JAN - JUN 2019
“คุมองเป็นพื้นฐานให้เราใช้ต่อยอด ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ” สัมภาษณ์: ภูสิทธิ์ เอื้อนันตา (ชิ)
การเรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี”: ระบบการเรียนแบบคุมองมีวิธีค้นหาระดับที่ พอเหมาะพอดีของนักเรียนทุกคนอย่างไร เกณฑ์การเชิญนักเรียนเข้าร่วมงานมอบรางวัล นักเรียนคุมองดีเด่น ประจำ�ปี 2563
7
“MY LIFE, MY DREAM” 03
สโรชา เกตุพานิช (เมย์) “การฝึกฝนบ่อยๆ ช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าเราทำ�ด้วยความเข้าใจ เราจะรู้สึกว่ามันง่าย”
Contents
04
ภูสิทธิ์ เอื้อนันตา (ชิ) “คุมองเป็นพื้นฐานให้เราใช้ต่อยอด ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ”
Kumon Features
สวัสดีค่ะ ท่านผู้ปกครองทุกท่าน
06 การเรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี”: ระบบการเรียนแบบคุมองมีวิธีค้นหาระดับ ที่พอเหมาะพอดีของนักเรียนทุกคนอย่างไร
วารสาร Potential ฉบับนี้ยังคงมีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการ เรียนแบบคุมองและการดูแลบุตรหลานของท่านมาฝากเช่นเคย ท่านผู้ปกครองอาจเคยตั้งคำ�ถามว่า “ทำ�อย่างไรบุตรหลานจึงจะเรียน คุมองได้อย่างราบรื่นและเกิดประโยชน์มากที่สุด” การเรียนในระบบคุมอง มีลักษณะเฉพาะตัวที่นักเรียนแต่ละคนจะมีแผนการเรียนที่เหมาะสมกับ ความสามารถของเขามากที่สุด การจะประสบความสำ�เร็จในการเรียนได้ นั้นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากนักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูคุมองใน การสื่อสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับแผนการเรียนให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาความ สามารถของนักเรียนมากที่สุด ผู้ปกครองควรพูดคุยกับบุตรหลานบ่อยๆ เพราะนอกจากจะช่วยให้ทราบสภาพการเรียนของเขาและนำ�ไปแจ้งให้ คุณครูคุมองทราบแล้ว ยังช่วยให้บุตรหลานรู้สึกถึงความใส่ใจซึ่งจะเป็น กำ�ลังใจในการเรียนของเขาอีกด้วยค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ
08 จากใจคุณครูคุมอง
Regulars 10 Local News: เกณฑ์การเชิญนักเรียนเข้าร่วมงาน มอบรางวัลนักเรียนคุมองดีเด่น ประจำ�ปี 2563 11 Parenting Tips: 3 เกมง่ายๆ ฝึกทักษะการคำ�นวณในใจ Contact Information tel: +66 2626 6555 fax: +66 2626 6599 e-mail: pr@kumon.co.th website: th.kumonglobal.com INTELLECTUAL PROPERTY NOTICE
22
The logos, graphics, pictures, design, and layout (“Contents”) of this entire newsletter are the exclusive property of Kumon Asia & Oceania Pte Ltd. The Contents contained on this newsletter shall not be reproduced or copied without the express written consent of Kumon Asia & Oceania Pte Ltd. © 2015 Kumon Asia & Oceania Pte Ltd. All rights reserved.
รู้สึกอย่างไรกับ Potential...
ส่งความคิดเห็นหรือ ข้อเสนอแนะของท่านมาได้ท่ี pr@kumon.co.th
สโรชา เกตุพานิช (เมย์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
จบระดับสุดท้าย วิชาคณิตศาสตร์ ปี 2560 วิชาภาษาอังกฤษ (EFL) ปี 2559 ระดับ I วิชาการอ่านภาษาไทย ปี 2558
“การฝึกฝนบ่อยๆ ช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าเราทำ�ด้วยความเข้าใจ เราจะรู้สึกว่ามันง่าย” • เริ่มต้นเรียนคุมอง
คุณพ่อ : “ผมไม่ได้รู้จักคุมองมาก่อน แต่ได้คุยกับผู้ปกครอง ที่ให้ลูกเรียนคุมองตั้งแต่อนุบาล ผมเลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ คุมอง เพราะคาดหวังให้ลูกได้พื้นฐานที่เพียงพอจากคุมอง ผมเคยเป็นทหารมาก่อน ตอนที่ได้ดูวิดีโอปฐมนิเทศก็เห็นว่า คุมองใช้หลักการเดียวกันกับการฝึกทหาร นั่นคือการฝึกฝน เป็นประจำ� ทำ�ให้ผมคิดว่าคุมองน่าจะสร้างพื้นฐานให้เด็กได้ ดีจนเขาสามารถนำ�ไปต่อยอดได้ และการเรียนสมัยใหม่ก็ต้อง อาศัยการอ่านวิเคราะห์ ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ทำ�อะไรไม่ได้ ผม จึงให้ลูกเรียนวิชาภาษาไทยก่อนครับ”
• ประโยชน์ของการเรียนคุมอง
เมย์ : “คุมองต่างจากที่อื่นตรงที่จะเน้นไปที่พื้นฐาน ส่วนที่อื่น จะเน้นสอนเฉพาะจุดที่เขาเก็งว่ามักจะออกสอบบ่อยๆ สำ�หรับการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่เรียนคุมอง ถ้าในวิชา คณิตศาสตร์ก็คือเรื่องของการคิดเร็ว เราจะคิดคำ�ตอบได้เอง โดยอัตโนมัติ ต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องไล่นับตัวเลข การฝึกฝน บ่อยๆ ช่วยให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าเราทำ�ด้วยความเข้าใจจะรู้สึก ว่ามันง่ายค่ะ ซึ่งตรงนี้เป็นพื้นฐานที่สำ�คัญเพราะข้อสอบจริงๆ จะยากกว่านี้ ถ้าเรามีพน้ื ฐานดีแล้วก็จะสามารถทำ�ข้อสอบได้คะ่ ส่วนวิชาภาษาไทยก็ช่วยให้เราอ่านหนังสือได้เร็วและเข้าใจ ได้ง่ายขึ้น แยกแยะได้ว่าอะไรคือใจความหลักที่สำ�คัญ และ วิชาภาษาอังกฤษ เราจะได้ทักษะการฟังมากที่สุด พอฟังได้ ก็สามารถอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และก็มีซีดีที่สามารถ นำ�มาเปิดฟังเพื่อทบทวนได้ตลอดเวลา”
• เป้าหมายในอนาคต
เมย์ : “อยากเป็นหมอค่ะ เพราะอยากดูแลเวลาคุณพ่อคุณแม่ ไม่สบาย ถ้ามีความรู้เราก็จะรักษาได้อย่างใกล้ชิดและรู้ว่า อะไรดีที่สุดสำ�หรับคุณพ่อกับคุณแม่ คุณสมบัติของคนที่จะ เป็นหมอคือชอบช่วยเหลือผู้อื่น รู้ว่าสิ่งที่เราทำ�มีประโยชน์ กับใคร และต้องมีความอดทน เพราะเรียนยากและต้องใช้ ความพยายาม รวมทั้งต้องมีทุนทรัพย์และมีโอกาสในการหา ความรู้เพิ่มเติมด้วยค่ะ”
• กำ�ลังใจในการเรียนคุมอง
เมย์ : “เวลาทีร่ สู้ กึ ท้อ เราจะนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ ถ้าในอนาคต เราได้ทำ�งานดีๆ คุณพ่อคุณแม่ก็จะสบาย ทั้งคุณพ่อคุณแม่ และคุณครูทศ่ี นู ย์จะมีก�ำ ลังใจให้เสมอเวลาเราท้อ คุณพ่อคุณแม่จะ คอยถามว่าเรียนยากมัย้ ถ้ายังทำ�ไม่ได้กไ็ ม่เป็นไร พรุง่ นีเ้ ริม่ ใหม่ ส่วนคุณครูที่ศูนย์ก็จะให้กำ�ลังใจและเข้าใจเรา เช่น ปกติศูนย์ จะปิดหนึ่งทุ่ม แต่บางวันเรายังทำ�งานไม่เสร็จ คุณครูก็จะ ให้เราใช้เวลาทำ�งานอย่างเต็มที่ที่ศูนย์ สิ่งนี้ทำ�ให้รู้สึกว่าต้อง พยายามต่อไปและเป็นกำ�ลังใจให้เราสู้ต่อค่ะ” 7 3
ภูสิทธิ์ เอื้อนันตา (ชิ) ปี 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จบระดับสุดท้ายวิชาคณิตศาสตร์ ปี 2558 • ช่วงแรกที่เริ่มต้นเรียนคุมองเป็นอย่างไร
“ตอน ป.6 ผลการเรียนที่โรงเรียนก็ถือว่าดีครับ แต่ผมเห็น เพื่อนเรียนพิเศษท่าทางสนุกดี เลยบอกแม่ว่าอยากเรียน พิเศษบ้าง คุณแม่ก็เลยพาไปสมัครเรียนที่คุมองครับ ตอน แรกเรียนเนื้อหาง่ายๆ ก็ยังรู้สึกสนุกอยู่ครับ ตอนเรียนทัน ชั้นเรียนก็น่าเบื่อนิดหน่อยถึงจะยากกว่าที่โรงเรียนก็ตาม พอเรียนสูงขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกว่าจะเป็นระดับ J ก็รู้สึกว่ายาก เพราะเกินชั้นเรียนไปเยอะแล้ว ตอนที่เรียนเกินชั้นเรียน รู้สึกว่ามันท้าทายเพราะเป็นเนื้อหาที่เราไม่เคยเรียนมาก่อน แต่ยิ่งเรียนในระดับที่สูงขึ้นก็ยิ่งสนุก ถึงจะรู้สึกว่ายากบ้าง แต่พอเราทำ�ได้ เราก็รู้สึกสนุก”
• คุมองต่างจากที่เรียนพิเศษที่อื่นอย่างไร
“ที่อื่นเราจะได้เรียนตามระดับชั้นที่โรงเรียน แต่ที่คุมอง จะมีการสอบวัดระดับเพื่อหาจุดเริ่มต้นที่เหมาะกับความ 44
“คุมองเป็นพื้นฐาน ให้เราใช้ต่อยอด ในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ” สามารถของเรา สิ่งที่ผมชอบคือคุมองเป็นการเรียนระยะ ยาว มีเป้าหมายอยูท่ ก่ี ารเรียนไปให้ถงึ ระดับสุดท้าย เราสามารถ เรียนเกินชั้นเรียนของเราได้ ตอนเรียนผมไม่รู้สึกเบื่อเลย เพราะเนื้อหาที่ได้เรีย้ นไม่ซำ�กันและจะค่อยๆ ยากขึ้นทีละ นิด ช่วยให้เราสามารถทำ�ได้”
• ช่วงที่รู้สึกท้อมีวิธีจัดการอย่างไร
“ช่วงที่เรียนคุมอง บางครั้งเป็นช่วงที่ผมยุ่งมากจนรู้สึกไม่ อยากทำ�แบบฝึกหัด ผมกับคุณแม่จึงไปคุยกับคุณครูเพื่อ ขอลดแบบฝึกหัดเฉพาะช่วงนี้ พอที่โรงเรียนไม่ยุ่งแล้ว ผม ก็จะกลับมาทำ�การบ้านตามปกติอีกครั้ง วิธีนี้ช่วยให้ผม เรียนได้สบายขึ้นครับ”
• สนใจเรียนแพทย์ในสาขาไหนเป็นพิเศษ
“ตอนนี้ผมเรียนแพทย์อยู่ปี 1 ครับ การเรียนก็ยังไม่ยาก เท่าไหร่แต่เราต้องรู้จักปรับตัวเพราะมันไม่เหมือนกับตอน ที่เราเรียนมัธยม ผมตั้งใจตั้งแต่อยู่ชั้นประถมแล้วว่าอยาก
• เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร
“ตอนเรียน ม.ปลาย ผมเริ่มเรียนพิเศษโดยเรียนล่วงหน้า จากเนือ้ หาทีโ่ รงเรียน เพือ่ ทีพ่ อตอนผมอยู่ ม.5 เทอม 2 ผมก็จะได้เรียนเนื้อหาทั้งหมดของระดับมัธยมปลายจน ครบ และเอาเวลาที่เหลือไปทบทวนเนื้อหาที่จะต้องใช้ใน การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมเอาข้อสอบเก่าๆ มาทำ�ย้อน หลังหลายๆ รอบให้เกิดความคุ้นชินและช่วยให้ผมเกิด ความเข้าใจและสามารถจดจำ�ได้ แต่ผมก็ไม่ได้จำ�เฉพาะ คำ�ตอบ แต่จะเน้นไปที่การทำ�ความเข้าใจวิธีทำ�เพื่อนำ�มา ประยุกต์หาคำ�ตอบเองครับ”
เป็นศัลยแพทย์ มันดูท้าทายดีและผมเองก็สนใจเรื่องการ ผ่าตัดด้วย คุณสมบัติที่ศัลยแพทย์ควรมีน่าจะเป็นความ อดทนและเสียสละ”
• ทำ�ไมถึงตั้งเป้าหมายที่จะเรียนจบระดับสุดท้าย
ของคุมองภายใน ม.ต้น
“ตอน ม.2 ผมเรียนก้าวหน้าไปได้ค่อนข้างเร็ว ทำ�ให้ผม คิดว่าผมน่าจะเรียนจบระดับสุดท้ายตอนอยู่ ม.ต้นได้ ผม จะได้มีเวลาตอนเรียน ม.ปลาย ในการเตรียมตัวสอบเข้า มหาวิทยาลัยครับ”
• ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนคุมอง
“ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับอายุด้วยครับ ถ้าจะให้ได้ผลดีก็ควร เริ่มเรียนคุมองตั้งแต่เด็กๆ ถ้าเรียนตอนโตอาจจะก้าวหน้า ไปได้ช้า การเรียนคุมองตั้งแต่เด็กๆ จะทำ�ให้ได้ความรู้ที่ ค่อยๆ สะสมเพิม่ ขึน้ รวมทัง้ ระเบียบวินยั ถ้าผมไม่ได้เรียน คุมอง ผมก็คงไม่ได้จริงจังกับการเรียนเท่าไหร่ คงจะเล่นไป เรือ่ ยๆ ตามประสาเด็ก ม.ต้น ทั่วๆ ไป คุมองเป็นพื้นฐาน ให้เราใช้ต่อยอดในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ครับ”
• สิ่งที่ทำ�ให้เรียนจบระดับสุดท้ายของคุมอง
“น่าจะเป็นความอดทนครับ เพราะถ้าเป็นเรื่องความรู้ ทุกคนก็จะได้รับเหมือนกันหมด นอกจากนี้เราต้องมี เป้าหมายใหญ่ที่ชัดเจน จากนั้นจึงคิดเป้าหมายย่อยทีละ อย่าง เช่น เป้าหมายใหญ่ของเราคือการเรียนจบระดับ สุดท้ายของคุมอง เป้าหมายย่อยคือจะต้องเรียนจบแต่ละ ระดับตอนไหน เมื่อไหร่ที่รู้สึกท้อก็ให้นึกถึงเป้าหมายใหญ่ ของเราไว้ การตั้งเป้าหมายแบบนี้ ผมไม่ได้ใช้กับการเรียน เท่านั้นแต่ใช้กับการทำ�สิ่งอื่นๆ ด้วยครับ”
“ตอนเรียนเกินชั้นเรียนรู้สึกว่า ท้าทาย ถึงจะรู้สึกว่ายากบ้าง แต่พอเราทำ�ได้ เราก็รู้สึกสนุก” 57 5
Regional Article
การเรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี”: ระบบการเรียนแบบคุมองมีวิธีค้นหาระดับ ที่พอเหมาะพอดีสำ�หรับนักเรียนทุกคนได้อย่างไร จุดเด่น ที่สำ�คัญที่สุดของระบบการเรียนแบบคุมอง
ตามที่คุณโทรุ คุมอง ได้กล่าวไว้คือการได้เรียนรู้ในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” “เมื่อฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ผมได้ทบทวนถึงข้อดีต่างๆ ของ ระบบการเรียนแบบคุมอง ผมคิดว่าการได้เรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” คือสิ่งสำ�คัญที่สุดของการศึกษา เพราะเด็กๆ ทุกคนควรได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะกับความสามารถของพวกเขา การเรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” จะช่วยให้เด็กๆ สนุกกับ การเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเรียนก้าวหน้าเกินชั้นเรียนได้ มาถึงตอนนี้“การเรียนเกินชั้นเรียน” ถือเป็นลักษณะเด่นอันดับ หนึ่งของระบบคุมอง แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้น ผมก็ยังเชื่อ ว่าการเรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” คือลักษณะเด่นอันดับ หนึ่งที่แท้จริง” (วารสาร ยามาบิโกะ ปี 1995) การค้นหาระดับที่ “พอเหมาะพอดี” เปรียบง่ายๆ เหมือนจุดที่ มีความลงตัวที่สร้างเเรงจูงใจให้เด็กเเต่ละคนใช้ความพยายาม อย่างสุดความสามารถ ในด้านกีฬา นักกีฬาย่อมมีทักษะความ สามาถเฉพาะตัวที่เหมาะสมกับบทบาทหรือตำ�แหน่งที่เล่น ตัวอย่างเช่น แฟนๆ ฟุตบอลคงยังจำ�ได้ลางๆ ว่า เธียรี่ อองรี เคยเล่นให้กับสโมสรยููเวนตุสของอิตาลีในตำ�แหน่งปีกซ้าย เขา มีหน้าที่เปิดเกมรุกพร้อมทั้งลงไปตั้งรับได้ด้วย แต่เขากลับ เล่นในตำ�แหน่งดังกล่าวได้ไม่ดีนัก ทำ�ให้อาชีพนักฟุตบอล ของเขาอยู่ในช่วงขาลง “ผมไม่มคี วามสุขและหมดแรงจูงใจ ทีจ่ ะเล่นฟุตบอล” อองรียอมรับในเวลาต่อมา หลังจากที่เล่น เพียงฤดูกาลเดียวในอิตาลี อองรีก็ได้ย้ายไปเล่นให้กับสโมสร อาร์เซนอลในตำ�แหน่งกองหน้าสำ�รองซึ่งเขาก็เล่นได้ดีจนได้รับ ตำ�แหน่งกองหน้าตัวเลือกอันดับหนึ่งและกลายเป็นกองหน้าที่ ทำ�ประตูสูงสุดทั้งในระดับสโมสรและระดับทีมชาติในที่สุด 66
จากตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดว่า อองรีไม่ได้เล่นในตำ�แหน่งที่ถูกต้อง ที่ยูเวนตุส โค้ชสโมสรอาร์เซนอลเป็นผู้พบจุดที่ลงตัวกับความ สามารถของอองรี ซึ่งที่คุมองเราเรียกสิ่งนี้ว่าระดับที่ “พอ เหมาะพอดี” และจุดนี้เองที่ทำ�ให้อองรีเริ่มรู้สึกสนุกกับการเล่น ฟุตบอล“วินาทีที่ผมทำ�ประตูได้ ความรู้สึกที่คุ้นเคยก็กลับมา อีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้รู้สึกแบบนี้มานาน” อองรีกล่าว เช่นเดียวกับโค้ช หนึ่งในหน้าที่สำ�คัญที่สุดของคุณครูคุมองคือ การค้นหาระดับที่ “พอเหมาะพอดี” ของเด็กแต่ละคน เนื่อง จากเด็กเเต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน ระดับที่ “พอ เหมาะพอดี” ของพวกเขาก็มีความเเตกต่างเช่นกัน การจัด
เเบบฝึกหัดให้เหมาะกับความสามารถของเด็กๆ เป็นสิ่ง สำ�คัญ เพราะเมื่อเด็กๆ ได้เรียนในระดับที่ “พอเหมาะ พอดี” แล้วพวกเขาจะเริ่มรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนเกินชั้นเรียนได้ในที่สุด เช่นเดียวกับเธียรี่ อองรีที่ เริ่มสนุกกับการเล่นฟุตบอลและเล่นได้ดีที่สโมสรอาร์เซนอล
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เรามาฟังเรื่องราวตอนที่คุณโทรุ คุมองตรวจสอบความเหมาะสมของแบบฝึกหัดเรื่องการ บวกเศษส่วนและวิธีการสอนกับความสามารถของทาเคชิ ผู้เป็นลูกชาย ตอนเรียนเรื่องการบวกเศษส่วนช่วงแรก ทาเคชิ
ยังไม่เข้าใจแนวคิดเรื่อง ครน. เขาจึงใช้วิธีคูณตัวส่วนทั้งหมด เข้าด้วยกันเพื่อหา ครน. และยังไม่รู้วิธีตัดทอนคำ�ตอบ อย่างไรก็ตาม คุณโทรุกไ็ ม่ได้บอกให้เขาทำ�แบบฝึกหัดใหม่ จนกว่าจะเข้าใจ แต่คุณโทรุกลับเพิ่มตัวอย่างในข้อที่ทาเคชิเคย ทำ�ผิดในแบบฝึกหัดชุดก่อน เพื่อให้เขาเข้าใจวิธีการตัดทอน เศษส่วนที่ถูกต้อง จากนั้นคุณโทรุก็ให้ทำ�แบบฝึกหัดหนึ่งหน้าที่ มีการเขียน ตัวส่วนไว้ให้แล้วเป็นตัวช่วยเพื่อให้ทาเคชิตั้งใจหา คำ�ตอบโดยไม่ต้องพะวงเรื่องตัวส่วน ในแบบฝึกหัดชุดต่อมา ทาเคชิสามารถหาคำ�ตอบได้โดยไม่ ต้องอาศัยความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากคุณโทรุ อย่างไรก็ดี เขายังคงนำ�ตัวส่วนมาคูณกันอยู่เหมือนเดิม หลังจากตรวจ แบบฝึกหัดแล้ว คุณโทรุได้เขียนข้อความว่า “ไม่จำ�เป็นต้องนำ� ตัวส่วนมาคูณกันทุกข้อเพื่อหา ครน.”
วันต่อมา ขณะที่ทาเคชิกำ�ลังแก้แบบฝึกหัดชุดที่ทำ�เสร็จแล้ว ทาเคชิได้อ่านข้อความของคุณพ่อแล้วก็เข้าใจว่าเขาควรหาคำ� ตอบด้วยการใช้ ครน. แทนที่จะนำ�ตัวส่วนมาคูณกัน ในแบบ ฝึกหัดชุดต่อไปทาเคชิก็สามารถใช้ ครน. ในการหาคำ�ตอบได้ และทำ�ถูกต้องเกือบทั้งหมด ปัจจุบนั ระบบการเรียนแบบคุมองยังคงใช้แบบฝึกหัดทีเ่ หมาะสม กับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน โดยมีตัวช่วย ตัวอย่าง และการสอนเท่าที่จำ�เป็นจากคุณครูคุมอง คุณอะสึชิ ยามาดะ ประธานบริษัท Kumon Asia & Oceania เชื่อมั่นว่าการค้นหาระดับที่ “พอเหมาะพอดี” นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ ตอนที่นักเรียนทำ�แบบทดสอบวัดระดับ “ก่อนที่เด็กๆ จะมาเรียนที่ศูนย์คุมอง คุณครูคุมองควรสื่อสาร กับคุณครูผู้ช่วยถึงสภาพที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของนักเรียนใน ขณะทำ�แบบทดสอบวัดระดับหรือสภาพการเรียนในวันที่มา เรียนที่ศูนย์ครั้งถัดไปเพื่อที่จะให้การสอนที่เหมาะสม ความ พยายามเช่นนี้จะช่วยทำ�ให้เด็กๆ เกิดแรงจูงใจและมีความ มั่นใจ เนื่องมาจากพวกเขาได้เรียนในระดับที่ “พอเหมาะ พอดี” มาตั้งเเต่ตอนเริ่มต้นเรียน” (President’s Message to Instructor เดือนพฤษภาคม ปี 2018) 77
Feature
E
L
JUS
GH T RI
V T LE
จากใจคุณครูคุมอง “ความพอเหมาะพอดี” มีความสำ�คัญมากที่สุดใน ระบบการเรียนแบบคุมอง จากบทความ “การเรียน ในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” : ระบบการเรียนแบบคุม องมีวิธีค้นหาระดับที่พอเหมาะพอดีสำ�หรับนักเรียน ทุกคนได้อย่างไร” เราได้ทราบว่าคุณโทรุ คุมอง ผู้ก่อ ตั้งระบบการเรียนแบบคุมอง มีวิธีค้นหาระดับที่ “พอ เหมาะพอดี” ให้กับทาเคชิซึ่งเป็นลูกชายได้อย่างไร ใน บทความ “จากใจคุณครูคุมอง” ฉบับนี้ เรามาดูกันว่า คุณครูคุมองมีความคิดเห็นอย่างไรต่อระดับการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” และพวกเขามีวิธีค้นหาระดับที่ “พอ เหมาะพอดี” ให้แก่นักเรียนได้อย่างไร
คุณ Nora ประเทศมาเลเซีย
““ต้องทำ�หรือไม่จำ�เป็นต้องทำ�” คล้ายคลึงกับคำ�กล่าวที่หลายคนคุ้นเคยจาก วรรณกรรมเรื่อง Hamlet ของ William Shakespeare* การค้นหาระดับการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเรามักจะสับสนระหว่างระดับที่ง่ายเกินไปหรือ ยากเกินไปจนทำ�ให้นักเรียนขวัญเสียและหมดความสนใจ อย่างไรก็ดี นี่เป็นความ ท้าทายที่ดิฉันรอคอยเพื่อที่จะได้เห็นช่วงเวลาที่นักเรียนค้นพบว่าตนเองสามารถทำ� สิ่งหนึ่งสำ�เร็จได้โดย ดูจากสีหน้าที่เผชิญกับความยากลำ�บากกลับกลายเป็นใบหน้า ที่เปี่ยมด้วยรอยยิ้มแห่งชัยชนะ ซึ่งเป็นรอยยิ้มที่บ่งบอกว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหาใน ขณะที่ทำ�แบบฝึกหัดแล้ว”
*ในวรรณกรรมเรื่อง Hamlet มีคำ�กล่าวในตอนต้นของเรื่องว่า “To be or not to be that is the question?” หรือ “จะอยู่หรือตาย นั่นคือปัญหา” วลีดังกล่าวเป็นวลีที่ผู้อ่านวรรณคดีอังกฤษคุ้นเคยมากที่สุดวลีหนึ่ง
88
คุณศลินา ทวีวัฒนกิจบวร ประเทศไทย
“จุดเริ่มต้นในการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” จะไม่ทำ�ให้นักเรียนรู้สึกท้อที่จะเรียน อย่างต่อเนื่อง หรือหมดแรงจูงใจในการเรียนก้าวหน้าจนเกินชั้นเรียน ดังนั้น คุณครูคุมองจะต้องกำ�หนดจุดเริ่มต้นในการเรียนเพื่อวางแผนการเรียนอย่างมี ประสิทธิภาพและให้การสอนที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นเพื่อให้นักเรียนเรียนก้าวหน้าไปได้ อย่างราบรื่นและไม่ถอดใจเมื่อพบเนื้อหาที่ท้าทาย คุณครูคุมองควรให้ความสำ�คัญ ในการค้นหาระดับการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” แก่นักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อ จุดเริ่มต้นในการเรียนที่ดีและเรียนก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่อง”
“ระดับที่ “พอเหมาะพอดี” ในการเรียน คือ จุดที่ลงตัวที่สุดที่นักเรียนจะได้สัมผัส กับความท้าทายโดยไม่รู้สึกกดดันจนเกินไป ดิฉันเชื่อว่านี่คือหนึ่งในมาตรฐาน ของระบบการเรียนแบบคุมองที่แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของคุณครูคุมองที่ จะสร้างความเป็นเลิศให้แก่นักเรียนโดยไม่ยึดติดกับอายุ ชั้นเรียน หรือความเชือ่ เดิมๆ ของตัวพวกเขาเองหรือใครก็ตาม ดิฉนั มัน่ ใจว่าการค้นหาระดับในการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” สามารถเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของนักเรียนได้เพราะเป็นโอกาส พิสูจน์ตนเองในการเอาชนะความท้าทาย ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ ค้นหาระดับที่ “พอเหมาะพอดี” ของนักเรียนแต่ละคนเพื่อช่วยให้พวกเขาพบกับ ความสำ�เร็จในการเรียนคุมอง”
คุณ Melissa Zheng ประเทศสิงคโปร์
คุณ Saree Lawler ประเทศนิวซีแลนด์
“ดิฉันเชื่อว่านักเรียนควรจะรักการเรียนรู้หากได้เรียนสิ่งที่สนุกและน่าสนใจ รวม ทั้งพวกเขาจะต้องได้เรียนในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” ด้วยซึ่งจะทำ�ให้นักเรียน สามารถทำ�ความเข้าใจเนื้อหาที่ท้าทายได้โดยอาศัยสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้มาก่อน หน้านี้และเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน การสังเกตลักษณะการเรียน การสื่อสารกับ ผู้ปกครองและนักเรียนจะช่วยทำ�ให้พวกเขามีเป้าหมายการเรียนชัดเจนขึ้นรวมไป ถึงการรักษาระดับการเรียนที่ “พอเหมาะพอดี” จะช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการ เรียนอย่างต่อเนื่อง”
97 9
เกณฑ์การเชิญนักเรียนเข้าร่วม งานมอบรางวัลนักเรียนคุมองดีเด่น ประจำ�ปี 2563
บริษัท คุมอง (ไทยแลนด์) จำ�กัด ขอแจ้งเกณฑ์การเชิญนักเรียนเข้าร่วมงานมอบรางวัล นักเรียนคุมองดีเด่น หรือ Advanced Student Forum (ASF) ซึง่ จะมีผลตัง้ แต่การจัดงานในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป โดยนักเรียนที่จะได้รับเชิญเข้ารับรางวัลในงาน ได้แก่ 1. นักเรียนทีเ่ รียนจบระดับสุดท้ายในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ EFL 2. นักเรียนที่เรียนจบแบบฝึกหัดระดับ III200 ในวิชาการอ่านภาษาไทย 3. นักเรียนที่เรียนเกินชั้นเรียน 7 ชั้นปีขึ้นไปเป็นครั้งแรกในแต่ละวิชา* 4. นักเรียนที่เรียนเกินชั้นเรียน 5 ชั้นปีขึ้นไปเป็นครั้งแรกในแต่ละวิชา* *นักเรียนที่จะได้รับรางวัลเรียนเกินชั้นเรียน 7 ชั้นปีขึ้นไป และ 5 ชั้นปีขึ้นไป จะต้องยังมี สถานะเป็นนักเรียนคุมองที่เรียนอยู่ในวิชานั้นๆ ณ เดือนเมษายน ของปีที่จัดงานมอบรางวัลฯ เท่านั้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เกณฑ์การเรียนเกินชั้นเรียนทุกประเภท (ได้แก่ เรียนเกิน ชัน้ เรียน 6 เดือนขึน้ ไป. 2 ชัน้ ปีขน้ึ ไป, 3 ชัน้ ปีขน้ึ ไป, 5 ชัน้ ปีขน้ึ ไป และ 7 ชัน้ ปีขน้ึ ไป) ในทุกวิชา จะเป็นเกณฑ์สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลงมาเท่านั้น หมายเหตุ: บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนเกณฑ์การเชิญนักเรียนเข้าร่วมงานมอบรางวัลและรูปแบบรางวัลที่จะมอบให้ นักเรียนโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 10 10
Parenting Tips
เกมง่ายๆ 3 ฝึกทักษะ การคำ�นวณในใจ
พื้นฐานการคำ�นวณที่แข็งแกร่งมีส่วนช่วย ให้บุตรหลานของท่านเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก้าวหน้าไปสู่ระดับสูงได้ในระยะยาว การเล่นเกมตัวเลขง่ายๆ ช่วยพัฒนาความ สามารถในการคำ�นวณให้แก่เด็กๆ ทำ�ให้เด็กๆ ไม่เอาเเต่เล่นโทรศัพท์และช่วยให้พวกเขามี ส่วนร่วมในกิจกรรมในครอบครัวเพิ่มขึ้น และนี่คือเกมง่ายๆ ที่จะช่วยพัฒนาและ ท้าทายทักษะการคำ�นวณในใจของเด็กๆ
1
10s
1s
2 3 4 5 6 Total
ต้องได้ 100 ถึงจะชนะ เตรียมกระดาษ ดินสอและลูกเต๋า 1 ลูก วิธีการเล่นคือ ผู้เล่นแต่ละ คนผลัดกันทอยลูกเต๋า จำ�นวนแต้ม ที่ทอยได้จะกำ�หนดให้เป็นเลขหลัก หน่วยหรือหลักสิบก็ได้ เช่น ถ้าทอย ลูกเต๋าได้ 1 แต้มก็สามารถกำ�หนดให้ เป็นจำ�นวน 1 แต้มหรือ 10 แต้มก็ได้ รวมคะแนนจากการทอยแต่ละครั้ง ด้วยการจดลงบนกระดาษ ผู้เล่นที่ได้ จำ�นวนแต้มรวมใกล้เคียง 100 ที่สุด แต่ต้องไม่เกิน 100 จะเป็นผู้ชนะ เกม นี้ช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกการคำ�นวณใน ใจว่าจะต้องทอยลูกเต๋าให้ได้กี่แต้มใน ครั้งต่อไป
เบอร์นี้ มีลุ้น บอกตัวเลขอะไรก็ได้ 1 จำ�นวนให้ เด็กๆ ทราบ จากนั้น ให้เด็กๆ ใช้ เวลา 1 นาทีในการคิดหาวิธีการบวก ลบ คูณ หาร ให้มากที่สุดเท่าที่จะ ทำ�ได้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่ากับจำ�นวน ที่กำ�หนด ใครที่คิดวิธีได้มากที่สุดใน เวลา 1 นาทีจะเป็นผู้ชนะ
10 ÷ 2
1+4
20 ÷ 4
3+2 1x5
สูตรคูณประจัญบาน เรียงการ์ดตัวเลขหรือไพ่โดยควำ�่ ด้านที่มี ตัวเลขลง การ์ดที่มีเลข 0 แทนจำ�นวน 10 ผู้เล่นแต่ละคนเปิดไพ่ครั้งละ 2 ใบ นำ�ตัวเลขของการ์ดทั้งคู่มาคูณกันพร้อม กับพูดให้ผู้เล่นคนอื่นๆ ได้ยิน เช่น ถ้า เปิดการ์ดได้เลข 7 กับ 8 ก็ต้องพูดว่า 7 คูณ 8 เท่ากับ 56 หรือถ้าเปิดการ์ดได้ 6 กับ 4 ก็ต้องพูดว่า 6 คูณ 4 เท่ากับ 24 ผู้ชนะคือคนที่ได้ผลลัพธ์มากกว่า และได้ครอบครองการ์ดทั้ง 4 ใบเป็น ของตนเอง แต่ถ้าได้ผลลัพธ์เท่ากัน ให้ผู้ เล่นแต่ละคนนำ�การ์ด 4 ใบมาเรียงควำ�่ หน้าและเลือกเปิดคนละ 2 ใบ คนที่ได้ ผลลัพธ์มากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะและได้ ครอบครองการ์ดทั้งหมด 8 ใบ เล่นตาม กติกานี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้เล่นคนใดคน หนึ่งไม่เหลือการ์ดและผู้เล่นอีกคนได้ ครอบครองการ์ดทั้งหมด 11 7
คณิตศาสตร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ยุโรป
อันดอรรา ออสเตรีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอรแลนด อิตาลี ลักเซมเบิรก เนเธอรแลนด สเปน สวิตเซอรแลนด สหราชอาณาจักร
เอเชีย
ตะวันออกกลาง
บรูไน กัมพูชา จีน ฮองกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุน เกาหลี มาเกา มาเลเซีย ฟลิปปนส เมียนมาร ไตหวัน สิงคโปร ศรีลังกา ไทย เวียดนาม
อเมริกาเหนือ แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
VI 04.TH.01.0516
บาหเรน กาตาร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส
แอฟริกา บอตสวานา เคนยา นามิเบีย แซมเบีย แอฟริกาใต
อเมริกาใต โอเชียเนีย
อารเจนตินา เปรู โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลอมเบีย
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด
“มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย ด้วยระบบการเรียนแบบคุมอง”
สนใจเปิดศูนย์คุมอง ร่วมฟังสัมมนาฟรี ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง 12
http://th.kumonglobal.com โทร. 0-2626-6555 ต่อ 1171, 1176 หรือ franchise@kumon.co.th