วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 295

Page 1

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๕ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ระทรวงกลาโหม ก�ำหนดน�ำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จ�ำพรรษา ณ วัดศรีสุดาราม วรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ในการนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการพร้อมด้วยครอบครัว และประชาชน ทั่วไป ร่วมบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้ - เงินสด บริจาคได้ทสี่ ำ� นักงานการเงิน กรมเสมียนตรา ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙, ๐ ๒๒๒๒ ๓๘๔๘ - โอนเงินทางธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ของธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) สาขากระทรวง กลาโหม เลขที่บัญชี ๐๓๙ – ๒ – ๗๕๔๔๓ – ๘ ชื่อบัญชี “การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงกลาโหม ปี ๒๕๕๘” กรณีโอนเงินเข้าบัญชี ฯ กรุณาส่งส�ำเนาเอกสารการโอนให้ กรมเสมียนตรา ทางหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

https://tiamtanong.wordpress.com ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๕ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ ๑๐๕ ปี วันปิยมหาราชานุสรณ์ พระกรุณา เกื้อกูลราษฎร์ สินาถรัฐ ปริวรรต ถิ่นไผท ยิ่งไพศาล ทรงปฏิรูป กิจชาติ ราชการ

วางรากฐาน ความเกรียงไกร ให้แผ่นดิน ๑๐๕ พรรษากาล ทรงผ่านภพ น้อมอภินบ บารมี ศรีสยามถิ่น

เทิดร�ำลึก พระเมตตา สุดธานินทร์

ด้วยเจตจินต์ พงศ์เผ่า เหล่าโยธี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ก�ำลังพลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ประพันธ์โดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ที่ปรึกษา พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ร.น. พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ พล.อ.พอพล มณีรินทร์ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ พล.อ.วิสุทธิ์ นาเงิน พล.อ.ชาตอุดม ติตถะศิริ พล.อ.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ พล.ท.สัมพันธ์ ธัญญพืช พล.ท.อภิชาติ อุ่นอ่อน พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ

ผู้อ�ำนวยการ พล.ต.ยุทธนินทร์ บุนนาค ผู้ช่วยอ�ำนวยการ พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ กองจัดการ ผู้จัดการ น.อ.ธวัชชัย รักประยูร ประจ�ำกองจัดการ น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์ เหรัญญิก พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์ ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช บุญหล้า ฝ่ายกฎหมาย น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ พิสูจน์อักษร พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น. รองบรรณาธิการ พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช ประจ�ำกองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม พ.ต.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค


บทบรรณาธิการ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๕๙ นอกจากการ เริ่มต้นแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณใหม่แล้ว หลายหน่วยงานก็มี การเปลี่ยนผู้บริหารในระดับสูง โดยเฉพาะส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมัน่ คงของกระทรวงกลาโหม ก็ได้มกี าร ปรับเปลี่ยนปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้ง ๔ ท่าน เนื่องจากวาระการเกษียณอายุราชการ แม้จะเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ แต่มเี รือ่ งราวมากมายทีไ่ ม่ได้เริม่ ต้น พร้อมปีงบประมาณ แต่เป็นเรือ่ งทีด่ ำ� เนินการมาแล้วและอยูใ่ นระหว่างการด�ำเนินการ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะต้องการส่งสัญญาณให้รู้ว่า หลายเรื่องราวหรือหลายเหตุการณ์ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น จึงไม่ใช่เวลาที่จะมาเริ่มต้นคิด ควรจะต้องทันต่อเหตุการณ์ มีการ เตรียมข้อมูลและพิจารณาใช้ประสบการณ์ พร้อมที่จะหาทางออกและแก้ไขปัญหา ที่มีความผูกโยงให้เหมาะสม ทันเวลา ส�ำหรับในส่วนของวารสารหลักเมือง ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องเนื้อหาสาระ ที่คณะผู้จัดท�ำจะพยายามตอบโจทย์ของท่านผู้อ่าน ในส่วนของสาระ เรื่องน่ารู้ต่างๆ และที่ส�ำคัญเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ ความรู้ ปลุกจิตส�ำนึกและความรับผิดชอบของสังคม เพือ่ การก้าวเดินสูค่ วามมัน่ คง มั่งคั่งที่ยั่งยืนร่วมกันสืบไป


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๒๑

๑๐

๒๒

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก นพดล ฟักอังกูร ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี รองปลัดกระทรวงกลาโหม

๑๑

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม

๑๒

พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พระบรมรูปทรงม้า... พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการ ถวายราชพลีของปวงประชาชน

๑๔

๑๕

๑๒

พลเอก วัลลภ รักเสนาะ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผน กลาโหม

๑๐

๑๓

๑๑

๑๔

พลเอก วิสุทธิ์ นาเงิน เจ้ากรมเสมียนตรา

๑๖

พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงบประมาณกลาโหม

๑๖

๑๗

๑๘

๑๘

๑๙

๒๐

๑๙

๒๑

๓๐

พลเรือเอก กฤษฎา เจริญพานิช เจ้ากรมพระธรรมนูญ พลเอก สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ผู้อ�ำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล ผู้อ�ำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

๙ แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (ตอนที่ ๑) การปฏิบัติงานทางการบริหารของผู้น­�ำทางการ ทหาร (ตอนที่ ๑)

๓๐

The Perfect Edge “เพราะ สุดๆ....จึงรอด...และกลับอย่างเกียรติยศ”

๓๔ แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าทะเลจีนใต้ ๓๘

แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้าน รถสายพานล�ำเลียงพล เอ็ม-๑๑๓

๑๕

๑๗

๒๓ ๒๖

๑๓

พลเอก พอพล มณีรินทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศ ในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘

๒๐

๕๖

พลอากาศเอก วรฉัตร ธารีฉัตร จเรทหารทั่วไป

๓๘

๔๒ ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ๔๘ เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๓๔ ๕๒ การสืบทอดอ�ำนาจ ๕๖ อาณาจักรพม่ายุควุ่นวาย ๒๑๗๒ ๖๐ มาเรียนภาษามลายูถิ่นกันค่ะ ๖๒ ภัยเงียบ ไขมันทรานส์อันตรายที่สุด ๗๐

กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม

๗๐

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไขย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์ โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ ออกแบบ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์


พระบรมรูปทรงม้า...

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการถวายราชพลีของปวงประชาชน

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ากคราวใดที่มีการกล่าวถึง ลานพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่าแทบจะไม่มี ครัง้ ใดทีป่ ระชาชนชาวไทยจะบอกว่าไม่รจู้ กั เพราะสถานทีน่ คี้ อื จุดศูนย์รวมแห่ง จิตใจของประชาชนชาวไทยที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังเป็นจุดศูนย์กลางแห่งกิจกรรมส�ำคัญของประเทศชาติหลายครั้ง อาทิ เป็นสถานที่ พสกนิกรชาวไทยเดินทางมาร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี แห่ง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เมือ่ วันที่ ๙ มิถนุ ายน ๒๕๔๙ เป็นสถานทีท่ พี่ สกนิกร ชาวไทยมาร่วมพระราชพิธเี ฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อีกหลาย วาระ เป็นสถานทีท่ ที่ หารรักษาพระองค์กระท�ำพิธถี วายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังเคยเป็นที่สร้างประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย เมือ่ วันที่ ๒๔ มิถนุ ายน ๒๔๗๕ รวมถึงการใช้เป็นทีจ่ ดั กิจกรรมรัฐพิธแี ละราชพิธที สี่ ำ� คัญ หลายครั้ง

4

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ความจริงแล้วลานพระบรมรูปทรงม้า คื อ ชื่ อ เรี ย กของลานกว้ า งอยู ่ ด ้ า นหน้ า ของ พระที่นั่งอนันตสมาคมและพระราชวังอัมพร สถาน ในเขตพระราชวังดุสิต มีที่ตั้งอยู่บริเวณ ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพ มหานคร ซึ่ ง มี น ามเรี ย กเป็ น ทางการว่ า ลานพระราชวังดุสิต อันเป็นที่ตั้งของพระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือที่ประชาชนชาวไทย ต่างถวายพระนามพระบรมราชานุสาวรีย์ว่า พระบรมรูปทรงม้า สิง่ ทีผ่ เู้ ขียนใคร่ขอเรียนน�ำเสนอในวันนี้ คื อ เรื่ อ งของพระบรมรู ป ทรงม้ า อั น เป็ น พระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีพ่ สกนิกรชาวไทย ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและ ร่วมกันถวายทุนทรัพย์ร่วมในการจัดสร้างเป็น ราชพลีแด่องค์พระปิยมหาราช ซึง่ เป็นพระราช สมั ญ ญาที่ มี ค วามหมายอั น ประณี ต ว่ า องค์ มหาราชผูท้ รงเป็นทีร่ กั ยิง่ ของพสกนิกรชาวไทย ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๔๙ พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พระราชด�ำริให้จัดสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ขึน้ ภายในพระราชวังดุสติ โดยให้ตงั้ อยูท่ างด้าน ทิศตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อใช้ เป็นสถานทีเ่ สด็จออกมหาสมาคม ซึง่ ก่อนหน้านี้ ได้มีการสร้างถนนราชด�ำเนินเชื่อมเส้นทางจาก พระบรมมหาราชวังมายังพระราชวังดุสิตเสร็จ แล้ว จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าควรจะมีการ

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

สร้างลานหรือสนามขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อ ระหว่ า งถนนราชด� ำ เนิ น กั บ พระที่ น่ั ง อนั น ต สมาคมที่จะสร้างดังกล่าว กอปรกับในปีพุทธ ศักราช ๒๔๕๑ จะถึงกาลอันเป็นอภิลักขิตมงคล ในพระราชพิธรี ชั มังคลาภิเษก ซึง่ พระองค์เสด็จ ขึ้นครองสิริราชสมบัติ ๔๐ พรรษา อันเป็นการ ครองราชย์ ยื น นานยิ่ ง กว่ า พระมหากษั ต ริ ย ์ ทุกพระองค์ในประวัตศิ าสตร์ไทย จึงควรจะมีการ จัดงานเฉลิมฉลองสมโภชขึน้ เป็นงานใหญ่ จึงได้ มีพระราชด�ำรัสให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราวุธ สยามบรมราชกุมาร (พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ขณะนัน้ ทรง ด� ำ รงพระราชสถานะเป็ น ผู ้ ส� ำ เร็ จ ราชการ รักษาพระนคร ทั้งนี้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เสด็จพระราชด�ำเนินเพื่อประพาสยุโรป ในห้วง ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐) ให้เป็นประธานในการ จัดงานสมโภชฯ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำริให้จดั สร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์ เมื่อเสด็จพระราชด�ำเนินไปทอด พระเนตรพระราชานุสาวรียพ์ ระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในพระราชอิ ริ ย าบถทรงม้ า หล่ อ ด้ ว ยทอง สัมฤทธิ์ ตัง้ อยูบ่ ริเวณลานข้างพระราชวังแวร์ซาย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงทรงปรารภว่า ถ้ามีพระบรมรูปทรงม้าของพระองค์ตั้งไว้ใน สนามทีเ่ ชือ่ มระหว่างพระทีน่ งั่ อนันตสมาคมกับ ถนนราชด�ำเนินก็คงจะมีความสง่างามดังที่มัก จะสร้างในหลายประเทศของทวีปยุโรป จากการ

พิ จ ารณาราคาสร้ า งพระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ในชั้นต้นประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท (ราคาใน ขณะนัน้ ) ซึง่ พระองค์ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไป ตกลงท�ำสัญญาจ้างและเลือกชนิดโลหะด้วย พระองค์เอง โดยคณะผู้ด�ำเนินการจึงได้ติดต่อ ให้ประติมากรชาวฝรั่งเศสชื่อ จอร์จ เออร์เนสต์ ซอลโล (Georges Ernest Saulo) ผู้มีชื่อเสียง ทางด้านการปั้นหล่อเป็นผู้รับผิดชอบการสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ ทัง้ ยังเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปประทับเป็นแบบให้นายช่างดังกล่าว เป็นผูป้ น้ั หุ่นพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๕๐ ในขณะที่เสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จ ประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่ง นั้ น เป็ น แบบของม้ า ที่ บ ริ ษั ท ผู ้ รั บ จ้ า งได้ ป ั ้ น เป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ทัง้ นีร้ ายละเอียด ของพระบรมรูปทรงม้า จึงเป็นดังนี้ พระบรมรู ป ทรงม้ า หล่ อ ด้ ว ยโลหะ ทองบรอนซ์ ประดิษฐานอยู่บนแท่น ทองบรอนซ์หนาประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรองท�ำด้วยหินอ่อน กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร และสูง ๖ เมตร บริเวณฐานของแท่น มีโซ่ขึงล้อมรอบ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๑ เมตร โดย ฐานด้านขวามีอักษรโรมัน และภาษา ฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อ ไว้ว่า C.MASSON SEULP 1980 และ G.Paupg Statuare และฐานด้านซ้าย เป็นชือ่ บริษทั ทีท่ ำ� การหล่อพระบรมรูป ทรงม้าว่า SUSSF Fres FONDEURS. PARIS แท่นศิลาอ่อนด้านหน้า มีแผ่นโลหะ จารึ ก อั ก ษรไทย ติ ด ประดั บ แสดง พระบรมราชประวัตแิ ละพระเกียรติคณุ ลงท้ายด้วยค�ำถวายพระพรให้ทรงด�ำรง ราชสมบั ติ อ ยู ่ ยื น นาน ซึ่ ง มี ข ้ อ ความ กล่าวคือ

5


ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว ๒๔๕๑ พรรษา จ�ำเดิมแต่พระมหาจักรกรีบรมราชวงษ์ได้เสด็จจะประดิษฐาน แลด�ำรงกรุงเทพมหานครแอมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยาเป็นปีที่ ๑๒๗ โดยนิยม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จด�ำรงสิริราชสมบัติมา ถ้วนถึง ๔๐ ปีเต็มบริบูรณ์ เปนรัชสมัย ที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราช แห่งสยามประเทศในอดีตกาล พระองค์กอปรด้วยพระราชกฤษดาภินหิ าร เป็นอัจฉริยภูมบิ าลบรมบพิตร เสด็จสถิตย์ในสัจธรรม์อนั มัน่ คงมิได้หวัน่ ไหว ทรงอธิษฐาน พระราชหฤไทยในทางที่จะท�ำนุบ�ำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตย์สถาพร แลให้เกิดความสามัคคีสโมสรเจริญศุขส�ำราญทั่วไป ในอเนกนิกร ประชาชาติเป็นเบื้องน่าแห่งพระราชจรรยา ทรงพระสุขุมปรีชาสามารถ สอดส่องวินจิ ฉัยในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลือ้ งโทษน�ำประโยชน์ มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงน�ำหน้าชักจูงประชาชนให้ด�ำเนินตาม ใน ทางทีด่ งี ามดีมปี ระโยชน์เปนแก่นสาร พระองค์ทรงท�ำให้ความศุขส�ำราญแห่ง ประชาราษฎร์ส�ำเร็จได้ ด้วยอาไศรยด�ำเนินอยู่เนืองนิตย์ในพระวิริยแล พระขันตีอันคุณแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยามิได้ย่อท้อต่อความ ยากล�ำบากยากเข็ญ มิได้เห็นที่ขัดข้องอันใดเปนข้อควรขยาด แม้ประโยชน์แล ความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจทรงสละแลกความสุขส�ำราญพระราชทาน ไพร่ฟา้ ข้าแผ่นดินได้โดยทรงกรุณาปรานี พระองค์คอื บุพการีของราษฎรเพราะเหตุ เหล่านี้แผ่นดินของพระองค์ จึ่งยงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงามมหาชน ชาวสยามถึงความศุขเกษมล่วงล�้ำ อดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา พระองค์จึ่งเปน ปิยมหาราชที่รักของมหาชนทั่วไป

ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัยรัชมังคลาภิเศกสัมพัจฉรกาล พระราชวงษานุวงษเสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณอาณาประชาชน ชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัฐสีมาอาณาเขตร มาค�ำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณามาแล้วนั้น จึ่งพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้ ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณ เพื่อประกาศพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช ให้ปรากฏสืบชั่วกัลปาวสาน เมื่อสุริยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถี พุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศกาฬปักษ์ ตติยดิถีในปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๗๐ ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา 6

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


พระบรมรูปทรงม้าได้จดั สร้างจนส�ำเร็จ เรียบร้อยและได้โดยสารทางเรือส่งเข้ามาถึง กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ซึ่งเป็นเวลาที่พอดีกับการจัดงานพระราชพิธี รั ช มั ง คลาภิ เ ษก เนื่ อ งในโอกาสเถลิ ง ถวั ล ย ราชสมบัติ ๔๐ ปี โดยเจ้าพนักงานได้อัญเชิญ พระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรอง หน้าพระราชวังดุสิต ซึ่งในศุภวารสมัยอันเป็น มิง่ มหามงคลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงท�ำพิธี สมโภชพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ลานพระราชวัง ดุสิต จึงเป็นปฐมบทของความมหัศจรรย์ในการ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ หรือการสร้าง อนุสาวรีย์ เพราะโดยปรกติการสร้างอนุสาวรีย์ ซึ่ ง เป็ น อนุ ส รณ์ ข องบุ ค คลนั้ น มั ก จะสร้ า ง ภายหลังที่บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปแล้ว ยกเว้นพระ บรมรู ป ทรงม้ า แห่ ง เดี ย วเท่ า นั้ น ที่ พ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างในระหว่างที่พระองค์ยัง ด�ำรงพระชนม์ชีพอยู่ ทั้งยังได้เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงท� ำ พิ ธี ส มโภชพระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ด้วยพระองค์เองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความมหัศจรรย์ในการ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ยังมิได้สิ้นสุดเพียง เท่าที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้เพราะ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ และคณะเสนาบดี หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า เนื่องจากเป็น พระราชพิธมี หามงคลทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนใน สยามประเทศ จึงได้มีการชักชวนให้ประชาชน ทั่วประเทศ ได้มีโอกาสบริจาคทรัพย์ตามก�ำลัง เพื่อทูลเกล้าฯ เป็นราชพลีถวายเป็นเงินเฉลิม พระขวั ญ แล้ ว แต่ จ ะทรงใช้ ส อยเงิ น นั้ น ตาม พระราชหฤทัย นอกจากนี้มีเสนาบดีบางคนมี ความเห็ น ว่ า ควรจะสร้ า งสิ่ ง อั น เป็ น อนุ ส รณ์ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีมหามงคล นี้ ด ้ ว ย ซึ่ ง ได้ ท ราบข่ า วว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั เสด็จ ทรงปรารภว่าควรมีพระบรม รูปทรงม้าของพระองค์ตั้งไว้ในลานพระราชวัง ดุสิตก็จะมีความสง่างาม เฉกเช่นที่นิยมกระท�ำ กันในยุโรป เมือ่ สืบทราบราคาสร้างพระบรมรูป เช่นนั้นว่าราว ๒๐๐,๐๐๐ บาท ภายหลังจากที่ ได้ส�ำรวจยอดเงินเฉลิมพระขวัญ ปรากฏว่ามี ประชาชนยินดีถวายเป็นจ�ำนวนมาก รวมทัง้ สิน้ ประมาณ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท คณะเสนาบดีจึง ลงมติ แล้ ว สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ กราบทูลขอถวายพระบรมรูปทรงม้านัน้ เป็นของ ขวัญทูลเกล้าฯ จากประชาชนชาวสยาม ส�ำหรับ สนองพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ในพระราชพิ ธี รัชมังคลาภิเษก ก็ทรงโปรดพระราชทานพระบรม ราชานุญาต และได้จัดสร้างพระบรมรูปทรงม้า แล้วเสร็จพร้อมกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเมือ่ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ส�ำหรับเงินเฉลิม

พระขวั ญ ที่ เ หลื อ จากการสร้ า งพระบรมรู ป ทรงม้าอีกประมาณเกือบ ๑ ล้านบาท ก็ได้นำ� ขึน้ ทูลเกล้าฯ ถวายตามมติเดิม แต่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ยังมิได้ทรงมีพระราชด�ำริวา่ จะน�ำ เงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ประการใดตามที่ ประชาชนชาวสยามได้สนองคุณความกตัญญู กตเวทีที่มีต่อพระองค์นั้นก็เสด็จสวรรคตเสีย ก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงทรงด�ำเนินการตาม พระราชประสงค์ ข ององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินเฉลิมพระขวัญที่ยังเหลือ อยูก่ อ่ ตัง้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา จึงกล่าวได้ว่า พระบรมรูปทรงม้า คือ พระบรมราชานุสาวรีย์ ที่เป็นการแสดงออกถึง ความจงรักภักดีและพสกนิกรชาวสยามต่าง น้อมเกล้าฯ กราบบังคมทูลถวายเป็นราชพลี ด้วยความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมี ต่ อ สยามประเทศแห่ ง นี้ ซึ่ ง ยั ง ความสงบสุ ข บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองตราบจนปัจจุบัน ปวงข้าพระพุทธเจ้าฯ ก�ำลังพลในสังกัด กระทรวงกลาโหมทุกคน ต่างน้อมส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณอเนกอนันตประการที่ทรง ด�ำเนินพระราชกรณียกิจเพือ่ สยามประเทศ และ ขออัญเชิญไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมเป็น สรรพสิริมงคลแก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าฯ และ วงศ์ตระกูลสืบต่อไป พร้อมทัง้ ขอถวายปฏิญาณ ด้วยความพร้อมเพรียงว่า “ข้าพระพุทธเจ้าจะรักษามรดกของ พระองค์ท่านไว้ด้วยชีวิต”

7


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา – มารดา คู่สมรส บุตร/ธิดา ภูมิล�ำเนาเกิด ภูมิล�ำเนาปัจจุบัน

๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙ พันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ - นางเข็มเพชร จันทร์โอชา นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายปฐมพล - นายปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา จังหวัดลพบุรี ๑/๐๐๐๑ หมู่ ๑ ต�ำบลบ้านคลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

การศึกษาก่อนเข้ารับราชการ

ชั้นมัธยม โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ม.ศ.๔ ชั้นเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๕ ชั้นมหาวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๖

พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๕๒

การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว

ต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ

พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๘ พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๐

8

หลักสูตร โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ ชั้นนายร้อย รุ่นที่ ๖๐ หลักสูตร โรงเรียนศูนย์การบินทหารบก ศิษย์การบินชั้นปฐม รุ่นที่ ๒๐ หลักสูตร โรงเรียนศูนย์การบินทหารบก ศิษย์การบินชั้นมัธยม รุ่นที่ ๒๐ หลักสูตร โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ ชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๔๗ หลักสูตร โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๗ หลักสูตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๒

ส�ำเร็จหลักสูตร ๕ ปี จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เข้ารับราชการประจ�ำ ศูนย์การทหารราบ ประจ�ำศูนย์การบินทหารราบ (ขกท.๐๐๐๖) รักษาราชการนักบินตอนขนส่งทางอากาศ นักบินตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งทางอากาศ กองบินปีกหมุนที่ ๒ ผู้บังคับตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งทางอากาศ กองบินปีกหมุนที่ ๓ ประจ�ำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง เมื่อเข้ารับการศึกษาเป็น นายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจ�ำชุดที่ ๖๗ ผู้ช่วยนายทหารปฏิบัติการจิตวิทยา กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ ๓ นายทหารปฏิบัติการจิตวิทยา กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ ๓ รองผู้อ�ำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ ๓ รองเสนาธิการ กองพลพัฒนาที่ ๓ เสนาธิการ กองพลพัฒนาที่ ๓ ผู้อ�ำนวยการ กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ ๓ เสนาธิการ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ ผู้อ�ำนวยการ กองกิจการพลเรือน รองผู้บัญชาการ กองพลพัฒนาที่ ๓


พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗

พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๔๒ ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๕๐ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ

พ.ศ. ๒๕๒๘ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๕

ราชการพิเศษ

รองเสนาธิการ กองทัพภาคที่ ๓ เสนาธิการ กองทัพน้อยที่ ๓ รองแม่ทัพภาคที่ ๓ แม่ทัพน้อยที่ ๓ แม่ทัพภาคที่ ๓ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญจักรมาลา ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประถมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ

นายทหารพิเศษประจ�ำหน่วยทหารรักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๘

กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์

ภาพ : http://www.manager.co.th

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

9


พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

วัน/เดือน/ปีเกิด ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๙ บิดา – มารดา นาวาเอก อุทัย - นางพิศมัย รัตตะรังสี คู่สมรส นางมาลัยวรรณ รัตตะรังสี บุตร นางสาวสาธิกา รัตตะรังสี ที่อยู่ ๒๕๙/๓๒๒ หมู่บ้านพิบูลย์นิเวศน์ ถนนสุขุมวิท ๗๑ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร การศึกษา - นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๕ - นักเรียนนายเรือ รุ่นที่ ๗๒ - โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ ๕๐ - วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ ๓๒ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๒

ต�ำแหน่งส�ำคัญ - - - - - - - - - - - - - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๗ ผู้บังคับการเรือหลวงจุฬา พ.ศ. ๒๕๓๓ เสนาธิการกรมรักษาฝั่งที่ ๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้บังคับกองพันรักษาฝั่งที่ ๑๑ กรมรักษาฝั่งที่ ๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พ.ศ. ๒๕๓๖ รองผู้อ�ำนวยการกองวิชาการเรือและเดินเรือ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ และนายทหารเสนาธิการ กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้บังคับบัญชากรมต่อสู้อากาศยานที่ ๒ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้บังคับการกรมรักษาฝั่งที่ ๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พ.ศ. ๒๕๔๓ เสนาธิการกองเรือยุทธบริการ กองเรือยุทธการ พ.ศ. ๒๕๔๔ เสนาธิการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พ.ศ. ๒๕๔๕ รองเลขานุการกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธบริการ กองเรือยุทธการ พ.ศ. ๒๕๕๐ เสนาธิการสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ พ.ศ. ๒๕๕๓ รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ พ.ศ. ๒๕๕๔ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำผู้บัญชาการทหารเรือ พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ พ.ศ. ๒๕๕๖ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ

- - -

พ.ศ. ๒๕๔๐ นายทหารพิเศษประจ�ำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ พ.ศ. ๒๕๕๕ ราชองครักษ์เวร พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทหารพิเศษประจ�ำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ราชการพิเศษ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ประถมาภรณ์ช้างเผือก - มหาวชิรมงกุฎ - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 10


พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา – มารดา คู่สมรส บุตร ที่อยู่

๒๕ มกราคม ๒๕๐๐ นายสมาน – นางละเมียด ช้างมงคล นางวิภาพร ช้างมงคล นางสาวชนยชา ช้างมงคล ๕๘/๑๑๒ ม.๒ ซอยเอกชัย ๒๑ ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐

การศึกษา

- โรงเรียนวัดราชโอรส - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๖ - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๗ - หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารม้า รุ่นที่ ๑ - หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารม้า รุ่นที่ ๑ - หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๗ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก - หลักสูตรนายทหารปลัดบัญชีระดับผู้บริหาร รุ่นที่ ๕ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.๒๕๕๒) - หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส�ำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ ๑๖

ต�ำแหน่งส�ำคัญ

- พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้บังคับกองร้อยรถถัง กองพันทหารม้าที่ ๘ - พ.ศ. ๒๕๔๒ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจ�ำกรมยุทธการ ทหารบก - พ.ศ. ๒๕๔๔ ผูอ้ ำ� นวยการกองนโยบายและแผน กรมยุทธการ ทหารบก - พ.ศ. ๒๕๔๙ หัวหน้าศูนย์ประสานงานพัฒนาเพือ่ ความมัน่ คง ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม - พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผน กลาโหม - พ.ศ. ๒๕๕๔ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผน กลาโหม

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

- พ.ศ. ๒๕๕๖ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำ ปลัดกระทรวงกลาโหม - พ.ศ. ๒๕๕๗ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม

ราชการพิเศษ

- พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๓๐ ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นกองอ�ำนวยการรักษา ความมั่นคงภายใน ภาคที่ ๒ - พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๔ ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นศูนย์ปฏิบตั กิ ารกองทัพบก - พ.ศ. ๒๕๔๙ ราชองครักษ์เวร - พ.ศ. ๒๕๕๖ ราชองครักษ์พิเศษ - พ.ศ. ๒๕๕๐ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ - พ.ศ. ๒๕๕๕ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ - พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- มหาวชิรมงกุฎ - ประถมาภรณ์ช้างเผือก - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภทที่ ๒ - เหรียญราชการชายแดน - เหรียญจักรมาลา

11


พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รองปลัดกระทรวงกลาโหม วัน/เดือน/ปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน

การศึกษา

๓ ตุลาคม ๒๔๙๙ ๘๖/๙ ม. ๑๑ ต�ำบลคูคต อ�ำเภอล�ำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

- - - - - - - -

โรงเรียนเซนต์จอห์น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๖ โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๓ นายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๖๐ พ.ศ. ๒๕๓๑ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๓๕ พ.ศ. ๒๕๓๔ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๓๘ พ.ศ. ๒๕๔๐ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ ๒๑ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๔๙

- - - - -

การบินตรวจสอบเครื่องช่วยเดินอากาศและวิทยุอากาศ - พื้นดิน รุ่นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๗ นิรภัยการบิน รุ่นที่ ๒๙ พ.ศ. ๒๕๒๘ นายทหารยุทธการระดับฝูงบิน รุ่นที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๐ การยุทธร่วม รุ่นที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๗ การอบรมการบริหารการศึกษา รุ่นที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๙

- - - - - - - - - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๖ พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗ พ.ศ. ๒๕๕๗

การศึกษา ดูงาน ในประเทศและต่างประเทศ

การรับราชการ

ราชการพิเศษ

ประจ�ำโรงเรียนการบิน นักบินประจ�ำหมวดบิน ๒ ฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ ครูการบิน ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน นายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ นายทหารคนสนิท รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ช่วยนายทหารคนสนิท ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บังคับการกองบิน ๕๖ กองพลบินที่ ๔ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เสนาธิการโรงเรียนการบิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายก�ำลังพล รองเสนาธิการทหารอากาศ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

- พ.ศ. ๒๕๕๗ กรรมการบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) - พ.ศ. ๒๕๕๗ รักษาการ กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) - พ.ศ. ๒๕๕๗ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ - ประถมาภรณ์ช้างเผือก - มหาวชิรมงกุฎ

12


พลเอก พอพล มณีรินทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

วัน/เดือน/ปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน

๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ๑๒๒ ถนนเทศบาลรังสรรค์เหนือ ซอย ๖ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ การศึกษาก่อนเข้ารับราชการ พ.ศ. ๒๕๑๔ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ม.ศ.๓ พ.ศ. ๒๕๑๕ โรงเรียนอ�ำนวยศิลป์พระนคร ม.ศ.๔ พ.ศ. ๒๕๑๖ โรงเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๗ โรงเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๑ โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ (โดดร่ม รุ่นที่ ๑๕๕ (๔/๒๑)) พ.ศ. ๒๕๒๒ โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ (จู่โจม รุ่นที่ ๕๔ (๒/๒๒)) พ.ศ. ๒๕๒๓ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ ๕

การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว

พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๘ พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐

ต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ

โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ หลักสูตรสงครามนอกแบบ รุ่นที่ ๑๔ โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๖๓ Ft.bragg Nc USA หลักสูตร Special force operation detachment (sf,.) โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ ๔๘ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๗ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๔๙

พ.ศ. ๒๕๒๓ ประจ�ำศูนย์การทหารราบ พ.ศ. ๒๕๒๓ รองผู้บงั คับชุดปฏิบัติการรบพิเศษ กองร้อยรบพิเศษพลร่ม กรมรบพิเศษที่ ๒ พลร่ม ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ กรมรบพิเศษที่ ๒ กองพลรบพิเศษที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ (อากาศ) กองรบพิเศษที่ ๒ กองพลรบพิเศษที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๐ ผูช้ ว่ ยนายทหารคนสนิทผูบ้ ญั ชการทหารบก พ.ศ. ๒๕๓๑ ประจ�ำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก พ.ศ. ๒๕๓๒ หัวหน้าแผนกศูนย์การทหารราบ พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนไกลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๘ อาจารย์วิทยาลัยการทัพบก สถาบันการทัพบกชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๔๙ ฝ่ายเสนาธิการ ประจ�ำผู้บังคับบัญชา พ.ศ. ๒๕๔๑ รองผู้บังคับการกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๗

ผู้ช�ำนาญการกองบัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการหน่วยบัญชาการกองก�ำลังส�ำรอง ผูบ้ ญั ชาการโรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหาร รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก

พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๖ พ.ศ. ๒๕๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๘ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๗

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญจักรมาลา ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประถมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

13


พลเอก วัลลภ รักเสนาะ

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา-มารดา คู่สมรส ที่อยู่

๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๑ จ่าสิบเอก ส�ำรอง – นางสุรีย์ รักเสนาะ นางดวงพร รักเสนาะ ๑๖๑/๑๔ หมู่ที่ ๘ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

การศึกษา (ในประเทศ)

- ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (วทบ.) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า - หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๒๓ โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ - หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๓๓ โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ - หลักสูตรหลักประจ�ำชุดที่ ๖๙ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก - หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ ๔๕ วิทยาลัยการทัพบก - หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น ๕๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ต่างประเทศ) - หลักสูตรปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน สหรัฐอเมริกา - หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารปืนใหญ่และค้นหาเป้าหมาย สหรัฐอเมริกา - หลักสูตรผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการ สหราชอาณาจักร - หลักสูตรการรักษาสันติภาพ ออสเตรเลีย

ประวัติการท�ำงาน

- ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ด้านกองทัพภาคที่ ๓ (ยุทธการสุริยพงษ์) ในต�ำแหน่ง ผู้บังคับหมวดทหารปืนใหญ่ - ป้องกันประเทศ ด้านกองทัพภาคที่ ๒ (ยุทธการช่องบก, ช่องโอบก) ในต�ำแหน่ง ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ ค้นหาเป้าหมาย - การรักษาสันติภาพ ภารกิจ UNTAC ราชอาณาจักร กัมพูชา ในต�ำแหน่ง ผู้ประสานภารกิจ - ช่วยราชการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในต�ำแหน่ง หัวหน้าแผนกปฏิบัติการ ฝ่ายยุทธการฯ - ช่วยราชการพิเศษ ชุดควบคุมที่ ๙๕ - ช่วยราชการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในต�ำแหน่ง รองหัวหน้าส่วนยุทธการ ฝ่ายยุทธการศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพบก - ช่วยราชการศูนย์บัญชาการทหาร ในต�ำแหน่ง หัวหน้า ส่วนแผน ฝ่ายยุทธการ - ช่วยราชการศูนย์บัญชาการทหาร ในต�ำแหน่ง หัวหน้า ฝ่ายยุทธการฯ

ต�ำแหน่งส�ำคัญ - - - - - - - - - -

ผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐๔ รองผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพล ทหารปืนใหญ่ อาจารย์โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ หัวหน้าแผนก กรมยุทธการทหารบก อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ผูช้ ว่ ยทูตฝ่ายทหารบกไทย และรักษาราชการผูช้ ว่ ยทูตฝ่าย ทหารไทย ประจ�ำกรุงพนมเปญราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้อ�ำนวยการกอง กรมยุทธการทหารบก ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร รองเจ้ากรมยุทธการทหาร เจ้ากรมยุทธการทหาร ต�ำแหน่งพิเศษ - นายทหารพิเศษประจ�ำกองพันทหารปืนใหญ่ตอ่ สูอ้ ากาศยาน ที่ ๑ รักษาพระองค์ - ตุลาการศาลทหารกรุงเทพฯ - ราชองครักษ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ

14


พลเอก วิสุทธิ์ นาเงิน เจ้ากรมเสมียนตรา วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา – มารดา คู่สมรส บุตร ที่อยู่

๖ พฤษภาคม ๒๕๐๑ ร้อยตรี ประเสริฐ – นางวิมล นาเงิน นางวิไลวรรณ นาเงิน นางสาววิสุตา นาเงิน ๖๓/๗๘ หมู่บ้านฮาบิเทีย ถนนกาญจนาภิเษก ต�ำบลเสาธงหิน อ�ำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

การศึกษา

- - - - - - - -

โรงเรียนวัดราชาธิวาส โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๗ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๘ หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๒๑ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๓๒ หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๗ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมกับเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ ๒๔ ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- - - - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๙ พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๘ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๗

ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐ หัวหน้าแผนก กรมก�ำลังพลทหารบก ฝ่ายเสนาธิการประจ�ำกรมก�ำลังพลทหารบก ฝ่ายเสนาธิการประจ�ำรองผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจ�ำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รองเจ้ากรมเสมียนตรา

- - -

พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๗

ราชองครักษ์เวร นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตุลาการศาลทหารสูงสุด

มหาวชิรมงกุฎ ประถมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภทที่ ๒ เหรียญราชการชายแดน เหรียญจักรมาลา

ต�ำแหน่งส�ำคัญ

ราชการพิเศษ - พ.ศ. ๒๕๔๙

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - - - - -

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

15


พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงบประมาณกลาโหม

วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา-มารดา คู่สมรส บุตร ที่อยู่

การศึกษา

๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ พลโท อุดม – ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทา ติตถะสิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา ติตถะสิริ นายเจตน์สฤษฎิ์ ติตถะสิริ ๕๑/๔ ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

- โรงเรียนเซนต์จอห์น - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๕ - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๖ - หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าปืน รุ่นที่ ๑๗ - หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าปืน รุ่นที่ ๓๐ - หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๖ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่น ๕๓ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก - หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ ๑๘ - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ ๒๑๑ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

- พ.ศ. ๒๕๓๓ - พ.ศ. ๒๕๓๗ - พ.ศ. ๒๕๔๑ - พ.ศ. ๒๕๕๐ - พ.ศ. ๒๕๕๓ - พ.ศ. ๒๕๕๔ - พ.ศ. ๒๕๕๖

ต�ำแหน่งส�ำคัญ

ราชการพิเศษ

- พ.ศ. ๒๕๕๐ - พ.ศ. ๒๕๕๔

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

16

ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗๒๒ เสนาธิการกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๗๑ ผู้อ�ำนวยการกองงบประมาณ ส�ำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก ผู้ช่วยปลัดบัญชีทหารบก รองปลัดบัญชีทหารบก ปลัดบัญชีทหารบก รองเสนาธิการทหารบก ราชองครักษ์เวร นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์

- มหาวชิรมงกุฎ - ประถมาภรณ์ช้างเผือก - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภทที่ ๒ - เหรียญราชการชายแดน - เหรียญจักรมาลา


พลเรือเอก กฤษฎา เจริญพานิช เจ้ากรมพระธรรมนูญ วัน/เดือน/ปีเกิด บิดา – มารดา คู่สมรส บุตร ที่อยู่

การศึกษา

๑๗ มกราคม ๒๕๐๐ พันเอก เฉลิม – นางวัชรา เจริญพานิช นางทิพาพรรณ เจริญพานิช นายวริสร์ เจริญพานิช นางสาวณัฏฐา เจริญพานิช ๑๑ ถนนระนอง ๒ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ

• โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • หลักสูตรนายทหารสัญญาบัตรชั้นต้น รุ่นที่ ๑๐ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ • หลักสูตรนายทหารสัญญาบัตรชั้นสูง รุ่นที่ ๙ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ ๔ กระทรวงยุติธรรม • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ ๑๘ ศาลยุติธรรม

ต�ำแหน่งส�ำคัญ • • • • • • •

พ.ศ. ๒๕๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๖ พ.ศ. ๒๕๒๘ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗

ราชการพิเศษ

นายทหารพระธรรมนูญ กองเรือล�ำน�้ำ กองเรือยุทธการ อัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพ หัวหน้านายทหารพระธรรมนูญ สถานีทหารเรือกรุงเทพ ตุลาการพระธรรมนูญ หัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ ตุลาการพระธรรมนูญ หัวหน้าศาลทหารกลาง หัวหน้าส�ำนักตุลาการทหาร และตุลาการพระธรรมนูญ หัวหน้าศาลทหารสูงสุด รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ

• พ.ศ. ๒๕๕๖ ราชองครักษ์เวร • พ.ศ. ๒๕๕๗ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ฯ • พ.ศ. ๒๕๕๗ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • • • •

ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภทที่ ๒ เหรียญจักรมาลา

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

17


พลเอก สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ผู้อ�ำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร

วัน/เดือน/ปีเกิด ๓ สิงหาคม ๒๕๐๐ คู่สมรส นางดาวน้อย ขาวกระจ่าง บุตร/ธิดา - นางสาวฝนทิพย์ ขาวกระจ่าง - นายจตุรฤทธิ์ ขาวกระจ่าง - นายไอศวรรย์ ขาวกระจ่าง การศึกษา - โรงเรียนเตรียมทหาร - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า - มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง - หลักสูตรชั้นนายร้อย โรงเรียนศูนย์การทหารปืนใหญ่ - หลักสูตรเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ

- ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๓ - ผู้อ�ำนวยการกองศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ กองทัพบก - ผู้อ�ำนวยการกองเทคโนโลยี ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร - ผู้อ�ำนวยการโรงงานสร้างปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร - ผู้อ�ำนวยการ โรงงานผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร - ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร - รองผู้บัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร - ผู้อ�ำนวยการโรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ พลังงานทหาร - ผู้บัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร - ที่ปรึกษาพิเศษส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์

- ประถมาภรณ์ช้างเผือก - มหาวชิรมงกุฎ - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภท ๒ - เหรียญราชการชายแดน

18


พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล

ผู้อ�ำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก วัน/เดือน/ปีเกิด ๑ เมษายน ๒๔๙๙ ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๐๘ ถนนพหลโยธิน ซอย ๘ สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ

การศึกษา

ก่อนเข้ารับราชการ - โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ - โรงเรียนเตรียมทหาร - โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อเข้ารับราชการแล้ว - พ.ศ. ๒๕๒๕ หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารม้า รุ่นที่ ๒ - พ.ศ. ๒๕๓๐ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารม้า รุ่นที่ ๑ - พ.ศ. ๒๕๓๒ หลักสูตรหลักประจ�ำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ชุดที่ ๖๗ - พ.ศ. ๒๕๔๔ หลักสูตรหลักประจ�ำวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ชุดที่ ๔๖ - พ.ศ. ๒๕๕๒ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๒

ต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ

- - - - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ พ.ศ. ๒๕๕๘

ราชการพิเศษ

ผู้บังคับหมวด กองร้อยรถถัง กองพันทหารม้าที่ ๑๗ รักษาพระองค์ ผู้อ�ำนวยการกองการก�ำลังพล กองทัพน้อยที่ ๑ ผู้อ�ำนวยการกองการก�ำลังพล กองทัพภาคที่ ๑ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำผู้บังคับบัญชา ส�ำนักงานผู้บังคับบัญชา (พลตรี) เจ้ากรมจเรทหารบก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (พลโท) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พลเอก)

- พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษ ประจ�ำกองพันทหารม้าที่ ๑๗ รักษาพระองค์ - พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า - พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- พ.ศ. ๒๕๔๙ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย - พ.ศ. ๒๕๕๒ ประถมาภรณ์ช้างเผือก - พ.ศ. ๒๕๕๗ มหาวชิรมงกุฎ

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

19


พลอากาศเอก วรฉัตร ธารีฉัตร จเรทหารทั่วไป วัน/เดือน/ปีเกิด คู่สมรส บิดา - มารดา ภูมิล�ำเนาปัจจุบัน

วุฒิการศึกษา

๓๐ กันยายน ๒๔๙๙ นางจิรัมพร ธารีฉัตร ชื่อสกุลเดิม ประสานสุข พลอากาศโท ศักดิ์ - นางดวงพร ธารีฉัตร ๖๗/๐๑๕ หมู่ ๓ ต�ำบล หลักหก อ�ำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ก่อนรับราชการ - โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๙ - โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๕ - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อเข้ารับราชการแล้ว - โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๕๙ พ.ศ. ๒๕๓๐ - โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๓๕ พ.ศ. ๒๕๓๔ - วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ ๓๕ พ.ศ. ๒๕๔๔ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ - สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๓ หลักสูตรต่างประเทศ - นักบินลองเครื่องต้นแบบ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๓๑ - การปฏิบัติการรบร่วมภาคีพันธมิตร ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๓๓

ต�ำแหน่งส�ำคัญ

- - - - - - - - - - - - -

นักบินประจ�ำ หมวดบิน ๑ ฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ นักบินประจ�ำ หมวดบิน ๔ ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ ผู้บังคับหมวดบิน ๔ ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองฝึกภาคอากาศ กรมยุทธการทหาร อากาศ ผู้บังคับฝูงบิน ๕๖๑ กองบิน ๕๖ กองพลบินที่ ๔ ผู้บังคับฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ กองพลบินที่ ๒ เสนาธิการกองบิน ๔ กองพลบินที่ ๓ รองผู้บังคับการฝ่ายปฏิบัติการ กองบิน ๔ กองพลบินที่ ๓ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ผูอ้ ำ� นวยการกองปฏิบตั กิ ารทางอากาศยุทธศาสตร์ กรมควบคุม การปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ผู้อ�ำนวยการกองการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ กองพลบินที่ ๒ กองบัญชาการยุทธ ทางอากาศ ผชท.ทอ.ไทย/ แคนเบอร์รา และ รรก.ผชท.ทอ.ไทย/ เวลลิงตัน และ รรก.ผชท.ทหาร ไทย/ แคนเบอร์รา รองผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ

20

- ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ - ผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกัน ประเทศ - รองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ - ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน - ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ

ราชการพิเศษ - - - - - - - - - - - - - - - -

นักบินพร้อมรบ เครื่องบินโจมตีแบบ ๕ (OV-10C) พ.ศ. ๒๕๒๓ นักบินพร้อมรบ เครือ่ งบินขับไล่แบบ ๑๘ ข/ค (F-5E/F) พ.ศ. ๒๕๒๔ นักบินขับไล่โจมตียุทธวิธี ในยุทธการช่องบก พ.ศ. ๒๕๒๙ ครูการบิน เครื่องบินขับไล่แบบ ๑๘ ข/ค (F-5E/F) พ.ศ. ๒๕๓๐ นักบินพร้อมรบและครูการบินเครื่องขับไล่ฝึกแบบที่ ๑ (L-39 ZA/ ART) พ.ศ. ๒๕๓๖ นักบินพร้อมรบเครือ่ งบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16 A/B) พ.ศ. ๒๕๔๑ บิน FERRY FLIGHT เครื่องบิน ALPHA JET จากฐานทัพอากาศ FURSTENFELBRUCK ประเทศสหพั น ธ์ ส าธารณรั ฐ เยอรมนี สู่ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ บินทดสอบและประเมินค่าเครื่องบิน PC-21 ณ โรงงาน ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ จ�ำนวน ๓ เที่ยวบิน ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำผู้บัญชาการทหารอากาศ ราชองครักษ์เวร นายทหารพิเศษประจ�ำฝูงบิน ๖๐๒ รักษาพระองค์ กองบิน ๖ นายทหารพิเศษประจ�ำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ ตุลาการศาลทหารกลาง นายทหารพิ เ ศษประจ� ำ กรมทหารอากาศโยธิ น รั ก ษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน นายทหารพิเศษประจ�ำกรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) - มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)


พลเอก นพดล ฟักอังกูร

ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม วัน/เดือน/ปีเกิด คู่สมรส ที่อยู่

การศึกษา

- - - - - - - - -

๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ นางทิพย์วัลย์ ฟักอังกูร ๖๙ ระหว่างซอยวิภาวดี ๔๔ กับ ๔๖ ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๔ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๒๕ หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๕๕ หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๔๒ หลักสูตรหลักประจ�ำ ชุดที่ ๖๕ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) พ.ศ. ๒๕๓๔ สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงชั้นสูง รุ่นที่ ๓

ต�ำแหน่งส�ำคัญ - - - - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๘ นายทหารปฏิบตั กิ ารกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๓ หัวหน้าแผนก กรมกิจการพลเรือน ทหารบก พ.ศ. ๒๕๓๘ รองผู้อ�ำนวยการกอง กรมกิจการ พลเรือนทหารบก พ.ศ. ๒๕๔๘ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำ เสนาธิการทหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจ�ำเสนาธิการทหาร พ.ศ. ๒๕๕๖ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจ�ำรองปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๗ เจ้ากรมเสมียนตรา

- - -

นายทหารพิเศษประจ�ำกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ นายทหารพิเศษประจ�ำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ นายทหารพิเศษ ประจ�ำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ราชการพิเศษ

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

- - - - -

ราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตุลาการศาลทหารกลาง ตุลาการศาลทหารสูงสุด

ราชการสนาม - - - - -

พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ ปฏิบัติราชการกรณีปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกัน ประเทศของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๐ ปฏิบัติราชการกรณีปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๕๓ ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกัน ประเทศของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ ปฏิบตั ริ าชการในกองอ�ำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์

- มหาวชิรมงกุฎ - ประถมาภรณ์ช้างเผือก - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น ๒ ประเภทที่ ๒

21


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

รับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ประจ�ำปีงบประมาณ ๕๘ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ ณ ห้องยุทธนาธิการ ในศาลาว่าการกลาโหม

ามที่กรมบัญชีกลางจัดให้มี การคัดเลือกและมอบรางวัล “องค์กรทีม่ คี วามเป็นเลิศใน การบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘” จากส่วน ราชการ จ�ำนวน ๒๒๓ หน่วยงาน โดยการ ประเมินผลตามขั้นตอนการบริหารด้าน การเงินการคลัง ๕ มิติ ซึง่ เป็นการประเมิน ตามขั้นตอนการบริหารด้านการเงินการ คลัง โดยเริ่มต้นจากส่วนราชการด�ำเนิน การจัดซือ้ จัดจ้างการเบิกจ่ายงบประมาณ การลงบัญชีและการตรวจทาน โดยหน่วย งานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ากระบวนงานทีด่ ำ� เนินการเป็นไป อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และหากมีการ ผิดพลาดหรือเกิดการละเมิดขึ้นก็จะเข้าสู่ ขั้นตอนการละเมิดและแพ่ง ซึ่งเป็นมิติ ด้านสุดท้าย ประเภทของรางวัลฯ แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท คือ ๑) รางวัลองค์กรที่มีความ เป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง ๒) ประกาศเกียรติคณ ุ ด้านการจัด ซื้อจัดจ้าง ๓) ประกาศเกียรติคุณด้านการ เบิกจ่าย ๔) ประกาศเกียรติคุณด้านการ บัญชีภาครัฐ ๕) ประกาศเกียรติคุณด้าน

22

การตรวจสอบภายในภาครั ฐ และ ๖) ประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความรับผิด ทางละเมิด โดยกรมบัญชีกลาง ได้ประกาศรายชือ่ ส่วนราชการที่ได้รับรางวัลองค์กรที่มีความ เป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการ คลัง ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ จ�ำนวน ๙ หน่ ว ยงาน ซึ่ ง ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหมได้รบั รางวัลองค์กรทีม่ คี วามเป็นเลิศ ในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ระดับดี ทั้งนี้ กรมบัญชีกลาง ได้เรียนเชิญปลัด กระทรวงกลาโหม เข้าร่วมพิธมี อบรางวัล เมือ่

วันพุธที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๐๙๐๐ ถึง ๑๒๐๐ ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบ รัฐบาล โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็น ประธานในพิธีมอบรางวัล ซึง่ ปลัดกระทรวงกลาโหมได้กรุณามอบ ให้พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลั ด กระทรวงกลาโหม เป็ น ผู ้ แ ทน เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลฯ รวมทั้ง ได้กรุณาส่ง บทความทีแ่ สดงให้เห็นถึงความคิดเห็นทีม่ ตี อ่ รางวัลองค์กรทีม่ คี วามเป็นเลิศในการบริหาร จัดการ ด้านการเงินการคลัง เพือ่ น�ำไปตีพมิ พ์ เป็ น รู ป เล่ ม แจกจ่ า ยให้ กั บ ผู ้ เข้ า ร่ ว มพิ ธี ฯ ดังกล่าว


๙ แผ่นดิน พ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๑)

ระผู ้ ท รงวางรากฐานการด� ำ เนิ น นโยบายต่ า งประเทศและการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ๑. พระราชประวั ติ ข องพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ส่งผลต่อ พระราชด�ำริและพระราชกรณียกิจในการ ปกครอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั มี พ ระนามและพระสกุ ล ยศเดิ ม ว่ า สมเด็ จ เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงพระราชสมภพ เมือ่ วันที่ ๑๘ ตุ ล าคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๔๗ เป็ น พระ ราชโอรสล�ำดับที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และล�ำดับที่ ๒ ใน สมเด็ จ พระศรี สุ ริ เ ยนทรามาตย์ พระ อั ค รมเหสี มี พ ระราชอนุ ช าร่ ว มสมเด็ จ พระบรมชนกนาถและสมเด็จพระราชชนนี เพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย จุ ฑ ามณี ซึ่ ง ต่ อ มาได้ ท รงกรมเป็ น กรมขุ น อิ ศ เรศร์ รั ง สรรค์ ใ นสมั ย รั ช กาลที่ ๓ และ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็ จ พระปิ ่ น เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว พระเจ้ า แผ่ น ดิ น ที่ ส อง พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราช สมบั ติ เ มื่ อ วั น ที่ ๒ เมษายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๙๔ และเสด็จสวรรคตเมือ่ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ สิริพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา ทรงครองสิริราชสมบัติ ๑๗ ปีเศษ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วงส�ำคัญก่อนขึ้น ครองราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสั่งสม ประสบการณ์ท่ีมีคุณประโยชน์ต่อพระองค์ และประเทศชาติ โดยเฉพาะพระราชด�ำริและ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

พระราชกรณียกิจในการปกครองอย่างเหมาะสม กับสถานการณ์ของบ้านเมือง เมื่อพระองค์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ คือ ช่วงที่ พระองค์ทรงด�ำรงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๒๗ ปี ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๖๗ ถึง ๒๓๙๔ ในสมณนาม “วชิรญาณภิกขุ” หรือตลอด รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้วชิรญาณภิกขุทรงมี โอกาสสั่งสมประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ การศึกษาหาความรู้ทางพุทธศาสนา การครองสมณเพศอยู ่ ถึ ง ๒๗ ปี ท� ำ ให้ วชิรญาณภิกขุทรงสามารถศึกษา หาความรู้ทาง พุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน ต่อมาทรงก่อ ตัง้ คณะสงฆ์ “ธรรมยุตกิ นิกาย” และปรับปรุง วัตรปฏิบตั ขิ องพระสงฆ์ไทยให้งดงามสมบูรณ์ ทั้ ง พระธรรมและพระวิ นั ย ส่ ง ผลให้ พุ ท ธ ศาสนามีความมัน่ คงเป็นทีเ่ ลือ่ มใสศรัทธาของ ราษฎร แม้ว่าขณะนั้นคณะมิชชันนารีตะวัน ตกก�ำลังพยายามเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ในสังคมไทยก็ตาม การศึ ก ษาวิ ท ยาการตะวั น ตก วชิ ร ญาณภิกขุทรงมีเวลาศึกษาวิชาการตามที่ พระองค์สนพระราชหฤทัย คือ วิชาการสมัย ใหม่แขนงต่าง ๆ ที่ก�ำลังแพร่หลายเข้ามาใน เมืองไทย พระองค์มกั ทรงสนทนาแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกับชาวตะวันตกพร้อม ๆ กับ ทรงเรียนรูว้ ชิ าการสมัยใหม่ไปด้วย ท�ำให้ทรง ตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็นกุญแจไขไปสูค่ วามรูท้ างวิชาการตะวันตก และการเปลี่ ย นแปลงของสถานการณ์ ระหว่างประเทศ การที่ทรงมีความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์รอบด้านอย่างกว้างขวางท�ำให้

ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามของจักรวรรดินยิ ม ตะวันตก ส่งผลให้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยจาก ที่เคยเป็นมาแต่เดิมรวมทั้งพระราชปณิธาน ของพระองค์ในการด�ำเนินนโยบายปรับปรุง ประเทศแบบสมัยใหม่ตามแนวทางตะวันตก เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ทรงเห็นความส�ำคัญของ “การศึกษา” ซึ่ง เป็น “เครือ่ งมือ” ช่วยให้รเู้ ท่าทันชาวตะวันตก เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว จึงทรงส่งเสริมการ ศึกษาแบบตะวันตกอย่างไม่เคยปรากฏมา ก่อน ๒. พระราชด�ำริในการปกครองบ้านเมือง ประสบการณ์ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับระหว่างที่ ทรงอยู่ในสมณเพศ ส่งผลต่อพระราชด�ำริใน การปกครองบ้านเมืองนั้น อาจแบ่งออกได้ เป็น ๒ ประการ คือ พระราชด�ำริเกี่ยวกับการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ตระหนักตั้งแต่เริ่มทรงออกผนวชแล้วว่าชาว ตะวันตกนั้นดูหมิ่นเหยียดหยามชาวตะวัน ออก รวมถึ ง คนไทยด้ ว ยว่ า ป่ า เถื่ อ นไม่ มี อารยธรรม ดังพระราชหัตถเลขาตอนหนึง่ ว่า “...ก็การข้างยุโรปข้างอเมริกาเป็น เมื อ งไกลตาไกลวิ ไ ลยถึ ง จะเอามาคิ ด เปน 23


อย่างก็ใช้ไม่ได้ เพราะข้างชาวยุโรปเขาเข้าใจ ว่าเปนคนเหมือนกัน ฝ่ายพวกเรานั้นชาว ยุโรปเขาคิดว่าเหมือนหนึ่งสัตว์ป่า สัตว์เถื่อน อย่างลิงค่างแลไร ๆ เหนไม่มีใครจะตัดสิน ยุติธรรมให้เหมือนกับคนเหนคนไปตีต้อนไล่ สั ต ว์ ป ่ า ถึ ง ตั ว ไม่ ท� ำ ด้ ว ยก็ อุ เ บกษาเปน ใจกลาง...” ด้วยเหตุนี้จึงทรงเห็นว่าการศึกษา ภาษาอังกฤษ มีความส�ำคัญมากที่จะท�ำให้รู้ เท่าทันตะวันตก ดังทรงกล่าวว่า “...จึงคิดอ่านร�่ำเรียนหนังสือและ ภาษาอังกฤษรู้มาแต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการ แผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่ง คุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่งไม่รู้ว่าอย่างไรต่อ อย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะน�ำไปข้างไหนภาสา กว้างดีกว่าภาสาแคบ...” ยิง่ กว่านัน้ ทรงตระหนักดีวา่ ในการ ติดต่อกับประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก ไทยไม่สามารถสูไ้ ด้ดว้ ยก�ำลังอาวุธ เนือ่ งจาก ประเทศตะวันตกมีความเจริญก้าวหน้ากว่า ไทยมาก ทั้ ง ด้ า นก� ำ ลั ง ทั พ และอาวุ ธ ยุทโธปกรณ์ทที่ นั สมัย ดังนัน้ อาวุธชนิดเดียว ทีไ่ ทยจะใช้ตอ่ สูก้ บั มหาอ�ำนาจตะวันตกอย่าง มีประสิทธิภาพคือ วาจาและหัวใจอันกอปร ด้วยสติและปัญญา ดังพระราชด�ำรัสที่ว่า “...ในเมือ่ สยามถูกรังควานโดยฝรัง่ เศส ด้านหนึ่ง โดยอาณานิคมอังกฤษอีกด้านหนึ่ง ...เราต้องตัดสินใจว่าเราจะท�ำอย่างไร จะว่าย ทวนน�้ำขึ้นไปเพื่อท�ำตัวเป็นมิตรกับจระเข้ หรือว่ายออกทะเลไปเกาะปลาวาฬไว้ หาก เราพบบ่อทองในประเทศเรา... พอที่จะซื้อ เรือรบจ�ำนวนร้อย ๆ ล�ำก็ตาม เราคงไม่ สามารถจะสูก้ บั พวกนีไ้ ด้ เพราะเราจะต้องซือ้ เรือรบและอาวุธจากประเทศเหล่านี้ (อังกฤษ และฝรั่งเศส) พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไร ก็ได้ ...อาวุธชนิดเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคตก็คือ วาจาและ หัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา...” พระราชด�ำรัสดังกล่าวได้น�ำไปสู่การ เจรจาทางการทูต และการท�ำสนธิสญั ญาทาง ไมตรี กั บ ต่ า งประเทศ นอกจากนี้ ยั ง มี พระราชด�ำริว่า ถ้าการเจรจาต่อรองไม่ได้ผล 24

ก็ จ� ำ เ ป ็ น ต ้ อ ง ย อ ม เสียสละ “แขนขา” เพื่อ รักษา “หัวใจ” เอาไว้ อัน จะท�ำให้ร่างกายมีชีวิต อยูไ่ ด้ นัน่ คือการยอมเสีย ผลประโยชน์ ส ่ ว นน้ อ ย คือดินแดนบางส่วนเพื่อ รักษาผลประโยชน์ส่วน ใหญ่ คื อ เอกราชของ ประเทศเอาไว้ เพื่อให้ ประเทศด�ำรงอยู่ได้ พระ ราชด�ำริดังกล่าวน�ำไปสู่ การด� ำ เนิ น พระบรม ราโชบายยอมเสี ย สละ ดิ น แดนบางส่ ว น ใน ระหว่ า งการด� ำ เนิ น นโยบายดังกล่าว ไทยก็ ต้องปรับปรุงประเทศให้ ทั น สมั ย ตามแบบตะวั น ต ก เ พื่ อ ที่ ป ร ะ เ ท ศ มหาอ�ำนาจตะวันตกจะ ไม่ ใ ช้ เ ป็ น ข้ อ อ้ า งว่ า ไทยมี ค วามป่ า เถื่ อ น ไร้ อ ารยธรรม ซึ่ ง คนผิ ว ขาวจะถื อ โอกาส อ้างว่าเป็นหน้าที่ท่ีจะต้องเข้ามายึดครอง เปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้า ทันสมัย มีอารยธรรมตามแบบตะวันตกอย่าง ทีเ่ รียกว่าเป็น “ภาระของคนผิวขาว” (white man’s burden) ดังที่มหาอ�ำนาจตะวันตก ใช้เป็นข้ออ้างในการยึดประเทศต่าง ๆ ใน เอเชียแอฟริกาเป็นเมืองขึ้น เพื่อสร้างความ ชอบธรรมให้ แ ก่ ต นเองในการยึ ด ครอง ประเทศเหล่านั้นเป็นอาณานิคม การที่ทรง ตระหนักถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ น� ำ ไปสู ่ ก ารบ� ำ เพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ ใน การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยตามแบบ ตะวันตก พระราชด� ำ ริ เ กี่ ย วกั บ การปกครอง ภายในสืบเนือ่ งจากความใกล้ชดิ กับราษฎรใน ช่วงที่ทรงครองสมณเพศ รวมทั้งการได้ทรง รับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกจากการที่ทรง พบปะแลกเปลีย่ นความรูค้ วามคิดเห็นกับชาว

ตะวันตก ซึ่งให้ความส�ำคัญกับพลเมืองของ ชาติตะวันตกนั้น ๆ โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย นิยมและเสรีนิยม รวมทั้งการที่ทรงแตกฉาน ในธรรมะของพุทธศาสนาที่เน้นหลักเมตตา ธรรมและความคิดเสรีนยิ ม ส่งผลให้พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราช ด�ำรัสว่าพระเจ้าแผ่นดินของประเทศจะต้อง เป็นที่พึ่งของปวงชนผู้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย โดยการช่ ว ยขจั ด ปั ด เป่ า ความทุ ก ข์ ย าก เดือดร้อนด้วยน�ำ้ พระราชหฤทัยเมตตากรุณา และสุจริตประดุจบิดามารดาพึงปฏิบัติแก่ บุตรของตน ดังพระราชนิพนธ์ที่ว่า “...พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่อง ตั้ ง ไว้ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ใครมี ทุ ก ข์ ร ้ อ นถ้ อ ยความ ประการใด ก็ยอ่ มมาร้องให้ชว่ ย ดังหนึง่ ทารก เมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดามารดาของตัว เพราะฉะนัน้ พระเจ้าแผ่นดินชือ่ ว่าคนทัง้ ปวง ยกย่องให้เป็นบิดามารดาของตัว แล้วก็มี ความกรุณาแก่คนทัง้ ปวง ดังหนึง่ บิดามารดา กรุณาแก่บุตรจริง ๆ โดยสุจริต...” สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


การศึกษาหาความรู้ทางพุทธศาสนา การครองสมณเพศอยู่ถึง ๒๗ ปี ท�ำให้วชิร ญาณภิกขุทรงสามารถศึกษาหาความรู้ทาง พุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน ต่อมาทรงก่อ ตัง้ คณะสงฆ์ “ธรรมยุตกิ นิกาย” และปรับปรุง วัตรปฏิบตั ขิ องพระสงฆ์ไทยให้งดงามสมบูรณ์ ทั้ ง พระธรรมและพระวิ นั ย ส่ ง ผลให้ พุ ท ธ ศาสนามีความมัน่ คงเป็นทีเ่ ลือ่ มใสศรัทธาของ ราษฎร แม้วา่ ขณะนัน้ คณะมิชชันนารีตะวันตก ก�ำลังพยายามเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาใน สังคมไทยก็ตาม การศึ ก ษาวิ ท ยาการตะวั น ตก วชิ ร ญาณภิกขุทรงมีเวลาศึกษาวิชาการตามที่ พระองค์สนพระราชหฤทัย คือ วิชาการสมัย ใหม่แขนงต่าง ๆ ที่ก�ำลังแพร่หลายเข้ามาใน เมืองไทย พระองค์มกั ทรงสนทนาแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกับชาวตะวันตกพร้อม ๆ กับ ทรงเรียนรูว้ ชิ าการสมัยใหม่ไปด้วย ท�ำให้ทรง ตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาอังกฤษ ซึง่ เป็นกุญแจไขไปสูค่ วามรูท้ างวิชาการตะวันตก และการเปลี่ ย นแปลงของสถานการณ์ ระหว่างประเทศ การที่ทรงมีความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์รอบด้านอย่างกว้างขวางท�ำให้ ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามของจักรวรรดินยิ ม ตะวันตก ส่งผลให้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยจาก ที่เคยเป็นมาแต่เดิมรวมทั้งพระราชปณิธาน ของพระองค์ในการด�ำเนินนโยบายปรับปรุง ประเทศแบบสมัยใหม่ตามแนวทางตะวันตก เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ทรงเห็นความส�ำคัญของ “การศึกษา” ซึ่ง เป็น “เครือ่ งมือ” ช่วยให้รเู้ ท่าทันชาวตะวันตก เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว จึงทรงส่งเสริมการ ศึ ก ษาแบบตะวั น ตกอย่ า งไม่ เ คยปรากฏ มาก่อน ๓. พระราชกรณียกิจในการปกครอง บ้านเมือง พระราชกรณียกิจในการปกครอง บ้านเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่ทรงมุ่งปรับปรุงประเทศ ให้ทนั สมัยตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะยุโรป ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของประเทศคือการ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ธ�ำรงไว้ซึ่งเอกราชอย่างมีศักดิ์ศรีและมี เกี ย รติ ภู มิ พระราชกรณี ย กิ จ ในการ ปรับปรุงประเทศดังกล่าว แบ่งออกได้ เป็น ๕ ประการ ดังนี้ การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดินิยม ตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ก�ำลังแผ่ขยายอ�ำนาจเข้ามาในภูมิภาค เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ แ ละเข้ า ครอบครองดินแดนที่อยู่รอบด้านของ ประเทศไทยทัง้ ทางตะวันตก ทางใต้ ทาง ตะวั น ออกและตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบสถานการณ์ดังกล่าวได้ทรง เตรียมพระองค์ในการติดต่อกับประเทศ ตะวันตกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรงด�ำเนินพระบรมราโชบายด้านความ สั ม พั น ธ์ กั บ ต่ า งประเทศตามพระราชด� ำ ริ ขั้นต้นคือ การต่อสู้ด้วยปัญญาและหัวใจ การเจรจาทางการทูตและการท�ำสนธิสญ ั ญา กับต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยทรงยึดเป้าหมาย สูงสุดคือความอยูร่ อดของประเทศ การรักษา เอกราชของประเทศให้ ร อดพ้ น จากการ ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ด้ า นเศรษฐกิ จ และการเมื อ ง สืบเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ รัฐบาลไทยได้ ท�ำสนธิสัญญากับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยอนุ ญ าตให้ พ ่ อ ค้ า จากประเทศทั้ ง สอง ค้าขายโดยตรงกับราษฎรได้ แต่ปรากฏว่า รายได้ ข องรั ฐ บาลตกต�่ ำ ลงอย่ า งมากซึ่ ง รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยวิธใี ห้เอกชนผูกขาดภาษี ในระบบเจ้าภาษีนายอากรพร้อมกับจัดกอง เรื อ ออกไปค้ า ขายยั ง ต่ า งประเทศเพิ่ ม ขึ้ น ท�ำให้พ่อค้าอังกฤษและอเมริกันร้องเรียนไป ยังรัฐบาลของตนว่าไทยละเมิดสนธิสัญญา นอกจากนี้ พ่อค้าต่างชาติยังไม่พอใจที่ไทย เก็บภาษีปากเรือสูงและไม่ยอมขายข้าวเป็น สินค้าออก โดยเฉพาะอังกฤษนั้น นอกจาก ต้องการซือ้ ข้าวจากไทยแล้วยังต้องการน�ำฝิน่ เข้ามาขายในเมืองไทยด้วยแต่ฝิ่นเป็นสิ่งที่

ท�ำลายสุขภาพของประชาชน รัฐบาลไทย ทุกสมัยก่อนหน้านี้จึงพยายามขัดขวางการ ซือ้ ขายฝิน่ นอกจากเรือ่ งเศรษฐกิจโดยตรงแล้ว รัฐบาลของต่างชาติยงั ต้องการเข้ามาตัง้ สถาน กงสุลในเมืองไทย เพื่อเป็นผู้แทนของรัฐบาล คอยดูแลตัดสินให้ความยุติธรรมแก่คนของ ตนทัง้ ด้านกฎหมาย การศาล และอืน่ ๆ ทัง้ นี้ โดยชาวต่างประเทศอ้างว่ากฎหมายของไทย ล้าสมัย และไม่ให้ความเป็นธรรมแก่คนใน บังคับของตนอย่างเพียงพอ หรือนัยหนึ่งคือ ชาวต่ า งประเทศต้ อ งการได้ รั บ สิ ท ธิ สภาพนอกอาณาเขตในดินแดนไทย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความต้องการของ อังกฤษและสหรัฐอเมริกาดังกล่าวจึงทรง เตรียมการหลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์ได้ ไม่นาน พระองค์ทรงออกประกาศลดภาษี ปากเรือหรือภาษีเบิกร่อง ซึ่งเรียกเก็บจาก เรือสินค้าต่างชาติวาละ ๑,๗๐๐ บาท มาเป็น วาละ ๑,๐๐๐ บาท ต่อมาก็ได้ออกประกาศ ให้ขายข้าวเป็นสินค้าออกของไทยได้ รวมทั้ง ประกาศยอมให้พ่อค้าต่างชาติน�ำฝิ่นเข้ามา ขายในเมื อ งไทยได้ แต่ จ ะต้ อ งขายให้ กั บ เจ้าภาษีฝิ่นโดยตรงพร้อมกันนั้นถ้ารัฐบาล ต่ า งประเทศต้ อ งการที่ จ ะเข้ า มาตั้ ง สถาน กงสุลในเมืองไทย พระองค์ก็ไม่ทรงขัดข้อง 25


การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้น�ำทางการทหาร

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์

(ตอนที่ ๑)

ภัยที่น่ากลัว คือ การกระท�ำที่ไม่รู้จักคิด

ารปฏิ บั ติ ง านหรื อ การ ท�ำงานที่ส�ำเร็จ บรรลุเป้า หมายขององค์กรและหน่วย เหนือขึ้นไป โดยเฉพาะตามเจตนารมณ์ ของผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาระดั บ สู ง อย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล เป็ น ที่ ต้ อ งการอย่ า งยิ่ ง ในปั จ จุ บั น ส� ำ หรั บ ทุกหน่วยงาน นั่นคือ การเป็นผู้น�ำที่พึง ประสงค์จงึ ถูกคาดหวังมากยิง่ ขึน้ ส�ำหรับ

ภาษิตจีน

ในกองทั พ บกนั้ น ได้ มี ก ารจั ด อบรม หลักสูตรในลักษณะ Pre–command และแทบทุกหลักสูตรมักจะมีการสอน รายวิชาเกี่ยวกับผู้น�ำหรือความเป็นผู้น�ำ บรรจุแทรกอยู่เสมอ และยิ่งของเอกชน ด้วยแล้วจะเห็นได้ว่ามีหลักสูตรต่าง ๆ มากมายเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาผู ้ น� ำ หรื อ แม้แต่การพัฒนาความเป็นผู้น�ำ ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐทัว่ ไปเองก็เริม่ มีการเน้น

พรรณระวี ชัยอิ่มคำ� (แปล), ไม่ใช่หัวหน้า แต่ข้าคือ ผู้นำ� สามกฎเหล็กสู่การเป็นสุดยอดผู้นำ�, ราชีพ เปศวาริยะ (เขียน), สมุทรสาคร: พิมพ์ดี, ๒๕๕๖, หน้า ๒๖๑. 26 ๑

พัฒนาผู้น�ำกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามเป็น เรื่องที่น่าคิดไม่น้อยที่มีผู้กล่าวถึง ผู้น�ำ ทีไ่ ร้คา่ ว่า “คนส่วนใหญ่รบั ต�ำแหน่งผูน้ ำ� โดยไม่เข้าใจลึกซึง้ ว่า ต้องเผชิญอะไรบ้าง และไม่เคยถามว่า ตัวเองเหมาะกับการ เป็ น ผู ้ น� ำ หรื อ ไม่ หลายคนประเมิ น งานการเป็นผู้น�ำต�่ำเกินไป ผลลัพธ์ฟ้อง ดั ง องค์ ก รที่ เ ห็ น อยู ่ ม ากมายทั่ ว โลก”๑ ในขณะที่ มหาตมะ คานธี เขาเลือกเส้น


ทางการเป็นผูน้ ำ� ไม่ใช่เพราะหวังชือ่ เสียง เงินทอง หากเพราะเชื่อมั่นในเป้าหมาย ของตน ซึ่งสอดคล้องกับนายลี กวน ยู ทีก่ ล่าวไว้วา่ “ผูค้ นทัง้ แผ่นดินสามารถไม่ เห็นด้วยกับฉัน แต่ถ้าฉันรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ ถูกต้อง ฉันจะท�ำมัน นั่นคือพันธกิจของ ผูน้ ำ� ” สิง่ ต่างๆ เหล่านีเ้ ป็นการตอกย�ำ้ ว่า บทบาท (Role) ของผู ้ น� ำ คื อ อะไร ? สิ่งแวดล้อม (Environment) ในการ ท� ำ งานของเขาเป็ น อย่ า งไร ? เขาจะ พัฒนา (Development) และเติบโต อย่างไร ? (เรียกสัน้ ๆ ว่า RED) งานเขียน (Working Paper) นี้จึงต้องการเสนอ แนวคิดในการท�ำงานทางการบริหารของ ผูน้ ำ� ทีใ่ ช้ขอ้ ความดังกล่าวเพราะผูบ้ ริหาร อาจไม่มคี วามเป็นผูน้ ำ� ทีม่ ากพอ ในขณะ เดียวกันก็มีผู้บริหารมากมายที่มีความ เป็นผู้น�ำสูงอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน (ทั้งที่แท้ จริงแล้วเราต้องการผู้บริหารที่มีความ เป็นผู้น�ำที่สูงตามที่ควรจะเป็น) รวมถึง เป็นแนวคิดในการพัฒนาผู้น�ำทุกระดับ และผู้บริหารการศึกษาอีกด้วย ซึ่งก็เป็น เพี ย งมุ ม มองจากการศึ ก ษา ค้ น คว้ า ๒ ๓

ประสบการณ์ท่ีได้พูดคุย ได้สัมผัสบ้าง บางส่วนแล้วน�ำมาเรียบเรียงน�ำเสนอเพือ่ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวคิด ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ในแนวทาง หนึ่ง มีข้อเสนอในท้ายบทน�ำนี้ว่าผู้ที่มี ประสบการณ์ในการเป็นผู้น�ำในแง่คิด ที่ดีๆ ควรมีการเสนอประสบการณ์นั้น เชิ ง สร้ า งสรรค์ ผ ่ า นงานเขี ย นเพื่ อ เป็ น การให้ แ ละแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ที่ มี คุ ณ ค่ า แก่ ผู ้ น� ำ รุ ่ น หลั ง ๆ ได้ เรี ย นรู ้ อันจะยังประโยชน์แก่กองทัพในภาพรวม ต่อไป ผู้น�ำ : ผู้บริหาร มักมีค�ำถามเกิดขึ้นเสมอว่าผู้น�ำ กับผู้บริหารมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในประเด็ นนี้ ไ ด้ มี ผู ้ ก ล่ า วในเชิ ง ของ ความเป็นผู้น�ำกับการบริหารในหลาย แง่มุม อย่าง Stephen R. Covey กล่าว ว่า การบริหาร เป็นประสิทธิภาพในการ ไต่บนั ไดแห่งความส�ำเร็จ ในขณะทีค่ วาม เป็นผูน้ ำ� จะเป็นเรือ่ งของการมองว่าบันได นั้ น ก� ำ ลั ง วางพาดอยู ่ กั บ ก� ำ แพงอย่ า ง ถูกต้อง ส่วน Kotter กล่าวว่า ความเป็น

ผู้น�ำมีความแตกต่างจากการบริหารอยู่ หลายด้ า น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ด้ า น พฤติกรรมในการน�ำ ความเป็นผู้น�ำจะ เป็นตัวหลักทีน่ ำ� การขับเคลือ่ นและท�ำให้ เกิดการเคลือ่ นทีไ่ ปในทิศทางสูเ่ ป้าหมาย ทีว่ างไว้ ส่วนการบริหารเป็นเรือ่ งของการ จัดการระบบงาน กระบวนการท�ำงานใน องค์กรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ ให้มคี วามเป็นระเบียบในทางปฏิบตั อิ ย่าง คงเส้นคงวา๒ อย่างไรก็ตาม Pursley and Snortland (๑๙๘๐) กล่ า วถึ ง ความแตกต่างระหว่างผูบ้ ริหารกับผูน้ ำ� ว่า ผูบ้ ริหารจะได้รบั การแต่งตัง้ และมีอำ� นาจ อย่างเป็นทางการภายในหน่วยงานของ ตน ในขณะที่ผู้น�ำอาจได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตัง้ หรือได้รบั การยอมรับเฉพาะ ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น ผู้บริหารมี ต�ำแหน่งอย่างเป็นทางการ ส่วนผูน้ ำ� อาจ มีหรือไม่มตี ำ� แหน่งอย่างเป็นทางการก็ได้ ผู้บริหารสามารถออกค�ำสั่งให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ ในขณะ ทีผ่ นู้ ำ� สามารถจูงใจให้สมาชิกกลุม่ ท�ำงาน ที่นอกเหนือหน้าที่ได้ ผู้บริหารทุกคน สามารถเป็นผูน้ ำ� ได้ ส่วนผูน้ ำ� บางคนอาจ ไม่ได้เป็นผู้บริหาร ผู้บริหารมีหน้าที่จัด องค์การ วางแผนและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน ในขณะที่ผู้น�ำบางคนไม่อาจ ท�ำงานที่อยู่ในหน้าที่ของผู้บริหารได้๓ นอกจากนี้ Kotter (๑๙๙๐) ยังได้เปรียบ เทียบถึงความแตกต่างเชิงบริบทของการ บริหารจัดการและความเป็นผู้น�ำไว้ดังนี้ ในบริบทการสร้างระเบียบปฏิบัติ ใน การบริหารจัดการ นั้นจะเป็นเรื่องของ การวางแผนงาน แผนงบประมาณ และ การสร้ า งรายละเอี ย ดเป็ น ขั้ น ตอน

สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ภาวะผู้นำ�ของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ, http://www.supatta.haysamy.com/leader_pro.html accessed ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗. อ้างถึงใน สุภัททา ปิณฑะแพทย์ .

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

27


ก�ำหนดตารางเวลาและผลลัพธ์ รวมถึง การจั ด หาทรั พ ยากรที่ จ� ำ เป็ น ในการ ท�ำงาน ในขณะที่ ความเป็นผู้น�ำ จะ เป็นการสร้างทิศทางการท�ำงาน การ ก� ำ หนดวิ สั ย ทั ศ น์ สู ่ อ นาคต และสร้ า ง กลยุ ท ธ์ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงที่ จ�ำเป็นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ในบริบทการ พัฒนาเครือข่ายบุคคลเพือ่ น�ำไปสูค่ วาม ส�ำเร็จตามระเบียบปฏิบตั ิ ในการบริหาร จัดการ นั้นเป็นเรื่องของการจัดกลุ่มงาน และวางตัวบุคคล สร้างระบบโครงสร้าง เพื่อท� ำ แผนงานตามที่ก�ำหนดไว้ การ วางตัวบุคคลแต่ละคน การกระจายงาน ความรับผิดชอบและอ�ำนาจปกครองเพือ่ ให้งานทีว่ างไว้สำ� เร็จ รวมถึงการสร้างรูป แบบและระบบการประเมินการปฏิบัติ งาน ในขณะที่ ความเป็นผูน้ ำ� จะเป็นการ รวบรวมบุคคล การสื่อสารเพื่อให้เกิด ความเข้าใจตรงกันในงานที่ต้องท�ำ การ สร้างความร่วมมือโดยใช้การโน้มน�ำให้ เกิด การท� ำ งานเป็ นทีม เกาะเกี่ยวกัน สร้างความเข้าใจในวิสยั ทัศน์รว่ มกัน รวม ถึงก�ำหนดยุทธศาสตร์เพื่อประเมินความ น่ า เชื่ อ ถื อ ในบริ บ ทการจั ด การ การ บริหารจัดการ นั้นจะเป็นเรื่องของการ ควบคุ ม และแก้ ป ั ญ หา วางแผนงาน ก�ำหนดรายละเอียดของงานและก�ำหนด ผลลัพธ์ ก�ำกับดูแลไม่ให้เกิดความคลาด เคลื่อน รวมถึงเตรียมการแก้ไข จัดการ ปัญหา ในขณะที่ ความเป็นผู้น�ำ จะใช้ การจูงใจและการจุดประกายให้บุคคล เกิดพลังที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ขัดขวาง การเปลีย่ นแปลง รวมถึงเอาใจใส่ในความ ต้อ งการพื้ น ฐานของมนุษย์ ในบริ บ ท ผลลัพธ์ การบริหารจัดการ นั้นจะเป็น เรื่องของการจัดให้มีการก�ำหนดระดับ

ของความคาดหวัง การสัง่ การและก�ำกับ ความคงทีข่ องผลผลิตตามความคาดหวัง ของตลาดและลูกค้า ที่ต้องเป็นไปตาม เวลาและตามงบประมาณ ในขณะที่ ความเป็นผู้น�ำ จะเป็นการก่อให้เกิดการ เปลี่ ย นแปลงในระดั บ สู ง มี ก ารปรั บ เปลี่ยนไปในทางที่เกิดประโยชน์ เช่น สร้างผลผลิตใหม่ทลี่ กู ค้าพึงพอใจ เป็นต้น รวมถึ ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น ในระดั บ ผู ้ ท�ำงานทีจ่ ะท�ำให้หน่วยงานสามารถเข้าสู่ การแข่งขันได้๔ ผู้น�ำกับการเปลี่ยนผ่าน ส�ำหรับผูท้ กี่ ำ� ลังจะด�ำรงต�ำแหน่ง ที่เป็นผู้น�ำองค์กร หรือหน่วยงานทาง ทหารนั้น กองทัพบกสหรัฐฯ ได้จัดท�ำ คู่มือกองทัพบกส�ำหรับความเป็นผู้น�ำใน การเปลี่ยนผ่าน (Army Handbook for Leadership Transitions) ทีถ่ กู ออกแบบ ไว้เพือ่ ช่วยบรรดาผูน้ ำ� วางแผนและด�ำเนิน การเปลี่ยนผ่านสู่ต�ำแหน่งผู้น�ำคนใหม่ อย่างสัมฤทธิผล๕ ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจ

โดยแบ่งเป็น ๗ ขั้นตอนดังนี้ ๑. การเตรียมการ (Preparation) ซึง่ ประกอบด้วย การศึกษาท�ำความ เข้าใจในองค์กรที่ตนจะไปด�ำรงต�ำแหน่ง พัฒนาแผนการเปลี่ยนผ่าน ด�ำเนินการ ประเมินตนเอง จัดท�ำเอกสารเริ่มต้น ท�ำ สิ่งที่จะเปลี่ยนผ่านที่จ�ำเป็นให้สมบูรณ์ เตรียมพิธีการรับ-ส่งหน้าที่ ด�ำเนินการ ตามกระบวนการให้สมบูรณ์ ๒. วันแรก (First Day) รับ-ส่ง หน้าที่ ก�ำหนดความเร่งด่วนสิง่ ทีจ่ ะท�ำใน วันแรก เช่น จะต้องไปพบใครบ้าง มีคำ� สัง่ อะไรบ้างหรือไม่ เป็นต้น ๓. การประเมินเริ่มต้น (Initial Assessment) เรียนรูอ้ ย่างรวดเร็วในเรือ่ ง สภาพแวดล้อมทัง้ ภายใน (โดยการพูดคุย ส� ำ รวจ การประชุ ม ) และภายนอก (ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง กองบัญชาการ) ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา การศึ ก ษาและการ สังเกต การถาม เป็นต้น การสร้างความ น่าเชื่อถือ การหาข้อมูลป้อนกลับ ฯลฯ

อ้างถึงใน สุภัททา ปิณฑะแพทย์. Combined Arms Center, Army Handbook for Leadership Transitions, usacac.army.mil/cac2/cal/repository/LeadershipTransition.pdf accessed 3 February 2014, Introduction. พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์ 28 ๔ ๕


๔. การท�ำให้ตรงกันและการ สร้ า งที ม (Alignment and Team Building) การทบทวนและพัฒนาองค์กร ให้ตรงกันในเรื่อง วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้า หมายและวัตถุประสงค์ ก�ำหนดหลักไมล์ ที่ส�ำคัญ รักษาชัยชนะอย่างรวดเร็วด้วย ท�ำให้เกิดความมั่นใจ ความไว้วางใจและ ความน่าเชือ่ ถือ หลีกเลีย่ งหลุมพราง การ คลั่งลัทธิ พิจารณาออกแบบองค์กรใหม่ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ความจ� ำ เป็ น โครงสร้ า ง กระบวนการ สร้างทีมด้วยการก�ำหนด อ� ำ นาจหน้ า ที่ ใ ห้ กั บ ก� ำ ลั ง พล ก� ำ หนด ทรัพยากร เสรีภาพในการปฏิบัติ ระบบ และวั ฒ นธรรมที่ เ อื้ อ ต่ อ ความส� ำ เร็ จ เป็นต้น ๕. ก�ำหนดระเบียบปฏิบัติประจ�ำ (Establishing Routines) ก�ำหนดการ ประชุมประจ�ำโดยติดตามความก้าวหน้า แบ่งมอบทรัพยากร เริ่มก�ำหนดแผนการ สื่อสารทางยุทธศาสตร์ด้วยการก�ำหนด วิสยั ทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และหลักไมล์ส�ำคัญ เป็นต้น ๖. เปลี่ยนผ่านส�ำเร็จ (Transition Over) ๗. ด� ำ รงความต่ อ เนื่ อ งอย่ า ง ยั่งยืน (Sustaining) ด้วยการจัดระบบ และด�ำเนินการ๖ นอกจากนี้ในคู่มือดังกล่าวยัง สอดแทรกสิ่งที่อดีตผู้น�ำได้ให้ค�ำแนะน�ำ ไว้อย่างน่าคิด เช่น “ให้เวลาตัวเองที่จะ จัดล�ำดับความคิดและให้ความเห็น ทุกสิง่ ที่ ท ่ า นพู ด จะถู ก วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ จ าก บางคน”, “ให้เสรีภาพในการปฏิบัติต่อ ผูน้ ำ� ระดับรองลงไปเพือ่ การน�ำ”๗ เป็นต้น อนึ่ง จากเอกสารผลลัพธ์การ พัฒนาผู้น�ำของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ กล่าวว่า นายทหารระดับ O-1 to O-2 หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

(ระดั บ ผู ้ บั ง คั บ หมวด) ควรเป็ น ผู ้ น� ำ ประเภทที่เน้นการไว้วางใจ (Trusted Leader) นายทหารระดับ O-3 to O-4 (ระดับผู้บังคับกองร้อย) ควรเป็นผู้น�ำ ประเภทจูงใจ (Motivational leader) นายทหารระดับ O-5 to O-6 (ผู้บังคับ กองพัน – ผูบ้ งั คับการกรม) ควรเป็นผูน้ ำ� ประเภทสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational leader) นายทหารชั้นนายพล (Flag Officer) ควรเป็นผู้น�ำประเภทมี วิสัยทัศน์ (Visionary Leader)๘ จะ เห็นว่าระดับ ผูบ้ งั คับหมวด นัน้ เน้นทีต่ อ้ ง ปฏิบัติการในสนามรบจึ ง เน้ นที่ ก ารไว้ วางใจ การท�ำงานเป็นทีม ผู้บังคับบัญชา ไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงการสั่ง การ และการปฏิบัติตามค�ำสั่ง ในขณะที่ ผูใ้ ต้บงั คับบัญชาก็ไว้วางใจผูบ้ งั คับบัญชา ว่าจะน�ำพาหน่วยให้ปฏิบัติภารกิจส�ำเร็จ ลุล่วงและคาดหวังว่าจะน�ำพาผู้ใต้บังคับ บัญชากลับหน่วยอยูร่ อดปลอดภัยทุกคน

ส่วนระดับผู้บังคับกองร้อยนั้นจะมีความ คาบเกี่ยวที่เน้นการไว้วางใจด้วยจะมุ่ง การเป็นผู้น�ำที่จูงใจในการน�ำหน่วยและ บริ ห ารจั ด การหน่ ว ย คื อ เริ่ ม การเป็ น ผู้บริหารระดับต้นด้วย ในขณะที่ผู้บังคับ กองพัน – ผู้บังคับการกรมจะเน้นการ เป็นผู้น�ำเชิงบริหารมากขึ้นในลักษณะ การเป็นผู้บริหารระดับกลาง จึงมุ่งการ เป็นผู้น�ำที่สร้างแรงบันดาลใจ ในส่วน ของชั้นนายพลจะมุ่งเน้นที่การเป็นผู้น�ำ ทางยุทธศาสตร์ที่มุ่งของเรื่องการเป็น ผูบ้ ริหารระดับสูงจึงเน้นทีก่ ารมีวสิ ยั ทัศน์ เชิงยุทธศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นการใช้ ประโยชน์ จ ากแง่ คิ ด ดั ง กล่ า วอย่ า ง เหมาะสมย่ อ มเกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ น� ำ แต่ละระดับว่าตนเองควรแสดงบทบาท อย่างไร เหมาะสมกับระดับตนเองหรือไม่ การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้น�ำทางการทหารยังไม่หมดเพียง เท่านีค้ รับ ติดตามอ่านตอนต่อไปในฉบับ หน้าครับ

Ibid., Combined Arms Center, pp.1-(1-1). Ibid., pp.10-20. ๘ Navy Leader Development Outcomes, www.usnwc.edu/getattachment/fe704f56-348a-4643b447-746a805d53bf/NLDS-TheOutcomes.aspx accessed 4 February 2014, p.5. ๖ ๗

29


The Perfect Edge “เพราะ สุดๆ....จึงรอด... และกลับอย่างเกียรติยศ”

ดือนมิถนุ ายน ๑๙๙๕ ของสงคราม ที่คุกรุ่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของสังคม ที่ ต ่ า งศาสนาและความเชื่ อ ใน สงคราม Bosnia-Herzegovina เสืออากาศ หนุม่ นักบิน F-16 แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ Capt.Scott O’Grady ต้องกระเสือกกระสน ทุ่มเทความรู้ทุกอย่างที่เคยได้รับการฝึกมา ในการเอาตัวรอด เมื่อนักบินเช่นเขาที่ต้อง ชะตาอาภั พ ในสงครามและถู ก ยิ ง ตกใน ดินแดนข้าศึกเขาหนีสดุ ชีวติ กลางป่าทีห่ นาว เหน็บและเต็มไปด้วยอันตรายจากการไล่ล่า ของทหารเซอร์เบีย ในช่วง ๔๘ ชั่วโมงแรก หลังจากที่เครื่อง F-16 ของเขาถูกยิงตก เหนือน่านฟ้า Bosnia Bosnia-Herzegovina เดิมนั้น 30

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

เป็นดินแดนหรือรัฐหนึง่ ในหกรัฐของประเทศ ยูโกสลาเวีย ก่อนทีป่ ระเทศนีจ้ ะแตกออกเป็น ประเทศต่างๆ อีกห้าประเทศภายหลังการ ล่มสลายของสหภาพโซเวียตส่วน BosniaHerzegovina ยั ง อยู ่ กั บ รั ฐ บาลกลาง ยูโกสลาเวียเหมือนเดิม ดินแดนทั้งหมดนี้ ตัง้ อยูต่ อนกลางของคาบสมุทรบอลข่าน เป็น ดินแดนที่เป็นชนวนเรื่องยุ่งยากใจของชาว โลกมาทุกยุคทุกสมัย Bosnia-Herzegovina ประกอบ ด้วยชาวเซิร์พที่นับถือคริสต์ทั้งออร์โธดอกซ์ ชาวโครแอทที่นับถือคาทอลิก อีกส่วนหนึ่ง คือชาวบอสเนียที่เป็นมุสลิม ถ้าเอ่ยถึงชื่อ เหล่านี้ นายพลตีโต,ประเทศมอนเตรนีโก, กรุงซาราเจโว ส�ำหรับผู้ที่ติดตามการเมือง

ระหว่างประเทศ คงต้องสะดุดความรูส้ กึ จาก ชื่อนี้ขึ้นมาทันที เค้าลางของปัญหาถูกซุกไว้นานแล้ว จากความแตกต่ า งของศาสนานี่ เ อง จน กระทั่งเกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันจาก น�้ ำ มื อ ของกองก� ำ ลั ง ชาวเซิ ร ์ บ ในช่ ว งปี ๑๙๙๑ - ๑๙๙๕ เมื่อชาวมุสลิมบอสเนีย ต้ อ งการแยกตั ว จากยู โ กสลาเวี ย แต่ ถู ก คัดค้านอย่างรุนแรงจากชาวเซิรบ์ ความโหดร้าย และป่าเถือ่ นระบาดไปทัว่ ถึงขัน้ UN ต้องตัง้ กองก�ำลังป้องกันสหประชาชาติ (United Nation Protection Force : UNPROFOR) ขึ้นเพื่อยุติสงครามนี้ การเจรจาตกลงกันได้ ตามสนธิสัญญาเดย์ตัน ท�ำกันที่เมืองเดย์ตัน รัฐ OHIO สหรัฐอเมริกา นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ในเสี้ยววินาทีที่ F-16 ในหมู่บินของ เขาจ�ำนวนสองล�ำ โดยทีเ่ ขาท�ำหน้าทีห่ วั หน้า หมู่บิน ในภารกิจลาดตระเวน เขตห้ามบิน ของเครือ่ งบินทีไ่ ม่ได้รบั อนุมตั ิ เหนือน่านฟ้า Bosnia-Herzegovina หมู่บินของเขาถูก ตรวจจับและยิงขีปนาวุธเข้าโจมตี จากหน่วย ขีปนาวุธแบบพื้นสู่อากาศของกองก�ำลังชาว เซิร์บ (Serbian) ลูกแรกวาสนาเขายังมีอยู่ บ้าง ขีปนาวุธระเบิดตรงกลางระหว่างเครือ่ ง ของเขาและลูกหมู่ แต่ลูกที่สองโชคเข้าข้าง ขีปนาวุธชาวเซิร์บ ลูกนี้ชนเป้าหมาย F-16 ของเขาอย่ า งจั ง เครื่ อ งบิ น ระเบิ ด ทั น ที พระเจ้าเมตตาเขา จิตวิญญานของเสืออากาศ ช่วยให้เขา ดีดตัวออกจากเครือ่ งได้ทนั ท่วงที แต่โชคร้ายก็ไม่หมดสิ้นและเป็นปัญหาใหญ่ ของเขา เพราะเขาต้องตกลงในดินแดนของ ข้าศึก ทันทีที่ร่มชูชีพกางกินลมได้ที่ เหมือน ส่งสัญญานให้กองก�ำลังภาคพื้นชาวเซิร์บ เริ่มเกมส์ไล่ล่าเขา หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

31


ข้ อ มู ล บางส่ ว นจากหนั ง สื อ ที่ เขา เขียนขึ้นชื่อ “Return with Honor : กลับ อย่างเกียรติยศ” ซึง่ บรรยายไว้วา่ เขาต้องหา ทีซ่ อ่ นตัวทีเ่ ร้นลับทีส่ ดุ เดินทางกลางคืนและ หลับนอนทีไ่ ม่เต็มตาตอนกลางวัน ตลอดช่วง เวลาหกวัน ในการหลบหนีหลีกเลี่ยงตาม ชนบทในเขตป่ า เขาถิ่ น อาศั ย ของชาว บอสเนีย เขายังชีพได้ด้วยน�้ำฝน พืชที่กินได้ และแม้กระทั่งแมลงบางชนิดในช่วงย�่ำรุ่ง วันทีห่ กของการหนีสดุ ชีวติ เป็นครัง้ แรกทีเ่ ขา ได้ใช้วิทยุติดต่อกับกองก�ำลังช่วยเหลือของ นาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งก็ส�ำเร็จ ทีมช่วยเหลือ นาวิกโยธินสามารถพาเขาออกจากสภาพ

32

คล้ายนรกนัน้ ได้อย่างปลอดภัย ถามง่ายๆ ว่า พื้นที่ความรู้ในการเอาตัวรอดแบบนี้ของเขา มาจากไหน ถ้าไม่มาจากการเรียนและฝึก อย่างหนักของหลักสูตรภาคพื้นดิน ก่อนที่ เขาจะเป็นนักบินพร้อมรบ F-16 เต็มตัว Capt.Scott O’Grady นักบิน F-16 คนนี้ เข้ารับการฝึกสามสัปดาห์เต็ม พร้อม กับนักบินคนอื่นๆ จากฝูงบินที่ต่างกันไป ในหลั ก สู ต รการยั ง ชี พ และเอาตั ว รอด ในทุกสภาพแวดล้อม (Survival, Evasion, Resistance and Escape : SERE) ในกรณี ทีเ่ ครือ่ งบินถูกยิงตกหรือตกเองด้วยอุบตั เิ หตุ ใดๆ ที่ Fairchild Air Force Base, Wash

โดยมี ที ม งานควบคุ ม การฝึ ก คื อ 336 th Training Group ความเข้มข้นของ SERE Course นี้ สามารถเปลี่ยนทัศนคติในการดิ้นรนเอาตัว รอดของผู้รับการฝึกเป็นอย่างดี พวกเขาได้ รับการทดสอบความเข้มแข็งทั้งทางร่างกาย และจิ ต ใจ เกื อ บทุ ก อย่ า งในทุ ก สภาพ สิ่งแวดล้อมที่จะต้องเผชิญ พวกเขาจะได้ เรียนรูท้ ำ� ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกีย่ วกับการ ดีดตัวออกจากเครือ่ ง (Ejection procedure) การโดดและใช้ร่ม (Parachute landing Falls) การเอาตัวออกจากโครงสร้างเครื่อง บิ น เมื่ อ ตกพื้ น หรื อ จมน�้ ำ ยุ ท ธวิ ธี ใ นการ

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


หลบหนี ห ลี ก เลี่ ย งให้ ร อดพ้ น จากการไล่ ล ่ า ของข้ า ศึ ก การซ่อนพลางตัว (Camouflage) การเดินทางกลางคืน (Night Navigation) การใช้วิทยุและการน�ำร่อง เครื่องบินช่วยเหลือ กู้ภัย (Ground to Air Signal and Aircraft vectoring) สภาวะการขาดน�้ำ (Dehydrated) การยังชีพ (Survival) เครื่ อ งมื อ แพทย์ ขั้ น ปฐม (Medecine devices) การใช้ เครื่องมือแบบง่ายๆ ที่ดัดแปลงตามภูมิประเทศหรือเครื่องมือ ประจ�ำตัวของนักบินเอง ผลลั พ ธ์ ข องการฝึ ก ที่ ต ้ อ งการคื อ ความอยู ่ ร อด หนีพ้นจากการทรมานที่หฤโหดเพื่อรีดเค้นเอาข้อมูลข่าวสาร ต่างๆ พวกเขาถูกซึมซับให้เห็นถึงความน่ากลัวเหล่านี้ ถ้าต้อง อยูภ่ ายใต้เงือ้ มมือข้าศึก ความรูส้ กึ อันนีเ้ ป็นแรงขับทีด่ ี ท�ำให้ผู้ ท�ำการในอากาศได้รับทักษะเกือบทุกเม็ดใน SERE Course ท้ า ยที่ สุ ด ของ SERE Course ที่ ต ้ อ งสร้ า งให้ อ ยู ่ ในจิตใต้ส�ำนึกของผู้ท�ำการในอากาศให้ได้ ถ้าพวกเขาต้อง ถูกจับเป็นเชลยจริงๆ พวกเขาจะต้องเรียนรู้วิธีการเจรจากับ ข้าศึกในสภาพที่ถูกบีบคั้นอย่างที่สุดทั้งร่างกายและจิตใจ จรรยาบรรณหรือหลักการ (Code of Conduct) ที่พวกเขา ยึดเหนี่ยวไว้ร่วมกันอย่างเหนียวแน่นคือ “Returning with Honor : กลับอย่างเกียรติยศ” หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

33


แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้า ทะเลจีนใต้

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

นห้วงเวลาที่ผ่านมา ข้อพิพาท เหนือทะเลจีนใต้ได้กลายเป็นจุด สนใจของโลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมี การเสริ ม สร้ า งก� ำ ลั ง รบและการขยาย อิทธิพลเพือ่ ครอบครองดินแดนต่างๆ อย่าง มากมาย เวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ เป็นคู่กรณีกับจีนในปัญหาข้อพิพาทเหนือ พืน้ ทีห่ มูเ่ กาะพาราเซลและหมูเ่ กาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ ภายหลังจากทีม่ ปี ญั หากันมา นานนับร้อยปี เช่นเดียวกับสมาชิกอาเซียน อื่นๆ คือ มาเลเซีย, บรูไน, ฟิลิปปินส์ และ ประเทศนอกอาเซียนอีกหนึ่งประเทศคือ ไต้หวัน แม้ว่าเวียดนามจะอ้างว่าตนเป็นผู้ ที่ ค รอบครองหมู ่ เ กาะพาราเซล หรื อ ที่ เวียดนามเรียกว่า “ฮวงชา” (Hoang cha) ส่วนจีนเรียกว่า “สีชา” (Xisha) มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๗๒๓ ย้อนหลังไปเกือบ ๓๐๐ ปี ก่อน ที่จีนจะส่งก�ำลังทหารเข้ายึดครองในวันที่ ๑๙ มกราคม ค.ศ.๑๙๗๔ ในสงครามที่หมู่ เกาะพาราเซล (Battle of Paracel islands) และจีนสามารถจมเรือคอร์เวต ของเวี ย ดนามใต้ ล งได้ ๑ ล� ำ (สมั ย นั้ น เวียดนามยังแบ่งเป็นเวียดนามเหนือและ เวียดนามใต้) เรือฟริเกตเสียหายอีก ๓ ล�ำ ทหารเวี ย ดนามใต้ เ สี ย ชี วิ ต ๕๓ นาย บาดเจ็บอีก ๑๖ นาย ส่วนเรือคอร์เวตของจีน 34

เสียหาย ๔ ล�ำ มีทหารเสียชีวิต ๑๘ นาย บาดเจ็ บ อี ก จ� ำ นวนหนึ่ ง และส่ ง ผลให้ จี น ครอบครองพืน้ ทีท่ งั้ หมดของหมูเ่ กาะพาราเซล ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ภายหลังเวียดนาม จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในปี ค.ศ.๑๙๗๕ แต่รัฐบาลเวียดนามก็ยังคงเรียกร้องให้จีนคืน หมู่เกาะพาราเซลให้กับตน นอกจากนั้นหาก วัดระยะทางแล้วจะเห็นได้ว่าหมู่เกาะพาราเซล อยูห่ า่ งจากเวียดนามเป็นระยะทางเพียง ๔๐๐ กิโลเมตร ส่วนจีนนั้นดินแดนที่ใกล้ที่สุดคือ เกาะหู น านหรื อ ไหหนาน (Hunan หรื อ Hainan) จนกระทั่ ง ในเดื อ นพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ที่ ผ ่ า นมา จี น ได้ ท� ำ การลากแท่ น ขุดเจาะน�ำ้ มัน “ไฮ่หยาง ชิหยู ๙๘๑” (Haiyang Shiyou 981) หรื อ ที่ เวี ย ดนามเรี ย กว่ า “ไฮ่ โด่ง” (Hai Duong) เข้าไปในพื้นที่หมู่ เกาะพาราเซล โดยอ้างว่าเพื่อท�ำการฝึกซ้อม การใช้เทคโนโลยีในทะเลลึก (deep-sea drilling technology) จนส่ ง ผลให้ ช าว เวียดนามออกมาประท้วงอย่างขนานใหญ่ และขยายตัวเป็นเหตุจลาจลเผาสถานทีต่ า่ งๆ ของนักธุรกิจชาวจีนทัว่ ประเทศเวียดนาม จีน จึงตัดสินใจถอนแท่นขุดเจาะน�้ำมันดังกล่าว กลับดินแดนของตนในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ของปีเดียวกัน ก่อนก�ำหนดเป็นเวลาถึงหนึง่ เดือน

ส่วนหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งประกอบไป ด้ ว ยเกาะเล็ ก เกาะน้ อ ยจ� ำ นวนมาก กระจัดกระจายเป็นพืน้ ทีก่ ว้างกว่า ๔๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ที่สุดชื่อเกาะ “สแปรตลี” ตามชื่อของหมู่เกาะ ปัจจุบันอยู่ ในความครอบครองของเวียดนาม ในปี ค.ศ. ๑๙๓๓ ฝรั่งเศสออกเอกสารอ้างว่าหมู่เกาะ สแปรตลีเป็นของเวียดนามซึง่ เป็นอาณานิคม ของตนมาตั้ ง แต่ ป ี ค.ศ.๑๘๘๗ ในขณะ เดียวกันเวียดนามเองก็อ้างว่าตนครอบครอง เกาะหรือโขดหินเหล่านัน้ มากทีส่ ดุ คือ ๒๔ เกาะ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๗๒๓ จนถึงปี ค.ศ.๑๙๗๓ จีนจึงส่งก�ำลังเข้าครอบครองพื้นที่ ๔ เกาะ โดยในจ�ำนวนนี้มี ๒ เกาะ ที่เพิ่งยึดไปจาก เวี ย ดนามในปี ค.ศ.๑๙๘๘ ความขั ด แย้ ง ดังกล่าวส่งผลให้เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลปิ ปินส์ บรูไน มีการเสริมสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์อย่าง ขนานใหญ่เพื่อถ่วงดุลอ�ำนาจกับมหาอ�ำนาจ จากจีนแผ่นดินใหญ่ บทความนีจ้ ะขอน�ำเสนอ แสนยานุภาพทางอากาศของประเทศต่างๆ ที่ มีสว่ นเกีย่ วข้องกับความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ พอสังเขป กองทัพอากาศเวียดนามมีการเสริมสร้าง แสนยานุภาพทางอากาศ เพื่อมุ่งหวังสกัดกั้น และท�ำลายการรุกของข้าศึกทั้งทางน�้ำและ ทางอากาศที่ ห มายครอบครองพื้ น ที่ ใ น พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


ทะเลจีนใต้ดังกล่าว โดยได้จัดหาเครื่องบิน ขับไล่โจมตีประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒ เครือ่ งยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค๒ (Su-30 MK2) ซึ่งเป็นเครื​ื่องบินขับไล่ที่ใช้ส�ำหรับภารกิจ ขัดขวางทางอากาศและพื้นดินในทุกสภาพ อากาศจ�ำนวน ๑๒ ล�ำจากรัสเซีย ซึ่งจะท�ำให้ เวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกันเลย ทีเดียว เครื่องบินรุ่นนี้ บริษัทซุคฮอย (Sukhoi) ของรัสเซียได้พฒ ั นาขึน้ มาจากเครือ่ งบิน ขับไล่แบบ ซู-๒๗ (Su-27) ทีท่ รงประสิทธิภาพ หากแต่เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติ การระยะไกลให้ครอบคลุมดินแดนอันกว้าง ใหญ่ไพศาลของรัสเซีย ท�ำความเร็วได้สูงสุด ถึง ๒ มัค มีระยะท�ำการ ๓,๐๐๐ กิโลเมตร กล่าวกันว่าเครือ่ งบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ นีม้ ขี ดี ความสามารถเทียบเท่ากับเครื่องบินแบบ เอฟ-๑๕ อีเกิล้ (F-15 Eagle) ของฝ่ายโลกเสรี เลยทีเดียว นอกจากเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ ดังกล่าวแล้ว เวียดนามยังมีเครื่องบินขับไล่ แบบ ซู-๒๗ ที่ยังมีความทันสมัยอยู่มากพอ สมควรอีกจ�ำนวน ๑๐ ล�ำ อีกทัง้ ยังมีเครือ่ งบิน โจมตีภาคพื้นดินแบบ ซู-๒๒ (Su-22) อยู่อีก จ�ำนวน ๑๔๕ ล�ำ ซึ่งได้รับมอบจากสหภาพ โซเวียตมาตัง้ แต่หลังสงครามเวียดนามในช่วง ปี ค.ศ.๑๙๗๖ – ๑๙๘๕ แต่ก็มีอีกบางส่วนที่ เวียดนามจัดซื้อเพิ่มเติมจากโปแลนด์ในปี ค.ศ.๒๐๐๕ จากยูเครนและสาธารณรัฐเชค

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ในปี ค.ศ.๒๐๐๖ และ ๒๐๐๗ ตามล�ำดับ เมือ่ รวมก�ำลังรบเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้วก็ท�ำให้ กองทัพอากาศของเวียดนามสามารถปฏิบัติ การทางอากาศครอบคลุมน่านฟ้าหมู่เกาะ พาราเซลและสแปรตลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเชื่อกันว่าหมู่เกาะทั้งสองนั้นอยู่นอก เหนือรัศมีปฏิบัติการของเครื่องบินรบจีนที่ ประจ�ำการอยู่บนฝั่ง ยกเว้นจะขึ้นบินจากเรือ บรรทุกเครื่องบินเท่านั้น แม้แหล่งข่าวบาง แห่งจะระบุว่าระยะ ๑,๒๐๐ กิโลเมตรนั้น ไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อเครื่องบินของจีน โดย เฉพาะเครื่องบินขับไล่ ซู-๓๐ ที่จีนมีใช้ใน ประจ�ำการเช่นเดียวกัน เพราะเครือ่ งบินรุน่ นี้ มีระยะท�ำการถึง ๓,๐๐๐ กิโลเมตรและเมื่อ เติ ม น�้ ำ มั น กลางอากาศ ระยะท� ำ การของ เครือ่ งบินแบบ ซู ๓๐ ก็จะเพิม่ ขึน้ เป็น ๕,๒๐๐ กิโลเมตรเลยทีเดียว นอกจากนี้ เวี ย ดนามยั ง เพิ่ ม ขี ด ความ สามารถในการตรวจการณ์ทางอากาศด้วย การสั่งซื้อเครื่องบินตรวจการณ์แบบ เดอ ฮาวิลล์แลนด์ ดีเอชซี-๖ ทวิน ออตเตอร์ (De Havilland DHC-6 Twin Otter) จาก ประเทศแคนาดาจ�ำนวน ๖ ล�ำ ซึ่งนับเป็น เครื่องบินปีกนิ่งแบบแรกที่เวียดนามสั่งซื้อ จากโลกตะวั น ตก เครื่ อ งบิ น ดั ง กล่ า วเป็ น เครื่องบินสะเทินน�้ำสะเทินบกที่สามารถบิน ขึ้นลงในน�้ำได้ ท�ำให้มีความเหมาะสมอย่าง มากในภารกิ จ ลาดตระเวนทางทะเล

โดยแคนาดามีก�ำหนดที่จะส่งมอบเครื่องบิน ชุดนี้ภายในปี ค.ศ.๒๐๑๕ สิ่งที่น่าสนใจคือ เวี ย ดนามสั่ ง ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ปราบเรื อ ด� ำ น�้ ำ แบบ พี ๓ โอไรออน (P 3 Orion) จ�ำนวน ๖ ล� ำ จากสหรั ฐ ฯ ซึ่ ง จะท� ำ ให้ เวี ย ดนามเป็ น ประเทศที่สองของอาเซียนต่อมาจากกองทัพ เรือไทยที่มีเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจ�ำการ ทางด้านมาเลเซียซึ่งมีปัญหาข้อพิพาท บริเวณพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลีในทะเลจีนใต้ เช่ น กั น มาเลเซี ย ได้ มี ก ารพั ฒ นากองทั พ อากาศมาก่ อ นหน้ า นี้ ร ะยะหนึ่ ง แล้ ว โดย เฉพาะการสัง่ ซือ้ เครือ่ งบินขับไล่ทมี่ สี มรรถนะสูง ชนิดหนึง่ ของโลกในขณะนัน้ คือ มิก-๒๙ เอ็น/ เอ็ น ยู บี (MiG-29 N/NUB) จากรั ส เซี ย จ�ำนวน ๑๘ ล�ำ แบ่งเป็นแบบทีน่ งั่ เดียวจ�ำนวน ๑๖ ล�ำ และแบบสองทีน่ งั่ อีก ๒ ล�ำ เพือ่ แสดง ความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้าเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เนือ่ งจากเครือ่ งบินชนิดนีพ้ ฒ ั นา ขึ้นมาเพื่อต่อต้านเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ๑๕ อีเกิล (F-15 Eagle) และแบบเอฟ-๑๖ ฟอลคอน (F-16 Falcon) ของสหรัฐฯ ที่ ประจ�ำการอยู่ในกองทัพอากาศของประเทศ เพือ่ นบ้าน ประสิทธิภาพอันยอดเยีย่ มนีท้ ำ� ให้ เครือ่ งบินขับไล่แบบ มิก-๒๙ กลายเป็นเครือ่ ง บินรุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดแบบหนึ่งของรัสเซีย มียอดรวมการผลิตทั้งหมดกว่า ๑,๖๐๐ ล�ำ

35


หลังจากที่สั่งซื้อ มิก-๒๙ แล้ว มาเลเซีย ก็ยังสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่/โจมตีแบบ เอฟ/ เอ-๑๘ ดี ฮอร์เน็ต (F/A-18 D Hornet) จาก สหรัฐฯ จ�ำนวน ๘ ล�ำ (ไม่ครบฝูง) โดยประจ�ำ การในฝู ง บิ น ที่ ๑๒ ณ ฐานทั พ อากาศ บัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) ในรัฐปีนัง (Penang) และเพิ่ ง ได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง สมรรถนะโดยบริษัท โบอิ้ง (Boeing) ของ สหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ.๒๐๑๑ และในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ก็ลงนามในสัญญาสั่งซื้อเครื่องบิน ขับไล่ ซู-๓๐ เอ็มเคเอ็มเอส (Su-30MKMs) จากรัสเซียอีกจ�ำนวน ๑๘ ล�ำ ซึง่ ได้รบั มอบใน ปี ค.ศ.๒๐๐๗ โดยท�ำหน้าที่เป็นเครื่องบิน ขับไล่อเนกประสงค์และน�ำเข้าประจ�ำการที่ ฐานทัพอากาศอะลอสตาร์ (Alor Setar Air Base) ในรัฐเคดาห์ (Kedah) ในปีเดียวกันนัน้ กองทัพอากาศมาเลเซีย ก็ได้มองหาเครื่องบินที่จะมาทดแทนเครื่อง บินเฮลิคอปเตอร์แบบ ซิกอร์สกี้ เอส ๖-เอ ๔ (Sikorsky S-6 A4) ซึ่งประจ�ำการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๘ และประสบอุบัติเหตุตกถึง ๑๕ ครัง้ คร่าชีวติ ก�ำลังพลไปเป็นจ�ำนวน ๘๙ นาย ผลก็คือมีการสั่งซื้อเครื่องบินแบบ ยูโรคอป เตอร์ อีซี-๗๒๕ (Eurocopter EC-725) หรือ ทีร่ จู้ กั ในนาม “ซุปเปอร์คกู า้ ” (Super Cougar) เป็นจ�ำนวน ๑๒ ล�ำ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ รุ่นนี้เป็นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ขนส่งทาง ยุทธวิธีระยะไกลจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง พัฒนามาจากเฮลิคอปเตอร์ที่มีชื่อเสียงแบบ “ซุปเปอร์พูม่า” (Super Puma) ซุปเปอร์ คูกา้ มีสองเครือ่ งยนต์ บรรทุกทหารได้ ๒๙ นาย มีขีดความสามารถในการเป็นเฮลิคอปเตอร์ อเนกประสงค์คือ ใช้ในภารกิจขนส่งก�ำลังพล หรือใช้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ (ส่งกลับสาย แพทย์) ตลอดจนใช้ในภารกิจลาดตระเวน ตรวจการณ์ได้อีกด้วย นอกจากนีม้ าเลเซียก�ำลังจัดหาเครือ่ งบิน ขับไล่แบบเอฟ-๑๘ หรือแบบซู-๓๐ เพิ่มเติม จากเดิ ม ที่ เ คยมี อ ยู ่ รวมทั้ ง มาเลเซี ย ก�ำ ลั ง พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศของ ตัวเองเพือ่ ให้ถงึ ระดับสามารถผลิตยุทโธปกรณ์ กระสุ น หรื อ อาวุ ธ เบาได้ โดยได้ รั บ การ 36

ถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบเดียวกับทีอ่ นิ เดียและ จีนประสบความส�ำเร็จมาแล้วด้วย ดังจะเห็น ได้จากการต่อเรือของบริษัทอุตสาหกรรมหนัก ทางทะเลมาเลเซีย (Malaysian Marine and Heavy Engineering : MMHE), การซ่อม สร้ า งอากาศยานโดยบริ ษั ท ไอรอด (AIROD) ซึง่ ในปี ค.ศ.๑๙๘๕ ถือก�ำเนิดขึน้ ใน ฐานะบริษัทร่วมระหว่างมาเลเซียและบริษัท ล็อคฮีด (Lockheed) ของสหรัฐฯ แต่ใน ปั จ จุ บั น ยกระดั บ เป็ น บริ ษั ท ของมาเลเซี ย แต่เพียงผู้เดียว, การผลิตอาวุธปืนเล็กยาว อัตโนมัติแบบ เอ็ม ๔ (M4) โดยบริษัทภายใน ประเทศคือ เอสเอ็มอี ออร์ดแนนซ์ (SME Ordnance) และการผลิตรถสายพานล�ำเลียงพล แบบ เอฟเอ็นเอสเอส พาร์ส โดยโรงงาน หมายเลข ๙๑ (Number 91 Workshop) ของกองทัพบกมาเลเซีย เป็นต้น ฐานทัพอากาศที่ส�ำคัญของมาเลเซียคือ ฐานทัพอากาศ “บัตเตอร์เวิร์ธ” (Butterworth) ตัง้ อยูท่ รี่ ฐั ปีนงั เป็นฐานบินขนาดใหญ่ ที่ มี ฝู ง บิ น ประจ� ำ การอยู ่ ห ลายฝู ง บิ น เช่ น ฝูงบินที่ ๑๒ ซึง่ เป็นฝูงบินตรวจการณ์ มีเครือ่ ง บินขับไล่แบบ เอฟ-๕ อี/เอฟ, อาร์เอฟ-๕ อี (F-5 E/F, RF-5E) ซึ่งเครื่องบินแบบอาร์ เอฟ-๕ อี นั้นมีฉายาว่า “ดวงตาพยัคฆ์” (Tiger eye) เนื่องจากติดตั้งกล้องถ่ายภาพ ส�ำหรับตรวจการณ์และถ่ายภาพทางอากาศ นอกจากนีย้ งั มีฝงู บินที่ ๑๘ ทีม่ เี ครือ่ งบินขับไล่/

โจมตีแบบเอฟ/เอ-๑๘ ประจ�ำการอยู่ ๘ ล�ำ ส่วนที่เหลือยกเลิกการสั่งซื้อเนื่องจากภาวะ วิกฤติเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๙๐ คาด ว่ามาเลเซียจะมีการจัดหาเพิ่มเติมให้ครบฝูง รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของฝูงบินที่ ๓ ซึ่งเป็น ฝู ง บิ น เฮลิ ค อปเตอร์ ข นส่ ง มี เ ครื่ อ งบิ น เฮลิคอปเตอร์ขนส่งแบบ เอส–๖๑ เอ๔ เอ ซี คิง (S-61 A4 A Sea King) หรือที่กองทัพ อากาศมาเลเซียเรียกว่า “นูรี” (Nuri) ประจ�ำ การอยู่ เป็นต้น รวมทั้งยังมีฐานทัพอากาศ “กอง เกดัค” (Gong Kedak) ตั้งอยู่ที่รัฐ กลันตันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศ เป็นฐานทัพที่สร้างขึ้นใหม่ และมี ความทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ รองรั บ ฝูงบินที่ ๑๑ ซึ่งเป็นฝูงบินขับไล่ที่มีเครื่องบิน ขับไล่แบบ ซู-๓๐ จ�ำนวน ๑๘ ล�ำ ประจ�ำการอยู่ ส�ำหรับฟิลิปปินส์นั้น แม้จะมีข้อพิพาท ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ด้วยเช่นกัน แต่จากวิกฤติ ทางเศรษฐกิจในห้วงเวลาที่ผ่านมา ท�ำให้ไม่ สามารถพัฒนาแสนยานุภาพของตนได้อย่าง เต็มขีดความสามารถ จนเป็นที่น่าแปลกใจ อย่ า งมากที่ ใ นห้ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมากองทั พ อากาศฟิลิปปินส์ไม่มีฝูงบินขับไล่ความเร็วสูง อยูเ่ ลย แม้จะเคยมีเครือ่ งบินขับไล่แบบเอฟ-๕ เอ (F-5 A) และ เอฟ-๘ (F-8) ของสหรัฐฯ เป็น จ�ำนวนกว่า ๕๐ ล�ำ เมื่อครั้งที่กองทัพของ ฟิลิปปินส์ยังคงรุ่งเรือง แต่ปัจจุบันก็ปลด

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


ประจ�ำการไปจนหมดสิ้นแล้ว จึงจ�ำเป็นต้อง น�ำเครือ่ งบินไอพ่นฝึกแอร์มคั คี (Aermacchi) แบบ เอส-๒๑๑ (S-211) ทีส่ งั่ ซือ้ จากประเทศ อิตาลีมาใช้เป็นเครือ่ งบินขับไล่แม้จะท�ำความ เร็วสูงสุดได้เพียง ๖๖๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ตาม และมีการออกแบบใหม่เป็น AS-211 หรือทีม่ ชี อื่ เรียกกันว่า “วอริเออร์ส” (Warriors) ภายใต้ชื่อ “โครงการฟอลคอน” (Project Falcon) ด้วยการปรับระบบการมองเห็นด้วย การน�ำอุปกรณ์แบบ Norsight Optical Sight ของเครื่องบินแบบ เอฟ ๕ ที่ปลดประจ�ำการ ไปในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ มาติดตั้งแทนอุปกรณ์ เดิม รวมทั้งปรับระบบการติดต่อสื่อสารกับ ภาคพื้นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็ ไม่อาจปฏิเสธว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ภารกิจเป็นเครื่องบินขับไล่เพื่อครอบครอง น่านฟ้านั้น เทียบไม่ได้เลยกับเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-๑๖ (F-16) หรือ มิก-๒๙ (MiG-29) ที่กองทัพอากาศประเทศเพื่อนบ้านมีอยู่ใน ประจ� ำ การ อี ก ทั้ ง ไม่ ส ามารถเที ย บได้ กั บ เครื่องบินขับไล่แบบ ซุคคอย ซู-๓๕ (Sukhoi Su-35) ที่ ก องทั พ จี น มี ป ระจ� ำ การอยู ่ ใ น ปัจจุบัน กองทั พ อากาศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ มี เ ครื่ อ งบิ น แบบ เอเอส-๒๑๑ เพียง ๒๕ ล�ำ หรือ ๒ ฝูง เท่านัน้ คือ ฝูงบินฝึกที่ ๑๐๕ (105th Training Squadron) และฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ ๑๗ (17th Tactical Fighter Squadron) อย่ า งไรก็ ต ามเครื่ อ งบิ น จ� ำ นวน ๑๕ ล� ำ จาก ๒๕ ล�ำได้ถูกน�ำมาประกอบเองภายใน ประเทศ โดยโครงการความร่วมมือด้านการ พัฒนาการบินของฟิลิปปินส์ (Philippines Aerospace Development Corporation) แต่ ก ารประกอบไม่ ผ ่ า นมาตรฐานการบิ น ท�ำให้ตอ้ งมีการตรวจสอบด้านนิรภัยการบินใหม่ ทั้ง ๑๕ ล�ำ และมีเพียง ๕ ล�ำ ที่สามารถ เข้าประจ�ำการได้ ในจ�ำนวนนี้มีอีก ๒ ล�ำ ที่ไม่ ได้ ม าตรฐาน ท� ำ ให้ ต ้ อ งส่ ง กลั บ ไปท� ำ การ ปรับปรุงใหม่อกี ครัง้ โดยล่าสุดเครือ่ งบินแบบ เอเอส-๒๑๑ หมายเลข ๐๐๘ ได้ถูกน�ำกลับ เข้าประจ�ำการในปี ค.ศ.๒๐๑๔

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

นอกจากนี้กองทัพฟิลิปปินส์ยังเสนอ โครงการถึง ๒๔ โครงการในห้วงเวลาสามปี ข้างหน้า เพื่อเสริมสร้างแสนยานุภาพของ ตนเอง เช่น การจัดหาเครือ่ งบินรบความเร็วสูง การจั ด ซื้ อ เรื อ ตรวจการณ์ ช ายฝั ่ ง ชั้ น “แฮมิลตัน” (Hamilton class) จากหน่วย ป้องกันและรักษาฝัง่ สหรัฐฯ (United States Coast Guard) ซึ่งเรือดังกล่าวจ�ำนวน ๒ ล�ำ ได้เข้าประจ�ำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ อยู่แล้ว หนึ่งในนั้นคือเรือ “เกรโกริโอ เดล พิลาร์” (Gregorion del Pilar) รวมทั้งการ จั ด หาเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบ เอฟเอ-๕๐ (FA-50) จากบริษัทอุตสาหกรรมการบินของ เกาหลีใต้ (Korea Aerospace Industries) จ�ำนวน ๑๒ ล�ำ มูลค่ากว่า ๔๔๐ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถ ทางทะเลและทางอากาศให้ กั บ กองทั พ ฟิลิปปินส์ได้พอสมควร โดยโฆษกกองทัพ อากาศ นาวาอากาศโท ไมโก โอกอล (Miko Okol) ได้กล่าวว่า กองทัพอากาศฟิลปิ ปินส์ได้ ขอซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ (F-16) จากสหรัฐฯ ตลอดจนเครื่องบินโจมตีภาค พื้ น ดิ น , เครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนระยะไกล, เฮลิคอปเตอร์โจมตีและระบบเรดาห์ทที่ นั สมัย ซึ่งรายการจัดซื้อบางส่วนนี้ได้รับการอนุมัติ แล้ว “.. แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดทีเ่ ฉพาะ เจาะจงได้ เพียงแต่บอกได้ว่ายุทโธปกรณ์ เหล่ า นี้ เราจะได้ รั บ ภายในสองถึ ง สามปี ข้างหน้า..” ไมโก โอกอล กล่าวกับผู้สื่อข่าว ในที่สุด ทางด้ า นอิ น โดนี เซี ย ซึ่ ง แม้ ไ ม่ มี ส ่ ว น โดยตรงในข้อพิพาททะเลจีนใต้ แต่ก็มีพื้นที่ ทับซ้อนกับการประกาศแผนที่เส้น ๙ จุดของ จีนที่ทับซ้อนแนวหมู่เกาะนาทูน่า (Natuna) ของตน ท�ำให้อินโดนีเซียมีแผนการพัฒนา กองทัพอินโดนีเซียอย่างขนานใหญ่ ประกอบ ไปด้วยการจัดซือ้ รถถัง เรือฟริเกต เรือคอร์เวต เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยน�ำวิถี เรือด�ำน�้ำ เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบ ซุคคอย ซู-๓๐ และ เอฟ-๑๖ (F-16) โดยกองทัพ อากาศอินโดนีเซียจะเพิ่มฝูงบินขึ้นอีกถึง ๑๗

ฝูงบิน จากแต่เดิมทีม่ อี ยู่ ๑๘ ฝูงบิน ประกอบ ด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอย จากรัสเซียเป็นจ�ำนวนถึง ๖๔ ล�ำ เครื่องแบบ ขับไล่แบบเอฟ-๑๖ จากสหรัฐฯ จ�ำนวน ๓๒ ล�ำ ซึ่งในจ�ำนวนนี้มี ๒๔ ล�ำที่ได้รับการเสนอ จากสหรัฐฯ เมื่อครั้งประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า เดินทางไปเยือนอินโดนีเซียเมื่อปี ค.ศ.๒๑๑๐ ว่าจะมอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าว ซึ่งเป็นเครื่องที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ใช้งาน มาแล้วโดยไม่คดิ มูลค่า แต่อนิ โดนีเซียต้องจ่าย ค่าใช้จา่ ยในการยกระดับสมรรถนะของเครือ่ ง เหล่านี้จ�ำนวน ๗๕๐ ล้านเหรียญ นอกจากนีอ้ นิ โดนีเซียยังจัดหาเครือ่ งบิน ไอพ่นฝึกแบบ ฮอว์ค ๑๐๐/๒๐๐ จากอังกฤษ จ�ำนวน ๓๖ ล�ำ เครื่องบินโจมตีใบพัดขนาด เบาแบบ ซุปเปอร์ ทูคาโน่ (Super Tucano) จากบราซิลจ�ำนวน ๑๖ ล�ำ ซึ่งอินโดนีเซียมี แผนทีจ่ ะซือ้ ลิขสิทธิข์ องอากาศยานชนิดนีม้ า ผลิตเองเพื่อจ�ำหน่ายในภาคพื้นเอเชียด้วย รวมทั้งยังจัดหาเครื่องบินฝึกและโจมตีขนาด เบาแบบ ยัค ๓๐ (Yak 30) จากรัสเซียอีก ๑๖ ล�ำ เครื่องบินล�ำเลียงแบบ ซี-๑๓๐ เฮอร์ คิวลิสอีก อย่างน้อย ๑๐ ล�ำ อากาศยาน ไร้นักบินหรือ ยูเอวี (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) อีก ๓๖ ล�ำอีกด้วย ทั้งหมดนี้เป็นแสนยานุภาพทางอากาศ เหนือพืน้ ทีพ่ พิ าททะเลจีนใต้พอสังเขป เราคง ต้องจับตามองกันอย่างใกล้ชดิ ต่อไปว่า ความ ตึงเครียดในพืน้ ทีพ่ พิ าทดังกล่าวจะส่งผลอย่างไร ต่อไปในการสร้างแสนยานุภาพทางอากาศ ของประเทศคู่พิพาทเหล่านี้

ภาพ : http://aseanwatch.org/ https://www.planespotters.net/ http://www.globalsecurity.org https://www.planespotters.net/ 37


แนะนำ�อาวุธเพื่อนบ้าน

รถสายพานลำ�เลียงพล

เอ็ม-๑๑๓

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

องทัพบกฟิลปิ ปินส์ปรับปรุงรถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม-๑๑๓ (M-113) ให้มคี วามทันสมัยและเพิม่ ขีดความสามารถ ด้านการยิงโดยการติดตั้งปืนกลขนาด ๒๕ มิลลิเมตร (ปืนหนัก ๑๑๙ กิโลกรัม ระยะยิงหวังผล ๓,๐๐๐ เมตร พร้อม ป้อมปืน รวม ๔ คัน ควบคุมการยิงจากภายในตัวรถเพือ่ ความปลอดภัยของพลประจ�ำรถ), ปืนกลขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร (พร้อมป้อมปืน รวม ๖ คัน) และปืนใหญ่ขนาด ๗๖ มิลลิเมตร (พร้อมป้อมปืนและระบบควบคุมการยิง รวม ๑๔ คัน และรถกู้ซ่อม รวม ๔ คัน) รวมทัง้ สิน้ ๒๘ คัน เป็นเงิน ๑๙.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ ด�ำเนินการปรับปรุงโดยบริษทั จากประเทศอิสราเอล กองทัพบกฟิลปิ ปินส์ ประจ�ำการด้วยรถสายพานล�ำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113) ประกอบด้วย รุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๑ (M-113A1) รวม ๑๒๐ คัน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และต่อมาประจ�ำการด้วยรถรุ่นที่ติดตั้งอาวุธแตกต่างจากรุ่นมาตรฐานคือ รุ่นเอไอเอฟวี (AIFV) รวม ๕๑ คัน ติดตั้งปืนขนาด

รถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม-๑๑๓ กองทัพสหรัฐอเมริกา ขณะปฏิบัติการที่แคมป์บัคคา (Camp Bucca) ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

38

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์​์


รถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม-๑๑๓ แสดงทีน่ งั่ ภายในรถ สามารถบรรทุกทหาร ได้ ๑๑ นาย

๒๕ มิลลิเมตรในปี พ.ศ.๒๕๑๓ และได้รับ จากสหรั ฐ อเมริ ก าเพิ่ ม เติ ม เป็ น รุ ่ น เอ็ ม ๑๑๓เอ๒ (M-113A2) รวม ๑๑๔ คัน ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ (ท�ำการปรับปรุงใหม่เพื่อเพิ่ม อ�ำนาจการยิงก่อนที่จะน�ำเข้าประจ�ำการใน กองทัพบกรวม ๒๘ คัน) ปัจจุบันประจ�ำการ กองพลทหารราบยานเกราะ รวม ๑๔๒ คัน รถสายพานล� ำ เลี ย งพลแบบเอ็ ม -๑๑๓ (M113, APC) สหรัฐอเมริกาพัฒนาขึน้ ในยุค สงครามเย็น ประจ�ำการในปี พ.ศ.๒๕๐๓ หน่วยกองพลยานเกราะและกองพลทหาร ราบยานเกราะ ข้อมูลส�ำคัญคือ น�้ำหนัก ๑๒.๓ ตัน ยาว ๔.๘๖ เมตร กว้าง ๒.๖๘ เมตร สูง ๒.๕ เมตร เกราะอะลูมิเนียมหนา ๑๒ - ๓๘ มิลลิเมตร เครือ่ งยนต์ ดีเซล ขนาด ๒๗๕ แรงม้า (6V53T) ความเร็วบนถนน ๖๗ กิ โ ลเมตรต่ อ ชั่ ว โมง ความเร็ ว ในน�้ ำ ๕.๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ ๔๘๐ กิโลเมตร อาวุธหลัก ปืนกลขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร (M-2 หนัก ๓๘ กิโลกรัม ระยะยิง หวังผล ๑,๘๐๐ เมตร) และบรรทุกทหารได้ ๑๓ นาย (ประจ�ำรถ ๒ นาย + ทหารราบ ๑๑ นาย) มีการผลิตออกมา ๔ รุ่น ประกอบ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ด้วยรุ่นเอ็ม-๑๑๓ เครื่องยนต์เบนซิน (75M V8) ขนาด ๒๐๙ แรงม้า รุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๑ เครือ่ งยนต์ดเี ซล (6V-53) ขนาด ๒๑๕ แรงม้า ผลิตขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๗ รุ่นเอ็ม-๑๑๓ เอ ๒ เครื่องยนต์ดีเซลผลิตขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๒ และรุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๓ เครื่องยนต์ ดีเซล (6V-53T) ผลิตขึน้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ แยกตาม ภารกิจหลักประกอบด้วยรุ่นติดตั้งเครื่องยิง ลูกระเบิด (M-๑๐๖ ขนาด ๔.๒ นิ้ว, M-125

ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร และ M-๑๒๑ ขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร ส�ำหรับท�ำการยิงสนับสนุน หน่วยทหารราบในแนวหน้าของพืน้ ทีก่ ารรบ ได้อย่างใกล้ชิดและอย่างรวดเร็ว) รุ่นติดตั้ง ปืนต่อสูอ้ ากาศยานระดับต�ำ่ (วัลแคน) ขนาด ๒๐ มิลลิเมตร (M-163) รุ่นติดตั้งเครื่อง ฉีดไฟ (M-132) รุ่นรถติดตั้งจรวดน�ำวิถีต่อสู้ อากาศยานระดับต�ำ่ (M-48 Chaparral) รุน่ ติดตั้งจรวดน�ำวิถีต่อสู้รถถังขนาดหนักโทว์

รถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม-๑๑๓ รุ่นติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดหนัก ขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร บริเวณ แคมป์ทาจิ (Camp Taji) ประเทศอิรัก ปี พ.ศ.๒๕๕๒ 39


(M-901 ITV ชนิดสองท่อยิง และM-150 ชนิดหนึ่งท่อยิง) รุ่นรถบังคับการ (M577) รุ่นรถกู้ซ่อม (ARV) รุ่นรถส่งก�ำลังบ�ำรุง (M-548) และรุ่นรถพยาบาล ท�ำการผลิตมานาน ๕๕ ปี มียอดการผลิตรวมกว่า ๘๐,๐๐๐ คัน (รวมทุกรุ่น) กองทัพสหรัฐอเมริกายังคงประจ�ำการประมาณ ๑๓,๐๐๐ คัน ที่เหลือได้ส่งออก ขายให้กับมิตรประเทศ กองทัพบกสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงรถรุ่นเก่าให้เป็นรุ่น มาตรฐานใหม่ทงั้ หมดคือรุน่ เอ็ม–๑๑๓เอ๓ (M-113A3) มีการผลิตในต่างประเทศ ประกอบด้วย เบลเยี่ยม (๕๒๕), ไต้หวัน (๑,๐๐๐) และปากีสถาน (๑,๖๐๐) ปัจจุบันประจ�ำการทั่วโลกรวม ๕๐ ประเทศ รถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม๑๑๓ (M113) มีสว่ นร่วมปฏิบตั กิ ารทางทหารทัว่ โลกตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๐๓ จนถึง ปัจจุบันนาน ๕๕ ปี รวมทั้งสิ้น ๒๐ สมรภูมิแต่มีปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ มีผลกระทบต่อความมัน่ คงในระดับภูมภิ าคและในระดับโลกทีส่ ำ� คัญคือสงคราม เวียดนาม พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๕๑๘ (สหรัฐอเมริกาน�ำเข้าปฏิบัติการครั้งแรกรวม ๓๒ คัน รุ่นเอ็ม-๑๑๓ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ต่อมาน�ำเข้าปฏิบัติการ อย่างแพร่หลายรวมทัง้ รุน่ สนับสนุนการรบในหลายภารกิจจากกองพลทหารราบ

รถสายพานล�ำเลียงพลแบบ เอ็ม-๑๑๓ ของกองทัพบกซาอุดอี าระเบีย ขณะปฏิบตั กิ ารทางทหารในการรุกทางพืน้ ดิน (ยุทธการพายุทะเลทราย) ปี พ.ศ.๒๕๓๔

รถสายพานล�ำเลียงพล เอ็ม-๑๑๓ กองทัพบกฟิลิปปินส์ ติดตั้งปืนกลหนัก (M-2) ขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร เป็นอาวุธมาตรฐาน

ยานเกราะและกองพลยานเกราะ เป็นผลให้พันธมิตรของสหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วม รบในสงครามเวียดนามและต่อมาได้น�ำเข้าประจ�ำการเป็นจ�ำนวนมาก) สงคราม ยมคิปปูร์ พ.ศ.๒๕๑๖ (เป็นรถรบหลักของกองพลยานเกราะและกองพลทหารราบ ยานเกราะกองทัพบกอิสราเอล ในการรุกตีโต้ตอบท�ำการยุทธข้ามคลองสุเอชรุก สู่ชายฝั่งไกลที่ควบคุมโดยกองทัพบกอียิปต์ในที่สุดกองทัพบกอิสราเอลเป็นฝ่าย ได้รบั ชัยชนะ) สงครามกลางเมืองเลบานอน พ.ศ.๒๕๒๒ สงครามโคโซโว (ส่วนหนึง่ ของสงครามในอดีตประเทศยูโกสลาเวีย บนคาบสมุทรบอลข่าน) ห้วงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๒ สงครามอิหร่าน-อิรัก พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๓๑ (เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๒ รถรบหลักของกองพลยานเกราะอิหร่าน ๔ กองพล เป็นการรบใหญ่ ในระดับภูมิภาคท�ำการรบเป็นระยะเวลานาน ๗ ปีกับอีก ๑๐ เดือน) สงคราม อ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๔๓๓ – ๒๕๓๔ (ยุทธการพายุทะเลทรายท�ำการรุกทาง พื้นดินสู่บริเวณแนวชายแดน คูเวต-ซาอุดีอาระเบีย-อิรัก ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๘ 40

กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๓๔) สงครามในอั ฟ กานิ ส ถาน พ.ศ.๒๕๔๔ – ปัจจุบัน (ปฏิบัติการโดยกองทัพบก แคนาดา กองทั พ บกออสเตรเลี ย และกองทั พ บก สหรัฐอเมริกา) สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ – ถึงปัจจุบัน (หลังจากอิรักได้แพ้สงครามในปี พ.ศ.๒๕๔๖ อาวุธส่วนใหญ่ของกองทัพบกอิรักได้ถูก ท�ำลายดังนั้นจึงได้ด�ำเนินการปรับปรุงกองทัพใหม่และ

รถสายพานล�ำเลียงพล เอ็ม-๑๑๓ กองทัพบกฟิลิปปินส์ ได้รับการ ปรับปรุงใหม่ติดตั้ง ปืนขนาด ๗๖ มิลลิเมตร (ป้อมปืนของรถถังเบา สกอร์เปี้ยน) ประจ�ำการ ๑๔ คัน พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์​์


มีการจัดซือ้ รถสายพานล�ำเลียงพลเข้าประจ�ำ การรุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๒ รวม ๑,๐๒๖ คัน จาก ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖) และสงครามกลางเมืองในซีเรีย พ.ศ.๒๕๕๔ – จนถึงปัจจุบัน กองทัพบกอินโดนีเซียประจ�ำการ ด้วยรถสายพานล�ำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ เอ๑ (M-113A1) รวม ๘๐ คัน ได้รับจาก ประเทศเบลเยีย่ ม (ส่วนทีเ่ กินความต้องการ) กองทัพบกสิงคโปร์ประจ�ำการด้วย รถสายพานล�ำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ (M-113A2) ประมาณ ๑,๒๐๐ คัน มากทีส่ ดุ ของกองทัพกลุ่มประเทศอาเซียนปัจจุบันได้ ปรับปรุงใหม่ให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น จากรุน่ มาตรฐานเดิมโดยการติดตัง้ เครือ่ งยิง ลูกระเบิดอัตโนมัตขิ นาด ๔๐ มิลลิเมตร และ

รถสายพานล�ำเลียงพล เอ็ม-๑๑๓ กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ท�ำการปรับปรุงใหม่ใช้เป็นฐานยิงของจรวดน�ำวิถี ต่อสู้อากาศยานระดับต�่ำแบบอิ๊กล่า (Igla) ชนิดสี่ท่อยิง

หลายรุ่นส�ำหรับสนับสนุนการรบ ประกอบด้วย รถบังคับการ (M-577 รวม ๒๓ คัน) รถติดตั้ง เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร รถติดตั้ง ปื น ต่ อ สู ้ อ ากาศยานขนาด ๒๐ มิ ล ลิ เ มตร (หนึง่ กองพัน) รถติดตัง้ จรวดน�ำวิถตี อ่ สูร้ ถถังขนาด หนักโทว์ (M-901A3,TOW ITV รวม ๑๘ หน่วย ยิง) รถกู้ซ่อม ๑๐ คัน (M-113A3, ARV) และรุ่น รถพยาบาล ๙ คัน (M-113A3)

รถสายพานล�ำเลียงพล เอ็ม-๑๑๓ กองทัพบกไทย (RTA) รุ่นติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร แผ่นฐานเครื่องยิงลูกระเบิดอยู่ทางด้านข้างของตัวรถ

ปืนกลหนักขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร (CIS 40AGL+CIS 50 MG ใช้ปอ้ มปืนร่วมกัน) รวม ๙๕๐ คัน รุน่ ติดตัง้ ปืนกลขนาด ๒๕ มิลลิเมตร (M-242) รวม ๕๐ คัน และรุ่นใช้เป็นฐานยิง ของจรวดน�ำวิถีต่อสู้อากาศยานในระดับต�่ำ กองทัพบกไทยประจ�ำการด้วยรถ สายพานล�ำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113) หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

รุ่นรถสายพานล�ำเลียงพลเป็นหลักน�ำออก ปฏิ บั ติ ก ารทางทหารในการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในหลาย กองทัพภาคแต่มีการรบที่รุนแรงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๒๕ มีการสูญเสียจาก ปฏิบัติการหลายคันและการต่อสู้ยุติลงในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อมาได้มีการจัดหาเพิ่มเติมอีก

รถสายพานล�ำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ รุ่นต่อสู้รถถังติดตั้ง จรวดน�ำวิถีต่อสู้รถถังขนาดหนักโทว์ (M-901 TOWITV)

41


ภัยพิบัติแผ่นดินไหว

นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

ภัย

แผ่นดินไหวเป็นหนึง่ ภัยพิบตั ทิ มี่ คี วามถีแ่ ละความแรงมากขึน้ และมีความน่าสนใจ เพราะหากเกิดขึน้ แล้วจะส่งผลกระทบ ไปในหลายมิติของความมั่นคง

นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

42


สาเหตุของแผ่นดินไหวมาจากการที่ พลังงานความร้อนจากหินร้อนใจกลางโลก ได้ส่งแรงกดดันต่อแผ่นเปลือกโลกด้านบน ตลอดเวลา จนเมื่อพลังงานสะสมเกิดขึ้น มากพอ จะส่งผลให้มกี ารเคลือ่ นตัวของแผ่น เปลือกโลกตามแนวรอยต่อ รวมถึงตามแนว รอยเลือ่ นภายในแผ่นหรือ Fault ด้วยทิศทาง ต่างๆ กัน เพื่อปลดปล่อยพลังงานที่สะสม ออกมาในรู ป ของคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหว หรื อ Seismic Wave ในความแรงที่แตกต่างกัน โดยความแรงระดับ ๗ ขึ้นไปตาม มาตราริกเตอร์ ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาด ใหญ่ ซึง่ ในอดีตวงรอบการเกิดมักจะมากกว่า ๑๐๐ ปีขนึ้ ไป โดยในแต่ละปีทวั่ โลกมีแผ่นดิน ไหวขนาดใหญ่ดังกล่าวประมาณ ๑๐ กว่า ครัง้ ส่วนแผ่นดินไหวขนาดเล็ก หรือไหวแบบ

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

Aftershock จะมีมากกว่า ๑ หมื่นครั้ง ทั้งนี้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่หนึ่งก็มักจะมีผลให้ แนวรอยเลือ่ นบริเวณใกล้เคียงสะสมพลังงาน มากขึ้น หรือไม่ก็เกิดการขยับตัวตามกันไป ด้วย ซึง่ บริเวณทีม่ กี ารขยับตัวอย่างมากได้แก่ บริเวณทีเ่ ป็นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งมีภูเขาไฟและแนวรอยเลื่อนมากหรือที่ เรียกว่า แนววงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส�ำหรับผลทีเ่ กิดจาก แรงสั่นสะเทือน ได้แก่ พื้นดินแยก ภูเขาไฟ ระเบิด คลื่นยักษ์สึนามิ ไฟไหม้ และอาคาร ถล่ม โดยมูลค่าความเสียหายจะมาก ถ้าจุด ก�ำเนิดแผ่นดินไหวอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน รวม ถึงพื้นที่เป็นดินอ่อน และจะมากยิ่งขึ้นหาก ประเทศนัน้ ขาดการเตรียมการป้องกันทีด่ พี อ

ส� ำ หรั บ เหตุ ก ารณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหวที่ น่าสนใจส�ำหรับไทยได้แก่ แผ่นดินไหวระดับ ๗.๘ ที่เนปาล เมื่อ ๒๕ เม.ย.๕๘ ซึ่งนัก วิชาการมองว่า ไม่เกินความคาดหมายเพราะ เนปาลตัง้ อยูบ่ นแนวมุดตัวของแผ่นอินเดีย ที่ เกิดเป็นแนวรอยเลื่อนโค้งเทือกเขาหิมาลัย ระยะทางถึง ๒,๐๐๐ กม. แต่ที่ผิดปกติคือ วงรอบการเกิดทีเ่ ร็วขึน้ เพราะห่างจากครัง้ ที่ แล้วไม่ถึงร้อยปี ซึ่งเมื่อผนวกกับการที่เมือง กาฐมาณฑุ ตั้งอยู่ในพื้นที่แอ่งตะกอนที่เป็น ดินอ่อน และแม้จะรูด้ วี า่ ประเทศมีความเสีย่ ง แต่ขาดทรัพยากรในการเตรียมการป้องกัน จึงท�ำให้เนปาลสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างประเมินค่ามิได้ อนึง่ นักวิชาการยังเชือ่ ว่า ความแรง ๗.๘ ยังไม่สามารถปลดปล่อย พลังงานสะสมจากรอยเลื่อนในเนปาลได้ ทั้งหมด และคาดว่าในอีกไม่นานเนปาลจะ เผชิญกับภัยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้อีก ส่ ว นผลกระทบต่ อ ไทย กรม ทรัพยากรธรณีรายงานว่า แผ่นดินไหวที่ เนปาลได้ทำ� ให้รอยเลือ่ นสะกายหรือสะเกียง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในเมียนมา มีการขยับ ตัว แต่ยังไม่น่าจะมีผลต่อรอยเลื่อนที่เชื่อม ต่อมาในไทย เพราะแรงสั่นสะเทือนมีขนาด เพียง ๓.๒ และ ๔.๖ นอกจากนั้นเมื่อ ๕ มิ.ย.๕๘ ก็มีแผ่น ดินไหวทีม่ าเลเซียขนาด ๕.๙ แต่จดุ ศูนย์กลาง อยู่ใกล้ภูเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และนัก ปีนเขาวิจารณ์ว่ามาเลเซียขาดการบรรเทา ภัยที่เข้มแข็ง จึงท�ำให้นักปีนเขาเสียชีวิต อย่างน้อย ๑๖ ราย ซึ่งจากเหตุแผ่นดินไหว ดังกล่าว ท�ำให้มาเลเซียตื่นตัวและประกาศ จะตัง้ ศูนย์เตือนภัยแผ่นดินไหว จากเดิมทีย่ งั ไม่เคยมีมาก่อน

43


ส�ำหรับไทยนัน้ โดยธรณีสณ ั ฐานถือว่า มี ค วามเสี่ ย งจากแผ่ น ดิ น ไหวขนาดใหญ่ ไม่มาก เนือ่ งจากตัง้ อยูใ่ นแผ่นยูเรเซีย ทีถ่ อื ว่า ค่อนข้างมั่นคง แต่ไทยก็มีรอยเลื่อนมีพลังที่ เป็นจุดก�ำเนิดของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน ซึ่ง ทีส่ ำ� คัญคือ รอยเลือ่ นแม่จนั รอยเลือ่ นพะเยา ทางภาคเหนือ รอยเลือ่ นศรีสวัสดิ์ รอยเลือ่ น

เจดีย์สามองค์ ทางภาคตะวันตก และรอยเลื่อน ระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทางภาคใต้ เป็นต้น โดยเมื่ อ พ.ศ.๒๕๕๗ ได้ เ กิ ด เหตุ แผ่นดินไหวขนาดถึง ๖.๓ ทีร่ อยเลือ่ นพะเยา อ.แม่ลาว จ.เชียงราย สร้างความเสียหายต่อ ถนนและอาคาร ซึง่ นักวิชาการได้ระบุวา่ อาจ ต้องมีการปรับการเรียน การสอน จากเดิมที่เชื่อ ว่า ไทยไม่น่ามีโอกาส เกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวที่ มี จุดศูนย์กลางในประเทศ ขนาดใหญ่เช่นนี้ ส่ ว นแผ่ น ดิ น ไหวที่ มี จุ ด ศู น ย์ ก ลาง นอกประเทศทีส่ ำ� คัญคือ แผ่ น ดิ น ไหวบริ เ วณ เกาะนิโคบาร์ และเกาะ สุ ม าตรา หนึ่ ง ในแนว วงแหวนแห่ ง ไฟขนาด ๙.๐ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ และตามมาด้ ว ยคลื่ น ยักษ์สึนามิที่สร้างความ สู ญ เสี ย มหาศาลกั บ จั ง ห วั ด ท า ง ภ า ค ใ ต ้ ช า ย ฝ ั ่ ง อั น ด า มั น นอกจากนั้น เมื่อ พ.ศ.

๒๕๕๕ ก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๘.๙ ใน บริเวณเดิมอีก โดยครัง้ นีม้ กี ารประกาศเตือน ภัยสึนามิ และอพยพประชาชน แต่ในเวลา ต่อมาพบว่าเกิดคลื่นสึนามิ ด้วยความสูง เพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ซึง่ นักวิชาการวิเคราะห์ ว่า แม้คลื่นสึนามิจะมีขนาดเล็ก อาจมาจาก การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกแนวราบ แต่ที่ น่ากังวลคือเรื่องวงรอบการเกิดที่ห่างจาก พ.ศ.๒๕๔๗ เพียง ๘ ปี และยังระบุว่า อาจ สัมพันธ์กับการปรับธรณีสัณฐานของโลก จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด ๙.๐๓ และสึนามิ สูงสุดถึง ๔๐ เมตร ที่ภาคโทโฮคุ ญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๔ ด้วย ส�ำหรับการรายงานแผ่นดินไหวของ ไทย ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้มีความตื่นตัวมากขึ้น โดย ส�ำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตนุ ยิ มวิทยา บูรณาการข้อมูลจากหลายหน่วยงาน ที่รวม ถึงกรมแผนที่ทหาร และข้อมูลจากหน่วย งานต่างประเทศ อาทิ US Geological Survey : USGS ของสหรัฐฯ รายงานเหตุ แผ่นดินไหวตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยเฉพาะจุด ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แนวรอยเลื่อนสะกาย ในเมียนมาซึ่งสัมพันธ์กับรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลือ่ นเจดียส์ ามองค์ ทางภาคตะวันตกและ มีเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ รวมถึงบริเวณเกาะนิโคบาร์ เกาะสุมาตรา ที่มี นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

44


ความเสีย่ งจากภัยคลืน่ ยักษ์สนึ ามิ ส่วนหน่วยแจ้งเตือนภัยคือศูนย์ เตื อ นภั ย พิ บั ติ แ ห่ ง ชาติ ส� ำ หรั บ การบรรเทาสาธารณภั ย คณะรั ฐ มนตรี ได้ เ ห็ น ชอบแผนการป้ อ งกั น และบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ เมือ่ ก.พ.๒๕๕๘ โดยมุง่ เน้นการจัดการความ เสี่ยงจากสาธารณภัย ซึ่งกระทรวงกลาโหมโดยศูนย์บรรเทา สาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้ปรับแนวคิดและอยูร่ ะหว่างการ จัดท�ำแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๒๕๕๘ เพื่อให้ สอดคล้องกับแผนแห่งชาติที่ปรับปรุงใหม่ นอกจากนั้น ยังมีการ สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งกรอบสหประชาชาติ อาทิ United Nations Office for Disaster Risk Reduction : UNISDR และกรอบ ASEAN อาทิ ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response : AADMER เป็นต้น

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

45


ข้อพิจารณา

แม้ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ จ ะมี ค วาม พยายามคิดค้นเทคโนโลยีในการพยากรณ์ แผ่ น ดิ น ไหวล่ ว งหน้ า รวมทั้ ง สั ง เกตความ เปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ อาทิ ระดับและ ความขุ่นของน�้ำใต้ดิน พฤติกรรมที่ผิดปกติ ของสั ต ว์ แต่ ก ารเกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวก็ ยั ง ไม่ สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นย�ำ และจาก ความผันผวนของวงรอบการเกิดดังได้กล่าว แล้ว ทีอ่ าจสัมพันธ์กบั พฤติกรรมของคนด้วย อาทิ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ผิวดิน หรือการสร้างเขือ่ นขนาดใหญ่ ทีม่ ผี ลต่อการ ขยับตัวของรอยเลื่อน จึงท�ำให้ภัยแผ่นดิน ไหวเป็นภัยคุกคามทีแ่ ต่ละประเทศอาจหลีก เลี่ยงได้ยาก โดยไม่ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น ในอีกไม่กี่วันหรือในอีกหลายสิบปี ก็น่าจะ ต้ อ งมี ก ารเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ รองรั บ สถานการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด แต่ไม่เป็นการ สร้างความตื่นตระหนก อันได้แก่ ๑. ในมิติระหว่างประเทศ น่าจะมี การปรับแนวคิดเรื่องการให้ความช่วยเหลือ เป็นเน้นการช่วยเหลือก่อนเกิดเหตุ อาทิ การ สนับสนุนช่วยเหลือการเสริมความแข็งแรงให้ แก่โครงสร้างอาคารรวมถึงแหล่งมรดกโลก กับประเทศที่มีทรัพยากรจ�ำกัด เนื่องจากมี

นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

46


การค�ำนวณว่างบประมาณที่ใช้จะน้อยกว่า งบบรรเทาภัยหลังเกิดเหตุถึง ๕ เท่า รวมถึงสืบเนื่องจากการที่สหรัฐฯ ขอ ใช้สนามบินอู่ตะเภาของไทย และจัดตั้งศูนย์ ประสานงานการช่วยเหลือเนปาลในเหตุ แผ่นดินไหวครั้งล่าสุด ด้วยศักยภาพด้าน โครงสร้ า งพื้ น ฐานและต� ำ แหน่ ง ทาง ภูมศิ าสตร์ จึงน่าจะด�ำเนินการต่อยอดให้ไทย มีบทบาทน�ำในการเป็นศูนย์ประสานภารกิจ บรรเทาภัยพิบัติของภูมิภาค ที่น่าจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรและระบบ การบรรเทาภัยของไทย ๒. ภายในประเทศ ในส่วนความ แข็งแรงโครงสร้างอาคารในจังหวัดพืน้ ทีเ่ สีย่ ง (๑. บริเวณเฝ้าระวังในภาคใต้ มี ๗ จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลาและสุราษฎร์ธานี, ๒. บริเวณที่ ๑ พื้ น ที่ ดิ น อ่ อ นมาก มี ๕ จั ง หวั ด ได้ แ ก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร, ๓. บริเวณที่ ๒ พืน้ ทีอ่ ยูใ่ กล้ รอยเลือ่ นภาคเหนือและด้านตะวันตก มี ๑๐ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮอ่ งสอน ล�ำปาง ล�ำพูน และ กาญจนบุร)ี น่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายให้ อาคารสาธารณะสามารถรองรับภัยแผ่นดิน ไหวอย่างน้อยระดับ ๗ ซึง่ อาจเป็นในรูปแบบ การท�ำประกันภัย เพื่อให้ระบบประกันเป็น ตัวผลักดันมาตรฐานของอาคาร ส่วนอาคาร บ้านพักอาศัย จากกรณีศึกษาที่ จ.เชียงราย หลังครบรอบ ๑ ปีเหตุแผ่นดินไหว พบว่า อาคารบ้านพักอาศัยส่วนหนึ่ง ยังไม่สามารถ รองรั บ ภั ย แผ่ น ดิ น ไหวได้ จึ ง น่ า จะมี ก าร บูรณาการทั้งงบประมาณจากภาครัฐและ ความรู้แก่ช่างในพื้นที่ เพื่อความเข้าใจที่ถูก ต้องในเรื่องโครงสร้างดังกล่าว และที่ส�ำคัญคือ ต้องสนับสนุนการ สร้างให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางจัดการความ เสี่ยงภัยพิบัติ (Central to Disaster Risk Management) ต้องมีการซักซ้อม ก่อน หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ขณะ และภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว และ ส�ำหรับของกองทัพที่มีศักยภาพด้านหน่วย งานและการกระจายในทุ ก พื้ น ที่ น่ า จะ สามารถช่วยเสริมบทบาทการแจ้งเตือนภัย แผ่นดินไหวของประเทศ ที่หลายฝ่ายเห็น ตรงกันว่าศูนย์เตือนภัยแผ่นดินไหวของไทย มีข้อจ�ำกัดทั้งเรื่องจ�ำนวนและระบบปฏิบัติ การ นอกจากนัน้ กองทัพน่าจะมีสว่ นร่วมใน การขยายพื้นที่ชุมชนจัดการความเสี่ยงภัย พิบตั ิ การช่วยฝึกฝนและสร้างความตระหนัก เรื่ อ งวิ นั ย แก่ ค นในชุ ม ชนเช่ น เดี ย วกั บ คน ญี่ปุ่น ห้วงสถานการณ์วิกฤตโกลาหล เพื่อ ป้ อ งกั น เหตุ ป ล้ น สะดม ที่ จ ะท� ำ ให้

สถานการณ์ เ ลวร้ า ยลง รวมถึ ง การช่ ว ย ตระเตรียมสิง่ อุปกรณ์จำ� เป็นและการให้ความรู้ ในการดัดแปลงพื้นที่ เพื่อให้เฮลิคอปเตอร์ บรรเทาภั ย สามารถเข้ า ถึ ง พื้ น ที่ ไ ด้ อ ย่ า ง สะดวก และที่ส�ำคัญคือในฐานะที่กองทัพ เป็นกลไกหลักในการแก้ไขสถานการณ์วกิ ฤต ของชาติ จึงน่าจะมีซักซ้อมร่วมการระดม สรรพก�ำลังขนาดใหญ่ จ�ำลองสถานการณ์ เหมือนจริงเฉกเช่นเหตุการณ์สนึ ามิเมือ่ ปี ๔๗ รวมถึงจ�ำลองสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหว รุนแรง จนมีผลกระทบต่อเขื่อนทางภาค ตะวันตกทีอ่ าจท�ำให้มวลน�ำ้ จ�ำนวนมหาศาล ไหลทะลักออกจากเขื่อนด้วย

47


สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๓๔

ญี่ปุ่น : นโยบายด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศฉบับใหม่ ก้าวแรกสู่การเป็นผู้ส่งออก

ระเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในมิตร ประเทศของไทยที่ มี ค วาม สัมพันธ์อนั เข้มแข็งมาเป็นเวลา อันยาวนาน ประเทศญีป่ นุ่ มีชอื่ เสียงและเป็น ที่รู้จักกันดีในฐานะของประเทศมหาอ�ำนาจ ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับบทบาทผู้น�ำด้าน วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ข องโลก สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดมาอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตลอดระยะ เวลากว่า ๕ ทศวรรษญี่ปุ่นได้ทุ่มเทและมุ่ง มั่นพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและ ทางสังคมเป็นหลัก โดยในด้านของความ 48

มั่ น คงนั้ น ญี่ ปุ ่ น ยึ ด นโยบายความมั่ น คง ระหว่ า งประเทศตามมาตราที่ ๙ ของ รัฐธรรมนูญที่ระบุห้ามการท�ำสงครามและ ห้ามการแก้ไขข้อพิพาทด้วยก�ำลังทหารแต่ ปัจจุบนั ญีป่ นุ่ ได้ปรับตัวตามสถานการณ์ดา้ น ความมัน่ คงในภูมภิ าคทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป เช่น กรณีข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนและการคุกคาม ในเขตภู มิ ภ าค เป็ น ต้ น รั ฐ บาลญี่ ปุ ่ น ยุ ค ปัจจุบันภายใต้การน�ำของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ จึงได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ ความมัน่ คงแห่งชาติฉบับใหม่ ภายใต้แนวคิด สันติภาพเชิงรุก (“Proactive Contribution to Peace” หรือ “Proactive Pacifism”)

ทีค่ รอบคลุมการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง ทหาร แต่ยังรักษาจุดยืนที่จะด�ำรงไว้ซึ่งขีด ความสามารถในการรักษาความมั่นคงของ ประเทศเป็นการเฉพาะเท่านั้น ด้วยการ พึง่ พาตนเองเป็นหลักและน�ำเข้ายุทโธปกรณ์ เฉพาะรายการเท่าทีจ่ ำ� เป็นเท่านัน้ การพึง่ พา ตนเองด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ ญี่ปุ่นอยู่ในรูปแบบของการวิจัยพัฒนาและ ศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมใน การผลิตยุทโธปกรณ์ภายใต้สิทธิบัตรทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นอุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อม ไปด้วยทรัพยากรและต้นทุนด้านงบประมาณ บุคลากร องค์ความรู้และโครงสร้างพื้นฐาน มีขีดความสามารถค่อนข้างสูงและสมบูรณ์ ในตัวเองอยู่แล้ว หน่วยงานทีท่ ำ� หน้าทีใ่ นการวิจยั และ พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของญี่ปุ่น คือ Technical Research and Development Institute หรือ TRDI ท�ำหน้าทีใ่ นการ ด�ำเนินการวิจยั และพัฒนายุทโธปกรณ์ทางบก สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


เรือ อากาศ และอาวุธน�ำวิถีให้สอดรับกับ ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ ในกรอบ ของระบบแจ้ ง เตื อ นภั ย ล่ ว งหน้ า และการ ตอบโต้ที่รวดเร็ว รุนแรงและแม่นย�ำ โดยมุ่ง เน้นการพัฒนายุทโธปกรณ์ทมี่ คี วามทันสมัย และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง เพื่ อ สร้ า งความได้ เปรียบเหนือข้าศึก TRDI จะเป็นหน่วยงานที่ ดูแลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศของญี่ปุ่นในภาพรวม เจ้าหน้าที่ ประมาณหนึง่ ในสีข่ อง TRDI จะเป็นก�ำลังพล ที่เคยอยู่ในกองก�ำลังป้องกันตนเองมาก่อน ข้อมูลในปี ค.ศ.๑๐๐๙ ระบุว่า งบประมาณ ในการวิจยั และพัฒนาของกระทรวงกลาโหม ญี่ ปุ ่ น อยู ่ ที่ ป ระมาณร้ อ ยละ ๑.๕ ของ งบประมาณทางทหาร ซึง่ TRDI จะใช้งบทีไ่ ด้รบั มาประมาณสามในสีใ่ นการสร้างต้นแบบทาง วิศวกรรม และอีกประมาณหนึง่ ในห้าในงาน วิจยั พืน้ ฐาน (Basic Research) การทดสอบ และประเมินผลการด�ำเนินงานของ TRDI มี ส่วนส�ำคัญต่อการกระตุ้นการเจริญเติบโต ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เนื่องจาก จะมุ ่ ง เน้ น พั ฒ นาเทคโนโลยี เ ป้ า หมาย ของกองทัพอันเป็นการช่วยสร้างตลาดและ ช่ อ งทางการค้ า ให้ แ ก่ ภ าคเอกชน TRDI ท� ำ งานอย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ ภาครั ฐ และภาค เอกชนเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นในการ ท�ำงานสูง เนื่องจากมีรูปแบบการด�ำเนิน โครงการทีห่ ลากหลายเพือ่ รองรับการท�ำงาน ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายนอก TRDI ท� ำ งานร่ ว มกั น กั บ ภาค อุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด ในบางโครงการ ภาคเอกชนมีส่วนสนับสนุนด้านเงินทุนใน การวิจัยขั้นต้นของโครงการต่างๆ ตลอดจน ค่าใช้จ่ายในระหว่างห้วงการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement and acquisition process) จึงสามารถกล่าวได้ว่า TRDI จะท�ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางการประสานงาน ระหว่ า งภาครั ฐ กั บ ภาคเอกชน เป็ น ผู ้ สนับสนุนงานวิจยั พืน้ ฐานและก�ำกับดูแลการ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

วิจยั และพัฒนาทีส่ ามารถน�ำไปสูก่ ารผลิตใน ภาคอุตสาหกรรม ยิง่ ไปกว่านัน้ TRDI ยังเป็น ตัวกลางในการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ ผลงานของภาคเอกชนเพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการ ได้น�ำผลงานความก้าวหน้า ตลอดจนเปิด โอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศของ ญี่ปุ่นมีศักยภาพในการออกแบบและผลิต รถถัง รถหุ้มเกราะ เรือรบ เรือด�ำน�้ำ และ ระบบขีปนาวุธ ด้วยตัวเอง กองก�ำลังป้องกัน

ตนเองของญี่ปุ่น เป็นกองก�ำลังที่สามารถพึ่ง ตนเองได้ ใ นเรื่ อ งยุ ท โธปกรณ์ เ กื อ บทุ ก รายการ ญีป่ นุ่ จะจัดหายุทโธปกรณ์ในกรณีที่ การลงทุนพัฒนาขึ้นใช้เองภายในประเทศ ไม่คุ้มค่าเท่านั้น (ญี่ปุ่นไม่มีนโยบายส่งออก ยุทโธปกรณ์) แต่กระนั้นในกรณีดังกล่าว ญี่ ปุ ่ น ยั ง ตั้ ง เป้ า หมายว่ า จะต้ อ งสามารถ แทนทีย่ ทุ โธปกรณ์ทนี่ ำ� เข้าเหล่านีด้ ว้ ยของที่ ผลิ ต ขึ้ น เองภายในประเทศให้ ไ ด้ ใ นที่ สุ ด อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศของญี่ ปุ ่ น

(MCV Maneuver Combat Vehicle) และรถถัง Type-10

49


จะเป็นลักษณะในเชิงของการเป็นหุน้ ส่วนกัน ระหว่ า งรั ฐ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรมเอกชน ผลิตภัณฑ์ดา้ นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เกือบทั้งหมดของญี่ปุ่นจะเป็นของบริษัท ยักษ์ใหญ่ดา้ นอุตสาหกรรมเพียงไม่กรี่ ายของ ประเทศ เช่น บริษัท Mitsubishi Heavy Industries (MHI) บริษทั Mitsubishi Electric บริษัท Kawasaki Heavy Industries (KHI) เป็นต้น บริษัทเหล่านี้ได้รับส่วนแบ่ง ทางตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจาก รั ฐ บาลญี่ ปุ ่ น เป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี โดยแต่ ล ะ บริษัทจะมีความช�ำนาญเฉพาะทางที่แตก ต่างกัน ในกรณีที่ระบบอาวุธบางอย่างมี บริษทั ทีเ่ ชีย่ วชาญมากกว่าหนึง่ ราย ส่วนใหญ่ บริษทั ดังกล่าวจะจับมือท�ำธุรกิจร่วมกันเป็น กรณี ๆ ไป

50

STRATFORD, Connecticut Mitsubishi Heavy Industries’ (MHI) UH-60J search and rescue helicopters Kawasaki OH-1 (Ninja) light military reconnaissance helicopter

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


การเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชีย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและ ตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น อาเซียนตลาดส�ำคัญแห่งหนึง่ ของโลก ส�ำหรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ผนวก กับสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ท�ำให้ญี่ปุ่นให้ ความส�ำคัญกับภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เห็น ได้จากการพยายามแสวงหาความร่วมมือกับ ประเทศในภูมภิ าคในเชิงรุก เหตุการณ์สำ� คัญ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังต่อไปนี้ การบรรลุข้อตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับ เวียดนามที่จะยกระดับความสัมพันธ์เป็น “หุ ้ น ส่ ว นทางยุ ท ธศาสตร์ ” (Extensive Strategic Partnership) ซึง่ ภายใต้ขอ้ ตกลง ดังกล่าวจะครอบคลุมถึงด้านความมัน่ คงด้วย และหลังจากบรรลุข้อตกลงไม่นาน ญี่ปุ่นได้ มอบเรือตรวจการณ์ทะเลที่ใช้งานแล้วของ ญี่ปุ่นแต่ผ่านการปรับปรุงใหม่ จ�ำนวน ๓ ล�ำ เป็นของขวัญให้แก่หน่วยยามฝัง่ ของเวียดนาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจ ด้านการรักษาความปลอดภัยและการช่วย เหลือผู้ประสบภัยทางทะเลของเวียดนาม การร่วมฝึกซ้อมการต่อต้านโจรสลัดและการ ปล้นอาวุธในทะเลของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น (Japanese Coast Guard, JCG) ร่วมกับ หน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์ (Philippine Coast Guard, PCG) ตามด้ ว ยการจั ด หาเรื อ อเนกประสงค์ (Multirole Response Vessels, MRRVs) ของฟิลิปปินส์จากบริษัท Japan Marine United Corporation (JMU) จ�ำนวน ๑๐ ล�ำ โดยได้รับการช่วย เหลือด้านงบประมาณจากโครงการ Official Development Assistance หรือ ODA ของ ญี่ปุ่น เพื่อใช้ในภารกิจการกู้ภัย ควบคุม มลพิษและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความ สามารถในการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การขนส่ง และล� ำ เลี ย งก� ำ ลั ง พล และล่ า สุ ด ได้ มี แถลงการณ์ร่วมด้านความร่วมมือทางการ ทหารระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ในหลาย หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ยุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นสู่ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ การแลก เปลี่ยนก�ำลังพลศึกษา ดูงาน ความร่วมมือด้าน การบรรเทาภั ย พิ บั ติ การซ้ อ มรบร่ ว ม การ พัฒนาหน่วยงานยามฝัง่ ฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาล ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ แ ละบริ ษั ท Japan Marine United Corporation (JMU) ได้ลงนามการ จั ด หาเรื อ ตอบโต้ อ เนกประสงค์ จ� ำ นวน ๑๐ ล�ำ ให้กบั หน่วยงานยามฝัง่ ด้วยความช่วย เหลือทางทหารและการกู้เงินบางส่วน

การลงนามข้อตกลง (MOU) ความ ร่ ว มมื อ ด้ า นเทคโนโลยี แ ละยุ ท โธปกรณ์ ทางการทหารระหว่างญี่ปุ่นกับอินโดนีเซีย ตามมาด้วยการจัดหาเครื่องบินทะเล US-1 ของบริ ษั ท Shin Maywa Industries ส�ำหรับใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย

สรุป

รัฐบาลญีป่ นุ่ เริม่ ให้ความส�ำคัญกับการร่วมวิจยั และพัฒนาด้านเทคโนโลยีปอ้ งกัน ประเทศกับมิตรประเทศในอาเซียน โดยเปิดช่องส�ำหรับการวิจยั และพัฒนาร่วมส�ำหรับ เทคโนโลยีในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและเทคโนโลยีด้านการทหารที่ใช้ส�ำหรับ ภารกิจรักษาความสงบและสันติภาพ ในขณะที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่จะพึ่งพา ตนเองด้านยุทโธปกรณ์อย่างยั่งยืน การร่วมวิจัยและพัฒนากับญี่ปุ่นจึงเป็นการเปิด โอกาสและสร้างช่องให้กับหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัดกระทรวงกลาโหม ยกตัวอย่างเช่น กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม และสถาบันเทคโนโลยีปอ้ งกัน ประเทศ (องค์การมหาชน) ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลน�ำไปสู่การสร้างเครือข่ายทาง วิชาการ ในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ ไปสูก่ ารเป็นกองทัพทีท่ นั สมัยและมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทความจาก สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) http://www.wsj.com/articles/japan-reaffirms-economic-ties-withthailand-1413488868 51


การสืบทอด

อำ�นาจ ค

จุฬาพิช มณีวงศ์

รั้งหนึ่งภาพยนตร์หาเงินฮอลลีวู้ดเรื่อง LORD OF THE RING ได้ท�ำให้ผู้ชมเข้าใจถึงพลังอ�ำนาจกับกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็น เสมือนเหรียญสองด้าน อ�ำนาจที่อยู่ในมือมารหรือความชั่วร้าย เป็นอ�ำนาจในเชิงลบที่ก่อให้เกิดสงครามและการประหัตประหารผู้คน อ�ำนาจที่ อยู่ในมือคนละโมบก็ก่อความต้องการไม่สิ้นสุด อ�ำนาจในเชิงบวกคือสุดยอดของ ความปรารถนา เป็นอ�ำนาจในทางสร้างสรรค์ที่ท�ำให้โลกพบกับความสงบสุข อ�ำนาจ หรือ POWER เป็นความสามารถพิเศษในการควบคุมพฤติกรรมของ ผูอ้ นื่ ทัง้ ทางตรง โดยการบังคับ และทางอ้อมโดยวิธกี ารต่างๆ เป็นสภาวะทีม่ กี ำ� ลัง เพียงพอทีจ่ ะเข้าครอบครองจิตใจของผูค้ นให้ทำ� ในสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ตามต้องการ ด้าน การยอมรับเชื่อฟังแล้วปฏิบัติตามหรืองดเว้นไม่ปฏิบัติตามค�ำสั่งหรือค�ำขอร้อง อ�ำนาจเป็นสิง่ ทีม่ พี ลังและศักยภาพในตัวเอง สามารถท�ำให้คนทีค่ รอบครอง บังคับ ให้คนอื่น กลุ่ม บุคคลอื่น เชื่อฟัง ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตาม 52

จุฬาพิช มณีวงศ์


เชือ่ กันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สงั คมทีช่ อบ อยูร่ ว่ มกัน มีการพึง่ พาอาศัยกันเพือ่ คุม้ ครอง ความปลอดภัยและแสวงหาผลประโยชน์ ร่วมกัน จึงเกิดการใช้อ�ำนาจขึ้นมาตั้งแต่ ระดับพื้นฐานในครอบครัวไปจนถึงระดับ ประเทศ สั ง คมไทยผู ้ ช ายมี อ� ำ นาจเหนื อ ผู้หญิง แต่ทุกสังคมก็มีลักษณะชายเป็นใหญ่ เพราะหญิงต้องพึง่ พาในการปกป้องคุม้ ครอง ภยันตราย และมักจะยอมให้ชายเป็นหัวหน้า ครอบครัว การยินยอมพร้อมใจนี้ท�ำให้เกิด การอยู่ร่วมกันจนมีลูกมีหลานมีญาติพี่น้อง เป็นคูส่ ามีภรรยาครองชีวติ ครองเรือนร่วมกัน อ� ำ นาจในครอบครั ว ไม่ ไ ด้ เ กิ ด จากการใช้ อ�ำนาจบังคับหรือใช้ความรุนแรงป่าเถื่อน แต่เป็นอ�ำนาจทีเ่ กิดจากการยินยอมพร้อมใจ มีความรักใคร่ผูกพันไว้เนื้อเชื่อใจเป็นฐาน รองรับ อ�ำนาจและการใช้อำ� นาจในครอบครัว จะส่ ง ผลต่ อ ความมั่ น คงและมั่ ง คั่ ง ของ ครอบครัวเป็นอย่างมาก บางครอบครัวเจริญ รุ่งเรืองเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นครอบครัว ตั ว อย่ า งที่ ไ ด้ รั บ ความยกย่ อ งจากสั ง คม บางครอบครัวมีแต่ความทุกข์ บางครอบครัว บุตรหลานได้รับการดูแลส่งเสริมด้านการ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ศึกษา บุตรหลานประพฤติดี บางครอบครัว บุ ต รหลานกลั บ มี พ ฤติ ก รรมเลวร้ า ย ครอบครัวที่เจริญก้าวหน้าส่วนใหญ่จะมา จากหั ว หน้ า ครอบครั ว และบุ ค คลใน ครอบครัว รู้จักใช้อ�ำนาจอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งกันและกัน เป็นพลังอ�ำนาจผลักดันให้ไป สู่ความเจริญในการใช้อ�ำนาจทางคุณธรรม ฝ่ายดี ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะจิตใจ ระดับ คุณธรรมและศีลธรรมของคนในครอบครัว เมื่อมนุษย์มีการรวมตัวตั้งถิ่นฐานมี การพึง่ พากันในหมูบ่ า้ น ท�ำให้เกิดมีผนู้ ำ� ตาม ธรรมชาติขึ้นมาก่อนที่จะมีการจัดระเบียบ การปกครองต�ำบล ผู้น�ำตามธรรมชาติมัก เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือในการน�ำ เป็นผู้มีอ�ำนาจและมีความสามารถในการใช้ อ�ำนาจ ท�ำให้สมาชิกในชุมชนหรือหมู่บ้าน ด�ำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เรามักจะเห็น ผูน้ ำ� ประเภทนีไ้ ด้แก่ พระ ผูส้ อนศาสนา และ คหบดี ต่อมาจึงมีการสถาปนาก�ำนันผูใ้ หญ่บา้ น อย่างเป็นทางการ แม้กระนั้นอ�ำนาจจาก ความศรั ท ธาในคุ ณ งามความดี ใ นความรู ้ ความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคลเป็นรายๆ เช่น ความศรัทธาในพระสงฆ์ ในผู้น�ำศาสนา ครูอาจารย์ คหบดี บุคคลเหล่านั้นก็สามารถ

ใช้ อ� ำ นาจศรั ท ธาบารมี ใ นการว่ า กล่ า ว ตักเตือน สั่งการชาวบ้านได้ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๔๗๕ อ�ำนาจ ของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่ เพียงการปกครองเท่านัน้ แต่พระราชอ�ำนาจ อันเกิดจากการมีประวัตศิ าสตร์ยาวนานกว่า ๗๐๐ ปี โดยพระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงมี พ ระ มหากรุณาธิคณ ุ มาโดยตลอด ทรงมีคณ ุ ปู การ แก่ชาติบ้านเมืองอย่างใหญ่หลวง ทั้งด้าน การพัฒนา แก้ปญ ั หาให้แก่พสกนิกรชาวไทย ทั้งการแก้วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิด จากการแย่งชิงอ�ำนาจ การพระราชทาน พระราชด�ำริตา่ งๆ พระราชด�ำรัสทีท่ รงตักเตือน คนไทยและรัฐบาล พระมหากษัตริย์จึงทรง เป็นหลักชัยของบ้านเมือง ที่ ผ ่ า นมาพระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงใช้ อ�ำนาจผ่านทางฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ า ยตุ ล าการ โดยประเทศไทยแบ่ ง อ�ำนาจออกเป็น ๓ ฝ่าย แยกออกจากกันแต่ อ�ำนาจที่ได้รับความสนใจและเป็นที่เพ่งเล็ง อย่างมากในระยะหลังเห็นจะเป็นอ�ำนาจของ 53


ฝ่ายบริหาร ซึ่งนอกจากจะเป็นอ�ำนาจที่มา จากการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ยังมีส่วนราชการคือ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานภายใต้การ ก�ำกับของรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี มีการ แบ่งแยกอ�ำนาจระหว่างข้าราชการการเมือง กั บ ข้ า ราชการประจ� ำ การที่ ข ้ า ราชการ การเมืองมีอำ� นาจสัง่ การ เปลีย่ นแปลง แต่งตัง้ โยกย้าย เลือกสรรหาคนทีต่ นไว้วางใจ แม้จะ มองว่าเพื่อการสัมฤทธิผลของงานในฐานะ ผู ้ บ ริ ห าร แต่ ก็ ถู ก มองอี ก มุ ม ว่ า มี ก ารใช้ อ�ำนาจที่ไม่เป็นธรรมอยู่บ่อยครั้ง จึงเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ ได้มีการบัญญัติเรื่องการตรวจสอบอ�ำนาจ ของผู้บริหารบ้านเมืองอย่างเข้มข้นมากขึ้น ทั้ ง การแสดงบั ญ ชี ร ายการทรั พ ย์ สิ น และ หนีส้ นิ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต การถอดถอนจากต�ำแหน่ง การด�ำเนินคดี อาญากับผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองและ การตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ทั้ ง ที่ ข ้ า ราชการ การเมืองนัน้ ถูกก�ำหนดให้มวี าระในต�ำแหน่ง ไม่เกิน ๔ ปี แต่ส่วนใหญ่อยู่ไม่ถึง ขณะที่ ข้าราชการประจ�ำคือผู้ปฏิบัติงานและมีอายุ ราชการถึง ๖๐ ปี จึงจะเกษียณ พลังทางการเมืองของข้าราชการไทย เป็ น พลั ง ที่ เ ข้ ม แข็ ง ที่ สุ ด นั บ ตั้ ง แต่ ป ี 54

พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา และมีการช่วงชิง อ� ำ นาจกั บ ข้ า ราชการการเมื อ งแบบผลั ด กันรุกผลัดกันรับมาโดยตลอด จากการศึกษา พบว่า ข้าราชการประจ�ำเข้ามามีบทบาทเข้า ร่ ว มเป็ น รั ฐ มนตรี มี สั ด ส่ ว นมากมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยมีลักษณะ เป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ยิ่งในสภา นิตบิ ญั ญัตทิ กุ ครัง้ ทีม่ กี ารแต่งตัง้ มีขา้ ราชการ มาเป็นสมาชิกร้อยละ ๑๐๐ จึงมีผู้กล่าวว่า ข้าราชการประจ�ำคือข้าราชการการเมืองที่ เข้มแข็งที่สุดอยู่ในอ�ำนาจนานที่สุดยิ่งกว่า พรรคการเมืองใดๆ ปั จ จุ บั น คนส่ ว นใหญ่ อ าจมองว่ า อ�ำนาจทางการเมืองถูกถ่ายโอนสู่นักการ เมืองมากขึ้น แต่นักการเมืองก็ยังต้องอาศัย ข้าราชการประจ�ำเป็นมือไม้ในการท�ำงานให้ และความส�ำเร็จหรือความล้มเหลวในการ บริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ส่วนหนึง่ มาจากข้ า ราชการที่ เ ป็ น กลไกในการใช้ อ�ำนาจอยู่นั่นเอง การที่นักการเมืองมีอ�ำนาจ ให้ คุ ณ ให้ โ ทษข้ า ราชการประจ� ำ โดยไม่ สามารถต่อสู้ปกป้องศักดิ์ศรีตนเองได้ เป็น เหตุให้ข้าราชการประจ�ำต้องท�ำตามค�ำสั่ง และคล้อยตาม สร้างความเสียหายให้กับ บ้านเมืองเป็นที่มาของการคิดที่จะตัดกลไก ให้นกั การเมืองลดอ�ำนาจ ไม่สามารถโยกย้าย

แต่งตั้งข้าราชการโดยปราศจากความเป็น ธรรมเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้ง ยั ง มี ก ารสร้ า งกลไกอี ก หลายอย่ า ง เพื่ อ ป้องกันการใช้อ�ำนาจที่ไม่ชอบธรรมเหมือน เช่นในอดีต รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ล่ า สุ ด ที่ ค ณะ กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญก�ำหนดขึ้นมา เพือ่ ใช้เป็นคัมภีรใ์ นการปกครองบ้านเมือง ใน ภาวะเปลี่ยนผ่านนี้ มีการสร้างกลไกไม่ให้ นั ก การเมื อ งใช้ อ� ำ นาจเกิ น กว่ า ขอบเขตที่ กฎหมายก�ำหนดไว้หลายประการจนบางฝ่าย วิพากษ์วิจารณ์เสียด้วยซ�้ำว่าจะก่อให้เกิด ภาวะที่รัฐบาลยากจะบริหารบ้านเมืองให้ ราบรื่ น ได้ โดยนอกจากยั ง เปิ ด โอกาสให้ ประชาชนชาวไทยมีส่วนร่วมในการตรวจ สอบ ทั้งจากการให้เปิดเผยการด�ำเนินการ ต่อสาธารณะ การป้องกันการทุจริตประพฤติ มิชอบ การถอดถอนผูด้ ำ� รงต�ำแหน่งทางการ เมือง ยังมีข้อก�ำหนดภาคผู้น�ำทางการเมือง ที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี ด้วยการก�ำหนด มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง ทางการเมืองที่ต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับ ก่อนๆ ก็คงต้องแสดงรายการภาษีเงินได้ยอ้ น หลัง เป็นเวลา ๓ ปี การก�ำหนดคุณสมบัติ ต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา ผูแ้ ทนราษฎรไว้อย่างเข้มข้น อาทิ เป็นบุคคล ล้ ม ละลายหรื อ เคยเป็ น บุ ค คลล้ ม ละลาย ทุ จ ริ ต ต้ อ งค� ำ พิ พ ากษาให้ จ� ำ คุ ก โดยได้ พ้นโทษมายังไม่ถงึ ๓ ปีในวันเลือกตัง้ เคยถูก ปลดออก ไล่ออก หรือให้ออกจากราชการ หน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อ รั ฐ วิ ส าหกิ จ เพราะ ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระท�ำการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการ เคยต้องค�ำ พิพากษาหรือค�ำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่า กระท�ำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เคย ต้ อ งค� ำ พิ พ ากษาหรื อ ค� ำ สั่ ง ของศาลให้ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร�่ำรวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหมวดการตรวจสอบ การใช้อำ� นาจรัฐ หมวดการกระท�ำทีเ่ ป็นการ ขัดกันแห่งผลประโยชน์ การถอดถอนจาก จุฬาพิช มณีวงศ์


ต�ำแหน่ง ตลอดจนการด�ำเนินคดีอาญาผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง ทางการเมือง รวมถึงหมวดการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อม ล�้ำสร้างความเป็นธรรมและความปรองดอง โดยตั้งคณะ กรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรปู และการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งเป็นหมวดที่ถูกเพ่งเล็งมากที่สุดอีกหมวดหนึ่งว่าท�ำให้ เกิดภาวะรัฐซ้อนรัฐขึ้น และมีอ�ำนาจในการควบคุมฝ่าย บริหารที่อาจจะมากเกินไป การใช้อ�ำนาจให้เป็นคุณในทางสร้างสรรค์ ย่อมขึ้น อยู่กับคุณธรรมของผู้ใช้มากกว่ากติกา อ�ำนาจเหมือน ม้าพยศทีต่ อ้ งฝึกการใช้ การบังคับให้อยูใ่ นขอบเขตด้วยการ สร้างจิตส�ำนึก ฝึกอบรมให้รู้จักใช้อ�ำนาจฝ่ายดี ฝ่ายสูง สัง่ ให้พดู และปฏิบตั แิ ต่สงิ่ ดีงาม อยูใ่ นศีลธรรม ไม่ใช้อำ� นาจ บังคับหรือสั่งการให้เบียดเบียนสังคมและผู้อื่น ไม่ฆ่าฟัน ท�ำร้ายใคร ไม่ละเมิดกรรมสิทธิข์ องผูอ้ นื่ ไม่ทำ� ลายคนด้วย ค�ำเท็จและหลอกลวง และไม่ท�ำลายความมั่นคงปลอดภัย ของเพื่อนมนุษย์ด้วยการเสพยาสิ่งของมึนเมา การฝึกตนเองใน ๔ เรื่องส�ำคัญ คือ ศีล สันโดษ อิทธิบาท ๔ และพรหมวิหาร ๔ จะเป็นแกนส�ำคัญของชีวติ ในการใช้อ�ำนาจทุกระดับของทุกคนได้เป็นอย่างดี เริ่มต้น ตั้งแต่เด็กในวันนี้ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

55


อาณาจักรพม่า ยุควุ่นวาย ๒๑๗๒

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

มือ่ ศูนย์กลางอ�ำนาจการปกครองล่มสลายอาณาจักรพม่าอยูใ่ นยุควุน่ วาย เจ้าเมืองต่างก็ชว่ งชิงความ เป็นใหญ่ของอาณาจักร ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) เชื้อสายจากพระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung) โดยพระราชโอรสองค์เล็กยังคงรักษาศูนย์กลางอ�ำนาจของการปกครองไว้ได้ พระเจ้า กรุงอังวะ (Ava) ทรงเริ่มต้นมีอ�ำนาจเหนือเมืองต่างๆ แห่งลุ่มแม่น�้ำอิรวดี จากพระเจ้านยองยานสู่พระเจ้า อโนเพตลุน............ บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักรพม่าสมัยพระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดีตลุนมิน เป็น ยุคแห่งความวุ่นวาย พ.ศ.๒๑๗๒

56

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


๑. กล่าวทั่วไป

พระเจ้ากรุงอังวะ (Anaukpetlun Min) ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่างๆ ให้ เป็ น หนึ่ ง เดี ย วเพื่ อ ให้ อ าณาจั ก รมี ค วาม มั่นคง อาณาจักรเริ่มมีความสงบ แต่ผล จากการรบเป็นเวลานาน (สูญเสียก�ำลังพล เป็นจ�ำนวนมาก และการเกษตรท�ำได้อย่าง จ�ำกัดมีผลผลิตน้อย) เป็นผลให้กองทัพขาด ความเข้ ม แข็ ง ทั้ ง จ�ำ นวนทหารและอาวุ ธ แม้ว่าจะไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับยุครุ่งโรจน์ ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง แต่อาณาจักรมี ความมัน่ คงเพียงห้วงสัน้ ๆ ต่อมาพระองค์ได้ ถูกพระราชโอรสคือมังเรทิป (Minyedeippa) ลอบปลงพระชนม์ ใ นปี พ.ศ.๒๑๗๑ พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัตินาน ๒๓ ปี พ.ศ.๒๑๔๘ – ๒๑๗๑

๒. อาณาจักรพม่ายุควุ่นวาย ๒๑๗๒

พระเจ้าอโนเพตลุน (Anaukpetlun) แห่ ง กรุ ง อั ง วะหรื อ อี ก พระนามหนึ่ ง คื อ พระเจ้าอังวะมหาธรรมราชา สิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ.๒๑๗๑ ขุนนางทัง้ ปวงเกรงว่าหาก ด�ำเนินการใดๆ ก็จะเกิดความวุน่ วายขึน้ อีก ในที่ สุ ด จึ ง อั ญ เชิ ญ รั ช ทายาทคื อ พระ ราชโอรสทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ล�ำดับต่อมา ทรงพระนามว่ า พระเจ้ า มิ น แยไดกปา (Minyedaikpa/หรือมังเรทิป) ทรงครอง ราชย์ได้ไม่นานพระอนุชาของพระเจ้าอโน เพตลุน (Anaukpetlun) คือเจ้าชายทาลุน (Thalun) ขณะนั้นไปราชการทัพที่เมือง อังวะ (Ava) เมื่อทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้ น ก็ ตั ด สิ น พระทั ยน�ำกองทัพพม่ากลับ มายังราชธานีคือกรุงหงสาวดี ได้เข้าจับกุม กษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ ใ หม่ (พระชนมายุ ๒๑ พรรษา) และขุนนางประหารชีวิต เจ้าชาย ทาลุ น (Thalun) ทรงกระท� ำ พิ ธี บ รม ราชาภิ เ ษกเสด็ จ ขึ้ น ครองราชสมบั ติ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๗๒ ทรง พระนามว่าพระเจ้าตลุนมินหรือพระเจ้า ทาลุนเป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ล�ำดับที่ ๘ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ภาพกราฟิกเมืองส�ำคัญทางตอนใต้ตามแนวแม่น�้ำอิรวดี เป็นจุดศูนย์กลางอ�ำนาจของอาณาจักรพม่า 57


(ทรงประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๑๗๒) อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีไม่มี ความเข้ ม แข็ ง อั น เนื่ อ งมาจากเศรษฐกิ จ ภายในประเทศไม่ดนี กั เกิดกบฏมอญหลาย ครั้ ง จึ ง เกิ ด ความยุ ่ ง ยากในการบริ ห าร ราชการ ประกอบกับราชธานีคือกรุงหงสาวดี เดิมเป็นราชธานีเก่าของอาณาจักรมอญใน อดีตและกรุงหงสาวดีไม่ได้เป็นเมืองท่าที่ ส�ำคัญอีกแล้ว นอกจากนี้ราชธานียังทรุด โทรมอย่างมากผลจากการเข้าปล้นเมือง และเผาของกองทั พ ยะไข่ (เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๑๔๒ ประวัติศาสตร์ไทยเรียกว่าสงคราม ครั้ ง ที่ ๑๔) พระองค์ ท รงตั ด สิ น พระทั ย จะย้ายราชธานีกลับไปยังเมืองอังวะ (Ava) ในปี พ.ศ.๒๑๗๘ เป็นฐานอ�ำนาจเดิมของ พระราชบิดาและพระเชษฐาเป็นเมืองทีช่ าว พม่าอาศัยอยูท่ งั้ สิน้ หลังจากกรุงหงสาวดีได้

58

เป็นราชธานี มานานเพียง ๒๒ ปี (ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๑๕๖ – ๒๑๗๘) พระองค์ทรง กระท� ำ พิ ธี บ รมราชาภิ เ ษกอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ กรุงอังวะราชธานีใหม่ เมืองอังวะเป็นจุดเริ่มต้นของพระเจ้า

นยองยาน (Nyaungyan) พระราชโอรส องค์เล็กของพระเจ้าบุเรงนอง ทีจ่ ะก้าวขึน้ สู่ อ�ำนาจเมื่อได้ขยายอ�ำนาจสู่ด้านเหนือแต่ พระองค์สวรรคตก่อนที่เมืองแสนหวี พระ ราชโอรสของพระองค์คอื เจ้าชายอโนเพตลุน

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ต่อมาชาวฮอลันดาได้เข้ามาขอพระบรม ราชานุ ญ าตที่ จ ะตั้ ง สถานี ก ารค้ า ที่ เ มื อ ง สิเรียม (Syriam) พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๙๑ ขณะที่มี พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา ทรงครองราช สมบัตนิ าน ๒๐ ปี พระองค์มีพระราชโอรส ๑๑ พระองค์ และพระราชธิดา ๒๐ พระองค์ รวมทัง้ สิน้ ๓๑ พระองค์ (เป็นห้วงระยะเวลา เดียวกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยราชวงศ์ ปราสาททอง)

๓. บทสรุป

ภาพกราฟิกเมืองส�ำคัญทางตอนใต้ของ อาณาจักรพม่า ที่ช่วงชิงความเป็นใหญ่ ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

(Anaukpetlun) ขึน้ เป็นเจ้าเมืองอังวะและ ขยายอ�ำนาจสู่การครอบครองเมืองต่างๆ ตามลุ่มแม่น�้ำอิรวดี แม้ว่าอาณาจักรพม่า แห่งราชวงศ์ตองอูจะวุ่นวายแต่ก็สามารถ รวมอาณาจักรได้อกี ครัง้ หนึง่ (กรุงอังวะเป็น ราชธานีของอาณาจักรพม่ารวม ๕ ครัง้ เป็น ระยะเวลานาน ๑๙๐ ปี) พระเจ้าตลุนมิน (Thalun) เป็นห้วงที่มี ความยุง่ ยากในการบริหารอาณาจักร แม้วา่ จะรักษาเมืองต่างๆ ให้อยูภ่ ายใต้การน�ำของ กรุงอังวะ (Ava) แห่งราชวงศ์ตองอู พระองค์ ทรงถือนโยบายรักสงบ (อาณาจักรไม่มีขีด ความสามารถทางทหารอย่างในอดีต) และ ยึ ด ถื อ ประเพณี โ บราณไม่ ย อมรั บ ความ เปลีย่ นแปลง พระองค์ทรงปรับปรุงในด้าน ต่างๆ การจัดสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะด้านกฎหมาย (รวบรวมกฎหมาย เป็นภาษาพม่าฉบับแรก) มีการขุดคลอง ระบายน�้ ำ เข้ า นาเพื่ อ การเกษตรเพื่ อ ให้ อาณาจักรมีความก้าวหน้า พระองค์ทรง ยกเลิกต�ำแหน่งเจ้าเมืองเปลี่ยนสถานะเป็น ข้าหลวง (เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญ ยิง่ ทางด้านการปกครองของอาณาจักรพม่า)

อาณาจักรพม่าได้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หนึ่ ง หลั ง การสิ้ น พระชนม์ ข องพระเจ้ า นันทบุเรง โดยเจ้าเมืองต่างก็แย่งชิงความเป็น ใหญ่ น�ำมาสู่ยุคแห่งความวุ่นวายเป็นระยะ เวลานานต้องสูญเสียก�ำลังทหารและเงิน ในท้องพระคลังเป็นจ�ำนวนมากเป็นผลให้ อาณาจักรอ่อนแอ พระเจ้าทาลุนทรงท�ำการ ปรับปรุงระเบียบด้านการปกครองและฟืน้ ฟู พระศาสนา อาณาจักรอยูใ่ นความสงบแม้วา่ จะเป็นห้วงระยะเวลาสัน้ ๆ แม้วา่ อาณาจักร จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับในอดีตที่รุ่งโรจน์

ภาพจาก : https://upload.wikimedia.org http://www.koraj.mbu.ac.th http://topicstock.pantip.com

59


มาเรียนภาษามลายูถิ่นกันค่ะ

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

หรับท่านที่เดินทางไปใน พื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ คงจะได้ยินประชาชนใน ท้ อ งถิ่ น พู ด ภาษามลายู ถิ่ น ที่ มี ส� ำ เนี ย ง คล้ายๆ ภาษามาเลเซีย แต่ถา้ มาฟังใกล้ๆก็ จะมีเสียงทีแ่ ตกต่าง บางค�ำก็คล้ายกัน บาง ส�ำนวน ก็ไม่เหมือนเลย จริงๆ แล้วก็คล้าย กับเราพูดภาษาใต้ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน นั้นเอง สมัยเด็กๆ ผู้เขียนจะต้องฝึกพูด ภาษาไทยกลาง เพื่อไม่ให้พูดออกเสียง ส� ำ เนี ย งภาษาใต้ หรื อ บางคนเรี ย กว่ า ทองแดงแต่ปัจจุบันนี้ ผู้เขียนกลับมองว่า ใครสามารถพูดภาษาท้องถิน่ ได้ น่าจะเป็น ความสามารถพิ เ ศษที่ ถ ่ า ยทอดมาจาก บรรพบุรุษของเรา อย่างน้อยพอมีคนถาม ว่า พูดได้กี่ภาษา ผู้เขียนก็สามารถตอบ ได้ว่า พูดภาษาไทยกลาง ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาใต้ (สงขลา) รวมเป็น ๔ ภาษา ฟังแล้วดูดีเหลือเกิน อักษรไทย วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์

ส่วนภาษามลายูถิ่นนั้น ผู้เขียนได้เริ่ม อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สมัย ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี และได้ เขียนบทความแนะน�ำการศึกษาภาษามลายู ถิ่น เป็นระยะๆ เนื่องจากมองว่า ภาษา มลายูถนิ่ ถือเป็นภาษาหลักทีใ่ ช้ในพืน้ ทีส่ าม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานใน พื้นที่ชายแดนใต้ ควรที่จะได้เรียนรู้ ฝึกฝน การใช้ภาษามลายูถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจ และเข้ า ถึ ง การท� ำ งานในพื้ น ที่ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้ริเริ่ม การด� ำ เนิ น โครงการวิ จั ย เกี่ ย วกั บ ภาษา มลายูถนิ่ มาเป็นเวลา ๒-๓ ปี และคาดว่าจะ แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นี้ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า พี่น้อง มุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทยส่วนใหญ่พูด “ภาษายาวี” ทว่าในความจริงแล้วยาวีไม่ใช่เป็นภาษา อักษรยาวี ‫نينثا‬ ‫ثالث‬ ‫وبار‬ ‫سيمخ‬ ‫ةعمج‬ ‫وتبس‬ ‫دحا‬

อักษรรูมี Isnin Selasa Rabu Khamis Jumaat Sabtu Ahad

นะคะ แต่เป็น “อักษร”ค่ะ อักษรยาวีเป็น อักษรที่ใช้เขียนภาษามลายูที่ดัดแปลงมา จากอักษรอาหรับ (อารบิก) โดยนักปราชญ์ ชาวปัตตานีชื่อ ชัยคฺอะฮฺมัด อัล-ฟะฏอนีย์ ที่ได้วางกฎเกณฑ์หลักการใช้อักษรยาวีเพื่อ ใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูใน ท้องถิ่น อักษรยาวีมักจะใช้ในการบันทึก เรื่องราวทางศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น นักเรียนในโรงเรียนปอเนาะหรือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ สามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ จ ะเริ่ ม เรี ย น อักษรยาวีส�ำหรับอ่าน เขียนภาษาอาหรับ ตั้งแต่เด็กๆ ค�ำว่า ยาวี มาจากค�ำว่า jawa หมายถึง ชวา เนื่องจาก ชาวชวาได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานีตั้งแต่ ในอดีต จึงได้น�ำอักษรอาหรับมาดัดแปลง เผยแพร่ และในที่สุดนิยมน�ำมาใช้ในชุมชน ทีพ่ ดู ภาษามลายูปตั ตานีมาช้านาน ตัวอย่าง เช่น คำ�อ่าน อิสนิน ซลาซา ราบู คามิส จูมาอัต ซับตู อาฮัด

ส่วนภาษามลายูถนิ่ หรือภาษามลายูปตั ตานี นัน้ เราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Pattani Malay’ ซึง่ เป็นภาษากลุม่ ออสโตรนีเซียน ที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และในบางอ�ำเภอของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมสตูล) ภาษานี้ ใกล้เคียงมากกับภาษาถิน่ ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึง่ พูดภาษาถิน่ ทีแ่ ตกต่างจากส่วนทีเ่ หลือของประเทศมาเลเซีย เรามาฝึกออก เสียงภาษามลายูถิ่นที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวันกันค่ะ เช่น

60

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


๑. การนับเลข

1 = ซาตู 6 = แน 11 = ซือบือละ 16 = แนบือละฮ

2 = ดูวอ 7 = ตูโญะ 12 = ดูวอบือละ 17 = ตู โญะบือละฮ

3 = ตีฆอ 8 = ลาแป 13 = ตีฆอบือละ 18 = ลาแปบือละฮ

4 = ปะ 9= ซือมีแล 14 = ปะบือละฮ 19 = ซือมีแลบือละฮ

5 = ลีมอ 10 = ซือปูโละ 15 = ลีมอบือละฮ 20 =ดูวอปูโละฮ

ตัวอย่างบทสนทนาการทักทายและแนะน�ำตัว อะฮาหมัด : สวัสดีครับ เป็นอย่างไรบ้าง คุณลุงสบายดีไหม อัซซาลามูอาลัยกุม อาปอกาบา เปาะจิ แซฮะ? ลุงอาตัน : สวัสดี ก็สบายดี ขอบใจนะ แล้วคุณล่ะ วาลัยกุมมุซซาลาม กาบา บา เวาะ ลากู เอะตือรีมอ กาเซะฮ อา มานอ? อะฮาหมัด : ผมก็สบายดีครับ ขอบคุณครับ ซายอ ยูเกาะ แซฮะ ตือรีมอกาเซะฮ ลุงอาตัน : แล้วนี่มาหาใคร ปะฮนิฮ มารี จารี ปียอ? อะฮาหมัด : ผมชื่ออะฮหมัด ผมมาหาสุกรี เขาอยู่ไหมครับ ซายอ นามอ อะฮมะ ซายอ มารี จารี สุกรี ดียอ อาดอกือเดาะ? ลุงอาตัน : ลุงเป็นพ่อของสุกรี เขาอยู่ในบ้าน เข้ามาซิ เปาะจิ อาเยาะฮ สุกรี ดียอ โดะ ดาแล อูเมาะฮ มาโซะ ลา ๒. ค�ำกล่าวทักทายและกล่าวลา สวัสดี - ซลามะ สวัสดีตอนเช้า - ซลามะ+ปาฆี สวัสดีตอนเทีย่ ง - ซลามะ+ตือเงาะฮารี สวัสดีตอนเย็น - ซลามะ +ปือแต สวัสดีตอนค�ำ ่ - ซลามะ+มาแล เดินทางโดยสวัสดิภาพ - ซลามะ+ยาแล เช่นกัน - สามอสามอ สบายดีหรือ - อาปอ คอบา สบายดี - คอบา บายเอะ ยินดีที่ได้พบกัน - ซลามะยูปอ

ฉัน คุณ เรา ฉันรักคุณ ชือ่ อะไร? ชือ่ ของฉัน มาจากไหน? กินข้าวหรือยัง หิวข้าว เรากินแล้ว

- อามอ,ซายอ,อากู - แดมอ, อาเวาะ - กีตอ - ซายอกาเซะห์แดมอ - นามออาปอ - นามออามอ - มารีมานอ - มาแกนาซิลาฆี - ลาปานาซิ - กีตอมากันเดาะห์

มี - อาดอ ไม่ม ี - ตะเด๊าะ ขอพูดกับ - เนาะกาเจะดืองา เรียนวิชาอะไร - งายี มาดะกะปอ เงิน - ดูวิ อะไร - อาปอ สุขสันต์วนั รายอ - ซลามะฮารีรายอ ลาก่อน - ซลามะตีงา โอกาสหน้า - มาซอ ดะแป แล้วเจอกันใหม่ - ยูปอ ซือมูลา

๓. ค�ำศัพท์ส�ำหรับการใช้กับบุคคล เรียกผู้หญิง รุ่นป้า หรือรุ่นแม่ = เมาะ หรือ เมาะจิ เรียกผู้ชายรุ่นลุง หรือ รุ่นพ่อ = เปาะจิ เรียกผู้หญิงรุ่นพี่สาว = กะแว หรือ กะ เรียกน้องสาว = อาแด เรียกพี่ชาย = อาบัง หรือ อาแบ หมายเหตุ : อัสสาลามูอาลัยกุม เป็นความทักทายแบบอิสลาม หมายถึง ขอความสันติสุข หรือความสุข จงมีแด่ท่าน คนที่ได้ยิน ค�ำจะตอบรับว่า “วาอาลัยกุมมุสลาม” ซึ่งแปลว่า “ขอความสันติสุข หรือความสุข จงมีแด่ท่านเช่นกัน” หวังว่าบทสนทนานี้จะมี ประโยชน์ตอ่ เจ้าหน้าทีท่ ปี่ ฏิบตั งิ านในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากหน่วยงานทหารใด ต้องการสอบถามรายละเอียดเกีย่ วกับภาษา มลายูถิ่นเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ wandeedrdo@yahoo.com

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

61


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

ภัยเงียบ ไขมันทรานส์ อันตรายที่สุด

ลายคนอาจคิดว่าตัวเองไม่ได้ บริโภคไขมันทรานส์ หรือ ไขมัน ผ่านกรรมวิธี จึงไม่จ�ำเป็นต้อง อ่านในหัวข้อนี้ แต่ความจริงแล้ว ถ้าหากพูดถึง มาการีน ครีมเทียม เนยเทียม พีนัทบัตเตอร์ ขนมกรุบกรอบ ในบรรจุภัณฑ์แทบทุกชนิด คุกกี้ โดนัท รวมถึงการทอดแบบน�้ำมันท่วม เช่น มันฝรั่งทอด ปาท่องโก๋ ข้าวโพดคั่ว ฯลฯ นีค่ อื ตัวอย่างอาหารทีเ่ รากินอยูท่ กุ วันนีท้ อี่ าจมี ไขมันทรานส์ปนอยู่ด้วย ยังไม่นับสิ่งที่เรามอง ไม่เห็นคือน�้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัวอีกหลายชนิด เช่น น�้ำมันถั่วเหลือง น�้ำมันข้าวโพด รวมทั้ง น�้ำมันที่เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ แล้วไม่เหม็นหืน ก็ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่า มีไขมันทรานส์ ผสมอยู่โดยที่ผู้บริโภคไม่ทราบเลยก็ได้ ตาม ปกติแล้วไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิด เช่น กรด ไลโนเลอิก ซึง่ มีมากในน�ำ้ มันถัว่ เหลืองและน�ำ้ มัน ข้าวโพด มักจะมีปัญหาเพราะท�ำปฏิกิริยากับ ออกซิเจนได้ง่ายส่งผลท�ำให้น�้ำมันหืนง่าย อัน เกิดจากอนุมูลอิสระแต่กรดไขมันเหล่านี้ยังท�ำ ปฏิกิริยาอีกด้านหนึ่งได้กับไฮโดรเจนเช่นกัน การที่ น�้ ำ มั น ไม่ อิ่ ม ตั ว ท� ำ ปฏิ กิ ริ ย ากั บ ไฮโดรเจน หรือทีเ่ รียกว่า “ไฮโดรจีเนต” เกิดได้ ๒ กรณี คือกรณีแรก เกิดการเติมไฮโดรเจนจาก น�ำ้ มันไม่อมิ่ ตัว เอาไปทอดด้วยอุณหภูมสิ งู เช่น การทอดซ�้ำโดยให้น�้ำมันท่วมอาหารจนเป็น น�้ำมันเหนียวๆ หรือกรณีที่สอง เกิดจากเจตนา เติมไฮโดรเจนเข้าไปเพือ่ ให้นำ�้ มันไม่อมิ่ ตัวเหล่านี้ จั บ กั บ ไฮโดรเจนแทน จนเกิ ด การเปลี่ ย น 62

ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

จุดหลอมเหลวและจุดเดือดใหม่กลายเป็นไขมัน กึ่งแข็งกึ่งเหลว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ ไขมันไม่อิ่มตัวท�ำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือ อนุมูลอิสระป้องกันไม่ให้มีกลิ่นหืน ทนความ ร้อนได้สูงอาหารที่ท�ำจากอาหารประเภทนี้ จะได้มีอายุยืนยาวขึ้นเราเรียกน�้ำมันกลุ่มนี้ว่า “ไขมันทรานส์” หรือ “ไขมันผ่านกรรมวิธ”ี พอ มาถึงขั้นตอนนี้หากตั้งข้อสังเกตให้ดีก็จะได้ ข้อคิดว่า ถ้าน�ำ้ มันอิม่ ตัวไม่ดจี ริงท�ำไมถึงต้องมี ความพยายามท�ำให้ไขมันไม่อิ่มตัวกลายเป็น ไขมันอิม่ ตัว แต่ทสี่ ำ� คัญการเติมไฮโดรเจนในไขมัน ไม่อิ่มตัวเป็นการฝืนธรรมชาติคือท�ำให้น�้ำมัน เกิดการ “บิดตัว” ทางโครงสร้างเรขาคณิตของ โมเลกุล คือเป็นจาก Cis Form เป็น Trans form ที่เรียกว่าไขมันทรานส์ อีกด้วย เช่น เมื่อ น�้ำมันโดนทอดซ�้ำในอุณหภูมิสูงแล้วไฮโดรเจน จากเดิมทีอ่ ยูด่ า้ นเดียวกันจะบิดตัวไปอยูค่ นละ ด้านกัน ซึ่งท�ำให้จุดหลอมเหลวและจุดเดือด เปลีย่ นไปกลายเป็นไขมัน กึ่ ง แข็ ง กึ่ ง เหลวเหนี ย วๆ คล้ายพลาสติก และมี จุ ด หลอมเหลวสู ง ขึ้ น กรดไขมันทรานส์ ได้ เ ป ลี่ ย น ส ภ า พ จ า ก ไขมั น ไม่ อิ่ ม ตั ว ซึ่ ง เป็ น ของเหลวให้ เ ป็ น ไขที่ เหลวกึ่งแข็งเนื่องจากมี จุดหลอมเหลวสูงแม้จะ ท�ำให้เหม็นหืนได้ยาก

มี คุ ณ สมบั ติ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ไขมั น อิ่ ม ตั ว ท� ำ ให้ สามารถน� ำ น�้ ำ มั น พื ช มาผลิ ต เป็ น อาหารได้ หลายชนิดโดยขยายวันหมดอายุได้นานขึน้ เช่น เนยเที ย ม (Margarine) เนยขาว เนยถั่ ว (Peanut Butter) หรือน�ำน�ำ้ มันทีผ่ า่ นกรรมวิธี (น�้ำมันทรานส์) ไปท�ำอาหารประเภทโดนัท อาหารทอด เช่น ไก่ทอด มันฝรัง่ ทอด ขนมคุกกี้ ขนมอบต่างๆ และขนมขบเคี้ยวในบรรจุภัณฑ์ แทบทุกชนิด ดังนั้นน�้ำมันทรานส์ จึงไม่ได้เกิดขึ้นจาก การน�ำน�ำ้ มันมาทอดซ�ำ้ ๆ เท่านัน้ แต่ยงั เกิดจาก การออกแบบของมนุษย์เองด้วย แต่ข้อส�ำคัญ ความผิดปกติของสภาพโครงสร้างเลขาคณิตที่ เปลี่ ย นไปนั้ น ก่ อ ให้ เ กิ ด คอเลสเตอรอลใน เส้นเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดโรคหัวใจและเกิด สารก่อมะเร็งได้อีกด้วย น�้ ำ มั น พื ช ที่ มี ก รดไขมั น ไม่ อิ่ ม ตั ว หลายต� ำ แหน่ ง เมื่ อ ถู ก เติ ม ด้ ว ยไฮโดรเจน

สำ�นักงานแพทย์ สำ�นักงานสนับสนุนสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


(Hydrogenated) ท�ำให้ทอดอาหารได้กรอบ อร่อย ใช้ได้หลายๆ ครั้งโดยไม่เหม็นหืน พ่อค้า จึงชอบน�ำมาใช้ให้ผบู้ ริโภคได้รบั ประทานกันแต่ เมือ่ โครงสร้างของไขมันเปลีย่ นไปเมือ่ กินเข้าไป ก็กลายเป็นคราบน�้ำมันที่ท�ำให้น้�ำซึมผ่านผนัง ล�ำไส้ไม่ได้ ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ผิดธรรมชาติ ย่ อ ยสลายได้ ย ากกว่ า ไขมั น ชนิ ด อื่ น ๆ เมื่ อ รับประทานไปมากๆ จะมีผลต่อการท�ำงานของ เอนไซม์ทมี่ ชี อื่ ว่า Cholesterol Acyltranferase ซึ่ ง เป็ น เอนไซม์ ที่ ส� ำ คั ญ ในการเผาผลาญ คอเลสเตอรอล เมื่อเอนไซม์เหล่านี้ถูกใช้งาน อย่างหนักจึงท�ำให้การผลิตเอนไซม์เหล่านี้ ค่อยๆ ลดลงส่งผลท�ำให้ระดับของไลโปโปรตีน ทีม่ คี วามหนาแน่นต�ำ่ (low density lipoprotein) หรือ แอลดีแอล ที่วงการแพทย์มักจะ เรียกว่าเป็น “คอเลสเตอรอลชั้นเลว” เพิ่ม จ�ำนวนขึ้นและซ�้ำร้ายกว่านั้นคือท�ำให้ระดับ ของ (High density lipoprotein) หรือ เอชดี แอล ที่ ว งการแพทย์ มั ก จะเรี ย กว่ า เป็ น “คอเลสเตอรอลชั้ น ดี ” ลดลงด้ ว ย ที่ เ กิ ด เช่นนี้ได้ก็เพราะหน้าที่ของเอชดีแอล ที่ขนส่ง คอเลสเตอรอล รวมถึง แอลดีแอล และกรดไขมัน จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปที่ตับเพื่อผลิต เป็ น พลั ง งานและเผาผลาญโดยใช้ เ อนไซม์ Cholesterol Acyltranferase เปลี่ ย น คอเลสเตอรอล ให้เป็น คอเลสเตอรอลเอสเตอร์ ซึ่งเก็บในแกนกลางของเอชดีแอล หรือเอชดี แอลชนิ ด นี้ อ าจรั บ กรดไขมั น อิ ส ระ หรื อ ไตรกลีเซอไรด์ที่โดนเอนไซม์ไลเปส ย่อยสลาย เข้ามารวมกัน โดยใช้เอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase แปลงสภาพให้ เอชดีแอล มี ข นาดใหญ่ ขึ้ น ได้ ด ้ ว ยเพราะไขมั น ทรานส์ มี ส ภาพเหมื อ นยางพลาสติ ก เหนี ย วกึ่ ง แข็ ง กึ่งเหลวท�ำให้ต้องเปลืองเอนไซม์ให้ท�ำงาน อย่างหนักหน่วง เมื่อสูญเสียปริมาณเอนไซม์นี้ มากขึน้ ท�ำให้การแปลงสภาพจากคอเลสเตอรอล มาเป็นแกนกลางของ เอชดีแอล ลดลงไปด้วย โดยปริยาย เมื่อ เอชดีแอล ลดน้อยลงก็ท�ำให้ หน้าทีใ่ นการขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังตับเพือ่ ผลิตเป็นพลังงานลดลง แอลดีแอล ก็ย่อมต้อง เพิม่ จ�ำนวนขึน้ ไปด้วยเพราะขาดการขนส่งจาก เอชดีแอล และเมื่อ เอชดีแอล ลดระดับต�่ำลง ก็ย่อมท�ำให้คอเลสเตอรอลในเนื้อเยื่อและผนัง หลอดเลือดมีมากขึ้น ความสามารถในการ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

จั บ ตั ว ของลิ่ ม เลื อ ดลดลง การอุดตันของการไหลเวียน เลือดย่อมเพิม่ มากขึน้ จึงเป็น สาเหตุ ส� ำ คั ญ เบื้ อ งต้ น ที่ ท�ำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ๑. น�้ำหนักและไขมัน ส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น ๒. มี ส ภ า ว ก า ร ณ ์ ท�ำงานของตับผิดปกติ ๓. มีความเสี่ยงสูงที่ จะเป็ น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ขาดเลือด โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันใน เส้นเลือด นอกจากนี้น�้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อ่ิม ตัวสูง เช่น น�้ำมันทานตะวัน น�้ำมัน ข้าวโพด น�้ำมันถั่วเหลืองน�้ำมันร�ำข้าว หากจะทอดใช้ ความร้อนสูง และจุดเดือดน�้ำมันพืชประมาณ ๑๘๐ องศาเซลเซียส จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษ ต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่ากลุ่มสาร โพลาร์ (Polar Compound) สารเคมีชนิดนี้ ท�ำให้แสบจมูกและอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิง่ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น สารก่ อ โรคความดั น โลหิ ต สู ง หลอดเลือด หัวใจ มะเร็ง อีกด้วย มีค�ำถามว่า ถ้ากรดไขมันไม่อิ่มตัวในน�้ำมันถั่วเหลืองเติม ไฮโดรเจนเข้าไปจนมีคณุ สมบัตใิ กล้เคียงกับไขมัน อิ่มตัวแล้วก่อให้เกิดโรคร้ายมากขนาดนี้ แล้วถ้า เช่นนั้นน�้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวก็ต้อง ก่อให้เกิดโรคร้ายด้วยใช่หรือไม่ ค�ำตอบที่แท้ จริงอยู่ตรงที่ว่าแม้กรดไขมันในน�้ำมันมะพร้าว ส่วนใหญ่จะเป็นไขมันอิ่มตัวไม่ท�ำปฏิกิริยากับ ออกซิเจนและไฮโดรเจนแต่กรดไขมันในน�ำ้ มัน มะพร้ า วส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ห่ ว งโซ่ ข องโมเลกุ ล สายปานกลางจึงเคลื่อนย้ายได้เร็วจากกระเพาะ ไปยังล�ำไส้เข้าสูก่ ระแสเลือดและ ถู ก ใช้ เ ป็ น พลั ง งานในตั บ จน หมดสิ้นจึงไม่เหลือไขมันสะสม ในร่างกาย ในขณะที่

น�้ำมันพืชที่ท�ำจากถั่วเหลือง น�้ำมันข้าวโพด แม้จะมีการแปลงท�ำให้เปลี่ยนจากไขมันไม่อิ่ม ตัวให้กลายเป็นคล้ายๆ ไขมันอิม่ ตัวโดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไป แต่ต่างกันตรงที่ว่าน�้ำมันพืช เหล่านี้เป็นห่วงโซ่ของโมเลกุลสายยาว ดังนั้น เมื่อแปลงสภาพเป็นไขมันอิ่มตัวเป็นกึ่งแข็ง กึ่งเหลวอีกจึงท�ำให้ยิ่งไม่สามารถเปลี่ยนเป็น พลังงานเมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกายได้ท�ำให้ กลายเป็นไขมันสะสมเอาไว้ในร่างกายง่าย สรุปว่า “น�ำ้ มันทรานส์” มีมากในน�ำ้ มัน ไม่อมิ่ ตัว รวมทัง้ ที่ “ทอดซ�ำ้ ” หรือน�ำ้ มันทีผ่ า่ น กรรมวิ ธี โ ดยการเติ ม ไฮโดรเจนไม่ ค วร รับประทานโดยเด็ดขาดและถ้าจะให้ปลอดภัย จากไขมันทรานส์ “น�ำ้ มันมะพร้าว”คือค�ำตอบ ที่แน่ชัดที่สุดว่าเป็นน�้ำมันพืชที่ใช้ส�ำหรับปรุง อาหารแล้วไม่เกิดไขมันทรานส์

63


พลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายก รัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะร่วมลงนามถวายพระพรพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ ๙ ก.ย.๕๘

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิ ริ ชั ย ดิ ษ ฐกุ ล ปลั ด กระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Chan Yeng Kit ปลัดกระทรวง กลาโหมสาธารณรัฐสิงค์โปร์ พร้อมภริยา และคณะ ในโอกาสเดิ น ทางเยื อ นประเทศไทยอย่ า งเป็ น ทางการในฐานะแขกของกระทรวงกลาโหม เพือ่ รับ มอบและประดับเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ มงกุฎไทย ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ในศาลาว่าการ กลาโหม เมื่อ ๑๔ ก.ย.๕๘

64


พลเอก ประวิ ต ร วงษ์ สุ ว รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ให้ ก ารต้ อ นรั บ นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัท จีเอ็มแอล เอ็กซิบิชั่น (ประเทศไทย) จ� ำ กั ด และคณะผู ้ บ ริ ห ารบริ ษั ท ฯ เข้าพบหารือ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ในศาลาว่าการ กลาโหม เมื่อ ๑๗ ก.ย.๕๘

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ให้การ ต้อนรับ พลอากาศเอก Aruq Raha ประธานคณะ เสนาธิการทหารร่วม/ผบ.ทอ.กองทัพสาธารณรัฐอินเดีย และคณะ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๗ ก.ย.๕๘

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

65


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Hideshi Tokuchi รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ ญี่ปุ่น (ด้านกิจการระหว่างประเทศ) เพื่อเข้าพบปะหารือ ณ ห้องสนามไชย ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๗ ส.ค.๕๘

66

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเทิดเกียรติและอ�ำลาชีวิตราชการทหาร ณ ร.๒ รอ. เมื่อ ๑๘ ก.ย.๕๘


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ฝึกศึกษาบุคลากรด้านปิโตรเลียมและพลังงานทหาร กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เมื่อ ๑๑ ก.ย.๕๘

พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธวี างศิลาฤกษ์ อาคารบริการ สป. พื้นที่ศรีสมาน และพิธีเปิดอาคารที่พักอาศัยของ สป. พื้นที่ ศรีสมาน (อาคารนายทหารประทวน) โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ พื้นที่ศรีสมาน ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อ ๙ ก.ย.๕๘

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

67


พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ทิดเกียรติฯ และงานวันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์อำ� นวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ครบรอบปีที่ ๓๖ โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ค่ายจิรวิชิตสงคราม จ.ลพบุรี เมื่อ ๑๗ ก.ย.๕๘

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง กลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี วั น คล้ า ย วั น สถาปนากรมพระธรรมนู ญ ครบรอบ ๑๐๙ ปี ณ ห้องประชุม กรมพระธรรมนูญ ชั้น ๔ ถ.หลักเมือง เมื่อ ๑๑ ก.ย.๕๘ 68


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ณ กระทรวงแรงงาน เมื่อ ๒๔ ก.ย.๕๘

นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะ ร่วมแสดงความยินดีกับ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในโอกาส ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ณ ห้องสนามไชย ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๑ ก.ย.๕๘ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

69


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นางพรวิ ม ล ดิ ษ ฐกุ ล นายกสมาคมภริ ย า ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ คณะ ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรม มหาราชวัง เมื่อ ๑๘ ก.ย.๕๘

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระท�ำพิธี รับ–ส่ง หน้าทีน่ ายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้กบั คุณผ่องพรรณ จันทร์โอชา ณ ห้องประชุมไชยปราการ ชัน้ ๓ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เมื่อ ๓๐ ก.ย.๕๘ 70


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยอุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการ สมาคมฯ สักการะศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหอกลอง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๘ ก.ย.๕๘

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม และคณะ บริจาคเงินให้กับมูลนิธิโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า เพื่อสมทบทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ ณ ห้องรับรอง ส�ำนักงานอาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น ๑๑ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อ ๑๘ ก.ย.๕๘

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

71


ประมวลภาพกิจกรรม โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๘

72


๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ ๑๐๕ ปี วันปิยมหาราชานุสรณ์ พระกรุณา เกื้อกูลราษฎร์ สินาถรัฐ ปริวรรต ถิ่นไผท ยิ่งไพศาล ทรงปฏิรูป กิจชาติ ราชการ

วางรากฐาน ความเกรียงไกร ให้แผ่นดิน ๑๐๕ พรรษากาล ทรงผ่านภพ น้อมอภินบ บารมี ศรีสยามถิ่น

เทิดร�ำลึก พระเมตตา สุดธานินทร์

ด้วยเจตจินต์ พงศ์เผ่า เหล่าโยธี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ก�ำลังพลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ประพันธ์โดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๕ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

ระทรวงกลาโหม ก�ำหนดน�ำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จ�ำพรรษา ณ วัดศรีสุดาราม วรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี ในการนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการพร้อมด้วยครอบครัว และประชาชน ทั่วไป ร่วมบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้ - เงินสด บริจาคได้ทสี่ ำ� นักงานการเงิน กรมเสมียนตรา ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙, ๐ ๒๒๒๒ ๓๘๔๘ - โอนเงินทางธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ของธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) สาขากระทรวง กลาโหม เลขที่บัญชี ๐๓๙ – ๒ – ๗๕๔๔๓ – ๘ ชื่อบัญชี “การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงกลาโหม ปี ๒๕๕๘” กรณีโอนเงินเข้าบัญชี ฯ กรุณาส่งส�ำเนาเอกสารการโอนให้ กรมเสมียนตรา ทางหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๗๓๙๙ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

https://tiamtanong.wordpress.com ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๕ หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.