ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ

Page 1

พักใจ ไว้กับธรรม

พักใจไว้กับธรรม

1


ขยันก็ท�ำ ขี้เกียจก็ท�ำ

ขยันก็ท�ำ ขี้เกียจก็ท�ำ เรียบเรียงจากธรรมบรรยาย โดย พระโสภณภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์แดน กัลยาโณ) ในโครงการ “พักใจไว้กับธรรม” (ธรรมะวันอาทิตย์สิ้นเดือน) วันที่ 28 พฤษภาคม 2560 ณ อาคารปฏิบัติธรรมมูลนิธิมายา โคตมี

จัดพิมพ์โดย มูลนิธิมายา โคตมี พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2560 จ�ำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ผู้สนใจ โปรดติดต่อ พระธรรมเทศนาโดย พระโสภณภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์แดน กัลยาโณ) วัดพุทธโพธิวัน ประเทศออสเตรเลีย 2 พักใจไว้กับธรรม

มูลนิธิมายา โคตมี

เลขที่ 3 ซอยกรุงเทพกรีฑา 20 แยก 7 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-368-3991 แฟ็กซ์ 02-368-3573 e-mail : mayagotami@gmail.com พักใจไว้กับธรรม

3


ค�ำน�ำ หนั ง สื อ นี้   เรี ย บเรี ย งจากธรรมบรรยายโดย พระโสภณภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์แดน กัลยาโณ) วัดพุทธโพธิวัน เมืองเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้เมตตาเดินทางมาแสดงธรรมและตอบปัญหาธรรม แก่ญาติโยมในโครงการ “พักใจ ไว้กับธรรม” ณ อาคาร ปฏิบัติธรรมมูลนิธิมายา โคตมี วันที่ 28 พฤษภาคม 2560 พระธรรมเทศนามีเนื้อหามุ่งเน้นที่การพัฒนา จิตใจ เริ่มจากพื้นฐานของการปฏิบัติให้มีศีลห้าในชีวิต ประจ�ำวัน ด้วยความตั้งใจและสัจจะที่จะกระท�ำอย่าง สม�่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการเจริญสติ สมาธิ และปัญญาต่อไป จนสามารถลด ละ กิเลส ตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกไปจากใจ ได้ จึงจะเป็นการสร้างความสุขให้กับจิตใจอย่างแท้จริง พระธรรมเทศนาที่ แ สดง  ใช้ ภ าษาที่ เ ข้ า ใจ ง่ายๆ ผ่านมุมมองของพระสงฆ์ชาวตะวันตกที่ได้ศึกษา พระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน และเข้าถึงคุณพระ รัตนตรัย ด้วยศรัทธา ปัญญา จากการปฏิบัติด้วย ตนเองอย่างต่อเนื่อง ท่านได้น�ำประสบการณ์ ค�ำสอน 4 พักใจไว้กับธรรม

จากครูบาอาจารย์มาถ่ายทอดเพื่อให้ความรู้ เพื่อสร้าง ศรัทธา และปฏิปทาแก่คนรุ่นหลังต่อไป มูลนิธิฯ หวังว่าหนังสือ  “ขยันก็ท�ำ ขี้เกียจก็ ท�ำ”  จะท�ำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นกัลยาณมิตรที่ช่วย เตือนสติและแนะน�ำแนวทางในการปฏิบัติธรรมที่ถูก ต้องตามหลักธรรมค�ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ ผู้ เป็นเหตุปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้มีหนังสือเล่มนี้ ที่เมตตา กรุณาน�ำค�ำสอนมาถ่ายทอด พร้อมทั้งขออนุโมทนา แก่ญาติโยมทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมในการท�ำหนังสือด้วย ความตั้งใจและปรารถนาดี ที่จะช่วยกันเผยแผ่ธรรมะ เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านและประโยชน์ในภาย ภาคหน้า

มูลนิธิมายา โคตมี

พักใจไว้กับธรรม

5


พักใจไว้กับธรรม พระโสภณภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์แดน กัลยาโณ) วัดพุทธโพธิวัน ออสเตรเลีย 28 พฤษภาคม 2560

6 พักใจไว้กับธรรม

วันนีอ้ าตมาได้รบั นิมนต์มาพูดธรรมะกับญาติโยม เป็นโอกาสทีส่ ะดวก โดยปกติจะอยูป่ ระจ�ำทีว่ ดั พุทธโพธิ วัน  เมืองเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย  เป็นเหตุให้ รูจ้ กั กับคุณสุจติ ราทีช่ ว่ ยให้การดูแลมูลนิธมิ ายา  โคตมี ที่นี่  สมัยก่อนคุณสุจิตราก็ เ คยเป็ น ท่ า นทู ต ประจ� ำ ออสเตรเลีย รู้จักกันมาหลายปี วันนี้ได้รับนิมนต์ มาเทศน์ที่นี่ โอกาสที่ได้เดินทางมาก็เพราะไปร่วม ประชุ ม นานาชาติ ส ายต่ า งประเทศของพระเดช พระคุณหลวงปู่ชา มีประชุมพระเถระและเจ้าอาวาส ต่างๆ  ทั่วโลกที่ประเทศอังกฤษ เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ช่ ว งที่ ก� ำ ลั ง จะกลั บ จากประเทศอั ง กฤษสู ่ ป ระเทศ ออสเตรเลีย จึงถือโอกาสแวะมาเยี่ยม มาสนทนา ธรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติ ธรรม ที่ไปประเทศอังกฤษนั้น มีพระสงฆ์มาจากทั่ว โลกจ�ำนวน 85 รูป เดินทางมาประชุมกัน ซึ่งเป็น ตัวแทนจาก 38 วัดทั่วโลก น่าจะเป็นแทบทุกทวีป ของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาจากทั่วโลกจริงๆ เป็น พักใจไว้กับธรรม

7


ที่น่าภูมิใจของชาวพุทธเราที่บุญบารมีของพระเดช พระคุณหลวงปู่ชาแผ่ออกไปกว้างขนาดนี้สมัยก่อน ในสมัยแรกที่หลวงปู่ชาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ มีหลวงพ่อสุเมโธเข้าไปปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่า พง คงไม่มีใครคิดว่าคณะสงฆ์และญาติโยมที่ปฏิบัติ ธรรมจะแผ่ จ ากวั ด หนองป่ า พงออกไปสู ่ ทั่ ว โลก เหมือนสมัยปัจจุบันนี้ คงไม่มีใครคิดว่าเป็นไปได้ แต่ สุดท้ายก็เป็นไปได้ ตอนนี้มีคนสนใจปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้า ทั่วโลกจริงๆ  ไม่ใช่เฉพาะประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจ�ำชาติเช่นเมืองไทย หรือประเทศ ใกล้เคียงเช่นศรีลังกาหรือพม่า เดี๋ยวนี้แม้แต่ใน แอฟริกาก็มีวัดสายเถรวาทเหมือนวัดไทยที่เกิดขึ้น แล้วที่ประเทศยูกันดา มีชาวแอฟริกันเข้าไปบวช ไป อุปสมบทที่นั่นด้วยก็มี นักปฏิบัติหลายสิบหลาย ร้อยคนที่สนใจเข้าไปปฏิบัติที่นั่นมีทุกทวีป สมัยนี้มี คนสนใจกันมาก แต่ยังมีคนไทยที่สนใจปฏิบัติธรรม เหลืออยู่หรือเปล่าไม่แน่ใจ คนไทยเรามีศรัทธา เดิมๆ มายาวนาน หลายสิบหลายร้อยปีก็จริง แต่ บางทีความเคยชินก็อาจเป็นสาเหตุให้เรานิ่งนอนใจ

8 พักใจไว้กับธรรม

ต่อพระพุทธศาสนาก็เป็นได้ เราเห็นพระสงฆ์ทุกวัน เห็นวัดวาอารามทุกวัน บางทีก็ไปร่วมพิธีต่างๆ ทาง ศาสนาบ่อยๆ จนบางทีความเคยชินท�ำให้เราไม่ค่อย ตื่นตัวต่อการปฏิบัติธรรม บางทีไปฟังธรรมก็นั่ง หลับหรือนั่งคุยกับเพื่อน ไม่ค่อยได้ศึกษาหรือสนใจ ในเนื้อหา หรือไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ กายไป แต่บางทีใจก็ไม่ค่อยได้ไป ใจอยู่ที่อื่น ตรงจุดนี้อาจเป็นข้อสังเกตที่เราต้องคิดเสมอ ว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องท�ำอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ แค่เอากายไปที่วัด ประกอบพิธีต่างๆ การท�ำบุญ หรือว่าการฟังธรรมจะต้องเอาใจไปปฏิบัติด้วย นี้ เป็ น จุ ด ส� ำ คั ญ ที่ ช าวต่ า งชาติ ส นใจที่ จ ะมาศึ ก ษา ปฏิบัติธรรมที่เมืองไทย หรือในสมัยนี้ไม่มาเมือง ไทยจะศึกษาในบ้านเมืองเดิมก็ได้ เขาสนใจที่จะฝึก จิตใจของตน หรือจะเรียกว่าพัฒนาจิตใจของตนก็ได้ เพราะอะไร เพราะมนุษย์เราก็สามารถพัฒนาตนเอง ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม เปลี่ยนนิสัยไปในทางที่ดีได้ ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นได้ พักใจไว้กับธรรม

9


พระพุ ท ธเจ้ า ก็ ไ ด้ แ นะน� ำ สั่ ง สอนอยู ่ เ สมอว่ า มนุษย์เราเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เรียนรู้ธรรมะได้ จาก การปฏิบัติและจากการเรียนรู้ธรรมะก็มีโอกาสที่จะ พัฒนาจิตใจของตัวเอง ให้สูงขึ้น ให้ดีขึ้นได้ จะ ได้พบกับความสุขความสงบที่แท้จริง ซึ่งน่าจะเป็น สิ่งที่ทุกคนในโลกต้องการ ในโลกนี้คงไม่มีใครเกิด มาเพื่อความทุกข์ ทุกคนต่างก็เกิดมาเพื่อแสวงหา ความสุข เพียงแต่บางที เราก็ไม่รู้ทางที่จะท�ำให้เรา มีความสุขที่แท้จริง หรือรู้แล้วแต่ยังไม่ปฏิบัติตาม ในสิ่งที่เราเคยได้ยินได้ฟัง ถ้าเรามีส�ำนักปฏิบัติอย่างนี้ อย่างเช่นที่มูลนิธิ มายา โคตมี เพราะอยู่ใกล้บ้าน หรือเป็นสถานที่ที่ เรามาปฏิบัติธรรม มาฟังธรรม อย่างนี้ได้ ก็เป็นบุญ ของเรา เป็นโชคดีของเรา การปฏิบัติธรรมนั้นเรา ก็ต้องมีการกระท�ำ เหมือนเช่นหลวงปู่ชา อาจารย์ ของเรา เคยเปรียบเทียบว่า ถ้าอยากจะรู้รสชาติ ของผลไม้ สมมุติว่ามีเพื่อนเราไปต่างประเทศ บอก ว่าเราได้ชิมรสแอปเปิ้ลแล้ว รสมันหวาน มันเปรี้ยว อย่างนี้อย่างนั้น ถ้าเขากลับมาอธิบายให้เราฟัง แต่ ตัวเรายังไม่ได้ชิมรส ยังไม่ได้กินลูกแอปเปิ้ลจริงๆ ก็

10 พักใจไว้กับธรรม

คงไม่มีวันได้รู้ว่า รสชาติของแอปเปิ้ลเป็นอย่างไร ถึงเขาจะอธิบาย พรรณนา ใช้ภาษาที่ละเอียดอธิบาย ว่าเวลารับประทานแอปเปิ้ลรสชาติเป็นอย่างไร ถ้า ยังเป็นภาษา เป็นความสมมุติ เป็นความคิด ยัง สื่อสารความจริงได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเรา เองก็ไปหาลูกแอปเปิ้ล ชนิดที่เพื่อนเคยชิมแล้ว เรา เองเคยซื้อแล้วไปชิมไปกิน เราจึงจะรู้ว่ารสชาติเป็น อย่างไร เราก็ไม่ต้องใช้ภาษาแล้ว รู้ได้ด้วยรสสัมผัส ของใจของเราเอง ลิ้นของเราเอง เราจะรู้เอง การปฏิบัติธรรมจะเป็นอย่างนี้ คือ เราฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรมะในเบื้องแรก ก็ไม่ผิด แต่ ต้องเอาความรู้ความเข้าใจ ที่เกิดจากการได้ยินได้ ฟัง มาประกอบ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน จึง จะเริ่มรู้จักรสชาติของพระธรรม อย่างนี้จึงเป็นการ ปฏิบัติ เช่น เมื่อกี้เราสมาทานศีล อาจเคยสมาทาน ศีลในชีวิตนี้หลายร้อยครั้ง มีพิธีกรรมที่ไหนก็จะมี การสมาทานศีล แต่เราอาจจะยังไม่เคยคิดถึงตัวศีล ที่แท้จริง ว่าตรงไหนเป็นอย่างไรก็ได้ พักใจไว้กับธรรม

11


ในกรุงเทพฯ บางทีเราอาจจะรู้สึกในใจว่าพระ อาจเป็นผู้ให้ศีล แต่ศีลนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะให้กันได้ ศีล เกิดอยู่ที่ใจ เกิดจากการที่ตั้งใจงดเว้นจากการ ประพฤติผิด เช่น การเบียดเบียนสัตว์ ท�ำลายสัตว์ อื่น บุคคลอื่น หรือลักขโมยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ ให้ การประพฤติผิดในทางกามารมณ์ ประพฤติผิด ในทางวาจา อย่างนี้เป็นต้น ต้องมีการงดเว้นจาก การประพฤติผิด ต้องมีความเข้าใจว่า ถ้าเรามีความ ตั้งใจงดเว้น จะเป็นเหตุให้เกิดความสุขแก่เรา เกิด ความสงบทางใจ ถ้าเราไม่ไปเบียดเบียนใคร เรามี ความเคารพต่อผู้อื่น ตลอดถึงสัตว์อื่น มีความรู้สึก อยู่ในใจอย่างนี้ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความสุขใจชนิด หนึ่ง ที่มีคุณค่ามากต่อเรา จิตใจก็จะไม่ฟุ้งซ่านไป ในเรื่ อ งอดี ต ที่ เ ราเคยกระทบกระทั่ ง กั บ คนอื่ น ทาง กายวาจา ก็จะมีความสุขดี ถ้าเราประพฤติอยู่ในศีล หรืออย่างน้อยก็มีเครื่องตัดสินเป็นมาตรฐานของเรา ในชีวิตประจ�ำวัน เราพยายามปฏิบัติตามกฎของศีลห้า ถึงเวลา เราจ� ำ เป็ น ต้ อ งตั ด สิ น อะไรที่ อ าจจะเป็ น เหตุ ป ั จ จั ย อะไรรอบๆ ข้างเรา ที่จะเป็นเหตุให้เราละเมิดศีล

12 พักใจไว้กับธรรม

เราก็มีเครื่องตัดสินว่าเราเคยสมาทานศีลแล้ว เรา ตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนสัตว์ จะไม่ลักขโมย เพราะฉะนั้นในโอกาสนี้ เวลานี้ มีเหตุปัจจัยให้เรา ต้องผิดศีล แต่เราจะไม่ท�ำเพราะเราได้เคยสมาทาน แล้ว และได้พิจารณาเห็นโทษแล้ว การสมาทานศีล เป็นการฝึกในจิตใจ ก่อนสมาทานก็ต้องตั้งเจตนาที่ จะงดเว้นการประพฤติผิดทางกาย ทางวาจา แต่ ต้องพิจารณาอย่างสม�่ำเสมอในชีวิตประจ�ำวัน ฝึก “สติ” ให้รู้เท่าทันว่าก�ำลังคิดอะไร ก�ำลัง ตัดสินอะไร ที่เรารู้ๆ กันยากที่สุดก็คือ เรื่องวาจา เวลาอยู่กับเพื่อนๆ จะควบคุมวาจาให้เป็นสัมมาวาจา งดเว้นจากการพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดค�ำหยาบ ก็ ต้องตั้งใจมาก ต้องมีความเพียรพยายาม ต้องมีสติ รู้เท่าทันตัวเองให้มาก ตัวศีลก็เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า พระให้แล้วศีลอยู่กับเรา อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติใน ชีวิตประจ�ำวัน แต่ศีลหรือปัญญาที่เห็นประโยชน์ใน การรักษาศีล คล้ายกับว่าเป็นเพื่อนที่มีคุณค่าที่สุด ในใจของเรา ในชีวิตของเรา ถ้าเรามีปัญญาแล้ว เห็นประโยชน์ในการรักษาศีล คล้ายกับว่าเพื่อนคน นี้ก็จะเดินทางไปกับเราตลอดเวลา เราจะอยู่ที่ไหน พักใจไว้กับธรรม

13


หรือมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ศีลจะเป็นเครื่องตัดสิน ว่าเราควรจะท�ำอย่างไร ควรจะพูดอย่างไร ควรจะ ท�ำอย่างไร อาจจะเป็นเครื่องช่วยป้องกันบาปกรรม ไม่ให้เราท�ำขึ้นมาเพราะว่าเรามีศีลก็มีเครื่องระลึกอยู่ ในใจเสมอ ข้อนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ การปฏิบัติธรรมอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่กาย วาจา ใจ ของเรา บางทีเราอาจจะเคยคิดว่าการปฏิบัติธรรม เราต้องอยู่ที่สถานที่ใดที่หนึ่ง เช่นเราต้องไปวัด เช่น วัดป่าสุนันทวนารามก็ได้ หรือสถานปฏิบัติธรรมเช่น มูลนิธิมายา โคตมี ก็ได้ จึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติ ธรรม แต่กายวาจาใจอยู่กับเราทุกเวลาทุกหนทาง ดังนั้น สถานที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่เรา ปัจจุบันเราอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็ถือว่าเป็นสถานที่ปฏิบัติ ของเรา ดังนั้นเราจึงต้องระลึกนึกถึงสิ่งที่เราท�ำทุก วันแม้แต่พิธีกรรมทางศาสนา หรือการกระท�ำทาง ศาสนา ที่เราอาจจะมีความเคยชิน มีการกระท�ำ เป็นประจ�ำ ขอให้เราระลึกถึงอยู่เสมอ จะได้ใช้เป็น โอกาสปฏิบัติของเรา

14 พักใจไว้กับธรรม

เช่นวันนี้เราได้สมาทานศีลห้าแล้ว และได้ก�ำลัง ฟังธรรมะ ก็พยายามให้ใจของเราอยู่ในปัจจุบัน วันนี้สถานที่ก็อ�ำนวยให้ เพราะเป็นสถานที่ที่สงบ บุคคลที่เข้ามาที่นี่ก็มีศรัทธาเหมือนๆ กัน เป็นการ สนับสนุนการปฏิบัติเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็น โอกาสดีของเราที่จะเริ่มปฏิบัติธรรมที่นี่ ปฏิบัติอยู่ ในศีล จะเป็นเหตุให้เกิด “สติ” คือ ความรู้ตัวขึ้นมา ไม่ใช่ว่ารู้ตัวครั้งเดียวแล้วก็เลิก แต่เป็นความรู้ตัวที่ เราต้องสร้างอย่างต่อเนื่อง ก็คือฝึกสติให้มีสติรู้ตัว อย่างต่อเนื่อง แม้แต่เลิกปฏิบัติที่นี่ เมื่อกลับบ้าน แล้วก็น�ำเอาการปฏิบัติธรรมกลับบ้านไปด้วย เมื่อ กลับบ้านก็เอาศีลกลับไปด้วย ใช้ศีลเป็นเครื่องระลึก อยู่ในใจ หรือสมมุติว่าพรุ่งนี้บางคนต้องออกไป ท�ำงาน ก็ให้เอาศีลของเราเป็นเครื่องระลึก เวลาที่ เราออกไปท�ำงานด้วย เอาสติของเราไปท�ำงานด้วย ควบคุมกายวาจาใจของเรา นี้คือการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติไปเพื่ออะไร  ปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้สึก สุขสบาย เย็นอยู่ในใจ ความสุขที่พระพุทธเจ้า ตรัสถึงก็คือ ความสุขชนิดที่มีความเย็นใจ มีจิตใจ ที่ปราศจากความทุกข์ ความร้อนใจ ความวุ่นวาย พักใจไว้กับธรรม

15


ที่เราเคยสัมผัสมาแล้ว เรารู้ว่ามันไม่ดี เราไม่ชอบ เราไม่อยากจะมีความทุกข์แบบนั้น เพราะฉะนั้น เราก็ต้องตั้งใจปฏิบัติ เราเอาศีลเป็นพื้นฐานในการ ปฏิบัติ เหมือนการสร้างอาคาร เราอยากให้อาคาร อย่างมูลนิธิมายา โคตมีอยู่อีกหลายสิบปี จะได้เกิด ประโยชน์แก่ชาวพุทธ เราต้องสร้างอาคารบนพื้น ฐานที่แข็งแรงมั่นคง อาจจะต้องตอกเสาเข็ม เท พื้นปูน รากฐานของตึกหลังนี้จะได้มั่นคง ตึกจะได้ อยู่นานโดยไม่พังลงไป จิตใจของเราก็เช่นกัน เราต้องพยายามสร้าง การปฏิบัติของเรา บนพื้นฐานของศีลห้า นี้เป็นเหตุ ที่เราต้องสมาทานเป็นประจ�ำ ทุกงานเราก็ฟังพระให้ ศีลทุกครั้ง ศีลไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจ เรา กายเรา ทุกๆ วันเมื่อกลับบ้าน เราอาจจะไม่ได้ สมาทานศีลเป็นพิธี แต่ให้เราระลึกถึง หรือที่เรียก ว่าเป็นที่ระลึกอยู่ในใจสม�่ำเสมอ ถ้าเราเสียสละตรง นี้ พยายามสมาทานทุกวันๆ หมั่นตรวจดู พิจารณา การกระท�ำของตัวเองในแต่ละวัน อาจจะตั้งเวลาใด เวลาหนึ่งในชีวิตประจ�ำวันก็ได้ เช่น ตอนเย็น ตอนค�่ำ ก่อนนอน เรากลับถึงบ้านเราอาจจะสวดมนต์ นั่ง

16 พักใจไว้กับธรรม

สมาธิ สักพักหนึ่ง และก่อนจะนอนก็ตรวจศีลของ เรา ว่าวันนี้เราได้รักษาศีลห้าของเราครบไหม นี้ก็ เป็นเหตุให้เกิดสติปัญญา พัฒนาใจของเรา อาจจะมีบางวันบางครั้งเราจะรู้ตัวว่า วันนี้เรา อาจจะผิดพลาดไป อาจพูดแรงไป ว่าเขามากไป หน่อย วาจาก็อาจจะไม่ได้เป็นสัมมาวาจา หรือวันนี้ เราก็อาจจะมีการโกหกบ้าง วันนี้เราอาจจะมีการฆ่า แมลง ฆ่าสัตว์บ้าง อย่างนี้เป็นต้น จึงควรตรวจ สอบศีลตัวเองก่อนจะนอนอีกครั้งว่า วันนี้ครบไหม ห้าข้อ ถ้าพบว่าศีลห้าข้อของเราครบ ก็น่าจะเกิด ความสุขใจในขณะนั้น ภูมิใจเพราะรู้สึกว่าไม่มีโทษใน ใจ ไม่ต้องรู้สึกอายใคร ไม่ต้องรู้สึกผิดในใจ เพราะ ว่าศีลของเราไม่ขาด หรือสังเกตดูว่าถ้าวันนี้ศีลของ เราขาดจริงๆ ก็ไม่ต้องทุกข์มาก แค่ตั้งใจรับรู้ในใจ ว่าที่จริงวันนี้เราก็ผิดพลาดไป ทางกาย ทางวาจา ศีลก็ขาดข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อรู้แล้วเราก็ตั้งใจว่า ต่อนี้ ไปเราจะตั้งใจสมาทานศีลต่อ เราจะค่อยๆปรับปรุง แก้ไขนิสัย บางทีอาจจะต้องตั้งใจจริงๆ เพราะบาง คนนิสัยอาจจะไม่เหมือนกัน พักใจไว้กับธรรม

17


ส่วนใหญ่มักจะพลาดเรื่องข้อสี่ เรื่องของ “วาจา” ถ้ามีนิสัยโกหกง่าย หรือเป็นคนที่พูด ส่อเสียด หรือว่าคนอื่นง่าย ช่วงที่ตรวจศีลของ ตน เราก็ต้องมีการยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง “ยอมรับ” หมายถึง เห็นโทษชัดเจนว่านี้เป็นเหตุที่ ท�ำให้เราเกิดความกลุ้มใจ ความทุกข์ใจในสิ่งที่เรา เคยท�ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา พอเห็นโทษแล้วก็จะ เป็นก�ำลังใจที่ให้เราสมาทานใหม่ สมาทานต่อ ไม่ให้ ขาดอีก บางครั้งอาจจะต้องมีความตั้งใจจริงๆ เช่น มีการอธิษฐานว่าพรุ่งนี้จะไม่มีการผิดศีลเด็ดขาด จะ ตั้งใจจริงๆ อาจจะเป็นภาคปฏิบัติช่วงเช้า  ตื่นเช้าขึ้น มาเราก็บอกกับตัวเองว่า วันนี้เราจะตั้งใจรักษาศีล ให้ครบ ถ้าเรามีจุดอ่อนในนิสัยของเรา เช่นเราขี้โมโห กับคนใดคนหนึ่งในครอบครัว หรือในที่ท�ำงาน ก็ อาจตั้งใจไว้ว่าภายในวันนี้เราจะตั้งใจควบคุมอารมณ์ ให้ได้ เราจะไม่แสดงความโกรธออกทางกายหรือ วาจาให้ได้ หรือถ้าเป็นคนขับรถ เวลาโมโหก็อาจจะ ขับรถเร็วไปหน่อย อาจชอบท�ำความเสียหายเวลา ขับรถ เราก็ตั้งใจว่าวันนี้เราจะงดเว้นจากอาการ

18 พักใจไว้กับธรรม

เหล่านั้น เป็นต้น เราฝึกหัดปฏิบัติไม่ใช่เฉพาะแต่ ในชีวิตประจ�ำวัน แต่ต้องมีการระลึกถึงศีลของตน ในช่วงกลางคืน ว่าสิ่งที่ผ่านมาถูกต้องไหมและช่วง เช้าเราก็ตั้งใจว่าวันนี้เราจะตั้งตนอยู่ในศีลอีกวันหนึ่ง การท�ำอย่างนี้จะช่วยให้สติของเราค่อยๆ พัฒนาดี ขึ้น เราจะรู้ตัวมากขึ้นเมื่อถึงเวลามีเหตุการณ์เข้ามา ในชีวิต ที่จะชวนให้เราผิดศีล ตัว “สติ” อาจจะขึ้น มาในขณะนั้น ว่าถ้าเราผิดพลาดในศีลขึ้นมาต่อไปเรา จะรู้สึกเสียใจ ใจเราจะไม่สงบ เพราะฉะนั้นจะเริ่มมี ก�ำลังใจที่จะงดเว้นจากการผิดศีล “ศีลห้า” เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ เป็นการ ฝึกปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน ใช้เป็นเครื่องมือ เหมือน ทุกคนต้องแปรงฟันเช้าเย็นทุกวัน ตลอดชีวิต การ ตรวจดูศีลของตน มีสติอยู่กับศีลของตนก็เหมือน กัน และเป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งกว่าการแปรงฟันด้วย มี เด็กในบ้านเราก็มักจะสอนให้รู้จักท�ำความสะอาดฟัน สอนให้แปรงฟัน แต่บางทีก็ไม่ค่อยสอนเรื่อง “ศีล” ซึ่งที่จริง “ศีล” มีผล มีอ�ำนาจต่อชีวิตมากกว่าการ แปรงฟัน ท�ำความสะอาดฟัน อย่างนี้เป็นต้น พักใจไว้กับธรรม

19


ปัญหาสังคมสมัยนี้ บางทีเราก็ลืม พอปฏิบัติ เรื่องศาสนาอาจจะมองข้ามไป แต่ความเป็นจริงแล้ว มีความส�ำคัญมากยิ่งกว่าการรักษาสุขภาพทางกาย บางทีสุขภาพทางกายอาจจะเสื่อมไปตามวัย ตาม เหตุปัจจัยบางประการ บางทีป่วย บางทีมีโรคเข้า มา หรือมีความเจ็บปวดเข้ามาในชีวิต ถ้าเราปฏิบัติ ธรรมอาจจะไม่ได้มีโทษอะไรมากมาย เราจะสู้ได้ อยู่ กับความเจ็บปวด ความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ถ้าสุขภาพ จิตใจดีจากการปฏิบัติธรรม อาจจะมีความสุขภายใน ใจ ถึงจะป่วยถึงจะล�ำบากทางกาย จิตใจก็อาจจะไม่ ต้องล�ำบาก แต่ถ้าเราไม่รู้จักการปฏิบัติธรรม ไม่มี ใครสอนเรื่องนี้ และเราเองก็ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติเรื่องนี้ ก็ล�ำบากแน่นอน เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนใจก็อยู่กับ เรา ถึงสุขภาพของเราไม่มีอะไรมาก แต่ถ้าเราไม่รู้ จักการรักษาจิตใจของเรา ความทุกข์ก็จะมีอยู่ทุกคน สิ่งที่หลวงปู่ชามักจะเน้นย�้ำเสมอ คือ เรื่อง ของ “ปฏิปทา” ในชีวิตประจ�ำวัน ให้ปฏิบัติอย่าง สม�่ำเสมอ ปฏิบัติเรื่อยๆ หรือที่ภาษาพระมักจะใช้ บ่อยๆ ก็คือ “ขยันก็ท�ำ ขี้เกียจก็ท�ำ” พยายามสร้าง ให้เป็นนิสัยประจ�ำตัว ความสนใจที่ฝึกฝนตัวเอง

20 พักใจไว้กับธรรม

อย่างสม�่ำเสมอ ตั้งอยู่ในศีล สติ สมาธิ ปัญญา ถ้า เราตั้งใจฝึกฝนตัวเองสม�่ำเสมอ โอกาสที่จะพัฒนา ตัวเองหรือปรับปรุงเปลี่ยนนิสัยตัวเองในทางที่ดีขึ้น มีแน่ เพราะว่ามนุษย์เราเปลี่ยนได้ ฝึกฝนอบรมตัว เองได้ ก็เสวยผลได้ ไม่มีอะไรที่ตายตัว คนเราเมื่อเกิดความทุกข์ในชีวิต อาจจะคิดว่า เกิดจากอดีตชาติ เป็นเพราะกรรมเก่าของเราจึงจะมี ความทุกข์เช่นนี้ เกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ ได้อยู่ในดวง อยู่ในชะตา ไปหาหมอดู หมอดูก็บอก ว่าใช่ๆ ดวงจะท�ำให้เรามีความทุกข์ ความทุกข์ไม่ได้ เกิดจากดวง และไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เรามี โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตได้เสมอ ด้วยการกระ ท�ำของเราในทางที่ดี เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ก็จะ แนะน�ำให้เราตั้งใจปฏิบัติธรรมสม�่ำเสมอ พยายาม สร้างความรู้ความเข้าใจในชีวิตของตน โดยเฉพาะใน จิตใจของตนอย่างสม�่ำเสมอ ความทุกข์เป็นสิ่งเกิด ที่ใจ ถ้าเกิดที่ใจการดับทุกข์ก็ต้องเกิดที่ใจเหมือนกัน ดังนั้นสถานที่ปฏิบัติของเรา ก็คือที่ “จิตใจ” ของเรา เรายิ่งให้โอกาส ให้เวลา ให้ความส�ำคัญในชีวิตของ เรา ในการฝึกฝนจิตใจของตัวเอง เรายิ่งมีโอกาสที่ พักใจไว้กับธรรม

21


จะพ้นจากความทุกข์ เจอความสุขใจ สบายใจ เกิด สิ่งที่ดีอยู่ในจิตใจของเรา หลวงปู ่ ช าก็ มั ก จะเน้ น ให้ เ ราปฏิ บั ติ อ ย่ า ง สม�่ำเสมอ เพราะว่าถ้าเราอยากจะเกิดความรู้จริงๆ ก็ ต้องเกิดจากการท�ำบ่อยๆ เหมือนกับการที่อยากจะรู้ วิชาอะไรสักอย่างในโลกนี้ เช่น เราอยากจะเรียนเปีย โน อยากขับรถ หรือไปตามส�ำนักเรียนต่างๆ เพื่อ เรียนรู้วิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ต้องมีการเอาใจใส่ มีการกระท�ำ อย่างสม�่ำเสมอ ความรู้เรื่องนั้นๆ ก็จะค่อยๆ ซึม เข้ามา หรือความสามารถความช�ำนาญในเรื่องนั้นๆ ก็จะเกิดขึ้นจากการกระท�ำที่สม�่ำเสมอ การปฏิบัติ ธรรมก็เช่นเดียวกัน ทุกคนถือว่าเราเป็นชาวพุทธ เรามีศรัทธาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระ สงฆ์ อยากจะเสวยสุขเหมือนพระพุทธเจ้า เหมือน ครูบาอาจารย์ที่เราเคารพ สุขนั้นก็ต้องเกิดจากเหตุ เหตุคืออะไรก็คือการกระท�ำที่สม�่ำเสมอ เราต้องเอา กายใจของเราเป็นที่ศึกษาปฏิบัติของเรา ไม่ต้อง มีอุปกรณ์อะไรมากมาย ไม่ต้องแสวงหาอะไรเป็น พิเศษ ไม่ต้องจ่ายเงิน

22 พักใจไว้กับธรรม

ปฏิบัติอยู่ใน “ศีล” เป็นพื้นฐาน เมื่อเราสร้าง พื้นฐานที่ดี เริ่มจากตรงนี้แล้วจึงเริ่มภาวนาให้มีสติ ขึ้น ให้มีความรู้ตัวขึ้น รู้ตัวที่ไหน ก็รู้ตัวที่ใจ เพราะ ฉะนั้นให้เราใช้อารมณ์กรรมฐานเป็นครูบาอาจารย์ ประจ�ำ ถ้าเราไม่มีแล้วก็ไปขอหลวงพ่อต่างๆ หลวง ปู่ชาท่านจะสอนให้เราใช้อารมณ์กรรมฐาน “พุทโธ” อาจจะท่อง “พุทโธ” พร้อมทั้งก�ำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก บทกรรมฐานมีตั้ง 40 บท แต่เรา ศรัทธาตรงไหน เราฟังครูบาอาจารย์แล้ว ต้องเอา บทกรรมฐานมาลองทดสอบดู ทดลองดู เหมือน ศีลที่ต้องพยายามน�ำมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ในช่วง แรกเราก็รู้ว่า จะไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เหมือนครูบา อาจารย์สมัยก่อน สมัยแรกที่ประเทศอังกฤษ เริ่ม ปฏิบัติกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ก็ให้เราก�ำหนดลม หายใจเข้าออก จับยาก หายาก เพราะเป็นความ รู้สึกที่ละเอียด ที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรแปลก เพราะว่า ทุกคนก็ต้องหายใจเข้าออกทุกเวลา คนที่ไม่หายใจ ก็คือคนตาย แต่เรายังมีชีวิตเราก็มีอาการหายใจเข้า หายใจออกตลอด แต่เป็นความรู้สึกที่ละเอียดและ เราไม่มีความคุ้นเคยกับการจับดู ก�ำหนดดู พักใจไว้กับธรรม

23


ในช่ ว งแรกที่ เ ราฝึ ก กรรมฐานจึ ง ต้ อ งมี ค วาม อดทน มีความเข้าใจว่าเราเป็นผู้ใหม่เพิ่งเริ่มต้น เพราะฉะนั้นเราจะให้เวลาในงานนี้ ส่วนใหญ่เท่าที่ สังเกตเรามักจะหวังผลเร็ว เราได้ท�ำกรรมฐานห้า นาทีแล้ว ท�ำไมใจยังไม่สงบ ชอบมาบ่นกับอาจารย์ ด้วย บอกว่าท�ำไมวันนี้นั่งสมาธิไม่สงบ ถามว่านั่ง นานเท่าไหร่ บอกว่านั่งสิบนาทีแล้ว คือส่วนใหญ่ เราท�ำน้อยไปก็เหมือนกับการขับรถ เล่นดนตรี หรือ วิชาความรู้ต่างๆ เราต้องให้เวลา ต้องมีการกระท�ำ มีความเพียร ภาษาพระเขาเรียกว่า “ความเพียร” ความพยายาม จึงจะได้ผลและต้องสร้างความพอใจ ในสิ่งที่ท�ำ เรื่องนี้ก็ยากเหมือนกันในเรื่องกรรมฐาน เพราะในสมัยนี้ในสังคมเรามักจะมีความรู้สึกว่า เมื่อ ลงทุนแล้วต้องเห็นผลตอบแทนเร็วและต้องเห็นผล ชัดเจน เช่น เรานั่งสมาธิสิบนาที เพื่อนจะมาถามว่า นั่งสมาธิหลับตาได้อะไร กระแสสังคมด้วย กระแส ตัณหาความคิดของเราด้วย ที่จะบีบให้คิดว่าเราต้อง ได้อะไร ต้องพูดออกด้วย ต้องบอกเพื่อนว่าได้เห็น อะไรหรือยัง รู้อะไรหรือยัง บางคนอาจจะดูถูกเรา ด้วย อาจจะคิดว่านั่งสมาธิหลับตาเกิดความดีอะไร 24 พักใจไว้กับธรรม

ไม่เห็นคุณดีขึ้นเลย นี้ถือว่าเป็นอุปสรรค ใจเราก็ เป็นอุปสรรค คนอื่นก็เป็นอุปสรรค เพราะฉะนั้นในช่วงแรก เราก็ต้องใจเย็น อดทน พร้อมที่จะฝึกและต้องมีความรู้สึกว่า เราเป็น “ผู้ ใหม่” เสมอ หรือภาษาหลวงปู่ชาบอกว่า เราต้อง ท�ำตัวเหมือนเป็นตัวเล็กๆ แต่วัฒนธรรมหรือสังคม เรามักจะไม่ชอบท�ำตัวเป็นคนเล็กๆ เราชอบท�ำตัว เป็น “คนใหญ่” รู้สึกว่าเราเป็นคนมีบุญบารมี มี วาสนา เป็นคนใหญ่ สั่งคนอื่นได้ ท�ำอะไรต่ออะไรได้ เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ที่จริงในด้านการปฏิบัติธรรม ถ้าเราเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ เราก็ยังเป็นผู้น้อยใช่ไหม เวลาเราเริ่มปฏิบัติเราก็ ต้องสร้างความรู้สึกตัวของเรา ให้เป็น “ผู้น้อย” จิตใจของเรายังเล็กๆ อยู่ ยังไม่ใหญ่ เช่นนี้จะเป็น ผลดีต่อการปฏิบัติ แต่อาจจะเป็นการทวนกระแส สังคม เพราะว่าในสังคมเราไม่อยากจะยอมรับว่าเรา เป็นผู้น้อย สังคมเราก็จะนิยมให้เป็นผู้ใหญ่ จึงต้อง ตั้งใจคิดสักหน่อยว่าประโยชน์ของผู้น้อยเป็นอย่างไร

พักใจไว้กับธรรม

25


ถ้าจะใช้ภาษาหลวงปู่ชา คือ ท�ำตัวให้เป็น “ไส้เดือน” ไส้เดือนอยู่ในดิน ไส้เดือนก็ไม่ได้คิดว่าตัว เองเป็น “ผู้ใหญ่” คิดแต่ว่าตัวเองเป็น “ผู้น้อย” อยู่ ในดิน แต่ไส้เดือนก็ท�ำประโยชน์มาก ถ้าไม่มีไส้เดือน หญ้าก็ไม่ขึ้น พืชผลต้นไม้ก็ไม่ขึ้น ดินก็ไม่มีออกซิเจน ไส้เดือนจึงมีประโยชน์มากต่อโลก แต่เป็นสัตว์เล็กๆ ที่น่าเกลียด ที่ไม่มีใครชอบ และทุกคนก็มองข้ามไป เพราะว่ามันอยู่ในดิน แต่ที่จริงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ เรา ต้องท�ำใจคล้ายๆอย่างนั้น นักปฏิบัติธรรมเหมือนเราเป็นคนที่มีประโยชน์ มากต่อโลก แต่อาจจะเป็นคนที่คนอื่นมองข้าม ไป ยังไม่เห็นประโยชน์ เขาอาจจะนินทาเราก็ได้ เอาแต่นั่งหลับตาไม่เห็นได้อะไร เราต้องอดทนต่อ กระแสสังคมพอสมควร หรืออาจจะเป็นกระแสใน ใจของเราก็ได้ ที่อาจจะมีความรู้สึกว่า นั่งหลับตา ไม่เห็นเกิดประโยชน์อะไร ออกไปท�ำอย่างอื่นดีกว่า ท�ำบุญดีกว่า ท�ำงานกุศล ท�ำทานก็ดี การให้ทาน ก็ดี แต่ว่าเราให้ทานเพื่อเป็นพื้นฐานให้พัฒนาเพื่อ เจริญภาวนาต่อไป การให้ทานไม่ใช่จุดหมายปลาย ทาง แต่เป็นสิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างหนึ่ง ศีล

26 พักใจไว้กับธรรม

ก็เหมือนกัน ศีลก็เป็นประโยชน์มหาศาล แต่ก็ยัง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ทาน ศีล เป็นไปเพื่อการ “ภาวนา” แต่มักจะมีเสียงอยู่ในใจมาบอกอยู่เสมอ ว่า นั่งสมาธิมันยาก ไปท�ำบุญดีกว่า ไปท�ำกิจอย่าง อื่นดีกว่า เสียงอย่างนี้ ความคิดเช่นนี้ จะมีผลมาก ต่อเรา เพราะเป็นเสียงที่จะขึ้นมาทุกวัน ทุกครั้ง ที่ เรานั่งสมาธิ มีกิจที่ยังไม่ได้ท�ำ ไปท�ำดีกว่านั่งตรง นี้ คล้ายๆ กับว่าเป็นตัวมาร แต่มันคือกระแสของ “กิเลส” ที่อยู่ในใจ แทนที่จะได้สติปัญญาจากการ ปฏิบัติ แต่กลับตรงกันข้าม เพราะมันคอยพูดว่ามัน เช้าไป มันดึกไปมีงานต้องท�ำ ไม่มีเวลา รู้สึกเหนื่อย สารพัดจะเป็น ดังนั้นแทนที่จะเป็นนักภาวนาที่ตั้งใจ ภาวนาที่ได้ผล เลยกลายเป็นว่าเราหาเหตุผลได้ทุก เวลาที่ท�ำให้เราไม่ต้องนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม เราจึง ต้องเปลี่ยนนิสัย คล้ายกับว่าเราต้องมีการคุยกับตัว เอง เวลาเรามานั่งสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกที่เรามานั่งภาวนา ฝึกสมาธิ แล้วเรานั่งหลับตา ใจจะเริ่มดื้อต่อการ ปฏิบัติ เริ่มคิดถึงงานอื่น คิดถึงคนอื่น มันจะคอย แต่หาอย่างอื่น ไม่ค่อยจะอยู่กับบทกรรมฐาน ช่วง พักใจไว้กับธรรม

27


นั้นเราต้องตั้งใจสอนตัวเอง พูดกับตัวเองว่าอย่าไป เชื่อ เวลาที่เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้นมาเราจะไม่เชื่อ ไม่ตาม เวลาที่ใจบอกว่ามีงานที่ยังไม่ได้ท�ำ เราก็ ต้องบอกว่า ก็ไม่ต้องท�ำ เพราะงานที่ต้องท�ำก็คือ งานกรรมฐาน งานนั่งสมาธิ เราต้องให้ความส�ำคัญ กับงานปฏิบัติธรรม เราต้องคอยพูดกับตัวเอง อาจารย์ก็พูดได้ในเวลานี้ แต่ว่าเวลาที่โยมนั่ง สมาธิที่บ้านหรือที่อื่น อาจารย์ก็ไม่ได้อยู่แล้ว แต่โยม ต้องพูดกับตัวเอง อ้างอะไรก็ได้ อ้างพระพุทธเจ้า ก็ได้ พระพุทธเจ้าให้เราฝึกสติทุกวัน ท่านไม่ได้ บอกให้ฝึกปีละครั้ง แต่ท่านบอกให้ฝึกสติทุกวัน ฝึก ปฏิบ้ติภาวนาทุกวัน ถึงจะมีงานท�ำก็ไม่เป็นไร เราก็ ประกอบอาชีพในชีวิตประจ�ำวัน หาเวลาภาวนาด้วย ฝึกสติด้วย เราอ้างพระพุทธเจ้าหรือครูบาอาจารย์ ก็ได้ เช่น คิดว่าหลวงปู่ชาบอกให้เราตั้งใจปฏิบัติทุก วัน หรือจะอ้างพระอาจารย์กัลยาโณก็ได้ ว่าท่านกัล ยาโณบอกว่าให้เรานั่งสมาธิทุกวันถือศีลทุกวัน ต้อง เอาเสียงนี้เข้ามาเถียงกับเสียงอื่นในจิตใจ ในสมอง ของเรา ที่จะบอกว่าไม่อยากปฏิบัติ ไม่อยากนั่ง ไม่ อยากฝึกสมาธิ ไม่อยากท�ำความดี เพราะว่าเราให้

28 พักใจไว้กับธรรม

ความส�ำคัญกับเสียงนี้มานานแล้ว มันมีรากฐานลึก ซึ้งอยู่ในใจ ถ้าเป็นภาษาพระก็จะเรียกว่าเป็นเพราะกระแส ของตัณหา ที่เราเคยท�ำตามมานานแล้ว เช่น อยาก กินอะไรก็กิน อยากพูดเมื่อไหร่ก็พูด อยากนอนเมื่อ ไหร่ก็นอน อยากท�ำเมื่อไหร่ก็ท�ำ กระแสกิเลสตัณหา เป็นอย่างนี้ มันจะผลักดันเราตลอดเวลา คล้ายๆ กับว่าเป็นเจ้านายของเรา เป็นเจ้านายภายใน ที่ คนอื่นมองไม่เห็น นอกจากนักปราชญ์หรือผู้ปฏิบัติ ดีแล้วอาจจะสังเกตเห็น เวลาคนท�ำตามกิเลสตัณหา ก็จะรู้ว่าคนนี้ก�ำลังท�ำตามกิเลส แต่คนอย่างเราๆ ยัง รู้ไม่ทัน ดังนั้นพวกเราจึงท�ำตามกระแสของกิเลส ถ้าไม่มีการภาวนา ไม่มีการพัฒนาจิตใจภายใน ฝึก สติฝึกปัญญาให้รู้เท่าทัน เราจะต้องเป็นทาสของเจ้า นายตัวนี้ทุกวันเลย มันจะลากเราให้คิดผิดอยู่ตลอด เวลา อยากได้ตรงนี้ตามกระแสความโลภ ไม่อยาก ได้ตรงนั้นตามกระแสความโกรธ ความไม่พอใจ ถ้า จะย่อลงมา ส่วนใหญ่ตัณหาก็มักจะมาในทางอยาก ได้ อยากเป็น หรือไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น สองอย่าง หรือความชอบใจไม่ชอบใจ จะจัดการอย่างไรก็ต้อง พักใจไว้กับธรรม

29


รู้จักการฝืนทวนกระแส อาทิตย์ที่แล้วอาจารย์อยู่ที่อังกฤษ พระสงฆ์ เดินทางมาจากส�ำนักสาขาหลวงปู่ชาทั่วโลก พระ เดชพระคุณหลวงพ่อเลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหนองป่า พงคนปัจจุบัน เป็นประธาน มีพระใหม่เป็นลูก ศิษย์จากออสเตรเลียไปถามท่านว่า ลักษณะค�ำ สอนของพระพุทธศาสนาและค�ำสอนของหลวงปู่ชา เป็นอย่างไร ถ้าจะสรุปท่านสอนอย่างไร หลวงพ่อ เลี่ยมก็นั่งคิดสักพักหนึ่ง แล้วก็ตอบว่าลักษณะของ การปฏิบัติของหลวงปู่ชา คือ การฝืน ฝืนกิเลส ฝืน ความรู้สึกที่อยู่ในใจ ฝืนภายนอกบ้าง เช่น ถ้าอยู่ใน วัดเราก็มีศีลแปด อาจจะทานข้าวมื้อเดียวในภาชนะ เดียว ไม่มีมหรสพ มีการนั่งสมาธิสวดมนต์ การ ท�ำกิจของส่วนรวม เช่น การท�ำความสะอาด เช่นนี้ก็ ต้องฝืน แต่อย่างนี้เป็นการฝืนภายนอก ฝืนภายใน เป็นอย่างไร ก็คือฝืนตัณหาที่เกิดขึ้น ตัณหาเกิดขึ้น ได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เกิดเฉพาะเวลาที่อยู่วัดตัณหาจึง จะเกิด แต่กลับบ้านไปตัณหาก็ตามไปที่บ้านด้วย

แล้วเราควรจะปฏิบัติจัดการกับตัณหาอย่างไร

30 พักใจไว้กับธรรม

เราก็ ต ้ อ งฝึ ก ในการฝื น ต่ อ กระแสตั ณ หาที่ อ ยู ่ ใ นใจ แต่ละที่ แต่ละเวลา วิธีการฝืนควรจะฝืนอย่างไร อันดับแรกก็ต้องฝึก “สติ”เพื่อให้เท่าทันตัวเอง ว่า ตอนนี้ความโลภได้เกิดแก่เราแล้ว ตอนนี้ความโกรธ ได้เกิดแก่เราแล้ว อันดับแรกก็ให้มีสติรู้เท่าทัน นี่คือ “ภาวนา” เหตุที่เราก�ำหนดเวลาหายใจเข้าออก ว่า “พุทโธ” เพื่อที่จะให้เรารู้ตัว รู้เท่าทันในปัจจุบัน ว่า เกิดอะไรขึ้นในใจของเรา เมื่อเรามีสติแล้ว ต้องมี ปั ญ ญาตามมาว่าตัวนี้จะท�ำ ให้เ กิด ความทุก ข์ใ นใจ คล้ายๆ เป็นเสียง ทีแรกก็เป็นเสียงความคิดของเรา ถ้าเราตามความโลภ มันจะท�ำให้เราเป็นทุกข์ จะท�ำให้ใจเราไม่สงบ ความคิดที่เป็นความโลภมี ลักษณะ เช่น อยากได้ตรงนี้ ตรงนั้น ถ้าเป็นความ โลภไม่มีวันที่จะรู้สึกสงบไม่รู้สึกอิ่ม ไม่มีวันที่จะรู้สึก พอใจ อิ่มใจ ความโกรธก็เช่นเดียวกัน ความโกรธ จะพิจารณาได้ชัดกว่า เพราะรู้ตัวว่าตอนนี้ก�ำลังโกรธ ก�ำลังทุกข์ แต่ไม่ใช่เสมอไป บางคนโกรธแม่แต่ไม่รู้ ตัวว่าโกรธ บางทีความโกรธก็มีเหตุผลดีเหมือนกัน บางทีเราก�ำลังนั่งสมาธินึกถึงคนนั้นที่เคยท�ำผิดท�ำ อะไรสักอย่างที่เราไม่เห็นด้วย เมื่อนึกถึงเขาก็เกิด พักใจไว้กับธรรม

31


อารมณ์โกรธขึ้นมา มีอาการทางกาย เช่น ตัวสั่น ตัวเครียด ทางใจก็เช่น มีการฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนั้น เรื่องนี้ ด้วยความโกรธ บางทียังไม่รู้ตัวว่าตัวเอง โกรธ นึกว่าตัวเองถูกแล้ว นี่เป็นตัวอย่างปัญหาที่ลึกซึ้ง ที่จะมีขึ้นทุก คน ที่มีความเห็นว่าตัวเองถูกแล้ว เป็นเหตุให้เรา ยึดความเห็นของตน แล้วก็โกรธ เวลาใครขัดขวาง หรือคิดอะไรไม่ตรงกับความคิดของเรา ก็จะโกรธ แต่ไม่เห็นความโกรธ แต่ถ้าเราฝึกสติบ่อยๆ ภาวนา บ่อยๆ เมื่อมีความรู้ตัวขึ้นมา เราจะเริ่มสังเกตเห็นว่า เมื่อเราโกรธแล้วจะมีความรู้สึกอย่างนี้ ความเข้าใจ ตรงนี้ที่เกิดจากการมีสติในการพิจารณาตัวเอง เป็น ความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากหนังสือ ไม่ได้เกิดจากพระ แต่ เป็นความรู้ที่เกิดจากภายในของเรา จากการปฏิบัติ และอันดับต่อไปก็คือ ต้องฝืน ต้องตกลงกับตัวเอง ว่า เราจะไม่ท�ำตามอารมณ์โกรธ ไม่ท�ำตามอารมณ์ โลภ และที่ละเอียดและหายากที่สุดก็คือ อารมณ์ หลง 32 พักใจไว้กับธรรม

สอนตัวเองว่า เราจะไม่ท�ำตามอารมณ์ นี่ เป็นการทวนกระแส หรือเรียกว่าเป็นการทวนความ รู้สึกในใจ เหล่านี้จะเป็นอาการของนักปฏิบัติที่จะมี ได้ทุกวันๆ ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่อยู่วัดเท่านั้น เวลาอยู่ บ้านก็มีได้ ต้องมีความรู้ตัวว่าตอนนี้ก�ำลังมีความ โลภอยู่ ตอนนี้ก�ำลังโกรธอยู่ แต่เราจะไม่ท�ำตาม การไม่ท�ำตามก็อาจจะหมายถึงว่า ในขณะนั้นเราจะ ระงับความคิดด้วยสติ เรามีสติที่เห็นโทษแล้วเรา ก็หยุด ตัด ไม่คิดต่อในเรื่องนั้น ถ้าเป็นความโกรธ บางทีเราต้องตัดสินกับตัวเองในขณะนั้น ว่าตอนนี้ เราจะให้อภัยเขาเลย แบบนี้ดีที่สุด ว่าตอนไหนที่เขา ท�ำให้เราโกรธเราก็จะให้อภัยเลย วางความโกรธนั้น ทันที ถ้าเรามีการฝึกได้ถึงระดับนั้นจะดีมาก เก่งมาก ความโกรธจะเข้ามาครอบง�ำจิตใจไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่ เรายังไม่ถึง ขณะนั้นเราก็ต้องโกรธสักพักหนึ่ง จน กระทั่งเห็นโทษ ว่าเราโกรธหลายนาทีแล้ว หลาย ชั่วโมงแล้ว หรือว่าหลายวันแล้ว ในบางกรณีหลาย ปีแล้ว จึงจะเห็นโทษ แล้วจึงจะวางอารมณ์นั้น ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ปล่อยวาง หากคนนั้นเคย ท�ำลายเราไปแล้ว แต่เราจะให้อภัย จะได้ละความ พักใจไว้กับธรรม

33


โกรธได้ การปฏิบัติเป็นอย่างนี้ เราต้องมีการต่อสู้ ในใจ เพื่อความสุข ความสงบ ที่เกิดจากการละ อารมณ์นั้น ที่ท�ำให้เราทุกข์ ความโลภก็ เ หมื อ นกั น   บางครั้ ง ความโลภก็ เบียดเบียนเรา ทั้งวันก็คิดถึงแต่เรื่องนี้อยากได้ตรง นี้ ตรงนั้น ยังไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากเป็น ยังไม่ ได้ในสิ่งที่เราต้องการ คิดๆๆน้อยใจคนอื่นบ้าง อิจฉา คนอื่นบ้าง ไม่พอใจตัวเองบ้าง แต่ตัวสาเหตุก็คือ ความโลภ ที่ยังมองไม่เห็น แต่พอเราตั้งสติเห็น ก็ เริ่มเห็นโทษ คือ ความทุกข์ใจ ความฟุ้งซ่าน เรา มีโอกาสที่จะฝืนความโลภตอนนั้น และสอนตัวเอง ให้ปล่อยวาง ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ หยุดคิดเลยใน เรื่องนั้น บางทีก็ยอมรับความจริงว่าสิ่งเหล่านั้น ที่เราต้องการ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ถ้าทางพระ เราก็ต้องปลง น�ำมาพิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันไม่ใช่ของเที่ยง แท้ถาวรที่จะให้ความสุขถาวรอะไรกับเรา เป็นเพียง แค่อารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในใจแล้วก็ดับไป การฝึกสติก็ จะให้ความรู้ความเข้าใจตรงนี้ และความรู้ตรงนี้ก็จะ ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ด้วยการกระท�ำที่สม�่ำเสมอ

34 พักใจไว้กับธรรม

ทุกคนก็คงจะเคยปฏิบัติภาวนามานานแล้ว ก็ คงจะมีความส�ำเร็จในระดับหนึ่งที่ผ่านมา แต่ยังไม่ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นบางครั้ง เราอาจจะนึกถึงสิ่ง ที่ผ่านมา บางครั้งเราอาจจะนั่งสมาธิได้ผล อาจ จะมีสักวันหนึ่ง สักครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราได้ละความ โลภ หรือความโกรธ ที่เบียดเบียนในจิตใจของเรา ในขณะนั้น และเรายังจ�ำได้ถึงความรู้สึกที่ดีที่เกิด ขึ้นในขณะนั้น ที่เรายังจ�ำได้ อาจจะเกิดความโล่งใจ เกิดปีติสุข เกิดความสบายใจ ทั้งเกิดความเบากาย เบาใจ อาจจะไม่ได้เกิดทุกวัน ทุกครั้ง แต่ถ้าเราเคย เจอเคยประสบอย่างนี้มาแล้ว คล้ายกับจะเป็นเหตุ ให้ทุกครั้งที่เราระลึกขึ้นมาเมื่อใด ก็จะมีก�ำลังใจที่ จะปฏิบัติต่อสู้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจต่อไป เพราะ เป็ น ธรรมชาติ เ ป็ น ธรรมดาที่ ก ารต่ อ สู ้ กั บ อารมณ์ จะท�ำให้เราเหนื่อยเหมือนกัน บางทีกิเลสมันหนา กิเลสมันลึก มันดื้อ มันไม่ฟัง มันขึ้นมาบ่อยๆ ก็ ต้องมีสิ่งที่ดี บางครั้งเราระลึกถึง เราก็รู้สึกดีว่าเรา เคยชนะกิเลสในอดีตมาบ้าง ตรงนี้เมื่อเราระลึกถึง ขึ้นมาเมื่อไหร่ก็รู้สึกสบายใจขึ้น ท�ำให้มีก�ำลังใจสู้ต่อ ปฏิบัติต่อ พักใจไว้กับธรรม

35


ที่จริงทุกคนก็ต้องเคยมีการชนะกิเลสกันมาบ้าง แม้ว่าจะไม่ชนะขาดอย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ แต่ก็ต้องมีการเคยชนะกันมาบ้าง แต่เราอาจจะมี การมองข้ามไป เราจึงต้องคอยระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม ภายนอก ที่เราเคยสร้างไว้ในโลกนี้ เช่น การเคยช่วย เหลือสังคม ช่วยเหลือคนในครอบครัว การท�ำบุญ ท�ำประโยชน์กับคนอื่นๆ เมื่อเราระลึกถึงเรื่องเหล่านี้ จะท�ำให้เราสบายใจขึ้น หรือไม่ว่าจะเป็นการระลึกถึง การภาวนาของตัวเอง ที่อาจจะเคยมีเรื่องที่ท�ำให้เรา หนักใจ ทุกข์ใจ โกรธ แต่ด้วยอ�ำนาจการภาวนา ของเรา การเจริญสติของเรา แม้มันผ่านไปแล้ว เราระลึกถึงเมื่อใดก็ท�ำให้เราเกิดความสบายใจ เกิด ความมั่นใจในตัวเองว่าเราปฏิบัติได้ ถ้าเราตั้งใจจริงๆ เราก็สามารถละได้ ความโกรธก็เป็นสิ่งที่เราละได้ เพราะว่ามัน เป็นอารมณ์ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ความโลภก็เป็น สิ่งที่ละได้ เพราะเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้ จริง พระพุทธศาสนามารวมที่จุดนี้ คือ การปฏิบัติ ศึกษาทางจิตใจ จนกระทั่งมีความรู้ว่าอารมณ์แต่ละ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว

36 พักใจไว้กับธรรม

ตนที่แท้จริง เป็นอนัตตา ถ้าเราเห็นตรงนี้สักครั้ง หนึ่ง เราจะเริ่มเข้าใจ และเริ่มเห็นแนวทางปฏิบัติ ในชีวิตประจ�ำวัน ว่าแนวทางก็คือการปล่อยวางทุกข์ ก็คือ “ยึด” ยิ่งยึดก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งเห็นความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตนของอารมณ์ต่างๆ ท�ำให้ยิ่งปล่อย ก็จะยิ่งสบาย ความเข้าใจตรงนี้ ถือเป็นความเข้าใจที่ส�ำคัญ ที่สุดของนักภาวนา นักปฏิบัติ ถ้าเราเข้าใจว่า อารมณ์ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง แต่เป็นความคิด เป็น ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งผ่านเข้ามาใน จิตใจชั่วคราว แต่ไม่ใช่ตัว “ใจ” ที่แท้จริง ถ้าเรา เห็นชัดตรงนี้สักครั้งหนึ่ง ความรู้อันนี้ เราจะใช้ต่อ ไปเรื่อยๆ เมื่อเจอความทุกข์เมื่อใดก็จะรู้ว่า อันนี้ เป็นอารมณ์ที่เราละได้ ถ้าเรามีความเพียรพยายาม ฝึกสติ พิจารณา ต้องมีวันข้างหน้า หรือเวลา ข้างหน้าที่เราจะละอารมณ์นี้ได้เพราะเราเคยละมา ได้ ตรงนี้เป็นภูมิความรู้หรือ “วิปัสสนาญาณ”ที่จะ ค่อยๆ พัฒนาจากการปฏิบัติ จนกระทั่งสิ่งที่เคยละ ได้ยาก กลับกลายเป็นสิ่งที่ละได้ง่าย เพราะเห็นโทษ อย่างชัดเจน ไม่ต้องไปเสียเวลาเถียงกับใคร เพราะ พักใจไว้กับธรรม

37


เรารู้ว่าถ้าเรายังยึดความโกรธในใจ เราก็ต้องทุกข์ไป เรื่อยๆ ดังนั้นเราไม่ยึดดีกว่า ปล่อยวางเสียดีกว่า เราเคยยึดความโลภในใจ แต่เดี๋ยวนี้เราเห็นแล้ว ว่ามันเป็น “ความทุกข์” เราก็ไม่เอา ไม่ยึด ก็ปล่อย วาง ถ้าเราช�ำนาญตรงนี้จิตใจจะมีความสุขสบาย ขึ้นไปเรื่อยๆ นี้คือผลที่เราต้องการในชีวิตกันทุกคน เพราะเราทุกคนก็มีความต้องการความสุขสบายใน ใจ แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องไปขอร้องจากคนอื่น จาก พระพุทธเจ้า พระเจ้า หรือเทวดาได้ แต่เป็นสิ่งที่ เราต้องสร้างด้วยการกระท�ำของเราเอง

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม

พระโสภณภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์แดน กัลยาโณ)

ดังนั้น ในวันนี้ ก็ขออนุโมทนาทุกคนที่มาร่วมกัน ปฏิบัติธรรม มีความตั้งใจ มีความอดทนระหว่างที่ เราปฏิบัติ เพราะจิตใจของเราเป็นสิ่งที่ฝึกได้ เป็น สิ่งที่สร้างความเข้าใจ ความรู้ความจริงในธรรมได้ หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ขอให้ทุกคนเจริญในธรรม ปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ จนพบความสุขที่แท้จริง

38 พักใจไว้กับธรรม

พักใจไว้กับธรรม

39


ถาม ท�ำอย่างไรจึงจะฝึกจิตให้เชื่อง เพื่อไม่เป็นทาส ของอารมณ์ ตอบ พยายามปฏิบัติในศีล และเจริญสมาธิภาวนา ฝึกให้มีสติให้มากอย่างต่อเนื่อง มีสติแล้วให้มีความ ตั้งมั่นเป็นสมาธิขึ้นมาเพราะ “สติต่อเนื่อง” เมื่อ สติต่อเนื่องจะมี “ความตั้งมั่น” มีความ “นิ่งสงบ” เป็นโอกาสให้เรามีปัญญาเห็นชัดอยู่ในใจ ว่าอารมณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ มีสภาวะอันเดียวกัน คือ เกิด และดับ “อารมณ์” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับใจชั่วคราวแล้วก็ ดับลงไป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง จะถือว่าเป็นเรา เป็น ของเราก็ไม่ได้ เพราะว่ามันไม่เที่ยง ยิ่งปฏิบัติมีสติ ยิ่งมองเห็นชัด ตรงนี้ใจก็จะยิ่งเข้าใจชัดเจนขึ้น ว่า อารมณ์ต่างๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา ที่แท้จริงไม่ใช่ของเรา ความนึกคิดความรู้สึกต่างๆ ก็ไม่ใช่ของเรา เมื่อเป็น เช่นนี้ใจจะเริ่มถอนจากอาการที่ยึดว่าเป็นเรา เป็น

40 พักใจไว้กับธรรม

ของเรา อุปาทานจะเริ่มถอน เหมือนได้รับอิสระ จากอารมณ์ที่เป็นทาส และเหมือนเจ้านายที่ได้ ปล่อยลูกน้องให้เป็นอิสระแล้ว เพราะเห็นความจริง อย่างชัดเจนว่า “เจ้านาย” ก็ไม่มี “ตัวเรา” ก็ไม่มี ใน อารมณ์นั้นก็ไม่มี เจ้าของก็ไม่มี อารมณ์ก็สักแต่ว่า อารมณ์ ความคิดก็สักแต่ว่าความคิด ไม่มีตัวตนอยู่ ในนั้น ความรู้สึกของเราจะค่อยๆ น้อยลงๆ จะมีความ รู้สึกเป็นอิสระจากอารมณ์และเป็นอิสระจากความ คิด จะน้อยลงๆ แม้ไม่ใช่ทั้งหมดแต่จะเป็นบางช่วง เช่น เวลาที่เรามีสติดีรู้เท่าทันความคิดที่ขึ้นมาในใจ เรา ก็รู้ทันว่ามันก็แค่ความคิด ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง แม้แต่ความคิดที่ดีก็เช่นกัน ด้วยสภาวะแล้วก็ไม่ใช่ ตัวตน ความคิดก็สักแต่ว่าความคิด ความรู้สึกสุขใจ ทุกข์ใจก็สักแต่ว่าความรู้สึก ไม่มีตัวตนอยู่ในนั้น ใน ช่วงแรกอาจจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้สักชั่วครู่หนึ่ง แต่พอที่จะเห็นทางว่าถ้าเราปล่อยวางอาการที่ยึดไว้ เราจะมีความรู้สึกมีความสุข ความสงบ จิตใจจะเริ่ม กล้าที่จะปล่อยวางขึ้น แทนที่จะตามความเคยชินจะ กลับกันสลับกัน จะเริ่มมีความเคยชินด้วยการปล่อย วาง จะชินกับการปล่อย แทนที่จะชินกับการยึด จะ รู้สึกถึงความมีอิสระ มีความสุขสบายมากขึ้น พักใจไว้กับธรรม

41


ถาม ถ้าฝึกให้ทาน รักษาศีล และท�ำสมาธิ แต่ศีล ไม่ครบห้า จะได้มนุษย์และสวรรค์สมบัติหรือไม่ คือ มีความจ�ำเป็นต้องศีลขาดเรื่องโกหก และต้องก�ำจัด เห็บหมาเพราะมีหมาอยู่ด้วย ตอบ ท�ำไมไม่ละความโกหก ต้องละ ศีลห้าก็ต้องละ ให้ครบศีล สี่ไม่ได้ สวรรค์ไม่ได้ นิพพานก็ไม่ได้ ถ้า ศีลสี่พอ พระพุทธเจ้าก็คงตรัสแค่ศีลสี่ แต่ท่านไม่ ได้ตรัสเช่นนั้น ท่านตรัสว่าศีลห้า ยิ่งเป็นเรื่องของ วาจาถ้าเราโกหกได้การปฏิบัติจะพัฒนายาก เพราะ โกหกตัวเองบ้าง โกหกครูบาอาจารย์บ้าง โกหกคน ที่ใกล้ชิดบ้าง ยากที่จะเห็นความจริง นิสัยของนักปฏิบัติ คือ ต้องเปิดเผยความ จริง ไม่ใช่ว่าจะเปิดเผยแก่ทุกคนในโลกนี้ แต่อาจ จะมีครูบาอาจารย์หรือว่ากัลยาณมิตร คนที่เราไว้ใจ

42 พักใจไว้กับธรรม

นับถือใกล้ชิด บางครั้งเราก็ต้องเปิดเผยสิ่งที่มีใน ใจ หรือความผิดของตัวเอง เช่น ความคิดผิดหรือ การกระท�ำบางอย่างที่ผิด บางครั้งเราก็ต้องเปิดเผย แล้วตั้งใจใหม่ว่าต่อไปเราจะไม่ท�ำอย่างนั้น ถ้าเป็น พระสงฆ์ ทุกๆ สองอาทิตย์เวลาลงอุโบสถจะต้อง มีการปลงอาบัติ คือ การเปิดเผยความจริงในช่วง สองอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่อาจจะมีสักครั้งที่ท�ำผิดศีล ข้อใดข้อหนึ่ง ส�ำนึกตัวได้ มีสติคิดได้ว่าเราผิดศีลข้อ นั้นๆ และมีการปลงอาบัติ มีการเปิดเผยให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็รับฟังด้วยความเคารพ ด้วยเมตตา จะมีการ ถามว่าคุณมีสติตรงนี้หรือยัง เราก็จะตอบว่ามีสติ แล้ว รู้ตัวแล้ว จะตั้งใจว่าต่อไปไม่ท�ำอย่างนั้นอีก ถ้ า ไม่ มี ก ารเปิ ด เผยกั บ คนอื่ น หรื อ พระรู ป อื่ น อย่างนี้ บางทีอาจคิดว่าเรารู้แล้ว ว่าเราผิดแล้ว ก็ ลืมและไม่ค่อยให้ความส�ำคัญกับการส�ำนึกผิด บางที ก็อาจมองข้ามไปหรือไม่ยอมรับกับตัวเอง บางทีก็ หลอกตัวเองหรืออาจจะโกหกตัวเองได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับคนอื่น เรามักจะไม่อยากยอมรับความ ผิด บางทีเราก็ป้องกันตัวเอง แก้ตัวให้ตัวเอง เรา มักจะเก่งมากเรื่องการแก้ตัว หาทางที่จะไม่ยอมรับ ความจริง เรามักจะเก่งมากอยู่แล้วในเรื่องนี้ พักใจไว้กับธรรม

43


แต่นักปฏิบัติจะต้องตรงกันข้าม จะต้องเริ่มที่ จะเปิดเผยให้เห็นชัดว่ากิเลสคือกิเลสในใจ เหล่านี้ เป็นกิเลส บางทีถือตัว บางทีหลงผิดตามกระแส โลภ โกรธ หลง ถ้าเรามีสติรู้ตามความเป็นจริงก็มี โอกาสที่จะถอนออกมาได้ เพราะรู้แล้วว่ามันเป็น กิเลส ถ้าเรามีการปิดบัง โกหกตัวเอง โกหกคน อื่น เราก็ถอนไม่ได้ เพราะเรายังมองไม่เห็น ยังไม่ ยอมรับ ดังนั้นการมีสัจจะและการรักต่อความจริง เป็นจุดส�ำคัญต่อการปฏิบัติ การมีครูบาอาจารย์ หรือกัลยาณมิตรที่เรานับถือ ในบางครั้ง ในโอกาส ที่สมควร เราก็แลกเปลี่ยนเรื่องการปฏิบัติ บางที เราท�ำอะไรผิดๆ ไป เช่น พูดผิด หรือท�ำผิด เราก็เปิด เผยให้ท่านฟัง กัลยาณมิตรอาจจะช่วยแนะน�ำว่าจะ แก้ไขอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไร และเราเองก็จะได้ ยอมรับว่าเราท�ำอย่างนั้นจริง เราผิดจริง ตัวเองไม่ ต้องมองว่าเราเป็นคนไม่ดี แล้วติดการเพ่งโทษตัว เอง แต่ยอมรับว่ากิเลสเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคน ต้องมี ถ้าเราตั้งใจที่จะปฏิบัติละกิเลส ก็ต้องตั้งใจ ยอมรับว่ากิเลสมีอยู่ แต่ถ้าเราคิดว่าไม่มีกิเลส ไม่ ค่อยอยากจะยอมรับว่ามีกิเลส ไม่มีความผิดอะไร ก็ เป็นการยากที่จะพัฒนา แก้ไข ยากที่จะก้าวหน้าใน การปฏิบัติ

44 พักใจไว้กับธรรม

ดั ง นั้ น การโกหกจึ ง ไม่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ เ รา หรือคนอื่น ในระยะยาวส่วนใหญ่เราจะหลง ใน ระยะสั้นรู้สึกว่าการโกหกเป็นการท�ำให้แก้ปัญหาได้ ง่าย ปิดบังความจริงเพราะไม่อยากมีปัญหากับ ใคร เป็นต้น แต่ในระยะยาวจะมีโทษกลับมาถึงเรา อย่างน้อยคนที่ฟังและรู้แล้วว่าเราพูดโกหกเขาจะไม่ เคารพต่อไปเขาก็จะไม่เชื่อค�ำพูดเรา แม้ว่าครั้งต่อไป เราจะพูดความจริง แต่เขาก็จะไม่เชื่อเราแล้ว เพราะ เขาจับได้ว่าเราเคยโกหกเสียแล้ว เขาก็จะขาดความ มั่นใจในตัวเรา ไม่เคารพเรา เราเองก็จะขาดความ มั่นใจในตัวเองด้วย เป็นนิสัยที่เราต้องแก้ให้ได้และ โดยเร็วด้วย ยิ่งโกหกบ่อยๆ จิตใจเราจะยิ่งเสื่อม ศีล ห้าก็ไม่ครบ บางครั้งจะไม่พูดบ้างก็ได้ หรือถ้าพูด ความจริ ง แล้ ว ท� ำ ให้ ค นอื่ น เจ็ บ ใจเรานิ่ ง เสี ย ก่ อ น ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่การโกหก คือ เราต้องเข้าใจเจตนา เจตนาที่ จ ะรั ก ษาน�้ ำ ใจของคนอื่ น ก็ เ ป็ น เจตนาดี เจตนาโกหกก็เป็นอีกเจตนาหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ต้อง พยายามแยกในใจ พักใจไว้กับธรรม

45


ถาม อยากทราบการท�ำใจต่อการสูญเสียและการ พลัดพรากจากสิ่งหรือคนที่รักว่าควรท�ำอย่างไร ตอบ พิจารณาบ่อยๆ พระพุทธเจ้าให้เราท่องทุกวัน ว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยมีเป็นธรรมดา ความแก่ก็ มีเป็นธรรมดา ความตายก็เป็นเรื่องธรรมดา เรา หนีพ้นไม่ได้ ความพลัดพรากจากของที่เรารักหรือ บุคคลที่เรารักเป็นเรื่องธรรมดา ค�ำว่า “ธรรมดา” ก็หมายถึง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราจะหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องเจอแน่นอนทุกคน ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ทุกวันให้เห็นเป็นเรื่อง ธรรมดาของชีวิต จิตใจก็จะยอมรับ ถึงแม้จะเป็น สิ่งที่เราไม่ต้องการ เป็นสิ่งที่เสียดาย หรือเป็นสิ่ง ที่ท�ำให้เกิดความเสียใจ ตรงนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่

46 พักใจไว้กับธรรม

ได้ ถ้าคนที่เรารักเคารพหรือสิ่งของที่เรารักพราก จากเรา เราก็ต้องเสียใจ แต่ “ความเสียใจ” ก็ เป็น “อารมณ์ที่เกิดและดับ” ถ้าเราเข้าใจได้ว่าการ พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเป็นเรื่องธรรมดา ความ เสียใจจะเกิดและก็ดับ จะไม่ค่อยรบกวนชีวิตของเรา เท่าไหร่ ไม่รบกวนจิตใจ แม้แต่บุคคลที่เรารัก ถ้า เราเข้าใจตั้งแต่วันแรกว่า คนนี้วันหนึ่งเราต้องแยก จากกันด้วยความตาย พอถึงเวลาที่เกิดกับเราจริงๆ เขาตายจากเราจริงๆ เราก็จะยอมรับได้เพราะเราเคย พิจารณามาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่ถ้าเราไม่อยากจะคิดตรงนี้ การปฏิเสธก็ คล้ายๆ กับการ “โกหกตัวเอง” ว่าอย่าไปพูดเรื่อง ความตาย อย่าไปพูดเรื่องการพลัดพรากจากคนที่ เรารัก ถ้าเราไม่คิด ไม่พิจารณา ถึงเวลาที่เกิดขึ้น จริงแล้วจะรับไม่ได้ ท�ำให้จิตใจซึมเศร้าเสียใจ ทุกข์ใจ บางทีเสียใจเป็นปีท�ำใจไม่ได้ มีหลายคนที่เป็นอย่าง นี้ แต่คนที่ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า พิจารณา ทุกวันตามที่พระองค์สั่งสอน จะค่อยๆ เข้าใจในเรื่อง เหล่านี้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่อยากเจอ ไม่อยากพบ แต่จิตใจจะยอมรับความจริงได้ เพราะเคยพิจารณา มาแล้ว รู้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต พักใจไว้กับธรรม

47


ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เมลเบิร์น มีคนที่มีภรรยา คนไทยสามีฝรั่ง โยมเข้าวัดปฏิบัติธรรมตลอด ชีวิต ตอนนี้อายุประมาณหกสิบปี เขานั่งสมาธิสวด มนต์ทุกวัน พิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารทุก วัน รู้ว่าตัวเองและสามีต้องมีความแก่เจ็บตายเป็น ธรรมดา เขาท่องบทสวดมนต์เรื่องนี้ตลอด และ พิจารณาตลอดมา ปีที่แล้วสามีเกิดเป็นมะเร็งขั้น ร้ายแรง มีเวลาเหลือประมาณหกเดือนก่อนที่จะเสีย ชีวิต ภรรยาเป็นคนดี รักสามี จึงยอมเสียสละเวลา ดูแลพยาบาลสามีตลอด ส่วนสามีก็เริ่มอ่อนแอลง ต้องอยู่กับบ้าน ไม่ค่อยมีแรง ภรรยาก็ท�ำทุกอย่าง ให้ แต่เมื่อพอมีเวลาว่างภรรยาก็จะนั่งสมาธิสวด มนต์และพิจารณาถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เมื่อถึงเวลาสามีเสียชีวิต จัดงานศพ ในงาน ญาติๆ พากันร้องไห้ แต่ภรรยาไม่ร้องไห้เสียใจ นั่ง อย่างสงบ ท�ำพิธีกรรมทุกอย่างอย่างสงบ ไม่มี อาการร้องไห้เสียใจ เพื่อนบางคนจึงนินทาว่า ไม่ ร้องไห้แสดงว่าไม่รักจริง คุณเป็นคนไม่ดี เขาจึง ต้องอธิบายให้ฟังว่าไม่ใช่อย่างนั้น ในใจของเขา เขา เองก็เสียใจเหมือนภรรยาทั่วไป ที่สามีต้องตายจาก ไปก่อน แต่เพราะว่าเขาเคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว จึง

48 พักใจไว้กับธรรม

ยอมรับความจริงได้ ไม่ถึงขนาดต้องร้องไห้เสียใจ มีอารมณ์สงบ ถึงจะมีความเสียใจบ้างแต่ท�ำใจได้ พระได้ฟังก็เข้าใจทันทีว่า นี่เป็นผลของการปฏิบัติ ธรรมมาหลายปี ท�ำให้เขายอมรับความจริงได้ แต่ คนที่ไม่เคยปฏิบัติก็จะไม่เข้าใจคิดว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี ต้องเข้าใจว่าธรรมะเป็นเหตุท�ำให้จิตสงบ ท�ำให้ มองเห็นความจริง คิดตามความเป็นจริง บางครั้ง ก็ ไ ม่ แ สดงความเสี ย ใจหรื อ ความทุ ก ข์ ม ากมาย  มี ความเสียใจอยู่ภายใน แต่อาจจะไม่ต้องแสดงออก ภายนอก เพราะจิตใจสงบพอที่จะควบคุมอารมณ์ ได้ ที่ส�ำคัญ คือ ต้องพยายามพิจารณาทุกวัน ว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของชีวิต การ พลัดพรากจากสิ่งของที่เรารักก็เป็นธรรมดาของชีวิต ถ้าพิจารณาได้อย่างนี้ทุกวัน จะมองเห็น เหมื อ นที่ ลู ก ศิ ษ ย์ ข องหลวงปู ่ ช ามั ก จะเทศน์ บ่อยๆ ว่าแก้วน�้ำใบนี้ ให้พิจารณาเหมือนว่ามันแตก แล้ว แม้ว่าขณะนี้มันยังไม่แตก แต่ด้วยสภาวธรรม ของมัน อย่างไรก็จะต้องแตกสลาย เพราะมันเป็น ของไม่เที่ยง ร่างกายก็เช่นกัน เป็นของไม่เที่ยง คน ที่เรารักก็ไม่เที่ยง ถ้าเราพิจารณาทุกวัน ปัญญานี้ จะซึมซับเข้ามาในใจ เมื่อถึงเวลาต้องแยกจากกัน พักใจไว้กับธรรม

49


จริงๆ แล้ว ก็ยอมรับได้ แต่ถ้าไม่พิจารณาเรื่องนี้ จะทุกข์ได้ง่ายที่สุด เช่น เมื่อซื้อของมา พอมันแตกก็ จะร้องไห้ ด่าทอคนที่ท�ำให้มันแตก สิ่งของที่เรารัก ชอบใจ เราก็จะเป็นทุกข์ขึ้นมา เมื่อมันแตกสลายไป บุ ค คลก็ จ ะท� ำ ให้ เ ราเป็ น ทุ ก ข์   เมื่ อ ต้ อ ง พลัดพรากจากเราด้วยความตายต้องเป็นทุกข์ และ เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาในปัจจุบัน บางทีเมื่อคนที่เรารัก ตายไปไม่ว่าจะเป็นสามี ลูก หรือเพื่อนตายไป จะเกิด อาการซึมเศร้า นั่งนิ่ง ท�ำอะไรไม่ได้ มีเยอะในโลก นี้ บางทีสามีตายก่อนภรรยา ก็ท�ำใจไม่ได้ หรือบาง รายภรรยาตายก่อนสามี ก็ท�ำใจไม่ได้ เหมือนชีวิต ไม่มีความหมายแล้ว เพราะติดอยู่ในอารมณ์เสียใจ ซึมเศร้า ท�ำอะไรไม่ได้ ถ้ารายที่ร้ายแรงก็อาจต้อง รับประทานยาระงับประสาท ระงับความฟุ้งซ่าน หรือบางคนต้องลางาน เพราะท�ำงานไม่ได้ เพราะ คู่รักเสีย บางคนลูกเสีย เสียใจท�ำงานไม่ได้ท�ำอะไร ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นให้เราพิจารณาบ่อยๆ ในเรื่องนี้ จะ ได้เข้าใจในหลักของความเป็นจริง และยอมรับความ จริงได้ ถ้าเราจิตใจสงบ เป็นกุศล อาจจะมองลึก ซึ้งไปกว่านั้นว่า สิ่งที่เรารัก ที่ต้องพลัดพรากจาก

50 พักใจไว้กับธรรม

เรานั้น ที่จริงก็แต่เพียงร่างกาย แต่คุณงามความ ดีของคนนั้นไม่ได้สูญเสียไปด้วย ยังอยู่ในโลกนี้ เมื่อ เราระลึ ก ถึ ง เขาเมื่ อ ใดก็ ยั ง เหมื อ นว่ า เขายั ง อยู ่ กั บ เรา กฎแห่งกรรมเป็นอย่างนี้ กรรมที่เราหรือคนที่ เรารักสร้างไว้ ไม่ได้สูญหายไปด้วยเวลาที่เขาตายไป “ความตาย” เป็นเพียงเรื่องของธาตุขันธ์ ร่างกาย ส่วนใหญ่เราจะติดกันอยู่ตรงนี้ ยังมองไม่ลึกซึ้งพอ จึงเกิดความทุกข์ แต่ถ้าเรามองเห็นความดีของคน นั้น พิจารณาไป บางทีเขาตายไป  เหมือนเขาไปเปลี่ยนชุดใหม่ เสื้อผ้าใหม่ ไปเกิดใหม่ ก็ไปเอาร่างกายใหม่ แต่ คุณงามความดีของคนๆ นั้น ก็ไม่ได้หายไป แต่ยังไป อุดหนุนเขา ให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี ให้ได้ท�ำความ ดีต่อไปในชาติข้างหน้า เหมือนการเปลี่ยนรถ เมื่อ รถของเราเก่าแก่แล้ว เราก็เอาไปทุบทิ้งเพื่อซื้อรถ ใหม่ ร่างกายนี้เมื่อเสื่อมแล้ว แก่แล้ว หมดสภาพ แล้ว เราก็ไปเอาร่างกายใหม่ รุ่นใหม่ที่สวยกว่า ดี กว่าเดิม ถ้าเรามองลึกๆ ความตายก็เป็นอย่างนี้ คือ เปลี่ยนแค่ร่างกาย แต่จิตใจก็เป็นไปตามกระแส กรรม กรรมดีก็ท�ำให้เราได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี พักใจไว้กับธรรม

51


กล้า หรือเราอาจจะไปสร้างพระอุโบสถเพราะเพื่อน ดึงเราไป แต่เราไม่มีใจที่จะไปด้วย ที่ไปเพราะเกรงใจ เพื่อน หรือเพื่อนจะด่าเราได้ถ้าเราไม่ไป สภาพจิตใจ แต่ละเรื่อง แต่ละครั้ง ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป

ถาม มีผู้กล่าวว่าการสวดมนต์ภาวนานั่งสมาธิ มี กุศลสูงยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ขอความ กรุณาช่วยอธิบายให้เข้าใจ ตอบ    ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ “ใจ” แม้ถวายข้าวเพียง ทัพพีเดียว เมื่อตายแล้ว ก็ท�ำให้ไปเกิดบนสวรรค์ได้ ระลึกถึงเมื่อใดก็เกิดความสุขใจ ท�ำให้จิตใจเป็นกุศล ได้ การได้สร้างพระอุโบสถหรือพระอารามหลังใหญ่ จิตใจก็มีศรัทธา มีเจตนาเป็นกุศล มีอานิสงส์แรง กล้า เพราะว่าอุโบสถเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม บวช พระใหม่ เข้าไปฟังธรรม นั่งสมาธิ เมื่อสร้างหลัง หนึ่งแล้ว อาจจะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายยุคหลาย สมัย อาจจะมีคนไป “บรรลุธรรม”ในโบสถ์หลังนั้น ก็ได้ ถือว่าเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก มีอานิสงส์แรง

52 พักใจไว้กับธรรม

ถ้าเราท�ำบุญโดย “ไม่ค่อยเต็มใจ” ก็ได้บุญ น้อย ไม่ค่อยได้บุญเท่าไหร่ อาจจะกลายเป็นโมโห เพื่อนก็ได้ การภาวนาก็เหมือนกัน การนั่งสมาธิ อย่างนี้ยังไม่ถือว่าเป็นการภาวนา ร่างกายก็มาแล้ว แต่จิตใจคิดถึงบ้าน คิดถึงงานที่จะท�ำต่อไปพรุ่งนี้ เราจะไปไหน ท�ำนี่ ท�ำนั่น ไม่ค่อยได้ภาวนา กาย อาจภาวนา แต่ใจยังไม่เป็นก็ยังไม่ได้อานิสงส์เหมือน กัน ยังไม่ได้ผลเท่าไหร่ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ อยู่ที่สภาพ คุณธรรมที่เกิดขึ้นที่ใจ ตามหลักก็คือการให้ทาน ก็ดี แต่การรักษาศีลก็ท�ำให้มีผลต่อจิตใจสูงขึ้นอีก หน่อยหนึ่ง มีอานิสงส์มากกว่า เพราะเป็นการฝึก ใจให้งดเว้นการท�ำบาป ฝึกภาวนาสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ก็ยิ่งได้อานิสงส์แรงกล้า พอฝึก จะได้ละกิเลส ถอนกิเลสจากใจจนกระทั่งบรรลุธรรม ได้ ตามหลักหนังสือว่าเป็นอย่างนี้จริง แต่เราต้องดู เหตุการณ์ด้วย ดูจิตใจของเราในเหตุการณ์นั้น พักใจไว้กับธรรม

53


สมั ย ก่ อ นเราเคยอยู ่ กั บ หลวงปู ่ ช าที่ วั ด หนอง ป่าพง เราก็จะฝึกเนสัชชิกทุกวันพระ “เนสัชชิก” หมายถึง การนั่งสมาธิทั้งคืน ไม่นอน ก็ต้องฝึก เป็นสิ่งที่ดีและมีความตั้งใจท�ำ มีพระเคยเล่าให้ฟัง ว่า เคยนั่งสมาธิทั้งคืนแต่ไม่เป็นสมาธิ ร่างกายก็ นั่งแต่ใจโกรธ โกรธเพื่อนทั้งคืนเลยไม่นอน ก็เลย นั่งสมาธิได้ เพื่อนบอกว่าองค์นี้นั่งเก่ง ตรงไม่ง่วง ไม่โงก ดูสวยงามแต่มาสารภาพทีหลัง ว่านั่งด้วย ความโกรธ ก็ส�ำคัญที่ใจทุกเรื่อง บางทีท�ำบุญเล็กๆ น้อยๆ เต็มใจท�ำมาก ใจเป็นกุศลมาก ก็ได้อานิสงส์ มาก บางคนก็ท�ำบุญใหญ่ วันก่อนมีโยมเป็นอัยการ มาเล่าให้ฟังว่า มีคนใหญ่โตในสังคมท�ำบุญมาก แต่ เงินได้มาในทางที่ไม่บริสุทธิ์ก็เลยได้อานิสงส์น้อย ทุกสิ่งอยู่ที่ “ใจ” ใจเรามีศรัทธาจริงไหม สิ่งของที่ เราให้บริสุทธิ์ไหม เรามีสติในการกระท�ำไหม จิตใจ เรามีศรัทธาจริงไหม ทุกๆ อย่าง เราก็ต้องดูที่ สภาพจิตใจแต่ละครั้ง แล้วจะเห็นชัดเจนว่าใจเรา ก็ไม่แน่นอนถ้าเราไปท�ำบุญสิบครั้งก็ไม่ใช่ว่าเราจะ มีศรัทธาที่แน่นอน ไม่แน่ว่าจะมีศรัทธาที่เป็นกุศล ทั้งสิบครั้ง บางทีขณะปฏิบัติธรรมอาจจะมีอย่าง

54 พักใจไว้กับธรรม

ใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เหมือนคนที่มาที่วัด เราก�ำลัง ถวายของ มีความพอใจ ก�ำลังรับพร มีอีกเจ้าหนึ่ง เข้ามาถวายของ ถวายมากกว่า เรานั่งดู แทนที่ จะเกิดปีติ สุข อิ่มใจ ที่ตัวเองท�ำบุญและเห็นคนอื่น ท�ำบุญ กลับเกิดความอิจฉาเกิดความไม่พอใจ เลย กลับบ้าน ไม่มีความสุขเลย โมโห เพราะเขาท�ำ มากกว่าเรา เอาหน้า หรือเหตุผลอะไรต่างๆ มีใช่ ไหม คือใจเราเปลี่ยนได้ การกระท�ำภายนอกอาจจะ ดูเป็นกุศล แต่ใจเป็นกุศลหรือยัง เราเองต้องเป็น ผู้รับผิดชอบตรงนี้ ต้องปฏิบัติตรงนี้ทุกวัน ทุกครั้ง นี่จึงเป็นเหตุให้เราต้องฝึกสติ ถึงจะรู้เท่าทันตัวเอง แม้แต่ฟังธรรม ถ้าพระหลง ก็คิดว่าทุกคนนั่งนิ่ง สงบดี ศรัทธาดี กิเลสหายไปหมด ดูเหมือนน่าจะ ใช่ เคยมีแสดงธรรมอย่างนี้ แต่ภายหลังบอกว่าคน ไม่ชอบก็มี นั่งนินทาพระว่าพระเทศน์ผิด พูดผิด ไม่ ถูก แบบนี้ก็มี ใจไม่ได้เป็นกุศลเลยก็มี ดังนั้นความส�ำคัญอยู่ที่ “ใจ” การ ท�ำบุญไม่ได้อยู่ที่จ�ำนวนเงินหรือสิ่งของที่ให้อย่าง เดียว แต่อยู่ที่ใจ ว่าเรามีศรัทธาจริงไหม มีสติจริง ไหม มีศีลจริงไหม ผู้รับก็เหมือนกัน ผู้รับประพฤติ พักใจไว้กับธรรม

55


ตัวดีไหม ท�ำความดีแล้ว เราให้ทานแล้ว จะเกิดผล อย่างไร ผู้ที่รับจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร มีเหตุ ปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาในเรื่องนี้ การ นั่งสมาธิก็เหมือนกัน เวลานั่งสมาธิ ฝึกจิตใจกับ อารมณ์กรรมฐานจริงหรือไม่ หรือแค่นั่งเอาเวลา ดู นาฬิกาไปเรื่อยๆ ถึงสิบนาทีหรือยัง ไม่มีสติ เอาแต่ ดูเวลาอย่างเดียว แบบนี้ก็มีเหมือนกัน

56 พักใจไว้กับธรรม

ถาม ขอค�ำแนะน�ำวิธีการก�ำหนดโครงกระดูก ที่เบ้าตาหรือที่หัวกะโหลกเพื่อน�ำไปสู่ปัญญา ตอบ ค ง ไ ม ่ มี วิ ธี ก า ร ป ฏิ บั ติ ที่ แ น ่ น อ น ทางเดี ย วในเรื่ อ งนี้   อั น ดั บ แรกต้ อ งมองหา “ความสงบ” ความสงบ หมายถึงข้างในก่อน ภาษา พระ เรียกว่า ต้องพยายามท�ำให้พน้ จากนิวรณ์ธรรม เริม่ จากไม่คดิ ถึงบ้าน คิดถึงคนอืน่ คิดถึงสิง่ แวดล้อม คิดถึงความเจ็บปวดในร่างกายของตัวเอง เริม่ จะ สงบกับบทกรรมฐานบทใดบทหนึ่งจะเป็นกระดูกเลย ก็ได้ จะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายก็ได้ จะเป็น ลมหรือพุทโธก็ได้ พอเราเริ่มมีสติมีความสงบขึ้น มาก็น้อมความรู้สึกมาที่กระดูกศีรษะ ที่หัวกะโหลก หรือที่ตาก็ได้ แล้วเพ่งไปที่จุดนั้นก่อน หรืออาจจะ เริ่มตามอย่างหนังสือสวดมนต์ คือ เริ่มจากเกศา เส้นผมก่อน แล้วก็ไล่ไปตามอาการ 32 เพื่อฝึกก่อน พักใจไว้กับธรรม

57


พยายามนึกถึงภาพเกศาผมบนศีรษะ ส่งความรู้สึก ไปที่ศีรษะด้วย นึกถึงภาพในใจว่าเส้นผมเป็นอย่างไร อาจจะท่องว่าเกศาๆๆๆก็ได้ หรือผมๆๆๆก็ได้ ใช้ทั้ง การท่องด้วย การเพ่งความรู้สึกด้วย นึกถึงภาพ ด้วย จนกระทั่งใจสงบ ในตอนแรกใจอาจจะสงบยาก ต้องไล่ไป เกศา ผม โลมาขน นขาเล็บ ไล่ไปตามอาการ 32 จนหมด ไล่ไป กลับไปกลับมา จนจิตมีงานท�ำก่อน เพราะว่า คนเรามักจะชอบคิด เราก็ใช้การคิดอาการ 32 นึกถึง ภาพ นึกถึงต�ำแหน่ง นึกถึงอาการของสิ่งที่เรา พิจารณา เราก็อาจจะนึกถึงหนังตโจ พระพุทธเจ้า บอกว่าร่างกายนี้เหมือนถุงที่มีหนังหุ้มห่ออยู่ ท�ำให้ อวัยวะเลือดและทุกอย่างที่อยู่ภายในไม่ออกมาข้าง นอก เหมือนกับเป็นถุง เขาก็ให้พิจารณาอย่าง นี้ หนังมีสีอย่างไร นึกถึงสภาพของชิ้นส่วนของ ร่างกาย ถ้าเราไม่อาบน�้ำสภาพหนังจะเป็นอย่างไร มันจะค่อยๆ มีกลิ่น เปลี่ยนสี หนังจะค่อยๆ ลอก ออกมาเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว มองเห็นหนังของเรา ส่วนที่มองเห็นก็เป็นส่วนที่ตายแล้ว ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็จะเจ็บมาก นี้เป็นเหตุให้ถ้าเรามีแผลสดข้างในจะ เจ็บมาก เพราะมีเส้นประสาทเยอะ แต่หนังภายนอก

58 พักใจไว้กับธรรม

ที่เรามองเห็นมันไม่เจ็บ ส่วนที่เจ็บมันอยู่ข้างใน ส่วน ข้างนอกตายแล้ว เราพิจารณาลักษณะของอาการ 32 แต่ละชิ้น ส่วน ให้สร้างความคุ้นเคยกับการพิจารณาอย่างนี้ คุ้นเคยกับภาพด้วย คุ้นเคยกับความหมายด้วย คุ้น เคยกับสามัญลักษณะว่าสิ่งเหล่านี้ เช่น หนัง ก็เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง มันทุกข์ เพราะมันแปรสภาพต่อ เนื่อง ไม่เที่ยงแท้ถาวร อนัตตาก็ เช่น หนังที่แท้ก็ ไม่ใช่ตัวเรา ที่แท้จริงหนังไม่รู้จักเรา ไม่รู้จักชื่อ ไม่รู้ จักว่าใครเป็นเจ้าของ เป็นสภาวะของธาตุ 4 ส่วน ใหญ่เป็นธาตุดินและธาตุน�้ำ หนังไม่รู้จักชื่อใคร ไม่ได้รู้ว่านี่เป็นหนังของพระ กัลยาโณ พระอาจารย์จับแต่หนังก็ไม่รู้ว่าใครจับ ไม่มีชื่อ แต่ว่าใจเราที่เราหลง ส�ำคัญผิดว่าเรา ของ เรา เราก็ตั้งชื่อว่าหนังของเรา โดยอุปาทานก็ท�ำให้ ยิ่งรู้สึกเจ็บ ห้ามแตะต้องเลย เจ็บอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็จะคิดมากเพราะอุปาทาน ให้เราฝึกพิจารณาอาการ 32 อย่างนี้ทุกวันๆ ในระหว่างที่เราพิจารณาอาจจะมี จุดใดจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่าถูกใจ จะท�ำให้พิจารณาจุด นั้นง่าย ภาพอาจขึ้นมาง่ายถ้าเป็นกระโหลกศีรษะก็ ลองเพ่งดู บางคนเห็นมันขึ้นมาเองก็มี เรานั่งสงบ พักใจไว้กับธรรม

59


บางที อ าจจะเห็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในร่ า งกายของเราเป็ น ภาพขึ้นมาโดยอัตโนมัติ อาจเคยพิจารณามาในอดีต แล้ว มันขึ้นมาใหม่ก็เป็นไปได้ บางทีสร้างภาพขึ้นมาเองก็ได้ ลองไปหาดูใน อินเตอร์เน็ตหรือในหนังสือของหมอก็ได้ แต่ให้เรา สร้างภาพขึ้นมา ถ้าเป็นศีรษะเราก็สร้างภาพขึ้นมา ให้เห็นเป็นกระโหลกศีรษะ เราพิจารณาว่าข้างในตา ก็เป็นรูโหว่ ไม่มีอะไร แต่รอบนั้นกลับแข็ง ที่จริง ถ้าเราสังเกตดูกระโหลกศีรษะจมูกก็ไม่มีใช่ไหม มี กระดูก แต่เป็นชิ้นเล็ก ถ้าคนตายจมูกก็หายไป จะเหลือเป็นรูสองรูของช่องลม หูก็เหมือนกัน กะโหลกศีรษะก็ไม่มีหู มีแต่รูเล็กๆ ที่ข้อต่อก็เหมือน กัน ไม่มีอะไร ถ้าเป็นพระเราอาจจะไปดูการผ่าศพที่ โรงพยาบาล หมอต่างๆ ก็มีเมตตาอนุญาตให้เข้าไป ดูเขาผ่าศพ มีการตัดกะโหลกศีรษะ ผ่าครึ่งใช้เลื่อย ฟังดูแล้วน่ากลัว แต่ที่จริงแล้วไม่น่ากลัว เพราะ คนที่ตายแล้วไม่มีความเจ็บ เขาก็ตัดเอาศีรษะออก เหมือนตัดมะพร้าวออกครึ่งหนึ่ง จะมีสมอง สมอง ก็ยกออกได้ จะเหลือเหมือนเป็นมะพร้าวที่เอาเนื้อ ออกแล้ว ไม่มีอะไร เป็นช่อง เราพิจารณาอย่างนี้ 60 พักใจไว้กับธรรม

เวลาเรานัง่ หลับตาก็พจิ ารณาถึงศีรษะตัวเอง ว่า ลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร สุดท้ายก็จะเกิดความรูส้ กึ ว่า สิง่ เหล่านีม้ อี ยู่ แต่ไม่ใช่ของเรา สมมุตวิ า่ ทุกคน ทีน่ งั่ อยูท่ นี่ เี่ หลือแต่กระดูก ก็จะไม่รวู้ า่ ใคร เป็นผูช้ าย ผูห้ ญิง ชือ่ ก็ไม่รู้ ใครเป็นใครก็ไม่รู้ เหลือแต่กระดูก เหมือนกันหมด จะดูไม่ออกว่าคนแก่ คนหนุม่ ผูช้ าย ผูห้ ญิง ดูไม่ออกเลย ถ้าเหลือแต่กระดูกแล้ว ท�ำไม จิตใจไม่ยอมรับเรือ่ งนี้ เป็นเพราะเราติดในสิง่ อืน่ ติด ในความสวยงาม ติดในภาพเพศชาย เพศหญิง ติด ในการแต่งตัว โดยธรรมชาติคนเราจะพยายามหนี จากความจริง สร้างภาพสมมุตขิ นึ้ มา ว่าเราเป็นใคร ชือ่ อะไร แต่งตัวอย่างไร การแต่งตัวบางทีกเ็ ป็นการ แสดงฐานะของตน หรือความรูส้ กึ ของตน ว่าเราแต่ง ตัวอย่างนี้ เป็นบุคลิกนิสยั หรือฐานะของตน เวลาเราภาวนา เป็นการแยกสมมุติออกให้ เหลือแต่สัจธรรม ว่าทุกคนก็มีแต่ธาตุ 4 ดิน น�้ำ ลม ไฟ เมื่อใจสงบ จะเริ่มเห็น ใจจะยอมรับความ จริง จะเพ่งที่กระดูกศีรษะถ้าบางคนถูกนิสัย จน กระทั่งลืมตา บางทีมองเห็นคนก็จะเหลือแต่กระดูก ศีรษะ อย่างนี้ก็สามารถเป็นไปได้ ถ้าเราไม่เคยท�ำจะ ไม่เข้าใจ ถ้าเราท�ำบ่อยๆ จะเข้าใจ เป็นไปได้ บางที พักใจไว้กับธรรม

61


มองคน แทนที่จะมองว่านี่คุณยาย นี่คุณตา คนนี้ หนุ่ม น้องคนนี้คนนั้น ชื่อก็จะหายไปหมดแม้แต่ เพศ บางทีก็อาจจะหายไปหมด เหลือแต่อาการ 32 เหลือแต่กระดูก เหลือแต่หนัง หรือถ้าลึกไปกว่านั้น อาจจะเหลือแต่ธาตุ 4 ดิน น�้ำ ลม ไฟ ถ้าสมมุติว่า เขาฝังกระดูกศีรษะคนตาย พอนานเข้า หลายปีเข้า จะเปลี่ยนจะแปรสภาพเป็นดิน เราเองก็เคยทดลองแล้ว ที่วัดเราที่ออสเตรเลีย มีกวาง จิงโจ้ เยอะ เวลามันตายในป่า บางทีเรา ฝังตื้นๆ เรากลบดินนิดหน่อย พอเห็นการแปรสภาพ ของกวางหรือจิงโจ้ตายไป ทีแรกมันจะพองขึ้นมา มีสัตว์ตัวอื่นมากัดกิน ส่วนร่างกายก็จะกระจายไป เหลือแต่กระดูก แม้แต่กระดูกก็อาจจะกระจายไป เหลือแต่หัวชิ้นหนึ่ง นานๆ เข้าหัวกับดินจะผสมกัน กลายเป็นชิ้นเล็กๆ สุดท้ายมันก็จะสูญหายไปจนไม่ เห็นเลย เราเคยศึกษาเรื่องนี้มาแล้วแม้แต่สัตว์กับ คนบางทีก็แยกไม่ออก เรื่องจริง เวลานี้ที่ประเทศ ออสเตรเลียมีกฎหมายเวลาก่อสร้างในเขตชนบท บางที่ เ ป็ น เขตพื้ น เมื อ งคนผิ ว ด� ำ ที่ เ คยอาศั ย อยู ่ ที่ ประเทศออสเตรเลียมาก่อนที่พวกผิวขาวเข้าไปอยู่ มาเป็นสี่ห้าหมื่นปี เขามีวัฒนธรรมเก่าแก่แล้วเขา

62 พักใจไว้กับธรรม

ก็อาจจะมีที่ฝังศพของเขาซึ่งเขาก็อาจจะถือว่าเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นในการสร้างสิ่งก่อสร้างอะไร ในชนบท ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่บางที่จะต้องดู ก่อนว่าเป็นที่ฝังศพเก่าหรือไม่ ปีที่แล้วมีหมู่บ้านจัดสรรที่เมืองเมลเบิร์นเขาจะ สร้างบ้านหลายหลัง บริษัทใหญ่โต มีเงินมหาศาล จะมาสร้างหมู่บ้าน ขณะก�ำลังขุดดินท�ำฐานของ หมู่บ้านจัดสรร ไปเจอกระดูกเข้า ตามกฎหมาย ต้องหยุดงาน เขาก็ต้องหยุด เจ้าของโมโหมากที่ ต้องหยุดงานท�ำให้ไม่มีก�ำไร เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามา ตรวจดูกระดูกว่าเป็นกระดูกอะไร พอตรวจทุกอย่าง เรียบร้อย หกเดือนผ่านไปก็ลงความเห็นว่าเป็นกระ ดูกจิงโจ้ ไม่ใช่กระดูกคน ยิ่งท�ำให้เจ้าของโมโหมาก เพราะไม่ใช่กระดูกคน แล้วท�ำให้ต้องหยุดท�ำงานหก เดือนเพื่อจิงโจ้ กระดูกก็เป็นกระดูก เป็นแค่ธาตุดิน จะเป็นกระ ดูกคนหรือกระดูกจิงโจ้ก็เหมือนกัน แยกไม่ออก ถ้า เราพิจารณาสภาวะ จะเห็นได้ว่ามันเหมือนกัน ว่า เราไม่แตกต่างกับจิงโจ้เท่าไหร่ ที่มีความแตกต่าง กันคือ ใจ การพัฒนาของใจ มนุษย์เราส่วนใหญ่สูง กว่าสัตว์ แต่ก็ไม่เสมอไปบางทีมนุษย์ท�ำตัวเป็นสัตว์ พักใจไว้กับธรรม

63


ก็มี แต่โดยทั่วไปใจของมนุษย์สูงกว่าสัตว์และตัวใจ ตัวรู้ การพัฒนาของจิตใจส�ำคัญที่สุด แล้วจะเห็นใจ อย่างไร ก็เมื่อเราเห็นกระดูกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตน ก็จะเริ่มเห็นใจที่ บริสุทธิ์ ที่มองเห็นกระดูกถูกต้องตามธรรมชาติ จะ ท�ำให้ใจมีอิสระจากความโลภ โกรธ หลง ปล่อยวาง ได้ ดังนั้น ตั้งแต่โบราณมาจึงมีการเพ่งกระดูกเป็น อารมณ์กรรมฐาน ให้เกิดความสงบ ถ้ายังกลัวผี กลัวอะไรต่ออะไรก็อาจจะยังท�ำไม่ได้ ค่อยๆ ท�ำ ถ้า สงบแล้วค่อยๆพิจารณากระดูก เพ่งเห็นความไม่ เที่ยง เห็นความที่กระดูกไม่ใช่ตัวตน เห็นความว่าง ภาษาพระเขาจะใช้ค�ำว่า “ว่าง” ใจก็จะสงบจริงๆ จะ ไม่หลงในสมมุติ มองคนอื่นก็จะเห็นว่ากระดูกเขา กระดูกเราเหมือนกัน เป็นดิน น�้ำ ลม ไฟ เหมือนกัน

64 พักใจไว้กับธรรม

ถาม มีบางคนเมื่อท�ำบุญเสร็จเวลาแผ่ส่วนบุญส่วน กุศลจะแผ่ส่วนบุญนั้นแด่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า เทวดา พรหม ทั้งหลาย เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ เราสามารถแผ่บุญ แด่พระพุทธเจ้าได้ใช่ไหม ตอบ  เราท� ำ ใจให้ ก ว้ า ง  ระลึ ก ถึ ง คุ ณ ของพระศรี รัตนตรัย นึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ ถ้าครูบา อาจารย์พ้นทุกข์แล้ว ท่านก็ไม่ต้องการบุญจากเรา แต่การที่เรานึกถึงท่านก็เป็นการแสดงออกถึงความ กตัญญูกตเวทีในใจ และนึกถึงคุณงามความดีของ ท่าน หรือแม้แต่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็เป็นกุศล เราแผ่ไปถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทั่ง สัตว์ที่สูง เทวดา พรหม เราก็แผ่กุศลไป เขายังอาจ อนุโมทนากับเราถ้าหากเขายังไม่ถึงนิพพาน พักใจไว้กับธรรม

65


สัตว์ที่ล�ำบากกว่าเรา เช่น สัตว์เดรัจฉาน เปรต วิญญาณ สัตว์นรก แผ่กุศลไป ถ้าหากเขารับก็ เป็นการดีต่อเขา เขาก็อาจอนุโมทนา จะท�ำให้มี สภาพจิตใจดีขึ้น ในการแผ่บุญกุศลเราจึงมักจะเรียก สรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็หมายถึงทั้งที่ดีและไม่ดี ทั้ง ที่มีทุกข์และที่พ้นแล้วจากทุกข์ ทุกคนก็แผ่ออกไป แต่พระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าแม้ไม่ต้องการบุญ จากเราแต่เราก็ให้ระลึกถึงองค์ท่าน ระลึกถึงคุณ งามความดีของท่าน

66 พักใจไว้กับธรรม

ถาม  เราสามารถแผ่กุศลถึงผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ แล้วจะทราบอย่างไรว่าเขาได้รับกุศลที่อุทิศให้หรือ เปล่า ตอบ  ใครอยากจะทราบ ไม่ต้องทราบก็ได้ เราก็แผ่ ไปให้เป็นนิสัย ถึงหรือไม่ถึงแล้วแต่เขา เราก็ให้ไป เหมือนกับเราถวายอาหารพระ เราไม่ต้องไปจ้องว่า ท่านฉันหรือเปล่า เราถวายไปแล้วก็ดีแล้วบุญได้แล้ว การแผ่กุศลไปก็เช่นกัน เราไม่ต้องไปคิดมากว่าเขา ได้รับหรือไม่ได้รับ เราก็ท�ำในการกระท�ำที่เป็นกุศล เราไม่ได้เสียหาย ไม่ใช่ว่าเราแผ่กุศลไปแล้วกุศลของ เราก็น้อยลงๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่มันจะเพิ่มขึ้นด้วย การแผ่ ส่วนคนที่จะรับถ้าเรามีสติสัมปชัญญะพอ เราอาจจะรู้ได้ว่าเขาได้รับหรือไม่ได้รับ แต่โดยส่วน ใหญ่เราอาจจะไม่มั่นใจว่าเขาได้รับหรือไม่ เราไม่รู้ ละเอียดพอ แต่ก็ไม่เป็นไรเราก็แผ่ไป พักใจไว้กับธรรม

67


คนมีชีวิตอาจจะเรียกว่า “แผ่เมตตา” ก็ได้ ไม่ ได้เรียกว่า “แผ่กุศล” ส่วนใหญ่มักจะใช้ค�ำว่าแผ่กุศล กับคนที่ตายไป แต่อันที่จริงสภาวะจิตใจก็ใกล้เคียง กัน คนที่ยังมีชีวิตเราก็นึกถึงเขา แผ่เมตตาขอให้เขา พ้นจากทุกข์ ถ้าเขาป่วยก�ำลังนอนอยู่ที่โรงพยาบาล หรือที่บ้าน เราก็นั่งสมาธินึกถึงเขาส่งกระแสจิต ไป อาจจะได้ผลดีก็ได้ มีหลายครั้งที่มีคนก�ำลังจะ ตายหรือคนป่วย เพื่อนและลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ไปนั่งสมาธิให้ ยังช่วยได้ บางทีคนก�ำลังกระสับ กระส่าย ดิ้นอยู่ คนไปนั่งสมาธิแผ่เมตตาแผ่กุศลให้ ข้างๆ เขา ก็เย็นลง อาการก็ดีขึ้น บางทีหัวใจเต้น อ่อน มีคนมานั่งสมาธิสวดมนต์ให้ หัวใจเต้นดีขึ้น สม�่ำเสมอขึ้น มีหลายสิ่งหลายอย่างเรื่องนี้ แต่ถ้า จะวัด ก็ไม่มีเครื่องวัดว่ากุศลของเรา การแผ่เมตตา ของเราแรงขนาดไหน ได้ผลขนาดไหน แต่ว่าเท่าที่ สังเกตก็ได้ผล มีครูบาอาจารย์หลายคนก็เล่าเรื่องนี้ ว่า เมื่อมีคนป่วยแล้วมีคนนั่งสมาธิแผ่กุศลให้ เขา อาการดีขึ้นอาจจะไม่ได้พ้นจากความทุกข์ทั้งหมดแต่ อาจจะรู้สึกดีขึ้นในระหว่างที่รักษา

68 พักใจไว้กับธรรม

ถาม  เราสามารถแผ่กุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของ อีกบุคคลหนึ่งได้หรือไม่ ตอบ  ได้ แต่เรามักจะชอบคิดเป็นรูปธรรมว่าเราแผ่ กุศลให้เจ้ากรรมนายเวร  วิญญาณจะได้ถอยห่างออก ไป คิดแบบนี้มักจะเป็นการจินตนาการมากกว่า แต่ เราแผ่เมตตา หวังดีต่อคนที่ป่วย หรือก�ำลังประสบ กับความทุกข์ ความหวังดีของเราอาจจะแสดงออก โดยการนั่งสมาธิ ทางวาจา โดยการพูดคุย ทาง กาย อาจจะมีการช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่งกระแส เมตตาของเราที่แสดงออกทางกาย วาจา ใจ ก็ต้อง ท�ำให้คนป่วยหรือคนที่ทุกข์รู้สึกดีขึ้น ใครเมตตามาก อาจจะดีขึ้นมากในความรู้สึกของเขา เมื่อความรู้สึก ของเขาดีขึ้นอาจจะเป็นเหตุให้เขาโกรธคนอื่นน้อยลง ด้วย ประพฤติตัวกับคนอื่น หรือนึกถึงคนอื่นด้วย ความคิดที่ดีขึ้น เมื่อความคิดของเขาดีขึ้นเวรกรรมที่ก�ำลังให้ผล อาจจะไม่ค่อยให้ผลมากก็เป็นไปได้ เช่น ถ้าเขาป่วย พักใจไว้กับธรรม

69


ถ้าทุกคนทิ้งเขา ไม่ไปเยี่ยม ไม่ช่วย ไม่ให้ความส�ำคัญ กับเขา เขาอาจจะมีความรู้สึกที่ไม่ดี อาการป่วยอาจ จะก�ำเริบขึ้น ภูมิต้านทานของโรคอาจจะท�ำงานน้อย ลงเพราะสภาพจิตใจไม่ดี ซึมเศร้า ถูกทอดทิ้ง แต่ ถ้าเราเมตตาเขาช่วยเหลือเขาบางทีเขาอาจจะรู้สึก ดีขึ้น ภูมิต้านทานโรคท�ำงานดีขึ้น ร่างกายก็แข็ง แรงขึ้น อาจจะมีผลดีต่อโรคของเขาหรือความทุกข์ ที่เขาก�ำลังรับอยู่ แต่จะอธิบายว่าเจ้ากรรมนายเวร จะหนีถอยไปนั้น ถ้าหากว่าเป็นครูบาอาจารย์ท่านจะ เข้าใจเรื่องนี้อย่างละเอียด แต่ส�ำหรับพวกเรามันจะ เป็นจินตนาการมากไปหน่อย เราอาจจะต้องระวังใน เรื่องนี้ แต่ว่าการที่เขามีทุกข์เราจะช่วยเขา มันต้อง ช่วยแน่ จะต้องช่วยทั้งกาย ทั้งใจ

70 พักใจไว้กับธรรม

ถาม  การที่จะเอาชนะหรือวางเฉยต่ออัตตาของคน ที่อยู่ตรงหน้า โดยที่เราไม่เกิดอารมณ์หงุดหงิด ไม่ พอใจ ควรจะท�ำอย่างไร มีพี่น้องหลายคนที่ต่างก็ ขาดเมตตาและคุณธรรมที่แท้จริง มีอัตตาตัวตนสูง ท�ำให้สื่อสารและพูดจาต่อกันไม่ลงรอย มีแต่ความ ขัดเคืองและไม่ยอมฟังในสิ่งที่ถูกต้องกว่า เพราะเขา จะคิดแต่ตัวเองท�ำถูกและดีกว่าทุกเรื่อง ตอบ ธรรมดาคนในสังคมมีคนหลายประเภท บาง คนเข้าใจในความจริง มีจิตใจเป็นกุศลก็มี คนที่ยัง ไม่เข้าใจในความจริงก็มี จิตใจยังไม่เป็นกุศลก็มี บาง คนพร้อมที่จะปรับปรุงตัวเอง เมื่อฟังข้อแนะน�ำที่ดีก็ ปรับปรุงตัวเองได้ บางคนฟังแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ยัง ไม่ยอมเปลี่ยน ยังไม่อยากจะเปลี่ยนก็มี เราก็ต้อง เข้าใจในเรื่องนี้ เวลาที่เราต้องเกี่ยวข้องกับสังคม แม้แต่สังคมเล็กๆ เช่น ครอบครัวเรา คนที่เชื่อฟังเรา ก็มี คนที่เห็นความดีเราก็มี คนที่ไม่ฟังก็มี เราต้อง ปรับกับแต่ละคน พักใจไว้กับธรรม

71


ค�ำว่า “วางเฉย” ในพุทธศาสนา   ไม่ได้หมายความ ว่า “ไม่แคร์ ไม่สนใจ” แต่อาจจะยอมรับว่าคนนีใ้ น ขณะนี้ เรายังช่วยไม่ได้ หรืออาจจะสือ่ สารยังไม่คอ่ ย ส�ำเร็จ เขามีความคิดเห็นของตน ยังไม่ฟงั ใคร เรา ต้องยอมรับว่าบางคนจะเป็นอย่างนี้ บางคน บาง ครัง้ บางเวลา แต่แทนทีเ่ ราจะนัง่ ทุกข์กบั เรือ่ งนี้ เราจะต้องยอมรับว่า ตอนนีเ้ หตุปจั จัยยังไม่พร้อมที่ จะช่วยคนนี้ เพราะฉะนัน้ เราต้องวางใจเป็นกลางไป ก่อน อาจจะอีกระยะหนึ่งเราอาจจะช่วยเขาได้ หรือ อีกระยะหนึ่งเราจะค่อยๆ วางแผนว่าเราจะช่วยคนนี้ อย่างไร แต่ต้องยอมรับว่าในขณะนี้เราอยากจะช่วย แต่ยังไม่ส�ำเร็จ เพราะเขาเองก็ต่อต้าน เขาเองก็ยัง ไม่เข้าใจ แต่อีกคนหนึ่งอาจจะช่วยได้ง่าย มีทุกแบบ บางที คนนี้เราอาจจะช่วยมาหลายปีแล้ว ช่วย มาหลายแบบช่วยมาเรื่อยๆ พอมาถึงจุดหนึ่งอาจจะ เสื่อม ไม่เห็นความดีของเรา ไม่เห็นประโยชน์ในการ ช่วยเหลือ เปลี่ยนได้ เราช่วยเหลือมายี่สิบปี สามสิบ ปี สุดท้ายไม่เห็นความดีของเรา ไม่กตัญญู ไม่มี ความรู้สึกตรงนั้น เลยหนีจากเราไป หรือท�ำตัวกับ เราไม่ดีก็มี มีทุกแบบในโลกนี้ แต่นี่เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา เรื่องของเราก็คือ การท�ำความ

72 พักใจไว้กับธรรม

ดี เพราะเรารู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ท�ำไปเรื่อยๆ อดทน และก็รู้ว่าบางคนเราช่วยได้ผลดี บางคนช่วย ไม่ได้ ยังไม่ได้ผล เราก็ยอมรับความจริงได้ เพราะ ทุกอย่างก็เป็นไปตามกรรม แต่เป็นเรื่องของเขา กรรมของเขา เราไม่ต้องไปทุกข์ตรงนั้น ให้กลับมา ดูที่การกระท�ำของเรา

พักใจไว้กับธรรม

73


ถาม ถ้าอยู่ในแวดวงกับสังคมหรือคนที่มีแต่ ปัญหา ท�ำให้ตัวเราเองหงุดหงิด พูดจาไม่ดี จะ ท�ำอย่างไรกับตัวเองดี เหมือนกับสภาวะหรือสังคม รอบข้างจะมาซึมซับ คือ จริงๆ อยากเป็นคนจิตใจดี แต่อยู่ในสภาวะของสังคมที่ไม่ดีเราควรท�ำอย่างไร ตอบ อย่าไปโทษสังคม ให้โทษตัวเอง ถ้าเราพูดไม่ดี ใครเป็นผู้พูด เราเป็นผู้พูด เราก็เลยต้องตั้งใจปฏิบัติ ธรรม จะไปโทษคนอื่นทุกครั้งก็ไม่ได้ แต่เราอาจจะ รู้ว่าสังคมรอบข้างก็มีผลต่อเราจริง แต่สุดท้ายเรา เป็นผู้พูด ผู้คิด ผู้ท�ำ เราต้องรับผิดชอบการกระ ท�ำของเรา ถ้าเป็นไปได้ บางครั้งเราก็แยกตัวออก จากสังคม ถ้าเพื่อนฝูงหรือคนที่เกี่ยวข้องไม่มีศีล ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่ท�ำความดี ก็เกี่ยวข้องให้น้อย ที่สุด ตามหน้าที่ ตามความจ�ำเป็น เราก็เกี่ยวข้อง อยู่ แต่ถ้าไม่จ�ำเป็นเราก็ไม่ต้องเกี่ยวข้อง เพราะจะมี ผลต่อเรา แต่บางครั้งเราหนีไม่พ้น ต้องเกี่ยวข้องกับ เขา เราก็ต้องตั้งใจ เขาพูดไม่ดี แต่เราจะพูดดี เขา โกหก แต่เราจะไม่โกหก เขาท�ำลายคนอื่น เราจะไม่ ท�ำลายคนอื่น เราต้องมั่นใจในความดีของเรา แล้ว

74 พักใจไว้กับธรรม

ก็ต้องตั้งใจ บางทีเข้าไปหาคนนี้ รู้ว่าคนนี้จะพาเสีย พูดไม่ดี นินทาคนอื่น อะไรต่ออะไร เราก็ต้องตั้งใจก่อนจะไปคบหาคนนี้ ตั้งใจ ตั้งสติ ให้ดี ระวัง ถ้าภาษาสมัยใหม่เขาเรียกว่า ระวังคน นี้เขาจะมากดปุ่มเรา กดปุ่มแล้วเราจะระเบิด เราก็ เลยต้องตั้งสติดีๆ ก่อน ก่อนจะไปหาเขา ถ้าจ�ำเป็น ต้องคบกับเขาก็ต้องตั้งสติพูดดีๆ ควบคุมวาจา ควบคุมกิริยา บางทีก็พยายามหลีกเลี่ยง อย่าไป พูดในเรื่องที่จะเกิดการทะเลาะกัน หรือเรื่องที่จะ ท�ำให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีงามขึ้นมา เราต้องฉลาดอย่างนี้ ถ้าภาษาพระ อย่างนี้เขาเรียกว่า “สัมมาวายามะ” ความเพียรที่จะป้องกันไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้ มันเกิด บางทีเราต้องวางแผนล่วงหน้า ว่าเราจะ ต้องพบคนนี้ ควรจะต้องตั้งใจอย่างไร จะประพฤติ ตัวอย่างไร เพราะต้องเจอและรู้ว่าเขาจะชวนในทาง ที่ไม่ดี แต่สุดท้ายอยู่ที่เรา เราก็ต้องรับผิดชอบการก ระท�ำของเรา ต้องตัดสินการกระท�ำของเรา ควบคุม รับผิดชอบของเรา ต้องชัดเจน เรื่องนี้จะไปโทษคน อื่นตลอด ใครจะไปฝึกตัวเรา ถ้าเราเอาแต่โทษคน อื่นไม่ได้ดูตัวเองแล้ว ตัวเองก็ไม่ได้ดีขึ้น พักใจไว้กับธรรม

75


ถาม  เหตุ ใ ดพระเวสสั น ดรจะต้ อ งให้ ท านลู ก และ ภรรยา เพื่อสร้างบารมี การกระท�ำเช่นนี้ถือว่า เป็นการกระท�ำเพื่อตนเองหรือไม่ ตอบ ไม่  แต่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งก็เป็นไปเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเพื่อทุกคนที่นั่งอยู่ นี้ และคนอื่นอีกมากมาย บางทีก็เข้าใจยาก เปรียบ เทียบกับชีวิตเราอาจจะรู้สึกว่าท�ำไม่ได้ จะไปเสียสละ ภรรยากับลูก หรือเสียสละสามีกับลูก ท�ำได้อย่างไร ท�ำไม่ได้ แต่เราจะไปเปรียบเทียบกับพระโพธิสัตว์ ที่ใกล้จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ คนละวาระ คนละขั้นตอน พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ท�ำทุก อย่างเพื่อหมู่ใหญ่ เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องละ กิเลสทุกอย่าง ใครจะไปบอกว่ามีภรรยาและลูกแล้ว ไม่มีกิเลสหรือ ก็ต้องมี ยังมีความห่วง ความรักที่ ผสมด้วยความเห็นแก่ตัว

พระพุ ท ธเจ้ า ครั้ ง เป็ น พระเวสสั น ดรถึ ง วาระก็

76 พักใจไว้กับธรรม

ต้องพร้อมที่จะสละแม้แต่สิ่งที่สละยากที่สุดก็ต้อง สละ แต่ว่าเรื่องนี้ในที่สุดเมื่อสละแล้วก็ได้คืน ดัง นั้นทุกอย่างก็จบด้วยดี และพวกเราก็เลยโชคดี เพราะชาติต่อไปท่านก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มี พระพุทธเจ้าก็จะล�ำบากใช่ไหมพระพุทธเจ้าหรือพระ โพธิสัตว์ที่จะไปเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเสียสละทุก อย่าง ความสุขความเหน็ดเหนื่อย เสียสละทุกอย่าง บางทีเราก็นึกถึงเรื่องนี้ได้ เรานั่งสมาธิห้านาทีรู้สึก ว่าโอยเจ็บแล้ว ไม่อยากจะนั่งแล้ว แต่พระพุทธเจ้า เคยบ�ำเพ็ญบารมีมากี่ภพกี่ชาติเพื่อเรา นี่แค่นั่งห้า นาทีก็ไม่เอาแล้ว ไม่ค่อยได้ตอบแทนบุญคุณเท่าไหร่ ใช่ไหม บางทีเราระลึกถึงคุณงามความดีและความ เสียสละของพระพุทธเจ้าแล้ว จะได้เกิดก�ำลังใจจะได้ พ้นจากอุปสรรคได้

พักใจไว้กับธรรม

77


ถาม อยากทราบประวัติพระอาจารย์ว่าเพราะเหตุใด จึงออกบวช ตอบ  โชคดีเพราะป่วย อาการป่วยบางทีก็มีประโยชน์ มีวันหนึ่ง อายุประมาณสิบห้า อาจารย์ก็ป่วยไม่ได้ ไปโรงเรียน นอนอยู่ที่บ้านไม่รู้จะท�ำอะไร รู้สึกว่าจะ ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เลยเปิดทีวีบังเอิญเป็นสารคดี ของบีบีซี เขามาท�ำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตหลวงปู่ชา ค�ำสอนหลวงปู่ชา ยังหาดูในยูทูปได้ ก็เห็นวัด เห็น พระ มีแต่พระฝรั่ง เห็นออกทีวีในวันนั้นเกี่ยวกับ หลวงปู่ชา ความจริ ง เราก็ มี ค วามคิ ด แล้ ว ว่ า  พระพุ ท ธ ศาสนาสอนดี ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าดี แต่มีความ รู้สึกว่าคงจะหมดสมัยแล้ว ไม่มีพระสงฆ์ที่อยู่แบบ พุทธกาลแล้ว เหลือแต่หนังสือ แต่การปฏิบัติคง ไม่มีแล้ว ทีแรกเราก็คิดอย่างนั้น แต่พอเห็นสารคดี

78 พักใจไว้กับธรรม

ของหลวงปู่ชา ได้ฟังเสียงท่าน เห็นสภาพพระอยู่ ในป่าปฏิบัติธรรม ก็ได้เปิดหูเปิดตาว่าในโลกนี้ยังมีผู้ ที่ด�ำเนินชีวิตแบบนี้ เป็นพระสงฆ์ ไม่มีเงินทอง อยู่ ในป่า บ�ำเพ็ญภาวนาเหมือนหลวงปู่ชาในสมัยนั้น ท�ำให้ฝังลึกในใจว่าทางปฏิบัติยังมี แม้แต่พระสงฆ์ ในโลกนี้ยังมี แต่ตอนนั้นอายุ 15 ปี ยังไม่คิดจะบวช หลังจากนั้นพออายุ 17 อ่านหนังสือตลอด หนังสือพุทธศาสนาอะไรก็อ่านหมดและตั้งใจว่า ถ้า เราจะปฏิบัติตามค�ำสอนของศาสนาใดในโลกนี้เรา จะเลือกศาสนาพุทธ เพราะว่าแนวค�ำสอน ทฤษฎี ของพระพุ ท ธเจ้ า เป็ น แบบปฏิ เ สธไม่ ไ ด้   ปั ญ ญา ของพระพุ ท ธเจ้ า สามารถตอบปั ญ หาที่ เ รามี ใ น ใจได้ ทุ ก ปั ญ หา  ก็ เ ลยตั้ ง ใจจะปฏิ บั ติ ต ามรอยของ พระพุทธเจ้า คิดจะบวชด้วยและก็รู้ในหนังในทีวีก็มี อยู่ แต่ยังไม่มั่นใจเพราะเป็นชาวอังกฤษไม่รู้จักเมือง ไทย ไม่รู้จักคนไทย จึงไม่รู้ว่าจะไปที่ประเทศไทยได้ ไหม แต่มีความคิดตั้งแต่อายุ 17 ว่าจะบวช แต่เก็บ ไว้ก่อนตามแผนเดิม

ออกจากโรงเรียนก็ไปมหาวิทยาลัย

โชคดีที่

พักใจไว้กับธรรม

79


มหาวิทยาลัยมีกลุ่มที่ปฏิบัติธรรม มีศูนย์ปฏิบัติ ธรรมแห่งแรกในประเทศอังกฤษ มีการอบรมนั่ง สมาธิทุกอาทิตย์ เราก็เลยเข้าไปในกลุ่มฝึกนั่งสมาธิ ภาวนาแนวพุทธ อานาปานสติ และก็มีอาจารย์ มาเยี่ยมมาสอน ท่านเคยบวชอยู่กับหลวงปู่พุทธ ทาส และท่านเห็นเราตั้งใจปฏิบัติธรรมที่นั่น เรายัง เป็นนักศึกษาแต่เราตั้งใจปฏิบัติธรรม อาจารย์คน นี้ก็เลยแนะน�ำว่าเราควรจะไปเมืองไทย ไปหาครูบา อาจารย์ จะได้พัฒนามากขึ้นในการปฏิบัติธรรม ปี แรกอยากจะไป แต่ไม่มีเงิน เก็บเงินก่อน ปีที่สอง ยังเรียนอยู่ แต่ว่าปีที่สองปิดเทอมยาวสี่เดือนก็ได้ไป ที่เมืองไทย ไปหาหลวงปู่ชา ได้บวชเป็นผ้าขาว ประมาณ 3 เดือน พออยู่ 3 เดือน เราก็เกิดความมั่นใจว่าเราอยู่ได้ ก็เลยกลับอังกฤษ เรียนจบก็สละสิ่งของของใช้ส่วน ตัว และบอกพ่อแม่ว่าเราจะไปบวชพระที่เมืองไทย อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบอก “ผีบ้า” นินทาเลยต่อ หน้าคนอื่น บอกคนนี้ผีบ้า จะไปบวชเป็นพระอยู่ใน ป่าที่เมืองไทย อาจารย์ไม่เห็นด้วย พ่อแม่ก็ไม่ค่อย เห็นด้วย เขาไม่ห้าม เขารักเรา เปิดโอกาส แต่เขา ไม่เห็นด้วย เพื่อนก็ไม่เห็นด้วย ไม่มีใครเห็นด้วยสัก

80 พักใจไว้กับธรรม

คน เราก็เริ่มจะอ่อนแอเพราะไม่มีใครช่วยสนับสนุน เรา แต่เราก็คิดว่าจะทดลองดู เพราะตัวเองคิดว่า เป็นสิ่งที่ดีอยากพัฒนาด้านจิตภาวนา และอยาก แสวงหาความสุ ข แบบพระพุ ท ธเจ้ า  อยากบรรลุ ธรรมเหมือนพระพุทธเจ้า รู้ว่ามันยากแต่เห็นพระ สงฆ์ที่เมืองไทย แม้แต่ชาวต่างชาติก็มี จึงมีความ หวังขึ้นมา ก็เลยไปหาหลวงปู่ชา เจอหลวงปู่ชาก็พอ ไม่ต้องไปหาที่อื่น ก็เลยไม่ได้ไปหลายวัด วัดหนอง ป่าพง วัดป่านานาชาติสมัยนั้นรู้สึกพอใจ ก็ปฏิบัติ มาจนกระทั่งบัดนี้ พระอาจารย์ จ ะถามแทนก็ ไ ด้   ว่ า เราจะปฏิ บั ติ ไปเรื่อยๆ ไหม จะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าไหม ตามรอย พระพุทธเจ้า พยายามอยู่ในศีล อยู่ในธรรมทุกๆ วัน ทุกคนที่นี่ล่ะเอาไหม คราวหน้ากลับมาจะมาถามต่อ นะ ห้ามผิดสัญญา ผู้หญิงก็บรรลุธรรมได้ ปฏิบัติ ได้

พักใจไว้กับธรรม

81


การมีสติ การปฏิบัติจิตใจ ในสภาพที่พอดีกับเรา ถ้าศีล 8 ไม่พร้อม เราก็เอาศีล 5 ก่อนก็ได้ แต่ว่า เราต้องฝึกสติและพิจารณาธรรมทุกวัน ท�ำกุศลขึ้น มาทุกวันๆ

ถาม   โยมเคยกราบแม่ชี อย่างเช่นแม่ชีอุ่น ที่ละ สังขารไปแล้วแต่ความเพียรของเราซึ่งเป็นปุถุชนมัน ยังไม่ถึงขั้นที่ท่านท�ำ อย่างเช่นในพรรษา ปีหนึ่งเข้า วัด 3 เดือน หรือว่าอย่างน้อย 45 วัน ระหว่างนั้นเรา ก็ภาวนาไป แต่พออยู่นอกพรรษาแล้วถ้าในวันพระ เราก็ถือว่าในพรรษา เราท�ำแล้วไม่ได้ถือศีลอุโบสถ แต่ถือศีล 7 ข้อ อย่างเช่นข้อวิกาลโภชนา อาจจะยุ่ง ยากนิดหนึ่ง เพราะว่าอาจจะไม่เหมือนอยู่วัด พอ หรือไม่หรือยังไม่พออยู่ดี ตอบ เรื่องศีล ถ้าเราพร้อมเราก็ถือศีล 8 ถ้าเราไม่ พร้อม ก็ตกลงกับตัวเองว่า เราไม่พร้อม อาจจะ ต้องท�ำงาน หรือรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ เลยต้องทานอาหารเย็น ก็ไม่เป็นไร การบรรลุธรรม ไม่ได้อยู่ที่ศีล 8 หรือศีล 5 อยู่ที่ความตั้งใจของเรา

82 พักใจไว้กับธรรม

พักใจไว้กับธรรม

83


โลก ยังคงเกี่ยวข้องกับโลก ก็ไม่เป็นไร แต่เราใช้ ธรรมะในการเกี่ยวข้อง คือ เรามีศีล มีเมตตาต่อ เพื่อนมนุษย์ เราอาจจะยังต้องหาเลี้ยงชีพ เลี้ยงตัว เอง แต่เราก็ท�ำงาน โอเคเราท�ำเพื่อเป็นอุบาย เพื่อ ส่งเสริมการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานได้

ถาม  ศีลข้อ “อพรหมจริยา” ถ้าเราถือเป็นปกติเลย แต่เราท่องว่าอพรหัมจริยาแทนกาเมสุมิฉาจาร จะ ช่วยพัฒนาจิตหรือไม่ ตอบ  ถ้าเราตั้งใจจริงๆ ถือจริงๆ ก็ได้ ศีลไม่ได้อยู่ที่ การท่อง แต่อยู่ที่ใจ ถ้าเราจะอยู่คนเดียวไม่มีคู่ครอง แล้ว เราไม่เกี่ยวข้องกับคู่ครองแล้ว แค่นี้เราก็มั่นใจ เราไม่ได้แสวงหาความสุขทางโน้น เราก็ปฏิบัติไป จะท่องศีล 8 ศีล 5 ก็แล้วแต่ แต่ว่าส�ำคัญอยู่ที่ใจเรา จะสละทุกอย่าง เพื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มุ่งปฏิบัติธรรม คือ เราแสวงหาความสุขทางโลกพอ สมควรแล้ว เราไม่สงสัยตรงนั้นแล้ว อย่างนี้

เราจะแสวงหาธรรมอย่างเดียวถึงจะยังอยู่ใน

84 พักใจไว้กับธรรม

พักใจไว้กับธรรม

85


ถาม ท�ำงานเป็นเลขา มีนาย บางครั้งนาย บอกให้โกหก ก็ต้องโกหก หรือถ้ามีคนๆนั้นคนนี้มา นายบอกว่าไม่รู้ ก็ต้องบอกว่าไม่รู้ ควรจะท�ำอย่างไร ตอบ แนวนี้ก็พูดยากเหมือนกัน พระอาจารย์ จะไปส่งเสริมการโกหกก็ไม่ได้ ไม่ถูก แต่เราอาจ พิจารณาตามเหตุการณ์ อันนี้ไม่ได้เกิดจากเรา เกิด จากเจ้านาย แต่เราต้องบอกคนนี้ว่า เจ้านายไม่อยู่ ใช่ไหม แสดงว่าในห้องนี้ในเหตุการณ์นั้น เจ้านาย ไม่อยู่จริงๆเพราะว่าเขาอยู่ในอีกห้องหนึ่ง อีกที่หนึ่ง ใช่ไหม เราก็เลยถือว่าเขาถามว่าเจ้านายอยู่ไหม เรา ก็บอกได้ว่าไม่อยู่ เราต้องหาวิธีพิจารณา จะได้ไม่ เป็นการส่งเสริมการโกหกในใจของเรา คือ เรามีสติ ในขณะนั้น เราท�ำตามหน้าที่ เจ้านายจ่ายเงินเรา สั่งให้เราพูดอย่างนี้ เราก็พูดตามที่เจ้านายสั่ง แต่ไม่ ได้มีเจตนาที่จะโกหก

แต่แม้จะเป็น white lie ก็ไม่โอเคเหมือน

86 พักใจไว้กับธรรม

กันคือ ตอบแน่นอนเรื่องนี้ไม่ได้ โยมเองก็อยู่ใน สถานการณ์ โยมก็ต้องหาทางออก ทางแก้ไข เคย ถามเจ้านายว่า มีวิธีอื่นที่จะพูดกับลูกค้าหรือลูกน้อง ที่เข้ามา เคยปรึกษาเจ้านายเรื่องนี้ไหม ลองคิดดู ว่ามีวิธีที่จะแก้ไขด้วยวิธีที่ไม่โกหกมีไหม อาจจะบอก ว่าเจ้านายอยู่ แต่ไม่ว่างพูดได้ไหม อย่างเช่นพระ ผู้ใหญ่บางทีป่วย หรือเหน็ดเหนื่อยมาก มีโยมมา หาเป็นโยมที่มีความส�ำคัญ จะต้องพบกับเจ้าอาวาส หรือพระผู้ใหญ่ จะท�ำอย่างไรโกหกก็ไม่ได้ ก็ต้องหา วิธีพูด หลวงพ่อเหนื่อยแล้ว หมอบอกให้พักผ่อน เราไม่อยากจะรบกวนก็พูดได้ เขาก็อาจจะผิดหวัง เสียใจ แต่เราต้องพูด เพื่อประโยชน์ใหญ่ ประโยชน์ สูงสุด คือ รักษาสุขภาพของเจ้าอาวาส หรือหลวง พ่อ นี่แค่เป็นตัวอย่าง บางทีในชีวิตเราก็ต้องคิด อีกชั้นหนึ่ง อีกแบบหนึ่ง เขาก็มาหาเจ้าของบริษัท หรือผู้จัดการ แต่ผู้จัดการไม่อยากจะพบจะมีวิธีพูด อย่างไร เราก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่โกหก ใช้ ค�ำว่า “ไม่ว่าง” ก็ได้หรือเราจะรับข้อความส่งต่อว่า ถ้าเขาพร้อมเขาจะติดต่อกลับเอง อะไรก็ได้ที่เราต้อง คิดพิจารณาดู แต่พยายามไม่โกหก พักใจไว้กับธรรม

87


88 พักใจไว้กับธรรม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.