วปก.๑๘...ร้อยยี่สิบสามดวงใจ ถวายให้พระรัตนตรัย

Page 1

1


2


3


4


วปก. ๑๘ ...ร้อยยี่สิบสามดวงใจ ถวายให้พระรัตนตรัย อุปสมบทหมู่ จำ�นวน ๑๒๓ รูป ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล รุ่นที่ ๑๘ ระหว่างวันที่ ๑-๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ในร่มบารมีธรรมเจัาประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส

1



สารบัญ ๔ ๖ ๙ ๑๕ ๒๔ ๒๗ ๓๖ ๔๕ ๔๖ ๕๐ ๕๕ ๖๕ ๗๓ ๘๒ ๙๙ ๑๑๐ ๑๓๔ ๑๔๖ ๑๕๘ ๑๗๐ ๑๘๒ ๑๙๔ ๑๙๕ ๑๙๖

คำ�อนุโมทนา ทรงสถาปนาวัดเทพศิรินทราวาส ประวัติวัดเทพศิรินทราวาส สถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถ สมเด็จพระธีรญาณมุนี คณะพระเถรานุเถระ ในการบรรพชาอุปสมบท ประวัติ วปก. วิทยาลัยป้องกันกิเลส บทนำ� องค์ที่ ๑ ทำ�ไมต้องบวชที่อินเดีย? สังเวชนียสถาน องค์ท่ี ๒ เมือ่ ครัน้ ประสูตพิ ระพุทธเจ้าเดินได้ ๗ ก้าว และกล่าวอาสภิวาจาได้เพราะ? องค์ที่ ๓ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร? องค์ที่ ๔ การหมุนกงล้อแห่งธรรมหมายถึง? องค์ที่ ๕ ทำ�ไมพระพุทธเจ้ามีอายุเพียง ๘๐ พรรษา? และทำ�ไมพุทธศาสนาต้องสิ้นสุดภายใน ๕,๐๐๐ ปี? องค์ท่ี ๖ ปัจฉิมบท หลักศาสนาพุทธสอนอะไร? หน้าทีห่ ลักของชาวพุทธคืออะไร? การสวดมนต์ไหว้พระเพื่ออะไร? ประมวลภาพการเดินทาง รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสที่ ๑ สีเขียว รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสที่ ๒ สีฟ้า รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสที่ ๓ สีส้ม รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสที่ ๔ สีเหลือง รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสที่ ๕ สีม่วง บันทึกท้ายเล่ม Air Asia อุปถัมภ์ค่าเดินทางเครื่องบินเที่ยวไปและกลับ รายนามเจ้าภาพผู้ถวายความอุปถัมภ์การอุปสมบท


คำ�อนุโมทนา

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส

เจ้าคณะภาค ๑-๒-๓ และ ๑๒-๑๓ (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม

การบรรพชาอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนานั้น เป็นกุศลจริยาหรือการบ�ำเพ็ญบุญอย่าง สูงสุด จะบวชอยู่ระยะสั้นหรือยาวก็ตามที ล้วนได้ชื่อว่าสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาและเป็นการ ยังประโยชน์ให้ส�ำเร็จทั้งแก่ตน แก่คนอื่น แก่ชุมชน แก่ประเทศชาติอีกด้วย โดยเฉพาะประเทศ ชาติก็ย่อมที่จะได้พลเมืองที่สมบูรณ์ด้วยธรรมจริยา เพราะด�ำริตามความข้างต้น จึงได้ก�ำหนดจัด โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และการจัดโครงการนี้ส�ำเร็จได้ด้วย อาศัยน�้ำใจอันประกอบด้วยกุศลศรัทธาจากคณะศิษยานุศิษย์ สหธรรมิกและผู้มีจิตศรัทธาร่วมกัน สนับสนุนให้การด�ำเนินการเป็นไปได้อย่างสืบเนื่องติดต่อกันมา ถึงปีนี้เป็นปีที่ ๘ จ�ำนวนผู้ขอร่วม อุปสมบทในโครงการ เพิ่มขึ้นจากจ�ำนวนน้อย และเพิ่มเป็นจ�ำนวนมากตามล�ำดับ นับว่าได้บังเกิดผล สัมฤทธิ์ตามเจตนาปรารภทุกประการ ขออ�ำนวยพรให้ผู้เข้าอุปสมบทในโครงการ ท่านผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สนับสนุน ทั้งบรรพชิตและ คฤหัสถ์ จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดกาลนาน

4


5


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงฉายพระรูป ร่วมกับสมเด็จพระเทพศิริ นิ ทราบรมราชินี

6

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงฉายในช่วงก่อน ทีจ่ ะมีพระชนมพรรษาเข้าเขตเบญจเพส


7


ประกาศ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระอาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ แผ่นที่ ๑๔ วันพุธ ชึ้น ๔ ค่ำ� เดื​ือน ๘ ปีขาล สัมฤทธิศก ๑๒๔๐ (พ.ศ. ๒๔๒๑)

8


วัดเทพศิรินทราวาส.....ราชกตัญญุตา พระอารามหลวงชั้นโท

วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๙ ขณะมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และอุทิศพระราช กุศลสนองพระเดชพระคุณ กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยพระราชทานพระนามว่า “วัดเทพศิรินทราวาส” ดังปรากฏในประกาศทรงบริจาคพระ ราชทรัพย์สร้างพระอาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ความตอนหนึ่งว่า “.....ขอประกาศแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในพระอารามนี้ ฤาจะมาแต่จาตุรทิศทั้ง ๔ และชนทั้งปวง ให้ทราบทั่ว กันว่า พระอารามนี้ ได้ทรงพระราชดำ�ริสถาปนาขึ้นใหม่โดยพระราชหฤทัยประกอบด้วยพระ กตัญญูกตเวทิตาคุณ เจริญรุ่งเรืองในพระบรมราชสันดาน ทรงระลึกถึงบุรพาธิการกิจ กรม สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ บรมราชชนนี ซึ่งเสด็จทิวงคตเสียแต่ในเวลาพระชนมายุตั้ง อยู่ในปฐมวัย ยังมิได้ทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศลเป็นการใหญ่ในพระพุทธศาสนานั้นเป็นต้นเหตุ จึงได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระอารามนี้ ฉลององค์สมเด็จพระบรมราชชนนี เป็น เหมือนกับท่านได้สร้างด้วยพระองค์ แล้วพระราชทานนามพระอารามนี้ว่า วัดเทพศิรินทราวาส อนุโลมตามพระนามสมเด็จพระบรมราชบุรพการินี.....” วัดเทพศิรินทราวาส นอกจากเป็นพระอารามที่แสดงให้เห็นถึงพระราชหฤทัยที่เปี่ยม ด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีพระราช ประสงค์ให้วัดเทพศิรินทราวาสเป็นพระอารามสำ�หรับประกอบการพระราชกุศลในบรรดา พระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งสืบสายมาแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นการสมาน สามัคคีในหมู่พระประยูรญาติ จึงมีการประดิษฐานปูชนียวัตถุสำ�คัญเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง พระบรมราชชนนี และยังมีปูชนียาคารที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ โปรดเกล้าฯให้สร้างปรากฏสืบมา การสถาปนาวัดเทพศิรินทราวาส จึงนับเป็นการประกอบพระราชกุศลตามครรลองที่ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่อง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก พระอภิธรรม ปิฎก ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติปกรณ์ ทุกนิทเทส ใจความโดยสรุปว่า “.....ผู้รู้อุปการะที่ท่าน

ทำ�แล้วและตอบแทน คือ กตัญญูรู้คุณท่าน กตเวทีตอบแทน หรือสนองคุณท่าน เป็นบุคคลหายากในโลก.....”

9


พระพุทธปฏิมา

ที่ประดิษฐานในพระอุโบสถ

ชุกชี ชุกชี สำ�หรับประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ ลักษณะเป็นชุกชีฐานสิงห์ ย่อมมุมไม้สิบสอง รองรับ พระเบญจา ตั้งปราสาทจัตุรมุขยอดมณฑป พระเบญจานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระโกศพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ เมื่อเสร็จงาน พระเมรุแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระเบญจาชั้นบนและชั้นกลางมาตั้งบนชุกชี สำ�หรับ ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ

10


พระพุทธรูป ในพระอุโบสถ มีทั้งหมด ๖ องค์ ทุกองค์ประดิษฐานอยู่บนชุกชี นับแต่ชั้นบนสุดภายในปราสาทจตุรมุขยอดมณฑป

ประดิษฐานพระประธาน และพระอัครสาวก

พระประธาน พระประธานวัดเทพศิรินทราวาส สร้างด้วยสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๑๒ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นผู้ปั้นหล่อในปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ และอัญเชิญมาประดิษฐานในปี พ.ศ.๒๔๓๘ เป็น พระพุทธรูปปางสมาธิ ทีม่ พี ทุ ธลักษณะตามแบบพระราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในตำ�นานวัดเทพศิรินทราวาสว่าเป็นพระพุทธ รู ป ที่ มี พ ระพั ก ตร์ แช่ ม ชื่ น โน้ ม นำ � จิ ต ใจผู้ บู ช าให้ ร ะลึ ก ถึ ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีน้ำ�พระทัยเปี่ยมด้วยพระ มหากรุณาธิคุณ เพื่ออนุเคราะห์นรชนอยู่เป็นนิตย์ เป็น ปูชนียวัตถุอันควรค่าแก่การสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน

พระนิรันตราย ประดิ ษ ฐานในซุ้ ม พระวิ ม าน ๓ ยอด ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ บ นพระ เบญจาชั้นกลาง ส่วนองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดเทพศิรินทราวา สนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระ วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ทรง ปั้นหล่อ ให้มีรูปแบบต้องตามพระราชนิยมคือมีความใกล้เคียง กับธรรมชาติ ทั้งสัดส่วนและลายยับย่นของริ้วจีวร จำ�นวน ๑๘ องค์เพื่อพระราชทานไปยังวัดธรรมยุต แต่เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ อัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของ พระบรมชนกนาถ

11


พระอัครสาวก ประดิษฐานที่มุขทิศเหนือและทิศใต้ของปราสาทจัตุมุข หัน หน้ามาทางพระประธานอยู่ในกิริยานั่ง อย่างอัฒบัลลังก์ (นั่งพับเพียบ) ถวายสักการะพระประธาน

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปสำ�ริดปางมารวิชยั ศิลปะเชียงแสน หน้าตัก ๕๗ เซนติเมตร สูง ๘๐ เซนติเมตร หล่อสมัยกรุงสุโขทัย พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้อญ ั เชิญมา ประดิษฐาน ในพระบรมมหาราชวัง จากเมืองพิษณุโลกมี พระนามว่า “พระทศพลญาณ” เดิมมีรอยชำ�รุดต่อมาสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลก ลักษณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยูห่ วั ฯ ทรงประชวร จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพือ่ บูรณะก็ทรงหายประชวร ครัน้ สิน้ พระชนม์แล้ว พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงโปรดเกล้าฯ ให้อญ ั เชิญมา ประดิษฐานบนฐานชุกชีวดั เทพศิรนิ ทราวาส ในปีพทุ ธศักราช ๒๔๓๘

12


พระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทร์

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร

พระพุทธรูปฉลองพระองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ประดิษฐานอยูบ่ นฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔

พระพุทธรูปฉลองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ พระขนิษฐภคิณใี นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั

สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรันตโร)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)

อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ลำ�ดับที่ ๗

อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ลำ�ดับที่ ๕

13


14


สถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถ

ตลอดระยะเวลาแห่งการดำ�รงสิริราชสมบัติ พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงบำ � เพ็ ญ พระราช กรณียกิจเป็นอเนกประการ ด้วยพระราชปณิธานที่จะนำ�พา พระราชอาณาจักรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมบรรดา อารยประเทศ จนกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งแห่งการปฏิรูป ประเทศ ซึง่ เป็นการวางรากฐานพัฒนากิจการต่างๆเพือ่ ความ ก้าวหน้าของบ้านเมืองสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากพระราชอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าอยูห่ วั ในการพัฒนาประเทศแล้ว พระราชปณิธาน สำ�คัญอีกประการหนึง่ ทีท่ รงคำ�นึงถึงเสมอมาตลอดระยะเวลาที่ ทรงครองสิริราชสมบัติ คือ การพัฒนาคน ซึ่งถือเป็นรากแก้ว แห่งความก้าวหน้าของบ้านเมืองการแสดงในนานาประเทศได้ ประจักษ์ชัดว่าสยามนับเป็นหนึ่งในชาติอารยะ คือการพัฒนา ราษฎรของพระองค์โดยพระราชทานการศึกษา รวมทัง้ ปลูกฝัง ความรู้สำ�นึกในบทบาทหน้าที่ของตน วัดเทพศิรินทราวาส จึงได้รับการรังสรรค์ให้มีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ ซึง่ นอกจากจะเป็นการ

เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรม ราชชนนี แล้ว ยังมีพระราชประสงค์ที่จะให้วัดแห่งนี้มีการ ตกแต่งด้วย เครื่องหมาย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นเครื่องเตือนสติผู้เข้ามาในวัด นับแต่พระราชวงศ์ไป จนถึงราษฎร ทั้งผู้มุ่งหวังที่จะรับราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานใน ฐานะข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ ให้มคี วามมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปฏิบตั ิ กิจการงานในทางทีถ่ กู ต้อง และเหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์ แก่ตนเองและบ้านเมืองโดยส่วนรวม เครื่องหมายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประดับไว้ในวัดเทพศิรินทราวาส ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นเครื่องแสดงถึงคุณงามความ ดีในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นบำ�เหน็จความชอบที่พระมหา กษัตริย์พระราชทานให้เป็นเกียรติแก่บุคคลต่างๆ การประดับลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บนเพดาน พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส มีทั้งสิ้น ๕ ตระกูล ประกอบ ไปด้วย

15


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครือ ่ งราชอิสริยาภรณ์ ช้างเผือก

๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตนราชวราภรณ์ ประดับตรงเหนือปราสาทจตุรมุข ประดิษฐานพระประธาน ประกอบด้วย ดารานพรัตน์ พระมหาสังวาลนพรัตน สายสะพาย และดวงตรามหา นพรัตนสำ�หรับแขวนทีส่ ายสะพาย หรือห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอสำ�หรับฝ่ายใน

๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูย่ิงช้าง เผือก ทีป่ ระดับบนเพดานพระอุโบสถ ประกอบด้วย ดารา ดวงตรา สายสร้อยและสายสะพายมหาวราภรณ์ ดวงตรา และแพรแถบคล้องคอนิภาภรณ์ ดวงตราและแพรแถบ ภูษณาภรณ์ ดวงตราและแพรแถบทิพยาภรณ์

นพรัตนราชวราภรณ์

16


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ๓. เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์จลุ จอมเกล้า ทีป่ ระดับ บนเพดานพระอุโบสถ ประกอบด้วย ดารา ดวงตรา สาย สร้อยและสายสะพายปฐมจุลจอมเกล้า แพรแถบและดวง ตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และ ตติยจุลจอมเกล้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎสยาม ๔. เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์อนั มีเกียรติยศยิง่ มงกุฎ สยาม ที่ประดับบนเพดานพระอุโบสถ ประกอบด้วย ดวงตรา ดารา สายสะพายและสายสร้อยมหาสุราภรณ์ ดารา ดวงตราและแพรแถบจุลสุราภรณ์ ดวงตราและ แพรแถบมัณฑนาภรณ์ ดวงตราและแพรแถบภัทราภรณ์ ดวงตราและแพรแถบวิจติ ราภรณ์

17


เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ ๕. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณ รุง่ เรืองยิง่ มหาจักรีบรมราชวงศ์ ทีป่ ระดับบนเพดานพระ อุโบสถ ประกอบด้วย ดาราจักรี สายสะพายจักรี ดวงตรา จุลจักรี สายสร้อยจักรี

18

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ รูปจำ�ลองเครือ่ งเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประดิษฐาน อยู่ร่วมกับลวดลายที่ผูกเป็นรูปช่อดอกรำ�เพยที่ประดับ เป็นลายประกอบบนเพดานพระอุโบสถ


พระราชลัญจกรประจำ�แผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ ๕

พระราชลัญจกรไอราพต

รูปจำ�ลองพระราชลัญจกรประจำ�แผ่นดินสมัย รัชกาลที่ ๕ ประดับอยู่บนเพดานพระอุโบสถระหว่าง ช่องเสา

รูปจำ�ลองพระราชลัญจกรไอราพต บนเพดาน พระอุโบสถ ประดับขนาบข้างพระราชลัญจกรประจำ� แผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕

19


รูปจำ�ลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บนเพดานพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส ดวงตรา

ดวงตรามหาวราภรณ์ (ช้างเผือก)

พระประธาน

ดวงตรามหานพรัตน

ดารานพรัตน

ดาราช้างเผือก

ดาราปฐมจุลจอมเกล้า

ดาราและสังวาลนพรัตน

ดาราและสายสร้อย ดาราและสายสร้อยมหาวราภรณ์ (ช้างเผือก)

20


ดวงตรามหาสุราภรณ์ (มงกุฎสยาม)

ดวงตรามหาจักรี

หน้ า โบสถ์

จุลจอมเกล้า

ดาราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ปฐมจุลจอมเกล้า

ดารามงกุฎสยาม

ดาราจักรี

ดารามหาจักรีและสายสร้อยมหาจักรีบรมราชวงศ์

ดาราและสายสร้อยมหาสุราภรณ์ (มงกุฎสยาม) 21


ภาพถ่ายวัดเทพศิรนิ ทราวาส ฝีมือนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึง่ เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๙

22


ลำ�ดับเจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทราวาส

๑. พระอริยมุนี (เอม อายุวฑฺฒโน) ๒. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) ๓. พระวินัยรักขิต (นาม กาฬนาโม) ๔. หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร (พร้อม ธมฺมรโต) ๕. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ๗. พระสาสนโสภณ (เอื้อน ชินทตฺโต) ๘. สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร) ๙. สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) ๑๐. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)

๑๐

ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๒๑ - พ.ศ. ๒๔๒๖ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๒๗ - พ.ศ. ๒๔๓๗ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๓๗ - พ.ศ. ๒๔๓๘ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๓๘ - พ.ศ. ๒๔๔๑ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๔๑ - พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงรักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๙๔ - พ.ศ .๒๔๙๘ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๔๙๘ - พ.ศ. ๒๕๒๑ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๕๒๑ - พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๕๔๖ - พ.ศ. ๒๕๕๒ ดำ�รงวาระ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ปัจจุบัน

23


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส พระอุปัชฌาย์

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นชาวจังหวัดนครปฐม บรรพชาและอุปสมบท ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดท่าตำ�หนัก ตำ�บลท่าตำ�หนัก อำ�เภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมีพระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เจ้าอาวาสวัดท่าตำ�หนัก เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค

24


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) พระอุปัชฌาย์

25


ตำ�แหน่งงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2521 - 2531 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2531 - 2541 พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน

เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) เป็นกรรมการและเลขานุการ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) เป็นเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12 – 13 (ธรรมยุต) เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌายะวิสามัญ เป็นเลขาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส

ลำ�ดับสมณศักดิ์ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2553

26

เป็นพระครูฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ (นิรันตร์ นิรนฺตโร) พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พิพิธธรรมโกศล วิมลสุตาคม อุดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมราภิรักขิต เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมสุธี ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต สาสนกิจวิวัฒนาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมเมธี ศรีปฏิภาณธรรมโกศล สุวิมลคณาทร บวรธรรมวรนายก ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ศรีชินทัตตวรางกูร วิบูลสีลาจารวิมล คณโสภณเลขาธิกร สุนทรปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี


คณะพระเถรานุเถระ ในการบรรพชาอุปสมบท

สมเด็จพระธีรญาณมุนี พระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส

27


๒. พระพรหมวิสุทธาจารย์

๓. พระราชกิตติมงคล

28

เจ้าอาวาสวัดเคลือวัลย์วรวิหาร

วัดโสมนัสราชวรวิหาร


๔. พระราชวิสุทธิมุนี วิ​ิ. เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร จ.สุรินทร์

๕. พระโพธินันทมุนี

เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย

29


30

๖. พระสรภาณกวี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

๗. พระวินัยสุธี วัดธาตุทอง

๘. พระมงคลรัตนสุธี วัดศาลาลอย จ.นครราชสีมา

๙. พระศรีวิศาลคุณ วัดเทพศิ​ิรินทราวาส


๑๐. พระปรีชามงคลญาณ วัดเทพศิ​ิรินทราวาส

๑๑. พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ วัดพระยายัง

๑๒. พระครูปลัดสุวัฒนวิสุทธิสารคุณ วัดนรนาถสุนทริการาม

๑๓. พระครูปัญญาฐิติวัฒน์ วัดบรมนิวาส

31


32

๑๔. พระครูปลัดสุวัฒนธรรมคุณ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

๑๕. พระครูธรรมภาณโกวิท วัดมิ่งเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

๑๖. พระครูสังฆรักษ์ วิวัฒนะ วัดพุทธบารมี ไต้หวัน

๑๗. พระครูปลัดมงคล ถิรมงฺคโล วัดพุทธบารมี ไต้หวัน


๑๘. พระครูวินัยธรธรรมรัตน์ เขมธโร วัดพระยายัง

๑๙. พระครูธรรมธรคัมภีร์ คมฺภีโร วัดพระยายัง

๒๐. พระครูปลัดพีรพงษ์ พีรวํโส วัดนรนาถสุนทริการาม

๒๑. พระมหาสมบัต คุเณสโก วัดพระยายัง

33


34

๒๒. พระมหาวีระ ขคฺ​ฺคญาโณ วัดพระยายัง

๒๓. พระปฏิภาณ ปุญฺญฺธีโร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

๒๔. พระมหาทรงวุฒิ วุทฺฒิโก วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

๒๕. พระมหาสิทธิชัย มนฺตชโย มูลนิธิพุทธชยันตี ไทย-อินเดีย


๒๖. พระนพดล โชติปญฺโญ วัดพระปฐมเจดีย์ จ นครปฐม

๒๖. พระสมหมาย สมสิทฺโธ วัดเทพศิ​ิรินทราวาส

๒๗. พระเมธา ปญฺญาโชโต วัดเทพศิ​ิรินทราวาส

35


วปก.

วปก.คือ วิทยาลัยป้องกันกิเลส วปก.คือ เมตตาของสมเด็จพระธีร์ฯ วปก.คือ การได้บูชิตแดนพุทธองค์ วปก.คือ การสั่งสมบุญญาประเสริ​ิฐสุด

วปก.คือ เหตุที่ให้ได้บรรพชา วปก.คือ ที่สุดแห่งความดีของชีวิต วปก.คือ การเสริมส่งพระพุทธศาสนา วปก.คือ การได้เป็นบุตรสมเด็จพ่อ พลตรี นเรศร์ จิตรักษ์

วปก.๑ อุปสมบทหมู่ ถวายเปนพระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ฯ เนือ่ งในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๒๔ รูป วันที่ ๙ - ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

วปก.๒ อุปสมบทหมู่ ถวายเปนพุทธบูชาและถวายเปนพระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว สมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๔๙ รูป วันที่ ๑๔ - ๒๕ พฤศจิ​ิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

36


วปก.๓ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๓๓ รูป วันที่ ๒๑ พฤศจิกิ ายน - ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

วปก.๔ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๘๖ รูป วันที่ ๑๒ - ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

วปก.๕ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๘๖ รูป วันที่ ๕ - ๑๖ พฤศจิ​ิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

37


วปก.๖ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ฯ สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในมงคลสมัยพระชันษาครบ ๑๐๐ ปี ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๘ รูป วันที่ ๕ - ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

วปก.๗ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในมงคลสมัยพระชันษาครบ ๑๐๐ ปี ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๘ รูป วันที่ ๒ - ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗

38

วปก.๘ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ฯ สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในมงคลสมัยพระชันษาครบ ๑๐๑ ปี ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๒ รูป เนกขัมมะ ๒๑ คน วันที่ ๑๐ – ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗


วปก.๙ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๙๐ รูป สามเณร ๑ รูป เนกขัมมะ ๑๒ คน วันที่ ๑ - ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

วปก.๑๐ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปนพระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๘ รูป เนกขัมมะ ๑๙ คน วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

วปก.๑๑ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ฯ สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ และถวายเป็นพระกุศลแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๘ รูป วันที่ ๑๒ - ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

39


วปก.๑๒ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและถวายเปน พระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ฯ สมเด็จพระนางเจาสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๕ รูป วันที่ ๔ - ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙

วปก.๑๓ อุปสมบทหมู่ ถวายเป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๐๘ รูป วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ - ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

วปก.๑๔ อุปสมบทหมู่ ถวายเป็นพุทธบูชาและอุทศิ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชในพระบรมโกศ ผูท้ รงพระคุณอันประเสริฐ ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๑๔ รูป วันที่ ๑๖ - ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

40


วปก.๑๕ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม อุทศิ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๓๔ รูป วันที่ ๑ - ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐

วปก.๑๖ อุปสมบทหมู่ ถวายเปน พุทธบูชาและน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม อุทศิ ถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธบี าํ เพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (๑๐๐ วัน) ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๓๓ รูป วันที่ ๑ - ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

วปก.๑๗ อุปสมบทหมู่ ถวายเปนพุทธบูชา ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย จำ�นวน ๑๓๖ รูป วันที่ ๕ - ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐

41


อุปสมบทหมู่ ๑๒๓ รูป ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล รุ่นที่ ๑๘ ระหว่างวันที่ ๑-๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

42


ในร่มบารมีธรรมเจัาประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส

43


วปก.๑๘... ร้อยยี่สิบสามดวงใจ ถวายให้พระรัตนตรัย

44


บทนำ�

“วปก.๑๘ ... ร้อยยีส่ บิ สามดวงใจ ถวายให้พระรัตนตรัย”

หนังสือรุน่ วปก.๑๘...จะบันทึกเรือ่ งราวต่างๆในรูปแบบ “ปุจฉา-วิสชั นา” พร้อมร้อยเรียงภาพ เนือ้ หา ของการร่วมสร้าง “มหากุศล” ของชายชาวไทย ๑๒๓ ชีวติ ภายใต้พระมหาเมตตาของสมเด็จพระธีรญาณมุนี และครูบาอาจารย์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชนผูม้ จี ติ อันเป็นกุศลยิง่ ทำ�ให้เกิดการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ณ ดินแดนพุทธภูมิ พร้อมการจาริกแสวงบุญตามรอยบาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวม ๑๓ วัน ใน ประเทศอินเดีย - เนปาล ทุก “ปุจฉา” จะมี “วิสชั นา” เพือ่ สร้างความกระจ่าง และ “ร้อยกรอง” ทีจ่ ะสะท้อนบรรยากาศทีเ่ รา ทุกคนได้รว่ มประสบการณ์กนั ตัง้ แต่กอ่ นบวช จนถึงการเดินทางทีแ่ บ่งเป็นสังเวชนียสถาน ๔ ตำ�บล ร้อยเรียง ตัง้ แต่แดนประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินพิ พาน หนังสือเล่มนี้ “ไม่มี ...” • เนือ้ หาทีล่ กึ ซึง้ ของสังเวชนียสถาน และพุทธประวัต.ิ ..เพราะเราสืบค้นได้จาก Google • บทสวดมนต์...เพราะเราทุกคนมีหนังสือสวดมนต์เล่มเขียวทัว่ กัน • บทความเชิงวิชาการ...เพราะเรามิได้ตอ้ งการใบปริญญาใดๆ แต่หนังสือเล่มนี้ “มี ...” • คำ�ตอบในคำ�ถามทีช่ าวพุทธ (โดยเฉพาะพวกเรา) ยังสงสัยกันอยูเ่ ยอะ • บันทึกความทรงจำ�ในความรักความผูกพันของชาว วปก.๑๘ • บันทึกความเมตตาของเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี และครูบาอาจารย์ทกุ ท่าน • บันทึกน้�ำ ใจของฆราวาสทุกคนทีร่ ว่ มคณะ เพือ่ ร่วมบุญ ร่วมบริการ พระนวกะ วปก.๑๘ เรามุง่ หวังให้ชาว วปก.๑๘ ทุกท่าน... เมือ่ เปิดหนังสือรุน่ เล่มนีข้ น้ึ คราใด คุณก็จะ ....... • อมยิม้ และมีจติ ใจทีเ่ บิกบานในธรรม • ซาบซึง้ ถึง พระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระพุทธเจ้า • ระลึกถึงพระมหาเมตตาของเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ผูเ้ ป็นพ่อในธรรมของเราทุกคน • อบอุน่ ใจ ในความเป็นกัลยาณมิตรของผูใ้ ห้บริการทุกท่าน และระหว่างผองเรา และแน่นอนว่าเมือ่ คุณปิดหนังสือเล่มนีล้ งแล้ว คุณก็จะ ... • ลุกไปสวดมนต์ และภาวนา...แถมยังอยากจะไปเดิน ๙ รอบพร้อมสวดมนต์รอบพระมหาโพธิเจดีย์ที่ พุทธคยากันอีกสักครา ขอให้ผองเราเจริญในธรรมด้วยปัญญา และความกล้าหาญในจิตใจตลอดไปตราบจนถึงซึง่ พระนิพพานเทอญ

ด้วยจิตคารวะยิง่ คณะทำ�งานหนังสือรุ่น วปก.๑๘

45


องค์ที่

ทำ�ไมต้อง บวช ที่อินเดีย? ปุจฉา - ทำ�ไมต้องบวชที่อินเดีย ? วิสัชนา ๑ - ทำ�ไมต้องบวช ... เพราะพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ... สาธุ โข ปพฺพชฺชา การบวชดีนักแล ศาสนาพุทธ...มิได้มีเรื่องราวของการ “บังคับให้ทำ�” เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วย ปัญญา และทรงประทานแนวทางการยกระดับปัญญาด้วยหลัก “ไตรสิกขา” (ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยทรงแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อชนทุกหมู่เหล่า ตลอดจน สรรพสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธประวัติแสดงชัดว่าพระองค์ทรง “เชิญชวนให้ทุกคนบวช”...นั่นคือคำ�ตอบที่ หนักแน่นที่สุด และเรียบง่ายที่สุดว่า “ทำ�ไมชาวพุทธต้องบวช?” แต่ถ้าจะตอบเพิ่มเติมให้ เกิดมุมมองที่ชัดเจนขึ้นนั้น ขอยกอุปมาอุปมัยง่ายๆ ว่า หากเรากำ�ลังจะพายเรือจากฝั่งแห่ง การเวียนว่ายตายเกิด (วัฏฏสงสาร) สู่ฝั่งแห่งนิพพาน โดยที่เรือของเรานั้น มีขนาดใหญ่ และ บรรทุกข้าวของเต็มไปหมด (พ่อแม่ลกู เมีย หน้าทีก่ ารงาน ตำ�แหน่งใหญ่โต ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ) การ “พายเรือสู่ฝั่งแห่งนิพพาน” จะยากหรือง่ายกว่าการที่เรือของเราเป็นเรือลำ�เล็กๆ ที่มิมี สิ่งของใดๆ บรรทุกอยู่เลย (เพศบรรพชิต โกนศีรษะ ห่มผ้า ๓ ผืน มิมีครอบครัว หรือสมบัติ ใดๆ ฯลฯ)...มองเห็นประโยชน์ของการบวชได้ง่ายขึ้นหรือไม่ขอรับ? นอกจากนี้แล้ว ความหมายของคำ�ว่า “บวช” นั้นมาจากภาษาบาลีที่ว่า “ปพฺพชฺชา” ซึ่งหมายถึงบรรพชา มีรากศัพท์มาจาก ป (ปะ) แปลว่า ทั่ว และ วช (วะชะ) แปลว่า เว้น มาเป็นคำ�ว่า “บรรพชา” แล้วกลายมาเป็นคำ�ว่า “บวช” ในที่สุด คำ�ว่า “ปพฺพชฺชา” หรือ “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง หรือ หมายถึง ออกไป คือ ออกไปจากธุระการงานทุกประเภทของคฤหัสถ์ ผู้ที่ถือบวชในพุทธศาสนา จะได้นามว่า พระบ้าง ภิกษุบ้าง บรรพชิตบ้าง ดังนั้นเมื่อเราชาว วปก.๑๘ ได้ตัดสินใจมาบวชนั้น แสดงถึง “จิตใจที่มุ่งมั่นตรงสู่ พระนิพพาน” เป็นพื้นฐานกันทุกท่านอย่างแน่นอน

46


47


วิสัชนา ๒ - ทำ�ไมต้องบวชที่อินเดีย ? ... เพือ่ ตามรอยพระพุทธเจ้าอย่าง เลือ่ มใสในสังเวชนียสถาน ๔ ตำ�บล

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๑ พระวิหารมายาเทวี สถานที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะ

คำ � ตอบก็ ง่า ยๆ คื อ “อิ น เดี ย เป็ น แดนพุ ท ธภู มิ” หรื อ เป็ น ถิ่น กำ�เนิดแห่งพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้ทรงใช้ชวี ติ ตัง้ แต่ประสูติ จนถึง ปรินพิ พาน ณ ดินแดนแห่งนี.้ ..การไปบวชทีอ่ นิ เดียย่อมหมายถึง “ครัง้ หนึง่ ในชีวติ อันเป็นมงคลยิง่ ” ซึง่ แน่นอนทีส่ ดุ ว่าพวกเราชาว วปก.๑๘ ไปบวชที่ อินเดียกันได้เพราะร่มพระบารมีของสมเด็จพระธีรญาณมุนี และญาติธรรม ที่ร่วมกันสั่งสมบารมีด้วยการสนับสนุนปัจจัยไทยทานเพื่อการบวชอันยิ่ง ใหญ่น้ี สำ�หรับคำ�ตอบที่ลึกซึ้งมากขึ้นคือ คำ�พูดพระพุทธองค์ท่ีทรงกล่าว ว่า...” ดูกอ่ นอานนท์ ชนทัง้ หลายเหล่าใดเหล่าหนึง่ ได้เทีย่ วไปยังเจดีย์ สังเวชนียสถานเหล่านีด้ ว้ ยความเลือ่ มใส ชนเหล่านัน้ ครัน้ ทำ�กาลกิรยิ า (ตาย)ลง จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” ซึง่ การ “เทีย่ วไป...ด้วยความเลือ่ มใส” เป็นความหมายทีล่ กึ ซึง้ เกิดคำ�บรรยาย เพราะมิใช่แค่ใครก็ตามทีไ่ ปยังสังเวช นียสถาน ๔ ตำ�บลครบถ้วน ก็จะมิตอ้ งกลัวการไปสูท่ ขุ คติภมู ิ (เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก)...ถ้าง่ายแบบนีป้ ระเทศอินเดียน่าจะออกวีซา่ ให้นกั ท่อง เทีย่ วทัว่ โลกกันไม่ทนั แน่ๆ มันไม่งา่ ยเยีย่ งนัน้ ... การเดิ น ทางตามรอยพระพุ ท ธเจ้ า จนเกิ ด ความเลื่ อ มใสว่ า ... พระพุทธเจ้ามีอยูจ่ ริง...จักทำ�ให้เราทุกคนเชือ่ มัน่ ศรัทธาในพุทธศาสนายิง่ ขึน้ นับเท่าทวีคณ ู ...คำ�สอนของพระพุทธเจ้าเป็นเรือ่ งจริง...จักทำ�ให้เราทุกคนยึดมัน่ และ ปฏิบตั ติ ามคำ�สอนอย่างมุง่ มัน่ ทุม่ เทด้วยชีวติ ...ธรรมะทีท่ รงตรัสรูน้ �ำ มนุษย์สฝู่ ง่ั นิพพานได้จริง...จะทำ�ให้เราทุกคน “ละชัว่ ทำ�ดี และทำ�จิตใจให้บริสทุ ธิ”์ อย่างมัน่ ใจ สรุปคือ เราก็จะใช้ชีวิตอยู่ในร่องรอยเส้นทางแห่งการสู่สุขคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา พรหม) จนถึงทีส่ ดุ แห่งนิพพานโดยทัว่ กันนัน่ เอง ชาว วปก.๑๘ ได้รว่ มกัน “เทีย่ วไป ด้วยความเลือ่ มใส” ในเพศบรรพชิต นั่นคือ โอกาสชีวิตอันมีคุณค่ายิ่งที่จะทำ�ให้ทุกชีวิตของพวกเรานั้น กำ�ลัง ตามรอยทางพระศาสดาสู่มรรคาแห่งนิพพานทั่วไป ...สาธุโข ปพฺพชฺชา การบวชดีนกั แล และการบวชทีอ่ นิ เดียของเราทัง้ หลายนัน้ ย่อมดีนกั แล อย่างแน่นอน

สังเวชนียสถาน ๔ ตำ�บล

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ พระมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

48

สังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่ท่ีทำ�ให้เกิดความรู้สึกระลึกถึง พระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชืน่ เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจทีจ่ ะทำ�ความดี เมือ่ ได้ไปพบเห็น” ประสูติ (สวนลุมพินีวัน) แดนประสูติที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าว


สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ ธัมเมกขสถูปเจดีย์ สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ มหาปรินิพานสถูป สถานที่ดับขันธปรินิพพาน

“อาสภิวาจา” อันเป็นวาจาของมหาบุรุษ ปัจจุบันสถานที่ประสูติ อยู่ใน วิหารมายาเทวี โดยมีเสาอโศกที่จารึกเรื่องราวไว้เป็น ประจักษ์พยาน ปัจจุบนั ลุมพินวี นั ได้รบั การยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น มรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ตรัสรู้ (พุทธคยา) – สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ดินแดน ศักดิส์ ทิ ธิท์ ม่ี ี “พระมหาโพธิเจดีย”์ เป็นเครือ่ งหมายแสดงให้ผคู้ นได้ ประจักษ์ถงึ ความสำ�คัญยิง่ ของสถานทีน่ ้ี พร้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงจุดทีท่ รงตรัสรูอ้ ย่างยิง่ ใหญ่ ปฐมเทศนา (สารนารถ) – บริเวณที่ “ธัมมจักร” หรือ “กงล้อแห่ง ธรรม” ได้เริม่ หมุนหนุนเนือ่ งมาจนตราบถึงทุกวันนี้ ณ ทีน่ ้ี พระพุทธเจ้า ได้แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ โดยมีทา่ นโกณทัญญะได้ดวงตาเห็น ธรรม (บรรลุโสดาบัน) และบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนา โดยมี “ธัมเมกขสถูป” ทีย่ ง่ิ ใหญ่ตระการตาแสดงให้ทกุ คนได้พบเห็น ปรินพ ิ พาน (กุสนิ ารา) – ดินแดนทีพ่ ระพุทธองค์ทง้ิ ร่างวางขันธ์ แสดงธรรมอันสำ�คัญยิง่ ให้ทกุ คนได้ประจักษ์ดว้ ยพระองค์เอง “มหาปริ นิพานสถูป” และ “พระพุทธรูปปางปรินพิ พาน” คือสิง่ ทีแ่ สดงให้ชาว พุทธได้ระลึกถึงพระองค์รว่ มกัน ...เราชาว วปก. ๑๘ ได้รว่ มกันปฏิบตั บิ ชู า และตามรอยทาง รอยธรรมร่วมกันอย่างตัง้ ใจ โดยมีสถานทีส่ �ำ คัญอืน่ ๆ ทีจ่ ะบันทึกไว้ ร่วมกันในหนังสือเล่มนีต้ อ่ ไป “วันบรรพชา ณ พุทธคยา...ชีวานีม้ อบถวายแด่พระรัตนตรัย”

ดั่งภาพกองทัพเคลื่อนพลอย่างงามสง่า...เมื่อพวกเรานาคชุดขาวจาก เมืองไทยมาถึงแดนพุทธภูมิ เราทุกคนได้เดินทางมาที่วัดป่าพุทธคยา อันเป็น ๑ ในวัดไทย ทีม่ อี ยูม่ ากทีส่ ดุ ในเมืองคยา รัฐพิหาร แห่งประเทศ อินเดีย ทุกคนได้พร้อมใจกันเปล่งเสียงเพื่อ “ขอบรรพชาเป็นสามเณร” พร้อมเพรียงกันในอุโบสถ ก่อนทีจ่ ะผลัดเปลีย่ นจากชุดขาวเป็นชุดผ้าไตร จีวร อันเป็นสัญลักษณ์ส�ำ คัญแห่งการเป็น “พุทธบุตร” หรือเป็น “พระ สงฆ์” ภายใต้ผา้ กาสาวพัสตร์ (แปลว่า ผ้าทีย่ อ้ มน้�ำ ฝาด) ทีพ่ ระพุทธองค์ ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์สาวกนัน้ ใช้นงุ่ ห่มได้ พระเมตตาของสมเด็จพระธีรญาณมุนี พระอุปชั ฌาย์นน้ั ยิง่ ใหญ่ เหลือประมาณ ท่านนั่งร่วมพิธีบวชพวกเราอย่างมุ่งมั่นทุ่มเท สมดั่ง เจตนารมณ์ทท่ี า่ นตัง้ ใจอย่างยิง่ ทีจ่ ะบวชชายไทย เข้าสูร่ ม่ ผ้ากาสาวพัสตร์ ให้ได้มากทีส่ ดุ เพราะท่านเป็น “อุปชั ฌาย์” ท่านก็ตอ้ งทรงทำ�หน้าทีอ่ ย่าง ทุม่ เทกายใจ พวกเราชาว วปก. มิอาจลืมเลือนพระเมตตาของท่านตราบ จนลมหายใจสุดท้ายของชีวติ พระกรรมวาจาจารย์ พระราชกิตติมงคล วัดโสมนัสราชวรวิหาร ทีป่ ระกอบพิธพี ร้อมองค์คณะพระสงฆ์ในสังฆพิธที กุ รูป พวกเราก็ตอ้ ง

49


สังเวชนียสถาน NEPAL 6

7

5

UTTAR PRADESH Varanasi

INDIA 1. พุทธคยา รัฐพิหาร 2. ราชคฤห์ รัฐพิหาร 3. ไวสาลี นาลันทา รัฐพิหาร 4. มหาสถูปเกสริยา รัฐพิหาร 5. กุสินารา รัฐอุตตรประเทศ 6. ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล 7. สาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ 8. สารนารถ รัฐอุตตรประเทศ

50

8

4 2 1 Gaya

3 BIHAR


...“ก่อนจะไปบวช...ตืน่ เต้น ตัง้ ตา ตัง้ ใจ ตัง้ มัน่ ” “บ่ายวันเสาร์ใครเขาเทีย่ วพักผ่อน บ้างก็นอนเอกเขนกในวันหยุด ชายหลายวัยพร้อมใจกันเร่งรุด มุง่ สูจ่ ดุ ปลายทางเทพศิรนิ ทร์ ร้อยดวงใจตัง้ มัน่ ขยันยิง่ ต่างเอาจริงทุม่ เทด้วยถวิล ตัง้ ใจจะบวชเรียนทุม่ ชีวนิ ทลายสิน้ อุปสรรคทีข่ วางทาง เอสาหังภันเตคำ�เริม่ ต้น เราทุกคนท่องจำ�จนฟ้าสาง ช้าเร็วบ้างมิถอยมิจดื จาง เพือ่ เส้นทางสูแ่ ดนพุทธองค์ สมเด็จธีรฯ์ เมตตาคุณค่าล้�ำ ใครจดจำ�แม่นมัน่ มิลมื หลง ท่านโปรดให้ทกุ คนท่องโดยตรง ด้วยประสงค์ตรวจทานความตัง้ ใจ ท่านขลิบผมเป็นฤกษ์เบิกวิถ ี ก่อนพิธเี ป็นนาคอย่างผ่องใส พร้อมศรัทธาผูค้ นจากใกล้ไกล ร่วมบุญใหญ่นาคใหม่ใจเบิกบาน เหล่าพ่อนาค วปก. รุน่ ๑๘ นัง่ กลางแดดนุง่ ขาวร่วมสืบสาน พร้อมเป็นสงฆ์ขององค์อปุ ชั ฌาจารย์ สร้างตำ�นาน วปก.พ่อเดียวกัน เปล่งเสียงดังฟังชัดฝึกขานนาค พร้อมใจจากครอบครัวตัง้ ใจมัน่ แสนตืน่ เต้นเพราะรายชือ่ ปรับทุกวัน ตัง้ ตารอลุน้ กันทุกดวงใจ ๑๒๓ ชีวติ ร่วมสร้างเหตุ สุดวิเศษได้บวชสวดขานไข วันรุง่ ขึน้ ต้องพร้อมเดินทางไกล เราชายไทยพร้อมใจไปอินเดีย” ...กว่า ๒ เดือน จนถึงวันฉลองนาคใหม่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑

โคลงสีส่ ภุ าพ “ก่อนบวช” “วปก. เหล่านี้ รวมร่วมสวดสำ�เนียง ขยันท่องร้อยเรียง แสนชืน่ จิตแน่วแม้ การบวชจักช่วยชี ้ ให้หา่ งกิเลสวาง ให้เรามุง่ ทางสว่าง ทำ�ก่อนชีพขาดวิน่

พร้อมเพรียง แม่นแท้ เสียงลัน่ โบสถ์แล พีต่ อ้ งแรมไกล หนทาง หมดสิน้ จิตสู่ ปัญญา เพือ่ ให้นพ ิ พาน”

...การตัดสินใจบวช หมายถึงการ “ตัง้ ใจสละ ละ” เพือ่ มุง่ สูก่ ารบรรลุธรรม

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ พระมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

51


52


“บวช ณ พุทธคยา ...วันเวลาแห่งความทรงจำ�ทั้งชีวิต” “พุทธคยาแดนดินตรัสรู้ อยู่เคียงคู่วัดป่าของไทยนั่น เราทุกคนพร้อมใจเพราะเป็นวัน อันตั้งมั่นบวชเรียนถวายตน ลงเครื่องบินด้วยจิตอันตื่นเต้น มิมีเว้นทั่วกันมิสับสน ทำ�ตามคำ�บอกกล่าวประพฤติตน แสนสุขล้นเมื่อมือถือผ้าไตร กล่าวขอบวชเต็มเสียงก้องอึงมี่ พร้อมเต็มที่ด้วยใจอันแจ่มใส สาละวนเปลี่ยนผ้าอย่างว่องไว เรียงลำ�ดับกันไปกราบอุปัชฌาย์ ทรงเมตตาให้นิสัยสอนให้บวช จงสำ�รวจให้เห็นเส้นเกศา อีกเส้นขนให้เราพิจารณา พร้อมนะขาทันตาอีกตะโจ วิปัสสนาปัญญาคือหน้าที่ บวชครั้งนี้ให้เราละโทโส อันราคะกิเลสมันใหญ่โต ต้องเลิกโง่ฝึกตนให้พ้นภัย เราทุกคนต่างทึ่งองค์สมเด็จฯ บวชจนเสร็จครบถ้วนมิหวั่นไหว ตั้งแต่บ่ายจนดึกทรงตั้งใจ กราบด้วยใจขอให้ท่านแข็งแรง เพื่อได้บวชลูกชายไทยทั่วหล้า นำ�ชีวาพบธรรมกระจ่างแจ้ง วปก. ทุกรุ่นพร้อมสำ�แดง จักร่วมแรงใจมั่นตามรอยธรรม ในที่สุดเราทุกคนเป็นบรรชิต กัลยาณมิตรจิตพร้อมมิถลำ� พุทธภูมิแผ่นดินพระทรงธรรม สมเด็จฯ นำ�พาเราเปี่ยมเมตตา ศีลทุกข้อเราต้องสำ�รวมยิ่ง ปฏิบัติจริงเต็มที่มิอ่อนล้า เป็นพระใหม่หัวใจล้นศรัทธา ญาติโยมมาร่วมบุญคุณค่างาม เช้าวันแรกสมเด็จฯ ทรงตักบาตร พ่อสามารถจำ�เราร้อยยี่สิบสาม ทักทายเหล่าพระใหม่แสนงดงาม ขอติดตามท่านพ่อตลอดไป มีเสียงของฝาบาตรสัมผัสพื้น ให้เราตื่นจากเผลอสติใส ร่วมกันเตือนร่วมช่วยพร้อมอภัย จีวรใครพลาดไปใส่ใจกัน เสียงสวดมนต์ดังก้องพุทธคยา ถึงเทวาพรหมมาในทุกชั้น สวดจากใจเวียนเทียนอย่างมุ่งมั่น ทุกคืนวันจากนี้ชีวีธรรม จะได้ท่องสังเวชณียสถาน จิตเบิกบานเราผองแสนสุขล้ำ� ครองจีวรครองใจสตินำ� เพื่อจดจำ�สัญญาแห่งความดี ดินแดนนี้พุทธองค์ทรงกำ�เนิด พร่างพรายเพริศตรัสรู้ธรรมถ้วนที่ ทรงโปรดสัตว์เทศนานำ�ชีวี ทำ�หน้าที่ตราบจนปรินิพพาน นำ�เหล่าสัตว์ข้ามพ้นสังสารวัฏ โดยขจัดหมดสิ้นอย่างกล้าหาญ วปก. ๑๘ ตามอาจารย์ พิชิตมารฝึกจิตจนเห็นธรรม บวชครั้งนี้ต้องจำ�ชั่วชีวิต ต้องเลิกคิดทางชั่วจิตชอกช้ำ� ทำ�สิ่งดีฝึกจิตกฎแห่งกรรม เพื่อน้อมนำ�ธรรมแห่งพระพุทธองค์” ...บวช ณ แดนพุทธภูมิ หมายถึงการ “ระลึกคุณพระพุทธเจ้า” อย่างมุ่งมั่น จึงตามรอยพระองค์มาถึงที่อินเดีย

53


ปุจฉา – ทำ�ไมพระพุทธเจ้าเดินได้ ๗ ก้าว และกล่าวอาสภิวาจาได้? วิสัชนา ๑ – เพราะเป็น “พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”... อันเป็นอจินไตย ๑ ใน ๔” ... ซึ่งเราจะเข้าใจได้เมื่อมีปัญญาถึงพร้อม ในโลกยุคปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าทึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การที่เรา ต้องการความจริงทัง้ หลาย เราจึงต้องสามารถพิสจู น์เชิงประจักษ์ได้ ซึง่ ดูมนั ช่างจะห่างไกลกับความ “น่าเชือ่ ว่า” เมือ่ ครัง้ พระพุทธเจ้าทรงประสูติ พระองค์ทรงเดินได้ทนั ที ๗ ก้าว แถมยังทรงกล่าว “อาสภิวาจา” ได้อกี ด้วย มันดูชา่ งห่าง ไกลกับภูมคิ วามรู้ และการพิสจู น์ในทางวิทยาศาสตร์ทเ่ี ราทัง้ หลายต่างก็รวู้ า่ เด็กแรกเกิดนัน้ กว่าทีจ่ ะเดินได้ และพูด ได้อย่างรูเ้ รือ่ งรูร้ าวนัน้ ใช้เวลาอย่างน้อยเป็นปีๆ แล้วใครจะไปเชือ่ สิง่ ทีบ่ นั ทึกไว้ในประวัตพ ิ ระพุทธเจ้า...ก็คงเป็นนิยาย หลอกเด็ก เพือ่ สร้างความยิง่ ใหญ่ให้กบั พระพุทธเจ้าเท่านัน้ เอง

54


องค์ที่

เมื่อครั้น ประสูติ พระพุทธเจ้าเดินได้ ๗ ก้าว และกล่าว อาสภิวาจา ได้เพราะ?

ขออนุญาตปุจฉากับทุกท่านซ้อนว่า “แล้ววิทยาศาสตร์ทกุ วันนีพ ้ สิ จู น์ความจริงเชิงประจักษ์ได้ทกุ เรือ่ งจริงหรือ?” เรามีค�ำ ตอบทีว่ ทิ ยาศาสตร์พสิ จู น์ได้หรือไม่วา่ ...(อาทิ) - เบือ้ งหลังการทำ�งานของสมองคืออะไร?...วิทยาศาสตร์ทกุ วันนีม้ คี �ำ ตอบเพียงว่า “มีเส้นประสาทในเซลล์สมอง และมีกระแสเหมือนไฟฟ้าเกิดขึน้ ระหว่างสมองทำ�งาน” แต่กระแสนัน้ ผลิตมาจากไหน? วิทยาศาสตร์ไม่มคี �ำ ตอบให้... แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และสรุปการทำ�งานในหนึง่ ชัว่ ขณะจิต (มิใช่สมอง) เป็น “ปฏิจสมุปบาท” (กรุณาศึกษาเพิม่ เติมด้วยตนเองต่อกันนะครับเพือ่ นๆ วปก. ทุกท่าน) ทีเ่ ริม่ ต้นจาก “อวิชชา” ทีท่ �ำ ให้มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดกันไม่จบ สิน้ เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงในเรือ่ งนี้

55


- ชีวติ คืออะไร?...วิทยาศาสตร์ทกุ วันนีม้ คี �ำ ตอบเพียง เรื่อง “กายวิภาค” และ “จิตวิทยา” ซึ่งมิสามารถแยกแยะ ความเป็น “รูป” และ “นาม” หรือ “ขันธ์ ๕” ได้อย่างที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เราจึงทำ�ได้เพียงว่ามี DNA แต่ไม่สามารถ บอกได้วา่ “ทำ�ไม DNA จึงแตกต่างกัน? ” และเราก็เพียง สามารถรักษาอาการทางจิตบางอย่างได้ แต่ไม่สามารถ “พัฒนาจิตสูน่ พ ิ พาน” หรือ “สูก่ ารพ้นทุกข์สน้ิ เชิง” ได้อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็น และส่งต่อความสำ�เร็จใน การนำ�มนุษย์ส่กู ารมิต้องเวียนว่ายตามเกิดได้จริงมาจนถึง ทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวอีกหลากหลายที่มี “ผลวิจัย ผลทดลอง” หรือ “ข้อสรุป” ต่างๆ อีกมากมายที่มนุษย์ใช้ วิทยาศาสตร์พสิ จู น์ แต่กม็ าค้นพบว่ามี “ความถูกต้องใหม่” เกิดขึ้นในภายหลังได้ ขอยกตัวอย่างที่เราทั้งหลายคุ้นเคย คือเรื่อง “โลกกลม” ที่นักวิทยาศาสตร์ช่อื “กาลิเลโอ” มา ทำ�การพิสูจน์เพื่อหักล้างความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ร่นุ

56

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๑ สถานที่ประสูติ

เดิมๆ ว่า “โลกแบน” โดยรายละเอียดเรือ่ งโลกและจักรวาล นั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้ และเข้าใจความเป็นไปตาม ธรรมชาติของสิง่ เหล่านีอ้ ย่างถ่องแท้ทกุ ประการ แต่ทรง “ให้ แนวทางทีป่ ระเสริฐ” ไว้กบั มนุษย์ทง้ั หลายว่า “สัพเพธัมมา นาลัง อภินเิ วสายะ” แปลว่า “อันธรรม (สิง่ ) ทัง้ หลายทัง้ ปวง ไม่ควรยึดมัน่ ถือมัน่ ” ซึง่ อาจขยายความได้วา่ สรรพสิง่ ทัง้ ปวงนัน้ เกิดขึน้ ตามธรรมชาติ (ตามกฎแห่งกรรม) ไม่ควร เข้าไปยึดมัน่ ไม่ควรเข้าไปถือมัน่ จงฝึกฝนปัญญาเพือ่ มอง ให้เห็นความจริงว่า “มันเป็นเช่นนัน้ เอง” ซึง่ การอ่านข้อความ เหล่านี้น้นั พวกเราก็มิสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่พระองค์ทรง สอนไว้ จนกว่าเราจะ “ลงมือปฏิบตั ”ิ ให้ไตรสิกขา หรือ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ของเราเจริญพร้อม เราก็จะเข้าใจทุกคำ�สอน ทีท่ รงพระมหากรุณาธิคณ ุ มอบไว้ให้พวกเรา ขยายความเพิม่ เติมนิดนึงว่า “อันธรรม(สิง่ )ทัง้ หลายทัง้ ปวง ไม่ควรยึดมัน่ ถือมัน่ ” นัน้ หมายถึงทุกสรรพสิง่ ก็จริง แต่ มิได้หมายความว่า เมือ่ เรามีหน้าทีอ่ ะไรอันพึงกระทำ� เราก็


จะไม่ท�ำ หน้าทีน่ น้ั ๆ อันนีค้ นหลายคนมักนำ�ไปเป็นข้ออ้างด้วย ความเข้าใจผิด เมือ่ เรามีหน้าทีใ่ ดๆ เราก็จะ “ทำ�ทุกหน้าทีน่ น้ั ๆ ให้ดที ส่ี ดุ ” แต่ท�ำ โดย “ไม่ยดึ ว่าเป็นเราหรือของเรา ทำ�ไปตาม เหตุปจั จัยอย่างดีทส่ี ดุ ตัวอย่างเช่น เรามีบา้ น พ่อแม่ สามี ภริยา บุตร ฯลฯ ที่ครอบครองอยู่ทางโลก ไม่ใช่ว่าเราต้องละทิ้งทุก อย่างไปให้หมด เพียงแค่เราต้อง “มีให้เป็น” เพราะเมือ่ ถึงเวลา แล้ว ทุกสิง่ ก็จะต้องจากเราไปหมด หรือเราอาจจะเป็นผูท้ ต่ี อ้ ง จากไปก็ได้ และเมือ่ นัน้ “เราต้องไปทุกกับสิง่ เหล่านี”้ เพราะเรา รูอ้ ยูแ่ ล้วว่าทุกอย่างเมือ่ มีพบ ก็ตอ้ งมีพรากจากทัง้ หมดทัง้ สิน้ สัจจธรรมก็คอื “ก่อนเรามีสง่ิ เหล่านีม้ นั ก็วา่ งดี” เมือ่ เรา ได้มแี ล้วก็ตอ้ ง “รักษาความว่าง” นัน้ ไว้ เมือ่ ทุกสิง่ จากไป มัน ก็กลับมาสูส่ ภาวะเดิมคือความว่างอีกครัง้ นัน่ คือปัญญาทีเ่ รา ต้องฝึกฝน จนสามารถทีจ่ ะ “เข้าใจหัวใจของพุทธศาสนา” กับ

คำ�สอนประโยคเดียวทีว่ า่ “สัพเพธัมมานาลัง อภินเิ วสายะ” ดังนัน้ ด้วยประโยคเดียวนี้ ถ้าเราท่านตัง้ ใจทำ�ความเข้าใจด้วย “สัมมาทิฐิ” ย่อมจะสามารถนำ�เราไปสู่การปฏิบัติให้ได้ถึงที่ สุดแห่งกองทุกข์ทง้ั ปวงโดยไม่ยากเย็นนัก เพราะทุกความยึด มัน่ ถือมัน่ นีก้ อ็ ยูใ่ นจิตใจอันมีอวิชชาของเรานีเ่ อง กลับมาที่ปุจฉาที่ว่า “ทำ�ไมพุทธเจ้าประสูติแล้วเดินได้ ๗ ก้าว พร้อมกล่าวอาสภิวาจาได้? คำ�อธิบายสำ�คัญก็คอื “อจินไตย ๔” นัน้ อันมีความหมายโดยสรุปคือ “สิ่ง ๔ อย่างที่ ปุถุชนไม่ควรคิด” หรือ “สิ่งที่เราคนทั่วไป มิควรจะพยายามหาคำ�ตอบ หรือถกเถียง เพื่อพิสูจน์ยืนยัน” เพราะปุถุชนเรานั้นยัง

57


“มีปญ ั ญาไม่เพียงพอ” ซึง่ เราจะเข้าใจในอจินไตย ๔ นีไ้ ด้ดว้ ย ตนเอง เมือ่ เราเรียนรู้ และฝึกฝนปฏิบตั ติ นจนเกิด ปัญญาอย่าง เพียงพอแล้ว อจินไตย ๔ ประกอบไปด้วย ๑. พุทธวิสยั แห่งพระพุทธเจ้าทัง้ หลาย หมายถึง วิสยั แห่ง ความมหัศจรรย์ และความรูค้ วามสามารถของพระพุทธเจ้าทัง้ หลาย ๒. ฌานวิสยั แห่งผูไ้ ด้ฌาน หมายถึง วิสยั แห่งอิทธิฤทธิข์ องผู้ มีฌาน ทัง้ มนุษย์ และเทวดา อาทิ หูทพิ ย์ ตาทิพย์ อ่านใจคน ฯลฯ หรือทีเ่ ราเคยทราบ เคยเห็นผูท้ ส่ี ามารถนัง่ เข้าฌานอยูเ่ ฉยๆ ได้เป็น วันๆ โดยทีไ่ ม่ตอ้ งกินข้าว ไม่ตอ้ งหลับไม่ตอ้ งนอน และไม่มอี าการ เมือ่ ยขบแต่อย่างใด เป็นต้น ๓. กรรมวิสัย หมายถึง วิสัยของกฎแห่งกรรม และวิบาก กรรม คือการให้ผลของกรรมทีส่ ามารถติดตามไปได้ทกุ ชาติ รวมถึง เรือ่ งการรับรูค้ วามเป็นมาของตนในชาติภพต่างๆ อันละเอียดอ่อน สุดทีจ่ ะคาดการณ์ ๔. โลกวิสยั หมายถึง วิสยั แห่งโลก คือการมีอยูข่ องสวรรค์ นรก และสังสาระวัฏ รวมถึงเรื่องความเป็นมาของโลกว่าเกิดเมื่อ ไหร่ เกิดอย่างไร เป็นต้น ในทางพุทธศาสนาถือว่าเรื่องอจินไตย เป็นเรื่องที่เกินกว่า ปุถชุ นคนธรรมดาอย่างเราๆ จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ เป็นเรือ่ งทีล่ กึ ซึง้ จนบางครัง้ เกินกว่าสติปญ ั ญาของคนทัว่ ไปจะเข้าใจได้ คิดมาก อยากรูม้ าก “จะทำ�ให้เป็นบ้าได้” แต่อจินไตยนีส้ ามารถรับรูไ้ ด้ดว้ ย การบรรลุธรรมขั้นสูงเท่านั้น ดั่งคำ�ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า…ดูกร

ภิกษุทง้ั หลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมือ่ บุคคลคิด พึงเป็นผูม้ สี ว่ นแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุท้งั หลาย พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบาก แห่งกรรม ๑ ความคิดเรือ่ งโลก ๑ ดูกรภิกษุทง้ั หลาย อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ ถึงบรรทัดนี้ ทุกท่านมีค�ำ ตอบสำ�หรับตนเองหรือยังว่าทำ�ไม พระพุทธเจ้าขณะเมือ่ ครัง้ ทรงประสูติ สามารถเดินได้ ๗ ก้าว พร้อม ทัง้ ทรงกล่าวอาสภิวาจาอย่างน่าเหลือเชือ่ ได้ หากเรามองแบบทาง โลกๆ หรือในแนวทางแบบวิทยาศาสตร์ทเ่ี ราคุน้ ชินในชีวติ ทุกวันนี้ “อาสภิวาจา” ของพระพุทธเจ้า คือสิง่ ทีเ่ ราทัง้ หลายควรเรียน รู้ และทำ�ความเข้าใจให้ถกู ต้องตรงตามความจริงด้วยเช่นกัน เพราะ หากเราพิจารณาอย่างผิวเผิน หรือมองว่าเป็นการบันทึกไว้เพือ่ เชิดชู เกียรติพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เรากำ�ลัง “เสียโอกาสอย่างยิง่ ” ทีจ่ ะนำ�สิง่ ทีพ่ ระองค์ได้ทรงกระทำ�เป็นแบบอย่างไว้มาประยุกต์ใช้เพือ่ “พัฒนา ชีวติ ” ของเราอย่างสัมฤทธิผ์ ล ผูค้ นในโลกมากมาย ต่างมีขอ้ สงสัยกับศักยภาพของตนเอง และมักจะขาดความเชือ่ มัน่ ในตนเองอย่างน่าเสียดาย เพราะจิตใจ ของมนุษย์ท่วั ไปนั้น มีการครอบงำ�ของ “สัญชาตญานแห่งความ กลัว” อยู่กันทุกคน ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับโอกาสในการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาจิตใจของแต่ละคน ภายใต้สภาพแวดล้อม และ การถ่ายทอดจากผูค้ นรอบข้าง

พระมูลคันธกุฎี (กุฏิของพระพุทธเจ้า) ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร

58


...ทำ�ไมเรากลัวผี? โดยมิเคยค้นหาสาเหตุแห่งการกลัวที่แท้ จริง หรือมิได้พสิ จู น์อย่างถ่องแท้วา่ ผีมจี ริงหรือไม่? ...ทำ�ไมเรากลัวการนัง่ แถวหน้าในกิจกรรม หรือสถานทีท่ เ่ี รา ไม่คนุ้ เคย (ยกเว้นการดูคอนเสิรต์ ) ? โดยมิเคยตัง้ คำ�ถามกับตนเอง ให้ได้ค�ำ ตอบว่า การนัง่ แถวหน้าไม่ดอี ย่างไร? และการนัง่ แถวหลัง เสียโอกาสอะไรไปบ้าง? ฯลฯ ทั้งหมดทั้งปวงก็เพราะเราถูกสัญชาตญานแห่งความกลัว ครอบงำ�ดังกล่าวนัน่ เอง การแก้ไขของผู้คนทุกวันนี้ก็คือ ไปหาผู้นำ�ทางจิตวิญญาณ, ไปหาหลักสูตรการเรียนรู้ท่ผี ้คู นกล่าวขานถึง ฯลฯ แต่ถ้าคุณเป็น ชาวพุทธ คุณกลับลืมไปที่จะแสวงหาตัวอย่าง และคำ�สอนของ พระพุทธเจ้าทีช่ ท้ี างไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทกุ ประการ อาสภิวาจา หมายความว่า “คำ�พูดอันอาจหาญ คำ�พูดของ ผูย้ ง่ิ ใหญ่” ซึง่ พระพุทธเจ้าทรงเป็นมหาศาสดาผูย้ ง่ิ ใหญ่ เพราะผ่าน การบำ�เพ็ญเพียรมายาวนานหลายภพชาติแบบทีเ่ ราจินตนาการไป ไม่ถงึ ได้ในฐานะคนธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงกล่าวอาสภิวาจาว่า “เราเป็นยอดของโลก... เราเป็นใหญ่แห่งโลก...เราเป็นผูป้ ระเสริฐแห่งโลก...ความเกิด ของเรานีเ้ ป็นครัง้ สุดท้าย...บัดนีช้ าติภพใหม่ ไม่มแี ก่เรา” และ ทุกสิ่งที่พระองค์กล่าวอย่างไว้เป็นอย่างไรบ้าง? ทุกคำ�กล่าวคือ “สัจจธรรม” ทีท่ า้ ทายการพิสจู น์ทกุ กาลเวลา แต่หากมองแบบคนที่ ไม่เชือ่ หรือไม่มปี ระสบการณ์ชวี ติ เพียงพอก็จะมีบทสรุปประมาณ

ว่า พูดได้อหังการ หรือพูดเว่อร์ (OVER) ในภาษาผูค้ นในสังคมยุค นี้ ถ้าเราถอดรหัสของอาสภิวาจา ทัง้ ความหมาย และเนือ้ ความที่ พระพุทธเจ้ากล่าว ณ วันทรงประสูติ เราทัง้ หลายสามารถนำ�มาใช้ กับชีวติ ของเราได้อย่างไรบ้างเอ่ย? ...เราเคย “พูดอย่างอาจหาญ” เวลาเรา “กำ�หนดเป้าหมาย ชีวติ ” ของเราบ้างหรือยัง? …เราควรจะ “เชือ่ มัน่ ในศักยภาพตนเองทีส่ ามารถบรรลุธรรม กันได้ทกุ คน” และพร้อมนำ�ตนไปสูม่ รรคผลนิพพาน” กันได้แล้วใช่ หรือไม่? เพราะการที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์น้นั มันอยากเย็นเหลือ ประมาณ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม เรือ่ ง การเกิด เป็นมนุษย์ มีสาวกหลายท่าน ถามพระองค์วา่ การเกิดมาเป็นมนุษย์ ยากขนาดไหน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยากมาก สาวกก็ให้พระองค์ อุปมาให้ฟังด้วย พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ที่ตถาคตจะอุปมาให้พวก เธอฟังนี้ ยังง่ายกว่าเกิดเป็นมนุษย์อกี นะ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า มีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง เกิดในทะเล ๔ มหาสมุทร ๑๐๐ ปี เต่าตาบอดจะโผล่หวั ขึน้ มาทีหนึง่ และถ้าเธอทำ� บ่วงเท่าหัวเต่า โยนลงในทะเล และ ๑๐๐ ปี เต่าตาบอดตัวนัน้ โผล่ ขึน้ มาเจอบ่วงทีเ่ ธอโยนลงในทะเล ๔ มหาสมุทร มันยังง่ายกว่าการ เกิดเป็นมนุษย์อกี นะ “มนุษย์เกิดยากกว่านี้ นับเท่าไม่ได้” ฉะนัน้ การ ทีเ่ ราหลุดรอดได้เกิดมาเป็นมนุษย์นน้ั ไม่ใช่ธรรมดา มันสุดแสนจะ ยิง่ ใหญ่มากในชีวติ ของเราทุกคน นอกจากนี้ การทีเ่ ราได้มโี อกาสเกิดมาเป็นคนทีส่ มบูรณ์เพียบ

59


ภายในพระวิหารมายาเทวี ลุมพินีวัน

พร้อม คือ มีรา่ งกายครบสมบูรณ์ แล้วมีสง่ิ แวดล้อมทีเ่ กือ้ กูลเราให้ เราสามารถฝึกฝนตัวเราได้เต็มที่ ถือว่าเป็นบุญยิ่งใหญ่ เพราะการ ได้เกิดมาเป็นคนนัน้ ยากทีส่ ดุ ในบรรดาภพภูมทิ งั้ หลาย อีกทัง้ การได้ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาพบพระธรรมคำ�สอนที่ถูกต้อง เกิดมาพบคนบอกทางทีถ่ กู ต้องอย่างนี้ (และยังได้ไปบวชทีอ่ นิ เดีย อีกต่างหาก) ถือว่าเป็นสิรมิ งคลของเราอย่างยิง่ เพราะคนเป็นสัตว์ โลกที่สมบูรณ์ที่สุด เทวดาอินทร์พรหมยังสู้ไม่ได้ ภพภูมิคนนี้เกิด ยากที่สุด ยากกว่าเทวดาอินทร์พรหมผีสางทั้งหมด พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ต้องเกิดมาเป็นคนเท่านั้น จึงจะฝึกฝนตัวเองให้ตรัสรู้ ได้ ที่สำ�คัญมากและถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีของชีวิตเราอีก อย่างก็คือ การที่เรามีโอกาสได้ฟังธรรมได้ศึกษาเรียนธรรมะของ พระพุทธเจ้าเป็นประจำ� แล้วเอาธรรมนั้นมาเป็นข้อมูล เป็นฐาน ของการดำ�เนินชีวิตในทุกๆ วัน เพราะการดำ�เนินชีวิตของเรานั้น ต้องมีเครื่องมือช่วยเสริม คือมีความรู้ทางธรรมที่จะใช้แก้ปัญหา ชีวิตของเรา ให้มีอยู่ในตัวเราเสมอ การดำ�เนินชีวิตของเราก็จะ ง่ายขึ้นไม่มีปัญหา ไม่มีทุกข์ที่สลับซับซ้อนยุ่งยาก ถ้าไม่มีความยุ่ง ยากวุ่นวาย ชีวิตเราก็ปลอดโปร่งโล่งสบาย ทั้งกายทั้งใจทั้งปัญญา พระธรรมคำ�สอนพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องของการตรัสรู้

60

“รูจ้ ริง รูแ้ จ้ง เรือ่ งโลกและชีวติ ” ถ้าเราไม่รู้จริง รู้แจ้ง เรื่องโลกและชีวิต เราก็จะไม่เข้าใจชีวิต ของเรา ถ้าเราไม่ศึกษาไม่เข้าใจในเรื่องชีวิตตัวเรา เราก็จะพาชีวิต เราไปติดกับดักตัวเองอีก เพราะเราติดกับดักตัวเองมานับภพนับ ชาติไม่ถ้วน คือการติดกับดักตัวเองอย่างนี้มันน่าเจ็บใจ เราไม่น่า จะทำ�กับดักทำ�ร้ายตัวเองได้ เพราะคนเราก็ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ กับชีวติ แต่เราก็มาสร้างสิง่ เลวร้ายทีส่ ดุ เป็นกับดักให้กบั ชีวติ ตัวเรา คนเราถึงออกจากความเลวร้ายของชีวิตไม่ได้ นั่นคือ กับดักชีวิตที่ เราสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งแต่ละคนก็ไม่คิดว่าตัวเองจะสร้างความเลว ร้ายเป็นกับดักของตัวเองได้ขนาดนี้ เพราะเมื่อรู้ภายหลังว่าสิ่งที่ เราสร้างเป็นความเลวร้ายเป็นกับดักทำ�ร้ายตัวเอง ชีวติ ร่างกายเรา ก็เสือ่ มโทรมแล้วแก่ชราแล้ว ไม่สามารถจะฟืน้ ฟูสงิ่ เหล่านีใ้ ห้กบั ตัว เราเองได้ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นความวิบัติในชีวิตเรา ความวิบัติที่มัน เกิดขึน้ จากความเชือ่ คือความหลงหรืออวิชชาทีเ่ ราไม่เข้าใจว่าชีวติ เราแท้จริงแล้ว มันมีท้ังความจริงและความเชื่อ เหตุที่เราแยกไม่ ออกว่า สิ่งไหนเป็นความจริงสิ่งไหนเป็นความเชื่อ เพราะชีวิตเรา เกิดมาจากความเชื่อที่ผิด คือ อวิชชา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่าง นั้น เมื่อเรามีอวิชชา คือ ความไม่รู้ เราก็จะหมกมุ่นอยู่แต่เรื่อง


ความหลงในอวิชชา หรือความไม่รู้ คือเราจะสร้างทุกข์ให้กับตัว เราเอง เพราะฉะนั้นพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็น เรือ่ งสำ�คัญทีส่ ดุ ในชีวติ เรา เพราะพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้ บอก วิธีแก้ปัญหาชีวิตของเราทั้งหมด ถ้าเรารู้เราเข้าใจวิธีแก้ปัญหา ชีวิตของเรา ชีวิตเราก็แจ่มใสไร้ปัญหา แต่ถ้าเราไม่รู้ไม่เข้าใจวิธี การแก้ปัญหาชีวิต เราก็จะแก้ปัญหาชีวิตเราเองไม่ได้ ฉะนั้นการ เรียนรู้พระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต ของเรา เพราะเราสร้างปัญญา หรือความรู้ที่ดับทุกข์ขึ้นมาเอง ไม่ได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลายาวนาน ชีวิตเรามีไม่พอในขณะนี้ วิธี ลัดก็คือ เอาปัญญาของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสรู้ไว้แล้ว เอา มาใส่ไว้ให้กับตัวเอง ท่านสามารถทำ�ตามแบบอย่างทีพ่ ระองค์กล่าวอาสภิวาจา ได้ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้...โปรดลุกไปที่หน้าพระพุทธรูปที่ท่านสะดวก ที่สุด และทำ�การกล่าวอย่างอาจหาญว่า “เราจะมีพระรัตนตรัย เป็นทีพ ่ ง่ึ เท่านัน้ เราเป็นทาสรับใช้ของพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ และจะใช้ชวี ติ ในวิถแี ห่งมรรค ๘ เราจะปฏิบตั ิ ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ให้ถงึ พร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา โดยเรา จะละชั่วทั้งปวง ทำ�ความดีให้ถึงพร้อม และฝึกฝนจิตให้ขาว รอบ ตามคำ�พระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าโดยมิลงั เลสงสัย จนถึงซึง่ พระนิพพาน” โดยท่านสามารถที่จะปรับคำ�กล่าวตาม ที่ท่านเห็นสมควร แต่จะต้องให้ครบถ้วนใน “หลักธรรมคำ�สอน สำ�คัญ” ที่ทรงตรัสรู้ และมอบไว้ให้เราทั้งหลายมากว่าสองพันปี แล้ว...ถึงตรงนี้ ท่านหมดข้อสงสัยในการทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงประสูติ และเดินได้ ๗ ก้าว พร้อมกล่าวอาสิวาจาแล้วหรือยัง? ถ้ายังก็จง

ไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ด้วยตนเองต่อไป เพราะพระพุทธเจ้า ท่านทรงมิให้เราเชือ่ สิง่ ใดโดยปราศจากเหตุผล และการพิสจู น์ทราบ ด้วยตนเอง (หลักกาลามสูตร) แล้วถ้ามีผู้คนมาตั้งคำ�ถามแบบนี้กับ เรา ผู้ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว เราควรทำ�อย่างไร? ถ้าคุณเข้าใจ และเชื่อมั่นแล้ว...โปรดให้คำ�อธิบายกับผู้คนที่ ซักถามอย่างเปิดกว้าง มิต้องบังคับให้เขาเชื่อโดยทันที แต่เมื่อเรา อธิบายแล้วก็ทิ้งท้ายให้เขาไปตัดสินใจ และพิสูจน์ด้วยตนเองต่อ ไปว่า...คำ�สอน และแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ไว้นั้น หากเรานำ�ไปพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติจริง...เราจะได้อะไรในชีวิต? ใน ทางกลับกัน ถ้าเราไม่เชื่อ และไม่คิดจะไปพิสูจน์ด้วยตนเอง มอง เป็นเพียงเรื่องเหลวไหล แล้วชีวิตของเราจะได้อะไร และจะสูญเสีย โอกาสอย่างไร? โปรดนำ�ไปพิจารณาด้วยตนเองเถิด พระพุทธเจ้าจึงใช้แนวทางแห่งการ อุปมา อุปไมย อยู่เนืองๆ และมิเคยบังคับให้ใครต้องมาเชือ่ พระองค์โดยมิไปปฏิบตั พิ สิ จู น์ โดย เราะจะเป็นได้ในคำ�สอนทีม่ กั จะขึน้ ต้นเสมอว่า “ดูกรภิกษุทงั้ หลาย...” คำ�แนะนำ�แบบสั้นลัดย่อในการตอบข้อปุจฉานี้ก็คือ...

พระพุ ท ธเจ้ า เดิ น ได้ ๗ ก้ า วหรื อ ไม่ ? มิ ใช่ เรื่ อ งสำ � คั ญ ในชีวิต แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวอาสภิวาจา และทำ�ได้ สำ�เร็จครบสมบูรณ์ ควรเป็นแบบอย่างที่เราจะใช้ในชีวิตเราใช่ หรือไม่? และทุกคำ�สอนของพระพุทธเจ้านำ�เราพ้นจากทุกข์ ได้จริงใช่หรือไม่? สิ่งที่เราทุกคนควรกระทำ�นั้นก็คือ...การก้าว เดินชีวิตตามรอยธรรมคำ�สั่งสอน สู่การพ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิดดีกว่าหรือไม่?

61


...“แดนประสูติ สวนลุมพินวี นั ประเทศเนปาล ...ผ่านเส้นทางยาวนานอย่างสุขใจ” “เส้นทางแสนทอดยาวข้ามประเทศ แดนวิเศษก่อกำ�เนิดเจ้าชายน้อย

ทรงพระนามสิทธัตถะให้ตามรอย เมื่อถึงเมืองลุมพินีเป็นยามบ่าย มีบางรูปเจ็บไข้เป็นธรรมดา บิณฑบาตอากาศเย็นสายหมอก สามถึงสี่องศาหนาวจับใจ เป็นชุดฟอร์มที่องค์พระสัมมา อีกคุณค่าเพื่อสงฆ์อย่างแยบคาย ออกเดินทางสู่พระมหาวิหาร นามมายาเทวีมิเคยคลอน จิตตั้งมั่นพากันสวดมนต์ถวาย ให้สระโบกขรณีเป็นพยาน เราบันทึกภาพถ่ายเสาอโศก แดนประสูติพุทธสถานขจรไกล วปก. ผองเราสะเทือนจิต ไตรสิกขาหนทางอันมั่นคง ลุมพินีแห่งนี้คุณค่าล้ำ� จิตพุทธะนั้นอยู่กับเรามา เราเหมือนเกิดขั้นใหม่ในการบวช เราคือชาว วปก. ที่ยั่งยืน ก่อนจะจากดินแดนทรงประสูติ เส้นทางที่เราผ่านแม้ยาวนาน เราเหน็ดเหนือ่ ยเมือ่ ยล้ากันเพียงไหน พุทธองค์ทรงเสด็จโปรดทุกคน จากเส้นทางเนปาลสู่อินเดีย จากเจ้าชายสิทธัตถะประกาศคำ� ทรงเป็นยอดของโลกผู้ประเสริฐ อาสภิวาจาประทับใจ

พุทธะน้อยยินบ่อย Baby Buddha มิเหนื่อยหน่ายผองเรามั่นรักษา หมออาสาดูแลอบอุ่นใจ ตัวเลขบอกอุณหภูมิชวนเป็นไข้ แสนเชื่อในผ้าจีวรห่มคลุมกาย ประทานผ้าลุ่มลึกทั้งความหมาย ร้อนหนาวคลายเมื่อใช้ผ้าจีวร ยืนตระหง่านสีขาวอนุสรณ์ เมื่อกาลก่อนโอรสประสูติกาล เราทั้งหลายพร้อมกันเสียงประสาน อธิษฐานมั่นคงรัตนตรัย ธรรมหยุดโลกลื่อลั่นสนั่นไหว ขอมั่นในศาสนาพระพุทธองค์ มุ่งตรงทิศทางแห่งพระประสงค์ เจตจำ�นงค์แห่งการบรรพชา จักจดจำ�น้อมนำ�พุทธศาสนา ขอเพียงว่าฝึกฝนให้ตื่นคืน เราจะตรวจจิตตนเพื่อตื่นฟื้น สู่ผู้ตื่นผู้รู้ผู้เบิกบาน ทุกคำ�พูดสัญญาจักสืบสาน เมื่อก่อนกาลเดินทางไร้ยานยนต์ ระลึกไว้กาลก่อนในทุกหน เราจักดลดาลใจใฝ่ในธรรม แม้อ่อนเพลียแต่ใจได้ตอกย้ำ� บรรลุธรรมเลิกเกิดอีกต่อไป ฆ่าความเกิดไม่มีภพชาติใหม่ ขอมอบกายและใจใฝ่ในธรรม”

...ลุมพินี แดนประสูติ “อาสภิวาจา” แบบอย่างแห่งความตั้งใจ และความสำ�เร็จอัน อาจหาญยิ่งใหญ่ที่เราควร “เอาเยี่ยงอย่าง”

62


63


64


ปุจฉา – พระพุทธเจ้าตรัสรูอ้ ะไร? วิสชั นา – พระองค์ทรงตรัสรูแ้ นวทางและวิธกี ารสูก่ าร “พ้นทุกข์สน ้ิ เชิง”

องค์ที่

๓...พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อะไร? “พระพุทธเจ้าตรัสรู.้ ..สัจธรรมสูงสุด (อริยสัจ) หรือความจริงของสรรพสิง่ และความจริง ของชีวติ ” ก่อนการตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า...ศาสนาอืน่ ๆ ทีม่ อี ยูใ่ นโลกไม่สามารถนำ�มนุษย์สู่ การพ้นทุกข์สน้ิ เชิง การให้ความหมายของชีวติ ความสุข และการพ้นทุกข์ มีแนวทางต่างๆ มากมาย แต่กเ็ พียงทำ�ให้มนุษย์นน้ั สามารถเข้าถึงเพียง “ความสงบ” หรือ “อภินหิ าร” ทีเ่ กิด จากการฝึกฝนจิตด้วย “สมาธิ” จนเกิด “อภิญญา” ในรูปแบบต่างๆ แต่มมิ ใี ครสามารถเข้าถึง การ “หลุดพ้น” หรือ “นิพพาน” ในประเทศอินเดียแต่เดิมนัน้ คำ�ว่า “นิพพาน” มีความหมายถึงความ “เหมาะสมพอดี” ของสรรพสิง่ ต่างๆ ในชีวติ ประจำ�วัน เช่น การจะป้อนข้าวต้นให้เด็กน้อยแต่ละครัง้ มารดาก็จะ เป่าข้าวต้มในสูภ่ าวะ “นิพพานสำ�หรับเด็ก” หรืออุน่ พอดีส�ำ หรับการรับประทานของเด็กน้อย ซึง่ ระดับความอุน่ ก็อาจจะแตกต่างจาก “นิพพานสำ�หรับผูใ้ หญ่” ครัน้ เมือ่ พระองค์ทรงตรัสรู้ จึง นำ�คำ�ว่านิพพานมาใช้ส�ำ หรับการระบุถงึ สภาวะทีม่ นุษย์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด “อริยสัจ ๔” หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ หลักคำ�สอนเรือ่ งอริยสัจ ๔ เป็นคำ� สอนทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ เรือ่ งหนึง่ ของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทยั นิโรธ และมรรค ๑. ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความจริงก็คอื ว่าความทุกข์หรือปัญหาทีเ่ กิดขึน้ นัน้ เราจะ ต้องไม่ประมาท และพร้อมทีจ่ ะเผชิญกับปัญหาทุกเรือ่ ง หน้าทีต่ อ้ งทำ�ในทุกข์ คือ การกำ�หนด รูใ้ นทุกข์ หรือปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทุกข์ทง้ั ปวงเกิดจากการทีท่ กุ ชีวติ ประกอบด้วย “ขันธ์ ๕” ร่างกายและจิต (รูปและนาม) “รูป” หมายถึง ร่างกาย คือ ส่วนประกอบของชีวติ เป็นสสาร (ธาตุดนิ น้�ำ ลม ไฟ) “เวทนา” หมายถึง อาการทีเ่ ป็นความสุข ความทุกข์ และไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ ทีเ่ กิดขึน้ กับร่างกายและใจ เรียกว่า กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ “สัญญา” หมายถึง ความจำ�ได้หมายรูใ้ นสิง่ ต่างๆ ของใจ “สังขาร” หมายถึง การคิดปรุงแต่งทัง้ ทางดี ทางชัว่ ไม่ดไี ม่ชว่ั ของใจ . “วิญญาณ” หมายถึง ความรูแ้ จ้งทางอารมณ์ในสิง่ ต่างๆ ของใจ มี ๖ ทาง คือ ตา (จักขุ) หู (โสต) จมูก (ฆานะ) ลิน้ (ชิวหา) กาย (กายะ) ใจ (มโน)

. .

สรุป อริยสัจ ข้อที่ ๑ ทุกข์ เมือ่ เกิดขึน ้ แล้ว “เป็นสิง่ ทีค่ วรกำ�หนดรู”้ เพราะทุกสิง่ ทุก อย่างของขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

65


๒. สมุทยั คือ ความจริงว่าด้วย “เหตุแห่งทุกข์” ความทุกข์

หรือปัญหาทีเ่ กิดขึน้ กับคนนัน้ ย่อมเกิดจากสาเหตุบางอย่าง มิใช่ เกิดขึน้ ลอยๆ ดังพุทธวาจาทีว่ า่ “เมือ่ สิง่ นีม้ ี สิง่ นัน้ จึงมี เพราะ สิง่ นีเ้ กิด สิง่ นัน้ จึงเกิด” ตัวอย่างเช่นนี้ นักเรียนทีส่ อบตกอาจ เป็นเพราะเกียจคร้านในการอ่านหนังสือ เศรษฐีทห่ี าเงินได้ยงั ไม่​่ มากพอตามทีต่ นต้องการ อาจเป็นเพราะมีความโลภจนเกินไป เป็นต้น ซึง่ สาเหตุของความทุกข์นน้ั คือความอยากทีเ่ กินพอดี ซึง่ เรียกว่า ตัณหา มี ๓ อย่าง คือ “กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา” หมวดธรรมทีว่ า่ ด้วย สมุทยั ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ ๕ และอุปาทาน ๔

ปฏิจจสมุปบาท การเห็นต้นเหตุแห่งอวิชชาในแต่ละ

นิวรณ์ ๕ แปลว่า กิเลสเป็นเครือ่ งกัน้ เป็นเครือ่ งขัด

ขณะจิตทีเ่ กิดดับ ทีเ่ ป็นสภาพทีอ่ าศัยปัจจัยเกิดขึน้ หรืออิง อาศัยกันและกันเกิดขึน้ กล่าวโดยหลักการ คือ เมือ่ สิง่ เหล่านี้ มี สิง่ เหล่านัน้ จึงมีเพราะสิง่ เหล่านีเ้ กิด สิง่ เหล่านัน้ จึงเกิด เมือ่ สิง่ เหล่านีไ้ ม่มี สิง่ เหล่านัน้ จึงไม่มี เพราะสิง่ เหล่านีด้ บั สิง่ เหล่า นั้นจึงดับ สรุปคือ ความทุกข์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เกิดจากการกระทำ�เหตุหรือปัจจัยที่ ไม่เหมาะสม เช่น ความไม่ดี ความประมาท ความเกียจคร้าน เป็นต้น ผลก็เป็นความทุกข์ เช่น ความเดือดร้อน ความไม่เจริญ ก้าวหน้า ความวิบตั ิ เป็นต้น

ขวาง เป็นเครือ่ งห้ามมิให้บรรลุธรรมเกิดขึน้ มิให้ฌาน อภิญญา สมาบัติ มรรค ผล เกิดขึ้นได้ เป็นเครื่องกีดขวาง ปิดกั้น การกระทำ�ความดี ความหมายโดยย่อของนิวรณ์ ๕ คือ ๑. กามฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ ๕ มี รูป เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ นิวรณ์น้ี เมือ่ เกิดขึน้ ครอบงำ�ใจ แล้ว ย่อมทำ�ให้เกิดความหมกมุน่ ครุน่ คิด หาแต่กามคุณทีต่ น ปรารถนา ทำ�ให้จติ ใจไม่เป็นสมาธิในการทำ�ความดี ในการปฏิบตั ิ ธรรม ขัดขวางมิให้บรรลุกศุ ลธรรมได้ ๒. พยาบาท คือ ความปองร้าย ความคิดอาฆาตมาด ร้าย ความไม่พอใจในอารมณ์ทไ่ี ม่นา่ ปรารถนา นิวรณ์ขอ้ นี้ เมือ่ เกิดขึน้ ครอบงำ�ใจแล้ว ย่อมทำ�ให้เกิดความขุน่ เคือง ความ หม่นหมองใจ ทำ�ให้จติ ใจไม่มปี ตี ปิ ราโมทย์ในการทำ�ความดี ใน การปฏิบตั ิ ขัดขวางมิให้กศุ ลธรรมเกิดขึน้ ได้ ๓. ถีนมิทธิะ คือ ความหดหูท่ อ้ แท้ใจ และความง่วงเหงา หาวนอน นิวรณ์ขอ้ นีเ้ มือ่ เกิดขึน้ ครอบงำ�ใจแล้ว ย่อมทำ�ให้จติ ใจ ปราศจากกุศลจิต คือทำ�ให้จติ ไม่มแี ก่ใจทีจ่ ะทำ�ความดี ไม่คดิ

66


ปฏิบตั ธิ รรม ขัดขวางมิให้กศุ ลธรรมเกิดขึน้ ได้ ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุง้ ซ่านและรำ�คาญใจ ได้แก่ ความ คิดฟุง้ ซ่าน แลบไหลไปในอารมณ์ตา่ งๆ คิดเลือ่ นลอยไปในอารมณ์ตา่ งๆ และเกิดความรำ�คาญใจ ร้อนใจ กลุม้ ใจในความผิดพลัง้ พลาดต่างๆ นิวรณ์ขอ้ นีเ้ มือ่ เกิดขึน้ ครอบงำ�ใจแล้ว ย่อมทำ�ให้จติ ไม่มคี วามสุข ไม่ สบายใจในการทำ�ความดี ในการปฏิบตั ธิ รรม ขัดขวางมิให้กศุ ลธรรมเกิด ขึน้ ได้ ๕. วิจกิ จิ ฉา คือ ความสงสัย ความลังเลใจ อันได้แก่ความสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบนั และอนาคต เป็นต้น นิวรณ์ขอ้ นีเ้ มือ่ เกิดขึน้ ครอบงำ�ใจแล้ว จะทำ�ให้ขาดวิจารณ์ ไม่สามารถ พินจิ พิจารณาตัดสินใจทำ�ความดี ตัดสินใจปฏิบตั ธิ รรมได้ ย่อมขัดขวางมิ ให้กศุ ลธรรมเกิดขึน้ ได้ สรุปคือ นิวรณ์ ๕ เมือ่ เกิดขึน้ อยูใ่ นใจของผูใ้ ดแล้วย่อมขัดขวาง หรือขวางกัน้ ในการทำ�ความดีหรือการปฏิบตั หิ น้าทีก่ ารงานทัง้ ทางโลก และทางธรรม มิให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหรือประสบความสำ�เร็จ อุปาทาน ๔ อุปาทานเป็นชือ่ ของกิเลสกลุม่ หนึง่ ทีแ่ สดงออกมา ในลักษณะทีย่ ดึ มัน่ ถือมัน่ ด้วยอำ�นาจของกิเลสนัน้ ๆ โดยความหมาย ทัว่ ไป อุปาทาน คือ ความยึดมัน่ ถือมัน่ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ ๑. กามุปาทาน ความยึดมัน่ ถือมัน่ ในกาม คือการทีจ่ ติ เข้าไปยึดถือ ในวัตถุกามทัง้ 5 คือ รูป เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ อันตนกำ�หนดว่า น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความยึดถือของจิตนัน้ มีความรูส้ กึ ว่า “นัน่ เป็นของเรา” เช่นเห็นรูปสวยงามเข้า ก็อยากได้มาเป็นของตนด้วย อำ�นาจตัณหา เมือ่ ได้มาไว้ในครอบครองแล้ว จะยึดมัน่ ถือมัน่ ว่า รูปนัน่ ของเรา ในขณะเดียวกันก็พร้อมทีจ่ ะยึดถือรูปเป็นต้น อย่างอืน่ ในทำ�นอง เดียวกัน ความทุกข์ในชีวติ จะเกิดขึน้ เพราะการแสวงหา การครอบครอง การเปลีย่ นแปลง หรือพลัดพรากไปของวัตถุกามเหล่านัน้ ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมัน่ ถือมัน่ ด้วยอำ�นาจมิจฉาทิฐิ คือ ความ เห็นผิด เช่น ยึดถือในลัทธิธรรมเนียม ความเชือ่ ถือต่างๆ ขาดการใช้ ปัญญา พิจารณาหาเหตุผล เช่น ถือว่าการกระทำ�ดี ชัว่ ไม่มี ความสุข ความทุกข์ในชีวติ ของคนไม่ได้เกิดมาจากเหตุอะไรทัง้ สิน้ ไม่มบี ญ ุ บาป บิดา มารดา พระอริยบุคคล เป็นต้น ความยึดถือบางอย่างนอกจากจะ ละได้อยากแล้ว ยังนำ�ไปสูก่ ารถกเถียง การแตกแยกกัน จนต้องประสบ ทุกข์ในอบายเพราะทิฏฐุปาทานบางอย่าง ๓. สีลพ ั พตุปาทาน ความยึดมัน่ ถือมัน่ ในศีลวัตร และข้อปฏิบตั ิ ต่างๆ ทีต่ นประพฤติมาจนชิน ด้วยความเข้าใจว่าขลัง ศักดิส์ ทิ ธิ์ ถูก ต้องเป็นต้น โดยทัว่ ไปเช่นการยึดติดในธรรมเนียมบางอย่าง พิธกี รรม บางประเภท ถือฤกษ์ผานาที ทิศดีทศิ ไม่ดี วันดีวนั ร้าย จนถึงการถือวัตร ปฏิบตั ทิ ง่ี มงายต่างๆ โดยเข้าใจว่า จากการทำ�เช่นนัน้ ทำ�ให้ตนได้ประสบ บุญ เป็นทีโ่ ปรดปรานของพระเจ้า จนถึงละสิน้ ทุกข์เพราะการกระทำ�เช่น นัน้ เป็นต้น

67


๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมัน่ ถือมัน่ วาทะว่าตน โดย ความหมายทัว่ ไป หมายถึงยึดถือในทำ�นองแบ่งเป็นเรา เป็นเขา เป็นพวกเราพวกเขา จนถึงการยึดถือว่ามีตวั ตนทีเ่ ทีย่ งแท้อยู่ ตน นัน่ เองเป็นผูม้ ี ผูร้ บั ผูไ้ ปในภพต่าง ๆ เสวยผลบุญบาปต่างๆ ทีต่ น ทำ�ไว้ โดยขาดการมองตามความเป็นจริงว่าสรรพสิง่ ทัง้ หลายนัน้ ล้วนแต่เกิดขึน้ เพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัยทัง้ หลายเท่านัน้ อุปาทานทัง้ ๔ ประการนี้ อยูใ่ นฐานะเป็นปัจจุบนั เหตุ ร่วมกับ ตัณหา และด้วยอำ�นาจแห่งอุปาทานนีเ้ อง ทีท่ �ำ ให้ได้ประสบความ ทุกข์ตา่ งๆ สรุป สมุทยั คือ เหตุแห่งทุกข์ “เป็นสิง่ ทีค่ วรละ” ๓. นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยความดับทุกข์ กล่าวคือ “ความ ทุกข์นน้ั เมือ่ เกิดได้กด็ บั ได้” เมือ่ ความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเรา ดับสาเหตุนน้ั เสีย ความทุกข์นน้ั ก็ยอ่ มดับไปด้วย ความทุกข์หรือ ปัญหาของคนเรานัน้ เมือ่ เกิดแล้วก็จะไม่คงอยูอ่ ย่างนัน้ เป็นนิจ นิรนั ดร์ แต่อยูใ่ นวิสยั ทีเ่ ราสามารถจะแก้ไขได้ไม่ชา้ ก็เร็ว ไม่มากก็ น้อย และอยูท่ ว่ี า่ มีความตัง้ ใจจริงทีจ่ ะแก้ไขหรือไม่ หมวดธรรมทีว่ า่ ด้วยนิโรธ ได้แก่ นิพพาน คำ�ว่า “นิพพาน” แปลว่า ดับเย็น นิพพานในพระพุทธศาสนา มีนยั ทีต่ อ้ งพิจารณา อย่างละเอียดอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. การ “สิน้ ” กิเลส หรือการ “ดับ” กิเลส เรียกว่า “นิพพาน” ๒. “ผล” ทีเ่ กิดขึน้ เป็นความสงบ ปราศจากความทุกข์โดยสิน้ เชิง หรือกล่าวอีกอย่างหนึง่ ก็คอื ภาวะ ทีป่ ราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิน้ กิเลสนัน่ เอง เป็น “ตัว นิพพาน” และ ๓. “ธรรมธาตุ” อย่างหนึง่ ซึง่ เป็นทีด่ บั ของกิเลส และเป็นสภาพทีม่ อี ยูน่ ริ นั ดร เมือ่ ใครปฏิบตั หิ รือลุถงึ กิเลสของ บุคคลนัน้ ก็ดบั ไป ธรรมธาตุอนั นีถ้ กู ว่าจัดว่าเป็นนิพพาน หรือ บางทีกเ็ รียกว่า “นิพพานธาตุ” สรุป นิโรธ (ความดับทุกข์) เป็นสิง่ ที่ “ควรทำ�ให้แจ้ง หรือทำ�ให้ เกิดมีขน้ึ ” ๔. มรรค คือ ข้อปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความดับทุกข์ หรือหมดปัญหา ต่างๆ โดยสิน้ เชิง มีองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่ ๑. เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือเห็นสิง่ ต่างๆ ตามทีเ่ ป็นจริง ๒. ดำ�ริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ ไม่ลมุ่ หลงมัวเมากับความ สุขทางกาย ไม่พยาบาทและไม่คดิ ทำ�ร้ายผูอ้ น่ื ๓. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ การไม่พดู เท็จ ไม่พดู ส่อเสียด ไม่พดู คำ�หยาบ และไม่พดู เพ้อเจ้อ ๔. กระทำ�ชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ ไม่ท�ำ ลายชีวติ ไม่ลกั ขโมย ไม่ประพฤติผดิ ทางกาม ๕. เลีย้ งชีวติ ชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ การทำ�มาหากินด้วย อาชีพทีส่ จุ ริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ท�ำ กิจการในสิง่ ทีเ่ ป็นผล ร้ายต่อคนทัว่ ไป

68

๖. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) คือความพยายามทีจ่ ะ ป้องกันมิให้ความชัว่ เกิดขึน้ ความพยายามทีจ่ ะกำ�จัดความชัว่ ที่ เกิดขึน้ แล้วให้หมดไป ความพยายามทีจ่ ะสร้างความดีทย่ี งั ไม่เกิด ให้เกิดขึน้ และความพยายามทีจ่ ะรักษาความดีทเ่ี กิดขึน้ แล้วให้คง อยูต่ ลอดไป ๗. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความหลงไม่ลมื รูต้ วั อยูเ่ สมอว่า กำ�ลังเห็นสิง่ ต่างๆ ตามทีเ่ ป็นจริง ๘. ตัง้ จิตมัน่ ชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ การทีส่ ามารถตัง้ จิตให้ จดจ่ออยูก่ บั สิง่ ใดสิง่ หนึง่ ได้นาน สรุป มรรค คือ ข้อปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความดับทุกข์ หรือหมด ปัญหาต่างๆ โดยสิน้ เชิง การมองความเป็นไปตามธรรมชาติทพ่ี ระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และเตือนใจให้เราทุกคนระลึกถึงเสมอคือ ทุกสรรพสิง่ ต่างตกอยู่ ภายใต้ “กฎไตรลักษณ์” ทีห่ มายถึง ลักษณะทางธรรมชาติ ๓ ประการ คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ซึง่ สัน้ และเข้าใจได้ดที ส่ี ดุ “อนิจจัง” คือ “ทุกสิง่ ทุกอย่างไม่เทีย่ ง” เป็นอนิจจัง ซึง่ เป็นกฎ ของธรรมชาติ ไม่วา่ อะไรก็ไม่ยนื ยงคงอยู่ ดูโลกทีเ่ ราอยูน่ ก้ี เ็ ปลีย่ น สภาพมาหลายครัง้ หลายครา ทีเ่ คยเป็นภูเขาก็กลายเป็นทะเลจม อยูใ่ ต้น�ำ้ และคงเปลีย่ นต่อไปจนถึงวันหนึง่ ก็อาจเปลีย่ นไปจนหมด สภาพของความเป็นโลก ตัวเราเองก็ไม่มอี ะไรคงสภาพเดิม หาก ความเชือ่ ของศาสนาอืน่ ทีว่ า่ พระเจ้า พระพรหม พระอัลลาห์ฯ เป็นองค์ทส่ี ร้างโลกขึน้ มา พระผูส้ ร้างเหล่านีจ้ ะไม่เทีย่ งเช่นกัน จะ มีการเปลีย่ นพระผูเ้ ป็นเจ้าเหล่านัน้ ตามวาระเวลา ตามกฎแห่ง อนิจจัง โดยไม่มขี อ้ ยกเว้น แม้แต่ธรรมะของพระพุทธองค์เองก็อยู่ในกฎเกณฑ์เดียวกัน จะยืนยงอยูไ่ ด้ประมาณห้าพันปี ซึง่ อาจเกิดจากการเปลีย่ นแปลง ของ มนุษย์หรือของธรรมชาติของโลก ซึง่ พุทธศาสนาเองก็ได้มี เกิดดับมาหลายครัง้ ก่อนหน้านีแ้ ล้ว เพราะมีพระพุทธเจ้ามาก่อน แล้วหลายพระองค์ นอกจากเรือ่ งทางกายภาพทีเ่ ป็นอนิจจังแล้ว ทุกสิง่ ไม่เทีย่ ง แม้เรือ่ งทางอารมณ์ความรูส้ กึ นึกคิด ความสุขความ ทุกข์ ยิง่ ไม่เทีย่ งมากขึน้ เปลีย่ นแปลงให้เราเห็นได้ทกุ วัน ชาวพุทธ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า “ทุกสิง่ ไม่เทีย่ ง” เพือ่ ไม่ให้ลมื ตน มีสง่ิ เดียว ทีเ่ ทีย่ งคือความไม่เทีย่ ง กฎทีส่ �ำ คัญข้อทีส่ อง ของไตรลักษณ์กค็ อื “ทุกขัง” หมายถึงว่า “ทุกสิง่ เป็นทุกข์” ในส่วนของความสุขเองก็มที กุ ข์แฝงอยู่ กลัวจะ ไม่ยง่ั ยืน เปลีย่ นแปรไปซึง่ เรือ่ งของทุกข์นไ้ี ด้เขียนไว้แล้ว ทุกข์จงึ เป็นองค์ประธานของพุทธศาสนาเพราะเป็นกฎของธรรมชาติ ข้อทีส่ าม ก็คอื อนัตตา ซึง่ แปลตามตัวว่า “ไม่มอี ตั ตาซึง่ หมาย ถึงไม่มตี วั ตน” ซึง่ มิได้หมายความว่าไม่มตี วั ไม่มตี นทางกายภาพ จึงควรแปลว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนหมายถึงว่าสิ่งที่ว่าเป็นตัวนั้นก็ไม่ใช่


ตัว สิง่ ทีเ่ รียกกันว่าอย่างโน้นอย่างนีก้ ไ็ ม่ใช่สง่ิ นัน้ เป็นข้อสมมุตทิ ง้ั สิน้ ความจริงแล้วไม่มอี ะไร ตัวตนทีช่ อ่ื นัน้ ชือ่ นีไ้ ม่ชา้ ก็สลายกลายเป็นดิน น้�ำ ลม ไฟ ถึงแม้จติ ทีจ่ ะไม่ตาย ก็จะเดินทางเปลีย่ นไปไม่ใช่จติ ของ นาย ก นาย ข แต่จะเวียนว่ายวนเวียนต่อไปจนกว่าจิตดวงนัน้ จะถึง นิพพาน ซึง่ ก็เป็นอนัตตาอีกเช่นกัน ทีว่ า่ นิพพานัง สุญญัง การตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้านัน้ ยิง่ ใหญ่และมีคณ ุ ค่าเป็นอเนก อนันต์ตอ่ มนุษย์ เทวดา มาร พรหมฯลฯ ตลอดจนสรรพสิง่ ทัง้ หลาย ทัง้ ปวง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต่อเหล่า “มนุษย์” อันเป็นภพภูมทิ ส่ี ามารถ เรียนรูแ้ ละปฏิบตั สิ นู่ พิ พานได้อย่างดีทส่ี ดุ แต่ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมาเกิน กึง่ พุทธกาลแล้วนัน้ ความแข็งแรงของ “มาร” ทีอ่ ยูใ่ นจิตใจมนุษย์ก็ เติบโตขึน้ ตามลำ�ดับ ส่งผลให้มจี �ำ นวนมนุษย์ทส่ี นใจใฝ่ในธรรมของ พระพุทธเจ้าลดน้อยถอยลงตามกฎไตรลักษณ์ เราในฐานะชาว วปก. ทีม่ โี อกาสอันยิง่ ใหญ่ทไ่ี ด้มาเป็นพุทธ บุตรบวชเรียน ณ แดนพุทธภูมิ ควรหรือทีจ่ ะปล่อยให้โอกาสในการที่ จะ “เข้าใจ เข้าถึง ให้แจ่มแจ้ง (ปริยตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏิเวธ)” ในธรรม ทีพ่ ระองค์ได้ทรงมอบไว้ให้ผา่ นเลยไป เรามีอปุ ชั ฌาย์ผเู้ ปีย่ มเมตตา และกรุณา เรามีกลั ยาณมิตรทีเ่ พียบพร้อมมากมาย (ครูบาอาจารย์, วปก.ทุกรุน่ ฯลฯ) เราจง“รักษาความต่อเนือ่ ง” ในการครองตน ครอง

ใจ ให้อยูใ่ นเส้นทางแห่งมรรคผลนิพพาน ตราบจนถึงซึง่ การพ้นบ่วง มารทัง้ ปวง ด้วยปัญญาอันยิง่ ใหญ่ทจ่ี กั ตืน่ รูไ้ ด้ดว้ ยการลงมือปฏิบตั ิ อย่างทุม่ เทชีวติ จิตใจไม่หยุดยัง้ นัน่ เอง...การบรรลุธรรมเป็นเป้าหมาย สาธารณะของมนุษย์ทกุ ผูท้ กุ นาม อย่าให้มจิ ฉาทิฐมิ ากางกัน้ กันนะพี่ น้อง วปก. ทีร่ กั ทุกท่าน

69


...ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่ใช่ชื่อพันธุ์ต้นไม้แต่ เป็นชื่อของ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้า ประทับนั่ง และได้ตรัสรู้ใต้ต้นไม้นั้น ...เดิมต้นไม้นี้ชื่อว่า อัสสัตถะ หรือ อัศวัตถ์ ...“โพธิ” มีความหมายว่า ความตรัสรู้ ความรู้ ความตื่น หรือ ความเบิกบาน นั่นเอง ...พระพุทธเจ้าทรงประสูติเป็น “มนุษย์ ธรรมดา” แต่ทรงตรัสรู้ และปรินิพพานใน ฐานะ “พระมหาศาสดาโลก” ...พวกเรา “วปก.๑๘” เราจะใช้ความเป็น มนุษย์เพื่อมุ่งสู่ “ความหลุดพ้น” กันอย่าง จริงจังมากแค่ไหน...ขึ้นอยู่กับเราเอง 70


...“แดนตรัสรู้ พุทธคยา เมืองพิหาร ประเทศอินเดีย ... จากต้นอัสสัตถะ เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ”์

“ณ วัดป่าพุทธคยาแดนตรัสรู้ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์พร้อมกายใจ ร่วมเรียนรู้เรื่องราวในสถาน สัปดาห์แรกทรงทบทวนอย่างจริงจัง สัปดาห์สองทอดพระเนตรนิ่งแน่วแน่ กตัญญูต่อต้นโพธิ์ที่ดำ�รง สัปดาห์สามท่านทรงเดินจรงกรม หายสงสัยในธรรมพระสัมมา สัปดาห์สี่ประทับนั่งสมาธิ พิจารณาอภิธรรมสอดคล้องตาม สัปดาห์ห้าทรงประทับใต้ต้นไทร ธิดามารยั่วยวนด้วยกามคุณ สัปดาห์หกที่มาปรางค์นาคปรก พญานาคมุจจลินท์รู้ทั่วกัน สัปดาห์เจ็ดประทับใต้ต้นเกด หลังพระอินทร์ถวายผลสมอให้ น้อมถวายสัตตุผงสัตตุก้อน น้อมจิตใจยึดมั่นธรรมมงคล ชาวพม่าเชื่อว่าสองพ่อค้า สร้างเจดีย์ชเวดากองบรรจุกัน นั่นคือเหตุที่ต้นอัสสัตถะ เรียกชื่อกันต่อตามเพราะเหตุการณ์ ในห้าวันเรานั้นปฏิบัติบูชา เดินรอบองค์เจดีย์สวดมนต์นำ� บรรยากาศในแดนตรัสรู้ ยอดเจดีย์ประดับทองผองไทยเรา ทุกคืนค่ำ�ก่อนกลับรอยยิ้มร่า วางเอาไว้ย้ายที่ต้องแก้ปม เสียงบาตรตกลดลงอย่างต่อเนื่อง พระอาจารย์เตือนสติให้ว่องไว

เราทั้งหมู่มุ่งสู่เจดีย์ใหญ่ ส่งเสียงใสสวดมนต์สนั่นดัง ณ ช่วงกาลเจ็ดสัปดาห์แต่หนหลัง เพราะทรงหวังให้ธรรมล้วนถูกตรง มั่นคงแท้มิกระพริบเพราะประสงค์ ให้พระองค์ประทับแจ้งปัญญา เทวดาต่างชมกันทั่วหน้า ก่อนนำ�พาเนรมิตเรือนแก้วงาม แสงโพธิเจิดจ้าดั่งแก้วสาม เทิดพระนามเทวดาสรรเสริญคุณ ทรงตอบในปุจฉาพราหมณ์นำ�หนุน แต่ต้องวุ่นปราชัยหนีไกลพลัน เพราะฝนตกพายุหมุนเวียนผัน แผ่ปรกพลันคุ้มครองพระทรงชัย เป็นต้นเหตุกำ�เนิดเจดีย์ใหญ่ มีพ่อค้าทางไกลมาสองคน ได้สังวรณ์ฟังธรรมหายสับสน บุญดาลดลทรงมอบเกศาพลัน นำ�เกศามาถึงจึงตั้งมั่น ตำ�นานนั้นยิ่งใหญ่สืบต่อกาล ที่องค์พระประทับถูกสืบสาน พระภูบาลเกิด “โพธิ” ตรัสรู้ธรรม อย่างแกล้วกล้าร่วมใจเพื่อตอกย้ำ� ขอจดจำ�คุณค่าของผองเรา ขนลุกซู่ลายเส้นสลักเสลา ร่วมนำ�เอาบูชาน่าชื่นชม ต้องตามหารองเท้ากันเสียงขรม จัดเหมาะสมในวันถัดถัดไป กลัวเป็นเรื่องต้องบวชสึกมิได้ มือจับไว้เมื่อครองบาตรฉลาดเอย” 71


72


องค์ที่

...การหมุน

กงล้อแห่งธรรม หมายถึง? ปุจฉา – การหมุนกงล้อแห่งธรรมหมายถึง? วิสชั นา – หลักธรรมทีพ่ ระองค์ทรงตรัสนำ�ไปสูก่ ารเผยแพร่สผู่ คู้ นอย่าง ต่อเนือ่ ง เมือ่ พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ และมีพระอรหันต์ หลังตรัสรู้ และ “เสวยวิมตุ ตสุข” รวม ๗ สัปดาห์ดงั ทีก่ ล่าวมาแล้ว...พระพุทธองค์ ทรงพิจารณาการสั่งสอนเวไนยสัตว์ “ที่มีความพร้อม” ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ทรง ดำ�เนินจากเมืองพุทธคยามาทีเ่ มืองพาราณสี เพือ่ เริม่ ต้นการหมุนกงล้อธรรมกับเหล่า ปัญจวัคคีย์ ทีเ่ คยเป็นผูอ้ ปุ ฎั ฐากดูแลพระองค์ในครัง้ ทีท่ รงบำ�เพ็ญทุกขรกิรยิ า เพราะ ทรงเล็งพระญาณเห็นอย่างแจ่มชัดว่า ธรรมอันลึกซึง้ ทีท่ รงตรัสรูน้ น้ั มิใช่จะสามารถ สัง่ สอนผูค้ นทัว่ ไปได้โดยทันที จะต้องสัง่ สอนบุคคลอันเหมาะสมก่อนทรงออกเดินเท้า จากตำ�บลคยาไปยังป่าอิสปิ ตน เพือ่ เทศนาโปรดแก่ปญ ั จวัคคีย์ ซึง่ ทรงทราบด้วยญาณ วิเศษว่า บุคคลเหล่านีส้ ามารถทีจ่ ะเข้าใจธรรมะได้โดยง่าย ระหว่างทางต้องเสด็จฯ ข้ามแม่น�ำ้ คงคา คนแจวเรือเรียกเก็บเงินจากพระองค์ แต่ทา่ นจะเอาเงินทีไ่ หนไปจ่าย ค่าเรือล่ะครับ? ท่านเลยจำ�ต้องใช้พทุ ธานุภาพเหินข้ามแม่น�ำ้ ไปยังอีกฝัง่ หนึง่ พระเจ้า พิมพิสาร (เจ้าเมืองมคธ) ทราบความภายหลัง จึงทรงสัง่ ห้ามการเรียกเงินจากผูท้ รงศีล ทัง้ หลายเป็นอันขาดตัง้ แต่นน้ั มา การเดินทางจากพุทธคยาสูเ่ มืองสารนาถนัน้ พวกเราชาว วปก. ๑๘ คงพอจะนึก ภาพตามได้วา่ ต้องใช้ความวิรยิ ะอุตสาหะเพียงใด เพราะพวกเรานัง่ รถยังเหนือ่ ยเมือ่ ย แทบแย่ แต่พระพุทธองค์ทรงก้าวเดินเท้า แต่ทรงดำ�เนินโดย “ปราศจากทุกข์อย่างสิน้ เชิง” ...ทุกครัง้ ทีเ่ ราเดินทางแล้วรูส้ กึ เหนือ่ ยล้า ขอให้เราระลึกถึงการเดินทางตามรอย บาทองค์พระศาสดาทีอ่ นิ เดียกันไว้ให้มน่ั ...หลวงพ่อจิว๋ (เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธคยา) ก็ได้แสดงความเป็นลูกพระพุทธเจ้าด้วยการเดินธุองค์ครบ ๔ สังเวชนียสถานมาแล้ว หลายรอบ ...กราบนมัสการขอรับ เมื่ อ พระพุ ท ธองค์ ม าพบเหล่ า ปั ญ จวั ค คี ย์ น้ั น เกิ ด อะไรขึ้ น ก่ อ นหน้ า นั้ น ?

73


ปัญจวัคคียท์ ง้ั ๕ เมือ่ มองเห็นพระองค์ทรงพระดำ�เนินมา ก็พดู คุยกันประมาณว่า “ผูเ้ สือ่ มใน การปฏิบตั ิ (ทุกขรกริยา)” มาแล้ว พวกเราอย่าไปสนใจใดๆ กันเลยนะ แต่ท�ำ ไมเมือ่ พระองค์ เสด็จมาถึงที่ เหล่าปัญจวัคคียก์ ลับพากันแสดงความเคารพพร้อมกัน? นีแ่ หล่ะพระบารมีแห่ง การตรัสรู้ ทีท่ �ำ ให้เมือ่ ผูใ้ ดพบเห็นพระพุทธเจ้าก็จะสัมผัสได้ถงึ พระปัญญาธิคณ ุ พระบริสทุ ธิคณ ุ และพระมหากรุณาธิคณ ุ ได้โดยทันที “ปฐมเทศนา” ณ เมืองสารนาท แคว้นพาราณสี จึงทำ�ให้การมี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนือ่ งด้วยการ “เกิดดวงตาเห็นธรรม” ของท่านอัญญา โกณฑัญญะ ดังมีรายละเอียดการแสดงปฐมเทศนาโดยสรุปในพระสูตร “ธัมมจักกัปปวัตน สูตร” ทีพ่ ระองค์สรุปการตรัสรูอ้ ย่างแจ่มชัด ดังต่อไปนี้ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรก ทีพ่ ระพุทธเจ้าทรง แสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมือ่ พระผูม้ พี ระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนีอ้ ยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึน้ แก่ทา่ น พระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์ สาวก องค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนัน้ เป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่ พระรัตนตรัยครบบริบรู ณ์ บังเกิดขึน้ ในโลกเป็นครัง้ แรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบบริบรู ณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนือ้ หาแสดงถึงการปฏิเสธ “ส่วนทีส่ ดุ สองอย่าง” และ เสนอแนวทางดำ�เนินชีวติ โดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนือ้ หาแสดงถึงขัน้ ตอนและแนวทางในการปฏิบตั เิ พือ่ บรรลุถงึ อริยสัจทัง้ ๔ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริม่ จาก ทำ�ความเห็นให้ถกู ทางสายกลางก่อน เพือ่ ดำ�เนินตามขัน้ ตอนการปฏิบตั ริ เู้ พือ่ ละทุกข์ทง้ั ปวง เพือ่ ความดับทุกข์ อันได้แก่นพิ พาน ซึง่ เป็นจุดมุง่ หมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

เนือ้ หาทีเ่ ป็นประเด็นหลักในพระพุทธพจน์ทก่ี ฎในธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยสรุป มีดงั นี้ . ..ภิกษุทง้ั หลาย “ทุกขอริยสัจ” คือ ความจริงทีช่ ว่ ยมนุษย์ให้เป็นผูป้ ระเสริฐเกีย่ วกับการ พิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่�ำ ไรรำ�พัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทัง้ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิง่ ทีไ่ ม่เป็นทีร่ กั ก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิง่ ทีเ่ ป็นทีร่ กั ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิง่ ใด ไม่ ได้สง่ิ นัน้ ก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมัน่ แบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุท�ำ ให้เกิดความทุกข์แท้จริง ภิกษุทง้ั หลาย เหตุท�ำ ให้เกิดความทุกข์ (สมุทยั ) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่ เรียกว่า ทะยานอยาก ทำ�ให้ตอ้ งเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำ�หนัด ด้วยอำ�นาจความ เพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริง ในสิง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดความกำ�หนัดรักใคร่นน้ั ๆ ได้แก่ ความทะยานอยาก ในสิง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดความใคร่ (กามตัณหา) ความทะยานอยากในความอยาก เป็นนัน่ อยากเป็นนี่ (ภวตัณหา) ความทะยานอยากในความทีจ่ ะพ้นจากภาวะทีไ่ ม่อยากเป็น (วิภวตัณหา) เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้ เป็นอย่างนัน้ อย่างนี้ ...ภิกษุทง้ั หลาย “นิโรธ” คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริงคือ ดับความกำ�หนัดอย่างสิน้ เชิง มิให้ตณ ั หาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มเี ยือ่ ใยในตัณหา ภิกษุทง้ั หลาย ทุกขโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นัน่ เอง

74


กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง ส่วนทีส่ ดุ สองอย่าง ทีอ่ ยูก่ บั ชาวโลกในช่วงทีไ่ ม่มพี ระพุทธเจ้า หรือไม่มพี ระพุทธศาสนา โดยพระพุทธศาสนานัน้ ปฏิเสธ ส่วนทีส่ ดุ สองอย่าง อันได้แก่ “กามสุขลั ลิกานุโยค” คือ การหมกมุน่ อยูใ่ นกามศก และ “อัตตกิลมถานุโยค” คือการทรมานตนให้ล�ำ บากโดยเปล่าประโยชน์ (ทีพ่ ระองค์ทรง พิสจู น์ดว้ ยพระองค์เองมาแล้วทัง้ ๒ อย่าง จากการเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และการบำ�เพ็ญทุกขรกิรยิ า) ...“มัชฌิมาปฏิปทา” คือปฏิปทาทางสายกลางทีพ ่ ระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปดอันเป็น ๑ ในอริยสัจสี่ อันธรรมทีเ่ ป็นความจริงอันประเสริฐสีป่ ระการ

75


...ส่วนทีส่ ดุ สองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบ ตนให้พวั พันด้วยกามสุขในกามทัง้ หลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของ ชาวบ้านเป็นของปุถชุ น ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ การประกอบความเหน็ดเหนือ่ ยแก่ตน (เช่น บำ�เพ็ญทุกรกิรยิ า) เป็น ความลำ�บาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ...ปฏิปทาทางสายกลาง คือ ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรูแ้ ล้วด้วยปัญญาอันยิง่ ทำ�ญาณให้เกิด ย่อม เป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปฏิปทาสายกลางนัน้ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด ...อริยสัจ ๔ ธรรมทีเ่ ป็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่กเ็ ป็นทุกข์ ความเจ็บไข้กเ็ ป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วย สิง่ ทีไ่ ม่เป็นทีร่ กั ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิง่ เป็นทีร่ กั ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิง่ ใดไม่ได้สง่ิ นัน้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อคือ “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” ทุกขสมุทยั อริยสัจ คือ “ตัณหา” ประกอบด้วยความกำ�หนัด ด้วยอำ�นาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นน้ั ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ “ตัณหาดับโดยไม่เหลือ” ด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พวั พัน ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ คือ “อริยมรรคมีองค์แปด” ...ในตอนท้ายของพระสูตร (พระสูตรส่วนใหญ่เป็นการบันทึก ความโดยพระอานนท์ พระอรหันต์ผเู้ ป็นผูอ้ ปุ ฎั ฐากพระพุทธเจ้า อย่างใกล้ชดิ และกล่าวได้วา่ ถ้าไม่มพี ระอานนท์ เราอาจจะไม่มพี ระ ธรรมทีถ่ า่ ยทอดกันมาได้ตราบจนถึงทุกวันนี)้ ก็มเี นือ้ หาปิดท้ายว่า เมือ่ การตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้าเกิดขึน้ ก็เกิดการสะเทือนเลือ่ นลัน่ ไป จนถึงชัน้ เทวดา ชัน้ พระพรหมทุกชัน้ และท่านโกญฑัญญะทีต่ ง้ั ใจ รับฟังธรรมก็เกิดการเข้าใจในธรรมทีพ่ ระองค์ตรัสรู้ หรือ “เกิดดวงตา เห็นธรรม” (บรรลุธรรมขั้นต้นเป็นพระโสดาบัน) และบวชเป็น พระสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนา อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่ม หมุนกงล้อแห่งธรรมอย่างสมบูรณ์ คือ การตรัสรู้ การมีหลักธรรม ทีเ่ ผยแผ่ได้จริง และมีพระสงฆ์ทเ่ี ข้าใจในธรรมและพร้อมเผยแผ่ตอ่ เนือ่ งกันไปนัน่ เอง “ธัมเมกขสถูป” ถูกจัดสร้างขึน้ เป็นทีร่ ะลึกถึงเหตุการณ์ส�ำ คัญ ของพุทธศาสนา ณ จุดทีเ่ ชือ่ ได้วา่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่ปญ ั จวัคคีย์ และมีหลักฐานเชือ่ ได้อกี ว่าของเดิมมีความสูงกว่าที่ เห็นในปัจจุบนั มากนัก แต่สว่ นยอดพังลงมาตามกาลเวลา...ตามกฎ แห่งไตรลักษณ์

76

ปุจฉา – ทำ�ไมชาวพุทธต้องไปลอยประทีปหรือลอยกระทงที่ แม่น�ำ้ คงคาเหมือนชาวฮินดูทน่ี บั ถือแม่น�ำ้ คงคา? วิสชั นา – เพือ่ สักการะพระบรมสารีรกิ ธาตุ มิใช่เพราะความเชือ่ ในความศักดิส์ ทิ ธิข์ องแม่น�ำ้ คงคา “แม่น้ำ�คงคา” เป็นสายน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู ตาม ตำ�นาน ชาวฮินดูนน้ั เชือ่ ว่า แม่น�ำ้ คงคงเป็นแม่น�ำ้ ทีพ่ ระแม่คงคงผูย้ ง่ิ ใหญ่ ประทานให้กบั มวลมนุษย์จากการทีพ่ ระราชาผูย้ ง่ิ ใหญ่ในอดีต ได้ตง้ั ใจปฏิบตั ภิ าวนา และทำ�กุศลอย่างมุง่ มัน่ เพือ่ การวิงวอนร้องขอ ให้พระแม่คงคาประทานสายน้�ำ ให้แก่ประชาชน แต่พระแม่คงคาได้ บอกว่าสายน้�ำ นัน้ มีน�ำ้ หนักแรงเกินกว่าทีโ่ ลกจะรองรับได้ จะต้อง ให้พระศิวะช่วยนำ�มวยผมมารองรับจึงจะประทานแม่นำ�้ ให้โลกได้ ทำ�ให้พระราชาต้องบำ�เพ็ญพรตต่ออย่างทุม่ เท ก่อนวอนขอพระศิวะ ให้ชว่ ย ซึง่ ก็ประสบความสำ�เร็จ ทำ�ให้แม่น�ำ้ คงคาเป็นเสมือนมวยผม ของพระศิวะทีร่ องรับน้�ำ จากพระแม่คงคา จึงส่งผลให้ชาวฮินดูลกึ ซึง้ ในความศรัทธาทีม่ ตี อ่ ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องแม่น�ำ้ คงคามาตราบจนทุก วันนี.้ ..จนกระทัง้ มีค�ำ กล่าวของนักเขียนชาวตะวันตกทีเ่ ขียนหนังสือ ถึงอินเดียทำ�นองว่า “โลกจะเปลีย่ นอย่างไร แต่อนิ เดียไม่เคยเปลีย่ น” พวกเขายังเคารพพระเจ้า นุง่ ส่าหรี เชือ่ มัน่ ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องแม่น�ำ้ คงคา ใครตายก็มาเผา และนำ�ซากลงแม่น�ำ้ ก็จะได้ไปสวรรค์ทกุ คน ฯลฯ แล้วชาวพุทธต้องแสดงความเคารพแม่น�ำ้ คงคาด้วยหรือ? หลั ง จากการเกิ ด ดวงตาเห็ น ธรรมของพระโกญฑั ญ ญะ พระพุทธเจ้าทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” อันยังผลให้พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ บรรลุโสดาบันตาม ลำ�ดับ และได้รับเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จน กระทั่งเมื่อถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดง “อนัตตลักขณสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรทีแ่ สดง “ลักษณะของอนัตตา” เป็นพระสูตรทีม่ คี วาม สำ�คัญทีส่ ดุ พระสูตรหนึง่ เพราะหลังจากทีพ่ ระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง พระสูตรนีแ้ ล้ว ได้บงั เกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา ๕ องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น ๖ องค์ ซึง่ พระสูตรนี้ มีใจความเกีย่ วกับ ความ ไม่ใช่ตวั ตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรูส้ กึ สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ สัญญา คือ ความจำ�ได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือ เจตนา วิญญาณ คือ ความรูอ้ ารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีก ประการหนึง่ ว่า อายตนะทัง้ ๖ อันได้แก่สมั ผัสทาง ตา หู จมูก ลิน้ กาย และใจ โดยในตอนท้ายพระสูตรมีขอ้ ความภาษาบาลีวา่


77


“อิทมโวจ ภควา อตฺตมนา ปญฺจวคฺคยิ า ภิกขฺ ู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ อิมสฺมจึ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน ปญฺจวคฺคยิ านํ ภิกขฺ นู ํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตตฺ านิ วิมจุ จฺ สึ ุ เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺต”ิ

แปลว่า “พระผูม้ พ ี ระภาคได้ตรัสพระสูตรนีแ้ ล้ว พระ ปัญจวัคคียม์ ใี จยินดี เพลิดเพลินภาษิตของพระผูม้ พ ี ระภาค ก็ แลเมือ่ พระผูม้ พ ี ระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนีอ้ ยู่ จิตของพระ ปัญจวัคคียพ ์ น้ แล้วจากอาสวะทัง้ หลาย เพราะไม่ถอื มัน่ ครัง้ นัน้ มีพระอรหันต์เกิดขึน้ ในโลก ๖ องค์” ซึง่ เหตุการณ์นก้ี เ็ ป็นการ ตอกย้ำ� การขั บ เคลื่อ นธั ม มจั ก รที่เ กิ ด ขึ้น แล้ ว ในโลกนั บ แต่ บัดนัน้ สำ�หรับที่มาของการที่ชาวพุทธไทยไปลอยประทีปหรือ ลอยกระทงในแม่น�ำ้ คงคาก็เพราะ มีการก่อสร้างเจดีย์ “ธรรมรา ชิกสถูป” หรือ “อรหันตเจดีย”์ เพือ่ รำ�ลึกถึงสถานทีท่ พ ่ี ระพุทธ องค์ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร และทำ�ให้ปญ ั จวัคคียบ์ รรลุ เป็นพระอรหันต์ โดยมีการบรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุไว้ในธรรม ราชิกสถูป แต่ในช่วงเวลาต่อมาพระราชาท่านหนึง่ ต้องการ สร้างปราสาทราชวัง แต่ทนุ ทรัพย์ในการจัดหาอิฐไม่เพียงพอ จึงสัง่ การให้น�ำ อิฐจากธรรมราชิกสถูปมาใช้กอ่ สร้าง ส่งผลให้ มีการนำ�พระบรมสารีรกิ ธาตุทบ่ี รรจุอยูใ่ นเจดียไ์ ปลอยสูแ่ ม่น�ำ้ คงคา (ในปัจจุบนั จึงเหลือเพียงฐานสถูป) และนีค่ อื เหตุผลทีช่ าว พุทธไทยจึงไปลอยประทีปในแม่น�ำ้ คงคากันเสมอ เพือ่ เคารพ สักการะพระบรมสารีรกิ ธาตุของพระพุทธเจ้านัน่ เอง พวกเราชาว วปก. ๑๘ คงมิอาจลืมเลือนบรรยากาศการ ล่องเรือในเพศบรรพชิต ได้พบเห็นพลังความศรัทธาของ ชาวฮินดู ทีพ ่ ากันประกอบกิจกรรมต่างๆ บริเวณริมแม่น�ำ้ อย่างน่าทึง่ ได้เรียนรูแ้ ละสัมผัสกับ “เปลวไฟทีไ่ ม่เคยดับมา ราว ๕ พันปี” เพราะมีการเผาร่างกายของชาวฮินดูทเ่ี สียชีวติ ต่อเนือ่ งตลอดเวลา รวมทัง้ การได้พร้อมใจกับลอยประทีป เพือ่ ระลึกสักการะพระบรมสารีรกิ ธาตุกบั ครูบาอาจารย์ และ กัลยาณมิตรทั้งหลายกันแบบเป็นกันเอง...เราจะร่วมกันหมุน วงล้อแห่งธรรม เพือ่ นำ�พุทธศาสนาสูจ่ ติ ใจให้เกิดปัญญา และ

78


“แดนปฐมเทศนา สารนาท เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย พระรัตนตรัยพร้อมพรัก ธรรมจักรเริม่ หมุน” “ผ่านหลายวันในถิน่ กลิน่ อินเดีย กว่าจะถึงยาวนานตัง้ ตารอ ถึงเมืองแห่งวานรพาราณสี เราแยกกันเข้าพักรอเวลา แม้ฝนพรำ�ชุม่ ชืน่ ตืน่ จิตนัก ธัมเมกขสถูปตระหง่านเท่ห ์ ยามเย็นนัน้ เราถึงทีท่ า่ น้�ำ แห่งคงคาสายน้�ำ สารพัน บูชาไฟมอบให้พระศิวะ เมือ่ ไหร่ทค่ี นเราเกิดศรัทธา เห็นเปลวไปพลิว้ ไหวริมตลิง่ จะอยูใ่ นถิน่ ฐานวรรณะใด ถึงเวลาตัง้ จิตอฐิษฐาน ดินแดนนีเ้ คยมีเรือ่ งสำ�คัญ ทัง้ พระสงฆ์พระอรหันต์เกิดทีน่ ่ี พุทธศาสนาพร้อมก้าวไกล ในมุมของไตรลักษณ์ประจักษ์อยู่ พบร่องรอยการทำ�ลายเกิดขึน้ จริง

แม้ออ่ นเพลียผองเรามิยอ่ ท้อ อย่างไรหนอสารนาทกับคงคา หลากเรือ่ งราวทีม่ าคอยรอท่า เพือ่ ตามหาเรียนรูอ้ กี สังเวชฯ เราพร้อมพรักพร้อมใจมิไขว้เขว มิลงั เลสวดมนต์ถวายพลัน ใกล้จะค่�ำ เราอยูฝ่ ง่ั สวรรค์ หลากสีสนั เรือ่ งราวเล่าขานมา เราเป็นพระก็ชมเพือ่ รูว้ า่ จักปรีดาไม่วา่ ทำ�สิง่ ใด ชีวติ จริงเห็นชัดสิน้ สงสัย ยามต้องไปสิน้ ชีพล้วนเสมอกัน แสนเบิกบานรำ�ลึกอย่างตัง้ มัน่ เพราะเป็นวันธรรมจักรเริม่ หมุนไป เริม่ ต้นมีเหตุพร้อมสัน่ โลกไหว เผยแผ่ให้ผคู้ นพ้นทุกข์จริง เมือ่ ได้ดธู รรมจักรบนหัวสิงห์ มิมสี ง่ิ ทุกสิง่ ล้วนต้องเป็น

มีเกิดขึน้ ตัง้ อยูใ่ นทีใ่ ด ต้องดับไปตามกาลอยูห่ รือเป็น พระพุทธรูปมีรอยถูกแทบทุกองค์ ความเชือ่ ต่างนัน้ เป็นมายาวนาน โอกาสมาทีเ่ มืองพาราณสี ป่าอิสปิ ตนแต่กาลก่อน มานพนามยัสสะเคยมาบ่น พบพานในทุกสิง่ แสนวุน่ วาย วุน่ วายหนอเสียงบ่นต่อเนือ่ งซ้�ำ มาทีน่ ไ่ี ด้เลยหนุม่ คนดี จากยัสสะเห็นธรรมนำ�หนุนเนือ่ ง เกิดอรหันต์ขน้ึ อีกอย่างมากมาย มีปฐมเทศนาจึงสำ�คัญ พ่อสมเด็จฯ ต้นแบบเราแน่นอน

ใกล้หรือไกลก็ลว้ นพบทุกข์เข็ญ แต่จกั เย็นดับสิน้ เมือ่ นิพพาน เจตจำ�นงทำ�ลายมิสบื สาน ยัง่ ยืนนานคือจิตพเนจร มีของดีควรค่าปฏิสงั ขร มีเรือ่ งสอนชีวอี ยูม่ ากมาย สาละวนชีวติ เบือ่ เหลือหลาย จะสบายใครคลายช่วยบอกที พระองค์น�ำ เปิดทางสว่างศรี เพราะทีน่ ไ่ี ม่มสี ง่ิ วุน่ วาย ความรุง่ เรืองแห่งพุทธต่อขยาย พร้อมท้าทายหมูม่ ารให้รานรอน จำ�ให้มน่ั ว่าเรามีพอ่ สอน ก่อนจากจรจำ�จดหมดทุกข์เอย”

สารนาท แดนปฐมเทศนา “เกิดพระสงฆ์ เกิดพระอรหันต์” สิง่ สำ�คัญแห่งการ “ขับเคลือ่ นธรรมจักร” ตราบสิน ้ พุทธกาลนี้

79


ท่องแม่น้ำ�คงคา เมืองพาราณสี ชมวิถีชีวิตของผู้คน ริมฝั่งแม่น้ำ�คงคา และร่วมกันลอยประทีป

80


81


องค์ที่ ...ทำ�ไมพระพุทธเจ้ามีอายุเพียง พรรษา? และทำ�ไมพุทธศาสนาต้องสิ้นสุดภายใน

๘๐

๕,๐๐๐ ปี?

ปุจฉา – ทำ�ไมพระพุทธเจ้ามีอายุเพียง ๘๐ พรรษา? วิสชั นา – ทุกชีวติ ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม พระพุทธเจ้าทรงเคยตรัสกล่าวบอกพระอานนท์วา่ การใช้ชวี ติ ด้วย หลักอิทธิบาท ๔ จะทำ�ให้มนุษย์มอี ายุยนื ยาวได้ถงึ นับหมืน่ ปี แล้วทำ�ไม พระองค์จงึ ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินพ ิ พานเมือ่ อายุเพียง ๘๐ พรรษาเล่า ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย...ในอดีตกาลตถาคตได้เสวยพระชาติเป็นหน่อ พระบรมโพธิสตั ว์ โดยบำ�เพ็ญบารมีเพือ่ จะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ถอยหลังจากชาตินก้ี ลับไปหลายพันชาติ เวลานัน้ สมเด็จ พระบรมโลกนาถ ทรงบำ�เพ็ญบารมีใกล้จะถึงปรมัตถบารมี พระวรกายของ พระองค์น้ี มีสว่ นพิเศษอยูจ่ ดุ หนึง่ คือ “ในอุง้ ระหว่างกลางเท้าทัง้ สอง มีรปู กงจักรอยูด่ ว้ ยเป็นสีแดง” ในเวลานัน้ องค์สมเด็จพระผูม้ พ ี ระภาคเจ้า เกิดเป็นลูกคนจนทำ�มา หากินอยูใ่ นป่า ต่อมาท่านบิดาก็ตายเหลือแต่มารดาผูเ้ ดียว ท่านก็ปฏิบตั ิ ตนเป็นคนประกอบไปด้วยความกตัญญูรคู้ ณ ุ หาเช้ากินค่�ำ หรือหาค่�ำ กินเช้า เพือ่ นำ�เอาอาหารมาเลีย้ งมารดาเป็นทีร่ กั คือว่าท่านเป็นคนป่า ก็ตดั ฟืนขาย เข้าป่าก็แต่เช้า กลับมาจนบ่าย จนเย็น อาบน้�ำ อาบท่า กินน้�ำ บริโภคอาหาร เสร็จแล้วก็น�ำ ฟืนเอาไปขาย ได้เงินมาเท่าไร ก็มามอบให้แก่มารดา มารดา ก็จดั เงินทัง้ หลายเหล่านี้ จัดอาหารมาเลีย้ งดูกนั เป็นอันว่า รายได้ขององค์ สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา เวลานัน้ ก็เต็มไปด้วยความฝืดเคืองมาก

82


83


ในคราวนัน้ พระราชาแห่งเมืองนัน้ มีความลำ�บากด้วย ยักษ์ตนหนึง่ ทีเ่ ขาเรียกว่า “รากษส” โดยรากษสนีม้ สี ภาพ เหมือนยักษ์ แต่เป็นยักษ์ทข่ี ดุ อุโมงค์อยูใ่ ต้ดนิ ซึง่ ในใต้ดนิ ก็มี บ่ออยู่ พร้อมกับมีปล่องสำ�หรับเป็นทางขึน้ สูพ่ น้ื ดิน เจ้ารากษส ตัวนี้ ปรากฏว่าถึงเวลาฤดูหนึง่ ถ้าเปรียบเทียบกับเวลา ตรุษ สงกรานต์ เป็นงานเกีย่ วกับนักขัตฤกษ์ประจำ�ปี เจ้ารากษสตัวนี้ ก็ขน้ึ มาจับคนเอาไปกินเป็นอาหาร ทำ�อย่างนี้ เป็นเวลา ๒–๓ ปี ในแดนไกล ต่อมาพระราชาทรงทราบจากบรรดาประชาชนทั้งหลาย ว่า...เจ้ารากษสขึน้ มาอาละวาด เจ้ารากษสตัวนีข้ น้ึ มาเป็นเวลา กาล ถ้าถึงฤดูนน้ั ถึงเดือนนัน้ วันนัน้ มันก็ขน้ึ มาจับคนกินเป็น อาหาร เพือ่ เป็นเสบียงกรัง ทำ�อย่างนี้ เป็นเวลา ๒–๓ ปี จน เป็นทีแ่ น่ใจของประชาชนทัง้ หลายว่า วันนีแ้ หละเจ้ารากษสจะ ขึน้ มาจับคนไปกิน จึงไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระ ราชาก็ให้ปา่ วประกาศหาคนดีมฝี มี อื ให้ไปสูก้ บั เจ้ารากษส โดย ให้ไปดักอยูป่ ากปล่องของรากษสทีจ่ ะขึน้ มา ถ้ารากษสขึน้ มา ก็จะฆ่ารากษสให้ตาย แต่วา่ รากษสมีสภาพเป็นยักษ์ มีความ ดุรา้ ย มีก�ำ ลังมาก แทนทีค่ นทัง้ หลายทีร่ บั อาสาพระราชาจะไป ฆ่ารากษส ก็กลายเป็นอาหารของรากษสอย่างดี คือ รากษส ไม่ตอ้ งไปหากินไกล จับคนทัง้ หลายทีจ่ ะไปฆ่าเขานำ�กลับไปกิน เป็นอาหาร

84

ต่อมาพระราชาเห็นว่า คนทัง้ หลายไม่สามารถสูร้ ากษสได้ การประกาศให้บรรดาคนทีม่ ฝี มี อื ทัง้ หลาย ภายในขอบเขตของ พระราชฐาน หรือใกล้พระราชฐาน ก็ไม่มใี ครรับอาสาไปปราบ รากษส พระราชาได้ประชุมอำ�มาตย์ ข้าราชบริพารว่า...เราไม่ สามารถปราบรากษสนีไ้ ด้เพียงใด ความเป็นพระราชาของเรา ก็ไม่อาจจะคงอยู่ เพราะเราไม่สามารถจะให้ความปลอดภัย กับบรรดาประชาชนได้ แล้วอาศัยที่พระราชาพระองค์นี้ใช้ ทศพิธราชธรรมอันดีเป็นที่รักของปวงชนทั้งหลาย บรรดา อำ�มาตย์ขา้ ราชบริพารจึงประชุมกันว่า ถ้าหากพวกเราไม่สามารถ ฆ่ารากษสได้ พระราชาก็จะสละราชสมบัติ แล้วคนทีม่ าใหม่จะดี เท่าองค์น้ี หรือไม่ดกี ย็ งั ไม่แน่นกั จึงปรึกษากันว่าจะทำ�อย่างไรดี จะให้พระราชาครองราชย์ตอ่ ไป ในที่ป ระชุ ม ก็ ก ล่ า วกั น ว่ า ทางที่ดีค วรประกาศให้ บ รรดา ประชาชนทัง้ หลายทัว่ ประเทศ ทีม่ คี วามสามารถเข้าใจตรงกัน ว่า พระราชามีบญ ุ ญาธิการอย่างนี้ และมีความเดือดร้อนอย่าง นี้ ราษฎรจนทีไ่ หน พระองค์กท็ รงจนด้วย ราษฎรลำ�บากทีไ่ หน พระองค์กท็ รงลำ�บากด้วย หาทางช่วยราษฎรให้เป็นสุข พระ ราชาอย่างนีห้ าได้ยาก ถ้ากระไรก็ดก็ควรกราบทูลให้พระองค์ทรง ทราบว่า...คนในประเทศของเรา ไม่มเี ท่าทีเ่ ห็น เพราะอยูใ่ นแดน ไกล ในขอบเขตต่างๆ มีอกี มากมาย ควรจะประกาศให้บรรดา ประชาชนทัง้ หลายทีม่ คี วามสามารถ แต่ไม่มโี อกาสขอเข้าเฝ้า พระราชาเพือ่ จะรับอาสาฆ่ารากษส ดังนัน้ ต่อมา พระราชาจึงส่งคนไปประกาศว่า ถ้าบุคคลใด สามารถจะฆ่ารากษสให้ตายได้ ในช่วงแห่งการรับอาสาจะมอบ ทองคำ�เท่าลูกฟัก หนักเท่าตัวบุคคลผูร้ บั อาสาให้เป็นทุนสำ�รอง ไว้กอ่ น ทัง้ นี้ ก็เผือ่ ว่าไปพลาดพลัง้ ถูกรากษสฆ่าตาย ทางบ้านก็ จะได้ใช้ทองคำ�นีจ้ บั จ่ายใช้สอย เป็นการประทังชีวติ ให้มคี วามสุข สบายแทนผูต้ าย และถ้าบุคคลใดฆ่ารากษสตาย แล้วตัวเองก็ไม่ ตาย ทองคำ�ก็ได้เป็นสิทธิอ์ ยูแ่ ล้ว แต่เมือ่ เวลาทีก่ ลับมาประเทศ เขตพระนคร พระราชาจะให้เป็นมหาอุปราช คือให้มตี �ำ แหน่ง รองจากพระราชา วันนั้นก็ปรากฏว่าหน่อพระบรมโพธิสัตว์จะเข้าป่าไปหาฟืน แต่ยงั ไม่ทนั จะเข้าเดินออกจากบ้าน ก็ได้ยนิ เสียงประกาศจาก อำ�มาตย์ขา้ ราชบริพาร หน่อพระบรมโพธิสตั ว์จงึ คิดว่า เราเป็น ลูกคนเดียวของแม่คนเดียวหาเช้ากินค่�ำ ทรัพย์สมบัตทิ ห่ี ามาได้ ก็พอกินบ้างไม่พอกินบ้าง มีความลำ�บาก ถ้าหากว่าเราจะยอม เสีย่ งชีวติ ของเราตายแต่เพียงผูเ้ ดียว ให้แม่ได้มโี อกาสรับทองคำ� เท่าลูกฟักหนักเท่าตัวเรา แม่กจ็ ะกินอยูแ่ บบสบายๆ แม้กระทัง่ ตาย ทองคำ�ก็ยงั ไม่หมด เมือ่ หน่อพระบรมโพธิสตั ว์ก�ำ หนดอย่าง นีแ้ ล้ว จึงได้ขนั รับอาสาแล้วก็รบั ทองคำ�มามอบให้แก่แม่ ตอน นีแ้ ม่คดั ค้านอย่างหนัก เพราะไม่อยากจะให้ลกู ตาย แต่ในทีส่ ดุ


ก็ตอ้ งจำ�ยอม เพราะลูกตกลงกับเขาแล้ว พระองค์จงึ ได้มอบ ทองคำ�ให้แม่ ตัวเองก็ไปเฝ้าพระราชาพร้อมกับอำ�มาตย์ เข้าไป เฝ้าแล้ว พระราชาถามถึงผลของความต้องการ เธอสามารถ แน่ใจทีจ่ ะฆ่ารากษสได้หรือ พระโพธิสตั ว์กบ็ อกว่ามัน่ ใจ ต่อไป พระราชาถามว่า เจ้าต้องการทหารเท่าไร ต้องการอาวุธอะไรบ้าง จะไปฆ่ารากษส หน่อพระบรมโพธิสตั ว์กต็ อบว่า ไม่ตอ้ งการอะไร อะไรทัง้ หมด ต้องการฆ่าด้วยมือเปล่า พระราชาก็หนักใจ แต่วา่ เขาขันรับอาสาตามนัน้ ก็ตอ้ งปล่อยไป เขาก็น�ำ ไปส่งทีป่ ล่องของ รากษส หน่อพระบรมโพธิสตั ว์ขน้ึ ไปคอยอยูป่ ระมาณ ๒ วัน พระ ราชาทรงให้ทหารไปเป็นเพือ่ นนำ�อาหารไปบริโภค ไปคอยอยู่ ทีป่ ากปล่องทีร่ ากษสจะขึน้ ต่อมาเมือ่ ถึงวันนัน้ คือวันกำ�หนด ทีร่ ากษสจะขึน้ มา มีเวลาเป็นประจำ�ก็ขน้ึ มาพอดี พอรากษสขึน้ มาไม่ทนั จะพ้นปล่อง หน่อพระบรมโพธิสตั ว์ ยกเท้าขึน้ หวังจะ กระทืบ คือจะกระทืบให้รากษสคอหักตาย รากษสแหงนหน้าขึน้ มา เห็นอุง้ เท้าของหน่อพระจอมไตรบรมโพธิสตั ว์มี “กงจักร” ใน ระหว่างท่ามกลางฝ่าเท้า ก็คดิ ว่าคราวนีเ้ ราตายแน่ เราสูไ้ ม่ได้ เพราะคนนีต้ อ้ งเป็นหน่อพระบรมโพธิสตั ว์ เพราะกลางระหว่าง เท้ามีกงจักรสีแดง จึงได้พดู ว่า....“ช้าก่อน..ท่านอย่าพึง่ ฆ่าเรา ท่านนีเ่ ป็นหน่อพระบรมโพธิสตั ว์ จะได้ตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจ้า ในอีกไม่นานนัก เพราะว่ากลางเท้าของท่านมีกงจักร หากท่าน

ฆ่าเราเราก็ตาย ถ้าท่านฆ่าเราไซร้ ท่านจะมีอายุสน้ั ถ้า เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตามธรรมดาพระพุทธเจ้าจะต้อง มีอายุสองหมืน่ ปีบา้ ง ถึงสีห่ มืน่ บ้างก็ม.ี ..อีกประการหนึง่ พระพุทธเจ้าสามารถจะอธิษฐานตนให้มอี ายุถงึ กัปหนึง่ ก็ได้ หากว่าท่านฆ่าเราตาย ในเวลานีเ้ วลานีเ้ รามีอายุ ๘๐ ปี ถ้า หากว่าท่านฆ่าเราตายในเวลานี้ เมือ่ ท่านเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ตอ้ งมีอายุ ๘๐ ปี เท่านัน้ การประกาศพระศาสนา ของท่าน จะไม่สามารถยาวนานตามความประสงค์” หน่อ พระบรมโพธิสตั ว์ ก็กล่าวว่า...“เจ้าเป็นสัตว์ทม่ี คี วามดุรา้ ย มาก ไล่พฆิ าตเข่นฆ่าคนเป็นอาหาร ถึงแม้นว่าเราจะบรรลุ อภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า มีอายุแค่ ๘๐ ปี เราพร้อมยอมตามนัน้ ”...ในทีส่ ดุ หน่อพระบรมโพธิสตั ว์ก็ กระทืบศีรษะยักษ์รากษส และยักษ์กค็ อหักตาย นีแ่ หละบรรดาพุทธบริษทั ทัง้ หลาย ตามทีอ่ งค์สมเด็จ พระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่าพระพุทธ เจ้าทุกๆ พระองค์ เมือ่ เป็นพระพุทธเจ้าสามารถจะอธิษฐาน อายุของตนให้อยูไ่ ด้ถงึ กัปหนึง่ ก็ยอ่ มเป็นได้ เพราะคล่อง ในอิทธิบาท ๔ แต่วา่ ทีอ่ งค์สมเด็จพระมหามุนบี รมศาสดา จะต้องนิพพานภายในอายุ ๘๐ ปี ตามพระบาลีทา่ นกล่าว

85


ว่า เหตุของการฆ่ารากษสตนนัน้ จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระ ภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องนิพพานในอายุยงั สัน้ นัน่ เอง นอกจากบุพกรรมกรณีการฆ่ายักษ์รากษสแล้วนัน้ ยังมี วิบากกรรมของพระพุทธเจ้า ทีแ่ สดงให้เห็นกฎแห่งกรรมอย่าง แจ่มชัด ปรากฎในพระไตรปิฎกอีกหลายประการ ในครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงเผยพระประวัติกรรมและ ผลของกรรมของพระองค์กบั ภิกษุสงฆ์หมูใ่ หญ่ ขณะประทับ เหนือพระศิลาอันน่ารืน่ รมย์ใกล้สระอโนดาด เนือ้ ความโดย สังเขป ดังต่อไปนี้ - ทรงกล่าวว่าครัง้ หนึง่ เห็นภิกษุผอู้ ยูป่ า่ รูปหนึง่ จึงได้ถวาย ผ้าท่อนเก่า โดยตัง้ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครัง้ แรก ผล แห่งกรรมอันเนือ่ งด้วยผ้าท่อนเก่านัน้ ได้ส�ำ เร็จในความเป็น พระพุทธเจ้า - ครัง้ หนึง่ เคยเป็นนายโคบาล ต้อนแม่โคไปสูท่ ห่ี ากิน เห็น แม่โคดืม่ น้�ำ ขุน่ จึงห้ามไว้ ด้วยผลแห่งกรรมนัน้ ในภพสุดท้าย นี้ พระองค์กระหายน้�ำ จึงไม่ได้ดม่ื ตามต้องการ เพราะเคยให้ พระอานนท์ไปตักน้�ำ มาถวาย พระอานนท์ไปแล้วไม่ตกั มา บอกว่าน้�ำ ขุน่ ต้องตรัสย้�ำ ให้ไปตักใหม่เป็นครัง้ ทีส่ อง จึง ได้น�ำ้ ใสกลับมาเพราะน้�ำ ขุน่ นัน้ กลับใส - ชาติหนึง่ เคยเป็นนักเลงชือ่ ปุนาลี ได้กล่าวใส่ความ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าสุรภิผมู้ ไิ ด้ประทุษร้าย ด้ ว ยผลแห่ ง กรรมนั้ น ต้ อ งไปท่ อ งนรกสิ้ น กาล นาน เสวยทุกขเวทนาสิน้ พันปี ด้วยกรรม ที่ เ หลื อ ในภพสุ ด ท้ า ยก็ ถู ก ใส่ ความ เพราะเหตุแห่ง นางสุนทริกา ซึง่ เป็นนักบวช

86

หญิงถูกพวกเดียรถียใ์ ช้ให้ท�ำ เป็นไปค้างคืนกับพระสมณโคดม ให้ ใครต่อใครหลงผิดทัง้ ทีน่ างค้างทีอ่ น่ื แต่รงุ่ เช้าก็ท�ำ ท่าโผเผมาจาก เชตวนาราม อีกสองสามวันทีม่ คี นโจษจันกัน พวกเดียรถียก์ จ็ า้ ง นักเลงไปฆ่านาง ป้ายความผิดว่านางถูกฆ่าปิดปาก คนสงสัยว่า อาจจะจริง ร้อนถึงพระราชาส่งราชบุรษุ ไปสืบดูตามร้านสุรา ก็จบั นักเลงทีฆ่ า่ กับเดียรถียท์ จ่ี า้ งฆ่ามาลงโทษทัง้ หมด - อีกชาติหนึง่ เป็นพราหมณ์ผมู้ คี วามรู้ มีผเู้ คารพสักการะ สอน มนต์แก่มานพ ๕๐๐ ได้ใส่ความฤษีผมู้ อี ภิญญามีฤทธิม์ าก หาว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มานพทั้งหลายก็พลอยชื่นชม เมื่อไป ภิกขาจารในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่าฤษีน้เี ป็นผู้บริโภคกาม ผลของกรรมนั้นภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ทั้งหมดก็พลอยถูกใส่ความ ด้วย เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกาทีถกู นักเลงฆ่าป้ายความผิดให้ พระพุทธองค์ ภิกษุทง้ั หลายทีอ่ ยูใ่ นเชตวนาราม พลอยถูกหาว่า ร่วมกันฆ่าปิดปากนางสุนทริกา และถูกด่าว่า กระทัง่ พระราชาจับ นักเลงและเดียรถียท์ ร่ี ว่ มกันฆ่านางจึงสงบ - อีกชาติหนึง่ ไปกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภู พุทธเจ้า มีนามว่านันทะ จึงต้องท่องไปในนรกหลายหมืน่ ปี เมือ่ เกิดเป็นมนุษย์อีกก็ถูกใส่ความมาก และด้วยกรรมที่เหลือชาติ สุดท้ายนีจ้ งึ ถูกนางจิณจมาณวิกา ใส่ความว่าพระองค์ท�ำ ให้ นางตัง้ ครรภ์ - ชาติหนึง่ เคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่ง ทรัพย์ ผลักลงในซอกเขาเอาหินทุม่ ด้วยผลแห่งกรรม นัน้ จึงถูกพระเทวทัตเอาหินทุม่ ทีเ่ ขาคิชกูฏ จนสะเก็ด หินกระเด็นถูกหัวแม่เท้า ห้อพระโลหิตในชาติ สุดท้าย - อีกชาติหนึง่ เป็นเด็กเล่นอยูใ่ นทาง ใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเผาสิ่งต่างๆขวางทาง ไว้ ผลกรรมนัน้ ใน


ภพสุดท้ายจึงถูกพระเทวทัตส่งคนตามล่า - ชาติหนึง่ เป็นนายควาญช้าง ไสช้างไล่กวดพระปัจเจกพุทเจ้า ผู้เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ผลแห่งกรรมนั้น ชาติสุดท้ายถูกช้าง นาฬาคิรดี รุ า้ ยเมามัน วิง่ เข้ามาเพือ่ ทำ�ร้ายในนครอันประเสริฐมี ภูเขาเป็นคอกคือกรุงราชคฤห์ ซึง่ มีภเู ขาห้าลูกแวดล้อม - อีกชาติหนึง่ เป็นพระราชา เป็นหัวหน้าทหารเดินเท้า ฆ่าบุรษุ หลายคนด้วยหอก ผลแห่งกรรมนัน้ ต้องหมกไหม้อย่างหนักในนรก ด้วยผลทีเ่ หลือแห่งกรรมนัน้ ในชาติสดุ ท้าย สะเก็ดแผลทีเ่ ท้ากลับ กำ�เริบ กรรมยังไม่หมด - ชาติหนึง่ เคยเป็นเด็กชาวประมง ในหมูบ่ า้ นชาวประมง เห็น ชาวประมงฆ่าปลาก็มคี วามชืน่ ชม ด้วยผลของกรรมนัน้ จึงเกิดเจ็บ ทีศ่ รี ษะ ในขณะทีว่ ทิ ฑ ู ภะฆ่าพวกศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ - อีกชาติหนึ่งเคยเป็นบริภาษพระสาวกในพระธรรมวินัยของ พระผุสสพุทธเจ้า ว่าท่านจงเคีย้ ว จงกินข้าวเหนียวเถิด อย่ากินข้าว สาลีเลย ผลแห่งกรรมนัน้ ในชาติสดุ ท้ายนี้ ต้องบริโภคข้าวเหนียว อยูส่ ามเดือน เมือ่ พราหมณ์นมิ นต์ไปอยูเ่ มืองเนรัญชา แล้วลืม ถวายอาหาร ได้อาศัยพ่อค้ามาถวายข้าวเหนียวแดงทีม่ ไี ว้ให้มา้ กิน - ชาติหนึ่งสมัยที่ไม่มีพระพุทธเจ้า เคยทำ�ร้ายบุตรนักมวย ปล้�ำ ด้วยผลแห่งกรรมนัน้ จึงเจ็บทีห่ ลังเรือ่ ย - ชาติหนึง่ เคยเป็นหมอ แกล้งให้ยาถ่ายแก่บตุ รเศรษฐี เป็นยา ถ่ายอย่างแรง ถึงแก่ชวี ติ ผลแห่งกรรมนัน้ ในชาติสดุ ท้ายนี้ จึงเป็น โรคปักขันทิกะลงพระโลหิต - อีกชาติหนึ่งได้ชื่อว่าโชติปาละ เคยกล่าวกับพระสุคต

พระนามกัสสปะว่า การตรัสรูเ้ ป็นของได้โดยยาก ท่าน จะได้จากควงไม้โพธิท์ ไ่ี หนกัน ด้วยผลแห่งกรรมนัน้ ใน ชาติสดุ ท้ายนีต้ อ้ งบำ�เพ็ญทุกรกริยาเป็นอันมาก สิน้ เวลา ถึงหกปี ต่อจากนัน้ จึงได้บรรลุการตรัสรู้ “เรามิได้บรรลุ การตรัสรูโ้ ดยทางนัน้ ได้แสวงหาโดยทางทีผ่ ดิ เพราะถูก กรรมเก่าทวงเอา” พระองค์ทรงหมายถึง มิได้ปฏิบตั ธิ รรม บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในทันทีเลย ต้องไป หลงผิดปฏิบตั ทิ างอืน่ อยูห่ กปี อดอาหารจนแทบสิน้ ชีวติ เมื่อบำ�เพ็ญทุกกรกริยา เปลี่ยนมาฉันอาหารอีก ทำ�ให้ ปัญจวัคคียโ์ กรธเลิกนับถือหาว่าไม่มน่ั คง แต่ภายหลัง เมือ่ พระองค์ทรงปฏิบตั ถิ กู ทางจนบรรลุธรรม ตรัสรูเ้ ป็น พระพุทธเจ้าแล้วจึงไปโปรดปัญจวัคคียใ์ ห้หายโกรธ หาย เข้าใจผิด พระพุทธองค์ทรงสรุปการแสดงกรรมอันเกิดจาก อดีตชาติทง้ั หลายดังกล่าว “เราสิน้ บุญและบาปแล้ว เว้น แล้วจากความเดือดร้อนทัง้ ปวง ไม่มคี วามโศก ไม่มคี วาม คับแค้นปราศจากอาสวะ จักปรินพิ พาน” พวกเราชาว วปก. ทุกคน ...“กฎแห่งกรรม” เป็น สัจธรรมที่จริงแท้แน่นอน และพร้อมท้าพิสูจน์กับ ทุกชีวติ …เราทำ�กรรมอันใดไว้ เราล้วนต้องรับผลของ กรรมนัน้ เสมอ แม้พระพุทธองค์กท็ รงอยูภ่ ายใต้กฎ แห่งธรรมชาติน้ี

87


ปุจฉา – ทำ�ไมพระพุทธเจ้าจึงทรงเสด็จปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา? วิสัชนา – เพราะเป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองยิ่งและทรงมองการณ์ไกลในการป้องกัน ปัญหาต่างๆ หลังการปรินิพพาน จากพระไตรปิฎก พระอานนท์กเ็ คยสงสัยเรือ่ งนีเ้ หมือน กัน จึงกราบทูลว่า “อย่าปรินพิ พานในเมืองกุสนิ าราซึง่ เป็น เมืองเล็ก เมืองดอยเป็นกิง่ เมือง ขอให้เสด็จไปปรินพิ พานใน เมืองใหญ่ๆ เช่น จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมภี พาราณสี” พระองค์ทรงตรัสตอบว่า “สาเหตุทท่ี รงเลือกเมือง กุสินารา เพราะเมืองกุสินาราเคยเป็นราชธานีนามว่า “กุสาวดี” ซึง่ พระเจ้ามหาทัสสนะจักรพรรดิทรงปกครอง เคย เจริญรุง่ เรืองยิง่ มาแล้ว” พระองค์ได้ทรงขยายความเพิม่ เติม ให้พระอานนท์ได้เข้าใจถึงสาเหตุท่ีทรงเลือกเมืองกุสินารา โดยพรรณนาถึงความมัง่ คัง่ สมบูรณ์ของเมืองกุสาวดีและทรง พรรณนาถึงรัตนะ ๗ ประการ ทีเ่ กิดขึน้ แก่พระเจ้ามหาสุทสั สนะจักรพรรดิ คือ ๑) เพราะเมืองนีม้ ี จักรแก้ว ซึง่ หมุนไปในทิศต่างๆ ได้ จึง นำ�ชัยชนะมาให้ ๒) เพราะเมืองนีม้ ี ช้างแก้ว เป็นช้างเผือกชือ่ อุโบสถ ๓) เพราะเมืองนีม้ ี ม้าแก้ว สีขาวล้วน ชือ่ วลากห

88

๔) เพราะเมืองนีม้ ี แก้วมณี เป็นแก้วไพฑูรย์ ๕) เพราะเมืองนีม้ ี นางแก้ว รูปร่างงดงาม มีสมั ผัสนิม่ นวล ๖) เพราะเมืองนีม้ ี ขุนคลังแก้ว (คหปติรตนะ) ช่วยจัดการ ทรัพย์สนิ อย่างดีเลิศ ๗) เพราะเมืองนีม้ ี ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตนะ) บัณฑิตผูส้ ง่ั สอนแนะนำ� นอกจากนี้ พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิทรงมีความ สำ�เร็จ (ฤทธิ)์ ๔ ประการ คือ ๑.รูปงาม ๒.อายุยนื ๓.มีโรคน้อย และ ๔.เป็นทีร่ กั ของพราหมณ์และคฤหสบดี (ประชาชน) นัน่ จึง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า สถานทีเ่ มืองกุสนิ ารานี้ เหมาะสมด้วย ประการทัง้ ปวงแห่งการเป็นสถานทีป่ รินพิ พาน การเลือกสถาน ทีป่ รินพิ พานนี้ ยังมีเหตุผลของครูบาอาจารย์รนุ่ หลังๆ หลาย ท่านได้ให้ความเห็นกรณีนี้ไว้อย่างน่าศึกษาเรียนรู้ อาทิเช่น พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญา นันทภิกขุ) ได้กล่าวไว้ ว่า “...ท่าน (พระพุทธเจ้า) บอกล่วงหน้า ๓ เดือน ต่อจาก นี้ตถาคตจะปรินพิ พาน บอกไว้เลย แล้วก็จะไปปรินพิ พานที่


เมืองกุสนิ ารา พระอานนท์กค็ า้ นว่า โอย....เมืองใหญ่ๆ เยอะแยะ เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมือง ใหญ่ๆ พระองค์กเ็ ป็นพระบรมครูของโลก ทำ�ไมจะไปตาย เมืองเล็กๆ ทำ�ไมไม่ไปตายเมืองใหญ่ พระองค์ก็บอกว่า กุสินาราไม่ใช่เมืองเล็ก ครั้งสมัยโน้นเคยเป็นเมืองใหญ่ นี่ พูดให้เป็นในเรื่องเก่าว่าเป็นเมืองใหญ่ ความจริงนั้น พระ ผูม้ พี ระภาคท่านทรงเห็นการณ์ไกล “ตัดปัญหาไม่ให้มนั ยุง่ ” คือถ้าไปตายเมืองใหญ่ กษัตริยผ์ ใู้ หญ่มอี �ำ นาจก็ไม่แบ่ง อะไรให้ใคร เช่น ใครต้องการอะไรก็ไม่ให้ ฉันใหญ่ ฉันไม่ ยอม มันก็ยงุ่ ...แต่ไปตายเมืองเล็ก มันก็ไม่ล�ำ บาก เขามา พร้อมกัน กษัตริยเ์ มืองเล็กก็ไม่วา่ อะไร ต้องจัดการไป เช่น พระธาตุนเ่ี ป็นตัวอย่าง...กระดูกนะ คนนัน้ ก็ตอ้ งการ คนนี้ ก็ตอ้ งการกระดูกของพระพุทธเจ้า ถ้าไปเมืองใหญ่เขาก็ไม่ ให้ เดีย๋ วเดียวรบกัน เป็นปัญหาแก่สงั คม เลยไปนิพพาน เมืองเล็ก เมืองเล็กนีไ่ ม่มกี �ำ ลัง เมือ่ พวกมาขอก็ตอ้ งให้ไปๆ แล้วให้อย่างถูกต้อง ชัน้ แรกไม่รจู้ ะให้กนั อย่างไร ต่างคนต่าง มาขอกันมาก ลำ�บาก ก็เลย เอ้า รอให้พร้อมกันเสียก่อน พอพร้อมกันแล้วก็ให้โทณพราหมณ์จัดการแบ่งให้ไปตาม สมควร เรือ่ งมันก็ไม่ยงุ่ ” (เนือ้ หาช่วงนีต้ อ้ งอ่านแล้วระลึกถึง ลีลาการเทศน์ของหลวงพ่อปัญญาฯ แห่งวัดชลประทานฯ)

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจติ โฺ ต) ได้กล่าวไว้ ด้วยว่า “เนือ่ งจากพระพุทธเจ้าไม่ใช่บคุ คลของประเทศใด ประเทศหนึง่ แต่เป็นบุคคลของโลกในสมัยนัน้ ซึง่ มองชมพู ทวีปเป็นโลกนี่ เมือ่ เป็นบุคคลของโลก การเสด็จไปดับขันธ์ ปรินพิ พานในเมืองใหญ่ ก็จะทำ�ให้เมืองใหญ่ยดึ เป็นเจ้าของ แล้วอาจจะสถาปนาตัวเองในทางการเมืองเป็นพีเ่ บิม้ โดย อ้างพระพุทธเจ้า ก่อให้เกิดความขัดแย้ง” ฯลฯ และจาก การทีพ่ วกเราชาว วปก. ๑๘ ได้สดับฟังเรือ่ งราวก่อน ปรินพิ พาน ณ บริเวณ “มกุฎพันธนเจดีย”์ (สถานทีถ่ วายพระ เพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า) ทีต่ ง้ั อยูห่ า่ งจาก “มหา ปรินพิ พานสถูป” ไปทางด้านทิศตะวันออก ๑ กิโลเมตร และ ก็คงจำ�กันได้ดว้ ยว่า ในวันนัน้ เราสวดมนต์กนั อย่าง “รวดเร็ว เกินงาม” จนท่านพ่อสมเด็จธีรฯ์ ทรงกล่าวเตือนสติหลังการ สวดมนต์ และปฏิบตั ภิ าวนากันแล้วว่า “พวกนี.้ ..เลอะเทอะ” ซึง่ ทำ�ให้พวกเรารูส้ กึ ตัว พร้อมตัง้ ใจสวดมนต์อย่างพร้อม เพรียง และมีจงั หวะทีพ่ อดีกนั ในโอกาสต่อมา...พระเมตตา ของพระอุ ปัช ฌาย์ ข องพวกเราทรงมากมายเหลื อ ที่จ ะ พรรณนากันได้เสียจริงเชียว

89


ปุจฉา – ทำ�ไมพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปจั จุบนั ต้องสิน้ สุดภายใน ๕,๐๐๐ ปี? วิสชั นา – ไม่มสี ง่ิ ใดในโลกทีห่ ลีกพ้น “กฎไตรลักษณ์” การเผยแพร่และดำ�รงอยูข่ องพุทธศาสนาก็เช่นกัน พวกเราคงจำ � เรื่อ งราวการขอบวชของพระนางมหา ประชาบดีโคตรมีกันได้ว่า พระน้านางทรงขอบวชกับ พระพุทธเจ้า แต่พระองค์กท็ รงปฏิเสธซ้�ำ แล้วซ้�ำ อีก จนพระ อานนท์ได้ตง้ั คำ�ถามว่า “พระธรรมของพระองค์นน้ั สามารถ บรรลุได้ทกุ เพศวัยใช่หรือไม่?” ซึง่ พระองค์กท็ รงตอบว่า “ใช่” ดังนัน้ พระอานนท์จงึ ทรงทูลขอให้พระน้านางบวชเป็นภิกษุณี ในโอกาสครานัน้ ได้ส�ำ เร็จ ซึง่ หลังจากนัน้ พระผูม้ พี ระภาคทรง ตรัสว่า “ดูกรอานนท์ หากมาตุคาม (สตรีเพศ) จักไม่ได้ออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินยั ทีต่ ถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ก็ ยังจะตัง้ อยูไ่ ด้นานสัทธรรมพึงดำ�รงอยูไ่ ด้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินยั ทีต่ ถาคตประกาศ แล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตง้ั อยูน่ าน ทัง้ สัทธรรมก็จกั ดำ�รงอยูเ่ พียง ๕๐๐ ปี ดูกรอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึง่ ทีม่ หี ญิงมาก ชาย น้อย ตระกูลนัน้ ถูกพวกโจรกำ�จัดได้งา่ ย แม้ฉนั ใด มาตุคาม ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินยั ใด พรหมจรรย์ในธรรม วินยั นัน้ จักไม่ตง้ั อยูน่ าน ฉันนัน้ เหมือนกัน อนึง่ ขยอกลงในนา ข้าวทีส่ มบูรณ์ นาข้าวนัน้ ก็ยอ่ มไม่ตง้ั อยูน่ านแม้ฉนั ใด เพลีย้

90

ลงในไร่ออ้ ยทีส่ มบูรณ์ ไร่ออ้ ยนัน้ ก็ยอ่ มไม่ตง้ั อยูน่ าน แม้ฉนั ใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินยั ใด พรหมจรรย์ ในธรรมวินยั นัน้ ย่อมไม่ตง้ั อยูน่ าน ฉันนัน้ เหมือนกัน อนึง่ บุรษุ กัน้ คันสระใหญ่ไว้กอ่ นเพือ่ ไม่ให้น�ำ้ ไหลออก แม้ฉนั ใด เรา บัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้ภกิ ษุณกี า้ วล่วงตลอดชีวติ เสียก่อน ฉันนัน้ เหมือนกันฯ” สำ�หรับสุภาพสตรีทม่ี โี อกาสอ่าน มาถึงตอนนี้ โปรดอย่าเพิง่ รูส้ กึ น้อยอกเสียใจประการใดกันเลย เพราะแม้มาตุคามจะเป็นเหตุปจั จัยให้พทุ ธศาสนามีระยะเวลา ทีส่ น้ั ลง แต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึง่ นัน้ เพศหญิงคือเป็นที่ ยิง่ ใหญ่ของโลกมากกว่าเพศชาย เพราะเป็นเพศ “แม่” และก็ สามารถบรรลุธรรมได้เฉกเช่นเดียวกัน เพียงแต่วา่ นัยแห่งสตรี เพศนัน้ มีความอ่อนโยนในจิตใจมากกว่า และน่าจะเป็นพืน้ ฐาน ให้พวกเหล่ามารทัง้ หลายเข้าจูโ่ จมด้วยกิเลสตัณหาได้มากกว่า บรรดาบุรษุ เพศเท่านัน้ เอง อย่างไรก็ตามอย่าเพิง่ งุนงงสงสัยว่า ทำ�ไมเป็น ๑,๐๐๐ กับ ๕๐๐ ปี ตัวเลขศูนย์หายไป ๑ ตัวหรือ เปล่า? เพราะมีอรรถกถา (บทเพิ่มเติมจากพระพุทธวจนะ) อธิบายเพิ่มเติมว่า พระองค์ทรงตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพ


ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา เท่านั้น โดยเมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ เริ่มจากพระสัทธรรมพึงดำ�รงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี และ เพิ่มเติมอีก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุง่ ถึงพระขีณาสพผูส้ กุ ขวิปสั สก (พระอรหันต์) และอีก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุง่ ถึงพระอนาคามี และอีก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุง่ ถึงพระสกทาคามี และอีก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุง่ ถึงพระโสดาบัน รวมเป็นปฏิเวธสัทธรรมจักดำ�รง อยูไ่ ด้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยตั ิ ธรรมก็ด�ำ รงอยูไ่ ด้ ๕,๐๐๐ ปีนน้ั เหมือนกัน. เพราะเมือ่ ปริยตั ธิ รรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มไี ม่ได้ แม้เมือ่ ปริยตั ธิ รรม ไม่มี ปฏิเวธธรรมก็ไม่มี ก็เมือ่ ปริยตั ธิ รรมแม้อนั ตรธานไป แล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จกั แปรเป็นอย่างอืน่ ไปแล โดยสรุปก็คอื อายุของพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้า องค์ปจั จุบนั จึงมีระยะเวลารวมทัง้ สิน้ ๕,๐๐๐ ปีนน่ั เอง และนี่ก็คือความเป็นไปตามธรรมชาติท่มี ิอาจหลีกหนีพ้น กันไปได้ของทุกชีวติ “เกิดขึน้ ตัง้ อยู่ ดับไป” ทัง้ สิน้ ทัง้ ปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระ ธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ทรงสดับว่า อีก ๓ เดือนข้างหน้าจะปรินพิ พาน จึงได้ทรงปลงอายุ สังขาร ขณะนัน้ พระองค์ได้ประทับจำ�พรรษา ณ เวฬุคาม

ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ๑ วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะทีน่ ายจุนทะทำ�ถวาย แต่ เกิดอาพาธลง ทำ�ให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า “บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี ๒ ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินพิ พาน” และมี พระดำ�รัสว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิ โต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” อันแปลว่า “ดูกร อานนท์ ธรรมและวินยั อันทีเ่ ราแสดงแล้ว บัญญัตแิ ล้วแก่เธอ ทัง้ หลาย ธรรมและวินยั นัน้ จักเป็นศาสดาของเธอทัง้ หลาย เมือ่ เราล่วงลับไปแล้ว” พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลัน้ มุง่ หน้าไปยัง เมืองกุสนิ ารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพือ่ เสด็จดับขันธปรินพิ พาน โดยก่อนทีจ่ ะเสด็จดับขันธปรินพิ พานนัน้ พระองค์ได้อปุ สมบท แก่พระสุภทั ทะปริพาชก ซึง่ ถือได้วา่ “พระสุภภัททะ” คือ สาวกองค์สดุ ท้ายทีพ ่ ระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลาง คณะสงฆ์ทง้ั ทีเ่ ป็นพระอรหันต์ และปุถชุ นจากแคว้นต่างๆ รวมทัง้ เทวดา ทีม่ ารวมตัวกันในวันนี้ ในครานัน้ พระองค์ทรงมีปจั ฉิมโอวาทว่า หนฺททานิ ภิกขฺ เว

91


92


อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปา เทถ แปลว่า “ดูกรภิกษุทง้ั หลาย เราขอเตือนเธอทัง้ หลาย สังขารทัง้ ปวงมีความเสือ่ มสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจง ทำ�ประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผูอ้ น่ื ให้สมบูรณ์ดว้ ย ความไม่ประมาทเถิด” จากนัน้ ได้เสด็จดับขันธ์ปรินพิ พาน ใต้ ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสิ นารา แคว้นมัลละ ในวันขึน้ ๑๕ ค่�ำ เดือน ๖ รวมพระชนม์ ๘๐ พรรษา และวันนัน้ ก็ถอื เป็นการเริม่ ต้นของพุทธศักราช หรือปี พ.ศ. ๑

ปุจฉา – เมือ่ ใกล้ถงึ พ.ศ. ๕๐๐๐ จะเกิดอะไรขึน้ กับ พุทธศาสนา? วิสชั นา – ๕ สิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับพุทธศาสนาจะค่อยๆ อันตรธาน (สูญหาย) ไปตามลำ�ดับ ในความเป็นจริงพระพุทธศาสนาก็คอ่ ยๆ เสือ่ มตัง้ แต่ สมัยพุทธกาลแล้ว เพียงแต่คอ่ ยๆ เสือ่ มไปทีละน้อยซึง่ สำ�หรับการอันตรธานในพระพุทธศาสนา ทีเ่ ป็นสิง่ ทีบ่ อก เหตุแห่งการสูญสิน้ ของศาสนา คือ “อันตรธาน ๕” ซึง่ ได้แก่ ๑) อธิคมอันตรธาน หมายถึง อันตรธานแห่งการบรรลุ มรรคผลนิพพาน หรือไม่มบี คุ คลใดสามารถบรรลุธรรมนัน่ เอง

๒) ปฏิปัตติอันตรธาน หมายถึง อันตรธานแห่งการ ปฏิบตั ิ หรือไม่มบี คุ คลใดสนใจเรือ่ งการปฏิบตั ใิ ห้เข้าถึงธรรม ๓) ปริยตั ติอนั ตรธาน หมายถึง อันตรธานแห่งปริยตั ิ หรือไม่มบี คุ คลใดสนใจเรือ่ งราวของพระธรรมคำ�สอนอีกต่อไป ๔) ลิงคอันตรธาน หมายถึง อันตรธานแห่งเพศ คือ เพศแห่งสงฆ์ หรือมีการเข้าใจผิดเรือ่ งการแต่งกายเป็นเพศ บรรพชิต ๕) ธาตุอนั ตรธาน หมายถึง อันตรธานแห่งธาตุ หรือ พระบรมสารีรกิ ธาตุในทุกหนแห่งจะมารวมตัวกันและสลาย หายไป โดยเริม่ ต้นที่ อธิคมอันตรธาน อันจะเห็นอันตรธาน แห่งการบรรลุธรรมนัน้ ก็คอ่ ยๆ เสือ่ มตัง้ แต่ยคุ พันปีแรก พอ พ้นปีแรก คือพ้นปีท่ี ๒ ภิกษุกไ็ ม่สามารถได้ถงึ คุณวิเศษ คือ ได้ปฏิสมั ภิทา ได้เพียงความเป็นพระอรหันต์ พอพ้นปีท่ี ๓ ก็บรรลุได้เพียงพระอนาคามี พ้นปีท่ี ๔ ก็ถงึ เพียงพระสก ทาคามี พ้นปีท่ี ๕ ก็ถงึ เพียงพระโสดาบันเท่านัน้ จะเห็นนะ ครับว่า พระศาสนาในเรือ่ งของการบรรลุกค็ อ่ ยๆเสือ่ มไปที ละน้อยจนในอนาคต พ้นพันปีท่ี ๕ ก็ไม่มผี ทู้ ส่ี ามารถบรรลุ เป็นพระอริยบุคคลได้อกี ต่อไป สำ�หรับ ปฏิปตั ติอนั ตรธาน หรือ อันตรธานแห่งการปฏิบตั ิ ก็คอ่ ยๆ เสือ่ มตัง้ แต่สมัย พุทธกาลเช่นกัน แต่ทลี ะน้อยๆ จนปัจจุบนั นีก้ เ็ สือ่ มมาก

93


อย่างเห็นได้ชดั มีการเข้าใจหนทางข้อปฏิบตั ทิ ผ่ี ดิ กันมากขึน้ นัน่ เอง และจนในทีส่ ดุ ก็ไม่สามารถทีจ่ ะถึงข้อปฏิบตั ไิ ด้ถกู ต้อง อีกเลย ก็เป็นอันตรธานในข้อปฏิบตั ิ ส่วน ปริยตั ติอนั ตรธาน หรืออันตรธานแห่งปริยตั ิ ก็ ค่อยๆ เสือ่ มไปตามลำ�ดับ เพราะสัตว์โลกไม่เข้าใจในพระธรรม ก็เข้าใจผิด และก็แสดงสิง่ ทีผ่ ดิ สิง่ ทีถ่ กู ก็คอ่ ยเลอะเลือนไปจน ไม่รวู้ า่ สิง่ ใดถูกสิง่ ใดผิดกันอีกต่อไป จนเมือ่ ถึงพันปีท่ี ๕ พระ ปริยตั ิ คือ คำ�สอนทีถ่ กู ต้องก็อนั ตรธานไปจากโลกในทีส่ ดุ มาถึงลิงคอันตรธาน หรือ อันตรธานแห่งเพศของสงฆ์ โดย เมือ่ มีความเข้าใจผิดมากขึน้ การแต่งกาย อันแสดงถึงความเป็น เพศพระภิกษุกค็ อ่ ยๆ เปลีย่ นไปยกตัวอย่างประมาณว่าแค่ผกู ผ้าสีจวี ร โพกศีรษะ หรือผูกแขน ก็ประกาศตนเองว่าเป็นพระ สงฆ์ รวมทัง้ การปฏิบตั ติ นก็ยอ่ หย่อน และละเลยพระวินยั จน ท้ายสุดสภาพเพศแห่งภิกษุกเ็ ปลีย่ นไป คือ ไม่แต่งกาย และ เลิกทีจ่ ะนับถือพระธรรม หรือแต่งกายเปลีย่ นเพศไป ไม่ใช่ภกิ ษุ ตามพระธรรมวินยั อีกต่อไปในอนาคต ซึง่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ว่า พระศาสนาจะดำ�รงได้ ๕ พันปี มุง่ หมายถึง ปริยตั ศิ าสนา

94

คือ คำ�สอนของพระพุทธเจ้า เพราะข้อความในพระไตรปิฎก แสดงว่า ปริยตั อิ นั ตรธาน คือ การอันตรธานในคำ�สอนของ พระพุทธเจ้า เป็นเหตุของอันตรธานทัง้ หมด ไม่วา่ อันตรธาน ในการบรรลุ เพราะถ้าไม่มคี �ำ สอนทีถ่ กู ต้อง ก็ไม่สามารถบรรลุ ได้ และเป็นเหตุแห่งอันตรธานในข้อปฏิบตั ิ ถ้าไม่มคี �ำ สอนที่ ถูกต้อง ก็ปฏิบตั ผิ ดิ ดังนัน้ ศาสนาพุทธ ก็คอื คำ�สอนขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเมือ่ ใดทีค่ �ำ สอนนัน้ หมด ไป คือ ไม่มใี ครรูแ้ ละเข้าใจ แม้คาถาเพียงสัน้ ๆ ๔ บาท ก็ไม่มี ใครในโลกมนุษย์รไู้ ด้อกี แม้จดจำ�ก็ไม่ได่ ้ จึงชือ่ ว่าพระศาสนา อันตรธานแล้ว อันตรธานไปจากโลกมนุษย์ และจากใจของ สัตว์โลกนัน่ เอง เมื่อ ถึ ง กาลอวสานของพระศาสนาของพระพุ ท ธเจ้ า พระองค์นน้ั หรือเมือ่ พระศาสนาเสือ่ มถึงทีส่ ดุ อันตรธานแห่ง พระปริยตั ิ คือ คำ�สอนแล้ว พระบรมสารีรกิ ธาตุของพระพุทธเจ้า จากทีต่ า่ งๆ ก็จะมารวมตัวกันเป็นรูปพระพุทธเจ้าอีกครัง้ เหล่า เทวดาจะมาชุมนุมรวมกัน แต่ไม่มมี นุษย์ และไม่มกี ารแสดง


ธรรม และไฟก็ไหม้พระบรมสารีรกธาตุจนหมดสิน้ (ธาตุอนั ตรธาน) หมายความว่าพระศาสนาอันตรธานสมบูรณ์ แล้ว ณ เวลานัน้ นัน่ เอง พีน่ อ้ งชาว วปก. ทุกท่าน...เหลือเวลาอีก ๒ พันกว่าปี หากท่านคิดว่ายังมีเวลาเหลือเฟือ แสดงว่า “ท่านกำ�ลัง ประมาทการมีชวี ติ อย่างยิง่ ” ทัง้ นีเ้ พราะการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละครัง้ นัน้ มีโอกาสน้อยนิดเหลือเกิน หาก เรามิมน่ั คงในการเอาใจใส่ประพฤติปฏิบตั ธิ รรม และใส่ใจใฝ่ในพระธรรมคำ�สอนอย่างดีพอ อย่าได้หวังถึงการเข้า ถึงธรรมแต่อย่างใดเลย และการจะได้เกิดมาทันในพุทธกาลนีอ้ กี ครัง้ นัน้ แทบจะมิมโี อกาสเลย...ชีวติ ในภพภูมิ มนุษย์ครัง้ นีข้ องเรา อาจเป็นชาติสดุ ท้ายสำ�หรับการมุง่ สูก่ ารพ้นทุกข์กไ็ ด้ ในทางกลับกัน หากเรามี “การบรรลุธรรมขัน้ ต้น” เป็นเป้าหมายการใช้ชวี ติ แล้วไซร้ โอกาสแห่งการกลับมา เป็นมนุษย์ เพือ่ ไปให้ถงึ ซึง่ แดนนิพพานจึงจะมีแก่เราทัง้ ปวง พระพุทธศาสนาในอนาคตที่ ๕ พันปี ว่าหมดสิน้ ก็คอื ไม่มใี ครจดจำ�และเข้าใจพระธรรมทีถ่ กู ต้องอีกเลย และ พระธาตุกอ็ นั ตรธาน เป็นอันหมดสิน้ ของพระศาสนา พระสมณโคดม พวกเราพุทธบริษทั ชาว วปก. จึงควรเห็น ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ในพระปริยตั ิ คือ คำ�สอนของพระพุทธเจ้าทีถ่ กู ต้องทีย่ งั เหลืออยู่ เพราะ เวลาของเราก็เหลือน้อย และเวลาของพระศาสนานีก้ เ็ หลือน้อย จึงควรเป็นผูล้ ะเอียดในการศึกษาพระธรรม โดย เริม่ จากความเข้าใจของตนเองเป็นสำ�คัญ เพราะศาสนาจะเสือ่ ม หรือจะเจริญ ก็ขน้ึ อยูก่ บั ใจของผูท้ เ่ี ข้าใจพระ ธรรม ใจของพุทธบริษทั เองทีม่ คี วามเข้าใจในพระธรรมผิด หรือถูก คือสิง่ ทีก่ �ำ หนด

95


96


...“แดนปรินิพพาน เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย ...แสดงธรรมให้ประจักษ์ด้วยพระองค์เอง” “หนทางผ่านถิน่ ฐานแสดงถึง พระทรงชัยทรงสอนธรรมให้ด ู พระอานนท์คงโศกเศร้ายิง่ นัก ทรงบอกกล่าวให้มน่ั ธรรมยืนนาน ได้กราบกรานสถานอย่างพร้อมเพรียง ก่อนเดินทางออกจากไวสาลี สันนิษฐานว่าทรงประทานบาตร ละสังขารนิพพานให้เห็นจริง ต้องเกิดขึน้ ตัง้ อยูด่ บั ไปสิน้ ทรงเลือกเมืองรุง่ เรืองในตำ�นาน เมือ่ เราถึงสาลวโนทยาน ร่วมห่มผ้าสวดมนต์ตง้ั ใจจริง เดินเวียนเทียน ๓ รอบองค์สถูป ทรงตรัสกล่าวปัจฉิมเทศนา สมเด็จพ่อฯ เมตตาพวกเรายิง่ ขอร่วมถ่ายรูปกันอย่างหมุนเวียน เมืองกุสนิ าราแม้ไกลห่าง สถานทีส่ �ำ คัญบอกให้เรา มกุฎพันธนเจดียท์ เ่ี ผาศพ ช่างเลอะเทอะเปรอะเปือ้ นเราล้วนจำ� ในมหาปรินพ ิ พานสถูป สวดมนต์กอ้ งผูค้ นต่างชืน่ ใจ ทีเ่ มืองนีต้ อ้ งแบ่งเราเป็นสอง อยูก่ สุ นิ าราได้เดินชม ได้ไปเยือนทีแ่ บ่งปันพระธาตุ พิพธิ ภัณฑ์รอ้ ยเรียงเรือ่ งราวมี ส่วนอีกทีมล่วงหน้าใกล้เนปาล เพราะหนทางไกลเมืองหลายกิโล แดนนิพพานนำ�ใจสะเทือนสั่น แดนประสูตติ รัสรูพ ้ ระทรงวาง แดนปฐมเทศนาธรรมจักร แดนนิพพานธรรมชัดกระแทกใจ ครบทัง้ ๔ สังเวชณียสถาน พุทธบุตรทัง้ หลายต่างสังวร

ให้ค�ำ นึงในสิง่ ได้เรียนรู้ แสนหดหูน่ กึ ถึงวันนิพพาน สูญเสียหลักแต่มน่ั ต้องสืบสาน ธ ทรงปลงสังขารปวาลเจดีย์ ร่วมเปล่งเสียงสวดมนต์เป็นสักขี ผ่านเจดียเ์ กสริยายิง่ ใหญ่จริง ก่อนนิราศสูเ่ มืองตัง้ ใจทิง้ มิมสี ง่ิ ใดอยูช่ ว่ั กาลนาน ต้องพังพินเสือ่ มไปทุกสังขาร ทรงเล็งการณ์มใิ ห้แก่งแย่งชิง ร่วมกราบกรานน้อมจิตอย่างแน่วนิง่ นัน่ คือสิง่ ผองเราน้อมบูชา จุดละรูปละขันธ์ทง้ั ปวงหนา เตือนไว้วา่ อย่าประมาทภพชาติเวียน ท่านนัง่ นิง่ แต่เราฉวัดเฉวียน ผลัดและเปลีย่ นท่านพ่อยิม้ ให้เรา เราเดินทางกันอย่างมิขลาดเขลา มิดเู บาต้องมัน่ ตามรอยธรรม สวดมนต์จบท่านพ่อฯ กล่าวเตือนย้�ำ สวดทุกคำ�ต้องทำ�อย่างตัง้ ใจ พระทุกรูปยามนัน้ ร่วมแก้ไข แก้ตวั ได้สมเด็จพ่อฯ ท่านกล่าวชม เพราะต้องจองทีพ ่ กั ให้เหมาะสม ถิน่ นีส้ มเป็นแดนสังเวชณีย์ มิเสียชาติได้ชมพระทรงศรี เราโชคดีได้เกิดใต้รม่ โพธิ์ น่าสงสารเดินทางอีกนานโข เช้าไก่โห่อกี ทีมรีบเดินทาง ผองเรานัน้ เห็นครบมิตดิ ค้าง ธรรมนำ�ทางผองชนให้พน้ ภัย หมุนนำ�หลักสัทธรรมกระจ่างใส พระทรงชัยทิง้ ร่างวางขันธ์นอน เหนือประมาณพุทธภูมทิ ส่ี ง่ั สอน มินง่ิ นอนมิประมาทมัน่ ในธรรม”

... กุสน ิ ารา แดนปรินพิ พาน “ละสังขาร ให้เห็นธรรมกระจ่างชัด”...ทรงเตือนว่า “อย่าประมาท” จงเร่งนำ�ตนให้พน ้ ภัยแห่งวัฏฏะเถิด

97


98


องค์ที่

๖ ปัจฉิมบท

หลักศาสนาพุทธสอนอะไร? หน้าที่หลักของชาวพุทธคืออะไร? การสวดมนต์ไหว้พระเพื่ออะไร? การเป็นกัลยาณมิตรที่ดีหมายถึง? ปุจฉา – ในฐานะชาว วปก. ๑๘ ทีบ่ วชเรียน ณ แดนพุทธภูม.ิ ..ควรตอบคำ�ถามกับ ผูค้ นในเรือ่ งพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง? วิสชั นา – เราควรตอบคำ�ถามทีเ่ ป็น “หัวใจของพุทธศาสนา” และ “หลักปฏิบตั ิ พืน้ ฐานทีช่ าวพุทธพึงรูแ้ ละเข้าใจ” ได้ดี การตัง้ ใจบวช และเรียนรูพ ้ ทุ ธประวัติ ณ แดนพุทธภูมริ ว่ มกันนัน้ เป็นประสบการณ์ทส่ี ง่ เสริมให้เราชาว วปก. ทุกคน ได้ “เข้าใจ และเข้าถึง” ในทีม่ า และความเป็นไปในพุทธประวัติ อย่างลึกซึง้ ไม่วา่ จะเป็นการประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินพ ิ พาน...ผ่านเรือ่ งราวในสถานที่ จริง ซึง่ มีทง้ั “พลังแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ” แผ่ไพศาลในทุกดินแดนทีเ่ ราไปเยีย่ มเยือน โดยพวกเรามีสมเด็จธีรฯ์ ทรงเป็นพ่อทางธรรมทีป่ ระทานความเมตตา นำ�พวกเราให้เป็น “พระ ทีแ่ ท้” ด้วยการฝึกฝนตนเองตัง้ แต่กอ่ นบวช พร้อมเป็นอุปชั ฌาย์ให้กบั เราทุกชีวติ รวมทัง้ ตลอด ระยะเวลาการบวชทีป่ ระเทศอินเดีย สมเด็จพ่อทรงนำ�สวดมนต์ และนำ�ปฏิบตั ใิ ห้กบั พวกเรา อย่างมุง่ มัน่ ทุม่ เท

99


ดังนัน้ หากมีชาวพุทธหรือใครก็ตามทีม่ าตัง้ คำ�ถามเกีย่ วกับ พุทธศาสนากับพวกเราชาว วปก. ทุกคน เราก็ควรทีจ่ ะสามารถ ให้ขอ้ มูลอันเป็นประโยชน์ อย่างถูกตรง อย่างเชือ่ มัน่ มิให้เสียทีท่ี ได้ผา่ นการบวชเรียนอย่างดีงามมาทัว่ ทุกคน - พุทธศาสนาสอนอะไร ? - หน้าทีห่ ลักของชาวพุทธคืออะไร ? - การสวดมนต์ไหว้พระเพือ่ ประโยชน์อะไร ? ฯลฯ บทส่งท้ายในหนังสือรุน่ ของชาว วปก. ๑๘ ขอฝากข้อมูล หลักในการตอบคำ�ถามเหล่านี้ เพือ่ ให้พวกเราทุกคนได้ “ระลึก คุณ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทัง้ สมเด็จพระธีรญาณมุนี และคณะสงฆ์ (โดยเฉพาะพระธรรมวิทยากร) พร้อมฆราวาส ทีด่ แู ลพวกเราอย่างดีงามยิง่ ตลอดเวลาทีเ่ ราใช้ชวี ติ ในเพศ บรรพชิตทีแ่ ดนพุทธภูมิ

ปุจฉา – สรุปว่าพุทธศาสนาสอนอะไร? วิสชั นา – สอนอริยสัจ ๔...พร้อมหนทางแห่งการ ดับทุกข์ เพือ่ พ้นทุกข์จากวัฏฏะสังสาร

ในฐานะชาวพุทธ หากมีคนจากศาสนาอืน่ หรือคนที่ มีบตั รประชาชนระบุวา่ นับถือศาสนาพุทธ มาถามคำ�ถาม ว่า “พุทธศาสนาสอนอะไร? เราจะมีค�ำ ตอบทีส่ น้ั กระชับทีจ่ ะ ทำ�ให้ผ้คู นเหล่านั้นมองเห็นภาพคำ�สอนอย่างถูกต้องชัดเจน

100

กันอย่างไร ถ้าเป็นคำ�ตอบ ๑ นาที ก็คงจะตอบกันได้อย่าง คล่องแคล่วว่า ศาสนาพุทธสอนให้เรา... “ละชัว่ ” ทัง้ ปวง “ทำ�ดี” ให้ถงึ พร้อม “ทำ�จิต” ให้ผอ่ งใส (ขาวรอบ) แต่พวกเราชาว วปก. ควรจะต้องสามารถเพิม่ เติมคำ�ตอบ ทีท่ �ำ ให้ผถู้ าม “ฉุกคิด” และ “เกิดศรัทธาอย่างมีปญ ั ญา” ด้วย คำ�ตอบอันเป็น “แก่นแกนแห่งพุทธศาสนา” ซึง่ ก็หมายถึง “การ เข้าใช้ชวี ติ และหนทางดับทุกข์ และพ้นทุกข์สง้ิ เชิง” นัน่ เอง หากเราถามผูค้ นว่า “กำ�ลังใช้ชวี ติ กันอยูใ่ ช่หรือไม่?” เราก็จะ ได้รบั คำ�ตอบทีว่ า่ “ใช่” เกือบทุกคน และเมือ่ เราถามคำ� ตอบต่อว่า “ถ้าคุณกำ�ลังใช้ชวี ติ กันอยูแ่ ล้ว “ชีวติ ” คืออะไร?” เราก็จะเจออาการนิง่ ชะงัก และครุน่ คิดก่อนทีจ่ ะตอบคำ�ถาม ในแนวทางที.่ ..ยังไม่เข้าใจว่า “ชีวติ คืออะไร?” นีแ่ หล่ะคือสิง่ ที่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และมีค�ำ ตอบทีแ่ ท้ให้กบั ทุกชีวติ ชีวติ มิใช่...การกินอยูห่ ลับนอน...นัน่ คือรูปแบบการใช้ชวี ติ ชีวติ มิใช่...เกิดมาเพือ่ ชดใช้กรรม…นัน่ คือคำ�แก้ตวั ของ ผูค้ นเวลาเกิดความทุกข์ในการใช้ชวี ติ ชี วิต มิ ใช่ . ..การสนุ ก ไปวั น วั น ...นั่น คื อ คำ � ตอบของผู้ “ประมาทชีวติ ” สูงสุด ฯลฯ แล้วชีวติ คืออะไร? พระพุทธเจ้าทรงเกิดมาเป็นเจ้าชายที่พรั่งพร้อมในสิ่งที่


พวกเราทุกคนเข้าใจกันว่ามันคือ “เป้าหมายการมีชวี ติ ” นัน่ ก็คอื “ความสุขสบาย” ในทุกๆ ด้าน ไม่ ว่าจะเป็นรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ บริวาร ฯลฯ ทีเ่ จ้าชายสิทธัตถะทรงได้รบั อย่างครบถ้วนทุกสิง่ แล้ว เหตุใดเมือ่ พระองค์ทท่ี รงมีความพร้อมเช่นนัน้ แล้ว จึง “ออกบวช” นัน่ ก็เพราะพระองค์ทรงบำ�เพ็ญ เพียรมาอย่างยาวนานเพือ่ ทีจ่ ะเกิดมาเพือ่ หาคำ�ตอบแห่งชีวติ ทีแ่ ท้จริง นัน่ ก็คอื “การพ้นทุกข์สน้ิ เชิง” นัน่ เอง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และมีค�ำ ตอบทีถ่ กู ตรงตามธรรมชาติวา่ ชีวติ ก็คอื “ขันธ์ ๕” ทีป่ ระกอบ กันขึน้ มาด้วย “เหตุปจั จัย” และขันธ์ ๕ นีเ่ องทีเ่ ป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทง้ั ปวง หรือทุกข์อนั เป็น อริยสัจประการแรก พระพุทธเจ้าทรงประกาศ “อริยสัจ ๔” ทีเ่ รารูจ้ กั กันดี คือ “ทุกข์ สมุทยั นิโรธ และมรรค” ซึง่ อริยสัจ ๔ นี้ หากกล่าวโดยสรุปก็คอื “การเข้าใจทุกข์ (ของชีวติ ) และวิธพี น้ ทุกข์” อัน เป็นสิง่ ที่ “ทุกชีวติ บนโลก” ควรตระหนัก เรียนรู้ และทำ�ความเข้าใจให้ถอ่ งแท้ เพือ่ ให้สามารถ “นำ� ตนพ้นภัย” ในโอกาสทีไ่ ด้เกิดมาเป็นมนุษย์ในภพชาติน้ี นอกจากนี้แล้ว พวกเราชาว วปก. ควรที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งตาม ลำ�ดับ นอกจากเรือ่ งของ “อริยสัจ ๔ และขันธ์ ๕” แล้วนัน้ ก็คอื ความหมายของ “กฎไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท และพระสูตร ๓ พระสูตร” (ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร และอาทิต ตปริยายสูตร อาทิต ) อันเป็นการสรุปอธิบายการบรรลุธรรม การประกาศศาสนา เนือ้ หาแห่งกฎ ไตรลักษณ์ ฯลฯ ทีจ่ ะทำ�ให้เราสามารถเตรียมความพร้อมในการ “เพิม่ พูนปัญญาเพือ่ การดับทุกข์” (สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา) อย่างถูกทางกันต่อไป สุดท้ายนี้ การเข้าใจว่าพุทธศาสนาสอนอะไร จะไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อชีวติ อย่างแท้จริงได้ เลย หากเราขาดการ “ปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐาน” ซึง่ เป็นการเพิม่ พูมปัญญาในระดับ “ภาวนามย ปัญญา” อันเป็นการยกระดับจิตสูก่ ารพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

ปุจฉา –หน้าทีห่ ลักของชาวพุทธคืออะไร? วิสชั นา – เร่งรูอ้ ริยสัจ และมุง่ สูก่ ารพ้นทุกข์ดว้ ยมรรค ๘...ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะการรูอ้ ริยสัจนัน้ พุทธวจนกล่าวไว้วา่ “รีบด่วนกว่าการดับไฟทีก่ �ำ ลังไหม้อยูบ่ นศีรษะ” เนือ้ หาโดยย่อจากพุทธวจน มีดงั นี้ “ภิกษุทง้ั หลาย...เมือ่ ไฟลุกโพลงๆ อยูท่ เ่ี สือ้ ผ้าก็ดี ทีศ่ รี ษะก็ดี บุคคลนัน้ ควรจะทำ�อย่างไร?” “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ เมือ่ ไฟลุกโพลงๆ อยูท่ เ่ี สือ้ ผ้าก็ดี ทีศ่ รี ษะก็ด,ี เพือ่ จะดับเสียซึง่ ไฟทีเ่ สือ้ ผ้าก็ดี ทีศ่ รี ษะก็ดี สิง่ ทีบ่ คุ คลนัน้ พึงกระทำ�โดยยิง่ ก็คอื ฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม) อุส สาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า (เพือ่ จะดับไฟนัน้ เสีย)” ภิกษุทง้ั หลาย (แม้กระนัน้ ก็ด)ี วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กบั เสือ้ ผ้าก็ดศี รี ษะก็ดที ไ่ี ฟกำ�ลัง ลุกโพลงอยู่ แต่จะรูส้ กึ ว่า สิง่ ทีค่ วรกระทำ�โดยยิง่ ก็คอื ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎ อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ เพือ่ รูเ้ ฉพาะตามเป็นจริง ซึง่ อริยสัจทัง้ ๔ ทีต่ นยังไม่รู้ เฉพาะอริยสัจ ๔ อย่างไร เล่า? ๔ อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึน้ แห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ อริยสัจคือทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุทง้ั หลาย เพราะเหตุนน้ั ในเรือ่ งนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครือ่ งกระทำ�ให้รวู้ า่ “ทุกข์เป็นอย่างน เหตุให้เกิดขึน้ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างน ทาง ดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี”้ ดังนี้ - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗. ความเข้าใจอย่างรูแ้ จ้งแทงตลอดใน “อริยสัจ ๔” พระพุทธเจ้าอุปมาขนาดว่าแม้ไฟไหม้ผมบน

101


ศีรษะของเรา พระพุทธเจ้าบอกยังไม่ตอ้ งดับ มารูอ้ ริยสัจ ๔ ก่อน เพราะตายแล้วจะไม่ไปนรก หรือทุคติภมู ิ เพราะอะไร? พระพุทธเจ้าบอกว่า เพราะการทีเ่ ธอตาย เพราะสิง่ ๆ นัน้ อาจจะพาเธอไปนรกเลยก็ได้ เพราะเธอทุกข์ ทรมาน และเธอไม่มวี ธิ ดี บั ความทุกข์ทรมานขณะนัน้ แต่ ถ้าเธอรูอ้ ริยสัจ ๔ ก่อน ทุกข์ทรมานขนาดไหน ก็สามารถ สำ�รวมจิตให้สงบได้ เอาตัวรอดได้แล้ว กายแตกทำ�ลายก็แตก ทำ�ลายไป แต่เราสามารถเข้ามรรคผลนิพานได้ หรือเราเข้าไป สูส่ มั ปรายภพ ภพภูมทิ ด่ี ไี ด้ ไปสูส่ ขุ ติภพได้ ในช่วงเวลาแห่งการใกล้ตาย เราทุกคนต้องเผชิญกับ “ศึกชิงภพ” หรือ “การรักษาจิตสุดท้ายของชีวติ นี”้ ความ สำ�คัญคือ เราจะต้องรอดพ้นจาก อบาย ทุคติ บาตรนรกให้ ได้ เพราะว่าถ้าเราพลาดในจิตสุดท้าย และหล่นไปสูน่ รก ก็มี แนวโน้มทีจ่ ะอยูย่ าวเลย โอกาสทีจ่ ะขึน้ มาเป็นมนุษย์นย่ี าก เหลือประมาณ พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้วา่ ท่านไม่เห็นการ จองจำ�อืน่ ใดทีท่ ารุณ เจ็บปวด โหดร้ายเท่ายิง่ กว่าการถูก จองจำ�ในนรกกำ�เนิด ดิรจั ฉาน เปรตวิสยั เพราะฉะนัน้ กับแค่ ไฟไหม้ผมบนศีรษะเท่านัน้ จะมาเทียบกับอะไรกับการต้อง เร่งรูอ้ ริยสัจ ๔ ก่อน เพราะมันยังมีอะไรทีร่ อ้ นกว่านัน้ ไฟใน นรกร้อนกว่า เดีย๋ วจะร่วงลงไป แล้วจ เสียใจ เพราะฉะนัน้ “อริยสัจ ๔ เป็นสิง่ ทีม่ นุษย์ตอ้ งรูเ้ ร่งด่วนอันดับหนึง่ ” นอกเหนือจากการมุง่ มัน่ เข้าใจอริยสัจ ๔ แล้ว ก็ขอเชิญ ชวนให้ชาวพุทธทัง้ หลาย มีบทบาทหน้าทีใ่ นการปฏิบตั ใิ ห้ เป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของพุทธศาสนิกชนที่มีผ้ใู ห้ แนวทางไว้ ๙ ประการ ได้แก่ ๑. แสดงตนเป็นพุทธมามกะแต่ยังเยาว์ ศาสนิกชน หลายศาสนามีการแสดงออกต่อผูอ้ น่ื หรือต่อสาธารณะ ชนว่าตนได้เข้าเป็นสมาชิกหรือเข้านับถือศาสนานัน้ ๆ แล้ว แต่ของพุทธศาสนาแต่เดิมมาก็มักจะถือกันว่านับถือพุทธ ศาสนาตามบิดา มารดา ไม่ได้มกี ารแสดงตนหรือสมัครเข้า เป็นสมาชิกแต่อย่างใดเลย ทำ�ให้ตวั เองบางทีกส็ งสัยว่าเป็น ชาวพุทธขึน้ มาด้วยวิธใี ด ฉะนัน้ ลักษณะทีน่ า่ จะยอมรับกันไว้ ข้อแรกก็คอื ให้ได้เข้าพิธแี สดงตนเป็นพุทธมามกะ ถึงซึง่ พระ รัตนตรัยเป็นทีพ่ งึ ทีร่ ะลึกเสียแต่ยงั เยาว์ เริม่ ตัง้ แต่เข้าโรงเรียน ซึ่งสถานศึกษาหรือสถาบันพุทธศาสนาหลายแห่งได้กระทำ� กันอยูแ่ ล้ว ๒. มีทบ่ี ชู าประจำ�บ้าน เพือ่ เป็นทีเ่ คารพกราบไหว้ระลึก ถึงคุณพระรัตนตรัย ๓. ไหว้พระสวดมนต์ประจำ�วันเป็นการเสริมข้อต้นๆ ทัง้ ๒ คือการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ให้รจู้ กั ความกตัญญู ตามหลักธรรม ระลึกถึงคุณของผูม้ พี ระคุณมีบดิ ามารดาครู

102

อาจารย์ อย่างน้อยก่อนเข้านอนวันละครัง้ ๔. ตักบาตรตามกำ�ลังของตน เพือ่ เป็นการสืบพระศาสนา ด้วยการบำ�รุงพระภิกษุสงฆ์ให้ได้ศกึ ษาเล่าเรียนพระธรรมวินยั นำ�มาเผยแผ่แก่ประชาชนทัว่ ไปให้ประพฤติปฏิบตั ิ ทัง้ เป็นการ ฝึกใจในการบริจาคทานด้วยแม้ทำ�ไม่ได้ทุกวันก็อาจทำ�ในวัน เกิดหรือวันสำ�คัญทางศาสนาก็ได้ ๕. ฟังธรรมเป็นนิจ ในวันพระหรือวันอาทิตย์ได้เข้าวัดฟัง ธรรมหรือแม้ทางสือ่ สารมวลชนทีเ่ ผยแพร่อยูท่ ว่ั ไป ๖. ทำ�บุญและประกอบพิธตี ามฤดูกาล เช่น วันสำ�คัญทาง ศาสนาหรือพิธบี �ำ เพ็ญบุญต่างๆ ตามฤดูกาลนัน้ ๆ ๗. แสดงความเคารพเมื่อผ่านปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการน้อมรำ�ลึกถึงคุณของพระ รัตนตรัย รวมทัง้ พระภิกษุสงฆ์ทป่ี ระพฤติตนสมควรแก่การก ราบไหว้ในฐานะสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘. มีเบญจศีล เบญจธรรม ซึง่ เป็นหลักการเบือ้ งต้นทีจ่ ะ ให้คนละเว้นความชัว่ แล้วทำ�ความดีอยูด่ ว้ ยกันอย่างมีความสุข พร้อมทัง้ ทำ�หน้าทีแ่ นะนำ�ข้อสงสัยให้กบั ผูอ้ น่ื ทีไ่ ม่เข้าใจ ๙. ผูช้ ายต้องบวช แม้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะแล้ว หรือเข้าเป็นสมาชิกของชาวพุทธแล้ว ยังมีอกี องค์การหนึง่ ที่ ผู้ชายควรหาโอกาสเข้าเป็นสมาชิกเพื่อศึกษาปฏิบัติยอมสละ กายใจและเวลาเพือ่ บวชเป็นภิกษุ รูจ้ ดุ มุง่ หมายของการบวชว่า บวชเพือ่ อะไร ต้องปฎิบตั อิ ย่างไร มิใช่มวี ตั ถุประสงค์ เช่น บวช หน้าศพ บวชแก้บน บวชให้บดิ ามารดา บวชเพือ่ แต่งงาน หรือ เพือ่ ประเพณีเท่านัน้ สรุปว่า “หน้าทีข่ องชาวพุทธทีด่ ”ี นัน้ ก็คอื การประพฤติ ปฏิบตั อิ ย่างเข้าใจในพระพุทธศาสนาเพือ่ “รูแ้ จ้งในอริยสัจ ๔” และ “ยึดหลักธรรมเป็นคติประจำ�ใจ ยึดความมีระเบียบ วินยั เป็นทางดำ�เนินชีวติ ”...ลงมือกันเลยนะ

ปุจฉา – การสวดมนต์ไหว้พระเพือ่ ประโยชน์อะไร? วิสชั นา – เพือ่ ให้ได้ไตรสิกขาครบ...ทาน ศีล ภาวนา พวกเราชาว วปก. ได้รว่ มใจกันสวดมนต์อย่างตัง้ อกตัง้ ใจ ตลอดการเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าในแดนพุทธภูมิ โดย มีสมเด็จพ่อฯ ทรงพระเมตตานำ�สวดมนต์ และนัง่ สมาธิในทุก พุทธสถาน เราจึงควร “รูจ้ ริงในประโยชน์ของการสวดมนต์” เพือ่ การรักษาหน้าทีก่ ารสวดมนต์อย่างต่อเนือ่ ง และสามารถ ให้ความรูผ้ คู้ นรอบข้างได้อย่างถูกตรงมากทีส่ ดุ ในการ“สวด มนต์แต่ละครัง้ ”เราจะได้ครบ“ไตรสิกขา” คือ - ได้บญ ุ จากการสำ�รวมกาย วาจา...การรักษา “ศีล” - จิตใจสงบผ่องแผ้วอยูก่ บั บทสวด...การมี “สมาธิ”


- เข้าใจความหมายของบทสวด...การเกิด “ปัญญา” ดังนัน้ ทุกครัง้ ทีเ่ ราสวดมนต์ อย่าสวดให้ขาดทุน คือ สวดแล้ว เสียเวลาเปล่าไม่ได้อะไร นอกจากคิดไปเองว่าเราได้สวดแล้ว นอกจากนี้ การ “ไหว้พระ” ก็ได้ประโยชน์มากมาย อาทิเช่น - ได้เคารพ และระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ - ได้ออ่ นน้อมถ่อมตน ลดความเห็นแก่ตวั - ได้ตง้ั จิตตัง้ ใจให้เกิดบุญกุศล ฯลฯ แล้วพวกเรารูก้ นั อย่างถูกต้องหรือไม่วา่ การไหว้พระด้วย “ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม และดอกไม้สด” เป็นสัญลักษณ์การ เคารพสักการะอะไรบ้าง? ผูค้ นทัว่ ไปมักจะเข้าใจผิดกันว่า ธูป ๓ ดอก หมายถึงการบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึง่ หลัง จากทีเ่ ราได้ฟงั พระวิทยากรอธิบายทีแ่ ดนพุทธภูมกิ นั แล้ว ต่อไป นี้ เราก็จะบอกผูค้ นรอบข้างได้วา่ การบูชาด้วย ธูป เทียน และ ดอกไม้สด นัน้ มีความหมายอย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้ การไหว้พระด้วย “ธูป ๓ ดอก” แสดงถึงความเคารพ และ ระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ ๑. พระปัญญาคุณ...ทรงตรัสรูเ้ องโดยชอบ ๒. พระบริสทุ ธิคณ ุ ...ทรงปราศจากมลทินทัง้ ปวง ๓. พระมหากรุณาธิคณ ุ ...ทรงเมตตาสัง่ สอนสรรพสัตว์ การไหว้พระด้วย “เทียน ๒ เล่ม” แสดงถึงความเคารพ และระลึก พระคุณของ พระธรรม ๒ ประเภท คือ ๑. พระธรรม อันเป็นคำ�สอน หรือแนวทางปฏิบตั เิ พือ่ การพ้น ทุกข์สน้ิ เชิง ๒. พระวินยั อันเป็นหลักข้อบังคับหลักสำ�หรับธำ�รงรักษาให้ พุทธบริษทั อยูใ่ นพระธรรมอย่างสงบงาม และการไหว้พระด้วย “ดอกไม้” แสดงถึงความเคารพ และ ระลึกพระคุณของพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผูต้ ง้ั ใจสละ ทางโลก เพือ่ มุง่ สูก่ ารเป็นผูป้ ฏิบตั ดิ ี ปฏิบตั ชิ อบ ตามพระธรรม และ พระวินยั พร้อมเป็น “ทีพ่ ง่ึ ทางจิตวิญญาณ” ตลอดจนเป็น “เนือ้ นาบุญ” ของเราทัง้ หลายนัน่ เอง นอกจากนี้ ขอนำ�เอาความหมายของ “ไตรสิกขา” โดยย่อ มาแบ่งปัน ดังนี้ ไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาชีวติ เพือ่ เป็นมนุษย์ทส่ี มบูรณ์ แบบโดยไตรสิกขา แปลว่าตรงตัวว่าสิกขา ๓ ซึง่ หมายถึง ข้อ ปฏิบตั ทิ ต่ี อ้ งศึกษา ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสลี สิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิง่ ๒. อธิจติ ตสิกขา สิกขา คือ จิตอันยิง่ หมายถึง สมาธิ ๓. อธิปญ ั ญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิง่ ศีล = “สะอาด” (เป็นปกติ) ศีล เป็นหลักการพัฒนาระดับ ความสัมพันธ์กบั สิง่ แวดล้อมทางสังคม ...นัน่ คือเป็นแนวทางในการใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกันอย่างปกติสขุ

ของสรรพสิง่ บนโลก สมาธิ = “สงบ” สมาธิ เป็นหลักการพัฒนาจิตใจให้มี สมรรถภาพ และประสิทธิภาพในการคิดพิจารณาตัดสินใจ กระทำ� หรือไม่กระทำ�การใดๆ...มองทุกสิง่ ทีเ่ ป็นไปอย่างตัง้ ใจ สงบนิง่ สมาธิจงึ เป็นเรือ่ งของการฝึกฝนอบรมจิตใจ เป็นการ พัฒนาจิตใจให้มคี วามมัน่ คง ตัง้ มัม่ และทำ�ให้มคี ณ ุ ภาพทาง จิตใจทีด่ ขี น้ึ ตามลำ�ดับ เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารเกิดปัญญาในทีส่ ดุ ปัญญา = “สว่าง” ปัญญา เป็นหลักการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เพือ่ ให้จติ ของเรา รูจ้ กั สิง่ ทัง้ หลายตามทีม่ นั เป็น และ สามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลายได้ชัด แจ้ง หรืออยูใ่ นโลก อย่างเหนือโลก เพราะไม่มสี งิ่ ใดมาทำ�ให้เกิด ทุกข์ได้ ดัง่ อุปมาจิตทีม่ ปี ญ ั ญาได้วา่ เป็น “ดัง่ ใบบัวทีไ่ ม่ตดิ หยด น้�ำ ” เพราะหยดน้�ำ (กิเลสทัง้ หลาย) ไม่สามารถติดใบบัว (จิต นิพพาน) ได้นน่ั เอง สุดท้ายนขอเป็นกำ�ลังใจให้ชาว วปก. ทุกคน ตัง้ ใจสวดมนต์ ในทุกๆ วัน ทุกๆ โอกาส เพราะผูท้ ส่ี วดมนต์ดว้ ยความตัง้ ใจจริง แล้ว ย่อมได้รบั อานิสงส์ คือผลความดีมากมาย ดังต่อไปนี้ “อานิสงส์การสวดมนต์ 15 ประการ” ๑. ทำ�ให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ ทำ�งาน เมือ่ ปอดทำ�งาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมือ่ เลือดลมเดิน สะดวก ร่างกายก็สดชืน่ กระปรีก้ ระเปร่า และกระฉับกระเฉง ๒. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบท สวด สมองไม่ได้คดิ ในเรือ่ งทีท่ �ำ ให้เครียด จึงทำ�ให้อารมณ์ผอ่ น คลาย ๓. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็น การระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมือ่ สวดบ่อย จิตก็จะยิง่ แนบ แน่นอยูก่ บั พระรัตนตรัย ๔. ขันติบารมียอ่ มเพิม่ พูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทน เพือ่ เอาชนะอาการปวดเมือ่ ยทีเ่ กิดขึน้ กับร่างกาย ตลอดถึง อารมณ์ฝา่ ยต่�ำ ทัง้ หลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิง่ สวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิง่ ขึน้ ๕. จิตสงบตัง้ มัน่ เป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยูก่ บั บท สวด ไม่วอกแวกฟุง้ ซ่านไปทีอ่ น่ื จึงทำ�ให้จติ สงบและเกิดสมาธิ มัน่ คง ๖. บุญบารมีเพิม่ พูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจาก กิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชอ่ื ว่าเกิด บุญบารมี บุญบารมีน้ี เมือ่ สัง่ สมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้ บรรลุผลตามทีเ่ ราต้องการ ๗. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละ ความเห็นแก่ตวั เป็นอุบายกำ�จัดความโกรธในใจให้เบาบางและ

103


ลดน้อยลง ทำ�ให้จติ ใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข ๘. เกิดความเป็นสิรมิ งคล การสวดมนต์เป็นการทำ�ความดี ไปพร้อมกันทัง้ ทางกาย วาจา ใจ การทำ�ดี พูดดี คิดดี ย่อมเป็น สิรมิ งคลแก่ตวั เอง ๙. เทวดารักษา ผู้ที่ประกอบกรรมดี ทางกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา และการที่เราได้แผ่เมตตาให้แก่ เทวดานัน้ ก็ยง่ิ จะเป็นทีร่ กั ของเทวดามากขึน้ ๑๐. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำ�แปล ทำ�ให้ได้รแู้ ละ เข้าใจถึงความหมายของบทสวดนัน้ ๑๑. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำ�ให้จิตใจ ของผูส้ วดสดชืน่ เบิกบาน จิตทีส่ ดชืน่ เบิกบานย่อมส่งผลให้ผวิ พรรณดี หน้าตายิม้ แย้ม แจ่มใส ทำ�ให้ผทู้ พ่ี บเห็นเกิดความรูส้ กึ เป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู ๑๒. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผูเ้ ป็นมิตรยิง่ รักใคร่ ๑๓. ทำ�ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทัง้ ปวง ๑๔. ทำ�ให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์รา้ ย ปัดเป่าเสนียดยิม้ เพราะ ดวงชะตาของคนเราขึน้ อยูก่ บั การกระทำ� ใครทำ�ดี ดวงชะตา ย่อมดี ใครทำ�ชัว่ ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำ�ดีท่ี สามารถเปลีย่ นดวงชะตาให้ดขี น้ึ ได้ ๑๕. ครอบครัว และสังคมสงบสุข เพราะเมื่อทั้งพ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ� และสอนให้บุตรหลานได้สวด

104

มนต์ จะไม่มกี ารทะเลาะเบาะแว้ง และการทีจ่ ะไปสร้างความ เดือดร้อนแก่ผอู้ น่ื ก็ไม่มี มีแต่จะทำ�ให้คนรอบข้าง และสังคมอยู่ เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างทีด่ แี ก่ผอู้ น่ื อีกด้วย วันนีค้ ณ ุ สวดมนต์หรือยังเอ่ย? ถ้าสวดแล้ว...ก็ขออนุโมทนา บุญด้วย แต่ถา้ ยังไม่สวด...วางหนังสือรุน่ นี้ แล้วไปสวดซะเดีย๋ วนี้ เลยนะครับ

ปุจฉา – หลังบวชร่วมอุปชั ฌาย์เดียวกัน...ชาว วปก. ๑๘ ควรจะ...? วิสชั นา – เป็นเครือข่าย “กัลยาณมิตร” ทีม่ พ ี อ่ อุปชั ฌาย์ ร่วมกันตลอดไป คำ�ถามนี้ น่าจะมีค�ำ ตอบในจิตใจของพวกเราทุกคนกันอยู่ แล้ว...เราจะเป็นเครือข่าย “กัลยาณมิตร” ทีม่ ที า่ นพ่อสมเด็จ พระธีรญาณมุนีเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อพร้อมใจกันทำ�นุบำ�รุง พุทธศาสนาและมุ่งมั่นในไตรสิกขาไม่ว่าเราจะอยู่ในเพศใด ฐานะใด ผู้ท่ีค รองเพศบรรพชิ ต อย่ า งต่ อ เนื่อ ง...ก็ ต้อ งร่ ว มใจกั น อนุโมทนาบุญ และมุง่ หวังให้ทา่ นเป็นพระสุปฏิปนั โนทีเ่ ป็นทีพ่ ง่ึ ของชาวพุทธทัง้ หลาย สำ�หรับผูท้ ล่ี าสิกขาแล้ว...ก็ตอ้ งตัง้ ใจรักษา ศีล ๕ ทีเ่ ราได้กล่าวให้ปฏิญาณในวันทีล่ าสิกขา พร้อมทัง้ เจริญ


ในธรรมให้ถงึ ซึง่ การหลุดพ้นจากทุกข์ แม้วา่ เราจะอยูใ่ นเพศ ฆราวาสก็ตาม แต่สิ่งที่เราทุกคนจะพร้อมใจกันก็คือ ...ความเป็น กัลยาณมิตร มาเรียนรู้อย่างลึกซึ้งกับความหมายของ “กัลยาณมิตร” กันนะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...“กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมด ของพรหมจรรย์” เรือ่ งมีอยูว่ า่ ครัง้ หนึง่ พระอานนท์ทา่ นปลีกวิเวกเพือ่ ไป เจริญความเพียร ระหว่างทีป่ ลีกวิเวกนัน้ ท่านคิดขึน้ มาได้วา่ กัลยาณมิตรนีค้ อื ครึง่ หนึง่ ของพรหมจรรย์ แต่ทา่ นไม่แน่ใจ ในความคิดของท่าน เมือ่ ออกจากการปลีกวิเวกท่านจึงได้ มาถามปัญหาข้อนีแ้ ก่พระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าท่านตอบว่า “ดูกรอานนท์ ความมีกลั ยาณมิตร…เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่าผู้มีกัลยาณมิตร…พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักเจริญจักทำ�ให้มากซึง่ อริยอัฏฐังคิกมัคค์ (มรรคมี องค์ ๘)” ขยายความจากพระไตรปิฏก (อ้างอิงจากหนังสือ ๓ เล่ม คือ ๑) พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ) ๒) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม) โดย สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) และ ๓) พระไตรปิฏก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชพี ปุญญานุภาพ)

กัลยาณมิตรแปลว่าอะไร? กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพือ่ นทีด่ อี ย่างในความหมาย สามัญเท่านัน้ แต่หมายถึงบุคคลผูเ้ พียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทีจ่ ะสัง่ สอน แนะนำ� ชีแ้ จง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือ เป็นตัวอย่างให้ผอู้ น่ื ดำ�เนินไปในมรรคาแห่งการฝึกฝนอบรม อย่างถูกต้อง การประพฤติพรหมจรรย์นน้ั หมายถึง การประพฤติดงั พรหม คือเว้นการเสพกาม ซึง่ อธิบายว่า ได้แก่อริยมรรคมี องค์ ๘ กัลยาณมิตรสำ�คัญอย่างไร? ในพระไตรปิฏกได้กล่าวว่า ปัจจัยทีท่ �ำ ให้เกิดสัมมาทิฐิ (สูก่ ารบรรลุธรรม) มี ๒ ประการ คือ ๑. ปรโตโฆสะ – เสียงจากผูอ้ น่ื การกระตุน้ หรือชักจูง จากภายนอก คือ การรับฟังคำ�แนะนำ�สัง่ สอน เล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำ�บอกเล่าชักจูงของผูอ้ น่ื โดย เฉพาะการสดับสัทธรรรมจากท่านผูเ้ ป็นกัลยาณมิตร ๒. โยนิโสมนสิการ – การใช้ความคิดเห็นถูกวิธี ความ รูจ้ กั คิด คิดเป็น คือ ทำ�ในใจโดยแยบคาย มองสิง่ ทัง้ หลาย ด้วยความคิดพิจารณา รูจ้ กั สืบสาวหาเหตุผลแยกแยะสิง่ นัน้ ๆหรือปัญหานัน้ ๆ ออกให้เห็นตามสภาวะและตามความ สัมพันธ์แห่งเหตุปจั จัย ม.นู.12/497/539; องฺทกุ ฺ 20/371/110

105


นอกจากนีย้ งั มีพทุ ธพจน์อน่ื อีกว่าด้วยกัลยาณมิตร อาทิ เช่น “ภิกษุทง้ั หลาย เมือ่ ดวงอาทิตย์อทุ ยั อยู่ ย่อมมีแสงอรุณ ขึน้ มาก่อน เป็นบุพนิมติ ฉันใด ความมีกลั ยามิตรก็เป็นตัวนำ� เป็นบุพนิมติ แห่งการเกิดขึน้ ของอริยอัฏฐังคิกมัคค์แก่ภกิ ษุฉนั นัน้ ” “ความมีกลั ยาณมิตร เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ (การครอง ชีวติ ประเสริฐ) ทัง้ หมดทีเดียว เพราะว่าผูม้ กี ลั ยาณมิตร พึงหวัง สิง่ นีไ้ ด้ คือ จักเจริญ จักทำ�ให้มากซึง่ อัษฎางคิกมรรค” “อาศัยเราผูเ้ ป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผมู้ ชี าติเป็นธรรมดา ก็พน้ จากชาติ ผูม้ ชี ราเป็นธรรมดา ก็พน้ จากชรา ผูม้ มี รณะเป็น ธรรมดา ก็พน้ จากมรณะ ผูม้ โี สกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสเป็นธรรมดา ก็พน้ จากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส” “เราไม่ เ ล็ ง เห็ น องค์ ป ระกอบภายนอกอื่น แม้ สัก อย่ า ง เดียว ที่มีประโยชน์มากสำ�หรับภิกษุผู้เป็นเสขะเหมือนความ มีกลั ยาณมิตร, ภิกษุผมู้ กี ลั ยาณมิตร ย่อมกำ�จัดอกุศลได้ และ ย่อมยังกุศลให้เกิดขึน้ ” “ความมีกลั ยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพือ่ ประโยชน์ยง่ิ ใหญ่เพือ่ ความดำ�รงมัน่ ไม่เสือ่ มสูญ ไม่อนั ตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ สํ.ม.19/5-129/2-36; องฺ.เอก.20/72-128/16-25; ขุ.อิติ. 25/195/237 เราจะเห็นได้ว่ากัลยาณมิตรนั้นเป็นสิ่งสำ�คัญมากทีเดียว สำ�หรับการปฏิบตั ธิ รรมสูก่ ารหลุดพ้นจากทุกข์ เพราะคือปัจจัย ภายนอกทีช่ ว่ ยเหลือเราชักจูงเรา ชีจ้ ดุ ผิดพลาดให้เราในยาม ทีเ่ ราผิดทาง ถ้าปราศจากกัลยามิตรคอยชีแ้ นะแล้ว ยากทีเ่ รา เหล่าสาวกภูมจิ ะเห็นจุดทีต่ นเองติดขัด คำ�ถามของผูป้ ฏิบตั ธิ รรม “เวลาเราปฏิบตั ธิ รรมนัน้ ถ้าเรา บังเอิญไปติดอะไรเข้า ทำ�ให้การปฏิบตั ไิ ม่กา้ วหน้า เราจะมีวธิ ี ตรวจสอบตัวเองอย่างไรว่าเรากำ�ลังติดอะไรอยู?่ ” คำ�ตอบของครูบาอาจารย์ “ต้องพึง่ ผูร้ เู้ ท่านัน้ ให้ผรู้ ชู้ ว่ ยชีแ้ นะให้” เรือ่ งราวความสำ�คัญของกัลยาณมิตรสมัยพุทธกาล กัลยาณมิตร มีความสำ�คัญอย่างยิง่ ยวด ดังเช่นในอดีตทีพ่ ระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเกิดมาแล้วเป็นผูม้ คี วามเห็นผิด จน เกือบจะไม่ได้พบกับหนทางของพระนิพพาน แต่เนือ่ งจาก พระองค์ได้คบหากับบุคคลอันเป็นกัลยาณมิตร พระองค์จงึ ได้ ก้าวเข้ามาสูห่ นทางของการสร้างบารมี จนกระทัง่ บรรลุพระ สัมมาสัมโพธิญาณได้ พระองค์ทรงตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟงั ว่า ในสมัยนัน้ เป็น สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ณ ตำ�บลบ้านเวภฬิคะ มีชายหนุม่ ๒ คนเป็นเพือ่ นรักกัน คนหนึง่ ชือ่ ฆฏิการะ อีกคน หนึง่ ชือ่ โชติปาละ ทัง้ สองคนนีแ้ ม้จะเป็นเพือ่ นทีร่ กั กันมาก แต่ กลับมีอปุ นิสยั ในทางธรรมทีแ่ ตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

106

ฆฏิการะนั้น เป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนามาก เขาได้ชื่อว่าเป็นอุปัฏฐากที่ดีเลิศของพระพุทธ เจ้ากัสสปะ แต่โชติปาละเป็นผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาเลย เขาไม่เคยไปฟังธรรม ไม่เคยแม้แต่จะไปกราบ พระพุทธเจ้า ฆฏิการะก็พยายามชักชวนอยู่เสมอ แม้ว่าความ ปรารถนาดีของเขาจะถูกปฏิเสธเสียทุกครั้งไป จนกระทั่งวันหนึ่ง ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละ ไปอาบน้ำ�ยังท่าน้ำ� ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พออาบน้ำ�ชำ�ระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวนโชติปาละว่า “โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้า พระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ทา่ นอยูท่ ต่ี รงนีเ้ อง” โชติปาละกล่าวตอบว่า “อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับ การทีจ่ ะได้เห็นสมณะโล้น สูไ้ ปเทีย่ วยังจะสนุกเสียกว่า” ฆฏิการะ ก็บอกว่า “มีประโยชน์สิ เพราะการเห็นสมณะนัน้ เป็นมงคล ไปกันเถอะ” โชติปาละก็ปฏิเสธอีก ฆฏิการะจึงเดินเข้าไปจับ มือของโชติปาละ โชติปาละสะบัดมือออก ฆฏิการะเปลีย่ นมา จับชายพกของโชติปาละ โชติปาละก็ดงึ มือออกอีก ฆฏิการะ ไม่ละความพยายามหันมาดึงมวยผม พร้อมกับกล่าวชวนซ้�ำ อีก คราวนีโ้ ชติปาละรูส้ กึ ขัดใจขึน้ มาทันที “เอ๊ะ! ทำ�ไมต้องมา ดึงมวยผมกันด้วยละ สมณะโล้นน่ะ มีดอี ย่างไรหรือ ท่านจึง อยากให้ขา้ พเจ้าไปเฝ้านัก” และด้วยอานุภาพแห่งกัลยาณมิตร โชติปาละก็ร�ำ ลึกได้วา่ โดยปกติแล้ว ฆฏิการะเป็นเพือ่ นทีห่ วัง ดีกบั เขาเสมอมา ไม่เคยเลยทีจ่ ะชักนำ�ไปในทางทีเ่ สียหาย เขา เริม่ คิดได้วา่ การทีฆ่ ฏิการะชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยูเ่ สมอนี้ ก็คงจะเป็นการชักนำ�ไปในทางทีด่ อี กี เช่นเคย ดังนัน้ โชติปาละ จึงยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อไปถึงพระอารามทั้งสองกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรง ปฏิสนั ถารด้วยพระทัยทีเ่ ปีย่ มด้วยความเมตตา แล้วพระองค์ ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ แสดง ธรรมทีไ่ พเราะทัง้ ในเบือ้ งต้น ท่ามกลาง และเบือ้ งปลาย หลัง่ ธรรมธาราให้รนิ ไหลเข้าสูก่ ระแสใจของโชติปาละ โชติปาละ ได้ฟงั ธรรมแล้ว ใจของเขาก็ผอ่ งใส เหมือนคนทีเ่ ดินหลงทาง อยูใ่ นทะเลทรายมาเป็นเวลานาน แล้วได้พบกับบ่อน้�ำ ทีใ่ ห้ทง้ั ความเย็นกายเย็นใจ ใจของเขาดืม่ ด่�ำ ในรสแห่งอมตธรรมยิง่ นัก แล้วด้วยใจทีศ่ รัทธาตัง้ มัน่ ไม่คลอนแคลน โชติปาละจึงขอ ออกบวชอุทศิ ตนเป็นพุทธบูชาตลอดชีวติ แล้วพระผูม้ พี ระ ภาคเจ้าก็ทรงกล่าวกับพระอานนท์สบื ไปว่า ดูกอ่ นอานนท์ เธออย่าได้พงึ คิดเลยว่าเราคือ ฆฏิการะ บุรษุ ผูม้ คี วามเห็นถูก แต่แท้ทจ่ี ริงแล้วเราคือ โชติปาละ บุรษุ ผู้ มีความเห็นผิดคนนัน้ แต่เนือ่ งจากเราได้คบหากับบุคคลอันเป็น ยอดกัลยาณมิตร คือ ฆฏิการะ เราจึงได้กลับมาเป็นผูม้ คี วาม


เห็นถูก ก้าวเข้ามาสูห่ นทางแห่งการสร้างความดีมาสร้างบารมี จน กระทัง่ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ในทีส่ ดุ อานนท์ แม้เราตถาคตก็ยงั ต้องการกัลยาณมิตร เป็นผูช้ ห้ี นทาง แห่งความดีให้ ดังนัน้ เราจึงได้กล่าวกับเธอว่า “กัลยาณมิตรนัน้ เป็นทัง้ หมดของพรหมจรรย์” (หมายเหตุ: ฆฏิการะในกาลนัน้ ได้ไปบังเกิดเป็น ท้าวสหัมบดีพรหม ซึง่ เป็นผูล้ งมาทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์ทง้ั หลายนัน่ เอง) กล่าวโดยสรุป กัลยาณมิตร…คือมิตรแท้ ๔ แบบ ได้แก่ ๑. มิตร มีอปุ การะคอยช่วยเหลือ ๒. มิตร ร่วมสุขร่วมทุกข์ ๓. มิตร แนะนำ�แต่สง่ิ ดี ๔. มิตร มีความรักใคร่ นอกจากนี้ คุณสมบัตขิ องกัลยาณมิตร ขอสรุปด้วยหลักธรรม “กัลยาณมิตร ๗” อันหมายถึง คุณธรรม ๗ ประการสำ�หรับมิตรแท้ เพือ่ นแท้ เพือ่ นตาย และเพือ่ นทีค่ อยช่วยเหลือเพือ่ นอย่างจริงใจ โดย ไม่หวังสิง่ ใดตอบแทน ตลอดจนเป็นมิตรทีห่ วังดีตอ่ กันด้วยความจริงใจ กัลยาณมิตร ๗ ประกอบด้วย ๑. ปิโย คือ ความน่ารัก หมายถึง มีเมตตากรุณา ใส่ใจคนและ ประโยชน์สขุ ของเขา เข้าถึงจิตใจ และสร้างความสนิทสนมเป็นกันเอง ๒. ครุ คือ น่าเคารพ หมายถึง เป็นผูห้ นักแน่น ถือหลักการเป็น สำ�คัญ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำ�ให้รสู้ กึ อบอุน่ ใจและเป็น ทีพ่ ง่ึ ได้ ๓. ภาวนีโย คือ น่าเจริญใจ หมายถึง มีความรูจ้ ริง ทรงภูมปิ ญ ั ญา แท้จริงเป็นผูฝ้ กึ ฝนปรับปรุงตนอยูเ่ สมอ และเป็นทีน่ า่ ยกยกเอาแบบ อย่าง ๔. วตฺตา คือ รูจ้ กั พูดให้ได้ผล หมายถึง รูจ้ กั ชีแ้ จงให้เข้าใจ รูว้ า่ เมือ่ ไรควรทำ�อะไร คอยให้ค�ำ แนะนำ�ตักเตือน และเป็นทีป่ รึกษาทีด่ ี ๕. วจนกฺขโม คือ อดทนต่อถ้อยคำ� หมายถึง พร้อมรับฟังคำ� ปรึกษาซักถาม อดทนต่อคำ�ล่วงเกิน คำ�ตักเตือน และอดทนฟังได้ไม่ เสียอารมณ์ ๖. คมฺภรี ญฺจ กถํ กตฺตา คือ แถลงเรือ่ งล้�ำ ลึกได้ หมายถึง กล่าวชีแ้ จงเรือ่ งต่างๆ ทีย่ งุ่ ยากลึกซึง้ ให้เข้าใจได้งา่ ย ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชกั นำ�ในอฐาน หมายถึง ไม่ ชักจูงไปในทางทีเ่ สือ่ มเสีย หรือเรือ่ งเหลวไหล จากบทความ และเรือ่ งราวข้างต้น...เพือ่ นๆ ชาว วปก. ๑๘... ถ้าเราทัง้ ผองต่างเป็น “กัลยาณมิตร” ต่อกัน...ความเจริญในธรรม และชีวติ อันประเสริฐ ตลอดจนความเจริญงอกงามของพุทธ ศาสนาของโลก ก็คงเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งบังเกิดอย่างงดงามแผ่ไพศาล สืบไป เราจะเป็นกัลยาณมิตรต่อกันตลอดไป...ดีมย๊ั ครับ?

107


...“วปก. ๑๘...กัลยาณมิตรผูม้ สี มเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นพ่อทางธรรม...ตลอดไป” “อัศจรรย์ ๔ อย่างแห่งโลกมี เกิดมาฟังพระสัทธรรมโลกตะลึง การอุบตั ขิ น้ึ ของพระพุทธเจ้า สิง่ ทัง้ ๔ รวมยิง่ ใหญ่เหลือคณา เราชาว วปก. มีพอ่ สอน เพราะวันนีไ้ ด้บวชถวายใจ ตัง้ แต่เริม่ บทสวดเพือ่ ขอบวช ร่วมเป็นพระสร้างบุญมิขาดตอน ทุกการงานท่านพ่อดำ�เนินไว้ จักสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ� จักบูชาคุณค่าอุปชั ฌายะ วปก. นามนีจ้ กั ธำ�รงค์ จักสืบสานการบวชอย่างพากเพียร ฝึกพากเพียรปฏิบตั ใิ ห้เชีย่ วชาญ ไตรสิกขาคือทางอันประเสริฐ วปก. ยึดเหนีย่ วพร้อมชีพพลี เราคือกัลยาณมิตรร่วมเติมต่อ ร่วมตักบาตรสมทบในกองทุน เราจะคอยช่วยเหลือเจือจุนมิตร เราจะร่วมสุขทุกข์จติ น้อมนำ� เราจะมอบความรักอันจริงใจ เราจะเป็นมิตรแท้รว่ มชีว ี วิทยาลัยป้องกันกิเลสนัน้ เป็นเครือข่ายแน่นหนักทีถ่ กั ทอ

108

มนุษย์นไ้ี ด้เกิดนับเป็นหนึง่ แสนน่าทึง่ หนึง่ สองทีก่ ล่าวมา อีกชีวติ ยืนยาวช่างล้�ำ ค่า ขอถามว่าวันนีใ้ ช้อย่างไร? แต่กาลก่อนอย่างไรไร้สงสัย รัตนตรัยในจิตมิคลายคลอน จนถึงสวดทุกบทตามคำ�สอน นิรนั ดรชีพนีม้ น่ั คงธรรม จักตามไปรอยครูวเิ ศษล้�ำ ปฏิบตั ธิ รรมตามรอยพุทธองค์ จักชำ�ระจิตใจตามประสงค์ เพราะมัน่ คงต่อสูก้ เิ ลสมาร ร่�ำ และเรียนปริยตั เิ ป็นรากฐาน จิตเบิกบานละชัว่ ชัวร์ความดี วิถเี ลิศตามรอยพระทรงศรี ชีวติ นีพ ้ อดีเร่งสร้างบุญ สมเด็จพ่อฯ เมตตาสนับสนุน ระลึกคุณหนุนเนือ่ งเป็นประจำ� เราจะคิดพูดทำ�ด้วยธรรมค้�ำ เราจะทำ�แนะนำ�แต่สง่ิ ดี เราจะใช้หลักธรรมสมศักดิศ์ รี เราจะดีให้สมเป็น วปก. จะร่วมกันกีป่ กี พ ่ี อศอ ตามรอยพ่อสมเด็จธีรฯ์ นิรนั ดร์กาล”


109


ประมวลภาพเตรียมตัวก่อนบวช วปก. รุ่น ๑๘

เตรียมตัวก่อนบวช เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี มีบญ ั ชาให้พอ่ นาคทัง้ หลายมาซ้อมขานนาค ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรนิ ทราวาส และที่ วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี

110


111


วั น ท ี ่

112

วั น พฤหั ส บดี ท ี ่ ๑ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

ของการเดิ น ทาง (กรุ ง เทพ-พุ ท ธคยา) - ไปถึงประเทศอินเดียลงสนามบิน Gaya - บรรพชาและอุปสมบท ณ โบสถ์วัดป่าพุทธคยา - สมเด็จพระธีรญาณมุนี พระอุปัชฌาย์ - พระราชกิตติมงคล วัดโสมนัสฯ พระกรรมวาจาจารย์


113


วั น ที ่

114

๒-๔

วั น ศุ ก รที ่ ๒ - วั น อาทิ ต ยที ่ ๔ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

พุ ท ธคยา

- บิณฑบาตครั้งแรก ฉันในบาตรวันแรก - พิธีทอดผ้าป่า ณ วัดป่าพุทธคยา และวัดไทยพุทธภูมิ - ทำ�วัตรเช้า เย็น เจริ​ิญพระพุทธมนต์ เดินประทักษิณ รอบพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา


115


วันที่

116

วันจันทร์ที่ ๕ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์

- ทำ�วัตรเช้าที่พระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา - ทำ�วัตรเย็นที่บนเขาคิชฌกูฏ - สักการะพระมูลคันธกุฏี (กุฎิของพระพุทธเจ้า)


117


วันที่

118

วันอังคารที่ ๖ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

วัดเวฬุวัน-นาลันทา-ไวสาลี

- สักการะและทำ�วัตรเช้าวัดเวฬุวัน (วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) และเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์​์ - เกิดวันมาฆบูชา - สักการะหลวงพ่อองค์ดำ� - มหาวิทยาลัยนาลันทา (มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก)


119


วั น ที ่

120

วั น พุ ธ ที ๗ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

กู ฏ าคารศาลา ป่ า มหาวั น เมื อ งเวสาลี (Vaishali)

- ทำ�วัตรเช้า เจริญพระพุทธมนต์ ทำ�น้ำ�มนต์ศักดิ์สิทธิ์ - ชมเสาพระเจ้าอโศกที่มีความสมบูรณ์ที่สุด - นมัสการปาวาลเจดีย์ สถานที่ปลงพระชนมายุสังขาร - นมัสการพระมหาสถูปแห่งเกสเรีย (พระมหาสถูปที่ประดิษฐาน “บาตร” ของพระพุทธเจ้า)


ปาวาลเจดีย์

มหาสถูปเกสเรีย

121


วันที ่

๘-๙

วั น ที ่ ๘-๙ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

กุสินารา สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ - ทำ�วัตรเช้า-เย็น ณ สาลวโนทยาน พระพุทธปรินิพพานวิหาร - สักการะสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์

พระพุทธปรินิพพานวิหาร

122


มกุฏพันธนเจดีย์

123


124


วันที ่

๑๐

วั น เสาร์ ท ี ่ ๑๐ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

ลุมพินีวัน สถานที่ที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ - ทำ�วัตรเช้าที่ลุมพินีวันสถาน - สักการะวิหารมายาเทวี ลุมพินีวัน

125


126


วันที่

๑๑

วั น อาทิ ต ย์ ท ี ่ ๑๑ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี - เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำ�พรรษามากที่สุด ๑๙ พรรษา - ทำ�วัตรเช้าที่พระมูลคันธกุฏี กุฏิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - กุฎิของพระอรหันต์สาวก - ชมต้นโพธิ์ของพระอานนท์ - ทอดผ้าป่ามูลนิธิพุทธชยันตี ไทย-อินเดีย

127


128


วันที่

๑๒-๑๓

วั น ๑๒ - ๑๓ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

ธัมเมกขสถูป สารนาถ เมืองพาราณสี

- ทำ�วัตรเช้า-เย็น ธัมเมกขสถูป - สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาแกปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ - ท่องแม่น้ำ�คงคา เมืองพาราณสี - เดินทางกลับประเทศไทย

129


วันที่

130

๑๔

วั น จั น ทร์ ท ี ่ ๑๔ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

วัดเทพศิรินทราวาส

- ตักบาตรเช้า บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ รอบพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส - พิธีฉลองพระใหม่


131


ขอขอบคุณคณะบุญพุทธภูมิที่ร่วมเดินทางและดูแลคณะพระนวกะในครั้งนี้

132


133


พระมหาโพธิเ จดีย์ พุทธคยา

รายชื่อผู้เข้ารับการ

บรรพชาอุปสมบท รถบั สคันที่ ๑ สีเขีย ว

134


คณะพระอาจารย์ประจำ�รถบัส คันที่ ๑

พระราชวิสุทธิมุนี

พระครูธรรมภาณโกวิท

พระครูธรรมธรคัมภีร์ คมฺภีโร

พระมหาทรงวุฒิ วุทฺฒิโก

พระครูสังฆรักษ์ วิวัฒนะ

ผู้ดูแลประจำ�รถบัส คันที่ ๑

พลตรีนเรศร์ จิตรัก ษ์

คุณ อ�ำนวย ศรีตระกูลชัย

135


พระน.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ฉายา กนฺตรโณ (แก้ว) วันเกิดิ วันจันทร์ท่ี 25 กรกฎาคม พ.ศ.2498 12/99 ซ.สังคม 4 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 มือถือ : 089-925-3399 e-mail : narongsah@gmail.com Line ID : narongsaha ความสงบเกิดจากภายใน ถ้าใจสงบ ปล่อยวาง ทุกอย่างก็สงบ

พระร.ต.ต.ปณม ยงใจยุธ ฉายา คุณปฺปณโม

(น้อย)

วันเกิดิ วันจันทร์ท่ี 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 139/32 หมูท่ ่ี 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทร : 0-2441-0989 มือถือ : 081-966-2489 e-mail : noi_panom@outlook.com Line ID : panom.y05 มีศรัทธาพระพุทธศาสนามากขึน้ จะปฏิบตั ติ นให้ตง้ั อยูบ่ นความไม่ประมาท อย่างมีสติ

พระพล.อ.พอพล มณีรินทร์ ฉายา มณิรินฺโท

136

(อุ๋ย)

วันเกิดิ วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 122 ถ.เทศบาลรังสรรค์เหนือ ซ.6 แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทร : 0-2589-6638, มือถือ : 081-844-9476. e-mail : porpol1632@hotmail.com Line ID : porpol1632 เพราะความเมตตาของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงการเกิดบำ�เพ็ญบุญบารมีในครัง้ นี้ ... ภูมใิ จทีไ่ ด้เป็น วปก.๑๘


พระพล.อ.ไมตรี เตชานุบาล ฉายา เมตฺติโก

(ไมค์)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2499 19/159 ถ.กาญจนาภิเษก แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทร : 0-2454-7358 มือถือ : 081-682-2176 e-mail : maitree16@hotmail.com Line ID : mite1632 นับเป็นบุญและวาสนาอย่างมาก... มีแนวทางพัฒนาคุณชีวิตของตนเอง และครอบครัวที่แท้จริง

พระมนต์ชัย เทียรฆโรจนกุล ฉายา มนฺตชโย

(Z)

วันเกิดิ วันอาทิตย์ท่ี 9 สิงหาคม พ.ศ.2496 88/8 หมูท่ ่ี 8 ซ.สมเอก ถ.ติวานนท์ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร : 0-2583-1842 มือถือ : 092-223-2119 e-mail : bkmte2@gmail.com Line ID : monchai2119 รูส้ กึ อิม่ เอมบุญอย่างยิง่ ทีไ่ ด้บวชภายใต้ โครงการนี.้ ..จะประพฤติตนในทางทีถ่ กู ทีค่ วร

พระพล.อ.รักบุญ มนต์สัตตา ฉายา จิตปุญฺโญ วันเกิดิ วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2500 259/8803 อาคารรับรอง ถ.ลาดปลาเค้า 81 เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 มือถือ : 098-249-0001 e-mail : rug34@hotmail.com Line ID : rug34 สิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ ของทีไ่ ด้รบั ในชีวติ ... จะพยายามพิจารณาตนเอง

137


พระพ.ต.อ.ชัยวัฒน์ หัดกล้า ฉายา ชยวฑฺฒโน

(โท)

วันเกิด วันจันทร์ท่ี 28 สิงหาคม พ.ศ.2504 917/11 ถ.วันลูกเสือ ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ : 0-4561-3290 มือถือ : 089-722-4562 ซาบซึง้ ในเมตตาองค์อปุ ชั ฌาย์ ศรัทธาเปีย่ มล้น สิน้ สงสัยใดๆ ในพุทธศาสนา...ขอยึด พระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ฉายา พระพ.ต.ท.วิสุทธิ์ วัฒนสิน ฉายา วิสุทฺธิญาโณ วันเกิด วันศุกร์ท่ี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 86/93 หมูท่ ่ี 2 ต.บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 มือถือ : 090-519-1965 e-mail : vswattanasin@hotmail.com Line ID : 20nov64 ดีมากๆ...ภูมใิ จทีน่ บั ถือศาสนาพุทธ

พระพิสณฑ์ จักกะพาก ฉายา วิสณฺโฑ

138

(ตั้ม)

วันเกิด วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ.2509 98/87 หมูท่ ่ี 7 หมูบ่ า้ นธารา ซ.11 ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โทรศัพท์ : 0-2077-7224 มือถือ : 081-294-6221, 084-733-5252 e-mail : deb17081@gmail.com line ID : 0812946221 เมตตาจากท่านสมเด็จฯ และมิตรภาพจาก ผูร้ ว่ มอุปสมบท...จะปฏิบตั ติ นเพือ่ ให้รซู้ ง้ึ ถึง พระพุทธศาสนา


พระธนเสฏฐ์ ธรรมปรีชาพงศ์ (เล็ก) ฉายา ธนเสฏฺโฐ วันเกิด วันเสาร์ท่ี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2508 12 ซอยหัวหมาก ถ.หัวหมาก แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร : 0-2061-8854 มือถือ : 084-075-1150 e-mail : mkt.bettergrade@gmail.com Line ID : thanasett.t มีกลั ยาณมิตรทีด่ อี บอุน่ และความช่วยเหลือ เอือ้ เฟือ้ สามัคคีตอ่ กัน

พระพ.ต.ท.จิรประภาพ สุทธปรีดา ฉายา จิรปภาโว (มิ้งค์) วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 26 พฤษภาคม พ.ศ.2520 130 หมูบ่ า้ นไทม์โฉม ซ.หัวหมาก21 เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 มือถือ : 081-814-2828 e-mail : mink3652@gmail.com Line ID : mink52 ภูมใิ จทีไ่ ด้รว่ มในโครงการ...เราควรช่วยกัน สืบทอดพระพุทธศาสนา

พระพ.ต.อ.กรกฎ โปชยะวณิช ฉายา ธมฺมปาโมชฺโช (กล้า/โป) วันเกิด วันเสาร์ท่ี 20 สิงหาคม พ.ศ.2520 98/8 หมูท่ ่ี 6 ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 มือถือ : 081-829-8258 e-mail : kla_52@hotmail.com Line ID : 0818298258 ซาบซึง้ ใจ ในกรุณาธิคณ ุ เจ้าประคุณหลวงพ่อ สมเด็จฯ ทีเ่ มตตา ศิษย์ทกุ คนครับ

139


พระทนงศักดิ์ หมากกลาง ฉายา สิริสกฺโก

(หนึ่ง)

วันเกิด วันศุกร์ท่ี 28 มีนาคม พ.ศ.2529 25 หมูท่ ่ี 3 ต.หนองไข่น�ำ้ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310 มือถือ : 095-165-5916 e-mail : makklang.1@gmail.com Line ID : kapook_za รูส้ กึ อบอุน่ เป็นกันเอง และ มีความศรัทธาใน พระพุทธศาสนามากขึน้

พระศุภวิชญ์ บุญนำ�ชัย ฉายา สุภวิชฺโช

(สรญ์)

วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 19 ธันวาคม พ.ศ.2534 27/416 ถ.กาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 มือถือ : 061-616-0598 e-mail : sornwing@gmail.com Line ID : sornwings ผมเชือ่ ว่าทุกคนเคยทำ�บุญร่วมกันมาก่อน จึงได้ มาเป็นครอบครัวเดียวกันใน วปก.18 ดีใจและ ยินดีทไ่ี ด้รจู้ กั เพือ่ นร่วมรุน่ ทุกคนครับ

พระสรัล ฤชุพันธุ์ ฉายา พลปญฺโญ

(ต๋อย)

วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 26 เมษายน พ.ศ.2505 97/35 หมูบ่ า้ นสราญวงศ์พาร์ค เขตสายไหม กรุงเทพฯ 11120 มือถือ : 089-969-6875 e-mail : saral.r@pttplc.com Line ID : saral260132260405 ดีมากๆๆๆ ครับ...การใช้ชวี ติ ทีส่ งบไม่ได้อยูท่ ่ี ยศตำ�แหน่งใหญ่โตหรือร่�ำ รวยก็มคี วามสุขได้

140


พระสุธีณพ ธัญญสิริ ฉายา สุธีณโว

(เอ้)

วันเกิด วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ.2516 124/141 หมูท่ ่ี 3 ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร : 0-2594-3243 มือถือ : 081-174-2809 e-mail : sutheenop.t@pttplc.com Line ID : sutheenop thunyasiri อิม่ ใจ อิม่ บุญ...ทุกสรรพสิง่ ล้วนเกิดขึน้ คงอยู่ และดับสูญไป

พระสุพจน์ มหพันธ์ ฉายา สุวจโน

(พจน์)

วันเกิด วันศุกร์ท่ี 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 199/288 หมูท่ ่ี 14 ถ.บางนาตราด จ.สมุทรปราการ 10540 มือถือ : 095-454-5445 e-mail : supoj.mahapan@gmail.com Line ID : supoj.mahapan รูส้ กึ โชคดี โครงการนีช้ ว่ ยให้มคี นได้เข้าใกล้ พระพุทธศาสนามากขึน้ ...เข้าถึงการเห็นความ เป็นจริงมากขึน้

พระณัฐวุฒิ ม่วงศรีจันทร์ ฉายา ณฏฺฐวุฑฺฒิ

(วุฒิ)

วันเกิด วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2521 88/8 หมูท่ 1่ี ถ.พหลโยธิน ต.ลำ�ไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170 มือถือ : 092-154-9999 e-mail : tv2500@hotmail.com Line ID : tawuth ความรูส้ กึ ปลาบปลืม้ และ ภาคภูมใิ จทีบ่ วชใน โครงการ วปก. ๑๘...ทำ�ดี ดี ทำ�ชัว่ ชัว่

141


พระเสริมศักดิ์ วงศ์ชัย ฉายา วํสชโย

(ฮาร์ด)

วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 24 มีนาคม พ.ศ.2509 1/120 ซ.นพรัตน์3/1 หมูบ่ า้ นกฤษดานคร 20 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวฒ ั นา กรุงเทพฯ 10170 โทร : 0-3487-8762-3 มือถือ : 081-821-9849 e-mail : hard2509@hotmail.com Line ID : hard2509 โครงการดีมาก พระอาจารย์ และพีเ่ ลีย้ งเอา ใจใส่ดแู ลตลอด

พระธนวัฒน์ สนิทศักดิ์ดี ฉายา ธนวฑฺฒโน

(นะ)

วันเกิด วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 51/787 หมูท่ ่ี 9 ต.ลาดสวาย อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 มือถือ : 097-974-1638 e-mail : ts2510@hotmail.com Line ID : 0979741638 ความสุขทีแ่ ท้จริงคือความสุขทีไ่ ด้บวช และอยูใ่ นผ้าเหลือง หากไม่มภี าระหน้าที่ อยากอยูใ่ นร่มผ้าเหลืองตลอดไป

พระสุษิร เจนจิรโฆษิต ฉายา ปญฺญาวฑฺฒโน

142

(หนุ่ม)

วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 26 ธันวาคม พ.ศ.2511 233/456 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270 โทร : 0-2759-8338 มือถือ : 081-846-4694 e-mail : susirajane@hotmail.com Line ID : Noom ทำ�ให้มคี วามลือ่ มใสในพระพุทธศาสนามาก ยิง่ ขึน้ ...จะใช้ชวี ติ ด้วยความไม่ประมาท


พระเสรี สุขแสง ฉายา อคฺคเสรี

(เส)

วันเกิด วันอาทิตย์ท่ี 2 มีนาคม พ.ศ.2512 3/51 ถ.รามคำ�แหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทร : 0-2050-0550 มือถือ : 084-147-2299 e-mail : sae0211@hotmail.com Line ID : 0841472299 ขัดเกลาจิตใจ, พบเจอแต่สง่ิ ทีด่ งี าม ได้รบั มิตรภาพทีด่ ,ี ความสามัคคี

พระจิรวัฒน์ หล่อศิริพัฒน์ ฉายา จิรวฑฺฒโน

(จิ)

วันเกิด วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2505 160 ถ.บรมราชชนนี แขวงบางบำ�หรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 มือถือ : 084-383-5000 e-mail : jerrylovetheearth@gmail.com Line ID : 14082505 มนุษย์พงึ รักษาบุญเดิม เติมบุญใหม่ เพือ่ ความเจริญในธรรม ศีล สมาธิ และปัญญาทุก เมือ่ ทีม่ โี อกาส สาธุฯ

พระภีมวิทย์ วัชรปาณ ฉายา ภีมวิชฺโช

(เปิ้ล)

วันเกิด วันอาทิตย์ท่ี 5 มิถนุ ายน พ.ศ.2520 60/312 หมูบ่ า้ นพฤกษลดา 2 ถ.พระองค์เจ้าสาย ต.ลาดสวาย อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 มือถือ : 085-098-9222 e-mail : marinepeem@gmail.com ดีมากและภูมใิ จมากทีไ่ ด้รว่ มเป็นส่วนหนึง่ ในการบวชและไปแสวงบุญในครัง้ นี.้ .. ได้รจู้ กั การปล่อยวาง การสละสิง่ ทีไ่ ม่ควรยึดติด

143


ประมวลภาพความประทับใจบัสที่ ๑

144


145


พระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา

รายชื่อผู้เข้ารับการ

บรรพชาอุปสมบท รถบัสคันที่ ๒ สีฟ้า

146


คณะพระอาจารย์ประจำ�รถบัส คันที่ ๒

พระครูวินัยธร ธรรมรัตน์

พระสมหมาย สมสิทฺโธ

ผู้ดูแลประจำ�รถบัส คันที่ ๒

คุณสุกรี จารุภูมิ

คุณ ศฤงคาร สุทัศน์ชูโต

147


พระนพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์​์ ฉายา วํสวฑฺฒโน

(นัท)

วันเกิด วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2512 280/67 ถ.พหลโยธิน ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำ�ปาง 52000 โทร : 0-5421-9226 มือถือ : 081-671-0966 e-mail : nutortho@gmail.com Line ID : Nutthapongwongwiwat เป็นบุญกุศลมาก ทีไ่ ด้มโี อกาสมาอยูร่ ว่ มชายคา วปก. ดีมาก ทีไ่ ด้มโี อกาสสร้างบุญสืบทอด พระพุทธศาสนา

พระอะณัณ บุญอาชาทอง ฉายา สุปุญฺโญ

(อะณัณ)

วันเกิด วันศุกร์ท่ี 23 เมษายน พ.ศ.2508 29 ถ.โกสีย์ 23 ต.ปากน้�ำ โพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทร : 0-5622-7555 มือถือ : 089-644-1185 e-mail : kun.anan@hotmail.com Line ID : anan1185 ได้เห็นแรงบุญ แรงศรัทธา ทีม่ ตี อ่ ศาสนา...บุญ เป็นสิง่ ทีม่ องไม่เห็น แต่จะสัมผัสได้เองเมือ่ ทำ�

พระปกศักดิ์ นิลอุบล ฉายา วรสกฺโก

(ตั๋ง)

วันเกิด วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2487 186/48 หมูบ่ า้ นเชียงใหม่กรีนวัลเล่ย์ ถ.โชตนา ต.แม่สา อ.แม่รมิ จ.เชียงใหม่ 50180 มือถือ : 089-700-3975 e-mail : poksak22@gmail.com Line ID : tangpridi เรียนรูแ้ ละเข้าใจพระธรรมวินยั หลักปริยตั ธิ รรม และพุทธประวัตมิ ากขึน้ ...เป็นประสบการณ์ท่ี หาได้ยากในชีวติ นี้

148


พระดร.กฤช คมสัน ฉายา คมสนฺโต วันเกิด วันจันทร์ท่ี 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 1 (99/22) ซ.พหลโยธิน 67 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร : 0-2972-4240 มือถือ : 093-028-0966 Line ID : Krij 093 028 09 66 เป็นโครงการทีด่ ี มีประโยชน์อย่างยิง่ ต่อการ ศึกษาธรรมมะ...ได้ปฏิบตั บิ ชู ายิง่ ใหญ่ถวาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระศิริศักดิ์ วานิชยานนท์ ฉายา ภทฺทสกฺโก

(นิ้ง)

วันเกิด วันพฤหัสบดีท่ี 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 99/22 หมูบ่ า้ นพัชราภรณ์ ถ.พุทธมณฑล สาย2 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทร : 0-2803-0834 มือถือ : 081-722-3245

พระอภิชาติ โลกานุวตั รเสถียร ฉายา สุอภิชาติโก (ชาติ) วันเกิด วันเสาร์ท่ี 18 พฤษภาคม พ.ศ.2500 27 ซ.บางพรม 19 แขวงบางพรม เขตตลิง่ ชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร : 0-2070-7225 มือถือ : 081-797-8024 e-mail : apichart.lolo8024@gmail.com Line ID : apic8024 ประทับใจไม่รลู้ มื เกินความคาดหมายนับอนันต์ ...ครัง้ หนึง่ ในชีวติ ทีไ่ ด้มาบวชเป็นกุศลอย่างยิง่

149


พระพล.ต.ชัชพีรว์ ทิ ย์ เรนวาลี ฉายา เขมวิชฺโช

(คอง)

วันเกิด วันจันทร์ท่ี 29 มกราคม พ.ศ.2505 2/1 หมูท่ ่ี 3 ต.บ้านกระแชง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทร : 0-2977-9542 มือถือ : 081-720-5465 e-mail : chutpeewit@gmail.com Line ID : Kingkong2238 ปลูกศรัทธาให้มน่ั คงในพระพุทธศาสนา ซึง่ จะ ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาและยกระดับจิตใจให้สงู ยิง่ ๆ ขึน้ ไปในอนาคต

พระพล.ต.ประวิทย์ กิตติสบุ รรณ ฉายา ปวิชฺโช (วิทย์) วันเกิด วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2505 113 ถ.วัดหนองบัวขาว-วัดพระบาทน้�ำ พุ ต.เขาสามยอด อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000 มือถือ : 092-265-8392 e-mail : kittisubun@hotmail.com Line ID : pw2233

พระชัย อรุณานนท์ชยั ฉายา อคฺคชโย วันเกิด วันอาทิตย์ท่ี 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 80/1279 หมูท่ ่ี 5 ทิพวัล 41 ถ.เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270 มือถือ : 099-195-1695 e-mail : chaidheva@gmail.com เป็นโครงการทีด่ ใี นการเรียนรูท้ างการศึกษาธรรม และปฏิบตั ิ ...พร้อมทีจ่ ะจรรโลงส่งเสริมพุทธ ศาสนาต่อไป

150


พระภิญญ์พสิ ฐิ ภัทรโสภณกิตติ์ (ก๊อฟ) ฉายา สุภิญฺโญ วันเกิด วันศุกร์ท่ี 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 56/4หมูท่ ่ี 9 ซ.ไทยร่มเกล้า ถ.กาญจนาภิเษก ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 โทร : 0-2996-5588, มือถือ : 090-959-5224 e-mail : golflame@gmail.com Line ID : Golflame ผมเชือ่ ว่ามันเป็นสิง่ ทีก่ อ่ เกิดกุศลบุญทีส่ ง่ ต่อไป ออกไปอย่างไม่มที ส่ี น้ิ สุด...เป็นบันไดก้าวหนึง่ เพือ่ สูจ่ ดุ สูงสุดคือ นิพพาน

พระไตรรักษ์ ครุธเวโช ฉายา ติรกฺโข

(อู๊ด)

วันเกิด วันเสาร์ท่ี 5 มีนาคม พ.ศ.2503 5/24 หมูบ่ า้ นชวนชืน่ แคลาย ซ.เลีย่ งเมือง15 ถ.เลีย่ งเมือง ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 โทร : 0-2525-4627, มือถือ : 081-753-0847 e-mail : Trirak@bangkokinsurance.com Line ID : aud2001 โครงการนีเ้ ป็นเรือ่ งทีไ่ ม่งา่ ยเลย แต่ดว้ ยพระ เมตตาบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และ คณะ...โครงการฯ จึงประสพความสำ�เร็จอย่างสูง

พระปียวัชร์ กิจเสถียรธีรกุล ฉายา ปิยวชิโร

(บอลซุง)

วันเกิด วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 81/23 ซ.อิสรภาพ 39 ถ.อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 มือถือ : 089-770-0511 , 086-338-5660 e-mail : penmit007@gmail.com Line ID : ball32528 เป็นบุญอย่างยิง่ ทีไ่ ด้มโี อกาสอุปสมบทหมู่ ในร่ม เมตตาบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จฯ กราบหลวง พ่อสมเด็จด้วยความเคารพอย่างสูง

151


พระนพดล พืชพันธ์ไพศาล ฉายา เขมตโล

(นพ)

วันเกิด วันจันทร์ท่ี 30 มีนาคม พ.ศ.2507 9/581 หมูบ่ า้ นมัณฑนารามอินทรา-วงแหวน ถ.กาจนาภิเษก แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 มือถือ : 099-414-2616 e-mail : nopadol310@gmail.com Line ID : nop310 ถือเป็นบุญกุศล และโอกาสอันหาได้ยากยิง่ นัก ดีใจทีไ่ ด้รว่ มสืบสานพุทธศาสนา และเป็นพลังแห่ง บุญทีห่ ลอมรวมกันอย่างยิง่ ใหญ่

พระน.อ.ปิยะนันท์ นันทเสนีย์ ฉายา ปิยนนฺโท

(ต้น)

วันเกิด วันอาทิตย์ท่ี 9 มีนาคม พ.ศ.2512 17/17 ซ.ร่วมสุข ถ.ติวานนท์ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 มือถือ : 085-114-8666 Line ID : 0851148666

พระพ.ต.อ.นำ�เกียรติ ธีระโรจนพงษ์​์ ฉายา กิตตินีโต (น้ำ�) วันเกิด วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2509 3/221 หมูท่ ่ี 6 ต.กระตีบ อ.กำ�แพงแสน จ.นครปฐม 73180 มือถือ : 089-074-2424 Line ID : Namkiat.tee เป็นโครงการทีด่ เี ป็นอย่างมาก สร้างโอกาสให้กบั ทุกคน ได้อปุ สมบทในแดนพุทธภูมิ อันเป็นบุญ กุศลครัง้ ทีย่ ง่ิ ใหญ่ทส่ี ดุ สำ�หรับชีวติ นี้

152


พระพ.ต.อ.นเรวิช สุคนธวิท ฉายา ญาณวิชฺโช

(กุ้ง)

วันเกิด วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2512 76/104 ซ.เทวีวรญาติ ถ.ยุคล 2 แขวงวัดเทพศิรนิ ทร์ เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100 มือถือ : 086-529-1544, มือถือ : 087-550-4444 e-mail : kung2844@gmail.com Line ID : policecadet44 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุตยิ มั ปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยมั ปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

พระโชคชัย ตันติวฒ ั นกูล ฉายา ธมฺมชโย

(หมิง)

วันเกิด วันเสาร์ท่ี 28 ธันวาคม พ.ศ.2511 278 ถ.เจริญนคร 14 แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 มือถือ : 089-777-8848 e-mail : ming.mono@gmail.com Line ID : ming_gnim

พระเกรียงไกร แสนเจริญสุทธิกุล ฉายา สุทฺธิกุโล (เกรียง) วันเกิด วันศุกร์ท่ี 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2511 101/26 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 45 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร : 0-2423-0767 มือถือ : 092-639-2419 e-mail : kscrs@hotmail.com Line ID : kkriengkrai ความศรัทธา และจุดมุง่ หมาย ทำ�ให้คนทีม่ คี วาม แตกต่างทัง้ อายุ และการดำ�เนินชีวติ สามารถ หลอมรวมกันเป็นหนึง่

153


พระพ.ต.ท.ฤตวีร์ สุขเจริญ ฉายา สุขวฑฺฒโน

(ก๊อง)

วันเกิด วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2519 67/38 หมูท่ ่ี 3 ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 มือถือ : 081-825-6545 e-mail : kongz@hotmail.com Line ID : Kongz52 สุขใจ

พระพ.ต.ท.ศาสตรา อ่อนรัศมี ฉายา กิตฺติสทฺโท

(ตั๊ก)

วันเกิด วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2520 88/89 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส เอ็กคลูซีฟโซน หมู่ที่ 1 ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 มือถือ : 081-750-1174, มือถือ : 081-455-3652 e-mail : takkatan3652@hotmail.com Line ID : การเข้ามาร่วมอุปสมบทในครัง้ นี้ นับเป็นบุญอันยิง่ ใหญ่ในชีวติ ของกระผมและครอบครัว...จะรักษา ศีลอย่างสม่�ำ เสมอ

พระพ.ต.ต.อรรถพล ดารก ฉายา อตฺถพโล

(โอ่ง)

วันเกิด วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2527 724/19-20 ถ.มังกร แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 มือถือ : 081-880-5898 e-mail : athapol.d@gmail.com Line ID : Ong4561 เป็นโครงการทีเ่ กิดประโยชน์ตอ่ พุทธศาสนิกชน สังคม ประเทศชาติ ภายใต้รม่ พระบารมีของเจ้า ประคุณสมเด็จพ่อฯ

154


พระส.ต.ท.จักรพงษ์ ดารก ฉายา จกฺกวํโส

(โอ๋)

วันเกิด วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2531 430 หมูท่ ่ี 3 ต.ประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรรี มั ย์ 31140 มือถือ : 085-630-3309 e-mail : jakkapongdaraok@gmail.com Line ID : 5518051987 ภาคภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของโครการ

พระปิยโรจน์ พลึกรุง่ โรจน์ ฉายา ปิยโรจโน

(ทู)

วันเกิด วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2530 บ้านวารีภิรมย์ 88 หมู่ที่ 10 ถ.วัดศรีวารีน้อย ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 มือถือ : 089-698-5288 e-mail : toolovely_mk@hotmail.com Line ID : Toojubjub ขอบคุณทีใ่ ห้โอกาสร่วมบวชในโครงการ...ได้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับพระพุทธศาสนา และได้หลักธรรม มาประกอบใช้ในการดำ�เนินชีวติ

พระพิษณุ ช้างวงษ์ ฉายา สิริปุญฺโญ

(บอย)

วันเกิด วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2531 8/147 หมู่บ้านบุญอนันต์ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 มือถือ : 084-111-6166 e-mail : pissanu.b@gmail.com Line ID : boyskyes ขอขอบคุณเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านได้เมตตา จัดโครงดีๆ ให้เราได้ศกึ ษาพุทธศาสนาได้ดยี ง่ิ ขึน้ และขอขอบคุณพีๆ ่ ทีมงานทีด่ แู ลอย่างดี

155


ประมวลภาพความประทับใจบัสที่ ๒

156


157


กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน เมืองไพศาลี

รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบั สคั น ที่ ๓ สี ส้ ม

158


คณะพระอาจารย์ประจำ�รถบัส คันที่ ๓

พระครูปัญญาฐิติวัฒน์

พระครู ปลั ด สุ วั ฒนวิ สุ ท ธิ ส ารคุ ณ

ผู้ดูแลประจำ�รถบัส คันที่ ๓

คุณแสวง ทิพรัต นราภรณ์

คุณ ดาว์ปกรณ์ รัตนสุว รรณ

159


พระภก.อัศวิน จงเจริญจิตเกษม ฉายา จิตฺตเขโม

(อู๋)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2511 250/635 หมู่บ้านกรีนวิลล์ ซ.กรีนวิลล์ 6/4 ถ.พุทธมณฑล สาย 2 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 มือถือ : 086-309-1962 e-mail : asawin_j@yahoo.com Line ID : asawinj รู้สึกซาบซึ้งและสำ�นึกในพระเมตตาบารมีในพระ อุปัชฌาย์ของเรา การบวช ณ ดินแดนพุทธภูมิ ยังวาสนาให้ได้พบกัลยาณมิตรอีกมากมาย

พระพ.อ.สุรเดช เคารพครู ฉายา สุรเตโช

(ต้อม)

วันเกิดิ วันพุธที่ 26 มิถนุ ายน พ.ศ.2511 73 หมูท่ ่ี 5 ต.คลองมะเดือ่ อ.กระทุม่ แบน จ.สมุทรสาคร 74110 โทร : 0-2928-5851, มือถือ : 086-669-8777 e-mail : suradech@rocketmail.com Line ID : suradech2738 ปลาบปลื้ม และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง...ถือได้ว่า เป็นเสี้ยวหนึ่งของชีวิตชาวพุทธ ที่มิอาจลืมเลือนได้

พระพล.ต.ท.วราธร ตันศรีสกุล ฉายา วราธโร

(บู้)

วันเกิดิ วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ.2501 514 ซ. 30 ถ.พัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร : 0-2318-1144, มือถือ : 083-096-5528 e-mail : varathorn1733@gmail.com Line ID : 0830965528 เป็นโครงการที่ดีมาก ต่อยอดให้พุทธศาสนิกชนได้มี โอกาสไปอุปสมบท และได้ไปทัศนศึกษาในสถานที่ต้น กำ�เนิดพระพุทธศาสนา

160


พระพ.ต.ท.อาณัติ กระแสศัพท์​์ ฉายา อาณตฺติโก วันเกิดิ วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ.2507 26/2 หมูท่ ่ี 8 ต.กระดังงา อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 75120 มือถือ : 089-897-9378 e-mail : Line ID : Anut22 ได้มีโอกาสไปสร้างบุญ ณ ดินแดนพุทธภูมิ เป็นมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว และได้เป็น ส่วนหนึ่งในการสืบทอดพระพุทธศาสนา

พระพล.ท.ปริญญา สุจริตตานันท์ ฉายา สุปริญฺโญ (แดง) วันเกิดิ วันศุกร์ท่ี 28 มีนาคม พ.ศ.2501 95 ซ.ช่างอากาศอุทิศ 3 แยก 8 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพ 10210 มือถือ : 093-505-6455 e-mail : prinyasamorn@hotmail.com Line ID : prinyasamorn ดีใจและประทับใจเป็นอย่างยิง่ ทีค่ รัง้ หนึง่ ในชีวติ ได้บวชและแสวงบุญตามรอยบาทพระศาสดา ทัง้ ๔ สังเวชนียสถานทีป่ ระเทศอินเดีย

พระสุระเชษฐ์ โกศลสมบัตนิ นท์ (ใหญ่) ฉายา ภทฺทสุโร วันเกิดิ วันพฤหัสบดีท่ี 14 มกราคม พ.ศ.2503 5/20 หมูบ่ า้ นชัยพฤกษ์ รามอินทรา ถ.วัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร : 0-2945-4785, มือถือ : 081-844-6956 e-mail : surachesthak@gmail.com Line ID : surachestha เป็นโครงการทีด่ แี ละมีประโยชน์มาก ด้วยเมตตาจิต ของหลวงพ่อสมเด็จพระธีรญานมุนโี ดยแท้ ท่านมี เมตตาสูงมากจริงๆ

161


พระอภิสทิ ธิ์ ศรีสมบูรณ์โชติ ฉายา อภิสิทฺโธ

(ต้อ)

วันเกิดิ วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2514 85/33 หมูท่ ่ี 1 ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130 โทร : 0-3857-7920, มือถือ : 089-891-3520 e-mail : tor.richy@gmail.com Line ID : Torss อบอุน่ เสมือนเป็นพีน่ อ้ งกัน...เหมือนได้มชี วี ติ ใหม่ ทีม่ ศี ลี สมาธิ ปัญญา เป็นแนวทางในการดำ�เนิน ชีวติ

พระวิบลู ย์ ธงรัตนะ ฉายา อคฺควิปุโล

(เอ๋)

วันเกิดิ วันอาทิตย์ท่ี 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 36 หมูท่ ่ี 4 ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230 โทร : 0-3638-7667, มือถือ : 081-994-6644 e-mail : vibult@gmail.com Line ID : Vibul1234 ได้พบเห็นสิง่ ทีเ่ ราเคยแต่ได้อา่ นหนังสือ โครงการฯ ได้ จัดให้ได้เข้าถึงตามรอยพุทธองค์ แบบเข้าใจแบบทีช่ าว พุทธควรจะได้รู้

พระพ.อ.อภิภู ทรัพพ์ภาคิน ฉายา อภิภูโต

(ตู่)

วันเกิดิ วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ.2508 2/763 ถ.พหลโยธิน แขวงอนุเสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพ 10220 โทร : 092-260-9999 เป็นโครงการทีด่ ตี อ่ พระพุทธศาสนา

162


พระสมศักดิ์ ถาวรวัฒนยงค์ (พี่แว่น) ฉายา สกฺกสโม วันเกิดิ วันศุกร์ท่ี 13 สิงหาคม พ.ศ.2508 23/29 ซ.เทศบาล 10 ถ.เพชรเกษม ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม 73160 โทร : 0-2420-0504, มือถือ : 092-262-9999 e-mail : sakthaworn@gmail.com Line ID : 0922629999 อนุโมทนาบุญยิง่ ใหญ่...เป็นโครงการทีส่ ร้าง พุทธทายาท ได้อย่างดียง่ิ

พระศ.พล.ต.ต.ดร.วีรพล กุลบุตร ฉายา วีรพโล

(วี)

วันเกิดิ วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 36 ซ.คูบ้ อน 28 แยก 2 ถ.คูบ้ อน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 มือถือ : 08-6885-8462 e-mail : gveerapol@gmail.com Line ID : Veerapol2238 ยอดเยีย่ ม...มีสติตลอดเวลา รีบทำ�ความดี อย่าประมาท

พระพ.ต.อ.จักรกฤษณ์ คุม้ รอบ ฉายา อภิจกฺโก วันเกิดิ วันอาทิตย์ท่ี 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 90/197 หมูท่ ่ี 7 ต.สามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทร : 034-323-209, มือถือ : 086-882-8877 e-mail : k.juckgris@gmail.com Line ID : Jackkob เป็นการสร้างศรัทธาอย่างมากทีส่ ดุ ในพระพุทธ ศาสนา จะนำ�สิง่ ทีป่ ระพฤติปฏิบตั จิ ากโครงการ มาเป็นหลักในการดำ�เนินชีวติ

163


พระไพรัตน์ ทับทิมเทศ ฉายา วิรตโน

(รัตน์)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 592 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 42 ถ.สุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร : 0-2713-3000, มือถือ : 099-351-5352 e-mail : pairatt@gmail.com ประทับใจในความเมตตา ห่วงใยของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ผู้มีอุปการะคุณ พระอาจารย์พี่เลี้ยง วปก.รุ่นพี่ และเพื่อนพ้องน้องพี่ รุ่น ๑๘

พระว่าทีร่ .ต.สุทธิศกั ดิ์ ประศาสนครุการ ฉายา สุทฺธิสกฺโก วันเกิดิ วันจันทร์ท่ี 13 กันยายน พ.ศ.2508 684 ถ.เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุน่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 มือถือ : 081-846-0191 e-mail : sutthisak _p@hotmail.com Line ID : sutthisak-hi เป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้เป็นพุทธบุตรของพระพุทธเจ้า และเป็นลูกของสมเด็จฯ และมีเพื่อนเป็นพระนวกะ ๑๒๓ รูป

พระรุจ ธรรมมงคล ฉายา ธมฺมมงฺคโล

(รุจ)

วันเกิดิ วันเสาร์ท่ี 10 เมษายน พ.ศ.2509 คลีนคิ ศูนย์แพทย์พฒ ั นา ถ.ประดิษฐมนูธรรม เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร : 02-203-5000, มือถือ : 081-611-0330 e-mail : roogetham@gmail.com Line ID : rooget โครงการสืบสานพุทธศาสนาที่มีความสำ�คัญ และยังประโยชน์ทางธรรมแด่ผู้รับการอุปสมบท

164


พระสุรนิ ทร์ งามสง่าพงษ์ ฉายา วรสุรินฺโท

(สุรินทร์)

วันเกิดิ วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2513 100 หมูท่ ่ี 9 ถ.พุทธมณฑล สาย5 ต.ไร่ขงิ อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 มือถือ : 081-341-1671 ดีมาก...ความดีชนะทุกอย่าง

พระธีรร์ ฐั ภูวพัฒน์รวีกลุ ฉายา ธีรรฏฺโฐ

(เอก)

วันเกิดิ วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ.2515 15/195 ซ.สาทร 11 ถ.สาทร เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 มือถือ : 080-847-1999 e-mail : noppvanathong_54@hotmail.com Line ID : 0883315454 เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ ทำ�ให้คนเข้าใจ พระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งใน การสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปให้ยาวนาน

พระพ.ต.อ.สีหเดช สระกอบแก้ว ฉายา สีหเตโช

(โชค)

วันเกิดิ วันศุกร์ท่ี 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 89/4 หมูบ่ า้ นลานมณี แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 มือถือ : 084-080-9919 e-mail : choke.zaza@gmail.com Line ID : Tammasala สุดยอด เป็นหนทางก้าวเดินสู่ความเจริญทั้งทางโลก และทางธรรม

165


พระธัชชญาณ์ณชั เจียรธนัทกานนท์ (ธัช) ฉายา ธชญาโณ วันเกิดิ วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2521 30, 32, 32/1-5 ซ.เจริญราษฎร์ 7 แยก 7 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพ10120 โทร : 0-2292-1818, มือถือ : 088-858-9999 e-mail : at.thoch@hotmail.com line ID : Thoch99 สติ สมาธิ ปัญญา

พระศุภักษร อุ่นวิเศษ ฉายา สุภกฺขโร

(โอ)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 126/1410 หมู่ที่ 3 ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 มือถือ : 064-292-7062 e-mail : line ID : 0857010757 เป็นโครงการทีดีครับ...จะนำ�มาปรับใช้ในชีวิต ประจำ�วัน

พระสุรพงษ์ แดงประเสริฐ ฉายา ธมฺมสูโร

(ไปรท์)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2527 45/405 ถ.พระรามสอง ซ. 9 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 มือถือ : 099-001-8700 e-mail : priize.34@gmail.com line ID : Priize.dps เป็นโครงการที่ให้โอกาสที่ดีมากๆ อยากให้มีต่อไป อีกในรุ่นต่อๆ ไป

166


พระรณกร วิรตั ยาภรณ์ ฉายา รณงฺกโร

(โจ้)

วันเกิดิ วันจันทร์ท่ี 11 สิงหาคม พ.ศ.2529 35 ถ.เฉลิมเขต 3 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร : 0-2224-3997, มือถือ : 088-946-6954 e-mail : ronnakorn2529@gmail.com Line ID : Chefjoe2428 ได้พบเจอกัลยาณมิตรที่ดี ที่มีบุญนำ�พามาพบเจอกัน

พระพงศ์กรณ์ เลิศฤทธิ์ดำ�รงค์ ฉายา วํสกโร

(กรณ์)

วันเกิ​ิด วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2530 293 หมูท่ ่ี 9 ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 17140 โทร : 056-438-445, มือถือ : 091-453-6915 e-mail : pongkorn 555@hotmail,com Line ID : Pongkorn ดีและขอบคุณสำ�หรับโครงการครับ

พระปรัชญา รักษ์เลิศวงศ์ ฉายา อคฺคปญฺโญ

(ภูมิ)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2538 75/1 หมู่ที่ 1 ต.สะพานไทย อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 13250 โทร : 0-3595-0741, มือถือ : 089-904-4486 e-mail : poom-pr@hotmail.com Line ID : 0899044486 โอกาสจาริกตามรอยองค์พระศาสดานั้น ช่วยให้เรา คิดทำ�ความดี ก่อนร่างกายจะเสื่อมสลายไป

167


ประมวลภาพความประทับใจบัสที่ ๓

168


169


ปรินิพพานสถูป สาลวโนทยาน กุสินารา

รายชื่อผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบัสคันที่ ๔ สีเหลือง

170


คณะพระอาจารย์ประจำ�รถบัส คันที่ ๔

พระศรีวิศาลคุณ

พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์

ผู้ดูแลประจำ�รถบัส คันที่ ๔

คุณชาตรี ประสพรัตนสุข

คุณณัฐพัฒน์ คหะนุรักษ์ 171


พระเทอดศักดิ์ กรรณสูต ฉายา ธมฺมสกฺโก วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2488 12/6 หมู่ที่ 1 ต.ท่าตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 มือถือ : 081-995-7456 โครงการนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้อุปสมบทและ สามารถนำ�หลักธรรมไปปฏิบัติต่อตนเองและสังคมได้ เป็นอย่างดี

พระมนตรี ศรีเจริญ ฉายา ญาณมนฺติโก

(อ๊อด)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ.2492 600/1384 หมู่บ้านสีวลี ซ.6/6 ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทร : 0-2536-6668, มือถือ : 081-833-5898 e-mail : m_sricharoen@hotmail.com line ID : m.sricharoen ทำ�ให้ชีวิตผมเปลี่ยนไปจากคนที่นับถือศาสนาพุทธแต่ ในนาม เป็นคนที่นับถือศาสนาพุทธแบบปฏิบัติตาม ศิล ๕ อย่างเคร่งครัด

พระพิชิต ลิขิตสายชล ฉายา สุวิชิโต

(ลิ้ม)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2498 167 ซ.ตากสิน19 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 มือถือ : 081-944-1058 line ID : 0819441058 ประทับใจ...ได้ประสบการณ์ชีวิตใหม่และเพื่อนใหม่

172


พระทวี ทวีผลเจิญ ฉายา ทฺวิวฑฺฒโน

(ทวี)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ.2498 90 หมู่ที่ 5 ต.บึงชำ�อ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี 12170 โทร : 089-415-6464, มือถือ : 089-415-6464 e-mail : Line ID : มีความรู้สึกเข้าใจพุทธศาสนา ความเป็นมาที่ถูกต้อง ได้ทำ�บุญบำ�เพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมี ความสุข

พระพ.ต.อ.ดร.สุริยะ ประภายสาธก ฉายา ภทฺทสุริโย

(ยะ)

วันเกิ​ิด วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2496 39/10 หมู่ที่ 1 ซ.เรวดี 18 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 มือถือ : 081-753-0292 e-mail : suriya_imm@hotmail.com Line ID : 0817530292 เป็นโครงการที่ดีในการช่วยธำ�รงพุทธศาสนาให้คงอยู่ และสามารถเผยแพร่ไปได้ทั้ง ๗ ทวีป

พระพ.ต.อ.ดุริยะ ปานกลิ่น ฉายา สุริโย

(ต๊ะ)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2502 68/7 หมู่ที่ 1 ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ 36130 มือถือ : 081-718-0081 ดีมากครับ...การสร้างสมบุญต้องทำ�ตลอด

173


พระสมบูรณ์ กิจเจริญยืนยง ฉายา สมฺปุณฺโณ

(ขาว)

วันเกิ​ิด วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 420 หมู่บ้านอรุณอัมรินทร์วิลล่า ซ.อัมรินทร์ 30 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 มือถือ : 081-655-4455 line ID : 66816554455 ดี...การบวชช่วยทำ�ให้เราจิตใจสงบขึ้นเยอะ ทำ�ให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองมากขึ้น

พระธิติวัฒน์ ศิริกูลโยธิน ฉายา ธิติวฑฺฒโน

(หนุ่ม)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2517 ห้อง 1044 เกษมสำ�ราญแมนชั่น1 259 ซ.เจริญมิตร ถ.สุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 มือถือ : 097-235-4291 e-mail : chaois999@gmail.com line ID : Num_9751 เป็นโครงการที่ดี ทำ�ให้เรารู้จักการละกิเลส...การถือศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย

พระพ.อ.อานนท์ เพชรคำ� ฉายา อานนฺโท

(นนท์)

วันเกิ​ิด วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2507 ศูนย์การทหารราบ ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77120 ดีใจมากที่ได้มาเข้าโครงการ วปก. ๑๘

174


พระพ.อ.อัฏฐพล ลัดใหม่กุลวัฒน์​์ ฉายา อฏฺฐพโล

(ชาย)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2509 90/36 ซ.วิภาวดี 20 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขต จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร : 0-2619-1409, มือถือ : 081-907-7286 e-mail : somchaimai@hotmail.com Line ID : Chaimai26 เป็นโครงการที่ดี และเป็นกุศล ภูมิใจมากที่ได้เป็น สมาชิก วปก. ๑๘

พระอนุชิต อมรชัยประสิทธิ์ ฉายา อนุชิโต

(ชิต)

วันเกิ​ิด วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2507 300/7 หมู่ที่ 6 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เขียงใหม่ 50140 มือถือ : 089-700-1709 e-mail : nvshop@gmail.com Line ID : nvshop วปก. เป็นศูนย์รวมของการให้ครับ

พระวิชัย ลอยสรวงสิน ฉายา ญาณวิชโย

(เว้ง)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2508 615/3 ถ.พระราม2 แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทร : 0-2452-2762, มือถือ : 081-358-7444 e-mail : wichai@simthai.com Line ID : wichai.loy เกิดเป็นคนไทย โชคดีมาก เพราะว่าคนอินเดีย ลำ�บากมาก โครงการนี้ ทำ�ให้เห็นจริงๆ อย่าง ชัดเจน

175


พระพ.อ.นิติ โพธิ์อุบล ฉายา นิติสาโร

(โจ้)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2508 87/9 หมู่ที่ 11 ต.คูคต อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทร : 0-2994-7997, มือถือ : 081-847-9389 e-mail : niti_2508@hotmail.com line ID : nitimtts

พระร.ท.ศุภกิจ หล่อเหลี่ยม ฉายา สุภกิจฺโจ

(หนึ่ง)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2521 84/274 หมู่ที่ 1 ถ.ทหาร แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 มือถือ : 086-994-7758 e-mail : supakitlowleam@hotmail.com line ID : Supakit2521 เมื่อบุญถึงพร้อม ทุกอย่างก็สำ�เร็จด้วยดี...ยิ่งวาง ยิ่งเบา ยิ่งถือ ยิ่งหนัก

พระวิชาญ ศรีอมรกิจกุล ฉายา วิชญฺโญ วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2509 98/153 หมู่ที่ 10 ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 โทร : 0-2194-9081, มือถือ : 081-640-1623 e-mail : wichan2509@yahoo.com line ID : wichan2509 ประทับใจ และนำ�สิ่งที่ได้เรียนรู้ กลับมาปฎิบัติใน ชีวิตจริง...จงมีสติ

176


พระเมธี ศรีวิริยะเลิศกุล ฉายา เมธิโก

(ฮิตเล่อร์)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2510 160/18 หมู่บ้านกฤษดานคร 31 ซ.รัศมี 13 ถ.บรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทร : 0-2880-8272, มือถือ : 081-621-9639 e-mail : metee.basicgear@gmail.com Line ID : hitler-metee ประทับใจในโครงการวปก. ของท่านเจ้าประคณ สมเด็จฯ เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มากยิ่งขึ้น

พระเกียรติศักดิ์ สำ�เภาเงิน ฉายา วรกิตฺติสกฺโก

(หนึ่ง)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2512 129/168 หมู่ที่ 8 ถ.ราชพฤกษ์ ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร : 0-4422-5815, มือถือ : 081-814-1332 e-mail : kiattisa@hotmail.com Line ID : kiattisak.s ประทับใจ ถือว่าโชคดีที่ได้ บวช

พระร.อ.สุบัน โสวาที ฉายา อคฺคสุปณฺโณ

(บัน)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2524 183/819 บ้านพักสวัสดิการ อาคารชั้นนายร้อย กองบัญชาการกองทัพไทย ถ.สรงประภา แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 มือถือ : 087-177-3252 e-mail : bannco948@gmail.com Line ID : 0871773252 เป็นบุญกุศล และความภาคภูมิใจของวงศ์ตระกูล ที่ได้มาบวช ณ ดินแดนพุทธภูมิ ในโครงการ วปก. ๑๘ นี้อย่างสุดซึ้ง

177


พระพ.ต.ท.พีระฉัตร สาขา ฉายา วีรฉตฺโต

(ยาว)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2520 19/169 อาคารยูคอนโด รัช-วิภา ซ.ทรงสะอาด ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 มือถือ : 081-872-0922 e-mail : peerachat3753@gmail.com line ID : yaaw3753 รู้สึกประทับใจที่ได้ไปบวชในโครงการนี้ครับ

พระพ.ต.ท.วิทยากูล เอื้อยฉิมพลี ฉายา วิชฺชากุโล

(ฮูก)

วันเกิ​ิด วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2520 99/9 หมู่บ้านจิรทิพย์ ถ.สุขาภิบาล 5 ซ. 31 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร : 0-2792-0603, มือถือ : 062-159-5653 e-mail : wittayakul52@hotmail.com line ID : kittipak52 เป็นโครงการที่ดีมากๆ อยากให้จัดโครงการนี้ ตลอดไปครับ

พระพ.ต.ต.กมเลศ พูลสุขโข ฉายา กมโล

(มาร์ช)

วันเกิ​ิด วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 79/99 หมูบ่ า้ นศุภาลัยวิลล์ วงแหวนปิน่ เกล้า-นครอินทร์ หมู่ที่ 6 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 มือถือ : 080-777-4662 e-mail : kamaretch.pran62@gmail.com line ID : 0807774662 ประทับใจที่ได้อุปสมบทครั้งนี้ และประทับใจ คณะทำ�งานทุกๆ คนครับ

178


พระสรรเพชญ พูลสุขโข ฉายา ปวรสุโข

(แม็ก)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2533 79/99 ม.ศุภาลัยวิลล์ วงแหวนปิ่นเกล้า-นครอินทร์ หมู่ที่ 6 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 มือถือ : 081-874-5842 e-mail : sanphet0638@gmail.com Line ID : lightstar6994 อยากให้มีโครงการ วปก ต่อไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด... สามัคคีคือพลัง

พระอนุรักษ์ แก้วศิริ ฉายา อนุรกฺโข

(ติ๊ก)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 662/37 ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทร : 0-2677-8888 ต่อ 3917, มือถือ : 097-214-1087 e-mail : anurak.kaewsiri@kingpower.com Line ID : Tiknavigator11 เป็นโครงการที่ปลูกธรรมมะในจิตใจของผู้บวช ทำ�ให้ มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจ กราบขอบพระคุณครับ

พระดิษฐพัฒน์ วงษ์กระสันต์​์ ฉายา ติฏฺฐวฑฺฒโน

(เบ็น)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ.2537 98/52 หมูบ่ า้ น Casaville 2 ถ.ราชพฤกษ์ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร : 0-2195-2095, มือถือ : 089-979-2099 e-mail : sgben27832@hotmail.com Line ID : dukeqben ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของ วปก. ๑๘ จะนำ�หลักธรรมและคำ�สอนไปใช้ในชีวิตประจำ�วันต่อ ไปครับ

179


พระอรรถพจน์ รัตนสุมาวงศ์​์ ฉายา อตฺถวจโน

(พจน์)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2513 30 ซอยจันทน์ 18/7 แยก 20 ถนนจันทน์ แขวงทุ่ง วัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทร : 0-2213-1242, มือถือ : 086-068-2666 e-mail : superbiggiant70@yahoo.com Line ID : pinpin08022013 เป็นบุญ ที่ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสมเด็จฯ ที่ให้อุปสมบทที่แดนพุทธภูมิ

ประมวลภาพความประทับใจบัสที่ ๔

180


181


ธัมเมกขสถูป สารนาถ เมืองพาราณสี

รายชื่อผู้เข้ารับการ

บรรพชาอุปสมบท

รายชื ่อ รถบัสคันที่ ๕ สีม่วง ผู้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท รถบั สคั นที่ ๕ สีม่ว ง

182


คณะพระอาจารย์ประจำ�รถบัส คันที่ ๕

พระมงคลรัตนสุธี

พระปรีชามงคลญาณ

ณ ผู้ดูแลประจำ�รถบัส คันที่ ๕

คุณโชคไชย กันยาวิริยะ

คุณ ธานินทร์ ศรีนันทพล

183


พระโชคชัย เสียงแก้ว ฉายา อภิชโย

(โชค)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2493 132 หมู่ที่ 1 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 มือถือ : 095-785-3666 line ID : Chokchqi ดีใจที่ได้บวช ดีใจที่สมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ ได้เป็นพระร่วมรุ่น วปก. ๑๘ และได้บวชที่ดินแดน พุทธภูมิ ที่สุดของบุญใหญ่ในชีวิตนี้

พระวันเชาว์ จันทร์ผล ฉายา จนฺทพโล

(โจ๊ะ)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2493 77 ถ.เทศบาล 4 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000 มือถือ : 086-799-9600 พึงพอใจระดับ 10

พระธีระวัฒน์ วิทูรปกรณ์ ฉายา ธีรวฑฺฒโน

(ธี)

วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 36/28 ซ. 3/4 หมู่บ้านลดาวัลย์ ศรีนครินทร์ ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทร : 0-2758-6311-2, มือถือ : 081-755-6438 e-mail : teerawatv@eppcup.com line ID : Teerawat ดีมาก ได้ความรู้เรื่องพุทธศาสนา การเป็นสมณะที่ดี มีวินัย การปฏิบัติที่จะได้มรรคผลนิพพาน

184


พระพิชัย วิรุฬห์วรวุฒิ ฉายา วิชโย

(จักหงี)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ.2519 152/10-11 ถ.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 โทร : 0-4381-2284, มือถือ : 081-872-4325 e-mail : neongee5555@gmail.com line ID : ngee-tk รู้สึกดีมาก หากมีโอกาสขอเป็น Bus boy เพื่อไปดูแล พระรุ่นถัดไป...การแสวงบุญในพุทธภูมิเป็นความสุขที่ หาได้ยาก

พระพูลสิริ ธรรมสโรช ฉายา ธมฺมสโรโช

(ปุ่ม)

วันเกิ​ิด วันอาทิตยที่ 5 เมษายน พ.ศ.2502 6127/1 หมู่บ้านพาทิโอ งามวงศ์วาน ซ.งามวงศ์วาน 47 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 0-5321-8374, มือถือ : 081-9515551 e-mail : poonsirid@gmail.com line ID : Poonsiri-pum เป็นบุญที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม...จะทำ�บุญให้มากๆ

พระดร.ภาคิน สมมิตรธนกุล ฉายา สมมิตฺโต

(เล็ก)

วันเกิ​ิด วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2505 70/485 หมู่ที่ 3 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 มือถือ : 087-913-8888 e-mail : parkin223@gmail.com line ID : Parkin.lek23 ปลื้มปิติ สุขใจ ได้ร่วมจารึกบุญ เป็นสะพานบุญ กับเพื่อน วปก. ๑๘ ภายใต้ร่มบารมีสมเด็จฯ พระ อุปัชฌาย์ของพวกเราทุกคน

185


พระพ.ต.ท.เทพวิสิทธิ์ โพธิเก่งฤทธิ์ (ฮิม) ฉายา เทววิสิทฺโธ วันเกิ​ิด วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2504 88 ซ.เซ็นต์เสถียร (สมเด็จเจ้าพระยา ซ.10) แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 มือถือ : 063-546-6169 e-mail : him_tepvisit@hotmail.com Line ID : 0814578288 ซาบซึ้งต่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่เมตตา จัดโครงการที่ ทุกคนได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม สร้างกุศลผลบุญอันยิ่ง ใหญ่

พระพ.ต.ท.พุทธ โสสุทธินัน ฉายา ญาณโพชโน

(พุทธ)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2519 9/4 หมู่บ้านซิตี้ปาร์ค ศรีนครินทร์ ถ.ศรีนครินทร์ 45 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 มือถือ : 099-225-8777 e-mail : sosut@hotmail.com, sosut08@gmail.com Line ID : Sosut5656 ได้เติมเต็มส่วนที่ขาด ทำ�ให้เกิดความเลื่อมใส ณ แดนพุทธภูมิ ศรัทธาในพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

พระพ.อ.สุพจน์ วงษ์กระสันต์ ฉายา ธมฺมวาที

(อ้อ)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 53/20 ถ.ทหาร แขวงถนนนครไขยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 มือถือ : 096-291-9614

186


พระพล.ต.พสิษฐ์ ภูวัตณัฐสิทธิ์ ฉายา วสิฏฺโฐ

(โจ้)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2505 53/7 ถ.ทหาร แขวงถนนนครไชรศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 มือถือ : 081-859-9668 e-mail : joey.2505@hotmail.com line ID : Pasit2827 ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา...ได้สร้างบุญกุศล ทำ�ให้เกิดบุญบารมี

พระรัฐธนินท์ ธนพงศ์อมร ฉายา อคฺครฏฺโฐ

(ส่งเล้ง)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 48/3 หมู่ที่ 3 ถ.สุขุมวิท ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทร : 0-3819-1003, มือถือ : 091-545-4545 e-mail : zongleng55@gmail.com line ID : 0915454545 เยี่ยมมาก ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา ได้บวชให้ คุณแม่ ได้รู้จักตนเอง ได้กัลยาณมิตร ได้ความรู้ที่ กระจ่างแจ้ง ได้อุปัชฌาย์ที่เลิศล้ำ�

พระชูชัย ปวีณพงษ์พัฒน์ ฉายา ฉนฺทชโย

(แหลม)

วันเกิ​ิด วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2504 342/101 ถ.รามอินทรา 14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร : 0-2542-0555, มือถือ : 081-642-9091 e-mail : chuchaicp@yahoo.com line ID : Chuchaicp เป็นประสพการณ์ที่ดี่สุดครั้งหนึ่งของชีวิตลูกผู้ชาย ...เป็นการปลูกศรัทธาที่ดีมากครับ

187


พระพ.ต.ท.สมเกียรติ สีมาคุปต์ ฉายา ญาณกิตฺติโก

(เกียรติ)

วันเกิ​ิด วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ.2509 50/805 หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ลำ�ลูกกาคลอง 2 ต.คูคต อ.ลำ�ลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 มือถือ : 081-908-8554 e-mail : somkiet 82966@gmail.com Line ID : somkiet 805 มีความรู้สึกดีต่อโครงการนี้มาก ทั้งผู้ที่บวชด้วยกัน และทุกท่านที่ร่วมเดินทางไปทุกคน

พระพ.ต.ต.วิทวัช น้อยพานิช ฉายา ธมฺมธโร

(กอล์ฟ)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2527 46/9 หมู่ที่ 9 ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000 มือถือ : 085-999-9191, 081-375-5566 e-mail : golfwitta61@hotmail.com Line ID : wichy333 ประทับใจมากๆ...เป็นโครงการที่ดี และทำ�ให้เราได้ เข้าใจเรื่องราวในอดีตพุทธกาลดียิ่งขึ้น

พระอำ�นาจ ทัศนียกุล ฉายา สีลวโส

(โหน่ง)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2509 318/38 หมู่บ้านโนเบิลทารา ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร : 0-2950-2468, มือถือ : 081-931-1331 e-mail : amnattas@gmail.com Line ID : amnattas เราคือชุมชนเครือข่ายชาวพุทธที่พร้อมต่อกร กับกิเลส ร่วมกันตลอดไป

188


พระพ.จ.อ.ชยุต พรมลัทธิ์ ฉายา ชยุตฺตโม

(ไพ)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2515 951/68 แขวงบางปะกอก เขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 มือถือ : 098-467-3116 อยากให้มีโครงการนี้ต่อๆไป

พระรศ.ดร.สมชาย นำ�ประเสริฐชัย (อิ้ว) ฉายา ภทฺทชาโย วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2512 80/106 ซ. 2/5 หมู่บ้านกฤษดานคร 29 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 มือถือ : 081-376-9076 e-mail : somchai@ku.th line ID : Aew E.43 รู้สึกดีและผูกพันกับโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ

พระพิศิษฐ์ พัฒนพิพัตร ฉายา ธมฺมวิสิฏฺโฐ

(ปีเตอร์)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2513 76 ซ.นราธิวาสราชนครินทร์ 8 ถ.ราธิวาสราชนครินทร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทร : 0-2675-4767, มือถือ : 088-636-6262 e-mail : phisithp@hotmail.com line ID : Peter1885 เป็นโครงการที่ดี ได้รู้ซึ้งถึงศาสนาพุทธถึงแก่นแท้ และ สามารถนำ�กลับไปใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ทั้งที่ทำ�งาน และที่บ้านหลังจากการบวช

189


พระนนทสิทธิ์ สร้อยสุวรรณ์ ฉายา นนฺทสิทฺโธ

(นนท์)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2514 126-128 ถ.นครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 มือถือ : 081-494-3885, 095-523-6555 e-mail : nonthasith@icloud.com Line ID : NonDs103 คิดไม่ผิดที่ได้ไปบวช วปก. รุ่น ๑๘ ขอขอบคุณผู้มี พระคุณโดยเฉพาะหลวงพ่อสมเด็จพระธีรญาณมุนี ที่ทำ�ให้มีโครงการนี้เกิดขึ้น

พระพ.ต.อ.สันทัด ลยางกูร ฉายา สนฺทสฺสโก

(ทัด)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2516 270/65 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 มือถือ : 081-657-4175, 097-151-0555 e-mail : t48tat@hotmail.com Line ID : tat.la ขอบคุณที่ให้โอกาสตามรอยพระศาสดาใน พระพุทธศาสนา

พระธนพลวัฒน์ พุฒิพลธนากร ฉายา พลวฑฺฒโน

(ไนน์)

วันเกิ​ิด วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2535 42/52 เดอะแพลนท์ เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 มือถือ : 062-909-2444 e-mail : ninesmartman @gmail.com Line ID : dsnine เป็นโครงการที่น่าประทับใจมาก. ได้เห็นได้พิสูจน์ตา และความรู้สึก

190


พระอัศวนนท์ วงษ์พิชัย ฉายา เขมนนฺโท

(นนท์)

วันเกิ​ิด วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2532 547/17 ลุมพินีวิลล์ ลาซาล-แบริ่ง ซ.สุขุมวิท 105 ถ.ลาซาล แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 มือถือ : 081-139-7094, มือถือ : 062-875-8524 e-mail : atsawanon.w@hotmail.com line ID : non-ireal รู้สึกเป็นบญ ที่ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพ่อฯ และได้มาเจอครอบครัว วปก. ที่อบอุ่น รักดูแลกัน เหมือนคนในครอบครัว

พระสิริน สงวนสิน ฉายา สิริธโร

(ลี)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2539 1/102 ถ.ปิ่นเกล้า นครชัยศรี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 มือถือ : 085-918-2929 e-mail : sirin0907@live.com line ID : Sirinsanguansin เป็นกลุ่มที่สนิทกันมาก คิดถึงทุกๆ คนเลย ...ใช้ชีวิตให้เต็มที่ และทำ�ประโยชน์ในทุกๆ วัน

พระสรวิศ สวนพลี (สวนพลี) ฉายา สรวิชฺโช วันเกิ​ิด วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2539 85/79 ซอย13/4 หมู่บ้านนันทวัน-อักษะ หมู่ที่ 6 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทร : 0-2496-8568, มือถือ : 090-918-5966 e-mail : sorawit8839@gmail.com Line ID : Ice4831 รู้สึกได้บุญ ได้รู้จักคนมากขึ้นครับ...ได้รู้ถึงความ ลำ�บากของคนในสมัยก่อน

191


พระพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ฉายา วิระสกฺโก วันเกิ​ิด วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2499 167 หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 มือถือ : 081-977-5090 e-mail : peerasak616@gmail.com ชื่นชมยินดี

พระคมพิศิษฐ์ รัชตกาญเจนมาศ ฉายา คมวิสิฎฺโฐ

(กิจ)

วันเกิ​ิด วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2521 616/61 ซ.เตาปูนแมนชั่น ถ.เตชะวณิช แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 มือถือ : 099-149-5151 e-mail : chanknoinoi@gmail.com Line ID : Chanknoinoiwannafly เปิดใจ เปิดโลก เปิดความรู้ เปิดมุมมอง อิ่มเอมจิตใจ ในแบบที่แตกต่างกับการทำ�บุญอื่นๆ ประมวลภาพความประทับใจบัสที่ ๕

192


193


บันทึกท้ายเล่ม

วปก.๑๘...“๑๒๓ ดวงใจ ถวายให้พระรัตนตรัย” เป็นบทสรุปที่ผมเองในฐานะผู้ได้รับ ความไว้วางใจให้ทำ�หน้าที่ประธานรุ่น วปก.๑๘ รู้สึกได้ถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของพวกเราทุกคน แม้การบรรพชา ณ แดนพุทธภูมิจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม เพราะ พวกเรามีองค์อุปัชฌาย์ร่วมกัน นั่นคือเราทุกคนได้รับความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่จาก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนีโดยเท่าเทียมกัน และที่สำ�คัญที่สุดเราได้เป็นชาย ชาวพุทธที่พร้อมใจกันเข้าสู่ร่มผ้ากาวพัสตร์ เพื่อตามรอยธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรง ตรัสรู้โดยชอบ และประกาศสัจธรรมที่จะนำ�มนุษย์ทุกชีวิตสู่การพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง สัมพันธภาพอันดีงาม และจิตใจอันใฝ่ในหลักธรรมคำ�สอน รวมถึงความกตัญญู กตเวทีต่อองค์อุปัชฌาย์ที่พวกเราชาว วปก.๑๘ มีร่วมกันนั้น นับเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะ ทำ�ให้ความเป็น วปก.๑๘ ของเรานั้นดำ�รงอยู่อย่างมั่นคงยั่งยืน และจะทำ�ให้เกิดเป็นพลัง อันยิ่งใหญ่ในการร่วมกันพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติสู่วิถีแห่ง ความร่มเย็นเป็นสุข สมกับที่เราได้ผ่านวิทยาลัยป้องกันกิเลส (วปก.) โดยพร้อมเพรียงกัน ผมขอขอบคุณจิตใจอันบริสุทธิ์ของผองเรา ที่พร้อมใจกันร่วมทำ�บุญทำ�กุศลอย่างดียิ่ง ตลอดมา และเชื่อมั่นว่าจะตลอดไป หนังสือรุ่นเล่มนี้ ก็จะเป็นเสมือนศูนย์รวมช่วงเวลา อันเป็นประวัติศาสตร์ ตลอดจนข้อมูลสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ อย่างพร้อมสรรพ ซึ่งจะทำ�ให้ความเป็นเครือข่ายกัลยาณมิตรของชาว วปก.๑๘ สามารถขับเคลื่อนต่อไป อย่างมั่นคงหนักแน่น เมื่อใดที่เราระลึกถึงกัน ก็สามารถที่จะหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเปิด ได้ทุกเวลา เพื่อต่อเติมมิตรภาพที่เหนือกาลเวลาของชาว วปก. ๑๘ สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นตัวแทนชาว วปก.๑๘ กราบนอบน้อมคุณพระศรีรัตนตรัย อัน เป็นสรณะที่เราจะยึดมั่นเพื่อมุ่งสู่มรรคาแห่งมรรคผลนิพพาน พร้อมทั้งขอน้อมกราบ สักการะสมเด็จพ่อฯ ที่เป็นประดุจพ่อทางธรรมของเราทุกคน และครูบาอาจารย์ทุกรูป โดยที่จะลืมมิได้เลยก็คือการขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อผู้สนับสนุนโครงการ วปก. ทุก ท่าน, คณะอุบาสกอุบาสิกาที่ร่วมการเดินทาง, คณะทำ�งาน และบัสบอยทุกชีวิต, รุ่นพี่ วปก. ทุกรุ่น และคณะบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในโครงการ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธาน วปก.๑๘

194


อนุโมทนา

สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ถวายความอุปถัมภ์คา่ เดินทางเครือ ่ งบินเทีย ่ วไปและกลับ แก่ผรู้ ว ่ มโครงการอุปสมบทหมู่ ถวายเป็นพุทธบูชา เทีย ่ วบินขาไป Charter Flight FD8901 DMK-GAY วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ไปเมืองคยา ประเทศอินเดีย เทีย ่ วบินขากลับ Charter Flight FD8905 VNS-DMK วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ กลับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

195


รายนามเจ้าภาพผู้ถวายความอุปถัมภ์ การอุปสมบท ณ วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย ถวายเป็นพุทธบูชา ระหว่างวันที่ ๑-๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ (รุ่นที่ ๑๘) ลำ�ดับที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐

196

รายนาม

จำ�นวนเงิน

บริษทั ตลาดศาลายา จำ�กัด โดย ร.ต.ต.ปณม-วันจุรยี ์ ยงใจยุธ และบุตร-ธิดา-หลาน (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๑,๓๐๐,๐๐๐ คุณสมาน เตชะอิทธิพร (๑๙ ม.ค. ๖๑) ๔๐๐,๐๐๐ คล้ายวันเกิด คุณวันจุรยี ์ ยงใจยุธ (๑ ธ.ค. ๖๐) ๓๐๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๓๐๐,๐๐๐ คุณนาคร (เปิล้ ) ศิลาชัย (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๓๐๐,๐๐๐ นพ.ประเสริฐ - พิจติ รา เฮงสกุล (ค่าเดินทางอินเดีย ๓๐ มค.-๑๓ กพ.) (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๓๐๐,๐๐๐ ร.ต.ต.ปณม-วันจุรยี ์ ยงใจยุธ (ค่าเดินทางพม่า ๒-๕ ม.ค.๖๑) (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๒๘๖,๐๐๐ คุณนิรมาณ - พล.ต.หญิง สุบงกช หัสถาดล ๒๐๐,๐๐๐ คุณนพดล - สุกวรรณ เปีย่ มกุลวนิช (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๒๐๐,๐๐๐ ศ.หิรญ ั - นงเยาว์ รดีศรี และครอบครัว (๒๖ ธ.ค. ๖๐) ๒๐๐,๐๐๐ พระครูปลัดสุวฒ ั นวิสทุ ธิสารคุณ ( เทียนชัย ) วัดเทพสรธรรมาราม / ปทุมธานี (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐,๐๐๐ นพ.ประเสริฐ - พิจติ รา เฮงสกุล (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐,๐๐๐ คุณธีระวัฒน์ วิฑรู ปกรณ์ และญาติมติ ร (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐,๐๐๐ ดร.สมนึก - ดร.ศศมณฑ์ สงวนสิน (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐,๐๐๐ พลเอก พอพล มณีรนิ ทร์ (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐,๐๐๐ คุณนพดล - สุกวรรณ เปีย่ มกุลวนิช (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๑๕๐,๐๐๐ คุณธวัช จรุงพิรวงศ์ - คุณกิรณา เลิศมณี ๑๒๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส ๑๐๐,๐๐๐ คุณสมาน เตชะอิทธิพร ๑๐๐,๐๐๐ คุณณัฐภพ ภูรเิ ดช ๑๐๐,๐๐๐ คุณพิศาล วณิชชัยอาภรณ์ (๒๘ พ.ย. ๖๐) ๑๐๐,๐๐๐ คุณสิทธิชยั โควสุรตั น์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๑๐๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๙ พ.ย. ๖๐) ๑๐๐,๐๐๐ คุณอเนก ฉัตรไชยศิริ (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๑๐๐,๐๐๐ คุณพัฒนะ (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณนพดล - สุกวรรณ เปีย่ มกุลวนิช (ค่าเดินทางพม่า ๒-๕ ม.ค.๖๑) (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณศฤงคาร สุทศั น์ชโู ต (๑๘ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ พระเทพโมลี (วรธนุ) วัดเทพศิรนิ ทราวาส และ พระราชกิตติวมิ ล (รตฺตวโน) วัดสัมพันธวงศ์ (๒๔ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณเสริมศักดิ์ วงศ์ชยั (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณสุทธิรตั น์ (แอน) มุตตามระ - อาจารย์มติ ซูโอะ ชิบาฮาชิ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ ครอบครัว “ปวีณพงษ์พฒ ั น์” และครอบครัว “ธิตโิ รจนะวัฒน์” (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ พระราชวรเมธาจารย์ วัดโบสถ์ / ปทุมธานี (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณนงนุช ศรีสวัสดิ์ - คุณบันลือศักดิ์ ศรีเจริญ (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณณัฐพัฒน์ คหนุรกั ษ์ (เค) (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ พ.ต.อ.นเรวิช สุคนธวิท (๓๐ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณกิตติชยั อัตถจรรยากุล (ตุม้ ) (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐๐,๐๐๐ คุณไพโรจน์ - วราภรณ์ - กัมพล - ธนพงษ์ - ณรงค์ ราศีวสิ ทุ ธิ (๒๙ พ.ย. ๖๐) ๙๐,๐๐๐ กัปปิยภัณฑ์เหลือจากฉลองนาคอินเดีย (๔ พ.ย. ๖๐) (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๘๙,๐๐๐ พระมงคลรัตนสุธี วัดศาลาลอย / นครราชสีมา (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๘๐,๐๐๐ ครอบครัว “กรพิทกั ษ์” (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๗๕,๙๐๐


ลำ�ดับที่ ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ ๗๑ ๗๒ ๗๓ ๗๔ ๗๕ ๗๖ ๗๗ ๗๘ ๗๙

รายนาม

จำ�นวนเงิน

คุณสิรนิ ทร์ - โชคไชย กันยาวิรยิ ะ และครอบครัว “กันยาวิรยิ ะ” , ล.เยาวราช (๒๔ ม.ค. ๖๑) ๗๕,๐๐๐ คุณอภิชาติ โลกานุวตั รเสถียร (๒๔ ม.ค. ๖๑) ๗๕,๐๐๐ พระราชดิลก (ประนต กิตตฺ วิ ฑฺฒโน) วัดอาวุธวิกสิตาราม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๗๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๕๘,๘๘๘ บริษทั ส.ทรัพย์เจริญ บิวดิง้ จำ�กัด (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๕๘,๘๘๘ คุณพิชติ ลิขติ สายชล และครอบครัว (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๕๖,๕๐๐ พระเทพโมลี (วรธนุ) วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๒ พ.ย. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ พระราชกิตติมงคล (อภิชโย) วัดโสมนัสวิหาร (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณธนกร ชัยวิศาล (๒๓ พ.ย. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ คณะศรัทธาญาติโยม ๕๐,๐๐๐ คุณวุฒิ วิรฬุ ห์วรวุฒิ , คุณจุไรรัตน์ วิรฬุ ห์วรวุฒิ , คุรพิชยั วิรฬุ ห์วรวุฒิ , คุณวชิราภรณ์ วิรฬุ ห์วรวุฒิ , คุณฉัตรชัย วิรฬุ ห์วรวุฒิ , คุณชะตารักษ์ วิรฬุ ห์วรวุฒ ิ ด.ญ.ฉัตร์ธรี า วิรฬุ ห์วรวุฒิ , ด.ช.จักรวีร์ วิรฬุ ห์วรวุฒิ , ด.ญ.พิชชาพร วิรฬุ ห์วรวุฒิ , ด.ญ.นันท์นภัส วิรฬุ ห์วรวุฒิ , ด.ช.พิชยุตม์ วิรฬุ ห์วรวุฒิ คุณรองรักษ์ บุญศิริ - คุณลลิตา สิรพิ ชั รนันท์ และครอบครัว , บ.สิรพิ ชั รนันท์ จก. (๕ พ.ย. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ พลตรี สุทธิพงษ์ จันทรัตน์ (๑ ธ.ค. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ นพ.ประเสริฐ - พิจติ รา เฮงสกุล ถวายสมเด็จพระธีรญาณมุนี ในโอกาสขึน้ ปีใหม่ ๖๑ (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ พระวินยั สุธี (เปมิโก) วัดธาตุทอง (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณเขมราช (เขมธมฺโม) สมวงศ์ และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณธนกร ชัยวิศาล (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ ครอบครัว “ธนบุณยวัฒน์” (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๕๐,๐๐๐ คุณสุรชัย อจลบุญ (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณพิศษิ ฐ์ (ธมฺมวิสฏิ โฺ ฐ) พัฒนพิพตั ร (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ พระราชสุรวาที วัดมหาธาตุยวุ ราชรังสฤษดิ์ (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณเมธี ศรีวริ ยิ ะเลิศกุล (เมธิโก) และครอบครัว (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณธานินทร์ ศรีนนั ทพล และครอบครัว (๓๑ ม.ค. ๖๑) ๕๐,๐๐๐ คุณสมาน เตชะอิทธิพร ๔๖,๖๐๐ คุณรุจ ธรรมมงคล (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๔๕,๐๐๐ คุณจักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๔๐,๐๐๐ พ.ต.อ.สันทัด ลยางกูร (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๔๐,๐๐๐ คุณรองรักษ์ บุญศิริ - คุณลลิตา สิรพิ ชั รนันท์ และครอบครัว,บ.สิรพิ ชั รนันท์ จก. (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๔๐,๐๐๐ ครอบครัว โลกานุวตั รเสถียร และ พิชติ ไชยพิทกั ษ์ (๒๔ ม.ค. ๖๑) ๔๐,๐๐๐ คุณเกรียงไกร (สุทธฺ กิ โุ ล) (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๔๐,๐๐๐ พ.ต.ท.สมเกียรติ สีมาคุปต์ และญาติมติ ร (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๓๙,๐๐๐ คุณจาตุรนต์ - จิราภรณ์ ฉายแสง ๓๐,๐๐๐ คุณสิทธิ - พนิดา ภาณุพฒ ั นพงศ์ ๓๐,๐๐๐ คุณอุทยั - สุรยี ์ - ตุลย์นฎา สวัสดิจ์ นั ทร์ อุทศิ นายณัฏฐสิต สวัสดิจ์ นั ทร์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๓๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ราวาส (๒๖ พ.ย. ๖๐) ๓๐,๐๐๐ ( ๑๐๐ ปีชาตกาล พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) วัดเจดียห์ ลวง / เชียงใหม่ ) บำ�เพ็ญกุศลอุทศิ ถวายอดีตเจ้าอาวาส วัดคูหาสวรรค์ (๓๐ พ.ย. ๖๐) ๓๐,๐๐๐ คุณประชุม-สกลศรี มาลีนนท์, คุณธิวฒ ั น์ชยั -ณัฐศักดิ์ ศุภผลศิริ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๓๐,๐๐๐ พลเอกรักบุญ มนต์สตั ตา (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๓๐,๐๐๐ คุณธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๒๘,๙๐๐

197


ลำ�ดับที่

รายนาม

จำ�นวนเงิน

๘๐ พระฐนกร ฐนกโร (ยงใจยุธ) วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๓ พ.ย. ๖๐) ๒๒,๐๐๐ ๘๑ พระศรีวศิ าลคุณ วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๓ พ.ย. ๖๐) ๒๐,๐๐๐ ๘๒ คณะ สคภ.สป. ๒๐,๐๐๐ ๘๓ คุณธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ , คุณมาลี เจริญปรุ - คุณธัญลักษณ์ เจริญปรุ , ๒๐,๐๐๐ พ.อ.สุรเชษฐ์ เจริญปรุ และครอบครัว , คุณธัญชนก เจริญปรุ และครอบครัว ๘๔ ๘๐ ปี พระวิสทุ ธิวงศาจารย์ (อโนมคุโณ) วัดปากน้�ำ (๗ พ.ย. ๖๐) ๒๐,๐๐๐ ๘๕ บำ�เพ็ญกุศลอุทศิ ถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ติสสฺ เทวมหาเถร) ๒๐,๐๐๐ สมเด็จพระสังฆราช และอดีตเจ้าอาวาสพร้อมทัง้ บุรพาจารย์ วัดสุทศั นเทพวราราม (๒๖พ.ย.๖๐) ๘๖ คุณวิเชียร โกวิทสุทธิศกั ดิ์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๒๐,๐๐๐ ๘๗ คุณประสิทธิ์ ชลาธารพิพฒ ั น์ (วปก.๑๗) (๖ ธ.ค. ๖๐) ๒๐,๐๐๐ ๘๘ พ.ต.อ.อาจินต์ จารุวร (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๒๐,๐๐๐ ๘๙ คุณอุทยั - เจริญสุข - ศุภลักษณ์ - เสาวลักษณ์ อรุณโชค , ร.ต.อ.ศักดิส์ ทิ ธิ์ ชูบญ ุ เรือง , ๒๐,๐๐๐ ร.ต.อ.นพพล มักการุณ (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๙๐ คุณอนันต์-นงคราญ ธิตโิ รจนะวัฒน์ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๑ บำ�เพ็ญกุศลอุทศิ อดีตเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๒ คณะทานทวี (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๖๐๐ ๙๓ คล้ายวันเกิด พระราชธรรมสุนทร วัดพระเชตุพนฯ (๑๔ ม.ค.๖๑) (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๔ คุณไตรรักษ์ ครุธเวโช (๑๘ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๕ บำ�เพ็ญกุศลเจริญอายุ ๖๘ ทัศ พระพรหมมุนี (อคฺคชิโน) วัดราชบพิธฯ (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๖ คุณภีมวิทย์ วัชรปาณ (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๗ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๘ น.ท.บรรยงค์ - ขนิษฐา - พ.ต.ต.กมเลศ - สรรเพชญ พูลสุโข (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๙๙ คุณปิยวัชร์ กิจเสถียรธีรกุล (ปิยวชิโร) (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๑๐๐ คุณวันเชาว์ จันทร์ผล และครอบครัว (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๑๐๑ คุณพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๑๐๒ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐,๐๐๐ ๑๐๓ คุณอุทยั - เจริญสุข - ศุภลักษณ์ - เสาวลักษณ์ อรุณโชค , ร.ต.อ.ศักดิส์ ทิ ธิ์ ชูบญ ุ เรือง , ๒๐,๐๐๐ ร.ต.อ.นพพล มักการุณ (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐๔ คุณแม่วรรณี รัตแพทย์ , พลเอก ไชยพร - ดร.สิรพิ ชั ร รัตแพทย์ , คุณกริสนพัชญ์ รัตแพทย์ , ๑๙,๐๐๐ คุณศรัณยพัชญ์ - อุษา - ด.ญ.เรนิตา รัตแพทย์ (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๑๐๕ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๑๕,๐๐๐ ๑๐๖ คุณธนภณ กิจกาญจน์ และครอบครัว (๒๖ ม.ค. ๖๑) ๑๕,๐๐๐ ๑๐๗ คุณแม่กมิ ยัก หาญไทยผลดี และครอบครัว ๑๐,๑๐๐ , คุณจันทนี จิตสุทธิภากร ๒,๐๐๐ , ๑๔,๑๐๐ ครอบครัวหาญวณิชย์เวช ๑,๐๐๐ , คุณจักรกริศน์ จิตสุทธิภากร และครอบครัว ๑,๐๐๐ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐๘ คุณธนภณ กิจกาญจน์ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๔,๐๐๐ ๑๐๙ ศ.นพ.นิพนธ์ - วิไลวรรณ - นวภูมิ พวงวรินทร์ (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๑๒,๐๐๐ ๑๑๐ คุณแม่เลีย้ ง เตชานุบาล , พล.อ.ไมตรี - รุง่ อรุณ - เอกชิต เตชานุบาล (๑๘ ม.ค. ๖๑) ๑๒,๐๐๐ ๑๑๑ พ.ต.อ.สมชาย วงศ์พนั ธ์ลกั ษณ์ และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๑,๐๒๐ ๑๑๒ คณะ วปก. ๑๓ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๓๐๐ ๑๑๓ อายุวฒ ั นมงคล ๘๐ ปี พระราชธรรมโมลี (ดัชน์) วัดแก้วเจริญธรรม (๑๓ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๘๑ ๑๑๔ คุณปิยาพัช สุบรรณ ณ อยุธยา ๑๐,๐๐๐ ๑๑๕ คุณอำ�ไพ เฮงสกุล ๑๐,๐๐๐ ๑๑๖ คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ ๑๐,๐๐๐ ๑๑๗ คุณเรืองชัย จินตรุง่ เรืองชัย ๑๐,๐๐๐

198


ลำ�ดับที่ ๑๑๘ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๑ ๑๒๒ ๑๒๓ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๒๖ ๑๒๗ ๑๒๘ ๑๒๙ ๑๓๐ ๑๓๑ ๑๓๒ ๑๓๓ ๑๓๕ ๑๓๖ ๑๓๗ ๑๓๘ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๒ ๑๔๓ ๑๔๔ ๑๔๕ ๑๔๖ ๑๔๗ ๑๔๘ ๑๔๙ ๑๕๐ ๑๕๑ ๑๕๒ ๑๕๓ ๑๕๔ ๑๕๕ ๑๕๖ ๑๕๗ ๑๕๘ ๑๕๙ ๑๖๐ ๑๖๑

รายนาม

จำ�นวนเงิน

พระครูปลัดสุวฒ ั นธรรมคุณ (จินดา) วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๐,๐๐๐ อุทศิ ถวาย พระเทพวราภรณ์ (ประจวบ นนฺทปญฺโญ) วัดตรีรตั นาราม / ระยอง (๒๘ พ.ย. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (ซองธนาคารกรุงเทพ) (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณรัฐวิชญ์ เลิศศักดิเ์ มธี (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณสาคร กิจทรานนท์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๓ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณสมชาย - รสวันต์ เอือ้ อารีรชั ต์ (๕ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณอัศวิน - ฐาปณี เตชะเจริญวิกลุ (๖ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ อายุวฒ ั นมงคล ๘๔ ปี ผศ.ดร.วชิรญา บัวศรี (๗ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (๗ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณอนันต์ - ลักขณา - ธนาวุฒิ ทรัพย์วารี (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (ซองสีเหลืองอ่อน) (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ ศ.นพ.นิพนธ์ - วิไลวรรณ - นวภูมิ พวงวรินทร์ (๒๖ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณขจิต ชัชวานิชย์ และครอบครัว (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณพงศ์วรี ฐั ภาวสันตานนต์ - คุณพ่อมาโนช ภาวสันตานนต์ (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (ซองสีขาว) (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณประหยัด พวงจำ�ปา , คุณสมัย โชติสกุล , คุณดิสกุล เกษมสวัสดิ์ และข้าราชการปปช. ๑๐,๐๐๐ (๑๑ ม.ค. ๖๑) พ.ต.อ.สมนึก-สมรัก หาญตา (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณสุขสมเกียรติ เสือกลิน่ ศักดิ์ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณวีรยา นิโลดม และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ พระประชาธรรมนาถ วัดสมานรัตนาราม / ฉะเชิงเทรา ๑๐,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (ซองธนาคารไทยพาณิชย์) (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ นพ.ประเสริฐ - พิจติ รา เฮงสกุล (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ คุณปรีดร์ิ ติ ภิรมย์ภกั ดี (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ พลเอก พอพล มณีรนิ ทร์ (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ อัยการธงชัย - จินต์นพัศ - อัยการกรภพ รุง่ เจริญวิวฒ ั นา (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ พลเอก บุญเลิศ - ยุพา จันทราภาส และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ พ.ต.อ.มนูญ - เลขา วงศาโรจน์ (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ วัดละมุดใน (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณวิบลู ย์ ธงรัตนะ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณอภิสทิ ธิ์ ศรีสมบูรณ์โชติ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ พ.ต.อ.ภีมเดช สาระกูล (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณธีรร์ ฐั ภูวพัฒน์รวีกลุ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ พ.อ.ยศวริศ ศิรบิ าล (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณห้อง พูลเพ็ชร์ (๒๖ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณธิดารัตน์ กาญจนรัตน์ และครอบครัว (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ ทพ.สุภร ฉัตรไชยาฤกษ์ และภรรยา (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑๐,๐๐๐ คุณวิชาญ ศรีอมรกิจกุล (๒๙ ม.ค. ๖๐) ๑๐,๐๐๐ พ.ต.อ.สาโรจน์ คุม้ ทรัพย์ (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๙,๐๐๐ คุณภูรี วัฒนศัพท์ (๒๙ พ.ย. ๖๐) ๘,๒๕๐ คณะศิษยานุศษิ ย์ บวชอินเดียรุน่ ๒ (๒๙ ธ.ค. ๖๐) ๘,๐๐๐ พ.อ.วิสทิ ธิ์ เดชสกุล (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๗,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๖,๘๒๐

199


ลำ�ดับที่

รายนาม

จำ�นวนเงิน

๑๖๒ คุณฉันทเชษฐ์ ฉันทสหวัฒน์ , คุณอภิรจุ ี เยาว์ยนื ยง , คุณกานต์สริ ี ฉันทสหวัฒน์ (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๖,๐๐๐ คุณศศิญากานต์ ฉันทสหวัฒน์ , คุณมหพล ฉันทสหวัฒน์ , คุณธนวรรณ ฉันทสหวัฒน์ ๑๖๓ พล.อ.ธรรมรัชต์ - พรรณธร - วรัชฐา เจริญกุล (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๑๐๐ ๑๖๔ คุณเขมราช (เขมธมฺโม) สมวงศ์ และครอบครัว (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๖๕ ศ.นพ.นิพนธ์ - วิไลวรรณ - นวภูมิ (สตางค์) พวงวรินทร์ (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๖๖ พล.ต.ต.มนตรี - พัชระภรณ์ ยิม้ แย้ม (๒๙ พ.ย. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๖๗ เจริญชัยมงคลคาถา (๓๐ พ.ย. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๖๘ ร.ต.ท.อุทยั แวงนอก (๘ ธ.ค. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๖๙ ไม่ระบุนาม (ซองสีฟา้ ) (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๗๐ ร้อยเอก ศรนฤนทร์ อังคทะวานิช (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๗๑ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรนิ ทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (๒๗ ธ.ค. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๗๒ คุณวินยั -พล.ต.ต.หญิง สิรพิ ร วิทยานุกลู (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๓ พ.ต.ท.วัลลภ ณ นคร (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๔ อัยการธงชัย-จินต์นพัศ - อัยการกรภพ รุง่ เจริญวิวฒ ั นา (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๕ คุณกุลภัทร ศรีพพิ ฒ ั น์ และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๖ พลเอก ยุวนัฏ - นันทพร สุรยิ กุล ณ อยุธยา (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๕,๐๐๐ ๑๗๗ คุณถิรวัฒน์ วงศ์กวีสกุล (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๘ คุณนพดล พืชพันธ์ไพศาล และครอบครัว (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๗๙ พระอดุลธรรมสุธี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๕,๐๐๐ ๑๘๐ ดร.พงษ์ชยั นิรมิตรศรีชยั และครอบครัว (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๑ คุณรัตนากร นิรมิตรศรีชยั , คุณวัชรพล โพธิพ์ นู ศักดิ์ (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๒ ศ.นพ.นิพนธ์ - วิไลวรรณ - นวภูมิ พวงวรินทร์, คุณวิรตั น์ - โชติกา พัฒนศิริ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๓ คุณประหยัด พวงจำ�ปา , คุณสมัย โชติสกุล , คุณดิสกุล เกษมสวัสดิ์ และข้าราชการปปช. (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๔ คณะอมรชัย อินพวง (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๕ ศ.นพ.นิพนธ์ - วิไลวรรณ - นวภูมิ พวงรินทร์ ๓,๐๐๐ , คุณวิรตั น์ - โชติกา พัฒนศิริ ๑,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๑๘๖ คุณทวี ทวีผลเจริญ และครอบครัว (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๔,๐๐๐ ๑๘๗ คุณกิตติศกั ดิ์ (กิตตฺ สิ กฺโก) - ดวงกมล - พนมวัฒ ไตลยสุต ๓,๐๐๐ ๑๘๘ คุณสุรเชษฐ์ - วราพร ชุณศาสตร์ และครอบครัว (๒๙ พ.ย. ๖๐) ๓,๐๐๐ ๑๘๙ ดร.สุเมธ-วรนุช แสงนิม่ นวล (๒๙ ธ.ค. ๖๐) ๓,๐๐๐ ๑๙๐ พล.อ.ปิยะ - พ.อ.หญิง พชรรัชต์ ครุธเวโช และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๓,๐๐๐ ๑๙๑ พล.ร.ต.นาคินทร์ - วรรณภา อิศรางกูร ณ อยุธยา (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๓,๐๐๐ ๑๙๒ คุณพิสณ ั ห์ - สุนยั - เดชาธร ทองไทย (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๓,๐๐๐ ๑๙๓ คุณยุราภรณ์ เปีย่ มสุวรรณ (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๓,๐๐๐ ๑๙๔ คุณปราณี ตระการฐานณรงค์ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๓,๐๐๐ ๑๙๕ ภก.อัศวิน จงเจริญจิตเกษม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๕๖๑ ๑๙๖ คุณอรุณี - เกรียงไกร เตชะเสนา และครอบครัว (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๕๐๐ ๑๙๗ ไม่ประสงค์ออกนาม (๓๐ ม.ค. ๖๑) ๒,๔๐๐ ๑๙๘ คุณสิรริ กั ษ์ วงษ์สอาด , คุณธนวัฒน์ ขจรศักดิช์ ตุ กิ ลุ , คุณรัตนาภรณ์ สิงห์ศกั ดา , ๒,๓๐๐ คุณวีระวัลย์ แหยมวิเชียร ๑๙๙ ไม่ประสงค์ออกนาม (๒๘ ม.ค. ๖๑) ๒,๑๕๐ ๒๐๐ คุณเสนาะ - สุข สาคร (๒๘ พ.ย. ๖๐) ๒,๐๐๐ ๒๐๑ คุณศิรวิ รรณ ต้นศิรอิ นุสรณ์ (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๒,๐๐๐ ๒๐๒ คุณอรวรรณ ก้องกิตติวณิชย์ (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๒,๐๐๐ ๒๐๓ ร.ต.อ.ศักดิส์ ทิ ธิ์ ชูบญ ุ เรือง , คุณศุภลักษณ์ อรุณโชค (๑๑ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐

200


ลำ�ดับที่ ๒๐๔ ๒๐๕ ๒๐๖ ๒๐๗ ๒๐๘ ๒๐๙ ๒๑๐ ๒๑๑ ๒๑๒ ๒๑๓ ๒๑๔ ๒๑๕ ๒๑๖ ๒๑๗ ๒๑๘ ๒๑๙ ๒๒๐ ๒๒๑ ๒๒๒ ๒๒๓ ๒๒๔ ๒๒๕ ๒๒๖ ๒๒๗ ๒๒๘ ๒๒๙ ๒๓๐ ๒๓๑ ๒๓๒ ๒๓๓ ๒๓๔ ๒๓๕ ๒๓๖ ๒๓๗ ๒๓๘ ๒๓๙ ๒๔๐ ๒๔๑ ๒๔๒ ๒๔๓ ๒๔๔ ๒๔๕ ๒๔๖ ๒๔๗ ๒๔๘

รายนาม

จำ�นวนเงิน

คุณภักดี-วิมล ลีฬหรัตนรักษ์ และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ คุณธนพร ตัง้ รัตนวิชติ , คุณสุชาติ ตัง้ รัตนวิชติ , คุณวิภา ทีปพงศ์ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ ร.อ.นพ. อำ�นวย - ฐิตมิ า เชือ่ มสุวรรณา (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ นาวาอากาศโท รณกร เฉลิมแสนยากร และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๒,๐๐๐ คุณจรูญ - ปนัดดา ฐิตกิ ลุ (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ ผศ.นพ.ไสว ลิมปิษเฐียร - คุณสุทธิพงษ์ ลิมปิษเฐียร ๒,๐๐๐ คุณบุณยนุช , โซระ , ไรโตะ มาเอกาวา (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๒,๐๐๐ คุณปวีณา สงวนชม และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑,๑๐๘ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๑,๐๐๐ ด.ญ.ปุญชรัสมิ์ ฤทธิโชติ (น้องขวัญใจ) (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๑,๐๐๐ คุณสุธี ทองแย้ม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณสุชนิ รัตนชล (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณลัดดาวัลย์ เกตุกาหลง (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณจิรวัฒน์ หล่อศิรพิ ฒ ั น์ และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑,๐๐๐ นพ.นรวีร์ - ผศ. พ.ต.หญิง ดร.พนมพร พุม่ จันทร์ (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๑,๐๐๐ พล.อ.ต.ชาติชาย นันทเสนีย์ (๑๖ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณสุวรรณี มนฉนวน (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ พ.อ.อภิภู ทัพพ์ภาคิน (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณสมพิศ จันทร์ผอ่ งแสง (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณฐานุตรา สร้างสุขดี (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณฉอเฮีย้ แซ่ตง้ั (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณณัฐชา รุง่ โรจน์ธนกุล (๒๖ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ คุณดารินทร ไชยวรรณ และครอบครัว (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๑,๐๐๐ ไม่ระบุนาม (๒๗ พ.ย. ๖๐) ๙๘๐ คุณวิชยั -สุน-ี เพียรพร-อัมพร พันธ์ศริ พิ จน์ (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๘๐๐ คุณศุภลักษณ์ เนินแสง , คุณรัชนิดา แจ่มจ่าย , คุณบงกชธร แจ่มจ่าย (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๘๐๐ คุณรัชพงศ์ บุญถาวร และครอบครัว (๒๕ ธ.ค. ๖๐) ๕๐๐ คุณเบญจวรรณ เวียงวังชัย (๒๘ ธ.ค. ๖๐) ๕๐๐ คุณญาณวิทย์ - รุง่ ทิวา - ญาณภัทร ธรรมสะโร (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คุณประคอง - สมคิด แจ่มจ่าย และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คณะอุบาสิกา วัดเทพศิรนิ ทราวาส (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คุณจรส ชัยพัฒนวณิช (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๕๐๐ คุณอรพินท์ พินบาล (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ ไม่ระบุนาม (๒๒ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คุณมาลัย เฉลิมชัยนุกลู (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คุณเจริญ ตระการฐานณรงค์ (๒๕ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ ป้าพร (๓๑ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ คุณรัตนา จิตตัง้ ธรรมกุล และครอบครัว (๓๑ ม.ค. ๖๑) ๕๐๐ ไม่ระบุนาม (๑๔ ธ.ค. ๖๐) ๔๔๐ คุณชุตมิ า ศิวรัตน์ , คุณชัญญานุช สงผอม (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๔๐๐ คุณศรสวรรค์ กรอนันต์สริ ิ และครอบครัวชูมี (๓๑ ม.ค. ๖๑) ๒๙๖ คุณสุภาวดี พรประสิทธิว์ ง - คุณศิรชิ ยั ระจิตดำ�รงค์ และครอบครัว (๑๕ ม.ค. ๖๑) ๒๐๐ คุณศุภสัณห์ บุญนำ�ชัย และครอบครัว (๓๑ ธ.ค. ๖๐) ๒๐๐ ไม่ประสงค์ออกนาม ๑๔๐

201


ลำ�ดับที่

รายนาม

จำ�นวนเงิน

รวมเป็นจำ�นวนเงิน 10,384,222.00 (สิบล้านสามแสนแปดหมื่นสี่พันสองร้อยยี่สิบสองบาทถ้วน)

รายจ่าย ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ลำ�ดับที่

รายนาม

จำ�นวนเงิน

๑ ให้คุณเชิง มณีโชติ ผจก.ธ.กรุงไทย แลกเงิน (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๖,๒๘๔,๐๐๐ (ดอลล่าร์ ๒๐๐,๐๐๐.- เหรียญ ๆ ละ ๓๑.๔๒ เป็นเงิน ๖,๒๘๔,๐๐๐ บาท) (เพื่อบวชรุ่น ๑๙) ๒ จ่ายค่าอาหารคณะ (คุณกิตติชัย (ตุ้ม) สำ�รองจ่าย) ๔๐๐,๐๐๐ ๓ รางวัลคนครัว ๓ คน ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท (คุณกิตติชัย (ตุ้ม) สำ�รองจ่าย) ๙๐,๐๐๐ ๔ จัดพิธีฉลองนาคก่อนเดินทาง (พระเทพโมลี) ๔๐๐,๐๐๐ ๕ ค่าเดินทางส่วนล่วงหน้า (คุณเฉลิมพันธ์ รัตนวงศ์พิทักษ์) (๒๙ ม.ค. ๖๑) ๘๘๓,๑๗๕ ๖ พระศรีวิศาลคุณ เบิกค่าใช้จ่าย ๖๒๐,๘๔๐ ๗ จ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องเสียง คุณอภิรัตน์ (คุณกิตติชัย (ตุ้ม) สำ�รองจ่าย) ๒๐๐,๐๐๐ รวมเป็นจำ�นวนเงิน ๘,๘๗๘,๐๑๕ (แปดล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสิบห้าบาทถ้วน) คงเหลือ ๑,๕๐๖,๒๐๗ (หนึ่งล้านห้าแสนหกพันสองร้อยเจ็ดบาทถ้วน) หมายเหตุ ยอดคงเหลือ ๑,๕๐๖,๒๐๗ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนหกพันสองร้อยเจ็ดบาทถ้วน) นำ�ไปสมทบบวชรุ่นที่ ๑๙ (๔-๑๖ มี.ค. ๖๑)

202


คณะอนุกรรมการจัดทำ�หนังสือ รุ่น วปก. ๑๘ ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา

- พล.อ.พอพล มณีรินทร์ - นายมนตรี ศรีเจริญ - พล.ท.ปริญญา สุจริตตานันท์ - พล.ต.ชัชพีร์วิทย์ เรนวาลี - นายอำ�นาจ ทัศนียกุล

ประธานอนุกรรมการจัดทำ�หนังสือ - นายเมธี ศรีวิริยะเลิศกุล อนุกรรมการด้านเนื้อหาและบทความ - นายอำ�นาจ ทัศนียกุล อนุกรรมการด้านออกแบบรูปเล่ม - นายวิชาญ ศรีอมรกิจกุล ช่างภาพ - นายชลิต ขิตวิเชียรกุล (เล็ก) - นายธัชณภัค ธนัชศุภมงคล (จ๋า) จัดทำ�อาร์ตเวอร์ค - นายวรเศรษฐ์ ศรีไตรนิมิตร คณะอนุกรรมการ บัส ๑ - นายเสริมศักดิ์ วงศ์ชัย - นายสุพจน์ มหพันธ์ บัส ๒ - นายชัย อรุณานนท์ชัย - นายโชคชัย ตันติวิวัฒนกูล บัส ๓ - ว่าที่ร.ต.สุทธิศักดิ์ ประศาสนครุการ - นายวิบูลย์ ธงรัตนะ บัส ๔ - นายทวี ทวีผลเจริญ - นายวิชัย ลอยสรวงสิน บัส ๕ - รศ.ดร.สมชาย นำ�ประเสริฐชัย - นายคมพิศิษฐ์ รัตนกาญเจนมาศ

203


204


205


206


207


208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.