Layout design

Page 1

LAY

O IG U

DES

N

T

การอ อ เพื่อป กแบบเลย ร ์เ ไม่มีก ะกอบกันเ อาท์ คือก า ป ฎ ได้อย ตายตัวใน ็นงานพิมพ รจัดวางตำ� ่างง่าย แ ก ์อ ดาย ารจัดทำ�เล ย่างคร่าว หน่งภาพ สวยง ต ๆ าม ม ย์เอาท์ แต เพื่อเป็น ัวอักษร ต แ ีความ ่ส น่าสน ิ่งที่ควรค นวทางใน ลอดจนส่ว ำ�นึงถ การจ นประ ใจ น่า ด ั ง ึ กอบอ คือ เล ติดตา ทำ�ต้น ื่น ม รูป ฉ ย แบบข ์เอาท์ที่ดีจ บับงานพ ๆ ิม ะ องเล ย์เอาท ช่วยให้ผู้ด พ์ ูเข้าใจ ์มี 10 รูปแบ เนื้อหา บดังน ี้


1. แบบมองเดรียน (Mondrian Layout) แบบมองเดรียน ตั้งชื่อตามจิตรกรชาวดัชชื่อ Piet Mondrian มองเดรียน ใช้เวลาตลอดชีวิตศึกษาเรื่องสัดส่วน โดยลากเส้นตามแนวตั้งและแนวนอน แบ่งบริเวณพื้นภาพออกเป็นช่องสี่เหลี่ยม แล้วเติมเส้นหรือแท่งสี ลงไปในบริเวณที่ถูกแบ่ง นักออกแบบโฆษณา มักนิยมใช้หลักของมองเดรียน โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมของตัวพิมพ์หรือภาพประกอบ ของสินค้าเหมือนกับที่มองเดรียนใช้แท่งสี บางครั้งนักออกแบบเองก็สร้างเส้นหรือแท่งสีไว้บนภาพ เพื่อแยกส่วนประกอบออกจากกันเหมือนกับมองเดรียน

CONGRA TULATIONS


เลย์เอาท์แบบมองเดรียน ในสไตล์เลียนแบบการจัดหน้า ของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น

เลย์เอาท์แบบมองเดรียน ในแบบแนวทะแยง


เลย์เอาท์แบบมองเดรียน โดยใช้เส้นโค้งในการตัดแบ่งช่อง


2. แบบแถบซ้อน (Multipanel Layout) แบบแถบซ้อน มีลักษณะเป็นกลุ่มภาพขนาดเล็กหลายๆ ภาพ วางซ้อนทับกัน ภาพแต่ละภาพจะเอียงไขว้กันไปมา ดูแล้วเกิดความเคลื่อนไหวสนุกสนาน


เลย์เอาท์แบบทับซ้อน ตกแต่งองค์ประกอบอื่นๆ เสริมให้งานน่าสนใจ



3. แบบช่องภาพ (Picture window Layout) แบบช่องภาพ เป็นแบบที่นิยมมากกว่าแบบมองเดรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบที่เหมาะกับนิตยสาร เพราะภาพจะไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณที่เหลือจากบทความ การจัดแบบช่องภาพนี้ ภาพจะเป็นตัวหยุดผู้ดู ใต้ภาพมักจะมีตัวอักษร บทความอาจแตกออกเป็นคอลัมน์สั้นๆ กระจายออกจากกัน เพื่อจะรวมภาพเข้ากับบทความ มักจะพิมพ์พาดหัวทาบลงไปบนภาพ หรือพิมพ์บทความซ้อนภาพ ภาพโดยปกติจะอยู่ส่วนบน แต่มิได้มีข้อจำ�กัดเสมอไป

SAD

SAD


เลย์เอาท์แบบช่องภาพที่ไม่จำ�กัดเฉพาะแค่กรอบสี่เหลี่ยม


s n o i t a l u t a r g n o C


4. แบบภาพเงา (Silhouette Layout) แบบภาพเงา ใช้ภาพถ่ายขนาดใหญ่เต็มหน้ากระดาษ ตัดเอาแต่เฉพาะตัววัตถุที่สำ�คัญเพียงบางส่วน วางลงบนพื้นสีเข้มจัดหรืออ่อนมากๆ พยายามยืดส่วนประกอบให้ไปจรดขอบเพื่อมิให้ภาพเงาลอย และเพื่อสร้างความแตกต่างให้ดูโดดเด่น ภาพเงายิ่งมีลักษณะแปลกตาเท่าไร ยิ่งทำ�ให้โฆษณาชวนมองเท่านั้น



การใช้เงามืดเพื่อขับเน้นเรื่องราวในจุดที่สว่าง


5. แบบกรอบ (Frame Layout) แบบกรอบ ใช้กันมากในโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์มากกว่าหน้านิตยสาร ส่วนประกอบต่างๆ จะถูกล้อมไว้ในกรอบ ปิดกั้นมิให้ไปพัวพันกับโฆษณาอื่นบนหน้าเดียวกัน แบบกรอบมักจะนิยมวางงานศิลปะไว้รอบๆ ทำ�เป็นวงล้อมบริเวณที่เป็นบท และพาดหัวหรืออาจใช้ภาพถ่าย หรือภาพเต็มทั้งหน้า แล้วพิมพ์ตัวอักษรลงบนภาพ


6. แบบหนักบท (Copy heavy Layout) แบบหนักบท ผู้โฆษณาจะใช้แบบหนักบทด้วยเหตุผลสองประการ คือ 1. สิ่งที่ต้องการจะบอกเป็นเรื่องสำ�คัญ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ มีศักดิ์ศรีเกินกว่าจะบอกเป็นภาพได้ 2. โฆษณาของคนอื่นสื่อประเภทเดียวกัน เป็นโฆษณาประเภทช่องภาพหรือมีภาพมากอยู่แล้ว แบบหนักบทจึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ด้วยเหตุที่ว่าแบบหนักบทเป็นแบบที่ค่อนข้างเครียดกว่าแบบอื่นๆ จึงต้องเน้นที่การจัดเรียงส่วนประกอบต่างให้ได้ระบบตารางมากเป็นพิเศษ


7. แบบภาพปริศนา (Rebus Layout) แบบภาพปริศนา ใช้ภาพเล็กๆ มาสอดแทรกระหว่างประโยคแทนคำ�เขียน เราจะเห็นภาพปรากฏอยู่ในประโยคเป็นครั้งคราว โดยปกติผู้ออกแบบมักไม่นิยมปริศนา แต่จะนิยมความชัดเจน จะพบว่าบางครั้งที่ต้องการความแปลกใหม่ รวมทั้งความชัดเจนในเวลาเดียวกัน ก็จะเขียนภาพประกอบซ้ำ�คำ�ๆ นั้นลงไปอีก ภาพอาจมีขนาดแตกต่างกันออกไป


8. แบบละครสัตว์ (Circus Layout) แบบละครสัตว์ บางครั้งเราจำ�เป็นต้องสร้างงานที่ดูแล้วเกิดความรู้สึกว่ามากมายหลายหลากและวุ่นวาย ทำ�ให้เป็นการชะลอผู้ดูให้รู้สึกลำ�บากที่จะดูว่าอะไรเป็นอะไรได้อย่างทันที โครงสร้างของชิ้นงานจะต้องมี เนื้อหาสาระแบ่งได้เป็นหัวข้อหลายๆ หัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเนื้อความและภาพประกอบเป็นของตัวเอง เนื้อความจะยังคงถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามระบบตารางแต่ตัวภาพประกอบอาจจะจัดวางให้คร่อมคอลัมน์ เอียงโยกโย้ไปมาเพื่อให้ดูรู้สึกว่าวุ่นวายเหมือนอยู่ในสวนสนุกหรือโรงละครสัตว์



9. แบบแรงดลใจจากตัวอักษร (Alphabet inspired Layout) แบบแรงดลใจจากตัวอักษร ความงามของตัวอักษรที่ประดิษฐ์ประดอยมากเป็นพิเศษ อาจเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ ซึ่งยึดรูปร่างลักษณะตัวอักษรเป็นหลัก โดยปกติจะมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนและชักนำ�สายตาได้ดี นักออกแบบจะต้องพยายามจัดเรียง ในลักษณะที่ไม่บอกอย่างโจ่งแจ้งว่าเป็นอักษรหรือตัวเลขอะไร



10. แบบตัวอักษรใหญ่ (Big type) แบบตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรขนาดใหญ่มักเป็นที่สนใจสำ�หรับนักออกแบบและผู้ดู เพราะมันจะมีรูปร่างที่ชวนมอง นักออกแบบต้องศึกษาตัวอักษรรูปแบบต่างๆ โดยคำ�นึงถึงว่าตัวอักษรในบางครั้งก็มีบทบาทมากกว่างภาพสวยๆ โดยทั่วไป


องค์ประกอบต่างๆ ของเลย์เอาท์ องค์ประกอบต่างๆ ของการออกแบบจัดวางเลย์เอาท์ เป็นสิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ และเพิ่มความหลากหลายของงาน โดยทั้งนี้ในงานหนึ่งงานอาจจะมีองค์ประกอบเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีหลายๆอย่างรวมอยู่ด้วยกันก็ได้

















Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.