มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

Page 1

1

รั

สุ

ข ร ค บ อ

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก


2

3

ฉันจะเล่าให้ฟัง อยากให้เด็กๆ กล้าที่จะฝัน อยากให้ผู้ใหญ่ เป็นผู้มอบโอกาส อยากให้ทุกคน รู้ ..ว่าเด็กจากมูลนิธิก็ทำ�ได้ และอาจทำ�ได้ดีกว่า รู้ไหม? ฉันเป็นใคร?

ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าฉันเป็นใคร..ฉันจะเล่าให้ฟัง

รู้ไหม? ฉันเป็นใคร?

ฉันเป็นเด็กมูลนิธิ และฉันทำ�ทุกอย่างได้เหมือนคุณ

นั่นคือเหตุผลที่ทำ�ให้เกิดเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้ขึ้นมา อีกทั้งยังอยากจะมอบเป็นสื่อให้ทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่จะช่วยถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของบุคคลตัวอย่างผู้ที่เติบโตจาก มูลนิธิแห่งนี้ ..ผู้ที่ได้รับโอกาสนั้น และก้าวพ้นคำ�ว่า เด็กมูลนิธิ ของสังคมได้ คณะผู้จัดทำ�


4

5

รู้ไหม? หน้า

บทน�ำ

ฉันเป็นใคร 06

08

ผู้ชาย... ...หัวใจศิลป์

30

20

ผู้หญิง... ...ผู้พอเพียง

คุณแม่... ...ตัวอย่าง

หน้า 09 เจอกับครูหยุย 22 รู้ไหม? ตื่นเช้ามาต้อง 13 ศิลปะคือความรัก ท�ำอะไรบ้าง 16 เพราะเรียนในสิ่งที่รัก 25 อย่าคิดว่าท�ำงานแบบนี้ ..จึงรักในงานที่ท�ำ ..มันง่าย สบาย 27 ไม่ต้องดีเลิศ..แค่พอใจ

32 เรียนไป...ท�ำไม 35 มาดูกันสิว่า ..ฉันจะท�ำอะไรได้บ้าง 38 เขามีความรู้ มีสมอง ..พี่ไม่มี พี่มีแค่มือกับใจ

46

มองมุมกลับ... ...ปรับมุมมอง 61 บทส่งท้าย 62 เครดิต


6

7

บทนำ�

มาเล่นกันเถอะ..

มาเล่นกันเถอะ

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เมื่อย้อนไป 20กว่าปีที่แล้ว ... มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เป็นโครงการที่เกิดขึ้น จากการที่ “ครูหยุย” ผู้ที่มองเห็นถึงคำ�ว่า อุตสาหกรรม การสร้างอาคาร การเติบโต ความเจริญในกรุงเทพฯที่เกิดขึ้น มนุษย์...เป็น ผู้ที่ก่อสร้างอาคารเหล่านั้น และพวกเขาต้อง มีครอบครัว พูดง่ายๆก็คือครอบครัวคนงาน ก่อสร้างนั่นเอง ครูหยุยเริ่มจากการไปตั้งศูนย์ สอนเด็ก ซึ่งเรียกว่า ศูนย์เด็กก่อสร้าง ในพื้นที่ ตรงนั้นประมาณปี 2527 และนั่นคือจุดเริ่มของการ สร้างบ้าน และ สร้างคน

อย่า..คิดว่าสิ่งนี้เป็นเพียงแค่พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มหนึ่ง คุณชอบเล่นเกมส์หรือไม่คะ? เกมส์นี้มีชื่อว่า “เปลี่ยน”

ยินดีที่รู้จัก..

คำ�ถามง่ายๆ วิธีเล่นง่ายๆ แต่สิ่งที่ได้ มากมายเกินคำ�ตอบ “เพราะสิ่งที่เราอยากจะบอกคุณ มันถูกซ่อนอยู่ ...หาให้เจอสิคะ?” คำ�ถาม “เด็กมูลนิธิ” คุณคิดอย่างไรกับคำ�ๆนี้?

คุณสมพงษ์ ด่านเขตแดน หรือพี่หล้า ครีเอทีฟหนุ่ม ผู้ที่ได้รับโอกาส จากมูลนิธิ ปัจจุบันทำ�งานอยู่ที่บริษัท อเมริกันสแตนดาร์ด

คุณไพจิตร ขาวสนทิ หรือพี่เอ็ม คุณแม่ลูกหนึ่ง ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิ ปัจจุบันทำ�งานอยู่ที่บริษัท เดอะโคลเวอร์ บ็อกซ์ คุณวันเพ็ญ กาประโคน หรือพี่เพ็ญ หญิงสาวนักจัดการ ผู้ที่เติบโตจากมูลนิธิ ปัจจุบันทำ�งานเป็นผู้จัดการ(รองเจ้าของร้าน) 7-ELEVEN

วิธีการค้นหาคำ�ตอบ ไม่ต้องเสียเวลาคิดให้วุ่นวาย ...เรามีวิธีง่ายๆดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราขอให้ตอนนี้คุณคิดถึงเด็กมูลนิธิในแง่ของความยากจน ไร้การศึกษา น่าสงสาร ด้อยโอกาส หรืออาจถึงขั้น เป็นพวกคนไม่ดี เป็นปัญหาสังคม ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 เปิดอ่านบทที่ 1 2 3 และเราจะไปเฉลยคำ�ตอบกันในบทที่ 4

พร้อมแล้ว “เริ่ม”!!


8

9


10

11

เมื่อต้องเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ คุ ณ สมพงษ์ จึ ง ต้ อ งมาใช้ ชี วิ ต อยู ่ ที่ มู ล นิ ธิ โดยมีชีวิตประจ�ำวันในเรื่องของการดูแล บ้านด้วย จะมีบ้านใหญ่คือเป็นพวกพี่ๆ ต้องดูแลน้อง พี่ต้องคอยช่วยน้องและ คุณครู ที่นี่มีคุณครูประมาณ4-5คน แต่ ช่วงที่คุณสมพงษ์มาอยู่ เด็กที่นี่มีถึง 100 กว่าคน แบ่งเป็น 2 ตึก ตึกชายและตึก หญิง ในส่วนของคุณสมพงษ์จะเป็นพี่ ใหญ่จะต้องคอยดูแลน้องท�ำกับข้าว รีดผ้า ซักผ้า นี่คือชีวิตประจ�ำวันที่ถูกสร้างให้มี ระเบียบกับการท�ำงาน

เจอกับครูหยุย พ่อแม่ของคุณสมพงษ์ท�ำงาน

อยู่แถวฝั่งธนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง คุณ สมพงษ์ได้เจอกับครูหยุยที่แชงกรีล่า แถว สาทร เมื่อคุณสมพงษ์ได้เจอกับครูหยุยก็ ได้ถามว่า...

อยู่กับใคร? พ่อแม่เป็นอย่างไร? ท�ำงานสุจริตหรือไม่? เป็นเด็กที่ไหน?

เมื่อครูหยุยได้ค�ำตอบจากปากคุณ สมพงษ์ ท่านก็เดินทางไปที่แคมป์ก่อสร้าง พูดคุยกับพ่อแม่ของคุณสมพงษ์ เมื่อครูหยุ ยทราบว่าคุณสมพงษ์ไม่ได้เรียนหนังสือจึง ขอให้มาเรียนหนังสือกับท่าน จนอ่านออก เขียนได้ ต่อมาก็ได้สอบเข้าโรงเรียนเพื่อ เรียนให้เป็นระบบจนเมื่อจบประถมศึกษา ปีที่6 เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กต่างจังหวัด จะไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนหนังสือต่อ ยิ่งมา จากครอบครัวชนบทด้วยแล้ว พ่อแม่ไม่มี เงินที่จะส่งลูกเรียนต่อระดับสูงๆ คุณสม พงษ์จึงเขียนจดหมายมาที่ทางมูลนิธิเพื่อขอ ให้ตนได้ศึกษาต่อ

แต่..อีกชีวิตหนึ่งคือชีวิตของ

สังคม เมื่อไปเรียน คุณสมพงษ์จะถูก มองว่าเป็นเด็กก�ำพร้า เป็นเรื่องจริง ที่ถูกล้อแบบนั้น แต่คุณสมพงษ์อาศัย ว่าเป็นคนที่ปรับตัวง่าย และมีบุคลิก สบายๆ กับเพื่อนฝูง คุณสมพงษ์เป็น นักกีฬาของโรงเรียน และยังเป็นตัวแทน ของโรงเรียนไปประกวดวาดภาพ ใน ช่วงที่เรียนมัธยมศึกษา คุณสมพงษ์ได้ ร่วมกิจกรรมหลายอย่าง อีกทั้งยังได้รับ เกียรติบัตรนักเรียนดีเด่น ฯลฯ


12

13

ข้อดีของเด็กในมูลนิธิในเรื่องการเรียนคือ...

อยากเรียนอะไร ครูไม่เคยห้าม ...ซ�้ำยังหาทางสนับสนุน

ศิลปะคือความรัก

ไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ งเรี ย นพิ เ ศษ แน่นอนว่าเด็กที่นี่ไม่มีปัญญาไปเรียนตาม สถานที่กวดวิชาชื่อดัง เต็มที่ก็โรงเรียนวัด คุณครูที่อยู่ในมูลนิธิก็อาจจบมาไม่ตรงสาย ในการสอน แต่คุณครูก็จะเป็นเหมือนพ่อแม่ คอยไปหาหนังสือ หาความรู้ มาใส่ให้จนคุณ สมพงษ์รู้สึกอยากขอบคุณ ผู้ที่เคยบริจาค หนังสือมาให้ทางมูลนิธิ เพราะถึงแม้จะ เป็นหนังสือเก่าแต่ก็มีประโยชน์ อย่างเช่น หนังสือประวัติศาสตร์ สารคดี และนิตยสาร ที่ให้ความรู้ เด็กในมูลนิธิอาจจะไม่มีโอกาส ไปเที่ยวเหมือนเด็กข้างนอก เวลาจะออก ไปข้างนอกแต่ละทีต้องมีขั้นตอนในการขอ คุณครู นั่นคือการขอออกข้างนอกไปเที่ยว วันเสาร์-อาทิตย์ คือ วันพฤหัสฯ จะต้อง เขียนใบขออนุญาต ในวันศุกร์คุณครูก็จะ พิ จ ารณาค� ำ ขอว่ า สามารถออกไปได้ ห รื อ ไม่ ในใบขออนุญาตต้องมีการระบุสถานที่ ที่จะไป เวลาไป-เวลากลับที่ชัดเจน เพื่อที่ คุณครูจะได้สามารถตามตัวได้ ถ้าถึงเวลายัง ไม่กลับคุณครูก็จะออกไปตาม ตามสถานที่ ที่ระบุไว้ คุณครูในมูลนิธิจะเป็นห่วงเด็กใน มูลนิธิทุกคนเหมือนพ่อแม่ห่วงลูก

เมื่อคุณสมพงษ์เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางมูลนิธิก็ไม่ได้ห้ามอะไร

ถ้าจะเรียนต่อ ไม่บังคับว่าจะต้องต่อสายสามัญ หรือสายอาชีพ คุณสมพงษ์เลือกที่จะ เรียนด้านศิลปะเพราะเป็นความถนัด โดยได้เข้าวิทยาลัยศิลปหัตถกรรม ในช่วงนี้เป็น ช่วงที่คุณสมพงษ์เล่าว่าตื่นเต้นมากเพราะจากเด็กมัธยมฯไปเรียนอาชีวะ ระบบมันไม่ เหมือนกับที่เคยเรียนมา เวลาไปเรียนต้องตื่นเช้ากว่าเดิมเพราะวิทยาลัยอยู่ไกล และมี สิ่งแปลกใหม่ในชีวิตอีกอย่างก็คือต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า เพราะมีการตีรันฟันแทงกันตลอด พอตอนเย็นกลับมาก็เตรียมของ เตรียมเสื้อผ้าไว้ก่อนเลย แล้วถึงจะท�ำการ บ้าน ท�ำอย่างอื่นต่อได้


14

15

ต่อมาคุณสมพงษ์สอบติดที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรม ศาสตร์ ภาควิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์ ตอนนั้นเขารับ 15 คน จาก ทั่วประเทศ ในตอนแรกคุณสมพงษ์ติด 1 ใน 18 คน สละสิทธิ์ไป 1 คน เหลือ 17 คน ทุกคนจะต้องถูกสอบสัมภาษณ์ก่อนที่จะคัดเข้าไป ผลคือมีคนสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน 2 คน คุณสมพงษ์ติด 1 ใน 15 คน ท�ำให้ได้เข้าไปเรียนอยู่ที่นั่น คุณสมพงษ์รู้สึกภูมิใจเมื่อได้มองย้อนกลับไปข้างหลัง พบว่าได้ฝ่าฟันอะไร มาเยอะพอสมควร ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยเหมือนเป็นอีกโลกหนึ่งของการเรียน คุณสมพงษ์เป็นเด็กจากมูลนิธิที่ไปเรียนในระบบมหาวิทยาลัย ภายนอกดูเหมือนมี เงิน พ่อแม่รวย ซึ่งมันเกิดจากการมองแค่ภายนอกเท่านั้น ตอนที่คุณสมพงษ์บอก เพื่อนๆก็ไม่มีใครเชื่อ จึงพามาที่มูลนิธิ มาท�ำกิจกรรมกับเด็กๆ ที่มูลนิธิ เพื่อนของ คุณสมพงษ์ถึงกับรู้สึกอึ้งไปตามๆกัน เพราะเพื่อนที่มหาลัย 14-15 คนที่เรียนด้วย กัน แน่นอนว่ามีอันจะกินแน่นอน จริงๆแล้วในตอนที่เรียน มูลนิธิส่งเราเรียนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ใครพอจะมีโอกาสกู้เงินกยศ.เรียนก็กู้ไป เพราะยังมีเด็กๆในมูลนิธิ อีกหลายร้อยคนที่มูลนิธิต้องดูแล

มันคือความจริงที่ว่า... เด็กที่มาจากมูลนิธิ ได้เปรียบกว่าเด็กทั่วไป เด็กทั่วไปจะมีสักกี่คนที่ได้ใช้ชีวิต ...ที่เป็นชีวิตจริงๆ


16

17

เพราะเรียนในสิ่งที่รัก ..จึงรักในงานที่ท�ำ คุ ณ สมพงษ์ จ บการศึ ก ษาใน

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พอวันที่ 3 ก็เริ่มเข้า ท�ำงานที่บริษัทสามารถมัลติมีเดีย ท�ำมา เกือบ 2 ปี ด้วยความที่เพิ่งจบมาใหม่ๆ ยังมีไฟ ยังรู้สึกว่ามันน่าจะท�ำอะไรได้ มากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ จึงตัดสินใจลาออก ไปอยู่บริษัทในเครือชินวัฒน์ ตอนนั้นคุณ สมพงษ์ท�ำงานอยู่ที่บริษัทชินนี่ดอทคอม ท�ำเว็บดีไซน์ กราฟิกดีไซน์ ท�ำคอนเทนท์ ถ่ายภาพ อัพเดตท�ำงานอีเว้นท์ต่างๆ จน มาวันหนึ่งคุณสมพงษ์มีครอบครัว มีลูก แฟนคุณสมพงษ์ก็เติบโตมาจากในมูลนิธิ เหมือนกัน คบกันตั้งแต่ตอนอยู่ม.1 จนถึง ปัจจุบันก็เป็นเวลาร่วม 24ปีแล้ว มีลูกน่า รักๆ 2คน ตอนนี้คุณสมพงษ์รู้สึกว่า ตนไม่ ได้ตัวคนเดียวแล้ว มีแฟนและลูกอีก2ชีวิต ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ตอนที่คุณสมพงษ์ อายุ 25-26ปี ก็สามารถเก็บเงินซื้อรถได้ มี ที่ดิน ต่อมาก็มีบ้านและเริ่มท�ำธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ จนมาถึงปัจจุบันคุณสมพงษ์ท�ำงาน ที่ บริษัท One Two One Con และตอน นี้ก�ำลังจะเปลี่ยนที่ท�ำงาน ไปท�ำที่อเมริกัน สแตนดาร์ด

เป็นเวลาเกือบ20ปีจากจุดนั้น ทุก อย่างที่เรียนมาเป็นวิชาที่คุณสมพงษ์เลือก เอง ท�ำให้คุณสมพงษ์ได้ท�ำในอาชีพที่รัก และชอบอย่างเช่นทุกวันนี้ เมื่อก่อนครูหยุ ยเคยออกเงินให้ไปท�ำการค้าขาย เช่น ขาย หนังสือพิมพ์ตามสี่แยกไฟแดง ขายผ้าเช็ด รถ ท�ำไอศกรีมหมุน ถักเชือกขาย เพ้นท์ ผ้าบาติกขาย คือที่มูลนิธิจะพยายามสอน ให้เด็กออกไปเจอโลกภายนอก โดยการให้ ลองใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและลองท�ำ อย่าง น้อยเด็กที่นี่ทุกคนคุณสมพงษ์สามารถกา รันตีได้เลยว่า ซักเสื้อผ้าเป็น รีดผ้าเป็น ทอดไข่เจียวเป็นและท�ำงานบริการเล็กๆ น้อยๆเป็น ถึงจะเรียนจบออกไป จะไปเป็น หัวหน้ายาม หัวหน้าแม่บ้านนี่ก็เป็นอาชีพที่ เขาท�ำและภูมิใจในสิ่งที่เขาเป็น

คุ ณ ค รู ที่ นี่ ไ ม ่ เ ค ย ห วั ง ใ ห ้ เ ด็ ก ก ลั บ ม า ช่ ว ยเหลื อ หรื อ ตอบแทนแต่ พ วกเขาพยายาม ใ ห ้ ใ น ทุ ก ๆ สิ่ ง อ ย ่ า ง เ ต็ ม ที่ . . เ พี ย ง แ ต ่ อ ยู ่ ที่ เด็ ก ๆว่ า จะรั บ มาจากเขาได้ ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน


18

19

สิ่งที่คุณสมพงษ์รู้สึกอยากจะขอบพระคุณคุณครูในมูลนิธิอีกเรื่องก็คือ การวางแผนที่จะเก็บเงินและน�ำไปต่อยอด คุณสมพงษ์ท�ำงาน 2ปี สามารถเก็บ เงินได้ 6แสนบาท ที่สามารถเก็บได้ก็เพราะคุณครูในมูลนิธิสอนให้ทิ้งเงิน การทิ้ง เงินในที่นี้ก็คือการที่ฝากเงินแบบปิดตาย ไม่มีเอทีเอ็ม แบบเก็บไปเรื่อยๆไม่เอาออก มาใช้ ใช้เท่าที่มีอยู่ ให้ใช้วิธีประหยัดและอดออม สิ่งใดไม่จ�ำเป็นก็ไม่ซื้อ ในมูลนิธิจะ สอนให้เด็กท�ำอะไรเอง ตอนที่คุณสมพงษ์อยู่ในมูลนิธิ เด็กผู้ชายจะเป็นช่างประจ�ำ มูลนิธิ จะซ่อมทุกอย่าง ท่อน�้ำ ไฟฟ้าฯลฯ ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเป็นพวกช่างเย็บผ้า ซ่อมเสื้อผ้า แก้ไขเสื้อผ้าให้ดี ให้เข้าที่ โดยทุกอย่างจะมีคุณครูเป็นผู้สอน แล้วให้เด็ก ลองท�ำเอง อย่างอาหารว่างตอนกลางวัน เด็กปกติพ่อแม่อาจซื้อมาให้ แต่ที่มูลนิธิ อาหารว่างกลางวันจะเป็นผัก ผักในที่นี้คือผักที่เอาไปชุบแป้งทอด ผักที่น�ำมาท�ำก็ ไม่ได้ไปซื้อมาแต่เก็บจากหลังบ้าน เด็กๆจะรู้วิธีปลูก แปลกตรงที่เมื่อไม่ได้ไปซื้อที่ ตลาด แต่ถ้าเกิดต้องไปซื้อเองก็จะรู้ต้นทุน ก�ำไรที่เขาเอามาขาย เช่น ซื้อเมล็ดมา ปลูก 20 บาท ปลูกได้ทั้งแปลง แต่เอาเงินไปซื้อ 20 บาท ได้ผักแค่ก�ำเดียว ส่วน เด็กที่ท�ำกับข้าวไม่เป็น ท�ำอาหารไม่เป็น คุณครูก็จะเริ่มฝึกจากการให้ไปจ่ายตลาด ให้ดูว่าต้องใช้เนื้อสัตว์เท่าไหร่ ผักเท่าไหร่ ต่อจ�ำนวนคนเท่านี้ ส่วนใหญ่ที่มูลนิธิจะ ไม่ค่อยใช้เนื้อสัตว์ในการท�ำอาหารแต่จะใช้พวกโปรตีนเกษตรแทน และรู้จักคัดสรร วัตถุดิบในการท�ำอาหารอย่างเหมาะสม

และเรื่องราวทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่คุณสมพงษ์ได้เรียนรู้มาตลอดในช่วงหนึ่งของชีวิต


20

21


22

23

รู้ไหม?.. ตื่นเช้ามาต้องท�ำอะไรบ้าง? เรื่องราวชีวิตของคุณวันเพ็ญ รองผู้จัดการร้าน 7-ELEVENสาขาหนึ่ง : เป็นผู้ที่ดูแลกิจการรองจากเจ้าของร้าน

ต อนเด็กๆแม่ของคุณวันเพ็ญไม่มีเงินส่งให้เรียนหนังสือ ซึ่งคุณวันเพ็ญ มีลูกทั้งหมด 3 คน แม่ของคุณวันเพ็ญท�ำงานตามแหล่งก่อสร้าง ปกติจะมีครูข้าง

ถนน มาสอนเด็กตามสถานที่ก่อสร้างต่างๆอยู่แล้ว แม่ของคุณวันเพ็ญจึงให้คุณวัน เพ็ญเข้าร่วมการเรียนการสอนด้วย ปกติคุณครูจะมาประมาณวันจันทร์ - ศุกร์ ต่อ สัปดาห์ ครั้นพอแม่ของคุณวันเพ็ญเสร็จงานก่อสร้างครั้งหนึ่ง ก็จะย้ายที่อยู่เพื่อไป ท�ำงานตามแหล่งก่อสร้างอื่นต่อ แม่ของคุณวันเพ็ญจึงให้คุณวันเพ็ญเข้าไปอยู่ใน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อาทิตย์หนึ่งถึงสองอาทิตย์ แม่ของคุณวันเพ็ญก็จะมารับกลับ บ้าน

ท�ำให้มูลนิธิเหมือนเป็นบ้านหลังที่สองของคุณวันเพ็ญ

การใช้ชีวิตอยู่ในนั้นจะเป็นลักษณะ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนกันมีอะไร ก็จะคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตอน ที่คุณวันเพ็ญเรียนชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดหลักสี่ คุณวันเพ็ญต้องตื่น ตั้งแต่ตีห้าเพื่อมาท�ำความสะอาดบ้าน ใครมีหน้าที่ท�ำอะไรก็ท�ำในหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมายของตนเอง เช่น หน้าที่ ของคุณวันเพ็ญคือท�ำความสะอาด ครัว ล้างพื้น, กวาดถู ฯลฯ พอถึงเวลา ตีห้าครึ่งก็ต้องอาบน�้ำ แล้วรอทาน อาหารเช้าตอนเจ็ดโมง เสร็จจึงได้ เวลาไปโรงเรียน เวลาไปก็จะเดินกัน ไปเป็นแถว

ถ้าเป็นเด็กมัธยมฯ คุณครูก็จะให้สตางค์ ไปโรงเรียน เสร็จก็เดินไปขึ้นรถเมล์ปกติ คุณวันเพ็ญจะได้เปรียบกว่าคนอื่นในการ ใช้ชีวิต เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ท�ำให้ คุณวันเพ็ญต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอีก หลายคน ซึ่งนิสัยแต่ละคนก็ไม่เหมือน กัน คุณวันเพ็ญต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เด็ก อย่างเด็กข้างนอกก็จะมีพ่อ แม่คอยดูแลซึ่งต่างจากคุณวันเพ็ญมาก การใช้ชีวิตที่โรงเรียนกับเพื่อนก็ต้องปรับ ตัวเข้าหาเพื่อน ไม่เหมือนการใช้ชีวิตอยู่ ในมูลนิธิที่ไม่ต้องปรับอะไรมาก เพื่อนที่ โรงเรียนส่วนมากในกลุ่มก็มองว่าคุณวัน เพ็ญเป็นเพื่อนปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ ตอนแรกที่อยู่ในมูลนิธิ คุณวันเพ็ญเคย รู้สึกน้อยใจว่า ตนเองไม่มีครอบครัว เหมือนคนอื่น ด้วยความที่คุณวันเพ็ญ ยังเด็กจึงไม่อยากจากพ่อแม่ แต่พออยู่ ที่มูลนิธิไปนานๆ พอมีเพื่อนฝูง มีสังคม ใหม่ๆ มันก็ท�ำให้รู้สึกชิน อยู่ที่มูลนิธิต้อง มีระเบียบ และต้องควบคุมตนเอง เมื่อ เลิกเรียน เวลากลับบ้านต้องห้ามเหลว ไหล ต้องตรงต่อเวลา มิเช่นนั้นก็จะมีการ ท�ำโทษ เช่น ท�ำงานบ้านเพิ่ม หรือการหัก เงินค่าขนม


24

25

อย่าคิดว่าท�ำงานแบบนี้มัน ง่าย... สบาย.. อยู่ที่นี่ได้เรียน รู้อะไรเยอะ มากกว่าคน ภายนอกเสียอีก คุณวันเพ็ญสนุก กับการใช้ชีวิตใน ในมูลนิธิมาก อีก อย่างคือมูลนิธิ ท�ำให้รู้สึกว่าไม่ ขาด ได้รับความ รักความอบอุ่น เสมอ...

ที่

มูลนิธิบรรยากาศดีมาก อบอุ่น คือ สามารถเรียกพ่อเรียกแม่ได้ คุณวันเพ็ญมีความ รู้สึกว่าคุณครูเป็นเสมือนพ่อแม่และตัวคุณวันเพ็ญ เป็นเสมือนลูก เมื่อท�ำผิดคุณครูก็จะสอน

ความฝันของคุณวันเพ็ญ ในตอน แรกนั้นอยากที่จะเรียนคหกรรม คุณวันเพ็ญ อยากเปิดร้านเบเกอรี่เป็นของตนเอง แต่ พอโตขึ้น ความคิดของคุณวันเพ็ญก็เปลี่ยน ไป คุณวันเพ็ญไม่มีเงินทุนพอที่จะสามารถ เปิดร้านอย่างที่ตนเองฝันไว้คุณวันเพ็ญจึง ลองท�ำอย่างอื่นแทน พอเรียนจบก็เรียนต่อ ที่โรงเรียนเทคนิคปทุม หลังจากนั้นก็เริ่มมี ความคิดว่าจะไปเรียนวิชาชีพชั้นสูง แต่ไม่มี เวลาท�ำให้ไปสมัครเรียนไม่ทัน ดังนั้นคุณ วันเพ็ญจึงไปสมัครงานเป็นแคดดี้ตามสนาม กอล์ฟกับเพื่อน วันหนึ่งคุณครูในมูลนิธิทัก คุณวันเพ็ญว่า ความรู้ที่เรียนมาน�ำมาใช้ได้ แค่นี้เองหรือ? คุณวันเพ็ญจึงลาออก แล้วไป สมัครงานที่ 7-ELEVEN ก็ท�ำมาเรื่อยๆจน เป็นเวลาเกือบ 10 กว่าปีแล้ว การท�ำงาน ในอาชีพนี้ คุณวันเพ็ญรู้สึกว่ามีความสุข ดีแล้ว เพราะเจ้าของคนนี้เป็นเจ้านายที่ดี มาก ให้โอกาสคุณวันเพ็ญและให้คุณวันเพ็ญ เป็นคนที่คอยช่วยดูแลธุรกิจแทนเขา คุณวัน เพ็ญมีแนวคิดว่า แทนที่เราจะแบกรับงาน ไว้เองทั้งหมด เราควรที่จะสร้างคนเพื่อที่จะ เข้ามาท�ำงานให้เยอะๆ และเราก็จะเป็นคน เฝ้าดูผลงานของน้องๆที่ได้เรียนรู้การท�ำงาน จากเราไปอย่างห่างๆ ซึ่ง 7-ELEVEN จะมี ผู้จัดการร้านอยู่แล้ว คุณวันเพ็ญจะเป็นคน คอยประสานงานกับผู้จัดการร้านอีกที ดูแล วางระบบในการท�ำงานให้แข็งแรง


26

พนักงาน 7-ELEVEN จะต้องท�ำ ทุกอย่าง คนข้างนอกส่วนใหญ่เขามองว่า ท�ำงาน 7-ELEVEN เป็นงานสบาย แต่จริงๆ แล้ว งานของพนักงาน 7-ELEVEN ไม่ได้ สบายอย่างที่คนภายนอกมอง อย่างการเป็น แคชเชียร์คุณจะเป็นแคชเชียร์อย่างเดียวไม่ ได้ คุณต้องมาเติมของก่อน คุณถึงจะรู้ว่าของ ทั้งร้านมีสินค้าอะไรบ้าง ทุกคนต้องรู้หมดว่า ของในร้านมีอะไรและขายอะไรบ้าง เราต้อง ตอบลูกค้าได้ การที่เราเริ่มจากจุดเล็กๆก่อน เหมือนคุณวันเพ็ญเริ่มจากเป็นเด็กพาร์ทไทม์ มาก่อน จึงเรียกได้ว่ารู้ทุกอย่างว่าต้องท�ำ อะไรบ้าง ชีวิตปัจจุบัน คุณวันเพ็ญต้องเข้า งานตอน 8โมงเช้า เลิก 2ทุ่ม ท�ำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน คุณวันเพ็ญได้เรียนรู้อะไรหลาย อย่างจากการที่อยู่ในมูลนิธิและได้เปรียบ กว่าคนข้างนอกด้วยซ�้ำเพราะได้เรียนรู้การ ใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็กๆ ทุกวันนี้ ชีวิตของคุณ วันเพ็ญถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับคนอื่น บาง คนออกจากมูลนิธิไป แล้วไม่สามารถมีชีวิต ที่ดีได้อย่างคุณวันเพ็ญก็มี อีกเรื่องที่คุณวัน เพ็ญรู้สึกว่าได้ตนเองเปรียบคนอื่น นั่นคือ เรื่องการมองคน คุณวันเพ็ญสามารถมอง คนออก จากการที่ดูลักษณะการพูด กิริยา ท่าทาง การแสดง คุณวันเพ็ญจะทราบเลยว่า คนๆนี้นิสัยเป็นอย่างไร เพราะจากการที่เรา ได้อยู่ในมูลนิธิมาก่อน ท�ำให้การมองคนง่าย ขึ้น และคุณวันเพ็ญได้ใช้ความสามารถนี้ใน การรับคนเข้าท�ำงาน คือแค่คุณวันเพ็ญมอง หน้าก็รู้แล้วว่าเป็นคนคนนั้นเป็นคนอย่างไร

27

ไม่ต้องดีเลิศ ..แค่พอใจ คุณวันเพ็ญได้กล่าวไว้ว่า

"ชีวิตอยู่ที่เราท�ำตัว ว่าท�ำไมคุณถึงยัง ไม่มีงานท�ำ อยู่ที่ความคิด การมองโลก คือการที่เราคิดเป็น ท�ำเป็น แก้ปัญหาเป็น เวลาที่เราท้อเราก็จะคิดบวกคิดแต่สิ่งดีๆ ว่าบางทีเราก็ยังดีกว่าคนอื่น และจะปลอบใจตัวเองในสิ่งที่เราคิดว่า เรายังท�ำไม่ดีพอ ท�ำไม่เต็มที่ ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยเริ่มกันใหม่ เราด้อยจุดไหนเราก็เอาพัฒนาจุดนั้น"


28

29

ปัจจุบันนี้คุณวันเพ็ญสามารถซื้อบ้านได้ หนึ่งหลังจากเงินสะสมและสร้างครอบครัว มีเงินส่งให้คุณแม่ใช้ ไม่ต้องเดือดร้อนใคร ตอนนี้คุณวันเพ็ญมีครอบครัวและมีลูก 2 คน และสามารถส่งลูกเรียนเองได้


30

31


32

?

เรียนไปท�ำไม...

มาร่วมหาค�ำตอบ ไปพร้อมๆกัน

คุณไพจิตรเป็นเด็กคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตให้ผ่านไปแต่ละวันในพื้นที่ ก่อสร้าง พ่อแม่ของคุณไพจิตรมีอาชีพเป็นกรรมกรก่อสร้าง ฐานะยากจน ได้รับเงินเพียงแค่ประทังชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวัน คุณไพจิตรต้องอาศัยอยู่ ในสถานที่ก่อสร้าง มีสภาพชีวิตความเป็น อยู่แต่ละวันเหมือนเด็กเร่ร่อน เพราะพ่อแม่ จะพาไปท�ำงานก่อสร้างแล้วก็ย้ายไปตรงนี้ ทีตรงนั้นที ได้เรียนโรงเรียนในที่นั้นๆได้ไม่ นาน ก็ต้องย้ายไปเรียนตามสถานที่ที่พ่อแม่ ต้องย้ายไปท�ำงานเรื่อยๆ เมื่อคุณไพจิตรเข้า มาท�ำงานในกรุงเทพฯ ด้วยความที่เป็นเด็ก ที่ขี้สงสัยซุกซนเหมือนเด็กทั่วไป ก็ออกไป เล่นในบริเวณใกล้เคียงกับที่พักของตัวเอง และได้พบกับกลุ่มเพื่อนใหม่ เป็นกลุ่มเด็กที่ สภาพความเป็นอยู่ของชีวิตที่ไม่ต่างไปจาก คุณไพจิตรเอง เมื่อคุณไพจิตรว่างก็จะออก ไปเล่นกับเพื่อนกลุ่มเด็กเร่ร่อน พากันไปเล่น ซุกซนตามที่ต่างๆ จนวันหนึ่งคุณไพจิตร และกลุ่มเพื่อนๆก็ไปเจอคณะครูของมูลนิธิ คุณครูก็ได้ถามว่าท�ำไมถึงมาเร่ร่อนแบบนี้ คุณไพจิตรจึงเล่าให้คุณครูฟัง คุณครูจึงไป

หาพ่อแม่ของคุณไพจิตรและพ่อแม่เพื่อนของ คุณไพจิตรด้วย คุณครูก็ได้คุยกับพ่อแม่ว่าถ้า เกิดเป็นแบบนี้เด็กๆเหล่านี้จะไม่มีอนาคตก็ เลยขอรับมาอุปการะ และพาไปอยู่ที่มูลนิธิ เมื่อเริ่มแรกเลยที่คุณไพจิตรได้ไปอยู่ในการ อุปการะของคุณครู ก็ยังไม่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ ในมูลนิธิ ต้องไปอยู่ที่วัดอ้อย จังหวัดอ่างทอง ก่อน แล้วทางมูลนิธิจะดูว่าพ่อแม่ของเด็กที่ ได้ อุ ป การะแต่ ล ะคนนั้ น พั ก อาศั ย อยู ่ ที่ ไ หน เป็นความโชคดีของคุณไพจิตรที่พ่อแม่อาศัย อยู่ในกรุงเทพฯ จึงได้เข้าไปอาศัยอยู่ที่มูลนิธิ สร้างสรรค์เด็ก คุณไพจิตรก็เป็นเหมือนกับ เด็กคนอื่นๆ คือเด็กบางคนก็ไม่มีพ่อไม่มีแม่ บางคนพ่อแม่อยู่ต่างจังหวัดก็เลยต้องไปอยู่ มูลนิธิต่างๆตามจังหวัดนั้นๆ บางคนก็ไปอยู่ ชุมพรบ้างอยู่ที่อื่น คุณไพจิตรได้อยู่และเรียน ที่มูลนิธิแห่งนี้ ในช่วงเวลาที่คุณไพจิตรใช้ชีวิต

33

เรียนไปท�ำไม... อยู่ในมูลนิธิ ความเป็นอยู่ของคุณไพจิตรก็เห มือนเด็กๆทั่วไป คืออยู่กับเพื่อน เพื่อนๆก็ได้ไป เรียนตามโรงเรียนต่างๆ แต่เพราะด้วยความที่ ต้องย้ายไปย้ายมาตั้งแต่เด็กๆ ท�ำให้การเรียน ของคุณไพจิตรไม่ได้ต่อเนื่อง คุณไพจิตรมีอายุ มากกว่าเด็กคนอื่นๆ จะให้ไปเริ่มเรียน ป.2 - ป. 3 ตัวก็ใหญ่กว่า อายุก็เยอะกว่าคนอื่น ตอนไป เรียนบางครั้งคุณไพจิตรก็อายคนอื่นๆเหมือน กันเวลาที่เพื่อนๆล้อว่า โตแล้วยังมาเรียนอีก และด้วยความที่ไพจิตรอยากจะท�ำงานไม่อยาก เรียนอยู่แล้วด้วย คุณไพจิตรคิดเพียงอย่างเดียว ว่าต้องมีเงินต้องท�ำงาน เพราะไม่มีใครมาบอก ว่าต้องเรียนอย่างเดียวถึงจะมีงานท�ำดีๆ และ ต้องอดทนไปก่อน ไม่มีใช้ก็ไม่เป็นไร พ่อแม่ของ คุณไพจิตรเคยบอกไว้ว่าจบป.6 ก็สามารถมีงาน ท�ำ หาเงินได้เยอะแยะ จะต้องไปเสียเวลาเรียน หนังสือท�ำไม แต่คุณครูก็บอกให้คุณไพจิตร พยายามเรียนไปให้จบป.6 คุณไพจิตรก็พยายาม เรียนไป ในระหว่างที่เรียนนั้นเมื่อคุณไพจิตรมี เวลาว่างคุณไพจิตรก็จะคอยมาช่วยเหลือดูแล ช่ ว ยแบ่ ง เบาหน้ า ที่ ก ารงานต่ า งๆของคุ ณ ครู ช่วยท�ำอาหารบ้าง รับจ้างซักเสื้อผ้าคุณครูบ้าง แล้ ว แต่ ว ่ า ในแต่ ล ะวั น จะมี ห น้ า ที่ ไ หนให้ คุ ณ ไพจิตรได้ช่วยท�ำ บางทีมีกิจกรรมอะไรคุณครูก็ ให้คุณไพจิตรท�ำ

คุณครูให้คุณไพจิตรอยู่ที่นี่ ในฐานะที่ไม่ใช่เด็กที่มีปัญหา ไม่สร้างความเดือดร้อน อยู่ในมูลนิธิด้วย ความเชื่อฟัง บางครั้งคุณครูพูดอะไรก็ อาจมีไม่เชื่อฟังบ้าง ไม่ใช่เพียงเพราะว่า คุณไพจิตรดื้อ แต่เพราะตามประสาวัย รุ่นมันก็ต้องมีบ้างเล็กหน่อย คุณครูจึงให้ อยู่ที่มูลนิธิไปก่อน แต่ถ้ามีปัญหา หรือ ก่อเรื่องให้เกิดความเดือดร้อน คุณครูก็ จะส่งไปอยู่อื่น เด็กที่อยู่ที่มูลนิธิก็จะมี พ่อแม่มารับเสาร์-อาทิตย์ เพื่อลดภาระ ของคุณครู ในส่วนคุณไพจิตรก็ไม่ได้มี ปัญหาอะไร ถ้ามีน้องอยู่เสาร์-อาทิตย์ก็ จะช่วยดูแลน้องด้วยความที่ตอนนั้นโต ในระดับหนึ่งแล้ว


34

“คนเราไม่ได้รวยตั้งแต่เกิด แต่คนเราก็ไม่สามารถรวยได้ ถ้าหากไม่คิดลงมือท�ำ” เมื่อคุณไพจิตรเรียนจบป.6 คุณ ไพจิตรก็มีความรู้สึกว่ามันไม่สามารถที่จะ เอาวุฒิการศึกษาแค่นี้ไปท�ำงานอื่นๆได้ แต่ ว่าถ้าอยู่เฉยๆไม่คิดจะท�ำอะไรก็จะไม่มีเงิน ใช้ คุณไพจิตรจึงไปปรึกษากับคุณครูว่า อยากท�ำงาน แต่คุณครูก็อยากให้เรียนให้ จบสูงกว่านี้ก่อน เพราะจะได้น�ำความรู้ที่ ได้มาไปใช้ในการท�ำงาน คุณครูจึงแนะน�ำ ให้คุณไพจิตรไปเรียนในรูปแบบของการ ศึกษานอกระบบหรือกศน. จะได้มีเวลา ท�ำงานด้วย แล้วก็เรียนไปด้วยพร้อมๆกัน คุ ณไพจิ ต รจึ ง เริ่ ม จากการท�ำงานเป็นแม่ ครัวที่มูลนิธิ ช่วยคุณครูท�ำอาหารในแต่ละ วัน คุณไพจิตรเป็นแม่ครัวอยู่สักพักหนึ่ง ในขณะนั้นก็เรียนไปด้วย เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มคิดว่าถ้าตนเองได้ท�ำบัตรประชาชน แล้วก็จะสามารถออกไปท�ำงานข้างนอก หรือท�ำงานอย่างอื่นที่ได้เงินมากกว่านี้

? 35

ในตอนนั้ น คุ ณ ไพจิ ต รมี ค วาม ต้องการใช้เงิน อยากได้เงิน อยากท�ำงาน แต่ก็ยังคิดที่จะเรียน แต่เพราะไม่ได้เรียนต่อ เนื่องกันมา จึงเกิดความขี้เกียจ ด้วยความ ที่ คุ ณ ไพจิ ต รไม่ เ คยมี ใ ครคอยเป็ น ก� ำ ลั ง ใจ ให้เวลาเรียนก็จึงมีความรู้ท้อ ไม่อยากเรียน ไม่รู้จะเรียนไปท�ำไม

มาดูกันสิว่า ..ฉันจะท�ำอะไรได้บ้าง เมื่อคุณไพจิตรโตขึ้น คุณไพจิตรจึง ออกจากมูลนิธิไปใช้ชีวิตภายนอก และคุณ ไพจิ ต รได้ เ ดิ น ทางไปท� ำ งานที่ จั ง หวั ด กระบี่ เมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่นาน คุณครูก็ติดต่อ ขอให้ คุ ณ ไพจิ ต รกลั บ มาอยู ่ ที่ มู ล นิ ธิ เ พื่ อ ที่ จะได้เรียนต่อ เมื่อกลับมาได้สักพักก็รู้สึกว่า ชีวิตที่เป็นอยู่มันไม่ใช่สิ่งที่คุณไพจิตรต้องการ เพราะสิ่งที่คุณไพจิตรต้องการที่สุดในเวลานั้น คือการท�ำงาน คุณไพจิตรจึงขอให้คุณครูหา ที่ท�ำงานให้ใหม่ และงานที่คุณครูได้หาให้นั้น เป็นงานในร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนโดย เจ้าของร้านเป็นเพื่อนของครูหยุย ครูหยุย จึงไปฝากงานให้ ท�ำงานจ�ำพวกขายอุปกรณ์ เครื่องเขียนและอุปกรณ์การเรียนให้เด็กสถา ปัตย์อยู่แถวจุฬาฯ เมื่อคุณไพจิตรเริ่มท�ำงาน ได้เพียงไม่นาน คุณไพจิตรก็เริ่มเรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายไปด้วย แต่ก็ยังเรียน ไม่จบอยู่ดี เพราะด้วยความเหนื่อยจากการ ท�ำงานในแต่ละวัน ท�ำให้บางครั้งก็ลืมไปว่า วันนี้เป็นวันสอบบ้าง ลืมอ่านหนังสือแถม

ไม่มีโทรศัพท์ติดต่อเพื่อนก็ไม่มี ก็ท�ำได้เพียง เปลี่ยนที่เรียนไปเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ยังไม่ ประสบความส�ำเร็จ คุณไพจิตรจึงตัดสินใจ ว่าจะพักเรื่องการเรียนก่อนจะตั้งใจท�ำงาน เก็บเงินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุประมาณ 20 ปีกว่าๆ คุณไพจิตรก็ได้เริ่มกลับมา เรียนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไปจาก การเรียนครั้งที่ผ่านๆมา เป็นการเรียนเพื่อ น�ำไปประกอบอาชีพท�ำอาหาร เพราะว่า คุณไพจิตรเคยมีพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อเรียน ใกล้จะจบ ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เข้ามาขัด ขวาง คุณไพจิตรมีปัญหากับอาจารย์ผู้สอน ด้ ว ยสาเหตุ ที่ ว ่ า คุ ณ ไพจิ ต รไม่ ย อมท� ำ แกง เขียวหวานตามสูตร เพราะด้วยความที่คุณ ไพจิตรเป็นคนที่ยึดความเชื่อของตัวเองเป็น หลัก จึงไม่อยากท�ำตามขั้นตอนที่ก�ำหนด ไว้ คุณไพจิตรถูกมองว่าการกระท�ำดังกล่าว เป็ น การกระท� ำ ที่ ตั้ ง ใจต่ อ ต้ า นครู ผู ้ ส อน สุดท้ายก็ไม่ประสบความส�ำเร็จในการเรียน ในครั้งนี้


36

37

O E

LV WE

เมื่ อ เวลาผ่ า นไปคุ ณ ไพจิ ต รก็ มี ความสัมพันธ์เกิดขึ้นกับผู้ชายคนหนึ่ง คุณ ไพจิตรคบกับแฟนตั้งแต่อายุ 18 ปี แต่ยังไม่ ได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันจริงจัง แค่คบกันเฉยๆ จนคุณไพจิตรอายุ 23 ปี ก็คบหาดูใจกับแฟน มาเป็นเวลา 5 ปีพอดี แฟนของคุณไพจิตร จึ ง ชวนให้ ม าอยู ่ ด ้ ว ยกั น จะได้ ป ระหยั ด ค่ า ใช้จ่าย และวันหนึ่งแฟนคุณไพจิตรก็ได้ขอ หมั้นไว้ก่อน แต่ยังไม่แต่งเพราะคุณไพจิตร คิดว่ายังไม่อยากมีครอบครัว แต่ก็อยู่กินกัน ไปเรื่อยๆจนนานเข้า คุณไพจิตรก็ตั้งครรภ์ นั่นท�ำให้ชีวิตยิ่งล�ำบากขึ้นไปอีก เงินที่คุณ ไพจิตรเคยเก็บไว้ ก็ต้องน�ำมาเลี้ยงลูก คุณ ไพจิตรตั้งใจว่าจะเลี้ยงลูกให้ได้สัก 2 ขวบ ให้น้องพอเดินได้ จนเวลาผ่านไปพอลูก คุณไพจิตรเริ่มโตขึ้นๆ จนคุณไพจิตรต้อง ขอให้แฟนกลับมาอยู่ด้วยแฟนคุณไพจิตร เป็ น อาจารย์ ช ่ า งเครื่ อ งต้ อ งไปสอนที่ นู ่ น ที่นี่ ไปเรื่อยๆตามต่างจังหวัด จึงไม่ค่อย มี เ วลาดู แ ลตั ว คุ ณ ไพจิ ต รและลู ก สั ก เท่ า ไหร่ คุณไพจิตรจึงได้เริ่มหางานท�ำอย่าง

จริงจัง เพราะงานที่ท�ำอยู่คงไม่พอค่าใช้จ่าย ลูกคุณไพจิตรก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายก็

ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ชีวิตที่ผ่านไปแต่ละวันมีทั้งความ เหน็ดเหนื่อย ความท้อ มีอุปสรรคต่างๆมากมาย แต่ คุ ณ ไพจิ ต รก็ ตั้ ง ใจว่ า จะต้ อ งฝ่ า ฟั น มั น ไปให้ ได้ คิดเพียงอย่างเดียวว่าท�ำเพื่อลูก คุณไพจิตร หางานท�ำไปเรื่อยๆ จนได้งานเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ เนอร์สเซอรี่แห่งหนึ่ง ความจริงวุฒิการศึกษาที่ มีไม่รับรอง แต่โชคดีที่คุณไพจิตรได้เจอคนดี มี เมตตา จึงรับคุณไพจิตรเข้าท�ำงาน เงินเดือนที่ ได้ก็ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป พอที่เยียวยาชีวิตของ คุณไพจิตรและลูกได้ เมื่อคุณไพจิตรท�ำงานจน เก็บเงินไปได้สักพัก ก็ถึงเวลาที่ลูกต้องเข้าเรียน คุณไพจิตรตั้งใจจะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนเอกชน และต้องไปรับส่งด้วยตัวของคุณไพจิตรเอง เมื่อ ลูกของคุณไพจิตรโตขึ้น ภาระหน้าที่ก็เริ่มลดน้อย ลงคุณไพจิตรจึงเริ่มหางานใหม่ๆท�ำ ได้งานเป็น พี่เลี้ยงเด็กเงินเดือนหมื่นกว่าบาทส�ำหรับตอน นั้นมันก็เยอะพอสมควร แต่คุณไพจิตรก็ไม่หยุด อยู่แค่นั้นอยากที่จะมีเงินมากกว่านี้อยากให้ลูก อยู่อย่างสบาย คุณไพจิตรก็แอบไปหางานท�ำใน ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และก็ได้งานที่บริษัท แห่งหนึ่ง เป็นงานของบริษัทภาพยนตร์ หน้าที่ที่ คุณไพจิตรได้รับคือ ตรวจสอบแผ่นภาพยนตร์ ดู สัญญาณเคเบิ้ล และช่วยดูเอกสารนิดหน่อย ชีวิต ในช่วงนั้นคุณไพจิตรท�ำงานหลายอย่าง บางครั้ง รู้สึกเหนื่อย มีท้อบ้าง แต่คิดไว้ว่าจะต้องท�ำเพื่อ ลูก เพราะไม่อยากให้ลูกมีชีวิตเหมือนตน

FAMILY

ชี วิ ต ของคุ ณ ไพจิ ต ร นั้ น ได้ ท างมู ล นิ ธิ ค อย ให้ความช่วยเหลือ... มู ล นิ ธิ นี้ ท� ำ ให้ คุ ณ ไพจิตรมีชีวิตที่เป็นคนไทย ตอนที่ คุ ณ ไพจิ ต ร เกิด แม่ของคุณไพจิตรได้ไป คลอดที่จังหวัดสุรินทร์ แต่ก็ ไม่ได้ย้อนกลับไปเอาใบเกิด คุณไพจิตรเลยกลายเป็นคน ไม่มีตัวตน จนกระทั่งมาได้ คุณครูที่มูลนิธิ ช่วยตามหา ใบเกิดของคุณไพจิตรทุกหน ทุกแห่ง ด้วยความโชคดีที่ ไปเกิดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ จึงท�ำเรื่องได้ง่าย หากเกิด ที่ อื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ โ รงพยาบาล คงยากที่ จ ะได้ เ หมื อ นกั น คุ ณ ครู ก็ เ ป็ น ผู ้ เ ดิ น เรื่ อ งทุ ก อย่าง ถ้าถามว่าคนอื่นๆจะ โชคดี แ บบคุ ณ ไพจิ ต รไหม บอกเลยว่าโอกาสน้อยมาก หากทุ ก วั น นี้ คุ ณ ไพจิ ต รยั ง ไม่มีใบเกิดจะไปท�ำงานก็ไม่ ได้ ท�ำอะไรก็ไม่ได้ เรียกร้อง สิทธิ์ก็ไม่ได้ กลัวไปหมด ท�ำ อะไรก็ ร ะแวงเพราะตั ว เอง

ไม่ มี บั ต ร คื อ เรี ย กได้ ว ่ า ที่ มูลนิธิเหมือนให้ชีวิตกับคุณ ไพจิตรเลยก็ว่าได้ เพราะ นอกจากให้ ที่ อ ยู ่ แ ล้ ว ก็ ยั ง ด� ำ เนิ น เรื่ อ งช่ ว ยเหลื อ สิ่ ง ต่างๆในชีวิตของคุณไพจิตร ให้อีกมากมาย คุณไพจิตรจึง ไม่ ลื ม บุ ญ คุ ณ ของทุ ก คนใน มูลนิธิแห่งนี้ เมื่อคุณไพจิตร มีอะไรที่พอจะแบ่งหรือช่วย เหลือก็อยากที่จะช่วย ถ้า วั น หนึ่ ง คุ ณ ไพจิ ต รโชคดี มี ฐานะดีกว่านี้ ก็อยากจะมา เลี้ยงเด็ก ดูแลเด็กที่นี่บ้าง เหมื อ นที่ คุ ณ ไพจิ ต รเคยได้ รับการดูแลจากมูลนิธิ ได้มา ก็ อ ยากย้ อ นกลั บ คื น ให้ เขา บ้าง คุณไพจิตรเองก็ไม่ได้ เรียนสูงเหมือนคนอื่นๆ แต่ คุ ณ ไพจิ ต รเลื อ กที่ จ ะเป็ น คนดี ไม่เป็นขยะของสังคม คุณไพจิตรกล่าวว่าเพื่อนใน มูลนิธิบางคนที่มีโอกาส ได้ จากที่นี่ไปเยอะมาก บาง คนยังไม่ย้อนกลับมาที่นี่เลย จะกลั บ มาถามไถ่ ค รู บ ้ า งก็ ไม่มี นั่นก็แล้วแต่คน แต่ถึง ชีวิตของคุณไพจิตรจะไม่ได้ ประสบความส�ำเร็จด้วยการ ศึกษาที่สูงเหมือนอย่างคน

อื่น แต่ชีวิตคุณไพจิตรก็ยัง ดี ก ว่ า บางคนที่ ถึ ง ได้ เรี ย น สูงแต่ชีวิตตกต�่ำกว่าตน นั่น เพราะความคิดของเขาเอง บางที เรี ย นได้ ค วามรู ้ จ ริ ง แต่ว่าใช้ไม่เป็น คุณไพจิตร พอใจกับสิ่งเป็นอยู่ มีคู่ชีวิต ที่ดี เป็นหัวหน้าครอบครัว ที่ดี เพราะปัจจุบันคนดีๆ แบบนี้หายาก คุณไพจิตรก็ เหมือนเป็นหนึ่งในล้านแล้ว ที่เจอคนรอบข้างดีที่กับคุณ ไพจิตร คุ ณ ไพจิ ต รยั ง คิ ด อยู ่ เ สมอว่ า ถ้ า ไม่ ไ ด้ ท าง มูลนิธิคอยช่วยเหลือ ถ้า หากยังใช้ชีวิตอยู่กับแม่ ทุก วันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าชีวิตจะเป็น อย่างไร


38

การท�ำงานที่ผ่านมาได้สอนอะไรคุณไพจิตร หลายอย่าง ทั้งเรื่องนิสัยของคนในที่ท�ำงาน คนแต่ละคนมีนิสัยที่แตกต่างกันไป ต้อง เรียนรู้นิสัยใจคอและอดทนอยู่ในสภาวะนั้น ให้ได้ ประสบการณ์ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบ ของคุณไพจิตร เพราะท�ำงานมาหลายที่ ท�ำให้รู้ถึงจิตใจคนมากกว่า บางทีเรียนมา ตลอดแล้วไปท�ำงานเจอสถานการณ์แบบนี้ ก็อาจจะยังปรับตัวไม่ได้ และเรื่องที่เราน�ำ มาเล่าต่อไปนี้ สามารถน�ำไปเป็นข้อคิดให้ กับชีวิตได้เป็นอย่างดี....

39

เขามีความรู้ มีสมอง พี่ไม่มี..พี่มีแค่มือกับใจ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่คุณไพจิตร ได้ท�ำงานอยู่ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก คุณไพจิตรมี เรื่องกับคนที่ท�ำงานด้วยกัน เขามีอายุมากกว่า จบปริ ญ ญาเป็ น ครู ส อนเด็ ก ๆที่ ศู น ย์ แ ห่ ง นี้ เทียบกับตัวคุณไพจิตรที่ยังเรียนไม่จบม.6 มัน แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่เชื่อหรือไม่ ว่าสุดท้ายแล้วหัวหน้าทางศูนย์รับเลี้ยงเด็ก เลือกคุณไพจิตรให้ได้ท�ำงานต่อ เพียงเพราะ ประโยคของคุณไพจิตร ผู้ที่เรียนไม่จบม.6คน นี้ “จะไปหาคนท�ำงานที่ไหน ที่ยอมท�ำทุก อย่าง แม้กระทั้งล้างห้องน�้ำก็ไม่เคยคิดจะ เกี่ยง ท�ำทุกอย่าง ถ้าเทียบกับเงินเดือนเท่า นี้ ในปัจจุบันมันหาไม่ได้แล้ว”

คุณไพจิตรพูดในสิ่งที่คิด พูดในสิ่ง ที่มาจากใจ คุณไพจิตรเป็นคนตรงบางครั้งจึง เก็บไม่ไหว ครั้งนี้คุณไพจิตรคิดว่าทางศูนย์ ต้องเลือก ไม่เขาก็เราที่ต้องออกไป สุดท้าย คนที่ต้องออกไปก็คือครูสอนเด็กคนนั้น ซึ่งเขา เป็นคนที่เรียกได้ว่า คนละระดับกับคุณไพจิตร เลยก็ว่าได้ สามีของเขามียศมีศักดิ์ โชคดีที่ว่า หัวหน้าของคุณไพจิตรเป็นคนที่ยุติธรรมเขา คงมองเห็นแล้วว่ามันสมควรหรือไม่อย่างไร คุณไพจิตรบอกว่า “พี่เป็นคนเรียนน้อย พี่ คิดค�ำพูดสวยหรู ที่ฟังดูมีความรู้ไม่ได้ เขา มีความรู้มีสมอง พี่ไม่มี ..พี่มีแค่ใจกับมือ เท่านั้นแหละ ที่จะให้ได้” คุณไพจิตรกล่าวต่อว่า “เชื่อเถอะ ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย”


40

41

ถึงพี่จะเติบโตมา ด้วยตัวเอง แต่พี่รู้ว่าจะต้องทำ� อย่างไรให้ลูกมีความสุข


42

43

จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านๆมา คุณไพจิตรก็ได้น�ำมาประยุกต์ ใช้กับชีวิตและไม่ต้องไปคิดอะไรมาก คิดเพียงว่าอยู่แบบนี้ก็สบายดีแล้ว การเรียนรู้ นิสัยคนเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราอยู่ในหน้าที่การงานได้สบายขึ้น ค�ำพูดที่ต้องใช้พูดกับ แต่ละคน แต่ละระดับ ก็ต้องแตกต่างกัน เราก็ต้องรู้ว่า เราควรพูดแบบไหน เขาถึงจะ ชอบ สิ่งไหนเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไป คุณไพจิตรได้กล่าวว่าชีวิตคนเราไม่จ�ำเป็นต้องใช้สมอง อะไรมากมาย เพียงแค่ใช้ความสามารถและลงมือท�ำมัน เรื่องพวกนี้ต้องศึกษาเอา ไม่ สามารถที่จะพูดเป็นถ้อยค�ำได้ บางครั้งความรู้ในต�ำรามันเอาไปใช้ในชีวิตไม่ได้

มันมีแต่ทฤษฏี ..ไม่มีปฏิบัติ

บางทีชีวิตไม่ต้องจ�ำเป็นต้องเรียนอย่างเดียวอย่างที่คุณไพจิตรได้บอกไว้ เหตุผล ของคุณไพจิตรกับเห็นผลของคนอื่นไม่เหมือนกัน เหตุผลของคนทั่วไปอาจจะต้องเรียนถึง จะมีชีวิตที่ดี แต่เหตุผลของคุณไพจิตรคือมาจากชีวิตจริงๆ บางคนที่อยู่ระดับที่สูงกว่า เขา อาจมีเงินเยอะ เขาอาจมีสมองที่ดีกว่า มีการศึกษาที่ดีกว่าก็จริง แต่ถ้าพวกเขาเหล่านั้นไม่ คิดลงมือท�ำ..มันเท่านั้น “หนึ่งสมอง .. ไม่เท่าลงมือท�ำ” ต้องท�ำถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ ชีวิตต้องเรียนรู้และ ทดลอง แต่ไม่ได้หมายถึงให้ไปทดลองในสิ่งที่รู้อยู่แล้วว่ามันไม่ดี


44

45

คุณไพจิตรเคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้หญิงอยู่อย่างหนึ่งเมื่อ ตอนที่คุณไพจิตรยังเป็นวัยรุ่น เมื่อคุณไพจิตรได้ลองถามค�ำถาม นั้นกับตัวเองอีกครั้ง คุณไพจิตรก็บอกว่า "พี่ได้ค�ำตอบเหล่านั้น แล้ว เมื่อก่อนพี่เคยสงสัยว่า...

ท�ำไมผู้หญิงต้องมา ท�ำงานบ้านด้วย? ท�ำไมต้องให้ เรียน ท�ำงานบ้านท�ำไม ให้ มาซักผ้าท�ำไม ท�ำไมไม่ให้ เราท�ำงานแค่อย่างเดียว รู้สึกว่าไม่จ�ำเป็นที่จะต้อง มาท�ำ แต่พอวันหนึ่งที่มีลูก เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าท�ำไมถึง ต้องท�ำ ........"


46

47


48

49

คุณได้ค�ำตอบ

แล้วหรือยังคะ?


50

51

มนุษย์เราทุกคนเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะ เป็นได้ ชีวิตของผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในมูลนิธิทั้ง 3 ท่าน มีเรื่องราวที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทุกคนล้วนมี ชีวิตในแบบฉบับของตนเอง แต่ท้ายที่สุดแล้ว บุคคล ที่มาจากมูลนิธิ สามารถพูดค�ำว่า เพียงพอ..พอใจ และ ภูมิใจในชีวิตของตนเองได้อย่างกล้าหาญ แน่นอนว่า หากเราไม่เคยเข้าไปเรียนรู้ ไม่ลองเข้าไปสัมผัส เราจะ ไม่ทราบเลยว่าในสังคมปัจจุบัน บุคคลที่มาจากมูลนิธิ มีที่ยืนในสังคม ประกอบอาชีพสุจริต และที่ส�ำคัญที่สุด คือ บุคคลเหล่านี้ เขาไม่เคยลืมว่าตนเองเป็นใคร

สังคมของเราถูกหล่อหลอมให้คิด และมี ทัศนคติต่อคนที่ด้อยกว่าในแง่ลบ แบ่งแยกคนที่ฐานะ การศึกษา หน้าตา อาชีพ บุคลิกภายนอก เด็กมูลนิธิคือ บุคคลที่สังคมยัดเยียดค�ำว่า “ด้อย” ท�ำให้ถูกมองว่า เป็นคนละระดับเมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป บุคคลกลุ่ม นี้เขาอาจจะด้อยจริง แต่ด้อยในเรื่องของโอกาสที่จะมี เท่าเทียมกับบุคคลอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มคน เหล่านี้จะด้อยด้านสติปัญญา หรือด้อยความสามารถ หากลองยื่นค�ำว่า โอกาส ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม นั่น สิจึงจะวัดได้ว่าใครดี ใครด้อย


52

53

ค�ำถามคือ? หากลองมองย้อนกลับมา ที่ตัวเรา เราท�ำอะไรเป็นบ้าง เราท�ำอะไรได้บ้าง และคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลปกติทั่วไป สามารถ ท�ำสิ่งเหล่านั้นได้เหมือนเด็กที่มาจากมูลนิธิหรือ ไม่? และเพราะอะไร? เพราะความสบาย อะไรก็ พ่อแม่ท�ำให้ เรียนจบแต่งงานยังท�ำอะไรไม่เป็น บุคคลเหล่านี้มีอยู่ในสังคมจริงๆ หากบุคคลเหล่า นี้ยังไม่รู้จักการท�ำอะไรด้วยตัวเอง วันหนึ่งเมื่อ ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีใครคอยดูแล แล้วใครจะมาดูแล เรา จะหวังให้ลูกหลานมาดูแล ก็ขอให้ลองมอง ย้อนกลับมาที่ตัวเองว่า แล้วเราได้ท�ำแบบนั้นท�ำ พ่อแม่ของเราหรือไม่?

ยกตัวอย่างบุคคลทั้ง 3 ท่านที่ถ่ายทอดเรื่องราว ชีวิตให้กับเรา คุณสมพงษ์ บุคคลที่แทบไม่มีใครเชื่อว่ามาจาก มูลนิธิ ..นั่นแสดงว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยถูกรับ รู้และสนใจจากคนภายนอก สะท้อนให้เห็นภาพ ของสังคมที่ยึดติดกับภาพลักษณ์ภายนอก คุณสมพงษ์ฝากบอกถึงผู้ที่มีพร้อมทุก อย่างมาเป็นค�ำๆหนึ่งนั่นคือ “อย่าหยุด” ใน เมื่อคุณมีทุกอย่างพร้อม มีโอกาส มีฐานะ มี พ่อแม่คอยสนับสนุน คุณจงใช้โอกาสนั้นเพื่อ ก้าวไปและอย่าหยุด ในเมื่อคุณมีฐานที่ดีคุณก็ จะสามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง มากกว่า คนที่มาจากมูลนิธิเสียอีก เหมือนคุณมีภาษี มี ใบเบิกทาง ถ้าคุณไม่ใช้มัน มันก็เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่งที่ไม่ได้ช่วยท�ำให้ชีวิตคุณดีขึ้น แต่ถ้าคุณ เลือกที่จะใช้มัน คุณจะสามารถก้าวไปได้ไกล

กว่าที่คุณคาดคิดไว้เสียอีก คุณวันเพ็ญ ที่สามารถสร้างบ้าน ให้ครอบครัวให้คุณแม่ได้ โดยท�ำงานที่ร้าน สะดวกซื้อ ซึ่งบางคนดูถูกการท�ำอาชีพแบบ นี้ว่าเป็นอาชีพที่มีระดับความรู้ต�่ำ แต่คน หลายคนในสังคมมีหน้ามีตา มีงานที่ดี มี ครอบครัวพร้อมหน้า แต่ยังไม่สามารถสร้าง บ้านหรือท�ำอะไรให้กับครอบครัวของตนได้ ซ�้ำร้ายบางคนเห็นแก่ตัว ครอบครัวไม่ใช่ตัว ฉัน เรื่องอะไรที่จะต้องดูแล ขณะที่คนเหล่า นั้นคิดแบบนี้ เด็กที่มาจากมูลนิธินี่แหละ กลับไม่เคยลืมครอบครัว อีกทั้งบางคนรวย ล้นฟ้าแต่ยังหาความพอดีไม่เจอ ยังไม่พบ ความสุขที่แท้จริง

คุ ณ วั น เพ็ ญ ฝากบางอย่ า งถึ ง บุคคลที่มีพร้อมในทุกสิ่ง นั่นคือค�ำว่า “พอเพียง..เพียงพอ” คุณวันเพ็ญกล่าวว่าพอใจในสิ่งที่ตนเอง เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่รวย ไม่ได้มีงาน ท�ำที่เป็นหน้าเป็นตา แต่ชีวิตก็มีความ สุข ไม่เดือดร้อนใครและไม่ท�ำให้ใครเดือด ร้อน คนเราเกิดมาชีวิตต่างกัน ความพอดี พอเพียงจึงต่างกัน เราจนเขารวย อาจดู เหมือนเขามีความสุข เรามีแต่ความทุกข์ แต่ในความจริงมันอาจจะสลับกันก็เป็นได้


54

อะไร? ที่ท�ำให้เขาสามารถท�ำได้ และอะไร? ที่ท�ำให้เราไม่สามารถท�ำได้ คุณไพจิตร บุคคลที่มีเรื่องราวใน ชีวิตที่เป็นชีวิตจริงๆ จากผู้ที่ไม่ประสบความ ส�ำเร็จด้านการศึกษา แต่ก็สามารถท�ำงาน เลี้ยงลูก ใช้ชีวิตปกติได้ และเป็นผู้ที่สะท้อน ให้เห็นในเรื่องของวัยรุ่นและการศึกษาได้ เป็นอย่างดี บุคคลที่เรียนไม่จบ สามารถมี ครอบครัวที่ดี มีความสุขได้

การศึกษาไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต แต่ เพราะไม่ได้รับการศึกษา คุณไพจิตรถึงต้อง ดิ้นรนต่อสู้กับชีวิตเพื่อให้มีชีวิตที่ดี แล้วเรา หละ? มีบุคคลมากมายที่ได้เรียนหนังสือตาม ระบบจนจบมหาวิทยาลัย แต่ยังหางานท�ำ ไม่ได้ บางคนยังไม่รู้จะเรียนจบเมื่อไหร่ด้วย ซ�้ำ ในเมื่อเรามีโอกาสท�ำไมเราถึงไม่ตั้งใจ ลองมองมาที่บุคคลด้อยโอกาสทั้งหลาย

พวกเขาอยากมีชีวิตแบบคุณนะ แต่เพราะเลือกเกิดไม่ได้ เขาก็ต้อง ใช้ชีวิตไปในแบบของเขาเอง อีกทั้งการปลูก ฝังจากครอบครัวเป็นเรื่องส�ำคัญ เด็กจะมอง เห็นค่าของการศึ ก ษาและการใช้ ชีวิ ต มาก น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครอบครัว หากพ่อแม่ ละเลยลูก ปล่อย ตามใจ เรียนก็เรียน ไม่ เรียนก็ไม่เรียน นั่นคือพ่อแม่รังแกฉัน เมื่อ ไม่มีพ่อแม่อยู่แล้ว ลูกจะกลายเป็นภาระของ สังคมทันที เพราะท�ำอะไรไม่เป็น ท�ำไม่ได้

อย่าเป็นคนที่มีโอกาส แล้วยังท�ำเฉย...

55


56

57

คุณไพจิตรมีสิ่งที่อยากจะบอกกับทุกคนว่า บางครั้ ง ที่ เราเรี ย นสู ง ๆมาถ้ า เรา เรียนแล้วเราสามารถน�ำมาท�ำอะไรให้สังคม เราดีขึ้นหรือปรับเปลี่ยนในการใช้ชีวิตของ เราให้เป็นคนที่มองโลกในแง่ที่ดีขึ้นได้ก็ท�ำ แต่อย่ามองผ่านในสิ่งเล็กๆน้อยๆของชีวิต มันสามารถเป็นอะไรที่พลิกอนาคตของเรา ได้เหมือนกัน แล้วเราก็ไม่สามารถย้อนกลับ ไปแก้ไขได้ คนที่มีโอกาสเรียน แต่ไม่อยาก จะเรียน คือขอร้องให้เรียนเถอะ คนที่อยาก จะเรียนมีอีกเยอะแยะเป็นร้อยๆคนที่อยาก จะเรียน แต่เขาไม่มีโอกาสที่จะเรียนเหมือน เรา เด็กบางคนไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยว พบ เพื่อน เฮฮา ใช้ชีวิตสบายๆ ไปเรียนไปช้อป ปิ้งตามสบาย แถมยังมีอีกมุมหนึ่งก็ยังมีคน ที่ไม่ได้เรียน แล้วต้องมานั่งอุ้มลูก มานั่งดูว่า ใครเป็นพ่อของเด็กในท้อง ต้องมานั่งท�ำงาน เลี้ยงครอบครัว เพราะฉะนั้นเราใช้ชีวิตสนุก ได้แต่อย่าพลาด อีกเรื่องหนึ่งที่อยากบอก วัยรุ่นคือ ถ้าหากจะเรียนหนังสือ ก็อย่าเพิ่ง ไปคิดเรื่องมีครอบครัวหรือมีลูก ถ้าคิดจะมี แฟนก็ต้องรู้ป้องกันให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ จะมีแฟนกี่คนไม่เป็นไรแต่อย่าปล่อยให้มีลูก ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ที่จะมีเขา ค่อยมี เหมือน ตอนที่คุณไพรจิตมีลูกชีวิตก็เปลี่ยนไปมาก คิดถึงอนาคตของตัวเองให้สูงเข้าไว้ ว่าเรา อยากเป็นแบบไหน มีงานมีเงินมีหน้ามีตา หรือจะสนุกแค่ชั่วคราแล้วต้องมานั่งท�ำงาน หนักเลี้ยงลูก ..จงคิดให้หนัก


58

อี ก เรื่ อ งที่ เ ป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ในการ ประเมิ น ค่ า ความเป็ น มนุ ษ ย์ นั้ น คื อ ความ กตัญญู ทั้ง3ท่าน แม้ชีวิตปัจจุบันนี้จะออกไป มีครอบครัว มีหน้าที่การงาน ของตนเองแต่ ทั้ง 3 ท่านก็ไม่เคยลืมว่า “มีทุกวันนี้ได้เพราะ มูลนิธิแห่งนี้” ที่เปรียบเสมือนสิ่งที่สร้างชีวิต ให้กับพวกเขา ให้พวกเขาได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ทั้ง3ท่านก็ยังคงติดต่อกับทางมูลนิธิอยู่ เมื่อ ทางมูลนิธิต้องการความช่วยเหลืออะไร ถ้า ทั้ง 3 ท่านพอที่จะท�ำได้ ก็ไม่รีรอที่จะลงมือ ช่วยเหลือ ทั้ง 3 ท่านพูดค�ำเดียวกันคือ “บ้าน ครอบครัว พ่อแม่” เพราะ3ค�ำนี้ ท�ำให้รู้สึกไม่ ขาด รู้สึกไม่น้อยใจ รู้สึกไม่ว่าตัวเองไร้ค่า คน เราจะดีไม่ดี สภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย เอาใจใส่ สิ่ ง ที่ เราอยากจะบอกกั บ ทุ ก สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมบุคคลให้มีความคิด มี ทัศนคติ มีจิตใจที่ดี และเป็นคนดีของสังคม คนที่ได้อ่าน ได้สัมผัสเรื่องราวในพ็อก เก็ตบุ๊คเล่มนี้ คือ การเห็นค่าของคนใน ทุกระดับ เกิดมายากจนหรือร�่ำรวย ทุก คนก็คือมนุษย์เหมือนกัน เกิดเหมือน กัน ตายเหมือนกัน หากแต่สิ่งที่จะวัดค่า ความเป็นมนุษย์ ไม่ได้อยู่ที่ว่า มีพร้อม หรือขาดแคลน มันวัดกันที่ความคิดและ จิตใจต่างหาก ต่อให้คุณเพียบพร้อมทุก สิ่งอย่าง แต่ยังดูถูกคนอื่น มองบุคคล ที่ภายนอก มองบุคคลจากพื้นเพ นั่นก็ ท�ำให้คนที่เพียบพร้อมทุกอย่าง กลาย เป็นคนขาดทันที

59

เขาเป็นดั่งกระจกเงา ให้เรา.. ย้อนมองดูตัวเอง


60

61

ส่ ง ท้ า ยจากคณะผู ้ จั ด ท�ำ คนภายในมูลนิธิเอ๋ย ... จงเชื่อมั่นเถิดว่า ตนนั้นสามารถท�ำได้เหมือนคนอื่นๆ ขอเพียงแค่รู้จักไขว่คว้า คนภายนอกที่มีพร้อมเอ๋ย ...

จงอย่าทะนงตนนักเลย สิ่งที่เรา

มีมากกว่าเขา

มันแค่ค�ำว่า “โอกาส”

ขอขอบคุณทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก คุณครูหยุย คณาจารย์ทุกท่านในมูลนิธิ คณาจารย์ในสาขาวิชาวารสารสนเทศ ที่ให้การช่วยเหลือ และให้โอกาสคณะผู้จัดท�ำได้ สร้างสรรค์ผลงานให้กับทางมูลนิธิ และที่ขาดไม่ได้เลยคือบุคคลที่เป็นผู้สร้างเรื่องราวให้กับ พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้ คุณสมพงษ์ (หรือพี่หล้า) คุณวันเพ็ญ (หรือพี่เพ็ญ) คุณไพจิตร (หรือพี่เอ็ม) คณะผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณจากใจ เพราะมันไม่ใช่แค่การน�ำข้อมูลมาเขียนเป็นหน้าๆ แต่มันคือสิ่งที่คณะผู้จัดท�ำ หรือ ตัวแทนของวัยรุ่นที่ก�ำลังจะก้าวไปสู่สังคมการท�ำงานในอนาคต ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้มุมมองใหม่ๆในชีวิตที่ไม่เคยได้สัมผัส เป็นประสบการณ์ที่คณะผู้จัดท�ำไม่เคยได้ทราบและ ประสบมาก่อน คณะผู้จัดท�ำเชื่อมั่นว่าเรื่องราวของทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กและเรื่องราว ของบุคคลที่มาจากมูลนิธิจะก่อให้เกิดประโยชน์ ในแง่ของความคิด ทัศนคติ หรืออาจก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น จากบุคคลที่ได้อ่านและได้สัมผัสอย่างแน่นอน

ในการทำ�งาน การเรียน หรือการทำ�ในสิ่งต่างๆ จงอย่าทำ�มันเพียง 50% หรือแม้แต่ 99% ก็ไม่ได้ ต้องทำ�ให้มันเต็ม 100% หรือมากกว่านั้น เหมือนการใส่เสื้อผ้า หลวม..ก็ยังใส่ได้ แต่ถ้าคับ..จะใส่อย่างไร? ท่องคำ�ว่า “เกินจริง” ไว้ในใจ ...เพราะสิ่งที่คุณรอคุณอยู่ มันคือสุข.. สุขจน “เกินจริง”


62

63

บันทึกความทรงจำ�

เครดิต : มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก คุณสมพงษ์ ด่านเขตแดน คุณวันเพ็ญ กาประโคน คุณไพจิตร ขาวสนทิ

จัดทำ�โดย กลุ่มนักศึกษา สาขาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จิราภา ภิญญสาสน์ กัณธิชา มาลยะมาลย์ นัฐศิมา หมัดเดวอ ประภาพรรณ ณ เชียงใหม่

พิมพ์ครั้งที่ 1 พิมพ์ที่ บางเขนพริ้นติ้ง 1/9 ถ.พหลโยธิน เสนานิคม จตุจักร กทม. 10900 โทร : 02-579-6702 , 02-561-4185 โทรสาร : 02-579-2301 E-mail : bkblueprint@yahoo.com


64

บันทึกความทรงจำ�


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.