ผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนที่มีต่อการส่งออกและสวัสดิการของประเทศอาเซียน

Page 1

ผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอ การสงออก และสวัสดิการของประเทศอาเซียน

โดย ภัควรัทย เลิศวิริยะนุกุล

วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2551


ผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออก และสวัสดิการของประเทศอาเซียน

The Impacts of the ASEAN Free Trade Area on Export and Welfare of the ASEAN Countries

โดย

ภัควรัทย เลิศวิริยะนุกุล Miss Phakwarat Lertviriyanukul

วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2551



บทคัดยอ การศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออก และ สวัสดิการของประเทศอาเซียน มีวัตถุประสงคหลักที่จะศึกษาถึง 1) ผลกระทบของการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออกภายในกลุมอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอก กลุม ของประเทศอาเซียนที่สําคัญ ไดแก ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศ ฟลิปปนส และประเทศสิงคโปร โดยใชขอมูลอนุกรมภาคตัดขวาง (Panel Data) ตั้งแตป ค.ศ. 1980-2006 และอาศัยแบบจําลอง Gravity ในการวิเคราะห ดวยวิธีการประมาณคาแบบ OLS (Ordinary Least Squares) หลังจากนั้นจึงทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออก ระหวางกอน และหลังการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test และ 2) วิเคราะหผลกระทบของการ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการของผูบริโภคในระดับอุตสาหกรรม โดยการคํานวณหามูลคาสวนเกินของผูบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใตแนวคิดการหาสวนเกินของ ผูบริโภคแบบ Hicks จากนั้นทําการวิเคราะหโดยเปรียบเทียบผลที่ไดจากการคํานวณดังกลาววาใน แตละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการอยางไร โดยทําการศึกษาเฉพาะกลุมสินคา Fast Track ที่ไทยเสนอ ทั้งหมด 3 รายการ ที่จําแนกตามรหัส SITC ในระดับ 3 หลัก ซึ่งประกอบดวย SITC 251 : PULP AND WASTE PAPER (เยื่อกระดาษ) SITC 661 : LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL (ปูนซีเมนต) และ SITC 821 : FURNITURE, CUSHIONS, ETC. (เฟอรนิเจอรไมและหวาย) โดยใช ขอมูลอนุกรมเวลา (Time-Series Data) ในชวงป ค.ศ. 1988-2006 จากการศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออกภายใน กลุมอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมของประเทศอาเซียนที่สําคัญ พบวา ไมวา จะเปนการประมาณคาแบบ OLS (Ordinary Least Squares) หรือแยกการทดสอบความแตกตาง ในชวงกอนและหลังการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test พบวา ใหผลการศึกษาที่ คลาย ๆ กัน คือ การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคากันภายในกลุม AFTA มาก ขึ้น กลาวคือ มีการสงออกมากขึ้น (Export Increased) แตผลการศึกษาการคาภายนอกกลุม พบวา ไมมีผลที่ชัดเจน กลาวคือ ไมสามารถสรุปไดวา การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมี มูลคาการคากันกับภายนอกกลุม AFTA มากขึ้น และ/หรือ นอยลง

(1)


สวนในชวงป ค.ศ. 1997-1998 ที่เกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศในแถบ เอเชีย ได รับ ผลกระทบเหมื อ นกัน ทุก ประเทศ ดั ง นั้น จึ ง ไม ส ามารถสรุป ได วา วิ ก ฤตการณ ท าง เศรษฐกิจ มีผลกระทบทางการสงออกของประเทศในกลุมอาเซียน ไมวาจะเปนการสงออกไปยัง ประเทศในกลุม และนอกกลุม สวนผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการ ของผูบริโภคในระดับอุตสาหกรรมสินคาที่ศึกษา 3 สินคา พบวา ประเทศมาเลเซีย เปนประเทศที่มี มูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมสูงสุด โดยมีมูลคาคิดเปน 9.97 เหรียญสหรัฐตอคน รองลงมาคือ ประเทศไทย มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมคิดเปน 6.60 เหรียญสหรัฐตอคน สวนประเทศ อินโดนีเซีย และฟลิปปนส เปนประเทศที่มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมลดลง โดยมีมูลคาสวัสดิการ ลดลงคิดเปน 1.92 และ 1.58 เหรียญสหรัฐตอคน ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาเปนรายกลุมสินคาที่ทําการศึกษาแลวพบวา กลุมสินคาในหมวด SITC 821 (เฟอรนิเจอรไม และเฟอรนิเจอรหวาย) เปนกลุมสินคาที่ไดรับผลประโยชนมากที่สุด โดย มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมสูงที่สุด เนื่องจากเปนกลุมสินคาที่มีการลดอัตราภาษีมากที่สุด โดยมี เพียงประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยเทานั้น ที่มีสวัสดิการที่ดีขึ้น สวนกลุมสินคาในหมวด SITC 251 (เยื่อกระดาษ) มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงสองประเทศเชนกัน คือ ประเทศ อินโดนีเซีย และประเทศไทย สวนประเทศมาเลเซีย และประเทศฟลิปปนส มีสวัสดิการที่แยลง เล็กนอย เนื่องจากอัตราภาษีระหวางกอนและหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน มีคา ที่ แตกตางกันไมมากนัก สวนกลุมสินคาในหมวด SITC 661 (ปูนซีเมนต) มีมูลคาสวัสดิการสุทธิ โดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงสองประเทศเชนกัน คือ ประเทศไทย และประเทศฟลิปปนส สวนประเทศ มาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย มีสวัสดิการที่แยลง เปนกลุมประเทศไมไดรับผลประโยชน

(2)


กิตติกรรมประกาศ การจัดทําวิทยานิพนธฉบับนี้สําเร็จเรียบรอยไดดวยความรูที่ไดรับการประสิทธิ์ประสาท จากคณาจารยคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร รวมถึงการไดรับคําแนะนําดี ๆ การ สนับสนุน และกําลังใจจากบุคคลตาง ๆ ซึ่งผูเขียนจะขอกลาวไว ณ ที่นี้ เพื่อเปนการระลึกถึงดวย ความขอบคุณ เริ่มแรกขอขอบพระคุณอยางยิ่งสําหรับ รศ.ดร. ธรรมวิทย เทอดอุดมธรรม ที่ไดกรุณา สละเวลาอันมีคาในการรับเปนอาจารยที่ปรึกษา โดยคอยใหคําปรึกษาที่ดี คําแนะนําที่มีประโยชน ตอการจัดทําวิทยานิพนธฉบับนี้ รวมถึงขอขอบพระคุณ ศ.ดร. พรายพล คุมทรัพย และ ผศ.ดร. จักร พงศ อุชุปาละนันท ที่ไดกรุณาสละเวลาอันมีคาในการใหคําแนะนําที่ดี ขอเสนอแนะที่เปนประโยชน และ ตรวจสอบแกไขปรับปรุง จนวิทยานิพนธฉบับนี้มีความถูกตองและสมบูรณมากขึ้น ขอขอบคุ ณ เจา หนา ที่ หองสมุด เจาหนา ที่ห องคอมพิวเตอร เจา หนา ที่ประจําคณะ เศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร และบุคคลในหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของในการจัดทํา วิทยานิพนธฉบับนี้ ที่ไดอํานวยความสะดวกในการติดตอ และคนหาขอมูล ขอขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ นอง ๆ ปริญญาโททุกคน โดยเฉพาะ พี่หมู, พี่แจง, มารค และ นองฝน ที่คอยใหความชวยเหลือ และเปนกําลังใจที่ดีมาโดยตลอด และขอขอบคุณบุคคลที่ไมได เอยนามไว ณ ที่นี้ดวย ทา ยที่ สุ ดนี้ ขอขอบพระคุ ณ สมาชิก ในครอบครัว คุ ณ พอ คุ ณแม และพี่ ๆ ที่ ให ก าร สนับสนุนทางการศึกษา และคอยเปนกําลังใจที่ดีตลอดมา และคุณประโยชนที่เกิดจากวิทยานิพนธ ฉบั บ นี้ หากจะพอมี บ า ง ขอมอบให แ ก คุ ณ พ อ คุ ณ แม คณาจารย ค ณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร และผูมีพระคุณทั้งหลาย ซึ่งหากมีขอผิดพลาดประการใด ผูเขียนขอนอม รับไวแตเพียงผูเดียว และขออภัยมา ณ ที่นี้ดวย

ภัควรัทย เลิศวิริยะนุกุล พ.ศ. 2551

(3)


สารบาญ

บทคัดย่อ.............................................................................................................

หน้ า (1)

กิตติกรรมประกาศ................................................................................................

(3)

สารบาญ..............................................................................................................

(4)

สารบาญตาราง.....................................................................................................

(6)

สารบาญภาพประกอบ..........................................................................................

(8)

บทที 1 บทนํา............................................................................................................ 1.1 ทีมาและความสําคัญของปั ญหา…………………………………………. 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา…………………………………………......... 1.3 ขอบเขตของการศึกษา……………………………………………………. 1.4 วิธีการศึกษา………………………….…………………………………... 1.5 ประโยชน์ทีคาดว่าจะได้ รับ…………………………………………..........

1 1 5 5 5 5

2 งานวิจยั ทีเกียวข้ อง……………………………………………………………....... 2.1 การศึกษาทีเกียวกับผลกระทบทางด้ าน Trade Creation และ Trade Diversion จากการจัดตังกลุ ้ ม่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ................ 2.2 การศึกษาเกียวกับแนวคิดของแบบจําลอง Gravity................................. 2.3 ข้ อสรุป...............................................................................................

6 16 20

3 แนวคิดและทฤษฎีทีเกียวข้ อง........................................................................... 3.1 แนวคิดของการสร้ างเสริมการค้ าจากการรวมกลุม่ ทางเศรษฐกิจ.............

21 21

(4)

6


3.2 แนวคิดในการวัดสวัสดิการทางเศรษฐกิจ..............................................

28

4 อาเซียน และเขตการค้ าเสรี อาเซียน................................................................... 4.1 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน...................................................... 4.2 เขตการค้ าเสรี อาเซียน........................................................................ 4.3 สถานการณ์การค้ าระหว่างประเทศของอาเซียน................................... 4.4 การค้ าระหว่างอาเซียน-ไทย................................................................ 4.5 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย…………………………………………. 4.6 ผลกระทบจากการจัดตังเขตการค้ ้ าเสรี อาเซียนต่ออุตสาหกรรมทีทําการศึกษา..

33 33 37 57 69 70 71

5 การศึกษาผลกระทบของการจัดตังเขตการค้ ้ าเสรี อาเซียน (AFTA) ทีมีตอ่ การส่งออกของประเทศอาเซียน............................................................................... 5.1 แบบจําลองทีใช้ ในการศึกษา............................................................... 5.2 ผลการศึกษา.................................................................................... . 5.3 ข้ อสรุป............................................................................................ ..

78 78 85 96

6 การศึกษาผลกระทบของการจัดตังเขตการค้ ้ าเสรี อาเซียน (AFTA) ทีมีตอ่ สวัสดิการของประเทศอาเซียน................................................................................ 6.1 แบบจําลองทีใช้ ในการศึกษา............................................................. 6.2 ผลการศึกษาสวัสดิการสุทธิ (Net Welfare effect)……………………. 6.3 ข้ อสรุป............................................................................................

97 97 102 121

7 ข้ อสรุป และข้ อจํากัดและข้ อเสนอแนะของการศึกษา…………………………… 7.1 สรุป................................................................................................ 7.2 ข้ อจํากัดของการศึกษา และข้ อเสนอแนะ...........................................

122 122 123

ภาคผนวก.........................................................................................................

124

บรรณานุกรม………………………………………………………………………….

160

(5)


สารบาญตาราง ตารางที่ หน้ า 1.1 แสดงมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดในกลุม่ อาเซียน 5 ประเทศ (Intra-ASEAN Export)…………………………………………………………... 3 4.1 แสดงการเปรี ยบเทียบอัตราภาษีศลุ กากรสินค้ านําเข้ าของกลุม่ ประเทศอาเซียน... 44 4.2 General Formula of Fast Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates Above 20%)……………………………………………………… 47 4.3 General Formula of Fast Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates 20% and Below)………………………………………………… 48 4.4 General Formula of Normal Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates Above 20%)……………………………………………………… 49 4.5 General Formula of Normal Track Tariff Reduction Program (For Products with Tariff Rate 20% and Below).......................................... 50 4.6 กําหนดการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ.......................... 51 4.7 กําหนดการลดภาษีในบัญชีตา่ ง ๆ ของ AFTA.................................................. 51 4.8 สถิตกิ ารออกหนังสือรับรองแหล่งกําเนิดสินค้ าแบบฟอร์ ม D (Form D) ของไทย.. 53 4.9 ร่างแผนการลดภาษี สนิ ค้ าปี 2545 (Tentative 2002 CEPT Package).………… 55 4.10 มูลค่าการค้ าภายในอาเซียนทางด้ านการส่งออกเป็ นรายประเทศ (Intra-ASEAN Export by Country, 1993-2005)……………………………….. 58 4.11 มูลค่าการค้ าภายในอาเซียนทางด้ านการนําเข้ าเป็ นรายประเทศ (Intra-ASEAN Import by Country, 1993-2005)............................................. 59 4.12 มูลค่าการค้ าระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศนอกกลุม่ ทางด้ านการส่งออก เป็ นรายประเทศ (Extra-ASEAN Export by Country, 1993-2005)……………. 61 4.13 มูลค่าการค้ าระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศนอกกลุม่ ทางด้ านการนําเข้ า เป็ นรายประเทศ (Extra-ASEAN Import by Country, 1993-2005)................... 62 4.14 ตลาดนําเข้ าและส่งออกที่สาํ คัญ 10 อันดับของประเทศอาเซียน 6 ในปี 1993 – 2005 (ASEAN 6 Import and Export by Country of Destination, 1993-2005)......... 64 4.15 ASEAN Ten Major Exports Markets in 2004-2005…………………………… 67 (6)


4.16 ASEAN Ten Major Imports Origins in 2004-2005……………………………. 68 5.1 สรุปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอธิบายที่คาดการณ์ไว้ .............. 80 6.1 แสดงค่าประมาณความยืดหยุน่ ของอุปสงค์สนิ ค้ านําเข้ าต่อราคาและ ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์สนิ ค้ านําเข้ าต่อรายได้ ................................................. 103 6.2 แสดงมูลค่า CVTC, CVTD และ NWE ของกลุม่ สินค้ าต่าง ๆ ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน....................................................................... 105 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7

มูลค่าการส่งออกสินค้ าเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ………….... มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ……………. มูลค่าการส่งออกสินค้ าปูนซีเมนต์ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ.................... มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าปูนซีเมนต์ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ…………….... มูลค่าการส่งออกสินค้ าเฟอร์ นิเจอร์ ไม้ และเฟอร์ นิเจอร์ หวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ………………………………………………… 6.8 มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าเฟอร์ นิเจอร์ ไม้ และเฟอร์ นิเจอร์ หวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ…………………………………………………

(7)

109 110 113 114 117 118


สารบาญภาพประกอบ ภาพที 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6.1 3.6.2 4.1 4.2 4.3 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6

สหภาพศุลกากรทีก่อให้ เกิดผลในการสร้ างเสริมการค้ า.................................... สหภาพศุลกากรทีก่อให้ เกิดผลในการเปลียนวิถีการค้ า..................................... ผลกระทบของการจัดตังสหภาพศุ ้ ลกากร……………………………………….. เส้ นอุปสงค์ตอ่ ราคาและอุปสงค์เพือการทดแทน………………………………... อุปสงค์ตอ่ สินค้ า X1…………………………………………………………….... Compensating Variation………………………………………………………. Equivalent Variation……………………………………………………………. ขันตอนการลดภาษี ้ ของกลุม่ สินค้ าทีจะเร่งลดภายใต้ AFTA…………………….. ขันตอนการลดภาษี ้ ภายใต้ AFTA (NORMAL TRACK)……………………….... เปรี ยบเทียบขันตอนการลดภาษี ้ ของ FAST TRACK และ NORMAL TRACK….. Hicksian Compensated Import Demand Curve……………………………... มูลค่าการส่งออกสินค้ าเยือกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ............... มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าเยือกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ................ มูลค่าการส่งออกสินค้ าปูนซีเมนต์ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ.................. มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าปูนซีเมนต์ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ................... มูลค่าการส่งออกสินค้ าเฟอร์ นิเจอร์ ไม้ และเฟอร์ นิเจอร์ หวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ................................................................... 6.7 มูลค่าการนําเข้ าสินค้ าเฟอร์ นิเจอร์ ไม้ และเฟอร์ นิเจอร์ หวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ...................................................................

(8)

หน้ า 22 24 27 29 30 31 31 40 42 43 99 111 112 115 116 119 120


บทที่ 1 บทนํา 1.1 ที่มาและความสําคัญของปญหา กลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN) เปนกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ ที่จัดตั้งขึ้นระหวางประเทศตาง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งเปนกลุมที่มีการพัฒนา อยางตอเนื่องทั้งทางดานขนาดและความลึกของความรวมมือ จนสามารถพัฒนาเปนเขตการคาเสรี ในปจจุบัน โดยเขตการคาเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)1 เริ่มตนจาก แนวความคิดของ นายอานันท ปนยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่เล็งเห็นความสําคัญและ ความจํ า เป น ในการกระชั บ ความสั ม พั น ธ ท างเศรษฐกิ จ กั บ ประเทศภาคี อ าเซี ย น จึ ง ได เ สนอ แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนขึ้นตอที่ประชุมสุดยอดครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร ภายหลังจากการประชุมสิ้นสุดลง ประเทศภาคีอาเซียน 6 ประเทศเดิม2 ไดมีการลงนามตาม ข อ ตกลงว า ด ว ยการใช อั ต ราภาษี ศุ ล กากรพิ เ ศษที่ เ ท า เที ย มกั น สํ า หรั บ เขตการค า เสรี อ าเซี ย น (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff for the AFTA หรือ CEPT Agreement) เพื่อใหการคาภายในอาเซียนเปนไปโดยเสรี มีอัตราภาษีศุลกากรระหวางกันต่ําที่สุด และปราศจากขอจํากั ดที่มิใชภาษีศุลกากร และเพื่อดึ งดูด การลงทุนจากตางประเทศใหเ ขา สู ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะทําใหการคาภายในกลุมอาเซียนเพิ่มขึ้น ขอตกลง CEPT เปนกลไกสําคัญให ประเทศสมาชิกดําเนินการใหบรรลุวัตถุประสงครวมกัน ภายในกําหนดระยะเวลา 15 ป โดยเริ่ม ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ตอมาในป พ.ศ. 2537 ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers : AEM) ครั้งที่ 26 ณ จังหวัดเชียงใหม ไดมีผลสรุปทางดานการปรับปรุงระยะเวลาในการ ดําเนินการตามขอตกลงวาดวยการใชอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เทาเทียมกัน โดยใหลดระยะเวลา ของการดําเนินการตามขอตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เทากันของประเทศสมาชิก AFTA จาก 15 ป หรือ 10 ป หรือใหเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เพื่อใหระยะเวลาในการปฏิบัติตาม 1 2

แหลงที่มา http://www.moc.go.th/thai/dbe/ecoco/asean_afta.html สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ไดแก อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร บรูไน และไทย

(1)


2 ขอตกลงCEPTของประเทศสมาชิก AFTA บรรลุเปาหมายกอนขอตกลงทั่วไปวาดวยภาษีศุลกากร และการคา (GATT) โดยลดลงใหเหลือ 0-5% ภายในเวลา 10 ป และยกเลิกมาตรการจํากัด ปริมาณการคา และจะลดใหเปน 0% ภายในป 2553 สําหรับประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ สวน ประเทศสมาชิกใหม จะพยายามลดภาษีลงเหลื อ 0-5% ใหมากที่ สุดเท าที่ จะทํ า ได ในป 2549 สําหรับเวียดนาม, ในป 2551 สําหรับลาวและพมา และป 2553 สําหรับกัมพูชา ซึ่งผลจากการขจัด อุปสรรคทางการคาระหวางประเทศสมาชิกภายในกลุมดังกลาว ทําใหมีการขยายตัวของปริมาณ การคาระหวางประเทศสมาชิกภายในกลุมอยางตอเนื่อง การรวมกลุมทางเศรษฐกิจถึงแมวาจะกอใหเกิดประโยชนในหลายดาน คือ นอกจากจะ ชวยดึงดูดการคาและการลงทุนจากตางประเทศ ชวยเพิ่มอํานาจตอรองของประเทศสมาชิกภายใน กลุมในเวทีการคาโลกแลว แตในขณะเดียวกันก็กอใหเกิดผลกระทบดานลบเชนกันตอประเทศ สมาชิกภายในกลุม ตามแนวความคิดของ Jacob Viner 3 ไดกลาวถึงทฤษฎีการสรางเสริมการคา และการเปลี่ยนวิถีการคา4 (Trade Creation and Trade Diversion : TC and TD) ไววา การสราง เสริมการคา หมายถึง การที่ประเทศสมาชิกของกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง นําเขา สินคาจากประเทศสมาชิกอื่นซึ่งมีตนทุนการผลิตที่ต่ํากวา เพื่อทดแทนการผลิตสินคาชนิดนั้นใน ประเทศของตนที่มีตนทุนการผลิตที่สูงกวา และการเปลี่ยนวิถีการคา หมายถึง การที่ประเทศ สมาชิกประเทศหนึ่งนําเขาสินคาจากประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งซึ่งมีตนทุนการผลิตที่สูงกวา แทนที่จะนําเขาสินคาชนิดเดียวกันนี้จากประเทศนอกกลุมซึ่งสามารถผลิตดวยตนทุนการผลิตที่ต่ํา กวา ดังนั้นในการรวมกลุมทางเศรษฐกิจจึงอาจไมนํามาซึ่งประโยชนที่แทจริงกับประเทศสมาชิกก็ ได จะตองพิจารณาวาโดยแทจริงแลวในการรวมกลุมนั้นกอใหเกิดสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นแกประเทศ สมาชิกภายในกลุมหรือไม โดยจะตองพิจารณาถึงผลสุทธิระหวางการสรางเสริมการคาและการ เปลี่ยนวิถีการคาวา โดยสุทธิแลวผลทางใด มีขนาดใหญกวา ถาผลทางการสรางเสริมการคามี มากกวา ก็อาจกลาวไดวา การรวมกลุมทางเศรษฐกิจนั้นนํามาซึ่ง สวัสดิการที่เพิ่มขึ้นแกประเทศ สมาชิกภายในกลุม แตถาผลทางการเปลี่ยนวิถีการคามีมากกวา ก็อาจกลาวไดวา การรวมกลุมนั้น นํามาซึ่งสวัสดิการที่ลดลงแกประเทศสมาชิกภายในกลุม การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) นับตั้งแตป 1993 เปนตนมา มีขอตกลง รวมกันในหลักการการลดภาษีศุลกากรระหวางประเทศสมาชิกลงใหเหลือรอยละ 0-5 ภายในเวลา 3

Jacob Viner(1950). ”The Custom Union Issue”. Carnegie Endowment for International

Peace :41-55 4

อางอิงมาจาก ศัพทเศรษฐศาสตร อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546)


3 10 ป และยกเลิกมาตรการจํากัดปริมาณการคา ซึ่งผลจากการขจัดอุปสรรคทางการคาระหวาง ประเทศสมาชิกภายในกลุมดังกลาว ทําใหมีการขยายตัวของอัตราการคาระหวางประเทศสมาชิก ภายในกลุมอยางตอเนื่อง ตารางที่ 1.1 แสดงมูลคาการสงออกไปยังตลาดในกลุม อาเซียน 5 ประเทศ (Intra-ASEAN Export) หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ ไทย รวม ป / ประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร 1989 2,455 6,411 543 9,789 2,349 21,547 1990 2,556 8,664 596 11,796 2,752 26,364 1991 3,350 10,131 637 14,009 3,475 31,602 1992 4,563 12,163 552 14,264 4,391 35,933 1993 4,997 12,987 795 18,406 6,008 43,194 1994 5,867 15,257 1,426 27,562 7,991 58,103 1995 6,476 18,436 2,358 31,771 10,610 69,649 1996 8,310 22,694 2,970 34,441 12,111 80,527 1997 8,851 23,249 3,436 35,794 13,526 84,855 1998 9,347 21,611 3,821 25,998 8,315 69,092 1999 8,278 21,885 4,989 29,269 9,902 74,324 2000 10,884 24,409 5,983 37,784 15,100 94,159 2001 9,507 21,024 4,986 32,815 14,357 82,689 2002 9,934 22,127 5,530 33,963 13,156 84,710 2003 10,725 26,036 6,582 51,778 16,583 111,704 2004 12,994 31,737 6,838 62,494 21,170 135,233 2005 15,824 36,634 7,150 71,976 23,867 155,451 ที่มา : ASEAN Trade Data (http://2002.154.12.3/trade/) จากตารางที่ 1.1 ไดแสดงตัวเลขมูลคาการสงออกโดยที่ประเทศสมาชิกแตละประเทศ ภายในกลุมมีมูลคาการสงออกไปยังประเทศสมาชิกภายในกลุมอาเซียนเพิ่มมากขึ้นอยางตอเนื่อง และแสดงใหเห็นถึงแนวโนมทางบวกของการสงออกไปยังประเทศตาง ๆ ภายในกลุมอาเซียน และ


4 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมของการสงออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Intra-ASEAN Export) แลว พบวามูลคาการคาภายในกลุมอาเซียน ในป ค.ศ. 1989 ซึ่งเปนชวงกอนที่มีการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียน คิดเปน 21,547 ลานเหรียญสหรัฐ เทียบกับมูลคาการสงออกในชวงหลังจากมี การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนในปค.ศ. 1993 และ 2005 คิดเปน 43,194 และ 155,451 ลาน เหรียญสหรัฐ ตามลําดับ โดยมีอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับป 1989 เพิ่มขึ้นประมาณ 2 และ 6 เทา ตามลําดับ ซึ่งแสดงใหเห็นถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนในการเพิ่มปริมาณ การคาระหวางประเทศสมาชิกภายในภูมิภาคอาเซียน จากขอมูลตัวเลขมูลคาการคาภายในภูมิภาคขางตน ชวยสะทอนใหเห็นถึงปริมาณ การคา (การสงออก) ที่เพิ่มสูงขึ้นระหวางประเทศสมาชิกตาง ๆ ภายในกลุมอาเซียน สวนหนึ่งเปน ผลมาจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ซึ่งกอใหเกิดการลดอุปสรรคระหวางกันของประเทศ สมาชิกภายในกลุม และในทางตรงขามก็อาจจะเปนการลดปริมาณการคากับประเทศภายนอก กลุม โดยปริมาณการคาที่เพิ่มมากขึ้นดังกลาวนั้น อาจเปนผลมาจากทั้งผลทางดานการสรางเสริม การคาหรือการเปลี่ยนวิถีการคาก็ได ดั้งนั้นจึงเปนสิ่งที่นาสนใจในการศึกษาวา โดยภาพรวมนั้น เขตการคาเสรีอาเซียนกอใหเกิดผลกระทบทางดานการคาที่มีตอการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุม อยางไร และประเทศสมาชิกใดที่ไดรับประโยชนสูงสุดจากการ จั ด ตั้ ง เขตการค า เสรี อ าเซี ย น และก อ ให เ กิ ด ผลกระทบเช น ไรต อ สวั ส ดิ ก ารของผู บ ริ โ ภค ภายในประเทศ


5 1.2 วัตถุประสงคของการศึกษา 1. ศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีตอการสงออกของ ประเทศภายในกลุมอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมของประเทศอาเซียนที่ สําคัญ 2. ศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีตอสวัสดิการสุทธิของ ผูบริโภคของประเทศอาเซียนที่สําคัญ ในระดับกลุมสินคา 1.3 ขอบเขตการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้จะทําการศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนทีม่ ตี อ ประเทศสมาชิกโดยจะแบงการศึกษาออกเปน 2 สวนคือ 1) ศึกษาผลกระทบทางดานการคาที่มีตอ การสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมกอนและหลังการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียน โดยทําการศึกษาเฉพาะประเทศสําคัญในอาเซียน 5 ประเทศ ไดแก อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส สิงคโปรและไทย ในชวงป ค.ศ. 1980-2006 2) ศึกษาผลกระทบที่มีตอ สวัสดิการของผูบริโภคในการบริโภคสินคาในกลุมตาง ๆ ภายหลังจากการจัดตั้งเขตการคาเสรี อาเซียน โดยทําการศึกษาเฉพาะกลุมสินคา Fast Track ที่ไทยเสนอ ทั้งหมด 3 รายการ ที่จําแนก ตามรหัส SITC ในระดับ 3 หลัก ซึ่งประกอบดวย SITC 251 : PULP AND WASTE PAPER (เยื่อ กระดาษ) SITC 661 : LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL (ปูนซีเมนต) และ SITC 821 : FURNITURE, CUSHIONS, ETC. (เฟอรนิเจอรไมและหวาย) 1.4 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. ทราบถึงผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออกของประเทศ สมาชิกภายในกลุมและประเทศนอกกลุม 2. ทราบถึ ง ผลกระทบจากการจั ด ตั้ ง เขตการค า เสรี อ าเซี ย นที่ มี ต อ สวั ส ดิ ก ารที่ เปลี่ยนแปลงไปในกลุมสินคาตาง ๆ ที่ทําการศึกษาของแตละประเทศสมาชิก 3. ทําใหสามารถวิเคราะหไดวาโดยแทจริงแลวการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนนํามาซึ่ง ประโยชนตอประเทศสมาชิกหรือไม และประเทศใดไดประโยชนสูงสุดจากการจัดตั้งเขตการคาเสรี อาเซียน


บทที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวของ 2.1 งานศึกษาที่เกี่ยวของกับผลกระทบทางดานTrade Creation และ Trade Diversion จากการจัดตัง้ กลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจตาง ๆ Karemera and Koo1 ไดทําการศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion จากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอเมริกาและแคนนาดา (U.S. and Canadian Free Trade Agreement) โดยทําการวิเคราะหในระดับอุตสาหกรรม เพื่อที่จะวิเคราะหวา เขตการคาเสรีอเมริกา และแคนนาดา จะกอใหเกิดผลกระทบทางบวก หรือทางลบกับผูประกอบการในอุตสาหกรรม โดย ในการศึกษานี้ไดทําการวิเคราะห Trade Creation และ Trade Diversion โดยใชวิธีการของ Verdoorn มาใชในการวิเคราะห โดยทําการศึกษาอุตสาหกรรมในรหัส SITC ที่ระดับ 3 digit และ ใช Seemingly Unrelated Regression Estimated (SURE) ในการประมาณการเปลี่ยนแปลงใน ความตอ งการสิน คา นํ า เข า ซึ่ ง เกิ ด จากการจั ด ตั้ง เขตการคา เสรีอ เมริก าและแคนนาดา ทํา ให สามารถเขาใจถึงพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบของการนําเขาระหวางประเทศอเมริกาและแคนนาดา ในการศึกษานี้ไดใชขอมูลในป 1970-1987 โดยเลือกอุตสาหกรรมที่มีมูลคาการคา สูงสุดที่คากันระหวางประเทศสมาชิกสูงสุด 10 อันดับแรกของแตละประเทศสมาชิก เขามา พิจารณา โดยนํามาประมาณคาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคา (Import Price Elasticity) คาที่ประมาณไดจะใชบอกวามีการแขงขันในสินคานั้นสูงหรือต่ํา ถาคาความยืดหยุน ดังกลาวมีคามากกวา 1 แสดงวามีการแขงขันสูงในสินคาชนิดนั้น ๆ จากการศึกษาพบวา คาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาสินคานําเขาที่ ประมาณไดของประเทศสหรัฐอเมริกา จะอยูในชวง –0.29 ถึง –0.95 และคาความยืดหยุนของ อุปสงคสินคานําเขาตอราคาสินคาในประเทศ อยูในชวง 0.40 ถึง 1.41 สวนคาความยืดหยุน ของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาสินคานําเขาของประเทศแคนนาดาอยูในชวง –0.05 ถึง –0.30 และคาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาสินคาในประเทศ อยูในชวง 0.17 ถึง 0.72 ซึ่งมี 1

David Karemera and Won W. Koo (1994). “Trade Creation and Diversion Effects of the U.S.-Cannadian Free Trade Agreement”. Contemporary Economic Policy, 12 :12-23

(6)


7

คาต่ํากวาของประเทศสหรัฐอเมริกา จากคาความยืดหยุนที่ไดนี้สะทอนใหเห็นวา ตลาดในประเทศ สหรัฐอเมริกามีการแขงขันมากกวาตลาดในประเทศแคนนาดา และจากการคํานวณผลทางดานการ สรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคาพบวา ทั้ง 2 ประเทศเกิดผลทางดานการสรางเสริมการคา มากกวาผลทางดานการเปลี่ยนวิถีทางการคา Karemera and Ojah2 ไดทําการศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion จากการรวมกลุมทางเศรษฐกิจ NAFTA โดยใชวิธีการเดียวกันกับที่ Karemera ไดเคยทําไวในการหาผลทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion ของเขตการคาเสรี อเมริกาและ แคนนาดา ในการศึกษานี้จะทําการศึกษาโดยใชขอมูลในป 1990-1992 โดยเลือกอุตสาหกรรมที่มี มูลคาการคาสูงสุดที่คากันระหวางประเทศสมาชิกสูงสุด 10 อันดับแรกของแตละประเทศสมาชิกใน NAFTA โดยผลจากการศึกษาผลกระทบทาง Trade Creation และ Trade Diversion พบวาจาก กลุมสินคาที่เลือกมาผลที่เกิดจากการรวมกลุม NAFTA เปนดังนี้ การนําเขาของสหรัฐอเมริกาจาก แคนนาดา และเม็กซิโก เกิดผลโดยรวมทาง Trade Creation มากกวาผลทาง Trade Diversion การนําเขาของแคนนาดาจากสหรัฐอเมริกาเกิดผลโดยรวมทาง Trade Creation มากกวา Trade Diversion และการนําเขาของเม็กซิโกจากสหรัฐอเมริกาเกิดผลโดยรวมทาง Trade Creation มากกวา Trade Diversion ในขณะที่การนําเขาของแคนนาดาจากเม็กซิโก และการนําเขาของ เม็กซิโกจากแคนนาดา ในสินคากลุมที่เลือกมานั้น เกิดผลทาง Trade Diversion มากกวา Trade Creation Sawyer and Spinkle3 ไดทําการศึกษาเปรียบเทียบความแตกตางระหวางวิธีการ ประเมิน Trade Creation และ Trade Diversion ของ Baldwin–Murray และ Verdoorn Model ซึ่ง ในกรณีของ Baldwin–Murray นั้น ถูกวิจารณวา ประเมินคา Trade Diversion ต่ําเกินไป โดยใน กรณีของ Baldwin–Murray จะตั้งสมมติฐานวาสินคาที่คากันเปน Homogeneous Product ภายใตสมมติฐานนี้ เมื่อมีลดภาษีลงปจจัยเพียงปจจัยเดียวที่จํากัดการเปลี่ยนแปลงทางการคา คือ

2

David Karemera and Kalu Ojah (1998). “An Industrial Analysis of Trade Creation and Diversion Effects of NAFTA”. Journal of Economic Integration 13(3), (September) : 400-425. 3 W. Charles Sawyer and Richard L. Spinkle (1989). “Alternative Empirical Estimates of Trade Creation and Trade Diversion : A Comparison of the Baldwin-Murray and Verdoorn Models.” Weltwirtschaftliches Archiv 125(1) : 61-73.


8

Supply Elasticity ถา Supply Elasticity ของประเทศที่ไดรับสิทธิพิเศษทางภาษีมีคามาก (นอย) ก็ จะมีการขยายตัวทางการคามาก (นอย) สวนวิธีการของ Verdoorn นั้นตั้งสมมติฐานวาสินคาที่คากันเปน Differentiated Product และมี Infinity Elasticity Supply of Product จากผูผลิตทั้งหมด ภายใตสมมติฐานนี้ เมื่อ มีการลดภาษีลงปจจัยเพียงปจจัยเดียวที่จํากัดการคาคือ ความสามารถในการทดแทนกันของ สินคาชนิดหนึ่งกับสินคาอีกชนิดหนึ่ง ถาระดับของการทดแทนกันระหวางสินคามีคามาก (นอย) แลวการขยายตัวทางการคาจะมีมาก (นอย) วิธีการศึกษา Trade Creation ในทั้ง 2 Model นั้นมีสมมติฐานเหมือนกัน คือ ความสามารถในการทดแทนกันระหวางการนําเขาจากประเทศที่ไดรับสิทธิพิเศษทางภาษีกับการ ผลิ ต ภายในประเทศ เท า กั บ ความสามารถในการทดแทนการนํ า เข า สิ น ค า นั้ น กั บ การผลิ ต ภายในประเทศ โดยทั้ง 2 Model หา Trade Creation ไดดังนี้ TC = Q1 * εm [δt / 1+t] โดย TC = Trade Creation = การนําเขาสินคา A จากประเทศที่ไดรับสิทธิพิเศษทางภาษี Q1 εm = elasticity for all import demand t = อัตราภาษี สวนการหา Trade Diversion จะแตกตางกันในวิธีการคํานวณ ซึ่งในการหา Trade Diversion ของ Baldwin-Murray TD = TC {Q2/Q3} โดย TD = Trade Diversion = การนําเขาสินคา A จากประเทศที่ไมไดรับสิทธิพเิ ศษทางภาษี Q2 Q3 = การผลิตสินคา A ภายในประเทศ Trade Diversion ของ Baldwin-Murray เปนการถวงน้ําหนัก Trade Creation ดวย สัดสวนของการนําเขาจากประเทศที่ไมไดสิทธิพิเศษทางภาษีตอการผลิตในประเทศ การหา Trade Diversion ตามวิธกี ารของ Verdoorn นั้นหาจาก TD = TC * α1 โดย α1 = สวนแบงของ Q1 จากการนําเขาทัง้ หมด


9

ผลจากการศึกษาโดยเปรียบเทียบวิธีการของ Baldwin-Murray และ Verdoorn ในการ วัด Trade Diversion พบวา มีความแตกตางในการประมาณ Trade Diversion โดยความแตกตาง เกิดจากน้ําหนักที่ใชถวง Trade Creation ซึ่งผลที่ไดชี้ใหเห็นวา วิธีการของ Baldwin-Murray จะ ไมใหการประมาณผลของ Trade Diversion ที่นอยไปเมื่อเทียบกับการใชวิธีการของ Verdoorn ถา มีการใชคา elasticity of substitution ที่เหมาะสม Nicholls4 ทําการวัดมูลคาสวัสดิการที่เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภคอันเปนผลมาจาก การจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ CACM โดยทําการศึกษาในสินคาหมวดตาง ๆ 5 หมวด ตามรหัส SITC 3 digit คือ หมวดอาหาร (099) ปโตรเลียม (332) เครื่องจักร (712) เครื่องหนัง (561) และเครื่องนุงหม (841) เปรียบเทียบกันในประเทศสมาชิกกลุม CACM 5 ประเทศ ไดแก คอสตาริกา เอล ซาวาดอร กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และนิการากัว ในการวัดมูลคาของสวัสดิการที่เปลี่ยนแปลงนั้น ใชแนวคิดการวัดมูลคาการวัดสวัสดิการ โดยการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภค (Consumer Surplus) ภายใตเสนอุปสงคแบบ Hicks โดยมี แนวคิดที่วา การจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจจะกอใหเกิดผลของการเปลี่ยนแปลงทางดาน ราคา อันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีที่เก็บกับประเทศสมาชิกภายในกลุม โดยผลของอัตราภาษีที่ ลดลงจะทําใหระดับราคาสินคานําเขาลดลง ผูบริโภคจะไดรับสวัสดิการจากสวนเกินของผูบริโภคที่ เพิ่มขึ้นที่เรียกวา CVTC แตผลของการรวมกลุมทําใหเกิดการบิดเบือนราคาซึ่งทําใหราคาสินคานําเขา จากประเทศสมาชิกภายในกลุมต่ํากวาประเทศนอกกลุมซึ่งอาจมีตนทุนการผลิตที่ต่ํากวา จึงทําให เกิดการเปลี่ยนวิถีการคากับประเทศนอกกลุม ซึ่งสวนนี้เปนสวัสดิการที่เสียไปของผูบริโภคที่เรียกวา CVTD ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงสวัสดิการที่เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภคในการบริโภคสินคาตาง ๆ จึง ตองทําการเปรียบเทียบขนาดของ CVTC และ CVTD หาก CVTC มีขนาดใหญกวา แสดงวา ผูบริโภค ไดรับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นในการบริโภคสินคานั้น ๆ อันเปนผลมาจากการจัดตั้งกลุมความรวมมือทาง เศรษฐกิจ ผลจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลคาสวัสดิการในอุตสาหกรรมตาง ๆ อันเปนผลมา จากการจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ CACM พบวาในการประมาณมูลคาสวัสดิการสุทธิใน 5 ประเทศที่ทําการศึกษา เกิดผลเสียทางสวัสดิการสุทธิโดยรวมใน 5 สินคา โดยประเทศที่มีการ สูญเสียสวัสดิการสุทธิโดยรวมต่ําสุดคือประเทศ ฮอนดูรัส คิดเปนมูลคาสวัสดิการสุทธิสูญเสียรวม 4

Shelton M.A. Nicholls (1998). “Measuring Trade Creation and Trade Diversion in the Central American Common Market : A Hicksian Alternative”. World Development 26(2), (February) : 323-35.


10

13.8 พันเหรียญสหรัฐ สวนประเทศที่มีการสูญเสียสวัสดิการสุทธิรวมสูงสุดคือ ประเทศเอลซาวาดอร คิดเปนมูลคาสวัสดิการสุทธิสูญเสียรวม 39.19 พันเหรียญสหรัฐ Bartholomew 5 ไดทําการศึกษาผลกระทบของการรวมกลุม MERCOSUR ที่มีตอ สวัสดิการที่เปลี่ยนแปลงไปในการบริโภคสินคาในอุตสาหกรรมตาง ๆ ของประเทศอารเจนตินาและ ประเทศบราซิล โดยทําการศึกษาในผลกระทบที่มีตอการเปลีย่ นแปลงสวัสดิการทางสังคมโดยรวมและ พิจารณาเปนรายอุตสาหกรรม โดยใชแนวคิดการหาสวนเกินผูบริโภคภายใตเสนอุปสงคแบบ Hicks ในการวิเคราะหเชนเดียวกับ Nicholls ทําในการประเมินคาสวัสดิการของผูบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการที่ ระดับราคาสินคานําเขาลดลงโดยการคํานวณหา Compensating Variation Trade Creation (CVTC) และประเมินคาสวัสดิการของผูบริโภคที่ลดลงอันเปนผลมาจากการบิดเบือนราคากอใหเกิดการ เปลี่ยนวิถีการคากับประเทศนอกกลุมโดยการคํานวณ Compensating Variation Trade Diversion (CVTD) และทําการเปรียบเทียบขนาดของ CVTC และ CVTD เพื่อวัดผลทางสวัสดิการที่เปลี่ยนไป โดยรวมและในระดับอุตสาหกรรมตาง ๆ อันเปนผลจากการรวมกลุม MURCOSUR ในการศึกษาสําหรับประเทศอารเจนตินาจะใชขอมูลตามรหัส SITC สวนในประเทศ บราซิลใชขอมูลเปนตามรหัส HS ซึ่งจากผลการศึกษาที่ไดพบวาทั้งประเทศอารเจนตินาและบราซิล โดยรวมแลวจะเกิดผลทางดาน Trade Creation มากกวาผลทางดาน Trade Diversion และเมื่อ พิจารณาในระดับอุตสาหกรรมสําหรับประเทศอารเจนตินาศึกษาโดยใชขอ มูลตามรหัส SITC ทีร่ ะดับ 3 digit และประเทศบราซิลใชขอมูลตามรหัส HS ที่ระดับ 4 digit พบวา สินคาที่กอใหเกิดผลทาง Trade Diversion สวนใหญจะเปนสินคาที่ไมไดเขารวม (ไดรับการยกเวน) ในขอตกลงภาษีรวมกัน CET (Common External Tariff) ในทั้ง 2 ประเทศ แตเมื่อเปรียบเทียบระหวางประเทศอารเจนตินา และบราซิลแลว พบวา ผลทาง Trade Diversion ที่เกิดขึ้นกับบราซิลจะมีขนาดที่ต่ํากวาของ อารเจนตินา เนื่องจากสินคาเหลานี้เมื่อมีการปรับภาษีเขาสู CET ตามขอตกลงแลวจะทําใหระดับ ภาษีในสินคาเหลานี้สวนใหญในประเทศอารเจนตินาจะปรับตัวสูงขึ้นกวาระดับเดิม จึงกอใหเกิดผล ทางดาน Trade Creation ที่สูงกวา Winters and Chang6 ไดทําการศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งกลุม MERCORSUR ที่ มี ผ ลต อ ราคาสิ น ค า ส ง ออกของประเทศนอกกลุ ม ที่ ส ง ออกมายั ง ประเทศสมาชิ ก ในกลุ ม และ 5

Ann Bartholomew (2002). “Trade Creation and Trade Diversion: The Welfare Impact of

MERCOSUR on Argentina and Brazil”. Working Paper CBS-25-2002. 6 L. Alan Winters and Won Chang (2002), “How Regional Blocs Affect Excluded Countries : The Price Effects of MERCOSUR”. American Economic Review 92 (4) : 889-904


11

ผลกระทบตอสวัสดิการของประเทศนอกกลุม โดยพวกเขาไดทําการศึกษาโดยการพิจารณาจาก กราฟเพื่ อพิ จ ารณาถึ ง การเปลี่ย นแปลงทางดา นราคาสิน ค า ส ง ออกมายั ง ประเทศภายในกลุ ม (ประเทศบราซิล) ในชวงป 1990-1996 โดยเปรียบเทียบกับปฐาน (ป 1990) จากกราฟพบวา ราคา สินคาสงออกของกลุมประเทศที่พิจารณา (ประเทศนอกกลุม) มายังประเทศบราซิลนั้นโดย เปรียบเที ยบแล วมี ระดับราคาที่ ลดต่ํา ลงทุก ป แตราคาของประเทศคูคา ที่อยูในกลุม (ประเทศ อารเจนตินา) โดยเปรียบเทียบแลวมีระดับราคาสูงขึ้น ซึ่งผลกระทบที่มีตอราคาของประเทศผู ส ง ออกที่ เ ป น ประเทศนอกกลุ ม นั้ น สั น นิ ษ ฐานว า เกิ ด จากผลกระทบจากการจั ด ตั้ ง กลุ ม MERCOSUR เพื่ อ ยื น ยั น ว า ผลกระทบทางด า นราคาดั ง กล า วเป น ผลมาจากการจั ด ตั้ ง กลุ ม MERCOSUR เนื่องจากการยกเวนภาษีใหกับประเทศคูคาภายในกลุม (ประเทศอารเจนตินา) ของ ประเทศบราซิล ทําใหประเทศนอกกลุมตองลดราคาสินคาที่สงออกมายังบราซิลเพื่อที่จะสามารถ แข ง ขั น กั บ ประเทศคู ค า ในกลุ ม ซึ่ง ได รั บ สิ ท ธิ ป ระโยชน ท างภาษี ไ ด ในการศึ ก ษาพวกเขาได ใ ช แบบจําลองกลยุทธการตั้งราคาของ Bertrand เพื่อพิจารณาการตั้งราคาของประเทศผูสงออกที่อยู นอกกลุม โดยไดแบงแยกตลาดออกเปน 2 ตลาดคือ ตลาดในกลุม MERCOSUR (พิจารณาตลาด ประเทศบราซิล) และตลาดนอกกลุม (The Rest of The World : ROW) เปรียบเทียบกัน โดยผลจากการศึ ก ษาพบว า การเปลี่ ย นแปลงภาษี ใ นสิ น ค า ส ง ออกของประเทศ อารเจนตินามายังบราซิลซึ่งเปนผลจากการรวมกลุม MERCOSUR มีผลกระทบตอการตั้งราคาของ ประเทศผูสงออกที่อยูนอกกลุม MERCOSUR และในการประเมินผลทางสวัสดิการวัดโดยนําคา ความยืดหยุนทางภาษีที่ไดจากการคํานวณ มาประมาณขนาดของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการ สงออก พบวาประเทศนอกกลุม MERCOSUR มีมูลคาการสงออกที่ลดลง ซึ่งแสดงใหเห็นวาการ จัดตั้งกลุม MERCOSUR ทําใหสวัสดิการประเทศนอกกลุมแยลง Kelegenna7 ศึกษาผลกระทบของ Trade Diversion ของกลุม NAFTA ที่มีตอ อุตสาหกรรม Garment ในศรีลังกา โดยไดทําการศึกษาแบบ partial equilibrium approach ซึ่ง สามารถวัดผลกระทบในระยะสั้นและระยะกลาง (3 – 5 ป) ได และมีประโยชนในการประเมินกลุม สินคาในระดับ SITC ที่ต่ํามาก ๆ โดยในการวิเคราะห Trade Diversion จะใชสมการในรูปแบบงาย ๆ ซึ่งแสดงในรูปของราคาสินคา Garment ของศรีลังกาเปนฟงกชันของ ราคาสินคา Garment ของ

7

Saman Kelegama (1997). “Risks to the Sri Lankan Garment Industry from Trade Diversion Effects of Nafta” , Development Policy Review 15 : 227-249


12

เม็กซิโก ในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีสมมติฐานวาการรวมกลุม NAFTA มีผลทําให เกิดการเปลี่ยนวิถีการคาของ USA จากศรีลังกาไปนําเขาจากเม็กซิโกมาก โดยการวิเคราะหตองการจะทดสอบวา เม็กซิโกมีความไดเปรียบในการแขงขันเหนือ ศรีลังกาใน Standard Garment (SITC 8411) จากการตั้ง NAFTA (โดยมีขอสมมติวา Standard Garment Product เปน Homogeneous) และจะพิจารณาการแขงขันทางดานราคาของศรีลังกาใน 3 ชวงเวลา 1) Pre-NAFTA (กอน 1994) และ Pre-Uruguay Round 2) Post NAFTA และ PREUruguay Round 3) Post NAFTA และ Post Uruguay Round และพิจารณาความสามารถในการ แขงขัน โดยศึกษาการสงออก Garment ไปสหรัฐอเมริกา ทั้งทางอากาศและทางทะเล ผลที่ได พบวา ศรีลังกาไดประโยชนทางดานราคาสินคาสําหรับ Normal Garment เหนือเม็กซิโกในตลาด สหรัฐอเมริกา ทั้งการขนสงทางอากาศและทางทะเล ซึ่งแสดงใหเห็นวา ศรีลังกาไดเปรียบในการ แขงขันเหนือเม็กซิโก Sayan8 ไดทําการศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion จากการจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ BSEC ซึ่งเปนกลุมความรวมมือที่ไมมีการลดหรือ กําจัดอุปสรรคทางการคาทั้งทางดานภาษีและมิใชภาษีระหวางกัน แตการจัดตั้งกลุมความรวมมือ BSEC นั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อลดขอจํากัดทางดานโครงสรางพื้นฐานที่เปนอุปสรรคทางการคาระหวาง ประเทศสมาชิก เชน การขาดแคลนโครงสรางพื้นฐานสําหรับการขนสงและติดตอสื่อสาร เปนตน ซึง่ ก็นําไปสูผลของการเกิด Trade Creation และ Trade Diversion ไดเชนกัน ในการศึกษาผลของการจัดตั้งกลุมเศรษฐกิจ BSEC ทําโดยอาศัยแบบจําลอง Gravity และอาศัยตัวแปรหุน BSEC เพื่อใชอธิบายผลของการจัดตั้ง BSEC ที่มีตอการคาระหวางประเทศ ของประเทศสมาชิก และใชตัวแปรหุน CMCA ในการวิเคราะหผลของการเปนอดีตสมาชิกของกลุม CMCA วามีผลตอการคาระหวางประเทศสมาชิกอยางไร โดยใชเทคนิค Pooled Data ในการ ประมาณแบบจําลอง ซึ่งผลจากการประมาณคาแบบจําลองพบวา ตัวแปรอธิบายของแบบจําลอง Gravity และตัวแปรหุน BSEC มีนัยสําคัญทางสถิติ สวนตัวแปรหุน CMCA ไมมีระดับนัยสําคัญ ทางสถิติ

8

Serdar Sayan.(1998).”Could Regional Economic Cooperation Generate Trade Creation and Trade Diversion Effects without Altering Trade Policies of Member? Preliminary Results from a Gravity Application to BSEC”. [Available from : http://www.bilkent.edu.tr/~sayan/DiscussionPapers/DP98-10+Cvr.pdf ].


13

สวนในการประมาณมูลคาผลกระทบของการจัดตั้งกลุม BSEC ที่มีตอการคาระหวาง ประเทศสมาชิก (Intra-BSEC Trade) และ การคาระหวางประเทศสมาชิกในกลุมกับประเทศนอก กลุม (Extra-BSEC Trade) โดยใช Gross Trade Creation (GTC) ในการอธิบายผลของ IntraBSEC Trade และใช External Trade Creation (ETC) ในการอธิบายผลของ Extra-BSEC Trade โดยแนวคิดในการหาคา GTC และ ETC การหามูลคาการสงออกที่คาดวาจะเปนตามทฤษฎีหากไม มีผลของการรวมกลุมทางเศรษฐกิจอยู จากผลการคํานวณหามูลคาของ GTC และ ETC จากการจัดตั้งกลุม BSEC พบวา ในป 1993 และ 1994 ประเทศโรมาเนีย และตุรกี เกิดการสรางเสริมการคาทางดานการสงออกกับประเทศ นอกกลุม และเกิดการสรางเสริมการคาทางดานการนําเขากับประเทศนอกกลุมในประเทศกรีซ และโร มาเนีย สวนตุรกีเกิดการสรางเสริมการคาทางดานการนําเขากับประเทศนอกกลุมเฉพาะในป 1993 เทานั้น สวนผลทางดานการสรางเสริมการคากับประเทศสมาชิกภายในกลุมพบวา ทั้งประเทศกรีซ โร มาเนีย และตุรกีเกิดการสรางเสริมการคากับประเทศสมาชิกภายในกลุมทั้งในป 1993 และ 1994 Endoh9 ไดทําการศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion ของการจัดตั้งกลุม EEC, LAFTA และ CMEA โดยใชแบบจําลอง Gravity โดยใชขอมูลในชวงป 1960-1994 ทําการประมาณคาแบบจําลองโดยขอมูลภาคตัดขวาง (Cross-section Data) ทุก ๆ ชวงเวลา 5 ป โดยทําการศึกษาใน 2 ประเด็น คือ ศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion ในกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจตาง ๆ และศึกษาผลของกลุมความรวมมือ ทางเศรษฐกิจตาง ๆ ที่มีตอการคาระหวางประเทศของประเทศที่ไมไดเปนสมาชิกในกลุมเศรษฐกิจ ใด ๆ ทั้ง 3 กลุม เชน ประเทศญี่ปุน ในการศึกษาผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion นั้น ทําการศึกษาโดยใชตัวแปรหุน 3 ตัวในการอธิบายผลกระทบดังกลาวในแตละกลุมความรวมมือ ทางเศรษฐกิจ โดย EEC1ij, LAFTA1ij, CMEA1ij เปนตัวแปรหุนกลุมที่ใชในการวิเคราะหผลของการ จัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจที่มีตอการเปลี่ยนวิถีการคาทางดานการสงออกตอประเทศ นอกกลุม (Export Trade Diversion) หากคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปรหุนที่ประมาณได มีคาเปนลบ และมีนัยสําคัญทางสถิติ

9

Masahiro Endoh (1999). “Trade Creation and Trade Diversion in EEC, the LAFTA and the CMEA : 1960-1994”. Applied Economics 31(2), (February) : 207-16.


14

EEC2ij, LAFTA2ij, CMEA2ij เปนตัวแปรหุนกลุมที่ใชในการวิเคราะหผลของการจัดตั้งกลุม ความรวมมือทางเศรษฐกิจที่มีตอการสรา งเสริม การคา กับ ประเทศสมาชิก ภายในกลุม (Trade Creation) หากคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปรหุนที่ประมาณได มีคาเปนบวกและมีนัยสําคัญทางสถิติ EEC3ij, LAFTA3ij, CMEA3ij เปนตัวแปรหุนกลุมที่ใชในการวิเคราะหผลของการจัดตั้ง กลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจที่มีตอการเปลี่ยนวิถีการคาทางดานการนําเขาตอประเทศสมาชิก นอกกลุม (Import Trade Diversion) หากคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปรหุนที่ประมาณได มีคาเปนลบ และมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลจากการศึกษาผลของการรวมกลุมทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ตอการคาระหวางประเทศของ ประเทศสมาชิก โดยการประมาณคาแบบจําลอง Gravity พบวา ในกลุม EEC เกิดผลทางดาน Trade Creation สวนผลทางดาน Export Trade Diversion และ Import Trade Diversion ทั้ง 2 ตัว มีคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปรหุนเปนบวกและมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งสะทอนใหเห็นถึงการสราง เสริมการคากับประเทศนอกกลุม ในกลุม LAFTA ไมเกิดผลทางดาน Trade Creation ที่ชัดเจน แต เกิดผลทาง Export Trade Diversion และ Import Trade Diversion สวนกลุม CMEA เกิดผลทั้ง ทางดาน Trade Creation, Export Trade Diversion และ Import Trade Diversion สวนผลการศึกษาผลของการจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ที่มีตอการคา ระหวางประเทศกับประเทศที่ไมสังกัดสมาชิกในกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจใด ๆ เลยอยาง ประเทศญี่ปุน ทําการประมาณคาโดยใชแบบจําลอง Gravity เชนกัน แตตัดตัวแปรหุนในกลุมที่ 2 ออกไป ซึ่งผลจากการประมาณคาพบวา ไมเกิดผลทางดาน Export และ Import Trade Diversion จากการจัดตั้งกลุม EEC และ LAFTA แตเกิดผลทางดาน Export และ Import Trade Diversion ตอประเทศญี่ปุนจากการจัดตั้งกลุม CMEA Krueger10 ไดทําการศึกษาผลกระทบจากการเขารวมเปนสมาชิกเขตการคาเสรีอเมริกา เหนือ (NAFTA) ของประเทศเม็กซิโก โดยการศึกษานี้ไดแบงวิธีการศึกษาออกเปน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เปนการศึกษาโดยใชกรอบการวิเคราะห “Shift and Share Analysis” เพื่อตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงในปริมาณ และรูปแบบของกระแสการคาระหวางประเทศภาคี NAFTA กับ ประเทศอื่น ๆ และขั้นตอนที่ 2 เปนการศึกษาถึงปจจัยที่กําหนดรูปแบบของกระแสการคา และ ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้ง NAFTA โดยการศึกษาในขั้นตอนนี้จะทําโดยใชแบบจําลอง Gravity ซึ่งอยูในรูปมูลคาการคาระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศ เปนฟงกชั่นของ GDP อัตรา 10

Anne O. Krueger (1999). “Trade Creation and Trade Diversion Under NAFTA”. NBER Working Paper No. 7429.


15

แลกเปลี่ยนเงินตราระหวางประเทศ ภาษาราชการ ระยะทางระหวางประเทศ ความหางไกล และ พรมแดนที่ติดกันของประเทศทั้งสอง จากแบบจําลองดังกลาวพบวา มีตัวแปร 3 ตัวที่แตกตางจากแบบจําลอง Gravity ดั้งเดิมของ Linneman และ Bergstrand ซึ่ง Kruger ไดอธิบายวา ตัวแปรความหางไกลถูกนํามาใส ไวในแบบจําลอง เนื่องจากหลักความเปนจริงที่วา ประเทศที่มีพรมแดนติดกันจะมีตนทุนคาขนสง สิน ค า หรื อต น ทุ นในการดํ า เนินธุ รกรรมต่ํา กวาประเทศที่ ไมมีพรมแดนติดกั น ซึ่ง สิ่ง นี้ส ามารถ พิจารณาไดวาเปนสิ่งที่สนับสนุนการคาระหวางประเทศคูคาในรูปแบบหนึ่ง สวนภาษาราชการถูก นํ า มาใส ใ นแบบจํ า ลอง เนื่ อ งจากหลั ก ความเป น จริ ง ที่ ว า ประเทศที่ ใ ช ภ าษาต า งกั น การ ติดตอสื่อสารเพื่อทําการคาขายอาจจะเกิดความยากลําบาก ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิจารณาไดวาเปน อุปสรรคทางการคารูปแบบหนึ่ง Lalith11 ไดทําการศึกษาแนวโนมการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Creation and Trade Diversion) จากการรวมกลุมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN) โดยทําการศึกษา เฉพาะกรณีของประเทศไทยและสิงคโปร โดยใชทฤษฎีการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถี การคาของ Balassa โดยประยุกตใชแบบจําลอง Gravity เพื่อประมาณคาความยืดหยุนของ อุปสงคการนําเขาตอรายไดประชาชาติใน 2 ชวงเวลา คือ กอนมีการรวมกลุม (1967-1975) และ หลังจากจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (1976-1997) โดยศึกษาในกลุมสินคาที่จัดแบงโดย ESCAP ที่ระดับ 1-digit และนําคาความยืดหยุนที่ไดมาทดสอบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิตโิ ดย ใช Chow test หากคาความยื ดหยุ นของอุ ปสงคการนําเข าสินค าตอรายไดประชาชาติ มีคาเพิ่ มขึ้ น ภายหลังจากมีการจั ดตั้งเขตการค าเสรีอาเซียนแล ว แสดงวา ไดมีการสร างเสริมการค า (Trade Creation) เกิดขึ้น แตถาคาความยืดหยุนดังกลาวมีคาลดลงแลว แสดงวา ไดเกิดการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion)

11

Lalith Prasanna Perera (1998). “ Trade Creation and Diversion in the ASEAN Economic Integration”. (A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Masters of Economics(English Language Program), Faculty of Economics. Thammasat University)


16

พัตเนตร12 ไดทําการศึกษาแนวโนมการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Creation and Trade Diversion) จากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) โดย ทําการศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทยเทานั้น ดวยวิธีการศึกษาเชนเดียวกับ Lalith คือ ใชทฤษฎี การสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคาของ Balassa โดยประยุกตใชแบบจําลอง Gravity เพื่อประมาณคาความยืดหยุนของอุปสงคการนําเขาตอรายไดประชาชาติใน 2 ชวงเวลา คือ กอนมี การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (1980-1992) และหลังจากจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (19932001) โดยศึกษาในกลุมสินคาไทยนําเขาสูงสุด 15 อันดับแรกจากอาเซียน แลวนําคาความยืดหยุน ที่ไดมาทดสอบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติโดยใช Chow test ผลจากการศึกษาพบวาสินคาที่ไทยนําเขาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกือบทุกชนิด ไดรบั ผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน และไดเกิดการเปลี่ยนวิถีการคาขึ้นกับสินคาหลาย ชนิด ปจจัยอื่นที่สงผลกระทบตอรูปแบบการนําเขาสินคา คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหวาง ประเทศ มีความสัมพันธกับมูลคาการนําเขาสินคาเกือบทุกชนิด โดยทิศทางความสัมพันธจะเปนไป ในทิศทางตรงขาม สวนอัตราเงินเฟอมีความสัมพันธกับมูลคาการนําเขาสินคาเพียงบางชนิด โดย ทิศทางของความสัมพันธจะเปนไปในทิศทางตรงกันขาม 2.2 งานศึกษาที่เกี่ยวของกับแนวคิดของแบบจําลอง Gravity Oguledo and Macphee13 ไดทําการศึกษางานศึกษาแบบจําลอง Gravity ในอดีต ซึ่ง แบบจําลองที่ไดรับความนิยมที่ใชในการศึกษาเชิงประจักษในการประมาณผลกระทบที่มีตอการคา ระหวางประเทศเพราะเปนแบบจําลองที่มีความสามารถอธิบายไดดี แตก็เปนแบบจําลองที่ถูก วิพากยวิจารณอยางมากในดานความออนดอยทางทฤษฎีที่ใชในการอธิบายแบบจําลอง ซึ่งระยะ หลังไดมีงานศึกษาหลายงานพยายามที่จะศึกษาหาทฤษฎีเพื่อรองรับความสามารถในการอธิบาย ของแบบจําลอง Gravity โดยภาพรวมแลวก็จะมีแนวคิดหลัก ๆ ที่มาใชในการอธิบายที่มาของ แบบจําลอง Gravity ดังนี้ 12

พัตเนตร รามางกูร (2001). “การวิเคราะหแนวโนมของการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคา จากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (กรณีศึกษา : ประเทศไทย)”. (วิทยานิพนธปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) 13 Victor Iwuagwu Oguledo and Craig R. Macphee (1994). ”Gravity Models : a reformulation and an application to discriminatory trade arrangements”. Applied Economics 26 :10720.


17

แนวคิดแรกเปนแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากภูมิศาสตรกายภาพ กลาวคือ แนวคิดนี้เชื่อวา ประเทศที่มีที่ตั้งทางภูมิศาสตรใกลกันจะมีการคาระหวางประเทศที่มากขึ้น ซึ่งก็มีงานศึกษาของ Isard และ Peck (1954) และ Beckerman (1956) ใชกรอบการวิเคราะหนี้ โดยจากการศึกษา พบวา ประเทศคูคาที่มีพรมแดนทางภูมิศาสตรใกลกันจะมีขนาดของการคาที่มากกวา แนวคิดที่สองเปนแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากแบบจําลองดุลยภาพทั่วไปของ Walrasian ซึ่งแตละประเทศจะมีฟงกชันอุปสงคและอุปทานในทุกสินคาโดยที่ระดับรายไดรวม (aggregate income) ใชแทนระดับของความตองการสินคานําเขาของประเทศผูนําเขา และระดับของปริมาณ สินคาสงออกของประเทศผูสงออก ซึ่งแบบจําลอง Gravity ถูกมองวาเปน สมการลดรูปของมูลคา การค า โดยที่ ร ะดั บ ราคาไม ถู ก นํ า มาใส ใ นสมการเนื่ อ งจากถู ก มองว า เป น ป จ จั ย ภายใน และ ระยะทางใชแทนตนทุนคาขนสง ซึ่งเปนตัวแปรที่ลดอุปสงคและอุปทานลง โดยงานศึกษาในชวงตน ๆ ที่ศึกษาโดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดนี้ (Tinbergens (1962); Poyhonen (1963) ) สรุปวา ระดับ รายไดของประเทศคูคาและระยะทางระหวางประเทศคูคามีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญทางสถิติตอ การคาระหวางประเทศและมีคาคาดการณในเครื่องหมายเปนบวกและลบ ตามลําดับ สวนงานศึกษาอื่น ๆ เชน Linneman (1966), Aitken (1973), Aitken และ Obutelewicz (1976), Sapir (1981), Geraci และ Prewo (1977), Sattinger (1978), Brada และ Mendez (1983), Bergstrand (1985, 1988), Bikker (1987) และ Thursby และ Thursby (1987) ก็พบเชนเดียวกันวารายไดและระยะทางมีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญทางสถิติตอมูลคาการคา ระหวางประเทศ นอกจากนี้งานศึกษาสวนใหญภายใตแนวคิดแบบจําลองดุลยภาพทั่วไปยังพบวา ขนาดของประชากรของประเทศคูคา มีผลกระทบทางลบอยางมีนัยสําคัญทางสถิติตอมูลคาการคา ระหวางประเทศ (Linnerman (1966); Aitken (1973); Bikker(1987); Sapir (1981)) อุปสรรคทางการคาก็เปนปจจัยอีกอยางหนึ่งที่ลดอุปสงคและอุปทานในแบบจําลอง ดุลยภาพทั่วไป โดย Geraci และ Prewo (1977) พบวา ภาษีมีผลกระทบที่มีนัยสําคัญทางสถิติทาง ลบตอการคาระหวางประเทศ Sapir และ Lundberg (1984) พบวา การใหสิทธิประโยชนทางภาษี มีผ ลกระทบที่มี นัย สํา คัญทางสถิ ติท างบวกตอ การคา ระหวา งประเทศ และโดยส ว นใหญ แล ว การศึกษาโดยใชแนวคิดแบบจําลองดุลยภาพทั่วไป ยังพบวาการรวมกลุมทางเศรษฐกิจมีผลตอการ สนับสนุนการคาระหวางประเทศอยางมีนัยสําคัญ แนวคิดที่สามเปนแนวคิดอธิบายที่มาของแบบจําลอง Gravity ซึ่งพื้นฐานมาจาก แบบจําลองความนาจะเปน (Probability Model) โดยมีงานศึกษาของ Savage และ Duetsch (1960), Goodman (1963), Learner และ Stern (1970) และ Sattinger (1978) พยายามที่จะ


18

ทํานายการคาระหวางประเทศของประเทศคูคา ซึ่งมองวาการคาระหวางประเทศเปนเรื่องความ นาจะเปน จากการศึกษาของ Learner และ Stern เปนการผสมผสานของทั้งแนวคิดความนาจะ เปนและแบบจําลองดุลยภาพทั่วไปไวดวยกัน แนวคิดที่สี่ เปนแนวคิดที่อธิบายแบบจําลอง Gravity โดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานทาง เศรษฐศาสตรจุลภาค (micro-foundation approach) ซึ่งอางวาแนวคิดที่อธิบายแบบจําลอง Gravity ที่ผาน ๆ มานั้นขาดความเขมแข็งทางทฤษฎีมารองรับ โดยแนวคิดนี้ไดกลาวหาวา สมมติฐานที่วาความสามารถในการทดแทนกันของสินคาที่ใชในแบบจําลอง Gravity ที่นิยมใชกัน นั้นไมเปนจริง เนื่องจากในปจจุบันมีหลักฐานที่แสดงใหเห็นวา สินคาระหวางประเทศนั้นแตกตาง กันไปตามแหลงกําเนิด (Place of origin) ภายใตเงื่อนไขนี้การละตัวแปรราคาออกไปจะทําใหการ อธิบายของแบบจําลอง Gravity ไมชัดเจน โดยมีงานศึกษาที่ใชแนวคิดนี้ เปนพื้นฐานดัง นี้ Armington (1969), Anderson (1979), Bergstrand (1985,1988), Bikker (1987) และ Thursby และ Thursby (1987), Abrams (1980), Helpman และ Krugman (1985), Krugman (1979, 1980) นอกจากงานศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดของแบบจําลอง Gravity ในอดีต Oguledo และ Macphee ทําการศึกษาแบบจําลอง Gravity โดยอาศัย Linear Expenditure System ในการสราง แบบจําลอง Gravity ซึ่งผลจากการศึกษาที่มีความสําคัญในแบบจําลองพบวา ทั้งตัวแปรภาษีและ ตัวแปรหุน เปนตัวแปรที่มีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งมีความสําคัญในการแยกผลของการไดรับสิทธิ ประโยชนจากการรวมกลุม ซึ่งแสดงใหเห็นวา งานศึกษาแบบจําลอง Gravity ในอดีตที่ใชตัวแปร หุนเพียงอยางเดียวในการอธิบายผลไดของการไดรับประโยชนทางภาษีอาจเปนสิ่งที่ไมถูกตอง และ ตั ว แปรราคา พบว า โดยทั่ ว ไปแล ว ก็ มี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ภ ายใต ส มมติ ฐ านสิ น ค า เหมื อ นกั น (Homogeneous) และ Purchasing Power Parity Evenett and Keller14 ไดทําการศึกษาเพื่อหาทฤษฎีการคาระหวางประเทศที่เหมาะสม ในการอธิบายความสําเร็จของการอธิบายของสมการ Gravity โดยในการศึกษาจะมี 2 ทฤษฎีหลัก ๆ ที่เขามาเกี่ยวของ คือ Heckscher-Ohin Trade Theory (H-O model) และ Increasing Return to Scale Trade Theory (IRS model) โดยมีสมมติฐานหลัก ๆ คือ มีสองประเทศในโลก มีปจจัย การผลิ ต สองชนิ ด สิ น ค า สองชนิ ด ผู บ ริ โ ภคมี ค วามพอใจเหมื อ นกั น ในการบริ โ ภคสิ น ค า (homothetic preference) การคาระหวางประเทศสมดุล (balance trade) ไมมีภาษีและตนทุนคา 14

Simon J. Evenett and Wolfgang Keller (1998). “On Theories Explaining the Success of the Gravity Equation”. NBER Working Paper No. 6529.


19

ขนสง และไดมีการสรางสมมติฐานเพิ่มเติม ในแบบจําลองตาง ๆ ที่ไดสรางขึ้นมาเพื่อใชอธิบายการ สรางสมการ Gravity โดยจากสมมติฐานที่ตางกันนั้น สามารถนํามาสรางแบบจําลองที่ใชอธิบายสมการ Gravity ได 4 รูปแบบดังนี้ 1) Multi-cone H-O : เปนแบบจําลองที่สรางจากความแตกตางในปจจัย การผลิ ต นํ า ไปสู ก ารเกิ ด ความชํ า นาญในการผลิ ต สิ น ค า โดยสมบู ร ณ (Perfect product specialization) หรือกลาวไดวาแตละประเทศจะมีการผลิตสินคาเพียงชนิดเดียวเทานั้น 2) Pure IRS : การมีการผลิตแบบ Increasing Return to Scale นําไปสูการเกิดความชํานาญในการผลิต สินคาโดยสมบูรณ 3) Generalized H-O : มีสินคาหนึ่งชนิดที่ผลิตโดยมีเทคโนโลยีการผลิตแบบ Increasing Return to Scale และมีความชํานาญในการผลิตสินคาโดยสมบูรณ สวนอีกชนิดหนึ่ง นั้นถูกผลิตโดยใชเทคโนโลยีการผลิตแบบ Constant Return to Scale และไมมีความชํานาญใน การผลิตสินคา (เปนสินคาที่ผลิตในทุกประเทศ) 4) Uni-cone H-O : สินคาทั้ง 2 ชนิดถูกผลิตโดยใช เทคโนโลยีการผลิตแบบ Constant Return to Scale และไมมีความชํานาญในการผลิตสินคา จากการวิเคราะหโดยใชขอมูล Cross-section ของประเทศ 58 ประเทศ มาทดสอบ โดยดูเงื่อนไขของความสัมพันธทางการคาตอความแตกตางในปจจัยการผลิต และสัดสวนของ การคาในอุตสาหกรรมกลุมเดียวกัน (Intra-industry Trade) ในการวิเคราะหวาทฤษฎีใด เหมาะสมที่จะนํามาใชอธิบายความสําเร็จของสมการ Gravity โดยผลจากการศึกษาพบวา ถา เปนในกรณีที่มีความแตกตางในปจจัยการผลิตมาก ๆ เทานั้น ที่ H-O สามารถอธิบายการเกิด ความชํานาญในการผลิตสินคาโดยสมบูรณได และสามารถสรางสมการ Gravity เพื่อใชทํานาย การคาระหวางประเทศ (International Trade) แตถาการผลิตมี Increasing Return to Scale ซึ่งกอใหเกิดความชํานาญในการผลิตสินคาโดยสมบูรณ แมจะไมมีความแตกตางในปจจัยการ ผลิตระหวางประเทศก็สามารถสรางสมการ Gravity ไดเ ชน กัน ซึ่งใชในการอธิบายการคา ระหวางประเทศโดยทําการคาในสินคาอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-industry Trade) ถาเปน กรณีที่มี Intra-industry Trade Share สูง จะใช IRS Model ในการอธิบายสมการ Gravity นอกจากนี้ยังมีขอคนพบที่สําคัญ ๆ 3 ประการ คือ (1) มีการผลิตเพียงเล็กนอยเทานั้นที่มีความชํานาญในการผลิตสินคาโดยสมบูรณ อัน เกิดจากความแตกตางในสัดสวนปจจัยการผลิต ตาม H-O Theory (2) Increasing Return to Scale เปนสิ่งสําคัญที่กอใหเกิดความชํานาญในการผลิต สินคาโดยสมบูรณ ในการอธิบายสมการ Gravity โดยเฉพาะการอธิบายการคา ทามกลางประเทศอุตสาหกรรมตาง ๆ


20

(3) แบบจําลองของ Imperfect product specialization สามารถอธิบายความผัน ผวนของการคาระหวางประเทศไดดีกวากรณี Perfect product specialization โดยความแตกตางในปจจัยการผลิตเปนปจจัยสําคัญของการคาระหวางประเทศ โดยเฉพาะใน Imperfect Model 2.3 ขอสรุป การศึกษาสวนใหญที่ผานมาจะสามารถบอกไดเพียงวาในกลุมสินคาที่เลือกมานั้น เกิด การสรางเสริมการคาหรือการเปลี่ยนวิถีการคากับประเทศตาง ๆ หรือไม แตไมไดแสดงถึงขนาดของ การสรางเสริมการคาหรือการเปลี่ยนวิถีการคาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทําใหทราบผลโดยสุทธิวา แทจริงแลว การรวมกลุมการคากอใหเกิดผลดีหรือผลเสียตอสวัสดิการของประเทศสมาชิกเปนมูลคาเทาไร และ โดยภาพรวมแลวการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนจะกอใหเกิดสวัสดิการสุทธิเปนอยางไร ดังนั้น ใน การศึกษาครั้งนี้จะแตกตางกับการศึกษาที่ผานมา โดยจะทําการศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้ง เขตกาคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออกภายในกลุม และนอกกลุม ในภาพรวม และศึกษาถึงผลที่มี ตอสวั สดิก ารของผูบริโภคในแตละประเทศสมาชิ ก วา มีสวัสดิการที่ดีขึ้นหรือแยลงในรายกลุม อุตสาหกรรมสินคาที่ทําการศึกษา


บทที่ 3 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวของ 3.1 แนวคิดของการสรางเสริมการคาจากการรวมกลุมทางเศรษฐกิจ ในสวนนี้จะอธิบายถึงความหมายของการสรางเสริมการคา (Trade Creation) และการ เปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion) วาคืออะไร และกระบวนการของการเกิดการสรางเสริมการคา และการเปลี่ยนวิถีการคา โดยการวิเคราะหแบบดุลยภาพบางสวน (Partial Equilibrium) 3.1.1 ผลกระทบทางดาน Trade Creation และ Trade Diversion - การสรางเสริมการคา (Trade Creation) จะเกิดขึ้นเมื่อการผลิตสินคาชนิดหนึ่งใน ประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งของกลุมถูกทดแทนดวยสินคาชนิดเดียวกันที่มีตนทุนการผลิตต่ํากวา จากประเทศที่เปนสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง ถาสมมติวาทรัพยากรของประเทศถูกใชอยางเต็มที่ทั้ง กอนและหลังการรวมกลุมเปนสหภาพศุลกากร การทดแทนขางตนจะมีผลใหสวัสดิการของประเทศ สมาชิกสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการรวมกลุมมีผลใหเกิดการแบงงานกันทําตามความชํานาญพิเศษที่ สอดคลองกับหลักความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบ นอกจากจะเพิ่มสวัสดิการของประเทศสมาชิก แลว ยังอาจมีผลในการเพิ่มสวัสดิการของประเทศที่มิไดเปนสมาชิกดว ย เพราะการที่ประเทศ สมาชิกไดรับประโยชนจากการแบงงานกันทําตามความชํานาญพิเศษขางตน ยอมทําใหประเทศ สมาชิกมีรายไดที่แทจริงสูงขึ้น อันจะนําไปสูความตองการบริโภคสินคา หรือบริการจากประเทศ นอกกลุมเพิ่มขึ้นดวย

21


22 ภาพที่ 3.1 สหภาพศุลกากรที่กอใหเกิดผลในทางการสรางเสริมการคา PX (บาท) SAX

B

D 10

F M

0

J

K

L 20

10

20

G

H

N

P 30

40

50

SB+T SB DAX

R 60

70

80

X

ผลดีของ Trade Creation แสดงในภาพที่ 1 โดยที่ DXA และ SXA เปนเสนอุปสงคและ อุปทานตอสินคา X ในประเทศ A สมมติใหราคาสินคา X นําเขาจากประเทศ B เมื่อเปนการคาเสรี เทากับ 10 บาท (PXB =10) แตราคาของสินคา X ที่นําเขาจากประเทศ C เทากับ 15 บาท (PXC =15) และประเทศ A เปนประเทศเล็กที่ไมสามารถเปนผูกําหนดราคาสินคา X ถากอนการเขารวมกลุมเปนสมาชิกสหภาพศุลกากร ประเทศ A ไดมีการจัดเก็บภาษี ตามมูลคาจากการนําเขาสินคา X ในอัตรา 100% โดยไมคํานึงวาสินคานั้นผลิตหรือนําเขามาจาก ประเทศใด ผูนําเขาประเทศ A ยอมจะนําเขาสินคา X จากประเทศ B ในราคาเมื่อรวมภาษีแลว เทากับ 20 บาท (เสน SB ในรูปที่ 3.1 แสดงเสนอุปทานของสินคา X จากประเทศ B เมื่อทําการคา เสรี ในขณะที่ เสน SB + T คือ เสนอุปทานของสินคา X จากประเทศ B เมื่อรวมภาษีแลวจะสูงถึง 20 บาทตอหนวย) ณ ราคา X เทากับ 20 บาท ผูบริโภคในประเทศ A จะมีความตองการบริโภค สินคา X ทั้งสิ้น จํานวน 50 หนวย (LJ) ซึ่งเปนการผลิตเองในประเทศ 20 หนวย (LK) และนําเขา จากประเทศ B จํานวน 30 หนวย (JK) ประเทศ A ก็จะมีรายไดจากการเก็บภาษีนําเขาสินคา X ทั้งสิ้น 300 บาท ถาประเทศ A และ B รวมกันจัดตั้งสหภาพศุลกากร และยกเลิกการเก็บภาษีระหวาง ประเทศทั้งสอง ราคาของสินคา X ในประเทศ A ที่นําเขาจากประเทศ B จะเทากับหนวยละ 10 บาทเทานั้น ณ ระดับราคา 10 บาท ผูบริโภคในประเทศ A มีความตองการบริโภค X ทั้งสิ้น 70


23 หนวย (DI) และผูบริโภคจะไดรับผลประโยชนในรูปของสวนเกินของผูบริโภคเพิ่มขึ้น เทากับพื้นที่ LDIJ แต ณ ระดับราคานี้ผูผลิตสินคา X ในประเทศ A จะผลิตเองเพียง 10 หนวย (DF) ที่เหลืออีก 60 หนวย (FI) ตองนําเขาจากประเทศ B เมื่อไมมีการเก็บภาษีระหวางกัน รายไดของประเทศ A จากการเก็บภาษีสินคา X ก็จะหายไป ซึ่งแสดงไดโดยพื้นที่ GKJH นอกจากนี้การที่ผูผลิตสินคา X ในประเทศ A ตองผลิตสินคา X ลดลงและขายสินคาของตนไดในราคาเพียงหนวยละ 10 บาท ทํา ใหผลประโยชนของผูผลิตในรูปของสวนเกินของผูผลิตหายไปเทากับพื้นที่ DFKL ในขณะที่ผูบริโภค ไดรับผลประโยชน แตรัฐบาลและผูผลิตเสียผลประโยชน ผลประโยชนสุทธิที่ประเทศ A ไดรับจะ เปนเพียงพื้นที่ FGK และพื้นที่ JHI ซึ่งในตัวอยางนี้จะมีมูลคารวมกันเทากับ 150 บาท พื้นที่สามเหลี่ยม FGK แสดงใหเห็นถึงผลประโยชนที่ประเทศ A ไดรับอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงดานการผลิต กลาวคือ เมื่อประเทศ A และประเทศ B เขารวมกลุมกันแลว กอใหเกิดการสรางเสริมการคา (Trade Creation) ขึ้นเปนผลใหสินคา X จํานวน 10 หนวย ซึ่งเดิม ผลิตเองในประเทศ A ดวยตนทุนสูงกวา (ตนทุนเทากับพื้นที่ MNFK) ถูกทดแทนดวยสินคานําเขา จากประเทศ B ที่มีตนทุนต่ํากว(ตนทุนในการนําเขาเทากับพื้นที่ MNFG) ดังนั้นประเทศ A จึง สามารถประหยัดตนทุนในการไดมาซึ่งสินคา X จํานวน 10 หนวยขางตน เทากับพื้นที่สามเหลี่ยม FGK นั่นเอง ผลประโยชนจึงอาจเรียกสั้น ๆ ไดวาเปนผลประโยชนทางดานการผลิต (Production gain) สวนพื้นที่สามเหลี่ยม JHI แสดงผลประโยชนสุทธิที่ไดรับจากดานการบริโภค การหันไป นําเขาสินคา X จากประเทศสมาชิก B โดยไมมีภาษีนําเขาทําใหราคาสินคา X ในประเทศ A ถูกลง จึงมีการบริโภคสินคา X มากขึ้นถึง 20 หนวย (HI) ความพอใจที่ผูบริโภคไดรับจากการบริโภคสินคา X เพิ่มขึ้นอีก 20 หนวยมีขนาดเทากับพื้นที่ PRIJ แตประเทศที่เสียคาใชจายในการนําเขาสินคา X จํานวนดังกลาวเพียง PRIH ผูบริโภคจึงไดรับความพอใจสวนเกินเพิ่มขึ้นอีกเทากับ JHI Viner ซึ่งเปนผูริเริ่มในการพัฒนาทฤษฎีสหภาพศุลกากรในป 1950 ไดใหความสนใจแต เฉพาะผลประโยชนที่เกิดขึ้นจากทางดานการผลิตเทานั้นและไดมองขามผลประโยชนทางดานการ บริโภคไปโดยสิ้นเชิง ในป ค.ศ. 1955 Meade จึงไดขยายทฤษฎีสหภาพศุลกากรใหครอบคลุมถึงผล ดานการบริโภคดวย และ Johnson เปนผูรวมสามเหลี่ยมทั้งสองรูปเขาดวยกันเพื่อหาสวัสดิการที่ เพิ่มขึ้นจากทั้งสองดานรวมกัน - การเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion) จะเกิดขึ้นเมื่อประเทศสมาชิกประเทศหนึ่ง นําเขาสินคาจากประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่งที่มีตนทุนการผลิตสูงทดแทนการนําเขาซึ่งเดิมเคย นําเขาจากประเทศที่มิไดเปนสมาชิกที่มีตนทุนต่ํากวา ที่เปนเชนนี้เนื่องจากการเลือกปฏิบัติในการ


24 จัดเก็บภาษีศุลกากรโดยใหสิทธิพิเศษไมตองเสียภาษีแกสินคาที่นําเขาจากประเทศสมาชิก (ในขณะที่ สินคาชนิดเดียวกันที่นําเขาจากประเทศที่มิใชสมาชิกจะถูกเก็บภาษี) Trade Diversion จะมีผลให สวัสดิการลดลง เพราะการผลิตที่มีประสิทธิภาพของประเทศที่มิใชสมาชิกจะถูกทดแทนดวยการผลิตที่ มีประสิทธิภาพดอยกวาของประเทศที่อยูในสหภาพศุลกากร ดังนั้น Trade Diversion มีผลทําใหการ จัดสรรทรัพยากรระหวางประเทศไมมีประสิทธิภาพ และทําใหการผลิตเกิดขึ้นในแหลงที่ไมมีความ ไดเปรียบโดยเปรียบเทียบ ภาพที่ 3.2 สหภาพศุลกากรที่กอใหเกิดผลในการเปลีย่ นวิถีการคา PY (บาท) SAY

40 E

30 20 10 0

H

G J

K N

L

M P

DAY 10 20 30 40 50 60 70 80 90

SB + T SC SB

Y

การรวมกลุมทางการคาในลักษณะนี้จะกอใหเกิดผลทั้งทางดานการสรางเสริมการคา (Trade Creation) และการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion) ดังนั้น สวัสดิการของสหภาพ ศุลกากร จะสูงขึ้นหรือต่ําลง (เทียบกับเมื่อตางคนตางอยู) จึงขึ้นอยูกับวาผลทางดานใดจะมากกวา กัน สวนสวัสดิการของประเทศที่มิใชสมาชิก คาดวาจะลดลง ทั้งนี้เพราะทรัพยากรของประเทศ เหลานี้จะถูกใชไปในทางที่มีประสิทธิภาพต่ําลง เนื่องจากประเทศเหลานี้จะผลิตและขายสินคาที่ตน มีความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบไดนอยลง (เพราะถูกประเทศที่เปนสมาชิกแยงการคานั้น ๆ ไป) จากภาพที่ 3.2 DyA และ SyA เปนเสนอุปสงคและอุปทานตอสินคา y ในประเทศ A ในขณะที่ SyB และ SyC แสดงเสนอุปทานของสินคา y ที่มีความยืดหยุนสมบูรณภายใตการคาเสรี กับประเทศ B และ C ตามลําดับ ถาประเทศ A มีการเก็บภาษีนําเขาสินคา y ในอัตรารอยละ 100 ของมูลคาโดยไมมีการลําเอียง สินคาที่นําเขาจากประเทศ B จะมีราคา PyB = 10 บาท เมื่อเสียภาษี นําเขาแลวสินคาดังกลาวจะมีราคาในประเทศ A เทากับ 20 บาท ซึ่งแสดงดวยเสน SB + T ณ ราคา


25 Py ในประเทศเทากับ 20 บาท ประเทศ A จะบริโภค y ทั้งสิ้น 50 หนวย (FH) โดยผลิตเองในประเทศ 20 หนวย (FG) และนําเขาจากประเทศ B จํานวนทั้งสิ้น 30 หนวย (GH) ประเทศ A ก็จะมีรายได จากการเก็บภาษีนําเขาสินคา y จํานวนดังกลาวทั้งสิ้น 300 บาท (NGHP) ถาประเทศ A รวมจัดตั้งสหภาพศุลกากรกับประเทศ C และมีการยกเลิกการจัดเก็บ ภาษีในสินคาที่มาจากประเทศ C จะพบวา สินคา y ที่นําเขาจากประเทศ C จะมีราคาเพียง 15 บาท ถูกกวาที่นําเขาจากประเทศ B (20 บาท) ราคาสินคา y ในประเทศ A ลดลงเหลือหนวยละ 15 บาท ความตองการบริโภค y จะสูงขึ้นเปน 60 หนวย (IM) แตจะผลิตเองในประเทศนอยลง คือผลิต เพียง 15 หนวย (IJ) และนําเขาเพิ่มขึ้นเปน 45 หนวย (JM) จะเห็นไดวาการที่ประเทศ A รวมตั้ง สหภาพศุลกากรกับประเทศ C และยกเวนภาษีเฉพาะกับประเทศ C มีผลใหประเทศ A หันไป นําเขาสินคา y จากประเทศ C แทนการนําเขาจากประเทศ B รัฐบาลของประเทศ A ก็จะไมมี รายรับจากภาษีนําเขาสินคา y ที่เคยไดรับนอกจากนี้การนําเขาสินคา y ก็จะยายจากที่เคยนําเขา จากประเทศ B ซึ่งเปนประเทศผูผลิตสินคา y ที่มีประสิทธิภาพสูง หันมานําเขาจากประเทศ C ซึ่ง เปนประเทศผูผลิตสินคา y ที่มีประสิทธิภาพต่ํากวาอันเปนผลจากการยกเวนภาษีกับประเทศ C นั่นเอง สังเกตวาปริมาณการนําเขาสินคา y ของประเทศ A แมวาจะเกิดการเปลี่ยนวิถีการคาก็ยังมี ผลในทางสรางเสริมการคาเชนกัน (จากเดิมนําเขา 30 เปน 45 หนวย) ถาเราพิจารณาผลของการเขารวมเปนสมาชิกกลุมเศรษฐกิจในลักษณะขางตน ตอ สวัสดิการของประเทศ A ดวยวิธีการเชิงสถิต (Static) พื้นที่สามเหลี่ยม JKG รวมกับสามเหลี่ยม LHM จะแสดงมูลคาของสวัสดิการตอประเทศ A ที่เพิ่มขึ้นจากการสรางเสริมการคา (Trade Creation) ซึ่งเทากับ 37.5 บาท แตพื้นที่สี่เหลี่ยม NKLP ซึ่งเทากับ 150 บาท แสดงถึงความสูญเสีย ในสวัสดิการของประเทศจากการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion) จากที่เคยนําเขาสินคา y จากประเทศ B มานําเขาจากประเทศ C ดังนั้นในการจัดตั้งสหภาพศุลกากรจะทําใหเกิดผลสุทธิตอประเทศ A มีมูลคาเทากับผล ทางดานการสรางเสริมการคา 37.5 บาท หักดวยผลทางการเปลี่ยนวิถีการคา 150 บาท สุทธิแลว กอใหเกิดผลเสียสุทธิตอประเทศ A มีมูลคาเทากับ 112.5 บาท อยางไรก็ตามสหภาพศุลกากรที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนวิถีของการคาอาจไมทําใหเกิดผลเสีย สุทธิเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยูกับความยืดหยุนของ Dy และ Sy และ ความแตกตางระหวาง SC กับ SB ถา Dy และ Sy มีความยืดหยุนมาก และ SC กับ SB ไมตางกันมากนัก จะทําใหพื้นที่สามเหลี่ยมมีขนาดใหญขึ้น แตพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจะมีขนาดเล็กลง เมื่อหักลบกันแลวประเทศจะไดรับผลประโยชนสุทธิ ดังนั้นถามี


26 สินคาที่เขาขายนี้มาก ประเทศนี้จึงควรเขาเปนสมาชิกของสหภาพ เพราะจะไดรับประโยชนทั้งในกรณีที่ เกิดการสรางเสริมการคา (Trade Creation) และการเปลี่ยนวิถีการคา (Trade Diversion) 3.1.2 การวิเคราะหผลกระทบที่มีตอประเทศในกลุมและนอกกลุมภายหลังจากการ จัดตั้งสหภาพศุลกากร1 การวิเคราะหผลกระทบทางดานการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคาที่ไดกลาว ไปแลวนั้นในภาพที่ 3.1 และ 3.2 แสดงใหเห็นเพียงแคผลกระทบที่เกิดขึ้นตอสวัสดิการของประเทศ A เทานั้น หากประเทศ A และประเทศ C มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรระหวางกัน คือ ไมมีการจัดเก็บ ภาษีสินคานําเขาระหวางประเทศ A และประเทศ C แตเก็บภาษีสินคานําเขาจากประเทศนอกกลุม (ประเทศ B) เพื่อวิเคราะหถึงผลกระทบที่มีตอประเทศตาง ๆ ทั้งในกลุมและนอกกลุม จึงไดมีการ ปรับปรุงสมมติฐานใหม โดยใหเสนตนทุนการผลิตมีคาความยืดหยุนเปนบวก ซึ่งจะทําใหสามารถ วิเคราะหไดถึงผลกระทบที่มีตอประเทศในกลุมและนอกกลุมได สามารถทําการวิเคราะหโดยใชกรอบ การวิเคราะหแบบดุลภาพบางสวน (ในภาพที่ 3.3) มีการตั้งสมมติฐานดังนี้ มีประเทศ 3 ประเทศ คือ A B และ R (Rest of The World) ไมมี การมาตรการกีดกันที่ไมใชภาษี (NTBs) ไมมีตนทุนคาขนสง และไมมีการเปลี่ยนแปลงในอัตรา แลกเปลี่ยน ประเทศ A จัดตั้งสหภาพศุลกากรกับประเทศ B

1

Richard Pomfret (2001).”The Economics of Regional Trading Arrangements”. Oxford University Press : 196-201


27 ภาพที่ 3.3 ผลกระทบของการจัดตั้งสหภาพศุลกากร P

S*r

C

P1

F

P2 P3 P4

T

V

S*r

Z

P5 Sr

O

S*r +S*b

E J

G L

Da

N

M

W

X

Y

S*r +Sb Sr +Sb

K R Da

Q

จากภาพที่ 3.3 เสน Da แสดงถึงอุปสงคตอสินคานําเขาของประเทศ A เสน Sb แสดง อุปทานในสินคานําเขาของประเทศ B ซึ่ง B เปนสมาชิกในกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจกับ A สวนเสน Sr เปนเสนอุปทานสินคานําเขาของประเทศ R ซึ่งเปนประเทศที่ไมไดอยูในกลุมความ รวมมือทางเศรษฐกิจ เสน S*r+S*b เปนเสนอุปทานสินคานําเขาของประเทศ A ซึ่งมีการเก็บภาษี กอนการจัดตั้งสหภาพศุลกากร S*r+Sb เปนเสนอุปทานสินคานําเขาของประเทศ A ภายหลังจากมี การจัดตั้งสหภาพศุลกากรกับ B (ไมมีการเก็บอัตราภาษีสินคานําเขาจากประเทศ B) Sr+Sbเปนเสน อุปทานสินคานําเขาของประเทศ A ณ ราคาตลาดโลก (ไมมีการเก็บภาษีสินคานําเขา) จุด E แสดง ดุลภาพที่ A มีการเก็บภาษีกับประเทศ B และ R ระดับราคาดุลยภาพจะอยูที่ OP1 จุด K แสดงดุลย ภาพเมื่อไมมีการเก็บภาษีสินคานําเขาจากประเทศ B ระดับราคาดุลยภาพจะอยูที่ OP2 และ จุด R แสดงดุลยภาพเมื่อไมมีการเก็บภาษีสินคานําเขาจากทุกประเทศ ระดับราคาดุลยภาพจะอยูที่ OP3 เดิมกอนการจัดตั้งสหภาพศุลกากรระหวาง A และ B ดุลยภาพอยูที่จุด E ประเทศ A มี การนําเขาสินคาเทากับ P1E โดยมีการนําเขาจากประเทศ B เทากับ CE และนําเขาจากประเทศ R เทากับ P1C ภายหลังจากมีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรระหวาง A และ B ดุลยภาพใหมอยูที่จุด K


28 ประเทศ A มีการนําเขาสินคาทั้งหมด P2K โดยมีการนําเขาจากประเทศ B เพิ่มขึ้นเทากับ HK (FG + JK) นําเขาจากประเทศ R เทากับ P2F ผลกระทบที่มีตอสวัสดิการของประเทศ B ประเทศ B ไดรับสวัสดิการเพิ่มขึ้นเทากับ พื้นที่GJYW (เปนสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นจากการสงออกในปริมาณเทาเดิมแตราคาสินคาเพิ่มสูงขึ้นจาก เดิม OP2 มาเปน OP4) และไดรับสวัสดิการเพิ่มขึ้นจากการสรางเสริมการคา (JK) และการเปลี่ยน วิถีการคา (FG=HJ) กับประเทศ A เทากับ พื้นที่ HKX ดังนั้น สุทธิแลวประเทศ B ไดรับสวัสดิการ เพิ่มขึ้นเทากับพื้นที่ GJYW บวกกับพื้นที่ HKX ผลกระทบที่มีตอสวัสดิการของประเทศ R ประเทศ R ไดรับสวัสดิการสุทธิลดลงจากการ ที่รายไดจากการสงออกลดลง (A ลดปริมาณการนําเขาจาก R และระดับราคาที่ R ไดรับลดลงจาก OP4 เปน OP5) เทากับ พื้นที่ P4VZP5 และมูลคาสวนเกินของผูผลิตลดลงเทากับ พื้นที่ VWZ สุทธิ แลวประเทศ R ไดรับสวัสดิการลดลงเทากับ พื้นที่ P4VZP5 บวกดวย พื้นที่ VWZ ผลกระทบที่มีตอสวัสดิการของประเทศ A ผูบริโภคในประเทศ A ไดรับสวนเกินของ ผูบริโภคเพิ่มขึ้นเทากับ พื้นที่ P1EKP2 แตสูญเสียรายไดจากการเก็บภาษีสินคานําเขาจากเดิม P1EYP4 มาเปน P1FZP5 โดยสุทธิแลวประเทศ A จะมีการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการเทากับ พื้นที่ P1EKP2 ลบดวยพื้นที่ P1EYP4 บวกดวยพื้นที่ P1FZP5 หรือเทากับพื้นที่ EJK บวกดวยพื้นที่ P4FZP5 ลบดวยพื้นที่ FGWV ลบดวยพื้นที่ GJYW สุทธิแลวไมสามารถบอกไดวาประเทศ A ไดรับสวัสดิการ เพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยูกับอัตราภาษี ความยืดหยุนของอุปทานการนําเขา และขึ้นอยูกับความ ยืดหยุนของการทดแทนกันระหวางสินคานําเขาจากประเทศ B และ R ผลกระทบที่มีตอสวัสดิการของโลกขึ้นอยูกับขนาดของการสรางเสริมการคา (EKJ) และ การเปลี่ยนวิถีการคา (VZW) วาโดยสุทธิแลวผลกระทบดานใดมีมากกวา ดังนั้นจึงไมสามารถสรุป ไดอยางแนชัด 3.2 แนวคิดในการวัดสวัสดิการทางเศรษฐกิจ วิธีการวัดมูลคาสวัสดิการทางเศรษฐกิจวิธีหนึ่งที่เปนที่นิยมใชคือ การประยุกตใชเสน อุปสงคในการวิเคราะหสวัสดิการทางเศรษฐกิจของผูบริโภคโดยการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภค (Consumer Surplus) ซึ่งเปนการวัดเพื่อหาวาผูบริโภคจะไดรับประโยชนมากนอยเพียงไรจากการที่ ผูบริโภคซื้อสินคาตามระดับราคาที่กําหนดไว โดยทําการวัดประโยชนของผูบริโภคดังกลาวในรูป ของมูลคา ซึ่งการวัดสวนเกินของผูบริโภคนั้นโดยทั่วไปแลวจะทําการวัดจากพื้นที่ใตกราฟของเสน อุป สงค แต ในการศึ ก ษาวิเคราะหมูลคา สวัสดิการดัง กลา วนี้ จะตอ งพิจ ารณาถึ ง ชนิดของเสน


29 อุ ป สงค ที่ ใ ช ใ นการศึ ก ษาด ว ยว า เป น เส น อุ ป สงค ป ระเภทใด หากใช เส นอุ ปสงค ต อราคา (Uncompensated Demand) ในการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภค คาที่ไดดังกลาวจะเปนเพียง แคคาประมาณเทานั้น ซึ่งในการที่จะวัดสวนเกินของผูบริโภคที่แทจริงนั้น จะตองทําการศึกษาโดย ใชเสนอุปสงคเพื่อการทดแทน (Compensated Demand) ในการวิเคราะห ภาพที่ 3.4 แสดงเสนอุปสงคตอราคาและอุปสงคเพื่อการทดแทน ราคา Compensated Demand Curve

P~ P* P1

Uncompensated Demand Curve

P2 B’

P’ 0

1

2

B b

ปริมาณ

จากภาพที่ 3.4 จะเห็นไดวาเสนอุปสงคเพื่อการทดแทน (Compensated Demand) จะ มีความชันมากกวาเสนอุปสงคตอราคา (Uncompensated Demand) (ในกรณีของสินคาปกติ (normal goods)) อันเปนผลมาจากการที่เสนอุปสงคเพื่อการทดแทนนั้น มีการตัดผลกระทบตอ รายได (Income Effect) ออกไป เมื่อทําการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภคแลวจะไดคาที่แตกตาง กั น โดยส ว นเกิ น ของผู บ ริ โ ภคจะวั ด จากพื้ น ที่ ใ ต ก ราฟเส น อุ ป สงค เ หนื อ เส น ระดั บ ราคา โดย คาประมาณสวนเกินของผูบริโภค จะเทากับพื้นที่สามเหลี่ยม P*BP’ และมูลคาสวนเกินของ ผูบริโภคที่แทจริงนั้น จะเทากับพื้นที่สามเหลี่ยม P~B’P’ จากแนวคิดการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภคดังกลาว สามารถนําไปใชในการวิเคราะห ถึงผลไดหรือเสียที่มีตอผูบริโภคภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับราคาของสินคา (จาก P เปน P’) ซึ่งสามารถหาผลไดหรือเสียดังกลาวไดจากการเปรียบเทียบขนาดสวนเกินของผูบริโภค ณ ระดับราคาเดิมและระดับราคาใหม


30 ภาพที่ 3.5 แสดงอุปสงคตอสินคา X1 ราคา a P’ P

0

d c ปริมาณ X1

จากภาพที่ 3.5 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินคาเพิ่มสูงขึ้น (จาก P เปน P’) จะทํา ใหมีขนาดของสวนเกินของผูบริโภคมีการเปลี่ยนแปลงลดลง จากเดิมที่ระดับราคา P ผูบริโภคจะได สวนเกินของผูบริโภคเทากับพื้นที่สามเหลี่ยม acP แตหลังจากที่ระดับราคาเพิ่มขึ้นอยูที่ P’ ผูบริโภค จะไดรับสวนเกินของผูบริโภคเทากับพื้นที่สามเหลี่ยม adP’ ซึ่งโดยสุทธิแลวผูบริโภคสูญเสีย สวัสดิการไปเทากับพื้นที่สี่เหลี่ยม P’dcP อันเปนผลมาจากการที่ระดับราคาสินคา X1 เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น ในการวิเคราะหถึงผลไดหรือเสียที่มีตอสวัสดิการของผูบริโภคอีกวิธีการหนึ่งคือ การวัด Compensating Variation (CV) และ Equivalent Variation (EV) ซึ่งเปนการวัดสวัสดิการทาง เศรษฐกิจของผูบริโภคโดยวัดอรรถประโยชนในรูปของเงิน ตัวอยางเชน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ระดับ ราคาแล ว จํ า นวนเงิ น เท าไรที่ จะให ช ดเชยหรือ ดึ ง ออกมาจากผูบ ริโ ภคเพื่อ ชดเชยกับ การ เปลี่ ย นแปลงในรู ป แบบของการบริ โ ภค โดยจํ า นวนเงิ น ดั ง กล า วนี้ จ ะใช เ ป น ตั ว วั ด ขนาดของ สวัสดิการทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภค ขอแตกตางระหวาง CV และ EV ก็คือ ระดับความพอใจที่ใชเปนฐานในการหาจํานวน เงินที่ชดเชยใหกับผูบริโภค โดยที่ CV จะเปนการวัดจํานวนเงินที่ชดเชยใหแกผูบริโภคเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินคาชนิดหนึ่ง เพื่อที่จะรักษาระดับความพอใจของผูบริโภคไวในระดับ เดิม (กอนมีการเปลี่ยนแปลงระดับราคา) ณ ระดับราคาใหม สวน EV จะเปนการวัดจํานวนเงินที่ มากที่สุดที่ผูบริโภคยินดีจะจายเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของราคา


31 ภาพที่ 3.6.1 แสดง Compensating Variation

ภาพที่ 3.6.2 แสดง Equivalent Variation

X2 CV

X2

Z B d

EV

f e

E P’ 0

I1 I2

B”

P B’

X1

B

d

Z’ E

e P’

0

f’ B”

I1 I2 P B’

X1

พิจารณาจากภาพที่ 3.6.1 และ 3.6.2 แสดงใหเห็นถึง CV และ EV โดยสมมติใหผูบริโภคมี สินคา 2 ชนิดคือ สินคา X1 และ X2 ผูบริโภคจะบริโภคสินคาที่จุด e บนเสนงบประมาณ (Budget Line) BB’ บนเสนความพอใจ (Indifference Curve) I1 บริโภคสินคา X1 จํานวน Ee และ X2 จํานวน 0E แต เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินคา X1 เพิ่มขึ้นจาก P เปน P’ ดุลยภาพใหมของผูบริโภคจะอยูที่ จุด d หากวัดโดยใชแนวคิดของ CV (ดูภาพที่ 3.6.1 ประกอบ) ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง ระดับราคาเสนงบประมาณจะเปลี่ยนเปนเสน BB” บริโภคสินคา ณ ระดับความพอใจ I2 เพื่อรักษา ความพอใจของผูบริโภคไวในระดับเดิม (I1) กอนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับราคา จะตองชดเชย เงินใหกับผูบริโภคเปนจํานวน ZB บาท (เลื่อนเสนงบประมาณ BB” ไปจนสัมผัสกับเสนความพอใจ เดิม) ดุลยภาพใหมจะอยูที่จุด f แตถาวัดโดยใชแนวคิดของ EV (ดูภาพที่ 3.6.2 ประกอบ) จํานวน เงินที่จะตองดึงออกจากผูบริโภคเทากับ BZ’ เพื่อใหผูบริโภคสามารถบริโภคสินคา ณ ระดับความ พอใจใหม (I2) ที่ระดับราคาเดิม (P) ในการวัดขนาดของ CV และ EV นั้นสามารถทําการคํานวณไดโดยการเชื่อมโยงกับ แนวคิดของฟงกชันการใชจาย (Expenditure Function) โดยสมมติใหมีสินคา 2 ชนิด และผูบริโภค มีระดับรายได ค งที่ ที่ m=m 0 =m’ และใหระดับราคาสินคาชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงจาก P0 เป น P’ ให M (P;P,m) ≡ m จากแนวคิดของ CV และ EV จะเขียนไดเปน EV = M(P0; P’,m) - M(P0; P0,m) = M(P0; P’,m) - M(P’; P’,m) 3.1) CV = M(P’; P’,m) - M(P’; P0,m) = M(P0; P0,m) - M(P0; P0,m)


32 เขียนฟงกชันของ EV และ CV ใหอยูในรูปของ P เทานั้น (โดยมีขอสมมติใหราคาสินคา อื่น ๆ ทั้งหมดคงที่) ให U0 = v(P0,m) และ U’ = v(P’,m) จะได EV = e(P0,U’) – e(P’,U’) CV = e(P0,U0) – e(P’,U0)

3.2)

จากความสัม พัน ธของฟง กชันการใชจายและเสนอุปสงค เพื่อการทดแทนแบบฮิก ซ (Hicksian Demand) ทําใหสามารถที่จะใชเสนอุปสงคเพื่อการทดแทนแบบฮิกซ ในการหา CV และ EV ได โดยฟงกชันของอุปสงคแบบฮิกซหาไดจากคาอนุพันธของฟงกชันการใชจาย h(P,U) ≡ ∂e/∂P ดังนั้น สมการ EV และ CV สามารถเขียนไดเปน P0

EV = e(P ,U' ) − e(P',U' ) = ∫ h(P,U' )dp 0

P'

P

3.3)

0

CV = e(P ,U ) − e(P',U ) = ∫ h(P,U0 )dp 0

0

0

P'

จากสมการที่ 3.3 แสดงใหเห็นวาการประมาณคา CV และ EV เปนการประมาณคา สวนเกินของผูบริโภค (Consumer Surplus) ภายใตเสนอุปสงคแบบฮิกซนั่นเอง ซึ่งเปนการสะทอน ถึงการวัดมูลคาสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภคที่แทจริง โดยในการวัดมูลคา สวัสดิการวิธีนี้สามารถทําการประมาณโดยใชแนวคิดของ CV หรือ EV ก็ได หากเปนกรณีที่เสน ความพอใจเทากันเปน Quasi-linear การคํานวณโดยใช CV หรือ EV จะใหคาเทากัน ดังนั้นจึง สามารถอาศัยการคํานวณคา CV และ EV ในการหามูลคาการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการทาง เศรษฐกิจที่แทจริงของผูบริโภคได ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินคา


บทที่ 4 อาเซียนและเขตการคาเสรีอาเซียน ในบทนี้ จะกลาวถึ งประวัติความเปนมาของอาเซีย น และความร วมมื อตาง ๆ ทาง เศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) 5 ประเทศที่สําคัญ กลาวคือ มูลคาการนําเขา และการสงออกของกลุมประเทศอาเซียน ทั้งกอน และหลังที่มีการจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียน ตลาดที่สําคัญ ของกลุมอาเซียนในการนําเขา และสงออกสินคา รวมถึง มาตรการทางดานภาษี แผนการลดภาษีภายใต CEPT โดยเนนกลุมสินคา Fast Track ที่ ทําการศึกษา 3 รายการ คือ เยื่อกระดาษ, ปูนซีเมนต และเฟอรนิเจอรไม, เฟอรนิเจอรหวาย 4.1 ความรวมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน (The Association of Southeast Asia Nations : ASEAN) 4.1.1 เขตการคาเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เริ่มดําเนินการในป 1993 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อดึงดูดการลงทุนจากตางประเทศ และ เพิ่มขีดความสามารถการแขงขันใหกับสินคาของอาเซียนในตลาดโลก โดยมีหลักการสําคัญคือ การ ลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใชภาษีตาง ๆ และไดตั้งเปาหมายที่จะลดภาษีนําเขาระหวางกันลง เหลือรอยละ 0-5 สําหรับสินคาเกษตรและสินคาอุตสาหกรรมทุกประเภทภายใน 10 ป (19932003) ยกเวนสินคาเกษตรไมแปรรูปที่ออนไหว (Sensitive Products) ซึ่งจะเริ่มนําเขามาลดภายใน ป 2001-2003 และลดภาษีใหเหลือรอยละ 0-5 ในป 2010 สวนสินคาออนไหวสูง (Highly Sensitive Products) ไดแก ขาวและน้ําตาล จะเริ่มลดภาษีชากวา อัตราภาษีสุดทายสูงกวารอยละ 5 และมีมาตรการคุมกันพิเศษ ทั้งนี้กําหนดการดังกลาวเปนของสมาชิกเดิม สวนสมาชิกใหม 4 ประเทศจะมีกําหนดเวลาที่ชากวาสมาชิกเดิม เนื่องจากเขารวมอาฟตาชากวา แตภายหลังวิกฤตการณทางเศรษฐกิจก็ไดมีการเรงรัด AFTA ใหแลวเสร็จเร็วขึ้น โดย สถานะ ณ วันที่ 1 มกราคม 2548 คือ (1) รายการสินคาในบัญชี IL ซึ่งประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศไดนํามาลดภาษีในป 2547 มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 86,359 รายการ (2) 98.98% ของสินคา ของประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และ 81.35% ของประเทศสมาชิกใหม มีอัตราภาษีระหวาง 05% (3) อัตราภาษีเฉลี่ยสําหรับสินคาใน CEPT สําหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ เทากับ 2.0% (จาก 12.76% ในป ค.ศ.1993 ซึ่งเปนปที่เริ่มภาษี) และ (4) 64.12% ของสินคาใน IL ของสมาชิกเดิม 6 33


34 ประเทศ มีอัตราภาษี 0% ในป 2547 และ 92.99% ของสินคาในบัญชี IL ของสมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีอัตราภาษีระหวาง 0-5% 4.1.2 กรอบความตกลงดานอิเล็กทรอนิกสอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอยางไมเปนทางการครั้งที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 1999 ที่ ประชุมไดเห็นชอบความริเริ่มดานอิเล็กทรอนิกสของอาเซียน (e-ASEAN Initiative) ซึ่งมี วัตถุประสงคเพื่อเสริมสรางความสามารถในการแขงขันของอาเซียนในตลาดโลก และเห็นชอบที่จะ ใหมีการจัดตั้งเขตเสรีดานการคาสินคา บริการ และการลงทุน สําหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารภายใตความตกลงฉบับใหม คือ กรอบความตกลงดานอิเล็กทรอนิกส ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ทั้งนี้ผูนําอาเซียนไดลงนามกรอบความตกลง ดานอิเล็กทรอนิกสของอาเซียนในระหวางการประชุมสุดยอดอาเซียนอยางไมเปนทางการครั้งที่ 4 (Informal ASEAN Summit) ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร สาระสําคัญของกรอบความตกลงนี้ครอบคลุมถึงมาตรการในการดําเนินการสําคัญ 5 ดานดังนี้ y อํานวยความสะดวกในการจัดสรางโครงสรางพื้นฐานดานขอมูลขาวสาร ของอาเซียน y อํานวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชยอิเล็กทรอนิกสในอาเซียน y สงเสริมและอํานวยความสะดวกการเปดเสรีดานการคาสินคา บริการ และ การลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) y พัฒนาสังคมอิเล็กทรอนิกสในอาเซียน และเสริมสรางความสามารถเพื่อลด ชองวางดานอิเล็กทรอนิกสในแตละประเทศและระหวางประเทศอาเซียน y สงเสริมการใช ICT ในการใหบริการของรัฐบาล หรือการจัดตั้งรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส ทั้งนี้ จะสงเสริมประเทศสมาชิกซึ่งมีความพรอมในการเรงรัดการดําเนินการตามความ ตกลงใหสามารถดําเนินการไดใน ป 2545 และชวยเหลือประเทศสมาชิกอื่น ๆ ใหสามารถ ดําเนินการได ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเขตการคาเสรีอาเซียน ครั้งที่ 15 เมื่อเดือนกันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย สมาชิกอาเซียนยกเวนกัมพูชาไดแจงจํานวนรายการที่จะนํามาลดภาษีเพื่อใหเปนไป ตามกรอบความตกลงด า นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องอาเซี ย นแล ว สํ า หรั บ ประเทศไทย ที่ ป ระชุ ม


35 คณะกรรมการดําเนินการเขตการคาเสรีอาเซียน ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ไดมีมติ เห็นชอบใหลดภาษีสินคาจํานวน 294 รายการ ในจํานวนนี้มีรายการที่มีภาษี คิดเปนรอยละ 0 แลว จํานวน 5 รายการ จึงมีรายการที่จะตองนํามาลดภาษีเปน 3 ระยะจํานวน 289 รายการ แบงเปน 6 รายการในป 2545 และ 218 รายการ ในป 2546 สวนที่เหลืออีก 65 รายการใหนําไปลดภาษีในป 2548 4.1.3 เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) อาเซียนไดลงนามเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ในป 1998 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อจัดตั้ง เขตการลงทุนอาเซียนที่มีสมรรถภาพในการแขงขัน มีบรรยากาศการลงทุนที่เสรี และโปรงใสมาก ขึ้น โดยจะครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรง ไมรวมถึงการลงทุนดานหลักทรัพยและการลงทุน ภายใตความตกลงอื่น ๆ ของอาเซียน ภายใตหลักการของความตกลงนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะ เป ด เสรี ก ารลงทุ น อุ ต สาหกรรม ทุ ก ประเภท และให สิ ท ธิ ต า ง ๆ แก นั ก ลงทุ น จากอาเซี ย นใน อุตสาหกรรมตาง ๆ เทาเทียมกันกับที่ใหแกนักลงทุนในประเทศภายในป 2003 สําหรับสมาชิกเดิม และพมา ภายในป 2010 สําหรับกัมพูชา ลาว และเวียดนาม โดยมีขอยกเวนบางประเภท สวนนัก ลงทุนทั่วไปกําหนดเวลาดังกลาวจะเปนภายในป 2010 สําหรับสมาชิกเดิม และ 2015 สําหรับ สมาชิกใหม โดยมีขอยกเวนไดเชนกัน 4.1.4 การเปดเสรีการคาบริการในอาเซียน ประเทศสมาชิ กอาเซียนไดลงนามกรอบความตกลงว าด วยการบริการของอาเซีย น (ASEAN Framework Agreement on Service : AFAS) ในป 1995 เพื่อจัดทําขอผูกพันเปดเสรี การคาบริการ 7 สาขา ใหแกกันและกันมากกวาที่ประเทศสมาชิกไดผูกพันไวภายใต WTO ไดแก สาขาบริการดานการเงิน ดานการทองเที่ยว ดานการสื่อสาร โทรคมนาคม ดานการขนสงทางทะเล ดานการขนสงทางอากาศ ดานการกอสรางและบริการดานธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้อาเซียนอยูระหวาง การเจรจาเปดเสรีรอบที่ 3 โดยไดปรับปรุงวิธีการเจรจา เพื่อเรงรัดการเปดเสรีใหเร็วขึ้นและมีผลที่ เปนสาระสําคัญมาก 4.1.5 โครงการความรวมมือดานอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ไดลงนามในความตกลงพื้นฐานวาดวยโครงการ ความรวมมือทางอุตสาหกรรมอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 1996 และไดมีผลบังคับใชตั้งแตเดือน พฤศจิกายน 1996 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสงเสริมการขยายความรวมมือดานอุตสาหกรรมระหวาง ภาคเอกชนของอาเซียน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินคาและการลงทุนระหวางอาเซียน โดยการ


36 แบงผลิตสินคาอุตสาหกรรมแลวสงออกไปขายในอาเซียน มีหลักดําเนินการ คือ ผูประกอบการ อยางนอย 1 รายในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่ง ยื่นคําขอรับสิทธิประโยชนตอหนวยงานที่แตละ ประเทศกําหนด โดยบริษัทที่ยื่นคําขอรับสิทธิประโยชนตองมีผูถือหุนเปนคนชาติที่บริษัทนั้นตั้งอยู อยางนอยรอยละ 30 ซึ่งสิทธิประโยชนที่จะไดรับจากการเขารวมโครงการ AICO คือ y สินคาและวัตถุดิบที่ใชในการผลิตที่เกี่ยวของเสียภาษีนําเขาในอัตรารอยละ 0-5 (โดยมีผลตั้งแต 1 มกราคม 2548 สําหรับอาเซียน 9 ประเทศ ยกเวน เวียดนาม ซึ่งจะมีผลตั้งแต 1 มกราคม 2549) y สินคานั้นไดรับการยอมรับเสมือนเปนสินคาที่ผลิตในประเทศ และ y ไดรับสิทธิประโยชนที่มิใชภาษีอื่น ๆ ณ เดือนตุลาคม 2548 มีคําขอโครงการ AICO ทั้งสิ้น 157 โครงการ และไดรับอนุมัติ แลว 129 โครงการ และมีมูลคาการคาประมาณ 1.15 พันลานเหรียญสหรัฐฯ ตอป สินคาภายใต โครงการส ว นใหญ เ ป น สิ น ค า ในหมวดยานยนต แ ละชิ้ น ส ว น รองลงมาคื อ เครื่ อ งใช ไ ฟฟ า และ อิเล็กทรอนิกส ทั้งนี้ มีโครงการที่ไทยเขารวมดวยทั้งสิ้น 83 โครงการ 4.1.6 การอํานวยความสะดวกในการขนสงสินคาผานแดนของอาเซียน (Facilitation of Goods in Transit) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไดลงนามกรอบความตกลงอาเซียนวาดวยการอํานวยความ สะดวกในการขนสงสินคาผานแดน (ASEAN Framework Agreement of the Facilitation of Goods in Transit) ในเดือนธันวาคม 1998 โดยมีวัตถุประสงคเพื่ออํานวยความสะดวกในการ ขนสงสินคาผานแดนระหวางประเทศสมาชิกอาเซียนใหมีระบบการขนสงผานแดนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ซึ่งจะชวยใหการคาภายในอาเซียนขยายตัว หลักการของความตกลงนี้ คือ ประเทศหนึ่งสามารถขนสงสินคาผานแดน (Transit) ของ อีกประเทศหนึ่งไปยังประเทศที่สาม โดยจะไมมีการเปดตรวจสินคาโดยไมจําเปน ไมมีการจัดเก็บ ภาษีสินคานําเขาจากสินคาผานแดนและไมจําเปนตองเปลี่ยนพาหนะในการขนสงสินคา ภายหลังการลงนามกรอบความตกลงฯ คณะทํางานอาเซียนที่เกี่ยวของจะตองจัดทําพิธี สารแนบทายความตกลงฯ 9 ฉบับ ปจจุบัน ประเทศสมาชิกไดใหสัตยาบันกรอบความตกลงอาเซียนวาดวยการอํานวย ความสะดวกในการขนสงสินคาผานแดนแลว และไดลงนามในพิธีสารแนบทาย 4 ฉบับ ไดแก พิธี สารฉบับที่ 3 เรื่องประเภท และปริมาณของรถ และ พิธีสารฉบับที่ 4 เรื่องขอกําหนดทางเทคนิคของ รถ โดยรัฐมนตรีขนสงอาเซียนไดลงนามในการประชุมรัฐมนตรีขนสงอาเซียน (ATM) ครั้งที่ 5 เมื่อ


37 เดือนกันยายน 2542 พิธีสารฉบับที่ 5 เรื่องแผนแหงกลุมประเทศอาเซียนวาดวยการประกันภัย รถยนตภาคบังคับ (ASEAN Scheme of Compulsory Motor Vehicle Insurance) โดยรัฐมนตรี คลังอาเซียนไดลงนามในการประชุม AFMM ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนเมษายน 2544 และพิธีสารฉบับที่ 8 เรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยรัฐมนตรีเกษตรและปาไมของอาเซียนไดลงนามใน การประชุมรัฐมนตรีเกษตรและปาไมอาเซียน (AMAF) ครั้งที่ 22 เมื่อเดือนตุลาคม 2543 สําหรับพิธี สารที่เหลืออีก 5 ฉบับอยูระหวางดําเนินการรางของหนวยงานตาง ๆ ของอาเซียน จากความรวมมือทางเศรษฐกิจในดานตาง ๆ ของอาเซียน ความรวมมือสวนใหญยังอยู ในระหวางการเจรจา และยังไมมีการดําเนินการที่เปนรูปธรรมชัดเจนนัก มีเพียงการดําเนินการใน การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนเทานั้นที่ดูจะประสบความสําเร็จ และมีความกาวหนามากที่สุดใน การดําเนินการ ดังนั้นความรวมมือในการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนจึงนับเปนจุดเริ่มตนของการ สรางความสัมพันธในระดับที่ลึกขึ้นของกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อที่จะพัฒนา ความสัมพันธระหวางประเทศสมาชิกอาเซียนตอไปในอนาคต 4.2 เขตการคาเสรีอาเซียน 4.2.1 ความเปนมาของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิ ก สมาคมประชาชาติ เ อเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต หรื อ อาเซี ย น (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ดั้งเดิม 6 ประเทศ ไดแก บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร และไทย ไดประกาศจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน หรืออาฟตา ในเดือนมกราคม 1992 โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีของไทย (นายอานันท ปนยารชุน) ตอมามี สมาชิกใหมเพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ ไดแก เวียดนาม (1995) ลาวและพมา (1997) และกัมพูชา (1999) รวมประชากรทั้งสิ้นประมาณ 500 ลานคน วัตถุประสงคหลักของอาฟตา คือ การสรางความสามารถในการแขงขันใหกับสินคา อาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะสงผลใหอาเซียนเปนแหลงดึงดูดการลงทุนจากตางประเทศ นอกจากนี้ อาฟตาจะชวยเพิ่มอํานาจตอรองของอาเซียนในเวทีการคาโลกที่นับวันจะเปดเสรีมากขึ้นดวย เมื่อ แรกเริ่ ม ของการดํ า เนิน การ อาเซีย นไดกํ า หนดเป า หมายที่ จะลดภาษีศุล กากร ระหวางกันลงเหลือรอยละ 0-5 รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใชภาษีภายในระยะเวลา 15 ป เริ่มตั้งแต 1 มกราคม 1993 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2008 ตอมาในป 1994 อาเซียนไดเรงรัดการดําเนินงาน การจัดตั้งอาฟตาจากเดิมที่กําหนดไว 15 ป มาเปน 10 ป คือ จัดตั้งอาฟตาใหแลวเสร็จภายใน 1


38 มกราคม 2003 รวมทั้งใหนําสินคาอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปในรายการที่ไดรับการยกเวนการ ลดภาษีเปนการชั่วคราวและสินคาเกษตรไมแปรรูปเขามาลดภาษีภายใตอาฟตาดวย ในการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนนั้นมีความตกลง 2 ฉบับ ที่ใชเปนหลักเกณฑในการ ดําเนินงานของอาฟตา ไดแก ความตกลงแมบทวาดวยการขยายความรวมมือทางเศรษฐกิจของ อาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) ที่ใชเปน กรอบการดําเนินการความรวมมือทางเศรษฐกิจดานตาง ๆ และความตกลงวาดวยอัตราภาษีพิเศษ ที่เทากันสําหรับเขตการคาเสรีอาเซียนหรือที่เรียกสั้น ๆ วา ความตกลง CEPT [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] ที่ใชเปนกลไกในการดําเนินงานเขตการคาเสรีอาเซียน 4.2.2 หลักการของประเทศสมาชิก AFTA มีวัตถุประสงคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของอาเซียนในฐานะที่เปน ฐานการผลิตที่สําคัญเพื่อปอนสินคาสูตลาดโลก โดยการเปดเสรีทางดานการคา การลดภาษีและ อุ ป สรรคข อ กี ด ขวางทางการค า ที่ มิ ใ ช ภ าษี ร ะหว า งกั น ภายในภู มิ ภ าค รวมทั้ ง การปรั บ เปลี่ ย น โครงสรางดานภาษีศุลกากรที่จะเอื้ออํานวยตอการคาเสรี กลไกในการดําเนินการลดภาษีของ AFTA เรียกวา CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) กําหนดใหประเทศสมาชิกใหสิทธิประโยชนทางภาษีศุลกากรแกกัน ในลัก ษณะตา งตอบแทน กล า วคื อ การที่ จะได สิท ธิ ป ระโยชน จ ากการลดภาษี ข องประเทศอื่ น สํ า หรั บ สิ น ค า ชนิ ด ใดชนิ ด หนึ่ ง ประเทศสมาชิ ก นั้ น จะต อ งประกาศลดภาษี สํ า หรั บ สิ น ค า ชนิ ด เดียวกันดวย ทั้งนี้ CEPT ไดกําหนดใหสินคาที่ไดรับประโยชนจากการลดภาษีจะตองมีสัดสวน มูลคาที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อยางนอย 40% 4.2.2.1 มาตรการดานภาษี ความตกลง AFTA ดั้งเดิมมีหลักการที่จะลดอัตราภาษีของสินคาที่มาจากประเทศ สมาชิกใหเหลือรอยละ 0-5 ภายใน 15 ป นับแตวันที่ 1 มกราคม 2536 อยางไรก็ตาม ในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ (AEM) ครั้งที่ 26 ในเดือนกันยายน 2537 ที่ประชุมไดมีมติใหเรงการดําเนินการ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนจากเดิมกําหนดไว 15 ป เปน 10 ป (ภายใน ป พ.ศ. 2546 หรือ ค.ศ. 2003) เพื่อใหทันกับระยะเวลาการลดภาษีในกรอบ GATT และกลุมการคาเสรีอื่น ๆ โดยแบงสินคา กลุมที่จะตองนํามาลดภาษี (Inclusion List) ออกเปน 2 ประเภท คือ


39 1. กลุมสินคาเรงลดภาษี (Fast Track) ประกอบดวยสินคา 15 กลุม ไดแก น้ํามันพืช เคมี ภั ณ ฑ ซี เ มนต เยื่ อ กระดาษ ปุ ย สิ่ ง ทอ อั ญ มณี แ ละเครื่ อ งประดั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ พ ลาสติ ก ผลิตภัณฑยาง ผลิตภัณฑหนัง ผลิตภัณฑเซรามิคและแกว เครื่องไฟฟาทําจากทองแดง อิเลกทรอนิกส และเฟอรนิเจอรไมและหวาย โดยมีหลักการลดคือ สินคาที่มีอัตราสูงกวา 20% ให ลดลงเหลือ 0-5% ภายในป พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) และสําหรับสินคาที่มีอัตราภาษี 20% หรือต่ํา กวาใหลดลงเหลือ 0-5% ภายในป พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ขณะนี้มีสินคาใน Fast Track รวม 15,381 รายการ 2. กลุมสินคาที่ลดภาษีตามขั้นตอนปกติ (Normal Track) ซึ่งประกอบดวยสินคาสวน ใหญภายใต AFTA มีขั้นตอนในการลดคือสินคาที่มีอัตราสูงกวา 20% ใหลดเหลือ 0-5% ภายในป พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) และสําหรับสินคาที่มีอัตราภาษีในระดับ 20% หรือต่ํากวาใหลดลงเหลือ 05% ภายในป พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โดยในขณะนี้มีสินคารวมใน Normal Track ประมาณ 32,108 รายการภายใตความตกลง CEPT มีสินคาบางกลุมที่ไดรับการตอเวลาในการลดภาษีและ ไดรับการยกเวนภาษี ดังนี้ ก. ขอยกเวนทั่วไป (General Exclusion List) สินคาที่มีผลกระทบตอความมั่นคงของ ชาติ ศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม ชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชน ทรัพยสินมีคาทาง ประวัติศาสตร สัตวและพืช ศิลปวัตถุโบราณ จะไดรับการยกเวนจากการลดภาษี ข. รายการสินคาที่ขอยกเวนภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List - TEL) โดยให ทยอยนํารายการสินคาเหลานี้มาไวในตารางการลดภาษีของ AFTA ปละ 20% ใหเสร็จสิ้นภายใน 5 ป โดยเริ่มลดภาษีสินคางวดแรกตั้งแต 1 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1996) และงวดสุดทายในป 2543 (ค.ศ. 2000) โดยสินคาจะตองมีภาษีเหลือที่อัตรา 0-5% ในป 2546 (ค.ศ. 2003) ทั้งนี้ บาง ประเทศสมาชิกไมสามารถนําสินคา TEL งวดสุดทายมาลดภาษีไดตามกําหนดในป 2543 (ค.ศ. 2000) ซึ่งจะตองมีการหารือเพื่อจัดทําแนวทางการชะลอการลดภาษีตอไป ค. สินคาเกษตรไมแปรรูปประเภทออนไหวปกติ (Sensitive List) จะตัองนํามาเริ่มลด ภาษีในป 2544-2546 (ค.ศ. 2001-2003) เพื่อใหเหลือภาษีที่อัตรา 0-5% ในป 2553 (ค.ศ. 2010) และเริ่มลดภาษีสินคาเกษตรไมแปรรูปประเภทออนไหวสูง (Highly Sensitive List) ไดแก ขาว ในป 2544-2548 (ค.ศ. 2001-2005) สิ้นสุดในป 2553 (ค.ศ. 2010)


40 ภาพที่ 4.1 ขั้นตอนการลดภาษีของกลุม สินคาที่จะเรงลดภายใต AFTA ภายในเวลาไมเกิน 10 ป ภาษีสูงกวา 20%

ลดเหลือ 0-5%

ลดเหลือ 20% ณ เมื่อใด ยกเลิกขอจํากัดดาน ปริมาณนําเขา

ภายใน 5 ป

ยกเลิกมาตรการที่มิใช ภาษีอื่น ๆ 2546

1 ม.ค. 2536 ระยะเวลา

(ค.ศ. 1993)

ภาษี 20% หรือต่ํากวา

ยกเลิกขอจํากัดดาน ปริมาณนําเขา 1 ม.ค. 2536

(ค.ศ. 2003)

ภายในเวลาไมเกิน 7 ป ลดเหลือ 0-5%

ภายใน 5 ป

ยกเลิกมาตรการที่มิใช ภาษีอื่น ๆ 2541

ระยะเวลา (ค.ศ. 1993)

(ค.ศ. 2000)


41 ขั้นตอนการลดภาษีของไทย - สินคา Fast Track 1. สินคาที่อัตราภาษีสูงกวา 20% ลดเหลือ 0-5% ใน 10 ป เริ่ม 1 ม.ค. 1993 1993 1995 1997 1999 2001 2003 อัตราปจจุบัน/ป สูงกวา 30% 30* 25 20 15 10 0-5 26-30% 25 20 15 10 0-5 21-25% 20 15 10 0-5 * เปนการลดฝายเดียวของไทย 2. สินคาที่อัตราภาษี 20% หรือต่ํากวา ลดเหลือ 0-5% ใน 7 ป เริ่ม 1 ม.ค. 1993 1993 1995 1997 1998 2000 อัตราปจจุบัน/ป 20% 20 15 10 0-5 15-19% 15 10 0-5 10-14% 10 0-5 5-9% 0-5


42 ภาพที่ 4.2 ขั้นตอนการลดภาษีภายใต AFTA (NORMAL TRACK) ภาษีสูงกวา 20 %

ภายใน 5-8 ป

ภายใน 7 ป

ลดเหลือ 20%

ลดเหลือ 0-5%

ภายใน 5 ป

ยกเลิกขอจํากัด ดานปริมาณนําเขา

ยกเลิกมาตรการที่มิใช ภาษีอื่น ๆ

1 ม.ค. 2536 ระยะเวลา

2541

2544

2546

(ค.ศ 1993)

(1998)

(2001)

(2003)

ภาษี 20% หรือต่ํากวา

ยกเลิกขอจํากัดดาน ปริมาณนําเขา 1 ม.ค 2536 ระยะเวลา (ค.ค 1993)

ลดภาษีในปที่ 1 หรือ 4 ก็ได แตตองใหเสร็จในปที่ 10

ภายใน 5 ป

2548

2549

2551

(2005)

(2006)

(2008)

ลดเหลือ 0-5%

ยกเลิกมาตรการที่มิใช ภาษีอื่น ๆ 2541

2551

(1998)

(2008)


43 ภาพที่ 4.3 เปรียบเทียบขั้นตอนการลดภาษีของ FAST TRACK และ NORMAL TRACK FAST TRACK

NORMAL TRACK

ภาษีสูงกวา 20% • ลดเหลือ 0-5% ภายใน 10 ป

ภาษีสูงกวา 20% • ลดเหลือ 20% ในปที่ 8 • ลดเหลือ 0-5% ในปที่ 15

ภาษี 20% หรือต่ํากวา • ลดเหลือ 0-5% ภายใน 7 ป

ภาษี 20% หรือต่ํากวา • ลดเหลือ 0-5% ภายใน 7-10 ป

กลุมสินคาที่จะเรงลดภาษี 15 กลุม (FAST TRACK) สินคากลุม ที่ไทยเสนอ

8. ซีเมนต 9. ปุย 10. ผลิตภัณฑหนัง 11. เยื่อกระดาษ 12. สิ่งทอ 13. อัญมณีและเครื่องประดับ 14. เครื่องใชไฟฟา 15. เฟอรนิเจอรไม

กุลมสินคาที่อาเซียนอื่นเสนอ 1. น้ํามันพืช 2. เคมีภัณฑ 3. เภสัชภัณฑ 4. พลาสติก 5. ผลิตภัณฑยาง 6. ผลิตภัณฑเซรามิกและผลิตภัณฑแกว 7. แคโทดที่ทาํ จากทองแดง เครื่องอิเล็กทรอนิกส เฟอรนิเจอรหวาย


44 มาตรการเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) : ผลกระทบตอ 15 กลุมอุตสาหกรรม นับตั้งแต 1 มกราคม ค.ศ.1993 เปนตนไป จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดานภาษี ศุลกากรขาเขาของสินคาแทบทุกชนิดในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะสินคา 15 กลุม ไดแก น้ํามันพืช ซี เมนต ยางพารา พลาสติก ปุย ผลิตภัณฑเซรามิก – แกว อิเลคทรอนิ คส ขั้วไฟฟา ทองแดง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอรนิเจอรไมและหวาย ยา และเคมีภัณฑ ซึ่งอาเซียนได กําหนดใหมีการเปลี่ยนแปลงดานภาษีศุลกากรเปนการเรงดวน ดังนี้ ตารางที่ 4.1 แสดงการเปรียบเทียบอัตราภาษีศุลกากร สินคานําเขาของกลุมประเทศอาเซียน สินคา

- น้ํามันปาลม

0

50

0

10

- น้ํามันถั่วเหลือง

0

20

0

20

0 0 0 0

0-20 0-10 0-20 20

0-55 0 0 55

30 30 30 30

ไทย 1.67-7 บาท/ลิตร 2.5 บาท/ลิตร 2.5 บาท/ลิตร 30-50 30 30 50

5 5

20 10-30

0 5-35

5 20-30

30-50 30-60

10 10

0 5 0 5

10-30 10-50 5-20 50

2-55 2-55 0-2 20-30

5-15 40-60 0 50

40 40-60 30 100

* * 0 0

1. น้ํามันพืช

2. ซีเมนต - ปูนซีเมนตเม็ด - ปูนซีเมนตปอรตแลนด - ปูนซีเมนตขาว 3. ยางพารา - น้ํายางดิบ - ผลิตภัณฑยาง 4. พลาสติก - วัตถุดบิ พลาสติก - ผลิตภัณฑพลาสติก 5. ปุย 6. ผลิตภัณฑหนัง

สิงคโปร ฟลิปปนส มาเลเซีย อินโดนีเซีย 0 20-50 0 10-20

บรูไน * * * 0 0 0 0


45 ตารางที่ 4.1 (ตอ) สินคา 7. สิ่งทอ 8. เยือ่ กระดาษ 9. ผลิตภัณฑเซรามิค - แกว -วัตถุดบิ เซรามิค -วัตถุดบิ แกว -ผลิตภัณฑแกวและกระจก 10. อิเลคทรอนิคส 11. ขั้วไฟฟาทองแดง 12. อัญมณีและเครื่องประดับ - วัตถุดบิ อัญมณีและ เครื่องประดับ - เครื่องประดับสําเร็จรูป 13. เฟอรนิเจอรไมและหวาย 14. ยา 15. เคมีภัณฑ

สิงคโปร ฟลิปปนส มาเลเซีย อินโดนีเซีย 5 30-40 10-30 40-60 0 3 5 5 0 40-50 0 40-60 0 10-20 0 5 0 0 0 5 0 10-50 5-50 30-60 0 10-30 5-35 0 0 20 2 0

ไทย 80 10 80 35 30 50-80 30-60 6

บรูไน 10 * * * * * 20 20

0

3-10

10

0-30

20-35

10

5 5 0 0-11

50 50 10-20 10-20

* 20-25 0-2 2-30

40-50 30-50 5 5

60 80 25-30 30

10 20 * 20

ที่มา : - CUSTOMS TARIFF OF THAILAND - IMPORT TARIFF OF BRUNEI - CUSTOMS TARIFF OF SINGAPORE - CUSTOMS TARIFF OF PHILIPPINES - CUSTOMS TARIFF OF MALAYSIA หมายเหตุ : * หมายถึง ไมปรากฏรายนามสินคาและอัตราภาษี จากตารางแสดงใหเห็นวาอัตราภาษีศุลกากรของไทยคอนขางสูง สินคาบางชนิดสูงถึง รอยละ 100 เชน ผลิตภัณฑหนัง เสื้อผาสําเร็จรูป ผาผืนประเภทตาง ๆ ผลิตภัณฑแกวและกระจก เฟอรนิเจอรไมและหวาย เปนตน สําหรับอัตราภาษีของอินโดนีเซียที่สูงเปนอันดับที่ 2 ประมาณรอย ละ 60 ไดแกสิ่งทอ ผลิตภัณฑแกว และกระจก เครื่องประดับสําเร็จรูป เฟอรนิเจอรไมและหวาย เปน


46 ตน สวนประเทศมาเลเซีย มีอัตราภาษีสูงเปนอันดับ 3 โดยสูงสุดประมาณรอยละ 55 สินคาที่มี อัตราภาษีสูง มีหลายประเภท อาทิเชน ผลิตภัณฑพลาสติก วัตถุดิบเพื่อผลิตภัณฑพลาสติก ปูนซิ เมนตขาว ผลิตภัณฑแกวและกระจก สวนประเทศฟลิปปนส มีอัตราภาษีสูงสุดประมาณรอยละ 50 เชน ผลิตภัณฑหนัง ผลิตภัณฑพลาสติก ผลิตภัณฑเซรามิค แกว น้ํามันพืช อาทิ น้ํามันปาลม เปน ตน ประเทศที่มีอัตราภาษีศุลกากรต่ําสุดคือ ประเทศสิงคโปร มีอัตราภาษีอยูระหวาง 0-5 สินคาที่มี อัตราภาษีสูงในประเทศสิงคโปร คือ เคมีภัณฑ ประมาณรอยละ 11 ซึ่งยังอยูในอัตราต่ํา เมื่อเทียบ กับประเทศอื่น สวนบรูไนนั้น การนําเขาสินคายังนอย ฉะนั้นจึงมีอัตราภาษีศุลกากรขาเขาสําหรับสินคา บางชนิดเทานั้น สําหรับสินคาที่มีอัตราภาษีสูง คือ เฟอรนิเจอรไม – หวาย, ขั้วไฟฟา, ทองแดง, เคมีภัณฑ, อิเลคทรอนิคส มีอัตราภาษีประมาณรอยละ 20


ตารางที่ 4.2 General Formula of Fast Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates Above 20%) Country

2001

2002

2003

40% 30% 20% 20% 15% 15% 10% 30% 20% 20% 20% 15% 15% 10% 25% 20% 20% 20% 15% 15% 10% Malaysia 50% 32.0% 27.5% 23.0% 18.5% 14.0% 9.5% 40% 26.0% 22.5% 19.0% 15.5% 12.0% 8.5% 30% 20.0% 17.5% 15.0% 12.5% 10.0% 7.5% Philippines 46-50% 45% 40% 35% 30% 25% 20% 41-45% 40% 35% *0.3% 25% 20% 15% 36-40% 35% 30% 25% 20% 15% 10% 31-35% 30% 25% 20% 20% 15% 15% 26-30% 25% 25% 20% 20% 15% 15% 21-25% 20% 20% 15% 15% 15% 10% Singapore Above 20% 0 NA NA NA NA NA NA NA NA Thailand Above 30% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 15% 15% 10% 26-30% 25% 25% 20% 20% 15% 15% 10% 21-25% 20% 20% 15% 15% 10% 10% 0-5% Source : ASEAN Secretariat * The above is a general tariff reduction formula. This does not preclude a faster or slower rate of reduction for each tariff line with the specified time - frame 33 ** Existing Tariff Rates applicable to ASEAN : Non - PTA products (as of 31 December 1992)

10% 10% 10% 5.0% 5.0% 5.0% 15% 10% 10% 10% 10% 10% NA 10% 10%

0-5% 0-5% 0-5%

Brunel D. Indonesia

Existing Tariff Rates **

1993

1994

1995

No products with tariffs above 20% 40% 40% 30% 30% 30% 20% 25% 25% 20% 45.5% 41.0% 36.5% 36.5% 33.0% 29.5% 27.5% 25.0% 22.5% During this period, Executive Order 470 implements an autonomous 5-year tariff reduction program ending 1995

1996

1997

1998

1999

2000

0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% NA 0-5% 0-5%

47


48

Country Brunel D. Indonesia Malaysia Philippines

Existing Tariff Rates ** 20% 15% 10% 20% 15% 10% 20% 10%

ตารางที่ 4.3 General Formula of Fast Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates 20% and Below)

1993

1994

1995

20% 20% 15% 15% 15% 10% 10% 10% 5% 20% 20% 15% 15% 15% 10% 10% 10% 5% 17.86% 15.72% 13.58% 9.30% 8.60% 7.90% During this period, Executive Order 470 implements an autonomous 5-year tariff reduction program ending 1995 0-5% 0-5% 0-5% 0% NA NA 20% 20% 15% 15% 10% 0-5% 0-5%

1996

1997

1998

1999

2000

15% 10% 5% 15% 10% 5% 11.44% 7.20%

15% 10% 5% 10% 5% 5% 9.30% 6.50%

10% 10% 5% 10% 5% 5% 7.16% 5.80%

10% 10% 5% 10% 5% 5% 5.02% 5.00%

0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5%

2001

2003

48

16-20% 15% 15% 10% 10% 0-5% 11-15% 10% 10% 0-5% 0-5% 0-5% 6-10% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% Singapore 0-2.5% NA NA NA NA NA NA Thailand 20% 15% 10% 10% 10% 0-5% 15-19% 15% 15% 10% 10% 0-5% 10-14% 10% 10% 0-5% 6-9% 5% or below Source : ASEAN Secretariat * The above is a general tariff reduction formula. This does not preclude a faster or slower rate of reduction for each tariff line with the specified time - frame ** Existing Tariff Rates applicable to ASEAN : Non - PTA products (as of 31 December 1992)

2002


49 ตารางที่ 4.4 General Formula of Normal Track Tariff Reduction Program (Tariff Rates Above 20%) Country

Existing 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 Tariff Rates ** Brunel D. 30% 30% 28% 26% 24% 22% 20% 15% 15% 10% 10% 10% Indonesia 50% 50% 50% 50% 50% 50% 50% 30% 30% 20% 20% 20% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 30% 30% 20% 20% 20% 30% 30% 30% 30% 30% 30% 30% 20% 20% 20% 20% 20% 25% 25% 25% 25% 25% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 20% Malaysia 50% 46.25% 42.50% 38.75% 35% 31.25% 27.50% 23.75% 20% 20% 20% 15% 30% 28.75% 27.50% 26.25% 25% 23.75% 22.50% 21.25% 20% 20% 20% 15% During this period Philippines 46-50% 45% 40% 35% 30% 25% 20% 20% 20% Executive Order 470 41-45% 40% 35% 30% 25% 25% 20% 20% 20% implements an 36-40% 35% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% autonomous 5- year 31-35% 30% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% tariff reduction program 25% 25% 25% 25% 25% 20% 20% 20% 26-30% ending 1995 21-25% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% Singapore N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A Thailand Above 30% 30%*** 30% 30% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 26-30% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 21-25% 20% 20% 20% 20% Source : ASEAN Secretariat * The above is a general tariff reduction formula This does not preclude a faster or slower rate of reduction for each tariff line within the specified time frame ** Existing Tariff Rate applicable to ASEAN : Non-PTA product (as 31 December 1992)

2004

2005

2006

2007

2008

0-5% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% N/A 15% 15% 15%

15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% N/A 15% 15% 15%

10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% N/A 10% 10% 10%

10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% N/A 10% 10% 10%

0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% N/A 0-5% 0-5% 0-5%

49


50 ตารางที่ 4.5 General Formula of Normal Track Tariff Reduction Program (For Products with Tariff Rate 20% and Below) Country

Existing 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 Tariff Rates ** Brunel D. 30% 30% 28% 26% 24% 22% 20% 15% 15% 10% 10% 10% 50% 50% 50% 50% 50% 50% 50% 30% 30% 20% 20% 20% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 30% 30% 20% 20% 20% Indonesia 30% 30% 30% 30% 30% 30% 30% 20% 20% 20% 20% 20% 25% 25% 25% 25% 25% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 20% 50% 46.25% 42.50% 38.75% 35% 31.25% 27.50% 23.75% 20% 20% 20% 15% Malaysia 30% 28.75% 27.50% 26.25% 25% 23.75% 22.50% 21.25% 20% 20% 20% 15% 46-50% 45% 40% 35% 30% 25% 20% 20% 20% During this period Philippines 41-45% 40% 35% 30% 25% 25% 20% 20% 20% Executive Order 470 36-40% 35% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% implements an 31-35% 30% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% autonomous 5- year 26-30% tariff reduction program 25% 25% 25% 25% 25% 20% 20% 20% 21-25% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% ending 1995 Singapore N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A N/A Thailand Above 30% 30%*** 30% 30% 30% 30% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 26-30% 25% 25% 20% 20% 20% 20% 21-25% 20% 20% 20% 20% Source : ASEAN Secretariat * The above is a general tariff reduction formula This does not preclude a faster or slower rate of reduction for each tariff line within the specified time frame ** Existing Tariff Rate applicable to ASEAN : Non-PTA product (as 31 December 1992)

2004

2005

2006

2007

2008

0-5% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% N/A 15% 15% 15%

15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% 15% N/A 15% 15% 15%

10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% N/A 10% 10% 10%

10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% 10% N/A 10% 10% 10%

0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% 0-5% N/A 0-5% 0-5% 0-5%

50


51 ตารางที่ 4.6 แสดงกําหนดการลดภาษีของประเทศ สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ป 2000 ป 2001 ป 2002 85% ของ IL มี 90% ของ IL มี ทุกรายการใน IL มี อัตราอากร อัตราอากร อัตราอากร 0-5% 0-5% 0-5% (ยืดหยุน บาง รายการ)

ป 2003 ป 2010 ทุกรายการใน IL มี ทุกรายการใน IL อัตราอากร 0-5% มีอัตราอากร 0% และ 60% ของ IL อัตราอากร 0%

ตารางที่ 4.7 แสดงกําหนดการลดภาษีในบัญชีตาง ๆ ของ AFTA ประเทศ

สินคาอุตสาหกรรมและ เกษตรแปรรูป IL TEL สมาชิกเดิม 1993-2003 1996-2003 เวียดนาม 1996-2006 1999-2006 ลาวและพมา 1998-2008 2001-2008 กัมพูชา 2000-2010 2003-2010

สินคาเกษตรไมแปรรูป IL 1996-2003 1999-2006 2001-2008 2003-2010

TEL 1996-2003 2000-2006 2002-2008 2004-2010

SL 2001-2010 2004-2013 2006-2015 2008-2017

มาตรการเรงรัดเพื่อฟน ฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Bold Measures) ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ผูนําอาเซียนได ออกประกาศมาตรการเรงรัดเพื่อฟนฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Bold Measures) โดย ประเทศสมาชิกดั้งเดิม 6 ประเทศจะเรงลดภาษีสินคาใหเร็วขึ้นอีก 1 ป จากป 2546 (ค.ศ. 2003) เปนป 2545 (ค.ศ. 2002) โดยจะลดภาษีสินคา 85% ของบัญชี Inclusion List ใหเหลือที่อัตรา 05% ในป 2543 (ค.ศ. 2000) และในป 2544 (ค.ศ. 2001) จะเพิ่มสัดสวนเปน 90% และในป 2545 (ค.ศ. 2002) สินคาทั้งหมด (100%) ใน Inclusion List จะมีภาษีที่อัตรา 0-5% ทั้งนี้ โดยมีความ ยืดหยุนได


52 อนึ่ง ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกันยายน 2542 ไดมี การหารือถึงการกําจัดกําแพงภาษีทั้งหมด เพื่ออาเซียนเปนเขตการคาเสรีอยางสมบูรณซึ่งประเทศ สมาชิกเดิม 6 ประเทศไดตกลงที่จะลดภาษีสินคา 60% ของ Inclusion List ใหเหลือที่อัตรา 0% ใน ป 2546 (ค.ศ. 2003) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอยางไมเปนทางการ ซึ่งมีขึ้นในชวง การประชุมสุดยอดอาเซียนอยางไมเปนทางการ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 จะลดภาษีสินคา ทั้งหมด (100%) ใหเหลือที่อัตรา 0% ในป 2553 (ค.ศ. 2010) และสําหรับประเทศสมาชิกใหมในป 2558 (ค.ศ. 2015) 4.2.2.2 การยกเลิกมาตรการที่มิใชภาษี นอกเหนือจากขอกําหนดในการลดภาษีแลว AFTA ยังกําหนดใหประเทศสมาชิกยกเลิก มาตรการจํากัดปริมาณ (QR) ทันทีเมื่อสินคาไดนําเขาแผนการลดภาษีแลว และไดรับประโยชน จากการลดภาษีของอาเซียนอื่นแลว และยกเลิกมาตรการที่มิใชภาษี (NTB) ภายใน 5 ป หลังจาก ไดรับประโยชนจากการลดภาษีของอาเซียนอื่น นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังตองใหการอํานวย ความสะดวกเพื่อใหการดําเนินงานของ AFTA มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยมีการดําเนินการที่สําคัญ คือ นําระบบประเมินราคาศุลกากรแกตตมาใชในป 1997 ปรับประสานพิกัดอัตราศุลกากรในระบบ ฮาโมไนซที่ 8 หลัก ใชระบบชองทางศุลกากรพิเศษสําหรับสินคา AFTA (Green Lane System) ตั้งแต 1 มกราคม 1996 เปนตน ขณะนี้อาเซียนกําลังดําเนินการอยางจริงจังเพื่อยกเลิกอุปสรรค ทางการคาที่มิใชภาษีในอาเซียน โดยใหมีกระบวนการแจงขามประเทศ (cross-notification) ซึ่ง ประเทศสมาชิกและภาคเอกชนสามารถแจงมาตรการที่มิใชภาษีที่ประเทศอื่น ๆ ใชอยูตอสํานัก เลขาธิการอาเซียน เพื่อรวบรวม ตรวจสอบ แลวใหประเทศสมาชิกที่ถูกแจงนั้นชี้แจงและดําเนินการ ยกเลิกตอไปหากพบวาเปนอุปสรรคทางการคาและไมสอดคลองกับความตกลง CEPT 4.2.2.3 การใชสิทธิพิเศษทางภาษีของอาฟตา แมวาการลดภาษีระหวางกันของสมาชิกอาเซียนภายใตกรอบความตกลง CEPT - AFTA จะเริ่มมาตั้งแตป 1993 แตการขอใชสิทธิพิเศษทางภาษีกลับมีมูลคาไมมากนัก อยางไรก็ตาม สถิติ การขอใบรับรองแหลงกําเนิดสินคาแบบฟอรม D ของไทยจากกรมการคาตางประเทศลาสุด แสดงให เห็นวาผูสงออกไทยไดหันมาใหความสนใจกับการใชสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใตความตกลง เขตการคาเสรีอาเซียน หรือ CEPT-AFTA มากขึ้น โดยในป 2001 มีการขอ From D ซึ่งเปนฟอรม รับรองแหลงกําเนิดสินคา (Rules of Origin) ของสินคาที่ใชสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต CEPT - AFTA เปนมูลคาราว 1,100 ลานเหรียญสหรัฐ คิดเปนสัดสวนรอยละ 8.7 ของมูลคาการ สงออกไปอาเซียนโดยรวม เพิ่มขึ้นจากป 2000 ซึ่งมีการขอ From D เพียงรอยละ 6 และไดมีการขอ


53 From D เพิ่มขึ้นตอเนื่องมาถึงป 2002 ซึ่งมีการสงออกโดยใช Form D ภายใต CEPT - AFTA เปน มูลคากวา 1,500 ลานเหรียญสหรัฐ หรือราวรอยละ 11 ของมูลคาสงออกไปอาเซียน ตารางที่ 4.8 แสดงสถิติการออกหนังสือรับรองแหลงกําเนิด สินคาแบบฟอรม D (Form D) ของไทย มูลคา : ลานเหรียญสหรัฐ ประเทศ 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 มาเลเซีย 49.98 278.78 212.12 281.53 352.86 421.49 601.10 อินโดนีเซีย 69.37 177.02 63.72 121.33 277.40 339.29 406.97 ฟลิปปนส 79.09 136.05 100.31 149.05 156.64 233.05 314.69 เวียดนาม 1.36 2.44 6.71 51.16 52.71 65.32 146.88 สิงคโปร 0.79 3.55 8.33 5.73 11.96 20.12 49.98 บรูไน 0.17 0.21 0.20 0.52 0.27 0.53 0.94 ลาว 0 0 0 0 0.13 0.02 0.04 พมา 0 0 0 0.02 0 0.06 0.05 กัมพูชา 0 0 0 0 0 0.02 0.37 รวม 200.76 598.05 391.4 609.34 851.97 1079.89 1521.02 ที่มา : รวบรวมจากสําเนา Form D สวนหนังสือแหลงกําเนิดสินคา สํานักบริหารการนําเขา และสงออก กรมการคาตางประเทศ 4.2.3 การเขาเปนภาคีความตกลง CEPT for AFTA ของประเทศสมาชิกใหมอาเซียน เวียดนาม เขาเปนสมาชิกอาเซียนเมื่อป กรกฎาคม 2538 โดยเวียดนามไดรับการตอ เวลาในการดําเนินการตามพันธกรณี CEPT for AFTA เปนเวลา 3 ป หลังจากประเทศสมาชิก อาเซียนดั้งเดิม โดยมีกําหนดตองเริ่มลดภาษีสินคาใน Inclusion List ในป 2539 (1996) และลดลง เหลือที่อัตรา 0- 5% ในป 2549 (ค.ศ. 2006) และเริ่มลดภาษีสินคาเกษตรไมแปรรูปประเภท ออนไหว (Sensitive List) ในป 2547 (ค.ศ. 2004) ใหเหลือภาษีที่อัตรา 0-5% ในป 2556 (ค.ศ. 2013) ลาวและพมา ไดเขาเปนสมาชิกอาเซียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 และภายใตกรอบ ความตกลง CEPT for AFTA ลาวและพมามีกําหนดจะตองเริ่มลดภาษีสินคาใน Inclusion List ใน 2541 (ค.ศ. 1998) และลดภาษีใหเหลือ 0-5% ในป 2551 (ค.ศ. 2008) และเริ่มลดภาษีสินคา


54 เกษตรไมแปรรูปประเภทออนไหว (Sensitive List) ในป 2546 (ค.ศ. 2006) ใหเหลือภาษีที่อัตรา 05% ในป 2558 (ค.ศ. 2015) กลาวคือ ลาวและพมาไดรับการตอเวลาในการดําเนินการตาม พันธกรณีของ CEPT เปนเวลา 5 ป หลังจากอาเซียนดั้งเดิม กัมพูชา เขาเปนสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 โดยกัมพูชาไดรับการตอ เวลาในการดําเนินการตามพันธกรณี CEPT เปนเวลา 7 ป หลังจากประเทศอาเซียนดั้งเดิม กลาวคือ กัมพูชามีกําหนดตองเริ่มลดภาษีสินคาใน Inclusion List ในป 2543 (ค.ศ. 2000) และ ลดลงเหลือที่อัตรา 0- 5% ในป 2553 (ค.ศ. 2010) และเริ่มลดภาษีสินคาเกษตรไมแปรรูปประเภท ออนไหว (Sensitive List) ในป 2551 (ค.ศ. 2008) ใหเหลือภาษีที่อัตรา 0-5% ในป 2560 (ค.ศ. 2017) ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอยางไมเปนทางการ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 กําหนดใหประเทศสมาชิกใหมลดภาษีสินคาใน Inclusion List ทั้งหมด (100%) ใหเหลือที่ อัตรา 0% ในป 2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีความยืดหยุนได ซึ่งจะชากวาประเทศสมาชิกดั้งเดิม 5 ป อนึ่ง ภายใตมาตรการเรงรัดการฟนฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Bold Measures) ประเทศสมาชิกใหมก็จะตองเรงลดภาษีใหเร็วขึ้นเชนกัน โดยเวียดนามจะตองเรงเพิ่มรายการสินคา ที่จะลดภาษีใหเหลือที่อัตรา 0-5% ในป 2546 (ค.ศ. 2003) ลาวและพมาในป 2548 (ค.ศ. 2005) และกัมพูชาในป 2550 (ค.ศ. 2007) 4.2.4 ความคืบหนาในการดําเนินการของ AFTA การดําเนินการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนมีความกาวหนาไปมาก ประเทศสมาชิก พยายามเรงรัดการลดภาษีศุลกากรตามมาตรการ Bold Measure ที่กําหนดไว ซึ่งในปจจุบนั คาดวา รายการสินคาใน IL ที่ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ไดนํามาลดภาษีในป 2545 จะมีจํานวนรวม ทั้งสิ้น 58,360 รายการ ซึ่งครอบคลุมสัดสวน 87.08% ของรายการสินคาทั้งหมดในอาเซียน1 โดย อัตราภาษีโดยเฉลี่ยในป 2543 สําหรับสินคาภายใต CEPT อยูในระดับ 4.432 และคาดวาจะลดลง เหลือประมาณ 3.96% ในป 2544 ซึ่งลดลงอยางเห็นไดชัดหากเทียบกับอัตรา 12.76% ในป 2536 ซึ่งเปนปแรกของการจัดตั้ง AFTA นอกจากนี้ในป 2544 สินคาประมาณ 92.9% หรือ 40,911 รายการของสินคาภายใตรายการ IL ของประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ จะมีอัตราภาษีระหวาง 0-5 % และในป 2546 สินคาประมาณ 21,258 รายการ จะมีอัตราภาษีเปน 0% 1

33rd AEM Report, September 2001, Ha Noi ขอมูลจาก Joint Press Statement, 32nd ASEAN Economic Ministers Meeting, 5 October 2000, Chiang Mai 2


55 หลังจากการดําเนินการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ปรากฏวาปริมาณการคาของ อาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นอยางเห็นไดชัด โดยในป 2543 มูลคาการคาการสงออกระหวางสมาชิก อาเซียน (Intra ASEAN Export) มีมูลคา 97.80 พันลานดอลลารสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากมูลคา 77.45 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป 2542 หรือประมาณ 26.3% และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในป 2536 ซึ่งมี มูลคาประมาณ 43.7 พันลานดอลลารสหรัฐ (หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากป 2536 ถึง 124.7%) และ มูลคาการคา (การสงออกและนําเขา) ของอาเซียนไปยังประเทศนอกภูมิภาค (Extra-ASEAN Trade) ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลําดับ โดยเพิ่มจาก 346.5 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป 2536 เปน 490.4 พั น ล า นดอลลาร สหรั ฐ ในป 2542 และขยายตั ว เป น 585.4 พั น ล า นดอลลาร ส หรั ฐ ในป 25433 โดยประเทศคูคาที่สําคัญของอาเซียน ไดแก สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุน ตารางที่ 4.9 รางแผนการลดภาษีสินคาป 2545 (Tentative 2002 CEPT Package)4 IL TEL Sensitive List GE Total Brunei 6,276 0 14 202 6,492 Indonesia 7,213 0 4 68 7,285 Malaysia 10,039 218* 83 53 10,393 Philippines 5,571 6** 46 16 5,639 Singapore 5,859 0 0 0 5,859 Thailand 9,104 0 7 0 9,111 Vietnam 5,505 696 51 139 6,391 Laos DPR 2,098 1,291 88 74 3,551 Myanmar 3,580 1,823 21 48 5,472 Cambodia 3,115 3,523 50 134 6,822 ASEAN-10 58,360 7,557 364 734 67,015 Percentage 87.08% 11.28% 0.54% 1.10% 100.00

3

สถิติในป 2536 เปนขอมูลจาก ASEAN Secretariat รวมเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ โดยไมรวมเวียดนาม ลาว พมา และกัมพูชา และสถิติในป 2543 เปนขอมูลจาก ASEAN Secretariat รวมเฉพาะอาเซียนเดิม 6 ประเทศและพมา (จาก 15th AFTA Council,Ha Noi, September 2001) 4 ASEAN Secretariat, as of August 2001, Report 33rd AEM, Sept 2001, Hanoi


56 ปญหาในการดําเนินการ AFTA ขณะนี้ มีบางประเทศที่เริ่มเจรจาขอชะลอการลดภาษีศุลกากรสําหรับสินคาบางรายการ ในรายการยกเวนการลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) ซึ่งมีกําหนดจะตอง นําเขาสูกระบวนการลดภาษีภายในป 2543 (ค.ศ. 2000) และทยอยลดภาษีใหเหลือ 0-5% ภายใน ป 2545 (ค.ศ. 2002) ตามพันธกรณีภายใต AFTA โดยมาเลเซียเจรจาขอชะลอการลดภาษีสําหรับ สินคาชุดประกอบรถยนต (Completely Knocked-Down : CKD) และรถยนตประกอบแลว (Completely Built-Unit : CBU) โดยอางวาอุตสาหกรรมรถยนตของมาเลเซียไดรับผลกระทบจาก วิกฤตการณทางเศรษฐกิจจึงตองมีการปกปองไปอีกระยะหนึ่ง อยางไรก็ตาม ประเทศสมาชิกอาเซียนไดมีการหารือเพื่อจัดทําแนวทางแกไขปญหา ดังกลาว โดยจัดทําพิธีสารวาดวยการดําเนินการตามแผนงานการใชอัตราภาษีพิเศษที่เทากัน สําหรับบัญชียกเวนลดภาษีชั่วคราว (Protocol Regarding the Implementation of the CEPT Scheme Temporary Exclusion List) ซึ่งไดมีการลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในโอกาส การประชุม ASEAN Informal Summit ที่สิงคโปร ในเดือนพฤศจิกายน 2543 ทั้งนี้ รางพิธีสารฯ ระบุเงื่อนไขที่สําคัญ ๆ ในการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะขอแกไขขอลดหยอนตามพันธกรณีความ ตกลง CEPT สําหรับ AFTA คือ การจํากัดขอบเขตของสินคาที่สามารถขอแกไขขอลดหยอนไว เฉพาะสินคาอุตสาหกรรมในบัญชี TEL งวดสุดทาย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 การใหการชดเชย แกประเทศผูที่มีผลประโยชนที่สําคัญทั้งในรูปภาษีและมิใชภาษี ประเทศที่มีผลประโยชนสําคัญ สามารถขอเพิกถอนขอลดหยอนเพื่อตอบโตในกรณีที่ไมสามารถตกลงในเรื่องการชดเชยได และ กระบวนการทั้งหมดตองใชเวลาไมเกิน 180 วัน สําหรับอินโดนีเซียและฟลิปปนส ไดแจงเจรจาขอชะลอการลดภาษีสําหรับสินคาน้ําตาล ซึ่งอยูในรายการ TEL สินคาเกษตรไมแปรรูป โดยจะขอโอนยายไปสูรายการสินคาออนไหวสูง (Highly Sensitive List - SL) และสินคาออนไหว (Sensitive List - HSL) ตามลําดับ ซึ่งกําหนด จะตองเริ่มลดภาษีในชวงระหวางป 2544-2546 (ค.ศ. 2001-2003) โดยทยอยลดภาษีใหเหลือ 05% ภายในป 2553 (ค.ศ. 2010) สําหรับสินคาในบัญชี SL และอัตราภาษีสุดทาย 20% สําหรับ สินคาในบัญชี HSL สถานะปจจุบนั - มาเลเซียไดรับความเห็นชอบใหชะลอการโอนยายสินคายานยนตจากบัญชียกเวนลด ภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) สูบัญชีลดภาษี (Inclusion List) มาเลเซียจึงไม ตองลดภาษีสินคายานยนตลงเหลือ 20% ในป 2000 และเหลือ 0-5% ในป 2003 ทั้งนี้ มาเลเซียได


57 ใหคํามั่นแกไทยวาจะนําสินคารายการนี้มาลดภาษีเหลือ 20% ในป 2005 และที่ประชุมรัฐมนตรี เศรษฐกิจอาเซียนไดมีมติใหมาเลเซียและไทยเจรจาหาขอยุติใหไดกอนการประชุมผูนําอาเซียนครั้ง ที่ 7 ในเดือนพฤศจิกายน 2001 แตจนถึงปจจุบันก็ยังไมสามารถหาขอยุติได เนื่องจากมาเลเซีย ไมไดแจงผลการพิจารณาชดเชยแกไทย - อินโดนีเซียไดรับความเห็นชอบใหโอนยายสินคาน้ําตาลออกจากบัญชียกเวนลดภาษี ชั่วคราว (TEL) ไปไวในบัญชีสินคาออนไหวสูง (Highly Sensitive List : HSL) อินโดนีเซียจึงไมตอง ลดภาษีสินคาน้ําตาลลงเหลือ 0-5 % ในป 2003 และเปน 0% ในป 2010 สําหรับกรอบเวลาการลด และอัตราภาษีสุดทายนั้น ขึ้นอยูกับการเจรจาขั้นตอไป - ฟลิปปนสไดรับความเห็นชอบใหโอนยายสินคาน้ําตาลออกจากบัญชียกเวนลดภาษี ชั่วคราว (TEL) ไปไวในบัญชีสินคาออนไหว (Sensitive List : SL) ฟลิปปนสจึงไมตองลดภาษี น้ําตาลลลงเหลือ 0-5% ในป 2003 และเปน 0% ในป 2010 โดยจะตองลดภาษีเหลือ 0-5% ในป 2010 4.3 สถานการณการคาระหวางประเทศของอาเซียน 4.3.1 การคาระหวางประเทศภายในภูมิภาคอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) ภายหลังจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนในป 1993 ตลาดอาเซียนเปนตลาดที่มี ความสําคัญเพิ่มมากขึ้นสําหรับทั้งประเทศในกลุมและประเทศนอกกลุม เมื่อพิจารณาเฉพาะ การคาระหวางประเทศทางดานการสงออกของสมาชิกภายในภูมิภาคอาเซียน (เฉพาะอาเซียน 6 ประเทศ) (ดูตารางที่ 4.10) พบวามีแนวโนมการสงออกไปยังประเทศสมาชิกภายในกลุมเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแตป 1993–1997 โดยมูลคาการสงออกรวมในป 1993 คิดเปนมูลคา 43,681.1 ลานเหรียญ สหรัฐ เทียบกับป 1996 มีมูลคาการสงออกรวม คิดเปนมูลคา 80,973.7 ลานเหรียญสหรัฐ จะเห็น ไดวาสัดสวนการสงออกไปยังประเทศในกลุมอาเซียนสูงขึ้นเกือบรอยละ 50 ซึ่งนับวามีมูลคาการ สงออกที่เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว แตลดต่ําลงในป 1998 อันเปนผลมาจากปญหาวิกฤตการณทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภายหลังจากป 1998 มูลคาการสงออกไปยังอาเซียนก็มีแนวโนม เพิ่มขึ้น โดยมีมูลคาการสงออกรวมสูงสุดในป 2000 คิดเปนมูลคา 93,380.0 ลานเหรียญสหรัฐ และ ลดต่ําลงอีกครั้งในป 2001 โดยมีมูลคาการสงออกคิดเปนมูลคา 82,680.7 ลานเหรียญสหรัฐ และมี แนวโนมเพิ่มขึ้นโดยมีมูลคาการสงออกรวมสูงสุดในป 2005 คิดเปนมูลคา 153,862.5 ลานเหรียญ สหรัฐ


58 ตารางที่ 4.10 แสดงมูลคาการคาภายในอาเซียนทางดานการสงออกเปนรายประเทศ (Intra-ASEAN Export by Country, 1993-2005) หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ Country Brunei Darussalam Cambodia Indonesia Lao PDR Malaysia Myanmar Philippines Singapore Thailand Vietnam TOTAL ASEAN 6

1993

1994

1995

487.2 4,997.2 12,986.9 795.3 18,406.1 6,008.4 -

468.2 5,867.1 15,256.9 1,425.5 27,562.4 7,991.4 -

529.7 6,475.9 18,435.6 2,357.5 31,770.7 10,609.6 -

43,681.1

58,571.5

43,681.1

58,571.5

1996

1997

1998

1999

2000

2001

2002

2003

2004

2005

446.4 496.4 8,310.1 8,850.9 22,694.0 23,248.7 2,970.3 3,436.2 34,441.4 35,793.8 12,111.5 13,525.7 -

220.8 9,346.7 21,611.4 3,821.0 25,998.2 8,314.7 -

375.2 8,278.3 21,885.0 204.5 4,989.1 29,269.3 9,901.9 -

639.5 76.0 10,883.7 24,408.6 393.5 5,982.6 37,784.0 13,212.2 -

774.8 72.6 9507.1 21,024.2 951.3 4,986.0 32,815.4 12,549.4 -

884.2 91.9 9,933.5 22,127.1 1,221.3 5,529.7 33,962.6 13,156.4 -

632.9 101.5 10,725.4 102.2 26,036.2 3,060.2 6,581.7 51,777.8 16,583.0 -

865.0 80.2 12,994.3 89.6 31,737.2 996.8 6,837.9 62,494.4 21,170.0 3,850.9

1,529.0 144.5 15,823.7 147.6 36,633.7 1,5937 7,149.9 71,976.4 23,867.0 5,030.9

70,178.9

80,973.7 85,351.8

69,312.9

74,903.5

93,380.0

82,680.7

86,706.6 115,601.0 141,116.3 153,862.5

70,178.9

80,973.7 85,351.8

69,312.9

74,698.9

92,910.5

81,656.9

85,393.4 112,337.0 136,098.8 156,979.7

Source : ASEAN Trade Statistics Database; Notes : ASEAN 6 covers Brunei Darussalam, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand. 58


59 ตารางที่ 4.11 แสดงมูลคาการคาภายในอาเซียนทางดานการนําเขาเปนรายประเทศ (Intra-ASEAN Import by Country, 1993-2005) หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ Country Brunei Darussalam Cambodia Indonesia Lao PDR Malaysia Myanmar Philippines Singapore Thailand Vietnam TOTAL ASEAN 6

1993

1994

1995

1996

1997

1998

1999

2000

2001

2002

2003

2004

2005

886.3 2,658.7 8,903.6 1,883.0 18,760.5 5671.2 -

983.5 3,270.9 10,947.9 2,463.8 22,166.7 7,079.0 -

1,013.0 4,218.9 12,522.6 2,489.1 24,537.6 8,820.8 -

2,848.6 5,549.0 14,682.3 4,011.8 27,362.2 9,757.2 -

976.8 5,413.0 14,840.1 4,872.8 30,396.9 8,121.6 -

591.1 4,559.2 12,940.0 4,428.9 23,647.6 5,438.1 -

895.6 4,783.6 12,412.8 989.6 4,461.0 26,241.0 7,987.4 -

534.4 549.1 6,781.2 15,934.8 1,113.3 4,955.4 33,291.3 10,306.4 -

544.8 1,091.7 5,726.8 15,254.3 1,319.2 4,664.8 28,991.0 10,047.0 -

627.5 598.0 6,995.5 17,245.2 1,190.8 5,542.0 30,441.4 10,561.7 -

616.9 1,694.9 8,030.3 252.7 21,003.1 967.8 6,398.1 39,550.5 12,616.3 -

644.5 673.5 11,686.0 365.1 26,919.1 951.1 8,355.9 47,184.2 15,834.6 7,695.3

738.5 1,026.6 17,239.5 362.4 29,164.0 896.6 8,874.3 52,148.6 21,552.4 8,937.7

38,763.3

46,911.9

53,602.1

64,211.2

64,621.2

51,604.9

57,771.0

73,466.0

67,639.6

73,202.2

91,130.6

119,581.2

141,030.7

38,763.3

46,911.9

53,602.1 64,211.2

64,621.2

51,604.9

56,781.4

71,803.6

65,228.7

71,413.4

88,215.2

109,896.1

129,807.2

Source : ASEAN Trade Statistics Database; Notes : ASEAN 6 covers Brunei Darussalam, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand. 59


60 และเมื่อพิจารณามูลคาการนําเขารวมของประเทศสมาชิกอาเซียน (เฉพาะอาเซียน 6 ประเทศ) จากภูมิภาคอาเซียน (ดูตารางที่ 4.11) พบวาในป 1993 มีมูลคาการนําเขารวมจาก ภูมิภาคอาเซียน คิดเปนมูลคา 38.763.3 ลานเหรียญสหรัฐ ในป 1996 คิดเปนมูลคา 64,211.2 ลานเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็มีสัดสวนการนําเขาเพิ่มขึ้นเกือบรอยละ 50 และมีมูลคาการนําเขาที่ลดต่ําลง ในป 1998 เช น เดี ย วกั น กั บ มู ล ค า การส ง ออก หลั ง จากป 1998 มู ล ค า การนํ า เข า ก็ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น จนกระทั่งในป 2000 มีมูลคาการนําเขาสูงสุดคิดเปน 73,446.0 ลานเหรียญสหรัฐ และลดต่ําลงใน ป 2001 คิดเปนมูลคา 67,639.6 ลานเหรียญสหรัฐ และมีแนวโนมเพิ่มขึ้นโดยมีมูลคาการสงออก รวมสูงสุดในป 2005 คิดเปนมูลคา 141,030.7 ลานเหรียญสหรัฐ หากพิจารณาในรายประเทศภายในอาเซียนแลวจะพบวา ประเทศสิงคโปรเปนประเทศ ที่มีมูลคาการคาระหวางประเทศกับประเทศสมาชิกภายในภูมิภาคอาเซียนสูงสุด ทั้งทางดานการ นําเขาและสงออก รองลงมา คือ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟลิปปนส ตามลําดับ 4.3.2 การคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก (Extra-ASEAN Trade) การคาระหวางประเทศของภูมิภาคอาเซียน (เฉพาะอาเซียน 6 ประเทศ) ตอประเทศ นอกกลุมอาเซียน ภายหลังจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนในป 1993 พบวาโดยรวมแลว (ดู ตารางที่ 4.12-4.13) ในป 1993 มีมูลคาการสงออกรวมคิดเปน 162,956.1 ลานเหรียญสหรัฐ ในป 1997 คิดเปนมูลคา 257,318.3 ลานเหรียญสหรัฐ และในป 2004 และ ป 2005 คิดเปนมูลคา 428,253.0 และ 484,284.6 ลานเหรียญสหรัฐ ตามลําดับ โดยที่แนวโนมการสงออกไปยังประเทศ นอกกลุมโดยรวมมีแนวโนมเปนบวกแตมีการชะลอตัวในป 1998 และ 2001 แตโดยรวมแลวมีการ เปลี่ยนแปลงของการเติบโตในแตละปที่ไมสูงนัก สวนทางดานการนําเขา พบวา ในป 1993 และ 1996 มูลคาการนําเขาจากประเทศนอก กลุมโดยรวม (เฉพาะอาเซียน 6 ประเทศ) คิดเปนมูลคา 184,547.5 และ 286,395.0 ลานเหรียญ สหรัฐ ตามลําดับ สวนในป 2004 และ 2005 มีมูลคาการนําเขาจากประเทศนอกกลุมโดยรวมคิด เปนมูลคา 428,253.0 และ 484,284.6 ลานเหรียญ ตามลําดับ โดยที่แนวโนมการนําเขาเปน เชนเดียวกับแนวโนมของการคาระหวางประเทศภายในกลุม คือ มีการชะลอตัวในป 1998 และ 2001


61

ตารางที่ 4.12 แสดงมูลคาการคาระหวางประเทศอาเซียนกับประเทศนอกกลุมทางดานการสงออก เปนรายประเทศ (Extra-ASEAN Export by Country, 1993-2005) หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ Country Brunei Darussalam Cambodia Indonesia Lao PDR Malaysia Myanmar Philippines Singapore Thailand Vietnam TOTAL ASEAN 6

Source Notes

1993 31,825.8 33,329.7 10,579.5 55,595.0 31,626.1 -

1994 1,317.1 32,979.1 40,208.3 12,024.7 64,327.1 37,337.0 -

1995 2,241.3 38,942.1 48,712.2 15,036.7 72,848.0 48,737.4 -

1996 2,046.9 46,534.4 51,552.5 16,562.7 82,907.9 43,783.2 -

1997 2,217.7 42,423.4 54,208.9 21,791.5 92,380.4 44,296.3 -

1998 1,702.8 39,500.9 55,487.2 25,675.3 83,804.7 41,166.9 -

1999 1,965.6 40,387.1 62,402.9 540.3 30,047.8 85,355.8 46,209.0 -

2000 1,529.7 1,291.5 51,240.3 73,745.8 800.4 32,095.7 100,568.5 55,488.7 -

2001 2,755.6 1,422.5 46,810.5 67,007.5 1,267.1 27,164.2 88,871.4 52,376.1 -

2002 2,006.7 1,842.2 47,225.3 71,150.1 1,230.9 29,678.5 91,080.1 52,951.8 -

2003 2004 2,578.2 4,197.3 2,014.2 2,426.1 50,332.9 8,590.3 41.7 16.8 78,946.5 94,773.4 1,403.6 990.9 29,946.5 32,842.6 108,122.3 136,059.1 63,867.1 76,191.4 - 22,165.0

2005 4,840.3 2,94730 69,836.2 26.5 103,836.2 1,564.1 34,104.7 157,827.7 85,755.6 23,545.6

162,956.1 162,956.1

188,193.3 188,193.3

226,517.8 226,517.8

242,387.6 242,387.6

257,318.3 257,318.3

247,337.9 247,337.9

299,906.3 266,368.1

316,760.6 314,668.8

287,675.0 284,985.4

297,147.6 294,092.5

336,955.9 428,253.0 333,496.5 402,654.2

484,284.6 456,201.4

: ASEAN Trade Statistics Database; : ASEAN 6 covers Brunei Darussalam, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand. 61


62

ตารางที่ 4.13 แสดงมูลคาการคาระหวางประเทศอาเซียนกับประเทศนอกกลุมทางดานการนําเขา เปนรายประเทศ(Extra-ASEAN Import by Country, 1993-2005) หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ Country Brunei Darussalam Cambodia Indonesia Lao PDR Malaysia Myanmar Philippines Singapore Thailand Vietnam TOTAL ASEAN 6

1993 25,669 35,484.4 15,714.4 66,467.2 41,212.5 184,547.5 184,547.5

1994 1,017.0 31,512.3 46,110.3 18,833.4 75,381.9 47,474.8 -

1995 1,119.6 36,435.2 58,917.3 19,150.8 85,577.7 63,752.0 -

1996 1,586.2 41,069.4 60,620.8 24,380.8 96,049.5 62,688.4 -

1997 1,333.9 36,266.7 62,148.2 31,059.7 105,575.8 54,966.1

1998 685.2 22,777.6 48,036.4 25,231.0 77,848.3 33,273.5 -

1999 824.7 19,218.7 51,265 896.5 26,281.5 84,757.0 40,330.6

2000 533.3 855.4 26,733.6 63,712.6 1106.1 29,535.4 101,388.8 51,628.9 -

2001 762.5 410.3 25,235.3 57,843.6 1492.3 28,392.4 86,928.1 51,928.4 -

2002 972.9 1066.8 24,293.3 61,552.7 927.3 29,884.5 85,894.9 52,168.2 -

2003 735.1 1211.5 24,520.4 85.4 62,516.1 875.4 31,098.4 96,665.8 63,143.1 -

2004 869.9 1331 34,838.6 139.6 79,092.3 981.9 35,683.4 126,357.5 79,470.2 24,133.0

2005 764.6 1797.9 40,371.4 339.5 85,049.1 736.2 38,543.9 148,014.2 96,438.5 23,656.2

220,329.7 220,329.7

264,952.7 264,952.7

286,395.0 286,395.0

291,350.5 291,350.5

207,852.0 207,852.0

223,576.0 222,678.5

275,494.2 273,532.6

252,995.4 251,092.9

266,760.6 254,766.5

280,851.2 278,678.8

382,897.3 356,311.8

435,711.6 409,181.8

Source : ASEAN Trade Statistics Database; Notes : ASEAN 6 covers Brunei Darussalam, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand. 62


63 เมื่อพิจารณาการคาระหวางประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศนอกกลุมเปน รายประเทศแลว พบวา ประเทศสิงคโปรเปนประเทศที่มีมูลคาการสงออกและนําเขากับประเทศ นอกกลุมสูงที่สุด โดยในป 2005 มีสัดสวนการสงออกคิดเปนรอยละ 33 และสัดสวนการนําเขาคิด เปนรอยละ 34 จากมูลคาการคากับประเทศนอกกลุมของภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด รองลงมา คือ มาเลเซีย มีสัดสวนการสงออกคิดเปนรอยละ 21 และสัดสวนการนําเขา รอยละ 20 ไทย มีสัดสวน การสงออกคิดเปนรอยละ 18 และสัดสวนการนําเขารอยละ 22 อินโดนีเซีย มีสัดสวนการสงออกคิด เปนรอยละ 14 และสัดสวนการนําเขา รอยละ 9 และฟลิปปนส มีสัดสวนการสงออกและนําเขาที่ นอยสุด โดยมีสัดสวนการสงออกคิดเปนรอยละ 9 และสัดสวนการนําเขา รอยละ 9 4.3.3 คูคาสําคัญของอาเซียน ตลาดสงออกและแหลงนําเขาสินคาที่สําคัญของอาเซียน


64

ตารางที่ 4.14 แสดงตลาดนําเขา และสงออกที่สําคัญ 10 อันดับของประเทศอาเซียน 6 ในป 1993 – 2005 (ASEAN 6 Import and Export by Country of Destination, 1993-2005) มูลคา : ลานเหรียญสหรัฐ Country of Destination

1994

1995

1996

1997

1998

1999

2000

2001

2002

2003

2004

2005

38,763.3 46,911.9 53,602.1 64,211.2 64,621.2 51,604.9 56,781.4 71,803.6 65,228.7 71,413.4 88,215.2 109,896.1 129,807.2 184,547.5 220,329.7 264,952.7 286,395.0 291,350.5 207,852.0 222,678.5 273,532.6 251,092.9 254,765.5 278,678.8 356,311.8 409,181.8 5,392.1 6,447.0 7,173.4 8,688.8 7,963.9 5,702.1 6,081.4 8,674.4 9,481.0 7,215.1 7,216.1 9,116.2 11,447.0 1,552.8 1,717.0 2,290.8 2,445.6 2,568.0 1,766.7 2,078.0 2,118.3 1,675.7 1,980.3 1,859.5 2,420.8 2,830.8 4,336.4 5,759.0 7,129.7 9,217.6 13,482.9 11,211.5 12,184.2 17,860.6 17,009.7 22,083.2 30,043.5 42,520.3 54,913.2 31,822.4 38,729.3 46,392.8 57,380.5 51,009.8 34,401.0 34,675.5 38,927.1 39,561.2 39,903.2 40,040.6 51,672.4 55,439.7 31,822.4 38,729.3 46,392.8 58,091.7 51,828.6 34,570.7 34,849.4 39,728.9 39,728.9 40,887.8 41,132.6 52,978.0 56,829.2 5,355.9 8,671.2 6,386.9 7,000.1 8,044.8 7,049.5 7,804.6 8,015.6 8,575.7 5,111.6 1,429.6 1,547.0 1,838.4 2,843.8 4,395.5 1,750.4 2,082.4 3,130.2 3,589.9 3,584.9 3,969.4 6,594.1 7,856.1 55,702.9 67,302.5 78,535.2 73,310.1 71,264.2 46,693.7 51,244.1 65,386.0 52,861.4 52,789.5 59,898.6 72,189.8 76,885.2 722.6 797.9 865.9 1,150.8 1,297.1 863.5 750.1 1,031.8 1,241.5 962.1 1,146.5 1,347.8 1,450.5 213.4 166.7 247.9 367.4 263.5 233.2 228.5 290.5 366.9 266.5 229.3 166.8 167.9 7,148.1 9,035.5 11,345.6 13,294.4 14,857.4 9,267.4 12,109.9 14,793.3 13,057.1 14,586.8 16,399.8 20,529.5 23,364.3 246.8 494.6 1,083.7 2,040.9 1,115.6 562.9 714.2 1,048.4 1,076.8 1,518.4 1,491.3 2,274.5 3,229.7 8,159.7 9,530.5 11,240.7 12,796.6 14,605.4 5,972.7 7,397.8 8,441.8 6,792.9 12,477.6 13,357.1 19,508.5 11,221.5 33,712.7 39,201.7 46,435.1 53,011.4 61,695.0 50,942.2 45,962.0 48,350.9 45,565.8 43,355.0 48,100.5 54,524.1 59,749.0 34,107.9 39,600.9 50,373.5 43,780.1 37,342.3 31,928.1 39,996.4 55,256.9 51,595.8 44,514.8 46,618.8 63,565.9 94,126.0 223,310.8 267,241.6 318,554.8 350,606.2 355,971.8 259,456.9 279,459.9 345,336.2 316,321.6 326,179.9 366,894.1 466,208.0 538,989.0

64

Import ASEAN Major Trading Partner Australia Canada China EU: EU-15 EU-25 Hong Kong India Japan New Zealand Pakistan Republic of Korea Russia Taiwan USA Rest of The World TOTAL

1993


65

ตารางที่ 4.14 (ตอ) Country of Destination Export ASEAN Major Trading Partner Australia Canada China EU: EU-15 EU-25 Hong Kong India Japan New Zealand Pakistan Republic of Korea Russia Taiwan USA Rest of The World TOTAL

1993

1994

1995

1996

1997

1998

1999

2000

2001

2002

2003

2004

2005

43,681.1 58,571.5 70,178.9 80,973.7 85,351.8 69,312.9 74,698.9 92,910.5 81,656.9 85,393.4 112,337.6 136,098.8 156,979.7 162,956.1 188,193.3 226,517.8 242,387.6 257,318.3 247,337.9 266,368.1 341,668.8 284,985.4 294,092.5 333,496.5 402,654.2 456,201.4 3,696.5 4,511.8 5,179.1 6,106.0 6,418.4 7,120.3 7,854.1 8,882.6 8,495.5 9,587.4 11,917.7 16,170.2 19,606.1 1,958.7 2,155.1 2,239.8 1,988.2 1,881.9 2,314.7 2,248.2 2,688.7 4,328.5 3,013.3 2,679.5 3,126.1 3,026.3 4,528.7 5,303.8 6,200.9 7,474.1 9,167.9 9,202.6 9,564.1 14,117.0 14,454.9 19,486.1 28,987.2 38,552.8 49,292.1 31,391.5 35,196.4 44,285.9 46,926.0 46,086.7 48,152.2 55,651.3 62,586.9 56,148.0 53,828.9 57,548.7 68,663.7 73,160.4 31,391.5 35,196.4 44,285.9 47,310.8 46,815.4 48,730.8 56,328.9 63,035.9 56,757.3 55,470.2 59,485.0 71,352.1 75,839.1 10,571.0 20,069.2 16,162.7 16,843.2 21,749.1 20,061.8 21,861.4 28,582.8 29,667.7 13,046.4 1,484.0 1,989.5 2,821.1 3,722.8 4,473.2 5,217.9 5,577.2 6,198.8 5,861.3 8,099.0 8,134.0 10,609.2 14,503.7 30,952.2 34,299.6 42,680.7 43,150.3 42,008.6 34,716.8 37,628.6 50,484.2 48,152.7 44,411.0 52,937.8 63,611.3 68,317.4 565.3 696.8 762.2 812.5 773.8 757.4 892.2 1,212.2 985.9 1,087.6 1,488.8 2,114.1 2,632.8 810.3 1,065.9 1,048.6 1,245.9 1,755.6 1,288.0 1,161.6 3,185.5 1,098.7 1,387.6 1,643.5 1,692.8 2,102.9 6,125.9 7,005.1 8,574.4 9,446.7 10,667.8 7,813.0 10,878.3 14,435.1 14,710.6 15,676.9 16,741.9 19,769.9 24,319.0 173.7 159.0 849.3 3,169.2 876.1 472.6 223.8 326.7 382.6 525.7 902.4 1,152.6 1,464.1 6,143.6 7,394.4 8,761.0 11,316.7 12,708.3 6,799.6 8,932.5 10,289.1 8,693.5 18,556.1 15,399.4 17,526.9 8,261.9 42,008.2 49,370.7 54,993.7 59,515.5 70,030.4 64,620.0 70,003.4 72,855.5 61,594.4 60,317.4 68,381.0 73,957.0 85,697.3 33,117.3 39,045.1 48,121.1 36,557.9 29,671.8 42,121.6 38,232.1 45,208.5 39,407.7 34,632.8 36,235.4 53,341.6 88,092.3 206,637.2 246,764.7 296,696.7 323,361.3 342,670.1 316,650.8 341,067.0 407,579.3 366,642.3 379,485.9 445,833.5 538,753.0 613,181.1

65


66 หากพิ จ ารณาถึ ง มู ล ค า การส ง ออกไปยั ง ตลาดหลั ก ของอาเซี ย น (พิ จ ารณาเฉพาะ อาเซียน 6 ประเทศ) ในป 1993 - 2005 แลว จะพบวาตลาดหลักของภูมิภาคอาเซียนใน 4 อันดับ แรกจะไมมีการเปลี่ยนแปลงกลุมประเทศเลย คงมีแตการเปลี่ยนแปลงลําดับความสําคัญเทานั้น โดยตลาดสงออกสําคัญ 4 อันดับแรกของอาเซียนนั้น ไดแก อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ ญี่ปุน (ดูตารางที่ 4.14) หากพิจารณามูลคาการสงออกของอาเซียนโดยรวม (อาเซียน 6 ประเทศ) พบวา ตั้งแตป 1998 – 2005 อาเซียนเปนตลาดสงออกหลักเปนอันดับหนึ่งของการสงออกของ ภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลคาการสงออกไปยังอาเซียนโดยรวม 43,681.1 และ 156,979.7 ลา น เหรียญสหรัฐ ตามลําดับ อันดับสองคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลคาการสงออกรวมไปยังสหรัฐอเมริกาใน ป 1993 และ 2005 คิดเปน 42,008.2 และ 85,697.3 ลานเหรียญสหรัฐ ตามลําดับ อันดับสาม คือ สหภาพยุโรป มีมูลคาการสงออกรวมไปยังสหภาพยุโรป ในป 1993 และ 2005 คิดเปน 31,391.5 และ 75,839.1 ลานเหรียญสหรัฐ ตามลําดับ สวนอันดับสี่ คือ ญี่ปุน มีมูลคาการสงออกรวมไปยัง ญี่ปุนในป 1993 และ 2005 คิดเปน 30,952.2 และ 68,317.4 ลานเหรียญสหรัฐ ตามลําดับ จีนเปนตลาดสงออกหลักเปนอันดับที่หาของอาเซียน ในป 1993 และ 2005 มีมลู คาการ สงออกรวมคิดเปน 4,528.7 และ 49,292.1 ลานเหรียญสหรัฐ ซึ่งภายหลังจากที่จีนมีการเปดเสรี ทางการคามากขึ้นทําใหจีนกลายเปนตลาดสงออกที่สําคัญของอาเซียน และมีแนวโนมที่จะทวี ความสําคัญเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเปนประเทศที่มีขนาดใหญมีประชากรเปนจํานวนมาก หากพิจารณามูลคาการนําเขาสินคาจากประเทศตาง ๆ ของอาเซียน (พิจารณาเฉพาะ อาเซียน 6 ประเทศ) ในป 1993 - 2005 แลว จะพบวาตลาดหลักของภูมิภาคอาเซียนใน 4 อันดับ แรก เปนตลาดเดียวกันกับตลาดการสงออก ไดแก อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุน (ดู ตารางที่ 4.14) หากพิจารณามูลคาการนําเขาของอาเซียนโดยรวม (อาเซียน 6 ประเทศ) พบวา ตั้งแตป 1998 – 2005 อาเซียนเปนแหลงนําเขาสินคาที่สําคัญเปนอันดับหนึ่งของการนําเขาของ ภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลคาการนําเขาไปยังอาเซียนโดยรวม 51,604.9 และ 129,807.2 ลาน เหรียญสหรัฐ ตามลําดับ อันดับสองคือ ญี่ปุน มีมูลคาการนําเขารวมจากประเทศญี่ปุนในป 1993 และ 2005 คิ ด เป น 55,702.9 และ 76,885.2 ล า นเหรี ย ญสหรั ฐ ตามลํ า ดั บ อั น ดั บ สาม คื อ สหรัฐอเมริกา มีมูลคาการนําเขารวมจากประเทศสหรัฐอเมริกาในป 1993 และ 2005 คิดเปน 33,712.7 และ 59,749.0 ลานเหรียญสหรัฐ ตามลําดับ สวนอันดับสี่ คือ สหภาพยุโรป มีมูลคาการ นําเขารวมจากประเทศสหภาพยุโรป ในป 1993 และ 2005 คิดเปน 31,822.4 และ 56,829.2 ลาน เหรียญสหรัฐ ตามลําดับ จีนเปนแหลงนําเขาสินคาที่สําคัญเปนอันดับที่หาของอาเซียน โดยมีมูลคา การนําเขาจากจีน ในป 1993 และ 2005 คิดเปน 4,336.4 และ 54,913.2 ลานเหรียญสหรัฐ


67 ตารางที่ 4.15 ASEAN Ten Major Exports Markets in 2004-2005 2004 Country Value ASEAN 141,116.3 USA 80,157.9 EU-25 76,087.8 Japan 67,227.6 China 41,351.8 Hong Kong 30,268.7 Republic of Korea 19,810.9 Taiwan 17,540.2 Australia 16,197.2 India 10,939.4 Top-Ten Countries 500,697.9 Others 68,671.4 TOTAL 569,369.3

2005 Share Country Value 24.8 ASEAN 163,862.5 14.1 USA 92,941.9 13.4 EU-25 80,922.1 11.8 Japan 72,756.4 7.3 China 52,257.5 5.3 Republic of Korea 24,362.3 3.5 Australia 19,645.7 3.1 India 15,048.3 2.8 Hong Kong 13,868.6 1.9 Taiwan 8,267.7 87.9 Top-Ten Countries 543,932.8 12.1 Others 104,214.2 100.0 TOTAL 648,147.0

Source : ASEAN Trade Statistics Database Note :

Value is in USD Million; Share is in %

Share 25.3 14.3 12.5 11.2 8.1 3.8 3.0 2.3 2.1 1.3 83.9 16.1 100.0


68 ตารางที่ 4.16 ASEAN Ten Major Imports Origins in 2004-2005 2004 Country Value ASEAN 119,581.2 Japan 76,035.4 USA 55,706.9 EU-25 55,455.5 China 47,714.2 Republic of Korea 20,732.9 Taiwan 19,759.0 Saudi Arabia 9,758.3 Australia 9,148.5 Hong Kong 9,007.2 Top-Ten Countries 422,899.1 Others 79,579.4 TOTAL 502,478.5

2005 Share Country Value 23.8 ASEAN 141,030.7 15.1 Japan 81,077.9 11.1 China 61,136.0 11.0 USA 60,976.4 9.5 EU-25 59,611.6 4.1 Republic of Korea 23,609.5 3.9 Australia 11,593.0 1.9 Taiwan 11,532.9 1.8 India 7,952.3 1.8 Saudi Arabia 6,438.1 84.2 Top-Ten Countries 464,958.6 15.8 Others 111,783.8 100.0 TOTAL 576,742.4

Share 24.5 14.1 10.6 10.6 10.3 4.1 2.0 2.0 1.4 1.1 80.6 19.4 100.0

Source : ASEAN Trade Statistics Database Note : Value is in USD Million; Share is in % หากพิจารณามูลคาการสงออกสินคาของอาเซียนไปยังประเทศตาง ๆ พบวา อาเซียนเปน กลุมประเทศที่เปนตลาดสงออกสินคาที่สําคัญของอาเซียนเปนอันดับหนึ่ง (ดูตารางที่ 4.15) โดย มู ล ค า การส ง ออกเที ย บกั บ มู ล ค า การส ง ออกโดยรวมคิ ด เป น สั ด ส ว นร อ ยละ 25.3 ในป 2005 สหรัฐอเมริกาเปนตลาดสงออกสินคาอันดับที่สอง มีสัดสวนการสงออกในป 2005 คิดเปนรอยละ 14.3 อันดับที่สาม คือ สหภาพยุโรป มีสัดสวนการสงออกสินคาคิดเปนรอยละ 12.5 จากมูลคาการสงออก ทั้งหมด สวนญี่ปุนเปนตลาดสําคัญอันดับที่สี่ มีสัดสวนการสงออกคิดเปนรอยละ 11.2 ของมูลคาการ สงออกทั้งหมด และจีนเปนตลาดสงออกหลักเปนอันดับที่หาของอาเซียน ในป 2005 โดยมีสัดสวน การสงออกไปยังจีนคิดเปนรอยละ 8.1 ของมูลคาการสงออกรวม และเมื่อพิจารณาถึงสัดสวนการสงออกไปยังตลาดสงออกสําคัญ 10 อันดับแรกของ อาเซียนโดยรวมแลวพบวา แนวโนมสัดสวนของการสงออกไปยังตลาดสงออกหลักแตละประเทศ เพิ่มขึ้น ซึ่งสะทอนใหเห็นถึงการกระจุกตัวของการคาที่เพิ่มมากขึ้น


69 หากพิจารณามูลคาการนําเขาสินคาจากประเทศตาง ๆ ของอาเซียน พบวา อาเซียนเปน กลุมประเทศที่เปนแหลงนําเขาสินคาสําคัญของอาเซียนเปนอันดับหนึ่ง (ดูตารางที่ 4.16) โดยมูลคา การนําเขาเทียบกับมูลคาการนําเขาโดยรวมคิดเปนสัดสวนรอยละ 24.5 ในป 2005 ญี่ปุนเปนแหลง นําเขาสินคาเปนอันดับที่สอง มีสัดสวนการนําเขาในป 2005 คิดเปนรอยละ 14.1 อันดับที่สาม มี 2 ประเทศ คือประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา มีสัดสวนการนําเขาสินคาคิดเปนรอยละ 10.6 จากมูลคา การนําเขาทั้งหมด โดยจีนมีสัดสวนที่เพิ่มขึ้น สวนสหภาพยุโรปเปนแหลงนําเขาสําคัญอันดับที่สี่ มี สัดสวนการนําเขาคิดเปนรอยละ 10.3 ของมูลคาการนําเขาทั้งหมด โดยเมื่อพิจารณาสัดสวนการนําเขาจากแหลงนําเขาสําคัญ 10 อันดับแรกโดยรวมแลว แสดงใหเห็นถึงแหลงนําเขายังคงกระจุกตัวอยูในประเทศเดิม ๆ ทั้งหมด เพียงแตสลับลําดับกันใน แตละป 4.4 การคาระหวางอาเซียน - ไทย นับแตมีการจัดตั้ง AFTA การคาระหวางไทยและอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นอยางมาก โดย เพิ่มขึ้นจาก 10,031.5 ลานดอลลารสหรัฐในป 2535 อันเปนปกอนเริ่มกอตั้ง AFTA เปน 23,860 ลานดอลลารสหรัฐในป 2543 หรือเพิ่มขึ้น 137.9% ในป 25435 โดยในป 2543 อาเซียนเปนตลาด สงออกและแหลงนําเขาอันดับ 2 ของไทย ทั้งนี้ ในป 2535 กอนการกอตั้ง AFTA ไทยเคยเสียเปรียบ ดุลการคากับอาเซียนคิดเปนมูลคา 1,051.2 ลานดอลลารสหรัฐ แตนับแตป 2536 เปนตนมา ไทย กลับเปนฝายไดเปรียบดุลการคามาโดยตลอด 4.4.1 มูลคาการสงออกของไทยไปอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 4,902.2 ลานดอลลารสหรัฐในป 2535 เปน 13,514 ลานเหรียญสหรัฐในป 2543 หรือเพิ่มขึ้น 175.7% โดยสินคาสงออกที่มีมูลคา สูงอันดับแรก ๆ คือ คอมพิวเตอรและอุปกรณ แผงวงจรไฟฟา น้ํามันสําเร็จรูป ยานพาหนะและ อุปกรณ / สวนประกอบ เคมีภัณฑ น้ําตาลทราย เปนตน 4.4.2 มูลคาการนําเขาของไทยจากอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 5,541.4 ลานดอลลารสหรัฐใน ป 2535 เปน 10,346 ลานดอลลารสหรัฐในป 2543 หรือเพิ่มขึ้น 86.7% สินคานําเขาที่มีมูลคาสูง คือ เครื่องจักรไฟฟาและสวนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอรและอุปกรณ แผงวงจรไฟฟา เคมีภัณฑ น้ํามันดิบ หลอดภาพโทรทัศน เปนตน

5

ขอมูลจากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย


70 4.4.3 สินคาที่ไทยจะไดรับผลกระทบจากการจัดตั้ง AFTA คือ สินคาที่ไมมีศักยภาพใน การปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันและสินคาที่ใชเวลาในการปรับตัวนาน เชน เหล็ก สิ่งทอ และสินคาประเภทที่มีการลดภาษีใน AFTA แลว แตเปนสินคาที่ตองใชวัตถุดิบนําเขา จากประเทศนอกอาเซี ย นซึ่ ง ไทยมีอั ต ราภาษี ศุ ล กากรอยู ใ นระดั บ สู ง เช น เครื่ อ งใช ไ ฟฟ า และ อิเล็กทรอนิกส เฟอรนิเจอร เปนตน 4.5 ผลกระทบตอเศรษฐกิจของไทย 4.5.1 ผลกระทบในระยะสั้น : AFTA อาจทําใหรัฐบาลสูญเสียรายไดสวนหนึ่งจากอัตรา ภาษีนําเขาที่ลดลง สงผลใหอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการผลิตต่ําและไมมีความสามารถใน เชิงแขงขันไดรับผลกระทบ อาทิ อุตสาหกรรมปโตรเคมี ซึ่งเปนอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มกอตั้ง อาจ เสียเปรียบในการแขงขันกับสิงคโปรซึ่งประกอบการมานานแลว นอกจากนี้อุตสาหกรรมน้ํามัน ปาลมซึ่งเปนอุตสาหกรรมที่ไทยเสียเปรียบดานวัตถุดิบจะมีปญหาการแขงขันกับมาเลเซียและ อินโดนีเซีย รวมทั้งสินคาสําเร็จรูปที่มีการลดภาษีใน AFTA แลวแตเปนสินคาที่ตองอาศัยวัตถุดิบ นําเขาจากนอกอาเซียน ซึ่งไทยมีอัตราภาษีนําเขาในระดับสูง เชน วัตถุดิบของเครื่องใชไฟฟาและ อิเล็กทรอนิกส วัสดุสําหรับผลิตเฟอรนิเจอร เปนตน 4.5.2 ผลประโยชนในระยะยาว : AFTA จะสงประโยชนตอ ประเทศไทยดังนี้ - การลดภาษีของอาเซียนจะทําใหสินคาที่ไทยสงออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถ แขงขันกับประเทศนอกกลุมได - การลดภาษีของไทยจะทําใหมีการนําเขาวัตถุดิบ และสินคากึ่งสําเร็จรูปจากอาเซียนใน ราคาถูก ซึ่งจะมีผลตอการลดตนทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการสงออก - ผูบริโภคสามารถบริโภคสินคาอุปโภคบริโภคไดในราคาถูกลง - การขยายฐานตลาดจะทําใหอาเซียนเกิดการประหยัดตอขนาด (Economics of scale) และไดรับประโยชนจากหลักการไดเปรียบอันเปนปจจัยดึงดูดการลงทุนจากตางประเทศ - การแขงขันกันภายในอาเซียนจะทําใหเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยี - การขยายการนําเขาและการสงออกภายในอาเซียน จะทําใหประเทศไทยลดการพึ่งพา การคากับกลุมอื่นลดลง


71 ทั้งนี้ เมื่อมองภาพเศรษฐกิจโดยรวมแลว ไทยและอาเซียนตางก็จะไดรับประโยชนจาก AFTA แตจะมากนอยกวากันนั้นขึ้นอยูกับความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชน ในแตละประเทศ ทั้งนี้ นับแตมีการกอตั้ง AFTA เปนตนมา การคาระหวางไทยและอาเซียนขยายตัว ขึ้นมากและมูลคาการสงออกสินคาจากไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นอยางเห็นไดชัด 4.6 ผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ตออุตสาหกรรมที่ทําการศึกษา 4.6.1 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมกระดาษมีวิวัฒนาการมากอนอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ การผลิตกระดาษ ในระยะแรกนิยมใชเยื่อกระดาษที่นําเขาจากตางประเทศและเศษกระดาษ ในป 2516 – 2517 ซึ่ง เกิดวิกฤตการณทางการเงินและน้ํามัน สงผลใหราคาเยื่อกระดาษราคาภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น มาก ทําใหผูผลิตกระดาษเริ่มผลิตเยื่อกระดาษขึ้นใชเอง สําหรับการผลิตเยื่อกระดาษเพื่อจําหนาย ในประเทศนั้นเริ่มเมื่อป 2525 ในปจจุบันปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษยังต่ํากวาปริมาณความตองการภายในประเทศ และอุตสาหกรรมเยื่ อกระดาษไม อาจขยายตัว ไดทั น ตอความตองการ จึ งตอ งมีก ารนํา เขา เยื่อ กระดาษมาใชแทน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทยมีลักษณะของผูประกอบการนอยราย กําลังการผลิตใน ปจจุบันประมาณ 300,000 ตันเทานั้น ซึ่งต่ํากวากําลังการผลิตเยื่อกระดาษของอินโดนีเซียมาก เพราะประสบปญหาขอจํากัดดานวัตถุดิบ (เนื้อไม) ขอจํากัดนี้จะทําใหอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ไทยไมสามารถขยายตัวไดมากในอนาคต ในขณะเดียวกันไทยก็ขาดแคลนไมเนื้อออนสําหรับการ ผลิตเยื่อกระดาษประเภทใยยาว ดังนั้นไทยจึงตองนําเขาเยื่อกระดาษใยยาวจากตางประเทศเปน มูลคาปละหลายพันลานบาท เยื่อกระดาษที่ผลิตในประเทศไทยเปนเยื่อใยสั้นประเภทเยื่อเคมีแบบ โซดา (Soda Process) หรือซัลเฟต (Sulphate Process) ปญหาที่สําคัญที่สุดของอุตสาหกรรมนี้ คือ การขาดแคลนวัตถุดิบ (เนื้อไม) และปญหา ปริมาณการใชน้ําในกระบวนการผลิต ผูประกอบการไดพยายามแกปญหาขาดแคลนไมโดยการ สงเสริมใหเกษตรกรรายยอยปลูกไมโตเร็ว เชน ยูคาลิปตัส แตก็ไมสามารถแกปญหาการขาดแคลน วัตถุดิบไดมากนัก ผูวิจัยไดพยายามคนหาวาเหตุใดเกษตรกรรายยอยจึงมิไดเปลี่ยนจากการปลูก พืชชนิดอื่นมาเปนยูคาลิปตัสการคํานวณหาผลตอบแทนของการปลูกยูคาลิปตัสเปรียบเทียบกับ


72 การปลูกมันสําปะหลัง พบวาการปลูกยูคาลิปตัสใหผลตอบแทนต่ํากวาการปลูกมันสําปะหลังใน กรณี เ กษตรกรรายย อ ยภาคอี ส าน แต ก ารปลู ก ยู ค าลิ ป ตั ส ให ผ ลตอบแทนสู ง กว า การปลู ก มั น สําปะหลังในกรณีการปลูกโดยบริษัทขนาดใหญ นี้คือเหตุผลที่บริษัทผูผลิตเยื่อกระดาษตองการได พื้นที่สัมปทานขนาดใหญเพื่อปลูกไมยูคาลิปตัส แตรัฐอาจไมสามารถตอบสนองไดเพราะการปลูก ไมยูคาลิปตัสเปนปญหาโตแยงทางการเมือง นอกจากนั้นอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษตองใชปริมาณ น้ํามาก (การผลิตเยื่อกระดาษประเภทกึ่งเคมี 1 ตัน ตองใชน้ําประมาณ 40 – 60 ลูกบาศกเมตร) อีกทั้งยังมีปญหาน้ําเสียจํานวนมาก จนทําใหเกิดแรงตอตานทางการเมืองเปนประจํา สําหรับผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) คาดวาจะไมมี ผลกระทบตออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทยมากนัก เพราะภาษีนําเขาเยื่อกระดาษน้ําต่ําอยูแลว (5% สําหรับการนําเขาจากประเทศในกลุมอาเซียน และ 10% สําหรับการนําเขาจากประเทศนอก กลุมอาเซียน) รวมทั้งการคาเยื่อกระดาษระหวางไทยกับกลุมอาเซียนนั้นมีมูลคานอยมาก เมื่อ เทียบกับมูลคานําเขาเยื่อกระดาษโดยรวมของไทย แตการจัดตั้ง AFTA อาจจะมีผลกระทบทางบวก ตอผูประกอบการในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย หากรัฐบาลลดภาษีนําเขาสารเคมีและวัตถุดิบที่ ใชในการผลิตเยื่อกระดาษ 4.6.2 อุตสาหรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมปูนซีเมนตในกลุมประเทศอาเซียน มีโครงสรางอุตสาหกรรมทีค่ ลายคลึงกัน กลาวคือ มีลักษณะที่มีการแขงขันนอยราย (ยกเวนประเทศที่ไมมีการผลิตปูนซีเมนต ไดแก สิงคโปร และบรู ไ น) มี ก ารควบคุ ม จากรั ฐ บาลในด า นต า ง ๆ รวมทั้ ง กํ า ลั ง การผลิ ต และการคุ ม ครอง อุตสาหกรรมจากภาษีขาเขา แตการคุมครองจะลดลงในบางครั้ง หากมีการขาดแคลนปูนซีเมนตใน ประเทศ และตองนําเขา ประเทศไทยมีความสามารถในการแขงขันสูงที่สุดในกลุมประเทศอาเซียน รองลงมา ไดแก อินโดนีเซีย การคาอุตสาหกรรมปูนซีเมนตในกลุมประเทศอาเซียนมีไมมากนัก ยกเวนระหวางประเทศมาเลเซีย สิงคโปร และอินโดนีเซีย ซึ่งเปนประเทศเพื่อนบานใกลเคียงกัน การรวมกลุมเปนเขตการคาเสรีอาเซียน จะไมมีผลกระทบตออุตสาหกรรมปูนซีเมนตของประเทศ ไทย แตจะชวยใหการนําเขาและสงออกซีเมนตเม็ด และปูนซีเมนต ทําไดงายขึ้น ในกรณีปูนซีเมนต ขาดแคลนหรือลนตลาด อุตสาหกรรมปูนซีเมนตของไทยไดเริ่ม ตนขึ้นในป พ.ศ. 2456 โดยที่มี บริษัท แรกคือ บริ ษั ท ปู น ซี เ มนต ไ ทย ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค ที่ จ ะทํ า การผลิ ต เพื่ อ ทดแทนการนํ า เข า และเพื่ อ ให มี อุตสาหกรรมที่ผลิตวัตถุดิบที่สําคัญในอุตสาหกรรมกอสราง อุตสาหกรรมนี้อยูภายใตการควบคุม ของรั ฐบาลมาโดยตลอดนั บตั้ ง แตเ ริ่ ม ตน ดัง นั้น นโยบายของรัฐ บาลจึง มี อิท ธิพลอยา งมากตอ


73 ลักษณะโครงสรางและการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งโดยแทจริงแลวสงผลกระทบไปยัง อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวของดวย เชน อุตสาหกรรมกอสราง ประเภทปูนซีเมนต แบงเปน 1. ปูนซีเมนตพอรตแลนด (Portland Cement) ประเภทที่ 1 ใชในอุตสาหกรรมการกอสรางมากที่สุด ประเภทที่ 2 ใชในงานคอนกรีตที่มีเนื้อหนามาก ๆ หรืองานคอนกรีตในบริเวณที่มี ซัลเฟตมาก ๆ ประเภทที่ 3 ใชในงานคอนกรีตอัดแรงทุกชนิดที่ตองการใหรับน้ําหนักไดเร็ว และถอดแบบไดเร็ว ประเภทที่ 4 ใชในงานกอสรางคอนกรีตหนา เชน งานรากฐานขนาดใหญ เนื่องจาก เปนปูนซีเมนตที่คลายความรอนต่ําที่สุด แตเปนชนิดที่ยังไมมีการผลิต ในประเทศไทย ประเภทที่ 5 เหมาะสําหรับงานกอสรางในทะเล ริมทะเล หรือบนดินเค็ม 2. ปูนซีเมนตผสม (Mixed Cement) เป น ปู น ซี เ มนต ที่ ผ สมจากวั ส ดุ เ ฉื่ อ ย เช น ทราย หรื อ หิ น ปู น บดละเอี ย ด เพื่ อ ทํ า ให ปูนซีเมนตมีแรงอัดต่ํา เหมาะสําหรับงานกอสรางอาคารทั่ว ๆ ไป ที่ไมตองรับน้ําหนักมาก เชน งานหลอภาชนะคอนกรีต งานหลอทอ งานเทพื้น และยังใชเปนปูนกอ และปูนฉาบไดดวย 3. ปูนซีเมนตขาว (White Portland Cement) ใชสําหรับงานกอสรางตกแตงอาคารผนังทั้งภายในและภายนอกอาคาร การคาปูนซีเมนตในกลุมอาเซียน มีประเทศสิงคโปรเปนประเทศที่นําเขารายใหญที่สุด ในกลุมอาเซียน ทั้งนี้เพราะสิงคโปรเปนประเทศที่ไมมีอุตสาหกรรมปูนซีเมนต ประเทศนําเขาที่ สําคัญรองลงมาไดแก ประเทศมาเลเซีย สวนประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียนั้น มีการนําเขา บางเปนครั้งคราว สําหรับประเทศผูสงออกที่สําคัญในกลุมประเทศอาเซียนนั้น ไดแก ประเทศอินโดนิเซีย ตลาดสงออกที่สําคัญของประเทศอินโดนีเซียนั้นเปนตลาดนอกกลุมอาเซียน ประเทศมาเลเซียเปน อีกประเทศหนึ่งซึ่งมีการสงออกในกลุมประเทศอาเซียนมาก โดยเฉพาะอยางยิ่งเปนการสงออกไป ยังประเทศสิงคโปรซึ่งอยูใกลกัน สํ า หรั บ กลุ ม อุ ต สาหกรรมปู น ซี เ มนต มี ค วามคิ ด เห็ น ว า “การค า โดยทั่ ว ไปของกลุ ม อาเซียนจะเกิดขึ้นในกรณีที่ประเทศผูสงออก มีปูนซีเมนตเกินความตองการในประเทศ ซึ่งในชวงที่


74 ผานมามีบางประเทศซึ่งไมมีโรงงานผลิตปูนซีเมนตเปนของตนเอง ตองนําเขาโดยตลอด ไดแก สิงคโปร และมาเลเซียตะวันออก ซึ่งประเทศสิงคโปรจะนําเขาจากประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย (ซึ่ ง ทางบริ ษั ท ในสิ ง คโปร มี บ ริ ษั ท แม อ ยู ใ นประเทศดั ง กล า ว) ญี่ ปุ น , เกาหลี ใ ต ส ว นมาเลเซี ย ตะวันออกนําเขาจากประเทศญี่ปุนเปนหลัก” สาเหตุหนึ่งที่การคาซีเมนตในระหวางกลุมอาเซียนมีไมมากนัก ก็เพราะปูนซีเมนตเปน สินคาที่ถูกควบคุมทางดานการผลิตและไดรับการคุมครองจากรัฐบาลของประเทศในกลุมสมาชิก แตละประเทศ เชน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟลปิ ปนส บางประเทศเก็บภาษีขาเขาในอัตราสูง เชน ไทย อัตราภาษีขาเขาปกติอยูในระดับ 30% มาเลเซีย อัตราภาษีขาเขาปกติอยูในระดับ 50% ฟลิปปนสก็มีอัตราภาษีขาเขาอยูในระดับสูงเชนกัน ดังนั้นในภาวะปกติที่ไมมีปญหาการขาดแคลน ปูนซีเมนตการคาระหวางประเทศในกลุมอาเซียนจะไมเกิดขึ้น แตถาหากเกิดภาวะขาดแคลนใน บางประเทศ รัฐบาลจะลดอัตราภาษีขาเขาลงมาชั่วคราวเพื่อใหมีการนําปูนเขามาแกไขภาวะขาด แคลน ดังนั้น แตละประเทศในกลุมนี้จะมีการสงออกนําเขาหรือไม ขึ้นอยูกับภาวะการผลิตและการ บริโภคของประเทศที่นําเขารวมทั้งภาวะการผลิตและการบริโภคของประเทศที่จะสงออกได เพราะ ถาความตองการบริโภคมีมากก็จะไมสามารถสงออกได นอกจากนี้แลวธรรมชาติของการผลิตปูนซีเมนตตองใชเงินลงทุนสูง เปนสิ่งที่ทําใหการ เข ามาแข ง ขัน ทําไดย าก รวมทั้ งธรรมชาติ ของซีเ มนตที่เป น Bulky การขนส ง คอนขา งยากและ คาใชจายสูงจึงไมมีการตั้งโรงงานผลิตซีเมนตเพื่อสงออกเปนการเฉพาะ แตเปนการผลิตเพื่อตลาด ภายในประเทศและสวนเกินจึงจะสงออก บางครั้งทําใหการสงออกมีราคาที่ต่ํากวาราคาขายใน ประเทศประมาณรอยละ 25 – 30 ขึ้นอยูกับภาวะราคาในตลาดโลก ดังนั้น เราจึงคาดวาเขตการคา เสรีอาเซียนจะไมมีผลกระทบตอการคาปูนซีเมนตในอาเซียน ยกเวนในภาวะขาดแคลนหรือลน ตลาด การนําเขาและสงออกจะสะดวกขึ้น ความสามารถในการแขง ขัน ในการผลิตปูน ซีเ มนต ข องประเทศในกลุ ม อาเซี ย นนั้ น สามารถที่จะวัดได โดยใชตัวประกอบหนึ่งซึ่งเปนเครื่องชี้ได คือ ราคาหนาโรงงาน (Ex – factory Price) ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนตในกลุมนั้นมีความคลายคลึงกันมากตั้งแตการใช เทคโนโลยี โครงสรางตลาด การผลิต ตลอดจนนโยบายของรัฐ ถึงแมวาราคาหนาโรงงาน อาจจะไม สะทอนตนทุนที่แทจริงนัก ทั้งนี้เพราะราคานี้จะรวมถึงตนทุนการผลิตกับอัตรากําไรและราคาที่ โรงงานสามารถตั้งใหสูงกวาควรจะเปนได และในบางประเทศ เชน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ราคา ปูนซีเมนตถูกควบคุมโดยรัฐบาลทั้งนี้เนื่องจากโครงสรางการผลิตที่มีผูแขงขันนอยราย ซึ่งโครงสราง ของอุตสาหกรรมนี้ของประเทศตาง ๆ ในกลุมอาเซียน มีลักษณะคลายคลึงกันคือ มีผูแขงขันนอย


75 ราย (Oligopoly) ประเทศไทยมีผูผลิตรายใหญที่มีสวนแบงตลาดกวาครึ่ง (บริษัทปูนซีเมนตไทย : SCG) ที่เหลือเปนรายยอย ๆ ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซียก็เชนเดียวกัน ซึ่งการเขามาแขงขัน ในการผลิตยังถูกจํากัดโดยนโยบายของรัฐบาล ถึงแมจะมีการเปดใหมีบริษัทใหม ๆ เขามาแขงขัน บางในบางครั้ง นอกจากนี้แลวเวลาปูนซีเมนตขาดแคลนก็จะมีการลดการคุมครองลงเปนครั้งคราว คลายคลึงกันทุกประเทศ การพิจารณาวาจะมี Trade Creation เกิดขึ้นหรือไมนั้นยังตองขึ้นกับอัตราคาขนสงดวย ซึ่งหากไทยจะสงปูนซีเมนตผงไปยังประเทศฟลิปปนส ถารวมคา Freight แลวราคาใกลเคียงกับ ราคาในประเทศฟลิปปนส ซึ่งคงจะไมมีความจําเปนใด ๆ ที่ประเทศฟลิปปนสจะตองนําเขาจากไทย เพราะราคาไมจูงใจนักและยังตองรวมราคาคาขนสงอื่น ๆ อีกดวย ซึ่งอาจจะไมคุมและสําหรับ โอกาสที่จะสงออกไปประเทศมาเลเซียนั้นคงจะเปดกวางขึ้นได การศึกษาของประเทศมาเลเซีย พบวา อุตสาหกรรมนี้ในประเทศมาเลเซียอาจจะประสบกับการแขงขันจากประเทศตาง ๆ และ เสียเปรียบในการแขงขันเพราะมีตนทุนการผลิตที่สูงกวาประเทศไทยและอินโดนีเซีย สําหรับตลาด ในประเทศสิงคโปรนั้นคงจะไมมีผลกระทบอะไรเพราะเปนตลาดที่เปดอยูแลว กลาวโดยสรุป ประการแรกการรวมเขตการคาเสรีอาเซียน คงจะไมมีผลกระทบกับ อุตสาหกรรมปูนซีเมนตของไทยมากนัก เพราะไทยมีความสามารถในการแขงขันกับประเทศตาง ๆ ในกลุมอาเซียนได และคงยังไมมีประเทศใดมีกําลังการผลิตที่จะสงออกไปประเทศตาง ๆ ในกลุม อาเซี ย นมากนั ก ถึ ง แม วา ไทยอาจจะเสีย เปรี ย บประเทศอิ น โดนี เ ซีย อยู บ า งในเรื่อ งของตน ทุ น พลังงาน แตในการปรับโครงสรางภาษีของไทยก็จะทําใหถานหินและวัตถุดิบมีภาษีขาเขาลดลง เหลือ 0% ซึ่งก็จะทําใหไทยไมเสียเปรียบตอไป ประการที่สอง การคาปูนซีเมนตในกลุมอาเซียนนาจะเปนไปในลักษณะเดิม ทั้งนี้เพราะ การที่จะมีการคาเพิ่ม ขึ้นจะตองเกิดจากปจจัย สําคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ประเทศที่ มี ศักยภาพในการสงออกจะตองมีผลผลิตสวนเกินที่จะสงออก ประการที่สอง จะตองมีประเทศที่มี ความตองการนําเขาเพราะเกิดภาวะการขาดแคลนในประเทศ และประการที่สาม คาขนสงจะตอง ไมทําใหราคานําเขาปูนซีเมนตสูงเกินกวาราคาในประเทศมากจนเกินไป แตอยางไรก็ตามการจัดตั้ง เขตการค า เสรี อ าเซี ย นจะช ว ยให ไ ทย และประเทศสมาชิ ก อื่ น ๆ สามารถนํ า เข า หรื อ ส ง ออก ปูนซีเมนตเม็ดและปูนซีเมนตไดงายขึ้นในยามที่เกิดภาวะขาดแคลนหรือลนตลาด 4.6.3 อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอรหวาย อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอรหวายไดพัฒนาจากการผลิตในรูปหัตถกรรมพื้นบานมาเปน การผลิตในรูปโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนําเครื่องจักรเขามาชวยในบางขั้นตอนของการผลิต โดยใช


76 หวายที่มีอยูทั่วไปตามปาในจังหวัดทางภาคใตและภาคเหนือเปนวัตถุดิบสําคัญ แตวัตถุดิบหวาย จากปาภายในประเทศมีปริมาณลดลงตามลําดับ จึงตองนําเขาหวายจากตางประเทศ เชน สิงคโปร พมา เวียดนาม ฮองกง ลาว และอินโดนีเซีย เปนตน เปนปริมาณปละกวา 10,000 ตัน แตแนวโนม ของการนําเขาหวายไดลดลงตามลําดับเชนกัน ทั้งนี้เพราะประเทศผูสงออกหวายไดประกาศหาม สงออกหวายดิบ เพื่อสงวนไวเปนวัตถุดิบภายในประเทศ หรือตองแปรรูปกอนสงออกเพื่อกอใหเกิด มูลคาเพิ่ม (Value Added) สงผลใหเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบหวายขึ้นภายในประเทศ เฟอรนิเจอรหวายที่ผลิตเพื่อจําหนายภายในประเทศสวนใหญมีคุณภาพปานกลาง และราคาค อ นข า งถู ก เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ เฟอร นิ เ จอร ห วายที่ ส ง ออกไปจํ า หน า ยยั ง ตลาด ตางประเทศ ยังมีเฟอรนิเจอรหวายที่ใชภายในประเทศอีกจํานวนหนึ่งไดจากการนําเขา แตมีมูลคา ไมสูงมากนัก เมื่อพิจารณาถึงผลการกอตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตออุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร หวายแลวจะพบวา เนื่องจากหวายดิบเปนสินคาเกษตร ซึ่งเปนสินคาที่อยูนอกเหนือขอตกลงฯ การ หามสงออกหวายดิบของประเทศกลุมอาเซียนจึงสามารถใชบังคับตอไปไดอีก แตถาหากรัฐบาล ไทยลดภาษีนําเขาหวายเสนจากรอยละ 2 เหลือรอยละ 0 แลว จะทําใหตนทุนการผลิตเฟอรนิเจอร หวายลดลงร อยละ 1 ส ว นสภาพการค า ภายในประเทศจะไมถู ก กระทบ ทั้ง นี้เ พราะการสั่ง ซื้ อ เฟอรนิเจอรหวายที่ผลิตจากโรงงานภายในประเทศจะไดรับบริการหลังการขาย และเฟอรนิเจอร หวายที่ ผ ลิ ต จากโรงงานขนาดใหญ มี คุ ณ ภาพดี ส ว นตลาดระดั บ กลางและระดั บ ล า งจะซื้ อ เฟอรนิเจอรที่ผลิตจากอุตสาหกรรมครัวเรือนซึ่งมีราคาถูก สําหรับการสงออกไปยังประเทศกลุม อาเซียน จะเผชิญกับอุปสรรคของการขายแขงขัน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศในภูมิภาคนี้ตางมีวัตถุดิบ หวายอยูภายในประเทศ และมีความสามารถในการผลิต ตลอดจนเฟอรนิเจอรหวายที่จําหนายใน คุณภาพเดียวกันมีราคาถูกกวาไทยอีกดวย ทางดานความสามารถในการแขงขันของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกลุมอาเซียน แล ว พบว า ข อ ได เ ปรี ย บของไทยได แ ก ( 1) ไทยได พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมเฟอร นิ เ จอร ห วายก อ น อินโดนีเซีย จึงมีความเชี่ยวชาญในการผลิตมากกวา และผลิตเฟอรนิเจอรหวายที่มีคุณภาพ รวมทั้ง ไดพัฒนารูปแบบใหแลดูสวยงามอยูเปนประจํา จึงสามารถสงจําหนายตลาดยุโรปตั้งแตระดับกลาง ถึงระดับบน (2) ผูผลิตของไทยสามารถสงมอบผลิตภัณฑไดตรงตามกําหนดเวลา และใหบริการแก ลูกคาตางประเทศดีกวาอินโดนีเซียซึ่งเปนประเทศคูแขงที่สําคัญ จึงสามารถสรางความเชื่อถือ ทางการคาแกลูกคาตางประเทศ สวนทางขอเสียเปรียบไดแก (1) กฎหมายไทยบัญญัติใหหวายเปน ของปาหวงหาม การนําหวายออกจากปาจะตองขออนุญาตตอทางราชการเสียกอน ซึ่งมีขั้นตอนที่


77 สลับซับซอน สวนหวายที่นําเขาจากตางประเทศ จะตองมี Certificate of Origin (C/O) อันเปนการ เพิ่มขั้นตอนของการนําเขาโดยไมจําเปน และสงผลใหตนทุนการนําเขาหวายเสนสูงขึ้น (2) รัฐบาล ของฟลิปปนสโดยความรวมมือของสหรัฐอเมริกาไดจัดตั้งศูนยออกแบบเฟอรนิเจอรใหตรงกับความ ตองการในสหรัฐอเมริกา จึงทําใหเฟอรนิเจอรหวายของฟลิปปนสสามารถครองตลาดตั้งแตระดับ ลางจนถึงระดับบน (3) อินโดนีเซียเปนประเทศที่มีวัตถุดิบหวายมากที่สุด ไดปลูกสวนปาหวายที่มี คุณภาพดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีคาจางแรงงานต่ํา ทั้งยังเปนการผลิตแบบ Mass Production จึง สามารถรับคําสั่งซื้อไดครั้งละมาก ๆ และครองตลาดสหรัฐอเมริกาตั้งแตระดับกลางถึงระดับลาง นอกจากนี้ ผูประกอบการอินโดนีเซียยังสามารถกูยืมเงินจากสถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ํา จึง สงผลใหตนทุนการผลิตต่ํา อยางไรก็ตาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแขงขันในตลาดโลก จึงควรรวมมือกัน เพื่อขจัดอุปสรรคกีดขวางใหหมดสิ้นไป โดยมาตรการที่สําคัญไดแก (1) ทั้งภาครัฐและเอกชนควร ทําการปลูกสวนปาหวายกันอยางจริงจัง โดยเฉพาะภาครัฐควรใหการสงเสริมการปลูกสวนปาหวาย ดวยการลดขอจํากัดตาง ๆ (2) ควรศึกษารสนิยมของผูซื้อ แลวทําการพัฒนารูปแบบใหม ๆ ขึ้น โดยเฉพาะการลดงานสานใหนอยลง เพื่อลดตนทุนทางดานแรงงาน (3) ควรใหฝกอบรมแรงงานให มีฝมือทางดานการสานกันอยางจริงจัง (4) ควรขยายไปสูตลาดใหม ๆ เพราะตลาดหลักในปจจุบัน มีการแขงขันกันสูงมาก (5) กรณีของโครงการขยายงาน ควรพิจารณาเลือกที่ตั้งโรงงานในสวน ภู มิ ภ าคที่ อ ยู ใ กล แ หล ง วั ต ถุ ดิ บ และมี ค า จ า งแรงงานต่ํ า เพื่ อ ลดต น ทุ น การผลิ ต (6) ผู ผ ลิ ต ใน ฟลิปปนสเห็นวา ควรรวมทุนดวยการผสมผสานความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ของแตละประเทศ


บทที่ 5 การศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีตอการสงออกของประเทศอาเซียน การศึกษาในสวนนี้ จะศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มี ตอการสงออกของประเทศภายในกลุมอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมใน ภาพรวมของประเทศที่สําคัญในอาเซียน ทั้งกอนและหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน โดย ทําการศึกษาเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศเดิม ไดแก ไทย อินโดนีเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร และมาเลเซีย ในชวงป ค.ศ. 1980-2006 เนื่องจากขอมูลมีความสมบูรณมากกวา ซึ่งจะทํา ใหผลการศึกษาที่ไดมีความชัดเจนมากขึ้น 5.1 แบบจําลองที่ใชในการศึกษา การศึ ก ษาในส ว นนี้ จะใช แ บบจํ า ลอง Gravity ด ว ยวิ ธี ก ารประมาณค า แบบ OLS (Ordinary Least Squares) โดยใชขอมูลอนุกรมภาคตัดขวาง (Panel Data) ตั้งแตป ค.ศ.19802006 หลังจากนั้นจึงทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออก ระหวางกอนและหลังการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test มีรายละเอียดดังนี้ 5.1.1 แบบจําลอง Gravity แบบจําลอง Gravity เปนแบบจําลองที่เปนที่นิยมนํามาประยุกตใชในการศึกษา ผลกระทบของการรวมกลุมทางเศรษฐกิจภูมิภาคที่มีตอปริมาณการคาระหวางประเทศของประเทศ สมาชิก ตามแนวคิดของ Tinbergen (1962) ซึ่งใชแบบจําลอง Gravity ในการวิเคราะหผลกระทบ ดังกลาว ตัวแปรตามคือ ขนาดของมูลคาการคาระหวางประเทศ 2 ประเทศ จะขึ้นอยูกับตัวแปร อธิบายตาง ๆ ดังนี้ รายไดของประเทศผูนําเขา รายไดของประเทศผูสงออก จํานวนประชากรของ ประเทศผูนําเขา จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก และระยะทางระหวางประเทศทั้งสอง นอกจากนี้ยังใชตัวแปรหุน (Dummy Variable) เปนตัววัดผลกระทบทางดานการสงออกของ ประเทศสมาชิกในกลุมเศรษฐกิจภูมิภาค โดยงานศึกษานี้จะอางอิงมาจากแบบจําลอง Gravity

78


79 ของ Endoh1 โดยมีการปรับปรุงแบบจําลองใหเหมาะสมเพื่อใชในการประมาณผลกระทบของการ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีตอการสงออกของประเทศภายในกลุมอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมในภาพรวมของประเทศที่สําคัญในอาเซียน ดังนี้

log Xij,t = log β0 + β1 log Yi,t + β2 log Yj,t + β3 log Ni,t + β4 log Nj,t + β5 log Dij + β6 AFTATRADE ij,t + β7 CRISIS ij,t + eij,t (5.1) โดย

Xij = Yi, Yj = Ni, Nj = = Dij

AFTATRADEij =

=

CRISIS ij

= = =

eij βn t

1

มูลคาการสงออกจากประเทศ i ไป j ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงิน (Nominal GDP) ของประเทศ i และ j ตามลําดับ จํานวนประชากรของประเทศ i และ j ตามลําดับ ระยะหางระหวางประเทศ i และ j (ระยะหางระหวางทาเรือสําคัญระหวาง 2 ประเทศ)2 ตัวแปรหุนที่สะทอนถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มี ตอการสงออก เปน 0 ถาเปนการสงออกในชวงป ค.ศ. 1980-1992 เปน 1 ถาเปนการสงออกในชวงป ค.ศ. 1993-2006 ตัวแปรหุนที่สะทอนถึงผลกระทบจากการเกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจ เปน 0 ถาเปนชวงที่ไมเกิด CRISIS เปน 1 ถาเปนชวงที่เกิด CRISIS (ในชวงป ค.ศ. 1997-1998) คาความคลาดเคลื่อน (error term) คาสัมประสิทธิ์ (n = 1,2,…,8) เวลา (ป)

Masahiro Endoh (1999). “Trade Creation and Trade Diversion in EEC, the LAFTA and the CMEA : 1960-1994”, Applied Economics 31(2), (February) : 207-16. 2 ดูรายละเอียดที่ภาคผนวก ก.


80 ตารางที่ 5.1 สรุปความสัมพันธระหวางตัวแปรตามและตัวแปรอธิบายที่คาดการณไว ตัวแปรตาม : Xij ตัวแปรอธิบาย เครื่องหมายทีค่ าดการณไว Yi, Yj เปนบวก : เนื่องจากรายไดของประเทศผูสงออก สะทอนใหเห็นถึงผลผลิตที่มีเพิ่มขึ้น สําหรับการสงออก สวนรายไดของประเทศผูนําเขาสะทอนถึงกําลังซื้อของผูบริโภคใน ประเทศผูนําเขา Ni, Nj สรุปไมได : เนื่องจากขนาดของประชากรเปนตัวที่สามารถสงเสริมปริมาณการคา หรืออาจจะเปนตัวกีดขวางการคาก็ได 1) จํานวนประชากรที่มากอาจจะสะทอนถึง การมีแหลงทรัพยากรขนาดใหญ จึงทําใหความจําเปนในการพึ่งพาการคาระหวาง ประเทศลดลง 2) หากมองอี ก ด า นหนึ่ ง เป น ไปได ที่ ว า ตลาดในประเทศที่ ใ หญ สนับสนุนใหเกิดการแบงงานกันทํา และทําใหเกิดการผลิตสินคาที่เพิ่มขึ้น ถาเปนใน กรณีหลัง จะมีคาคาดการณในเครื่องหมายเปนบวก Dij เปนลบ : เนื่องจากระยะทางเปนตัวแปรที่สะทอนถึงอุปสรรคทางการคา โดยสะทอน ถึงตนทุนคาขนสง ตนทุนการเนาเสียของสินคา ดังนั้นยิ่งระยะทางระหวางประเทศคู คาหางกันมากเทาไร ขนาดการคาก็จะยิ่งนอยลง AFTATRADEij เปนบวก : เนื่องจากการรวมกลุมทางเศรษฐกิจโดยการเปดเสรีทางการคา ประเทศ สมาชิกในเขตการคาเสรีจะมีขอตกลงรวมกันในการลดกําแพงภาษีระหวางประเทศ ในกลุมดวยกัน ดังนั้นจึงชวยสนับสนุนใหเกิดการสรางเสริมการคาระหวางประเทศ สมาชิกภายในกลุม (Export Increased) CRISISij สรุปไมได : เนื่องจากในชวงป ค.ศ. 1997-1998 ที่เกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศในแถบเอเชีย ไดรับผลกระทบเหมือนกันทุกประเทศ ดังนั้นจึงไมอาจสรุป ไดวาจะมีคาคาดการณในเครื่องหมายเปนเชนไร แตหากมีเครื่องหมายเปนลบแสดง วาการเกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจ กอใหเกิดผลกระทบทางการคาโดยจะมีการ สงออกไปยังไปประเทศในกลุม และนอกกลุมลดลง


81 5.1.2 ทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออก ระหวางกอนและหลังการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test การศึกษาในวิทยานิพนธฉบับนี้ ไดประยุกตมาจากทฤษฎี Trade Creation และ Trade Diversion ของ Balassa3 โดยวิธีการศึกษาดังกลาวจะทําการแบงขอมูลที่นํามาใชศึกษาออกเปน 2 ชุด คื อ ข อ มูล ในช ว งก อนที่ จ ะมี ก ารรวมกลุ ม ทางเศรษฐกิ จ และข อมู ล ในช ว งหลั ง จากที่มี ก าร รวมกลุมทางเศรษฐกิจ จากแบบจําลองที่นํามาใชทําการศึกษาในวิทยานิพนธฉบับนี้ สมการที่ (5.1) โดยตัดตัว แปรที่เปนตัวแปรหุน (Dummy Variable) ออก ซึ่งอยูในรูปของ X ij,t = β0 Yi,t β1 Yj,t β2 Ni,t β3 Nj,t β4 Dij β5 eij,t

(5.2)

นอกจากจะมีการแบงขอมูลที่นํามาใชศึกษาออกเปน 2 ชุด คือขอมูลในชวงกอนที่จะมี การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) : ป ค.ศ. 1980-1992 และขอมูลในชวงหลังจากที่มีการ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน : ป ค.ศ.1993-2006 แลว ยังมีการแยกแบบจําลองออกเปนอีก 2 สวน คือ การสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปยังนอกกลุม ดังนี้ ก. แบบจําลองแสดงแนวโนมการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) ในชวงกอน และหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) log Xij,t = log α0 + α1 log Yi,t + α2 log Yj,t + α3 log Ni,t + α4 log Nj,t + α5 log Dij + eij,t โดย

= Xij Yi, Yj = Ni, Nj = Dij = eij = 3

(5.3)

มูลคาการสงออกภายในกลุมอาเซียนจากประเทศ i ไป j ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงิน (Nominal GDP) ของประเทศ i และ j ตามลําดับ จํานวนประชากรของประเทศ i และ j ตามลําดับ ระยะหางระหวางประเทศ i และ j (ระยะหางระหวางทาเรือสําคัญระหวาง 2 ประเทศ) คาความคลาดเคลื่อน (error term)

Balassa Bella. “Trade Creation and Trade Diversion in te European Common Market”., Economic Journal 77 (1967) : 1-21


82 αn = t =

คาสัมประสิทธิ์ (n = 1,2,…,8) เวลา (ป)

การประมาณผลสามารถทําไดโดยนําสมการที่ (5.3) มาวิเคราะหสมการถดถอยดวยวิธี กําลังสองนอยที่สุด (OLS) โดยใชขอมูล 2 ชุด ที่ไดทําการแบงไวแลว (1980-1992) : log Xij,t = log α0 + α1 log Yi,t + α2 log Yj,t + α3 log Ni,t + α4 log Nj,t + α5 log Dij + eij,t (1993-2006) : log Xij,t = log α0 + α1 log Yi,t + α2 log Yj,t + α3 log Ni,t + α4 log Nj,t + α5 log Dij + eij,t

(5.4) (5.5)

ข. แบบจําลองแสดงแนวโนมการสงออกไปยังนอกกลุม ในชวงกอนและหลังที่มีการ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) log Xij,t = log γ0 + γ1 log Yi,t + γ2 log Yj,t + γ3 log Ni,t + γ4 log Nj,t + γ5 log Dij + eij,t โดย

= Xij Yi, Yj = Ni, Nj = = Dij eij αn t

= = =

(5.6)

มูลคาการสงออกไปยังภายนอกกลุมอาเซียนจากประเทศ i ไป j ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงิน (Nominal GDP) ของประเทศ i และ j ตามลําดับ จํานวนประชากรของประเทศ i และ j ตามลําดับ ระยะหางระหวางประเทศ i และ j (ระยะหางระหวางทาเรือสําคัญระหวาง 2 ประเทศ) คาความคลาดเคลื่อน (error term) คาสัมประสิทธิ์ (n = 1,2,…,8) เวลา (ป)

การประมาณผลสามารถทําไดโดยนําสมการที่ (5.6) มาวิเคราะหสมการถดถอยดวยวิธี กําลังสองนอยที่สุด (OLS) โดยใชขอมูล 2 ชุด ที่ไดทําการแบงไวแลว


83 (1980-1992) : log Xij,t = log γ0 + γ1 log Yi,t + γ2 log Yj,t + γ3 log Ni,t + γ4 log Nj,t (5.7) + γ5 log Dij + eij,t (1993-2006) : log Xij,t = log γ0 + γ1 log Yi,t + γ2 log Yj,t + γ3 log Ni,t + γ4 log Nj,t (5.8) + γ5 log Dij + eij,t จากสมการที่ (5.2), (5.3) และ (5.6) แสดงถึงปจจัยที่มีผลกระทบตอมูลคาการสงออก ทั้งกอนและหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ดังนั้นในการศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลกําหนด ความแตกตางมูลคาการสงออกของสองชวงเวลาดังกลาว จะใชวิธีการทดสอบความแตกตางแบบ Chow Test ซึ่งมีขอสมมติภายใตการทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออกดังนี้ 1. eij ∼ N (0,σij 2) คือ Error Term มีการกระจายแบบปกติ (normal distribution) และมีความแปรปรวนคงที่ (homoscedastic) 2. eij ในสมการที่ (5.3) และ (5.6) มีการกระจายที่เปนอิสระตอกัน (Independent distribution) Σ eij eij = 0 สมมติฐานและขั้นตอนในการทดสอบความแตกตางของมูลคาการสงออก ทั้งกอนและ หลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ภายหลังการสรางแบบจําลองมูลคาการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และ การสงออกไปยังนอกกลุม แลว จึงนําแบบจําลองขางตนมาทดสอบความแตกตาง โดยมีขั้นตอนใน การทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออกภายในกลุมและนอกกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน ในป ค.ศ. 1980 -1992 กับชวงที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนแลวในป ค.ศ. 1993-2006 โดยใชวิธีการทดสอบแบบ Chow Test นั้นมีขั้นตอนในการทดสอบ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ตั้งสมมติฐานการทดสอบความแตกตางของมูลคาการสงออก กอนและ หลังมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน คือ α0 = α0, α1=α1,…, α5=α5 H0 : γ0 = γ0, γ1=γ1,…, γ5=γ5 H0 : (คาสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่อธิบายในสมการมูลคาการสงออก กอนที่มีการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียน เทากับ คาสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่อธิบายในสมการมูลคาการสงออกในชวงที่มี การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนแลว) α0 ≠ α0, α1 ≠ α1,…, α5 ≠ α5 H1 : γ0 ≠ γ0, γ1 ≠ γ1,…, γ5 ≠ γ5 H1 :


84 (คาสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่อธิบายในสมการมูลคาการสงออก กอนที่มีการจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียน ไมเทากับ คาสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่อธิบายในสมการมูลคาการสงออกในชวง ที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนแลว) ขั้นตอนที่ 2 ของการวิเคราะหในแนวทางที่1 คือ ตรวจสอบความแตกตางระหวาง คาพารามิเตอรดังกลาว โดยใชวิธี Chow Test ของ Gregory Chow4 เพื่อพิจารณานัยสําคัญทาง สถิติของความแตกตางระหวางคาพารามิเตอรดังกลาว ซึ่งจากขอสมมติของ Chow Test จะได F

=

(SSR_u-(SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006))/k (SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006)/(T - 2k)

โดยที่ SSR_u = SSR_r1980-1992 = SSR_ r1993-2006 = T K

= =

residual sum of squares ของขอมูลทั้งหมด residual sum of squares ของขอมูลในชวงกอนที่จะมีการจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียน residual sum of squares ของขอมูลในชวงหลังที่มีการจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียนแลว จํานวนของขอมูลทั้งหมด จํานวนของพารามิเตอรทั้งหมดในแบบจําลองที่ทําการศึกษา

ขั้นตอนสุดทาย เงื่อนไขในการทดสอบความแตกตางของมูลคาการสงออก กอนและ หลังมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน คือ ถา F – Statistic ที่คํานวณไดมีมากกวาคา F – Statistic ที่ไดจากการเปดตาราง F ที่มี องศาความเปนอิสระ K, (T – 2K) โดยใชขอบเขตระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งมีคาเทากับ 2.11 (ใน กรณีที่ขนาดของตัวอยางมีจํานวนมาก การแจกแจงแบบ F จะมีคาเขาใกลการแจกแจงแบบปกติ) จะปฏิเสธสมมติฐาน H0 แสดงวา มูลคาการสงออกกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน แตกตางอยางมีนัยสําคัญจากมูลคาการสงออกในชวงหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน

4

D. N. Gujarati, Basic Econometrics (McGraw-Hill, 1995) pp. 244-248.


85 5.2 ผลการศึกษา ผลจากการประมาณคาแบบจําลอง Gravity ในสมการที่ (5.1) ดวยวิธีการประมาณคา แบบ OLS (Ordinary Least Squares) โดยใชขอมูลอนุกรมภาคตัดขวาง (Panel Data) ตั้งแตป ค.ศ.1980-2006 ซึ่งผลจากการประมาณคาแบบจําลอง สามารถสรุปไดเปน 2 กลุม ดังนี้ กลุมที่ 1 : มูลคาการคาภายในกลุมอาเซียนทางดานการสงออก (Intra-ASEAN Export) ln Xij,t = 28.58230 + 0.134109 * ln Yi,t + 0.141160 * ln Yj,t – 0.369800 * ln Ni,t – 0.324637 * ln Nj,t (44.63277) *** (3.329320) *** (3.286500)*** (-11.75689) *** (-10.15431) *** – 1.121391 * ln Dij,t + 0.952108 * AFTA TRADE ij,t (5.9) (-13.33114) *** (3.388176) *** Adj. R2 = 0.765511 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ผลจากการประมาณคาแบบจําลอง Gravity พบวา ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) จํานวนประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และ ระยะทางระหวางประเทศคูคา (Dij) มีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคา สัมประสิท ธิ์หนา ตัวแปรอธิ บาย ซึ่งคาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตัวแปร อธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่ง สามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัว แปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการ ประมาณคาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผู สงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางเดียวกัน 0.134 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผูนําเขา ซึ่งผลจากการประมาณ คาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง เดียวกัน 0.141 เปอรเซ็นต


86 ตั ว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผู นํ า เข า (j) เปน ตั ว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 0.369 เปอรเซ็นต และ หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผู ส ง ออก (i) ที่ ไ ปประเทศผู นํ า เข า (j) เปลี่ ย นแปลงไปในทิ ศ ทางตรงกั น ข า ม 0.324 เปอรเซ็นต ตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคาระหวาง ประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให มูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 1.121 เปอรเซ็นต สวนผลของการศึกษาผลกระทบทางดานการคาจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนมี เครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต โดย สามารถอธิบายไดวา การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคากันภายในกลุม AFTA มากขึ้น (Export Increased) และเมื่อมีการเพิ่มตัวแปรหุน CRISIS ij ในป ค.ศ. 1997-1998 พบวา มีเครื่องหมาย เปนไปตามทฤษฎีแตไมมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุมที่ 2 : มูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก ln Xij,t = 10.89802 + 0.215245 * ln Yi,t + 0.404527 * ln Yj,t – 0.154704 * ln Ni,t + 0.134677 * ln Nj,t (22.79361) *** (5.507874) *** (11.76020)*** (-5.755201) *** (4.639477) *** + 0.727567 * ln Dij,t - 0.192750 * AFTA TRADE ij,t (5.10) (9.940400) *** (-0.981377) ** Adj. R2 = 0.672506 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ** ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลจากการประมาณคาแบบจําลอง Gravity พบวา ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) จํานวนประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และ ระยะทางระหวางประเทศคูคา (Dij) มีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคา


87 สัมประสิท ธิ์หนา ตัวแปรอธิบาย ซึ่งคาสัมประสิ ทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตั วแปร อธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่ง สามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัว แปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการ ประมาณคาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผู สงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางเดียวกัน 0.215 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผูนําเขา ซึ่งผลจากการประมาณ คาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง เดียวกัน 0.404 เปอรเซ็นต ตั ว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผูนํ า เข า (j) เป น ตั ว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 0.154 เปอรเซ็นต และ หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผูสงออก (i) ที่ไปประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.134 เปอรเซ็นต ตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคาระหวางประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการ สงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน 0.727 เปอรเซ็นต สวนผลของการศึกษาผลกระทบทางดานการคาจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนมี เครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีแตไมมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้น ไมสามารถสรุปไดวา การจัดตั้งเขต การคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอกกลุม AFTA นอยลง และ/หรือ มากขึ้น และเมื่อมีการเพิ่มตัวแปรหุน CRISIS ij ในป ค.ศ. 1997-1998 พบวา มีเครื่องหมาย เปนไปตามทฤษฎีแตไมมีนัยสําคัญทางสถิติเชนเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบความแตกตางมูลคาการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และนอกกลุม ระหวางกอนและหลังการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test สามารถสรุปไดดังนี้


88 ชวงกอนและหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน : ป ค.ศ. 1980 – 2006 กลุมที่ 1 : มูลคาการคาภายในกลุมอาเซียนทางดานการสงออก (Intra-ASEAN Export) ln Xij,t = 27.29254 + 0.236617 * ln Yi,t + 0.253002 * ln Yj,t – 0.354716 * ln Ni,t – 0.305413 * ln Nj,t (52.45927) *** (8.806806) *** (9.112845)*** (-11.27607) *** (-9.608307) *** – 1.065399 * ln Dij,t (5.11) (-12.78577) *** Adj. R2 = 0.760664 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ผลจากการประมาณคาแบบจําลอง Gravity พบวา ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) จํานวนประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และ ระยะทางระหวางประเทศคูคา (Dij) มีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคา สัมประสิท ธิ์หนา ตัวแปรอธิ บาย ซึ่งคาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตัวแปร อธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่ง สามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัว แปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการ ประมาณคาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผู สงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางเดียวกัน 0.237 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผูนําเขา ซึ่งผลจากการประมาณ คาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง เดียวกัน 0.253 เปอรเซ็นต ตั ว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผูนํ า เข า (j) เป น ตั ว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 0.355 เปอรเซ็นต และ


89 หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผู ส ง ออก (i) ที่ ไ ปประเทศผู นํ า เข า (j) เปลี่ ย นแปลงไปในทิ ศ ทางตรงกั น ข า ม 0.305 เปอรเซ็นต สวนตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคา ระหวางประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะ ทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขามกัน 1.065 เปอรเซ็นต กลุมที่ 2 : มูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก ln Xij,t = 11.04400 + 0.182499 * ln Yi,t + 0.390290 * ln Yj,t – 0.163706 * ln Ni,t + 0.128428 * ln Nj,t (23.57490) *** (8.692579) *** (12.33310)*** (-6.405553) *** (4.518122) *** + 0.743829* ln Dij,t (5.12) (10.58942) *** 2 Adj. R = 0.672398 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ผลจากการประมาณคาแบบจําลอง Gravity พบวา ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) จํานวนประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และ ระยะทางระหวางประเทศคูคา (Dij) มีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎีและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคา สัมประสิท ธิ์หนา ตัวแปรอธิ บาย ซึ่งคาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตัวแปร อธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่ง สามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัว แปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการ ประมาณคาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผู สงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางเดียวกัน 0.182 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของ ประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผูนําเขา ซึ่งผลจากการประมาณ คาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูนําเขา เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง เดียวกัน 0.390 เปอรเซ็นต


90 ตั ว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผู นํ า เข า (j) เปน ตั ว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 0.164 เปอรเซ็นต และ หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผูสงออก (i) ที่ไปประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.128 เปอรเซ็นต สว นตั ว แปรระยะทางระหว า งประเทศคูค า เปน ตั ว แปรที่ส ะท อ นถึ ง ต น ทุน ทางการค า ระหว า ง ประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให มูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน 0.744 เปอรเซ็นต ชวงกอนมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน : ป ค.ศ. 1980 - 1992 กลุมที่ 1 : มูลคาการคาภายในกลุมอาเซียนทางดานการสงออก (Intra-ASEAN Export) ln Xij,t = 23.16913 + 1.391851 * ln Yi,t + 0.559977 * ln Yj,t – 1.042566 * ln Ni,t – 0.661836 * ln Nj,t (24.67046) *** (10.48392) *** (4.174263)*** (-15.78244) *** (-9.993635) *** – 0.754959 * ln Dij,t (5.13) (-6.536668) *** Adj. R2 = 0.771685 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ผลจากการประมาณคาแบบจําลองการสงออกภายในกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน พบวา ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) จํานวน ประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และระยะทางระหวางประเทศคูคา (Dij) เปนปจจัยที่กําหนดการ สงออกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติดวยระดับความเชื่อมั่นรอยละ 99 และมีเครื่องหมายเปนไปตาม ทฤษฎี โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปร อธิบาย ซึ่งคาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึงผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ ที่มีตอการ สงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่งสามารถอธิบาย ความหมายไดดังนี้ ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการประมาณคาแบบจําลอง


91 สามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 1.391 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัว แปรที่ สะทอนถึ งกํา ลังซื้ อของประเทศผูนําเขา ซึ่งผลจากการประมาณคาแบบจําลองสามารถ อธิ บ ายได ว า หากผลิ ต ภั ณ ฑ ม วลรวมภายในประเทศของประเทศผู นํ า เข า เปลี่ ย นแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.560 เปอรเซ็นต ตั ว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผูนํ า เข า (j) เปน ตัว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 1.043 เปอรเซ็นต และ หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผู ส ง ออก (i) ที่ ไ ปประเทศผู นํ า เข า (j) เปลี่ ย นแปลงไปในทิ ศ ทางตรงกั น ข า ม 0.662 เปอรเซ็นต ตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคาระหวาง ประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให มูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขามกัน 0.755 เปอรเซ็นต กลุมที่ 2 : มูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก ln Xij,t = 15.27779 + 0.319951 * ln Yi,t + 0.949876 * ln Yj,t – 0.312179 * ln Ni,t – 0.213615 * ln Nj,t (19.95511) *** (4.295602) *** (15.19132)*** (-7.686286) *** (-6.418903) *** – 0.043412 * ln Dij,t (5.14) (-0.350629) ** 2 Adj. R = 0.725523 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ** ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลจากการประมาณคาแบบจําลองการสงออกภายในกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน พบวา ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) และจํานวน ประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) เปนปจจัยที่กําหนดการสงออกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติดวย


92 ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 99 และมีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎี โดยสามารถอธิบายผลกระทบ ของตัวแปรอธิบายตาง ๆ จากคาสัมประสิทธิ์หนาตัวแปรอธิบาย ซึ่งคาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะ สะทอนถึงผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศใน รูปแบบของคาความยืดหยุน ซึ่งสามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของ ประเทศผูสงออก ซึ่งผลจากการประมาณคาแบบจําลองสามารถอธิบายไดวา หากผลิตภัณฑมวล รวมภายในประเทศของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไป ยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.320 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผู นํ า เข า ซึ่ ง ผลจากการประมาณค า แบบจํ า ลองสามารถอธิ บ ายได ว า หากผลิ ต ภั ณ ฑ ม วลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยัง ประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.950 เปอรเซ็นต ตัว แปรขนาดของประชากรของประเทศผูส ง ออก (i) และผูนํ า เข า (j) เป น ตัว แปรที่ สะทอนถึงปจจัยการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลอง อธิบายไดวา หากจํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําให ปริมาณการสงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขาม 0.312 เปอรเซ็นต และ หากจํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผู ส ง ออก (i) ที่ ไ ปประเทศผู นํ า เข า (j) เปลี่ ย นแปลงไปในทิ ศ ทางตรงกั น ข า ม 0.214 เปอรเซ็นต สวนตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ เปนปจจัยที่ไมมี อิ ท ธิ พ ลต อ การส ง ออก ดั ง นั้ น ระยะทางอาจไม เ ป น อุ ป สรรคทางการค า เนื่ อ งจากป จ จุ บั น มี Transportation ที่ดี ทําใหไมมีปญหาในการขนสงสินคาระหวางกัน ชวงหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน : ป ค.ศ. 1993 - 2006 กลุมที่ 1 : มูลคาการคาภายในกลุมอาเซียนทางดานการสงออก (Intra-ASEAN Export) ln Xij,t = 9.427373 + 1.214371 * ln Yi,t + 0.519744 * ln Yj,t + 0.566326 * ln Ni,t + 0.012979 * ln Nj,t (5.268126) *** (12.21858) *** (5.395356)*** (6.894992) *** (0.160992) ** – 0.572753 * ln Dij,t (5.15) (-6.624904) ***


93 Adj. R2 = 0.792158 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ** ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลจากการประมาณคาแบบจําลองการสงออกภายในกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน พบวา ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูสงออก (Ni) และระยะทาง ระหวางประเทศคูคา (Dij) เปนปจจัยที่กําหนดการสงออกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติดวยระดับความ เชื่อมั่นรอยละ 99 และมีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎี โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปร อธิบายต าง ๆ จากคา สัมประสิ ทธิ์ หนา ตัวแปรอธิบาย ซึ่ง คาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบ ของคาความยืดหยุน ซึ่งสามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผู สง ออก ซึ่ ง ผลจากการประมาณคา แบบจํา ลองสามารถอธิ บ ายไดว า หากผลิต ภัณ ฑ ม วลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยัง ประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 1.214 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผู นํ า เข า ซึ่ ง ผลจากการประมาณค า แบบจํ า ลองสามารถอธิ บ ายได ว า หากผลิ ต ภั ณ ฑ ม วลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยัง ประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.520 เปอรเซ็นต ตัวแปรขนาดของประชากรของประเทศผูสงออก (i) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงปจจัยการ ผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลองอธิบายไดวา หาก จํานวนประชากรของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหปริมาณการสงออกไป ยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน 0.566 เปอรเซ็นต และตัวแปรระยะทางระหวาง ประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคาระหวางประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทาง ระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยังประเทศคูคา เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันขามกัน 0.573 เปอรเซ็นต ตัวแปรขนาดของประชากรของประเทศผูนําเขา (j) ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ เปน ปจจัยที่ไมมีอิทธิพลตอการสงออกภายในกลุมอาเซียน


94 กลุมที่ 2 : มูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก ln Xij,t = 8.275823 + 0.254471 * ln Yi,t + 0.660361 * ln Yj,t – 0.029970 * ln Ni,t + 0.635979 * ln Nj,t (12.39936) *** (4.910402) *** (15.60451)*** (-0.621123) ** (15.17610) *** + 0.312302 * ln Dij,t (5.16) (4.429657) *** Adj. R2 = 0.739882 วงเล็บขางลางคาสัมประสิทธิ์ คือ คา t-statistic *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ** ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลจากการประมาณคาแบบจําลองการสงออกายในกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน พบวา ผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) ผลิตภัณฑมวลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) จํานวนประชากรของประเทศผูนําเขา (Nj) และระยะทาง ระหวางประเทศคูคา (Dij) เปนปจจัยที่กําหนดการสงออกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติดวยระดับความ เชื่อมั่นรอยละ 99 และมีเครื่องหมายเปนไปตามทฤษฎี โดยสามารถอธิบายผลกระทบของตัวแปร อธิบายต าง ๆ จากคา สัมประสิ ทธิ์ หนา ตัวแปรอธิบาย ซึ่ง คาสัมประสิทธิ์ดังกลาวจะสะทอนถึง ผลกระทบของตัวแปรอธิบายตาง ๆ ที่มีตอการสงออกระหวางประเทศคูคา 2 ประเทศในรูปแบบ ของคาความยืดหยุน ซึ่งสามารถอธิบายความหมายไดดังนี้ ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ ภายในประเทศของประเทศผูสงออก (Yi) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังการผลิตของประเทศผู สง ออก ซึ่ ง ผลจากการประมาณคา แบบจํา ลองสามารถอธิ บ ายไดว า หากผลิต ภัณ ฑ ม วลรวม ภายในประเทศของประเทศผูสงออกเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยัง ประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.254 เปอรเซ็นต ตัวแปรผลิตภัณฑมวลรวม ประชาชาติภายในประเทศของประเทศผูนําเขา (Yj) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงกําลังซื้อของประเทศผู นํ า เข า ซึ่ ง ผลจากการประมาณค า แบบจํ า ลองสามารถอธิ บ ายได ว า หากผลิ ต ภั ณ ฑ ม วลรวม ภายในประเทศของประเทศผูนําเขาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการสงออกไปยัง ประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.660 เปอรเซ็นต ตัวแปรขนาดของประชากรของประเทศผูนําเขา (j) เปนตัวแปรที่สะทอนถึงปจจัยการ ผลิตและการบริโภคภายในประเทศ โดยผลจากการประมาณคาแบบจําลองอธิบายไดวา หาก จํานวนประชากรในประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นตจะทําใหการสงออกของ ประเทศผูสงออก (i) ที่ไปประเทศผูนําเขา (j) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.636 เปอรเซ็นต


95 และตัวแปรระยะทางระหวางประเทศคูคา เปนตัวแปรที่สะทอนถึงตนทุนทางการคาระหวางประเทศ อธิบายไดวา หากระยะทางระหวางประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอรเซ็นต จะทําใหมูลคาการ สงออกไปยังประเทศคูคาเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน 0.312 เปอรเซ็นต สวนขนาดของประชากรของประเทศผูสงออก (i) ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ เปนปจจัย ที่ไมมีอิทธิพลตอการสงออกไปยังประเทศคูคานอกกลุมอาเซียน สรุปปจจัยที่มีอิทธิพลตอมูลคาการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และนอกกลุม พบวา ทั้งกอนและหลังการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ปจจัยผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติ ภายในประเทศของประเทศผูสงออกและประเทศผูนําเขา เปนปจจัยที่กําหนดมูลคาการสงออก อย า งมี นั ย สํ า คั ญ และมี ความสั ม พั น ธ เ ป น บวกสอดคล อ งกั บ สมมติ ฐ าน เนื่อ งจากรายได ข อง ประเทศผูสงออก สะทอนใหเห็นถึงผลผลิตที่มีเพิ่มขึ้นสําหรับการสงออก สวนรายไดของประเทศผู นําเขาสะทอนถึงกําลังซื้อของผูบริโภคในประเทศผูนําเขา จากสมการที่ (5.11) – (5.16) แทนคาตัวแปรลงในสมการ Chow – Test ทดสอบความ แตกตางมูลคาการสงออกกอนและหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน จะไดคา F – Statistic ดังนี้ กลุมที่ 1 : มูลคาการคาภายในกลุมอาเซียนทางดานการสงออก (Intra-ASEAN Export) F6,501

=

67.085

จากตาราง F – Statistic คา F6,501 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีคาเทากับ 2.11 ดังนั้น คา F6,501 ที่คํานวณได มีคาเทากับ 67.08 จึงพบวา F – Statistic ที่คํานวณไดมีคามากกวา F – Statistic ที่องศาแหงความอิสระ 6,501 ดวยความเชื่อมั่น 95% จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 แสดงวา มูลคาการสงออกภายในกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน แตกตางจากมูลคาการ สงออกภายในกลุมในชวงหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน อยางมีนัยสําคัญ กลุมที่ 2 : มูลคาการคาระหวางประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศภายนอก F6,663

5 6

=

85.446

ดูรายละเอียดที่ภาคผนวก ค. ดูรายละเอียดที่ภาคผนวก ค.


96 จากตาราง F – Statistic คา F6,663 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีคาเทากับ 2.11 ดังนั้น คาF6,663 ที่คํานวณได มีคาเทากับ 85.44 จึงพบวา F – Statistic ที่คํานวณไดมีคามากกวา F – Statistic ที่องศาแหงความอิสระ 6,663 ดวยความเชื่อมั่น 95% จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 แสดงวา มูลคาการสงออกไปยังภายนอกกลุมกอนที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน แตกตางจากมูลคา การสงออกไปยังภายนอกกลุมในชวงหลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน อยางมีนัยสําคัญ 5.3 ขอสรุป จากการประมาณคาที่กลาวมาทั้งหมด สามารถสรุปไดวา ไมวาจะเปนการประมาณคา แบบ OLS (Ordinary Least Squares) หรือแยกการทดสอบความแตกตางในชวงกอนและหลัง การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test พบวา ใหผลการศึกษาที่คลาย ๆ กัน คือ การ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคากันภายในกลุม AFTA มากขึ้น กลาวคือ มีการ สงออกมากขึ้น (Export Increased) แตผลการศึกษาการคาภายนอกกลุม พบวา ไมมีผลที่ชัดเจน กล า วคื อ ไม ส ามารถสรุ ป ได ว า การจั ดตั้ ง เขตการค า เสรี อ าเซี ย น ทํ า ใหมี มู ล คา การคา กั น กั บ ภายนอกกลุม AFTA มากขึ้น และ/หรือ นอยลง • สวนในชวงป ค.ศ. 1997-1998 ที่เกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศใน แถบเอเชีย ไดรับผลกระทบเหมือนกันทุกประเทศ ดังนั้นจึงไมสามารถสรุปไดวา วิกฤตการณทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบทางการสงออกของประเทศในกลุมอาเซียน ไมวาจะเปนการสงออกไปยังไปประเทศในกลุม และนอกกลุม


บทที่ 6 การศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีตอสวัสดิการของประเทศอาเซียน การศึกษาในสวนนี้ เปนการศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอ การเปลี่ยนแปลงสวัสดิการของผูบริโภคในระดับอุตสาหกรรม โดยการคํานวณหามูลคาสวนเกินของ ผูบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใตแนวคิดการหาสวนเกินของผูบริโภคแบบ Hicks จากนั้นทําการ วิเคราะหโดยเปรียบเทียบผลที่ไดจากการคํานวณดังกลาววาในแตละประเทศมีการเปลี่ยนแปลง สวัสดิการอยางไร โดยทําการศึกษาเฉพาะกลุมสินคา Fast Track ที่ไทยเสนอ ทั้งหมด 3 รายการ ที่ จําแนกตามรหัส SITC ในระดับ 3 หลัก ซึ่งประกอบดวย SITC 251 : PULP AND WASTE PAPER (เยื่อกระดาษ) SITC 661 : LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL (ปูนซีเมนต) และ SITC 821 : FURNITURE, CUSHIONS, ETC. (เฟอรนิเจอรไมและหวาย) และทําการศึกษาเฉพาะประเทศ สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศเดิม เชนเดียวกับสวนแรก ไดแก ไทย อินโดนีเซีย ฟลิปปนส สิงคโปร และมาเลเซีย ในชวงป ค.ศ. 1988-2006 สาเหตุที่เลือกทําการศึกษากลุมสินคาดังกลาว เนื่องจากเปนสินคาที่ไทยเสนอใหปรับ ลดภาษี และเปนสินคาที่ไมมีความหลากหลายมากนัก ซึ่งนาจะทําใหผลการศึกษาที่ชัดเจน และ เชื่อถือได เนื่องจากการศึกษาในสวนนี้ตองใชราคาสินคา ในการคํานวณหามูลคาของสวัสดิการ ดังนั้น ถาเราเลือกใชกลุมสินคาที่มีความหลากหลาย เชน ในเรื่องของคุณภาพ จะทําใหราคาสินคา แตกตางกันมาก ซึ่งจะสงผลใหมูลคาสวัสดิการที่ไดอาจไมสอดคลองกับความเปนจริงได 6.1 แบบจําลองที่ใชในการศึกษา การศึ กษาในสวนนี้ จะใชแนวคิดการวัดมู ลคา สวนเกิน ของผูบริ โภคที่เ ปลี่ย นแปลง ภายใตเสนอุปสงคแบบ Hicks และขอมูลที่ใชในการศึกษา จะเปนขอมูลอนุกรมเวลา (Time-Series Data) ตั้งแตป ค.ศ.1988-2006

97


98 6.1.1 การวัดมูลคาสวนเกินผูบริโภคตามแนวคิดอุปสงคแบบ Hicks แบบจําลองที่ใชในการศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ที่มีตอ มู ล ค า สวั ส ดิ ก ารสุ ท ธิ ข องผู บ ริ โ ภคในการบริ โ ภคสิ น ค า ต า ง ๆ นั้ น จะทํ า การศึ ก ษาโดยอ า งอิ ง แบบจําลองมาจาก Nicholls1 (1998) โดยมีแนวคิดที่วา การจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงตอสวัสดิการของผูบริโภค เนื่องมาจากการไดรับสิทธิประโยชนทางภาษี ในสินคานําเขากอใหเกิดการสรางเสริมการคาและการเปลี่ยนวิถีการคาแกประเทศผูนําเขาโดยการ สรางเสริมการคาเกิดจากการที่ระดับราคาสินคานําเขามีระดับราคาลดลงเนื่องจากสิทธิประโยชน ทางภาษีที่ประเทศสมาชิกในกลุมไดรับ ดังนั้นจึงทําใหผูบริโภคสามารถบริโภคสินคาไดเพิ่มขึ้นซึ่ง ผลของระดับราคาสินคานําเขาที่ลดลง กอใหเกิดสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นแกผูบริโภค แตจากการที่ระดับ ราคาสินค านําเขา มีระดับราคาที่ต่ํากวาระดับราคาของประเทศนอกกลุมทําใหผูบริ โภคหันมา บริ โ ภคสิ น ค า จากประเทศภายในกลุ ม แทนที่ จ ะบริ โ ภคสิ น ค า จากประเทศนอกกลุ ม ซึ่ ง อาจมี ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต ที่ สู ง กว า ซึ่ ง ก อ ให เ กิ ด ผลทางด า นการเปลี่ ย นวิ ถี ก ารค า ซึ่ ง ส ว นนี้ ทํ า ให สวัสดิการของผูบริโภคลดลง ผลตางระหวางสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นจากการสรางเสริมการคา และ สวัสดิการที่ลดลงจากการเปลี่ยนวิถีการคา สะทอนใหเห็นถึงสวัสดิการสุทธิที่เปลี่ยนแปลงของ ผูบริโภคอันเปนผลจากการจัดตั้งกลุมความรวมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งในการประมาณคาสวัสดิการที่ เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภคดังกลาว จะทําการประมาณอาศัยการวัดมูลคาสวนเกินของผูบริโภค (Consumer Surplus) ภายใตเสนอุปสงคสินคานําเขาแบบ Hicks ซึ่งสามารถอธิบายไดดังนี้

1

Shelton M.A. NichollsZ (1998). “Measuring Trade Creation and Trade Diversion in the Central American Common Market : A Hicksian Alternative”. World Development, 26(2) : 323-335


99 ภาพที่ 6.1 Hicksian Compensated Import Demand Curve P

Pm1w(1+t)

A B

Pm1b

C

Pm1w

h( Pm1,U0) M1 M2

โดย

Pm1w (1+ t)

=

Pm1b

=

Pm1w h(Pm1 , U0)

= =

M3

Q

ราคาสินคานําเขารวมภาษีกอนมีการจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียน ราคาสินคานําเขาของประเทศคูคาที่ไมมีภาษี หลังมีการจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียน ราคาตลาดโลก (ในการศึกษานี้ใชราคา F.O.B.) Hicksian Import demand curve

จากภาพที่ 6.1 อธิบายไดวา เดิมกอนที่จะมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนระดับราคา สินคานําเขา1 อยูที่ Pm1w (1+ t) แตเมื่อมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนแลวทําใหระดับราคา สินคานําเขาลดลงจาก Pm1w (1+ t) เปน Pm1b ผูบริโภคไดรับสวนเกินของผูบริโภคเพิ่มขึ้นเทากับ พื้นที่สี่เหลี่ยม Pm1w (1+ t) A B Pm1b แตการใหสิทธิพิเศษทางภาษีกอใหเกิดการบิดเบือนราคาทําให มีการนําเขาจากประเทศในกลุม แทนที่จะนําเขาจากประเทศนอกกลุม (ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพการ ผลิตที่สูงกวา) ซึ่งสะทอนโดยระดับราคา ณ ราคาตลาดโลก Pm1w ผูบริโภคไดรับสวนเกินของ ผูบริโภคที่ลดลงจากการนําเขาสินคาจากประเทศในกลุมแทนที่จะนําเขาสินคาจากประเทศนอก กลุมเทากับพื้นที่สี่เหลี่ยม Pm1b B C Pm1w


100 ในการหาคาผลกระทบทางสวัสดิการสุทธิ (Net Welfare Effect : NWE) เพื่อหามูลคา สวัสดิการที่เปลี่ยนแปลงไปของผูบริโภคนั้นวัดไดโดยการเปรียบเทียบขนาดของพื้น ที่สี่เ หลี่ย ม Pm1w (1+ t) A B Pm1b และขนาดของพื้นที่สี่เหลี่ยม Pm1b B C Pm1w ซึ่งในการ คํานวณมูลคาสวัสดิการสุทธินั้น สามารถคํานวณไดจาก2 NWECV = CVTC – CVTD

โดย

⎡ (P (1 + t )) ⎛ CVTC = ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1w α+1 ⎝ ⎣

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎟⎥ ⎠⎦

(6.1) α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (P ) ⎛ − ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1b ⎟⎥ 1 α + ⎝ ⎠⎦ ⎣

(6.2)

= พื้นที่สี่เหลี่ยม Pm1w(1+t) A B Pm1b

( Y 0 )1− β (Pm 1w (1 + t )) α + 1 U = − 1− β α +1 0

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (Pm1b) ⎛ CVTD = ⎢(1 − β)⎜ U0 + ⎟⎥ 1 α + ⎝ ⎠⎦ ⎣

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (P ) ⎛ − ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1w ⎟⎥ 1 α + ⎠⎦ ⎝ ⎣

(6.3)

= พื้นที่สี่เหลี่ยม Pm1b Pm1w CB

( Y 0 ) 1 − β ( Pm 1b ) α + 1 U = − 1− β α+1 0

โดย

CVTC

2

=

เปนการวัดมูลคาสวัสดิการสวนเพิ่มของผูบริโภคภายใตเสนอุปสงคแบบ Hicks อันเปนผลมาจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ซึ่งทําใหระดับ ราคาสินคานําเขาลดลงจาก Pm1w (1+ t) เปน Pm1b

ดูรายละเอียดที่ภาคผนวก ข. แนวคิดการวัดมูลคาสวัสดิการของผูบริโภค


101 CVTD

=

U0 Yij0 β α

= = = =

เปนการวัดมูลคาสวัสดิการที่ลดลงของผูบริโภคภายใตเสนอุปสงคแบบ Hicks อันเปนผลมาจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหผูบริโภค แทนที่การนําเขาจากประเทศนอกกลุมมานําเขาจากประเทศในกลุม ระดับความพอใจ (Utility) ระดับรายไดที่ใชในการบริโภคสินคานําเขา i ณ ปฐาน คาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอรายได คาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาสินคานําเขา

ตัวแปร Yij0 (ระดับรายไดที่ใชในการบริโภคสินคานําเขา i ณ ปฐาน) เปนระดับรายได ของผูบริโภคที่ใชในการบริโภคสินคาในแตละอุตสาหกรรม ซึ่งจากความจํากัดของขอมูลจึงใช สัดสวนของรายไดที่ใชในการบริโภคสินคานําเขาแตละชนิดเปนตัวแทน โดยมีสมมติฐานวาผูบ ริโภค มีการบริโภคสินคาภายในประเทศในสัดสวนเดียวกับการบริโภคสินคาจากตางประเทศ คา α และ β ประมาณไดจากสมการอุปสงคสินคานําเขาเปนฟงกชั่นของราคาสินคา นําเขาและรายไดของประเทศผูนําเขา สามารถเขียนไดดังนี้

Ln Mij = α0 + α1Ln Pmij + β LnYj โดย

Mij Pmij

= =

Yj =

(6.4)

ปริมาณการนําเขาสินคา i จากประเทศผูนําเขา j ราคาสินคานําเขา (ราคาตอหนวย : Unit Value) ของสินคา i ในประเทศผูนําเขา j ระดับรายไดของประเทศผูนําเขา j

ในการประมาณขนาดของ NWE จะตองทําการประมาณคาความยืดหยุนของอุปสงค สินคานําเขาตอราคาและคาความยืดหยุนของสินคานําเขาตอรายไดจากแบบจําลองในสมการที่ 4.14 กอนโดยใชวิธีประมาณคา OLS (Ordinary Least Square) จากนั้นจึงนําคาความยืดหยุนที่ ไดแทนคาลงในสมการ 6.2 และ 6.3 เพื่อหาขนาดของ CVTC และ CVTD แลวนําคา CVTC และ CVTD ที่คํานวณไดมาหักลบกันดังในสมการ 4.4 เพื่อหาขนาดของมูลคาสวัสดิการสุทธิของผูบริโภคที่ เปลี่ยนแปลงไป ถาผลตางระหวาง CVTC และ CVTD มีคาเปนบวก สะทอนใหเห็นวาผูบริโภคใน อุตสาหกรรมนั้นมีสวัสดิการสุทธิเพิ่มขึ้นอันเปนผลจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน แตหาก


102 ผลตางระหวาง CVTC และ CVTD มีคาเปนลบ สะทอนใหเห็นวาผูบริโภคในอุตสาหกรรมนั้นมี สวัสดิการสุทธิลดลงอันเปนผลจากการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน 6.2 ผลการศึกษาสวัสดิการสุทธิ (Net Welfare effect) ผลจากการประมาณคาความยืดหยุนของอุปสงคตอราคาและอุปสงคตอรายไดดวย วิธีการประมาณคาแบบ OLS จากแบบจําลองอุปสงคสินคานําเขาในสมการที่ (6.4) พบวา คา สัมประสิทธิ์หนาตัวแปรราคาสินคานําเขาและรายไดของประเทศผูนําเขาซึ่งใชอธิบายความยืดหยุน ที่ประมาณไดนั้น มีเครื่องหมายถูกตองตามทฤษฎี และมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยผลจากการ ประมาณคาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาและคาความยืดหยุนของอุปสงคสินคา นําเขาตอรายไดในอุตสาหกรรมตาง ๆ ที่ทําการศึกษาเปนดังนี้


103 ตารางที่ 6.1 แสดงคาประมาณความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคา และความยืดหยุน ของอุปสงคสินคานําเขาตอรายได ประเทศ ไทย

ความยืดหยุน α1 β

อินโดนีเซีย

α1 β

มาเลเซีย

α1 β

ฟลิปปนส

α1 β

SITC 251 -0.480374 (-2.270383)*** 0.122464 (5.658067)**** -2.100206 (-1.800909)** 3.414013 (0.550643)* -0.884981 (-3.534404)**** 0.163118 (1.173830)* -0.455839 (-0.529404)* 0.401273 (3.684417)****

SITC 661 -0.186260 (-5.137057)**** 0.186438 (0.106803)* -1.754537 (-7.849140)**** 1.771820 (1.819384)** -1.347164 (-5.476469)**** 2.921856 (6.328639)**** -2.634141 (-5.752564)**** 1.769418 (1.148691)*

ที่มา : จากการประมาณคา คาในวงเล็บคือ คา t-statistic **** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% *** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ** หมายถึง มีนัยสําคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่น 90% * ไมมีนัยสําคัญทางสถิติ

SITC 821 -0.877036 (-1.235098)*** 0.316389 (5.839180)**** 0.895391 (0.870879)* 0.535176 (3.894104)**** -0.824812 (-1.107173)* 0.485880 (7.486671)**** -0.455876 (-5.958593)**** 0.401216 (4.607903)****


104 เมื่อนําคาความยืดหยุนที่ประมาณไดไปแทนคาในสมการที่ 6.2 และ 6.3 เพื่อ คํานวณหามูลคาของสวัสดิการของผูบริโภคที่เพิ่มขึ้น (CVTC) และมูลคาสวัสดิการของผูบริโภคที่ ลดลง (CVTD) และจากนั้นทําการหามูลคาสวัสดิการสุทธิ (NWE) ของผูบริโภคในการบริโภคสินคา ตาง ๆ ในประเทศสมาชิกของสําคัญอาเซียนแตละประเทศ3 โดยผลที่ไดจากการคํานวณ CVTC, CVTD และ NWE เปนดังนี้

3

ในการคํานวณหามูลคาการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการจะไมพิจารณาประเทศสิงคโปร เนื่องจากเปน ประเทศที่เดิมมีการเปดเสรีทางการคา (อัตราภาษีสินคานําเขาเปน 0) อยูแลว ดังนั้นผลของการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน จึงไมสงผลกระทบตอการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินคานําเขาของประเทศ


105 ตารางที่ 6.2 แสดงมูลคา CVTC, CVTD และNWE ของกลุมสินคาตาง ๆ ในแตละประเทศสมาชิกอาเซียน หนวย : USD / PERSON SITC 3-DIGIT สินคา ไทย 251 PULP AND WASTE PAPER 661 LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL 821 FURNITURE, CUSHIONS, ETC. ผลกระทบทางสวัสดิการโดยรวมของ 3 สินคา อินโดนีเซีย 251 PULP AND WASTE PAPER 661 LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL 821 FURNITURE, CUSHIONS, ETC. ผลกระทบทางสวัสดิการโดยรวมของ 3 สินคา มาเลเซีย 251 PULP AND WASTE PAPER 661 LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL 821 FURNITURE, CUSHIONS, ETC. ผลกระทบทางสวัสดิการโดยรวมของ 3 สินคา ฟลิปปนส 251 PULP AND WASTE PAPER 661 LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL 821 FURNITURE, CUSHIONS, ETC. ผลกระทบทางสวัสดิการโดยรวมของ 3 สินคา

หมายเหตุ :

CVTC

CVTD

NWE

0.1235185 0.1552797 6.7960239

0.061654 0.1144602 0.2961673

0.0618645 0.0408195 6.4998566

7.0748221

0.4722815

6.6025406

725.939239 725.55033 0.388909 726.94359 727.800891 -0.857301 5.2169254 6.6741593 -1.4572339 1,458.099754 1,460.02538 -1.9256259 0.06339069 0.103636 -0.04024531 2,516.37833 2,516.43187 -0.05354 11.356886 1.296995 10.059891 2,527.798607 2,517.832501 9.96610569 0.130732 0.1853708 -0.0546388 770.996472 770.955147 0.041325 1.1442134 2.7121601 -1.5679467 772.2714174 773.8526779 -1.5812605

SITC 251 : PULP AND WASTE PAPER (เยื่อกระดาษ) SITC 661 : LIME, CEMENT, CONSTR.MATRL (ปูนซีเมนต) SITC 821 : FURNITURE, CUSHIONS, ETC. (เฟอรนิเจอรไมและหวาย) NWE : ผลกระทบตอสวัสดิการโดยสุทธิ (Net Welfare Effect)


106 จากการศึกษามูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมใน 3 กลุมสินคาที่ทําการศึกษา (ดูตารางที่ 6.2 ประกอบ) พบวา ประเทศมาเลเซีย เปนประเทศที่มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมสูงสุด โดยมี มูลคาคิดเปน 9.97 เหรียญสหรัฐตอคน รองลงมาคือ ประเทศไทย มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวม คิดเปน 6.60 เหรียญสหรัฐตอคน สวนประเทศอินโดนีเซีย และฟลิปปนส เปนประเทศที่มีมูลคา สวัสดิการสุทธิโดยรวมลดลง โดยมีมูลคาสวัสดิการลดลงคิดเปน 1.92 และ 1.58 เหรียญสหรัฐตอ คน ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาเปนในรายกลุมสินคาที่ทําการศึกษาแลวพบวา ประเทศไทยมีมูลคา สวัสดิการที่เพิ่มขึ้นสูงสุด ในหมวดสินคา SITC 821 คิดเปนมูลคาสวัสดิการเพิ่มขึ้น 6.50 เหรียญ สหรัฐตอคน รองลงมา คือ หมวดสินคา SITC 251 คิดเปนมูลคาสวัสดิการเพิ่มขึ้น 0.06 เหรียญ สหรัฐตอคน สวนหมวดสินคา SITC 661 มีมูลคาสวัสดิการเพิ่มขึ้นนอยที่สุด คิดเปน 0.04 เหรียญ สหรัฐตอคน ประเทศอินโดนีเซีย ในหมวดสินคา SITC 251 มีมูลคาสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นเพียงหมวด สินคาเดียว คิดเปนมูลคาสวัสดิการเพิ่มขึ้น 0.39 เหรียญสหรัฐตอคน สวนหมวดสินคา SITC 661 และ SITC 821 มีมูลคาสวัสดิการลดลงคิดเปน 0.86 และ 1.46 เหรียญสหรัฐตอคน ตามลําดับ ประเทศมาเลเซีย ในหมวดสินคา SITC 821 มีมูลคาสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นเพียงหมวด สินคาเดียว คิดเปนมูลคาสวัสดิการเพิ่มขึ้นถึง 10.06 เหรียญสหรัฐตอคน โดยเปนประเทศที่มีมูลคา สวัสดิการในสินคานี้สูงที่สุด สวนในหมวดสินคาอื่น ๆ มีสวัสดิการที่ลดลง โดยในหมวดสินคา SITC 251 มีมูลคาสวัสดิการลดลง 0.04 เหรียญสหรัฐตอคน และหมวดสินคา SITC 661 มีมูลคา สวัสดิการลดลง คิดเปน 0.05 เหรียญสหรัฐตอคน ประเทศฟลิปปนส มีมูลคาสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นในหมวดสินคา SITC 661 คิดเปนมูลคา สวัสดิการเพิ่มขึ้นเพียง 0.04 เหรียญสหรัฐตอคน แตสินคาในหมวดอื่น ๆ ที่ทําการศึกษา มีมูลคา สวัสดิการที่แยลง โดยหมวดสินคา SITC 251 มีมูลคาสวัสดิการลดลง 0.05 เหรียญสหรัฐตอคน สวนหมวดสินคา SITC 821 มีมูลคาสวัสดิการลดลงถึง 1.57 เหรียญสหรัฐตอคน


107 เนื่ อ งจากผลการศึ ก ษาผลกระทบของการจั ด ตั้ ง เขตการค า เสรี อ าเซี ย นที่ มี ต อ การ เปลี่ยนแปลงสวัสดิการของผูบริโภคในระดับอุตสาหกรรมสินคาทั้ง 3 รายการ มีผลที่ไมคอยชัดเจน ทั้งนี้เพราะมูลคาการนําเขาของสินคาแตละตัวมีมูลคาคอนขางต่ํา ซึ่งอาจไมมีนัยสําคัญสําหรับ ประเทศนั้น ๆ ถามีการปรับลดอัตราภาษีนําเขา ดังนั้น ในครั้งนี้ จึงมีการเพิ่มขอมูลมูลคาการสงออก ของสินคาดังกลาวดวย เพื่อเปรียบเทียบมูลคาการนําเขาและการสงออกของสินคาภายในประเทศ อาเซียนที่สําคัญ 4 ประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ จากขอมูลตารางที่ 6.3-6.4 และภาพที่ 6.2-6.3 แสดงถึงมูลคาการสงออกและนําเขา สินคาเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ พบวา หลังจากที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรี อาเซี ย น ส ง ผลให มี มู ล ค า การส ง ออกเพิ่ ม ขึ้ น ในช ว งแรก และมี แ นวโน ม ลดลงหลั ง จากที่ เ กิ ด วิ ก ฤตการณ ท างเศรษฐกิ จ ในป 1998 โดยประเทศที่ มี มูล ค า การส ง ออกสู ง สุ ด ไดแ ก ประเทศ อินโดนีเซีย รองลงมา ไดแก ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และประเทศฟลิปปนส ตามลําดับ สวน มูลคาการนําเขา มีแนวโนมไมแนนอน คอนขางผันผวน โดยประเทศที่มีมูลคาการนําเขาสูงสุด ไดแก ประเทศไทย รองลงมา ไดแก ประเทศอินโดนีเซียประเทศฟลิปปนส และประเทศมาเลเซีย ตามลําดับ ซึ่งสอดคลองกับผลการศึกษาทางดานสวัสดิการจากการนําเขาสินคา โดยประเทศที่ ได รั บ สวั ส ดิ ก ารสู ง สุ ด ได แ ก ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย รองลงมา ได แ ก ประเทศไทย ส ว นประเทศ ฟลิปปนส และประเทศมาเลเซีย ไมไดรับประโยชนจากการปรับลดภาษีสินคาดังกลาว และจากขอมูลตารางที่ 6.5-6.6 และภาพที่ 6.4-6.5 ไดแสดงถึงมูลคาการสงออกและ นําเขาสินคาปูนซีเมนซภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ พบวา หลังจากที่มีการจัดตั้งเขตการคา เสรีอาเซียน สงผลใหมูลคาการสงออกและนําเขาสินคามีแนวโนมที่ไมแนนอน มีมูลคาขึ้น ๆ ลง ๆ โดยตลอด โดยมีมู ลค าเพิ่ม ขึ้น ในชวงแรก และมีแนวโนมลดลงหลังจากที่เ กิดวิกฤตการณทาง เศรษฐกิจในป 1998 และจากผลการศึกษาผลกระทบทางดานสวัสดิการจากการนําเขาสินคา พบวา ทุกประเทศมีผลกระทบไมมากนัก เนื่องจากทุกประเทศสามารถผลิตสินคาชนิดนี้ไดเพียงพอ กับความตองการภายในประเทศ ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน จึงทําใหมูลคาการ นําเขาและการสงออกไมเพิ่มมากขึ้นเทาที่ควร และจากขอมูลตารางที่ 6.7-6.8 และภาพที่ 6.6-6.7 ไดแสดงถึงมูลคาการสงออกและ นําเขาสินคาเฟอรนิเจอรไมและเฟอรนิเจอรหวายภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ พบวา หลังจาก ที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน สงผลใหมีมูลคาการสงออกและนําเขาสินคาที่เพิ่มมากขึ้น โดย ประเทศที่มีมูลคาการสงออกสูงสุด ไดแก ประเทศไทย รองลงมา ไดแก ประเทศมาเลเซีย ประเทศ อิ น โดนี เ ซี ย และประเทศฟ ลิ ป ป น ส ตามลํ า ดั บ ส ว นประเทศที่ มี มู ล ค า การนํ า เข า สู ง สุ ด ได แ ก


108 ประเทศมาเลเซี ย รองลงมา ได แ ก ประเทศไทย ประเทศฟ ลิ ป ป น ส และประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ตามลําดับ ซึ่งสอดคลองกับผลการศึกษาทางดานสวัสดิการจากการนําเขาสินคา โดยประเทศที่ ไดรับสวัสดิการสูงสุด ไดแก ประเทศมาเลเซีย รองลงมา ไดแก ประเทศไทย สวนประเทศฟลิปปนส และประเทศอินโดนีเซีย ไมไดรับประโยชนจากการปรับลดภาษีสินคาดังกลาว


109 ตารางที่ 6.3 มูลคาการสงออกสินคาเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 342,339 7,909,000 97,267 -

1990 973,716 7,254,719 -

1991 94,179 8,513,540 140,918 -

1992 193,207 8,791,128 389,997 91,785

1993 1994 1995 1996 1,551,563 3,638,627 7,550,375 8,592,058 9,439,964 20,968,854 43,540,620 26,119,271 14,126 373,979 8,546,465 1,132,264 11,897 23,039

1997 4,908,648 29,877,524 1,037,951 854,358

ตารางที่ 6.3 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 1999 2000 2001 4,499,839 3,328,393 15,466,331 11,598,924 15,881,203 10,501,863 6,802,538 1,942,517 245,652 206,152 347,655 29,598 197,224 76,379 153,547 161,500

2002 2003 2004 2005 11,911,806 17,101,647 17,045,221 11,657,345 3,851,067 6,678,051 9,095,311 14,013,028 77,365 214,343 740,888 7,421,136 84,164 906,776 185,834 103,247

2006 6,368,077 7,412,512 7,766,709 320,058

109


110 ตารางที่ 6.4 มูลคาการนําเขาสินคาเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 3,089,897 819 6,313,266 -

1990 5,811,565 925,003 4,715,753 -

1991 5,164,900 23,438 5,087,603 215,736

1992 6,880,619 349,474 1,351,801 1,114,461

1993 7,715,594 1,077,482 2,711,325 3,065,387

1994 1995 6,850,657 29,942,948 3,049,923 8,781,408 4,042,080 12,724,864 6,663,339 11,144,858

1996 6,815,664 8,228,324 5,138,506 22,354,601

1997 8,392,289 851,628 5,507,637 19,120,779

2002 2003 2004 2005 4,584,130 6,252,002 7,693,454 10,742,253 11,105,300 10,904,705 10,126,510 10,553,378 2,989,905 5,581,514 12,797,428 13,502,749 1,691,293 2,368,403 3,797,380 5,436,523

2006 9,222,121 6,398,246 4,072,045 5,044,683

ตารางที่ 6.4 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 5,925,008 3,988,449 1,799,369 15,558,434

1999 2000 4,244,593 7,354,347 2,476,307 15,071,187 1,238,486 994,931 5,972,707 2,353,890

2001 1,588,404 7,996,541 3,216,982 1,519,926

110


111 ภาพที่ 6.2 มูลคาการสงออกสินคาเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ

50,000,000 45,000,000 40,000,000 35,000,000

USD

30,000,000

ไทย

25,000,000

อินโดนีเซีย

20,000,000

มาเลเซีย

15,000,000

ฟลิปปนส

10,000,000 5,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุมเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลังที่มีการจัดตั้งกลุมเขตการคาเสรีอาเซียน

111


112 ภาพที่ 6.3 มูลคาการนําเขาสินคาเยื่อกระดาษภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ 35,000,000 30,000,000 25,000,000 20,000,000

USD

ไทย อินโดนีเซีย

15,000,000

มาเลเซีย 10,000,000

ฟลิปปนส

5,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุมเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลังที่มีการจัดตั้งกลุมเขตการคาเสรีอาเซียน

112


113 ตารางที่ 6.5 มูลคาการสงออกสินคาปูนซีเมนตภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 1990 1991 1992 399,606 790,750 4,515,343 1,473,992 15,459,000 17,843,904 10,779,263 35,415,006 6,771,743 18,953,526 28,121,907 216,305 37,636

1993 1994 1995 1996 13,092,204 24,194,420 35,023,691 39,796,211 6,721,306 4,572,756 1,996,552 3,443,206 528,326 7,829,099 3,735,459 3,757,532 800,083 475,841 3,603,421 -

1997 93,205,822 14,265,274 1,631,345 646,601

ตารางที่ 6.5 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 1999 2000 2001 13,610,334 11,242,347 10,422,005 10,673,419 1,015,208 1,043,310 13,671,329 37,266,014 2,597,218 4,362,920 2,823,380 1,996,682 7,766 18,962 938,820 684,933

2002 2003 2004 2005 9,645,980 6,192,994 2,078,198 2,128,425 20,740,015 12,054,812 11,362,934 6,398,463 8,618,911 7,183,396 6,817,706 35,007,167 2,224,236 551,083 1,970,468 11,349,545

2006 4,099,955 20,051,350 60,443,151 14,858,623

113


114 ตารางที่ 6.6 มูลคาการนําเขาสินคาปูนซีเมนตภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 9,387,015 809,844 2,532,992 -

1990 26,680,797 313,227 1,501,157 -

1991 27,770,672 333,400 5,665,807 4,526,642

1992 11,890,538 385,104 14,072,532 20,002,612

1993 9,609 1,468,250 23,058,883 2,383,702

1994 2,866,663 24,401,338 14,044,241 3,290,011

1995 1,729,464 15,220,737 30,299,350 1,525,757

1996 142,548 13,817,468 34,361,631 4,000,963

1997 107,161 30,552,863 68,649,200 7,372,340

2003 364,267 1,584,443 23,310,373 4,005,585

2004 673,793 2,380,346 33,449,744 2,267,212

2005 595,791 28,258,716 32,193,665 3,175,342

2006 342,383 43,909,938 31,175,461 2,780,840

ตารางที่ 6.6 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 30,929 9,721,126 19,468,220 5,753,071

1999 409,513 2,823,906 10,018,975 9,076,409

2000 208,529 1,572,993 21,959,615 20,932,832

2001 132,375 2,983,862 30,641,096 58,298,133

2002 515,966 4,973,563 33,408,148 16,947,992

114


115 ภาพที่ 6.4 มูลคาการสงออกสินคาปูนซีเมนตภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ 100,000,000 90,000,000 80,000,000 70,000,000

USD

60,000,000

ไทย

50,000,000

อินโดนีเซีย

40,000,000

มาเลเซีย

30,000,000

ฟลิ ปปนส

20,000,000 10,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลั งที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

115


116 ภาพที่ 6.5 มูลคาการนําเขาสินคาปูนซีเมนตภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ 80,000,000 70,000,000 60,000,000

USD

50,000,000

ไทย

40,000,000

อินโดนีเซีย

30,000,000

มาเลเซีย

20,000,000

ฟลิ ปปนส

10,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลั งที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

116


117 ตารางที่ 6.7 มูลคาการสงออกสินคาเฟอรนิเจอรไมและเฟอรนิเจอรหวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 766,630 1,473,000 284,244 -

1990 861,835 763,062 534,570 -

1991 1,221,848 973,796 423,899 39,184

1992 936,819 1,529,514 875,377 143,638

1993 1,770,628 2,816,761 1,356,834 206,977

1994 1995 3,244,487 5,802,853 1,136,989 11,871,703 2,490,149 4,723,992 609,764 514,237

1996 8,154,283 9,363,632 7,797,220 897,872

1997 7,422,258 19,180,623 12,783,534 1,308,712

2002 2003 2004 2005 14,884,240 15,121,771 29,841,717 48,882,473 26,168,226 28,415,691 28,208,767 29,137,134 26,401,158 24,843,883 36,345,445 32,854,895 4,176,411 7,378,801 7,398,435 8,942,843

2006 49,336,510 33,995,817 37,765,196 6,319,589

ตารางที่ 6.7 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 1999 2000 2001 5,191,236 8,369,835 13,241,420 14,881,594 7,461,817 15,820,717 21,545,445 23,009,003 11,062,983 15,116,192 22,716,344 22,655,254 1,003,120 1,895,674 2,233,558 3,060,019

117


118 ตารางที่ 6.8 มูลคาการนําเขาสินคาเฟอรนิเจอรไมและเฟอรนิเจอรหวาย ภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ หนวย : USD ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1989 11,660 255,913 1,024,807 -

1990 147,903 212,891 822,967 -

1991 563,832 184,414 1,373,739 139,814

1992 842,521 245,296 1,588,769 294,793

1993 1,411,453 256,450 2,499,330 1,274,804

1994 953,224 1,490,717 3,556,731 3,137,469

1995 1996 2,935,363 4,253,861 1,650,578 1,503,877 3,605,998 5,420,700 7,656,800 11,386,086

1997 3,611,022 1,796,402 7,146,725 16,821,819

2002 2003 2004 2005 8,343,064 17,717,703 31,575,057 22,564,737 2,658,755 3,231,112 5,615,407 8,303,787 26,211,879 24,788,344 30,014,650 43,423,309 11,064,634 10,085,264 12,084,133 15,424,842

2006 20,959,745 14,768,465 39,969,735 20,684,757

ตารางที่ 6.8 (ตอ) ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส

1998 1999 2000 2001 1,813,946 2,328,691 3,625,842 3,661,042 1,277,423 1,749,508 3,421,733 1,669,153 5,397,300 10,142,093 15,360,438 18,090,760 13,936,372 16,363,804 24,906,074 11,285,121

118


119 ภาพที่ 6.6 มูลคาการสงออกสินคาเฟอรนิเจอรไมและเฟอรนิเจอรหวายภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ 60,000,000 50,000,000

USD

40,000,000

ไทย

30,000,000

อินโดนีเซีย 20,000,000

มาเลเซีย ฟลิ ปปนส

10,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลั งที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

119


120 ภาพที่ 6.7 มูลคาการนําเขาสินคาเฟอรนิเจอรไมและเฟอรนิเจอรหวายภายในประเทศอาเซียน 4 ประเทศ 50,000,000 45,000,000 40,000,000 35,000,000

USD

30,000,000

ไทย

25,000,000

อินโดนีเซีย

20,000,000

มาเลเซีย

15,000,000

ฟลิ ปปนส

10,000,000 5,000,000 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006

หมายเหตุ : ป 1989 - 1992 เปนปกอนที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

ป

ป 1993 - 2006 เปนปหลั งที่มีการจัดตั้งกลุ มเขตการคาเสรีอาเซียน

120


121 6.3 ขอสรุป โดยสรุปแลว กลุมสินคาในหมวด SITC 821 (เฟอรนิเจอรไม และเฟอรนิเจอรหวาย) เปนกลุมสินคาที่ไดรับผลประโยชนมากที่สุด โดยมีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมสูงที่สุด เนื่องจาก เปนกลุมสินคาที่มีการลดอัตราภาษีมากที่สุด โดยมีเพียงประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยเทานั้น ที่มีสวัสดิการที่ดีขึ้น สวนกลุมสินคาในหมวด SITC 251 (เยื่อกระดาษ) มีมูลคาสวัสดิการสุทธิ โดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงสองประเทศเชนกัน คือ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย สวนประเทศ มาเลเซีย และประเทศฟลิปปนส มีสวัสดิการที่แยลงเล็กนอย เนื่องจากอัตราภาษีระหวางกอนและ หลังที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน มีคาที่แตกตางกันไมมากนัก สวนกลุมสินคาในหมวด SITC 661 (ปูนซีเมนต) มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงสองประเทศเชนกัน คือ ประเทศ ไทย และประเทศฟลิปปนส สวนประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย มีสวัสดิการที่แยลง เปน กลุมประเทศไมไดรับผลประโยชน กลาวโดยสรุป ในการศึกษามูลคาสวัสดิการของประเทศสมาชิกในกลุม AFTA (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปนส และไทย) ในกลุมสินคาที่จําแนกตามรหัส SITC 3 กลุม พบวา ประเทศมาเลเซี ย เป น ประเทศที่ มี มู ลค า สวั สดิ ก ารสุ ท ธิ โ ดยรวมเพิ่ม ขึ้ น สู ง สุ ด รองลงมา ได แ ก ประเทศไทย และประเทศฟลิปปนส สวนประเทศอินโดนีเซียเปนประเทศที่มีมูลคาสวัสดิการสุทธิ โดยรวมแยลงที่สุด การศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอสวัสดิการของผูบริโภค ไมไดศึกษาประเทศสิงคโปร เนื่องจากเปนประเทศที่ไมมีการเปลี่ยนแปลงในมูลคาสวัสดิการสุทธิ เนื่องจากสิงคโปรเปนประเทศที่มีการเปดเสรีทางการคาอยูแลว ดังนั้นการลดอัตราภาษีจากการ จั ด ตั้ง เขตการค า เสรี อาเซี ย น จึ ง ไม กอ ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงในระดั บ ราคาสิน คา นํา เข า ของ ผูบริโภค ดังนั้นจึงไมกระทบตอการเปลี่ยนแปลงในมูลคาสวัสดิการของผูบริโภค


บทที่ 7 ขอสรุป และขอจํากัดและขอเสนอแนะของการศึกษา 7.1 ขอสรุป ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนแลวประเทศสมาชิกตาง ๆ ภายใน ภูมิภาคอาเซียนตางก็มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยางตอเนื่อง โดยมีการคาระหวางประเทศ ภายในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น และมีการคาระหวางประเทศในภูมิภาคกับประเทศนอกกลุมที่เพิ่มขึ้น เชนกัน เมื่อพิจารณาจากขอมูลการคาระหวางประเทศในเบื้องตนของอาเซียน ซึ่งผลของการคา ระหวางประเทศที่เพิ่มขึ้นของประเทศสมาชิกภายในเขตการคาเสรีอาเซียน อาจเกิดจากการสราง เสริมการคาหรือการเปลี่ยนวิถีการคาก็ได ซึ่งจากผลการศึกษาดังกลาวขางตน สามารถสรุปไดวา การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน กอใหเกิดประโยชนตอประเทศสมาชิกในเขตการคาเสรีอาเซียน กลาวคือ ไมวาจะเปนการประมาณ คาแบบ OLS (Ordinary Least Squares) หรือแยกการทดสอบความแตกตางในชวงกอนและหลัง การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนโดยวิธี Chow – Test พบวา ใหผลการศึกษาที่คลาย ๆ กัน คือ การ จัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคากันภายในกลุม AFTA มากขึ้น มีการสงออกมาก ขึ้น (Export Increased) แตผลการศึกษาการคาภายนอกกลุม พบวา ไมมีผลที่ชัดเจน กลาวคือ ไม สามารถสรุปไดวา การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมีมูลคาการคากันกับภายนอกกลุม AFTA มากขึ้น และ/หรือ นอยลง สวนในชวงป ค.ศ. 1997-1998 ที่เกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศในแถบ เอเชี ย ได รับ ผลกระทบเหมื อ นกั น ทุ ก ประเทศ ดัง นั้น จึ ง ไมส ามารถสรุ ป ได ว า วิ ก ฤตการณ ท าง เศรษฐกิจ มีผลกระทบตอการสงออกของประเทศในกลุมอาเซียน ไมวาจะเปนการสงออกไปยัง ประเทศภายในกลุม และการสงออกไปนอกกลุม ในสวนของการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงมูลคาสวัสดิการสังคมของผูบริโภค จาก การคํานวณหามูลคาสวนเกินของผูบริโภคภายใตแนวคิดแบบ Hicks ในอุตสาหกรรมสินคา 3 กลุม ที่ทําการศึกษา พบวา ในกลุมสินคาทั้ง 3 กลุมที่ทําการศึกษานั้น เมื่อพิจารณาโดยรวมแลว ประเทศ ที่มีมูลคารวมของสวัสดิการสุทธิเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ ประเทศมาเลเซีย รองลงมาคือ ประเทศไทย สวนประเทศฟลิปปนส และประเทศอินโดนีเซีย เปนประเทศที่มีมูลคาสวัสดิการสุทธิโดยรวมแยลง 122


123 การศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอสวัสดิการของผูบริโภค ไมไดศึกษาประเทศสิงคโปร เนื่องจากเปนประเทศที่ไมมีการเปลี่ยนแปลงในมูลคาสวัสดิการสุทธิ เนื่องจากสิงคโปรเปนประเทศที่มีการเปดเสรีทางการคาอยูแลว ดังนั้นการลดอัตราภาษีจากการ จั ด ตั้ ง เขตการค า เสรี อาเซี ย น จึ ง ไม กอ ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงในระดั บ ราคาสิ น ค า นํ า เข า ของ ผูบริโภค ดังนั้นจึงไมกระทบตอการเปลี่ยนแปลงในมูลคาสวัสดิการของผูบริโภค 7.2 ขอจํากัดของการศึกษา และขอเสนอแนะ การศึกษาถึงผลกระทบของการจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียนที่มีตอการสงออกภายในกลุม (Intra-ASEAN Trade) และการสงออกไปนอกกลุมของประเทศอาเซียนที่สําคัญ ควรมีการศึกษาถึงขนาด ของผลกระทบในรายอุตสาหกรรมเพื่อใหเห็นภาพที่ชัดเจนของผลของการจัดตั้งเขตการคาเสรี อาเซียนไดดียิ่งขึ้น รวมถึงการวิเคราะหถึงตนทุน เนื่องจากผลทางดานการคาที่เพิ่มขึ้น อาจเปนผล จาก Trade Creation หรือ Trade Diversion ก็ได นอกจากนี้อาจมีการศึกษาเพิ่มเติมวา การจัดตั้ง เขตการคาเสรีอาเซียน ทําใหมี Comparative Advantage มากขึ้นหรือไม สวนการศึ กษาถึ งผลกระทบของการจั ดตั้งเขตการค าเสรี อาเซียนที่ มี ต อสวัส ดิ ก ารของ ผูบริโภค จากการใชวิธีการศึกษาโดยการวัดสวนเกินของผูบริโภคนั้น มูลคาสวัสดิการของผูบริโภค นั้นจะมีคามากหรือนอยขึ้นอยูกับคาความยืดหยุนของอุปสงคสินคานําเขาตอราคาและรายไดและ อัตราภาษีสินคานําเขา ซึ่งถือเปนขอจํากัดของวิธีการศึกษานี้ เนื่องจากความไมสมบูรณของขอมูล ทางดานราคาสินคา ดังนั้น ในงานศึกษาครั้งตอไป จึงควรหาวิธีการศึกษาที่สามารถวัดผลกระทบ ทางสวัสดิการในแนวทางอื่นซึ่งอาจจะไดผลการศึกษาที่ดีกวา และควรมีการศึกษาในขอบเขตของ สินคาที่มากขึ้น เพื่อจะทําใหเห็นถึงภาพรวมที่แทจริงของการเปลี่ยนแปลงของสวัสดิการสังคมของ ประเทศสมาชิกในแตละประเทศ

123


ภาคผนวก


126 ภาคผนวก ก. ข้ อมูลระยะทางระหว่างท่าเรื อต้ นทางไปยังท่าเรื อปลายทาง ประเทศ ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์

ประเทศ อินโดนีเซีย ฟิ ลิปปิ นส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย ฟิ ลิปปิ นส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย

ท่าเรื อต้ นทาง Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Bangkok Jakarta Jakarta Jakarta Jakarta Jakarta Jakarta Jakarta Jakarta Malila Malila Malila Malila Malila Malila Malila

125

ท่าเรื อปลายทาง Jakarta Malila Singapore Port Kelang Seattle Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin Malila Singapore Port Kelang Seattle Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin Singapore Port Kelang Seattle Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin

ระยะทาง (Nautical Miles) 1,291 1,465 831 1,041 7,160 9,141 2,991 2,251 2,612 1,562 525 700 7,399 8,574 3,234 2,523 1,532 1,341 1,551 5,932 9,651 1,770 1,128 1,807


126 ภาคผนวก ก. (ต่อ) ประเทศ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ สิงคโปร์ มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ ญี่ปนุ่ จีน

ประเทศ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปนุ่ จีน ออสเตรเลีย จีน ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย

ท่าเรื อต้ นทาง Singapore Singapore Singapore Singapore Singapore Singapore Port Kelang Port Kelang Port Kelang Port Kelang Port Kelang Seattle Seattle Seattle Seattle Amsterdam Amsterdam Amsterdam Tokyo Tokyo Shanghai

126

ท่าเรื อปลายทาง Port Kelang Seattle Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin Seattle Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin Amsterdam Tokyo Shanghai Port Darwin Tokyo Shanghai Port Darwin Shanghai Port Darwin Port Darwin

ระยะทาง (Nautical Miles) 210 7,064 8,316 2,904 2,237 1,887 7,274 8,117 3,114 2,447 2,092 8,875 4,258 5,096 6,900 11,214 10,547 10,042 1,048 3,033 2,765


ภาคผนวก ข. แนวคิดการวัดมูลค่าสวัสดิการของผู้บริโภค แนวคิดในการประมาณผลกระทบทางสวัสดิการที่แท้ จริ ง ทําได้ โดยการประมาณมูลค่า ส่วนเกินของผู้บริ โภค (Consumer’s Surplus) ซึ่งก็คือพืนที่ใต้ กราฟเส้ นอุปสงค์เหนือเส้ นราคา นัน่ เอง แต่เส้ นอุปสงค์ของสินค้ านําเข้ าที่ใช้ ในการประมาณนันจะไม่ใช่เส้ นอุปสงค์ของ Marshall เนื่องจากมูลค่าส่วนเกินของผู้บริ โภคที่ได้ จากพืนที่ใต้ กราฟเส้ นอุปสงค์ของ Marshall เป็ นการ ประมาณค่าที่แท้ จริ งของการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสวัสดิการเท่านัน ดังนันในการคํานวณหามูลค่า สวัสดิการที่แท้ จริ งที่ เปลี่ยนแปลงไปจะต้ องใช้ เส้ นอุปสงค์ทดแทน (Compensated Demand Curve) แบบ Hicks ในการคํานวณหามูลค่าส่วนเกินของผู้บริ โภค ซึ่งจะทําการวัดในรู ปของ Compensated Variation (CV) และ Equivalent Variation (EV) เนื่องจากข้ อมูลที่สามารถสํารวจได้ นนเป็ ั นข้ อมูลในการหาเส้ นอุปสงค์ของ Marshall (ข้ อมูลราคาและรายได้ ) แต่ข้อมูลที่จะนํามาสร้ างเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks ดังนันในการ คํานวณการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสวัสดิการที่ แท้ จริ ง จึงต้ องอาศัยความสัมพันธ์ ระหว่างเส้ น อุปสงค์แบบMarshall และเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks เพื่อใช้ ในการคํานวณมูลค่าสวัสดิการ แท้ จริ งที่เปลี่ยนแปลง Hausman (1981) ได้ แสดงแนวคิดในการหาเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hick และการวัด การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางสวัสดิการที่แท้ จริงไว้ โดยทําตามลําดับขันตอนดังนี 1) ประมาณค่าอุปสงค์ของสินค้ านําเข้ าโดยใช้ วิธีการทางเศรษฐมิติ 2) อินทิเกรต (Integral) อุปสงค์ของการนําเข้ า และใช้ Roy’s Identity เพื่อหา Indirect Utility 3) แปลงจาก Indirect Utility ให้ เป็ นสมการฟั งก์ชนั่ การใช้ จ่าย (Expenditure Function) ในสินค้ านําเข้ า 4) หาอนุพนั ธ์ของสมการฟั งก์ชนั่ การใช้ จ่ายในสินค้ านําเข้ า จะได้ เส้ นอุปสงค์แบบ Hicks 5) ประมาณค่าพืนที่ใต้ กราฟเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks กับระดับราคาดังเดิม (Base Price) และระดับราคาใหม่ (New Price) เพื่อหามูลค่าผลกระทบต่อสวัสดิการที่แท้ จริง โดยการประมาณค่า CV และ EV

127


128 ในการศึก ษาผลกระทบของการจัด ตังกลุ่ม ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ ที่ มี ต่ อ การ เปลี่ยนแปลงสวัสดิการของผู้บริ โภค อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้ านําเข้ าภาย หลังจากมีการจัดตังกลุ่ม จะทําการประยุกต์ใช้ แนวคิดในการวัดสวัสดิการของ Hausman โดย เริ่มต้ นจากสมการอุปสงค์ตอ่ สินค้ านําเข้ า

x 1 ( Pm 1 , Y ) = Pmα1 Y β

1)

โดยที่ X1 = ปริมาณของสินค้ านําเข้ า (สินค้ า 1) ที่นําเข้ าจากประเทศภายในกลุม่ Pm1 = ระดับราคาสินค้ านําเข้ าของสินค้ า 1 Y = ระดับรายได้ ของผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ ภายในกลุม่ จาก Roy’s Identity และ Implicit Function Theorem จะได้ ฟังก์ชนั่ ของ Indirect Utility ∂v(Pm1 ( t ), Y( t )) / ∂Pm1 dY ( t ) / dt = X1 =− ∂v(Pm1 ( t ), Y( t )) / ∂Y dPm1 ( t ) / dt

จะได้

2)

dY = X 1 = Pmα1 Y β dP m 1

3)

1 1−β 1 α +1 Y = Pm1 + C 1− β α+1

4)

อินทิเกรตสมการที่ (3) จะได้

โดย C เป็ นค่าคงที่ หา indirect Utility ซึง่ ขึนอยู่กบั ระดับความพึงพอใจแรกเริ่ ม (Initial Utility) โดย กําหนดให้ C=U0 โดย U0 คือระดับความพึงพอใจแรกเริ่ ม Y 1−β Pmα1+1 5) v(Pm1, Y ) = C = U = − 1− β α + 1 จากความสัมพันธ์ระหว่าง Indirect Utility function และ Expenditure function 0

จะได้

α +1 m1

P ⎡ ⎤ em (Pm1,U0 ) = ⎢(1 − β)(U0 + )]⎥ α +1 ⎦ ⎣

1 1−β

6)


129 หาค่าอนุพนั ธ์ สมการที่ 6) เทียบกับระดับราคาสินค้ า 1 เพื่อหาอุปสงค์ทดแทนการนําเข้ า (จาก Shepard’s Lemma) ∂em (Pm1,U0 ) 0 h1 (Pm1,U ) = 7) ∂Pm1 0 โดย h1(Pm1,U ) คือ เส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks แทนค่าสมการที่ 6) ในสมการที่ 7) จะได้ β ⎞ ⎛ α +1 Pm1 ⎤ 1−β ⎟ ⎜ α⎡ 0 0 8) h1 (Pm1 ,U ) = ⎜ Pm1 ⎢(1 − β)(U + )] α + 1 ⎥⎦ ⎟⎟ ⎜ ⎣ ⎠ ⎝ จากวิธีการประมาณประมาณของ Hausman นี มีข้อสมมติว่าผลกระทบทางสวัสดิการ ของผู้บริ โภคทางด้ านการสร้ างเสริ มการค้ าและการเปลี่ยนวิถีการค้ าสามารถวัดได้ โดยการหาพืนที่ ใต้ กราฟของเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks

ภาพที่ 1 Hicksian Compensated Import Demand Curve P

Pm1w(1+t)

A B

Pm1b

C

Pm1w

h( Pm1,U0) M1 M2

M3

Q

โดยผลกระทบของสวัสดิการผู้บริโภคทางด้ านการสร้ างเสริมการค้ าสามารถอธิบายได้ โดย พืนที่สี่เหลี่ยม P1w(1+t)ABPm1b ซึง่ อธิบายถึงสวัสดิการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึนอันเป็ นผลจากการ จัดตังกลุม่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทําให้ ระดับราคาสินค้ านําเข้ าลดลงเนื่องมาจากผลของ ข้ อตกลงทางด้ านภาษี ภายในกลุม่ ส่วนผลกระทบทางด้ านการเปลี่ยนวิถีการค้ าสามารถอธิบายได้ โดยพืนที่สี่เหลีย่ ม Pm1bBCP1w ซึง่ อธิบายถึงสวัสดิการของผู้บริโภคที่ลดลงอันเป็ นผลจากการจัดตัง


130 กลุม่ ความร่วมมือเศรษฐกิจก่อให้ เกิดการบิดเบือนทางด้ านราคา ทําให้ ผ้ บู ริโภคแทนที่จะบริโภค สินค้ าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตตํ่าสุด (จากประเทศนอกกลุม่ ) ต้ องหันมาบริโภคสินค้ าที่มี ต้ นทุนการผลิตสูงกว่า (จากประเทศในกลุม่ ) ดังนันผลดังกล่าวจึงก่อให้ เกิดผลเสียต่อสวัสดิการ ผู้บริ โภค โดยผลกระทบที่มีตอ่ สวัสดิการสุทธิ (Net Welfare Effect : NWE) ที่เกิดจากการจัดตัง กลุม่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามารถวัดได้ ดงั นี NWE = พืนที่สี่เหลี่ยม Pm1w (1+t) ABPm1b – พืนที่สี่เหลีย่ ม Pm1b BCPm1w โดยพืนที่ที่วดั มูลค่าผลกระทบทางด้ านการสร้ างเสริ มการค้ าสามารถวัดได้ โดยการอินทิ เกรตเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks ภายในขอบเขตราคา Pm1w (1+t) และ Pm1b จะได้ Pm1w(1+t ) CVTC = ∫Pm h1(Pm1,U0 )dPm1 1b

โดย

CVTC = Pm1w(1+t) = Pm1b =

9)

ผลกระทบทางการสร้ างเสริมการค้ าซึง่ วัดโดย Compensating Variation ระดับราคาสินค้ านําเข้ าก่อนที่จะมีการจัดตังกลุม่ (Base Period Price) ระดับราคาสินค้ านําเข้ าภายหลังจากการจัดตังกลุม่ (New Period Price)

แทนค่าสมการที่ 8) ในสมการที่ 9) จะได้ α+1 ⎛ α⎡ 1−β ⎞ P 0 m ⎜Pm1 (1−β)(U + 1 ⎤ ⎟* dPm1 ⎜ ⎢⎣ α+1⎥⎦ ⎟⎠ ⎝ β

Pm1w(1+t )

CVTC = ∫Pm1b

โดย

10)

( Y 0 ) 1 − β (Pm1w (1 + t )) α + 1 U = − 1− β α+1 0

⎡ (P (1 + t )) ⎛ CVTC = ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1w α+1 ⎝ ⎣

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎟⎥ ⎠⎦

11)

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (P ) ⎛ − ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1b ⎟ α + 1 ⎠⎥⎦ ⎝ ⎣

12)


131 ส่วนพืนที่ที่วดั มูลค่าผลกระทบทางด้ านการเปลี่ยนวิถีการค้ าสามารถวัดได้ โดยการ อินทิเกรตเส้ นอุปสงค์ทดแทนแบบ Hicks ภายในขอบเขตราคา Pm1b และ Pm1w จะได้ Pmb CVTD = ∫Pm 1wh1(Pm1,U0 )dPm1

โดย

13)

CVTD = ผลกระทบทางการเปลี่ยนวิถีการค้ าซึง่ วัดโดย Compensating Variation Pm1b = ระดับราคาสินค้ านําเข้ าภายหลังจากการจัดตังกลุม่ (New Period Price) Pm1w = ระดับราคาสินค้ านําเข้ า ณ ราคาตลาดโลก (World Price)

แทนค่าสมการที่ 8) ในสมการที่ 13) จะได้ β ⎞ α+1 Pm1 ⎤1−β ⎟

Pm1b ⎛

⎜ ⎡ CVTD = ∫Pm1w ⎜Pmα1 ⎢(1−β)(U0 + * dPm1 ⎥ ⎟ α+1⎦ ⎟ ⎜ ⎣ ⎝ ⎠ โดย

14)

( Y 0 ) 1−β (Pm1b ) α +1 − U = 1− β α +1 0

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (Pm1b) ⎛ CVTD = ⎢(1 − β)⎜ U0 + ⎟ α + 1 ⎠⎥⎦ ⎝ ⎣

15)

α +1

1 ⎞⎤ 1−β

⎡ (P ) ⎛ − ⎢(1 − β)⎜ U0 + m1w ⎟ α + 1 ⎠⎥⎦ ⎝ ⎣

16)

จากสมการที่12) และ 14) ส่วนต่างระหว่างมูลค่าสวัสดิการของผู้บริ โภคทางด้ านการ สร้ างเสริ มการค้ าและการเปลี่ยนวิถีการค้ าที่วดั โดย Compensating Variation คือมูลค่าสวัสดิการ สุทธิที่เกิดขึนจากการบริ โภคสินค้ าในอุตสาหกรรมนัน ๆ NWE = CVTC - CVTD

17)


ภาคผนวก ค. ผลการ RUN สมการสวนที่ 1 ผลการ Run Intra & Extra-Export Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/21/08 Time: 16:28 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 45 Total pool (balanced) observations: 1215 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE?

18.08083 0.244198 0.467831 -0.296199 -0.022793 -0.038333 -0.684502

0.339544 0.036262 0.024519 0.025539 0.025371 0.055783 0.186299

53.25038 6.734213 19.08064 -11.59775 -0.898380 -0.687178 -3.674213

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.3692 0.4921 0.0002

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

0.564827 0.562666 1.114599 1500.735 -1852.321 0.121667

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic) 132

21.14199 1.685435 3.060611 3.090008 261.3184 0.000000


133 เพิ่ม CRISIS Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/21/08 Time: 16:29 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 45 Total pool (balanced) observations: 1215 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE? CRISIS?

18.08321 0.243269 0.467334 -0.296617 -0.023036 -0.037486 -0.662412 -0.115194

0.339579 0.036279 0.024527 0.025545 0.025375 0.055795 0.187897 0.126998

53.25188 6.705420 19.05421 -11.61138 -0.907821 -0.671862 -3.525393 -0.907058

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.3642 0.5018 0.0004 0.3646

0.565124 0.562602 1.114681 1499.713 -1851.907 0.124285

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.14199 1.685435 3.061576 3.095172 224.0719 0.000000


134 ผลการ RUN Intra-Export Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/21/08 Time: 16:09 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 513 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE?

28.58230 0.134109 0.141160 -0.369800 -0.324637 -1.121391 0.952108

0.640388 0.040281 0.042951 0.031454 0.031970 0.084118 0.281009

44.63277 3.329320 3.286500 -11.75689 -10.15431 -13.33114 3.388176

0.0000 0.0009 0.0011 0.0000 0.0000 0.0000 0.0008

0.768259 0.765511 0.788584 314.6632 -602.5452 0.345841

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

20.48069 1.628496 2.376395 2.434254 279.5787 0.000000


135 เพิ่ม CRISIS Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/25/08 Time: 13:26 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 513 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE? CRISIS?

28.59913 0.132742 0.139598 -0.370248 -0.325168 -1.121724 0.983631 -0.134238

0.640660 0.040308 0.042984 0.031459 0.031977 0.084124 0.282897 0.138341

44.64011 3.293160 3.247669 -11.76918 -10.16884 -13.33423 3.476998 -0.970344

0.0000 0.0011 0.0012 0.0000 0.0000 0.0000 0.0006 0.3323

0.768690 0.765484 0.788629 314.0776 -602.07 0.354523

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

20.48069 1.628496 2.378430 2.444556 239.7458 0.000000


136 เพิ่ม CRISIS แตตัดตัวแปร Dummy Variable AFTATRADE ออก Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 04/26/08 Time: 21:16 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 513 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? CRISIS?

27.27731 0.237810 0.254262 -0.354686 -0.305351 -1.064504 -0.079000

0.521297 0.026967 0.027870 0.031478 0.031808 0.083397 0.138923

52.32583 8.818498 9.123146 -11.26756 -9.599885 -12.76423 -0.568662

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.5698

0.763153 0.760344 0.797224 321.5965 -608.1356 0.298667

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

20.48069 1.628496 2.398189 2.456049 271.7332 0.000000


137 ผลการ RUN Extra-Export Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/21/08 Time: 21:22 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 675 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE?

10.95531 0.213812 0.402828 -0.155747 0.133877 0.724049 -0.186351

0.477727 0.039107 0.034295 0.026899 0.029001 0.073274 0.196340

22.93218 5.467391 11.74611 -5.790033 4.616269 9.881353 -0.949124

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.3429

0.675266 0.672349 0.895250 535.3833 -879.5747 0.165517

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.57108 1.564006 2.626888 2.673707 231.5112 0.000000


138 เพิ่ม CRISIS Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 03/09/08 Time: 13:21 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 675 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? AFTATRADE? CRISIS?

10.93888 0.217000 0.401059 -0.155410 0.133027 0.726521 -0.161695 -0.237713

0.477100 0.039091 0.034258 0.026859 0.028961 0.073178 0.196557 0.136794

22.92786 5.551166 11.70702 -5.786090 4.593248 9.928198 -0.822639 -1.737746

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.4110 0.0827

0.676729 0.673337 0.893899 532.9703 -878.0502 0.174157

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.57108 1.564006 2.625334 2.678842 199.4695 0.000000


139 เพิ่ม CRISIS แตตัดตัวแปร Dummy Variable AFTATRADE ออก Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 03/09/08 Time: 21:25 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 675 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS? CRISIS?

11.01487 0.190080 0.390176 -0.162269 0.128295 0.743680 -0.245836

0.467959 0.021378 0.031593 0.025526 0.028378 0.070125 0.136404

23.53813 8.891576 12.35017 -6.356870 4.521001 10.60506 -1.802265

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0720

0.676401 0.673495 0.893683 533.5111 -878.3924 0.178970

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.57108 1.564006 2.623385 2.670204 232.7143 0.000000


140 ผลการทดสอบวิธี Chow – Test Intra ตัดตัวแปร AFTATRADE และ CRISIS Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/25/08 Time: 13:32 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 513 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

27.29254 0.236617 0.253002 -0.354716 -0.305413 -1.065399

0.520261 0.026868 0.027763 0.031457 0.031786 0.083327

52.45927 8.806806 9.112845 -11.27607 -9.608307 -12.78577

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000

0.763001 0.760664 0.796692 321.8021 -608.2995 0.295103

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

20.48069 1.628496 2.394930 2.444524 326.4508 0.000000


141 Intra 1980 – 1992 Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/25/08 Time: 13:35 Sample: 1980 1992 Included observations: 13 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 247 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

23.16913 1.391851 0.559977 -1.042566 -0.661836 -0.754959

0.939145 0.132760 0.134150 0.066059 0.066226 0.115496

24.67046 10.48392 4.174263 -15.78244 -9.993635 -6.536668

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000

0.776325 0.771685 0.702400 118.9013 -260.1876 0.322300

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

19.49528 1.470000 2.155365 2.240613 167.2915 0.000000


142 Intra 1993 – 2006 Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 02/25/08 Time: 13:37 Sample: 1993 2006 Included observations: 14 Cross-sections included: 19 Total pool (balanced) observations: 266 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

9.427373 1.214371 0.519744 0.566326 0.012979 -0.572753

1.789512 0.099387 0.096332 0.082136 0.080621 0.086455

5.268126 12.21858 5.395356 6.894992 0.160992 -6.624904

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.8722 0.0000

0.796080 0.792158 0.534074 74.16101 -207.5624 0.263719

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.39573 1.171479 1.605732 1.686563 203.0014 0.000000


143 Chow Test F=

(SSR_u-(SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006))/k (SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006)/(T- 2k)

=

(321.8021-(118.9013+74.16101))/6

=

(118.9013+74.16101)/(513-12) 55.68


144 Extra ตัดตัวแปร AFTATRADE และ CRISIS ออก Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 03/09/08 Time: 13:15 Sample: 1980 2006 Included observations: 27 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 675 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

11.04400 0.182499 0.390290 -0.163706 0.128428 0.743829

0.468464 0.020995 0.031646 0.025557 0.028425 0.070243

23.57490 8.692579 12.33310 -6.405553 4.518122 10.58942

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000

0.674828 0.672398 0.895183 536.1053 -880.0295 0.170028

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

21.57108 1.564006 2.625273 2.665403 277.6744 0.000000


145 Extra 1980-1992 Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 03/09/08 Time: 13:17 Sample: 1980 1992 Included observations: 13 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 325 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

15.27779 0.319951 0.949876 -0.312179 -0.213615 -0.043412

0.765608 0.074483 0.062528 0.040615 0.033279 0.123811

19.95511 4.295602 15.19132 -7.686286 -6.418903 -0.350629

0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.0000 0.7261

0.729759 0.725523 0.797932 203.1056 -384.7639 0.311934

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

20.75625 1.523044 2.404701 2.474556 172.2852 0.000000


146 Extra 1993 – 2006 Dependent Variable: EXP? Method: Pooled Least Squares Date: 03/09/08 Time: 13:18 Sample: 1993 2006 Included observations: 14 Cross-sections included: 25 Total pool (balanced) observations: 350 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

C GDPI? GDPJ? POPI? POPJ? DIS?

8.275823 0.254471 0.660361 -0.029970 0.635979 0.312302

0.667439 0.051823 0.042319 0.048252 0.041907 0.070502

12.39936 4.910402 15.60451 -0.621123 15.17610 4.429657

0.0000 0.0000 0.0000 0.5349 0.0000 0.0000

0.743609 0.739882 0.598719 123.3119 -314.0656 0.274169

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

22.32771 1.173919 1.828946 1.895082 199.5399 0.000000


147 Chow Test F=

(SSR_u-(SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006))/k (SSR_r1980-1992 + SSR_r1993-2006)/(T- 2k)

=

(536.1053-(203.1056+123.3119))/6

=

(203.1056+123.3119)/(675-12) 70.98


ภาคผนวก ง. ผลการ RUN สมการส่วนที 2 251-Thai Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 11:50 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.480374 0.122464 -0.062056

0.211583 0.375122 2.836217

-2.270383 5.658067 -0.021880

0.0374 0.0000 0.9828

0.726727 0.692568 0.430945 2.971421 -9.333545 2.639916

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

148

16.65617 0.777226 1.298268 1.447390 21.27475 0.000031


149 251-Indo Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 14:32 Sample: 1989 2006 Included observations: 18 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-2.100206 3.414013 5.303246

1.263338 2.018213 13.58343

-1.800909 0.550643 0.390420

0.0919 0.5900 0.7017

0.217760 0.113461 2.392029 85.82701 -39.59855 1.869025

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

15.26928 2.540490 4.733172 4.881568 2.087850 0.158508


150 251-Malay Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 13:30 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.884981 0.163118 5.714149

0.250391 0.678666 5.508264

-3.534404 1.713830 1.037377

0.0028 0.1059 0.3150

0.560776 0.505874 0.766140 9.391520 -20.26583 1.175687

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

15.96570 1.089906 2.449035 2.598157 10.21396 0.001385


151 251-Philip Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 13:43 Sample: 1991 2006 Included observations: 16 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.455839 0.401273 -21.65979

0.861042 1.465978 10.00812

-0.529404 3.684417 -2.164221

0.6054 0.0028 0.0496

0.539320 0.468446 0.895820 10.43241 -19.28164 0.881694

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

16.00434 1.228703 2.785205 2.930066 7.609566 0.006488


152 661 Thai Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 15:27 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.186260 0.186438 9.320237

0.425586 1.745626 13.69891

-5.137057 0.106803 0.680363

0.0001 0.9163 0.5060

0.653958 0.610703 1.884917 56.84662 -37.37105 1.410490

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

15.43583 3.021008 4.249584 4.398706 15.11861 0.000206


153 661 Indo Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 15:55 Sample: 1989 2006 Included observations: 18 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-1.754537 1.771820 1.195955

0.223532 0.973857 6.420237

-7.849140 1.819384 0.186279

0.0000 0.0889 0.8547

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

0.871746 0.854645 1.038267 16.16997 -24.57595 1.012141

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

17.56658 2.723294 3.063994 3.212390 50.97765 0.000000


154 661 Malay Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 16:01 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-1.347164 2.921856 -8.406622

0.245991 0.461688 3.477766

-5.476469 6.328639 -2.417248

0.0001 0.0000 0.0279

0.895015 0.881892 0.473835 3.592308 -11.13621 1.497598

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

19.66739 1.378753 1.488022 1.637144 68.20123 0.000000


155 661 Philip Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 16:05 Sample: 1991 2006 Included observations: 16 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-2.634141 1.769418 -0.744369

0.457907 1.540378 11.42569

-5.752564 1.148691 -0.065149

0.0001 0.2714 0.9490

0.775445 0.740898 0.727790 6.885810 -15.95801 1.915565

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

18.13609 1.429783 2.369751 2.514611 22.44608 0.000061


156 821-Thai Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 14:24 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.877036 0.316389 -35.32548

0.629129 1.112552 8.515785

-1.235098 5.839180 -4.148235

0.2346 0.0000 0.0008

0.690778 0.652125 1.295743 26.86318 -30.24985 0.506076

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

13.63649 2.196884 3.499984 3.649106 17.87136 0.000084


157 821-Indo Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 14:29 Sample: 1989 2006 Included observations: 18 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.895391 0.535176 -6.990662

0.683667 0.753749 5.195457

0.870879 3.894104 -1.345534

0.3975 0.0014 0.1984

0.511008 0.445809 0.914549 12.54599 -22.29216 0.703228

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

13.47077 1.228506 2.810240 2.958635 7.837676 0.004675


158 821-Malay Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 14:39 Sample: 1988 2006 Included observations: 19 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.824812 0.485880 -15.93570

0.203050 0.500702 4.071803

-1.107173 7.486671 -3.913673

0.2846 0.0000 0.0012

0.778011 0.750263 0.580367 5.389218 -14.98946 1.182910

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

14.52249 1.161345 1.893628 2.042750 28.03787 0.000006


159 821-Philip Dependent Variable: LNX Method: Least Squares Date: 03/01/08 Time: 15:06 Sample: 1991 2006 Included observations: 16 Variable

Coefficient

Std. Error

t-Statistic

Prob.

LNP LNY C

-0.455876 0.401216 -34.54776

0.215382 1.580940 10.91940

-5.958593 4.607903 -3.163888

0.0000 0.0005 0.0075

0.817327 0.789223 0.985162 12.61706 -20.80271 0.689693

Mean dependent var S.D. dependent var Akaike info criterion Schwarz criterion F-statistic Prob(F-statistic)

R-squared Adjusted R-squared S.E. of regression Sum squared resid Log likelihood Durbin-Watson stat

15.35935 2.145832 2.975338 3.120199 29.08261 0.000016


บรรณานุกรม หนังสือและบทความในหนังสือ นราทิพย ชุติวงศ. ทฤษฎีเศรษฐศาสตรจุลภาค. กรุงเทพมหานคร : คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, 1996. พัตเนตร รามางกูร. การวิเคราะหแนวโนมของการสรางปริมาณการคาและการหันเหทิศทางการคาจาก การจัดตั้งเขตการคาเสรีอาเซียน (กรณีศึกษา : ประเทศไทย). วิทยานิพนธปริญญา เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2001. เยาวเรศ ทัพพันธุ. การรวมกลุมทางเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 1999.

กรุงเทพมหานคร :

คณะเศรษฐศาสตร

สมนึก แตงเจริญ. ทฤษฎีวาดวยการรวมกลุมทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : โครงการสงเสริม เอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร, 1994. ศัพทเศรษฐศาสตร อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร ราชบัณฑิตยสถาน, 2003

:

สัมภาษณ สุเมธ สันกะธรรม. นักเดินเรือ กรมพาณิชยนาวี สัมภาษณ. 24 ตุลาคม 2550 Books & Articles Anderson, James E. “A Theoretical Foundation for Gravity Equation,” American Economic Review, (March 1997) :106-16. 160


161 Balassa Bella. “Trade Creation and Trade Diversion in te European Common Market”., Economic Journal 77 (1967) : 1-21 Bartholomew, Ann. “Trade Creation and Trade Diversion: The Welfare Impact of MERCOSUR on Argentina and Brazil,” Working Paper CBS-25-2002. (2002). Bergstrand, Jeffrey H.“The Gravity Equation in International Trade : Some Microeconomic Foundations and Empirical Evidence,” The Review of Economics and Statistics Vol.67(1985 issue 3) : 474-81. D. N. Gujarati, Basic Econometrics (McGraw-Hill, 1995) pp. 244-248. Endoh, Masahiro. “Trade Creation and Trade Diversion in EEC, the LAFTA and the CMEA : 1960-1994,” Applied Economics Vol.31(2), (February 1999) : 207-16. Evenett, Simon J. and Keller, Wolfgang. “On Theories Explaining the Success of the Gravity Equation,” NBER Working Paper No. 6529. (1998). Karemera, David and Koo, Won W. “Trade Creation and Diversion Effects of the U.S.Cannadian Free Trade Agreement,” Contemporary Economic PolicyVol.12(1994) : 12-23. Karemera, David and Ojah, Kalu .“An Industrial Analysis of Trade Creation and Diversion Effects of NAFTA,” Journal of Economic Integration Vol.13(3), (September 1998) : 400-425. Karemera, David , Smith, Wilbur I. , Ojah, Kula , Cole, John A. ”A Gravity Model Analysis of the Benefits of Economic Integration in the Pacific Rim,” Journal of Economic Integration 14(3), (September 1999) : 347-67.


162 Kelegama, Saman .“Risks to the Sri Lankan Garment Industry from Trade Diversion Effects of Nafta,” Development Policy Review Vol.15 (1997) : 227-249 Kruger, Anne O. “Trade Creation and Trade Diversion Under NAFTA,” NBER Working Paper No. 7429 . (1999). Lalith Prasanna Perera.“Trade Creation and Diversion in the ASEAN Economic Integration,” A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Masters of Economics (English Language Program), Faculty of Economics, Thammasat University.(1998). Nicholls, Shelton M.A. “Measuring Trade Creation and Trade Diversion in the Central American Common Market : A Hicksian Alternative,” World Development Vol.26(2), (February 1996) : 323-35. Oguledo, Victor Iwuagwu and Macphee, Craig R. ”Gravity Models : a reformulation and an application to discriminatory trade arrangements,” Applied Economics Vol. 26(1994) :107-20. Pomfret, Richard. “The Economics of Regional Trading Arrangement,” Oxford University Press. (2001) Sawyer, W. Charles and Spinkle, Richard L. “Alternative Empirical Estimates of Trade Creation and Trade Diversion : A Comparison of the Baldwin-Murray and Verdoorn Models,” Weltwirtschaftliches Archiv Vol. 125(1) (1989) : 61-73.


163 Sayan, Serdar.”Could Regional Economic Cooperation Generate Trade Creation and Trade Diversion Effects without Altering Trade Policies of Member? Preliminary Results from a Gravity Application to BSEC,” (1998). Available from : http://www.bilkent.edu.tr/~sayan/DiscussionPapers/DP98-10+Cvr.pdf Winters, L. Alan and Won Chang, “How Regional Blocs Affect Excluded Countries: The Price Effects of MERCOSUR,” American Economic Review Vol. 92 (4) (2002) : 889-904 เอกสารอิเล็กทรอนิกส http://www.comtrade.un.org/ http://www.wto.org/ http://www.imf.org/


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.