เกี่ยวกับผู้เขียน นาย ธนัช เชาวกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
"มนุษย์เป็ นสว่ นหนึง่ ของธรรมชาติ แต่ถ ้าการพัฒนาของมนุษย์ ไปท�ำลายธรรมชาติ แล ้วต่อไปมนุษย์จะอยูอ ่ ย่างไร"
บทน�ำ เมื่อก่อนนั้นตัวผมเองแทบจะไม่ได้รู้จักเกี่ยวกับความยั่งยืนเลย ในความคิดของผม ณ ตอนนั้นความยั่งยืนคือแค่เพียงการที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งสามารถถูกใช้ได้นานๆ ไม่ต้องเปลี่ยนหรือมี อะไรมาทดแทนบ่อยๆ แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะเมื่อได้มีโอกาสมาเรียนรู้กับอาจารย์ ตรีชฎา (อ.ตุ๊กตา) ผมก็ ยังได้รู้อะไรอีกหลายๆอย่างเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งหลายๆเรื่องก็เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวมากจน มองข้ามไป และยังรวมถึงบทบาทของนักออกแบบ ที่มีผลต่อการก�ำหนดทิศทางของความยั่งยืนได้อีก ด้วย ในตอนนั้นตัวผมรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่เจ๋งมาก เพราะมันเป็นแนวคิดที่ท�ำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับ ธรรมชาติได้อย่างไม่ขัดแย้งกันแต่ก็ได้มารู้จาก อ.ตุ๊กตา ว่า "ไอ้ที่เราคิดว่าเจ๋งหนะ ต่างประเทศเด็กเขา เรียนกันตั้งแต่ช่วงประถมแล้วก็มี (OMG) แต่พวกเธอหนะเพิ่งมาเรียนตอนปี 4" หลังจากได้ฟังอย่าง นี้แล้วผมไม่ค่อยจะแปลกใจเท่าไหร่เลย เพราะนอกจากคนอื่น ตัวผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่หลายๆครั้งก็ ทิ้งขยะแบบไม่แยกถัง เลือกใช้ของที่ท�ำลายธรรมชาติ นั้นอาจเป็นเพราะระบบการศึกษาของไทยอาจจะ ไม่ได้ปลูกฝังเรื่องนี้เท่าที่ควร หรือ อาจเป็นเพราะวัฒนธรรม วิถีชีวิตต่างๆ ที่หล่อหลอมให้เป็นแบบนี้ (บ่นเล็กหน่อย ฮ่าๆ) ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ทุกท่านอาจจะได้เห็นแนวคิด ที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของนักศึกษาด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์ธรรมดาคนหนึ่ง โดยเป็นแนวคิดที่เริ่มมีหรือเปลี่ยนไปหลักจากการที่ได้เรียนวิชา การออกแบบเพือ่ความยั่งยืน โดยจะเป็นทั้งแนวคิดมุมมองของคนที่เป็นนักออกแบบ และ มุมมองของ คนธรรมดาต่อกิจกรรมวิถีชีวิตของคนไทยที่มีผลต่อความยั่งยืนมากขึ้น ทั้งนี้ผมขอขอบคุณ อ.ตุ๊กตา มากๆเลยครับ ที่มาเปิดทัศนคติใหม่ๆ ที่พวกผมจะไม่ได้รู้มา ก่อน เพราะผมเชื่อว่าคงจะมีน้อยคนมากที่จะลงมาให้ความรู้นักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความยั่งยืนอะไร แบบนี้ (แถมยังทนความซนเป็นลิงตามแบบฉบับเด็กมัณฑนศิลป์ได้อีก ฮ่าๆๆ) ขอบคุณอาจารย์มากๆ จริงครับ
Sustainable in designer (my) visionaries 1
Chapter "คุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ของ" "คุ ย กั บ ต้ น ไม้ " "ขวดน�้ ำ ดึึ ก ด� ำ บรรพ์ " "ชี วิ ต ของโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ " "เรื่ อ งสี เ ทา บทที่ ห นึ่ ง ลอยกระทง" "เรื่ อ งสี เ ทา บทที่ ส อง พลาสติ ก " "เทคโนโลยี และ ธรรมชาติ "
Sustainable in designer (my) visionaries 2
"คุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ของ" วันนี้เป็นวันเริ่มเรียนวันแรก ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้สั่งงานให้ นักศึกษาน�ำรูปของผลิตภัณฑ์ที่ตนเองชอบ และให้อธิบายว่ามันมี คุณค่า มีความเจ๋งทางด้านไหน ซึ่งตัวผมเองนั้นได้น�ำรูปของหูฟัง แบบ over-ear ไป (ใครนึกไม่ออกลองนึกถึงหูฟังครอบหูที่พกพา ไปไหนมาไหนได้) เมื่อถึงเวลาน�ำเสนอ อาจารย์ได้ให้เรานั่งกันเป็นก ลุ่มเดียวหันหน้าเข้าหากัน และก็ถึงเวลาน�ำเสนอ โดยตัวผมนั้นให้ คุณค่าของหูฟังว่า มันเปรียบคล้ายรถยนต์ คือมันมีทั้งด้านความ งาม และสมรรถณะในการท�ำงานอยู่รวมกัน โดยที่ทั้งสองนี้มันต้อง เข้ากันได้ และหูฟังแต่ละตัวก็มีเอกลักษณ์ต่างกันไปในแต่ละตัว มัน ดูมีคุณค่าในเชิงออกแบบที่ผสมผสานการใช้งาน กับความน่าใช้อยู่ ในอันเดียวกัน จากนั้นก็มีเพื่อนหลายๆคนได้น�ำเสนอผลงานที่ตัว เองเอามา ยกตัวอย่างเพื่อนของผมคนนึงชื่อ ภูเขา คนนี้น�ำไม้ขีด ไฟมา และให้เหตุผลว่ามันเจ๋งที่มนุษย์จุดไฟได้เร็วขนาดนี้ อีกทั้ง มันก็ยังถูกใช้งานมานาน ไม่น่าจะมีอะไรมาแทนได้ (ซึ่งผมก็ว่ามัน จริงเลยแหละ) ส่วนเพื่อนผมอีกคนชื่อ พลอยแพรว คนนี้เป็นคน ชอบกิน เขาก็น�ำรูปที่เป็นบรรจุภัณฑ์ของเหล้าไข่(eggnog)มา โดยให้ เหตุผลว่ามันเจ๋งตรงที่ของที่ไม่น่าน�ำเข้าสู่ระบบ mass production ได้ เพราะมีขั้นตอนละเอียด แต่กลับน�ำเข้าระบบได้ และออกวางขายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต
เอาจริงๆในตอนนั้นผมมองว่าไอ้ปากกาอันเนี่ย มันธรรมดามากเลยนะ มันเหมือนกับของที่โผล่มาเกร่อๆ ในช่วงยุคที่มีกุศโลบายในการใช้ถุงผ้าตอนที่โลกเจอภาวะ โลกร้อนแบบเต็มตัว แต่หลังจากเริ่มสัปดาห์ต่อๆมาเนี่ย ผม ก็เริ่มมีแนวคิดที่เปลี่ยนไป และคิดว่าปากกาเนี่ยมันเจ๋งจน อยากจะหามาใช้สักแท่งเลยหละ ซึ่งถ้าไม่ติดว่าต้องน�ำเข้า ไกลจากต่างประเทศนี้ผมใช้ไปแล้วครับ (เพราะเรื่องการขน ส่งเนี่ย มีผลต่ออัตราการเกิดโลกร้อนมากจริงๆครับ)
ซึ่งจากการน�ำเสนอทั้งหมดก็ท�ำให้ผมได้รู้ถึงคุณค่าในน ความคิดของแต่ละคน แต่ ณ ตอนนั้นยังไม่มีใครพูดถึงเรื่องความ ยั่งยืนเลยครับ ทีนี้ก็เลยมาถึงคิวอาจารย์น�ำเสนอผลงาน อาจารย์ หยิบปากกาขึ้นมาแท่งหนึ่งแล้วส่งให้ทั้งกลุ่มได้ลองดู ปากกาแท่งนั้น เป็นของ Uniball ครับ มีสีแท่งเป็นสีเขียวและสีด้ามจับเป็นสีน�้ำตาล และยังมีชื่อรุ่นเขียนไว้ว่า ECO ผมเลยพอเดาได้เลยว่ามันต้องเกี่ยว อะไรกับการอนุรักษ์ธรรมชาติแน่ๆ ซึ่งอาจารย์ก็เฉลยว่าตัววัสดุท�ำ มาจากวัสดุรีไซเคิล ด้ามจับท�ำจากยางผสมกับแกลบไม้ นอกจากนี้ ไส้ปากกายังเป็นชนิดแบบเปลี่ยนได้ เวลาหมดก็ไม่ต้องซื้อแท่งใหม่ Sustainable in designer (my) visionaries 3
Sustainable in designer (my) visionaries 4
"เอาหละ วันนี้พวกเธอต้องจับกลุ่มกันนะ และ ลงไปที่สวนแก้ว หรือบริเวณใกล้เคียง จากนั้นให้คุยกับ ต้นไม้สักต้น คุยกันแล้วได้อะไรบ้าง เห็นอะไรจากเขา ให้ น�ำมาพรีเซนท์ที่ห้องนะ" สิ้นเสียงค�ำสั่งงานของอาจารย์ สิ่งที่ผมคิดทันทีเลยคือ WHATTT!! นี้ต้องไปยืนคุยกับ ต้นไม้จริงเลยหรอวะเนี่ย พลางในหัวก็นึกถึงภาพคนรัก ธรรมชาติจัดแบบทาร์ซานๆยืนโอบต้นไม้แล้วพูดกับต้นไม้ อยู่ ก่อนที่ความคิดจะเตลิดไปมากกว่านี้ เพื่อนผมก็เข้ามา ช่วยแถลงไขว่าไม่ใช่อย่างที่ผมคิด แต่ที่คุยกับต้นไม้เนี่ย เป็นค�ำเปรียบเปรย จริงๆแค่ให้เราไปสังเกตว่าต้นไม้แต่ละ ต้นสภาพเป็นยังไงและมนุษย์มีผลต่อการเจริญเติบโตของ เขาหรือไม่เท่านั้นเอง (พอผมได้ยินอย่างนั้นก็โอเคครับนึก ว่าจะต้องเป็นทาร์ซานซะแล้ว ฮ่าๆๆ) หลังจากนั้นพวกผมก็ได้ลงไปข้างล่างและเริ่ม หาต้นไม้ที่จะมาท�ำการสัมภาษณ์กัน ฮ่าๆ ซึ่งผลสรุปคือ กลุ่มผมได้เลือกต้นไม้ใหญ่มาต้นหนึ่งตรงสนามบาสเก็ ตบอลที่ใช้เป็นลานจอดรถด้วย ซึ่งหลังจากที่พวกผมยืน อยู่นานผมก็ได้ไล่สังเกตถึงบรรยากาศและลักษณะบริเวณ โดยรอบ พบว่าต้นไม้ใหญ่มากแต่กิ่งก้านขึ้นเป็นระเบียบ มากซึ่งน่าจะมาจากการตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้หักไปโดนรถ ด้านล่าง ส่วนบริเวณรากนั้นโดยปกติต้นไม้ใหญ่ๆต้องมี รากที่พ้นขึ้นมาบนดินบ้าง แต่ต้นไม้ต้นนี้กลับไม่มีเลย ผม เห็นแต่พื้นซีเมนต์ที่มีรอยแตกเล็กๆเป็นทางยาว นั้นเลย ท�ำให้ผมสันนิฐานว่า มันน่าจะเกิดจากการที่คนไปเทปูน เพื่อปรับระนาบพื้นอีกทีหนึ่ง ซึ่งนั้นท�ำให้ต้นไม้ต้นนี้เหลือ พื้นที่ที่จะให้น�้ำซึมลงดินน้อยลงมากๆ
Sustainable in designer (my) visionaries 5
"คุ ย กั บ ต้ น ไม้ "
พอผมได้เห็นภาพเหล่านั้นผมก็นึกถึงค�ำ ที่อาจารย์บอกขึ้นมาได้ ว่าถึงแม้ต้นไม้จะไม่มีเสียง หรือสีหน้าสีตา แต่เขาก็แสดงออกมาทางลักษณะ กายภาพของเขา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นจึงไม่ใช่ สิ่งที่โกหกได้เลย นั้นท�ำให้ผมนึกไปต่อว่า จริงแล้ว มนุษย์เองก็คงไม่ได้สนใจธรรมชาติมากเท่าที่ควร รึเปล่า เหมือนเพียงแค่เราอาศัยประโยชน์จากเขา มากกว่าการที่จะอยู่ด้วยในพื้นที่เดียวกัน มันแอบ เป็นการสะท้อนถึงจุดเล็กๆว่าที่จริงคนเราไม่ได้คิดที่ จะวางแผนเพื่ออยู่ร่วมกันกับธรรมชาติแต่แรกแล้ว ก็ได้ จากนั้นผมก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับต้นไม้ต้น นั้นต่อ เพื่อนๆของผมมีความเห็นว่าทั้งลักษณะต้น และใบ มันน่าจะเป็นต้นมะม่วง แต่น่าแปลกใจที่ท�ำไม ถึงไม่มีลูกออกมาให้เห็นเลย พวกผมเลยตัดสิน ใจถามน้ายามที่คอยโบกรถในแถวบริเวณนั้น ก็ได้ ความมาว่าเป็นต้นมะม่วงจริงๆนั้นแหละ แต่ที่ลูกไม่ ออกก็เพราะมีกระรอกปีนขึ้นไปกินตลอดปี ซึ่งนี้ก็ ท�ำให้เห็นภาพอีกเช่นกันว่าไม่ใช่เพียงมนุษย์ที่ต้อง อาศัยธรรมชาติ สัตว์อื่นๆก็เช่นกัน ต้นไม้ต้นเดียว อาจมีค่ากับบางชีวิตมหาศาลกว่าการเป็นร่มบังแดด ให้มนุษย์บนลานซีเมนต์โล่งๆ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ นี้มันเลยท�ำให้ผมเริ่มสนใจในความยั่งยืนมากขึ้น มองปัญหาลึกลงไปเป็นขึ้นเป็นตอนมากกว่าเดิม เข้าใจว่ากว่าจะมาเป็นธรรมชาติให้เราพึ่งพาได้มัน ก่อร่างสร้างตัวมานานมากกว่าเวลาที่มนุษย์มาใช้ ประโยชน์และท�ำให้หมดไปอย่างรวดเร็ว
Sustainable in designer (my) visionaries 6
ถ้าหากผมถามท่านผู้อ่านว่าหากเราต้องการจะหาแหล่ง ที่สามารถหาน�้ำเปล่าเย็นๆสักขวดหนึ่ง ดื่มเวลาอยู่นอก บ้านสัก เราจะนึกถึงที่ไหนกันครับ? แน่นอนหลายๆคนคงมีความคิดเป็นของตัวเองแน่ๆ แล้ว แต่ผมขอยกตัวอย่างว่าไปซื้อที่ 7-11 ละกัน (ผม ไม่ได้โฆษณานะเออ) ซึ่งเมื่อเวลาคุณหิวน�้ำมากๆเนี่ย ก็ แค่เดินไปที่หน้าตู้ หยิบมันขึ้นมา ไปจ่ายที่เคาเตอร์ ดื่ม เสร็จก็ทิ้งลงถังให้ถูกถัง เพื่อช่วยแก้ปัญหาการแยก ขยะ เย้!! คุณผู้อ่านพออ่านมาถึงตรงนี้บางท่านก็คงจะคิดใช่ไหม ครับว่า เออก็แล้วไงละ ก็แค่ขวดน�้ำธรรมดา เรื่องปกติ นิ มันน่ามีอะไรมาให้เขียนเป็นตอนๆหนึ่งในหนังสือเลย เหรอ? แต่จริงๆแล้วมันมีอะไรมากกว่านั้นครับ !! ถ้าหากผมจะ บอกว่าจริงๆแล้วไอ้ขวดน�้ำขวดนั้นมันมีอายุมากกว่า คุณรวมกันเป็นร้อยคนซะอีก!! ก็นั้นแหละครับ คุณผู้อ่าน เพราะถ้าหากเรามองดูดีๆถึง รายละเอียดของน�้ำขวดหนึ่งคุณอาจจะเห็นแค่สิ่งที่มัน เป็นอยู่ ณ ตอนนั้น ผมอยากให้ทุกคนมองลึกลงไป อีกครับ ว่าขวดน�้ำมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ขวดน�้ำนั้นมีวัสดุหลักเป็นพลาสติก ถ้าหากมองย่อย ลงไปอีกถึงชนิดของพลาสติกเราก็จะรู้ว่ามันมาจาก พลาสติกประเภท PET (Polyethylene terephthalate) (คุณผู้อ่านสามารถรู้ชนิดของพลาสติกแต่ละชนิดได้ จากตัวเลขที่อยู่ด้านในสัญลักษณ์ลูกษรสามเหลี่ยม ครับ) ซึ่งพลาสติกนั้นก็มาจากกระบวนการปิโตรเคมี เป็นผลผลิตย่อยที่ได้มาจากผลผลิตหลักซึ่งก็คือการก ลั่นน�้ำมันดิบอีกทีหนึ่ง ซึ่งน�้ำมันดิบนั้นก็เกิดจากการ ทับถมของซากพืชซากสัตว์มาเป็นเวลาล้านๆปี
ใช่แล้วครับที่ผมบอกว่าการที่ขวดน�้ำเนี่ยมีอายุมากกว่า มนุษย์เราร้อยคนหรือเป็นล้านคนรวมกัน ก็เพราะ พลาสติกที่พวกเราน�ำมาใช้เนี่ย จริงๆมันก็คือร่างของ สิ่งมีชีวิตเมื่อยุคดึกด�ำบรรพ์ที่ทับถมแปรสภาพเป็นเวลา กว่าสิบถึงร้อยล้านปี ดังนั้นถ้าคุณผู้อ่านเชื่อในประโยค ที่ว่า "สสารไม่มีวันหายไป แต่จะเปลี่ยนสภาพไป" 7-11 ก็คงไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์แหล่งรวมวัตถุดึกด�ำบรรพ์ ดีๆนี้เองครับ (ไม่แน่นะขวดน�้ำที่แช่อยู่ในตู้เย็นบ้านใคร สักคน อาจจะเป็นไดโนเสาร์ T-rex มาก่อนก็ได้) ซึ่งจากตรงนี้ผมอยากให้ทุกคนลองมองถึงอัตรา การลดลงของน�้ำมันดูครับ เพราะรายงานเมื่อวัน ที่ 28 มิถุนายน 2014 ว่า บีพี (BP) บริษัทผลิตและ ส�ำรวจปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลก ได้เปิดเผยข้อมูล ถึงจ�ำนวนน�้ำมันที่ยังคงเหลืออยู่บนโลก แต่ด้วยการ ใช้งานในระดับนี้ ก็มีโอกาสที่น�้ำมันจะหมดโลกภายใน 53.3 ปี !!
"ขวดน�้ ำ ดึึ ก ด� ำ บรรพ์ "
ครับภายใน 53 ปีกว่าๆ เราจะใช้น�้ำมันดิบที่มีอายุมา มากกว่าร้อยล้านปีหมดภาพในพริบตาครับ นี้เลยเป็น เหตุผลว่าท�ำไมเราควรที่จะใช้ทรัพยากรอย่างพอดี Reuse และ Recycle บ่อยๆ เพื่อลดการน�ำทรัพยากร มาใช้ ใช้เท่าที่พอจะใช้ ไม่ฟุ่มเฟือย เพราะในปัจจุบัน ตอนนี้มันเหมือนกับเราได้ใช้ทรัพยากรในอนาคต ที่ ลูกหรือหลานของเราก็ควรจะได้ใช้เช่นกันครับ และถ้า หากทรัพยากรเช่นน�้ำมันดิบหมดเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะ สามารถหาเทคโนโลยีในการสร้างพลังงานอื่นมาทดแทน ในระดับที่ทัดเทียมได้ ก็จะเกิดเป็นช่องว่างที่อาจท�ำให้ เศรษฐกิจรวมถึงความก้าวหน้าในด้านต่างๆของมนุษย์ หายไปเลยก็ได้ครับ (นึกภาพว่าถ้าน�้ำมันหมดแล้วพวก รถยนต์ยังไม่อะไรที่จะเติมแล้วท�ำให้มันวิ่งได้ดูสิครับ ในตอนนั้นวินมอเตอร์ไซด์อาจเปลี่ยนมาขี่ม้าแทนก็ได้ นะครับ ฮ่าๆ)
อ่านมาจนถึงตรงนี้คุณผู้อ่านพอจะเข้าใจถึงสิ่งที่ผม บอกไว้ในตอนแรกของตอนนี้แล้วรึยังเอ่ย ?? Sustainable in designer (my) visionaries 7
Sustainable in designer (my) visionaries 8
"ชี วิ ต ของโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ "
ในตอนนี้ผมอยากให้ทุกคนนึกถึงตอนช่วงเวลาตอนที่ทุกคนซื้อมือถือคู่ใจของแต่ละคนครับว่าทุกคนซื้อ
มันมาจากที่ไหน หลายๆคนอาจะซื้อมาจากศูนย์ หิ้วมาจากต่างประเทศ หรือสั่งน�ำเข้ามา ทีนี้ผมอยากให้ทุก คนลองมองลงไปถึงเบื้องหลังก่อนการมาตั้งขาย ณ ที่ Apple Store หรือ Sumsung Shop ครับว่ามันมีที่มา อย่างไร มีวัสดุอะไรประกอบบ้าง (นึกย้อนเหมือนตอนที่แล้วเลยครับแต่นึกถึงวัสดุที่มีมากขึ้น) หลักๆมือถือหนึ่งเครื่องประกอบด้วยวัสดุพลาสติกซึ่งมากจากกระบวนการปิโตรเคมี และมีวัสดุประเภทโลหะ ที่มาจากการสกัด ถลุง แร่ธาตุบนโลกนี้ ถ้ามองย่อยไปอีกก็จะแยกได้อีกเป็นชนิดของวัสดุแต่ละประเภทเช่นอลู มิเนียม ตะกั่ว ทองแดง พลาสติกโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้ก็จะถูกจัดหาจาก Supplier หลายๆที่ ส่งมา และถูกประกอบขึ้นมาจนเป็นมือถือในโรงงานผลิต นั้นคือตอนที่มันเกิดครับ ซึ่งจะเห็นได้เลยว่ามันมีขั้นตอนหลายขั้นมาก และทุกขั้นตอนมีการใช้พลังงานครับ เช่น การถลุงก็ต้องใช้ พลังงาน ความร้อน การเผาผลาญ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการไหนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญมากๆเนี่ย อัตรา สิ้นเปลืองก็จะสูงขึ้น การสร้าง Co2 สู่ชั้นบรรยากาศก็มากขึ้นไปด้วย และทุกอย่างที่แทรกอยู่ในทุกขั้นตอนคือ การขนส่งครับ ซึ่งการขนส่งเนี่ยเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานสูงเช่นกัน รวมถึงสร้าง Co2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จ�ำนวนมากเช่นกันครับ นอกจากนั้นสังเกตไหมครับว่าสินค้าที่ต้องน�ำเข้ามา หรือมีฐานของแหล่งผลิตไกลจากแหล่งจ�ำหน่ายมากเท่า ไหร่มันก็จะยิ่งแพงมากเท่านั้น สิ่งที่แพงเพิ่มขึ้นมานั้นนอกจากจะเป็นค่าภาษีแล้ว ยังเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการ ขนส่งอีกด้วย แต่เชื่อเถอะครับ ว่าการจ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าเราจะเต็มใจหรือไม่ก็ตามมันไม่ได้ช่วยเรื่องของการ อนุรักษ์ธรรมชาติขึ้นมาเลยครับ ตัดกลับมาที่มือถือครับ เมื่อเราได้ใช้งานมาถึงจุดหนึ่งๆแล้วและเกิดการช�ำรุดเกิดขึ้นเราจะท�ำอย่างไรกันต่อ ครับ ค�ำตอบคือการส่งซ่อมใช่ไหมครับ หรือดีที่สุดหาอะไหล่มาเปลี่ยนเองได้ง่ายๆ ซึ่ง ณ ตรงนี้การซ่อมเอง เป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะเราไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ทั้งหมด นอกจากจะประหยัดเงินในกระเป๋าแล้ว ยังประหยัด ทรัพยากรด้วยครับ เพราะแทนที่จะพังแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วต้องท�ำใหม่ทั้งหมด ก็แค่ท�ำแค่ๆส่วนๆเดียวมา เปลี่ยนแทน แต่ก็นั้นแหละครับก็มีมือถืออยู่เจ้านึงที่เขาไม่ได้รองรับการซ่อมเอง.....ไม่ขอเอ่ยชื่อนะครับแต่คิดว่าน่าจะรู้กันอยู่ ฮ่าๆๆๆ พฤติกรรมเหล่านั้นด้วยการออกแบบโดยแนวทางใหม่ นั้นแหละครับที่ผมคิดว่ามันมีคุณค่ามากที่สุด
Sustainable in designer (my) visionaries 9
การที่มือถือเจ้านี้เขามักจะมีปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมก่อนวัยอันควรและไม่สามารถซ่อมเองได้ส่งผลมากๆ ครับต่อการสิ้นเปลือง เอาง่ายๆแค่ค่าน�้ำมันไปส่งที่ศูนย์เพื่อซ่อม ก็แพงกว่าการนั่งรถไปร้านใกล้เคียงเพื่อ ซื้อแบตเตอรี่ก้อนใหม่มาเปลี่ยนได้แล้วครับ ซึ่งผมพอจะเข้าใจว่าอาจเป็นเรื่องของการรักษาคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์หรือรวมถึงการตลาดด้วยเพื่อครอบคลุมเม็ดเงินที่จะเกิดขึ้นจากตัวสินค้า และบริการหลังการ ขายให้อยู่ภายในการควบคุมของบริษัท แต่แน่นอนครับหลายๆครั้งการตลาดเป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความสิ้น เปลืองเพียงเพื่อความมั่งคั่ง ผมขอยกตัวอย่างไฟแช็กครับ เพราะในช่วงเริ่มต้นของยุค Pop-Art ใหม่ๆ มีการเกิดขึ้นของไฟแช็คที่ใช้แล้ว ทิ้งยี่ห้อ Cricket โดยมีจุดเริ่มจากการยึดแนวทางการตลาดตามความสะดวกสบายของผู้บริโภคเป็นหลัก และเนื่องจากช่วงนั้นวัสดุพลาสติกก�ำลังเป็นที่นิยมมากทั้งด้านสีสันความสวยงามที่ไม่มีมาก่อนจึงท�ำให้ไฟ แช็คประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก และเมื่อปริมาณการขายเพิ่มขึ้น และในตอนนั้นทุกคนต่างตื่นเต้นต่อการ สร้างสรรค์พลาสติกแบบใหม่ๆ แต่กลับกันยังไม่มีใครคิดถึงวิธีก�ำจัดมันในทางที่ดีได้ ขยะพลาสติกที่ก�ำจัด ไม่ได้จึงมีมากขึ้นเรื่อยจนถึงปัจจุบัน และผลิตภัณฑ์หลายๆชิ้นที่เกิดในช่วงนั้น ก็เริ่มเป็นประเภทใช้แล้วทิ้ง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของพฤติกรรมที่สร้างขยะจ�ำนวนมากในปัจจุบันก็ได้ รวมถึงมือถือเองก็เช่น กัน เพราะนอกจากยุค Pop-Art จะเป็นตัวสร้างพฤติกรรมใช้แล้วทิ้งไม่น�ำกลับมาใช้ต่อแล้ว ยังเป็นยุคที่เริ่ม การสร้างพฤติกรรมของค�ำว่า "เทรนด์" "แฟชั่น" และ "ค่านิยม" ให้ขึ้นมามากขึ้นและเหนือกว่า "ประโยชน์ ใช้สอย" และ "ความพอดี" ดังนั้นเราจึงได้เห็นการที่โทรศัพท์มือถือออกรุ่นใหม่ๆมาจ�ำนวนมาก และออกมาถี่ ประมาณปีละหนึ่งถึงสองรุ่นเลยทีเดียว มีคนที่อยู่ในแวดวงออกแบบผิตภัณฑ์อิเลคทรอนิกส์เคยบอกผมว่า จริงๆแล้วไอ้รุ่นใหม่ๆที่ออกมาหนะ มัน ก็คิดได้ตั้งนานแล้วหละ แต่กั๊กไว้แล้วค่อยๆปล่อยออกมาจะได้ท�ำเงินเข้าบริษัทได้ตลอด รวมถึงเรื่องความ คงทนด้วย อันที่จริงด้วยเทคโนโลยีทางด้านการผลิตและวัสดุสามารถที่จะผลิตมือถือที่สามารถมีอายุใช้งาน นานหรือมากกว่า 10 ปีได้เลย แต่การที่ไม่ท�ำแบบนั้นก็เป็นเพราะเรื่องเงินเช่นกัน อันที่จริง เรื่องการตลาดก็จะไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่เลยครับ ถ้าได้นึกถึงจุดจบของผลิตภัณฑ์ด้วย ทีนี้ผม อยากให้ผู้อ่านลองนึกถึงทุกๆครั้งที่เราไม่ใช้มือถือเดิมต่อนั้นเพราะอะไรครับ ถ้ามีคนตอบว่าใช้จนพังแล้วซ่อมไม่ได้นี้ผมจะปรบมือให้เลยครับ แต่เชื่อเถอะครับสุดท้ายจุดจบของมือถือ ส่วนใหญ่อยู่ที่การตกยุคครับ (แทบจะไม่ต่างจากยางลบเลย ส่วนใหญ่จะหายก่อนหมดก้อนตลอด) ดังนั้น ด้วยเทคโนโลยีที่เร็วมากๆ การเปลี่ยนของเทรนด์มือถือที่เร็วมากๆเช่นกัน จึงท�ำให้เกิดขยะอิเลคทรอนิกส์ ขึ้นมาจ�ำนวนมาก และขยะอิเลคทรอนิกส์ก็เป็นขยะที่จัดการล�ำบากมากเพราะต้องแยกชิ้นส่วนหลายขั้นตอน ต้องแยกส่งเพื่อการก�ำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี รวดเร็วที่สุดคือการเผามันทั้งหมด แต่นั้นแหละครับ Co2 ฟุ้งบานตะไทแน่ๆ Sustainable in designer (my) visionaries 10
ดังนั้นถ้าผู้ผลิตจะแข่งขันกันด้านการผลิตและเม็ดเงิน ก็ควร จัดการกับภาระต่อสังคมและโลกที่เป็นเหมือนเงาที่ตามมา ด้วยครับ ยกตัวอย่าง LG มีการรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ ที่ผู้บริโภคไม่ใช้แล้ว ด้วยการไปรับผลิตภัณฑ์นั้นจากที่บ้าน และน�ำไปแยกส่วนและน�ำมารีไซเคิลต่อเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ ชิ้นใหม่ จากจุดนี้ส�ำหรับผมถือเป็นตัวอย่างที่ดีนะครับใน การรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองสร้างขึ้น ถึงแม้จะมี การสิ้นเปลืองด้านการขนส่งบ้าง แต่ผมว่าก็ยังดีกว่าการที่ ผลิตภัณฑ์นั้นถูกก�ำจัดอย่างผิดวิธี หรือบางส่วนที่ยังใช้ได้ อยู่ก็ถูกก�ำจัดไปด้วยความมักง่าย ซึ่งตรงส่วนนี้ผู้ผลิต ควบคุมเองไม่ได้แน่นอนครับ
Sustainable in designer (my) visionaries 11
จากที่ผมกล่าวไปทั้งหมดนั้น เกี่ยวกับชีวิตของมือถือเครื่อง หนึ่งตั้งแต่เกิดจนตาย อาจจะท�ำให้หลายคนได้เห็นแง่ใหม่ๆ ของการเลือกซื้อของชิ้นหนึ่ง ผมอยากให้หลายๆคนเลือก ใช้สิ่งของเพียงตามแค่ความเหมาะสมต่อการใช้งานมากกว่า จะเป็นเพราะการตามกระแส และเมื่อเวลาเลือกซื้อก็เลือกซื้อ วัสดุที่มีต้นก�ำเนิดและจุดจบที่ไม่ท�ำลายธรรมชาติ เพียงเท่านี้ เราก็ช่วยลดปัญหาของมลพิษที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆวันแล้วครับ และในส่วนของนักออกแบบเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพวกเรานัก ออกแบบมีอ�ำนาจอย่างมากในการก�ำหนดวิถีชีวิตของคนที่ ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา การออกแบบเพื่อการใช้งานและมีความ งามอาจไม่เพียงพออีกต่อไป หากแต่ยังต้องค�ำนึงถึงวัสดุที่ จะน�ำมาใช้ รูปทรง ขนาด น�้ำหนัก ที่ง่ายต่อการขนส่ง การ ซ่อมบ�ำรุง ความคงทน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย และต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคเองก็ ชินกับพฤติกรรมแบบเดิมๆมานานเพราะกลุ่มพวกเราในอดีต เช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราเช่นกันครับที่ต้องรับ ผิดชอบต่อพฤติกรรมเหล่านั้นด้วยการออกแบบโดยแนวทาง ใหม่ นั้นแหละครับที่ผมคิดว่ามันมีคุณค่ามากที่สุด
Sustainable in designer (my) visionaries 12
"เรื่ อ งสี เ ทา บทที่ ห นึ่ ง ลอยกระทง"
ทุกคนเคยเจอเรื่องที่พูดว่าถูกหรือผิดได้ไม่
เต็มปากไหมครับ นั้นแหละครับคือเรื่องสีเทา มันคือ เรื่องที่เถียงเท่าไหร่ก็ไม่จบยกตัวอย่างคุณยายแก่ ยากจนขโมยนมในร้านสะดวกซื้อไปให้หลานที่อด ข้าวมาหลายมื้อ บางคนอาจจะว่าคุณยายผิดเพราะ ท�ำผิดกฎหมาย บางคนอาจจะว่าคุณยายท�ำถูก เพราะหลานตัวเองใกล้อดตายแล้ว เถียงอย่างไรก็ ไม่จบไม่สิ้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
แต่กลับกันมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด เพราะน�้ำไม่ได้ เหมือนดิน การย่อยสลายเกิดในน�้ำก่อให้เกิดการเน่า เสียได้ หากมีกระทงในปริมาณที่มากเกินไป มีบาง แหล่งน�้ำที่เป็นแหล่งน�้ำแบบปิด (บึง หนอง) ที่เริ่มเน่า เสียเพราะกระทงจ�ำนวนมากเน่าเปื่อยในแหล่งน�้ำ (และ ไม่ได้มีแค่กระทง ยังมีเทียน และธูปรวมถึงดอกไม้ ต่างๆอีก) จนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เริ่มมีการบอกต่อว่าควร ใช้กระทงโฟมจะดีกว่า เพราะไม่ย่อยสลายในแหล่งน�้ำ เก็บกู้ได้ง่าย แล้วน�ำไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป
ซึ่งจากเหตุการณ์สีเทาๆแบบนี้ บวกกับความยั่งยืน ผมเลยอยากจะพูดถึงเรื่องๆหนึ่งซึ่งผมว่าคนไทย ทุกคนเคยเจอแล้วแน่นอน นั้นคือเรื่องของกระทงใน วันลอยกระทงครับ
แต่ก็มาเถียงกันต่ออีกว่า พวกเราเองมีศักยภาพใน การก�ำจัดขยะโฟมกันจริงๆหรือเปล่า
มีคนเถียงกันมานานครับว่ากระทงโฟมนั้นสร้าง มลพิษทางนั้นเป็นอย่างมาก มีการต่อต้านกระทง โฟมอย่างมากในช่วงหนึ่ง เนื่องจากโฟมไม่สามารถ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการ สนับสนุนให้ใช้กระทงที่ท�ำจากต้นกล้วย หรือวัสดุ ธรรมชาติแทนเพื่อจะไม่เป็นขยะตกค้าง
นั้นแหละครับ มันเลยเป็นประเด็นขึ้นมามากมายเพียง แค่กระทงอันเดียว เพราะถ้าหากเรามองเรื่องของที่มา ของวัสดุโฟมก็ดูจะเสียเปรียบอย่างมากเพราะเป็น ผลผลิตรองจากการกลั่นน�้ำมัน แต่กล้วยเป็นต้นไม้ที่ หาง่ายมีทั่วไป ปลูกง่าย โตง่าย ย่อยสลายได้เองตาม ธรรมชาติ แต่ถ้าหากมองความเสี่ยงเรื่องของแหล่ง น�้ำเน่าเสีย กระทงกล้วยก็ดูจะเสียเปรียบกว่า เพราะ ประโยขน์จากข้อเสียของโฟมกลับการเป็นข้อดีในคราว นี้ และตัวโฟมเองถ้าจัดการอย่างถูกวิธีจริงๆสามารถ น�ำไปรีไซเคิลเป็นวัสดุพลาสติกประเภทอื่นได้ ต่างจาก กล้วยที่สลายหายลงดินไป ซึ่งทั้งที่จริงแล้วถ้ามันเป็น ต้นกล้วยเดิมๆช่วยฟอกอากาศอาจจะดีกว่ารึเปล่า? แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการลอยกระทงเนี่ย เอาจริงๆแล้วส�ำหรับ ผมมันไม่ได้เหมือนกับการขอบคุณแม่น�้ำ ขอบคุณพระ แม่คงคาเลยสักนิด เพราะไม่ว่าคุณจะเอาอะไรไปลอย ในแม่น�้ำแล้วไม่รับผิดชอบผลที่เกิดตามมาให้ดี มันก็ ไม่ต่างจากการทิ้งขยะเพิ่มลงไปในน�้ำเลยแม้แต่น้อย ลอยกระทงครั้งหน้าก็ลองลอยกันเพียงแค่กระทงเดียว ต่อครอบครัว หรือต่อคู่ ก็ดีนะครับ ส�ำหรับผมจะเป็น กระทงอะไรก็ได้ แต่ขอให้จ�ำนวนลดลง ผมว่าก็น่าจะ ง่ายต่อการควบคุมมากขึ้นครับ (ไม่เปลืองเงินด้วยนะ)
Sustainable in designer (my) visionaries 13
Sustainable in designer (my) visionaries 14
ทุกคนคงเคยได้ยินมาบ้าง ว่าพลาสติกนั้นสร้างปัญหาให้กับโลกต่างๆนานา เพราะว่าย่อยสลายไม่ได้ สู่วัสดุ Eco อย่างไม้ก็ไม่ได้ เพราะย่อยสลายได้ รีไซเคิลได้เช่นกัน ส่งผลให้พลาสติกกลายเป็นผู้ร้ายต่อ โลกนี้ไปโดยปริยาย แต่ผมอยากให้หลายๆคนมองใหม่ครับ ตัววัสดุไม่ได้ผิดเลยที่มันเกิดมาแล้วไม่สามารถย่อยสลายได้ ที่ มันเป็นอย่างนี้ก็เพราะมนุษย์รึเปล่า ที่ก�ำหนดให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่ได้คิดถึงวิธีการรองรับมันไว้อย่างดี มันน่าแปลกที่หลายๆคนบอกว่าขยะพลาสติกล้นโลกแล้ว ทั้งที่การก�ำจัดมันจริงๆไม่ควรใช้วิธีการย่อย สลาย แต่เป็นการรีไซเคิลไปสู่ผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นต่างหาก เพราะถ้าหากเราสามารถสร้างวัฎจักรของ พลาสติกที่ให้เกิดการวนอยู่เรื่อยๆ โดยที่วัสดุที่เกิดใหม่เกิดจากวัสดุที่ตายแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาขยะเกิดขึ้น
อีกทั้งพลาสติกยังมีอายุการใช้งานที่นานกว่าไม้ ไม่ต้องการดูแลรักษาที่มากเกินไป ขึ้นรูปทรงได้หลากหลาย แข็งแรง และยืดหยุ่น ดังนั้นปัญหาของพลาสติกจึงมีเพียงแค่การก�ำจัดเท่านั้น ซึ่งเราควรให้ความรู้เรื่องนี้กับผู้ที่จัดการทางด้านนี้ รวมถึงผู้บริโภคด้วย ว่าพลาสติกเองไม่ได้เป็นผู้ร้าย อย่างที่คิด หากถูกจัดการอย่างถูกวิธี มันก็เป็นวัสดุที่ดีที่จะสามารถแทนวัสดุอื่นๆ ได้หลากหลายมากๆ
"เรียกได้ว่าใช้ทั้งทีต้องเอาให้คุ้ม จนกว่าชีวิตจะหาไม่กันเลยทีเดียว"
"เรื่ อ งสี เ ทา บทที่ ส อง พลาสติ ก " Sustainable in designer (my) visionaries 15
Sustainable in designer (my) visionaries 16
"เทคโนโลยี และ ธรรมชาติ "
ตัวผมเองมักจะถูกมองว่าเป็นพวกสาย
เทคโนโลยีจัด เพราะตัวผมเองค่อนข้างชอบเรื่อง พวกนี้มาก เพราะมันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของมนุษย์ ได้เห็นสิ่งใหม่ๆที่อยู่ในจินตนาการ ได้เป็นจริง ได้เห็นการแก้ปัญหาต่างๆ อีกทั้งตัว ผมเองยังชอบประกวดงานในสายงาน Concept Design ซึ่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีซะส่วนมาก ซึ่งเทคโนโลยีเองนี้แหละมักจะถูกว่าเป็นตัวท�ำลาย ธรรมชาติ เพราะด้วยรูปแบบของความก้าวหนาที่ ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ต่างจาก รูปแบบของคนที่ใช้อย่างพอดี ซึ่งดูจะเป็นคนที่ ใส่ใจธรรมชาติมากกว่า แต่เชื่อไหม ผมไม่เคยมองว่าเทคโนโลยีเป็น ตัวท�ำลายล้างธรรมชาติเลย เพราะผมถือว่า เทคโนโลยีนั้นคือวิวัฒนาการ และ ความก้าวหน้า ของมนุษย์ เพียงแต่จะก้าวไปในทิศทางไหน เท่านั้นเอง เพราะแน่นอนคุณไม่สามารถควบคุมอัตราความ ต้องการที่มากขึ้นของมนุษย์ได้หรอก ลองคิด ภาพว่าถ้าคุณสตาฟเทคโนโลยีไว้ในแค่ช่วงยุค ก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม กับประชากรที่มากขึ้น เรื่อยๆ ผลคงไม่ต่างกัน คงไม่มีรถยนต์ไว้ใช้ในการสัญจร แต่ละบ้านคงมี ม้าตามจ�ำนวนคนในบ้าน คงมีปัญหาการก�ำจัด มูลจากม้า รวมถึงหญ้าที่เป็นพลังงาน ตอนนั้น ใครเป็นเจ้าของทุ่งหน้าคงรวยใช่เล่น แต่กระนั้น การน�ำเพื่อนร่วมโลกในระบบนิเวศ มาเป็นของใช้ สอยนั้นถือว่ายั่งยืนจริงหรือไม่? หรือกระทั้งการ พัฒนาด้านอาหาร และยารักษาที่ไม่พอต่อจ�ำนวน ประชากรที่เพิ่มขึ้น Sustainable in designer (my) visionaries 17
เพราะอย่างนี้ไงครับถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มาก ขึ้น แต่ที่เป็นในปัจจุบันมันอาจจะยังไม่ดีพอ แต่ผมเชื่อว่าความยั่งยืนมันก็คงไม่ได้เกิดใน ครั้งแรกที่คิดสิ่งต่างๆขึ้นมา แต่เป็นการที่เราเจอ ปัญหาแล้วแก้ไขสิ่งเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ และอิงกับธรรมชาติให้มากที่สุดต่างหากหละ ยกตัวอย่างการพัฒนาการใช้พลังงานแสงใน ปัจจุบัน ด้วยแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในอนาคตเราน่าจะลดการปล่อยก็าซ เรือนกระจกสู่ธรรมชาติจากกระบวนการผลิต พลังงานได้ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว หรือจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาการ รีไซเคิลที่ดีขึ้น สามารถจัดการกับขยะได้ดีขึ้น ซึ่งส�ำหรับผมในฐานะนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผมเลือกทางเดินที่จะใช้เทคโนโลยี แต่ให้ ควบคู่กับธรรมชาติครับ ให้เทคโนโลยีช่วย ให้ธรรมชาติเติบโตและเป็นปกติ มากกว่าที่จะ เอาชนะธรรมชาติ นั้นก็เพราะ
"มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่ถ้าการ พัฒนาของมนุษย์ไปท�ำลายธรรมชาติ แล้วต่อ ไปมนุษย์จะอยู่อย่างไร" Sustainable in designer (my) visionaries 18
"ถ้าคุณผู้อ่านเชื่อในประโยคที่ว่า "สสารไม่มีวันหาย ไป แต่จะเปลี่ยนสภาพไป" 7-11 ก็คงไม่ต่างจาก พิพิธภัณฑ์แหล่งรวมวัตถุดึกด�ำบรรพ์ดีๆนี้เอง" ขวดน�้ำดึกด�ำบรรพ์ ในส่วนของนักออกแบบเช่นกัน จะเห็นได้ว่า พวกเรานักออกแบบมีอ�ำนาจอย่างมากในการ ก�ำหนดวิถีชีวิตของคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา การ ออกแบบเพื่อการใช้งานและมีความงามอาจไม่ เพียงพออีกต่อไป หากแต่ยังต้องค�ำนึงถึงวัสดุ ที่จะน�ำมาใช้ รูปทรง ขนาด น�้ำหนัก ที่ง่ายต่อ การขนส่ง การซ่อมบ�ำรุง ความคงทน ซึ่งจะ เป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ บริโภคด้วย และต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคเองก็ชินกับ พฤติกรรมแบบเดิมๆมานานเพราะกลุ่มพวกเราใน อดีตเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราเช่นกัน ครับที่ต้องรับผิดชอบ ชีวิตของโทรศัพท์มือถือ