Mangroves for the Future
INVESTING IN COASTAL ECOSYSTEMS
ป าชายเลนเพื่ออนาคต
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต ประสบการณ์และบทเรียนจากการทำงาน โครงการป าชายเลนเพื่ออนาคต (Mangroves for the Future) ในพื้นที่ชายฝ งทะเลไทย
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
โครงการ Mangroves for the Future เสริมเกราะธรรมชาติ ชายฝ งสมบูรณ ชุมชนมั่นคง ก้าวแรกของโครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต หรือ Mangrove For the Future (MFF) ถือกำเนิดขึน้ เพือ่ อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูระบบนิเวศชายฝัง่ เพือ่ เสริมสร้างความ ปลอดภัย และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนใน แถบคาบมหาสมุทรอินเดีย โดยครอบคลุมประเทศอินเดีย อินโดนีเชีย มัลดีฟ เซเซลล์ ศรีลังกา และประเทศไทย ภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ โดยมุ่งเน้นการประสานความร่วมมือของภาคีทุกภาคส่วน ปัจจุบันมีการ ขยายความร่วมมือกับประเทศบังคลาเทศ ปากีสถาน เคนย่า แทนซาเนีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีองค์กร หลักในการประสานงาน คือ IUCN, องค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ UNDP โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
H/ CN-T
ในประเทศไทย MFF สนับสนุนการดำเนินโครงการเพือ่ ฟื้นฟูอนุรักษ์ระบบนิเวศและวิถีชีวิตชายฝั่ง ครอบคลุม พืน้ ทีท่ ง้ั สองทะเล อันดามันและอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง จันทบุรี และตราด ผ่านโครงการขนาดเล็ก 15 โครงการ และโครงการขนาดใหญ่ 3 โครงการ ระหว่างปีพ.ศ. 2550 ถึง 2553 โดยอยู่ภายใต้การกำกับ ของ “คณะกรรมการประสานความร่วมมือระดับชาติ ด้านป่าชายเลน” ซึ่งมีอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝัง่ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากกว่า 26 องค์กร
คณะกรรมการประสานความร่วมมือระดับชาติด้านนิเวศป่าชายเลนเพื่ออนาคต (National Coordinating Body : Mangroves for The Future)
2
นนท
© IU
เจริญ
ิ์ สุ่น ์ศักด
ทะเลไทย พื้นที่ทำงานสองฝั่ง
จันทบุรี ตราด
พื้นที่การทำงานของ MFF ประเทศไทย โครงการฟื้นฟูทรัพยากรและวิถีชีวิตชายฝั่งขนาดเล็ก MFF สนับสนุน 15 โครงการ ครอบคลุม 6 จังหวัด คือ ชุมพร พังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง สุราษฎร์ธานี
ชุมพร ระนอง
สุราษฎร์ธานี พังงา
นครศรีธรรมราช กระบี่
ภูเก็ต ตรัง
โครงการฟื้นฟูทรัพยากรและวิถีชีวิตชายฝั่งขนาดใหญ่ การจัดการสภาวะแวดล้อมเชิงบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของ วิถชี วี ติ ชุมชนชายฝัง่ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยองค์การ พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำนานาชาติ (Wetland International Thailand Office) การจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบบูรณาการ โดยผ่านกระบวนการ มีสว่ นร่วมของภาคี ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องทางตอนใต้ของประเทศไทย (นครศรีธรรมราชและตรัง) โดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Foundation) โครงการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทย (อุทยานแห่งชาติทางทะเล 21 แห่ง) โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื (National Park, Wildlife and Plant Conservation Department) และ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
“ป า
ชายเลน” เป็นระบบ กรณีศึกษาที่ 1 นิเวศเด่นทีถ่ กู ยกขึน้ มาเป็น ตั ว แทนของระบบนิ เ วศ ทางทะเลและชายฝั่ง อันหมายรวมถึงแนวปะการัง ปากแม่น้ำ บึงน้ำจืดกลางทะเล ชายหาด หญ้าทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำ หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ที่ชุมชน ชายฝั่งพึ่งพาและอนุรักษ์จัดการให้ยั่งยืน ภายใต้โครงการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่ทาง MFF สนับสนุนชุมชนชายฝั่งกว่า 35 ล้านบาท พวกเราได้รับ ประสบการณ์และบทเรียนจากการทำงานของ MFF ประเทศไทย ในกรอบแนวทางทีม่ งุ่ การเสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชน การสร้างธรรมาภิบาลการจัดการ ชายฝั่ง และการจัดการองค์ความรู้ โดยคำนึงถึงการ เชื่อมโยงสู่ประเด็นความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทหญิงชายและการสือ่ สารในกระบวนการทำงาน โดยมีกรณีศึกษาจากพื้นที่ที่น่าสนใจดังนี้...
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
4
จัดการอย าง มียุทธศาสตร เตยปาหนัน แนวกั้นการบุกรุก การขาดความชัดเจนเรื่องแนวเขตที่ดิน สู การ บุกรุกป าชายเลนของกลุม นายทุนคือสิง่ ทีช่ าวบ าน ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เห็นพ องกันว า เป นป ญหาที่คืบคลานสู การสูญเสียความอุดม สมบูรณ ของป าชายเลน ซึ่งจะส งผลต อวิถีชีวิต และรายได ของชุมชนอย างหลีกเลี่ยงไม ได
ดังนั้นการจัดการเพื่อแก้ปัญหาภายใต้แนวคิด “การจัด การทีด่ นิ และทรัพยากรจากเชิงเขาสูท่ ะเล” จึงเริม่ ต้นขึน้ ผ่านกระบวนการทำความเข้าใจกับเจ้าของที่ดินที่อยู่ ติดกับชุมชน เพือ่ สำรวจ ตรวจสอบ พืน้ ทีต่ ามหลักฐาน การถือครองที่ดินตามแนวเขตป่าชายเลน และร่วมกัน กำหนดกฎระเบียบระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อพื้นที่ถือครองขีดเส้นขึ้นชัดเจน เส้นการอนุรักษ์จึง ถูกปลุกขึ้นอีกครั้งภายใต้ “โครงการปลูกเตยปาหนัน เป็นแนวเขตป่าชายเลน” ผนวกต้นทุนความเข้มแข็งของ ชาวบ้านที่ร่วมกันทำกิจกรรมการปลูกป่าชายเลนกว่า 5 ปี ในฐานะอาสาสมัครพิทกั ษ์ทะเลและชายฝัง่ จึงเกิด การขยายกลุ่มจาก 3 หมู่บ้าน เป็น 11 หมู่บ้าน ใน ปัจจุบัน
“เ
ตยปาหนัน” พันธุ์ไม้ป่าชายเลนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองธรรมชาติในการ ฟอกสารเคมีจากชุมชนให้เจือจางก่อนปล่อย ลงสู่ทะเล เป็นแหล่งวัตถุดิบในการจักสานของชาวบ้าน จนกลายเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดกระบี่ และทีส่ ำคัญ เพราะเตยปาหนันจะขึ้นได้ดใี นพืน้ ทีร่ อยต่อระหว่างป่า ชายเลนกับป่าบก ดังนัน้ จึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่ชุมชนใช้ เป็นแนวกันชนเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ชายเลนได้อย่างแนบเนียน ภายใต้กระบวนการจัดการ ชุมชนอย่างมียุทธศาสตร์ โดยการสร้างการมีส่วนร่วม ของผู้หญิงและเด็กในชุมชน จนเป็นผู้นำพัฒนาชุมชน ในฐานะวิทยากรถ่ายทอดภูมปิ ัญญาท้องถิ่น และทำให้ ชุมชนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศเตยปาหนัน จนได้รบั รางวัลหมูบ่ า้ นดีเด่นด้านการพัฒนาสิง่ แวดล้อม ของจังหวัดกระบี่
ความสำเร็จ • ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนหมดไปเมือ่ ชุมชน มีแนวเขตพื้นที่และเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจน • ปัญหาน้ำเสียในป่าชายเลนและบริเวณข้าง เคียงลดลง • ปริมาณสัตว์น้ำและทรัพยากรทางชายฝั่งมี ความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น • ชุมชนมีความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ เนื่องจากวัตถุดิบในการจักสานและความ มั่งคั่งของทรัพยากรในป่าชายเลน • คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
© MFF-TH/ โครงการปลูกเตยปาหนันเป็นแนวเขตป่าชายเลน
“เราเปิดเวทีชมุ ชน รวมพลคนทีม่ พี น้ื ทีต่ ดิ กับป่าชายเลน ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นของนายทุน เพือ่ ร่วมจัดการแนวเขตให้ ชัดเจน ปรากฏว่ากลุม่ นายทุนไม่มาร่วม ดังนัน้ ชุมชนจึง ร่วมกับเจ้าหน้าทีร่ ฐั เอาหลักไปปักแนวเขต ในช่วงทีก่ ลุม่ นายทุนไถทีด่ นิ รุกล้ำเข้าไปในป่าชายเลนเพือ่ ปลูกปาล์ม ชาวบ้านเอาเตยปาหนันไปปลูกแทน ซึง่ ในตอนแรกกลุม่ นายทุนไม่ให้ชาวบ้านเข้าไป พวกเราจึงรวมตัวกับอบต. กลุม่ แม่บา้ น เยาวชน และนักเรียน เข้าไปปลูกพร้อม ๆ กัน เขาจึงต้านไม่อยู่” พิสิฐ ทองคง หัวหน้าโครงการ ปลูกเตยปาหนันเป็นแนวเขตป่าชายเลน บ้านโคกยูง เล่าถึงจุดเริ่มต้น “กลุ่มชาวบ้านส่วนหนึ่งใช้ประโยชน์ จากเตยปาหนันและทำอาชีพประมงชายฝั่ง ถ้าเขาไม่ ลุกขึ้นมาปกป้อง เขาจะสูญเสียรายได้เลี้ยงปากท้อง แน่นอน การตัดเตยมาใช้ ซึ่งขึ้นเรียงรายจากริมหาด ถึงยอดดอยมีกว่า 30 ชนิดพันธุ์ ทีเ่ รานำมาจักสาน และ ความหนาแน่นของกุ้งหอยปูปลา และพืชป่าสมุนไพร นำมาใช้รักษาโรค ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคง อีกอย่างที่ผมเห็น คือ ความร่วมมือของชุมชนมีความ สำคัญมากต่อความสำเร็จในการอนุรักษ์ โดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชน ที่สามารถช่วยดึงพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วม เพราะเมื่อเห็นลูกเข้ามาร่วมปลูกป่าชายเลน พ่อแม่จึง ไม่ค่อยกล้าตัดไม้” พิสิฐ กล่าวเสริม 5
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
กรณีศึกษาที่ 2
รวมพลังชุมชน ฟื้นคืนชีวิตอ่าวบ้านดอน
การบูรณาการการจัดการระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง ภายใต้โครงการ “จัดการสภาวะแวดล้อม เชิงบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของวิถีชีวิตชุมชนในอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ตลอด แนวชายฝั่งกว่า 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอได้แก่ อำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน กาญจนดิษฐ์ และดอนสัก
แ
ต่เดิมเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว พื้นที่อ่าวแห่งนี้เคย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลนและทรัพยากร สัตว์น้ำ แต่ผลพวงจากการขยายตัวของธุรกิจ การเลี้ยงกุ้งทะเล ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ชายเลน และน้ำเน่าเสียจากนากุง้ ยังได้สง่ ผลกระทบต่อ ระบบนิเวศแม่นำ้ ลำคลองและระบบนิเวศชายฝัง่ ผลจาก ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง ทำให้ชุมชน หลาย ๆ แห่งในพื้นที่อ่าวบ้านดอนได้ตื่นตัวและลุกขึ้น มาจัดการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งอ่าวบ้านดอน หวังให้ ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาอีกครัง้ ต่อมาราวปี 2545 ชุมชนอนุรักษ์เหล่านั้นจึงได้รวมกันเป็น “เครือข่าย อนุรกั ษ์อา่ วบ้านดอน” เพือ่ ดำเนินกิจกรรมและผลักดัน การปกป้องและการแก้ไขปัญหาชายฝั่งอ่าวบ้านดอน โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การฟื้นฟูป่าชายเลน การเฝ้า ระวังการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งเฝ้าระวังเรือ ประมงทำลายล้างเช่นเรืออวนลาก เรืออวนรุนมาอย่าง ต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ ระหว่าง องค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ - ประจำประเทศไทย 6
ความสำเร็จ • การขยายเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ครอบคลุมกว่า 120 กิโลเมตร ในพื้นที่ 7 อำเภอชายฝั่งอ่าว บ้านดอน ในนาม “เครือข่ายอนุรกั ษ์อา่ วบ้านดอน” • ป่าชายเลนเสื่อมโทรมและนากุ้งร้าง ได้รับการ ฟื้นฟูและดูแลอย่างน้อย 500 ไร่ จากการทำ แนวเขตอนุรักษ์เป็นระยะทางกว่า 18 กิโลเมตร • สามารถปกป้องพื้นที่ชายฝั่งทะเลไม่ต่ำกว่า 14,000 ไร่ บริเวณอ่าวบ้านดอนจากการบุกรุก จับจองของกลุ่มนายทุน เป็นแหล่งหาปู ปลา หอย ฯลฯ แหล่งสุดท้ายของชุมชนประมงชายฝัง่ ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าฉาง อำเภอ พุนพิน อำเภอเมือง และอำเภอกาญจนดิษฐ์ กว่า 1,500 ครัวเรือน • เกิดการจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ของเครือข่าย อนุรักษ์อ่าวบ้านดอน เพื่อเป็นกลไกการบริหาร จัดการเงินจากกิจกรรมไบโอไรท์ เพื่อขยาย แนวร่วมด้านการอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต
ความสำเร็จ (ต่อ) • ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและ ความสำคัญของป่าชายเลน และตระหนักถึงความ เชื่อมโยงระหว่างการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล อ่าวบ้านดอนกับการบริหารจัดการน้ำในระดับ ลุ่มน้ำ (ตาปี-พุมดวง) เครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน ส่วนบริหารจัดการ ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 และสถานีพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลนที่ 13 มีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมการ พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับชุมชนต่าง ๆ รอบอ่าวบ้านดอน ทั้งในแง่การประสานองค์ความรู้ ท้องถิน่ การพัฒนาคุณภาพชีวติ และการประกอบอาชีพ ที่ยั่งยืนโดยประยุกต์ใช้กลไกไบโอไรท์ (Bio-Right)
ประทีป มีคติธรรม องค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ ประจำประเทศไทย ฝากข้อคิดไว้ว่า “อย่างไรก็ตามสิ่ง สำคัญที่สุด และเป็นเงื่อนไขชี้ขาดความสำเร็จของการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ อ่าวบ้านดอน ก็คอื ความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิน่ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ให้สิทธิ แก่ชมุ ชนในการมีสว่ นร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและ ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ได้ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หากชุมชนจับมือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การดูแลและจัดการทรัพยากรในท้องถิน่ ของตนเองแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มหลักประกันความยั่งยืนให้แก่ทรัพยากรชายฝั่งและป่าชายเลนอ่าวบ้านดอนแห่งนี้”
7
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
กรณีศึกษาที่ 3
บูรณาการแผนชายฝั่ง ฐานความมั่งคั่งทางทรัพยากร
ก
ารลดลงของทรัพยากรชายฝั่ง และสถานการณ์ที่วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งกำลังถูก คุกคามจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นเหตุผลสำคัญที่ถูก หยิบยกขึ้นมาเพื่อเป็นประเด็นทำงานของ “โครงการ การมีส่วนร่วมและบูรณาการการจัดการทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่งบนฐานระบบนิเวศ” ดำเนินการโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และภาคีต่าง ๆ มีการ ปฏิบัติงานนำร่องใน 2 พื้นที่ คือ อ่าวกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นตัวแทนของระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง อันดามัน ประกอบด้วย ระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล และพื้นที่ชายหาด ปัญหาสำคัญของพื้นที่ คือ การทำประมงด้วยเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย และขาด
8
กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน องค์กรท้องถิ่น และองค์กรชุมชน ที่ทำงานด้านการจัด การทรัพยากรทะเลและชายฝัง่ ในพืน้ ที่ และอ่าวท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นตัวแทนของระบบ นิเวศทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย ป่าชายเลน และพื้นที่ ชายหาด ขณะนี้อ่าวท่าศาลากำลังประสบปัญหาการ กัดเซาะชายฝั่ง และการทับถมของตะกอนดิน ระบบ นิ เวศหาดทรายเปลี่ ย นเป็ น หาดเลน ส่ ง ผลกระทบ ต่อความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำ และความมั่นคง ด้านอาหาร อาชีพ และวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่ง ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
“ที่ผ านมา การทำงานต างคนต างทำ เกิดความซ้ำซ อนของหน วยงานในพื้นที่เดียวกัน ในขณะที่การ จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝ ง จะต องบูรณาการเพื่อเอาพื้นที่เป นฐาน แทนที่การเอาหน วยงาน เป นฐาน เพื่อให เกิดผลดีต อทรัพยากรและมาตรการการจัดการระยะยาว บทบาทของโครงการฯ ซึ่ง เป นการทำงานร วมกันระหว างมูลนิธิฯ และมูลนิธิอันดามัน และสมาคมดับบ านดับเมือง ทำให เกิดเวที แลกเปลี่ยนการทำงานในระดับพื้นที่”
เรวดี ประเสริฐเจริญสุข หัวหน้าโครงการฯ ยืนยันว่า “ก้าวแรกของการบูรณาการ ต้องมาจากการยกประเด็น สภาพปัญหาในพื้นที่ที่ชาวบ้านกำลังเผชิญหน้ามาเป็น ประเด็นในการพิจารณาร่วม ผนวกกับความเข้มแข็ง ของชาวบ้านและองค์กรท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการร่วมกันต่อสู้หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในพืน้ ทีช่ ว่ งทีผ่ า่ นมา จากนัน้ เราต้องผสานความร่วมมือ ทัง้ ระดับท้องถิน่ และระดับชาติ เพือ่ ยกระดับการทำงาน แบบแนวร่วม ลดช่องว่างการสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกัน เพือ่ นำมาสูก่ ระบวนการทำงาน ร่วมกันในระยะยาว ซึง่ สิง่ เหล่านีค้ อื ผลสำเร็จทีจ่ ะนำมา สู่ความยั่งยืนของการทำงานในเชิงบูรณาการ”
ความสำเร็จ
• ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและองค์กรภาค ประชาสังคมร่วมกันสร้างเครือข่ายชุมชน • ผู้ที่เกี่ยวข้องระดับประเทศได้เตรียมเทคนิคทาง วิชาการและมาตรการทีช่ ดั เจน เพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน ในการจัดการระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง • เกิดคณะกรรมการทีป่ รึกษาระดับชาติเพือ่ ขับเคลือ่ น โครงการฯ • มุมมองชุมชนในการทำงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติที่กว้างขึ้น ทั้งมิติสิทธิชุมชนกับการจัดการ ป่าชายเลน การพัฒนางานอาชีพภายใต้ศักยภาพ ของชุมชน และเกิดการแบ่งบทบาทการดำเนินการ และการสนับสนุนงานภายใต้มุมมองเชิงระบบนิเวศ ทะเลและชายฝัง่ ไม่ใช่การทำงานตามขอบเขตความ รับผิดชอบทางการปกครอง หากแต่เป็นภาคีความ ร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน 9
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
สัญญาณเตือนจากธรรมชาติ…ผลกระทบจากการพัฒนา โครงการการมีส วนร วมและบูรณาการการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝ ง บนฐานระบบนิเวศในมิติของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มูลนิธิเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน ชุมชนประมงชายฝัง่ กว่าแสนครอบครัว ต่างพึง่ พาอาศัย ทรัพยากรจากทะเลและชายฝั่ง เป็นแหล่งทำมาหากิน และเป็นแหล่งอาหารของครอบครัว ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรในทะเลเป็นปัญหาใหญ่ที่ชุมชนชายฝั่ง กำลังเผชิญ แต่ภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิม่ กำลังความถีข่ น้ึ คือ ภัยพิบตั ิ และความเปลีย่ นแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการ 10
เปลีย่ นแปลงของระบบนิเวศทะเลและชายฝัง่ เป็นอย่าง มาก เช่น การเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำทะเล การกัด เซาะชายฝั่ง และการทับถมของตะกอนดิน และเมื่อ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ของชุมชนชายฝั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโดยวิถี การผลิตและการดำรงชีวิตของชุมชนชายฝั่งนั้นใกล้ชิด กับทะเลและชายฝั่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ก
ารเตรียมความพร้อมเพือ่ รับมือกับกรณีการ ภัยทางธรรมชาติ และบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการ สภาพภูมอิ ากาศของโลก เป็นการบูรณาการการจัดการ เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ จึงเป็นอีก ทรัพยากรทะเลและชายฝัง่ เข้ากับการเตรียมพร้อมรับมือ ประเด็นทีท่ างโครงการฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญ กับภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บน ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการสร้างเกราะป้องกันหรือพัฒนาศักยภาพ ฐานศักยภาพของชุมชนโดยแท้จริง ให้ชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนเอง ดังกรณีการจัด การป่าชายเลนในพืน้ ทีอ่ า่ วท่าศาลา พืน้ ทีอ่ า่ วท่าศาลานัน้ เรวดี ประเสริฐเจริญสุข หัวหน้าโครงการฯ กล่าวย้ำว่า มีต้นทุนเดิม คือ การทำงานร่วมกันระหว่างองค์การ “การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศ มิใช่เป็นเรือ่ งไกลตัว บริหารส่วนตำบลท่าศาลา เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อย่างทีค่ ดิ เมือ่ ชาวบ้านยืนยันถึงการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ อ่าวท่าศาลา ซึ่งเป็นองค์กร ด้วยตัวของเขาเองทั้งทิศทาง ภาคประชาชน สถาบันการ ทุกฝ ายต องเข ามาวิเคราะห และกระแสลมเปลี่ยน ระดับ ศึกษา และหน่วยงานราชการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น น้ำและเวลาขึน้ ลงของน้ำทะเล ต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยมีสมาคม ทั้งเรื่องเต าทะเล ปลาพะยูน ปลาขึน้ ผิดที่ ทีด่ นิ ทีเ่ คยมีทราย ดับบ้านดับเมืองทำหน้าทีเ่ ป็น หญ าทะเล การเพาะพันธุ กลับยุบตัวลง ร่องน้ำ ย้ายฝัง่ องค์กรประสานงาน ซึ่งการ ชาวบ้านรูส้ กึ ถึงความเปลีย่ นสัตว น้ำ เราทำหน าที่บอก ทำงานร่วมกันแบบเข้าใจใน แปลงและเสี่ยงกับทิศทางลม ป จ จุ บ ั น ชาวบ า นจะ ปัญหาและบทบาทของแต่ละ ความเชือ่ มัน่ ในความรู้ดั้งเดิม เปรี ย บเที ย บกั บ อดี ต องค์กร ส่งผลให้เกิดการแก้ไข มันไม่เพียงพอ จึงเกิดการส่ง ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมชัด- แล วมาร วมกันคิดต อ ต่อข้อมูลและทำงานร่วมกัน เจนในพื้นที่ และนำมาสู่การ มีผลการศึกษาทางวิชาการ จัดทำข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา โดยชาวบ้าน กลุ่มผู้หญิงและเด็กเข้ามาร่วมเดินสำรวจ เรือ่ ง “การอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล พื้นที่และหารือเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก” และชายฝั่งอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2552” ขึ้น “ทุกฝ่ายต้องเข้ามาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทางมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสมาคมดับบ้าน ทั้งเรื่องป่าชายเลน การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เราทำหน้าที่ ดับเมือง จึงได้ปรึกษาหารือร่วมกับองค์การบริหารส่วน บอกปัจจุบัน ชาวบ้านจะเปรียบเทียบกับอดีต แล้วมา ตำบลท่าศาลา ประมงอำเภอ และสถานีพัฒนาลุ่มน้ำ ร่วมกันคิดต่อ เพราะเราเชื่อว่าถ้าเปิดให้คนเข้ามามี ปากพนัง เพือ่ จัดตัง้ คณะทำงานป่าชายเลนชุมชนตำบล ส่วนร่วมเพื่อรับรองความเข้าใจและร่วมตัดสินใจระดับ ท่าศาลาขึ้น วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดทำ รากหญ้า เป็นการวางพื้นฐานการทำงานเปลี่ยนจาก ระเบียบป่าชุมชนของตำบลท่าศาลา รวมทั้งพัฒนาให้ การทำโครงการสูก่ ารผลักดันให้เกิดวาระของชุมชนและ พื้นที่ป่าชายเลนของตำบลท่าศาลาเป็นเกราะป้องกัน คณะกรรมการระดับท้องถิ่นขึ้น” 11
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
บทบาทหญิงชาย
กับการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล โครงการสร้างพื้นที่ป่าชายเลนให้นากทะเล
ป่าชายเลนบ้านบางลา ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนคลองท่าเรือ บนเนื้อที่ 3,181 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 5 ชุมชนของอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผืนป่าชายเลนผืนนี้ได้ถูกบุกรุกทำลายลงเป็นจำนวน มากนับตั้งแต่มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปัจจุบันเหลือ พืน้ ทีป่ า่ ชายเลนประมาณ 1,200 ไร่ และครอบคลุมเพียง 3 ชุมชน การคงอยู่ของป่าชายฝั่งผืนนี้เกิดขึ้นจากการ ลุกขึ้นมาต่อสู้ของชุมชนบ้านบางลาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537
ทั้งการเฝ้าระวัง ตรวจตรา ฟื้นฟูและจัดการป่าชายเลน ในรูปแบบป่าชุมชนในพืน้ ทีก่ ว่า 800 ไร่ ทำให้ฐานทรัพยากรชายฝั่งในอ่าวทะเลหน้าบ้านมีความอุดมสมบูรณ์ มากขึน้ สัตว์หายากทีเ่ คยสูญหายไปจากชุมชนกว่า 20 ปี ได้กลับมาพึ่งพิงร่มเงาของป่าชายเลนนี้อีกครั้ง ดังเช่น
© MFF-TH/พิเชษฐ์ ปานดำ
12
ฝูงนากทะเล 3 - 4 ตัว และนกชนิดต่าง ๆ ถึงแม้ว่า ชุมชนจะมีความเข้มแข็งและเอาจริงเอาจังในการเข้าไป มีส่วนร่วมจัดการป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง แต่ ในการรักษาป่าชายเลนที่ยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และต้องขยายแนวคิดออกไป สู่ชุมชนอื่น ๆ รวมถึงการสร้างพื้นที่ให้คนจากภาคส่วน ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมแบบบูรณาการ
ยุ
ทธศาสตร์หลักของโครงการคือ ส่งเสริมให้ ผู้ ห ญิ ง เข้ า มามี บ ทบาทหลั ก ในการทำ กิจกรรมทางสังคม หรือเคลื่อนไหวพื้นที่ สาธารณะ กลุ่มผู้หญิงมีบทบาทในการขับเคลื่อนหลัก และมีส่วนร่วมตั้งแต่การประชุมวางแผน โครงการ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการประชุม เนื่องจากเป็นตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนเป็น ทุนเดิม และการดำเนินกิจกรรมของโครงการจะต้องมี ผู้หญิงเข้าร่วมเป็นแกนนำกับผู้ชายอย่างเท่าเทียมและ สม่ำเสมอ เพือ่ ขยายการจัดการป่าชายเลนให้ครอบคลุม ทั้ง 1,200 ไร่ เพื่อให้ชาวบ้านที่เข้ามาอยู่ใหม่ในพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมกระบวนการของ ชุมชนอย่างเต็มตัว อีกทั้งการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ นากทะเลและป่าชายเลน “แห่ขวัญนากกลับทะเล” และ ปลูกป่าชายเลนเพื่อสร้างบ้านให้นากทะเล เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์และผลักดันให้เกิด “เครือข่ายคนรักษ์ป่า ชายเลน รักษ์นากทะเล” ขึ้น รัตนาภรณ์ แจ้งใจดี ผู้ประสานงานโครงการฯ กล่าวว่า “พื้ น ที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ร าคาแพงและการ ถูกบุกรุกสูง ชาวบ้านลุกขึน้ มาสูเ้ พือ่ ปกป้องพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ของชุมชนยาวนานเกือบยี่สิบปี ทุกครั้งของการต่อสู้จะ มีผู้หญิงเข้าร่วมด้วยเพราะชุมชนเป็นของเขา ก่อนหน้า
© MFF-TH/Siriporn SRIARAM
นี้ผู้หญิงได้รับการยอมรับเฉพาะภายในครอบครัว การ ต่อสู้เพื่อพื้นที่สาธารณะทำให้ผู้หญิงได้รับการยอมรับ และชุมชนให้ความสำคัญต่อผู้หญิงมากขึ้น” รัตนาภรณ์ กล่าวย้ำว่า “โครงการฯ นี้ขาดผู้หญิงไม่ได้ เพราะผูห้ ญิงคือกำลังสำคัญในการขับเคลือ่ นงาน แม้วา่ ในช่วงแรกผู้หญิงจะไม่กล้าพูด มีบทบาทจำกัดเฉพาะ การจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและการ จัดสรรงบประมาณ แต่เมื่อเราเปิดโอกาสให้เขาได้ฝึก ตัวเองจากเวทีย่อย ๆ ในหมู่บ้าน รวมทั้งการฝึกอบรม และการดูงาน ทำให้เขามีศักยภาพในการแสดงความ คิดเห็น พูดคุยเพื่อประนีประนอม ผู้หญิงได้รับข้อมูล ข่าวสารเหมือนผู้ชาย ขาดเพียงความมั่นใจ ผู้หญิงทำ หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของเด็กเยาวชนที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรม รุกเข้าถึงทุกบ้านเพือ่ สร้างความเข้าใจให้กบั พ่อแม่ ในการชวนทายาทคนสำคัญของชุมชนมาร่วมปลูกป่า ชายเลน ดูแลดอนหอยกะพงขนาดใหญ่ แนวหญ้าทะเล อันกว้างขวาง และดงปูม้าแหล่งอาหารของนากทะเล และคนในพื้นที่” 13
แผงธรรมชาติ...กำแพงแห งอนาคต >>
สื่อสร้างสรรค์
สร้างสังคมชายฝั่ง เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ © IUCN-TH/ เพชรรุ่ง สุขพงษ์
“ทรัพยากรธรรมชาติ” หล อเลี้ยงชีวิตผู คนจาก ภูเขาถึงทะเล อย างสัมพันธ เชื่อมโยง เกี่ยวข องกัน หากระบบนิเวศเสียสมดุล ณ จุดหนึ่งจุดใดย อม จักส งผลต อวิถีชีวิตของผู คนทุกกลุ ม...ทุกส วน
...และหลายครั้ง “ความรู้ไม่เท่าทัน” ของเราสร้างความเสียหายยากเกินกว่าจะประเมินค่าได้ ดังตัวอย่างการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของ “พลับพลึงธาร”...พืชน้ำเฉพาะถิ่น ที่สามารถพบได้เพียงแห่งเดียวในโลก เฉพาะจังหวัดระนองตอนล่างถึงพังงาตอนบนเท่านั้น ภายใต้โครงการบูรณาการจัดการระบบนิเวศจากภูเขาถึงทะเล โครงการนำร่องของ MFF ประเทศไทย ที่พยายามสื่อสาร...สร้างสื่อความรู้อย่างง่าย ๆ ที่ได้มาจากข้อมูลการ สำรวจวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของพืชน้ำชนิดนี้ และเชื่อมโยงสู่การใช้เป็นสื่อแสดง ผลการติดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพคลองทุกสายที่มีพลับพลึงธาร เพื่อช่วยหยุดยั้งกระบวนการส่งออก พลับพลึงธาร ไปจนถึงพยายามผลักดันให้ยับยั้งโครงการขุดลอกคลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วม
แม้ความเพียรพยายามนี้มิอาจทัดทานรถขุดเจาะขนาดยักษ์ที่ตัดถอน รากเหง้าของพลับพลึงธารเกือบจนหมดสิ้น...ทว่ารากเหง้าของ “พลับพลึงธาร” ที่งอกงามอยู่ในใจของผู้คนริมคลองทุกสายของที่นั่น กลับ เติบโต เป็นสายพันธุ์ใหม่ของนักอนุรักษ์...ผู้พิทักษ์สายน้ำที่รู้เท่าทันการ พัฒนาในหลายมิติมากยิ่งขึ้น ผ่านสื่อโปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นความรู้ แผนที่ ชุดนิทรรศการที่เคลื่อนที่ไปได้ทุกแห่ง ตั้งแต่หมู่บ้านจนถึงห้อง ประชุมของผู้บริหารระดับสูง
14
© IUCN-TH/ นนท์ศักดิ์ สุ่นเจริญ
ผลจากความเพียรพยายามอย่างหนักของ IUCN, เครือข่ายเยาวชนจากภูเขาถึงทะเลทัง้ สองจังหวัด ทำให้ในท้ายทีส่ ดุ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ประกาศให้ “พลับพลึงธาร” เป็น 1 ใน 10 ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ภาคเอกชน
ร่วมเสริมความเข้มแข็งของคนชายฝั่ง
ทะเลอ าวไทยและอันดามัน...แหล งอาหารและเป นฐานทรัพยากรในการพัฒนาประเทศที่สำคัญ ไม ว าด านท องเที่ยวทางทะเล ซึ่งสร างรายได เป นอันดับต น ๆ ของประเทศ ด านพลังงาน ที่เป น ฐานการผลิตใหญ ของธุรกิจทุกภาคส วน
หากไม่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนและมีการจัดการที่เป็นธรรม เพื่อเอื้อ ประโยชน์สมดุลแก่ทกุ ภาคส่วน ย่อมส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรของประเทศในระยะยาว....MFF จึงให้ความสำคัญ ของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรของกลุ่มคนทุกภาคส่วน รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสานปฏิญญาสากล ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน บนแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย MFF ร่วมกับซิกส์เซ็นต์ รีสอร์ทแอนด์สปา ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวระดับโลกที่มีนโยบายและการ ปฏิบัติที่ชัดเจนถึงความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนปากน้ำปราณ เพื่อการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ยั่งยืน ผ่านโครงการขนาดเล็ก 5 โครงการ ประกอบด้วย การจัดการขยะและน้ำเสีย การศึกษาประวัติชุมชนชาวประมง การ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลน และการถอด บทเรียนการพลิกฟื้นนากุ้งร้างให้เป็นป่าชายเลน ในพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติป่าคลองเก่า - คลองคอย เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาเรียนรู้ ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ ยังดำเนินโครงการบูรณาการจัดการขยะและน้ำเสียอย่าง มีส่วนร่วม เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ปะการังรอบเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท เชพรอน สำรวจและ ผลิต จำกัด เพือ่ มุง่ เน้นการจัดการปัญหาทีส่ ง่ ผลต่อการท่องเทีย่ วทาง ทะเลเกาะเต่า...แหล่งเรียนดำน้ำอันดับต้น ๆ ของโลกเป็นสำคัญ
© SaveKohTao/เอกพล กรอบทอง
เพราะเราเชื่อว่า...พลังของภาคธุรกิจเอกชนจะสามารถสร้างเสริม เกราะกำบังทางธรรมชาติ ผ่านการสนับสนุนความร่วมมือในรูปแบบ ต่าง ๆ ที่ส่งถึงผลประโยชน์ระยะยาวต่อชุมชนตามชายฝั่งทะเลไทย ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน © PTT
15
Mangroves for the Future
INVESTING IN COASTAL ECOSYSTEMS
โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต (Mangroves for the Future) 63 สุขุมวิท 39 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ +66 2 2620529-31 ต่อ 229 โทรสาร +66 2 2620563 www.thailand.mangrovesforthefuture.org
Produced by MFF Thailand with the financial support of Norad and Sida
ภาพปกหน้า - หลัง © IUCN-TH/ Sayan CHUENUDOMSAVAD