KU BULLETIN 2-2560 Edition

Page 1

Sawasdee

place pix here

ติดรูปตรงนี้

place pix here

77

ISSUE

2/2560 EDITION | MAY - AUG




1

4

Royal GRACE ธนกร เพชรพงษ์

ประชาสัมพันธ์ มก. และ หอจดหมายเหตุ มก.

เกษตรศาสตร์น้อมถวายพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุยเดช บรมนาถบพิตร พ่อหลวงผู้ทรงเป็น ที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ตลอดพระชนม์ชีพ ของพระองค์นนั้ มีโครงการพระราชด�ำริมากมาย ในทั่วทุกภูมิภาค เปรียบเสมือนการหว่านเมล็ด แห่งความเจริญไว้บนแผ่นดินไทย เมื่อเวลา ผ่านไปเมล็ดเหล่านัน้ ก็เจริญงอกงามขึน้ สร้างความ เปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย ประชาชนกินดี อยู่ดี มีอาชีพ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ สามารถขับเคลือ่ นประเทศชาติให้กา้ วไกลไปข้าง หน้าได้อย่างมั่นคง ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อัน ยิง่ ใหญ่ของพระองค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระองค์ท่าน ได้แก่ พิธที ำ� บุญตักบาตรพระสงฆ์และสวดมนต์ เจริ ญ ภาวนาถวายเพื่ อ บ� ำ เพ็ ญ พระราชกุ ศ ล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทุกวันพฤหัสบดี ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดย มีคณะผู้บริหาร บุคลากร คณาจารย์ และนิสิต เข้าร่วมพิธี โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ เพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระ ปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชฯ โดยมี นิ สิ ต ปั จ จุ บั น นิ สิ ต เก่ า คณาจารย์ และบุ ค ลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมบรรพชา อุปสมบท จ�ำนวน 22 รูป เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โครงการกิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้จนั ทน์ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กิ จ กรรม ‘เทศน์ ม หาชาติ ถวาย

ราชสักการะ องค์พระภูมพ ิ ล’ โดยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในโอกาสร�ำลึกและถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชฯ เพื่ อ ส� ำ นึ ก ในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์ค�้ำชูและ ส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรมให้คู่ประเทศ ชาติ ตลอดจนให้บุคลากร นิสิต และประชาชน ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมหากุศล ด้วย การร่วมฟังเทศน์มหาชาติและร่วมเป็นเจ้าภาพ ท�ำบุญกัณฑ์เทศ 13 กัณฑ์และคาถาพัน ในวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2560 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เป็ น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ การส่งเสริม การปลูกดอกดาวเรือง สืบเนือ่ งจากงานวิจยั ของ ศาสตราจารย์สมเพียร เกษมทรัพย์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ที่วิจัยพัฒนาและ ส่งเสริมการเพาะพันธุด์ อกดาวเรืองในประเทศไทย จนกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ เปิดศักราชการผลิตและการบริโภคดาวเรือง จนเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงยิ่งส�ำหรับเกษตรกร ทั่ ว ประเทศ เพื่ อ เป็ น เกี ย รติ แ ก่ ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เกษตรกรจึงได้ขนานนามดาว เรืองพันธุ์ส่งเสริมนี้ว่า 'ดาวเรืองเกษตร' และดอกดาวเรืองเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะ ถูกน�ำไปตกแต่งเป็นดอกไม้ประดับพระเมรุมาศ งานพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดชฯ โดยดอกดาวเรืองนับเป็นพันธุ์ไม้ทใี่ ห้ดอกสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจ�ำรัชกาลที่ 9 และนับเป็นอีกหนึ่ง ความภาคภูมใิ จของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกด้วย

The Caption 1-2 | ภาพโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 3 | ส่วนหนึง่ ของกิจกรรม 'เทศน์มหาชาติ ถวายราชสักการะ องค์พระภูมิพล’ 4 | สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั วชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมือ่ ครัง้ ด�ำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมาร เสด็จยังมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 5 | สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั วชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมือ่ ครัง้ ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาล ที่ 9 เสด็จยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 6 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนือ่ งในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา ในหลวงรัชกาลที่ 10

เพลงมหาราชกษัตริย์เกษตร

2

3


4

ในหลวงรัชกาลที่ 10 กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5

6

ย้ อ นไปเมื่ อ วั น ศุ ก ร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 มีเหตุการณ์สำ� คัญอีกเหตุการณ์หนึง่ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมือ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดชฯ, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (พระอิสริยยศ ณ ขณะนั้น) ทรงเริ่มปลูก ต้ น ยางนาในพื้ น ที่ ป ่ า ไม้ ส าธิ ต ในบริ เ วณสวนจิ ต รลดา โดยมี ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ เป็นผู้กราบ บังคมทูลรายงาน พร้อมกันนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้น�ำ นิสิตประมาณ 140 คน ไปร่วมปลูกต้นไม้ทดลองด้วย เมื่อปลูก เสร็จเรียบร้อยแล้วทรงพระราชทานเลีย้ งอาหารกลางวันแก่บรรดา อาจารย์และนิสติ ทีไ่ ปร่วมปลูกต้นไม้ดว้ ย สร้างความปลืม้ ปิตใิ ห้กบั ทุกคนเป็นอย่างมาก และอีกความส�ำคัญหนึ่งของเดือนกรกฎาคม คือ เป็น เดือนแห่งการเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์จกั รี พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17.45 น. ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงบ�ำเพ็ญ พระกรณียกิจเพือ่ พสกนิกรชาวไทย และแสดงความส�ำนึกในพระ มหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ นิสติ คณาจารย์ และชาวมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ทงั้ ปวง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จดั พิธถี วาย พระพรชัยมงคล เนือ่ งในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พิ ธี ป ระกอบด้ ว ย ผู ้ บ ริ ห ารและผู ้ แ ทนคณะ ส� ำ นั ก สถาบั น ร่ ว มลงนามถวายพระพรและถวายพุ ่ ม ดอกไม้ ตาม ล�ำดับ จากนั้น ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียน ถวาย พุ่มดอกไม้ และน�ำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต กล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล โดยมี วง KU Wind Symphony นิ สิ ต ภาควิ ช าดนตรี คณะมนุ ษ ยศาสตร์ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคาร สารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และวันที่ 28 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จัดพิธีท�ำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จ�ำนวน 10 รูป เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 65 พรรษา โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รตั น์ รักษาการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธี



7

Royal GRACE กุลนิษฐ์ จะยะสกูล

ประชาสัมพันธ์ มก.

สมเด็จพระเทพฯ ทรงปลูกต้นไม้ร่วมกับนิสิตเกษตรฯ เป็นการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงปลูกต้นไม้จ�ำนวน 9 ต้น ได้แก่ ต้น จามจุรี 1 ต้น ต้นตะเคียนทอง 8 ต้น ร่วมกับคณะอาจารย์ นิสิต ชัน้ ปีที่ 2 และบุคลากรคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ�ำนวน 150 คน และคณะจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เป็นการส่วน พระองค์) และในปีนนี้ สิ ติ ทัง้ สองสถาบันร่วมปลูกต้นกาหลง 130 ต้น ต้นพุดกุหลาบ 200 ต้น ต้นหางนกยูงไทย 130 ต้น รวม 460 ต้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560 เวลา 08.00 น. ณ อุทยาน จุฬาฯ 100 ปี ถนนจุฬา ซอย 5 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กราบบังคมทูลรายงาน ความก้าวหน้าผลงานวิชาการจ�ำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ส�ำรวจและ ศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในวังสระปทุม ตั้งแต่เดือน มกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 พบพืชดอก 55 วงศ์ 187 สกุล 270 ชนิด มีพรรณไม้พื้นเมืองของไทย 152 ชนิด พรรณไม้

ต่างประเทศ 118 ชนิด และพรรณไม้ทสี่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกมี 15 ชนิด ได้แก่ กาญจนิกา สมอไทย ยางนา เต็ง รัง มะขาม เสี้ยวป่า โยทะกา ซ้อ สัก สาละลังกา มะฮอกกานีใบเล็ก กรรณิการ์ มะตูม และมะขวิด และ เรื่องการ ศึกษาสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติในวังสระปทุม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำ� เนินการศึกษาครัง้ แรก ในปี พ.ศ. 2522 ครั้งที่ 2 ในปี 2554 และครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2560 โดยเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พบ ว่าพื้นที่วังสระปทุมเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมีกระดูกสันหลังตาม ธรรมชาติอย่างน้อย 67 ชนิด เป็นนก 39 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วย น�้ำนม 6 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 14 ชนิด และสัตว์สะเทินน�้ำสะเทิน บก 8 ชนิด นอกจากนี้ยังพบปลาน�้ำจืดอย่างน้อย 9 ชนิด แมลง ที่มีส่วนช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างน้อย 7 ชนิด เป็นผีเสื้อ 4 ชนิด จักจั่น 1 ชนิด มวน 2 ชนิด



9

The CONTENT Original Cover

Special Cover

4, 5, 7

Royal GRACE

11 - 13 Says

The Three Musketeers

14

The UPCOMING

The Happening Events

15

The REPORT Zero Rabies

16 - 17

18 - 19

Deep ROOTED TREE

The REPORT

23

26 - 31

The Royal Project

Innovative KU

20 - 21

The INTERVIEW The Alchemist

22

The ADVERTORIAL

The REPORT

The COVER STORY

32 - 33

34 - 35

36 - 37

Smart Agriculture

From Nisit to Public Affairs

40

41

KU Dairy Changes Your Daily Life

4.0

Innovation for Education

38 - 39

The REPORT

Eco Library

The REPORT

First IN

KU Spirit

First of All

42

43

The HIDEOUT

The REPORT

44

45

Warunawan Urban Forest Park

The CAFETERIA BULLETIN Crew

Sawasdee KU77

The NISIT

The REPORT KU In New Look

The EDITORIAL สวัสดีครับ นนทรีชอ่ ใหม่ ชาว KU77 ถึงแม้เวลาทีผ่ มเริม่ ต้นชีวติ เป็นน้องใหม่ในรัว้ มหาวิทยาลัย จะล่วงเลยผ่านมามากกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม ผมก็ยงั จ�ำภาพความสุข ความ ประทับใจ ความสนุกสนานในการท�ำกิจกรรมรับน้อง และอีกมากมายใน ช่วงขวบปีแรกของการเริม่ ต้นการศึกษาครัง้ ใหม่ในชีวติ ไว้มเิ คยลืมเลือน และแน่นอนว่าชีวติ ในฐานะนิสติ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ยอ่ มมีความแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอืน่ ๆ อยู่ พอควรด้วยเหตุปจั จัยมากมาย แต่ความแตกต่างเหล่านีก้ ลับหล่อหลอม ท�ำให้ลกู นนทรีทกุ ผูค้ นมีเอกลักษณ์ชดั เจนทีไ่ ด้รบั การยอมรับมาตัง้ แต่ อดีตจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง ดังทีร่ บั รูก้ นั ในรูปแบบของ IDKU ในปัจจุบนั สิง่ ทีผ่ มอยากจะบอกถึงน้องใหม่ KU77 ในวาระแห่งการ เปลีย่ นถ่ายสถานะของตนเองครัง้ ส�ำคัญว่า ความส�ำเร็จในการก้าวเข้า มาเป็นสมาชิกในรัว้ ขจีอนั มีเกียรตินถี้ อื เป็นเพียงจุดเริม่ ต้นในการน�ำพา ตนเองไปสูค่ วามส�ำเร็จในล�ำดับสูงๆ แต่อย่างไรก็ตามสิง่ ทีถ่ อื ว่าเป็นปัจจัย ส�ำคัญทีส่ ดุ ของความส�ำเร็จของบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ การน�ำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ทคี่ ณาจารย์ได้พร�ำ่ สอน ออกไปรับใช้ชมุ ชนและแก้ไขปัญหาต่างๆของพีน่ อ้ งร่วมชาติโดยเฉพาะพี่ น้องเกษตรกรทีถ่ อื ว่าเป็นรากฐานส�ำคัญของประเทศ และเป็นรากเหง้า เริม่ ต้นแห่งการก่อตัง้ มหาวิทยาลัยของเราให้ลลุ ว่ งไปให้จงได้ ตามรอย พระราชปณิธานของพระผูเ้ สด็จสูส่ วรรคาลัยอันเป็นทีร่ กั และเทิดทูนยิง่ ของปวงชนชาวไทยและชาวเกษตรศาสตร์ และเป็นไปตามเจตจ�ำนงของ สามบูรพาจารย์ผกู้ อ่ ตัง้ สถาบันแห่งนีม้ าแต่แรกเริม่ ผมอยากให้นอ้ งใหม่ทกุ คน จดจ�ำประสบการณ์ดๆี ความ สุข ความสดใส ความซาบซึง้ ความประทับใจและเหตุการณ์ตา่ งๆทีก่ ำ� ลัง จะเกิดขึน้ กับตัวเองในขวบปีนไ้ี ว้ตลอดไป เพราะชีวติ การเป็นน้องใหม่ในรัว้ มหาวิทยาลัยจะเกิดขึน้ กับตนเองเพียงครัง้ เดียวในชีวติ และคงไม่เกิด ย้อนกลับขึน้ มาอีก จงใช้เวลานีเ้ ริม่ ต้นเรียนรูอ้ ย่างมีคณ ุ ค่า จงเปิดโลก ใบใหม่ของน้องใหม่ดว้ ยความกระตือรือร้น ความกระหายใคร่รู้ และเปีย่ ม ด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ จงเก็บช่วงเวลาดีๆ นีไ้ ว้เป็นแรงผลักดันยาม ตกอยูใ่ นภาวะทีช่ วี ติ ไม่เป็นตามทีต่ นเองต้องการหรือคาดหวัง จงอย่าลืม ความสุขสมใจทีไ่ ด้กา้ วมาเป็นส่วนหนึง่ ของเกษตรศาสตร์อนั น่าภาคภูมใิ จ เช่นเดียวกับรุน่ พีข่ องน้องใหม่ทงั้ หลายอีกนับแสนทัว่ ประเทศไทยเคย ประสบมาแล้ว จงภูมใิ จในตนเอง ในฐานะนิสติ ใหม่แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับทีค่ ณ ุ พ่อ คุณแม่ ผูป้ กครองภูมใิ จในตัว น้องใหม่ทกุ คน และจงภูมใิ จในภาระหน้าทีข่ องบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ทรี่ อพวกเราอยูใ่ นอนาคตอันใกล้นี้ ขอแสดงยินดีกบั น้องใหม่ทกุ คนอีกครัง้ และขอฝาก KU BULLETIN ฉบับนีไ้ ว้เป็นเสมือนของขวัญอีกชิน้ ทีม่ หาวิทยาลัยมอบให้ เพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราว ข่าวสาร ผลงานอันเป็นทีน่ า่ ภาคภูมใิ จของประชาคม เกษตรศาสตร์ เป็นฉบับทีท่ มี งานตัง้ ใจท�ำให้ KU77 เพือ่ ให้ระลึกถึงความ ประทับใจในช่วงขวบปีแรกในรัว้ นนทรี ซึง่ ความพิเศษของฉบับนีค้ อื การจัด พิมพ์ 2 ปก 2 สไตล์ ได้แก่ ปก Original ทีร่ วบรวมภาพบรรยากาศการ รับน้องในแต่ละวิทยาเขตและเว้นทีว่ า่ งไว้เพือ่ ให้นอ้ งใหม่ KU77 ได้เติมเต็ม เรือ่ งราวในแบบฉบับของตัวเอง ขณะทีอ่ กี หนึง่ ปก เป็นปก Special น�ำ เสนอ Freshy Boys & Girls 2017 ของ 15 คณะในวิทยาเขตบางเขน หวังว่าของขวัญชิน้ นีจ้ ะถูกใจ KU77 ทุกคนนะครับ

Kasetsart FC

Pick PIX

(ผศ.รัชด ชมภูนิช) บรรณาธิการบริหาร KU BULLETIN รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนายุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร

Owner มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 | Executive Editor ผศ.รัชด ชมภูนิช | Editor-in-Chief นครินทร์ พันธุมจินดา | Assistant Editor กุลนิษฐ์ จะยะสกูล | Editorial Staff ธนกร เพชรพงษ์, นันท์นภัส พลเศรษฐเลิศ, ภากร ชยวัฑโฒ | Art Director มหวรรณ พันธุมจินดา | Honorary Reporter อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา | Information Supporting Team จุไร เกิดควน, ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์, สุชาดา สงธาดา, ยุพดี คล้ายรัศมี,อรยา พระชนีย,์ คมสัน วิเศษธร, ธนพัฒน์ งามนิคม,พลอย พิมพ์ศริ ,ิ ดุสติ มุขยประเสริฐ, ทิวา แก้วภูพ่ านิช, พรทิพย์ ภู่แพร, ฐิติเกษม ส�ำเริง, ศรัญญา แนวสุวรรษ | Sponsor Coordinator รั ก พงศ์ มนต์ ภิร มย์ | Printed at มู น ไลท์ พริ้ น ท์ ติ้ ง 227,229 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 51 ถนนพระรามที่ 2 แขวงท่าซ้าย เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 | Contact KUBULLETIN@hotmail.com & facebook.com/KUBULLETIN



11

Says นครินทร์ พันธุมจินดา

มหวรรณ พันธุมจินดา

The Three Musketeers

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี

ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สามประสานอภิบาลเกษตร

ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี นายกสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

‘การต้อนรับน้องใหม่’ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า ‘การรับน้อง’ เป็นสิ่งที่อยู่คู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มก่อตั้ง หลากหลายรสชาติของการรับน้องแทรกตัวอยู่ในทุกอณูเลือดสีเขียว ผ่านสายตาของเหล่าผู้อภิบาลเกษตรศาสตร์มารุ่นแล้วรุ่นเล่า KU Says ฉบับนีจ้ ะพาผูอ้ า่ นทุกท่านมาสืบเสาะวันวานในอดีตของ ‘สามประสาน’ ผูอ้ ภิบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบนั ทัง้ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร, รักษาการแทนอธิการบดี ดร.จงรัก วัชรินทร์รตั น์ และนายกสมาคมนิสติ เก่าแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิฑรู ย์ สิมะโชคดี ตลอดจนวิสยั ทัศน์และทิศทางทีม่ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำลังจะก้าวไปภายใต้การน�ำของผู้น�ำสามท่านนี้ ย้อนวันวานช่วงรับน้องของ ‘สามประสาน’ ดร.กฤษณพงษ์ “ครูเข้ามหาวิทยาลัยก็ผา่ นมา 50 กว่า ปีแล้ว วันวานเรือ่ งรับน้องของครูถอื เป็นรุน่ คุณตาคุณปูข่ องนิสติ ปัจจุบัน สมัยนั้นการรับน้องของหลายๆมหาวิทยาลัยจะเป็นการ เล่นสนุกสนานแบบค่อนข้างแรง มีความตื่นตัวทางการเมืองของ นิสติ นักศึกษาทีส่ งู มาก เพราะพวกเขาในวัยหนุม่ สาวเมือ่ เห็นความ ไม่ยุติธรรมก็จะมีการประท้วง ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก ขณะที่อีก กลุ่มที่ไม่สนใจการเมืองก็จะเสพสุข สนุกสนาน เล่นดนตรี เฮฮา” ดร.จงรั ก “มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ใ นยุ ค ผม ก็ KU46 ซึ่งมีรับน้องมหาวิทยาลัย รับน้องคณะ และรับน้องตึก พักหอพัก แต่ละอย่างก็จะมีสไตล์ที่ต่างกัน รับน้องมหาวิทยาลัย ก็จะเน้นความสนุกสนานเฮฮา มีการทัวร์ตะลัยดูสถานที่ต่างๆ ดู วงดนตรีดาวกระจุย วงดนตรี KU BAND มีการฝึกร้องเพลง มหาวิทยาลัย รับน้องวนศาสตร์ก็ดุดัน ซึ่งจะใช้เวลารับน้องที่

ยาวนานกว่าคณะอื่น เพราะมีความเป็นระบบ แต่ก็จะไม่ได้มีความ รุนแรง ยกเว้นการใช้จิตวิทยา ใช้เสียงที่ดัง ส่วนรับน้องตึกหอ ก็ จะเข้มข้นพอสมควรด้วยระบบ SOTUS ต้องผ่านกิจกรรมที่สร้าง ความรักใคร่กลมเกลียว ด้วยความเป็นลูกเกษตรเลยมีการออก ก�ำลังกาย มีการไถนา ลงโคลน เพราะในสมัยนั้นเราถือว่าเป็นลูก ทุง่ ซึง่ ทัง้ หมดมันก็ดวู า่ จะได้ผลในสมัยนัน้ ผมก็ยงั รักใคร่กบั เพือ่ น พ้องน้องพี่ ยังมีการได้รว่ มงานกัน ซึง่ การรับน้องของแต่ละส่วนก็ มีข้อดีแตกต่างกัน เช่นการรับน้องในคณะก็เป็นการผูกสัมพันธ์ กับเพื่อนร่วมวิชาชีพในอนาคต ขณะที่การรับน้องตึกพักหอพัก ก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนนอกคณะ เพราะไม่ได้มี แค่กิจกรรมที่ฝึกความอดทนอดกลั้น กิจกรรมสนุกสนานอย่าง การจับคู่เดต การฝึก social dance ท�ำให้เราได้รู้จักทั้งเพื่อน ผู้หญิงและเพื่อนผู้ชาย เราจึงไปสานต่อเวลาท�ำกิจกรรมในระดับ มหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมในยุคสมัยนั้น

ถือเป็นความภาคภูมิใจของผมที่ได้ผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นในฐานะ ลูกเกษตร” ดร.วิฑูรย์ “รับน้องสมัยเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วก็จะมี SOTUS ที่ดุเดือด นิสิตปีที่ 1 ก็จะถูกบังคับกลายๆให้อยู่หอพัก ของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ผมก็เชื่อว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกิจกรรมรับน้องที่จะให้ผูกสัมพันธ์ระหว่างกัน ประสบการณ์ของผมมองว่า SOTUS ของเกษตรก็มีข้อดีในตัว ของมันอยู่ คือท�ำให้พวกเรารู้จักกันเร็ว รวมตัวกันได้เร็ว รู้จักชื่อ นามสกุลกันได้หมด ซึ่งสมัยก่อนเกษตรฯ ไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัย ทีอ่ ยูใ่ นเมือง เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยชายแดนของกรุงเทพฯ การ ท�ำกิจกรรมรับน้องเลยเป็นเหมือนกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ ของคนที่ต้องมาอยู่ด้วยกันไกลๆ”


Says

The Three Musketeers สามประสานอภิบาลเกษตร

อยากให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เป็น มหาวิทยาลัยของ

ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เป็นมหาวิทยาลัยของ

เกษตรกร เพื่อที่จะ

พัฒนาภาคการเกษตร ให้ไปสู่สังคมยุค 4.0 ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี นายก ส.มก.

การรับน้องใหม่ของเกษตรศาสตร์ในสายตาและ การดูแลของแต่ละท่านในทุกวันนี้ ดร.กฤษณพงษ์ “เท่ า ที่ ค รู สั ง เกต นิสติ จ�ำนวนหนึง่ ก็มคี วามคิดทีจ่ ะช่วยเหลือสังคม มากขึ้น ลักษณะของกิจกรรมรับน้องก็มีความ หลากหลายมากยิ่งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงใน เรื่องที่สังคมจับตามองมากๆ อย่างเรื่อง ‘ว้าก’ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ดูแล แต่ คนรุ่นใหม่เขาเข้าใจมากขึ้น ทุกคนเลยมีบทบาท ในการดูแลมหาวิทยาลัยไม่ให้ภาพพจน์เสีย” ดร.จงรัก “การรับน้องของเราก็เป็น ระบบมากขึน้ มีการตรวจสอบกิจกรรม มีอาจารย์ กิ จ กรรมนิ สิ ต คอยดู แ ลและหมั่ น สอบถามว่ า กิจกรรมที่ท�ำเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์แบบเป็น รูปธรรมหรือไม่ ซึ่ง ณ ตอนนี้มหาวิทยาลัยของ เราก�ำลังเน้นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ให้มีความ รักกันแบบสร้างสรรค์ เพราะทุกวันนีป้ ระเทศไทย ก็เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง การจะท�ำ กิจกรรมแบบเดิมก็ไม่ตอบโจทย์ มหาวิทยาลัย ก็จะสนับสนุนกิจกรรมที่ท�ำด้วยความสมัครใจ กิจกรรมเพือ่ สาธารณประโยชน์ ให้นสิ ติ ตระหนัก ถึ ง ความภาคภู มิ ใ จในการเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนิสิตก็ให้ความ ร่วมมือพอสมควร แต่กย็ งั มีบา้ งทีจ่ ะใช้ระบบการ รับน้องแบบเดิมๆ ซึง่ ก็ได้มกี ารปรับเปลีย่ นให้เข้า ยุคสมัยมากยิ่งขึ้น เพราะ SOTUS มันก็ยังเข้ม แข็งในหัวใจของพวกเราอยู่ แต่วิธีการเดิมๆอาจ จะไม่ตอบโจทย์ส�ำหรับทุกวันนี้” ดร.วิฑรู ย์ “การรับน้องทุกวันนีเ้ หมือน กับการสร้างสรรค์ ทีเ่ ราต้องสร้างสรรค์ความรัก ความสามัคคีระหว่างกัน ต้องคิดสร้างสรรค์ดว้ ย การเอาของเก่าและของใหม่มาใช้ดว้ ยกัน บรรดา พี่ๆก็ต้องมุ่งหวังให้น้องสร้างสรรค์สังคม ซึ่งจะ เป็นการสร้างสรรค์ทั้งวิธีการและแนวคิด”

เรียน ทั้งอาจารย์ อุปกรณ์ สถานที่ และนิสิตที่ เข้ามาศึกษายังมหาวิทยาลัยเราก็เป็นนิสติ ทีเ่ ก่ง อยู่ ใน Percentile ที่ 90 ของคนไทย ซึ่งครูมอง ว่ า เราควรจะพั ฒ นาศั ก ยภาพของพวกเขา ให้ เต็มที่ เพราะการเข้ามามหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่ การ Download ความรู้ แต่เป็นการพัฒนา แต่ ล ะบุ ค คลให้ ต รงตามศั ก ยภาพที่ เ ขามี ซึ่ ง แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน เพราะครูเคยลองคิด มาว่า เราจะมีเวลาเหลือในแต่ละวันคิดเป็น 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ของเวลาที่เรามี ฉะนั้นเวลาขนาด นี้สามารถเอาพั ฒนาตั ว เองให้ เ หมาะกั บความ ต้ อ งการของเราได้ ครูเลยสนับสนุนให้นิสิต พัฒนาจากใจรัก เอานิสติ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ทกุ คนต้องมาเรียนเหมือนกันหมด เกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยทีพ ่ ร้อมมากทีน่ สิ ติ จะใช้ชวี ติ นอก เหนือจากห้องเรียน” ดร.จงรัก “ด้วยจ�ำนวนคนที่มากขึ้น ผมท�ำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยประชาคม เกษตรศาสตร์ในการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ สร้างประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย อย่างนิสิต ใหม่ที่เข้ามาก็ต้องเรียนรู้ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ผ่ านโครงการก้ าวแรกสู ่ ศ าสตร์ แ ห่ ง แผ่ นดิ น และวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน ให้ได้รู้ว่าศาสตร์ ของเราส�ำคัญมากขนาดไหน เมื่อนิสิตใหม่เกิด ความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ท�ำให้พวกเขา อยากจะท�ำอะไรเพื่อตอบแทนประเทศชาติ ขั้น ต่อมาผมอยากให้นิสิตออกนอกห้องเรียนมาก ยิ่งขึ้น เพราะการเรียนรู้ทุกวันนี้ไม่ได้มีเฉพาะใน ห้องเรียน การออกนอกห้องเรียนแล้วบูรณา การความรู้จากในห้องเรียนจะท�ำให้นิสิตเรียน รู ้ จากของจริง นี่คือสิ่งที่จะท�ำให้นิสิตเป็นนิสิต 4.0 แบบจริงๆ ซึ่ง 1. นิสิตจะต้องเป็นนิสิตในยุคดิจิทัล ต้องก้าวทัน โลก ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง 2. ต้องคิดวิเคราะห์ ไปข้างได้เก่ง เพราะเราส่ง การด�ำเนินนโยบายของแต่ละส่วนงานต่อ เสริมให้เค้าเรียนรู้จากของจริง ประชาคมเกษตรศาสตร์และน้องๆ KU77 3. ต้องเป็นคนที่ท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งเป็น ดร.กฤษณพงษ์ “สภามหาวิทยาลัย สาเหตุที่ส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะ เกษตรศาสตร์ เ พิ่ ง เข้ า มาท� ำ งานได้ เ พี ย ง 4 การรวมกลุ ่ ม กั น ได้ ท� ำ ให้ เ ราได้ แ ลกเปลี่ ย น เดื อ น แต่ 4 เดื อ นที่ ผ ่ า นมาครู ก็ ไ ด้ เ ดิ น สาย ความรู้ที่แต่ละคนมี จะสามารถสร้างนวัตกรรม พบปะไปในแต่ละส่วนต่างๆของมหาวิทยาลัย ใหม่ๆขึ้นมาได้ เกษตรศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ครูได้บอกกับบรรดาผู ้ 4.ต้องตอบแทนสังคม เพราะนิสติ ของเราเปรียบ บริหารคือมหาวิทยาลัยของเรามีความพร้อม เสมือนครีมของประเทศ เรียกได้ว่าเราเป็น 10% มากเรื่องการอ�ำนวยความสะดวกทางการเล่า แรกของคนทั้งประเทศ เราต้องเอาความรู้ที่มีไป

ตอบแทนสังคม ตอบแทนประเทศ เพราะเราได้ ใช้โอกาสที่คนอื่นมอบให้ผ่านการสนับสนุนให้ เราได้มาเรียน เราจึงต้องแบ่งปันโอกาสให้แก่คน อื่นๆกลับคืนไป” ดร.วิฑรู ย์ “ส.มก. มีนโยบาย 5 ข้อ คือ 1.ท�ำให้ ส.มก. เป็นของนิสิตเก่าอย่างแท้จริง 2. เป็นก�ำลังส�ำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยก�ำลังของนิสิต เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กว่า 2.9 แสนคน 3. เป็นที่รวบรวมของคนเก่ง คนมีความช�ำนาญ ในสาขาต่างๆ มาช่วยแก้ปญ ั หาของสังคมในด้าน ที่เราช�ำนาญ 4. สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ภายใต้แนวคิด ‘รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง’ 5. คืนก�ำไรสู่สังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศ ชาติ รวมถึงท�ำอย่างไรให้นิสิตเก่ารุ่นใหม่ๆหัน มาผนึกก�ำลังกับส.มก.ในการท�ำภารกิจต่างๆ เพราะเราเชื่อในพลังของคนหนุ่มคนสาว และ อยากผลักดันให้พลังของคนเกษตรคืนความรู้ สู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นการมาแสดงทัศนะผ่านสื่อ ต่างๆ หรือจะเป็นการถ่ายทอดความรูเ้ พือ่ สังคม เพื่ อ ที่ ใ ห้ สั ง คมไทยตระหนั ก ว่ า มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำที่ยืนหยัด แก้ปัญหาสังคมในทุกระดับ” สิ่งที่เหล่าผู้อภิบาลเกษตรทุกท่านอยากกล่าว กับประชาคมเกษตรศาสตร์และน้องๆ KU77 ดร.กฤษณพงษ์ “ครูอยากจะฝาก 3 เรื่อง ซึ่งผลผลิตที่ส�ำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัย คือเรือ่ งคนกับความรู้ คนก็คอื นิสติ ทีเ่ ราต้องมุง่ มัน่ พัฒนาตามศักยภาพของนิสติ ให้ดกี ว่านี้ ทีจ่ ะ ให้นิสิตของเราออกไปสร้างการเปลี่ยนแปลง ออกไปเป็นผู้น�ำทางความคิด ส่วนเรื่องต่อมา คือการที่มหาวิทยาลัยของเรามีความรู้เยอะมาก เราต้องเอาความรู้ของเราออกไปพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม พัฒนาเกษตรกร ให้สมกับการที่ เราเป็นมหาวิทยาลัยแห่งศาสตร์แห่งแผ่นดิน เรื่องสุดท้ายคืองานวิจัยของเราต้องท�ำให้มาก และต้องตอบโจทย์ประเทศ” ดร.จงรั ก “ก็ ข อแสดงความยิ น ดี กับนิสิตใหม่ KU77 ที่ได้เข้ามาอยู่ในครอบครัว ศาสตร์ แ ห่ ง แผ่ น ดิ น ด้ ว ยกั น ร่ ว มกั น พั ฒ นา ประเทศไปด้วยกัน ให้ช่วยกันตักตวงความรู้ ให้ เ ต็ ม ที่ ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ารรอคณาจารย์ เ พี ย ง


อยากให้ส่งเสริมการผลิต ‘นิสิตสั่งตัด’ หรือ ‘Tailor-made Student’ ที่ต้องส่งเสริมตัวตนของนิสิตที่แท้จริง อย่าท�ำให้นิสิต เกษตรกลายเป็น ‘นิสิตโหล’ เราต้องพัฒนานิสิตของเราให้ เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการจะเป็น ส่งเสริมให้พวกเขามีความ เฉพาะด้านในแบบของเขา เพราะความหลากหลายจะท�ำให้ เราเกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการอธิการบดี

เราควรจะ

พัฒนา

ศักยภาพของพวก เขาให้ เต็มที่

เพราะการเข้ า มา มหาวิ ท ยาลั ย ไม่ใช่แค่

อย่างเดียว แต่ต้องใฝ่หาความรู้ที่เปิดกว้างอยู่ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ใช้ประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัยให้เต็มที่ อย่า เสียโอกาสในการเรียนรู้ และหวังว่าจะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการ สร้างประเทศไทยและมีความภาคภูมใิ จ มีความรัก ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ส�ำหรับคณาจารย์และบุคลากรก็อยากวิงวอนให้พวก เราร่วมกันยอมรับความเปลี่ยนแปลงในประเทศ ในระบบการ ศึกษา และการหมุนไปข้างหน้าของโลก เราต้องยอมรับในสิ่งที่ นิสติ รุน่ ใหม่ๆเป็น อย่ารอให้นสิ ติ ปรับตัวเข้าหาเราอย่างเดียว ต้อง ยอมรับความแตกต่างระหว่าง generation ที่มีมากขึ้น เพราะเรา ต้องมีนิสิตเป็นผลผลิต เราต้องเข้าใจเขามากๆ อย่ายอมให้การ เปลีย่ นแปลงท�ำอันตรายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของพวกเรา ได้ รวมไปถึงอยากให้สง่ เสริมการผลิต ‘นิสติ สัง่ ตัด’ หรือ ‘Tailormade Student’ ที่ต้องส่งเสริมตัวตนของนิสิตที่แท้จริง อย่า ท�ำให้นิสิตเกษตรกลายเป็น ‘นิสิตโหล’ เราต้องพัฒนานิสิตของ เราให้เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการจะเป็น ส่งเสริมให้พวกเขามี

ความเฉพาะด้านในแบบของเขา เพราะความหลากหลายจะท�ำให้ เราเกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ” ดร.วิฑูรย์ “อยากให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น มหาวิทยาลัยของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น มหาวิทยาลัยของเกษตรกร เพื่อที่จะพัฒนาภาคการเกษตรให้ ไปสู่สังคมยุค 4.0 ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งหมดของ มหาวิทยาลัยเพื่อตอบแทนสังคม รวมไปถึงอยากให้ ส.มก. เป็น ของนิสิตเก่าอย่างแท้จริง อยากให้นิสิตเก่ามีส่วนร่วมในการ พัฒนาและแก้ปัญหาสังคมในทุกระดับ รวมไปถึงมีจิตวิญญาณ ในการรับใช้สังคมในเชิงรุก ส�ำหรับนิสิตใหม่ KU77 ในทุกวันนี้ต้องเรียนให้รู้จริง ท�ำกิจกรรมจริง และต้องเป็นนักแสวงหาความรู้ ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้อง เป็นความรูใ้ นห้องเรียน อีกหนึง่ สิง่ คือไม่จำ� เป็นต้องเป็นคนเก่งมาก ขอแค่ให้ตระหนักอยู่เสมอว่าให้มีพื้นที่แสดงออก มีเวทีที่สามารถ ไปต่อยอดได้ เพราะคนเก่งทีไ่ ม่มเี วทีให้แสดงออกก็ไม่มปี ระโยชน์”

การ Download ความรู้ แต่เป็นการ

พัฒนาแต่ละบุคคล ให้ ต รงตาม ศักยภาพ ที่เขามี ซึ่งแต่ละคนมี

ไม่เหมือนกัน ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


14

The UPCOMING กุลนิษฐ์ จะยะสกูล

The Happening Events มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญชวนนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน บุคลากร และ ประชาชน ร่วมงานวันทีร่ ะลึก “วันนนทรีทรงปลูก ดนตรีทรงโปรด สืบสานวันทรง ดนตรี” ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 นี้ ณ บริเวณสระน�้ำหน้าหอประชุม ใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน สถาบั น ผลิ ต ผลเกษตรฯ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมส่งผลงาน เข้าประกวดผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม Thailand Green Design Awards 2018 หรือ TGDA2018 ชิงเงินรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ มูลค่ารวมกว่า 600,000 บาท เปิดรับสมัคร ตัง้ แต่วนั นี้ - 4 ธันวาคม 2560 สมัครเข้าประกวด สแกน QR CODE ที่ให้ไว้

ขอเชิญเที่ยวงานเกษตรก�ำแพงแสน ครั้งที่ 21 วันที่ 2-11 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน จังหวัด นครปฐม ภายในงานประกอบด้ ว ยกิ จ กรรม ต่างๆมากมาย อาทิ การสัมมนาวิชาการ การ สาธิต การจัดแสดงผลงานและนวัตกรรมทาง ด้านการเกษตร การจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า ทางการเกษตร ตลาดนั ด จ� ำ หน่ า ยพั น ธุ ์ ไ ม้ นิทรรศการต่างๆ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญบุคลากร นิ สิ ต นั ก เรี ย น นิ สิ ต เก่ า และผู ้ มี จิ ต ศรั ท ธา ร่วมท�ำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วั ด พระศรี มหาธาตุ ว รมหาวิ หาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2560 เวลา 14.59 น. โดยร่วมบริจาคเงินตามก�ำลัง ทรั พ ย์ แ ละก� ำ ลั ง ศรั ท ธา เพื่ อ ร่ ว มสื บ ทอด ขอเชิญเที่ยวงานเกษตรแฟร์นนทรีอีสาน ครั้งที่ ประเพณีกฐินกาล และจรรโลงพระพุทธศาสนา 12 ประจ�ำปี 2560 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้รุ่งเรืองสืบไป วิ ท ยาเขตเฉลิ ม พระเกี ย รติ จั ง หวั ด สกลนคร ภายในงานมีการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน” ณ อาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ (อาคาร 9)


15

The REPORT ธนกร เพชรพงษ์

โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าฯ

สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานของฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ก็ย่อมมีโรคภัยเกิดขึ้นกับตนเป็น ธรรมดา และส�ำหรับโรคของสัตว์ที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน อย่างโรคพิษสุนัขบ้า ถือเป็นโรคที่มีความร้ายแรงถึงชีวิต หากได้ รับเชือ้ และดูแลรักษาไม่ดพ ี อ ซึง่ ในความเป็นจริง โรคพิษสุนขั บ้าถือ เป็นโรคที่คนไทยมีความรู้ความเข้าใจตลอดจนตระหนักถึงความ ส�ำคัญน้อย แต่กลับมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากมาย สถานการณ์พิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งการที่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวถือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นประเทศที่ยังไม่พัฒนาเท่า ที่ควร ขณะที่ในกลุ่มสัตว์นั้น พบว่ามีสัตว์ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษ สุนัขบ้า จ�ำนวนกว่า 500 ตัวต่อปี และยังมีอีกจ�ำนวนมากที่ยังไม่ สามารถส�ำรวจได้หมด เนือ่ งจากโรคพิษสุนขั บ้าไม่เพียงแต่ตดิ ต่อ เฉพาะในสุนัขเท่านั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้านี้ที่ เป็นปัญหาส�ำคัญของชาติ และทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัข บ้าหมดไปจากประเทศไทย จึงเป็นที่มาของการด�ำเนินงานภายใต้ ‘โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนขั บ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี’ และทรงมีพระมหากรุณาทีค่ ณ ุ รับเป็น ประธานกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากภาครัฐ หน่วยงานราชการทัง้ ส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค และจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ที่เป็นอีกหนึ่งก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลื่อนพระปณิธานให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เป้าหมายและภารกิจก�ำจัดโรคพิษสุนัขบ้า เป้าหมายหลักของโครงการ คือ ต้องไม่มีคนและสัตว์ เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจในการ พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าใน สัตว์ให้หมดไปจากประเทศไทย พัฒนาศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดให้ มีมาตรฐานและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาแนวทางการ ควบคุมป้องกันและดูแลรักษาโรคพิษสุนขั บ้าในคน ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเพื่อการป้องกันควบคุม โรคพิษสุนัขบ้าไม่ให้เสียชีวิต พัฒนาระบบฐานข้อมูลโรคพิษสุนัข บ้าและบริหารจัดการข้อมูล รายงานติดตามประเมินผลอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงมุง่ พัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินโครงการให้บรรลุเป้าประสงค์ การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมต่อ ความรับผิดชอบในโครงการ ครอบคลุมการท�ำงานหลากหลาย มิติจากหลากหลายคณะ ได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งถือ เป็นแม่งานหลัก รับผิดชอบทั้งการจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ ที่มีมาตรฐาน มีศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในการบริหารจัดการ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ ตลอด จนจั ด ตั้ ง โครงการต่ า งๆ เพื่ อ สอดรั บ และสนั บ สนุ น โครงการ สัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าฯ อาทิ โครงการ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากสารสกัดธรรมชาติเพือ่ เสริมสุขภาพและ ภูมคิ มุ้ กันในสุนัข, โครงการประชุมวันพิษสุนัขบ้าโลก, โครงการ

ผลิตเอกสารเผยแพร่ความรูแ้ ละถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกร ประชาชน ชุมชน และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทางสัตวแพทย์ เป็นต้น คณะวิทยาศาสตร์ ได้ถวายงานต่อ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ด้วยการด�ำเนินการ ตามโครงการการค้นหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งไวรัสพิษสุนัขบ้าโดย วิธีทางชีวสารสนเทศและชีวเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัด ท�ำโครงการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ส�ำหรับติดตามสุนัข ซึ่ง เป็นการอ�ำนวยความสะดวก และเป็นการใช้เทคโนโลยีให้เข้ามา สอดประสานกับการท�ำงานเชิงรับ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ได้ดำ� เนินโครงการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหรือสมุนไพร ที่สามารถควบคุมประชากรสุนัข คณะสังคมศาสตร์ ได้ท�ำการ ถ่ายทอดความรูส้ สู่ งั คมด้านสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรค พิษสุนัขบ้า สนับสนุนโครงการและส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้ สัมฤทธิผ์ ล และ คณะศึกษาศาสตร์ ได้พฒ ั นาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะสั้น สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อ กระจายความรู้และกระบวนคิดในการรับมือกับโรคพิษสุนัขบ้า อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความตั้งใจที่จะ สื บสานตามพระปณิ ธานของเจ้ าฟ้าหญิง จุฬาภรณฯ ในการ ด�ำเนินโครงการดังกล่าวให้สามารถส�ำเร็จลุลว่ งไปได้ดว้ ยดี และถือ เป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดชฯ ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะสัตวแพทยศาสตร์ และวงการวิชาชีพสัตวแพทย์อีกด้วย

Zero Rabies


16

Deep ROOTED TREE นันท์นภัส พลเศรษฐเลิศ

หอจดหมายเหตุ มก. และ มหวรรณ พันธุมจินดา

โครงการหลวงเพื่อเกษตร เกษตรฯเพื่อโครงการหลวง เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้ มีการจัดงานโครงการหลวงครั้งที่ 48 ขึ้น ณ ศูนย์การค้า Central World ตัวงานถูกจัดภาย ใต้แนวคิด ‘ยกคุณค่าจากยอดดอย สู่ใจกลาง กรุง’ โดยแบ่งพื้นที่ภายในงานออกเป็นโซนออก บูธจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงต่างๆ ทั้งของกินที่รังสรรค์จากวัตถุดิบธรรมชาติโดย เกษตรกรในโครงการ และของใช้ที่เพิ่มมูลค่า ให้กับวัสดุธรรมดาๆ รวมไปถึงพันธุ์ ไม้สวยงาม นานาชนิ ด ที่ น ่ า ซื้ อ หากลั บ ไปเพิ่ ม พื้ น ที่ สี เ ขี ย ว ภายในครัวเรือน นิทรรศการขนาดย่อมๆภายในงาน อธิบายโครงการหลวงอย่างละเอียดว่า แรก เริ่มชาวเขาหรือเกษตรกรที่ท�ำการเกษตรอยู่ บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยหารายได้ดว้ ย การปลูกฝิ่น ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รั ช กาลที่ 9 เสด็ จ เยี่ ย มราษฎรบนพื้ น ที่ สู ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ของ เกษตรกรชาวไทยภูเขา จึงมีพระราชด�ำริให้จัด ตั้งโครงการหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ เกษตรกรมีขวัญก�ำลังใจ ตั้งใจที่จะเปลี่ยนจาก การปลู ก ฝิ ่ น ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง มอมเมาไปสู ่ ก ารปลู ก พื ช เขตหนาวแทน จึงท�ำให้ฝิ่นหมดไปจากพื้นที่ ทรัพยากรทางธรรมชาติกลับคืนสูค่ วามอุดมสมบูรณ์ เป็นผลให้คณ ุ ภาพชีวติ ของเกษตรกรชาวเขาดีขนึ้ ตามไปด้วย การเสด็จพระราชด�ำเนินไปในครัง้ นัน้ พระองค์เสด็จไปยังบ้านดอยปุย ซึง่ ใกล้กบั พระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึ งท� ำ ให้ ท รงทราบ ว่าการที่เกษตรกรปลูกฝิ่น ไม่ได้ท�ำให้พวกเขามี ฐานะความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ กลับกันยังเป็นพืชเสพติดที่ให้โทษมากกว่าคุณ พระองค์จึงรับสั่งถาม ชาวเขาเผ่าม้งว่านอกจากฝิน่ แล้ว เกษตรกรเหล่า นัน้ ปลูกอะไร ท�ำให้ทรงทราบว่าเกษตรกรปลูกท้อ พืน้ เมืองจ�ำหน่าย จึงได้รบั สัง่ ถามว่าการปลูกท้อมี รายได้มากเพียงใดต่อปีชาวเขาตอบว่า ราคาเท่าๆ กับการปลูกฝิ่น ซึ่งในขณะนั้นเองสถานีเกษตร ทดลองดอยปุย โดยคณะเกษตรร่วมกับคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าไป ทดลองเรื่องการจัดการลุ่มน�้ำบนพื้นที่สูง รวม ไปถึงบูรณาการศึกษาหาพันธุ์พืชเมืองหนาว มาปลูกในประเทศไทยซึ่งในครั้ งนั้ น ได้ ท�ำการ

ศึกษาค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมกับสภาพ อากาศ เพื่อให้ได้ผลท้อที่มีขนาดใหญ่ หวาน ฉ�่ำ รสชาติดี และมีมูลค่าสูง พระองค์ จึ ง ได้ พระราชทานพระราชทรั พ ย์ แ ก่ ม หาวิ ท ยาลั ย ส�ำหรับจัดหาทีด่ นิ ด�ำเนินงานวิจยั หาพืชมาเมือง หนาวมาปลูกทดแทนฝิ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการหลวง ดร.ณรงค์ ชั ย พิ พั ฒ น์ ธ นวงศ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าว่าฝ่ายกิจการ พิเศษได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัยให้ ดูแลโครงการในพระราชด�ำริ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโครงการหลวงที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าไปสนองงาน ตั้งแต่ปี 2512 เมื่อได้สนอง งานก็พบว่าปัญหาใหญ่ๆ ในระยะแรกคือความ ไม่รู้ ซึ่งในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า “อะไรไม่รู้ต้องวิจัย” เรา จึงได้น�ำพันธุ์พืชทั้งจากอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์มาท�ำการศึกษา ซึ่งพันธุ์ที่ปรับตัวได้ อย่างเช่น ท้อ บ๊วย พืชตระกูลเบอร์รี่ หรืออโวคาโด ผลไม้ทกี่ ำ� ลังเป็นทีน่ ยิ มก็กลายเป็นพืชหล่อเลีย้ ง ชีวิตของเกษตรกรชาวเขา ปลายทางของโครงการหลวงอาจไม่ ได้อยู่ที่พืช ผัก ผลไม้ หรือสินค้าเกษตรส�ำเร็จที่ ผูค้ นทีม่ าเดินดูงานซือ้ รับประทานหรือซือ้ กลับไป แต่ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้บริโภค ผ่านการได้เห็น ได้ชิม ได้สัมผัส ผลผลิตนั้นๆ เพราะผลผลิตแต่ละชิน้ ต่างก็มเี รือ่ งราวของความ รั ก ความเมตตา และความอุ ต สาหะของ พระมหากษัติรย์ที่มีสายพระเนตรยาวไกลมอง เห็ น รากฐานที่ ส� ำ คั ญของประเทศรวมถึ ง ยก ระดั บ ภาคการเกษตร การศึ ก ษา เศรษฐกิ จ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ไม่เพียง เท่านัน้ พระองค์ยงั ได้ให้ขอ้ คิดทีส่ ำ� คัญผ่านพระราชด�ำรัสเพียงสัน้ ๆทีใ่ ห้แก่ชาวเกษตรในครัง้ นัน้ ว่า “อะไรไม่รู้ต้องวิจัย” นั่นยิ่งตอกย�้ำให้นิสิตและ บุคลากรชาวเกษตรศาสตร์ต้องมุ่งศึกษาเพื่อ คลายความไม่รู้ เพราะเราได้ประจักษ์แล้วว่าความ รูใ้ นวันนัน้ ช่วยเกษตรกรชาวเขาให้อยูด่ กี นิ ดี ช่วย นักวิจัยให้มีศักยภาพ และช่วยให้เรามีความเป็น อยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างไร

The

Royal Project


Some

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

โครงการวิจัยสามพรานโมเดล เข้าร่วม นิทรรศการสืบสานพระราชปณิธาน ร.9 โครงการวิจัย ‘กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพราน โมเดล’ เป็นผลงานวิจัยที่ฝ่ายชุมชนและสังคม ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย และ สถาบั น วิ ช าการด้ า นสหกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ได้ เ ข้ า ร่ ว มจั ด นิ ท รรศการใน งาน ‘เนื่ อ งในโอกาสคล้ า ยวั น สถาปนาส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี ครบรอบปี ที่ 85’ ภายใต้ หัวข้อ ‘ส�ำนักนายกรัฐมนตรีน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานพระราชปณิธานตาม รอยเบือ้ งพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ 9’ เพื่อ เผยแพร่องค์ความรู้และแนวคิดจากงานวิจัย ให้ เกิดการรับรู้ในสังคมวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการ เชื่อมโยงข้อมูลจากนักวิจัยกับหน่วยงานด้าน นโยบาย โดยมี นายอรุษ นวราช เลขานุการ มู ล นิ ธิ สั ง คมสุ ข ใจ หั ว หน้ า โครงการวิ จั ย ดั ง กล่าว เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยนี้ ที่ ก่อให้เกิดต้นแบบการท�ำธุรกิจทีเ่ ป็นความร่วมมือ ระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจเอกชน จนน�ำไปสูก่ าร พัฒนาทีเ่ น้นการผลิตเพือ่ ความยัง่ ยืนและการค้า ที่เป็นธรรม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปลูกข้าว เฉลิมพระเกียรติวันแม่ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขต ก� ำ แพงแสน จั ด โครงการ ‘ปลู ก ข้ า ววั น แม่ ’ ประจ�ำปี 2560 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ณ ทุ่งนาไพร ภายในวิทยาเขตก�ำแพงแสน เพื่อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาส มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2560 น�ำโดยรศ.ดร.ตฤณ แสงสุวรรณ รักษาการรองอธิการบดีวิทยาเขตก�ำแพงแสน นิ สิ ต บุ ค ลากร และประชาชนทั่ ว ไป เกื อ บ 4,000 คน ร่วมแรงร่วมใจกันท�ำนาปลูกข้าว สายพันธุ์ ไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งเป็นข้าวที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เป็นผู้คิดค้นขึ้น


18

The REPORT ภากร ชยวัฑโฒ

KU RDI และ ศูนย์ข่าวชุมชน มก.

1

2

The Caption 1 | อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผูช้ ว่ ยอธิการบดีฝา่ ยกิจการ นิสติ น�ำเสนอผลงานระบบกล้องวงจรปิด ‘Smart CCTV’ ต่อนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โ อชา ในงาน ‘ตลาดนัด เปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้’ 2 | ผศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชสู ขุ คณะวิทยาศาสตร์ ให้สมั ภาษณ์ เกี่ยวกับงานวิจัยและแนวคิดงานด้านนวัตกรรมเป็นภาค ภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในรายการ Be My Guest ช่อง NBT World 3 | ผลงาน ‘Smart City’ เมืองแห่งอนาคต ที่จัดแสดง ในงาน ‘ตลาดนั ด เปิ ด โลกผลงานวิ จั ย และนวั ต กรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้’ 4 | ดร.โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ รั บ รางวั ล เหรี ย ญทองในการประกวดนวั ต กรรมระดั บ นานาชาติ ‘Invention / New Product Exposition 2017’ (INPEX 2017)

3

4


Some

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

Innovative เกษตรศาสตร์แห่งนวัตกรรม

นวัตกรรม ค�ำที่สามารถได้ยินทั่วไปในปัจจุบันนี้ ซึ่งไม่ ว่าจะเป็นธุรกิจในประเภทใด จะขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ลว้ นแล้วแต่มี นวัตกรรมเป็นตัวแปรส�ำคัญของความส�ำเร็จอยูด่ ว้ ยเสมอ โดยองค์ ประกอบหลักๆของนวัตกรรมก็คอื การน�ำเอาความคิดสร้างสรรค์ มาประกอบให้ ก ลายเป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใหม่ ซึ่ ง มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ของเรานับเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เต็มไปด้วย การสร้างสรรค์นวัตกรรมมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่ง ส่วนมากจะเป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร โดยมีจดุ เริม่ ต้นมาจากการพัฒนาองค์ความรูต้ า่ งๆ ผสมผสานกับ ความคิดสร้างสรรค์ของอาจารย์และนิสติ จนกลายเป็นนวัตกรรม ทีต่ อ้ งการพัฒนาสังคมให้กา้ วหน้ามากยิง่ ขึน้ จนสามารถทัดเทียม กับนานาประเทศได้อย่างสง่างาม จุดเริ่มต้น Innovation Hub หนึ่ ง ในนวั ต กรรมล่ า สุ ด ที่ ท างรั ฐ บาลได้ ร ่ ว มมื อ กั บ มหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศ ก็คือโครงการ ‘Innovation Hub’ หรือ ‘โครงการศูนย์กลางนวัตกรรม’ เป็นโครงการที่ให้ มหาวิทยาลัยต่างๆเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่องค์ความรูเ้ ชิง นวัตกรรมไปยังภาคประชาชนและภาคธุรกิจที่ก�ำลังเจริญเติบโต แม้ว่าโครงการนี้จะริเริ่มมาได้ประมาณ 3-4 เดือน แต่ก็มีผลลัพธ์ ที่ดีจนเกินคาด มีองค์กรธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่มากมาย ที่ให้ความสนใจ ซึ่งหลังจากที่ภาคธุรกิจน�ำองค์ความรู้ที่ได้จาก โครงการนี้ไปใช้ ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก ทั้งต้นทุนและเวลาการผลิตที่ลดลง แต่กลับได้ผลผลิตที่มากขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงไม่แปลกเลยที่โครงการ Innovation Hub นี้จะเป็นที่ยอมรับจากผู้คนมากมายในหลากหลายภาคส่วน ของสังคม “โครงการ Innovation Hub ช่วยท�ำให้งานวิจัยต่างๆ ที่อยู่บนหิ้งได้ถูกน�ำไปใช้จริง โดยทางภาครัฐให้เงินสนับสนุนกับ โครงการนี้ ก�ำหนดให้มหาวิทยาลัยชัน้ น�ำต่างๆเป็นตัวกลางระหว่าง งานวิจัยกับเหล่าธุรกิจของประชาชน ซึ่งจุดเริ่มต้นก็คือภาครัฐได้ เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยทุกๆแห่งล้วนมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่ น่าสนใจเก็บไว้มากมาย แต่ไม่ได้น�ำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ อย่างจริงจัง มันจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก โครงการ ศูนย์รวมแห่งนวัตกรรมเพื่อที่จะเผยแพร่งานวิจัยอันมีค่าจากทั่ว ประเทศจึงได้เริ่มต้นขึ้น” รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี รักษาการแทนรอง อธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดูแลโครงการ Innovation Hub ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้

กลุ่มอาชีพสตรีอาสาพัฒนาเกษตรทุ่งสมอ จังหวัดกาญจนบุรี โดยก่อนที่โครงการจะเข้าไปช่วยเหลือ ทางกลุ่มแม่บ้านเริ่มต้น จากการรวมกลุ่มกัน มีโรงสี และบรรจุข้าวลงถุงจัดจ�ำหน่าย ซึ่งก็ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านแบบดั้งเดิม แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยน ไป ท�ำให้ความคิดของชาวบ้านเปลี่ยนไปตาม กลุ่มอาชีพสตรี อาสาพัฒนาเกษตรทุง่ สมอจึงเริม่ มีแนวคิดทีจ่ ะแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต ด้วยการน�ำเทคโนโลยีเข้าไปช่วย พัฒนาระบบการผลิต จนเกิดเป็น ‘จมูกข้าวกล้องอบกรอบ’ และ ‘ข้าวกล้องบดส�ำหรับชงดื่ม’ ซึ่งเป็นการน�ำวัตถุดิบที่มีไปผ่าน กระบวนการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ เพิ่มมูลค่าขึ้นในทันที นวัตกรรมน�ำเกษตรศาสตร์ นอกจากการด�ำเนินนโยบายด้านนวัตกรรมผ่านการ ขับเคลื่อนในโครงการ Innovation Hub แล้ว มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยคณาจารย์ แ ละนั ก วิ จั ย เลื อดสี เ ขี ยว ต่ าง พร้อมใจกันพัฒนานวัตกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำด้านการผลิตนวัตกรรม ซึ่งหนึ่งในผล งานนวัตกรรมที่ผสานศาสตร์และความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัว คือระบบกล้อง CCTV อัจฉริยะ 'Smart CCTV' ที่ใช้ระบบ AI หรือระบบปัญญาสังเคราะห์ และระบบ Deep Learning ใน การแยกแยะวัตถุ ซึ่งผลงานชิ้นนี้พัฒนาโดย อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ประสบความส�ำเร็จเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถจดจ�ำวัตถุต่างๆที่ผ่านหน้ากล้อง CCTV ไปได้ ตั้งแต่รถยนต์ คน ไปจนถึงสัตว์เลี้ยง โดยจะประมวล ผลออกมาเป็นภาพนิ่งของวัตถุนั้นๆ และจะสามารถเรียกภาพ นิ่งของวัตถุนั้นๆออกมาเพื่อแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวย้อนหลัง ในช่วงเวลาที่พบวัตถุนั้นได้ในทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการ ดูเทปย้อนหลังด้วยตัวเอง ช่วยอ�ำนวยความสะดวก ลดเวลาใน การท�ำงานและจ�ำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาความปลอดภัยได้ เป็นอย่างมาก

ความส� ำ เร็ จ ของโครงการต่ า งๆเป็ น เครื่ อ งพิ สู จ น์ ได้เป็นอย่างดีว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฐานะฟันเฟืองที่ ส�ำคัญของระบบการศึกษาไทย สามารถก้าวมาเป็นมหาวิทยาลัย ที่ยกระดับการใช้นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งเจตนารมย์ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งใจพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัย ตัวอย่างความส�ำเร็จ แห่งนวัตกรรม ที่จะช่วยพัฒนาประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ ตัวอย่างของงานวิจยั ทีอ่ ยูใ่ นโครงการ Innovation Hub ยกระดับคุณภาพชีวติ ให้กบั คนในสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ เพือ่ และประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก ก็คือการเข้าไปช่วยเหลือ วันที่ดีกว่าในอนาคตอันใกล้

KU Wind และ N.O.W ได้รับรางวัล เหรียญทองจากงานประกวดดนตรีโลก ครั้งที่ 18 Kasetsart University Wind Symphony วงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ วง Nontri Orchestra Wind (N.O.W) วงดุริยางค์เครื่องลมกึ่งอาชีพ วงแรกของประเทศไทย ได้รบั รางวัลเหรียญทอง เกียรตินิยม (Gold with Distinction) ด้วย คะแนน 91.0 ประเภทนั่งบรรเลง (Concert) 1St Division จากการแข่งขันในรอบ ชิงชนะ เลิศของการประกวดดนตรีโลก World Music Contest 2017 หรือ WMC ครั้งที่ 18 ณ เมือง Kerkrade ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ส เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 นอกจากนี้ยังได้รับ รางวัลเหรียญทองประเภท World Division จากการประกวดวงเครือ่ งกระทบ (Percussion Ensemble) ด้วยคะแนน 89.4 เป็นครั้งแรก อีกด้วย

เว็บไซต์ มก. ครองอันดับ 1 ของ ประเทศไทยจากการจัดอันดับ uniRank เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อันดับ ที่ 1 ของประเทศ จากมหาวิทยาลัยไทย 118 แห่ ง อั น ดั บ ที่ 40 ของเอเชี ย อั น ดั บ ที่ 459 ของโลก จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกจ�ำนวน 12,358 แห่ง ซึ่งการจัดอันดับ uniRank™ หรือในชื่อเดิมว่า 4 International Colleges & Universities (4icu.org) เป็นการ จัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยยอดนิยมระดับ โลกที่มีการสืบค้นและเข้าชมมากที่สุด ใน 200 ประเทศทั่วโลก และในครั้งนี้เป็นการจัดอันดับ ประจ�ำเดือนมกราคม 2560


20

The INTERVIEW นครินทร์ พันธุมจินดา

มหวรรณ พันธุมจินดา

The Alchemist

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้เสกขยะไร้ค่าให้กลายเป็นทอง

นักเล่นแร่แปรธาตุมีความสามารถในการเปลี่ยนวัตถุธรรมดาให้กลายเป็นโลหะที่มีมูลค่าดั่งทอง เป็นความเชื่อที่ส่งต่อกัน มาหลายชั่วอายุคนถึงความสามารถของมนุษย์บางคนที่เกินธรรมชาติจะมอบให้ ซึ่งภายในรั้วนนทรีของเรามีนักเล่นแร่แปร ธาตุคนหนึ่งซ่อนตัวอยู่ เขาเป็นอาจารย์ประจ�ำภาคนวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และยังเป็นหัวหน้าศูนย์ สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-design) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุ เหลือใช้ หรือ Scrap Lab อันโด่งดังเป็นหนึ่งในฟันเฟืองส�ำคัญ ผลงานเพิ่มมูลค่าขยะจากการออกแบบของเขาเป็นการเล่น แร่แปรธาตุในยุคใหม่ที่เป็นที่ประจักษ์ในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ เขาก็คือ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต จุดเริ่มต้นบนเส้นทางสายออกแบบ "ผมตั้ ง ค� ำ ถามตั้ ง แต่ เ ด็ ก ว่ า ท� ำ ไม เพื่อนๆผมถึงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร เพราะตอน เด็กๆผมรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าผมอยากเรียนสถาปัตย์ ผม อยากเป็นสถาปนิก ผมเลยตอบไม่ได้ว่าจุดเริ่ม ต้นบนเส้นทางสายออกแบบของผมมันเริม่ ตัง้ แต่ ตอนไหน ผมว่ามันอยู่ข้างในตัวเราอยู่แล้ว น่าจะ รู้ตั้งแต่เกิดเลยมั้ง (หัวเราะ)" ก้าวเข้ามาเป็นคนเกษตร "พอจบ High School (เที ย บเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย) ผมก็เข้าสู่เส้นทางสาย สถาปัตย์ ก็เป็นการออกแบบเชิงอาคารเป็นหลัก มีการออกแบบกราฟฟิกนิดหน่อย พออยูส่ หรัฐ มาเกือบ 20 ปี ตอนเริ่มท�ำปริญญาเอกก็มีคน ถามว่า “จะกลับเมืองไทยมัย้ ” ผมก็เคยคิดเล่นๆ ว่าจะกลับตอน 30 ต้นๆ ก็เลยลองกลับมา ผูใ้ หญ่ หลายๆคน เพื่อนหลายๆคน แนะน�ำว่าอย่างผม ควรเข้ามาในภาคการศึกษา ผมก็เลยไปส�ำรวจดู ว่าที่ไหนที่เหมาะกับเรา ไปทั้งเหนือ ทั้งอีสาน จน พบว่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เป็ น ที่ เ ดี ย วในประเทศไทยที่ สอนเรื่ อ ง Sustainable Architecture (สถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน) เลยง่ายกับ ผมเลย เพราะผมสนใจด้านนี้ เรียนมาด้านนี้” แรงผลักดันสู่ความอีโค่ “มันเป็น Global Trend (เทรนด์ของ โลก) ของเวลานั้น ทั้งโลกพูดถึง แต่ไม่มีใครมี ค� ำ ตอบ การที่ ผ มเข้ า ไปเรี ย นด้ า นนี้ เ หมื อ น เป็ น การเรี ย นเพื่ อโลก เพื่ อเอามาพั ฒนาต่ อ เพราะยังไงมันก็ต้องเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อ ความยั่งยืน และด้วยความที่ผมอยู่ที่ Seattle มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเรียกเล่นๆว่า ‘Evergreen’ (เขียวตลอดศก) ทุกอย่างมัน Green ไปหมด ทั้งต้นไม้ น�้ำตก ภูเขา บ้านผมก็ มีล�ำธารอยู่ข้างๆ ชีวิตก็พัวพันกับการตั้งแคมป์ การปีนเขา การเล่นสโนว์บอร์ด การเล่นสกี การ เล่นเรือใบ ทุกอย่างมันอยูก่ บั ธรรมชาติหมดเลย

ส�ำหรับผมการอยูก่ บั ธรรมชาติคอื เรือ่ งปกติ การ อยู่เมืองไทยแบบนี้ต่างหากที่ผมรู้สึกว่าผิดปกติ เพราะฉะนั้นการสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง การออกแบบอย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต้อง คิดหรือพิจารณาเลย เพราะมันเป็นไลฟ์สไตล์" ท�ำไมต้อง ‘ขยะ’ “ตอนที่ผมกลับมาประเทศไทยใหม่ๆ ผมก็คิดว่าจะท�ำอะไรในเมืองไทยให้มัน Unique (เป็นเอกลักษณ์) ดี ผมก็ออกแบบนวัตกรรม อาคารทั่วไป อาคารรักษ์โลก อาคารประหยัด พลังงาน อาคารที่ใช้ Renewable Energy (พลังงานที่สามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่) แต่เวลา ทีส่ ถาปนิกออกแบบ เราจะพบว่าอาคารทีร่ กั ษ์โลก พวกนี้ใช้พลังงานเยอะมาก และไม่มีไซต์งาน ไหนเลยที่สะอาด มีแต่กองขยะทั้งนั้น และนี่หรือ คืออาคารที่เราบอกว่า Green Building มันจึง เป็นไปไม่ได้เลยทีผ่ มจะไม่ยงุ่ กับเรือ่ งขยะ ไม่อย่าง นัน้ ผมจะเรียกตึกตัวเองว่าตึกประหยัดพลังงานได้ อย่างไร ประกอบกับผมเรียนและวิจัยด้านการ พัฒนานวัตกรรม พอปัญหาขยะยังไม่ถกู แก้ มัน เลยกลายเป็นช่องทางให้ผมพัฒนานวัตกรรม จากปัญหาที่ยังไม่แก้ หลังจากได้คลุกคลีกับ ขยะมาก็เลยตระหนักว่าขยะมันเยอะมาก ไม่มี กระบวนการใดของมนุษย์ที่จะท�ำให้ไม่เกิดขยะ ตั้งแต่เกิดมาเราผลิตขยะเยอะมาก แล้วผมซึ่ง เป็นนักออกแบบท�ำไมจะต้องไม่แก้ปัญหา” ผลงานสร้างชือ่ และผลงานสุดรักของอาจารย์สงิ ห์ “ผมต้องถามย้อนกลับไปมากกว่าว่า อะไรสร้างชื่อให้ผม เพราะเอาเข้าจริงผมก็ไม่รู้ว่า ชื่อผมไปติดอยู่ที่นู่นที่นี่ได้อย่างไร มันเป็นเพราะ ผลงานหรือเพราะแนวคิด” “ส่วนสิ่งที่ผมรักก็คือการออกแบบ ทุกศาสตร์ทุกแขนงถ้าต้องการสร้าง Impact (ผลกระทบ) กั บ คน กั บ สั ง คม ต้ อ งผ่ า น กระบวนการออกแบบทั้ ง หมด ผมจึ ง รั ก การ ออกแบบ ถ้าถามผมว่ามีผลงานชิ้นไหนที่ผมรัก เป็นพิเศษไหม ถ้าเป็นเด็ก 20-30 อาจจะตอบได้


แต่ผมในวัยใกล้ 50 ผ่านการออกแบบชิ้นงานมาเป็นพันๆชิ้น มัน เยอะมาก แต่ถ้าถามผมว่าในทุกวันนี้ผมตื่นเต้นกับอะไรเป็นพิเศษ ผมจะตอบว่าผมตืน่ เต้นกับนโยบาย Set Zero Waste (ของเหลือ ทิง้ เท่ากับศูนย์) หรืออย่างปีกอ่ นผมก็ตนื่ เต้นกับการเอาเปลือกไข่ มาท�ำเฟอร์นเิ จอร์ ซึง่ แต่ละปีผมจะมีงานทีต่ นื่ เต้นหลากหลาย เรียก ว่ารักมันในปีนั้น แต่พอตอนนี้มันก็ไม่ใช่แล้ว” ถ้าอาจารย์สิงห์ ไม่ใช่นักออกแบบ “ถ้าผมไม่ใช่นกั ออกแบบ ไม่ใช่คนทีเ่ ลือกเดินสาย Eco ทุกวันนี้คนคงไม่รู้จักผม ผมคงไม่มีตัวตน และทุกวันนี้ผมคงเป็น เพียงธุลีหนึ่งที่มาอยู่แล้วก็หายไป เพราะผมเชื่อว่า คนเราไม่ได้ สร้าง Impact ไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ได้ตั้งใจ เพราะ ความตั้งใจมันคือพลัง หรือแม้แต่ว่าผมตั้งใจในระดับนี้ สร้างผล งานในระดับนี้ ก็อาจจะมีคนจดจ�ำผมได้น้อยมาก เพราะคนเรามี เป็นหลักพันล้านคน” นอกจากเสกขยะให้เป็นทองแล้ว อาจารย์สิงห์จะเสกอะไรให้โลก “ณ ตอนนี้ ผมอยากท�ำอะไรหลายอย่าง ผมอยาก ท�ำศูนย์วิจัยที่เกี่ยวกับสุขภาวะของมนุษย์ สัตว์ และต้นไม้ เป็น ศูนย์วิจัยที่ผนวกนักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ และศิลปิน เป็น ศูนย์วิจัยที่จะเสกนวัตกรรมเจ๋งๆให้โลก, ผมอยากเป็นคนพัฒนา ให้การสร้างสรรค์เป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทย, ผมอยาก พัฒนาเมืองที่ตายแล้วให้กลับมามีชีวิตใหม่อย่างมีคุณค่า เป็น เมืองที่คนจะหันกลับมามองว่านี่คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ แค่ออกแบบตึกที่สวยงาม แต่จะออกแบบวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ให้เขารักและอยากอยู่ในเมืองของเขา” “ถ้าเอาแบบ Supernatural (เหนือธรรมชาติ) ผม อยากติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว แล้วเอาวิทยาการที่แต่ละฝ่ายมี มา Collaborate (สมคบคิด) และพอเรามีพื้นที่ที่กว้างขึ้น เราจะ ได้ยา้ ยมนุษย์ไปอีกทีน่ งึ แล้วให้โลกมันฟืน้ ฟูขนึ้ มา โดยทีไ่ ม่มเี ราไป รบกวนตลอดเวลา เป็นการสร้างสมดุลให้กาแล็กซี่ เพราะมนุษย์ เป็นเหมือนมะเร็ง การที่เราย้ายไปดาวที่สมบูรณ์ดวงอื่นก่อนก็ เป็นการรอเวลาให้ดวงที่เราท�ำลายไปฟื้นฟูขึ้นมา เพราะผมคิดว่า คนเราเกิดมาท�ำลายโลกตั้งแต่ ‘อุแว้’ แรก จึงเป็นอะไรที่ดีกว่าถ้า เราจะกลับมาสร้างสมดุลให้กับพื้นที่ที่เราอยู่”


22

The ADVERTORIAL นันท์นภัส พลเศรษฐเลิศ

มหวรรณ พันธุมจินดา

Dairy Changes Your Daily Life

LINE ID KU DAIRY

ผลิตภัณฑ์นมพลิกชีวิตนิสิตสู้ฝัน เมื่อสองปีก่อน ภาพของนิสิตหนุ่ม คณะประมงกับรถมอเตอร์ไซค์ทมี่ ถี งั แช่นมเกษตร ปรากฏบนสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆพร้อมกับค�ำบรรยาย ทีท่ ำ� ให้ได้รวู้ า่ เขาคือ ‘บุค๊ ’ วสุพล รชฏเสถียรพงษ์ นิสติ ปีสองทีส่ ร้างรายได้หลายหมืน่ บาทต่อเดือน ติดต่อกันมาเป็นเวลาสองปีจากการเป็นสายส่ง นมเกษตร เรือ่ งราวด้านบนจะเกิดขึน้ ไม่ได้เลย หาก ‘บุค๊ ’ ไม่ตดั สินใจเข้าไปติดต่อ ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ KU Dairy เพือ่ รับฟังค�ำบอกเล่าเรือ่ งเด็กส่งนมของเกษตรในรุน่ ก่อนๆและค�ำแนะน�ำที่ชี้ช่องทางเริ่มต้นให้เขาได้ ตั้งตัวจากการเดินขายนมเกษตรในงานเกษตร

แฟร์ การส่งนมให้กับคนในละแวกบ้าน ไปจนถึง การขีม่ อเตอร์ไซค์คใู่ จออกไปขายนมยังตลาดนัด ต่างๆ ซึ่งทุกๆช่วงของการเริ่มต้นท�ำธุรกิจ ‘บุ๊ค’ ล้วนแต่มี ‘ศูนย์นม’ เป็นคู่ค้าที่เข้าใจจนฝันข้อ แรกๆค่อยๆส�ำเร็จไปทีละขั้น ในทุกวันนี้ ‘บุค๊ ’ สานฝันข้อท้ายๆของ เขาได้ ส� ำ เร็ จ ด้ ว ยการยื่ น หนั ง สื อ ถึ ง รั ก ษาการแทนอธิการบดี ดร.จงรัก วัชรินทร์รตั น์ เพือ่ ขอพื้นที่ให้เขาได้ท�ำงานที่รัก ไปพร้อมๆกับการ ช่วยเพื่อนๆน้องๆนิสิตให้ได้เรียนรู้การท�ำงานใน สนามชีวติ จริง ด้วยการเปิดบูธเล็กๆทีบ่ าร์ใหม่ซงึ่ เขาจะขายนมเกษตรตัง้ แต่เช้ายันค�ำ่ จนท้ายทีส่ ดุ สิ่งนั้นก็ได้เกิดขึ้นจริง

บูธขนาดกระทัดรัดทีด่ า้ นบนมีตกู้ ดนม นมถุง และตัวหนังสือตัวใหญ่บนป้ายเขียนว่า ‘นมเกษตร’ ก�ำลังจะกลายเป็นต้นแบบให้กับบูธ อื่ น ๆในอี ก หลายๆโรงอาหารกระจายทั่ ว ทั้ ง มหาวิทยาลัย ซึ่งหลังจากนี้เขาจะเปิดโอกาสให้ น้องๆที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาเป็นผู้ดูแล และ หากการจัดการทุกอย่างลงตัว บูธนมเกษตรที่ เขาเป็นคนก่อตัง้ โดยได้รบั ความร่วมมือจากศูนย์ ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็จะ กลายเป็นแฟรนไชส์ธุรกิจให้บุคคลภายนอกซื้อ เพื่อไปด�ำเนินการนอกรั้วมหาวิทยาลัย ‘บุ๊ค’ เชื่อว่าการยืนให้ได้ด้วยล�ำแข้ง ของตัวเองเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่มัก

จะลืมข้อนี้ไปและมัวแต่คิดว่าการท�ำหน้าที่แค่มา เรียนก็เพียงพอแล้ว เขามีความเห็นว่าช่วงชีวิต ที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ใดประสบการณ์หนึ่ง มักจะผ่านมาเพียงครั้งเดียว ซึ่งเขาเองก็นึกไม่ ออกเหมือนกันว่าถ้าให้เริ่มต้นใหม่ตอนนี้และ เป็นการเริม่ แบบตัวคนเดียวโดยไม่มอี าจารย์และ ศูนย์นมคอยช่วยเหลือ มันจะยากแค่ไหน และเขา จะมีความกล้ามากเท่า ‘บุ๊ค’ ในวันทุกวันนี้หรือ เปล่า ศู น ย์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ น ม มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์สนับสนุนทุกการเริม่ ต้นของนิสติ สนใจอยากเดินตามรอย ‘บุค๊ ’ วสุพล ติดต่อได้ที่ 02-579-9594 และ qr code ที่ให้ไว้


23

The REPORT กุลนิษฐ์ จะยะสกูล

มหวรรณ พันธุมจินดา

Eco Library ห้องสมุดรักษ์ โลก ความภูมิใจของมหาวิทยาลัยสีเขียว Eco Library จากส�ำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องสมุดที่มีรางวัลการันตีจากส�ำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยได้รับรางวัลระดับดี ประเภทการพัฒนาบริการที่เป็น เลิศ ซึ่งไม่เพียงแค่รางวัลนี้เท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความสุดยอดของ Eco Library แต่ในทุกๆพื้นที่ แม้ กระทั่งแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภูมิใจน�ำเสนอ

จุดเริ่มต้นของ Eco Library Eco Library หรื อ ห้ อ งสมุ ด เพื่ อ ชี วิ ต และสิ่ ง แวดล้อม เป็นผลงานสร้างสรรค์ของส�ำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงที่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเข้า สูภ่ าวะวิกฤติ เพือ่ เป็นแหล่งความรูด้ า้ นสิง่ แวดล้อมและเป็นแหล่ง เรียนรู้ของเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย โดย ได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต ศูนย์ปฏิบัติการ ออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ หรือ Scrap Lab และนิสิตจากคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ได้เข้ามาช่วยออกแบบ โดยได้ก�ำหนด หลักการร่วมกันในการสร้าง Eco Library ให้เป็นห้องสมุดที่ ออกแบบตกแต่งด้วยแนวคิด Reduce-Reuse-Recycle นับ เป็นห้องสมุด Eco แห่งแรกของประเทศไทย

การเข้าห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์มาจัดเก็บทะเบียนหนังสือ เพื่อประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเก้าอี้ โต๊ะ ล้วนแล้วแต่เป็นของ เก่าที่เคยถูกทิ้งไว้ในห้องเก็บของแต่ผ่านการน�ำมาดัดแปลงและ ซ่อมแซมจนมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ซึ่งนอกจากวัสดุที่หาได้จาก มหาวิทยาลัยแล้ว ยังใช้วสั ดุจากโรงงานภายนอกอย่างเศษกระดุม จากโรงงานทีน่ ำ� มาอัดเป็นเคาน์เตอร์ใช้บริการยืมหนังสือ หรือเศษ ผ้าไหมน�ำมาสร้างโคมไฟ ท�ำหมอนมะเฟืองในมุมเด็ก เป็นต้น Eco Library ในทุกวันนี้ นับเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่าน สื่อความรู้และการสัมผัสจริง ทั้งจากสื่อ จากสิ่งพิมพ์ และจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่รวบรวมไว้ให้บริการ เป็นพื้นที่ส�ำหรับ เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่า 3 จุด ใน Eco Library ใช้จ่าย ถือเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน Eco Library มีพื้นที่ใช้สอย 250 ตารางเมตร ซึ่ง ฐานะทีไ่ ด้ตอบแทนสังคมและได้ตอบแทนโลกในโอกาสเดียวกัน จัดสรรให้มพ ี นื้ ทีห่ ลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย Common Reading Space หรือ Eco-space ให้บริการหนังสือทั่วไป เช่น นวนิยาย วรรณกรรม เยาวชน นวนิยายแปล หนังสือธรรมะ หนังสือความรู้ ทัว่ ไป และหนังสือด้านสิง่ แวดล้อมและพลังงาน, Kid Play–space ให้บริการหนังสือส�ำหรับเด็ก ทัง้ การ์ตนู หนังสือนิทาน และหนังสือ ส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ และส่วนสุดท้าย Alumni Space พื้นที่ ให้บริการศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส�ำหรับศึกษา หาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อ รวมทั้งเป็น จุดบริการข่าวสารเพื่อเชื่อมต่อระหว่างศิษย์เก่าและมหาวิทยาลัย จุดเด่นของ Eco Library Eco Library จะดัดแปลงของเก่าทีใ่ ช้การไม่ได้ซงึ่ อยูใ่ น ห้องเก็บของและวัสดุในโรงงานมาสร้างสรรค์ อาทิ ตูบ้ ตั รรายการ มาท�ำเป็นผนังและทีเ่ ก็บของซึง่ อยูต่ รงหน้าทางเข้าจะให้อารมณ์ของ


(PROMOTIONAL SECTION)


(พื้นที่โฆษณา)


26

The COVER STORY ธนกร เพชรพงษ์ และ นครินทร์ พันธุมจินดา

อบ.ก.ศรช., ปชส.มก., ศูนย์ข่าวชุมชน มก. และ KU CSC PHOTO CLUB


Sawasdee

77

สวัสดี…KU77 กล้าต้นใหม่แห่งรั้วนนทรี จากความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมฯ ทั่วประเทศจ�ำนวนนับแสนคน แต่มีเพียง 15,211 คนเท่านั้น ที่มีโอกาสได้ก้าวเข้า มาเป็นลูกนนทรี ลูกพระพิรณ ุ ภายใต้รวั้ สีเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งนี้ ชีวติ ในช่วงมหาวิทยาลัยทีห่ ลายต่อหลายคนยกให้เป็นช่วงเวลาทีด่ ที สี่ ดุ เริ่มต้นขึ้นในฐานะน้องใหม่ ซึ่งน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นจะต้อง ผ่านกิจกรรมมากมายหลากหลายเพื่อหล่อหลอมสายเลือดสีเขียวให้เข้มข้นและ เพื่อสร้างจิตส�ำนึกของความเป็นลูกเกษตรที่ต้องตอบแทนสังคม ให้สมกับค�ำ กล่าวที่ว่า “ประชาชนคือเจ้าของประเทศ เกษตรศาสตร์คือภาษีของประชาชน”


นนทรีช่อใหม่ KU77 นนทรีช่อใหม่ที่เป็นดั่ง ความ หวังของประเทศไทยทีก่ ำ� ลังก้าวสูก่ ารเปลีย่ นแปลง ของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เพือ่ ให้พร้อมกับการเปลีย่ นแปลงในยุค 4.0 ซึง่ เป็น เรือ่ งท้าทายในการผลิตบัณฑิตเกษตรศาสตร์ให้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงคุณภาพ เป็นไป ตามทีส่ งั คมและประเทศชาติคาดหวัง ผศ.น.ท.หญิง ดร.งามลมัย ผิวเหลือง รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการนิสติ ได้ ร่วมกับผูบ้ ริหารด้านกิจการนิสติ จากทุกวิทยาเขต เข้าระดมแนวคิด ก�ำหนดการพัฒนานิสิตด้วย วิสัยทัศน์ที่ว่า ‘มุ่งมั่นสร้างบัณฑิต ด้วยศาสตร์ แห่งแผ่นดิน สูค่ วามเป็นพลเมืองโลก’ โดยน้อมน�ำ ศาสตร์แห่งแผ่นดินเข้าไปปฏิบตั ใิ นทุกภาคส่วนของ กลไกกิจกรรมนิสิต และได้ก�ำหนดพันธกิจของ การพัฒนานิสิต 5 ประการ คือ สร้างนวัตกรรม เสริมภูมคิ มุ้ กันตน ปลูกจิตสาธารณะ พัฒนาทักษะ ข้ามวัฒนธรรม และผลักดันกีฬาให้เป็นเป็นเลิศ ส่วนในด้านการจัดกิจกรรมต้อนรับ นิสติ ใหม่ในภาพรวมนัน้ จะลดกิจกรรมทีไ่ ม่กอ่ ให้ เกิดผลเชิงบวกแก่นิสิตหมู่มาก เพื่อให้มีจิตใจ จดจ่ออยูก่ บั ต�ำราและบทเรียนมากขึน้ ซึง่ จะส่งผล ต่อการส�ำเร็จการศึกษาให้ได้ตามที่มุ่งหวัง และ เนื่ อ งจากปี นี้ ยั ง อยู ่ ใ นช่ ว งถวายอาลั ย แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 องค์พระผู้ทรงใกล้ชิดและ พระราชทานมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ อ ย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ จึ ง ก� ำ หนด แนวทางกิจกรรมทั้งหมดทั้งมวลโดยเฉพาะช่วง รับน้อง ให้จัดแบบ ‘พอเพียง เรียบง่าย สงบ

ส�ำรวม สุภาพ และประหยัด’ ซึ่งได้รับความร่วม มือจากนิสิตเป็นอย่างดี ก้าวแรกสูเ่ กษตรฯ ก้าวแรกสูศ่ าสตร์แห่งแผ่นดิน ส�ำหรับกิจกรรมแรกทีน่ สิ ติ ใหม่ทกุ คน ได้เข้าร่วม คือกิจกรรม ‘ก้าวแรกสู่ศาสตร์แห่ง แผ่นดิน’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นิสิตใหม่ KU77 ทุกคนได้เรียนรูข้ อ้ มูลทีจ่ ำ� เป็นต่อการใช้ชวี ติ ในรัว้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่วา่ จะเป็นการเรียน การสอน นานากิจกรรม หรือแม้กระทั่งข้อคิดที่ อยากให้นสิ ติ ใหม่ยดึ ถือเป็นแนวทาง ซึง่ กิจกรรม ภายในงาน มีมากมายหลายส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนข้อมูลทีน่ สิ ติ ควรรู้ ประกอบไปด้วย กิจกรรม แนะน�ำศาสตร์แห่งแผ่นดิน แนะน�ำมหาวิทยาลัย ระบบการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรูใ้ นมหาวิทยาลัย ส่วนที่ 2 ส่วนให้ข้อคิดการใช้ชีวิตแก่นิสิต โดย มีกิจกรรมการใช้ชีวิตนิสิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจ พอเพียง และกิจกรรมตัวตนคนเกษตร เป็น กิจกรรมหลัก ส่วนที่ 3 ส่วนที่เป็นกิจกรรมจิต อาสา ซึ่งจะเป็นการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ‘ดอก ดารารัตน์’ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใน พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ ส่วนที่ 4 ส่วนการเสริมสร้างจิตวิญญาณและ ความประทับใจ ประกอบไปด้วย กิจกรรมร้อง เพลงมหาวิ ท ยาลั ย พิ ธี ส ร้ างมงคลชี วิต นิ สิ ต ใหม่ด้วยเทียนชัยอุดมการณ์ กิจกรรมรักษ์สิ่ง แวดล้อมลดการใช้กระดาษ และการมอบกระเป๋า ทีร่ ะลึก นอกจากนีย้ งั ได้มพ ี ธิ ปี ลูกต้นไม้ประจ�ำรุน่ KU77 ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่กระท�ำสืบทอดกันมา ด้วยการปลูกต้นไม้เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ไว้ประจ�ำ รุน่ ของนิสติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกด้วย

The Caption 1, 3 | บรรยากาศในกิจกรรม ‘ก้าวแรกสูศ่ าสตร์แห่งแผ่นดิน’ 2, 4 | บรรยากาศในกิจกรรม ‘สู่อ้อมกอดนนทรี 60’ 5 | ตัวแทนนิสติ ชัน้ ปีที่ 1 ในแต่ละคณะเข้าร่วมกิจกรรมวัน พัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6 | บรรยากาศแห่ ง ความสุ ข ในงาน ‘รั บ ขวั ญ เฟรชชี่ นนทรีช่อใหม่ KU77’

1

2

3

4


สู่อ้อมกอดแห่งรั้วนนทรี กิจกรรมถัดมาที่นิสิตใหม่ KU77 ต้องเข้าร่วมคือ กิจกรรม ‘สู่อ้อมกอดนนทรี 60’ หรือ ‘KU First Date 2017’ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘WE LOVE KU’ โดยองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการต้อนรับและ แสดงความยินดีแก่นิสิตใหม่ โดยที่กิจกรรมทั้งหมดเป็นกิจกรรม แบบฐานที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งสอดแทรกความ รู้ ความสนุกสนาน และมิตรภาพ เพื่อส่งเสริมให้นิสิตใหม่เกิด ความรู้ความเข้าใจ สร้างความรัก และความภาคภูมิใจในความ เป็นเกษตรศาสตร์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังท�ำให้ได้พบกับเพื่อน ต่างคณะ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ๆ ซึง่ กิจกรรมทัง้ หมดรับผิด ชอบโดยพี่ๆนิสิตจากองค์กรกิจกรรมต่างๆ ทั้งสโมสรนิสิต คณะ ชมรมนิสิต และกลุ่มนิสิตพี่เลี้ยงอาสาสมัคร กิจกรรมแบ่งออกเป็น 5 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐาน บ�ำเพ็ญประโยชน์ เน้นเรื่องของการสร้างจิตสาธารณะ, ฐาน สัญลักษณ์ ท�ำความรูจ้ กั มหาวิทยาลัยมากยิง่ ขึน้ เช่น เอกลักษณ์ ของเกษตรศาสตร์ ต้นไม้ประจ�ำมหาวิทยาลัย บุคคลส�ำคัญ เป็นต้น, ฐานสานสัมพันธ์ ท�ำความรู้จักเพื่อนใหม่และรุ่นพี่, ฐาน สอนน้องร้องเพลง สอนให้นอ้ งๆรูจ้ กั เพลงต่างๆของมหาวิทยาลัย รวมถึงที่มาของเพลงเพื่อให้มีความเข้าใจในเพลงมากขึ้น และ สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คือ ฐานสันทนาการ ที่ให้ความสนุกสนาน และละลายพฤติกรรมให้ทุกคนเข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น โดยใช้ เกม การเต้น การร้องเพลง เข้ามาช่วย ส่ ว นในภาคเย็ น ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมทั้ ง หมดก็ ร วม ตัวกันที่สนามอินทรีจันทรสถิตย์ เพื่อร่วมกันร้องเพลงประจ�ำ มหาวิทยาลัย และปิดท้ายด้วยการบูม ‘AGGIE’ ของรุ่นพี่ ที่ร่วม กันบูมให้น้องเฟรชชี่เป็นการแสดงความยินดีและต้อนรับน้องๆ KU77 เข้าสู่รั้วเกษตรศาสตร์อย่างเต็มตัว

งานของเฟรชชี่ นิ สิ ต เกษตรฯจะถู ก ปลู ก ฝั ง มาอย่ า งยาวนานเรื่ อ ง ‘ไม่มเี ดือน ไม่มดี าว มีแต่ดนิ ’ เพือ่ สะท้อนความใกล้ชดิ ต่อผืนดิน สื่อถึงความเป็นคนง่ายๆ ลุยๆ และยังบ่งบอกเป็นนัยๆว่านิสิต เกษตรทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่เหนือกว่าใคร ท�ำให้ กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองส�ำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ถูก เรียกขานกันว่า ‘งานเฟรชชี’่ หรือ ‘Freshy Day Freshy Night’ ซึ่งเป็นงานที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงความยินดีกับลูกเกษตรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ โดยได้พัฒนามาจาก ‘วันพัฒนาและปลูกต้นไม้’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่ง อบ.ก. เมื่อ 17 ปีที่แล้วอยากให้งานวัน รับน้องใหม่ หรือ Freshy Day ซึ่งในขณะนั้นแต่ละคณะต่าง แยกกันจัด มารวมกันในโอกาสดังกล่าว และก็เป็นการควบรวม งานช่วงกลางคืน หรือ Freshy Night เข้าไว้ด้วยกัน นอกจาก นั้นยังมีการประกวด ‘Freshy Boys & Girls’ ซึ่งเป็นตัวแทน หนุ ่ ม หล่ อ สาวสวยของแต่ ล ะคณะ มาประชั น ความโดดเด่ น ซึ่งนับเป็นสีสันที่อยู่คู่เกษตรฯมาในทุกๆเปิดภาคการศึกษา ขณะที่ในปีนี้ที่งานเฟรชชี่มาในธีม ‘รับขวัญเฟรชชี่ นนทรีช่อใหม่ KU77’ โดยจัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา โดยภาคเช้า น้องๆ KU77 จะได้รว่ มกันตักบาตรทีถ่ อื เป็นการเริม่ ต้น ที่ดีส�ำหรับชีวติ ใหม่ภายในรั้วนนทรี จากนั้นก็เป็นกิจกรรมร่วมกัน พัฒนามหาวิทยาลัย และมอบเหรียญรุน่ ขณะทีใ่ นภาคเย็น กิจกรรม จัดขึน้ ณ สนามอินทรีจนั ทรสถิตย์ โดยมีขบวนอัญเชิญพระพิรณ ุ ทรงนาค การรับขวัญน้องใหม่ การแสดงจากชมรมต่างๆ ตลอด จนการร่วมร้องเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์แห่งความภูมใิ จ ความแตกต่ า งของงาน Freshy Day Freshy Night ในปี นี้ คื อ การปรั บ ให้ พิ ธี มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น เสมื อ นเป็ น การรั บ ขวั ญ เสริ ม ก� ำ ลั ง ใจให้ กั บ น้ อ งใหม่ ขณะที่ การประกวด Freshy Boys & Girls ก็ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการ แสดงเทอดพระเกียรติจากตัวแทนเฟรชชี่ในแต่ละคณะแทน

5

6


ดร.จงรัก ร้องเพลง IDKU

KU77 กับดอกดารารัตน์ ประเพณีชิงธง คณะเกษตร

ท�ำไม #เกษตรน่าเรียน

สีสันวิทยาเขต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนอย่างเดียวทีม่ กี จิ กรรมส�ำหรับ ต้อนรับน้องใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน วิทยาเขตอื่นๆก็ได้มีการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ขึ้น ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีรูปแบบการจัดงานที่แตก ต่างกันออกไป วิทยาเขตก�ำแพงแสน มีการจัดงาน ‘FRESHY DAY: First Step Warfare’ กิจกรรม รับน้องสุดมันส์ หรรษา และสนุกสนาน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ขณะทีใ่ นวันที่ 30 กรกฎาคม ก็ได้มี งาน ‘FRESHY NIGHT: Green Gang Greet’ ซึง่ เป็นการแสดงดนตรีจากนิสติ จากวง AGGIE BAND ศิลปินวง The Raven Doll และปิดท้ายมินคิ อนเสิรต์ จากวง BIG ASS The Caption วิทยาเขตศรีราชา มีการจัดกิจกรรม 1 | เหรียญรุน่ KU77 ทีแ่ จกจ่ายให้บรรดา 'เฟรชชี'่ ในงาน ‘รับขวัญลูกพระพิรุณ’ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม และวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา ก็ได้มีกิจกรรม Freshy Day Freshy Night KU77 2 | บรรยากาศกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ‘สอนน้องร้องเพลง (Battles Round)’ ซึ่ง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี บรรดานิสิตใหม่ KU77 ต่างพร้อมใจกันแปร3 | บรรยากาศกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อักษรเป็นค�ำว่า ‘KU๗๗’ อย่างสวยงามจากแสง วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 4 | คอนเสิรต์ ศิลปินวง Big Ass ในงาน ‘FRESHY NIGHT: เทียนนับพันดวง ก่อนวันที่ 20 สิงหาคม จะเป็นการ Green Gang Greet’ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงาน ‘อ้อมกอดนนทรี Freshy Day 2017’| วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด วิทยาเขตก�ำแพงแสน 5 | บรรยากาศกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สกลนคร ที่ประสบกับเหตุการณ์อุทกภัยอย่าง วิทยาเขตศรีราชา ไม่คาดฝัน ท�ำให้กิจกรรมต่างๆถูกเลื่อนออกไป จากก�ำหนดเดิม แต่ดว้ ยความร่วมแรงร่วมใจกัน

ของคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ท�ำให้ปัญหา ทีเ่ กิดขึน้ ผ่านพ้นไปได้ดว้ ยดี จนสามารถกลับมา จัดงานต้อนรับนิสติ ใหม่ได้อย่างเต็มรูปแบบอีกครัง้ โดยมีกิจกรรมร้องเพลงมหาวิทยาลัยฯ เป็น กิจกรรมเริ่มต้น ซึ่งถูกจัดขึ้นในช่วงวันที่ 7-25 สิงหาคมที่ผ่านมา ขณะที่ในวันที่ 12 สิงหาคม ก็ได้มีโครงการก้าวแรกสู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน และโครงการแนะแนวนิสิตใหม่ จากนั้นในวันที่ 26 สิงหาคม ก็ได้มกี จิ กรรมวิง่ ประเพณี มก.ฉกส. และ งาน Freshy Day and Freshy Night ซึ่ง มีกจิ กรรมมากมาย รวมไปถึงมีมนิ คิ อนเสิรต์ จาก ชมรมดนตรีสากลและชมรมโปงลาง โครงการจัดตัง้ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ก็ไม่น้อยหน้า จัดกิจกรรม ‘สานสัมพันธ์น้องพี่ นนทรีสุพรรณบุรี’ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ ผ่านมา โดยมีนิสิตนนทรีสุพรรณบุรีรุ่นที่ 10 และนิสิตใหม่ นนทรีสุพรรณบุรีรุ่นที่ 11 เข้า ร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและ ความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ขณะที่ใน วันที่ 30 กรกฎาคม ก็ได้มีโครงการปฐมนิเทศ นิสิตใหม่ KU77 ประจ�ำปีการศึกษา 2560 เพื่อ แนะแนวแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ของบรรดานิสิตใหม่ กล้าต้นใหม่แห่งรั้วนนทรี แม้วา่ กิจกรรมรับน้องจะจบลงไปแล้ว แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนของ

นิสติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยูเ่ สมอ เป็นเสมือน ID ของพวกเราชาว KU นั่ น คื อ ‘อั ต ลั ก ษณ์ ของนิสิตเกษตร’ หรือ ‘IDKU’ ซึ่งได้แก่ I หรือ Integrity คือ สํานึกดี, D – Determination คือ มุ่งมั่น, K - Knowledge Creation คือ สร้างสรรค์ และ U - Unity สามัคคี ซึง่ ทัง้ 4 ข้อนี้ จะเป็นเหมือนสิง่ ทีต่ ดิ ตัวและบ่งบอกถึงความเป็น นิสิตเกษตรฯได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยั ง มี ค ่ า นิ ย มดั้ ง เดิ ม ของ พวกเรา ซึ่ ง ก็ คื อ SOTUS ที่ ไ ม่ ใ ช่ แ ค่ ก ารรั บ น้องแบบเข้มข้น แต่เป็นเสมือนจิตวิญญาณที่ หล่อหลอมให้พวกเราชาวเกษตรศาสตร์ผกู พัน แน่นแฟ้น กลมเกลียว มาจวบจนถึงทุกวันนี้ ซึง่ S – Seniority ก็คือความเคารพต่อผู้อาวุโส ฝึก ความนอบน้อมถ่อมตน เพื่อให้เป็นที่รักใคร่แก่ ชนทุกชั้น, O – Order ก็คือการเชื่อฟังต่อค�ำสั่ง สอน ปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบ เพือ่ สร้างเสริมวินยั , T – Tradition ก็คือการสืบสานรักษาประเพณี วัฒนธรรม อนุรกั ษ์รากเหง้า เพือ่ ให้ชนรุน่ หลังยัง มีตัวตนในสังคม, U – Unity ก็คือความสามัคคี รักใคร่ กลมเกลียว เพื่อมิตรภาพที่ยั่งยืนและ สัมพันธภาพอันแน่นแฟ้น และ S – Spirit ก็ คือจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพื่อสร้างประโยชน์ ตอบแทนให้แก่สังคม


1

3

4

2

5


32

4.0 กุลนิษฐ์ จะยะสกูล

ภาณิศา หวังสุข

Innovation for Education เพื่อเป็นการต้อนรับนิสิตใหม่ KU77 คอลัมน์ KU 4.0 ในฉบับนี้ ตั้งใจน�ำเสนอ นวัตกรรมและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในยุค 4.0 ที่นิสิตทุกระดับ สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่มา - สถาบันวิจัยและพัฒนา มก.

Word Factory App สอนภาษาอังกฤษในรูปแบบเกมค�ำศัพท์ชุด โดย รศ.ดร.กิติมา อินทรัมพรรย์, ภาควิชา ภาษาศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์

หุ่นจ�ำลองยางพารา โดย ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อภินนั ท์ สุประเสริฐ, ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

ระบบความจริงเสมือนแบบฝังตัวเต็ม โดย รศ.ดร.ศิรเดช สุจริต, ภาควิชานวัตกรรม อาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องจ�ำลองแผ่นดินไหว โดย ดร.ธิดารัตน์ จิระวัฒนาสมกุล และ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์

Word Factory App สื่อผสมมัลติมีเดียใน รูปแบบเกมค�ำศัพท์ชุด เป็นสื่อให้ผู้เรียนภาษา อังกฤษสามารถฝึกฝนและเพิ่มพูนศัพท์ภาษา อังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนาน เพลิดเพลิน โดยโปรแกรม Word Factory ประกอบด้วย E-Courseware 3 ชิ้น ได้แก่ Word Tutor ซึง่ อธิบายเนือ้ หาทางภาษา, Word Inspection ซึ่ ง แยกความแตกต่ า งระหว่ า ง Prefixes และ Suffixes ที่มีหน้าตาคล้ายคลึง กัน และ Word Manufacturing ซึ่งประกอบ ค� ำ จากฐานศั พ ท์ ที่ ก� ำ หนด สามารถใช้ ไ ด้ บ น โทรศัพท์มอื ถือทัง้ ระบบ Android และระบบ iOS

หุ่นจ�ำลองจากยางพารา เป็นสื่อการเรียนการ สอนในลักษณะที่เป็นหุ่นฝึกหัดทางการแพทย์ และการสัตวแพทย์ เพื่อการเรียนรู้ที่ประหยัด ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าทางวิชาการอย่าง ยิ่ง โดยใช้หลักการที่น�้ำยางพาราสามารถคง รูปอยู่ได้เช่นเดียวกับเรซิ่นหรือไฟเบอร์กลาส นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพที่ เหมาะสม เช่น มีน�้ำหนักเบา มีความนุ่ม มีความ ยืดหยุ่นเสมือนอวัยวะจริง มีความคงทน ไม่ แตกหักง่าย พื้นผิวมีความเรียบเนียน สามารถ เคลื่อนย้ายได้สะดวก และราคาไม่แพง

ระบบการสือ่ สารข้อมูลแบบฝังตัวเต็ม หรือ ระบบ ความจริ ง เสมื อ นชนิ ด Fully Immersive Virtual Reality สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระหว่างผู้ออกแบบเชิงเทคนิคและผู้ใช้ขั้นปลาย ในลักษณะการท�ำงานทีม่ กี ารประสานงานแบบเสมือน จริง ได้นำ� เสนอกระบวนการศึกษาตัวแปรสภาวะ แวดล้อมของระบบที่เหมาะสมในการสร้างระบบ ความจริงเสมือนชนิดสัมผัสเต็ม ท�ำให้ผู้ใช้รู้สึก เหมือนอยู่ในสถานที่นั้นๆในแบบ 3 มิติ รวมทั้ง การมีปฏิสัมพันธ์ต่อสภาวะแวดล้อมนั้นๆด้วย

ห้องจ�ำลองแผ่นดินไหว นับเป็นการทดลองการ เกิดแผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงเท่ากับ 7 ตามมาตรา Mercalli และมีการเคลื่อนที่ของ เครื่องเรือน สามารถท�ำการจ�ำลองการสั่นได้ สองแกน คือ แกนราบและแกนดิ่ง ซึ่งเป็นการ สั่นที่สมจริงส�ำหรับแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ ท�ำให้ได้เรียนรูว้ ธิ ปี อ้ งกันตัวเองไม่ให้ได้รบั บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากภัยแผ่นดินไหว นอกจากนั้น ห้องจ�ำลองแผ่นดินไหวยังสามารถเคลื่อนย้าย เพือ่ การสาธิตหรือการจัดแสดงยังสถานทีต่ า่ งๆ ได้โดยง่าย

Word Factory App

Homepage หุ่นจ�ำลองยางพารา

Homepage ระบบความจริงเสมือนฯ

Homepage ห้องจ�ำลองแผ่นดินไหว


Some

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

นายกสภาฯเดินสายพบปะประชาคม มก. โปรแกรมประเมินมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ โดย ผศ.ดร.เพ็ญพร เจนการกิจ และคณะ, ภาควิชา เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์

นวัตกรรมการสร้างอวัยวะเทียมและกระดูกเทียมด้วย วิศวกรรมย้อนรอย โดย อาจารย์ ดร.คุณยุต เอี่ยมสอาด, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

โปรแกรมการประเมินมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของ โครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบน ส�ำหรับใช้ในการ ประเมินผลประโยชน์หรือผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ สร้างกระบวนการ เรียนรูแ้ ละประยุกต์ใช้แนวทางด้านเศรษฐศาสตร์สงิ่ แวดล้อม เป็น โปรแกรมที่มีความเฉพาะเจาะจงที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกจากความ ร่วมมือของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท ปตท.จ�ำกัด (มหาชน)

นวัตกรรมการสร้างอวัยวะเทียมและกระดูกเทียมด้วยวิศวกรรม ย้อนรอยและแม่พิมพ์แบบรวดเร็ว ช่วยสร้างอวัยวะเทียมและ กระดูกเทียมได้ในราคาที่ถูก สามารถน�ำไปใช้ในการสร้างสื่อการ เรียนการสอนทางการแพทย์ และสามารถสร้างอวัยวะเทียมที่มี ขนาดและรูปร่างตามผู้ป่วยแต่ละคนได้

Homepage โปรแกรมประเมินมูลค่าฯ

Homepage นวัตกรรมการสร้างอวัยวะเทียม

วัสดุก�ำบังอนุภาคนิวตรอน โดย ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสนบุญเรือง และน.ส.ดลฤดี โตเย็น, ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติช่วยสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรม โดย ผศ.ดร.คุณยุต เอี่ยมสอาด, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผลิตภัณฑ์วสั ดุกำ� บังอนุภาคนิวตรอนทีป่ ระดิษฐ์จากพาราฟินผสม บิทูเมน สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ ในงานด้านความปลอดภัยทาง รังสีโดยลดทอนอนุภาคนิวตรอนจากแหล่งก�ำเนิด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องก�ำเนิดอนุภาคนิวตรอนจากผู้ใช้งาน การป้องกันอันตราย จากผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับแหล่งก�ำเนิดอนุภาคนิวตรอน หรือ การป้องกันอันตรายจากอนุภาคนิวตรอนในการเรียนการสอน การท�ำงานวิจยั ในสถาบันการศึกษา และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ ในระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้ในอนาคต

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ เป็นการพัฒนาโปรแกรมในการ สร้างแบบทางวิศวกรรม ให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ แบบขอบลึกทั้งชนิด Cavalier และชนิด Cabinet โดยมีมุมเรียง เท่ากับ 30, 45 และ 60 องศา ท�ำให้การสอนวาดภาพฉายแบบ Oblique เป็นงานที่ง่าย สวยงามและเข้าใจรูปทรงได้ง่ายมากขึ้น ขึ้น เหมาะส�ำหรับน�ำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาเขียน แบบวิศวกรรม

Homepage วัสดุก�ำบังอนุภาคนิวตรอน

Homepage โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ

เมื่ อ วั น ที่ 29 สิ ง หาคม 2560 นายกสภา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร พร้ อ มด้ ว ยคณะกรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย เข้าเยี่ยมชมการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน โดยมีคณะผู้บริหารวิทยาเขต รศ. ดร. ตฤณ แสงสุวรรณ รักษาการรองอธิการบดีวิทยาเขตก�ำแพงแสน พร้ อ มด้ ว ยคณบดี ผู ้ อ� ำ นวยการ ส� ำ นั ก และ สถาบันร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ ประโยชน์ ใ นการบริ ห ารจั ด การร่ ว มกั น อย่ า ง มีประสิทธิภาพต่อไป ทัง้ นี้ ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร ได้เดินสายพบปะและหารือกับหลายส่วนงาน ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้ง 4 วิทยาเขต หลังจากเข้ารับต�ำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัด อภิปราย ‘อุดมศึกษาไทยกับการ ’ศึกษา 4.0 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จั ด โครงการประชุ ม สั ม มนา อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจ�ำปี 2560 เรื่อง ‘อุดมศึกษาไทยกับการศึกษา 4.0’ ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล ชั้น 1 อาคาร สารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยได้มีการถ่ายทอดทาง ไกลไปยังวิทยาเขตต่างๆ และถ่ายทอดสดผ่าน ระบบ Nontri Live เพือ่ สร้างความรูค้ วามเข้าใจ ร่วมกันของผู้บริหารและคณาจารย์ให้ได้ร่วม พิจารณาทิศทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ นิสติ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึ้น โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจ�ำ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี, ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ดล เป็ น วิ ท ยากร พิเศษในการอภิปรายครั้งนี้


34

The REPORT ภากร ชยวัฑโฒ และ นครินทร์ พันธุมจินดา

ประชาสัมพันธ์ มก.

Smart Agriculture 1

The Caption 1 | รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่าย วิจยั มก. ในฐานะประธานคณะกรรมการด�ำเนินการโครงการ พัฒนาการเกษตรไทยสู่ระบบอัจริยะด้วยการใช้ข้อมูล ขนาดใหญ่ ขึ้นกล่าวในงาน Agri Big Data RUN’s Way 2 | ตัวอย่างผลงานวิจยั ภายในโครงการดังกล่าวทีจ่ ดั แสดง ในงาน Agri Big Data RUN’s Way 3 | ผศ.ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มก. ในฐานะประธานคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร เครือข่าย พั น ธมิ ต รมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ การวิ จั ย และหั ว หน้ า แผน กิจกรรมโครงการพัฒนาการเกษตรไทยสูร่ ะบบอัจริยะด้วย การใช้ขอ้ มูลขนาดใหญ่ เยีย่ มชมงานวิจยั ภายในงาน Agri Big Data RUN’s Way 4 | คณะผู้ทรงคุณวุฒิโครงโครงการพัฒนาการเกษตร ไทยสู่ระบบอัจริยะด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ ร่วมถ่าย ภาพหมู่ในงาน Agri Big Data RUN’s Way

สังคมเกษตรอัจฉริยะ ยุ ค สมั ย ที่ เ ปลี่ ย นไป เทคโนโลยี ก็ พัฒนาก้าวหน้าขึ้นตาม ชีวิตของคนเราจึงต้อง ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกาลเวลาที่หมุนผ่าน ตั้งแต่ ไลฟ์ ส ไตล์ ก ารใช้ ชี วิ ต ไปจนถึ ง การประกอบ อาชีพ และเมื่อพูดถึงประเทศไทย ประเทศที่มี เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก การน�ำเทคโนโลยี สมัยใหม่มาประยุกต์รวมกับการท�ำการเกษตร จึงเป็นสิง่ ทีต่ อบโจทย์กบั วิถชี วี ติ เกษตรกรในช่วง เวลาที่ประเทศไทยก�ำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 การ ท�ำเกษตรแบบร่วมสมัยที่มีนวัตกรรมเข้ามาเป็น ปัจจัยส�ำคัญในการด�ำเนินการคือก้าวต่อไปของ การเกษตรในประเทศไทย

จุดเริม่ ต้นของ Big Data กับการเกษตรยุคใหม่ มหาวิ ทยาลั ยเกษตรศาสตร์ ที่ ถือ เป็นหนึ่งในองคาพยพส�ำคัญด้านการเกษตร ก�ำลังเร่งพัฒนาการเกษตรไทยให้ก้าวสู่สังคม เกษตรอัจฉริยะด้วยการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ซึง่ ได้ดำ� เนินการร่วมกับเครือข่าย พันธมิตรในหลากหลายภาคส่วน จนเกิดเป็น ‘โครงการพัฒนาการเกษตรไทยสูร่ ะบบอัจริยะด้วย การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่’ หรือ การน�ำ Big Data มาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ภายใต้การน�ำของ ดร.สิรี ชัยเสรี รักษาการแทนรองอธิการบดีฝา่ ย วิจยั มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะประธาน

คณะกรรมการด�ำเนินการโครงการดังกล่าว ซึ่ง โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุน จากคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (วช.) เมือ่ ปี 2559 โดยเป็นการร่วมมือกันของมหาวิทยาลัยพันธมิตร ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณมหาวิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัย สงขานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในชื่อ ‘เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย’ หรือ RUN (Research University Network)


Some

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

เกษตรกรรมในฝัน วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการสร้างฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความเกี่ยวข้องในด้านการเกษตร ซึ่งจะ น�ำไปสนับสนุนในการตัดสินใจของเกษตรกรในทุกระดับ ตั้งแต่ เกษตรกรต้นน�้ำ ผู้ประกอบการ ไปจนถึงผู้ก�ำหนดนโยบายด้าน การเกษตร การน�ำนวัตกรรมนีเ้ ข้ามาจะช่วยเกษตรกรสามารถลด ต้นทุนและเวลาในการเพาะปลูก แถมผลผลิตทีไ่ ด้จะมีคณ ุ ภาพมาก ยิง่ ขึน้ เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เพือ่ ให้ สามารถเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างเต็มก�ำลัง สิ่งที่เกษตรกรทุกคนใฝ่ฝันถึงคือการท�ำการเกษตร ให้ได้รบั ผลผลิตเป็นจ�ำนวนมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการเพาะปลูกอัน สัน้ และมีตน้ ทุนน้อยทีส่ ดุ ดังนัน้ เพือ่ ทีจ่ ะได้ผลผลิตทางการเกษตร ทีด่ ี เก็บเกีย่ วได้มาก การวิเคราะห์ถงึ ช่วงเวลาการเพาะปลูก ตลอด จนการใช้วัสดุและวัตถุดิบให้คุ้มค่าที่สุด จึงเป็นหัวใจส�ำคัญเป็น อย่างมาก Big Data จึงถูกออกแบบให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์หาช่วงเวลาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการเพาะปลูก แต่ละครั้ง นอกจากนั้นยังรวบรวมเอาข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ จากทัว่ ทุกมุมโลกมาวิเคราะห์ถงึ สภาพของพืน้ ดิน ว่าเกษตรกรใน แต่ละพืน้ ทีค่ วรใช้ปยุ๋ อะไร เติมแร่ธาตุชนิดไหน เพือ่ ทีจ่ ะได้ผลลัพธ์ ที่ดีที่สุด โครงการน�ำร่องเพื่อการเป็นประเทศ Smart Agriculture การด�ำเนินการเบือ้ งต้นของโครงการพัฒนาการเกษตร ไทยสูร่ ะบบอัจริยะด้วยการใช้ขอ้ มูลขนาดใหญ่อยูใ่ นท้องทีท่ งุ่ รังสิต กิ น อาณาบริ เ วณ 5 จั ง หวั ด ภาคกลาง ได้ แ ก่ ปทุ ม ธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก ซึ่งเป็นการ ท�ำงานในพื้นที่จริงร่วมกับเกษตรกร ผู้ผลิต ตลอดจนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีทั้งการกสิกรรมและการ ปศุสัตว์น�ำร่องในหลากหลายชนิดพืชและสัตว์ อาทิ ข้าว ปาล์ม น�้ำมัน ไม้ดอกไม้ประดับ โคเนื้อ โคนม ปลานิล เป็นต้น ผศ.ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะประธานคลัสเตอร์เกษตรและ อาหาร เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย และหัวหน้า แผนกิจกรรมโครงการพัฒนาการเกษตรไทยสู่ระบบอัจริยะด้วย การใช้ขอ้ มูลขนาดใหญ่ ได้เปิดตัวงานวิจยั ย่อยอีก 13 โครงการ ใน งาน Agri Big Data RUN’s Way ครัง้ ที่ 1 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นงานเปิดตัว โครงการดังกล่าว โดยงานวิจัยย่อยทั้ง 13 โครงการนั้นถือเป็น โครงการวิจยั ทีต่ งั้ ใจสร้างสรรค์ขนึ้ มาเพือ่ น�ำร่องการท�ำการเกษตร แบบอัจฉริยะในพื้นที่ทุ่งรังสิต เช่น โครงการวิจัยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่ง ตัดส�ำหรับข้าวในพื้นที่ทุ่งรังสิต, โครงการวิจัยเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ส�ำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อระบบสมาร์ตฟาร์มในทุ่งรังสิต, การ พัฒนาระบบติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชในแปลง ผลิตข้าวและการจัดการ เป็นต้น จากการน�ำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data มา ประยุกต์ใช้กบั การเกษตร นอกจากจะสามารถผลักดันประเทศไทย ให้เป็นประเทศ Smart Agriculture แล้ว ยังสามารถพัฒนา ไปสู่การขจัดปัญหาเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตร ตลอดจน สามารถลดต้นทุน สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของ เกษตรกรชาวไทย เปรียบเสมือนเป็นการต่อยอดจากสิ่งเล็กๆไป สู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่น�ำไปสู่การพัฒนาด้วย ความยั่งยืน ให้สมกับเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นดั่งศาสตร์แห่งแผ่น ดินของประชาชนชาวไทย

2

โครงการรณรงค์ปลูกดาวเรือง เหลืองอร่ามส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

3

นายวิ ท ยา จั น ทร์ ฉ ลอง ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด สกลนคร เป็นประธานเปิดโครงการคาราวาน จักรยานรณรงค์ ‘ปลูกดอกดาวเรืองให้บาน สะพรั่งทั่วจังหวัดสกลนคร’ ในช่วงพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 เพือ่ ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหา ที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยภายในงาน มีการกล่าวรายงานโดย รศ.ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งค�ำ รั ก ษาการแทนรองอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขตเฉลิ ม พระเกี ย รติ จั ง หวั ด สกลนคร ณ เส้ น ทางจั ก รยาน คอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อถนนหมายเลข 2 กับ วปรอ.366

'ด�ำนาสอนน้อง’ คณะเกษตร ก�ำแพงแสน จัดกิจกรรมรับน้องอย่าง สร้างสรรค์

4

Homepage RUN

เมื่ อ วั น ที่ 5 สิ ง หาคม 2560 คณะเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขต ก�ำแพงแสน จัดโครงการ ‘สืบสานต�ำนานเกษตร ประจ�ำปีการศึกษา 2560’ โดยมีคณาจารย์ นิสติ ชั้นปีที่ 1 จ�ำนวน 473 คน และชั้นปีที่ 2-4 จ�ำนวน 1,300 คน ร่วมประเพณีด�ำนา บนเนื้อที่ 22 ไร่ เพื่อให้นิสิตเรียนรู้วิธีการด�ำนาอย่างถูกต้อง ตลอดจนความรู้พื้นฐานและทักษะเบื้องต้นใน การปฏิบัติงานทางด้านการเกษตร เสริมสร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณาจารย์กับนิสิต และระหว่างนิสติ รุน่ พีก่ บั รุน่ น้อง เพือ่ สร้างความ ภาคภูมิใจในการเป็นนิสิตคณะเกษตร


36

The NISIT นันท์นภัส พลเศรษฐเลิศ

ชมรมมหาวิทยาลัย-ชาวบ้าน

ชมรมมหาวิทยาลัย-ชาวบ้าน คอลัมน์ The NISIT คอลัมน์ใหม่ที่น�ำเสนอพลังของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในแง่มุมที่สร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลงต่อสังคมในเชิงบวก ตอบแทนประชาชนเจ้าของประเทศในฐานะลูกเกษตรจากภาษีประชาชน 1

The Caption 1-4 | บรรยากาศค่ายสู่ชนบทครั้งที่ 43 ณ โรงเรียน บ้านโพธิ์น้อย ต.กระหวัน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 5 | บรรยากาศค่ายสู่ชนบทครั้งที่ 40 ณ หมู่บ้านญัฮกุร ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ

ปฏิเสธไม่ได้วา่ ปัญหาพืน้ ฐานของการ พัฒนาในทุกๆด้านคือปัญหาเรื่องการศึกษา ซึ่ง เมื่อ 47 ปีก่อน อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ก ลุ ่ มหนึ่ ง ได้ มอง เห็นปัญหาเล็กๆใกล้ตัวที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ ในเรื่องนี้ จึงได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ ‘กลุ่มสภา กาแฟ โรงงานเศรษฐศาสตร์’ เพือ่ น�ำวิชาความรู้ ความสามารถที่อาจารย์แต่ละท่านมี ไปสอนแก่ เด็กในชุมชนโรงสูบบริเวณมหาวิทยาลัย ด้วยความ ตั้งมั่นอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งความรู้ที่ ผู้คนเข้าถึงได้ทกุ ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ที่เติบโตมารอบรั้วมหาวิทยาลัย ถัดจากนัน้ หนึง่ ปีความมุง่ มัน่ ของอาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์กลุม่ นัน้ ก็คล้ายกับเป็นแม่เหล็ก ที่ เรี ย กพลั งจากนิ สิ ต ให้ เ ข้ ามามี ส่ ว นร่ ว มและ ร่ ว มกั น สร้ า งกลุ ่ ม เล็ ก ๆให้ ก ลายเป็ น ‘ชมรม มหาวิทยาลัย-ชาวบ้าน’ ซึ่งกลายมาเป็นเพียง หนึ่งในไม่กี่ชมรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของทุก

มหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่ยังคงด�ำเนินการต่อ ไปได้จากความเปลีย่ นแปลงทางการเมืองในทุกสมัย เนือ่ งจากมีแนวคิดทีเ่ น้นไปทีก่ ารช่วยเหลือชาวบ้าน ในชนบท ด้วยการท�ำกิจกรรมอย่างละมุนละม่อม และมุง่ เน้นการแก้ปญ ั หาชุมชนแออัดในสังคมเมือง ชมรมจึ ง อิ ส ระ มี เ สรี ภ าพในการท� ำ กิ จ กรรม มากขึ้น “ชมรมเราเขียนว่า ชมรมมหาวิทยาลัยชาวบ้ า น อ่ า นว่ า มหาวิ ท ยาลั ย ถึ ง ชาวบ้ า น หมายความว่าเราเป็นชมรมที่จะไปถึงชาวบ้าน จริงๆ จากบทบาทแรกที่เป็นการสอนหนั ง สื อ เด็ ก ที่ ชุ ม ชนโรงสู บ หลั ง มหาวิ ท ยาลั ย เรา มองว่านั่นเป็นปัญหา ลูกของชาวบ้านที่อยู่ติด มหาวิ ท ยาลั ย แต่ ก ลั บ ไม่ ไ ด้ รั บ ความรู ้ เพราะ พ่อแม่เขาฐานะไม่ดี แล้วเราจะช่วยอะไรได้บ้าง อาจารย์ผู้จุดประกายให้ชมรมของเราเห็นว่าการ ศึกษาเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญที่สุด จึงออกไปสอน เด็กที่โรงสูบ ก่อนกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นให้เรา

มีชมรม แล้วก็มีค่ายอื่นๆตามมา” กัญญารัตน์ ทองห่อ นิสิตสาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ รุ่น KU74 ประธานชมรมที่เพิ่งได้รับต�ำแหน่ง มาได้เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน เล่าภาพรวมของ ชมรม ก่อนจะสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นผ่าน อุดมการณ์ของชมรม “ศึกษาปัญหา พัฒนาบุคคล พัฒนา สังคม คือวัตถุประสงค์หลักของชมรม เรามาระดม สมองกันก่อนว่าเขามีปญ ั หาอะไร เช่น การเกษตร การศึกษา หรือสาธารณสุข แล้วเราสามารถ ไปช่วยอะไรเขาได้บ้าง เริ่มต้นที่มองปัญหาก่อน แล้วเราก็กลับมาคุยกัน ด้วยความทีเ่ ราไม่ได้เป็น ค่ายทีอ่ อกไปสร้างเพียงอย่างเดียวเพราะแบบนัน้ เรา มองว่ามันไม่ยงั่ ยืน เราเลยต้องมีการท�ำกิจกรรม ร่วมกับเขา ซึ่งตรงนี้คือการเน้นเรื่องตัวบุคคล เป็นหลัก ทั้งพี่ค่าย น้องค่าย ชุมชนเขาได้อะไร จากการท�ำกิจกรรม เลยมีทงั้ สร้างสอน การเล่น เกมวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคล”


Some

From Nisit To Public Affairs

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

2

เตรียมพบกับ KU MOBIKE ครั้งแรก ของไทย

“เราไม่ได้จำ� กัดว่าปัญหาจะต้องเป็นรูปแบบไหน สถานที่ ก็เช่นเดียวกัน ขึน้ อยูก่ บั ความเหมาะสม บางปัญหาเราไม่สามารถ แก้ได้ทนั ที วันหนึง่ เราเติบโตไป เราไปจุดประกายเขาหรือเด็กๆให้มี ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ดีไม่ได้หมายความว่าเขาจะกลับมาสูก่ ารท�ำงาน แบบพวกเรา เขาอาจจะจบไปเพื่อพัฒนาบ้านเกิดของเขาให้ดีขึ้น ก็ได้ นอกจากเราจะไปออกค่ายสร้าง เรายังสร้างตัวเราเอง สร้าง เด็กที่เราออกไปหา ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้งเขาและเรานั่นแหละที่จะมา ช่วยกันพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น” ด�ำรงศักดิ์ ยิ้มสงวน นิสิตเก่าคณะ ประมง รุ่น KU69 ซึ่งเป็นที่ปรึกษาชมรมกล่าวเสริม ช่วงเวลาภายใต้การด�ำเนินการของสมาชิกชมรมรุน่ ใหม่ เราได้เห็นการแปรเปลีย่ นจากค�ำพูดเหล่านัน้ เป็นการลงมือท�ำ ทัง้ การสร้างลานตากข้าวให้เกษตรกรที่ อ.ขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ เพือ่ ให้เขาได้รกั ษาผลผลิตให้คงคุณภาพ ปลอดความชืน้ ทัง้ การลงไป ใช้ชวี ติ คลุกคลีกบั ชาวเขาเผ่าต่างๆ พยายามเรียนรูภ้ าษาจากพวก เขา จนคนเฒ่าคนแก่ชาวเขายอมเปิดใจและร่วมพูดคุยแลกเปลีย่ น ภูมปิ ญ ั ญา การออกไปให้ความรูเ้ รือ่ งการจัดการขยะกับคนชายฝัง่ การเดินทางไกลหลายร้อยกิโล ผ่านพืน้ ทีท่ รุ กันดาร ทัง้ พืน้ ราบและ บนเขา เพื่อน�ำเอาของบริจาคและเกมวิชาการไปบริการ ซึ่งความ น่าสนใจของเกมวิชาการก็คือการให้ชาวบ้านแต่ละคนรับบทบาท สมมติและร่วมกันแสดงความคิดเห็นตามบทบาทของตัวเองเมื่อ เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นในชุมชน ท�ำให้เห็นกระบวนการคิดของ คนในชุมชน เพราะเป็นคนในชุมชนเป็นคนทีม่ องเห็นปัญหาและใกล้ ชิดกับปัญหา ซึ่งท�ำให้นิสิตชมรมมหาวิทยาลัยชาวบ้านสามารถ ร่วมแก้ปัญหาให้กับคนในท้องถิ่นได้อย่างถูกจุด “เกษตรมาจากภาษีของประชาชนเป็นเรื่องที่จริงมาก การที่ได้มาเรียนตรงนี้มันไม่ใช่แค่เงินของพ่อแม่ มันคือภาษี ของประชาชนทั้งประเทศที่เขาให้มา มันคือของทุกคน แล้วบาง ครอบครัวที่ลูกเขาไม่ได้มาเรียน แสดงว่าเราเป็นตัวแทนของเขา สิ่งนี้มันหล่อหลอมเราว่าวันนี้เราต้องท�ำอะไรให้กับเกษตร ให้กับ ชมรม หรือว่าให้กับคนอื่น คืนกลับสังคม”

3

เมือ่ วันที่ 30 สิงหาคม 2560 ณ Groove ศูนย์การค้า Central World ชั้น G ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามความร่วมมือกับ โจ เซียะ ผู้ก่อตั้งและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท MOBIKE ที่ประสบความส�ำเร็จในการให้บริการ จักรยานสาธารณะอัจฉริยะไร้สถานีจอด หรือ MOBIKE Smart BIKE Sharing ในประเทศจีน โดยจะมีการน�ำร่องทีม่ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันแรกในประเทศไทย ในช่วงต้นเดือน ตุลาคม 2560 โดยได้รับการสนับสนุนและความ ร่วมมือจาก AIS และ Central Pattana Group ทีจ่ ะร่วมกันขับเคลือ่ นประเทศไทยให้เป็นประเทศ สีเขียวที่แท้จริง

ร้านค้ารับมอบป้ายมาตรฐาน Q Restaurant

4

5

ร้านค้าภายในโรงอาหารกลางทั้ง 2 แห่งของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การก�ำกับ ดูแลโดยส�ำนักงานทรัพย์สินฯ จ�ำนวน 11 ร้าน รั บ มอบป้ า ยรั บ รองร้ า นค้ า วั ต ถุ ดิบ ปลอดภั ย (Q Restaurant) จากส� ำ นั ก งานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ใน วันที่ 28 สิงหาคม 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารวิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยโครงการนีม้ จี ดุ ประสงค์เพือ่ ให้นสิ ติ และบุคคลภายในมหาวิทยาลัยได้บริโภคอาหารที่ มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพื่อร่วมกันยกระดับ คุ ณ ภาพมาตรฐานร้ า นค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กษตร และอาหารของไทยอย่างครบวงจร ตามนโยบาย อาหารปลอดภัยของรัฐบาล


38

The REPORT ภากร ชยวัฑโฒ

ประชาสัมพันธ์ มก.ฉกส. และ KU CSC PHOTO CLUB

เกษตรศาสตร์รวมใจสู้อุทกภัยจังหวัดสกลนคร เหตุการณ์น�้ำท่วมที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม ที่ผ่านมา นับว่าเป็น น�้ ำ ท่ ว มที่ ห นั ก ที่ สุ ด ในรอบ 50 ปี ข องจั ง หวั ด สกลนคร โดยมีระดับน�้ำท่วมสูงถึง 1.5 เมตร และในบางพืน้ ทีร่ ะดับน�ำ้ สูงถึง 2 เมตร ซึง่ สาเหตุ หลักๆของเหตุการณ์นำ�้ ท่วมในครัง้ นีม้ าจากฝนตก หนั กติ ดต่ อ กั น ถึ ง 3 วั น 3 คื น จนปริ มาณน�้ ำ ไม่สามารถระบายได้ทัน อีกทั้งอ่างเก็บน�้ำห้วย ทรายขมิ้น ซึ่งเป็นแหล่งเก็บน�้ำหลักของจังหวัด สกลนครไม่สามารถรองรับปริมาณน�้ำไว้ได้ไหว เอ่อล้นเข้าท่วมอ�ำเภอเมือง ส่งผลให้การจราจร เป็นอัมพาตทัง้ เมือง รวมถึงบริเวณมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขตเฉลิ ม พระเกี ย รติ จังหวัดสกลนคร ก็ได้มีน�้ำท่วมขังในระดับที่สูง เกินหัวเข่า กระทบกับการเรียนการสอน ตลอด จนการใช้ชวี ติ ของนิสติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร แต่ถึงกระนั้น ด้วยพลังใจและความ มุง่ มัน่ ช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ระดมสรรพก�ำลังเข้าไปจัดการกับปัญหา น�ำ้ ท่วมใหญ่จงั หวัดสกลนครในครัง้ นี้ ทัง้ การเปิด The Caption โรงทานในบริเวณรั้วมหาวิทยาลัย การเปิดศูนย์ 1 | นิสิต มก.ฉกส. ร่วมท�ำความสะอาดตัวเมืองสกลนคร เพื่ อ ขอ รั บ การสนั บ สนุ น และช่ ว ยเ ห ลื อ หลังจากเหตุการณ์อทุ กภัยครัง้ ใหญ่ของจังหวัดสกลนคร ผู ้ ป ระสบภั ย น�้ ำ ท่ ว ม แม้ ว ่ า สภาพปั ญ หาจะ 2 | ดร.จงรัก วัชรินทร์รตั น์ รักษาการแทนอธิการบดี มก. กระทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วท ิ ยาเขต และที ม ผู ้ บ ริ ห าร เยี่ ย มเยี ย นผู ้ ป ระสบภั ย น�้ ำ ท่ ว มใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ความช่วย จังหวัดสกลนคร 3 | ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผูส้ อื่ ข่าวช่อง 3 ลงพืน้ ทีท่ ำ� ข่าว มก. เหลื อ เพื่ อ ชาวสกลนครก็ ยั ง ถู ก ส่ ง ต่ อ ออกไป อย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วมจังหวัดสกลนคร อีกทั้งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4 | ภาพหมู่บรรดาจิตอาสาของ มก. ในการช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟู ภัยพิบัติน�้ำท่วมของจังหวัดสกลนคร วิทยาเขตบางเขน ยังได้มก ี ารเปิดศูนย์รบั บริจาค สิ่งของเครื่องใช้ ณ บริเวณอาคารสารนิเทศ 50

ปี เพื่อรวบรวมสิ่งของจ�ำเป็น อาทิเช่น น�้ำดื่ม อาหารแห้ง จากศิษย์เก่าและหน่วยงานต่างๆ น�ำ ส่งต่อไปยังพีน่ อ้ งชาวจังหวัดสกลนคร โดยศิษย์ เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จ�ำนวนมากได้ ร่วมแสดงถึงน�้ำใจที่มีต่อคนไทยด้วยกัน ทั้งการ บริจาคของ บริจาคทุนทรัพย์ส่วนตัว ตลอดจน ช่ ว ยเหลื อ อ� ำ นวยความสะดวกต่ า งๆให้ กั บ ผู ้ ประสบภัย จนยอดบริจาคทะลุ 7 หลัก นับว่า เป็นคลื่นพลังน�้ำใจจากลูกนนทรีที่ส่งต่อให้แก่ ประชาชนชาวไทยในยามเดือดร้อน การเผชิ ญ วิ ก ฤตน�้ ำ ท่ ว มในครั้ ง นี้ ของจังหวัดสกลนครท�ำให้หลายภาคส่วนต้อง ตระหนักและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในอนาคต ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ก็ เป็นอีกหนึ่งก�ำลังหลักที่ให้การช่วยเหลืออย่าง เต็มก�ำลัง รวมไปถึงการวางแผนป้องกันปัญหา ในอนาคตผ่านการจัดเสวนาทางวิชาการเพื่อ ร่วมวางแนวทางการป้องกันอุทกภัยในจังหวัด สกลนครอย่างยัง่ ยืนภายใต้หวั ข้อ ‘วิกฤตินำ�้ ท่วม ใหญ่สกล กับโอกาสการพัฒนาอย่างยั่งยืน’ ใน วันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวทีสำ� คัญทีม่ ี ส่วนช่วยในการพัฒนาจังหวัดสกลนคร และเป็นการ เตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างรอบคอบ นับ ว่าเป็นการพลิกวิกฤติเป็นให้เป็นโอกาสในการ พัฒนาท้องถิ่น แก้ปัญหาอย่างมีวิสัยทัศน์ และ ถือเป็น Spirit ทีค่ นเกษตรศาสตร์ตงั้ ใจตอบแทน แผ่นดินเกิด ไม่วา่ สภาพปัญหาจะร้ายแรงและส่ง ผลต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือไม่ก็ตาม

2


Some

OTHER STORIES เรื่องราวรอบรั้วนนทรี

Spirit 1

องคมนตรีเป็นประธานปลูกป่า 100 ไร่ เทิดพระเกียรติ ร.10 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2560 ณ บริเวณสนาม กี ฬ ากลาง 1 มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน ดร.จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการปลูกป่า 100 ไร่ เพือ่ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 โดยมี น ายสมบู ร ณ์ ศิ ริ เ วช รองผู ้ ว่ า ราชการ จั ง หวั ด นครปฐม รศ.ดร.ตฤณ แสงสุวรรณ รักษาการรองอธิการบดีวิทยาเขตก�ำแพงแสน บุคลากร นิสิต ตลอดจนประชาชน 5,000 คน ให้การต้อนรับและร่วมโครงการปลูกป่า จ�ำนวน 10,000 ต้น ซึ่งจะส่งผลให้เป็นสถาบันการศึกษา ที่มีต้นไม้และป่าไม้ไว้ศึกษาค้นคว้าที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศไทย

รพ.ราชวิถี จับมือ ม.เกษตรฯ ร่วมพัฒนานวัตกรรม

3

4

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาล ราชวิถี ให้การต้อนรับ ผศ.วิมล รอดเพ็ชร รักษาการ รองอธิการบดีฝา่ ยการเงิน, ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว คณบดี ค ณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ และคณะ ในการประชุมหารือร่วม การ Co-Creation Partnership เพื่อพัฒนา งานด้านการวิจยั และนวัตกรรมระหว่างโรงพยาบาล ราชวิถีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี นั ก บริ ห ารยุ ท ธศาสตร์ แ ละการเปลี่ ย นแปลง โรงพยาบาลราชวิถี เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมราชวิถี ชั้น 11 อาคาร เฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560


40

First IN กุลนิษฐ์ จะยะสกูล

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

First of All การรับน้องคือเหตุการณ์แรกๆในรัว้ มหาวิทยาลัยทีน่ สิ ติ เกษตรศาสตร์ทกุ คนได้เข้าร่วม กลิน่ อายบรรยากาศในแต่ละกิจกรรมก็สร้างหลาก หลายอารมณ์และความรูส้ กึ ให้แก่นสิ ติ ทุกยุคทุกสมัย คอลัมน์ First IN KU ฉบับนีห้ ยิบยกเหตุการณ์ทเี่ กีย่ วเนือ่ งกับการรับน้องทีป่ ระทับ ตราความเป็น ‘ครั้งแรก’ มาน�ำเสนอ ทั้งเรื่องราวชวนรู้และภาพเหตุการณ์ย้อนสมัย เชื่อว่าเหล่านี้คือสิ่งที่ชาวนนทรีไม่ค่อยได้พบเห็น ที่มา - หอจดหมายเหตุ มก.

ครั้งแรกของการเสด็จมาเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ รัชกาลที่ 8 ได้ เสด็จมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อ ทอดพระเนตรกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และ ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน จึงนับ เป็นครั้งแรกที่ประมุขของประเทศได้เสด็จมายัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัง้ แต่มหาวิทยาลัย ได้ รั บ การสถาปนาขึ้ น มา มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ในยุคนัน้ จึงยึดถือวันที่ 5 มิถนุ ายน ของทุกปีเป็นวันต้อนรับน้องใหม่ ซึ่งถ้าตรงกับ วันธรรมดา มหาวิทยาลัยต้องหยุดเรียน 3 วัน คือ วันที่ 4 มิถุนายน เป็นวันเตรียมงาน วันที่ 5 มิถนุ ายน เป็นวันพิธี และวันที่ 6 มิถนุ ายน เป็นวัน เก็บงาน จนถึงปี พ.ศ.2502 จึงได้เปลี่ยนเป็นวัน ใดก็ได้ทเี่ ป็นวันเสาร์และอาทิตย์ เพราะว่าเป็นการ สะดวกส�ำหรับนิสิตที่ไม่ต้องหยุดเรียน จนมาถึง ปัจจุบันที่ใช้เวลาช่วงต้นของการเปิดภาคการ ศึกษาแรกในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่

ครั้งแรกของพิธีถอดหมวกปลดโบว์ ‘หมวกเขียว’ และ ‘โบว์เขียว’ เกิดขึน้ ครัง้ แรกในปี พ.ศ. 2497 เนือ่ งจากนิสติ ใหม่มจี ำ� นวนเพิม่ มาก ขึ้น จึงมีแนวคิดในการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดง ความเป็นน้องใหม่ขนึ้ โดยท่านอาจารย์รตั น์ ชลลัมพี ได้กล่าวกับนิสิตใหม่ว่า เมื่อเข้ามาเรียนอยู่ใน บางเขน ทุกคนจะต้องเป็นลูกสีเขียวแต่เพียงสี เดียวเท่านั้น โดยมีเครื่องหมายสีเขียวมาให้น้อง ใหม่ประดับไว้กับตัว อย่างนิสิตชายจะให้สวม หมวกสี เ ขี ย วมี ผ ้ า สี ข าวแปะไว้ ห น้ า หมวกและ เขียนชือ่ ของตนเองลงไป ขณะทีน่ สิ ติ หญิงให้ตดิ โบว์หกู ระต่ายสีเขียว มีเข็มกลัดเครือ่ งหมายพระ พิรุณทรงนาคไว้ที่หน้าอก และในวันสุดท้ายของ การศึกษาชั้นปีที่ 1 นิสิตชายจะต้องเข้าสู่พิธีการ ถอดหมวก ส่วนนิสิตหญิงจะต้องเข้าสู่พิธีการ ปลดโบว์ หรื อ ที่ เ รี ย กในภาษาอั ง กฤษว่ า พิ ธี Goodbye Green Ribbon ซึ่งเป็นเครื่องหมาย แสดงถึงวาระที่นิสิตจะพ้นสภาพความเป็นน้อง ใหม่ ซึ่งปัจจุบันคณะเกษตรยังคงมีการสืบสาน ประเพณีนี้อยู่ในหมู่นิสิตหญิงชั้นปีที่ 1

ครั้งแรกของประเพณีปล้นหอชิงธง ‘ประเพณีปล้นหอ’ ถูกน�ำมาใช้เป็นกิจกรรมใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2495 ตรงกับนิสิตรุ่น KU12 ซึ่งถือเป็นรุ่นแรก โดยมี จุดเริม่ ต้นมาจากการขโมยขนมเอามาแบ่งกันกิน ที่วิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัย เกษตรศาสตร์) ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับการนับถือ ปฏิบตั กิ นั อย่างเข้มแข็งมาก มีการแต่งหน้าแต่ง ตัวราวกับโจร มีการขู่ตะคอกข่มขวัญ จับน้อง ใหม่มาเข้าแถวให้เดินพาเหรดย�่ำไมยราพกัน กลางดึก จากนั้นต้องถูกน�ำไปด�ำน�้ำล้างมลทิน ในสระเกษตรสนาน และเมื่อถึงรุ่งเช้าน้องใหม่ ต้องไปเข้าพิธีสุดท้ายคือ ‘ประเพณีชิงธง’ หรือ การแย่งธงสีเขียวจากรุน่ พี่ โดยนิสติ ชายชัน้ ปีที่ 1 จะต้องร่วมมือกันปีนขึ้นไปชิงธงสีเขียวที่ปักอยู่ บนยอดเสาทีช่ โลมน�ำ้ มันหรือทาด้วยจารบีตงั้ แต่ โคนเสาจนถึงยอดเสาไว้ให้ได้ และที่โคนเสายังมี นิสิตชายชั้นปีที่ 2 ล้อมรอบอยู่เป็นจ�ำนวนมาก โดยมีนิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 ท�ำหน้าที่เป็นกองเชียร์ จนกว่ามีใครคนใดคนหนึ่งปีนจนถึงยอดเสาและ ปลดธงสีเขียวลงมาได้ ผู้นั้นจะได้เป็น ‘วีรบุรุษ’ หรือ ‘ฮีโร่’ แล้วรุ่นพี่จึงจะยอมรับนับถือว่าเป็น น้องโดยสมบูรณ์

ครั้งแรกของประเพณีรับน้องขึ้นรถไฟ ประเพณีการรับน้องขึ้นรถไฟของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากมหาวิ ท ยาลั ย ได้รับการสถาปนาแล้ว 6 ปี โดยในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2493 พิธีรับน้องใหม่เป็นไปอย่างเรียบ ง่ า ย คื อ การให้ น ้ อ งใหม่ ไ ปขึ้ น รถไฟที่ ส ถานี รถไฟหัวล�ำโพงแล้วมาลงที่สถานีรถไฟบางเขน ซึ่งจะมีรุ่นพี่ไปรอรับแล้วพาน้องใหม่เดินขบวน ข้ามทางรถไฟที่เส้นขนานที่ 38 เข้ามาสู่ภายใน มหาวิ ท ยาลั ย จากนั้ น จึ ง มายั ง ห้ อ งพิ ธี ที่ จั ด เตรียมไว้ มีการสัมภาษณ์น้องใหม่กันเล็กน้อย ก่อนที่จะมาร่วมรับประทานอาหารกันที่ชั้นล่าง ของตึกเขียวหรือเรือนเขียว ซึ่งเป็นอาคารที่เป็น ดั่งสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในยุคนั้น


41

The REPORT นครินทร์ พันธุมจินดา

ประชาสัมพันธ์ มก.

in New Look เกษตรศาสตร์มาดใหม่

The Caption 1-2 | ภาพจากทีมงานมืออาชีพที่เข้ามาเตรียมการถ่าย ท�ำวิดีทัศน์แนะน�ำมก.ในมุมมองใหม่ 3, 5 | ตัวอย่างงานออกแบบภายใต้ระบบเอกลักษณ์ใหม่ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4 | Mood & Tone ที่จะปรากฏในวิดีทัศน์มาดใหม่ ของ มก.

1

ความมุ่งมั่นตั้งใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน การพัฒนาภาพลักษณ์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและเสริมสร้าง ความเป็นสากลผ่านการออกแบบปรับปรุงการใช้ระบบเอกลักษณ์ โดยได้ ‘G49’ บริษัทชั้นน�ำด้านการออกแบบเอกลักษณ์องค์กร หรือ Corporate Identity มาเป็นโต้โผใหญ่ในการสร้างภาพ ลักษณ์ที่สามารถสื่อสารได้ในระดับสากล การจะน�ำระบบเอกลักษณ์ทอี่ อกแบบมาเป็นอย่างดีไปใช้ ให้ สั ม ฤทธิ์ ผ ลจึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร หรื อ Workshop เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจของผู ้ ป ฏิ บั ติ ก ารให้ เ ป็ น ไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น ซึ่ ง คณะกรรมการสื่ อ สารองค์ ก รของ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ไ ด้ จั ด การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร ขึ้ น ภายใต้ ชื่ อ ‘การอบรมการใช้งานระบบเอกลักษณ์องค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์’ หรือ ‘KU Corporate Identity Implementation Workshop’ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเรขศิลป์และ งานสื่อสารองค์กรของส่วนงานต่างๆ ทั้งระดับคณะ ระดับส�ำนัก

2

3

4

5

และระดับสถาบันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมไปถึงหน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้องได้มคี วามรูค้ วามเข้าใจในการใช้งานระบบมาตรฐาน เอกลักษณ์องค์กรอย่างถูกต้องและสามารถน�ำไปปรับประยุกต์ ใช้กับส่วนงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ภาพ ลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีเอกลักษณ์และมีความ เป็นสากลมากยิ่งขึ้น ซึง่ จากการจัดการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารครัง้ ทีผ่ า่ นมาได้ รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี มีผเู้ ข้าร่วมงานจากหลากหลายส่วน งานในแต่ละวิทยาเขตเป็นจ�ำนวนกว่า 100 คน และผลการอบรมก็ เป็นที่น่าประทับใจ บุคลากรด้านปฏิบัติการมีความเข้าใจในระบบ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งยังสามารถ น�ำรูปลักษณ์การออกแบบของระบบเอกลักษณ์มาปรับประยุกต์ ใช้กับการออกแบบด้านเรขศิลป์ของแต่ละส่วนงานได้เป็นอย่างดี นอกจากระบบเอกลักษณ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความเป็น สากลมากยิ่งขึ้นแล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้มีแนวคิด ในการผลิตวิดีทัศน์แนะน�ำมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่ โดยได้หยิบ

แรงบันดาลใจที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้าใจโลกสมัยใหม่ ผสาน การออกแบบที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นสากล แต่ขณะ เดียวกันวิดที ศั น์ชนิ้ นีก้ จ็ ะไม่ลมื ความเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ใกล้ชิดกับประชาชน ขณะนีว้ ดิ ที ศั น์ชนิ้ นีอ้ ยูร่ ะหว่างการผลิตโดยทีมงานมืออาชีพด้านสื่อภาพเคลื่อนไหว โดยคาดว่าจะเผยโฉมให้ชาวนนทรี ได้เห็นกันถ้วนทั่วภายในปีหน้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภายใต้รปู โฉมทีง่ ดงามร่วม สมัยจะสร้างความประทับใจให้กับบุคคลภายนอกได้มากเพียงใด ส่วนหนึ่งต้องเริ่มจากคนในบ้าน อย่างพวกเราชาวเกษตรศาสตร์ ทุกคน ที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการให้ความร่วมมือใน การพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในครัง้ นี้ ซึง่ แน่นอนว่าทุกคน ต่างย่อมคาดหวังให้มหาวิทยาลัยของพวกเราสวยงาม น่ามอง และ เป็นมหาวิทยาลัยทีก่ า้ วทันทุกกระแสโลก ฉะนัน้ พลังสนับสนุนของ ทุกๆคนจะเป็นแรงผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยนื หยัด ทัดทานในกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสง่างาม


42

The HIDEOUT นครินทร์ พันธุมจินดา

ประชาสัมพันธ์ มก. และ มหวรรณ พันธุมจินดา

Warunawan Urban Forest Park สวนป่าวรุณาวัน อัญมณีที่ซุกซ่อนอยู่ในทุ่งบางเขน กว่า 846 ไร่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้ซกุ ซ่อนสถานทีน่ า่ ค้นหา ไว้อย่างมากมาย ทั้งสถานที่ใกล้ชิดธรรมชาติแปลกตา มุมมองแปลกใหม่ของแต่ละคณะ ตลอดจน สถานที่ที่พ่วงเรื่องราวน่าแปลกใจ ซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาน�ำเสนอผู้อ่านทุกท่าน และใน KU BULLETIN ฉบับนี้ เป็นคิวของสวนสวยที่ซ่อนตัวอยู่หลังกลุ่มอาคารสีขาวที่ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมไทย เป็นสวนที่เพิ่งมีการปรับปรุง ก่อนเปิดให้บริการอวด โฉมอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้

สวนวรุณาวัน ตัง้ อยูร่ มิ รัว้ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์บริเวณแนวถนนวิภาวดีตดั กับถนน งามวงศ์วาน มีกลุม่ อาคารของส�ำนักพิพธิ ภัณฑ์ และวัฒนธรรมการเกษตรก�ำบังความเขินอาย ของสวนป่าแนวคิดดีแห่งนี้ สถานที่แห่งนี้รวบรวมต้นไม้ประจ�ำ จังหวัดของประเทศไทยครบทั้ง 77 จังหวัด โดย มีเจตนาเพื่อเป็นห้องเรียนธรรมชาติทางด้าน วนศาสตร์ เป็นสถานทีศ่ กึ ษาเรียนรูข้ องบุคคลที่ สนใจ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และ รักษาระบบนิเวศในภาพรวมของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ถือเป็น Urban Forest Park เพียงแห่งเดียวในรั้วนนทรี แต่กว่าจะมาเป็น ‘ปอดของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์’ อย่างสมบูรณ์ในทุกวันนี้ สวนวรุณาวัน ได้ทำ� การปรับปรุงครัง้ ใหญ่โดยความรับผิดชอบ ของกองยานพาหนะ อาคาร และสถานที่ ซึ่งได้ มีการปรับปรุงทางเดินและสะพานภายในสวน ตลอดจนพัฒนาแหล่งน�ำ้ และสภาพภูมทิ ศั น์โดยรอบ ให้มคี วามสวยงาม น่าพักผ่อน เหมาะส�ำหรับการ เป็นอัญมณีสเี ขียวทีซ่ กุ ซ่อนอยูภ่ ายใต้ผนื ดินอัน อุดมสมบูรณ์ของทุ่งบางเขน การเดิ น ทางมายั ง สวนวรุ ณ าวั น ก็ แ สนสะดวก ทุ ก ท่ า นสามารถโดยสารรถ โดยสารประจ�ำวิทยาเขต หรือ ‘รถตะลัย’ สาย 3 เพื่ อ เดิ น ทางมายั ง ส� ำ นั ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ละ วัฒนธรรมการเกษตร ก่อนเดินเท้าเข้ามาด้าน ในอีกประมาณ 200-300 เมตร โดยมีจุดสังเกต คือความร่มรืน่ และเกาะกลางน�ำ้ ทีม่ ตี น้ ไทรขนาด ยักษ์


43

The REPORT นครินทร์ พันธุมจินดา

สโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์

Kasetsart Football Club ถนนสายลูกหนังของทัพนาคามรกตในไทยลีก 2

‘นาคามรกต’ คือฉายาของสโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์หรือทีเ่ ราเรียกกันคุน้ ปากว่า ‘Kasetsart FC’ เป็น สโมสรฟุตบอลทีโ่ ลดแล่นอยูใ่ น ‘ไทยลีก 2’ ลีกฟุตบอลอาชีพระดับพระรอง ถือเป็นความภาคภูมใิ จบนถนน สายลูกหนังของคนเกษตร ทีค่ อยส่งแรงใจ ให้แรงเชียร์ เพือ่ ให้ทพ ั นาคามรกตพิชติ ฝัง่ ฝันได้อย่างสวยงาม

กว่าจะเป็นนาคามรกต สโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์ ก่อตัง้ ขึน้ ในปี 2531 โดย แรกเริ่มใช้ชื่อว่า ‘สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์’ และมีฉายาว่า ‘สิงห์บางเขน’ ซึ่งได้ลงท�ำการแข่งขันตั้งแต่ระดับ ‘ถ้วยพระราชทาน ง’ และเคยแตะจุดสูงสุดที่ระดับ ‘ดิวิชั่น 1’ ซึ่งเป็นลีกพระรองในสมัยนั้น ก่อนที่จะท�ำการปรับโฉมครั้งใหญ่ ในปี 2554 เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น ‘Kasetsart FC’ เปลี่ยนตรา สโมสรเป็น ‘พญานาค’ จากสัญลักษณ์พระพิรุณทรงนาค ซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ประจ�ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

The Fact ประธานสโมสร สุเทพ วงษ์รื่น ผู้จัดการทีม จันทร์ธนู สัตยาวัฒนา หัวหน้าผู้ฝึกสอน พงศกร สมรูป (รักษาการแทน ‘โค้ชชู’ ชูศักดิ์ ศรีภูมิ) กัปตันทีม นิเวส ศิริวงศ์ ดาวยิงสูงสุดประจ�ำฤดูกาล Jonatan Ferreira Reis (16 ประตู, ดาวซัลโวร่วมประจ�ำไทยลีก 2)

ส�ำหรับทัพนาคามรกต เริ่มตั้งแต่การเดินทางที่แต่เดิมไปเยือน เฉพาะสโมสรจากในโซนกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นต้องเดิน ทางทั่วทั้งประเทศ อีกทั้งความจริงจังของการแข่งขันที่ทวีคูณ เพราะต้ อ งเผชิ ญ กั บ หลากหลายสโมสรระดั บ ต้ น ๆ ทั้ ง ที่ เ คย ผ่านสมรภูมิระดับไทยลีกและบรรดาแข้งเตะตัวเก๋า ท�ำให้ในช่วง แรกของการแข่งขัน สโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์ต้องเผชิญ กับการปราชัยในหลายต่อหลายนัด ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออันดับ ในตารางคะแนนและความเสี่ยงต่อการต้องตกชั้นลงไปเล่นใน ระดับ ‘ไทยลีก 3’ ทว่า ฟ้าหลังฝนของ ‘Kasetsart FC’ ได้มาปรากฏบันไดสู่ไ ทยลีก 2 โฉมในเวลาที่ พ อเหมาะพอเจาะ ผลงานในเลกที่ 2 ของการ ‘นาคามรกต’ ท�ำผลงานใน ‘ไทยลีก ดิวิชั่น 2’ โซน แข่งขันในฤดูกาล 2560 ที่ดีขึ้นผิดหูผิดตา ก�ำชัยชนะ กอบโกย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้อย่างน่าภูมิใจในหลายต่อ 3 แต้มได้ติดต่อกัน ส่งผลให้ ‘นาคามรกต’ ที่จมท้ายตาราง หลายฤดูกาล คว้าตั๋วไปเล่นศึก ‘Champions League’ ซึ่ง มาครึ่ ง ทางของการแข่ ง ขั น ทะยานสู ่ ก ารเป็ น ที ม กลางตาราง เป็นการแข่งขันของแชมป์และรองแชมป์ ในแต่ละโซนของ ‘ไทย และด้วยผลงานที่เข้าฝักอย่างต่อเนื่องท�ำให้เชื่อได้ว่าในปีการ ลีก ดิวิชั่น 2’ จ�ำนวน 10 ทีม เพื่อ ‘เพลย์ออฟ’ หา 3 สโมสรที่ แข่งขันหน้าเราจะได้ตามเชียร์สโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์ใน ขึ้นชั้นไปเล่นใน ‘ไทยลีก ดิวิชั่น 1’ และก็เป็นทัพ ‘นาคามรกต’ ลีกระดับพระรองต่อไป ที่ ท�ำ ส� ำ เร็ จ ในปี 2559 ก่ อนที่ ‘ไทยลี ก ดิ วิชั่ น 1’ จะถู ก เปลี่ ย น ชื่อเป็น ‘ไทยลีก 2’ ในฤดูกาลปัจจุบัน ถือเป็นการกลับมาโลด การก้ า วเข้ า มาสู ่ ก ารแข่ ง ขั น ระดั บ ต้ น ๆในไทยของ แล่นบนลีกพระรองของประเทศได้อีกครั้งหลังจากห่างหายไป สโมสรฟุตบอลเกษตรศาสตร์ถือเป็นหมุดหมายที่ส�ำคัญครั้ง นานนับทศวรรษ ใหม่ในภารกิจยืนระยะรักษาพื้นที่ เพื่อให้ทัพนาคามรกตยืนหยัด สู้ศึกบนลีกระดับต้นๆของประเทศได้อย่างภาคภูมิ สร้างรอย ยืนหยัดต่อสู้ ในลีกพระรอง ยิ้มและความสุขให้ชาวเกษตรศาสตร์เรื่อยไป เพื่อให้พวกเรา การก้าวกระโดดจากลีกอาชีพระดับล่างสุดมาสู่การ ได้ตอบแทนแรงใจด้วยพลังเชียร์ที่ฮึกเหิมยิ่งกว่าเดิม แข่งขันในลีกอันดับ 2 ของประเทศย่อมท้าทายและยากล�ำบาก


44

The CAFETERIA มาร์ก สะกดด้วยกอไก่

มหวรรณ พันธุมจินดา

เกีย๊ ว จิง จิง

ต�ำนานเกี๊ยวตัวจริง ใจต้องนิ่งถ้าจะลิ้มรส! ขุมทรัพย์ความอร่อยในรัว้ เกษตรนัน้ มีให้เฟ้นหา ได้อย่างไม่รจู้ บ The CAFETERIA ฉบับนีจ้ ะพา คุณผู้อ่านทุกท่านไปซอกแซกในเส้นทางเลิศรส กับบรรดาร้านอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ในโรงอาหาร หลักยามพลบค�ำ ่ ความอร่อยแต่ละร้านจะล�ำ้ เลิศ ขนาดไหน ต้องไปชิม! The Price ฿ ฿฿ ฿฿฿ ฿฿฿฿ ฿฿฿฿฿

= = = = =

1-100 101-250 251-500 501-1,000 1,001+

ช่วงโพล้เพล้คือช่วงเวลาที่หลายคน ก�ำลังหิวและบรรจงเลือกร้านอาหารทีจ่ ะฝากท้องใน มือ้ ค�ำ่ แต่กม็ คี นจ�ำนวนไม่นอ้ ยก�ำลังเฝ้ารออย่าง ใจจดใจจ่อเพือ่ ทีจ่ ะได้ลมิ้ รสสัมผัสอันบางเบาของ แผ่นเกี๊ยวสีเหลืองอ่อนที่อัดแน่นไปด้วยหมูสับ รสนวลนุ่มแกล้มกับน�้ำซุปรสละมุนกลมกล่อม ร้าน ‘เกี๊ยว จิง จิง’ เปิดขายเกี๊ยวชาม แรกเวลาห้าโมงเย็นพอดิบพอดีไม่มีขาด เสียง ร�่ำลือถึงรสชาติท�ำให้หลายต่อหลายคนตัดสิน ใจมาเฝ้ารอเพื่อจะได้เป็นเจ้าของเกี๊ยวน�้ำซักชาม ในยามเย็น เกี๊ยวน�้ำของร้านนี้พิเศษด้วยความ แน่นของไส้ที่หนักไปด้วยหมูสับ ส�ำหรับลูกค้า ขาจรที่จะลองชิม ร้านนี้มีกฎง่ายๆ 2 ข้อคือต้อง รอให้ถึงคิวแล้วสั่งอาหารด้วยจ�ำนวนถุงหรือ ชามตามอัธยาศัย ไม่มีค�ำว่าพิเศษหรือเมนูใดๆ ให้เลือกสรร แอบกระซิบว่าเกี๊ยวร้านนี้มีจ�ำกัด ถ้าอยากสัมผัสความอร่อย ต้องกะเวลาให้ดีนะ คุณผู้ชิม!

WHAT Noodle House / Street Food WHERE บาร์มืดใหม่กว่า (KU Night Food โรงอาหารกลาง 2) WHEN จ-ศ 17.00 น. เป็นต้นไป PRICE ฿

ล�ำแต้ๆ

นมรสนัว อร่อยชัวร์อยากให้ลอง

ย�ำผลไม้

รสจัดจ้านผสานสีสันหลากหลาย WHAT Salad Place / Thai Flavour / Street Food WHERE บาร์มืด (KU Night Food โรงอาหารกลาง 1) WHEN ทุกวัน 16.00 น. เป็นต้นไป PRICE ฿

สาวกรสสะดิ้งตัวจริงต้องไม่พลาดลองย�ำ ผลไม้รสจัดจ้านถึงทรวงของร้านผลไม้บาร์มดื แห่งบาร์ ใหม่ ผลไม้มากหน้าหลายตาถูกวางให้เลือกสรรทัง้ สดๆ และแซ่บๆ ลูกค้าลูกขายต่างวนเวียนมารุมล้อมร้าน เล็กๆแห่งนี้ด้วยความหวังจะได้แหล่งวิตามินชั้นดีกลับ ไป และส�ำหรับทีเด็ดที่หลายคนต้องยกนิ้วโป้งให้งามๆ คือย�ำผลไม้สีสันสดสวยที่ปรุงรสแซ่บซี้ดจี๊ดฟัน

นมหอมๆหลากรสชาติของร้านล�ำแต้ๆคือทาง เลือกที่แฟนคลับสายนมต่างส่งเสียงแซ่ซ้องใน ความเข้มข้นหวานมันจนต้องมากินซ�้ำ! จุดเด่น ของเครื่องดื่มร้านนี้คือความเข้ากันของรสชาติ ต่างๆที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เข้ากั๊นเข้ากันกับ เมนูนม ทัง้ นมมันม่วงญีป่ นุ่ นมเมล่อนฮอกไกโด นมคาราเมล และยิ่งเด็ดเมื่อสั่งเป็นเมนูปั่นเสิร์ฟ พร้อมวิปครีมท�ำเองของร้านนี้ที่หวาน มัน ลงตัว จนอยากกลับไปกินซ�้ำเดี๋ยวนี้! WHAT Milkshake Shop / Street Food WHERE บาร์มืด (KU Night Food โรงอาหารกลาง 1) WHEN ทุกวัน 16.00 น. เป็นต้นไป PRICE ฿ Delicious Trove of Kasetsart


45

Pick PIX มหวรรณ พันธุมจินดา

รูปภาพเป็นสิ่งที่สื่อถึงความสวยงาม ความรู้สึก และความหมายมากมาย คอลัมน์ Pick PIX ในฉบับนี้เราจึงได้หารูปภาพที่ไม่ได้มีแต่ความสวยงาม เพียงอย่างเดียว ความรูส้ กึ และความหมายทีส่ อื่ ออกมาผ่านหัวข้อ 'KU77' ท�ำให้คอลัมน์นี้เต็มไปด้วยความรัก ความสามัคคี และประเพณีรับน้องที่ ดีงามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านช่างภาพบนโลกออนไลน์ จะมี ความสวยงามและความหมายทีก่ นิ ใจขนาดไหน ไปชมพร้อมๆกันเลย!

nonjaniss #KU77 #Ms22

nutcha_petong ปลูกข้าววันแม่ #ku77 #KU_KPS

domepipat เกือบจะดีละ #ku77

fluke_tnw หมอกจางๆและควันคล้ายกันจนบางที ไม่อาจรู้ #KU77 #eds17 #ค่ายอัตลักษณ์

janenpp . We are Hum I คอนเสิร์ตของชาวมนุษยศาสตร์ที่ แท้ทรู . . #whitedaywhitenight2017 #hum36 #ku77 #190817

kamon.nok จ�ำทุกเสี้ยวนาที #รับขวัญเฟรชชี่ นนทรีช่อใหม่ku77 #KU77

nnicknoey KU77 #ku77

kwang_patiparn #ku77 #SC52 #SCL18

boonya_on_ #ku77


ช็อปสนุกทุกวัน หลากหลายสีสัน 24 ชั่วโมงที่

KU BOOK ONLINE www.kubookol.com โทรศัพท์ 02-942-8063-7 ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


THING BEEF, THINK MAX BEEF สหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จ�ำกัด BEEF CLUSTER COOPERATIVE LIMITED

ส�ำนักงาน : 17 หมู่ 7 ต�ำบลสระสี่มุม อ�ำเภอก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 โทร 085-7009801 FAX : 034-352633 facebook : maxbeefthai | Line : maxbeef1



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.