงานภายนอก อาจารย์ไพบูรณ์ ศิรลิ กั ษณ์ ก็เป็นหนึง่ ในนั้น ท่านแนะนำ�ว่า ชุมชนต้องปลูกตาลโตนดเพิ่ม และแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตาลโตนด เช่น นำ� มาแปรรูปเป็นน้ำ�ตาลโตนด ซึ่งตอนนี้เรามีออร์เดอร์มา จากกรุงเทพฯ แต่มันก็มีปัญหาให้เราใช้องค์ความรู้เข้ามาแก้ไข เช่ น ในฤดู ฝน ตาลจะมี ส่ ว นผสมของน้ำ � เยอะ ทำ � ให้ การแปรรูปเป็นน้ำ�ตาลไม่ได้ความหวาน แต่ถ้าเป็นช่วง ฤดูกาลของตาลปัญหาก็น้อยลง ตอนนั้นดิฉันเป็นแกนนำ�ชุมชน เป็นประธาน อสม. ช่วงหลังเป็นรองนายก เป็นสมาชิก อบต. แต่พอ ทำ�งานไปได้สกั พัก สถานการณ์การเมืองเริม่ รุนแรง ดิฉนั จึงถอยออกมาเป็นสมาชิก อบต. เพียงอย่างเดียว แล้ว เดินหน้าพัฒนาชุมชน สิ่งที่เราได้ทำ�คือแผนแม่บทชุมชน

จากแผนนำ�ไปสู่กิจกรรมอย่างไร พูนทรัพย์: อย่างที่เรียนให้ทราบ ชุมชนของเรา มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กศน. มีการ อบรมการทำ�ขนม การแปรรูปน้ำ�ตาลทำ�ขนม เขาก็เชิญ คณะทำ�งานในเรื่องนี้มาหารือ ปีน้ีเขาก็จะพัฒนาการ แปรรูปตาลโตนดเป็นหลัก พอเราได้เรียนรู้ไปเชื่อมโยง กับที่อื่นมากขึ้น การแปรรูปตาลโตนด เราเริ่มที่การทำ� ‘สบู่ตาล โตนด’ ชาวบ้านจะเรียกว่า ‘สบู่ลูกโหนด’ จุดเริ่มต้นการ ทำ�สบู่ตาลโตนดเกิดจากความช่างสังเกต เรามีโจทย์ ว่าอยากใช้ประโยชน์จากตาลโตนดวัตถุดิบหลักที่มีอยู่ ในพื้นที่ให้มากที่สุด เริ่มจากใช้กันเองในหมู่สมาชิก กว่า 35 :


จะเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน เขาบอกว่าแม่วัวจะไม่ วิง่ ไล่เราเหรอ เอาสบูต่ าลโตนดมาทา เขาบอกว่ากลิน่ มัน ไม่เหมือนสบู่ แต่กลิน่ ตาลมันหอมเป็นเอกลักษณ์ เราใส่ น้ำ�หอมเข้าไปปรากฏว่ากลับไม่มีใครซื้อ จากนั้นก็เริ่มขยายไปยังนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ในพืน้ ที่ สทิงพระ จนทีส่ ดุ แล้วได้รบั การ ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทำ�ให้มกี ารรวบรวมกลุม่ ซึง่ ส่วน ใหญ่เป็นสมาชิกชมรมท่องเทีย่ วตาม ‘วิถโี หนด- นา-เล’ ซึง่ มีสมาชิกมากกว่า 50 คน แต่แยกส่วนการผลิตออกมา ทำ�สบู่ประมาณ 15 คนเพื่อมุ่งเน้นการผลิตเชิงพาณิชย์ อย่างจริงจัง สำ�หรับการผลิตสบู่ตาลโตนด จะเน้นใช้วัตถุดิบ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและหาได้ในท้องถิ่น โดยเฉพาะส่วน ประกอบสำ�คัญ 3 อย่าง เช่น ตาลโตนด ซึ่งเป็นวัตถุดิบ ในพื้นที่ น้ำ�ผึ้งรวงเพื่อบำ�รุงผิว และสารกลีเซอรีน เพื่อ ให้ได้สบู่ตาลโตนดที่น่าใช้ ปัจจุบนั เราสามารถผลิตสบูจ่ �ำ หน่ายได้ประมาณ 200-300 ก้อนต่อวัน ขึ้นอยู่กับออร์เดอร์ที่สั่งเข้ามา ทางกลุ่มผลิตสบู่ลูกโหนดมีการใช้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอย่างไรบ้าง เมื่อเห็นว่าใช้ได้ดีจึงเกิดการขยายผล ตอนนั้น สวทน. ก็เข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีให้ โดยมีมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์เข้ามาสนับสนุนเรือ่ งเทคโนโลยีและองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาจนกระทั่งชุมชนท่าหิน เป็นพื้นที่นำ�ร่องในการทำ�สบู่ตาลโตนด สวทน. ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ การวิจัย จน เราได้นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น จากเดิม ผลิตสบู่เป็นก้อน ปกติ จากนัน้ ก็พฒ ั นามาเป็นลายดอกไม้ ทำ�ให้นา่ ใช้มาก ขึ้น เราพบว่าคุณสมบัติทางวิชาการของสบู่ตาลโตนด มีสรรพคุณเป็นเครือ่ งประทินผิวได้ เช่น เนือ้ ลูกตาลโตนด สุกมีวิตามินเอ ช่วยบำ�รุงผิว ทำ�ให้ผิวนุ่ม ก่อนหน้านี้ ดิฉนั เป็นสมาชิกในการทำ�แผนลุม่ น้�ำ ทะเลสาบสงขลาอยูแ่ ล้ว และเมือ่ สวทน. และ มอ. เข้ามา เพื่อวางแผนการทำ�ชุมชนนวัตกรรมนำ�ร่องในพื้นที่ภาค ใต้ จึงได้วางแผนการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมนำ�ร่องร่วม กัน โจทย์หลักๆ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากตาลโตนด และพัฒนามาสู่การเพาะเห็ด การเพาะเลี้ยง

เจอกัน เราก็เห็นแล้วว่าชุมชนนีม้ ศี กั ยภาพ ก็เริม่ จากการ ที่ได้คุยกัน ซึ่งพบว่าชุมชนท่าหินมีทั้งสบู่ลูกโหนด เห็ด ประมง เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ตอนแรกเราจะช่วยทุกอย่าง แต่เงื่อนไขของเราคือเราจะไม่ช่วย 100 เปอร์เซ็นต์ เรา จะให้ความรู้ให้การส่งเสริม เราจะไม่เป็นตัวหลัก เพราะ พอเราออกมาจากชุมชน ชุมชนก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัว เองได้ ถ้าเราทำ�ให้หมด สิ่งแรกที่มาช่วยชาวบ้านพัฒนาคือสบู่ตาลโตนด เราดูเขาทำ�ก่อนว่ามีอะไรที่เขาขาดตกบกพร่อง เราก็ ติดต่อหน่วยงานเอกชนเข้ามาเป็นวิทยากร เพราะชุมชน ต้องรู้จักเอกชน มันทำ�ให้ชุมชนได้ประโยชน์หลายอย่าง บางทีโรงงานที่กรุงเทพฯทำ�ไม่ทัน เขาอาจให้ชุมชนช่วย ผลิต ผมมองว่านี่คือช่องทางการตลาด นี่เป็นเหตุผลที่ เราดึงเอาวิทยากรจากภาคเอกชนเข้ามา มันได้ประโยชน์ หลายอย่าง ทั้งความรู้และการค้าเลย นอกจากเทคนิค ทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคนิคทางการค้าก็ต้องมีด้วย ก็ เลยใช้วิทยากรจากเอกชนที่ทำ�การค้าจริงๆ จากการเข้ามาสนับสนุนวิชาการให้ชุมชน อาจารย์มอง ว่าชุมชนควรไปในทิศทางไหน อำ�นวย: ในตอนนี้ สิ่งที่เรามาส่งเสริมเขา เช่น สบู่ตาลโตนดหรือน้ำ�ตาล อาจจะยังไม่ใช่แนวทางหลัก เป็นแค่ทางเลือกหนึ่งที่เขาต้องพัฒนาขึ้นมา ฉะนั้นเขา ต้องมีอาชีพหลัก สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงงานเสริม แต่ เราจะทำ�อย่างไรให้งานรองหรืองานเสริมเป็นงานหลัก นี่คือสิ่งทีต้องพัฒนาขึ้นมาให้ได้ ไม่อย่างนั้นเขาก็ไปหา งานหลักที่เคยทำ� ซึ่งอยู่ข้างนอกชุมชน ทำ�อย่างไรให้ ชุมชนเข้มแข็ง ทำ�ให้งานรองเป็นงานหลักให้ได้ ซึ่งเป็น งานที่ใช้ทรัพยากรของชุมชนเป็นหลัก ตาลโตนดเป็น ทรัพยากรท้องถิ่น ตัวตาลจะได้ตั้งแต่ตัวตาลที่ทำ�สบู่ ต่อไปอาจจะทำ�บรรจุภัณฑ์โดยทำ�จากไม้ตาล ให้ทุก อย่างมันทำ�จากทรัพยากรท้องถิ่น คนก็จะเข้มแข็งโดย ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น ตอนนี้เราพยายามผลักดันให้สบู่ตาลโตนดเป็น สินค้าของฝากท้องถิ่น ตอนนี้ผมจะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ใหม่ โดยใช้ไม้ตาลทำ� ถ้าเราใช้วัสดุไม้ตาลมาทำ�บรรจุ ภัณฑ์ มันจะสร้างมูลค่ามหาศาล ตัวสบู่บวกไม้ตาล มัน อาจขายได้กล่องละ 100 เราก็อยากจะขายอีกราคาหนึง่ สิ่งสำ�คัญที่ชุมชนจะไปได้คือเรื่องตลาด เรื่องเทคโนโลยี เราถือว่าพอใช้ได้แล้ว

อยากให้อาจารย์อำ�นวยช่วยเล่าในช่วงที่เข้ามาสนับสนุน องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้ชุมชน อำ�นวย: ตอนที่เราเข้ามาสนับสนุนเรื่องวิชาการ แนวทางการพัฒนาตลาดเป็นอย่างไร ในชุมชน เราถามถึงความต้องการของชุมชน ตอนนัน้ คุณ อำ�นวย: ขณะนี้ มอ. อยู่ระหว่างการพัฒนา 3 พูนทรัพย์ทำ�แผนพัฒนาลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา พอได้ ตลาด ตลาดสูง ตลาดกลาง และตลาดล่าง ต้องทำ�ทั้ง : 36


3 ตลาด ในชุมชนเราอยากจะขายทั้ง 3 ตลาดเลย ถ้า เป็นโรงแรมเราปล่อยระดับบนอย่างเดียว ถ้าในพื้นที่ เราแข็ง เมื่อฐานเราแข็งคนที่อื่นก็อยากเข้ามาซื้อ แล้ว พยายามจะสร้าง 2 อย่างคือ ถ้าเราปล่อยให้สินค้ามัน กระจายง่ายเกินไป การลอกเลียนมันจะตามมา ถ้าเรา บอกว่าถ้าอยากได้ของคุณภาพดีจากเราต้องมาที่เดียว จะสร้าง 2 อย่างคือความเข้มแข็งของผลิตภัณฑ์และสร้าง การท่องเที่ยว ผมใช้ระบบคิดเดียวกับฝรั่งเศส ถ้าคุณจะ ซือ้ ผ้าไปทีเ่ มืองนีน้ ะ ไปหาทีอ่ นื่ ไม่เจอ ถ้าจะซือ้ มัสตาร์ด ต้องไปลียง ถ้าซื้อที่ไหนก็ได้มันก็ไม่มีใครมาสงขลา มัน ต้องสร้างความดึงดูด นอกจากสบู่ลูกโหนดแล้ว มีผลิตภัณฑ์อื่นอีกไหม พูนทรัพย์: นอกจากสบูต่ าลโตนด เรายังมีการนำ� มาทำ�ขนม และน้ำ�ตาลโตนดแว่น อำ�นวย: ขณะนี้ เริม่ วางแผนการสร้าง branding โดยใช้ ต ราสั ญ ลั ก ษณ์ เ ดี ยวกั น ทั้ ง หมด ตอนนี้ เ ราทำ � ‘โหนด-นา-เล’ และวางแผนการสร้างความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เช่น ทำ�ไอศครีมลูกตาล พู น ทรั พ ย์ : เราก็ ไ ปเรี ย นทำ � มาแล้ ว แต่ พ อ นักท่องเที่ยวกินมันเหมือนตาลสด แต่มันก็หอมอร่อย นอกจากนี้เรายังขยายงานพัฒนาไปสู่คนทุกวัย แต่เดิม สมาชิกกลุ่มมีแต่ผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันเริ่มมีสมาชิกกลุ่ม อายุน้อยลง มีสมาชิกอายุน้อยลงมากขึ้น การดำ � เนิ น งานที่ ผ่ า นมาเป็ น การดำ � เนิ น ร่ ว ม กั บ โรงเรี ย น หลั ก สู ต รต่ า งๆ จะบรรจุ เ ข้ า สู่ โ รงเรี ย น เช่น การอบรมซ่อมคอมพิวเตอร์ การทำ�สบู่ตาลโตนด และอื่นๆ อีกหลายกิจกรรมเพื่อให้เกิดการส่วนร่วม ของเยาวชนในพื้นที่ เด็กๆ ได้เรียนรู้สิ่งที่ผู้ใหญ่ กำ�ลัง ดำ�เนินการในชุมชน และมีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดให้

เด็กๆ อย่างสม่ำ�เสมอ และเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ในพื้นที่ ทำ�ให้เยาวชนได้เรียนรู้ ในวิถีของ ‘โหนด-นา-เล’ เราได้ฟังเรื่อง ‘โหนด’ มาพอ สมควร อยากให้คุรพูนทรัพย์เล่าเรื่องการพัฒนา ‘นา’ และ ‘เล’ ให้ฟังหน่อยครับ พูนทรัพย์: เมือ่ ก่อนเราใช้ปยุ๋ คอกในนาข้าว ตอน หลังรัฐส่งเสริมให้ใช้เคมี ปรากฎว่าดินแข็ง แล้วน้ำ�ที่เอ่อ จากทะเลสาบสงขลาจะมีปลาขึ้นมาวางไข่ในนาข้าว แต่ ช่วงหลังๆ ไม่มี ก็คดิ ว่าเราน่าจะฟืน้ ดิน เพราะถ้าดินดี น้�ำ ทีจ่ ะไหลลงสูท่ ะเลสาบสงขลามันก็เป็นน้�ำ ดี เราก็ฟนื้ ดิน เรายังฟื้นฟูเรื่องการปลูกข้าวชีวภาพ การปลูก ข้าวสังข์หยด โดยเน้นการผลิตพันธุข์ า้ วมากกว่าการผลิต เพือ่ จำ�หน่ายขายในเชิงปริมาณ ขณะนีไ้ ปสีขา้ วทีโ่ รงสี ซึง่ หากมีโรงสีข้าวขนาดเล็กก็จะช่วยลดค่าใช้จ่าย ส่วนเรื่อง ‘เล’ เริ่มมีการสร้างความตระหนัก ให้เกษตรกรเห็นความสำ�คัญของการอนุรักษ์สัตว์น้ำ� เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมามีการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การวางยาเบื่อ เพื่อจับสัตว์น้ำ� การจับสัตว์ที่ยังไม่วางไข่ ทำ � ให้ ภ าครั ฐ ต้ อ งเพาะเลี้ ย งสั ต ว์ น้ำ � และนำ � มาปล่ อ ย ทดแทน ซึ่งไม่พอต่อความต้องการจับ ดังนั้น ดิฉันคิดว่าเราต้องสร้างความตระหนัก ให้ ช าวประมง เห็ น โจทย์ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาของการ สูญพันธุ์สัตว์น้ำ� และชักชวนรณรงค์ให้เห็นความสำ�คัญ ของการอนุรักษ์สัตว์น้ำ� การอนุรักษ์สัตว์น้ำ�ในลุ่มน้ำ� จะช่วยสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้ กับชุมชนในระยะยาว และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ในวิถี ‘โหนด-นา-เล’ เป็นอีกช่องทางในการสร้าง รายได้ให้ชุมชน

03

อำ�นาจ ตินะมาตร

ผู้อำ�นวยการ โรงเรียนวัดเขาน้อย จังหวัดพิษณุโลก ปัญหาและความต้องการของชุมชนคืออะไร ผมทำ�งานในฐานะผู้บริหารโรงเรียน บริหารการศึกษา แต่เราต้องการค้นหาความต้องการ ค้นหาสภาพ ปัญหาของนักเรียนว่าเขามีสภาพเป็นอย่างไร ก็คน้ พบว่านักเรียนมีปญ ั หาด้านฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำ�คัญ พวกเขา มีรายได้ต�่ำ ซึง่ มันส่งผลให้เกิดภาวะด้อยโอกาสทางการศึกษา ด้วยแนวคิดนีเ้ ราจึงศึกษาสภาพบริบทชุมชนทีโ่ รงเรียน เป็นเขตพื้นที่ให้บริการอยู่ พอเราได้เห็นปัญหาภาพรวมของชุมชนทั้งหมด เราจัดประชุมทั้งหมู่บ้านขึ้นมาพูดคุยหาข้อสรุปกันว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน ภาพรวมของชุมชนเราจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร เราจะพัฒนาจากสิ่งที่เรามีได้ 37 :


อย่างไรบ้าง ชุมชนก็รวู้ า่ ตัวเองมีตน้ ทุนทางทรัพยากรคือ อะไร แต่ไม่รู้วิธีแก้ปัญหา หลังจากนั้นเราตกลงกันว่าเราพร้อมจะพัฒนา เรียนรูส้ งิ่ ใหม่ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นศูนย์การเรียน รู้ในการวิเคราะห์วิจัย เมื่อเข้าสู่กระบวนการในการแก้ ปัญหา เรานำ�ตัวแทนของชาวบ้านเข้ามารวมกลุ่มกัน เราเริ่ ม หาเครื อ ข่ า ยเพื่ อ หาองค์ ค วามรู้ เรา คิดถึงเครือข่ายเก่าที่เราเคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราก็ ไปหา ดร.พิสิษฐ์ มณีโชติ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ปั ญ หาบ้ า นเราคื อ เราเป็ น เกษตรกรและเลี้ ย ง สัตว์ เช่น วัว ควาย หมู เกษตรกรรมก็คือพืชไร่ เช่น มัน สำ�ปะหลัง ข้าว แต่หมูบ่ า้ นเราไม่มรี ะบบชลประทาน มัน จึงทำ�ให้เราต้องพึ่งดินฟ้าอากาศ ก็ส่งผลให้ฐานะของ ชุมชนมีรายได้ต่ำ� เราตัง้ โจทย์วา่ เราจะลดรายจ่ายของเราได้อย่างไร และเพิ่มรายได้อย่างไร โครงการพลังงานทางเลือกเกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างไร เราติ ด ต่ อ ไปที่ ดร.พิ สิ ษ ฐ์ มณี โ ชติ วิ ท ยาลั ย พลังงานทดแทน และอาจารย์ชาติ ชัยสิทธิ์ นายกสมาคม พัฒนาชุมชน หลังจากนั้นก็เกิดเครือข่ายต่อเนื่องไปที่ พลังงานจังหวัด เครือข่าย สวทน. ตอนนั้นประเด็นของ สวทน. ไม่สามารถเชื่อมโยงโดยตรงกับชุมชนได้ แต่ สว ทน.จะเชือ่ มโยงกับมหาวิทยาลัย บนแนวทางอย่างนีก้ เ็ กิด การเชื่อมโยงกันผ่านมหาวิทยาลัยโดย ดร.พิสิษฐ์ สิ่งที่เกิดตามมาจากนั้น ดร.พิสิษฐ์ ก็เข้ามาใน พื้นที่มาดูต้นทุนของชุมชนร่วมกัน ก็พบว่าเรามีวัว เรามี มูลสัตว์ เราก็น่าจะลดรายจ่ายโดยลดค่าก๊าซแอลพีจี โดยทดลองผลิตก๊าซแอลพีจโี ดยการหมัก ซึง่ ลุงจรัลก็มา ช่วยออกแบบระบบหมัก ทั้งระบบจม ระบบลอย ที่อยู่ ในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่วิจัย ซึ่งได้ผล เราก็คัดเลือก เทคโนโลยีหรือระบบหมักที่ดีที่สุดไปใช้ตามบ้าน เวลาเราไปศึกษาดูงาน กลับมาเรานั่งวางแผน กัน ซึ่งไม่ได้ใช้งบฯเป็นหลัก แต่เราใช้ความต้องการ ของเราเป็นหลัก เราต้องการอะไร เราก็ไปหาความ รู้ ไปศึ ก ษาดู ง าน เมื่ อ เราเริ่ ม รู้ ม ากขึ้ น เราก็ ม าทำ � กิ จ กรรม เราเริ่ ม ที่ ร ะบบก๊ า ซชี ว ภาพ เราก็ ไ ปเห็ น เตาก๊ า ซชี ว มวลที่ นั ก ศึ ก ษาทำ � วิ จั ย ชาวบ้ า นเขาก็ คิ ด ว่ า มั น น่ า จะทำ � ขายได้ เราก็ ล งขั น กั น ทำ � ไปหาเศษ เหล็ก เมื่อสามารถผลิตเตาได้เครื่องแรก เราก็ใช้โรง อาหารเก่าของโรงเรียนเป็นโรงงาน เริ่มขอยืมอุปกรณ์ เครื่องจักรที่คนในหมู่บ้านมี แล้วเราก็เริ่ม ผลิต เราไม่ ได้ทำ�กันอย่างเป็นทางการ ก็มอบหมายให้ ดร.พิสิษฐ์ : 38

ช่วยดูเรื่องการตลาดให้ ในกระบวนการผลิตมีนักเรียน มีครู มีชาวบ้าน ร่วมสร้างกันขึ้นมา เราก็เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการ ผลิตเตา เราสามารถหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต ซึ่ง เป็นการกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องขึ้นมา การประเมินคุณภาพของเตา จะเป็น ดร.พิสิษฐ์ และทีมนักวิชาการ เพื่อวางแผนการปรับปรุงผลผลิตให้ มีประสิทธิภาพ และเมื่อนำ�มาประกอบกับศักยภาพที่มี ในชุมชน ก็ปรับแผนการพัฒนาตลอดมา ทำ�ให้เตาก๊าซ ชีวภาพของเรามีศักยภาพมากขึ้น จากการผลิตก๊าซชีวภาพและเตาชีวมวล นำ�ไปสู่อะไรอื่น อีกไหม เราเริ่มมีออร์เดอร์ เริ่มขายได้มากขึ้น ก็ไปซื้อ เครื่ อ งจั ก รในการผลิ ต เพื่ อ นำ � มาผลิ ต สิ น ค้ า ตั ว ใหม่ ระหว่างนี้ สวทน. เริ่มเข้ามาในลักษณะของการนำ�เอา วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ม าเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการ พัฒนา แต่จริงๆ แล้วเราใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการผลิตมาในเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ได้รับการต่อยอด จาก สวทน. ได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มขยาย ไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ก็คือ เครื่องผลิตถ่านอัดแท่ง เครื่องผลิตถ่านอัดแท่งมันเกิดมาจากการวิจัย ของนักศึกษาซึง่ เป็นลูกศิษย์ของ ดร.พิสษิ ฐ์ โดยศักยภาพ


และกำ�ลังของพวกเรานั้นไม่สามารถทำ�ได้โดยลำ�พัง แน่นอน เราไม่มีทุนและความรู้ไปสร้างอุปกรณ์แบบนี้ ผลิตภัณฑ์มันน่าสนใจ แต่เราไม่มีเทคโนโลยี ก็เลยให้ ดร.พิสิษฐ์ นำ�เทคโนโลยีมาทดลอง เราให้นักเรียนทำ� เป็นโครงงาน ขณะที่นักวิชาการของวิทยาลัยพลังงาน ก็ต้องการทดสอบเครื่อง เมื่อความต้องการของชุมชน และมหาวิทยาลัยตรงกันจึงได้มีการนำ�เครื่องมาทดลอง ที่ชุมชนร่วมด้วย จากการประเมินศักยภาพในเชิงเศรษฐศาสตร์ แล้ว พบว่า ชุมชนมีโอกาสในการพัฒนาเรือ่ งดังกล่าว ทัง้ การตลาด แต่ยังต้องการเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการ ดำ�เนินงาน และเมื่อ สวทน. ได้สนับสนุนให้ดำ�เนินการ ศึกษาดูงาน ก็ได้ไปศึกษาดูงาน และหารือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกลับมาพัฒนางานจนได้เครื่องต้นแบบ การพั ฒนาในระยะต่ อ มา มี เ อกชนอยากหา เครือข่ายผู้ผลิตร่วม โดยเราป้อนสินค้าให้เขา เราก็แกะ แบบจากเครื่องของเขาแล้วสร้างใหม่ ด้านการตลาด ผมพยายามหาตลาด เราทำ�ไปมันก็มีเครือข่าย มัน เป็นจังหวะหนึ่งที่ผมเคยไปที่มหาวิทยาลัยโตเกียว แล้ว อาจารย์ พิ สิ ษ ฐ์ ก็ ไ ปเป็ น อาจารย์ พิ เ ศษเพื่ อ สอนในปี ที่ผ่านมา ก็เลยคิดว่าเราน่าจะมีใบ certificate จาก มหาวิทยาลัยโตเกียว มันน่าจะเป็นใบเบิกทางด้านการ ตลาด เราก็ผ่านกระบวนการทดสอบ จนในที่สุดก็ได้ ใบ certificate ต่อจากนั้นเราได้เจอผู้ค้าส่งไม้โกงกางไปที่ญี่ปุ่น เป็นไม้แบบไม้เผาตรง แต่เราทำ�ถ่านอัดแท่ง เราก็นำ� เสนอว่าเรามีใบ certificate ซึง่ เป็นใบเบิกทางทีท่ �ำ ให้งา่ ย ในการเจรจาขาย ขณะนีม้ กี ารวางแผนเพือ่ จำ�หน่ายถ่าน ไปยังตุรกี สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ซึง่ หากมีการ ทำ�สัญญาซื้อขาย เราต้องขยายขนาดการผลิตเพิ่มเติม ที่ผ่านมา เป็นการดำ�เนินงานที่ไม่ได้มีการรวม กลุ่มที่เป็นทางการ แต่เรามีกิจกรรมมากมาย ผลิตจน สามารถมีตลาดรองรับ เราวางแผนทีจ่ ะจดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชน เป็นกลุ่มพลังงานบ้านเขาน้อย มีคณะ กรรมการบริหาร มีวัตถุประสงค์ มีการเสียภาษีถูกต้อง ตามกฎหมาย ตอนนีก้ เ็ ดินงานด้วยสถาบันทีเ่ ดินงานโดย ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแกนในการพัฒนา โรงเรียนของเรามีองค์ความรู้เคลื่อนไหวตลอด มีความรู้ที่สอนในเรื่องพลังงาน ในชุมชนก็เกิดการรวม กลุ่ม โดยเรากำ�ลังจะจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ถ่านอัดแท่ง กลุ่มปลูกหญ้าเนเปียร์ ซึ่งเป็นพัฒนาการ ของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เราเรียนรู้ เรื่องของ gassifier มันเริม่ จากระบบเตาก๊าซชีวมวล มันทำ�ให้เรารูว้ า่ ระบบเผาไหม้ในห้องเผามันเป็น gassifier ฐานความรู้ ตรงนี้เรามีมานานแล้ว เราก็มีแนวคิดว่าชุมชนของเรา น่าจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลได้ เราก็ขับรถไปดู ตัวอย่างโรงไฟฟ้าชีวมวลเชียงราย ไปดูที่สุรินทร์ แล้ว กลับมาหาข้อสรุป พบว่าเราไม่มีวัตถุดิบ แต่เมื่อเรามี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานกระตุ้น เราไม่ได้ยุติว่าเราไม่มีวัตถุดิบแล้วเราจะทำ�อะไรไม่ได้ ก็ เรียนรู้ใหม่ ก็เลยมาศึกษาหญ้าเนเปียร์ เราก็ปรึกษานักวิชาการด้านพลังงาน เพื่อเป็น เครื่องมือยืนยันว่าวิธีคิดเราเป็นไปได้ เมื่อได้ข้อยืนยัน แล้ว เราก็นำ�เข้าสู่การประชาคมว่าเรายินดีที่จะสร้าง โรงไฟฟ้าชีวมวล ทำ�ไมชุมชนจึงต้องการโรงไฟฟ้าชีวมวล อธิบายได้ง่ายก็คือ เศรษฐกิจครัวเรือนสามารถ พัฒนาได้ถ้ามีโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล โรงไฟฟ้าก็เป็น คำ�ตอบหนึ่ง เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาชุมชนบ้าน เขาน้อย พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ เรายังไม่รู้ว่า บริษัทไหนจะมาสร้าง เราประชาคมว่าเราอยากจะมีโรง ไฟฟ้า เราก็ยนื่ ข้อเสนอไปว่าบริษทั ไหนอยากจะมาสร้าง โรงไฟฟ้าชีวมวล เราไม่มีกำ�ลังนะ แต่ถ้าบริษัทที่เข้ามา ต้องรับข้อเสนอของเราให้ได้นะ เราตั้งกำ�ลังการผลิต ไฟฟ้าไว้ที่ 1 เมกะวัตต์ ซึ่งมีทุนดำ�เนินการทั้งระบบ ประมาณ 60 ล้านบาท

อะไรคือเงื่อนไขของชุมชน ข้ อ เสนอของชุ ม ชนมี เ พื่ อ หาข้ อ สรุ ป ว่ า เรากั บ บริษัทเอกชนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขว่า โรงไฟฟ้าแห่งนีต้ อ้ งใช้วตั ถุดบิ ในการผลิตคือหญ้าเนเปียร์ เท่านั้น บริษัทที่จะเข้ามาเขาก็ไปทำ�วิจัยว่ามันเป็นไปได้ หรือไม่ เมื่อต่างคนต่างเชื่อมั่นก็เข้าสู่กระบวนการ เซ็น สัญญากัน หญ้าตันละ 320-350 บาท โดยบริษทั เอกชน เข้ามาลงทุนและรับซื้อ แต่ชุมชนมีหน้าที่บริหารจัดการ และเริ่มมีพื้นที่เสนอการปลูกสูงถึง 200 ไร่ นี่คือผลจากการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านพลังงานทดแทนเป็นตัวพัฒนาวิธีคิด เมื่อแนวคิด ถูกพัฒนาเรื่อยๆ มันต่อยอดเป็นกิจกรรม เพราะเราไม่ ในระยะเริ่มแรก ภายในกลุ่มของอาจารย์มีกันกี่คน ได้ท�ำ งานบนฐานการป้อนมาจากใคร เราทำ�งานจากการ เมื่อเริ่มต้นกลุ่มมีคณะกรรมการบริหาร 8 คน ระเบิดข้างในของเราเองว่าเราต้องการแบบนี้ แล้วเรามี เรามีกลุ่มย่อย คือสมาชิกที่ผลิตเตาก๊าซชีวมวล กลุ่มทำ� เครื่องมือในการพัฒนาความคิด 39 :


V ision

[text] [photo]

กองบรรณาธิการ อนุช ยนตมุติ

ปิดทองหลังพระในชุมชน มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ�ริ เป็นมูลนิธิที่ดำ�เนินงาน พัฒนาชุมชนท้องถิน่ ในภาคเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำ�ริ ดำ�เนินการ มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยองค์ ความรู้ ปลายทางกิจกรรมเหล่านี้เพื่อการพึ่งพาตัวเองของผู้คนในชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศไทย Horizon ได้รับเกียรติในการสนทนากับ ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระ หรือ ‘คุณหมอเกษม’ คุณหมอเกษมบอกเราว่า หัวใจสำ�คัญทีถ่ กู ละเลยในภาคเกษตรกรรมไทย ก็คือการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ นั่นหมาย ถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรหรือชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น เมื่ อ พวกเขาเป็ น อิ ส ระแล้ ว อนาคตของประเทศก็ จ ะสดใสขึ้ น ไม่ หม่นหมองเช่นวันนี้

: 40


จุดเริ่มต้นของ ‘ปิดทองหลังพระ’

โครงการ ‘ปิดทองหลังพระ’ เกิดจากการเห็นประโยชน์ในองค์ความรู้ตามแนว พระราชดำ�ริ พวกเราเรียกว่า ศาสตร์พระราชา เป็นองค์ความรูท้ พี่ ระเจ้าอยูห่ วั ทรงรวบรวมไว้ ตลอด 60 ปี ท่านพัฒนาชนบทตั้งแต่ยอดเขาสู่ชายทะเล ในช่วงเริ่มแรกสำ�นักงานคณะ กรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ก็เข้ามาร่วมทำ�งานกับเราด้วย ซึ่งเป็นหน่วยงาน พิเศษที่ประสานงานตามพระราชดำ�ริ กำ�กับโดยสำ�นักนายกรัฐมนตรี ผมพยายามทำ�ให้ ความหมายของเนือ้ งานของศาสตร์พระราชามีความกระชับ จึงสรุปเป็นความหมายไว้เป็น ข้อๆ ได้ทั้งหมด 23 ข้อ ซึ่งในตอนหลัง ก.พ.ร. ได้พิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เพื่อแจกจ่าย ผมเชือ่ ว่าเป็นบทเรียนทีท่ รงสรุปได้จากการทรงงาน ซึง่ มีคณ ุ ค่ามาก โดยเฉพาะการทำ�งาน พัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผมคิดว่าหลักทั้ง 23 ข้อนี้สำ�คัญและเป็นประโยชน์ เรานำ�เนื้อความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการทำ�งาน เราไปทำ�ครั้งแรกที่จังหวัด น่าน 2-3 อำ�เภอด้วยกัน คนที่ทำ�งานในพื้นที่ต้องมีประสบการณ์การทำ�งานในพื้นที่ เรา ได้ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ซึ่งท่านมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการดอยตุง กระทั่ง โครงการดอยตุงประสบความสำ�เร็จ ท่านก็นำ�ประสบการณ์จากโครงการดอยตุงและ ศาสตร์พระราชามาผสมผสานกันในการทำ�งานพัฒนาชนบทในโครงการปิดทองหลังพระฯ

41 :


ศาสตร์พระราชาคืออะไร เพื่อให้เห็นภาพของศาสตร์พระราชา ผมจึง จัดความรู้เป็น 6 หมวดหมู่ ซึ่งเกือบจะครอบคลุม การพัฒนาชนบท ความรู้ข้อที่ 1. การจัดการดิน ซึ่งท่านมีตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ 2. การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ� 3. การเกษตรและ แปรรูป 4. พลังงานทางเลือก ซึ่งท่านสนพระทัย มานานแล้ว ว่าเราจะใช้พลังงานฟอสซิลอย่างเดียว ไม่ ไ ด้ ท่ า นรั บ สั่ ง ไว้ ตั้ ง แต่ ก่ อ นที่ จ ะมี ก ระแสการ เปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ ฉะนั้ น เราต้ อ ง พยายามวิจัยเพื่อหาพลังงานทางเลือก 5. ป่าไม้ พระองค์ ส นพระทั ย เรื่ อ งป่ า ไม้ ม าก เพราะป่ า ที่ พระองค์ทรงให้ทำ�จะมีหลายลักษณะ ป่าธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน ในประเทศของเรามีคนไทย อยู่ ห ลากหลายพื้ น ที่ ทั้ ง ใกล้ แ ละไกลป่ า ฉะนั้ น ต้องหาความเหมาะสม พระองค์พยายามหาสมดุล ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ และ 6.สิ่งแวดล้อมกับ ชุมชน ศาสตร์ของพระราชาประกอบไปด้วยความรู้ 6 เรื่องด้วยกัน

“ในแต่ละชุมชนจะมีศาสตร์ บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ชาวบ้าน เขาพัฒนาองค์ความรู้ มาเป็นร้อยๆ ปี เราจะปฏิเสธ เขาไม่ได้ เพราะมันเกิดลักษณะ เฉพาะของภูมิสังคม อีก ศาสตร์หนึ่งที่สำ�คัญและมอง ข้ามไม่ได้เลยก็คือ ศาสตร์ สากล หรือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี”

: 42

ศาสตร์พระราชา ศาสตร์ชาวบ้าน และศาสตร์สากล เมื่อเรานำ�ศาสตร์พระราชาไปทำ�งานในชุมชน เราจะ ไม่ปิดกั้น องค์ค วามรู้อื่นที่มีอยู่เดิม ในชุม ชน เราต้องเปิด ใจ ในแต่ละชุมชนจะมีศาสตร์บรรพบุรษุ ซึง่ เป็นภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้าน เขาพัฒนาองค์ความรู้มาเป็นร้อยๆ ปี เราจะปฏิเสธเขาไม่ได้ เพราะมันเกิดลักษณะเฉพาะของภูมิสังคม อีกศาสตร์หนึ่ง ที่ สำ � คั ญ และมองข้ า มไม่ ไ ด้ เ ลยก็ คื อ ศาสตร์ ส ากล หรื อ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ฉะนั้นการนำ�เอาความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมลงไป ในชุมชน มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ตั้งโจทย์ว่า แหล่งความรู้จะ ต้องมาจากทัง้ 3 แหล่ง 1. ศาสตร์พระราชา 2. ศาสตร์บรรพบุรษุ 3. ศาสตร์สากล เป้าหมายของโครงการปิดทองหลังพระฯ ดำ�เนินตาม แนวทางของสมเด็จย่าและพระเจ้าอยู่หัว การพัฒนาชุมชนมี เป้าหมายอยูท่ กี่ ารสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพึง่ พาตัวเองได้ นีค่ อื ความยั่งยืน ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา ทำ� อย่างไรชุมชนจะเข้มแข็ง เราต้องนำ�ศาสตร์ในการจัดการเข้าไป ซึง่ สำ�คัญมาก ชาวนาเราทำ�นามาหลายร้อยปี แต่ขาดวิทยาการ บริหารจัดการ (management science) มีแต่ความรูด้ งั้ เดิม แต่ เศรษฐกิจสมัยใหม่เราสูไ้ ม่ได้ ถ้าเราเอา management science เข้าไปจึงจะสู้ได้


“ผมมีความรู้สึกว่านักวิชาการของเราใจร้าย เรามีคนที่จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มาตั้งมากมาย แต่พวกเขาเข้าไป บริหารธุรกิจเอกชน ทำ�ไมไม่มีใครออกแบบศาสตร์เพื่อบริหาร การเกษตร ผมว่าตรงนี้แย่มากนะ รู้ไหมว่าอายุเฉลี่ยของเกษตรกรไทย อยู่ที่ 58 ปี เพราะคนหนุ่มคนสาวหนีออกจากภาคเกษตรหมด ภาค เกษตรเป็นภาคส่วนที่พึ่งตัวเองไม่ได้”

The Heart of Change ผมมีความรูส้ กึ ว่านักวิชาการของเราใจร้าย เรามีคนทีจ่ บ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มาตั้งมากมาย แต่พวกเขา เข้าไปบริหารธุรกิจเอกชน ทำ�ไมไม่มีใครออกแบบศาสตร์เพื่อ บริหารการเกษตร ผมว่าตรงนี้แย่มากนะ รู้ไหมว่าอายุเฉลี่ย ของเกษตรกรไทยอยู่ที่ 58 ปี เพราะคนหนุ่มคนสาวหนีออก จากภาคเกษตรหมด ภาคเกษตรเป็นภาคส่วนที่พึ่งตัวเองไม่ได้ 2 ปีทผี่ า่ นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ลงจากหอคอย งาช้าง จัดตั้งหลักสูตรปริญญาตรี เพื่อดึงลูกชาวนามาเรียน ชื่ อ หลั ก สู ต รว่ า ‘การบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรการเกษตร’ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตอ้ งลงไปจัดการองค์ความรูใ้ ห้ชมุ ชน โดย ตั้งเป้าหมายว่าทำ�อย่างไรชุมชนจึงจะเข้มแข็งและพึ่งตัวเองได้ มีความยั่งยืน แต่สิ่งที่รัฐบาลรวมถึงข้าราชการทำ�ทั้งหมดมัน เป็นทิศทางตรงข้าม เราไปทำ�ที่จังหวัดน่านมา 3 ปีแล้ว เราไปบอกกับชุมชน ว่า เราจะนำ� 3 ศาสตร์นี้ผสมผสานกันเพื่อพัฒนาชุมชน เราจะ มาช่วยกัน โดยเฉพาะโครงสร้างการทำ�มาหากินและโครงสร้าง ทางสังคม เราเริ่มที่โครงสร้างการทำ�มาหากินก่อน แต่ตกลงกัน ว่าคุณต้องทำ�เองนะ ชาวบ้านต้องเป็นเจ้าของโปรเจ็คท์ ขาดเหลือ อะไรเราจะมาเสริมให้ แล้วอีกสัก 2-3 ปี ชาวบ้านจะต้องทำ�

เองทั้งหมดเลย ฉะนั้นคุณต้องมีผู้นำ� 3 รุ่น คือรุ่นเยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ รุ่นเยาวชนก็เพื่อรับลูกต่อไปในอนาคต ผู้ สูงอายุมีหน้าที่ถ่ายทอดสิ่งที่เคยทำ�กันมา รุน่ ผูใ้ หญ่เป็นผูร้ บั ผิดชอบโดยตรง เชือ่ ไหม ว่าเรามีวิทยากรที่เกิดจากคน 3 รุ่นเป็น วิทยากรเดินสายไปยังจังหวัดต่างๆ เมือ่ เร็วๆ นีม้ หี นังสือชือ่ The Heart of Change เขาบอกว่าการให้ข้อมูลไม่ได้ ทำ�ให้คนเปลี่ยน การทำ�ให้เขาเกิดความ รู้สึกต่างหากจะทำ�ให้เขาเปลี่ยน เราไป บอกข้าราชการว่าจังหวัดของคุณมีคนจน 30-40 เปอร์เซ็นต์ จ้างให้เขาก็ไม่เปลี่ยน วิธีบริหารจัดการ กระทั่งต้องลงไปเห็น เขาตกทุกข์ได้ยากจึงจะเกิดความรู้สึกขึ้น มา เกิดอุดมการณ์ขึ้นมา จึงลงมือทำ�งาน เปลี่ยนแปลง แล้วการเปลีย่ นแปลงน้ตี อ้ งมีขอ้ มูล พื้นฐาน เพื่อว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วใน ปีต่อไป เราจะได้ประเมินกลับมาว่า เรา 43 :


“ผมอยากให้ทุ่มทำ�วิจัยและพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน เรา มีความร่ำ�รวยทางพืชพรรณเยอะมาก เพียงแต่เราต้อง อาศัย R&D ให้สอดคล้องกับตลาด ผมคิดว่าต้อง ทำ�วิจัยและพัฒนาเรื่องผลไม้ให้มากเลย ถึงเวลาแล้ว ที่ภาคเกษตรกรรมของไทยจะมีการทำ�วิจัยและพัฒนา การเกษตรเป็นอนาคต เพราะมันหมายถึงความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นของคน 40 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้”

ทำ�ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ซึง่ ชาวบ้านสามารถทำ�ได้ เอง สิ่งแรกที่ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ทำ�คือสำ�รวจ เศรษฐานะของครัวเรือน สิ่งที่พบในหลายพื้นที่ซึ่งมี ลักษณะคล้ายกัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม แรกคือกลุ่มที่ต้องกู้กินกู้ใช้ เป็นหนี้บักโกรกเลย จะ ลงทุนก็ต้องกู้ กลุ่มที่สอง พอกินพอใช้ กลุ่มที่สาม กินดีอยู่ดี หลั ง จากที่ ช าวบ้ า นเข้ า ร่ ว มโครงการและ เปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตรวมถึงวิถีชีวิต เราเริ่มจาก การลดจำ � นวนของคนในกลุ่ ม แรกให้ ไ ปอยู่ ก ลุ่ ม ที่

: 44

สอง เมื่อบ้านคุณต้องกู้กินกู้ใช้ เรามาทำ�แผนลดหนี้ ภายใน 3 ปี ปรากฏว่าหนี้หมดเลย ซึ่งจะทำ�ได้คุณ ต้องมีเครือ่ งมือ นัน่ คือการทำ�บัญชีครัวเรือน เราก็เอา วิทยากรไปสอนวิธีทำ�บัญชีครัวเรือน บัญชีครัวเรือน เป็นหลักสำ�คัญในการบริหารครัวเรือนและชุมชน เพราะจากบัญชีครัวเรือนมันก็กลายเป็นบัญชีชุมชน เราสามารถรู้ได้ว่าชุมชนนี้สูบบุหรี่ไปเท่าไร กินเหล้า ไปเท่าไร พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่าถ้าจะให้ชาวบ้าน ใช้ จ่ า ยอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพต้ อ งให้ เ ขาทำ � บั ญ ชี ครัวเรือน


สร้างนวัตกรรมภาคเกษตรกรรม เวลาเราพูดถึงนวัตกรรม เราพูดถึง Hard Science Innovation เพียงอย่างเดียว ทำ�ไมไม่นึกถึง Agriculture Innovation หรือ Social Innovation การมี BOI (สำ�นักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ดีมาก แต่มันต้องมี BOI ทางการเกษตรด้วย ไม่ใช่ มีแต่ในภาคอุตสาหกรรม แล้วเราก็ไปนำ�เข้าเทคโนโลยีและเงินทุนจากต่างประเทศ ทำ�ให้ เกษตรกรรมหายไปเลย นโยบายสาธารณะที่ออกมาก็ยิ่งทำ�ให้ภาคเกษตรกรรมเสื่อม เราจะปรับเปลี่ยนโดยเริ่มจากรากหญ้า ขั้นตอนที่ 1 หาผู้นำ� ขั้นตอนที่ 2 หาข้อมูล พื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 สอนให้เขารู้การทำ�บัญชีครัวเรือน เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำ�งาน ของเขา ขัน้ ตอนที่ 4 สำ�รวจว่าโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการเกษตรในชุมชนขาดตรงไหน แล้ว มาช่วยกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาดินหรือน้ำ� วิธคี ดิ ของเราคือชาวบ้านต้องเป็นเจ้าของโครงการ แล้วเขาต้องสำ�รวจพืน้ ทีข่ องเขา ว่าขาดอะไร แล้วเขาต้องเติม แล้วเราก็สอนเขาเรื่องวิทยาการบริหารจัดการ ตอนนี้ เรากำ�ลังอบรมพวกนายอำ�เภอ ทำ�อย่างไรให้นายอำ�เภอยอมรับความเก่งของชาวบ้าน ให้ชาวบ้านได้แสดงออก จริงๆ ชาวบ้านไม่ได้โง่นะ แต่เขาไม่ได้แชร์ความรู้ แล้วเขายังไม่สามารถต่อเชื่อม ความรู้ของเขาเข้ากับความรู้สากลได้ เขายังไม่สามารถเชื่อมความรู้ของเขาเข้ากับศาสตร์ ของพระราชา ตราบใดที่มีคนเชื่อมทั้ง 3 ศาสตร์เข้าด้วยกัน จะเกิดความยั่งยืน 45 :


เรื่องเล่าข้าวฟังเพลง มีชายชราคนหนึ่งอายุ 70 ปี เขาได้รับรางวัล คนดีของแผ่นดินเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ในงานก็มงี านเลีย้ ง แล้วเขา ก็ขึ้นไปพูดบนเวที ต่อไปนี้คือคำ�พูดของเขา เขาบอกว่า ตลอดชีวิตของเขาลำ�บากมาก เขา เป็นชาวนา มีลกู มีเมียเหมือนคนอืน่ ด้วยความทีอ่ ยาก จะรวยเร็ว ก็ไปกูม้ า สุดท้ายก็เป็นหนี้ เขาคิดฆ่าตัวตาย บังเอิญวันที่ 4 ธันวาคมปีนั้น ทางจังหวัดคัดเลือก ตัวแทนไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวที่สวนจิตรดา เขาก็ยืน อยู่ตรงกลุ่มคนที่มาด้วยกัน ในหลวงเสด็จมาประทับ ยืน ทรงถามว่าทำ�อะไร เขาได้โอกาสก็เล่าให้ท่านฟัง ถึงเรื่องราวทั้งหมด ในหลวงทรงรับสั่งแก่ชายชรา 2 ข้อ 1.ทำ�อะไร ให้ทำ�จากเล็กไปใหญ่ 2.ทำ�อะไรต้องรู้จริง เขากลับ มาบอกลูกเมียว่าจะไม่ฆ่าตัวตาย ที่ดินที่เช่าคนอื่น ทำ�นาก็คืนทั้งหมด แล้วประหยัดเพื่อใช้หนี้ ตั้งแต่นั้น มา เขาบอกว่า ไม่ว่าจะทำ�อะไรก็ตาม เขาจะวิจัยและ ทดลองก่อน แล้วเขาก็ชี้หน้าอาจารย์ท่ีนั่งในห้อง ผม กล้าท้าเลยว่าอาจารย์ที่อยู่ในห้องทำ�วิจัยน้อยกว่าผม เขายกตัวอย่างว่า ลูกชายชอบเล่นดนตรีไทย ลูกชายก็มาขอพ่อว่า ตอนนี้พ่อมีเงินแล้ว พ่อสร้าง อาคารเล็กๆ ให้เด็กมาเรียนดนตรีไทยได้ไหม เขาก็ ซื้อเครื่องดนตรีให้ลูกสอนดนตรีเด็ก วันหนึ่งเด็กมันก็ เล่นไพเราะขึ้น เมื่อเขาได้ยินก็ตั้งโจทย์วิจัย โจทย์มีอยู่ ว่าเขาอยากรู้ว่าข้าวฟังดนตรีแล้วจะเพราะไหม ดนตรี มีผลต่อข้าวไหม แล้วเขาก็ลงมือทำ�วิจัย เขาทำ�นา 3 แปลง แปลงแรกติดอาคารดนตรี แปลงที่ 2 เขาลาก ดึงเชือกไปจนไม่ได้ยนิ ดนตรี แล้วก็ปกั เขตไว้ แปลงที่ 3 นำ�เชือกเส้นเดิมแต่หาร 2 แล้วปักตรงกลาง จากนั้นก็เฝ้ารอว่าข้าวออกรวงยังไง รวงหนึ่ง มีกี่เม็ด เขานับหมดเลยนะ แล้วพบชัดเจนเลยว่านา แปลงที่ใกล้เสียงดนตรีจะออกรวงเยอะที่สุด จากนั้น เขาก็ติดตั้งลำ�โพงไปทั่วนาเลยเพื่อให้ข้าวทุกต้นได้ยิน เสียงดนตรี

: 46


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในแปลงนา พระเจ้าอยู่หัวทรงพูดไว้ชัดเจน ว่าต้องทำ�ให้คนไทยหายจน แล้วเขาจะเป็นคนมีอิสระ เมื่อเขามีอิสระ ประเทศจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผมคิดว่าท่านมองทะลุ ถ้าไม่สามารถ ทำ�ให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ ประเทศไทยไปไม่รอด จีนเพิง่ ประกาศว่าอีก 10 ปีจะเป็นครัวโลกจะเป็นเกษตรของโลก เขาเล่นอุตสาหกรรม มา 30 ปีแล้ว เก่งมาก เป็นเบอร์ 2 ของโลก แต่เขามองไปที่ความยั่งยืน พยายามจะลดช่อง ว่างระหว่างคนรวยกับคนจน แล้วดึงเอาเกษตรกรจีนขึ้นมา ไม่อย่างนั้นเกิดจลาจล หลังจากรัฐบาลจีนตั้งเป้าไว้อย่างนั้น เขาลงมาสนับสนุนเกษตรกรรมกันทุกภาคส่วน ผมทราบมาว่ามหาวิทยาลัยทีท่ �ำ เรือ่ งเกษตรของจีนมีหลายร้อยแห่ง เขาลงไปหาชาวไร่ชาวนา ตัง้ แต่กระบวนการปลูกยันกระบวนการเก็บเกีย่ วผลผลิต เขาวิเคราะห์วา่ ตรงไหนทีน่ กั วิชาการ สามารถเข้าไปแก้ปญ ั หาให้ชาวไร่ชาวนาได้ บริษทั ทีท่ �ำ คอมพิวเตอร์ 5 แห่งซึง่ เป็นรายใหญ่ของ จีน เข้ามาร่วมในเรื่องการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำ�ให้ผลผลิตของจีนดีขึ้น ผมไปที่หูหนาน เขามีศูนย์วิจัยด้านไฮบริดเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว เขาตั้งไว้ 2 เฟส เฟสที่ 1 การผสมพันธุ์ข้าวโดยไม่ใช้กระบวนการพันธุวิศวกรรม (non-genetic engineering) เฟส ที่ 2 ใช้กระบวนการพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เฉพาะในเฟสที่ 1 เขาได้ข้าว 2 ตันครึ่งต่อไร่ ผมกำ�ลังจะบอกว่า ปี 2011 จีนลงทุนด้านวิจัย 8 แสนล้านหยวน ประมาณ 4 ล้าน ล้านบาท 76 เปอร์เซ็นต์คือจำ�นวนเอกชนที่ทำ�การวิจัยและพัฒนา (R&D) ส่วนรัฐทำ� 24 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมองกลับมายังประเทศไทย สัดส่วนการทำ�วิจัยและพัฒนาของภาครัฐและ เอกชนคือ 70:30 ซึ่งมันสลับกัน ผมไม่อยากให้มองว่า วทน. สนับสนุนได้แต่อตุ สาหกรรม แต่กระนัน้ ก็ตามอุตสาหกรรม ซึ่งมีคนไทยเป็นเจ้าของ ก็ยังลงทุนด้าน R&D ไม่มากพอ ภาคเอกชนควรจับมือสถาบัน การศึกษาร่วมกันตั้งโจทย์วิจัยที่มีแอพลิเคชั่นทันที ส่วนเรือ่ งนวัตกรรมหรือวิทยาศาสตร์ ผมอยากให้ทมุ่ ทำ�วิจยั และพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน เรามีความร่ำ�รวยทางพืชพรรณเยอะมาก เพียงแต่เราต้องอาศัย R&D ให้สอดคล้องกับตลาด ผมคิดว่าต้องทำ�วิจัยและพัฒนาให้กับผลไม้อย่างมากเลย ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนไต้หวัน เขาบอกว่ากล้วยหอมไทยกับกล้วยหอมไต้หวัน ถ้าสุกพอๆ กัน กล้วยหอมไต้หวันสู้ไทยไม่ได้ แต่รัฐบาลไต้หวันได้ออกค่าวิจัยทำ� Logistic Research ผลที่ได้คือเมื่อชาวไร่กล้วยของไต้หวันตัดกล้วยจากสวนไปชายฝั่ง ขนลงเรือทะเล ส่งไปประเทศญี่ปุ่น ส่งไปที่ตลาดโตเกียว แล้วกล้วยสุกพอดี ตัวอย่างเหล่านี้มาจากการทำ�วิจัยและพัฒนา เราไม่เคยมีแบบนี้ แต่ตอนนี้เริ่มมีแล้ว เช่น ส่งมะม่วงไปต่างประเทศ ทำ�ไมลำ�ไยต้องเอามากองตามถนน เงินทั้งนั้นนะ ทำ�ไมเราไม่ ทำ�วิจัยและพัฒนา ผมอยากฝากผู้ผลิตหรือบริษัทที่ลงทุน R&D ซึ่งก็มีเยอะนะ ถ้าบริษัทไหน ไม่ลงทุนควรลงทุน ถึงเวลาแล้วที่ภาคเกษตรกรรมของไทยจะมีการทำ�วิจัยและพัฒนา การเกษตรเป็น อนาคต เพราะมันหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคน 40 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้

47 :


Sบงกช tatistic Features สืบสัจจวัฒน์ กิตติศักดิ์ กวีกิจมณี

สำ�รวจปัจจัยที่

5

ของสังคมไทย

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารได้กลายเป็นปัจจัยทีส่ �ำ คัญในชีวติ ของคนไทย สำ�นักงานสถิตแิ ห่งชาติ ได้จดั ให้มกี ารสำ�รวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสือ่ สารของครัวเรือนอย่างต่อเนือ่ ง ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา เพือ่ ให้ทราบถึง จำ�นวนประชากรทีม่ กี ารใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มอื ถือ รวมถึง พฤติกรรมในการใช้งาน และจำ�นวนครัวเรือนทีม่ อี ปุ กรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ่ สาร อาทิ โทรศัพท์พนื้ ฐาน เครือ่ งโทรสาร เครือ่ งคอมพิวเตอร์ และการเชือ่ มต่อ ระบบอินเทอร์เน็ต

01 คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ จำ�นวนผู้ใช้ในปี 2556 22.2 ล้านคน

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์

18.3 ล้านคน

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

46.4 ล้านคน

ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

เมื่อจำ�แนกตามเขตในและ นอกเทศบาล จะพบว่าการ ใช้ ง านอุ ป กรณ์ เ ทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึน้ ไป มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนื่องในระยะ 5 ปี

*สำ�รวจจากประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป มีจำ�นวนประมาณ 63.3 ล้านคน

จำ�แนกตามเขตในและนอกเทศบาล (ปี 2555) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ

27.5 20.5

45.4

จำ�แนกตามเขตในและนอกเทศบาล (ปี 2556) คอมพิวเตอร์

37.7

อินเทอร์เน็ต 77.7 66.2

โทรศัพท์มือถือ

*แสดงร้อยละของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ที่ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ จำ�แนกตามเขตการปกครอง ระหว่างปี 2555-2556 : 48

29.1

46.3

23.1 80.0 69.8

ในเทศบาล นอกเทศบาล


68.6

72.5

70.5

77.4

23.2

*สำ�รวจจำ�นวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ตปี 2556 แบ่งตามภูมิภาค

คอมพิวเตอร์

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

32.0 ภาคเหนือ

ภาคใต้

ภาคกลาง

กทม.

36.4

34.8

53.3

85.0

คนภาคไหนใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือมากกว่ากัน

โทรศัพท์มือถือ

02 พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต วัยไหนใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด วัย 15-24 ปี

วัย 6-14 ปี

58.4%

วัย 25 – 34

54.1%

ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

33.5%

6.6%

โซเชียลเน็ตเวิร์ค

การรับส่งอีเมล

*แสดงร้อยละของ ประชากรที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ที่ใช้อินเทอร์เน็ต จำ�แนกตามกลุ่ม อายุ ปี 2556

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตทำ�อะไร ดาวน์โหลดสื่อ มัลติมีเดีย

73.3%

การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเล่นเกม

70.7%

58.6%

52.2%

*สำ�รวจประเภท ของกิจกรรมที่ใช้ ผ่านอินเทอร์เน็ต ปี 2556

03 การมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุปกรณ์ในครัวเรือน

โทรศัพท์พื้นฐาน 14.0% โทรสาร 1.7% คอมพิวเตอร์ 28.7% อินเทอร์เน็ต 23.5%

*ร้อยละของครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2556 จำ�นวนครัวเรือนที่สำ�รวจ 20,121.4 ครัวเรือน

ในส่วนของการเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ต ครัวเรือนจะมี การเชือ่ มต่อแบบ Fixed Broadband มากทีส่ ดุ ร้อยละ 54.2 รองลงมาคือ ประเภทของ Narrowband ซึ่ง เป็นแบบไร้สายเคลื่อนที่ผ่านโทรศัพท์มือถือ 2G, 2.5G ร้อยละ 17.0 ขณะที่ Broadband แบบไร้สาย เคลื่อนที่โทรศัพท์มือถือ 3G (WCDMA, E-VDO) ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ การเชื่อมต่อแบบ Analogue modern, ISDN มีสัดส่วนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.7 ตามลำ�ดับ 49 :


G lobal Warming

รัชนี เอมะรุจิ อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

นักวิทยาศาสตร์คิด ชุมชนทำ� รวมพลังต้านโลกร้อน ใครต่างก็พดู ถึงสภาวะโลกร้อน และเรียกร้องให้ ชุมชนเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน ในการตั้งรับและปรับตัว เพื่อลดโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ร้อยละ 70 ของก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการกักเก็บความร้อนไว้ ในชัน้ บรรยากาศจนเกิดภาวะโลกร้อนผิดธรรมชาตินนั้ เกิดจากน้ำ�มือมนุษย์ ก๊าซที่เป็นปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน คือ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ มีปริมาณมากถึงร้อยละ 77 ของ ก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกที่ต้องเฝ้าระวัง 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ และไนโตรเจน ไตรฟลูโอไรด์ เป็ น ที่ รั บ รู้ กั นว่ า ในช่ ว ง 100 ปี ที่ ผ่ า นมา อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส ซึ่ง เพียงแค่ 1 องศาเซลเซียส ก็ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพ ภูมิอากาศมากมาย ทั้งน้ำ�ท่วมรุนแรง แล้งจัด ฤดูร้อน และฤดูหนาวต่างผิดเพี้ยน ระดับน้ำ�ทะเลสูงขึ้น ซึ่งเกิด การกัดเซาะชายฝั่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน สมุทรปราการ ประสบภาวะน้ำ�ท่วมรุนแรงขึ้น

: 50

ผลการศึกษามากมายยืนยันว่า ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบถึงวงจรของห่วงโซ่อาหาร และการเกิด โรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่รู้วิธีรักษา ทุกเวทีทงั้ ระดับโลกและระดับท้องถิน่ ตระหนัก ดีว่าการพูดถึงปัญหาเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้ปัญหา ได้ จึงต้องลงมือทำ�โดยเร็วทีส่ ดุ ตามบทบาทภารกิจ ของ แต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลต้องมีนโยบายและ ทิศทางที่ชัดเจนในการออกกฎหมายสนับสนุนส่งเสริม การลดก๊าซเรือนกระจก ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้อง เพิ่มการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและดูแล สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โรงเรียนต้องสอนเด็กให้เข้าใจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชน ชุมชนเป็นเป้าหมายสำ�คัญที่นักวิทยาศาสตร์ เชื่อมั่นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนจะมีผลอย่างมาก กับการแก้ไขปัญหา เพราะวิถีการดำ�รงชีวิตในชุมชน ไม่วา่ จะเป็นชุมชนชนบท ชุมชนเมือง หรือชุมชนเมืองกึง่ ชนบท ล้วนมีกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่สิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ดังนั้น หากสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของชุมชนโดยรวมได้ ย่อมส่งผลโดยรวมของ ประเทศได้แน่นอน


ที่ผ่านมา ประชาชนมีส่วนร่วมในการตั้งรับและ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมเพือ่ ลดปัญหาจากสภาวะโลกร้อน เช่น การจัดการขยะในบ้าน ในที่ทำ�งาน ในโรงเรียน ในชุมชน ตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ลดการใช้ถุงพลาสติก ปลูกป่าเพิ่มพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้ ปรับเปลี่ยนวิธีการทำ�เกษตรแบบไม่เผา ใช้ระบบขนส่ง มวลชนแทนพาหนะส่วนตัว เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ แต่อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำ�ให้ วิกฤติจากปัญหาภาวะโลกร้อนลดลงอย่างชัดเจน ดังนัน้ บทบาทของชุ ม ชนจะเป็ น ตั ว ช่ ว ยหนึ่ ง ที่ จ ะเพิ่ ม ความ ตระหนักแก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้นได้

บทบาทชุมชน

• ชุมชนต้องเป็นแกนนำ�ในการเริม่ ต้น การปรับวิธคี ดิ และวิถชี วี ติ ประจำ�วัน สูก่ าร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของสังคม • ชุมชนต้องพัฒนาการรวมกลุม่ และสร้างชุมชนให้เป็นสังคมองค์ความรู้ หาผูร้ มู้ า ช่วยเติมเต็ม ประยุกต์ภมู ปิ ญ ั ญาปราชญ์ชาวบ้าน และบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ สมัยใหม่ • อาสาเป็นผูช้ ว่ ยนักวิทยาศาสตร์ในการทดลอง สำ�รวจ และเก็บข้อมูล เพือ่ ต่อยอด องค์ความรู้ และสร้างฐานข้อมูลเพือ่ พัฒนาองค์ความรู้ ค้นหานวัตกรรมใหม่ เช่น การช่วยสังเกตและเก็บข้อมูลของความถี่ หรือความแปรปรวนของภาวะน้�ำ ท่วม น้ำ�แล้งในท้องถิ่น สังเกตความเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรพันธุ์พืชและลักษณะ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น • เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์และความสำ�เร็จของ ชุมชนอื่น ที่ประสบความสำ�เร็จ และนำ�มาประยุกติใช้ เช่น ภูมิปัญญาการปัก ไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง • คนไทยทุกคนในชุมชนหากเริ่มต้นที่ตัวเอง แล้วขยายสู่ครอบครัว ขยายต่อสู่ ชุมชน ในที่สุดประเทศไทยจะรับมือกับปัญหาสภาวะโลกร้อนได้แน่นอน

51 :


TECHNO ART

4 N Vol. o. 2

"สวนทับซอนของกระปุกยา"

14

สื่อสิ่งพิมพ | 16.3 x 23.9 cm 2014 © Nataphat Archavarungson

พัฒนาสังคม ชุมชน และท องถิ�น Vol.4 No.2 Issue 14

ด วย

วทน.

facebook.com/stihorizon


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.