Asean history

Page 1


ความเป็นมาของอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งขึน้ โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ 1. นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2. ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย 3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 4. นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ 5. พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลาดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลาดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่าเข้าเป็นสมาชิก พร้อมกัน เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก ลาดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ทาให้ ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ อาเซียน +3: ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น อาเซียน+6: ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุม่ ประเทศ +3 และประเทศ ออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์


ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สาคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ (1) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร ์และการบริหาร (2) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมภิ าค (3) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมภิ าค (4) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยูแ่ ละคุณภาพชีวติ ทีด่ ี (5) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (6) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรมการขยายการค้า ตลอดจน การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม (7) เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือ แห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ


สัญลักษณ์ของอาเซียน สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง การที่ประเทศในภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทงั้ 10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ ในพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้าเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคาว่า “asean” สีน้าเงิน อยูใ่ ต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมัน่ ทีจ่ ะทางาน ร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีทั้งหมดทีป่ รากฏในสัญลักษณ์ของ อาเซียนเป็นสีสาคัญทีป่ รากฏในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

สีน้าเงิน หมายถึง สันติภาพและความมัน่ คง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสทุ ธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุง่ เรือง

คาขวัญของอาเซียน

“One Vision, One Identity, One Community” “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”


ประชาคมอาเซียน เมื่ออาเซียนอายุครบ 30 ปี ผูน้ าของอาเซียนได้รับรองเอกสารเพื่อกาหนดการดาเนินงาน ของอาเซียนในอนาคต เรียกว่า “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020)” เพื่อทาให้ อาเซียนเป็นดินแดนแห่งสันติภาพมีความเจริญรุง่ เรือง และความมัน่ คงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดสังคมที่ประชาชนทุกคนรักใคร่ดแู ลกัน

เอือ้ อาทรและร่วมแบ่งปันกัน

ไม่มกี าร

แบ่งแยกกีดกัน มีความสามัคคีกัน นอกจากนี้ ผู้นาอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ • ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political -Security Community APSC) • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ ผูน้ า อาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้สาเร็จภายในปี 2015)

2558

(ค.ศ.


ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน จะช่วยเสริมสร้างความมัน่ คงทางการเมือง ซึ่งเป็นพืน้ ฐานสาคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) สร้างแนวปฏิบตั ิร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ ด้วยการไม่ใช้กาลังแก้ไขปัญหา และ การไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ (2) เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคาม ที่มผี ลต่อความ มั่นคงของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น (3) สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศต่างๆ ในโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนาใน ภูมภิ าค ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาเซียน ให้ความสาคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ

และการอานวยความสะดวกในการติดต่อค้าขาย

ระหว่างกันเพื่อให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอืน่ ๆ ได้ เพื่อความอยู่ ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน อาเซียนมีประชากรรวมกันกว่า 550 ล้านคน ซึ่งจะรวมตัวเป็นฐานตลาดเดียวกันและ จะมีการเคลือ่ นย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานมีฝีมอื อย่างเสรี ภายในปี 2558 ปัจจุบันอาเซียนได้ยอมรับคุณวุฒิร่วมกันใน 7 สาขาอาชีพเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย แรงงานโดยเสรีได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี ซึ่ง ประเทศอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมของผูเ้ รียนให้มพี ้ืนฐานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


ภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน สาหรับใช้ในการติดต่อสื่อสาร และการทางานในประเทศ สมาชิกอาเซียนได้อย่างคล่องตัว ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - อาเซียนจะกลายเป็นตลาดทีส่ าคัญของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ - ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบร่วมกันในอาเซียน - การพัฒนาเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนในสาขาทีป่ ระเทศไทยมีความถนัด ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนตั้งเป้าหมายการเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และแบ่งปัน

ในสังคมที่เอือ้ อาทร

มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความรูส้ ึกในความ

เป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียนโดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional cooperation) ภายใต้ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทีค่ รอบคลุมในหลายด้าน เช่น การศึกษา การพัฒนา เยาวชน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการสาธารณสุข เป็นต้น การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทาให้เกิดความร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น 1) การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึน้ 2) การพัฒนาการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี 3) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข เช่น การป้องกันและการควบคุม โรคติดต่อ


4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน 5) การส่งเสริมความรูส้ ึกร่วมในการเป็นคนอาเซียน และอยูใ่ นครอบครัวอาเซียนร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอาเซียน การจัดกิจกรรมที่จะช่วยให้พลเมืองอาเซียนเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน

แหล่งข้อมูล กระทรวงการต่างประเทศ. กรมอาเซียน. (ม.ป.ป.). ASIAN mini book. กรุงเทพฯ: ผูแ้ ต่ง. krukanidta. (2556). ชุดประจำชำติอำเซียน. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2556, จาก http://krukanidta .files.wordpress.com/2013/02/loi.jpg วิทย์ บัณฑิตกุล. (2554). รูจ้ ักประชำคมอำเซียน. กรุงเทพฯ : สถาพรบุค๊ ส์. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สานักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2554). ฉันและเธอเรำคือ อำเซียน. กรุงเทพฯ: ผูแ้ ต่ง. อณฏณ เชือ้ ไทย. (2555). เออีซี ประชำคมเศรษฐกิจอำเซียน [AEC Asean economic community]. กรุงเทพฯ : แสงดาว.


ASEAN Focus ออกแบบ: นางสาววิมลรัตน์ ทองปลาด หอประวัติและพิพธิ ภัณฑ์ จัดทา: นางปัทมพร โพนไสว ห้องสมุด ดร.ไสว สุทธิพทิ ักษ์ แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th/laic


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.