รายงานเล่มนี้จัดทำ�ขึ้นเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับงาน ด้านนิตยสาร ซึ่งในรายงานเล่มนี้กล่าวถึง บทสัมภาษณ์ของ คุณวีรวัฒน์ อัจจุตมานัส บรรณาธิการนิตยสาร Hamburger ซึ่งได้กล่าวถึง ความเป็นมาของนิตยสาร จุดเริ่มต้นของ อาชีพบรรณาธิการ รวมไปถึงกระบวนการผลิต หน้าที่ของ ฝ่ายต่างๆ ในกองบรรณาธิการ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึง ปัญหาและอุปสรรคในการทำ�งาน แนวทางการแก้ไขปัญหา แรง บันดาลใจในการทำ�งาน และให้คำ�แนะนำ�สำ�หรับนักศึกษาที่สนใจใน การฝึกงานกับกองบรรณาธิการนิตยสาร Hamburger ทางผู้ จั ด ทำ � หวั งเป็ น อย่ า งยิ่ งว่ า รายงานเล่มนี้คงมี ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษางานทางด้านนิตยสาร ทั้งในเรื่อง ของการเป็นบรรณาธิการที่ดี การเป็นนักเขียน และความแตก ต่างของนิตยสารประเภทต่างๆ ไม่มากก็น้อย และหากมีข้อผิด พลาดประการใดทางผู้จัดทำ�จึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ�
11 YEARS DAY POETS 7 FROM READERSHIP TO LEADERSHIP 1 INTERVIEW “PUM” HAMBURGER
7
CONTACT
15
11 YEARS DAY POETS SEVEN FROM READERSHIP TO LEADERSHIP
เมื่อพูดถึงบริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ที่มีคุณ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ หรือ “พี่โหน่ง” เป็นผู้ก่อ ตั้งนิตยสาร a day เป็นไปไม่ได้ที่วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่จะ ไม่รู้จัก แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ จริงๆแล้วเคยมีบริษัท เดย์ อาฟเตอร์เดย์ จำ�กัด มาก่อน ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยบุคคล 3 คน ได้แก่ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์ ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทำ�หนังสือ เหมือนทำ�ชีวิต” ในปี 2543 ด้วยความที่โหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ มีความตั้งใจที่อยากจะทำ�นิตยสารที่เป็น ของตัวเองสักเล่ม แต่ไม่มีหุ้นมากพอ ทางบริษัทจึง ได้ใช้วิธีการเปิดรับเงินทุนสนับสนุนจากบุคคลทั่วไป ที่ ต้องการสนับสนุนการจัดทำ�นิตยสารทางเลือกของ วัยรุ่น ขวัญใจ เด็กแนว ที่ใช้ชื่อว่า “นิตยสารอะเดย์” (a day) ในรูปแบบการเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน มีจำ�นวน ผู้ถือหุ้นมากถึง 459 ราย รวมจำ�นวน 2,500 หุ้นๆ ละ 1,000 บาท และบริษัท เดย์อาฟเตอร์เดย์ จำ�กัด ได้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543
ต่อ
มาทางบริษัทต้องการขยายธุรกิจเพิ่ม และ ต้องการศักยภาพในเรื่องอื่นๆ ที่ทางบริษัทไม่มี แต่บริษัท ที่ใหญ่กว่านั้นมี หลังจากเริ่มก่อตั้งมา 5 ปี วันนี้ a day มี พันธมิตรร่วมทุนเป็นค่ายใหญ่อย่าง Traffic Corner บริษัทที มีศักยภาพในการเติบโตต่อ เป็นบริษัทที่ทำ�สื่อหลากหลาย ไม่ ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ และภายหลังเข้า ร่วมกับทราฟฟิค คอร์เนอร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดย์ โพ เอทส์ จำ�กัด ผลิต ธุรกิจหลักที่ทำ�นิตยสาร 4 หัว คือ a day, HAMBURGER, a day weekly และ Knock Knock! และในปัจจุบันนี้ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด ก็ครบรอบ ปีที่ 11 แล้ว การเติบโตของบริษัทก็ยังมีการพัฒนาไปอย่าง ต่อเนื่อง แม้ว่าโหน่ง-วงศ์ทนงจะไม่ประสบความสำ�เร็จกับ a day weekly และ Knock Knock! แต่ความล้มเหลวของเขาใน วันนั้น กลับทำ�ให้ปัจจุบันนี้ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด มีธุรกิจ 7 หลักในเครือที่เป็นที่นิยมและชื่นชอบ ได้แก่
1. นิตยสาร a day - นิตยสารสร้าง แรงบันดาลใจ เนื้อหาคม...เข้มเต็มไปด้วยความคิด สร้างสรรค์ ซึ่งยังคงรักษาสาระและแรงบันดาลใจได้เป็น อย่างดีนับจากวันแรกจนถึง 11 ปี ภายใต้การก่อตั้ง ของ “โหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์” รวมถึง “ก้องทรงกลด บางยี่ขัน” บรรณาธิการบริหารนอกกรอบ คนปัจจุบัน ล่าสุดยังก้าวเป็นแชมป์นิตยสารที่มีแฟนเพจ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 กับยอดกด LIKE กว่า 2 แสน+ แถม Follower ใน Twitter อีกกว่า 60,000+ คน 2. นิตยสาร Hamburger - นิตยสาร Lifestyle Entertainment รายเดือน ที่มีบรรณาธิการบริหาร รุ่นใหม่ “ปั๊ม-วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส” นำ�ทีมเติมเต็ม ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต อัพเดทเทรนด์แฟชั่นสุดฮอต และ ข่าวสารในวงการบันเทิงทั้งไทยเทศ
3. นิตยสาร a day BULLETIN - นิตยสาร Free Copy รายสัปดาห์ ที่มี “ตุ๊ก-วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม” บรรณาธิการ สายข่าวและสารคดีเป็นหัวเรือใหญ่เฝ้าเกาะ ติดรายงานเรื่องราวที่น่าสนใจในสังคมโลก ซึ่งโดดเด่น ด้วยประเด็นเด็ดและบทสัมภาษณ์บุคคลสำ�คัญในเมือง ไทยรวมถึงระดับโลก ชนิดที่เรียกว่าเจาะลึกโดนใจคนใน สังคม *ล่าสุด นิตยสารทั้ง 3 หัว ในเครือ เดย์ โพเอทส์ ทั้ง a day / a day Bulletin / Hamburger พร้อม ก้าวสู่ E-magazine แมกกาซีนดิจิตอลออนไลน์ เพื่อ ขยายฐานรีดเดอร์ชิพผู้อ่านรุ่นใหม่วัย I-Gen บน I Pad * 4. สำ�นักพิมพ์ a book - แหล่งรวมนักเขียน สุดแนวแถวหน้าของเมืองไทย ซึ่งมีเจ้าสำ�นักอย่าง “บิ๊กภูมิชาย บุญสินสุข”บรรณาธิการใหญ่เป็นโต้โผในการ ผลิตพ็อกเก็ตบุ๊คหลากหลายรูบแบบ ทั้งเรื่องสั้น ตลก ฮา ดราม่า ท่องเที่ยว รวมถึงการ์ตูน ที่อัดแน่นด้วย คุณภาพและขายดี อาทิ สองเงาในเกาหลี, ซากะ อาโออิ สิ่งมีชีวิตในเจแปน, การลาออกครั้งสุดท้าย, ศัพท์หมู, มี ของต้องสำ�แดง, ต้นไม้ใต้ดวงอาทิตย์ ฯลฯ 5. สำ�นักพิมพ์ Polka DOT - สำ�นักพิมพ์ ลายจุดน้องใหม่เอี่ยมอ่องใส่ใจสังคม ในเครือ เดย์ โพ เอทส์ สร้างสรรค์โดยบรรณาธิการสาวสวย “ตุ๊กตาพนิดา เอี่ยมศิรินพกุล” ที่ขอประกาศให้โลกรับรู้ถึงตัว ตนและความน่ารักกุ๊กกิ๊กของ ‘ผู้หญิง’ ด้วยการผลิตพ็ อกเก็ตบุ๊คเพื่อสาวๆโดยเฉพาะ...กับคู่มือหัดถัก นิต-นิต, คู่มือเย็บผ้า โซ-โซ, เครื่องเขียนชิ้นเล็ก สเตชันเนรีที่รัก, และอีกมากมายว่าด้วยเรื่องสวยๆ งามๆ ตามความชอบ ของผู้หญิง!
6. a day TV. - อีกหนึ่งธุรกิจที่ บ.เดย์ โพ
เอทส์ ที่อยากทำ�เพื่อเพิ่มอรรถรสให้วงการทีวีเมืองไทย โดยมี”เป้ง-ทรงพล จั่นลา” รั้งตำ�แหน่งโปรดิวเซอร์ให้ กับ 2 รายการ คือ ทีวีแชมเปี้ยนส์ และ THE IDOL ทาง Modern 9 TV. 7. a day Department Store – เป็น ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของนักบริหารรุ่นใหม่อย่าง “ช้างน้อย-กุญชร ณ อยุธยา” ตลอด 11 ปีที่ผ่าน มา a day ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำ�ด้านการให้คำ�ปรึกษา บริหารจัดการงานออร์กาไนเซอร์ อีเว้นท์ และแคมเปญ การประกวดต่างๆ อาทิ การประกวดภาพยนตร์สั้น การประกวดวาดการ์ตูน ประกวดมิวสิควีดีโอ ฯลฯ ซึ่ง ครอบคลุมทุกรูปแบบ ทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วประเทศ
ถ้าใครพูดถึง HAMBURGER ที่ไปเต็มไปด้วยเนื้อ นุ่มๆ ผักกรอบๆมาพร้อมกับซอสที่ละมุนลิ้น เชื่อว่าคน ที่ได้ยินคงจะรู้สึกหิวกันไปตามๆกัน อยากจะลิ้มรสให้ถึง ความอร่อย แต่ทั้งหมดนี้...เราไม่ได้พูดถึงอาหารนะ! แต่ เรากำ�ลังเปรียบเปรยถึงนิตยสารที่มีชื่อ “HAMBURGER” ที่เต็มไปด้วยสาระบันเทิงชั้น ดี รวมถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต อัพเดทเทรนด์แฟชั่นสุด ฮอต และข่าวสารในวงการบันเทิงทั้งไทยและเทศให้กับผู้ อ่านมาตลอด 11 ปี แค่เล่มนี้เล่มเดียวก็อ่านกันจนอิ่ม เลย สำ�หรับนิตยสาร HAMBURGER ได้รับความ สนใจเป็นอย่างมาก ในหมู่วัยรุ่นและคนวัยทำ�งานทุกเพศ ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ และมีสาระ มีหลากหลายคอลัมน์ ให้เลือกอ่าน สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนรุ่นใหม่ที่ มีสไตล์ได้ดีเลยทีเดียว โดยปัจจุบันมีคุณปั๊ม-วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส บรรณาธิการบริหารรุ่นใหม่ไฟแรงดูแล สำ�หรับคุณภาพก็ไม่ต้องพูดถึงเพราะมีคุณโหน่ง-วงศ์ ทนง ชัยณรงค์สิงห์ อำ�นวยการผลิตอีก ทำ�ให้เราได้ ติดต่อไปที่ HAMBURGER เพื่อทำ�การสัมภาษณ์ และ เราก็โชคดีที่พ่ีๆได้เปิดบ้านให้เราได้เข้าไปศึกษาการทำ�งาน อย่างเจาะลึก นำ�ทีมโดยพี่ ปั๊ม-วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส ให้ เกียรติมาอธิบายรายละเอียดทุกขั้นตอนการทำ�งาน ดัง นั้นเราเลยไม่รอช้าที่จะสัมภาษณ์ทันที…Let’s Gooooo!
Q: สำ�หรับคำ�ถามแรกก็อยากจะถามพี่ปั๊มว่า จุดเริ่มต้นของนิตยสาร HAMBURGER เกิด ขึ้นมาได้อย่างไรคะ A: พูดถึงจุดเริ่มต้นก็เริ่มจาก พี่โหน่ง วงศ์ทะนง ประสบความสำ�เร็จในการทำ�นิตยสาร a day เป็นอย่าง มาก จึงทำ�ให้พี่โหน่งเกิดความคิดว่าอยากจะทำ�นิตยสาร อีกเล่มหนึ่งที่เป็นนิตยสารในฝันที่เขาอยากทำ� ซึ่งพี่โหน่ง เขาก็คิดชื่อไว้อยู่แล้วว่าจะชื่อนิตยสาร “Hamburger”
Q: แล้ว HAMBURGER มีที่มาที่ไปหรือมีความ หมายอะไรหรือเปล่าคะ A: ก็จะมีคนถามมาตลอดว่า ทำ�ไมถึงชื่อนิตยสาร HAMBURGER นะครับ ซึ่งคำ�ว่า HAMBURGER เริ่ม ต้นมาจากการที่พี่โหน่งอยากจะทำ�นิตยสารบันเทิง การ เริ่มทำ�นิตยสารบันเทิงที่ดูอินดี้ คนจะคิดว่านิตยสารเป็น อะไรที่ไปเร็วมาเร็วไร้สาระ ถ้าเกิดเปรียบเทียบมันก็คือ เป็น อาหารแบบจังก์ฟู้ด ไปเร็วมาเร็วไม่มีประโยชน์ แต่พี่โหน่ง ก็มองมุมกลับว่า จริงๆแล้วความไปเร็วมาเร็ว มันไม่ใช่ หมายความว่าไร้สาระอย่างเดียว มันจะมีสาระได้ ถ้าเกิด เราสามารถที่จะทำ�ให้มันเป็นเรื่องที่จะมีสาระขึ้นมาได้ ก็ เลยเป็นที่มาของ HAMBURGER ที่เอาชื่ออาหารมาล้อ เลียน
Q: แล้วในช่วงแรกๆของ HAMBURGER เป็น อย่างไรครับ A: เป็นคล้ายๆหนังสือทำ�มือ เย็บเล่มแบบมุม หลังคา เป็นเล่มบางๆเป็นลายประ พอเราเข้าสู่ปีที่ 5 หนังสือก็ประสบความสำ�เร็จในแง่มุมของมัน แต่ว่าสิ่ง หนึ่งที่คนทั่วไปจะรู้สึกก็คือ มันมีความคล้าย A day มากๆ ซึ่งพอเราไปอยู่บนแผงอะไรก็ตาม มันก็กลายเป็น คู่แข่งกันเองในเครือเดียวกัน เราก็เลยมีการเปลี่ยนกลุ่ม เป้าหมายใหม่เน้นเป็นนิตยสารสำ�หรับคนรุ่นใหม่ หลักๆ ของเราก็คือ ระดับมหาวิทยาลัยตอนปลาย วัยเริ่มต้น ทำ�งาน คนที่ยังมีไฟ คนที่เราต้องการสิ่งใหม่ๆตลอด เวลา อย่างหน้าปก ดูจากการโพสท่าก็จะมีความแปลก กว่าที่อื่น เป็นความโดดเด่นอย่างหนึ่งของเราที่พยายาม ฉีกแหวกแนวออกมา ทำ�ให้การดีไซน์ของหนังสือมีความ เป็นแฟชั่นมากขึ้น มีความเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น จนกลาย มาเป็น HAMBURGER ยุคใหม่เหมือนในปัจจุบันนี้ครับ
Q: เรียกได้ว่าเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ให้ ชัดเจนมากขึ้นใช่ไหมคะ A: ใช่ครับ เป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ให้ชัดเจนมากขึ้น
Q: แล้วแนวหรือรูปแบบในการนำ�เสนอของ HAMBURGER เป็นอย่างไรคะ A: โดยจุดขายก็ยังเป็นนิตยสารบันเทิงชั้นดี ต่างจาก นิตยสารบันเทิงทั่วไปที่เน้นข่าวซุบซิบนินทาหรือเรื่องข่าว ฉาวของดารา คนดังอะไรแบบนี้ แต่เราจะนำ�เสนอแค่ข่าว แล้วแนะนำ�ความคิดหรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ของเขาให้กับผู้อ่านมากกว่าที่จะเป็นเรื่องข่าว ฉาว
Q: หลังจากที่เราได้รู้ถึงประวัติความเป็นมา ของนิตยสาร HAMBURGER กันแล้ว เรา ก็ อ ยากจะทราบถึ ง การทำ � งานของการทำ � นิตยสารว่า จะต้องประกอบด้วยฝ่ายอะไรบ้าง คะ A: ก็ประกอบไปด้วยหลายๆฝ่ายนะครับ อย่างพี่ก็เป็น บก.บริหาร ก็จะมีฝ่ายกองบรรณาธิการ เป็นนักเขียน คอลัมน์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำ�งานคู่กับช่างภาพ และ ฝ่ายอาร์ตหรือศิลปะ ก็มีอาร์ตไดเร็กเตอร์กับกราฟิก ดีไซเนอร์ นอกนั้นก็จะมีฝ่ายขายติดต่อกับลูกค้า สุดท้าย เป็นฝ่ายผลิต ที่ต้องประสานงานกับโรงพิมพ์ เรื่อง ปัญหาความเพี้ยนของสีอะไรอย่างนี้ครับ
Q: ในส่วนของขั้นตอนการทำ�งาน แต่ละฝ่ายจะ ต้องทำ�อะไร อย่างไงบ้างครับ A: ขั้นตอนการทำ�งานเริ่มแรก เราจะมาประชุม กันเดือนละ 2 ครั้ง พอประชุมกันเราก็จะคิดละว่า ใน 12 เดือน มีอะไรโดดเด่นน่าสนใจที่จะดึงมาเป็นธีมหลักของ เล่มเป็นคอลัมน์ใหญ่ ต่อจากนั้นบรรณาธิการจะมีหน้าที่ ไปคิดธีมนี้มาว่า คอลัมน์ที่ตัวเองรับผิดชอบจะทำ�อะไร ใน ส่วนคอลัมน์ใหญ่ก็จะมีการประชุมภายในกองบก.ว่า จะ เลือกใครมาขึ้นปก หรือสัมภาษณ์ใครดี เมื่อตกลงกัน เรียบร้อยก็จะนัดหมายช่างภาพไปถ่ายรูปเอามาประกอบ กัน โดยฝ่ายอาร์ตจะนำ�ไปประกอบให้เป็นรูปเล่ม เสร็จแล้ว ฝ่ายขายก็จะติดต่อกับลูกค้า คุยเรื่องจำ�นวนนิตยสาร ที่ต้องการ และก็เอาไปส่งโรงพิมพ์ตามจำ�นวนที่ลูกค้า ต้องการ
Q: แล้วการเลือกธีมนิตยสารในแต่ละเล่ม พี่ปั๊ม ได้แรงบันดาลใจจากที่ไหนหรือเลือกจากอะไร ครับ A: แรงบันดาลใจพี่ได้มาจากการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน มันก็เป็นการอัพเดทตัวเองไป ด้วย แล้วเราลองบิดมุมมองมันให้มีความแปลกแตกต่าง จากที่อื่น อย่างเล่มเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก ธีมก็จะเกี่ยวกับความรัก เราจะพูดถึงความรักในแง่มุมว่า ปีที่แล้วเป็นปีที่มีคู่แต่งงานเยอะมาก คู่แต่งงานในวงการ บันเทิงมีเยอะมาก เราก็เลยลองไปที่เตียงของคู่แต่งงาน ใหม่ซิว่า จากที่เคยเป็นแค่คู่รักแล้วต้องมานอนด้วยกันมี อะไรเกิดขึ้นบนเตียงอย่าง พฤติกรรมอะไรบ้างที่เราไม่เคย รู้ว่าคู่รักเราเป็นแบบนี้ตอนที่เป็นคู่รักกัน พอเป็นแฟนกัน แล้วมันเปลี่ยนไปเป็นอะไร แบบไหน
Q: ในฐานะที่พี่ปั๊มเป็นบรรณาธิการบริหาร พี่ ปั๊ ม คิ ด ว่ า บรรณาธิ ก ารที่ ดี ค วรมี ลั ก ษณะ อย่างไรบ้างค่ะ A: บรรณาธิการที่ดีต้องมีความหลากหลายคือ นอกจากที่เราจะเขียนหนังสือได้ สัมภาษณ์คนได้ เขียน บทความได้ เราก็ควรจะดูเลเอาท์ได้ ดีไซน์ภาพคร่าวๆได้ เพื่อจะได้บอกความต้องการกับช่างภาพหรือฝ่ายอาร์ต ได้ งานที่ได้ออกมาก็จะออกมาในทิศทางเดียวกัน แล้วที่ สำ�คัญมากสำ�หรับงานนิตยสารเลยก็คือ ต้องมีวินัย ส่ง งานตรงเวลาเราอย่าลืมว่า ยังมีคนอื่นที่รอเราอยู่เยอะ อันนั้นคือความกดดันของคนที่ทำ�งานด้านนี้เลย
Q: การทำ�นิตยสารขั้นตอนการผลิตยากไหม ค่ะ หรือว่ามีขั้นตอนที่ยากที่สุดหรือเปล่า A: คือ...พี่ทำ�มา 6 ปี มันมีปัญหาไม่ซ้ำ�กันเลย นะ อย่างเช่น เราจะต้องติดต่อกับดาราคนหนึ่ง นักคิว ถ่ายได้ อีกคนไม่ได้ เราก็ต้องหาทางแก้ หรือบางทีก็เป็น ปัญหาเฉพาะหน้า เราก็ต้องคิดให้ได้เดี๋ยวนั้นด้วย
Q: ในโลกของเทคโนโลยี ปัจจุบันสื่อ อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น E-magazine หรือE-book พี่ปั้มคิดว่า นิตยสารจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนค่ะ A: ในความคิดของพี่ มันน่าจะกระทบในแง่ของ หนังสือพิมพ์มากกว่านิตยสารนะ เพราะว่านิตยสารมี จำ�นวนหน้าที่เยอะ เราไม่สามารถจะเพ่งมองทางแท็บเล็ต ได้นานๆ แล้วบางทีเรายังรู้สึกภูมิใจด้วยที่เราถือนิตยสาร แล้วเราโชว์ว่า เราอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะมันเป็นสิ่ง หนึ่งที่บอกตัวตนของเราได้ แล้วอีกอย่างหนึ่งพี่คิดว่า ความเป็นนิตยสาร มันมีความมีศิลปะอยู่ในตัวมัน มันยัง มีเสน่ห์อยู่ พี่เลยไม่ได้กังวลว่า งานนิตยสารจะถูกสื่อ ดิจิตอลกลืนไป แต่คิดว่า สื่อดิจิตอลจะเป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่จะทำ�ให้คนรู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้นมากกว่านะ ครับ พี่คิดว่าอย่างนั้น
Q: สุดท้ายนี้อยากให้พี่ปั๊มแนะนำ�น้องๆนักศึกษา ที่ ส นใจงานด้ า นนี้ ห รื อ อยากที่ จ ะฝึ ก งานที่ HAMBURGER ว่า ควรจะเตรียมตัวอย่างไรค่ะ A: สิ่งแรกที่พี่จะแนะนำ�คือ ต้องถามตัวเองให้แน่ใจ ก่อนว่า ตัวเองอยากทำ�ด้านนี้จริงๆหรือเปล่า เพราะว่า งานนิตยสารมันหนักมาก สำ�หรับคนที่สนใจที่จะฝึกงาน ที่ HAMBURGER เกณฑ์ที่พี่เลือกอันดับแรกคือ คนที่ มีความคิดสร้างสรรค์ เราไม่อยากให้นักศึกษาฝึกงาน มาแล้ว วิ่งไปซีร็อคงาน เพราะทุกคนที่มาฝึกงานที่นี้ได้ ทำ�งานจริง ได้รับการตีพิมพ์จริง (ถ้างานน้องผ่าน มาตรฐานของ HAMBURGER นะครับ) มีผลงานกลับ ไปแน่นอน แต่สำ�หรับคนที่อยากทำ�งานด้านนี้หรือฝึกงาน ที่นี่ เพราะคิดว่าเท่ มาทำ�แล้วทำ�ไม่เต็มที่ ล้มเลิกกลางคัน หรือจะมาโอดครวญตอนหลัง ให้พี่ประเมินดีๆพี่ไม่ทำ�ให้ นะ คือ...พี่ไม่สามารถให้ผ่านได้จริงๆ นะครับ....
Quote1: “จริงๆแล้วความไปเร็วมาเร็ว มัน ไม่ใช่หมายความว่าไร้สาระอย่างเดียว มันจะมี สาระได้ ถ้าเกิดเราสามารถที่จะทำ�ให้มันเป็นเรื่อง ที่จะมีสาระขึ้นมาได้” Quote 2: “เราจะนำ�เสนอแค่ข่าวแล้วแนะนำ� ความคิดหรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ของเขาให้กับผู้อ่านมากกว่าที่จะเป็น เรื่องข่าวฉาว” Quote 3: “บรรณาธิการที่ดีต้องมีความ หลากหลายคือ นอกจากที่เราจะเขียนหนังสือ ได้ สัมภาษณ์คนได้ เขียนบทความได้ เราก็ควร จะดูเลเอาท์ได้ ดีไซน์ภาพคร่าวๆได้ เพื่อจะได้บอก ความต้องการกับช่างภาพหรือฝ่ายอาร์ตได้ งานที่ได้ออกมาก็จะออกมาในทิศทางเดียวกัน” Quote 4: “ที่สำ�คัญมากสำ�หรับงานนิตยสาร เลยก็คือ ต้องมีวินัย ส่งงานตรงเวลาเราอย่า ลืมว่า ยังมีคนอื่นที่รอเราอยู่เยอะ” Quote 5: “ความเป็นนิตยสาร มันมีความมี ศิลปะอยู่ในตัวมัน มันยังมีเสน่ห์อยู่” Quote 6: “ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า ตัวเอง อยากทำ�ด้านนี้จริงๆหรือเปล่า เพราะว่างาน นิตยสารมันหนักมาก”
CONTACT TO DAY POETS CO.,LTD.
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำ�กัด
ชั้น 3 เอกมัยช้อปปิ้งมอลล์ เลขที่ 3 ซอยเอกมัย 10 (ซอยเจริญมิตร) ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2726-9996
กองบรรณาธิการ โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 35 โทรสาร 0-2726-9996 ต่อ 34 อีเมล aday@daypoets.com
ฝ่ายโฆษณา โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 16 โทรสาร 0-2714-2150 อีเมล marketing@daypoets.com
ฝ่ายสมาชิก โทรศัพท์ 0-2726-9996 ต่อ 49 โทรสาร 0-2714-4252 อีเมล member@daypoets.com Website: http://www.daypoets.com