เกษตรสุรนารี 58

Page 1

SAF 2015

Suranaree Agricultural Fair

58

58

เกษตร สุรนารี' 58 1


2

เกษตร สุรนารี' 58


เกษตร สุรนารี' 58 3


สารจากคณบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี โดยส� ำ นั ก วิ ช าเทคโนโลยี ก ารเกษตร ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา หน่วยงานของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ป ระจ� ำ จั ง หวั ด นครราชสี ม า และหอการค้ า จั ง หวั ด นครราชสี ม า ตลอดจนภาคี ข อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทั้งภาค รัฐและเอกชน ได้รว่ มกันจัดงาน “เกษตร สุรนารี’58” ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 9 และเป็นการฉลองครบ 25 ปีแห่งการ สถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี งานนีจ้ ดั ขึน้ ระหว่างวันที่ 7–11 มกราคม 2558 ในแนวคิดของ“ท�ำธุรกิจเกษตร อย่างไร ให้ได้ชยั ในอาเซียน” วัตถุประสงค์ ของการจัดงานเพื่อเผยแพร่ความรู้และ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีการเกษตร ของหน่วยงาน ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และของ มหาวิทยาลัยเอง เพือ่ ให้นกั เรียน ผูป้ กครอง 4

เกษตร สุรนารี' 58

เกษตรกร ผู้ประกอบการด้านเกษตร และผู้สนใจทั่วไป ได้รับ ข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ในการปรับตัวและ เตรียมความพร้อมส�ำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคงของอาเซียน อย่างเป็น ทางการ กิจกรรมทีจ่ ดั ขึน้ ระหว่างงานจะเป็นส่วนช่วยเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบ การด้านการเกษตร ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสวัสดิการของเกษตรกรและประชาชนโดยรวมให้ดีขึ้น ในที่สุด การจั ด ท� ำ หนั ง สื อ “เกษตรสุ ร นารี ’ 58” ควบคู ่ กั บ การจัดงานนี้ เป็นหนึง่ กิจกรรมของการเผยแพร่ความรูท้ างด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร บทความในหนังสือเล่มนี้ ครอบคลุมสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการ ผลิตสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร และวิศวกรรม เกษตร บทความทั้งหมดไม่ได้ลงลึกในวิชาการมากเกินไปโดย ยังคงมีการกล่าวถึงหลักการและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อผู้ อ่านจะได้รับสาระทางวิชาการ ขณะเดียวกันก็ไม่ยากต่อการ ท�ำความเข้าใจ สุดท้ายนี้ ส�ำนักวิชาฯ ใคร่ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุน การจัดงาน ผู้สนับสนุนการจัดท�ำหนังสือเกษตรสุรนารี ผู้เข้า ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการ ผู้ร่วมจัดประกวดพืชและ ประกวดสัตว์ ตลอดจนผูร้ ว่ มกิจกรรมทางวิชาการอืน่ ๆ ทุกฝ่าย และทุกท่าน ซึ่งท�ำให้การเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตรสู่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และ สาธารณชนในวงกว้าง เป็นไปอย่างสมประโยชน์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเวทย์ นิงสานนท์) คณบดีส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร


สารบัญ พืช

1 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ... เพื่อการผลิตพืช 13 เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่แปลงเพื่อเตรียมการเพาะปลูก ด้วยระบบ GPS 23 โรคโคนและหัวเน่า...วิกฤตใหม่ของการผลิตมันสำ�ปะหลังไทย 33 ฟางข้าวกับการจัดการ 41 เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลจากหัวมันสำ�ปะหลังสด 51 69 77 87

สัตว์

การเลี้ยงโคขุนวากิว ข้อควรปฏิบัติในการขนส่งสัตว์สู่โรงฆ่า แร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบใหม่ในอาหารเลี้ยงสุกร การใช้ครีมสอดรูหัวนม (Teat seal) เพื่อป้องกันการเกิดโรค เต้านมอักเสบในโคระยะหยุดพักรีดนม

อาหาร

93 สัตว์ปลอดโรค อาหารปลอดภัย 105 การตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหาร (Food Hypersensitivity) (การแพ้อาหาร) 115 แบคเทอริโอซินกับการถนอมอาหารในอุตสาหกรรม 121 “ไก่เนื้อโคราช” กับ การสร้างอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรไทย 131 141 147 155 167

สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ไมโครไบโอม: เพื่อนแสนล้านชีวิตในร่างกายคนและสัตว์ ไอโซฟลาโวนกับสุขภาพหญิงวัยทอง สมุนไพรกับการรักษาโรคเต้านมอักเสบในโค ปัญหาปริมาณสารพิษจากเชื้อราในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

176 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช 182 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ 187 สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร 194 199 203 206

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

เกษตร สุรนารี' 58 5


SAF 2015

Suranaree Agricultural Fair

58

6

เกษตร สุรนารี' 58


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ... เพื่อการผลิตพืช

เกษตร สุรนารี' 58 1


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ.... เพื่อการผลิตพืช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารักษ์ ธีรอำ�พน สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

บริบทโลกที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลง จากข้อมูลการปฏิรูปและพัฒนาการเกษตรไทยใน ยุคโลกาภิวัฒน์ ความท้าทายและโอกาสของประเทศไทยใน สามทศวรรษหน้า โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ บณริฏ พิศลยบุตร (2557) ระบุว่า โลกเราในอีก 30 ปีข้างหน้า คาด การณ์ว่า 1) จะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน (ปัจจุบัน มีราว 7 พันล้านคน) ซึง่ จะท�ำให้เกิดแรงกดดันต่อความต้องการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมาก 2) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทาง สภาพภูมิอากาศจะรุนแรง ส่งผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจโดย เฉพาะสาขาเกษตรและท่องเทีย่ วมากทีส่ ดุ และจะมีความตกลง ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทีเ่ ข้มงวดมาก 3) เกิดเขตการ ค้าขนาดใหญ่ (mega-FTA block) และ 4) ประเทศเติบโตเร็ว

ในกลุ ่ ม รายได้ ต ่ า ง ๆ จะมี บ ทบาท มากขึน้ ส�ำหรับประเทศไทยในอีก 30 ปี ข้างหน้า คาดการณ์ว่า 1) ประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2025 และในปี ค.ศ. 2045 จะมีคน สูงอายุเพิม่ ขึน้ ถึง 36% ขณะทีป่ ระชากร ไทยจะลดลงเหลื อ 63.8 ล้ า นคน ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนแรงงาน อย่างรุนแรง สังคมอนาคตซึ่งมีความ หลากหลายซับซ้อนมากขึ้น หากพัฒนา เศรษฐกิจไม่ส�ำเร็จ คนไทยจะเดือดร้อน กันมาก

ภาพที่ 1 สถานภาพของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2014

2

เกษตร สุรนารี' 58


ปัจจุบันสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมีประสิทธิภาพสูงกว่าสาขาเกษตร-บริการ มีสัดส่วนแรงงานใน ระบบต่อนอกระบบ ร้อยละ 40:60 มีดัชนีความเหลื่อมล�้ำ 0.39 ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ภาพที่ 2 โมเดลการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ในอดีตประเทศไทยเคยพัฒนาประเทศจากการใช้ฐานทรัพยากรผ่านอุตสาหกรรม โดยไม่พัฒนา เทคโนโลยีเป็นของตนเอง แต่กลับเน้นการส่งออกและใช้แรงงานต�่ำ เพื่อให้สินค้าส่งออกแข่งขันได้ ท�ำให้ ผลลัพธ์ที่ได้รับ คือ ก�ำลังซื้อของคนภายในประเทศต�่ำ เกิคความเหลื่อมล�้ำสูง เสี่ยงต่อการเกิดนโยบาย ประชานิยม ปัจจุบันเราจึงก�ำลังติดกับดักของประเทศรายได้ปานกลางและการเจริญเติบโตของประเทศก็ ท�ำลายสิ่งแวดล้อมด้วย จากการพึ่งพาการเติบโตบนฐานทรัพยากรในอดีต ปัจจุบันจึงควรปรับเปลี่ยนไปสู่ การพัฒนาบนฐานประสิทธิภาพและใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการก้าวไปสู่การพัฒนาฐานนวัตกรรมในอนาคต

ภาพที่ 3 ผลิตภาพแรงงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000-2012 เกษตร สุรนารี' 58 3


ในด้านผลิตภาพแรงงานต่าง ๆ ของไทย จะเห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตมีผลิตภาพแรงงานสูงที่สุด ซึ่งสูงกว่าผลิตภาพแรงงานสาขาเกษตรเกือบ 10 เท่า ฉะนั้น หากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป วิธี หนึ่ง คือ การเคลื่อนย้ายคนออกจากสาขาที่มีผลิตภาพต�่ำไปสู่ผลิตภาพสูงกว่า

ภาพที่ 4 ตัวอย่างอนาคตเศรษฐกิจไทยที่เป็นไปได้ ในภาพสถานการณ์แบบปรับภาคเกษตรเป็น “เกษตรทันสมัย” และบริการดั้งเดิมเป็น “บริการฐานความรู้”

เมือ่ เปรียบเทียบระหว่างภาพที่ 1 กับภาพที่ 4 สัดส่วน มูลค่าเพิ่มภาคการเกษตรลดลงจากร้อยละ 12.3 เป็นร้อยละ 3.8 แรงงานในระบบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 74 ดัชนีความเหลื่อมล�้ำลดลงจากร้อยละ 0.39 เป็นร้อยละ 0.33 ทัง้ นี้ ภาพสถานการณ์เกษตรทันสมัย ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1) ภาคเกษตรส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนสู่เกษตรทันสมัย ใช้ เครื่องจักรเข้มข้นในฟาร์มขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีในการท�ำ Precision farming การท�ำวิจัยและพัฒนาพันธุ์ กระบวนการ การบริหารจัดการผลิต โลจิสติกส์ และการตลาดรองรับอาหาร ปลอดภัย และ 2) เกษตรประณีต เช่น เกษตรอินทรีย์ เป็น องค์ประกอบเสริม เน้นตลาดผูบ้ ริโภคทีต่ นื่ ตัวและมีกำ� ลังซือ้ ใน ประเทศและตลาดประเทศก�ำลังพัฒนา จากภาพสถานการณ์ “เกษตรทันสมัย และบริการ ฐานความรู”้ มีนยั เชิงนโยบายสิง่ ทีค่ วรท�ำ คือ การบริหารแหล่งน�ำ้ 4

เกษตร สุรนารี' 58

และทรั พ ยากรให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ การออกมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ความ ปลอดภัยอาหารและสร้างกลไกรับรอง คุ ณ ภาพ การลงทุ น วิ จั ย และพั ฒ นา โดยเฉพาะการพั ฒ นาพั น ธุ ์ แ ละการ ขยายผลส่งเสริมให้เกิด Smart farmer ซึ่งใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต ควบคุมการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย และยาให้เหมาะสม เกษตรกรรมมี ค วามส� ำ คั ญ อย่างยิ่งยวดต่อระบบความมั่นคงทาง อาหาร เพราะเป็นต้นทางของการผลิต ปัจจัย 4 เพื่อการยังชีพของมนุษย์ จาก แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก


ท�ำให้เกิดแรงกดดันต่อความต้องการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตาม ไปด้วย มีรายงานระบุว่า ความต้องการ อาหารในระยะ 50 ปีข้างหน้าจะเพิ่ม ขึ้นประมาณร้อยละ 50 จากปัจจุบัน ปัญหาการขาดแคลนน�้ำมีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหา การขาดแคลนน�ำ้ เพือ่ การเกษตร ปัญหา การแย่งยึดทีด่ นิ ของกลุม่ ประเทศผูน้ ำ� เข้า อาหารที่ ไ ม่ ต ้ อ งการเป็ น เพี ย งผู ้ ซื้ อ หากแต่ต้องการสร้างหลักประกันความ มั่นคงทางอาหารโดยการมุ่งไปใช้ที่ดิน ในประเทศอื่น ๆ เพื่อผลิตอาหารกลับ ประเทศตนหรื อ กระทั่ ง ส่ ง ออกไปยั ง ประเทศอื่ น ๆ ปั ญ หาด้ า นพลั ง งาน โลกที่พบว่าอัตราการใช้พลังงานของ โลกในภาพรวมจะเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งก้ า ว กระโดด ขณะที่พลังงานฟอสซิลมีจ�ำกัด จึ ง เกิ ด การพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม การใช้ พลังงานทดแทนจากพืชเพิ่มขึ้น เช่น มันส�ำปะหลัง อ้อย ปาล์มน�้ำมัน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางอาหาร อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลผลิต ในภาคการเกษตรสามารถท� ำ ได้ 3 แนวทางหลัก คือ การขยายพืน้ ทีก่ ารผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ และการ ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตรวม ส� ำ หรั บ แนวทางการขยายพื้ น ที่ ก าร ผลิตมีความเป็นไปได้ต�่ำที่สุด เนื่องจาก

ประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยจึงเพิ่มตาม เกิด การรุกพืน้ ทีเ่ ข้าไปยังพืน้ ทีท่ ำ� การเกษตรเดิม พืน้ ทีก่ ารเกษตรที่ เหมาะสมจึงลดลง การขาดแคลนแรงงานทักษะ ปัจจัยการผลิต ราคาแพง การครอบครองทรัพยากรพันธุกรรมและการผูกขาด ทางการค้าเมล็ดพันธุ์พืช เหล่านี้ล้วนท�ำให้ภาพรวมต้นทุน การผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับราคาผลิตผลซึ่ง ตกต�่ำ ท�ำให้เกษตรกรอิสระรายเล็กรายน้อยค่อย ๆ เลิกหรือ เปลีย่ นอาชีพไป ขณะทีแ่ นวทางการเพิม่ ผลผลิตต่อหน่วยพืน้ ที่ และการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตรวม ซึ่งเป็นการ พัฒนาบนฐานประสิทธิภาพและฐานนวัตกรรม น่าจะตอบโจทย์ การเพิ่มผลผลิตในภาคการเกษตรได้มากกว่า ความหมายของค�ำว่า “ประสิทธิภาพ” “นวัตกรรม” และ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ” “ประสิทธิภาพ” หมายถึง ความสามารถในการใช้ ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างคุม้ ค่า เพือ่ การบรรลุเป้าหมาย ประสิทธิภาพ จึงมักถูกวัดในรูปแบบของต้นทุนหรือจ�ำนวนทรัพยากรที่ใช้ไป เมื่อเทียบกับผลงานหรือผลผลิตที่ได้ เช่น ต้นทุน แรงงาน เวลา ที่ใช้ อัตราการตอบแทนจากการลงทุน “นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ และการ กระท�ำใหม่ ๆ ทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน หรือการพัฒนาดัดแปลงมาจาก ของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น นวัตกรรมมี 4 ประเภท ได้แก่ Product innovation, Process innovation, Position innovation และ Paradigm innovation นวัตกรรม เป็ น ตั ว แปรที่ น� ำ ไปสู ่ ก ารเปลี่ ย นแปลงองค์ ก รด้ า นต่ า ง ๆ ในเชิงธุรกิจ ได้แก่ ความอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ และสมรรถนะหลัก นวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่ เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน การแสวงหาแนวทาง การตอบสนองความต้องการของตลาด การยกระดับคุณภาพ ชีวิต และการสร้างคุณภาพเพิ่ม เกษตร สุรนารี' 58 5


“ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)” หรือ DSS เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ได้ริเริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1970 โดยท�ำหน้าที่ ช่วยผูบ้ ริหารในเรือ่ งการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทาง ธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอนหรือกึ่งโครงสร้าง ซึ่งข้อมูลมีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะ ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระท�ำได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อาจใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารใน การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการ จัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้าง ตัวแบบ (Model) ที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เป็น ระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาค�ำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ระบบ การสนับสนุนการตัดสินใจจึงประกอบด้วย ชุดเครือ่ งมือ ข้อมูล ตัวแบบ และทรัพยากรอืน่ ๆ ทีผ่ ใู้ ช้หรือนักวิเคราะห์นำ� มาใช้ใน การประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้น หลักการของ DSS จึง เป็นการให้เครือ่ งมือทีจ่ ำ� เป็นแก่ผบู้ ริหาร ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น ส�ำหรับแนวทางในการเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตร บนฐานประสิ ท ธิ ภ าพและฐานนวั ต กรรม บทความนี้ ขอ เลื อ กที่ จ ะกล่ า วถึ ง รายละเอี ย ดเฉพาะระบบสนั บ สนุ น การ ตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศแบบไม่ใช้ดิน ที่เป็น ความร่ ว มมื อ กั น ระหว่ า งส� ำ นั ก วิ ช าเทคโนโลยี ก ารเกษตร 6

เกษตร สุรนารี' 58

มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุ ร นารี กั บ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ก� ำ แพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เท่านั้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศแบบไม่ใช้ดนิ เป็นการจัดการแผนการปลูก ผูเ้ ชีย่ วชาญ เป็นผู้จัดการข้อมูลแผนการปลูก และ ผูใ้ ห้คำ� ปรึกษาเป็นผูท้ คี่ น้ หาแผนการปลูก ทีเ่ หมาะสมให้กบั ผูท้ สี่ นใจตามปัจจัยต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการค้นหาแผนการปลูก เมือ่ ระบบ ท�ำการค้นหาแผนการปลูกได้แล้ว จะแสดง ข้อมูลแผนการปลูกในรูปแบบแผนภาพ วงจรชีวติ ตารางการจัดการผลผลิต โดย จะจัดการเป็นรายแปลงและเป็นรายวัน สามารถน�ำออกเป็นรายงานแผนการ ปลูกได้ โดยการเข้าใช้งานระบบ ผู้ใช้ จะต้องมีบัญชีผู้ใช้ที่จัดการโดยผู้ดูแล ระบบ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก ระบบนี้ คือ ช่วยสนับสนุนการวางแผน การปลู ก พื ช ให้ กั บ ผู ้ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษา แนะน�ำเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ เกษตรกรมีแผนการปลูกที่ชัดเจน และ ช่วยให้มีระบบในการเก็บรวบรวมองค์ ความรู้ในการวางแผนการปลูกพืชของ ผู้เชี่ยวชาญไว้อย่างเป็นระบบ


ภาพที่ 5 ภาพรวมของระบบการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศแบบไม่ใช้ดิน

เกษตร สุรนารี' 58 7


ภาพที่ 6 แผนภาพการท�ำงานของผู้ใช้ระบบการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศแบบไม่ใช้ดิน

ภาพที่ 7 แผนภาพรวมการเริ่มต้นของระบบการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศแบบไม่ใช้ดิน

8

เกษตร สุรนารี' 58


ภาพที่ 8 แผนภาพแสดงการท�ำงานของผู้ดูแลระบบการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศ แบบไม่ใช้ดิน

ภาพที่ 9 แผนภาพแสดงการท�ำงานของผู้เชี่ยวชาญของระบบการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูก แตงเทศแบบไม่ใช้ดิน เกษตร สุรนารี' 58 9


งานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้องกับระบบสนับสนุนการตัด สิ น ใจการ ผลิตพืชอื่น ๆ ที่ผ่านมา ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนที่เกี่ยวกับการท�ำ เกษตรกรรมได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการ ท�ำงานของเกษตรกรและผู้สนใจเพาะปลูกพืช ระบบสนับสนุน การตัดสินใจการผลิตพืชที่ได้รับการพัฒนาและทดสอบอย่าง กว้างขวาง ได้แก่ DSSAT (Decision Support System for Agrotechnology Transfer) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่รวบรวมเอา แบบจ�ำลองพืช ฐานข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเข้า ด้วยกัน (IBSNAT, 1989) ผูใ้ ช้ DSSAT สามารถเรียกใช้ขอ้ มูลดิน พืช ภูมอิ ากาศ เลือกแบบจ�ำลองพืชทีต่ อ้ งการ เพือ่ จ�ำลองภูมอิ ากาศ สมดุลของน�้ำ การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชที่เลือก รวม ทั้งวิเคราะห์ผลของการจัดการน�้ำ ปุ๋ย และการเขตกรรมระดับ ต่าง ๆ ต่อพืชที่ปลูกในแปลง พร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์ในรูปของ ตารางและกราฟตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้พัฒนาแต่ละรายมีแนวคิดการ ออกแบบและการจัดการการวางแผนการปลูกพืชแตกต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากการท�ำการเกษตรมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านที่ เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชนั้น ๆ เช่น Jensen et al. (2000) ได้สร้างระบบสารสนเทศเพื่อ สนับสนุนการตัดสินใจในการเพาะปลูก โดยการประยุกต์ให้ ระบบใช้งานบนเว็บไซด์ หรือเรียกว่า แพลนอินโฟ (Pl@ntInfo) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบจากโรคและแมลงศัตรูพืช โดยใช้ปัจจัยด้านพื้นที่เพาะปลูกและชนิดของพืชที่เลือกเพาะ ปลูก นอกจากนัน้ ระบบยังรวมเอาแนวคิดความเป็นส่วนบุคคล (Personalization) มาใช้รว่ มกับการให้คำ� แนะน�ำจากผูเ้ ชีย่ วชาญ โดยตรง โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานส่วนตัว บางอย่างของผูใ้ ช้ซงึ่ ลงทะเบียนไว้ในระบบ ในการให้คำ� แนะน�ำ เพื่อการตัดสินใจต่อผู้ใช้ระบบได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น 10 เกษตร สุรนารี' 58

Gupta et al. (2000) ได้สร้าง ระบบวางแผนรูปแบบการเพาะปลูกพืช โดยอาศัยปัจจัยด้านน�้ำ คือ ปริมาณ น�้ำจาก 3 แหล่งด้วยกัน คือ แหล่งน�้ำ ใต้ดิน แหล่งน�้ำบนดิน และแหล่งน�้ำฝน โดยอาศั ย การพยากรณ์ โ ดยใช้ ข ้ อ มู ล ย้อนหลัง 30 ปี เพื่อลดความเสี่ยงจาก ปริมาณน�้ำในการท�ำการเกษตร ต่อมา Jensen (2001) ได้สร้าง ระบบสนั น สนุ น การตั ด สิ น ใจซึ่ ง ใช้ ใ น การคาดการณ์ พั น ธุ ์ พื ช ไร่ ใ นประเทศ เดนมาร์ก โดยอาศัยการเก็บข้อมูล พืน้ ที่ เพาะปลูก ฤดูกาลเพาะปลูก ปริมาณ การเพาะปลูก และผลผลิตที่ได้รับจาก ผู้ใช้ซึ่งเป็นเกษตรกร ข้อมูลเหล่านี้จะ ช่วยในการคัดเลือกสายพันธุ์พืชไร่ที่ให้ ผลผลิตดีท่ีสุดและเหมาะสมที่จะปลูก ในพืน้ ทีแ่ ละฤดูกาลนัน้ แต่เนือ่ งจากเป็น ระบบการประยุกต์ใช้งานบนเว็บไซต์ ดั ง นั้ น ข้ อ มู ล จึ ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลง อยู ่ เ สมอ ท� ำ ให้ ก ารคาดการณ์ ก าร เปลีย่ นแปลงของสายพันธุพ์ ชื ไร่ทดี่ ที สี่ ดุ ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา Wharton et al. (2008) ได้สร้าง ระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจในการ ใช้สารเคมีกำ� จัดเชือ้ รา “Potato Blight (PLB)” เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ กระจายของโรค โดยระบบช่วยในการ คาดการณ์ ป ริ ม าณสารเคมี น ้ อ ยที่ สุ ด


ที่ ต ้ อ งใช้ และช่ ว งเวลาการฉี ด พ่ น ที่ เหมาะสมเพื่ อ ป้ อ งกั น โรค โดยอาศั ย ข้อมูลความชื้น อุณหภูมิ ที่ได้รับจาก สถานีตรวจอากาศ โดยเป็นการประยุกต์ งานบนเว็บไซต์ ส�ำหรับประเทศไทย พบว่า ได้มี การจัดท�ำระบบสนับสนุนการตัดสินใจ กับพืชบางชนิด เช่น การหาศักยภาพ ในการขยายพื้ น ที่ ป ลู ก พื ช น�้ ำ มั น (เบญจพรรณ, 2531) การวิเ คราะห  การตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือก ระบบพื ช (เบญจพรรณ และคณะ, 2532) ระบบการตั ด สิ น ใจเพื่ อ ผลิ ต มันส�ำปะหลังเฉพาะพืน้ ที่ (สุกจิ และคณะ,

มปป.) เช่นเดียวกันกับที่ เมธี และคณะ (มปป.) ได้สร้างระบบ สนับสนุนการตัดสินใจการผลิตข้าว เพือ่ เป็นแนวทางในการช่วย เกษตรกรวางแผนจัดการปัจจัยการผลิตข้าว โดยเลือกปลูกใน ดินที่เหมาะสมและลดการเพาะปลูกในเขตที่ไม่อ�ำนวยในการ ผลิต โดยระบบนีจ้ ะช่วยในแง่ของการประเมินผลผลิตและการ ประมาณพืน้ ทีเ่ พาะปลูก ท�ำให้ผทู้ สี่ นใจข้อมูลสามารถใช้ระบบ นี้ในการช่วยท�ำนายผลผลิตในระดับจังหวัด ภาค และระดับ ประเทศที่ผันแปรในเชิงพื้นที่และเวลา ตามการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และระดับการจัดการ ของเกษตรกร อยา งไรก็ตาม ปญ  หาทีเ่ กีย่ วขอ งกับการเกษตรใน ปจจุบัน มักสัมพันธกับหลายปจจัยและไมมีโครงสรางที่แนชัด จึงตองการวิธีการวิเคราะหกระบวนการตัดสินใจและช่วยเป็น แนวทางในการประเมินทางเลือกที่เหมาะสมซึ่งก็จะแตกต่าง กันไปเฉพาะกลุ่มหรือชนิดของพืช

เกษตร สุรนารี' 58 11


เอกสารอ้างอิง เบญจพรรณ ชินวัตร. (2531). การวิเคราะหการตัดสินใจของเกษตรกรโดยการใชแ บบจําลองเพือ่ หาศักยภาพ การขยายพื้นทื่ปลูกพืชน�้ำมัน. วารสารเกษตร 4(1):69-81. เบญจพรรณ ชินวัตร, พิชติ ธานี และ จามะรี พิทกั ษว งศ. (2532). กระบวนการตัดสินใจเลือกระบบพืชของ เกษตรกร: กรณีศึกษาที่ราบลุมเชียงใหม. วารสารเศรษฐศาสตรธรรมศาสตร 5 (1):129-166. เมธี เอกะสิงห์, พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, อรรถชัย จินตะเวช และ ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. มปป. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการผลิตข้าว : แนวคิดและหลักการ. http://www.mcc.cmu.ac.th/mcceprint/Fulltxtfile/F850.pdf ราชวิน จินเขตกิจ และ ภัทรพงศ์ ศรถวิล. (2555). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส�ำหรับแผนการปลูกแตงเทศ แบบไม่ใช้ดิน. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ก�ำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยา ด่านธ�ำรงกูล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ บริษัท เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูชั่น จ�ำกัด 369 หน้า สถาบันวิจัยอาหาร. (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเชิงนโยบายยุทธศาสตร์และระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ แผนวิจยั ด้านอาหารและความมัน่ คงแห่งชาติ ปี 2555-2559 เสนอ ส�ำนักงานพัฒนาการวิจยั การเกษตร (องค์การมหาชน). 34 หน้า. http://www.op.mahidol.ac.th/orra/research_fund/govern_59/issue_23.pdf สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ บณริฏ พิศลยบุตร (2557). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ในการสัมมนาวิชาการประจ�ำปี 2557 “ประเทศไทยในสามทศวรรษหน้า : สี่ความท้าทายเพื่อ การเติบโตอย่างมีคุณภาพ. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิล์ด. แหล่งที่มา Thailand in 30 Years-sd-Rangsit.pdf สุกิจ รัตนศรีวงษ์, วินัย ศรวัต, วลัยพร ศะศิประภาพ, นรีลักษณ์ วรรณสาย และโสภิตา สมคิด. มปป. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพือ่ ผลิตมันส�ำปะหลังเฉพาะพืน้ ที.่ การประชุมวิชาการระบบเกษตร แห่งชาติครั้งที่ 5. หน้า 406-416.

12 เกษตร สุรนารี' 58


เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่แปลง เพื่อเตรียมการเพาะปลูกด้วยระบบ

GPS

เกษตร สุรนารี' 58 13


เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่แปลง เพื่อเตรียมการเพาะปลูกด้วยระบบ

GPS

อาจารย์คธา วาทกิจ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร 1

พืน้ ทีท่ ำ� การเกษตรในประเทศไทยทีม่ กี ว่า 114 ล้านไร่ ใช้ ท� ำ การเพาะปลู ก เพื่ อ ผลิ ต ผลผลิ ต ทางการเกษตร เลี้ ย ง ประชากรทั้งในประเทศกว่า 67 ล้านคน รวมทั้งยังส่งไปเป็น วัตถุดิบให้กับโรงงานแปรรูปต่าง ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน แรงงาน และ ปัจจัยการผลิต รวมไปถึงข้อก�ำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง แวดล้อม ส่งผลให้การท�ำการเกษตรในปัจจุบันมีข้อจ�ำกัดมาก ยิ่งขึ้นและส่งผลให้ต้นทุนการเพาะปลูกเพิ่มสูงขึ้นมากอย่าง เห็นได้ชัดเจนในช่วง 5-10 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ผลกระทบ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกที่แปรปรวน ก็ยังส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรมีแนวโน้มที่จะลด ลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ผลผลิตทางการเกษตรหลักโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง และอ้อย การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เหล่านี้ต้องใช้พื้นที่จ�ำนวนหลายล้านไร่ ซึ่งหมายถึงความ ต้องการในการใช้น้�ำเพื่อการเพาะปลูกอีกกว่า 40,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตรในแต่ละปี ส�ำหรับในพื้นที่นอกเขตชลประทาน หากปีใดมีปริมาณน�้ำฝนที่เพียงพอก็จะส่งผลให้ได้ปริมาณ ผลผลิตตามเกณฑ์ แต่หากปีใดแล้งก็จะส่งผลให้ได้ปริมาณ ผลผลิตที่ลดลง ขณะที่ในเขตพื้นที่การชลประทานการใช้น�้ำใน การเพาะปลูกในแต่ละฤดูกาลปลูกก็ยังนับว่าเป็นปัญหาส�ำคัญ ที่ยังต้องรอการแก้ไข สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ ในการวางแผนการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ การจัดการดิน และน�้ำในการปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับสภาพพื้นที่ 1

สำ�นักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

14 เกษตร สุรนารี' 58

ให้เหมาะสมต่อระบบการชลประทาน ที่มีอยู่ การปรั บ ระดั บ พื้ น ที่ นั บ ว่ า มี ความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะวิธีการชลประทานบนผิวดิน เนื่องจากจะส่งผลโดยตรงต่อลักษณะ การไหลของน�ำ้ ในระบบการชลประทาน และการระบายน�ำ้ ในแปลง พืน้ ทีท่ มี่ กี าร ปรับระดับความชันทีเ่ หมาะสมมีแนวโน้ม ทีต่ น้ พืชจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อัตรา การให้ ผ ลผลิ ต สู ง เนื่ อ งจากพื ช ได้ รั บ ปริมาณน�้ำที่เพียงพอ ทั้งนี้ต้องมีการ วางแผนการเพาะปลูกและควบคุมโรค พืชรวมถึงแร่ธาตุอาหารที่ให้แก่พืชได้ อย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิธีการปรับระดับพื้นที่ และเตรียมแปลงได้มีการพัฒนาไปอีก ระดับหนึง่ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบน�ำหน (Navigation Systems) ด้วย ระบบการระบุต�ำแหน่งพิกัดด้วยแสง เลเซอร์ท�ำงานร่วมกับระบบระบุพิกัด ต� ำ แหน่ ง บนพื้ น โลกจากดาวเที ย ม (Global Positioning System; GPS) และ ระบบควบคุมการบังคับเลีย้ ว (Steering


Control) ของรถแทรกเตอร์ที่ต่อพ่วง เครือ่ งปรับระดับดิน (Scraper) เพือ่ ปรับ ระดับของพืน้ ทีแ่ ปลงโดยอัตโนมัติ ส่งผล ให้การปรับระดับพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ๆ สามารถท�ำได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ แม่นย�ำมากยิ่งขึ้น (ภาพที่ 1) เนื้อหา ในบทความนี้ จ ะขอกล่ า วถึ ง หลั ก การ อุปกรณ์และส่วนประกอบพื้นฐานของ ระบบการปรั บ ระดั บ พื้ น ที่ แ ปลงเพื่ อ เตรียมการเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ เพื่อ ให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีดังกล่าวและสามารถน�ำไป ศึกษาเพิ่มเติมเองได้ในภายหลัง

ภาพที่ 1 เทคโนโลยีระบบการปรับระดับพื้นที่แปลงแบบอัตโนมัติ

หลักการและเทคนิค ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการปรับระดับพื้นที่มีความ ส� ำ คั ญ ต่ อ การชลประทานให้ น�้ ำ พื ช โดยเฉพาะวิ ธี ก าร ชลประทานบนผิวดินโดยให้น�้ำแบบปล่อยท่วม ทั้งแบบคุม ระดับน�ำ ้ (Check Basin Irrigation) และไม่คมุ ระดับน�ำ ้ (Flood Basin Irrigation) ซึง่ เป็นวิธกี ารชลประทานให้นำ�้ แก่พชื ทีป่ ลูก กันอยูโ่ ดยทัว่ ไป ในการปรับระดับของพืน้ ทีท่ ขี่ นาดไม่ใหญ่มาก นักอาจใช้รถแทรกเตอร์พ่วงกับคราดหรือใบเกรดดันดินและ อาศัยการกะประมาณจากความช�ำนาญของผู้ขับเป็นหลัก ซึ่ง มักพบปัญหาเรื่องของความไม่สม�่ำเสมอของพื้นที่เกิดเป็นแอ่ง หรือสันดอน (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 ความไม่สม�่ำเสมอของพื้นที่เกิดเป็นแอ่งหรือสันดอนส่งผลให้ พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ เกษตร สุรนารี' 58 15


การปรับระดับด้วยเครื่องมืออัตโนมัติสามารถปรับ ระดับพืน้ ทีไ่ ด้โดยมีคา่ ความผิดพลาดไม่เกิน +/- 2 ซม. ทีร่ ะดับ ความลาดชันได้ละเอียดถึง 0.2% โดยสามารถปรับพืน้ ทีไ่ ด้มาก ถึง 2 เฮคแตร์ต่อวัน (1 เฮคแตร์ = 6.25 ไร่) เมื่อใช้แทรกเตอร์ ขนาดต้นก�ำลังประมาณ 60-80 แรงม้า หลักการท�ำงานของระบบการปรับระดับพื้นที่แบบ อัตโนมัติสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 3 ชุดระบุพิกัดต�ำแหน่ง ด้วยแสงเลเซอร์จะท�ำการค�ำนวณค่าพิกัดและระดับความสูง ของต�ำแหน่งของชุดกระบะบรรทุกดินและใบเกรดปรับระดับ ดินเพื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของค่าระดับในพื้นที่ที่ได้ มาจากการส�ำรวจและค่าระดับที่ต้องการปรับตั้งใหม่ จากนั้น

16

ชุดควบคุมจึงสั่งให้อุปกรณ์ไฮดรอลิก ท�ำงานเพื่อปรับระดับความสูงของใบ เกรดดิ นให้ พ อดี กับค่ า ระดั บความสู ง ของผิ วดิ นที่ต้อ งการ ในต�ำ แหน่ งที่ มี ค่าระดับสูงกว่าค่าที่ก�ำหนดดินจะถูก ล�ำเลียงไปยังชุดกระบะบรรทุกดิน เมื่อ รถเคลื่อนที่ไปยังต�ำแหน่งที่มีค่าระดับ ต�่ ำ กว่ า ชุ ด ควบคุ ม จะสั่ ง ให้ อุ ป กรณ์ ไฮดรอลิกท�ำงานเพื่อปล่อยดินลงไปยัง ต�ำแหน่งนั้น

ภาพที่ 3 อุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบการปรับระดับพื้นที่แบบอัตโนมัติ เกษตร สุรนารี' 58


โดยทัว่ ไปประกอบด้วยอุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้แก่ 1. ชุดกระบะบรรทุกดินและใบ เกรดดิน ติดตั้งอยู่กับระบบจุดต่อพ่วง 3 จุดของรถแทรกเตอร์ เพื่อให้ง่ายและ สะดวกในการท�ำงาน รวมไปถึงการต่อ ชุดกลไกการท�ำงานของใบเกรดดินเข้ากับ ชุดควบคุมไฮดรอลิกของตัวรถแทรกเตอร์ โดยปกติขนาดของความกว้างใบเกรด ดินจะขึ้นอยู่กับขนาดก�ำลังฉุดลากของ รถแทรกเตอร์ ดังแสดงในตารางที่ 1 2. เครื่องรับและส่งสัญญาณ ระบบระบุพกิ ดั ต�ำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์ (ภาพที่ 4) ประกอบด้วย (1) ชุดส่ง สั ญ ญาณ (Transmitter) ท� ำ หน้ า ที่ เสมือนเป็นสถานีฐาน ชุดส่งสัญญาณมัก จะติดตั้งชั่วคราวอยู่บนขาตั้งกล้องแบบ 3 จุด (Tripod) และกระจายสัญญาณ ออกไปยังรอบในระบบการปรับพื้นที่ แบบอัตโนมัติอาจจะใช้ชุดส่งสัญญาณ ร่วมกันเพียงชุดเดียว และ (2) ชุดรับ สัญญาณ (Receiver) ติดตั้งอยู่กับชุด กระบะบรรทุกดินท�ำหน้าที่รับสัญญาณ และส่งข้อมูลไปยังชุดควบคุมการท�ำงาน ของอุปกรณ์ในระบบ เพื่อควบคุมการ ท�ำงานของใบเกรดดิน

ตารางที่ 1 ขนาดความกว้างที่เหมาะสมของใบเกรดดินกับขนาด ก�ำลังฉุดลากของรถแทรกเตอร์

ภาพที่ 4 เครือ่ งรับและส่งสัญญาณระบบระบุพกิ ดั ต�ำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์

เกษตร สุรนารี' 58 17


ชนิดของระบบเลเซอร์สแกนพิกัดต�ำแหน่งที่ใช้ในงาน ปรับระดับพื้นที่โดยทั่วไปมี 4 แบบได้แก่ 2.1 แบบระบบเลเซอร์ปรับตั้งระดับด้วยผู้ใช้งานเอง (Manual Leveling Laser) ระบบเลเซอร์สแกนพิกัดต�ำแหน่ง แบบนี้ผู้ใช้งานจะต้องท�ำการปรับตั้งระดับโดยท�ำการปรับที่ขา ตัง้ กล้องโดยสังเกตจากฟองอากาศในหลอดแก้วระดับน�ำ ้ ทัง้ ใน แนวแกน X (แนวราบ) และแกน Y (แนวดิ่ง) ระบบนี้มีความ ถูกต้องสูงสุดในการวัดได้ละเอียดประมาณ 1 ซม. ในระยะทาง 100 เมตร โดยรอบจุดที่ติดตั้งชุดส่งสัญญาณ 2.2 แบบระบบเลเซอร์ปรับตั้งระดับด้วยระบบกึ่ง อัตโนมัติ (Semi Self-Leveling Laser) ระบบนี้ตัวชุดส่ง สัญญาณสามารถปรับแนวระดับของชุดส่งสัญญาณดัวยตัวเอง ได้ในช่วงหนึ่งเท่านั้น ผู้ใช้งานยังคงต้องท�ำการปรับตั้งระดับ แบบละเอียดโดยท�ำการปรับทีข่ าตัง้ กล้องเช่นเดียวกับแบบแรก ระบบนีม้ คี วามถูกต้องสูงสุดในการวัดได้ละเอียดใกล้เคียงกับใน แบบแรก 2.3 แบบระบบเลเซอร์ ป รั บ ตั้ ง ระดั บ ด้ ว ยระบบ อัตโนมัติ (Fully Self-Leveling Laser) ระบบนี้ตัวชุดส่ง สัญญาณสามารถปรับแนวระดับของชุดส่งสัญญาณดัวยตัวเอง ได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้งานไม่จ�ำเป็นต้องปรับตั้งใด ๆ เลย

ภาพที่ 5 ชุดควบคุมการท�ำงาน

18 เกษตร สุรนารี' 58

ระบบนี้มีความถูกต้องสูงสุดในการวัด ได้ละเอียดประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ใน ระยะทาง 100 เมตร โดยรอบจุดที่ติด ตั้งชุดส่งสัญญาณ 2.4 แบบระบบเลเซอร์ปรับตัง้ อัตโนมัตแิ ยก 2 ระนาบ (Split Beam Laser) ระบบนีต้ วั ชุดส่งสัญญาณสามารถ ปรับแนวระดับของชุดส่งสัญญาณด้วย ตัวเองได้โดยอัตโนมัติได้ทั้งระนาบราบ และระนาบดิ่งพร้อม ๆ กันทั้ง 2 แนว 3. ชุดควบคุมการท�ำงาน (ภาพที5) ่ เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ซึ่งท�ำหน้าที่ ในการรับและประมวลผลสัญญาณเพี่อ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบรวมไป ถึงการแสดงสถานะการท�ำงานต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในระบบอีกด้วย บางแบบ สามารถท�ำงานร่วมกับระบบระบุพิกัด ต�ำแหน่งบนพื้นโลกจากดาวเทียมและ แสดงผลในลักษณะของรูปภาพกราฟิก ให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้อีกด้วย


4. ระบบควบคุมไฮดรอลิก (ภาพ ที่ 6) ใช้ส�ำหรับควบคุมการท�ำงานของ กลไกใบเกรดดินและการยก-เทของชุด

กระบะดิน โดยปกติจะถูกติดตั้งร่วมเข้าไปกับระบบไฮดรอลิก ของรถแทรกเตอร์ โดยมีชุดควบคุมการท�ำงานของอุปกรณ์ใน ระบบท�ำหน้าที่สั่งการวาล์วไฮดรอลิกให้ปิด-เปิดโดยอัตโนมัติ

ภาพที่ 6 ระบบควบคุมไฮดรอลิก

ในปัจจุบนั ได้มกี ารน�ำเทคโนโลยี การน�ำหนด้วยระบบระบุพิกัดต�ำแหน่ง บนพื้ น โลกจากดาวเที ย ม ส่ ง ผลให้ สามารถการปรับพื้นที่สามารถกระท�ำ ได้ ก ว้ า งมากยิ่ ง ขึ้ น เนื่ อ งจากไม่ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ในเรื่ อ งของแนวการบดบั ง การ

ระบุพิกัดต�ำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์ เนื่องจากระบบดังกล่าวใช้ หลักการของคลืน่ วิทยุในการับ-ส่งสัญญาณข้อมูลพิกดั ต�ำแหน่ง นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังถูกน�ำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการ ควบคุมบังคับรถแทรกเตอร์โดยอัตโนมัติส่งผลให้การปฏิบัติ งานสามารถควบคุมและก�ำหนดทิศทางในการท�ำงานของรถ แทรกเตอร์ได้อย่างแม่นย�ำมากยิ่งขึ้น (ภาพที่ 7) GPS Signal

Correction Signal over radio or modem Base Station ภาพที่ 7 ระบบควบคุมบังคับรถแทรกเตอร์โดยอัตโนมัติ เกษตร สุรนารี' 58 19


หลักการและขั้นตอนโดยทั่วไปของการปรับระดับพื้นที่ด้วย ระบบอัตโนมัติ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ 1. การไถปรับขนาดก้อนดินในพืน้ ที่ ในกรณีทพี่ นื้ ทีด่ งั กล่าวไม่ได้ทำ� การเพาะปลูกพืชมาต่อเนือ่ งควรท�ำการไถดะก่อน โดยการใช้ไถจานหรือไถหัวหมูไถวนจากกึ่งกลางแปลงออกไป เพื่อท�ำการพลิกหน้าดินและวัชพืช หลังจากนั้นจึงใช้ไถพรวน จานไถซ�้ำเพื่อบดย่อยดินให้ละเอียดอีกครั้ง 2. การส�ำรวจพืน้ ทีแ่ ละจัดท�ำแผนทีเ่ ส้นระดับ เป็นการ ส� ำ รวจระดั บ ความสู ง -ต�่ ำ ของพื้ น ที่ โ ดยใช้ ก ล้ อ งระดั บ หรื อ กล้องส�ำรวจแบบสถานีรวม (Total Station) ส่องวัดค่าระดับ ความสูงในแปลงที่ต�ำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปนิยมแบ่งพื้นที่ เป็นตารางย่อย ๆ ขนาด 15x15 เมตร แล้วจึงหาค่าระดับที่จุด ตัดของเส้นตารางตลอดทั้งพื้นที่เพื่อน�ำข้อมูลจัดท�ำแผนที่เส้น ระดับหรือแผนที่เส้นชันความสูง (Contour Map) 3. การปรับพืน้ ทีด่ ว้ ยระบบเลเซอร์สแกนพิกดั ต�ำแหน่ง โดยอาศั ย ข้ อมู ลจากการส�ำรวจพื้นที่และระบบน� ำ หนด้ วย ดาวเทียม เป็นการปรับตั้งค่าการท�ำงานของระบบประกอบ ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ - การก�ำหนดค่าระดับความสูงเฉลี่ยในแปลงที่ กล่องควบคุมการท�ำงานของอุปกรณ์ปรับระดับผิวดิน - รถแทรกเตอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ปรับระดับผิวดิน ควรเริ่มปรับระดับผิวดินจากต�ำแหน่งเริ่มต้นที่มีค่าระดับความ สูงเท่ากับระดับค่าความสูงเฉลี่ยของพื้นที่ทั้งแปลง โดยขับวน ไปในทิศทางเดียวจากต�ำแหน่งดังกล่าวไปยังต�ำแหน่งที่มีพื้นที่ สูงกว่า - เมื่อกระบะดินเริ่มเต็มควรเลี้ยววนกลับไปยัง ต�ำแหน่งที่พื้นที่ที่มีระดับต�่ำกว่าเพื่อน�ำดินไปปล่อยลงไปยัง พื้นที่นั้น เมื่อดินใกล้หมดจึงวนกลับไปยังพื้นที่ที่มีระดับสูงกว่า อีกรอบ - เมื่อท�ำการปรับพื้นที่จนครบแล้วควรวิ่งวนปรับ 20 เกษตร สุรนารี' 58

ในรอบสุดท้ายซ�้ำตลอดทั้งพื้นที่อีกครั้ง จากต�ำแหน่งพืน้ ทีท่ มี่ รี ะดับสูงกว่าลงไป ยังต�ำแหน่งที่มีระดับต�่ำกว่า - ท�ำการส�ำรวจค่าระดับซ�ำ้ อีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง 4. รู ป แบบการไถเตรี ย มดิ น ภายหลังการปรับระดับพื้นที่ โดยทั่วไป รูปแบบการไถเตรียมดินภายหลังการ ปรั บ ระดั บ พื้ น ที่ เ พื่ อ เตรี ย มการเพาะ ปลูกควรจะไถให้รอ่ งไถไม่ขวางแนวเส้น ลาดชันที่ได้ปรับพื้นที่ไว้ก่อนหน้านี้ ใน การไถควรจะเริ่มจากการไถในต�ำแหน่ง กึ่งกลางพื้นที่และวนออกด้านนอกใน ลักษณะวนขวา เพื่อให้ก้อนขี้ไถพลิก กลบไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งถึง แนวขอบแปลงซึ่งควรเว้นพื้นที่ไว้อย่าง น้อยเท่ากับระยะหัวงานเพือ่ ท�ำแนวร่อง ระบายน�้ำที่ขอบแปลง สรุป การใช้ระบบการปรับระดับพืน้ ที่ แบบอัตโนมัติ สามารถช่วยลดระยะเวลา การเตรียมแปลงส�ำหรับพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ ๆ ลงได้ มี ค วามถู ก ต้ อ งและช่ ว ยเพิ่ ม ประสิทธิภาพในระบบการชลประทาน นอกจากนี้เมื่อท�ำงานร่วมกับระบบน�ำ หนรถแทรกเตอร์แบบอัตโนมัติจะช่วย ให้สามารถควบคุมการท�ำงานของตัวรถ แทรกเตอร์ได้อย่างแม่นย�ำ ส่งผลให้การ เตรี ย มพื้ น ที่ ส� ำ หรั บ การเพาะปลู ก ได้ สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


เอกสารอ้างอิง M.L. Jat, Parvesh Chandna, Raj Gupta, S.K. Sharma and M.A. Gill. (2006). Laser Land Leveling: A Precursor Technology for Resource Conservation. Rice-Wheat Consortium Technical Bulletin Series 7. New Delhi, India: Rice-Wheat Consortium for the Indo-Gangetic Plains. pp 48.

เกษตร สุรนารี' 58 21


22 เกษตร สุรนารี' 58


โรคโคนและหัวเน่า... วิกฤตใหม่ ของการผลิตมันส�ำประหลังไทย

เกษตร สุรนารี' 58 23


โรคโคนและหัวเน่า... วิกฤตใหม่ของการผลิตมันส�ำประหลังไทย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ อาจารย์ ดร.โสภณ วงศ์แก้ว รุ่งทิพย์ สังข์เผือก มธุกร สมพงษ์ สุทธิสา ดัชนี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

วิ ก ฤตการณ์ โรคโคนและหั ว เน่ า ระบาดในแหล่ ง ปลูกส�ำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบระบาดมากกว่า 30 เปอร์ เซ็ น ต์ ข องพื้ น ที่ ป ลู ก ในปี 2555-2557 ส่ ง ผลให้ ปริมาณผลผลิตโดยรวมของมันส�ำปะหลังลดลงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ เกษตรกรผู้ปลูกมัน ส�ำปะหลัง นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ ส�ำหรับป้อนโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันส�ำปะหลัง ทั้งนี้การ ผลิตมันส�ำปะหลังในประเทศไทย เมือ่ ก่อนมีการผลิตเพียงเพือ่ เป็นอาหารสัตว์ แต่ในปัจจุบนั รัฐบาลมีนโยบายเกีย่ วกับอาหาร และพลังงาน ซึ่งท�ำให้มีความต้องการมันส�ำปะหลังตลอดทั้งปี มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2557 มีผลผลิต มันส�ำปะหลังออกสู่ตลาด ประมาณ 5.38 ล้านตัน (ร้อยละ 18.81 ของผลผลิตทัง้ หมด) (ส�ำนักงานเศรษฐกิจเกษตร, 2557) เป็นเหตุให้ต้องปลูกอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ต้องมีการปรับปรุงดิน โดยการใส่มูลไก่และเปลือกดินมันส�ำปะหลังเพื่อบ�ำรุงดินและ เพิม่ ผลผลิตมันส�ำปะหลัง ทัง้ นีป้ ลูกมันส�ำปะหลังในประเทศไทย เริ่มประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคพืช ได้แก่ โรคใบจุด โรคใบจุด สีน�้ำตาล โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส เป็นต้น ในปัจจุบันโรค มันส�ำปะหลังทีส่ ำ� คัญและสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตของ เกษตรกรมันส�ำปะหลังโดยตรง คือ โรคโคนและหัวเน่าในมัน ส�ำปะหลัง (สุดใจ สูนาสวน และคณะ, 2554) เป็นโรคที่มีความ ส�ำคัญโรคหนึง่ ของผูป้ ลูกมันส�ำปะหลังทัว่ โลก ในประเทศไทยมี การเรียกชื่อโรคหลากหลายชื่อ อาทิ โรคหัวมันส�ำปะหลังเน่า (เคหการเกษตร ออนไลน์, ม.ป.ป.) โรคโคนเน่ามันส�ำปะหลัง 24 เกษตร สุรนารี' 58

(วิศรุต เศรษฐชุ่ม, 2557) โรคล�ำต้นเน่า (Online: เกษตรกรง่ายๆ ดอทคอม) โรครากและหั ว เน่ า มั น ส� ำ ปะหลั ง (ไทยรัฐออนไลน์, 2557) โรครากหรือ หัวเน่า ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง รุนแรงต่อผลผลิตมันส�ำปะหลัง ซึ่งใน ปี 2557 พบการระบาดของโรคราก และหั ว มั น เน่ า ในหลายพื้ น ที่ ในเขต พื้นที่ อ.เสิงสาง และครบุรี และพื้นที่ อืน่ ของจังหวัดนครราชสีมากว่า 4 พันไร่ โดยเฉพาะในแหล่งดินระบายน�้ำยาก และฝนตกชุ ก เกิ น ไปในบางพื้ น ที่ สามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการให้น�้ำ ในระบบน�ำ้ หยด เนือ่ งจากดินมีความชืน้ สูง ลักษณะอาการของโรคที่พบ ยอด จะเหลืองและใบเหี่ยวแล้วร่วงเมื่อถอน ต้นจะพบโคนต้นบวมและแตก รากจะ เป็นรอยช�้ำ สีน�้ำตาลและเน่าถ้าเกิดกับ หัวจะท�ำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และ มีกลิ่นเหม็น ยากต่อการป้องกันก�ำจัด เนื่องจากเชื้อสาเหตุของโรคนี้มีความ สามารถในการอยู่รอดได้ดีในดิน และมี พืชอาศัยมากชนิด โรคนี้สามารถเกิดได้ ทั้งระยะกล้าและระยะที่มันส�ำปะหลัง


ลงหัว(ภาพที่ 1) โรครากเน่าและหัวเน่า เกิดจากสาเหตุหลายชนิด ปัจจุบันใน ประเทศไทยตรวจพบว่าเชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา Phytophthora อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศมีรายงานว่าโรคโคนเน่า และหั ว เน่ า มั น ส� ำ ปะหลั ง (Cassava root rot disease: CRRD) เกิดจากการ เข้าท�ำลายของเชื้อราหลายชนิด ได้แก่ Phytophthora spp., Scytalidium spp., Botryodiplodia theobromae, Armillaria mellea, Sclerotium rolfsii, Nattrassia mangiferae, Diplodia sp. และ Fusarium spp (Okechukwu et al., 2009; Msikita et al., 1998, 2005; Onyeka et al.,2002, 2004) โดยในประเทศบราซิลมีรายงาน ว่า โรคหัวเน่าเละมันส�ำปะหลังเกิดจาก เชือ้ รา Phytophthora drechsleri และ โรคหัวเน่าแห้งมันส�ำปะหลังเกิดจาก เชื้อรา Fusarium spp. (Aigbe, 2006) ส�ำหรับในประเทศแอฟริกามีรายงาน ว่ า เกิ ด จากเชื้ อ Botryodiplodia theobromae, Nattrassia mangiferae and Fusarium spp. (Msikita et al., 1998, 2005; Onyeka et al., 2004) ในประเทศไนจีเรีย มีรายงานว่า เกิดจาก เชื้อ B. theobromae สร้างความเสีย หายมากกว่า 70 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่ ( O n y e k a , 2 0 0 2 ) น อ ก จ า ก นี้ มี ร ายงานว่ า เชื้ อ รา Fusarium sp.

(Ranajit et al., 2005) เป็นอีกสาเหตุของโรคโคนและหัวเน่า เช่นกัน โรคนี้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันส�ำปะหลังเป็น อันดับต้นๆ ในทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ (PIP: European Union, 2011) ในทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ โรคนี้ท�ำให้ ผลผลิตมันส�ำปะหลังลดลงถึง 80 เปอร์เซนต์ ของผลผลิต รวม (Msikita et. al., 2005) ในประเทศไนจีเรีย และแคม มารูน ผลผลิตมันส�ำปะหลังลดลงมากกว่า 25 เปอร์เซนต์ เมื่อถูกโรคนี้เข้าท�ำลาย โดยจะพบการแพร่ระบาดในช่วง ฤดูฝน บริเวณที่ดินระบายน�้ำไม่ดี ลักษณะอาการหลักที่พบ ส่วนใหญ่ที่พบจะมีกลิ่นเหม็น ถ้าเกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. เนื้อเยื่อจะมีสีชมพูหรือสีเหลือง แต่ถ้าเกิดจากเชื้อรา B. theobromae เนื้อเยื่อจะมีสีเทาด�ำ ในบางอาการจะ พบเส้นใย sclerotia หรือ pycnidia บริเวณรอบโคนต้น (Bandyopadhyay et.al., 2006) ลักษณะอาการของโรคโคนและหัวเน่าในมันส�ำปะหลัง ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดนครราชสีมาและหลายพืน้ ทีป่ ลูกส�ำคัญ โดย พบลักษณะอาการ 4 ลักษณะของโรค คือ 1) โรคหัวเน่าเละ เกิดจากเชือ้ รา (ก�ำลังอยูใ่ นระหว่างการระบุชนิดของเชือ้ สาเหตุ) ลักษณะอาการต้นเหีย่ วเฉา ใบล่าง ๆ มีสเี หลือง และเหีย่ วแห้ง หลุ ด ร่ ว งลงมา ส่ ว นใบยอดมี ข นาดเล็ ก ต้ น แคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมือ่ ขุดรากดูพบรากเน่าเละสีนำ�้ ตาล มีกลิน่ เหม็น 2) โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อรา (ก�ำลังอยู่ในระหว่างการ ระบุชนิดของเชื้อสาเหตุ) ลักษณะอาการหัวมันส�ำปะหลัง จะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอก เห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้ โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทน ส่วนที่ถูกท�ำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อ ที่บวม ท�ำให้เกิดหัวมันส�ำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก 3) โรคหัวเน่าด�ำ เกิดจากเชื้อรา (ก�ำลังอยู่ในระหว่างการระบุ เกษตร สุรนารี' 58 25


ชนิดของเชื้อสาเหตุ) จะมีลักษณะอาการหัวเน่าสีด�ำหรือสี น�ำ้ ตาลเข้ม เนือ่ งจากเป็นสีทเี่ กิดจากเส้นใยของเชือ้ รา หรือส่วน ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา 4) โรคเน่าคอดิน เกิด จากเชื้อรา (ก�ำลังอยู่ในระหว่างการระบุชนิดของเชื้อสาเหตุ) มักพบอาการในต้นกล้า ลักษณะต้นมันส�ำปะหลังจะเหี่ยวเฉา ตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของ โคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน (http://at.doa.go.th/mealybug/ disease.htm กรมวิชาการเกษตร, ม.ม.ป.) โรคโคนและหัวเน่า สามารถท�ำให้ผลผลิตมันส�ำปะหลังสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะ ในแหล่งที่ดินระบายน�้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไป โรคนี้สามารถ เกิดได้ทงั้ ระยะต้นกล้าและระยะทีล่ งหัวแล้ว โรคนีอ้ าจท�ำความ เสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์ (ยุกติ สาริกะภูติ, 2526) ถ้าเกิดกับ กล้ามันส�ำปะหลังจะแสดงอาการรากเป็นรอยช�้ำสีน�้ำตาลและ

26

เน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา หากเกิดกับหัวจะ สังเกตเห็นอาการหัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมี ก ลิ่ นเหม็ นในขณะที่ ล� ำ ต้ นส่ วน บนเจริญเติบโตปกติ บางพื้นที่อาจพบ ลักษณะอาการใบเหี่ยวแล้วร่วง หาก มีอาการรุนแรงมันส�ำปะหลังจะยืนต้น ตาย และจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา รวมกันคล้ายเส้นด้ายปกคลุมบริเวณ หัว และบริเวณโคนต้นมันส�ำปะหลัง ส่งผลให้เนื้อภายในหัวเน่าแห้ง มีกลิ่น คล้ า ยมั น ส� ำ ปะหลั ง เน่ า ที่ เราคุ ้ น เคย และได้ ก ลิ่ น จากลานมั น หรื อ โรงงาน อุตสาหกรรมแป้งมันส�ำปะหลัง

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะอาการของโรคโคนและหัวเน่ามันส�ำปะหลังที่พบในจังหวัดนครราชสีมา เกษตร สุรนารี' 58


ปัจจุบันมีการพบการระบาดของโรคโคนและหัวเน่าของมันส�ำปะหลัง มากในพื้นที่ อ�ำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา โดยพบการระบาดอย่างรุนแรงในมันส�ำปะหลังบางสายพันธุ์ อาทิ ระยอง89 โดยลักษณะ อาการที่พบคือ บริเวณโคนต้นบวมและแตก มีกลุ่มของเชื้อราสีขาว สีด�ำ และอาจพบเส้นใยสีขาวอาจมีการ สร้างเม็ดกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่าเมล็ดผักกาดเรียกว่า Sclerotia กระจายอยูบ่ ริเวณรอบ ๆ โคนต้น ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 แสดงลักษณะอาการของโรคโคนและหัวเน่าที่พบบริเวณโคนต้นมันส�ำปะหลัง

หากเกิดกับหัวมันส�ำปะหลัง จะสังเกตเห็นอาการ 2 ลักษณะอาการ คือ 1) อาการหัวเน่าเละ ภายใน หัวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เขียวมะกอก ไปจนถึงสีเทาหรือสีด�ำ บางครั้งอาจพบหนอนเข้าท�ำลายบริเวณ ที่มีอาการเน่า ดังภาพที่ 3 และ 2) อาการเน่าแห้งจะมีลักษณะเมื่อเป็นมากจะมีอาการหัวมันฝ่อ แห้งและมี กลิ่นเหม็น เกษตร สุรนารี' 58 27


ภาพที่ 3 แสดงลักษณะอาการของโรคหัวเน่าที่พบในอ�ำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

การป้องกันก�ำจัด ในปัจจุบันมีการแนะน�ำให้เกษตรกรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์ รองก้นหลุมก่อนท�ำการปลูกมันส�ำปะหลัง เนือ่ งจากเชือ้ สาเหตุของโรคนีม้ คี วามสามารถในการอยูร่ อดได้ดใี น ดิน และในปัจจุบันมีการระบาดของโรคหัวเน่ามันส�ำปะหลังอย่างรุนแรง และมีลักษณะอาการที่หลากหลาย รวมทัง้ ยังไม่มกี ารยืนยันชนิดของเชือ้ สาเหตุโรคอย่างแท้จริงจึงยากต่อการควบคุม และป้องกันก�ำจัด ส่งผลให้ เกิดเกิดการระบาดมากในพืน้ ทีจ่ งั หวัดนครราชสีมา อย่างไรก็ตามสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ส�ำนักวิชา เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก�ำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อสาเหตุและวิธีการป้องกัน ก�ำจัดโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

28 เกษตร สุรนารี' 58


ภาพที่ 4 แสดงการส�ำรวจลักษณะอาการของโรคโคนและหัวเน่าที่พบในอ�ำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

เกษตร สุรนารี' 58 29


เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. (ม.ป.ป). โรคหัวเน่ามันส�ำปะหลัง. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.doa.go.th/fcri/ index.php?option=com_content&view=article&id=5&Itemid=23 ไทยรัฐออนไลน์. (2557). รากเน่า..หัวเน่า ระบากหนักไร่มันส�ำปะหลัง. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www. thairath.co.th/content/442798 เคหการเกษตร. (ม.ป.ป). แก้ปญ ั หาโรคหัวมันส�ำปะหลังเน่าด้วยชีววิธ.ี [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.kehaka set.com/index.php/component/content/article/79-information/1508-2014-08-25-07-15-03 สุดใจ สูนาสวน, ยรรยง สมบตัวิชาธร, สิริมา ธนพงศ์พิพัฒน์, คนางค์ ดวงมณี, และเสาวณิต วรดิษฐ์. (2554). รายงานผลการศึกษาสินค้าเกษตรประเภทมันส�ำปะหลัง. รายงานผลการศึกษาสินค้าเกษตรประเภท มันส�ำปะหลัง ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า. 5-15. ส�ำนักงานเศรษฐกิจเกษตร. (2557). มันส�ำปะหลัง. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.oae.go.th/more news.php?cid=12.-hv. วิศรุต เศรษฐชุม่ . (2557). โรคโคนเน่าระบาด.[ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.facebook.com/permalink. php?id=133258390067918&story_fbid=748041708589580. Bandyopadhyay, S., Sharan, R., Ideker, T. (2006). Systematic identification of functional orthologs based on protein network comparison. Genome Res. 16(3): 428--435. Msikita, W., Yaninek, J.S., Ahounou, M., Fagbemissi, R., Hountondji, F. and Green, K. (1998). Identification and characterization of Fusarium spp. associated with cassavachips. pp 136–139. In” Root crops and poverty alleviation, Akoroda, M.O. and Ekanayake, I.J. (eds)”. In Proceedings of the 6th Triennial Symposium of the International Society for Tropical Root Crops- Africa Branch, 22-28 October, Malawi. Msikita, W., Bissang, B., James, B.D., Baimey, H.,Wilkinson, H.T., Ahounou, M. & Fagbemis, R. (2005). Prevalence and severity of Nattrassia magniferae root and stem rot pathogen of cassava in Benin. Plant Disease 89, 12-16. Onyeka,T.J., Dixon, A.G.O. & Ekpo, E.J.A. (2005). Identification of levels of resistance to cas sava root rot disease (Botryodiplodia theobromae) in African landraces and improved germplasm using in vitro inoculation method. Euphytica 145(3): 281-288.

30 เกษตร สุรนารี' 58


Okechukwu R.I., Nwoke, B.E.B., Opara, F.N., and Okereke, J.N. (2009). Anti-fungal potentials of herbal remedies used in the treatment of dermatophytosis in Imo State, Nigeria. International J. of Nat. and Appl.Sciences.; 5(2):164–166. PIP: European Union. (2011). GUIDE TO GOOD CROP PROTECTION PRACTICES FOR production of cassava (Manihot esculenta). https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s& source=web&cd=1&ved=0CBwQFjAA&url=http%3A%2F%2Fpip.coleacp.org%2F files%2Fdocuments%2FGBPP-Manioc%. Ranjit MR, Das A, Das BP, Das BN, Dash BP, Chhotray GP. (2005). Distribution of Plasmodium falciparum genotypes in clinically mild and severe malaria cases in Orissa, India. Trans R Soc Trop Med Hyg. 99:389–395.

เกษตร สุรนารี' 58 31


32 เกษตร สุรนารี' 58


ฟางข้าวกับการจัดการ

เกษตร สุรนารี' 58 33


ฟางข้าวกับการจัดการ นนทพร หว่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

เมือ่ ท้องนาจากต้นกล้าสีเขียวชอุม่ ออกรวงจนกระทัง่ เริม่ เปลีย่ นสี และได้ที่ กระทัง่ เกษตรกรเก็บเกีย่ ว คงเหลือเพียง ล�ำต้นข้าวเปล่า ๆ ที่เหนียวและติดอยู่กับผืนนาคือ “ฟางข้าว” และเพือ่ เตรียมปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป เกษตรกรจะต้องเตรียม ดินใหม่ โดยเริ่มจากการก�ำจัดฟางข้าวออกก่อน ด้วยการเผา ฟางข้าว ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วและเป็นที่นิยมกัน แต่การเผาฟาง ข้าวท�ำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ท�ำให้เกิดหมอกควัน ที่เต็ม ไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลต่อคุณภาพอากาศที่ หายใจและภาวะโลกร้อน ขณะเดียวกันการเผายังท�ำให้ดนิ เสือ่ ม คุณภาพอีกด้วย เนือ่ งจากการสูญเสียธาตุอาหารและการลดลง ของจุลนิ ทรียท์ สี่ ำ� คัญ รวมไปถึงท�ำให้คณ ุ สมบัตขิ องดินเปลีย่ นไป เช่น ดินมีความแน่นทึบ ท�ำให้อตั ราการซึมของน�ำ้ ช้าลง การไหล ทางแนวราบสูงขึ้น ท�ำให้เกษตรกรต้องใช้น�้ำมากกว่าปกติ 34 เกษตร สุรนารี' 58

ผลกระทบเหล่ า นี้ ส ร้ า งความกั ง วล ให้ แ ก่ บุ ค คลทั่ ว ไป แม้ ใ นสายตาของ เกษตรกรอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ กลับเป็นจุดทีท่ ำ� ให้เกษตรกรเพิม่ ต้นทุน การผลิ ต โดยไม่ รู ้ ตั ว แต่ ใ ครจะรู ้ บ ้ า ง ว่าฟางข้าวที่เกษตรกรเผาและหายไป ในพริบตาหากน�ำมาประยุกต์คดิ ดัดแปลง แล้วจะกลับมีคณ ุ ค่ามากมาย วันนีเ้ ราจึง ขอรวบรวมการจัดการฟางข้าวในแบบ ทั่วไปที่เกษตรกรและใคร ๆ สามารถ ท�ำได้งา่ ย ๆ พร้อมกับน�ำเสนอทางเลือก และการจัดการฟางข้าวในอนาคต ส�ำหรับ เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่สนใจ


เรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็จัดการกับฟางข้าวได้ การคลุมดินด้วยฟางข้าว หากน� ำ ฟางข้ า วมาวิ เ คราะห์ จะพบว่า ฟางข้าวมีแร่ธาตุที่ส�ำคัญ ไม่ ว่าจะเป็น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และ ไนโตรเจน จึ ง ไม่ แ ปลกที่ จ ะมี ก ารน� ำ ฟางข้าวมาทดลองและปรับปรุงเพือ่ เป็น แหล่งของแร่ธาตุทั้งในอาหารสัตว์และ ปุ๋ย และด้วยเหตุนี้เองหากน�ำฟางข้าว มาคลุมดินจึงเป็นเรื่องดีมิใช่น้อย ซึ่ง แน่นอนเกษตรกรหลายคนอาจท�ำอยู่

แล้ว เพราะการคลุมดินด้วยฟางข้าวจะช่วยเก็บความชื้น และ ท�ำให้ดินมี pH เป็นกลาง และด้วยลักษณะที่ฟางข้าวสามารถ ป้องกันการระเหยน�้ำได้ในระดับหนึ่ง จะท�ำให้เกิดสภาพ แวดล้อมทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการอาศัยร่วมกันของจุลนิ ทรียแ์ ละ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยเปลี่ยนสารอินทรีย์ในดินให้เป็นแร่ธาตุหรือสาร ที่จ�ำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมไปถึงท�ำให้ดินมีความ ร่วนซุย เมือ่ รวมกับการย่อยสลายไปตามกาลเวลาของฟางข้าว ก็จะท�ำให้ดินนั้น ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ และช่วยเพิ่มผลผลิต ให้แก่เกษตรกรในที่สุด (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 การใช้ฟางข้าวคลุมดิน

การท�ำปุ๋ยหมัก การท� ำ ปุ ๋ ย หมั ก ก็ เ ป็ น อี ก ทาง หนึ่งที่น�ำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ แต่ เกษตรกรอาจต้องลงแรงและเวลาระยะ หนึ่งจึงสามารถได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ

โดยปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากกิจกรรมของ จุลินทรีย์หลายชนิดในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นองค์ ประกอบของเศษพืชหรือวัสดุเหลือใช้ชนิดต่าง ๆ จนกระทั่ง ได้สารอินทรีย์วัตถุที่มีความคงทนไม่มีกลิ่น มีสีน�้ำตาลปนด�ำ เกษตร สุรนารี' 58 35


วิธีการง่าย ๆ ที่เกษตรกรสามารถท�ำได้ก็คือ ใช้เพียง ฟางข้าวผสมกับมูลสัตว์ กองวัสดุให้ฐานกว้าง 2.5 เมตร เป็น รูปสามเหลี่ยมสูงประมาณ 1.5 เมตร ใช้อัตราส่วนของฟางข้าว 4 ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วน กองฟางข้าวสลับกับมูลสัตว์ทีละชั้น โดยให้ความสูงของชัน้ ฟางข้าวไม่เกิน 10 เซ็นติเมตร และรดน�ำ้ แต่ละชัน้ ให้มคี วามชืน้ โดยชัน้ บนสุดเป็นมูลสัตว์ ทิง้ ไว้เป็นเวลา 60 วัน หมั่นรดน�้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกวัน เมื่อครบ 10 วันใช้ไม้ หรือเหล็กแทงกองปุ๋ยให้ลึกถึงข้างล่าง กรอกน�้ำลงไปและปิดรู ท�ำอย่างนี้ 5 ครั้งห่างกันครั้งละ 10 วัน เมื่อครบอายุ 60 วัน ทิ้งปุ๋ยให้แห้ง เท่านี้เกษตรกรก็สามารถได้ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพ ไว้ใช้เอง (ภาพที่ 2) และหากเกษตรกรท�ำได้แล้วละก็ โดยเฉพาะ ชาวนาก็ไม่จ�ำเป็นต้องซื้อปุ๋ยเคมีราคาแพง ที่สุดท้ายรังแต่จะ ท�ำให้ผืนดินที่ปลูกนาปริมาณอาหารลดลงและเป็นพิษ หรือ ซื้อปุ๋ยชีวภาพจากคนอื่นซึ่งไม่แน่ว่าจะมีคุณค่าเท่าที่เกษตรกร ลงมือท�ำ และท้ายที่สุดต้นทุนการท�ำนาก็จะลดลงอย่างมาก เพราะเกษตรกรมีปุ๋ยดีและได้เปล่าในการท�ำนา

ภาพที่ 2 การท�ำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว

36 เกษตร สุรนารี' 58

การไถกลบตอซังฟางข้าว วิธีนี้ก็จัดว่าเป็นวิธีที่ดี และใช้ เวลาไม่นานในการไถกลบ อย่างไรก็ตาม แม้วา่ จะใช้เวลาในการไถกลบไม่นาน แต่ เกษตรกรจะต้องรอให้เกิดการหมักฟาง ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก่อนท�ำนาใน ครั้งถัดไป เพื่อป้องกันการเผาตอซังที่ เกิดจากขบวนการ immobilization มี ผลให้ไนโตรเจนที่สะสมในดินมีปริมาณ ลดลงชัว่ คราว นอกจากนีก้ ารย่อยสลาย ยังมีการปลดปล่อยสารเคมี เช่น กรด อินทรีย์ ก๊าซต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อ การเจริญเติบโตของต้นข้าวในการปลูก ครัง้ ถัดไป ดังนัน้ เกษตรกรจึงต้องปล่อย ทิ้งไว้สักพักหนึ่ง การใช้จลุ นิ ทรียเ์ ร่งการย่อยสลายตอซัง ฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว วิ ธี น้ี เ ป็ น วิ ธี ที่ ก รมวิ ช าการ เกษตรแนะน�ำเป็นอย่างมาก เนื่องจาก กรมวิชาการเกษตรได้ท�ำการทดลอง แล้ ว พบว่ า จุ ลิ น ทรี ย ์ ที่ พั ฒ นาเพื่ อ เร่ ง การย่อยสลายซากพืช มีประสิทธิภาพ สามารถย่นระยะเวลาการเตรียมพืน้ ทีใ่ ห้ เหลือเพียง 7 วัน โดยเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลส สามารถ ช่วยย่นระยะเวลาในการหมักให้เหลือ เพียง 1 สัปดาห์ ไม่มีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตของข้าวในระยะแรก และ สามารถเพิ่มผลผลิต


การน�ำฟางข้าวมาผลิตเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งบ้าน นอกเหนือจากการน�ำฟางข้าว มาจัดการโดยตรงแล้วดังที่กล่าวข้าง ต้นมาแล้ว วิธสี ดุ ท้ายส�ำหรับการจัดการ ฟางข้าวทีเ่ ราขอเสนอ คือการน�ำฟางข้าว มาดั ด แปลงให้ มี มู ล ค่ า สู ง ขึ้ น เช่ น เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ใช้สอยโดย ทั่วไป (ภาพที่ 3) ด้วยลักษณะที่เป็น เส้ น ใย จึ ง ท� ำ ให้ ง ่ า ยที่ ส ามารถน� ำ มา ดัดแปลงนอกเหนือไปจากการท�ำฟางมุง หลังคา ไม่เพียงเท่านี้การน�ำฟางข้าวมา ท�ำเฟอร์นเิ จอร์ยงั เพิม่ ความหลากหลาย ของวั ส ดุ ที่ ท� ำ เฟอร์ นิ เจอร์ และช่ ว ย ลดการตัดไม้ได้อีกด้วย ดังนั้นการน�ำ

ฟางข้าวมาประยุกต์จึงช่วยสร้างมูลค่าให้แก่ฟางข้าวได้อย่าง มากมายเลยทีเดียว

ภาพที่ 3 การน�ำฟางข้าวมาผลิตเป็นเฟอร์นเิ จอร์ และเครือ่ งใช้สอยในบ้าน

งานวิจัยฟางข้าวกับอนาคต วิธกี ารข้างต้นทีก่ ล่าวมานัน้ เป็น วิธีที่เกษตรกรสามารถน�ำฟางข้าวไป จัดการได้โดยตรง แต่ขณะนี้ฟางข้าวได้ ถูกน�ำไปวิจยั เพือ่ ใช้ประโยชน์ในด้านการ เป็นแหล่งวัตถุดิบทางเลือกที่สามารถ ลดการใช้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นการท�ำ เอทานอลจากฟางข้าว การเป็นแหล่ง ของกรดแลคติกเพื่อท�ำพลาสติกที่ย่อย สลายได้ทางชีวภาพ หรือเพื่อน�ำไปเป็น แหล่งพลังงานทดแทนทางชีวภาพ ดังนี้

การผลิตก๊าซชีวมวลจากฟางข้าว ฟางข้าวเป็นหนึ่งในแหล่งชีวมวลที่ส�ำคัญของไทย สามารถน�ำมาผลิตเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า ได้ ด ้ ว ยกระบวนการ Gasification ซึ่ ง เป็ น กระบวนการ เปลี่ ย นเชื้ อ เพลิ ง ของแข็ ง หรื อ ชี ว มวลให้ เ ป็ น แก๊ ส เชื้ อ เพลิ ง ด้ ว ยกระบวนการทางความร้ อ น โดยแก๊ ส ประกอบด้ ว ย คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจน สารไฮโดรคาร์บอนมวลเบา รวม ไปถึงคาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจน ส่วนผสมแก๊สนีเ้ หมาะ สมต่อการน�ำไปใช้โดยตรงในระบบ combined-cycle gas turbine หรือสามารถใช้เป็น syngas ซึ่งมีค่าความร้อน (calorific value) สูง สามารถใช้แทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้

เกษตร สุรนารี' 58 37


ฟางข้าวพลาสติกทีย่ อ่ ยสลายได้จากฟางข้าว (Bioplastic) ฟางข้าวนัน้ สามารถน�ำมาย่อยสลายด้วยกระบวนการ หมักจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงเป็นน�้ำตาลและกลายเป็นกรด แลคติก (Lactic acid) ในที่สุด ซึ่งสามารถที่จะน�ำกรดแลคติก มาสังเคราะห์ต่อให้กลายเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ หรือ polylactic acid (PLA) เพื่อทดแทนการผลิตพลาสติก จากแหล่งปิโตรเลียม อย่างไรก็ตามยังพบว่าต้นทุนค่อนข้าง สูงเนื่องจากในกระบวนการผลิตจากการหมักนั้นไม่ได้มีเพียง ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเกิดขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการท�ำให้บริสุทธิ์ ฟางข้าวกับเอทานอล นอกจากฟางข้ า วก� ำ ลั ง ถู ก น� ำ ไปพั ฒ นาในแง่ ข อง การน�ำไปท�ำพลังงานไฟฟ้าและการท�ำพลาสติกที่ย่อยสลาย ทางชีวภาพ อีกด้านหนึ่งที่นิยมศึกษาคือ การเป็นพลังงานทาง เลือกส�ำหรับการผลิตเชือ้ เพลิงเอทานอลชีวภาพ เนือ่ งจากฟาง ข้าวนัน้ แทบไม่มตี น้ ทุนใด มันจึงไม่แปลกเลยกับการถูกเสนอให้ เป็นวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร ส�ำหรับการผลิตเอทานอล จากฟางข้าวนั้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอน เตรียมวัตถุดิบหรือปรับสภาพให้กลายเป็นสารตั้งต้นที่ง่ายใน การท�ำปฏิกิริยากับเอนไซม์ส�ำหรับการผลิตน�้ำตาลในขั้นตอน ถัดไป ซึง่ ประกอบด้วยทัง้ แบบกายภาพและเคมี (Physical and Chemical pretreatment) เพื่อเตรียมวัตถุดิบของเราให้เล็ก ลงและเหมาะสม ไม่วา่ จะเป็นการหัน่ การสับ การบด หรือการ ต้ม และน�ำไปท�ำปฏิกริ ยิ าด้วยกรดหรือเบส ผลทีไ่ ด้จะถูกน�ำไป เป็นสารตั้งต้นในขั้นตอนการผลิตน�้ำตาล (Saccharification) เพื่อเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลโดยใช้เอนไซม์ และน�ำไปใช้ในขั้นตอน สุดท้ายคือกระบวนการหมัก (Fermentation) ด้วยจุลินทรีย์ 38 เกษตร สุรนารี' 58

เพื่อให้เกิดเอทานอลต่อไป ดังนั้นหาก เราสามารถพัฒนาให้ฟางข้าวเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งของการผลิตเอทานอล ก็ จะเป็นประโยชน์ต่อพลังงานเชื้อเพลิงที่ สามารถทดแทนได้ สรุป ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประโยชน์ ทั่วไปนั้นเกษตรกรสามารถน�ำฟางข้าว มาท�ำประโยชน์โดยตรงได้หลายอย่าง และยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวเอาไว้ แต่เกษตรกรเองคงคุน้ เคยดี เช่น การน�ำ มาเลี้ยงสัตว์ หรือใช้เป็นวัสดุในการท�ำ เห็ด ท�ำแผ่นไม้อดั เป็นต้น การน�ำฟางข้าว มาร่วมกับการท�ำอย่างอื่น เช่น ปลูกผัก เลี้ ย งสั ต ว์ ท� ำ ปุ ๋ ย เพื่ อ ทดแทนการ เผาซึ่งจะส่งผลเสียทั้งสภาวะแวดล้อม และเกษตรกร ไม่ เ พี ย งแต่ จ ะท� ำ ให้ เกษตรกรลดต้นทุนในการท�ำนา แต่ยัง ท�ำให้เกษตรกรได้ท�ำอย่างอื่นในการ เลี้ยงชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นหลัก และนั่นก็คือประโยชน์ทั่วไป ทีเ่ กษตรกรสามารถท�ำได้เองหรือแม้แต่ การน�ำฟางข้าวมาท�ำให้มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น การท�ำเฟอร์นิเจอร์ ก็เป็นเรื่องที่น่า ลองและยังมีคนท�ำไม่มาก ไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ทั่วไปที่เกษตรกรหรือผู้สนใจ ท่านใดสามารถน�ำฟางข้าวมาใช้โดยตรง


หรือประโยชน์ในด้านการประยุกต์ ต่าง ก็เป็นสิ่งส�ำคัญ ในการน�ำฟางข้าวมาใช้ ให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าให้แก่ ตัวฟางข้าว ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ได้ ซึ่งสามารถเห็นผลได้ในระยะไม่นาน ในขณะที่งานวิจัยเกี่ยวกับฟางข้าวเพื่อ อนาคตนั้นยังคงต้องอาศัยระยะเวลา อีกสักพักหนึ่ง เพื่อปรับปรุงผลผลิตที่

ต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และลดผลพลอยได้บางอย่าง ทีไ่ ม่ตอ้ งการรวมไปถึงการท�ำให้กระบวนการต่างๆทีเ่ กีย่ วข้องมี ความง่ายและมีต้นทุนลดลง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะวิธีไหนหาก ช่วยลดการสูญเสียฟางข้าวโดยเปล่าประโยชน์ ลดมลพิษ และ เพิ่มคุณภาพชีวิตกับเกษตรกรเอง ไปจนถึงเป็นแหล่งพลังงาน หรือวัตถุดิบทางเลือกเพื่อทดแทนปิโตรเคมี ต่างก็เป็นเรื่องดี ทั้งนั้น

เกษตร สุรนารี' 58 39


เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. สลายตอซังข้าวด้วยจุลินทรีย.์ สืบค้นได้จาก: http://it.doa.go.th/pibai/pibai/korkui.html. 2557. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน, 2557. ศูนย์วิศวกรรมอุณหภาพ. เตาแก๊สซิไฟเออร์ส�ำหรับอุตสาหกรรมเกษตร (GASIFIER). สืบค้นได้จาก : http://www.kmutt.ac.th/TEC2/newweb/research-and-projects-sub.php?research_ id=75&sub_id=76. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน, 2557. Calvo, L. F., Gil, M.V., Otero, M. Morân, A. and García,A. I. (2012). Gasification of rice straw in a fluidized-bed gasifier for syngas application in close-coupled boiled-gasifier systems. Bioresource Technology. 109, 206-214. ส�ำนักบริการคอมพิวเตอร์. ฟางมีค่ากว่าทองค�ำ. สืบค้นได้จาก : http://www.ku.ac.th/e-magazine/sep49/agri/fan.htm. 2549. เข้าถึงเมือ่ 11 พฤศจิกายน, 2557. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. คู่มืองดเผาตอซังสร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม. สืบค้นได้จาก : www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_04.pdf. 2548. เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน, 2557. ส�ำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง พด.1. สืบค้นได้จาก : http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_12.pdf. 2550. เข้าถึงเมือ่ 11 พฤศจิกายน, 2557. ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร. ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง. สืบค้นได้จาก : https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมัก ปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง Joseph P. Greene. Continuation of Rice Straw Waste Bacterial Conversion to Poly Lactic Acid. Available from: http://ucanr.edu/repository/fileaccess.cfm?article=98429&p=DKTHWM. 2014. Cited 2014 November 20. Wang, Y., Tashiro, Y., and Sonamoto, K. (2014). Fermentative production of lactic acid from renewable materials: Recent achievement, prospect, and limits. J Biosci and Bioeng. DOI: 10.1016/j.jbiosc.2014.06.003.

40 เกษตร สุรนารี' 58


เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล จากหัวมันส�ำปะหลังสด

เกษตร สุรนารี' 58 41


เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลจากหัวมันส�ำปะหลังสด รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ บุญทาวัน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

1. บทน�ำ ในปัจจุบันการผลิตเอทานอลส�ำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ก�ำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาวะ ของราคาน�้ำมันปิโตรเลียมที่ผันผวนและมีแนวโน้มที่จะเพิ่ม ขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การส�ำรวจขุดหาแหล่งปิโตรเลียม ใหม่ ๆ ท�ำให้ปริมาณน�้ำมันดิบส�ำรองของโลกมีการลดลงอย่าง รวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะหมดไปจากโลกนีใ้ นไม่ชา้ จากปัญหา ดังกล่าวท�ำให้มีแนวความคิดที่จะมีการผลิตรถยนต์เบนซิน ที่สามารถใช้น�้ำมันผสมเอทานอลให้ได้ในอัตราส่วนที่สูงขึ้น เช่น น�้ำมัน E10, E20, E85 และ E100 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใข้เอทานอลเป็นส่วนผสมส�ำหรับ การผลิตน�้ำมันไบโอดีเซลส�ำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยน�้ำมัน ไบโอดี เซลเป็ น พลังงานหมุนเวียนที่ก ่อให้เ กิดมลพิ ษ ต่ อ สิ่ ง แวดล้อมน้อยกว่าน�้ำมันดีเซล เพราะเป็นน�้ำมันที่ผลิตจาก

ปฏิ กิ ริ ย าทรานส์ เ อสเทอริ ฟ ิ เ คชั่ น (trans-esterification) ระหว่างน�้ำมัน หรือไขมันกับเอทานอล โดยมีกรดหรือ ด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ได้ ผลิตภัณฑ์คือเอทิลเอสเทอร์ของกรด ไขมั น และกลี เซอรอล เมื่ อ น� ำ มาใช้ กับเครื่อ งยนต์แล้วพบว่ามีคุ ณสมบัติ ในการเผาไหม้ ไ ด้ ดี ไ ม่ ต ่ า งจากน�้ ำ มั น ปิโตรเลียม แต่มีข้อดีกว่าหลายอย่าง คือไอเสียมีปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์ บ อน ซั ล เฟอร์ ไ ดออกไซด์ และฝุ่นละอองน้อยกว่านํ้ามันดีเซล

ภาพที่ 1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง (ซ้าย) และ รถยนต์ที่ใช้น�้ำมันไบโอดีเซล (ขวา)

42 เกษตร สุรนารี' 58


ถึงแม้ว่าเอทานอลจะสามารถ ผลิตจากวัตถุดบิ ทางการเกษตรได้หลาก หลายชนิด เช่นกากน�้ำตาลอ้อยและมัน ส�ำปะหลัง เป็นต้น แต่ปัญหาที่ส�ำคัญ ของการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลนั้นคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงโดยเฉพาะต้นทุน ทางด้านเครื่องจักรส�ำหรับการกลั่นที่มี ราคาแพง อีกทั้งการหมักเอทานอลนั้น จะเกิดปรากฎการณ์ทเี่ รียกว่าการยับยั้ง จากผลิตภัณฑ์ ซึ่งเอทานอลเป็นสารที่มี ความเป็นพิษต่อเชื้อยีสต์สูง เมื่อความ เข้มข้นของเอทานอลในถังหมักมากขึ้น จะส่งผลท�ำให้อัตราการใช้น�้ำตาลของ เชื้ อ ยี ส ต์ ล ดลง รวมถึ ง อั ต ราการผลิ ต เอทานอลที่ลดลงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว เมือ่ สิน้ สุดกระบวนการหมัก ความเข้มข้น ข อ ง เ อ ท า น อ ล ใ น น ำ้ ห มั ก จ ะ อ ยู่ ที่ ประมาณร้อยละ 10 โดยน�้ำหนักเท่านั้น ส่งผลให้น�้ำกากส่ามีปริมาณมากตามไป ด้วย จึงท�ำให้มีแนวความคิดใหม่ในการ

พัฒนาระบบการหมัก โดยการแยกเอทานอลออกจากน�้ำหมัก ควบคูไ่ ปกับกระบวนการหมัก (in situ product removal หรือ extractive fermentation) ซึง่ จากการทบทวนวรรณกรรมนัน้ พบว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับการแยกเอทานอลออกควบคู่ไปกับ กระบวนการหมักโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้ตวั ท�ำละลาย (solvent extraction) การใช้เยือ่ แผ่น (pervaporation) และ การใช้สญ ุ ญากาศ (vacuum fermentation) เป็นต้น โดยแนว ความคิดของการแยกผลิตภัณฑ์เอทานอลออกจากกระบวนการ หมักนี้ จะท�ำให้มีข้อดีหลายประการคือ เอทานอลจะถูกแยก ออกจากระบบอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ไม่เกิดความเป็นพิษ ของเอทานอลต่อเชื้อยีสต์ โดยที่ความเข้มข้นของเอทานอล ในน�้ำหมักมีค่าต�่ำอยู่เสมอ ท�ำให้สามารถท�ำการเพิ่มผลิตผล (volumetric productivity) ของเอทานอลได้ นอกจากนี้จาก การที่ความเข้มข้นของเอทานอลในน�้ำหมักต�่ำอยู่เสมอ ท�ำให้ สามารถใช้ความเข้มข้นของยีสต์ทสี่ งู (high-cell-density fermentation) หรือการหมักด้วยน�ำ้ ตาลเข้มข้น (high substrate concentration) ได้ อันจะเป็นการส่งผลให้ขนาดของถังหมัก เล็กลงเมื่อเทียบกับก�ำลังการผลิตที่เท่ากันจากการหมักแบบ กะ (batch fermentation) เนือ่ งจากเชือ้ ยีสต์จะสามารถผลิต เอทานอลได้ในปริมาณที่มากขึ้น

ภาพที่ 2 แสดงขัน้ ตอนการผลิตไบโอเอทานอลจาก กระบวนการ หมักโดยทั่ว ๆ ไปและการแยกควบคู่กับการหมัก เกษตร สุรนารี' 58 43


ภาพที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบแนวความคิดของ การแยกควบคู่กับการหมัก (extractive fermentation) กับ กระบวนการหมักแบบกะ (Batch fermentation) ซึง่ ในระหว่าง การหมักแบบกะนัน้ หลังจากทีท่ ำ� การเติมกล้าเชือ้ แล้ว เชือ้ ยีสต์ จะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ในการหมักและได้ความเข้มข้นของ เอทานอลในน�ำ้ หมักก่อนกระบวนการกลัน่ ล�ำดับส่วนประมาณ ร้อยละ 10-12 ขั้นตอนต่อไปคือการกลั่นล�ำดับส่วนเพื่อที่จะ กลั่นเอทานอลให้ได้ความเข้มข้นร้อยละ 95 โดยน�้ำหนักต่อไป ส่วนการแยกควบคู่กับกระบวนการหมักนั้น ขั้นตอนการแยก เอทานอลสามารถที่ จ ะเริ่ ม ได้ ห ลั ง จากเติ ม เชื้ อ ยี ส ต์ ล งไป ประมาณ 3 ชั่ ว โมงและใช้ เวลาเพี ย ง 1 วั น เท่ า นั้ น แต่

อย่างไรก็ตามหากมีระบบทีส่ ามารถแยก เอทานอลที่มีความเข้มข้นสูงกว่า 90 % ควบคู ่ กั บ กระบวนการหมั ก ได้ นั้ น ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจาก สามารถน�ำเอทานอลที่ผลิตได้นี้เข้าสู่ การแยกน�ำ้ เพือ่ ผลิตเป็นเชือ้ เพลิงเอทานอล ได้โดยตรง โดยไม่ต้องท�ำการกลั่นซ�้ำ อีกรอบหนึ่ง ซึ่งจะท�ำให้ต้นทุนทางด้าน เครื่องจักรลดลงเป็นอย่างมาก ภาพที่ 3 แสดงขัน้ ตอนต่าง ๆ ส�ำหรับการผลิตเชือ้ เพลิงเอทานอลจากหัวมันส�ำปะหลังสด

ภาพที่ 3 แผนภาพการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลจากหัวมันส�ำปะหลังสด

44 เกษตร สุรนารี' 58


2. การเตรียมน�้ำเชื่อมจากหัวมันส�ำปะหลังสด 2.1 การเตรียมวัตถุดิบ

ภาพที่ 4 ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเตรียมมันส�ำปะหลังบด

ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนต่าง ๆ ในการเตรียมหัวมันส�ำปะหลังบด โดยใน ขั้นตอนแรกนั้น จะน�ำหัวมันส�ำปะหลัง สดมาท�ำการล้างจนสะอาด ท�ำการปอก เปลือก และสับเป็นท่อนเล็ก ๆ ยาว ประมาณ 1-2 นิว้ จากนัน้ ท�ำการบดด้วย เครื่องบดเนื้อทั่ว ๆ ไป ซึ่งเครื่องบดเนื้อ นี้มีราคาถูก (ประมาณ 5 พันบาท) ใน ระหว่างที่บดนั้นจะท�ำการเติมน�้ำลงไป เล็กน้อยเพื่อไม่ท�ำให้มันส�ำปะหลังบด

นั้นมีลักษณะที่แห้งเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะค่อย ๆ ท�ำการ เติมน�้ำในอัตราส่วนร้อยละ 20 โดยน�้ำหนักของหัวมันสด หลัง จากทีท่ ำ� การบดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้หวั มันส�ำปะหลัง บดทีม่ ลี กั ษณะเป็นของเหลวข้น มีกากใยของไฟเบอร์ปนอยู่ ซึง่ โดยทั่วไปแล้ว หัวมันสดอายุ 8 เดือน จ�ำนวน 1 กิโลกรัม จะ มีปริมาณแป้งประมาณร้อยละ 30 (300 กรัม) ซึ่งเมื่อน�ำมา หมักเป็นเอทานอลแล้ว จะได้ปริมาตรของเอทานอลจ�ำนวน ประมาณ 190 มิลลิลิตร ดังนั้นหากต้องการผลิตเอทานอลใน อัตรา 1000 ลิตรต่อวัน จะต้องใช้หวั มันส�ำปะหลังสดประมาณ 5.3 ตันต่อวัน

เกษตร สุรนารี' 58 45


2.2 การลดความหนืด

ของหั ว มั น ส� ำ ปะหลั ง มี ลั ก ษณะเป็ น ห้อง ๆ (ภาพที่ 6 ซ้ายมือ) หากท�ำการ ย่อยแป้งโดยตรง จะท�ำให้นำ�้ ย่อยเข้าไป ย่อยเม็ดแป้งได้ล�ำบาก การใช้น�้ำย่อย หรือเอนไซม์เซลลูเลสในขั้นตอนการลด ความหนืดนี้ จะท�ำให้โครงสร้างที่เป็น ผนังเซลนี้ถูกท�ำลายลง เผยให้เห็นกลุ่ม ของเม็ดแป้งมากขึ้น (ภาพที่ 6 ขวา มือ) และจะท�ำให้ขั้นตอนการย่อยแป้ง ในล�ำดับถัดไป มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะท�ำให้ได้น�้ำตาลที่มากขึ้นนั่นเอง

ภาพที่ 5 การลดความหนืด (pre-mashing step)

เนื่องจากหัวมันบดที่ได้นั้น จะมีปริมาณของแป้งและ กากใยค่อนข้างสูง ดังนั้นหากท�ำการให้ความร้อนสูงโดยตรง จะท�ำให้มลี กั ษณะเป็นแป้งสุกและจะมีความเหนียวมาก (คล้าย ๆ ขนมมันส�ำปะหลัง) ท�ำให้ไม่สามารถย่อยแป้งให้เป็นน�้ำตาล ได้ ดังนั้นจึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนอีกขั้นตอนหนึ่งเข้ามาคือ การลดความหนืดก่อนกระบวนการย่อยแป้ง ซึง่ ขัน้ ตอนนีจ้ ะน�ำ หัวมันบดที่ได้ใส่ลงไปในหม้อต้ม จากนั้นท�ำการเพิ่มความร้อน จนถึงประมาณ 55 องศาเซลเซียส และท�ำการเติมเอนไซม์เซล ลูเลส (cellulase) ลงไปเพือ่ ท�ำให้สว่ นทีเ่ ป็นกากหรือเซลลูโลส ย่อยสลายเป็นบางส่วน ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชัว่ โมง โดยในตอนท้ายจะสังเกตเห็นว่า หัวมันบดนัน้ จะมีสภาพ ที่มีการไหลตามใบกวนได้ดีขึ้น หากใช้กล้องจุลทรรศน์แบบ ส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) ท�ำการ ศึกษาอนุภาคของหัวมัน ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง ชัดเจน โดยโครงสร้างของเม็ดแป้งนัน้ จะถูกห่อหุม้ ด้วยผนังเซล

46 เกษตร สุรนารี' 58

ภาพที่ 6 การศึกษาสัณฐานของหัวมันสดด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบ ส่องกราด


2.3 การย่อยและการแยกกาก

ภาพที่ 7 การแยกกากออกจากน�้ำเชื่อมที่เตรียมได้

ล�ำดับถัดไปคือการย่อยแป้งให้ เป็นน�้ำตาลกลูโคส (glucose) โดยจะมี การท�ำงานสองขั้นตอนคือ การย่อยครั้ง ที่ 1 และการย่อยครั้งที่ 2 ซึ่งการย่อย ครั้งที่ 1 นั้น จะท�ำการเพิ่มอุณหภูมิของ หม้อต้มให้เป็น 90 องศาเซลเซียส และ ท�ำการเติมน�้ำย่อยชนิดอัลฟ่าอะไมเลส (-amylase) ลงไป เพือ่ ท�ำหน้าทีใ่ นการ ย่อยโมเลกุลของแป้งให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะสังเกตเห็นว่ามีลักษณะ เป็นของเหลวที่ใสมากขึ้น และความ หนื ด จะลดลงเป็ น อย่ า งมาก จากนั้ น จะท�ำการย่อยครั้งที่ 2 โดยท�ำการลด

อุณหภูมิของระบบลงจนเหลือ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมงและท�ำการเติมน�้ำย่อยชนิดกลูโคอะไมเลส (glucoamylase) ลงไปเพื่อท�ำการปลดปล่อยน�้ำตาลกลูโคสออกมา หลังจากนั้นจะท�ำการแยกกากออกโดยใช้เครื่องบีบ (ภาพที่ 7 ซ้ายมือ) และได้น�้ำเชื่อมจากหัวมันส�ำปะหลังสด (ภาพที่ 7 ขวามือ) มีลกั ษณะเป็นสีเขียว มีคา่ ของแข็งทีล่ ะลายได้ประมาณ 30 บริกซ์ โดยสามารถวัดได้โดยเครื่อง refractometer ส่วน กากทีแ่ ยกได้นี้ จะยังมีความหวานอยูแ่ ละสามารถน�ำไปรวมกับ เปลือกของหัวมันส�ำประหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย โดยจะเป็นการจัดการของเหลือใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปราศจากของเหลือทิ้ง (zero waste) แถมยังได้เนื้อสัตว์เอา ไว้บริโภคอีกด้วย และมูลสัตว์สามารถน�ำไปท�ำเป็นไบโอแก๊ส และปุ๋ยคอกได้เป็นอย่างดี

เกษตร สุรนารี' 58 47


3. การแยกเอทานอลควบคูก่ บั กระบวนการหมักด้วยเทคนิค การกลั่นล�ำดับส่วนแบบสุญญากาศ

ในหลักการท�ำงานของระบบ การแยกเอทานอลควบคูก่ บั กระบวนการ หมักด้วยระบบการกลัน่ ล�ำดับส่วนแบบ สุ ญ ญากาศนั้ น (ภาพที่ 8) เริ่ ม ต้ น จะท�ำการหมักเอทานอล โดยเติมยีสต์ ผงลงไป 10 กรัมต่อลิตร และหลังจาก เติมผงยีสต์ลงไปประมาณ 3 ชั่วโมง จะ ท�ำการลดความดันบรรยากาศให้ต�่ำลง เหลือประมาณ 65 มิลลิบาร์ ด้วยเครื่อง ปัม๊ สุญญากาศ ซึง่ จะส่งผลท�ำให้นำ�้ หมัก เดือดที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (ซึ่ง เป็นอุณหภูมิการหมักปกติ) เอทานอล ซึ่ ง มี จุ ด เดื อ ดต�่ ำ กว่ า จะกลายเป็ น ไอ และลอยขึ้ น สู ่ ด ้ า นบนของหอกลั่ น โดยจะมี ค วามเข้ ม ข้ น ของเอทานอล บริเวณผิวหน้าของน�ำ้ หมักประมาณร้อยละ 25 เท่ า นั้ น แต่ เ มื่ อ ไอผสมของน�้ ำ และเอทานอลลอยเข้าสู่บริเวณที่มีการ ควบคุ ม อุ ณ หภู มิ ด ้ ว ยท่ อ แลกเปลี่ ย น ความร้อน (Jacket) จะมีการใช้ระบบ ท�ำความเย็น (Thermostat) ในการ ปั๊มสุญญากาศ ลดอุณหภูมิของไอผสมดังกล่าวลง ซึ่ง หากควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม จะ ท�ำให้เกิดการควบแน่นของน�้ำบางส่วน กลายเป็นของเหลวไหลกลับลงสูถ่ งั หมัก หม้อต้ม เครื่องควบคุม ก่อนที่ไอของเอทานอลบริสุทธ์ความ อุณหภูมิ เข้มข้นร้อยละประมาณ 90 โดยน�ำ้ หนัก จะยังคงสถานะทีเ่ ป็นไอและถูกแยกออก เครื่องควบแน่น กลายเป็นส่วนกลั่น (distillate) ต่อไป ภาพที่ 8 การผลิตเอทานอลควบคู่กับกระบวนการหมักด้วย ซึ่งในห้องปฏิบัติการนั้น ส่วนกลั่นนี้จะ

เทคนิคการกลั่นล�ำดับส่วนแบบสุญญากาศ

48 เกษตร สุรนารี' 58


ถูกท�ำให้ควบแน่นโดยใช้อณ ุ หภูมเิ ย็นจัด (-30 องศาเซลเซียส) โดยส่วนกลั่นของ เอทานอลทีท่ ำ� การควบแน่นได้นี้ (ภาพที่ 9) สามารถที่จะน�ำไปเข้าสู่กระบวนการ แยกน�้ำได้โดยตรง ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรา สามารถที่จะก�ำจัดหอกลั่นที่ใช้กันอยู่ ทั่วๆ ไปได้ ซึ่งหอกลั่นนี้เป็นส่วนที่แพง ทีส่ ดุ ของโรงงานผลิตไบโอเอทานอล โดย จะท�ำให้ต้นทุนของกระบวนการผลิต เอทานอลลดลงเป็นอย่างมาก

ภาพที่ 9 เอทานอล 90% ที่ผลิตได้จากการแยกเอทานอลด้วยการ กลั่นล�ำดับส่วนแบบสุญญากาศ

4. การผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลด้วยเทคนิคการแยกไอผ่านเยื่อแผ่น

ภาพที่ 10 การก�ำจัดน�้ำด้วยการแยกไอผ่านเยื่อแผ่นเซรามิก

ส� ำ หรั บ การผลิ ต เอทานอล ส� ำ หรั บ ใช้ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง นั้ น จะต้ อ งใช้ ขัน้ ตอนพิเศษทีเ่ พิม่ ขึน้ คือ การก�ำจัดน�ำ้ ในขั้นตอนสุดท้าย ทั้งนี้เนื่องจากการก ลั่นล�ำดับส่วนแบบปกติ จะไม่สามารถ ทีจ่ ะแยกน�ำ้ ออกสารละลายเอทานอลได้ ทั้ ง หมด โดยความเข้ ม ข้ น สู ง สุ ด ของ

เอทานอลที่สามารถท�ำการกลั่นได้นั้น จะอยู่ที่ร้อยละ 95 โดย น�ำ้ หนัก ส�ำหรับเทคโนโลยีการก�ำจัดน�ำ้ ในงานวิจยั นี้ มีชอื่ เรียก ว่าการแยกไอผ่านเยื่อแผ่น หรือ vapor permeation โดยเยื่อ แผ่นชนิดนี้จะมีรูพรุนขนาดเล็ก ๆ โดยจะยอมให้น�้ำผ่านได้ดี กว่าเอทานอล โดยวัสดุทใี่ ช้ในการขึน้ รูปเยือ่ แผ่นนัน้ อาจจะเป็น พอลิเมอร์หรือเซรามิกก็ได้ ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เยื่อ แผ่นชนิดเซรามิก (ceramic membrane) กันอย่างแพร่หลาย เกษตร สุรนารี' 58 49


และมีขอ้ ได้เปรียบทีส่ ำ� คัญกว่าเยือ่ แผ่นพอลิเมอร์คอื มีความคงตัว เชิงกลที่สูงมาก โดยสามารถท�ำให้มีขนาดของรูพรุนประมาณ 3 อังสตรอม (1 อังสตรอมมีขนาดเท่ากับ 10-10 เมตร) ซึ่งจะ ท�ำให้สามารถแยกน�ำ้ ออกจากเอทานอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยน�้ำจะมีขนาดโมเลกุล 2.6 อังสตรอม ในขณะที่เอทานอล มีขนาดโมเลกุล 4.4 อังสตรอม ส�ำหรับหลักการท�ำงานของ ระบบการแยกไอผ่านเยื่อแผ่นนั้น จะท�ำการปั๊มสารละลาย เอทานอลทีไ่ ด้จากการกลัน่ ในข้างต้น ผ่านเครือ่ งแลกเปลีย่ นความ ร้อน เพือ่ ท�ำให้สารละลายเอทานอลอยูใ่ นสภาวะทีเ่ ป็นก๊าซร้อน (vapor feed) โดยจะมีอุณหภูมิที่ 140 องศาเซลเซียส และมี ความดันประมาณ 4 บรรยากาศ เมือ่ ไอของสารละลายเอทานอล เคลื่อนที่ผ่านผิวหน้าของเยื่อแผ่นดังกล่าว โมเลกุลของน�้ำจะ ถูกดูดซับไว้ที่ผิวหน้าของเยื่อแผ่นก่อนที่จะเคลื่อนที่ทะลุผ่าน เยื่อแผ่นออกไป โดยใช้ปั๊มสุญญากาศเป็นตัวช่วย ส่วนโมเลกุล

50 เกษตร สุรนารี' 58

ของเอทานอลซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขนาด ของรูพรุนของเยื่อแผ่น จะเคลื่อนที่ไป ตามผิวหน้าของเยื่อแผ่นและจะมีความ เข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งหลุด ออกจากระบบไป ซึ่งความเข้มข้นของ เอทานอลสูงสุดที่ผลิตได้จากเครื่องมือ ดังภาพที่ 10 คือได้เชื้อเพลิงเอทานอล ทีม่ คี วามเข้มข้นร้อยละ 99.5 กล่าวคือมี น�ำ้ เหลืออยูป่ ระมาณร้อยละ 0.5 เท่านัน้ ซึ่งเอทานอลที่ผลิตได้นี้สามารถน�ำไป ใช้ได้กบั เครือ่ งยนต์เบนซินทีท่ ำ� การปรับ แต่งให้ใช้เชื้อเพลิงเอทานอลได้โดยตรง หรื อ น� ำ ไปเป็ น ส่ ว นผสมของน�้ ำ มั น ไบโอดีเซลก็ได้


การเลี้ยงโคขุนวากิว

เกษตร สุรนารี' 58 51


การเลี้ยงโคขุนวากิว รองศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐิพร สุขสมบัติ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

ความเป็นมาของโควากิว โคพั น ธุ ์ ว ากิ ว มี ที่ ม าจากโค 4 สายพั น ธุ ์ ได้ แ ก่ Japanese Black, Japanese Brown, Japanese Polled และ Japanese Shorthorn ค�ำว่า Wa หมายถึงประเทศญี่ปุ่น และ gyu หมายถึงโค ดังนั้น Wagyu หมายถึงโคญี่ปุ่น เป็น สายพันธุ์หนึ่งของ Japanese Black ซึ่งผลิตเนื้อมีคุณภาพ สูงที่สุด มีคุณภาพซากสูงกว่าทุก ๆ สายพันธุ์ เป็นที่รู้จัก ในชื่อ Kobe beef และ Matsusaka beef ถือว่าเป็นโค ที่ ใ ห้ เ นื้ อ มี คุ ณ ภาพดี ที่ สุ ด ในโลก ลั ก ษณะเนื้ อ มี ค วามนุ ่ ม

ไขมั น แทรกสู ง จุ ด เด่ น ที่ ส� ำ คั ญ ของ โคเนื้อวากิวคือ มีสัดส่วนของกรดไขมัน ไม่ อิ่ ม ตั ว :กรดไขมั น อิ่ ม ตั ว สู ง กว่ า โค ทัว่ ไปคือ เท่ากับ 2.1:2.2 ขณะทีโ่ คทัว่ ไป มีสัดส่วนเท่ากับ 1.8:2.2 ซึ่งกรดไขมัน ที่ ไ ม่ อิ่ ม ตั ว มี ผ ลท� ำ ให้ เ นื้ อ โควากิ ว ปลอดภัยต่อการบริโภค

สายพันธุ์สีด�ำ (Japanese Black)

52 เกษตร สุรนารี' 58

สายพันธุ์สีน�้ำตาล (Japanese Brown)


สายพันธุ์ไม่มีเขา (Japanese Polled)

สายพันธุ์เขาสั้น (Japanese Shorthorn) โควากิวในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2531 สมาคมผูเ้ ลีย้ งโควากิว เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น น้อมเกล้า ถวาย โควากิว สายพันธุ์ทาจิมะ ให้กับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี 1 คู่ (ผู้ 1 ตัว เมีย 1 ตัว) อายุ 15 เดือน และได้พระราชทาน โคเนื้อทาจิมะคู่นี้ให้แก่กรมปศุสัตว์ โดย กรมปศุ สั ต ว์ น� ำ ไปเลี้ ย งดู ที่ ศู น ย์ วิ จั ย เทคโนโลยีการผสมเทียมและผลิตน�ำ้ เชือ้ จังหวัดปทุมธานีในขณะนั้น ซึ่งสามารถ ผลิตน�้ำเชื้อแช่แข็งได้ 1,500 โด๊ส เพื่อใช้ ในการศึกษาวิจยั การปรับปรุงพันธุโ์ คเนือ้

ส�ำหรับการขุนเพื่อผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพสูง ในปี พ.ศ. 2533 กรมปศุสตั ว์ได้นำ� น�ำ้ เชือ้ แช่แข็งโควากิว ผสมกับแม่พันธุ์เรดซินดี้ ที่ศูนย์วิจัยและบ�ำรุงพันธุ์สัตว์ล�ำพญา กลาง และน�ำไปเลี้ยงที่สถานีบ�ำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ต่อมาโค ลูกผสมดังกล่าวได้สง่ มอบต่อให้ศนู ย์การศึกษาพัฒนาภูพานอัน เนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดสกลนคร ภายใต้การสนับสนุน ของส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ และกรมปศุสตั ว์ โดยอยูภ่ ายใต้การ ดูแลของงานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ในปี พ.ศ. 2550 รองศาสตราจารย์ ดร. รังสรรค์ พาลพ่าย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เชิญชวนเกษตรกรผู้สนใจ ที่จะเลี้ยงโคลูกผสมวากิวร่วมทุนน�ำเข้าพ่อพันธุ์วากิวพันธุ์แท้ เกษตร สุรนารี' 58 53


“โกโบริ” เพือ่ มาเลีย้ งดู ณ ศูนย์วจิ ยั เทคโนโลยีตวั อ่อนและเซลล์ ต้นก�ำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และท�ำการผลิตน�้ำ เชื้อแช่แข็งแจกจ่ายให้กับสมาชิกผู้ร่วมทุน ส่วนเกินได้จ�ำหน่าย ให้กับเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรทั่วไปในราคาถูก ประกอบ

กับได้ทำ� การส่งเสริมให้มกี ารเลีย้ งโคลูก ผสมวากิว เริ่มแรกในเขตพื้นที่จังหวัด นครราชสีมาและสุรินทร์

ลูกผสมวากิวบราห์มัน

ลูกผสมวากิวชาโรเล่ส์

ลูกผสมวากิวแองกัส

ลูกผสมวากิวโคนม

ลักษณะเด่นของโคลูกผสมวากิว 1. ขนปกคลุมร่างกายสีน�้ำตาลแดง-เข้ม (แม่พันธุ์ลูก ผสมบราห์มัน) ครีม-ด�ำ (แม่พันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ส์) ด�ำ (แม่พันธุ์ ลูกผสมแบรงกัส) ด�ำ-ด�ำ/ขาว (แม่พันธุ์ลูกผสมโคนม) 2. หลังตรง คอสัน้ หูเล็ก-สัน้ เหนียงคอหย่อนยานเล็กน้อย 3. เพศผู้น�้ำหนักโตเต็มที่ 650-750 กิโลกรัม เพศเมีย น�้ำหนักโตเต็มที่ 550-650 กิโลกรัม 54 เกษตร สุรนารี' 58

4. ให้เนือ้ ทีม่ ไี ขมันแทรกในกล้าม เนื้อสูง 5. เป็นสัตว์ครัง้ แรกทีอ่ ายุประมาณ 12 - 14 เดือน 6. ทนทานต่อสภาพอากาศร้อน ชื้นของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี


รูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อวากิว การส่งเสริมการเลีย้ งโคเนือ้ วากิว ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เริ่ม แรกจ�ำแนกเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม คือ เกษตรกรต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ โดยเกษตรกรต้นน�้ำเป็นเกษตรกรที่มี แม่พันธุ์พ้ืนฐานที่ก�ำหนด 4 กลุ่มสาย พันธุ์ ได้แก่ ลูกผสมบราห์มัน ลูกผสม ชาโรเล่ส์ ลูกผสมแองกัส และลูกผสม โคนม ท�ำการเลี้ยงดูแม่พันธุ์และผสม พั น ธุ ์ ด ้ ว ยน�้ ำ เชื้ อ วากิ ว พั น ธุ ์ แ ท้ เพื่ อ ผลิตลูกผสมวากิวรุ่นที่ 1 (F1) เลี้ยงดู จนกระทั่ ง หย่ า นมและเมื่ อ มี อ ายุ 12 เดือน น�้ำหนักมากกว่า 200 กิโลกรัม จ�ำหน่ายให้กับเกษตรกรกลางน�้ำ น�ำไป เลี้ยงดู จนมีน�้ำหนักตัวประมาณ 400 กิโลกรัม จ�ำหน่ายต่อให้กับเกษตรกร ปลายน�้ำ น�ำไปขุนแบบเข้มข้นในระยะ สุ ด ท้ า ยของการขุ น จนมี น�้ ำ หนั ก ตั ว ประมาณ 650-700 กิโลกรัม และมีรูป ร่างสมบูรณ์ พร้อมส่งเข้าโรงงานฆ่าสัตว์ ต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกร กลางน�้ำยังขาดความเข้าใจในเรื่องการ ขุนโค ส่วนใหญ่ยังเลี้ยงโคแบบปล่อย ทุ่ง ให้อาหารข้นบ้าง ไม่ให้บ้าง แต่การ ขุนโคลูกผสมวากิว ต้องท�ำการขุนอย่าง

ต่อเนื่อง ตั้งแต่หย่านม (อายุ 6-7 เดือน) หรือเริ่มขุนเมื่ออายุ 8-12 เดือน ปัจจุบันจึงจ�ำแนกเกษตรกรเป็นเพียง 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรต้นน�้ำ และเกษตรกรกลาง-ปลายน�้ำ เพื่อให้โคได้รับ การขุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น รูปแบบการเลี้ยงโคลูกผสมวากิว สามารถจ�ำแนกได้ดังนี้ 1. การเลีย้ งโคแม่พนั ธุเ์ พือ่ ผลิตลูกผสมจ�ำหน่าย (Cow -calf program) 2. การเลี้ยงโคขุน (Fattening program) 3. การเลีย้ งโคแม่พนั ธุเ์ พือ่ ผลิตลูกผสมจ�ำหน่าย และเลีย้ ง โคขุนเองด้วย (Cow-calf and fattening programs) คุณสมบัติของแม่พันธุ์พื้นฐาน แม่พนั ธุพ์ นื้ ฐานทีเ่ หมาะส�ำหรับน�ำมาผสมข้ามสายพันธุ์ กับโควากิว จ�ำแนกเป็น 4 กลุ่มสายพันธุ์ ได้แก่ 1. แม่พนั ธุพ์ นื้ ฐานทีเ่ ป็นลูกผสมบราห์มนั โดยมีสายเลือด บราห์มัน 75% ขึ้นไป 2. แม่พันธุ์พื้นฐานที่เป็นลูกผสมชาโรเล่ส์ โดยมีสายเลือด ชาโรเล่ส์ 50% ขึ้นไป 3. แม่พันธุ์พื้นฐานที่เป็นลูกผสมแบรงกัส โดยมีสายเลือด แองกัส 50% ขึ้นไป 4. แม่พันธุ์พื้นฐานที่เป็นลูกผสมโคนม โดยมีสายเลือด โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 75% ขึ้นไป ส�ำหรับแม่พนั ธุพ์ นื้ เมือง มีขนาดเล็กเกินไป และแม่พนั ธุ์ ลูกผสมฮินดูบราซิลมีโครงกระดูกใหญ่ กล้ามเนือ้ น้อย ไม่เหมาะ ส�ำหรับน�ำมาเป็นแม่พันธุ์พื้นฐาน และตลาดไม่ต้องการ

เกษตร สุรนารี' 58 55


แม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มัน

แม่พันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ส์

แม่พันธุ์ลูกผสมแบรงกัส

แม่พันธุ์ลูกผสมโคนม

การเลี้ยงดูแม่พันธุ์และการผสมพันธุ์ จุดประสงค์ของการเลีย้ งแม่พนั ธุก์ เ็ พือ่ การผลิตลูกโค ถ้า ได้ลูกโคเพศเมียก็เก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป แต่ถ้าได้ลูกโคเพศผู้ เมื่อหย่านมก็ท�ำการขุนเพื่อผลิตเป็นโคขุนคุณภาพสูง

การคัดโคสาวเป็นแม่พันธุ์ ควรเป็นโค ที่มีโอกาสผสมติดสูงและหนังบาง ช่วง ล�ำคอที่ราบเรียบ มีลักษณะคล้ายโคนม ควรคัดโคที่มีลักษณะคล้ายตัวผู้ออก

การเลี้ยงโคสาว โคสาว หมายถึง โคเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป หรือน�้ำหนักตั้งแต่ 240 กก. ถึง 280 กก. โคสาวหากผสมพันธุ์ เร็วก็จะให้ลกู ได้เร็ว โคสาวจะเริม่ แสดงอาการเป็นสัตว์ครัง้ แรก เมื่ออายุได้ 12-14 เดือน แต่ควรท�ำการผสมเทียมโคสาวที่ น�้ำหนักตัวได้ 250 กิโลกรัม หรืออายุประมาณ 15-16 เดือน แม่โคจะคลอดลูกตัวแรกเมื่ออายุประมาณ 24 เดือน หรือ 2 ปี

การเลี้ยงโคแม่พันธุ์ การเลี้ ย งแม่ โ คให้ มี สุ ข ภาพ สมบูรณ์ดี เป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการผสม ติดของแม่โค และท�ำให้แม่โคได้ลกู อย่าง สม�่ำเสมอ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ดูได้จากสภาพอ้วนผอมหรือการสะสม ไขมันของโค

56 เกษตร สุรนารี' 58


การผสมพันธุ์ แม่ โ คจะผสมติ ด ได้ จ ะต้ อ งอยู ่ ในระยะที่เป็นสัด แม่โคที่เป็นสัดจะมี อาการกระวนกระวาย ไล่ขึ้นทับตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะ บวมมีเมือกใสๆ ไหลออกมา แม่โคจะเป็น สัดอยู่นานประมาณ 24 ถึง 36 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด อีก ประมาณ 20 ถึง 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก ช่วงการเป็นสัด ของโคเฉลี่ย 21 วัน การตั้งท้องและการกลับเป็นสัตว์ หลั ง จากแม่ โ คได้ รั บ การผสม พั น ธุ ์ จ นติ ด แล้ ว จะตั้ ง ท้ อ งเฉลี่ ย นาน ประมาณ 282 วัน (274 ถึง 291 วัน) ผู้เลี้ยงควรจดบันทึกวันที่ผสม แล้วอีก ประมาณ 21 วันต่อไป ต้องคอยสังเกตดูวา่ แม่โค กลับเป็นสัดอีกหรือไม่ หากกลับ เป็นสัดแสดงว่าผสมไม่ติดต้องผสมใหม่ หากไม่กลับเป็นสัดแสดงว่าผสมติดแล้ว แต่อกี ทุกๆ 21 วัน ต่อไป ควรคอยสังเกต อีกเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ทั้ ง โ ค ส า ว แ ล ะ โ ค แ ม่ พั น ธุ์ สามารถเลี้ยงปล่อยทุ่ง หรือปล่อยแทะ เล็มในแปลงหญ้า หรืออาจให้กินฟาง ข้าวเป็นอาหารหยาบ แต่เนื่องจากหญ้า ธรรมชาติ และฟางข้ า วมี คุ ณ ค่ า ทาง อาหารต�ำ ่ ในขณะทีห่ ญ้าในแปลงปลูกก็มี คุณภาพค่อนข้างต�่ำ จึงจ�ำเป็นต้องเสริม อาหารข้นให้กับโคสาวและโคแม่พันธุ์

การให้อาหาร แม่โคท้องใกล้คลอดจะกินอาหารน้อยกว่าเมื่อไม่ท้อง ดังนั้นระยะนี้จึงจ�ำเป็นต้องให้อาหารคุณภาพดี หรืออาจต้อง ให้อาหารเสริมเพื่อชดเชยจ�ำนวนอาหารที่แม่โคกินน้อยลง ถ้า ให้อาหารพลังงานไม่เพียงพอจะมีผลท�ำให้อตั ราการผสมติดต�ำ ่ อัตราการตายของลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมสูง การคลอด ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่ สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง แม่โคส่วนใหญ่ไม่จ�ำเป็นต้อง ช่วยในการคลอด ควรอยู่ห่างๆ ไม่ควรรบกวนแม่โค แม่โคควร คลอดลูกออกมาภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน�้ำคร�่ำปรากฏ ออกมา หากช้ากว่านีค้ วรให้การช่วยเหลือ หากไม่คลอดภายใน 4 ชั่วโมง ลูกจะตาย หลังจากคลอดลูก 8 ถึง 12 ชั่วโมง ถ้ารก ไม่หลุดออกมาแสดงว่ารกค้าง ต้องให้สตั วแพทย์มาล้วงออกและ รักษาต่อไป การเลี้ยงลูกโคเล็ก เมือ่ ลูกโคคลอดควรให้ความช่วยเหลือโดยเช็ดตัวให้แห้ง ผูกสายสะดือให้หา่ งจากพืน้ ท้องประมาณ 3 ถึง 6 ซม. ใช้กรรไกร ที่สะอาดตัดแล้วใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนชุบสายสะดือ คอยดูให้ ลูกโคกินน�้ำนมแม่ให้เร็วที่สุด เพราะนมโคระยะแรกที่เรียกว่า น�้ำนมเหลืองจะมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคจาก แม่ถ่ายทอดมาสู่ลูก หากลูกโคไม่สามารถดูดนมกินเองได้ควร รีดนมมาป้อนให้ลูกกินจนแข็งแรง การปฏิบัติเลี้ยงดูลูกโคอื่นๆ ควรท�ำดังนี้ 1. เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และ ถ่ายซ�้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ เกษตร สุรนารี' 58 57


2. เมือ่ ลูกโคอายุ 3-8 เดือน ท�ำการฉีดวัคซีนโรคแท้งติดต่อ ให้กับลูกโคเพศเมียทุกตัว 3. เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือน ท�ำการฉีดวัคซีนโรคปากและ เท้าเปื่อย

การให้อาหารแก่ลูกโคเล็ก ลูกโคจะเริ่มหัดกินหญ้าและอาหาร เมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 3 เดือน เนื่องจากแม่โคจะให้นมได้สูงสุดในระยะนี้ การตอนโค ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายท�ำพันธุ์ ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 ถึง 6 เดือน การตอนโดยใช้คีม “เบอร์ดิซโซ่” (Burdizzo) หนีบท่อน�ำน�้ำเชื้อเหนือลูกอัณฑะ ให้เกิดการอุดตัน การหย่านมลูกโค ควรหย่านมลูกโคทีอ่ ายุประมาณ 6 เดือนครึง่ ถึง 7 เดือน แต่ทงั้ นีใ้ ห้คำ� นึงถึงสุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย เมือ่ หย่านม ลูกโคทีอ่ ายุประมาณ 200 วนั ควรมีนำ�้ หนักหย่านมเฉลีย่ 180 กก. โดยปกติหากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะท�ำให้แม่โคมีโอกาส ฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็ว สามารถหย่านมได้เมื่อ อายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรม มากนัก อาหารและการให้อาหารโคแม่พันธุ์ โคแม่ พั น ธุ ์ มี ค วามต้ อ งการโภชนะในการด� ำ รงชี พ เจริญเติบโต อุม้ ท้อง และผลิตน�ำ้ นมเมือ่ คลอดลูก ดังนัน้ อาหาร 58 เกษตร สุรนารี' 58

และการให้อาหารที่เพียงพอต่อความ ต้องการของโคแม่พันธุ์ มีความส�ำคัญ ต่อความสมบูรณ์พันธุ์ การแสดงอาการ เป็นสัดชัดเจน ผสมติดง่าย คลอดลูกง่าย เลี้ยงลูกเก่ง และให้น�้ำนมมาก อ า ห า ร ส ำ ห รั บ โ ค แ ม่ พั น ธ์ุ ประกอบด้ ว ย อาหารหยาบ เช่ น หญ้ า สด ต้ น ข้ า วโพดสด เปลื อ กฝั ก ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพดหมัก ฟางข้าว ฟางถัว่ ต่าง ๆ ส่วนอาหารข้น คือ อาหาร ผสมชนิดผง หรือชนิดเม็ด ทีผ่ สมขึน้ จาก การน�ำวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ร�ำข้าว มันเส้น มันเอทานอล ข้าวโพดเอทานอล กากปาล์ ม กากมั น ส� ำ ปะหลั ง ใบชา ตากแห้ง แร่ธาตุผสม มาผสมรวมกัน โดยประกอบสูตรให้เหมาะสมกับความ ต้ อ งการของโคแม่ พั น ธุ ์ โดยทั่ ว ไป อาหารข้นส�ำหรับโคแม่พนั ธุจ์ ะมีโปรตีน เป็นองค์ประกอบอยู่ 12-14% โคแม่พันธุ์ควรได้รับอาหารข้น วันละ 2-3 กิโลกรัม/ตัว โดยแบ่งให้ วั น ละ 2 เวลา เช้ า -เย็ น และได้ รั บ อาหารหยาบ เช่ น หญ้ า สด หรื อ ฟางข้าว เต็มที่ น�้ำมีให้กินตลอดเวลา ควรมีแร่ธาตุกอ้ นแขวนให้กนิ ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน


ตัวอย่างสูตรอาหารข้นส�ำหรับโคแม่พันธุ์ ร�ำข้าว มันเส้น กากมันส�ำปะหลัง มันเอทานอล ข้าวโพดเอทานอล กากปาล์ม กากถั่วเหลือง แร่ธาตุผสม พรีมิกซ์ รวม เปอร์เซ็นต์โปรตีน พลังงานย่อยได้ทั้งหมด

สูตร 1 17 30

สูตร 2 12 15 15

16 26.7 8.5 20 0.3 100 12.0 72.6

183 26 12.4 20 0.3 100 14.2 74.3

สูตร 3 17 10 20 10 10 24.7 4 20 0.3 100 12.0 72.8

สูตร 4 12 10 20 183 26 12.4 20 0.3 100 14.2 73.6

สูตร 5 23 33.7 20 21

20 0.3 100 12.0 73.3

ต้นทุนค่าอาหารสัตว์ประมาณ 8.00 บาท ราคา ณ เดือนมกราคม 2558

โรงเรือนแม่พันธุ์ โรงเรือนส�ำหรับเลี้ยงแม่พันธุ์ เป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ ท�ำด้วยวัสดุที่ มีในท้องถิ่น เช่น ใช้ไม้ยูคาฯ ท�ำเสาไม้ ไม้กั้นคอก รวมทั้งโครงหลังคา ส่วน หลั งคาอาจมุ งด้ว ยหญ้าแฝก สังกะสี หรือกระเบื้อง มีมากมายหลายรูปแบบ ดังภาพ โคแม่พันธุ์อาจเลี้ยงรวมกันใน ช่วงแรก แต่เมือ่ ท้องใกล้คลอด ควรแยก เลี้ยงเดี่ยว เกษตร สุรนารี' 58 59


การตรวจการเป็นสัด การเป็นสัด (estrus) การเป็นสัด หมายถึง ช่วงเวลาหนึง่ ทีส่ ตั ว์เพศเมียยอมรับ การผสมจากสั ต ว์ เ พศผู ้ ซึ่ ง อยู ่ ร ะหว่ า งเริ่ ม แสดงอาการ เป็นสัดครั้งหนึ่งจนถึงเริ่มแสดงอาการเป็นสัดครั้งต่อไป เรียก ว่า วงจรการเป็นสัด (Estrous cycle) ซึ่งมี 4 ระยะ คือ ระยะ ก่อนการเป็นสัด (Proestrus), ระยะเป็นสัดแท้จริง (Estrus), ระยะหลังการเป็นสัด (Metestrus) และระยะพัก (Diestrus) การเป็นสัดในโค โคมีวงรอบการเป็นสัดได้ตลอดปี ไม่เกีย่ วกับฤดูกาล โดย ทั่วไปจะมีวงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย 21 วัน ลักษณะอาการของ โคที่เป็นสัด 1. ยืนให้โคตัวอื่น เช่น พ่อโค ลูกโค หรือแม้แต่แม่โค ในฝูงขึ้นทับ ซึ่งแสดงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ ผสมพันธุ์ 2. พยายามขึ้นทับตัวอื่น แต่บางครั้งโคที่ขึ้นทับตัวอื่น อาจไม่ได้อยู่ในช่วงที่เป็นสัด ซึ่งต้องสังเกตให้ดี 3. อาจสังเกตพบเมือกไหล ซึง่ จะมีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกัน ออกไป ขึ้นกับระยะเวลา โดยเมือกที่พบอาจพบได้ ตั้งแต่ระยะก่อนการเป็นสัดที่แม้จริงเล็กน้อย ระยะ เป็นสัด และระยะหมดสัดแล้ว หากใสและเหนียว มักจะเป็นระยะแรกที่แสดงอาการเป็นสัดที่แท้จริง แต่ ห ากขุ ่ น มั ก เป็ น ช่ ว งที่ ห มดสั ด ใหม่ ๆ มั ก พบ เมือกตามบั้นท้าย และโคนหาง

4. โคที่เป็นสัดมักตื่นง่าย ไม่ค่อย กินอาหาร มีกิจกรรมในการ เดินมากกว่าปกติ ในโคจะให้นม น�้ำนมลดลงและส่งเสียงร้อง 5. โคที่ เ ป็ น สั ด จะโหยหาตั ว ผู ้ และมั ก ยื น ใกล้ ๆ คอกตั ว ผู ้ 6. มักพบดิน หรือโคลน ติดบนหลัง ตลอดจนร่องรอยจากการขึ้น ทับจากโคตัวอื่น เ ว ล า ที่ เ ห ม า ะ ส ม ใ น ก า ร ผสมเทียม คือ เวลาที่ตัวอสุจิพัฒนา ตัวเองเรียบร้อยเดินทางมาถึงท่อน�ำไข่ และมีไข่ตกพอดี จะได้เวลาที่เหมาะ สมในการผสมเที ย ม คื อ ช่ ว งหลั ง จากที่ โ คเป็ น สั ด เริ่ ม ยื น นิ่ ง ให้ ตั ว อื่ น ขี่ ในช่วง 6-20 ชม. พบว่าหากผสมในช่วง 12-18 ชม. หลังจากโคที่เป็นสัดเริ่ม ยืนนิ่ง จะมีอัตราการผสมติดสูงที่สุด อย่างไรก็ตามการผสมเทียมให้ตรงกับ ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมจริงๆ ในทางปฏิบตั ิ ท�ำได้ยาก ดังนั้นที่ปฏิบัติและได้ผลมาก คือ หากพบโคเป็นสัดยืนนิ่งในตอนเช้า จะท�ำการผสมเทียมในตอนเย็น หาก โคเป็นสัดยืนนิ่งในตอนเย็น จะท�ำการ ผสมเทียมในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น

แสดงช่วงเวลาที่เหมาะในการผสมเทียม

60 เกษตร สุรนารี' 58


การบันทึกประวัติโคแม่พันธุ์และลูกโค การด� ำ เนิ น กิ จ การฟาร์ ม โคแม่ พันธุ์ จ�ำเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินกิจการ เพื่อ ให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวโค การดูแล โค การเปลี่ยนแปลงจ�ำนวนโคในฟาร์ม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทราบสถานการณ์ ของฟาร์ ม ได้ อ ย่ า งเป็ น ปั จ จุ บั น และ สามารถตรวจสอบปัญหาและแก้ไขได้ อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังสามารถใช้เป็น ข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์และ เพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงได้ ฟาร์ม โคแม่พนั ธุแ์ ละโคขุนจะต้องมีการบันทึก ข้อมูลดังนี้ 1. ข้อมูลเครื่องหมายตัวโค 2. ข้อมูลประวัติ พันธุ์ และการ ผสมพันธุ์ 3. ข้อมูลผลผลิตโดยบันทึกเป็น น�ำ้ หนักหรือวัดรอบอก ส่วนสูง ของโคในช่วงอายุต่างๆ 4. ข้อมูลสุขภาพโค การรักษาโรค การป้องกันและควบคุมโรค 5. ข้อมูลการจัดการอาหารโค ข้อมูลเครื่องหมายตัวโค มีความส�ำคัญมากในการบันทึก ข้อมูล เพราะถ้าไม่สามารถจ�ำแนกตัว ของโคได้อย่างชัดเจน ข้อมูลทีเ่ ก็บบันทึก ไว้กไ็ ม่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง

ชัดเจน เครือ่ งหมายประจ�ำตัวโคนีจ้ ะต้องค�ำนึงถึง อายุสตั ว์เมือ่ ท�ำเครื่องหมาย ชนิดของเครื่องหมาย ความคงทนชัดเจนของ เครื่องหมาย และระบบในการบันทึกเครื่องหมายประจ�ำตัว โคด้วย ข้อมูลประวัติ พันธุ์ และการผสมพันธุ์ เป็นข้อมูลทีจ่ ำ� เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมี ข้อมูลทีต่ อ้ งบันทึก ได้แก่ วันเกิด น�้ำหนักแรกเกิด พันธุ์ น�้ำหนักเมื่อหย่านม น�้ำ หนักเมือ่ อายุ 1 ปี อายุเมือ่ ผสมพันธุค์ รัง้ แรก วันผสมพันธุแ์ ต่ละ ครัง้ (และพ่อพันธุท์ ใี่ ช้ผสม) วันคลอดลูกครัง้ แรก และวันคลอด ในแต่ละครั้ง ข้อมูลเหล่านี้ ถ้ามีการบันทึกอย่างครบถ้วนก็จะ ท�ำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ข้อมูลผลผลิตโดยบันทึกเป็นน�้ำหนักหรือวัดรอบอก ส่วนสูง ของโคในช่วงอายุต่าง ๆ ข้ อ มู ล ในส่ ว นนี้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ แ สดงออกถึ ง ลั ก ษณะที่ สามารถแสดงออกได้ของโคตัวนัน้ ๆ ในสภาพแวดล้อมการเลีย้ ง ดูของฟาร์ม ซึง่ จะเป็นประโยชน์ในการคัดเลือกโคตัวนัน้ ๆ ไปใช้ ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการด�ำเนิน กิจการการเลี้ยงโคแม่พันธุ์และลูกโค ข้อมูลสุขภาพสัตว์ การรักษาโรค การป้องกันและควบคุมโรค เป็นข้อมูลทีจ่ ำ� เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการบันทึก ว่ามีการ ท�ำวัคซีนอะไรบ้าง เมื่อไหร่ และชุดการผลิตของวัคซีนแต่ละ ชนิดที่ใช้ เคยมีการรักษาโรคอะไรบ้าง รักษาอย่างไร ผลเป็น อย่างไร โดยใคร เมื่อไหร่ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยท�ำให้เกิด การวางแผน ก�ำหนดการท�ำวัคซีนในครัง้ ต่อไป และทราบถึงวิธี การรักษาโรคที่เคยเกิดขึ้นในฟาร์ม จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ และด�ำเนินการรักษาได้เหมาะสมยิ่งขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป เกษตร สุรนารี' 58 61


ข้อมูลการจัดการอาหารสัตว์ เป็นข้อมูลทีจ่ ำ� เป็นมาก เพราะหากเกิดความผิดปกติขนึ้ ในตัวโคทีอ่ าจจะเกีย่ วข้องกับอาหารสัตว์ เราจะสามารถสืบย้อน กลับได้ว่า น่าจะมาจากอาหาร หรือวัตถุดิบตัวใด ที่เราซื้อเข้า จากไหน เมือ่ ไหร่กจ็ ะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ได้ถกู ต้อง มากยิ่งขึ้น ข้อมูลทีก่ ล่าวมาข้างต้นควรจะมีการบันทึกไว้อย่างเหมาะสม กับขนาดฟาร์ม และจ�ำนวนโคในฟาร์ม อาจจะมีสมุดบันทึก ประจ�ำวันของเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในฟาร์ม แล้วมาลงบันทึกแยก เล่มตามประเภทข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานก็ได้ หรือใน ปัจจุบันก็มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการบันทึกและสืบค้น ข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นย�ำ แต่ก็ไม่ได้จ�ำเป็นกับทุก ฟาร์ม เพราะไม่วา่ จะบันทึกลงสมุดหรือลงคอมพิวเตอร์ ก็จะต้อง ใช้เวลาบันทึกข้อมูลพอ ๆ กัน แต่ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะช่วย ในการสืบค้นข้อมูลได้รวดเร็วกว่าในฟาร์มที่มีจ�ำนวนโคมากๆ แต่ถ้ามีโคไม่มากการบันทึกลงสมุดก็ใช้ประโยชน์ได้ดีเช่นกัน การเลี้ยงโคขุนวากิว การเลี้ยงโคขุนวากิวให้มีเนื้อคุณภาพสูง จะต้องเริ่มน�ำ ลูกโคเพศผู้หย่านมที่อายุ 6-8 เดือน เตรียมเข้าท�ำการขุน และ เริ่มขุนลูกโคเพศผู้หย่านมตั้งแต่อายุ 8 เดือน ก่อนเริ่มขุนต้อง ท�ำการถ่ายพยาธิโดยการฉีดหรือกรอกปาก แล้วแต่ชนิดของ ยาถ่ายพยาธิ ระยะแรกให้โคได้รบั อาหารชนิดพิเศษทีม่ พี ลังงาน เริม่ แรกต�ำ ่ โปรตีนสูง ค่อย ๆ เพิม่ ระดับของพลังงานขึน้ ในขณะ ที่ลดระดับโปรตีนลงจนกระทั่งได้น�้ำหนักเข้าโรงงานฆ่าสัตว์ที่ อายุประมาณ 33 เดือน ได้ออกก�ำลังกาย จะท�ำให้เกิดการสร้าง ไขมันแทรกได้มากขึ้น 62 เกษตร สุรนารี' 58

โรงเรือนโคขุน ในช่วงของการขุนจะต้องให้โค รูส้ กึ สบาย และไม่ให้โคมีการเคลือ่ นไหวมาก การที่โคไม่ค่อยได้ออกก�ำลังกาย จะ ท� ำ ให้ เ กิ ด การสร้ า งไขมั น แทรกได้ มากขึ้ น การเลี้ ย งโคขุ น จึ ง เป็ น แบบ ขังคอก ให้โคอยูใ่ นพืน้ ทีจ่ ำ� กัด ขนาดพืน้ ที่ ทีโ่ คขุนต้องการ คือ 8 ตารางเมตรต่อตัว (2x4 เมตร) รู ป แบบของโรงเรื อ นมี มากมายหลายแบบ (ภาพประกอบ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าจะเลี้ยง รวมกัน หรือเลี้ยงขังเดี่ยว แต่แนะน�ำให้ ขังเดีย่ วเพือ่ ป้องกันอันตรายจากการชน และขวิดกัน โคขุนมีขนาดใหญ่ หากล้ม แล้วอาจลุกไม่ได้


อาหารและการให้อาหารโคขุนวากิว การให้ อ าหารโคขุ น วากิ ว ใน ช่วงแรก อายุระหว่าง 8-15 เดือน มี เป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตวันละ 600 กรัม ช่วงอายุระหว่าง 15-22 เดือน มีเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตวันละ 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม ช่วงสุดท้าย ระหว่างอายุ 22-33 ถึง 36 เดือน มี เป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตวันละ

800 กรัม การขุนระยะยาว ไม่เร่งการเจริญเติบโตจนเกินไป จะท�ำให้มีการสะสมไขมันแทรกได้มากขึ้น ระยะเริ่มต้น (8-15 เดือน) อาหารข้น 16% โปรตีน พลังงานย่อยได้ทั้งหมด 70% ระยะกลาง (16-22 เดือน) อาหารข้น 14% โปรตีน พลังงานย่อยได้ทั้งหมด 70% ระยะปลาย (23-33 เดือน) อาหารข้น 12% โปรตีน พลังงานย่อยได้ทั้งหมด 75

ภาพการให้อาหารข้นโคขุนวากิว

นอกจากการให้อาหารข้นดังกล่าว ข้ า งต้ น แล้ ว ต้ อ งให้ อ าหารหยาบ คือ ฟางข้าวให้กับโคขุนกินอย่างเต็มที่ มีนำ�้ สะอาดและแร่ธาตุกอ้ นให้กนิ ตลอด

เวลา ในช่วงการขุนจะไม่ให้โคขุนกินหญ้าสด และเมล็ดข้าวโพด บด เพราะทั้งหญ้าสด และเมล็ดข้าวโพดบดมีวิตามินเอ หรือ สารตั้งต้นในการสังเคราะห์วิตามินเอ งานวิจัยพบว่าวิตามิน เอ สามารถยับยั้งการสะสมไขมันแทรกในเนื้อโค

ตัวอย่างสูตรอาหารข้นส�ำหรับโคขุน (ช่วงแรก สูตร 1, ช่วงกลาง สูตร 2-3 ช่วงปลาย สูตร 4-5) วัตถุดิบอาหารสัตว์

ร�ำข้าว มันเส้น กากมันส�ำปะหลัง มันเอทานอล ข้าวโพดเอทานอล แร่ธาตุผสม พรีมิกซ์ รวม เปอร์เซ็นต์โปรตีน พลังงานย่อยได้ทั้งหมด

สูตร 1 13.7 18

สูตร 2 21 22

31 35 2 0.3 100 16.0 74.7

27.4 27.3 2 0.3 100 14.2 75.5

สูตร 3 21 11 11 27.4 27.3 2 0.3 100 14.2 73.8

สูตร 4 23 33.7 20 21 2 0.3 100 12.0 74.3

สูตร 5 23 16 17.7 20 21 2 0.3 100 12.0 75.8

เกษตร สุรนารี' 58 63


การดูแลสุขภาพโคลูกผสมวากิว การป้องกันโรค 1. โรคปากและเท้าเปื่อย สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส น�้ำมูกน�้ำลายสัตว์ป่วย ลมหายใจ ติดมากับยานพาหนะ หรือ น�้ำท่วมพัดพามา อาการ เป็นแผลที่ไรกีบ เป็นตุ่มหนองและเกิดแผลที่ลิ้น เหงือก โคจะกินอาหารล�ำบาก น�ำ้ ลายฟูมปาก เป็นตุม่ ทีเ่ ต้านม น�้ำนมลด กีบอาจหลุดถ้าหนอนเจาะ จะมีโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม บาดทะยัก ลูกโคมักจะตายด้วยอาการหัวใจวาย การป้องกัน - ฉี ด วั ค ซี น เมื่ อ โคอายุ 4 เดื อ นขึ้ น ไป ปีละ 2 ครั้ง - ท�ำบ่อล้างล้อรถยนต์เข้า-ออกฟาร์ม และบ่อจุ่มเท้าด้วยยาฆ่าเชื้อ 2. โรคแท้งติดต่อ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีมากในสารคัดหลั่ง เช่น น�ำ้ เมือกในช่องคลอด ในอสุจิ ติดต่อถึงคนทางบาดแผลหรือเยือ่ เมือก เช่น ตา ปาก ที่สัมผัสน�้ำคัดหลั่งของสัตว์ป่วย อาการ - ในคน จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต�่ำ ปวดตามข้อ อัณฑะอักเสบ อาจจะตายได้ ถ้าไม่ได้รบั การรักษา - ในสัตว์ จะมีไข้ น�้ำนมลด แท้งลูกระยะ 5-7 เดื อ น ลู ก สั ต ว์ ที่ ต ายจะมี ลั ก ษณะคล�้ ำ ในเพศผู ้ จ ะมี อาการลูกอัณฑะอักเสบ และเมื่อหายลูกอัณฑะจะลีบแบน สามารถแพร่เชื้อได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย การป้องกัน - ตรวจเลือดแม่พันธุ์พ่อพันธุ์โคประจ�ำปี หากพบตัวที่ เป็นโรคต้องท�ำลาย - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อในลูกโคเพศเมีย อายุ 3 เดือน ไม่เกิน 8 เดือน เท่านั้น ท�ำครั้งเดียวตลอดชีวิต 64 เกษตร สุรนารี' 58

3. โรคพยาธิภายนอกและภายใน สาเหตุ พยาธิภายนอกได้แก่ เห็บ เหา ขี้เรื้อน พยาธิภายในได้แก่พยาธิตัว กลม พยาธิตัวตืด พยาธิในเม็ดเลือด พยาธิใบไม้ในตับ อาการ สัตว์ที่มีพยาธิภายนอก รบกวน จะร�ำคราญ กินอาหารไม่เป็นสุข หรือเป็นโรคผิวหนังทั้งแบบรุนแรงและ เรือ้ รัง สัตว์ทมี่ พี ยาธิภายในรบกวน จะมี อาการเบือ่ อาหาร ซูบผอม ขนหยิกหยอง ไม่เป็นเงา เซื่องซึม ท้องเสีย ท้องผูก ไอหอบ ถ้าเป็นรุนแรงอาจจะปัสสาวะ เป็นสีน�ำล้างเนื้อ เพราะพยาธิบางชนิด ท�ำลายเม็ดเลือด อันตรายในลูกสัตว์คือ จะไปอุดตันในล�ำไส้ ท�ำให้ท้องอืด หรือ ท้องเสีย และโลหิตจางตายได้ การป้องกัน - ถ่ายพยาธิให้กับสัตว์เมื่ออายุ 1-2 เดือน และทุก ๆ 6 เดือน - ควรหลี ก เลี่ ย งการเลี้ ย งสั ต ว์ ใกล้แหล่งน�้ำท่วมขังนาน ๆ เพราะเป็ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของ พาหะพยาธิ เช่น หอยคัน - ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ในแปลงหญ้า ที่เดียวติดต่อเป็นเวลานาน ๆ เพื่อตัดวงจรพยาธิ - ก� ำ จั ด เห็ บ เหา และรั ก ษา โรคเรื้อนให้หายขาด


การจัดการด้านสุขภาพโค ผู้เลี้ยงโคต้องรูจักการควบคุมป้องกันโรคที่ส�ำคัญในการเลี้ยงโคระยะต่าง ๆ โปรแกรมการปฏิบัติด้าน สุขภาพโคโดยสรุปตามตาราง ดังต่อไปนี้ การปฏิบัติ ถ่ายพยาธิ

1 เดือน

3-8 เดือน

ทุก 6 เดือน

ทุกปี

แม่พันธุ์

ฉีด/กรอก

ฉีด AD3E วัคซีนแท้งติดต่อ วัคซีนปากเท้าเปื่อย

5 ซีซี/กล้าม 2 ซีซี/ใต้หนัง 2 ซีซี/ใต้หนัง

ตรวจวัณโรค

ใต้โคนหาง

ตรวจแท้งติดต่อ

เจาะเลือด

ตลาดโคขุนวากิว การตลาดโคขุนวากิวนับว่าเป็น หัวใจส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดการด�ำเนิน กิจการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคลูกผสม วากิวด�ำรงอยู่ไดอย่างยั่งยืน รูปแบบ การจัดการด้านตลาดต้องเป็นไปในลักษณะ การรวมกลุม่ เป็นสหกรณ์ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก พันธุโ์ คลูกผสมวากิว และเนือ้ โคขุนวากิว มีราคาค่อนข้างสูง ถ้าไม่รวมตัวกันเป็น สหกรณ์ จะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา รับซือ้ ปัจจุบนั มีสหกรณ์ทดี่ ำ� เนินกิจการ เกีย่ วเนือ่ งกับโคลูกผสมวากิวโดยเฉพาะ อยู่ 2 สหกรณ์ คือ สหกรณ์โคเนื้อพันธุ์ โคราชวากิวสุรนารี จ�ำกัด และสหกรณ์ ผู้เลี้ยงโค-กระบือ จังหวัดสุรินทร์ จ�ำกัด สหกรณ์ทั้งสอง ท�ำหน้าที่เป็นผู้ ประสานการซื้อ-ขาย พันธุ์โคลูกผสม

วากิว ทั้งเพศผู้และเพศเมีย และโคขุนวากิวที่ขุนเต็มที่แล้ว ราคารับซื้อเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์นั้น ๆ ราคารับซื้อ ใกล้เคียงกับ ปัจจุบัน (มกราคม 2558) ราคารับซื้อเป็นดังนี้ พันธุ์โค ทั้ ง เพศผู ้ แ ละเพศเมี ย อายุ 8-12 เดื อ น น�้ ำ หนั ก ประมาณ 150-250 กิโลกรัม ซือ้ - ขาย ทีร่ าคากิโลกรัมน�ำ้ หนัก มี ชี วิ ต ละ 110-120 บาท โคขุ น เพศผู ้ น�้ ำ หนั ก ประมาณ 400-450 กิ โ ลกรั ม ซื้ อ -ขาย ที่ ร าคากิ โ ลกรั ม น�้ ำ หนั ก มีชีวิตละ 120 บาท ถ้าเป็นโคสาวท้องแรก (ตั้งท้องประมาณ 3-5 เดือน) ราคาตัวละประมาณ 45,000-60,000 บาท โคขุน ราคารับซือ้ ตามเกรดไขมันแทรก โดยใช้ระดับไขมันแทรก 1-12 ตามสมาคมวากิว ทัว่ ประเทศญีป่ นุ่ ส่วนน�ำ้ หนักใช้นำ�้ หนัก ซากเย็นหลังผ่านการแช่เย็น 12 วัน เกษตร สุรนารี' 58 65


เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก เกรดไขมันแทรก

2.0 2.5 3.0 3.5 4.0 4.5 5.0 5.5 6.0

รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ รับซื้อราคากิโลกรัมละ

210 บาท 220 บาท 230 บาท 255 บาท 280 บาท 305บาท 310 บาท 320 บาท 330 บาท

ราคา ณ เดือนมกราคม 2558 สหกรณ์ผู้เลี้ยงโค-กระบือ จังหวัดสุรินทร์ จ�ำกัด สถานที่ติดต่อ สหกรณ์โคเนือ้ พันธุโ์ คราชวากิวสุรนารี จ�ำกัด (ส�ำนักงานชัว่ คราว) สถานวิจยั ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต�ำบลสุรนารี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประธานฯ คุณกฤษฎา (ท็อป) เตี้ยงสูงเนิน 08-4284-9994 สหกรณ์ผู้เลี้ยงโค-กระบือ จังหวัดสุรินทร์ จ�ำกัด อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 162 หมู่ 9 ต�ำบลคอโค อ�ำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000 ประธานฯ คุณฉลองชัย (ป้อม) อึงไพบูลย์กิจ 08-9624-9214

66 เกษตร สุรนารี' 58


เอกสารอ้างอิง กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคเนื้อ. ม.ป.ป. การเลี้ยงโคเนื้อเชิงธุรกิจ. กองบ�ำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. พิณซอ กรมรัตนาพร และ.เสรี แข็งแอ. ม.ป.ป. การเลี้ยงโคเนื้อ. คูมือประกอบการอบรมโครงการฟื้นฟู และพักหนี้ เกษตรกรรายย่อยและยากจน ส�ำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดเลย. สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน หนองหญาปลอง วังสะพุง เลย. สรรเพชญ โสภณ. (2554). การจัดการทัว่ ไปในฟาร์มโคเนือ้ . เอกสารประกอบการอบรมวิชาการฯ ระหว่างวันที่ 4-5 มิถนุ ายน 2554 ณ ห้างฉัตรแรนซ์ อ.ห้างฉัตร จ.ล�ำปาง จัดโดยสมาคมส่งเสริมการเลีย้ งโคพันธุบ์ ราห์มนั . ศูนยศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ. (2555). คู่มือที่ 2 การเลี้ยงโคเนื้อภูพาน. ส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพือ่ ประสานงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ. กรุงเทพมหานคร. บริษัท มูฟเมนท เจน ทรี จ�ำกัด ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ. ม.ป.ป. โคเนื้อเศรษฐกิจ.

เกษตร สุรนารี' 58 67


68 เกษตร สุรนารี' 58


ข้อควรปฏิบัติในการขนส่งสัตว์

สู่โรงฆ่า

เกษตร สุรนารี' 58 69


ข้อควรปฏิบัติในการขนส่งสัตว์สู่โรงฆ่า รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ชาญ ณ ลำ�ปาง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

ในประเทศไทยการขนส่งสัตว์ไปสูโ่ รงฆ่ากระท�ำโดยการ ขนส่งโดยรถยนต์บรรทุก ซึง่ มีตงั้ แต่รถยนต์บรรทุกเล็ก (รถปิค๊ อัพ) ไปจนถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่ (รถสิบล้อ) ผู้ท�ำการขนส่งส่วน ใหญ่มุ่งความสนใจอยู่ที่การขนส่งสัตว์จากฟาร์มไปให้ถึงโรงฆ่า เท่านัน้ โดยให้ความสนใจกับความรูส้ กึ และผลทีจ่ ะเกิดกับสัตว์ ที่ก�ำลังขนส่งน้อยมาก การขนส่งเป็นกระบวนการทีท่ ำ� ให้สตั ว์เกิดความเครียด อย่างมากอันเป็นผลมาจากการทีต่ อ้ งออกจากคอกหรือสถานที่ ทีค่ นุ้ เคย การถูกไล่ตอ้ น การต้องอยูใ่ นสถานทีท่ ไี่ ม่คนุ้ เคยเช่นใน คอกพัก การต้องจากเพือ่ นร่วมฝูงแล้วไปอยูก่ บั สัตว์แปลกหน้าที่ อาจจะเกิดการต่อสูห้ รือถูกท�ำร้ายได้ ในระหว่างการถูกขนย้าย ด้วยยานพาหนะสิง่ ทีท่ ำ� ให้สตั ว์เกิดความกลัวและความเครียดที่ ส�ำคัญได้แก่ เสียงดัง การเคลือ่ นไหวและแรงสัน่ สะเทือน เสียงดัง ยานพาหนะอื่น ๆ บนท้องถนน เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ท�ำให้ก่อ ความเครียดเหล่านี้ในหลายกรณียังท�ำให้สัตว์เกิดการบาดเจ็บ ได้รับความทุกข์ทรมานหรืออาจถึงกับเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ การขนส่งทีไ่ ม่เหมาะสมยังท�ำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ได้เป็นอย่างมากอีกด้วย จากการสูญเสียน�ำ้ หนัก มูลค่าของสัตว์ ลดลงอันเนือ่ งมาจากการบาดเจ็บหรือการตาย และคุณภาพซาก และเนื้อที่เสียหายอันเป็นผลมาจากความเครียดที่เกิดขึ้น ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการขนส่ง การจัดการขนส่งที่ไม่เหมาะสมสามารถท�ำให้เกิดผล เสียได้ทั้งในแง่สวัสดิภาพของสัตว์และด้านเศรษฐกิจหลาย 70 เกษตร สุรนารี' 58

ประการ เช่น 1. เกิดความเครียดกับสัตว์ การ ที่สัตว์เกิดความเครียดนอกจาก จะมีผลเสียต่อสวัสดิภาพของ สัตว์แล้วยังส่งผลต่อคุณภาพเนือ้ ของสัตว์นนั้ ได้ดว้ ย เช่น ในกรณีของ สุกร หากสุกรเกิดความเครียด มากระหว่างการขนส่งจะท�ำให้ เนื้อสุกรมีสีซีดกว่าปกติ ความ สามารถในการอุ้มน�้ำของเนื้อ เสียไปท�ำให้มนี ำ�้ ไหลเยิม้ ออกมา จากเนื้ อ และเนื้ อ มี ลั ก ษณะ อ่อนนิ่มไม่คงตัว 2. เกิดบาดแผลตามล�ำตัว ท�ำให้ สั ต ว์ เ กิ ด ความเจ็ บ ปวด เกิ ด ความเสี ย หายต่ อ ซากและ เนื้อสัตว์ 3. เกิดการเหยียบย�่ำกันท�ำให้สัตว์ ได้รบั ความเจ็บปวดเกิดบาดแผล อวัยวะแตกหัก และอาจถึงตาย การเหยียบย�ำ่ กันมักเกิดจากการที่ พื้นลื่นเกินไป ท�ำให้สัตว์ลื่นล้ม แล้วถูกตัวอื่นเหยียบย�่ำ


4. เกิ ด การขาดอากาศหายใจ มักเป็นผลที่เกิดจากการลื่นล้ม 5. เกิดการหัวใจวาย พบได้บ่อยใน สุ ก รที่ ไ ด้ รั บ อาหารมากก่ อ น การน�ำขึ้นรถบรรทุก 6. เกิ ด การถู ก แดดเผาเนื่ อ งจาก พาหนะทีบ่ รรทุกสัตว์ไม่มหี ลังคา หรือที่บังแสงแดดให้กับสัตว์ 7. เกิดการท้องอืดเนื่องจากสัตว์ ไม่สามารถขยับเขยือ่ นเคลือ่ นไหวได้ 8. เกิดการขาดน�้ำในระหว่างการ เดินทางที่ยาวนาน ท�ำให้สัตว์มี น�ำ้ หนักตัวลดและอาจถึงตายได้ 9. เกิ ด การหมดแรงซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ได้ จากหลายสาเหตุ รวมถึงการที่ สัตว์ก�ำลังท้องหรืออ่อนอยู่แล้ว 10. เกิ ด การบาดเจ็ บ เช่ น ขาหั ก เขาหลุด เป็นต้น 11. เกิดการต่อสู้กัน มักจะเกิดเมื่อ สัตว์ถกู น�ำมารวมกันใหม่ ๆ หรือ เมื่ อ รถที่ บ รรทุ ก สั ต ว์ ห ยุ ด การ เคลื่อนที่เป็นเวลานาน ทางลาดส�ำหรับต้อนสัตว์ขึ้นและลง รถบรรทุก การน�ำสัตว์ขนึ้ และลงรถบรรทุก ต้องท�ำอย่างละมุนละม่อมที่สุดเท่าที่จะ ท�ำได้ ซึง่ ในกรณีของโค กระบือและสุกร การน� ำ สั ต ว์ ขึ้ น รถบรรทุ ก ที่ เ หมาะสม ท�ำได้หลายวิธี เช่น ใช้ทางลาดส�ำหรับ

ต้อนให้สัตว์เดินขึ้นหรือลง ใช้ฝาท้ายรถบรรทุกที่สามารถเปิด ลงเป็นทางลาดต้อนสัตว์ หรือใช้ลิฟท์ที่ติดตั้งท้ายรถบรรทุก ส�ำหรับยกสัตว์ขึ้นหรือลงรถ สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งคือการ จับตัวสัตว์ยกขึ้นรถ นอกเสียจากว่าจะบรรจุสัตว์ในกรงก่อน เท่านั้น ในการน�ำสัตว์ลงจากรถต้องไม่ให้สัตว์กระโดดลงเอง หรือโยนสัตว์ลงจากรถ โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยทางลาดต้อนสัตว์ขึ้นรถ นี้มักท�ำด้วยคอนกรีตหรือไม้ หลักการที่ส�ำคัญในการก่อสร้าง ทางลาดนี้คือ ต้องให้สัตว์เดินขึ้นลงได้โดยสะดวก ไม่ชันเกิน ไป มีค�ำแนะน�ำว่าทางลาดส�ำหรับสุกรและโคควรมีความชัน ไม่เกิน 20 องศา พื้นทางเดินต้องไม่ลื่น ซึ่งโดยทั่วไปมักจะท�ำ พื้นคอนกรีตให้มีลักษณะหยาบ หรือขีดพื้นให้เป็นร่อง อย่างไร ก็ตาม ศาสตราจารย์แกรนดิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสัตว์ ระดับโลกได้ให้ค�ำแนะน�ำว่าทางลาดคอนกรีตนี้ควรท�ำเป็นขั้น บันไดจะดีกว่าที่ท�ำเป็นพื้นลาดธรรมดา ความสูงของขั้นบันได ส�ำหรับทางลาดต้อนโคควรสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร และส�ำหรับ ทางลาดต้อนสุกรควรสูงไม่เกิน 8 เซนติเมตร ความกว้างของขัน้ บันไดไม่ต�่ำกว่า 30 เซนติเมตร แต่ละขั้นควรมีร่องที่มีความลึก อย่างต�่ำ 2.5 เซนติเมตร ส่วนทางลาดที่เป็นพื้นไม้ก็มักจะใช้ไม้ระแนงตีกั้นพื้น เป็นสันเล็ก ๆ เพื่อให้กีบเท้าสัตว์เกาะ ศาสตราจารย์แกรนดิน แนะน�ำว่าระยะห่างระหว่างสันกันลื่นนี้ควรกว้างกว่าความ ยาวของกีบสัตว์ที่จะใช้ทางลาดนี้เล็กน้อย (ทางลาดส�ำหรับโค ประมาณ 20 เซนติเมตร ส่วนทางลาดส�ำหรับสุกรประมาณ 10 เซนติเมตร) เพื่อให้กีบเท้าสัตว์ลงอยู่ในระหว่างสันกันลื่น ได้พอดี หากระยะห่างระหว่างสันกันลื่นแคบหรือห่างกันเกิน ไปสัตว์จะลื่นล้มได้ง่าย ในการท�ำทางลาดหรือแม้แต่ทางเดินของสัตว์ระหว่าง การน�ำสัตว์ขึ้นรถต้องระวังไม่ให้มีสิ่งที่จะท�ำให้สัตว์เกิดความ กลัว หยุดเดิน หรือแม้แต่ดิ้นรนหลบหนี สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้มี เกษตร สุรนารี' 58 71


แนวโน้มทีจ่ ะท�ำให้สตั ว์เกิดความกลัว ซึง่ จะต้องหาทางแก้ไข ได้แก่ 1. แสงแวววาวบนพื้นโลหะหรือพื้นเปียก ทางแก้ไข ปรับย้ายต�ำแหน่งหลอดไฟ 2. ทางเข้าที่มืด ทางแก้ไข ให้มแี สงสว่างทีท่ างเข้าอย่างพอเพียง แสงต้องไม่สอ่ งเข้าหน้าสัตว์โดยตรง 3. สัตว์สามารถมองเห็นคนหรืออุปกรณ์ทอี่ ยูข่ า้ งหน้า ทางแก้ไข ท�ำผนังทึบหรือติดตัง้ แผงกันสายตา 4. ทางเดินหักมุม ทางแก้ไข หลีกเลี่ยงการสร้างทางเดินหักมุม โดยการท�ำเป็นทางเดินโค้งแทน 5. มีโซ่หรือสิง่ ของห้อยแขวนอยูใ่ นบริเวณทางเดินหรือ ทางลาด ทางแก้ไข น�ำออกไป 6. พื้นไม่เสมอกันหรือลดระดับลงอย่างทันทีทันใด ทางแก้ไข ท�ำให้พนื้ เสมอกัน หากเป็นพืน้ ทีต่ า่ ง ระดับกันต้องหาวัสดุมาปูเพือ่ ให้สตั ว์ เห็นว่าเป็นพื้นเดียวกัน 7. เสียงโครมครามจากโลหะกระทบกัน เช่น เสียงประตู ทางแก้ไข ติดตั้งยางกันกระแทกเพื่อลดเสียง โลหะกระทบกัน 8. ลมจากช่องลมหรือพัดลมพัดโดนหน้าสัตว์โดยตรง ทางแก้ไข ปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ข้อควรปฏิบัติในช่วงการเตรียมการขนส่ง มี ข ้ อ ปฏิ บั ติ บ างประการที่ ค วรด� ำ เนิ น การก่ อ นการ ขนส่งสัตว์เพื่อลดการเกิดความเครียดหรือการบาดเจ็บในสัตว์ ระหว่างการขนส่ง ได้แก่ 1. ควรให้ สั ต ว์ ป รั บ ตั ว กั บ สภาวะอากาศที่ สั ต ว์ จ ะได้ รั บ ในช่วงการขนส่ง เช่น ในกรณีที่สัตว์ถูกเลี้ยงในโรงเรือน 72 เกษตร สุรนารี' 58

ปรั บ อุ ณ หภู มิ ก็ ค วรปรั บ อุ ณ หภู มิ ให้สูงขี้นใกล้เคียงกับอุณหภูมิของ อากาศภายนอกโรงเรือน 2. เมื่ อ จ� ำ เป็ น ต้ อ งขนส่ ง สั ต ว์ จ าก ต่างคอกรวมกันบนรถบรรทุก ควร น� ำ สั ต ว์ เ หล่ า นั้ น มารวมกั น ก่ อ น เพื่ อ ให้ สั ต ว์ เ กิ ด ความคุ ้ น เคยกั น จะได้ ไ ม่ ต ่ อ สู ้ ห รื อ ท� ำ ร้ า ยกั น ใน ระหว่ า งการขนส่ ง ในโคควรน� ำ รวมกั น ก่ อ นการขนส่ ง ประมาณ 24 ชั่ ว โมง ส่ ว นในสุ ก รซึ่ ง มั ก จะ ต่อสู้กันมากเมื่อน�ำสัตว์แปลกหน้า มารวมกันใหม่ ๆ เพื่อลดการต่อสู้ ดั ง กล่ า วควรป้ า ยตั ว สั ต ว์ ด ้ ว ยมู ล เพื่อให้สุกรมีกลิ่นเดียวกัน 3. โดยทั่ ว ไปแล้ ว สามารถให้ น�้ ำ และ อาหารแก่สตั ว์กอ่ นการขนส่งได้ ยกเว้น สุกร หากให้อาหารก่อนการขนส่ง ระบบย่อยอาหารของสุกรไม่ท�ำงาน ตามปกติ ท� ำ ให้ อ าหารที่ กิ น เข้ า ไป เกิดการหมักบูดแล้วเกิดก๊าซขึน้ มาก ซึ่งจะไปเพิ่มแรงกดดันต่อหัวใจและ ช่องอกท�ำให้สุกรหัวใจวายตายได้ 4. อย่าบรรทุกสัตว์ต่างชนิดบนรถคัน เดียวกันยกเว้นมีแผงกั้นสัตว์แต่ละ ชนิดแยกออกจากกัน 5. ไม่ควรขนส่งสัตว์ที่ป่วยหรือท้องแก่ เพราะสัตว์อาจไม่สามารถทนต่อการ กระทบกระเทือนจากการขนส่งได้


ยานพาหนะส�ำหรับการขนส่ง ยานพาหนะส�ำหรับขนส่งสัตว์ ควรมีความมั่นคงและปลอดภัยส�ำหรับ สัตว์ ผนังต้องเรียบไม่มสี ว่ นทีย่ นื่ ล�ำ้ ออก มาอันอาจท�ำให้สัตว์เกิดการบาดเจ็บได้ พื้นที่บรรทุกต้องสามารถระบายอากาศ ได้ดี รถที่ใช้บรรทุกสัตว์ต้องไม่ปิดทึบ ทั้งคันโดยเด็ดขาด ผนังด้านข้างต้อง มี ค วามสู ง พอที่ จ ะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ สั ต ว์ กระโดดข้ามได้ ซึง่ จะท�ำให้สตั ว์บาดเจ็บ หรือถึงตายได้ รถที่ใช้ขนโค-กระบือไม่ จ�ำเป็นต้องมีหลังคาก็ได้หากไม่ต้องขน สัตว์ในช่วงกลางวันทีแ่ ดดร้อนจัด ส่วนรถ ที่ ใช้ ข นสุ ก รต้ อ งมี ห ลั ง คาเพื่ อ ป้ อ งกั น แสงแดด ยกเว้นการเดินทางในช่วงเช้า หรือเย็น หรือกลางคืน พื้นรถต้องแข็ง แรงทนทานและสามารถรับน�ำ้ หนักสัตว์ ได้ ต้องไม่มีรูหรือร่องที่อาจจะท�ำให้ เท้าหรือขาสัตว์เข้าไปติดได้ พื้นจะต้อง ไม่ลื่นเพื่อให้สัตว์สามารถยืนได้อย่าง มั่นคง ต้องไม่บรรจุสัตว์หนาแน่นมาก จนเกินไป โค-กระบือใหญ่ควรมีพื้นที่ 1.0-1.4 ตร.ม. ต่อตัว ส่วนสุกรขุนควร มีพื้นที่ 0.4 ตร.ม. ต่อตัว รถที่ใช้บรรทุก และขนสัตว์ควรมีอุปกรณ์ที่สามารถน�ำ สัตว์ลงจากรถได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น รถ เสียกลางทางที่จะต้องใช้เวลาซ่อมแซม เป็นเวลานาน

ข้อควรระวังช่วงการขนส่ง สิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งปฏิบตั ใิ นระหว่างการขนส่งสัตว์เพือ่ มิให้ สัตว์ตอ้ งทนทุกข์ทรมาน เกิดการบาดเจ็บ หรือตาย ทีส่ ำ� คัญได้แก่ 1. ควรขนส่งสัตว์ในช่วงที่อากาศเย็นเช่นตอนเช้า ตอนเย็น หรือตอนกลางคืน ไม่ควรขนส่งสัตว์ใน ช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะในการ ขนส่งสุกรซึ่งเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อความร้อนเป็น อย่างมาก ความรุนแรงของความร้อนจะมีมากขึ้น ในสภาพทีอ่ ากาศมีความชืน้ สูง หรือเมือ่ รถต้องจอด อยูน่ งิ่ ๆ หากมีความจ�ำเป็นควรใช้นำ�้ ราดตัวสัตว์เพือ่ ลดความร้อนให้ 2. ควรเลือกเส้นทางทีใ่ ช้เวลาในการเดินทางน้อยทีส่ ดุ ไม่ควรหยุดรถในระหว่างการเดินทาง สุกรมักต่อสูก้ นั เมื่อรถหยุด โค-กระบือไม่ควรต้องเดินทางเกิน 36 ชัว่ โมง และต้องน�ำสัตว์ลงจากรถเพือ่ กินอาหาร เมื่อเดินทางครบ 24 ชั่วโมง 3. การขับรถบรรทุกสัตว์ควรให้ราบเรียบทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะ ท�ำได้ ต้องไม่กระชากออกรถหรือหยุดรถกะทันหัน การเลี้ยวรถต้องกระท�ำอย่างระมัดระวังไม่ให้สัตว์ หกล้มหรือกลิง้ ไปมาได้ ในการขนส่งสัตว์ใหญ่อย่าง โค-กระบือในระหว่างการเดินทางต้องคอยดูว่ามี สัตว์ตัวใดล้มนอนลงหรือไม่ ถ้ามีต้องหยุดรถแล้ว ยกสัตว์ให้ยืนขึ้นก่อนที่จะเดินทางต่อไป 4. หากอากาศหนาวเย็นหรือมีฝนตกหนัก ควรหาทาง ป้องกันไม่ให้สัตว์ถูกฝนสาดหรืออากาศเย็นพัด โกรกจนเกินไป

เกษตร สุรนารี' 58 73


สรุป โดยเหตุที่การขนส่งสัตว์สู่โรงฆ่านอกจากจะมีผลต่อ สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นแล้วยังมีผลต่อคุณภาพและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จากสัตว์เหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งส่ง ผลกระทบต่อสุขอนามัยของผู้บริโภคโดยรวม ดังนั้นส�ำนักงาน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ จึงได้ก�ำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง “การ ปฏิบัติที่ดีทางด้านสวัสดิภาพสัตว์: การขนส่งสัตว์ทางบก” ซึ่ง ประกาศ ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 แต่อย่างไรก็ตามยังปรากฏ ว่าการขนส่งสัตว์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดมาตรฐานอยู่ ที่เป็นดังนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสังคมยังขาดความสนใจใน ด้านสวัสดิภาพของสัตว์และผลที่เกิดกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ เป็นผลมาจากการขนส่งที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นปัจจัยส�ำคัญ ที่จะท�ำให้การขนส่งสัตว์สู่โรงฆ่าของไทยได้มาตรฐานสากล ผูบ้ ริโภคควรสนใจและเรียกร้องให้ผปู้ ระกอบการได้ดำ� เนินการ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการขนส่งสัตว์สู่โรงฆ่าโดยเคร่งครัด

74 เกษตร สุรนารี' 58


เอกสารอ้างอิง ส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553) การปฏิบัติที่ดี ทางด้านสวัสดิภาพสัตว์: การขนส่งสัตว์ทางบก. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9034-2553 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 127 ตอนพิเศษ 131 ง วันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553. Chambers, P. G. and T. Grandin. (2001). Guidelines for Humane Handling, Transport and Slaughter of Livestock. G. Heinz and T. Srisuvan, Eds. Regional Office for Asia and the Pacific, Food and Agriculture Organization of the United Nations. Grandin, T. (2010). Improving Animal Welfare: A Practical Approach. Cambridge University Press, Cambridge. World Organization for Animal Health (OIE). (2009). OIE Terrestrial Animal Health Code. Section 7: Animal Welfare. Paris, France. --------------------------------------

เกษตร สุรนารี' 58 75


76 เกษตร สุรนารี' 58


แร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบใหม่ ในอาหารเลี้ยงสุกร

เกษตร สุรนารี' 58 77


แร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบใหม่ในอาหารเลี้ยงสุกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร กาญจนทวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

แร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบใหม่ในอาหารเลี้ยงสุกร แร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบใหม่ที่ว่านี้หมายถึง แร่ธาตุ ซีลีเนียมในรูปอินทรีย์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุซีลีเนียมจับอยู่กับโปรตีน สายสั้น ๆ โดยจะจับกับกรดอะมิโนเมทไธโอนีน หรือเรียกว่า ซีลโี นเมทไธโอนีน มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกันกับเมทไธโอนีน แต่ ต่างกันตรงทีต่ ำ� แหน่งของธาตุซลั เฟอร์ในเมทไธโอนีนถูกแทนที่ ด้วยธาตุซีลีเนียม ดังแสดงในภาพที่ 1 ส่วนธาตุซีลีเนียมในรูป แบบเก่าทีใ่ ช้กนั มาในอดีตจนถึงปัจจุบนั นัน้ เป็นแร่ธาตุซลี เี นียม ในรูปอนินทรีย์ (inorganic selenium) ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของ เกลือโซเดียม เช่น โซเดียมซีลีไนท์ หรือโซเดียมซีลีเนต แต่ อย่างไรก็ตาม สุกรก็สามารถดูดซึมแร่ธาตุทั้งสองรูปแบบใช้ได้ เร็วพอ ๆ กัน

ภาพที่ 1 รูปแบบของซีลีเนียมในโปรตีน

78 เกษตร สุรนารี' 58

กลไกการดูดซึมธาตุซลี เี นียมทัง้ สองรูป แบบในร่างกายสัตว์ เมื่อร่างกายสุกรได้รับซีลีเนียม ในรูปอนินทรีย์ ซีลีเนียมจะถูกล�ำเลียง ไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย อย่าง หลวม ๆ โดยตับจะออกซิไดซ์ซีลีไนท์ให้ เป็นซีลีไนด์ซึ่งอยู่ในรูปที่จะถูกน�ำไปใช้ ซีลไี นด์ จะท�ำปฏิกริ ยิ าทางเคมีกบั ซีสเตอีน เป็นสารประกอบซีลโี นโปรตีนต่าง ๆ ให้ แก่รา่ งกาย ซึง่ สารประกอบจ�ำพวกซีลโี น โปรตีนที่ส�ำคัญตัวหนึ่ง ได้แก่ เอนไซม์ กลูตาไทโอน เปอร์ออ๊ กซิเดส หรือ GSH-Px (GSH-Px จัดเป็นสารแอนดีอ้ อกซิแดนซ์ ชนิดหนึง่ ) ส่วนซีลเี นียมในรูปอินทรียน์ นั้ จะพบได้ในพวกธัญพืช หรือในเซลล์ของ ยีสต์ เมื่อสัตว์ได้รับซีลีเนียมประเภทนี้ เข้าสูร่ า่ งกายก็จะเข้าสูก่ ระบวนการย่อย ในล�ำไส้เล็ก ก่อนทีจ่ ะถูกดูดซึมไปใช้ ผล ที่ได้ตามมาก็คือกรดอะมิโนที่เรียกว่า ซีลโี นเมทไธโอนีน ซึง่ จะถูกน�ำไปเก็บไว้ตาม เนือ้ เยือ่ ต่าง ๆ ของร่างกายในส่วนทีเ่ ป็น โปรตีนในร่างกาย (body protein) หรือ อีกกระบวนการหนึง่ ของการน�ำอินทรีย์


ซีลีเนียมไปใช้โดยที่กรดอะมิโนซีลีโนจะ ถูกเปลี่ยนไปเป็นซีลีไนด์แล้วซีลีไนด์จึง จะถูกน�ำไปใช้ในการสร้าง GSH-Px ใน

ท�ำนองเดียวกับที่อนินทรีย์ซีลีเนียมถูกเปลี่ยนไปเป็น GSH-Px ดังแสดงในภาพที่ 2 แสดงกระบวนการผลิตซีลีเนียมยีสต์ (อินทรีย์ซีลีเนียม) แสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 2 Utilization of absorbed selenium

ภาพที่ 3 Production of Se-enriched yeast เกษตร สุรนารี' 58 79


จากการศึกษาของ Mahan และ Parrett (1996) ใน หมูขุนและจากการศึกษาของ Mahan และ Kim (1996) ใน สุกรพ่อ-แม่พนั ธุ์ ได้ข้อสรุปที่ตรงกันกล่าวคือ ประสิทธิภาพ ของการสร้ า งเอนไซม์ GSH-Px ในสุ ก รทั้ ง สองประเภท มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าแหล่งแร่ธาตุซีลีเนียมที่ได้รับ ในสู ต รอาหารนั้ น จะมาจากอินทรีย์ห รืออนินทรี ย ์ ซีลี เ นี ย ม ดังแสดงในภาพที่ 4 และ ภาพที่ 5 แต่ในทางตรงกันข้าม กั บ พบว่ า ในโคนมจะมี ก ารดู ด ซั บ ซี ลี เ นี ย มในรู ป อนิ น ทรี ย ์ ไปใช้ได้ในอัตราที่ต�่ำกว่าซีลีเนียมในรูปอินทรีย์ โดยจะพบ ในปริ ม าณเอนไซม์ GSH-Px ที่ สู ง ในโคที่ ไ ด้ รั บ ซี ลี เ นี ย ม

ในรูปอินทรีย์ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลใน ตารางที่ 1 หรืออาจกล่าวได้ว่าในสัตว์ ประเภทสุ ก รนั้ น การได้ รั บ ซี ลี เ นี ย ม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปอินทรีย์หรืออนินทรีย์ ก็ตาม ไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างใน ประสิทธิภาพการสร้างเอนไซม์ GSH-Px ภายในร่างกายเพียงแต่มีความแตกต่าง ของกลไกในการดูดซึมเพื่อน�ำไปใช้ที่ ต่างกัน

ภาพที่ 4 Effect of dietary selenium sources on grower pig GSH-Px activity

ภาพที่ 5 Effect of selenite or Se-Yeast on sow serum GSH-Px activity (average)

80 เกษตร สุรนารี' 58


ตารางที่ 1 Effect of selenium sources on GSH-Px activity in dairy cows (Pehrson et al., 1989). Se source

Dosage(mcg/d)

Sodium Selenite Se-Yeast

560 570

นอกจากนีย้ งั พบว่า ปริมาณของ ซีลีเนียมในน�้ำนมของแม่สุกรจะลดลง อย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่การให้ลูกในท้อง ที่ 2 เป็นต้นไป (ภาพที่ 6) ดังนัน้ โอกาสที่ ลูกสุกรจะแสดงอาการขาดธาตุซลี เี นียม จึ ง มี สู ง มาก ทั้ ง นี้ เ พราะธาตุ ซี ลี เ นี ย ม สามารถส่งผ่านได้ทางน�ำ้ นมจากแม่สลู่ กู ได้เพียงทางเดียว ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริง ที่ ว ่ า สั ต ว์ แรกคลอด เช่ น ลู ก สุ ก ร ลูกวัว หรือแม้กระทัง่ ลูกไก่ มักพบปัญหา การขาดธาตุซีลีเนียมอยู่เสมอ ๆ การ ขาดธาตุ ซี ลี เ นี ย มอย่ า งรุ น แรงในสุ ก ร

GSH-Px activity increase (units/liter) 253 747

แรกคลอด ยังส่งผลให้เกิดปัญหาความเป็นพิษของธาตุเหล็ก เสริมเข้าไป Loudenslager และคณะ (1986) ได้แสดงให้เห็น ว่า ลูกสุกรแรกคลอดนัน้ จะมีโอกาสทีส่ ารแอนตีอ้ อ๊ กซิแดนซ์ใน ร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว (สารแอนตี้อ๊อกซิแดนซ์มีหน้าที่ ในการป้องกันอนุมูลอิสระ (free radical) ในการท�ำลายเซลล์ ของร่างกาย โดยธาตุซลี เี นียม และวิตามินอี มีสว่ นสัมพันธ์อย่าง มากต่อการท�ำหน้าที่ของสารแอนตี้อ๊อกซิแดนซ์ในร่างกาย) ประกอบกับถ้าหากสุกรได้รบั การถ่ายทอดธาตุซลี เี นียมจากแม่ ไม่เพียงพอตั้งแต่แรกคลอด และลูกสุกรนั้นได้รับความกระทบ กระเทือนมาจากการขาดธาตุเหล็ก โอกาสทีล่ กู สุกรจะเสียชีวติ จึงมีความเป็นไปได้สูงมาก

ภาพที่ 6 Selenium content of milk from mature sows 21-days postpartum เกษตร สุรนารี' 58 81


จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็น�ำมาซึ่งค�ำถามต่อไปที่ว่า ประสิทธิผลของแร่ธาตุในรูปแบบใหม่ทวี่ า่ อินทรียซ์ ลี เี นียมหรือ ซีลีเนียมยีสต์) จะดีกว่าแร่ธาตุซีลีเนียมรูปแบบเก่า (อนินทรีย์ ซีลีเนียมหรือโซเดียมซีลีไนท์) อย่างไร? จากการท�ำการทดลอง ศึกษาในหมูรุ่นและหมูขุนพบว่า สุกรกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ เสริมด้วยซีลเี นียมยีสต์ จะพบการสะสมของแร่ธาตุซลี เี นียมตาม เนื้อเยื่ออวัยวะในร่างกายสูงกว่าสุกรกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ เสริมด้วยโซเดียมซีลีไนท์ ปริมาณของเอนไซม์ GSH-Px ในสุกร ทุกประเภทจะถูกสร้างขึ้นสูงสุดเมื่อมีการเสริมธาตุซีลีเนียมใน อาหารในระดับความเข้มข้น 0.1 พีพเี อ็ม ไม่วา่ ธาตุซลี เี นียมนัน้ จะเป็นประเภทใด นอกจากนี้ ยังพบว่าซีลีเนียมในรูปอินทรีย์ สามารถสะสมในร่างกายในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้ดี กว่าซีลเี นียมในรูปอนินทรีย์ (ซีลไี นท์) ข้อดีอกี ประการหนึง่ ของ ซีลเี นียมในรูปอินทรียท์ เี่ หนือกว่าซีลเี นียมในรูปอนินทรียท์ มี่ ตี อ่ สัตว์สกุลอื่นก็คือ ช่วยให้ระดับเม็ดเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้น และยัง ส่งผลให้อัตราการตายลดลงในสัตว์บางจ�ำพวกอีกด้วย

82 เกษตร สุรนารี' 58

ทั้ ง หมดนี้ จ ะเห็ น ได้ ว ่ า ความ ส�ำคัญของธาตุซีลีเนียมในสุกร ไม่ว่า จะเป็ น ซี ลี เ นี ย มในรู ป แบบใดก็ ต าม เมื่อสุกรได้รับเข้าสู่ร่างกาย และผ่าน กระบวนการย่ อ ยสลายแล้ ว สุ ก ร สามารถน�ำไปใช้ในการสร้างสารแอนตี้ อ๊อกซิแดนซ์ (GSH-Px) ให้แก่ร่างกาย ได้ดพี อ ๆ กัน จะแตกต่างกันทีก่ ลไกของ การดูดซึมซีลเี นียมทีม่ แี หล่งทีม่ าต่างกัน ความแตกต่างของธาตุซีลีเนียมในรูป อินทรียท์ เี่ หนือกว่าในรูปอนินทรียท์ เี่ ห็น ได้ชดั เจนในสุกร อยูท่ คี่ วามสามารถของ ร่างกายทีส่ ามารถเก็บสะสมซีลเี นียมทีม่ ี ทีม่ าจากซีลเี นียมในรูปอินทรียไ์ ด้ดี และ ในปริมาณทีม่ ากกว่าซีลเี นียมในรูปอนินทรีย์ โดยเฉพาะตามเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และ ในน�้ำนมซึ่งสามารถส่งผ่านจากแม่สู่ลูก ช่ ว ยลดปั ญ หาการตายแรกคลอดให้ ลดลง ความสามารถของร่ า งกายที่ สามารถเก็บสะสมซีลีเนียมในปริมาณ ที่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นข้อดี ประการหนึ่ ง ส� ำ หรั บการเลี้ ย งสุ ก รใน ปั จ จุ บั น เนื่ อ งจากเป็ น สายพั น ธุ ์ ที่ โ ต เร็วในเวลาอันสั้น โอกาสที่จะขาดธาตุ ซีลีเนียมจึงมีความเป็นไปได้สูง ถ้าหาก ได้ รั บ สารอาหารที่ ไ ม่ เ พี ย งพอในบาง ช่วงที่ร่างกายอาจมีความต้องการสูง ในกรณีดังกล่าวจะส่งผลให้สารแอนตี้


อ๊อกซิแดนซ์ในร่างกายสัตว์ลดลง และ ยังมีผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน การเกิ ด ปั ญ หาดั ง กล่ า ว จึ ง ควรที่ จ ะ เสริมธาตุซีลีเนียมลงในสูตรอาหารเลี้ยง สุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสูตรอาหาร พ่อ-แม่พันธุ์ และในหมูรุ่นให้มีปริมาณ ที่เพียงพออยู่เสมอ และรูปแบบของแร่ ธาตุซีลีเนียมที่ควรให้ควรเป็นอินทรีย์ ซีลีเนียมหรือซีลีเนียมยีสต์ ด้วยเหตุผล ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบกับ ซีลีเนียมในรูปอินทรีย์นั้น มีความเป็น กลางเชิงประจุไฟฟ้า ร่างกายสัตว์สามารถ ดูดซึมไปใช้ได้ในทันที ในขณะทีซ่ ลี เี นียม ในรูปอนินทรีย์ เช่น โซเดียมซีลีไนท์นั้น

จะเกิดการแตกตัวในล�ำไส้ขณะย่อยโดยส่วนหนึ่งจะไปจับกับ กรดอะมิโนแล้วจึงถูกดูดซึมไปใช้ซงึ่ เป็นส่วนน้อย แต่สว่ นใหญ่จะ ไปท�ำปฏิกริ ยิ าทางเคมีกบั ธาตุตวั อืน่ ๆ เป็นสารประกอบเชิงซ้อน ก่อนถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็อาจมีความคิด ทีจ่ ะเติมโซเดียมซีลไี นท์ในปริมาณทีม่ ากเกินพอ ก็นา่ จะชดเชย กันได้ ความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้เพราะการที่มีการเพิ่ม ธาตุตัวใดตัวหนึ่งในอาหารที่มากเกินไปมาก ๆ จะท�ำให้สมดุล เคมีของสารในล�ำไส้สญ ู เสียไป ส่งผลให้ความสามารถในการดูด ซึมแร่ธาตุโดยรวมลดลง และยังอาจไปบดบังการดูดซึมแร่ธาตุ เฉพาะบางตัวได้อกี เช่นกัน ดังนัน้ ซีลเี นียมในรูปแบบใหม่นจี้ งึ มี ความได้เปรียบกว่าในรูปแบบเก่าทีเ่ คยใช้กนั มา และเหมาะสม กับสายพันธุ์สุกรที่เลี้ยงกันอยู่อย่างเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อดีของแร่ธาติซลี เี นียมในสัตว์ยงั มีอกี มาก ซึง่ จะได้นำ� มาเสนอ ในโอกาสต่อไป

เกษตร สุรนารี' 58 83


84 เกษตร สุรนารี' 58


เอกสารอ้างอิง Loudensiager, M. J., P. K. Ku, P. A. Whetter, D. E. Ulrey, C. K. Whitehair, H. D. Stowe, and E. R. Miller. (1986) Importance of diet of dam and colostrum to the biological antioxidant status and parenteral iron tolerance of the pig. J. Anim. Sci. 63:1905. Mahan, D. C. (1994). Organic selenium-what is its potential for pigs? Animal Talk. Vol. 1, No. 6. Mahan, D. C. and N. A. Parrett. (1996). Evaluating the efficacy of Se-enriched yeast and inorganic selenite on tissue Se retention and serum glutathione peroxidase activity in grower and finisher swine. J. Anim. Sci. Mahan, D. C. and Y. Y. Kim. (1996). Effect of inorganic or organic selenium at two dietary levels on reproductive performance and tissue selenium concentrations in first parity gilts and their progeny. J. Anim. Mahan, D. C. (1996). Organic selenium for the livestock industry: Conclusions and potential from research studies. Alltech’s 10th Annual Asia-Pacific Lecture Tour. Pehrson, B., M. Knutsson and M. Gyllenswoad. (1989). Glutathione peroxidase activity in heifers fed diets supplemented with organic and inorganic selenium compounds. Swedish j. Agr. Res. 19:53. Sunde, R. A. (1990). Molecular biology of selenoproteins. Ann. Rev. Nutr. 10:451.

เกษตร สุรนารี' 58 85


86 เกษตร สุรนารี' 58


การใช้ครีมสอดรูหัวนม (Teat seal) เพื่อป้องกันการเกิดโรคเต้านมอักเสบในโค ระยะหยุดพักรีดนม

เกษตร สุรนารี' 58 87


การใช้ครีมสอดรูหัวนม (Teat seal) เพื่อป้องกันการเกิดโรคเต้านมอักเสบในโคระยะหยุดพักรีดนม

สุกัญญา บุตรพรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ภคนิจ คุปพิทยานันท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

โรคเต้านมอักเสบเป็นโรคทีก่ อ่ ให้เกิดความสูญเสียทาง เศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการเลีย้ งโคนมอย่างมาก แนวทางการ รักษาโรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ทีผ่ า่ นมาใช้ยาปฏิชวี นะและ ยาต้านการอักเสบรักษา ซึ่งยาเหล่านี้ท�ำให้พบปัญหาที่ตามมา คือปัญหาการดื้อยาของเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเกิดการดื้อต่อยา ชนิดหนึง่ มักจะมีการดือ้ ต่อยาหลาย ๆ กลุม่ ตามมา ท�ำให้รกั ษา หายยาก ปัญหาทีพ่ บตามมาอีกอย่างคือ ต้องเสียค่าใช้จา่ ยในการ ซือ้ เวชภัณฑ์เป็นเงินปีละหลายร้อยล้านบาท (ธีรพงศ์ และคณะ, 2532) นอกจากนี้แล้วยังพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา โรคเต้านมอักเสบอาจก่อให้เกิดปัญหาสารปฏิชีวนะตกค้างใน น�ำ้ นม ส่งผลอันตรายต่อผูบ้ ริโภค ปัจจุบนั จึงเริม่ มีการตระหนัก

ถึงการผลิตปศุสัตว์แบบปลอดสารเคมี โดยการน�ำระบบการผลิตสัตว์อินทรีย์ มาใช้เพื่อลดและไม่ใช้สารเคมีหรือยา ในการผลิตสัตว์ (โกวิทย์, 2539) ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่จะสามารถลดการใช้ยา ปฏิชีวนะ ช่วยป้องกันปัญหาการดื้อยา ของเชื้อโรค แก้ปัญหาเสียดุลทางการ ค้า และลดปัญหาสารปฏิชีวนะตกค้าง ในน�้ ำ นมคื อ การใช้ ค รี ม สอดรู หั ว นม (teat seal) เพื่อป้องกันการเกิดโรคเต้า นมอักเสบ

ภาพที่ 1 โคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน ที่มา : http://pngimg.com/img/animals/cow 58 88 เกษตร สุรนารี' 56


ครีมสอดรูหัวนม (Teat seal) มีหลักการท�ำงานคือ เป็นครีม ที่สอดเข้าไปในบริเวณรูหัวนม (Teat canal) โดยการใช้ครีมที่มีความคงตัว และอยู ่ ไ ด้ น าน กลไกการท� ำ งานจะ ท�ำหน้าที่เป็น physical barrier เพื่อ กีดขวางป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ ภายในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ภายในเต้านม ได้ ดังแสดงในรูปภาพที่ 3 เนื้อครีมจะ สามารถรีดหลุดออกง่ายในช่วงหลังจาก โคคลอดลูก เพราะในช่วงนีส้ ตั ว์จะได้รบั อิทธิพลจากฮอร์โมน ส่งผลให้รูหัวนม ขยายจึงท�ำให้ครีมสอดรูหัวนม (teat seal) สามารถรีดหลุดออกง่ายในช่วงนี้

ภาพที่ 3 ต�ำแหน่งของครีมสอดรูหัวนม ภายในร่างกายสัตว์ ที่มา : http://willungavets.com.au/ farmers-corner/teat-seal turns-around-mastitis/

1. Bismuth Subnitrate

2. Paraffin Soft

3. Teat Seal ภาพที่ 2 ส่วนผสมและลักษณะของครีมสอดรูหัวนม

มีรายงานการใช้ครีมสอดรูหัวนมที่มีส่วนผสมของ บิสมัทซับไนเตรทและพาราฟิน ซึ่งจากรายงานทางวิชาการ พบว่าบิสมัทมีผลต่อการป้องกันการเจริญเติบโตของพวกเชื้อ จุลนิ ทรีย์ และพบว่าบิสมัทมีหน้าทีใ่ นการสมานแผล (Council on Pharmacy and Chemistry of the American Medical Association., 1914) มีรายงานว่าผลของการใช้ Bismuth subnitrate ในมนุษย์ สามารถรักษาโรคล�ำไส้อักเสบและโรค กระเพาะอาหาร ระงับอาการอาเจียนจากการระคายเคือง กระเพาะอาหาร เพราะจะไปเคลือบพวกเยือ่ เมือกในกระเพาะ อาหาร และยังพบว่าสามารถรักษาบาดแผล แผลเปื่อย และ แผลพุพองได้ด้วย มีการน�ำเอาบิสมัทมาประยุกต์ใช้เป็นยา ฆ่าเชื้อโรคและน�ำมาใช้เป็นยารักษาแผลที่ผิวหนังหรือแผล ที่เป็นหนองได้ จากผลการรายงานนี้เป็นไปได้ว่า Bismuth subnitrate มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ นอกจากนี้ เกษตร สุรนารี' 58 89


ยังมีการน�ำบิสมัทมาทดลองใช้ในสัตว์ พบว่าผลทีข่ องการเสริม Bismuth citrate และ Bismuth subcitrate ทีร่ ะดับ 50 ppm และ 200 ppm ในอาหารไก่กระทงต่อจ�ำนวนความเข้มข้นของ Campylobacter spp. ใน Cecal พบว่าเมื่อเสริม Bismuth citrate และ Bismuth subcitrate สามารถลดจ�ำนวนเชื้อ Campylobacter spp.ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (Farnell et al., 2006) ดังแสดงในภาพที่ 4 ส่วนพาราฟินพบ ว่าสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย และมีหลายสถานะ ด้วยกัน การใช้งานหรือประโยชน์ (แบ่งตามสถานะ) เช่น แก๊ส ใช้เป็นเชื้อเพลิง ของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นยารักษาโรค ใช้ในการท�ำครัว ของแข็ง (ในรูปขี้ผึ้ง) ใช้ผลิตเทียน ใช้เคลือบ กระดาษบางชนิด ใช้เคลือบเสือ้ ผ้า ใช้เป็นส่วนผสมท�ำยาหม่อง ใช้ทาปาก-ผิว เพื่อลดความหยาบกร้าน (เพิ่มความชุ่มชื้น)

ภาพที่ 4 ที่มา :

ความเข้มข้นของ Campylobacter spp. ใน Cecal เมือ่ เสริม Bismuth citrate และ Bismuth subcitrate ระดับต่าง ๆ ในอาหารไก่กระทง Farnell et al., 2006

90 เกษตร สุรนารี' 58

ในปัจจุบันได้มีการน�ำเอาครีม สอดรูหัวนม (teat seal) น�ำมาทดลอง ในโคระยะหยุ ด พั ก รี ด นม โดยศึ ก ษา ผลต่ อ การป้ อ งกั น การเกิ ด โรค ซึ่ ง มี รายงานการใช้ ค รี ม สอดรู หั ว นมรวม กับยาปฏิชีวนะต่ออัตราการติดเชื้อใน โคระยะหยุดพักรีดนม และต่ออัตรา การเกิ ด โรคเต้ า นมอั ก เสบแบบแสดง อาการในระยะ 60 วั น แรกของการ รีดนม พบว่าผลของครีมสอดรูหัวนม (teat seal) ที่เป็นสารในกลุ่ม non antibiotic เมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่ากลุ่มที่ใช้ ครี ม สอดรู หั ว นมร่ ว มกั บ ยาปฏิ ชี ว นะ (Antibiotic+Teat seal) สามารถลด อัตราการติดเชื้อโรคเต้านมอักเสบลง ได้ และยังลดอัตราการเกิดโรคเต้านม อักเสบแบบแสดงอาการในช่วง 60 วัน แรกของการรีดนมได้ ซึ่งพบว่ามีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าอัตราการติดเชื้อ โรคเต้านมอักเสบลดลงได้ 30% และ ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรค เต้านมอักเสบแบบแสดงอาการในช่วง 60 วันแรกของการรีดนมได้ถึง 33% (Godden et al., 2003) ดังแสดงใน ตารางที่ 1


ตารางที่ 1 ผลของครีมสอดรูหัวนมต่ออัตราติดเชื้อและการเกิดโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ Parameter New infection rate during dry period (%) Clinical mastitis rate during first 60 days in milk(%)

Antibiotic 25.4% a 8.0%a

Antibiotic +Teat seal Reduction in Risk 20.2% b 30% 5.9%b

33%

หมายเหตุ : a,b ในแถวนอนเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่มา : Godden et al., (2003)

นอกจากนีแ้ ล้วยังมีรายงานการ ใช้ครีมสอดรูหัวนมต่อการติดเชื้อโรค เต้านมอักเสบในระยะโคหยุดพักรีดนม เปรียบเทียบกับในกลุม่ ทีไ่ ม่มกี ารใช้ครีม สอดรูหวั นมหรือครีมสอดเต้า (Untreated) โดยพิ จ ารณาจากจ� ำ นวนการติ ด เชื้ อ

เต้านมอักเสบพบว่ากลุ่มที่ใช้ครีมสอดรูหัวนม (Teat seal) มีจ�ำนวนการติดเชื้อที่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ครีมสอดรูหัวนม (Untreated) ทั้งการวัดที่เป็นแบบจ�ำนวนเต้า (Quarter) และ การวัดทีเ่ ป็นแบบจ�ำนวนตัวโค (Cow) ซึง่ พบว่ามีความแตกต่าง กันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (P<0.001) Berry and Hillerton (2002) ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลของครีมสอดรูหัวนมต่อการติดเชื้อโรคเต้านมอักเสบในโคระยะหยุดพักรีดนม Uninfected Teat seal 176 Untreated 139 รวม 315

Cow infected 21a 62b 83

Total 197 201 398

Uninfected 757 706 1463

หมายเหตุ : a,b ในแถวตั้งเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (P<0.001) ที่มา : Berry and Hillerton (2002).

จากผลข้างต้นพบว่าการใช้ครีม สอดรูหัวนมในแม่โคระยะหยุดพักรีด นม สามารถป้องกันการเกิดโรคเต้านม อักเสบในแม่โคระยะหยุดพักรีดนมได้ เนือ่ งจากครีมสอดรูหวั นมเป็นครีมทีส่ อด เข้าไปในในบริเวณรูหวั นม (Teat canal) โดยการใช้ครีมทีม่ คี วามคงตัวและอยูไ่ ด้นาน ซึง่ กลไกการท�ำงานของครีมสอดรูหวั นม คือจะท�ำหน้าที่เป็น physical barrier

Quarter infected 27a 93b 120

Total 784 799 1583

เพื่อกีดขวางป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ภายในเต้านมได้ และคุณสมบัติของบิสมัทที่เป็นส่วน ผสมในครีมสอดรูหัวนม ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญของ เชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน ๆ และยังมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ได้ โดยพบว่าการใช้ครีมสอดรูหัวนมท�ำให้มีอัตราการเกิดโรค เต้านมอักเสบหลังแม่โคคลอดลูกลดลง อีกทัง้ ยังช่วยลดจ�ำนวน จุลินทรีย์ในน�ำ้ นม ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจในการน�ำมาพัฒนา เพื่อเป็นครีมสอดในระยะหยุดพักรีดนม ซึ่งอาจเป็นทางเลือก ใหม่ส�ำหรับการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในโคนมลงได้ เกษตร สุรนารี' 58 91


เอกสารอ้างอิง โกวิทย์ นิธิชัย. (2539). แนวทางการป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบ. วารสารโคนม. 15(5): 69-72. ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุลและคณะ. (2532). โรคเต้านมอักเสบในโคนม. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย. (2013). ลักษณะโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน. Berry, E. A., and J. E. Hillerton. (2002). The effect of selective dry cow therapy on new intramammary infections. Journal of Dairy Science. 85: 112–121. Wilbert, M.I. (1914). Council on Pharmacy and Chemistry. American Medical Association. A Handbook of Useful Drugs. Chicago, Press of the American Medical Association. 127: 27-29. Farnell, M. B., A. M. Donoghue, F. Solis de los Santos, I. Reyes-Herrera, K. Cole, M. L.Dirain, P. J. Blore, K. Pandya, D. J. Donoghue. (2006). Effect of Oral Administration of Bismuth Compounds on Campylobacter Colonization in Broilers. Journal of Poultry Science. 85: 2009–2011. Godden, S., P. Rapnicki, S. Stewart, J. Fetrow, A. Johnson, R. Bey, and R. Farnsworth. (2003). Effectiveness of an internal teat seal in the prevention of new intramammary infections during the dry and earlylactation periods in dairy cows when used with a dry cow intramammary antibiotic. Journal of Dairy Science. 86: 3899–3911. เวปออนไลน์: http://pngimg.com/img/animals/cow

92 เกษตร สุรนารี' 58


สัตว์ปลอดโรค อาหารปลอดภัย

เกษตร สุรนารี' 58 93


สัตว์ปลอดโรค อาหารปลอดภัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชร ลิขิตเดชาโรจน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและการใช้วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับการเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ที่ต้องการ ความปลอดภัยจากโรคและสารตกค้าง ทั้ง 2 วิธีเป็นการลดการเกิดโรค ลดการใช้ยาและสารเคมีในเนื้อสัตว์ ตั้งแต่ต้นทางการผลิตอาหาร

บทน�ำ ในสภาวะทีผ่ บู้ ริโภคให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึน้ จึง มีการพัฒนาการผลิตอาหารไม่วา่ จะมาจากพืชหรือสัตว์ทมี่ แี นว โน้มให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้เกิดความสนใจใน เรือ่ งของความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) มากขึน้ ซึง่ ความปลอดภัยทางอาหารหมายถึง การจัดการให้อาหาร และ สินค้าเกษตรที่น�ำมาเป็นอาหารบริโภคส�ำหรับมนุษย์มีความ ปลอดภัย โดยไม่มีลักษณะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้ผบู้ ริโภค ปลอดภัยจากอันตรายที่มาจากอาหาร (food hazard) ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ • อันตรายทางชีวภาพ (biological hazard) หมายถึง อันตรายในอาหาร (food hazard) ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ที่เป็นจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) • ก่อให้เกิดโรคทีม่ อี าหารเป็นสือ่ (foodborne disease) 94 เกษตร สุรนารี' 58

อันตรายทางเคมี • อันตรายทางเคมี (chemical hazard) หมายถึง อันตรายที่ เกิ ด จากสารเคมี ที่ มี อ ยู ่ ใ น ธรรมชาติในวัตถุดบิ ทีใ่ ช้แปรรูป อาหาร หรือเกิดการปนเปื้อน (contamination) ในระหว่าง การผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ การแปรรู ป อาหาร การบรรจุ และการ เก็ บ รั ก ษา ก่ อ นที่ จ ะถึ ง มื อ ผู ้ บ ริ โ ภค อั น ตรายทางเคมี ที่ มี โ อกาสพบในอาหาร หรื อ ผลิตภัณฑ์อาหารแบ่งได้เป็น 1. สารเคมี ที่ เ กิ ด ขึ้ น เองใน ธรรมชาติ


2. สารเคมีที่เติมลงในอาหารโดย เจตนา 3. สารเคมี ที่ ป นเปื ้ อ นมากั บ วัตถุดิบโดยไม่เจตนา 4. สารเคมีที่ใช้ในโรงงาน 5. สารเคมี จ ากวั ส ดุ ห รื อ ภาชนะ ที่สัมผัสอาหาร

อันตรายทางกายภาพ • อันตรายทางกายภาพ (physical hazard) เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ที่เกิดจากสิ่ง แปลกปลอม ซึง่ อาจปนเปือ้ นมากับ อาหาร และเป็ น อั น ตรายต่ อ ผู้บริโภค • ที่มาของอันตรายทางกายภาพ มาจากได้หลายแหล่งเช่น เศษ โลหะจากการผลิต สิ่งปนเปื้อน ทีเ่ ป็นวัสดุทไี่ ม่พงึ ประสงค์ตา่ ง ๆ ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับอาหารนัน้ คงเลี่ ย งไม่ ไ ด้ ว ่ า อั น ตรายที่ เ กิ ด ขึ้ น จะเกิ ด จากการผลิ ต ต้ น ทางคื อ การ ปลู ก พื ช และการเลี้ ย งสั ต ว์ ที่ ข าดการ เอาใจใส่ ท างด้ า นการดู แ ลเลี้ ย งดู ใ ห้ ปลอดภั ย จากโรคต่ า งๆที่ มี ส าเหตุ จ า ก เชื้ อ จุ ลิ น ท รี ย ์ โ ด ย ห ลี ก เ ลี่ ย ง การใช้ยาหรือสารเคมีให้มากทีส่ ดุ ดังนัน้ แนวโน้ ม ในการปฏิ บั ติ ที่ จ ะให้ สั ต ว์ ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นไปใน แนวทางการป้องกันมากกว่าการรักษา

ซึ่งเป็นสิ่งที่กระท�ำได้โดยไม่ยากเย็นอะไร เพียงแต่ผู้เลี้ยงให้ ความใส่ใจมากขึ้น สิ่งที่ส�ำคัญในการป้องกันโรคที่จะกล่าว ถึงคือ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและการใช้วัคซีน ป้องกันโรค ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม Biosecurity system ในขณะทีโ่ รคระบาดสัตว์หลายอย่าง เช่น โรคไข้หวัดนก (Bird Flu) โรคนิวคาสเซิลไก่ โรคอหิวาต์สุกร โรคพิษสุนัขบ้า เทียม โรคแท้งติดต่อ โรคปากและเท้าเปื่อย ยังแพร่ระบาดอยู่ อย่างแพร่หลายในพืน้ ที่ หลายประเทศทัว่ โลก ดังนัน้ ผูเ้ ลีย้ งสัตว์ ต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างจริงจัง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคระบาด ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ระบบความปลอดภั ย ทางชี ว ภาพ (Biosecurity) เป็นระบบหรือมาตรการทีน่ ำ� มาใช้เพือ่ เป็นการป้องกันมิให้โรค แพร่ระบาดติดต่อถึงสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ความจริงแล้วระบบความ ปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) นับได้ว่าเป็นมาตรการ หนึ่งของระบบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ที่ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้อง ถือปฏิบัติเพื่อเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม มาตรการการป้องกันมิ ให้โรคระบาดเข้าติดต่อกับสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ในระบบมาตรฐาน ฟาร์ม นัน้ จะมีมาตรการทีค่ วบคุมป้องกันเชือ้ โรคทีต่ ดิ มากับคน สั ต ว์ พ าหะ เช่ น นก หนู สุ นั ข แมว แมลงวั น เป็ น ต้ น ยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งอื่นใดจากภายนอกเข้า สู่ในระบบฟาร์มมาตรฐาน ต้องมีการฆ่าเชื้อโรค ทางเข้า - ออก ฟาร์ม อย่างเข้มงวด สัตว์พาหะของโรค เช่น นก หนู สุนัข หรือ สัตว์อื่น ๆ จะต้องไม่เข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และสัมผัสกับ สัตว์และหรืออาหารสัตว์โดยเด็ดขาด ซึ่งระบบความปลอดภัย ทางชีวภาพนัน้ จะช่วยป้องกันให้สตั ว์ทเี่ ข้าเลีย้ งไว้ปลอดภัยจาก การติดโรค และส่งผลถึงปลอดภัยต่อผู้เลี้ยงสัตว์ และเจ้าของ ฟาร์มด้วย เกษตร สุรนารี' 58 95


มาตรการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ 3 ด้านคือ ด้านที่ตั้งที่ห่างจากชุมชน ด้านสุขอนามัย และ ด้านการป้องกันการน�ำเชื้อโรคเข้าฟาร์ม อันประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติและพิจารณา ตามความเหมาะสมของสภาพฟาร์มแต่ละฟาร์ม ดังนี้ 1. ทีต่ งั้ ฟาร์มสัตว์ ต้องห่างจากแหล่งรวมเชือ้ โรค เช่น ห่าง จากโรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์อย่างน้อย 5 กิโลเมตร และห่าง จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์อื่น อย่างน้อย 3 กิโลเมตร ถ้าอยู่ใกล้กันกับ ฟาร์มอื่นก็ควรมีแนวรั้ว หรือแนวดิน หรือคูน�้ำกั้นกลางให้ห่าง กันพอสมควรก็จะช่วยป้องกันโรคได้ และควรอยูห่ า่ งเขตชุมชน 2. ถนนสาธารณะที่มีการสัญจรไปมาควรห่างจากโรง เรือนอย่างน้อย 400 เมตร หรือควรมีแนวรั้ว กั้นกลางก็จะช่วย ป้องกันเชื้อโรคได้มาก 3. มีรวั้ รอบพืน้ ทีเ่ ลีย้ งสัตว์หรือรอบฟาร์มเลีย้ งสัตว์ โดยรัว้ จะท�ำหน้าที่ป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะของโรคได้เพื่อป้องกันมิ ให้สัตว์พาหะเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และสัมผัสสัตว์ภายใน ฟาร์ม ทั้งนี้ให้รวมถึงคนภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยง สัตว์ด้วย 4. ป้องกันการเข้า-ออก ฟาร์มอย่างเคร่งครัดด้วยการ ฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ด้วยการพ่นยาฆ่าเชื้อ ให้กับยานพาหนะ คน อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จะเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะคนเข้า-ออก ฟาร์มทุกคน ต้องผ่านการอาบน�้ำฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ตามข้อ ก�ำหนดของมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 5. ต้องมีการรักษาความสะอาดรอบโรงเรือน รัศมี 3 เมตร เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งสะสมสิ่งปฏิกูล แหล่งสะสมเชื้อโรค และที่อาศัยของสัตว์พาหะของโรค เช่น หนู เป็นต้น 96 เกษตร สุรนารี' 58

6. ภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้อง สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และหาก เป็นไปได้ควรเป็นแบบโรงเรือนระบบ ปิด แต่หากเป็นโรงเรือนระบบเปิด ต้อง มีตาข่ายป้องกันนกหรือสัตว์พาหนะของ โรคไม่ให้เข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 7. สัตว์ที่เลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, แก๊ส, แสงสว่าง และการ ระบายอากาศที่ดี ตามข้อก�ำหนดของ มาตรฐานฟาร์ ม สั ต ว์ ที่ ก รมปศุ สั ต ว์ ก�ำหนด 8. ไม่น�ำอุปกรณ์เครื่องใช้ใด ๆ จากฟาร์มหรือจากแหล่งที่เลี้ยงสัตว์อื่น เข้ามาภายในฟาร์ม หรือน�ำมาใช้ จนกว่า จะได้ฆ่าเชื้อโรคอย่างดี และแน่ใจว่า ปลอดภัยจากโรคแล้ว 9. เมื่ อ ทราบข่ า วสั ต ว์ ป ่ ว ยตาย อย่างผิดปกติ หรือ สงสัยว่าป่วยตายด้วย โรคระบาด ให้รบี แจ้งเจ้าหน้าทีข่ องกรม ปศุสตั ว์โดยด่วน และฆ่าเชือ้ โรคโดยรอบ โรงเรือน และภายในฟาร์มทันที พร้อม ห้ามมิให้บคุ คล ยานพาหนะ เข้าในฟาร์ม โดยเด็ดขาด อย่ า งไรก็ ต ามผู ้ เ ลี้ ย งสั ต ว์ จะ ปลอดภั ย จากโรคไข้ ห วั ด นกและโรค อื่ น ๆ หากถื อ ปฏิ บั ติ ต ามระบบความ ปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเคร่งครัด หรือปรับปรุงพัฒนาการ


เลี้ยงสัตว์ เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ตามที่ ก รมปศุ สั ต ว์ ก� ำ หนด แต่ สิ่ ง ที่ ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ ไม่ควร ละเลยคื อ การบริ โ ภคสั ต ว์ ควรเลื อ ก ซื้อวัตถุดิบไม่ว่าเนื้อ, เครื่องใน, หรือไข่ ที่จะน�ำมาประกอบอาหารบริโภคนั้น ต้องมาจากแหล่งทีเ่ ชือ่ ถือได้ และรับรอง ความปลอดภัยจากโรคระบาดต่างๆแล้ว ส�ำหรับสุนัขที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านหรือฟาร์ม ก็เช่นกันจะต้องกักขังหรือล่ามโซ่ไว้ไม่ ให้ออกไปหากินอาหารนอกฟาร์มโดย เด็ดขาด เพราะอาจจะไปกินซากสัตว์ ตายด้วยโรคระบาดสัตว์ แล้วเป็นพาหะ แพร่เชื้อโรคได้ และห้ามมิให้สุนัขเข้าไป ในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยเด็ดขาด ส่วนผูเ้ ลีย้ งสัตว์ทกุ คน และ ทุกครั้งที่จะเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ต้องอาบน�้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า และ จุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าโรงเรือน ตาม ข้อก�ำหนดมาตรฐานฟาร์มสัตว์อย่าง เคร่ ง ครั ด เท่ า นี้ ก็ ป ลอดภั ย จากโรค ระบาดสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก และยัง เป็นการปฏิบตั ติ ามระบบความปลอดภัย ทางชีวภาพ (Biosecurity) อีกด้วย

เกษตร สุรนารี' 58 97


น�้ำยาฆ่าเชื้อใช้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตัวช่วย ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในสถานการณ์ที่ยังมีโรคระบาดสัตว์ชุกชุมมาก ส่งผล โดยตรงต่อการประกอบการและการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก เกษตรกรส่วนใหญ่มักหวังผลกับการป้องกันโรคจากการท�ำ วัคซีนและใช้ยาหรืสารเคมีป้องกัน แต่หากลองพิจารณาให้ ดีแล้ว ยังมีวธิ กี ารป้องกันโรคไม่ให้เข้ามาในฟาร์มด้วยการปฏิบตั ิ ต่างๆได้อีกมากมาย การท�ำวัคซีนนั้นจะเป็นส่วนสนับสนุน ป้องกันโรคได้อีกขั้นหนึ่ง การที่เราเลี้ยงสัตว์แล้วสัตว์ได้รับ การท�ำวัคซีนอย่างถูกต้องท�ำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคสามารถ ต้านทานการเกิดโรคได้ ท�ำให้โรคไม่สามารถระบาดเข้าฟาร์ม ได้นนั้ เอง แต่เชือ้ โรคนัน้ มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วย ตาเปล่า หากหลุดลอดผ่านเข้ามากับสิง่ ต่าง ๆ ก็จะเป็นอันตราย ต่อสัตว์ภายในฟาร์ม ดังนั้นการใช้น�้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการล้างเล้า การจุ่มรองเท้าบู้ท การพ่นสเปรย์รถ ขนส่งอาหาร รถจับสัตว์ รถทีเ่ ข้า-ออกฟาร์ม จะช่วยท�ำลายหรือ ลดปริมาณเชือ้ โรคลงได้ ซึง่ จะเห็นได้วา่ น�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ นัน้ มีหลาย ชนิด จุดประสงค์ในการฆ่าเชื้อที่แตกต่างกัน ท�ำให้การเลือกใช้ น�้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมและถูกวิธี จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ส�ำหรับน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ทีม่ ขี ายปัจจุบนั มักมีการผสมสารเคมี หลายตัวเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเสริมฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อของสารให้ มากขึ้น หรือเป็นการลดการระคายเคืองของสารเคมีบางตัวลง นอกจากทีเ่ ราเลือกใช้นำ�้ ยาฆ่าเชือ้ ได้ถกู ต้องตามวัตถุประสงค์ยงั มีปจั จัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิภาพการท�ำงาน ของน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ซึง่ ได้แก่

98 เกษตร สุรนารี' 58

1. ความเข้มข้นของน�้ำยาฆ่าเชื้อ หากใช้เจือจางมากกว่าที่ฉลากแนะน�ำ อาจไม่มีผลในการฆ่าเชื้อโรค 2. ปริมาณและชนิดของเชื้อโรค หากมีเชื้อโรคปริมาณที่สูงมาก อาจมี ผลแค่ลดปริมาณเชื้อน้อยลง และเชื้อ โรคแต่ ล ะชนิ ด มี ค วามทนทานต่ อ สิ่ ง แวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย 3. ระยะเวลาทีน่ ำ้� ยาฆ่าเชือ้ สัมผัส กับเชื้อ 4. สภาพแวดล้อม ณ ขณะที่ใช้ เช่น อุณหภูมิ ความกระด้างของน�้ำ สาร อิ นทรี ย ์ ที่ ปนเปื ้ อ นมากั บน�้ ำ ที่ ใช้ ผ สม น�้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ดิน แกลบ มูลสัตว์ ซึ่ ง ล้ ว นแล้ ว แต่ มี ผ ลในการลดทอน ประสิทธิภาพของน�้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งยาฆ่า เชือ้ แต่ละชนิดมีขนั้ ตอนการใช้ และความ เข้มข้นในการใช้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนจะท�ำการใช้น�้ำยาฆ่า ผู้ใช้ต้องอ่าน ฉลากก่อนใช้ และปฏิบัติตามขั้นตอน อย่างเคร่งครัด เช่นระยะเวลาที่จุ่มบู้ท ในน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ตามระยะเวลาที่ ก�ำหนด ตามฉลากและวัตถุประสงค์การใช้ ไม่ใช้ สารเคมีที่หมดอายุ เป็นต้น สารฆ่ า เชื้ อ นิ ย มใช้ กั น ในฟาร์ ม ไก่ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทของ น�้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่


ชนิดสาร

ข้อบ่งใช้ - ในและรอบโรงเรือน กลูตาราลดีไฮด์ - ล้างอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ Glutaraldehyde - อ่างจุ่มรองเท้าบู้ท - ในและรอบโรงเรียน คลอรีน - ล้างอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ Chlorine - ฆ่าเชื้อน�้ำดื่ม - พ่นสเปรย์คนและยานพาหนะ ควอตส์ - ในปริมาณที่แนะน�ำเป็นสารเคมีที่ QUARTS Quarternary แนะน�ำให้ใช้ในการสเปรย์คนที่เข้า compounds ออกฟาร์ม ไอโอโดฟอร์ Iodoophore

- ในโรงเรือน -อ่างจุ่มเท้า

- ใช้ล้างอุป กรณ์และภาชนะที่ใช้ใน ฟาร์มใช้พ่นบริเวณเล้าไก่ส�ำหรับการ สารออกซิไดซ์ Oxidizing substances พักเล้าก่อนน�ำไก่เข้าเลี้ยงในรอบใหม่ - ล้างท่อในระบบน�้ำดื่ม โซดาไฟ Sodium hydroxide

ใช้ตอนล้างท�ำความสะอาดโรงเรือนโดย เฉพาะบริเวณพื้นคอก ทางเดิน

ข้อจ�ำกัดความ ได้รบั การยอมรับว่าเป็นน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ทีด่ ที สี่ ดุ ถ้าใช้ในปริมาณมาก จะมีกลิ่นฉุนและท�ำให้ การกินน�้ำได้ของสัตว์ลดลง ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสต�่ำ - มีกลิน่ เฉพาะ มีฤทธิก์ ดั กร่อนโลหะ ระคาย เคือง - มีสีที่ติดแน่น หากโดนผิวหนังหรือเสื้อผ้า - สารอินทรีย์จ�ำพวก ดิน เลือด มูลไก่ มีผล ลดฤทธิ์การท�ำงานของยาฆ่าเชื้อ - ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว แต่ระยะเวลา ออกฤทธิ์สั้น - เมื่อปนเปื้อนสารอินทรีย์ การออกฤทธิ์ จะลดลง - มีฤทธิก์ ดั กร่อนและเป็นพิษสูงมาก จะออก ฤทธิ์ได้ดีเมื่อผสมกับน�้ำร้อน - จะฆ่าเชื้อได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ ของแบคทีเรียและไข่พยาธิด้วย

สิ่งส�ำคัญอีกส่วนหนึ่งในการป้องกันโรคคือ การใช้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งหากมีความเข้าใจหลักและวิธี การทีถ่ กู ต้องแล้ว จะท�ำให้การป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึน้ จะช่วยลดการใช้ยาและสารเคมีได้อย่างมาก

เกษตร สุรนารี' 58 99


หลักการใช้และการก�ำหนดโปรแกรมวัคซีนป้องกันโรค • การก�ำหนดโปรแกรมสุขภาพและโปรแกรมวัคซีนทีม่ ี ประสิทธิภาพเป็นส่วนส�ำคัญในการเลี้ยงสัตว์ • เนื่องจากในแต่ละฟาร์มมีการจัดการที่ไม่เหมือนกัน เจ้าของฟาร์มจึงควรหารือกับสัตวแพทย์เพื่อก�ำหนด แผนด้านสุขภาพของแต่ละฟาร์ม • การบันทึกทีแ่ ม่นย�ำ ของข้อมูลการใช้ยารักษาโรค การ ใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การได้รับบาดเจ็บต่างๆ การผลิต การผสมพันธุ์ และการคัดทิ้ง ควรมีการเก็บ เป็นรายตัว • ข้อมูลเหล่านี้จะน�ำมาใช้ในการวางแผนด้านสุขภาพ • โปรแกรมวัคซีนเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมสุขภาพ • ดังนั้นจึงเป็นสิ่งส�ำคัญในการใช้โปรแกรมสุขภาพที่ รัดกุมก่อนที่จะเกิดโรคระบาดขึ้น • แนะน�ำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ในการก�ำหนดโปรแกรม วัคซีนที่เหมาะสมในพื้นที่นั้นๆ โปรแกรมวัคซีนส�ำหรับฟาร์มของท่าน • โปรแกรมวัคซีนที่รัดกุมจะต้องมีการวางแผนและ ปรึกษาหารือกับสัตวแพทย์ทเี่ ข้าใจเกีย่ วกับโรคระบาด ในพื้นที่ การสร้างโปรแกรมวัคซีนส�ำหรับฟาร์มของท่าน: ให้ตอบ ค�ำถามต่างๆก่อนที่จะออกแบบโปรแกรมวัคซีนด้วย ค�ำถาม : ท�ำไมWhy? ด้วยวัคซีนอะไรWith what? เมือ่ ไรWhen? และอย่างไรHow? Why? (ท�ำไมจึงต้องท�ำวัคซีน?) • เพราะว่าการท�ำวัคซีนให้กบั สัตว์เป็นการลดความเสีย หายที่เกิดจากโรค • เพราะว่าเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษา 100 เกษตร สุรนารี' 58

• หากเกิดโรค จะมีผลต่อสัตว์ หลายด้าน เช่น แท้งลูก ท้องเสีย และอาการทางระบบหายใจ • มี โรคหลายโรคไม่ ท� ำ ให้ เ กิ ด อาการชัดเจน แต่ท�ำให้เกิด ความสูญเสียของผลผลิตเป็น อย่างมาก • การฉีดวัคซีนจะกระตุน้ ให้สตั ว์ สร้างภูมติ า้ นทาน (antibody) ช่ ว ยให้ เ กิ ด การท� ำ ลายและ ก�ำจัดเชือ้ โรคออกจากร่างกาย • โรคระบาดหลายโรคจะเกิดขึน้ นานๆ ครัง้ เช่น โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) จึ ง ไม่ ค วร ประมาท

With what? (ด้วยวัคซีนอะไร?) • วั ค ซี น ที่ ดี ที่ สุ ด จะต้ อ งท� ำ ให้ สัตว์เกิดการป้องกันเชือ้ โรคได้ดี • ควรปรึกษาสัตวแพทยเ์ พือ่ ขอ ค�ำแนะน�ำ • ถ้าเป็นวัคซีนจากต่างประเทศ ควรศึ ก ษาว่ า เชื้ อ ที่ ใช้ ใ นการ ผลิตนั้นถูกต้องตรงกับโรคที่ เกิดในฟาร์มรวมทั้งวิธีการใช้ อย่างละเอียด • วัคซีนจะต้องมีการเก็บรักษาทีด่ ี ทุกขั้นตอนก่อนการน�ำมาใช้ • วัคซีนทีผ่ ลิตทัว่ ไปจะเป็นวัคซีน ชนิ ด เชื้ อ ตายหรื อ เชื้ อ เป็ น (killed or modified-live)


• โดยทั่วไปวัคซีนชนิดเชื้อตาย จะต้ อ งฉี ด 2 ครั้ ง ห่ า งกั น 2-4 สัปดาห์ และใช้เวลานาน ประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังการ ฉี ด ครั้ ง แรก จึ ง จะเกิ ด การ ป้องกันโรคได้ • วั ค ซี น เชื้ อ เป็ น จะผลิ ต จาก เชือ้ โรคทีถ่ กู ท�ำให้ออ่ นก�ำลังลง แต่ยังสามารถเพิ่มจ�ำนวนได้ โดยไม่ท�ำให้สัตว์ป่วย สัตว์จะ ตอบสนองต่อวัคซีนเชือ้ เป็นได้ เร็วและสามารถให้วัคซีนเพียง ครั้งเดียวได้ • วัคซีนเชื้อเป็นไม่แนะน�ำให้ฉีด กับสัตว์ตั้งท้อง เนื่องจากอาจ มีโอกาสท�ำให้แม่สตั ว์ปว่ ยหรือ อาจเกิดการแท้งได้ • ควรท�ำการฉีดวัคซีนซ�้ำทุกปี ไม่ ว ่ า จะเป็ น วั ค ซี น ชนิ ด ใด ก็ตาม • ปัจจุบนั มีผลิตภัณฑ์วคั ซีนใหม่ๆ มากมายท�ำให้วิธีการฉีดหรือ ระยะเวลาการฉี ด อาจมี ก าร เปลี่ ย นแปลงให้ เ หมาะสม เฉพาะชนิดไป • ที่ส�ำคัญมากคือจะต้องอ่านวิธี การใช้วคั ซีนอย่างละเอียดก่อน ใช้และปฏิบตั ติ ามผูผ้ ลิตแนะน�ำ

When? (เมื่อไหร่คือช่วงที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน?) • การก�ำหนดเวลาที่เหมาะสมส�ำหรับการฉีดวัคซีนขึ้น กับปัจจัยหลายอย่าง • ผู้ดูแลจ�ำเป็นต้องรู้ว่าช่วงไหนที่สัตว์มีความเสี่ยงต่อ การเป็นโรคสูงที่สุด • ช่วงอายุของสัตว์และสภาวะผลผลิตของสัตว์เป็น ปัจจัยในการพิจารณา • สัตว์พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะใช้ผสมพันธุ์ มีความเสี่ยงสูงสุด ต่อโรคระบบสืบพันธุช์ ว่ งก่อนและระหว่างฤดูกาลหรือ ช่วงการสืบพันธุ์ • เมือ่ สัตว์ได้รบั การฉีดวัคซีนแล้วจะต้องเกิดการคุม้ กัน โรคได้ในช่วงเวลาที่ชัดเจน • การฉีดวัคซีนให้สัตว์ที่ใช้ผสมพันธุ์ นิยมฉีดก่อนถึง ช่วงผสมพันธุ์ 30-60 วัน เพือ่ หวังผลในการป้องกัน โรคระบบสืบพันธุ์ของพ่อ แม่ • ส�ำหรับการป้องกันโรคที่มีผลต่อลูกสัตว์ ควรก�ำหนด ให้เกิดภูมิคุ้มกันในนมน�้ำเหลือง (colostrum) มาก ทีส่ ดุ คือฉีดวัคซีนให้แก่แม่ 30-60 วัน ก่อนถึงก�ำหนด คลอดจะท� ำ ให้ ลู ก ที่ เ กิ ด มาได้ รั บ นมน�้ ำเหลื อ งที่ มี คุณภาพ • เมื่อพิจารณาอายุลูกสัตว์ตั้งแต่คลอดจนถึง 2 เดือน พบว่ า ระบบการสร้ า งภู มิ ต ้ า นทานโรคยั ง พั ฒ นา ไม่สมบูรณ์ จึงตอบสนองต่อวัคซีนไม่ดีเท่าที่ควร • ข้อสังเกตอีกอย่างคือ ถ้าลูกสัตว์ได้รับนมน�้ำเหลือง ที่ ดี แ ละเพี ย งพอ จะมี ภู มิ ต ้ า นทานจากน�้ ำ นมไป ขัดขวางการสร้างภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีน • นอกจากโรคท้องเสียและโรคทางเดินหายใจบางโรค แล้ว ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการเริม่ ต้นโปรแกรม วัคซีนควรเริ่มเมื่อลูกอายุ 3 เดือน ขึ้นไป • ฟาร์มส่วนมากจะเริม่ การฉีดวัคซีนให้ลกู สัตว์ตวั เมียที่ อายุ 3-6 เดือน และท�ำการฉีดซ�้ำทุกปี เกษตร สุรนารี' 58 101


ลูกสัตว์ควรได้รับนมน�้ำเหลือง แต่อาจไปรบกวนการสร้างภูมิต้านทาน โรคจากการฉีดวัคซีนที่เร็วเกินไป

How? (การให้วัคซีนนั้นท�ำอย่างไร?) • เทคนิค วิธกี ารให้วคั ซีนทีถ่ กู ต้องเป็นสิง่ ส�ำคัญต่อความ ส� ำ เร็ จ ของโปรแกรมวั ค ซี น ซึ่ ง รวมถึ ง การขนส่ ง การเก็บรักษา การใช้และอุปกรณ์ที่สะอาด • วัคซีนควรเก็บรักษาในที่เย็นช่วงฤดูร้อน และป้องกัน การแข็งตัวในฤดูหนาว • วั ค ซี น เชื้ อ เป็ น จะไวต่ อ แสงแดดจึ ง ไม่ ค วรให้ ถู ก แสงแดด ถ้าเปิดวัคซีนเชื้อเป็นใช้ ควรใช้ ภายใน 2-3 ชั่วโมงให้หมด หากเหลือให้น�ำไปทิ้ง • การน�ำวัคซีนหลายชนิดมารวมกันแล้วฉีด จะท�ำให้ ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ได้ผล • ผูผ้ ลิตจะก�ำหนดวิธกี ารผสมและการใช้วคั ซีนไว้ ดังนัน้ หากไม่ปฏิบตั ติ ามทีผ่ ผู้ ลิตก�ำหนด จะท�ำให้เกิดผลเสียได้ 102 เกษตร สุรนารี' 58

• หลีกเลีย่ งการใช้เข็มใช้แล้วไป ดูดวัคซีนในขวดอีก จะเกิด การปนเปื้อนเชื้อได้ • ใช้ เข็ ม สะอาดเสี ย บไว้ ที่ ข วด เพื่อการเติมวัคซีนในกระบอก ฉีดต่อไป • กระบอกฉีดยาชนิดหลายโดส (Multi-dose syringes) ช่วยลด จ� ำ นวนครั้ ง ในการดู ด วั ค ซี น จากขวด • วัคซีนส่วนใหญ่ท�ำการฉีดใต้ ผิวหนัง (subcutaneously) หรือ เข้ากล้ามเนื้อ (intramuscularly). • มีวัคซีนบางชนิดให้ทางจมูก หรืออาจผลิตขึน้ เพือ่ หลีกเลีย่ ง การใช้เข็มฉีด • แนะน�ำให้ฉีดบริเวณหน้าไหล่ ของโคเพือ่ หลีกเลีย่ งการเกิดฝี ในบริเวณที่ส�ำคัญอื่น ๆ หาก เกิดความผิดพลาดขึ้น


ฉีดใต้ผิวหนังบริเวณหน้าไหล่

• ขนาดเข็มที่เหมาะสมส�ำหรับ การฉี ด เข้ า กล้ า มเนื้ อ โคคื อ เบอร์ 18 ยาว 1.5 นิว้ หากเป็น ลูกโค ลดขนาดลงมาได้ยาว 1 นิว้ • การฉี ด เข้ า กล้ า มเนื้ อ ควรตั้ ง แนวเข็มเป็นมุมฉากกับบริเวณ ที่ฉีด • การฉีดใต้ผิวหนังใช้เข็มเบอร์ 16-18 ยาว 0-5-0.75 นิ้ ว ควรท� ำ การดึ ง ผิ ว หนั ง ขึ้ น มา เพือ่ ป้องกันไม่ให้เข้ากล้ามเนือ้ • ควรเปลี่ ย นเข็ ม ใหม่ บ ่ อ ยๆ (ใช้ ป ระมาณ 10 ตั ว ) และ รักษาความสะอาดตลอดเวลา ที่ท�ำการฉีดวัคซีน • ไม่ควรใช้น�้ำยาฆ่าเชื้อโรคใน การท�ำความสะอาดเข็มไซริงค์ ที่ใช้กับวัคซีนเชื้อเป็น เพราะ อาจท�ำให้เชือ้ ในวัคซีนตายได้ • ทิ้ ง เข็ ม ที่ ใช้ แ ล้ ว อย่ า งระมั ด ระวั ง ในภาชนะที่ ป ลอดภั ย และล้างไซริงค์อย่างถูกวิธี

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพก

สาเหตุของความล้มเหลวในการท�ำวัคซีน • ประสิทธิภาพของวัคซีนจะเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ที่ได้รับ วัคซีนมีสุขภาพแข็งแรง สามารถสร้างภูมิต้านทาน ตอบสนองได้ดี • ไม่มวี คั ซีนใดทีส่ ามารถป้องกันโรคได้ 100% จะมีสตั ว์ บางส่วนที่ไม่ตอบสนองต่อวัคซีนด้วยสาเหตุต่างๆ มากมาย • สาเหตุอันดับแรกที่ท�ำให้เกิดความล้มเหลวคือไม่ ปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของผู้ผลิต ที่ระบุในใบก�ำกับ วัคซีน • ผู้ผลิตวัคซีนได้ท�ำการผลิตและทดสอบวัคซีนมาเป็น อย่างดีตามขบวนการเฉพาะ ดังนั้นหากปฏิบัติตามที่ ผู้ผลิตก�ำหนดจะท�ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เกษตร สุรนารี' 58 103


เอกสารอ้างอิง ธงไชย ทองประพันธ์. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ. https://www.gotoknow.org/ ปิยะพงศ์ เพียรพินิจธรรม. ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม ตอนน�้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้อย่างไรให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด. http://www.farmkaikhai.com/ พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. ความปลอดภัยทางอาหาร. http://www.foodnetwork solution.com/

104 เกษตร สุรนารี' 58


การตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหาร (Food Hypersensitivity)

(การแพ้อาหาร)

เกษตร สุรนารี' 58 105


การตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหาร (Food Hypersensitivity)

(การแพ้อาหาร)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเวทย์ นิงสานนท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

องค์การโรคภูมแิ พ้โลก (World Allergy Organization)1 ได้เสนอระบบชื่อของปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายอย่าง ผิดปกติต่ออาหารซึ่งปกติไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่บริโภคโดย ทั่วไป ว่าหมายถึง “การตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหาร (Food Hypersensitivity)” ซึง่ รวมการตอบสนองทีผ่ ดิ ปกติทงั้ ทีเ่ กีย่ ว กับภูมิค้มุ กันของร่างกายและไม่เกี่ยวกับภูมิค้มุ กันของร่างกาย (ภาพที่ 1) การตอบสนองทีไ่ วเกินต่ออาหารโดยรวมทุกประเภท นั้นเราคุ้นเคยกับการเรียกว่า “การแพ้อาหาร” ส่วนการตอบ สนองที่ไวเกินต่ออาหารที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียกว่า “ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)” ภูมิแพ้อาหาร

ภาพที่ 1 ระบบชื่อที่ใช้ส�ำหรับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างผิดปกติ ต่ออาหาร1

106 เกษตร สุรนารี' 58

ภูมิแพ้อาหาร คือ ปฏิกิริยาตอบ สนองของร่างกายต่ออาหารบางชนิด อย่างผิดปกติเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายเอง ทั้งที่อาหารนั้นปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่บริโภคโดยทั่วไป การเกิดภาวะภูมิแพ้ต่ออาหารแบ่งได้ 3 แบบ2 คือ 1. ภาวะภูมแิ พ้มสี ารภูมติ า้ นทาน (Antibody) อิ ม มู โ นโกลบุ ลิ น อี (Immunoglobulin E, IgE) เป็นสื่อ (IgE mediated food allergy) ซึ่ง จะท�ำให้เกิดภาวะภูมิแพ้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเพียงวินาทีหรือนาทีหลัง จากได้รับอาหาร 2. ภาวะภูมแิ พ้ไม่มสี ารภูมติ า้ นทาน IgE เป็ น สื่ อ (Non-IgE-mediated food allergy) ซึง่ ภาวะภูมแิ พ้ชนิดนีม้ กั


จะยากต่อการวินจิ ฉัยและจะใช้เวลานาน อาจเป็นหลายชั่วโมงถึงเกิดอาการแพ้ 3. ภาวะภูมิแพ้ผสมทั้ง 2 แบบ ข้างต้น ภูมิแพ้อาหารมีสารภูมิต้านทาน IgE เป็นสื่อ อาการแพ้ อ าหารที่ เ กิ ด จาก ภาวะภูมิแพ้แบบที่ 1 จะเกิดกับคนที่มี การตอบสนองไวเกินต่ออาหารภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากได้รับประทานอาหาร และอาจอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะภู มิ แ พ้ อ าหารที่ ใช้ เวลาในการ แสดงอาการนานกว่า 2 ชั่วโมง ไม่จัด เป็นภูมิแพ้อาหารมีสารภูมิต้านทาน IgE เป็นสือ่ 3 เพราะอาการยากต่อการวินจิ ฉัย และใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ ดังนัน้ โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงอาการเกิดภูมิแพ้ อาหารจึงหมายถึงการเกิดภาวะภูมิแพ้ แบบที่ 1 นี้ เป็นหลัก ปฏิกริ ยิ าการแพ้อาหารเกิดเมือ่ ระบบภู มิ คุ ้ ม กั น ตอบสนองต่ อ อาหาร ในครั้ ง แรกที่ ค นซึ่ งมีภูมิแพ้อาหารได้ สัมผัสกับอาหารชนิดนั้น (ซึ่งตามปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป) ราวกับ ว่าอาหารนั้นเป็นสิ่งอันตราย โดยจะ ยังไม่แสดงอาการอะไร แต่การสัมผัส กับอาหารครั้งแรกนั้นได้ไปกระตุ้นให้ ร่างกายตอบสนองต่ออาหารชนิดนั้น ในครั้ ง ต่ อ ไปที่ สั ม ผั ส อาหาร เมื่ อ คน ผู ้ นั้ น รั บ ประทานอาหารชนิ ด นั้ น ใน

ครั้งต่อไประบบภูมิคุ้มกันก็จะเกิดการตอบสนองโดยแสดง อาการแพ้ การสัมผัสอาหารเป็นครั้งแรกโดยปกติ หมายถึง การ รับประทานอาหาร แต่บางครัง้ (โดยเฉพาะกรณีการแพ้ถวั่ ลิสง) การสัมผัสกับอาหารเป็นครั้งแรก หมายถึงการได้จับสัมผัส ตัวอาหารนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์บ�ำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของ อาหารนั้น หรือการได้สูดผงของอาหารนั้นจากที่ใดที่หนึ่งโดย ไม่รู้ตัว กระบวนการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหาร มี 2 ขั้น3 คือ 1. เมือ่ สัมผัสกับอาหารทีม่ สี ารก่อภูมแิ พ้ (โปรตีน)เป็น ครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองราวกับว่า เป็นสิ่งอันตรายและจะผลิตสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบุลินอี (IgE) ส�ำหรับสารก่อภูมิแพ้นั้น สารภูมิต้านทาน IgE ไหลใน กระแสโลหิตไปจับกับ แมสต์เซลล์ (Mast cells) ในเนื้อเยื่อ ของร่างกาย และเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล เรียกว่า เบโซฟิล (Basophil) ในเลือด (ภาพที่ 2) 2. ในครัง้ ต่อไปเมือ่ ได้รบั อาหารทีม่ สี ารก่อภูมแิ พ้ชนิด เดียวกันอีก สารก่อภูมแิ พ้ในอาหารจะไปจับกับสารภูมติ า้ นทาน IgE ที่จับอยู่กับแมสต์เซลล์ และเบโซฟิล ซึ่งจะส่งสัญญาณให้ แมสต์เซลล์และเบโซฟิล หลัง่ สารปฏิกริ ยิ า โดยเฉพาะ ฮีสตามีน (Histamine) และสารก่อให้เกิดการอักเสบชนิดอืน่ ออกมา สาร ปฏิกิริยาที่หลั่งมานี้โดยเฉพาะฮีสตามีนจะท�ำให้เกิดอาการแพ้ ต่างๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อบริเวณที่มีสารปฏิกิริยาหลั่ง อาการแพ้ มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ (Anaphylaxis)

ภาพที่ 2 กระบวนการปลดปล่อยสารปฏิกิริยาท�ำให้เกิดภูมิแพ้อาหาร [ปรับจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Food_allergy] เกษตร สุรนารี' 58 107


ภูมิแพ้อาหารไม่ได้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาในประชากร ทั่วไป ได้มีการประมาณการว่าการเกิดภูมิแพ้อาหารในเด็กมี ประมาณร้อยละ 4-6 ซึ่งพบมากกว่าในผู้ใหญ่ที่ประมาณการ ว่ามีการแพ้อาหารร้อยละ 1-31 อาการโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นอาจ มีหลายอาการ4 ดังต่อไปนี้ 1. รู้สึกคันในปาก 2. ริมฝีปากและลิ้นบวม 3. มี อ าการผิ ด ปกติ ใ นระบบทางเดิ น อาหาร เช่ น อาเจียน ท้องเดิน หรือปวดและเกร็งท้อง 4. เกิดลมพิษ 5. ผิวหนังอักเสบออกผื่น 6. คอตีบหายใจล�ำบาก 7. ความดันโลหิตลด ส�ำหรับอาการภูมิแพ้อาหารอย่างรุนแรงจะมีอาการ หลายแบบ อาการบางอย่างอาจไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต แต่กรณี ที่รุนแรงสุดจะจ�ำกัดการหายใจและการไหลเวียนของโลหิต อาการแพ้จะเกิดได้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย4 ดังนี้ 1. ผิวหนัง: การคัน เป็นผื่น รอยแดง บวม 2. จมูก: การจาม คัดจมูก น�้ำมูกไหล 3. ปาก: การคัน ริมฝีปากและลิ้นบวม 4. ล�ำคอ: การคัน แน่น กลืนล�ำบาก เสียงแหบ 5. หน้าอก: หายใจสัน้ ๆ ไอ หายใจล�ำบาก เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก 6. หัวใจ: ชีพจรเต้นอ่อน หมดสติ ช็อก 7. ทางเดินอาหาร: อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง 8. ระบบประสาท: เวียนศีรษะ เป็นลม ภูมิแพ้อาหารไม่มีสารภูมิต้านทาน IgE เป็นสื่อ ภูมิแพ้อาหารประเภทนี้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ทีไ่ ม่มี IgE เป็นสือ่ ตัวอย่างในกลุม่ นีท้ เี่ ป็นทีร่ จู้ กั กันดี 108 เกษตร สุรนารี' 58

คือ การแพ้กลูเทน (Gluten intolerance) กลู เ ทน เป็ น โปรตี น ที่ พ บใน ข้าวสาลี บาร์เลย์ และไรย์ ไม่พบในข้าว ข้าวโพด หรือข้าวฟ่าง ประชากรโดย เฉพาะชนผิวขาวทีม่ รี ะบบภูมคิ มุ้ กันต้าน เนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune) ที่ ล� ำ ไส้ เ ล็ ก เมื่ อ รั บ ประทานอาหาร ที่ มี ก ลู เ ทนแล้ ว เปปไทด์ ข องกลู เ ทน จะถูกดัดแปลงด้วยเอนไซม์ในเนื้อเยื่อ มี ผ ลไปกระตุ ้ น ระบบภู มิ คุ ้ ม กั น โดย เซลล์ภูมิคุ้มกัน ที-เซลล์ (T-cells) ให้ ปล่อยสารปฏิกิริยาไปต่อต้านเนื้อเยื่อ ในล�ำไส้เล็กเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และท�ำให้เซลล์เนื้อเยื่อบุล�ำไส้หดตัว ท�ำให้เกิดอาการปวด ท้องผูก ท้องเดิน การดูดซึมสารอาหารลดลง5,6 โดยเฉพาะ โฟเลท (ไวตามิ น บี 9) ไวตามิ น ที่ ละลายในน�้ำมัน (ไวตามินเอ ดี อี เค) และเกลื อ แร่ โดยเฉพาะธาตุ เ หล็ ก แคลเซียม การตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหารที่ไม่ เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน อาการแพ้อาหารเนื่องจากการ ตอบสนองที่ ไวเกิ น โดยยั ง ไม่ ส ามารถ พิสจู น์ได้วา่ เกีย่ วข้องกับระบบภูมคิ มุ้ กัน ของร่างกายจะจัดอยู่ในการแพ้อาหาร ประเภทนี้ สารที่กระตุ้นการตอบสนอง ทีไ่ วเกินอาจมีอยูใ่ นอาหารโดยธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนใน


อาหารสร้างขึ้น หรือเกิดจากการเติม สารลงไปในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่ อ ช่ ว ยปรั บ แต่ ง คุ ณ สมบั ติ ห รื อ ยื ด อายุการเก็บของอาหาร ร่างกายตอบ สนองกับสารเหล่านั้นแล้วแสดงอาการ แพ้อาหาร (Food intolerance) ทั้งนี้ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณสารว่ามี มากเพียงใด รวมถึงอายุและเชือ้ ชาติดว้ ย การตอบสนองต่ออาหารอย่างผิดปกติที่ พบมากในกลุ่มนี4้ ได้แก่ 1. การแพ้ น�้ ำ ตาลแลคโตส (Lactose intolerance) เป็ น การแพ้ น�้ ำ ตาลแลคโตส ที่มีอยู่ในน�้ำนม เนื่องจากร่างกายขาด เอนไซม์แลคเตส (Lactase) ที่ช่วยเร่ง ปฏิ กิ ริ ย าการแตกตั ว ของน�้ ำ ตาลแลค โตส เป็นน�ำ้ ตาลกลูโคส (Glucose) และ น�้ำตาลกาแลคโตส (Galactose) เพื่อ ให้ร่างกายได้ดูดซึม ดังนั้นแบคทีเรียใน ล�ำไส้จึงใช้น�้ำตาลแลคโตสแล้วผลิตก๊าซ และกรด ท�ำให้เกิดท้องอืด ปวดท้อง และบางครั้งท้องร่วง การแพ้น�้ำตาลแลคโตสไม่ค่อย เกิดในเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ขวบ เมื่อเด็ก โตขึ้นระดับเอนไซม์แลคเตสจะลดลงจึง พบอาการแพ้น�้ำตาลแลคโตสเพิ่มมาก ขึ้นในผู้ใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติของ ประชากรด้วย

2. การแพ้สารเติมแต่งอาหาร (Food additives) สารเติมแต่งอาหารทีใ่ ช้เพือ่ เพิม่ รสชาติ สี หรือป้องกัน การเจริญของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะผงชูรส (Monosodium glutamate, MSG) จะท�ำให้เกิดอาการผิวหนังแดง รู้สึกร้อน วูบวาบ ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก และสารซัลไฟท์ซึ่งจะท�ำให้ เกิดปัญหาการหายใจติดขัดโดยเฉพาะกับคนทีเ่ ป็นโรคหอบหืด 3. การแพ้ฮีสตามีน (Histamine toxicity) พบได้จากการรับประทานปลาทะเลที่เก็บรักษาที่ อุณหภูมิสูง แบคทีเรียในล�ำไส้ปลาเจริญเติบโต เริ่มย่อยสลาย โปรตีนในเนือ้ ปลา ท�ำให้กรดอะมิโนฮีสติดนี (Histidine) สลาย ตัวได้เป็นฮีสตามีน ท�ำให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะเดียวกับ อาการภูมิแพ้อาหาร 4. การแพ้สารที่สร้างจากจุลินทรีย์ อาการแพ้ประเภทนี้บางอย่างอาจคล้ายกับอาการ ภูมิแพ้อาหาร เช่น การปวดท้อง ซึ่งเป็นอาการที่พบเป็นปกติ ธรรมดาเมือ่ อาหารเป็นพิษ สารพิษ (Toxins) ในอาหารนีส้ ร้าง ขึ้นโดยจุลินทรีย์ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ก่อโรคที่ปนเปื้อนและ เจริญในอาหาร อาการอืน่ ทีพ่ บร่วมด้วยอาจเป็น ท้องร่วง ปวด ศีรษะ คลืน่ ไส้ อาเจียน เช่น พิษจากแบคทีเรีย Bacillus cereus ในกรณีที่พิษรุนแรง เช่นสารพิษจากแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท อาจท�ำให้เสียชีวิตได้ การแพ้ประเภทนี้เรียกโดยทั่วไปว่า “อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)” อาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ WHO1 ระบุวา่ มีรายงานอาหารมากกว่า 70 ชนิด ทีท่ ำ� ให้ เกิดภูมแิ พ้อาหารซึง่ มี IgE เป็นสือ่ ซึง่ พบมากทัง้ เด็กและผูใ้ หญ่4 โดยในเด็กและเด็กทารก มีอาหารหลัก 6 ชนิด ได้แก่ ไข่ นม ถัว่ ลิลง ผลแห้งเปลือกแข็งจากพืชยืนต้น ถัว่ เหลือง (โดยเฉพาะ กับเด็กทารก) และข้าวสาลี เกษตร สุรนารี' 58 109


ส�ำหรับผู้ใหญ่แล้วอาหารที่พบว่าก่อให้เกิดการแพ้เป็นปกติธรรมดามากที่สุด มี 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ สัตว์น�้ำที่มีเปลือกประเภทกุ้ง และปู ถั่วลิลง ผลแห้งเปลือกแข็งจากพืชยืนต้น และปลา เช่น ปลาแซลมอน อย่างไรก็ตามอาหารทีก่ ระตุน้ ให้เกิดการแพ้มากถึงร้อยละ 90 ของภูมแิ พ้อาหาร3 มีอยู่ 8 กลุม่ (ภาพที่ 3) ไข่

ปลา

นม

ถั่วลิสง

กุ้ง

กระตุ้นให้เกิดอาการ แพ้อาหาร

ข้าวสาลี

ผลแห้งเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ภาพที่ 3 ชนิดของอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้มากที่ถึงร้อยละ 90 ของอาการภูมิแพ้อาหาร

มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission, CAC) ซึ่งร่วมมือกัน ระหว่างองค์การอาหารและเกษตร (Food and Agriculture Organization, FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) แห่งสหประชาชาติ ได้ก�ำหนดให้ระบุ ชนิดของอาหารหรือส่วนผสมของอาหารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา ตอบสนองที่ไวเกินต่ออาหารอย่างรุนแรงและพบมากที่สุดไว้ 110 เกษตร สุรนารี' 58

ในมาตรฐานเรื่องการแสดงฉลากของ อาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ซึ่งได้ปรับปรุง ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)7 ดังต่อไปนี้ 1. ธัญพืชทีม่ สี ว่ นผสมของกลูเทน ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ โอ๊ต สเปลท์ หรือสายพันธุ์ที่ได้ผสมขึ้น


จากธัญพืชเหล่านี้ และผลิตภัณฑ์ จากธัญพืชเหล่านี้ 2. สั ต ว์ น้� ำ ที่ มี เ ปลื อ กแข็ ง เช่ น กุ ้ ง กุ ้ ง มั ง กร ปู และผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ าก สัตว์น�้ำเหล่านี้ 3. ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ 4. ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา 5. ถัว่ ลิสง ถัว่ เหลือง และผลิตภัณฑ์จาก ถั่วลิสงและถั่วเหลือง 6. นมและผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึง น�้ำตาลแลคโตส 7. ผลแห้ ง เปลื อ กแข็ ง จากพื ช ยื น ต้ น เช่น มะม่วงหิมพานต์ เกาลัด อัลมอนด์ และผลิ ต ภั ณ ฑ์จ ากผลแห้งเหล่านี้ 8. ซัลไฟท์ปริมาณที่เท่ากับหรือมากว่า 10 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ส�ำนักงานอาหารและยาของ สหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration, U.S.FDA) ได้ออก กฎหมายว่าด้วยการระบุอาหารก่อให้ เกิดการแพ้บนฉลากและการคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2547 (Food Allergen Labeling and Consumer Protection Act, 2004) ซึ่ ง มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ใ นปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)8

ส�ำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขเพิ่งได้ออก ประกาศกระทรวง ฉบับที่ 367 พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดง ฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ9 ได้กำ� หนดประเภทหรือชนิด ของอาหารซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ หรือสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกิน เป็นข้อมูลส�ำหรับผู้แพ้อาหารไว้ในข้อ 6 ของประกาศฯ ซึ่ง รายละเอียดของชนิดอาหารและสารเติมแต่งที่ต้องระบุบน สลากก็เป็นไปตามมาตรฐานเรือ่ งการแสดงฉลากอาหารทีบ่ รรจุ ในบรรจุภัณฑ์ของ Codex การจัดการกับการแพ้อาหาร ปัจจุบนั ยังไม่มวี ธิ กี ารรักษาการแพ้อาหารให้หายขาดได้ การวินจิ ฉัยการแพ้อาหารจะต้องติดตามดูอาหารทีร่ บั ประทาน ว่ามีการแสดงความสัมพันธ์ของรูปแบบการรับประทานอาหาร บางชนิดกับอาการแพ้อาหารหรือไม่ และการทดลองงดอาหาร บางชนิดที่น่าสงสัยว่าเป็นสาเหตุของการแพ้อาหาร โดยปัจจุบันมีการทดสอบยืนยันการแพ้อาหารที่นิยม ใช้กันอยู่ 4 วิธ10ี คือ 1. วิธีจิ้มผิวหนัง (Skin prick test, SPT)11 เป็นการ ตรวจหาสารภูมติ า้ นทาน IgE จ�ำเพาะต่อสารก่อภูมแิ พ้ในอาหาร ซึ่งให้ผลอย่างรวดเร็ว โดยหยดสารละลายที่มีสารก่อภูมิแพ้ อาหารบนหลังหรือท้องแขนแล้วใช้เข็มแทงหรือขีดเบา ๆ บนผิวหนัง (ไม่มเี ลือดออก) เพือ่ ให้สารละลายซึมเข้าใต้ผวิ หนัง ถ้าผลเป็นบวกจะมีรอยนูน (กว้างกว่า 3 ม.ม.) (ภาพที่ 4) ซึ่ง ส่วนนูนมีสขี าวอาจล้อมรอบด้วยวงสีแดงทีค่ นั โดยปกติรอยนูน ที่ใหญ่จะบ่งชี้ถึงภูมิแพ้อาหารที่ค่อนข้างแท้จริง การไม่มีรอย นูนจะบ่งชี้ว่าผู้ทดสอบไม่น่าจะเกิดภูมิแพ้จากอาหารชนิดนั้น อย่างไรก็ตามพบว่าร้อยละ 50-60 ที่ได้ผลบวกแบบไม่ถูกต้อง (False positive) คือ ผูท้ ดสอบมีรอยนูนแต่ไม่ได้แพ้อาหารชนิด นัน้ จริง ส่วนทีใ่ ห้ผลลบแบบผิด (False negative) เกิดขึน้ น้อย เกษตร สุรนารี' 58 111


ภาพที่ 4 การทดสอบจิ้มผิวหนัง: (1) เตรียมต�ำแหน่งจิ้มสาร, (2) แสดงผลบวก (จาก: (1) http://en.wikipedia.org/wiki/File:Allergy_skin_testing.JPG และ (2) http://www.amsl.com.au/site/cms/allergy/skin-prick-test-lancet-systems

2. ทดสอบโลหิต12 เพื่อหาสารภูมิต้านทาน IgE ที่ จ�ำเพาะกับอาหารชนิดทีส่ งสัย การทดสอบนีใ้ ช้กบั คนทีม่ ปี ญ ั หา ผื่นคันที่ผิวอย่างรุนแรงไม่เหมาะจะทดสอบด้วยวิธีที่ 1 การ ทดสอบนีไ้ ม่มผี ลกระทบจากการทีผ่ ทู้ ดสอบได้รบั ยาต้านฮีสตา มีน แต่ต้องใช้เวลานานหลายวันกว่าจะทราบผล และเช่นเดียว กับวิธีจิ้มผิวหนัง ร้อยละ 50-60 ของการทดสอบโลหิตเพื่อหา IgE จะให้ผลบวกที่ผิดพลาด 3. การตัดอาหารจากรายการอาหารที่รับประทาน (Food elimination diet)13 อาจใช้ทดสอบร่วมกับวิธีที่ 1 และ 2 เพื่อช่วยวินิจฉัยการแพ้ทั้งที่เกิดจากภูมิแพ้ที่มี IgE เป็น สือ่ และการแพ้อย่างอืน่ โดยแพทย์จะให้ผทู้ ดสอบงดอาหารบาง ชนิดเพื่อติดตามอาการเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ถ้าอาหารที่งด นั้นเป็นสาเหตุให้เกิดการแพ้ อาการแพ้ควรจะหายไปเมื่อเสร็จ การทดลอง การทดลองอาจด�ำเนินการต่อโดยให้เริ่มกลับไป รับประทานอาหารที่งดไปนั้นใหม่ ถ้าอาการแพ้กลับเกิดขึ้นอีก ก็แสดงว่าอาหารนั้นๆ ท�ำให้เกิดการแพ้ ถ้ายังให้ผลที่สรุปไม่ได้ ก็อาจต้องท�ำการทดสอบวิธีที่ 4

112 เกษตร สุรนารี' 58

4. การให้รับประทานอาหารที่ สงสัยว่าก่อให้เกิดการแพ้ (Oral food challenge, OFC)14 การทดสอบนี้ท�ำ เมื่อยังไม่แน่ใจในผลการทดสอบด้วยวิธี ข้างต้น เป็นการทดสอบทีใ่ ห้ผลค่อนข้าง ถูกต้อง แต่เนื่องจากผู้ทดสอบอาจเกิด ปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงขึ้นได้ จึงต้อง ท�ำในสถานที่ซึ่งมีอุปกรณ์และบุคลากร ทางการแพทย์พร้อม โดยผู้ทดสอบจะ ได้ รั บ อาหารที่ ท ราบปริ ม าณเริ่ ม จาก ปริ ม าณน้ อ ยก่ อ นเพื่ อ ดู ป ฏิ กิ ริ ย าการ ตอบสนอง ถ้าไม่มีปฏิกิริยาการแพ้จึง ค่อยเพิ่มปริมาณจนเมื่อเกิดปฏิกิริยา การแพ้จึงหยุด ซึ่งการแพ้จะยังไม่ถึงขั้น รุนแรง ปฏิกิริยาการแพ้จะเป็นลักษณะ หน้าแดง เกิดผืน ซึ่งสามารถแก้อาการ ได้ดว้ ยการให้ยาต้านฮีสตามีน ถ้าไม่เกิด อาการแพ้กแ็ สดงว่าอาหารชนิดนัน้ ไม่ได้ เป็นสาเหตุ


การจัดการกับการแพ้อาหาร การแพ้อาหารทีเ่ กิดจากภูมแิ พ้ มี IgE เป็นสื่อที่มีอาการไม่รุนแรง และ การแพ้ฮีสตามีน จะสามารถแก้ได้ด้วย การให้ ย าต้ า นฮี ส ตามี น กรณี ที่ เ กิ ด ภู มิ แ พ้ แ บบรุ น แรงจะใช้ เ อปิ เ นฟรี น (Epinephrine) ซึ่งคือ ฮอร์โมนอะดริ นาลีน (Adrenaline) เพื่อจะไปลดการ ขยายตัวของหลอดเลือดท�ำให้ความดัน เพิ่มขึ้น และไปขยายทางเดินลมหายใจ ส�ำหรับผู้เคยมีอาการภูมิแพ้รุนแรงอาจ ต้องเตรียมเอปิเนฟรีนแบบพกพาติดตัว ไปด้วย ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิธีการ แก้ ไขการแพ้ อ าหารในหลายด้ า น 15 ทั้งการควบคุมการท�ำงานของสารภูมิ ต้ า นทาน การหยุ ด ยั้ ง กระบวนการ ท�ำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน การกระตุ้น ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจ�ำเพาะหรือ อิ ม มู น บ� ำ บั ด ที่ จ� ำ เพาะ (Allergen

specific Immunotherapy) เพือ่ ขจัดภูมไิ ว (Desensitization) และการสร้างวัคซีน ปัจจุบันวิธีซึ่งได้รับความสนใจโดยมี การทดลองระดับคลินิก16 ได้แก่การสร้างภูมิคุ้มกันจ�ำเพาะ โดยใส่ ส ารก่ อ ภู มิ แ พ้ ผ สมกั บ อาหารให้ รั บ ประทาน (Oral Immunotherapy, OIT) และการใช้สมุนไพรจีน ซึง่ OIT ประสบ ความส�ำเร็จสูงถึงร้อยละ 70-80 ในกรณีของการแพ้ถั่วลิสง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการแพ้อาหาร ให้หายขาดได้ วิธีที่ผู้มีปัญหาเรื่องการแพ้อาหารควรต้อง ปฏิบัติเป็นอย่างแรก คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่เคยก่อให้เกิดการ แพ้ ถ้าเป็นอาหารส�ำเร็จผ่านกระบวนการแปรรูปจากโรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร ผู้บริโภคจะต้องอ่านข้อมูลวัตถุดิบและ ส่วนผสมบนฉลากให้ละเอียด หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต้องให้ความรูก้ บั ผูบ้ ริโภค ผูผ้ ลิต วัตถุดิบและส่วนผสมส�ำหรับอาหาร และผู้ผลิตอาหาร เพื่อให้ มีความเข้าใจถึงอันตรายจากอาหารที่มีสารก่อให้เกิดการแพ้ จัดให้มมี าตรการในจัดการจัดการวัตถุดบิ ทีอ่ าจมีสารก่อให้เกิด การแพ้ มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของอุปกรณ์ระหว่าง การเตรียมและการผลิตอาหาร เพื่อบุคคลที่แพ้อาหารจะได้ ป้องกันตัวเองและเป็นการป้องกันผู้บริโภคที่มีการตอบสนอง ที่ไวเกินต่ออาหาร โดยรวมด้วย

เกษตร สุรนารี' 58 113


เอกสารอ้างอิง 1. WHO. (2006). Food Allergies: INFOSAN Information Note No. 3/2006. Available: http://www. who. int/foodsafety/areas_work/infosan/infosan_archives/en/index4.html 2. National Health Service. (2014). Food Allergy. Available: http://www.nhs.uk/conditions/ food-allergy/Pages/ Intro1.aspx 3. Dimov, V. (2005). Food Allergy: Brief Review. Available: http://allergycases.blogspot.com/2005/ 03/ food-allergy-short-review.html 4. National Institute of Allergy and Infection Diseases. (2012). Food Allergy: An Overview. National Institute of Health Publication No.12-5518. Available: www.niaid.nih.gov 5. Di Sabatino, A. and Corazza, G.R. (2009). Coeliac disease. The Lancet, 373(9673):1480 – 1493. [doi:10.1016/S0140-6736(09)60254-3] 6. Woodward, J. (2011). Coeliac disease. Medicine, 39(3):173-177. [doi:10.1016/j.mpmed.2010.12. 008] 7. FAO/WHO. (2001). Food labelling complete texts. Codex Alimentarius. Available: http://www. fao.org/docrep/005/Y2770E/y2770e02.htm 8. U.S.FDA. (2014). Food Allergies: What you need to know. Food Fact. Available: http://www.fda.gov/Food/ResourcesForYou/Consumers/ucm079311.htm 9. กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) เรือ่ ง การแสดงฉลากของอาหาร ในภาชนะบรรจุ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 102 ง หน้า 39 10. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Diagnosis and testing. Available: http://www. foodallergy.org/diagnosis-and-testing 11. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Diagnosis and testing: Skin prick test. Available: http://www.foodallergy.org/diagnosis-and-testing/skin-tests 12. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Diagnosis and testing: Blood tests. Available: http://www.foodallergy.org/diagnosis-and-testing/blood-tests 13. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Diagnosis and testing: Food elimination diet. Available: http://www.foodallergy.org/diagnosis-and-testing/food-elimination-diet 14. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Diagnosis and testing: Oral food challenge. Available: http://www.foodallergy.org/diagnosis-and-testing/oral-food-challenge 15. Thyagarajan, A and Burks, A. W. (2009). Food Allergy: Present and Future Management. World Allergy Organ J., 2(12): 282–288. [doi:10.1097/WOX.0b013e3181c81fed] 16. Food Allergy Reseach & Education. (2014). Research overview: Advancing a cure. Available: http://www.foodallergy.org/research/overview 114 เกษตร สุรนารี' 58


แบคเทอริโอซินกับการถนอมอาหาร ในอุตสาหกรรม

เกษตร สุรนารี' 58 115


แบคเทอริโอซินกับการถนอมอาหารในอุตสาหกรรม จิรภัทร นํ้าแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร กาญจนทวี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

อาหารเป็นสิง่ จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวติ ของมนุษย์ มนุษย์ ทุกคนล้วนต้องการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์และปลอดภัยต่อชีวิต อาหารที่เราบริโภคมักปน เปื้อนจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะแบคทีเรีย การได้รับ อาหารทีม่ กี ารปนเปือ้ นแบคทีเรียปริมาณทีไ่ ม่พอต่อการก่อโรค ก็จะไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย แต่ถ้ามีการปนเปื้อนแบคทีเรีย ปริมาณมากพอก็สามารถท�ำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายขึ้น ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีภูมิอากาศเหมาะ สมแก่การเจริญ และขยายพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี เมื่อมี สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญ ก็จะสามารถเพิ่มจ�ำนวนได้ อย่างรวดเร็ว นอกจากนีแ้ บคทีเรียบางชนิดยังสามารถผลิตสาร พิษได้ และก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษขึ้น ในปัจจุบนั มีการน�ำสารกันเสียชนิดต่าง ๆ มาใส่ในอาหาร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่อาหาร สารกันเสียชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์นั้นมีประสิทธิภาพมากในการยับยั้ง เชื้อจุลินทรีย์ แม้ว่าสารกันเสียเหล่านี้มีความปลอดภัยในการ บริโภคเพราะมีความบริสุทธิ์สูง แต่ในกรณีที่ใช้ในปริมาณมาก อย่างต่อเนื่องก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ สารกันเสียบางชนิดได้อนุญาตให้ใช้เติมในอาหารเพื่อ วัตถุประสงค์ในการถนอมอาหาร เช่น กรดเบนโซอิก (benzoic acid) คณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration, FDA) และองค์การอนามัยโลก (World 116 เกษตร สุรนารี' 58

Health Organization, WHO) อนุญาต ให้ใช้กรดเบนโซอิก ใส่ในอาหารได้ใน ปริมาณไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตัวอย่างอาหารทีใ่ ส่กรดเบนโซอิก เพื่อถนอมอาหาร ได้แก่ น�้ำผลไม้ เยลลี่ แยม เครือ่ งดืม่ เนยเทียม และซอสต่าง ๆ โซเดี ย มไนไตรท์ (sodium nitrite) ใช้ใส่ในเนื้อสัตว์ ท�ำให้สีสัน ของเนื้อสัตว์มีสีแดง ยับยั้งไม่ให้เนื้อ สัตว์เกิดกลิ่นเหม็น และยับยั้งการเจริญ ของแบคทีเรียแอนแอโรบ (anaerobic bacteria) แต่ก็ต้องใช้ด้วย ความระมัด ระวัง เพราะจัดเป็นสารก่อการกลายพันธุ์ (mutagenic agent) และมีความสัมพันธ์ กับการเกิดมะเร็ง จากประเด็นดังกล่าวประกอบ กับความต้องการจัดการกับจุลินทรีย์ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ท� ำ ให้ ก ารค้ น หาสารที่ มี ฤ ทธิ์ ใ นการ ท� ำ ลายเชื้ อ จ� ำ เพาะเช่ น เดี ย วกั บ สาร ปฏิ ชี ว นะ แต่ มี ค วามปลอดภั ย ต่ อ ผู ้ บ ริ โ ภคจั ด เป็ น เป็ น เรื่ อ งที่ น ่ า สนใจ


ซึ่งต่อมาพบว่าสารในกลุ่มของ “แบค เทอริโอซิน (bacteriocin)” สามารถ น�ำมาใช้แทนสารปฏิชวี นะได้ในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ส�ำหรับในประเทศไทยเองนั้น ก็มีผลิตภัณฑ์อาหารหมักพื้นบ้านหลาย ชนิด เช่น แหนม และไส้กรอกอีสาน ที่ ท�ำโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ในอดีตโดย อาศัยแบคทีเรียที่ติดมากับวัตถุดิบจน กระทั่งพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมใน ปั จ จุ บั น โดยใช้ ก ล้ า เชื้ อ แบคที เรี ย ใน กระบวนการหมักนี้มีการใช้ประโยชน์ จากแบคที เรี ย กลุ ่ ม แลกติ ก (lactic acid bacteria) เช่น แบคทีเรียในสกุล Lactobacillus, Pediococcus และ Lactococcus เป็นต้น แบคทีเรียกลุ่ม แลกติกนอกจากจะผลิตกรดแลกติกออก มาท�ำให้อาหารหมักมีรสเปรี้ยวแล้วยัง สามารถช่วยเพิ่มคุณค่าของอาหารหมัก ในด้านความปลอดภัยและอายุการเก็บ รักษาได้ เนือ่ งจากแบคทีเรียกลุม่ นีส้ ร้าง สารแบคเทอริโอซินออกมาด้วยเช่นกัน แบคเทอริโอซินคืออะไร แบคเทอริโอซินถูกค้นพบครั้ง แรกเมื่อปี พ.ศ. 2468 โดย Gratoa และ Fredericq ในแบคทีเรียแกรมลบ โดยสาร ดั ง กล่ า วถู ก ผลิ ต จาก Escherichia coli เรียกว่า โคลิซนิ (colicin) ซึง่ โคลิซนิ

นี้จะมีผลยับยั้งแบคทีเรียเฉพาะกลุ่มที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับ สายพันธุท์ สี่ ร้างสารโคลิซนิ แต่คำ� ว่า แบคเทอริโอซิน ถูกน�ำมาใช้ ครั้งแรก โดย Jacob และคณะ ในปี พ.ศ.2496 โดยได้ให้ค�ำ นิยามของ แบคเทอริโอซิน ว่าเป็นเพปไทด์หรือโปรตีนที่ใช้ใน การฆ่าแบคทีเรีย (bacteriocide) ซึ่งออกฤทธิ์ได้ในวงแคบ และถูกดูดซับได้โดยตัวรับ (receptor) ทีอ่ ยูบ่ นเยือ่ หุม้ เซลล์ของ แบคทีเรียเป้าหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า แบคเทอริโอซิน เป็น เพปไทด์หรือโปรตีนที่มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียที่ ไวต่อสารนี้ได้ แบคเทอริ โ อซิ น ที่ ส ร้ า งจากแบคที เรี ย แกรมลบจะ มี โ มเลกุ ล ขนาดใหญ่ แ ละมี ฤ ทธิ์ ใ นการยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของ แบคทีเรียได้น้อยชนิดกว่าที่สร้างจากแบคทีเรียแกรมบวก โดยพบว่าแบคเทอริโอซินที่สร้างจากแบคทีเรียแกรมบวกมี คุณสมบัติที่น่าสนใจกว่าที่สร้างจากแบคทีเรียแกรมลบ คือมี คุณสมบัตใิ นการยับยัง้ การเจริญของแบคทีเรียทีแ่ ตกต่างกันได้ หลายชนิด รวมทั้งเซลล์เป้าหมายจะมีความต้านทานน้อยและ ไม่ต้องการต�ำแหน่งเฉพาะเจาะจงบนเซลล์เป้าหมายเพื่อการ เข้าท�ำลายของแบคเทอริโอซิน ในกลุ่มของแบคทีเรียแกรมบวก พบว่าแบคทีเรีย กรดแลกติ ก มี บทบาทส� ำ คั ญ ในการสร้ า งสารที่ มี คุณ สมบั ติ ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มต่าง ๆ ได้หลาย ชนิด โดยเฉพาะแบคเทอริโอซินเช่นไนซิน (nisin) และใน บางครั้งอาจพบกรดอะมิโนที่ไม่ค่อยพบในโปรตีนทั่วไป เช่น dehydroalanine, dehydrobutyrine โดยแบคเทอริโอซิน แต่ ล ะชนิ ด จะมี จ� ำ นวนและชนิ ด ของกรดอะมิ โ นภายใน โมเลกุ ล ที่ แ ตกต่ า งกั น นอกจากนี้ ยั ง ถู ก ท� ำ ลายได้ ด ้ ว ย เอนไซม์ ย ่ อ ยสลายโปรตี น (proteolytic enzyme) ซึ่ ง จากการศึกษาพบว่าแบคเทอริโอซินนอกจากถูกสร้างโดย แบคทีเรียกรดแลกติกแล้วยังถูกสร้างขึ้นโดยแบคทีเรียชนิด เกษตร สุรนารี' 58 117


อื่น ๆ อีก ได้แก่ Acetobacter, Bacillus, Brevibacterium, Clostridium,Erwinia, Haemophilus, Haloferax, Listeria, Pseudomonas, Salmonella, Serratia, Propionibacterium, Shigella, Staphylococcus และ Yersinia การประยุกต์ใช้แบคเทอริโอซินในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่ อ งจากแบคเทอริ โ อซิ น ได้ รั บ การยอมรั บ ว่ า มี ความปลอดภัยและใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมอาหาร มานานแล้ ว ในปั จ จุ บั น ไนซิ น เป็ น แบคเทอริ โ อซิ น ที่ ส ร้ า ง จาก Lactococcus lactis ซึ่งได้รับการยอมรับในด้านความ ปลอดภัยจาก FDA และ FAO/WHO โดยไนซินถูกน�ำไปใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ เนย อาหารกระป๋อง เนื้อสัตว์ ในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง การที่แบคเทอริโอซินได้รับการยอมรับและน�ำมาใช้ประโยชน์ ให้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครือ่ งดืม่ เนือ่ งจากสาเหตุสำ� คัญ 3 ประการ คือ

ภาพแสดงแบบจ�ำลองโครงสร้างโมเลกุลของไนซิน (nisin) ที่ผลิตโดยเชื้อแบคทีเรีย Lactococcus lactis (รูปด้านหลัง)

118 เกษตร สุรนารี' 58

ประการแรก แบคเทอริโอซิน จัดเป็นสารที่ถูกผลิตขึ้นโดยแบคทีเรีย ที่ มี ส มบั ติ ค ล้ า ยกั บสารปฏิ ชี วนะ แต่ ไม่ได้ถูกจัดเป็นสารปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อ การรักษาโรคทางการแพทย์ซึ่งห้ามใช้ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากแบคเทอริโอซิน มีข้อแตกต่าง จากสารปฏิชีวนะ ในเรื่องของสมบัติ การยับยัง้ แบคทีเรีย กล่าวคือแบคเทอริโอซินจะมีขอบเขตการยับยั้งที่แคบและ ยับยั้งได้ในกลุ่มสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน เท่านั้น ประการทีส่ อง แบคเทอริโอซิน มีความปลอดภัยต่อการบริโภค เนือ่ งจาก แบคเทอริ โ อซิ น เป็ น เพปไทด์ ที่ ถู ก สั ง เคราะห์ ขึ้ น จึ ง ท� ำ ให้ เ ป็ น สารฆ่ า แบคทีเรียทีถ่ กู ย่อยสลายได้อย่างรวดเร็ว โดยโปรตีเอสในล�ำไส้ของมนุษย์ ประการสุดท้าย คือแบคทีเรีย แลคติกซึง่ จัดเป็นแหล่งผลิตแบคเทอริโอซิน ที่ส�ำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมี ความปลอดภัยเนือ่ งจากแบคทีเรียแลคติก และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแบคทีเรียแลคติก มีการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน และ ไม่เคยมีรายงานว่าก่อให้เกิดอันตราย หรือส่งผลเสียให้แก่มนุษย์นอกจากนี้ แบคทีเรียแลคติกยังจัดอยู่ในบัญชีราย ชื่ อ สารซึ่ ง เป็ น ที่ ย อมรั บ ว่ า ปลอดภั ย (Generally recognized as safe; GRAS)


ปัจจุบันแบคทีริโอซินบางชนิด มีขายในรูปผงแห้งทีร่ จู้ กั กันดี เช่น ไนซิน (nisin) โดยใช้ ชื่ อ ทางการค้ า ว่ า NisaplinTM (บริษัท Aplin and Barrett Ltd., UK) ซึ่งสร้างจาก Lactococcus lactis และเพดิโอซิน PA-1/AcH (pediocin PA-1/AcH) โดยใช้ ชื่ อ ทางการค้า ว่า ALTATM 2431 (บริษัท Quest International, Australia) ซึ่ง สร้างจาก Pediococcus acidilactici ไนซินมีการใช้แพร่หลายมากกว่า 50 ประเทศ โดยองค์ ก ารอาหารและยา (FDA) ได้ยอมรับว่า NisaplinTM สามารถ จ� ำ หน่ า ยในรู ป ของสารป้ อ งกั น การ เน่ า เสี ย ที่ ม าจากธรรมชาติ ไนซิ น มี ประสิ ท ธิ ภ าพในการยั บ ยั้ ง แบคที เรี ย กลุ่มแกรมบวกได้หลายสปีชีส์รวมทั้ง Listeria monocytogenes ซึ่งมักก่อ โรคในอาหารกระป๋องและผลิตภัณฑ์นม นอกจาก Nisaplin แล้วยังมีผลิตภัณฑ์ ของแบคเทอริโอซินที่น�ำมาใช้ทางการ ค้า เช่น lacticin 3147 และ lacticin 481 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้ถนอม อาหาร รวมทั้งช่วยเพิ่มรสชาติด้วย ดัง นั้น แบคเทอริโอซินจึงน่าจะมีศักยภาพ ในการเป็นสารถนอมอาหารทางเลือก ที่ปลอดภัย

บทสรุป แบคเทอริโอซินจากแบคทีเรียแลคติกส่วนใหญ่จะ ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับแบคทีเรีย แลคติกชนิดที่สร้างแบคเทอริโอซินนั้น มีรายงานว่าแบคเทอริโอซินจากแบคทีเรียแลคติกบางชนิดยับยัง้ แบคทีเรียแกรมบวก ทีก่ อ่ โรคอาหารเป็นพิษได้ เช่น Bacillus cereus, Clostridium botulinum, Listeria monocytogenes และ Staphylococcus aureus อย่างไรก็ตามพบว่า การใช้ประโยชน์ของแบคเทอริโอ ซินในอาหารนั้น ยังมีข้อจ�ำกัดหลายด้านเช่น ในเรื่องของราคา ต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียที่ค่อนข้าง แคบ เป็นต้น ท�ำให้มผี สู้ นใจศึกษาและพยายามค้นหาแบคเทอริโอซินชนิดใหม่ ๆ ทีม่ สี มบัตทิ ดี่ ยี ง่ิ ขึน้ เพือ่ หาแนวทางในการน�ำ มาใช้เป็น natural food preservative ในการถนอมอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหารและเครือ่ งดืม่ โดยอาจใช้แบคเทอริโอซิน ร่วมกับสารที่ใช้ถนอมอาหารทางธรรมชาติอื่น แทนการใช้ สารเคมีกันเสียในอาหาร ท�ำให้การใช้แบคเทอริโอซินนั้นเป็น ที่ยอมรับของผู้บริโภค นอกจากนี้แบคทีเรียแลคติกบางชนิด ยังมีคุณสมบัติเป็น “โปรไบโอติก” (probiotic) ช่วยท�ำให้เกิด ความสมดุลของล�ำไส้ และป้องกันโรคท้องร่วงจากเชื้อก่อโรค หลายชนิด

เกษตร สุรนารี' 58 119


เอกสารอ้างอิง ณัฐพันธุ์ ศุภกา. (2555). แบคเทอริโอซิน สารจากธรรมชาติ ส�ำหรับการถนอมอาหารเพื่อสุขภาพ. INNO MAG 223 (39): 28-32 นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ และ ปรีชา สุวรรณพินิจ. (2553). จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 8. ส�ำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 606 หน้า. Cleveland, J., T.J. Montville, I.F. Nes and M.L. Chikindas. (2001). Bacteriocins : safe, natural antimicrobial for food preservation. International Journal of Food Microbiology. 71 : 1-20. Cotter, P.D., Hill, C. and Ross, R. P. (2005). Bacteriocins: developing innate immunity for food. Nature Reviews Microbiology 3:777-788. Montville, T.J. and A.L. Kaiser. (1993). Antimicrobial protein : classification, nomenclature, diversity and relationship to bacteriocins Bacteriocins of Lactic Acid Bacteria. pp 1-22. Hoover, D.G. and Steenson, L.R. Ed. Academic Press, Inc., New York.

120 เกษตร สุรนารี' 58


“ไก่เนื้อโคราช” กับการสร้าง อาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรไทย

เกษตร สุรนารี' 58 121


“ไก่เนื้อโคราช” กับการสร้างอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรไทย อาจารย์ ดร.วิทธวัช โมฬี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

การเจริญเติบโตของประชากรโลกและความต้องการ อาหารที่ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น เป็ น ปั จ จั ย เร่ ง ที่ ท� ำ ให้ ก ารผลิ ต ในภาค การเกษตรถูกเปลี่ยนไปเป็นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่ต้อง อาศัยเทคโนโลยีที่สูงขึ้น แพงขึ้น และใช้เงินลงทุนมากขึ้น อัน เป็นสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำ� ให้อาชีพทีเ่ คยเป็นของเกษตรกรถูกเปลีย่ น ไปเป็นอาชีพของกลุ่มคนที่มีเงินทุนสูงและมีความสามารถเข้า ถึงเทคโนโลยีที่แพงกว่า แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นสิ่งที่ ท�ำให้ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นครัวของโลก ก่อให้เกิดรายได้ เข้าประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพในวงกว้าง แต่ อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งของผลกระทบนี้ได้ก่อให้เกิดการ ขาดแคลนอาชีพที่เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงได้อย่างมีอิสระ และเป็นเจ้าของในอาชีพนั้น ๆ อย่างแท้จริง ท�ำให้เกษตรกร ขาดโอกาสทีจ่ ะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มคี วามสามารถ มี ความเข้มแข็งในการแข่งขันทางการผลิตและการค้า ดังนัน้ การ สร้างหรือพัฒนาเครือ่ งมือในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จึงเป็นประเด็นส�ำคัญทีน่ กั วิจยั ด้านการเกษตรต้องช่วยกัน เพือ่ สร้างหรือพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง “ไก่เนื้อโคราช” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเกษตรกรของ ประเทศ โดยมุ่งหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถสร้างอาชีพที่ เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ เป็นเครื่องมือที่น�ำไปสู่การพัฒนา ศักยภาพของเกษตรกร สร้างเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งใน การแข่งขันทั้งทางด้านการผลิตและการค้า เป็นเกษตรกรยุค 122 เกษตร สุรนารี' 58

ใหม่ที่มีพื้นที่ในการท�ำอาชีพเป็นของ ตนเอง เป็นเกษตรกรยุคใหม่ที่สามารถ ยืนได้อย่างสง่างามด้วยความสามารถ ของตนเองบนเวที ข องประเทศและ ประชาคมอาเซียน ความเป็นมาของ “ไก่เนื้อโคราช” ไก่ เ นื้ อ โคราชมี จุ ด เริ่ ม ต้ น จาก โครงการวิจัย “การสร้างสายพันธุ์ไก่ เนื้ อ โคราช เพื่ อ การผลิ ตเป็ น อาชี พ วิสาหกิจชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการภาย ใต้ความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี (มทส.) ในบทบาทของผู้สนับสนุนการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาไก่สายพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์เพื่อใช้ในการผลิตไก่เนื้อ โคราช สนับสนุนงบประมาณและนัก วิจัย 2) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิ จั ย (สกว.) ในบทบาทของผู ้ สนั บ สนุ น งบประมาณ และผู ้ ท รง คุณวุฒใิ นการให้คำ� แนะน�ำและประเมิน โครงการวิจัย


3) กรมปศุสตั ว์ ในบทบาทของผู้ สนับสนุนพ่อพันธุไ์ ก่เหลืองหางขาว และ สนับสนุนนักวิจัย 4) กลุม่ ท�ำนา ต�ำบลลาดบัวขาว ในบทบาทของผู ้ รั บ พั น ธุ ์ ไ ก่ ไ ปใช้ เ พื่ อ พัฒนาเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพใน รูปแบบของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดย มีกลุ่มน�ำร่องอยู่ที่หมู่บ้านซับตะเคียน ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีเป้าหมายของโครงการวิจยั ดังนี้คือ 1) ได้ ส ายพ่ อ พั น ธุ ์ ไ ก่ เ นื้ อ ชื่ อ “ไก่เหลืองโคราช” ซึ่งมีต้นพันธุ์มาจาก ไก่เหลืองหางขาว ทีจ่ ดทะเบียนพันธุโ์ ดย กรมปศุสัตว์ในนาม “ไก่เหลืองหางขาว กบินทร์บรุ ”ี และได้รบั ความอนุเคราะห์ จากกรมปศุสัตว์ ให้น�ำลูกไก่บางส่วนมา พัฒนาพันธุ์ต่อให้เป็นไก่เหลืองโคราช 2) ได้ ส ายแม่ พั น ธุ ์ ไ ก่ เ นื้ อ ชื่ อ “ไก่ แ ม่ มทส.” ซึ่ ง มี คุ ณ สมบั ติ ข อง สายแม่ พั น ธุ ์ ไ ก่ เ นื้ อ ที่ ค รบถ้ ว น คื อ มี ความสามารถในการให้ไข่ทมี่ ากพอทีจ่ ะ ท�ำให้ต้นทุนลูกไก่อยู่ในระดับที่สามารถ แข่งขันได้ และให้ลกู ทีม่ กี ารเจริญเติบโต ที่รวดเร็ว 3) ได้ไก่เนื้อลูกผสมพื้นเมือง ชื่อ “ไก่เนื้อโคราช” ซึ่งมีคุณสมบัติของไก่ เนื้อที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าไก่ พื้นเมือง แต่มีรสชาติของเนื้อใกล้เคียง กับไก่พื้นเมือง

4) เกษตรกรสามารถใช้ไก่ทงั้ หมดนีเ้ ป็นเครือ่ งมือในการ ประกอบอาชีพในระดับของวิสาหกิจชุมชน โดยรูปแบบของ อาชีพ อาจเป็นในรูปของผู้ผลิตลูกไก่เนื้อ หรือผู้ผลิตไก่เนื้อขุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกร หลังจากโครงการวิจัยได้ด�ำเนินการเสร็จสิ้นในระยะ 3 ปีแรก (พฤศจิกายน 2552-ตุลาคม 2555) โครงการวิจัยได้ไก่ ลูกผสมทีม่ คี วามเหมาะสมในการจะน�ำไปพัฒนาเป็นไก่สายแม่ พันธุ์ และในสายพ่อพันธุ์ได้ฝูงไก่เหลืองหางขาวที่อยู่ระหว่าง การคัดเลือกเพือ่ พัฒนาไปเป็นไก่สายพ่อพันธุท์ มี่ คี วามจ�ำเพาะ กับสายแม่พนั ธุท์ พี่ ฒ ั นาขึน้ จากโครงการนี้ เพือ่ ผลิตลูกผสม “ไก่ เนื้อโคราช” ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าไก่พื้นเมือง แต่มี รสชาติของเนื้อใกล้เคียงกับไก่พื้นเมือง (ภาพที่ 1)

x “แม่พันธุ์ มทส.”

“พ่อพันธุ์เหลืองหางขาว”

“ไก่เนื้อโคราช” ภาพที่ 1 คูผ่ สมระหว่าง “แม่พนั ธุ์ มทส.” กับ “พ่อพันธุเ์ หลืองหางขาว” ส�ำหรับการผลิต “ไก่เนื้อโคราช” เกษตร สุรนารี' 58 123


เมื่อน�ำไก่เนื้อโคราชไปให้กลุ่มเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ (หมู่บ้านซับตะเคียน ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา) ได้ท�ำการเลี้ยง ปรากฏว่าไก่เนื้อโคราชได้รับการตอบรับจาก ผู้บริโภคและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก เนื้อมีรสชาติอร่อยใกล้เคียงไก่พื้นเมือง แต่มีประสิทธิภาพการ ผลิตดีกว่า และใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้นกว่าไก่พื้นเมือง ท�ำให้ กลุ่มเกษตรกรสามารถแข่งขันกับตลาดได้ และมีก�ำไรจากการ ท�ำกิจกรรมนี้ โดยสภาพการเลี้ยงไก่เนื้อโคราชของเกษตรกร ไม่ได้มีความยุ่งยาก และไม่ต้องลงทุนสูงในการสร้างโรงเรือน (ภาพที่ 2) ส�ำหรับวัสดุและการก่อสร้างโรงเรือนสามารถ ประยุกต์ได้ตามต้นทุนการก่อสร้างที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่

ทั้งนี้เกษตรกรสามารถขอค�ำปรึกษาได้ จากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในท้องที่และทีม งานผู้วิจัย ลั ก ษณะทางเศรษฐกิ จ ของไก่ เ นื้ อ โคราช จากการทดสอบสมรรถนะการ เจริ ญ เติ บ โต และต้ น ทุ น การผลิ ต ไก่ เนื้ อ โคราช ของคณะผู ้ วิ จั ย ในฟาร์ ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี ได้ผลดัง แสดงในตารางที่ 1 และ 2 ตามล�ำดับ

ภาพที่ 2 โรงเรือนและสภาพการเลี้ยงไก่เนื้อ โคราชของเกษตรกร

ตารางที่ 1 สมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อโคราช ที่น�้ำหนักตัว 1.3 กิโลกรัม รายการ

ระยะเวลาการเลี้ยง (วัน) น�้ำหนักตัวที่อายุ 1 วัน (กรัม/ตัว) น�้ำหนักตัวสุดท้าย (กรัม/ตัว) อัตราการเจริญเติบโต (กรัม/ตัว/วัน) ปริมาณอาหารที่กิน (กรัม) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน�้ำหนักตัว (FCR)

124 เกษตร สุรนารี' 58

ไก่เนื้อโคราช 70 44.88 1,317.75 19.43 3,037.00 2.31


ตารางที่ 2 ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อโคราช รายการ

ค่าอาหาร (บาท) ค่าลูกไก่อายุ 1 วัน (บาท) ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (บาท) รวมต้นทุนการผลิต (บาท) ราคาขาย (บาท) ก�ำไร (บาท)

ไก่เนื้อโคราช 41.58 19.00 5.00 65.58 80.00 14.42

หมายเหตุ : ราคาอาหารไก่เนื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18 บาท และราคาขายไก่มีชีวิต กิโลกรัมละ 80 บาท (ราคาเดือนมีนาคม 2557)

จากตารางที่ 1 และ 2 สามารถสรุปคุณสมบัติส�ำคัญของ “ไก่เนื้อโคราช” ที่เกษตรกรสามารถน�ำไปใช้ เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้ ดังนี้คือ - ระยะเวลาการเลี้ยงจากแรกเกิดถึงน�้ำหนัก 1.2–1.3 กิโลกรัม ใช้เวลาในการเลี้ยง 65–70 วัน - อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน�้ำหนักตัว (FCR) ประมาณ 2.3 - ต้นทุนการผลิตประมาณ 65 บาทต่อกิโลกรัม - มีเนื้ออร่อยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค - สามารถขายได้ในราคาไก่พื้นเมือง ราคากิโลกรัมละ 70–80 บาท เมือ่ จัดวางต�ำแหน่งของ “ไก่เนือ้ โคราช” เปรียบเทียบกับ “ไก่เนือ้ สายพันธุท์ างการค้า” และ “ไก่พนื้ เมือง” สามารถสรุปได้ดังภาพที่ 3 ดังนี้

ภาพที่ 3 การจัดวางต�ำแหน่งของไก่เนื้อโคราชเปรียบเทียบกับไก่สายพันธุ์ทางการค้าและไก่พื้นเมือง เกษตร สุรนารี' 58 125


จากภาพจะเห็นได้ว่า - ในแง่ของรสชาติของเนือ้ มีความใกล้เคียงกับไก่พนื้ เมือง นั่นคือมีความนุ่มแน่นของเนื้อ และมีรสชาติอร่อย เป็นที่ พึงพอใจของผู้บริโภค - ในแง่ของสมรรถนะการผลิต ทัง้ ในแง่ของการเจริญ เติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน�้ำหนักตัว พบว่าดีกว่า ไก่พื้นเมือง แต่ด้อยกว่าไก่เนื้อทางการค้า อย่างไรก็ตามการคัด เลือกไก่ให้มกี ารเจริญเติบโตทีร่ วดเร็วจะส่งผลให้รสชาติของเนือ้ ด้อยลง ซึ่งในข้อนี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยให้ความระมัดระวังมาก ใน อนาคตไก่เนื้อโคราชจะถูกคัดเลือกให้มีอัตราการเจริญเติบโต ทีส่ งู ขึน้ เพือ่ ขยับหนีตน้ ทุนการผลิตทีส่ งู ขึน้ เช่นกัน แต่การเจริญ เติบโตที่เพิ่มขึ้นนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติของเนื้อ - ในแง่ของความสม�่ำเสมอของฝูง มีความสม�่ำเสมอ ดีกว่าไก่พื้นเมือง แต่ด้อยกว่าไก่เนื้อทางการค้า โดยในอนาคต นักวิจัยจะได้ท�ำการคัดเลือกให้ไก่เนื้อโคราชมีความสม�่ำเสมอ ของฝูงดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจุดด้อยที่พบในช่วงเริ่มต้นนี้ สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นจุดดีส�ำหรับผู้เลี้ยงได้ในแง่ของการ เริ่มต้นการท�ำการตลาด นั่นคือในการเลี้ยงไก่เนื้อโคราชแต่ละ รุน่ ผูเ้ ลีย้ งสามารถทยอยจับไก่ขายได้ 3 ชุด ในระหว่างช่วงอายุ ไก่ 60–70 วัน - ในแง่ของราคาขาย เนือ่ งจากมีลกั ษณะและรสชาติ ของเนื้อใกล้เคียงกับไก่พื้นเมือง จึงท�ำให้ผู้เลี้ยงสามารถขายไก่ เนื้อโคราชได้ในราคาเท่ากับไก่พ้ืนเมือง ซึ่งโดยปกติจะมีราคา ขายสูงกว่าไก่เนื้อทางการค้า 2–3 เท่า จากคุณสมบัตทิ กี่ ล่าวมาข้างต้น จึงเป็นทีม่ าของสโลแกน ของไก่เนือ้ โคราชทีว่ า่ “อร่อยจังเหมือนไก่ไทย โตทันใจเหมือน ไก่ฝรั่ง” 126 เกษตร สุรนารี' 58

ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลท�ำให้ ก ารเลี้ ย งไก่ เ นื้ อ โคราชประสบผลส�ำเร็จ ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการที่ จ ะ ท�ำให้การเลี้ยงไก่เนื้อโคราชประสบผล ส�ำเร็จ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การจัดหาตลาดจ�ำหน่ายที่ แน่นอน กอ่ นทีจ่ ะเริม่ เลีย้ งไก่เนือ้ โคราช นัน้ สิง่ แรกทีจ่ ะต้องค�ำนึงถึงคือเรือ่ งของ การหาตลาดส�ำหรับรองรับสินค้าไม่ว่า จะเป็นไก่มีชีวิต ไก่สด หรือไก่ที่แปรรูป เป็นอาหาร ซึ่งต้องอาศัยการรวมกลุ่ม และการสร้ า งเครื อ ข่ า ย เพื่ อ ช่ วยกั น วางแผนการท�ำงานร่วมกัน และเป็นการ ตัดวงจรพ่อค้าคนกลางออกไป การรวม กลุม่ กันนอกจากจะช่วยสร้างอ�ำนาจต่อ รองราคาในการขายผลผลิตแล้ว ยังช่วย สร้างอ�ำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการ ผลิตด้วย 2) การวางผังฟาร์มที่ดีและถูก ต้องตามหลักวิชาการ การวางผังฟาร์มที่ดี ถือว่าเป็นหลัก การพื้นฐานในการป้องกันโรคที่จะเข้า มาสูฟ่ าร์ม นอกจากนีย้ งั เป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและ ชุมชนรอบข้างด้วย ความบกพร่องทีเ่ กิด ขึน้ จากการวางผังฟาร์มทีไ่ ม่ดี มีผลท�ำให้


มีความเสีย่ งต่อการเกิดโรคทีย่ ากต่อการ ควบคุม ท�ำให้เกิดความเสียหายต่อไก่ที่ เลี้ยงในฟาร์มได้ 3) การจัดการเลี้ยงไก่ที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ในการเลีย้ งไก่โดยทัว่ ไป แม้วา่ จะมีพนื้ ฐานทางด้านวิชาการทีค่ ล้ายคลึง กัน แต่อย่างไรก็ตามไก่แต่ละสายพันธุ์มี ความแตกต่างกันในรายละเอียดของการ จัดการด้านต่าง ๆ ดังนั้นการที่จะเลี้ยง ไก่เนื้อโคราชให้ประสบผลส�ำเร็จ ผู้เลี้ยง จ�ำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำ ในคู ่ มื อ การเลี้ ย งไก่ เ นื้ อ โคราช และ ค�ำแนะน�ำของทีมผู้วิจัยอย่างเคร่งครัด 4) การเลี้ ย งด้ ว ยอาหารที่ มี คุณภาพดี อาหารถือว่าเป็นปัจจัยทาง ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส�ำคัญที่จะส่งผลให้ไก่ เนื้อโคราชให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ตาม ศักยภาพทางพันธุกรรมที่มีอยู่ ในการ เลีย้ งไก่เนือ้ โคราช ณ ปัจจุบนั แนะน�ำให้ ใช้อาหารไก่เนือ้ ทางการค้าของบริษทั ไป ก่อน แต่ตอ้ งมีสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน ตามที่ ที ม ผู ้ วิ จั ย แนะน� ำ การที่ ผู ้ เ ลี้ ย ง ประหยัดอาหารโดยใช้อาหารสัตว์ที่มี คุณภาพต�่ำกว่าที่แนะน�ำ หรือการใช้ วัตถุดบิ อาหารพืน้ บ้านในการเลีย้ งโดยที่ ไก่ไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน จะ

ส่งผลเสียต่อตัวไก่อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องปฏิบัติตาม ค�ำแนะน�ำของทีมผูว้ จิ ยั อย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ขณะนีท้ มี วิจัยก�ำลังศึกษาและพัฒนาสูตรอาหารของไก่เนื้อโคราช และ ในอนาคตคาดว่าจะสามารถผลิตอาหารไก่เนือ้ โคราชทีม่ คี วาม เหมาะสมกับพันธุ์ไก่เนื้อโคราชได้ 5) การจัดการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี การในเลี้ยงไก่นั้น ผู้เลี้ยงจะต้องเน้น “การป้องกัน มากกว่าการรักษาโรค” เพราะเมื่อเกิดโรคขึ้นภายในฟาร์ม โดยเฉพาะโรคระบาดร้ายแรง จ�ำเป็นที่จะต้องท�ำลายไก่ทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจายไปสู่ฟาร์มใกล้เคียง หลักอีก ประการหนึง่ ทีผ่ เู้ ลีย้ งจะต้องยึดคือระบบ “เข้าพร้อมกัน–ออก พร้อมกัน (All in-All out)” หมายความว่าไก่ทเี่ ลีย้ งในแต่ละ รุ่นควรน�ำเข้ามาเลี้ยงพร้อมกันเป็นชุด และขายออกพร้อมกัน เป็นชุดเช่นเดียวกัน เพื่อให้มีเวลาในการท�ำความสะอาดอย่าง หมดจดและพ่นยาฆ่าเชือ้ เพือ่ เป็นการตัดวงจรของเชือ้ โรค การ ป้องกันโรคสามารถท�ำได้โดยการวางผังฟาร์มและโรงเรือนที่ ถูกต้องเพือ่ ป้องกันเชือ้ โรคจากภายนอกเข้าสูฟ่ าร์ม รวมถึงการ สร้างภูมคิ มุ้ กันให้แก่ตวั ไก่โดยการให้วคั ซีน ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้อง มีโปรแกรมวัคซีนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับไก่เนื้อโคราช 6) การบริหารงานฟาร์มที่ดี จุดประสงค์ในการท�ำธุรกิจคือผลก�ำไรที่เกิดขึ้นจาก การลงทุน ดังนั้นการที่ผู้เลี้ยงจะสามารถประเมินผลการเลี้ยง ไก่เนื้อโคราชได้นั้น จ�ำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ ดีทงั้ ในแง่ของตัวไก่ ซึง่ จ�ำเป็นจะต้องมีการจดบันทึกข้อมูลการ เลีย้ ง เพือ่ น�ำมาวิเคราะห์และประเมินผลการเลีย้ งไก่ในแต่ละรุน่ ในขณะเดี ย วกั น ก็ จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ก ารจั ด การด้ า นบั ญ ชี รายรับ–รายจ่าย เพือ่ ใช้ประเมินความคุม้ ค่าทางเศรษฐกิจด้วย เกษตร สุรนารี' 58 127


อนาคตของไก่เนื้อโคราชกับการสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร เมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัยในระยะที่ 1 ทางส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้มคี วามเห็นตรงกันทีจ่ ะพัฒนาไก่เนือ้ โคราชให้เป็นอาชีพของ เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการลงนามความร่วมมือใน ระยะที่ 2 โดยมีระยะการวิจยั 3 ปี (พฤศจิกายน 2555 – ตุลาคม 2558) ซึ่งคณะผู้วิจัยจะได้ด�ำเนินการในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ - การพัฒนาพันธุกรรมไก่เนือ้ โคราชให้มคี วามสามารถ ด้านสมรรถนะการผลิตทีด่ ขี นึ้ อย่างต่อเนือ่ ง แต่ยงั ต้องคงรสชาติ ที่อร่อยและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคไว้ให้ได้ - การพัฒนาพันธุกรรมของไก่สายแม่พันธุ์ มทส. โดย เน้นในการเพิ่มผลผลิตไข่เพื่อลดต้นทุนการผลิตลูกไก่ อันเป็น ปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้กลุม่ เกษตรกรทีม่ ีอาชีพเป็นผูผ้ ลิตลูกไก่ จ�ำหน่าย มีความเข้มแข็ง - การพัฒนาอาหารไก่และการจัดการเลีย้ งไก่ เพือ่ ช่วย ลดต้นทุนการผลิต และช่วยเสริมสมรรถนะการผลิตของไก่ เพิม่ ความอร่อยของเนื้อไก่ และท�ำให้เนื้อไก่เป็นเนื้อเพื่อสุขภาพ และใช้เป็นจุดขาย - การพั ฒนาด้านการแปรรูปเนื้อไก่เ พื่อ เพิ่ ม ความ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ ซึง่ จะเป็นการเพิม่ ช่องทางการตลาด และเป็นการเพิ่มมูลค่าของเนื้อไก่ - การสร้างการรับรู้ของตัวไก่และผลิตภัณฑ์ เพื่อ ประโยชน์ในด้านการตลาด - การศึกษาเพือ่ พัฒนามาตรฐานการเลีย้ ง การจัดการ ไก่เนือ้ โคราช และไก่พอ่ –แม่พนั ธุ์ ทีม่ คี วามเหมาะสมส�ำหรับตัว ไก่และกลุ่มเกษตรกร ในอนาคตเมือ่ โครงการวิจยั สิน้ สุดลง คณะผูว้ จิ ยั คาดหวัง ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 128 เกษตร สุรนารี' 58

1) ระดับองค์กร มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารีจะได้ไก่สายพ่อพันธุ์ (สายพันธุ์เหลืองโคราช) ซึ่งเป็นไก่พื้น เมืองไทย 100% ที่พัฒนาพันธุกรรม ให้มีความจ�ำเพาะกับไก่สายแม่พันธุ์ (สายพันธุ์ มทส.) ที่มีความโดดเด่นใน เรื่องผลผลิตไข่ ไก่พ่อ–แม่พันธุ์นี้ใช้ใน การผลิตไก่เนื้อลูกผสมพื้นเมือง (ไก่ เนื้อโคราช) ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคง ทางด้านอาหารให้แก่ประเทศหรือใน ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอาหารที่ เป็นแหล่งโปรตีนจากเนื้อไก่ เนื่องจาก โครงการนีจ้ ะสร้างและรักษาปู–่ ย่าพันธุ์ ของไก่ มทส. และไก่เหลืองโคราชไว้เพือ่ ผลิตพ่อ–แม่พันธุ์ที่ใช้ในการผลิตไก่เนื้อ โคราช โดยมหาวิทยาลัยฯ จะเป็นผูด้ แู ล และพัฒนาต่อไปในอนาคต 2) ระดับท้องถิน่ จะได้เครือ่ งมือ ในการประกอบอาชีพใหม่อย่างยั่งยืน ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ที่ไม่จ�ำเป็นต้อง พึ่งระบบผูกขาดจากบริษัท มีทางเลือก ให้แก่ผบู้ ริโภคเนือ้ ไก่มากขึน้ ส่งเสริมการ บริโภคเนือ้ สัตว์ทเี่ ป็นอาหารเพือ่ สุขภาพ 3) ระดับประเทศ จะสามารถ รักษาพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยไว้โดยการน�ำ พันธุกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาค การผลิ ต ซึ่ ง เป็ น กลยุ ท ธ์ ห นึ่ ง ในการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน การได้บุคลากรที่มี ความรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความ ส� ำ คั ญ ของการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาไก่


พืน้ เมืองทีถ่ กู ต้องตามหลักวิชาการ ส่งผลให้ ประเทศมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ได้ชุดความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพการ เลี้ยงไก่ที่พัฒนาจากการน�ำร่องให้กับ กลุ่มเกษตรกรของโครงการ ซึ่งสามารถ น�ำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างหรือการ พัฒนาอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรกลุ่ม อื่น ๆ ของประเทศ จากวิสยั ทัศน์ทวี่ า่ “มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี สุ ร นารี เป็ น สถาบั น แห่ ง การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีชั้นเลิศ และเป็นที่พึ่งของ สั ง คม” มหาวิ ท ยาลั ย ฯ ได้ เ ล็ ง เห็ น

ถึ ง ประโยชน์ ที่ เ กษตรกรจะได้ น� ำ ไก่ เ นื้ อ โคราชไปใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการประกอบอาชี พ ที่ ยั่ ง ยื น จึ ง ได้ น� ำ เอาผล งานวิ จั ย มาขยายผลเพื่ อ ประโยชน์ ข องเกษตรกรและของ ประเทศ โดยในช่ วงกลางปี พ.ศ. 2556 มหาวิ ท ยาลั ย ฯ ได้อนุมตั งิ บประมาณในการจัดตัง้ ฟาร์มพ่อ–แม่พนั ธุ์ ทัง้ สายพ่อ (เหลืองหางขาว) และสายแม่ (มทส.) ส�ำหรับผลิตลูกไก่เนื้อ โคราช ในปัจจุบันฟาร์มแห่งนี้ได้เริ่มด�ำเนินการแล้ว (ภาพที่ 4) โดยสามารถผลิตลูกไก่เนื้อโคราชให้แก่เกษตรกรที่สนใจ เลี้ ย งได้ ถึ ง เดื อ นละมากกว่ า 30,000 ตั ว นอกจากนี้ ท าง จังหวัดนครราชสีมาได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของโครงการวิจยั นี้ จึงได้บรรจุโครงการไก่เนื้อโคราช ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2557–2560 เพื่อท�ำให้ไก่เนื้อโคราชเป็นอาชีพของชาว จังหวัดนครราชสีมาต่อไป

ภาพที่ 4 ฟาร์มพ่อ–แม่พันธุ์ ส�ำหรับผลิตลูกไก่เนื้อโคราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เกษตร สุรนารี' 58 129


ณ วั น นี้ ไ ก่ เ นื้ อ โคราชได้ ก ลายเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการ ประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกรในเขตจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง และในอนาคตคาดว่าจะสามารถกระจาย ไปยังเกษตรกรทั่วประเทศ ทั้งนี้ในปัจจุบันได้เริ่มมีการสร้าง เครือข่ายกลุม่ ผูผ้ ลิตไก่เนือ้ โคราช และมีแผนการพัฒนารูปแบบ ให้เป็นการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน�้ำไปสู่ปลายน�้ำ มีทั้ง ผู้ผลิตลูกไก่

ต้นน�้ำ

ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ

ผู้ช�ำแหละไก่

กลุม่ ผูเ้ ลีย้ งไก่พอ่ –แม่พนั ธุ์ (ส�ำหรับผลิต ลูกไก่เนื้อโคราช) ผู้เลี้ยงไก่เนื้อโคราช ผู้ ช�ำแหละไก่ และผู้ท�ำการตลาด โดยทุก กลุ่มจะต้องมีรายได้หรือผลตอบแทนที่ เป็นธรรม (ภาพที่ 5) ผู้ขายไก่สดหรือไก่ปรุงสุก

ทุกกลุ่มต้องมีรายได้หรือผลตอบแทนที่เป็นธรรม

ปลายน�้ำ

ภาพที่ 5 ภาพอนาคตของเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่เนื้อโคราช

จากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจขององค์กรทั้ง 4 ฝ่าย (สกว., มทส., กรมปศุสัตว์ และกลุ่มท�ำนาต�ำบลลาดบัวขาว) บั ด นี้ ไ ด้ ก ่ อ เกิ ด เครื่ อ งมื อ ส� ำ คั ญ ในการประกอบอาชี พ ของ เกษตรกรของประเทศชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงอันเป็นพลวัต ทั้งในด้านราคาไก่ ราคาวัตถุดิบ อาหารไก่ การพัฒนาอย่างไม่เคยหยุดยั้งของบริษัทเอกชน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงยังคงมีความจ�ำเป็นที่ต้อง มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ การพัฒนาเครื่องมือนี้จะไม่มีวันหยุด เราจะพัฒนาเครื่องมือนี้ให้สามารถใช้ในการประกอบอาชีพ ของเกษตรกรของชาติได้อย่างยั่งยืน เข้มแข็ง และสง่างาม บนเวทีอาเซียนต่อไป

130 เกษตร สุรนารี' 58

ผู ้ เ ขี ย นขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก งาน กองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย (สกว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กรม ปศุสัตว์ และกลุ่มท�ำนา ต�ำบลลาด บัวขาว ที่สนับสนุนให้เกิดโครงการ วิจยั “การสร้างสายพันธุไ์ ก่เนือ้ โคราช เพื่ อ การผลิ ต เป็ น อาชี พ วิ ส าหกิ จ ชุมชน”


ไมโครไบโอม : เพื่อนแสนล้านชีวิต ในร่างกายคน และสัตว์

เกษตร สุรนารี' 58 131


ไมโครไบโอม : เพื่อนแสนล้านชีวิตในร่างกายคน และสัตว์ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.มณฑารพ ยมาภัย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หากวันหนึง่ ท่านนัง่ อยูใ่ นทีเ่ งียบ ๆ คนเดียวสักแห่งหนึง่ แล้วรูส้ กึ เหงา ว้าเหว่ โดดเดีย่ วขึน้ มา น้อยใจว่าไม่มใี ครเลยเป็น เพือ่ นคูก่ าย ขอบอกเลยว่า ... ท่านคิดผิดถนัด เพราะความจริงแล้ว ในร่างกายของมนุษย์ทกุ คนตัง้ แต่คลอดออกมาจากท้องแม่นนั้ จะมีแบคทีเรีย และจุลชีพอื่น ขนาดจิ๋ว ที่มองด้วยตาเปล่าไม่ เห็น นับแสนล้านชนิดอยูต่ ามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเต็มไปหมด ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น บนผิวหนัง ช่องหู จมูก และในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร ล�ำไส้เล็ก ล�ำไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนัก จ�ำนวนของจุลชีพเหล่า นี้ มีมากกว่าจ�ำนวนเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ทั้งหมดรวม กันถึง 10 เท่า และเจ้าเพื่อนขนาดจิ๋ว จ�ำนวนมหาศาลที่อยู่ใน ร่างกายของเรานี้ ก็ไม่ได้มาอยู่ด้วยกันเฉย ๆ แต่ยังมาช่วยใน การท�ำงานของร่างกาย การด�ำรงชีวิตประจ�ำวันของเรา ตั้งแต่ เกิดจนตาย พวกเขามีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขของเราเป็น อย่างมาก ทัง้ ช่วยป้องกันภัยจากเชือ้ โรคข้างนอก มีผลต่อระบบ ภูมคิ มุ้ กัน ความแข็งแรงของร่างกาย หรือแม้แต่ การเจริญเติบโต และพัฒนาของสมอง รวมทัง้ ระบบการเผาผลาญในร่างกาย แต่ หลายครัง้ โรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง ก็เกิดขึน้ เพราะความผิดปกติ ไม่สมดุล ของการกระจายตัวของประชากรจุลชีพเหล่านี้ เช่น ไปอยู่ผิดที่ มีมากไป หรือน้อยไป เป็นต้น สิ่งแวดล้อม อาหาร การกิน ยารักษาโรค เพศ และวัย ก็มีผลเป็นอย่างยิ่งต่อจ�ำนวน และชนิดของประชากรจุลชีพในร่างกาย อันที่จริงถึงตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า 132 เกษตร สุรนารี' 58

เหล่าเพือ่ นตัวจิว๋ เหล่านี้ มีอทิ ธิพลต่อ ชีวติ และสุขภาพของเราในด้านใดบ้าง อีก ทั้งหากเกิดความผิดปกติไป จะก่อให้ เกิดโรคอะไรได้บา้ ง แต่กเ็ ริม่ มีการศึกษา และค้นคว้ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนท�ำให้ มั่นใจได้ว่า พวกมันอยู่ในตัวเรา และมี อิทธิพลต่อตัวเราแน่ ๆ ดังนั้นในวงการ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นี้ จึงมีการกล่าว ว่า ไม่เพียงแต่ยีนที่ได้จากพ่อแม่เท่านั้น ทีเ่ ป็นตัวก�ำหนดสุขภาพชีวติ ของเรา แต่ ยังมียนี อีกกว่า 3.3 ล้านยีน จากเพือ่ นตัว จิ๋วเหล่านี้ ที่มีผลต่อชีวิตของเราด้วย ดัง นัน้ การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย ทัง้ คน และสัตว์ ให้ดีนั้น หมายถึง จะต้องดูแล เจ้าเพื่อน ๆ ตัวจิ๋วในร่างกายของเราไป ด้วย ดูแลให้อยู่กันได้อย่างดี ๆ มีความ สุข ไม่ทะเลาะกันเอง รักเรามาก ๆ และ คอยดูแลปกป้องเราจากเชื้อโรคร้าย ที่ จะเข้ามาท�ำร้ายร่างกายเรา อั น ที่ จ ริ ง ความรู ้ เ รื่ อ งการมี แบคทีเรีย อยู่ในร่างกายเรานั้น ไม่ใช่ เรื่องใหม่ นักวิทยาศาสตร์รู้จักมันมา


นานเกินร้อยปีแล้ว โดยเรียกแบคทีเรีย เหล่านี้ว่า microflora และรู้ว่าเป็น แบคทีเรียที่มีอยู่ตามปกติในร่างกาย ที่ ปลอดภัย ไม่ท�ำให้เกิดโรคใด ๆ แต่เมื่อ ไม่กี่ปีมานี้เอง ได้เกิดความรู้ใหม่ จาก พัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงชนิด ใหม่ เรียกว่า metagenome sequencing ท�ำให้นักวิทยาศาสตร์ได้พบความ จริงที่คาดไม่ถึงว่า อันที่จริงแล้วในตัว เรานั้นมีแบคทีเรียมากมาย เป็นแสน ล้านชนิด มากกว่า microflora เพียง ไม่กี่ชนิดที่เคยพบโดยวิธีการตรวจสอบ โดยวิธกี ารแบบเดิม ๆ ทีต่ อ้ งผ่านการน�ำ มาเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง (culture) ให้ส�ำเร็จก่อน จึงจะน�ำไปศึกษาว่าเป็น แบคทีเรียชนิดไหน หน้าตาเป็นอย่างไร ได้ ซึ่งการที่ต้องน�ำแบคทีเรียมาเพาะ เลี้ยงก่อนนี้เอง เป็นข้อจ�ำกัดที่ส�ำคัญ ในการประมาณจ� ำ นวนแบคที เรี ย ใน ร่างกายของเรา เพราะแบคทีเรียส่วน ใหญ่ทอี่ ยูใ่ นร่างกายเราเกือบทัง้ หมดนัน้ ไม่สามารถน�ำมาเพาะเลี้ยงได้โดยง่าย ในอดีต การประมาณปริมาณแบคทีเรีย ในร่างกายเราจึงต�่ำกว่าความเป็นจริง ไปมาก แต่วิธีการศึกษาแบคทีเรียด้วย เทคนิค metagenome sequencing นั้ น ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งน� ำ แบคที เรี ย มา เพาะเลี้ยงก่อน สามารถท�ำได้โดยการ สกัด DNA หรื อ สารพันธุก รรม จาก บริเวณต่าง ๆ ในร่างกายเรา แล้วน�ำ

มาตรวจหาล�ำดับเบสของ DNA แต่ละเส้นที่สกัดมาได้อย่าง รวดเร็ว และแม่นย�ำ ด้วยเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ชั้นสูง ราคา แพงมหาศาล เมืองไทยยังไม่มี จากนั้น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลอย่างซับซ้อน ออกมาให้เรารูไ้ ด้วา่ DNA นัน้ มาจาก แบคทีเรียชนิดใด ซึง่ เครือ่ งมือวิเคราะห์อนั มีประสิทธิภาพสูงนี้ สามารถบ่งบอกได้อย่างแม่นย�ำ ลงไปถึงระดับ genus และ species ผลการวิเคราะห์นี้ ได้ถูกน�ำไปในรายงานในวารสาร วิทยาศาสตร์ชั้นน�ำชื่อวารสาร Science เป็นผลให้วงการ แพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วโลก เกิดการตื่นตัว และ ตระหนักถึงความส�ำคัญของมวลหมู่มิตรขนาดจิ๋วในร่างกาย เราเป็นอย่างมาก ผลสรุปการวิเคราะห์ประชากรแบคทีเรียใน ร่างกายมนุษย์แสดงดังภาพที่ 1 ซึง่ ผลจากการวิเคราะห์นแี้ สดง ให้เห็นว่า แต่ละส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ มีกลุ่มแบคทีเรีย อาศัยอยู่อย่างจ�ำเพาะ ไม่เหมือนกัน (และนี่คือเหตุผลที่ท�ำไม กลิน่ อับบริเวณรักแร้ กับกลิน่ เท้าทีเ่ หม็น จึงไม่เหมือนกัน ทัง้ ๆ ที่ก็เป็นคน ๆ เดียวกัน) ซึ่งความแตกต่างของแบคทีเรียกลุ่ม ต่าง ๆ ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายคนนั้น มีมากกว่าความ แตกต่างระหว่างกลุ่มแบคทีเรียในบริเวณเดียวกัน ของคนละ คน (นี่คือเหตุผลว่าท�ำไมกลิ่นเท้าที่เหม็นของใคร ๆ ก็เหม็น คล้าย ๆ กัน) นอกจากนั้นแล้วความแตกต่างของแบคทีเรีย ยัง ขึ้นกับเพศ ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระดับฮอร์โมนในร่างกายมี ผลในการก�ำหนดชนิดของประชากรแบคทีเรีย อีกทั้ง เมื่อนัก วิจยั ได้ทำ� การวิเคราะห์การกระจายตัวแบคทีเรียในเวลาต่าง ๆ ในวันหนึ่ง ๆ ก็ยังพบว่ามีความแตกต่างกันด้วย ถึงแม้จะไม่ มากนักก็ตาม รูปแสดงแผนที่ไมโครไบโอม หรือการกระจาย ตัวของแบคทีเรียในอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายแสดงในภาพที่ 2 ซึ่งแสดงชนิดของแบคทีเรียที่กระจายตัวอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย กลุ่มแรกอยู่บริเวณช่องปาก กล่องเสียง และทาง เดินหายใจ กลุม่ ที่ 2 อยูบ่ ริเวณกระเพาะอาหารและล�ำไส้ กลุม่ ที่ 3 ในทางเดินปัสสาวะ และกลุ่มที่ 4 คือบริเวณผิวหนัง ซึ่ง เกษตร สุรนารี' 58 133


เฉพาะบนผิวหนังนั้น มีแบคทีเรียอยู่ไม่น้อยกว่า 205 จีนัส โดยบริเวณแขนมีแบคทีเรียหลากหลายชนิดมาก ที่สุดคือ ประมาณ 44 สปีชีส์ แบคทีเรียที่อยู่ในช่อง หู จมูก และขาพับ จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในแต่ละวัน และค่อนข้างจะเหมือนกันในแต่ละคน

ภาพที่ 1 รูปแสดงการกระจายตัวของกลุม่ ประชากร แบคทีเรียในลักษณะต่าง ๆ โดยแยกสีตาม (A) ทีอ่ ยู,่ (B) เพศ, (C) บุคคล และ (D) เวลาต่างๆ ในแต่ละวัน จากรูปแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรีย จะแยกกั น เป็ น กระจุ ก ตามอวั ย วะใน ร่างกายมากที่สุด ส่วนในแต่ละวัน บุคคล และเพศ ก็จะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ ไม่ เ ท่ า กั บ ความแตกต่ า งในแต่ ล ะจุ ด ใน ร่างกาย [EAC หมายถึงบริเวณหูและช่องหู; Hair หมายถึง ศีรษะและผม; Oral cavity หมายถึงช่องปาก; Gut หมายถึงกระเพาะ และล�ำไส้; Skin หมายถึงผิวหนัง; Nostril หมายถึง โพรงจมูก] (คัดมาจาก Costello, E.K., Lauber, C.L., Hamady, M., Fierer, N., Gordon, J.I., and Knight, R. (2009). Bacterial Community Variation in Human Body Habitats Across Space and Time. Science (New York, NY) 326, 1694-1697).

134 เกษตร สุรนารี' 58

ภาพที่ 2 รูปแสดงการกระจายตัวของกลุม่ ประชากร แบคทีเรียในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และ ตัวอย่างของแบคทีเรียทีพ่ บมากในอวัยวะนัน้ ๆ (คัดมาจาก http://www.scientificamerican. com/article.cfm?id=microbiome-graphic explore-human-microbiome)


ไมโครไบโอม หรือประชากร แบคทีเรียที่มาอยู่เป็นเพื่อนกับเรานั้น เริ่มเข้ามาในตัวเราตั้งแต่คลอดออกจาก ท้องแม่ของเรามา ในช่วง 1-2 ปีแรกของ การเจริญเติบโต เหล่าแบคทีเรียก็จะค่อย ๆ มาสะสมในตัวเรา และหลังจาก 2 ปีไป แล้วก็คอ่ นข้างจะคงทีต่ ลอดไป ดังนัน้ ใน ช่วงหนึ่ง ถึงสอง ปีแรกจึงเป็นช่วงเวลา ที่ส�ำคัญมากของชีวิต ที่ร่างกายจะได้ สะสมแบคทีเรียที่จะมีประโยชน์ และมี ผลกระทบต่อชีวติ และสุขภาพ ตลอดไป สิง่ แวดล้อม อาหารทีร่ บั ประทาน และการ เลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก จึงเป็นช่วงเวลาทีส่ ำ� คัญมาก ดังแสดงใน ภาพที่ 3 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบชนิด และจ� ำ นวนประชากรแบคที เรี ย ของ เด็กที่เติบโตในประเทศ Burkina Faso ในแถบแอฟริกาตะวันตก และประเทศ อิตาลี ในยุโรป ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความ แตกต่างกันอย่างมาก และความแตก ต่างนี้ก็จะยังคงอยู่เมื่อเจริญเติบโตเป็น ผู้ใหญ่แล้วด้วยและนอกจากถิ่นก�ำเนิด ที่เติบโตขึ้นมา ซึ่งมีความแตกต่างทั้ง อาหารการกิน และสภาพแวดล้อมอืน่ ๆ แล้ว สิ่งที่มีปัจจัยส�ำคัญต่อการสร้าง ประชากรแบคทีเรียในเด็ก ยังขึ้นกับวิธี การคลอดด้วย โดยมีรายงานหลายเรื่อง ที่แสดงว่า เด็กที่คลอดผ่านช่องคลอด ของแม่ จะได้รับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ต่อการเจริญเติบโตที่ดีกว่า เด็กที่คลอด

โดยการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง ที่เหมือนจะดูดีเพราะสะอาด ปลอดเชื้อ แต่กลายเป็นว่ากลับเป็นข้อเสีย เพราะเด็กเหล่านี้ จะไม่มโี อกาสได้สมั ผัส น�ำ้ คร�ำ่ และแบคทีเรียทีอ่ ยูใ่ นช่องคลอด แม่ ซึง่ เป็นแบคทีเรียทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ การพัฒนาภูมคิ มุ้ กัน และ การพัฒนาของสมองอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานอีก จ�ำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า น�้ำนมแม่นั้นเป็นแหล่งบ่มเพาะ แบคทีเรียทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ร่างกายของลูกทีด่ ที สี่ ดุ เพราะน�ำ้ นม แม่มีสาร พรีไบโอติก ประเภท galacto-oligosaccharides (GOS) ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อนมาก ที่จะช่วยเป็นอาหารชั้นเลิศ ให้กับแบคทีเรียกลุ่มส�ำคัญที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย (แบค ทีเรียโพรไบโอติก) ประเภท Bifidobacterium ดังนั้นนี่จึง เป็นเหตุผลส�ำคัญอีกเหตุผลหนึ่งว่าท�ำไมเด็กที่ได้ทานนมแม่ จึงเติบโตเป็นเด็กที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งถึง แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีบริษัทผลิตนมหลายบริษัทที่ได้โฆษณา ว่า ได้มีการใส่สารอาหารเสริม GOS หรือ oligosaccharides ประเภทอืน่ เข้าไป แต่ GOS ทีไ่ ด้จากการสังเคราะห์เหล่านี้ ก็ยงั ไม่มีคุณภาพดีพอใกล้เคียงกับ GOS จากนมแม่เลย ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ รวมทั้งในเมืองไทย แม่ส่วนใหญ่มัก คลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง ซึ่งถึงแม้ว่าลูกจะ ไม่มโี อกาสได้สมั ผัสแบคทีเรียทีเ่ ป็นประโยชน์จากช่องคลอดแม่ แต่หากได้ทานนมแม่ ก็จะมีประโยชน์มาก เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผล งานวิจยั ล่าสุดทีน่ า่ สนใจมาก ได้ทำ� การเปรียบเทียบคุณภาพนม แม่ ทีค่ ลอดบุตรโดยวิธปี กติ คลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้องแบบ ไม่จงใจ (คือตั้งใจจะคลอดปกติ มีการปวดท้องคลอดแล้ว แต่ เกิดปัญหา ไม่สามารถคลอดปกติได้ จึงต้องผ่าตัดออก) และ ผ่าตัดคลอดแบบตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้น ไม่ต้องมีการเจ็บท้องคลอด พบว่า แม่ใน 2 กลุ่มแรกมีคุณภาพนมที่ช่วยบ่มเพาะให้ลูกมี แบคทีเรียในล�ำไส้ทมี่ คี ณ ุ ภาพดีกว่า แบบทีผ่ า่ ตัดออกโดยไม่เจ็บ ท้องคลอดเลย ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่า ฮอร์โมนในร่างกายมีผล ต่อแบคทีเรีย และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนมแม่ ซึง่ สามารถส่ง เกษตร สุรนารี' 58 135


ต่อไปยังลูกได้ ดังนัน้ ผูเ้ ขียนจึงขอแนะน�ำให้แม่ทกุ คน พยายาม ตั้งใจคลอดด้วยวิธีใกล้ธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ อีก ทั้งในช่วง อายุ 1 ปีแรกนั้น หากหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรให้เด็กต้อง

ทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อมากเกินไป เพราะยาเหล่านี้จะไปฆ่าแบคทีเรียดี ๆ ที่เป็นมิตรต่อร่างกายของเด็กด้วย

ภาพที่ 3 แสดงการกระจายตัวของประชากรแบคทีเรียในล�ำไส้เด็กที่เติบโตในประเทศ Burkina Faso (a) และ ประเทศอิตาลี (b) โดยศึกษาจากการวิเคราะห์ลำ� ดับเบส ของ 16S rRNA จะเห็นได้ว่าการกระจายตัวแตกต่างกันมาก แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อม และอาหาร มีผลส�ำคัญต่อปริมาณและชนิดของประชากรแบคทีเรีย ในร่างกายมนุษย์ (คัดมาจาก De Filippo, C., Cavalieri, D., Di Paola, M., Ramazzotti, M., Poullet, J.B., Massart, S., Collini, S., Pieraccini, G., and Lionetti, P. (2010). Impact of diet in shaping gut microbiota revealed by a comparative study in children from Europe and rural Africa. Proc Natl Acad Sci U S A 107, 14691-14696)

นอกจากนั ก วิ ท ยาศาสตร์ จ ะได้ ท� ำ การวิ เ คราะห์ ประชากรแบคทีเรียที่กระจายตัวตามบริเวณต่าง ๆ ร่ายกาย ของคนปกติแล้ว ยังได้มีการศึกษาผลกระทบของ ประชากร จุลชีพ ต่อ สุขภาพ การเจริญเติบโต การพัฒนาและการเกิด โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์หลายอย่าง ทีม่ หี ลักฐานทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ชัดเจน ก็คือในเรื่องของ ประชากรแบคทีเรีย ในล�ำไส้ กับการเกิดโรคล�ำไส้อักเสบเรื้อรังที่เป็นกันมากใน 136 เกษตร สุรนารี' 58

แถบทวีปยุโรป ชื่อว่า inflammatory bowel diseases เพราะในผู้ป่วยที่ เป็ น โรคนี้ จะมี จ� ำ นวนและชนิ ด ของ แบคทีเรียในล�ำไส้แตกต่างจากคนปกติ มาก ดังนั้นแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การพยายามปรับสมดุลของแบคทีเรีย ในร่างกายเสียใหม่ ไม่วา่ จะเป็นการปรับ


อาหารทีร่ บั ประทาน การออกก�ำลังกาย และการทานแบคทีเรียโพรไบโอติกเสริม รวมทัง้ แนวทางใหม่ซงึ่ ออกจะดูนา่ รังเกียจ แต่ได้ผลดี คือการทาน หรือ ปลูกถ่าย อุ จ จาระ หรื อ ขี้ นี่ แ หละ จากผู ้ ที่ มี สุขภาพแข็งแรงดี ท่านอ่านถูกแล้วค่ะ ผู้เขียนไม่ได้พิมพ์ผิด แนวทางการรักษา นี้ เ รี ย กชื่ อ ภาษาอั ง กฤษว่ า Fecal bacteriotherapy โดยมี ร ายงาน ทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือจ�ำนวนมาก ทีไ่ ด้แสดงว่าสามารถใช้วธิ นี ใี้ นการรักษา โรคติดเชือ้ Clostridium difficile ในทาง เดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่า การใช้ยาปฏิชีวนะ Vancomycin เพียง อย่างเดียว นอกจากนัน้ แล้ว แนวทางการ รักษาด้วยอุจจาระนี้ ยังได้ถูกน�ำไปใช้ ในการรักษาโรค ล�ำไส้อักเสบอื่น ๆ และ โรคท้องผูกอีกด้วย (ดูภาพที่ 4 ประกอบ) รายงานอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจ และมีมาอย่างต่อเนื่อง คือการศึกษา ถึงผลกระทบของจ�ำนวนและชนิดของ ประชากรแบคทีเรียในล�ำไส้ กับ การ เจริ ญ เติ บ โต และพั ฒ นาสมอง ซึ่ ง ดู แล้วไกลกันมาก แต่กลับมีปฏิสัมพันธ์ กันอย่างไม่น่าเชื่อ อาทิเช่น มีรายงาน ว่าประชากรแบคทีเรียในเด็กที่เป็นโรค ออทิ ส ติ ก จะผิ ด แผกแตกต่ า งจาก ประชากรปกติ และรายงานล่าสุดเมื่อ เดื อ น พฤศจิ ก ายน 2554 ที่ ผ ่ า นมา นี้ เ อง ก็ มี ก ารรายงานว่ า หนู ที่ ไ ม่ มี

ภาพที่ 4 ด้ า นซ้ า ยมื อ เป็ น ภาพแบคที เรี ย ที่ พ บได้ ใ นอุ จ จาระ (คัดมาจาก Wikipedia-Contributors (2014). Fecal bacteriotherapy (Wikipedia, The Free Encyclopedia) ด้ า นขวามื อ เป็ น แบคที เรี ย ที่ ก ่ อ โรคล� ำ ไส้ อั ก เสบชื่ อ Clostridium difficile ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาด ได้ดว้ ยการปลูกถ่าย หรือกิน อุจจาระของผูท้ มี่ สี ขุ ภาพดี ซึ่งมีแบคทีเรียที่แสดงในรูปด้านซ้ายอยู่ (คัดมาจาก Smith, M.B., Kelly, C., and Alm, E.J. (2014). Policy: How to regulate faecal transplants. Nature 506, 290-291)

แบคที เรี ย ในล� ำ ไส้ เ ลย จะมี ก ารเจริ ญ เติ บ โตของเยื่ อ กั้ น ระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) ที่ผิดปกติ ไป คือจะไม่พัฒนาเต็มที่ เท่า กับหนูที่มีแ บคทีเรีย ปกติใน ล�ำไส้ และก่อนหน้านี้ก็เคยมีรายงานที่แสดงให้เห็นมาก่อน แล้วว่า หนูที่เจริญเติบโตในสภาวะปราศจากเชื้อ (คือไม่มี แบคทีเรียในล�ำไส้เลย) จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ จึง ไม่แข็งแรง และตายได้ง่าย การศึกษานี้ และการศึกษาอีก หลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ถึงแม้จะเป็นเพียงการวิจัยในหนู ทดลอง แต่ผลที่ได้ก็แสดงว่าแบคทีเรียที่อยู่ในล�ำไส้นั้น น่า จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของสมองคนด้วยเช่น กัน เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะอธิบายว่า เหตุใด แบคทีเรียในล�ำไส้ ที่ดูเหมือนจะอยู่กันคนละส่วน และห่างไกล เกษตร สุรนารี' 58 137


มากจากสมอง จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง ก็คือ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถสังเคราะห์สารต่าง ๆ เช่น fatty acids หรือ metabolites อืน่ ๆ ทีส่ ามารถถูกดูดซึมผ่านเข้าไป ในกระแสเลือด แล้วมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของ สมองได้ กล่ า วโดยสรุ ป จนถึ ง ปี 2552 มี ร ายงานที่ น ่ า เชื่ อ ถือได้เป็นจ�ำนวนมากที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การ เปลีย่ นแปลงการกระจายตัวของประชากรจุลชีพเฉพาะในล�ำไส้ กับ โรคและอาการผิดปกติตา่ ง ๆ 25 ประเภท ซึง่ โดยส่วนใหญ่ แล้ว พบว่าผู้ที่เป็นโรคจะมีความหลากหลายของประชากร แบคทีเรียลดลง โดยเฉพาะแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น Bifidobacterium spp., Faecalibacterium prausnitzii, และ Akkermansia muciniphila เป็นต้น อีกทั้งยังเริ่ม มีการใช้ แบคทีเรียโพรไบโอติก โดยเฉพาะในกลุม่ Lactic acid ในการรักษาโรคอีกด้วย ซึง่ เหตุการณ์เหล่านีเ้ ป็นเพียงจุดเริม่ ต้น เท่านัน้ ผูเ้ ขียนมัน่ ใจว่าในอนาคต จะมีรายงานท�ำนองนีม้ ากขึน้ ไปอีก และจะไม่จำ� กัดอยูเ่ ฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรีย ในล�ำไส้ กับการเกิดโรค และอาการผิดปกติต่าง ๆ เท่านั้น แต่ จะรวมไปถึงแบคทีเรียในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกด้วย อีก ทั้งแนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคต่อไปในอนาคต ก็จะไม่ จ�ำกัดเฉพาะแต่การให้ยาเพื่อรักษาตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่จะรวม ถึงการให้ยา หรือสารเสริม เพื่อช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรีย ในร่างกายให้ปกติอีกด้วย รวมทั้งจะมีการใช้แบคทีเรียนี่แหละ เป็นตัวบ่งชี้ หรือท�ำนายว่า ท่านอาจจะเป็นโรคอะไร หรือมี ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง (biomarker) ในอนาคต ท่านผูอ้ า่ นบางท่านอาจจะเห็นว่า ชือ่ เรือ่ งของบทความ นี้ เขียนว่า ไมโครไบโอมเป็นเพือ่ นแสนล้านชีวติ ของทัง้ คนและ สัตว์ แต่ทำ� ไมจึงมีการกล่าวถึงเฉพาะคน และหนูทดลองเท่านัน้ เหตุผลก็คือ เพราะมีหลักฐานทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ที่น่าเชื่อถือเฉพาะกับในคนและหนูทดลองเป็นจ�ำนวนมาก 138 เกษตร สุรนารี' 58

และเป็นส่วนใหญ่ อันทีจ่ ริงแล้วก็พอจะมี รายงานความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอม กับสุขภาพของสัตว์ต่าง ๆ บ้างแล้วสิ่งที่ กล่าวถึงในคน ในภาพรวมก็จะคล้าย ๆ กับ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ต ว์ เช่ น กั น แต่ ก็ จ ะไม่ เหมือนกันซะทีเดียวต่อ ๆ ไป ผู้เขียน คาดว่า คงจะมีรายงานเกี่ยวกับไมโคร ไบโอม กับสัตว์มากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายนีผ้ เู้ ขียนขอฝากไว้สนั้ ๆ ว่า ในเมื่อเรารู้แล้วว่าเราไม่ได้อยู่ตัวคน เดียว แต่มีเพื่อนอีกมากมายในตัวเรา ที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา จึงไม่ตอ้ งรูส้ กึ เหงาอีกต่อไป และก็จำ� เป็น ทีจ่ ะต้องพยายามดูแลเพือ่ น ๆ เหล่านีใ้ ห้ ดีดว้ ย ไม่วา่ การทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ และอาจเสริมด้วยกลุ่มแบคทีเรียที่เป็น มิตรต่อร่างกายคือ โพรไบโอติก และ อาหารของแบคทีเรียเหล่านีค้ อื พรีไบโอติก ด้วยก็จะดี อีกทั้งหากเป็นไปได้ ควร พยายามใช้ยาปฏิชวี นะอย่างระมัดระวัง ไม่ใช้พร�่ำเพรื่อ เพราะยาเหล่านี้ไม่ได้ เลื อ กก� ำ จั ดเฉพาะแบคที เรี ย ที่ ก ่ อ โรค แต่อาจท�ำร้ายแบคทีเรียดี ๆ ที่อยู่ใน ร่างกายเราก็ได้ (แต่ก็ไม่ใช่จะไม่ให้กิน ยาเลย เพราะหลายโรคก็ต้องรีบรักษา ไปหาหมอและกินยาให้ครบเพือ่ ให้หาย) อีกทัง้ ควรออกก�ำลังกายอย่างสม�ำ่ เสมอ และท�ำใจให้สงบ เพราะมีรายงานว่า ความเครียดก็มีผลต่อการกระจายตัว ของประชากรแบคทีเรียในร่างกายด้วย เช่นกัน


เอกสารอ้างอิง Braniste, V., Al-Asmakh, M., Kowal, C., Anuar, F., Abbaspour, A., Tóth, M., Korecka, A., Bakocevic, N., Guan, N.L., Kundu, P., et al. (2014). The gut microbiota influences blood-brain barrier permeability in mice. Science Translational Medicine 6, 263ra158. Costello, E.K., Lauber, C.L., Hamady, M., Fierer, N., Gordon, J.I., and Knight, R. (2009). Bacterial Community Variation in Human Body Habitats Across Space and Time. Science (New York, NY) 326, 1694-1697. Pflughoeft, K.J., and Versalovic, J. (2012). Human microbiome in health and disease. Annual review of pathology 7, 99-122. Smith, M.B., Kelly, C., and Alm, E.J. (2014). Policy: How to regulate faecal transplants. Nature 506, 290-291. Wikipedia-Contributors (2014). Fecal bacteriotherapy. ( Wikipedia, The Free Encyclopedia).

เกษตร สุรนารี' 58 139


140 เกษตร สุรนารี' 58


ไอโซฟลาโวนกับสุขภาพหญิงวัยทอง

เกษตร สุรนารี' 58 141


ไอโซฟลาโวนกับสุขภาพหญิงวัยทอง บังอร บำ�รุงพงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ภคนิจ คุปพิทยานันท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

ไอโซฟลาโวน (isoflavone) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของไฟ โตเอสโตรเจน (phytoestrogen) เป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างทาง เคมีคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สร้างจากรังไข่มีฤทธิ์ที่ใกล้ เคียงกัน เป็นกลุม่ สารประกอบจากพืชตระกูลถัว่ พบมากในถัว่ เหลือง ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารที่ส�ำคัญในมนุษย์เช่นกัน สารหลักทีพ่ บในไอโซฟลาโวน มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1) glycoside (genistin, daidzin) และ 2) aglycone (genistein, daidzein) ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ จากการย่อยของ bacterial ß-glycosidase ทีผ่ นังล�ำไส้เล็กและเกิดกระบวนการเมทาบอไลท์ การใช้ไอโซฟลาโวนที่ได้จากธรรมชาติมีผลดีต่อร่างกายของผู้ บริโภค โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองที่มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมน 17ß-estradiol มีปริมาณที่ต�่ำหรือน้อยกว่าปกติ การบริโภค ถั่วเหลืองที่เป็นแหล่งของไอโซฟลาโวนใช้ทดแทนฮอร์โมน 17ß-estradiol จากธรรมชาติจะช่วยให้ร่างกายหรือสุขภาพ ร่างกายไม่เสี่ยงต่อการโรคที่ผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งเมื่อขาด อาจก่อให้เกิดโรคอ้วนและก่อให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรค กระดูกพรุน หรือแม้แต่ความเสีย่ งของการเกิดมะเร็งมดลูก โดย แนวทางการเสริมพืชตระกูลถัว่ ในอาหารใช้เลีย้ งโคนม เช่น กาก ถัว่ เหลือง, clover มีผลต่อการเพิม่ ปริมาณระดับของไอโซฟลา โวนในน�้ำนมได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพและมูลค่าให้กับน�้ำนม และเป็นทางเลือกให้กับผู้แพ้นมหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

142 เกษตร สุรนารี' 58

บทน�ำ การเพิ่ ม ขึ้ น ของประชากร ผู้สูงอายุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผัง โครงสร้างประชากร (ภาพที่ 1) โดย ผู้หญิงไทยมีความเสี่ยงในการเกิดโรค หรื อ ความเสื่ อ มจากสุ ข ภาพร่ า งกาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่ง ในหญิงวัยหมดประจ�ำเดือนหรือผู้หญิง วัยทองการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะ เป็นปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสมดุล ของฮอร์โมนเพศในร่างกาย แหล่งที่ สร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศ ส่วนใหญ่ จะมาจากรังไข่ ซึ่งในระยะสุดท้ายก่อน ที่จะหมดประจ�ำเดือนในหญิงวัยทอง รั ง ไข่ จ ะมี ก ารสร้ า งและหลั่ ง ฮอร์ โ มน เพศน้อยหรือต�่ำมาก คือ Estrogen (E2) และ Progesterone (P4) โดย ทั้ง 2 ฮอร์โมน ส่งผลต่อแนวโน้มการ เกิดโรคกระดูกพรุนสูง (Hadley and Levine, 2006) ถ้ามีการทดแทนด้วย ฮอร์โมนสังเคราะห์อย่างต่อเนื่องจะมี


ผลท�ำให้การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งมดลูกสูงขึ้นตามมา ซึ่งแนวทาง การทดแทนฮอร์โมนจากผลิตภัณฑ์จาก

ถัว่ เหลืองมีความเหมาะสมทีจ่ ะเลือกเป็นแหล่งทดแทนฮอร์โมน ในผู้หญิงวัยทอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางคนบางกลุ่มที่มีข้อ จ�ำกัดเนื่องจากการแพ้ถั่วเหลือง

ภาพที่ 1 ผังโครงสร้างประชากรไทยกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่มา : วนิดา (2553)

ถั่ ว เหลื อ ง เป็ น ธั ญ พื ช ที่ นิ ย ม น�ำมาบริโภค โดยเฉพาะผู้ที่รักสุขภาพ และผู้ที่ทานมังสวิรัติเป็นประจ�ำ โดย มีการน�ำมาบริโภคโดยตรง เช่น นมถั่ว เหลืองหรือน�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อื่นๆ เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอ้ิว และ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ที่มีราคาถูก กว่าเนื้อสัตว์ มีรายงานของนักวิจัยว่า สารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง สามารถ ทดแทนเอสโตรเจนในร่ า งกายได้ (ศัลยา, 2011) โดยพบว่า การรับประทาน ถั่วเหลืองเป็นประจ�ำ จะช่วยลดความถี่ และความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flush) และยังช่วยควบคุมระดับ ฮอร์โมนเพศได้ด้วย นอกจากนี้ผู้หญิง ชาวเอเซียที่รับประทานถั่วเหลืองเป็น ประจ�ำ มีการแสดงออกของมะเร็งเต้า นมน้อยกว่าหญิงชาวตะวันตก

ไอโซฟลาโวน มีโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วย 2 รูป แบบ คือ 1) Glycoside form มีอนุพันธ์ Genistin, Daidzin และ Glycitin เป็นโครงสร้างที่พบอยู่ในอาหารทั่วไป และเมื่อ ร่างกายเมือ่ รับเข้าไปยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จะต้องมีการ ย่อยด้วยเอนไซม์ภายในระบบการย่อยอาหารและเอนไซม์จาก จุลินทรีย์ในล�ำไส้ใหญ่ ให้อยู่ในรูปโครงสร้างทางเคมีแบบที่ 2 คือ Aglycones form มีอนุพันธ์คือ Genistein, Daidzein และ Glycitein (ภาพที่ 2 )

ภาพที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของไอโซฟลาโวน ในรูปแบบ Glycoside form และ Aglycone form ที่มา : Christopher, and Cederroth (2009). เกษตร สุรนารี' 58 143


เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนในร่างกาย ส่งผลให้ อวัยวะต่าง ๆ ที่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ERs) สามารถ ท�ำงานได้ตามปกติ และมีรายงานว่าในหญิงวัยหมดประจ�ำเดือน หลังจากไม่มีประจ�ำเดือน 1 ปี มีการสลายของกระดูกเพิ่ม มากขึน้ สังเกตได้จากความแข็งแรงของกระดูกลดลงเกิดกระดูก หักได้ง่ายแม้ได้รับการกระทบกระแทก เพียงเล็กน้อย สาเหตุ ที่พบได้บ่อยและส�ำคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจาก การหมดประจ�ำเดือน ทั้งนี้ผู้หญิงหลังหมดประจ�ำเดือนจะมี การสูญเสียเนือ้ กระดูก ดังแสดงในรูปที่ 3 ประมาณร้อยละ 3-5 ต่อปี ในเวลา 3-5 ปีแรกของการหมดประจ�ำเดือนท�ำให้ มวลกระดูกลดลงประมาณร้อยละ 15 หลังจากนั้น อัตรา การสูญเสียเนื้อกระดูกจะลดลงสู่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 0.5-2 ต่อปี จนเข้าสูว่ ยั สูงอายุ แม้วา่ การเสริมแคลเซียมในช่วงวัยทอง ไม่สามารถขจัดผลของการขาดเอสโตรเจนได้ แต่จะช่วยลด ผลที่เกิดจากการขาดแคลเซียมได้ ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียม จากอาหารวันละ 800-1,200 มก. อาหารที่มีแคลเซียมสูง

ได้ แ ก่ นม ปลาทอดกรอบกิ น ได้ ทั้ ง กระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ เป็นต้น ดังนั้น การทดแทนฮอร์ โ มนเอสโตรเจนใน อาหารที่มีแหล่งแคลเซียมสูง จะช่วยให้ ลดการสลายแคลเซียมจากกระดูกลดลง จากการรวบรวมเอกสารของ Chen และ Anderson (2002) พบว่ า การให้ อาหารที่มีปริมาณของไอโซฟลาโวนสูง ในอาหารหนูที่ตัดรังไข่ พบว่า ความ สามารถในการสะสมแคลเซียม (bone mineral content: BMC) และความ หนาแน่นของกระดูก (bone mineral density : BMD) มีการตอบสนองที่ดี เมื่ อ มี ก ารให้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ดั ง แสดง ในตารางที่ 1

ภาพที่ 3 ลักษณะของโครงสร้างกระดูกที่มีลักษณะปกติ และกระดูกที่มีการสูญเสียเนื้อกระดูก

144 เกษตร สุรนารี' 58


ตารางที่ 1 การตอบสนองไอโซฟลาโวนต่อ BMC และ BMD ในหนู ที่มีการตัดรังไข่ Isoflavone Content in animal diet 1 mg/day* 0.5 mg - 5.0 mg/day 50 mg/kg/day 5-25 mg/gbw/day(inject) NA® 0.1-0.7 mg/day 50 mg/kg/day 10 mg/kg/day 0.7-5 mg/day *Pure genistein; ®Not available.

Time 28 days 14 days 28 days 21 days 30 days 14-28 days 28 days 90 days 28 days

Effects on Bone Reference positive biphasic effects positive positive positive positive positive positive positive

retention Blaie et al., 1996 Anderson et al., 1998 Ishida et al., 1998 Fanti et al., 1998 Arjmandi et al., 1998a and b Ishimi et al., 1999 Toda et al., 1999 Picherit et al., 2000 Ishimi et al., 2000

อ้างอิงจาก Chen และ Anderson (2002)

จากตารางพบว่า เมื่อมีการรับ อาหารทีม่ ปี ริมาณของไอโซฟลาโวน เริม่ ตั้งแต่ปริมาณ 1 mg/day รับต่อเนื่อง 21 วัน มีผลให้เกิดการตอบสนองการ สะสมแคลเซียมในกระดูก แสดงว่า ใน ผูห้ ญิงหมดประจ�ำเดือน ถ้ามีการบริโภค อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ร่วมกับ

ไอโซฟลาโวนในอาหารนั้นด้วย จะมีผลท�ำให้ร่างกายสะสม แคลเซียมในร่างกายได้มากขึ้น ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งที่อุดม ด้วยแคลเซียมสูง ที่สามารถให้ไอโซฟลาโวนทดแทนฮอร์โมน เอสโตรเจนร่วมด้วยได้ จะมีอยู่ 2 แหล่ง ที่นิยมบริโภคทั่วไป คือ น�้ ำ นมถั่วเหลื อง แต่ส� ำหรั บในผู้ หญิ งวัย ทองบางคนที่ แพ้ถั่วเหลือง สามารถที่จะทดแทนด้วยการเลือกบริโภคน�้ำนม โคชนิดที่มีไอโซฟลาโวนสูงแทนได้

เกษตร สุรนารี' 58 145


เอกสารอ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์. (2011). ถั่วเหลืองกับภาวะหมดประจ�ำเดือน. เวปออนไลน์: http://www.moph.go.th/ops/doctor/Drjune45/docJune45/column/drug69.doc. วนิดา ธนประโยชน์ศกั ดิ.์ (2553). โครงสร้างประชากรไทยกับแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงในอนาคต (ธ.ค. 53). เวปออนไลน์ : www.biology.ipst.ac.th/index.php/article-year-2554/299-thai population-structure-with-the-prospect-of-change-in-the-future.html. Chen, X., and Anderson, J. J. B. (2002). Isoflavones and bone: Animal and human evidence of efficacy. Musculoskel Neuron Interact. 2: 352-359. Christopher, R., and Cederroth, S. N. (2009). Soy, phytoestrogens and metabolism: A review. Molecular and Cellular Endocrinology. 304: 30-42. Hadley, M. E., and Levine, J. E. (2006). Endocrinology 6th Edition. Pearson prentice hall. USA. Steinshamn, H., Purup, S., Thuen, E., and Hansen-Moller, J. (2008). Efects of clover-grass silages and cencentratation on the content of phytoestrogens in dairy cow milk. J. Dairy. Sci. 91: 2715-2725. Wiita, B., Upmalis, D. H., and Setchell, K. (2000). Plasma Isoflavone Levels in Women Treated with Soy Dietary Supplements. Menopause. 249 pp.

146 เกษตร สุรนารี' 58


สมุนไพรไทยกับการรักษา โรคเต้านมอักเสบในโค

เกษตร สุรนารี' 58 147


สมุนไพรไทยกับการรักษาโรคเต้านมอักเสบในโค อาจารย์ ดร.สุรชัย รัตนสุข1 อาจารย์ ดร.วนิดา วัฒนพายัพกุล2 อาจารย์รุ่งเรือง บุญส่ง3 รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์4

โรคเต้านมอักเสบ เป็นโรคที่มีความส�ำคัญทางปศุสัตว์ เนื่องจากท�ำให้เกิดความสูญเสียให้แก่อุตสาหกรรมนม ซึ่งอาจ สูญเสียมากถึงปีละ 1,500-2,000 ล้านบาท การอักเสบของ กระเปราะสร้างนม ท่อน�้ำนม โพรงหัวนม ส่งผลให้น�้ำนมและ ส่วนประกอบของน�ำ้ นมมีคณ ุ ภาพด้อยลง สาเหตุของโรคเต้านม อักเสบส่วนมากมาจากการติดเชือ้ แบคทีเรีย แต่กพ็ บว่าสามารถ เกิดได้จากเชื้อราหรือยีสต์ด้วย โคสามารถติดเชื้อแบคทีเรียได้ จากหลายแหล่ง เช่น ติดเชื้อจากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ จากสิ่งปฏิกูลในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ เช่น อุจจาระ พื้นที่อยู่อาศัย ตลอดจนเชื้อที่อยู่กับมือผู้รีดนมเอง ตัวอย่างเชือ้ แบคทีเรียทีก่ อ่ ให้เกิดโรคเต้านมอักเสบ ได้แก่ Klebsiella pneumonia, Pseudomonas pseudomallei, Enterobacter spp., Streptococcus dysgalactiae, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus spp., Mycoplasma bovis, Corynebacterium bovis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Streptococcus agalactiae ซึ่งแนวทางการรักษาที่ผ่าน มานั้นผู้เลี้ยงจะใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านการอักเสบในการ รักษา ซึ่งปัญหาที่พบตามมาคือ เชื้อแบคทีเรียก่อโรคเกิดการ ดื้อยาและพบว่ามียาปฏิชีวนะปนเปื้อนในน�้ำนมดิบอีกด้วย ทัง้ นีแ้ ม่โคจะมีโอกาสเสียชีวติ จากโรคเต้านมอักเสบน้อย แต่โค

จะให้ ผ ลผลิ ต น�้ ำ นมลดลงถึ ง 70% ในปัจจุบันการรักษาโรคเต้านมอักเสบ ในโคได้มีการคิดค้นการใช้สมุนไพรใน การรักษา ซึ่งอาจใช้สมุนไพรสด หรือ สารสกัดที่ได้จากสมุนไพร พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุไ์ ม้ตา่ ง ๆ ที่ ส ามารถน� ำ มาใช้ ป รุ ง หรื อ ประกอบ เป็ น ยารั ก ษาโรค ใช้ ใ นการส่ ง เสริ ม สุขภาพร่างกาย ตัวอย่างของประโยชน์ของพืชสมุนไพร 1. สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่ ง บางชนิ ด อาจมี ร าคาแพง และต้ อ งเสี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยมาก อี ก ทั้ ง อาจหาซื้ อ ได้ ย ากใน ท้องถิ่นนั้น 2. ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียง กั บ ยาแผนปั จ จุ บั น และให้ ความปลอดภัยแก่ผใู้ ช้มากกว่า แผนปัจจุบัน 3. สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำ�นักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 148 เกษตร สุรนารี' 58 1 2


เพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึง่ มี อยูท่ วั่ ไปทัง้ ในเมือง และ ชนบท 4. มีราคาถูก สามารถประหยัด ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการซื้ อ ยาแผน ปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุล ทางการค้า 5. ใช้เป็นยาบ�ำรุงรักษาให้รา่ งกาย มีสุขภาพแข็งแรง 6. ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืช ผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ต�ำลึง 7. ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น ลู ก จั น ทน์ ดอกจั น ทน์ แ ละ กานพลู 8. ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของ อาหาร เช่ น ลู ก จั น ทน์ ใช้ ปรุงแต่งกลิน่ อาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน 9. สามารถปลูก เป็นไม้ประดับ อาคารสถานที่ ต ่ า ง ๆ ให้ สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ 10. ใช้ปรุงเป็นเครื่องส�ำอางเพื่อ เสริ ม ความงาม เช่ น ว่ า น หางจระเข้ ประค�ำดีควาย 11. ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ 12. เป็นพืชที่สามารถส่งออกท�ำ รายได้ ใ ห้ กั บ ประเทศ เช่ น กระวาน ขมิ้นชัน

ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 นักวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดมสมอง วิจัยน�้ำมันสมุนไพรสกัดต้านโรคเต้านมวัวอักเสบแทนการใช้ ยาปฏิชีวนะได้ส�ำเร็จ พบว่า น�้ำมันสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ก่อให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้มากทีส่ ดุ มีอยู่ 7 ชนิด ซึง่ เป็นน�ำ้ มัน ที่สกัดจากสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้ พลู ขมิ้นชัน ไพล กระเพรา โหระพา และมะกรูด จากนั้นได้น�ำน�้ำมันสมุนไพรสกัดทั้ง 7 ชนิด มาท�ำการทดสอบกับแม่วัวจริง จนประสบผลส�ำเร็จได้ ผลิตภัณฑ์จุ่มเต้านมวัว อีกทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากต�ำรับยา เดิมเป็นแบบสเปรย์ฉีด เพื่อให้เกษตรกรได้เลือกใช้ตามความ เหมาะสม อัจฉรัตน์ และคณะ (2012) ได้ท�ำการศึกษาการยับยั้ง การเจริญของเชือ้ แบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม 3 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae และ Escherichia coli โดยใช้การสกัดน�้ำมันหอมระเหยจาก ตะไคร้และตะไคร้หอม พบว่า น�้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถยับยัง้ การเจริญของเชือ้ S. aureus และ S. agalactiae ได้ดที สี่ ดุ รองลงมาคือ E. coli ส่วนน�ำ้ มันหอมระเหยจากตะไคร้ หอม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ S. agalactiae และ E. coli ตามล�ำดับ จุฑารัตน์ และคณะ (2553) ได้ทำ� การการศึกษาฤทธิต์ า้ น แบคทีเรียของพืชสมุนไพรไทย โดยน�ำพืชสมุนไพรไทย 13 ชนิด ได้แก่ กระดังงาไทย การเวก สัตบรรณ โมก ปีบ เล็บมือนาง จัน จ�ำปี สารภี นางแย้ม ประดู่ พิกุล และแก้ว สกัดด้วยเอทานอล 95% และทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทา นอลจากพืชสมุนไพรไทยทั้งหมดด้วยวิธี agar disc diffusion ต่อแบคทีเรีย 6 ชนิด ได้แก่ S. aureus, E. faecalis, K. pneumonia, M. luteus, B. subtilis และ C. violaceum พบว่า สารสกัดกิง่ สารภีและดอกสารภีมฤี ทธิต์ า้ นเชือ้ แบคทีเรีย ได้ทั้ง 6 ชนิด เกษตร สุรนารี' 58 149


พงษ์มณี และ สนามพล (2550) ท�ำการทดสอบฤทธิท์ าง ชีวภาพของน�้ำคั้นสด และสารสกัดด้วยไอน�้ำ และเอทานอล ความเข้มข้น 95% จากพืชผักสมุนไพรพืน้ บ้านจ�ำนวน 24 ชนิด ต่อการยับยัง้ การเจริญของจุลนิ ทรียก์ อ่ โรคในอาหาร 2 ชนิด คือ S. aureus TISTR 029 และ Salmonella typhimurium TISTR 292 พบว่า สารสกัดด้วยไอน�้ำของผักแขยง สามารถ ยับยั้งการเจริญของ S. aureus ได้มากที่สุด โดยมีขนาดโซน ใส 9.5 มิลลิเมตร ที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง และน�้ำคั้นสดของ กระถิน สารสกัดด้วย 95% เอทานอล จากกวางตุ้งและใบแค มีฤทธิใ์ นการยับยัง้ S. typhimurium มากทีส่ ดุ โดยมีขนาดโซน ใส 8.0 มิลลิเมตร ที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง Abaineh และ Sintayehu (2001) ได้ท�ำการศึกษา การใช้สมุนไพร Persicaria senegalensis ในการต้านเชื้อ ก่อโรคเต้านมอับเสบ โดยใช้สารสกัดหยาบและใบของพืช ต้นนี้ ผลการทดลองพบว่า สารสกัดหยาบและใบของสมุนไพร นีส้ ามารถยับยัง้ การเจริญของเชือ้ Staphylococcus aureus, Candida albicans และ Corynebacterium Bovis และ Pseudomonas aeruginosa ได้ทั้งหมด (Abaineh & Sintayehu, 2001) Aggachai และคณะ (2007) ได้ท�ำการศึกษาฤทธิ์การ ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่เป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบ ในโคนม ด้วยสารสกัดสมุนไพร 7 ชนิด ที่สกัดด้วย เอทานอล 95% ได้แก่ พลู บัวบก เปลือกมังคุด กระเจีย๊ บแดง ฝรัง่ ดาวเรือง และหญ้าลูกใต้ใบ โดยทดสอบที่สารสกัดความเข้มข้น 1 % กับเชื้ อ แบคที เรี ย แกรมลบที่แยกได้จ ากน�้ำนมโคที่ เ ป็ นโรค เต้านมอักเสบ พบว่า ค่าเฉลีย่ จ�ำนวนโคโลนีของเชือ้ Klebsiella spp. และ E. coli ทีท่ ดสอบด้วยสารสกัดจากพลูและกระเจีย๊ บ แดงมีปริมาณลดลง ผลการทดลองครั้งนี้แสดงว่า พลู และ กระเจี๊ยบแดง น่าจะพัฒนาน�ำไปใช้ในการควบคุมโรคเต้านม อักเสบต่อไปได้ 150 เกษตร สุรนารี' 58

Kalayou และคณะ ได้ท�ำการ คัดเลือกพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา โรคเต้านมอักเสบ รักษาแผลและภาวะ แทรกซ้อนในระบบทางเดินอาหารโดย การสกัดด้วยเอทานอลจากพืชสมุนไพร 9 ชนิด คือ Achyranthes aspera, Ficus caria, Malvi parviflora, Vernonia species, Solanum hastifolium, Calpurinia aurea, Nicotiana tabacum, Ziziphus spina-christi และ Croton macrostachys โดยท�ำการทดสอบ การต้านการเจริญของเชื้อ S. aureus, S. intermedius, S. hycus, E. coli, K. pneumonae, S. agalactiae, S. dysgalactiae และ D. congolensis ผลการทดลองพบว่ า พื ช ทุ ก ชนิ ด สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรค ได้ยกเว้นพืชสมุนไพร S. hastifolium (Kalayou et al., 2012) Masniari (2011) ท�ำการทดสอบ ผลของสารสกัดจากขิงแดงต่อการเจริญ ของเชื้ อ ที่ เ ป็ น สาเหตุ ข องโรคเต้ า นม อักเสบ โดยท�ำการศึกษาผลของสาร สกัดที่ได้จากการสกัดขิงแดงด้วยเมทา นอลต่อการเจริญของเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ S. agalactiae โดยใช้ความเข้มข้นของสารสกัดขิงแดง ที่ 50, 25, 12.5, และ 6.25% พบว่า เชื้อ S. epidermidis เป็นเชื้อที่ไวต่อ


สารสกัดจากขิงแดงมากทีส่ ดุ รองลงมาคือ S. aureus และ S. agalactiae จาก การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ ขิงแดงในการควบคุมเชื้อก่อโรคเต้านม อักเสบทั้งสามชนิดนี้ได้ จากงานวิจัยข้างต้นพบว่า การ ทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อก่อโรคเต้านม อั ก เสบนั้ น พื ช สมุ น ไพรจะต้ อ งผ่ า น การสกัดด้วยตัวท�ำละลายต่าง ๆ เช่น เอทานอล เมทานอล เป็นต้น ซึง่ อาจส่งผล ถึ ง ความไม่ ส ะดวกและต้ น ทุ น ในการ จัดซื้อ ทางผู้วิจัยจึงได้ท�ำการศึกษาฤทธิ์ ของสมุ น ไพรสดในการต้ า นทานเชื้ อ S. aureus และ P. aeruginosa โดยมี ขั้นตอนในการศึกษาดังต่อไปนี้ การส�ำรวจการใช้สมุนไพร ผู ้ วิ จั ย ได้ ท� ำ การส� ำ รวจกลุ ่ ม พื ช สมุนไพรที่หมอยาสมุนไพรใช้รักษาโรค แผลอักเสบเป็นหนอง ซึ่งการติดเชื้อ ของโรคนี้เกิดจากเชื้อ S. aureus และ P. aeruginosa ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ ก่อให้เกิดโรคเต้านมอักเสบ แล้วท�ำการ คั ด เลื อ กกลุ ่ ม พื ช สมุ น ไพรที่ ห าได้ ง ่ า ย ในพื้นที่ ในการทดสอบครั้งนี้ได้เลือก สมุนไพรจ�ำนวน 10 ชนิด คือ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ว่านหอมแดง

ใบมะกรู ด มะม่ ว งไม่ รู ้ ห าว รากมะยม ว่ า นหางจระเข้ ใบน้อยหน่า และว่านกาบหอย มาใช้เป็นแหล่งของสารต้าน การเจริญของเชื้อก่อโรคทั้ง 2 ชนิด เชื้อแบคทีเรียก่อโรค เชื้อ Pseudomonas aeruginosa TISTR 781 และ Staphylococcus aureus TISTR 1466 ทัง้ 2 สายพันธุน์ ไี้ ด้สงั่ ซื้อจากศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย เชื้อทั้งสองได้ถูกเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ เหมาะสมและเก็บไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส ก่อนท�ำการทดลอง การทดสอบการต้านเชื้อก่อโรค น�ำสมุนไพรทั้ง 10 ชนิด ไปล้างท�ำความสะอาดแล้วน�ำ ไปบดให้ละเอียด น�ำสมุนไพรสดบดไปวางบนจานอาหารเลี้ยง เชือ้ ทีม่ เี ชือ้ ก่อโรคอยู่ โดยสมุนไพรแต่ละชนิดจะวางในปริมาณที่ เท่ากันจ�ำนวน 5 ต�ำแหน่ง ในแต่ละจานอาหารเลีย้ งเชือ้ แล้วน�ำ ไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 ชั่วโมง แล้วสังเกตการ ยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของเชื้ อ ก่ อ โรค ถ้ า สมุ น ไพรสดนั้ น มี ฤ ทธิ์ ในการยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของเชื้ อ จะพบการเกิ ด วงใสรอบ ๆ สมุนไพรบด ผลการทดสอบ จากการทดสอบการต้านการเจริญของเชือ้ S. aureus TISTR 1466 และ P. aeruginosa TISTR 781 โดยใช้พืชสมุนไพรบด ทั้ง 10 ชนิด พบว่า มีพืชสมุนไพร 5 ชนิด ที่สามารถต้านการ เจริญของเชื้อก่อโรคทั้งสองได้ ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 1

เกษตร สุรนารี' 58 151


ตารางที่ 1 แสดงกิจกรรมการต้านเชื้อ S. aureus TISTR 1466 และ P. aeruginosa TISTR 781 จาก พืชสมุนไพรบดทั้ง 10 ชนิด สมุนไพร

การยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus TISTR 1466 1. กระเทียม / 2. หอมแดง / 3. หอมหัวใหญ่ / 4. ว่านหอมแดง / 5. ใบมะกรูด x 6. มะม่วงไม่รู้หาว / 7. รากมะยม x 8. ว่านหางจระเข้ x 9. ใบน้อยหน่า x 10. ว่านกาบหอย x หมายเหตุ: / = สามารถยับยั้งได้, x = ไม่สามารถยับยั้งได้

ภาพที่ 1 กิจกรรมการต้านการเจริญของเชื้อ P. aeruginosa TISTR 781 ด้วยการใช้หวั ว่านหอมแดงสดบด หลังจาก บ่มไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 ชั่วโมง

152 เกษตร สุรนารี' 58

การยับยั้งการเจริญของเชื้อ P. aeruginosa TISTR 781 / / / / x / x x x x

ในการทดลองครั้งนี้ สมุนไพรว่านหอมแดง เป็ น สมุ น ไพรที่ น ่ า สนใจมากเนื่ อ งจากเป็ น พื ช สมุนไพรทีเ่ พาะปลูกได้งา่ ยและเจริญเติบโตเร็ว อีก ทัง้ มีหลายงานวิจยั ทีใ่ ช้สารสกัดจากว่านหอมแดงที่ ได้จากตัวท�ำละลายต่าง ๆ มาใช้ในการทดสอบการ ต้านการติดเชือ้ แต่ผลการทดสอบพบว่า ไม่สามารถ ยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa ได้ แต่ในงานวิจัยนี้ได้ พบว่า ว่านหอมแดงสดสามารถยับยัง้ การเจริญของ เชือ้ P. aeruginosa ได้ (ภาพที่ 1) ซึง่ ยังพบว่า ไม่มี รายงานในการใช้ว่านหอมแดงสดในการป้องกัน และรักษาโรคเต้านมอักเสบ ผลจากการศึกษาใน ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสมุนไพรสดสามารถยับยั้ง การเจริญของเชือ้ ก่อโรคเต้านมอักเสบได้ ทีมผูว้ จิ ยั จะได้ท�ำการพัฒนาเป็นสเปรย์น�้ำเพื่อให้เกษตรกร ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นในล�ำดับต่อไป


เอกสารอ้างอิง http://region7.dld.go.th/DControl/Data/Disease/Cow/Mastitis.htm http://www.moe.go.th/mobile1/viewNews.php?nCatId=news11&moe_mod_news_ID=1101 http://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0006255&l=th http://www.dairyco.org.uk/technical-information/animal-health-welfare/mastitis/pathogens the-cause-of-mastitis/#.VGIxjPmsWY8 จุฑารัตน์ บุตรรัตน์, ด�ำรงค์ พงศ์พุทธชาด และ บุษราคัม ทรัพย์อุดมผล. (2553). ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของพืช สมุนไพรไทย. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 7:1. สุภาพร พงษ์มณี และ กัญณาญาภัค สนามพล. (2550). การสกัดสารจากพืชสมุนไพรเพือ่ ยับยัง้ แบคทีเรียก่อ โรคในอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 38:6. อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี, รังสิมา สายศรทิพย์ และ ศุภารัตน์ สุทธิมุสิก. (2012). ประสิทธิภาพของน�้ำมันหอม ระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอมในการยับยัง้ เชือ้ ก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม: Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae และ Escherichia coli. แก่นเกษตร 40 ฉบับพิเศษ 2:230-235. Abaineh, D. and Sintayehu, A. (2001). Treatment trial of subclinical mastitis with the herb Persicaria senegalense (Polygonaceae). Trop Anim Health Prod 33(6): 511-519. Aggachai Sroynum, Kaittisak Tancharoen, Suphachart Panneum, Suwimon Phundee and Narong Chungsamarnyart. (2007). Antibacterial activity of some plant crude-extracts on gram negative bacteria causing mastitis in dairy cows. การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45. Kalayou, S., Haileselassie, M., Gebre-egziabher, G., Tiku'e, T., Sahle, S., Taddele, H. and Ghezu, M. (2012). In–vitro antimicrobial activity screening of some ethnoveterinary medicinal plants traditionally used against mastitis, wound and gastrointestinal tract complication in Tigray Region, Ethiopia. Asian Pacific journal of tropical biomedicine 2(7): 516-522. Masniari, P. (2011). The effect of red ginger (Zingiber officinale Roscoe) extract on the growth of mastitis causing bacterial isolates. African Journal of Microbiology Research 5(4): 382-388.

เกษตร สุรนารี' 58 153


154 เกษตร สุรนารี' 58


ปัญหาปริมาณสารพิษจากเชื้อรา ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

เกษตร สุรนารี' 58 155


ปัญหาปริมาณสารพิษจากเชื้อราในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร กาญจนทวี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ความน�ำ Jones และคณะ (1994) ได้ประมาณความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์อันเนื่องมาจาก การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราในวัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยง สัตว์ มีมากกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1985 องค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) ประมาณ การว่า ในแต่ละปีมากกว่าร้อยละ 25 ของธัญพืชทัว่ โลกทีใ่ ช้กนั อยู่ ได้รับการปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อรา จะเห็นได้ว่ารา และสารพิษจากเชื้อรา ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อคุณภาพ ของเมล็ดธัญพืชต่อสุขภาพของสัตว์ และต่อความปลอดภัยของ สุขภาพมนุษย์ในห่วงโซ่อาหาร สารพิ ษ จากเชื้ อ ราถู ก สร้ า งขึ้ น จากเชื้ อ ราที่ ก� ำ ลั ง เจริญอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการที่ราเจริญอย่างรวดเร็วนี้เอง

156 เกษตร สุรนารี' 58

ท�ำให้ใช้สารอาหารหมดลงอย่างรวดเร็ว จึงสร้างสปอร์ขึ้นมาเพื่อความอยู่รอด ในขณะเดียวกันก็มกี ารสร้างสารชีวภาพ ต่ า ง ๆ ที่ มี น�้ ำ หนั ก โมเลกุ ล ต�่ ำ ขึ้ น มา สารเคมีชีวภาพดังกล่าวมีความเป็นพิษ ต่อสัตว์ จึงนิยมเรียกกันว่าสารพิษจาก เชื้อรา หรือ mycotoxins ราบางชนิด สามารถสร้างสารพิษได้มากกว่า 1 ชนิด สารพิษจากเชือ้ ราทีพ่ บเห็นและรูจ้ กั กันดี ได้ แ ก่ อะฟลาทอกซิ น (Aflatoxin) ซึ่ ง ผลิ ต ได้ จ ากเชื้ อ รา Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus


ค�ำว่า mycotoxin มีทมี่ าจาก ค�ำว่า “myco” หมายถึง เชื้อรา (fungi) และ “toxin” หมายถึง สารพิษที่มีที่มา จากสิ่งมีชีวิต เชื้อราสามารถเจริญได้ใน วัตถุดบิ ทางการเกษตรประเภทต่าง ๆ เช่น ธัญพืช ถั่ว และพืชผลต่าง ๆ หลายชนิด แพร่พันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ สปอร์ สามารถแพร่กระจายไปตามกระแสลม และอากาศ หรือแมลงไปยังที่ต่าง ๆ การปนเปื ้ อ นของเมล็ ด ธั ญ พื ช และ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ดว้ ยเชือ้ รา ก่อให้เกิด ปัญหาอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการ ผลิตสัตว์ไม่ว่าจะเป็น โค สุกร หรือ สัตว์ปีก

สาเหตุของการปนเปื้อนเมล็ดธัญพืชและอาหารสัตว์ เชื้อราส่วนใหญ่พบอยู่ในดิน สปอร์ของเชือ้ ราทีม่ ากับ อากาศอาจเข้าสูพ่ ชื ผลในช่วงของการเจริญเติบโตหรือช่วงติดผล เชือ้ รา Fusarium sp. เข้าสูพ่ ชื ในขณะทีเ่ มล็ดพืชก�ำลังงอก โดย ทั่วไปแล้วปริมาณน�้ำและน�้ำตาลที่มีอยู่ในพืชช่วยป้องกันการ สร้างสารพิษจากเชือ้ ราทีร่ นุ แรงภายหลังจากทีไ่ ด้รบั เชือ้ สภาวะ อากาศและการจัดการทีไ่ ม่เหมาะสมช่วยเสริมให้ราสร้างสปอร์ เจริญและแพร่พันธุ์ในวัตถุดิบอาหารสัตว์นั้น การที่เปลือกหุ้ม เมล็ดฉีกขาดหรือถูกแมลงกัดแทะ หรือได้รับปัจจัยเสริมอื่น ๆ (ตารางที่ 1) จะช่วยเอือ้ อ�ำนวยให้เชือ้ ราเข้ามาปนเปือ้ นได้งา่ ยขึน้ เมื่อเชื้อราเจริญบนเมล็ดพืชก็จะเริ่มใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อ การเจริญและขยายพันธุ์ ซึ่งท�ำให้คุณภาพทางโภชนาการของ เมล็ดธัญพืชนั้น ๆ ลดต�่ำลง Bartov (1985) พบว่า ข้าวโพด ที่ถูกปนเปื้อนด้วยเชื้อราจะมีปริมาณไขมันลดต�่ำลงร้อยละ 52-57 ของปริมาณไขมันทัง้ หมดภายในช่วงอายุการเก็บ 50 วัน

ตารางที่ 1 ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อปัญหาสารพิษจากเชื้อรา อุณหภูมิสูง ความแห้งแล้ง ความหลากหลายของพืช ความหนาแน่นของการปลูกพืช การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกล ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฝนตกในฤดูเก็บเกี่ยว การเพาะปลูกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ฝนมีลูกเห็บ ลักษณะเนื้อของดิน วัน เวลาการปลูก น�้ำค้างแข็งปกคลุม

สารพิษจากเชื้อราที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจุบันพบว่า มีสารพิษจาก เชื้อรามากกว่า 350 ชนิดในธรรมชาติ โครงสร้างทางเคมีมีความแตกต่างกัน ค่อนข้างมากในแต่ละชนิด มีสว่ นเหมือน หรื อ คล้ า ยคลึ ง กั น อยู ่ ไ ม่ กี่ ช นิ ด สาร พิษจากเชื้อราอาจพบเป็นได้ส่วนมาก ในวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ หญ้ า อาหาร

สัตว์ หรือในเมล็ดธัญพืช การเกิดของสารพิษจากชื้อราก�ำลัง กลายเป็นปัญหาไปทั่วโลก แต่ปัญหาอาจแตกต่างกันไปบ้าง เพราะสารพิ ษ จากเชื้ อ ราเจริ ญ เติ บ โตได้ ดี ใ นบางพื้ น ที่ โ ดย เฉพาะบริเวณที่มีอากาศร้อนและหนาวเย็นมากกว่าบริเวณ อื่น ๆ ของสภาพภูมิศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกาพบสารพิษจาก เชื้อรา เช่น อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ดีออกซีนิวาเลนอล (Deoxynivalenol หรือ DON) หรือ วอมิทอกซิน (Vomitoxin) เกษตร สุรนารี' 58 157


เซียราเลโนน (Zearalenone) และ ที-ทูทอกซิน (T-2 toxin) นอกจากนีย้ งั พบโอคราทอกซินเอ (Ochratoxin A) และฟูโมนิซนิ (fumonisins) ในแถบอเมริกาเหนืออีกด้วย 1. อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) สารอะฟลาทอกซินเป็นกลุ่มสารพิษจากเชื้อราที่มี การศึกษากันมากที่สุด สารชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นจากเชื้อราสาย พันธุ์ Aspergillus sp. พบเห็นได้ทวั่ โลกทัง้ ในดินและในอากาศ เมื่อสภาวะเหมาะสมและมีแหล่งอาหารเพียงพอ กลุ่มก้อน (colonization) ของเชือ้ ราก็จะปรากฏให้เห็น ราเจริญได้อย่าง รวดเร็วเมื่อมีความชื้นมากกว่า 14% และอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส สารอะฟลาทอกซินเป็นสารพิษและสารก่อมะเร็ง ลูกวัวมีความไวต่อสารตัวนีม้ ากกว่าเมือ่ ตอนมีอายุมากขึน้ สัตว์ ที่มีอาการเรื้อรังอันเนื่องมาจากสารอะฟลาทอกซิน พบว่าการ เจริญเติบโตลดลง สูญเสียความรู้สึกอยากอาหาร ไส้ตรงยื่น ย้อยออกมานอกร่างกายทางทวารหนัก และตับถูกท�ำลาย สาร อะฟลาทอกซินจะถูกดูดซึมภายในบริเวณทางเดินกระเพาะ อาหารและล�ำไส้ และมีบางส่วนที่ถูกขับถ่ายออกภายนอก ถึงแม้ว่าร่างกายสัตว์จะดูดซึมสารชนิดนี้เก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ยังคงเป็นอันตราย เพราะสัตว์เหล่านีเ้ ป็นอาหารในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์อกี ทอด หนึง่ สารอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์บางส่วนจะถูกเปลีย่ นไป เป็นสารประกอบไฮดรอกซิเลทที่มีช่ือเรียกว่า อะฟลาทอกซิน เอ็มวัน (Aflatoxin-M1 หรือ AFM1) สาร AFM1 ที่พบในน�้ำนม เป็นสารที่เปลี่ยนมาจากอะฟลาทอกซินบีวัน (AFB1) ที่ผ่าน กระบวบการเมแทบอลิซึมในร่างกายโคนม ในอัตราส่วน 60:1 และพบได้ในน�้ำนมโคนมในช่วงการให้นม ปริมาณของ AFM1 ในน�ำ้ นมจะหายไปในไม่กชี่ ว่ งของการให้นมเมือ่ ได้ทำ� การก�ำจัด AFB1 ให้หมดไปจากอาหารที่โคนมได้รับ ระดับของ AFM1 ใน 158 เกษตร สุรนารี' 58

น�้ำนมที่ FDA ยอมรับได้ต้องไม่เกิน 0.5 ppb และส�ำหรับ AFM1 ในอาหารสัตว์ ต้องไม่เกิน 20 ppb สารอะฟลาทอกซินส่งผลกระ ทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อผู้ผลิต และผู้เลี้ยงสัตว์ ความสูญเสียอย่างมาก อันเนื่องมาจากสารพิษดังกล่าวที่มีต่อ วงการปศุสัตว์ ดังเช่น โคนม ปรากฏ ในรายงานมากมายในสหรั ฐ อเมริ ก า ออสเตรเลีย และทั่วโลก 2. เซียราเลโนน (Zearalenone F-2) สุ ก รมี ค วามไวต่ อ การได้ รั บ ส า ร พิ ษ ช นิ ด นี้ ใ น อ า ห า ร ม า ก ผลกระทบของสารพิ ษ ชนิ ด นี้ ใ นสั ต ว์ กระเพาะรวมยังไม่ชัดเจนนัก Sundlof และ Strickland (1986) พบว่าสารเซีย ราเลโนนมีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนใน สัตว์กระเพาะเดี่ยว ในขณะที่ Weaver และคณะ (1986a, 1986b) ไม่พบผล กระทบของสารพิษตัวนีใ้ นโคนม อาการ ทีพ่ บเห็นได้ในโคและแกะทีไ่ ด้รบั สารพิษ ชนิดนี้ มีตงั้ แต่อาการเหนือ่ ยอ่อน ท้องร่วง เต้านมบวม ผลผลิตน�้ำนมลดลง มีสาร บางชนิดถูกขับออกมาจากอวัยวะเพศ เมีย การเป็นสัดติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ตลอด (ไม่เว้นว่าง) เป็นหมัน และแท้ง ลูก Jones และคณะ (1994) แนะน�ำว่า ระดับของเซียราเลโนนในอาหารโคนม ควรมีไม่เกิน 250 ppb


3. ดีอ็อกซินิวาเลนอล (Deoxynivalenol หรือ DON) DON หรื อ วอมิ ท อกซิ น (vomitoxin) เป็นสารพิษจากเชื้อราอีก ชนิดหนึ่งที่ท�ำให้สัตว์กระเพาะรวมกิน อาหารได้ลดลงและผลผลิตน�ำ้ นมก็ยงั ลด ลงด้วย (Trenholm และคณะ (1985) และ Jones และคณะ (1994) ถ้าหาก พบสารพิษชนิดนี้ในระดับ 300 ถึง 500 ppb ในอาหารเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า

เริ่มมีปัญหาจากสารพิษจากเชื้อราและยังหมายถึงการที่อาจ พบสารพิษจากเชื้อราชนิดอื่นๆ อีกด้วย DON ถูกสร้างขึ้นจาก เชื้อราสายพันธุ์ Fusarium sp. สุกรเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อ สารพิษชนิดนี้มากกว่าสัตว์ปีกและสัตว์ชนิดอื่น ๆ ถ้าหากสุกร ได้รับสารพิษดังกล่าวจะท�ำให้กินอาหารได้น้อยลง สิ้นเปลือง อาหาร น�้ำหนักตัวลดลง การเจริญเติบโตช้าลงและอาเจียนใน โคนม Charmley และคณะ (1993) ศึกษาผลของเซียราเลโนน ในวัวสาวท้องแรกที่ระดับ 0, 6 และ 12 ppm concentrate DM ที่มีต่อค่า DMI และผลผลิตน�้ำนม (milk yield) ได้ผลดัง แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลของปริมาณ Deoxynivalenol ที่มีต่อวัสดุแห้งที่ได้รับและผลผลิตน�้ำนม Diet Item DON-0 DON-6 DON-12 Total DMI (kg/d) 6.3 15.9 16.3 Concentrate intake (kg/d) 8.55 8.59 8.61 DON intake (mg/d) 0.589 42.7 104.2 Milk yield (kg/d) 22.8 21.4 21.5 DON-6 = 6 ppm or mg/kg

ผลการทดลองในตารางที่ 2 แสดงให้เห็นถึงว่าไม่มีความแตกต่าง (ที่ระดับ P>0.16) ในการวัดค่าแต่ละ รายการในช่ ว ง 10 สั ป ดาห์ ข องการ ท�ำการศึกษา ไม่พบสาร DON ในน�้ำนม ดังนัน้ ถ้าพิจารณาเฉพาะในส่วนของสาร DON นี้เท่านั้น พบว่าสารดังกล่าวไม่มี ผลกระทบต่อปริมาณการผลิตน�ำ้ นมโดย รวมและค่า DMI จึงเกิดข้อสงสัยตามมา ว่าสาร DON นี้จะท�ำหน้าที่เหมือนเดิม

ในขณะที่มีอยู่ร่วมกันกับสารพิษจากเชื้อราตัวอื่น ๆ ที่มีอยู่ใน อาหารสัตว์หรือไม่ 4. ที-ทูทอกซิน (T-1 Toxin) Petrie และคณะ (1977) พบว่ า สารที - ทู จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การอั ก เสบของกระเพาะอาหารและ ล� ำ ไส้ เลื อ ดออกในล� ำ ไส้ แ ละการตายในโค นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผลต่อปริมาณเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดี้ จาก ตัวอย่างอาหารทีส่ มุ่ เก็บจากฝูงสัตว์ทมี่ ปี ญั หาใน North Carolina ในปริมาณร้อยละ 5% ของอาหารทั้งหมด พบว่ามีสารที-ทู (ถึงมากกว่า 500 ppb) จากการศึกษาถึงผลตกค้าง พบว่ามี เกษตร สุรนารี' 58 159


ประมาณร้อยละ 0.2 ของสารที-ทู และสารอนุพันธ์ของที-ทู ที่ถูกขับอยู่ในน�้ำนมและพบว่าโคมีความไวต่อสารที-ทูมากกว่า สารวอมิทอกซิน 5. ฟูโมนิซิน (Fumonisins) สารฟูโมนิซินเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารพิษจาก เชื้อราชนิดหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นโดยเชื้อ Fusarium moniliforme สารชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในสัตว์หลายชนิด ได้แก่ สมองอักเสบและมีเม็ดเลือดขาวแทรกตามเนื้อเยื่อ (พบเห็นได้ ในไก่ทขี่ าดวิตามินอี) โรค ELEM ในม้า (โรค ELEM เป็นอาการของ โรคที่ท�ำให้ม้าถึงแก่ความตายได้) ปอดบวมน�้ำในสุกรและโรค อาหารเป็นพิษในสัตว์ปกี โดยส่งผลกระทบต่อสมอง ตับ และไต อาการส่อแสดง ได้แก่ ขาและล�ำคอเหยียดตรง กล้ามเนื้อ ไม่สามารถประสานงานกัน อัมพาต เดินส่าย และการเจริญ เติบโตไม่ดี ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราที่มีต่อสุขภาพและระบบ ภูมิคุ้มกันในสัตว์ ผลกระทบหลักอย่างหนึง่ ของสารแอฟลาท็อกซินก็คอื การบดบังภูมคิ มุ้ กัน สารพิษจากเชือ้ ราก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ต่าง ๆ ทีม่ คี วามรุนแรงมากน้อยขึน้ อยูก่ บั ลักษณะและความเข้ม ข้นของสารพิษที่มีปรากฏอยู่ ระยะเวลาที่ได้รับสารพิษและยัง ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของสัตว์ อายุ และสุขภาพสัตว์ ขณะทีไ่ ด้รบั สารพิษ ที่ปนเปื้อนมาในอาหาร (Prelusky และคณะ 1994) สารพิษ จากเชือ้ ราส่วนใหญ่มคี วามสามารถทีจ่ ะเปลีย่ นการท�ำงานของ ระบบภูมคิ มุ้ กันของร่างกายสัตว์ได้ ด้วยเหตุนเี้ องการทีม่ สี ารพิษ จากเชือ้ ราผสมกันมากกว่าหนึง่ ชนิด (ถึงแม้จะมีปริมาณสารพิษ แต่ละชนิดทีต่ ำ�่ ก็ตาม) ในอาหารในช่วงระยะเวลาหนึง่ ก็สามารถ ก่อให้เกิดผลกระทบทีร่ นุ แรงต่อสัตว์ได้ ความเสียหายดังกล่าวมี ผลอย่างมากต่อระบบภูมคิ มุ้ กันของสัตว์และส่งผลให้สตั ว์นนั้ ๆ อ่อนแอต่อการติดโรคและเกิดความเครียดได้ง่าย

160 เกษตร สุรนารี' 58

วิธีการในการควบคุมและป้องกัน สิ่งส�ำคัญก็คือ การที่เกษตรกร ผู้ผลิตอาหารสัตว์ นักโภชนาการ และ สั ต วแพทย์ เข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติ ข อง เชื้อรา และสารพิษจากเชื้อรา รู้จักวิธี ประยุกต์ใช้วิธีการและเทคโนโลยีที่มี อยู่เพื่อเอาชนะสิ่งต่อต้านต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น การเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารโดย ปราศจากการจัดการที่ดีในทางปฏิบัติ อาจช่ ว ยเสริ ม เชื้ อ ราให้ เจริ ญ ได้ ดี ขึ้ น เนื่องจากมีสปอร์ที่สร้างขึ้นมากอยู่แล้ว การเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชให้มีคุณภาพ ดีที่ระดับความชื้นไม่เกิน 14% เป็น สิ่งที่ควรกระท�ำ ทั้งนี้เพราะความชื้น และออกซิเจนจ�ำเป็นต่อการงอกของสปอร์ (ความชื้ น 14.5 ถึ ง 15.5% และ ราเจริญได้ดีที่ความชื้น 13.5 ถึง 14%) ในขณะท� ำ การเก็ บ รั ก ษาอาหารสั ต ว์ อาหารสัตว์จะต้องแห้ง และปราศจาก ออกซิเจน และผ่านการใช้สารเคมียบั ยัง้ เชื้อรามาก่อนแล้ว นอกจากนี้จะต้องมี การวางแผนการท�ำความสะอาดเครื่อง มือต่าง ๆ ที่ใช้ในการแปรรูปและสัมผัส กับอาหารสัตว์อย่างสม�่ำเสมอ ในการท�ำการหมักพืชอาหาร สัตว์การประยุกต์ใช้การจัดการที่ดี ใน ทางปฏิบัติในระหว่างการเก็บเกี่ยวและ การป้อนอาหารก็มีความส�ำคัญ โดยมี ส่วนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) การ ท�ำการเก็บเกี่ยวพืชอาหารสัตว์ขณะที่มี ความชื้นที่พอเหมาะ เพื่อให้แน่ใจว่าจะ เกิดการหมักขึ้นอย่างรวดเร็ว 2) ป้อน


ไซโลให้เต็มในเวลาอันสั้นที่สุด 3) บรรจุ ไซโลให้แน่นเพื่อให้ปลอดจากออกซิเจน และ 4) ปกคลุมด้วยวัสดุที่เหมาะสม การเก็บถนอมอาหารหมักมีประโยชน์ ต่อการเร่งการหมัก การขนถ่ายและการ ป้อนอาหารหมักจากไซโล จะมีสว่ นช่วย ป้องกันการหมักขั้นที่สองที่อาจเกิดขึ้น เมื่อไซโลที่บรรจุอยู่หลวม ๆ ด้วยอาหาร หมั ก ถู ก แผ่ อ อกสู ่ อ ากาศใช้ ช ่ ว งระยะ เวลา 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฤดูรอ้ น การจัดการทีด่ จี ะช่วยป้องกัน อาหารที่ติดเชื้อรามาสะสมกันอยู่ในถัง บรรจุอาหาร การเติมสารดูดซับสารพิษบาง ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น เบนโท ไนท์ (Bentonite) โนวาซิล (Novasil) ไดอะบอนด์ (Diabond) หรือแม้แต่ไม โคซอร์ฟ (Mycosorb) อาจช่วยลดความ เสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น ในฝู ง โคนมที่ ไ ด้ รั บ อาหารที่มีการปนเปื้อนของสารอะฟลา

ทอกซินในปริมาณต�่ำและสารพิษจากเชื้อราตัวอื่น ๆ ด้วย ไมโคซอร์ฟ (Mycosorb) ไมโคซอร์ฟแตกต่างจากสารดูดซับ (clay absorbent) ชนิดอื่นตรงที่ไมโคซอร์ฟก็คือ แมนแนนโอลิโกแซค คาไรด์ (Mannan oligosaccharide) สกัดแยกได้จากผนัง เซลล์ของยีสต์ น�้ำตาลแมนโนสในแมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ ให้ผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยไปกระตุ้นการหลั่งสารโปรตีน ชนิดหนึ่งจากตับ ซึ่งจะไปจับยึดจุลินทรีย์แปลกปลอมและ กระตุ้นระบบการท�ำงานของภูมิคุ้มกัน Trenholm และคณะ (1994) ได้ท�ำการศึกษาในห้องปฏิบัติการถึงความสามารถ ของไมโครซอร์ฟในการดูดซับสารเซียราเลโนนได้มากถึง 80% Mahesh และ Devegowda (1996) ได้ท�ำการศึกษาเปรียบ เทียบค่าความสามารถในการดูดซับสารอะฟลาทอกซินใน อาหารสัตว์ระหว่างสารโนวาซิล (Novasil) กับไมโคซอร์ฟ พบว่าที่อัตราการใช้สูงสุดของสารทั้งสองชนิดสามารถดูดซับ สารพิษอะฟลาทอกซินได้มากพอกันถึง 80% ในขณะที่ความ แตกต่างของสารทั้งสองอยู่ที่อัตราการใช้ที่ปริมาณต�่ำ สารไม โคซอร์ฟสามารถดูดซับสารพิษอะฟลาทอกซินได้ดีกว่าสารโน วาซิลมาก (ตารางที่ 3)

ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับสารอะฟลาทอกซินทีป่ นเปือ้ นในอาหารสัตว์ ระหว่าง Novasil กับ Mycosorb Novasil (%) Mycosorb (%) Aflatoxin (ppb) 0.1 0.2 0.4 0.025 0.05 0.125 50 8* 26 54 33 58 83 100 14 47 78 48 58 69 200 25 65 78 51 62 79 *ตัวเลขที่แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์สารอะฟลาทอกซินที่ถูกดูดซับ เกษตร สุรนารี' 58 161


จากการสังเกตมูลของสัตว์ทขี่ บั ถ่ายออกมาพบว่า สัตว์ที่ได้รับสารไมโค ซอร์ ฟ จะมี ลั ก ษณะเนื้ อ ของมู ล ที่ อ อก มาไม่แข็งมาก เมื่อเทียบกับสัตว์ที่ได้รับ สารดูดซับสารพิษชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะว่าไมโคซอร์ฟเป็นสารประ เภทคาร์โบไฮเดรท และน�้ำตาลที่ใช้ใน กระบวนการสามารถจับยึดจุลินทรีย์ที่ ก่อให้เกิดโรค (pathogens) และสาร พิษจากเชื้อราภายในล�ำไส้โดยไม่ส่งผล กระทบต่อจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีอยู่ใน ร่างกายสัตว์ อัตราการใช้ที่แนะน�ำก็ คือ โคหนึ่งตัวควรได้รับสารไมโคซอร์ฟ 10 กรัมต่อวัน ประโยชน์ของสารไมโค ซอร์ ฟ ที่ เ หนื อ กว่ า สารดู ด ซั บ ชนิ ด อื่ น ก็คือ สารไมโครซอร์ฟจะไม่ไปจับยึด กับสารอาหารอื่น ๆ เช่น วิตามินและ กรดอะมิโน นอกจากนี้ สารไมโคซอร์ฟ ยั ง สามารถดู ด ซั บ สารพิ ษ ดี อ อกซี่ นิวาเลนอลได้อีกด้วย

162 เกษตร สุรนารี' 58


ข้อสรุปและเสนอแนะ 1. การปนเปือ้ นของวัตถุดบิ อาหารสัตว์ อันเนือ่ งจาก จากสารพิษ จากเชื้อก�ำลังเป็นปัญหาอย่างมากต่อการผลิตสัตว์ และ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 2. การปนเปือ้ นของสารพิษเชือ้ ราส่งผลให้คณ ุ ภาพและผลผลิต ของพืชอาหารสัตว์ลดลงและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสัตว์ที่ได้รับสารพิษ และความเสี่ยงต่ออันตรายจาก สารพิษจะมีมากขึ้นเมื่อสัตว์ได้รับสารพิษเป็นระยะเวลา ที่ยาวนานขึ้น 3. ในขณะที่การป้องกันเป็นเพียงวัตถุประสงค์ประการแรกที่ ควรกระท�ำ สภาวะแวดล้อมขณะปลูกและเก็บเกีย่ วก็ไม่ควร มองข้าม 4. ในสถานการณ์จริงในทางปฏิบตั ิ มักจะไม่พบสารพิษจากเชือ้ รา เพียงชนิดเดียวแต่พบว่าจะมีหลายชนิดปะปนกันในระดับ ความเข้มข้นทีแ่ ตกต่างกันไป และสามารถก่อให้เกิดอาการ และโรคต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากอาการและโรคที่เกิดจาก สารพิษเพียงชนิดเดียว 5. การเลือกซื้อวัตถุดิบที่ใหม่และสะอาดเป็นสิ่งที่ควรกระท�ำ เป็นอย่างยิง่ แต่มกั เป็นไปได้คอ่ นข้างยาก ควรท�ำการตรวจ วิ เ คราะห์ อ าหารที่ ส งสั ย ว่ า จะได้ รั บการปนเปื ้ อ นอย่ า ง ละเอียดทุกครั้ง และไม่ควรใช้อาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อรา ในการเลี้ยงสัตว์ทั้งนี้หมายรวมถึงหญ้าหมัก 6. การบ�ำบัดสารพิษจากเชื้อรา โดยการใช้สารดูดซับ เช่น ไมโคซอร์ฟ หรือสารดูดซับตัวอื่น ๆ อาจมีความจ�ำเป็นที่ จะต้องใช้เป็นประจ�ำในโปรแกรมการผลิตอาหาร แต่ให้ แน่ใจว่าสารดูดซับทีเ่ ลือกใช้มปี ระสิทธิภาพดีเพียงพอในการ ดูดซับสารพิษจากเชื้อรา สารดูดซับบางชนิดอาจไปดูดซับ ธาตุอาหารบางชนิดด้วย เช่น วิตามิน และกรดอะมิโน บางชนิด และอาจใช้ไม่ได้ผลในการดูดซับสารพิษที่เป็น ตัวก่อให้เกิดปัญหา เกษตร สุรนารี' 58 163


เอกสารอ้างอิง Bartov, I. (1985). Comparative effects of antifungal compounds on the nutritional value of diets containing moldy corn for broiler chicks. Poult. Sci. 64: 1236. Blaney, B.J. and K.C. Williams. 1991. Effective use in livestock feeds of moldy and weather damaged grain containing mycotoxins-case histories and economic assessments pertaining to pig and poultry industries of Queenland. J. Agric. Res. 42: 993. Charmley, E., H.L. Trenholm, B.K. Thompson, D. Vudathala, J.W.G. Nicholson, D.B. Prelusky, and L.L. Charmley. (1993). Influence of level of Deoxynivalenol in the diet of dairy cows on feed intake, milk production, and its composition. J. Daisy Sci. 76: 3580. Doerr, J.A. (1995). Mycotoxins in commercial livestock operations: Science and Solutions. Agrarian Marketing Corporation, Morristown, IN. Frobish, R.A., D.B. Bradley, D.D. Wagner, P.E. Long-Bradley, and H. Hairston. (1986). Aflatoxin residues in milk of dairy cows after ingestion of naturally contaminated grain. J. Food Protection. 49: 781. Harris, B. Jr., and C.R. Staples. (1992). The problem of mycotoxins in dairy cattle rations. DS 31, Univ. of Fl. Jones, T.J., M.B. Genter, W.M. Hagler, J.A. Hansen, B.A. Mowrey, M.H. Poors and L.W. Whitlow. (1994). Understanding and coping with effects of mycotoxins in livestock feed and forage. AG-523, NC State Univ., Raleigh, NC. Mahesh, B.K. and G. Devegowda. (1996). Ability of aflatoxin binders to bind aflatoxin in con taminated poultry feeds - an in vitro study. In: Proc.XX, World’s Poultry Congress, New Delhi, India. 4: 296. Mannion, P.F., and B.J. Blaney. (1985). Fungi down on the farm. New Scientist. 105 (1446): 12-16. Petrie, L, J. Robb and A.F. Stewart. (1977). The identification of T-2 toxin and its as sociation with a hemorrhagic syndrome in cattle. Vet. Rec. 101:326. Prelusky, D.B., B.A. Rotter and R.G. Rotter. (1994). Toxicology of mycotoxins. In: Mycotoxins in Grain, compounds other than Aflatoxin. J.D. Miller, H.L. Trenholm (eds) Eagan Press, MA, USA, 359. 164 เกษตร สุรนารี' 58


Sundlof, S. F. and C. Strickland.(1986). Zearalenone and zearalenol: Potential residue problems in livestock. Vet. Hum. Toxicol. 28:242. Trenholm, L., B. Stewart, L. Underhill and D. Prelusky. (1994). Ability of grain gard to bind zearalenone and vomitoxin in vitro. 10th annual Symposium on Biotechnology in the Feed Industry. Alltech Inc., Nicholasville, KY, USA. Trenholm, H. L., B.K. Thompson, K.E. Hartin, R. Greenholgh and A.J. McAllister. (1985). Ingestion of vomitoxin (deoxynivalenol) contaminated wheat by nonlactating dairy cows. J. Dairy Sci. 68:1000. Weaver, G.A., H.J. Kurtz, J.C. Behrens, T.S. Robinson, B.E. Seguin, F.Y. Bates and C.J. Mirocha. (1986). Effect of zearalenone on fertility of virgin heifers. Am. J. Vet. Res. 47:1395. Weaver, G.A., H.J. Kurtz, J.C. Behrens, T.S. Robinson, B.E. Seguin, F.Y. Bates and C.J. Mirocha. (1986). Effect of zearalenone on dairy cows. Am. J. Vet. Res. 47:1826.

เกษตร สุรนารี' 58 165


166 เกษตร สุรนารี' 58


สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

เกษตร สุรนารี' 58 167


สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจารย์ ดร.ธีรยุทธ เกิดไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

ภั ย ธรรมชาติ ต ่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ สภาวะโลกร้ อ น ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ท�ำให้มนุษย์ต้องตระหนักถึงปัญหาสิ่ง แวดล้อมมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โดยระบุว่ากิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวการ ส�ำคัญที่ท�ำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังมีการ ท�ำนายว่าอุณหภูมโิ ลกจะเพิม่ ขึน้ อีก 1.4 ถึง 5.8 องศาเซลเซียส ในช่วงปลายศตวรรษที่ 21 ซึ่งหากโลกก�ำลังร้อนขึ้นจริง เราจะ ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอน ของฤดูกาล ซึ่งท�ำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การลดลงของความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิง่ มีชวี ติ การเปลีย่ นแปลงของระบบนิเวศวิทยา ประชากรโลกกว่าหลาย พันล้านคนต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน�ำ้ เพือ่ อุปโภคบริโภค และเพื่อใช้ในการเกษตร อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีการโต้ แย้งระหว่างนักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming) หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก (climate change) เป็นปรากฏการณ์ทอี่ ณ ุ หภูมโิ ลกเพิม่ สูงขึน้ และ สภาพภูมอิ ากาศของพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ เปลีย่ นแปลง โดยทัว่ ไปสภาพ ภูมิอากาศ หรือ climate ในแต่ละพื้นที่จะมีรูปแบบที่แน่นอน ซึ่ ง ปั จ จั ย ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ลั ก ษณะของภู มิ อ ากาศที่ แ ตกต่ า งกั น 168 เกษตร สุรนารี' 58

ได้แก่ เส้นรุ้ง (latitude) คุณสมบัติ ของพื้ น ดิ น และพื้ น น�้ ำ (land and sea) ความกดอากาศ (atmospheric pressure) ลมและมวลอากาศ (wind and air mass) ความสูงของพื้นที่ (altitude) ภูเขา (mountain) กระแสน�้ำ (current) และ พายุตา่ ง ๆ (storm) แต่ใน ปัจจุบนั มีสญ ั ญาณของการเปลีย่ นแปลง ของสภาพภูมิอากาศหลายประการที่ เป็ น ตั ว บ่ ง ชี้ ถึ ง การเปลี่ ย นแปลงของ สภาพภูมิอากาศเช่น อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น การเปลี่ ย นแปลงของฤดู ก าล และ การเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง รวมถึง ปัญหาความแห้งแล้ง น�้ำท่วม ฯลฯ ซึ่ง ท� ำ ให้ เ กิ ดข้ อ ถกเถี ย งเกี่ ย วกั บสภาวะ ร้อนขึ้น ทฤษฎีที่ว่าด้วยโลกร้อนและข้อโต้แย้ง ต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน จากการตรวจวัดอุณหภูมิของ Hansen et al. (2006) พบว่าตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513 ถึง 2543 อุณหภูมิเฉลี่ยของ พื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส


และในปี 2548 อุ ณ หภู มิ เ พิ่ ม ขึ้ น 0.8 องศาเซลเซี ย ส เมื่ อ เที ย บกั บ อุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2423 ถึง 2443 (ภาพที่ 1) ซึ่งสอดคล้องกับ รายงานของ IPCC (2007) ที่รายงาน ว่า ในช่วง 100 ปีทผี่ า่ นมาอุณหภูมเิ ฉลีย่ ของโลกเพิ่มขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โดย ระบุว่ากิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวการที่ ส�ำคัญทีท่ ำ� ให้โลกร้อนขึน้ เรือ่ ย ๆ จากการ

ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจ�ำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ และ IPCC ยังท�ำนายว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 ถึง 5.8 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 21 จากการตรวจวัดอุณหภูมิ พบว่าการเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมขิ องโลกนัน้ มีความสอดคล้องกัน ทั้งบนพื้นผิวดิน ในมหาสมุทร และอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกในพื้นที่ ต่าง ๆ มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพของ พืน้ ทีโ่ ดยการเปลีย่ นแปลงของอุณหภูมบิ ริเวณเส้นศูนย์สตู รจะ สูงกว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบริเวณขั้วโลก

ภาพที่ 1 การเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมขิ องโลกจาก ปี ค.ศ. 1880 ถึง 2000 (Hansen et al., 2006)

กลุ ่ ม ที่ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยเกี่ ย วกั บ ทฤษฎีโลกร้อนเห็นว่าสภาวะโลกร้อน เป็ น เรื่ อ งของธรรมชาติ ที่ มี ก ารปรั บ เปลีย่ นตัวเองไปตามวัฏจักรของโลก และ ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยใช้ ทฤษฏี Gaia หรือ Gaia Hypothesis มาอธิบาย โดยกล่าวว่าในอดีตอุณหภูมิ ของโลกก็เคยมีการเพิ่มขึ้นและลดลง เป็นวัฏจักรหลายครัง้ และได้กล่าวถึงยุค Little Ice Age และ Medieval

Warm Period ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการอธิบายถึงการ เปลี่ ย นแปลงของอุ ณ หภู มิ เ ฉลี่ ย ของโลกในอดี ต ในช่ ว ง ศตวรรษที่ 11 ถึง ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่ อุณหภูมิ มี ค วามหนาวแตกต่ า งกั น มากที่ สุ ด ซึ่ ง การเปลี่ ย นแปลง ของอุ ณ หภู มิ ข องโลกในช่ ว งดั ง กล่ า วเป็ น เวลาที่ ใ กล้ เ คี ย ง กับปัจจุบันมากที่สุด โดยยุค Medieval Warm Period หรือ Medieval Climate Optimum เป็นช่วงที่อุณหภูมิ ในเขต Atlantic เหนือมีความอบอุ่นมาก ยุคดังกล่าวอยู่ใน ช่วงศตวรรษที่ 9 ถึง ศตวรรษที่ 14 และยุค Little Ice Age เป็นช่วงที่อุณหภูมิในเขต Atlantic เหนือลดลงอย่างมากหลัง เกษตร สุรนารี' 58 169


จากช่วง Medieval Warm Period ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง ศตวรรษที่ 19 ในยุคนี้กินเวลามากกว่า 400 ปี ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) ปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากกระบวนการดูดซับ และการปลดปล่อยพลังงานความร้อนโดยก๊าซเรือนกระจกในชัน้ บรรยากาศของโลกและท�ำให้บรรยากาศและผิวโลกร้อนขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือ greenhouse effect หมาย ถึง ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากพลังงานแสง อาทิตย์ในช่วงคลืน่ ยาวหรือคลืน่ อินฟราเรด (infrared) ทีส่ ะท้อน จากพืน้ ผิวโลกถูกดูดซับไว้โดยโมเลกุลของไอน�ำ ้ ฝุน่ ละอองต่าง ๆ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และ CFCs ในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ ความร้อนท�ำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น ซึ่งก๊าซที่ยอม ให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้ รังสีคลืน่ ยาวทีโ่ ลกแผ่ออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจกดังภาพที่ 2 (Kiehl and Trenberth, 1997)

ภาพที่ 2 การหมุนเวียนพลังงานที่หมุนเวียนอยู่บนโลกจากพลังงาน รังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับและพลังงานที่ปลดปล่อยจากโลก ไปสู่ชั้นบรรยากาศ (Kiehl and Trenberth, 1997)

170 เกษตร สุรนารี' 58

ก า ร ที่ อุ ณ ห ภู มิ ข อ ง โ ล ก มี ค วามอบอุ ่ น อยู ่ ไ ด้ เกิ ด จากผลของ ปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างไม่มีข้อ โต้แย้ง เพราะโดยธรรมชาติก๊าซเรือน กระจกที่ เ กิ ด ขึ้ น นั้ น จะท� ำ ให้ อุ ณ หภู มิ ของโลกมี ค ่ า เฉลี่ ย อยู ่ ที่ 33 องศา เซลเซียส แต่ถ้าโลกของเราไม่มีก๊าซ เรือนกระจกอยูเ่ ลย มนุษย์กจ็ ะอาศัยอยู่ ในโลกนี้ได้ยากขึ้นเพราะอุณหภูมิเฉลี่ย ของโลกจะลดลงถึงลบ 15 องศาเซลเซียส (Le et al., 2007) ประเด็นปัญหาจึง อยู่ที่ว่าความรุนแรงของปรากฏการณ์ เรือนกระจกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมของมนุษย์ไปเพิ่มปริมาณ ของก๊ า ซเรื อ นกระจกในบรรยากาศ ให้สูงขึ้น ก๊าซเรือนกระจกหลัก ๆ ที่ อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกมีสัดส่วน ดังนี้คือ 1) ไอน�้ำ เป็นต้นเหตุส�ำคัญ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ โ ลกร้ อ น ประมาณ 30-60 % (ไม่รวม ก้ อ นเมฆ) 2) คาร์ บ อนไดออกไซด์ ประมาณ 9–26 % 3) แก๊สมีเทนประมาณ 4–9 % และ 4) โอโซนอีกประมาณ 3–7 % (Kiehl and Trenberth, 1997) นับตั้งแต่การเริ่มต้นของยุคการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ประมาณ พ.ศ. 2290 จนถึงปัจจุบนั อุณหภูมเิ ฉลีย่ ของโลกใน ปัจจุบนั สูงกว่าอุณหภูมใิ นช่วง 650,000 ปี


ที่ผ่านมาซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้จาก การวิ เ คราะห์ น�้ ำ แข็ ง ที่ เ จาะได้ จ าก ขั้ ว โลกเหนื อ และจากหลั ก ฐานทาง ธรณี วิ ท ยาด้ า นอื่ น (Pearson and Palmer, 2000) การเผาผลาญเชื้ อ เพลิงจากซากดึกด�ำบรรพ์หรือเชื้อเพลิง ฟอสซิล (fossil fuel) มีส่วนเพิ่มก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ ประมาณ 75 % ของปริ ม าณก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ท้ังหมดที่เกิดจาก กิจกรรมมนุษย์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือเกิดจากการเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดิน โดยเฉพาะการท�ำลายป่า เป็นส่วนใหญ่ (IPCC, 2007) ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศปัจจุบันมีประมาณ 383 ส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppm) โดย คาดว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอนาคตจะสูงขึน้ อีกจากการเผาผลาญ เชื้อเพลิงฟอสซิล การเกษตร และการ เปลี่ยนแปลงการใช้พื้นดิน อัตราการ เพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยัง ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สั ง คม และเทคโนโลยี จากรายงาน พิเศษว่าด้วยการจ�ำลองการปลดปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (Special Report on Emissions Scenarios) ของ IPCC ได้ ท� ำ นายว่ า ปริ ม าณก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในอนาคตจะมีค่า อยู่ระหว่าง 541 ถึง 970 ส่วนในล้าน

ส่วน ในปี พ.ศ. 2643 ด้วยปริมาณส�ำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ยังคงมีเพียงพอในการสร้างสภาวะนั้น และยังสามารถเพิ่ม ปริมาณขึ้นได้อีกเมื่อผ่านปี พ.ศ. 2643 ไปแล้ว ถ้าเรายังคง ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิม่ ขึน้ อีก (Keeling et al., 1976; Thoning et al., 1989) ผลกระทบของโลกร้อนต่อความหลากหลายทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตและการเกษตรกรรม ปรากฏการณ์โลกร้อนท�ำให้อัตราการละลายของธาร น�้ำแข็ง (glacial retreat rate) การลดขนาดของอาร์กติก (arctic shrinkage) และระดับน�้ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้นรวม ถึงการเปลี่ยนแปลงของน�้ำฟ้า (precipitation) ทั้งปริมาณ และรูปแบบท�ำให้เกิดน�้ำท่วมและความแห้งแล้งในหลาย ๆ พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างความรุนแรงของฟ้าอากาศ (extreme weather) บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งท�ำให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตาม มา เช่น การเปลี่ยนแปลงของแหล่งน�้ำ การลดปริมาณน�้ำใน แม่น�้ำล�ำธารในฤดูร้อน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ท�ำให้เกิดการ สูญพันธุข์ องสิง่ มีชวี ติ บางชนิดและการเพิม่ ขึน้ ของพาหะน�ำโรค นอกจากนีส้ ภาวะโลกร้อนยังท�ำให้เกิดการหมุนเวียนกระแสน�ำ้ อุ่นของโลกช้าลงท�ำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของน�้ำทะเลและ อุณหภูมขิ องน�ำ้ ทะเลเปลีย่ นแปลงไปไม่เหมาะกับการด�ำรงชีวติ ของสิง่ มีชวี ติ บางชนิดในทะเล และสิง่ เหล่านีจ้ ะท�ำให้การด�ำรง ชีวิตของสัตว์เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อห่วงโซ่อาหาร โดยตรง นอกจากนี้ สภาวะโลกร้อนยังท�ำให้โรค และแมลง ศัตรูทางการเกษตรระบาดมากขึ้นในบางพื้นที่ เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศท�ำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืชบางชนิดท�ำให้ ผลผลิ ต ของพื ช ลดลงอย่ า งมาก โรคที่ ฟ ั ก ตั ว ได้ ดี ใ นสภาพ ร้อนชื้นของโลก จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก เช่น แบคทีเรีย เกษตร สุรนารี' 58 171


ในอากาศจะเพิม่ มากขึน้ กว่าปกติ และโอกาสในการแพร่ระบาด มาสู่พืชก็มีสูงขึ้น ท�ำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทาง พันธุกรรมทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพืชพื้นเมืองที่ไม่ทนทาน ต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อุณหภูมิ ที่สูงขึ้นยังมีผลต่อการพัฒนาการของละอองเรณู การผสม

172 เกษตร สุรนารี' 58

เกสรโดยจะมีผลโดยตรงต่อผลผลิตของ พืชปลูก นอกจากนี้ สภาวะโลกร้อนที่ ท�ำให้เกิดภัยแล้ง หรือน�้ำท่วมและสร้าง ความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ได้โดยตรงเช่นเดียวกัน


เอกสารอ้างอิง Hansen J. H., M. Sato., R. Ruedy, K. Lo, D. W. Lea and M. M. Elizade. (2006). Global temperature change. PNAS. 103: 14288–14293. IPCC. (2007). Summary for Policymakers. In: Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Solomon, S., D. Qin, M. Manning, Z. Chen, M. Marquis, K.B. Averyt, M.Tignor and H.L. Miller (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA. Keeling C.D., R.B. Bacastow, A.E. Bainbridge, C.A. Ekdahl, P.R. Guenther, and L.S. Waterman. (1976). Atmospheric carbon dioxide variations at Mauna Loa Observatory, Hawaii, Tellus, vol. 28: 538-551. Kiehl J. T. and Kevin E. Trenberth. (1997). Earth’s Annual Global Mean Energy Budget. Bulletin of the American Meteorological Society. 48: 197-208. Le Treut, H., R. Somerville, U. Cubasch, Y. Ding, C. Mauritzen, A. Mokssit, T. Peterson and M. Prather. (2007). Historical Overview of Climate Change. In: Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Solomon, S., D. Qin, M. Manning, Z. Chen, M. Marquis, K.B. Averyt, M. Tignor and H.L. Miller (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA. Pearson, P. N., and M.R. Palmer. (2000). Atmospheric carbon dioxide concentrations over the past 60 million years. Nature. 406: 695–699. Thoning K.W., P.P. Tans, and W.D. Komhyr. (1989). Atmospheric carbon dioxide at Mauna Loa Observatory 2. Analysis of the NOAA GMCC data, 1974-1985, J. Geophys. Research. vol. 94: 8549-8565.

เกษตร สุรนารี' 58 173


174 เกษตร สุรนารี' 58


หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

เกษตร สุรนารี' 58 175


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)

ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Crop Production Technology ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตพืช) ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Crop Production Technology) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Crop Production Tech.) โครงสร้างหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 180 หน่วยกิต 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 15 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิชาด้านวิทย์-คณิต 9 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ สหศาสตร์ 2 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 2.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 2.3 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 2.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

3) หมวดวิชาเลือกเสรี

176 เกษตร สุรนารี' 58

134 หน่วยกิต 62 หน่วยกิต 51 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต 8 หน่วยกิต


รายวิชาในหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติการ-ศึกษาด้วยตนเอง) 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 202107 การใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Use of Computer and Information) 3(2-2-5) 202211 การคิดเพื่อการพัฒนา (Thinking for Development) 3(3-0-6) 202212 มนุษย์กับวัฒนธรรม (Man and Culture) 3(3-0-6) 202213 โลกาภิวัตน์ (Globalization) 3(3-0-6) 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 15 หน่วยกิต 203101 ภาษาอังกฤษ 1 (English I) 3(3-0-6) 203102 ภาษาอังกฤษ 2 (English II) 3(3-0-6) 203203 ภาษาอังกฤษ 3 (English III) 3(3-0-6) 203204 ภาษาอังกฤษ 4 (English IV) 3(3-0-6) 203305 ภาษาอังกฤษ 5 (English V) 3(3-0-6) 1.3 กลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต 103113 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ�ำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6) 1.5 กลุ่มวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต 104113 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment) 3(3-0-6) 105113 มนุษย์กับเทคโนโลยี (Man and Technology) 3(3-0-6) 1.6 กลุ่มวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหศาสตร์ 2 หน่วยกิต เลือกเรียน 1 รายวิชา (2 หน่วยกิต) จากรายวิชาดังต่อไปนี้ 114100 กีฬาและนันทนาการ (Sport and Recreation) 2(1-2-4) 202241 กฎหมายในชีวิตประจ�ำวัน (Law in Daily Life) 2(2-0-4) 202291 การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) 2(2-0-4) 202292 ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (Technopreneur) 2(2-0-4) 2) หมวดวิชาเฉพาะ 134 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 62 หน่วยกิต 102105 เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) 3(3-0-6) 102106 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 109201 ชีวเคมี (Biochemistry) 4(4-0-8) 109204 ปฏิบัติการชีวเคมี (Biochemistry Laboratory) 1(0-3-0) เกษตร สุรนารี' 58 177


102111 เคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry I) 4(4-0-8) 102112 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry Laboratory I) 1(0-3-0) 103101 แคลคูลัส 1 (Calculus I) 4(4-0-8) 104101 หลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology I) 4(4-0-8) 104102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology Laboratory I) 1(0-3-0) 104103 ชีววิทยาของพืช (Plant Biology) 3(3-0-6) 104104 ปฏิบัติการชีววิทยาของพืช (Plant Biology Laboratory) 1(0-3-0) 104201 จุลชีววิทยา (Microbiology) 4(4-0-8) 104202 ปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Microbiology Laboratory) 1(0-3-0) 104203 พันธุศาสตร์ (Genetics) 4(4-0-8) 105103 ฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics) 4(4-0-8) 105193 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics Laboratory) 1(0-3-0) 205210 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Economics) 3(3-0-6) 205211 การจัดการธุรกิจฟาร์ม (Farm Business Management) 3(3-0-6) 301101 ปฐมนิเทศการเกษตร (Agricultural Orientation) 1(1-0-2) 312101 สถิติเบื้องต้นส�ำหรับการเกษตร (Introduction to Statistics for Agriculture) 3(3-0-6) 312203 สถิตสิ ำ� หรับการทดลองทางการเกษตร (Experimental Statistics for Agriculture) 3(2-3-4) 312301 การค้นคว้าและการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (Searching and Writing Scientific Papers) 2(2-0-4) 303320 หลักการผลิตสัตว์ (Principles of Animal Production) 3(3-0-6) 304301 เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้น (Introduction to Biotechnology) 3(3-0-9) 2.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 51 หน่วยกิต 312102 การผลิตพืชเบื้องต้น (Fundamental Crop Production) 1(1-0-2) 312103 ฝึกงานการผลิตพืช 1 (Crop Production Practicum I) 1(0-3-0) 312211 สรีรวิทยาการผลิตพืช (Physiology of Crop Production) 4(3-3-6) 312302 ฝึกงานการผลิตพืช 2 (Crop Production Practicum II) 1(0-3-0) 312311 การปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeding) 3(3-0-6) 312312 ปฏิบัติการการปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeding Laboratory) 1(0-3-0) 312313 เทคโนโลยีการผลิตพืชไร่ (Field Crop Production Technology) 3(2-3-4) 312314 การขยายพันธุ์พืช (Plant Propagation) 3(2-3-4) 312315 เทคโนโลยีการผลิตพืชสวน (Horticultural Production Technology) 3(2-3-4) 312316 เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Seed Technology) 3(2-3-4) 312317 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Technology) 3(2-3-4)

178 เกษตร สุรนารี' 58


312241 ดินและการจัดการ (Soil and Soil Management) 3(2-3-4) 312242 ภูมิอากาศและการชลประทานส�ำหรับการผลิตพืช 3(2-3-4) (Climates and Irrigation for Crop Production) 312251 แมลง สัตว์ศัตรูพืช และการป้องกันก�ำจัด 3(2-3-4) (Insects, Animal Plant Pests and Their Control) 312261 จักรกลการเกษตรส�ำหรับการผลิตพืช (Agricultural Machinery for Crop Production) 3(2-3-4) 312351 โรคพืชและการป้องกันก�ำจัด (Plant Diseases and Their Control) 3(2-3-4) 312361 วัชพืชและการป้องกันก�ำจัด (Weeds and Their Control) 3(2-3-4) 312481 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 3(0-9-0) 312482 สัมมนา (Seminar) 1(1-0-6) 312303 โครงการการผลิตพืชเชิงธุรกิจ 1 (Commercial Crop Production Project I) 2(1-3-6) 312304 โครงการการผลิตพืชเชิงธุรกิจ 2 (Commercial Crop Production Project II) 1(1-3-6) 2.3 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 12 หน่วยกิต นักศึกษาเลือกเรียนไม่นอ้ ยกว่า 12 หน่วยกิต จากกลุม่ วิชาดังต่อไปนี้ โดยอาจเลือกเฉพาะทาง ในกลุม่ ใด กลุ่มหนึ่ง หรือจะผสมผสานวิชาเรียนระหว่างกลุ่ม โดยการแนะน�ำของอาจารย์ที่ปรึกษา ก. การบริหารงานฟาร์มและธุรกิจการผลิตพืช 205212 ธุรกิจเกษตร การตลาด และราคาสินค้าเกษตร 3(3-0-6) (Agribusiness, Marketing and Agricultural Prices) 205313 ธนกิจเกษตรและการวิเคราะห์โครงการเกษตร 3(3-0-6) (Agricultural Finance and Agricultural Project Analysis) ข. เทคโนโลยีการผลิตพืช 312318 สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Regulators) 3(2-3-4) 312319 การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจ (Economic Ornamental Crop Production) 3(2-3-4) 312320 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Soilless Culture) 3(2-3-4) 312321 การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ (Economic Fruit Crop Production) 3(2-3-4) 312322 การผลิตพืชผักเศรษฐกิจ (Economic Vegetable Crop Production) 3(2-3-4) 312323 พืชไร่เศรษฐกิจ (Economic Field Crops) 3(2-3-4) 312324 เทคโนโลยีการผลิตองุ่น (Viticulture Technology) 3(2-3-4) 312325 การผลิตยางพารา (Para Rubber Production) 2(1-3-2) 312326 ระบบการปลูกพืช (Cropping Systems) 3(3-0-6) 312327 แบบจ�ำลองการผลิตพืชเบื้องต้น (Principles of Crop Modeling) 3(2-3-4) 312328 การผลิตกล้วยไม้ (Orchid Production) 3(2-3-4) เกษตร สุรนารี' 58 179


312329 เครื่องเทศและสมุนไพร (Spices and Medicinal Plant) 3(2-3-4) 312330 การผลิตไม้กระถางและไม้ตัดดอก (Pot plant and Cut flower Production) 3(2-3-4) 312331 คุณภาพของผลิตผลสด (Quality of Fresh Produce) 3(2-3-4) 312332 การผลิตมันส�ำปะหลัง (Cassava Production) 2(1-3-2) 312333 การผลิตพืชอินทรีย์ (Organic Crops Production) 3(2-3-4) 312334 การปรับปรุงพันธุ์พืชสวน (Horticulture Breeding) 3(2-3-4) 312335 การปรับปรุงพันธุ์ผัก (Vegetable Breeding) 3(2-3-4) 312336 การผลิตพืชพลังงาน (Energy Crops Production) 2(1-3-2) 312353 เทคโนโลยีการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ 2(1-3-2) (Economic Mushroom Production Technology) 312362 หลักการส่งเสริมการเกษตร (Principles of Agricultural Extension) 3(2-3-4) 312363 การจัดการงานสนามและภูมิทัศน์ (Landscape and Turf Management) 3(2-3-4) 312461 เกษตรดีที่เหมาะสมส�ำหรับการผลิตพืช 2(2-0-4) (Good Agricultural Practices for Crop Production) ค. อารักขาพืชและสิ่งแวดล้อม 312342 สรีรวิทยาและนิเวศน์วิทยาการผลิตพืช 3(2-3-4) (Physiology and Ecology of Crop Production) 312341 ปุ๋ยกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Fertilizers and Soil Fertility) 3(3-0-6) 312343 การจัดการสถานเพาะช�ำและโรงเรือน (Nursery Management) 3(3-0-6) 312352 แมลงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Economic and Industrial Insects) 3(2-3-4) 312354 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืช (Laws Concerning with Plant Protection) 2(2-0-4) 312355 โรคของพืชเศรษฐกิจ (Plant Disease of Economic Crops) 3(2-3-4) 312364 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และการประยุกต์ใช้ทางการเกษตร 3(3-0-6) (Geographic Information System and Application for Agriculture) ง. การวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตพืช 102204 เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) 4(4-0-8) 102205 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 312337 เทคนิคการปรับปรุงพันธุพ์ ชื เศรษฐกิจ (Breeding Techniques for Economic Crops) 3(2-3-4) 312338 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant Tissue Culture) 3(2-3-4) 312339 วิธีการทดลองด้านปรับปรุงพันธุ์พืช (Research Methods in Plant Breeding) 2(0-6-2) 304312 ชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืช (Plant Molecular Biology) 3(2-3-6)

180 เกษตร สุรนารี' 58


312340 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตพืช 3(3-0-9) (Application of Biotechnology in Crop Production) 312344 จุลชีววิทยาของดิน (Soil Microbiology) 3(3-0-6) 312345 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ประยุกต์ (Applied Micro-Biotechnology) 3(2-3-4) 2.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต 312490 เตรียมสหกิจศึกษา (Pre-cooperative Education) 1(1-0-3) 312491 สหกิจศึกษา 1 (Cooperative Education I) 8 หน่วยกิต 312492 สหกิจศึกษา 2 (Cooperative Education II) 8 หน่วยกิต 312493 สหกิจศึกษา 3 (Cooperative Education III) 8 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต เลือกเรียนวิชาใด ๆ ก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จ�ำนวนไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช โทรศัพท์ 0 4422 4202, 0 4422 4204 โทรสาร 0 4422 4281 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/crop

เกษตร สุรนารี' 58 181


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)

ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Animal Production Technology ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Animal Production Technology) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Animal Production Tech.) โครงสร้างหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 183 หน่วยกิต 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มวิชาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สหศาสตร์ 2 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 105 หน่วยกิต 3.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 25 หน่วยกิต 3.2) กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 50 หน่วยกิต 3.2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานการผลิตสัตว์ 31 หน่วยกิต 3.2.2) กลุ่มวิชาการผลิตสัตว์ 13 หน่วยกิต 3.2.3) กลุ่มวิชาการบริหารงานฟาร์ม และธุรกิจการเกษตร 6 หน่วยกิต 3.3) กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 21 หน่วยกิต 3.4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต 4) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต

182 เกษตร สุรนารี' 58


รายวิชาในหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติการ-ศึกษาด้วยตนเอง) 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 202107 การใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Use of Computer and Information) 3(2-2-5) 202211 การคิดเพื่อการพัฒนา (Thinking for Development) 3(3-0-6) 202212 มนุษย์กับวัฒนธรรม (Man and Culture) 3(3-0-6) 202213 โลกาภิวัตน์ (Globalization) 3(3-0-6) 1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต 203101 ภาษาอังกฤษ 1 (English I) 3(3-0-6) 203102 ภาษาอังกฤษ 2 (English II) 3(3-0-6) 203203 ภาษาอังกฤษ 3 (English III) 3(3-0-6) 203204 ภาษาอังกฤษ 4 (English IV) 3(3-0-6) 203305 ภาษาอังกฤษ 5 (English V) 3(3-0-6) 1.3 กลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต 103113 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ�ำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6) 104113 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment) 3(3-0-6) 105113 มนุษย์กับเทคโนโลยี (Man and Technology) 3(3-0-6) 1.4 กลุ่มวิชาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สหศาสตร์ 2 หน่วยกิต ให้ผู้เรียนเลือก 2 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้ 114100 กีฬาและนันทนาการ (Sport and Recreation) 2(1-2-4) 202111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 2(2-0-4) 202241 กฎหมายในชีวิตประจ�ำวัน (Law in Daily Life) 2(2-0-4) 202261 ศาสนากับการด�ำเนินชีวิต (Religion for Life) 2(2-0-4) 202262 พุทธธรรม (Buddhadhamma) 2(2-0-4) 202291 การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) 2(2-0-4) 202292 ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (Technopreneur) 2(2-0-4) 202324 ไทยศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม (Pluri-Cultural Thai Studies) 2(2-0-4) 202354 ปรัชญาว่าด้วยการศึกษาและการท�ำงาน (Philosophy of Education and Working) 2(2-0-4) เกษตร สุรนารี' 58 183


2) หมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 32 หน่วยกิต 102111 เคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry I) 4(4-0-8) 102112 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry Laboratory I) 1(0-3-0) 102113 เคมีพื้นฐาน 2 (Fundamental Chemistry II) 4(4-0-8) 102114 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 2 (Fundamental Chemistry Laboratory II) 1(0-3-0) 103101 แคลคูลัส 1 (Calculus I) 4(4-0-8) 103104 สถิติเบื้องต้น (Introduction to Statistics) 3(3-0-6) 104101 หลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology I) 4(4-0-8) 104102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology Laboratory I) 1(0-3-0) 104108 หลักชีววิทยา 2 (Principles of Biology II) 4(4-0-8) 104109 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 2 (Principles of Biology Laboratory II) 1(0-3-0) 105103 ฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics) 4(4-0-8) 105193 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics Laboratory) 1(0-3-0) 3) หมวดวิชาเฉพาะ 105 หน่วยกิต 3.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 25 หน่วยกิต 102105 เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) 3(3-0-6) 102106 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 104201 จุลชีววิทยา (Microbiology) 4(4-0-8) 104202 ปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Microbiology Laboratory) 1(0-3-0) 104203 พันธุศาสตร์ (Genetics) 4(4-0-8) 109201 ชีวเคมี (Biochemistry) 4(4-0-8) 109204 ปฏิบัติการชีวเคมี (Biochemistry Laboratory) 1(0-3-0) 205210 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Economics) 3(3-0-6) 301101 ปฐมนิเทศการเกษตร (Agricultural Orientation) 1(1-0-2) 302212 หลักการผลิตพืช (Principles of Crop Production) 3(2-3-0) 3.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 50 หน่วยกิต 3.2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานการผลิตสัตว์ 31 หน่วยกิต 313171 การปฏิบัติงานฟาร์ม (General Farm Practicum) 3(0-9-0) 313251 ระบบการผลิตสัตว์ (Animal Production Systems) 3(3-0-6) 313311 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ (Animal Anatomy and Physiology) 4(3-3-6) 313312 สุขศาสตร์ และการป้องกันโรคสัตว์ (Animal Hygiene and Disease Prevention) 4(3-3-6) 313321 หลักการโภชนศาสตร์สัตว์ (Principles of Animal Nutrition) 4(3-3-6)

184 เกษตร สุรนารี' 58


313331 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding) 4(3-3-6) 313351 โรงเรือนเลี้ยงสัตว์และการจัดการของเสีย 4(3-3-6) (Livestock Housing and Animal Waste Management) 313352 สถิติเพื่อการทดลองทางสัตวศาสตร์ 3(2-3-4) (Experimental Statistics for Animal Science) 313481 การน�ำเสนอทางสัตวศาสตร์ (Presentation in Animal Science) 1(0-3-6) 313482 สัมมนา (Seminar) 1(0-3-6) 3.2.2 กลุ่มวิชาการผลิตสัตว์ 13 หน่วยกิต 313341 การผลิตสัตว์ปีก (Poultry Production) 3(2-3-4) 313342 การผลิตสุกร (Swine Production) 3(2-3-4) 313343 การผลิตสัตว์น�้ำ (Aquaculture) 3(2-3-4) 313344 การผลิตโค (Cattle Production) 4(3-3-6) 3.2.3 กลุ่มวิชาการบริหารงานฟาร์ม และธุรกิจการเกษตร 6 หน่วยกิต 205211 การจัดการธุรกิจฟาร์ม (Farm Business Management) 3(3-0-6) 205214 การวิเคราะห์ธุรกิจเกษตร (Analysis of Agribusiness) 3(3-0-6) 3.3 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี ้ 3.3.1 กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์ 21 หน่วยกิต 3.3.1.1 วิชาบังคับ 10 หน่วยกิต 313421 ปฏิบัติการโภชนศาสตร์สัตว์ (Animal Nutrition Laboratory) 1(0-3-0) 313422 โภชนศาสตร์สัตว์กระเพาะเดี่ยว (Monogastric Animal Nutrition) 3(3-0-6) 313423 โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant Nutrition) 3(3-0-6) 313451 เทคโนโลยีชวี ภาพส�ำหรับการผลิตสัตว์ (Biotechnology for Animal Production) 3(3-0-6) 3.3.1.2 วิชาบังคับเลือก 5 หน่วยกิต ให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ 313411 สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์ (Animal Physiology of Reproduction) 2(2-0-4) 313412 สรีรวิทยาการย่อยอาหารของสัตว์ (Animal Physiology of Digestion) 2(2-0-4) 313413 สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสัตว์ 3(3-0-6) (Environmental Physiology and Adaptation of Animal) 313414 สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของสัตว์น�้ำ 3(3-0-6) (Environmental Physiology of Aquatic Animals)

เกษตร สุรนารี' 58 185


3.3.1.3 วิชาเลือก 6 หน่วยกิต ให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ 313424 การผลิตอาหารสัตว์ (Animal Feed Processing) 3(3-0-6) 313425 การจัดการพืชอาหารสัตว์และทุ่งหญ้า (Forage and Pasture Management) 3(2-3-4) 313452 เทคโนโลยีชีวภาพโภชนศาสตร์สัตว์ (Biotechnology in Animal Nutrition) 3(3-0-6) 3.3.2 กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ 21 หน่วยกิต 313441 การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic Livestock Production) 3(3-0-6) 313442 การผลิตสัตว์น�้ำประยุกต์ (Applied Aquatic Animal Production) 3(2-3-4) 313443 การจัดการโรงฟักไข่ (Hatchery Management) 3(2-3-4) 313453 การส่งเสริมการปศุสัตว์ และกฎหมายการเกษตร 3(3-0-6) (Livestock Extension and Agrarian Laws) 313454 อุตสาหกรรมปศุสัตว์นานาชาติ (International Livestock Industry) 3(3-0-6) 313455 สารสนเทศทางการผลิตสัตว์ (Information Technology in Animal Science) 3(2-3-4) 313456 การวางแผน และการวิเคราะห์โครงการผลิตสัตว์ 3(1-6-6) (Animal Production Project Planning and Analysis) 3.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต 313490 เตรียมสหกิจศึกษา (Pre-Cooperative Education) 1(1-0-3) 313491 สหกิจศึกษา 1 (Cooperative Education I) 8 หน่วยกิต 313492 **สหกิจศึกษา 2 (Cooperative Education II) 8 หน่วยกิต 313493 **สหกิจศึกษา 3 (Cooperative Education III) 8 หน่วยกิต หมายเหตุ : ** นักศึกษาอาจเลือกลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมในกรณีประสงค์จะเพิ่มทักษะการปฏิบัติการใน สถานประกอบการ 4) หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต รายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

186 เกษตร สุรนารี' 58


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Technology ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร) ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีอาหาร) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Food Technology) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Food Tech.) โครงสร้างหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 184 หน่วยกิต 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 15 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหศาสตร์ 2 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 2.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 2.3 กลุ่มการวิจัย 2.4 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 2.5 กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคสนาม 2.6 กลุ่มวิชาเลือกเสรี

146 หน่วยกิต 57 หน่วยกิต 61 หน่วยกิต 5 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต 8 หน่วยกิต

เกษตร สุรนารี' 58 187


รายวิชาในหลักสูตร จ�ำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติการ-ศึกษาด้วยตนเอง) 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 38 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 12 หน่วยกิต 202107 การใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Use of Computer and Information) 3(2-2-5) 202211 การคิดเพื่อการพัฒนา (Thinking for Development) 3(3-0-6) 202212 มนุษย์กับวัฒนธรรม (Man and Culture) 3(3-0-6) 202213 โลกาภิวัฒน์ (Globalization) 3(3-0-6) 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 15 หน่วยกิต 203101 ภาษาอังกฤษ 1 (English I) 3(3-0-6) 203102 ภาษาอังกฤษ 2 (English II) 3(3-0-6) 203203 ภาษาอังกฤษ 3 (English III) 3(3-0-6) 203204 ภาษาอังกฤษ 4 (English IV) 3(3-0-6) 203305 ภาษาอังกฤษ 5 (English V) 3(3-0-6) 1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต 1.3.1 กลุ่มคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต 103113 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ�ำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6) 1.3.2. กลุ่มวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต 104113 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment) 3(3-0-6) 105113 มนุษย์กับเทคโนโลยี (Man and Technology) 3(3-0-6) 1.4 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหศาสตร์ 2 หน่วยกิต เลือกเรียน 1 รายวิชา (2 หน่วยกิต) จากรายวิชาดังต่อไปนี้ 114100 กีฬาและนันทนาการ (Sport and Recreation) 2(1-2-4) 202111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 2(2-0-4) 202241 กฎหมายในชีวิตประจ�ำวัน (Law in Daily Life) 2(2-0-4) 202261 ศาสนากับการด�ำเนินชีวิต (Religion for Life) 2(2-0-4) 202262 พุทธธรรม (Buddhadhamma) 2(2-0-4)

188 เกษตร สุรนารี' 58


202291 การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) 2(2-0-4) 202292 ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (Technopreneur) 2(2-0-4) 202324 ไทยศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม (Pluri-Cultural Thai Studies) 2(2-0-4) 202354 ปรัชญาว่าด้วยการศึกษาและการท�ำงาน 2(2-0-4) (Philosophy of Education and Working) 2) หมวดวิชาเฉพาะ 138 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 57 หน่วยกิต 102111 เคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry I) 4(4-0-8) 102112 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1 (Fundamental Chemistry Laboratory I) 1(0-3-0) 102113 เคมีพื้นฐาน 2 (Fundamental Chemistry II) 4(4-0-8) 102114 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 2 (Fundamental Chemistry Laboratory II) 1(0-3-0) 102105 เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) 3(3-0-6) 102106 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 102202 เคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry) 3(3-0-6) 102204 เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) 4(4-0-8) 102205 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 103101 แคลคูลัส 1 (Calculus I) 4(4-0-8) 103102 แคลคูลัส 2 (Calculus II) 4(4-0-8) 103104 สถิติเบื้องต้น (Introduction to Statistics) 3(3-0-6) 104101 หลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology I) 4(4-0-8) 104102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 (Principles of Biology Laboratory I) 1(0-3-0) 104201 จุลชีววิทยา (Microbiology) 4(4-0-8) 104202 ปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Microbiology Laboratory) 1(0-3-0) 105103 ฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics) 4(4-0-8) 105193 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป (General Physics Laboratory) 1(0-3-0) 109201 ชีวเคมี (Biochemistry) 4(4-0-8) 109204 ปฏิบัติการชีวเคมี (Biochemistry Laboratory) 1(0-3-0) 205210 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Economics) 3(3-0-6) 301101 ปฐมนิเทศการเกษตร (Agricultural Orientation) 1(1-0-2) เกษตร สุรนารี' 58 189


2.2 กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 61 หน่วยกิต 205315 การจัดการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร 3(3-0-6) (Food Industrial Plant Management) 325211 จุลชีววิทยาอาหาร 1 (Food Microbiology I) 2(2-0-4) 325212 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร 1 (Food Microbiology Laboratory I) 1(0-3-0) 325213 จุลชีววิทยาอาหาร 2 (Food Microbiology II) 2(2-0-4) 325214 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร 2 (Food Microbiology Laboratory II) 1(0-3-0) 325221 อาหารและโภชนาการ (Food and Nutrition) 3(3-0-6) 325222 เคมีอาหาร 1 (Food Chemistry I) 2(2-0-4) 325223 เคมีอาหาร 2 (Food Chemistry II) 2(2-0-4) 325224 ปฏิบัติการเคมีอาหาร (Food Chemistry Laboratory) 1(0-3-0) 325231 การแปรรูปอาหาร 1 (Food Processing I) 3(3-0-6) 325232 ปฏิบัติการการแปรรูปอาหาร 1 (Food Processing Laboratory I) 1(0-3-0) 325321 การเปลี่ยนแปลงของวัสดุชีวภาพหลังการเก็บเกี่ยว 3(3-0-6) (Postharvest Changes of Biological Materials) 325322 การวิเคราะห์อาหาร (Food Analysis) 3(2-3-4) 325331 การแปรรูปอาหาร 2 (Food Processing II) 4(4-0-8) 325332 ปฏิบัติการการแปรรูปอาหาร 2 (Food Processing Laboratory II) 1(0-3-0) 325333 บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร (Packaging for Food Products) 2(2-0-4) 325341 พื้นฐานวิศวกรรมอาหาร (Fundamentals of Food Engineering) 2(2-0-4) 325342 วิศวกรรมอาหาร 1 (Food Engineering I) 2(2-0-4) 325343 วิศวกรรมอาหาร 2 (Food Engineering II) 3(3-0-6) 325344 ปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร (Food Engineering Laboratory) 1(0-3-0) 325351 สถิติส�ำหรับนักเทคโนโลยีอาหาร (Statistics for Food Technologists) 4(3-3-6) 325352 การควบคุมคุณภาพอาหาร (Food Quality Control) 3(2-3-4) 325451 การตลาดอาหาร (Food Marketing) 2(2-0-4) 325452 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Product Development) 3(2-3-4) 325453 ระบบประกันคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร 3(3-0-6) (Food Safety and Quality Assurance System)

190 เกษตร สุรนารี' 58


325454 สุขาภิบาลและการจัดการสภาพแวดล้อมโรงงานอาหาร 2(2-0-4) (Food Plant Sanitation and Environment Management) 325455 กฎหมายและมาตรฐานอาหาร (Food Law and Standards) 2(2-0-6) 2.3 กลุ่มการวิจัย 5 หน่วยกิต 325481 สัมมนา (Seminar) 1(1-0-2) 325482 โครงงานเทคโนโลยีอาหาร 1 (Food Technology Project I) 1(1-0-2) 325483 โครงงานเทคโนโลยีอาหาร 2 (Food Technology Project II) 3(0-9-0) 2.4 กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ 6 หน่วยกิต นักศึกษาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้ โดยอาจเลือกเฉพาะทาง ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือจะผสมผสานวิชาเรียนระหว่างกลุ่ม โดยการแนะน�ำของอาจารย์ที่ปรึกษา 325411 เทคโนโลยีการหมักดองอาหาร (Food Fermentation Technology) 3(2-3-4) 325456 การประเมินทางประสาทสัมผัสของอาหาร (Sensory Evaluation of Foods) 3(2-3-4) 325461 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม (Dairy Product Technology) 3(1-6-2) 325462 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อและสัตว์ปีก (Meat and Poultry Product Technology) 3(2-3-4) 325463 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ (Fruit and Vegetable Product Technology) 3(1-6-2) 325464 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery Product Technology) 3(1-6-2) 325465 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว 3(2-3-4) (Cereal and Legume Product Technology) 325466 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์น�้ำมันและไขมัน (Fat and Oil Product Technology) 3(1-6-2) 325467 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Product Technology) 3(2-3-4) 325471 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร (Food Packaging Technology) 3(2-3-4) 325472 เทคโนโลยีเอนไซม์ทางอาหาร (Food Enzyme Technology) 3(2-3-4) 325473 อาหารและโภชนบ�ำบัด (Food and Diet Therapy) 3(2-3-4) 432424 การจัดการของเสียอุตสาหกรรม (Industrial Waste Management) 4(4-0-8) 433251 เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Economy) 4(4-0-8) 2.5 กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคสนาม 9 หน่วยกิต 325490 เตรียมสหกิจศึกษา (Pre-cooperative Education) 1(1-0-3) 325491 สหกิจศึกษา 1 (Cooperative Education I) 8 หน่วยกิต 325492 สหกิจศึกษา 2 (Cooperative Education II) 8 หน่วยกิต 325493 สหกิจศึกษา 3 (Cooperative Education III) 8 หน่วยกิต เกษตร สุรนารี' 58 191


2.6 กลุ่มวิชาเลือกเสรี เลือกเรียนวิชาใด ๆ ก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จ�ำนวนไม่น้อยกว่า รวมทั้งหมด สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร โทรศัพท์ 0 4422 4240 โทรสาร 0 4422 4387 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/foodtech

192 เกษตร สุรนารี' 58

8 หน่วยกิต 8 หน่วยกิต 184 หน่วยกิต


หลักสูตร

ระดับบัณฑิตศึกษา ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

เกษตร สุรนารี' 58 193


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) หลักสูตร 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ (Master of Science Program in Crop Science) แผน ก แบบ ก 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต 2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ (Doctor of Philosophy Program in Crop Science) แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว แบบ 1.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน แบบ 2.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2.2 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต รายวิชาในหลักสูตร 1. วิชาบังคับ (Compulsory Courses) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การวางแผนและวิเคราะห์ผลการทดลอง (Experimental Designs and Analysis) การศึกษาพืชศาสตร์ระดับสูง (Advanced Crop Science) สัมมนามหาบัณฑิต 1 (M.Sc. Seminar I) สัมมนามหาบัณฑิต 2 (M.Sc. Seminar II) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การวางแผนและวิเคราะห์ผลการทดลอง (Experimental Designs and Analysis) การศึกษาพืชศาสตร์ระดับสูง (Advanced Crop Science) สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1 (Ph.D. Seminar I)

194 เกษตร สุรนารี' 58

หน่วยกิต 3 4 1 1 3 4 1


สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2 (Ph.D. Seminar II) 1 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3 (Ph.D. Seminar III) 1 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 (Ph.D. Seminar IV) 1 2. วิชาเลือก (Electives) 2.1 กลุ่มวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeding) เทคนิคในการปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeding Techniques) 3 การปรับปรุงพันธุ์พืชระดับสูง 1 (Advanced Plant Breeding I) 3 การปรับปรุงพันธุ์พืชเชิงโมเลกุล (Molecular Plant Breeding) 3 ปฏิบัติการวิธีการระดับสูงในการปรับปรุงพันธุ์พืช 2 (Advanced Methods in Plant Breeding Laboratory) การพัฒนาของพืชเชิงโมเลกุล (Molecular Plant Development) 2 การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์พืช (Individual Study in Plant Breeding) 1 การปรับปรุงพันธุ์พืชระดับสูง 2 (Advanced Plant Breeding II) 3 พันธุศาสตร์ปริมาณในการปรับปรุงพันธุ์พืช (Quantitative Genetics in Plant Breeding) 3 การปรับปรุงพันธุ์พืชโดยวิธีพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering for Crop Improvement) 3 การปรับปรุงพันธุ์เพื่อต้านทานศัตรูพืช(Breeding for Plant Pest Resistance) 2 การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อทนทานต่อสภาวะเครียดจากสิ่งไม่มีชีวิต 2 (Plant Breeding for Abiotic stress) 2.2 กลุ่มวิชาสรีรวิทยาพืช (Plant Physiology) ชีวเคมีของพืช (Plant Biochemistry) 4 สรีรวิทยาการผลิตพืชระดับสูง (Advanced Crop Physiology) 4 การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับสรีรวิทยาพืช (Individual Study in Plant Physiology) 1 สรีรวิทยาของพืชภายใต้ภาวะวิกฤติ (Physiology of Plant under Stresses) 4 สรีรวิทยาการออกดอกและติดผล (Physiology of Flowering and Fruit Setting) 3 สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการเปลี่ยนแปลงของผลิตผลสด 3 (Postharvest Physiology and Changes of Perishable Crops) สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์ (Seed Physiology) 3 2.3 กลุ่มวิชากีฏวิทยา (Entomology) โครงสร้างของแมลงและหน้าที่ (Insect Structure and Function) 3 นิเวศวิทยาของแมลง(Insect Ecology) 3 การจัดการแมลงหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Insect Pest Management) 3 เกษตร สุรนารี' 58 195


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีระดับสูง (Advanced Biological Control of Insect Pests) การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับกีฏวิทยา (Individual Study in Entomology) เทคนิคการปฏิบัติการด้านกีฏวิทยา (Entomological Technique Practicum) พิษวิทยาของสารเคมีฆ่าแมลง (Insecticide Toxicology) ความต้านทานของพืชต่อแมลง (Plant Resistance to Insects) การน�ำโรคพืชของแมลง (Insect Transmission of Plant Diseases) 2.4 กลุ่มวิชาโรคพืชวิทยา (Plant Pathology) จุลชีพสาเหตุของโรคพืช (Plant Pathogens) เทคนิคทางโรคพืชวิทยา (Plant Pathological Techniques) โรคพืชวิทยาระดับสูง (Advanced Plant Pathology) ความต้านทานของพืชต่อโรค (Plant Resistance to Diseases) การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีระดับสูง (Advanced Biological Control of Plant Diseases) การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับโรคพืชวิทยา (Individual Study in Plant Pathology) การน�ำโรคพืชของแมลง (Insect Transmission of Plant Diseases) โรควิทยาเมล็ดพันธุ์ (Seed Pathology) โรควิทยาพืชหลังเก็บเกี่ยว (Postharvest Pathology) ปฏิบัติการวิธีระดับสูงในการศึกษาโรคพืชวิทยา (Advanced Methods in Plant Pathology Laboratory) 2.5 กลุ่มวิชาวิทยาการวัชพืช (Weed Science) นิเวศวิทยาของวัชพืชและการจัดการ (Weed Ecology and Management) วิทยาการสารเคมีป้องกันก�ำจัดวัชพืช (Herbicide Science) การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับวัชพืชวิทยา (Individual Study in Weed Science) 2.6 กลุ่มวิชาปฐพีวิทยา (Soil Science) การวิเคราะห์ดินและพืช (Soil and Plant Analysis) เทคโนโลยีปุ๋ย (Fertilizer Technology) ธาตุอาหารพืช (Mineral Plant Nutrients) ความสัมพันธ์ระหว่างดินกับพืช (Soil and Plant Relationships) การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับปฐพีวิทยา (Individual Study in Soil Science) เคมีของดิน (Soil Chemistry) ฟิสิกส์ของดิน (Soil Physics) จุลชีววิทยาของดินระดับสูง (Advanced Soil Microbiology)

196 เกษตร สุรนารี' 58

3 1 4 3 3 3 4 4 4 3 3 1 3 3 3 2 3 3 1 3 3 3 3 1 3 3 3


2.7 กลุ่มวิชาวิทยาการพืชหลังเก็บเกี่ยว (Postharvest Technology) วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน (Postharvest Technology of Horticultural Crops) วิทยาการหลังเก็บเกี่ยวของพืชไร่ (Postharvest Technology of Field Crops) ระบบการจัดการกับผลิตผลสดหลังการเก็บเกีย่ ว (Postharvest Handling Systems of Fresh Produce) การศึกษาเฉพาะด้านเกีย่ วกับวิทยาการหลังเก็บเกีย่ ว (Individual Study in Postharvest Technology) การจัดการแมลงหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Insect Pest Management) โรควิทยาเมล็ดพันธุ์ (Seed Pathology) โรควิทยาพืชหลังเก็บเกี่ยว (Postharvest Pathology) วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้ (Postharvest Technology of Flowers) เครื่องมือที่ใช้ในวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Technology Instrumentation) สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการเปลี่ยนแปลงของผลิตผลสด (Postharvest Physiology and Changes of Fresh Produce) 2.8 กลุ่มวิชาวิทยาการเมล็ดพันธุ์ (Seed Technology) การผลิตเมล็ดพันธุ์ (Seed Production) โรควิทยาเมล็ดพันธุ์ (Seed Pathology) การศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Individual Study in Seed Technology) การจัดการแมลงหลังการเก็บเกี่ยว (Postharvest Insect Pest Management) สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์ (Seed Physiology) ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ระดับสูง (Advanced Seed Business) 2.9 กลุ่มวิชาเกี่ยวเนื่องทางพืชศาสตร์ (Crop Science Relating Subjects) การเขียนรายงานวิจัยและเตรียมผลงานตีพิมพ์ (Research Report Writing and Manuscript Preparation) สถิติเพื่อการวิจัยระดับสูง (Advanced Statistics for Experimental Research) ปริทัศน์กลยุทธ์ด้านพืชศาสตร์ (Perspectives in Crop Science Strategies) ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Special Problems) การปรับตัวของพืช (Crop Adaptation) แบบจ�ำลองการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช (Crop Simulation Modeling)

3 3 3 1 3 3 3 3 1 3 3 3 1 3 3 3 2 3 1 3 3 3

เกษตร สุรนารี' 58 197


3. วิทยานิพนธ์ (Thesis) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก 1 (M.Sc. Thesis A 1) วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก 2 (M.Sc. Thesis A 2) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (แบบ 1.1) (Ph.D. Thesis (Scheme 1.1)) วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (แบบ 2.1) (Ph.D. Thesis (Scheme 2.1)) วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (แบบ 2.2) (Ph.D. Thesis (Scheme 2.2)) สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช โทรศัพท์ 0 4422 4202, 0 4422 4204 โทรสาร 0 4422 4281 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/crop

198 เกษตร สุรนารี' 58

ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า

46 16

ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า

64 48 64


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

หลักสูตร 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science Program in Animal Production Technology) แผน ก แบบ ก 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต 2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต (Doctor of Philosophy Program in Animal Production Technology) แบบ 1 เป็นการศึกษาทีเ่ น้นการวิจยั โดยการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว แบบ 1.1 ส�ำหรับผูท้ ศี่ กึ ษาต่อจากขัน้ ปริญญาโทหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่นอ้ ยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2 เป็นการศึกษาทีเ่ น้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาทีค่ ดิ ค่าคะแนน แบบ 2.1 ส�ำหรับผูท้ ศี่ กึ ษาต่อจากขัน้ ปริญญาโทหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่นอ้ ยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2.2 ส�ำหรับผูท้ ศี่ กึ ษาต่อจากขัน้ ปริญญาตรีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่นอ้ ยกว่า 96 หน่วยกิต รายวิชาในหลักสูตร 1. วิชาแกน (Core Courses) หน่วยกิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ (Experimental Designs in Animal Science Research) 4 หัวข้อศึกษาทางเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ 1 (Topics in Animal Production Technology I) 1 สัมมนาระดับปริญญาโท 1 (M.Sc. Seminar I) 1 สัมมนาระดับปริญญาโท 2 (M.Sc. Seminar II) 1 สัมมนาระดับปริญญาโท 3 (M.Sc. Seminar III) 1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ (Experimental Designs in Animal Science Research) 4 หัวข้อศึกษาทางเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ 1 (Topics in Animal Production Technology I) 1 เกษตร สุรนารี' 58 199


สัมมนาระดับปริญญาเอก 1 (Ph.D. Seminar I) สัมมนาระดับปริญญาเอก 2 (Ph.D. Seminar II) สัมมนาระดับปริญญาเอก 3 (Ph.D. Seminar III) สัมมนาระดับปริญญาเอก 4 (Ph.D. Seminar IV) สัมมนาระดับปริญญาเอก 5 (Ph.D. Seminar V) สัมมนาระดับปริญญาเอก 6 (Ph.D. Seminar VI) สัมมนาระดับปริญญาเอก 7 (Ph.D. Seminar VII) สัมมนาระดับปริญญาเอก 8 (Ph.D. Seminar VIII) 2. วิชาเลือก (Electives) 2.1 กลุ่มวิชาการวางแผนการทดลองและหัวข้อศึกษา (Experimental Designs and Topics) หัวข้อศึกษาทางเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ 2 (Topics in Animal Production Technology II) ระเบียบวิธีวิจัยทางสัตวศาสตร์ (Research Methodology in Animal Science) 2.2 กลุ่มวิชาสัมมนา (Seminar) สัมมนาระดับปริญญาโท 4 (M.Sc. Seminar IV) สัมมนาระดับปริญญาโท 5 (M.Sc. Seminar V) สัมมนาระดับปริญญาโท 6 (M.Sc. Seminar VI) สัมมนาระดับปริญญาเอก 9 (Ph.D. Seminar IX) 2.3 กลุ่มวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding) พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพส�ำหรับการผลิตสัตว์น�้ำ (Genetics and Biotechnology for Aquaculture) เทคนิคเกี่ยวกับการถ่ายยีนและการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนส�ำหรับการผลิตสัตว์ (Gene Transfer and Gene Expression Techniques for Animal Production) พันธุศาสตร์ประชากร (Population Genetics) เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ด้วยอิทธิพลแบบบวกสะสม (Animal Breeding Technology by Additive Gene Effect) เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ด้วยอิทธิพลแบบไม่บวกสะสม (Animal Breeding Technology by Non-additive Gene Effect) การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Molecular Genetic Technology for Animal Breeding) การปรับปรุงพันธุ์เพื่อประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ (Breding for Animal Production Efficiency) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding Strategies)

200 เกษตร สุรนารี' 58

1 1 1 1 1 1 1 1 1 3 1 1 1 1 3 3 3 3 3 3 3 3


2.4 กลุ่มวิชาสรีรวิทยาของสัตว์ (Animal Physiology) สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของปลา (Environmental Physiology of Fish) การเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์และคัพภะของสัตว์โดยวิธีการแช่แข็ง (Cryopreservation of Gametes and Embryos of Animals) สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงขั้นสูง (Advanced Reproductive Physiology of Domestic Animals) สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของสัตว์เลี้ยง (Environmental Physiology of Domestic Animals) วิทยาต่อมไร้ท่อของสัตว์เลี้ยง (Endocrinology of Domestic Animals) สรีรวิทยากล้ามเนื้อขั้นประยุกต์ (Applied Muscle Physiology) ชีววิทยาการสืบพันธุ์สัตว์น�้ำขั้นสูง (Advanced Reproductive Biology of Aquatic Animal) สรีรวิทยาการย่อยอาหาร (Digestive Physiology) สรีรวิทยาการให้น�้ำนม (Physiology of Lactation) การเจริญเติบโตและพัฒนาการของสัตว์เลีย้ ง (Growth and Development of Domestic Animals) 2.5 กลุ่มวิชาโภชนศาสตร์สัตว์ (Animal Nutrition) โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้องขั้นสูง (Advanced Ruminant Nutrition) โภชนศาสตร์สัตว์กระเพาะเดี่ยวขั้นสูง (Advanced Monogastric Animal Nutrition) โภชนศาสตร์และการผลิตอาหารสัตว์น�้ำ (Aquaculture Nutrition and feed technology) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาหารสัตว์ (Advances in Feed Technology) สารเสริมอาหารในการผลิตสัตว์ (Feed Additives in Animal Production) กลยุทธ์การให้อาหารสัตว์เขตร้อน (Tropical Animal Feeding Strategies) นิเวศวิทยารูเมน (Rumen Ecology) การประเมินคุณภาพของอาหารและการให้อาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว (Qualitative Feed Evaluation and Monogastric Animals Feeding) เทคนิควิจัยในโภชนศาสตร์สัตว์ (Techniques in Animal Nutrition Research) การถนอมและการแปรรูปอาหารสัตว์ (Feed Preservation and Processing) การสร้างแบบจ�ำลองของโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Modelling of Ruminant Nutrition) 2.6 กลุ่มวิชาเลือกอื่น ๆ (Others) พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงขั้นประยุกต์ (Applied Domestic Animal Behavior) ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Special Problem) การจัดการสิ่งแวดล้อมในการผลิตสัตว์ (Environmental Management in Animal Production) การจัดการสุขภาพปศุสัตว์ (Livestock Health Management) การจัดการสุขภาพสัตว์ปีก (Poultry Health Management)

3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3

เกษตร สุรนารี' 58 201


การจัดการสุขภาพแพะและแกะ (Goat and Sheep Health Management) หรือรายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยได้รับความเห็นชอบจากสาขาวิชา 3. วิทยานิพนธ์ (Thesis) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (แบบ ก 1) (M.Sc. Thesis (Scheme A1)) ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (แบบ ก 2) (M.Sc. Thesis (Scheme A2)) ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 1.1) (Ph.D. Thesis (Scheme 1.1)) ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 2.1) (Ph.D. Thesis (Scheme 2.1)) ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 2.2) (Ph.D. Thesis (Scheme 2.2)) ไม่น้อยกว่า สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ โทรศัพท์ 0 4422 4378 โทรสาร 0 4422 4376 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/animal

202 เกษตร สุรนารี' 58

3 48 20 64 46 60


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) หลักสูตร 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (Master of Science Program in Food Technology) แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต 2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (Doctor of Philosophy Program in Food Technology) แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว แบบ 1.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา แบบ 2.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2.2 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต รายวิชาในหลักสูตร 1. หมวดวิชาบังคับ หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สถิติเพื่อการวิจัยทางอุตสาหกรรมเกษตร (Statistics for Agro-Industry Research) สัมมนามหาบัณฑิต 1 (M.Sc. Seminar 1) สัมมนามหาบัณฑิต 2 (M.Sc. Seminar 2)

หน่วยกิต 4 1 1

เกษตร สุรนารี' 58 203


หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต หน่วยกิต* สถิติเพื่อการวิจัยทางอุตสาหกรรมเกษตร (Statistics for Agro-Industry Research) 4 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1 (Ph.D. Seminar 1) 1 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2 (Ph.D. Seminar 2) 1 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3 (Ph.D. Seminar 3) 1 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 (Ph.D. Seminar 4) 1 * หน่วยกิตรายวิชาบังคับในวงเล็บ ส�ำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนเรียนรายวิชา 325551 สถิติเพื่อการวิจัย ทางอุตสาหกรรมเกษตรหรือรายวิชา 315571 สถิติเพื่อการวิจัยทางเทคโนโลยีอาหาร มาแล้วในระดับปริญญาโท จะเรียนเฉพาะรายวิชาสัมมนาดุษฏีบัณฑิต 4 หน่วยกิต หมวดวิชาปรับพื้นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีอาหาร* รายวิชาที่ต้องเรียนส�ำหรับผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทจากหลักสูตรอุตสาหกรรม เกษตร วิทยาศาสตร์อาหาร เทคโนโลยีอาหาร วิศวกรรมอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโลยีการบรรจุ ทั้งนี้ โดย ความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หลักจุลชีววิทยาอาหาร (Principles of Food Microbiology) 3 หลักเคมีอาหาร (Principles of Food Chemistry) 3 หลักการแปรรูปอาหาร (Principles of Food Processing) 4 หลักวิศวกรรมอาหาร (Principles of Food Engineering) 4 * คิดระดับคะแนนเป็น S หรือ U และไม่คิดเป็นหน่วยกิตในรายวิชาเลือก 2. หมวดวิชาเลือก โภชนเภสัชภัณฑ์และอาหารสุขภาพ (Nutraceutical and Functional Foods) 3 น�้ำในอาหาร (Water in Foods) 3 การประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Shelf-Life Evaluation of Biological Products) 3 จุลชีววิทยาอาหารขั้นสูง (Advanced Food Microbiology) 3 เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (Food Biotechnology) 3 การประเมินความเสี่ยงของความปลอดภัยทางจุลชีววิทยา ในอุตสาหกรรมอาหาร 3 (Risk Assessment of Microbiological Safety in Food Industry) สารเมตาบอไลท์จากจุลินทรีย์ส�ำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 3 (Microbial Metabolites for Food Industry) การวิเคราะห์อาหารด้วยเครื่องมือ (Instrumental Analysis of Food) 4 คาร์โบไฮเดรตในอาหาร (Food Carbohydrates) 3 โปรตีนในอาหาร (Food Proteins) 3

204 เกษตร สุรนารี' 58


เอนไซม์ทางอาหาร (Food Enzymes) 3 ลิพิดในอาหาร (Food Lipids) 3 กลิ่นรสอาหาร (Food Flavors) 3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาหารกล้ามเนื้อ (Science and Technology of Muscle Food) 3 อาหารและโภชนาการขั้นสูง (Advanced Food and Nutrition) 4 การแปรรูปอาหารขั้นสูง (Advanced Food Processing) 3 เทคโนโลยีคอลลอยด์และอิมัลชันในอาหาร (Food Colloidal and Emulsion Technology) 4 วิทยากระแสของอาหาร (Food Rheology) 4 สมบัติทางกายภาพและวิศวกรรมของวัสดุชีวภาพ 3 (Physical and Engineering Properties of Biomaterials) กระบวนการถ่ายเทในอาหารและกระบวนการชีวภาพ 3 (Transfer Processes in Food and Bioprocess) การประเมินและการปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหาร (Food Process Evaluation and Improvement) 3 หัวข้อเฉพาะทางเทคโนโลยีอาหาร (Selected Topics in Food Technology) 2 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 2 3. วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 48 (Thesis Plan A Scheme A1) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 20 (Thesis Plan A Scheme A2) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า 64 (Dissertation Scheme 1.1) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 (Dissertation Scheme 2.1) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 64 (Dissertation Scheme 2.2) สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร โทรศัพท์ 0 4422 4240 โทรสาร 0 4422 4387 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/foodtech เกษตร สุรนารี' 58 205


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) หลักสูตร 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Master of Science Program in Biotechnology (International Program)) แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต หรือ 56 หน่วยกิต ส�ำหรับ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในแนวทางที่มีสหกิจศึกษา แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการท�ำวิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่นอ้ ยกว่า 48 หน่วยกิต หรือ 56 หน่วยกิต ส�ำหรับนักศึกษา ที่ลงทะเบียนในแนวทางที่มีสหกิจศึกษา 2. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Doctor of Philosophy Program in Biotechnology (International Program)) แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการท�ำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว แบบ 1.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการท�ำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา แบบ 2.1 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต แบบ 2.2 ส�ำหรับผู้เข้าศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต รายวิชาในหลักสูตร 1. หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต เทคโนโลยีชีวภาพแบบองค์รวม (Holistic Approach to Biotechnology) 4 เครื่องมือวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnological Instrumentation) 4 เทคนิคเฉพาะทางในการด�ำเนินงานวิจัย (Selected Research Techniques) 3 *ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1 สามารถใช้ก�ำหนดวิชาบังคับเป็นวิชาเลือกได้

206 เกษตร สุรนารี' 58


2. หมวดวิชาสัมมนา 2.1 รายวิชาสัมมนาส�ำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สัมมนา 1 (ส�ำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต) (Seminar 1 (for M.Sc.)) 1 สัมมนา 2 (ส�ำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต) (Seminar 2 (for M.Sc.)) 1 สัมมนา 3 (ส�ำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต) (Seminar 3 (for M.Sc.)) 1 2.2. รายวิชาสัมมนาส�ำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สัมมนา 1 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.2) (Seminar 1 (for Ph.D. Scheme 2.2)) 1 สัมมนา 2 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.2) (Seminar 2 (for Ph.D. Scheme 2.2)) 1 สัมมนา 3 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบณ ั ฑิต แบบ 2.1 และ 2.2) (Seminar 3 (for Ph.D. Scheme 2.1&2.2)) 1 สัมมนา 4 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบณ ั ฑิต แบบ 2.1 และ 2.2) (Seminar 4 (for Ph.D. Scheme 2.1&2.2)) 1 สัมมนา 5 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบณ ั ฑิต แบบ 2.1 และ 2.2) (Seminar 5 (for Ph.D. Scheme 2.1&2.2)) 1 สัมมนา 6 (ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบณ ั ฑิต แบบ 2.1 และ 2.2) (Seminar 6 (for Ph.D. Scheme 2.1&2.2)) 1 *ส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1 เริ่มเรียนสัมมนา 3 3. หมวดวิชาเลือก 3.1. เทคโนโลยีชีววิทยาระดับโมเลกุล ชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology) 4 เทคนิคทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology Techniques) 2 การสื่อสารระดับอณูและเซลล์ (Molecular and Cellular Communication) 4 เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านโภชนเภสัชภัณฑ์และเภสัชศาสตร์ 4 (Neutraceutical and Pharmaceutical Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพของระบบภูมิคุ้มกัน (Immunobiotechnology) 4 หัวข้อวิจัยในชีววิทยาระดับโมเลกุล (Selected Research in Molecular Biology) 1 ความสัมพันธ์ระหว่างพืชและจุลินทรีย์ในระดับโมเลกุล 3 (Molecular Biology of Plants and Microbes Interaction) การบังคับวิถีกระบวนการสร้างและสลายขั้นสูง (Advanced Metabolic Control)* 4 วิชาเฉพาะขั้นสูงทางด้านอณูเทคโนโลยีชีวภาพ (Advance Topics in Molecular Biotechnology)* 4 3.2. เทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นก�ำเนิด เทคโนโลยีชีวภาพของสัตว์ (Animal Biotechnology) 3 เทคโนโลยีโคลนนิ่งสัตว์ (Animal Cloning Technology) 3 เทคโนโลยีเซลล์ต้นก�ำเนิด (Stem Cell Technology) 4

เกษตร สุรนารี' 58 207


การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพการซ่อมแซมอวัยวะเสื่อมสภาพของสัตว์ (Animal Regenerative Biotechnology Research) ชีววิทยาเซลล์ต้นก�ำเนิด (Stem Cell Biology) การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้วและการย้ายฝากตัวอ่อนในปศุสัตว์ (In vitro Embryo Production and Embryo Transfer in Farm Animals) ชีววิทยาการเจริญของสัตว์ (Animal Developmental Biology) การประยุกต์ใช้เซลล์ต้นก�ำเนิดจากสัตว์ (Applied Animal Stem Cells) เทคนิคเฉพาะทางในการด�ำเนินงานวิจัยทางด้านการโคลนนิ่งสัตว์ (Selected Research in Animal Cloning Technology) 3.3. เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและจุลินทรีย์ จุลชีววิทยาประยุกต์ (Applied Microbiology) เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (Agricultural Biotechnology) ปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (Agricultural Biotechnology Laboratory) เทคโนโลยีชีวภาพของพืช (Plant Biotechnology) ปฏิบัติการเทคโนโลยีทางการเกษตรและจุลินทรีย์ (Selected Research in Agricultural and Microbial Technology) เทคโนโลยีชีวภาพทางอณูชีววิทยาของแบคทีเรียเจริญในสภาวะไร้อากาศ (Molecular Biotechnology of Anaerobic Bacteria) เทคโนโลยีชีวภาพเชิงเอนไซม์ (Enzyme Biotechnology) 3.4. เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม และวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ กระบวนการแปรรูปทางชีวภาพ (Bioprocessing) พลังงานชีวมวลในเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-energy in Biotechnology) วิศวกรรมกระบวนการสร้างและสลาย (Metabolic Engineering) เทคโนโลยีการผลิตไวน์ (Enological Technology) ปรากฏการณ์ขนส่งในระบบชีววิทยา (Transport Phenomena in Biological Systems) เทคโนโลยีชีวภาพของโพลีเมอร์ชีวภาพ (Biotechnology of Biopolymers) เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑทางชีวภาพ (Bioproduct Recovery Technology) เทคโนโลยีการบ�ำบัดของเสียด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ต้นแบบและการจ�ำลองในกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess Modeling and Simulation) ปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมและวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (Selected Research in Industrial Biotechnology and Bioprocess Engineering) เครือ่ งมือวิจยั ทางกระบวนการชีวภาพและการควบคุม (Bioprocess Instrumentation and Control)

208 เกษตร สุรนารี' 58

3 4 4 4 4 1 3 4 2 3 1 3 4 3 3 4 3 3 3 3 3 3 1 3


การออกแบบและการควบคุมถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor Design and Operations) เทคโนโลยีชีวภาพสีขาวเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (White Biotechnology for value-added products production) เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Biotechnology) กระบวนการแยกผ่านแผ่นเยื่อ (Membrane Separation Processes) วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bioprocess Engineering)* ปฏิบตั กิ ารวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพขัน้ สูง (Advanced Bioprocess Engineering Laboratory)* เทคโนโลยีการผลิตไวน์ขั้นสูง (Advanced Enological Technology)* 3.5. รายวิชาอื่น ๆ ประเด็นที่ก�ำลังเป็นที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Current Issues in Biotechnology) สหกิจบัณฑิตศึกษา (Graduate Co-operative Education) เทคโนโลยีชีวภาพระดับนาโน (Nanobiotechnology) การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Intellectual Property and Biotechnology Management) ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology safety) รายวิชาอื่น ๆ ตามความเห็นชอบของสาขาวิชา * วิชาเลือกส�ำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต 4. วิทยานิพนธ์ 4.1 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า (Thesis Plan A Scheme A1) 4.2 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า (Thesis Plan A Scheme A2) 4.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า (Dissertation Scheme 1.1) 4.4 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า (Dissertation Scheme 2.1) 4.5 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า (Dissertation Scheme 2.2)

3 3 3 3 4 2 3 1 8 3 3 4

48 20 64 48 64

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ โทรศัพท์ 0 4422 4234 โทรสาร 0 4422 4154 เว็บไซต์ http://iat.sut.ac.th/2013/biotech เกษตร สุรนารี' 58 209


คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดท�ำหนังสือ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มณฑารพ ยมาภัย 2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร บุญอนันธนสาร 3. ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด 4. ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอ�ำรุง 5. รองศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย วนภู 6. รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย 7. รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ 8. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ บุญทาวัน 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร กาญจนทวี 10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์ 11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ 12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณลดา ติตตะบุตร 13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา 14. อาจารย์ ดร.ปริญญา น้อยสา 15. นางสาวปรางค์ขาว ปรุเขตต์

SAF 2015

Suranaree Agricultural Fair

58

ประธาน รองประธาน อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ


ผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน “เกษตรสุรนารี’58” 1. เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3. บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) 4. บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จํากัด 5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) 6. คลินกิ แพทย์หญิงอุษา-แพทย์หญิงปิยทิพย์ (U & P Clinic) 7. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 8. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 9. บริษัท รุ่งนิรันดร์ วิลล์ 2009 จํากัด 10. บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จํากัด สํานักงานนครราชสีมา 11. บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จํากัด (มหาชน) 12. บริษัท แดรี่โฮม จํากัด 13. บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จํากัด (มหาชน) 14. บริษัท เกทเวย์ อีควิปเมนท์ จํากัด 15. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จํากัด 16. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จํากัด 17. บริษัท อาเคเดียฟูดส์ จํากัด 18. บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จํากัด 19. ห้างหุ้นส่วนจํากัด คิคโคเคน 20. สํานักงานการค้าภายในจังหวัดนครราชสีมา 21. บริษัท ดั๊กคิง จํากัด 22. สหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี จาํ กัด

23. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จํากัด (มหาชน) 24. บริษัท บุญไทยแมชชีนเนอรี่ คอมเพล็กซ์ จํากัด 25. บริษัท ดับเบิลฟลาวเวอริ่ง คาเมลเลีย จํากัด 26. บริษัท พาสเอ็กซ์เปิรต จํากัด 27. บริษัทวีรมาศ การเกษตร จํากัด 28. บริษัท แลคตาซอย จํากัด 29. บริษัท ซีแพค อินเตอร์ จํากัด 30. ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 31. ฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 32. HK Cattle 33. ห้างหุ้นส่วนจํากัด พรชัยอินเตอร์เทรด 34. คุณไพโรจน์ ซ่อนกลิ่น / สมานฟาร์ม 35. กลุ่ม 12 Breeders 36. สมาคมผู้บํารุงพันธุ์โคบราห์มันแห่งประเทศไทย 37. กลุ่มผู้บํารุงพันธุ์โคบราห์มันเมืองย่า 38. กลุ่มผู้เลี้ยงโคลุ่มแม่น้ําบางปะกง 39. คุณสานน กัณรัมย์ / ไทย-เรด ฟาร์ม 40. คุณสันติ เหลืองทวีผล / สันติฟาร์ม 41. บริษัท เอส อาร์ ซี แอ็นนิมัล เฮล จํากัด 42. คอกโคดี ฟาร์ม แอนด์ เซอร์วิส 43. ชมรมโคโลว์ไลน์แองกัส

ออกแบบและพิมพ์ที่ : หจก.เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง โทร. 044-252-883


M YCOTOXIN TESTING PRODUCTS AgraQuant M ycotoxin ELISA Test Kit AgraStrip Total Aflatoxin Test Kit Clean-Up Columns Standards Calibrants M atrix Reference M aterials Equipment & Instruments Food Allergen & GM O & Drug Residue D i s t r i b u t E D by

CPAK

CPAK INTER Co., Ltd. Tel: 02-373-6407 , Fax: 02-373-6406 E-mail : charoen@cpakinter.com www.feedfocus.co.th

ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


บริษัทวีระมาศ การเกษตร จ�ำกัด 70/130 ม.16 ถ.พหลโยธิน 75 ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา จ.ปทุมธานี โทร. 02-995-0729 แฟกซ์ 02-531-4845





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.