ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานบนเส้นทางสิริมงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. พร้อมกันทั่วประเทศ
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๖ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ท�ำตามค�ำสอนพ่อ...บังเกิดสุขและสิริมงคล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.๑๑๒๒ www.bikefordad2015.com
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๖ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
www.lakmuangonline.com
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานบนเส้นทางสิริมงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. พร้อมกันทั่วประเทศ
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๖ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ท�ำตามค�ำสอนพ่อ...บังเกิดสุขและสิริมงคล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.๑๑๒๒ www.bikefordad2015.com
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๖ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
www.lakmuangonline.com
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ที่ปรึกษา พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ร.น. พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ พล.อ.พอพล มณีรินทร์ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ พล.อ.วิสุทธิ์ นาเงิน พล.อ.ชาตอุดม ติตถะศิริ พล.อ.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ� ไพ พล.ท.สัมพันธ์ ธัญญพืช พล.ท.อภิชาติ อุ่นอ่อน พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ
ผู้อ�ำนวยการ พล.ต.ยุทธนินทร์ บุนนาค รองผู้อ�ำนวยการ พ.อ.ภัทร์นรินท์ วิจิตรพฤกษ์ ผู้ช่วยอ�ำนวยการ พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ กองจัดการ ผู้จัดการ น.อ.ธวัชชัย รักประยูร ประจ�ำกองจัดการ น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์ เหรัญญิก พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์ ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช บุญหล้า ฝ่ายกฎหมาย น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ พิสูจน์อักษร พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น. รองบรรณาธิการ พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช ประจ�ำกองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม พ.ต.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง
น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค
บทบรรณาธิการ วารสารหลักเมืองฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ เดือนที่สองของ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ส�ำหรับหน่วยงานราชการ ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ จะต้องท�ำงานหนัก และมีงานมากมายหลายด้าน ทั้งที่เป็นช่วงสิ้นปี แต่ที่ส�ำคัญ ที่จะต้องท�ำ งานให้ ทั นคื อ การด� ำ เนิ นการตามแผนงาน และแผนการใช้ จ ่ าย งบประมาณ โดยจะต้องเร่งด�ำเนินการและเบิกจ่ายให้ทันในไตรมาสแรก ซึ่งรัฐบาล ให้น�้ำหนักที่จะต้องเร่งด�ำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่อง ส�ำคัญ โดยเฉพาะกับผู้ปฏิบัติงาน ปลายปี นี้ มี ง านส� ำ คั ญ และเป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในช่ ว งวั น ที่ ๑๑ – ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ กิจกรรมถวายพระเกียรติและความจงรักภักดี “ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad” ในปี ๒๕๕๙ นับเป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทยที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินนี าถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในโอกาสนี้ กระทรวงกลาโหม โดยส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีโครงการทีจ่ ะจัดท�ำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสมหามงคลดังกล่าว ส�ำหรับเนือ้ หาสาระ รูปเล่ม จะเป็นอย่างไร จะได้น�ำเรียนให้ท่านผู้อ่านได้ทราบในโอกาสต่อไป
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม
๔
๔
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระผ่านเกล้าแห่งวรรณกรรมไทย
๖ ๒๐ พฤศจิกายน วันกองทัพเรือ ๘
The Question of What to Target “ช่วงหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ การเกิดขึ้นของเครื่องมือแห่งสงคราม Operations Research”
๑๐ ๑๓
๓๖
แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้านเครื่องบินขับไล่ โจมตีพิสัยไกล ซู-๓๐
๘
วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑
๑๕
๓๒ ปี วันคล้ายวันสถาปนา ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
๖
๑๗
๑๓
๕๔ ปี วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกลาโหม
๑๕
๑๗
๙ แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๒)
๑๙
๓๐
๑๙ ๒๓
บทวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาศักยภาพ กองทัพของประเทศสมาชิกอาเซียน
๒๗
การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้น�ำทางการทหาร (ตอนที่ ๒)
“การพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรองตามกรอบ แผนแม่บทการพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรอง ของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๕– ๒๕๕๙”
๓๒
นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ แนวทางการปฏิบัติงาน ของปลัดกระทรวงกลาโหม
๓๐
๓๒
๓๖
๕๐
๕๔
๔๐ เปิดประตูสู่ เทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ ๓๕ ๔๔ สัจจะบารมีแห่งผู้น�ำ ๔๘ อาณาจั ก รพม่ า ปลายราชวงศ์ ต องอู ๒๑๙๑
๕๐
แนวคิดในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๕๒ Have you got all that? ๕๔
เมล็ดเจีย ธัญพืชมากประโยชน์ ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ
๕๖
ภาพกิจกรรม
ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
พระผ่านเกล้าแห่งวรรณกรรมไทย
ส
มเด็จพระมหาธีรราชเจ้า คือ พระราชสมัญญานาม ขององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่ง พระราชวงศ์ จั ก รี ซึ่ ง พสกนิ ก รชาวไทย พร้อมใจกันทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์ท่าน เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพ ในด้ า นอั ก ษรศาสตร์ เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ทรง สร้างสรรค์วรรณกรรมที่สำ� คัญและมีความ งดงามเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ให้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมให้แก่ประชาชนชาวไทยได้มี โอกาสรับรู้ รับทราบ และชื่นชมในความ งดงามและสุ น ทรี ย ศิ ล ป์ ข องภาษาไทย นอกจากนี้ ยังทรงบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ที่เป็นคุณูปการต่อประชาชนและชาติไทย มากมายนานัปการ ดังนัน้ รัฐบาลไทยและ พสกนิกรชาวไทยจึงได้เทิดพระเกียรติคุณ ของพระองค์ทา่ นด้วยพระราชสมัญญานาม ว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความ หมายว่า มหาราชผู้เป็นจอมปราชญ์ พระราชกรณียกิจที่จะขออัญเชิญ มาอรรถาธิบายในบทความนี้ เป็นพระราช กรณี ย กิ จ ที่ เ กี่ ย วกั บ นิ รุ ก ติ ศ าสตร์ ห รื อ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความหมายของภาษา ซึ่ง องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมี พ ระปรี ช าสามารถและพระ อั จ ฉริ ย ภาพเป็ น อย่ า งยิ่ ง ทั้ ง ยั ง ทรงมี พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ในการเกื้ อ กู ล ศิ ล ป วัฒนธรรมไทยให้มคี วามมัน่ คงสถาพรเคียงคู่ ประเทศชาติสืบต่อมา โดยบทพระราช นิ พ นธ์ ที่ ท รงรั ง สรรค์ อั น ประกอบด้ ว ย บทร้อยกรองและบทร้อยแก้วจ�ำนวนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง ทั้งนี้ หากจะประมวลบท พระราชนิพนธ์ สามารถจ�ำแนกได้ ดังนี้ 4
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
๑. วรรณคดี ได้แก่ มัทนะพาธา พระนลค� ำ หลวง นารายณ์ สิ บ ปาง ศกุนตลา เป็นต้น ๒. ธรรมะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อะไร เทศนาเสือป่า พระบรมราโชวาท ในงานวิสาขบูชา เป็นต้น ๓. ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ สันนิษฐานเรื่องพระร่วง สันนิษฐาน
เรื่องท้าวแสนปม เที่ยวเมืองพระร่วง เที่ยว เมืองอียิปต์ เป็นต้น ๔. บทละคร ได้แก่ พระร่วง หัวใจ นักรบ เวนิสวาณิช โรมิโอและจูเลียต ตามใจ ท่าน ตั้งจิตคิดคลั่ง เป็นต้น ๕. นิทาน ได้แก่ นิทานทหารเรือ นิทานชวนขัน นิทานทองอิน ประชุมนิทาน เป็นต้น พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
๖. ปลุกใจให้รักชาติ ได้แก่ ปลุกใจ เสือป่า โคลนติดล้อ ลัทธิเอาอย่าง เมืองไทย จงตื่นเถิด ยิวแห่งบูรพาทิศ เป็นต้น ๗. การทหาร ได้แก่ การสงคราม ป้อมค่ายประชิด ความเจริญแห่งปืน เป็นต้น ๘. การเมือง ได้แก่ ปกิณกคดี ความ กระจัดกระจายแห่งเมืองจีน การจลาจล ในรัสเซีย เป็นต้น ทั้ ง ยั ง ทรงใช้ พ ระนามแฝงในบท พระราชนิพนธ์ มากกว่า ๑๐๐ พระนาม อาทิ อัศวพาหุ (ส�ำหรับเรื่องเกี่ยวกับการเมือง แ ล ะ บ ท ป ลุ ก ใ จ ) พั น แ ห ล ม แ ล ะ สุ ค รี พ (ส� ำ หรั บ เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ทหารเรื อ ) นายแก้ ว นายขวั ญ พระขรรค์ เ พชร ศรีอยุธยา ไก่เขียว เจ้าเงอะ (ส�ำหรับเรื่องที่ เป็นบทละคร) รามวชิราวุธ รามพันธ์ ราม จิตติ รามสูร วชิราวุธ ราม ณ กรุงเทพ วชิราวุธโธ (ส�ำหรับเรื่องที่เป็นบทความ) และ Sri Ayudhya Sri Ayoothya Phra Khan Bejra (ส�ำหรับเรื่องที่เป็นบทละคร ภาษาอังกฤษทีท่ รงแปลจากบทละครภาษา ไทยของพระองค์) นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตัง้ วรรณคดี สโมสรพุทธศักราช ๒๔๕๗ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่ง เสริมการประพันธ์ดา้ นภาษาไทยให้ถกู ต้อง ตามหลักภาษาไทย ได้สารประโยชน์ ทั้งนี้ เนื่องจากในสมัยนั้นการประพันธ์หนังสือ มักเลียนแบบการประพันธ์หนังสือภาษา ต่างประเทศ ท�ำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยน ไปจากที่ควรเป็นในภาษาไทย ดังนั้น ศัพท์ บัญญัติว่าวรรณคดี จึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้ง แรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพือ่ ให้ มี ค วามหมายสอดคล้ อ งกั บ ค� ำ ว่ า “literature” ในภาษาอังกฤษ โดยพระราช กฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ ๕ ประเภท ประกอบด้วย ๑) กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์จาก ฉันทลักษณ์ไทยคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ และ กลอน ๒)ละครไทย คือ เนือ้ เรือ่ งทีป่ ระพันธ์ เป็นบทร้อยกรอง ประเภทกลอนแปด หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
๓) นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์ เป็นบทร้อยแก้ว ๔) ละครพูด คือ เนือ้ เรือ่ งทีเ่ ขียนขึน้ ส�ำหรับแสดงบนเวที ๕) ความอธิบาย คือ การแสดง ศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ต�ำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร ทั้ ง นี้ ยั ง ได้ ท รงพระกรุ ณ าโปรด เกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ออกหนังสืออีกหลาย ฉบับ อาทิ ทวีปัญญา ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมการอ่านและการใช้ภาษาไทยของ หมู่ข้าราชการและประชาชนในสมัยนั้นได้ เป็นอย่างดี จึงกล่าวได้ว่าในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็ น ยุ ค ทองแห่ ง การฟื ้ น ฟู ว รรณกรรม ทุกประเภทของไทย ซึง่ นอกจากเรือ่ งของงานวรรณกรรม แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ต่ อ ประเทศไทยนานัปการ กล่าวคือ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็น ศักราชในทางราชการ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ นามสกุ ล และได้ พ ระราชทานนามสกุ ล จ�ำนวน ๖,๔๓๒ สกุล (โดยนามสกุลแรกที่ พระราชทาน คือ นามสกุล สุขุม) ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดหอสมุดส�ำหรับ เขตพระนคร ซึง่ ในเวลาต่อมาได้พฒ ั นาเป็น หอสมุดแห่งชาติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ต ราพระราชกฤษฎี ก าค� ำ น� ำ หน้ า นาม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๐ ก� ำ หนดให้ ใ ช้
ค�ำน�ำหน้านามอย่างอารยประเทศ กล่าวคือ เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง และนางสาว ส�ำหรับน�ำหน้าชือ่ และทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้สร้างธงชาติขึ้นใหม่แทนธงช้าง ที่เป็นธง ๓ สี คือ แดง ขาว น�ำ้ เงิน มีความ หมายแทน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยพระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ องค์การ การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ถวายการ ยกย่ อ งพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัว ให้เป็นบุคคลส�ำคัญผู้มีผลงาน ดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ซึง่ กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารได้ จั ด งานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของวันพระบรมราชสมภพในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งอาคารหอวชิราวุธา นุ ส รณ์ ในบริ เ วณหอสมุ ด แห่ ง ชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวม บทพระราชนิพนธ์และประมวลสาระส�ำคัญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พระราชกรณี ย กิ จ ของ พระองค์ ไว้ ใ ห้ ป ระชาชนทั่ ว ไปได้ ศึ ก ษา ค้นคว้าและวิจยั วรรณกรรมเหล่านัน้ จึงนับ เป็นพระบรมราชานุสรณ์ที่ส�ำคัญอีกแห่ง หนึ่ ง ของชาติ ไ ทย ทั้ ง ยั ง ได้ จั ด แสดง พระบรมรูป ในขณะทรงประกอบพระราช กรณี ย กิ จ ที่ ส� ำ คั ญ แก่ ป ระเทศรวม ๑๑ พระองค์ ณ พระบรมราชะประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (The Royal Exhibition of King Vajiravudh) บริเวณชั้น ๓ ของอาคาร หอวชิราวุธานุสรณ์ ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ อั น เป็ น วั น ที่ พ สกนิ ก รชาวไทย ต่างทราบกันดีวา่ วันมหาธีรราชเจ้า ซึง่ เป็น วั น คล้ า ยวั น สวรรคตขององค์ พ ระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระผูท้ รง พระมหากรุณาธิคณ ุ แก่ประเทศไทย ผูเ้ ขียน จึงใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านได้กรุณาน้อม ร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมกัน ถวายราชสั ก การะด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี โดยพร้อมเพรียงกัน. ภาพ : http://www.oknation.net http://student.nu.ac.th 5
๒๐ ก
พฤศจิกายน วันกองทัพเรือ
ำ ลั ง ท า ง เ รื อ ข อ ง ประเทศไทย เริ่ ม มี ม า ตั้ ง แ ต ่ ส มั ย ส ร ้ า ง ร า ช อาณาจักร โดยในยุคเริ่มแรกของการเป็น ราชธานีนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงจัดให้ มี ก� ำ ลั ง ทหารไว้ ๒ ประเภท กล่ า วคื อ ประเภทแรก มีหน้าทีป่ อ้ งกันราชอาณาจักร และประเภทที่สอง มีหน้าที่ถวายความ ปลอดภัย ซึง่ ก�ำลังทหารประเภททีส่ องนีจ้ ะ ถวายความปลอดภัยทัง้ ในเวลาทีป่ ระทับใน พระราชฐาน และถวายความปลอดภัยใน ขณะเสด็จพระราชด�ำเนินทัง้ ทางสถลมารค (ทางบก) และทางชลมารค (ทางน�้ำ) จึงมี การจัดหน่วยทหารทีม่ คี วามเชีย่ วชาญทางบก และทางน�ำ้ ไว้ทั้ง ๒ หน่วย จากการศึกษาในบันทึกประวัติศาสตร์ ทราบว่า ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๓ พ่อขุน รามค�ำแหง ได้ทรงขยายพระราชอาณาจักร ไปทางใต้โดยทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมมลายูตลอดรวมไป ถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบนั นี้ จึ ง มี ค วามเป็ น ไปได้ สู ง ที่ มี ก ารใช้ ก� ำ ลั ง ทางเรือในการศึกสงครามครัง้ นัน้ เพราะโดย ภูมปิ ระเทศแล้วสิงคโปร์มลี กั ษณะเป็นเกาะ การที่จะเข้ายึดเกาะได้ก็จะต้องล�ำเลียงพล ทางน�ำ้ จึงสันนิษฐานได้วา่ ในขณะนัน้ มีการ ใช้ก�ำลังทางเรืออย่างเต็มรูปแบบแล้ว หาก แต่มกี ารแฝงการขึน้ บังคับบัญชากับแม่ทพั โดยมิได้แยกเป็นส่วนหรือหน่วยทางเรือ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะมีความจ�ำเป็นที่จะต้อง ใช้เรือเป็นพาหนะส�ำหรับการล�ำเลียงก�ำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารเพื่อ ปฏิบัติการรบ นอกจากนี้ ภูมิประเทศของ ไทยมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและมีแม่น�้ำ 6
พลตรี ขัยวิทย์ ชยาภินันท์
ขนาดใหญ่หลายสาย ทั้งยังมีชายฝั่งทะเล ค่อนข้างยาว ดังนั้น การเดินทางทางน�้ำ จึงเป็นวิธใี นการปฏิบตั กิ ารทางทหารได้เป็น อย่างดี เมือ่ เป็นเช่นนี้ การจัดก�ำลังทหารใน สมัยโบราณจึงมีทั้งก�ำลังทางบกและก�ำลัง ทางเรือ โดยก�ำลังทางเรือมี ๒ ประเภท คือ เรือส�ำหรับปฏิบัติการในล�ำน�้ำ และเรือ ส�ำหรับปฏิบัติการในทะเล ในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา มีการบันทึก การใช้ก�ำลังทางเรือในการปฏิบัติการรบ หลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้เรือรบ ในล�ำน�้ำและมีภารกิจการส่งเสบียงและ ล�ำเลียงพล ต่อมาจึงได้พัฒนาเรือดังกล่าว เป็นเรือส�ำหรับใช้ปฏิบัติการรบและมีการ ติดอาวุธปืนไฟขนาดต่างๆ บนเรือ โดยมี การบั น ทึ ก ไว้ ว ่ า ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระ มหาจักรพรรดิ ทหารกรุงศรีอยุธยาเคยใช้ ปืนใหญ่ที่ติดตั้งบริเวณหัวเรือไชยแล่นออก ยิ ง ค่ า ยของพม่ า ที่ ตั้ ง ล้ อ มกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา
จนข้าศึกต้องร่นถอยไป ต่ อ มา เมื่ อ มี ก ารค้ า ขายกั บ ต่ า ง ประเทศ พระมหากษัตริยข์ องกรุงศรีอยุธยา ได้ทอดพระเนตรเห็นแสนยานุภาพของ เรือรบและยุทโธปกรณ์ของประเทศตะวันตก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พัฒนา นาวิกานุภาพหรือแสนยานุภาพทางเรือ เพื่ อ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ในการป้ อ งกั น ประเทศและปกป้องผลประโยชน์ของชาติ จากการประกอบธุรกรรมทางการค้ากับ ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ก�ำลังทางเรือที่ ใช้ ป ฏิ บั ติ ก ารก็ ยั ง คงมี อ ยู ่ ใ น ๒ ภารกิ จ กล่าวคือ ภารกิจในล�ำน�้ำและภารกิจทาง ทะเลอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ในการกู ้ ช าติ ข องสมเด็ จ พระเจ้ า ตากสินมหาราช ได้มกี ารบันทึกประวัตศิ าสตร์ ไว้อย่างชัดเจนว่า มีการต่อเรือทีเ่ มืองระยอง และจั น ทบุ รี พร้ อ มกั บ ล� ำ เลี ย งก� ำ ลั ง พล และยุทโธปกรณ์เข้าสู่ปากน�้ำเจ้าพระยา พลตรี ขัยวิทย์ ชยาภินันท์
ผ่ า นบางกอกเพื่ อ เข้ า ตี ค ่ า ยโพธิ์ ส ามต้ น จนกอบกู ้ เ อกราชได้ ส� ำ เร็ จ นอกจากนี้ ในรั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชยังได้ใช้ก�ำลังทางเรือและเรือใน การท� ำ ศึ ก สงครามเพื่ อ ปกป้ อ งประเทศ และรวมราชอาณาจักรอีกหลายครั้ง อาทิ การท�ำศึกที่บางกุ้ง การท�ำศึกอะแซหวุ่นกี้ ต่ อ มา ในสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ท รง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือส�ำหรับ ปฏิบัติภารกิจในแม่น�้ำเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะชัยภูมิของกรุงเทพฯ เป็นที่ราบลุ่ม และมีแม่น�้ำล�ำคลองพาดผ่านมาก อีกทั้ง อยู ่ ไ ม่ ไ กลจากทะเลมากนั ก และในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๑๕ รั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ภายหลัง จากที่เสด็จพระราชด�ำเนินกลับจากการ เสด็จประพาสปัตตาเวีย จึงได้ทรงปรับปรุง หน่วยทหารขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น ๙ กรมทหาร คือ กรมทหารมหาดเล็กราช วั ล ลภรั ก ษาพระองค์ กรมทหารรั ก ษา พระองค์ กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารช้าง กรม ทหารฝีพาย กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี และกรมอรสุมพล (นาวิกโยธิน) เมื่ อ วั น ที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ จัดการทหาร โดยจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น โดยให้รวมกองทหารบกและกองทหารเรือ ให้ ขึ้ น การบั ง คั บ บั ญ ชาของสมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า วชิ รุ ณ หิ ศ แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้ า ฟ้ า กรมพระภาณุ พั น ธุ ว งศ์ ว รเดช เป็ น ผู ้ แ ทนเพื่ อ ท� ำ การบั ง คั บ บั ญ ชาการ ทั่ ว ไปในกรมทหาร และให้ มี ต� ำ แหน่ ง เจ้าพนักงานใหญ่ผชู้ ว่ ยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่จัดการ ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับ
ทหารเรือ จ�ำนวนผูค้ นในทหารเรือ การฝึกหัด ทหารเรือ เรือรบหลวง และพาหนะทางเรือ พร้อมกับทรงตัง้ นายพลเรือโท พระวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้า พนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ หลังจากนั้น กิจการทหารเรือก็ได้พัฒนา ตามล�ำดับ จนภายหลังจากทีเ่ กิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทรงมี พ ระราชวิ นิ จ ฉั ย ว่ า ทหารจากต่างประเทศทีเ่ ข้ามาปฏิบตั หิ น้าที่ ประจ�ำต�ำแหน่งต่างๆ อาจจะมีกำ� ลังไม่มาก พอที่ จ ะรั ก ษาอธิ ป ไตยของชาติ ไ ด้ และ อาจจะรั ก ษาอธิ ป ไตยได้ ไ ม่ ดี เ ท่ า กั บ คนไทยด้วยกันเอง จึงมีพระราชประสงค์ให้ จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย เพื่อให้มี ความรูค้ วามสามารถมากพอทีจ่ ะท�ำหน้าที่ ต่าง ๆ แทนชาวต่างชาติได้ จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก พระเจ้า บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็ จ ไปทรงศึ ก ษาวิ ช าการทหารเรื อ ยั ง ประเทศอั ง กฤษ ซึ่ ง ภายหลั ง จากพระ ราชโอรสทรงส�ำเร็จการศึกษา จึงทรงกลับ มารั บ ราชการในกรมทหารเรื อ และจั ด ฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้ง โรงเรียนขึ้นครั้งแรก บริเวณอู่เรือหลวงใต้ วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ เพื่ออบรม นายทหารชั้นประทวน และฝ่ายช่างกล ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรง พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ตั้ ง โรงเรี ย น นายเรือขึน้ และในปีพทุ ธศักราช ๒๔๔๓ ได้ พระราชทานพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เพือ่ ให้เป็นทีต่ งั้ ของโรงเรียนนายเรือ ตัง้ แต่วนั ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ เป็นต้นมา และใน วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๔๙ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชด�ำเนินเปิดโรงเรียนนายเรืออย่าง เป็นทางการ และได้พระราชทานพระราช หัตถเลขาในสมุดเยีย่ มของโรงเรียนนายเรือ มีความว่า
“วั น ที่ ๒๐ พฤศจิ ก ายน ร.ศ. ๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลืม้ ใจ ซึง่ ได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยัง่ ลงแล้ ว จะเป็ น ที่ มั่ น สื บ ต่ อ ไป ในภายหน้า”
โดยข้อความพระราชหัตถเลขาได้ยงั ความปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่งของทหารเรือ ทุกนาย ดังนั้น กองทัพเรือจึงได้ถือเอา วั น ที่ ๒๐ พฤศจิ ก ายนของทุ ก ปี เป็ น วันกองทัพเรือ ตราบจนปัจจุบัน ในฐานะที่ผู้เขียนคือคนไทยคนหนึ่ง จึ ง มี ค วามภาคภู มิ ใ จเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ประเทศไทยของเรามีนาวิกานุภาพหรือ แสนยานุ ภ าพทางเรื อ ที่ ไ ม่ น ้ อ ยไปกว่ า กองทัพเรือของประเทศชั้นน�ำของภูมิภาค เอเชีย กองทัพเรือไทยมีเกียรติประวัติและ เกี ย รติ ภู มิ ใ นการรบที่ ง ดงาม สามารถ ปกป้ อ งเอกราชและอธิ ป ไตยได้ อ ย่ า ง งามสง่า เรามีกองทัพเรือที่พร้อมในการ รักษาความมั่นคงของชาติและคุ้มครอง ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในอันที่ จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ เจริญรุ่งเรือง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ประเทศได้อย่างยัง่ ยืน จึงขอให้พนี่ อ้ ง ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันมอบความ ปรารถนาดีมายังกองทัพเรือและทหารเรือ ทุกคน ในโอกาสอันส�ำคัญของวันกองทัพเรือ ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นี้
ภาพ http://scoop.mthai.com หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
7
นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙
๑. พิทักษ์รักษาและปกป้องสถาบัน พระมหากษัตริย์ โดยร่วมกับส่วนราชการ และภาคประชาชนจั ด กิ จ กรรมและ โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินนี าถและพระบรมวงศานุวงศ์ อย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะการจัดตัง้ ศูนย์การ เรียนรู้ในหน่วยทหาร เพื่อถ่ายทอดและ ขับเคลือ่ นการน้อมน�ำแนวพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำ� เนินงานเกีย่ วกับ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน” ๒. มุ่งเน้นการด�ำเนินการให้เกิดผล สัมฤทธิ์ในการปฏิรูประบบบริหารจัดการ กระทรวงกลาโหมก่ อ นการปรั บ ปรุ ง โครงสร้างกองทัพ ทั้งนี้ ในห้วงระยะแรก ของการปฏิรูปฯ ให้ความเร่งด่วนในการ เตรี ย มความพร้ อ มในเรื่ อ งก� ำ ลั ง พล ยุทโธปกรณ์ การฝึกศึกษา การวิจัยและ พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อ การพึ่ ง พาตนเอง การพั ฒ นาขี ด ความ สามารถในการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ป้ อ งกั น ประเทศ และการปฏิบัติภารกิจร่วมกับ กองทัพมิตรประเทศ รวมถึงการปรับปรุงของ กองทัพเพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๓. ใช้กลไกความร่วมมือด้านความ มั่นคงที่มีอยู่แล้วในทุกระดับและการทูต โดยฝ่ายทหารสร้างความมั่นใจและความ ไว้เนือ้ เชือ่ ใจกับประเทศเพือ่ นบ้าน ประเทศ
8
สมาชิ ก อาเซี ย น และมิ ต รประเทศเพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ การค้า การลงทุนของภูมิภาค อันจะน�ำไป สู่ความมั่นคง ปลอดภัย และอยู่ดีกินดีของ ประชาชน ๔. สนั บ สนุ น รั ฐ บาลขั บ เคลื่ อ น ประชาคมการเมื อ งและความมั่ น คง อาเซี ย นในเรื่ อ ง ๑) การบริ ห ารจั ด การ ชายแดน ๒) การสร้างความมั่นคงทาง ทะเล ๓) การแก้ไขอาชญากรรมข้ามชาติ ๔) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูต เชิงป้องกัน และ ๕) การเสริมสร้างศักยภาพ ในการปฏิ บั ติ ก ารทางทหารร่ ว มกั น ของ อาเซียน พร้อมกับเร่งรัดการจัดตั้งและ พัฒนาศักยภาพศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน การจัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบ เร่งด่วนภายใต้การด�ำเนินการในกรอบการ ประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหมอาเซี ย น และ การฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารกับด้าน การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ ๕. ให้กำ� ลังป้องกันชายแดน บูรณาการ การปฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั บ ต� ำ รวจตระเวน ชายแดน และต�ำรวจตรวจคนเข้าเมือง เพิม่ ความเข้ ม งวดการดู แ ลพื้ น ที่ ต ลอดแนว ชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบน�ำเข้า ยาเสพติดสิ่งผิดกฎหมาย สินค้าทางการ เกษตร และแรงงานต่ า งด้ า ว ในห้ ว งที่ ประเทศไทยก�ำลังเข้าสู่การเป็นประชาคม
อาเซียน ซึ่งจะท�ำให้ปริมาณการเข้าออก ของประชาชนกลุ่มประเทศอาเซียนและ การกระท�ำผิดกฎหมายตามแนวชายแดน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ๖. สนับสนุนรัฐบาลและคณะรักษา ความสงบแห่งชาติในการบริหารราชการ แผ่นดินเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ในทุกมิติ การวางรากฐานเพื่อการปฏิรูป ประเทศ และการเสริมสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ให้กบั คนในชาติ นอกจากนัน้ ให้ พิ จ ารณาบทบาทหน้ า ที่ แ ละความ รับผิดชอบในการเป็นส่วนหนึ่งของการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ “ประเทศ มัน่ คง ประชาชนมัง่ คัง่ อย่างยัง่ ยืน” ให้เกิด ผลเป็ น รู ป ธรรม รวมทั้ ง สนั บ สนุ น การ ขั บ เคลื่ อ นและติ ด ตามนโยบายที่ ส� ำ คั ญ และเร่งด่วนของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ๗. ด�ำเนินการบูรณาการส่วนราชการ ด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องในการติดตาม และแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติใน ทุ ก มิ ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปด้ ว ยความรวดเร็ ว แบบ One Stop Service ๘. สนั บ สนุ น การรั ก ษาความสงบ เรียบร้อยของประเทศตามแนวทางของ คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ ด ้ ว ยการ สนั บ สนุ น การจั ด ระเบี ย บสั ง คม และ ควบคุมการกระท�ำผิดกฎหมายโดยต้อง ด�ำเนินงานควบคูไ่ ปกับ “การสร้างจิตส�ำนึก
ทางสังคม” เช่น การสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน นักศึกษาก่อ เหตุทะเลาะวิวาทและใช้ความรุนแรง ๙. เตรียมความพร้อมในการป้องกัน ภัยพิบตั ิ และช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับ ติดตามสถานการณ์ วางแผนป้องกัน เตรียม มาตรการแก้ไข ก�ำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ รวมทัง้ ให้มกี ารซักซ้อมแผน เพือ่ ให้สามารถ ช่วยเหลือประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ โดยทหารจะต้องเป็นหน่วยงานแรกในการ เข้าไปให้ความช่วยเหลือบรรเทาปัญหา ความเดือดร้อนให้กับประชาชนเมื่อเกิด ภัยพิบัติ ๑๐. สนับสนุนการดูแลปัญหาความ เดื อ ดร้ อ นและบริ ก ารประชาชนตาม นโยบายรัฐบาล เช่น จัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ ออกให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน รอบที่ตั้งหน่วยทหาร จัดหน่วยทหารช่าง หน่ ว ยทหารพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง ซ่ อ มแซม บ้านเรือนประชาชนทีป่ ระสบภัย จัดโครงการ สินค้าราคาถูกและอาหารราคาพิเศษเพื่อ ลดค่าครองชีพของข้าราชการชัน้ ผูน้ อ้ ยและ ประชาชนทั่วไปและพิจารณาการรับซื้อ ผลผลิตทางการเกษตรตามความต้องการ ของแต่ละหน่วยงาน เช่น การน�ำยางพารา มาใช้ ใ นการท� ำ ถนน หรื อ น� ำ มาผลิ ต สิ่งอุปกรณ์ ๑๑. สนับสนุนส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้อง ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนตามนโยบาย รั ฐ บาล เช่ น ปั ญ หาการท� ำ การประมง ผิดกฎหมาย ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน แบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ปัญหา องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ปัญหาการบุกรุกป่า ปัญหา หมอกควั น อั น เกิ ด จากการเผาป่ า และ ปัญหาภัยแล้ง
๑๒. สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปญั หา เศรษฐกิจของประเทศในด้านความมั่นคง เช่น จัดเตรียมมาตรการรองรับหากเกิด กรณีที่บริการขนส่งสาธารณะหยุดชะงัก ไม่ ส ามารถให้ บ ริ ก ารได้ หรื อ สนั บ สนุ น ส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ท�ำความเข้าใจ กับมวลชนที่ต่อต้านการด�ำเนินโครงการ ที่สำ� คัญของภาครัฐ ๑๓. สนั บ สนุ น นโยบายการพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาล โดยเฉพาะการ ปลู ก จิ ต ส� ำ นึ ก ด้ า นความมั่ น คงและการ ปฏิบตั ติ ามค่านิยมของคนไทย ๑๒ ประการ ให้กับเยาวชน ๑๔. ให้ความส�ำคัญกับการจัดกิจกรรม ส�ำหรับกลุ่มพลังมวลชนที่ได้จัดตั้งไว้แล้ว ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความมั่นคง และการพัฒนาประเทศ ๑๕. ปรับปรุงกฎหมายทหารที่ล้าสมัย เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ของกระทรวง กลาโหมมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้ง พิจารณาท�ำความเข้าใจถึงการใช้ประโยชน์ จากกฎหมายที่ อ อกมาใหม่ ที่ อ าจมี ผ ล กระทบต่อการปฏิบตั ภิ ารกิจของกระทรวง กลาโหม เช่น พระราชบัญญัติการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ และพระราช บั ญ ญั ติ ก ารอ� ำ นวยความสะดวกในการ พิจารณาอนุญาตของทางราชการ ๑๖. ให้ทกุ ส่วนราชการด�ำเนินการตาม มาตรการของคณะกรรมการต่อต้านการ ทุจริตแห่งชาติ และด�ำเนินการตรวจสอบ ความโปร่งใสในโครงการต่างๆ การจัดซื้อ จัดจ้าง การท�ำสัญญา เพื่อป้องกันการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ และไม่ให้เกิด ความเสียหายต่อภาครัฐ ๑๗. ท�ำความเข้าใจนโยบายและปฏิบตั ิ งานของรัฐบาล พร้อมกับถ่ายทอดความรู้ ความเข้ า ใจให้ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ทุ ก ระดั บ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ในพื้ น ที่ ซึ่ ง ท� ำ งานใกล้ ชิ ด กั บ ประชาชน และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนมีความ เข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร และ นโยบายของรัฐบาล ๑๘. ติดตามข้อมูลข่าวสารและความ คิดเห็นจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับภารกิจหรือ การด� ำ เนิ น งานในความรั บ ผิ ด ชอบ โดยเฉพาะข่าวสารที่เป็นประเด็นหน้าที่ ความรั บ ผิ ด ชอบของหน่ ว ยงานซึ่ ง ประชาชนให้ ค วามสนใจเผยแพร่ ท าง สื่ อ สั ง คมออนไลน์ และหากข้ อ มู ล ใดที่ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงให้เร่งชี้แจงท�ำความ เข้าใจกับประชาชน ๑๙. ด�ำเนินการบูรณาการกับหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและตรวจสอบ ผู้กระท�ำผิดที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และบ่ อ นท� ำ ลายสถาบั น หลั ก ของชาติ บนเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) และด�ำเนินการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะแหล่ง ที่มาจากต่างประเทศ ๒๐. พิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณ ให้ เ กิ ด คุ ้ ม ค่ า และเกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ การ ปฏิบัติหน้าที่ของทางราชการอย่างแท้จริง รวมทั้ ง พิ จ ารณาการด� ำ เนิ น โครงการ/ กิจกรรม เพื่อให้เกิดการกระตุ้นหมุนเวียน ทางเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงาน และสร้าง รายได้ หรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับ ประชาชน รวมทั้ ง การสนั บ สนุ น และ ช่วยเหลือภาคธุรกิจภายในประเทศ
ภาพ http://travel.mthai.com หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
9
แนวทางการปฏิบัติงาน
ของปลัดกระทรวงกลาโหม เจตนารมณ์ของปลัดกระทรวงกลาโหม
พัฒนาส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้ได้รับ ความเชือ่ มัน่ จากหน่วยขึน้ ตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงกลาโหมในการ ก�ำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ อ�ำนวยการ และก�ำกับดูแล รวมทัง้ ผลักดันให้กระทรวงกลาโหมมีบทบาทน�ำในฐานะเป็น หน่ ว ยงานหลั ก ด้ า นความมั่ น คงของชาติ ใ นการป้ อ งกั น ประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ การปกป้องสถาบัน พระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความมัน่ คงระหว่างประเทศ
แนวทางการปฏิบัติงานทั่วไป
๑. ยึ ด ถื อ และปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย กฎ ข้ อ บั ง คั บ ระเบียบ และประกาศ ที่มีอยู่เดิม นโยบายของคณะรักษา ความสงบแห่ ง ชาติ นโยบายของรั ฐ บาล นโยบายของ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมทั้ ง นโยบายและการสั่ ง การของอดี ต ปลั ด กระทรวง กลาโหม ๒. ยึดถือแผนพัฒนาส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ ซึง่ ก�ำหนดการแบ่งกลุม่ งานตามภารกิจ และความรับผิดชอบของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย ๖ กลุ่มงาน ๓. บริหารจัดการทรัพยากรของรัฐให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ มีมาตรการป้องกัน และตรวจสอบ การทุจริตประพฤติมิชอบ
10
แนวทางการปฏิบัติงานที่ก�ำหนด ผลสัมฤทธิ์ภายใน ๑ ปี
๑. พิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างสมพระเกียรติ ถือเป็นภารกิจทีส่ ำ� คัญยิง่ ของส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยให้ความส�ำคัญในการด�ำเนิน โครงการ/กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริยใ์ นภาพรวม ของกระทรวงกลาโหม ๒. จัดท�ำแผนแม่บทการปฏิรปู การบริหารจัดการและ การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหมเพื่อเป็นกรอบ แนวทางให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ ด�ำเนินการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ โดย ห้วงระยะแรกเน้นการปฏิรูปก่อนการปรับปรุงโครงสร้าง ส่วนราชการกระทรวงกลาโหมในระยะต่อไป ๓. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ และพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทหารกับมิตร ประเทศ ตามแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความ มั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม (๒๕๕๘ ๒๕๖๐) และกรอบความตกลงที่ได้จัดท�ำร่วมกับกระทรวง กลาโหมมิตรประเทศไว้แล้ว ๔. สนับสนุนการขับเคลื่อนประชาคมการเมืองและ ความมั่ น คงอาเซี ย นในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม พร้อมกับเร่งรัดการจัดตัง้ และพัฒนาศักยภาพศูนย์แพทย์ทหาร อาเซียน การจัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบเร่งด่วน ภายใต้การด�ำเนินการในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียน และการจัดการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารและการ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
๕. สนับสนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศ การปฏิรูปประเทศ และการเสริมสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์ให้กับคนในชาติ รวมทั้งสนับสนุนการ ขับเคลือ่ นนโยบาย และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ รวมทั้งนโยบายที่ส�ำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล ๖. ด�ำเนินการตามแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวง กลาโหม ๒๕๕๘ ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างการประสานงาน ระหว่ า งพลเรื อ นกั บ ทหาร และการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ประชาชนทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ ภายใต้กรอบการด�ำเนินงานของ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๗. สนั บ สนุ น การดู แ ลปั ญ หาความเดื อ ดร้ อ นและ บริการประชาชนตามนโยบายรัฐบาลภายใต้ศักยภาพของ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เช่น จัดชุดแพทย์เคลือ่ นที่ ออกให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน จัดโครงการสินค้า ราคาถูกเพื่อลดค่าครองชีพ และจัดก�ำลังพลสนับสนุนการ บริการประชาชนในช่วงเทศกาลที่สำ� คัญ ๘. ปรั บ ปรุ ง ระบบงานการข่ า วกรองให้ ทั น สมั ย สามารถเชือ่ มโยงกับเครือข่ายประชาคมข่าวกรองทัง้ ภายใน และภายนอกกระทรวงกลาโหม และการแลกเปลี่ยนข่าว กรองกับมิตรประเทศ รวมทั้งน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาสนับสนุนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ ภารกิจของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๙. พัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทัง้ ทีอ่ ยู่ ในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหมและภาคเอกชน เพื่อน�ำไปสู่การพึ่งพาตนเองที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ปรับปรุงโครงสร้างระบบงานให้มีความเหมาะสมตามแผน แม่บทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๓ และปรับปรุงกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการด�ำเนินงานตาม แผนแม่บทฯ ๑๐. พัฒนากิจการพลังงานทหารไปสู่การสะสมแหล่ง พลังงานส�ำรองเพื่อสนับสนุนเหล่าทัพในยามวิกฤต พัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์น�้ำมันให้ได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่าของ ผลิตภัณฑ์นำ�้ มันที่มีอยู่ โดยการบูรณาการขีดความสามารถ ของภาครัฐและเอกชน ๑๑. พั ฒ นาเทคโนโลยี ภ าพถ่ า ยดาวเที ย มเพื่ อ ความ มั่ น คงของกระทรวงกลาโหม พั ฒ นาระบบรั ก ษาความ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ปลอดภัยสารสนเทศของกระทรวงกลาโหม เพื่อป้องกัน ภั ย คุ ก คามด้ า นไซเบอร์ และขยายผลความร่ ว มมื อ กั บ ภาคเอกชนเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการสื่อสารตามบันทึก ความร่วมมือที่ได้ลงนามร่วมกันไว้แล้ว ๑๒. ด�ำเนินการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนา ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีของกระทรวงกลาโหม เพือ่ ด�ำรงสภาพ และ/หรือ เพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพ การขยายผลงาน วิ จั ย และพั ฒ นาการทหารสู ่ ก ารใช้ ง าน และการสร้ า ง นวัตกรรมใหม่ รวมทั้งจัดท�ำแผนแม่บทการวิจัยพัฒนา เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑๓. พัฒนาระบบงานการระดมสรรพก�ำลังและกิจการ ก�ำลังส�ำรองให้เกิดประสิทธิภาพมีความพร้อมสนับสนุน ภารกิจตามอ�ำนาจหน้าทีข่ องกระทรวงกลาโหม ทัง้ ด้านการ ป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเป็น รูปธรรมตั้งแต่ยามปกติ รวมทั้งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ ก�ำลังพลส�ำรองให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ๑๔. พั ฒ นาระบบบริ ห ารจั ด การก� ำ ลั ง พลให้ มี ประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐาน ด�ำเนินการพัฒนาบุคลากร ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตามแผนการพัฒนา บุคลากรของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒๕๖๑ และจั ด ท� ำ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาบุ ค ลากรของ กระทรวงกลาโหมเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนา บุคลากรของกระทรวงกลาโหมในภาพรวม ๑๕. ด�ำเนินการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และ ค่าตอบแทนของก�ำลังพลทุกประเภทอย่างเหมาะสม โดยให้ ความส�ำคัญกับการจัดท�ำแนวทางการเชิดชูเกียรติทหาร ที่ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน จังหวัด ชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัย รวมทั้งดูแล ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชาและครอบครั ว โดยเฉพาะข้ า ราชการ ชั้นผู้น้อยให้มีขวัญก�ำลังใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๑๖. พัฒนางานด้านการสนับสนุน และการบริการทัว่ ไป เพื่ อ ให้ ห น่ ว ยและก� ำ ลั ง พลในส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหมได้รับประโยชน์สูงสุด โดยให้ความส�ำคัญกับการ ปรับปรุงการบริการขนส่ง การดูแลสุขอนามัยของก�ำลังพล และครอบครัว การปรับปรุงสถานที่ท�ำงาน บ้านพักอาศัย และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกให้มีความน่าอยู่และมีสภาพ แวดล้อมที่ดี 11
๑๗. พั ฒ นาเครื อ ข่ า ยงานด้ า นการประชาสั ม พั น ธ์ ข อง กระทรวงกลาโหม เพื่อเผยแพร่ผลการด�ำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาลของกระทรวงกลาโหมให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนมีความเข้าใจในการปฏิบัติ หน้าที่ของทหาร ๑๘. ปรับปรุงกฎหมายทหารที่ล้าสมัย เพื่อให้การปฏิบัติ ภารกิจของกระทรวงกลาโหมมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้ง พิจารณาท�ำความเข้าใจถึงการใช้ประโยชน์จากกฎหมายที่มีผล บังคับใช้ใหม่ทอี่ าจมีผลกระทบต่อการปฏิบตั ภิ ารกิจของกระทรวง กลาโหม ๑๙. พัฒนาระบบงานด้านการเงินและการบัญชี ให้มีความ ทันสมัยและเป็นไปตามระเบียบ ค�ำสั่ง และแบบแผนของทาง ราชการ รวมทัง้ จัดท�ำโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้าง และ การปรับปรุงระเบียบ ค�ำสั่งและข้อบังคับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานและการให้บริการแก่ข้าราชการทหาร
๒๐. ด� ำ เนิ น การเบิ ก จ่ า ยงบประมาณรายจ่ า ยประจ� ำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ และงบประมาณที่กันไว้เหลื่อมปี ให้เป็นไปตามแผนและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย งบประมาณอย่างเคร่งครัด รวมทั้งด�ำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ เป็นไปตามระเบียบ ค�ำสั่ง แบบแผนของทางราชการที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบคอบรัดกุม โดยค�ำนึงถึงประโยชน์สงู สุดของทางราชการ และความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
ภาพ http://www.klongdigital.com 12
วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑
ก
เกิดมาในชาติเชื้อ ต้องไม่ให้ชาติใด ขึ้นชื่อว่าเป็นไทย เลือดเนื้อทั้งปวงนั้น
าพย์ ย านี ๑๑ ดั ง กล่ า ว เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของบท พระราชนิพนธ์ที่พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เพื่อเป็นการเตือนใจคนไทยให้ รักชาติรักแผ่นดิน อย่าให้ชาติอื่นมาดูหมิ่น เหยียดหยาม และในโอกาสที่วันที่ระลึก ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก�ำลังจะ เวียนมาถึงในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ วารสารหลักเมือง ขอน�ำเรื่องราวเกี่ยวกับ สงครามโลกครั้งที่ ๑ มาให้ท่านผู้อ่านได้ มาร่วมย้อนอดีต และภาคภูมใิ จไปกับความ เสียสละ กล้าหาญ อดทน ของเหล่าทหาร อาสาไทยที่ได้เดินทางไปร่วมรบในครั้งนั้น ขบวนการและต้นเหตุส�ำคัญของ สงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้นเมื่อมกุฎราช กุมารฟรานซิส เฟอร์ดนิ านด์ แห่งออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศอยู่ในกลุ่มเยอรมนี ถูกลอบ ปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ขณะเสด็จประพาสเมืองซาราเจโว ในแคว้นบอสเนีย ทางการจับคนร้ายได้คือ “ปรินชิบ” เป็นชาวสลาฟ สัญชาติเซอร์เบีย โดยได้สง่ ตัวคนร้ายไปให้ออสเตรียพิจารณา ลงโทษ แต่ ท างเซอร์ เ บี ย ไม่ ยิ น ยอม ออสเตรียซึ่งมีเรื่องบาดหมางกับเซอร์เบีย มาก่อน จึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ทันที เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ซึ่ง รัสเซีย ในฐานะผูพ้ ทิ กั ษ์เผ่าสลาฟ ได้ยนื่ มือ เข้ า ช่ ว ยเหลื อ เซอร์ เ บี ย จึ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
มีเลือดเนื้อเชื้อชาติไทย ดูหมิ่นเล่นเช่นของขัน ต้องมีใจนักรบมั่น ถวายไว้เป็นชาติพลี... กองประชาสัมพันธ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
เยอรมนี ประกาศสงครามกับรัสเซีย เพราะ ถือว่าออสเตรียเป็นประเทศที่อยู่ในเครือ พันธมิตรของตน เมื่อเป็นดังนั้น ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น อิตาลี และสหรัฐอเมริกา ก็เข้าร่วมมือกับฝ่ายรัสเซีย รบกับเยอรมนี ฮังการี และตรุกี ใ น ช ่ ว ง แร ก ที่ เ กิ ด ส ง ค ร า ม ประเทศไทยภายใต้การปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซงึ่ มีพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรง เป็นพระประมุข ได้ออกประกาศว่าด้วย กรุงสยามเป็นกลางในระหว่างสงครามที่ เป็นอยู่ในยุโรป เพื่อแสดงจุดประสงค์ของ ประเทศไทยที่ จ ะรั ก ษาความเป็ น กลาง ในสงครามที่เกิดขึ้น แม้ว่ารัฐบาลไทยได้ ประกาศนโยบายความเป็ น กลาง และ ด�ำเนินนโยบายอย่างเคร่งครัด แต่กลุ่ม ประเทศฝ่ายมหาอ�ำนาจไม่ไว้วางใจ ด้วย เกรงว่ า ไทยจะไม่ ว างตั ว เป็ น กลางจริ ง ในขณะเดี ย วกั น พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็ทรงเอาพระทัยใส่ ส�ำรวจตรวจสอบในผลของการรบว่าฝ่ายใด จะได้เปรียบเสียเปรียบ อยูต่ ลอดมา เพราะ พระองค์ทรงตระหนักดีว่าการที่ทรงตัดสิน พระทัยผิดพลาดนั้นก็เท่ากับน�ำประเทศ โจนลงไปสู่ความหายนะ ซึ่งในเวลาต่อมา พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยให้สง่ กอง ทหารเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีป ยุโรปเพื่อสร้างเกียรติภูมิของประเทศไทย ให้ปรากฏแก่ชาวต่างชาติ
หลังจากที่ประเทศไทยประกาศ สงคราม กระทรวงกลาโหมจึงได้ประกาศ รับสมัครทหารอาสา โดยรับสมัครจากชน ทุ ก ชั้ น และหมู ่ เ หล่ า ทั้ ง ในพระนครและ ต่างจังหวัด ปรากฏว่ามีผมู้ าสมัครมากเกินกว่า จ�ำนวนที่ต้องการหลายเท่า จึงได้คัดเลือก และรับไว้เพียง ๑,๓๘๕ นาย หลังจากผ่าน การอบรมและทดสอบแล้ว เหลือกองทหาร อาสาจ�ำนวน ๑,๒๘๔ นาย โดยมี พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) เป็นผูบ้ งั คับการกองทหารอาสา แบ่งเป็น ๓ หน่วย คือ กองทหารบกรถยนต์ กองบิน ทหารบก กองพยาบาล ทหารอาสาทัง้ หมด ได้กระท�ำพิธีสาบานตนต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์ และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ กองทหารอาสา ได้ออกเดินทางจากท่าราชวรดิฐ โดยเรือกล้า ทะเล และเรือศรีสมุทร ไปขึ้นเรือเอมไพร์ 13
ซึง่ ฝรัง่ เศสส่งมารับทีเ่ กาะสีชงั เพือ่ เดินทาง ต่อไปยังสิงคโปร์ ลังกา สุเอซ ถึงเมือง มาร์เซยย์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๑ และเดินทางไปเข้าที่ตั้ง รับการฝึกก่อนส่งเข้าปฏิบัติการรบ สงครามได้ยืดเยื้อเป็นระยะเวลา อันยาวนานถึง ๔ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤศจิ ก ายน ๒๔๖๑ เยอรมั น ได้ ติ ด ต่ อ ฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก จากนั้น ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๑ ฝ่าย สัมพันธมิตร และฝ่ายเยอรมันจึงได้ลงนาม ในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคอนเปียน ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่ากองทหารอาสา ของไทยจะเดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศส ได้ไม่นานสงครามก็ยุติลง แต่ในช่วงระยะ เวลาดังกล่าวเหล่าทหารอาสาไทย ก็ได้ สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ เช่น เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๖๑ กองทหารบกรถยนต์ ได้ยกพลไปสู่เขตหน้าแห่งยุทธบริเวณ ได้ ท� ำ การล� ำ เลี ย งก� ำ ลั ง พลแก่ ก องทั พ บก ฝรั่งเศสภายในย่านกระสุนตกด้วยความ กล้าหาญ รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้มอบตรา ครัวซ์เดอแกร์ (Croix de guerre) ประดับ ธงไชยเฉลิมพลของกองทหารบกรถยนต์ เพื่อเป็นเกียรติยศ ส�ำหรับทหารอาสาของ ไทย การกลั บ มาสู ่ ม าตุ ภู มิ เ ป็ น ไปอย่ า ง อบอุ่นและสมเกียรติ กองทหารบกรถยนต์ เดิ น ทางถึ ง ท่ า ราชวรดิ ฐ เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ กั น ยายน ๒๔๖๓ โดยพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงกล่าวต้อนรับ กองทหารอาสา เสร็จแล้วทรงผูกเครื่อง ราชอิ ส ริ ย าภรณ์ อั น มี ศั ก ดิ์ ร ามาธิ บ ดี พระราชทานแก่ ธ งไชยเฉลิ ม พล และ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ แ ด่ ทหารอาสา นอกจากนี้ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสา สงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นอนุสรณ์สถานที่ ระลึ ก ถึ ง เกี ย รติ ป ระวั ติ ท หารของไทยที่ 14
อาสาเดินทางไปร่วมปฏิบตั กิ ารรบ ในทวีปยุโรป ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ ตัง้ อยูส่ ามเหลีย่ มทางมุมตะวันตก เฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ฝั ่ ง ตรงข้ า มโรงละครแห่ ง ชาติ เ พื่ อ บ ร ร จุ อั ฐิ ท ห า ร ห า ญ ที่ เสียชีวิตลงในขณะปฏิบัติการรบ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ จ�ำนวน ๑๙ นาย โดยมี พิ ธี บ รรจุ อั ฐิ เ มื่ อ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ และได้มกี ารจารึก นามของผู้เสียชีวิตในสงครามไว้ทั้งหมด รวมทั้งวันเกิด วันถึงแก่กรรม และสถานที่ ถึงแก่กรรมของทุกคน นับได้วา่ ทหารอาสา เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ซึ่งได้สละชีวิตถวายเป็น ชาติพลี ได้เผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทย และกรุงสยาม รวมทัง้ ได้รกั ษาความยุตธิ รรม ระหว่างประเทศ เพื่อให้บรรดาคนไทย ทั้งหลายได้ระลึกถึงและยึดถือเป็นแบบ อย่างอันดีงามสืบไป จากการตัดสินใจเข้าร่วมในฝ่าย สัมพันธมิตรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั ได้กอ่ ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ หลายประการ ซึง่ การเข้าร่วมรบในสงคราม ครั้งนั้น ท�ำให้ประเทศต่างๆ ในโลกโดย เฉพาะชาติสัมพันธมิตร ยุโรป และอเมริกา ได้รู้จักประเทศไทย เนื่องจากทหารอาสา ของไทยที่ไปร่วมรบได้สร้างชื่อเสียงด้วย ความมีระเบียบวินัยที่ดี มีความกล้าหาญ และเด็ดเดีย่ ว ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์ทดี่ ี สามารถสร้างความประทับใจให้เกิดแก่ บรรดาสัมพันธมิตร ท�ำให้เกิดความชื่นชม ประเทศไทยและทหารไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ชาติต่างๆ ในยุโรป ๑๓ ประเทศ ที่ เ คยท� ำ สั ญ ญาผู ก มั ด ประเทศไทย ยอมแก้ไขสัญญาที่ท�ำไว้เดิม โดยเฉพาะการยกเลิกอ�ำนาจศาลกงสุล โดย ให้ ช าวต่ า งชาติ ที่ ก ระท� ำ ผิ ด ในประเทศ มาขึ้นศาลไทย และยังได้อิสรภาพในการ ก�ำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ได้มีการ เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์
ด้านกองทหารอาสาไทยได้น�ำความรู้จาก การฝึ ก และการปฏิ บั ติ ท างยุ ท ธวิ ธี ม า ปรั บ ปรุ ง ใช้ ใ นกองทั พ โดยในส่ ว นของ กองบิ น เป็ น ทหารบกได้ จั ด ตั้ ง เป็ น กรม อากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาได้ วิวัฒนาการเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน ส� ำ หรั บ กองทหารบกรถยนต์ ได้ พั ฒ นา เป็นกรมการขนส่งทหารบก ส� ำ หรั บ วั น ที่ ร ะลึ ก ทหารอาสา สงครามโลกครั้ ง ที่ ๑ ในปี นี้ องค์ ก าร สงเคราะห์ ท หารผ่ า นศึ ก ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ถือโอกาสส�ำคัญในการที่จะ ท�ำให้ประชาชนและอนุชนรุน่ หลัง ได้รำ� ลึก ถึ ง วี ร กรรมของทหารไทยในสมรภู มิ ต่ า งแดนด้ ว ยการจั ด ให้ มี พิ ธี ต ่ า ง ๆ ใน วันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โดยใน ช่วงเช้าจัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลทางศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของ ทหารอาสาผูล้ ว่ งลับ ณ ห้องจัดเลีย้ ง อาคาร ๒ ชั้น ๒ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ส�ำหรับในช่วงบ่ายจัดพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณท้องสนาม หลวง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรม ราชิ นี น าถ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ผแู้ ทนพระองค์วางพวงมาลา นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม มู ล นิ ธิ ผู ้ ช ่ ว ยทู ต ฝ่ า ยทหาร ต่างประเทศ ตลอดจนทายาททหารอาสา สงครามโลกครั้งที่ ๑ มาร่วมวางพวงมาลา
กองประชาสัมพันธ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
๓๒ปี
พลเอก วัลลภ รักเสนาะ ผู้อ�ำ นวยการ สำ�นักนโยบายและแผนกลาโหม
วันคล้ายวันสถาปนา สำ�นักนโยบายและแผนกลาโหม ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ก
ารจัดตัง้ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม เริม่ ต้นจากแนวคิดของ พลเอก ทวนทอง สุวรรณทัต อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และ โดยท่ า นมี ค วามเห็ น ว่ า ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ เสนอความเห็น วางแผน อ�ำนวยการ ประสานงาน ด�ำเนินการพิจารณา กลั่นกรองและด�ำเนินงานจากส่วนราชการต่างๆ ที่เสนอรายงานให้กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อพิจารณาในการตกลงใจสั่งการ หรืออนุมัติแต่ไม่มี หน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง จึงเห็นควรมีหน่วยงานทีม่ หี น้าทีเ่ ป็นฝ่ายอ�ำนวย การหรือเป็นฝ่ายเสนาธิการให้กบั ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง โดยได้น�ำเรียน ขอความเห็นชอบจากพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น เพื่อกรุณาให้ ความเห็นชอบเมือ่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ โดยการจัดตัง้ กองนโยบายและแผน เป็นส่วนราชการของกรมเสมียนตรา และใช้การปรับโอนแผนกสภากลาโหมกอง ระเบียบการ และแผนกอัตราก�ำลังพลจากกองการก�ำลังพลของกรมเสมียนตรา เพื่อเป็นฐานในการจัดตั้งหน่วย รวมทั้งมีการจัดตั้งแผนกเพิ่มเติมอีก ๓ แผนก คือ แผนกแผน แผนกระดมสรรพก�ำลัง และแผนกการศึกษา หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
15
ภารกิจ
ต่อมา พลเอก ช�ำนาญ นิลวิเศษ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พจิ ารณาเห็นว่า กองนโยบายและแผน กรมเสมียนตรา เป็น หน่วยงานท�ำหน้าทีด่ า้ นฝ่ายอ�ำนวยการให้กบั ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีปริมาณ งานเพิ่ ม ขึ้ น จากเดิ ม เป็ น อั น มาก และขาด เอกภาพในการปฏิบัติงาน จึงได้ออกค�ำสั่ง ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๘๐/๒๖ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ให้ จัดตั้งส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม (อัตรา เพื่อพลาง) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกอง บังคับการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นส�ำนักปลัดกระทรวง
16
กลาโหม) ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่าย เสนาธิ ก ารของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม และรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เป็นต้นไปก่อนที่จะด�ำเนินการจัดท�ำในอัตรา ถาวรต่อไป ดังนั้น ส�ำนักนโยบายและแผน กลาโหมจึงได้ยึดถือวันที่ ๑ พฤศจิกายน เป็น วันสถาปนาส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม นับแต่นั้นเป็นต้นมา
วิสัยทัศน์
ส� ำ นั ก นโยบายและแผนกลาโหม เป็ น องค์ ก รน� ำ ในงานด้ า นนโยบายและ ยุทธศาสตร์ และพัฒนาความร่วมมือด้าน ความมั่นคงกับต่างประเทศ
มี ห น้ า ที่ พิ จ ารณาเสนอนโยบาย อ�ำนวยการ ประสานงาน และด�ำเนินการ เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการ ป้องกันประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ดา้ น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ กระทรวงกลาโหม ทัง้ ระบบการควบคุมบังคับ บัญชาและระบบการบริหารราชการทั่วไป นโยบายและแผนด้านการทหาร การข่าว การ ส่ ง ก� ำ ลั ง บ� ำ รุ ง การระดมสรรพก� ำ ลั ง การ ต่างประเทศ การพัฒนาประเทศ และการ ช่ ว ยเหลื อ ประชาชน และมี ห น้ า ที่ ค วบคุ ม ก� ำ กั บ ดู แ ลการปฏิ บั ติ ข องส่ ว นราชการใน กระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามนโยบายและ ยุทธศาสตร์ที่กระทรวงกลาโหมก�ำหนด การจัดท�ำและปรับปรุงแก้ไขอัตรา ของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหม การฝึก การศึ ก ษาอบรมในต่ า งประเทศ การ วิเทศสัมพันธ์ กิจการของสภากลาโหม การ รั ก ษาความปลอดภั ย และปฏิ บั ติ ง านอื่ น ตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อ�ำนวยการส�ำนัก นโยบายและแผนกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ
๕๔ ปี วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกลาโหม
พลเรือตรี สหพงษ์ เครือเพ็ชร ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
ประวัติการก่อตั้ง กองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ได้ จั ด ตั้ ง “ศูนย์พัฒนาการและทดสอบทางการรบ” (Combat Development and Test Center) ขึน้ เมือ่ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ เพือ่ ปฏิบตั ิ การร่วมกับสหรัฐอเมริกา โดยองค์การวิจัย โครงการชั้ น สู ง (Advanced Research Projects Agency, ARPA) ได้ส่งหน่วยวิจัย และพัฒนาการสนามสหรัฐอเมริกามาร่วม ปฏิ บั ติ ง านวิ จั ย และพั ฒ นากั บ เจ้ า หน้ า ที่ ของกองทัพไทย เพื่อด�ำเนินการวิจัยพัฒนา อาวุธยุทโธปกรณ์ เทคนิค รวมทั้งการปฏิบัติ การทางยุ ท ธวิ ธี ใช้ ใ นการต่ อ ต้ า นพวกผู ้ ก ่ อ การร้ายอย่างได้ผลซึ่งเมื่อแรกเริ่มการจัดตั้ง ให้ขึ้นอยู่ในสายการบังคับบัญชาของกรมการ ศึกษาวิจัยกองบัญชาการทหารสูงสุด โดยมี ทีต่ งั้ อยูใ่ นกองบัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาใน ปีพทุ ธศักราช ๒๕๐๕ กระทรวงกลาโหม จึงได้ มีค�ำสั่งให้เป็นหน่วยในอัตราถาวรขึ้นตรงต่อ กรมการศึ ก ษาวิ จั ย และเปลี่ ย นชื่ อ เป็ น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร” นับเป็น สถาบันวิจัยทางทหารแห่งแรกของกระทรวง กลาโหม เมื่อได้เริ่มด�ำเนินโครงการต่างๆ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา งานได้ขยาย ตั ว มากขึ้ น ท� ำ ให้ มี ค วามจ� ำ เป็ น ต้ อ งขยาย สถานที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาจึงได้เช่า อาคารและพื้ น ที่ ห ลายแห่ ง เป็ น ที่ ท� ำ งาน ได้ แ ก่ ชั้ น บนของอาคารบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ตึกซีโต้) จุฬาลงกรณ์ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
มหาวิ ท ยาลั ย เมื่ อ ได้ จั ด ตั้ ง ห้ อ งทดลอง อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น จึงได้เช่าสถานที่หลังสถานี รถไฟคลองตันทีป่ ากซอยและในซอยศูนย์วจิ ยั ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เพื่อเป็นสถานที่ทดสอบ ระบบการติดต่อสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Institute) เป็นผู้ด�ำเนินการและเนื่องจาก สถานทีท่ ำ� งานของศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการทหาร ได้ ก ระจายอยู ่ ทั่ ว กรุ ง เทพฯ ท� ำ ให้ ไ ม่ ไ ด้ รับความสะดวกในการติดต่อประสานงาน จึง เกิดความจ�ำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ท�ำงาน เพียงแห่งเดียว เพื่อรวมเจ้าหน้าที่และเครื่อง ใช้ทั้งหลายไว้ด้วยกัน ดังนั้นเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖ ได้มีการลงนามบันทึกความ เข้ า ใจระหว่ า งกองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด กระทรวงกลาโหมไทย กั บ องค์ ก ารวิ จั ย โครงการชั้นสูง (ARPA) ส�ำนักรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงกลาโหมสหรั ฐ อเมริ ก า และได้ พิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณซอยกล้วยน�้ำไท เป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร ในปัจจุบัน และเริ่มลงมือก่อสร้างในปลายปี พุทธศักราช ๒๕๐๖ โดยมี พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี ว างศิ ล าฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗ และต่อมา ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มาเป็นประธาน ในพิ ธี เ ปิ ด อาคารอย่ า งเป็ น ทางการ กองบัญชาการศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร จึ ง ได้ ย ้ า ยจากกระทรวงกลาโหม พร้ อ ม หน่วยงานที่ตึกซีโต้ และบางส่วนของกอง สนับสนุนทีป่ ากซอยศูนย์วจิ ยั ก็ทยอยเข้ามาอยู่ ในที่ตั้งถาวรนี้จนถึงปัจจุบัน
การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหมไทย กับองค์การ วิจัยโครงการชั้นสูง (ARPA) ส�ำนักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา 17
ภารกิจ
วิจยั และพัฒนาตามความต้องการของ ผูใ้ ช้และตามสัง่ การผูบ้ งั คับบัญชา โดยค�ำนึง ถึ ง ความรวดเร็ ว ความเป็ น ไปได้ และ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
วิสัยทัศน์
อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมในปัจจุบัน
วิจัยและพัฒนาอย่างมืออาชีพ และ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ค่านิยม - มุ่งมั่น สร้างคุณค่า และส่งเสริมการ พัฒนานวัตกรรม - มีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต - อดทนและโปร่งใส - ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๓๓ มี พ ระราช กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและก�ำหนดหน้าที่ ของส่วนราชการกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ให้ศนู ย์วจิ ยั และพัฒนาการ ทหาร เป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหาร สูงสุด ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มี พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและก�ำหนด หน้าที่ของส่วนราชการฯ กระทรวงกลาโหม ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร ปรับโอน หน่วยจากกองบัญชาการทหารสูงสุดมาเป็น หน่วยงานในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม โดยเป็ น หน่ ว ยขึ้ น ตรงต่ อ ส� ำ นั ก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ตั้งแต่
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ และในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ มีค�ำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๑๐๐/๕๒ ลง ๓๑ มี.ค.๕๒ ให้ศนู ย์วจิ ยั และพัฒนาการทหาร ส�ำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (ศวพท.สวท.กห.) ใช้ อั ต ราเฉพาะกิ จ หมายเลข ๐๙๐๑ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการ กรมวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก ลาโหม (ศวพท.วท.กห.) โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๕ กอง คือ กองกลาง กองแผนและโครงการ กองวิ จั ย และพั ฒ นาหลั ก การ กองวิ จั ย และพัฒนายุทโธปกรณ์ และกองวิจัยและ พัฒนาการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบนั ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการทหาร ได้ก�ำหนดกรอบการวิจัย (Key Area of Interest) เพื่ อ รองรั บ เทคโนโลยี ที่ เปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ ระบบเฝ้าตรวจ (Surveillance System) ระบบออป โทรนิกส์ (Optronics System) และบูรณาการ เซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อน�ำมาใช้ในการตรวจหา ระเบิดที่ซุกซ่อน (Counter Improved Explosive Devices) โดยใช้เทคโนโลยี การประมวลสั ญ ญาณดิ จิ ต อล (Digital Signal Processing) และเทคโนโลยี ทางแสง (Photonics) เป็นหลักในการ ด�ำเนินการวิจัย
ห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องกล
ห้องปฏิบัติการวิจัยเลเซอร์
ห้องปฏิบัติการวิจัยอิเล็กทรอนิกส์
18
๙พระบาทสมเด็ แผ่นดิน จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก (ตอนที่ ๒)
ารแต่ ง ตั้ ง ผู ้ แ ทนเจรจา ของฝ่ายไทยในการเจรจา กั บ อั ง กฤษ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง ผูแ้ ทนเจรจาของฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการ ๕ คน คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง วงศาธิราชสนิท สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ผู้สำ� เร็จราชการ แผ่ น ดิ น ทั้ ง พระราชอาณาจั ก ร สมเด็ จ เจ้าพระยาบรมมหาพิชยั ญาติ (ทัต บุนนาค) ผู ้ ส� ำ เร็ จ ราชการพระนคร เจ้ า พระยา ศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม และเจ้าพระยาผู้ช่วยราชการกรมท่า (ข�ำ บุนนาค) ซึง่ ต่อมาคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ นับเป็นครั้งแรกที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการ แต่ ง ตั้ ง ผู ้ แ ทนเจรจาทางการทู ต เพื่ อ ท� ำ สนธิสัญญา โดยเรียกว่า “ข้าหลวงปรึกษา สัญญา” หลังจากการเตรียมการดังกล่าวแล้ว รั ฐ บาลไทยจึ ง ด� ำ เนิ น การเจรจาท� ำ สนธิสัญญากับอังกฤษ การเจรจาท�ำสนธิ สั ญ ญาเบาว์ ริ ง ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๘ เมื่อ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ทรงแต่งตัง้ เซอร์ จอห์น เบาว์รงิ (Sir John Bowring) เป็นอัครราชทูตผู้มีอ�ำนาจเต็ม เชิญพระราชสาสน์มาเจรจาท�ำสนธิสัญญา ไมตรี กั บ ไทยในพุ ท ธศั ก ราช ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงต้ อ นรั บ อย่ า งสมเกี ย รติ โดยโปรด
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
เกล้าฯ ให้ราชส�ำนักจัดการต้อนรับตาม แบบการต้อนรับราชทูต เชอวาเลียร์เดอ โชมองต์ ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช มีการเจรจาเป็นการประชุม ณ
จวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นครั้งๆ ไป บุคคลที่ประสานการเจรจา ระหว่างทูตอังกฤษกับสมเด็จเจ้าพระยาทัง้ สอง คือเจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ ซึง่ ได้กราบบังคม 19
ทูลปรึกษาและได้รบั พระราชทานค�ำแนะน�ำ จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยูต่ ลอดเวลา เนือ่ งจากพระองค์ทรงอยูใ่ น ฐานะพระมหากษัตริย์ไม่อาจทรงเจรจา ได้โดยตรง การเจรจาด�ำเนินไปด้วยดี และ เสร็จสิน้ ลงในเวลาอันรวดเร็วประมาณ ๑๔ วัน อังกฤษและไทยได้ลงนามในสนธิสญั ญา ไมตรี แ ละพาณิ ช ย์ ต ่ อ กั น เมื่ อ วั น ที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๘ สนธิสญั ญานี้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “สนธิสัญญา เบาว์ริง” การท�ำสนธิ สั ญ ญาไมตรี แ ละ พาณิชย์กับประเทศตะวันตกอื่น ๆ แบบ เดียวกับสนธิสญั ญาเบาว์รงิ หลังจากการท�ำ สนธิสัญญาเบาว์ริงแล้วพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงด�ำเนินนโยบาย ท� ำ สนธิ สั ญ ญาไมตรี แ ละพาณิ ช ย์ แ บบ เดียวกันนี้กับประเทศตะวันตกอื่นๆ เริ่ม จากสหรั ฐ อเมริ ก าในเดื อ นพฤษภาคม
20
พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๙๙ ฝรั่ ง เศสในเดื อ น สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๙๙ เดนมาร์ก เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๐๑ โปรตุ เ กสเมื่ อ พุทธศักราช ๒๔๐๒ เนเธอร์แลนด์เมื่อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๐๓ และรั ส เซี ย เมื่ อ พุทธศักราช ๒๔๐๕ การที่ ไ ทยยอมท� ำ สนธิ สั ญ ญา ไม่เสมอภาคกับประเทศอืน่ ๆ ด้วยนัน้ ก็เพือ่ มิ ใ ห้ อั ง กฤษเข้ า มามี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ ไทย แต่เพียงประเทศเดียว แต่จะเป็นการชักน�ำ ให้ ป ระเทศต่ า งๆ เข้ า มารั ก ษาอิ ท ธิ พ ล ของตนในเมืองไทย ในลักษณะที่ต่างก็ถ่วง ดุลอ�ำนาจกันเอง มิให้ชาติใดชาติหนึ่งเข้า มามีอำ� นาจและอิทธิพลในไทยเหนือกว่าตน อันย่อมท�ำให้ไทยอยู่ในสถานะที่ไม่ต้องตก อยู่ใต้อ�ำนาจของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะ ดั ง นั้ น ไทยจึ ง ย่ อ มมี ค วาม ปลอดภัยในระดับหนึ่งแต่การที่จะท�ำให้ ประเทศอยู่รอดปลอดภัยได้เพียงใดนั้นก็
ย่อมขึน้ กับความสามารถในเชิงการทูต และ การบริหารบ้านเมืองของผู้นำ� เป็นส�ำคัญ การส่งผู้แทนทางการทูตไปเสริม สร้ า งสั ม พั น ธไมตรี กั บ นานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด� ำ เนิ น การติ ด ต่ อ ทางการทู ต กั บ ประเทศ ต่างๆ ตามแบบสากล คือการส่ง ทู ต ไปเจริ ญ ทางพระราชไมตรี กั บ นานา ประเทศ ดั ง เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๐๐ พระองค์โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยา มนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูต ไปเฝ้ า สมเด็ จ พระนางเจ้ า วิ ก ตอเรี ย ที่ กรุงลอนดอน โดยหม่อมราโชทัย (หม่อม ราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) ท�ำหน้าที่เป็น ล่าม ต่อมาเมือ่ พุทธศักราช ๒๔๐๔ ได้โปรด เกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นราชทูตไปเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ แห่ ง ฝรั่ ง เศส และตอนปลายรั ช กาล ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
(วร บุนนาค) เป็นราชทูตพิเศษไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส พร้อม กันนี้ ยังมีพระราชหัตถเลขาโต้ตอบกับ ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่ง สหรัฐอเมริกาด้วย การแต่งตั้งชาวอังกฤษและชาวจีน เป็ น อั ค รราชทู ต และกงสุ ล ประจ�ำต่ า ง ประเทศในเวลานั้ น ไทยซึ่ ง เพิ่ ง เริ่ ม เข้ า สู ่ สังคมนานาชาติตามแบบแผนวิธีการทูต ตะวันตก ยังไม่พร้อมที่จะมีทูตไปประจ�ำ ในต่ า งประเทศ แต่ เ พื่ อ รั ก ษาไมตรี กั บ ต่ า งประเทศในวิ ถี ท างการทู ต ตะวั น ตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นอัครราชทูตไทยประจ�ำยุโรป โดยพ�ำนัก อยู่ ณ กรุงลอนดอน มีอ�ำนาจเต็มในการ เจรจาท�ำไมตรีและแก้ไขปัญหายุง่ ยากต่างๆ ทัง้ ทางการเมืองและการค้าบางประการกับ ประเทศในยุ โรปตามนโยบายของไทย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง รับราชการเป็นที่พอ พระราชหฤทัยยิ่งจนได้รับพระราชทาน บรรดาศั ก ดิ์ เ ป็ น พระยาสยามนุ กู ล กิ จ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
สยามมิตรมหายศ นอกจาก นี้ พระองค์ยังทรงแต่งตั้ง ชาวอังกฤษและชาวจีนที่มี ความสามารถให้เป็นกงสุล ไทยประจ�ำดินแดนต่าง ๆ เช่น ที่สิงคโปร์ และฮ่องกง ด้วย การยอมเสี ย ดิ น แดน บางส่ ว นในลั ก ษณะการ ยอมเสีย “แขนขา” เพือ่ รักษา “หัวใจ” พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระบรมราโชบายที่จะน�ำ ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอ�ำนาจ กั บ อั ง กฤษ ทั้ ง นี้ เพื่ อ ป้องกันไม่ให้องั กฤษมีอทิ ธิพลมากเกินไปใน เมื อ งไทยซึ่ ง อาจเป็ น ภั ย ต่ อ เอกราชของ ประเทศไทย พระองค์จึงทรงพยายามทุก วิถที างทีจ่ ะรักษาไมตรีกบั ฝรัง่ เศสไว้ให้ดอี ยู่ เสมอ แต่ฝรั่งเศสมิได้ตอบสนองเพราะไม่ ต้องการจะเป็นศัตรูกับอังกฤษและสนใจที่ จะขยายอิทธิพลเข้าไปใน “เขมรส่วนนอก” (กัมพูชา) ซึง่ เป็นเมืองประเทศราชของไทย ในขณะนั้น
การทีฝ่ รัง่ เศสสนใจเขมรมาก เพราะ สาเหตุส�ำคัญคือ ๑. ฝรั่งเศสเชื่อว่าตนสามารถจะใช้ เขมรซึ่งมีแม่น�้ำโขงไหลผ่าน เป็นบันไดก้าว ไปสู่ภาคใต้ของจีน คือ ยูนนาน (ซึ่งคาดว่า จะเป็นตลาดการค้าที่สำ� คัญในอนาคต) ๒. เขมรมีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจ มาก เพราะอุ ด มด้ ว ยปลาในทะเลสาบ ซึ่งสามารถส่งเป็นสินค้าออกที่ส�ำคัญเป็น จ�ำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้เขมร ยังเป็นศูนย์กลางของการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะ เป็นเสบียงอาหารที่ส�ำคัญส�ำหรับกองทัพ ฝรั่ ง เศสในแหลมอิ น โดจี น และยั ง เป็ น แหล่งติดต่อค้าขายระหว่างจีน ญวนและ ลาวด้วย ๓. ในด้านยุทธศาสตร์ ที่ตั้งของ เขมรส่วนนอกเป็นชุมทางของสาขาแม่น�้ำ โขง ๔ สาย ดังนั้น การได้เขมรส่วนนี้ย่อม จะช่วยเสริมให้ญวนใต้ อันเป็นอาณานิคม ของฝรั่งเศสซึ่งไม่มีพรมแดนที่ปลอดภัย ทุกด้านมีฐานะที่มั่นคงปลอดภัยขึ้น กับทั้ง ยั ง สามารถใช้ เ ป็ น บั น ไดส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ ฝรั่ ง เศสที่ จ ะขยายอาณาเขตขึ้ น ไปทาง ภาคเหนือได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น
21
การบริหารราชการแผ่นดิน ในการ บริหารราชการแผ่นดินนัน้ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงด�ำเนินการ ต่างๆ ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้ การปรับปรุงการปฏิบตั งิ านของกรม กองต่างๆ และการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะปรับปรุง การปฏิ บั ติ ง านของกรมกองต่ า งๆ ให้ มี ประสิทธิภาพตามแบบตะวันตก จึงทรง ว่าจ้างชาวตะวันตกทั้งชาวยุโรปและชาว อเมริกนั เข้ามารับราชการในกรมกองต่างๆ ของไทยในฐานะเป็นทีป่ รึกษาให้คำ� แนะน�ำ และแนวความคิดใหม่แก่ข้าราชการไทย ข้าราชการชาวต่างประเทศนี้มีจ�ำนวนมาก ขึ้นเป็นล�ำดับ และได้มีส่วนช่วยงานการ ปรับปรุงกรมกองต่างๆ โดยเฉพาะกองทัพ ไทย เริ่ ม ด้ ว ยการจ้ า งร้ อ ยเอก อิ ม เปย์ (Impey) ชาวอังกฤษ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ ช่วยฝึกทหารราบของไทย ที่เรียกว่าทหาร เกณฑ์ฝึกหัดอย่างยุโรป ต่อมาก็ได้จ้างร้อยเอก น็อกซ์ (Knox) ชาวอั ง กฤษ ให้ ไ ปฝึ ก หั ด ทหารแก่ ท หารของพระบาท สมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ผูท้ รงสนพระราชหฤทัยในกิจการ ทหารมากและทรงเป็นก�ำลังส�ำคัญในการปรับปรุงกิจการ ด้านการทหาร ในด้านการทหารนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
22
เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทหารขึ้นใหม่อีก ๓ กรม คือ กรมทหารราบ กรมทหารปืนใหญ่ และพรรคนาวิกโยธิน ส่วนการ ทหารเรือนั้น ก็โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกลไฟเป็นเรือรบขึ้นอีก หลายล�ำ
สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
บทวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาศักยภาพ กองทัพของประเทศสมาชิกอาเซียน
ง
บประมาณทางการทหาร ของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี ๒๕๕๗ รวบรวมข้อมูลโดย สถาบั น วิ จั ย เพื่ อ สั น ติ ภ าพระหว่ า ง ประเทศสตอกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute: SIPRI) สรุปได้ดังนี้ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็ น ประเทศที่ มี ง บประมาณทางการ ทหารสู ง สุ ด ในอาเซี ย น ๙.๘ พั น ล้ า น เหรียญสหรัฐ รองลงมา คือ สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ๗.๐ พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทย ๕.๗ พันล้านเหรียญสหรัฐ สหพันธรัฐ มาเลเซี ย ๔.๙ พั น ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๔.๒ พัน ล้านเหรียญสหรัฐสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๓.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ สาธารณรัฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมา ๒.๓ พั น ล้ า น หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
เหรียญสหรัฐ เนการาบรูไนดารุสซาลาม ๐.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ ราชอาณาจักร กัมพูชา ๐.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฐานข้อมูลไม่มีตัวเลขแต่ในปี ๒๕๕๕ มี ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ ๐.๐๒ พันล้านเหรียญ สหรัฐ เมือ่ เปรียบเทียบกับข้อมูลปี ๒๕๕๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนทีเ่ พิม่ งบประมาณ ทางการทหาร มี จ� ำ นวน ๔ ประเทศ ตามล�ำดับ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซี ย และบรู ไ น ประเทศที่ ล ด งบประมาณทางการทหาร มีจ�ำนวน ๓ ประเทศ ตามล�ำดับ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ และประเทศที่มี งบประมาณทางการทหารเท่าเดิม ได้แก่ เมียนมาและกัมพูชา
การน�ำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ของ ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในห้วง ๕ ปี ที่ผ่านมา (ปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๗) SIPRI ระบุวา่ มีการน�ำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์คดิ เป็น ร้อยละ ๑๐ ของปริมาณน�ำเข้าทั่วโลก โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่น�ำเข้าอาวุธ ยุทโธปกรณ์มากที่สุดในภูมิภาค ทั้งนี้ ภู มิ ภ าคที่ น� ำ เข้ า อาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ มากที่ สุ ด คื อ ภู มิ ภ าคเอเชี ย ใต้ และ ตะวันออกกลาง ซึ่งทั้งสองภูมิภาคต่าง น�ำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ในปริมาณใกล้เคียง กันคือ ร้อยละ ๒๒ ของปริมาณอาวุธ น�ำเข้าทั่วโลก โดยมีสาธารณรัฐอินเดีย เป็นประเทศที่น�ำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ รายใหญ่ที่สุดของโลก รองลงมา ได้แก่ ราชอาณาจั ก รซาอุ ดี อ าระเบี ย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน 23
การพัฒนาศักยภาพกองทัพและ การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศ สมาชิกอาเซียนที่สำ� คัญในห้วงปี ๒๕๕๗ ๒๕๖๒ มีดังนี้
24
๑. สิ ง คโปร์ เป็ น ประเทศที่ จัดสรรงบประมาณทางการทหารสูงทีส่ ดุ ในอาเซี ย นท� ำ ให้ ส ามารถจั ด หาอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ที่ ทั น สมั ย เข้ า ประจ� ำ การ
อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง มี โ ครงการจั ด หาอาวุ ธ ยุทโธปกรณ์ที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการจัด ซื้อเรือด�ำน�้ำดีเซลไฟฟ้า Type-218SG จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จ�ำนวน ๒ ล�ำ จะเข้าประจ�ำการในปี ๒๕๖๓ โครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ แบบ F-16 C/D รวม ๖๐ ล�ำ เริ่มโครงการเมื่อ ปี ๒๕๕๗ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์กล่าวระหว่าง การอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี ๒๕๕๘ เมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ ว่า สิงคโปร์ ต้องปรับปรุงกองทัพให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๒. อินโดนีเซีย มียุทธศาสตร์ใน การพัฒนากองทัพให้เป็นกองทัพทีเ่ ข้มแข็ง ที่ สุ ด ในอาเซี ย นและมี เ ป้ า หมายที่ จ ะ เพิ่ ม การจั ด สรรงบประมาณทางการ ทหารเป็นร้อยละ ๑.๕ ของ GDP ภายใน ระยะเวลา ๕ ปี (ปี ๒๕๖๒) ได้มโี ครงการ
สำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำ�นักนโยบายและแผนกลาโหม
จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการ ต่อเรือเร็วโจมตี (อาวุธน�ำวิถ)ี ชัน้ KCR-40 จ�ำนวน ๙ ล�ำ เข้าประจ�ำการในปี ๒๕๕๗ โครงการต่อเรือฟริเกตชัน้ SIGMA10514 ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากราชอาณาจักร เนเธอร์ แ ลนด์ จ� ำ นวน ๒ ล� ำ เข้ า ประจ� ำ การ เมื่อปี ๒๕๕๗ ๓. มาเลเซียพัฒนาศักยภาพกองทัพโดยเน้น การพึ่งพาตนเองและสร้างความร่วมมือกับประเทศ เจ้ า ของเทคโนโลยี ใ นการผลิ ต และพั ฒ นาอาวุ ธ ยุทโธปกรณ์ มีโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการต่อเรือฟริเกตชั้น Gowind ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสาธารณรัฐฝรัง่ เศส (ฝรัง่ เศส) จ�ำนวน ๖ ล�ำ จะเริ่มเข้าประจ�ำการในปี ๒๕๖๒ ๔. เวียดนามเป็นประเทศที่เพิ่มงบประมาณ ทางการทหารมากที่สุดในอาเซียน ปัจจัยส�ำคัญส่วน หนึ่ ง มาจากปั ญ หาข้ อ พิ พ าทในทะเลจี น ใต้ กั บ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประธานาธิบดีเวียดนาม กล่าวเมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ ว่า กองทัพเรือ เวี ย ดนามต้ อ งยกระดั บ การปกป้ อ งน่ า นน�้ ำ และ อธิ ป ไตยของดิ น แดนเพื่ อ ให้ เ กิ ด สั น ติ ภ าพและ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
25
เสถียรภาพทางทะเลตะวันออก มีโครงการ จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการจัดซื้อเรือฟริเกตชั้น Gepard 3.9 จากสหพันธรัฐรัสเซีย จ�ำนวน ๒ ล�ำ จะเข้าประจ�ำการ ในปี ๒๕๕๙ โครงการ จัดซื้อเรือด�ำน�้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Kilo จาก รัสเซีย จ�ำนวน ๖ ล�ำ เข้าประจ�ำการแล้ว ในปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ จ�ำนวน ๓ ล�ำ ที่ เหลืออีก ๓ ล�ำ จะเข้าประจ�ำการในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ ๕. ฟิลิปปินส์ พัฒนาศักยภาพ กองทัพเพื่อรับมือกับปัญหาภัยคุกคาม จากกลุม่ ก่อการร้ายภายในประเทศ และ ปั ญ หาข้ อ พิ พ าทในทะเลจี น ใต้ กั บ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีโครงการจัดหา อาวุธยุทโธปกรณ์ทสี่ ำ� คัญ ได้แก่ โครงการ จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ แบบ FA-50 จาก เกาหลีใต้ จ�ำนวน ๑๒ ล�ำ จะเข้าประจ�ำการ ในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ และมีแผนจัดซื้อ เรือฟริเกต จ�ำนวน ๒ ล�ำ เพื่อปฏิบัติ ภารกิ จ ในทะเลจี น ใต้ โดยคาดว่ า จะ สามารถลงนามจัดซือ้ ได้ภายในปี ๒๕๕๘ ๖. ไทย มีโครงการจัดหาอาวุธ ยุทโธปกรณ์ทสี่ ำ� คัญ ได้แก่ โครงการจัดซือ้ เรือฟริเกตจากสาธารณรัฐเกาหลี จ�ำนวน ๒ ล�ำ โดยล�ำแรกมีก�ำหนดจะเข้าประจ�ำ การในปี ๒๕๖๑ โครงการจัดซื้อเครื่องบิน ฝึกทดแทนเครื่องบินฝึก แบบ L-39 ที่ ก�ำลังจะปลดประจ�ำการ และโครงการ จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ แบบเฮลิ ค อปเตอร์ ทั่ ว ไป ๑ (Huey) ที่ก�ำลังจะปลดประจ�ำการ นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาโครงการ จัดซื้อเรือด�ำน�้ำ จ�ำนวน ๒ - ๓ ล�ำ การพัฒนาศักยภาพกองทัพของ ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นในภาพรวมมี วัตถุประสงค์เพือ่ ทดแทนอาวุธยุทโธปกรณ์ 26
ที่ ล ้ า สมั ย หรื อ ปลดประจ� ำ การส� ำ หรั บ ภารกิ จ การรั ก ษาความมั่ น คงภายใน ประเทศ การเตรี ย มพร้ อ มรั บ มื อ กั บ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ซึ่งการพัฒนา ศั ก ยภาพกองทั พ ของประเทศสมาชิ ก อาเซียนนี้ ถือได้วา่ เป็นไปตามสถานะทาง เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ อย่างไร ก็ตามการเพิม่ งบประมาณทางการทหาร และการจั ด หาอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ที่ ทั น สมั ย เพิ่ ม มากขึ้ น ควรเป็ น ไปอย่ า ง เหมาะสม โดยเฉพาะในห้วงก้าวสู่การ เป็นประชาคมอาเซียน อาเซียนควรใช้กลไกที่มีอยู่ เช่น การประชุ ม รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence
Ministers’ Meeting: ADMM) การประชุม สุ ด ยอดอาเซี ย น (ASEAN Summit) กรอบความร่ ว มมื อ ด้ า นอุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศของอาเซียน (ASEAN Defence Industry Collaboration: ADIC) การฝึ ก ร่ ว มกั น ของกองทั พ ประเทศสมาชิกอาเซียนและกลไกความ ร่วมมือระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่างๆ เป็นช่องทางในการรับรูแ้ ลกเปลีย่ นข้อมูล และสร้ า งความร่ ว มมื อ เพื่ อ ลดความ หวาดระแวงระหว่ า งกั น ทั้ ง ในกลุ ่ ม ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศ ในภูมิภาค
สำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำ�นักนโยบายและแผนกลาโหม
การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้นำ� ทางการทหาร (ตอนที่ ๒)
จ
ากฉบับที่แล้วการปฏิบัติงาน ทางการบริ ห ารของผู ้ น� ำ ทางการทหาร ผู ้ เขี ย นได้ มี ข้ อ เสนอว่ า ...ผู ้ ที่ มี ป ระสบการณ์ ใ นการ เป็ น ผู ้ น� ำ ในแง่ คิ ด ที่ ดี ๆ ควรมี ก ารเสนอ ประสบการณ์นั้นเชิงสร้างสรรค์ผ่านงาน เขี ย นเพื่ อ เป็ น การให้ แ ละแลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่ผู้น�ำรุ่นหลังๆ ได้เรียนรู้ อันจะยังประโยชน์แก่กองทัพ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์
ในภาพรวมต่ อ ไป... และในฉบั บ นี้ จ ะ กล่ า วถึ ง ผู ้ น� ำ ในลั ก ษณะต่ า งๆ ขอเชิ ญ ติดตามอ่านกันต่อไปครับ... เข้าใจสื่อมวลชน : งานท้าทายที่ส�ำคัญ ของผู้น�ำ การท�ำความเข้าใจต่อธรรมชาติของ สือ่ มวลชนถือเป็นงานส�ำคัญของผูน้ ำ� เพราะ ผู้น�ำขององค์กรมักมีบทบาทหลักประการ หนึ่ ง ในการสั ม ผั ส สื่ อ ก่ อ นอื่ น นั้ น ลอง
เรี ย นรู ้ จ ากบางส่ ว นของค� ำ กล่ า วของ อเล็กซานเดอร์ โซลเซนิตซิน (Aleksandr Solzhenitsyn) นักเขียนชาวรัสเซีย เจ้าของ รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจ�ำปี ๑๙๗๐ ทีไ่ ด้กล่าวปาฐกถาให้แก่นกั ศึกษาที่ ส�ำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) (ที่ซึ่งมีค�ำขวัญ ว่า “ความจริง” (Truth) ในภาษาละติน “Veritas”) เมื่ อ วั น ที่ ๘ มิ ถุ น ายน 27
ค.ศ. ๑๙๗๘ ทีไ่ ด้กล่าวเกีย่ วกับทิศทางของ สื่อมวลชนไว้อย่างน่าสนใจ (เนื่องจากมี ความอ่อนไหวต่อการน�ำเสนอ ผูเ้ ขียนจึงไม่ ขอแต่งเติมเสริมแต่งข้อความจากเดิม ซึ่ง อาจค่อนข้างยาวไปบ้าง แต่กน็ า่ จะให้แง่คดิ อรรถรสของความบางด้ า นของสื่ อ จาก มุมมองเจ้าของรางวัลโนเบล ทีก่ ล่าวในงาน ประสาทปริญญา ณ มหาวิทยาลัยอันดับ หนึ่งของโลก!!!) ดังความตอนหนึ่งดังนี้ “...แน่ น อนว่ า สื่ อ มวลชนได้ รั บ เสรีภาพที่กว้างขวางที่สุด (ผมจะใช้ค�ำว่า สือ่ มวลชนเพือ่ หมายถึงสือ่ ทุกประเภท) แต่ สื่อใช้เสรีภาพนี้ไปท�ำอะไรบ้าง? แวดวงนี้ก็ เหมือนกัน การไม่ละเมิดตัวบทกฎหมายคือ ความกังวลข้อหลัก ไม่มีความรับผิดชอบ ทางศีลธรรมใดๆ ต่อการบิดเบือนหรือ ยึดหดข้อเท็จจริงจนผิดส่วน นักข่าวมี ความรับผิดชอบอะไรบ้างต่อผู้อ่านหรือ ต่ อ ประวั ติ ศ าสตร์ ? ถ้ า พวกเขาท� ำ ให้ ประชาชนหรื อ รั ฐ บาลเข้ า ใจผิ ด ด้ ว ย การน� ำ เสนอข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ งหรื อ ข้อสรุปทีผ่ ดิ พลาด เราเคยได้ยนิ กรณีไหน บ้างที่ประชาชนตระหนักในเรื่องนี้และ นักข่าวหรือหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ท�ำการ แก้ไข? ไม่เลย มันไม่เคยเกิดขึน้ เพราะมัน จะท�ำให้ยอดขายตก ประเทศใดประเทศหนึง่ อาจตกเป็นเหยือ่ ของความผิดพลาดแบบนี้ แต่ปกตินักข่าวจะรอดตัวไปได้ เราน่าจะ คาดเดาได้ว่าเขาจะเริ่มเขียนในสิ่งทีต่ รงกัน ข้ า มด้ ว ยความเชื่ อ มั่ น ในตั ว เองรอบใหม่ เนื่องจากข้อมูลที่ทันท่วงทีและเชื่อถือได้ เป็ น สิ่ ง ที่ ต ้ อ งได้ รั บ มาจากแหล่ ง อื่ น สือ่ มวลชนจึงต้องพึง่ พิงการคาดเดา ข่าวลือ และสมมติฐานต่างๆ เพื่อเติมช่องว่างให้ เต็ม ไม่มีวันที่พวกเขาจะแก้ไขข่าวสาร ที่ออกไปให้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้จะตกค้างอยู่ ในความทรงจ�ำของผู้อ่าน มีกี่ความเห็นใน แต่ละวันที่รีบร้อน ขาดวุฒิภาวะ ฉาบฉวย
และท�ำให้คนเข้าใจผิด ท�ำให้ผู้อ่านสับสน โดยปราศจากการตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น สือ่ มวลชนท�ำได้ทงั้ เลียนแบบความเห็นของ มวลชน และท�ำให้มวลชนได้รับการศึกษา ผิดๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงอาจเห็นสื่ออธิบาย ผู้ก่อการร้ายว่าเป็นวีรบุรุษ หรือเปิดเผย ความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หรื อ ล่ ว งล�้ ำ ความเป็ น ส่ ว นตั ว ของคนดั ง อย่างไร้ยางอาย ภายใต้สโลแกนที่ว่า “ทุก คนมีสิทธิรู้ทุกเรื่อง แต่นี่เป็นสโลแกนจอม ปลอมที่ เ ป็ น ลั ก ษณะของยุ ค สมั ย ที่ จ อม ปลอม ผูค้ นมีสทิ ธิทจี่ ะไม่รดู้ ว้ ยเช่นกัน และ สิทธิข้อนี้ก็มีค่ากว่ากันมาก สิทธิที่จะไม่ให้ วิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาต้องถูก ยัดเยียดด้วยข่าวลือ เรือ่ งไร้สาระและค�ำพูด ทีห่ ลงตัวเอง ใครก็ตามทีท่ �ำงานและใช้ชวี ติ อย่างมีความหมายไม่จ�ำเป็นต้องแบกรับ กระแสข้อมูลทีล่ น้ เกินแบบนี้ ความรีบร้อน และความฉาบฉวยเป็ น โรคทางจิ ต ของ ศตวรรษที่ ๒๐ และโรคนี้ก็สะท้อนให้เห็น ในสื่อมวลชนมากกว่าอย่างอื่น สื่อมวลชน ประณามหยามเหยี ย ด การวิ เ คราะห์ ปัญหาแบบเจาะลึก พวกเขาหยุดอยู่แค่ สูตรส�ำเร็จที่ครึกโครมเท่านั้น แต่อย่างไร ก็ตาม สื่อมวลชนได้กลายเป็นพลังที่ทรง อ�ำนาจที่สุดในประเทศตะวันตก มีพลัง มากกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ ฝ่ า ยตุ ล าการ ท�ำให้ มี ค นอยากถามว่ า สื่ อ มวลชนได้ รั บ การเลื อ กตั้ ง ภายใต้ กฎหมายอะไร และมีความรับผิดชอบต่อผู้ ใด?...”๑ (ที่เน้นค�ำและตีเส้นเพื่อต้องการ เน้นข้อความเพิ่มเติมเท่านั้น : ผู้เขียน) จะเห็นว่าธรรมชาติและแนวโน้มของ สื่อมวลชน ตามค�ำกล่าวที่ยกมาข้างต้นแม้ จะกล่าวไว้เมื่อปี ๑๙๗๘ แต่ก็ยังคงความ เป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน หากติดตาม ศึกษา และเรี ย นรู ้ ป รากฏการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เชิ ง สร้างสรรค์ ด้วยใจเป็นกลาง การเข้าใจและ
การให้ความเห็น การแสดงให้เห็นถึงความ คิดเชิงบทบาทโดยผ่านสื่อมวลชนจึงเป็น สิ่งต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ตามที่ Nitin Nohria คณบดีแห่งวิทยาลัยธุรกิจฮาร์วาร์ด (Harvard Business School) กล่าวว่า “การสื่อสาร คือ งานที่แท้จริงของความ เป็นผู้น�ำ”๒ ความรอบคอบและระมัดระวัง ดังกล่าวข้างต้นทีว่ า่ สิง่ ทีผ่ นู้ ำ� พูดออกไปจะ มีการถูกวิพากษ์วิจารณ์เสมอ (ที่จริงแล้ว ในประเด็นเรือ่ งเกีย่ วกับสือ่ มวลชนหรือการ เผชิญสือ่ จะมีบทความเรือ่ ง The MilitaryMedia Relationship: An Exercise in Strategic Patience โดย Colonel Steven A. Boylan ในวารสาร Military Review ฉบับเดือน September – October 2011 ที่ น ่ า สนใจและมี ข ้ อ มู ล การ เตรียมตัวในการเผชิญสื่ออยู่ท้ายบทความ ผู้อ่านที่สนใจสามารถสืบค้นหาอ่านได้ทาง เว็บไซต์) ส�ำหรับการเตรียมตัวเพื่อการเผชิญ สื่อนั้น ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการ ควรหารายการตรวจสอบ (Checklists) ทีเ่ ป็นประโยชน์ในแบบทีเ่ ป็นเครือ่ งมือช่วย อย่างฉับพลัน การท�ำงานในส่วนที่ยากกับ สื่อและศิลป์ของการให้สัมภาษณ์เป็นสิ่งที่ ง่าย ซึ่งเป็นเรื่องของศิลป์ สิ่งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ กับรายการตรวจสอบตนเองในเชิงของการ วางแผน อย่างไรก็ตามงานที่ง่ายบางอย่าง นั้นรวมถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท�ำให้ง่าย ต่อการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชนส่วนใหญ่ ต่อไปนี้คือหลายๆ สิ่งที่ควรค�ำนึง กล่าวคือ บรรดาค�ำถามส�ำหรับท่าน (ในฐานะผู้นำ� ) : - อะไรคือเจตนารมณ์ของท่าน ใน เรื่ อ งข่ า วสารข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ก ารหรื อ ความพยายามที่ปรากฏให้เห็น - ท่ า นมี วิ ธี ก ารก� ำ หนดแนวทาง ปฏิบัติอย่างไรในทีมของท่าน การได้ข้อมูล ป้อนกลับ การก�ำหนดข้อมูลป้อนกลับ และ
สฤณี อาชวานันทกุล (แปล), วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์ openbooks, ๒๕๕๒, หน้า ๑๒๙ – ๑๓๐. Nitin Nohria, Cited in Brandon Robers, Public Understanding of the Profession, in Military Review, November – October 2012, p.41.
๑ ๒
28
พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์
ท่านวัดระดับของความพยายามเหล่านั้น อย่างไร - ท่านมีความเกี่ยวข้องอย่างไร - ท่านจะสร้างสภาพ/บรรยากาศ อย่างไร ในทีซ่ งึ่ ความเร็วของการปฏิบตั กิ าร ก�ำลังเข้มข้น
- ความเร็ว
สิ่งที่ควรค�ำนึงถึง :
- ข่าวสารที่ฝ่ายตรงข้ามอาจน�ำไป ใช้ประโยชน์ - ความเร็วของข่าวสารข้อมูล - ความคาดหวังของสื่อ การสื่อสารและท�ำอย่างไรจึงจะได้ผล : - ความแน่นอน, ความเสีย่ ง, โอกาส - ศู น ย์ ก ลางอยู ่ ที่ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา - นายทหารที่เป็นโฆษก (Commander-centric) การสื่อสารทางยุทธศาสตร์ : ความเข้า - เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความเป็น กันของการปฏิบัติฝ่ายเรา, ค�ำพูดและ ตัวตนและความต่อเนือ่ ง (ไม่ใช่การแจกแจง ภาพลักษณ์ – สิ่งที่สามารถท�ำให้เกิด การจัดการที่ปลีกย่อย/เล็กๆ น้อยๆ) การสื่อสารทางยุทธศาสตร์ - เต็ ม ใจที่ จ ะยอมรั บ ความเสี่ ย ง - ความรูท้ ที่ ำ� ให้เกิดความเชีย่ วชาญ (ไม่ มี ใ ครสั ก คนที่ จ ะท� ำ ให้ มั น ถู ก ต้ อ งได้ - ความพยายามหลั ก –บริ บ ทเชิ ง ตลอดเวลา) ยุทธศาสตร์ทสี่ ามารถท�ำให้เกิดความเข้าใจ - ทั ก ษะในเชิ ง สาธารณะ, การ ได้โดยคนทั้งมวล ปฏิ บั ติ ก ารข้ อ มู ล ข่ า วสาร, การเมื อ ง- - วิธีการที่แตกต่างหลากหลายที่ การทหาร, พลเรือน-ทหาร ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น – โดยการ แง่มุมทางการทหาร : มอบอ�ำนาจ - ความถูกต้อง - ผ่อนคลายและมั่นใจในความเร็ว - บริบท ที่เพิ่มมากขึ้น - คุณลักษณะ/คุณสมบัติ
วิธีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ :
- จดบันทึกในสิ่งที่จ�ำเป็น - ซักซ้อม - ให้เวลาในการซักซ้อม - ทบทวนหลั ง การปฏิ บั ติ อ ย่ า ง เปิดเผยและตรงไปตรงมา - ซั ก ซ้ อ มใหม่ ก ระทั่ ง เกิ ด การ ผ่อนคลาย - สร้ า งความสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งเป็ น กันเองกับผู้สื่อข่าว - ยืนหยัดอยู่บนความจริง!!!๓ จะเห็นว่าเป็นทัง้ ความอ่อนไหว ความ เปราะบางและการประชาสั ม พั น ธ์ เชิ ง สัญลักษณ์ ภาพลักษณ์ต่อผู้ให้สัมภาษณ์ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น รายการตรวจสอบง่ า ยๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจจะพอยังประโยชน์ให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะนี่ ถือเป็นบทบาทหลักที่ส�ำคัญยิ่งประการ หนึ่งของผู้น�ำในทุกระดับ...ติดตามอ่าน บทสรุ ป การปฏิ บั ติ ง านทางการบริ ห าร ของผู ้ น� ำ ทางการทหารได้ ใ นฉบั บ หน้ า สวัสดีครับ
Steven A. Boylan, The Military-Media Relationship: An Exercise in Strategic Patience, in Military Review, September – October 2011, p.11.
๓
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
29
“การพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรองตามกรอบ แผนแม่บทการพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรอง ของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙”
แ
พลโท ด�ำรงค์ศักดิ์ วรรณกลาง เจ้ากรมการสรรพก�ำลังกลาโหม
ผนแม่บทการพัฒนาระบบ ก�ำลังส�ำรองของกระทรวง กลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ มีเป้าหมายโดยรวม คือ ให้มรี ะบบ ก�ำลังส�ำรองทีม่ ปี ระสิทธิภาพตัง้ แต่ในยาม ปกติ โดยบรรจุกำ� ลังพลส�ำรองลงในบัญชี บรรจุก�ำลังของหน่วยทหารได้ครบตาม อั ต ราเต็ ม และสามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร่ ว มกั บ ก� ำ ลั ง ประจ� ำ การได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ มีแนวทางการใช้ก�ำลังพล ส�ำรองที่ชัดเจน ตามขั้นตอนของการใช้ ก� ำ ลั ง เพื่ อ ป้ อ งกั น ประเทศ ศึ ก ษาและ ก�ำหนดรูปแบบการน�ำก�ำลังพลส�ำรองมา ปฏิบัติภารกิจร่วมกับก�ำลังประจ�ำการ ใน การป้ อ งกั น และบรรเทาภั ย ในรู ป แบบ อืน่ ๆ มีการวางแผนงาน/โครงการ พัฒนา ระบบก�ำลังส�ำรองครอบคลุมทัง้ ๕ ระบบย่อย
30
โดยให้ ส ามารถเรี ย กพลหรื อ ระดมพล ได้ครบตามอัตราเต็ม/อัตราสงคราม ท�ำให้ ทุกระบบด�ำเนินการไปได้อย่างสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพ เน้นการด�ำเนินงาน กิ จ การพลเรื อ นและประชาสั ม พั น ธ์ พิ จ ารณาแก้ ไขปรั บ ปรุ ง กฎหมาย กฎ กระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ค�ำสัง่ ทัง้ ปวง ทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบก�ำลังส�ำรองให้มคี วาม เหมาะสมทันสมัย มีผลในการปฏิบตั อิ ย่าง แท้จริงอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ทางด้านยุทธการ โดยวางแผนด�ำเนินการ ๕ ระบบย่อย ให้สมั พันธ์กนั ตามล�ำดับ ดังนี้ ๑. ระบบการบรรจุ แ ละการใช้ ก�ำลังพลส�ำรอง หมายถึง การด�ำเนินการ คั ด เลื อ กก� ำ ลั ง พลส� ำ รองที่ มี คุ ณ สมบั ติ เหมาะสมเพื่อบรรจุในต�ำแหน่งต่างๆ ใน หน่วยทหาร ตามลักษณะการใช้ก�ำลังพล ส�ำรอง คือเพือ่ ความพร้อมรบ เพือ่ ทดแทน
การสู ญ เสี ย และเพื่ อ ขยายก� ำ ลั ง จั ด ตั้ ง หน่วยใหม่ โดยการจัดท�ำบัญชีบรรจุก�ำลัง เพื่อให้สามารถสนับสนุนและสนองตอบ ต่อนโยบายการใช้ก�ำลังตามแผนป้องกัน ประเทศและแผนยุทธการของเหล่าทัพ ได้ทุกแผน ๒. ระบบการผลิตก�ำลังพลส�ำรอง หมายถึง กรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งก�ำลังพล ส�ำรอง ซึ่งสามารถแบ่งที่มาของก�ำลังพล ส�ำรองได้ดงั นี้ ระดับนายทหารสัญญาบัตร กองหนุนได้จากผูท้ สี่ ำ� เร็จการฝึกวิชาทหาร ชัน้ ปีที่ ๕ และได้รบั การแต่งตัง้ ยศเป็น ว่าที่ ร้อยตรี และจากนายทหารสัญญาบัตร ประจ�ำการชายทีล่ าออกจากราชการ และ กระทรวงกลาโหมสัง่ ให้เป็นนายทหารกอง หนุน ระดับนายทหารประทวนกองหนุน ได้จากผู้ที่ส�ำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้น ปีที่ ๓ และ ๔ และได้รับการแต่งตั้งยศ
เป็นสิบเอก จนถึง จ่าสิบเอก และ จากนาย ทหารประทวนประจ�ำการชายที่ลาออก จากราชการ และอยูใ่ นขัน้ กองหนุน ระดับ พลทหารกองหนุน ได้จากทหารที่ปลด ประจ�ำการ โดยรับราชการในกองประจ�ำ การจนครบก�ำหนด แล้วปลดเป็นทหาร กองหนุน ๓. ระบบการควบคุ ม ก� ำ ลั ง พล ส� ำ รอง หมายถึง กรรมวิธีเพื่อควบคุม รักษายอด และทราบสถานภาพของก�ำลัง พลส�ำรอง โดยการควบคุมก�ำลัง ส�ำรอง ทางบัญชีเตรียมพล (ตพ.) ประเภทต่างๆ และการควบคุมก�ำลังพลส�ำรองทางการปฏิบตั ิ เช่น การตรวจสอบสภาพทหารกองหนุน การติดต่อทหารกองหนุนทางเอกสาร การ ติดต่อทหารกองหนุนโดยเจ้าหน้าที่ของ หน่วย มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ ก. การควบคุมก�ำลังพลส�ำรอง ทางบัญชี คือการควบคุมบัญชีเตรียมพล (ตพ.) ประเภทต่าง ๆ
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ข. การควบคุมก�ำลังพลส�ำรอง ทางการปฏิ บั ติ คื อ การติ ด ต่ อ ทหาร กองหนุ น ทางเอกสาร, การตรวจสอบ สภาพทหารกองหนุน, การติดต่อทหาร กองหนุนโดยชุดเจ้าหน้าที่ของหน่วย และ การติดต่อทหารกองหนุนด้วยเครื่องมือ สื่อสารชนิดต่าง ๆ ๔. ระบบการเรียกพลหรือระดมพล หมายถึง กรรมวิธีในการเรียกก�ำลังพล ส�ำรองเข้ามารับราชการทหารเป็นการ ชัว่ คราว ตามความมุง่ หมายของการเตรียมพล โดยนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน ใช้ ค�ำสั่งเรียกพล (ตพ.๑๗) โดยกระทรวง กลาโหมเป็นผู้ด�ำเนินการ และนายทหาร ประทวนกองหนุนและพลทหารกองหนุน ใช้หมายเรียกพล (ตพ.๑๓) โดยกระทรวง มหาดไทยเป็นผู้ด�ำเนินการเรียกให้ ในส่วนของการระดมพล ก�ำหนดวิธี การปฏิบตั ไิ ว้ในหมวด ๕ การระดมพลตาม ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการ เตรียมพล พ.ศ. ๒๕๑๕ ๕. ระบบการฝึก ศึก ษาก�ำลัง พล ส�ำรอง หมายถึง การฝึกก�ำลังพลส�ำรอง เพือ่ ให้มคี วามรูค้ วามสามารถตามต�ำแหน่ง ที่บรรจุ รวมทั้งให้การศึกษาแก่ก�ำลังพล ส� ำ รองตามแนวทางรั บ ราชการทหาร ได้ แ ก่ การฝึ ก วิ ช าทหารตามระเบี ย บ หลักสูตรที่เหล่าทัพก�ำหนด และการฝึก ศึกษาเพื่อเลื่อนยศฐานะตามแนวทางการ รับราชการของก�ำลังพลส�ำรอง กระทรวงกลาโหมได้ ต ระหนั ก ถึ ง สถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่ า งรวดเร็ ว รวมทั้ ง ภั ย คุ ก คามมี รูปแบบใหม่ๆ การจัดเตรียมก�ำลังของกองทัพ ไทยในปั จ จุ บั น จึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น ต้ อ ง ปรับปรุงให้สอดคล้องกับภัยประเภทต่าง ๆ ดังนัน้ การพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรองซึง่ เป็น ส่วนหนึง่ ของการจัดเตรียมก�ำลังให้กองทัพ ไทย จึงมีเป้าหมายเพิม่ เติมให้สามารถตอบ สนองกับภัยในทุกรูปแบบให้ได้ ซึง่ ในแผน แม่บทการพัฒนาระบบก�ำลังส�ำรองของ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
ก�ำหนดให้ “กระทรวงกลาโหมมี ก�ำ ลั ง ส�ำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กระทรวงกลาโหม โดยสามารถเรียกพล หรือระดมพลได้ด้วยความรวดเร็ว และ พร้ อ มเข้ า ปฏิ บั ติ ก ารตามแผนป้ อ งกั น ประเทศ สามารถใช้ก�ำลังพลส�ำรองเพื่อ ความพร้อมรบ เพื่อทดแทนการสูญเสีย และเพื่ อ ขยายก� ำ ลั ง จั ด ตั้ ง หน่ ว ยใหม่ รวมถึงเป็นก�ำลังทีส่ นับสนุนการแก้ปญ ั หา ภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศในทุกรูปแบบ” ดั่งพระบรม ราโชวาทของพระบาทสมเด็พระเจ้าอยูห่ วั ในพิธถี วายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม ของทหารรั ก ษาพระองค์ เมื่ อ วั น ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ว่า “ทหารจะ ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมการ ให้พร้อมทุกเมื่อ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ ภารกิ จ ได้ พ ร้ อ มเพรี ย งคล่ อ งตั ว มี ประสิทธิภาพไม่ว่าด้านยุทธการ หรือ ด้านร่วมมือประสานงานกับฝ่ายอืน่ ๆ ใน การเกือ้ กูลสนับสนุน ยกระดับฐานะความ เป็ น อยู ่ ข องประชาชน และช่ ว ยเหลื อ บรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในเมื่อ เกิ ด ภั ย พิ บั ติ อ ย่ า งทั น การณ์ ทั น เวลา และทันท่วงที”
31
The Question of What to Target
“ช่วงหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือการเกิดขึ้นของ เครื่องมือแห่งสงคราม Operations Research”
ก่
อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลักนิยมการสงครามของ อ เ ม ริ ก า แ ล ะ อั ง ก ฤ ษ ต้องการใช้เครือ่ งบินโจมตีทงิ้ ระเบิดระยะ ไกลเข้าไปท�ำลายโรงงานอุตสาหกรรม ในแดนข้าศึก เนือ่ งจากความศรัทธาและ เชื่ อ มั่ น ในก� ำ ลั ง ทางอากาศในการยุ ติ สงคราม แต่แนวความคิดนี้ก็ไม่มีหลัก ฐานใดๆ มาสนับสนุนมากนัก เพราะก่อน ปี ๑๙๓๙ แทบจะไม่มกี ารโจมตีทงิ้ ระเบิด ทางยุทธศาสตร์เกิดขึ้น แนวความคิดในการจัดก�ำลังทาง อากาศของเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดโดย ใช้ ก� ำ ลั ง น้ อ ยที่ สุ ด แต่ มี อ� ำ นาจการ ท� ำ ลายระบบการป้ อ งกั น ของข้ า ศึ ก ที่ แม่ น ย� ำ และมากที่ สุ ด ยั ง หาค� ำ ตอบที่ ชัดเจนไม่ได้ เนื่องจากยังไม่เคยมีการใช้ ระบบอาวุธทางอากาศในสถานการณ์จริง กั บ เป้ า หมายที่ เ ป็ น ระบบป้ อ งกั น ของ ข้าศึก ดังนั้น จึงเกิดการศึกษาวิจัยการ ปฏิบตั กิ าร (Operation Research: OR) เพื่ อ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ อ ย่ า งมี ห ลั ก วิ ช าการ โดยใช้ ก ระบวนการทาง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละคณิ ต ศาสตร์ เป็ น แม่แบบในการศึกษาวิจัยในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ทบวงทหารเรืออังกฤษได้ระดม นักวิทยาศาสตร์มาช่วยคิดหาวิธีการจัดการ กั บ เรื อ ด� ำ น�้ ำ เยอรมั น แต่ ไ ม่ มี ค วาม ก้าวหน้ามากนัก เพราะสงครามสงบก่อน นั ก วิ ท ยาศาสตร์ เ หล่ า นั้ น กลั บ คื น สู ่ หน่วยงานเดิมและท�ำงานด้านวิชาการ ของตนเองตามปกติ ผู้น�ำทหารหันไปให้ ความสนใจในเรื่องอื่นแทน 32
นาวาเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น OR ถู ก น� ำ กลั บ มาพิ จ ารณาใหม่ อ ย่ า ง รวดเร็ ว กองทั พ อากาศอั ง กฤษระดม นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมในส่วนบัญชาการในปี ๑๙๔๐ และเมือ่ ถึงฤดูใบไม้รว่ ง ปี ๑๙๔๑ จึงเกิด หน่วย OR ขึ้นในส่วนบัญชาการ สมาชิก ในระดับแนวหน้าจะเป็นกลุม่ วิศวกรและ นักวิทยาศาสตร์ จากนั้นเป็นทีมงานที่ ผ่านการฝึกการคิดวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ หน่วย OR ศึกษาและวิจยั หาวิธกี าร หรือกลยุทธ์ทางเทคนิคที่จะท�ำให้การ ปฏิบัติภารกิจทางอากาศเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น การถ่ายภาพ การพลาง การวางทุ ่ น ระเบิ ด อากาศ ไฟตรวจ ค้นเป้าหมาย วิทยุและเรดาร์ เป็นต้น และหาหนทางการปฏิบัติที่จะท�ำให้การ ทิ้ ง ระเบิ ด เกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ลมากที่ สุ ด ในขณะทีล่ ดความเสีย่ งให้เหลือน้อยทีส่ ดุ ในปี ๑๙๔๑ Bomber Command of RAF ต้องการแก้ไขปัญหาการก�ำหนด
เป้ า หมายภาคพื้ น ในการโจมตี เ วลา กลางคืน แม้วา่ จะมีเรดาร์อย่าง Gee, Oboe และ H2S เป็นเครื่องช่วย หน่วย OR จึงได้ศกึ ษาและวิจยั จนประสบความส�ำเร็จ เห็นได้จากการเปรียบเทียบข้อมูลการ ทิ้งระเบิดในช่วงต้นปี ๑๙๔๒ ที่สงคราม เพิง่ เริม่ ขึน้ จ�ำนวนลูกระเบิดทีต่ กในระยะ ๓ ไมล์ ข องเป้ า หมายมี ไ ม่ ถึ ง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อหลังจากท�ำ OR และ เป็ น เวลาใกล้ สิ้ น สุ ด สงคราม จ� ำ นวน ลูกระเบิดทีต่ กในระยะ ๓ ไมล์ของเป้าหมาย มีมากถึง ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ในจ�ำนวนนี้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ตกในระยะน้อยกว่า ๑ ไมล์ หรือไม่ก็กระทบเป้าหมายอย่างจัง ฝูงบินทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ของกองทัพอากาศอังกฤษ ไม่ได้บนิ ไปใน รู ป ขบวนเกาะหมู ่ ข นาดใหญ่ เ หมื อ น กองทัพอากาศสหรัฐฯ หากแต่พวกเขา บินตามกันไปเป็นแนวยาวหลายร้อยไมล์ ด้วยความเชื่อที่ว่ากลุ่มของลูกระเบิดจะ ตกสูเ่ ป้าหมายมากขึน้ แต่หน่วย OR ชีใ้ ห้ นาวาเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
เห็นด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์วา่ เป็ น ความเข้ า ใจที่ ผิ ด และควรเปลี่ ย น ยุทธวิธี นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงการค�ำนวณ ให้เห็นว่า การบินเป็นหมู่ใหญ่ที่มีการ
Commander of Eighth Air Force ได้ ริเริ่มจัดตั้ง OR Section ขึ้นเพื่อศึกษา ยุ ท ธวิ ธี แ ละเทคนิ ค การทิ้ ง ระเบิ ด ด้ ว ย ความแม่นย�ำและลดจ�ำนวนการสูญเสีย และในเวลาเดียวกัน Gen.Henry H.
วางแผนการบินไว้แล้ว แทนการบินตาม กันเป็นแนวยาวนั้น มีโอกาสที่จะชนกัน กลางอากาศหรือถูกลูกระเบิดจากหมูบ่ นิ ที่อยู่สูงกว่ามีค่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้วยข้อพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์นี้ ท�ำให้ ลูกเรือของฝูงบินทิ้งระเบิดลดความวิตก กังวล ความไม่ปลอดภัยในการบินลง ไปได้มาก พวกเขาจึงให้ความสนใจต่อ เป้าหมายมากยิ่งขึ้น ความหนาแน่นการ เข้าทิ้งระเบิดเหนือเป้าหมายสูงขึ้นจาก เดิม ๑๐ เครื่องต่อนาที เพิ่มขึ้นเป็น ๓๐ เครื่องต่อนาที หน่วย OR ได้แสดงให้เห็นอีกว่า การเปลีย่ นท่าทางการบินอย่างรวดเร็วไม่ ว่าทิศทางหรือความสูงเมือ่ ทิง้ ระเบิดเสร็จ เรียบร้อยแล้ว มันไม่ได้ชว่ ยลดความเสีย่ ง ของการถูกยิงตอบโต้เลยแม้แต่น้อย มัน เป็นความรู้สึกที่สบายใจขึ้นบ้างเท่านั้นเอง ส�ำหรับลูกเรือ แต่กลับจะท�ำให้โอกาส ชนกั น กลางอากาศสู ง ขึ้ น และความ แม่นย�ำลดน้อยลงอีกต่างหาก จึงเป็นการ ดีกว่าถ้าจะรักษาการบินตรงบินระดับ ไว้ก่อน ในปี ๑๙๔๒ กองทัพอากาศสหรัฐฯ น�ำแนวความคิดเรื่อง OR จากอังกฤษมา ใช้ โ ดย Maj.Gen.Ira C.Eaker,
Arnold, Commander of the Army Air Force ใน Washington ได้จัดตั้ง Committee of Operations Analysts (COA) มี ค ณะกรรมการหลากหลาย ตั้งแต่นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ วิศวกร นั ก กฎหมาย แม้ ก ระทั่ ง สถาปนิ ก วัตถุประสงค์ของงาน OR ทั้งสองหน่วย ในสหรั ฐ ฯ เป็ น เช่ น เดี ย วกั น กั บ RAF Bomber Command ในเดือนตุลาคม ๑๙๔๔ USAF, Eighth Air Force วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ภาพถ่ า ยทางอากาศการทิ้ ง ระเบิ ด ใน เยอรมั น ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ไ ม่ ไ ด้ ส ร้ า งความ ประหลาดใจแต่ประการใด เนื่องจากยัง เป็นยุทธวิธีแบบเดิม การทิ้งระเบิดด้วย การเล็งด้วยสายตานั้นให้ความแม่นย�ำ มากขึ้ น ในสภาพ อากาศที่ดี ๔๑.๕ เปอร์ เ ซ็ น ต์ เข้ า เป้าหมายในรัศมี ๑,๐๐๐ ฟุต แต่ ท้องฟ้าในเยอรมัน นั้นมันเกือบจะแย่ อยู ่ ต ลอด เ วล า จ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ เครือ่ งมือในระบบ
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
วิทยุและเรดาร์เป็นเครื่องช่วย ซึ่งก็ท�ำได้ แค่ไม่เกิน ๕ เปอร์เซ็นต์ ที่ RAF Bomber Command ได้ วิ เ คราะห์ เ จาะจงลึ ก ไปถึ ง ปั ญ หาและ แนวทางเฉพาะด้านต่างๆ เช่น การเพิ่ม รั ศ มี ป ฏิ บั ติ ก าร การประกอบหมู ่ บิ น ยุทธวิธี ระเบิดเพลิง น�ำ้ หนักและการจุด ชนวนของระเบิด รวมไปถึงการจ�ำกัด ขอบเขตการท� ำ ลายเป้ า หมาย ความ หมายก็คือระเบิดที่เหมาะสมย่อมคู่ควร กับเป้าหมายที่เหมาะสม ไม่มีการปูพรม หรือขี่ช้างจับตั๊กแตน แบบอย่างปัญหาของเครื่องบินทิ้ง ระเบิดทีท่ ำ� OR คือการเผชิญกับเครือ่ งบิน ขั บ ไล่ แ ละการยิ ง ตอบโต้ จ ากพื้ น ดิ น ของข้าศึก บทสรุปของการสัมภาษณ์ที่ ค่อนข้างครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง โดย เฉพาะจากลูกเรือที่รอดชีวิตจากการถูก ยิงตก เปิดเผยให้ทราบว่า สิง่ เลวร้ายทีส่ ดุ คือการพลัดหลงจากหมูบ่ นิ เครือ่ งบินทิง้ ระเบิด เครือ่ งทีห่ ลุดหมูจ่ ะถูกทักทายด้วย ปืนกลอากาศทันทีจากเครื่องบินขับไล่ ข้าศึก การพลัดหลงจากหมู่บินนั้นโดย ปกติ เ กิ ด จากการถู ก ยิ ง จากปื น ต่ อ สู ้ อากาศยานท�ำให้เครื่องยนต์ขัดข้องหรือ ไฟไหม้ เครื่องยนต์อ่อนก�ำลังลงเกาะหมู่ ไม่ได้จะกลายเป็นตัวถ่วง จึงต้องปลีกตัว ออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และต้องตกเป็น เหยือ่ ของเครือ่ งบินขับไล่ขา้ ศึกทุกรายไป ผลจากการท�ำ OR ในเรื่องดังกล่าว RAF ได้ หุ ้ ม เกราะจุ ด เปราะบางของ เครือ่ งยนต์ ลดความเสียหายจากปืนต่อสู้ อากาศยาน และช่ วยลดเครื่ อ งบิ น ทิ้ ง
33
ระเบิดที่หลุดจากหมู่บินได้มาก การท�ำ OR อีกอย่างหนึ่งคือ ความ แม่ น ย� ำ ในการทิ้ ง ระเบิ ด จากผลการ ศึกษาทีน่ บั ครัง้ ไม่ถว้ น ลูกเรือมีความเชือ่ ว่ า ถ้ า ปล่ อ ยลู ก ระเบิ ด พร้ อ มกั น ทั้ ง หมู่บินตามหัวหน้าหมู่แล้ว จะมีความ แม่นย�ำต่อเป้าหมายมากกว่าที่เครื่องบิน ทิ้งระเบิดแต่ละตัวจะเล็งเป้าหมายและ ปล่อยมันด้วยตัวเอง แต่เมื่อพิสูจน์จาก ภาพถ่ า ยทางอากาศแล้ ว มั น ไม่ เ ป็ น อย่างนั้น ท่ามกลางความคลุมเครือของแนว ความคิดการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ การท�ำ OR ในเรื่องนั้นๆ สามารถให้ ค�ำตอบที่ชัดเจนได้ สร้างความเชื่อมั่น และการปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสม ผูน้ ำ� ก�ำลังทาง อากาศของพั น ธมิ ต รจึ ง ให้ ค วามสนใจ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ทมี OR ต้อง เผชิญกับปัญหาจากหลักนิยมของผู้น�ำ ทหารเสียเอง โดยต้องการให้การท�ำลาย โรงงานอุ ต สาหกรรมของข้ า ศึ ก อย่ า ง เฉียบขาด สามารถยุติความตั้งใจในการ สงครามและความสามารถในการต่อต้าน โดยสิ้นเชิง ซึ่งนั่นมันหมายถึงโชคชะตา หลั ง สงครามของประเทศที่ พ ่ า ยแพ้ มากกว่าการชนะด้วยแนวความคิดทาง วิทยาศาสตร์ เพราะ OR ให้ค�ำแนะน�ำ การท� ำ ลายเป้ า หมายอย่ า งเหมาะสม 34
ไม่ใช่การท�ำลายอย่างสิ้นซาก ซึ่งผลของ สงครามมันจะร้ายกาจกว่าที่คิด เพื่อความเข้าใจในเป้าหมายที่ควร จะถูกท�ำลายให้ถกู ต้องมากขึน้ เรือ่ งนีจ้ ะ ถูกยกระดับไปพิจารณาในระดับที่สูงขึ้น เนื่ อ งจากลู ก เรื อ ยั ง ไม่ มี ค วามเข้ า ใจที่ ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของเป้าหมาย และระดั บ ของผลกระทบต่ อ ระบบ เศรษฐกิจ ซึ่งโดยรวมแล้วการทิ้งระเบิด ทางยุทธศาสตร์ก็เหมือนกับการใช้ก�ำลัง ทางเรือปิดน่านน�้ำและยกพลขึ้นบกบุก ทางภาคพื้นดิน ปัญหาเรื่องนี้ถูกน�ำไป ศึกษาที่ USAF Tactical School โดย ศึ ก ษาเรื่ อ งโรงงานในกลุ ่ ม ประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ในทศวรรษที่ ๑๙๓๐ ทบวงสงครามให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยป้ อ นข้ อ มู ล การข่ า วที่ ส� ำ คั ญ และ ข้อมูลระบบเศรษฐกิจรวมถึงโครงสร้าง พื้นฐานทางอุตสาหกรรมของประเทศที่ เป็นภัยคุกคาม นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ ศึกษาจากย่านอุตสาหกรรมทางตะวัน ออกเฉี ย งเหนื อ ของสหรั ฐ ฯ ประการ สุดท้ายนีพ้ วกเขาพบว่ามีเป้าหมายทีด่ อี ยู่ ๑๐๐ แห่ง เมื่อถูกท�ำลายแล้วสามารถ ท�ำลายระบบไฟฟ้าก�ำลังในย่านนีไ้ ปได้ถงึ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ส่วนเป้าหมายระดับรอง ลงมาที่จะมีผลท�ำให้ในภูมิภาคนั้นเป็น อั ม พาตทั น ที ไ ปชั่ ว ระยะเวลาหนึ่ ง คื อ
เส้นทางรถไฟ คลังน�ำ้ มัน โรงงานถลุงและ หล่อเหล็ก รวมถึงแหล่งผลิตหรือเก็บ รักษาอาหาร เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มขึ้น นักวางแผนการยุทธ์ทางอากาศได้ระดม นักอุตสาหการเข้าร่วมศึกษาโครงสร้าง อุตสาหกรรมของเยอรมัน นอกจากนัน้ ยัง เดินทางไปนิวยอร์กเพื่อขอข้อมูลจาก สถาบั น การเงิ น เกี่ ย วกั บ การลงทุ น ที่ มี จ� ำ นวนมากในเยอรมั น ที่ นี่ มี ข ้ อ มู ล ทุกอย่างตามต้องการ เช่น แผนผังอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม ตารางสายการผลิต และข้ อ มู ล ส� ำ คั ญ อื่ น ๆ ของระบบ เศรษฐกิจเยอรมัน จากข้อมูลการศึกษาและวิจัย ความรู ้ ด ้ า นอุ ต สาหกรรมของอเมริ ก า ทั้งหมดรวมกับข้อมูลด้านการข่าวจาก อังกฤษ เป้าหมายที่มีความส�ำคัญและมี ความเปราะบางมากที่สุดได้ถูกคัดเลือก ออกมานอกจากนั้นยังได้พยายามว่าจ้าง และคัดเลือกชาย หญิง เป็นร้อยๆ คน ที่มี พืน้ ความรูด้ า้ นธุรกิจการเงินการธนาคาร วิศวกรรม วิทยาศาสตร์และกฎหมาย ท�ำ หน้าที่เป็นสายข่าวและวิเคราะห์ข้อมูล แต่จนแล้วจนรอดก็ได้มาแค่คนร้อยกว่า คนที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น เดียวกับหน่วยข่าวกรองทหารบกซึง่ มีคน แค่ ๒๒ คน อุปสรรคด้านก�ำลังพลเป็น ปัญหาส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้โครงการ OR ของ USAF Tactical School ล่าช้าจนถึง ปลายปี ๑๙๓๙ อย่างไรก็ตาม หน่วยข่าวกรองของ อั ง กฤษได้ ให้ ความช่ วยเหลื อ การแปล ความจัดล�ำดับความส�ำคัญข้อมูลด้าน เศรษฐกิ จ ของเยอรมั น ให้ เ ป็ น อย่ า งดี ในปี ๑๙๔๒ เมือ่ สหรัฐฯ เข้าสูส่ งคราม USAF Eighth Air Force เคลื่อนย้ายหน่วยไป ที่ฐานทัพอากาศอังกฤษ Maj.Gen.Ira C.Eaker, Commander of Eighth Air Force ได้เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยเพื่อ ให้คำ� แนะน�ำและข้อมูลในการปฏิบตั กิ าร แนวคิดของเขาได้รับการตอบสนอง โดย มีการจัดตั้ง Enemy Objective Unit นาวาเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
(EOU) ขึ้นการบังคับบัญชากับ USAF Eighth Air Force ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น นักเศรษฐศาสตร์และนักกฎหมาย ในขณะเดียวกันอังกฤษก็ได้จัดตั้ง หน่วย RE8 มีภารกิจประเมินผลการ ท�ำลายของระเบิด (Bomb Damage Assessment: BDA) และสหรั ฐ ฯ เข้าร่วมด้วยในกลางปี ๑๙๔๓ ข้อมูล ทั้ ง หมดถู ก ส่ ง ไปที่ RAF Bomber Command และ USAF Eighth Air Force ซึง่ ข้อมูล BDA เหล่านีม้ คี วามยาก ล�ำบากในการแปลความจากภาพถ่าย ทางอากาศทีถ่ า่ ยจากความสูงทีม่ ากและ การลวงเพือ่ เบีย่ งเบนให้เกิดการเข้าใจผิด อย่างแนบเนียนของเยอรมัน งานแปล ความ BDA จึงดูเป็นศิลปะมากกว่าความ เป็นวิทยาศาสตร์ นอกเหนือจากความพยายามการท�ำ OR ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่ ยังไม่ได้คำ� ตอบในการท�ำ OR หรือยังไม่มี การตั้งประเด็นถกแถลง อย่างเช่นใน ต้นปี ๑๙๔๔ พวกเขามีแนวความคิดเพือ่ พิจารณากันว่า จะใช้ฝูงบินทิ้งระเบิด สนับสนุนการยกพลขึน้ บกที่ Normandy อย่างไรดี แผนปฏิบัติการของอังกฤษเกิดจาก บทวิเคราะห์จากการโจมตีทิ้งระเบิดใน อิ ต าลี แ ละทางตอนเหนื อ ฝรั่ ง เศสเพื่ อ ท�ำลายเครือข่ายการรถไฟของเยอรมันที่ สามารถเชือ่ มถึงกันได้เกือบทัว่ ยุโรป ส่วน แผนปฏิบัติการของสหรัฐฯ มีพื้นฐาน มาจากข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วของหน่วย
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
EOU เกีย่ วกับโรงกลัน่ น�ำ้ มัน โรงงานและ โรงเก็ บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างอุ ต สาหกรรม ด้วยยุทธศาสตร์ที่ต้องการท�ำลายศักย์ สงครามของเยอรมัน แผนการโจมตีทาง ยุทธศาสตร์เส้นทางขนส่งทางรถไฟและ โรงกลั่นน�้ำมัน เป็นที่โต้แย้งกันอยู่หลาย สั ป ดาห์ จนกระทั่ ง ในเดื อ นมี น าคม ๑๙๔๔ Gen.Dwight D.Eisenhower, Suprem Commander อนุ มั ติ เ ปิ ด ปฏิบตั กิ ารโจมตีเฉพาะเส้นทางขนส่งทาง รถไฟเท่านั้น ด้วยเล็งเห็นว่ามันจะมีผล บั ง คั บ ให้ เ กิ ด ผลทางทหารอย่ า งทั น ที ทันใด ก ่ อ น ห น ้ า ที่ G e n . D w i g h t D.Eisenhower, Suprem Commander จะตัดสินใจอนุมัติแผนปฏิบัติการ มีเรื่อง ที่ น ่ า สนใจเกี่ ย วกั บ การวิ เ คราะห์ เป้าหมายจากหน่วยงานข่าวกรองเป้าหมาย ของทั้งสองชาติคือ RE8 และ EOU โดย พิจารณาศักย์สงครามทางเศรษฐกิจของ เยอรมันด้วยข้อมูลที่เหมือนกัน แต่กลับ ได้ผลสรุปในตอนท้ายไม่เหมือนกัน ข้อ โต้แย้งในเรื่องนี้ดูเหมือนจะจบลงได้ยาก และล� ำ บากในการอภิ ป ราย โดยได้ อภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงเป้าหมาย ส�ำคัญ ได้แก่ เส้นทางรถไฟ โรงกลัน่ น�ำ้ มัน เหมืองถ่านหินและโรงงานผลิตไฟฟ้า จน กระทัง่ นักประวัตศิ าสตร์คนหนึง่ อภิปราย โต้ แ ย้ ง และแสดงเหตุ ผ ลโน้ ม น้ า วให้ เห็นว่า อุตสาหกรรมถ่านหินเป็นหัวใจ หลั ก ในระบบเศรษฐกิ จ ของเยอรมั น และต้องใช้การขนส่งทางรถไฟเป็นหลัก ดั ง นั้ น การท� ำ ลาย ระบบการขนส่งทาง รถไฟที่เป็นระบบการ ขนส่งถ่านหินอันเป็น พลั ง งานหลั ก ของ เยอรมันโดยสิน้ เชิงนัน้ จะเป็ น เส้ น ทางสู ่ ชัยชนะของพันธมิตร โ ด ย มี ผ ล ถึ ง ค ว า ม บอบช�้ำหลังสงคราม
ต่อประชาชนโดยรวมทีไ่ ม่นา่ กลัวมากนัก ข้อสรุปเช่นนี้น�ำไปสู่การตัดสินใจของ Eisenhower ในเวลาต่อมา การตั ด สิ น ใจของผู ้ น� ำ ก� ำ ลั ง ทาง อากาศแม้ว่าจะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล จากหน่วยข่าวกรองก็ตาม แต่บางครั้งก็ เกิดความยุง่ ยากทีจ่ ะมัน่ ใจว่าการตัดสินใจ ครั้ ง นั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า จะถู ก ต้ อ งหรื อ ไม่ ท�ำให้ล�ำดับความส�ำคัญของเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและรู้สึกสับสน แต่ การตั ด สิ น ใจใดๆ ของผู ้ น� ำ นั้ น มี ก าร ผสมผสานกลมกลื น กั น เป็ น อย่ า งดี ของประสบการณ์ การข่าวกรอง และ Operations Research หลั ก นิ ย มของก� ำ ลั ง ทางอากาศ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และกองทัพ อากาศอังกฤษ ก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ถูกลบล้างไปโดยการท�ำ Operations Research โดยสิ้นเชิง หลังสงครามโลก ครัง้ ที่ ๒ สงบ แม้วา่ ฝ่ายอักษะจะเป็นฝ่าย พ่ายแพ้สงครามเยอรมันและญี่ปุ่นกลับ ฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว และเป็นประเทศผู้น�ำแถวหน้าในระบบ เศรษฐกิจโลก เนื่องจากระบบเศรษฐกิจ ทั้งหมดไม่ได้ถูกท�ำลายอย่างราบคาบ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยการปฏิบัติ การทางทหารอย่ า งเป็ น หลั ก วิ ช าคื อ Operations Research Title: The Question of What to Target Writter: Phillip S.Meilinger, Retired USAF Pilot, Ph.D. in Military History from the University of Michigan. เรียบเรียงโดย : นาวาเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
35
แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้านเครื่องบินขับไล่ โจมตีพิสัยไกล ซู-๓๐
ก
องทั พ อากาศมาเลเซี ย (RMAF) จะเพิ่มขีดความ สามารถความพร้ อ มรบ ของฝูงบินขับไล่ซู-๓๐ (Su-30 MKM Flanker-C) จาก ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ให้ เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น ๘๕ เปอร์ เซ็ น ต์ ต้ อ งใช้ งบประมาณ ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ เพื่อเป็นค่าจัดหาอะไหล่ (เพิ่ ม เติ ม ) ค่ า น�้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ค่ า ลู ก กระสุนฝึกและลูกระเบิดฝึกพร้อมด้วย ลูกจรวดฝึก และการฝึกทางยุทธวิธีขั้น ก้าวหน้าประจ�ำการฝูงบินที่ ๑๑ ฐานทัพ อากาศก็องเคดะ (Gong Kedak) รัฐตรัง กานู บริเวณใกล้กับรัฐกลันตัน ทางด้าน ทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของประเทศ เป็นฝูงบินที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ฝูงบินขับไล่ โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบซู-๓๐ (Su-30 MKM Flanker-C) จัดซือ้ จากประเทศ รัสเซียรวม ๑๘ เครือ่ ง เป็นเงิน ๙๐๐ ล้าน เหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รบั มอบเครือ่ งบินน�ำเข้าประจ�ำ การชุดแรกปี พ.ศ.๒๕๕๔ ต่อมากองทัพ อากาศมาเลเซี ย (RMAF) จั ด ซื้ อ จรวดน�ำวิถีพิสัยกลางอากาศสู่อากาศ เป็นเงิน ๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ เป็ น การเพิ่ ม ขี ด ความ สามารถในภารกิ จ ต่ อ สู ้ ท างอากาศ กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) มีภัย คุกคามที่ส�ำคัญคือการขัดแย้งในระดับ ภูมภิ าคบริเวณทะเลจีนใต้ (ทางตอนใต้ของ หมูเ่ กาะสแปรตลีย)์ บริเวณทางด้านตะวันออก 36
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
กับเพือ่ นบ้านอีก ๕ ประเทศ สามารถเพิม่ ระยะปฏิ บั ติ ก ารทางอากาศให้ ไ กล เพิ่มขึ้นและมีเวลาปฏิบัติการเหนือพื้นที่ เป้าหมาย โดยการเติมน�้ำมันทางอากาศ จากฝูงบิน ๒๐ ฐานทัพอากาศซูบังรัฐ สาลังงอร์ ทางด้านตะวันตกของประเทศ ด้วยเครือ่ งบินเติมน�ำ้ มันแบบเคซี-๑๓๐ที (KC-130T) รวม ๔ เครือ่ ง และภัยคุกคาม ทางด้ า นยุ ท ธศาสตร์ จ ากฝู ง บิ น ขั บ ไล่ โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบเอฟ๑๕เอสจี (F-15SG Strike Eagle) ฝูงบิน ขับไล่ที่ ๑๔๙ กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) เครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกล แบบซู-๓๐ (Su-30 Flanker-C) มีข้อมูล ที่ส�ำคัญ นักบิน ๒ ที่นั่ง น�ำ้ หนักบินขึ้น
สูงสุด ๓๔,๕๐๐ กิโลกรัม (๗๖,๐๖๐ ปอนด์) ขนาดยาว ๒๑.๙๓ เมตร สูง ๖.๓๖ เมตร ช่วงปีก ๑๔.๗ เมตร พื้นที่ปีก ๖๒ ตารางเมตร เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนส์ ขนาด ๒๗,๕๖๐ ปอนด์ (๒ เครื่องยนต์) ความเร็ว ๒.๐ มัค (๒,๑๒๐ กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง) พิสัยบินไกล ๓,๐๐๐ กิโลเมตร เพดานบินสูง ๑๗,๓๐๐ เมตร (๕๖,๘๐๐ ฟุต) ระบบอาวุธ : ปืนกลอากาศขนาด ๓๐ มิลลิเมตร (ลูกกระสุน ๑๕๐ นัด) ติดตั้งอาวุธภายนอกล�ำตัวได้ ๑๒ จุด (น�ำ้ หนักรวม ๘,๐๐๐ กิโลกรัม) ตามภารกิจ บิน ประกอบด้วย ภารกิจขับไล่ ภารกิจ โจมตีและภารกิจทิ้งระเบิด มีการผลิต ออกมาหลายรุ่นที่ส�ำคัญคือ ซู-๓๐ เค (Su-30K) รุน่ เพือ่ การส่งออก ซู-๓๐ เอ็มเค
เจ้าหน้าที่สรรพาวุธกองทัพอากาศมาเลเซียก�ำลังติดตั้งจรวดน�ำวิถีโจมตีเรือแบบเอเอส-๑๗ ส�ำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลแบบซู-๓๐ เอ็มเคเอ็ม (Su-30MKM) มีความเร็วสูงสุด ๓.๕ มัค และระยะยิงไกล ๑๑๐ กิโลเมตร พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซู-๓๐เอ็มเคเอ็ม (Su-30MKM) กองทัพอากาศมาเลเซีย ติดตั้งระบบอาวุธในภารกิจต่อสู้ทางอากาศ (ทั้งพิสัยใกล้และพิสัยปานกลาง)
(Su-30MK) รุน่ เพือ่ การส่งออกโดยติดตัง้ ระบบสื่อสารจากอินเดีย ผลิตในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ซู-๓๐เอ็มเคไอ (Su-30MKI) รุ่น เพื่ อ การส่ ง ออกให้ กั บ กองทั พ อิ น เดี ย (๒๐๕ เครื่อง โดยซื้อลิขสิทธิ์มาท�ำการ ผลิตภายในประเทศ โรงงานตัง้ อยูท่ เี่ มือง บังคาลอร์ รัฐกรณาฏกะ (Karnataka) อุ ป กรณ์ เ อวิ โ อนิ ก ส์ ผ ลิ ต จากประเทศ อิสราเอล ฝรั่งเศส และอินเดีย) ซู-๓๐ เอ็มเคเค (Su-30MKK) รุน่ เพือ่ การส่งออก ให้กับกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน (๗๓ เครื่ อ ง นาโต้ เ รี ย กชื่ อ ใหม่ ว ่ า Flanker-G) ซู - ๓๐เอ็ ม เคเอ็ ม (Su30MKM) รุ่นเพื่อการส่งออกให้กองทัพ มาเลเซีย พ.ศ.๒๕๕๔ ซู-๓๐เอ็มเคเอ (Su-30MKA) รุ่นส่งออกให้กับกองทัพ แอลจีเรีย ซู-๓๐เอ็มเควี (Su-30MKV) รุน่ ส่งออกให้กับกองทัพเวเนซุเอลาและซู๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) รุน่ ส่งออกให้ กับกองทัพเวียดนาม ปัจจุบนั นีเ้ ครื่องบิน ขับไล่โจมตีพิสัยไกลแบบซู-๓๐ (Su-30) มียอดผลิตกว่า ๕๐๐ เครื่อง อาวุธส�ำคัญของเครือ่ งบินขับไล่ โจมตีพิสัยไกลแบบซู-๓๐ (Su-30) ต่อสู้ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ทางอากาศประกอบด้ ว ยจรวดน� ำ วิ ถี พิ สั ย กลางแบบเอเอ-๑๐ (AA-10 Alamo/R-27) ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๒๖ ขนาดยาว ๔.๐๘ เมตร น�้ำหนัก ๒๕๓ กิ โ ลกรั ม หั ว รบหนั ก ๓๙ กิ โ ลกรั ม ความเร็วสูงสุด ๔.๕ มัค น�ำวิถีด้วยเรดาร์ ระยะยิง ไกล ๘๐ กิโ ลเมตร (R-27R) ประจ�ำการ ๒๔ ประเทศ กองทัพอากาศ อาเซี ย นประจ� ำ การ ๓ ประเทศคื อ อิ น โดนี เซี ย มาเลเซี ย และเวี ย ดนาม
จรวดน� ำ วิ ถี พิ สั ย ใกล้ แ บบเอเอ-๑๑ (AA-11 Archer/R-73) ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๒๗ ขนาดยาว ๒.๙๓ เมตร น�ำ้ หนัก ๑๐๕ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๗.๔ กิโลกรัม ความเร็ว ๒.๕ มัค น�ำวิถีด้วยอินฟราเรด ระยะยิ ง ไกล ๒๐ กิ โ ลเมตร (R-73E) ประจ�ำการ ๒๑ ประเทศ กองทัพอากาศ อาเซี ย นประจ� ำ การ ๓ ประเทศคื อ อิ น โดนี เซี ย มาเลเซี ย และเวี ย ดนาม จรวดน� ำ วิ ถี พิ สั ย กลางแบบเอเอ-๑๒
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ขณะท�ำการ ฝึกทางอากาศในรหัสพิทซ์แบล็ค ๒๐๑๒ (Pitch Black 2012) ประเทศออสเตรเลีย พร้อมด้วย พันธมิตร ๖ ประเทศ (พร้อมด้วยกองทัพอากาศไทย) 37
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซู-๓๐เอ็มเคเอ็ม (Su-30MKM) กองทัพอากาศอินโดนีเซียฝูงบินขับไล่ที่ ๑๑
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) กองทัพอากาศเวียดนาม น�ำเข้าประจ�ำการรวม ๓ กรมบินขับไล่โจมตี (ขณะจอดอยู่ในโรงเก็บ)
(AA-12 Adder/R-77) ประจ�ำการปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ขนาดยาว ๓.๖ เมตร น�้ำหนัก ๑๗๕ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๒๒.๕ กิโลกรัม ความเร็ว ๔.๐ มัค น�ำวิถดี ว้ ยเรดาร์ ระยะ ยิงไกล ๑๑๐ กิโลเมตร (R-77-1) ประจ�ำ การ ๙ ประเทศ กองทัพอากาศอาเซียน ประจ�ำการ ๓ ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม อาวุธส�ำคัญของเครือ่ งบินขับไล่ 38
จรวดน�ำวิถีพิสัยกลางแบบ เอเอ-๑๒ (AA-12 Adder) ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๓๗ น�้ำหนัก ๑๗๕ กิโลกรัม ความเร็ว ๔.๐ มัค และระยะยิงไกล ๘๐ กิโลเมตร (R-77) กองทัพอากาศอาเซียนประจ�ำการ ๓ ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม
โจมตีพิสัยไกลแบบซู-๓๐ (Su-30) โจมตี ภาคพื้ น ดิ น และโจมตี เรื อ จรวดน� ำ วิ ถี โจมตีเรือแบบเอเอส-๑๗ (AS-17 Krypton/Kh-31) ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๓๑ ขนาดยาว ๔.๗ เมตร น�้ำหนัก ๖๑๐ กิโลกรัม ความเร็ว ๓.๕ มัค น�ำวิถีด้วย เรดาร์ ระยะยิ ง ไกล ๑๑๐ กิ โ ลเมตร (Kh-31P) ประจ�ำการ ๘ ประเทศ กองทัพ อากาศอาเซียนประจ�ำการ ๓ ประเทศ
คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม จรวดน�ำวิถีโจมตีภาคพื้นดินแบบเอเอส๑๔ (AS-14 Kedge/Kh-29) ประจ�ำการ ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ขนาดยาว ๓๙๐ เซนติเมตร น�ำ้ หนัก ๖๖๐ กิโลกรัม ความเร็ว ๑,๔๗๐ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง น�ำวิถดี ว้ ยแสงเลเซอร์ (Kh-29L) ระยะยิงไกล ๑๐ กิโลเมตร (Kh-29L) ประจ� ำ การ ๑๖ ประเทศ กองทั พ อากาศอาเซี ย นประจ� ำ การ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ระบบอาวุธในหลายภารกิจของเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลชนิด สองที่นั่งตระกูลซู-๓๐ (Su-30) มีความทันสมัยระดับโลก (ระบบ อาวุธจากซ้ายมาขวา AA-11/R-73, AA-10/R-27R, AA-10/R-27T, AS-18/Kh-59M และ AS-17/Kh-31)
๓ ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวี ย ดนาม และจรวดน� ำ วิ ถี โจมตี ภ าค พื้นดินแบบเอเอส-๑๘ (AS-18 Kazoo/ Kh-59M Ovod-M) ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๓๔ ขนาดยาว ๕๗๐ เซนติเมตร น�ำ้ หนัก ๙๓๐ กิโลกรัม หั ว รบหนั ก ๓๒๐ กิ โ ลกรั ม ความเร็วสูงสุด ๐.๘ มัค น�ำวิถีด้วยเรดาร์ ระยะยิงไกล ๑๑๕ กิโลเมตร (Kh-59ME) ประจ�ำการ ๘ ประเทศกองทัพอากาศ อาเซี ย นประจ� ำ การ ๓ ประเทศคื อ อิ น โดนี เซี ย มาเลเซี ย และเวี ย ดนาม กองทั พ อากาศอิ น โดนี เซี ย (TNI-AU) ประจ�ำการด้วยเครือ่ งบินขับไล่โจมตีพสิ ยั ไกลรุ่นใหม่แบบซู-๓๐เอ็มเค/เอ็มเค๒ (Su-30MK/MK2 Flanker-C) รวม ๑๑ เครื่อง แยกเป็นรุ่น ซู-๓๐ เอ็มเค รวม ๒ เครื่อง และรุ่นซู-๓๐เอ็มเค๒ รวม ๙ เครื่อง ประจ�ำการฝูงบินที่ ๑๑ ฐานทัพ อากาศ บริเวณทางตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี (Sulawesi) ตอนกลางของประเทศ อินโดนีเซียมีพนื้ ทีข่ นาดใหญ่ ๕,๑๙๓,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร พร้อมด้วยเกาะ ๑๗,๕๐๐ เกาะ มีพนื้ ทีร่ บั ผิดชอบจ�ำนวนมากขึน้ จึง ต้องเพิ่มระยะปฏิบัติการทางอากาศให้ ไกลขึ้น โดยการเติมน�้ำมันทางอากาศ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
จรวดน�ำวิถีโจมตีเรือแบบเอเอส-๑๗ (AS-17 Krypton/Kh-31) ส�ำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลแบบตระกูลซู-๓๐ (Su-30) กองทัพอากาศอาเซียนประจ�ำการ ๓ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม
จากฝูงบินขนส่งที่ ๓๒ ฐานทัพอากาศ อับดุลรัชฮ์มานซาเละฮ์ (Abdul Rachman Salah) จังหวัดชะวาตะวันออก ทางด้าน ตะวันออกของเกาะชวา ด้วยเครื่องบิน เติมน�้ำมันแบบเคซี-๑๓๐บี (KC-130B) รวม ๒ เครือ่ ง กองทั พ อากาศเวี ย ดนามซื้ อ เครือ่ งบินขับไล่โจมตีพสิ ยั ไกลแบบซู-๓๐ เอ็มเค๒ (Su-30MK2 Flanker-C) ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ รวม ๑๒ เครื่อง ต่อมาได้ปรับ ลดลงเหลือ ๘ เครือ่ ง วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ได้จัดซื้อเพิ่มเติมอีกเป็นรุ่น ซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2 Flanker-C) รวม ๒๐ เครื่อง ต่อมาวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ได้จัดซื้อเพิ่มเติมเป็นรุ่น
ซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2 Flanker-C) รวม ๑๒ เครือ่ ง เป็นเงิน ๔๕๐ ล้านเหรียญ สหรัฐ รับมอบระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ประจ�ำการ ๓ กรมบิน ประกอบ ด้วย กรมบินขับไล่โจมตีที่ ๙๒๓ ฐานทัพ อากาศ (Tho Xuan Airport) ทางตอน เหนือของประเทศ กรมบินขับไล่โจมตีที่ ๙๒๗ ฐานทัพอากาศ (Kep Air Base) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และกรมบินขับไล่ที่ ๙๓๕ ฐานทัพอากาศ (Bien Hoa Air Base) ทางตอนใต้ของ ประเทศใกล้กับบริเวณขัดแย้งในระดับ ภู มิ ภ าคบริ เวณทะเลจี น ใต้ (ทางด้ า น ตะวันตกของหมูเ่ กาะสแปรตลีย)์ มีความ ตึงเครียดเกิดขึ้นหลายครั้ง
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) กองทัพอากาศเวียดนาม ขณะจอดอยู่ที่ฐานทัพอากาศพร้อมที่จะขึ้นท�ำการบิน 39
เปิดประตูสู่ เทคโนโลยี ป้องกันประเทศ ๓๕ การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อความปลอดภัย
รูปที่ ๑ อากาศยานไร้คนขับทางทหารที่ตก
อ
า ก า ศ ย า น ไร ้ ค น ขั บ (UAV/UAS) ได้กลายเป็น หนึ่ ง ในยุ ท โธปกรณ์ ที่ มี ลักษณะเป็น dual use กล่าวคือ สามารถ ใช้ ง านได้ ทั้ ง ในทางทหารและทาง พลเรือน อัตราการเจริญเติบโตจึงเป็น อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ ที่ ผ ่ า นมา คาดกั น ว่ า การลงทุ น กั บ อากาศยานไร้คนขับจะสูงถึง ๑,๗๐๐ ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ และจ� ำ นวน อากาศยานไร้ ค นขั บ ที่ ข ายได้ จ ะสู ง ถึ ง หนึง่ ล้านสีแ่ สนหน่วยภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ รูปที่ ๒ อัตราการเจริญเติบโตของอากาศยานไร้คนขับ 40
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
จากบทบาทขีดความสามารถและ การใช้งานของอากาศยานไร้คนขับทีเ่ พิม่ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ไม่อาจหลีก เลี่ ย งได้ คื อ การเกิ ด ระบบขั ด ข้ อ ง (Failure) จึงอยูใ่ นระดับทีส่ งู มากด้วยเช่นกัน โดยในหนึ่งพันชั่วโมงบินจะมีการขัดข้อง เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง และด้วยเหตุผลที่มีการ พั ฒ นา สร้ า ง และใช้ ง านอากาศยาน ไร้คนขับอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ในปัจจุบนั ได้มีการก�ำหนดระเบียบ กฎหมาย ข้อ บังคับเฉพาะส�ำหรับอากาศยานไร้คนขับ ทั้งในส่วนของมาตรฐานตัวระบบและ ผู ้ ใช้ ง าน แต่ โ อกาสความเป็ น ไปได้ ที่ อากาศยานไร้คนขับจะประสบกับปัญหา การขัดข้องของระบบในระหว่างการบิน และก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ในระดับ ที่สูง แม้ว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงาน ผู ้ เ สี ย ชี วิ ต จากเหตุ ก ารณ์ อ ากาศยาน ไร้ ค นขั บ ขั ด ข้ อ ง แต่ ค งไม่ มี ใ ครกล้ า รับประกันว่า ในอนาคตจะไม่มเี หตุการณ์ อากาศยานไร้คนขับตกลงบนบ้านอาคาร
สิ่งปลูกสร้าง ถนน หรือแม้แต่การเฉี่ยวชน กลางอากาศ (Mid-air Collision) วัตถุประสงค์หลักในการใช้งาน อากาศยานไร้คนขับในทางทหารคือการ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่นักบิน ด้วยเหตุนี้ ภารกิ จ ที่ อ ากาศยานไร้ ค นขั บ ได้ รั บ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เสี่ยงอันตราย (Dangerous) หรือใช้เวลาปฏิบัติการ ยาวนานและ/หรือซ�้ำซาก (Dull) หรือ ปฏิบัติการในพื้นที่ปนเปื้อนหรือเป็นพิษ (Dirty) ในขณะที่ในทางพลเรือนงานที่ อากาศยานไร้คนขับจะมีลักษณะเพื่อลด ค่าใช้จ่าย และให้ความส�ำคัญกับเรื่อง ความง่ายในการปฏิบัติเป็นหลัก ดังนั้น ข้อแตกต่างที่ส�ำคัญระหว่างอากาศยาน ไร้ ค นขั บ ทางทหารและอากาศยานไร้ คนขับทีใ่ ช้กนั ทัว่ ไปคือ อากาศยานไร้คนขับ ที่ได้รับการพัฒนาและสร้างขึ้นเพื่อใช้ใน ทางทหารจะผ่านการทดสอบอย่างเข้ม งวดและมีระบบส�ำรองรองรับในกรณี ฉุกเฉิน แต่ส�ำหรับอากาศยานที่ใช้กัน
ทัว่ ไปอาจจะไม่มรี ะบบเหล่านี้ แต่สดุ ท้าย แล้วอากาศยานไร้คนขับทั้งหมดจะต้อง ถู ก น� ำ มาใช้ ใ นห้ ว งอากาศร่ ว มกั บ อากาศยานอื่นด้วยเหตุนี้เองที่ท�ำให้การ พัฒนาอากาศยานไร้คนขับจึงควรมุง่ เน้น ที่ความเชื่อถือได้ (Reliability) มากขึ้น ซึ่งจะระบุเป็นค่าร้อยละของความเป็น ไปได้ที่ระบบหรือชิ้นส่วนของระบบจะ สามารถท�ำงานได้โดยไม่เกิดการขัดข้อง ตลอดห้วงเวลาของการใช้งาน ความเชื่ อ ถื อ ได้ ข องอากาศยาน ไร้คนขับจะขึน้ อยูก่ บั ระดับของทรัพยากร ที่ใช้ในการออกแบบ (Design) สร้าง (Build) ใช้ ง าน (Operate) และฝึ ก (Train) โดยขั้ น ตอนการออกแบบ อากาศยานไร้คนขับนับว่าส�ำคัญทีส่ ดุ ข้อ พิ จ ารณาหลั ก ส� ำ หรั บ การออกแบบ อากาศยานไร้คนขับเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ (๑) คุณภาพของชิ้นส่วน (Component Quality) แน่นอนว่าคุณภาพ
รูปที่ ๓ ตัวอย่างระบบย่อยของระบบควบคุมการบินของอากาศยานไร้คนขับ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
41
ของชิ้นส่วนประกอบที่ใช้ย่อมสะท้อนถึง ความเชื่อถือได้ของอากาศยานไร้คนขับ จากรู ป ที่ ๓ จะเห็ น ได้ ว ่ า ระบบ อิเล็กทรอนิกส์สำ� หรับอากาศยานไร้คนขับ ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน และมีความ เป็นไปได้ที่จุดใดจุดหนึ่งเกิดการขัดข้อง การออกแบบทีค่ ำ� นึงถึงเรือ่ งความปลอดภัย และกระบวนการทดสอบระบบแต่ละ ระบบภายใต้สภาพแวดล้อมแบบต่างๆ ที่ อ ากาศยานไร้ ค นขั บ ต้ อ งเผชิ ญ จะ สามารถช่ ว ยระบุ ถึ ง ข้ อ บกพร่ อ ง (Defect) ที่อาจมีอยู่และสามารถปรับ แก้ไขได้ก่อนที่จะลงมือสร้างจริงต่อไป (๒) ระบบส�ำรองในกรณีฉุกเฉิน (Redundancy) สามารถช่วยเพิ่มความ เชื่อถือได้ให้แก่อากาศยานไร้คนขับ แต่ ในขณะเดียวกันจะไปเพิ่มความซับซ้อน น�้ำหนัก ปริมาตร การสิ้นเปลืองพลังงาน และค่าใช้จา่ ย ระบบส�ำรองนีส้ ามารถเป็น
ได้ทั้งแบบ active (ระบบส�ำรองท�ำงาน พร้อมกันกับระบบหลักตลอดเวลา) หรือ แบบ passive (ระบบส�ำรองอยูใ่ นสถานะ เตรี ย มพร้ อ ม หรื อ standby แต่ จ ะ ท�ำงานเมื่อระบบหลักเกิดขัดข้อง) ซึ่งใน กรณีนรี้ ะบบต้องอาศัยการใช้เครือ่ งตรวจจับ (sensor) หลายตัวส�ำหรับคอยตรวจสอบ และคาดการณ์ปัญหาเรื่องการขัดข้อง ของระบบย่อยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ (๓) นวั ต กรรมด้ า นเทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ ในกรณีที่คุณภาพ ชิ้ น ส ่ ว น แ ล ะ ร ะ บ บ ส� ำ ร อ ง ที่ มี อ ยู ่ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ด้ า นความเชื่ อ ถื อ ได้ ดี พ อ การพั ฒ นา เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นอีกหนึง่ ทางเลือก อนาคตของเทคโนโลยี อ ากาศยาน ไร้คนขับนับว่าสดใสมาก ตัง้ แต่การพัฒนา ระบบย่ อ ยให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ขึ้ น พร้อมๆ กันกับการลดขนาดและน�ำ้ หนัก
เพื่ อ ลดภาระกรรมของอากาศยานไร้ คนขับ หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การ ออกแบบ จนถึงการผลิต เหล่านี้เป็นต้น นวั ต กรรมเหล่ า นี้ ส ามารถจั ด เป็ น ๔ กลุ ่ ม ย่ อ ย ได้ แ ก่ ระบบก� ำ ลั ง และการ ขับเคลื่อน (Power and Propulsion) ระบบควบคุมการบิน (Flight Control) ระบบสื่อสาร (Communication) และ เจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องกับสถานทีอ่ ยูภ่ าคพืน้ (Human/Ground) รายละเอียดตาม รูปที่ ๔ ตั ว อย่ า งของเทคโนโลยี ด ้ า น อากาศยานไร้คนขับทีน่ บั ว่ามีระดับความ เชื่อถือได้สูง ได้แก่ การเชื่อมต่อสัญญาณ ระหว่ า งสถานี ค วบคุ ม กั บ อากาศยาน ไร้คนขับทีก่ ำ� ลังใช้อยูใ่ นกองทัพสหรัฐอเมริกา พิจารณาจากสภาพแวดล้อมทีอ่ ากาศยาน ไร้ ค นขั บ ต้ อ งเผชิ ญ ในแต่ ล ะครั้ ง ที่ ท� ำ
รูปที่ ๔ ตัวอย่างเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับในระดับต่าง ๆ
42
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
รูปที่ ๕ ตัวอย่างการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างผู้ควบคุมกับอากาศยานไร้คนขับทางทหาร การบิน การเชื่อมต่อสัญญาณจัดว่าเป็น สิ่งที่เปราะบางพอสมควร มีความเป็นไป ได้สูงที่การเชื่อมต่ออาจจะขาดหายเป็น บางช่วง และทันทีที่เกิดขึ้น อากาศยาน ไร้ ค นขั บ ต้ อ งสามารถบิ น ด้ ว ยตั ว ของ มั น เองไม่ ว ่ า จะเป็ น การบิ น วนเพื่ อ หา สัญญาณ หรือการบินกลับฐาน ตัวอย่าง ที่กล่าวข้างต้น อาศัยทั้งคุณภาพชิ้นส่วน ระบบส�ำรองในกรณีฉกุ เฉิน และนวัตกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความเชื่อถือได้ในระดับที่ สามารถใช้ปฏิบัติการรบจริงได้ เนื่องจากไม่มีบุคคล อยู่บนอากาศยานไร้คนขับ การขัดข้องของระบบอาจ จะก่ อ ให้ เ กิ ด อั น ตรายต่ อ บุ ค คลและทรั พ ย์ สิ น ที่ อ ยู ่ บนพื้นดินได้ และเมื่อเกิด เหตุ ก ารณ์ ขึ้ น ผู ้ ค วบคุ ม อากาศยานไร้คนขับสามารถ ปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ไม่ยาก หากไม่สามารถระบุ ได้ว่าอากาศยานไร้คนขับ ดังกล่าวอยู่ในความครอบ ครองของผู้ใด การพัฒนา อากาศยานไร้คนขับเพียง
อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่ต้องมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพือ่ ความปลอดภัยใน การใช้อากาศยานไร้คนขับ ตลอดจนการ สร้างผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับที่มี ความสามารถ มี ส� ำ นึ ก และความ รับผิดชอบควบคูไ่ ปด้วย สถาบันเทคโนโลยี ป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ในฐานะหน่วยวิจยั และพัฒนาของ กระทรวงกลาโหม ได้เล็งเห็นถึงความ ส�ำคัญดังกล่าว ดังนั้นนอกจากจะด�ำเนิน การวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ
แบบและขนาดต่างๆ แล้วยังมุ่งมั่นที่จะ ผลักดันให้มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อ ให้ เ กิ ด ความปลอดภั ย ในการใช้ ง าน อากาศยานไร้คนขับ ส่งผลให้ประเทศไทย สามารถมีและใช้อากาศยานไร้คนขับให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม และสามารถมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย สูงสุด
ภาพ http://www.dti.or.th หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
43
สัจจะบารมีแห่งผู้นำ�
สั
จจะบารมี เป็ น หนึ่ ง ในทศบารมี ที่ ก ล่ า วถึ ง เรื่ อ งการเสวยชาติ ข อง พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อบ�ำเพ็ญ บารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวย พระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จ ออกบวชจนบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด สัจจะบารมี มาจากค�ำว่าสัจจะ หมายถึง ความจริงใจ ความซือ่ สัตย์ จริงใจทัง้ การพูด จริ ง ใจทั้ ง การกระท� ำ บารมี ห รื อ ปารมี หมายถึง อย่างยิ่ง เลิศประเสริฐสุด หรือ คุณธรรมที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลาตามล�ำดับ การสั่งสมคุณงามความดี ท�ำบุญกุศลโดย 44
ล�ำดับต่อเนือ่ ง สัจจะบารมี จึงหมายความว่า บารมี ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยการฝึ ก ฝนตนเองให้ เป็นผูม้ คี วามจริงใจ มีความซือ่ สัตย์ พูดจริง ท�ำจริง ผู้ที่สามารถรักษาสัจจะวาจาได้จน เป็นนิสัย ย่อมเท่ากับได้มีโอกาสบ�ำเพ็ญ สั่ ง สมสั จ จะบารมี ข องตนได้ ม ากขึ้ น โดย ล�ำดับ และเมือ่ น�ำมาประกอบกับ อธิษฐาน บารมี บารมีที่สั่งสมไว้ทั้งสองประการจะมี พลังเป็นสองเท่า แสดงให้เห็นผลทันตาตาม หลักพระพุทธศาสนา เจตนาที่เราคิดว่าจะ ท�ำความดีในครั้งแรกเป็นกุศลที่แท้จริงคือ ความดีงามในขั้นแรกเปรียบเสมือนความ ตั้งใจที่จะปลูกต้นไม้ไว้ต้นหนึ่ง ต่อมาเมื่อ
จุฬาพิช มณีวงศ์
เราบ�ำเพ็ญทานก็เปรียบเสมือนหาปุ๋ยใส่ไว้ ที่โคนต้นไม้นั้น รักษาศีลเท่ากับระวังเก็บ ตัวบุง้ ตัวหนอนทีค่ อยกัดกินดอกกินใบและ ท�ำอันตรายแก่ต้นไม้ ส่วนภาวนาก็เท่ากับ การตักน�้ำเย็นที่ใสสะอาดมารดที่โคนต้น ไม่ชา้ ต้นไม้กเ็ จริญงอกงาม จนในทีส่ ดุ ก็เกิด ดอกออกผลให้กินกันอย่างอิ่มหน�ำ ในทางพระพุทธศาสนาได้ก�ำหนดให้ มีองค์ธรรมประการหนึ่งเรียกว่า อธิษฐาน ธรรม ซึ่งท�ำให้เกิดปัญญา ความรอบรู้ถึง เรื่องราวต่างๆ ความเป็นไปได้ ข้อมูลที่ถูก ต้องแท้จริงตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้ ประกอบด้วย สัจจะ คือความจริงทั้งใจ วาจาและการกระท�ำ จาคะ คือความยินดี จุฬาพิช มณีวงศ์
ยินยอมเสียสละ อุทิศตน ทุ่มเทเวลา สติ ปัญญา กระท�ำการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง สิ่งที่ตนปรารถนา และ อุปสมะ คือรู้จัก หาความสงบใจด้ ว ยการท� ำ ใจให้ เ ป็ น อุเบกขา ปลอดพ้นจากอคติทั้งปวงเพื่อให้ จิตมีความใสสะอาด เป็นอิสระสามารถ พัฒนาปัญญาขึ้นได้ องค์ธรรมประการนี้ เป็ น เครื่ อ งยื น ยั น ว่ า การที่ จ ะให้ ส� ำ เร็ จ ประโยชน์ในสิ่งที่ตนปรารถนาจะกระท�ำ โดยการอธิ ษ ฐานอย่ า งเดี ย วหาได้ ไ ม่ ผู้อธิษฐานจะต้องบ�ำเพ็ญบารมีอื่นๆ อาทิ สัจจะบารมีคือยึดมั่นในสัจจะ ๓ ประการ ได้แก่ ความจริงใจหรือตัง้ ใจจริง การพูดจริง และกระท�ำจริง วิริยะบารมี คือมีความ เพียร มีความขยันขันแข็ง อุเบกขาบารมี คือการหมั่นพัฒนาให้จิตมีความมั่นคงไม่ หวั่นไหวต่ออคติทั้งปวง และปัญญาบารมี คือการหมั่นพัฒนาปัญญาของตนควบคู่ เป็นฐานประกอบด้วย เช่น การอธิษฐานว่า จะขอให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ผูอ้ ธิษฐาน จะต้องมีความตั้งใจที่แน่วแน่ว่าจะต้อง ขวนขวายหาวิธีการที่จะสอบผ่านทั้งข้อ เขียนและสัมภาษณ์ให้จงได้ โดยการหมัน่ ดู หนังสือ ท่องต�ำรา เมื่อได้ตั้งใจเช่นนั้น ผู ้ อ ธิ ษ ฐานจะต้ อ งรั ก ษาค� ำ พู ด ที่ เ ปล่ ง ออกมาเป็นวาจา หรือนึกอยูใ่ นใจ แล้วลงมือใช้ ความเพียร มีความขยันขันแข็ง อดทน หมั่นดูหนังสือ ท่องต�ำรา รวมทั้งหมั่น สอบถามครูบาอาจารย์หรือท่านผูร้ ใู้ นกรณี ที่เกิดติดขัด ไม่เข้าใจกระจ่างชัดในหัวข้อ วิชาการต่างๆ การอธิษฐานในลักษณะนี้ จะบังเกิดความเป็นจริงขึ้นได้ การกล่าวค�ำสมาทานศีลในพิธีทาง พุ ท ธศาสนา ก็ เ ป็ น การให้ สั จ จะต่ อ ที่ ป ระชุ ม สงฆ์ ว ่ า จะไม่ เ บี ย ดเบี ย นผู ้ อื่ น ทัง้ กายและวาจา จะมีสติระลึกอยูเ่ สมอว่า สุราสิ่งของที่เสพแล้วบังเกิดความมึนเมา เป็นต้นเหตุทที่ ำ� ให้เกิดความประมาท ขาด ความยัง้ คิด ไม่ละอายและเกรงกลัวต่อผล หรือวิบากกรรม ทั้งยังท�ำลายสุขภาพและ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ทรั พ ย์ สิ น ของตนเอง เมื่ อ พิ ธี ท างพุ ท ธ ศาสนาเสร็จสิ้นลง พระภิกษุสงฆ์จะให้พร ด้วยการสวดยถา...สัพพี โดยเจ้าภาพกับผู้ ร่วมพิธจี ะท�ำการกรวดน�ำ้ ตัง้ ใจอธิษฐานขอ ให้พระบารมีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ดลบันดาลให้ในสิ่ง ที่พึงปรารถนา ดังนั้น หากผู้อธิษฐานได้ กล่าวค�ำสมาทานศีลแล้วมีการถือปฏิบตั ไิ ด้ เป็ น จริ ง ตามนั้ น สิ่ ง ที่ ต นได้ ตั้ ง ความ ปรารถนาไว้ในค�ำอธิษฐานย่อมมีโอกาส
บังเกิดขึน้ ได้ตามผลของบารมีทตี่ นได้สงั่ สม ไว้ทั้งในอดีต และในชาติภพปัจจุบันอย่าง แน่นอน ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุ ผลตามทีไ่ ด้ตงั้ จิตปรารถนาไว้นนั้ จะบังเกิด ขึ้นได้ต่อเมื่อในค�ำอธิษฐานนั้นได้มีการกล่าว อ้ า งอิ ง ถึ ง สิ่ ง ที่ เ ป็ น ความจริ ง และ หรื อ คุณธรรมทีต่ นเชือ่ มัน่ และได้ถอื ปฏิบตั อิ ย่าง จริงจัง พระภิกษุสงฆ์มักจะน�ำบทพระสูตร หรือพระปริตร หรือบทสวดมนต์มาสวด
45
หรือเจริญพระพุทธมนต์ในพิธมี งคลต่างๆ ก็ เพื่อการตั้งสัตยาธิษฐานหรือกล่าวสัจจะ วาจาเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพและผู้มาร่วม พิ ธี โดยความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องบทสวดจะ ปรากฏผลได้ก็ต่อเมื่อผู้สวดได้ถือปฏิบัติ ตามข้อความ หรือวาจาที่ได้แสดงไว้ในบท สวดนั้นจริง กล่าวคือผู้สวดจะต้องมีความ เคารพ เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปลอยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น แต่การกล่าวสัจจะวาจาไม่จ� ำ เป็น จะต้ อ งอ้ า งอิ ง คุ ณ พระรั ต นตรั ย เสมอไป ผูก้ ล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรือ่ งอืน่ ๆ ของ ตนก็ได้ เช่น อ้างการบ�ำเพ็ญบุญกิริยาของ ตนคือการรักษาศีล บริจาคทาน เป็นต้น เมื่ อ ได้ ก ล่ า วอ้ า งอิ ง ความจริ ง แล้ ว ก็ ใ ห้ อธิษฐานขอสิง่ ทีต่ นปรารถนา สิง่ ทีเ่ ป็นไปได้ ไว้ในใจ เช่น อธิษฐานขอความคุ้มครอง ปลอดภัย บุคคลส�ำคัญอันเป็นแบบอย่างในการ ด�ำรงพระองค์อยูใ่ นสัจจะบารมีกค็ อื สมเด็จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก ซึ่งตลอดพระชนม์ของ พระองค์เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า แม้จะ ทรงเป็ น เจ้ า นายชั้ น สู ง ที่ เ สด็ จ ไปศึ ก ษา ต่างประเทศแต่กลับทรงด�ำรงพระองค์อย่าง เรียบง่าย เมื่อทรงตั้งพระทัยอย่างแรงกล้า 46
ที่จะอุทิศพระองค์เพื่อการศึกษาด้านการ แพทย์เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย แม้พระองค์จะมีพระพลานามัยไม่แข็งแรง แต่กไ็ ม่ทรงท้อแท้ ทรงประทับอยูท่ ปี่ ระเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าอย่ า งประหยั ด ที่ สุ ด ในชื่ อ Mr. M Songkla ถ้าพวกนักเรียนไปเฝ้า ตอนก่อนเสวยพระกระยาหารค�่ำ จะเห็น พระองค์ขัดรองพระบาทของพระองค์เอง ทุกวัน ทรงรับสั่งกับพวกนักเรียนไทยใน ทีน่ นั่ เสมอว่าเงินทีพ่ ระองค์ได้มาใช้เป็นเงิน ของราษฎร ทรงใช้ค�ำว่าเงินของตามีตามา ฉะนั้นพระองค์จะต้องใช้อย่างประหยัด ที่สุด และที่ใช้ไปนั้นก็เพื่อพระองค์จะได้ กลับไปรับใช้ประเทศชาติและตามีตามา นั่นเอง การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของ พระองค์เมือ่ ตืน่ บรรทม แต่ง พระองค์ แ ละเสวยแล้ ว จะ เสด็จไปโรงเรียนแพทย์ เมื่อ เสด็จกลับมาถึงที่ประทับก็ ทรงรั บ แขกหรื อ ทรงท� ำ การบ้าน อ่านต�ำราหรือทรง พระอักษร เมื่อถึงเวลาเสวย พระกระยาหารค�ำ่ เสด็จไปเสวย ทีภ่ ตั ตาคารทีเ่ ดินโต๊ะเอง ถ้า มีนักเรียนเฝ้าอยู่ตอนนั้นจะ
ทรงชวนตามเสด็จด้วย ครั้นกลับจากการ เสวย แขกกลับหมดแล้วพระองค์ก็ทรง ท�ำการบ้าน อ่านต�ำราหรือทรงพระอักษร ต่อจนถึงเวลาบรรทม สมเด็จพระบรมชนกนาถฯ ทรงมีพระ อุ ป นิ สั ย จริ ง จั ง และมั ก รั บ สั่ ง แต่ เรื่ อ งที่ เป็นสาระ โดยมากเป็นเรื่องเมืองไทยซึ่ง พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง มีพระ ประสงค์จะให้เจริญก้าวหน้าให้คนไทยอยูด่ ี กินดี มีพระประสงค์อันแรงกล้าที่จะรับใช้ เมืองไทยและคนไทย ตั้งแต่เริ่มศึกษาการ แพทย์เมื่อมีพระชนมายุสูงแล้ว โดยก่อน หน้านั้นทรงส�ำเร็จเป็นนายทหารเรือจาก ประเทศเยอรมัน ทรงทุ่มเทพระสติปัญญา และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ใน การสร้างการแพทย์ของประเทศไทยให้เป็น หลั ก ฐานเจริ ญ ก้ า วหน้ า ปรากฏจนถึ ง ทุกวันนี้ สมเด็จพระบรมชนกนาถฯ มีพระ ด�ำรัสประทานแก่บุคคลต่างๆ ที่ทรงหมาย จะเตือนสติ เป็นสัจจะวาจาที่ได้รับการ กล่าวขานถึงในเวลาต่อมา ดังนี้ “...ถ้าจะเป็นตุลาการได้ตอ้ งมีคนเชือ่ และเมือ่ อยากจะให้คนเชือ่ ต้องมี personal integrity เพราะฉะนั้น personal conduct ของนักเรียนกระทรวงยุตธิ รรมไปเป็น ปั ญ หาส่ ว นตั ว เป็ น ปั ญ หาของชาติ . ... ตุลาการต้องฝึกความยุติธรรมแต่เกิดจน ตาย” “เรื่ อ งเอาเงิ น ของคนอื่ น ไปยื ม ให้ เพื่อนนั้น ฉันขอให้เลิกเสียที เพราะเป็น
จุฬาพิช มณีวงศ์
อันตรายหลายทางไม่ควรท�ำเป็นอันขาด confidence เป็นของทีม่ รี าคามาก ขออย่า ให้ได้ดูถูกเลย” “เราเป็นมนุษย์กอ่ นแล้วเราจึงได้เป็น คนไทย เพราะฉะนั้นสิ่งไรที่เราท�ำที่จะเป็น benefit humanity แล้วคง benefit คน ไทย แต่สงิ่ ทีจ่ ะเป็น benefit คนไทยเท่านัน้ แต่ไม่เป็น benefit humanity แล้วไม่ จ�ำเป็นจะต้องท�ำ Siam can do without such benefits” “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกมาแก่ทา่ น เอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้ บริสุทธิ์”
“True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind”
“ผู้ที่จะบ�ำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่าง ความประพฤติ ซึ่ ง จะน� ำ มาแห่ ง สุ ข ภาพ แพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวสอนคนไข้ แล้ว จะหาความไว้ใจจากคนไข้ได้อย่างไร” “ใจเขาใจเรา ท่านคงจะคิดได้วา่ ท่าน อยากได้ความสบายแก่ตัวท่านอย่างไร ก็ ควรพยายามให้ความสบายแก่ผปู้ ว่ ยอย่างนัน้ ” นักเรียนแพทย์ทุกคนที่มีโอกาสฟัง พระด�ำรัสในชัว่ โมงแรกจากสมเด็จพระบรม ชนกนาถฯ ไม่เคยลืมสัจจะวาจาที่ว่า “ขอ ให้ พ วกเธอจงเข้ า ใจและจ� ำ ไว้ ว ่ า ฉั น ไม่ ต้องการให้พวกเธอมีความรู้แต่ทางแพทย์ อย่างเดียว ฉันต้องการให้พวกเธอเป็นคนด้วย หมายความว่า ฉันต้องการให้พวกเธอเป็น ทัง้ นายแพทย์และผูท้ อี่ ยูใ่ นสังคม มีศลี ธรรม อันดีงามด้วยจึงสามารถท�ำประโยชน์ให้แก่ ประเทศชาติได้” ค�ำสอนของพระองค์ทมี่ กั รับสัง่ บ่อยๆ ก็คือ “อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ต้อง ไม่ร�่ำรวยแต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากรวย ก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์” หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
สัจจะวาจาเป็นธรรมทีผ่ นู้ ำ� จ�ำนวนมากถือปฏิบตั ิ แต่ผนู้ ำ� ไม่นอ้ ยไม่เห็นความส�ำคัญ น�ำมาซึง่ ความเสือ่ มศรัทธา เมือ่ ได้ตำ� แหน่งสูงมาครอบครองย่อมมิอาจรักษาต�ำแหน่งนัน้ ไว้ได้นาน ตรงข้ามกับผูน้ ำ� ทีม่ สี จั จะวาจา ถือปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด แม้จากไปยังได้ความรัก ความเชื่อถือและความเคารพตลอดกาล 47
อาณาจักรพม่า
ปลายราชวงศ์ตองอู ๒๑๙๑
ก
รุงหงสาวดีราชธานีของ อาณาจั ก รพม่ า แห่ ง ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) เมือ่ สิน้ แผ่นดินยุคพระเจ้า บุเรงนอง (King Bayinnaung) กษัตริย์ ล�ำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์ตองอู ศูนย์กลาง อ�ำนาจของการปกครองของอาณาจักร พม่าที่กรุงหงสาวดีเริ่มอ่อนก�ำลังลง น�ำมา สู่ความวุ่นวายของอาณาจักรโดยเจ้าเมือง ต่ า งก็ แ ย่ ง ชิ ง ความเป็ น ใหญ่ เ หนื อ เมื อ ง ต่างๆ แห่งลุม่ แม่นำ�้ อิระวดี เป็นการต่อสูใ้ ช้ ระยะเวลานานท�ำให้อาณาจักรอ่อนก�ำลังลง หรื อ อาณาจั ก รพม่ า เริ่ ม เสื่ อ มลงเป็ น ล�ำดับ...บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักรพม่า ในปี พ.ศ.๒๑๒๔ ล่วงมาถึงสมัยพระเจ้า สมั ย พระเจ้ า พิ น ดาเล (Pindale Min) พินดาเล (Pindale Min) ปี พ.ศ.๒๑๙๑ พ.ศ.๒๑๙๑ เป็นระยะเวลานาน ๖๗ ปี ผ่านมาถึง ๖ แผ่นดิน ขณะแผ่นดินอาณาจักรอยุธยาตั้ง ๑. กล่าวทั่วไป อยู่ทางด้านตะวันออกโดยอยู่ในสมัยของ อาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ.๒๐๖๔ - ๒๑๗๓) (Taungoo Dynasty) ได้ผ่านห้วงเวลา และราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓ – แห่งความรุ่งโรจน์และมาสู่ยุคเสื่อมของ ๒๒๓๑) อาณาจักร เจ้าเมืองต่างๆ ก็เป็นทายาทของ กษั ต ริ ย ์ ล� ำ ดั บ ที่ ๓ แห่ ง ราชวงศ์ ต องอู ๒. อาณาจักรพม่าปลายราชวงศ์ตองอู (พระเจ้าบุเรงนอง มีพระราชโอรสและ ๒๑๙๑ พระราชธิดาประมาณ ๑๐๐ พระองค์) ทีน่ ำ� พระเจ้าตลุนมิน (Thalun) หรือพระเจ้า อาณาจักรสูค่ วามรุง่ โรจน์ เมือ่ ราชธานีกรุง ทาลุน (พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดี หงสาวดี อ ่ อ นแอจึ ง เกิ ด ศึ ก ภายในหรื อ ตลุนนิน) เป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์ตองอู สงครามกลางเมือง เป็นห้วงเวลาที่เสื่อม ล�ำดับที่ ๘ มีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ของอาณาจักรเมือ่ สิน้ แผ่นดินพระเจ้าบุเรงนอง (ทรงประสูติ เมือ่ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มิถนุ ายน 48
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
พ.ศ.๒๑๒๗) พระองค์ ท รงครองราชย์ ปี พ.ศ.๒๑๗๑ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า สุธรรมราชาหรือเจ้านยองยาน (Nyaungyan Min) พระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung) พระองค์ทรงเป็น พระราชนั ด ดาของพระเจ้ า บุ เ รงนอง พระองค์พยายามรักษาดินแดนของพม่าให้ ได้ไว้มากที่สุดตามแนวลุ่มแม่น�้ำอิระวดี จากเมืองทีอ่ ยูท่ างด้านเหนือของอาณาจักร จนถึงเมืองที่อยู่ปากแม่น�้ำอิระวดี แต่ด้วย ข้อจ�ำกัดที่มีอยู่ (งบประมาณในท้องพระ คลังและมีก�ำลังทหารไม่มากนักเนื่องจาก ท�ำการรบเป็นเวลานาน) กองทัพขาดความ ยิ่งใหญ่อย่างในอดีต จึงไม่สามารถที่จะ ควบคุมอาณาจักรที่เคยเป็นเมืองขึ้นใน อดีตได้ พระองค์สนิ้ พระชนม์ เมือ่ วันที่ ๒๗ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
สิงหาคม พ.ศ.๒๑๙๑ ขณะทีม่ พี ระชนมายุ ได้ ๖๔ พรรษา ครองราชสมบัตินาน ๒๐ ปี พระราชโอรส คือเจ้าชายพินดาเล (Prince of Pindale) ขึ้นครองราชสมบัติ ทรง พระนามว่าพระเจ้าพินดาเล (Pindale Min) เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๙๑ เป็นกษัตริย์ลำ� ดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์ตองอู ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา (ประสูติ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๑๕๑) ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อาณาจักรพม่าคืออาณาจักรเก่าแก่คือจีน อยู่ในห้วงของราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ตอนปลายในรัชสมัยพระเจ้าหยุงหลี (Yung-Li) กองทัพแมนจูเรียได้เข้ายึดครอง ราชธานีของจีนและเมืองต่างๆ ได้เพิม่ เป็น ล�ำดับ พระเจ้าหยุงหลีได้ถอยลงทางใต้ มาตัง้ ฐานทีม่ นั่ อยูท่ มี่ ณฑลยูนนาน เพือ่ รวบรวม ก� ำ ลั ง พลเพื่ อ ต้ อ งท� ำ การรบกั บ กองทั พ แมนจูแต่ต้องพ่ายแพ้ในปี พ.ศ.๒๒๐๑ ได้ พ่ายแพ้อีกครั้งใกล้กับเมืองเต็งเย่จึงต้อง ถอยเข้ามาในเขตแดนของอาณาจักรพม่า ทางตอนเหนือทีเ่ มืองพะโม (Bhamo) พระ เจ้าหยุงหลีส่งพระราชสารไปถึงพระเจ้า พินดาเล ณ ราชธานีทกี่ รุงอังวะ (Ava) เพือ่ จะขอลี้ภัยอยู่ที่กรุงอังวะ พระเจ้าพินดาเล ทรงอนุญาตตามทีข่ อ เป็นผลให้กองทัพจีน แห่งราชวงศ์แมนจูทคี่ รอบครองแผ่นดินจีน (มีกองทัพขนาดใหญ่) เริ่มโจมตีเข้ามาใน ดินแดนของพม่าปี พ.ศ.๒๒๐๔ จึงเป็น เหตุการณ์วิกฤติทางด้านตะวันออกเฉียง เหนือของอาณาจักรพม่าอีกครั้ง น�ำมา สู่ความยุ่งยากในอาณาจักร นับเป็นภัย คุกคามโดยตรงต่อราชวงศ์ตองอู พระเจ้าพินดาเล ทรงครองราชสมบัติ นาน ๑๓ ปี พระองค์มคี วามสามารถในการ ปกครองอย่างจ�ำกัดเป็นผลให้อาณาจักร อ่อนแอ ถึงปี พ.ศ.๒๒๐๔ ขุนนางได้ลงมติ ปลดพระเจ้าพินดาเลออกจากราชสมบัติ และได้อญั เชิญพระอนุชาขึน้ ครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระเจ้าปเย (Pye Min) หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๒๐๔ ขณะที่ อาณาจักรจีนที่ยิ่งใหญ่และมีการเปลี่ยน กษัตริย์พระองค์ใหม่มีพระชนมายุ ๔๒ ราชวงศ์ ใ หม่ จึ ง เป็ น ภั ย คุ ก คามต่ อ พรรษา พร้อมทั้งได้สำ� เร็จโทษพระเจ้าพิน อาณาจักรพม่าแห่งกรุงอังวะอีกครั้งหนึ่ง ดาเล ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๕๓ พรรษา พระเจ้าปเย (Pye Min) ประสูติเมื่อ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๑๖๒ เมื่อขึ้น ครองราชย์ทรงมีพระนามเต็มว่าพระเจ้า มหาสีหสุรสุธรรมราชา (Maha Pawara Dhamma Yaza Lawka Dipadi) พระองค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๒๑๕ อยู ่ ใ นราชสมบั ติ น าน ๑๑ ปี พระองค์มีพระราชโอรส ๖ พระองค์ และ พระราชธิดา ๘ พระองค์ พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครอง ราชสมบัติต่อมาทรงพระนามว่าพระเจ้า นราวาระ (King Narawara) เป็นกษัตริย์ ล�ำดับที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์ตองอู ๓. บทสรุป ปลายอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ ตองอู ที่ ก� ำ ลั ง เข้ า สู ่ ยุ ค เสื่ อ มจากความ วุ ่ น วายเป็ น ระยะเวลานาน ผ่ า นมาถึ ง พระเจ้าพินดาเล (Pindale Min) อาณาจักร ยังคงมีความวุ่นวายอีกครั้งหนึ่งจากวิกฤติ ทางด้านชายแดนตอนเหนือที่ติดต่อกับ 49
แนวคิดในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส
ถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ยื ด เ ยื้ อ ม า จ น ก ร ะ ทั่ ง ปัจจุบัน รัฐบาลได้ก�ำหนดนโยบายในการ แก้ไขปัญหา โดยได้พัฒนาแนวทางและ กลไกแก้ปญั หามาตามล�ำดับ ปัจจุบนั อยูใ่ น ความรั บ ผิ ด ชอบของคณะกรรมการขั บ เคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (คปต.) ท�ำหน้าที่บูรณาการกลไก แก้ปัญหาทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง หน่ ว ยงานด้ า นการพั ฒ นา และกลไก ราชการปกติ ใ ห้ เ กิ ด ความเป็ น เอกภาพ ภายใต้แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ โดยสภาความมั่นคงแห่ง ชาติร่วมกับกองอ�ำนวยการรักษาความ มั่นคงภายในราชอาณาจักรได้ก�ำหนดขึ้น เพือ่ น�ำสันติสขุ มาสูจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ตามขัน้ การแก้ปญั หาทีก่ ำ� หนดไว้ ๓ ขัน้ ซึง่ ปัจจุบนั อยูใ่ นขัน้ ที่ ๒ และเตรียมส่งผ่านไป สู่ขั้นที่ ๓ คือ การเสริมสร้างสันติสุขและ การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้ขับเคลื่อน การแก้ปัญหา ๓ ระดับ คือ ระดับนโยบาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ ระดับ การขับเคลือ่ นนโยบาย มี พลเอก ประวิตร วงษ์ สุ ว รรณ รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ประธาน ส่ ว นกลไกระดั บ พื้ น ที่ ไ ด้ ม อบ หมายให้กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เป็นหน่วยงาน หลักในการแก้ไขปัญหาโดยขับเคลือ่ นผ่าน ๗ กลุม่ งาน มุง่ เน้นการเสริมสร้างศักยภาพ ก� ำ ลั ง ฝ่ า ยพลเรื อ นและก� ำ ลั ง ภาค 50
พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต
ประชาชนให้มีความเข้มแข็งสามารถดูแล ตัวเองและชุมชนให้ปลอดภัยได้ โดยการ จัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารอ�ำเภอใช้กำ� ลังต�ำรวจ หน่ ว ยปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษเข้ า วางก� ำ ลั ง รับผิดชอบพืน้ ทีแ่ ละใช้กำ� ลังอาสารักษาดินแดน ปฏิบัติหน้าที่ เป็นชุดคุ้มครองต�ำบลควบคู่ ไปกับการพัฒนาที่สอดคล้องกับพื้นที่และ ตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของพี่ น ้ อ ง ประชาชน ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ น� ำ ไปสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ คื อ การน� ำ นโยบายไปสู ่ ก ารปฏิ บั ติ ที่ มี ประสิทธิภาพอย่างประสานสอดคล้องกัน ทั้ง ๗ กลุ่มงาน ทั้งในด้านการรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยการ ดู แ ลความปลอดภั ย พื้ น ที่ คุ ้ ม ครองเป้ า หมายอ่อนแอและเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ การขจัดพืน้ ทีอ่ ทิ ธิพลและหยุดยัง้ การขยาย ตัวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงและแนวร่วม โดยบูรณาการการใช้ก�ำลังอย่างเหมาะสม
กับภารกิจ เสริมด้วยก�ำลังภาคประชาชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ ท� ำ ให้ ส ถิ ติ เ หตุ ก ารณ์ แ ละการสู ญ เสี ย ในห้ ว งที่ ผ ่ า นมาลดลงอย่ า งเห็ น ได้ ชั ด เมื่อเปรียบเทียบกับห้วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน ด้านการพัฒนา ตามศักยภาพของ พื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยการ สร้างงานสร้างอาชีพ และการให้บริการขัน้ พื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง การสร้าง ความเข้ ม แข็ ง ของสั ง คม และการเพิ่ ม ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชน โดยพัฒนา ให้ครอบคลุมทั้ง ๓ มิติ ประกอบด้วย มิติ สุ ข ภาพ มิ ติ ผู ้ ด ้ อ ยโอกาส และมิ ติ ก าร ส่งเสริมรายได้ ท�ำให้ประชาชนมีปัจจัย พื้นฐานในการด�ำรงชีวิตที่ดีขึ้น ด้านการ อ�ำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบด้วยการบังคับใช้กฎหมายตาม หลักนิตธิ รรม โดยลดระดับการใช้กฎหมาย พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต
พิเศษในการติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรง และมุ่งใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้ มากขึน้ นอกจากนีไ้ ด้มงุ่ เน้นการสร้างความ เป็นธรรมในความรู้สึก ทั้งการช่วยเหลือ เยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการบังคับใช้ กฎหมายได้มกี ารส�ำรวจความพึงพอใจของ ประชาชนต่อการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าที่ รัฐ ในด้านนีจ้ ากสถาบันการศึกษาทีเ่ ชือ่ ถือ ได้พบว่าอยู่ในระดับดีมาก การเสริมสร้าง ความเข้าใจทัง้ ในและต่างประเทศด้วยการ สร้างความเข้าใจให้ครอบคลุมเป้าหมายทัง้ ๓ กลุ่ม คือ ประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ รั ฐ ประชาชนนอกพื้ น ที่ และองค์ ก ร ระหว่างประเทศ รวมทัง้ กลุม่ องค์กรพัฒนา เอกชน ภาคประชาสังคม เยาวชนกลุ่ม เสี่ยง และผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐให้ เข้าใจในนโยบายและความจริงใจของภาค รัฐในการแก้ปัญหา ท�ำให้ไม่มีประเด็น สถานการณ์ ที่ ถู ก หยิ บ ยกเข้ า สู ่ เวที ก าร ประชุมนานาชาติ ด้านการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ด้วยการจัดระบบการ ศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ให้เกิดความสมดุลระหว่างวิชาการ ศาสนา และอาชีพ การเพิม่ ศักยภาพและผลสัมฤทธิ์
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษา เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความแปลกแยกของ ประชาชนในพืน้ ทีด่ า้ นการเพิม่ ประสิทธิภาพ ภาครัฐและการขับเคลื่อนนโยบาย มุ่งเน้น บูรณาการทุกกลไก แก้ปัญหาให้เกิดความ เป็นเอกภาพเพือ่ ให้การขับเคลือ่ นนโยบาย และแผนงาน/โครงการสามารถตอบสนอง ต่ อ ความต้ อ งการของพื้ น ที่ แ ละพี่ น ้ อ ง ประชาชนได้อย่างแท้จริง ด้านการแสวงหา ทางออกจากความขั ด แย้ ง โดยสั น ติ วิ ธี เพื่ อ สนั บ สนุ น กระบวนการพู ด คุ ย เพื่ อ สันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรัฐบาล
ได้กำ� หนดยุทธศาสตร์การพูดคุยไว้ ๓ ระยะ ประกอบด้ ว ย การสร้ า งความไว้ ว างใจ การลงนามในสัตยาบัน และการจัดท�ำ Road Map ปั จ จุ บั น อยู ่ ใ นระยะที่ ๑ เป็นการสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจกับ ทุกๆ กลุ่ม โดยมี พลเอก อักษรา เกิดผล เป็ น หั ว หน้ า คณะพู ด คุ ย ขณะนี้ มี ค วาม คืบหน้ามาโดยล�ำดับ และคาดว่าน่าจะ สามารถเข้ า สู ่ ร ะยะที่ ๒ ภายในต้ น ปี ๒๕๕๙
51
Have you got all that?
สิ่ง
พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
หนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเวลาคนไทยคุยภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ คือ เราจะพูดน้อย การพูดน้อย อาจจะเกิดมาจาก ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ก็ไม่รู้จะตอบยังไง เพื่อนฝรั่งของผู้เขียนมักจะล้อผู้เขียนว่า คนไทยนี่ น่ารักนะ ฟังรู้เรื่อง หรือไม่รู้ เรื่องก็ยิ้มไว้ก่อน ไม่ค่อยที่จะมีอาการโต้ตอบ เหมือนคนขี้อาย แต่เขาก็แปลกใจว่า เวลาคนไทยอยู่รวมกันกลับพูด เสียงดัง ฟังชัด ตามไม่ทันทีเดียว เพื่อแก้ปัญหาที่การเงียบ เมื่อคุยกับชาวต่างชาติ เราอาจจะต้องตอบรับเขาบ้าง เช่น ถ้าเขาถามว่า Did you understand what I said? คุณเข้าใจที่ฉันพูดไหม เราก็อาจจะตอบว่า Yes, of course. หรือ I see. ที่แปลว่า ฉันรู้ ฉันเข้าใจ แต่เทคนิคอย่างหนึง่ ทีจ่ ะช่วยท�ำให้เรากล้าพูดภาษาอังกฤษคือ เราอาจจะเป็นฝ่ายถามเขาบ้างว่า เขาเข้าใจในสิง่ ทีเ่ ราต้องการ จะถามไหม หรือส�ำนวนอะไรบ้างที่เราสามารถตอบให้เป็นธรรมชาติเพื่อให้การสื่อสารมีความต่อเนื่องและสร้างความเข้าใจกันมากขึ้น เช่น การใช้ส�ำนวนค�ำถามต่อไปนี้ เวลาเราจะถามว่า สิ่งนั้น สิ่งนี้ ท�ำอย่างไร เรามักจะขึ้นต้นด้วยการใช้ค�ำถามแบบ ใช่ หรือ ไม่ (Interrogative questions) และจะต้องมีเสียงสูงตอนท้าย ให้แสดงน�ำ้ เสียงว่า เราสงสัย หรือก�ำลังถามค�ำถามอยู่ มาศึกษาส�ำนวน ต่อไปนี้ค่ะ 52
Did you understand what I said? Got it? Have you got all that? Okay? Are you following me? Any questions? Would you repeat that? I didn’t catch that last part. Wait a minute. Please repeat that. I am not sure I understand. You just lost me. What was that? I missed that last part. Hold it. Run that by again, please. Be sure to remind me again. What should I do now? Now what? Then what? Is this right? Is this okay? What’s next? Anything else? Like this? That doesn’t sound too hard.
คุณเข้าใจที่ฉันพูดไหม เข้าใจไหม เข้าใจหมดไหม โอเคไหม คุณตามผมทันไหม มีค�ำถามอะไรไหม พูดใหม่ซิครับ ฉันไม่เข้าใจตอนท้าย รอสักนาที กรุณาพูดอีกครั้ง ฉันไม่แน่ใจว่าฉันเข้าใจ คุณไม่ได้ฟังผม อะไรน่ะ ผมฟังไม่ทันตอนท้าย รอนิด พูดเรื่องนั้นใหม่อีกครั้ง ช่วยเตือนผมอีกครั้ง ผมควรจะท�ำยังไงดี ตอนนี้ แล้วท�ำอะไรต่อ จากนั้นท�ำอะไรต่อ ถูกไหม อันนี้โอเคไหม มีอะไรต่อ มีอะไรอื่นอีกไหม แบบนี้ใช่ไหม ดูไม่ยากเท่าไหร่ พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
That doesn’t sound too difficult. That seems simple. I think I’ve got it. I understand. So far, so good.
ดูไม่ยากเท่าไหร่ ดูง่ายจัง ฉันคิดว่าฉันเข้าใจแล้ว ฉันเข้าใจ ยิ่งท�ำ ยิ่งดีขึ้น
ตัวอย่างบทสนทนา Saravuth : Excuse me. Do you know how to operate this machine? I want to wash some clothes, but I’m not sure what to do? (ขอโทษนะครับ คุณรู้ไหมว่า เครื่องนี้ใช้ยังไง ผมต้องการซักผ้าเหล่านี้ แต่ผมไม่แน่ใจว่า จะใช้เครื่องยังไง) Jinda : Sure. To start with, you need lots of quarters and some laundry soap. (ได้ครับ เริ่มด้วยการเตรียมเหรียญ ๒๕ เซนต์ ไว้จำ� นวนหนึ่ง และผงซักฟอก) Saravuth : Here’s the soap, and I have plenty of quarters. What next? (นี่คือผงซักฟอกและผมมีเหรียญมากเลย แล้วท�ำ ยังไงต่อ) Jinda : Well, next put in about half a cup of soap. (จากนั้นก็ใส่ผงซักฟอกลงไปครึ่งถ้วย) Saravuth : Okay (ครับ) Jinda : Be sure to separate your laundry into two piles, white things and colored things. You don’t want to wash your white shirts with your blue jeans. (เราต้องแยกผ้าเป็นสองกอง ผ้าขาวและผ้าสี คุณจะต้องไม่ซักเสื้อขาวกับกางเกงยีนส์) Saravuth : You are right. My shirts would turn blue. Now what? (คุณพูดถูก เสือ้ เชิต้ จะได้ไม่เปลีย่ นเป็นสีฟา้ แล้วท�ำ ยังไงต่อ) Jinda : Now put your white things in first. You’ll probably want to use hot water, so press this button, Are you with me? (ใส่ผ้าขาวลงก่อน คุณอาจจะต้องใช้น�้ำอุ่น ด้วยการกดปุ่มนี้ คุณฟังอยู่ไหม) หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
Saravuth : Yeah. So far, so good. (ครับ เริ่มเข้าใจแล้วครับ) Jinda : After that, select the speed you want. (หลังจากนั้น เลือกปุ่มความเร็วที่ต้องการ) Saravuth : Speed? You just lost me. (ความเร็ว เรอะ คุณเริ่มตามไม่ทันแล้ว) Jinda : Well, jeans are made of strong material and can be washed at the normal speed; but some things, like good shirts, are made of materials that can tear easily and should be washed at a slower speed. (ผ้ายีนส์ท�ำด้วยวัสดุที่แข็งและสามารถซักด้วย ความเร็วธรรมดาได้ แต่บางอย่างเช่น ผ้าทั่วไป เช่น เสือ้ เชิต้ ท�ำด้วยวัสดุทอี่ าจจะขาดง่ายและซัก ด้วยความเร็วต�่ำ) Saravuth : Okay. I set the speed on slow. What else? (โอเค ผมจะตั้งความเร็วให้หมุนช้า) Jinda : That’s it. Just put your quarters in the slot and pull this out to start the machine. Come back in about 20 minutes, and we’ll show you how to work the dryer. (ถูกต้องแล้ว เพียงแค่ยอดเหรียญ ๒๕ เซนต์ ลงในช่องหยอดเหรียญและดึงปุ่มนี้เพื่อใช้งาน และกลับมาอีกประมาณ ๒๐ นาที ผมจะบอกคุณ ถึงวิธีการใช้เครื่องเป่าแห้ง) Saravuth : Thanks a lot. (ขอบคุณมากครับ)
53
สาระน่ารู้ทางการแพทย์
เมล็ดเจีย เ
มล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย ธัญพืช ตัวจิว๋ แต่มากด้วยประโยชน์ที่ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า เป็ น ตั ว ช่ ว ยลด น�ำ้ หนัก แต่ทา่ นรูไ้ หมว่าเมล็ดเจียไม่ได้มีดี แค่ช่วยลดน�้ำหนัก แต่ยังป้องกันโรคและ บ�ำรุงสุขภาพของเราได้อกี ด้วย ซึง่ ในฉบับนี้ เราจะมารู้จักกับประโยชน์ที่แอบซ่อนอยู่ ของเจ้าเมล็ดเจียตัวจิ๋วนี้กันให้มากขึ้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเมล็ด เจีย เป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศตระกูลเดียว กับกะเพรา หรือมินต์ มีชอื่ ทางพฤกษศาสตร์ ชือ่ ว่า Salvia Hispanica L. ลักษณะล�ำต้น สูงประมาณ ๔ – ๖ ฟุต เป็นพืชให้เมล็ด เล็กๆ มีสองสีคือด�ำและขาว เปลือกนอก เมล็ดพองตัวได้เหมือนเม็ดแมงลัก พืชชนิดนี้ จะเจริญเติบโตได้ดใี นพืน้ ทีท่ มี่ อี ากาศหนาวเย็น และเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันมาก ในทวีปอเมริกา ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก สหรั ฐ อเมริ ก า อาร์ เ จนติ น า โบลิ เ วี ย เอกวาดอร์ และกัวเตมาลา นอกจากนี้ก็ยัง ปลู ก ได้ ในประเทศออสเตรเลี ย ส่ วนใน
54
ธัญพืชมากประโยชน์ ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์เมล็ดเจียใน หลายจังหวัด เช่น ล�ำปาง กาญจนบุรี ฯลฯ เมล็ดเจีย เม็ดแมงลัก ต่างกันอย่างไร หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเมล็ดเจียคือเม็ด แมงลัก ความจริงแล้วเป็นธัญพืชคนละชนิดกัน แม้ว่าทั้งเมล็ดเจียและเม็ดแมงลักจะน�ำไป แช่น�้ำแล้วจะมีลักษณะคล้ายกันก็ตาม แต่ ก็มีความต่างที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ นั่ น คื อ ก่ อ นน� ำ ไปแช่ น�้ ำ เมล็ ด เจี ย จะมี ลักษณะรี มีสนี ำ�้ ตาลเทา มีลวดลายเล็กน้อย ส่วนเม็ดแมงลักจะมีลกั ษณะรี มีสดี ำ� เข้มแต่ ถ้าหากน�ำไปแช่น�้ำแล้วจะพบว่าเมล็ดเจีย จะเกิดการพองตัวลักษณะเม็ดใส แต่เม็ด แมงลักจะพองตัวลักษณะเม็ดมีเมือกสีขาวขุน่ เมล็ดเจียกับคุณค่าทางโภชนาการที่ ไม่ธรรมดา จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร ของสหรั ฐ อเมริ ก า (United States Department of Agriculture) เปิดเผยว่า เมล็ดเจียเป็นธัญพืชที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง Super Fruit และ Super Seed อัดแน่น ไปด้ ว ยสารอาหารที่ จ� ำ เป็ น ต่ อ ร่ า งกาย
ได้แก่ ไฟเบอร์ กรดไขมันดีชนิดโอเมก้า-๓ และโอเมก้า-๖ แคลเซียม สารต้านอนุมูล อิสระและโปรตีน ซึ่งเมื่อน�ำเมล็ดเจียเต็ม เมล็ ด หรื อ น� ำ ไปบดแล้ ว น� ำ ไปแช่ กั บ ของเหลว เช่ น น�้ ำ น�้ ำ ผลไม้ หรื อ นม จะสามารถพองตั ว ขึ้ น มาได้ อี ก ๑๒ เท่ า ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารได้ เช่น การเพิ่มในน�้ำผลไม้ที่มีสารเรสเวอราทรอล เช่น น�้ำทับทิม หรือน�ำ้ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี จะช่ ว ยเพิ่ ม สารต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระใน เครื่องดื่มนั้นๆ ได้ เมล็ดเจีย มีสรรพคุณทางยาที่ต้อง บอกต่อ เมล็ดเจียมีสรรพคุณทางยาที่เป็น ประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ หัวใจแข็งแรง เมล็ดเจียอุดมด้วยกรด ไขมันดีชนิดโอเมก้า-๓ และ โอเมก้า-๖ ช่ ว ยปรั บ สมดุ ล ระบบไหลเวี ย นโลหิตใน ร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เกิดการไหลเวียน เลือดดีเข้าสูห่ วั ใจจึงเป็นผลให้หัวใจของเรา แข็งแรง
ห่างไกลโรคเบาหวานประเภท ๓ เมล็ดเจียเป็นธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตต�่ำ แต่อุดมด้วยไฟเบอร์สูง ที่ช่วยรักษาสมดุล ของน�ำ้ ตาลในเลือด จึงมีคณ ุ สมบัตชิ ว่ ยต้าน โรคเบาหวานประเภท ๓ ได้ บาดแผลหายเร็ ว ไม่ ติ ด เชื้ อ ง่ า ย เมล็ดเจียมีกรดไขมันโอเมก้า-๓ ที่ร่างกาย จะเปลี่ ย นเป็ น สารโพรสตาแกลนดิ น (Prostaglandin) มีฤทธิ์แก้อักเสบ จึงช่วย บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันการติดเชื้อ ของบาดแผล ช่ ว ยให้ บ าดแผลหายเร็ ว ไม่เรื้อรัง ร่างกายมีระบบเผาผลาญพลังงานดีขนึ้ เมล็ดเจียมีไฟเบอร์ โปรตีน และกรดไขมัน โอเมก้า-๓ สูง จึงช่วยปรับสมดุลระบบ เผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ บ�ำรุงความจ�ำ เมล็ดเจียมีกรดไขมัน โอเมก้า-๓ สูงกว่าปลาแซลมอนถึง ๙ เท่า ช่ ว ยบ� ำ รุ ง ระบบประสาทและสมองให้ ท�ำงานเป็นปกติเราจึงมีกระบวนการเรียนรู้ และจดจ�ำดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น ห่างไกลโรคกระดูกพรุน เมล็ดเจีย อุดมด้วยแร่ธาตุที่จ�ำเป็นต่อกระบวนการ เสริมสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และ โปรตีน จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และ
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ภาวะกระดูกบาง ช่ ว ยให้ ร ะบบย่ อ ยอาหารท� ำ งาน เป็นปกติ เมล็ดเจียอุดมด้วยไฟเบอร์อยู่ ประมาณ ๓๔.๔ กรัม ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณ ไฟเบอร์ที่เพียงพอส�ำหรับร่างกายในแต่ละ วันทีจ่ ะช่วยให้ระบบย่อยอาหารท�ำงานเป็น ปกติ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เมล็ด เจียอุดมด้วยโปรตีนและแร่ธาตุฟอสฟอรัส ที่ช่วยบ�ำรุงเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เราเพือ่ ดูดซึมไปใช้ในกระบวนการซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ ปริมาณการกินที่มีผลดีต่อสุขภาพ เด็กอายุต�่ำกว่า ๑๐ ปี ควรบริโภค ประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะต่อวัน เด็กที่อายุตั้งแต่ ๕ – ๑๘ ปี ควร บริโภคประมาณ ๑.๔ – ๔.๓ กรัมต่อวัน วัยผู้ใหญ่ ควรบริโภคประมาณ ๑๕ กรัม หรือประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะต่อวัน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควร บริโภคแบบป่นประมาณ ๓๓ – ๔๑ กรัม ทุก ๓ เดือน ข้ อ ยกเว้ น ส� ำ หรั บ คนบางกลุ ่ ม ที่ มี ปัญหาเรื่องสุขภาพ ที่ไม่ควรรับประทาน เมล็ดเจีย ได้แก่บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ ๑. คนที่ มี ป ั ญ หาเกี่ ย วกั บ ระบบ กระเพาะอาหารและล�ำไส้ เช่น มีแก๊สใน กระเพาะอาหาร แสบร้อนกลางอก รวมถึง กรดไหลย้อนนัน้ หากรับประทานเมล็ดเจีย เข้าไปแล้วจะท�ำให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะเส้ น ใยไฟเบอร์ ที่ ข ยายตั ว ใน กระเพาะอาหารเพิม่ ขึน้ ถึงร้อยละ ๒๕ ก็จะ ยิง่ กระตุน้ ให้ตบั อ่อนเร่งสร้างน�ำ้ ย่อยออกมา นั่นเอง
๒. คนเป็นโรคแพ้กลูเตน หรือโรคแพ้ โปรตีนในธัญพืช วิธเี ช็กว่าตัวเองแพ้กลูเตน หรื อ ไม่ ให้ ล องกิ น มั ส ตาร์ ด หรื อ เมล็ ด มัสตาร์ด หากมีอาการแพ้ก็ควรหลีกเลี่ยง การรับประทานเมล็ดเจีย ๓. คนที่ ต ้ อ งเข้ า รั บ การศั ล ยกรรม หรือมีประวัติการใช้ยาแอสไพรินไม่ควร รับประทานเมล็ดเจีย เพราะจะยิ่งท�ำให้ หลอดเลือดบางลง ซึ่งอาจมีผลต่อการเกิด ภาวะฮีโมฟิเลีย (Haemophiliacs) หรือ ภาวะที่เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลไม่หยุด ๔. ผู้ชายไม่ควรบริโภคเมล็ดเจียมาก เกินไป เพราะในเมล็ดเจียมีกรดไขมันไม่ อิ่มตัว แอลฟา ลิโนเลอิก (alpha-linoleic acid) ทีจ่ ะไปกระตุน้ ให้มคี วามเสีย่ งในการ เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มมากขึ้น ๕ . ผู ้ ป ่ ว ยโรคความดั น โลหิ ต ต�่ ำ ไม่ควรบริโภค เพราะมีผลต่อแรงดันเลือด ขณะที่หัวใจคลายตัวให้ต�่ำลง (Diastolic blood pressure) อาจก่อให้เกิดอาการ ช็อกหรือหมดสติได้
๖. ไม่ควรบริโภคเมล็ดเจียติดต่อกัน เป็นเวลานานหลายปี เพราะร่างกายจะ เกิดการเสพติด และเลิกยาก ทางที่ดีควร เว้นช่วงไปบ้าง ๗. ผู้หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้ นมบุตรไม่ควรบริโภค เพราะมีผลท�ำให้สาร อาหารในน�ำ้ นมเปลีย่ นไปจากเดิม ๘. การกินเมล็ดเจียร่วมกับอาหาร เสริมวิตามินบี ๑๗ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา นาน จะท� ำ ให้ ร ่ า งกายสะสมสารไฟโต นิวเทรียนท์ในปริมาณมาก กลายเป็นสาร พิษที่น�ำมาซึ่งโรคมะเร็งในที่สุด 55
พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงกลาโหม ร่ ว มพิ ธี ว างพวงมาลาในนามของ กระทรวงกลาโหม และพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง กลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ร่วมพิธีวางพวงมาลา ในนามของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระลานพระราชวังดุสิต เมื่อ ๒๓ ต.ค.๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานงาน เลี้ยงรับรองเนื่องในวันต�ำรวจแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๘ โดยมี พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมแสดงความยินดี ณ สโมสรต�ำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อ ๑๓ ต.ค.๕๘
56
พลเอก ประวิ ต ร วงษ์ สุ ว รรณ รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการ ประชุ ม การจั ด กิ จ กรรมจั ก รยานถวาย พระเกี ย รติ แ ละถวายความจงรั ก ภั ก ดี “ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD” ณ ห้อง ยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยมี พลเอก ปรี ช า จั น ทร์ โ อชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมประชุม เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๘
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาง Saida Muna Tasneem เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ/ไทย ในโอกาสเยี่ยมค�ำนับ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๙ ต.ค.๕๘ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
57
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีบ�ำเพ็ญกุศล เนื่องในโอกาสครบ ๑๒๐ ปี นับแต่ ประสูติกาลและครบ ๒ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ต�ำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ ๒๕ ต.ค.๕๘
58
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมสักการะสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ณ ศาลหลักเมือง เมื่อ ๒๖ ต.ค.๕๘
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธบี วงสรวงการปรับปรุงป้าย “กระทรวง กลาโหม” ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีคณะ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เข้ า ร่ ว มพิ ธี ณ บริ เ วณป้ า ยกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๘ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
59
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง กลาโหม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนา กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เมื่อ ๗ ต.ค.๕๘
พลเรื อ เอก อนุ ทั ย รั ต ตะรั ง สี รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ในวั น คล้ า ยวั น สถาปนากรมการ อุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ครบรอบ ปีที่ ๖๒ ณ อาคารส�ำนักงานอเนกประสงค์ ชั้น ๓ กรมการอุตสาหกรรมทหาร เมื่อ ๗ ต.ค.๕๘
60
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พลเรือตรี Simon Ancona ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด สหราชอาณาจักร ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๓ ต.ค.๕๘
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการต้อนรับคณะอาจารย์ นักศึกษา หลักสูตรวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๘ ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๙ ต.ค.๕๘ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
61
กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
นางผ่ อ งพรรณ จั น ทร์ โ อชา นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งาน ปลัดกระทรวงกลาโหม น�ำคณะอุปนายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการ สมาคมฯ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระลาน พระราชวังดุสิต เมื่อ ๒๓ ต.ค.๕๘
นางผ่ อ งพรรณ จั น ทร์ โ อชา นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ กระท� ำ พิ ธี สั ก การะสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ณ ที่ท�ำการสมาคมภริยาข้าราชการ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม (ตึ ก โดม) และถ่ า ยภาพร่ ว มกั บ คณะกรรมการสมาคมฯ เมื่ อ ๗ ต.ค.๕๘
62
ดร.บุษบา ชัยจินดา นายกสมาคม แม่ บ ้ า นต� ำ รวจ และคณะกรรมการ สมาคมฯ มอบกระเช้ า ผลไม้ เ พื่ อ แสดงความยินดีกับ นางผ่องพรรณ จั น ทร์ โ อชา นายกสมาคมภริ ย า ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม เนื่ อ งในโอกาสที่ เข้ า รั บ ต�ำแหน่งนายกสมาคมฯ ณ ห้องรับรอง สมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งาน ปลัดกระทรวงกลาโหม เมือ่ ๖ ต.ค.๕๘
นางปรานี อารีนจิ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ และคณะกรรมการสมาคมฯ มอบแจกั น ดอกไม้ เ พื่ อ แสดงความยิ น ดี กั บ นางผ่ อ งพรรณ จั น ทร์ โ อชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เนื่องในโอกาส ทีเ่ ข้ารับต�ำแหน่งนายกสมาคมฯ ณ ห้องรับรอง สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๘ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๘
63
นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม พร้ อ มด้ ว ยอุ ป นายกฯ และ คณะกรรมการสมาคมฯ เข้าเยีย่ มคารวะและขอรับพร พลโทหญิง วรนุช เบื้องบน เนื่องในโอกาสที่เข้ารับต�ำแหน่งนายกสมาคมฯ ณ บ้านพัก ซอยสวนผัก กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๒ ต.ค.๕๘
นางสุตนิ า มัญชุสนุ ทรกุล นายกสมาคม แม่บา้ นองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และ คณะกรรมการสมาคมฯ มอบแจกันดอกไม้ เพื่อแสดงความยินดีกับ นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เนื่องใน โอกาสที่เข้ารับต�ำแหน่งนายกสมาคมฯ ณ ห้องรับรอง สมาคมภริยาข้าราชการ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม เมื่ อ ๒๐ ต.ค.๕๘ 64
๒๐ พฤศจิกายน
วันกองทัพเรือ
นาวิกานุภาพ ก�ำราบศึก
นฤเบศร์ วิศรุต ยุทธนาวี ๒๐ พฤศจิกา วาระฤกษ์
เกียรติยศ จรดทั่วหล้า สุธาธาร
ปัจนึก ใหญ่น้อย ล้วนถอยหนี
เสริมศักดิ์ศรี นิรมิต พาณิชยการ
เกียรติภูมิเกริก ก้องไกร ไทยกล่าวขาน สืบต�ำนาน พร้อมสรรพ กองทัพเรือ ประพันธ์โดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ก
ระทรวงกลาโหม ก� ำ หนดน� ำ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทาน ไปถวายแด่พระสงฆ์ทจี่ ำ� พรรษา ณ วัดศรีสดุ าราม วรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ในการนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการพร้อมด้วยครอบครัว และประชาชน ทั่วไป ร่วมบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้ - เงินสด บริจาคได้ทสี่ ำ� นักงานการเงิน กรมเสมียนตรา ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙, ๐ ๒๒๒๒ ๓๘๔๘ - โอนเงิ น ทางธนาคาร บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ ข องธนาคารทหารไทย จ� ำ กั ด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม เลขที่บัญชี ๐๓๙ – ๒ – ๗๕๔๔๓ – ๘ ชื่อบัญชี “การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงกลาโหม ปี ๒๕๕๘” กรณีโอนเงินเข้าบัญชี ฯ กรุณาส่งส�ำเนาเอกสารการโอนให้ กรมเสมียนตรา ทางหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
๒๐ พฤศจิกายน
วันกองทัพเรือ
นาวิกานุภาพ ก�ำราบศึก
นฤเบศร์ วิศรุต ยุทธนาวี ๒๐ พฤศจิกา วาระฤกษ์
เกียรติยศ จรดทั่วหล้า สุธาธาร
ปัจนึก ใหญ่น้อย ล้วนถอยหนี
เสริมศักดิ์ศรี นิรมิต พาณิชยการ
เกียรติภูมิเกริก ก้องไกร ไทยกล่าวขาน สืบต�ำนาน พร้อมสรรพ กองทัพเรือ ประพันธ์โดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ก
ระทรวงกลาโหม ก� ำ หนดน� ำ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทาน ไปถวายแด่พระสงฆ์ทจี่ ำ� พรรษา ณ วัดศรีสดุ าราม วรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ในการนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการพร้อมด้วยครอบครัว และประชาชน ทั่วไป ร่วมบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้ - เงินสด บริจาคได้ทสี่ ำ� นักงานการเงิน กรมเสมียนตรา ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙, ๐ ๒๒๒๒ ๓๘๔๘ - โอนเงิ น ทางธนาคาร บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ ข องธนาคารทหารไทย จ� ำ กั ด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม เลขที่บัญชี ๐๓๙ – ๒ – ๗๕๔๔๓ – ๘ ชื่อบัญชี “การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงกลาโหม ปี ๒๕๕๘” กรณีโอนเงินเข้าบัญชี ฯ กรุณาส่งส�ำเนาเอกสารการโอนให้ กรมเสมียนตรา ทางหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป