คุณแม่มือใหม่เข้าใจลูกรัก วัย 0-3 ปี

Page 1


ISBN 978-616-527-356-5 ราคา 99 บาท

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามน�ำส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ ไปลอกเลียนแบบ ท�ำส�ำเนา ถ่ายเอกสาร หรือน�ำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางส�ำนักพิมพ์เท่านั้น ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ ผู้เขียน วรรณา หวังกิตติพร ออกแบบปก ภรณีย์ สนองผัน ออกแบบรูปเล่มและภาพประกอบ เพียงพิศ อิ่นแก้ว พิสูจน์อักษร บุษกร กู้หลี ประสานงานสื่อสิ่งพิมพ์ บุษกร กู้หลี ฝ่ายการตลาด วราลี สิทธิจินดาวงศ์ พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส 213/3 ซอยพัฒนาการ 1 (สาธุประดิษฐ์ 34 แยก 6) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com

จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ชั้น 19 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 www.se-ed.com

กรณีต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมาก กรุณาติดต่อฝ่ายการตลาด ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 เพื่อรับส่วนลดพิเศษ หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ�ำ้ หน้าขาดหาย ทางส�ำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)


ค�ำน�ำ ทันทีที่ลูกน้อยคลอดออกมาสู่ โลกภายนอกอย่างปลอดภัย คุณแม่ย่อมรู้สึกเปี่ยมล้น ด้วยความยินดี แต่หลังจากนั้นคุณอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาสารพัด ลูกมองเห็นหรื อยังนะ ง่วงหรื อเปล่า หิวไหม อิ่มหรื อยัง

เจ็บตรงไหน ฯลฯ

กว่าที่คุณแม่และลูกน้อยแรกเกิดจะท�ำความคุ้นเคยกันได้นั้นต้องใช้เวลา และกว่า ที่คุณแม่จะเข้าใจพฤติกรรม ลักษณะนิสัย ตลอดจนความต้องการของลูกน้อย จึงต้องใช้ ความช่างสังเกต หลายสิ่งหลายอย่างท�ำให้คุณแม่มือใหม่เกิดความสงสัย ไม่มั่นใจ หลายสิ่งหลายอย่างที่มั่นใจ อาจไม่ ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะทารกแรกเกิดนับเป็นสิ่งมีชีวิตที่แสนมหัศจรรย์ ร่างเล็กจิ๋วบอบบางนั้นเติบโต และมีพัฒนาการรวดเร็วอย่างน่าพิศวง แม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการนอนหลับของทารก ยังแฝงไว้ด้วยความลับบางอย่าง และยังมีอกี หลายๆ เรื่ องของพวกหนูๆ ทีค่ ณ ุ แม่ยงั ไม่รแู้ ละไม่อาจละเลยได้ ผูเ้ ขียนจึงได้ คัดสรรเรื่ องราวทีน่ า่ สนใจจากประสบการณ์การเขียนบทความในนิตยสาร M&C แม่และเด็ก มาเรี ยบเรี ยงเป็น ‘คุณแม่มือใหม่เข้าใจลูกรักวัย 0-3 ขวบ’ ที่อยู่ ในมือคุณขณะนี้ ซึ่งจะช่วย ให้คุณแม่ได้ท�ำความรู้จักและเข้าใจลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบได้ดียิ่งขึ้น Baby

OIL

Baby Cream

วรรณา หวังกิตติพร


สารบัญ เจ้าตัวเล็กหลับสบาย เรี ยนรู้แม้ยามหลับ อุ้ม...สัมผัสรักจากแม่ เทิร์นโปรคุณพ่อมือใหม่ อิ่มอุ่นด้วยนมขวด ดูแลก้นบอบบางอย่างนุ่มนวล มหัศจรรย์รา่ งกายทารก สัมผัส...ภาษาของทารก นักจ�ำวัย 4 เดือน สนุกเรี ยนรู้ด้วยมือน้อยๆ คุณแม่...ของเล่นชิ้นโปรด พัฒนากล้ามเนื้อมือผ่านการเล่น กายบริ หารฝึกการเคลื่อนไหว ฟัน FUN FUN นวดสัมผัสรักเพื่อสุขภาพ

5 8 11 15 19 24 28 32 38 41 43 46 49 54 58

อาหารเสริ มก่อนวัยครบขวบ เมนูอิ่มง่ายได้ประโยชน์ เริ่ มซนเพื่อเรี ยนรู้ สนุกกับการ “อึ” สังเกตสี “อึ” สงครามในอ่างอาบน�้ำ สนุกกับการแต่งตัว ช่วงเวลาแห่งการเล่น ค้นพบตัวเองจากการเล่นคนเดียว นักผจญภัยรุ่นจิ๋ว นี.่ ..ของหนูนะ! ปราบลูกจอมเฮี้ยว ฝึกลูกไม่ ให้เกเร เรื่ องน่าห่วงของเด็กดี 15 ค�ำถามที่คุณแม่สงสัย

61 63 68 70 73 78 81 82 88 94 99 103 107 109 113


4


เจ้าตัวเล็กหลับสบาย ทารกแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน คุณแม่มอื ใหม่จงึ มีเวลาในการเฝ้ามองเขา ยามหลับเกือบทัง้ วัน และเพราะความเป็นแม่นลี่ ะ่ เราจึงช่างสังเกตสังกาว่าเขาจะเป็นอย่างไร หลับสบายดีไหม บางครัง้ ดูๆ แล้วท่าทีน่ อนไม่นา่ จะท�ำให้เขาหลับสบาย จึงอดไม่ได้ทจี่ ะเข้าไป จัดท่าจัดทางเหล่านั้นเสียใหม่ แต่เชือ่ ไหมว่า ในความเป็นจริ งแล้วทารกรูจ้ กั หาท่านอนทีท่ ำ� ให้เขารูส้ กึ สบายได้เองตาม ธรรมชาติโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งท่านอนของเขาก็จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป เรื่ อยๆ อีกด้วย! อย่างเช่นในวันแรกๆ หลังจากที่เขาคลอดออกมา ท่านอนที่สบายที่สุดของเขาเป็นท่า ที่ ใกล้เคียงกับเมื่อตอนที่เขาอยู่ ในครรภ์คือท่านอนคุดคู้ และวันต่อๆ มาท่าที่สบายของเขา จะกลายเป็นท่านอนหงายผึ่งพุง กางมือกางเท้าเต็มที่ ส่วนท่านอนทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ในเวลากลางคืนก็คอื ท่านอนหงาย หรื อนอนตะแคง ถ้าลูกถนัดทีจ่ ะนอนตะแคงคุณแม่ควรหมัน่ พลิก ตัวเขาตะแคงซ้าย-ขวาสลับกัน และควรใช้หมอนใบเล็กนุม่ ๆ หนุน ไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อป้องกันการพลิกตัวคว�่ำหน้าหรื อ หงายหลัง

5


ลูกเล็กๆ ในวัยนี้ หากคุณแม่อยากให้นอนคว�่ำเพื่อให้เขาได้หลับนาน ไม่ผวาตื่น ก็ควร จับเขานอนคว�่ำเฉพาะเวลากลางวันที่ลูกน้อยอยู่ ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่หรื อมีพี่เลี้ยงอยู่ ด้วยเท่านั้น และไม่ควรให้ทารกนอนบนที่นอนที่น่มุ หรื ออ่อนยวบเกินไป เพราะการปล่อย เด็กทารกที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้นอนคว�่ำบนที่นอนนุ่มๆ ตามล�ำพังนั้น อาจท�ำให้เด็กเสียชีวิต อย่างกะทันหันได้ โดยทางการแพทย์เรี ยกว่า SIDS (Sudden Infant Death Syndrome ภาวะการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในทารกขณะหลับ) แม้ภาวะนีจ้ ะไม่ค่อยพบในเด็กไทย แต่ การป้องกันไว้ก่อนน่าจะเป็นการดีกว่าที่จะต้องเสียใจภายหลัง ตราบใดทีเ่ ขายังไม่สามารถเปลีย่ นท่าทางได้เองในยามทีเ่ ขาตืน่ อยู่ คุณแม่ควรช่วยปรับ เปลี่ยนท่าให้เขาเป็นระยะๆ เพื่อให้เขาได้เปลี่ยนมุมมองที่แปลกใหม่กับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ไม่วา่ จะเป็นด้านข้าง ซ้ายขวา นอกจากนีก้ ารเปลีย่ นให้เขาได้นอนในท่าทีแ่ ตกต่างกันไปจะ ช่วยให้เกิดพัฒนาการที่ดีต่อกระดูกสันหลัง รวมทั้งประสาทสัมผัสโดยทั่วไปอีกด้วย

ที่นอนที่ลูกจะนอนได้อย่างอบอุ่นและสบายไม่จ�ำเป็นต้องเป็นที่ที่กว้าง คุณแม่อาจจัด ให้เขานอนในเปลเล็กๆ ข้างเตียงของคุณพ่อคุณแม่ไปก่อน พอเขาโตขึน้ จึงค่อยเปลีย่ นให้นอน บนเตียงส�ำหรับเด็ก แต่ต้องไม่ลืมหาหมอนใบเล็กๆ หรื อแผ่นฟองน�้ำติดไว้เป็นกันชนรอบๆ เตียง โดยเฉพาะด้านบนเพื่อป้องกันศีรษะลูกไม่ ให้กระแทกกับลูกกรงเตียง

6


เชือ่ ไหมคะว่า ทารกจะหลับเองได้ดแี ละหลับได้สนิทเต็มทีเ่ มือ่ เขาถูกปล่อยให้นอนหลับเอง บนเตียง แต่ ในทางปฏิบัติโดยทั่วๆ ไป ทารกมักถูกน�ำไปนอนบนเตียงเมื่อเขาหลับไปแล้ว ขณะที่เขาหลับสนิทนั้นจะมีช่วงหนึ่งที่ตาของเขาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรี ยกว่า REM (Rapid Eye Movement) ในช่วงนีแ้ หละที่เขาจะถูกคุณแม่ท�ำให้ตื่นได้ง่ายมาก เพราะ เขาจะมีท่าทางเหมือนกับว่าก�ำลังจะตื่น เช่น ดิ้น บิดขี้เกียจ ท�ำหน้าย่น ส่งเสียงเบาๆ หรื อ แม้กระทัง่ ร้องออกมา ทัง้ ทีจ่ ริ งแล้วเขาไม่ได้รสู้ กึ ไม่สบายตัวแต่อย่างใด และเขาก็ยงั ไม่อยาก ตืน่ ด้วย แต่พอได้ยนิ เสียงลูกร้อง คุณแม่มกั รี บเข้าไปอุม้ เขาขึน้ มาปลอบโยนเพือ่ ให้เขาสงบลง แต่สิ่งที่มักเกิดขึ้นตามมาก็คือ แทนที่เขาจะหลับต่อกลายเป็นว่าเขาได้ตื่นเสียแล้ว ดังนั้น หากลูกมีท่าทีว่าจะตื่น อย่าเพิ่งรี บอุ้มเขานะคะ รอดูไปก่อนสักพัก หรื อค่อยๆ กล่อมให้เขาหลับต่อด้วยการใช้มอื ลูบไล้หน้าอกหรื อตบก้นเขาเบาๆ ลูกจะเคลิม้ หลับต่อไปได้เอง

Zz

7


เรียนรู้แม้ยามหลับ เคยแอบสังเกตการนอนของเจ้าตัวเล็กกันไหมคะ ถ้ายังไม่เคย วันนีล้ องไปแอบดูท่าทางของเขายามหลับกันดีกว่า แล้วจะรู้ว่าแม้แต่ การนอนก็มี Step เหมือนกัน ทารกในช่วงเดือนแรกๆ แม้เราจะเห็นว่าเขาหลับอยู่เกือบตลอดเวลา แต่เชื่อไหมว่า ทุกครั้งที่เขานอนหลับพริ้ มอยู่นั้น เขาไม่ได้หลับสนิทจริ งๆ เลยสักครั้ง ทั้งยามหลับและยาม ตื่นสมองน้อยๆ ของลูกจะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้เขาเรี ยนรู้ได้แม้ ในยามหลับ!

นักวิจัยได้ท�ำการวัดคลื่นสมองทารกแรกคลอดพบว่า คลื่นสมองของทารก ในขณะตืน่ และหลับมีลกั ษณะคล้ายคลึงกันมาก ทีมวิจยั จึงแนะน�ำคุณพ่อคุณแม่วา่ ก่อนทีท่ ารกจะหลับไม่จำ� เป็นต้องท�ำห้องทัง้ ห้องให้อยู่ ในความเงียบสงบเสมอไป การเปิดและ ปิดไฟ หรื อแม้แต่การพูดคุยกันนั้นก็สามารถท�ำได้ เพราะเขาอาจก�ำลังเงี่ยหูฟังและเรี ยนรู้ ผ่านเสียงที่ ได้ยินอยู่ก็เป็นได้ ยิ่งถ้าเป็นเสียงคุณพ่อคุณแม่ที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่อยู่ ในครรภ์ แล้วละก็ ยิ่งจะช่วยท�ำให้เขารู้สึกอบอุ่นใจขึ้นได้อีกด้วย และในขณะหลับไม่เพียงแต่สมอง ของทารกเท่านั้นที่ตื่นตัว ร่างกายของเขาเองก็เช่นกัน นีแ่ หละเหตุผลที่เราชวนให้คุณๆ มา แอบดูการหลับของเจ้าตัวเล็ก หลังจากที่วัดคลื่นสมองของทารก นักวิจัยได้สังเกตอากัปกิริ ยาของทารกอายุ 10-20 สัปดาห์ ระหว่างหลับพบว่าเขาจะไม่อยู่นงิ่ เลย หากเป็นการหลับในช่วงกลางวัน ภายในครึ่ งชั่วโมงเขาจะเคลื่อนไหวร่างกายเฉลี่ยแล้ว 10.5 นาที และหากเป็นช่วงกลางคืน เขาจะเคลื่อนไหวถึง 24.4 นาทีเลยทีเดียว 8


ถ้าคุณลองสังเกตท่าทางของลูกน้อยยามหลับ จะพบว่าเขา มักท�ำท่าขยับปากคล้ายจะขอนม ขมวดคิ้ว ท�ำหน้าย่น หรื อยิ้ม อาการที่แสดงออกมาเหล่านี้ ไม่ได้บ่งบอกว่าเขาก�ำลังฝันดีหรื อ ฝันร้ายหรอก ที่เขามีสีหน้าท่าทางต่างๆ กันออกไปนั้นเป็น หนึ่งในพัฒนาการของกล้ามเนื้อใบหน้าต่างหาก

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าช่วงไหนที่ลูกหลับสนิทแล้ว

เมื่อทารกเริ่ มหลับ มือของเขาจะก�ำแน่น ถ้าคุณเอานิว้ สอดในอุ้งมือของเขาแล้วเขา ก�ำมือตอบ ก็แปลว่ายังหลับไม่สนิท แต่เมื่อหลับสนิทมือที่ก�ำก็จะคลายออก และถ้าคุณแม่ ลองเอานิว้ สอดที่อุ้งมือของเขาอีกเขาก็จะไม่ก�ำมือคุณแล้ว ทารกจะเริ่ มรู้จักการฝันเมื่ออายุ 6 เดือน แน่นอนว่าเขาบอกใครๆ ไม่ได้หรอกว่าก�ำลังฝันและตัวเขาเองก็ยังไม่ร้ดู ้วยว่ามันคือ อะไร แต่นักวิจัยได้ ใช้การวัดคลื่นสมองเป็นเครื่ องมือในการพิสูจน์ และพบว่าคลื่นสมองของ ทารกที่ก�ำลังฝันมีเส้นเหมือนคลื่นสมองของผู้ ใหญ่ขณะฝันเปี๊ยบ การหลับก็มีขั้นตอนของพัฒนาการเช่นกัน พออายุได้ขวบครึ่ งทารกจะเริ่ มเรี ยนรู้ถึง การหลับสนิท ความแตกต่างของคลืน่ สมองขณะหลับและตืน่ เพิม่ มากขึน้ โดยขณะหลับสมอง จะลดความตื่นตัวลง และเขาก็เริ่ มที่จะแยกช่วงเวลากลางวันและกลางคืนออกได้แล้ว ส่วนเรื่ องการมองเห็นนั้น เมื่อแรกเกิดดวงตาของทารกจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ แต่ ในระยะแรกๆ เขาจะยังไม่สามารถมองเห็นภาพวัตถุ ใดวัตถุหนึ่งได้ ต่อมาเขาจึงค่อยๆ เริ่ มมองเห็นภาพเป็นมุมกว้าง 45 องศา หรื อประมาณ 1 ใน 4 ของการมองเห็นของผู้ ใหญ่ จนกระทั่งอายุครบ 6 สัปดาห์ มุมในการมองเห็นของเขาจะเพิ่มเป็น 90 องศา และเมื่อลูก อายุครบ 3 เดือน ขอบเขตการมองเห็นของเขาจึงเท่ากับผู้ ใหญ่ คือสามารถมองได้ ในมุม 180 องศา แต่กว่าทารกจะมองภาพได้คมชัดเท่าๆ กับผู้ ใหญ่ที่มีสายตาปกติ ก็ต้องรอจน เขาอายุครบขวบนั่นแหละค่ะ 9


10


อุ้ม...สัมผัสรักจากแม่ คุณพ่อคุณแม่จะรับรูถ้ งึ ความรูส้ กึ ทีท่ งั้ อบอุน่ และยิง่ ใหญ่ ได้เป็นอย่างดี เมือ่ ร่างเล็กๆ แสนบอบบางเข้ามาอยู่ ในอ้อมกอด ด้วยการอุ้มนีล่ ่ะค่ะ ส�ำหรับคุณพ่อคุณแม่มอื ใหม่อาจรูส้ กึ เก้ๆ กังๆ กับการอุม้ เจ้าตัวเล็ก ก็เขาช่างบอบบางจนน่าห่วงว่าอุ้มแล้วเขาจะเจ็บ ความรู้สึกนีอ้ าจท�ำให้คุณขาดความมั่นใจในการอุ้มได้ แท้จริ ง แล้วทารกแค่เพียงตัวเล็ก แต่ร่างบอบบางนัน้ มิได้ออ่ นแอหรื อ ปวกเปียกถึงขนาดว่าหากอุ้มผิดท่าแล้วจะเป็นอันตราย ถึงจะ รูอ้ ย่างนีค้ ณ ุ พ่อคุณแม่ทยี่ งั ไม่เคยอุม้ ทารกแรกคลอดมาก่อนก็ ยังอดกังวลไม่ได้ว่าจะอุ้มอย่างไรให้ลูกสบายตัวที่สุด

อุ้มอย่างไรให้หนูสบาย

ในการอุ้มทารกแรกคลอดไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมากมาย ข้อควรระวังมีเพียงต้อง ไม่ลืมใช้มือข้างหนึ่งช่วยพยุงหรื อประคองศีรษะเขาไว้ เนื่องจากคอลูกยังไม่แข็งเขาจึงยังไม่ สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะได้จนกว่าจะอายุครบ 3 เดือน หากคุณแม่อุ้มเขา โดยไม่ประคองส่วนคอไว้ ศีรษะของลูกอาจพับหรื อหมุนไปด้านหน้าหรื อด้านข้างซึ่งจะท�ำให้ เขาเจ็บและตกใจได้

11


อุ้ม...สัมผัสรักจากแม่

ในการเลี้ยงดูทารก การอุ้มมิ ใช่เพียงหนึ่งในกิจวัตรประจ�ำวันเท่านั้น แต่การอุ้มยัง เป็นการสานสัมพันธ์รักระหว่างคนอุ้ม ไม่วา่ จะเป็นคุณแม่ คุณพ่อ หรื อใครก็ตามที่เข้ามาอุ้ม กับเจ้าตัวเล็กที่ถูกอุ้มได้เป็นอย่างดี การอุ้มจึงมิ ใช่เพียงการช้อนตัวลูกขึ้นมาแนบอก การอุ้มที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งสภาพแวดล้อมและอารมณ์ของผู้อุ้มด้วย เพราะเด็กจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์ของผู้อุ้ม เคยสังเกตไหมคะว่าเวลาที่ลูกร้องโยเยจนคุณแม่ โมโห อุ้มเท่าไรเขาก็ ไม่เงียบสักที แต่หากคุณแม่อารมณ์ดีอุ้มปลอบเขาอย่างใจเย็น ไม่นาน เขาก็จะสงบลงได้ เพราะเขาจะรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นและเกิดความไว้วางใจ และถ้าจะให้ การอุ้มสัมฤทธิผลมากขึ้น คุณแม่ควรใช้สายตาประสานกับทารกเพื่อให้เขารู้สึกมั่นใจ ใช้ เสียงพูดคุยกับเขา แม้เขาจะยังไม่เข้าใจแต่เสียงจะท�ำให้เขาคุ้นเคย ลดอาการตกใจกลัวที่ อาจเกิดขึ้นหากจู่ๆ คุณอุ้มเขาขึ้นมาเฉยๆ และข้อส�ำคัญคือต้องใช้รา่ งกายสัมผัสตัวเขาอย่าง อ่อนโยน เพื่อให้เขารู้สึกถึงความอบอุ่นจากตัวคุณ

อุ้มเมื่อไร แค่ไหนพอ

เรามักอุ้มเมื่อลูกร้องไห้ แต่จริ งๆ แล้วการอุ้มนั้นไม่ควรท�ำขณะที่เขาร้องไห้เพียง อย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อเขายังเล็กอย่างนี้ คุณแม่ควรอุ้มลูกให้บ่อยเพราะทารกต้องการ การสัมผัส โดยเฉพาะสัมผัสจากแม่เป็นสิ่งที่เขาขาดไม่ได้เลย และส�ำหรับคุณแม่เอง การได้ สัมผัสกอดลูกจะช่วยลดความเครี ยดและความเหนื่อยล้าลงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ คุณอุม้ เขาทัง้ วันหรอกนะคะ เพราะการอุม้ ทีน่ านหรื อบ่อยเกินไปจะท�ำให้ลกู ไม่มเี วลาพักผ่อน เต็มที่ โดยเฉลี่ยแล้วคุณแม่ควรอุ้มลูกวันละ 3 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลือควรปล่อยให้เขานอน เอง เพื่อเขาจะได้เคลื่อนไหวตัวเองได้อย่างอิสระ 12


ส่วนการวางทารกลงนอนควรท�ำด้วยความระมัดระวัง ค่อยๆ วางลงช้าๆ หากลูก หลับควรจัดให้เขานอนตะแคงข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาสลับกัน โดยใช้ผ้าหรื อหมอน เล็กๆ หนุนด้านหลังไว้เพื่อไม่ ให้ลูกดิ้นจนต้องหลับในท่านอนหงาย เพราะการนอนหงาย หากทารกอาเจียน น�้ำหรื อนมที่เขาอาเจียนออกมาอาจไหลลงไปในหลอดลมได้ แต่หากเขา นอนเล่นเฉยๆ การนอนหงายจะเหมาะสมที่สุด เพราะเขาจะเคลื่อนไหวได้สะดวกและมอง เห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ชัดเจนขึ้น การเริ่ มอุม้ ทารก ในตอนแรกคงไม่มคี ณ ุ พ่อหรื อคุณแม่คนไหนท�ำได้อย่างคล่องแคล่ว หรอกค่ะ ดังนั้นคุณแม่คงไม่ต้องกังวลเสียจนตัวเกร็งเวลาอุ้มลูกหรอกนะคะ เพราะนอกจาก จะท�ำให้ลูกไม่สบายตัวแล้ว ยังท�ำให้เขาเครี ยดอีกด้วย อุ้มไปเถอะค่ะ เพียงแค่อุ้มเขาด้วย ความรัก สัมผัสอย่างทะนุถนอม แล้วคุณแม่จะค้นพบได้ด้วยตัวเองว่า ท่าอุ้มท่าไหนที่จะ ท�ำให้ทั้งคุณและลูกสบายที่สุด

13


Dear my son...

14


เทิร์นโปรคุณพ่อมือใหม่ คุณพ่อคนไหนยังมองว่า หน้าที่การเลี้ยงลูกเป็นของคุณแม่แล้วละก็คงจะเชยเต็มที เพราะปัจจุบันคุณแม่ส่วนมากต้องท�ำงานนอกบ้านไม่ต่างไปจากคุณพ่อเลย แถมยังต้อง ดูแลเรื่ องต่างๆ ในบ้านอีก ถ้าขืนปล่อยให้คุณแม่เป็นผู้รับภาระในการเลี้ยงลูกแต่ผู้เดียวก็ จะเป็นการเอาเปรี ยบกันเกินไป ความจริ งแล้วคุณพ่อหลายๆ ท่านคงอยากมีสว่ นร่วมในการ ช่วยคุณแม่เลีย้ งลูกอยูไ่ ม่นอ้ ย แต่อาจมีความรูส้ กึ ขัดเขินในการแสดงความรักต่อลูก หรื ออาจ คิดว่าตนเองท�ำหน้าที่นี้ ได้ไม่ดีเท่าแม่จึงปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงลูกไป คุณพ่อบางท่านไม่กล้าอุม้ ลูกแรกคลอด (ทัง้ ทีอ่ ยากอุม้ ) เพราะกลัวลูกเจ็บ กลัวพลาดท่า ท�ำให้ลกู กระดูกหักเอาได้ง่ายๆ ก็แหมเจ้าหนูตวั นิดเดียวเอง แต่คงต้องขอบอกว่าอย่ากลัวไป เลยค่ะ ไม่งั้นจะเสียโอกาสดีๆ ไป ลองค่อยๆ อุ้มเขาขึ้นมากอดเบาๆ สิคะ คุณพ่อจะได้เห็น แววตาของความสนุกตื่นเต้นอยู่ ในดวงตาของลูก

เด็กในวัย 6 สัปดาห์ขนึ้ ไปสามารถแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างสัมผัสของพ่อกับแม่ได้แล้วค่ะ ทั้งนีม้ ีรายงานว่า ลูกจะรู้สึกตื่นเต้นเมื่อคุณพ่ออุ้ม เพราะด้วยความที่คุณแม่เป็นนักอุ้มมือโปร เวลา อุ้มจึงให้ความรู้สึกที่เหมือนๆ กันเกือบทุกครั้ง แต่ หากเป็นคุณพ่ออุม้ ละก็จะให้ความรูส้ กึ ไม่ซำ�้ กันเลย

15


นอกจากความสนุกตื่นเต้นที่ลูกได้รับแล้ว การที่คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกยังเป็นการเสริ มสร้างพัฒนาการให้ ลูกได้เติบโตขึน้ อย่างเข้มแข็ง มัน่ ใจในตัวเองได้มากกว่าเด็กทีม่ คี ณ ุ แม่ ดูแลอยูต่ ามล�ำพัง ดร.โรเบิรต์ มอราดี (Dr.Robert Moradi) จิตแพทย์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งลอสแองเจลิส (UCLA) ได้ท�ำการวิจัย ปฏิกิริ ยาระหว่างเด็กกับพ่อแม่พบว่า พ่อจะปล่อยให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง ยอมให้ลูกอยู่นอกสายตาบ้าง ยอมให้ลูกคลานเล่นมากกว่า และถ้าลูกพบเจอ สถานการณ์อย่างเช่น เจอสุนัข สถานที่แปลกใหม่ หรื อของเล่นใหม่ๆ แม่จะ ขยับเข้าไปใกล้ลกู โดยอัตโนมัตเิ พือ่ ให้ลกู เกิดความมัน่ ใจ ในขณะทีพ่ อ่ จะดูอยู่ ห่างๆ ปล่อยให้ลูกได้เรี ยนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตา่ งๆ ได้ด้วย ตัวเอง ดังนั้นลูกที่มีคุณพ่อคอยดูแลจะเป็นลูกที่ควบคุมอารมณ์ ได้ดี กว่า และปรับตัวเข้ากับสังคมหรื อสิ่งแวดล้อมได้ดีด้วย

รู้อย่างนีแ้ ล้วคุณพ่อเริ่ มรู้สึกอยากจะลุกขึ้นมาเลี้ยงลูกหรื อยังคะ ถ้าใช่ละก็เรามาเริ่มกันเลย

16


ุคณแม่ร้ไู หม

รู้ไหมลูกอยากได้อะไรจากพ่อ

ลูกในวัยทารกต้องการให้คุณพ่อดูแลในเรื่ อง อาหารการกิน การอยู่ การนอน เป็นเพื่อนเล่น เป็นตัวตลกให้ลูกขบขัน เป็นคนให้ความรัก ความอบอุ่น คอยปลอบโยนเมื่อเจ็บตัว เสียใจ หรื อเจ็บป่วย เป็นต้นแบบของความเป็นผู้ชาย เล่น คิดและกระท�ำแบบผู้ชาย เป็นแบบอย่างการเรี ยนรู้ทักษะทางสังคมที่มีต่อคนรอบข้าง การเป็นผู้น�ำ และผู้ตาม เป็นหน่วยสนับสนุนเมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือ สิ่งต่างๆ เหล่านีค้ งไม่ยากเกินไปส�ำหรับคุณพ่อที่จะปฏิบัติ ขอเอาใจช่วยคุณพ่อ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกทุกท่านค่ะ

17


18


อิ่มอุ่นด้วยนมขวด เชือ่ ว่าคุณแม่ทกุ ท่านมีความตัง้ ใจทีจ่ ะเลีย้ งลูกด้วยน�ำ้ นมตนเอง เพราะรูด้ วี า่ ไม่มนี ำ�้ นม ใดอุดมคุณค่าเทียบเท่านมแม่ ทว่า...ไม่ ใช่ทุกคนที่จะท�ำได้ดังปรารถนา เมื่อคุณแม่ไม่อาจให้ลูกรักอิ่มอุ่นด้วยน�้ำนมจากอกได้ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุ ใดก็ตาม คง มีคำ� ถามเกิดขึน้ ในใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่ องคุณค่าทีล่ กู จะได้รบั จากนมผสมว่าจะเพียงพอ หรื อไม่ ลูกจะขาดภูมติ า้ นทานหรื อเปล่า และเหนืออืน่ ใดคุณแม่มกั คิดว่าคงไม่สามารถถ่ายทอด ความรักความอบอุน่ แก่ลกู ได้มากเท่าการให้นมจากอก จึงละเลยทีจ่ ะมอบความรักแก่เขาขณะ ดูดนม และปล่อยหน้าที่การถือหรื อประคองขวดนมให้เป็นของหมอนหรื อผ้าห่มไป ส�ำหรับทารก แม้การได้ดูดนมแม่จะเป็นสิ่งสุดวิเศษ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า หาก ต้องดูดนมจากขวดแล้วจะท�ำให้เขาขาดอะไรไป เพราะความอบอุ่นนั้นขึ้นอยู่กับวิธี ในการให้ นมของคุณแม่มากกว่า กุมารแพทย์ชาวเยอรมันให้ ค�ำแนะน�ำแก่คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกด้วย นมขวดว่า หากคุณแม่ ให้ความใกล้ชิดกับลูกขณะ เขาดูดนมขวด ความรู้สึกที่ลูกได้รับก็แทบไม่ต่างจากที่ เขาได้ดูดนมจากอกแม่สักเท่าไร เพราะแท้จริ งแล้วความ ห่างเหินเกิดจากการที่คุณแม่มักปล่อยลูกไว้กับนมขวด ต่างหาก ดังนั้นเวลาให้นมขวดแก่ลูก คุณแม่ควรประคอง ขวดนมไว้ด้วยมือตัวเอง อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ ของผ้าห่มเป็นอันขาด และควรขยับใบหน้าให้ ใกล้ชิดกับลูกให้มากที่สุดด้วย 19


ส�ำหรับความกังวลเรื่ องคุณค่าทางโภชนาการนั้น ในปัจจุบันนมผงส�ำหรับทารกได้รับ การพัฒนาการผลิตจนได้นมทีม่ ีคุณค่าพอๆ กับน�ำ้ นมแม่เลยทีเดียว ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ ทันสมัยมากขึ้น ท�ำให้ผผู้ ลิตสามารถเปลีย่ นแปลงโครงสร้างของโปรตีนในนมวัวให้ ใกล้เคียง กับนมแม่ จนร่างกายบอบบางของทารกดูดซึมสารอาหารที่มี ในนมนั้นไปใช้ได้อย่างง่ายดาย ส่วนไขมันในนมวัวจะถูกแทนทีด่ ว้ ยกรดไขมันทีจ่ ำ� เป็นต่อทารก นอกจากนีย้ งั มีการเติมน�ำ้ ตาล นม (Milk Sugar) ที่เป็นแหล่งคาร์ โบไฮเดรตลงไปด้วย สิ่งเดียวที่นมผงยังไม่สามารถลอกเลียนแบบมาจากนมแม่ได้ก็คือ สารสร้างภูมิคุ้มกัน โรคนัน่ เอง แต่นมผงก็มขี อ้ ดีทหี่ าไม่ได้จากนมแม่เช่นกันนัน่ ก็คือ คุณแม่จะรู้ได้วา่ แต่ละวันลูก ได้รับน�้ำนมปริ มาณเท่าใด ซึ่งเรื่ องนีเ้ ป็นเรื่ องที่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจากอกกังวลมาก ที่สุด เพราะไม่สามารถแน่ ใจได้เลยว่า น�้ำนมที่ตนมีอยู่นั้นจะเพียงพอกับความต้องการของ ลูกหรื อเปล่า ส�ำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง ควรท�ำความรู้จักกับนมผงส�ำหรับทารกให้ มากขึ้นอีกนิด เพราะนมบางชนิดแทนที่จะใช้น�้ำตาลนม (Milk Sugar) ซึ่งมีคุณค่าสูง กลับ ใช้น�้ำตาลทรายธรรมดาเป็นส่วนผสม แถมยังมีการเติมแป้งลงไปอีกด้วย จึงท�ำให้น�้ำนมที่ชง มีลักษณะข้นจนคุณแม่เข้าใจผิดได้ว่า นมชนิดนีม้ ีคุณค่าทางโภชนาการและให้พลังงานสูงกว่า นมชนิดที่ ไม่ได้เติมแป้ง ทัง้ ทีเ่ มือ่ เปรี ยบเทียบพลังงานที่ ได้จากนมผงทัง้ สองชนิดเป็นแคลอรี แล้วจะพบว่าใกล้เคียงกันมาก แต่นมผงที่เติมแป้งจะช่วยให้ทารกอิ่มได้นานกว่า เนื่องจาก กระเพาะของทารกยังย่อยแป้งได้ไม่ดี จึงท�ำให้แป้งในนมค้างอยู่ ในกระเพาะเป็นเวลานาน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับลูกเลย

20


สิ่งส�ำคัญอีกอย่างที่ ไม่ควรละเลยในการให้นมขวดแก่ลูกก็คือการชงนม ควรอยู่ ใน อัตราส่วนที่เหมาะสมตามค�ำแนะน�ำที่ระบุไว้ข้างกระป๋องหรื อกล่องเท่านั้น เพราะหากคุณ แม่ผสมนมข้นเกินไป แทนที่นมจะมีประโยชน์เพิ่มขึ้นกลับท�ำให้ลูกท้องผูกได้ นมผงส�ำหรับเลี้ยงทารกที่วางขายกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนถูกสังเคราะห์ขึ้นมาให้ตรงกับ ความต้องการของทารกอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่จ�ำเป็นต้องเติมเกลือหรื อน�้ำตาลลงไปอีก เพราะ นอกจากจะไม่ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าแต่อย่างใดแล้ว ยังท�ำให้กระเพาะอาหารและไตของลูกต้อง ท�ำงานหนักขึ้นอีก

บันทึกช่วยจ�ำส�ำหรับคุณแม่

21


คุณแม่ร้ไู ห

MILK

T IPS :

ในการให้นมขวดแก่ลกู วัยทารก นอกจากไม่ควรปล่อยให้ลกู ดูดนมขวด อยู่บนที่นอนแล้ว คุณแม่ควรอุ้มลูกด้วยแขนซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรื อเปลี่ยนให้ลูก นอนบนตักบ้าง เพื่อไม่ ให้ลูกต้องจ�ำเจกับการดูดนมอยู่แต่ ในท่าเดิมๆ ซึ่งทารกที่ ได้ดูดนมแม่มักไม่ค่อยพบปัญหานี้ เพราะยังไงเขาก็จะต้องเปลี่ยนข้างเพื่อดูดนม อยู่แล้ว ระหว่างทีล่ กู ดูดนมจากขวด คุณแม่สามารถปฏิบตั ติ อ่ เขาได้ไม่ตา่ งจาก การให้เขาดูดนมจากอกคุณ ไม่ว่าจะอุ้ม พูดคุย ร้องเพลงกล่อม หรื อเขี่ยแก้มเขา เพราะการให้นมขวดอย่างใกล้ชดิ นอกจากลูกจะได้อมิ่ ท้องแล้ว เขายังได้อมิ่ ใจจาก ความอบอุน่ ที่ ได้รบั จากแม่อกี ด้วย แต่ขอ้ ส�ำคัญทีค่ ณ ุ แม่ไม่ควรลืมก็คอื นมทีจ่ ะให้ ลูกดูดนั้นต้องเป็นนมที่ชงใหม่ทุกครั้ง ไม่จ�ำเป็นว่าลูกจะต้องดูดนมจากขวดรวดเดียวหมด เด็กบางคนจะ เพลินกับการดูดไปเล่นไปมากกว่า และบางครั้งก็ต้องขอพักเหนื่อยด้วย แต่ทารก บางคนก็จะตั้งอกตั้งใจดูดเพื่อระงับความหิวให้เร็วที่สุด ฉะนั้นคุณแม่ควรเจาะจุก นมเป็นรูเล็กๆ เพื่อไม่ ให้ลูกดูดเอาลมเข้าไปมากจนปวดท้อง

22



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.