ASEAN BLOOMS (mini-magazine)

Page 1

นิตยสารเพื่อเล่าประสบการณ์อาเซียน ของเยาวชนไทย จากโครงการประกวดบทความ “ชีวิตชีวาอาเซียน Asean Blooms (บุปผาอาเซียน)”


CREDIT ชื่อหนังสือ จำ�นวนหน้า คณะผู้จัดทำ� ผลิตโดย

Mini Magazine Supplement (ถอดประสบการณ์ 3 ประเทศอาเซียน ลาว เวียดนาม และสิงคโปร์) 36 หน้า BE Magazine บริษัท ชิล ชิล แคปปิตัล จำ�กัด เลขที่ 2 ซอยอินทามระ 35 ถนนสุทธิสาร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ที่ปรึกษา ศิริดา ทรงธรรมเสนีย์ บรรณาธิการบริหาร กิตติพจน์ อรรถวิเชียร ผู้ช่วยบรรณาธิการ ภัทราวรรณ สุขมงคล กองบรรณาธิการ ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม พิชญา เพ็งจันทร์ รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ ศิลปกรรม อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์ ช่างภาพ จิตรพงษ์ จีระฉัตร พิสูจน์อักษร ฉวีวรรณ นิติสาครินทร์ ประสานงาน ธชวรรณ แก้วชนะ โรงพิมพ์ โรงพิมพ์ รัก 99 พริ้นติ้ง จำ�กัด จัดพิมพ์โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2306 8674-76 โทรสาร : 0 2306 7670-71 เว็บไซต์ : www.m-society.go.th อีเมล : prd_pr@yahoo.com

02


2012.11.22 2012.11.02

2012.11.17

About มินิแมกกาซีนเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการประกวดบทความ “ชีวิตชีวาอาเซียน Asean Blooms (บุปผาอาเซียน)” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ BE Magazine เปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษาอายุระหว่าง 18-24 ปี ได้แสดงทัศนคติ ความคิด และมุมมองของตนเองต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่ก�ำลังจะมาถึง ผ่านการ คัดเลือกและตัดสินผลงานจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านคือ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ คุณทราย-อินทิรา เจริญปุระ พิธีกร นักแสดง นักเขียน และคุณกิตติพจน์ อรรถวิเชียร บรรณาธิการบริหาร BE Magazine ซึ่งมีเยาวชนที่ได้ รับคัดเลือก ได้แก่ นายทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปปฏิบัติงาน ณ ฮานอย ฮาลองเบย์ ประเทศเวียดนาม นางสาวพิชญา เพ็งจันทร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปปฏิบัติงาน ณ หลวงพระบาง ประเทศลาว และนายรัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไป ปฏิบัติงาน ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยทั้ง 3 คน ได้ร่วมออกเดินทางไปเก็บข้อมูลประเด็นทางสังคมร่วมกับทีมงาน BE Magazine ใน ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และผลงานบทความที่ทุกคนก�ำลังจะได้อ่านภายในมินิแมกกาซีนเล่ม นี้ เป็นสิ่งที่น้องๆ ได้ลงมือเขียนเพื่อสะท้อนสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเหมือน และความแตกต่าง ที่พวกเขาเห็นและสัมผัสในแต่ละประเทศผ่านประสบการณ์ตรง หลังจากได้อ่านการสื่อสารผ่านตัว หนังสือไม่กี่หน้ากระดาษของเยาวชนรุ่นใหม่แล้ว มุมมองของพวกเขาที่ต้องการสะท้อนและสื่อสาร ออกไปเหล่านี้คงจะส่งต่อไปถึงคนอ่านได้ไม่มากก็น้อย และเมื่อเราก�ำลังจะมีโอกาสออกไปรู้จักเพื่อน บ้านมากขึ้นแล้ว ก็คงจะดีอีกเช่นกัน ถ้าเราใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้ให้คุ้มค่า ด้วยการย้อนมองตัวเองและ ท�ำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิมก่อนออกไปนอกบ้าน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ธันวาคม 2555

03


CONTENT 06

รู้จักอาเซียน 1

08

บทความ ประเทศเวียดนาม-ฮานอย ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม

16

บทความ ประเทศลาว-หลวงพระบาง พิชญา เพ็งจันทร์

04


24

บทความ ประเทศสิงคโปร์ รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์

32

รู้จักอาเซียน 2

34 รู้จักอาเซียน 3 05


Ministry of Social Development and Human Security ADVERTORIAL


M-Society

The first footstep to ASEAN Blooms

ปัญหาสังคมจากกลุ่มเล็ก หากจับมาวางรวมกันแล้ว จะกลายเป็นปัญหาล� าดับส�าคัญของโลก แน่นอนความโกลาหลอาจก�าลังก่อตัวในไม่ช้า จากการรวมกลุ่มของความหลากหลาย เข้าสู่ระดับ มหภาค การเตรียมพร้อมรับมือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งยวด ในการรักษาสมดุลของวิถีชีวิตด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้ด�ารงอยู่อย่าง ร่วมสมัย และราบรื่น ประชาคมอาเซียน ก�าหนดกรอบไว้ 3 เสา คือ เสาประชาคมการเมืองและ ความมั่ น คงอาเซี ย น เสาประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน เสาประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน และในปี พ.ศ. 2558 ที่ ไ ทยจะเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น กระทรวง พม. ได้รับมอบหมายให้เป็น หน่วยประสานงานหลักของไทยส�าหรับ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มุ่งหวังประโยชน์จากการ รวมกันเพือ่ ท�าให้ประชาชนมีการอยูด่ กี นิ ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เอื้ออาทรและแบ่งปันกัน ส่ ว นหนึ่ ง ของความเคลื่ อ นไหวที่ ก�าลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทาง ด้านการศึกษา อาชีพ การเคลื่อนย้าย แรงงาน การค้ามนุษย์ ความเท่าเทียม ของสตรีเพศ โอกาสของผู้สูงวัย และสิทธิ ของคนพิการ ท�าให้กระทรวง พม. ไม่ รี ร อที่ จ ะผลั ก ดั น ให้ ค นไทยมองเห็ น ถึ ง จุดยืนของปัญหาและอุปสรรค เพื่อสอด รับกับทัศนคติที่ดีต่อการมองเห็นช่องทาง และโอกาสในประเทศไทยด้วย

การขยายตัวของเมืองและการเพิ่ม จ�านวนของประชากร ย่อมส่งผลกระทบ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและ สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นปรากฏการณ์ที่ก�าลัง เกิดขึ้น จึงเป็นวาระอันดีที่ท�าให้เราหัน กลับมาพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มมาตรฐาน เพิ่ ม ความสามารถ ขยั บ เป้ า หมายของ ตนเองให้ เ ด่ น ชั ด เข้ า ใจและรองรั บ วัฒนธรรมจากประเทศหลากภูมิภาค เมื่อเป็นเช่นนั้นกระทรวง พม. จึง เตรี ย มความพร้ อ มด้ ว ยการเสริ ม สร้ า ง ทั ก ษะเพื่ อ ประกอบวิ ช าชี พ ให้ กั บ เด็ ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ รวม ทั้ ง คุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละสวั ส ดิ ก ารให้ เ กิ ด ความเท่าเทียมในสังคม จากจุดเล็กที่เป็น บุคคล ทาง กระทรวง พม. ยังขยายผล ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้กับองค์กรธุรกิจ โดยสนับสนุนให้เกิด การท�า CSR ซึ่งสิ่งนี้เองเปรียบเสมือน การโยนปุ๋ยน�้าดี ลงสู่แอ่งน�้าให้กระเพื่อม เป็นวงกว้าง ไม่ เ พี ย งแต่ ก ารสนั บ สนุ น เท่ า นั้ น การต่อกรขัดขวางสิ่งที่ไม่เป็นธรรมให้กับ สั ง คมคื อ อี ก หนึ่ ง สิ่ ง ที่ ก ระทรวง พม. ยึ ด มั่ น และปฏิ บั ติ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดย

เฉพาะการต่ อ ต้ า นการค้ า มนุ ษ ย์ ที่ ถื อ เป็ น การเพิ่ ม กระบอกเสี ย งในการเรี ย ก ร้องหาความยุติธรรม แทนเสียงเงียบที่ ถูกปิดกั้นจากอ�านาจมืด อี ก ทั้ ง ในยุ ค สมั ย ใหม่ มี ก ารยอมรั บ ความเท่ า เที ย มทางเพศ แต่ อ าจจะไม่ ชัดเจนเท่าที่ควร ฉะนั้นการเพิ่มสิทธิของ ผู้หญิงให้มีบทบาททางการเมือง จึงเป็น อีกตัวเลือกบนเวทีอาเซียน ให้มองเห็น ความสามารถทางกระบวนการความคิด ของมนุ ษ ย์ ด้ ว ยการทลายก� า แพงการ แบ่งระดับชนชั้นทางความคิดด้วยเพศ

เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน มัก เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวเสมอ ดังนั้นหาก เราเรียนรู้ที่จะตื่นตัว กับการเตรียมความ พร้อมที่กำลังเริ่มต้น ก็ถือเป็นนิมิตหมาย อั น ดี ข องประเทศไทยในการปู ท างเดิ น สู่ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในฐานะสมาชิก อาเซียนในปี พ.ศ. 2558 นี้


DATE: 2012.11.02(Fri)11.04(Sun)

08


VIE

T NA M

เรื่อง: ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

ฟอเรนจ์-แฟมิเลีย (Foreign-Familiar) ความแตกต่างใน ความคุ้นเคยของ ฮานอย-ฮาลองเบย์ (Hanoi-Halong Bay)

นาข้าวสีเหลืองทองสว่างสองข้างทาง พื้นที่กว้างไกล สุดลูกหูลูกตา ปราศจากการเข้ามาของความเจริญ ไม่ ปรากฏตึกสูงตระหง่านเรียงราย แต่กลายเป็นบ้านแคบ สูงสามชั้นเรียงซ้อนตัวกันอยู่เป็นชั้นขั้นบันไดไล่จาก พื้นดินถึงเชิงเขาเรียงรายขึ้นไป ขณะที่ด้านหน้าของ บ้านติดธงพื้นสีแดงดาวสีเหลืองห้าแฉก ปลิวสะบัดไป ตามแรงลม ตลอดระหว่างสองข้างทางที่ผ่านไปมา ประเทศเวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพื่อนบ้านอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน กั บ ประเทศไทยของเรา และเข้ า ร่ ว มเป็ น สมาชิ ก อาเซียนล�ำดับที่ 7 ซึ่งในปี 2558 จะมีการเปิดประชาคม อาเซียนอย่างเป็นทางการ ทั้งหมดรวมกันกลายเป็น ส่วนหนึ่งของกันและกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เสียงแตรรถยนต์สี่ล้อ หรือรถจักรยานยนต์สองล้อ รวมถึงรถประจ�ำทาง ส่งเสียงดังเป็นจังหวะบนท้องถนน เป็นการขอทางจากรถคันข้างหน้า เพื่อแซงขึ้นไป โดย เวี ย ดนามแตกต่ า งจากไทย เห็ น ได้ จ ากการขั บ รถ บนถนน พวงมาลัยรถอยู่ซ้าย ขับชิดทางขวา และแซง ซ้ายของถนน ส่วนมากชาวเวียดนามใช้รถจักรยานยนต์ และรถจักรยานมากกว่ารถยนต์ มีการจ�ำกัดความเร็ว ชาวเวียดนามแทบทุกคนล้วนสวมหมวกกันน็อค ผ้า คาดปิดจมูกปากป้องกันฝุ่น รักษาสุขภาพชีวิต รวมถึง ความรักสวยรักงามของผู้หญิงที่สวมเสื้อคลุมยาวปิด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าบนยานพาหนะเคลื่อนที่ โผล่ พ้นเพียงดวงตาให้เห็นเท่านั้น หากต้องการข้ามถนน ควรมองขวาแลซ้าย มุ่งเดินหน้าไปยังอีกฝั่ง เพราะรถ จะไม่หยุดและจอดให้เราข้าม แต่จะบีบแตรเร่งให้เรา เดินไป ระหว่างทางเข้าสู่กรุงฮานอย เมืองหลวงของ เวียดนาม ลักษณะบ้านตึกสีเหลืองที่เรียงรายคล้ายกับ บ้านสไตล์ฝรั่งเศสในรูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล (Colonialism) เป็นสิ่งที่ยังหลงเหลือจากสมัยที่ฝรั่งเศส เข้ามาปกครอง โดยตัวบ้านมีลักษณะแคบ แต่เน้นที่ 09


ความลึกและสูง อาจถึงสามชั้น ขณะที่ระเบียงบ้านด้าน หน้าเป็นที่แขวนของเสื้อผ้าตากลมและไอแดด นอกจาก หน้าบ้านของแต่ละบ้านจะติดธงแดงดาวเหลืองหรือธงชาติ เวี ย ดนามแล้ ว ยั ง มี ภ าพบุ ค คลส�ำคัญอีกท่านหนึ่งที่ชาว เวียดนามให้ความเคารพ นั่นคือ ท่านโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ผู้น�ำพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้ปลดแอกเวียดนามจาก ฝรั่งเศสและประกาศตนเป็นอิสรภาพ “ท่านประธานาธิบดีโฮจิมินห์จะอยู่ในใจของพวกเรา ตลอดไป” ตัวหนังสือเวียดนามสีแดงบนป้ายผ้าขนาดใหญ่ กางตรึ ง ทางด้ า นซ้ า ยของสุ ส านประธานาธิ บ ดี โ ฮจิ มิ น ห์ (Ho Chi Minh’s mausoleum) ใจกลางกรุงฮานอย สถานที่ เก็บร่างท่านประธานาธิบดีโฮจิมินห์วีรบุรุษของชาวเวียดนาม เปรียบเสมือนบิดาของลูกประชาชนทั้งหลาย แม้ว่าท่าน ประธานาธิ บ ดี โ ฮจิ มิ น ห์ ส ามารถประกาศเอกราชจาก ฝรั่งเศส น�ำอิสรภาพมาสู่ชาวเวียดนาม แต่ท่านจากไปก่อน ที่เวียดนามเหนือและใต้จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ชื่อ “สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม” ซึ่งเป็นข้อความทางด้าน ขวาของสุสานประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ทั้งหมดล้วนสร้างจาก ความเรียบง่ายแต่แฝงไว้ซึ่งพลังที่ยิ่งใหญ่ เพราะหากไม่มี ท่านประธานาธิบดีโฮจิมินห์ เวียดนามอาจไม่ได้เป็นดั่งเช่น ทุ ก วั น นี้ ค� ำ ขวั ญ ประจ� ำชาติ ข องเวียดนามที่ว่า เอกราช อิสรภาพ ความสุข คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน วันชาติของประเทศ เวี ย ดนามตรงกั บ วั น ที่ 2 กั น ยายน นอกจากจะเป็ น วั น ประกาศอิสรภาพของเวียดนามแล้ว ยังตรงกับวันที่โฮจิมินห์ ผู้เป็นที่รักของชาวเวียดนามเสียชีวิตในเวลาต่อมา ฮานอย เมืองหลวงของเวียดนามกลายเป็นเมืองแห่ง ความสงบสุข (Hanoi the city for peace) ในเมืองเต็มไป ด้วยผู้คน ยังคงมีสามล้อถีบ (Cyclo) ขณะข้างทางเปรียบ เสมือนแหล่งพบปะ คล้ายกับสภากาแฟของไทย ต่างกัน เพียงแค่ชาวเวียดนามนิยมนั่งยองๆ กับเก้าอี้ตัวเล็ก พร้อม โต๊ะขนาดไม่ใหญ่นัก ส�ำหรับวางอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เฝอ (ก๋วยเตี๋ยวไก่หรือเนื้อ) ชา กาแฟ น�้ำผลไม้ หรือขนมปัง บาแกตต์ ร้านอาหารหรือที่เรียกว่า คาเฟ่ ก็เช่นกัน อาศัยการ นั่งยองๆ จากพื้นที่ในร้านออกมาถึงทางริมถนนคล้ายคาเฟ่ ชาวยุโรป แต่ต่างกันที่รูปแบบการนั่งรับประทาน จวบกลางวัน ยันกลางคืนแม่ค้าหาบเร่สวมหมวกนอนลาทรงกรวย 10


VIE

T NA M

เรื่อง: ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

11


12


VIE

T NA M

เรื่อง: ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

คล้ายงอบของไทยขายสินค้าตาม ริ ม ทาง บ้ า งใช้ ก ารเดิ น เร่ ข าย บ้ า ง อาศัยจักรยานจูงขาย บ้างตั้งลงพื้นริม ทางขาย นอกจากผู้คน ฮานอยยังมี สถานที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เยาวชน เพือ่ สร้างรากฐานทีส่ ำ� คัญในอนาคต ฮว่านเกี้ยมเป็นสถานที่ตั้งของสะพานแดงบนทะเลสาบ คืนดาบใจกลางกรุงฮานอยเชื่อมวัดหง็อกเซินต่อไปยังวิหาร วรรณกรรมที่ซึ่งรวบรวมเอกลักษณ์และแง่คิดมุมมองของ ขงจื้อมาปรับใช้เข้ากับชาวเวียดนาม เป็นการสร้างความรู้ให้ ควบคู่ไปกับคุณธรรม ดั่งค�ำว่า ถ้าจะสร้างชาติต้องสร้างที่ คนก่อน ถ้าจะให้คนรู้จักวรรณกรรมต้องรู้จักวัฒนธรรมก่อน เวียดนามให้ความส�ำคัญกับการสร้างเยาวชน จากข้อมูล ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 พบว่า ชาวเวียดนาม อ่านหนังสือ 60 เล่ม/คน/ปี มากที่สุดในประเทศแถบอาเซียน ต่างจากชาวไทยที่อ่านหนังสือเพียง 5 เล่ม/คน/ปี เพราะ เวียดนามน�ำหนังสือจากต่างประเทศมาแปลภาษาทั้งหมด รวมถึงหนังสือนิทานพื้นบ้านที่ปรับรูปแบบให้มีความเป็น สากลมากขึ้ น เพื่ อ กระตุ ้ น การอ่ า นและความสนใจของ เยาวชน โดยเวียดนามเน้นให้เยาวชนตระหนักถึงค่านิยม ทางความรู้ คุณธรรมจากภายใน ไม่ไกลจากกัน เป็นที่ตั้งของถนน 36 สาย ร้านค้าขาย ของชาวบ้านปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดแนวบ้านเรือนชุมชน เป็นย่านค้าขายเก่าแก่ที่ถนนแต่ละสายจะขายสินค้าแตกต่าง กั น ไป ไม่ มี ก ารแทรกแซงจากธุ ร กิ จ ต่ า งชาติ ปราศจาก ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไร้ซงึ่ แฟรนไชส์รา้ นค้าสะดวกซือ้ เป็น ผลให้คนในชุมชนยังมีอาชีพและสืบทอดกิจการต่อไป ตราบ นานเท่าที่คนในชุมชนเองยังมองเห็นความส�ำคัญ อนุรักษ์ วิถีชีวิตเรียบง่ายที่ยั่งยืนและไม่ยึดติดอยู่กับค่านิยมความ ทันสมัย ความสะดวกสบายแบบผิวเผินที่ค่อยคืบเข้ามา ในอนาคตหลั ง เปิ ด ประชาคมอาเซี ย นอย่ า งเป็ น ทางการ เวียดนามจะกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญ และกลายเป็ น ตลาดใหม่ ใ นภู มิ ภ าคอิ น โดจี น จากการ บริ โ ภคในประเทศขยายตั ว อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ประกอบกั บ ศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพและ 13


ค่าจ้างแรงงานยังคงต�่ำ รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ภูมิประเทศ เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของ โลก และส่งออกกาแฟเป็นรองแค่ประเทศบราซิล แต่พื้นที่ นาปลูกข้าวในปัจจุบันอาจกลายเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ในอนาคต จากเดิมสังคมที่เป็นแบบสังคมนิยมอาจกลาย เป็นสังคมแบบทุนนิยม ไม่ต่างจากประเทศไทย แต่ด้วย ลักษณะสังคมที่แตกต่างกันระหว่างประชาธิปไตยของไทย และคอมมิวนิสต์ของเวียดนาม จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลและ ทิศทางการเคลื่อนไหวของสังคม ระหว่างทางจากฮานอยสู่ฮาลองที่ตั้งของแหล่งมรดก โลก อ่าวฮาลอง (Halong Bay) นั้น มีสถานที่ส�ำคัญเพื่อ ผู้พิการด้อยโอกาสจากเหตุการณ์สงครามเวียดนาม คือ ศู น ย์ หั ต ถกรรมคนพิ ก าร ที่ ค รอบครั ว เยาวชนผู ้ ไ ด้ รั บ ผล กระทบ พิการแขน ขา หรือผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ได้มีพื้นที่ท�ำงาน และใช้ชีวิตความเป็นอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของ คนในสังคม ไม่ใช่คนเร่ร่อน ขอทาน หรือคนไร้ความสามารถ เพราะเวียดนามป้อนโอกาสและความสามารถให้กับทุกคน หากคุณขอทานประทังชีวิต คุณจะถูกจับเพื่อน�ำไปอบรม สอนเป็นแรงงาน ไม่เป็นส่วนเกินที่ไร้ค่าของสังคม ต่างจาก สังคมอื่นที่ยังคงมีขอทานบนสะพานลอย เด็กเร่ร่อนข้างถนน หรือแม้กระทั่งคนปกติดี แต่มีบ้านอยู่ข้างทาง กลายเป็น ส่ ว นเกิ น ที่ ไ ร้ ร าคา กลายเป็ น ว่ า มี ชี วิ ต ที่ ด ้ อ ยโอกาส ถู ก ตัดขาดจากสังคม ขณะที่ฮานอยพัฒนาสู่การก่อสร้างทั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทั้งฐานการผลิตของซัมซุงและแคนนอน 14


VIE

T NA M

เรื่อง: ทรงพล วุฒิไกรศรีอาคม ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

ฮาลองเบย์ยังคงอุดมสมบูรณ์ สวยงามด้วยธรรมชาติ ดังที่ ท่านโฮจิมินท์เคยกล่าวไว้ว่า “มันน่าอัศจรรย์นัก ที่ไม่ว่าใคร ก็ตามที่พบเห็นฮาลองเบย์ ต่างต้องบอกต่อถึงความงดงาม นั้น” อีกทั้งยอดนักเขียนชาวเวียดนาม เหงียนต่วน ยังเปรียบ เทียบฮาลองเบย์ไว้ว่า “ภูเขานับวันยิ่งเก่าลง แต่ฮาลองเบย์ ทั้งสายน�้ำและเกลียวคลื่นยังคงหนุ่มสาวตลอดกาล” จึงไม่ น่าแปลกใจที่ฮาลองเบย์ได้รับเลือกเป็นมรดกโลก (World heritage) แม้ว่าเรือส�ำเภาโบราณจะหายไปแทนที่ด้วยเรือ ส�ำราญล� ำใหญ่ แต่ฮาลองเบย์ยังคงเป็นแม่เหล็กดึงดูด นักท่องเที่ยวทุกสัญชาติ เข้าชมความงดงามที่มีเอกลักษณ์ ด้วยงานประติมากรรมจากธรรมชาติ มิใช่เพื่อใครคนใด แต่ เป็นทุกคนมวลมนุษยชาติ อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามในวันนี้ยังเป็นเพียงประเทศ ในกลุ่มอาเซียนที่ไม่ต่างจากไทย หากไทยเราหยุดนิ่งไม่ พัฒนา สวนกันกับเวียดนามที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่ หยุ ด ยั้ง ด้ ว ยความขยั น อดทนและมุ ่ ง มั่ น พั ฒ นาตนเอง ผู้ใหญ่เคยเปรียบเปรยชีวิตไว้ว่า หากเราพายเรือทวนกระแส น�้ำ พอหยุดพายเมื่อไหร่ มันไม่ได้หยุดอยู่ที่เดิม แต่น�้ำจะพา เรากลับถอยหลัง เสมือนความแตกต่างในความคุ้นเคยที่เรา หลงลืมมันไป อีกทั้งการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็น ทางการน�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ไม่จ�ำเป็นต้อง สร้างสิ่งใหม่ เพียงแค่หันกลับมามองยังอดีตปรับปรุงสิ่งที่มี อยู่แล้วให้ดีขึ้น และสร้างสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ เพียงแค่ นี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่รอดจากสังคมวิวัฒนาการที่สันติ (Socialpeaceful evolution) 15


DATE: 2012.11.17(Sat)11.19(Mon)

16


เรื่อง: พิชญา เพ็งจันทร์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

LAOS

ทรายละเอียดจากริมแม่น�้ำโขงที่นอนนิ่งในรองเท้ายังคงอยู่ ความทรงจ�ำเกี่ยวกับลาวที่หลวงพระบางก็ยังคงไม่เลือน หายไปเช่นกัน “หลวงพระบาง” เป็นเมืองเล็กๆ เงียบ สงบ อยู่ในอ้อม กอดของภูเขา ขนาบด้วยแม่น�้ำหลักอีก 2 สาย คือ แม่น�้ำ คาน และแม่น�้ำโขง ในขณะเดียวกันก็พลุกพล่านไปด้วย นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากทุกหนแห่ง ไม่ แ ปลกใจเลยว่ า ท� ำ ไมเมื อ งแห่ ง นี้ จึ ง ได้ รั บ การ ยอมรั บ จากยู เ นสโก ให้ เ ป็ น เมื อ งมรดกโลกมายาวนาน เกือบ 20 ปีแล้ว แต่จนถึงโลกยุคนี้ ประเด็นไหนคงไม่น่าสนใจและ ใส่ใจไปกว่าประเด็นเรื่อง “การเปิดเสรีอาเซียน” ที่ก�ำลังจะ เกิ ด ขึ้ น อี ก สองปี ข ้ า งหน้ า ประเทศลาวเกี่ ย วอะไรกั บ ประเทศไทย แล้วประเทศไทยสามารถเรียนรู้อะไรบ้างจาก ประเทศลาว จริงหรือไม่ที่ว่ากันว่าประเทศลาวเป็นประเทศ ที่ตื่นตัวเรื่องอาเซียนมากที่สุด แล้วใครกันแน่ที่ล้าหลังกว่า กัน ? อย่างที่ทราบกันดีว่าการเปิดเสรีอาเซียนนั้นมี 3 เสา หลักด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ เสาสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็น เสาที่คนส่วนน้อยให้ความสนใจ ฉันจึงขอถือโอกาสนี้น�ำ เสนอมุมมองเล็กๆ เกี่ยวกับคน วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ของประเทศลาวที่หลวงพระบาง หลวงพระบางเป็ น เมื อ งหลวงเก่ า ของประเทศลาว ประเทศลาวเคยตกเป็นเมืองขึ้นประเทศฝรั่งเศส พม่า และ ประเทศไทย ศิลปวัฒนธรรมที่พบเห็นจึงมีส่วนผสมของ

หลวงพระบาง. . . กางหั ว ใจ

(Luang Prabang… Open My Heart)

17


ประเทศที่เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศลาวในช่วงเวลาที่ ผ่านมาด้วย ข้อดีที่เห็นได้ชัดของการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศ ฝรั่งเศสคือ ภาษา ส่วนข้อเสียคือนิสัยที่โดนปลูกฝังมาผิดๆ ฟังจากค�ำบอกเล่าของไกด์ได้ความว่า ในขณะที่ฝรั่งเศส ครองเมือง เขาสอนให้คนลาวขี้เกียจ มีชั่วโมงพักกลางวัน เยอะ กลั บ กั น คื อ มี ชั่ ว โมงการท� ำ งานน้ อ ย และวั น ศุ ก ร์ ท�ำงานแค่ครึ่งวัน สมัยก่อนจะเรียกวันศุกร์ว่าวันเสาร์เล็ก แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเวลาการท�ำงานให้เป็นสากลแล้ว อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ฝรั่งเศสได้สร้างโรงเรียนเพื่อ พัฒนาด้านการศึกษาให้แก่ชาวลาวไม่ถึง 10 โรงเรียนด้วย กัน นั่นแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ชาวลาวเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อาจ เป็นเพราะอดีตที่บรรพบุรุษเคยเผชิญมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ซึ่งปัจจุบันความตั้งใจในด้านการศึกษาของประเทศลาว คือการเปิดระบบการศึกษาที่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงได้ หรื อ ความเสมอภาคทางการศึ ก ษานั่ น เอง ตอนนี้ มี มหาวิทยาลัยอยู่เพียง 3 แห่งเท่านั้น และมีการเรียนการสอน สู ง สุ ด แค่ ร ะดั บ ปริ ญ ญาโท คนลาวจึ ง นิ ย มมาเรี ย นต่ อ ปริญญาเอกที่ประเทศไทย จะเห็นได้ว่าชาวลาวขาดโอกาสในการศึกษา ในขณะ เดียวกันก็ขาดโอกาสในการเข้าถึงการอ่านหนังสือที่หลาก หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือภาษาลาว พบเห็นได้น้อย มาก อีกอย่างหนังสือแต่ละเล่มมีราคาสูงเกินกว่าที่ทุกคนจะ ซื้ออ่านได้ ต่างจากคนไทยที่มีหนังสือมากมายให้เลือกอ่าน ณ เมืองมรดกโลกแห่งนี้ ผู้คนมีการด�ำเนินชีวิตแบบ เรียบง่าย ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมาให้กวนใจ มาขัดขวางการ สานสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติระหว่างมนุษย์ ที่นี่ไม่มีไฟจราจร ไม่มีรถใหญ่วิ่งในเมือง มีการจราจรแบบชิดขวา ไม่มีร้าน สะดวกซื้อเปิด 24 ชั่วโมง ผู้คนซื้อของกินของใช้กันที่ตลาด เช้า หรือร้านขายของช�ำ การใช้เงินตราของที่นี่ สกุลเงินเป็น “กีบ” แต่ไม่ต้องกังวล เราสามารถใช้เงินบาทไทยได้เลย ชาวต่างชาติก็สามารถใช้เงิน Dollar ได้เช่นกัน ดูเหมือนว่านักท่องเที่ยวที่เลือกมาเยือนเมืองแห่งนี้ ก็ 18


เรื่อง: พิชญา เพ็งจันทร์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

LAOS

สามารถใช้ชีวิตได้กลมกลืนกับชาวเมืองเช่นเดียวกัน (อาจ จะมีบ้างที่ไร้ระเบียบ) กินส้มต�ำข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก แทบทุ ก มื้ อ จะมี ส ลั ด ที่ ข าดไม่ ไ ด้ คื อ ผั ก น�้ ำ ซึ่ ง ขึ้ น ในน�้ ำ ที่ สะอาดเท่านั้น อาหารมีให้เลือกกินตั้งแต่ในซอยเล็กๆ ยัน ร้ า นอาหารที่ เ ปิ ด กั น ตามสไตล์ ทั้ ง ลาวแท้ และที่ ไ ด้ รั บ อิทธิพลมาจากฝรั่งเศส กินอาหารที่ลาวก็หลายมื้ออยู่ สรุป ได้ว่าคนลาวไม่ทานหวาน ตกเย็นถึงกลางคืน นักท่องเที่ยวก็จะถูกดึงดูดไปยัง ตลาดมืด (ถนนคนเดินบ้านเรา) ซึ่งมีของท�ำมือให้เลือกซื้อ เป็นที่ระลึกหรือกลับไปเป็นของฝากมากมาย เรียงรายตาม ถนนยาวสุดลูกหูลูกตา ของที่ขายก็คล้ายๆ กันหลายร้าน ทราบทีหลังว่าของส่วนใหญ่ที่ขายกันก็รับมาจากไทยอีกที ของกินก็ยังคงมีขายอยู่เช่นกัน ส�ำหรับความสวยงามของธรรมชาติและโบราณสถาน ที่หลวงพระบางก็ไม่แพ้ไทย ทั้งแม่น�้ำ ภูเขา วัดวาอาราม ศิลปะพิเศษเฉพาะตัวจริงๆ ก็น่าจะเป็น “ศิลปะไร้มารยา” ซึ่งประดับตกแต่งตามฝาผนังของโบราณสถานบางแห่ง เป็นศิลปะที่ซื่อตรง คิดอย่างไรก็สื่อออกมาแบบนั้น สะท้อน ถึงตัวตนของคนลาวได้ชัดเจนยิ่งนัก แต่แปลก ที่ นี่ ไ ม่ มี ก ารบั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ เ ป็ น 19


ลายลักษณ์อักษร ไกด์เล่าว่าเพราะความไม่ใส่ใจของ คนรุ่นก่อนกระมัง ผู้คนที่นี่พูดจาน่ารัก ช้าๆ ฟังแล้วรู้สึก ไพเราะเสนาะหู แฝงไปด้วยความจริงใจ สัมผัสได้ถึงการ รักษาน�้ำใจคนอื่น อย่างเช่น ตอนไปเดินซื้อของ แม่ค้าพ่อค้า แทบทุกร้านจะพูดว่า “ลดได้อยู่” และ “ไม่ซื้อไม่เป็นไร” ผู้หญิงส่วนใหญ่นุ่งผ้าซิ่น (นุ่งไปเรียนด้วย) ไม่นิยมแต่งหน้า ถ้าไม่จ�ำเป็น กีฬาที่ยอดฮิตของผู้ชาย คือ เปตอง เล่นตั้งแต่ หนุ่มยันแก่ ถึงเวลามื้ออาหารก็จะกลับไปกินที่บ้าน ลูกค้า ตามร้านอาหารส่วนใหญ่จึงเป็นนักท่องเที่ยวเกือบทั้งสิ้น จะเรียกวิถีชีวิตของคนที่นี่ว่าสมถะก็คงได้ จากการได้พูดคุยกับชาวลาวหลายคน พบว่าชาวลาว รู้จักประเทศไทยดี เพราะดูโทรทัศน์บ้านเรา ดูทุกช่องเลย ไม่เพียงแต่บ้านเราเท่านั้น ยังได้ดูของประเทศเพื่อนบ้านใน อาเซียนอีกหลายประเทศด้วย โทรทัศน์บ้านเราส่วนใหญ่ เสนอสื่อที่ประชาสัมพันธ์เรื่องอาเซียน ในขณะที่โทรทัศน์ บ้านเขาเสนอสื่อที่เป็นของอาเซียนจริงๆ ตรงประเด็นไปเลย รัฐบาลที่นี่ปลูกฝังเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนเยอะ เริ่มตั้งแต่ ป.4 และมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.3 ด้วยความที่เป็นเมืองมรดกโลก การปรับตัวของเมือง 20


เรื่อง: พิชญา เพ็งจันทร์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

LAOS

หลวงพระบางจึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะเมื่อความเป็น วิถีชีวิตของเขายังน�ำพาสิ่งดีๆ มาสู่ประเทศอยู่ เขาก็จะยัง คงวิถีนั้นไว้ โดยมีการหมุนเปลี่ยนตามโลกภายนอกไปช้าๆ รอรับการลงทุนและการจ้างงาน แต่จะไม่ยอมให้ชาวต่างชาติ มีสิทธิในการถือครองที่ดินเป็นอันขาด หากจะปลูกสร้าง บ้านเรือนก็จะต้องแต่งงานกับชาวลาว และเป็นไปตามรูปแบบ ที่ก�ำหนดเท่านั้น นอกจากนี้ ฉั น ยั ง ได้ สั ม ผั ส ถึ ง ประเพณี วั ฒ นธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การตักบาตรข้าว เหนี ย วในตอนเช้ า มื ด เป็ น การตั ก บาตรที่ ต ้ อ งใช้ ค วาม รวดเร็วในการจ้วงข้าวเหนียว แปลกจริงๆ ทั้งที่ทุกอย่างใน เมืองนี้มันช้า แต่พระที่นี่กลับเดินเร็วมาก ฉันได้ไปเยือน หมู่บ้านจริงๆ ของชนชาติลาวอีกด้วย เป็นชาวเผ่า ซึ่งยังคง รักษาความเป็นรากเหง้าของตัวเองเอาไว้ ก่อนกลับก็ได้แวะ เข้าไปดูโรงเรียนของเด็กอนุบาล ซึ่งก� ำลังเข้าแถวเคารพ ธงชาติต่อด้วยการเต้นขยับแข้งขยับขากันอย่างน่ารักโดยมี ผู้น�ำ คือ คุณครูนั่นเอง สิ่งส�ำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของประเทศ เป็น บทเรี ย นที่ ฉั น ได้ ม าจากการไปเยื อ นหลวงพระบาง คื อ จิตวิญญาณในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามเอาไว้ เพราะ รากฐานของความสามั ค คี คื อ จิ ต วิ ญ ญาณที่ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อันเดียวกัน ย่อมน�ำมาซึ่งความเข้มแข็งของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเจอเรื่องร้ายดีอะไร เราก็จะพากันผ่านพ้นไปจนได้ ดังค�ำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่ว่า “A nation’s culture resides in the hearts and in the soul of its people.” ก่อนออกเดินทางครานี้ มีใครคนหนึ่งทิ้งข้อความชวน คิดไว้ให้ฉัน ข้อความนั้น คือ ‘ The only real valuable thing is intuition ’ ---Albert Einstein (สิ่งเดียวที่มีค่าแท้จริงคือ 21


การหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในใจ/สัญชาตญาณ) ฉันได้ค้นพบแล้ว ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจนั้นช่างมีค่า เพราะมันจะส่งผล ออกมาเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น มีความคิดที่ติดตัวฉันกลับมา คือ คนเรามักคิดที่จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง จนลืมไปว่า สิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือตัวเราเอง และเราไม่ควร ทิ้งมลพิษไว้ในทุกๆ สถานที่ที่เราไป ไม่ว่าจะเป็นภายนอก หรื อ ภายในแท้ ที่ จ ริ ง มนุ ษ ย์ ทุ ก คนบนโลกล้ ว นอยู ่ บ นพื้ น แผ่นดิน แผ่นน�้ำเดียวกัน ไม่ว่าเราจะโดนแบ่งแยกออกจาก กันด้วยอะไรก็ตามแต่ อีกไม่นานเราก็คงกลับคืนสู่ความ เป็นหนึ่งเดียวกัน ประชาคมอาเซียนที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นอีก 2 ปี ข้างหน้า ก็เป็นอีกหนึ่งการรวมตัวที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของมวลมนุษยชาติ เราเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง หากเพียง เราคิดว่าเราจะท�ำอะไรได้บ้างกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็ถือว่าดีแล้ว แต่การกระท�ำย่อมเสียงดังกว่าความคิดและ ค�ำพูดเสมอ เราจะพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับชาติไทย และ ประชาคมอาเซียนอย่างไร ไม่เริ่ม ก็ไม่ก้าว ไม่ก้าว ก็ไม่เดิน เรามาเริ่มต้นกันเถอะ! ท้ายที่สุดเราไม่อาจตัดสินทุกอย่างได้จากการเดินทาง เพียงครั้งเดียว แต่หากตอนนี้ใครรู้สึกชีวิตในเมืองหลวงมัน วุ่นวายเกินไป ให้ลองมาที่นี่แล้วจะรู้สึกว่าโลกหมุนช้าลง มี เวลามากขึ้ น หรื อ อาจจะค้ น พบอะไรในตั ว เองกลั บ ไป “หลวงพระบาง…กางหัวใจ” 22


เรื่อง: พิชญา เพ็งจันทร์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

LAOS

23


DATE: 2012.11.22(Thu)11.24(Fri)

24


SINGAPORE เรื่อง: รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้ ประเทศในอาเซียนที่คนไทยอยาก ไปเที่ยว พักผ่อน ถ่ายรูป เช็คอินเฟสบุ๊ค มากที่สุดแห่งหนึ่ง คงหนีไม่พ้นประเทศสิงคโปร์ เนื่องด้วยเหตุผลด้านความ พร้อมของแหล่งท่องเที่ยว การเดินทางแสนสะดวก มี ความปลอดภัยสามารถเที่ยวคนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ ได้ การไปสิงคโปร์ของผมในครั้งนี้ ผมปรารถนาว่าผมจะได้ พบกับโอกาสที่ดี หนทางใหม่ให้กับอนาคตของตัวผมเอง ผมอยากลองดูเหมือนกันว่าคนที่ใช้ชีวิตในเมืองไทยแผ่น ดินเกิดมายี่สิบเอ็ดปี จะสามารถใช้ชีวิตเองได้ไหมในดิน แดนใหม่ อะไรที่ เ ราต้ อ งแกร่ ง ต้ อ งปรั บ และตอนนี้ ผมภูมิใจเสนอประสบการณ์การย่างก้าวไปในสิงคโปร์ ของผม ประเทศสิงคโปร์เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีความศิวิไลซ์มาก จนอดคิดไม่ได้ว่าหากท่านสุนทรภู่เห็นเกาะแก้วพิสดาร ของจริงที่นี่แล้ว เมอร์ไลออนพ่นน�้ำจะเปรียบเสมือนม้านิล มั ง กรหรื อ ไม่ แต่ ที่ แ น่ ๆ คื อ พระฤๅษี ป ระจ� ำ เกาะ จัดผังเมืองได้ดีมากอย่างกับให้นางยักษ์มาช่วยจับวาง ผังเมืองของประเทศสิงคโปร์ที่มีพื้นที่จ�ำกัดถูกจัดสรรให้ สร้างสิ่งที่คุ้มค่าประหยัดต่อพื้นที่ มีระเบียบอย่างลงตัว

เกาะแก้ วพิ ส ดาร

รักษาพื้นที่ควรแก่การอนุรักษ์ ถนนทุกเส้นมีขอบสีเขียว เป็นต้นไม้ใบหญ้า และรักษาความสะอาดเป็นส�ำคัญ จึง เป็ น เมื อ งที่ ค ล้ า ยๆ ว่ า จะสมบู ร ณ์ แ บบมาก จนเรามี พฤติกรรมเหมือนเห็นคนสวยต้องพินิจว่าท�ำศัลยกรรม ตรงไหนบ้าง สิ่งที่พบคือสิงคโปร์ไม่หยุดสวย ทุกที่มีการ สร้างตึก สร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ปิดล้อมบางส่วนของ สถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญเพื่อปรังปรุงไม่ให้โทรม ความเป็น ชุมชนเมืองที่นี่ ไม่ได้ท�ำให้ต้นไม้ดูเป็นส่วนเกินของเมือง กลับท�ำให้ดูมีชีวิตชีวา อยู่ร่วมกันเหมือนต้องพึ่งพากัน ที่ ผมสังเกตเห็นจากชานเมือง สิงคโปร์สร้างที่อยู่อาศัยเพิ่ม ขึ้นอย่างมากเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่พร้อมๆ กัน นั้นสาธารณูปโภคอย่างสวนสาธารณะ สนามกีฬาก็เพิ่ม ตามด้วย สิงคโปร์มีระบบคมนาคมที่ดี รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นการเดินทางที่สะดวก ครอบคลุมพื้นที่ส�ำคัญต่างๆ ของเมืองลากยาวไปยังเกาะเซ็นโตซ่า บัตรโดยสารของ สิงคโปร์สามารถใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถเมล์ ที่ป้าย รถเมล์มีระยะเวลาการรอแต่ละสายชัดเจนและตรงเวลา มีเลนเฉพาะรถเมล์อยู่ซ้ายสุด ขีดเส้นยาวสีเหลือง มีแท็กซี่ บริการตลอดเวลา คนสิงคโปร์ไม่ใช้รถส่วนตัวมาก เพราะ มีค่าใช้ถนนและค่าจอดรถแพง มีทางเท้าส�ำหรับคนพิการ และเลนจั ก รยานพร้ อ มที่ จ อดจั ก รยานเพื่ อ ง่ า ยต่ อ การ สัญจร สิงคโปร์พัฒนาได้อย่างอัศจรรย์มาก จากเมืองท่า ที่ ไ ม่ มี ท รั พ ยากรอะไร กลายเป็ น เขตเศรษฐกิ จ เป็ น สัญลักษณ์ของทุนนิยมเสรี หลายอย่างถูกสร้างตามหลัก ความเชื่อ สิ่งก่อสร้างล่าสุดที่กลายเป็นจุดสนใจแห่งใหม่ คือ Marina Bay Sands เป็นตึกสูงทรงสะดุดตา ข้างหน้า มี ArtScience Museum เป็นรูปดอกบัวสีขาว พื้นที่ด้าน หลังคือ Garden by the Bay สวนพฤกษศาสตร์ขนาด ใหญ่ เ ป็ น โอเอซิ ส แห่ ง ใหม่ ข องสิ ง คโปร์ ท� ำ ให้ รู ้ เ ลยว่ า สิงคโปร์ก�ำลังเนรมิตทุกอย่างให้มี ในการเดินชมเมืองสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ เป็น สถานที่ ที่ ป ระทั บ ใจ แต่ ผ มขออนุ ญ าตไม่ เ ขี ย นเล่ า ประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ให้อ่าน สิ่งที่ท�ำให้ น่าสนใจคือวิธีการน�ำเสนอและบรรยากาศของสถานที่ 25


ที่แรกที่ไปคือ Images Of Singapore บนเกาะเซ็นโตซ่า น�ำเสนอด้วยหุ่นและฉากจ�ำลองตลอดในทางเดินจนแทบไม่ ต้องอ่านค�ำบรรยาย เราก็ได้สัมผัสตั้งแต่การค้นพบเกาะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เหตุการณ์ต่างๆ จนเป็นชาติสิงคโปร์ อีก ที่หนึ่งคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ เป็นตึกสถาปัตยกรรม ร่วมสมัย นิทรรศการข้างในเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เล่าเรื่อง ตามสถานที่ในนิทรรศการมีหมายเลขก�ำกับอยู่ เรา กดเลื อ กตามหมายเลขจะมี เ สี ย งและข้ อ มู ล ปรากฏขึ้ น นอกจากนั้นในพิพิธภัณฑ์ยังมีส่วนอื่นๆ อีก รวมถึงมีพื้นที่ ให้แสดงความคิดเห็นต่อสิงคโปร์และเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในอดีตด้วย ผมเดินดูแผ่นพับพบการจัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมไทยอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ พิพิธภัณฑ์ แสตมป์ของสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย เห็น แล้วก็น่าดีใจ ผมหยิบแผ่นพับนั้นติดกลับมาเมืองไทยถึงจะ ไม่มีเวลาไปเดินชมก็ตาม คงเป็นนิสัยคนไทยอย่างหนึ่ง เมื่อเห็นภาษาไทย หรือเจอคนไทยกันเอง จะรู้สึกชื้นใจ ขึ้นมานิดๆ เหตุเกิดที่ชานชาลารถไฟฟ้าใต้ดินมีชายคนหนึ่ง ลากกระเป๋าอย่างเร่งรีบมาถามทางไปสนามบิน ด้วยความ ที่ผมไม่รู้จึงหันไปถามเป็นภาษาไทยกับพี่ที่มาด้วยกัน ชาย คนนั้นทักภาษาไทยขึ้นมา เขาและครอบครัวดูดีใจที่ได้รับ การช่วยเหลือจากคนไทยด้วยกัน ความหลากหลายเชื้ อ ชาติ ข องชาวสิ ง คโปร์ เป็ น เอกลักษณ์ของชาติที่เขาชูขึ้นมาว่าเราอยู่ร่วมกันเป็นชาว สิงคโปร์ เมืองนี้ส�ำหรับทุกคน ในทุกพิพิธภัณฑ์แสดงความ

26


SINGAPORE เรื่อง: รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

หลากหลายอย่างชัดเจน ตลอดเวลาที่อยู่สิงคโปร์ผมแยกไม่ ค่อยออกว่าคนไหนเป็นชาวสิงคโปร์หรือนักท่องเที่ยวกันแน่ เพราะสถานที่ ที่ ไ ปทุ ก ที่ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ผมสั ง เกต นักท่องเที่ยวจากสัมภาระและการแต่งตัวที่จะแตกต่างกับ คนอยู่ที่นี่ที่นั่งเล่นโทรศัพท์ แต่ไม่ได้จะท�ำให้เรารู้เสมอไป ผมเดินเข้าไปร้านกาแฟข้างมหาวิทยาลัยด้านการจัดการ ของสิงคโปร์ระหว่างรอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเปิด ผมสั่งกาแฟ ด้วยส�ำเนียงไทย บาริสต้าก็ชวนคุยว่าเราเรียนอยู่ที่นี่ใช่ไหม อาจเพราะเช้าเกินกว่านักท่องเที่ยวจะมาเยือนก็เป็นได้ คนที่ สิงคโปร์จะพูดได้ประมาณสองภาษาคือภาษาแม่และภาษา อังกฤษส�ำเนียงตัวเอง ดังนั้น ป้าย เสียงประชาสัมพันธ์ จะ เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีนกลาง มีภาษามาเลย์ และ ทมิ ฬ อยู ่ ใ นรถไฟฟ้ า ด้ ว ย ในอดี ต เกาะเล็ ก ๆ แห่ ง นี้ ทุ ก เชื้อชาติก็จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ไชน่าทาวน์ ลิตเติ้ล อินเดีย อาหรับสตรีท มีศาสนสถานตามแต่ความเชื่อ ความ หลากหลายของสิงคโปร์ส่งผลมายังอาหาร สถานที่แบบ ศูนย์อาหารจึงเป็นที่นิยม ราคาอาหารสูงกว่าประเทศไทย แต่ที่ได้คืออาหารจานใหญ่ น�้ำดื่มต่างหากที่แพง เพราะ สิ ง คโปร์ ไ ม่ มี น�้ ำ จื ด ร้ า นค้ า สะดวกซื้ อ ที่ สิ ง คโปร์ ก็ จ ะมี 7-Eleven และ Cheers ผมลองอ่านป้ายรับสมัครงานของ ร้ า น Cheers มี ก ารให้ ส วั ส ดิ ก ารที่ดี เพียงแค่พูดภาษา อังกฤษพื้นฐานได้ ก็มีสิทธิรักษาพยาบาลและท�ำฟัน มีให้ เงินค่าขยัน และมีเงินเดือนเดือนที่สิบสาม การจ่ายเงินเดือน เดือนที่สิบสามหมายถึงที่สิงคโปร์จะออกเงินเดือนให้ทุก ยี่สิบแปดวัน แล้วในแต่ละเดือนจะมีวันเกินจากยี่สิบแปด วั น นั้ น เดื อ นละสองวั น สามวั น ครบปี นั บ เศษเกิ น ได้ 27


ยี่สิบเก้าวัน จึงถือว่าเป็นเงินเดือนเดือนที่สิบสาม การอยู่ร่วมกันที่หลากหลายจะอยู่อย่างสงบได้ต้องมี ยาแรง ราคาค่าปรับที่สิงคโปร์สูงลิบ เพียงยกหูโทรศัพท์ ส�ำหรับโทรแจ้งไฟไหม้โดยไม่เกิดเหตุจริงก็ต้องจ่ายค่าปรับ แสนกว่าบาท ดั ง นั้ น การกระท� ำ ผิ ด คงไม่ เ กิ ด ขึ้ น บ่ อ ยนัก ในเมืองนี้ นี่เป็นสาเหตุของความปลอดภัยในสิงคโปร์ ป้าย ห้ามสูบบุหรี่เห็นได้ทั่วไป แต่พื้นที่ส�ำหรับสูบบุหรี่หาไม่ยาก เดินไม่กี่ก้าวก็เจอ ป้ายโฆษณาจากกระทรวงต่างๆ ของ สิงคโปร์ร่วมมือกันเชิญชวนประชาชนมาวิ่งมาราธอนเพื่อ สุขภาพ บนรถไฟฟ้ามีที่นั่งส�ำรองส�ำหรับคนท้อง เด็กเล็ก คนชรา และคนพิการ และหากเกิดเหตุที่ท� ำให้รถไฟฟ้า ใต้ดินใช้งานไม่ได้ตามปกติ มีป้ายเขียนบอกไว้ว่าให้ไป ที่ทางออกที่เท่าไหร่จะมีรถคอยบริการตามทางที่ท่านจะไป เป็นการบริหารความเสี่ยงแสดงความรับผิดชอบ แม้แต่ เมืองที่เพียบพร้อมแห่งนี้ยังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ ใน ระหว่างที่ผมขึ้น Singapore Flyer ชิงช้ายักษ์ชมวิว เกิดฝน ตกหนักจนมองไม่เห็นอะไรนอกจากสีขาวโพลนของเมฆฝน จนกลั บ ลงมาได้ มี ก ารประกาศขออภั ย และหยุ ด การให้ บริการ การแสดงแสงและเสียงของ Garden by the Bay ก็ เช่นกันเป็นอันต้องขอหยุดการแสดงเนื่องจากสภาพอากาศ ไม่อ�ำนวย แต่มีอยู่อย่างที่ผมเห็นธรรมชาติไม่สามารถหยุด ได้เลยคือเด็กวัยรุ่นสิงคโปร์ยอมเปียกฝนเดินทางกันมาเพื่อ รอชมคอนเสิร์ตศิลปินเกาหลี ในช่วงชีวิตของผมตอนนี้ ผมให้ความส�ำคัญและสนใจ มากคือโตไปจะท�ำอะไร ผมศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และ นโยบายสาธารณะ สิ่งที่ผมได้ไปสัมผัสที่สิงคโปร์คือผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจากวิชาที่ผมเรียน ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า 28


SINGAPORE เรื่อง: รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

29


ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราแทบทุกคนน่าจะเคยมาที่นี่ พวก ท่านได้อะไรกลับไปบ้าง มาเพียงพักผ่อนหาความสบาย หรืออาจจะได้เพียงโครงการขายฝันกลับไป ผมไม่รู้หรอกว่า สิงคโปร์คอรัปชั่นกันขนาดไหน แต่รัฐบาลที่พึ่งพาได้และ มองการณ์ไกล ท�ำให้สิงคโปร์ก�ำลังสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ตึกสูงระฟ้า สถานที่ท่องเที่ยว หรือถมสร้างเกาะเพิ่ม นั่นคือ เขาสร้างประชากรเป็นทุนที่ดีที่สุดของประเทศ ให้ความ ส�ำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ มีห้องสมุดมากมายในสิงคโปร์ เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนได้ เ ข้ า ถึ ง และใช้ ป ระโยชน์ กั น มาก ไม่ เ ว้ นแม้แต่วัดพระเขี้ยวแก้วยังมีชั้นห้องสมุด ด้ า นศาสนาให้ ไ ด้ ศึ ก ษา ผมได้ มี โ อกาสไปสถานที่ ที่ น่าหลงใหลที่สุดของนักศึกษาและปัญญาชนสิงคโปร์ คือ หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยหนังสือและหนังสือ อ้ า งอิ ง แทบทุ ก ภาษาทุ ก หมวดความรู ้ ยั ง มี สื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ หายากและสื่ อ วิ ดี ทั ศ น์ ห ลากหลาย มี ห ้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ นิทรรศการที่หมุนเวียนมาน�ำเสนอ โซนเด็ก โซนประชาชน ซึ่งครบสมบูรณ์แบบพร้อมให้หยิบเข้าหัวตามใจชอบ ทุก อย่างอ�ำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีเพื่อผู้มาใช้บริการ และผมเชื่ อ ว่ า ตึ ก นี้ แ หละที่ เ ป็ น พลั ง ขั บ เคลื่ อ นประเทศ สิงคโปร์และโลก คนของประเทศสิงคโปร์มีแหล่งความรู้ และวัฒนธรรมจากผู้คนที่หลากหลาย ยิ่งหากเปิดประชาคม อาเซียนจะส่งผลให้เกิดสมองไหลของประเทศสมาชิกมา รวมอยู่ที่สิงคโปร์ กลายเป็นศูนย์กลางที่แข็งแกร่ง ทั้งหมด นั่นคือเรื่องของสิงคโปร์ เมื่อผมกลับมาเมืองไทย ผมยังคง ต้องปรับนาฬิกาให้ช้าลงหนึ่งชั่วโมง แต่การเดินของเวลา 30


SINGAPORE เรื่อง: รัชชานนท์ เกตุรามฤทธิ์ ภาพ: จิตรพงษ์ จีระฉัตร

เป็นเรื่องปัจจุบัน ตัวของผมเองต่างหากที่ก�ำลังออกวิ่งเพื่อ ล่ า อนาคต โอกาสในการร่ ว มโครงการนี้ คื อ จุ ด ไฟ ประสบการณ์ เป็นสายตามองเข้าถึงสสารแวดล้อม เสาะ หาความรู้ที่ไม่จ�ำกัดเฉพาะการอ่าน ให้เวลาผมวิ่งหน่อย ไม่ ว่าสิงคโปร์หรือประเทศไหนในโลก ตัวผมในอนาคตรับค�ำท้า ความหลากหลายที่เริ่มถาโถมเข้ามาหน้าบ้านเราเพื่อ ปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บางคนเปิดประตูวิ่งออกไป ใส่เต็มฝีเท้า บางคนยืนอย่างต้อนรับเพราะมองเห็นโอกาส บางคนหลบอยู่ในบ้านโดยไม่สนว่าข้างนอกจะเป็นอย่างไร ประตูบ้านไม่ได้กั้นเราออกจากกัน เพียงวางรีโมตทีวี หยิบ สิ่งส�ำคัญในการใช้ชีวิตใส่กระเป๋าเป้สะพายพาดหลัง มัด เชือกรองเท้าให้แน่น เปิดประตูออกไปเจอเพื่อนใหม่ ร่วม เฉลิมฉลองไปด้วยกัน Cheers!!! 31


Ministry of Social Development and Human Security ADVERTORIAL

การพัฒนามนุษย์

1

การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม • ขจัดความยากจน • เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม / ความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบ จากการรวมตัวอาเซียน / โลกาภิวัตน์ • ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร • เข้าถึงการดูแลสุขภาพ / ส่งเสริมการด�ารงชีวิตที่มีสุขภาพ • เพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ • รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด • สร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติ และประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

• ให้ความส�าคัญกับการศึกษา • ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ • ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม • ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ • ความสะดวกการเข้าถึงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ • เสริมสร้างทักษะในการประกอบการ ส�าหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

เป้าหมายและ พันธกรณี ASCC Blueprint ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Blueprint คือ แผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

4

การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม • จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก • จัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมข้ามแดน • พัฒนาที่ยั่งยืนโดยศึกษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน • ส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (EST) • ส่งเสริมคุณภาพการด�ารงชีวิตในเมือง • ประสานเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมทรัพยากรชายฝั่งและทะเลอย่างยั่งยืน • อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมความยั่งยืนทรัพยากรน�้าจืด • ตอบสนองต่อ climate change • ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้

3

ความยุติธรรมและสิทธิอย่างเท่าเทียม • สิทธิและสวัสดิการส�าหรับกลุ่มด้อยโอกาส และกลุ่มที่อ่อนแอ • คุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน • ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ

6 5

การลดช่องว่างการพัฒนา

การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

• ส่งเสริมและตระหนักการเป็นประชาคม • อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอาเซียน • ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม และอุตสาหกรรม • การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน

การด�าเนินงานตาม ASCC Blueprint โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• เสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่า 6 ประเทศ กับประเทศสมาชิกใหม่


9

3

4

8

10

1 2

5

7

6


ต่อให้ค เทียบเท วามคิดดีเพีย ให้เกิดป ่ากับการได้ลง งไร คงดีไม่ สมบูรณ ระชาคมอาเซ มือทำ� เพื่อ ียนอย่า ์ ง

Sum m

ary A

SEAN

เราควร ที่หลาย เป็นมนุษย์แ บ ขบวนเ คนอาจต้อง บไหน ในปร ต ข เป็นทศ ้าแถวอย่างพ ั้งรับก่อนที่ค ะชาคมอาเซีย ปฏิบัต กัณฐ์อาเซียน ร้อมเพรียง วามหลากหล น? คำ�ถาม� ิท สู่การเ ี่หลากทัศนะ อาจทำ�ให้เร การแปลงสภ ายจะเดิน ปลี่ยน แปลงค มากขึ้น เพื่อเ าได้เห็นมุมม าพประหนึ่ง อ ป รั้งสำ�ค ัญระด ็นการเปิดรับ ง และการ ับอาเซีย และเรีย นรู้ น

เมื่อการ สร้างฐ เคลื่อนย้ายตล า ไปพร้อ นการแก้ปัญห าดแรงงานเพ ิ่ม มๆ กับ ท่องเที่ย การเดิน าที่เข้มแข็งเพื่อ มากขึ้น เราค ส ไ ว ป ท ดังนั้นค ี่อาจเป็นตัว ข้างหน้า แม อดรับความ วร พ ประเทศ วรสรา้ งความ ชี้วัดในหลายๆ ้กระทั่งเรื่องกา ัฒนา เขา้ ใจเร อาเซียน ร ป � ร ะ เท ศอ ที่ออกม อ่ื งของวฒ าจากจิต ั นธรรม าเซียน � สำ�นึกเป ข ็นลำ�ดับ องแตล่ ะ สำ�คัญ

N EA AS WS E N NEL A CH

อาศัยวิส SHAR ขนาดให ัยทัศน์ของผู้น ING ำ� ญ ด า ้ ่ น ไ ป ต จ ่างๆ ทั้ง เตรยี มม นถึงระด ร อ ความคิด ของแต่ล งหาและรกั ษา ับรากหญ้า อีก ะดับองค์กร ทั้งต้อง� ยังถือเป ที่ออกมาจากแ ให้เป็นเร ะประเทศให้มีศ คนเกง่ เพอ่ื พฒ ั น ักย ื่องใกล้ต ปัญหาร ็นต้นทางสำ�คัญก่นแท้ของหัวใจ ัว และค ภาพที่ดีขึ้น จง าประชากร� ะดับ ของ � วรตื่นต ระหนักอ มองอาเซียน ความเป็นอค อาเซียน รวมท การแก้ไข� ยู่เสมอ เพื่อเข้าส ติต่อประเท ั้งควรสลาย โดยไร้ซ ู่การปฏิบัติต่อ ศร่วมอาเซียน � ก ึ่งผลปร ะโยชน์ ันอย่างจริงใจ �


n

ASEAN

ews updat e! ปรับร่าง กายให้ม ีความสาม สม�่ำเสมอ า ให้เด่นชัด และควรเพิ่มควา รถอย่างมีประสิท ม ธิภาพ ต สามารถ า ม ศ ั ก ย สามารถ ด้านเทคโน ภาพอย่างจริงจัง ของประชากร� การเรียน โลยี เพื่อ โด รู้ เพิ่มประส ยเฉพาะความ ิทธิภาพแ ห่ง�

- do m - kee y job p calm

ศักยภ เท่าทัน าพทางด้านภ กันเป็น และสามารถ าษาเป็นสิ่งส และไม่ค อย่างดี ต้อ พัฒนาให้ป ำ�คัญที่จะทำ� ง เพราะก วรถูกกรอก ทำ�ให้ภาษา ระชาคมอาเซ ให้เรา� ที่สอง ียนเข อ า ร ยู่ใน ส อ ่ ื เ เกิดกา รแก้ไข สารคือการ ช่องความส ป็นเรื่องปกต ้าใจ ามารถ ส่งต่อ ปัญหา พ ิ ทั้งจาก ความเข ้าใจ เพ ิเศษ สังคม ภายใน ื่อ และภา ให้ ยนอก

I will to dotry

BASIC E NGL ISH

BASIC E NGL ISH

พร้อมร ที่ดีคือก ับฟังอย่างมีส เพียงภ ารสัมผัสที่ลึก ติ เพราะการฟ า ช่วยเพิ่ม ยนอก โสตปร มากกว่าการม ัง� อ และกลั่น ความละเอียด ะสาทด้านนี้อา ง� จ� ละออ เพ กรองค วามหล ากหลา ื่อเปิดรับ� ย

วัฒนธ อ้อมอา รรมย่อมมีคว อาเซียน รี ถือเป็นสิ่งท ามแตกต่าง แ ต ชาติต่า เป็นเช่นไร ค ี่ทุกเชื้อชาติพ ่การเข้าใจกัน งมีควา ึงปราร งไม่ใช่ภ ม ทำ�ความ ถนา ก อย่างโอบ าระของ คิดต่าง า ถึงการ เข้าใจอย่างถูก การปฏิบัติแล ชาติใดชาติห รมุ่งหวังให้ ดำ�รงอ นึ่ง เมื่อ ว ้ ต อ ้ ก ง า ร อ อ ยู่อย่าง แต่ละ าจทำ�ให ยู่อย่าง เมอ่ื แว ไ ้เ พรอ้ ม คนมสี ว่ นรว่ ม ดล้อมความปร ราตั้งสติและชวรน และการ แ า เพอ่ื ปร ลว้ กระทรว ในการแตง่ อ ณีมากขึ้นกว่าเด ให้เข้า ง ง ะ ิม ช คท์ รง พ า ช ม น . ค

กม็ ภี าร เครอ่ื ง คือกา ุ้มครอ ให้มีปร งทางสังคม รพัฒนาคุณ กจิ หนง่ึ ทส่ี ำ�ค ให้ ภ ั ส่งเสร ะสิทธิภาพแล โดยการพัฒน าพชีวิตและก ญ ิมการค ะ า า ก ร ร ร คุ้มครอ ุ้มครอ ะจายการ ะบบสวัสด โอกาสค งสิทธิ ปกป้อ งทางสังคม ต ให้บริการให้ท ิการ โอกาส วามเท่าเทียม งผลประโยช ลอดจนพัฒ ั่วถึง เยาวชน พัฒนาทักษะ ของเด็ก สต น์ และส่งเสร นาการ ร ิม เพื่อกา และผู้ด้อยโอ การประกอบอ ี และกลุ่มผู้ด รลงทุน ก อ ้ า า ช ย ส พ ี ก ส การสร า ำ� ้างความ การฝึกอบร รเข้าถึงแหล่ง หรับสตรี มแ เง เข้มแข็ง ระดับช ละการตลาด ินทุน� ุมชน รวมทั้ง


นิตยสารเพื่อเล่าประสบการณ์อาเซียน ของเยาวชนไทย จากโครงการประกวดบทความ “ชีวิตชีวาอาเซียน Asean Blooms (บุปผาอาเซียน)”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.