ตอบตามธรรม รวมปัญหาธรรมะจากการอบรมปฏิบัติธรรม เล่มที่ 1
1
ตอบตามธรรม รวมปัญหาธรรมะจากการอบรมปฏิบัติธรรม เล่มที่ 1
ผู้สนใจ โปรดติดต่อ
มูลนิธิมายาโคตมี
เลขที่ 3 ซอยกรุงเทพกรีฑา 20 แยก 7แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-368-3991 แฟ็กซ์ 02-368-3573 e-mail : mayagotami@gmail.com 2
ค�ำน�ำ หนั ง สื อ “ตอบตามธรรม” เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการตอบ ปั ญ หาธรรมที่ ไ ด้ ร วบรวมไว้ จ ากการจั ด อบรมปฏิ บั ติ ธ รรม ณ อาคารปฏิบัติธรรมมูลนิธิมายา โคตมี ในช่วงปี พ.ศ. 2557 ตามที่พระอาจารย์ในสายวัดหนองป่าพงได้เมตตาเดินทางมา แสดงธรรมและตอบปัญหาธรรมแก่ญาติโยม โดยเลือกค�ำถามที่ มีผู้ถามถึงอยู่บ่อยๆ และน่าจะเป็นที่สนใจแก่คนจ�ำนวนมาก มูลนิธิฯ หวังว่าหนังสือ “ตอบตามธรรม” จะท�ำหน้าที่ เปรี ย บเสมื อ นเป็ น กั ล ยาณมิ ต รน� ำ ธรรมะของพระพุ ท ธเจ้ า มา แสดงแก่ผู้อ่าน สิ่งใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิตก็ให้ น�ำไปปฏิบัติ ข้อใดที่ยังไม่เข้าใจก็อาจจะปล่อยผ่านไปก่อน หรือ น�ำไปพิจารณาศึกษาเพิ่มในภายหลัง ขอกราบขอบพระคุ ณ ครู บ าอาจารย์ ผู ้ เ ป็ น เหตุ ป ั จ จั ย ส�ำคัญที่ท�ำให้มีหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งขออนุโมทนาแก่ญาติโยม ทุ ก คนที่ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการท� ำ หนั ง สื อ ด้ ว ยความตั้ ง ใจและ ปรารถนาดีที่จะช่วยกันเผยแผ่ธรรมะเพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ ท่าน และประโยชน์ในภายภาคหน้า มูลนิธิมายา โคตมี 3
ถามตามใจ -ค�ำถามจากผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม ตอบตามธรรม - ค�ำตอบจากครูบาอาจารย์ วัดสาขาหนองป่าพง (รายชื่อ) พระอาจารย์ สว่าง กลฺยาโณ วัดป่าค�ำเจริญ ศรีสะเกษ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 195 พระอธิการส�ำราญ วฑฺฒโน วัดถ�้ำน�้ำทิพย์ อุบลราชธานี สาขาวัดหนองป่าพงที่ 190 พระครูนิมิตวิริยานุกูล (สุบิน อุตฺตโม) วัดป่าบ้านหนองแวง ศรีสะเกษ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 12 พระครูภาวนาชัยมงคล (สุนทร ทนฺตจิตฺโต) วัดป่าชัยมงคล ระนอง สาขาวัดหนองป่าพงที่ 115 พระครูวิจารณ์ศุภวัตร (บัณฑิต เตชปญฺโญ) วัดแม่ใจใต้ เชียงใหม่ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 70 4
5
พระอาจารย์ สว่าง กลฺยาโณ วัดป่าค�ำเจริญ ศรีสะเกษ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 195
ถาม : การนั่งสมาธิ จะต้องสวดมนต์ก่อนหรือไม่ ตอบ : ไม่จ�ำเป็น เอาเวลาเหมาะสม การสวดนี้ก็เป็น บริกรรม ถ้าเราพอมีเวลาเราก็สวดได้ แต่อย่าไปสวดให้มันขลัง ให้ เทวดามาปกป้องคุ้มครองเราอย่างโน้นอย่างนี้ สวดให้เป็นมงคล แก่ชีวิต ตั้งใจ ถ้าตั้งใจ สมาธิมันเริ่มจะเกิด คนไหนยังไม่ได้ตั้งใจ ให้รีบ ตั้งใจ อย่าให้มันเป็นนิสัยที่ไม่ตั้งใจ เพราะเคยเห็นอยู่ ไปปฏิบัติ กันแต่ดูแล้วความตั้งใจน้อยมาก ตีระฆังปุ๊บ ได้ยินพูดกัน “ตีระฆัง เสร็จแล้วค่อยไป” พอเงียบๆ “โอ๊ย สงสัยเขานั่งสมาธิแล้ว” ก็พูด ละ “นั่งสมาธิเสร็จค่อยไป” พอนั่งสมาธิเสร็จแล้วสวดมนต์ ก็พูด กันต่อว่า “สวดมนต์เสร็จแล้วค่อยไป” อยู่อย่างนั้น 6
ถ้าเป็นอย่างนั้น จะเป็นนิสัยไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่าประมาท ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ดี ต้องให้เป็นนิสัยที่มุ่งมั่น ตั้งใจ ให้ทันกับ เหตุการณ์ ทันเวลา ฉะนั้นการที่สวดมนต์ก่อนหรือไม่สวด ไม่ใช่ ปัญหา หากมีเวลาก็สวดได้ อย่างประวัติหลวงปู่มั่น ท่านไปในดง ในป่าไปที่ไหน ก่อนจะนั่งสมาธิท่านจะสวดมนต์ หรือบางทีท่าน นั่งสมาธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านจะสวดมนต์ก่อนแล้วค่อยนอน นั่นคือท่านฝักใฝ่มาก นี่คือปฏิปทาหลวงปู่มั่น อ่านประวัติของ ท่านยิ่งเกิดความศรัทธา ท่านปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความพากเพียร จริงๆ
7
ถาม : จ�ำเป็นต้องก�ำหนดเวลาในการนั่งสมาธิหรือ ไม่ หรือแล้วแต่ว่าจิตจะออกจากสมาธิ ตอบ : ใหม่ๆ บางคน บางที่ ท่านก�ำหนด แต่ส�ำหรับ อาตมาไม่เคยก�ำหนด พอมีเวลาที่จะนั่งได้เราก็ท�ำไป หรือพอ ก�ำลังเราที่จะนั่งได้ 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที แต่ถ้ามีเวลาเยอะกว่า นั้นเราก็ท�ำไป ดีกว่าจะมาก�ำหนดกฎเกณฑ์ จะเป็นกังวล ถ้าเป็น กังวลแล้วสมาธิก็จะไม่เกิด หรือแล้วแต่ว่าจิตจะออกจากสมาธิ ค�ำว่าจิตออกจากสมาธินี้ก็ยังไม่ถูกเท่าไร สมาธิไม่ต้อง ออกไม่ต้องเข้า คือความรู้สึกจิตใจของเราที่มีความสงบ ยิ่งสงบ เท่าไรยิ่งดี จะยืนก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะนอนก็ตาม ขอให้มีความ สงบ จิตใจของเราให้อยู่กับสมาธิ ให้อิ่มเอิบอยู่ ให้ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิก บานอยู่ที่นั่น ให้จิตใจของเรามั่นคง ยืน เดิน นั่ง นอน มีสมาธินั้น ดีที่สุด 8
ถาม : เมื่อนั่งสมาธิไปได้สักพักเกิดอาการปวดขา เหน็บชา เราควรพิจารณาอย่างไร ตอบ : เราก็ก�ำหนดรู้อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดูเวทนาในเวทนา ก�ำหนดรู้ ให้เข้าใจ เวทนาที่มันเกิดขึ้น ทนไปจนกว่าจะทนไม่ได้ ถ้าพอทนได้ทนไป อย่าไปเอาตามความคิดของเรา พอเจ็บปุ๊บแล้วก็เปลี่ยนปั๊บ อย่าง นั้นจะเป็นนิสัยที่ชอบเปลี่ยนขา จะไม่ได้เห็นเวทนาอย่างแท้จริง
9
ถาม : เราไม่ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ใช่หรือไม่ ตอบ : ถูกต้อง ถ้าเปลี่ยนแล้วก็อยากจะเปลี่ยนเรื่อยๆ ตามนิสัย ฉะนั้นต้องฝึกหัดในความอดทน ให้มันผ่าน พยายาม ผ่านให้ได้ แค่ 20 นาที หรือ 30 นาที พระสงฆ์ท่านนั่งอิริยาบถ เดียว เราแค่ 30 นาทีก็ต้องท�ำให้ได้ ท่านนั่งได้อย่างไร ท่านก็ตัว เหมือนเรา เราก็ตัวเหมือนกับท่าน คิดย้อนกลับไปกลับมาอย่างนี้ แล้วเราจะเกิดสติ เกิดปัญญา เกิดความรู้ขึ้นมาในการอดทนใน การนั่ง ในที่สุดแล้วก็ผ่านไป ไม่ยาก
10
ถาม : เมื่อนั่งสมาธิไปแล้วอยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น ลมหายใจละเอียดเบามาก เราควรดึงกลับมาอย่างไร ตอบ : ไม่ควรดึงกลับ ไม่ควรเอาออก เป็นผู้รู้อยู่เฉยๆ เพราะมันเกิดเอง เมื่อมันเกิดเองเดี๋ยวมันก็หายไปเอง มันเป็น ของมันอยู่อย่างนั้น การนั่งสมาธิแต่ละคนไม่เหมือนกัน พระสงฆ์ แต่ละองค์ท่านก็ไม่เหมือนกัน ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ น้อยมากที่ว่า อาการนั้นจะเหมือนกัน ฉะนั้นไม่ต้องอยากได้เหมือนคนนั้นอย่าง นั้นๆ ที่มันเกิดขึ้นก็ก�ำหนดรู้เฉยๆ ไม่ว่ามันจะเบาหรือหายไป
11
ถาม : ขณะเดินจงกรมมีอาการเหมือนหลับ ง่วงมาก แต่ก็เดินไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ล้ม จะแก้ไขอย่างไร ตอบ : สาธุ อนุโมทนา นี่ถือว่ามีความอดทน ถ้าเรารู้ว่า เราง่วงเหมือนจะหลับก็ดีแล้ว แต่อย่าให้หลับ เราก็พยายามให้มี สติ บางทีการเดินของเราอาจไม่ถูกหลักถูกวิธี เดินช้าไปอาจ จะง่วง เราลองใหม่ก็ได้ บางทีเราท�ำช้าๆมันไม่เหมือนธรรมชาติ มันจะปวด 2 ข้าง ปวดเอว ปวดหลัง ปวดอะไร เราลองเดินแบบ ธรรมชาติดู ไม่ต้องเกร็ง มือเราท�ำแบบสบายๆ แกว่งแขนก็ได้ ไขว้หลังก็ได้ หรือจะประสานมือก็ได้ เดินแบบก�ำหนดรู้โดยไม่ เกร็ง อาจจะไม่ง่วงไม่หลับ ถ้าเราท�ำแบบซ�้ำๆ ซากๆ อย่างนั่งสมาธิ นั่งที่เดียวซ�้ำๆ พอจะท�ำมันรู้แล้ว ใจมันจะไม่ตื่น จิตใจเรามันจะชินชา ถ้าอย่าง นั้นเปลี่ยนสถานที่อาจจะดีขึ้น คงไม่ต้องท�ำอะไร เพียงแต่ให้ตั้งใจ ใหม่ หาวิธีใหม่ ให้มีสติดีขึ้นกว่าเดิม 12
ถาม : ในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ในฐานะชาว พุทธผู้ปฏิบัติธรรม เราควรจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตาม หลักพุทธศาสนา ตอบ : ก็ปฏิบัติเป็นผู้รู้นี่แหละ ท�ำตัวดี อย่าไปอคติ เรา ดูเขาแล้วให้เกิดปัญญา เพราะอะไรถึงเป็นอย่างนั้น นั่นคือทิฏฐิ ความเห็ น ของคนไม่ เ หมื อ นกั น อคติ มี กั บ คนไม่ มี ศี ล คนไม่ มี ธรรม ฉะนั้นเราเป็นผู้มีศีล ส�ำรวมดีกว่า ส�ำรวมกาย ส�ำรวมวาจา ส�ำรวมจิตใจของเรา ต้องท�ำใจให้สงบ การกระท�ำ ค�ำพูดของเรา อย่าไปแบ่ง แยก ให้ปฏิบัติของเราอย่างนี้ ท�ำเหตุแห่งสุข เหตุแห่งสุขคือความ สงบ กายสงบไม่ไปท�ำบาป วาจาสงบไม่ไปพูดบาป อย่าให้จิต ของเรานี้ส่งออกนอก ในที่สุดจิตของเราสงบ ความสุขก็เกิดขึ้น ดัง ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า นัตถิ สันติ ปะรัง สุขขัง สุขอื่นยิ่งกว่า ความสงบไม่มี ให้เข้าใจตรงนี้ แล้วสงบกาย วาจา ใจของเราเถิด นี่คือค�ำสอนของพระพุทธเจ้า 13
ถาม : การท� ำ สมาธิ กั บ การท� ำ กรรมฐานต่ า งกั น อย่างไร
ตอบ : เป็นชื่อเรียก เหมือนกับค�ำว่าใจ ค�ำว่ามโน ค�ำว่า ความคิด ที่แท้ก็อันเดียวกัน คล้ายคลึงกันก็ว่าได้ แต่ต่างที่ค�ำพูด กรรมฐานแปลว่าการกระท�ำ คือการกระท�ำที่ดีเพื่อให้เกิดสมาธิ สมาธิแปลว่าความตั้งใจมั่น หรือความสงบ เราท�ำกรรมฐาน คือ การกระท�ำของเราที่จะให้เกิดความสงบ รวมๆ เรียกว่าท�ำกรรม ฐาน เข้ากรรมฐาน ไปปฏิบัติกรรมฐาน หรือไปปฏิบัติธรรม หรือ ไปท�ำสมาธิ อย่างนี้ก็ได้ เพื่อจะให้เกิดความสงบ หรือท�ำจิตใจ ของเราให้มั่นคง เกิดความรู้อะไรต่างๆ
14
ถาม : เรื่องเวรกรรม ถ้าเป็นคนต่างประเทศ ต่าง ศาสนา ถ้าเขาท�ำดี หรือไม่ดี เขาจะได้รับผลกรรมนั้นหรือไม่ ตอบ : เอาง่ายๆ สมมตินี่คือของเหม็น สมมติให้พระสงฆ์ ท่านจับปุ๊บ เอามาดมจะเหม็นไหม ให้ผู้หญิงมาจับดูเอามาดม เอาให้คนโน้นมาดมดู ฝรั่งมาจับดู เหมือนกัน อย่างนี้ เขาก็ได้รับ เช่นเดียวกันนั่นแหละ เพียงแต่เขาไม่รู้ว่านี่คือกรรม นี่คือเวร แต่ เรามีพระพุทธเจ้าสอน เราเลยเข้าใจกว่าเขา จริงๆแล้วสัจธรรมก็ คือสัจธรรม แปลว่าความจริง ได้รับเหมือนกัน เรื่องเวร และกรรม ใครคิดได้จะเห็นธรรมะ ธรรมะจะ ปรากฏขึ้นกับจิตใจ แล้วก็จะได้ละกรรมที่ไม่ดี ประกอบซึ่งกุศล คุณงามความดีต่อไปให้ได้มากๆ แต่ไม่ได้เอาจิตใจไปหมกมุ่นนะ อดีตชาติที่มันติดตามเรามาก็ให้มันตามมาเถอะ แต่อนาคตต่อ ไปข้างหน้า วันนี้เป็นต้นไป เราจะตั้งใจก่อกรรมท�ำดี คือกุศลกรรม จ�ำไว้ให้ขึ้นใจ แล้วรีบละสิ่งที่ไม่ดี นิสัยไม่ดีของเราที่เคยพูดเคยท�ำ 15
ถาม : บทสวดมนต์ ที่ ใ ช้ รั ก ษาโรคมี อ ะไรบ้ า ง โพชฌงค์ปริตรใช้รักษาโรคได้อย่างไร มีบทอื่นหรือไม่ ตอบ : อันนี้ต้องถามอาจารย์ท่านที่สวดเก่งๆ ท่านพา สวด จริงๆ แล้วการรักษาอย่างนี้มันผิวเผินนะ เป็นที่พึ่งของเรา น้อยเดียว ไม่เท่าไร เราอย่าเอามาเป็นที่พึ่ง ถ้าไม่หายเดี๋ยวจะไป ว่าบทสวดมนต์ท่าน แต่เอามาสวดเพื่อให้เป็นมงคลแก่ชีวิตของ เราดีกว่า อย่างนี้ให้เข้าใจ ญาติโยมเราสวดแล้วให้ได้ระลึกนึกถึง คุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนโรคภัยไข้เจ็บ เราเป็นอะไร ก็ไปหาหมอก็แล้วกัน จะดีที่สุด
16
ถาม : ตบยุงตาย และฉีดมดตาย บาปมากหรือไม่ ตอบ : สัตว์เล็กสัตว์น้อยก็บาปไม่มาก แต่ถ้าท�ำบ่อยๆ เข้ามันก็มาก เปรียบกับสิ่งที่ไม่ดี ของเหม็น สมมติว่านี่คือขี้ไก่ นี่ ก้อนเดียวน้อยๆ โอ๊ย ไม่เป็นไรหรอกก้อนเดียว เราก็ทิ้งไว้นี่ละไม่ กวาดมันออก อีกก้อนหนึ่งมันอยู่ที่โน่น เราบอกว่าไม่เป็นไรหรอก มันอีกก้อนหนึ่งแล้วนะนั่น ถ้าสามก้อน สี่ก้อน ห้าก้อน มันจะเป็น อย่างไร ก้อนเล็กๆ ขนาดนี้แหละ มันจะไม่น่านั่งเลยในห้องนี้ ถ้า เราสร้างมากเข้าๆ ทีแรกก็อันนี้ ต่อไปก็อันอื่นๆต่อไป ก็พิจารณา เอานะ
17
พระอธิการส�ำราญ วฑฺฒโน วัดถ�้ำน�้ำทิพย์ อุบลราชธานี สาขาวัดหนองป่าพงที่ 190
ถาม : ถ้าพ่อแม่สร้างกรรมท�ำบาปไว้ กรรมนั้นจะส่ง ผลถึงลูกหรือไม่ ตอบ : ตามปกติคนเราถ้าจะไปเกิดที่ไหน หรือเกิดกับ ใคร ส่วนมากคล้ายกับว่าได้สร้างกรรมร่วมกันเอาไว้ตั้งแต่ภพ ก่อนชาติก่อน เรียกว่าจิตใจของลูกกับจิตใจของพ่อแม่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน หรือว่ามีลักษณะที่เรียกว่า รับผลในการกระท�ำของ ตนตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน พ่อแม่เคยมีความผูกพันกับลูก เคย สร้างเหตุปัจจัยหรือสร้างกรรมอันใดอันหนึ่งร่วมกันเอาไว้ จิตใจ คล้องจองผูกพันกัน ก็ท�ำให้ได้ไปเกิดร่วมกัน คล้ายกับเราเคยท�ำ ธุรกิจการงานร่วมกัน ผลของการงานก็มักจะได้ผลเหมือนกัน จะ แตกต่างกันตรงที่ได้รับมากหรือน้อยเท่านั้น ท่านจึงเรียกอีกอย่าง ว่า เป็นกรรมเผ่าพันธุ์ 18
บุพกรรมของคุณพ่อคุณแม่ ลูกมีผลได้รับ อย่างพ่อแม่ เคยสร้างคุณงามความดี สร้างชื่อเสียงเอาไว้ ลูกก็พลอยได้ดิบได้ ดีไปด้วย หรือพ่อแม่มีทรัพย์มากก็ส่งผลมาถึงลูก เป็นเหตุที่ลูก ก็ได้รับผลด้วย คนที่ได้ไปเกิดด้วยกันแต่ละภพแต่ละชาติต้องเคย ได้สร้างบุญสร้างกรรมร่วมกันเอาไว้ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง จึง เป็นเหตุท�ำให้ได้ไปเกิดร่วมกัน ฉะนั้น กรรมตั้งแต่อดีตของพ่อแม่ จึงส่งผลมาถึงลูก กรรมในปัจจุบัน เช่นคุณพ่อคุณแม่กินเหล้าหรือเที่ยว หรือท�ำผิดศีลธรรมต่างๆ ถ้าลูกมีความยินดีตาม มีความคล้อย ตามการกระท�ำของพ่อของแม่ ก็จะได้รับผลเหมือนกัน แต่ถ้า ไม่มีความยินดี พยายามห้ามปราม หรือไม่ปฏิบัติตาม ลูกก็จะไม่ ได้รับผล จะเป็นเรื่องดีก็ตามหรือเรื่องชั่วก็ตาม ความที่ยินดีตาม นั้นท�ำให้มีส่วนมีผลร่วมกัน ถ้าพ่อแม่ท�ำดีไปวัดไปวา ไปฝึกนั่ง สมาธิ หรือท�ำบุญให้ทานซึ่งเป็นการกุศล ลูกได้ยินข่าวและยินดี แล้วคล้อยตาม ก็มีส่วนที่จะได้รับผลประโยชน์ผลบุญของคุณ พ่อคุณแม่ไปด้วย
19
ถาม : การเพ่งกสิณไฟ สามารถปฏิบัติเองได้หรือไม่ ตอบ: การเพ่งกสิณนี่สามารถฝึกได้ด้วยตนเอง แต่ก็มี ความเสี่ยงอยู่บ้าง ถ้ามีผู้ที่ช�ำนาญ เคยฝึกทางด้านนี้และรู้จักผล เสียผลข้างเคียงที่มันจะเกิดขึ้น ให้ท่านคอยแนะน�ำจะมีประโยชน์ กว่า เพราะผลข้างเคียงที่เกิดอาการขึ้นมีได้หลายอย่าง ถ้าเรามี สติปัญญาฉลาดก็สามารถจะคลี่คลายได้เหมือนกัน อย่างกสิณไฟ ไปเพ่งจนเกิดเป็นดวงไฟขึ้นในมโนภาพ เป็นนิมิตในจิต อาการของดวงไฟบางทีมันขยายใหญ่โตคล้าย เป็นกองไฟอย่างมโหฬารก็มี บางทีก็เป็นแสงสว่าง บางทีก็พุ่งไป ในทิศต่างๆ ถ้าเราไม่มีความช�ำนาญหรือไม่เคยมีประสบการณ์ อาจเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาจจะคิดว่ามันจะไหม้ตรง นั้น ไหม้ตรงนี้ ไหม้ตนเอง อาจจะเกิดวิปลาสได้ แต่ถ้าเราเห็นก็ สักแต่ว่าเห็น ถึงมันจะเกิดเป็นนิมิตอะไรต่างๆขึ้นมา ก็ให้ถือเป็น เครื่องเพ่ง เครื่องดู เครื่องศึกษา โดยที่เราก็ไม่ให้ความส�ำคัญมาก เราก็จะไม่หลงตาม 20
อาจจะทดลองดูก็ได้ ถ้าเกิดอาการเสี่ยงขึ้นมาก็ให้หยุด เสียก่อนแล้วค่อยถามท่านผู้รู้ แต่การเพ่งส�ำหรับผู้ที่มีจริตนิสัย คล้ายกับเคยได้ฝึกฝนมาทางนี้ก็อาจจะเหมาะกับจริต จะเป็นการ เพ่งแสงสีขาวก็ได้ สีเหลืองก็ได้ เพ่งดิน น�้ำ ไฟ ลม หรือเพ่งแสง สว่างตามช่องหน้าต่าง ทีแรกก็เพ่งด้วยตา ต่อมาภาพที่เราเพ่งนี้ จะไปอยู่ที่ใจ แล้วก็เพ่งอารมณ์ขึ้นในใจ ที่มันเกิดขึ้นในมโนภาพ ที่มันเป็นนิมิต นิมิตแปลว่าเครื่องหมาย เครื่องหมายที่เกิดขึ้นกับใจ จะ ไม่ใช่ของจริง เป็นเครื่องหมายชนิดหนึ่ง นิมิตในกรรมฐานต่างๆ ถ้าเราปฏิบัติไปมากๆ จิตของเราจะมีความผูกพันในสิ่งนั้น มันจะ ไปสร้างมโนภาพขึ้นมาในจิต แล้วสติก็ไปจับจดในสิ่งที่เกิดขึ้นใน จิต จะเป็นดวงแก้ว หรือเป็นแสงสว่าง หรือเป็นดวงไฟต่างๆ เอา สติไปจดจ่ออยู่ตรงนั้น ก็ท�ำให้เกิดอารมณ์แห่งความสงบ แห่ง สมาธิขึ้นมา เพ่งกสิณส่วนมากจะเกิดเป็นภาพ เพราะองค์กสิณเรายึด เอาภาพเป็นเป้าหมาย การเพ่งจะก่อให้เกิดภาพ ตอนแรกก็เป็น ประโยชน์ให้จิตของเราได้ยึดเหนี่ยว ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ มักท�ำให้ เกิดมองเห็นโน่นมองเห็นนี่ จริงบ้าง เท็จบ้าง ฉะนั้น เมื่อภาพอัน ใดที่เกิดขึ้นมาในองค์กสิณ อาจเป็นผลเสียส�ำหรับผู้ปฏิบัติ คือ บางทีเป็นความด�ำริของใจ ถ้าเราปรารถนาอยากเห็นนรกสวรรค์ มันก็จะสร้างภาพขึ้นมาให้เราเห็น เราอาจส�ำคัญว่าได้ตาทิพย์ ได้ 21
อันโน้นอันนั้น ที่จริงไม่ใช่ เป็นนิมิตที่เราสร้างขึ้นมาด้วยอ�ำนาจ แห่งความด�ำริของใจ นิมิตบางอย่างคล้ายกับเป็นเครื่องเตือนหรือเครื่องบ่ง บอกในเหตุการณ์เบื้องหน้าก็มี ถ้าไม่รู้จักแยกแยะอาจส�ำคัญผิด ได้ ต้องอาศัยท่านผู้ที่เคยฝึกจนช�ำนิช�ำนาญแล้ว ปรึกษาให้ท่าน แนะวิธีแก้ไข อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดนิมิตอันใดอันหนึ่งขึ้นมาในจิต ให้เข้าใจว่า ที่เราเห็นนี่เห็นจริง แต่สิ่งที่เราเห็นไม่จริง มันเกิดขึ้น ด้วยอ�ำนาจความด�ำริของใจ โดยอาศัยสมาธิ หรืออาศัยความ สงบ สร้างเป็นภาพในใจขึ้น เราก็เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น เห็นภาพโครงกระดูก เห็นซากศพ เห็นภาพตัวเองตาย หรือเห็นคน อื่นตาย หรืออะไรต่างๆ แล้วเราก็ระลึกถึงการตาย อย่างนี้แล้ว กรรมฐานนั้นท�ำให้เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความคลายก�ำหนัด เกิดผลที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับจิตใจได้ ที่จริงนิมิตนี้เป็นเครื่องเตือนใจ ให้เราเห็นจริงตามความ ด�ำริของใจ เรียกว่าเป็นเครื่องยืนยันในความด�ำริ ให้เกิดความ สลดสังเวชในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าเราเพ่งดวงไฟอาจเห็น เป็นแสง แสงนั้นถ้าเพ่งไปเรื่อยๆจะเกิดความสว่าง เพ่งไปจุด ไหนก็เกิดความสว่าง อาจเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ในสิ่งที่เราเพ่งไป ถ้าไม่รู้ เท่าทัน อาจคิดว่าไปเห็นนรกบ้างสวรรค์บ้าง เห็นขุมทรัพย์บ้าง คิดว่าเป็นจริงเป็นจัง แต่มันก็เป็นเฉพาะความด�ำริของใจ เราต้อง อาศัยประสบการณ์แยกแยะ 22
ถาม : ปีติกับสุขเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ตอบ : ปีติกับสุข คล้ายคลึงกัน ใกล้เคียงกัน แต่ก็แตก ต่างกันตามวาระ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเหตุ ส่วนหนึ่งเป็นผล ปีติ เป็นอาการอิ่มใจ เป็นเหตุ สุขเป็นผล คล้ายกับเรากินอาหาร ความอิ่มเป็นเหตุ ความสุขเป็นผล เป็นลักษณะที่อยู่ใกล้ชิดกัน มาก แต่แยกแยะกัน ส�ำหรับผู้ปฏิบัติ ถ้าจิตสงบตัดกระแสของนิวรณธรรม ได้ จะประสบกับปีติคือความอิ่มใจ หรือแม้แต่ว่าเราท�ำสิ่งใดสิ่ง หนึ่งส�ำเร็จ เช่นสอบปริญญาหรือสอบเข้าท�ำงาน เมื่อเราสอบได้ ความตั้งใจของเราส�ำเร็จความประสงค์ เกิดปีติเหมือนกัน เกิด ความอิ่มใจ และเกิดความสุขความสบายใจ ผู้ปฏิบัติสมาธิก็ เหมือนกัน มีความหวังอยากจะให้สงบ เมื่อเกิดความสงบขึ้นมา ก็เกิดปีติคือความสมหวังความอิ่มใจ แล้วความสุขก็ตามมา 23
ถาม : เคยได้รับฟังมาว่า การร้องไห้เสียใจในเวลาที่ บิดามารดาตายนั้น เป็นโมหะจริงหรือไม่ ตอบ : ตามจริงก็เป็นโมหะ คือเรามีความเสียใจ ความ ทุกข์ใจ คือความพลัดพราก แต่ก็เป็นปกติของปุถุชนที่จะต้อง แสดงออก เพราะว่าเรามีบิดามารดา แล้วก็มีความรักในบิดา มารดา หรือเป็นลูก เป็นหลาน เป็นสามี หรือภรรยาก็เหมือนกัน ถ้าวันใดวันหนึ่งที่มีการตายพลัดพรากจากกัน สูญเสียในสิ่งที่ ตนเองรัก ผูกพัน ความเสียใจมันเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า ไปหลงในอารมณ์เสียใจ ความเสียใจคล้ายเป็นกองไฟชนิดหนึ่ง เราไม่รู้จักวิธีดับ มีแต่รู้จักวิธีเสริม คือคิดในเรื่องนั้นอยู่ตลอด เอาเรื่องผิดหวังนั้น เป็นอารมณ์ของจิต จิตของเราก็หลงไปตามอารมณ์ความเสียใจ ความสูญเสีย โมหะคือความหลงความไม่รู้ หลงในอารมณ์เสียใจ อารมณ์ผิดหวัง อารมณ์สูญเสีย ใช้เวลาอยู่ที่นั่นนาน บางที 3 วัน 4 วัน สติก็ยังไม่กลับคืนมา บางทีก็ใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี 24
การที่ไม่มีสติกลับคืนมา ปล่อยจิตไปตามอารมณ์ความ สูญเสีย ก็เรียกว่าเป็นโมหะ เป็นปกติของคนอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็น ความผิดอยู่ คือท�ำให้เกิดทุกข์ แม้แต่พระโสดาบันก็ยังมีความ เศร้าโศก มีความเสียใจ มีความพิรี้พิไรเหมือนกัน เป็นธรรมที่ เรียกว่า ละได้ยาก ละได้เฉพาะพระอนาคามี เพราะพระอนาคามี ท่านไม่ยึดติดในกามคุณ พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรียกว่าจิตใจของท่านพ้นจากกามคุณ ไม่ยึดติดในบุคคล ในสัตว์ พ้นจากบุคคลในโลก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลกับสัตว์ ท่านจะไม่มีความข้องเกี่ยว เวลาพลัดพราก อะไรเกิดขึ้น ท่านก็ ไม่หวั่นไหวเพราะจิตใจท่านพ้นไปก่อนแล้ว แต่พวกเราทั้งหลาย ยังมีความยึดมั่นถือมั่น ทีแรกก็ยึดติดในตัวตนว่าเป็นตัวเรา เป็น ของเรา ต่อมาก็ส�ำคัญในบุคคลใกล้เคียง เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นผัว เป็นเมีย เป็นลูก เป็นหลาน มีความผูกพัน ความ ยึดติดว่าเป็นของของเราในลักษณะอย่างนี้ เมื่อมีการพลัดพรากก็ เกิดความผิดหวัง เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ก็ ถื อ ว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น เครื่ อ งเตื อ นใจเราชนิ ด หนึ่ ง พระพุทธเจ้าท่านว่า ในช่วงระยะเวลากัปป์หนึ่ง บุคคลใดก็ตาม จะไม่เคยเกิดเป็นพ่อเป็นแม่เป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติกันนั้นไม่มี พ่อแม่ก็ตาม พี่น้องก็ตาม ตามเป็นจริงแล้วก็เรียกว่าสร้างกรรม ร่วมกัน แล้วก็มาเกิดร่วมกัน เลยมีการอุปการะแก่กันและกันใน ภพนั้นชาตินั้น ภพภูมิแต่ละภพภูมิ จึงผลัดเปลี่ยนกันท�ำหน้าที่ วาระต่างๆ ไม่แน่ไม่นอน ถ้าคิดถึงในแง่นี้ ก็จะสามารถคลาย 25
ความโศกเศร้าพิไรร�ำพันได้ เพราะว่าชาตินี้เราเกิดมาร่วมกัน พ่อ แม่ตายไปก่อน หรือว่าลูกตายไปก่อน หรือว่าหลานตายไปก่อน ถือว่าเราก็ต้องท�ำใจเอาไว้ ชาติหน้าก็ไม่แน่ เราอาจจะเกิดเป็น พ่อเป็นแม่ หรือเป็นพี่เป็นน้องกันอีกก็ได้ ฉะนั้น ถ้ามันเกิดความ ทุกข์ เราก็ต้องพยายามปลดเปลื้องด้วยวิธีการต่างๆ ถ้าเราไปข้อง ในจิตใจของเรา ไปฝังอยู่ในอารมณ์ความสูญเสียจะท�ำให้เกิดโรค เกิดภัย ในทางการแพทย์เขาว่า ความเสียใจความผิดหวังนี่มัน จะไปหลั่งสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลร้ายต่อร่างกาย ท�ำให้เกิดโรคได้ ส่วนความสมหวัง ปีติ ความสุข นี่ก็จะไปหลั่งสารอีกชนิดหนึ่งใน ร่างกาย ท�ำให้เกิดประโยชน์ บางทีก็ยับยั้งโรคภัย ถ้าผู้บ�ำเพ็ญจิต เป็นสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ จิตสงบ มันจะเป็นคุณประโยชน์ จะ ช่วยได้อีกทางหนึ่ง
26
ถาม : บุคคลที่กล่าวอ้างว่าเป็นผู้แก้กรรมได้นั้น จริง หรือไม่
ตอบ : แก้กรรมนี่พูดตามจริงก็คล้ายกับว่าแก้ได้อยู่ แต่ มันไม่เต็ม เป็นลักษณะแก้ที่ปลายเหตุ สมมติว่าคนนี้เคยท�ำกรรม ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเอาไว้ แล้วก็ผลของกรรมมันเกิด ขึ้น แล้วก็ไปท�ำพิธีแก้กรรม ในทางพุทธศาสนาของเราแก้กรรมก็ คือแนะน�ำให้คนนั้นไปท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรรมดีขึ้นมา อย่าง การให้ทาน การรักษาศีลห้า ศีลแปด หรือ กุศลกรรมอันใดอัน หนึ่ง ที่มันคล้ายกับว่า มันจะมีพลังในการไปต้านกระแสวิบาก อันเป็นความไม่ดีความชั่วร้าย อย่างนี้ก็สามารถที่จะเกิดความ เปลี่ยนแปลงในบุคคลนั้นได้ แต่ไม่ใช่ให้ครูบาอาจารย์หรือว่า บุคคลใดก็ตามท�ำให้แก้ให้ ไม่มีใครที่จะสามารถไปแก้กรรมให้ ทุกคนได้ เพียงแต่ว่าแนะอุบายและวิธี ต้องเราแก้เอง เมื่อเราไป ท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเป็นกุศล จิตใจของเราก็จะไปข้อง เกี่ยวอยู่กับสิ่งที่เรากระท�ำ จิตใจก็ไม่ได้ไปรับทุกข์ในสิ่งที่มันเกิด ขึ้นจากอดีต และบางทีด้วยอ�ำนาจบุญกรรมที่เราท�ำขึ้นมาใหม่ มันก็จะไปเริ่มก่อตัวในลักษณะเป็นแนวทางความดีขึ้นมาแทนที่ วิบากที่ไม่ดี ก็อยู่ในฐานะที่ท�ำได้ แต่ไม่ใช่ว่าได้ทุกอย่าง 27
ถ้าเป็นกรรมที่หนักจนเกินไป ก็แก้ไขไม่ได้ อย่างอนันต ริยกรรม เรียกว่ากรรมอันหนักไม่สามารถมาแก้ที่ปลายเหตุได้ ก็แล้วแต่วิบากกรรม หนักหรือเบา เป็นเรื่องที่เราจะถือเอาเป็น ประมาณว่าต้องได้เหมือนกันไม่ได้ ถ้าเรารู้ว่าเราท�ำอะไรไว้ ภายหลังถ้าเราส�ำนึกผิดแล้วขอ อโหสิกรรม ก็เป็นเหตุให้ความวิตกกังวลผ่อนคลายลงเหมือนกัน เป็นวิธีหนึ่งท�ำให้จิตใจของเราสบายขึ้นมา แต่กรรมบางอย่างถึง ขอขมาแล้ว ท่านจะให้อภัยแล้ว ก็ยังได้รับเศษแห่งกรรมอยู่ ก็ ต้องรับไป กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม สักวันหนึ่ง วิบากมันจะ หมดไป คล้ายกับน�้ำมันกับตะเกียง หรือว่าเทียนไขกับไส้เทียนไข เมื่อมันจุดแสงสว่างขึ้นมา วันหนึ่งหมดเชื้อไฟ มันก็ดับไปได้ กรรมดี กรรมชั่ว เมื่อหมดเหตุ ผลก็ดับไปเหมือนกัน วิบากกรรม ชั่วเราก็อยากจะให้มันหมดเร็วๆ แต่วิบากกรรมดีก็ไม่อยากให้มัน หมด เลยเกิดความทุกข์ใจ แต่ถ้าเรายอมรับวิบากหรือว่ายอม รับผล ถือว่าเป็นสิ่งที่เรากระท�ำเอาไว้ตั้งแต่อดีต วันหนึ่งมันก็หมด ได้ วิบากคือผลจากการกระท�ำของพวกเรานี่แหละ เมื่อมันหมด ก็ พ้นไปได้ ความสุขความทุกข์เป็นวิบาก แต่การกระท�ำคือกุศลและ อกุศลนั่นเป็นเหตุ การกระท�ำตั้งแต่อดีตเป็นเหตุ เมื่อมันหมดเหตุ แล้ว ผลมันก็หมด เมื่อจะท�ำให้ทุกข์หมดไป ก็ต้องดับที่เหตุแห่ง 28
ทุกข์ คือความอยาก ฉะนั้นการแก้กรรมนี้ จึงเป็นสิ่งที่แก้ที่ใจ สมมติว่าใจเรามีความทุกข์กับลูก กับหลาน กับอะไรต่างๆ เราก็ แก้ที่ใจจะง่ายกว่า อะไรจะมันเกิดก็ให้มันเกิดไป เมื่อมันหมดเหตุ ผลมันก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเหตุมันยังไม่หมด ก็ต้องรับผลไปก่อน ถ้าเราอยากพ้นจากความทนทุกข์ต่างๆ คิดแต่เรื่องนั้นจน ไม่สามารถที่จะปลดปล่อยหรือปล่อยวางได้ ก็ต้องหาอารมณ์ใหม่ คือไปสร้างคุณงามความดี วิธีง่ายๆ เช่นเปลี่ยนไปอยู่ในสถานที่ อื่น ไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ อาจจะไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ เรียกว่า เคลื่อนสถานที่ แล้วก็พบปะบุคคลใหม่ๆ จิตมันจะถอนจากความ ยึดติดในอารมณ์ที่เราผูกพันอยู่ ไปเห็นคนโน้นคนนี้ คิดเรื่องอื่น ขึ้นมาทับถมเรื่องเก่า ความทุกข์ก็พลอยดับไป ไปเห็นเรื่องราว เห็นเหตุการณ์อะไรต่างๆ มันก็เปลี่ยนแนวความคิดเรา ก็สามารถ ที่จะยกจิตออกจากอารมณ์ที่เราข้องอยู่ได้ อันนี้เป็นวิธีแบบชาว บ้านเขาท�ำกัน แต่วิธีปฏิบัติทางพุทธศาสนาคือ สิ่งไหนที่มันข้อง เราก็แก้ไขที่จุดนั้น เราก็มีความเพียรมีสติ จดจ่อลงไปในจุดนั้น แล้วศึกษาหาความจริง แล้วละ ถอนความยึดติดต่างๆ ในทาง พุทธศาสนาคือแก้ที่เหตุที่เกิดความทุกข์ แต่ถ้าเราไม่อยากแก้ที่ จุดที่มันเกิด หรือว่าไม่มีความสามารถ ก็พยายามเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงอารมณ์ ยักย้ายสถานที่ หรือเปลี่ยนแปลงบุคคล ในการคบหา เช่นไปหาครูบาอาจารย์ หรือไปพบเพื่อนที่เป็นนัก ประพฤติปฏิบัติ ได้ยินแง่ธรรมะต่างๆ ความคิดของเราก็เปลี่ยน ไป ก็ดับทุกข์ได้ 29
บุคคลที่บอกว่าแก้กรรมได้นั้นจะเรียกว่าไม่จริงก็ได้ จะ เรียกว่าจริงก็ได้ เพราะแก้ได้ในการแนะน�ำ แต่ไม่ใช่ว่าจะแก้ได้ ทุกอย่าง เป็นกุศโลบายก็ว่าได้ ก็ท�ำให้เกิดความสบายใจ ถ้าเราท�ำกรรมไม่ดี ถ้าเราจะแก้ ก็ต้องแก้ที่เหตุ คือเราก็ เลิกเสีย เราเป็นผู้เลิกเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นเลิก เรารู้ว่ามันไม่ดี เรา ก็เลิก ก็เป็นการแก้กรรมชนิดหนึ่ง อย่างกรรมมุสาวาท ถ้าสมมติ เราท�ำจนเป็นนิสัย ผลของมันคือวาจาของเราจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ คน จะไม่ค่อยเชื่อฟัง อันนี้เป็นผล ถ้าเราเลิก เลิกใหม่ๆนี่คนก็ยังไม่มี ความไว้เนื้อเชื่อใจอยู่ ยังไม่มีความเชื่อถือ ถึงจะพูดเรื่องจริงก็ ไม่มีใครเชื่อ เรียกว่าเป็นผลสืบเนื่อง หรือเป็นผลข้างเคียงจากที่ เรากระท�ำมา และกรรมบางอย่างส่งผลเร็ว บางอย่างส่งผลช้า มัน ก็ไม่แน่นอน กรรมที่เราเสวยกันในปัจจุบัน เป็นผลมาจากอดีต ในชาติปัจจุบันก็มี ในอดีตชาติก็มี อย่างปาณาติบาต ถึงเราจะ สมาทานศีลแล้วขณะนี้ชาตินี้ แต่วิบากของปาณาติบาตที่เราเคย ท�ำแต่อดีต อาจส่งผลถึงเราในปัจจุบัน เช่นป่วยไข้ เป็นโรค เป็น ภัย ได้รับความทุกข์ พิกลพิการ หรือท�ำให้อายุสั้น ส่วนกรรมใน ปัจจุบันไปส่งผลในอนาคตก็มี ฉะนั้น การแก้กรรม เราต้องแก้ด้วยตนเอง ผู้อื่นไม่ สามารถจะแก้ได้ ให้เชื่อจุดนี้ การกระท�ำทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราท�ำ ไม่ดี เราก็แก้ แก้โดยการเลิกการละ นี่คือการแก้กรรมในทางพุทธ ศาสนา ไม่ใช่ว่าไปท�ำดอกไม้ธูปเทียนท�ำกระทงไปปล่อยตาม 30
แม่น�้ำ ที่เขาพูดว่าปล่อยกรรมปล่อยเวร อันนั้นเป็นอุบายที่ท�ำให้ เกิดความสบายใจเฉยๆ ท�ำให้เราสบายใจ เป็นหลักจิตวิทยาชนิด หนึ่ง แต่วิบากกรรมก็ยังมีอยู่นั่นเอง บางสิ่งบางอย่างต้องอาศัยว่า หมดเหตุ หมดปัจจัย วิบากเหล่านั้นจึงจะหมดได้ เราไม่ต้องไปคิด อะไรมาก ผลของกรรมตั้ ง แต่ อ ดี ต เราก็ รั บ ไป จะเป็ น ความทุ ก ข์ ก็ตามความสุขก็ตาม เราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เราท�ำ เรียกว่า รับ ผิดชอบในสิ่งที่เรากระท�ำ ผิดก็รับ ชอบก็รับ ถ้าเรารับแต่ชอบ อย่างเดียวผิดไม่รับก็เรียกว่าไม่เป็นธรรม การที่เรารู้จักรับผิดชอบ นี่แหละเราจะสามารถแก้ไขได้ สิ่งไหนผิดเราก็ส�ำนึกว่ามันผิด แล้วเราก็ละเสีย สิ่งไหนมันชอบมันดีแล้ว มันส่งผลดี ท�ำต่อไป อย่างนี้เรียกว่ารับผิดชอบ พระพุทธเจ้าสอนให้ละบาปบ�ำเพ็ญบุญ ถ้าเราไม่เชื่อค�ำ สอนของพระพุทธเจ้า เราท�ำบาปแล้วให้คนอื่นไปแก้ให้ ไปละให้ ก็ผิดจากหลักธรรม ผิดจากหลักความจริง ท่านสอนว่าใครท�ำดี ก็ได้รับผลคือความดี ใครท�ำชั่วก็ได้รับผลคือความชั่ว อันนี้เป็น หลักตายตัวของมวลสัตว์ทั้งหลาย
31
ถาม : ถ้าต้องการเป็นพระโสดาบันจะต้องปฏิบัติตน อย่างไร
ตอบ : คุณธรรมของพระโสดาบันนี้ ท่านจะละสักกาย ทิฏฐิเป็นประการแรก สักกายทิฏฐิ คือ ความส�ำคัญว่าร่างกาย นี้เป็นตัวเราจริงๆ ถ้าเราเห็นความเกิดขึ้นและความสิ้นไปเสื่อม ไปของร่างกาย เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จิตใจก็คล้ายกับอยู่ในร่างกาย แต่ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ เมื่อเกิดอาการที่เป็นความแก่ ความเจ็บความตายปรากฏขึ้นกับร่างกาย จิตใจเราก็ยังมีสติคอย ยับยั้งชั่งใจไม่ให้ทุกข์โทมนัสครอบง�ำจิตจนเกินไป การละสักกาย ทิฏฐิเป็นด่านแรกในการที่จะเข้าสู่กระแสของพระโสดาบัน ต้อง รู้จักเจริญวิปัสสนา ต้องยึดร่างกายนี้เป็นหลักในการที่จะพินิจ พิ จ ารณาให้ เ กิ ด ความกระจ่ า งจนเห็ น ความเสื่ อ มสิ้ น ไปของ ร่างกาย 32
การละวิจิกิจฉา คือ ต้องไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ในค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องท�ำศรัทธามีความเชื่อมั่นในคุณ ของพระรัตนตรัย อย่างที่เรียกว่ายอมมอบกายถวายชีวิต คล้าย กับท�ำได้ทุกอย่างในสิ่งที่เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้า โดยที่เรา ปฏิบัติจนเกิดผลจึงหมดความสงสัยในธรรมะและความสงสัยใน ภาคปฏิบัติ สภาวะพุทธะของผู้ปฏิบัติ คือ ดวงผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเรามีความเพ่ง มีสติ มีสัมปชัญญะในการดูกาย จนเห็นความ เสื่อมไปสิ้นไป จะเกิดดวงปัญญาขึ้น เกิดดวงตาเห็นธรรมก็ว่า ได้ คล้ายกับคนตาบอดได้ดวงตาที่ดี เมื่อบุคคลมีกระแสแห่ง ดวงปัญญาหรือดวงธรรมะเกิดขึ้นในจิต ก็จะไปละสักกายทิฏฐิ และความเคลื อ บแคลงสงสั ย ในคุ ณ ของพระรั ต นตรั ย ให้ ห มด สิ้นไป และจะละสังโยชน์ชนิดหนึ่งเรียกว่า สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติในพิธีกรรมต่าง ๆที่เป็นของปลีกย่อย ที่ไม่ใช่สาระแก่นสาร กระแสของพระโสดาบันนี้คล้ายกับจะพลิกความเห็นของ จิตเราให้เป็นอีกฐานะหนึ่ง บางคนคิดว่ารักษาศีลแล้วก็เป็นพระ โสดาบัน ไม่ใช่ จิตใจเราต้องมีความเห็นซึ่งไม่เหมือนแต่ก่อนขึ้น มา เคยส�ำคัญจิตไปยึดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า เป็นตัวเรา เป็นของ เราจริงๆ จังๆ แต่พอรู้ เห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมสิ้นไปใน สังขาร ความส�ำคัญผิดอันนั้นก็ค่อยๆ คลายออกไปและหมดไป 33
เกิดความส�ำคัญที่ถูกต้อง เห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดว่าเป็นเราเป็น ของเรา โดยการที่เรารู้แจ้งในการเพ่งในการพินิจพิจารณาของ เรา ธรรมะที่เกิดขึ้นกับพระโสดาบันคือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เรียกว่า เกิดดวงปัญญา เป็นปฏิปทาที่จะเข้าสู่พระโสดาบัน ในสมัยพุทธกาล บางคนได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงให้เหมาะกับจริตนิสัย แม้จะเป็นบทเดียวบาทเดียว ก็เกิด ดวงปัญญา เกิดความรู้ขึ้นมาในขณะฟังธรรมได้ แต่ทุกวันนี้ ครูบาอาจารย์ท่านก็ต้องมีความช�ำนิช�ำนาญ แล้วรู้จักปฏิปทา ของผู้ที่ไปศึกษา คนที่มีความสามารถในการที่จะชี้แนะ หรือ แสดงธรรมะให้เกิดดวงสว่างขึ้นในจิตของเราอาจมีน้อย หรือเรา อาจจะหาไม่ได้ ฉะนั้นวิธีปฏิบัติที่จะเข้าสู่กระแส ก็ต้องหยิบยก เรื่องกายนี้เป็นส�ำคัญ ถ้าเจริญอานาปานสติ เวลาสงบแล้วก็ พยายามหยิบยกเอากรรมฐาน คือ ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง มาเพ่งมา พินิจพิจารณาให้เกิดความรู้ เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของร่างกาย เป็นเป้าหมายในการพินิจพิจารณา
34
ถาม : จ�ำเป็นหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติให้ครบทั้งท�ำบุญ ท�ำทาน ถือศีล และปฏิบัติธรรม ถ้าเราไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม จะเพิ่ ม การท� ำ บุ ญ ท� ำ ทานและถื อ ศี ล ให้ ม าก จะสามารถ ทดแทนกันได้หรือไม่ ตอบ : ก็สามารถทดแทนกันได้เหมือนกัน ที่จริงการให้ ทาน การรักษาศีล ก็เป็นการปฏิบัติธรรมชนิดหนึ่ง เพราะสอง อย่างนี้เป็นเครื่องมือในการที่จะท�ำให้ความโลภความโกรธของ เราลดน้อยลง ก็เป็นวิธีหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ท่านจึงสอนว่า คนที่อยู่ในฐานะไหนก็ต้องท�ำในฐานะนั้น เพื่อว่า จะได้รับประโยชน์ การให้ทานคือการเสียสละ มันจะไปช�ำระล้าง ความเห็น แก่เนื้อแก่ตัว ความเอารัดเอาเปรียบของสังคมนี้ให้ลดน้อยลง และมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีเมตตา การรักษาศีลก็เหมือนกัน เรา รักษาพฤติกรรมของเราไม่ให้เกิดโทษเกิดภัยแก่คนอื่น เป็นการ ปฏิบัติธรรมไปในตัว ไม่ใช่ว่าจะไป นั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมอย่าง เดียว 35
สมัยครั้งพระพุทธเจ้า บางทีคนบรรลุธรรมในขณะให้ ทาน เสียสละ และได้ฟังธรรม จิตใจเกิดสว่างไสว เกิดดวงปัญญา ขึ้นก็มี การรักษาศีลก็เหมือนกัน บางทีปฏิบัติไปนานแต่ความ พร้อมยังไม่เกิด แต่เมื่อจิตระลึกถึงศีลของตนที่ประพฤติปฏิบัติ อย่างสมบูรณ์ จะเป็นศีลห้าก็ดี ศีลแปดก็ดี เกิดความภูมิใจอิ่มใจ จนเกิดเป็นดวงสติ เกิดเป็นดวงปัญญา ท�ำให้วิปัสสนาญาณเกิด ขึ้นก็ได้ หรือเราท�ำบุญให้ทานอยู่บ่อยๆ จนความโลภในจิตใจ ของเราน้อยลง ก็ท�ำให้จิตใจของเราสว่างไสวขึ้นก็มี แม้แต่ครูบาอาจารย์บางองค์ หรือสมเด็จพระสังฆราช ของประเทศจีนในสมัยก่อนองค์หนึ่ง ท่านปัดกวาดลานวัดทุกวันๆ เป็นเวลานานหลายปี แต่วันที่ท่านจะเกิดดวงปัญญานั้น ท่าน ปัดกวาดใหม่ๆท่านก็มองย้อนกลับหลังไปในส่วนที่ท่านปัดกวาด เสร็จแล้ว ก็มีความพอใจว่าผลงานของเรานี้ท�ำถนนหนทางให้ เกิดความสว่างไสว สะอาดสะอ้าน ไม่มีขยะ ท่านก็น้อมเข้ามา ในจิต เห็นความเศร้าหมองในจิต เห็นว่าถ้าก�ำจัดสิ่งชั่วร้ายมัว หมอง หรือความเห็นผิดกิเลสตัณหาทั้งหลายให้หมดไปจากจิต จิตก็คงจะสว่างไสว และท่านก็สามารถละความเศร้าหมองนั้นได้ เข้าสู่กระแสธรรมได้ นี่ก็ด้วยเหตุที่ท่านปัดกวาดทุกวันใช้เวลา หลายปี ก็เรียกว่าเกิดผลานิสงส์ 36
การให้ ท านการรั ก ษาศี ล นี้ เราท� ำ ทุ ก วั น ๆก็ เ ป็ น อุ บ าย ชนิดหนึ่งที่จะท�ำให้เราเกิดความรู้ด้วย เป็นสิ่งจ�ำเป็นเพราะเป็น เครื่องมือของชาวพุทธทั้งหลายที่จะปฏิบัติกัน ก็ถือว่าเป็นการ ปฏิบัติธรรม แต่การฝึกจิตก็เป็นสิ่งหนึ่งที่พวกเราต้องเรียนรู้ ให้ พยายามก�ำหนดดู ยืน เดิน นั่ง นอน ดูร่างกาย ดูพฤติกรรมการ เคลื่อนไหวไปมา ดูเรา ดูคนอื่น ก่อนหลับก่อนนอนก็ต้องศึกษา การเคลื่อนไหวไปมาของจิตใจของตัวเองด้วย
37
ถาม : การอธิษฐานจิตส�ำคัญอย่างไร ควรท�ำก่อน หรือหลังท�ำสมาธิ ตอบ : การอธิษฐานจิตคือการตั้งเป้าหมายในการที่จะ ท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะกล่าวเป็นภาษาหรือไม่กล่าวก็ได้ ถ้ามีความ ตั้งใจก็เรียกว่า อธิษฐาน ถ้าเราจะอธิษฐานในใจว่า เราจะรักษาศีล เว้นจากการ ฆ่า จากการลัก จากอะไรต่างๆ จะท�ำตามนั้น ก็ต้องท�ำให้ได้ เกิด เป็นผลส�ำเร็จ มันก็เป็นศีลขึ้นมา ท�ำก่อนก็ได้ท�ำหลังก็ได้
38
สมมติว่าจะนั่งสมาธิก็ตั้งจิตอธิษฐาน ข้าพเจ้าจะปฏิบัติ ตามธรรมะค� ำ สอนของพระพุ ท ธเจ้ า ด้ ว ยอ� ำ นาจบุ ญ กุ ศ ลทั้ ง หลายที่เคยกระท�ำบ�ำเพ็ญมาจงมารวมเป็นตบะในการที่จะท�ำให้ จิตใจของข้าพเจ้าประสบผลคือความสงบร่มเย็น และมีความรู้ แจ้งเห็นจริงในธรรมะของพระพุทธเจ้า พอตั้งใจอย่างนั้นแล้วก็ ต้องประพฤติปฏิบัติไป หรื อ ว่ า เรานั่ ง สมาธิ เ สร็ จ แล้ ว อธิ ษ ฐานจิ ต ก็ ไ ด้ ด้ ว ย อ�ำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กระท�ำในครั้งนี้ จงไปส�ำเร็จแก่คนนั้นคน นี้ หรือว่าจงเป็นปัจจัยให้ไปสู่นิพพานในเบื้องหน้า ก็ได้
39
ถาม : การให้ทานเป็นอาหารกับคนยากจนหรือคน ทั่วไปกับการใส่บาตร ได้ผลานิสงส์เท่ากันหรือไม่ ตอบ : ผลานิ ส งส์ นี่ จ ะแตกต่ า งกั น ที่ 1.บุ ค คลผู ้ ใ ห้ 2.บุคคลผู้รับ และ 3.วัตถุทาน ถ้าวัตถุทานเราหามาได้ด้วยความ สามารถของเรา ไม่ได้ไปฆ่าไปลักไปโกงเขามา เรียกว่าเป็นวัตถุ ทานที่บริสุทธิ์ และเราเป็นผู้มีศีล หรือผู้รับของของเราเป็นผู้มีศีล ด้วย ก็จะมีผลานิสงส์มาก คล้ายกับเราปลูกต้นไม้ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ดี ในดินที่ดี และ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยน�้ำ ต้นไม้นั้นจะเจริญงอกงาม จะท�ำให้ เกิดดอกออกผลได้ผลผลิตเยอะ แต่ถ้าต้นไม้พันธุ์ไม่ดี ดินที่ปลูก เป็นดินที่ไม่มีปุ๋ยหรือว่าน�้ำที่จะรดความชื้นไม่เพียงพอ ต้นไม้นั้น ก็ไม่เจริญเติบโต 40
ถ้าเราอยากจะให้ทาน ให้ได้ผลานิสงส์มาก เราก็ต้อง ท�ำให้เกิดความสมบูรณ์ คือ วัตถุทานต้องมีความบริสุทธิ์ ตัว เราต้องพยายามมีศีล และให้ทานแก่ผู้มีศีล แต่ส่วนที่เราให้กับ บุคคลทั่วไป สงเคราะห์คน สงเคราะห์สัตว์ ก็เป็นสิ่งจ�ำเป็นเหมือน กัน ถ้าเรามีความพร้อม ถึงแม้ว่าจะมีผลานิสงส์น้อย ก็ควรท�ำ เพราะคล้ายกับเราหาเงิน ขายสิ่งของ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องได้ก�ำไร เยอะๆจึงจะท�ำ ได้ก�ำไรน้อย แต่ท�ำอยู่บ่อยๆ เป็นประจ�ำก็เกิดผล ก�ำไรมากได้ ขอให้อย่าประมาทในผลของทาน ถ้าคิดอยากจะได้ แต่บุญใหญ่ๆ บุญมากๆ แล้วชีวิตของเราก็ล่วงเลยไป อาจหา โอกาสที่จะท�ำบุญไม่ได้เลยก็มี
41
ถาม : การท�ำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วแต่นับถือ คนละศาสนา จะได้รับบุญที่อุทิศไปหรือไม่ ตอบ : อันนี้ก็แล้วแต่สภาวะของผู้ที่ตายไป บางคนตาย ไป ไปอยู่ในฐานะที่ไม่มีโอกาสจะรับรู้ส่วนบุญของผู้ที่อุทิศไปให้ ก็ไม่สามารถจะรับได้ แต่ถ้าอยู่ในฐานะหรืออยู่ในสถานที่ที่พอรับ รู้ได้ และผู้ที่อุทิศส่วนบุญมาให้ก็เป็นญาติ หรือมีความเกี่ยว พัน มีความผูกพันกันทางใจ ถึงจะเป็นคนนอกศาสนา แต่มีความ ยินดีในการกระท�ำของบุคคลนั้น บุญก็ย่อมไปส�ำเร็จในจิตใจของ เขาได้เหมือนกัน เพราะบุญนี้ไม่ได้จ�ำเพาะเจาะจงว่า เป็นของพระพุทธ ศาสนาอย่างเดียว เป็นของกลางๆ เป็นสากล เป็นสิ่งที่จ�ำเป็น ส�ำหรับจิตของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะแต่กับคนเท่านั้น คล้ายกับเงินทอง เรียกว่าเป็นของที่ใครๆ ต้องการ จะเป็นคน ศาสนาไหนก็ใช้จ่ายได้ 42
ถาม : มารดานับถือศาสนาอื่น ได้สั่งลูกไว้ก่อนหมด ลมว่า ห้ามไม่ให้ลูกเปลี่ยนศาสนา หากลูกไม่ท�ำตามค�ำสั่ง จะเป็นลูกที่อกตัญญูหรือไม่ และหากถูกสาปแช่งจะแก้ไข กรรมอย่างไร ตอบ : ค�ำว่า อกตัญญู คือ ไม่รู้บุญคุณของท่านและไม่รู้ จักตอบแทน ถ้าเรารู้จักตอบแทน รู้จักบุญคุณของคุณพ่อคุณ แม่ แล้วตอบแทนด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ก็เรียกว่าเป็นคนมีกตัญญู กตเวทิตาคุณ แต่สมมติพ่อแม่ของเรามีมิจฉาทิฐิ อยากจะให้เราไป ท�ำสิ่งที่ไม่ดี ไปฆ่าคน หรือว่าไปลักสิ่งของ หรือไปโกงบ้านโกง เมือง เราไม่ท�ำตามเพราะรู้จักว่าสิ่งไหนเป็นความผิด ก็ไม่ชื่อว่า เป็นผู้อกตัญญู เพราะเป็นค�ำสั่งสอนที่ประกอบไปด้วยความไม่ ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ถ้าท�ำตามก็จะได้รับผลคือความ ทุกข์ความเดือดร้อน 43
ในทางพระพุทธศาสนาก็ต้องเลือกเฟ้น ถึงจะเป็นคุณ พ่อคุณแม่หรือเป็นใครก็ตาม ถ้าสั่งให้ท�ำบาปท�ำกรรม ท�ำความ ชั่ว เราก็ควรเลือกในการที่จะไม่ท�ำ ใครจะมาสาปแช่งขนาดไหน ถ้าเราท�ำดีประพฤติดีอยู่ ค�ำสาปแช่งของเขาก็ไม่สามารถที่จะ ก่อให้เกิดผลอะไรได้ คล้ายกับเราได้กินอาหารชนิดดีๆ มีความ อิ่มหน�ำส�ำราญ ใครจะไปต�ำหนิติเตียนว่า โอ้ เรากินยาพิษ กิน ของแสลง ต่อไปนี้เราจะไส้ขาด เราจะตาย เราจะเป็นโรคนั้นโรค นี้ ก็เป็นความเห็นของเขาเฉยๆ ส่วนเรากินอาหารดีย่อมได้รับ ประโยชน์จากอาหารนั้น ให้เรายึดเอาความดีนั่นแหละเป็นเครื่อง ตัดสิน ตามหลักธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรายึดมั่นใน ความดี เพราะความดีนี้ไม่ใช่เป็นของใคร ใครท�ำใครปฏิบัติก็ย่อม ได้รับผลคือความสุข
44
ถาม : ในบทสวดมนต์มีข้อความว่า มัจจุราชซึ่งมี เสนามาก หมายความว่าอย่างไร ตอบ : มีเสนาก็คือ มีบริวาร ตัวมัจจุราชนั้นคือ ความ ตาย ความตายนี้มีอ�ำนาจมาก มีเพื่อนพ้องมีบริวารมากจนเรา ไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากสายตาของเขา จะอยู่ในที่ไหนก็ตาม ความตายก็ไปถึงได้ สามารถจะจับพวกเราส�ำเร็จโทษ เราไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นอุปมาอุปไมย ให้เราเชื่อว่าความตายนี้ ส�ำหรับผู้ที่เกิดมาจะต้องได้รับกันทุกคน
45
ถาม : เทพกับเทวดาเหมือนใช่ไหม ที่ว่าคนมีองค์ จริงหรือไม่ หรือว่าเป็นอุปาทาน ตอบ : ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง เป็นจริงก็มี เป็นคล้ายกับ อุปาทานของคนก็มี เพราะความคิดของเราทั้งหลาย เวลามันมี พลังหรือมีความสงบ ก็สามารถท�ำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้เหมือนกัน ผู้ปฏิบัติทั้งหลายนี่ บางทีเมื่อจิตสงบลง จิตเกิดความ พร้อมขึ้นมา สิ่งที่ฝังอยู่ในจิตมันจะผุดขึ้นมาเป็นรูป เป็นเทวดา บ้าง เป็นอะไรต่างๆ เกิดนิมิตขึ้นด้วยอ�ำนาจความด�ำริของจิต หรือความวิตกที่มีอยู่ก่อน อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง แต่ อีกส่ว นหนึ่งคือ เมื่อจิตของผู้นั้ น มี ความสงบระงั บ โดยที่ไม่เคยคิดไม่เคยด�ำริเอาไว้ก่อน บางทีก�ำหนดจิตออกไป จิต ดวงผู้รู้ของตนเองที่มันมีความรู้มีสภาวะที่คอยรับรู้สิ่งที่มาพาดพิง บางทีก็ไปเห็นสิ่งต่างๆ อย่างนี้ก็มี จึงไม่สามารถที่จะยืนยันว่า ถูกต้องเสมอไป 46
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ปฏิบัติจิตไปพาดพิงถึงสิ่งโน้นสิ่งนี้ แล้วไปส�ำคัญมั่นหมายจนเกิดความรัก ความชัง เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงขึ้นมาในภาพหรือในสิ่งที่เราเห็น อาจท�ำให้ เราไขว้เขวจากธรรมะได้ ก็ท�ำให้เสียเวลา บางทีก็เกิดส�ำคัญผิด เป็นผลเสีย แต่ถ้าเราเอาประโยชน์จากการเห็น ไม่หลง เห็นก็สัก แต่ว่าเห็น เพื่อน้อมเข้ามาเตือนจิตเตือนใจให้เกิดความสังเวช หรือเกิดความยืนยันว่า เออ ผู้ที่ท�ำคุณงามความดี แล้วเป็น เทวดาชนิดนั้นชนิดนี้ ท�ำให้เรามีก�ำลังใจในการประพฤติปฏิบัติ อย่างนี้ก็ได้ ฉะนั้น พวกที่ว่าเป็นองค์เทพ บางทีก็อาจมีส่วนจริง ตาม ปกติเหล่าเทพทั้งหลายที่มีศรัทธาในคนใดคนหนึ่งที่คล้ายกับว่า มีจริตนิสัยคล้ายกัน ก็อาจช่วยอารักขา หรือติดตามไปเหมือนกัน ถ้ามีเหตุบางสิ่งบางอย่างก็อาจหาวิธีเตือนในขณะที่เราหลับ หรือ อาจจะแสดงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เราสะดุดใจอย่างนี้ก็ได้ อันนี้สมมติ ว่ามันเป็นจริง ก็จะเป็นในลักษณะอย่างนั้น แต่บางทีก็เกิดจากความส�ำคัญผิดของเราเอง เกิดรับรอง ขึ้นมาด้วยตนเอง ก็ไม่แน่นอน ต้องอาศัยประสบการณ์ สังเกต ดี ๆ แล้วก็อย่าเพิ่งเชื่อคนโน้นคนนี้ เพราะ บางทีก็จริง บางที ก็เท็จ ฉะนั้นเห็นอะไรก็แล้วแต่ ให้สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น อย่าไป ส�ำคัญ อย่าไปให้ราคาในสิ่งที่เห็น เพราะจะท�ำให้จิตใจของเรา เกิดอุปาทาน เกิดความยึดในสิ่งที่เห็น แล้วก็เป็นภพเป็นชาติได้ 47
ขอให้เราเห็น ธรรมะ คือเห็นกายเห็นใจ เห็นรูปเห็นนาม แล้วก็เห็นความเสื่อมไปสิ้นไป จนถอนราคะ ตัณหาลงได้ จึง จะเป็นความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฐิ ถ้ามีความหลงส�ำคัญผิด ก็เป็นมิจฉาทิฐิ เกิดวิปลาสได้ ต้องระวัง
48
พระครูนิมิตวิริยานุกูล (สุบิน อุตฺตโม) วัดป่าบ้านหนองแวง ศรีสะเกษ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 12
ถาม : อุ บ าสกและอุ บ าสิ ก าสมควรปฏิ บั ติ ธ รรม อย่างไร
ตอบ : อุบาสก อุบาสิกา ก็คือโยมผู้ชาย โยมผู้หญิง คือ ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตจะไม่ เปลี่ยนแปลง เราเป็นชาวพุทธก็คือไม่หลงงมงาย ไม่เชื่อมงคลตื่น ข่าว หลักธรรมพื้นฐานเบื้องต้นคือเป็นผู้ที่มีความละอายต่อบาป อยู่ตลอด ในหลักพระพุทธศาสนาท่านกล่าวไว้ในคิหิปฏิบัติว่า อุบาสกอุบาสิกาให้เว้นมิจฉาวณิชชา การด�ำเนินชีวิต การค้าขาย ก็ดี จะไม่ไปเกี่ยวข้องขายยาบ้า สุรา ยาพิษ ศัสตรา ดักสัตว์ คือ มีศีลอยู่เป็นปกติ ความเป็นอยู่หรือเรียกว่าปฏิปทาก็ให้สม�่ำเสมอ พูดท�ำอะไรก็มีสติ เรื่องภาคปฏิบัติหลวงปู่ชาเคยให้ข้อคิดกับ ญาติโยมที่วัดป่าพงเป็นวัตรปฏิบัติของวิถีชาวพุทธว่า ตื่นเช้าขึ้น 49
มาเราก็พยายามที่จะเสียสละ คิดถึงความดี มีพระสงฆ์บิณฑบาต หน้าบ้านก็ใส่บาตรวันละทัพพีหรือวันละก้อน เป็นการสั่งสมใจเรา ให้เป็นบุญ ถึงวันพระวันอุโบสถจะอยู่ที่ไหนก็ตั้งจิตอธิษฐาน ข้อ ปฏิบัติเรารู้แล้ว ศีลอุโบสถก็อยู่กับเรา ไม่จ�ำเป็นต้องไปสมาทาน อยู่วัดหรือขอกับพระ มีวัตรปฏิบัติไม่ขาด เรียกว่าเป็นชาวพุทธ นี่คือสรุปโดยย่อ ฉะนั้นที่เราได้มาปฏิบัตินี่ให้ได้มั่นใจ ในความดีของเรา ท�ำๆ ไปให้ติดต่อกัน ไม่ต้องสงสัยแล้วลงมือ ปฏิบัติไปเป็นปฏิปทา
50
ถาม : ในกรณีที่เราเคยร่วมท�ำบุญร่วมทุกข์ร่วมสุข กับคนๆ หนึ่งไว้เยอะมากเป็นเวลานาน แต่เราไม่อยากเจอ เขาอีกในทุกๆชาติ เราจะต้องท�ำอย่างไร ตอบ : อันนั้นจะไม่ถูกหลักค�ำสอนพระพุทธเจ้าเลย เราปฏิบัติถ้าได้ตามใจก็ดีใจแต่ถ้าไม่ได้ตามใจก็เสียใจ มันผิด เหมือนกับได้ลูก หลวงปู่ชาบอกว่าตอนลูกยังเล็กน่ารักก็จูบกอด แต่พอลูกโตแล้วมันไม่ตามใจพ่อแม่ จะขับไล่ไสส่งให้หนีไปห่างๆ ไม่ปรารถนา ไม่ปรารถนามันก็เจอเพราะสร้างกรรมไปแล้ว ไม่ ปรารถนานี่มันไม่ถูกต้องนะ หมายความว่ามันทั้งแบกทั้งหาม เรื่องท�ำบุญอย่าไปคิดอย่างนั้น ถ้าเราท�ำดี ท�ำกับตัวเราจริงๆ มัน เป็นสมบัติของเราต่อไปข้างหน้า ไม่เกี่ยวกับคนอื่น อย่าไปคิดว่า เราจะพบหรือไม่พบ เพราะเราไม่ทราบ ท่านบอกว่าถ้าไปคิดเรื่อง ที่ได้ที่เสียที่ผ่านไปแล้วนี่คล้ายกับว่าขุดหลุมฝังเจ้าของ ไม่ต้องไป คิดอะไรให้ทุกข์ อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของ ตน สมมติเราคิดว่าเมืองกรุงเทพฯมีแต่คนวุ่นวายแล้วเราจะหนี จากกรุงเทพฯไป ถ้าไปคิดหนีอย่างนั้นเราจะไม่มีที่อยู่เลย คือโลก นี้ ใครเกิดมาก็พบอยู่อย่างนี้ไม่มากก็น้อย 51
ถาม : การสวดมนต์ช่วยแก้กรรมจริงหรือไม่ และ สวดมนต์ประจ�ำวัน ต้องสวดบทท�ำวัตรเช้า ท�ำวัตรเย็นหรือ ไม่ ตอบ : เรื่องสวดมนต์นั้นก็คู่กันไปในหลักการปฏิบัติด้วย แต่สมมติว่าไปสวดอ้อนวอน พอออกจากสถานที่ก็ไปกินเหล้า ไป ท�ำอะไรผิดกายวาจาจิต ถึงเวลามาก็มาสวด อย่างนี้เรียกว่าไม่สม ประกอบ ถ้าให้ประกอบกันเป็นพลังความดี การสวดก็ได้เพาะพลัง ก�ำจัดความขี้เกียจ และถ้าสวดแล้วมีสมาธิมีสติก็ท�ำให้เกิดความ สงบได้ คือก�ำจัดอารมณ์หยาบๆได้ เพราะฉะนั้นเวลาเราสวดเรา คิดถึงค�ำสอนพระพุทธเจ้า ยิ่งถ้าเรารู้ความหมาย ไม่ว่าสวดอะไร ก็ตามให้จิตน้อมไปเป็นอารมณ์อันเดียว ก็เกิดบุญ คือจะก�ำจัด ความโลภ โกรธ หลง อิจฉา พยาบาท และเกิดปีติจากการสาธยาย 52
ถาม : เวลาท�ำสมาธิ จิตไม่เคยนิ่งเลย เดินจงกรมก็ เช่นเดียวกัน จะท�ำอย่างไร ตอบ : เรื่อง นั่งสมาธิภาวนาให้จิตสงบ หลวงพ่อชาก็พูด ให้ฟังอยู่ว่า พูดน่ะมันง่าย แต่พอมานั่งแล้วมันไม่มีสมาธิหรอก มันฟุ้งซ่าน ไม่รู้พาไปไหน เราก็ต้องดูเหตุด้วย ต้องท�ำติดต่อและ ตัดเหตุบางอย่างที่มันมารบกวน ใจเรานี่ก็เหมือนลูกหลาน ต้อง ปลอบใจมันหน่อย ถ้าเราเข้าใจแล้วเราก็ค่อยๆ พูด ถ้าเราไม่พูด เอาใจบ้างลูกหลานก็จะไม่พอใจไม่สบายใจ จิตของเราก็เช่น เดียวกัน เวลาปลอบคือค่อยๆ ท�ำ ไม่สงบไม่นิ่งก็ให้รู้ว่าขณะนี้ เราก�ำลังนั่งสมาธิมันไม่นิ่งมันฟุ้งซ่าน ท�ำไปดูไปอยู่อย่างนั้น สงบ บ้างไม่สงบบ้างไม่เป็นไรแต่ให้รู้ว่าจิตไม่สงบ อย่าไปพยาบาทตัว เอง ห้ามคิดว่าเราไม่มีบุญไม่มีอันนั้นอันนี้ แต่อยู่บ้านก็ต้องท�ำ ให้ มีสติอยู่ตลอด ไม่ให้ประมาท คือให้เว้นจากความชั่วร้ายที่เราคิด ไม่ดีพูดไม่ดีต่างๆ ถ้าเราไปสร้างสิ่งไม่ดีไว้มันจะส่งผลให้จิตไม่นิ่ง เวลามานั่งสมาธิ มันจะไปตามอารมณ์ 53
ถาม : ถ้าเรานั่งวิปัสสนาแล้วฟุ้งซ่านไป จะต้องกลับ มาดูลมหายใจหรือเราจะรู้ไปกับสิ่งที่เราฟุ้งซ่าน ตอบ : หลักที่ท่านอธิบายไว้ในวิปัสสนาในสมถกรรมฐาน เขาบอกว่าเริ่มต้นก็พยายามท�ำจิตให้สงบ แต่ภาคปฏิบัติหลวงพ่อ ชาท่านแนะน�ำว่า มันสงบก็เอา ไม่สงบก็เอาถ้าจิตถอนออกจาก ความสงบ ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ว่าจิตนั้นมันไม่เที่ยง ให้มาดูความไม่ เที่ยง ดูความฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยงอีก เดี๋ยวมันก็ไปอันโน้นเดี๋ยว มันก็ไปอันนี้ ให้เอาหลักธรรมะในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาพิจารณา สภาวะจิตและสภาวะสังขารร่างกายตาม ความเป็นจริงมันจะอยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีก อย่างก็คือให้เห็นอาการหยาบๆ อิริยาบถทั้งสี่ เดี๋ยวยืน เดี๋ยวเดิน เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวนอน มันก็สับเปลี่ยนตลอด ถ้าฟุ้งซ่านเราตามไปดู แต่อย่าไปหลงมันอีก แล้วถอนมาก�ำหนดดูลมหายใจเข้าออกๆ จนกระทั่งจิตเราช�ำนาญ 54
การปฏิบัตินี่ก่อนที่จะลุล่วงไป ท่านบอกว่ามีอุปสรรค ใหญ่คือนิวรณ์ห้า กามฉันทะ ความใคร่ในกาม ติดรูป เสียง กลิ่น รส ต่อไปก็พยาบาท เคยท�ำอะไรไว้ถ้าจิตสงบมันจะผุดมาหมด เรียกว่าวิบาก คืออารมณ์จากวิบากกรรม ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่าง นี้ ท่านก็ให้ดูระยะหนึ่งแล้วตัดทิ้งไป หรือหาอุบาย เช่นใช้พรหม วิ ห ารสี่ อย่ า งองคุ ลี ม าลท่ า นมานั่ ง สมาธิ จิ ต สงบนิ ด หน่ อ ยก็ มี นิมิตมา คือภาพที่ติดอยู่ในจิตที่ท่านถือดาบวิ่งไล่ฆ่าตัดนิ้วมือคน ทั้งหลาย รูป วิญญาณต่างๆ มาปรากฏ จิตก็สะดุด สมาธิก็หาย พระพุทธเจ้าท่านก็ให้แผ่เมตตา ฉะนั้นคือให้ตามดู ให้รู้ว่ามันเป็นอะไรแต่อย่าไปยึด คิด ง่ายๆว่ามันเป็นเพียงภาพเหมือนกับเปิดโทรทัศน์เห็นภาพหยาบ บ้างละเอียดบ้าง นั่นคือจิตของเรา คือจิตหยาบจิตละเอียด มัน แสดงให้เห็น ถ้าจิตหยาบเคยโมโหโทโสมันจะมีนิมิตประเภทงู ร้าย หรือเสือ หรือยักษ์ ถ้าจิตเราเคยสร้างเมตตากรุณาก็อาจเห็น เป็นเทวดา เป็นจิตอย่างเดียว ไม่มีอะไร ดังนั้นให้ดูๆ แล้วให้ถอย มา ให้ปลงว่าอนิจจังมันไม่เที่ยง หลวงพ่อชาท่านสอนว่าอย่าลืม อนิจจังอย่างเดียวนี่
55
ถาม : เรื่องกรรมเก่ากับกรรมใหม่ เช่นลูกหลานไม่ สนใจที่จะแสดงความกตัญญู ดูแลพ่อแม่ปู่ย่าทั้งๆที่มีฐานะ ดีพร้อม แบบนี้คือกรรมเก่าของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือว่า เป็นกรรมใหม่ของลูกหลานก่อขึ้น ตอบ : เรื่องกรรมเรื่องกตัญญูนี่ก็ทั้งเก่าทั้งใหม่ผนวกกัน เข้า บางครั้งในอดีตเราเคยไปสร้างกรรมไม่ดีไว้ เขาอาจจะมาเกิด เป็นลูกเป็นหลานมาสร้างกรรมให้เรากลับคืนเหมือนกัน พอถึง คราวปัจจุบันเราท�ำกับเขาดีแล้วแต่กรรมเก่าของเราก็ดลบันดาล ให้เขาเมินเฉย ถ้าพ่อแม่เข้าใจก็ให้มีสติว่าเป็นเรื่องกรรม เพราะ ถ้าไม่เคยสร้างด้วยกันแล้วจะมาเกิดร่วมกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น เรื่องกรรมเก่ากรรมใหม่ จุดส�ำคัญคือเรารู้แล้วก็ยกมือไหว้สาธุ ขอ ให้หมดเวรหมดกรรม ว่าอย่างนั้นนะ 56
ถาม : ที่บอกว่า เรามีกรรมเป็นของของตน มีกรรม เป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มี กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ถ้าอย่างนั้นแล้วจะสามารถแก้กรรมได้ จริงหรือ ตอบ : ถ้าเรารู้ชัดค�ำสอนพระพุทธเจ้า เข้าใจกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เลือก ท�ำกรรมดีหนีจากความทุกข์ ชาวพุทธ ต้องเชื่อกรรม กัมมุนา วัตตติโลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมจ�ำแนกแจกแจงให้เราไป ก็เลือกท�ำกรรมดี ท�ำดี พูดดี คิดดี แล้วก็หนีจากความทุกข์ได้ คือจิตใจเราก็จะเป็นปกติ
57
ถาม : จากบทสวดมนต์ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ 8 บุรุษ หมายถึงบุคคลใดบ้าง ตอบ : หมายถึงอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกิทา คามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ แบ่งย่อยตามหลักเป็น โสดา ปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิ มรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค และ อรหัตผล มรรคกับผลต่างกัน คือเหมือนเราเดินทาง จะนั่งรถก็ดี เดินก็ดี บนอากาศ บนรถไฟ หรืออะไรก็ตาม ขณะก�ำลังเดินทาง เรียกว่ามรรค เมื่อมาถึงแล้วก็เรียกผล มรรคคือหนทางปฏิบัติ การปฏิบัติก็อริยมรรคมีองค์ 8 ที่ เราสวดกัน เดินตามสัมมาทิฏฐิ จนถึงสัมมาสมาธิ ส่วนผลการปฏิบัติ คือความสุขที่เกิดจากปฏิบัติ ปรากฏ ความสงบเย็นนั้น เป็นปัตจัตตัง รู้เองว่าเราได้ผลมากน้อยเพียงใด หลวงพ่อชาท่านสมมติว่า เวลาหิวข้าวก�ำลังทานข้าวมันเป็นมรรค คือเป็นข้อปฏิบัติ แต่ว่าอิ่มนั้นก็ค่อยๆอิ่มไปเรื่อยๆ ถ้าเราเข้าใจว่า ต้องทานข้าวเต็มท้องแล้วอิ่มก็ไม่ใช่ อริยบุคคลที่พูดมาก็คือค่อยๆ ผ่านๆไป นี่คือหลักการปฏิบัติ 58
ถาม : หากความทุ ก ข์ เ กิ ด จากความรั ก และความ ผูกพัน จะมีวิธีฝึกหรือปฏิบัติอย่างไรไม่ให้ยึดติดกับความรัก และความผูกพันนั้น ตอบ : ผูกพันมากรักมากก็ทุกข์มาก รักน้อยก็ทุกข์ น้อย ไม่รักก็ไม่ทุกข์ หลวงพ่อชาท่านเคยเทศน์ให้โยมฟังถึงเรื่อง ครอบครัว คือถ้าเอาอะไรมา ก็ต้องปิดมันไว้ครอบไว้ ถ้าคนสอง คนมาอยู่ด้วยกันนี่ก็ต้องครอบกายวาจาใจ สุดท้ายท่านบอก ว่า ถ้ารักมากก็ทุกข์มาก รักน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่รักไม่ชังนี่จะอยู่ ด้วยกันได้ตลอดชีวิต ท่านบอกว่าเหมือนไม้สองท่อนนายช่างเขา บากแล้วเอามาต่อกันเจาะรูใส่สลักขัดไว้ แรกๆก็ดูไม่เห็นรอยต่อ เหมือนกับไม้ท่อนเดียว แต่พอเป็นเดือนเป็นปีไม้มันค่อยแห้งไป เสื่อมไป ผลสุดท้ายมันก็ค้อกๆ แค้กๆ เหมือนกับความรัก แรกๆ ก็แนบแน่นสนิทเหมือนนายช่างต่อไม้ใหม่ๆ อะไรก็รักๆ แล้วต่อ มาก็ค้อกๆแค้กๆ ถ้าไม่รักมันถึงไม่ทุกข์ แต่เราอยู่ในโลกนี้ มัน เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปคิดว่าจะตัดอะไร แต่ให้มีสติรู้ว่ามันเป็นอย่าง นี้ แล้วเราก็พยายามที่จะไม่ยึดอยู่กับมัน เหมือนบ้านนี่อาคาร นี่เราสร้างแล้ว ไหนๆ สร้างขึ้นแล้วแต่ต่อไปมันจะเสื่อม ฉะนั้น 59
เวลามันยังพอใช้ได้อยู่ท่านก็บอกว่าให้รักษา เวลามันเสียไปก็ ให้ได้สติ รู้เรื่องชีวิตว่ามันทุกข์เพราะอุปาทาน อุปาทานักขันโธ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแแห่งความยึดมั่น เราก็มาก�ำหนดสภาวะว่าสิ่ง เหล่านี้พระพุทธเจ้าว่าไม่ควรยึดถือ เมื่อมันแตกเราก็รู้ว่ามันเป็น สังขาร มันต้องเกิด ต้องแตก ต้องดับ ถ้ารู้อย่างนี้ก็สบายใจ เห็น เรื่องความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เราจะละได้ ทุกอย่างในโลกนี้เดี๋ยว ก็นิ่งเดี๋ยวก็หวั่นไหวอยู่ตลอด เห็นสภาวะแล้วก็หมด ไม่มีอะไร จิตก็เป็นจิต แยกกันได้ อารมณ์เวทนาอะไรต่างๆ ที่เราคิดว่ามัน กวนเรา มันไม่ใช่ เป็นเราไปกวนมัน รู้ว่าทุกข์แล้วจะเอาอะไร คน ฉลาดก็หลีก ปฏิบัติไม่ยาก แต่ยากที่ความคิด ทุกข์กับความคิด ความยึดถือ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติให้มีสติอยู่ตลอดแล้วให้รู้ตาม เป็นจริง ศึกษาปฏิบัติให้รู้ว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็น ทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายความพลัดพรากเป็นทุกข์ เมื่อ รู้ธรรมะ รู้เหตุและผล เราจะรู้จะวางเอง นี่แหละดับทุกข์ได้
60
ถาม : ค�ำว่า ฌาน กับ ญาณ แตกต่างกันอย่างไร จะ รู้ได้อย่างไรว่าผู้ปฏิบัติได้ฌานหรือญาณ ตอบ : ญาณก็คือความรู้ ส่วนฌานแปลว่าสิ่งที่เป็นฐาน เป็นที่ตั้ง หมายถึงว่าท�ำอะไรก็ควรมีฐานที่ดี เหมือนอาคารหลังนี้ ต้องตอกเสาเข็มเพื่อวางรากฐานให้ดี ปฏิบัติไปคือรองรับญาณ รองรับความรู้ ก็คือรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้หลักในการด�ำเนิน ชีวิต ญาณหนึ่งคือการรู้สิ่งหยาบๆ ก่อน แต่สุดท้ายก็ตกอยู่ใน อริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เท่านั้นเอง ที่ว่าถึงขั้นนี้ขั้นนั้นคือ หมายถึงสภาวะจิต เรียกว่าจิตมั่นคงขึ้นไปเรื่อยๆ ในทางที่จะพ้น ทุกข์ หลวงพ่อชาท่านพูดง่ายๆว่า เราเริ่มต้นอนุบาลก็ไปนอนกิน นมให้คุ้นเคยกับสถานที่ ให้ลูกมันสลัดออกจากพ่อแม่ บางทีมัน ร้องไห้ ครูก็เลี้ยงก็ปลอบใจ พอประถมหนึ่งก็เขียนตัวพยัญชนะ เพราะยังพื้นฐาน ค่อยๆรู้ ผ่านไปๆ พอรู้ก็ไม่กลับมาเรียนซ�้ำแล้ว ญาณก็เช่นเดียวกัน คือญาณนี้เดินไปเห็นในสิ่งที่จะหมดทุกข์ พอ เรียนจบคือบรรลุธรรม จิตเราถ้าปฏิบัติไป มันก็จะผ่าน คือผ่าน จากสิ่งที่ขวางอยู่ในจิต ผ่านไปแล้วคือไม่กลับก�ำเริบ ปล่อยวาง ได้ หมดกิเลสได้ ในใจรู้เองเท่านั้น หลวงพ่อชาเปรียบว่าเหมือน ทานอาหาร ถามว่าจะอิ่มเมื่อไร ไม่มีใครตอบ ถ้าเวลาท่านใดอิ่ม ดื่มน�้ำแล้วลุกขึ้นนั่นแหละคือจบ การปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน จิตจะ ท�ำงานเองโดยอัตโนมัติ 61
ถาม : ท�ำไมพระภิกษุต้องให้พร บุญเกิดจากเจตนาที่ ท�ำบุญอยู่แล้วไม่ใช่หรือ ตอบ : คือจิตของคนบางคนก็ท�ำเพื่อเอา เรื่องสวดเรื่อง พิธีนี้ป็นเรื่องที่ตามๆ มา สวดก็คือสวดสรรเสริญตามค�ำเทศนา ของพระพุทธเจ้า ส่วนให้พรบางคนก็เข้าใจว่าคือให้ คือสมนาคุณ การให้อะไรถ้าพูดไม่ดีไม่งามก็จะน้อยใจ เพราะก�ำลังของคนยัง ท�ำไม่ได้ ยังไม่เข้าใจ หลวงพ่อชาท่านแนะน�ำว่า ต้องเอาภาษา เด็กสอนเด็ก เอาภาษาผู้ใหญ่สอนผู้ใหญ่ พูดกับเด็กต้องเอาขนม ต้องเอาอะไรให้ อย่างเวลาถ้วยชามแตกแม่ก็ต้องสอนลูกว่าลูก ต้องระวังต้องดูแล จะไปพูดว่าอนิจจังไม่เที่ยงนะลูก ก็ไม่ถูก เดี๋ยวอันนั้นก็อนิจจัง ถ้วยชามแตกก็อนิจจัง บ้านก็อนิจจังเลยเอา ไฟมาจุดเผาบ้าน อย่างนี้ไม่ได้ อุบายของนักสอน วิธีการมีหลายรูปแบบ บางคนหลวง พ่อชาท่านว่าเอาใจยาก กว่าจะดึงเข้ามาได้ไม่ใช่ง่ายๆ เพราะ ฉะนั้นการให้พรก็ไม่ได้ผิดไม่ได้ถูก เพียงแต่ได้ท�ำในทางที่ชอบ ให้ เข้าใจ เราไม่ต้องไปติเขา 62
ถาม : ในศีลห้า ศีลข้อใดส�ำคัญที่สุด ตอบ : เคยมีโยมไปถามหลวงพ่อชาเหมือนกัน หลวงพ่อ ชาก็ตอบง่ายๆ โยมเอามีดมาตัดนิ้วโป้งออกหรือเอามีดมาตัดนิ้ว ก้อยออกแล้วก็มาพนมมือดูสวยไหม โยมไม่พูดเลยหัวเราะเลย ก็ มันส�ำคัญหมด ไม่มีอะไรไม่ส�ำคัญ ที่ว่าข้อนั้นข้อนี้ไม่ส�ำคัญคือ พูดเอาเข้าข้างเจ้าของ เข้าข้างกิเลส ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ตรัสแสดงธรรมเรื่องศีลห้าทั้งนั้น ศีลห้าเป็นบันไดขั้น แรก ถ้าเรารักษาได้ก็มีความสุข ดีทุกข้อนะ
63
ถาม : ท�ำอย่างไรจึงจะได้เกิดเป็นผู้ชาย ตอบ : เกิดเป็นผู้ชายผู้หญิงมันก็เหมือนกัน แต่ถ้าอยาก จะเกิดเป็นผู้ชายเพราะมีโอกาสได้บวชได้เรียนได้ปฏิบัติอย่างเข้ม แข็ง ในนักธรรมตรีท่านก็อธิบายว่าต้องมีหลักธรรม คือให้มีพระ รัตนตรัย เชื่อกรรม ท�ำบุญให้ทาน และมีศีลอยู่ตลอดไม่ให้ขาดตก บกพร่อง ตั้งจิตดีแล้วอธิษฐานจิตอยู่ตลอด ท�ำอะไรๆก็ท�ำจิตให้ เข้มแข็ง เมื่อการปฏิบัติแน่วแน่ก็ย่อมส�ำเร็จ นี่คือหลักธรรม เป็น ปฏิปทาและอานิสงส์ แต่ปรารถนาเฉยๆ โดยไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้
64
ถาม : นั่งสมาธิแล้วมันเย็นมันสุขจนไม่อยากออก จากสมาธิ ควรจะท�ำอย่างไรต่อไป ตอบ : เราคิดได้ว่านั่งสมาธิมันเย็นมันสงบ แต่กายของ เรามันก็ต้องเปลี่ยน เวลาสุขนี่ก็ไม่แน่นอน บางทีสภาวะเราเข้ม แข็งมันสุข แต่เวลาสภาวะธรรมมันอ่อนคือเจ็บไข้ได้ป่วยมันจะ เกิดโทษ เพราะฉะนั้นหลวงพ่อชาท่านสอนว่าสุขก็ไม่ให้ไปติด เกิด ปีติก็ให้รู้ เวลาสุขก็ดูระยะหนึ่งเราก็ถอนออกมา แล้วก็ให้ถือว่า อนิจจังๆ ไม่เที่ยงๆ ให้ตามดูจิต คือไม่ให้จิตอุปาทาน ถ้าเราไป ติด จิตก็เกิดขี้เกียจ ติดอยู่แค่นั้น หรือคิดว่าเราได้บรรลุธรรมแล้ว ก็จะเกิดอัตตาตัวตน ท่านสอนให้รู้จักตัวเอง รู้จักความรู้สึกเกิดดับ รู้จักว่ากิเลสมันเป็นเหตุให้ทุกข์ สมมติเรานั่งสมาธิบางทีจิตสงบ เกิดสว่างจ้าก็ไม่ต้องไปติดว่าเราได้บรรลุอันโน้นอันนี้แล้ว ให้ดูอยู่ อย่างนั้นแต่ก็ปฏิบัติไป ก็เป็นพื้นฐานที่จะให้เรามีศรัทธาเดินไป ให้เข้าใจ 65
พระครูภาวนาชัยมงคล (สุนทร ทนฺตจิตฺโต) วัดป่าชัยมงคล ระนอง สาขาวัดหนองป่าพงที่ 115
ถาม : เวลาที่เราพยายามบังคับไม่ให้จิตคิดฟุ้งซ่าน หรือไม่ให้เกิดความโกรธ คือไม่ให้มีความคิดที่เป็นค�ำหยาบ ค�ำไม่สุภาพ แต่ค�ำหยาบซึ่งปกติเราไม่เคยคิดไม่เคยพูดก็ หลุดออกมาเป็นความคิด ท�ำให้รู้สึกไม่ดี ยิ่งพยายามห้าม ความคิดที่ไม่ดีก็เหมือนยิ่งยุให้มีมากขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไร เป็นกิเลสใช่หรือไม่ และจะเป็นมโนกรรมหรือไม่ เพราะไม่มี เจตนา ตอบ : ค�ำถามแรกคือจริงๆ แล้วการปฏิบัติของเรายัง ปฏิบัติไม่ถูก เพราะเราใช้ค�ำว่าบังคับ ถ้าใช้ค�ำว่าบังคับจิตนี่ไม่ใช่ แล้ว หลักของการปฏิบัติจะไม่บังคับหรือจะไม่กดไม่สะกดจิตของ ตนเอง ใช้สติประคอง เหมือนกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ชาท่าน ยกตัวอย่างให้ฟังว่า การจับปลาในน�้ำ ถ้าเราไม่ใช่ชาวประมงเรา จะไม่รู้เลย พอเห็นมันลอยมาเลยตะครุบ อย่างนี้มันไม่ได้ ท่าน เปรียบเทียบให้ฟังว่า ต้องท�ำให้ปลามันเชื่อง ลอยขึ้นมาก็เอามือ 66
ไปโดนบ้างเล็กๆ น้อยๆ คอยจับตรงโน้นตรงนี้ พอมันเชื่อง มัน เผลอเราก็ตะครุบ ก็จับปลาได้ วิธีการปฏิบัติก็เหมือนกัน ท่านใช้ ค�ำว่าประคองจิต โยมได้สวดในมรรคมีองค์ 8 ใช่ไหม ประคองจิต ให้มั่นเพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ท่านใช้ค�ำว่าประคอง จิต ฉะนั้นที่เราภาวนาพุทโธนี่ อย่าไปบังคับอย่าไปสะกดจิต เรา ตั้งสติอยู่ตรงกลาง ตรงความรู้สึกที่อยู่ตรงกลางแล้วเอาสติผู้รู้ เข้าไปจับในอารมณ์ ถ้าจับอารมณ์ไม่ได้ ก็จับอานาปานสติคือ ลมหายใจก่อนเพื่อให้จิตมันอยู่ ไม่ให้มันไปไหน คือตัวสติที่เรา ประคองไว้ พอเราเห็นจิตเราก็เห็นอารมณ์ เราจะเห็นว่า จิตก็คือ จิต อารมณ์ก็คืออารมณ์ คนละอย่างกัน เมื่อจิตเราเห็นอารมณ์ ถ้าอะไรมันเกิดขึ้นเราจะรู้ทันที เช่นความโกรธ เราก็รู้ทันทีว่านี่เจ้า โทสะ แต่ถ้าเราสะกดจิตเราจะไม่รู้ หรือไปบังคับจิตก็จะไม่รู้เลย จะบังคับไม่ให้มันโกรธมันก็ยิ่งโกรธ บังคับตรงนี้มันก็ออกตรงนั้น เหมือนถ้าเราตะครุบมันจะดิ้นทันที ถามว่าเป็นกิเลสใช่หรือไม่ คือความโลภความโกรธความ หลงนี่เป็นโคตรเหง้าของกิเลสเลย พระพุทธเจ้าท่านใช้ค�ำว่าโคตร เหง้าเค้ามูลของกิเลส ถามว่าไม่มีเจตนา เป็นมโนกรรมหรือไม่ อาตมาจะเอา ค�ำตอบของพระเดชพระคุณหลวงตามหาบัวมาตอบ ท่านบอกว่า เราเดินไปนี่ในมือข้างหนึ่งมีเหล็กสั้นๆ พอก�ำถนัดสัก 3 กิโล จะไป จุดที่เราตั้งใจไว้ พอเดินไปปรากฏว่าพลาดมือ เหล็กแท่งนั้นร่วง 67
ไปโดนหัวแม่เท้า ถามว่าหัวแม่เท้าจะแตกไหม แตก ไม่มีเจตนา ท�ำไมถึงแตก ถามว่าเจ็บไหม เจ็บ ไม่มีเจตนาท�ำไมถึงเจ็บ ค�ำ ตอบอันนี้ก็เหมือนกัน มันเป็นกรรมแต่มันไม่เป็นเวร กรรมหมาย ถึงการกระท�ำ แน่นอนอยู่แล้วว่าเราท�ำกรรมที่ไม่มีเจตนา แต่เวร นั้นไม่มี เวรนี่คือสิ่งที่หมุนมาให้เรารับ แต่ถ้ากรรมใหญ่ เราต้อง รับใช้ ถ้ากรรมเล็กเป็นอโหสิกรรม ที่ถามว่าไม่มีเจตนาจะเป็น มโนกรรมไหม ก็เป็น แต่เป็นกรรมที่ไม่ได้มีเค้าที่ตั้งขึ้นมาก่อน เหมือนกับเหล็กที่หลุดจากมือเรา เกิดขึ้นฉับพลันทันใดขณะนั้น ฉะนั้นถามว่าท�ำอย่างไร ก็คือการประคองจิต รักษาจิตไปเรื่อยๆ โดยเรามีสติ มีผู้รู้ พออะไรมากระทบปุ๊บเราจะรู้ มันจะเห็นทันที เป็นวิธีการแก้
68
ถาม : การท�ำสมาธิโดยภาวนาพุทโธนั้น จะต้องเพ่ง จิตถึงพระพุทธเจ้าตลอดเวลา หรือเพียงภาวนาเฉยๆ ใจไม่ ต้องคิดอะไร ตอบ : จุดเริ่มต้นของการภาวนา ให้เราจับอารมณ์ก่อน ให้จิตมีอาหารก่อน เราจะบริกรรมพุทโธอย่างเดียวก็ได้ หรือจะ น้อมจิตถึงพุทธคุณคือคุณของพระพุทธเจ้าก็ได้ บางครั้งผู้ปฏิบัติ นี่ปฏิบัติไปจิตใจของเรามันจะไม่อยู่อย่างเดียว เช่นเวลาน้อม จิตถึงพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติ เกิดความดีใจ เกิดความเย็นใจ หรือ เวลาเห็นพระพุทธรูปองค์ไหนสง่างาม อิ่มเอิบก็ชอบ ติดตาติดใจ เราน้อมจิตเข้าไปเกิดปีติ แต่วันรุ่งขึ้นมาท�ำอย่างนั้นมันไม่เกิดปีติ คือใจของเรามันไม่ได้ชอบอย่างเดียว วิธีการที่จะภาวนาระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้าหรือไม่นั้น ไม่ได้ส�ำคัญ เพียงแต่ให้จิตเราเป็น 69
อารมณ์เดียว ให้อยู่กับค�ำบริกรรม หรือให้อยู่กับพุทโธ หรืออยู่ กับลมหายใจ บางทีอาจจะสลับไปสลับมา พอภาวนาไปๆ จนจิต มันเคยชิน สมมติวันนี้ภาวนาไปประมาณ 1 ชั่วโมงจิตมันค่อย เย็นลงๆ ก็เข้าสู่ความสงบ แต่บางคนก็ไม่เป็นอย่างนั้นพอภาวนา พุทโธๆ ๆ จู่ๆ จิตก็กระโดดหายไปเป็นผู้รู้เลย อย่างนี้ก็มี ฉะนั้น ค�ำตอบคือเราจะระลึกก็ได้ ไม่ระลึกก็ได้ ขอให้จิตของเราอยู่ใน อารมณ์เดียว ไม่ต้องไปบีบบังคับไปเคี่ยวเข็ญอะไรนัก ให้มัน สบายๆ แล้วจ�ำอารมณ์ที่จิตเราจะเข้าสมาธินั้นให้ได้ ฝึกเรื่อยๆ บ่อยๆ สมมติวันนี้ชั่วโมงหนึ่งจับอารมณ์ได้ วันรุ่งขึ้น 30 นาที จน วันต่อๆ ไป 20 นาที 10 นาที 5 นาทีจับอารมณ์ได้ ท�ำจนเป็นวสี มี ความช�ำนาญ ถ้าช�ำนาญโยมสูดลมหายใจเข้าจิตมันก็ลงแล้ว อัน นี้คือวิธีการฝึกจิตรักษาจิต
70
ถาม : การปฏิบัติธรรมเริ่มด้วยการรักษาศีลท�ำสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา แต่ปฏิบัติมานานพอสมควรไม่เคยเกิด สมาธิเลย ชาตินี้จะมีโอกาสเกิดไหม ตอบ : ปฏิบัติมานานนี่นานขนาดไหน เกิดสมาธินี่คือ ความต่อเนื่องนะ ต้องต่อเนื่อง ต้องขยัน ภาษาพระเรียกว่าความ เพียร เพียรในการปฏิบัติ ง่ายๆอย่างโยมนั่งอยู่นี่ก็ภาวนาพุทโธ หรือเอาจิตเข้ามาตั้งผู้รู้ เลิกจากนี้เดินไปห้องน�้ำก็มีผู้รู้ ไปทาน กาแฟก็มีผู้รู้ ไปทานน�้ำปานะโยมก็มีผู้รู้ ถ้ามีผู้รู้ อาตมาบอกได้ว่า ไม่นานต้องเกิดสมาธิ แต่ถ้านั่งภาวนา 30 นาทีจับอารมณ์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง พอถึงเวลาก็เลิกไป ก็ทิ้งอารมณ์ตรงนี้ไม่ได้ไปต่อเนื่อง เมื่อไม่ต่อเนื่องสมาธิก็ไม่เกิด พระเดชพระคุณหลวงปู่ชาท่าน ปรารภบ่อยๆ ว่านักปราชญ์บัณฑิตผู้รู้ท่านบอกว่าไม้ไผ่แห้ง 2 ซีก มีไฟอยู่ตรงนั้น แต่ไฟจะเกิดได้เราต้องเอาไม้ไผ่ 2 ซีกนี่มาสีกัน สี ไปๆ พอเวลาไฟเกิดก็เอาขี้ฝอยเข้ามาใส่ มันก็ติด แต่เราท�ำไป 2-3 71
นาที โอ๊ย ไม่มี วางเสียก่อน พอวางมันก็เย็น เย็นก็มาท�ำใหม่ 5 นาที มันก็ไม่มีไฟเพราะไม่ต่อเนื่อง ถ้าท�ำต่อเนื่องอาตมารับรอง จะต้องเจอความสงบระดับใดระดับหนึ่งอย่างแน่นอน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ หรืออ�ำนาจของฌาน ญาณ โยมต้อง มี ถามว่าจะมีวาสนาไหม อาตมาบอกว่าวาสนามันมี แต่จะมี ความเพียรไหม ทุกอย่างมันมีพร้อมที่จะเป็นพระอรหันต์ทุกคน แต่องค์คุณแห่งความเป็นพระอรหันต์มีหรือยัง เราอยากได้ความ สงบอยากได้ปัญญา เราต้องเร่งความเพียร การเร่งความเพียร อยู่ในฐานต้องมีศีลเป็นที่มั่น ง่ายๆ การปฏิบัติธรรม คือทาน ศีล ภาวนา 3 อย่างนี้พอ ต้องมีทาน ขาดไม่ได้ ถ้าใจมีความตระหนี่ เหนียวแน่นมองโลกในแง่ร้ายไม่มีเมตตาจะปฏิบัติธรรมก็ไม่สงบ ต้องมีศีล ศีลเป็นความปกติ ถ้าคนเราปกติ ไม่ระแวง ไม่มีโทษ ความสุขจะเกิดขึ้น ความสงบจะเกิดขึ้น บางคนบอกปฏิบัติธรรม ไม่ต้องมีศีลก็ได้สมาธิไปสวรรค์ได้ มันก็เป็นตัวมิจฉาสมาธิ หลัก ที่พระพุทธศาสนาสอน คือ ทาน ศีล ภาวนา นี่ถูกต้อง ที่ไม่ได้ผล เพราะเราปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง ขณะนั่งภาวนาเหตุปัจจัยที่ท�ำให้เรา ไม่สงบนี่เราตัดออกไปเลย มีภาระหน้าที่ก็ตัดออกไปๆ ให้มันน้อย โทรศัพท์ไม่ต้องเอามายุ่ง เข้าห้องพระ การปฏิบัติให้ไปอยู่ในที่ สมควร อยู่ในที่สงบ ตัดกังวลออกไป ก็จะภาวนาได้ดี
72
ถาม : การที่ ค นชั่ ว และมี อ� ำ นาจมารวมกั น มากๆ ท�ำให้เกิดภัยพิบัติกับแผ่นดินจริงไหม ตอบ : มันก็ธรรมดา คนชั่วก็ต้องชอบชั่ว จะให้คนดี ไปรวมอยู่กับเขาก็ไปไม่ได้ ภัยพิบัติที่มันเกิดขึ้นคือตัวเขาความ คิดเขาค�ำพูดเขา เขามาเพราะเขาคิดเหมือนกัน เพราะวิบาก กรรมเขาสร้างมาเหมือนกัน เขาชอบอย่างนั้นก็ท�ำอย่างนั้น เป็น บุพกรรมที่เขาท�ำมาไม่รู้กี่ชาติแล้ว กูฆ่ามึง มึงฆ่ากู กูด่ามึง มึง ด่ากู กูเบียดเบียนมึง มึงเบียดเบียนกู หลวงปู่ชาท่านบอกว่าคน ทะเลาะกันนั้นมันผิดกันทั้งคู่ ถ้าไม่ผิดไม่ทะเลาะกันหรอก 73
ถาม : วิธีการตั้งจิตท�ำสมาธิท�ำอย่างไรที่จะท�ำให้จิต สงบได้
ตอบ : คือตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมในข้อปฏิบัติแล้วท�ำอยู่ เรื่อยๆ พยายามตัดความกังวลข้างนอกออกให้มาก ศีลก็เท่าที่เรา ท�ำได้ รักษาศีลห้าก็ภาวนาได้ ไปนิพพานได้ สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย พระพุทธเจ้าบอกว่าศีลห้าก็ไปได้ แต่ในเมื่อโยมปฏิบัติศีลห้าแล้ว ปฏิบัติไประดับหนึ่งมันจะเลยเข้าไปอีก เราต้องอาศัยความเพียร ความพยายามความต่อเนื่องและความตั้งใจ ท�ำเรื่อยๆ 5 นาที ก็เอา 10 นาทีก็เอา ชั่วโมงหนึ่งก็เอา การท�ำสมาธิเวลานั่งเรานั่ง สงบ แล้วเวลาไปท�ำอะไรให้รักษาสติไว้ กวาดบ้านมีสติ ถูบ้าน มีสติ ท�ำอะไรมีสติ พอมีสติจะรู้สึกว่าเวลาเราจะท�ำอะไรจะรู้สึก ว่ามีตัวจิตบอกก่อน พระเดชพระคุณหลวงปู่ชาท่านสอนว่าการ 74
ภาวนานี่ปฏิบัติอย่างนี้ หลายคนและอาตมาเองก็เคยเป็น กวาด ใบไม้ก�ำหนดจิต กวาดเพื่ออะไร กวาดแล้วได้อะไร มีค�ำถามก็มี ค�ำตอบเลย ปุจฉา-วิสัชนา เราจะมีคน 2 คนอยู่ในนั้น ถึงที่สุดจิต มันจะนิ่งสงบ คือเราปฏิบัติไปต่อเนื่อง ถึงเวลา มันจะลงเองโดย ไม่ต้องไปบังคับ นั่นคือรอบของจิตของมันเอง ฉะนั้นถ้าอยากได้ สมาธิ จะไม่เป็น แต่บางคนที่คิดว่า เอ๊ะ ไม่เคยได้สมาธิ ที่จริง ก็ได้ แต่มันไม่ได้ลงแบบที่ลงไปนิ่ง แต่เป็นสมาธิคือความตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์ ท�ำอะไรมีสติรู้ไปเป็นตัวสมาธิอยู่ สมาธิก�ำลังเดิน ปัญญา แต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง บางครั้งสมาธิจะอบรมปัญญา บาง ครั้งปัญญาอบรมสมาธิ จะมี 2 อย่าง จิตสงบนี้ บางคนไม่ค่อยเกิดนิมิต นั่งภาวนาแล้วก็ค่อยๆ ลง ถ้าเป็นจิตภาวนาลงเรื่อยๆพวกนี้จะเกิดปัญญา เพราะเรา เห็น เราสังเกต เรามีสติรู้ว่ามันเป็นอาการอย่างไร เล่าได้ละเอียด ทั้งหมด แต่บางคนนั่งภาวนาไป จิตมันหายวิบไป ไปมีผู้รู้อยู่ พอ ไปเป็นผู้รู้ขึ้นมา ถ้าเรา เอ๊ะ ขึ้นมา แล้วจิตถอนขึ้นมาทันที นั่น หมายความว่าบุคคลนั้นภาวนาไปแล้ว ตัวสติตามจิตไม่ทัน บาง คนเกิดนิมิตต่างๆ มักชอบพูดเรื่องฤทธิ์เรื่องปาฏิหาริย์ เพราะจิต มันโลดโผน แต่พวกนี้จะไม่ค่อยรู้ ฉะนั้นต้องภาวนาเรื่อยๆ ท�ำ อะไรให้มีสติ
75
ถาม : หลั ง จากท� ำ บุ ญ แล้ ว อุ ทิ ศ บุ ญ โดยการตั้ ง จิ ต โดยไม่ใช้น�้ำ ผิดหรือไม่ ตอบ : จะว่าผิดก็ไม่ใช่ จะว่าถูกก็ไม่ใช่ การอุทิศบุญนั้น ถูกต้อง แต่การใช้น�้ำนี่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้ามีเตรียมไว้ มี ความพร้อมก็ท�ำ ถามว่าควรไหม ควรจะมีถ้าไม่ยุ่งยากอะไร หรือ เราจะมากรวดตอนหลังก็ได้ คือเป็นการอุทิศบุญแล้วก็กรวดน�้ำ ให้เป็นสักขีพยาน ถ้าเราสะดวกก็ให้ท�ำ แต่ถ้าไม่สะดวกจริงๆก็ ไม่ต้อง พระเดชพระคุณหลวงปู่ชาท่านสอนว่าเป็นความเหมาะ สมในกาลเทศะ ไม่มีก็กรวดน�้ำใจ คือเราตั้งจิตถูกต้องแล้วอุทิศ บุญ 76
เวลาภาวนาไปแล้วจิตสงบเราแผ่ส่วนบุญก็ได้ แผ่ให้ พ่อแม่ให้ปู่ย่าตายายของเรา การแผ่ส่วนบุญก็เพื่อลดจิตที่เป็น ตัวกูของกูออก ไม่ให้มีอัตตาผูกเข้ามา ใหม่ๆ ก็ต้องอาศัยพวก นี้ แล้วเแผ่ออกไปจนไม่มีอะไร จนไม่มีตัวเรา เรียกว่าแผ่เมตตา เป็นอัปปมัญญาที่พระพุทธเจ้าท่านสอน จนไม่มีหมู่มิตร จนไม่มี ศัตรู แผ่ออกไปมีแต่ความบริสุทธิ์ มีแต่ความเมตตา มีแต่ความ สงสารล้วนๆ นี่คือการแผ่เมตตาเรียกว่าอภัยทานที่บริสุทธิ์ บาง คนบอกว่าบุญน้อยแผ่ไปกลัวมันหมด ไม่ใช่นะ แผ่บุญไม่มีหมด หลวงปู่ชาท่านเปรียบเทียบง่ายๆ ว่าเอาเทียนมาเล่มหนึ่งจุดไฟ ติดแล้วเอาเทียนอีกพันเล่มหมื่นเล่มแสนเล่มมาจุด ไฟนี้จะหมด ไหม การแผ่บุญก็เหมือนอย่างนั้น ไม่มีหมดไปอย่างวัตถุ ยิ่งแผ่ บุญยิ่งพอกพูนมากขึ้นๆ ที่ส�ำคัญที่สุดใจเราจะเบาขึ้นมา บางครั้ง เรานั่งสมาธินี่จิตสงบแต่จิตมันหนักเหมือนกับก้อนหิน คืออาการ ของสมาธิ พอเป็นอย่างนี้แล้วเราแผ่เมตตา แผ่ให้ถึงที่สุดไม่มี ประมาณ แผ่ออกไปๆ มันจะค่อยๆเบา นี่คือวิธีการเอาตัวกูของ กูออกจากจิต จิตจะเบา จะเป็นคนที่มีเมตตา แผ่เมตตามากๆ หน้าตาจะยิ้มแย้มแจ่มใส พอเห็นใครความคิดเป็นอกุศลจะไม่มี มีแต่เป็นปกติ คนสวยก็รู้ว่าสวย คนขี้เหร่ก็รู้ว่าขี้เหร่ ดีก็รู้ว่าดี ชั่วก็ รู้ว่าชั่ว เป็นเรื่องของเขาไป มันจะไม่มายุ่งกับใจของเราแล้ว
77
ถาม : ขณะก�ำลังจะหมดลมหายใจคือตาย ควรจะ ภาวนาอะไรดี ภาวนาพุทโธได้หรือไม่ ปกติเราควรภาวนา อะไรเป็นประจ�ำ ตอบ : อั น นี้ จ ะขึ้ น อยู ่ กั บ คนที่ เ คยภาวนา แต่ ถ ้ า คน ไม่เคยภาวนานี่ ไปบอกให้ก�ำหนดพุทโธไว้นะ ไม่มีทาง เพราะ เวทนาความเจ็บปวดของร่างกาย โยมนั่งภาวนาปวดหลังปวด ขายังภาวนาไม่ได้ก�ำหนดพุทโธไม่ได้ เวลาจะตายธาตุขันธ์จะ แตกสลายมันปั่นป่วนมันแปรปรวน จะจับพุทโธได้ไหม ถ้าโยม เคยภาวนาบทไหนให้โยมภาวนาบทนั้นตลอด พุทโธ ธัมโม สังโฆ สัมมาอะระหัง อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ภาวนาๆ ไป ถึง เวลาที่เรียกว่าถึงวาระคับขัน องค์ภาวนาจะเด่นชัดขึ้นมา สมมติ ว่าเคยภาวนาพุทโธมาหลายปี พอป่วย ก่อนที่คนจะตายจะต้อง มีมิติหนึ่งเข้ามาแทรก นั่นคือคนที่ก�ำลังจะเปลี่ยนภพ สมมติโยม ป่วยแล้วครูบาอาจารย์บอกว่าระลึกถึงพุทโธได้ไหม มันจะขึ้นมา ทันที จะนึกได้ ท่านจึงบอกว่าให้ภาวนาไว้ หรือบางคนชอบท�ำ บุญมากๆ พอท�ำแล้วให้ระลึกถึงบุญ บุญที่เป็นตัวเด่นจะปรากฏ ขึ้นในจิตทันที ถ้าเคยภาวนา องค์ภาวนาจะเด่นขึ้นมาในจิต การ ฝึกจิตมันเป็นอย่างนี้ เวลาคับขันมันจะมาทันที 78
ถาม : ในขณะมีชีวิตอยู่มีความผูกพัน รักสัตว์เลี้ยง มาก เมื่อตายไปเราจะเกิดเป็นสัตว์นั้นไหม ตอบ : แน่นอน อันนี้มีภาษาบาลียืนยัน จิตผูกพันสิ่งไหน จะไปอย่างนั้น ผูกพันลูกก็จะไปเกิดเป็นลูกของลูก ผูกพันหลานก็ จะเกิดเป็นลูกของหลาน ผูกพันกับสัตว์เลี้ยงก็จะเป็นสัตว์เลี้ยง ถ้า โยมผูกพันกับบ้าน ในทรัพย์สินในที่ดินในบ้านในเรือน หรือรักรถ ตายไปก็เป็นแม่ย่านางรถไม่ต้องไปไหน บาปบุญนี่มาทีหลัง ต้อง มาเป็นตรงนี้ก่อน ยกตัวอย่างเหมือนกับพระในครั้งพุทธกาลไป ลงเรือ พอเรือจะออกเกิดเรือเอียงคว้าไปโดนหญ้าขาด จิตก็กลัว อาบัติ ก็มาผูกพัน เรียกว่าจิตวิญญาณมันจะอยู่ตรงนั้น วนเวียน อยู่ตรงนั้น ฉะนั้น จะท�ำอย่างไรให้ไม่ต้องวนเวียน ต้องภาวนา สู่ องค์พุทโธ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระนิพพาน ระลึกถึง ความว่าง จึงจะไปตามนั้น 79
ถาม : เวลานอนควรหันหัวไปทางทิศไหน ตอบ : หันไปทางไหนก็ได้ที่มันเหมาะสม ถามว่ามีให้ เลือกไหม สิ่งที่เป็นความเหมาะสมความเป็นมงคลมันมี แต่บาง ครั้งปัจจุบันนี้ตึก บ้าน สถานที่ มันไม่ตรงกับทิศ เราจะหันอย่างไร อย่างพระพุทธรูปหันหน้าทาง ทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ดีที่สุด แต่ถ้าไม่มีที่ที่เหมาะ ก็ดูทางไหนพอควร เป็นทิศ อื่นก็ได้
80
พระครูวิจารณ์ศุภวัตร (บัณฑิต เตชปญฺโญ) วัดแม่ใจใต้ เชียงใหม่ สาขาวัดหนองป่าพงที่ 70
ถาม : คนที่ถือศีลแปด ถ้าทาครีมกันแดดจะผิดศีล หรือไม่
ตอบ : อยู ่ ที่ เ จตนา ถ้ า ทากั น แดด ทารั ก ษาโรค พระพุทธเจ้าอนุญาต เพราะว่าธาตุขันธ์บางคนแพ้แสงแพ้แดด สามารถมาชโลมได้ แต่ท�ำอะไรอย่าให้เกิดความก�ำหนัดเพื่อสวย เพื่องามเพื่อลุ่มหลง สามารถท�ำได้ ทาเพื่อบ�ำบัดแล้วพิจารณาไป ด้วย ภาษาพระคือปฏิสังขาโยไปด้วย ท�ำไม่ใช่เพื่อสวยเพื่องาม เพื่อประดับตกแต่ง แต่เพื่อกันเหลือบยุงลมแดดและสัตว์เลื้อย คลานทั้งหลายนี่ไม่เป็นไร เป็นเรื่องอัฏฐบริขารเครื่องใช้สอย มี ทางออก ไม่ใช่ว่าจะผิดไปหมด เหมือนกับทางออกของพระใน วินัยข้อหนึ่ง ท่านว่าไม่อยากให้พระขึ้นโรงขึ้นศาลไม่อยากให้พระ 81
มีเรื่องมีราว เวลาโจรขโมยวิ่งเข้ามาผ่านหน้าภิกษุองค์ใด ภิกษุ นั้นเห็นแล้วท่านให้ย้ายที่ ต�ำรวจวิ่งตามมาถามว่าเห็นโจรวิ่งผ่าน มาไหม ท่านก็ตอบว่าอยู่ที่นี่ไม่เห็น ถ้าไม่ย้ายที่ อยู่ที่เดิมนี่โกหก แน่นอน เป็นทางออกของวินัยของพระของศีล ความหมายเป็น อย่างนั้น ทาครีมกันแดดนี่ฉันใดก็ฉันนั้น ท�ำอะไรให้ช�ำระวิตกให้ ได้ การฏิบัติการศึกษาธรรมมีทางออก ถ้าท�ำแล้วช�ำระวิตกไม่ได้ ก็มีแต่แย่ลง หน้าด�ำคร�่ำเครียด ขาดทุน ถ้าสุขภาพไม่ดีแต่ยังไม่ หาอะไรมาบ�ำรุงรักษา มันก็ไม่ใช่ ท่านให้บ�ำบัดรักษาได้ ศีลอยู่ที่ เจตนา เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทานิ คนทุกวันนี้คงคิดว่าไม่ว่า ท�ำอะไรก็จะผิดศีลไปหมดจึงไม่อยากรักษาศีลกัน อย่าไปโมเม เอาเองว่าผิดหมด ต้องใคร่ครวญดีๆ ศึกษาให้ละเอียด เหมือนกับ พระ ถ้าเกิดอธิกรณ์ขึ้นมาจะไปโมเมปรักปร�ำท่านไม่ได้เพราะบาง สิ่งบางอย่างก็ละเอียด ท่านจึงให้มีวินัยธร พร้อมหน้าสงฆ์ พร้อม หน้าวัตถุ พร้อมหน้าบุคคล ไต่สวนให้สมบูรณ์เสียก่อนจึงปรับ ตามโทษหนักโทษเบา โยมก็เหมือนกัน ทาครีมก็ทาไปแต่อย่าให้ มีความก�ำหนัด ทาจนให้เกิดนิพพิทา คือความเหนื่อยหน่าย โอ๊ย เบื่อมันแล้ว มันเป็นภาระยุ่งยาก พิจารณาไปด้วย ทาไปก็แก่ไป ก็ปลงตกแค่นั้นไม่ต้องทาอีกต่อไป พวกที่ติดนั่นเพราะทาเฉยๆ ไม่ได้พิจารณา ถ้าพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์ทุกอย่าง จะทาน อาหารนุ่งห่มก็ไม่ยินดียินร้าย ท�ำตามหน้าที่เฉยๆ
82
ถาม : ขอค�ำแนะน�ำวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดนิวรณ์ โดย เฉพาะข้อถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ ตอบ : ตามหลั ก ก็ มี อ ยู ่ แ ล้ ว ตั้ ง แต่ ค รั้ ง พุ ท ธกาล พระ มหาโมคคัลลานะ ท่านบวชใหม่ๆ ท่านเกิดถีนมิทธะ ความโงก ง่วงขึ้นมา พระบรมศาสดาได้ให้อุบาย ให้ท�ำความรู้สึกใหม่ เอา มือลูบตัว ถ้ายังไม่หาย ถ้านั่งหลับตาก็ลืมตาเสีย ถ้าลืมตายังไม่ หายก็เปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นยืน ยังไม่หายก็เดิน เดินยังไม่หาย ก็นึกถึงพระสูตรใดพระสูตรหนึ่ง สวดสาธยายก็เป็นการแก้ง่วงได้ สวดสาธยายยังไม่หาย ก็เดินดูเดือนดูดาว ยังไม่หายก็นึกถึงเป็น กลางวัน นึกถึงแสงสว่าง ยังไม่หาย ก็ไปอาบน�้ำ อาบน�้ำแล้วยังไม่ หายอีก ผลสุดท้ายท่านว่าให้ไปนอนเสีย ให้นอนสีหไสยาสน์ นอน ตะแคงด้านขวา เอาเท้าเหลื่อมเท้า แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า เรา จะไม่หาความสุขในการนอน ถ้ารู้สึกตัวเมื่อไรจะลุกขึ้นท�ำความ เพียรทันที นี่อุบายแก้ง่วง แต่ท่านโมคคัลลานะไม่ได้ถึงวิธีที่สิบนะ แค่สองสามวิธีท่านก็หายง่วง เจ็ดวันท่านก็ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์แล้วท่านไม่ง่วงแล้ว แต่ตอนยังฝึกยังหัดยังต้อง ต่อสู้อุปสรรคความง่วงเหงาหาวนอนอยู่ 83
ความฟุ้งซ่านลังเลสงสัย อุทธัจจกุกกุจจะ นี่เป็นนิวรณ์ เชื่อมโยงกัน ท่านจึงมีอุบายว่าให้บริกรรม จะเป็นสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐานก็ได้ เช่นบริกรรมพุทโธ สัมมาอะระหัง หรือ พิจารณามรณานุสสติ เจริญอานาปานสติ ล้วนแต่เป็นอุบายที่แก้ ความฟุ้งซ่านให้มีสติในปัจจุบัน เอาตัวนั้นมาสับเปลี่ยนอารมณ์ อย่างบางคนมาอยู่ที่นี่ คิดถึงบ้านแล้วก็ฟุ้งไปเรื่อย ปรุงแต่งๆ นั่งก็ ฝัน นอนก็ฝัน ยืนก็ฝัน เดินก็ฝัน ฝันว่าจะรวย วางแผนนั่นวางแผน นี่ จะท�ำธุรกิจนี้ จะได้ร้อยล้าน จะได้พันล้าน ไม่คิดขาดทุนเสียที มาที่นี่แล้วก็คิดถึงอยู่ที่นี่นะ อย่าไปเปลี่ยนง่ายๆ คนเราจะคิดไป ถึงสิ่งต่างๆ ที่เคยคิดตามความเคยชินที่เพาะนิสัยมานาน ก็ปรับ เปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความคิดใหม่ ให้คิดถึงพระพุทธเจ้า หรือสี ลานุสสติ คิดถึงศีลของตัวเอง ธรรมมานุสสติ บริกรรมถึงความ บริสุทธิ์ผุดผ่อง คิดถึงสังฆานุสสติ เป็นอนุสสติคิดถึงพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านผ่านพ้นมาด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยวิธี การอะไร ค้นคิดอย่างนี้ ความฟุ้งซ่านนั้นก็จะลดน้อยถอยลง
84
ถาม : ท�ำวิปัสสนากรรมฐานแล้วฝึกกสิณควบคู่ไป ด้วยจะได้หรือไม่ ตอบ : ได้หมดนั่นแหละ เหมือนกับเราท�ำเกษตรกรรม อยู่นี่ จะท�ำอะไรที่จะสร้างฐานะให้ร�่ำรวยขึ้นก็ท�ำ ท�ำไร่ท�ำนาสวน ผสม ปลูกข้าวก็ได้ เลี้ยงหมูก็ได้ ขุดสระเลี้ยงปลาก็ได้ วิปัสสนา ก็ไม่ห้าม ทางไหนที่จะเจริญรุ่งเรือง ทางไหนที่จะส่งผลไปให้ เกิดความสงบ เกิดความสะอาดสว่างได้ เกิดสติปัญญาได้ รีบ ท�ำ ท่านไม่กางกั้น แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านแยกเป็นส่วนๆ ก็เพราะ จริตของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนรับได้ 2 อย่าง บางคนก็รับได้ อย่างเดียว อยู่ที่ก�ำลังของเรา ถ้าก�ำลังพอก็ท�ำได้ที่ไม่ผิดศีลผิด ธรรม ที่ไม่นอกเขตวิปัสสนา กสิณก็แปลว่าเพ่งให้อยู่ในอารมณ์ จับจุดใดจุดหนึ่งเพ่งให้จิตนิ่ง ก็ไม่ผิด แต่อย่าไปเผลอสติ ส�ำคัญ ที่ท�ำอะไรให้มีสติ รู้อยู่เสมอในปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นอย่าไปหลง แต่บางคนไปเพ่งแล้วไปเห็นสีเห็นแสง ก็หลงสีหลงแสง เช่นเห็น พระพุทธรูป ก็ว่าพระพุทธเจ้ามาโปรด จนประกาศว่าข้าพเจ้าเป็น พระโสดาบันเป็นพระอรหันต์แล้ว ต้องระวังให้ดี ไม่ให้หลงตัวเอง ท่านไม่ให้ประกาศ ท่านไม่ให้อวด ท�ำได้ ถ้ารู้จักก�ำลังของตัวเอง 85
ถาม : ถ้าเปรียบสติเป็นเหมือนหางเสือเรือ ใช่หรือ ไม่
ตอบ : ได้หมด เป็นที่บังคับ เป็นที่ห้ามล้อ ที่จะพาให้ไป ถึงฝั่ง สตินี่แหละท�ำให้ส�ำเร็จทุกอย่าง
86
ถาม : ต้นไม้มีขันธ์หรือไม่ ถ้ามี มีกี่ขันธ์ ตอบ : ต้นไม้มีรูปขันธ์ มีวิญญาณขันธ์ แต่ไม่มีการจ�ำ ได้หมายรู้ สัญญาขันธ์ไม่มี เช่น เราไปกระทบบางครั้งอย่างต้น ไมยราบ มันหุบมันบานเข้าได้ มีเคลื่อนไหวด้วยเหมือนกัน มี แบบจ�ำไม่ได้ สังขารขันธ์ ความปรุงแต่งนี่ก็ธรรมชาติปรุงแต่ง ขึ้นมา ก็เป็นขันธ์อันหนึ่ง แต่ว่าขันธ์ทุกขันธ์ก็ไปลงสู่ที่เดียวกัน คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่จะไป สงสัยท�ำไม เหมือนสงสัยวิทยุ มีเด็กคนหนึ่งอยู่บ้านนอกเห็นวิทยุ ทรานซิสเตอร์มาใหม่ๆ เอ๊ะ มันตั้งเวทีตั้งวงดนตรีที่ไหน ดูวิทยุ ทรานซิสเตอร์นี่แคบๆเอง จะไปดูไปค้นหานางร�ำดูดนตรีกีตาร์ ไป แกะ ไปตามหาเสียงหารูปหากลิ่น ตามไม่เจอวิทยุพังหมด ไม่ได้ ฟังเลย ฉะนั้นอย่าไปสงสัยเขาเลย เหมือนที่หลวงปู่พุทธทาสท่าน ว่า ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเอง เหตุปัจจัยเป็นอย่างไร มีเหตุมีปัจจัย 87
ทั้งหมด ถึงจะไม่มีธาตุมีขันธ์ ก็มีกระแสเหมือนกระแสที่เราไม่เห็น รูปเห็นร่าง กระแสหรือสื่อต่างๆ ทุกอย่างมีเครือข่ายมีคลื่นของ มันทั้งหมด แต่เราไม่เห็นรูปเห็นร่าง ถ้าไปนั่งคิดสงสัยอยู่ทั้งหมด ก็ตายเปล่านะ ท่านสรุปว่าเป็นอารมณ์ที่โลกะวิทู รู้แจ้งโลก ไม่ใช่ ว่าตามรู้ไปทุกอย่าง โลกะวิทูคือรู้ว่าโลกต่างๆ ล้วนมาสรุปรวมกัน อยู่ที่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะมีขันธ์ๆ เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์ มีขันธ์ห้า ขันธ์ก็แล้วแต่ ต่างก�ำลังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร ทุกอย่างอยู่ที่ ความเปลี่ยนแปลง เรามาท�ำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงให้ ถูกต้อง แล้วก็วาง แล้วก็จะว่าง แล้วก็จะเบา
88
ถาม : เวลาท�ำบุญที่ไหน จะส่งบุญให้คุณแม่โดยการ เขียนแล้วให้ท่านร่วมอนุโมทนาบุญ ท่านจะได้บุญหรือไม่ ตอบ : โยมแม่ก็ได้บุญ คือ ดีใจเห็นลูกท�ำดี พออนุโมทนา บุ ญ บุ ญ ส� ำ เร็ จ ด้ ว ยการอนุ โ มทนาก็ มี ใ นส่ ว นหนึ่ ง เหมื อ นกั บ นิทานเรื่องหนึ่ง ลูกเณรบวช โยมแม่ที่เป็นผู้สร้างกองบวชนั้นเป็น คนที่เพ่งกสิณเพ่งกรรมฐาน ก็เพ่งสีจีวรของลูกเณรจนติดตาติดใจ จนเป็นอารมณ์กรรมฐาน พอตายไปแล้วถูกจ่ายมบาลจับจะไป ลงนรก แต่แกไปเห็นแสงไฟนรกก็อุทานว่า โอ...สีนี่งามเหมือนสี จีวรของลูกชายของข้าพเจ้าแท้ จากดวงวิญญาณหัวเลี้ยวหัวต่อ จะลงนรกแล้วกลับกลายพลิกแพลงขึ้นสวรรค์เลย นี่เป็นเรื่อง อุ ทาหรณ์ส อนใจให้ ค นท� ำ บุ ญท� ำทานมี ก� ำ ลั ง ใจยิ่ ง ขึ้น ไม่เสีย ก�ำลังใจ ฉะนั้น จะเป็นลูกท�ำแทนแม่ ลูกท�ำแทนพ่อ หรือพ่อท�ำ แทนแม่ ถ้าท�ำแล้วบอกพ่อบอกแม่ สร้างอารมณ์ดีๆ ขึ้นได้ สุคติก็ เป็นที่หวังไม่ไปทุคติแล้ว 89
ถาม : มีคนบอกว่านั่งสมาธิไปเห็นพระพุทธเจ้าและ กายในสามารถสื่อกับพระหรือเทพได้ มีความเป็นไปได้จริง ไหม ตอบ : ก็ เ ป็ น เรื่ อ งของเขา จริ ง ไม่ จ ริ ง ก็ เ รื่ อ งของเขา เหมือนกับสุภัททะปริพาชกทูลถามพระพุทธเจ้า สงสัยว่าบรรดา เจ้าลัทธิทั้งหลายเป็นผู้หมดกิเลสหรือไม่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อย่าไปพูดเรื่องของเขา เราจะแสดงธรรมให้ฟัง แค่นั้น ท่านปฏิเสธ เลยเรื่องของคนอื่น เวลาเรามีน้อย ไปสงสัยพวกทรงเจ้าเข้าผีก็ เป็นเรื่องของเขา อยู่ในระดับของเขา ก็มีบ้างจริงบ้างหลอกบ้าง นั่นแหละ เพราะว่ามันโคจรมาพบกัน แล้วแต่เหตุปัจจัย ธาตุขันธ์ มันเป็นอย่างนั้น เขาเคยเป็นสื่อกัน เคยเป็นกรรมเป็นเวรสื่อกันกี่ พบกี่ชาติ มันไม่หลุดไม่พ้น
90
พวกฌานโลกีย์ เหมือนกับฤๅษี ถึงมีคุณธรรมแต่ก็พลาด ได้เหมือนกัน ฤๅษีแต่ก่อนอยู่ป่าอยู่เขาอยู่สงบสงัด เห็นแต่ธรรมะ ศึกษาธรรมะ เคยเหาะได้ พอมาเห็นราชินีเท่านั้น เห็นสวยก็เกิด ความก�ำหนัด เหาะไม่ได้เลย จิตมันพลิกนิดเดียวจากหน้ามือเป็น หลังมือ สภาวะจิตเสื่อม พวกฌานโลกีย์ โลกียบุคคลพวกเป็น คุณธรรมก็สามารถจะแสดงได้หลายแบบ แต่ก็แปรได้เสื่อมได้ แต่เรื่องของเราจะให้สูงขึ้น พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องหลุดเรื่อง พ้นเรื่องสติปัญญา ก็ศึกษาไป ก็รู้ แล้วก็ละ ก็ปล่อย ก็วาง
91
ถาม : อุคคหนิมิต คืออะไร ตอบ : เป็นนิมิตเบื้องต้น อุคคหนิมิตเกิดขึ้นเบื้องต้น นิมิต คือเครื่องหมาย แต่นิมิตจะเกิดก่อนเกิดหลัง จะเป็นอุคคหนิมิต หรือนิมิตอะไรก็แล้วแต่ ขอให้เราเห็นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ให้มีสติ อย่าไปหลงนิมิตเป็นหลักส�ำคัญ นิมิตหยาบคือรูปร่างของเรา ที่ดู กันทุกวันนี้มันหลง หลงว่าสวยว่างาม ว่าขี้ริ้วขี้เหร่ เลยดีใจเสียใจ ส่วนนิมิตละเอียดมันเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราวขณะปฏิบัติ ให้ พิจารณาเป็นเรื่องความสิ้นความเสื่อมไป อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลวงปู่ชาท่านสอนง่ายๆ ว่า มันไม่แน่ เกิดอะไรขึ้นก็ให้คิดว่า ไม่ แน่ ให้มีสติเท่านั้น
92
ถาม : เวลาใส่บาตร ใช้เงินใส่ซองใส่ลงไปในบาตร ได้หรือไม่ ตอบ : นี่ก็มีประสบการณ์เหมือนกัน อาตมาก็เคยห้าม คนใหม่เขายังไม่เข้าใจเรื่องปฏิบัติของเรา เคยมีผู้หญิงจะมา ใส่ พระฝรั่งท่านเคร่ง ท่านอยู่ด้วย ท่านปิดเลยไม่ให้ใส่ ต่อมาผู้ หญิงคนนั้นก็ไม่ใส่บาตรอีกเลย เสื่อมศรัทธา ว่าท�ำบุญท�ำยาก เหลือเกิน เรื่องนี้คือท�ำให้เหมาะสม ทางวินัยห้ามรับเงินรับทอง เป็นของตัวเอง ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วก็สามารถที่จะอะลุ่มอล่วยได้ แล้วก็มีลูกศิษย์ติดตามไปถ่ายบาตร ก็ให้เขาใส่เสีย เพราะเขา ดีใจก็สบายใจ รับแล้วก็รีบสละเร็วๆ ไม่หักล้างเขา เพราะว่าเขา คนใหม่ เขาศรัทธาใหม่ ครั้งพุทธกาลก็มีหลายเรื่อง บางทีเขามี ศรัทธาอยู่ แต่ตระกูลยากจน ภิกษุไปกี่รูปๆก็ต้องใส่บาตรทุกวัน พระพุทธเจ้าเห็นความล�ำบากของตระกูลนั้นก็ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุ ไปรับบิณฑบาตในตระกูลนั้น เขาก็เสียใจอีก ท่านก็ผ่อนผัน ให้ไป ได้แต่ไม่ให้เกินสองรูปหรือสามรูป อย่างนี้ก็มี ก็ต้องพิจารณาควร ไม่ควร อย่างครูบาอาจารย์ไปธุดงค์ มีลูกศิษย์ติดตาม เขาก็จับ ออก แล้วแต่ลูกศิษย์อยากจะท�ำบุญไปแปรเป็นอะไรก็ตาม ก็ได้ ท�ำบุญต่อ เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาเหมือนกัน 93
ถาม : เราจ�ำเป็นต้องสมาทานศีลไหม สมมติตั้งใจ ว่าจะรักษาศีลห้า ถ้าสมาทานต่อหน้าพระพุทธรูปจะเพียง พอหรือไม่ ตอบ : นี่ก็เป็นพิธีกรรมที่จะเพิ่มก�ำลังศรัทธา เพิ่มก�ำลัง ใจของเราส่วนหนึ่ง เพิ่มความมั่นใจขึ้น สมาทานก็ไม่ผิด ตั้งวิรัติงด เว้นเอาเลยก็ไม่ผิด แต่สมาทานมีน�้ำหนักกว่า เพราะว่าจะเกรงขึ้น อีกว่าเราไปสมาทานกับพระหรือไปพูดต่อหน้าพระพุทธเจ้า กลัว จะเสียสัจจะก็ไม่ล่วงละเมิด แต่ถ้ารักษาศีลเลยก็ได้ อยู่ที่ใจระวัง ถ้าอยู่ส่วนรวมต้องสมาทาน ท�ำพิธีกัน สมมติขึ้นมาก่อน อย่าทิ้ง สมมติแต่ก็ไม่เอาสมมติ เหมือนกับบวชพระ ถ้าทิ้งสมมติไม่ต้อง ผ่านอุปัชฌาย์อาจารย์ ไปนุ่งผ้าเหลืองเลยใครจะกล้ากราบ ฉันใด ก็ฉันนั้น คือต้องท�ำพิธีกรรมเสียก่อนให้มั่นใจ ให้มันสมควรเป็น ลายลักษณ์อักษร มีที่มาที่ไป หลักสากลจึงยอมรับ อยู่คนเดียวก็ ต้องมั่นใจ มีที่อ้างว่าเราตั้งสัจจะกับพระพุทธรูปแทนพระพุทธเจ้า แล้ว เราจะไม่โกหกพระพุทธเจ้า จะไม่โกหกตนเอง มั่นใจอย่างนี้
94
ถาม : การสวดมนต์ สวดพระปริตร สวดเองได้หรือ ไม่
ตอบ : การสวดมนต์ สวดคาถา เป็นการโน้มน้าวจิตใจ ของเราไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้อยู่ในอารมณ์เดียว ถ้าสวดด้วยศรัทธา ก็ เป็นสมาธิได้ เหมือนการฟังเทศน์ ใครจะมาฟังก็ได้ พระจะมาฟัง ก็ได้ เณรก็ฟังได้ โยมก็ฟังได้ สัตว์เดรัจฉานก็มาฟังได้ พญานาค มาฟังก็ยังศรัทธา การฟังธรรมท่านไม่ห้าม ถ้ามีศรัทธา ถ้าสวดเอง ก็ยิ่งดี สวดไปก็น้อมไปเป็นอารมณ์สมาธิไป ไม่ผิด
95
96