e-journal ฉบับที่ 2

Page 1

อัตลักษณ์จากมุมมองวรรณคดีศึกษา The Journal of Literature and Comparative Literature


E-Journal of Literature and Comparative Literature วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ : อัตลักษณ์จากมุมมองวรรณคดีศึกษา วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ เป็นวารสารทางวิชาการเผยแพร่ ทางอินเตอร์เน็ตราย ๑ ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจยั และและการค้นคว้าเกี่ยวกับ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ส่งเสริมให้นักวิชาการ อาจารย์ และนิสิตเสนอผลงานเพื่อ กระตุน้ การค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา บทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็น ความเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบของผู้เขียน ไม่จําเป็นต้องตรงกับความคิดเห็นหรือความ รับผิดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทํา กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์การทําซ้ําแต่ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก โปรดอ้างอิงแสดงที่มา

เจ้าของ

ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

กองบรรณาธิการ

…………………….. ……………………..

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒


สารบัญ

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๓


บทบรรณาธิการ

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๔


อัตลักษณ์พื้นถิ่นในบันเทิงคดี ภาคใต้ (พ.ศ. 2522 – 2546) (Local Identities in Southern Thai Fiction (1979-2003)) อาจารย์ ดร.วิมลมาศ ปฤชากุล ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๕


ข้าพเจ้าได้เขียน [ฟ้าบ่กั้น] ขึ้นมาด้วยความรู้สึกว่าตนเองเขียนคําร้อง ทุกข์ โดยตั้งใจจะเสนอสภาพความยากไร้ ความเสื่อมโทรมและความ ล้าหลังของชาวไร่ชาวนา ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ที่มีจํานวนถึงร้อย ละแปดสิ บ ห้ า ของพลเมื องในประเทศ ด้ ว ยเจตนาจะเรี ยกขานมโน ธรรมของชาวเมือง ชนชั้นผู้ปกครอง และนายเงินที่มั่งคั่ง บรรดาที่มี ชีวิตอยู่อย่างหรูหราสมบูรณ์ เหมือนกับอยู่ในอีกโลกหนึ่ง1 ในขบวนของผู้มองเห็นข้อบกพร่องในนโยบายการพัฒนาชนบทของรัฐบาลไทยตั้งแต่ ทศวรรษ 2500-2520 นั้ น นอกจากจะมี นั ก วิ ช าการ องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน ตลอดจนนั ก เคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายซ้ายแล้ว นัก เขียนยังเป็นกลุ่มคนกลุ่มสําคั ญที่แสดงบทบาท วิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านการพัฒนาดังกล่าว ในห้วงเวลานี้ นโยบายหรือการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทถูกมอง ว่าเป็นการนําพาท้องถิ่นไทยไปสู่แนวทางที่ผิดพลาดทั้งสิ้น2 ไม่ว่าจะเป็นการตั้งหน่ว ยการ พัฒนาเคลื่อนที่ กรมการพัฒนาชุมชน (พ.ศ.2505) สํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (พ.ศ. 2508) กองทุนพัฒนาตําบลและแผนการปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ.2518) การก่อตั้งปีแห่งเกษตรกร 1

ลาว คําหอม, “คํานํา ฟ้าบ่กั้น ฉบับภาษาสวีดิช: คิดฮอดบ้าน บุญพระเวสน์คือสิหลาย,” ใน ฟ้าบ่กั้น, (กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2522), หน้า 14. 2 Chairat Charoensin-o-larn. Understanding Postwar Reformism in Thailand. (Bangkok: Duang Kamol, 1988), p.12. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๖


(พ.ศ.2522) ตลอดจนโครงการการสร้ างงานในชนบท (พ.ศ.2523) 3 แอนดริว เทอร์ ตัน (Andrew Turton) ได้สะท้อนมุมมองหรือการทําความเข้าใจปัญหาเหล่านี้ว่ามีความแตกต่าง กันไปในผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม เขากล่าวว่า หลั ง 2 ทศวรรษที่ รั ฐ บาลไทยพยายามเร่ ง รั ด พั ฒ นาชนบท ภาค เกษตรกรรมก็วิกฤติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนยากนักที่จะต้านทาน วิ ก ฤติ ก ารณ์ นี้ ไ ด้ ความยากจนและรายได้ ไ ม่ ส มดุ ล การขาดแคลน อาหาร การตกงาน การเพิ่มขึ้นของสลัม โจรผู้ร้าย และอื่นๆ เหตุผล และความหมายของวิ ก ฤติ ก ารณ์ เ หล่ า นี้ ค าดการณ์ ไ ด้ ก ว้ า งขวาง สํ า หรั บ ธนาคารโลก ปั ญ หาก็ คื อ การผลิ ต ที่ ต่ํ า การลงทุ น น้ อ ย เทคโนโลยีและระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่สําหรับรัฐบาลไทย วิกฤติเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากการก่อการร้ายในชนบท ขณะที่ฝ่ายซ้าย มองว่านี่เป็นผลมาจากการครอบงําของจักรวรรดินิยมและทุนนิยมทีม่ ี ชนชั้นนําไทยเป็นทาสรับใช้ แต่ในมุมมองของคนส่วนใหญ่ในชนบท วิกฤติการณ์เป็นสิ่งที่สัมผัสได้จากการดิ้นรนทางวัตถุเพื่อความอยู่รอด และชีวิตประจําวันที่พวกเขาต้องต่อสู้กับเจ้าของที่ดิน พ่อค้า นายทุน เงินกู้ และเจ้าหน้าที่รัฐ4 แม้ว่าแอนดริว เทอร์ตัน จะไม่ได้ระบุว่านักเขียนมองปัญหาความล้มเหลวของนโยบาย การพัฒนาชนบทเช่นไร แต่เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาคํากล่าวของลาว คําหอม ก็จะพบว่า นักเขียนอย่างลาว คําหอม มีลักษณะสําคัญ 2 ประการร่วมกันอยู่ กล่าวคือด้านหนึ่งเขาเป็น นักคิดฝ่ายซ้ายที่มองเห็นว่าปัญหาชนบทเป็นผลจากการกระทําของ “ชนชั้นผู้ปกครอง และ นายเงินที่มั่งคั่ง” และอีกด้านหนึ่ง คือการใช้สายตาของคนชนบทที่มองเห็นว่าศัตรูของความ แร้นแค้นคือเจ้าของที่ดิน นายทุนเงินกู้ และข้าราชการ คุณลักษณะ 2 ประการนี้หล่อหลอม กลายเป็นบุคลิกของงานวรรณกรรมสร้างสรรค์ไทยในห้วงเวลานี้ ประมวล มณีโรจน์ นักเขียน คนสําคัญของภาคใต้ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2510 มี ความเห็นว่า การต่อต้านทุนนิยมและการปวารณาตัวเป็นปากเสียงแทนชาวชนบทคือลักษณะ 3

Ibid. Turton, Andrew, “Poverty, Reform and Class Struggle in Rural Thailand,” in Rural Poverty and Angrarian Reform, eds., Steve Jone et al. (New Delhi: Allied Publishers Private Limited, 1982), p.20. อ้างถึงใน Chairat Charoensin-o-larn. Understanding Postwar Reformism in Thailand, pp.12-13. 4

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๗


สํา คัญ ที่ ก่ อรูป จิ ตสํ า นึ กเป็ น งานเขีย นสร้า งสรรค์ ข องนั ก เขีย นไทยทั่ ว ภู มิ ภ าคตั้ ง แต่ กลาง ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา5 นักเขียนนําพาผลงานของตนเองเข้าไปเป็นปฏิบัติการหนึ่งของ วาทกรรมต่อต้านการพัฒนาร่วมกับฝ่ายต่างๆ เพื่อการนี้ นักเขียนมุ่งเปิดเผยให้เห็นถึงความ ล้าหลังของชนบทที่เกิดจากวาทกรรมการพัฒนาซึ่งพวกเขาเชื่อว่าไม่ได้ก่อกําเนิดขึ้นมาจาก ความเป็นตัวตนของชนบทอย่างแท้จริง ในวาทกรรมต่อต้านการพัฒนาชนบทดังกล่าวข้างต้น มีข้อเสนอว่าหัวใจสําคัญของการ พัฒนาคือการสร้างนโยบายที่มีพื้นฐานอยู่ที่ตัวตนของชนบท ดังนั้นผู้สร้างนโยบายจึงต้อง เป็นผู้ที่เข้าใจและยอมรับความเป็นชนบทที่สามารถแสดงออกได้ผ่านวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถี ชีวิต ประเพณี การละเล่น ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญา แนวคิดนี้เป็นแรงผลักดันสําคัญทีจ่ ดุ ประกายให้เกิดนักเขียนที่มีภูมิลําเนาเป็นคนชนบทและกลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่นขึ้นเป็นจํานวน มากในช่วงปลายทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2520 เพราะเป็นการให้อํานาจและอภิสิทธิ์ใน การเขียนถึงชนบทโดยคนในชนบทเอง นักเขียนและกลุ่มวรรณกรรมดังกล่าว อาทิ มาลา คํา จันทร์ ในกลุ่มกาแล ทางภาคเหนือ นิมิตร ภูมิถาวร ในภาคกลาง คําพูน บุญทวี ในภาค อีสาน อุดร ทองน้อย สมคิด สิงสง ฟอน ฝ้าฟาง ในกลุ่มวรรณกรรมลุ่มน้ํามูล ทางภาค อีสาน ประมวล มณีโรจน์ ไพฑูรย์ ธัญญา สมใจ สมคิด ยงยุทธ ชูแว่น รูญ ระโนด และกนก พงศ์ สงสมพันธุ์ ในกลุ่มนาครภาคใต้ เป็นต้น กรณีนักเขียนในชนบทภาคใต้ตอนกลางนั้น พวกเขาเห็นว่าช่วงเวลาตั้งแต่รัฐบาลไทย ริเริ่มและเร่งรัดการพัฒนาชนบทโดยการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 5 ซึ่งอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2529 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน ชนบทแทบทุกด้าน ทั้งด้านกายภาพ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ไฟฟ้า โรงเรียน และ ด้านความคิด ความเชื่อ และค่านิยม6 จนอาจเรียกได้เป็น “ยุคแห่งการเคลื่อนเปลี่ยนทางคติ นิยม”7 ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ นักเขียนเห็นว่าเป็นผลจากการพัฒนาที่ชนบทถูกแทรกแซง โดยศูนย์กลางอํานาจรัฐ ยงยุทธ ชูแว่น นักเขียนผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนาครทางภาคใต้ กล่าวไว้ใน งานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า

5

ประมวล มณีโรจน์,สัมภาษณ์, วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550. ยงยุทธ ชูแว่น, การเคลื่อนเปลี่ยนของคตินิยมในบริเวณสามจังหวัดรอบทะเลสาบสงขลา พ.ศ.25042529: ศึกษาจากวรรณกรรม, (สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2529), หน้า 2. 7 เรื่องเดียวกัน, หน้า 95. 6

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๘


ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจากการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เข้าไปสู่ยุค ใหม่ โ ดยที่ ขาดความพร้อ มของพื้ น ฐานทางสั ง คม...เพราะเป็ น การ กระทําที่ มีลักษณะยัดเยี ยด ไม่เป็ นไปตามธรรมชาติ...จึ งก่ อ ให้ เกิ ด ความขั ด แย้ ง สั บ สนในวิ ถี ชี วิ ต ไม่ ว่ า จะเป็ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ชาวบ้านด้วยกัน สภาพการทํางาน จารีตประเพณี และสภาพจิตใจได้ ถูกโยกคลอนไปสิ้น...การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายๆ ด้านถูกผลักดัน ให้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่วิถีการผลิตอย่างใหม่ ความสัมพันธ์ต่อกันอย่าง ใกล้ชิดในครอบครัวเริ่มเสื่อมถอย 8 จะเห็นได้ว่านักเขียนชาวใต้มองเห็นว่าความล้มเหลวของการพัฒนาชนบทนั้นเกิดจาก การครอบงํ าทางนโยบายจากศู น ย์ กลาง ซึ่ ง แนวคิด หลัง อาณานิ คมเรี ยกว่ า “อาณานิ ค ม ภายใน” (Internal Colonialism) แอนโทนี สมิธ (Anthony Smith) กล่าวถึงแนวคิดอาณา นิคมภายในโดยเน้นอาณานิคมทางเศรษฐกิจที่รัฐใหญ่กว่าเข้าครอบงํารัฐที่เล็กกว่าผ่านการใช้ อํานาจทางการเมืองและการค้าพาณิชย์ ซึ่งเกิดขึ้นในยุคการขยายตัวของทุนนิยมอุตสาหกรรม ดึงรัฐเล็กเข้าสู่วงจรของเศรษฐกิจแบบพึ่งพิง รัฐเล็กเป็นเพียงแหล่งทรัพยากรขั้นพื้นฐาน หรือแหล่งวัตถุดิบ สมิธ ยกตัวอย่างการศึกษาของมิเชล เฮชเทอร์ (Michael Hechter) ที่ ศึ ก ษากระบวนการกลายเป็ น ดิ น แดนในอาณานิ ค มอั ง กฤษของเวลส์ สก็ อ ตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ เฮชเทอร์ ระบุว่าการค้าและการแลกเปลี่ยนในอาณานิคมถูกผูกขาดโดยศูนย์กลาง เศรษฐกิจของรัฐในอาณานิคมถูกผลักดันให้กลายเป็นเครื่องส่งเสริมการพัฒนาของผู้ครอบงํา และทําให้ท้องถิ่นต้องอิงอยู่กับตลาดภายนอก ซ้ําเศรษฐกิจของท้องถิ่นเหล่านี้ยังเป็นเพียง การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและแร่ธาตุ สถานการณ์เช่นนี้ ทําให้แรงงานท้องถิ่นถูกบง การจากตลาดแรงงานภายนอก เกิดขบวนแรงงานอพยพเพราะราคาสินค้าเกษตรและแร่ธาตุ ไม่ มั่ น คง และตลาดท้ องถิ่ น ควบคุม ไม่ ไ ด้ ส่ ง ผลให้ เกิ ดการเหยี ยดหยามทางชาติ พั น ธุ์ บ น พื้นฐานของภาษา ศาสนา หรือวัฒนธรรมอื่นๆ ตามมา ด้วยเหตุนี้อาณานิคมทางภายในที่ เริ่มต้นจากการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ จึงนําไปสู่การจําแนกแตกต่างทางวัฒนธรรม และการ ครอบงําทางวัฒนธรรมด้วย9 รู ญ ระโนด ซึ่ ง เป็ น นั ก เขี ย นกลุ่ ม นาครยุ ค ก่ อ ตั้ ง อี ก คนหนึ่ ง ได้ ใ ห้ ข้ อ เสนอแนะใน วิทยานิพนธ์ที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชนบทภาคใต้โดยวิเคราะห์ 8 9

เรื่องเดียวกัน, หน้า 96-97. Smith, Anthony, Nationalism and Modernism (London and New York: Routledge, 1998),

p.57-60. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๙


จากงานวรรณกรรมของนักเขียนกลุ่มนาคร ว่านโยบายการพัฒนาชนบทภาคใต้ ควรมีการ ทบทวนเพื่อสร้างนโยบายให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของชนบทภาคใต้ เอง10 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือในความเห็นของนักเขียนชาวใต้ผู้นี้ การพัฒนาชนบทภาคใต้จะต้อง สร้างนโยบายที่หลุดพ้นจากอํานาจของวาทกรรมการพัฒนาแบบศูนย์กลาง ทัศนคติลักษณะนี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะที่พยายามเปิดเผยการครอบงําที่ศูนย์กลางมี ต่อชนบทกระทั่งชนบทต้องเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์อันจะสืบเนื่องไปถึงการสูญเสียศักยภาพใน การพัฒนาตนเอง งานศึกษาของยงยุทธ ชูแว่น และจรูญ หยูทอง ดังที่กล่าวข้างต้น ยืนยัน ให้เห็นว่า นักเขียนชาวใต้ตอนกลางมีความตระหนักเช่นเดียวกับที่ลาว คําหอม ตระหนักว่า ชนบทถูกวาทกรรมการพัฒนาในช่วงทศวรรษ 2500-2520 เบียดขับให้กลายเป็นพื้นที่ชาย ขอบที่ล้าหลัง ยากจน และด้อยพัฒนา วรรณกรรมของนักเขียนชาวใต้ตระหนักว่าความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาที่วาทกรรมการพัฒนาจากศูนย์กลางสร้างล้วนแต่ตอบสนองศูนย์กลาง หรือพื้นที่ที่เป็นเมืองเป็น ส่วนใหญ่ สังเกตได้จากการที่ในวรรณกรรมของนักเขียนชาวใต้ที่ เขียนขึ้นในช่วงทศวรรษ 2520 ส่วนมากจะวิพากษ์วิจารณ์ว่าถนนเข้ามาทําลายวิถีชีวิตที่เรียบ ง่ายของชนบท ทําให้ชนบทสูญเสียตัวตนแบบดั้งเดิม11 แม้ว่าในงานศึกษาของนักวิชาการ ต่างประเทศหลายเรื่องจะพบว่าผลกระทบของการก่อสร้างถนนในชนบทไทยก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงต่อชนบทในหลายมิติ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่ผลักให้ชนบทต้องเข้าไปสู่ ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเมืองและรัฐบาล∗ แต่นักเขียนชาวใต้ก็มุ่งให้ความสนใจไปที่ตัวตน 10

จรูญ หยูทอง, “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชนบทภาคใต้ที่ปรากฏในเรื่องสั้นของ นักเขียนกลุ่มนาคร,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2543, หน้า 173. 11 ยงยุทธ ชูแว่น, เรื่องเดียวกัน, หน้า 59-94. ∗ งานศึกษาเหล่านี้กล่าวถึงผลกระทบที่หลากหลายของการสร้างถนน เช่น การสูญเสียที่ดินของชาวบ้าน มูลค่าที่ดินที่สูงขึ้น แต่กลับสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มนายทุน ความสูญเสียความสามารถในการพึ่งตัวเอง การก่อเกิด ธุรกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรม และธุรกิจการเงินที่ชนบทไม่คุ้นเคย (เช่น ธนาคารพาณิชย์) สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ สร้างรายได้ให้แก่คนบางกลุ่มในชนบท และคนนอกชนบททั้งสิ้น เช่น Edward L.Block “Accelerated Rural Development: A Counter-Insurgency Program in Northeast Thailand,” M.A. Thesis, Northern Illinois University, 1968.; Christer Per Holtsberge, “Effects of a New Feeder Road on Employment and Income Distribution: A Case Study in Thailand,” International Labour Review, 118/2, (March-April, 1979), pp.237-249.; William J. Klausner, Reflections on Thai Culture, (Bangkok: The Siam Society, 1983).; Koichi Mizuno, “Urbanization and Rural Chang-Tambon Om Noi,” in Geography and the Environment in Southeast Asia, eds., R.D. Hill and Jennifer M. Bray, (Hong Kong: The Hong Kong University Press, 1981), pp.107-144. อ้างถึงใน Chairat Charoensin-o-larn. Understanding Postwar Reformism in Thailand, pp.207-214. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๐


ทางวัฒ นธรรมและความเชื่อเป็นสําคัญ ด้วยเหตุนี้ ในงานบันเทิงคดีของนักเขียนชาวใต้ ในช่วงทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2540 จึงให้น้ําหนักกับการวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาใน ระบบโรงเรียนสมัยใหม่ว่าทําให้ชนบทสูญเสียอัตลักษณ์ เด็กในชนบทไม่อาจเชื่อมโยงตัวเอง เข้ากับแผ่นดินเกิดได้อีกต่อไป เพราะการศึกษาสมัยใหม่สร้างความเป็นอื่นให้แก่พวกเขา ด้วยความตระหนักถึงความสูญเสียอัตลักษณ์ บันเทิงคดีของนักเขียนชาวใต้ในห้วงเวลา นี้จึงไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมวาทกรรมต่อต้านการพัฒนาที่ครอบงําจากศูนย์กลางเท่านัน้ แต่ยงั เป็นการวิพากษ์อาณานิคมภายในอีกด้วย กล่าวคือเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ดั้งเดิม ของชนบทสูญเสี ยไปอย่ างไร นั กเขี ยนชาวใต้ไ ด้พยายามเปิ ดเผยให้เห็ นว่ าชนบทใต้ นั้น ถู ก ครอบงําจากศูนย์กลางอย่างไร การครอบงํานั้นๆ ส่งผลถึงความสูญเสียอัตลักษณ์ในลักษณะ ใดบ้าง ในการนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่างานบันเทิงคดีของภาคใต้ทําหน้าที่ “วิเคราะห์อาณานิคม (ภายใน)” ไปด้วย12 พร้อมกันนั้นก็มุ่งสถาปนาอัตลักษณ์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าศูนย์กลาง วัฒนธรม กระแสหลัก หรือเมืองผ่านการให้ความสําคัญกับพื้นฉาก เรื่องเล่ามุขปาฐะ ประวัติศาสตร์ และตัวละครชาวชนบท ลักษณะเช่นนี้เป็นการปฏิเสธความเป็นศูนย์กลางของผู้ครอบงํา และ ความเป็ น ชายขอบของผู้ ถูก ครอบงํ า ทํ า ลายเส้ น แบ่ ง ระหว่ า งวั ฒ นธรรมที่ สู ง กว่ า ของผู้ ครอบงําและวัฒนธรรมที่ต่ํากว่าและล้าหลังของผู้ถูกครอบงํา และไม่ยอมรับเส้นแบ่งระหว่าง วรรณกรรมกับเรื่องเล่ามุขปาฐะ13 กลวิธีอย่างหนึ่งในการสถาปนาอัตลักษณ์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับศูนย์กลางของงาน บันเทิงคดีภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2520 เป็นต้นมาก็คือทบทวนรื้อฟื้นและสร้างอัตลักษณ์พื้น ถิ่ น ใต้ขึ้ น ใหม่ โดยเฉพาะการขั บ เน้ น อั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมด้ ว ยการแสดงออกถึง สี สั น ท้องถิ่นที่มีคุณค่าน่าพึงปรารถนา สําหรับทศวรรษ 2520 ถึง 2530 กระแสดังกล่าวนี้ได้รับ การต้อนรับอย่างกว้างขวางจากตลาดวรรณกรรมสร้างสรรค์ไทย ภิญโญ ศรีจําลอง นักเขียน ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของรางวัลช่อการะเกดเกียรติยศ พ.ศ.2541 เล่าไว้ว่าเขาเขียน เรื่องสั้นแนว พาฝันทั้งในนามจริงและในนามปากกามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2515 ทว่าไม่เคย เป็นที่รู้จักนอกแวดวงนักเขียนกันเอง แต่เมื่อหันไปเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับหนังตะลุงกลับได้รับ การต้อนรับจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 จนถึงทศวรรษ 252014 ด้วยเหตุนี้ ในระยะเวลาเกือบ 2 ทศวรรษนี้ ภิญโญ จึงเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะนักเขียนที่

12

Bart Moore-Gilbert, Postcolonial Theory: Contexts, Practices, Politics, (London and New York: Verso, 1998), p.8. 13 Ibid, p.9. 14 ภิญโญ ศรีจําลอง, พริ้ง พระอภัยเดินโรง. (กรุงเทพฯ : พฤศจิกา, 2525), หน้าคํานํา. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๑


สะท้ อ นสี สั น ภาคใต้ อ ย่ า งชั ด เจนผ่ า นการเล่ า เรื่ อ งนายหนั ง ตะลุ ง ด้ ว ยเรื่ อ งสั้ น ทั้ ง สิ้ น 34 เรื่อง15 การก้าวเข้ามาสู่โลกวรรณกรรมของนวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน เมื่อปี พ.ศ.2521 นับว่า เป็นการเปิดพื้นที่ของวรรณกรรมพื้นถิ่นในโลกวรรณกรรมไทยที่เด่นชัดมากยิ่งขึ้น เพราะนว นิยายเรื่องนี้ได้นําเสนอวิถีชีวิตคนท้องถิ่นอีสานที่ได้ออกมาโลดแล่นในฐานะของตัวละครเอก ไม่ใช่ในฐานะของ ตัวประกอบที่มีบทบาทเพียงเล็กน้อย ลูกอีสานทําให้สังคมรับรู้ถึงความ หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย ความสนใจต่อสีสันพื้นถิ่นในสังคมไทยอาจเห็นได้ชัด ขึ้นเมื่อนวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี พ.ศ.2521 และ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนในปี พ.ศ.2522 ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีก่ ระแส ของวัฒนธรรมชุมชนกําลังแพร่หลายในประเทศไทย หลังจากนั้นกระแสของวรรณกรรมประเภทนวนิยายและเรื่องสั้นที่แสดงอัตลักษณ์พื้น ถิ่นได้เข้ามาแบ่งพื้นที่ในโลกของวรรณกรรมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าพื้นถิ่นภาคเหนือ ภาค ตะวันตก ภาคใต้ หรือภาคอีสาน อาทิ นวนิยายเรื่อง เจ้าจันทร์ผมหอม ของมาลา คําจันทร์ ที่นําประวัติศาสตร์ของชาวเหนือมานําเสนอ และได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยีย่ ม แห่งอาเซียนในปี พ.ศ.2534 หรืออัตลักษณ์พื้นถิ่นภาคตะวันตก ในเรื่อง ปลายนาฟ้าเขียว อัตลักษณ์พื้นถิ่นภาคกลาง ในเรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ และเรื่อง ฉากและชีวิต ของ วัฒน์ วรรลยางกูร อัตลักษณ์พื้นถิ่นภาคอีสานในผลงานของนิมิตร ภูมิถาวร, สังคม เภสัช มาลา ยงค์ ยโสธร และอัตลักษณ์พื้นถิ่นภาคใต้ในนวนิยายเรื่อง ขนําน้อยกลางทุ่งนา และ เรื่อง ในลึก ของจําลอง ฝั่งชลจิตร รวมเรื่องสั้นชุด ก่อกองทราย ของไพฑูรย์ ธัญญา รวม เรื่องสั้น หมู่บ้านวิสามัญ ของประมวล มณีโรจน์ รวมเรื่องสั้น สะพานขาด ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็นต้น ผลของความเคลื่อนไหวดัง ข้างต้น ก่อให้ เกิดกลุ่ มวรรณกรรมตามภูมิภ าคต่างๆ ขึ้ น หลากหลายกลุ่ ม เช่ น กลุ่ ม วรรณกรรมลมเหนื อ และดาวเหนื อ ในภาคเหนื อ กลุ่ ม วรรณกรรมลําน้ํามูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มวรรณกรรมพินิจ กลุ่มเพลิงธรรม และองค์การวรรณกรรม ในภาคกลาง และในภาคใต้ก็มีกลุ่มนาครที่เกิดจากการรวมตัวของ กลุ่มต่าง ๆ ของนักเขียนที่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้ตอนกลางอันประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เช่น กลุ่มประภาคารทะเลสาบสงขลา กลุ่มเพื่อน วรรณกรรม กลุ่มสานแสงทอง นักเขียนในกลุ่มเหล่านี้ได้มีความพยายามร่วมมือกันใน ลักษณะการสร้างเครือข่ายนักเขียนภูมิภาค จัดทํานิตยสารร่วมกัน และวางจําหน่ายในภาค 15

กองบรรณาธิการ, “ภิญโญ ศรีจําลอง นักเขียนช่อการะเกดเกียรติยศประจําปี 2541,” ช่อการะเกด (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541): 135. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๒


กลาง เพื่อแสดงถึงความมีอยู่ของท้องถิ่นและนักเขียนท้องถิ่นทีม่ งุ่ สร้างสรรค์งานวรรณกรรม แนวแสดงอัตลักษณ์พื้นถิ่น ปรากฏการณ์นี้ แสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งของนักเขียนชนบทที่ใช้ เพื่อการวิพากษ์วิ จารณ์การครอบงํ าจากศูน ย์กลาง และสร้า งหรือฟื้น ฟูอัตลักษณ์ท้องถิ่ น ดังกล่า วแล้ ว ว่ าลัก ษณะเช่ น นี้ คือลัก ษณะแบบวรรณกรรมหลังอาณานิ คม (Postcolonial Literature) ที่มุ่งเปิดเผย และวิพากษ์การครอบงําของเจ้า อาณานิค มที่ มีต่อ ชนบทซึ่ ง เปรียบเสมือนผู้อยู่ในอาณานิคม โดยเฉพาะการครอบงําทางวัฒนธรรม (Hegemony) ที่ทํา ให้ผู้ถูกครอบงําสูญเสียอัตลักษณ์ พร้อมกันนั้นก็มุ่งมองการดิ้นรนรื้อฟื้นอัตลักษณ์ของผู้อยู่ ภายใต้ อ าณานิ ค มที่ แ สดงออกผ่ า นกิ จ กรรมทางสั ง คม หรื อ วิ ถี ชี วิ ต เช่ น การใช้ ภ าษา วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น รวมไปถึงการกลับไปสู่ “รากเหง้า” ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แต่ เดิมก่อนรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากผู้ครอบงํา โดยการให้ความสําคัญกับ “ภูมิปัญญา” ท้องถิ่นที่ปราศจากอิทธิพลของผู้ครอบงํา16 ภาคใต้ ต อนกลาง หรื อ ชุ ม ชนบริ เ วณลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาประกอบด้ ว ยจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา มีพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมร่วมกันมาเป็นเวลายาวนาน หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้ง ของชุมชนโบราณที่สําคัญแหล่งหนึ่งของภาคใต้ เช่น ชุมชนโบราณบริเวณนครศรีธรรมราชที่ ได้พัฒนามาเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเกิดเมืองนครศรีธรรมราชใน เวลาต่อมา17 หรือทางฝั่งอ่าวไทยที่มีชุมชนโบราณสทิงพระ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เกิดเมืองพัทลุง และเมืองสงขลาในเวลาต่อมา เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองใหญ่และมีอํานาจปกครองหัวเมืองต่างๆ ตลอด ทั้งแหลมมลายู อํานาจดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจนถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 22 กรุงศรี อยุธยาก็สามารถบั่นทอนความเข้มแข็งของเมืองนครศรีธรรมราชลงได้ และได้จัดส่งขุนนาง จากส่วนกลางลงมาปกครองนครศรีธรรมราชและพัทลุงแทนขุนนางท้องถิ่นดั้งเดิม ส่วนเมือง สงขลาก็ได้รับรองชาวมุสลิมเป็นผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม อํานาจของตัวแทนผู้ปกครองจาก ส่วนกลางก็ถูกอํานาจดั้งเดิมของท้องถิ่นสั่นคลอนอยู่เป็นระยะๆ จนบางครั้งกรุงศรีอยุธยา ต้องยอมแต่งตั้งขุนนางท้องถิ่นให้เป็นเจ้าเมือง บางช่วงเวลาเมื่ออํานาจของกรุงศรีอยุธยา อ่อนแอ เจ้าเมืองท้องถิ่นก็ถือโอกาสตั้งตัวเป็นอิสระ 16

นพพร ประชากุล, “แนวคิดสกุล”หลังอาณานิคม” (Postcolonialism),” ใน รวมบทความแนวคิดสกุล หลังอาณานิคม. (กรุงเทพฯ: กลุ่มสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547), หน้า159. 17 ธิดา สาระยา, “พัฒนาการของรัฐบนคาบสมุทรไทยเน้นตามพรลิงค์(คริสตศตวรรษที่ 6 – 13)” ใน ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและวรรณกรรม, (กรุงเทพ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2528), หน้า 9-25. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๓


อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา ราชธานีก็สามารถแต่งตั้งเจ้า เมืองจากส่วนกลางลงมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลาอย่างต่อเนื่อง บรรดาเจ้าเมืองมีความใกล้ชิดกับราชวงศ์และสืบทอดอํานาจกันมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ผล จากความเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ เจ้าเมืองซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคกลางไม่ค่อยสนใจความเป็นอยู่ ของราษฎรมากนัก ซ้ํายังขูดรีดภาษีราษฎรกันตามอําเภอใจ เจ้าเมืองและกรมการเมืองมีการ แข่งขันกันตั้งคุกเพื่อหารายได้ สิ่งเหล่านี้ทําให้ชาวบ้านจํานวนไม่น้อยต้องหลบหนีภาษี เงินค่า ราชการ และคดีอาญาออกไปสร้างชุมชนตามป่าเขาตามพื้นที่ชายขอบระหว่างจังหวัด เกิดคติ การต่อต้านรัฐ บ้างก็หันไปเป็นโจรผู้ร้าย18 สถานการณ์ เ หล่ านี้ เ กิ ด ขึ้น ต่ อ เนื่ องมาจนถึ ง สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ลจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัวซึ่งเกิดการรวมชาติในนามของการปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ขึ้น บรรดาข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลางเพื่อทดแทนระบบขุนนางเก่าก็ยังไม่สามารถดูแล ราษฎรได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากไม่ใช่คนในท้องถิ่น แม้รัฐบาลจะพยายามปรับปรุงการคมนาคม และการศึกษา แต่ในระยะแรก สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เข้าถึงราษฎรส่วนใหญ่ การเอาเปรียบของ ข้าราชการทําให้ราษฎรจํานวนหนึ่งไม่พอใจระบบการปกครอง จนเกิดชุมโจรขนาดใหญ่ขึ้น ทั่วไปใน 3 จังหวัดนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บางชุมโจรประกาศไม่ให้ ชาวบ้านติดต่อกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง รวมทั้งห้ามเสียเงินภาษีและค่าราชการอื่นๆ อีกด้วย19 พื้นฐานทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น ได้หล่อหลอมให้ชุมชนรอบทะเลสาบสงขลามีอัต ลักษณ์ที่แตกต่างไปจากชุมชนอื่นๆ ที่เห็นชัดเจนก็คือคตินิยมในการต่อต้านอํานาจรัฐ มีความ พยายามสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กันภายในชุมชน 3 จังหวัดผ่านทางระบบเกลอ-ดอง ระบบเครือญาติ ระบบนักเลง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแม้แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 แล้วก็ยังเกิดชุมชนที่เป็นที่รวมตัวของผู้หนีการเสียภาษี และหลบหนีคดีอาญาขึ้น ในรอยต่อระหว่างจังหวัด ชุมชนเหล่านี้สร้างกลไกการปกครองชุมชนขึ้นมาเอง ยินดีที่จะถูก โดดเดี่ยวจากอํานาจรัฐ จนกระทั่งรัฐขนานนามชุมชนเหล่านี้ว่าเป็นชุมชนโจร หรือชุมชน คอมมิวนิสต์20 18

ยงยุทธ ชูแว่น, (บรรณาธิการ) การเคลื่อนเปลี่ยนของคตินิยมในบริเวณสามจังหวัดรอบ ทะเลสาบ สงขลา พ.ศ. 2504-2529: ศึกษาจากงานวรรณกรรม, (สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินท รวิโรฒ, 2529), หน้า 6-7. 19 ประมวล มณีโรจน์, “โจรพัทลุง-กรณีตํานานโจรแห่งตําบลดอนทราย: ความแรงของลมฝน ย่อมเกี่ยวเนื่องกับเมฆหมอกแห่งอุดมการณ์,” วารสารทักษิณคดี 4 (มิถุนายน-กันยายน 2537): 60. 20 พิเชฐ แสงทอง, ประวัติศาสตร์ชุมชนเคร็งในเขตรอยต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา, ( รายงานการวิจัยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545), หน้า40. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๔


ทางด้ า นลั ก ษณะทางสั ง คม กล่ า วได้ ว่ า ชุ ม ชนลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาเป็ น สั ง คมที่ ประกอบด้วยกลุ่มชน 2 กลุ่ม คือกลุ่มชนที่เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในฐานะไพร่ และกลุ่ม ชนที่มีฐานะทางสังคมอันได้แก่ข้าราชการ ขุนนาง และพ่อค้า ทั้งหมดอยู่ภายใต้ระบบความ เชื่อที่แตกต่างกัน คือพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม และวิถีแบบจีน อย่างไรก็ดีผู้คนที่แตกต่าง กันเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคมแบบเดียวกันคือแบบศักดินา จนมาถึงสมัยการ รวมชาติในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการคลี่คลายทางสังคมมาก ขึ้นเพราะการยืดหยุ่นระบบไพร่และระบบทาสลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ความหลากหลายของผู้ คนต่า งชาติ ต่ างศาสนา และต่ างวั ฒ นธรรมดั ง กล่ าวทํา ให้ วัฒนธรรมชุมชนรอบทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายตามไปด้วย กล่าวคือ แบบชาวไทย พุท ธ แบบชาวไทยมุ ส ลิ ม และแบบชาวจี น ทุ ก กลุ่ ม มีวั ฒ นธรรมที่ เด่ น ชัดเป็น ของตนเอง โดยเฉพาะชาวไทยพุทธนั้น เป็ นชาวพื้ นเมือ งเดิม มีวิถี ความเชื่ อสอดคล้ องกั นระหว่างพุ ท ธ ศาสนากั บ ศาสนาพราหมณ์ -ฮิ น ดู มี ก ารผสมผสานระหว่ า งวั ฒ นธรรมเก่ า กั บ ใหม่ อ ย่ า ง กลมกลื น ตลอดมา มี ทั้ ง ศาสนา และความเชื่อ เหนื อ ธรรมชาติ เช่ น ภู ตผี วิญ ญาณ และ บรรพบุรุษ การผสมผสานทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงน้อย และช้าอย่างมาก21 ด้วยเหตุนี้ในเวลาต่อมาชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาจึงมีวัฒนธรรมผสมผสาน ระหว่างชน 3 กลุ่ม ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากจารึกซึ่งพบที่ตําบลสําโรง อําเภอเมือง จังหวัด สงขลา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องจารึกทั้ง 3 ภาษา คือ ไทย จีน และมลายู (อักษรยาวี) และวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ก็มีการผสมผสานเช่นกัน เช่น อาหาร ภาษา สถาปัตยกรรม การแต่งกาย ความเชื่อ ประเพณี ฯลฯ ประเพณีเหล่า นี้ม าจากวั ฒนธรรม ดั้งเดิมในท้องถิ่น วัฒนธรรมฮินดู วัฒนธรรมทั้งฝ่ายพุทธเถรวาท และอาจริยวาท วัฒนธรรม ชวา – มลายู วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมจีน วัฒนธรรมอินเดียใต้ วัฒนธรรมทมิฬ และศรี ลังกา แต่ที่เด่นชัดมากที่สุดได้แก่ วัฒนธรรมไทยพุทธ วัฒนธรรมไทยมุสลิม และวัฒนธรรม ไทยจีน22 เมื่อเวลาผ่านไป ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านี้ได้เกิดการผสมกลมกลืนกัน มาก ชาวอิสลามในชุมชนลุ่มทะเลสาบจะแตกต่างกับชาวอิสลามใน 3 จังหวัดภาคใต้อย่าง เด่นชั ด ขณะที่ชาวจีน ก็จะเป็นชาวจี นที่สามารถปรับ ตัวเข้ากับ วัฒนธรรมของชาวท้ องถิ่ น 21

สงบ ส่งเมือง, การพัฒนาหัวเมืองสงขลาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(พ.ศ. 2300-2444), (สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2528), หน้า 72-74. 22 สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์, “ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลากับต่างเมืองที่ส่งผลต่อผู้คนและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น” ในการสัมมนาทางวิชาการสงขลาศึกษา: ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองสงขลา, (สงขลา: สถาบัน ทักษิณคดีศึกษา, 2535), หน้า135. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๕


ดั้งเดิมได้อย่างกลมกลืนเมื่อเทียบกับชาวจีนในท้องถิ่นอื่นๆ เช่นชาวจีนในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอัน ดามัน จนกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของผู้คนในลุ่มทะเลสาบสงขลาเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมไทยพุทธ วัฒนธรรมไทยมุสลิม และวัฒนธรรมไทยจีน จนกลายเป็นอัต ลักษณ์ของกลุ่มชนในบริเวณนี้มาจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ในทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการเมือง 3 จังหวัดในรอบทะเลสาบ สงขลาก็ ไ ม่ อ าจปฏิ เ สธกระแสความเปลี่ ย นแปลงที่ ถู ก ส่ ง ผ่ า นมาจากส่ ว นกลางได้ ทั้ ง นี้ การศึกษาแผนใหม่ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อทศวรรษ 2440 กระทั่งพัฒนาเป็นการศึกษาภาคบังคับเมื่อ พ.ศ.2464 เป็นต้นมาก็ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติหลายประการของชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลา แม้ในช่วงทศวรรษแรกของการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ จะมีผู้คนพยายามหลบเลี่ยง เพราะยังจําเป็นต้องใช้แรงงานของเด็กๆ ในการผลิตอยู่ แต่ตั้งแต่ทศวรรษ 2480 เป็นต้นมา การศึกษาแผนใหม่ก็สามารถโน้มน้าวให้ชุมชนเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบนี้จะได้ ผลตอบแทนที่ดี เช่น อาชีพข้าราชการ เป็นต้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากชาวนา ไปเป็นเจ้าคนนายคน การศึกษาแผนใหม่จึงได้รับการยอมรับมากขึ้น พร้อมๆ กับที่แรงงานก็ ถูกดึงออกจากชุมชนมากยิ่งขึ้นด้วย ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้แ ผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่1 (พ.ศ.2504-2509) ทําให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของ ราชอาณาจักรไทย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างจริงจังในภาคใต้ โดยมีเป้าหมาย เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน และยกระดับสังคมไทยไปสู่ความทันสมัยแบบตะวันตก การณ์ นี้ก็ย่อมส่งผลต่อชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ระบบ ความสั ม พั น ธ์ ภ ายในชุ ม ชนและความสั ม พั น ธ์ กั บ ภายนอกชุ ม ชนของผู้ ค นบริ เ วณนี้ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สาธารณูปโภคอย่างเช่น ถนน และการสื่อสาร เป็นช่องทาง สําคัญที่ทําให้ชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลามีความใกล้ชิดกับอุดมการณ์ที่เน้นการพัฒนาสู่ ความทันสมัยมากขึ้น ขณะที่วิถีการดํารงชีวิตผู้คนต่างก็มีจิตสํานึกแบบทุนนิยมโดยมุ่งสะสม วั ต ถุ ยิ่ ง ขึ้ น บริ เ วณลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาซึ่ ง แต่ เ ดิ ม เคยเป็ น แหล่ ง ทรั พ ยากรอุ ด มสมบู ร ณ์ สามารถหล่ อ เลี้ ย งผู้ ค นได้ เป็ น จํ า นวนมากถู ก นโยบายการพั ฒ นาสู่ ค วามทั น สมั ย ทํ า ลาย ศักยภาพดังกล่าวลงจนอยู่ในภาวะวิกฤติ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการพึ่งตัวเองทาง เศรษฐกิจของชุมชนบริเวณนั้นลงแทบจะสิ้นเชิง นโยบายมุ่งสู่ความทันสมัยได้ดึงดูดผู้คนให้ เข้าทํางานในเมือง ละทิ้งชนบท ความสํานึกในรากเหง้าของคนกับท้องถิ่นจึงค่อยๆ ขาด หายไปทีละน้อย ท้องถิ่นถูกทําให้ “ล้าหลัง” ทั้งในมุมมองของศูนย์กลางและคนในท้องถิ่น เอง วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๖


เมื่ อ ศึ ก ษาจากวรรณกรรมแสดงอั ต ลั ก ษณ์ พื้น ถิ่ น ภาคใต้ ตั้ง แต่ พ.ศ. 2522 -2546 พบว่า ผู้สร้างบันเทิงคดีภาคใต้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ทางวัฒนธรรมของวรรณกรรม อย่างจริงจัง ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ซึ่งเกิดกระแสความตกต่ําของวรรณกรรมเพือ่ ชีวติ แบบ “สูตรสําเร็จ” นักเขียนชาวใต้ก็ปรับเปลี่ยนแนวการเขียนจากแบบเพื่อชีวิตไปเป็นวรรณกรรม สะท้อนสีสันและปัญหาชนบทที่มุ่งสร้างสรรค์หรือช่วยเป็นกระจกสะท้อนและช่วยแก้ปัญหา สังคม โดยใช้กลวิธีการเขียนที่เน้นความสมจริง กลวิธีการสร้างและลดระยะห่างระหว่างตัว นักเขียน กับผู้อ่าน และตัวนักเขียนกับชาวบ้านที่ถูกเขียนถึง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม และเชื่อถือเรื่องราวต่างๆ ที่นําเสนอในวรรณกรรม นักเขียนคาดหวังว่าจะทําให้เกิดผลด้าน กลับ คือกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญของการแก้ปัญหา ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ทําให้บันเทิงคดี ภาคใต้ที่ผู้วิจัยนํามาวิเคราะห์มีฐานะเป็นเครื่องมือตอบโต้การครอบงําของวัฒนธรรมกระแส หลักที่มีต่อพื้นถิ่นใต้ การตอบโต้นี้ บันเทิงคดีภาคใต้ได้แสดงออกใน 2 ระดับด้วยกัน คือการ ตอบโต้ด้วยการเปิดเผยผลของการครอบงําที่ทําให้ท้องถิ่นภาคใต้อ่อนแอ และการตอบโต้ด้วย การทบทวน/รื้ อ ฟื้ น หรื อ สร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ พื้ น ถิ่ น ใต้ เพื่ อ เลื่ อ นไหลตั ว เองเข้ า กั บ การ เปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ในการตอบโต้ด้วยการเปิดเผยผลของการครอบงํานั้น บันเทิงคดีภาคใต้เสนอภาพของ ท้องถิ่นที่ตกอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพิง ต้องอพยพโยกย้ายออกไปหารายได้นอกภาค เกษตรเพื่ อสร้ างอํา นาจต่ อ รองกับ กระแสบริโภคนิ ยมและเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ยมเข้ ามาสู่ หมู่บ้าน ผู้วิจัยพบว่าวรรณกรรมให้ความสําคัญกับการเปิดเผยการครอบงําในประเด็นหลักๆ 6 ประการด้ ว ยกั น คื อ การครอบงํ า ทางการศึ ก ษา เศรษฐกิ จ การคมนาคมและเทคโนโลยี การแพทย์สมัยใหม่ ประวัติศาสตร์/ความทรงจํา และภาษา อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมไม่ได้ ต่อต้า นการครอบงํ าอย่า งสุด ขั้ว แต่ มีการยอมรับบางด้ านของการพัฒ นาด้ วย เช่น ด้าน การศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยี และภาษา โดยเฉพาะด้านการศึกษา บันเทิงคดี ในช่วงทศวรรษ 2520 ยอมรับถึงความสามารถของความรู้สมัยใหม่ที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็ม ความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่นเพื่อทําให้ท้องถิ่นกลายเป็น “ท้องถิ่นสมัยใหม่/ทันสมัย” ที่มีฐานะ หรือศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับเมือง โดยที่ไม่ต้องกลายเป็นเมืองไปด้วย เช่นมีความคาดหวังว่าเมื่อ คนในท้องถิ่นได้เข้าโรงเรียนก็จะได้นําความรู้สมัยใหม่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด ความคาดหวังนี้เมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทสังคมไทย ก็พบว่าเป็นผลสะท้อนกลับของ นโยบายพัฒนาโดยรัฐที่มอง หรือการหาทางออกจากปัญ หาสังคมที่ในช่ว งก่อนทศวรรษ 2530 เกิดแผนการพัฒนาที่จัดทําโดยรัฐส่วนกลาง อันเป็นแผนพัฒนาที่เห็นว่าชนบทล้าหลัง บันเทิงคดีเหล่านี้จึงนําเสนอความคาดหวังที่จะให้คนท้องถิ่นเองได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการ วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๗


กําหนดนโยบายการพัฒนา เรียกร้องให้การพัฒนายึดท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ยึดเมืองและ รั ฐ เป็ น แกน โดยการเสนอว่า ถ้า หากให้ คนท้ อ งถิ่ น ได้มีค วามรู้ ส มั ยใหม่ เขาก็ อ าจสามารถ กลับมาพัฒนาบนพื้นฐานทรัพยากร ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นเอง อย่ า งไรก็ ดี บั น เทิ ง คดี ช่ ว งทศวรรษ 2530-2540 กลั บ ตื่ น ตระหนั ก ว่ า แท้ แ ล้ ว “การศึ ก ษา” ก็ มี ค วามหมายเหมื อ นกั บ ถนน ไฟฟ้ า โทรทั ศน์ ประวั ติ ศ าสตร์ รั ฐ ชาติ และ ภาษากลาง ที่เป็นเครื่องมือหรือภาคปฏิบัติของการพัฒนาที่ส่งเสริมให้คนท้องถิ่นกลายเป็น อื่นมากกว่าที่จะกลับมาเป็นคนท้องถิ่นที่มีความรู้แบบสมัยใหม่ การศึกษาร่วมมือกับถนน ไฟฟ้า โทรทัศน์ ประวัติศาสตร์รัฐชาติ และภาษากลางฉุดดึงคนใต้ออกจากท้องถิ่นโดยไม่รู้ตัว ไฟฟ้านํามาซึ่งโทรทัศน์ที่หล่อหลอมทัศนคติต่อโลกต่อชีวิตที่ไม่อิงอยู่กับรากเหง้าความเป็น ท้องถิ่น ขณะที่ประวัติศาสตร์และภาษาเป็นเครื่องมือครอบงําที่ยังผลให้ท้องถิ่นสูญเสียอัต ลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ สูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเอง นอกจากนั้ น บั น เทิ ง คดี ภ าคใต้ย อมรั บว่า การแพทย์ส มั ยใหม่ จ ะยั ง ประโยชน์ ใ นแง่ ที่ สามารถฉุดดึงชาวบ้านขึ้นมาจากความไม่แน่นอนของระบบสุขภาพแบบดั้งเดิม แต่การเข้าถึง การแพทย์สมัยใหม่ของชาวบ้านก็เป็นเพียงความฝันใกล้ๆ ที่ไปไม่ถึง เพราะเป็นบริการภาครัฐ ที่ต้องซื้อหามาด้วยเงิน ในสถานการณ์ที่ท้องถิ่นอ่อนแอทั้งด้านวัฒนธรรมและทรัพยากร จึงมี ชาวบ้านจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์สมัยใหม่ได้ ทั้งๆ ที่มีความปรารถนาอย่างแรง กล้า ผลของการที่ท้องถิ่นภาคใต้ถูกดึงเข้าไปสู่ศูนย์กลางที่เป็นผู้ผูกมัดนิยามความหมายของ ความเป็นไทยเอาไว้ อีกด้านหนึ่งกลับเป็นการผลักให้ท้องถิ่นกลายเป็นพื้นทีช่ ายขอบของความ เป็นไทย การเปิดเผยการครอบงําจากศูนย์กลางของบันเทิงคดีภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2520 จะนําเสนอว่าการสูญเสียอัตลักษณ์ของท้องถิ่นภาคใต้นั้นเกิดจากกระบวนการ 2 ด้านที่ดู ขัดแย้งกัน คือด้านที่ถูกผนวกเข้ากับความเป็นไทย และด้า นที่ถูกกีดกัน จากความเป็นไทย กล่าวคือศูนย์กลางสร้างนิยามความเป็นไทยที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ จึง พยายามผนวกท้องถิ่นใต้เข้ากับนิยามนี้ผ่านนโยบายการพัฒนาและการปกครองแบบรวมศูนย์ ขจัดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นผ่านการสร้างวัฒนธรรมความเป็นไทย โดยภาษา การศึกษา รสนิยม และอื่นๆ ในการนี้ ท้องถิ่นใต้ซึ่งมีตัวตนทางประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมเฉพาะตนจึงเท่ากับถูกกีดกันออกจากความเป็นไทยไปด้วย ส่วนการตอบโต้ด้วยการทบทวน/รื้อฟื้น หรือสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นใต้ขึ้นมาใหม่นั้นเป็น ผลของการตระหนักถึงความสูญ เสียอัตลักษณ์เพราะกระบวนการผนวกเข้าและกีดกันของ ความเป็น ไทยข้า งต้ น บันเทิ ง คดี ภ าคใต้ มี บ ทบาทเป็น พื้ นที่ ข องการขั ดขื น /ต่อต้ านอํ านาจ ครอบงําทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กับการสร้างสรรค์เพื่อแสดงถึงอํานาจของท้องถิ่นที่จะ วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๘


เปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์บนพื้นฐานของความเป็นตัวของตัวเอง ผู้วิจัยจึงพบว่าวรรณกรรม กลุ่มนี้ได้สร้างภาพท้องถิ่นที่เลื่อนไหลตัวเองเข้ากับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่ไม่ อาจขัดขืน ผ่านเครื่องมือหลักๆ คือการรื้อฟื้น/สร้างประวัติศาสตร์และความทรงจํา ขับเน้น ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสร้างความหมายให้กับพื้นที่ทางสังคม/วัฒนธรรม ขึ้นใหม่เพื่อตอบรับความเปลี่ยนแปลง ยังผลให้ อัตลักษณ์พื้นถิ่นภาคใต้ที่ถูกนําเสนอใน บันเทิงคดีที่นํามาศึกษาเป็นอัตลักษณ์ที่เลื่อนไหล ทับซ้อน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข สิ่งแวดล้อม และ ประโยชน์ที่ท้องถิ่นจะได้รับจากอัตลักษณ์หนึ่งๆ หรือหลายๆ อัตลักษณ์ผสมผสานกัน เช่น การนําเสนอว่าอัตลักษณ์ความเป็นคนใต้ไม่จําเป็นต้องยึดติดกับพื้นที่ทางกายภาพ (physical space) ก็ได้ เพราะในพื้นที่ทางความคิดหรือความทรงจํา (mental space) อัตลักษณ์ความ เป็นใต้ก็สามารถแสดงตัวตนและอํานาจของอัตลักษณ์ได้ การเปลี่ยนแปลง ความหมายเชิ ง พื้ น ที่ นี้ ยั ง ผลให้ ค นใต้ พลั ด ถิ่ น สามารถดํ า รงความเป็ น ใต้ อ ยู่ ใ นเมื อ ง ใน กรุงเทพฯ และในภูมิภาคอื่นๆ ได้ ตั ว อย่ า งของการเปลี่ ย นแปลงความหมายเชิ ง พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วนี้ แสดงให้ เ ห็ น ความสามารถปรับ ตัว ของท้องถิ่น ในสถานการณ์ที่ พวกเขาจําใจต้องออกจากบ้ านทั้ง เพื่ อ แสวงหารายได้นอกภาคเกษตรและเพื่อเข้ารับการศึกษาสมัยใหม่ คนใต้พลัดถิ่นเหล่านี้ถูกผูก โยงเข้า ด้ว ยกัน ผ่ านประวั ติศาสตร์ ความทรงจํ า เรื่อ งเล่ า จิน ตนาการเรื่องพื้น ที่ก ายภาพ กระทั่งก่อให้เกิดชุมชนคนใต้ในจินตนาการ และชุมชนคนใต้นอกภูมิภาคมากมาย ผู้วิจัยยังพบด้วยว่าประวัติศาสตร์และความทรงจําเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่บันเทิงคดี พื้นถิ่นใต้นําเสนอเพื่อทบทวน/รื้อฟื้น และสร้างอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่เกิดขึ้น หลั ง จากเกิ ด ความเปลี่ ย นแปลงของวิ ถี ชี วิ ตดั้ ง เดิ ม ของชุ ม ชน บั น เทิ ง คดี พื้ น ถิ่ น ใต้ ตั้ ง แต่ ทศวรรษ 2520 ได้วิพากษ์/ปฏิเสธการสร้ างประวั ติศาสตร์ กระแสหลักที่เข้า มากลื นกลาย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้เลือนหาย พร้อมๆ กันนั้นก็พยายามรื้อฟื้นความทรงจําเกี่ยวกับพื้นที่ ตํานานวีรบุรุษ รวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรมาสร้างอดีตของ ท้องถิ่นให้กลับมามีชีวิตโลดแล่นขึ้นอีกครั้ง ประวัติศาสตร์/ความทรงจําจะมีความหมายต่อ การยึดโยงคนใต้ พลัดถิ่น ให้สามารถดํารงความเป็น คนใต้เหนือพื้นที่กายภาพดังกล่าวแล้ ว ขณะเดี ยวกั น ก็ ทํ าหน้ า ที่ ต อกตรึ ง คนใต้ใ นพื้ น ที่ บ างส่ว น (เช่ น คนแก่ ) ให้ ยึ ดติ ด นิ่ ง อยู่ กั บ จินตนาการอันสวยหรูอยู่ในท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในด้านภูมิปัญ ญา การวิจัยพบว่าบันเทิงคดีภาคใต้ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมาให้ความสําคัญกับภูมิปัญญาพื้นบ้านในฐานะอัตลักษณ์ที่พึงปรารถนาของชนบท เป็นภูมิปัญญาทางเลือกของท้องถิ่นสมัยใหม่ มีการเสนอภาพของภูมิปัญญาด้านการแพทย์ ด้ า นศิ ล ปะการแสดง ด้ า นอาชี พ แต่ อั ต ลั ก ษณ์ ท างภู มิ ปั ญ ญาก็ ไ ม่ ไ ด้ ห ยุ ด นิ่ ง ตายตั ว วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๑๙


วรรณกรรมวิพากษ์ทัศนะที่มองหรือยึดมั่นภูมิปัญญาว่าเป็นของแท้ดั้งเดิมที่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้ หันไปนําเสนอลักษณะที่ไม่หยุดนิ่ง การสร้างใหม่ หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ด้วย ความเชื่อว่าจะทําให้ท้องถิ่นสามารถใช้ภูมิปัญญาเป็นอาวุธในการต่อสู้กับวาทกรรมครอบงํา สามารถยกระดับความรู้ท้องถิ่นขึ้นมาเท่าเทียม หรือเหนือกว่าความรู้สมัยใหม่ได้ การนําเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นใต้ผ่านทางการนําเสนอภูมิปัญญาที่ปรับเปลี่ยนจึงเป็น การสร้างอํานาจให้ความรู้ หรือเป็นการเมืองของความรู้ที่ท้องถิ่นใช้ขับเคี่ยวกับความรู้กระแส หลัก ซึ่ ง เมื่อ พิ จารณาจากบริบ ททางสัง คมก็จ ะพบว่าน่ าจะเป็ น ผลสะท้อนกลับ ของการที่ ความรู้สมัยใหม่ไม่อาจตอบสนองการดํารงชีวิตที่เป็นจริงในท้องถิ่นได้ การศึกษาสมัยใหม่แม้ จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา แต่ก็สร้างองค์ความรู้ที่ไม่สัมพันธ์ กับท้องถิ่น ขณะที่การแพทย์ก็ยังเป็นพื้นที่การบริการจากภาครัฐที่เข้าถึงยาก วรรณกรรม กลุ่มนี้จึงหันกลับไปยังภูมิปัญญาท้องถิ่น รื้อฟื้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ เพื่อนําเสนอเป็น ทางออกจากปัญหาและความรู้ทางเลือก นอกจากนั้น อัตลักษณ์พื้นถิ่นใต้ที่เสนอผ่านภูมิปัญญา ยังเป็นที่มาของอํานาจท้องถิ่น ผ่านการใช้และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ และระบบศีลธรรมของภูมิปัญญาใน สถานการณ์ที่สังคมไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสังคมเสื่อมศีลธรรม ทําให้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ใช้อัตลักษณ์เชิงศีลธรรมกดข่มความรู้ หรืออํานาจแบบอื่นๆ ได้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้จึงเป็น วาทกรรมโต้กลับการครอบงํา ที่หยิบฉวยเอา “ความรู้” ซึ่งเคยเป็นเครือ่ งมือของผูค้ รอบงํามา ใช้ ตามแนวคิดของเอ็ดเวิร์ด ซาอิด วรรณกรรมกลุ่ ม นี้ ยั ง ได้ วิ พ ากษ์ อั ต ลั ก ษณ์ ค วามเป็ น คนใต้ ที่ แสดงออกผ่ า นค่ า นิ ย ม ตายตัว เช่นความเป็นคนรักศักดิ์ศรี ความเป็นนักเลง ความเป็นคนหัวหมอ ความรักพวกพ้อง ซึ่งนักวิชาการด้านคติชนวิทยาได้เคยเสนอไว้ และกลายเป็นภาพแทนของความเป็นคนใต้ใน ความรับรู้ของสังคม โดยเฉพาะบันเทิงคดีที่เขียนขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา พยายามสาธิตให้เห็นถึงภัยของการยึดมั่นกับอัตลักษณ์ที่แข็งตัวว่าไม่สามารถสร้างศักยภาพ ให้ท้องถิ่นใต้ในสังคมสมัยใหม่ได้ ขณะเดียวกัน บันเทิงคดีภาคใต้ในช่วง พ.ศ.2522-2546 ยังนําเสนอภาพการต่อสู้เพื่อ สร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยๆ ในบริบทของสังคมภาคใต้เองด้วย ด้วยเฉพาะกลุ่ม มลายู มุ ส ลิ ม กั บ กลุ่ ม ไทยพุ ท ธ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การนิ ย ามความหมายพื้ น ที่ ที่ เ ลื่ อ นไหล เปลี่ยนแปลงเพื่อประนีประนอมให้ทั้งสองกลุ่มยังสามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้อย่างสันติสุข ซึ่ง สัมพันธ์กับความเป็นจริงในบริบททางสังคมของภาคใต้ตอนกลางที่กลุ่มชาวมลายูมุสลิม ชาว จีน (พ่อค้า) และชาวไทยพุทธอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ผสมผสานอัตลักษณ์ที่หลากหลาย วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๐


เข้ากันจนกระทั่งมีคําเปรียบเปรยว่า คนภาคใต้ตอนกลางเป็นทั้งพุทธ มุสลิม และจีน อยู่ใน ตัวตนของคนเดียวกัน อย่างไรก็ดี การศึกษายังได้พบว่า อัตลักษณ์ความเป็นพื้นถิ่นใต้นั้นมักจะนําเสนอผ่าน ความเป็นชาย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ชายเป็นพื้นที่ของความเป็นใต้ เมื่อผู้หญิงถูกนําเสนอ ในฐานะผู้ห ญิ งท้ องถิ่ น สมัย ใหม่ จึ งมักจะมีเกณฑ์ วัด ว่ าสามารถลอกเลี ยนผู้ ชายได้ เหมื อน เพียงใด อย่างไรก็ดี ผู้หญิงสมัยใหม่เหล่านี้ก็เป็นพวก “ผิดเพศ” ที่ไม่สามารถเป็นเพศใดเพศ หนึ่งได้ ได้แต่เคลื่อนไหวไปมาระหว่างความเป็นเมีย/แม่ และความเป็นผู้ชาย ทําให้ภาพแทน ผู้หญิงใต้ที่บันเทิงคดีนําเสนอเป็นผู้หญิงที่ต้องแบกรับภาระทั้งในบ้านและนอกบ้าน การปะทะสังสรรค์ที่ท้องถิ่นภาคใต้มีต่อคนอื่น กลุ่มอื่น สังคมอื่น และคนอื่น กลุ่มอื่น สังคมอื่นมีต่อท้องถิ่นภาคใต้ ทําให้เกิดอัตลักษณ์พื้นถิ่นใต้ที่เลื่อนไหลและทับซ้อน อัตลักษณ์ ของพื้นถิ่นใต้จึงมิใช่อัตลักษณ์ที่นิ่งแน่นอนและตายตัวอีกต่อไป แต่เป็นผลผลิตของการปะทะ ประสาน ยอมรับ ต่ อ รอง ประนี ป ระนอม และปรั บ เปลี่ ย นที่ เลื่ อนไหลไปตามบริ บ ทและ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังเชื่อมโยงกับการสร้างอํานาจทางวัฒนธรรม ความรู้ และ ให้ความหมายประวัติศาสตร์และความทรงจํา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อัตลักษณ์ความเป็นคนใต้ ได้ถูกยกระดับเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ทางวัฒนธรรม ที่ไม่มีพรมแดนที่แน่ชัดหรือตายตัวอีก ต่อ ไป แต่เคลื่อ นไหวไปมาเหนื อพื้น ที่ กายภาพ เหนือภูมิ ภาค เหนือ เขตการปกครอง การ ยอมรับหรือเข้าใจการปรับเปลี่ยนพรมแดนทางวัฒนธรรมเช่นนีท้ าํ ให้เข้าใจว่าท้องถิน่ ไม่ได้เป็น ผู้ถูกกระทําเสมอไป แต่ยังสามารถพลิกโอกาสพลิกสถานการณ์ขึ้นมาเป็นผู้กระทําได้อีกด้วย ข้อค้นพบที่ว่าบันเทิงคดีของนักเขียนภาคใต้ได้พยายามเปิดเผยและวิพากษ์การครอบงํา ของวัฒ นธรรมส่วนกลาง และมุ่งสร้างอัตลักษณ์ภาคใต้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทําให้ สามารถลบล้ า งข้ อ กล่ า วหาที่ ว่ า วรรณกรรมของนั ก เขี ย นท้ อ งถิ่ น ใต้ ติ ด กั บ ดั ก คู่ ต รงข้ า ม ระหว่างชนบท/เมือง ท้องถิ่น/รัฐ ชาวบ้าน/นายทุน-เจ้าหน้าที่รัฐ จนกระทั่งตัวบทวรรณกรรม ภาคใต้ได้สร้าง “ท้องถิ่นในจินตนาการ” ขึ้นมาโดยขาดพื้นฐานความเป็นจริง ทําให้ไม่สามารถ แก้ปัญหาท้องถิ่นอย่างที่นักเขียนมุ่งหวังได้ นอกจากนั้นก็ยังอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทําให้ตั้ง สังเกตได้ว่า บางทีกับดักคู่ตรงข้ามหาใช่วางอยู่ที่ตัวบทวรรณกรรมไม่ แต่อยู่ในกระบวนทัศน์ หรือกรอบความคิดของนักวิจารณ์หรือนักวิชาการวรรณกรรมเอง .................................................. บรรณานุกรม วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๑


ภาษาไทย กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. คนใบเลี้ยงเดี่ยว. กรุงเทพฯ: นกสีเหลือง, 2535. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. แผ่นดินอื่น. กรุงเทพฯ: นาคร, 2539. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. สะพานขาด. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: นาคร, 2539 กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 1 มิถุนายน 2534 กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 18 กันยายน 2546. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2547. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงไพวรินทร์ ขาวงาม วันที่ 14 ตุลาคม 2547. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 4 กุมภาพันธุ์ 2548. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 10 กรกฎาคม 2548. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 18 สิงหาคม 2548. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ วันที่ 18 กันยายน 2548. กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จดหมายส่วนตัวเขียนถึงประมวล มณีโรจน์ ไม่ลงวันที่ (ก่อน เสียชีวิตไม่นาน) กนกพงศ์ สงสมพันธุ์. จากหุบเขาฝนโปรยไพร. วารสารไรเตอร์ 5(พฤษภาคม 2540): 5. กร ศิริวฒ ั โณ. ของฝาก. กรุงเทพฯ: เอื้ออาทรสํานักพิมพ์, 2540. กร ศิริวฒ ั โณ. เสียงกริ่งจักรยาน. สงขลา: ประภาคาร, 2534. กร ศิริวฒ ั โณ. หมื่นเขี้ยวคมหนาม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2536. กลุ่มนาคร. วารสารกลุ่มนาคร ฉบับยืนค้าํ ฟ้า (กันยายน-ตุลาคม 2525). กลุ่มวรรณกรรมพินิจ. ดาวระยิบฟ้า. กรุงเทพฯ: ยุคใหม่, 2524. กําซํา เชื้อชาวนา. การเก็บข้าวด้วยแกะ ลีลาอ่อนไหวเหนือเรียวรวง. วารสารนาคร ฉบับ คลื่นทะเลใต้. (2524): 64-73. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๒


เกษม จันทร์ดํา. คํานําบรรณาธิการ: การกลับมาของอนารยชนยุคอารยธรรมหลังสมัยใหม่. ในอัตถากร บํารุง, หมู่บ้านแห่งเมืองหลวง. ตรัง: ศูนย์ทะเลสาบศึกษา, 2550. เกษม จันทร์ดํา. นาฬิกาไม้. สงขลา: ประภาคาร, 2534. เกษม จันทร์ดํา. กลุ่มนาคร: กลุ่มปัญญาชนพืน้ เมืองผูม้ ีอัตลักษณ์ในความเลื่อนไหลของ สังคมสากล. ใน กลุม่ คนวรรณกรรมแห่งคาบสมุทรไทย. สงขลา: กลุ่มนาคร, 2550. เกษียร เตชะพีระ. อํานาจนํา. มติชนรายวัน ( 12 ตุลาคม 2550): 6. คมสัน พงษ์สุธรรม. คนเฒ่า. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2530. คมสัน พงษ์สุธรรม. แผ่นดินร้าว. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2530. คมสัน พงษ์สุธรรม. สวนทางเถื่อน. กรุงเทพฯ: พาสิโก้, 2523. คล้าย จันทพันธุ์. เพลงกล่อมเด็ก. ใน พัทลุงวิทยา: หนังสือที่ระลึกงานปีใหม่จังหวัด พัทลุง. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานวันปีใหม่จังหวัดพัทลุง วันที่ 5-7 เมษายน 2479). พัทลุง: ม.ป.ท., 2479. เครก เจ.เรโนลดล์ . โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย. ใน เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 2550. คอลัมน์ คนเขียนหนังสือ. สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 52 (22 มิถุนายน 2522); ปีที่ 27 ฉบับที่ 9 (24 สิงหาคม 2523); ปีที่ 27 ฉบับที่ 27 (28 ธันวาคม 2523); ปีที่ 27 ฉบับที่ 31 (25 มกราคม 2524); ปีที่ 27 ฉบับที่ 32 (1 กุมภาพันธ์ 2524); ปีที่ 27 ฉบับที่ 37 (8 มีนาคม 2524); ปีที่ 27 ฉบับที่ 56 (10 พฤษภาคม 2524); ปีที่ 27 ฉบับที่ 47 (17 พฤษภาคม 2524); ปีที่ 27 ฉบับที่ 51 (15 มิถุนายน 2524); ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (17 กรกฎาคม 2524); ปีที่ 28 ฉบับที่ 7 (9 สิงหาคม 2524); ปีที่ 28 ฉบับที่ 9 (23 สิงหาคม 2524); ปีที่ 28 ฉบับที่ 10 (30 สิงหาคม 2524); ปีที่ 28 ฉบับที่ 12 (6 กันยายน 2524). คํารพ นวชน. วรรณกรรมบอนไซ วรรณกรรมไทยอันเนื่องมาจากทฤษฎีปฏิวัติ. นิตยสาร โลกหนังสือ 5(พฤศจิกายน 2524): 2. จ. ศรีอักขรกุล. นิราศสงขลา คราวไปอบรมวิชาหัตถศึกษา ปี 2504, ม.ป.ท., 2504. จรูญ หยูทอง. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชนบทภาคใต้ที่ปรากฏใน เรื่องสั้นของนักเขียนกลุ่มนาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทย ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2543. จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. อ่านนวนิยายชิ้นเยี่ยม: ลมฝันกับต้นกล้า. ใน นิตยสารโลกนวนิยาย (สิงหาคม 2539). วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๓


จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคําสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อ ชนชาติ. กรุงเทพฯ: ดวงกมล และมูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2524. จําลอง ฝั่งชลจิตร. ขนําน้อยกลางทุ่งนา. พิมพ์ครัง้ ที6่ . กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์, 2543. จําลอง ฝั่งชลจิตร. คนขี่มา้ ขาว. พิมพ์ครั้งที2่ . กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ, 2535 จําลอง ฝั่งชลจิตร. นายกรัฐมนตรีไปธนาคาร. กรุงเทพฯ: คนวรรณกรรม, 2529. จําลอง ฝั่งชลจิตร. ในลึก. กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์, 2543. จําลอง ฝั่งชลจิตร. ผ้าทอลายหางกระรอก. กรุงเทพฯ: กําแพง, 2531. เจน สงสมพันธุ์. สะพานความคิดไม่เคยขาดออกจากกัน. ใน กนกพงศ์ สงสมพันธุ์, สะพาน ขาด. ปทุมธานี: นาคร, 2536. ฉิ้ว ทิพย์วารี. รวมนิราศของฉิ้ว ทิพย์วารี นักกลอนชาวบ้านแห่งทุ่งกระแสสินธ์. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา, 2541. ฉั น ทนา บรรพศิ ริ โ ชค. ภู มิ ปั ญ ญาชาวบ้ า นตายแล้ ว ? การเมื อ งของความรู้ ใ น กระบวนการพัฒนา. ใน ชีวประวัติและวงศาคณาญาติของ ‘ภูมิปัญญา’ ในประเทศ ไทย, เอกสารประกอบการประชุม ประจํ าปี ทางมานุ ษ ยวิท ยาครั้ง ที่ 3 “ทบทวนภู มิ ปัญญา ท้าทายความรู้” จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) สนับสนุน โดย สํ า นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย วั น ที่ 24-26 มี น าคม 2547 ณ ศู น ย์ มานุษยวิทยาสิรินธร. ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ: การสถาปนาพระราชอํานาจนํา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2550. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร. มุมปากโลก “ปาก” ของใคร: ขมขื่นในวรรณกรรมสตรีร่วมสมัย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 2 วันที่ 10-11 สิงหาคม 2548. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. เชิงอรรถวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2539. ชัย จันรอดภัย. นิราศพ่อหม้าย. สงขลา: โรงพิมพ์สมบูรณ์, 2494. ชัยสิริ สมุทวณิช. ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ (13 กันยายน 2524): 28. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. หนังสือประโลมโลกที่ขึ้นชื่อในสมัยรัชกาลที่ 5. วารสารอักษรศาสตร์ (กรกฎาคม 2524): 92. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๔


ชวน เพชรแก้ว. นิสัยและบุคลิกภาพของชาวใต้ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา. พืน้ บ้านพืน้ เมือง ถิ่นไทยทักษิณ. หนังสือที่ระลึกในโอกาสเปิดพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดี ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2534. ชาคริต โภชะเรือง. กาหลอ. กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์, 2545. ชีวี ชีวา. ลมใต้พัดผ่าน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ, 2532. ชีวี ชีวา. หญิงสาวแห่งสายน้ําไม่ไหลกลับ. กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์, 2543. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2543. ดาริกามณี. เธอไม่เคยไปถึงที่นั่น. ใน 0416-ศูนย์สี่หนึ่งหก. (ม.ป.ป.). ตรีศิลป์ บุญขจร. กลอนสวดภาคกลาง. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2547. ตรีศิลป์ บุญขจร. จะเอานิยายอะไร จากประวัติศาสตร์ในนวนิยาย?. ศิลปวัฒนธรรม 21( 1 พฤศจิกายน 2542. ตรีศิลป์ บุญขจร. พัฒนาการการศึกษาวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2530. ตรีศิลป์ บุญขจร. นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ.2475-2500. กรุงเทพฯ: บางกอกการพิมพ์, 2523. เตือนใจ สินทะเกิด. วรรณคดีชาวบ้านจากวัดเกาะ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษ ไทย คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร, 2520. ทวีวัฒน์ โกไศยกานนท์. มัดมือชก. ยะลา: เสริมการพิมพ์, 2518. ทีปกร. ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: ชมรมโดมทักษิณ, 2517. เทพ มหาเปารยะ. จําปูน. ใน นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น วาระครบรอบ 100 ปี เรื่องสั้นไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และประพันธ์สาส์น, 2528. ธงชัย วินิจจะกูล. เรื่องเล่าจากชายแดน. ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), รัฐปัตตานีใน “ศรีวิชัย” เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547. ธีระ นุชเปี่ยม. ความคิดหลังอาณานิคมกับมนุษยศาสตร์. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องวรรณกรรมโพสต์โคโลเนียลนานาชาติ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันที่ 25-26 มิถุนายน 2546. ธัญญา สังขพันธานนท์. ปรากฏการณ์แห่งวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: นาคร, 2538. เธียรชัย อัครเดช. ตัวตนของคนใต้: นัยความหมายใต้พิธีโนราโรงครู. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ), เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อน และเรื่องอื่นๆ ว่าด้วย พิธีกรรมและนาฏกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๕


นพพร ประชากุ ล . “แนวคิ ด สกุ ล”หลั ง อาณานิ ค ม” (Postcolonialism)” รวมบทความ แนวคิดสกุลหลังอาณานิคม. กลุ่มสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547. นพพร ประชากุล. คํานําเสนอ ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. ใน เสนาะ เจริญพร, ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548. นิติ ภัครพันธุ์. บางครั้งเป็นคนไทย บางครั้งไม่ใช่: อัตลักษณ์แห่งตัวตนที่ผันแปรได้. รัฐศาสตร์สาร 20 (2541): 266-267. นิติ ภัครพันธุ์. แปลงความทรงจํา ‘ไต’ สร้างความเป็น ‘ไทย’. ใน ความเป็นไทย/ความเป็น ไท, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2547. นัน บางนรา. ที่นี่ไม่มีอะไร. กรุงเทพฯ: กําแพง, 2532. เบลซีย์, แคทเธอรีน. หลังโครงสร้างนิยมฉบับย่อ. แปลโดย อภิญญา เฟื่องสกุล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร, 2549. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ). เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อน และ เรื่องอื่นๆว่าด้วยพิธีกรรมและนาฎกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร, 2546. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. อัตลักษณ์ซ้อนของนักมานุษยวิทยาในบ้านเกิด. ใน คนใน: ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร, 2545. ประชา สุวรี านนท์. แล่เนื้อเถือหนัง . กรุงเทพฯ: มติชน, 2542. ประมวล มณีโรจน์. โจรพัทลุง-กรณีตํานานโจรแห่งตําบลดอนทราย: ความแรงของลมฝน ย่อมเกี่ยวเนื่องกับเมฆหมอกแห่งอุดมการณ์.” วารสารทักษิณคดี 4(มิถุนายนกันยายน 2537). ประมวล มณีโรจน์. บ้านหลังสุดท้ายของดวงตะวัน. กรุงเทพฯ: นาคร, 2542. ประมวล มณีโรจน์. ว่าวสีขาวกับผองปีกแห่งความหวัง. สงขลา: ประภาคาร, 2532. ประมวล มณีโรจน์. หมูบ่ ้านวิสามัญ. สงขลา: ประภาคาร, 2532. ประมวล มณีโรจน์. (และคณะ). วรรณกรรมเพื่อชีวิตไทย:ก้าวเดินที่สับสนและการ แสวงหา. กลุ่มนาคร, 2528. ประมวล มณีโรจน์. สัมภาษณ์, วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550. ประมวล มณีโรจน์. สัมภาษณ์, วันที่ 23 มกราคม 2549. ประมวล มณีโรจน์. สัมภาษณ์, วันที่ 21 กรกฎาคม 2550. ประมวล มณีโรจน์. (บรรณาธิการ), วารสารนาคร ฉบับยืนค้ําฟ้า (กันยายน-ตุลาคม 2525): 13. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๖


ประสิทธิ์ ลีปรีชา. การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. ใน วาทกรรมอัต ลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2547:31-72. ปราณี ขวัญแก้ว. วรรณคดีชาวบ้านจาก ‘บุดดํา’ ตําบลร่อนพิบลู ย์ จังหวัด นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร, 2517. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. ชีวประวัตแิ ละวงศาคณาญาติของ ‘ภูมปิ ัญญา’ ในประเทศ ไทย. เอกสารประกอบการประชุมประจําปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 3 “ทบทวนภูมิ ปัญญา ท้าทายความรู”้ จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์กรมหาชน) สนับสนุน โดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วันที่ 24-26 มีนาคม 2547 ณ ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรนิ ธร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บรรณาธิการ). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชาย ขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546. ปิ่นแก้ว หลืองอร่ามศรี. ข้ามพรมแดนกับคําถามเรื่องอัตลักษณ์ วัฒนธรรม พื้นที่และ ความเป็นชาติ. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์, 2547. พนม นันทพฤกษ์. คืนฟ้าฉ่ําดาวรอยเปื้อน และ ทางเดิน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2522. พนม นันทพฤกษ์. ดงคนดี. กรุงเทพฯ: มิง่ มิตร, 2540. พนม นันทพฤกษ์. ดาวที่ขีดเส้นฟ้า. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2527. พนม นันทพฤกษ์. ยืนต้านพายุ. กรุงเทพฯ: ทักษิณาบรรณ, 2524. พลศักดิ์ จิระไกรศิริ. วรรณกรรมการเมือง. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคอาร์ต, 2522. พัฒนา กิติอาษา. บทบรรณาธิการ: มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตใน สัง คมไทยร่ ว มสมัย . ใน มานุ ษ ยวิ ทยากั บ การศึ ก ษาปรากฏการณ์ โหยหาอดี ตใน สังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546. พิเชฐ แสงทอง. ประวัติศาสตร์ชุมชนเคร็งในเขตรอยต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา. รายงานการวิจัยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545. ไพฑูรย์ ธัญญา. ก่อกองทราย. พิมพ์ครัง้ ที่ 23. กรุงเทพฯ: นาคร, 2539. ไพฑูรย์ ธัญญา. ตุลาคม. กรุงเทพฯ : นาคร, 2537. ไพฑูรย์ ธัญญา. ถนนนี้กลับบ้าน. พิมพ์ครัง้ ที่ 6. กรุงเทพฯ: นาคร, 2536. ไพฑูรย์ ธัญญา. โบยบินไปจากวัยเยาว์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: นาคร, 2541. ไพฑูรย์ ธัญญา. ผีแห้งกับโลงผุ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: นาคร, 2537. ภิญโญ ศรีจําลอง. พริ้ง พระอภัย กรีดเลือดหนังตะลุง .กรุงเทพฯ: จตุจักร, 2523. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๗


ภิญโญ ศรีจําลอง. พริ้ง พระอภัยเดินโรง. กรุงเทพฯ : พฤศจิกา, 2525 ภิญโญ ศรีจําลอง. ลมฝนกับต้นกล้า. สยามรัฐรายวัน ( 24 สิงหาคม 2539). มนัส จรรยงค์. จับตาย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2544 มนัส จรรยงค์. จอมขวาน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2519. มกุฎ อรดี. เพลงนกเหยี่ยว. กรุงเทพฯ: หนอน, 2519. มาโนช นิสรา. บาดแผล. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2540. มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา. พจนานุกรมภาษาถิน่ ใต้ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริน้ ติ้งและพับลิชชิ่ง, 2546. ยงยุทธ ชูแว่น.(บรรณาธิการ) การเคลื่อนเปลี่ยนของคตินิยมในบริเวณสามจังหวัดรอบ ทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2504-2529: ศึกษาจากงานวรรณกรรม. สงขลา: สถาบัน ทักษิณคดีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2529 ยงยุทธ ชูแว่น. ลมฝนกับต้นกล้า. กรุงเทพฯ: นาคร, 2539. ยงยุทธ ชูแว่น. โลกของลุ่มทะเลสาบ. กรุงเทพฯ: นาคร, 2541 ยงยุทธ ชูแว่น. สัมภาษณ์, วันที่ 31 ธันวาคม 2550. ยุกติ มุกดาวิจิตร. อ่านวัฒนธรรมชุมชน: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์นิพนธ์แนว วัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2548. รมณา โรชา. เหยื่อล่อไฟ. กรุงเทพฯ: ปัญญาสยาม, 2537. รัตนะ ยาวะประภาษ. คนมีเกียรติ. กรุงเทพฯ: ผ่านฟ้าพิทยา, 2518. รัตนชัย มานะบุตร. อุทกภัย. กรุงเทพฯ: นาคร, 2545. ‘รูญ ระโนด. วัยวันที่ผ่านเลย. สงขลา: ประภาคาร, 2546. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545. ลาว คําหอม. ฟ้าบ่กั้น. กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2522. ลาวั ณ ย์ สั ง ขพั น ธานนท์ . ภาพสะท้ อ นสั ง คมไทยจากเรื่ อ งสั้ น ร่ ว มสมั ย. วิ ท ยานิ พ นธ์ มหาบั ณ ฑิ ต สาขาภาษาไทย คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ พิษณุโลก, 2529. เลิศชาย ศิริชัย.(บรรณาธิการ). ความขัดแย้งและความรุนแรง. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริน้ ติ้ง , 2550. วินัย สุกใส. ศึกษาลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาใน วรรณกรรมภาคใต้ในยุคการพิมพ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2545. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๘


วิวัฒนชัย อัตถากร. บทบาทของการลงทุนของญี่ปนุ่ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์, 2518. ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ. เล่าขานตํานานใต้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้. โลกทรรศน์ไทยภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, 2521. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร. วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร, 2547. สงบ ส่งเมือง. การพัฒนาหัวเมืองสงขลาในสมัยกรุงธนบุรแี ละสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2300-2444). สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2528. สนัน่ ชูสกุล. ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง. สุรนิ ทร์: อิงฟ้า, 2541. สมคิด ทองสง. เอกสารกลุ่มโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาระบบการดูแลรักษาสุขภาพของ ชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา”. เสนอต่อสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สาขาภาคใต้. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชีย ตะวันออกศึกษาฯ และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547. สมพร มันตะสูตร. วรรณกรรมสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2524. สรัสวดี อ๋องสกุล. วัฒนธรรมและการเมืองล้านนา. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี,่ 2539. ส้วง บัวทอง. สัมภาษณ์, 9 สิงหาคม 2547. สายพิณ ปฐมาบรรณ. ดงคนดี: ชัยชนะของชนบทในโฆษณา. ไรเตอร์ (กรกฏาคม 2542): 65-67. สุชาติ สวัสดิ์ศรี. บทบรรณาธิการ. โลกหนังสือ (ตุลาคม 2523): 4. สุชาติ สวัสดิ์ศรี. บทบรรณาธิการ. โลกหนังสือ (พฤษภาคม 2523): 5. สุชาติ สวัสดิ์ศรี. บทบรรณาธิการ. โลกหนังสือ (กุมภาพันธ์ 2524): 5. สุชาติ สวัสดิ์ศรี. วรรณกรรมคือการสร้างให้มชี ีวิต. โลกหนังสือ (กันยายน 2524): 5. สุชาติ สําราญ, นี่หรือรางวัล ใน มัดมือชก, ยะลา: เสริมการพิมพ์, 2518. สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลากับต่างเมืองที่ส่งผลต่อผู้คน และวัฒนธรรมในท้องถิ่น. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2535. สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนการสนับสนุนการวิจัย, 2544. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๒๙


สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. และคณะ. จีนทักษิณ: วิถีและพลัง. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนการ สนับสนุนการวิจัย, 2544. สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรี อยุธยา. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2523. สุพรรณี วราทร. ประวัติการประพันธ์นวนิยายไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2519. สุมาลี วีระวงศ์. ร้อยแก้วแนวใหม่ของไทย พ.ศ.2417-2453. กรุงเทพฯ: สมาคมภาษาและ หนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2547. สุรเดช โชติอุดมพันธ์. วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์ ในงานวรรณคดีศึกษาในบริบทสังคมและ วัฒนธรรม 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 24 พฤศจิกายน 2548. สุรพงษ์ จันทร์เกษมพงษ์. หนังสือวัดเกาะ:การสืบทอดและปรับเปลี่ยนทัศนคติและ ค่านิยมในสังคมไทย พ.ศ.2465-2475. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. “ยวนสีคิ้ว” ในชุมทางชาติพันธุ์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2542. เสถียร จันทิมาธร. คนอ่านหนังสือ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2525. เสถียร จันทิมาธร. ไปเหนือก้อนเมฆ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2525. โสภาค สุวรรณ. ปุลากง. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2532. หลุยส์ อัลธูแซร์ . อุดมการณ์และกลไกของรัฐทางอุดมการณ์. แปลโดย กาญจนา แก้วเทพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529. อิศรา อมันตกุล. เหตุเกิดบนแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2518. อิศรา อมันตกุล. เพลงแห่งอิสรภาพ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2518. อัตถากร บํารุง. ฝั่งฝันแห่งความรัก. สงขลา: ประภาคาร, 2534. อัตถากร บํารุง. พันธุ์พื้นเมือง. กรุงเทพฯ: นาคร, 2541. อัตถากร บํารุง. สัมภาษณ์, วันที่ 20 มกราคม 2551. อัตถากร บํารุง. สัมภาษณ์, วันที่ 28 กรกฎาคม 2549. อัศศิริ ธรรมโชติ. บทสัมภาษณ์ ใน นิตยสารสู่อนาคต 1(13-19 กันยายน 2524): 27. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: สํานักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2546. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๓๐


อรัญ คงนวลใย. การศึกษาโลกทรรศน์ที่ปรากฏในเรื่องสัน้ ของนักเขียนชาวใต้ที่ได้รับ รางวัลเรื่องสั้นดีเด่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, 2537. อาคม เดชทองคํา. หัวเชือกวัวชน. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั , 2543. อานันท์ กาญจนพันธุ.์ การต่อสู้เพื่อความเป็นคนของคนชายขอบในสังคมไทย. ใน อยู่ชาย ขอบมองลอดความรู.้ กรุงเทพฯ: มติชน 2549. เอกวิทย์ ณ ถลาง. ภูมิปญ ั ญาชาวบ้านสีภ่ าค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรูข้ อง ชาวบ้านไทย. นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540. เอนก นาวิกมูล. ตํานานห้างร้านสยาม. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ, 2539. เอนก นาวิกมูล. เที่ยวชมหนังสือเก่า. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2541. ฮันส์ ลูเธอร์. การพัฒนาที่ลม้ เหลว: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบนั . ใน ตีรณ โง้วศิรมิ ณี, (บรรณาธิการ), เศรษฐกิจไทย การเปลีย่ นแปลงและการ พัฒนา. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2525. ภาษาอังกฤษ Bendedict, Anderson. Studies of Thai State: The State of Thai Studies. In Eliezer B.Ayal (ed.) The Studies of Thailand. Athen, Ohio: Center for International Studies, 1978, pp.193-233. Bill Ashcroft, Gareth Griffiths, and Helen Tiffin. The Empire Writes Back. New York: Routledge, 1989. Bill Ashcroft, Gareth Griffiths, and Helen Tiffin. Key Concepts in Post-Colonial Studies. Newyork: Routledge, 1998. Boonkhachorn, Trisilpa. The Development and Trends of Literary Studies in Thailand. Journal of Thai-Tai Studies 2(July-September, 2006). Charoensin-o-larn, Chairat. Understanding Postwar Reformism in Thailand. Bangkok: Duang Kamol, 1988. Hobsbawm, Eric. “Introduction: Inventing Tradition,” in Eric Hobsbawm and Terence Ranger, The Invention of tradition, (New York: Cambridge University Press, 1983 Hobsbawm, Eric. Culture and Imperialism. New York: Random House, 1993. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๓๑


Fieldhouse, David K. “Colonialism” Encyclopedia Americana : Volume 7 “Civilization to Colonialism”. Oxford University: 1992. Frantz Fanon. Blackskin, White Masks. New York: Grove Press, 1967. Femia, Joseph V. Gramsci’ s Political Thought: Hegemony, Consciousness and the Revolutionary Process. Oxford: Clarendon Press, 1987. Newton, K.M. Twenty-Century Literary Theory: A Reader. Hong Kong: Macmillan Press, 1988. Moore-Gilbert, Bart. Postcolonial Theory. New York: Verso,1997. Nartsupa, Chatthip. Background and Essence of the Community Culture School of Thought. Journal of Thai-Tai Studies 2(July-December 2006). Poole, Ross. Nation and Identity. London: Routledge, 1999. Said, Edward W. Orientalism. New York: Random House, 1978. Smith, Anthony. Nationalism and Modernism. Landon and New York: Routledge, 1998. Weedon, Chris. Identity and Culture of Difference and Belonging. New York: Open University Press, 2004. .........................................................................

วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๓๒


ระเบียบการเสนอบทความเพือ่ ตีพิมพ์ในวารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ - เป็นบทความทางด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ซึ่งยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มา ก่อน เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยระบบไมโครซอฟเวิร์ด (Microsoft Word) บนกระดาษขนาด A4 แบบหน้าเดียว เว้นช่วง 1 บรรทัด (single-spacing) ความยาวประมาณ 15-30 หน้ากระดาษ - มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบบทความ สําหรับบทคัดย่อนอกจากจะ ตีพิมพ์ในวารสารไทยคดีศึกษาแล้ว กองบรรณาธิการจะเผยแพร่ทางโฮมเพจของศูนย์ วรรณคดีศึกษาด้วย - การอ้างอิงใช้ระบบนาม-ปี (ชื่อ-สกุลผู้แต่ง ปีที่พมิ พ์: หน้า) เช่น (เสาวณิต จุลวงศ์ 2550 : 22-52) หรือ (Nagel 2003) และมีบรรณานุกรมเรียงตามลําดับอักษรชื่อสกุล และปีที่พิมพ์ - แนบประวัติผู้เขียน ระบุชี่อ-สกุล (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ตําแหน่ง หน่วยงาน ความชํานาญ/ความสนใจทางวิชาการ ทีม่ าของบทความ ฯลฯ ความยาวประมาณ 5-15 บรรทัด รวมทั้งระบุสถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร/email เพื่อการติดต่อ กลับ - ส่งต้นฉบับล่วงหน้า 2 เดือนก่อนถึงกําหนดออกวารสาร ประกอบด้วยต้นฉบับพิมพ์ 1 ชุด และแผ่นดิสเกตต์ (PC Format) กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนต้นฉบับ พิมพ์และดิสเกตต์ - ส่งต้นฉบับที่ :- ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กทม. 10330 - ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทัง้ นี้กองบรรณาธิการอาจ ขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขบทความก่อนการตีพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิคส์ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

หน้า ๓๓


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.