ล
วดาย
ศิลปะพม่าประดับวัด ในเมืองแพร่
นายสมพงษ์ สุนันสา
ลวดลายศิลปะพม่า ประดับวัดในเมืองแพร่ นายสมพงษ์ สุนันสา
4 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
และ “เมืองแพร่” เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัย และอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล แต่ได้กลายเสียงเป็น เมืองแพร่จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่หลายอำ�เภอของจังหวัด แพร่ ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของ มนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินกะเทาะ
จังหวัดแพร่ ได้ชื่อว่าเป็นประตู เมืองสู่ล้านนา เดิมเป็นนครรัฐอิสระ ที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนา อาณาจักร ล้านนา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำ�ให้ ทราบว่ า จั ง หวั ด แพร่ นั้ น มี ชื่ อ เรี ย กกั น หลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น “เมือง พล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด จาก การพบหลักฐาน ในตำ�นานทางเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 “เมืองโกศัย” เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน “เมืองเพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐาน อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช ขวานหินขัด ในเขตอำ�เภอลอง อำ�เภอวังชิ้น เป็นต้น และที่ อำ�เภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับเมืองเวียงสรองที่เป็นเมือง โบราณในวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี
5 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
กว่าจะมาเป็นจังหวัดแพร่
6 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2445 เกิดกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ขึ้น จึงแสดง ว่าก่อนหน้านั้นต้องมีชาวพม่า อาศัยอยู่ ภายในจังหวัดแพร่มาก่อน ซึ่งจะมีวัดที่มี ศิลปกรรมแบบพม่าปรากฏได้สร้างก่อน เกิ ด เหตุ ก ารณ์ เ งี้ ย วปล้ น เมื อ งแพร่ อี ก เช่นกัน นั่นคือ วัดจอมสวรรค์ วัดสระบ่อแก้ว และวัดต้นธง ซึ่งมีหลักฐานว่า ได้สร้างก่อน พ.ศ. 2445 จากนั้นหลัง เหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ก็ได้มีการ บูรณะซ่อมแซมโดยชาวพม่าอีก แล้วยัง มีหลักฐานอีกมากมายตามตำ�นานต่างๆ ที่ปรากฏว่าชาวพม่ามีบทบาทกับจังหวัด แพร่ เช่น ตำ�นานพระเมืองแก้ว กล่าวไว้ว่า มีการส่งทหารจาก จังหวัดแพร่ไปสู้รบกับพม่า ตำ�นานพระเจ้าติโลกราชก็อีกเช่น กัน มีการกล่าวว่าเมืองแพร่ได้มีการส่งทหารไปรบกับพม่า
7 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ชาวพม่าเข้ามาสู่จังหวัดแพร่ ได้อย่างไร
8 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
การสร้ า งสรรค์ ง านประเภท ลวดลายของชาวพม่า ที่พบประดับ ตกแต่งตามพุทธสถานต่างๆ ในจังหวัด แพร่นั้น เป็นการสร้างด้วยจิตรศรัทธา อั น แรงกล้ า ที่ มี ต่ อ พระพุ ท ธศาสนา ซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตใจ แล้วยังเป็น ศู น ย์ ร วมของชาวพม่ า ในจั ง หวั ด แพร่ ได้เป็นอย่างดี จึงปรากฏลวดลายอัน วิจิตรงดงาม อลังกาล อาทิ ลวดลาย ปูนปั้น ลวดลายรดน้ำ� ลวดลายแกะ สลัก-ฉลุ ลวดลายปั้นรักประดับกระจก ลวดลายเหล่านี้จะปรากฏตามบริเวณต่างๆ ภายในวัด ซึ่งวัดที่พบลวดลายศิลปะพม่าในจังหวัดแพร่ จะปรากฏ อยู่ในบริเวณ ตำ�บลในเวียง อำ�เภอเมืองแพร่ จังหวัด แพร่ ได้แก่ วัดต้นธง วัดสระบ่อแก้ว และวัดจอมสวรรค์
9 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ศิลปกรรมแบบพม่า ประเภทลวดลาย ในเมืองแพร่
10 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
วัดต้นธง เป็นศิลปะการก่อสร้าง แบบเงีย้ ว มีกุฏวิ หิ ารรวมอยู่ด้วยกัน และ นิยมสร้างด้วยไม้ตกแต่งด้วยลวดลายฉลุ งดงาม เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ได้ทรุดโทรามลงลุถึง พ.ศ. 2505 พ่อส่างอ่อง (กุศล) ปัญญามาลัย เห็นว่า กุฏิวิหารเสื่อมโทรามลงมากควรรื้อถอน ได้แล้ว จึงรื้อถอนกุฏิวิหารออกทั้งหมด แล้ ว สละทุ น ทรั พ ย์ ส ่ ว นตั ว สร้ า งวิ ห าร (อุโบสถ) ขึ้นใหม่แบบไทยแทนของเดิม วัดต้นธงจึงเจริญมั่นคงมาตามล�ำดับ
11 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
วัดต้นธง
12 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
เ นื่ อ ง จ า ก มี ก า ร รื้ น ถ อ น วิ ห า ร กึ่ ง กุ ฏิ ที่ เ ป ็ น สถาปัตยกรรมแบบพม่าออกสร้างเป็น วิหารแบบภาค กลาง ท�ำให้ไม่ปรากฏลวดลายที่เป็นศิลปะพม่าเลย ซึ่งมี เพียงแห่งเดียวทีป่ รากฏลวดลายศิลปะพม่า นัน่ คือ เจดีย์ จะ เป็นลวดลายทีเ่ กิดจาก ปูนปัน้ เป็นหลัก ประดับประดาตาม ซุ้มจระน�ำ ตรงย่อมุม ยอดเจดีย์ และยอดเจดีย์ราย เป็นต้น
ลวดลายปูนปั้น ที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ยังคงรูปแบบและลักษณะที่เป็น ลวดลายประดิษฐ์ก้านขด - เครือเถา พันธุ์พฤกษาต่างๆ
13 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ลวดลายศิลปะพม่า วัดต้นธง
14 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
วัดสระบ่อแก้ว เป็นวัดที่มีศิลปะ การก่อสร้างเป็นแบบพม่าและเป็นวัด ที่ ช าวพม่ า สร้ า งขึ้ น เพื่ อ ปฏิ บั ติ กิ จ ทาง ศาสนาโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ สาคัญในวัดประกอบด้วย วิหารซึ่งเป็น ลักษณะศิลปะแบบพม่าเช่นเดียวกับ วัด จอมสวรรค์ คือจะเป็นทั้งโบสถ์ ศาลา กุฏิในอาคารหลังเดียวกัน หลังคาเดิมมุง ด้วยไม้ต่อมาเมื่อมีการบูรณะใหม่จะใช้ กระเบื้อง อุโบสถมีลักษณะ 2 ชั้น จะเปิด ใช้เมือ่ มีพธิ กี รรมทางศาสนา พระพุทธรูป ทีป่ ระดิษฐานในวัดนีเ้ ป็นพระพุทธรูป ที่ น�ำมาจากเมืองมันดะเลย์ ประเทศพม่า เป็นหินอ่อนก้อนเดียวจ�ำลองจากพระ มหาอัญมณีฉลุในเครื่องทรง แกะสลัก ด้วยฝีมอื ที่ ละเอียดและมีความประณีตมาก ปิดทองทัง้ องค์ ยกเว้นพระพักตร์ เนือ่ งจากองค์พระพุทธรูปจะปิดทองหนา มาก องค์พระจึงนิม่ ชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าเนือ้ นิม่ ทุกเช้า จะต้องมีการสรงพระพักตร์พระพุทธรูปด้วยน�ำ้อบน�ำ้หอม
15 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
วัสระบ่อแก้ว
16 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
ลวดลายที่พบส่วนใหญ่จะเป็นลายปูนปั้น ที่ปรากฏ บริเวณเจดีย์ (พระธาตุกู่กองค�ำ) ได้แก่ ซุ้มจระน�ำ เจดีย์ราย ก�ำแพงรอบเจดีย์ เทวดาและตัวสัตว์ทางเข้าสูเ่ จดีย์ เป็นต้น มี การบูรณะลวดลายใหม่ มีการสร้างใหม่เกิดขึ้น นอกจากนั้น ยังมีบริเวณอุโบสถ เป็นทรงตึก 2 ชั้น ได้แก่ ซุ้มหน้าต่าง ซุ้ม ประตู คันทวย เสา ยอดหลังคาอุโบสถ บันไดนาค เป็นต้น ซึง่ เป็นลวดลายสมัยปัจจุบนั ทีม่ กี ารสร้างขึน้ ใหม่ ประดับตกแต่ง ตามส่วนต่างๆ ที่กล่าวมา แล้วยังรวมไปถึงบริเวณก�ำแพง วัด ได้แก่ เสาก�ำแพงวัด หัวเสาก�ำแพง ตัวสัตว์ทางเข้าสู่วัด เป็นต้น นอกจากลายปูนปั้นแล้วยังมีลวดลายไม้และโลหะ ฉลุ บริเวณวิหารกึ่งกุฏิ ได้แก่ ยอดหลังคา ชายคาระหว่าง เสา และบริเวณหน้าจัว่ ถึงแม้จะมีลวดลายศิลปะพม่าปรากฏ ตามทีต่ า่ งๆ ก็ยงั คงรูปแบบลักษณะของลวดลายทีม่ กี ารผสม ผสานระหว่างลายปัจจุบันกับลายพันธุ์พฤกษา ลายก้านขด ลายเครือเถา เป็นต้น
17 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ลวดลายศิลปะพม่า วัดสระบ่อแก้ว
18 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
สร้างขึน้ โดยชาวไทยใหญ่(เงีย้ ว) เป็นศิลปะแบบพุกาม จะเห็นได้จากสภาพวัดต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัด ล�ำปาง อายุของวัดมีมานานหลายร้อยปี วัดนี้จึงเป็นโบราณ สถาน และมีโบราณวัตถุทมี่ คี ณ ุ ค่าหลายอย่างของเมืองแพร่ และชาติไทยเป็นศิลปะอันล�ำ้คา่ ของพระพุทธศาสนา วัดจอม สวรรค์ มีความวิจิตรงดงามหลายอย่าง หากจะมองดูแต่ ภายนอกก็จะเป็นรูปทรงขอวัดพม่า จะแปลกอยู่ตรงที่วิหาร สร้างด้วยไม้สักฉลุไม้ประดับกระจกอย่างงดงามโดยเฉพาะ เพดาน ส่วนหนึ่งในวิหารหลังนี้ได้แสดงศิลปวัตถุโบราณไว้ มากมาย เช่น คัมภีร์โบราณที่ท�ำจากงาช้าง ดอกไม้หิน ปืน คาบศิลา หลวงพ่อสาน เป็นต้น ซึง่ เป็นโบราณสถาน โบราณ วัตถุที่ทรงคุณค่ายิ่ง
19 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
วัดจอมสวรรค์
20 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
ลวดลายที่พบส่วนใหญ่จะเป็นลายปั้นรักประดับ กระจก เป็นลวดลายประดิษฐ์ก้านขดอยู่ในช่องกรอบเพดาน ทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมมุมมน และวงรี ยังมี ปีกผีเสื้อ ที่ นอกจากนั้นยังปรากฏลวดลายตาม เสาวิหาร ทั้งหัวเสา เชิง เสา อีกเช่นกัน และยังพบลวดลายรดน�ำ้ พบบริเวณเพดาน หน้าจัว่ รวมไปถึงลวดลายฉลุไม้และโลหะ พบบริเวณเพดาน หน้าจั่วชายคา และช่องลม เป็นต้น รวมไปถึงลวดลายปูน ปั้น พบบริเวณเจดีย์ บันไดทางขึ้นวิหาร เป็นต้น ลวดลายที่ ปรากฏตามส่วนต่างๆ ในพุทธสถานแห่งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น ลวดลายประดิษฐ์ก้านขด – เครือเถา พันธุ์พฤกษาต่างๆ
เป็นลวดลายรูปแบบและลักษณะที่เป็น ลวดลายประดิษฐ์ก้านขด - เครือเถา พันธุ์พฤกษาต่างๆ
21 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ลวดลายศิลปะพม่า วัดจอมสวรรค์
22 ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัดในเมืองแพร่
ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีต่อพระพุทธศาสนา ของชาวพม่าในเมืองแพร่ ได้รังสรรค์ผลงานศิลปะอันเลอ ค่าที่ประดับประดาตามที่ต่างๆ ภายในพุทธสถาน ซึ่งแฝงไป ด้วยรูปแบบของเทคนิค แนวความคิดเชิงสัญลักษณ์ และคติ ความเชื่อ ในปัจจุบันได้เลือนหายไปเป็นจ�ำนวนมาก และยังมี การเพิ่มลวดลายใหม่ๆ ขึ้นมา กล่าวคือ ลวดลายบางส่วนได้ ช�ำรุดไปตามธรรมชาติและขาดการบูรณะซ่อมแซมที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดลวดลายที่ผสมและไม่คงรูปแบบเดิม ลวดลายที่ปรากฏนั้นมีต้นแบบมาจากลวดลายแบบ ตะวั น ตก และยั ง มี ก ารผสมผสานให้ เ ข้ า กั บ ลวดลายจี น นอกจากนั้นยังมีลวดลายที่เป็นของอินเดียเข้ามาผสมผสาน อีกด้วย จึงส่งผลให้ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถบ่งบอกถึง การแลกเปลีย่ นทางรูปแบบศิลปกรรมระหว่างช่างชาวพม่ากับ ช่างในท้องถิน่ ดูได้จากรูปแบบลวดลายทีป่ รากฏเป็นลวดลาย ทีเ่ ป็นแบบแผนของกลุม่ ศิลปกรรมแบบชนพืน้ เมืองผสมผสาน กับงานศิลปกรรมแบบพม่า จึงท�ำให้เกิดรูปแบบลวดลายทีเ่ ป็น แบบพม่าผสมพืน้ เมือง น�ำมาประยุกต์ใช้ในงานตกแต่งอาคาร และที่ส�ำคัญอิทธิพลของแนวคิดตะวันตก เข้ามามีบทบาท อย่างมากในการสร้างสรรค์ลวดลายศิลปะพม่าในพุทธสถาน
23 Burma Pattern Art in Temple of Phrae
ลวดลายศิลปะพม่าประดับวัด ในเมืองแพร่
ลวดลายศิลปะพม่า ประดับวัดในเมืองแพร่ Burma Pattern Art in Temple of Phrae นายสมพงษ์ สุนันสา 530310139 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์
พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย นายสมพงษ์ สุนันสา
ด้วยความเชื่อและความศรัทธา ที่มีต่อพระพุทธศาสนา จึงปรากฏลวดลายอันทรงคุณค่า ควรแก่การรักษาสืบไป