ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี

Page 1



ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


คํานํา มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 รับทราบแนวทางการจัดทํายุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) และใหทุกสวนราชการศึกษากรอบและแนวทางการจัดทํายุทธศาสตรชาติ ใหมี ความเชื่อมโยง สอดคลองกัน และมีหนาที่ดําเนินการใหบ รรลุเ ปาหมายตามที่กําหนดไวในยุทธศาสตรชาติ กรมชลประทาน จึงไดจัดทํายุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนตาม ยุทธศาสตรชาติ และสอดคลอง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตรเกษตรและสหกรณ ระยะ 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) และยุทธศาสตรสําคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวของ การขับเคลื่อนยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป มีกรอบระยะเวลาดําเนินการแบงออกเปน 4 ชว ง สอดคลอ งกั บ กรอบยุ ท ธศาสตรช าติ 20 ป โดยในช วงระยะ 5 ปแ รก กรมชลประทานจัด ทํ าแผน ยุทธศาสตรกรมชลประทาน ระยะ 5 ป พ.ศ. 2560 – 2564 โดยตั้งเปาหมายสูการเปน “องคก รอัจฉริยะ ที่มุงสรางความมั่นคงดานน้ํา (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณคาการบริการ ภายในป 2579” ดวยการกําหนด Road Map เปาหมายการดําเนินงานแตละชวงเปนเข็มทิศนําทาง เพื่อมุงสูความสําเร็จที่สงตอไปสูการพัฒนา ระดับประเทศใหบรรลุเปาหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ในที่สุด กรมชลประทาน มิถุนายน 2560

ก 2

กรมชลประทาน


สารบัญ หนา

คํานํา

2

1. ขอมูลดานการชลประทานของประเทศไทย

5

2. ยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) วิสัยทัศน พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร คานิยม

7

3. รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

10

ประเด็นยุทธศาสตรที่ 1 การพัฒนาแหลงน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุมน้ํา (Basin – based Approach) ประเด็นยุทธศาสตรที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําอยางบูรณาการ ตามวัตถุประสงคการใชน้ํา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 3 การปองกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ํา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 4 การสรางเครือขาย และการมีสวนรวม (Networking and Participation) ของทุกภาคสวนในการบริหารจัดการน้ําชลประทานในระดับพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตรที่ 5 การปรับเปลี่ยนสูองคกรอัจฉริยะ (Turnaround to Intelligent Organization)

10 13 16 18 22

4. แผนที่ยุทธศาสตร Roadmap ยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

26 27

5. ผังเปาประสงค ตัวชี้วัด กลยุทธและโครงการ

28

ประเด็นยุทธศาสตรที่ 1 การพัฒนาแหลงน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะ ลุมน้ํา (Basin - based Approach) ประเด็นยุทธศาสตรที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําอยางบูรณาการ ตามวัตถุประสงคการใชน้ํา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 3 การปองกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัย อันเกิดจากน้ํา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 4 การสรางเครือขาย และการมีสวนรวม (Networking and Participation) ของทุกภาคสวนในการบริหารจัดการน้ําชลประทานในระดับพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตรที่ 5 การปรับเปลี่ยนสูองคกรอัจฉริยะ (Turnaround to Intelligent Organization)

6. รายละเอียดตัวชี้วัด/เปาหมายตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตรภายใตแผนยุทธศาสตร เปาประสงคที่ 1 (SG1) มีแหลงเก็บกักน้ําและมีปริมาณน้ําที่จัดการได เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เปาประสงคที่ 2 (SG2) เพิ่มมูลคาทางเศรษฐกิจดานการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน

28 34 39 43 47

53 53 56

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

3


59

63 65 67 69 71 72 74

77 77 77 79

80 80 81 82 86

4

กรมชลประทาน


1. ข้อมูลด้านการชลประทานของประเทศไทย สภาพอุตุ - อุทกวิทยา1 ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ลมพายุจร สามารถ จําแนกฤดูกาลได้ 3 ฤดู โดยฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึง เดือนมกราคม และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิ ปริมาณฝนเฉลี่ยผันแปรตาม ฤดู ก าลในแต่ ล ะปี เ นื่ อ งจากอยู่ ใ นเขตอิ ท ธิ พ ลของลมมรสุ ม และลมพายุ จ ร สภาพทางด้ านอุ ท กวิ ท ยามี ความผันแปรสูง ส่งผลให้ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงนํ้าหลาก และปัญหาภัยแล้งในช่วงฤดูแล้งอยู่เสมอ ลักษณะทางอุทกวิทยา แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ําออกได้เป็น 25 ลุ่มน้ําหลัก และ 254 ลุ่มน้ําสาขา (ลุ่มน้ําย่อย) มี ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งประเทศปีละ 1,588 มิลลิเมตร มีปริ มาณน้ําท่าเฉลี่ยรวมปีละประมาณ 205,437 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ํ าท่าข้างต้น คิดเป็ น น้ําท่าเฉลี่ ยต่อจํ านวนประชากร 3,125 ลู กบาศก์เมตร/คน/ปี (จํานวนประชากร 65.73 ล้านคน ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559) เป็นน้ําท่าในฤดูฝนจํานวน 179,240 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 87.25) และในฤดูแล้ง 26,197 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 12.75) ปัจจุบัน มีแหล่ง กักเก็บน้ําความจุที่ระดับกักเก็บรวม 75,154 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 36.58 ของปริมาณน้ําท่าทั้งหมด โดยเป็นแหล่งกักเก็บน้ําขนาดใหญ่ (ความจุกักเก็บมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร) ประมาณร้อยละ 94 ของ ความจุรวมทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 6 เป็นแหล่งกักเก็บน้ําขนาดกลาง และมีปริมาณน้ําใช้การใน อ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลางรวม 22,875 ล้านลูกบาศก์เมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2559) ทั้งนี้ เพื่อเหลือน้ําส่วนหนึ่งไว้สําหรับการรักษาสภาพเขื่อน (Dead Storage) การใช้ที่ดินภาคการเกษตร จากข้อมูลการใช้ที่ดินของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556 สรุปได้ว่าเนื้อที่ประเทศไทยทั้งหมด 320.70 ล้านไร่ เป็นเนื้อที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจํานวน 149.24 ล้านไร่ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 46.53 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยจากพื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรนี้ สามารถจําแนกออกเป็นนาข้าว 69.97 ล้านไร่ (ร้อยละ 46.88 ของพื้นที่ทางการเกษตร) พืชไร่ 31.16 ล้านไร่ (ร้อยละ 20.88 ของพื้นที่ ทางการเกษตร) สวนไม้ผลไม้ยืนต้น 34.92 ล้านไร่ (ร้อยละ 23.40 ของพื้นที่ทางการเกษตร) สวนผั ก ไม้ดอก/ไม้ประดับ 1.4 ล้านไร่ (ร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ทางการเกษตร) และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 11.80 ล้านไร่ (ร้อย ละ 7.90 ของพื้นที่ทางการเกษตร) ความต้องการน้​้า2 ความต้องการใช้น้ํารวมของทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ประมาณปีละ 151,750 ล้านลูกบาศก์ เมตร เป็ น ความต้ อ งการน้ํ า เพื่ อ การเกษตร สู ง ถึ ง 113,960 ล้ า นลู ก บาศก์ เ มตร หรื อ ร้ อ ยละ 75 ของ ความต้อ งการน้ํ าทั้งหมด ในจํ านวนนี้ อยู่ ในเขตที่มีแ หล่ งกักเก็บ น้ํ าและระบบชลประทานอยู่ แล้ ว 65,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีก 48,960 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นความต้องการน้ําเพื่อการเกษตรที่อยู่นอกเขต 1 2

ที่มา: ข้อมูลจากรายงานประจําปี กรมชลประทาน ปี 2559 ที่มา: แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ปี พ.ศ. 2558 – 2569

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

1

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

5


ชลประทานโดยอาศัยน้ําฝนเป็นหลัก (คัดเฉพาะการปลูกฤดูฝนเท่านั้น) รองลงไปเป็นการใช้น้ําเพื่อการรักษา ระบบนิเวศประมาณ 27,090 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 18 ของความต้องการน้ําทั้งหมด) เพื่อการอุปโภค บริโภคและการท่องเที่ยวประมาณ 6,490 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 4 ของความต้องการน้ําทั้งหมด) และการ อุ ต สาหกรรมประมาณ 4,206 ล้ า นลู ก บาศก์ เ มตร (ร้ อ ยละ 3 ของความต้ อ งการน้ํ า ทั้ ง หมด) (จากรายงานแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา เดือนพฤษภาคม 2558) นอกจากนี้ จากความต้องการใช้น้ํารวมของทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 151,750 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น สามารถแบ่ ง ออกเป็ น ความต้ อ งการที่ ส ามารถจั ด การได้ ทั้ ง สิ้ น ประมาณ 102,140 ล้ า นลู ก บาศก์ เ มตร ซึ่งเกิดจากปริมาณน้ําที่สามารถเข้าถึงตามแหล่งน้ําในรูปแบบต่างๆ ได้ อาทิ แหล่งเก็บกักน้ํา อาคารพัฒนาแหล่ง น้ํา แหล่งน้ํา/ลําน้ําธรรมชาติ และน้ําบาดาล เป็นต้น ในขณะที่อีกกว่าประมาณ 49,610 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น เป็นความต้องการน้ําที่ยังไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดสรรน้ําให้กับพื้นที่การเกษตรนอกเขต ชลประทาน และความต้องการน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคบางส่วน การพัฒนาชลประทาน การพัฒนาการชลประทานในอดีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มุ่งเน้นการกระจายนํ้าโดยการขุดคลอง เชื่อมโยงนํ้าระหว่างแม่นํ้าสายหลักในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ได้ มีการพัฒนาอาคารทดนํ้าตามแม่นํ้าสายหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผันนํ้าเข้าสู่ระบบคลองในบริเวณที่ ราบลุ่ มภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ทําให้ การเกษตรชลประทานได้ขยายตัว มากยิ่ งขึ้น อย่ างไรก็ตาม การเกษตรชลประทานในยุคนั้นยังคงมีข้อจํากัดเนื่องจากยังไม่มีการพัฒนาแหล่งกักเก็บนํ้าขนาดใหญ่ที่จะรองรับ ปริ ม าณนํ้ า หลากจากพื้ น ที่ ต อนบน ทํ า ให้ ยั ง คงประสบปั ญ หาอุ ท กภั ย และภั ย แล้ ง ตามฤดู ก าล ภายหลั ง ที่ได้มีการก่อสร้างแหล่งกักเก็บนํ้าขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ทําให้ปัญหาอุทกภัยบรรเทาลงมาก โดยช่วยลดระดับนํ้าสูงสุดของแม่นํ้าเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ได้เฉลี่ ย 1.44 เมตร และมีปริมาณนํ้าสํารอง ในอ่างเก็บนํ้าสําหรับจัดสรรเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ทําให้สามารถขยายพื้นที่เกษตรชลประทานและการ เพาะปลู ก ในฤดู แ ล้ ง ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว ในระยะต่ อ มาได้ มี ก ารกระจายการพั ฒ นาแหล่ ง นํ้ า และการเกษตร ชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางออกไปทั่วประเทศ ส่ง ผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการดําเนินงานเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนนํ้าในระดับท้องถิ่น โดยการก่อสร้างแหล่งนํ้าขนาด เล็กกระจายตามพื้นที่ชุมชนในชนบท ข้อมูล ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 149.24 ล้านไร่ ซึ่งจากพื้นที่ทางการเกษตรเหล่านี้มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานทั้งหมดในประเทศไทย ทั้งสิ้ น 60.29 ล้ านไร่ โดยในปัจ จุ บัน กรมชลประทานได้มีการพัฒนาพื้ น ที่ช ลประทานไปแล้ วทั้งสิ้ น 31.83 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 52.79 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งหมด แบ่งออกเป็นพื้นที่ชลประทานจากโครงการ ชลประทานขนาดใหญ่ จํ า นวน 17.97 ล้ า นไร่ พื้ น ที่ ช ลประทานจากโครงการชลประทานขนาดกลาง (กรมชลประทานดูแล) จํานวน 6.69 ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานจากโครงการชลประทานขนาดเล็กจํานวน 7.18 ล้านไร่ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

6

กรมชลประทาน

2


2. ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) 1. วิสัยทัศน์ องค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้​้า (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2579 2. พันธกิจ 1. พัฒนาแหล่งน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ําให้เกิดความสมดุล 2. บริหารจัดการน้ําอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม 3. ดําเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ําตามภารกิจอย่างเหมาะสม 4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ํา และการบริหารจัดการน้ํา 3. ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาแหล่งน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ํา (Basin–based Approach) 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําอย่างบูรณาการ ตามวัตถุประสงค์การใช้น้ํา 3. การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ํา 4. การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม (Networking and Participation) ของทุกภาคส่วนใน การบริหารจัดการน้ําชลประทานในระดับพื้นที่ (Networking Collaboration Participation) 5. การปรับเปลี่ยนสู่องค์กรอัจฉริยะ (Turnaround to Intelligent Organization) 4. ค่านิยมองค์กร WATER for all Work Smart เก่งงาน เก่งคิด Accountability รับผิดชอบงาน Teamwork & Networking ร่วมมือร่วมประสาน Expertise เชี่ยวชาญงานที่ทํา Responsiveness นําประโยชน์สู่ประชาชน 5. แผนที่ยุทธศาสตร์ แผนที่ยุทธศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 มิติ 10 เป้าประสงค์ ดังนี้ 1. มิติประสิทธิผลตามพันธกิจ มี 5 2. มิติคุณภาพการให้บริการ มี 2 3. มิติประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มี 3 4. มิติการพัฒนาองค์กร มี 1 3

เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ เป้าประสงค์3

มิติพัฒนาองค์กรมีเป้าประสงค์เดียวกับเป้าประสงค์ของมิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจคือ เป้าประสงค์ SG10 เป็นองค์กรอัจฉริยะ

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

3

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

7


8

กรมชลประทาน


แผนภาพที่ 1 : ความเชื่อมโยงของประเด็นยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

โดยรายละเอียดของแตละประเด็นยุทธศาสตรจะไดนําเสนอในสวนที่ 3 ของเอกสารนี้ ทั้งนี้ มีรายละเอียด ของอักษรยอที่ใชกํากับเปาประสงคและตัวชี้วัดเพื่อใหเห็นถึงระดับยุทธศาสตรและระดับปฏิบัติการ ดังนี้ ระดับยุทธศาสตร SG = Strategic Goals หมายถึง เปาประสงคระดับยุทธศาสตร KL = Key Performance Indicators Longterm หมายถึ ง ตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร สําหรับยุทธศาสตร 20 ป

ยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

5

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

9


3. รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาแหล่งน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ํา (Basin – based Approach) แผนภาพที่ 2 : กรอบแนวคิดการเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ํา

ที่มา : การวิเคราะห์ของคณะที่ปรึกษา

ด้ ว ยลั ก ษณะของพื้ น ที่ แ ละรู ป แบบของลุ่ ม น้ํ า ที่ มี อ ยู่ ใ นประเทศไทยนั้ น มี ค วามแตกต่ า งและมี ลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งน้ําในแต่ละพื้นที่จะต้องมีการศึกษาลักษณะของพื้นที่ และ ความต้องการที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ํา เพื่อการวางแผนการพัฒนาโครงการแบบอเนกประสงค์ ในแต่ ล ะลุ่ ม น้ํ า ครอบคลุ ม รายละเอี ย ดตั้ ง แต่ แ หล่ ง น้ํ า ที่ ต้ อ งพั ฒ นาขึ้ น มาใหม่ แหล่ ง น้ํ า ที่ ต้ อ งมี ก ารเพิ่ ม ประสิทธิภาพที่ชัดเจน พร้อมกับมีการออกแบบและวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ําที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละลุ่ม น้ํา โดยแผนดั ง กล่ า วจะต้อ งครอบคลุ มการออกแบบ วางแผน และกํ า หนดชุด โครงการ (Package) แบบ อเนกประสงค์ ที่สามารถระบุได้ว่าจะมีการพัฒนาแหล่งน้ําในรูปแบบใด และบนพื้นที่ใด ในแต่ละลุ่มน้ํา ซึ่งการ ดําเนินการอาจทําตั้งแต่ในระดับลุ่มน้ําย่อย แล้วจึงนําข้อมูลเหล่านั้นมาเชื่อมโยงบูรณาการให้เป็นลุ่มน้ําที่ใหญ่ ขึ้น เพื่อการขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน สามารถมองเห็นผลกระทบในวงกว้างและเพิ่มความสําคัญของโครงการ ได้ ซึ่งแผนพัฒนานี้จะเปรียบเสมือนแผนแม่บทการพัฒนาตามลุ่มน้ํา โดยที่กรมชลประทานสามารถใช้เป็นแผนที่ นําทางในการก่อสร้างโครงการ พร้อมกับใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาและพัฒนาภาคีแบบบูรณาการ เพื่อช่วย ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการในแต่ละพื้นที่ต่อไปได้ ทั้งนี้ หากไม่มีการวางแผนการพัฒ นาโครงการในลั กษณะดังกล่ าวไว้ล่ ว งหน้ า จะทําให้การพัฒ นา โครงการชลประทานกลายเป็นการพัฒนาโครงการที่เป็นลักษณะเชิงเดี่ยว กระจัดกระจาย ทําให้ไม่สามารถเห็น ผลกระทบในวงกว้า งได้ และอาจส่ ง ผลต่ อแรงต่ อต้ านที่อ าจเข้า มา ท้า ยที่สุ ดโครงการดั ง กล่ าวอาจถูก ลด ความสําคัญ ส่งผลต่องบประมาณ และมีความเสี่ยงด้านความล่าช้าหรืออาจต้องมีการยุติโครงการในที่สุด ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

10

กรมชลประทาน

6


ตารางที่ 2 : แสดงเปาประสงค ตัวชี้วัด กลยุทธ ประเด็นยุทธศาสตรที่ 1 เปาประสงค ตัวชี้วัด SG1 มีปริมาณน้ําเก็บกัก KL1 : จํานวนปริมาณเก็บกักน้ํา และพื้นที่ชลประทาน ที่เพิ่มขึ้น (หนวย : ลาน ลบ.ม.) เพิ่มขึ้น KL2 : จํานวนพื้นที่ชลประทานที่ เพิ่มขึ้น (หนวย : ลานไร) • KL 2.1 : จํานวนพื้นที่ ชลประทานที่เพิ่มขึ้นจาก โครงการชลประทานอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ (หนวย : ไร)

กลยุทธ กลยุ ทธ ที่ 1.1 จั ดทํ าแผนแมบ ทการพัฒ นาตามลุม น้ํ าหลั ก และ จัดทําแผนแมบทการพัฒนาลุมน้ําสาขา (ลุมน้ํายอย) ทั้งระบบ โดย จัดการน้ําตามแนวทาง IWRM (Integrated Water Resource Management) กลยุ ท ธ ที่ 1.2 ดํ าเนิ นการพั ฒ นาโครงการชลประทานตามแผน แม บ ทการพั ฒ นาลุ มน้ํ าหลั ก และลุ ม น้ําสาขา (ลุ ม น้ํ ายอย) ด วย นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ํา กลยุทธที่ 1.3 ผันน้ําและเก็บกักน้ําจากลุมน้ําในประเทศและแหลง น้ํานานาชาติมาใชประโยชน กลยุทธที่ 1.4 ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหลงน้ํา เพื่อเพิ่มความจุ ในการกักเก็บ น้ํา สําหรับ การเพิ่มพื้ นที่ ชลประทาน/รองรั บความ ตองการการใชน้ําที่เพิ่มขึ้น กลยุท ธที่ 1.5 แสวงหาความร วมมือและร วมทุนจากภาคี ในการ พัฒนาแหลงน้ํา กลยุ ท ธ ที่ 1.6 ดํ าเนิ นงานโครงการชลประทานอั นเนื่ องมาจาก พระราชดําริใหครบทั้งระบบ

คําอธิบายกลยุทธเพิ่มเติม กลยุทธที่ 1.1 จัดทําแผนแม บ ทการพั ฒ นาตามลุ ม น้ําหลั ก และจั ดทําแผนแม บ ทการพั ฒ นาลุ ม น้ํา สาขา (ลุม น้ํ า ย อ ย) ทั ้ ง ระบบ โดยจั ด การน้ํ า ตามแนวทาง IWRM (Integrated Water Resource Management) มุงเนนการทบทวนแผนงานและขอมูลที่เกี่ยวของเพื่อจัดทําแผนแมบทการพัฒนาแหลงน้ําตามลุมน้ํา หลักและลุมน้ําสาขาตามความแตกตางของลักษณะพื้นที่ (Area – Based) และดําเนินการในลักษณะลุมน้ํายอย เมื่อดําเนินการลุมน้ํายอยไดทั้งหมดแลวจะสามารถตอภาพเปนลุมน้ําใหญได โดยการดําเนินงานในสวนนี้จะตอง ครอบคลุมทั้งแนวทางหลักที่มีการดําเนินการอยูในปจจุบัน และความเปนไปไดในการดําเนินงานแนวทางเสริม อื่นๆ ที่เ ปนแนวทางสมั ยใหม หรื อ แนวทางแบบอื่นๆ ที่กรมชลประทานยังไมเ คยมีก ารดําเนินการมากอ น อยางไรก็ตาม การดําเนินการทั้งหมดควรอยูภายใตแนวทางการบริหารจัดการน้ําแบบผสมผสาน Integrated Water Resource Management (IWRM) คือ กระบวนการในการสงเสริมการประสาน การพัฒนาและจัดการ น้ํา ดิน และทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เพื่อนํามาซึ่งประโยชนสูงสุดทางเศรษฐกิจและความเปนอยูที่ดีของสังคม อยางทัดเทียมกัน โดยไมสงผลกระทบตอความยั่งยืนของระบบนิเวศที่สําคัญ

ยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

7

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

11


กลยุทธ์ที่ 1.2 ดําเนินการพัฒนาโครงการชลประทานตามแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ําหลัก และลุ่มน้ําสาขา (ลุ่มน้ําย่อย) ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ํา การพัฒนาแหล่งน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้เต็ม ตามศักยภาพและเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับแผน แม่บทและพัฒนาแหล่งน้ํา โดยให้ความสําคัญกับโครงการในลักษณะลุ่มน้ําย่อยทั้งระบบ (ใหญ่ -กลาง-เล็ก-สูบ น้ํา-แก้มลิง-ระบบส่งน้ําในส่วนที่มีแหล่งกักเก็บน้ําแล้ว ฯลฯ) ซึ่งรวมถึงการดําเนินงานตามแผนการศึกษาต่างๆ ในกลยุทธ์ 1.1 ด้วย ทั้งนี้ การดําเนินงานในส่วนนี้จะมุ่งเน้นไปที่การนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านชลประทาน รูปแบบใหม่มาปรับใช้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ํารูปแบบใหม่ และปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการน้ํา อันจะนํามาสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานในอนาคตได้ กลยุทธ์ที่ 1.3 ผันน้ําและเก็บกักจากลุ่มน้ําในประเทศและแหล่งน้ํานานาชาติมาใช้ประโยชน์ มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณน้ํา และลดการสูญเสียของน้ําผ่านกระบวนการผันน้ํา และการเก็บกักน้ํา จาก แหล่งน้ําต่างๆ ทั้งในส่วนของลุ่มน้ําภายในประเทศและแหล่งน้ํานานาชาติมาใช้ประโยชน์มากขึ้น กลยุทธ์ที่ 1.4 ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ํา เพื่อเพิ่มความจุ ในการกักเก็บน้ํา สําหรับ การเพิ่มพื้น ที่ ชลประทาน/รองรับความต้องการการใช้น้ําที่เพิ่มขึ้น แหล่งน้ํา และอาคารชลประทานที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจมีสภาพที่ทรุดโทรม หรือมีปริมาณน้ําเก็บกักที่ไม่ เพียงพอกับความต้องการใช้น้ําในพื้นที่ ดังนั้นกลยุทธ์ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นไปที่แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพ แหล่งน้ํา และอาคารชลประทานต่างๆ เพื่อเพิ่มความจุในการเก็บน้ํา อันจะนํามาถึงการเพิ่ม พื้นที่ชลประทาน มากขึ้น หรือมีปริมาณน้ําที่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ําที่เพิ่มมากขึ้นได้ กลยุทธ์ที่ 1.5 แสวงหาความร่วมมือและร่วมทุนจากภาคีในการพัฒนาแหล่งน้ํา เพื่อให้การดําเนินงานทางด้านการพัฒนาแหล่งน้ําในอนาคตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กรมชลประทานจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทํางานที่มุ่งเน้นการดําเนินงานในรูปแบบของความร่วมมือ และการร่วมทุนจากภาคีเครือข่ายที่จะเข้ามาร่วมพั ฒนาแหล่งน้ําร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโครงการที่เกิด จากความร่ว มมือแบบ PPP : Public Private Partnership แบบประชารั ฐ หรื อ แม้แต่การดํา เนิ นการตาม นโยบายที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 1.6 ดําเนินงานโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดําริให้ครบทั้งระบบ การดําเนินงานโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดําริสามารถดําเนินการได้เร็ว มักได้รับ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้ แต่การดําเนินงานโครงการ บางส่วนยังขาดระบบส่งน้ําทําให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ใน แนวทางการดําเนินงานนี้ จะต้องครอบคลุม 2 ลักษณะ ได้แก่  การปรับปรุงโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดําริที่มีอยู่เดิมให้ครบทั้งระบบ (อาทิ การ ปรับปรุงระบบส่งน้ําในโครงการที่มีแต่แหล่งน้ํา) ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

12

กรมชลประทาน

8


• การกอสรางโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดําริใหมแบบครบวงจร (พัฒนาทั้งแหลงน้ํา และระบบสงน้ํา) ประเด็นยุท ธศาสตร ที่ 2 : การเพิ่ มประสิ ท ธิ ภาพการบริ หารจั ดการน้ํ าอย างบู รณาการ ตามวั ตถุ ประสงค การใชน้ํา แผนภาพที่ 3 : กรอบแนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําอยางบูรณาการ

ที่มา : การวิเคราะหของคณะที่ปรึกษา

ภายใตแนวคิดการบริหารจัดการน้ํา ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกันทั้งในสวนของการจัดหา พัฒนา และการ จัดสรรตามวัตถุประสงคตางๆ รวมตลอดถึงการอนุรักษและฟนฟูแหลงน้ําใหคงอยูและมีใชอยางยั่งยืน รวมทั้ง การแกไขปญหาอันเกิดจากทรั พยากรน้ําทั้งด านปริ มาณและคุ ณภาพใหห มดไป ซึ่ง การดําเนิ นการเหล านั้ น จะตองสอดคลองผสมผสานแบบรวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกันหรือที่เรียกกันวา “การดําเนินการแบบบูรณาการ” ดวยหลายวิ ธี หลายเทคนิค และผู คนในสังคมทุกชุ มชนยอมรับ จึงจะนําไปสูก ารจัดการหรือแก ปญหาตางๆ เกี่ยวกับน้ําไดอยางสัมพันธกัน ทั้ง นี้ การบริ หารจัดการน้ํ าอย างบู รณาการในรูปแบบของกรมชลประทานตอ งพิจ ารณาตั้ง แตก าร ทบทวนความคุม คาทางเศรษฐกิจ หรือประเมินประสิทธิภาพของแหลงน้ําและระบบชลประทาน เพื่อนําผล ดังกลาวมาวางแผนและจัดทําแนวทางการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพอาคารชลประทานไดอยางเหมาะสม ตอไป โดยเฉพาะอยางยิ่งการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยเขามาชวยในการจัดการสงน้ําเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่ง หลังจากที่มีแนวทางการปรับปรุงที่ชัดเจนแลว จึงจะนํามาสูการวางแผนการสงน้ํา การกระจายน้ําที่เหมาะสม กับสภาพของอาคารชลประทานและความตองการใชน้ํา ที่สอดคลองกับนโยบายและแผนการบริหารจัดการน้ํา ที่กลุมผูใชน้ําหรือ JMC ไดเขามามีสวนรวมวางแผนอยางเปนระบบตลอดหวงโซคุณคา (Value Chain) โดย ครอบคลุมตั้งแตการใชน้ํา การผลิตการเกษตร การตอยอด หรือการตลาด ซึ่งครอบคลุมถึงแนวทางการรักษา ยุทธศาสตรกรมชลประทาน 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579)

9

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

13


สมดุลของระบบนิเวศ ให้มีน้ําใช้ที่มีคุณภาพทั้งในการใช้อุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดแล้ว เพื่อให้ การบริหารจัดการน้ําเกิดความยั่งยืนจึงต้องให้ความสําคัญกับการทบทวนกระบวนการข้างต้นอย่างต่อเนื่องอีก ด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารจัดการน้ํามีประสิทธิภาพ และสอดรับกับความต้องการในพื้นที่มาก ที่สุด จึงควรมีการเพิ่มบทบาทในการดูแล บํารุงรักษาอาคารและระบบชลประทานให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ํา และ JMC มากขึ้น โดยกรมชลประทานจะเป็นผู้สนับสนุนการดําเนินงานส่วนต่างๆ ให้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาระการ ดําเนินงานของกรมชลประทานได้แล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลโครงการชลประทานให้ รวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 3 : แสดงเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เป้าประสงค์ SG2 เพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจด้านการเกษตร ในพื้นที่ชลประทาน

ตัวชี้วัด กลยุทธ์ KL3 : มูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการเกษตรในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2.1 ประเมินผลโครงการลงทุนของ ชลประทาน (ค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของ กรมชลประทานเดิมตามระยะเวลาที่เหมาะสม โครงการ (EIRR) • KL3.1 : ร้อยละความสําเร็จของการจัดทํา ระบบงาน วิธีการและฐานข้อมูลสําหรับการ ประเมินผลโครงการ EIRR และการประเมิน ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจด้านการเกษตรของ ระบบชลประทาน (B/C Ratio) KL4 : ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจด้านการเกษตรของ ระบบชลประทาน (ค่าตอบแทนต่อค่าลงทุนของ โครงการ (B/C Ratio)

SG3 การบริหารจัดการน้ํา โดยให้ทุกภาคส่วนได้รับน้ํา ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและ เป็นธรรม ตามปริมาณน้ํา ต้นทุนที่มีในแต่ละปี (อุปโภค บริโภค เกษตร อุตสาหกรรม และรักษา ระบบนิเวศ)

KL5 : ร้อยละของพื้นที่บริหารจัดการนํ้าในเขต ชลประทานได้รับนํา้ ตามปริมาณนํา้ ต้นทุนที่มีในแต่ ละปี (หน่วย : ร้อยละ) • KL5.1 : จํานวนหรือร้อยละครัวเรือนในเขต ชลประทานที่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น KL6 : ปริมาณน้ําทีจ่ ัดสรรให้ตามวัตถุประสงค์การ ใช้นํ้า* (หน่วย : ล้าน ลบ.ม.) หมายเหตุ * ควรสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การ บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา KL7 : ร้อยละของอ่างเก็บนํ้าและทางนํ้า ชลประทานที่มีคณ ุ ภาพนํ้าได้เกณฑ์มาตรฐานกลาง ของกรมชลประทาน (หน่วย : ร้อยละ)

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

14

กรมชลประทาน

กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาประสิทธิภาพอาคาร ชลประทานด้วยระบบเทคโนโลยีเพื่อการ บริหารจัดการน้ําที่ทันสมัย กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาการส่งน้ําอย่างมีส่วนร่วม กลยุทธ์ที่ 2.4 ควบคุมคุณภาพน้ําในแหล่งน้ํา ชลประทาน และรักษาระบบนิเวศ

10


เป้าประสงค์ SG4 การปรับเปลี่ยนการ ใช้น้ําภาคเกษตรให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวชี้วัด กลยุทธ์ KL8 : พื้นที่จัดรูปที่ดินและระบบน้ําเพื่อการเกษตร กลยุทธ์ที่ 2.5 สร้างความสมดุลในการใช้น้ํา (หน่วย : ล้านไร่) และจัดสรรน้ําให้มีประสิทธิภาพ KL9 : อัตราการใช้นํ้าในภาคการเกษตรด้วยการ บริหารจัดการนํ้าและการปรับเปลีย่ นวิธีการใช้นํ้า (หน่วย : ร้อยละ)

คําอธิบายกลยุทธ์เพิ่มเติม กลยุทธ์ที่ 2.1 ประเมินผลโครงการลงทุนของกรมชลประทานเดิม ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ดําเนินการทบทวนและประเมินผลโครงการชลประทานเดิมที่มีอยู่ ทั้งในมิติของความคุ้มค่าทางด้าน การลงทุน (Benefit Cost Ratio: B/C Ratio) ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) ผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) และประสิทธิภาพของ โครงการชลประทานที่มีอยู่ (Delivery Performance Ratio : DPR) เพื่อใช้ในการวางแผนปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารชลประทานต่อไป กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาประสิทธิภาพอาคารชลประทานด้วยระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ําที่ทันสมัย มุ่งเน้นการวางแผนและดําเนิ น การพัฒนาประสิ ทธิภาพอาคารชลประทานที่เหมาะสมตามผลการ ประเมินโครงการชลประทาน (จากกลยุทธ์ที่ 2.1) พร้อมดําเนินการบํารุงรักษาอาคารชลประทาน และระบบส่ง น้ําที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้กับ การบริหารจัดการน้ําให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งและการระบายน้ํา กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาการส่งน้ําอย่างมีส่วนร่วม วางแผน ควบคุม จัดทํารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรน้ํา และวางแผนควบคุมงานเกษตรชลประทาน อย่างมีส่วนร่วม โดยอ้างอิงจากแนวทางการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารชลประทาน สภาพพื้นที่ ปริมาณความ ต้องการ และวัตถุประสงค์การใช้น้ําต่างๆ ผ่านกลไกความร่วมมือของกลุ่มผู้ใช้น้ํา และ JMC ในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2.4 ควบคุมคุณภาพน้ําในแหล่งน้ําชลประทาน และรักษาระบบนิเวศ การควบคุมและรักษาคุณภาพน้ําในแหล่งน้ําให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของแต่ละภาคส่วน รวมทั้ง การรักษาสมดุลระบบนิเวศให้อยู่ในเกณฑ์ที่กําหนด กลยุทธ์ที่ 2.5 สร้างความสมดุลในการใช้น้ํา และจัดสรรน้ําให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาแนวทางการสร้างความสมดุลการใช้นํ้า เพื่อความคุ้มค่า และพัฒนาการใช้น้ําให้มีประสิทธิภาพ สู งสุ ด จากองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ย วข้อง ตั้งแต่ การศึกษาแนวทางการปรั บ ปรุ งราคาค่าน้ํ าชลประทานที่ เหมาะสมตามต้นทุนที่แท้จริง การปรับปรุงแนวทางการจัดรูปที่ดินและระบบน้ําให้สามารถกระจายการส่งน้ําได้

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

11

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

15


อย่างทั่วถึง ซึ่งรวมถึงการพัฒ นาแนวทางการจั ดสรรและการใช้น้ําที่เหมาะสมตามนโยบายต่างๆ ที่จะช่ว ย ผลักดันไปสู่การสร้าง Smart Farmer อย่างยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ํา แผนภาพที่ 4 : กรอบแนวคิดลําดับการป้องกันความเสียหายและการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ํา

ที่มา : การวิเคราะห์ของคณะที่ปรึกษา

จากกรอบพั น ธกิ จ ของกรมชลประทานพบว่ า เมื่ อ กรมชลประทานสามารถดํ า เนิ น การเพิ่ ม พื้ น ที่ ชลประทาน และมีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําได้อย่างมีประสิทธิภ าพแล้ว จะสามารถช่วยป้องกันและ บรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากน้ําได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจํากัดต่างๆ ทําให้การพัฒนาโครงการที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ ชลประทานและบริหารจัดการน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้เวลาในการดําเนินงานที่ค่อนข้างนาน ดังนั้น ใน ระหว่างช่วงการพัฒนาดังกล่าว กรมชลประทานจะต้องมีการพัฒนามาตรการป้องกันและบรรเทาภัยอื่นๆ ขึ้นมา รองรับเพิ่มเติมด้วย โดยในมิติด้านภัยพิบัติ พบว่า มีกรอบแนวคิดในการจัดการภัยพิบัติที่สําคัญระบุเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ก่อนเกิดเหตุ - มาตรการป้องกันภัย 2) ระหว่างเกิดเหตุ – มาตรการการจัดการ และ 3) หลังเกิดเหตุ – มาตรการฟื้น ฟูแ ละเยี ย วยาพื้น ที่ ห รื อ ผู้ ป ระสบภัย ซึ่ งหากพิจ ารณาถึ งบทบาทการทํา งานของหน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติพบว่า บทบาทของกรมชลประทานจะอยู่ในขั้นตอนก่อนเกิดเหตุ หรือใน ส่วนของการป้องกันเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันภัย การใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือในการคาดการณ์ หรื อแจ้งเตือนสถานการณ์ต่างๆ และการบริ ห ารจั ดการน้ําเพื่อป้ องกันหรื อลด ผลกระทบ เป็นต้น ในขณะที่ขั้นตอนระหว่างเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุนั้น กรมชลประทานไม่มีอํานาจหน้าที่ใน การดําเนินการโดยตรง แต่จะเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนหน่วยงาน หรือพื้นที่ต่างๆ ในการบรรเทาภัยอัน เกิดจากน้ําเป็นสําคัญ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

16

กรมชลประทาน

12


ด้วยเหตุนี้ ขอบเขตของประเด็นยุ ทธศาสตร์ในเรื่องของการป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการ บรรเทาภัยอันเกิดจากน้ําจึงจะมุ่งเน้นไปที่มาตรการป้องกันภัยเป็นสําคัญ ตารางที่ 4 : แสดงเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เป้าประสงค์ SG5 ความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่ลดลง อัน เนื่องมาจากอุทกภัยและ ภัยแล้ง

SG6 การคาดการณ์ สถานการณ์น้ํามีความ ทันสมัยและเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายของกรม ชลประทานที่ทันต่อ เหตุการณ์

ตัวชี้วัด KL10 : จํานวนหรือร้อยละของพื้นที่ในเขต ชลประทานที่ได้รับการป้องกันและบรรเทาภัย จากน้ําที่เพิ่มขึ้น (หน่วย : ร้อยละ) KL11 : จํานวนหรือร้อยละของพื้นที่ในเขต ชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและ ภัยแล้ง ที่ลดลง (หน่วย : ร้อยละ) KL12 : ระบบฐานข้อมูลน้ําและการคาดการณ์ สถานการณ์น้ําตามลุม่ น้ําที่เป็นระบบเดียวกันทั้ง ประเทศ สามารถเชื่อมต่อกับระบบ internet และเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายของกรมชลประทาน อย่างทันต่อเหตุการณ์ (Real time)* หมายเหตุ * ควรดําเนินการแล้วเสร็จและวัด เฉพาะ 5 ปีแรก KL13 : ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับข้อมูล การคาดการณ์สถานการณ์น้ําของกรม ชลประทานอย่างทันต่อเหตุการณ์ (หน่วย : ร้อย ละ)

กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการ น้ําในภาวะวิกฤต (ระบายน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ํา) กลยุทธ์ที่ 3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา

กลยุทธ์ที่ 3.3 ปรับปรุงระบบการจัดการข้อมูล ด้านน้ําให้ทันสมัย และเป็นแบบ Real Time เพื่อการพัฒนาแบบจําลอง (RID Model) และ ปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัย

คําอธิบายกลยุทธ์เพิ่มเติม กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการน้ําในภาวะวิกฤติ (ระบายน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ํา) โดยการก่อสร้ างอาคารชลประทานและโครงข่ายระบบชลประทาน ประตูระบาย ประตูรับ น้ํ าเข้า โครงการชลประทานต่างๆ ที่มีส่วนในการป้องกันปัญหาภัยพิบัติจากน้ําในพื้นที่สําคัญ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีวิกฤติ ภัยจากน้ําที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงการทําเส้นทางผันน้ํา และการพัฒนาพื้นที่รับน้ําที่มีการควบคุมการบริหารจัดการ ในการนําน้ําเข้าพื้นที่ และการระบายออกอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา โดยการพัฒนาทางระบายน้ํา ปรับปรุงสภาพคลองผันน้ํา เช่น เสริมคันดินกันน้ําล้นตลิ่ง พร้อมปรับปรุง โครงสร้างที่เป็นอุปสรรค รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการระบายและกัก เก็บน้ําเข้ามาปรับใช้ พร้อมกับการสร้างความเข้าใจ และพัฒนามาตรการการสร้างความร่วมมือของชุมชนในการ ร่วมป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติในพื้นที่ด้วย

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

13

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

17


กลยุทธ์ที่ 3.3 ปรับปรุงระบบการจัดการข้อมูลด้านน้ําให้ทันสมัย และเป็นแบบ Real Time เพื่อการพัฒนา แบบจําลอง (RID Model) และปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัย พัฒนาระบบข้อมูล และศูนย์ปฏิบัติการน้ําอัจฉริยะทางด้านการจัดการน้ําที่จะมาเป็นหน่วยงานสําคัญ ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ คาดการณ์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงใน ระดับพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการพัฒนาที่สําคัญ ดังนี้ - ปรับปรุงฐานข้อมูลทางด้านน้ํา และเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วทั้งประเทศ - พัฒนาเครือข่ายสื่อสาร และการส่งข้อมูล ที่เป็นแบบ Real Time - พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการน้ําอัจฉริยะ - พัฒนาระบบการวิเคราะห์ และคาดการณ์ข้อมูลผ่านโมเดล - พัฒนาแนวทางการรายงานผลระดับพื้นที่ - พัฒนาระบบและเครื่องมือในการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ํา ผ่านช่องทางต่างๆ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม (Networking and Participation) ของทุก ภาคส่วนในการบริหารจัดการน้ําชลประทานในระดับพื้นที่ แผนภาพที่ 5 : กรอบแนวคิดลําดับการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

ที่มา : การวิเคราะห์ของคณะที่ปรึกษา

เพื่อให้การพัฒนาแหล่งน้ํา และบริหารจัดการทรัพยากรน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต้องได้รับความ ร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการจากส่วนกลางหรือในพื้นที่ เอกชน หรือแม้กระทั่งกลุ่ม ผู้ใช้น้ํา และผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่างๆ โดยความร่วมมือนี้จะต้องเริ่มตั้งแต่การหาความต้องการ การแก้ปัญหาใน พื้นที่ ร่วมคิดแนวทางการแก้ปัญหา ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการจัดการหรือกลไกความร่วมมือในการพัฒนาและ แก้ปัญหาร่วมกันกับทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

18

กรมชลประทาน

14


แผนภาพที่ 6 : กรอบแนวคิดลําดับการเพิ่มระดับการมีส่วนร่วม

ที่มา : การวิเคราะห์ของคณะที่ปรึกษา หมายเหตุ : L01 คือ ระดับการมีส่วนร่วมขั้นที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสาร L02 คือ ระดับการมีส่วนร่วมขั้นที่ 2 รับฟังความคิดเห็น L03 คือ ระดับการมีส่วนร่วมขั้นที่ 3 เกี่ยวข้อง L04 คือ ระดับการมีส่วนร่วมขั้นที่ 4 ร่วมมือ L05 คือ ระดับการมีส่วนร่วมขั้นที่ 5 ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการ International Association for Public Participation ได้แบ่ง ระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 1. การให้ข้อมูลข่าวสาร (Information) ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ําที่สุด แต่เป็น ระดับที่สําคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วน ร่วมในเรื่องต่างๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่างๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน ทางสื่อต่างๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่าน เว็บไซต์ เป็นต้น 2. การรับฟังความคิดเห็น (Consult) เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่างๆ เช่น การรับฟังความ คิดเห็น การสํารวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น 3. การเกี่ยวข้อง (Involve) เป็ นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่ วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วม เสนอแนะแนวทางที่นํ าไปสู่ การตัดสินใจ เพื่อสร้ างความมั่นใจให้ ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็ นและความ ต้องการของประชาชนจะถูกนํ าไปพิจารณาเป็ นทางเลื อกในการบริหารงานของภาครัฐ เช่น การประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทํางานเพื่อเสนอแนะประเด็น นโยบาย เป็นต้น

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

15

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

19


4. ความร่วมมือ (Collaborate) เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็น หุ้ น ส่ ว นกั บ ภาครั ฐ ในทุ ก ขั้ น ตอนของการตั ด สิ น ใจ และมี ก ารดํ า เนิ น กิ จ กรรมร่ ว มกั น อย่ า งต่ อ เนื่ อง เช่ น คณะกรรมการที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการ เป็นต้น 5. การเสริมอ้านาจแก่ประชาชน (Empower) เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ ประชาชนเป็นผู้ ตัดสิ นใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่างๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบ อํานาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เป็นต้น การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน สามารถทําได้หลายระดับและหลายวิธี ซึ่ง บางวิธีสามารถทําได้อย่างง่ายๆ แต่บางวิธีต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ค่าใช้จ่ายและความจําเป็น ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงต้องมีการ พัฒนาความรู้ความเข้าใจในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน การรับฟังความคิดเห็น การเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาทักษะและศักยภาพของข้าราชการทุกระดับควบคู่กันไปด้วย ตารางที่ 5 : แสดงเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป้าประสงค์ SG7 การบูรณาการร่วมกับ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ ท้องถิ่น ในการบริหาร จัดการน้ําในพื้นที่

SG8 เพิ่มเครือข่ายให้ ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้น้ํา (เครือข่ายผู้ใช้น้ําเกษตร อุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรม อื่นๆ) SG9 ยกระดับการมีส่วน ร่วมของประชาชน และ ชุมชนในพื้นที่ ในการ บริหารจัดการการ ชลประทาน

ตัวชี้วัด KL14 : จํานวนโครงการของกรมชลประทานที่ไป สนับสนุนโครงการในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุม่ จังหวัด (หน่วย : โครงการ) KL15 : จํานวนโครงการชลประทานที่ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากจังหวัด กลุ่มจังหวัด และ ท้องถิ่น (หน่วย : โครงการ) KL16 : ร้อยละของจํานวนเครือข่ายผู้ใช้น้ําทุกภาค ส่วนที่เพิ่มขึ้น (หน่วย : ร้อยละ)

กรมชลประทาน

กลยุทธ์ 4.2 การสร้างเครือข่ายและความ ร่วมมือในการทํางานกับภาคประชาชน และ NGO

KL17 : ร้อยละของจํานวนโครงการเกี่ยวกับการ กลยุทธ์ 4.3 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ พัฒนาแหล่งนํ้าที่มีการดําเนินการแบบมีส่วนร่วมใน ของชุมชน และกลุ่มผู้ใช้น้ําให้ครอบคลุม ระดับการร่วมมือในงานชลประทาน (หน่วย : ร้อยละ) พื้นที่ชลประทานที่พัฒนาแล้ว KL18 : ร้อยละของจํานวนโครงการเกี่ยวกับการ บริหารจัดการน้ําทีม่ ีการดําเนินการแบบมีส่วนร่วมใน ระดับการร่วมมือบริหารงานจัดการน้ําในงาน ชลประทาน และ/หรือระดับการเสริมอํานาจ ประชาชนในพื้นที่ (หน่วย : ร้อยละ)

ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

20

กลยุทธ์ กลยุทธ์ 4.1 การบูรณาการและส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของภาคราชการ (ส่วนราชการ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ท้องถิ่น)

16



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.