Titleikatchonnabon

Page 1


ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

กุลชาติาดีไหมมั เจริญ ดหมี่ ลวดลายผ้

อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแก่น


2

ผ้าไหมมัดหมี่ มัดหมี่ เป็นศิลปะการสร้างลวดลายผ้าทอพื้นเมืองของไทยมาตั้งแต่ โบราณที่ ทำ�จากทั้งฝ้ายและไหม ถือเป็นงานหัตถกรรมชั้นสูงที่ต้องอาศัยฝีมือและความ ชำ�นาญในการทำ�เป็นอย่างมาก การทำ�ผ้าไหมมัดหมี่นั้นทำ�ได้ โดยการมัดย้อมเส้น ไหมให้เกิดสีและลวดลายก่อนแล้วจึงนำ�ไปเรียงทอบนกี่ออกมาเป็นผืนผ้า เสน่ห์ ของผ้าไหมมัดหมี่อยู่ที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลายที่ถูกมัด ถึงแม้จะ ใช้ความแม่นยำ�ในการทอมากเพียงไร ก็จะเกิดลักษณะความเหลื่อมล้ำ�ของสีบน เส้นไหมให้เห็นต่างไปจากผ้าทอมือชนิดอื่น

ไหมมัดหมี่ที่อำ�เภอชนบท การทอผ้าไหมมัดหมี่ที่อำ�เภอชนบท คือการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ ลูกหลาน จากพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เมื่อว่างจากงาน พ่อ แม่ จะสอนลูกหลานให้ รู้จักการทอผ้าไว้ ใช้เองโดย ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นคนสืบทอด ซึ่งเมื่อก่อนการทอ ผ้าไหมนั้น จะทอแค่นุ่งผ้าพื้นไม่มีลาย ต่อมาก็ทำ�ลายหมากจับและลายง่ายๆ จะ ผลิตขึ้นเมื่อว่างจากการทำ�เกษตรกรรม เพื่อใช้นุ่ง ใช้สอยส่วนตัว ใช้แลกสิ่งของ แต่เดิมมัดแค่สีแดง และ เหลือง ย้อมพื้น ย้อมแดง สีเม็ดมะขาม ดำ� สีเปลือก เม็ดมะขาม จนกระทั่งเริ่มมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขาย บริบทของการทอผ้าจึง เปลี่ยนไป จากการ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพียงทอเพื่อใช้ส่วนตัว กลายเป็นการทอ เพื่อการจำ�หน่ายมากขึ้น และเฟื้องฟูขึ้นเรื่อยๆ มีลวดลายที่เกิดใหม่สวยและวิจิตร ขึ้นทุกๆวัน แต่เมื่อเกิดภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2540 ชาวบ้านจึงจำ�เป็นต้อง ทิ้งการทอผ้าไปรับจ้างอย่างอื่นแทนการทอผ้า ในปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟู่การทอ ผ้า และมีการอนุรักษ์รูปแบบการทอผ้าไหมมัดหมี่ มากขึ้น ในหลายๆภาคส่วน แต่บริบทการทอผ้านั้น ยังคงการทอเพื่อจำ�หน่วยเหมือนเดิม และสั่งไหมจาก ข้างนอก มาทอส่วนใหญ่ แต่ก็จะมีเลี้ยงไหมไว้ทอเฉพาะบางบ้าน และยังมีการ พัฒนา คิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อความน่าสนใจ และตอบสนองต่อตลาดผู้บริโภค


3

การผลิตผ้าไหมมัดหมื่ อำ�เภอชนบท ในปัจจุบัน ในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ ในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่สั่งไหมจากข้างนอก มาทอ เนืองจากสะดวกและไวต่อการผลิตและยังได้ ไหมที่คุณภาพดี ไม่มีขี้ ไหมทำ�ให้ผ้า เรียบเนียนซึ่งตอบโจทย์กับผู้บริโภค หลังการซื้อไหมสำ�เร็จรูปมาแล้วว่า เมื่อได้ ไหมมาจะต้องทำ�การฟอกไหม ให้ เป็นสีขาว เพื่อง่ายต่อการย้อมต่อ และได้เส้นไหมที่มีความนิ่มมากขึ้น ขั้นตอนการฟอกสี ไหม ในวิธีการฟอกสี ไหมนั้น ต้องทำ�น้ำ�ด่างในการฟอกสี โดยเอาขี้เถ้ากาบมะพร้าวมา ผสมน้ำ�ทิ้งไว้1คืน ให้ตกตะกอน กรองเอาแต่น้ำ�ใสๆ มาต้มจนเดือด นำ�เส้นไหมลง ต้ม หมั่นคนให้ทั่วกัน สังเกตดูว่า สีและเส้นของไหมจะอ่อนลง จนขาวในที่สุด นำ� ออกมาล้างน้ำ�เปล่าอีกรอบ พักและตากทิ้งไว้พอแห้งจะได้เส้นไหมที่ขาวสะอาด นุ่มขึ้น แต่ลักษณะเส้นจะไม่กลมเหมือนเดิม จึงต้องนำ�ไปผ่านเครื่องเล็งอีกรอบ เพื่อปั่นเกลียวให้เส้นไหมกลมพร้อมใช้งาน

การมัดและย้อม ในขั้นตอนมัดและย้อมนี้ เป็นขั้นตอนที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งและถือเป็นหัวใจ หลักในขบวนการทำ�มัดหมี่ การมัดย้อมนั้นเป็นขั้นตอนที่สำ�คัญที่สุดและใช้ ระยะเวลานานที่สุด ของขบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ เพราะต้องใช้ความ อดทน ความชำ�นาญสูงในการมัดกำ�หนดลวดลาย ซึ่งการมัดนี้ถือว่าเป็น เอกลักษณ์ ลักษณะเด่นของใครของมัน เพราะเป็นการสร้างของลวดลายที่ จะเกิดขึ้นบนผืนผ้า


4

วิธีการมัดลาย ในการมัดลวดลายบนไหมนั้น จะขึ้นอยู่กับความชำ�นาญหรือความ สามารถของช่างแต่ละคนว่าจะมัดลายอะไรลงไปบนเส้นไหม หรือ ออกแบบลายไหน ช่างแต่ล่ะคนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ช่างคน ไหนถนัดมัดลายไหนก็จะทำ�ออกมาได้ดีถ้าเทียบให้ช่างที่ถนัดลายอื่นมา มัดลายเดียวกันก็จะทำ�ไม่สวยเท่า แต่ก็ดูรู้ว่าเป็นลายอะไร โดยจะมีการ วางแผนไว้ก่อนว่าต้องการลายอะไร สี ไหน แต่จะไม่มีการจดบันทึกหรือ การวาดร่างบนไหม เพราะฉะนั้น ลวดลายที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากความ ชำ�นาญที่สะสมมาจึงทำ�ให้ลายออกมาสมบูรณ์สวยงาม รวมถึงเทคนิค ต่างๆและการแก้ปัญหาที่มักเกิดขึ้นระหว่างการย้อมสีธรรมชาติ ที่บาง ครั้งสีที่ย้อมออกมาไม่ตรงกับสีที่ต้องการ ช่างแต่ละคนจึงมีเทคนิค เฉพาะตัวที่แตกต่างกันเช่น มัดลายประดิษฐ์เพิ่มในกรณีที่ลายดูห่างไป เป็นต้น ก่อนการมัดหมี่นั้นต้องวางแผนก่อนว่าจะย้อมกี่สี สีอะไรบ้าง และต้องการให้สี ไหนย้อมทับสี ไหนเพื่อให้ ได้สีที่ต้องการ เช่นในถ้าหาก ในผ้ามีสีเขียว น้ำ�เงิน เหลือง ช่างก็จะต้องย้อมสีเหลืองติดก่อน ในส่วน ที่ต้องการสีเขียวก็จะเปิดลายที่ย้อมเหลืองไว้ แล้วปิดในส่วนที่ ไม่ ได้การ เมื่อย้อมทีน้ำ�เงินทับสีเหลือง ก็จะได้สีเขียว ซึ่งในขึ้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ ยากและใช้เวลานาน กว่าการทอผ้าซะอีก


5

ลวดลายไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบทยังที่จะสามารถจำ�แนกลายได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ 1. ลักษณะแบบโบราณ ลักษณะการทอแบบโบราณของที่ จะเป็นการทอ มัดหมี่ที่เรียบง่าย ลายมีความง่าย เช่น ลายหมากจับ ที่เป็นรูปแบบคล้าย เครื่องหมายบวก สี ไม่ฉูดฉาด สีที่ ใช้ส่วนมาก จะเป็น เหลือง แดง ดำ� หรือ สีเม็ดมะขาม 2. ลักษณะแบบประยุกต์ ใหม่ เป็นลักษณะลายที่ความ ซับซ้อนมากขึ้นมี การใช้สีที่มากขึ้นจากสีเคมี ลวดลายอาจจะมาจากรูปแบบลายผ้าโบราณ แต่ก็จะนำ�มาประยุกต์ ขยายขนาด เพิ่มลวดลายอื่นๆ ใส่องค์ประกอบ หลายๆอย่างเข้าไปให้มีลักษณะ ที่สวยงามและอลังการมากขึ้น

โดยผ้าไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบทนั้น ในแต่ละผื่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามแบบแผนได้แก่ 1.ส่วนตัวซิ่น คือ ส่วนที่ โชว์ลายผ้าไหมมัดหมี่ ในส่วนนี้จะเป็นส่วนใหญ่และการเรียกชื่อลายจะมาจากส่วนนี้ โดยผ้า ไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบทนั้นมีลายที่เกิดใหม่ ได้ตลอดเดังนั้น ลวดลาย ผ้าไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบท จึงมีเป็นนับร้อยๆลาย แต่ ในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าจะนำ�ลวดลายที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของ อำ�เภอชนบท มาไว้ทั้ง 24 ลาย


6

องค์ประกอบผ้าไหมมัดหมี่

ตัวซิ่น

ตีนซิ่น


7

ลายขาเปีย รูปแบบที่1

..................................................................

ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขาเปีย” มีลักษณะเป็นลายเรขาคณิต ลักษณะการ เปีย ที่หมายถึงการขัด หรือถักของเส้นที่มาบรรจบกัน ขาเปียชนิดนี้ เป็นขาเปียแบบสมัยใหม่ ลักษณะการใช้สี ได้แก่ พื้นหลังเส้นยืนแดง มัด เส้นพุ่งด้วยสี เขียวเป็นขาเปีย ชมพู เหลือง ลักษณณะการใช้สีที่ตัดกัน กับขาเปีย


8

ลายขาเปีย รูปแบบที่2

..................................................................

ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขาเปียแบบที่2” มีลักษณะเป็นลายเรขาคณิต ลักษณะการเปีย หมายถึงการขัด หรือถักของเส้นที่มาบรรจบกัน แบบ โบราณ มีความซับซ้อนน้อย โดยการให้สี ได้แก่ แดงและเหลือง เป็นการ มัดเส้นพุ่ง เป็นโทนร้อนตัดกับ พื้นหลังเส้นยืนพื้นสีเข้ม


9

ลายหมี่ ไข่ .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ไข่” มีลักษณะเป็นลายตาข่ายสีเหลือง เรียกว่าลาย หมี่ โดยมี ไส้ ไข่ ในสีม่วงสลับเขียว เป็นการให้สี โดยเส้นยืนสีคล้ำ� และ มัดเส้นพุ่งสีเหลือง เขียว และชมพู


10

ลายหมี่ราชินี .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หมี่ราชินี” การทอกึ่งโบราณ มีลักษณะเป็นลาย ดอกไม้สี่กลีบ หมากจับเป็นดอกไม้สีเหลือง มีสี่กลีบ นำ�มาเรียงต่อกัน ลักษณะการให้สี แบบแผนโบราณ คือ เส้นยืน ทอด้วยสีดำ�สลับแดง และมัดเส้นพุ่งด้วยสีสว่าง ต่อกัน


11

ลายหัวใจว่าง ................................................................ ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หัวใจว่าง” เป็นการทอด้วยเส้นพุ่งสีกรมท่า หรือ น้ำ�เงินเข้ม แล้วมัดเส้นพุ่งให้ มีลักษณะเป็นลายหัวใจ ประกอบไปด้วยสี เขียว สีชมพู สีขาว และสีม่วง


12

ลายดาวเรือง .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ดาวเรือง” โดยการมัดเส้นพุ่ง มีลักษณะเป็นลาย สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ภายในมีลายดอกดาวเรือง ที่คิดประยุกต์ขึ้นมา ใหม่ ด้วยสีเหลืองและแดง และใช้เส้นยืนด้วยสีเข้ม


13

ลายใบตำ�ลึง .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย”ใบตำ�ลึง” เป็นการมัดเส้นพุ่งเป็นลักษณะ ใบตำ�ลึง เป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถหาได้ ในท้องถิ่น จึงได้นำ�เอาลวดลายมา ดัดแปลงเป็นลวดลายผ้า ด้วยสี สว่างกับสีเข้ม และใช้พื้นเส้นยืนสีหม่น


14

ลายปูต่อไต่ .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ปูต่อไต่” โดยมัดเส้นพุ่งมีลักษณะเป็นลายปูแบบ ประยุกต์ ประกอบไปด้วยสีแดง เหลือง น้ำ�เงิน และขาว และเลือกใช้ สีหม่นเป็นเส้นยืนเพื่อความสวยงาม


15

ลายอกแมงมุมน้อย .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “อกแมงมุมน้อย” มีลักษณะเป็นลายดอกทะแยงก้าน ออกสี่ทิศ โดยประกอบไปด้วยขาแมงมุมแปดขา และอกแมงมุม เป็นการ ซ้ำ�ลายแมงมุม จึงสันนิฐานว่าเป็นแมงมุมตัวเล็กหรือ แมงมุมน้อยโดยใช้ สีแดงเหลือง วรรณร้อน โดนทอเส้นยืนสีแดงเข้ม และมัดเส้นพุ่งด้วย แดงอ่อนและสีเหลือง


16

ลายกงเก้าสาย .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงเก้าสาย” โดยมัดเส้นพุ่งมีลักษณะเป็นรูปทรง สี่เหลี่ยมเรขาคณิต ประกอบกันเป็นลาย มีทรงกลมเป็นไส้ตรงกลาง ลาย ใช้สี ฟ้า สีเหลือง สีม่วง และสีเขียว “กงเก้า” เป็นหน่วยของลาย


17

ลายกงเจ็ดปาทังก้า .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงเจ็ดปาทังก้า” มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมข้าวหลาม ตัดสีเหลือง ภายในประกอบมีลาย สันนิษฐานว่าเป็นตัวที่เรียกว่า “ปา ทังก้า” (ปาทังก้าคือชื่อพันธ์ของตั๊กแตนที่พบตามท้องนา สันนิษฐานว่า จะได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์รอบตัว นำ�มาดัดแปลงเป็นลวดลายของ ผ้าไหมมัดหมี่


18

ลายกงเก้าสายไส้สิบสาม .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงเก้าไส้สิบสาม” มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ประกอบลายโดยมีลายประกอบเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆโดย รอบ ใช้สีพื้นเป็นสีม่วงเข้ม และใช้ตัวลายสีเหลือง ขาว แดง และเขียว


19

ลายกงเจ็ดสาย .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงเจ็ดสาย” มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลาม ตัดในลายประกอบด้วยลายดอก กงเจ็ดเป็นหน่วยของลาย


20

ลายกงห้าต่อกัน .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงห้าต่อกัน” พบที่ ศาลาไหมไทย จังหวัดขอนแก่น มีลักษณะเป็น ลายดอกกระจายกัน กงห้าเป็นหน่วยของลาย


21

ลายกงห้าหน่วย .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “กงห้าหน่วย” โดยมัดเส้นพุ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ประกอบกันทั้งผืน กงห้าเป็นหน่วยของลาย


22

ลายขอพระเทพ .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขอพระเทพ” มีลักษณะเป็นลายขอประยุกต์ ได้แรง บันดาลใจมาจากการสังเกตุการนุ่งผ้าของสมเด็จพระเทพฯ


23

ลายขอขี่ ไก่เดียน .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย”ขอขี่ ไก่เดียน”เป็นลายที่มีลักษณะเป็นตัวไส้เดือน(เดีย น)สีม่วง ในรูปแบบของตะขอ โดยประดับด้วยลายเชิงเทียนประยุกต์ เพื่อความสวยงาม ใช้ โทนสีม่วง เหลือง เขียว และขาว


24

ลายขอพุ่มกนก .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขาเปียพุ่มกนก” มีลักษณะเป็นลายดอกไม้สี่กลีบ ขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายเครือเถาออกมาสี่ทิศ คำ�ว่าเปีย สันนิษฐาน ว่าหมายถึงการขัด หรือถักซ้อนกัน โดยมีพุ่มกนก(ลายกระจังตาอ้อย) ประดับอยู่บริเวณปลายของกลีบ


25

ลายขอกระดูก .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขอกระดูก” มีลักษณะเป็นลายขอหัวท้าย ประกอบ ในรูปแบบที่คล้ายกับฟรอมของกระดูก ประกอบไปด้วยสีม่วง เขียว เหลือง และชมพู


26

ลายจี้เพชร .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “จี้เพชร” มีลักษณะเป็นทรงคล้ายอัญมณี ลักษณะ คล้ายเครื่องประดับ เป็นลายที่คิดประยุกต์ขึ้นใหม่ เพื่อการประกวด และได้รับรางวัลชนะเลิศ


27

ลายหน้านางน้อย .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หน้านางน้อย” มีลักษณะเป็นหมี่ขั้น ได้แรงบันดาล ใจจากผ้าหน้านางของสยามที่มีลักษณะเป็นกรวยเชิง


28

ลายหมากจับกงเจ็ด .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หมากจับกงเจ็ด” มีลักษณะเป็นลายดอกหมากจับ ดอกหมากจับมีลักษณะเป็นดอกสี่กลีบสีเหลือง กงเจ็ดเป็นการเรียก หน่วยของลาย


29

ลายหมากจับกงเก้า .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หมากจับกงเก้า” มีลักษณะเป็นลายสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ลายหมากจับเป็นลายดอกที่มีลักษณะสี่กลีบ


30

ขาเปียกงห้า .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “ขาเปียกงห้า” มีลักษณะเป็นลายเรขาคณิต ลักษณะ การเปีย หมายถึงการขัด หรือถักของเส้นที่มาบรรจบกัน คล้ายกากบาท ลายนี้เป็นลายที่คิดขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่มจำ�นวนขาเปียหรือ นับขึ้นหรือ นับ ลง ได้ 5ขั้น โดยลักษณะการใช้สีทอเส้นยืนสีเข้ม โดยมัดเส้นพุ่ง เป็นสี สว่าง โดยมัดขาเปียเป็นสีเหลือง ใส่ลายกง ห้าขั้นด้วยสีชมพู


31

ลายหมากจับหยุ่ม .................................................................. ผ้าไหมมัดหมี่ลาย “หมากจับหยุ่ม” มีลักษณะเป็นลายดอกไม้สี่กลีบ หมากจับเป็นดอกไม้สีเหลือง มีสี่กลีบ นำ�มาประกอบกันเก้าดอก


32

ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแก่น นายกุลชาติ ดีเจริญ © 2016 (พ.ศ. 2559) โดย กุลชาติ ดีเจริญ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์ โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย กุลชาติ ดีเจริญ ออกแบบโดยใช้ฟอนต์ (TH Baijam) 16pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการ จัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.