ฉบับสมบูรณ
คัมภีร การดูแลทารก
ฉบับสมบูรณ
เด็กเล็ก
และ
คัมภีร การดูแลทารกและเด็กเล็ก
การเลี้ยงทารกตั้งแตวัยแรกเกิดที่ชวยเหลือตัวเองไม ไดจนถึงอายุ 3 ป เปนสิง่ ทีพ่ อ แมตอ งใสใจและใหความสำคัญ เริม่ ตัง้ แตการเตรียมตัว ใหพรอมสำหรับตอนรับสมาชิกใหม การดูแลตัง้ แตแรกเกิด การปอนนม การดูแลลูกทีเ่ กิดกอนกำหนด การติดตามพัฒนาการแบบเดือนตอเดือน การนอนหลับ การปอนอาหาร การรองไห การดูแลสุขภาพ ไปจนถึง การทำใหลูกปลอดภัยจากอันตรายและความเจ็บปวยตางๆ ทีมงานผูชำนาญเฉพาะทางไดเรียบเรียงหนังสือเลมนี้ขึ้น สำหรับใหพอแมนำไปศึกษาและเรียนรู เพื1อใหพรอมปฏิบัติจริง อยางปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด เนื้อหาในเลมมีรูปภาพ และรายละเอียดในการดูแลทารกและเด็ก ที่เปนปจจุบันและครบถวนที่สุด
คัมภีร การดูแลทารก
เด็กเล็ก
และ
หนังสือที่มีหลักฐานสนับสนุน และเปนปจจุบันที่สุด เกี่ยวกับการดูแลทารก ตั้งแตเกิดจนถึงอายุ 3 ป สรางสรรคโดยทีมผูเชี่ยวชาญ ในสาขากุมารเวชศาสตร โภชนาการ จิตวิทยา และพัฒนาการ
ฉบับสมบูรณ
786165
278812
ราคา 350.-
บรรณาธิการผู ร วมเขียน
9
Dr A.J.R. Waterston
ISBN 978-616-527-881-2
MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
คัมภีร การดูแลทารกและเด็กเล็ก
บรรณาธิการผู ร วมเขียน
Dr A.J.R. Waterston
MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
350.-
บรรณาธิการผู้ร่วมเขียน
DrMD,A.J.R. Waterston FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
สงวนลิขสิทธิต์ ามพระราชบัญญัตลิ ขิ สิทธิ์ (ฉบับเพิม่ เติม) พ.ศ. 2558 โดยส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามน�ำส่วนหนึง่ ส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ ไปลอกเลียนแบบ ท�ำส�ำเนา ถ่ายเอกสาร หรือน�ำไปเผยแพร่บน อินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ นอกจาก จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางส�ำนักพิมพ์เท่านั้น ชือ่ ผลิตภัณฑ์และเครือ่ งหมายการค้าต่างๆ ทีอ่ า้ งถึงเป็นของบริษทั นัน้ ๆ บรรณาธิการผู้ร่วมเขียน Dr A.J.R. Waterston MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH ผู้แปล ผศ. ดร. อรกัญญ์ ภูมิโคกรักษ์ ภายใต้ลิขสิทธ์ของ © Carroll and Brown Limited 2009 Illustration and compilation copyright © Carroll & Brown Limited 2009 Translated from the book originally produced by Carroll & Brown Limited, 20 Lonsdale Road, Queen's Park, London NW6 6RD. All rights reserved. ลิขสิทธิ์ประเทศไทย 2556 : ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส
คณะผู้จัดท�ำ
บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ บรรณาธิการ ชนาภัทร พรายมี | ออกแบบปก ชนิกานต์ กิตติปฎิมาคุณ ออกแบบรูปเล่ม เพียงพิศ อิ่นแก้ว, เบญจมาศ จุลวัฒนะ พิสูจน์อักษร ชุติมา สาตร์ร้าย, ชนาภัทร พรายมี ประสานงานสื่อสิ่งพิมพ์ ชนาภัทร พรายมี ฝ่ายการตลาด วราลี สิทธิจินดาวงศ์ | พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส 213/3 ซอยพัฒนาการ 1 (สาธุประดิษฐ์ 34 แยก 6) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ชั้น 19 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 www.se-ed.com หากหนังสือเล่มนีผ้ ลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ�ำ้ หน้าขาดหาย ทางส�ำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ โดยส่งมา เปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) กรณีต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมาก กรุณาติดต่อฝ่ายการตลาด ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 เพื่อรับส่วนลดพิเศษ
สารบัญ บทน�ำ
8
1 การเตรียมตัวต้อนรับลูก
9
การเตรียมบ้านให้พร้อม การตัดสินใจหลักๆ การเลือกชื่อ
10 16 22
2 การดูแลทารกแรกเกิด
23
3 การป้อนนมให้ลูกน้อย
67
ปฏิกิริยาแรกๆ หน้าตาของทารกแรกเกิด สิ่งที่ทารกแรกเกิดท�ำได้ การสร้างความผูกพัน การอุ้มและการสัมผัส การเปลี่ยนผ้าอ้อม การดูแลสายสะดือ การดูแลการขริบหนังหุ้มปลายองคชาต การสระผมและการอาบน�้ำ การดูแลผมและเล็บ การแต่งตัว เมื่อมีคนมาเยี่ยมและการออกไปนอกบ้าน สิ่งที่พ่อแม่อาจกังวล พื้นฐานการป้อน การเติบโตแบบพุ่งพรวด การป้อนแบบธรรมชาติ การให้ลูกแฝดดูดนมแม่ การเอาชนะอุปสรรค อุปกรณ์ช่วยป้อนนม การป้อนนมจากขวด
24 25 28 31 44 47 52 53 54 56 57 59 61 68 70 72 76 77 80 81
4 การดูแลลูกเกิดก่อนก�ำหนด ในโรงพยาบาล ที่บ้าน การป้อนอาหารและโภชนาการ ปัญหาสุขภาพ การเติบโตและพัฒนาการ การเป็นพ่อเป็นแม่
87
88 94 98 100 102 103
การรักษาความสะอาดของลูก การดูแลผิวหนัง ผม และเล็บ การดูแลฟัน การป้อนอาหาร เสื้อผ้าและการแต่งตัว การนอนหลับ การออกไปเที่ยว การฝึกขับถ่าย
190 194 198 205 207 211 213 219
5 พัฒนาการเดือนต่อเดือนของลูก 105 10 การป้อนอาหารลูกที่โตขึ้น 6 วิธีสู่การเป็นพ่อแม่ 135 พร้อมหย่านม
223
เมื่อเป็นพ่อแม่ ผลของพื้นอารมณ์แต่ก�ำเนิด ข้อควรพิจารณาร่วมกับคู่ของคุณ การน�ำวิธีการไปใช้ในการปฏิบัติ การเป็นพ่อแม่ของลูกแฝด การฟังผู้อื่น เป็นพ่อแม่เป็นครั้งที่ 2
136 138 140 142 147 149 151
7 เรื่องนอนหลับก็ส�ำคัญ
153
250 252 254 259 266
8 การร้องไห้และการตอบสนอง
169
9 การดูแลลูกที่โตขึ้น
183
การหลับและการนอน การนอนหลับอย่างปลอดภัย จัดการกับการนอนหลับ การนอนของลูกแฝด ปัญหาการนอนหลับ จุดประสงค์ของการร้องไห้ การตอบสนองต่อการร้องไห้ โคลิก เตรียมรับการเปลี่ยนแปลง การสร้างความสัมพันธ์
154 156 159 163 164
170 173 177 184 186
การแนะน�ำอาหารแข็ง การเพิ่มรายการอาหาร การรับประทานพร้อมครอบครัว อายุ 1 ปี อายุ 2 ปีขึ้นไป ต�ำรับอาหารเพื่อลูกน้อย อาหารอย่างแรกๆ... ตั้งแต่ 6 เดือน อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น ขนมพุดดิ้งและขนมอบ
224 225 230 238 240 244
11 การมีปฏิสัมพันธ์
กับลูกที่ก�ำลังโต
การสร้างความสัมพันธ์อันเต็มเปี่ยมด้วยความรัก ลูกมีพัฒนาการอย่างไร การเล่นกับลูก การฝึกวินัย การส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเอง และการเข้าสังคม
12 การดูแลสุขภาพของลูก เรื่องส�ำคัญอันดับต้นๆ ของพ่อแม่ ความปลอดภัยของลูก การดูแลบ้านให้ปลอดภัยส�ำหรับเด็ก ความปลอดภัยนอกบ้าน สถานการณ์ที่ต้องปฐมพยาบาล การเฝ้าสังเกตสุขภาพ ความกังวลด้านพัฒนาการ การรักษาสุขภาพ เมื่อลูกไม่สบาย ความเจ็บป่วยของวัยเด็ก
13 การดูแลลูก
ที่มีความต้องการพิเศษ ความท้าทายพิเศษ การบาดเจ็บจากการคลอด ปัญหาเล็กน้อยหลังจากเกิด ความผิดปกติแต่ก�ำเนิด ภาวะที่เป็นตลอดชีวิต
แผนภูมิการเติบโต ดัชนี แหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ กิตติกรรมประกาศ
269
270 272 281 289 301
305 306 308 311 320 323 332 340 345 348 351
371 372 378 379 381 384
391 395 403 404
ผู้ร่วมเขียน
A.J.R. Waterston MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
กุมารแพทย์ที่ปรึกษา (สุขภาพเด็กในชุมชน) และ อาจารย์อาวุโสทางคลินิก มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล อัปพอนไทน์
Penny Preston MD, ChB, MRCP
อดีตแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และพัฒนาการเด็ก ปัจจุบันเขียนเรื่องนี้เต็มเวลา
H.A. Raucher, MD
ปฏิบัติงานเป็นกุมารแพทย์และรองศาสตราจารย์ คลินิกด้านกุมารเวชศาสตร์ ณ โรงเรียนแพทย์แห่ง Mount Sinai
Clare Meynell, RM
คณะผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศด้านการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่
Alison Blenkinsop, RM DipHE IBCLC
ผูป้ ระสานงานสือ่ ของคณะทีป่ รึกษาด้านการเลีย้ งลูก ด้วยนมแม่แห่งบริเตนใหญ่
June Thompson, RGN, RM, RHV
พยาบาลเยี่ยมบ้านและนักเขียนอิสระด้านสุขภาพ
Nicola Graimes
นักโภชนาการและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพส�ำหรับเด็ก
บทน�ำ การเลี้ยงทารกและเด็กเล็กวัยเตาะแตะให้มีสุขภาพดี พ่อแม่ต้องอาศัยทักษะและข้อมูลที่จ�ำเป็น ซึ่งต้อง เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อทารกเกิดมาแล้วพ่อแม่จะมีงานมากมาย ทั้งคอยป้อนอาหาร ท�ำความสะอาด ให้ความสะดวกสบายและปลอดภัยจากอันตรายและความเจ็บป่วย พ่อแม่มีความรับผิดชอบมหาศาลซึ่งจะ เพิ่มขึ้นได้อีกหากทารกเกิดก่อนก�ำหนด เป็นแฝด หรือเกิดมาพร้อมความต้องการพิเศษ ด้วยการที่แทบไม่มี เวลาว่างจึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้ถึงสิ่งที่จ�ำเป็น และสามารถปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำได้อย่างแม่นย�ำและมี ประสิทธิผล เพราะบางกรณีอาจมีผลถึงความเป็นความตายของลูกได้ด้วยซ�้ำ แม้ว่าคุณจะได้รับการสนับสนุนจากทีมบริบาลสุขภาพซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์เวชปฏิบัติ (แพทย์ท่ี ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น) และพยาบาล แต่ในฐานะพ่อแม่คุณจะเป็นด่านแรกในการจัดการดูแลทารกและเด็ก วัยเตาะแตะในแต่ละวัน และเป็นด่านแรกที่ควรทราบเมื่อลูกมีปัญหาและต้องการการดูแลจากแพทย์ ด้วยเหตุนี้ การดูแลทารกจึงอาจเต็มไปด้วยความวิตกกังวลเนื่องจากพ่อแม่มือใหม่ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ขณะที่ทารก ก็จะแสดงออกอย่างรวดเร็วว่าต้องการการดูแล ยิ่งไปกว่านั้นพ่อแม่ยังต้องจัดการดูแลหลายด้าน ตั้งแต่การป้อน อาหารไปจนถึงการดูให้แน่ใจว่าทารกได้รับวัคซีนส�ำคัญที่จ�ำเป็นต่อสุขภาพของเด็ก ซึ่งจ�ำเป็นต้องเริ่มหรือท�ำให้ ตรงเวลาที่ก�ำหนด ไม่มีพ่อแม่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือแม้แต่กุมารแพทย์คนใด มีความรู้มากพอที่จะรวมข้อมูลทาง กุมารเวชศาสตร์ร่วมสมัยไว้ได้ครบถ้วนทั้งหมด และปัจจุบันก็ไม่มีหนังสือใดในตลาดที่เสนอข้อมูลเชิงกว้างพอ ด้วยเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลให้คณะผู้ช�ำนาญเฉพาะด้านโรคเด็กได้สร้างสรรค์คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็กขึ้น และเป็นเหตุผลที่หนังสือเล่มนี้จะพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นเพื่อนอันมีคุณค่ายิ่งในการเลี้ยงทารกและเด็ก ด้วยการร่วมเขียนของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ตั้งแต่นักเทคนิคด้านการให้ลูกดูดนมแม่ไปจนถึง นักโภชนาการ นักพฤติกรรมศาสตร์ของเด็กและแพทย์ชั้นน�ำ คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็กจะให้ข้อมูลที่ ทันสมัยและครบถ้วนที่สุดแก่คุณในทุกแง่ของการดูแลทารกแรกเกิดจนถึงเด็กวัยเตาะแตะ เนื้อหาในหนังสือจะ อธิบายวิธดี ใู ห้แน่ใจว่าลูกรับประทานอาหาร นอนหลับ และปลอดภัยดี รวมทัง้ อธิบายว่าคุณควรแปลและตอบสนอง ต่อการร้องไห้ของลูกอย่างไร ทั้งยังครอบคลุมถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยและสุขภาพของลูก และสิ่งที่ควร คาดหวังหากลูกเกิดมาเป็นแฝด เกิดก่อนก�ำหนด หรือมีความต้องการพิเศษด้วย พร้อมค�ำแนะน�ำเดือนต่อเดือน ทีจ่ ะแสดงให้คณุ เห็นภาพรวมของสิง่ ทีค่ วรคาดหวังขณะทีท่ ารกแรกเกิดเติบโตเป็นเด็กวัยเตาะแตะ และมีหนึง่ บท เต็มๆ ที่กล่าวถึงเฉพาะเรื่องการเติบโตและพัฒนาการของเด็ก และในฐานะพ่อแม่คุณจะดูแลลูกในหัวข้อเหล่านี้ อย่างไร ประการสุดท้ายมีความช่วยเหลือส�ำหรับพ่อแม่มือใหม่โดยเฉพาะด้วย นั่นคือค�ำแนะน�ำเรื่องวิธ ี เตรียมพร้อมรับลูกคนใหม่และวิธีจัดการกับการเป็นพ่อแม่ในทุกแง่มุม
Dr. A.J.R. Waterston
MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
บทที่
1
การเตรียมตัว ต้อนรับลูก
การเตรียมบ้านให้พร้อม การเตรียมสิง่ ต่างๆ ทีบ่ า้ นให้พร้อมจะท�ำให้การดูแลลูก ทีแ่ สนวุน่ วายในวันแรกๆ ง่ายขึน้ มาก โดยการดูแลรายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ ทัง้ หมดล่วงหน้า ซึง่ จะช่วยให้คณุ มีเวลาว่างและ มีพลังที่จะเลี้ยงลูกอย่างเพลิดเพลินมากขึ้น หากคุณรู้สึกอยากทาสี ซ่อมแซม รื้อ หรือท�ำอะไร ในบ้านดังทีผ่ ทู้ กี่ ำ� ลังจะเป็นพ่อแม่จำ� นวนมากรูส้ กึ พยายาม ท�ำโครงการเหล่านีท้ งั้ หมดให้เสร็จก่อนก�ำหนดคลอดอย่างน้อย หนึง่ เดือน หรือเร็วกว่านัน้ ได้กย็ งิ่ ดี ในทางปฏิบตั คิ ณุ จะไม่อยาก น�ำลูกกลับมายังบ้านทีร่ ก ไม่เป็นระเบียบ และหนวกหู หากลูก เกิดเร็วกว่าที่คาดไว้หรือถ้าการปรับปรุงบ้านล่าช้าออกไป คุณแม่ตงั้ ครรภ์ (และทารกแรกเกิด) ไม่ควรสัมผัสฝุน่ ความวุน่ วาย และกลิน่ สีทเี่ กิดขึน้ จากการปรับปรุงบ้าน ดังนัน้ คงจะดีทสี่ ดุ หากได้ฝ่ายชายหรือมืออาชีพเป็นผู้ดำ� เนินงาน
เมื่อจะมีลูกแฝดสองขึ้นไป
การจะมีลกู แฝดนัน้ น่าตืน่ เต้น แต่กน็ า่ กลัวในระดับ หนึง่ ด้วย ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าคุณจะเกิดค�ำถามกับตัวเองว่า “ฉันจะดูแลลูกทัง้ 2 คนได้อย่างไร” แต่ในทางปฏิบตั นิ นั้ จะมี ประเด็นอื่นๆ มากกว่านี้ให้คุณต้องเผชิญ ลูกแฝดมักเกิด ก่อนวันครบก�ำหนด การวางแผนว่าคุณจะคลอดเมื่อใดจะ ยากขึ้นมาก การเกิดก่อนก�ำหนดของลูกแฝดจึงเป็นเรื่องที่ ควรตระหนักและให้ความส�ำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นการคลอด ลูกแฝดควรคลอดในโรงพยาบาลเท่านั้น บางครั้งแฝดจะ คลอดทางช่องคลอด แต่โอกาสที่จ�ำเป็นต้องผ่าตัดคลอด จะสูงกว่าการคลอดลูกคนเดียว และคุณต้องวางแผนการ พักฟื้นหลังคลอดที่มากกว่าปกติไว้ด้วย หากจ�ำเป็นต้อง ผ่าตัดคลอด หากคุณวางแผนใช้ตะกร้านอนในช่วงแรกคุณจะต้องใช้ 2 ใบ และต้องใช้สงิ่ ของอืน่ ๆ 2 ชิน้ ด้วย เช่น ทีน่ งั่ ในรถส�ำหรับ เด็ก 2 ที่ ชิงช้าทารก 2 อัน รถเข็นเด็ก 2 คัน แต่สำ� หรับเสือ้ ผ้า ทารกไม่จำ� เป็นต้องซือ้ 2 ชุด เพราะแฝดสามารถแบ่งเสือ้ และ ชุดกันใส่ได้ แต่คุณอาจซื้อสิ่งของที่มีน้อยชิ้นในชุดของใช้ ทัง้ ชุดส�ำหรับทารกแรกเกิดเพิม่ เป็นพิเศษอีก 2-3 ชิน้ นอกจากนี ้
10
ถ้าคุณทราบว่าแฝดเป็นคนละเพศ ก็ควรซื้อชุดที่ออกแบบ มาส�ำหรับเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงเพิ่ม หรือซื้อสีและแบบ ส�ำหรับทั้ง 2 เพศก็ได้ ในการเลี้ยงลูกแฝดนั้นค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วเมือ่ คุณต้องซือ้ สิง่ ของส่วนใหญ่ 2 ชิน้ หากเป็นไปได้ ให้ยืมอุปกรณ์และเสื้อผ้าบางส่วนจากเพื่อนหรือญาติ หรือ พิจารณาซื้อของมือสอง
ห้องของลูก
ไม่วา่ คุณจะมีหอ้ งแยกส�ำหรับทารกหรือหาทางออก ด้วยการแบ่งส่วนหนึ่งของห้องไว้ส�ำหรับลูก และไม่ว่า แบบการตกแต่งของคุณเป็นอย่างไร สิ่งส�ำคัญคือการที่ เครือ่ งเรือนและทีเ่ ก็บของได้รบั การจัดในลักษณะทีจ่ ะสะดวก ที่สุดส�ำหรับคุณ และจะท�ำให้คุณน�ำลูกเข้าหรือออกจาก
เตียงคอก เปลีย่ นผ้าอ้อมแต่งตัวลูก หรือกล่อมให้ลกู หลับได้ ง่ายขึน้ วางเตียงคอกชิดผนัง จากภายในเตียงคอกลูกไม่ควร เอื้อมถึงหน้าต่าง สายเชือกม่านหรือบังตา หรือเครื่องเรือน ชิน้ อืน่ ได้ เป็นเรือ่ งพืน้ ฐานทีค่ วรหลีกเลีย่ งการวางเตียงคอก ชิดผนังทีต่ ดิ กับห้องทีม่ เี สียงดังหรือในจุดทีแ่ สงแดดสามารถ ส่องลงบนตัวลูกโดยตรงในเวลาเช้าตรู่หรือระหว่างงีบหลับ โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าควรวางชิดผนัง และห่างจากหน้าต่าง มีเครื่องเรือนอีกชิ้นหนึ่งอยู่ติด ด้านข้างโต๊ะส�ำหรับเก็บผ้าอ้อม กระดาษเปียก ครีมหรือ ขี้ผึ้ง จะท�ำให้หยิบสิ่งที่ต้องการทั้งหมดในช่วงเปลี่ยน ผ้าอ้อมได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องทิ้งให้ลูกอยู่โดยล�ำพังบนโต๊ะ แม้ชั่วครู่เดียว ทีท่ เี่ หมาะส�ำหรับวางตะกร้าทิง้ ผ้าอ้อม คือ ถัดจาก โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมนั่นเอง
เก้าอีโ้ ยกจะใช้สะดวกในห้องนอนของทารก คุณจะใช้ เวลาครั้งละหลายชั่วโมงในห้องนั้น ข้างๆ เก้าอี้โยกให้วาง โคมไฟที่ตั้งความสว่างต�่ำซึ่งคุณสามารถใช้อ่านหนังสือได้ หรือวางวิทยุหรือเครือ่ งเล่นซีดเี ครือ่ งเล็กเพือ่ ให้คณุ สามารถ ฟังเพลงในขณะให้นมหรือบีบน�ำ้ นมได้ โคมไฟสามารถท�ำ หน้าทีเ่ ป็นแสงสว่างในเวลากลางคืนได้ นาฬิกาทีค่ ณุ สามารถ มองเห็นได้จากเก้าอี้โยกช่วยให้ทราบว่าคุณได้ให้ลูกดูดนม แม่นานเท่าใดแล้ว คุณสามารถจัดมุมบีบน�้ำนมที่ใดก็ได้ในบ้าน แต่ ส่วนใหญ่นิยมจัดให้อยู่ถัดจากเก้าอี้โยก ควรเก็บเครื่องปั๊ม อุปกรณ์เสริม และหนังสือหรือนิตยสารส�ำหรับอ่านในขณะ บีบน�้ำนมไว้ในที่สะดวก คุณจะต้องใช้ตทู้ มี่ ลี นิ้ ชัก หีบ กล่องขนาดใหญ่หรือ ชั้นเพื่อเก็บเสื้อผ้า ของเล่น และหนังสือด้วย
เสื้อผ้าทารก ทุกร้านและทุกเว็บไซต์ทขี่ ายเสือ้ ผ้าทารกมีรายการสิง่ ที่ เขาเชือ่ ว่าคุณจ�ำเป็นต้องซือ้ ไว้ คุณจ�ำเป็นต้องซือ้ จ�ำนวนเท่าใด ขึน้ อยูก่ บั ว่าลูกเลอะเทอะเพียงใด คุณติดความสะอาดเพียงใด และคาดว่าจะล้างอะไรบ่อยเพียงใด คุณจะไม่ทราบว่าลูกจะ เลอะเทอะเพียงใด แต่ไม่วา่ กรณีใดก็ไม่จำ� เป็นจะต้องใส่เสือ้ ผ้า ใหม่เมือ่ ลูกอาเจียนเล็กน้อยหรือเมือ่ มีอะไรหกใส่แม้คณุ อาจรูส้ กึ สบายใจกว่าถ้าได้ใส่เสือ้ ผ้าให้ใหม่ ถ้าคุณวางแผนจะซักผ้าทุกวัน ก็ซื้อแต่ละชนิดให้น้อยชิ้นลง และซื้อมากชิ้นขึ้นถ้าคิดว่าจะ รอ 3-4 วัน ระหว่างการซักแต่ละครั้ง แต่เพื่อความปลอดภัย ไว้ก่อนให้หาส�ำรองไว้เผื่อสัก 1 วัน ก่อนทีค่ ณุ จะลงทุนมากๆ ไปกับเสือ้ ผ้าของลูก อย่าลืมว่า คุณจะได้รบั เสือ้ ผ้าจ�ำนวนมากเป็นของขวัญทารกอยูจ่ ำ� นวนหนึง่ แล้ว นอกจากนี้ทารกจะเติบโตอย่างรวดเร็วมาก และบางชุด อาจใส่สวมเพียง 1 หรือ 2 ครัง้ เท่านัน้ ลองหาเฉพาะสิง่ ของพืน้ ฐาน ไว้กอ่ นจนกว่าจะเห็นว่าคุณได้ของขวัญอะไร ควรเลือกเสือ้ ผ้าที่ สามารถซักด้วยเครือ่ งได้ ท�ำจากเส้นใยธรรมชาติ (เช่น ฝ้าย ไผ่ ขนสัตว์) ไม่มฉี ลากคันๆ และเลือกเนือ้ ผ้านุม่ ๆ สวมและถอดง่าย (คอกว้างหรือติดด้วยกระดุมแป๊กหรือตีนตุก๊ แก) ควรเก็บใบเสร็จ รับเงินและป้ายไว้จนกว่าคุณจะทราบแน่นอนว่าต้องใช้เสื้อผ้า เหล่านั้น และอย่ารีบซักก่อนลูกเกิด
สิ่งที่คุณจะต้องใช้
ผ้าอ้อม (แบบผ้า 18-20 ผืน พร้อมกางเกงหุม้ 4 ตัว หรือผ้าอ้อมใช้แล้วทิง้ ส�ำหรับทารกแรกเกิด 3 กล่อง) เสื้อกางเกงนอน (ขนาดทารกแรกเกิดหรือใหญ่ กว่านั้น 1 ขนาด 6 ชุดขึ้นไป) ชุดนอนแบบเสื้อคลุมยาว (ขนาดทารกแรกเกิด หรือใหญ่กว่านั้น 1 ขนาด 2-3 ชุดขึ้นไป) ชุดชิ้นเดียวแขนสั้น (ขนาดทารกแรกเกิดหรือ ใหญ่กว่านั้น 1 ขนาด 6-8 ชุดขึ้นไป) เสื้อถักผ่าหน้า ติดกระดุมหน้า ไม่มีปก 2 ตัว ได้แก่ ตัวที่นำ�้ หนักเบาส�ำหรับฤดูร้อน และตัวที่ น�้ำหนักปานกลางส�ำหรับฤดูหนาว (0-3 เดือน) ถุงเท้า 4 คู่ หมวก 2 ใบ ถุงมือ 2 คู่ (ส�ำหรับทารกที่เกิดในฤดูหนาว) ถุงมือกันข่วน 2 คู่ ผ้ากันน�ำ้ ลาย 2-3 ผืน ผ้าปูทนี่ อนเตียงคอกแบบธรรมดาและเข้ามุม 2-3 ผืน ผ้าขนหนูสำ� หรับทารกแบบมีหมวก
11
การตกแต่งห้องของลูก ไม่วา่ คุณจะเลือกเครือ่ งเรือนและการตกแต่งแบบใด ต้องให้ความส�ำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรกๆ (ดูบทที่ 12) การหาผลิตภัณฑ์ที่รักษาความสะอาดง่ายก็ ส�ำคัญด้วย สิง่ ของบางชนิดพวกตูล้ นิ้ ชักและทีเ่ ก็บของไม่จำ� เป็น ต้องเลือกขนาดส�ำหรับทารก ควรเลือกแบบขนาดปกติซึ่ง จะใช้ได้หลายปี หากทีว่ า่ งมีจำ� กัด ควรคิดเรือ่ งการใช้พนื้ ที่ อย่างเช่น หลังตู้เสื้อผ้าส�ำหรับเก็บสิ่งของพวกเสื้อผ้าหรือของเล่นที ่ ไม่คอ่ ยได้ใช้ หลังประตูสำ� หรับแขวนถุงผ้าอ้อมหรือของเล่น คุณอาจติดตั้งราวตะขอรอบห้องได้ด้วยเพื่อให้มีที่แขวน สิ่งของจ�ำนวนมาก
โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม
คุณจะได้เปลีย่ นผ้าอ้อมมากมายจนน่าตกใจ ดังนัน้ ควรหาโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมโดยเฉพาะซึ่งสร้างมาเป็น อย่างดีหรือใช้หลังลิ้นชักเก็บเสื้อผ้าที่สูงพอเหมาะก็ได้ คุณไม่ควรจะต้องชะโงกข้ามอะไรเพื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม ให้ทารกแรกเกิด ด้านบนของโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมควรมี แผ่นกันด้านข้าง 3 ด้าน ลูกควรนอนบนผ้ารองหรือ เสือ่ นุม่ ๆ ซึง่ ควรท�ำความสะอาดได้งา่ ยและคลุมพืน้ ผิว ด้านบนโต๊ะทั้งหมด คุณอาจซื้อโต๊ะที่ด้านบนถอดล้าง ได้หรืออาจชอบปูแผ่นรองไว้บนหลังลิ้นชักเก็บเสื้อผ้า โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมควรสามารถเก็บชุดอุปกรณ์เปลี่ยน ผ้าอ้อมให้เป็นระเบียบและใกล้มือ โต๊ะบางชนิดมีชั้น โล่ง บางชนิดมีลนิ้ ชักหรือตูข้ า้ งใต้ ทีเ่ ปลีย่ นผ้าอ้อมแบบ ที่อยู่เหนือเตียงคอกจะประหยัดพื้นที่ในห้องเด็กที่เล็ก กะทัดรัด แม้จะล�ำบากเวลาที่ต้องยกขึ้น-ลงจากเตียง
12
ถังทิ้งผ้าอ้อม
หากคุณจะใช้ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถ ซือ้ อุปกรณ์สำ� หรับทิง้ ผ้าอ้อม ซึง่ จะห่อผ้าอ้อมและสิง่ ที่ อยูข่ า้ งในได้ จากนัน้ เก็บไว้ในถังทีป่ อ้ งกันกลิน่ และต้อง เทถังเมื่อผ้าอ้อมเต็ม หรือไม่ก็ใช้ถังผ้าอ้อมที่มีฝาปิด แบบมาตรฐานในการกลบกลิ่น และเพื่อให้แน่ใจว่า คุณไม่ต้องท�ำความสะอาดถังบ่อยเกินไปให้ใส่ผ้าอ้อม ใช้แล้วไว้ในถุงหอมก่อนทิ้งลงถัง ผ้าอ้อมผ้า กางเกงหุ้ม และแผ่นรองที่ใช้แล้ว ควรใส่ไว้ในถุงผ้าอ้อมตาข่ายหรือในถุงซักรีดกันน�้ำ ขนาดใหญ่มีเชือกรูด แล้วใส่ในถังผ้าอ้อมมีฝาปิดจะ ดีที่สุด ควรซื้อถังขยะที่มีแป้นเหยียบเปิดวางไว้ข้าง โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม
อุปกรณ์เสริม
แสงไฟและโคมไฟ ที่ใช้หลอดไฟความเข้มต�ำ่ จะสว่างเพียงพอให้คณุ ตรวจสอบ ลูกในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้อง ปลุกลูก และจัดวางโคมหนึ่งดวงไว้ ใกล้ๆ เก้าอี้ป้อนนม เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ ห้องแบบวางตัง้ โต๊ะหรือแบบติดผนัง เป็นสิง่ จ�ำเป็นเพือ่ ให้แน่ใจว่าห้องของ ลูกได้รบั การปรับอุณหภูมไิ ว้ที่ 18 ํC (65 ํF) ซึ่งปลอดภัยส�ำหรับทารก ม่านหรือบังตากันแสงจะช่วย ให้ทารกนอนหลับดีขนึ้ เมือ่ ข้างนอก สว่างอยู่ หรืออาจใช้มุ้งครอบหลังคาเตียงคอกก็ได้
เตียงคอก
ประเด็นความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการเลือก เตียงคอกและที่นอนนั้นอธิบายไว้ในหน้า 156 ข้อควร พิจารณาอื่นๆ คือคุณต้องการเลือกเตียงคอกที่เปลี่ยน เป็นเตียงธรรมดาได้ หรือไม่ก็เตียงคอกที่มีลิ้นชักเก็บ ของด้านล่าง
ผลิตภัณฑ์ทารก
ด้านล่างนีเ้ ป็นรายการสิง่ ของพืน้ ฐานทีค่ ณุ ควรมี ไว้ในห้องของลูกที่บ้านเมื่อลูกกลับบ้านเป็นครั้งแรก เจลล้างมือก�ำจัดเชื้อโรคแบบไม่ใช้นำ�้ พาราเซตามอลส�ำหรับทารก (คาลพอลและอื่นๆ) อุปกรณ์พ่นละอองน�้ำเกลือส�ำหรับจมูก โลชั่นทาผิวให้ความชุ่มชื้น เทอร์โมมิเตอร์ (ชนิดใช้กับทวารหนักแบบดิจิทัล จะแม่นย�ำที่สุด) ครีมหรือขี้ผึ้งส�ำหรับผ้าอ้อม* สบู่* ยาสระผม* ส�ำลีกอ้ นหรือกระดาษช�ำระชนิดเปียก (ปราศจากกลิน่ และแอลกอฮอล์)* แอลกอฮอล์ส�ำหรับเช็ด (เพื่อการดูแลสะดือ)*
*ดูบทที่ 2 ก่อนซื้อของเหล่านี้
ที่เก็บของ
แม้จะตัวเล็กมาก แต่ทารกสามารถเพิ่มพูน สิง่ ของได้มากมายจนน่าแปลกใจ ซึง่ จ�ำเป็นต้องเก็บไว้ให้ ดี ไม่วา่ จะเป็นเสือ้ ผ้า ของเล่น เครือ่ งอาบน�ำ้ ต่างๆ และ ของชิน้ เทอะทะ เช่น อ่างอาบน�ำ ้ ห่อผ้าอ้อม จ�ำเป็นต้อง อยู่ใกล้มืออย่างเป็นที่เป็นทาง เสื้อผ้าส่วนใหญ่ของลูก สามารถเก็บในลิน้ ชักได้แม้วา่ รถเข็นจะเป็นตัวเลือกทีม่ ี ประโยชน์หลากหลายกว่า กล่องหรือตะกร้าซ้อนกันเป็น อีกตัวเลือกหนึ่งส�ำหรับของใช้ประจ�ำวัน คุณจะต้องใช้ ถุงซักผ้าส�ำหรับซักผ้าสกปรกด้วย กล่องเล็กๆ ใส่ผา้ อ้อมติดผนังไว้ใกล้ๆ บริเวณ เปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อให้ผ้าอ้อมอยู่ในระยะเอื้อมถึง กระดาษช�ำระชนิดเปียก ครีม และถุงขยะควรหยิบใช้ ได้สะดวก ของเล่นสามารถวางบนชั้นหรือในกระเป๋า ใส่ของเป็นช่องๆ ได้
เก้าอี้โยกหรือเก้าอี้ให้นม
คุณจะใช้เวลาหลายชั่วโมงป้อนนมลูก ดังนั้น ให้เลือกสิ่งที่รองรับหลังดีๆ โดยเก้าอี้แบบที่เอนไป ข้างหลัง แบบทีโ่ ยกหรือเลือ่ นได้ และแบบทีม่ สี ว่ นรองรับ เท้าเข้าชุดกัน ควรดูเลือกแบบเป็น ผ้าที่เช็ดได้ด้วยฟองน�ำ ้ หรือแบบ ที่หุ้มด้วยพลาสติก
13
อุปกรณ์ส�ำหรับทารก นอกจากการตกแต่งห้องของลูกแล้วยังมีสงิ่ ของ อื่นๆ อีกมากมายที่จ�ำเป็นหรือช่วยในการดูแลลูกได้ ประเด็นส�ำคัญยิง่ คือ การตรวจสอบว่าอุปกรณ์ตรงตาม มาตรฐานความปลอดภัยและรักษาความสะอาดได้งา่ ย
ที่นั่งในรถส�ำหรับเด็ก
คุณจ�ำเป็นจะต้องใช้ทนี่ งั่ ในรถทีเ่ หมาะสมส�ำหรับ ทารกแรกเกิดเพื่อพาลูกกลับจากโรงพยาบาล ที่นั่ง ควรหันไปด้านหลังรถ มีสายรัดนิรภัย 5 จุด โดยนิยม ติดตัง้ ทีน่ งั่ ไว้ตรงกลางของเบาะรถด้านหลัง ทัง้ นีค้ วรหัด ติดตัง้ ก่อนทีล่ กู จะเกิด เนือ่ งจากการติดตัง้ ค่อนข้างยาก ตามมาตรฐาน ISO รถทุกคันจะต้องติดตั้งคลิปล็อก ทีน่ งั่ ส�ำหรับเด็ก คุณสามารถเรียนรูเ้ รือ่ งทีน่ งั่ ในรถส�ำหรับ เด็กเพิ่มเติมได้ในหน้า 97 และ 321
เก้าอี้ทารก
เก้าอี้ทารกมีประโยชน์เมื่อลูกตื่นอยู่และคุณ ต้องการแน่ใจว่าลูกปลอดภัยอยูใ่ กล้ๆ คุณในขณะทีค่ ณุ ก�ำลังยุ่งกับการท�ำอย่างอื่น นอกจากเก้าอี้ชนิดเอน ไปข้างหลังแล้วเก้าอี้บางชนิดจะประคองทารกในท่า ตัง้ ตัวตรงมากขึน้ เก้าอีท้ กุ ชนิดจะโยกเบาๆ ได้ ถ้าบ้าน มี 2 ชั้น ควรซื้อเก้าอี้เพิ่มเป็นพิเศษเพื่อให้คุณสามารถ ทิ้งแต่ละตัวไว้ในแต่ละที่ที่สะดวกได้ ถ้าคุณมีตัวหนึ่ง อยู่ชั้นบนและอีกตัวหนึ่งอยู่ชั้นล่างก็เพียงอุ้มลูกเวลา เปลีย่ นชัน้ เท่านัน้ โดยไม่ตอ้ ง ยกเก้าอี้ทารกไปด้วย
14
ชิงช้า
ชิงช้าเป็นสิง่ ประดิษฐ์มหัศจรรย์ ซึง่ ดีมากในการ ท�ำให้ลูกสงบลงในช่วงเวลาวุ่นวายตอนเย็น และ สามารถท�ำให้ลกู มีความสุขและเงียบอยูน่ านพอทีค่ ณุ จะ รับประทานอาหารเย็นได้ การเลือกชิงช้าจะเป็นชนิด ใช้มือไกวหรือเดินเครื่องด้วยแบตเตอรี่ก็ได้ แต่ต้องดู ให้แน่ใจว่ามีสายนิรภัยเพือ่ ป้องกันไม่ให้ลกู ไถลตกลงมา มีที่คลุมที่นั่งซึ่งซักล้างได้ ถอดออกได้ โดยมีตะเข็บ แน่นหนาและตัวติด แข็งแรง และมีที่นั่ง บุนุ่มเอนไปข้างหลัง
เตียงหลังแรก
ตะกร้านอน เตียงหิ้ว หรือเปล เลือกที่วางไว้ ข้างเตียงของคุณได้ คุณจะได้ไม่ตอ้ งไปป้อนนมในเวลา กลางคืนไกลนัก สองชนิดแรกขนย้ายง่ายถ้าลูกหลับ นอกบ้าน บางชนิดมาพร้อมขาตั้งและผ้าคลุม ข้อเสีย ของเตียงเล็กเหล่านี้คือมีขนาดเล็ก (ในไม่ช้าลูกจะโต เกินเตียง) และจ�ำเป็นจะต้องมีเครื่องนอนเสริม
เครื่องเฝ้าสังเกตทารก
รถเข็นเด็กและรถเข็นพับได้
คุณจะต้องเลือกพาหนะส�ำหรับลูก ซึ่งมีอยู่ มากมาย แต่พึงระลึกไว้เสมอว่ารถเข็นเด็กและรถเข็น ที่พับราบได้เท่านั้นที่เหมาะสมส�ำหรับทารกแรกเกิด หากต้องการซือ้ รถเข็นทีห่ บุ แบบร่มคุณจ�ำเป็นจะต้องอุม้ ลูก ไว้ในเตียงอุม้ หรือใช้ผา้ อุม้ ในเดือนแรกๆ เนือ่ งจากรถเข็น ชนิดนี้จะเหมาะสมเฉพาะส�ำหรับทารก 3 หรือ 6 เดือน ขึน้ ไปเท่านัน้ ทีน่ งั่ กางได้จะไม่คอ่ ยราบเต็มทีแ่ ละจะไม่ บุหนามากนัก รถเข็นเด็กอาจทนทานมาก แต่มขี นาดใหญ่ และขนย้ายล�ำบากในที่แคบๆ รถเข็นพับได้จะใช้งานได้มากกว่า และมีหลากหลาย ชนิด ทั้งส�ำหรับทารกคนเดียว แฝดสองขึ้นไป และ เด็กทีม่ คี วามพิการ (ดูหน้า 374) รถเข็นทีพ่ บั ราบได้มกั จะทนทาน และส่วนใหญ่เหมาะส�ำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดจ�ำเป็นต้องนอนราบบนทีน่ งั่ ทีบ่ สุ บาย รุน่ ที่ แพงขึ้นจะมาพร้อมผ้าคลุมพับได้ มีที่นั่งได้หลายท่า และมีตะกร้าใส่ของอยู่ใต้ที่นั่งขนาดพอเหมาะ บางรุ่น มีมอื จับปรับความสูงได้ซงึ่ สะดวกถ้าพ่อหรือแม่สงู กว่า อีกคนหนึ่งมาก การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ดูเหมือนจะ บ่งชี้ว่าทารกที่ใช้รถเข็นชนิดหันหน้าออกจากตัวอาจ เสียโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคม
เครื่องเฝ้าสังเกตทารก จะท�ำให้คุณได้ยินเสียงลูกได้ เมื่อลูกไม่ได้อยู่ในห้องของคุณ ขอแนะน�ำให้มไี ว้ถา้ คุณไม่สามารถ ได้ยินเสียงร้องไห้ของลูกจากเตียงของคุณหรือเมื่อ คุณอยู่ในส่วนอื่นของบ้าน แต่ถ้าขณะที่อยู่บนเตียง ของคุณหรือในห้องอืน่ คุณสามารถได้ยนิ ลูกร้องไห้อยูแ่ ล้ว ก็ไม่แนะน�ำให้ใช้เครื่องเฝ้าสังเกต บ่อยครัง้ ทีล่ กู จะร้องไห้หรือคร�ำ่ ครวญขณะหลับ ลูกจะตื่นและเคลื่อนไหวไปมาด้วย เครื่องเฝ้าสังเกต จะท�ำให้คุณได้ยินเสียงเหล่านี้ในช่วงเวลากลางคืน แม้เป็นเสียงเบาๆ เมือ่ เสียงเหล่านีป้ ลุกคุณ คุณอาจรูส้ กึ อยากไปดูลูกและอาจอุ้มลูกขึ้นมาและป้อนนมให้ เนือ่ งจากคุณก็ตนื่ แล้ว แต่การท�ำเช่นนีอ้ าจเป็นการให้ รางวัลที่ลูกตื่นและน�ำไปสู่นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดีได้ คุณควรให้นมมือ้ ดึกเมือ่ ได้ยนิ เสียงร้องไห้ทดี่ งั ไม่หยุด เนือ่ งจากเสียงร้องไห้แบบนีจ้ ะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ลูกหิวหรือไม่สบายตัว แต่ไม่ใช่เสียงเบาๆ ซึ่งคุณ ไม่จำ� เป็นต้องไปช่วย
อุปกรณ์ป้อนนม
ขึน้ อยูก่ บั ว่าคุณได้ตดั สินใจให้ลกู ดูดนมแม่หรือ นมขวด คุณจ�ำเป็นจะต้องใช้อปุ กรณ์ทเี่ หมาะสมซึง่ รวมถึง ขวดและเครื่องฆ่าเชื้อ การใช้เครื่อง ปั๊มน�ำ้ นมที่ทำ� งานด้วยแบตเตอรี่ จะท�ำให้การเก็บน�ำ้ นมเร็วขึ้น และง่ายขึ้น (ดูบทที่ 3)
15
การเลือกชื่อ การคิดชือ่ ลูกเป็นการตัดสินใจ เด็กผู้หญิง ส�ำคัญอีกประการหนึง่ ถ้าคุณไม่แน่ใจ เพศของลูกควรเลือกชือ่ ทีส่ ามารถใช้ได้ ทัง้ 2 เพศ มีชอื่ ให้พจิ ารณาจ�ำนวนมาก และมีหนังสือจ�ำนวนมากทีเ่ ต็มไปด้วย รายชื่อให้เลือกพร้อมความหมายของ แต่ละชื่อ บางครอบครัวมีประเพณีหรือ ธรรมเนียมตั้งชื่อเด็ก เช่น ตั้งชื่อทารก ตามญาติผู้ล่วงลับหรือตั้งชื่อลูกชาย ตามพ่อ คุณอาจโชคดีที่คุณและคู่ของ คุณเห็นพ้องกันเรื่องชื่ออย่างรวดเร็ว ในบางครอบครัวอาจเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งถกเถียง กันพอสมควร การประนีประนอมจึง เป็นเรื่องจ�ำเป็น วิธีได้ชื่ออีกวิธีหนึ่ง คือ จับคูร่ ายชือ่ พ่อแม่แต่ละคนท�ำรายชือ่ ทีต่ อ้ งการส�ำหรับทารกโดยชือ่ ทีช่ อบทีส่ ดุ อยู่บนสุดของรายการ ถ้าคุณไม่แน่ใจ เรือ่ งเพศให้ทำ� รายชือ่ ของเด็กชายแยก กับเด็กหญิง ตัดชื่อที่คู่ของคุณไม่ชอบ ออกจากรายการแล้วหาชือ่ ทีอ่ ยูใ่ นรายการ ของคุณทั้งสอง เลือกชื่อที่อยู่บนสุดใน รายการทัง้ สอง ถ้าคุณทัง้ สองไม่เห็นพ้อง กัน ญาติคนอืน่ อย่างเช่น ปูย่ า่ ตายายใน อนาคตไม่ควรออกเสียง แม้วา่ คุณอาจจะ พิจารณาความชอบของปูย่ า่ ตายายใน การเลือกก็ตาม ด้านข้างนีเ้ ป็นรายการ ชือ่ ทีน่ ยิ มมากทีส่ ดุ ล่าสุดในต่างประเทศ
22
เด็กผู้ชาย
บทที่
2
การดูแล ทารกแรกเกิด
ปฏิกิริยาแรกๆ
หลังจากหลายเดือนแห่งการรอคอยลูกซึ่งเป็น ของขวัญอันล�้ำค่าก็ถือก�ำเนิดขึ้น คุณและคู่ของคุณผ่าน อะไรมามากมาย การคลอด “แบบง่าย” (ทางช่องคลอด) เป็นการคลอดทีท่ ำ� ให้เหนือ่ ยล้าทางกายและใช้เวลานานกว่า และหากจบลงด้วยการผ่าตัดคลอดก็ทำ� ให้หมดพลังงานยิง่ ขึน้ แต่เมื่อลูกคลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว ทุกอย่างก็ดู คุ้มค่า บทนี้จะเน้นการดูแลในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังจาก การเกิดของเด็กทีม่ สี ขุ ภาพดี อย่างไรก็ตาม ถ้าทารกแรกเกิด อยู่ในหอบริบาลทารกพิเศษหรือมีปัญหาทางการแพทย์ให้ ข้ามไปอ่านบทที่ 4 (การดูแลลูกเกิดก่อนก�ำหนด) และ บทที่ 13 (การดูแลลูกที่มีความต้องการพิเศษ)
แม่และพ่อ
ธรรมชาติสร้างให้แม่มสี ญั ชาตญาณในการเอาใจใส่ และต้องการเลีย้ งดูและปกป้องทารกแรกเกิด คุณอาจประหลาดใจ ที่ความรู้สึกเหล่านี้ทรงพลังมาก ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึก มีความสุขมากและมีความผูกพันทางอารมณ์กบั ลูกอย่างแรง ในทันทีดว้ ย แม้วา่ ผูห้ ญิงบางคนจะใช้เวลานานกว่าจะแสดงออก ในช่วงหลายวันหลังจากคลอดอารมณ์ของคุณอาจเหมือน ขึ้นรถไฟเหาะโดยมีช่วงเวลาแห่งความสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อน และแกว่งอย่างรวดเร็วไปสูค่ วามเศร้าและความกังวลว่า อาจมีบางสิง่ บางอย่างไม่ถกู ต้อง และไม่วา่ พฤติกรรมปกติของ คุณเป็นอย่างไร คุณอาจพบว่าความรูส้ กึ และความปรารถนาในตัว มีอำ� นาจกว่าการใช้เหตุผล คุณอาจพบว่าตัวเองเศร้าและร้องไห้ เมือ่ พยายามป้อนนมลูกแต่ลกู ไม่สนใจนัก แม้แพทย์จะบอกไว้วา่ ทารกมักง่วงมากและไม่หวิ มากนักในวันสองวันแรก ซึง่ อาจ ท�ำให้คุณมั่นใจได้เพียงชั่วครู่ แต่ไม่ช้าคุณอาจกลับมารู้สึก อีกครัง้ ว่าการป้อนนมให้สำ� เร็จนัน้ เป็นเรือ่ งส�ำคัญและเร่งด่วน พ่อจะรู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นอย่างมากเช่นกัน คุณจะรู้สึกถึงความรักล�้ำลึกที่มีต่อคู่ของคุณและจะรู้สึก ใกล้ชดิ และเชือ่ มโยงกับคูข่ องคุณมากกว่าทีเ่ คย เมือ่ คุณอุม้ ลูกเป็นครั้งแรกความรู้สึกกระอักกระอ่วนขั้นต้นจะหายไป กลายเป็นความรู้สึกขอบคุณและประหลาดใจ คุณจะเกิด แรงกระตุน้ อย่างแรงทีจ่ ะปกป้องทารกแรกเกิดและคูข่ องคุณ
24
และความคิดเรือ่ งการหาความมัน่ คงและความมัง่ คัง่ ให้แก่ ครอบครัวจะมีสูงสุดในใจ แต่บางครัง้ คุณอาจรูส้ กึ เหมือนถูกทิง้ และกีดกัน ทุกคน เชือ่ ว่าคูข่ องคุณเป็นผูร้ บั ผิดชอบการป้อนอาหารและการท�ำให้ ลูกสงบ ทัง้ 2 คน เป็นศูนย์กลางความสนใจ จนท�ำให้คณุ อาจ รูส้ กึ ไม่ได้รบั ความเอาใจใส่ ถูกลดความส�ำคัญให้ไปจัดเตรียม การกลับบ้านและต้องแข่งขันกับปูย่ า่ ตายายหรือญาติคนอืน่ ๆ เพือ่ ให้มโี อกาสอุม้ ลูก ในทางตรงกันข้ามคุณอาจแอบดีใจที ่ คูข่ องคุณเป็นผูท้ รี่ วู้ ธิ ดี แู ลลูกเนือ่ งจากคุณรูส้ กึ ไม่สบายใจและ ไม่มีประสบการณ์ในการท�ำหน้าที่ปกติของพ่อแม่ คุณทัง้ สองจะมองดูลกู ด้วยความประหลาดใจมากว่า ลูกช่างสมบูรณ์แบบ และการสร้างอีกชีวิตหนึ่งขึ้นมาช่าง มหัศจรรย์ ก่อนลูกเกิดคุณมีเพียงภาพคลุมเครือในใจว่าลูก จะดูเหมือนใคร แต่ขณะนีล้ กู คลอดออกมาแล้ว คุณอาจรูไ้ ด้ ในทันทีทันใดว่าไม่เพียงแต่ลูกอยู่ตรงนี้ แต่คุณยังต้อง รับผิดชอบสวัสดิภาพของลูกด้วย คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่ ดีพอส�ำหรับงานนี้อย่างมาก “ฉันจะดูแลเขาได้อย่างไร ฉัน แทบไม่รอู้ ะไรเกีย่ วกับการเป็นแม่ (หรือพ่อ) เลย” ความสงสัย ว่าคุณจะไม่เป็นพ่อแม่ทดี่ คี บื คลานเข้ามาได้ และท�ำให้คณุ รูส้ กึ วิตกกังวลและกลัวงานทีอ่ ยูต่ รงหน้าเล็กน้อย แต่คณุ จะ เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนน่าแปลกใจ
ทารกแรกเกิด
ส่วนประกอบทางจิตวิทยาของทารกแรกเกิดนัน้ ค่อนข้าง ตรงไปตรงมา ทารกรูจ้ กั ภาวะจิตใจเพียง 2 ภาวะเท่านัน้ ได้แก่ ความพอใจและความไม่มคี วามสุข การจะพอใจได้นนั้ ความ ต้องการพืน้ ฐานต้องได้รบั การตอบสนอง ถ้าลูกรูส้ กึ ปลอดภัย อบอุ่น กินอิ่ม และสบาย ชีวิตก็จะด�ำเนินไปด้วยดี แต่ถ้า ความต้องการเหล่านัน้ อย่างใดอย่างหนึง่ ขาดไปลูกจะกรีดร้องดัง เพื่อประท้วง ชีวติ ภายนอกนัน้ ใหม่และน่าตืน่ เต้น การชิมรสชาตินม เป็นครัง้ แรก การหายใจลึกๆ และการปล่อยเสียงกรีดร้องออกมา ทั้งหมดดูเหมือนเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจนัก แต่เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนจากการนอนในมดลูกมืดๆ มาสู่โลกภายนอก
หน้าตาของทารกแรกเกิด เมือ่ ลูกเกิดใหม่ๆ จะเปียกและสกปรก ปกคลุมด้วย ส่วนผสมของเลือดแม่และน�ำ้ คร�ำ ่ สารคล้ายครีมชีสข้นสีขาว ซึ่งเป็นไขมันที่คลุมทั่วร่างกายอาจยังเหลืออยู่ในรอยพับ บริเวณขาหนีบหรือในหู ส่วนผมถ้ามีมากหน่อยจะสานเป็น พืดบนหนังศีรษะ และศีรษะจะมีรปู ทรงคล้ายกรวย (ถ้าคลอด ทางช่องคลอด) หรือมีรปู ทรงกลมถ้าเกิดด้วยการผ่าตัดคลอด หรือยืดเล็กน้อยในทิศทางจากด้านหน้าไปหลังถ้าลูกอยู่ใน ท่าก้น หลังจากการอาบน�ำ้ ในสถานบริบาลทารกแล้วลูกจะเริม่ ดูคล้ายทารกทีค่ ณุ คิดไว้มากขึน้ ลูกจะมีผวิ หนังอมชมพูสวย แม้ว่า 3 ใน 4 ส่วนล่างของเล็บมือจะออกม่วง และมือและ เท้าจะเย็นและออกสีนำ�้ เงินเป็นครั้งคราว (เพราะไหลเวียน ในที่ที่อยู่ไกลจากหัวใจมากที่สุดจะยังไม่ดี) จะมีจุดสีขาว ขนาดจิ๋วบนใบหน้า นั่นเป็นรูขุมขนบนผิวหนังที่อุดตันและ จะหายไปในไม่ช้า ตาของลูกจะปิดเป็นส่วนใหญ่ เปลือกตาจะบวม และ ถ้าลูกก�ำลังนอนตะแคง (พยาบาลมักจับทารกแรกเกิดนอน ตะแคงขวา) ตาข้างขวาจะดูบวมกว่าข้างซ้าย เมือ่ ทารกแรกเกิด พยายามลืมตาบางครัง้ จะลืมเฉพาะตาข้างซ้ายเท่านัน้ เมือ่ ลืมตาทั้ง 2 ข้าง จะเป็นสิ่งปกติในเดือนสองเดือนแรกที่ตา ของลูกจะเขหรือเหล่ ซึง่ จะเป็นในระยะเวลาสัน้ ๆ และลูกอาจ ยังไม่มคี วิ้ หรือขนตา อย่ากังวล คิว้ และขนตาจะขึน้ ในไม่ชา้
เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
สะดือของลูก ลูกจะแสดงโครงแบบ 1 ใน 3 แบบ ออกมาโดยขึ้นอยู่กับปริมาณ การออกแรงดึงสายสะดือในขณะที่ลูกอยู่ในมดลูก ถ้าสายสะดือสั้นหรือ ถ้ามีการบิดสายสะดือทีย่ าวกว่านัน้ รอบตัวลูกในขณะอยูใ่ นครรภ์จะท�ำให้แรง ตึงที่สะดือมากกว่าและลูกจะมีสะดือยื่นออกมาหรือที่เรียกว่า “สะดือจุ่น” ถ้าแทบไม่มีแรงตึงสายสะดือก่อนเกิดสะดือจะหลบในหรือ “สะดือโบ๋” และ ถ้าปริมาณการดึงอยูต่ รงกลางสะดือจะอยูร่ ะดับเดียวกันกับผิวหนังหน้าท้อง ถ้าสะดือของลูกยื่นออกมาก็ไม่ต้องกังวล สะดือจุ่นจ�ำนวนมากจะจมลงไป และกลายเป็นสะดือโบ๋ในที่สุด
25
ท่านอนของลูกจะสะท้อนถึงลักษณะที่ลูกขดอยู่ใน เนื้อที่เล็กๆ ในมดลูก ขาจะโก่ง และเท้าทั้งสองมักหันเข้า ด้านใน (แต่ทา่ ทางอืน่ ของเท้า เช่น หันเท้าออก งอข้อเท้าไป ด้านหลังทั้งหมดนี้ก็พบบ่อยด้วย) มือจะก�ำแน่น แต่ถ้า คุณคลายมือหนึ่งออกและวางนิ้วของคุณขวางฝ่ามือของ ลูก ลูกจะก�ำนิ้วของคุณแน่น (รีเฟล็กซ์การจับ) ผิวถุงอัณฑะจะดูบวมเล็กน้อยและจะมีสีชมพูหรือ มีเม็ดสีเข้ม (ถ้าคุณได้ลูกสาว แคมนอกของช่องคลอดก็ จะบวมและเป็นสีชมพูได้ด้วย) ทีโ่ ผล่จากสะดือของทารกแรกเกิดคือส่วนทีเ่ หลือของ สายสะดือ ในเวลาหลายชัว่ โมงหลังจากเกิด ส่วนทีเ่ หลือนีจ้ ะ เป็นสีขาวอมเหลืองและอ่อนนุม่ โดยมีคลิปหนีบทีป่ ลายเพือ่ ป้องกันเลือดออกจากร่างกายผ่านทางหลอดเลือดสายสะดือ ใน 1-2 วันถัดไปก็จะหดลง กลายเป็นสีเข้มและแข็งมาก เมื่อสัมผัส เวลานี้ไม่จ�ำเป็นต้องใช้คลิปหนีบอีกแล้ว
ผลทางฮอร์โมน
ไม่นานก่อนเกิดลูกจะได้สมั ผัสกับฮอร์โมนเพศหญิง ของแม่ในระดับสูง น�ำไปสูอ่ าการบวมของเต้านมในเด็กชาย และเด็กหญิงได้ บางครั้งการกระตุ้นเต้านมทางฮอร์โมน ส่งผลให้ลกู ผลิตน�้ำนมปริมาณเล็กน้อยได้ ไม่แนะน�ำให้บบี เต้านมเพื่อน�ำน�ำ้ นมออกมา การบวม (และการผลิตน�้ำนม ถ้ามี) จะสูงสุด ณ อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วจะหายไป ฮอร์โมนของแม่มีผลต่อเด็กหญิงได้ในลักษณะ ไม่เหมือนกันในแต่ละคน ลูกสาวเกิดมีสิ่งคัดหลั่งเป็น เมือกข้นเป็นสายสีขาวหรือเหลืองออกจากช่องคลอดได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายและควรเช็ดออกไปเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม ขณะที่ระดับของฮอร์โมนแม่ในร่างกายตกลงจะเห็นเลือด 2-3 หยด ออกมาจากช่องคลอดได้ ซึ่งก็ปกติเช่นกัน
จุดสีในผ้าอ้อม
เป็นสิ่งปกติที่จะเห็นคราบสีออกน�้ำตาลหรือสีแดง ผิวหนังของลูก อมชมพูในผ้าอ้อมตรงที่เปียกปัสสาวะ คราบสีออกน�้ำตาล ทารกแรกเกิดใช้เวลาหลายเดือนอยู่ในน�้ำ ถูก มาจากปัสสาวะเข้มข้น ในขณะทีค่ ราบสีแดงอมชมพูมาจาก ล้อมรอบด้วยน�้ำคร�่ำในมดลูก หลังจากเกิดไม่นานผิว ผลึกกรดยูริกระดับสูงที่ขับถ่ายออกมาจากปัสสาวะทารก มักจะเริ่มลอกและหลุดเป็นชิ้นเล็กๆ โดยเฉพาะที่ข้อมือ แรกเกิด ข้อเท้า และรอยพับบริเวณขาหนีบ เสมือนลูกก�ำลังผลัด เอาผิวหนังใต้น�้ำออก เมื่อผิวชั้นนอกลอกหมดแล้วถึงจะเป็นผิวอ่อนนุ่ม ชื้น เนียน ซึ่งเป็นลักษณะของทารกที่อายุมากขึ้น บ่อยครั้ง พบว่าผิวทารกจะมีปาน 1 ปานขึน้ ไป มีหลายขนาด รูปร่าง และสี แต่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยน่ากังวลนัก (ดูหน้า 27)
ผื่นทารกแรกเกิด
ผื่นทารกแรกเกิดที่รู้จักกันในชื่อทางการแพทย์ ว่า erythema toxicum neonatorum เป็นรอยเปื้อนแดง ขนาดเท่าเหรียญห้าสิบสตางค์ โดยมีสิวหัวขาวหรือเหลือง ตรงกลางซึ่งอาจดูคล้ายรอยแมลงกัดได้ ที่น่าสนใจคือ จุดและสิวจะย้ายทีอ่ ย่างรวดเร็ว โดยแต่ละจุดหายไปในเวลา เพียงไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง สาเหตุของผื่นทารกแรกเกิด ยังไม่เป็นทีค่ น้ พบ แต่ไม่จำ� เป็นต้องรักษา เพราะจะหายไปเอง ใน 1-2 สัปดาห์
26
ปาน เนื้ อ งอกของหลอดเลื อ ด (haemangioma) ประกอบด้วย หลอดเลือดขนาดเล็กจ�ำนวนมากใน บริเวณเฉพาะที่ ในขณะทีพ่ บหลอดเลือด มากเป็นพิเศษเช่นนี้ เมือ่ แรกเกิดคุณอาจ ไม่สามารถมองเห็นเป็นปานจนกว่า ลูก (และหลอดเลือด) จะเริม่ เติบโต ถ้าสังเกตพบตั้งแต่เกิดเนื้องอก ของหลอดเลือดจะแบน มีขอบเขต ชัดเจน และมักมีสีออกม่วงซีด ขณะที่เนื้องอกของหลอดเลือด โตขึ้น (ส่วนใหญ่โตและสูงขึ้น จากพืน้ ผิวของผิวหนัง) ในเดือน แรกๆ ของชีวติ ก็จะมีขนาดใหญ่ขนึ้ สีแดงขึน้ และนูน ในระยะนีน้ ยิ มเรียกว่า "สตรอว์เบอร์รี" เนื่องจากดูคล้ายกัน เนือ้ งอกของหลอดเลือดจะโตต่อไปใน ช่วง 6-9 เดือนของชีวิต แล้วเริ่มหด และสีจางไปอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่แม้จะ มีขนาดใหญ่มากก็จะหายไปหมดใน เวลาสัก 2 ปี เนื้องอกของหลอดเลือด ขนาดใหญ่พบได้น้อย แต่เป็นปัญหา เนื่องจากต�ำแหน่งอยู่ใกล้โครงสร้าง ส�ำคัญๆ (ตา จมูก หรือปาก) หรือใน บริเวณที่สามารถระคายเคืองได้ง่าย (มือหรือบริเวณผ้าอ้อม) มีการรักษา มากมาย (ยาฉีดคอร์ติโซน การรักษา ด้วยเลเซอร์) ที่เป็นผลส�ำเร็จในการ ลดขนาดเนื้องอกของหลอดเลือด แต่ เนื่องจากปกติจะหายไปเองเมื่อเวลา ผ่านไป การรักษาจึงจ�ำกัดเฉพาะเนือ้ งอก ของหลอดเลือดที่ “เป็นปัญหา” เหล่านี้
ปานสีแดงลักษณะแบนเรียบ (naevus flammeus) เป็นเฉพาะบริเวณ ทีม่ หี ลอดเลือดมากเป็นพิเศษในผิวหนัง แต่ไม่เหมือนเนื้องอกของหลอดเลือด เนือ่ งจากปานนีพ้ บเมือ่ เกิดและไม่โตขึน้ จะแบนและมีสแี ดงอมชมพู ต�ำแหน่งที่ พบบ่อย เช่น ต้นคอ (ปานนกกระสา) เปลือกตาบน (จุมพิตจากเทพธิดา) บน จมูกหรือเหนือจมูกพอดี และหน้าผาก ปานเช่นนีจ้ ะค่อยๆ มีสจี างลง และมัก หายไปเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม เมือ่ ลูกร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระ ปานสีแดง ลักษณะแบนเรียบจะกลายเป็นมีสแี ดง เข้มขึ้นชั่วคราว จุดเม็ดสี (pigmented spot) เป็นจุดใหญ่ แบน สีดำ� อมเทา ซึง่ กว้าง ได้ถงึ หลายเซนติเมตร นอกจากสีแล้วจุด เม็ดสีไม่มนี ยั ส�ำคัญทางการแพทย์ พบ
บ่อยทีส่ ดุ บนหลังส่วนล่างและก้นส่วนบน พร้อมรูปร่างคล้ายแคปซูล นิยมเรียกว่า “ปานมองโกเลียน” เนือ่ งจากรูปร่างคล้าย แผนทีข่ องประเทศนัน้ จุดเม็ดสียงั สามารถ พบในบริเวณอืน่ ๆ ได้ดว้ ย เช่น หลังมือ หลังส่วนบน และไหล่ ทีน่ า่ แปลกคือพบ บ่อยมากกับทารกผิวด�ำและทารกทีส่ บื เชื้อสายเอเชีย จุดเม็ดสีมักสังเกตเห็น น้อยลงมากเมื่ออายุมากขึ้น ไฝ (naevus) ไฝเป็นปานสีด�ำ ทีแ่ บนหรือนูนก็ได้ เช่นเดียวกับเนือ้ งอก ของหลอดเลือด ไฝก็อาจไม่พบเมือ่ เกิด แต่จะเห็นในภายหลังเท่านัน้ ไฝจ�ำนวน มากมีขนาดเล็กและดูคล้ายสิ่งที่เรา เรียกในเด็กทีอ่ ายุมากขึน้ และผูใ้ หญ่วา่ “mole” ไฝขนาดใหญ่จะเห็นเป็นครัง้ คราว ไฝไม่หายไปหรือใหญ่ขนึ้ และทีพ่ บน้อย คือเป็นที่มาของมะเร็งผิวหนัง
27
ความเจ็บป่วยหรือความผิดปกติรุนแรงพบใน ทารกแรกเกิดได้แต่ไม่บ่อย (ดูบทที่ 13) มักจะส่งผลให้ลูก ถูกส่งไปยังหออภิบาลทารกพิเศษ (Special Care Baby Unit : SCBU) ซึ่งจะท�ำให้คุณรู้สึกช็อก ว้าวุ่นใจ และรู้สึกว่า ท�ำอะไรไม่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ (คุณจะรู้สึกอย่างไรและ คุณจะประสบกับอะไรในหออภิบาลทารกพิเศษ ดูเพิม่ เติมใน บทที่ 4) คุณจะต้องการ 2 สิ่งอย่างมาก ได้แก่ ความรู้ และ การสนับสนุน กุมารแพทย์หรือผูช้ ำ� นาญเฉพาะทางคนอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลลูกสามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมาก ส�ำหรับคุณได้ คุณจ�ำเป็นจะต้องเข้าใจให้มากขึ้นว่าปัญหา คืออะไร เป็นไปได้อย่างไร ท�ำอะไรได้บ้างเพื่อรักษา และ ในที่สุดจะมีผลต่อลูกอย่างไร แม้ว่าจะมีสิ่งที่คุณสามารถ เรียนรู้ได้มากผ่านแหล่งอื่นๆ เช่น หนังสือ อินเทอร์เน็ต แต่ขอ้ มูลทีอ่ ยูใ่ นนัน้ ท�ำให้คณุ เข้าใจผิดได้ (ดูกรอบด้านล่าง) หนังสือเล่มนี้ได้พยายามอย่างมากที่จะหลีกเลี่ยงข้อ ผิดพลาดที่พบบ่อยในแหล่งอื่นๆ การมีทารกแรกเกิดเจ็บป่วยหรือมีปัญหาร้ายแรง จะท�ำให้คุณล้าอย่างไม่น่าเชื่อในฐานะพ่อแม่ คุณและคู่ คุณทั้งสอง ญาติและเพื่อนคนอื่นๆ นั้นเพียงอยู่กับคุณ ของคุณอาจรู้สึกวิตกกังวลเกินไป การช่วยเหลือซึ่งกันและ ก็สามารถปลอบใจได้มากแล้ว กันเพื่อให้ผ่านช่วงเวลายากล�ำบากได้จะเป็นประโยชน์แก่
5 5
อันตรายของการค้นหาข้อมูลจากหนังสือและอินเทอร์เน็ต
1 ข้อมูลไม่ถกู ต้อง หนังสือและเว็บไซต์สามารถมีความ
66
ผิดพลาดได้ คุณอาจไม่ทราบว่าผูต้ รวจสอบทีม่ คี วามรู ้ ตรวจสอบข้อมูลในหนังสือหรืออินเทอร์เน็ตแล้ว หรือไม่ ไม่วา่ ใครก็สามารถกล่าวสิง่ ใดก็ตามทีต่ อ้ งการ ได้โดยไม่ตอ้ งสนใจความแม่นย�ำของข้อมูลทีน่ ำ� เสนอ 2 ข้อเท็จจริงทีค่ ณุ อ่านอาจใช้กบั ลูกไม่ได้ ภาวะทางการ แพทย์หลายภาวะอาจคล้ายกันได้ คุณอาจพบโรค ทีต่ รงกับอาการแสดงจ�ำนวนมากของลูก แต่เป็นการ วินิจฉัยผิด หรือคุณตีความผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หรือ โอกาสของลูกที่จะเสี่ยงต่อภาวะใดภาวะหนึ่งอย่าง ผิดๆ ได้ 3 ข้อมูลอาจไม่จำ� เพาะ หนังสือและเว็บไซต์เสนอข้อมูล แก่ผู้อ่านกลุ่มใหญ่ และค�ำแนะน�ำและข้อมูลใดๆ
มุ่งความสนใจไปที่เด็กที่แตกต่างกันจ�ำนวนมาก เพื่อ ครอบคลุมความเป็นไปได้ของการมีความเจ็บป่วย รุนแรงยิง่ อาจมีการแนะน�ำข้อควรระวังพิเศษ อย่างไรก็ตาม กรณีของทารกแต่ละคนจะพิจารณาดีที่สุดเป็นรายคน ในทางแพทยศาสตร์นั้นใช้การวินิจฉัยเหมารวมไม่ได้ 4 ข้อมูลเชื่อถือไม่ได้ แหล่งข้อมูลจ�ำนวนมากน�ำเสนอ ข้อมูลในลักษณะบิดเบือน ซึ่งรวมไว้เฉพาะข้อเท็จจริงที่ เลือกมาเท่านั้น และไม่น�ำเสนอข้อเท็จจริงอย่างสมดุล 5 การให้ข้อมูลมากเกินไป คุณอาจได้รับข้อมูลมากกว่าที่ ต้องการได้ แพทย์อาจบอกคุณแล้วว่า “ลูกมีโอกาสฟืน้ ตัว ได้ดีเยี่ยม” คุณต้องการทราบจริงๆ หรือไม่ว่าเด็ก 0.1% ที่มีภาวะเดียวกันมีผลลัพธ์ร้ายแรงกว่านั้นมาก
บทที่
3
การป้อนนม ให้ลูกน้อย
พื้นฐานการป้อน
ไม่วา่ คุณจะให้ลกู ดูดนมแม่จากเต้า หรือป้อนนมแม่ หรือนมผสมจากขวด คุณจะพบว่าเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับ การป้อนนม การมีผู้ช่วยในสัปดาห์แรกๆ จะท�ำให้คุณรู้สึก ดี และ “ควบคุมสิ่งต่างๆ ได้” เนื่องจากสามารถวางแผน การป้อนนมให้ลงตัวซึง่ จะท�ำให้คณุ รูส้ กึ สบายและมัน่ ใจโดย อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองรับมือ ไม่ไหว ก็ควรขอความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ หากกังวลว่า ลูกจะได้ “รับนมเพียงพอ” หรือไม่ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ หรือแม่มือใหม่คนอื่นๆ ครอบครัวหรือเพื่อน ความมั่นใจ ของคุณจะกลับมาอีกครั้งในไม่ช้าเมื่อคุณเห็นลูกเติบโตดี การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตที่ดี ทีส่ ดุ ส�ำหรับลูก เพราะมีสารอาหารทีส่ ำ� คัญและช่วยป้องกัน การติดเชือ้ นอกจากนีย้ งั ช่วยป้องกันคุณจากโรคต่างๆ และ ท�ำให้คณุ มีความผูกพันทัง้ ทางกายและอารมณ์ทดี่ กี บั ลูกด้วย แม้วา่ ผูห้ ญิงจะให้ลกู ดูดนมแม่เสมอมา แต่ปจั จุบนั ผูห้ ญิงจ�ำนวนมากในประเทศพัฒนาแล้วดูเหมือนจะเป็นไป ได้ยาก อาจเพราะในช่วง 4 ทศวรรษหลัง ความรูว้ า่ การเลีย้ งลูก
6
ด้วยนมแม่ “เป็นผลส�ำเร็จ” อย่างไรนั้นหายไป ทารกก็เป็น เหมือนที่เคยเป็นเสมอและมีสัญชาตญาณตามธรรมชาติ เช่นเดิม แต่ในประเทศอุตสาหกรรมทารกจ�ำนวนมากเกิดมา พร้อมกับการแทรกแซงบางประการและสามารถก่อปัญหา กับการป้อนใน 2-3 วันแรกได้ เช่น ถ้าคุณได้รับยาเพทิดีน หรือยาบรรเทาปวดทีค่ ล้ายกันในการคลอดก็อาจท�ำให้ลกู ง่วง ถ้าใช้คมี หรือเครือ่ งดูดสุญญากาศช่วยลูกเขาอาจเจ็บศีรษะ 2-3 วัน และถ้าคุณผ่าตัดคลอด รีเฟล็กซ์การรับประทาน ของลูกอาจล่าช้าออกไป ถ้ามีการแยกลูกไปจากคุณซึง่ อาจ เพราะต้องการการดูแลเป็นพิเศษหลังจากความยากล�ำบาก ในการคลอดบางประการ รีเฟล็กซ์การรับประทานอาจใช้ เวลานานกว่าจะกลับมา อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเลือกป้อนนมขวดให้ลูก อาจ เพราะคุณต้องได้รบั การรักษาทางการแพทย์อยู่ ก�ำลังใช้ยา หรือรู้สึกอึดอัดที่จะให้ลูกดูดนมแม่ สิ่งส�ำคัญคืออย่ารู้สึก ผิดในการตัดสินใจ ลูกจะยังได้โภชนาการเพียงพอ และมี เทคนิคทีท่ �ำให้มนั่ ใจในความใกล้ชดิ คุณยังสามารถเป็นแม่ ที่ดีที่สุดได้
สัญญาณบอกว่าลูกก�ำลังเจริญเติบโตดี
1 ลูกผ่อนคลายขณะป้อน ลูกดูดและกลืนช้าทีเดียว และหยุดชะงักชัว่ คราว
เป็นครั้งคราว 2 ลูกไม่ได้ดูดแรงๆ นานเกินครั้งละครึ่งชั่วโมง บ่งว่าลูกอมหัวนมดี แต่ถ้า ลูกดูดนานผิดปกติ เแสดงว่าบางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้อง และคุณอาจ ต้องการความช่วยเหลือในการท�ำให้การดูดดีขึ้น 3 ลูกพอใจหรือนอนหลับดีระหว่างการป้อนแต่ละครั้งเป็นส่วนใหญ่ 4 อุจจาระเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วจากสีดำ� เหนียวเป็นสีเหลืองทองใน 5 วันแรก และอ่อนนุ่มเสมอ (เหลวถ้าให้ลูกดูดนมแม่ แข็งขึ้นถ้าป้อนนมขวด) 5 ลูกขับถ่ายท�ำให้ผ้าอ้อมเปียกและหนัก 6 ลูกตื่นตัวและมักมีความสุขเวลาตื่น อ้วนขึ้นและรู้สึกหนักขึ้น
68
ป้อนบ่อยเพียงใด
ผู้ใหญ่มีนิสัยการรับประทานต่างกัน บางคนชอบ ของว่าง บางคนชอบรับประทานแบบเล็มๆ และบางคน ชอบรับประทานเต็มมื้อ ทารกก็แตกต่างกันด้วย ในขณะ ที่สิ่งเดียวที่จ�ำเป็นคือการรับประทานบ่อยโดยเฉพาะช่วง แรกเกิด แต่ก็อาจต่างกันได้ เช่น บางคนชอบรับประทาน ทุก 2 ชั่วโมง ในขณะที่บางคนรับประทานแบบสุ่ม บางคน สม�ำ่ เสมอจนคุณอาจใช้ลูกเป็นนาฬิกาได้ ไม่ว่าแบบแผนของลูกจะเป็นอย่างไร และไม่ว่าลูก จะดูดนมแม่หรือนมขวด ผูป้ ระกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเกือบ ทุกคนตระหนักว่าแม่สว่ นใหญ่ทราบแน่นอนว่าเมือ่ ใดลูกหิว และแนะน�ำให้ใช้วิธียืดหยุ่นในการก�ำหนดเวลามื้อนม ช่วงเริม่ ต้นลูกดูเหมือนจะขอให้ปอ้ นบ่อยมาก ท้อง ลูกเล็กมากและไม่สามารถเก็บได้มากกว่า 2 ออนซ์ (60 มิลลิลิตร) ในแต่ละครั้ง ใน 2-3 สัปดาห์แรกโดยเฉลี่ย ทารกที่ดูดนมขวดอาจต้องการให้ป้อนทุก 3-4 ชั่วโมง ส่วน ทารกทีด่ ดู นมแม่อาจต้องการทุก 2 ชัว่ โมง ทัง้ กลางวันและ กลางคืน การให้ลกู ดูดนมแม่บอ่ ยจะช่วยสร้างน�ำ้ นมปริมาณ มากเพือ่ ให้เพียงพอในภายหลังเสมอเมือ่ ลูกต้องการนมเพิม่ เมือ่ คุณนัง่ ลงป้อนนม ให้เตือนตัวเองว่าเป็นโอกาสดี ทีจ่ ะให้รา่ งกายได้พกั ผ่อนหลังจากคลอดและทีจ่ ะเพลิดเพลิน ไปกับเวลาผ่อนคลายสงบๆ เพราะคุณอาจตืน่ ตอนกลางคืน (ทารกตืน่ ให้ปอ้ นตอนกลางคืน 1 หรือ 2 ครัง้ ตามธรรมชาติ จนอายุประมาณ 6 เดือน) นมแม่มโี ปรตีนต�่ำและน�ำ้ ตาลนมสูง และทารกต้อง รับประทานน้อยและบ่อยให้เติบโตดี การป้อนนมขวดต้อง เป็นไปตามความต้องการของทารกเช่นกัน คุณจึงควรป้อน ลูกเมื่อใดก็ตามที่เขาหิว ทารกน�้ำหนักปกติส่วนใหญ่อยู่ได้ เพียงประมาณ 6 ชั่วโมง โดยไม่รับประทาน การพักเช่นนี้ มักเกิดช่วงกลางวันก่อน แต่หมายความว่าลูกก�ำลังเรียนรู้ ที่จะนอนหลับนานขึ้น และในไม่ช้าอาจปล่อยให้เวลาผ่าน ไป 6 ชั่วโมง ตอนกลางคืนด้วย ช่วง 2-3 วันแรกทารกบางคนไม่ตนื่ มาขอให้ปอ้ นนม อาจง่วงจากยาในช่วงที่เขาเกิด หรือไม่สบายจากการเกิด แบบมีการช่วยเหลือและต้องการอยูเ่ งียบๆ คนเดียว เมือ่ ลูก นอนหลับนานๆ ควรค่อยๆ ปลุกและป้อนนมให้ทันที
ให้มากเพียงใด
ทารกก็มีอาหารมื้อเล็กและมื้อใหญ่เหมือนผู้ใหญ่ ถ้าคุณให้ลกู ดูดนมแม่ลกู อาจจะต้องการดูดจากเต้านมแรก ให้นานทีส่ ดุ เท่าทีเ่ ขาท�ำได้ แล้วคุณอาจให้พกั เรอหรือเปลีย่ น ผ้าอ้อมได้ แล้วจึงให้เขาดูดจากเต้าอีกข้างในรอบ 2 ทารก ชอบทีจ่ ะพักหลายวินาทีโดยเฉพาะถ้ารับประทาน “เต็มมือ้ ” ไม่ใช่ “ของว่าง” เต้านมข้างแรกจะเต็มใหม่ในขณะทีล่ กู ดูด อีกข้างหนึ่ง ถ้าลูกต้องการเพิ่มจึงกลับไปข้างแรกได้ ทารก แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่างกันและการดูดต่างกันเต้านม แต่ละข้างก็มีความจุต่างกันและท�ำงานแยกกัน แต่การ ป้อนบ่อยจะช่วยสร้างปริมาณน�ำ้ นมใน 2-3 สัปดาห์แรก ถ้าคุณป้อนนมขวด ลูกจะต้องการนมผสม 60-75 มิลลิลิตร (2-2½ ออนซ์) ต่อน�้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม (1 ปอนด์) ส�ำหรับทารก 3.5 กิโลกรัม (7 ปอนด์) หมายความ ว่าคุณต้องให้นมผสม 420-525 มิลลิลติ ร (14-17 ออนซ์) ใน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง จนกว่าจะหนักประมาณ 5 กิโลกรัม (10 ปอนด์) ทารกส่วนใหญ่จะต้องการให้ป้อนนมขวด วันละอย่างน้อย 6-8 ครั้ง เพราะน�ำเข้าไปได้เพียงครั้งละ 60 มิลลิลิตร (2 ออนซ์) การวิจัยรายงานว่าไม่จ�ำเป็นต้องให้น�้ำแก่ทารกที ่ ดูดนมแม่แม้ในประเทศร้อนเพราะเขาได้รับของเหลว เพียงพอแล้วจากการดื่มนมบ่อยๆ ทีละน้อย น�ำ้ ไม่มีสาร บ�ำรุงเลี้ยงดู และทารกไม่ต้องการจนอายุมากขึ้นและ รับประทานอาหารแข็งได้แล้ว แต่ทารกที่แม่ป้อนนมขวด ให้อาจกระหายน�ำ้ ในอากาศร้อนหรือถ้าผสมนมเข้มข้นเกิน ไป (อันตราย) ถ้าลูกดูกระหายน�ำ ้ คุณสามารถให้น�้ำต้มสุก ที่ทิ้งให้เย็นแล้วหลังจากป้อนนมได้ ถ้าคุณมีความวิตกใดเรือ่ งการเติบโตของลูก การน�ำ ลูกไป “ชัง่ น�ำ้ หนักและเล่น” ตามปกติกบั กุมารแพทย์จะช่วย บรรเทาความวิตกได้ แผนภูมิการเติบโตท้ายหนังสือเล่มนี้ และในบันทึกสุขภาพเด็กจะลงจุดน�้ำหนักทารกเทียบกับ ค่าเฉลี่ยระดับชาติ มักไม่มีประโยชน์ที่จะชั่งน�ำ้ หนักทารก ทุกสัปดาห์ เพราะเขาอาจไม่เติบโตด้วยอัตราคงทีแ่ ละท�ำให้ แม่วิตกยิ่งขึ้นได้
69
การเติบโตแบบพุ่งพรวด ทารกเติบโตด้วยอัตราแตกต่างกัน การเติบโต แบบพุ่งพรวด (Growth spurts) อาจเกิดในช่วง 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ 6 สัปดาห์ และ 3 เดือน เมื่อคุณคิดว่าทุกอย่าง ลงตัวลูกก็จะต้องการให้ป้อนบ่อยขึ้นอย่างกะทันหัน ลูก เติบโตขึ้น และถ้าคุณให้ดูดนมแม่เขาก็ก�ำลังพยายามตั้ง โปรแกรมปริมาณน�้ำนมเพื่อช่วยให้เติบโตมากขึ้น วิธีเดียว ทีล่ กู ท�ำได้คอื รับประทานบ่อยขึน้ ซึง่ จะมีผลต่อปริมาณน�ำ้ นม เมื่อปริมาณเพียงพอลูกจะพอใจกับแบบแผนการป้อนปกติ มากขึ้นจนถึงการเติบโตแบบพุ่งพรวดครั้งถัดไป
การช่วยเรอ มีหลายท่าทีจ่ ะช่วยให้ลกู ก�ำจัดลมทีท่ ำ� ให้ปวดท้องได้ อุม้ ลูกพาดบ่าขึน้ เพือ่ ให้ศรี ษะลูกอยูเ่ หนือไหล่ของคุณ ใช้มอื ข้างหนึ่งประคองก้นและอีกข้างถูหรือตบหลังอย่างเบามือ หรืออุ้มลูกขึ้นนั่งบนตักของคุณ ใช้มือข้างหนึ่งประคอง ศีรษะในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งถูหรือตบรอบสะบักอย่าง อ่อนโยน อีกวิธีหนึ่งคือ จับลูกนอนลงให้ท้องของเขาพัก อยู่บนเข่าข้างหนึ่งและทรวงอกของเขาอยู่บนแขนที่โค้งงอ ของคุณ ศีรษะของลูกควรหันออกจากตัวคุณโดยไม่มสี งิ่ ใด อุดกั้นปาก ถูหรือตบหลังเบาๆ
การเติบโตสามารถท�ำให้ทารกบางคนไม่สบายตัวได้ ซึง่ จะแสดงออกมาเหมือนเจ็บปวด ถ้าลูกดูเหมือนได้รบั ผล การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ ลูบ นวด พูดคุยหรือร้องเพลง เบาๆ จะช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นได้ วันทีท่ ารกหงุดหงิดอาจดูเหมือนเป็นวันทีย่ ากล�ำบาก ส�ำหรับแม่ แต่ตราบใดที่คุณทราบว่าเป็นเพียงชั่วคราว เท่านั้น คุณก็จะจัดการได้ง่ายขึ้น รู้จักกันในชื่อ “วันนอน โซฟา” หรือ “เบบี้มูน” (babymoon) เป็นวันที่คุณจ�ำเป็น ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกับลูก อย่างไรก็ตาม คุณไม่ต้อง เป็นทุกข์เพียงล�ำพัง โดยอาจเชิญเพื่อนมาเยี่ยม
ถ้าคุณให้ลูกดูดนมแม่ และลูกดู สุขภาพมาก่อน ความปวดหรือการอาเจียน หงุดหงิดเป็นส่วนใหญ่ อย่าลังเล ถ้าลูกดูเหมือนปวด หรืออาเจียนหลังจากการป้อนนมทุกครั้ง ก็อาจ ที่จะขอค�ำแนะน�ำจากผู้รู้ก่อนไป เป็นภาวะผิดปกติที่รักษาได้ เช่น กรดไหลย้อน ล�ำไส้อักเสบ ภาวะทั้งสองนี้ หานมขวดมาให้ลกู ถ้าเป็นค�ำถาม ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ดังนั้นควรติดต่อแพทย์เวชศาสตร์ เรือ่ งการท�ำให้ปริมาณนํา้ นมมากขึน้ ครอบครัวเพื่อขอค�ำแนะน�ำ นางผดุงครรภ์ทปี่ รึกษาการเลีย้ งลูก ด้วยนมแม่ ทีป่ รึกษาการให้ลกู ดูดนมแม่หรือผูส้ นับสนุนระดับ ไม่จำ� เป็นต้องใช้เวลามากกว่า 2-3 นาที ในการท�ำให้ เดียวกันควรให้ความช่วยเหลือในทางปฏิบัติได้ (ดูหน้า 80) ลูกเรอ ลูกสามารถเรอได้ด้วยการกอดดีๆ ในช่วงที่ป้อน หรือหลังจากการป้อน
ลมในท้อง
ใน 2-3 วันแรกของการป้อน ทารกส่วนใหญ่จะแทบ ไม่มลี มในท้อง แต่ขณะทีล่ กู เพิม่ ปริมาณนมทีด่ ดู เข้าไปก็จะ ได้รบั นํา้ ตาล (ส่วนประกอบของนม) เข้าไปมากขึน้ นํา้ ตาล จะหมักและผลิตแก๊ส การปล่อยลมจะท�ำให้ลกู รูส้ กึ ดีขนึ้ ซึง่ เขาจะปล่อยลมทางปากหรือก้น ถ้าลูกทีป่ อ้ นนมขวดไม่สบายตัวจากการมีลมในท้องมาก คุณจะทราบเพราะเขาจะดูไม่สบายและไม่พอใจหลังจากได้ นมขวด ตรวจว่ารูจกุ นมมีขนาดเหมาะสม (ดูกรอบด้านล่าง) ถ้านมไหลช้าแสดงว่ารูเล็กเกินไป และลูกต้องดูดแรงเพือ่ ให้ ได้นม ซึง่ หมายความว่าเมือ่ ลูกรับประทานก็นำ� อากาศเข้าไป มากเกินไปพร้อมกับนม ในทางตรงกันข้ามถ้าลูกมีแนวโน้ม ดื่มอึกใหญ่จากขวดให้ตรวจว่ารูจุกนมใหญ่เกินไปหรือไม่ ดูให้แน่ใจด้วยว่าขวดเอียงพอตลอดเวลาทีค่ ณุ ป้อนลูก ของเหลวควรเต็มส่วนบนขวดและจุกนมเสมอ ทารกส่วนใหญ่ขนุ่ เคืองมากถ้าคุณพยายามหยุดและ ท�ำให้เขาเรอตอนที่นมก�ำลังไหลสมํ่าเสมอ จินตนาการว่า คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีการยกเครื่องดื่มออกไปตอนที่คุณ ก�ำลังเริ่มเพลิดเพลินกับมันพอดี ดังนั้นถ้าลูกมีลมในท้อง มากให้ลองท�ำให้เรอเมือ่ เขาหยุดชะงักชัว่ คราวตามธรรมชาติ (ดูกรอบในหน้า 70) เป็นเรื่องยากทีเดียวส�ำหรับทารกที่จะ กลืนอากาศ แต่ถ้าปากลูกไม่แนบกับเต้านมเต็มที่หรือจุก ขวดนมใหญ่เกินไป เขาอาจดืม่ อึกใหญ่และน�ำอากาศเข้าไป มากขึน้ ในหลายวัฒนธรรมและหลายประเทศทีผ่ หู้ ญิงให้ลกู ดูดนมแม่มานานไม่มกี ารกล่าวถึงการเรอเลย แต่ในประเทศ ตะวันตกเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาเสมอ
การขย้อน
ทารกส่วนใหญ่มกี ารตอบสนองดีเยีย่ มต่อของเหลว ในส่วนหลังของคอหอย ลูกจะกลืนแต่สว่ นหลังของคอหอย และส่วนบนของท้องใกล้กันมาก ทารกบางคนจึงขย้อนนม เล็กน้อยพร้อมกับการเรอครั้งใหญ่ ทารกบางคนขย้อนเล็ก น้อยหลังจากการป้อนทุกครั้ง เป็นสิ่งปกติที่สุดและไม่มี อะไรต้องวิตกกังวล การอาเจียนที่แท้จริงสังเกตพบได้ง่าย กว่ามากโดยมีนมย้อนกลับขึ้นมามากกว่า
การตรวจสอบจุกนม
เติมนมใส่ขวด ใส่จกุ นม และถือขวดควาํ่ ลง นมผสมควรหยดออกมาด้วยการไหลคงทีว่ นิ าทีละ 1 หยด รูเล็กสามารถขยายด้วยเข็มไร้เชื้อได้
71
กิจวัตรการป้อนนมจากขวด ท�ำตัวคุณเองและลูกให้สบายก่อนทีจ่ ะเริม่ ป้อนและ ให้ความเอาใจใส่ทงั้ หมดแก่เขา อุม้ ลูกไว้บนตักอย่างมัน่ คง ให้ศีรษะอยู่ในข้อพับแขนและประคองหลังของเขาตาม แขนท่อนล่างของคุณ เพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลายให้กอดเขา ไว้แนบชิด และพูดคุยหรือร้องเพลงให้ฟัง ดูลูกตลอดเวลา และตอบสนองต่อความต้องการของเขา ทารกบางคน ชอบหยุดชะงักชัว่ คราวเพือ่ เอาอากาศหรือเรอ บางคนชอบ รับประทานต่อไปจนกว่านมผสมทั้งหมดจะหมด ตรวจสอบอุณหภูมกิ อ่ นให้นมแก่ลกู โดยหยดน�ำ้ นม 2-3 หยดลงบนด้านในของข้อมือ ควรรู้สึกอุ่น แต่ไม่ร้อน หากคุณต้องการท�ำให้เย็นให้ถือขวดโดยปิดฝาจุกนมไว้ ใต้นำ�้ เย็นที่ไหลผ่าน
การเสนอขวดนมให้
ให้ลูกเห็นขวดแล้วลูบแก้มเพื่อกระตุ้นรีเฟล็กซ์ การคุ้ย ลูกจะหันหาคุณโดยอ้าปากพร้อมดูดโดยอัตโนมัติ ถือขวดท�ำมุมประมาณ 45 องศา เพื่อให้น�้ำนม เต็มคอขวด และไม่มฟี องอากาศ เสนอจุกนมให้แก่ลกู และ ให้เขาน�ำเข้าไปลึกในปากและเริ่มดูด ให้ขวดอยู่นิ่งไว้ เพื่อให้สามารถอมได้เหมาะๆ
การดื่มจนอิ่ม
คุณจะรูส้ กึ ถึงการดูดของลูก ปรับมุมเพือ่ ให้สว่ นบน ของขวดมีนมเต็มเสมอ น�ำขวดออกเมือ่ ลูกรับประทานเสร็จหรือคุณต้องการ ให้เขาเรอ สอดนิ้วก้อยเข้าในมุมปากเพื่อหยุดการดูด ทันทีทเี่ รียบร้อยแล้วให้ทงิ้ นมทีไ่ ม่ใช้ไปและเริม่ ป้อนครัง้ หน้า ด้วยนมที่ผสมใหม่ๆ
86
บทที่
4
การดูแล ลูกเกิดก่อนก�ำหนด
ในโรงพยาบาล
ถ้าลูกเกิดก่อนวันครบก�ำหนดคลอด การตั้งครรภ์ และการคลอดก็น่าจะไม่ได้เกิดขึ้นตามที่คุณคาดหวังไว้ แทนที่จะมีระยะเวลาหลังคลอดแสนสุข ความวิตกกังวล เรื่องสุขภาพของลูกก็จะครอบง�ำความคิดของคุณทันที ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการป้อนนมเลย คุณอาจไม่มีเวลาอุ้มลูก ทันทีหลังจากเกิดด้วยซ�้ำถ้าเขาต้องไปพักในหออภิบาลทารก พิเศษ หรือหออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤตถ้าเกิดก่อนก�ำหนด มาก หรือมีปัญหาสุขภาพ ความฝันที่จะเห็นลูกนอนหลับ ในอ้อมแขนและออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านด้วยกันสลายไป คุณจะรูส้ กึ เหมือนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ขณะทีย่ นื ดูพยาบาล ในหออภิบาลทารกพิเศษดูแลลูก และถึงแม้ลกู จะไม่มปี ญั หา ร้ายแรงใดๆ ก็จะยังตัวเล็กและบอบบางเหลือเกิน การใช้เวลากับทารกแรกเกิดจะเป็นความส�ำคัญ อันดับแรก (ดูหน้า 89) แต่คุณก็ต้องท�ำเป้าหมายอื่นๆ ให้ลุล่วงด้วย หากคุณคลอดทางช่องคลอดก็จ�ำเป็นต้อง พักผ่อนเพือ่ ให้รา่ งกายฟืน้ คืนสูส่ ภาพปกติ หลังจากผ่านสิง่ ที่ อาจเป็นกระบวนการอันยากเข็ญและต้องใช้ความพยายาม อย่างมาก อาจเป็นเวลาหลายสัปดาห์กว่าคุณจะรู้สึกเป็น คนเดิมอีกครั้ง
88
ถ้าผ่าตัดคลอด ก็จะใช้เวลานานกว่าแผลจะสมาน คุณอาจจะไม่ค่อยอยากดูแลตัวเองเพราะอยากดูแลลูก มากกว่า แต่คุณต้องเอาชนะความรู้สึกนี้ไปให้ได้
แฝดสองขึ้นไป
การตัง้ ครรภ์แฝดสอง (ขึน้ ไป) มีลกั ษณะเฉพาะ คือ จะคลอดเร็วกว่ากรณีการตัง้ ครรภ์ทารกคนเดียว แม้วา่ จะมี สาเหตุอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่ามดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นนั้นหมด เนือ้ ทีส่ ำ� หรับทารกทีก่ ำ� ลังเติบโตหลายคนและไม่มที างเลือก อืน่ นอกจากคลอดออกมา ขณะทีจ่ ำ� นวนทารกในครรภ์เพิม่ ขึน้ โอกาสของการเกิดก่อนครบก�ำหนดก็จะมากขึ้นไปด้วย ปัญหาใหญ่ทสี่ ดุ กับแฝดพีน่ อ้ งทีเ่ กิดพร้อมกันหลายคน คือ มีทารกหลายคนกว่าปกติ ในหออภิบาลทารกพิเศษนัน้ เรื่องนี้ท�ำให้เกิดความยากล�ำบากเล็กน้อย เช่น การที่คุณ ต้องป้อนอาหาร 2 คนพร้อมกัน การผลิตน�ำ้ นมให้เพียงพอ ส�ำหรับ 2 คน และขณะนีค้ ณุ มีลกู 2 คน (ขึน้ ไป) ให้เป็นห่วง ปัญหาทีไ่ ม่เหมือนใครอีกประการหนึง่ ทีค่ ณุ อาจต้อง เผชิญ คือ แฝดคนหนึง่ อาจพร้อมออกจากโรงพยาบาลก่อน อีกคน ถ้าแฝดคนที่ 2 จะออกจากโรงพยาบาลหลังจากนั้น การคลอดลูกแฝด 2-3 วัน แฝดคนแรกก็มักจะได้รับ เพิ่มเติมเกี่ยวกับ อนุญาตให้อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อให้ แม้วา่ การคลอดลูกแฝดส่วนใหญ่จะเป็นแฝดสอง แต่แฝดสาม แฝดสี่ ทัง้ คูก่ ลับบ้านพร้อมกัน แต่ประเด็นใน แฝดห้า และแม้แต่แฝดหกก็พบบ่อยขึน้ เรือ่ ยๆ เนือ่ งจากการปฏิสนธิภายนอก ทางปฏิบตั จิ ะชัดเจนขึน้ อีกครัง้ ถ้าคุณ ร่างกาย การมีลูกแฝดอาจเป็นผลจากการที่รังไข่ปลดปล่อยไข่หลายใบหรือ มีลูกคนหนึ่งอยู่ที่บ้านและคนหนึ่งใน มีการปลูกฝังไข่หลายใบในช่วงของการผสมเทียม ในกรณีเช่นนัน้ ไข่แต่ละใบ หออภิบาลทารกพิเศษ การเยี่ยมแฝด จะถูกผสมแยกกันและเกิดการปฏิสนธิของพีน่ อ้ งต่างไข่ซงึ่ สามารถเป็นเพศใด คนหนึง่ ท�ำให้ผใู้ หญ่คนหนึง่ ต้องออกไป ก็ได้ อีกทางหนึง่ คือ ไข่ทผี่ สมแล้วใบเดียวสามารถแยกตัว ผลิตเอ็มบริโอร่วม นอกบ้าน ส่วนอีกคนหนึ่งต้องอยู่บ้าน ไข่ได้ 2 ตัว 3 ตัว หรือมากกว่านั้นในบางกรณี โดยจะเป็นเพศเดียวกันเสมอ เพือ่ ดูแลลูกอีกคนหนึง่ และคุณก็นา่ จะ การมีลกู แฝดหลายคนจะมีความเสีย่ งมาก เนือ่ งจากมดลูกสามารถ อยู่บ้านมากกว่าโรงพยาบาล คุณอาจ อุม้ ให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกในครรภ์จ�ำนวนหนึง่ เท่านัน้ การตัง้ ครรภ์ รู้สึกผิดที่แฝดคนที่อยู่โรงพยาบาล หลายคนแม้แต่แฝดสองจะมีโอกาสคลอดก่อนก�ำหนดมากขึ้น เกิดปัญหา ไม่ได้รบั การดูแลมากพอจากคุณ หรือ สุขภาพ เช่น ตาบอด อัมพาต สมองใหญ่ และเสียชีวติ ได้ เพือ่ ลดความเสีย่ ง ถ้าแฝดในหออภิบาลทารกพิเศษยังคง แพทย์จะพยายามให้แม่มีลูกครั้งละคน แต่ก็ไม่ได้เป็นไปได้ทุกกรณี เจ็บป่วยคุณอาจรู้สึกผิดที่คิดถึงเขา มากเกินไป นอกจากนี้ยังมีความ
ยากล�ำบากเชิงการจัดการจ�ำนวนมากเกี่ยวกับลูกแฝดเมื่อ ดูให้แน่ใจว่าคูข่ องตนพักผ่อน ท�ำงานบ้านเพือ่ ให้เวลาคูข่ องตน ทั้งคู่อยู่บ้าน ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 2 ผ่อนคลาย และพาไปกลับโรงพยาบาล พ่อยังอาจจ�ำเป็นต้อง ไปท�ำงานต่อด้วย ทีจ่ ริงความประสงค์ของพ่อทีจ่ ะขยายและ การเยี่ยมลูกในหออภิบาลทารกพิเศษ หาเลี้ยงครอบครัวที่ขณะนี้ใหญ่ขึ้นอาจส่งผลให้พ่อรู้สึก เช่นเดียวกับแม่ทกุ คนทีก่ ำ� ลังฟืน้ จากการคลอดอยูใ่ น ว่าต้องท�ำงานหนักกว่าเคย ในบางครอบครัวพ่อแม่ผลัด แผนกผูป้ ว่ ยหลังคลอด (และหลังจากออกจากโรงพยาบาล) กันเดินทางไปหออภิบาลทารกพิเศษโดยพ่อจะไปถึงใน คุณจะต้องการใช้เวลามากๆ กับทารกแรกเกิดที่เกิดก่อน เวลาเย็นหลังเลิกงาน พ่อยังอาจท�ำให้ตัวเองเหน็ดเหนื่อย ก�ำหนด การอยูก่ บั เขาในหออภิบาลทารกพิเศษจะท�ำให้คณุ อย่างมากได้โดยพยายามท�ำมากเกินไป ดังนั้นให้ระวัง และทารกได้รจู้ กั กัน ลูกจะเพลิดเพลินและสบายใจกับเสียง ลูกจะต้องการพ่อแม่สุขภาพดีที่ได้พักผ่อนเพียงพอ 2 คน และการสัมผัสของคุณอย่างแน่นอน และคุณจะสามารถเรียนรู ้ เมื่อกลับมาบ้านเนื่องจากจะมีสิ่งที่ต้องท�ำมากมาย วิธีบริบาลเขาภายใต้การสอนอันมีประโยชน์ของพยาบาล การต้องทิง้ ลูกไว้เมือ่ คุณออกจากโรงพยาบาลเป็นความ คุณต้องจัดสมดุลให้ได้ระหว่างการเยี่ยมลูกกับ ผิดหวังอย่างมาก บ่อยครั้งเกิดร่วมกับความเศร้า แต่หลัง การพักผ่อนให้เพียงพอเพือ่ ฟืน้ สุขภาพและพลังงาน ในเวลา เมฆด�ำยังมีแสงทองที่ขอบฟ้า เมื่อเทียบกับแม่ของทารก ที่ตัวคุณเองออกจากโรงพยาบาลให้ถามผู้ดูแลของคุณว่า แรกเกิดที่เกิดเมื่อครบก�ำหนด (ผู้มีเวลาเพียงวันสองวันใน แนะน�ำให้เยีย่ มบ่อยและนานเพียงใด ในขัน้ ต้นการเยีย่ มวัน โรงพยาบาลที่จะท�ำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีดูแลทารก) ละครั้ง (หรืออาจน้อยกว่านั้นถ้าภาวะของตัวคุณเองท�ำให้ คุณจะมีเวลามากกว่าทีจ่ ะกลายเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในการดูแลลูก เยี่ยมได้น้อย) นาน 2-3 ชั่วโมง (ถ้านั่งใกล้ตู้อบ) หรือน้อย ด้วยการใช้เวลาในหออภิบาลทารกพิเศษและมีพยาบาลสาธิต กว่านั้น (ถ้ายืน) ก็มากพอแล้ว หลังจากนั้นแม่จ�ำนวนมาก วิธที ำ� สิง่ เล็กๆ น้อยๆ ในกิจวัตรประจ�ำวัน คุณจะมีความช�ำนาญ จะเยีย่ มครัง้ หนึง่ ในเวลาเช้าโดยไปถึงก่อนเวลาป้อนอาหาร และมัน่ ใจในทักษะของคุณมากขึน้ เมือ่ น�ำลูกกลับบ้าน คุณจะ พอดีและจะอยูจ่ นเลยเวลาป้อนอาหารถัดไปพอดี แล้วแม่จะ เกิดความช�ำ่ ชองในการท�ำความสะอาด การเปลีย่ นผ้าอ้อม กลับบ้านและพักผ่อนตลอดช่วงบ่าย กลับไปเยีย่ มในช่วงเย็น และเสือ้ ผ้าให้ลกู รวมทัง้ การตวงและให้วติ ามิน นอกจากนี้ โดยใช้เวลาสั้นลง ทารกคลอดก่อนก�ำหนดจะนอนหลับ คุณจะเกิดความสบายใจในการยกและอุ้มลูก และในไม่ชา้ มากกว่าทารกทีค่ ลอดเมือ่ ครบก�ำหนด (ซึง่ นอนหลับประมาณ จะเรียนรูว้ า่ การร้องไห้หมายถึงอะไร เมือ่ เวลาผ่านไปคุณจะ วันละ 16-20 ชัว่ โมง) เสียอีก ดังนัน้ จึงแน่นอนว่าลูกจะหลับ กลายเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญวิธปี อ้ นด้วย บ่อยครัง้ ทารกทีเ่ กิดก่อน อยู่ในเวลาที่คุณไปเยี่ยมเป็นส่วนใหญ่ ก�ำหนดมากจะเจ็บป่วยมากทีเดียวในช่วงต้นอันเนือ่ งมาจาก พ่อก็ต้องการใช้เวลากับทารกแรกเกิดด้วย แต่ม ี การเจริญไม่เต็มทีข่ องปอด ล�ำไส้ ระบบไหลเวียน ฯลฯ และ ความจ�ำเป็นกดดันให้ทำ� สิง่ อืน่ ๆ ต้องดูแลคูข่ องตนโดยต้อง
การเกิดก่อนก�ำหนดคืออะไร ส�ำหรับคนเราเวลาปกติตั้งแต่ ไข่ของแม่ปฏิสนธิจนถึงคลอด คือ 38 สัปดาห์ แต่เรานับว่าการตัง้ ครรภ์นาน 40 สัปดาห์เพราะนับเวลาตั้งแต่เมื่อ ผู้หญิงเริ่มมีประจ�ำเดือนครั้งสุดท้าย ซึง่ โดยทัว่ ไปจะเกิดก่อนการตกไข่และ การปฏิสนธิ 2 สัปดาห์ แม้ว่าวิธีนับ แบบนี้จะไม่มีเหตุผลเพราะ 2 สัปดาห์ แรกของการตัง้ ครรภ์คณุ ไม่ได้ตงั้ ครรภ์ จริง แต่ผชู้ ำ� นาญทางการแพทย์ทวั่ โลก ใช้วิธีนี้ เมื่อแพทย์กล่าวถึงสัปดาห์ท ี่ 36 ของการตัง้ ครรภ์หรือกล่าวว่าทารก ในครรภ์มีอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จึง เป็นการนับจากประจ�ำเดือนครัง้ สุดท้าย การตั้งครรภ์ทั้งหลายไม่ได้ นาน 40 สัปดาห์พอดี แต่จะมีช่วง ค่อนข้างกว้างทีจ่ ดั ว่าปกติอยู่ จะกล่าว ว่าทารกแรกเกิดครบก�ำหนดถ้าเกิดที่ อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป (ไม่เกิน 42 สัปดาห์) การเกิดก่อนก�ำหนดพบ เมื่อการตั้งครรภ์สิ้นสุดก่อนสัปดาห์ที่
37 ของการตั้งครรภ์ น�ำ้ หนักแรกเกิดต�ำ่ และการเกิด ก่อนก�ำหนดไม่เหมือนกันนัก ในขณะที่ ทัง้ 2 กรณีมกั พบในทารกคนเดียวกัน แต่ บางครัง้ ทารกทีเ่ กิดหลังจาก 37 สัปดาห์ ของการตัง้ ครรภ์แม้ครบก�ำหนดก็หนัก น้อยกว่าที่คาดมาก (เรียกว่าทารกตัว เล็กกว่าอายุครรภ์) ร่างกายของทารก ที่เกิดก่อนก�ำหนดไม่สามารถท�ำงาน ได้เหมือนทารกที่เกิดเมื่อครบก�ำหนด การใช้อายุครรภ์หรือน�้ำหนักแรกเกิด มาตัดสินการเจริญไม่เต็มที่ของการ ท�ำงานทางร่างกายมักใช้ได้ แต่ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุด เด็ก 2 คน อาจเกิดเมื่อ อายุ 35 สัปดาห์ แต่ปอดหรือระบบ อืน่ ๆ ของร่างกายคนหนึง่ อาจท�ำหน้าที่ ดีกว่าอีกคนมาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ แม้ทงั้ สองจะอยู่ “ในตูอ้ บ” นานเท่ากัน แต่คนหนึ่งอาจออกมา “สมบูรณ์ มากกว่า” อีกคน
อายุของทารกเกิดก่อนก�ำหนด แสดงได้ 2 รูปแบบ คือ อายุตามเวลาของ ทารกระบุเป็นสัปดาห์หรือเดือนนับจาก เกิด อย่างไรก็ตาม อายุทแี่ ก้ไขแล้วของ ทารกจะเท่ากับอายุตามเวลาลบจ�ำนวน สัปดาห์ทเี่ กิดก่อนก�ำหนด ตัวอย่างเช่น ถ้าทารกอายุ 9 สัปดาห์ เกิด ณ 32 สัปดาห์ของการตัง้ ครรภ์ อายุทแี่ ก้ไขแล้ว จะเท่ากับ 1 สัปดาห์ (40-32 = 8 สัปดาห์ ก่อนก�ำหนด แล้ว 9-8 = 1) แต่นเ่ี ป็นเพียง การประมาณเท่านัน้ เป็นการสันนิษฐาน ว่าขณะนีร้ า่ งกายทารกท�ำงานใกล้เคียง กับทารกที่เกิดเมื่อครบก�ำหนด อายุ 1 สัปดาห์ แพทย์ใช้อายุที่แก้ไขแล้ว เนือ่ งจากการใช้อายุทแี่ ก้ไขแล้วนัน้ ท�ำให้ แพทย์สามารถเปรียบเทียบทารกทีเ่ กิด ด้วยระดับการเกิดก่อนก�ำหนดแตกต่าง กันและเปรียบเทียบกับทารกแรกเกิด ที่ครบก�ำหนดได้อย่างมีเหตุผล (แต่ ไม่ใช่เที่ยงตรงที่สุด)
ค�ำศัพท์ที่ใช้เมื่อพูดถึงทารกเกิดก่อนก�ำหนด การตั้งครรภ์ครบก�ำหนด การเกิดก่อนก�ำหนด ทารกเกิดก่อนก�ำหนด อายุครรภ์ ทารกเกิดก่อนก�ำหนดไม่นาน น�้ำหนักแรกเกิดต�่ำ อายุตามเวลา อายุที่แก้ไขแล้ว
90
การตั้งครรภ์นาน 37-42 สัปดาห์ การตั้งครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ทารกที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 36 สัปดาห์ จ�ำนวนสัปดาห์หรือเดือนของการตั้งครรภ์นับจากประจ�ำเดือนครั้งสุดท้าย ทารกที่เกิด ณ หรือหลังจาก 34 สัปดาห์ แต่ก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ น�้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม (5 ปอนด์ 8 ออนซ์) อายุนับจากเวลาเกิด อายุตามเวลาลบจ�ำนวนสัปดาห์ที่เด็กเกิดก่อนก�ำหนด (ตัวอย่าง ทารกอายุ 8 สัปดาห์ที่เกิดก่อนก�ำหนด 5 สัปดาห์ มีอายุตามเวลา 8 สัปดาห์ และอายุที่แก้ไข แล้ว 3 สัปดาห์) อีกวิธีหนึ่งในการคิดคือ จ�ำนวนสัปดาห์นับจากประจ�ำเดือนครั้ง สุดท้ายลบ 40 สัปดาห์ (ถ้าทารกเกิดเมื่อครบก�ำหนด)
บทที่
5
พัฒนาการ เดือนต่อเดือนของลูก
ทารกแรกเกิด แม้วา่ ภายนอกจะดูเหมือนว่าทารกแรกเกิดสามารถ รับประทาน ร้องไห้ ถ่ายอุจจาระ และนอนหลับได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเขามีความสามารถกว่านัน้ มาก แม้ภายใน สัปดาห์แรกของชีวิตลูกก็สามารถจ�ำหน้าของแม่ (และพ่อ ถ้าเห็นบ่อยพอ) และอาจเลียนแบบสีหน้าได้ (ลองท�ำหน้าตา และดูว่าเกิดอะไรขึ้น) ลูกยังสามารถแยกแยะแม่ด้วยกลิ่น และบางครั้งด้วยเสียงได้ กิจกรรมหลักของทารกแรกเกิด คือ การนอนหลับ และสามารถใช้เวลามากถึงวันละ 20 ชัว่ โมง ทารกจ�ำนวนมาก ดูเหมือนตืน่ มารับประทานแล้วผล็อยหลับหลังจากนัน้ ไม่นาน แต่ทารกบางคนก็ดเู หมือนง่วงเกินกว่าจะต้องการรับประทาน ในวันแรกๆ ซึ่งไม่ส�ำคัญนักในช่วงประมาณสัปดาห์แรก แต่หลังจากนั้นถ้าลูกขี้เซาก็ควรปลุกขึ้นมาป้อน คุณจะรู้ว่า ลู ก ได้ รั บ น�้ ำ นมเพี ย งพอถ้ า เขา รับประทานอย่างแข็งขัน ดูพอใจหลัง ได้รับประทาน และมีผ้าอ้อมเปียก และสกปรกจากปัสสาวะอุจจาระ จ�ำนวนมาก ทารกบางคนร้องไห้คอ่ นข้าง มาก คุณจะจ�ำเสียงร้องไห้ของลูกได้ ในไม่ชา้ และทราบว่าเสียงนัน้ แสดง ถึงความหิวหรือสิ่งอื่น (ความเปียก
106
หนาว ถูกจับอุ้มมากเกินไป ต้องการความเงียบสงบ ฯลฯ) ทารกแรกเกิดยังไวต่อเสียงดังๆ แสงจ้าๆ และกลิน่ แรงๆ ด้วย และร้องไห้ได้ถา้ สัมผัสสิง่ เหล่านี้ การโยกหรือร้องเพลงในที ่ เงียบช่วยได้ถ้าทารกไม่สบายใจ ถ้าคุณให้ลูกดูดนมแม่ การวางลูกชิดเต้านมจะท�ำให้สงบได้อย่างดีเยี่ยม ทารก บางคนชอบให้อุ้มไปไหนมาไหน และบางครั้งช่วยได้ที่ จะห่อตัวลูกด้วยผ้าเพื่อให้เขารู้สึกมั่นคงขึ้น (ดูหน้า 34) อย่างไรเสียทารกก็คุ้นเคยกับการถูกอุ้มอยู่ในครรภ์แคบๆ ก่อนเกิดอยู่แล้ว ทารกจะไม่มีก�ำลังกล้ามเนื้อมากนัก และคุณจะ สังเกตพบว่าศีรษะของเขามีแนวโน้มตกไปด้านหลังถ้าคุณ ดึงเขาขึ้นมานั่ง (เรียกว่า การค่อยๆ อ่อนล้าลงของศีรษะ) คุณต้องประคองศีรษะให้ดถี า้ ก�ำลังยกหรืออุม้ ทารกในท่านัง่ (ดูหน้า 34) แขนของทารกจะเคลื่อนไหว ในลักษณะปราศจากการควบคุม และ มือมักจะก�ำมากกว่าแบ ทัง้ นีจ้ ะค่อยๆ เปลี่ยนในช่วงสัปดาห์แรกๆ ลูกมี รีเฟล็กซ์บางอย่างเมือ่ เกิดซึง่ จะหายไป อย่างช้าๆ อย่างหนึง่ คือ การจับวัตถุที่ วางในมือ อีกอย่างหนึง่ คือ การโอบแขน ด้านหน้าตัว (เสมือนจะจับคุณ) ถ้าดัน ศีรษะไปด้านหลังเร็วๆ เป็นระยะทาง สั้นๆ ซึ่งเรียกว่า รีเฟล็กซ์มอโร หรือ รีเฟล็กซ์สะดุ้ง แต่ไม่มีเหตุผลที่จะลองท�ำบ่อยเกินไป ลูกจะเริม่ มองอยูก่ บั ทีใ่ นช่วงสัปดาห์สองสัปดาห์แรก แต่จะยังไม่มองตามใบหน้าที่เคลื่อนไหวผ่านลานสายตา ลูกสามารถได้ยินได้ แต่ไม่หันไปหาเสียง อย่างไรก็ตาม คุณสังเกตได้ว่าลูกจะเงียบลงถ้ามีเสียงรบกวนเบาๆ หรือ มีเสียงอยู่ใกล้ๆ อุจจาระของทารกแรกเกิดอาจค่อนข้างอ่อนนุ่ม โดยเฉพาะถ้าดูดนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อยมาก นอกจากนี้ ยังแปรผันได้ตั้งแต่สีนำ�้ ตาลเข้มถึงเกือบเหลือง
อายุ 1 เดือน
ขณะนี้ลูกดูเหมือนตื่นตัวขึ้นมากขณะที่ตื่นนอน เริ่มมองตามและหันตามเสียง จ�ำคุณได้อย่างชัดเจน ขึ้นและสนใจโลก ลูกจ้องคุณเขม็งได้ในขณะที่ก�ำลัง รับประทาน คุณอาจสังเกตเห็นรอยยิ้ม (แม้บางครั้งเป็น การเรอ) รอยยิ้มแท้จริงจะเกิดขึ้นตอบสนองรอยยิ้มของ คุณเอง และมักเกิดขึ้น ณ อายุประมาณ 6 สัปดาห์ การนอนหลับยังคงเป็นกิจกรรมหลัก และลูกจะเริม่ นอนหลับยาวขึ้นในเวลากลางคืนได้ แม้ว่าส�ำหรับทารก ส่วนใหญ่จะไม่เกิดขึ้นในอีกเดือนหนึ่งหรือ 2 เดือน ทารก ทุกคนแตกต่างกันเมื่อกล่าวถึงการปรับตัวเข้ากับกิจวัตร ทารกอายุเท่านี้มักมีความสุขอยู่ได้ 3-4 ชั่วโมง ระหว่าง การป้อนแต่ละครั้ง แต่มักไม่ใช่เวลากลางคืน ทารกยังคงร้องไห้บ่อย โดยทั่วไปเนื่องจากหิวหรือ ไม่สบายตัว ทารกบางคนร้องไห้มากและแรงโดยเฉพาะ เวลากลางวัน มักเรียกว่า โคลิก (ดูหน้า 177) ซึง่ ยังไม่ทราบ สาเหตุที่แท้จริงและไม่มีการรักษาให้หายขาด (แม้ว่าการ โยกตัวมักช่วยได้) แต่โคลิกจะค่อยๆ ดีขนึ้ ทารกยังท�ำเสียง เล็กๆ ได้ด้วยเมื่อพอใจ แต่ยังไม่ใช่การกระซิบกระซาบ ที่แท้จริง กล้ามเนื้อของลูกจะเติบโตแข็งแรงขึ้น และเขา สามารถชันคอได้นานขึ้นแม้ว่าจะยังคงค่อยๆ อ่อนล้าลง เมือ่ อยูใ่ นท่านัง่ ลูกจะโบกแขน และปัน่ จักรยานกลางอากาศ ด้วยขาเมือ่ ตืน่ เต้น (ซึง่ ค่อนข้างบ่อย) มือจะก�ำเป็นส่วนใหญ่ แต่จะแบและจับนิ้วหรือวัตถุอื่นที่วางในฝ่ามือ ลูกก�ำลัง
เริ่มเรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่มือท�ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมือขยับ และจะชอบถ้าคุณจับมือเขาขยับ ลูกจะต้องการให้กอดและอุม้ มากๆ และไม่มคี ำ� ว่า กอดหรืออุม้ มากเกินไป ลูกจะเพลิดเพลินกับโมบายหรือวัตถุ อื่นที่เคลื่อนไหวที่วางตรงหน้าไม่ไกลนัก คุณสามารถเริม่ เล่นเกมกับลูกได้แล้วในช่วงนี้ เมือ่ ลูก อยู่บนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมและเสื้อผ้าให้โน้มเข้าหาเขา ให้ใบหน้าห่างกันประมาณ 20-30 เซนติเมตร และคุย กับเขาอย่างมีความสุข หยุดชั่วคราว และให้โอกาสลูกยิ้ม ท�ำเสียงในคอ ขยุกขยิกหรือขยับปาก ลองท�ำสิ่งเหล่านี ้ ครั้งละอย่าง ได้แก่ ยิ้ม แลบลิ้น อ้าปากกว้างและหุบ หรือ หัวเราะคิกคัก ลูกจะเริ่มเลียนแบบคุณได้ ลูกจะชื่นชอบ ดนตรีและเสียงร้องเพลง และเกมสาดน�ำ้ เบาๆ ในอ่างอาบน�ำ้ ในขณะที่คุณอาบน�ำ้ ให้ด้วย ลูกก�ำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแม้วา่ จะมีความแปรผันมาก ด้านน�ำ้ หนัก และทารกทีต่ วั ใหญ่เมือ่ เกิดอาจไม่เพิม่ น�ำ้ หนัก มากเท่าทารกทีน่ ำ�้ หนักแรกเกิดต�ำ่ กว่า (ดูแผนภูมหิ น้า 391)
107
อายุ 2 เดือน ลูกควรนอนหลับน้อยลงในช่วงกลางวัน แต่ (ถ้าคุณ โชคดี) มากขึ้นในเวลากลางคืน ทารกอาจรับรู้ถึงกิจวัตร ต่างๆ เช่น การป้อน การอาบน�ำ ้ และตืน่ เต้นเมือ่ จ�ำสัญญาณได้ ทารกจะรับรู้ถึงโลกและคนพิเศษรอบตัวมากขึ้น ลูกจะแสดงอาการจ�ำได้โดยเกิดอาการตื่นเต้น ทั้ง ท�ำเสียงในคอ ยิม้ และโบกมือเมือ่ เห็นคนหรือของเล่นทีช่ อบ ถ้าคุณคุยกับลูกเขาจะส่งเสียงกลับ และถ้าก�ำลังร้องไห้กจ็ ะ หยุดถ้าคุณยกตัวเขาขึ้นมาพูดด้วย ลูกจะเพลิดเพลินกับ การมีคนอยู่ด้วยและถ้าอยู่ในอารมณ์อยากสังสรรค์ก็จะ ไม่สบายใจเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ลำ� พัง ทารกอายุเท่านีส้ ว่ นใหญ่ชอบให้กอด แต่ทารกทุกคน แตกต่างกัน และ ณ อายุนอี้ ารมณ์จะเริม่ ปรากฏให้คณุ เห็น หมายความถึงว่าเขามีปฏิกิริยาในฐานะคนหนึ่งๆ อย่างไร จะมีบคุ ลิกภาพแบบใด เปิดเผยและชอบสังคม หรือเก็บตัว และช่างคิดมากกว่า คุณสามารถช่วยลูกได้โดยเรียนรู้ที่จะ ตอบสนองในลักษณะที่เหมาะกับเขาที่สุด
108
ทารกจะดูวตั ถุอย่างระมัดระวังมากขึน้ ถ้าเคลือ่ นไหว ช้าๆ ผ่านสายตาและจะศึกษาใบหน้าของคุณอย่างจริงจัง จะยิม้ บ่อยขึน้ หัวเราะและท�ำเสียงในคอได้ และจะท�ำเสียง หลากหลายขึ้นด้วย ทารกควรสามารถเพ่งมองใบหน้าตัวเองในกระจกได้ ถ้าถือกระจกใกล้พอ ขยับกระจกช้าๆ ขยับลงและขยับไป รอบๆ และดูการที่ทารกพยายามให้ตัวเองเห็นเงาสะท้อน ตลอดเวลา ทารกจะชอบมากเวลาที่คุณคุยด้วย และด้วย ปฏิสัมพันธ์ทางภาษาอย่างสม�่ำเสมอเขาจะเรียนรู้ค�ำแรกๆ แม้หนทางจะยังอีกยาวไกล มือของทารกน่าสนใจขึ้นในสายตาของเขาเอง และเขาจะมองดูมอื และจับวัตถุเป็นเวลาสัน้ มากๆ ทารกจะ เริม่ สังเกตเห็นนิว้ มือและจะใช้นวิ้ โอบรอบวัตถุทเี่ ข้ามาในนิว้ ลองให้ทารกก�ำนิว้ ของคุณแล้วโยกตัวเขาไปมา คุณสามารถ หนุนตัวทารกอย่างนุ่มนวลบนเบาะและวางวัตถุสีสันสดใส ขนาดเล็กๆ ไว้ให้เห็น ร่างกายลูกจะแข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลูกจะ สามารถชันคอได้ 2-3 วินาที ถ้าประคองทรวงอกไว้ และหลัง จะตรงขึ้นเมื่ออยู่ในท่านั่งแม้ว่าจะยังนั่งด้วยตัวเองไม่ได้ เมื่อลูกนอนคว�่ำจะสามารถยกศีรษะขึ้นและแอ่นหลังได้ แต่ยังไม่สามารถกลิ้งตัวหรือใช้แขนยันพื้นได้ กิจวัตรมีความส�ำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ลูก อายุมากขึน้ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน และกิจวัตรในเวลา เข้านอนปกติที่เริ่มที่อายุนี้จะช่วยป้องกันปัญหาภายหลัง และท�ำให้เวลาที่เขาจะย้ายไปนอนเตียงตัวเองง่ายขึ้น น�้ำหนักจะเพิ่มอย่างรวดเร็วต่อไป ช่วงนี้เป็นเวลาส�ำหรับการพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายเป็นครั้งแรกและฉีดวัคซีน (ดูหน้า 332 และ 335) แม้ว่าอาจเป็นเวลาที่ท�ำให้คุณวิตกกังวล แต่ ทารกส่วนใหญ่จะไม่สบายใจเป็นเวลาเพียงสัน้ ๆ เท่านัน้ จาก เข็มฉีดยา และจะลืมในไม่กี่นาที
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณรูปภาพ
ปกหน้า : Camera Press/Eltern น. 10 Mothercare; น. 12-15 Mothercare; น. 16 Photolibrary.com; น. 21 Photolibrary.com; น. 25 Photolibrary.com; น. 27 (บนซ้าย) Scott Camazine/Science Photo Library; (บนขวา) Lea Paterson/Science Photo Library; (ล่างซ้าย) Dr P. Marazzi/Science Photo Library; (ล่างขวา) Science Photo Library; น. 48 เอื้อเฟื้อรูปภาพโดย JoJo Maman Bebe; น. 58 Photolibrary.com; น. 60 BabyBjorn; น. 67 Photolibrary.com; น. 72 Photolibrary.com; น. 74-75 Angela Spain/Mother & Baby Picture Library; น. 79 Photolibrary.com; น. 87 Photolibrary.com; น. 89 Photolibrary.com; น. 97 รูป Tiny Traveller เอื้อเฟื้อโดย Bettacare Ltd; น. 98 Tracy Dominey/Science Photo Library; น. 118 Photolibrary.com; น. 119 Photolibrary.com; น. 121 Photolibrary.com; น. 124 Photolibrary.com; น. 126 Photolibrary.com; น. 128 Photolibrary.com; น. 130 Photolibrary.com; น. 155 Photolibrary.com; น. 163 Photolibrary.com; น. 168 Photolibrary.com; น. 169 Photolibrary.com; น. 172 Photolibrary.com; น. 176 Leigh Schindler; น. 196 Photolibrary.com; น. 201 Photolibrary.com; น. 210 Photolibrary.com; น. 211 Photolibrary.com; น. 213 Photolibrary.com; น. 215 Photolibrary.com; น. 219 BabyBjorn; น. 220 BabyBjorn; น. 229 Photolibrary.com; น. 238 Photolibrary.com; น. 239 Photolibrary.com; น. 272 BSIP, Villareal/Science Photo Library; น. 280 Photolibrary.com; น. 286 Photolibrary.com; น. 287 Photolibrary.com; น. 292
404
Photolibrary.com; น. 295 Photolibrary.com; น. 296 Photolibrary.com; น. 303 Photolibrary.com; น. 312 Photolibrary.com; น. 319 Photolibrary.com; น. 324 Dr P.Marazzi/Science Photo Library; น 343 (บน) Photlibrary.com; น. 332 Ian Hooton/Science Dr P. Marazzi/Science Photo Library; (ล่าง) Paul Whitehill/Science Photo Library; น. 346 IanHooton/Science Photo Library; น. 358 (บน) Gustoimages/Science Photo Library; (ล่าง) Dr P.Marazzi/Science Photo Library; น. 362 (บน) Chris Knapton/Science Photo Library; (ล่าง) Dr H.C.Robinson/Science Photo Library; น. 364 Lowell Georgia/Science Photo Library; น. 366 Dr P.Marazzi/Science Photo Library; น. 371 AJ Photo/Science Photo Library; น. 372 LA LA/Science Photo Library; น. 374 (บน) รูป Bath Support เอื้อเฟื้อโดย Homecraft Rolyan Ltd; (กลาง) รูป Buggie เอื้อเฟื้อโดย Amilly International Ltd; (ล่าง) Photolibrary.com; น. 378 Photolibrary.com; น. 380 Gustoimages/Science Photo Library. ขอบคุณ St.John's Ambulance Brigade ส�ำหรับการจัดหา รูปถ่ายการปฐมพยาบาลให้ในหน้า 327, 328, 329, และ 330
ฉบับสมบูรณ
คัมภีร การดูแลทารก
ฉบับสมบูรณ
เด็กเล็ก
และ
คัมภีร การดูแลทารกและเด็กเล็ก
การเลี้ยงทารกตั้งแตวัยแรกเกิดที่ชวยเหลือตัวเองไม ไดจนถึงอายุ 3 ป เปนสิง่ ทีพ่ อ แมตอ งใสใจและใหความสำคัญ เริม่ ตัง้ แตการเตรียมตัว ใหพรอมสำหรับตอนรับสมาชิกใหม การดูแลตัง้ แตแรกเกิด การปอนนม การดูแลลูกทีเ่ กิดกอนกำหนด การติดตามพัฒนาการแบบเดือนตอเดือน การนอนหลับ การปอนอาหาร การรองไห การดูแลสุขภาพ ไปจนถึง การทำใหลูกปลอดภัยจากอันตรายและความเจ็บปวยตางๆ ทีมงานผูชำนาญเฉพาะทางไดเรียบเรียงหนังสือเลมนี้ขึ้น สำหรับใหพอแมนำไปศึกษาและเรียนรู เพื1อใหพรอมปฏิบัติจริง อยางปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด เนื้อหาในเลมมีรูปภาพ และรายละเอียดในการดูแลทารกและเด็ก ที่เปนปจจุบันและครบถวนที่สุด
คัมภีร การดูแลทารก
เด็กเล็ก
และ
หนังสือที่มีหลักฐานสนับสนุน และเปนปจจุบันที่สุด เกี่ยวกับการดูแลทารก ตั้งแตเกิดจนถึงอายุ 3 ป สรางสรรคโดยทีมผูเชี่ยวชาญ ในสาขากุมารเวชศาสตร โภชนาการ จิตวิทยา และพัฒนาการ
ฉบับสมบูรณ
786165
278812
ราคา 350.-
บรรณาธิการผู ร วมเขียน
9
Dr A.J.R. Waterston
ISBN 978-616-527-881-2
MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
คัมภีร การดูแลทารกและเด็กเล็ก
บรรณาธิการผู ร วมเขียน
Dr A.J.R. Waterston
MD, FRCP, FRCPCH, DRCOG, DCH
350.-