บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

Page 1

บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่

... ความสำเร็ จ

กรมกิจการสตรี แ ละสถาบั นครอบครั ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั ่ นคงของมนุ ษ ย์


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่

... ความสำเร็ จ

กรมกิจการสตรี แ ละสถาบั นครอบครั ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั ่ นคงของมนุ ษ ย์


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา

นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต นายวิศิษฐ์ เดชเสน นางพรสม เปาปราโมทย์

บรรณาธิการอำนวยการ นางถิรวดี พุ่มนิคม นายวิศษิ ฐ์ ผลดก ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ผศ.กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง กองบรรณาธิการ นางสาวศยามล ลัคณาสถิตย์ นางสาวชมนิศา วะระทุม นายเฉลิมชนม์ อินทะยะ นางสาวอรวรรณ อยู่อ้อน นางจันทร์เพ็ญ ศรีเมือง นางจุฬาลักษณ์ นวลจันทร์ นางอภัย คงคาสวัสดิ์ นางสิราณี คิดหาทอง นายสุกิจ เกศสุวรรณรักษ์ นางสาวศุลีพร สันธิราษฎร์

นางสมบัติ ขจรสายวงษ์ นางสาววรารัตน์ พะวงรัมย์ นายอิศรา คันธรักษ์ นางสาววิภาดา แก่นจันทร์หอม นายปณวัฒน์ พยุงตน นางสาววรรพิรัญญา อินทร์โท นายอับดุลรอฮิม ยูนุ นายบัญชา บุญสุภาพ นายจักรพันธ์ รอดทุกข์ นายณัฐพล หน่อคำ


คำนำ “โอกาส” เป็นจุดเริ่มต้นของเป้าหมาย ที่เราต้องการจะก้าวไปให้ถึง “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว” เป็นหน่วยงาน ในสังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) มีจำนวน 8 แห่ง ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ มีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งในการดูแลสตรีและ ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ขาดโอกาสทางการศึกษา เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจประสบกับปัญหา การค้าประเวณี และกลุ่มสตรีในชุมชนที่ไม่มีอาชีพ ว่างงาน ขาดรายได้ ให้สามารถพึ่งพา ตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยการฝึกอบรมทักษะอาชีพทั้งในสถาบัน และในชุมชน เป็นการเสริมสร้างโอกาสให้บุคคลเหล่านี้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคคลและกลุ่มอาชีพที่หนังสือเรื่อง “บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ” ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า “โอกาส” ที่รัฐสร้างให้นั้นเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา ชีวิตของคนเหล่านี้ “โอกาส” ที่รัฐสร้างให้เป็นไปอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมทั้งกับผู้หญิง ผู้ชาย และผู้หลากหลายทางเพศ นอกจากโอกาสที่ได้แล้ว บุคคลเหล่านี้ยังก้าวเดินต่อไป ด้วยความมุ่งมั่น มานะ บากบั่น ขยัน หมั่นเพียร เรียนรู้ และฝึกฝน เพื่อให้ตนเองและ ครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นแล้วได้ตอบแทนกลับคืนสู่สังคม นับได้ว่าเป็นคุณงาม ความดี ที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมไทย ในนามของ สค. ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะสามารถสร้าง แรงบันดาลใจให้ทุกท่านที่สนใจ ก้าวเข้ามาร่วมเดินไปบนเส้นทางแห่งโอกาส ที่เสมอภาคและเท่าเทียมนี้ไปสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิใจ

(นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต) อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มิถุนายน 2560


สารบัญ

หน้า

คำนำ

3

สารบัญ

4

เล่าขานตำนานศูนย์ฯ

6

ก่อนจะมาเป็น “บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่....ความสำเร็จ”

12

คนวิริยะประเภทบุคคล

15

- ชีวิตต้องสู้ของลุงแกะ

16

- คุณค่าแห่งลมหายใจ

26

- ความในใจของ “อุ๊” : ชีวิตที่ผกผันกับความฝันของเธอ

32

- ฉันต้องสวย

38

- ความฝันคือพลังสู่ความสำเร็จ

42

- สุรศักดิ์ บูรพันธ์... กับ...ฝันที่เป็นจริง

47

- มนต์เมือง ล้านนา นวดเพื่อสุขภาพ

50

- ก้าวที่กล้าของ...ธิดาดอย

55


สารบัญ

หน้า

คนวิริยะประเภทกลุ่มอาชีพ

59

- กลุ่มผึ้งหลวง ผ้างาม

60

- ลายครามวาดชีวิตใหม่

66

- ยกระดับผ้าขาวม้าอีสาน สู่เส้นทางสายอาชีพในชุมชน

74

- จักสาน สร้าง เสริมสุข

77

- พลังแม่บ้าน สู่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

82

- ลูกจันทร์บาติก...กับชีวิตแสนสุข

85

- สมุนไพร วิถีไทย สร้างสายใยในชุมชน

88

- พลังแม่ญิ๋งนักสู้...สู่สัมมาชีพสร้างคน

92

ข้อค้นพบสำคัญจากการถอดบทเรียน

98

ภาคผนวก

103

- ประวัตคิ วามเป็นมาศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่ง

104

- Team ถอดบทเรียน

114

- ทำเนียบศูนย์ฯ

122


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

เล่าขานตำนานศูนย์ฯ ย้ อ นวั น วานกลั บ ไปเมื่ อ กว่ า 56 ปี ที่ แ ล้ ว ประเทศไทยได้ เริ่ ม ใช้ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 การพัฒนา ประเทศในช่ ว งนั้ น มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ เป็ น หลั ก โดยมี แ นวคิ ด ว่ า หากประเทศมี ค วามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งและเสถี ย รภาพด้ า นเศรษฐกิ จ ดี จะทำให้ ประชาชนมีรายได้และมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมั่นคง และสังคมเสมอภาค การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา กว่า 15 ปี ส่งผลให้สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนจากสังคมชนบท มาเป็นสังคมเมือง อย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ปรับเปลี่ยนจากความ เรียบง่าย มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มาเป็นสังคมที่มีการแข่งขันกันสูง การ อพยพย้ายถิ่นมีมากขึ้น ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น ช่องว่างของรายได้ระหว่าง คนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และผู้คนมีความเป็นอยู่ที่โดดเดี่ยวต้องพึ่ง ตนเองมากขึ้น สภาพสังคมดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ตามมา มากมาย เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด ชุมชนแออัด คนว่างงาน และโสเภณี เป็นต้น ปัญหาได้ปรากฏชัดขึ้น และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการพัฒนา ประเทศ

6


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

“โสเภณี” เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญ เพราะได้ขยายวงออกไปเป็นปัญหา การค้าหญิงข้ามชาติ โสเภณีชาวเขา รวมทั้งโสเภณีเด็กหญิงและชาย ซึ่งปัญหานี้ มักจะเกิดขึ้นกับสตรี เยาวสตรี และชนกลุ่มน้อยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ทางสังคม และทางเศรษฐกิจทางภาคเหนือของประเทศไทย แนวทางหนึง่ ทีร่ ฐั บาล ในสมัยนัน้ นำมาใช้เพือ่ แก้ไขปัญหานี้ คือ การเสริมสร้างศักยภาพให้กบั คนเหล่านัน้ ด้วยการฝึกอาชีพ เพื่อลดจำนวนสตรี เยาวสตรีในชนบท ตลอดจนชนกลุ่มน้อย ที่ ถู ก ล่ อ ลวงไปในทางที่ ผิ ด “กองสั ม มาอาชี ว สงเคราะห์ กรมประชา สงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็นหน่วยงานที่ได้รับ มอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ โดยการจัดตั้ง “ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี ภาคเหนื อ จั ง หวั ด ลำปาง” ขึ้น เป็ นแห่งแรกตามมติ คณะรัฐ มนตรีเ มื่อ วัน ที่ 2 มิถุนายน 2520 เพื่อให้การฝึกอบรมวิชาชีพแก่สตรี และเยาวสตรีผู้ด้อยโอกาส ทีไ่ ม่สามารถศึกษาต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ เป็นการป้องกันมิให้บคุ คลเหล่านีถ้ กู ล่อลวง ไปในทางที่เสื่อมเสียศีลธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้สตรีมีงานทำเพื่อเป็นการสร้าง ฐานความมัน่ คงแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ และได้เปิดดำเนินการ อย่ า งเป็ น ทางการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2522 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สตรี และเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 14-35 ปี ที่มีฐานะยากจน ขาดแคลน ไม่สามารถ ศึกษาต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ และมีภมู ลิ ำเนาอยูใ่ นเขตจังหวัดภาคเหนือ ผูท้ มี่ าเข้ารับ การฝึกอบรมจะได้รับสวัสดิการเรื่องที่อยู่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และได้เข้ารับการ ฝึกอบรมด้านอาชีพ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี – บุรุษ การตัดผมสตรี – บุรุษ การช่ า งประดิ ษ ฐ์ การบริ ก ารโรงแรม การทอผ้ า กี่ ก ระตุ ก การทอผ้ า ด้วยเครือ่ งจักร เครือ่ งยนต์ โภชนาการ เป็นต้น ซึง่ นอกจากการฝึกอบรมด้านอาชีพแล้ว

7


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ยั ง ได้ จั ด ให้ มี ก ารอบรมด้ า นจิ ต ใจ การปรั บ สภาพตนเองให้ เข้ า กั บ สั ง คม ตลอดจนความรู้พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคม เป็นการส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ และเมื่อสำเร็จการฝึกอบรมแล้ว ศูนย์ฯ ยังได้ จั ด หางานให้ อี ก ด้ ว ย ซึ่ ง ผู้ เข้ า รั บ การฝึ ก อบรมส่ ว นใหญ่ ส ามารถนำความรู้ ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ ต่อมาแนวความคิดนี้ได้ขยายไปดำเนินการ ทุกภาคทัว่ ประเทศตามลำดับ ดังนี้ - ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี ภ าคกลาง จั ง หวั ด นนทบุ รี เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 - ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี รั ต นาภา จั ง หวั ด ขอนแก่ น เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2533 - ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2533 - ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี ภ าคใต้ จั ง หวั ด สงขลา เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 - ศู น ย์ ฝึ ก อาชี พ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด า สยามบรมราชกุมารี ครบ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 - ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2536 และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2538

8


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

- ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี เ ฉลิ ม พระเกี ย รติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ใหม่ ในปี พ.ศ. 2545 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี ทั้ง 8 แห่ง ได้โอนไป สังกัด “สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์” เมือ่ วันที่ 2 ตุ ล าคม 2545 และเมื่ อ วั น ที่ 4 ธั น วาคม 2550 โอนไปสั ง กั ด “สำนั ก คุ้มครองสวัสดิภาพหญิงและเด็ก” ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการเช่นเดิม ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 โอนมาสังกัด “กอง คุ้ ม ครองและพั ฒ นาอาชี พ กรมกิ จ การสตรี แ ละสถาบั น ครอบครั ว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว” เรียกโดยย่อว่า “ศสค.” ประกอบด้วย 1 ฝ่ า ย 3 กลุ่ ม งาน ได้ แ ก่ ฝ่ า ยบริ ห ารทั่ ว ไป กลุ่ ม แผนงานและวิ ช าการ กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ และกลุ่มส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่ 37/2560 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ดังนี้

9


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

1. จัดบริการสวัสดิการสังคม และดำเนินการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง แก้ไข เยียวยา บำบัด ฟื้นฟู พัฒนาอาชีพ การฝึกอาชีพ การสร้างทางเลือกในการ ประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม และ ครอบครัว หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการค้าประเวณี 2. พัฒนาวิชาการ ระบบและรูปแบบการให้บริการสวัสดิการ และกำหนดมาตรฐาน การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ แก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคมและครอบครัว หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการค้าประเวณี 3. เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาอาชีพ การสร้างทางเลือกในการประกอบ อาชี พ การฝึ ก อาชี พ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต การพั ฒ นาศั ก ยภาพและ สถานภาพสตรี แ ละครอบครั ว ที่ ป ระสบปั ญ หาทางสั ง คม ผู้ ที่ ต้ อ งได้ รั บ การคุ้มครองสวัสดิภาพ 4. กำหนดมาตรการ กลไกในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี และร่วมกับ องค์ ก รเครื อ ข่ า ยทุ ก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง ภายในและต่ า งประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี 5. จัดทำมาตรฐานการดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และรายงานผล การปฏิบัติงาน 6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย ปัจจุบัน นับได้ว่า “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว” ทั้ง 8 แห่ง เป็นหน่วยงานหลักในส่วนภูมิภาคของ สค. ที่ยังคงปฏิบัติภารกิจเดิม ตาม เจตนารมณ์ เริ่ ม แรกที่ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ฯ ขึ้ น เช่ น การฝึ ก ทั ก ษะและพั ฒ นาอาชี พ ทั้งภายในและภายนอกศูนย์ฯ การคุ้มครองสตรีที่ได้รับผลกระทบจากการค้า

10


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ประเวณีและการค้ามนุษย์ การให้บริการด้านสวัสดิการสังคมแก่สตรีและครอบครัว ทีด่ อ้ ยโอกาส ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานตามภารกิจของ สค. เช่น การส่งเสริมและพัฒนาบทบาทสตรี การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสตรี และครอบครัว การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีและผู้ด้อยโอกาส การเป็นศูนย์ ข้อมูลข่าวสาร และรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลด้านสตรีและครอบครัว การเป็นศูนย์ ส่ ง เสริ ม และประสานความร่ ว มมื อ ภาคี เ ครื อ ข่ า ยด้ า นการพั ฒ นาสตรี แ ละ ครอบครัว การอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิ บทบาทหญิงชาย และการส่งเสริม ความเสมอภาคระหว่างเพศ ตลอดจน การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว เพื่อร่วมส่งต่อ คุณค่าของงานด้านการพัฒนาสตรี และครอบครัวให้กับประชาชน ในส่วนภูมิภาคให้ได้รับ ประโยชน์อย่างแท้จริง

11


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ก่อนจะมาเป็น “บนเส้นทางแห่งโอกาส...สู่ความสำเร็จ” จากที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ใน “เล่ า ขานตำนานศู น ย์ ฯ ” ว่ า “ศู น ย์ เรี ย นรู ้ การพัฒนาสตรีและครอบครัว” เดิมเป็นหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ มีชื่อเรียกว่า “ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี” มีหน้าที่สำคัญ ในการฝึกอบรมวิชาชีพแก่สตรี และเยาวสตรีผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น เป็นการป้องกันมิให้บุคคลเหล่านี้ถูกล่อลวงไปในทางเสื่อมเสีย ศีลธรรม รวมทัง้ ส่งเสริมให้สตรีมงี านทำเพือ่ เป็นการสร้างฐานความมัน่ คงแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ นัน้ ศูนย์ฯ ดังกล่าวมีกจิ กรรมดี ๆ ทีด่ ำเนินการ มาอย่างต่อเนื่อง และสร้างประโยชน์ให้กลุ่มเป้าหมายได้มีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น ได้แก่ “การพัฒนาทักษะอาชีพแก่สตรีกลุ่มเสี่ยงในสถาบัน” ซึ่งเป็นการ อบรมวิชาชีพระยะสัน้ หลักสูตร 3 เดือน และ 6 เดือน เช่น เสริมสวยสตรี ตัดผมชาย นวดแผนไทย ตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น และ “การพัฒนาทักษะและส่งเสริม การประกอบอาชีพแก่สตรีและครอบครัว” ซึง่ ประกอบด้วย โครงการสร้างชีวติ ใหม่ ให้แก่สตรีและครอบครัว โครงการสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ และ โครงการเสริมสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจแก่สตรี กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม กิ จ กรรมดั ง กล่ า วหลายคน/กลุ่ ม ประสบความสำเร็ จ ในการประกอบอาชี พ สามารถสร้างรายได้และนำมาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว ให้ดีขึ้น พร้อมทั้งได้ดำรงตนเป็นจิตอาสาสร้างประโยชน์ให้กับสังคม เส้นทาง การสู้ ชี วิ ต ของบุ ค คล และกลุ่ ม อาชี พ เหล่ า นี้ มี ค วามน่ า สนใจสมควรได้ รั บ การบันทึกไว้เป็นบทเรียน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในสังคมที่ประสบ ความทุกข์ยากในชีวิต ได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับตนเองและครอบครัว

12


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สค. โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.) กองคุ้มครองและพัฒนา อาชีพ (กคอ.) และศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว (ศสค.) ทั้ง 8 แห่ง ได้ ร่ ว มกั น จั ด ทำ “โครงการถอดบทเรี ย นปั จ จั ย สู่ ค วามสำเร็ จ ของผู้ ผ่ า น การอบรมจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว” เพื่อค้นหาปัจจัยสู่ ความสำเร็จของบุคคล/กลุม่ อาชีพทีส่ ามารถเป็นตัวอย่าง และสร้างแรงจูงใจในการ พัฒนาตนเองให้กบั ผูเ้ ข้ารับการอบรมจากศูนย์เรียนรูฯ้ ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต โดยใช้ “กระบวนการถอดบทเรียน” เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน ผศ.กมลทิ พ ย์ แจ่ ม กระจ่ า ง คณะสั ง คมสงเคราะห์ ศ าสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และทีมงานให้เกียรติเป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ นำไปถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูล เขียนบทความ และ จัดทำวีดิทัศน์เพื่อนำเสนอผลงาน สำหรับเกณฑ์พิจารณาในการคัดเลือกบุคคล และกลุ่มอาชีพสำหรับ การถอดบทเรียน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีมติร่วมกันให้พิจารณาจากคุณสมบัติ ดังนี้ ประเภทบุคคล ประกอบด้วย 1. มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงดูตนเอง ครอบครัว และมีเงินออม 2. สามารถเผยแพร่ และแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ 3. พัฒนา และฝึกฝนความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ 4. ร่วมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคม และส่งผลประโยชน์คืนสู่ชุมชน ประเภทกลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย 1. กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการ ประสานความร่วมมือทั้งภายใน และภายนอกเพื่อแสวงหาเครือข่าย 2. ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ตามวิถีชุมชน และได้รับการรับรองมาตรฐาน จากเกณฑ์ดังกล่าวศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 8 แห่ง ได้นำไปพิจารณาคัดเลือก บุคคล และกลุ่มอาชีพ เพื่อดำเนินการถอดบทเรียน ดังนี้

13


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา สตรีและครอบครัว ภาคเหนือ จ. ลำปาง ภาคกลาง จ. นนทบุรี รัตนาภา จ. ขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ. ศรีสะเกษ

ประเภทบุคคล

ประเภทกลุ่มอาชีพ

นายสมพงษ์ เข็มเพชร ตัดผมชาย น.ส.สุรีวรรณ เกิดสิริ ตัดเย็บเสื้อผ้า

กลุ่มผึ้งหลวง ผ้างาม (เสื้อผ้าพื้นเมือง) กลุ่มผสมทรัพย์ เซรามิค (เครื่องลายคราม) กลุ่มแปรรูปผ้าขาวม้า อีสานตำบลบ้านดง (แปรรูปผ้าขาวม้า) กลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์จากต้นไหล (เครื่องจักสาน) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหัวเขา (ขนมพื้นบ้านโบราณ)

นายสาธิตาพงศ์ รักพวก นวดแผนไทย น.ส. ลินดา ฤทธิ์ชิน เสริมสวยสตรี

ภาคใต้ จ. สงขลา

น.ส.กมลเนตร หนูรักษ์ เสริมสวยสตรี

เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จ. ชลบุรี

นายสุรศักดิ์ บูรพันธ์ พนักงานบริษัทเอกชน

จ. เชียงราย เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จ. ลำพูน

กลุ่มลูกจันทร์บาติก (ผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติก)

กลุ่มสมุนไพรเทศบาล ตำบลพญาเม็งราย (สมุนไพรแปรรูป) กลุ่มผู้ผลิตกาแฟ น.ส.สุมานี สายชลอัมพร ดอยป่าแป๋ และเครื่องดื่ม พนักงานราชการ สมุนไพร (กาแฟลำไย) นายสิริโรจน์ จันทร์ต๊ะ นวดแผนไทย

เส้นทางการก้าวเดินของบุคคลและกลุ่มอาชีพเหล่านี้ น่าสนใจศึกษา เรียนรู้ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่าง และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนเอง และครอบครัวได้เป็นอย่างดี ดังบทความที่จักได้นำเสนอต่อไป

14


“คนวิริยะ” ประเภทบุคคล


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ชีวิตต้องสู้ของลุงแกะ โดย นายเฉลิมชนม์ อินทะยะ นายอิศรา คันธรักษ์

นายสมพงษ์ เข็มเพชร หรือ “ลุงแกะ” เป็นชื่อที่ผู้มาตัดผมเรียกกันอย่างติดปาก เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 ที่โรงพยาบาลเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายคำ เข็มเพชร และนางสมจิตร เข็มเพชร มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 67 หมู่ 10 ตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัด “เพราะมีโอกาส เชี ย งราย มี พี่ น้ อ งทั้ ง หมด 4 คน ลุ ง แกะ ผมจึงมีชีวิตที่ดีได้ แต่ถ้ามี เป็นคนสุดท้อง ในเบื้องต้นเข้ารับการศึกษา โอกาสแล้ว เราไม่ใช้โอกาส ในระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ก็จะมีชีวิตที่ดีไม่ได้” ที่โรงเรียนบ้านเกี๋ยง (คุรุราษฎร์วิทยา) อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ด้วย สภาพของครอบครัวของลุงแกะนั้น มีความยากจน รายได้ไม่พอต่อการยังชีพ บ้านที่พักอาศัยก็มีสภาพ เป็นบ้านไม้ผุพัง มีหนี้สินจากการลงทุนในการ ทำการเกษตร แต่ผลผลิตกลับตกต่ำ ด้วยสภาพ ดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย จนทำให้สมาชิก ในครอบครัวหลายคนต้องออกไปใช้แรงงาน รั บ จ้ า ง ไปทำงานก่ อ สร้ า ง ในบางครั้ ง ที่ ไ ม่ มี การจ้างงาน ครอบครัวของลุงแกะก็เคยตกอยูใ่ นฐานะ ที่เรียกได้ว่า “อดมื้อกินมื้อ” เลยทีเดียว ชีวิต

16


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ในวัยเด็กของลุงแกะจึงไม่ได้ออกไปเที่ยวเล่น เหมื อ นเด็ ก ในวั ย เดี ย วกั น เพราะลุ ง แกะ ต้องออกไปช่วยพ่อแม่รบั จ้างทำงานในวันหยุด เช่น การรับจ้างหักข้าวโพด ทำไร่ ทำนา ตลอดจน การเป็นกรรมกรก่อสร้าง หิ้วปูน ผสมปูน เมื่อต้องไปโรงเรียน ลุงแกะต้องเดินเท้าจากบ้าน ไปโรงเรียน เป็นระยะทางไป-กลับร่วม 15 กิโลเมตร เนือ่ งจากไม่มจี กั รยานเหมือนบ้านอืน่ แต่ความลำบากในชีวิตช่วงนี้ ไม่ได้ทำให้ลุงแกะ ย่อท้อต่อการศึกษาหาความรู้ ลุงแกะยังคงขยัน และตั้งใจเรียนจนสำเร็จจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และสอบเรียนต่อ ในสายอาชีพ (ปวช.) ที่วิทยาลัยการอาชีพเทิง สาขาช่างยนต์ แต่เนื่องจากฐานะ ครอบครั ว ที่ ย ากจน จึ ง ทำให้ ลุ ง แกะไม่ มี เ งิ น ไปลงทะเบี ย นเรี ย น เสมื อ นดั่ ง “หัวใจของเด็กหนุ่มที่พองโตด้วยความดีใจ แต่กลับมาแตกสลายเพราะไม่มี เงินที่จะเรียนต่อ” ลุงแกะเสียโอกาสที่จะได้เรียนต่อในสายอาชีพ แต่ยิ่งกว่าการ เสียโอกาสนั้นคือ ความเสียใจที่ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ ท้อแท้ตัดพ้อกับชีวิตและ โชคชะตาว่า ทำไมชีวิตของตนจึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโชคชะตาเหมือน คนอื่นเขา ชีวิตของเขาเหมือนเจอทางตันมืดแปดด้านไม่รู้ว่าชีวิตจะเดินทางไหน ต่อดี จะเรียนก็ไม่มีเงิน จะทำงานก็ไม่มีอาชีพ ไม่มีความรู้ติดตัว จะเอาแรงกาย ไปแลกกับเงินก็ไม่มีคนว่าจ้าง เนื่องจากตนยังเด็ก นายจ้างไม่อยากเสี่ยงต่อการ ถูกจับ เพราะผิดกฎหมายแรงงาน จึงมักจะถูกปฏิเสธการว่าจ้างเป็นประจำ ทำให้ต้องกลับมานั่งท้อแท้กับชีวิตให้เลื่อนลอยไปวัน ๆ

17


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

เมื่อโอกาสมาถึง... ด้วยความที่ลุงแกะเป็นคนดี ขยัน และกตัญญู เป็นที่รักของครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชน ผู้ใหญ่บ้านได้แนะนำให้ลุงแกะไปฝึกอาชีพ โดยผู้ใหญ่บ้าน จะเป็นผู้รับรอง เนื่องจากมีหน่วยงานราชการที่มีบริการฝึกอาชีพฟรี มีสวัสดิการ ฟรี กิน อยู่ หลับ นอน ฟรีหมดทุกอย่าง แต่เป็นหน่วยงานที่สงเคราะห์และฝึก อาชีพสตรีเป็นหลัก ถ้าผู้ชายไปเรียนต้องได้รับการรับรองความประพฤติจาก ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ฯลฯ จึงสามารถเข้าฝึกอาชีพได้ ลุงแกะจึงตัดสินใจ เข้ามาขอรับบริการที่ “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จั ง หวั ด ลำปาง” (ซึ่ ง แต่ ก่ อ นเรี ย กว่ า “ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง”) ในปี พ.ศ.2543 ในหลักสูตรระยะสั้น 720 ชั่วโมง (6เดื อ น) แผนกตั ด ผมชาย ซึ่ ง ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ในขณะนั้นมีภารกิจในการให้การสงเคราะห์ คุ้มครอง สวัสดิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ฝึกอาชีพแก่สตรีและเยาวชนที่ขาดโอกาสด้าน การศึกษา มีฐานะยากจนให้มคี วามรูด้ า้ นอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติ ปัญญา สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ตกเป็นเหยื่อของ การค้าประเวณี การค้ามนุษย์ หรือถูกบังคับ ถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทำให้ลุงแกะต้องเดินทางออกจากอำเภอเทิงเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยที่การ เดินทางครั้งนี้นับว่า เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตลุงแกะที่ออกจากทางตันที่มืดมิด เป็นการเดินทางที่เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้กับชีวิตและโชคชะตาที่ต่อไปนี้ ลุงแกะจะเป็นคนลิขิตเอง

18


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ระหว่างการฝึกอบรมอาชีพในแผนกตัดผมชายนัน้ ลุงแกะได้ตงั้ ใจเรียนรู้ และฝึกฝนฝีมือจากครูผู้สอนอย่างตั้งใจ คอยซักถามเวลามีข้อสงสัย และหมั่น ฝึกฝนทักษะจนมีฝีมือการตัดผมชายเป็นที่ยอมรับจากครูฝึกอาชีพ จากเจ้าหน้าที่ ที่เข้ามารับบริการในระหว่างการอบรมจนเป็นที่ชื่นชม อีกทั้งลุงแกะยังเป็นที่รัก ต่อครูแผนก ครูพ่อบ้านเรือนนอน ครูเวรโรงอาหาร เนื่องจากลุงแกะเป็นคนที่ ไม่อยู่นิ่งเฉยทั้งงานทำความสะอาดแผนกเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอน สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ อาคารฝึกอาชีพไม่ให้มีหญ้ารกรุงรัง บริเวณเรือนนอนไม่ให้ สกปรก และโรงอาหารที่ ลุ ง แกะคอยลงไปช่ ว ยเจ้ า หน้ า ที่ ป ระกอบอาหาร อยู่เป็นประจำ โดยลุงแกะบอกว่า “ศูนย์ฯ ให้อาชีพ ให้ทพี่ กั ให้ขา้ วกิน ให้ทกุ ๆ อย่าง ไม่ให้เราได้เดือดร้อนเสียเงินเสียทองเลย อะไรทีเ่ ราพอจะช่วยศูนย์ฯ ช่วยครูได้ เราก็ควรทำ” ยิ่งกว่าการฝึกอาชีพและการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในขณะที่ดำรงชีวิตในศูนย์ฯ แต่ลุงแกะยังได้รับการอบรมความรู้ต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ทางสังคม กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ เช่น กฎหมายแรงงาน และ ความรู้อื่น ๆ ที่ผู้รับการฝึกอบรมควรได้รับเพื่อเป็นเกราะคุ้มกันเมื่อต้องไปทำงาน จะได้ไม่ถูกหลอกและเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งสวัสดิการที่ให้นอกจากการดำรง ชีวิตในศูนย์ฯ เช่น ทุนสงเคราะห์ครอบครัว เนื่องจากครอบครัวลุงแกะมีฐานะ ยากจน ในขณะที่ลุงแกะออกมาฝึกอาชีพ ทำให้ครอบครัวลุงแกะเสียแรงงาน ในการช่ ว ยเหลื อ ครอบครั ว อี ก ทั้ ง ค่ า รถกลั บ บ้ า นให้ แ ก่ ลุ ง แกะเมื่ อ สำเร็ จ การฝึกอบรม หลังจากสำเร็จการฝึกอบรม ลุงแกะได้เลือกเดินทางกลับมาประกอบ อาชีพตัดผมชายที่ภูมิลำเนาของตนเองในอำเภอเทิง ซึ่งในแต่ละวัน ลุงแกะ ต้องปั่นจักรยานจากบ้านเพื่อไปต่อรถประจำทางไปยังตัวอำเภอเทิง (ไปกลับ 30 กม.) เพื่อไปทำงานที่ร้าน “เทิงบาร์เบอร์” ซึ่งในตอนแรกได้มาเป็นลูกจ้างของร้าน โดยได้ รั บ ค่ า ตอบแทนเป็ น เงิ น เหมาจ่ า ยรายเดื อ น ๆ ละ 2,100 บาท ซึ่ ง ก็ ประกอบอาชีพที่ฝึกมาได้แค่ 6 เดือน แต่เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อหนี้สิน ของที่บ้าน และความลำบากของการเดินทางไปทำงาน ทำให้ลุงแกะตัดสินใจ เข้ากรุงเทพตามบิดาไปรับจ้างประกอบอาชีพเป็นกรรมกรก่อสร้าง แบกหาม ที่เขตมีนบุรี ร่วม 1 ปี โดยได้รับค่าแรง 150 บาท ต่อวัน

19


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ความห่วงใยของครู... ในระหว่างนั้น ศูนย์ฯ ได้มีการติดตามผล ของการฝึกอาชีพ โดย อาจารย์นวลจันทร์ เจริญจริง ครูฝึกอาชีพสงเคราะห์ ส.3 อาจารย์แผนกเสริมสวย และตัดผมชาย ได้ตดิ ตาม ใส่ใจ ถามไถ่ ถึงชีวติ ความเป็นอยู่ ของลู ก ศิ ษ ย์ ทุ ก คน เมื่ อ รู้ ว่ า ลุ ง แกะมี ร ายได้ น้ อ ย ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายอีกทั้งยังไปใช้แรงงานหนัก จึงพยายามโทรศัพท์ติดต่อ ชักชวนให้ลุงแกะกลับมาทำงานแถวบ้าน ซึ่งยังมีเครือข่าย ร้านทำผมมากมายที่ยังต้องการช่างตัดผม ครั้นลุงแกะได้ยิน ครูนวลจันทร์ ทางโทรศัพท์อย่างนั้นแล้ว ก็รู้สึกซาบซึ้ง น้ำตาลูกผู้ชายก็ได้ไหลออกมาอาบสองแก้ม เสมือนได้ยิน คำถามไถ่ของมารดาที่โทรถามความเป็นอยู่ของลูกชายว่า “แกะทำไมต้องไปทำงานลำบากแลกเงินนิดเดียว ชีวิต ความเป็ น อยู่ ก็ ล ำบาก แกะอย่าลืมว่าแกะมีความรู้ มีอาชีพติดตัวนะกลับมาที่ศูนย์ฯ นะ เดี๋ยวครู จะพาไปทำงานทีจ่ งั หวัดลำพูน” ลุงแกะจึงตัดสินใจ ขอบิดาเดินทางกลับมาทำงานตามทีค่ รูนวลจันทร์ แนะนำ ทำให้ชีวิตของลุงแกะหันเหกลับมาสู่ อาชีพช่างตัดผมอีกครั้งหนึ่ง

20


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

รุ่นพี่ รุ่นน้อง

“ร้านอานาบาร์เบอร์” จังหวัดลำพูน เป็นร้านตัดผมชายทีค่ รูนวลจันทร์ พาแกะมาฝากทำงานกับรุน่ พีท่ จี่ บจากศูนย์ฯ เช่นเดียวกันทำงานอยู่ ซึง่ เป็นร้านแรก ที่ลุงแกะเป็นช่างตัดผมอย่างจริงจัง โดยมีรายได้ครึ่งหนึ่งต่อการตัดผมหนึ่งคน ซึ่งทำให้ลุงแกะมีรายได้ถึง 9,000 บาท ต่อเดือน ลุงแกะจึงมีกำลังใจและมี ทัศนะคติใหม่กับอาชีพช่างตัดผม เพราะเดิมทีลุงแกะไม่นึกว่ารายได้ของร้าน ตัดผมจะดีแบบนี้ ที่ตนสามารถมีกินมีใช้ และยังมีเหลือส่งให้ที่บ้าน และมีแรง จูงใจทำให้มีความฝันที่อยากจะมีร้านเป็นของตัวเอง ฝันว่าจะได้ตกแต่งร้าน ในแบบของตนเอง มีรายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ลุงแกะก็ยังประมาณตนเองว่า ถ้าฝีมือขนาดนี้ คงยังเป็นได้แค่ลูกน้อง เป็นช่างตัดผมโต๊ะเสริม คอยตัดผมให้กับ เด็กหรือลูกค้าอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ตอ้ งการรอช่างตัดผมหลัก ลุงแกะมีความนอบน้อมถ่อมตัว คอยถาม และสังเกตวิธีการตัดผมชายจากรุ่นพี่ที่เป็นช่างหลักของร้าน และ สะสมประสบการณ์การตัดผมอยู่ตลอด 2 ปี ที่ทำงานอยู่กับอานาบาร์เบอร์ แต่ลงุ แกะก็ได้ยา้ ยร้านตัดผมเนือ่ งจากเจ้าของร้านอานาบาร์เบอร์เปลีย่ นธุรกิจจาก ร้านตัดผมไปประกอบธุรกิจอื่น ทำให้ลุงแกะย้ายไป “ร้านลำพูนบาร์เบอร์” ซึ่ ง เป็ น ร้ า นตั ด ผมใหญ่ ข องจั ง หวั ด ลำพู น โดยทางร้ า นลำพู น บาร์ เ บอร์ ไ ด้ ใ ห้ ค่าตอบแทนในอัตราการตัดผมครึ่งต่อครึ่งเช่นเดียวกับร้านอานาบาร์เบอร์ แต่มี ลูกค้ามากกว่า ประกอบกับลุงแกะเริ่มมีลูกค้าขาประจำตามมาจากร้านเดิม ทำให้ลุงแกะมีรายได้ต่อเดือนสูงถึง 10,000 – 15,000 บาท ในระยะเวลา 4 ปี ทีล่ งุ แกะได้เป็นช่างตัดผมทีร่ า้ นลำพูนบาร์เบอร์นนั้ ได้สะสมประสบการณ์ เทคนิค การตัดผมชายจากร้านและรุ่นพี่ จนทำให้ฝีมือลุงแกะเป็นที่ยอมรับ มีลูกค้า ขาประจำจำนวนมาก อีกทัง้ การทีล่ งุ แกะเป็นคนทีม่ คี วามคิดสร้างสรรค์ทไี่ ม่หยุดนิง่ จึ ง ได้ ค้ น คว้ า หาความรู้ เทคนิ ค การตั ด ผมอยู่ เ ป็ น ประจำทั้ ง การไปดู เ ทคนิ ค การตัดผมจากการประกวด การแข่งขัน การโชว์ตัดผมในที่ต่าง ๆ ทั้งในจังหวัด ลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย หรือในจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ

21


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ตลอดจนการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต เช่น ทรงผมที่ทันสมัย ในปีนั้น ๆ วีดีโอการสอนตัดผมแบบต่าง ๆ ใน YouTube ซึ่งก็ทำให้ลุงแกะ มีเทคนิคและสไตล์การตัดผมทีไ่ ม่เหมือนกับใคร ๆ และมีลกู ค้าในกลุม่ ต่าง ๆ เช่น วัยรุ่น เด็กนักเรียน ผู้ใหญ่ วัยทำงาน ที่มากขึ้น

ก้าวใหม่ของชีวิต เมื่อมาถึงปีที่ 6 ในอาชีพตัดผมของลุงแกะ ลุงแกะได้เดินตามฝันของ ตนเอง คือเป็นเจ้าของร้านตัดผม โดยลุงแกะได้เลือกพื้นที่อำเภอป่าซาง ซึ่งเป็น อำเภอใหญ่ ผู้คนเยอะ เจริญทัดเทียมกับอำเภอเมืองลำพูนก็ว่าได้ เนื่องจากเป็น อำเภอทีต่ ดิ กับอำเภอเมืองลำพูน และห่างออกไปไม่ไกลนัก ประกอบกับยังไม่คอ่ ย มีร้านตัดผมชายสไตล์ของลุงแกะ ลุงแกะจึงขอออกจากร้านลำพูนบาร์เบอร์ มาเช่าห้องเล็ก ๆ ข้าง ๆ ที่ว่าการอำเภอป่าซาง เป็นร้านตัดผมของตัวเอง ซึ่งใน ระยะแรก (ปีแรก) ก็ยงั ไม่ได้เป็นทีย่ อมรับจากคนในอำเภอป่าซาง เพราะคนท้องถิน่ ที่นั่นยังไม่รู้จัก แต่ก็ยังมีลูกค้าขาประจำที่ตามมาจากร้านลำพูนบาร์เบอร์อยู่บ้าง พอปีต่อ ๆ มา ร้านของลุงแกะก็เริ่มเป็นที่นิยม และเป็นที่รู้จักของคนป่าซาง และอำเภอเมื อ ง ลุ ง แกะเปิ ด ร้ า นข้ า งที่ ว่ า การอำเภอป่ า ซางเป็ น เวลาถึ ง 8 ปี แต่ก็ประสบปัญหาด้วยสภาพร้านที่แคบ หาที่จอดรถยาก และลุงแกะ ก็ไม่ สามารถรับลูกค้าได้ทัน เนื่องจากมีลูกค้าประจำที่ต้องการตัดผมกับลุงแกะ เป็นจำนวนมาก ลุงแกะจึงขยายร้าน โดยไปเช่าตึกแถวขนาดใหญ่บริเวณตลาด แม่ทองริว้ ทีม่ คี วามสะดวกในการจอดรถ และมีพนื้ ทีใ่ นการขยายโต๊ะตัดผม โดยดึง ช่างที่มีฝีมือเข้ามาช่วยตัดในร้านให้เพิ่มขึ้น และมีการตกแต่งร้านให้ทันกับสมัย นิยมมากขึน้ ให้เป็นทีน่ า่ สนใจ โดยตัง้ ชือ่ ร้านว่า “ลุงแกะ สถานีเหลาหัว” อีกทัง้ ให้แฟนสาวของลุงแกะ “กาญ” เข้ามาช่วยตัดผม ในขณะนั้นกาญมีอาชีพเป็น พนั ก งานในนิ ค มอุ ต าสาหกรรมลำพู น แต่ ก็ ท ำงานจนไม่ มี เวลาอยู่ ด้ ว ยกั น

22


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

เนื่ อ งจากต้ อ งทำงานเป็ น กะ การพั ก ผ่ อ น ไม่เต็มที่ทำให้สุขภาพกาญไม่ค่อยดีนัก ลุงแกะ จึงเสนอให้กาญออกมาเป็นช่างตัดผมในร้าน อีกคน ลุงแกะจึงชักชวนกาญให้ออกจากงานและ ไปฝึกอาชีพ “ตัดผมชาย” ที่ “ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จั ง หวั ด ลำปาง” ซึ่ ง เป็ น ที่ เ ดี ย วกั บ ที่ ลุ ง แกะได้ ไ ปฝึ ก อาชี พ กาญได้ ตั ด สิ น ใจ ออกจากงานแล้วไปฝึกอาชีพ และเข้าไปช่วยลุงแกะตัดผมที่ร้านอีกทั้งในปัจจุบัน ยังส่ง “หลานของลุงแกะ” ที่มาอาศัยอยู่ด้วยที่ร้านไปฝึกอาชีพที่ “ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน” (ปัจจุบันกำลังฝึกอาชีพ) เพื่อมาช่วยตัดผมที่ร้านอีกคน จากการย้ายร้าน และการปรับปรุงร้านนั้น 2 ปีที่ทำการตัดผม ร้านใหม่ ของลุงแกะ ทำให้ร้านลุงแกะรับลูกค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้ชื่อของ “ลุงแกะ สถานี เหลาหัว” มีชื่อเสียงมากขึ้น ปัจจุบันสามารถรับลูกค้าได้ถึง 3 โต๊ะตัดผม โดยมี ลุงแกะ กาญ และช่างตัดผมอีกคนหนึ่ง และในอนาคตจะเพิ่มอีก 1 โต๊ะ สามารถทำรายได้สงู ถึง 50,000 – 60,000 บาท ต่อเดือน “ร้านลุงแกะสถานีเหลาหัว” จึงเป็นร้านตัดผมชาย ที่มีลูกค้าทุกกลุ่มวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงวัย เข้ามาตัดผมอยู่เป็นประจำ จนต้อง ทำคิวตัดผม และมีการโทรนัดกับลุงแกะ เพื่อมาตัดผม ตลอดจนลูกค้าเก่าจาก ร้านลำพูนบาร์เบอร์ ข้างที่ว่าการอำเภอ ป่าซางก็ยังตามมาตัดผม ขนาดนายอำเภอ แม่ทา ซึ่งเป็นอำเภอที่อยู่ไกลจากอำเภอ

23


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ป่าซางก็ยังขับรถมาตัดผมกับลุงแกะ คงเป็น เพราะลุงแกะมีฝมี อื การตัดผมชายทีเ่ ยีย่ มยอด ขาว นวล กลมกลืนตามแบบฉบับของ การตัดผมชาย และสไตล์การตัดผมทีต่ อบ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า เช่ น ทรง UNDERCUT ทรง VINTAGE ทรง INDY การแกะลายต่าง ๆ บนศีรษะ ฯลฯ ประกอบกับลุงแกะเป็นคนอัธยาศัยดี พูดคุยสนุก เป็นกันเอง มีการใส่ใจลูกค้า โดยมีน้ำดื่มบริการ แอร์เย็น มีทีวีให้ดู มีเพลงให้ฟัง อีกทั้งมี wifi ให้เล่นในระหว่างรอ ทำให้ลกู ค้า มีความพึงพอใจ เป็นอย่างมาก ทำให้ร้านลุงแกะมีลูกค้าเข้ามา ไม่ขาดสาย ในแต่ละวันจนแทบไม่ได้นั่งพักและ พักทานข้าวกลางวันเลยทีเดียว

แบ่งบันสู่สังคม จากการที่ลุงแกะเคยเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสในการศึกษา ในการทำงาน จากศูนย์ฯ จากครูนวลจันทร์ และรุ่นพี่ ทำให้ชีวิตในตอนนี้ลุงแกะมีอยู่ มีกิน แบบสบาย มีรถยนต์เป็นของตนเอง สามารถปลดหนี้สินให้กับครอบครัวและ ยังสามารถดูแลครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้น นอกเหนือจากการดูแลตนเองและ ครอบครัวนั้น ลุงแกะยังมีสำนึกที่จะแบ่งปันผู้อื่นอยู่เสมอด้วยการออกไปช่วย ตั ด ผมฟรี กั บ มู ล นิ ธิ ต่ า ง ๆ และยั ง ตั ด ผมฟรี แ ก่ ผู้ ย ากไร้ และบริ ก ารฟรี กั บ ลูกค้าในพื้นที่ในจำนวน 9 คนของทุกเดือน เพื่อถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9

24


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ในการทำความดีตามรอยพ่อหลวง การเข้าไปเป็นวิทยากรสอนตัดผมให้กบั เรือนจำ จังหวัดลำพูน เป็นครูช่วยสอนกับภรรยาที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน และการช่วยเหลือ ผู้ยากไร้อื่น ๆ ในอนาคตลุงแกะอยากจะมีตึกแถวเป็นของตนเอง โดยเปิดร้านตัดผม อยู่ ข้ า งล่ า ง และชั้ น บนก็ จ ะเป็ น บ้ า นไว้ อ าศั ย และเตรี ย มไว้ ส ำหรั บ ลู ก น้ อ ย ในอนาคต ซึง่ ตอนนีล้ งุ แกะยังไม่อยากจะกูห้ นีย้ มื สินมากนัก จึงตัง้ หน้าตัง้ ตาทำงาน รักษาคุณภาพการให้บริการตัดผม พัฒนาปรับปรุงตนเองเสมอมา เพื่อเก็บหอม รอมริบในการต่อยอดความฝันในอนาคตให้สมบูรณ์

บทสรุป

บทสรุปของชีวิตลุงแกะที่ผู้เขียนได้บรรยายมานั้น เสมือนกับการพลิก หน้ามือเป็นหลังมือจากเด็กในครอบครัวยากจนที่มีหนี้สินจำนวนมากสู่การเลือก ประกอบอาชี พ ของตนเอง ที่ ต่ า งจากฝั น ของใครหลาย ๆ คนที่ เ ฝ้ า จะเรี ย น ในระบบการศึกษา แต่ลุงแกะเลือกที่จะเดินตามฝัน การเรียนรู้จากชีวิตของคน ใช้การทำงานการใฝ่หาความรู้ เป็นการศึกษานอกระบบโดยมีตัวเองเป็นครู จนประสบผลสำเร็จในชีวิตในการทำงาน ชีวิตคู่จนสามารถเกื้อหนุน จุนเจือกับ ครอบครัวของตนและภรรยาได้อย่างมีความสุข

สุดท้ายนี้

ลุงแกะอยากให้ศูนย์ฯ ดำเนินการฝึกอาชีพแก่ประชาชนต่อไป ไม่ว่า จะเป็นเพศไหน ๆ เพราะบางทีผชู้ ายก็เป็นบุคคลในครอบครัวทีข่ าดโอกาส ในการ ดำเนินชีวิตที่ดี โดยลุงแกะได้พูดอยู่เสมอว่า “เพราะมีโอกาส ผมจึงสามารถ มีชีวิตที่ดีได้ แต่ถ้ามีโอกาสแล้วเราไม่ใช้โอกาส ก็มีชีวิตที่ดีไม่ได้ และศูนย์ฯ ก็ให้โอกาสนั้นแก่ผม จึงทำให้ผมมีวันนี้ได้ ขอขอบคุณศูนย์ฯ ขอบคุณแม่นวล ครับ”

25


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

คุณค่าแห่งลมหายใจ โดย นางสาวอรวรรณ อยู่อ้อน นางสาววิภาดา แก่นจันทร์หอม

เมื่ อ กล่ า วถึ ง ภั ย แล้ ง เราทุ ก คนย่ อ มรู้ ดี ถึ ง สภาพความเสี ย หายที่ จ ะตามมาต่ อ ผลผลิ ต ในภาค เกษตรกรรมซึ่ ง เป็ น อาชี พ ที่ ขึ้ น อยู่ กั บ สภาพดิ น ฟ้ า อากาศเป็นหลัก และ นางสาวสุรีวรรณ เกิดสิริ หรือ “ตา” อายุ 39 ปี ผู้อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 17 ตำบลหนองปลิง อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหนึง่ ในเกษตรกร ชาวไร่ออ้ ย ไร่มนั สำปะหลัง ทีใ่ นช่วง ปี พ.ศ. 2559 ประสบปั ญ หาภั ย แล้ ง อย่ า งรุ น แรง ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้หลัก เกิดความไม่แน่นอนในชีวติ มากยิง่ ขึน้ ทั้งที่ตนเองก็มีฐานะยากจน หนี้สินล้นตัว และต้องเลี้ยงดูบุตรชายวัยกำลังเรียน อี ก 2 คน คุ ณ ตาเป็ น ผู้ ไ ด้ รั บ คั ด เลื อ กให้ เ ป็ น บุ ค คลตั ว อย่ า งที่ ป ระสบความ สำเร็จในการดำเนินชีวิต ภายหลังการได้เข้ารับการอบรมและฝึกวิชาชีพจาก “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุร”ี คุณตาถ่ายทอด ถึงความเป็นมา และปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในชีวิต อันภาคภูมิใจ ซึ่งอยากส่งต่อให้ผู้ขาดความเชื่อมั่น ในตนเองเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวติ ถึงเรือ่ งราว ที่พลิกชีวิตของตนเองจนก่อให้เกิดเป็นคุณค่า แห่งลมหายใจว่า...“เพราะความแล้ง และอยากมี รายได้เสริม จึงทำให้ชีวิตเปลี่ยน”

26


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

คุณตาเล่าว่า เมื่อครั้งที่ตนเอง ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ไม่มี รายได้เลี้ยงปากท้องและคนในครอบครัว จึงคิดปรึกษากับเพื่อนบ้านที่รู้จักกัน ซึ่งมีอาชีพรับจ้างเย็บผ้าว่า ในหมู่บ้าน ของเราเกือบทุกครอบครัวก็เป็นเกษตรกร เมื่อประสบปัญหาภัยแล้ง งานในไร่ก็ไม่มี แม้แต่งานรับจ้างเย็บผ้าทีม่ คี นนำเข้ามาในหมูบ่ า้ นเพือ่ ทำเป็นอาชีพเสริมอยูต่ รงหน้า ก็ ท ำไม่ ไ ด้ เ พราะไม่ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะ ซึ่ ง เป็ น แรงขั บ ทำให้ ต นเองอยากมี ความรู้ และทักษะในการตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อหารายได้เข้าครอบครัว เพื่อนบ้าน ให้คำแนะนำว่า จะมาเย็บร่วมกันได้ แต่ต้องซื้อจักรมาเองแล้วจะสอนให้ ถือเป็น เรื่องที่ดี แต่ในใจคิดว่าถ้าเราทำไม่ได้ก็ต้องเสียเงินฟรี!!! แต่ก็ยังนับว่าโชคดีของ ชะตาชีวิตที่พอรุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านได้ประกาศประชาสัมพันธ์ออกเสียงตามสาย ให้คนที่สนใจไปเรียนอาชีพฟรี แค่เดือนเดียว แล้วสามารถตัดเย็บได้ มีที่อยู่ ที่พัก ข้าวปลาอาหารฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย จึงรีบไปติดต่อที่บ้านผู้ใหญ่ ด้วยความหวังว่าไปเรียนแล้วกลับมาต้องตัดเย็บได้ ปนกับความสงสัยว่ามันมีทไี่ หนเหรอ ที่ จ ะสอนเราให้ เ ป็ น ได้ ข นาดนั้ น ภายในเดื อ นเดี ย ว แล้ ว เมื่ อ ได้ รั บ แผ่ น พั บ ประชาสั ม พั น ธ์ ข อง “ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี” จึงรีบโทรติดต่อไป ก็มีคุณครูรับเรื่องการสมัครเรียนแบบผู้ใช้ บริการประเภทประจำไว้ให้ทันที เพราะเหตุที่ไม่สะดวกในการเดินทางไกล และ แจ้งว่าในวันที่เปิดเรียนสามารถเตรียมตัวเข้ามาพักได้เลย ถ้าลืม...หรืออย่างไร เดี๋ยวจะโทรไปตามนะ ด้วยความดีใจที่มีหวังจะได้มีทักษะในอาชีพเย็บผ้าแล้ว จึงกลับมาปรึกษาทัง้ กับแม่ และสามีวา่ ไปได้ไหม สามีกบ็ อกว่า “อย่าไปเลย มันฟรี จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ ถ้าเกิดเอ็งไปแล้ว ไปคนเดียวทั้งที่เอ็งไม่เคยไป จะทำ อย่างไร เกิดไปแล้ว มันไม่มีจริง...! เงินในตัวก็ไม่มี” จนกลายเป็นปากเสียง ใหญ่โต

27


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ถึงขนาดยื่นคำขาด “ถ้าก้าวออก จากบ้านไปก็เลิกกัน” แต่เพราะปากท้อง ไม่มีจะกิน ยังไงก็ต้องตัดสินใจไปเรียนรู้ หาทักษะ เลยตัดสินใจ ไปขอรับจ้างแม่ ตัดกระถิน แต่ดว้ ยความเป็นแม่คน แม่เลย บอกว่า ไม่เป็นไร เดี๋ยวแม่ออกค่ารถให้ไป... พอยิ่งใกล้วันเปิดเรียนก็กังวลว่าจะไปอย่างไร...นนทบุรี เราไม่เคยไป ไม่รู้จัก จะไปยังไง และด้วยความบังเอิญมีเพือ่ นรับจ้างขับรถบรรทุก จึงได้แนะนำเส้นทางให้ บวกกับอาศัยถามทางเขา ไปเรื่ อ ยจนถึ ง ปากเกร็ ด ด้วยความหวัง และตั้งใจไว้สูง มากว่าเดือนเดียว เย็บได้ ตัดได้ เราก็มลี กู เล็ก ไปแค่เดือนเดียว ช่ ว งปิ ด เทอมลู ก ก็ ไ ม่ เ ป็ น ไร แต่พอไปถึงที่แล้ว มันไม่ใช่..! เพราะเมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ ผู้รับสมัครได้ถามถึงประวัติความเป็นมาว่า เดินทางมา จากไหน ทำไมถึงตั้งใจที่จะมาเรียน แล้วก็ได้ให้คำแนะนำ ขั้นตอนพร้อมวิธีการเข้ารับการอบรม และฝึกวิชาชีพอย่างละเอียดจนเข้าใจ ว่าจริง ๆ แล้ว ตนต้องเรียนหลักสูตร 6 เดือน ... โอ้โฮ... ความหวังลดลงมาเลยถอดใจแล้ว 6 เดือนเราอยู่ไม่ได้ จะอยู่อย่างไร อยู่ได้ รึเปล่าหนอ??? ลูกก็ยังเล็กแค่ 3 ขวบ กว่า ๆ เอง ต้องไปโรงเรียน ใครจะ ดูแล???

28


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ณ วินาทีนั้นตัดสินใจถามเลยว่ารับแค่ 1 เดือนไหม เอาแค่เรากลับมา เย็บผ้าโหล เย็บกางเกง เจ เจ กับเขาได้ ทางเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครก็ได้ไปปรึกษา กับครูผู้สอนให้ว่า พอจะมีทางใดช่วยเหลือเราได้บ้าง ซึ่งเมื่อได้พบกับครูผู้สอน เขาก็ถามว่า “ในใจตัง้ เป้าหมายกับตัวเองว่าจะเรียนแค่ไหน เอาแค่เย็บเก่ง ตัดได้ หรืออย่างไร” ตนเองจึงได้บอกไปว่า “ครู...ในหมู่บ้านของหนูเขาเย็บกางเกง เจ เจ กัน หนูมีปัญหาคือไม่มีเงินซื้อจักรแล้วก็เย็บไม่เป็นเลย แต่อยากจะมี อาชีพเลี้ยงตัวและครอบครัว เพราะเมื่อฝนตก น้ำท่วม ภัยแล้ง หนูก็จะได้มี อาชี พ เสริ ม กั บ เขา เพราะลู ก หนู ก ำลั ง อยู่ ใ นวั ย เรี ย น” ครู ผู้ ส อนจึ ง ได้ ใ ห้ คำแนะนำว่า เรียนไป 120 ชั่วโมงก็ได้ เอาแค่ใช้จักรให้เป็น เปิด-ปิดเครื่องได้ ร้อยด้ายให้คล่องมือ ส่วนเรื่องเข้าตัว เดี๋ยวพออยู่กับเพื่อน ๆ ก็จะคอยสอน แล้วก็จะทำได้เอง ก็ตัดสินใจสมัครเรียนเลย ขณะอยู่ ที่ ศู น ย์ ฯ ได้ เรี ย นรู้ วิ ช าชี พ ติ ด ตั ว มามากเกิ น กว่ า ที่ ห วั ง เยอะ ท่านผู้อำนวยการศูนย์ฯ ก็ได้ให้คุณครูมาช่วยสอนเป็นพิเศษแบบเร่งรัดในช่วง นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติ และครูผู้สอนคอยให้กำลังใจ และสอนให้คิดว่า “คนเราอย่าคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ให้เชื่อมั่นในตัวเอง ต้องทำได้ทุกอย่างบนโลกนี้ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราเปลี่ยนตัวเอง เราก็สามารถทำได้” จึงนับว่า เป็นประโยคที่เปลี่ยนชีวิตในหลายๆ เรื่อง เช่น จากกลัวเครื่องจักรกลายเป็น คนไม่กลัวสามารถเย็บเสือ้ ผ้าเป็นตัว ๆ ได้ ด้วยความเป็นผูใ้ ช้บริการประเภทประจำ ยังได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้านจากครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่คอยช่วยเหลือในทุกเรื่องจนเรียนจบ อาทิ การมีวินัยในตนเอง จากเดิมเป็น คนขี้เกียจ เอาแต่ใจตนเอง เพราะท้อไม่รู้ว่าเราจะทำไปเพื่ออะไร แล้วจะได้อะไร พอได้เข้าไปอยู่ที่ศูนย์ฯ มีเวลาให้กิน ให้ฝึกอบรม ให้นอน ก็เหมือนได้ฝึกวินัย ในตนเอง การมีสมาธิที่ได้รับจากการไปเข้าค่ายธรรมะ จากที่ตนเองเป็นคนไม่มี สมาธิ ใ นการทำงานก็ มี ส มาธิ ม ากขึ้ น โดยเมื่ อ กลั บ มาอยู่ ที่ บ้ า นภายหลั ง

29


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

สำเร็ จ การอบรมและฝึ ก วิ ช าชี พ ได้ ตั้ ง เป้ า หมายไว้ กั บ ตนเองว่ า อย่ า งน้ อ ย เราต้ อ งเปลี่ ย นนิ สั ย ตั ว เราและก็ ท ำได้ จากเป็ น คนขี้ เ กี ย จ ตื่ น เช้ า มาหุ ง ข้ า ว หาอาหาร ก็กระตือรือร้นทีจ่ ะมาทำอะไรให้ครอบครัวมากขึน้ จนสามีบอกว่า “ถ้ารู้ ว่าดีอย่างนี้ จะส่งไปเรียนตั้งนานแล้ว” เปลี่ยนความคิดใหม่ว่าเราต้องทำงาน แข่งกับเวลา เมื่อเรามีอาชีพเย็บผ้าเสริมขึ้นมา ต้องแบ่งเวลา ต้องไปตัดกระถิน ต้องไปทำงานในไร่ ต้องมีเวลาให้ลูก มีความหวังมากขึ้น ก็จะคอยพูดกับตนเอง ว่า “วันนี้ถ้าเรามีเวลาว่างได้มานั่งเย็บจักร ถึงตัวหนึ่งจะได้ราคาไม่มาก เช่น ตัวละ 2 บาท เย็บได้ 10 ตัว อย่างน้อยก็มีเงิน 20 บาท ให้ลูกคนเล็ก ไปโรงเรียนได้ในแต่ละวัน” ภายหลังจากจบหลักสูตร ศูนย์ฯ ได้ให้ยืมจักรมาใช้ ประกอบอาชีพพร้อมมาติดตั้งให้ที่บ้าน ให้ทุน และหางานรองรับให้ในเบื้องต้น ซึ่งเมื่อหมดงานก็ได้ไปขอรับงานเย็บผ้าโหล กางเกง เจ เจ มาเย็บสร้างรายได้ เสริมตามที่ตั้งความหวังไว้แต่แรก โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนบ้านที่เคยไป ขอคำปรึกษาก่อนไปเข้ารับการฝึกอบรมในการช่วยหางานให้ คอยให้คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาในทุกเรื่อง เมื่อมีรายได้เข้ามา ถึงแม้ว่ามันไม่ได้มากอะไร แต่เราไม่ได้ไปขอใครมากินจนเป็นหนี้สินเหมือนแต่ก่อน และเราสามารถมีเงิน ไปคืนเจ้าหนี้ได้บ้างทีละนิดหน่อยจนหมด อนาคต “คุณตา” วางเป้าหมายไว้ว่า จะเก็บเงินก้อนต่อไปที่ได้มาจาก การเย็บผ้าเพื่อนำไปลงทุนตัดกางเกงขายตามตลาดนัด เป็นยี่ห้อของตนเอง ตามคำที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเคยสอนให้ “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ” ก็ยังคงจำไว้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต “คุณตา” บอกว่าความภูมใิ จทีม่ ใี ห้กบั ตนเองและครอบครัว อีกเรือ่ งหนึง่ คือ บอกได้เลยว่าตัดสินใจไม่ผิดที่เข้าไปรับการอบรมที่ศูนย์ฯ เพราะทำให้เธอมี วิ ธี คิ ด ที่ เ ปลี่ ย นชี วิ ต เปลี่ ย นนิ สั ย เป็ น คนที่ มี คุ ณ ค่ า ในตั ว เองและ สำหรับชุมชนมากขึ้นในโอกาสต่าง ๆ อาทิ ได้รับให้เป็นกรรมการที่ปรึกษา

30


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ของโรงเรียนในชุมชน “จนทุกวันนีไ้ ม่มคี ำว่าท้อในชีวติ ถึงแม้จะมีความท้อเข้ามา ก็ถอยไม่ได้ เพราะก่อนหน้าทุกคนช่วยส่งเสริมความหวังของเราไม่เคยทิ้งเรา เราจะให้พวกเขาผิดหวังไม่ได้” สิ่ ง ที่ อ ยากฝากถึงคนที่สนใจจะเข้ามารับการอบรมและฝึกวิชาชีพที่ “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี” บอกได้ เลยว่า ที่นี้สามารถช่วยคุณได้เต็มที่ทุกอย่าง หลักสูตรการเรียนการสอนก็เข้าใจ ง่าย คำสอนของครูทุกคนนั้นแฝงเมตตา เมื่อกลับมาคิดดี ๆ มันคือเรื่องจริง ที่สามารถทำให้เราสู้ คุณลองถามตัวเองดูว่าเปิดใจรับได้ไหม แล้วจะสามารถ ช่วยอะไรตัวเองให้ได้พฒ ั นาอย่างเต็มทีต่ อ่ ไปเพราะ “ครูทกุ คนทีศ่ นู ย์ฯ เขาเต็มร้อย ตัวท่านเต็มร้อยไหมที่จะช่วยตัวเอง”

31


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ความในใจของ “อุ๊” : ชีวิต ที่ผกผันกับความฝันของเธอ โดย นางจุฬาลักษณ์ นวลจันทร์ นางสาววรรพิรัญญา อินทร์โท

“เหตุที่เลือกการนวดแผนไทยเป็นอาชีพ ไม่ ไ ด้ อ ยู่ ที่ ร ายได้ ห รื อ เงิ น จำนวนมาก แต่ มั น ขึ้นอยู่กับการได้เป็นผู้ให้ ให้สังคม ให้ความสุข ให้ ผู้คนได้ผ่อนคลายจากความเจ็บปวด ถ้าเรานวด หวังแต่เงิน เราจะไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ นี่เป็นสิ่งที่ ฉันใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวและถือปฏิบัติ หลังจาก ที่ ฉั น ผ่ า นชี วิ ต ที่ ล้ ม เหลว การยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในตนเอง หลงงมงายในอบายมุข กิน เที่ยว เล่น การพนัน ต่อสูก้ บั ปัญหาอุปสรรคจากการไม่ได้รบั การยอมรับจากสังคม จนสามารถ ยืนหยัดในสังคมได้ ความสุขในปัจจุบันล้วนได้จากการเรียนรู้ชีวิตที่ผ่านมา” ก่ อ น อื่ น ฉั น ต้ อ ง ข อ ข อ บ คุ ณ “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภา จังหวัดขอนแก่น” ที่ได้ให้โอกาส ที่ท ำให้ ฉั น ยื น หยั ด ได้ ถึ ง ทุ ก วั น นี้ ฉั น ชื่ อ “นายสาธิตาพงศ์ รักพวก” ชื่อเล่นของฉัน คือ“อุ๊”

32


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ฉันมีเพศสภาพเป็นผู้ชายแต่กำเนิด ฉันเป็นลูกชาวไร่ ชาวนา บ้านเกิด อยู่ที่ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ครอบครัวฉันยากจน ชีวิต จึงต้องดิน้ รน ฉันมีนอ้ งทัง้ หมด 9 คน ฉันเป็นลูกชายคนแรกของครอบครัว พ่อแม่ คาดหวังให้ฉันเป็นผู้นำครอบครัว ท่านคงรับไม่ได้เมื่อฉันมีเพศสภาพเป็นเพศ ที่สาม ตั้งแต่ฉันจำความได้ ส่วนพี่น้องของฉันรับตัวตนของฉันได้หรือไม่นั้น ฉันตอบไม่ได้ อาจเป็นเพราะเราเป็นพี่น้องกัน ฉันจึงไม่ได้เห็นปฏิกิริยาใด ๆ จาก พี่น้องฉัน แต่ถึงจะลำบากแค่ไหนฉันก็มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ฉันจบชั้นประถม ศึ ก ษาที่ โรงเรี ย นบ้ า นหาดหนองแสง ซึ่ ง เป็ น โรงเรี ย นในหมู่ บ้ า น ฉั น เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหนองเรือวิทยา และจบการศึกษาสูงสุดระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่นเมื่อปี 2523 คนในหมู่บ้านฉันนิยมไปทำงานที่ต่างประเทศ เพื่อจะได้นำเงินมาใช้ หนีส้ นิ ใช้จา่ ยในครอบครัว และยกระดับฐานะของครอบครัวให้ดขี นึ้ ฉันไปทำงาน ที่ต่างประเทศ 5 ปี ก่อนจะไปต้องนำที่ดินทางบ้านไปจำนองเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง หลังกลับจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ชีวิตฉันก็ยังมีหนี้สิน ฉันจึง ต้ อ งดิ้ น รนสู้ ชี วิ ต ต่ อ ไป เริ่ ม จากเดิ น ทางไปที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ทำร้ า น Bar Beer จะเป็นพรหมลิขิตหรือชีวิตที่หักเหของฉันหรือไม่ ฉันก็ให้คำตอบไม่ได้ ฉันได้มี โอกาสศึกษาดูใจกับชาวต่างประเทศได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศ Switzerland แต่ช่วงระยะเวลา 4 ปีที่นั่น ฉันไม่ได้ไปตั้งหลักปักฐานที่ประเทศ Switzerland ฉันเดินทางไปกลับระหว่างประเทศไทยและประเทศ Switzerland เพราะฉันมี ธุรกิจ Bar Beer ที่จังหวัดภูเก็ต เส้นทางชีวิตฉันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ธุรกิจ ของฉั น ไม่ ป ระสบผลสำเร็ จ แล้ ว ฉั น ก็ เ ดิ น เข้ า สู่ วั ง วนอบายมุ ข เล่ น การพนั น จนหมดเนื้อหมดตัว

33


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ปี 2540 ฉันจึงตัดสินใจเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่นบ้านเกิดของฉัน เพื่อหางานทำ หวังว่าเมื่อได้เงินสักก้อนจะกลับไปสานต่อธุรกิจ Bar Beer ที่ภูเก็ต โชคชะตาไม่ได้เล่นตลกกับฉันซะทีเดียว ฉันได้มีโอกาสได้รู้จักกับผู้ใหญ่ ใจดี ท่านแนะนำให้ฉันมาเรียนที่ “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภา จังหวัดขอนแก่น” (เดิมชือ่ ว่า ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีรตั นาภา จังหวัดขอนแก่น) ด้วยความที่ฉันไม่มีที่ไป อยู่ในช่วงสับสนไม่รู้ว่าจุดหมาย ที่ต้องการจะไปให้ถึงคือที่ใด เมื่อมาเรียนที่ศูนย์ฯ รัตนาภา จึงเลือกเรียนนวด แผนไทย เพราะคิดว่าคงเหมาะกับเพศที่สามอย่างฉัน ฉันคาดหวังว่าถ้าเรียนจบ จะไปเปิ ด กิ จ การที่ ป ระเทศ Sweden โดยมี ห ลานสาวเป็ น ธุ ร ะในการออก ค่าใช้จา่ ยในการเดินทางให้ แต่แล้วชีวติ ก็ผกผันสูญเสียเงินทัง้ หมดไปกับการพนัน เพราะเพื่อน ฉันจึงไม่ได้เดินทางไปตามฝันของตัวเอง ฉันกลับมานั่งคิดทบทวน ตัวเอง และได้พบกับกัลยาณมิตรที่ดี ซึ่งได้นำพาฉันเข้าสู่ธรรมะ กัลยาณมิตร ท่านนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ รัตนาภา ชื่ออาจารย์ศิริมา ฤกษ์รัตนวราพร (ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามท่าน) ทำให้ฉันมีสติเริ่มต้นสิ่งใหม่ให้กับชีวิต ฉันไปสมัคร ทำงานทีร่ า้ นนวดเมืองขอน เจ้าของร้านไม่ยอมรับ เพราะฉันเป็นสาวประเภทสอง

34


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ฉันจึงไปสมัครทำงานที่ร้านคุ้มตะวัน โชคดีที่เจ้าของร้านให้โอกาสฉันเข้าทำงาน แต่ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้ราบรื่นด้วยลูกค้าไม่ยอมรับในการเป็นสาวประเภทสอง ลู ก ค้ า ผู้ ช ายก็ รั ง เกี ย จ ลู ก ค้ า ผู้ ห ญิ ง ก็ ไ ม่ ย อมให้ น วด ฉั น จึ ง เกิ ด ความรู้ สึ ก ว่ า งานนวดแผนไทยคงไม่เหมาะกับตัวฉัน ฉันจึงตัดสินใจลาออกแล้วเดินทางไปทำงาน ที่ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี สมั ค รเข้ า ทำงานที่ โรงแรมแห่ ง หนึ่ ง เจ้ า ของโรงแรม เป็นชาว Korea เขาไม่ยอมรับสาวประเภทสองอย่างฉัน เพราะไม่เจริญหูเจริญตา หรื อ อยากจั บ จ้ อ งเหมื อ นหมอนวดผู้ ห ญิ ง จึ ง ให้ น วดแต่ ลู ก ค้ า ผู้ ช ายที่ เ ป็ น ชาวต่างประเทศเท่านัน้ หลังจากนัน้ มีเพือ่ นชักชวนให้ฉนั ไปทำงานที่จงั หวัดนครปฐม เป็นโรงแรมแห่งหนึง่ เจ้าของโรงแรมเป็นชาว Korea เช่นกัน แต่มภี รรยาเป็นคนไทย เขาได้ ใ ห้ โ อกาสฉั น เข้ า ทำงาน ซึ่ ง ณ ที่ นี้ ฉั น ได้ รั บ การยอมรั บ เป็ น ครั้ ง แรก ฉันมีโอกาสได้นวดลูกค้าผู้ชาย และผู้หญิงคนไทย รวมทั้งชาวต่างประเทศด้วย ต้องขอบคุณภรรยาของเจ้าของโรงแรมแห่งนี้ หลังจากนั้น ฉันมานั่งคิดไตร่ตรองอีกครั้งหนึ่งว่า หากฉันมีความรู้แค่ การนวดอยูอ่ ย่างนี้ จะไม่มอี ะไรพัฒนาขึน้ เลย ทำงานไปวัน ๆ วงการนวดแผนไทย คงจะไม่เหมาะกับฉัน ถ้าฉันจะเอาดีทางนวด ฉันต้องรู้ และเข้าถึงองค์ความรู้ การนวดอย่างแท้จริง ต้องรู้ให้ถึงแก่นงานนวด ฉันจึงเดินทางกลับขอนแก่น บ้านเกิดอีกครัง้ ในปี 2552 ได้สมัครเรียนแพทย์แผนไทยทีว่ ดั โพธิโ์ นนทัน ขอนแก่น ฉันจึงได้รู้ว่าแพทย์แผนไทยมี 4 ประเภท คือ 1) ประเภทเภสัชกรรม (ปรุงยา)

35


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

2) ประเภทการนวดไทย (การวิเคราะห์โรคทางการนวด) 3) ประเภทผดุงครรภ์ไทย (การดูแลแม่และเด็กก่อนคลอดและหลังคลอด) และ 4) ประเภทเวชกรรมไทย (หลักการนวดครอบคลุมทั้งหมดของแพทย์แผนไทย ซึ่งรวมทั้งการวิเคราะห์ โรค) ฉันใช้เวลา 6 ปี ในการเรียนแพทย์แผนไทย โดยตั้งใจเรียนในแต่ละประเภท ให้ รู้ ถึ ง แก่ น การนวดแผนไทย โดยเรียนประเภทเภสัชกรรม เป็นเวลา 2 ปี ประเภทการนวดไทย 2 ปี ประเภทการผดุงครรภ์ 1 ปี และประเภทเวชกรรม ไทย 1 ปี แต่ก่อนนั้นในวงการนวดแผนไทย บุคคลทั่วไปจะมีโอกาสยกระดับ เป็นแพทย์แผนไทยมีแต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงราชการ โดยเฉพาะข้าราชการของ กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ที่ได้ยกระดับเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางแพทย์ แผนไทย ฉั น นึ ก ภู มิ ใจตั ว เองที่ อ ย่ า งน้ อ ยฉั น สามารถยกระดั บ ตั ว เองให้ ค น ในสังคมยอมรับฉัน จากการวิ่งหนีฉัน รังเกียจฉัน เป็นวิ่งกลับมาหาฉัน ยอมรับ ในตัวฉัน ประสบการณ์ในการเรียนทำให้ฉนั ได้รจู้ กั คนในวงการนวดแผนไทยมากขึน้ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนา ตนเอง ได้มีโอกาสได้ไปเรียนการนวดปรับสมดุลโครงสร้าง (การจัดกระดูกของ ตะวันตก) โดยมีพระอาจารย์ถนอม พระจัน และดอกเตอร์สี จากประเทศ ไต้ห วั น เป็ น วิ ท ยากร ได้เรียนการใช้พลังบำบัดศาสตร์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดย ดอกเตอร์ เจ คาน คอร์ ลิ น และจากความร่ ว มมื อ ของคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉันสอบได้ใบประกอบโรคศิลป์ ขณะนี้ ฉั น มี ร้ า นเป็ น ของตนเอง และกำลั ง ยื่ น คำร้ อ งต่ อ กระทรวง สาธารณสุข เพื่อเปิดคลินิกนวดแผนไทย รายได้ของฉันไม่ได้มากมายเดือนละ ประมาณ 30,000 บาท เป็นค่าใช้จา่ ยต่าง ๆ ฉันอยูไ่ ด้ ฉันมีความสุขกับงานทีฉ่ นั ทำ ฉันพอเพียงกับความเป็นอยู่ของฉัน ฉันอยากตอบแทนสังคม ตอบแทนศูนย์ฯ รัตนาภาทีใ่ ห้โอกาสฉัน ฉันได้เป็นวิทยากรเพือ่ เป็นวิทยาทานให้กบั รุน่ น้องของฉัน ที่ อ ยู่ ศู น ย์ ฯ รั ต นาภา ฉั น มี โ อกาสเป็ น วิ ท ยากรสอนนวดแผนไทยให้ กั บ วิทยาลัยอาชีวะขอนแก่น ได้เป็นวิทยากรที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมใบบุญ เป็นวิทยากร โครงการหมอเณรน้อย ความรู้สำหรับการใช้ทางการนวดเพื่อดูแลพระสงฆ์

36


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ในทุกสัปดาห์ฉนั ต้องไปนวดรักษาให้ภกิ ษุสงฆ์ทมี่ อี าการปวดเมือ่ ยไม่สบาย โดยทีฉ่ นั ไม่คดิ ค่ารักษาที่วัดค้ำเหมือนแก้ว อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อตอบแทนสังคม ที่ให้โอกาสสาวประเภทสองอย่างฉัน และให้โอกาสผู้ที่มีเพศสภาพเดียวกับฉัน ได้รบั โอกาสสอนการนวดเพือ่ สุขภาพให้เขาไปประกอบอาชีพได้ ทุกวันนีฉ้ นั มีความสุข กับความพอเพียง รายได้จากการนวดฉันจะแบ่งส่วนหนึ่งเพื่อนำไปทำบุญ

สุดท้ายนี้

ฉั น มี ข้ อ คิ ด สำหรั บ ผู้ ที่ มี เ พศสภาพอย่ า งฉั น ที่ ต้ อ งการมาเอาดี ทางแพทย์แผนไทยว่า “ต้องมีความตั้งใจจริง ต้องรู้จริงในพื้นฐานองค์ความรู้ แผนไทยทีถ่ กู ต้อง เช่น สุขภาพ การปฐมพยาบาล กฎหมาย และกายวิภาคมนุษย์ จงทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจจะทำอะไรผิดพลาดบ้าง แต่ต้อง พลาดให้นอ้ ยทีส่ ดุ และต้องคิดเสมอว่าสุขก็ไม่มี ทุกข์กไ็ ม่มี ไม่มอี ะไรทีเ่ ราเอาไป ได้ สั ก อย่ า ง แม้ ก ระทั่ ง ร่ า งกาย สุ ด ท้ า ยมี แ ต่ ค วามดี แ ละความชั่ ว เท่ า นั้ น ที่จะติดตามดวงจิตของเราไปได้ ความสุขของเราอยู่กับความพอเพียงไม่ได้อยู่ กับรายได้”

37


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ฉันต้องสวย โดย นางจันทร์เพ็ญ ศรีเมือง นายปณวัฒน์ พยุงตน

นางสาวลินดา ฤทธิ์ชิน จบแผนกเสริมสวยสตรี รุ่นที่ 42 (ช่วงระยะ เวลาเรียน เมษายน ถึง กันยายน 2552) สำเร็จหลักสูตร 6 เดือน ณ ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนศรีสะเกษ บ้านสมัด อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ เกิดใน ครอบครัวที่แตกแยกและยากจน พ่อและแม่ต่างมีครอบครัวใหม่ แม่แต่งงานกับ พ่ อ ใหม่ ที่ ขี้ เ มา แต่ พ่ อ ขี้ เ มาคนนี้ เ อาใจใส่ ใ ห้ ค วามรั ก ให้ ก ารศึ ก ษา ไปรับ-ไปส่ง ส่งเสียให้ได้เรียนเหมือนดั่งว่าเป็นลูกในไส้ จนเรียนจบ ชั้น ม.3 ที่โรงเรียนนครศรีลำดวน โรงเรียน ประจำอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ในระหว่างเรียน ทางโรงเรียนมีกิจกรรมที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับทาง โรงเรียน งานประจำอำเภอ และงานประจำจังหวัด เช่น การฟ้อนหน้าขบวนแห่ของงานวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ การฟ้อนต้อนรับ แขกของโรงเรียน ถือป้ายในงาน กีฬาสีโรงเรียน

38


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

งานแสดงต่าง ๆ ที่แต่งตัวสวย ๆ ลินดาไม่เคยได้รับการคัดเลือกเลย เพราะ คุณครูบอกว่าไม่สวย และเป็นคนบุคลิกแข็ง คุณครูจึงให้ทำหน้าที่บริการน้ำดื่ม ให้กับเพื่อน ๆ เธอจึงตั้งใจว่าสักวันหนึ่งเธอต้องทำให้คนอื่นสวย และตนเอง ก็ต้องสวยให้ได้เช่นกัน จากที่เป็นคนไม่เคยถูกคุณครูเลือกจึงจำฝังใจว่า..เราต้อง สวย..ต้องสวยให้ได้

มุ่งสู่ฝัน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วพ่อไม่มีทุนส่งเรียน ลินดาจึงออกจากบ้านมาหางานทำที่กรุงเทพ (งานบ้าน) ด้วยความขยันขันแข็งมุ่งมั่น มานะอดทน สู้งาน สู้ชีวิต ในระหว่างทำงาน มีการหาช่องทางที่จะได้เรียนเสริมสวย ก็ยัง ไม่ได้ตามที่ตนเองตั้งใจ แต่เธอก็ไม่ละความพยายาม โดยได้ ขออนุญาตนายจ้างไปเรียนในเวลาว่างเมื่อทำงานบ้านเสร็จ ในแต่ละวัน จากเด็กทำงานบ้านสู่ร้านเสริมสวย ทำงานบ้านด้วย ความขยันขันแข็ง 2 ปี พอเก็บเงินได้บา้ ง จึงขออนุญาตเจ้าของบ้าน ไปเรียนเสริมสวย ในช่วงเวลาเย็นหลังจากที่ทำงานบ้านเสร็จ กับร้านเสริมสวยใกล้บา้ น แต่การเรียนก็ไม่ได้ผลสำเร็จเท่าไร ทางร้าน เขาใช้ให้ทำงานบ้านมากกว่าสอนงานด้านเสริมสวย จึงหยุดที่จะ ไปเรียนแบบนั้น และขอลาออกจากงานบ้านเดิม มาสมัครทำงานบ้าน ที่ร้านเสริมสวย เจ้าของร้านรับให้มาทำงานบ้านที่ร้านเสริมสวย เผื่อได้เรียนรู้งานด้านเสริมสวยไปพร้อม ๆ กัน ลินดาได้ความรู้ มาบ้างจากเจ้าของร้านแต่ยังไม่เก่งดังที่ตั้งใจไว้ จึงขวนขวายอยากได้ความรู้ เพิ่มเติมจากโรงเรียนที่เปิดสอนเป็นคอร์ส แต่ค่าเล่าเรียนสูงถึง 35,000 บาท ลินดาฝันสลายอีกครั้งเพราะเงินที่เก็บไม่พอจ่ายค่าเรียน จึงเดินทางกลับบ้าน ที่จังหวัดศรีสะเกษ

39


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

แสงสว่างที่บ้านเกิด ลิ น ดาทราบข่ า วว่ า ที่ “ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ” (ขณะนั้นมีชื่อว่า ศูนย์สงเคราะห์ และฝึ ก อาชี พ สตรี ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ จั ง หวั ด ศรี ส ะเกษ) มี ห ลั ก สู ต ร เรียนฟรี กินฟรี อยู่ฟรี มีงานทำ จึงเข้ามาสมัครเรียน และเข้าพักในศูนย์ฯ ระหว่างเรียนในศูนย์ฯ เธอเล่าว่า ทางศูนย์ฯ มีการเรียนการสอน ทั้ง ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ออกหน่วยบริการตัดผมเสริมสวยให้แก่ประชาชน เพื่อฝึก ทักษะในการตัดผม เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต จนครบ หลักสูตร ในระหว่างเรียนลินดาเข้ากับเพื่อน ๆ ได้อย่างดี ร่วมกิจกรรมในศูนย์ฯ ใช้ชีวิตระหว่างเรียนอย่างมีความสุข เป็นที่รักของเพื่อน และเจ้าหน้าที่ทุกคน การช่วยเหลืองานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศูนย์ฯ จัดขึ้น เช่น เวรทำความสะอาด เรื อ นนอน ทำความสะอาดสำนั ก งาน เวรทำความสะอาดแผนกที่ เรี ย น และเวรผู้ช่วยแม่ครัวประกอบอาหารได้เป็นอย่างดี

ชีวิตที่ดีขึ้น

การเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากที่ เรี ย นจบ คื อ ลิ น ดามี กิ จ การ เป็นของตัวเอง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ ที่สามารถเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัว ดูแลพ่อแม่ ได้ตามอัตภาพ

40


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

อนาคตที่ใฝ่ฝัน

ลิ น ดาอยากมี ร้ า นที่ ติ ด แอร์ เ พื่ อ เป็ น การคื น กำไรให้ ลู ก ค้ า โดยราคา คงเดิม และขยายร้านเสริมสวย ให้บริการได้ทั้งชายและหญิง ครอบครัว สามี ภรรยา ได้มาเสริมสวย และเสริมหล่อ พร้อมกันไม่ต้องรอ

สุดท้าย

ลินดากล่าวว่า “จากการที่ฝ่าฝันอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตจนมี โอกาสได้ ม าเล่ า เรี ย นที่ ศู น ย์ ฯ แห่ ง นี้ ต้ อ งขอบคุ ณ คุ ณ ครู ผู้ ส อนทุ ก ท่ า น เจ้าหน้าที่ พร้อมทัง้ ผอ.ศูนย์ฯ ทีใ่ ห้การดูแลหนูเป็นอย่างดี ให้ความรูเ้ พือ่ พัฒนา คุ ณ ภาพชี วิ ต เข้ า ค่ า ยธรรมะ พาไปศึ ก ษาดู ง าน ตลอดจนให้ ค วามดู แ ล เมื่อเจ็บป่วย และเมือ่ จบแล้วยังมีการติดตามผลให้การช่วยเหลือดูแลตลอดจนหนูมี วันนี้ วันที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าตนเองก็สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างพลังได้ อย่างไม่ต้องอายใคร ขอบพระคุณศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและ ครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ”

41


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ความฝันคือพลัง สู่ความสำเร็จ

โดย โดย นางอภัย คงคาสวัสดิ์ นายอับดุลรอฮิม ยูนุ

คนส่ ว นใหญ่ย่อมมีความฝันที่จะมีกิจการ เป็นของตนเอง เพือ่ ให้มรี ายได้มากเพียงพอต่อการดำรงชีวติ และเก็บออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และยามสูงวัย นางสาวกมลเนตร หนูรกั ษ์ หรือ “น้องเอ” เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความฝันอยากจะเป็นช่าง เสริมสวย น้องเอกล่าวว่า “ช่างเสริมสวย “ต้องมีความชอบก่อน สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น แต่งหน้า ต้องมีแรงบันดาลใจ ทำผม ทำเล็บ ทำสีผม และอืน่ ๆ อีกมากมาย ตั้งใจใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่น จึงจะสำเร็จ” ที่ทำให้ผู้อื่นสวยได้ และตัวเราเองก็ต้องดูดี ต้องสวยพร้อมตลอดเวลา การตัดผม เป็นศิลปะต้องใช้ใจ ต้องใส่ใจลูกค้าให้มาก เพราะลูกค้าที่เข้ามาทำผมมีความ ต้องการไม่เหมือนกัน ช่างเสริมสวยต้องรับมือกับกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ ตอนนี้เอ เปิดร้านเสริมสวยได้ถึง 2 สาขา” น้องเอเรียนจบปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต พระนคร คณะคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกอาหารและโภชนาการ เริ่มทำงาน ในตำแหน่งนักโภชนาการที่โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ รายได้ไม่ค่อยเพียงพอ จึงอยากมีอาชีพเสริม พอดีคุณแม่ได้รับแผ่นประชาสัมพันธ์ที่ “ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา” (เดิมชือ่ ศูนย์สงเคราะห์และ ฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ จังหวัดสงขลา) ส่งไปที่ที่ทำงานของคุณแม่ คุณแม่เห็นว่า

42


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

มีการฝึกอบรมหลายอาชีพ แต่ที่สำคัญมีอาชีพเสริมสวยที่น้องเอชอบ ศูนย์ฯ มี บริการให้ฝึกอาชีพฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ มีอาหารให้ 3 มื้อ มีที่พักและอุปกรณ์ ในการฝึกอาชีพให้ ฝึกอบรม 6 เดือน น้องเอจึงตัดสินใจลาออกจากงาน เข้ามา สมัครเรียนฝึกอาชีพเสริมสวยสตรี ที่ศูนย์ฯ รุ่นที่ 37 ปี พ.ศ 2552

เริ่มสร้างฐานะ เมื่อสำเร็จจากการฝึกอาชีพเสริมสวยได้มาทำงานเป็นลูกจ้างที่ร้าน เสริมสวยในอำเภอเมืองสงขลา “ร้านก้อยบาร์เบอร์” อยูใ่ กล้บา้ นทำงานได้ประมาณ 6 เดือน น้องเอรู้สึกว่า “ทำได้ และมีความมั่นใจ” จึงอยากเปิดร้านเป็นของ ตนเอง จึงปรึกษากับคุณแม่และเจ้าของร้าน คุณแม่สนับสนุนด้านงบประมาณ เจ้าของร้านและเพื่อนก็มาช่วยจัดร้าน ช่วยวางรูปแบบ และช่วยหาลูกค้าให้ ร้ า นแรกเปิ ด เมื่ อ วั น ที่ 5 ธั น วาคม 2552 ในบ้านที่อยู่ ชื่อ “ร้าน เอ บิวตี้” ให้บริการ ตัดผม สระไดร์ ยืดรีบอนดิ้ง ทำสี ดีท๊อกช์ผม นวดหน้า ขัดหน้า ทำเล็บ สระเช็ท และบริการแต่งหน้า ลูกค้าเริ่มมีมากขึ้น ตอนหลัง จึงได้จ้างลูกจ้าง 1 คน

43


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

เมื่อต้นปี 2558 เปิดอีกร้านที่อำเภอหาดใหญ่ ชื่อ “ร้าน BL ซาลอน” โดยหุ้นกับเพื่อน มีลูกจ้าง 3 คน นอกจากให้บริการ สระ เช็ท ซอย ตัดผม ยืดผม ทำเล็บ ทำสีผม แล้วยังเปิดให้บริการแต่งหน้าเจ้าสาว ให้เช่าชุดแต่งงาน และรับงาน Event ต่าง ๆ ตอนที่เปิดร้านใหม่ ๆ มีความกังวล กลัวว่าทำผมแล้วลูกค้าไม่ถูกใจ ฝี มื อ ไม่ เ ป็ น ที่ พึ ง พอใจของลู ก ค้ า กั ง วลว่ า ลู ก ค้ า จะไปเข้ า ร้ า นอื่ น เนื่ อ งจาก ในบริเวณใกล้กันมีร้านที่เปิดให้บริการด้านเสริมสวยจำนวน 3 ร้าน แต่หลังจาก เปิดให้บริการแล้ว ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าพอสมควร โดยส่วนใหญ่ จะเป็นลูกค้าขาประจำ คุณจินตนา ชุ้มสุวรรณ ซึ่งเป็นลูกค้าประจำกล่าวว่า “เป็นลูกค้า ของร้านเอ บิวตี้ มาตั้งแต่ร้านเปิดใหม่ ๆ ร้านนี้ให้บริการดี ราคา ไม่แพง เป็นกันเอง สามารถโทรนัดได้ และร้านอยู่ใกล้โรงงาน เดินทางไม่ไกล พูดจาสุภาพเรียบร้อย ดูแลลูกค้าดีมาก ส่วนใหญ่ใช้บริการสระผม นวดหน้า ทำสีผม ใช้บริการมาตลอดเฉลี่ยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง” น้องเอ กล่าวถึงชีวิตช่วงนี้ว่า “ตอนนี้เรามีความพึงพอใจมากทำแล้ว มีความสุข และมีรายได้ดี สามารถมีรถ มีร้านเป็นของตนเองได้ถึง 2 ร้าน ดูแลครอบครัวได้อย่างมีความสุข มีรายได้เฉลีย่ เดือนละ 80,000–100,000 บาท ปีที่แล้วรายได้ดีมาก ถึงปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ก็รู้สึกพอใจ” คุณเพ็ญณี หนูรักษ์ คุณแม่ของน้องเอ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจในตัว ลูกสาวคนนี้มาก ที่สามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระของพ่อแม่ และมี รายได้ที่ดีสามารถจุนเจือครอบครัว ตอนนั้นที่ได้แนะนำให้ไปเรียนที่ศูนย์ สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ จังหวัดสงขลา เมือ่ ปี 2552 เพราะเห็นว่า เค้ามีทักษะชอบความสวยความงาม และเคยตั้งปณิธานอยากมีร้านเสริมสวย เป็ น ของตนเอง จึ ง สนั บ สนุ น ให้ เ รี ย นและสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น บางส่ ว น ในการดำเนินการเปิดร้านครั้งแรก”

44


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ตอบแทนสู่สังคม

น้องเอได้สละเวลามาแนะแนวอาชีพให้แก่รุ่นน้องในศูนย์ฯ และอาสา เป็นวิทยากรโดยไม่คิดค่าตอบแทน เวลาว่างหรือวันหยุดจะมาทำบุญช่วยเหลือ คนพิการ คนตาบอด เด็กกำพร้า คนไร้ที่พึ่ง ตลอดจนสัตว์พิการ เป็นประจำ ทั้งที่ โรงเรียนสอนคนตาบอด สถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา และมูลนิธิสงเคราะห์ สัตว์พิการ เป็นต้น

คำแนะนำสู่รุ่นน้อง

น้องเอเล่าว่า “ช่วงที่ฝึกอาชีพต้องพักอยู่ประจำ 6 เดือน จะกลับบ้าน ตอนเย็นวันศุกร์ หลังจากทีเ่ ลิกเรียน มาช่วยงานบ้าน ตอนเช้าวันจันทร์กเ็ ดินทาง ไปเรียน มีชีวิตอีกแบบหนึ่ง ที่ศูนย์ฯ มีแม่ครัวทำอาหารให้ทานฟรี 3 มื้อ กินจนอิ่ม การอยู่หอพักต้องช่วยกันดูแลความสะอาด แบ่งหน้าที่กันทำ รู้สึกดี ได้ฝึกความรับผิดชอบของตัวเองด้วย รู้สึกประทับใจเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วย ดูแลเป็นเสมือนคนในครอบครัว รูส้ กึ อบอุน่ ครูผสู้ อนช่วยสอนชีแ้ นะให้ความรู้ จากที่ ไ ม่ มี ค วามรู้ และประสบการณ์ ม าเลย จนสามารเปิ ด ร้ า นได้ จ นถึ ง ทุกวันนี้” น้องเอให้คำแนะนำให้กับน้อง ๆ ที่สนใจ และต้องการประสบผลสำเร็จ ในชีวิต มีร้านเป็นของตนเองว่า ควรเริ่มต้นจาก “ต้องมีความชอบก่อน ต้องมี แรงบันดาลใจ ตั้งใจใฝ่เรียนรู้มุ่งมั่น หมั่นฝึกอบรมสั่งสมประสบการณ์ ต้อง กล้าลองกล้าทำ มีความอดทน อดกลั้น ต้องพูดคุยเจรจา ใส่ใจ” “นอกจากนี้ งบประมาณในการดำเนิ น งานก็ ส ำคั ญ มาก ถ้ า ชอบอย่ า งเดี ย ว โดยไม่ มี งบประมาณก็ อ าจไม่ประสบผลสำเร็จ และต้องใช้งบประมาณพอสมควร ถ้างบประมาณไม่พร้อม ให้เป็นลูกจ้างก่อน และสัง่ สมประสบการณ์ หมัน่ เก็บออม เก็ บ เล็ ก ผสมน้ อ ย ไม่ ฟุ่ ม เฟื อ ย จึ ง ค่ อ ยเปิ ด ร้ า นเล็ ก ก่ อ น แล้ ว ขยั บ ขยาย กันต่อไป”

45


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

แผนในอนาคต

น้องเอได้วางแผนในอนาคตว่า จะเปิดให้บริการนวดสปา ทำเล็บ เจลอะคริลิก แต่ต้องใช้งบประมาณและบุคลากรพอสมควร ดังนั้น ในช่วงนี้ จึงกำลังสะสมงบประมาณเพื่อก้าวเดินตามความฝันของตนเองต่อไป

สุดท้าย

ผู้เขียนอยากให้กำลังใจทุกคนว่า “คนเราเมื่อมีความฝันจงใฝ่คว้า หามัน แม้นจะประสบอุปสรรคต้องฟันฝ่า หนักเอาเบาสู้ แม้นจะแลกด้วย ความเหนื่อยล้า แต่กำลังใจจากบิดามารดา เพื่อน และครูผู้สอน เหมือนยา ชูกำลังที่แต่งเติมให้มีพลังที่จะก้าวเดินต่อไปเพื่อให้บรรลุความฝัน” ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา รู้สึก ภูมิใจ และชื่นชมที่เป็นส่วนหนึ่งในการแต่งเติมความฝันที่สามารถก้าวเดินมาสู่ ธุรกิจที่ตัวเองรัก มีอาชีพ มีรายได้ มีศักดิ์ศรี มีหน้าที่การงาน ดูแลตนเองและ ครอบครัวได้อย่างมีความสุข บรรลุเป้าหมายตามความฝันที่ตั้งใจ

46


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สุ ร ศั ก ดิ ์ บู ร พั น ธ์ . .. กั บ ...ฝั น ที่ เป็ น จริ ง โดย นางสิราณี คิดหาทอง นายบัญชา บุญสุภาพ

นายสุ ร ศั ก ดิ์ บู ร พั น ธ์ อายุ 38 ปี เกิ ด วั น ที่ 24 ตุ ล าคม 2522 ครอบครัวคุณสุรศักดิ์ มีสมาชิกด้วยกันทัง้ หมด 4 คน คุณสุรศักดิ์ เป็นบุตรคนที่ 2 ชีวิตในวัยเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ครอบครัวของคุณสุรศักดิ์ ต้องพบกับความผกผันในชีวิต เมื่อเขาต้องสูญเสียบิดาที่เป็นเสมือนเสาหลักของ ครอบครัว ทำให้มารดาต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงดู คุณสุรศักดิ์และพี่น้อง เนื่องจากฐานะทางครอบครัวยากจน คุณสุรศักดิ์เกิดความสงสารมารดา อีกทั้ง ตนเองเป็นผู้ชายคนเดียวที่เหลือของครอบครัว ด้วยความเสียสละ และกตัญญู จึงตัดสินใจไม่ศึกษาต่อในระดับสายสามัญ ซึ่งในขณะนั้นคุณสุรศักดิ์จบการศึกษา เพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากนั้น คุณสุรศักดิ์ ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนสนิทให้มาสมัครเข้ารับการ ฝึกอาชีพที่ “ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา (เดิม)” โดยสนใจเรียนในแผนกช่างไฟฟ้า-ประปา รุ่นที่ 6 ในระหว่างเรียนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้เห็นถึงความตั้งใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จึงได้แนะนำให้ศึกษาต่อที่ศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียน (กศน.) ในช่วงวันหยุดควบคู่ไปกับการ ฝึกอาชีพ

47


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

จากคำบอกเล่าของ “นายดำรงฤทธิ์ กาวิน” ครูผู้สอนเล่าว่า สุรศักดิ์ บู ร พั น ธ์ เป็ น เด็ ก ที่ ก ตั ญ ญู รู้ คุ ณ มี ค วามขยั น อดทน และมุ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจศึ ก ษา เล่าเรียน จึงถูกคัดเลือกให้เป็นนักเรียนดีเด่น เรือ่ งช่วยเหลืองานส่วนรวมดี และอุทศิ เวลาให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ภายหลังสำเร็จการฝึกอบรมอาชีพที่ศูนย์ฯ ในระยะแรก คุณสุรศักดิ์ เริ่มทำงานที่โรงแรมรอยัลคลิฟ บีช พัทยา ในตำแหน่งพนักงานช่างไฟฟ้า รายได้ เดือนละ 5,000 บาท คุณสุรศักดิ์ตั้งใจทำงาน และเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากการทำงานได้ประมาณ 19 ปี จึงตัดสินใจลาออกจากงาน ปัจจุบันคุณสุรศักดิ์ทำงานประจำที่โรงแรมจอมเทียนบีชพัทยา ในระดับหัวหน้างาน มีรายได้เดือนละ 27,000 บาท และรับ งานพิเศษตามบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ มีรายได้เดือนละ 13,000 – 20,000 บาท ไม่รวมกับรายได้ประจำ ตลอดระยะ เวลาของการทำงานที่ ผ่ า นมาคุ ณ สุ ร ศั ก ดิ์ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข อง ตนเองด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มานะ อดทน กตัญญู และ เป็ น ผู้ ที่ มี ค วามประพฤติ ดี มี คุ ณ งาม ความดี ไม่ มั่ ว สุ ม อบายมุข หรือ สิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีกับสังคม จึงทำให้ชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์มีความสุข ความพึงพอใจ ในการทำงานและรายได้ ปั จ จุ บั น คุ ณ สุ ร ศั ก ดิ์ มี ค รอบครั ว แล้ ว ภรรยาชื่ อ กนกพร อาสา มีบตุ รสาวด้วยกัน 1 คน ชือ่ ด.ญ. กนกวรรณ บูรพันธ์ ครอบครัวคุณสุรศักดิ์ ได้กา้ วผ่านช่วงชีวติ ทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ ในชีวติ มาแล้ว ปัจจุบันครอบครัวของเขา มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมารดารู้สึกภูมิใจในตัวลูกชายคนนี้มาก

48


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

คุณสุรศักดิ์เล่าว่า “ผมรู้สึกภูมิใจ ในตัวเองทีก่ า้ วมาถึงจุดนีไ้ ด้ ผมมีบา้ น มีรถ ให้ครอบครัว มีเงินออม และที่สำคัญผมมี ความสุขกับการทำงานของผม ผมไม่ลืม ทีจ่ ะตอบแทนสังคมด้วยการเป็นอาสาสมัคร มู ล นิ ธิ ทั พ พระยา 2310 ดู แ ลความ เรียบร้อยในเขตเมืองพัทยา มีการประสานงาน กู้ภัยโดยไม่ได้รับเงินเดือน และในส่วนของการทำงาน ผมคิดค่าบริการลูกค้า ในราคามาตรฐาน ไม่เอาเปรียบลูกค้า และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ” นอกจากนี้ คุณสุรศักดิ์ยังเล่าต่ออีกว่า “สิ่งที่ตนเองทำอยู่ในปัจจุบัน ถือว่าประสบความสำเร็จมากแล้วสำหรับผม ผมมีทุกอย่างตามที่ปรารถนา ครอบครัวมีความสุข และพึงพอใจในสิ่งที่มีเพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว” สำหรับผู้เขียนเห็นว่า ตลอดระยะ เวลาการทำงานของคุณสุรศักดิ์ บูรพันธ์ ปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนเองด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต ขยั น อดทน และความกตั ญ ญู ต่ อ มารดา และผู้มีพระคุณ อีกทั้งตอบแทนสังคม และ มีการวางแผนการใช้จา่ ยเงิน เงินออม เป็นอย่างดี จึงทำให้สุรศักดิ์ประสบความสำเร็จในชีวิต และครอบครัวมีความสุข......

49


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

มนต์เมือง ล้านนา นวด เพื่อสุขภาพ

โดย นายสุกิจ เกศสุวรรณรักษ์ นายจักรพันธ์ รอดทุกข์

“การนวดไทย” เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่มีมา แต่ โ บราณ เกิ ด จากสั ญ ชาตญาณเบื้ อ งต้ น ของการ อยูร่ อด เมือ่ มีอาการปวดเมือ่ ยหรือเจ็บป่วย ตนเองหรือผูท้ ี่ อยู่ใกล้เคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ทำให้ อาการปวดเมือ่ ยลดลง เริม่ แรกเป็นไปโดยมิได้ตงั้ ใจ ต่อมา เริ่ ม สั ง เกตเห็ น ผลของการบี บ นวดในบางจุ ด หรื อ บางวิธที ไี่ ด้ผล จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์และเป็นความรู้ ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความรู้ที่ได้จึงสะสมจากลักษณะ ง่าย ๆ ไปสู่ความซับซ้อน จนสามารถสร้างเป็นทฤษฎีการนวด ซึ่งต่อมาจึงกลาย มาเป็ น ศาสตร์ แ ขนงหนึ่ ง ที่ มี บ ทบาทในการบำบั ด รั ก ษาอาการและโรค บางอย่าง นายสิริโรจน์ จันทร์ต๊ะ ผู้ชายคนหนึ่งที่มีความตั้งใจและพัฒนาตนเอง อยูต่ ลอดเวลา ปัจจุบนั อายุ 37 ปี จบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และศึกษาต่อ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย หลังจากนัน้ ได้ตดั สินใจบวชเรียน 7 พรรษา ได้ศกึ ษาทัง้ ทางโลก และทางธรรม จนสำเร็จ

50


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

การศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต เอกภาษาไทย มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิ ท ยาลั ย วิ ท ยาเขตเชี ย งราย และได้ ด ำรงตำแหน่ ง เจ้ า อาวาส และร่ ว ม กิจกรรมกับชาวบ้านมากมาย เป็นนักพัฒนาทั้งทางด้านทางธรรม และทางโลก จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน ต่อมาได้ตัดสินใจลาสิกขาเพื่อมาทำงานในการ พัฒนาท้องถิ่นอย่างเต็มตัว จนได้รับการไว้วางใจจากชาวบ้านเลือกให้เป็นสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีวาระ 4 ปี (ปี พ.ศ. 2548 – 2552) และได้ รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี 2553 – ปัจจุบัน

จุดเปลี่ยนของชีวิตสู่..ธุรกิจนวดสปา จุดเปลี่ยนของชีวิตจากนักปกครองท้องที่สู่ธุรกิจนวดสปา เกิดจากการที่ คุ ณ สิ ริ โรจน์ ไ ด้ พ าคุ ณ แม่ ไ ปหาหมอที่ โรงพยาบาลเชี ย งรายประชานุ เ คราะห์ ในช่วงขณะทีร่ อคุณแม่พบแพทย์ ตนเองได้นงั่ พักอยูท่ บี่ ริเวณศาลาในโรงพยาบาล เห็นมีการนวดแผนไทย จึงคิดอยากจะลองนวด ุ แม่พบแพทย์ เพราะปกติเป็นคน เพื่อรอเวลาที่คณ ทีไ่ ม่ชอบนวดและได้ลองให้หมอนวดให้ หลังจากนั้น จึงเกิดความชอบ และลองตระเวนไปนวดตามร้าน ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย และเห็นว่าลูกค้าทีม่ านวด ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เกาหลี และต่างชาติ ซึ่งเป็น นักท่องเที่ยวมีฐานะ มีความเต็มใจในราคาที่คิด ค่าบริการ ไม่ตอ่ รองราคา อีกทัง้ การนวดยังเป็นศิลปะ เป็นงานเฉพาะ จึงเกิดสนใจที่อยากจะเรียน การนวดแผนไทย จึงได้ไปสมัครที่ “ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย” (เดิมชื่อว่า ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี

51


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

จังหวัดเชียงราย) ใน “หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และนวดสปา” โดย ตอนนัน้ ได้ทำหน้าทีเ่ ป็นผูใ้ หญ่บา้ นไปด้วย แต่ไม่เคยเอาเวลาของงานการปกครอง มาเบียดเบียนเวลาเรียน หลังจากเรียนจบหลักสูตรแล้วได้ไปฝึกหาประสบการณ์ วิชาชีพจากร้านในตัวเมืองเชียงราย และได้ไปเห็นป้ายประกาศขายกิจการนวด จึงได้ไปติดต่อขอซื้อ และกลายเป็นเจ้าของกิจการชื่อร้าน “นาซ่า นวดสปา” ทั้งนี้ อาชีพหมอนวดอาจถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำ หลายคนมองว่าเป็นการนวด บังหน้าและมีการค้าประเวณีด้วย ตนเองตอนนั้นที่เป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย อาจจะมี กระแสเสียงบ้างว่า ไม่เหมาะสมที่ทำธุรกิจแบบนี้ ซึ่งปัญหานี้ เวลาก็เป็นเครื่อง พิสูจน์ทุกอย่างแล้ว ด้วยความตั้งใจในการทำธุรกิจนวดแผนไทย มีการบริหาร จั ด การที่ ดี ร้ า นจึ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก และยอมรั บ ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและ ต่างประเทศ จากปากต่อปากและคุณภาพการให้บริการของร้าน ทำให้ธรุ กิจเติบโตขึ้น และเป็ น ที่ ย อมรั บ ของชาวบ้ า น ปั จ จุ บั น นี้ ไ ด้ มี ก ารขยายกิ จ การเป็ น สาขา ที่ ส อง โดยใช้ ชื่ อ ว่ า “ร้ า นมนต์ เ มื อ งล้ า นนา มาสสาจ นวดเพื่ อ สุ ข ภาพ (Mommueng Lanna Massage)” การตกแต่ ง ร้ า นสไตล์ แ บบล้ า นนา นับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของร้านนี้ที่ทำให้ลูกค้าชื่นชอบและ ประทับใจ ภายใน “ร้านมนต์เมืองล้านนา มาสสาจ นวดเพือ่ สุขภาพ” มีพนักงาน บริการ จำนวน 5 คน มีผู้จัดการร้าน เพื่ออำนวยความสะดวก และดูแลลูกค้า พนั ก งานบริ ก ารมี บุ ค ลิ ก ภาพที่ ดี มี ชุ ด ฟอร์ ม ของพนั ก งาน ได้ รั บ การอบรม จนมี ค วามเชี่ ย วชาญและมี ก ารพั ฒ นาฝี มื อ อย่ า งดี และที่ ส ำคั ญ ทางร้ า น

52


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

มีการสนับสนุนซื้อวัตถุดิบจากในชุมชน โดยมองว่าเป็นการสร้างงาน สร้าง รายได้ และสร้างการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชนท้องถิน่ ของตนเอง เช่น สมุนไพร ที่ น ำมาใช้ ภ ายในร้ า น รวมถึ ง มี ก ารโฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ ห ลากหลาย ช่องทาง เช่น อินเตอร์เน็ต กรุ๊ปทัวร์ เป็นต้น มีการบริการที่เป็นระบบและ มีคุณภาพ มีห้องสำหรับบริการที่เป็นสัดส่วน สะอาด และทันสมัย

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

คือ การบริการที่ประทับใจ โดยยึดหลัก “การต้อนรับลูกค้า ให้เหมือน ญาติคนหนึง่ ในครอบครัว” มีการบริหารจัดการ มีชอ่ งทางการตลาดทีด่ ี มีวสิ ยั ทัศน์ มี จ รรยาบรรณในการประกอบธุ ร กิ จ ที่ ดี ถื อ เป็ น ความสำเร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยมี “ปัจจัยหนุนเสริมแห่งความสำเร็จ” คือ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครั ฐ คื อ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว จั ง หวั ด เชี ย งราย ซึง่ สนับสนุนให้ผรู้ บั ฯ ไปฝึกประสบการณ์วชิ าชีพทีร่ า้ น การได้รบั ข้อมูลทางวิชาการ และการพัฒนาธุรกิจนวดสปาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย การได้รบั การสนับสนุนทางการตลาดจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย เทศบาลนคร เชียงราย รวมถึงการบริหารจัดการที่ดี การทำแผนธุรกิจ ช่องทางการตลาด ที่หลากหลาย และการขับเคลื่อนการจัดตั้งสมาคมนักธุรกิจนวดสปา ในจังหวัด เชียงราย สิ่ ง ที่ ไ ด้ เรี ย นรู้ จ ากการทำงานจนกระทั่ ง ประสบความสำเร็ จ ในวั น นี้ เกิดจากการทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักการตลาด การจัดสวัสดิการ หลักการบริหารด้านงานบริการ ล้วนแล้วแต่มี ความสำคัญทีไ่ ด้เรียนรูแ้ ละแก้ไขให้ดขี นึ้ โดยมีองค์กร และหน่วยงานทีเ่ ป็นเครือข่าย ในการทำงาน คือ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เทศบาลนครเชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เชียงราย และสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

53


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ปัญหาที่ท้าทายสู่...แผนอนาคต

ปั ญ หาและอุ ป สรรค เป็ น สิ่ ง ที่ ท้ า ทายในการประกอบธุ ร กิ จ และ การบริหารจัดการ สำหรับ “ร้านมนต์เมืองล้านนา มาสสาจ นวดเพื่อสุขภาพ” (Mommueng Lanna Massage) ก็ประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่ น กั น คื อ การมี เ อเย่ น ต์ หรื อ นายหน้ า มาติ ด ต่ อ พนั ก งานนวดให้ ไ ปทำงาน ต่างประเทศ ทำให้หมอนวดไม่เพียงพอต่อผู้มารับบริการ และปัญหาที่สำคัญ อีกอย่างหนึง่ คือในจังหวัดเชียงรายยังไม่มสี มาคมผูป้ ระกอบธุรกิจนวดสปา และไม่มี เครือข่ายในการทำงาน จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องของอำนาจในการต่อรองกับ ภาครัฐและภาคเอกชน สำหรั บ ข้ อ ท้ า ทายที่ ต้ อ งการลงมื อ ทำในอนาคต คื อ การมี อ าคาร ทีต่ งั้ ร้านเป็นของตัวเอง เนือ่ งจากปัจจุบนั นีต้ อ้ งเช่าเป็นรายเดือน ๆ ละ 50,000 บาท และมีความตั้งใจที่จะจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการร้านนวดสปาในจังหวัดเชียงราย เพราะการประกอบธุรกิจนวดแผนไทยนั้น ทำให้ตนเองมีความสุขและที่สำคัญยิ่ง คือความภูมิใจที่ได้ปรับเปลี่ยนความคิดของชาวบ้านให้มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ นวดแผนไทย ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย มีความภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนสำคัญในการ สร้างแรงผลักดันให้บคุ คลผูผ้ า่ นการอบรมจากศูนย์เรียนรู้ ฯ ได้ประสบความสำเร็จ เพื่อจะเป็นแบบอย่างที่ดีและ เป็นแรงผลักดันสำหรับรุ่นน้องหรือผู้ที่กำลังตัดสินใจ ทีจ่ ะเข้าเรียนวิชาชีพในศูนย์ฯ รุ่นต่อไป และที่สำคัญที่พึง ระลึกเสมอว่า “คุณคือเพชรเม็ดงามที่มีคุณค่า” ของ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ และสังคมไทย

54


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ก้ า วที่ ก ล้ า ของ...ธิ ด าดอย โดย นางสาวศุลีพร สันธิราษฎร์ นายณัฐพล หน่อคำ

ลมหนาวพัดพาฤดูกาลหมุนเปลี่ยน ธรรมชาติ บนดอยสูงมีความเป็นเอกลักษณ์สำหรับนักท่องเที่ยว ต้ อ งดื่ ม ด่ ำ ท้ า ลมหนาว ใครจะรู้ บ้ า งว่ า ประชากร ราษฎรบนพื้นที่สูง จะเหน็บหนาวมากเพียงใด เพราะ บนดอยสูงที่นั่นคือ บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ใช้ทำงาน เพาะปลูก เป็นสถานที่รวบรวมจิตวิญญาณของราษฎร บนพื้ น ที่ สู ง หลั ง ดอยสู ง อิ น ทนนท์ พบเห็ น ประชากรราษฎรบนพื้ น ที่ สู ง คื อ ชาวชนเผ่ากะเหรีย่ ง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึง่ แปลว่า “คน” เป็นชนเผ่า ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ณ บ้านแม่โถหลวง หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังมีสภาพเศรษฐกิจ บนรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาวิถีชนเผ่า และสถานะทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ของประชากรยากจน ทำให้ความต้องการจะศึกษาของ เยาวชนชนเผ่ากะเหรี่ยง “ปกาเกอะญอ” ขาดโอกาส หนึ่งใน เยาวชนนั้นคือ นางสาวสุมานี สายชลอัมพร หรือ “น้องขิง” สาวงามธิ ด าดอยคนนี้ มี ค วามใฝ่ ฝั น ที่ จ ะเรี ย นรู้ เพื่ อ หา ประสบการณ์ แนวทางการศึ ก ษาเพื่ อ สร้ า งอาชี พ สร้ า ง อนาคต เพื่ อ ตั ว เองและครอบครั ว ให้ ใช้ ชี วิ ต ในสั ง คม อย่างมีความสุข

55


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ก้าวแรก

คื อ การเดิ น ออกจากครอบครั ว ชาวเขาวิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ชนเผ่ า “ปกาเกอะญอ” น้องขิงได้กล้าที่เผชิญปรับเปลี่ยนเข้ามาสู่โลกแห่งเรียนรู้วิถี ผู้ ก ล้ า ในเมื อ ง นั่ น คื อ การศึ ก ษาพั ฒ นาตนเองกว่ า 13 ปี สาเหตุ ที่ เข้ า ร่ ว ม โครงการนั้น ประเด็นหลัก คือ ต้องการศึกษาความรู้พัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูง จึงเลือกเรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ปวช. สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ อ ให้ มี ง านทำ และการศึ ก ษาสายอาชี พ นั้ น เป็ น สาขาวิ ช าที่ ส ร้ า งอาชี พ ทางเลือกได้หลากหลาย ศูนย์ฯ ได้บูรณาการความร่วมมือกับศูนย์การศึกษา ตามอั ธ ยาศั ย กศน. จั งหวั ดลำพู น มี การสอน และฝึ กทั ก ษะให้ กั บผู้ เข้า รับ การฝึกอบรมอาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งภาคปฏิบัติสอนให้รู้จริง ทำจริง โดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และภาคทฤษฎีสอนให้ทราบถึงความรู้ ทางหลักวิชาการอย่างละเอียด ผลลั พ ธ์ ที่ เ กิ ด กั บ ตั ว ผู้ เข้ า รั บ การฝึ ก อบรมอาชี พ โดยตรง นั้ น คื อ ความสามารถที่ได้นำความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทักษะชีวิต นำมา ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้เป็นอย่างดีและสามารถ นำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต

56


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ก้าวต่อไป คื อ การก้ า วเพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น จากการบ่ ม เพาะของ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีฯ จังหวัดลำพูน ตลอด ระยะเวลา 3 ปี ทำให้น้องขิงมีพลังใจแห่งนักสู้ว่า โอกาสสำหรับผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ชาวเขาที่ได้รับโอกาสมีน้อย จึงพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ตัดสินใจศึกษาต่อระดับ ปวส. สาขาวิ ช าเทคนิ ค คอมพิ ว เตอร์ วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค ลำพู น จั ง หวั ด ลำพู น ด้วยความเพียรพยายาม รักในความก้าวหน้าทางการศึกษา จึงเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง โดยมีเป้าหมาย 4 ประการในชีวิตเป็นแรงบันดาลใจ ได้แก่ 1. อาชีพมั่นคง 2. การศึกษาก้าวหน้า 3. มีสังคมเครือข่ายที่เข้มแข็ง และ 4. พัฒนาถิ่นเกิด อย่างยั่งยืน ปัจจุบันน้องขิง ธิดาดอย ปฏิบัติงานที่ “ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ” ฝ่ า ยแผนงานนโยบายและยุ ท ธศาสตร์ เป็ น พนั ก งาน ราชการ ในตำแหน่ ง “พนั ก งานคอมพิ ว เตอร์ ” โดยปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ งานข้อมูลของราษฎรบนพื้นที่สูง ในพื้นที่รับผิดชอบ 14 อำเภอ รวมถึงติดตาม ประเมินโครงการตามที่ได้รับผิดชอบ

ก้าวอย่างสง่างาม

คือ ก้าวขึ้นสู่ความปรารถนาสูงสุด ประสบความสำเร็ จ บนเส้ น ทางแห่ ง การ ศึกษาจนมีอาชีพมีงานทำ และจะก้าวต่อไป อย่ า งไม่ ห ยุ ด ยั้ ง โดยการสร้ า งโอกาสทาง การศึกษาอย่างมีเป้าหมาย ในปัจจุบันกำลัง ศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี สือ่ การศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

57


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

มีคา่ ใช้จา่ ยเพิม่ ขึน้ ต้องมีความอดออม ประหยัด มัธยัสถ์ จากการเรียนรูเ้ พือ่ ผูใ้ ฝ่รู้ ประกอบกับการบริหารเวลาเป็นเลิศ จากวิชาทักษะชีวิต (Life Skill) โดย ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จังหวัด ลำพูน ตามที่น้องขิงได้กล่าวไว้ว่า “ทางศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี ฯ มี ก ารวางแผนจั ด การที่ ดี ใ นการ ฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นแก่ผู้รับฯ รวมถึงมีการจัดทำหลักสูตรที่ครอบคลุม กับความต้องการของกลุม่ เป้าหมาย มีบคุ ลากรคุณภาพทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ตรงกั บ หลั ก สู ต รที่ เ ปิ ด ให้ บ ริ ก าร สิ่ ง ที่ ข้ า พเจ้ า จำเป็ น ต้ อ งทำ เพื่ อ ให้ ง าน มีประสิทธิภาพนั้น คือ การฝึกฝนตนเอง ข้าพเจ้าต้องมีการฝึกฝน และท้าทาย ตัวเอง ทำในสิ่งที่ยังไม่เคยทำถือเป็นการสร้างความรู้ความสามารถที่หลากหลาย และเป็นการสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดี อีกนัยหนึ่งเพื่อมาประยุกต์ใช้กับ งานที่ทำ อันจะก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ที่ได้รับ ซึ่งการทำงานจะมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมาจากการแสดงออก ว่าเรามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง งานจึงจะสำเร็จลุล่วงได้ดีก่อให้เกิด ทั้งงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จ คือการมีความรับผิดชอบต่อตนเอง การพัฒนาศักยภาพของตนเอง และการหมัน่ ฝึกฝนตนเอง จากปัจจัยข้างต้นนี้ ตรงกับความคาดหวังของข้าพเจ้า เนื่องจาก ทางศูนย์ฯ มีการสอนอบรม และปลูกฝังให้ผู้รับฯ มีความรับผิดชอบในบทบาท หน้ า ที่ ที่ ไ ด้ รั บ ผ่ า นกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ที่ ศู น ย์ ฯ กำหนดขึ้ น มาและมี ก ารอบรม หลั ก สู ต รต่ า ง ๆ เพิ่ ม เติ ม นอกเหนื อ จากตำราวิ ช าในห้ อ งเรี ย น เพื่ อ เป็ น การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพและทักษะอาชีพที่ดี นอกจากนี้ยังมี การปลูกฝังในด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่ผรู้ บั ฯ ซึง่ ทำให้ผรู้ บั ฯ มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ มีศักยภาพ” น้ อ งขิ ง ธิ ด าดอยแห่ งชนเผ่ า กะเหรี่ ยง “ปกาเกอะญอ” พร้อ มเป็ น เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและก้าวออกสู่สังคมอย่างสง่างาม

58


“คนวิริยะ” ประเภทกลุ่มอาชีพ


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

กลุ่ ม ผึ้ ง หลวง ผ้ า งาม โดย นายเฉลิมชนม์ อินทะยะ นายอิศรา คันธรักษ์

กลุ่ ม อาชี พ สตรี บ้ า นผึ้ ง หมู่ ที่ 3 ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสตรี และ กลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ที่ ว่ า งงาน ไม่ มี ร ายได้ ที่ มี ความสนใจงานตัดเย็บเสื้อผ้า โดยได้รับการสนับสนุนการฝึกอาชีพตามโครงการ สร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว เมื่อปีงบประมาณ 2555 หลักสูตรตัดเย็บ เสื้อผ้าระบบจักรอุตสาหกรรม จำนวนสมาชิกกลุ่ม 30 คน โดยได้รับข่าวสารการขอรับการสนับสนุนการฝึกอาชีพ จากสือ่ สถานีวทิ ยุ และเทศบาลตำบลเกาะคา ซึง่ มีผนู้ ำชุมชน ประกอบด้วย นางกรรณิการ์ ขาวละมูล ประธานกลุ่มสตรี นายชำนาญ สิงห์ขร ผูใ้ หญ่บา้ น และนางสาวนงรักษ์ สิงห์ขร เข้าปรึกษากับนางสาวเพ็ญภัค รัตนคำฟู นายกเทศมนตรี ตำบลเกาะคา และยื่นเสนอโครงการต่อ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง (เดิมชื่อศูนย์ สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคเหนือ จังหวัดลำปาง) ซึ่งได้รับอนุมัติสนับสนุน ฝึกอาชีพหลักสูตรตัดเย็บเสือ้ ผ้าระบบจักร

60


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

อุตสาหกรรม (ตัดเย็บชุดเด็กนักเรียน) และดำเนินการจัดตั้งกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า สตรีอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 จำนวนสมาชิก 16 คน ด้ ว ยเงิ น ลงทุ น ของกลุ่ ม คนละ 1,000 บาท ด้ ว ยความมุ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจของกลุ่ ม ตามคำกล่าวของสมาชิกในกลุ่มว่า “มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ จริงใจในงานอาชีพ รักความสามัคคี” ต่างร่วมใจกัน กำหนดเป้าหมายของกลุ่ม คือ การร่วมกัน ประกอบอาชี พ ตั ด เย็ บ เสื้ อ ผ้ า พื้ น เมื อ งในนามของกลุ่ ม บ้ า นผึ้ ง และมี ร ายได้ การพั ฒ นาฝี มื อ และรู ป แบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ และการดู แ ลช่ ว ยเหลื อ สวั ส ดิ ก าร ของกลุ่มให้มีความอบอุ่น ยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจนี่เอง จึงทำให้กลุ่มได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เทศบาล ตำบลเกาะคา และการศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย อำเภอ เกาะคา ในการพัฒนาฝีมือจากการตัดเย็บชุดนักเรียนเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า พื้นเมือง และกลายมาเป็นสินค้าประจำกลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มได้รับโอกาสในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่ผลิต เสื้ อ ผ้ า พื้ น เมื อ งของกลุ่ ม อยู่ ใ นศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ก ารเลี้ ย งไส้ เ ดื อ นของเทศบาล เกาะคา ทำให้ มี ผู้ ส นใจเข้ า มาเยี่ ย มชมจากหน่ ว ยงานหลากหลายสาขา และสนใจซื้ อ เสื้ อ พื้ น เมื อ งติ ด ไม้ ติ ด มื อ และบางครั้ ง กลั บ มาสั่ ง ซื้ อ

61


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ผ้าพื้นเมืองกลับไป เพราะมีรูปแบบสีสันสวยงาม ใส่สบาย ราคาย่อมเยา ทำให้ กลุ่มอาชีพสตรีบ้านผึ้งมีรายได้จากการผลิตสินค้าเสื้อพื้นเมือง ต่อมาในปี 2557 ด้วยความที่กลุ่มอาชีพสตรีบ้านผึ้ง หมู่ที่ 3 ตำบล ศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีความตั้งใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น ที่ ย อมรั บ และการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของกลุ่ ม อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จึ ง ได้ รั บ การสนับสนุนให้เข้าร่วม “โครงการเสริมสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจให้แก่สตรี” ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มอาชีพสตรีบ้านผึ้ง คือ “ผึ้งหลวง ผ้างาม” โดยใช้หลักการทำงาน 5ก และ 5ร คือ 5ก คือ 1) กลุ่ม 2) กรรมการ 3) กฎ กติกา 4) กองทุน และ 5) กิจกรรม 5ร คือ 1) ร่วมคิด-ตัดสินใจ 2) ร่วมทำ 3) ร่วมรับผลประโยชน์ 4) ร่วมแก้ไข และ 5) ร่วมประเมิน ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของกลุ่มฯ คือ “เสื้อพื้นเมือง” ซึ่งมีจำหน่าย ทั่วไป รวมทั้ง การออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และงาน OTOP โดยมีโลโก้ ของกลุ่ม “ผึ้งหลวง ผ้างาม” ซึ่งกลุ่มได้จดทะเบียน มผช. จากสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง หลังจากได้เข้ารับการอบรมตามโครงการเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจ แก่สตรี ปี 2557 สมาชิกได้รว่ มกันออกกฎระเบียบของกลุม่ และสมาชิกต้องปฏิบตั ิ ตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อความยั่งยืนของกลุ่มอาชีพ มีการจำแนก สมาชิกเพื่อความเป็นระเบียบ ได้แก่ - สมาชิกประจำ คือ สมาชิกที่ได้รับการฝึกอาชีพ จากศูนย์ฯ - สมาชิกสมทบ คือ สมาชิกที่สามารถประกอบอาชีพตามที่กลุ่มรับจ้าง โดยมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเหมือนสมาชิก ประจำ

62


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สมาชิกทุกประเภทต้องมีความสามัคคี ซือ่ สัตย์และช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือกลุม่ อาชีพ ด้วยกัน มาทำงานเวลา 09.00 – 16.00 น มีสมุดบันทึกการลงเวลาทำงานเป็นหลักฐาน มี ก ารประชุ ม เดื อ นละ 1 ครั้ ง ทุ ก วั น ที่ 2 ของเดือน และต้องช่วยกันรักษาอุปกรณ์ประกอบ อาชีพให้พร้อมใช้งานอยูเ่ สมอ รวมทัง้ ต้องร่วมกัน รักษาความสะอาดของสถานที่ ส่วนการบริหารจัดการด้านการเงินและบัญชี กลุ่มมีการออมเงินกลุ่ม เดือนละ 50 บาท มีสมุดเงินฝากในนามของกลุ่ม มีสมาชิกผู้มีอำนาจฝาก – ถอน 3 คน ประกอบด้วย นางกรรณิการ์ ขาวละมูล นางสาวนงรักษ์ สิงห์ขร และ นางปราณี จันทร์แจ้ง มีสมุดบัญชีรับ – จ่าย ของกลุ่ม และมีสมุดรายละเอียด การทำงานเป็นรายบุคคล พร้อมสรุปการทำงานรายเดือนของคนในกลุม่ ซึง่ รายได้ จากการจำหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทั้ ง หมดแต่ ล ะเดื อ น ได้ น ำมาจั ด สรรให้ แ ต่ ล ะคน เป็นรายชั่วโมง ๆ ละ 10 บาท ตามที่สมาชิกได้ทำงานได้กี่ชั่วโมง โดยสรุป เป็นรายบุคคล/เดือน เพือ่ ให้สมาชิกได้ทราบถึงผลการทำงานของตนเองในแต่ละเดือน ส่วนหนึ่งของรายได้จัดสรรเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกกลุ่ม “ผึ้งหลวง ผ้างาม” โดยให้สมาชิกกูเ้ งินของกลุม่ (สวัสดิการ) ครัง้ ละไม่เกิน 3,000 บาท ดอกเบีย้ 1 บาท ต่อเดือน สร้างความรัก ความสามัคคี และความสุขให้กับคนในกลุ่มด้วยการ ทัศนศึกษาดูงาน คืนความสุขสู่ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน/ เครือข่ายทางสังคม โดยจัดสรรเงินปันผลบางส่วนร่วมบริจาคเป็นเงิน หรือของขวัญ ให้แก่สาธารณประโยชน์ในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเด็ก วันผู้สูงอายุ วันขึ้นปีใหม่ วั น กิ จ กรรมทางพุ ท ธศาสนาตามประเพณี วั ฒ นธรรมของชุ ม ชน มี ส่ ว นร่ ว ม ในกิจกรรมทางสังคมและสวัสดิการสังคมกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น เทศบาลตำบลเกาะคา ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ และ

63


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

หน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น โดยช่วยเฝ้าระวังปัญหาสังคมในชุมชน เช่น ขอรับ ความช่ ว ยเหลื อ และดู แ ลผู้ ป ระสบปั ญ หาความเดื อ ดร้ อ นทางครอบครั ว ครอบครั ว เด็ ก ยากจน ผู้ ติ ด เชื้ อ และผู้ ป ระสบปั ญ หาด้ า นอื่ น ๆ ตลอดจน การสำนึกใน “คำสอนพ่อ” ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยสมาชิกกลุม่ ฯ มีการดำเนินชีวติ ตามเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภค มีความขยัน จากการ ที่ ก ลุ่ ม ได้ มี อ าชี พ ตั ด เย็ บ เสื้ อ ผ้ า ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ สมาชิ ก มี ร ายได้ เป็นของตนเองอย่างพอเพียง เป็นรายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และมีรายได้อย่างยั่งยืนของ กลุ่ม “ผึ้งหลวง ผ้างาม” ในปัจจุบัน นอกจาก จะเกิดจาก 5 ก และ 5 ร ดังทีก่ ล่าวข้างต้นแล้ว ยังเกิดจากสร้างค่านิยมของกลุม่ ร่วมกันคือ “มี ค วามมุ่งมั่น ตั้งใจ จริงใจในงานอาชีพ รักความสามัคคี” ด้วยการมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ใฝ่หาความรู้ในการพัฒนาตนเอง และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร โดยการเข้าร่วมอบรม ความรู้ ในหลักสูตรต่าง ๆ เพือ่ นำมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของกลุม่ อย่างต่อเนือ่ ง

64


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

การมุ่งรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์เสื้อเป็นผ้าที่ดี สีไม่ตก การเย็บแน่น ราคาไม่แพง มีการเชื่อมโยงกลุ่มอาชีพกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนและกลุ่มอาชีพภายนอกเพื่อสร้างเครือข่าย โดยกลุ่มยังเป็นแหล่งศึกษา เรี ย นรู้ ก ารเพาะเลี้ ย งไส้ เ ดื อ น และกลุ่ ม เย็ บ ผ้ า ในสถานที่ เ ดี ย วกั น ครบวงจร เป็นทีร่ จู้ กั ของผูม้ าศึกษาดูงานและนำไปบอกต่อ ทำให้มตี ลาดทีก่ ว้าง มีการแลกเปลีย่ น เรียนรู้กับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ทั้งในการพบปะ จัดบูธจำหน่าย และการศึกษาดูงาน เพื่ อ ประสานแลกเปลี่ ย นความรู้ เ พื่ อ พั ฒ นากลุ่ ม ในด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น รู ป แบบ เสื้อผ้าพื้นเมือง การกำหนดราคา กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด และ การรับงานสัง่ จ้าง โดยได้ตดิ ต่อกับเครือข่ายในพืน้ ทีเ่ ทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอ เกาะคา และบ้านต้นต้อง ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง กล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่ม “ผึ้งหลวง ผ้างาม” ในปัจจุบัน ประสบ ความสำเร็จทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม โดยเฉพาะการยกระดับสถานภาพ ด้วยการพัฒนาศักยภาพสตรี ด้วยการรวมกลุ่ม ทำให้สตรีในชุมชนมีที่อยู่ที่ยืน มีคุณค่า และมีความกล้า ความมั่นใจในการต่อรอง การแสดงความคิดเห็น ในการพัฒนาชุมชน และที่สำคัญคือการเป็นแกนนำสำคัญที่จะนำชุมชนไปสู่ ความเจริญ ความมั่นคง และยั่งยืน ตามปณิธานของกลุ่ม “มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ จริงใจในงานอาชีพ รักความสามัคคี” ที่ทำให้กลุ่มมีความสำเร็จ พร้อมเผชิญ การเปลี่ ย นแปลงของเศรษฐกิ จ และสั ง คม ด้ ว ยการสร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น ด้ ว ยการ รวมกลุ่มอาชีพ ตลอดจนเสริมสร้างครอบครัว ชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน

65


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ลายครามวาดชี วิ ต ใหม่ โดย นางสาวอรวรรณ อยู่อ้อน นางสาววิภาดา แก่นจันทร์หอม

ศาสตร์และศิลป์ของไทย ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ให้เป็นมรดกด้าน ภูมปิ ญ ั ญาสูช่ นรุน่ หลังอย่างเราท่าน ผ่านงานช่างเครือ่ งลายครามลวดลายทวารวดี นับเป็นสิง่ ทีค่ วรค่าแก่การอนุรกั ษ์ไว้เพือ่ มิให้สญู หาย ดังเช่น “กลุม่ อาชีพผสมทรัพย์ เซรามิ ค ” ที่ ตั้ ง อยู่ เ ลขที่ 17 หมู่ ที่ 4 ตำบลเพนี ย ด อำเภอนครชั ย ศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งยังคงสืบสานส่งต่อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่รุ่นต่อรุ่นให้คงอยู่ มิสูญหาย จนได้รับการยอมรับในคุณภาพของฝีมือและชิ้นงานระดับต้นของ วงการเครือ่ งลายครามทีว่ จิ ติ รอย่างไทยทัง้ ในและต่างประเทศ โดย “ศูนย์เรียนรู้ การพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว ภาคกลาง จั ง หวั ด นนทบุ รี ” ได้ คั ด เลื อ ก ให้เป็นกลุ่มอาชีพตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มภายหลังได้เข้ารับ การสนับสนุนอบรมและฝึกวิชาชีพจากโครงการฝึกอาชีพในชุมชน “คุณเจ” ฐิติพงษ์ ปิ่นจ้อย ประธานกลุ่มอาชีพผสมทรัพย์ เซรามิค ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้น ของกลุ่มอาชีพว่า เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 จากคุณพ่อ นายผสม ปิ่นจ้อย ผู้ที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถในทุ ก ขั้ น ตอนของกระบวนการผลิ ต ชามเซรามิ ค

66


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

แบบดั้งเดิมนับตั้งแต่การผสมสูตรดิน การปั้น การเขียนลาย และการเผา ร่วมกับคุณแม่ ที่มีความรู้ความสามารถด้านการเขียนลาย และเพือ่ น ทีเ่ ป็นพนักงานอยูใ่ นโรงชามเดียวกัน แถวตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้ผันตัวออกมารวมหุ้น ตั้งโรงงานขนาดเล็กผลิตและจำหน่ายของใช้และของประดับ เช่น จาน แก้วน้ำ โถใส่ข้าว แจกัน อยู่ได้ 2-3 ปี เพื่อนได้ถอนหุ้นออกไปตั้งโรงงานเอง ต่อมาจึงได้ ทำกันเองภายในครอบครัว โดยมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์การผลิตเครื่องลายคราม ลวดลายดั้งเดิมของท้องถิ่นสมัยทวารวดีไว้ และประยุกต์ลวดลายให้มีความ ทันสมัย พร้อมปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น จนสามารถเปิ ด เป็ น โรงงานผลิ ต ในปริ ม าณมากได้ มี ต ลาดหลั ก รองรั บ อยู่ ที่ ตลาดนัดสวนจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร การเปิดโรงงานและขยายฐานการผลิตครัง้ นี้ นับเป็นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่า จากการสนับสนุนให้คนในท้องถิ่น ได้มีอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวและชุมชน คนในชุมชน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ สร้างประโยชน์ของการ มีส่วนร่วม และความสามัคคี เพื่อคนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการรวมกลุม่ แบ่งปันกันทัง้ ในด้านความรู้ สิง่ ของ มีนำ้ ใจช่วยเหลือซึง่ กันและกัน เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2540 ต้องประสบสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ทำให้ ตลาดเริ่มถดถอยลง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนต้องลดจำนวนพนักงานลง จาก 50 คน เหลือ 20 คน 10 คน กระทั่งต้องปิดโรงงานแล้วกลับมาทำกันเอง ภายในครอบครั ว อี ก ครั้ ง แต่ ก็ ยั ง นั บ เป็ น ความโชคดี หลั ง จากนั้ น 1 เดื อ น ได้ ท ราบข่ า วจากสื่ อ ว่ า มี โ ครงการของรั ฐ บาล คื อ โครงการหนึ่ ง ตำบล หนึง่ ผลิตภัณฑ์ ให้นำผลิตภัณฑ์ไปขึน้ ทะเบียนโอทอป (OTOP) ทีอ่ ำเภอเพือ่ จะได้

67


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีเลยนำผลิตภัณฑ์ ไปขึ้ น ทะเบี ย น และมี โ อกาสพบกั บ พั ฒ นากรของอำเภอนครชั ย ศรี ได้ ใ ห้ การสนับสนุนและให้คำแนะนำอย่างดีในทุกเรือ่ ง แล้วด้วยความทีท่ า่ นมีหน่วยงาน เครือข่ายในการทำงานเป็นจำนวนมาก จึงได้แนะนำให้เข้าร่วมกับโครงการของ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง (ชื่อเดิมในขณะนั้น) กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ (พม.) แต่มเี กณฑ์คอื ต้องรวมกลุม่ กัน ให้ได้ถึง 30 คน จึงเกิดความสนใจและคิดว่าทั้งที่เป็นหน่วยงานคนละสังกัดกัน แต่กส็ ามารถทำงานแบบบูรณาการด้วยกันได้ ส่วนในอีกใจหนึง่ ก็เกิดความไม่แน่ใจ คิ ด ว่ า หน่ ว ยงานเกี่ ย วกั บ สตรี จ ะเข้ า มาสนั บ สนุ น อะไรได้ แต่ ชั่ ว โมงนั้ น ก็ คื อ เราต้องลองรวมตัวดูกอ่ นว่าทางศูนย์ฯ จะมีอะไรทีช่ ว่ ยเหลือเราได้บา้ งจากนัน้ จึงได้ กลับมารวมกลุ่มและเตรียมเอกสารประกอบการเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ ที่กำหนดไปยังหน่วยงาน ซึ่งเริ่มแรกเลยที่เรารวมกลุ่ม คือ ไปชวนกันมา 30 คน บางคนก็ถามว่ามาแล้วจะได้อะไร ได้เงินไหม ให้วันละเท่าไหร่ ผมก็เลยบอกว่า “ไอ้เงินนะถ้าเข้าเขาให้แน่ ต่อวันนะเขาให้แน่ แต่อย่าไปคำนึงถึงตัวเงิน เราลองมารวมกลุม่ กันดูกอ่ น ว่าทางโครงการ ทางศูนย์ฯ เขามีอะไรให้เราดีกว่า” แล้วไม่นานทางศูนย์ฯ ก็ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานของกลุ่ม ในเบื้ อ งต้ น ว่ า กลุ่ ม เรามี จ ริ ง ไหม ทำกั น จริ ง หรื อ เปล่ า พอทางเจ้ า หน้ า ที่ มาตรวจสอบว่า มีการรวมกลุม่ กันจริงและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ศูนย์ฯ ก็มกี ารนำ โครงการเข้ามาสนับสนุนที่กลุ่ม คือ โครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (44 วัน) ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากได้เข้าร่วมโครงการครั้งแรกผ่านไปกลุ่มอาชีพของเราก็ได้รับ ผลกระทบอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2554 เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ โรงงานของเรา น้ำไม่ท่วม แต่เราไม่สามารถที่จะทำการค้าได้เพราะว่าที่อื่น ๆ เขาท่วมกันหมด ทำให้ตอ้ งปิดโรงงานอยูป่ ระมาณ 1 เดือนเต็ม ๆ รวมกับกว่าจะฟืน้ ฟูอกี ประมาณ 2-3 เดือน โดยช่วงที่น้ำท่วมได้แต่คิดว่าเราจะทำอย่างไร เราไม่ได้ขาย ส่งก็ไม่ได้ รับก็ไม่ได้ ก็ได้รับโอกาสจากโครงการของศูนย์ฯ เข้ามาให้การสนับสนุนกลุ่ม

68


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ของเราอีกครั้ง คือ เปิดสอนเขียนลายเซรามิค ทำให้คนที่โดนผลกระทบน้ำท่วม ที่ไม่มีที่ไปที่หนีจากรุงเทพฯ หรือหนีมาจากที่ไหน ๆ มาอยู่แถวนี้ ก็ได้มาเรียน เขียนลายทีก่ ลุม่ ของเราไปด้วย และทีก่ ลุม่ ของเรายังเปิดเป็นศูนย์กระจายข้าวกล่อง ถุ ง ยั ง ชี พ โดยมี ร ถทหารเข้ า มารั บ ทุ ก วั น ๆ ละ 2 คั น รถ แล้ ว พอฟื้ น ตั ว มาประมาณ 2-3 เดือน ก็เริ่มมีงานเข้ามาจากลูกค้าบริษัททัวร์ประเทศเกาหลี มาสั่งผลิตเดือนละ 1 หมื่นชิ้น ทำให้ได้ขยายตลาดเพิ่ม ในปีพ.ศ. 2557 กลุ่มของเราได้รับโอกาสต่อยอดในโครงการสนับสนุน การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ 110 วัน และ โครงการเสริมสร้างโอกาสในการ ดำเนินธุรกิจให้แก่สตรี (60 วัน) โดยตลอดเวลาที่ได้รับการสนับสนุนทำให้ได้รู้จัก กับบทบาทหน้าทีข่ องศูนย์ฯ มากขึน้ ว่ามีการส่งเสริมจริง ช่วยเหลือสังคมทีเ่ ราอยู่ ช่ ว ยได้ เ ยอะ ไม่ ว่ า จะเป็ น การสร้ า งงาน สร้ า งอาชี พ ทั้ ง ที่ ชื่ อ ของศู น ย์ สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง (ชื่อเดิมในขณะนั้น) ก็มีชื่อเน้นที่สตรี ตอนแรกที่เราไม่รู้จัก นึกว่าจะเป็นการส่งเสริมเฉพาะสตรีอย่างเดียว แต่ไม่ใช่..! ทีศ่ นู ย์ฯ นี้ ส่งเสริมทัง้ ครอบครัว ไม่วา่ จะเป็นสุภาพบุรษุ หรือสุภาพสตรี ซึง่ เหมือนกับ แนวคิดของกลุ่ม ถือได้ว่าเป็นโอกาสเริ่มตั้งต้นนับ 1 ใหม่ครั้งสำคัญของกลุ่ม ให้มีความเข้มแข็ง และตรงกับเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์มรดกด้านภูมิปัญญา สู่ชนรุ่นหลัง เพราะได้รับการสนับสนุนจากทางศูนย์ฯ ที่มีบุคลากรเน้นการให้ ความรู้กับชุมชนโดยตรง ซึ่งใช้ทุนเดิมที่ทางกลุ่มอาชีพเคยมีอยู่ ทำอยู่ รวมถึงให้ ความสำคัญกับสิง่ ทีก่ ลุม่ อาชีพต้องการอย่างตรงจุด ตรงเป้าหมาย เพราะถ้ามาสอน อะไรที่กลุ่มอาชีพเขาไม่รู้เลย จะทำให้ยากในการดำเนินการต่อไป แต่เมื่อที่กลุ่ม อาชีพมีอยู่แล้วศูนย์ฯ มาต่อยอดให้ก็สามารถได้ก้าวเดินต่อไปได้หรือก้าวกระโดด เร็ ว กว่ า เดิ ม ทั้ ง เทคนิ ค วิ ธี ก ารที่ ทั น สมั ย ผสานกั บ ความต้ อ งการของตลาด เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมด้วยการส่งเสริมสร้างความมั่นคงทางรากฐาน ความสัมพันธ์ของครอบครัว คุณภาพชีวติ และเศรษฐกิจในครัวเรือนให้กบั สมาชิก ของกลุ่มผ่านการอบรมเสริมความรู้ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ การจัดทำบัญชี ครัวเรือน การบริหารจัดการกลุม่ การบริหารจัดการชุมชน การเปิดโอกาสให้ผหู้ ญิง

69


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

มี ทั ก ษะในการพั ฒ นาตนเอง การส่ ง เสริ ม สั ม พั น ธ์ ข องสมาชิ ก ในครอบครั ว อย่างเช่นที่ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน เดิมที ทางชุมชนหรือทางกลุม่ ของเราไม่เคยมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนกันเลย แต่ขณะที่ ทางศูนย์ฯ เข้ามาสนับสนุนให้การอบรมและฝึกวิชาชีพในทุกโครงการนั้น ก็ได้ สอนให้ มี ก ารจดบั ญ ชี ค รั ว เรื อ นทุ ก วั น ว่ า เรามี ร ายรั บ และรายจ่ า ยเท่ า ไหร่ ให้ ส มาชิ ก ของกลุ่ ม ทุ ก คนฝึ ก ทำ เพื่ อ ที่ จ ะได้ รู้ ว่ า แต่ ล ะครั ว เรื อ นเมื่ อ สรุ ป ในรอบเดือนมีอะไรทีไ่ ม่จำเป็นต้องจ่าย หรืออะไรทีจ่ ำเป็นต้องจ่าย ซึง่ แต่ละคนจะได้ รู้ยอดในครอบครัวของตัวเอง อีกอย่างหนึ่งคือ ศูนย์ฯ ได้สอนให้มีการเปิดโอกาส กับทางชุมชนให้มีรายได้เสริมไม่จำเป็นจะต้องรวมกลุ่มกันอยู่ที่โรงงานหรือว่า ที่กลุ่มทุกวัน โดยทางกลุ่มสามารถที่จะป้อนงานให้กับชุมชนได้ สามารถนำงาน กลับไปทำที่บ้านได้ ทำงานเสร็จก็นำมาส่ง รับเหมาไปเป็นราย ๆ ไม่จำเป็น ต้องมาอยูท่ กี่ ลุม่ เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กบั ครอบครัวในชุมชน ลดภาระ รายจ่ า ยครอบครั ว ได้ อี ก ในการต้ อ งเดิ น ทางออกไปทำงานนอกบ้ า น ซึ่ ง เรา ไม่เคยคิดว่าทางกลุม่ อาชีพของเราจะได้รบั การสอนเรือ่ งพวกนีด้ ว้ ย เป็นเรือ่ งใหม่ ที่เกินคาดที่เราหวังไว้ว่าจะได้รับ นึกว่าจะมาสอนแต่อาชีพอย่างเดียว แต่นี้ มาสอนให้ ด ำเนิ น ชี วิ ต ประจำวั น เป็ น ด้ ว ย นั บ ว่ า กลุ่ ม ได้ รั บ อย่ า งครบถ้ ว น

70


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ภายหลังที่ทางกลุ่มอาชีพของเราได้เข้าร่วมโครงการ ทางกลุ่มของเรา มีการส่งเสริมพัฒนาความสามารถของสมาชิกทีม่ คี วามถนัดกันคนละแบบ คนละด้าน ให้ โ ดดเด่ น เป็ น หลั ก แต่ ส ามารถทำงานบู ร ณาการร่ ว มกั น แบบต่ อ ยอดได้ อย่างใครถนัดแต่งเราก็ให้แต่ง ใครถนัดเขียนเราก็ให้เขียน ต่อเมื่อถ้ามีงานไหน ที่เร่งรีบเราสามารถที่จะมาลงมือร่วมกันได้ เพราะทุกคนจะทำงานแบบรู้หลัก กระบวนการผลิตเหมือนกันหมดทุกคน ด้านตัวผลิตภัณฑ์ยงั คงมีการพัฒนาต่อยอด กันอย่างไม่หยุดนิ่ง การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็มีการแชร์ความคิดเห็นในการผลิต เมื่ อ สมาชิ ก เห็ น ดี เห็นงามเราก็ลองทำดู พอลองทำออกมา มันสวย ออกมา มันดูดี เราก็ออกหาตลาดใหม่ พอเริ่มได้ออกแสดงสินค้าตามงาน เราเหมือน ได้โฆษณาสินค้าของเราเองผ่านการแจกนามบัตรแล้วส่วนมากเราจะได้รับการสั่ง สินค้ากลับมาเกือบทุกงาน ในด้านเว็บไซต์ทางหน่วยงานที่เราไปขึ้นทะเบียนเขาก็ สนับสนุนช่วยจัดทำให้ในชื่อของ ผสมทรัพย์ เซรามิค ทำครื่องลายคราม ที่จะมี ประเภทสินค้า ประวัติ ที่ตั้ง เบอร์ติดต่อของกลุ่มอยู่ ซึ่งก็ติดในอันดับต้น ๆ เวลา ค้นหา ลูกค้าที่ทางกลุ่มได้รับการติดต่อให้ผลิตสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็น ลูกค้าประจำก็คือ บริษัททัวร์ประเทศเกาหลี ส่วนลูกค้าจากประเทศดูไบ ถึงไม่ใช่ ลูกค้าประจำ แต่ก็มียอดสั่งซื้อพอสมควรโดยให้ผลิตเป็นการ์ดแต่งงาน วิ่งหา ตลาดไม่ พ อ เรายั ง นำผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องเราส่ ง เข้ า ประกวดในทุ ก เวที เพื่ อ เป็ น

71


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

เครื่องการันตีรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องลายครามลวดลายดั้งเดิมของ ท้องถิ่นสมัยทวารวดีในระดับประเทศ อย่างเช่น เวทีโอทอป (OTOP) รางวัล การคัดสรรสุดยอดหนึง่ ตำบล หนึง่ ผลิตภัณฑ์ไทย รับรองโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อย่างปีล่าสุดปี 2559 นี้ก็ได้ 4 ดาว (OTOP Product Champion) ในประเภทผลิตภัณฑ์ ขันน้ำมนต์รางวัลสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ รับรองโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ในประเภท แก้วน้ำฝาปิด ใบมาตรฐานสินค้า มาตรฐานกลุ่ม มาตรฐานทุกอย่าง เราสามารถ ทำได้ตามเกณฑ์ เรามีใบรับรองมาตรฐานทุกใบเลย เช่น หนังสือรับรองการแจ้ง ข้ อ มู ล ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ไทย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ล ายครามตั ด เส้ น ทอง รั บ รองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน วิสาหกิจชุมชนผสมทรัพย์ เซรามิค รับรองโดยสำนักงานเกษตรอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ใบรับรองอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผาลายคราม และเครื่องปั้นดินเผา สโตนแวร์ รับรองโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม ปั จ จุ บั น นี้ หากพู ด ถึ ง ความ ภาคภูมิใจของกลุ่มที่นับว่าเป็นสิ่งสูงสุด ในชีวิตของสมาชิกกลุ่มทุกคน คือ กลุ่ม ของเราได้ มี โ อกาสถวายผลิ ต ภั ณ ฑ์ เครื่องลายคราม ประเภทขันน้ำมนต์ ให้กับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานของมูลนิธิ ชัยพัฒนา ทีศ่ นู ย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และถ้าพูดถึง วงการการทำเครื่องลายคราม เราถือเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ได้รับการ ยอมรับ มีคณะศึกษาดูงานทั้งเด็กนักเรียน นักศึกษา ครู ที่เป็นคนไทย และ

72


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

นานาชาติมาหัดลงมือทำทุกขัน้ ตอนตลอดทัง้ ปี สิง่ ทีอ่ ยากฝากถึงกลุม่ อาชีพอืน่ ๆ ที่ตั้งใจอยากเข้ามาร่วมโครงการต่าง ๆ กับศูนย์ฯ เมื่อมีการรวมกลุ่มกันแล้ว ขอให้ ค ำนึ ง ถึ ง ว่ า เราต้ อ งการอะไร ต้ อ งการอาชี พ หรื อ ว่ า ต้ อ งการเงิ น คื อ ว่ า ถ้าต้องการเงิน ท่านได้กลับไปเงินหมด หมดแล้วท่านก็ไม่ได้อะไรเลย ถ้าต้องการ อาชีพ ท่านยังได้มีอาชีพเป็นของตัวเอง ได้ไปต่อยอดให้กับครอบครัวของท่าน ต้องตั้งใจทำ ต้องตั้งใจเรียนรู้ รู้แล้วเอามาทำ เอามาปฏิบัติให้ได้ งบประมาณ ถ้ามีการมาลงมันถือว่าเป็นการให้โอกาสเขาพัฒนา เพื่อให้มีการเติบโตของกลุ่ม ชุมชนของแต่ละกลุ่มนั้น ซึ่งเราจะต้องไม่ให้งบประมาณเงินที่ลงมาสนับสนุนนั้น สูญหาย นับเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของชนรุ่นหลังอย่างเราท่าน ซึ่งยังคงมี กลุ่ม อาชีพผสมทรัพย์ เซรามิค สืบสาน ส่งต่องานช่างเครือ่ งลายครามลวดลายทวารวดี ให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่รุ่นต่อรุ่นให้คงอยู่มิสูญหาย ซึ่งการรวมกลุ่มอาชีพนี้ ยังแฝงไปด้วยแนวคิดในการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่า สร้างคนให้มีอาชีพ เป็ น รายได้ แ ก่ ค รอบครั ว และชุ ม ชนอย่ า งมี ส่ ว นร่ ว ม ส่ ง ผลให้ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของชุมชนดีขนึ้ ซึง่ เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ และเราคงเปรียบได้ว่า “ลายคราม วาดชีวิตใหม่” ได้จริงๆ

73


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ยกระดับผ้าขาวม้าอีสาน สู่เส้นทางสายอาชีพในชุมชน โดย นางจุฬาลักษณ์ นวลจันทร์ นางสาววรรพิรัญญา อินทร์โท

จากสาวโรงงานทอผ้า นางกันยา สังฆะสี ประธาน “กลุ่มแปรรูปผ้าขาวม้า อีสานตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัด ขอนแก่น” ผู้ก่อร่างสร้างฝันรวมกลุ่มสตรี ในหมู่บ้าน เกิดเป็นกลุ่มอาชีพในชุมชน คุณกันยาเล่าว่า เดิมสตรีในพื้นที่บ้านเกิด ของเธอประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพปัญหาสภาพอากาศ ชาวบ้านประสบภัยแล้ง ไม่สามารถทำนาได้ผลผลิตตามที่ต้องการ สตรีส่วนใหญ่ ในหมู่บ้านรวมถึงเธอด้วย จึงต้องเดินทางไปทำงานในเมืองหลวง เพื่อหารายได้ มาเลีย้ งดูครอบครัว ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ผลประกอบการโรงงานเย็บผ้า ประสบปั ญ หาภาวะขาดทุ น และได้ ป ลดพนั ก งานออก ทำให้ เ ธอและสตรี เหล่านั้นบางคนตกงาน ขาดรายได้ ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ จึงเดินทาง กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ต่ อ มา “ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละ ครอบครั ว รั ต นาภา จั ง หวั ด ขอนแก่ น ” ได้ อ อก สำรวจข้อมูลของชุมชนในเขตรับผิดชอบ 19 จังหวัด ในภาคอี ส าน พบว่ า “สตรี บ้ า นดง” มี ค วามรู้ ความสามารถด้านการเย็บผ้าเป็นส่วนใหญ่ จึงเปิดอบรม ในหลักสูตรการตัดเย็บเสือ้ ผ้า และได้ให้งบสนับสนุน การฝึกอาชีพในชุมชน ตามโครงการสร้างชีวิตใหม่

74


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ให้สตรีในชนบท โดยมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 40 คน หลังจากสำเร็จ การฝึกอบรมอาชีพแล้วสตรีบ้านดงได้รวมเป็น “กลุ่มแปรรูปผ้าขาวม้าอีสาน ตำบลบ้านดง” โดยมีศูนย์เรียนรู้ฯ รัตนาภาเป็นที่ปรึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เรื่อยมา จากหลักสูตรตัดเย็บเสื้อผ้า พัฒนาฝีมือมาเป็นเสื้อผ้าแบบต่าง ๆ ทำให้ กลุ่มสตรีมีรายได้ และมีฐานลูกค้าในชุมชน สร้างรายได้ให้สตรีนำมาเลี้ยงดู ตนเองและครอบครัวเรื่อยมา

ยกระดั บ มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ สู่ ก ารสร้ า ง เครือข่ายทางสังคม เมื่อปี พ.ศ. 2554 ศูนย์เรียนรู้ฯ รัตนาภา ได้สนับสนุนงบประมาณ ในการยกระดับกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายขึ้น กลุ่มจึงได้มี แนวคิดว่า ควรสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้โดดเด่นเป็นที่น่าสนใจ และบ่งบอกว่า นี่คือเอกลักษณ์ของอีสานบ้านเรา จึงได้นำผ้าขาวม้ามายกระดับ โดยผลิตให้เป็น ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ เสื้อผ้าพื้นเมืองลายผ้าขาวม้า กระเป๋าจาก ผ้าขาวม้า หมอนอิง หมอนข้างลายผ้าขาวม้า และเครื่องประดับผมจากผ้าขาวม้า เป็นต้น

75


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ปัจจุบนั “กลุม่ แปรรูปผ้าขาวม้าอีสาน ตำบลบ้ า นดง” พั ฒ นาต่ อ ยอดผลิ ต ภั ณ ฑ์ จนได้รับคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว 4 ดาว และ 5 ดาว อีกทัง้ สำนักงาน มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมได้ ใ ห้ ใบรับรองผลิตภัณฑ์ (มผช.) และกลุ่มได้ทำการ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มมากขึ้น ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น หน่วยงาน พม. ในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง ศูนย์ OTOP มูลนิธิ โรงแรมในจังหวัดขอนแก่น ธนาคารออมสิน เป็นต้น เห็นถึง ความสำคัญของการพัฒนากลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มรวมทั้งชุมชนเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับการสนับสนุน มากขึน้ ทำให้สมาชิกกลุม่ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของตนเอง และเป็นกลุม่ ที่เข้มแข็ง มีการขยายผลการดำเนินงานสามารถเป็นแบบอย่างด้านการบริหาร จั ด การกลุ่ ม ให้ ก ลุ่ ม ต่ า ง ๆ ในพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งได้ ม าศึ ก ษาเรี ย นรู้ ก่ อ ให้ เ กิ ด เครือข่ายทางสังคมเพิ่มมากขึ้น ชุมชนเกิดการพัฒนา อาชีพ และเศรษฐกิจของชุมชนเป็นอย่างดี

76


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

จักสาน สร้าง เสริมสุข โดย นางจันทร์เพ็ญ ศรีเมือง นายปณวัฒน์ พยุงตน

“อยากกลับมายังบ้านเกิดเพื่อดูแลพ่อแม่ที่แก่ชรา อยู่กรุงเทพฯ ไม่มี ช่ ว งเวลาไหนที่ ไ ม่ คิ ด ถึ ง บ้ า นเลย” นี่ คื อ คำพู ด บอกเล่ า ถึ ง ความรู้ สึ ก ของ “นางสมพร แพทย์กลาง” สตรีสาวโรงงานทอผ้าที่ตัดสินใจลาออกจากงาน ในเมืองหลวง เพื่อกลับมาบ้านเกิด มาอยู่กับครอบครัว หลังจากที่ได้หอบความ ตั้งใจมาจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในเมืองหลวง เพื่อหวังสร้างรายได้ให้ตนเอง และอีกหลายชีวติ ทีต่ อ้ งดูแล คุณสมพรเล่าว่า ช่วงแรกก็คดิ หนัก วิตกกังวล กลับมา อยูบ่ า้ นจะทำอะไร จะมีรายได้ยงั ไง เนือ่ งจากอาชีพของทีบ่ า้ นมีเพียงการทำเกษตร (ทำนา) ที่ ต้ อ งพึ่ ง ฝนฟ้ า อากาศที่ ค าดเดาไม่ ไ ด้ แต่ ด้ ว ยวิ ถี ชี วิ ต และบริ บ ท ของชุมชนมีทุนเดิมที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมในเรื่องการสานกระติบข้าวจากต้นไหล จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรวมกลุ่มอาชีพขึ้นในชุมชน ประกอบกับตนเองพอมีความรู้ ด้านการใช้จักรเย็บเสื้อผ้า จึงคิดรวมกลุ่มอาชีพ พัฒนาจากทุนของชุมชน เพื่อ แปรรูปสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนได้ขอรับการสนับสนุ น งบประมาณจาก ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ (เดิมชื่อว่า ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพ สตรี ภ าคะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ จั ง หวั ด ศรีสะเกษ) ตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ ให้แก่สตรีและครอบครัว

77


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ปี 2555 ได้ก่อกำเนิด “กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากต้นไหล” หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีสมาชิกแรกตั้งกลุ่ม จำนวน 32 คน ซึ่งล้วนเป็นสตรีที่อยู่ในชุมชนทั้งสิ้น ภายหลังได้รับการสนับสนุน งบประมาณ กลุ่มได้ดำเนินงานเรื่อยมา ผลิตภัณฑ์เริ่มต้นจากทอเสื่อจากต้นไหล ที่เป็นวัตถุดิบในชุมชน มาสานเป็นกระติบข้าว กระเป๋าสะพาย หมวกแฟชั่น แจกันดอกไม้ ตระกร้าหลากหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นฝีมือของสมาชิกกลุ่ม จากวั ต ถุ ดิ บ ของชุ ม ชนและครู ผู้ ส อนในชุ ม ชน นั บ ว่ า เป็ น การบริ ห ารจั ด การ ที่กลุ่มมีทรัพยากรภายในชุมชน กลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง จากเดิมเพียงแค่ผลิตเพื่อใช้ ภายในครัวเรือน ชุมชน ระยะหลังสินค้าเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาด จากการใช้ ของลู ก หลาน ปากต่ อ ปาก จึ ง ต้ อ งสร้ า งความคงทน ความสวยงามให้ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า และความพึ ง พอใจของผู้ ใช้ เ ป็ น สำคั ญ นั บ ว่ า เป็ น ชิ้นงานของครอบครัว แทบทุกหลังคาเรือนในชุมชน มีพื้นที่บางส่วนปลูกต้นไหล ทีไ่ ม่ได้มงุ่ เน้นปริมาณ บ้างเกิดขึน้ เองตามธรรมชาติ ลูกไปตัดต้นไหลพ่อนำมาตาก แม่ย้อมสี นำมาสานแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นภาพที่หาได้ยาก ที่พ่อแม่ลูกจะมี กิจกรรมทำร่วมกัน แต่ชุมชนแห่งนี้หาดูได้ไม่ยากเลย

78


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ในทุก ๆ ครั้งที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ได้เข้าไปยังกลุ่มจะได้รับการต้อนรับอย่าง อบอุ่นเป็นกันเอง ทำให้ได้ค้นพบและเรียนรู้มุมมอง อัตลักษณ์ของกลุ่มและ ชุมชนแห่งนี้ สมาชิกกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นผู้สูงวัย ทำให้บุคคลเหล่ารู้สึกว่าตนเอง มีคุณค่าเป็นแบบอย่างให้ลูกหลาน จุ ด เริ่ ม ต้ น จากวั ต ถุ ดิ บ ในชุ ม ชน นำมาสาน รั ง สรรค์ ส ร้ า งขึ้ น มา เป็นของใช้เองนำความสุขมาสู่ตนเอง สร้างรอยยิ้มในทุก ๆ วัน ชุมชนมีความสุข มี ก ารจั ด การโดยเชื่ อ มประสานกั น ทั้ ง กลุ่ ม อาชี พ ร้ า นค้ า ชุ ม ชน กลุ่ ม สั จ จะ ออมทรัพย์ กลุ่มเกษตร สมาชิกส่วนใหญ่ก็เป็นคนเดิม ช่วยเหลืองานชุมชน วัด โรงเรียน ร่วมมือทั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อมุ่งผลประโยชน์ต่อส่วนรวม จากการที่ศูนย์ฯ ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มผลิตภัณฑ์จาก ต้นไหล บ้านโนนกลาง ส่งผลก่อให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลดี ต่อกลุ่มและชุมชนในหลายลักษณะ กล่าวคือ 1. ด้านการฝึกอาชีพ 1.1 มีทักษะด้านการทอ การย้อม การเย็บ และพัฒนาลวดลาย 1.2 เกิ ด รู ป แบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ช นิ ด ต่ า ง ๆ หลากหลายรู ป ทรง แปลกทันสมัยตามกระแส 1.3 มี ก ารตกแต่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ พิ่ ม มู ล ค่ า และบรรจุ หี บ ห่ อ ที่ ดี สวยงาม 1.4 มี เรื่ อ งเล่ า เรื่ อ งราวบนสิ น ค้ า และผลิ ต ภั ณ ฑ์ โน้ ม น้ า วจู ง ใจ ผู้บริโภค และที่สำคัญเป็นสินค้าทำมือ 1.5 พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ โ ดยส่ ง เข้ า ประกวดได้ รั บ รางวั ล โอทอป ระดับ 3 ดาว 1.6 เกิดองค์กรเครือข่ายด้านอาชีพ สนับสนุนต่อยอดกลุ่มอาชีพ อย่างบูรณาการ

79


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

2. ด้านครอบครัวและชุมชน 2.1 ครอบครั ว มี ร ายได้ เ สริ ม เพิ่ ม ขึ้ น นอกเหนื อ จากการทำ การเกษตรกรรม 2.2 สมาชิกในครอบครัวมีสว่ นร่วมในกิจกรรม เน้นคุณค่าให้ความสำคัญ 2.3 สมาชิ ก กลุ่ ม มี โ อกาสประกอบอาชี พ อยู่ ภ ายในชุ ม ชนมี เวลา อยู่ร่วมกับครอบครัวไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน 2.4 มีการพัฒนาตนเองทางสังคมรอบด้านที่เกิดจากการประสาน ภาคีและการออกสู่สังคมวงกว้าง และรองรับแขกผู้มาเยือน 2.5 เกิดกลุ่มจิตอาสา บริการสาธารณะในชุมชนโดยใช้กิจกรรม กลุ่มอาชีพเป็นกลไก 2.6 ชุมชนมีความเข้าใจให้คุณค่าในกิจกรรมกลุ่มอาชีพ 2.7 ชมุ ชนเกิดการพัฒนา ตืน่ ตัว รองรับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู ้ มีครูวิทยากรเริ่มสอน ถ่ายทอดในโรงเรียนและชุมชนอื่น 3. ต้นแบบวัฒนธรรมชุมชน 3.1 ผลิตภัณฑ์จากต้นไหลเป็นอัตลักษณ์ประจำชุมชนบ้านโนนกลาง 3.2 สมาชิ ก ในชุ ม ชนและใกล้ เ คี ย ง ให้ คุ ณ ค่ า เห็ น ความสำคั ญ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต้นไหลของกลุ่มในการดำเนินชีวิตประจำวัน และงานเทศกาลตามประเพณีชุมชนอย่างพร้อมเพรียง 3.3 มี ก ารถ่ า ยทอดภู มิ ปั ญ ญาการจั ด ทำผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากต้ น ไหล สู่ลูกหลาน โดยยึดหลักสาน 3 วัยของชุมชน โดยใช้เทคนิค กระบวนการถ่ า ยทอดผ่ า นวิ ถี วั ฒ นธรรม และดำรงชี วิ ต ประจำวันอย่างแนบเนียน 3.4 มี ก ารส่ ง เสริ ม ชุ ม ชนเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ การจั ด ทำผลิ ต ภั ณ ฑ์ จากต้นไหลในชุมชน 3.5 มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ในช่องทางต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในสาธารณะทั่วไป

80


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

4. ด้านองค์กรชุมชนและเครือข่าย 4.1 กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากต้นไหลมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืนตามเป้าประสงค์ของการส่งเสริมกลุ่ม 4.2 มีองค์กร ภาคี เครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอด กลุ่มอย่างเป็นระบบทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม 4.3 เป็นแหล่งเรียนรูข้ องศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีฯ และชุมชน อืน่ ๆ นำไปสู่ ก ารประยุ ก ต์ ใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ต้ น ไหลเป็ น นวั ต กรรมของ ศูนย์เรียนรู้ฯ จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ ด้วยความรัก ความผูกพัน ความเอื้ออาทร ทัง้ สมาชิกกลุม่ และชุมชนให้การยอมรับ กลายเป็นแหล่งเรียนรูท้ ไี่ ม่ได้มงุ่ หวังมูลค่า หรือกำไรแม้ได้น้อย แต่กำไรแห่งรอยยิ้ม ความสุข ครอบครัวได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลาย มีคุณค่าในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ไม่สามารถประเมิน เป็นมูลค่าได้ เป็นวิถีความพอเพียงที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน เพื่อประโยชน์ แห่งชุมชนอย่างแท้จริง เป็นห้องเรียนแห่งชีวติ ทีท่ รงคุณค่าแก่การเรียนรู้ เพียงเปิดใจ ให้กว้าง เมื่อได้มาสัมผัสยังกลุ่มอาชีพของชุมชนแห่งนี้ จะได้สัมผัสกับบรรยากาศ แห่งท้องทุ่ง ธรรมชาติ ความประทับใจ กลุ่มอาชีพนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน แหล่ ง รวมผู้ ค นทุ ก ช่ ว งวั ย ที่ ส ำคั ญ จะเห็ น ภาพวั ย รุ่ น หนุ่ ม สาว รวมกลุ่ ม กั น สร้างสรรค์ผลงาน เช่น งานใบตอง บายศรี สิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติ งานดนตรี พื้นบ้าน การศึกษาชุมชนเชิงอนุรักษ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เด็กและเยาวชน ที่ชุมชนแห่งนี้ ถูกหลอมรวมจิตใจ ก่อเกิดความรู้ ความคิดให้รักและหวงแหน แผ่นดินเกิด ร่วมกันสร้างสรรค์ความดี สิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม

81


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

พลังแม่บ้าน สู่รางวัล แห่งความภาคภูมิใจ โดย นางอภัย คงคาสวัสดิ์ นายอับดุลรอฮิม ยูนุ

เป็นที่ยอมรับกันว่าขนมมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทยมาก ขนมมีมาตั้งแต่ดั้งเดิม และสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ด้านวัฒนธรรมของไทยทีม่ คี วามละเอียดอ่อนประณีต สวยงาม ทัง้ รูป รส กลิ่น ขนม ใช้เป็นอาหารว่าง รับแขก หรืองานบุญ งานมงคล งานเทศกาลสำคัญ ส่วนใหญ่ สมาชิกในครอบครัวจะทำขนมเป็นหลายอย่างจากการที่ได้รับการถ่ายทอด จากบรรพบุรุษ นางปรีดะ อายาหมีน ประธาน “กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเขา” บ้านหัวเขา ตำบล ฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นผู้รวบรวมกลุ่ม สมาชิกในหมู่บ้าน เพื่อจัดตั้งกลุ่มทำขนมพื้นบ้าน ดั้งเดิมส่งขายเป็นขนมของฝาก จนเป็นที่รู้จักกัน ทั้งจังหวัดสตูลและจังหวัดใกล้เคียง ด้วยสมาชิก เริ่มแรกเพียง 15 คน และด้วยการสนับสนุนจาก “ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา” (เดิมชื่อว่า ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ จังหวัด สงขลา) และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จนสามารถทำขนม ที่หลากหลายรสชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ ได้รับมาตรฐานสินค้า OTOP ระดับห้าดาวในตัวผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) อย. และเครื่องหมายรับรองฮาลาลภายใต้แบรนด์ผลิตภัณฑ์ ชื่อ “ฟารีดา”

82


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ด้วยความโดดเด่นด้านการบริหาร กลุ่ม สมาชิกกลุ่มมีความรู้ และประสบการณ์ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการ ของผูบ้ ริโภค การพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ให้ทนั สมัย เหมาะสม สวยงาม ไม่ เ อาเปรี ย บผู้ บ ริ โ ภค การตรงต่อเวลา กอปรกับสมาชิกมีความสามัคคี แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ แบ่งปันจัดสรรรายได้ที่เป็นธรรม มีระบบจัดสวัสดิการ ให้แก่สมาชิก และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน ทำให้ “กลุม่ วิสาหกิจชุมชน บ้ า นหั ว เขา” เป็ น จุ ด หมายปลายทางหนึ่ ง ในการศึ ก ษาดู ง านของกลุ่ ม อื่ น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับรางวัลความสำเร็จที่ได้รับรางวัลที่ 1 กลุ่มแม่บ้าน วิสาหกิจเกษตรกรดีเด่นประจำจังหวัดสตูล ผลิตภัณฑ์สินค้าได้รับการคัดสรร ระดับ 5 ดาว เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยรสชาติทหี่ ลากหลาย ความสะอาด ถูกสุขลักษณะของสถานทีแ่ ละบรรจุภณ ั ฑ์ การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและสมาชิกกลุ่ม การสร้างเครือข่ายด้านการตลาด การถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกรุ่นหลัง และการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไปสู่ ต ลาดประเทศมาเลเซี ย เป็ น แรงขั บ เคลื่ อ นให้ ก ลุ่ ม สามารถดำเนิ น งาน อย่างยืนยาวและมั่นคงตลอดมา

83


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

“ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา” ถื อ เป็ น ฟั น เฟื อ งหนึ่ ง ในการส่ ง เสริ ม ให้ “กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนบ้ า นหั ว เขา” สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และสืบทอดขนมโบราณที่มีมา ตั้งแต่บรรพบุรุษ ให้กลับมาให้ลูกหลาน และผู้บริโภคได้รู้จัก และอนุรักษ์สิ่งที่ บรรพบุรุษได้คิดค้นไม่ให้สูญหายไปกับกระแสวัฒนธรรมการบริโภคอาหารขยะ Fast Food ที่กำลังแพร่หลายในสังคม และถือเป็นการสร้างความเข็มแข็ง ให้ชุมชนสร้างผู้นำ สร้างรายได้ ความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน การเสียสละ การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด

84


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ลู ก จั น ทร์ บ าติ ก ... กั บ ชี วิ ต แสนสุ ข โดย นางสิราณี คิดหาทอง นายบัญชา บุญสุภาพ

ย้ อ นไปเมื่ อ ปี พ.ศ. 2555 เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของกลุ่ ม ฝึ ก อาชี พ ที่ ชื่ อ ว่ า “ลูกจันทร์บาติก” นางเตือนจิตร ปัญญาช่าง หรือ “คุณตุ่น” แม่บ้านทหารและ เป็นประธานกลุ่มลูกจันทร์บาติก เล่าให้ฟังว่า กลุ่มฯ เกิดจากการรวมกลุ่มกัน ระหว่างกลุ่มแม่บ้านทหารที่ว่างงาน ไม่มีอาชีพ จึงอยากมีอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ให้กบั ครอบครัวและกลุม่ ชาวบ้านทีย่ ดึ อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เป็นทีท่ ราบ กันดีว่า อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปัจจัย แวดล้อม เช่น สภาพอากาศ สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น กลุ่มเกษตรกรรมเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ ภายหลังจากการรวมกลุ่มประกอบอาชีพจนเสร็จสิ้น “โครงการสร้าง ชีวิตใหม่ให้แก่สตรีและครอบครัว” กลุ่มฯ ได้ดำเนินการรวมกลุ่มกันต่อ โดย ได้รบั เงินทุนสนับสนุนจาก “ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี” จำนวน 33,000 บาท จาก พันสบร. 21 จำนวน 20,000 บาท และได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การศึกษา

85


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

นอกโรงเรี ย นอำเภอเกาะจั น ทร์ จั ง หวั ด ชลบุ รี (กศน. อำเภอเกาะจั น ทร์ ) อีกจำนวน 16,800 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 69,800 บาท เป็นทุนแรกดำเนินการ ของกลุ่มฯ หลั ง จากรวมกลุ่ ม ได้ ป ระมาณ 1 ปี ปรากฏว่ า กลุ่ ม ไม่ ส ามารถจำหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทีจ่ ดั ทำขึน้ ได้ อันเป็นผลจากการขาดความรูใ้ นการ จำหน่ายหรือการเพิม่ มูลค่าผลิตภัณฑ์ ประกอบกับ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชลบุ รี มี ก ลุ่ ม อาชี พ ที่ มี ค วามรู้ ความชำนาญในการจั ด ทำผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กี่ ย วกั บ ผ้าบาติกเป็นจำนวนมาก ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้สมาชิกบางคนเริ่มไม่มั่นใจในทิศทาง ของกลุม่ ฯ ว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้เขาได้ จึงขอลาออก ทำให้ปจั จุบนั คงเหลือ สมาชิก 9 คน ซึง่ เป็นกลุม่ แม่บา้ นทหาร โดยใช้สถานทีข่ องกองบัญชาการช่วยรบ ที่ 1 เป็นสถานที่จัดทำ และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นหลัก เมื่อสมาชิกเหลือน้อยลง ทำให้ ก ลุ่ ม ต้ อ งกลั บ มาทบทวนและ วางแผนการดำเนินงานกลุ่มกันใหม่ ปั จ จุ บั น กลุ่ ม ฯ มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ให้เลือกมากมาย และสามารถออกแบบ ผลิตภัณฑ์ตามรายการที่ลูกค้าต้องการได้ เป็นสถานที่เรียนรู้ให้กับเด็ก และเยาวชน หรือผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ศึกษาดูงาน รวมถึงดาราหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเยี่ยมชม และซื้อผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเป็น วิทยากรให้ความรู้ในวาระต่าง ๆ

86


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สิ่งสำคัญที่ทำให้กลุ่มฯ สามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ คือ การร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่มีความมุ่งมั่น พยายาม หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเอง อยู่เสมอ โดยการออกไปเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น การเรียนรู้เรื่องการเดินเส้นทอง การดูงานในสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ร้านหัวหินบาติก หรือที่อำเภออัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม เป็นต้น นอกจากนี้ การบริหารงานทีโ่ ปร่งใส ยุตธิ รรม การอยูด่ ว้ ยกัน แบบครอบครัว แบบญาติพี่น้องทำให้กลุ่มสามารถรวมเป็นหนึ่งได้ และนี่ถือเป็น ปัจจัยหรือที่มาของความสำเร็จนี้ สุดท้าย “คุณตุ่น” กล่าวว่า “ความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มี จุดเริ่มต้นจากโครงการดี ๆ อย่างโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้แก่สตรีและครอบครัว และที่ ส ำคั ญ ต้ อ งขอขอบพระคุ ณ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี ที่ได้มอบโอกาส ให้กับ “กลุ่มลูกจันทร์บาติก” กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ที่ให้การสนับสนุน ทั้งในเรื่องสถานที่ และการ Promote ผลิตภัณฑ์ ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้ ง ขอบพระคุ ณ ผู้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น ทุ ก ท่ า น ทุ ก ภาคส่ ว นที่ มี ส่ ว นกั บ ความสำเร็จนี้ และที่ขาดไม่ได้เลย คือ ขอบคุณสมาชิกกลุ่มที่ร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรค จนสามารถก้าวผ่านมันมาได้และทำให้กลุ่มอยู่มาได้ จนถึงทุกวันนี้ และต่อ ๆ ไป ในทัศนะของผู้เขียนจากการสัมภาษณ์กลุ่มฯ ได้ค้นพบว่า “จุดแข็งของ กลุ่มฯ คือ ความโปร่งใส สายตาที่มุ่งมั่น และตั้งใจของสมาชิกกลุ่มฯ ทุกคน ที่ แ สดงถึ ง ความทุ่ ม เทเพื่ อ ให้ ก ลุ่ ม ฯ เดิ น ไปสู่ เ ป้ า หมาย ซึ่ ง เป็ น จุ ด สำคั ญ ที่จะทำให้กลุ่มฯ ก้าวเดินต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน”

87


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

สมุนไพร วิถีไทย สร้างสายใยในชุมชน โดย นายสุกิจ เกศสุวรรณรักษ์ นายจักรพันธ์ รอดทุกข์ุ

“สมุนไพร” ภูมปิ ญ ั ญาของชุมชน จากอดีตสูป่ จั จุบนั “สมุนไพร” หมายถึง ผลิตผลธรรมชาติ ซึ่งได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือ ผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ หากนำเอาสมุนไพร ตัง้ แต่สองชนิดขึน้ ไปมาผสมรวมกันจะเรียกว่า “ยา” ในตำรั บ ยา นอกจากพื ช สมุ น ไพรแล้ ว ยั ง อาจ ประกอบด้วยสัตว์ และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า “เภสั ช วั ต ถุ ” พื ช สมุ น ไพร เช่ น เร่ ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น

“สมุนไพร” สร้างกลุม่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สืบเนื่องจากกลุ่มสตรีบ้านเม็งราย และบ้านสันสลีก ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย มีสตรีว่างงานจากการทำนา จึงมีความ ประสงค์อยากมีอาชีพเพื่อจะได้มีรายได้ช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว รวมถึง มีวตั ถุดบิ ในชุมชน เช่น ใบเตย รางจืด ไพร ขิง ข่า ตะไคร้ มะตูม ดอกอัญชัญ ฯลฯ สามารถนำมาแปรรู ป ก่ อ ให้ เ กิ ด รายได้ เทศบาลตำบลพญาเม็ ง รายจึ ง ได้ ประสานขอความอนุ เ คราะห์ ง บประมาณสนั บ สนุ น เพื่ อ ฝึ ก อบรมอาชี พ จาก

88


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

“ศู น ย์ เ รี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว จั ง หวั ด เชี ย งราย” ซึ่ ง ในปีงบประมาณ 2557 กลุ่มสตรีพญาเม็งราย หรือในปัจจุบันคือ กลุ่มวิสาหกิจ ชุ ม ชน กลุ่ ม สมุ น ไพรเทศบาลตำบลพญาเม็ ง ราย ได้ผ่านการคัดเลือกจาก คณะกรรมการของศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว พร้อมทัง้ มีการชีแ้ จง กระบวนการฝึกอบรม และได้รับการฝึกอบรมตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรี และครอบครัว หลักสูตรยาสมุนไพร และต่อมาในปีงบประมาณ 2558 กลุ่มฯ ยังคงมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับการพิจารณาจากศูนย์เรียนรู้ฯ ให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ 110 วัน และปีงบประมาณ 2559 กลุ่มฯ ได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจให้แก่สตรีเพื่อ ส่งเสริมสตรีในด้านการบริหารจัดการกลุม่ อย่างมีคณ ุ ภาพ ทัง้ ในด้านการออกแบบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ และตราสิ น ค้ า ด้ า นการรั บ รองมาตรฐาน ด้ า นการตลาด และ ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ซึ่งความรู้ที่ได้รับ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มได้เป็นอย่างดี ปัจจุบนั กลุม่ ฯ มีสมาชิกจำนวน 30 คน แบ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ คือ ปลูกต้นสมุนไพร 17 คน และเป็นพนักงานประจำ 13 คน สมาชิกส่วนใหญ่ เป็นสตรีทขี่ าดโอกาสทางสังคม และมีฐานะยากจน ทุกคนจะมีรายได้อย่างต่ำ วันละ 100 บาท มีโครงสร้างการบริหารจัดการ แบบกลุ่มที่ชัดเจน มีคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ในกลุ่ม เช่น การออมวันละ 1 บาท การจัดสวัสดิการในเรื่องของการเจ็บป่วย เป็นต้น รวมถึง มีการสนับสนุนซื้อวัตถุดิบจากในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชนของตนเอง และตำบลใกล้เคียง มีการเพิม่ สมาชิกกลุม่ เป็นประจำทุกปี เพือ่ สร้างรายได้ สร้างงานให้กบั สตรีทขี่ าดโอกาส

89


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ทางสังคม และมีฐานะยากจน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา โดยมีการ คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตามความต้องการของลูกค้า และความต้องการทางการตลาด มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่กว้าง มีพ่อค้าคนกลางมารับไปจำหน่ายทั้งภายใน ประเทศและต่ า งประเทศ เช่ น โรงพยาบาลภู เ ก็ ต โรงพยาบาลพิ ษ ณุ โ ลก โรงพยาบาลกำแพงเพชร โรงพยาบาลสงขลา ประเทศไต้หวัน เป็นต้น ปั จ จั ย ที่ ห นุ น เสริ ม ความสำเร็ จ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ การได้ รั บ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น 1) การได้รับการสนับสนุน ทางด้านวิชาการและงบประมาณจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย สำนักงานเทศบาลพญาเม็งราย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สำนั ก งานเกษตรอำเภอพญาเม็ ง ราย 2) การได้ รั บ ข้ อ มู ล ทางวิ ช าการด้ า น การควบคุมการผลิตสมุนไพรจากบุคลากร และคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย แม่ฟา้ หลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลพญาเม็งราย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 3) การ ได้รบั การพัฒนาเป็นสินค้า OTOP ทีม่ คี ณ ุ ภาพ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เชียงราย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพญาเม็งราย 4) การได้รับการสนับสนุน ทางการตลาดจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เชี ย งราย และ 5) การได้ รั บ การรั บ รองมาตรฐานการผลิ ต จากสำนั ก งาน สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เป็นต้น ซึง่ การสนับสนุนของหน่วยงานดังกล่าว ได้ชว่ ยถักทอสร้างความเข้มแข็งให้กลุม่ ฯ ได้อย่างแท้จริง

ความสุข ความภูมใิ จ และรางวัลทีไ่ ด้รบั

ทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่า สมาชิกกลุ่มฯ มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป คือ เรียนรู้ที่จะทำงานโดยมีการวางแผนการทำงาน การวางแผนการตลาด และ มีรายได้จากการรวมกลุ่มประกอบอาชีพเพื่อนำไปสร้างความสุขให้กับครอบครัว รวมทั้งมีความภาคภูมิใจที่กลุ่มฯ ได้รับการรับรองผ่านการฝึกอบรมโครงการ

90


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว และการสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบ อาชีพ 110 วัน จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย ได้ ขึ้ น ทะเบี ย นวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน โดยสำนั ก งานพั ฒ นาชุ ม ชน จั ง หวั ด เชี ย งราย ขึ้นทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2557 ได้รับมาตรฐาน ม.ผ.ช./2553 ตามใบรับรองเลขที่ 59543-392/176 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2558 และนางรัชดาพร ไชยวุฒิ ประธานกลุม่ ฯ ได้รบั รางวัลนักสังคมสงเคราะห์ดเี ด่น ประเภท นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เรือ่ งทีไ่ ด้เรียนรู้

จากการทำงานจนกระทั่งประสบความสำเร็จในวันนี้กลุ่มฯ เรียนรู้ว่า การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมและความสามัคคีของคนในกลุ่ม การบริหาร จัดการที่ดี การทำแผนธุรกิจ การมีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย การมีวัตถุดิบ ในชุมชน การมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หลากหลาย และมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มฯ การได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และวิชาการ จากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย แห่งความสำเร็จ ที่ทำให้กลุ่มฯ มีความยั่งยืน

ข้อท้าท้ายในอนาคต

ข้ อ ท้ า ทายที่ ต้ อ งการลงมื อ ทำในอนาคต คื อ การแก้ ไขปั ญ หาเรื่ อ ง การขาดแคลนอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น ตู้เครื่องอบ เครื่องปั่น เป็นต้น ตลอดจน การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ และการขยายตลาด เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่กลุ่มจักต้องเร่งสานต่อ ให้สำเร็จต่อไป

91


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

พลังแม่ญิ๋งนักสู้... สู่สัมมาชีพสร้างคน

โดย นางสาวศุลีพร สันธิราษฎร์ นายณัฐพล หน่อคำ

กลุ่มสตรีแม่ญิ๋งเมืองลำพูน เจ้าแม่จามเทวีนครศรีหริภุญชัย ลูกหลาน แม่ญิ๋งสายเลือดนักสู้ หมู่ที่ 9 บ้านห้วยแหนพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัด ลำพูน “หนทางพิสูจน์แรงม้า กาลเวลาพิสูจน์มานะคน” 7 ปีแห่งการรวมกลุ่ม พัฒนาศักยภาพพัฒนาบทบาทสตรีควบคู่กับการประกอบอาชีพในการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกาแฟและลำไย ในนิยามคำว่า “พลังแม่ญิ๋งนักสู้” คือ พลั ง จากการรวมกลุ่ ม สตรี แ ม่ บ้ า นหมู่ ที่ 9 บ้ า นห้ ว ยแหนพั ฒ นา ที่ ผ่ า นการ ฝึกอบรมวิชาชีพจาก “ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน” นำสู่การสร้างอาชีพในชุมชน ทีม่ นั่ คง ตามหลักการของผูน้ ำกลุม่ สตรีทวี่ า่ “หลักการคิดสร้างอาชีพด้วยตัวเอง กลุ่ ม ในชุ ม ชนไม่ ต้ อ งไปหางานทำไกลเพื่ อ อยู่ กั บ ครอบครั ว อย่ า งอบอุ่ น สร้างสัมพันธภาพอันดี ชุมชนเข้มแข็ง” จากสถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ ที่ เ ปลี่ ย นแปลง ความสามารถ ในการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเพือ่ ประกอบอาชีพทีย่ นื หยัดด้วยตัวเอง สร้างรายได้ จากความคิดสร้างสรรค์ นั่นคือ แม่ญิ๋งกัลยา ขาวโสม เจ้าของ แบรนด์กาแฟลำไย ภายใต้ชื่อ “ป่าแป๋” กาแฟลำพูน (ปัจจุบนั ได้จดทะเบียนเครื่องหมาย การค้า แบรนด์ Pa’pae จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา)

92


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส วั ส ดี เ มื อ งลี้ จั ง หวั ด ลำพู น แม่ ญิ๋ ง ที่ ม าพร้ อ มกั บ ความอร่ อ ย กลิ่ น หอม ของกาแฟดอยป่ า แป๋ ที่ สู ญ เสี ย สามี อั น เป็ น ที่ รั ก จากครอบครั ว ที่สมบูรณ์ กลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต่อสู้ชีวิตลำพัง อีกทั้งต้องดูแลลูก และ แม่ บั ง เกิ ด เกล้ า ตั้ ง แต่ วั ย เพี ย ง 42 ปี แม่ ญิ๋ ง กล่ า วว่ า “แม้ เจอมรสุ ม ชี วิ ต แห่งความสูญเสียเสาหลักที่จุนเจือครอบครัว แต่จะทำหน้าที่ในฐานะแม่ และพ่อให้ดีที่สุดไปพร้อมกัน เพื่อให้ลูกมีการศึกษา และสร้างครอบครัว อบอุ่ น สุ ข สั น ต์ ด้ ว ยการประกอบอาชี พ เลี้ ย งตั ว เองอยู่ ที่ บ้ า นทำงาน เลี้ยงลูก ดูแลอบรมขัดเกลาไปพร้อมกัน ภายใต้หลังคาชีวิตแห่งความสุข” กลุ่มสตรีเล่าว่า อาชีพหลักแต่ ก่อน ของครอบครั ว ทำการเกษตร ปลู ก ข้ า วโพด สวนลำไย ซึ่ ง ขายได้ ร าคาถู ก บางครัง้ ไม่ได้ผลผลิตอย่างทีล่ งทุนไป เป็นหนี้ เพิ่มตามมา ทำให้ต้องหาอาชีพใหม่ในช่วง ที่ ไ ม่ มี ร ายได้ จ ากทำเกษตร ในขณะที่ ไ ม่ มี ความรู้ในเรื่องใด ๆ เลย จึงทำให้ยากต่อ การหารายได้ของตัวเอง เมื่อมีโอกาสได้เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จึ ง เปิ ด โอกาสให้ ต นเองได้ เรี ย นรู้ ใ นสิ่ ง ใหม่ ๆ ที่ ไ ม่ เ คยได้ รู้ เช่ น การฝึ ก อบรมวิ ช าต่ า ง ๆ จึ ง ทำให้ รู้ ว่ า นอกจากอาชี พ ทำสวนแล้ ว ยั ง มี ช่ อ งทาง การนำผลผลิ ต ที่ ไ ด้ จ ากเกษตรในชุ ม ชน มาแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นได้ ขายผลผลิตด้วย ได้ ค่ า แรงงานการผลิ ต ด้ ว ย แต่ ต้ อ งพั ฒ นา อย่างต่อเนื่องจริง ๆ มองย้อนมาถึงการศึกษา ที่ได้เรียนมาน้อย จบเพียงการศึกษาระดับ มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 จากศู น ย์ ก ารศึ ก ษา ตามอัธยาศัย กศน. จังหวัดลำพูน ในชีวิต

93


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

การต่อสู้ทางการศึกษา ประกอบกับความตั้งใจ ใฝ่รู้ อดทน บากบั่น ไม่ยอมแพ้ในการพัฒนา ตนเองให้มีศักยภาพในสังคมชนบท หมู่ที่ 9 บ้านห้วยแหนพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัด ลำพูน เมื่อให้เกิดทักษะชีวิต หลักแนวคิด ในการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบ จึงได้รวมกลุ่ม จากผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกข้าวโพด ทำสวน ที่ขาดทุนทุกปี เป็นหนี้เพิ่มโดยวิธีการ คิดใหม่ ทำใหม่ หาเวลาร่วมการอบรมวิชาชีพ จากหน่วยงานเพื่อหารายได้เสริม จนเมื่อในปี 2554 กลุ่มได้รับโอกาสที่ดีจากศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ในโครงการฝึกอบรมสร้างอาชีพ โครงการ สร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว ปี 2554 หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มจากกาแฟ และลำไย ซึ่งในส่วนของเบี้ยเลี้ยงผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 คน สมาชิกทุกคน ได้เสียสละทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ของกลุ่ม เพื่อใช้ในกิจกรรมของกลุ่มต่อไป เพื่อ ให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้สู่ชุมชนแบบพอเพียง โดยยึดหลักการนำต้นทุน ทางสังคม ภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาที่มีอยู่มาพัฒนาก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้สู่ครอบครัว ชุมชน ทางศูนย์ฯ ได้ส่งเสริมสนับสนุน อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง สอนให้ เราคิ ด วางแผน วิ เ คราะห์ เ หตุ ผ ล และปฏิ บั ติ จ ริ ง ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น คิดได้ ลองทำได้ จำหน่ายได้หรือไม่ สร้างรายได้ ได้หรือไม่ อย่างไร เมื่อมีปัญหาต้องหาแนวทางแก้ไขตรงจุด รวมถึงการพัฒนาอย่างไร ให้เกิดกระบวนการอย่างชัดเจน เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการติดตาม สอบถาม และแลกเปลี่ยนแนวทางให้ความรู้เสมอมา โดยรวมกลุ่มแม่บ้านที่สนใจตั้งกลุ่ม ระดมทุนเพื่อผลิต และช่วยกันขายได้

94


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ปัจจุบันสมาชิกมีรายได้จากการทำงานที่กลุ่มกาแฟ วันละ 150 ถึง 200 บาท ซึ่งสมาชิกพอใจเนื่องจากมีเวลาทำงานไร่สวนของครอบครัว ซึ่งเป็น งานหลักและมีรายได้ปีละ 1 - 2 ครั้ง แต่ยังมีกิจกรรมสร้างรายได้เสริมช่วยครอบครัว ซึ่ ง ได้ ทุ ก สั ป ดาห์ ห รื อ ทุ ก วั น โดยมารวมกลุ่ ม กั น ที่ ศู น ย์ ก าแฟ นอกเหนื อ จากผลิ ต เพื่ อ จำหน่ า ย สมาชิ ก ในกลุ่ ม ยั ง ส่ ง เสริ ม กั น ในเรื่ อ ง ลดค่ า ใช้ จ่ า ย ในครอบครัว เช่น ปลูกผักสวนครัวที่ศูนย์กาแฟ และที่บ้านของสมาชิกเพื่อนำมา เป็นอาหารกลางวันที่ศูนย์กาแฟ หรือนำมาแลกหรือแจกจ่ายกันทำน้ำยาล้างจาน ไว้ใช้ในศูนย์กาแฟ และที่บ้านเอง เมื่อมีเวลาว่างจะหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อไว้ใช้ เวลาที่ ว่ า งให้ เ กิ ด ประโยชน์ เช่ น ที่ บ้ า นของสมาชิ ก ทุ ก คนมี ก ล้ ว ยน้ ำ ว้ า สุ ก แล้วกินไม่ทนั นำมาตากทีโ่ รงตากของศูนย์กาแฟ และทำเป็นกล้วยตาก เนือ่ งจากทีศ่ นู ย์ กาแฟมีอุปกรณ์ เครื่องมือและของใช้ต่าง ๆ สะดวก สะอาด จึงมาทำรวมกัน แล้วแบ่งกันไปรับประทานที่บ้าน ซึ่งตอนนี้ได้พัฒนากล้วยตากเป็นรูปแบบใหม่ เพือ่ เป็นขนม คือ บานาน่าเคลือบรสกาแฟ กำลังอยูใ่ นระหว่างทดลองการหมดอายุ ของสินค้า การพัฒนาตนเอง การศึกษาดูงาน ได้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น

95


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

- โครงการพั ฒ นาธุ ร กิ จ ให้ ส ตรี ข องศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี และครอบครัวฯ จังหวัดลำพูน - สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน ด้านการพัฒนาศักยภาพ สินค้าให้ได้มาตรฐาน - สถาบั น อาหาร เรื่ อ งการพั ฒ นาสถานที่ ผ ลิ ต และสิ น ค้ า ให้ ไ ด้ มาตรฐานตามหลักศาสนาอิสลามและแนวทางการขอใบรับรอง “ฮาลาล” พั ฒ นาสถานที่ ผ ลิ ต จนได้ รั บ มาตรฐาน อย. GMP ทำให้ สิ น ค้ า น่ า เชื่ อ ถื อ มากขึ้ น และเป็ น สถานที่ ศึ ก ษาดู ง านให้ กั บ กลุ่ ม ต่ า ง ๆ พั ฒ นา สิ น ค้ า ใหม่ ๆ ให้ ต รงตามกลุ่ ม ลู ก ค้ า พั ฒ นาด้ า นระบบบั ญ ชี เ ป็ น สากล เพื่อความโปร่งใสจากสหกรณ์ตรวจบัญชี จังหวัดลำพูน กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ ที่ ไ ด้ ม าตรฐาน อย. 5 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ และกำลั ง จะมี เ พิ่ ม อี ก 1-2 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ปัจจุบันกลุ่มมีสถานที่ผลิต มีสถานที่จำหน่ายของกลุ่ม ได้แก่ - ศู น ย์ จ ำหน่ า ย OTOP LI เมื อ งลี้ ตรงข้ า มโรงเรี ย นเวี ย งเจดี ย์ วิทยา - ร้านของฝาก สวัสดีเมืองลี้ ในวัดพระพุทธบาทผาหนาม ระบบบริ ห ารการจั ด การของกลุ่ ม เป็ น การบริ ห ารแบบสากล มี ลู ก ค้ า ประจำ มี ก ารสร้ า งงานจากกลุ่ ม สตรี เ อง คิ ด เอง และช่ ว ยกั น ทำ มี ร ายได้ เ พิ่ ม บางคนเป็ น อาชี พ หลั ก ได้ อ ยู่ กั บ ครอบครั ว ไม่ ต้ อ งทำงาน ที่ยากลำบากเกินไป โดยที่ยังมีเวลาจากการรวมกลุ่มแล้ว สามารถทำงานไร่ งานสวนได้ โ ดยไม่ ต้ อ งเลื อ กอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ประชาสั ม พั น ธ์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ และส่งเสริมด้านการตลาดร่วมกันใน facebook: ศูนย์ OTOP ลี้ ภายใต้ หลักการทำงานการเรียนรู้ เครือข่ายสัมมาชีพกับกลุ่ม ประกอบด้วยฐาน เรี ย นรู้ 4 ด้ า น เพื่ อ เครื อ ข่ า ยสั ม มาชี พ สร้ า งคนของกลุ่ ม ประกอบด้ ว ย 1. วิริยะปัญญา (ความเพียรใฝ่หาความรู้) 2. พัฒนาสู่มาตรฐาน 3. ขยายงาน -สร้างเครือข่าย และ 4. การจัดการโปร่งใส เพื่อองค์กรมั่นคง มีความสุข ครอบครัวอบอุ่น

96


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

กลุ่มสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกาแฟและลำไยได้พิสูจน์ตัวเอง เกี่ยวกับศักยภาพสตรีในแนวทางพัฒนาอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน สมแล้วที่พลัง แม่ญิ๋งกัลยา “สู้เพื่อเลี้ยงชีพ” ดูแลครอบครัว “สู้เพื่อสร้างอาชีพ” บริหาร จัดการกลุ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ เน้นคุณภาพ มาตรฐานยอดเยี่ยมแก่ผู้บริโภค อย่างคุม้ ค่า สร้างรายได้ มีอาชีพโดยไม่ตอ้ งไปทำงานนอกบ้าน “สูเ้ พือ่ สัมพันธภาพ เครือข่าย” เป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้ ด้านการฝึกอบรมในชุมชน เป็นศูนย์ประสานให้แก่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน สร้างช่องทาง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้แก่กลุ่มสตรีอื่น ๆ ในโครงการรับผิดชอบของศูนย์ฯ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว เฉลิ ม พระเกี ย รติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ได้มองถึงกลุ่มกาแฟป่าแป๋ว่า ในด้าน การดำเนินงานของกลุ่มอาชีพ จากจุดเริ่มโดยมีผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง วิสัยทัศน์ มองเห็นวัตถุดิบในชุมชน ทุนทางสังคมที่มีอยู่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีทศิ ทาง สร้างงาน สร้างรายได้ จึงทำให้เกิด กาแฟ “ป่าแป๋” แบรนด์ Pa’pae ด้วยการซือ้ วัตถุดบิ จากชาวบ้านในพืน้ ทีส่ งู ชาวปกาเกอญอ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีการรวมกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านเพื่อการผลิตกาแฟ ผสมผสานกับเมือง ปลูกลำไยด้วยวิธีการแปรรูปลำไย เป็นลำไยผงเป็นเครื่องดื่ม พร้อมชงกาแฟลำไย มีการขยายกลุ่มจากเล็กเป็นใหญ่อย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่ม อาชี พ มี ทุ ก เพศทุ ก วั ย มี ร ายได้ เ ลี้ ย งดู ตั ว เอง และครอบครั ว ไม่ ต้ อ งออกไป ประกอบอาชีพนอกพืน้ ที่ สร้างเครือข่ายแก่อาชีพเกษตรกร สวนลำไย สวนกาแฟ เพื่อสร้างรายได้ภายในชุมชนอย่างครบวงจร มั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง

97


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ข้อค้นพบสำคัญ จากการถอดบทเรียน จากทั้ง 16 บทความข้างต้น จะเห็นได้ว่า บนเส้นทางการก้าวเดิน ของบุคคล และกลุ่มเหล่านี้กว่าจะประสบความสำเร็จต้องผ่านปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ มากมาย แต่ที่สามารถก้าวผ่านมาจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ดั่งที่ตั้งใจ เพราะเป็ น บุ ค คลที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะพิ เ ศษหลายประการ ประกอบกั บ มี แรง สนับสนุนจากภายนอกหนุนเสริมให้ประสบความสำเร็จยิง่ ขึน้ ด้วย สิง่ เหล่านัน้ ได้แก่

คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

98

1. มีความฝันเป็นแรงบันดาลใจ และรู้จักวางเป้าหมายในชีวิต 2. มีวินัย ขยัน มุ่งมั่น ตั้งใจ มานะ อดทน และอดกลั้น 3. ใฝ่เรียนรู้ ฝึกฝนตนเองให้รู้ลึก รู้จริง และช่างสังเกต 4. มีความรับผิดชอบ รู้จักการบริหารเวลา 5. เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6. เป็นผู้ที่รู้จักอดออม ประหยัด มัธยัสถ์ และรู้จักพอเพียง 7. ยึดหลักธรรมะ ความกตัญญู และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 8. คุณลักษณะที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ 8.1 มีวิสัยทัศน์มองเห็นโอกาส และความสำเร็จ 8.2 บริหารจัดการงานอาชีพอย่างมีระบบ 8.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 8.4 มีจิตบริการ (service mind) โดยให้ความสำคัญ และใส่ใจกับ ความต้ อ งการ ความพึ ง พอใจของลู ก ค้ า เพื่ อ นำมาพั ฒ นา คุณภาพและรักษามาตรฐานการให้บริการ 8.5 สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบข้าง


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

คุณลักษณะของกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. ผู้นำกลุ่มเข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ มองเห็นโอกาสที่คนอื่นไม่เห็น 2. บริหารจัดการงานกลุม่ แบบมีสว่ นร่วม (วางแผน ตัดสินใจดำเนินการ รับผิดชอบ รับผลประโยชน์ และประเมินผล) 3. การทำงานเป็นทีม 4. บริหารจัดการด้านการเงินอย่างโปร่งใส 5. กำหนดระเบียบการดำเนินงานของกลุ่ม และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 6. สร้างความรัก ความสามัคคี ความผูกพัน และความเอื้ออาทรให้กับ สมาชิกกลุ่ม พร้อมทั้งจัดสวัสดิการให้สมาชิกรู้สึกถึงความอบอุ่น และมั่นคง 7. สร้างอัตลักษณ์ และพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ 8. ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความต้องการของลูกค้า 9. พัฒนา และรักษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ 10. มีตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และสามารถหาช่องทางตลาด ใหม่ ๆ ได้ 11. ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น 12. ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน 13. สร้างงานให้คนในชุมชน 14. สร้าง และเชื่อมโยงเครือข่าย 15. พั ฒนากลุ่มให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ซึ่งทำให้มีโอกาส ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น ๆ มากขึ้น

99


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

แรงหนุนเสริมจากภายนอก ประกอบด้วย 1. องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ การออกแบบ และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า การบริหารจัดการตนเอง/กลุ่ม ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง 2. องค์ความรูท้ เี่ ป็นทักษะชีวติ เช่น สถานการณ์สงั คม กฎหมายทีค่ วรรู้ คุ ณ ธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต วินัยและความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ การทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น 3. งบประมาณ (ระหว่างการฝึกอบรม และทุนประกอบอาชีพ) 4. ติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรมอย่างจริงจัง 5. สนับสนุนสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาดใหม่ ๆ 6. ให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 7. การสร้าง และเชื่อมโยงเครือข่าย สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่สามารถจะละเลยได้ คือ บุคคลและกลุ่ม เหล่านี้ เมื่อประสบความสำเร็จแล้วได้ตอบแทนกลับคืนสู่คนรุ่นใหม่ สู่สังคม อย่างน่าชื่นชม ตัวอย่างคุณงามความดี ที่เขาเหล่านี้ได้กระทำ ได้แก่ 1. การเป็นวิทยากรสอนวิชาชีพเป็นวิทยาทานให้กับรุ่นน้องในสถาบัน ที่เคยศึกษาเรียนรู้ หรือตามที่หน่วยงานราชการ มูลนิธิต่าง ๆ ขอความร่วมมือ 2. การรั บ รุ่ น น้ อ งจากสถาบั น ที่ เ คยศึ ก ษาเรี ย นรู้ เข้ า ฝึ ก งานวิ ช าชี พ ในกิจการของตน 3. การบำเพ็ญประโยชน์ชว่ ยเหลือสังคม เช่น การตัดผมฟรีเป็นการกุศล การนวดรักษาพระสงฆ์ การช่วยเหลือคนพิการ เด็กกำพร้า คนไร้ที่พึ่ง ตลอดจน สัตว์พิการ

100


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

4. การมี ส่ ว นร่ ว มในกิ จ กรรมของชุ ม ชน โดยการจั ด สรรเงิ น ปั น ผล ส่วนหนึ่งสาหรับมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน/หน่วยงานที่เคยให้ การสนับสนุน เช่น การจัดงานวันสำคัญทางศาสนา หรือทุนการศึกษาสำหรับ นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 5. การใช้ ท รั พ ยากรท้ อ งถิ่ น อย่ า งมี คุ ณ ค่ า รั ก ษาและเสริ ม สร้ า ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เป็นมรดกของชนรุ่นหลัง ตลอดจนสร้างอาชีพให้คนในชุมชน มีอาชีพ มีรายได้สำหรับเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัวได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่า บุคคลและกลุ่มเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นเพชรที่ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาสตรีและครอบครัวทัง้ 8 แห่ง ได้รว่ มกันเจียรนัยให้เปล่งประกายส่องแสง แวววาวเป็นคนดีของสังคม ที่สามารถใช้โอกาสที่มีนำพาชีวิตของตนเอง และ ครอบครั ว ไปสู่ คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ตลอดจนเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ร่ ว มสร้ า งสั ง คมไทย ให้เป็นสังคมคุณภาพได้อย่างน่านิยม และยกย่องให้เป็น “คนวิรยิ ะ” อย่างแท้จริง

101


งบประมาณ

ปฏิบัติตามระเบียบ

บริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วม

กลุ่ม

การเงินโปร่งใส

ความรู้ในการ ประกอบอาชีพ

รักษาและเสริมสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

มีส่วนร่วม ในกิจกรรมชุมชน

สร้างอาชีพให้ชุมชน

รับรุ่นน้องฝึกงาน

วิทยากรจิตอาสา

รับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์

บริหารจัดการ อย่างมีระบบ

สัมพันธภาพ

บุคคล

จิตบริการ

ริเริ่มสร้างสรรค์

ทำงานเป็นทีม

ความดี

มีวิสัยทัศน์

ผู้นำมีวิสัยทัศน์

สถานที่จำหน่าย ติดตามประเมินผล

เชื่อมโยงเครือข่าย

ใช้ทรัพยากรชุมชน สร้างงานให้ชุมชน

รักษามาตรฐาน มีชอ่ งทางการจำหน่าย

ถ่ายทอดภูมิปัญญา พัฒนาผลิตภัณฑ์

สร้างความสามัคคี สร้างอัตลักษณ์

คุณลักษณะ

ข้ อ ค้ น พบสำคั ญ จากการถอดบทเรี ย น

ทักษะชีวิต

สร้าง & เชื่อมโยง เครือข่าย

อดออม พอเพียง

ประหยัด มัธยัสถ์

ซื่อสัตย์สุจริต

รับผิดชอบ

มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ

มานะ มุ่งมั่น ตั้งใจ

ขยัน อดทน อดกลั้น

มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

มีฝัน วางเป้าหมาย

คุณลักษณะ


ภาคผนวก


ประวัติความเป็นมา ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่ง


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ประวัติความเป็นมา

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เดิมชือ่ ว่า ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงาน สังกัดกองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2520 และเปิดดำเนินการ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2522 วันที่ 2 ตุลาคม 2545 โอนไปสังกัดสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 4 ธันวาคม 2550 โอนไปสังกัดสำนักคุ้มครองสวัสดิภาพหญิง และเด็ ก กรมพั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คม และความมั่นคงของมนุษย์ วั น ที่ 6 มี น าคม 2558 โอนไปสั ง กั ด กรมกิ จ การสตรี แ ละสถาบั น ครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราช บัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 พร้อมเปลี่ยนชื่อ เป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง”

105


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี ประวัติความเป็นมา

เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง เมื่ อ ปี พ.ศ. 2503 ภายใต้ ชื่ อ สถานสงเคราะห์ ห ญิ ง บ้านปากเกร็ด ตาม พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ดำเนินงานถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2531 สังกัดกองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2535 ดำเนินงานภายใต้ชื่อ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง สังกัดกองสัมมนาอาชีวสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2544 ดำเนินงานภายใต้ชื่อ ศูนย์สงเคราะห์และ ฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง สังกัดกองสัมมนาอาชีวสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2545 – วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ดำเนินงานภายใต้ชื่อ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพภาคกลาง สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วั น ที่ 6 มี น าคม พ.ศ. 2558 – ปั จ จุ บั น ดำเนิ น งานภายใต้ ชื่ อ “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี” สังกัด กรมกิจารสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ปั จ จุ บั น ศู น ย์ มี บ ทบาทภารกิ จ เป็ น ศู น ย์ ก ลางถ่ า ยทอดความรู้ จ าก การแปลงนโยบายด้ า นสตรี แ ละครอบครั ว ตามภารกิ จ ของกรมสู่ ก ารปฏิ บั ติ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน สภาพปัญหาในพืน้ ที่ รวมทัง้ เป็นต้นแบบ แก่ท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่าย มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ 15 จังหวัด เขต ภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานคร (50 เขต 169 แขวง 112 อำเภอ 1,122 ตำบล)

106


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น ประวัติความเป็นมา

ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น โดยหม่ อ มกอบแก้ ว อาภากร ณ อยุ ธ ยา เพื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุศลแด่ พลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา ประธานคณะผูส้ ำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานั น ทมหิ ด ล เพื่ อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความรั ก และความทรงจำที่ มี ต่ อ เสด็จพระองค์เจ้าอาทิตย์ตลอดไป เมือ่ อายุครบรอบ 81 ปี ในวันที่ 5 เมษายน 2532 ท่ า นได้ บ ริ จ าคทุ น ทรั พ ย์ จำนวน 2 ล้ า นบาท ก่ อ ตั้ ง มู ล นิ ธิ “พลเรื อ โท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาและหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” เพื่อ พัฒนาอาชีพเยาวสตรีพร้อมกับได้บริจาคเงินจำนวน 18 ล้านบาท ก่อสร้าง อาคาร จำนวน 8 หลัง พร้อมอุปกรณ์ในบริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งกันไว้ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของศู น ย์ ร าชการ อยู่ ใ นความดู แ ลของกรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 40 ไร่ ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 3-5 ถนนมิตรภาพ ตำบลศิลา อำเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับมอบชื่อให้ศูนย์ ฯ นี้ว่า “ศูนย์สงเคราะห์และ ฝึกอาชีพสตรีรตั นาภา” การทีห่ ม่อมกอบแก้ว ได้ตงั้ ชือ่ สถานฝึกอาชีพสตรีแห่งนีว้ า่ “ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีรัตนาภา” ก็เพราะท่านถือว่า “รัตนาภา” เป็นมงคลนามอย่างที่สุด เพราะเป็นชื่อเรือนหอที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานในวันสมรสระหว่างท่านกับพระองค์เจ้า อาทิตย์ เมือ่ วันที่ 5 มกราคม 2472 คำว่า “รัตนะ” ก็หมายถึง “แก้ว” ซึง่ เป็นส่วนหนึง่

107


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ของชื่อหม่อมกอบแก้ว และ “อาภา” ก็คือ “อาทิตย์” ซึ่งเป็นนามของสามีที่รัก ของท่าน เมื่อนำมาสมาสกันเข้าแล้ว จึงเป็นคำว่า “รัตนาภา” ที่โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น เปิด ดำเนินการเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2533 โดยหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิได้กระทำพิธีมอบอาคารทั้งหมดให้กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รับไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดยให้การฝึกอบรมแก่เยาวสตรีที่ยากจน ขาดโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงไม่มคี วามรูใ้ นการประกอบอาชีพ จาก 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีอาชีพสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ โดย ไม่เป็นภาระต่อสังคม และเมื่อสำเร็จการฝึกอบรมแล้ว ท่านได้กรุณามาเป็น ประธานมอบประกาศนียบัตรด้วยตนเอง ต่อมาท่านได้บริจาคทุนทรัพย์ จำนวน 7 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารหอประชุม “รัตนะ” ขึ้นในบริเวณศูนย์ฯ เพื่อเป็น ทีป่ ระกอบพิธใี นโอกาสสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในพิธมี อบประกาศนียบัตร ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม

108


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ ประวัติความเป็นมา

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2533 เพื่อให้การสงเคราะห์และพัฒนาสตรีที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา และฝึกอบรม ให้ความรู้พื้นฐานด้านวิชาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพมีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวและชุมชน โดยจัดฝึกอบรม อาชีพแก่สตรีที่มีฐานะยากจน จบการศึกษาภาคบังคับ แต่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ไม่มีงานในเขตพื้นที่ 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัด ยโสธร)

109


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคใต้ จังหวัดสงขลา ประวัติความเป็นมา

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ จังหวัดสงขลา เป็น หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเนื่องจากกรมประชาสงเคราะห์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการพัฒนาความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพให้แก่เยาวสตรีและสตรี ทีข่ าดโอกาสทางการศึกษา ได้มคี วามรูแ้ ละทักษะในการประกอบอาชีพ สามารถ ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นการ ป้องกันปัญหาการถูกล่อลวง ไปประกอบอาชีพทีไ่ ม่เหมาะสม หรือตกเป็นเครือ่ งมือ ของผู้ แ สวงหาผลประโยชน์ โ ดยมิ ช อบ และเพื่ อ เป็ น การป้ อ งกั น การอพยพ ย้ายถิน่ ทีจ่ ะส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต โดยเปิดดำเนินการครัง้ แรก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534

110


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี ประวัติความเป็นมา

การพัฒนาคน โดยการเพิ่มทักษะอาชีพนับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะกับกลุ่มเยาวชนผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ในชนบท ดังนั้น การฝึกอบรมด้าน วิชาชีพจึงเป็นการสร้างโอกาสให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าว มีความรู้ มีทักษะอาชีพ มีแนวทางการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกันในสังคม รวมทัง้ สามารถดำรงตน ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า และศักดิ์ศรี จากแนวคิดดังกล่าวศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา จึงจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ในสังกัดของ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ เพื่อจัดสวัสดิการด้านฝึกอาชีพให้แก่กลุ่มเยาวชนและสตรีในภาคตะวันออก โดยก่อสร้างในพื้นที่ดิน 55 ไร่ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งได้รับ บริ จ าคในการก่ อ ตั้ ง เริ่ ม แรกจากศาสตราจารย์ ฉ ลวย มะกรสาร เป็ น มู ล ค่ า 10 ล้านบาท ที่เป็นตัวอาคารพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 5 หลัง เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริ ญ พระชั น ษาครบ 36 พรรษา จึ ง ได้ ก ราบทู ล ถวายเป็ น โครงการ เฉลิมพระเกียรติและขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้ชื่อศูนย์ว่า “ศูนย์ฝึก อาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา” สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ ทรงมี พ ระเมตตายิ่ ง ได้ เ สด็ จ เป็ น องค์ ป ระธานในพิ ธี วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2534 และเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 ศูนย์ฯ จึงได้เปิด ดำเนินการฝึกอาชีพนับแต่นั้นมา

111


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย ประวัติความเป็นมา

ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2536 โดยมีวัตถุประสงค์ หลักในการฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยขาดโอกาส ทางการศึกษา ไม่มีงานทำ ให้มีทางเลือกและสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ เลี้ ย งตนเองและครอบครั ว เพื่ อ ให้ อ ยู่ ใ นสั ง คมได้ อ ย่ า งปกติ สุ ข และได้ เ ปิ ด การให้บริการฝึกอบรมอาชีพแก่กลุม่ เป้าหมาย เป็นครัง้ แรกเมือ่ เดือนตุลาคม 2538 ปี 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ใหม่ ศูนย์ฯ จึงได้สังกัดสำนักคุ้มครองสวัสดิการหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเมื่ อ วั น ที่ 6 มี น าคม 2558 ได้ เ ปลี่ ย นชื่ อ เป็ น “ศู น ย์ เรี ย นรู้ การพั ฒ นาสตรี แ ละครอบครั ว จั ง หวั ด เชี ย งราย” สั ง กั ด กรมกิ จ การสตรี และสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

112


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินนี าถ จังหวัดลำพูน ประวัติความเป็นมา

กรมพั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและ ความมัน่ คงของมนุษย์ ได้รบั การสนับสนุนการจัดตัง้ ศูนย์ฝกึ อาชีพสตรีจงั หวัดลำพูน จากนางสายพิณ และนายวิชาญ พหลโยธิน เป็นทีด่ นิ จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 24.8/10 ตารางวา พร้ อ มอาคารฝึ ก อาชี พ 1 หลั ง อาคารโรงอาหาร 1 หลั ง ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสงค์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง คุณหญิง สุดสาคร ตู้จินดา ได้ร่วมบริจาคสร้างอาคารเรือนนอน อีกจำนวน 1 หลัง รวม เป็นเงิน 27 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวสตรีที่มีฐานะยากจน ประสบปัญหาความเดือดร้อน และเยาวสตรีที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากบิดา มารดาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ซึ่งขาดผู้อุปการะในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ ให้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแห่งนี้ ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วม โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และได้รับพระราชทานชื่อ ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัด ลำพู น จากสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ เป็ น “ศู น ย์ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 การปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งกระทรวงตามพระราชบั ญ ญั ติ ป รั บ ปรุ ง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 เมือ่ วันที่ 6 มีนาคม 2558 หน่วยงาน ในสั ง กั ด กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ มี ก ารปรั บ โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ โดยศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี ทั้งหมด 8 แห่ง เดิมสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้โอนมาสังกัดกรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว และศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน”

113


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

Team ถอดบทเรียน ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง นายเฉลิมชนม์ อินทะยะ นักพัฒนาสังคม คติประจำใจ “ตั้งเป้าให้ชัด แล้วหาวิธีไปให้ถึง”

นายอิศรา คันธรักษ์ นักพัฒนาสังคม คติประจำใจ “คนเราแก้อดีตไม่ได้ แต่สามารถทำวันนี้ ให้ดีกว่าอดีตได้เสมอ” 114


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี นางสาวอรวรรณ อยู่อ้อน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ คติประจำใจ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

นางสาววิภาดา แก่นจันทร์หอม นักวิเคราาำะห์นโยบายและแผน คติประจำใจ “กล้าที่จะก้าวอย่างมีสติ”

115


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภา จังหวัดขอนแก่น นางจุฬาลักษณ์ นวลจันทร์ พนักงานสถิติ ส 4 คติประจำใจ “ทำแล้วเสียใจ ยังดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ”

นางสาววรรพิรัญญา อินทร์โท ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราาำะห์ คติประจำใจ “การทำงานหนักคือดอกไม้ของชีวิตค่ะ”

116


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ นางจันทร์เพ็ญ ศรีเมือง เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมชำนาญงาน คติประจำใจ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

นายปณวัฒน์ พยุงตน นักสังคมสงเคราาำะห์ คติประจำใจ คุณค่าที่แท้จริงของการเป็นผู้ให้ คือ การอนุญาตให้ใจตัวเอง ได้ค้นพบ และสัมผัสกับคำว่า “ให้อภัย”

117


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ภาคใต้ จังหวัดสงขลา นางอภัย คงคาสวัสดิ์ พยาบาลระดับ ส. 3 คติประจำใจ อย่าเพิ่งท้อแท้ ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวัง ในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น

นายอับดุลรอฮิม ยูนุ นักสังคมสงเครำาะห์​์ คติประจำใจ “เหนื่อยก็หยุดสักพัก หันหลังกลับไปดู แล้วภูมิใจกับตัวเองสักพัก ก่อนก้าวเดินไปข้างหน้าต่อไป”

118


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุร ี นางสิราณี คิดหาทอง นักสังคมสงเคราาำะห์ คติประจำใจ “เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือความขัดแย้ง จะต้องมีจิตใจอดทน และให้อภัย”

นายบัญชา บุญสุภาพ นักพัฒนาสังคม คติประจำใจ “ใส่ใจในหน้าที่ของตัวเอง ให้มากกว่าใส่ใจในหน้าที่ของผู้อื่น มีความรับผิดชอบในงานของตัวเอง มากกว่าตำหนิงานของผู้อื่น”

119


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย นายสุกิจ เกศสุวรรณรักษ์ ครูฝึกอาชีพสงเครำาะห์ ชั้น 3 คติประจำใจ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

นายจักรพันธ์ รอดทุกข์ ครูฝึกอาชีพสงเครำาะห์ ชั้น 3 คติประจำใจ “คนทำศึก หากไม่รู้ดินฟ้าอากาศ ไม่รู้เรื่องหยินหยาง ไม่รู้จักกลยุทธ์ ไม่รู้จักใช้คน ไม่รู้จักวางแผน คือ ความโง่เขลา”

120


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินนี าถ จังหวัดลำพูน นางสาวศุลีพร สันธิราษฎร์ นักสังคมสงเคราาำะห์ คติประจำใจ “คำว่า ดีที่สุด มีไว้สำหรับงานต่อไปเสมอ”

นายณัฐพล หน่อคำ นักพัฒนาสังคม คติประจำใจ “อย่าพยายามทำสิ่งที่ได้ให้เท่ากับใจ จงพยายามทำใจให้เท่ากับสิ่งที่ได้”

121


บนเส้นทางแห่งโอกาสสู่...ความสำเร็จ

ทำเนียบศูนย์ ชื่อ

ที่ตั้ง

1. ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนา 140 หมู่ 6 สตรีและครอบครัว ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100 2. ศูนย์เรียนรู้ 78/3 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ การพัฒนาสตรีและ ครอบครัวภาคกลาง ตำบลบางตลาด จังหวัดนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 3. ศูนย์เรียนรู้ 497 หมู่ 14 การพัฒนาสตรีและ ถนนมิตรภาพ ครอบครัวรัตนาภา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 4. ศูนย์เรียนรู้ 53 หมู่ 3 การพัฒนาสตรีและ ตำบลทุ่งสว่าง ครอบครัวภาคตะวันออก อำเภอวังหิน เฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33270

122

ติดต่อ โทรศัพท์ : 0 5482 9734-5 โทรสาร : 0 5482 9734-5 e-mail: northwomen@yahoo.com Website : http://www.northernwomencenter.com/ โทรศัพท์/โทรสาร : 0 2583 8350 e-mail : women.trainingcenter@gmail.com Website : http://www.women- trainingcenter.com โทรศัพท์ : 0 4324 3350 0 4334 2950 e-mail : Rattanapa2533@gmail.com Website : - โทรศัพท์ : 0 4582 6235 0 4582 6236 โทรสาร : 0 4591 6551 e-mail : sisaketcenter@hotmail.com Website : -


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ชื่อ

ที่ตั้ง

ติดต่อ

5. ศูนย์เรียนรูก้ ารพัฒนา 590 หมู่ 4 สตรีและครอบครัวภาคใต้ ตำบลกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180

โทรศัพท์ : 0 7458 4111- 113 โทรสาร : 0 7458 4111 e-mail : southwomencenter@gmail.com Website : http://www.southwomencenter.org 6. ศูนย์เรียนรู้ 104 หมู่ 3 โทรศัพท์ : 0 3824 1072 โทรสาร : 0 3824 1766 การพัฒนาสตรีและ ตำบลบางละมุง ครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางละมุง e-mail : - สมเด็จพระเทพฯ 36 จังหวัดชลบุรี 20150 Website : - พรรษา จังหวัดชลบุรี

7. ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา 10 หมู่ 10 สตรีและครอบครัว จังหวัด ตำบลทรายขาว เชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120 8. ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา 279 หมู่ 9 สตรีและครอบครัว ตำบลต้นธง เฉลิมพระเกียรติ 72 อำเภอเมือง จังหวัด พรรษา บรมราชินีนาถ ลำพูน 51000 จังหวัดลำพูน

โทรศัพท์ : 0 5372 3950 08 1961 6676 โทรสาร : 0 5395 8055 e-mail : info@vtw-cr.go.th Website : http://www.vtw-cr.go.th โทรศัพท์ : 0 5309 2420 โทรสาร : 0 5309 2420 e-mail : vtc-webmaster@vtc.org Website : http://www.dwf72.go.th www.facebook.com/072LP

123


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2306 8761 http://www.dwf.go.th


“โอกาส” เป็นจุดเริ่มต้น อ้ งการ ต า ร ่ ี เ ท ย า ม ห ้ า เป ง อ ข จะก้าวไปให้ถึง

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุง่ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2306 8761 http://www.dwf.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.