วัดร้างในบางกอก
วัดร้างในบางกอก ประภัสสร์ ชูวิเชียร
ราคา ๓๒๕ บาท
วัดร้างในบางกอก • ประภัสสร์ ชูวิเชียร พิมพ์ครั้งแรก : มิถุนายน ๒๕๕๙ ราคา ๓๒๕ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ประภัสสร์ ชูวเิ ชียร. วัดร้างในบางกอก. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๓๑๒ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. วัด- -ไทย- -ประวัติ. I. ชื่อเรื่อง. 294.3135 ISBN 978 - 974 - 02 - 1491 - 5
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม - ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
วัดร้างในบางกอก วัดร้างในบางกอก
ค�ำน�ำเสนอ ค�ำน�ำ
(๘) (๑๒)
ท�ำไมต้องไป “วัดร้าง”
๒
วัดภุมรินทร์ราชปักษี “ราชปักษี” ที่ไร้คนเหลียวแล
๗
วัดน้อยทองอยู ่ ใครจะรู้ว่าอยู่ที่ไหน?
๒๘
วัดสวนสวรรค์ บางยี่ขัน สวนสวรรค์ที่ถูกลืม
๔๓
วัดพิกุลใน ย้ายไปย้ายมา
๖๓
วัดอังกุลา มีหลวงพ่อด�ำกับเหล่าลูกศิษย์
๘๑
วัดโคกโพธิ์ราม วัดปู่เถร วัดกระดังงา ๓ วัดร้างชานเมืองบางกอก
๙๗
วัดใหม่เชิงเลน วัดร้างที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
๑๑๘
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(5)
วัดสุวรรณคีรี วัดร้างบนเส้นทางสายเก่า
๑๓๓
วัดใหม่วิเชียร พระพุทธไสยาสน์กลางสวนลึกกับรถไฟฟ้าหลังวัดร้าง
๑๔๗
วัดสี่บาทกับวัดนาค วัดร้างกลางย่านโขลนทวารเก่า
๑๖๓
วัดร้างบางบอน? (วิหารหลวงพ่อขาว) วัดนิรนามอันศักดิ์สิทธิ์
๑๘๓
วัดพระยาไกร หรือวัดโชตนาราม จากวัด-ท่าเรือ-โรงเลื่อย เป็นศูนย์การค้า
๑๙๘
วัดหน้าพระธาตุ วัดทอง วัดเงิน วัดไก่เตี้ย วัดร้างที่กลายร่างเป็นวัดใหม่ กับเมืองโบราณที่ท่าเรือคลองเตย
๒๑๖
วัดวงศมูลวิหาร วัดร้างกลางกรมอู่ทหารเรือ
๒๒๘
วัดรังษีสุทธาวาส ฝากวัดร้างไว้ในวัดหลวง
๒๔๗
วัดบวรสถานสุทธาวาส วัดร้างท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของบางกอก
๒๖๓
ส่งท้ายเรื่องราวหลากหลาย จากวัดร้างในบางกอก
๒๘๒
บรรณานุกรม
๒๙๑
(6) วัดร้างในบางกอก
เรือกสวนในคลองสาขาลึกเข้าไปแถบย่านตลิง่ ชัน ซึง่ เป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมมาแต่โบราณ ได้พบหลักฐานวัดร้างหลายแห่งตั้งอยู่ด้วย
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(7)
ค�ำน�ำเสนอ วัดร้างในบางกอก วัดร้างในบางกอก
บางกอก ยุคต้นอยุธยา จากหนังสือ วัดร้างในบางกอก
กรุงเทพฯ มีต้นทางพัฒนาการตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ก่อน พ.ศ. 2000 จากชุมชนหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็กๆ ริมแม่น�้ำด้านทิศเหนือ ติดเขตนนทบุรี ลงด้านทิศใต้ใกล้อ่าวไทย ที่เว้าลึกเข้าไปภายในมากกว่า ปัจจุบัน [หรือต่างไม่มากจากยุคทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. 1000 ชายฝั่ง ทะเลอ่าวไทยด้านทิศเหนือหรือด้านบนเว้าลึกเข้าไปในแผ่นดินกรุงเทพฯ ถึงแขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กทม. ยาวต่อเนื่องถึงอ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ขนานไปกับคลองสนามชัย ต่อเนื่องคลองมหาชัย และถนนพระราม 2] ชุมชนหมู่บ้านบางแห่งของกรุงเทพฯ ยุคอยุธยา เติบโตขึ้นเป็น ชุมชนเมืองสถานีการค้าริมแม่น�้ำ ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 2000 ได้แก่ ชุมชนเมืองแรกสุดอยู่บริเวณคลองเตย และหลังสุดอยู่บริเวณบางกอก เมืองพระประแดงคลองเตย อยู่ริมแม่น�้ำฝั่งตะวันออก เป็น ชุมชนเมืองแรกสุดของกรุงเทพฯ ราวหลัง พ.ศ. 2000 (8) วัดร้างในบางกอก
เพราะอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเลสมุทร จากอ่าวไทยเข้า- ออกสะดวกถึงรัฐละโว้-อโยธยา ขณะเดียวกันเชื่อมโยงถึงรัฐกัมพูชา ที่โตนเลสาบ (ทะเลสาบ) โดยผ่านไปทางคลองส�ำโรง เข้าแม่น�้ำบาง ปะกง ทวนไปทางทิศตะวันออก แล้วเดินบกเข้าถึงเมืองพระนครหลวง ในกัมพูชา เหตุที่เรียกเมืองพระประแดงคลองเตย เพราะสมัยเก่าสุดตั้งอยู ่ บริเวณคลองเตย (ที่เป็นท่าเรือกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) เพื่อให้ต่างจาก เมืองพระประแดงสมัยหลังย้ายไปอยู่อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทร ปราการ เมืองบางกอก อยู่ริมแม่น�้ำฝั่งตะวันตก เป็นชุมชนเมืองแห่งที่ สองของกรุงเทพฯ เติบโตขึ้นหลังเมืองพระประแดงคลองเตย เพราะอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่เป็นแม่น�้ำล�ำคลอง หลบคลื่น ลมทะเลเข้าคลองด่าน ผ่านไปแม่น�้ำท่าจีน แม่น�้ำแม่กลอง เชื่อมทะเล อันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ได้ทงั้ ทางเมืองมะริด และด่านเจดียส์ ามองค์ ต่อไปข้างหน้าเมืองบางกอกได้นามทางการว่าเมืองธนบุรี
ชุมชนมีซาก
สิง่ ยืนยันการมีตวั ตนจริงของชุมชนหมูบ่ า้ นและเมืองในกรุงเทพฯ ยุคต้นอยุธยา นอกจากมีบันทึกเอกสารต่างๆ แล้ว ยังพบหลักฐาน ประวัติศาสตร์โบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ศิลปะจ�ำนวนมาก เหลือซาก กระจัดกระจายที่เรียกกันในปัจจุบันว่าวัดร้าง ชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมในไทย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดซึ่งมักเคยเป็นที่ตั้งหอผีหรือที่ฝังศพกลางหมู ่ บ้านมาก่อน ถ้าจะรู้จักและเข้าใจความเป็นมาของชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิม ไม่ว่า จะยังมีสืบเนื่องหรือร้างไปแล้ว หากเริ่มจากค้นหาชุมชนตรงๆ จะไม่พบ แต่เริ่มจากวัดแล้วมักพบ อาจไม่พบทุกแห่ง แต่พบเกือบหมดทุกแห่ง เหตุจากภูมิภาคอุษาคเนย์อยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกชุก และ มีแดดจัด ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(9)
ชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมปลูกสร้างด้วยไม้ ส่วนมากเป็นไม้ไผ่ มุง หลังคาด้วยใบไม้ เช่น ใบจาก, ใบคา ฯลฯ เมื่อถูกฝนและแดดทั้งปียิ่งผุ เปื่อยเสื่อมสลายง่าย ยิ่งนานไปยิ่งไม่เหลือซาก วัดเก่าแก่ดั้งเดิมจนปัจจุบันมีพระพุทธรูปส�ำคัญ (เช่น พระประ ธานในโบสถ์ ฯลฯ) กับอาคารส�ำคัญ (เช่น โบสถ์, สถูปเจดีย์ ฯลฯ) ล้วนก่อสร้างด้วยอิฐและหิน มั่นคงแข็งแรงทนแดดและฝน อยู่ได้นาน นับร้อยปีหรือพันปี ดังนี้ วัดร้างจึงมีคุณค่าหมายรวมถึงชุมชน ปัญหาของการศึกษาไทยอยู่ที่นักวิชาการทางโบราณคดีประวัต ิ ศาสตร์ศิลปะ อธิบายไม่ราบรื่นเรื่องประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจการเมือง เพราะไม่ให้ความส�ำคัญ แล้วไม่ศึกษาเอกสารเก่า ซึ่งเป็นเครื่องมืออธิบายเรื่องต่างๆ เหล่านั้น เช่น นิทาน, ต�ำนาน, พงศาวดาร, วรรณกรรม ฯลฯ จนถึงค�ำบอกเล่าของชาวบ้านซึ่งเป็น ความทรงจ�ำส�ำคัญ ดังนั้น นักวิชาการด้านนี้จึงสื่อสารกับสังคมร่วมสมัยในวงกว้าง อย่างขลุกขลัก หรือมีอุปสรรคขวากหนามจนสื่อไม่ได้ แต่แทนที่จะ พิจารณาดัดแปลงแก้ไขตัวเอง กลับกล่าวโทษสังคม สมค�ำเก่าๆ ที่ว่า ร�ำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง
พลังของสามัญชนคนเสรี
วัดร้างในบางกอก ของ ประภัสสร์ ชูวิเชียร เป็นหนังสือรวม งานค้นคว้าวิจัยที่ได้จากการส�ำรวจวัดร้างในเขตกรุงเทพฯ แล้วเขียน เล่าเรื่องอย่างง่ายๆ สื่อสารได้ดีกับสังคมร่วมสมัย บางกอก ในชื่อหนังสือวัดร้างในบางกอก หมายถึงกรุงเทพฯ โดยรวม ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี วัดร้าง ในชื่อหนังสือวัดร้างในบางกอก มีอย่างน้อย 2 ความ หมาย ได้แก่ 1. ชุมชนดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ที่เคยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดร้าง (10) วัดร้างในบางกอก
บางแห่งยังมีชุมชนสืบเนื่อง แต่เบาบางกว่าเดิม ส่วนบางแห่ง ชุมชนสูญหายไปนานแล้ว และมีคนชุดใหม่มาตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน ใหม่ โดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชุมชนเดิม บางทีแม้แต่ความทรงจ�ำก็ไม่มี 2. วัดเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 หรือบางวัดอยูย่ คุ ปลายอยุธยา ล้วนเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีซากหลักฐานหลายอย่าง เช่น โบสถ์, สถูปเจดีย์, พระพุทธรูป, กระเบื้องมุงหลังคา, หิน, อิฐ, เครื่องถ้วยชามรามไห ฯลฯ วัดเหล่านี้ส่วนมากร้างไปแล้ว ที่เหลือซากก็มี แม้แต่ซากไม่เหลือ ก็มี หรือแม้แต่ความทรงจ�ำของคนที่อยู่ปัจจุบันยังไม่เหลือก็มีไม่น้อย แต่ที่รู้เพราะศึกษาและตรวจสอบจากแผนที่เก่า, ภาพถ่ายเก่า, เอกสาร เก่า ฯลฯ ความรู้พร้อมหลักฐานทั้งหลายที่เขียนมาแต่แรกเรื่องกรุงเทพฯ ยุคต้นอยุธยา ผมสรุปจากหนังสือวัดร้างในบางกอก ของ ประภัสสร์ ชูวิเชียร ผู้มีศรัทธาเป็นพลัง เดินทางส�ำรวจค้นคว้าวิจัยสม�่ำเสมอตลอด ปี ทั้งในหน้าที่อาจารย์นักวิชาการ และในส�ำนึกของสามัญชนคนเสรี หากขาดศรัทธาก็หาพลังท�ำงานวิชาการอย่างนี้ไม่ได้ เพราะผล ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงไม่มี ถึงมีโดยอ้อมก็ไม่คุ้มความยากล�ำบาก ที่ต้องฝ่าอุปสรรคตรากตร�ำย�่ำไปบนหนทางทุรกันดาร ทั้งในภูมิประเทศ และในใจคน สุจิตต์ วงษ์เทศ
18 เมษายน 2559
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(11)
ค�ำน�ำ
วัดร้างในบางกอก วัดร้างในบางกอก
กรุงเทพฯ มีสิ่งที่เก่ากว่ากรุงเทพฯ ตกค้างอยู่เป็นอันมาก นับตั้งแต่หลักฐานที่รู้กันดีว่าพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของประเทศ ไทยในปัจจุบันนี้ พัฒนามาจากหมู่บ้านและเรือกสวนตั้งแต่ก่อนปลาย พุทธศตวรรษที ่ ๒๑ โดยพบศิลปกรรมเก่าแก่ เช่น พระพุทธรูปหินทราย รุน่ ไล่เลีย่ กับการสถาปนากรุงศรีอยุธยาจ�ำนวนมากเกลือ่ นกลาดตกค้าง อยู่ตามวัดในย่านลึกของฝั่งตะวันตกแม่น�้ำเจ้าพระยา แล้วเมื่อได้มีการ ขุดลัดแม่น�้ำอ้อมจนเกิดทางลัดออกสู่ทะเล ราชส�ำนักกรุงศรีอยุธยาจึง เอาใจใส่กับพื้นที่ “บางกอก” นี้เป็นพิเศษจนถึงตั้งเป็นเมือง “ธนบุรี” ขึ้นเพื่อเก็บภาษีอากรและเป็นด่านคอยดูแลหนทางไปมาระหว่างภายใน กับภายนอกราชอาณาจักร ครั้นพอกรุงศรีอยุธยาถูกท�ำลายในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ กลุ่ม ผู้ปกครองใหม่จึงมาเลือก “บางกอก” เป็นฐานที่มั่นจนกระทั่งลงหลัก ปักฐานเป็นราชธานีสืบมาถึงปัจจุบัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความยาวนาน ของการอยู่อาศัยและความเจริญที่สั่งสมกันมาของสองฝั่งแม่น�้ำเจ้า พระยาที่กรุงเทพฯ จะล้วนมีริ้วรอยทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ให้เห็นอยู่ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ (12) วัดร้างในบางกอก
ส่วน “คนกรุงเทพฯ” ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ก็หาได้ใส่ใจ กับความเป็นมาของถิ่นฐานตนเองมากเท่าที่ควร จึงมักมองข้ามความ ส�ำคัญและพาลจะรื้อถอนอดีตของตัวเองทิ้งอยู่ทุกวัน เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ขณะที่ผู้เขียนก�ำลังจดจ่ออยู่กับการไล่ ส�ำรวจศิลปกรรมของวัดวาอารามทางฝั่งธนบุรี เพื่อหวังจะตามรอย “น. ณ ปากน�้ำ” ที่ส�ำรวจ “ศิลปกรรมในบางกอก” เอาไว้เมื่อ ๓๐- ๔๐ ปีก่อน โดยมี “ลายแทง” เป็นเพียงแผนที่กรุงเทพฯ ฉบับต่างๆ สายตาของผู้เขียนสังเกตเห็นชื่อวัดบางแห่งปรากฏตัวอยู่ในแผนที่กรุง เทพฯ เก่าๆ ทว่ากลับไม่มีอยู่ในท�ำเนียบหรือประวัติวัดที่รวบรวมไว้ใน ปัจจุบัน จึงเกิดความสงสัยว่าวัดเหล่านั้นยังคงมีตัวตนอยู่หรือไม่ มีงาน ศิลปกรรมหรือหลักฐานเก่าแก่อะไรบ้างหรือเปล่า เพราะหากวัดที่ไร้ชื่อ ย่อมจะไร้ซึ่งพระสงฆ์จ�ำพรรษา อันหมายความว่าเป็น “วัดร้าง” ที่ถูก ทอดทิ้งโดยไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ซึ่งย่อมเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ของนักศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะที่จะได้พบเจอกับของ ทีย่ งั ไม่ถกู แตะต้อง หรือทีเ่ รียกกันในภาษาวิชาการว่า หลักฐานชัน้ ปฐม ภูมิ (Primary Remains) การส�ำรวจค้นหาวัดร้างในกรุงเทพฯ ของผู้เขียนจึงค่อยๆ ก่อ ร่างขึ้น โดยผูกพ่วงไปกับงานส�ำรวจวัดต่างๆ ที่ไม่ร้าง หลายครั้งที่ ผู้เขียนเดินตามหาวัดเข้าไปในชุมชนแออัด และค้นพบหลักฐานที่น่า ตื่นเต้น (ส�ำหรับผู้ที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี) อย่างพระพุทธ รูปที่แตกหักช�ำรุดอยู่ในเพิงเก่าๆ เจดีย์ยอดหัก หรือชิ้นส่วนใบเสมา ผุกร่อนที่มีอายุเก่าแก่ยิ่งกว่ากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมันสามารถน�ำมา ปะติดปะต่อเรื่องราวความเป็นมาของพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ไม่เคยมีใคร ค้นพบหรือกล่าวถึงมาก่อน จนในที่สุดเมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้นจากการท�ำงานและมีภาพรวมมาก พอ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเขียนขึ้นเป็นบทความเสนอต่อวารสารเมือง โบราณ มีชื่อในภายหลังว่า “วัดร้างในฝั่งธนบุรี” เนื่องจากการส�ำรวจ ครั้งนั้นกินอาณาเขตเจาะจงทางฝั่งธนบุรีอันเป็นพื้นที่ที่เก่าแก่และส�ำคัญ มาก่อนกรุงเทพฯ ทางฝั่งพระนคร อันได้ให้ภาพรวมของวัดร้างที่บ่งบอก ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(13)
ว่า ฝั่งตะวันตกแม่น�้ำเจ้าพระยานั้นมีหลักฐานเก่าแก่มากมายแม้จะอยู ่ ในสภาพวัดที่ทิ้งร้างแล้ว ต่อมาผู้เขียนเห็นว่าวัดร้างนอกจากทางฝั่งธนบุรีแล้ว ยังมีท ี่ ฝั่งพระนครอีกไม่น้อย (ทั้งที่เห็นจากในแผนที่และเอกสารอื่นๆ) ทั้งยัง สัมพันธ์อย่างยิ่งกับความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงเมื่อราว ๕๐-๖๐ ปีที่ผ่านมา ประกอบกับทาง นิตยสารศิลปวัฒนธรรมได้ขอให้ผเู้ ขียนได้เรียบเรียงเรือ่ งราวของวัดร้าง ทั้งที่เคยเสนอมาแล้วและข้อมูลใหม่ออกเป็นเรื่องๆ แยกจากกันและน�ำ มาตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗ จนครบทั้งวัดร้างในฝั่งธนฯ และฝั่งพระนคร จึงให้ชื่อคอลัมน์ว่า “วัด ร้างในบางกอก” บัดนี ้ คอลัมน์ดงั กล่าวได้ทยอยลงจนครบสมบูรณ์แล้ว ทางศิลป วัฒนธรรมฉบับพิเศษ ส�ำนักพิมพ์มติชนจึงมีใจกรุณาเอื้อเฟื้อที่จะตีพิมพ์ ฉบับรวมเล่มออกมา ผู้เขียนจึงได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และเพิ่ม เติมการอ้างอิงตามหลักวิชาการพร้อมกับรูปภาพ แผนที่บางส่วนเพื่อ ให้งานส�ำรวจและวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับวัดร้างในบางกอกมีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังเชื่อว่าสิ่งที่บรรจุอยู่ในหนังสือเล่มนี้ยังคง ไม่ครบถ้วนเสียทีเดียว เป็นต้นว่า ผู้เขียนเองก็ยังไม่แน่ใจเสียทีเดียว ว่า “วัดร้าง” ในกรุงเทพฯ ที่น�ำมาเสนอนี้ จะยังมีที่ตกหล่นส�ำรวจอีก หรือไม่ เพราะผู้เขียนได้พบชื่อวัดบางแห่งในแผนที่เก่าที่ไม่สามารถ ตามหาร่องรอยอะไรได้เลย ที่ส�ำคัญยังขาดเรื่องราวของ “คน” คือ ปฏิสัมพันธ์และความคิดระหว่างมนุษย์กับหลักฐานต่างๆ ซึ่งเป็นมิต ิ อีกด้านที่ปรากฏกับวัดร้างในแง่ที่ยังถูกใช้งานในฐานะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ ์ นอกกรอบจากความเป็นศาสนสถานที่เคยมีมาก่อนหน้าการทิ้งร้างไป จึงเป็นประเด็นที่ผู้สนใจอาจน�ำไปสานต่อในอนาคตได้ หนังสือเล่มนี ้ จึงเป็นเพียงความพยายามอย่างรีบเร่งที่จะน�ำเสนอข้อมูลรวมทั้งข้อคิด เห็นเล็กๆ น้อยๆ จากการส�ำรวจวัดร้างทั้งหมดสิบกว่าแห่ง ดังนั้น ความลุ่มลึกในแง่วิชาการคงจะเป็นสิ่งที่หายากเต็มทีส�ำหรับงานชิ้นนี้ (14) วัดร้างในบางกอก
ผู้เขียนขอขอบคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทความรู ้ ด้านโบราณคดีและประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ อันประกอบด้วย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ รวมไปถึงผู้มีส่วนผลักดันการ ท�ำงานกับข้อมูลวัดร้างขยายผลมากยิ่งขึ้น ได้แก่ คุณศรัณย์ ทองปาน กับคุณกฤช เหลือลมัย ซึ่งได้เคยชักชวนผู้เขียนไปส�ำรวจวัดร้างเพิ่มเติม คุณธัชชัย ยอดพิชัย ที่ได้คอยติดตามทวงถามงานเมื่อครั้งตีพิมพ์เป็น ตอนลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม คุณอพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ ผู้เปิด โอกาสให้ตีพิมพ์หนังสือนี้ และคุณมณฑล ประภากรเกียรติ ที่ประสาน งานด้านต้นฉบับมาโดยตลอด อดีตเป็นเงาของปัจจุบันที่จะส่องให้อนาคตสว่าง ขอทิ้งท้ายไว้ เพียงเท่านี้ ประภัสสร์ ชูวิเชียร ธันวาคม ๒๕๕๘ คลองสาน ฝั่งธนบุรี
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
(15)